โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

แรงงานล่าชื่อเรียกร้องสอบงบ สปส. จัดทำหนังสือรวบรวมผลงานมูลค่า 210 ล้านบาท

Posted: 11 Jun 2010 01:48 PM PDT

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ล่ารายชื่อแรงงานเพื่อคัดค้านกรณีสำนักงานประกันสังคมจัดงบประมาณสำหรับการจัดพิมพืผลงานของสำนักงานเป็นวงเงิน 210 ล้านบาท  ทั้งเรียกร้องให้มีการตรวจสอบกรณีดังกล่าว โดยยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออนุกรรมการประกันสังคมวุฒิสภาด้วย

<!--break-->

เหตุผลของการออกมาคัดค้านและเรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณดังกล่าว คสรท. ระบุในจดหมายว่าเป็นการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมและอาจกล่าวได้ว่าเป็ฯการใช้งบประมาณผิดวัตถุประสงค์

000

๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓

เรื่อง  การร่วมลงนามคัดค้านการนำเงินประกันสังคม จัดทำหนังสือรวบรวมผลงาน
        มูลค่า ๒๑๐ ล้านบาท

เรียน 

เรื่อง  ขอให้ตรวจสอบการจัดทำหนังสือรวบรวมผลงานของสำนักงาน ประกันสังคม มูลค่า ๒๑๐ ล้านบาท

สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑. หนังสือที่ คสรท. ๖๔/๒๕๕๓  ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓  

                         ๒. แบบรวบรวมรายมือชื่อในการคัดค้านการนำเงินประกันสังคม จัดทำหนังสือรวบรวมผลงานมูลค่า ๒๑๐ ล้านบาท

ตามที่เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมยืนยันเกี่ยวกับการใช้งบประมาณของสำนักงานประกันสังคมในการจัดทำหนังสือรวบรวมผลงานมูลค่า ๒๑๐ ล้านบาท โดยเลขาธิการประกันสังคมเห็นว่าการจัดทำหนังสือมีความจำเป็นและมีประโยชน์ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ประวัติและผลงานของบอร์ดสำนักงานประกันสังคม รายละเอียดตามที่เป็นข่าวทราบเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๓

ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้นนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มีความเห็นว่าเป็นการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการใช้งบประมาณผิดวัตถุประสงค์ และได้มีการทำหนังสือให้มีการตรวจสอบโครงการจัดทำหนังสือดังกล่าว เรียนต่อประธานอนุกรรมาธิการประกันสังคม วุฒิสภาไปแล้ว รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑

ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มเติมในการคัดค้านโครงการจัดทำหนังสือดังกล่าว จึงขอให้องค์กรสมาชิก และภาคีร่วมของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกันรวบรวมรายมือชื่อในการคัดค้านลงในแบบรวบรวมรายมือชื่อในการคัดค้านการนำเงินประกันสังคม จัดทำหนังสือรวบรวมผลงานมูลค่า ๒๑๐ ล้านบาท (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒) ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และนำส่งคืนให้แก่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ภายในวันอังคารที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ จากนั้นจะนัดวันเพื่อยื่นรายชื่อดังกล่าวในการคัดค้านต่อไป โดยสามารถส่งแบบรวบรวมรายชื่อฯ กลับมาทางช่องทางดังต่อไปนี้

๑. สแกนแล้วส่งไฟล์แบบรวบรวมรายชื่อฯ ดังกล่าว กลับมาที่อีเมล vrlabour@gmail.com
๒. ส่งแบบรวบรวมรายชื่อฯ กลับมาที่สำนักงานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ทางไปรษณีอีเอ็มเอส (EMS) ที่อยู่ ๕๐๓/๒๐ นิคมรถไฟมักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

จึงเรียนมาเพื่อโปรดมีส่วนร่วมในการรวบรวมรายชื่อคัดค้านโครงการจัดทำหนังสือดังกล่าว เพื่อให้การใช้เงินกองทุนประกันสังคมเป็นไปตามวัตถุประสงค์และโปร่งใส

ขอแสดงความนับถือ

      (นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย)
       ประธาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

โทรศัพท์ ๐-๒๖๕๔-๗๖๘๘
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มอนิเตอร์สถานการณ์และข่าวอาชญากรรมภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

Posted: 11 Jun 2010 01:12 PM PDT

ศอฉ.ยังคงฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก อ้างเหตุกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพื้นที่ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมือง, อุบลฯ รวบมือเผาศาลากลางฯ ได้อีก, ฆ่าการ์ดแดงทิ้งชลบุรีผบช.ภ.3คุมคดียิงแดงโคราช, ส.ส.ในพื้นที่ ชี้เป็นจุด เริ่มไล่ล่า "แดง", ตร.ขอนแก่น รวบ 2 เสื้อแดงมือเผาศาลากลาง-เอ็นบีที ด้าน DSI บุกรังฮาร์ดคอร์พัทยา ยึดอาวุธสงครามขยายผลคดีก่อการร้าย,"มานิต" ซุ่มเงียบโยกรอง ผู้ว่าฯ 8 จังหวัด

<!--break-->

ศอฉ.ยังคงฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก อ้างเหตุกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพื้นที่ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมือง

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 11 มิ.ย.ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสุเทพ เป็นประธานการประชุม ศอฉ. มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 1.30 ชั่วโมง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า ในที่ประชุม นายสุเทพหยิบยกประเด็นการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯขึ้นมาหารือ เนื่องจากมีหลายฝ่ายออกท้วงติงให้รัฐบาล และ ศอฉ. ให้ยกเลิกเพราะได้รับผลกระทบ แต่ฝ่ายทหารปฏิเสธที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในระยะนี้ เพราะยังมีกลุ่มคนเสื้อแดงหลายพื้นเคลื่อนไหวทางการเมือง หากประกาศยกเลิกทันทีเกรงว่าจะควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังกำชับให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เร่งรวบรวมเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม รวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ รวมรวบเป็นแผ่นวีซีดีแจกจ่ายให้กับประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงให้ประชาชนที่ยังไม่ทราบถึงเหตุการณ์ที่แท้จริง

"อธิบดีกรมดีเอสไอ ได้รายงานผลความคืบหน้าคดีการก่อการร้ายให้ที่ประชุมรับทราบด้วย ซึ่งขณะนี้ได้รวบรวมรายชื่อบุคคลที่เข้าข่ายคดีก่อการร้ายเพิ่มเติมอีกกว่า 100 คน ส่วนแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่หนีการจับกุมในข้อหาคดีการก่อการร้ายนั้น ที่ประชุมได้กำชับให้ทหาร ตำรวจ และดีเอสไอ เร่งดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการด่วน เพราะเกรงว่าบุคคลเหล่านี้จะไปสร้างความเดือดร้อน หรือปลุกระดมให้มวลชนคนเสื้อแดงลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีก" แหล่งข่าวกล่าว

อุบลฯ รวบมือเผาศาลากลางฯ ได้อีก
เดลินิวส์ออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. พล.ต.ต.เสริมสุข วีระวงศ์ รักษาการ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (ผบก.ภ.จว.) อุบลราชธานี กล่าวว่า ติดตามจับกุมตัวแกนนำที่ก่อเหตุเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีได้ชอีก 2 คนคือ นายธนุศิลป์ ธนูทอง อายุ 52 ปี จับกุมได้ที่กระท่อมในป่า เขต อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี และนายสนอง เกตุสุวรรณ อายุ 44 ปี จับกุมได้ที่ 165 ถนนปทุมเทพภักดี อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยตั้งข้อหาร่วมกันเผาศาลากลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางราชการ มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง และต่อสู้ขัดขืน

ขณะนี้ตำรวจติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุเผาศาลากลางได้แล้ว 60 คน ตามหมายจับ 78 คน

"ผู้ใดที่รู้ตัวว่ามีส่วนร่วมในการก่อเหตุ เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งเผายางและปิดถนน ขอให้มามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ ก่อนเจ้าหน้าที่จะออกหมายจับ เพราะสามารถประกันตัวได้โดยไม่ต้องมีหลักประกัน และได้รับโทษตามที่กระทำผิดเท่านั้น แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตามหมายจับแล้วจะไม่สามารถประกันตัวได้ และจะดำเนินคดีตามความผิดทุกกรณี สามารถเดินทางมามอบตัวกับผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ และผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ หรือ อาจมอบตัวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ไว้ใจก็ได้" พล.ต.ต.เสริมสุขกล่าว

ฆ่าการ์ดเสื้อแดงวัย60นำศพทิ้งที่จ.ชลบุรี
เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 11 มิ.ย. พ.ต.อ.ปกรณ์ มณีปกรณ์ ผกก.สภ.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี ได้ประชุมร่วมกับ พ.ต.ท.สุขทัศน์ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผกก.สส.ภ.จ.ชลบุรี เพื่อคลี่คลายคดี นายสวาท ดวงมณี อายุ 60 ปี บ้านเดิมอยู่ที่ 47 หมู่ 9 ต.ตะเคียนงาม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ การ์ดเสื้อแดง ซึ่งดูแลการชุมนุมอยู่ที่กรุงเทพฯ ถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหดโดยคนร้ายใช้เชือกมัดมือไพล่หลัง และใช้ผ้าขาวม้ารัดคอจนเสียชีวิต หลังจากนั้นได้นำศพมาทิ้งที่หมู่ 8 บ้านคลองใหญ่ ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี โดยมีผู้พบศพ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา

พ.ต.อ.ปกรณ์ มณีปกรณ์ ผกก.สภ.บ่อทอง กล่าวว่า กำลังเร่งสรุปประเด็นที่นายสวาทถูกฆ่า เบื้องต้นคาดว่าอาจจะถูกฆ่าจากที่อื่นแล้วนำศพมาทิ้งเพื่ออำพรางคดี ในพื้นที่ของจ.ชลบุรี โดยข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้รับคือ นายสวาท ได้หลบหนีหลังเหตุการณ์ความไม่สงบ จากรุงเทพฯ และเดินทางไปหาญาติ ที่ จ.ระยอง แต่ถูกคนร้ายตามมาฆ่าดังกล่าว

คดีฆ่าแกนนำเสื้อแดง "สุเทพ" โต้รัฐบาลไม่มีแนวคิดไล่ล่าใคร ตร.มุ่ง 3 ปม ส่วนศพ "อ้วน บัวใหญ่" กำหนดฌาปนกิจ 13 มิ.ย.นี้
จากกรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตั้งข้อสังเกตว่า การเสียชีวิตของนายศักรินทร์ กองแก้ว หรือ "อ้วน บัวใหญ่" แกนนำ นปช.จ.นครราชสีมา อาจเกี่ยวข้องกับการไล่ล่าแกนนำกลุ่ม นปช.ของรัฐบาล

วันนี้ (11 มิ.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตอบโต้ว่ารัฐบาลไม่มีแนวคิดจะไปฆ่าคนหรือไล่ล่าใคร นายจตุพรมีอะไรก็โยนใส่รัฐบาลไว้ก่อน เป็นสูตรสำเร็จ รัฐบาลไม่มีแนวคิดจะไปฆ่าคน และพยายามทำทุกอย่างภายใต้กรอบของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลไม่มีอำนาจในการเที่ยวไปไล่ล่าฆ่าสังหารใครทั้งสิ้น ขอยืนยันว่าตำรวจจะสืบสวนสอบสวนคดีนี้เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวนี้ตำรวจเก่ง

ส่วนกรณี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชี้ว่าการประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน นายสุเทพกล่าวว่า พร้อมไปชี้แจงข้อเท็จจริง และพิสูจน์ตัวเอง สำหรับภาพข่าวแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจถูกล่ามโซ่ตรวนนั้น นายสุเทพไม่ขอให้ความเห็นเพราะไม่ทราบวิธีปฏิบัติ

ระบุ 3 ปม ฆ่า "อ้วน บัวใหญ่" เผยสอบพยานกว่า 10 ปากแล้ว

ส่วนความคืบหน้าคดี เมื่อเวลา 11.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่หอประชุมสารสิน สำนักงานตำรวจภูธรภาค 3 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.ต.อ.วชิรวิชญ์ กฤษณ์ฤทธิศักดิ์ รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา หัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีสังหารโหดนายศักดิ์นรินทร์ เปิดเผยว่า ล่าสุดการสอบปากคำพยานบริเวณที่เกิดเหตุได้กว่า 10 ปาก ทราบชัดเจนว่าคนร้ายมีอย่างน้อย 2 คน นั่งมาโดยใช้รถกระบะยกสูงสีดำ ไม่ทราบยี่ห้อ ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ส่วนที่มีข่าวว่า คนร้ายได้เข้ามาในพื้นที่ก่อนลงมือ 3-4 วันก็น่าที่จะมีคนเห็นหน้าบ้าง ส่วนจะเป็นคนมีสีลงมืออะไรนั้น ยังไม่มีความชัดเจนลึกขนาดนั้น

พ.ต.อ.วชิรวิชญ์ กล่าวว่า ได้มีการกำชับลงมาจาก พล.ต.ท.เดชาวัต รามสมภพ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) โดยรายละเอียดในเรื่องของพยาน และวัตถุพยานมีความคืบหน้าพอสมควร ทั้งนี้ จะได้เร่งรัดเนื่องจากเป็นคดีสะเทือนขวัญประชาชน และให้ความสำคัญมากว่าจะต้องจับกุมคนร้ายให้ได้ ส่วนประเด็นการสอบสวนก็ยังคงเป็น 3 ประเด็นคือ เรื่องส่วนตัว เรื่องชู้สาว และเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงที่ผ่านมา ตำรวจให้น้ำหนักทุกเรื่อง ซึ่งถือว่าคดีนี้มีพยานหลักฐานมากพอสมควร เพราะมีคนที่เห็นเหตุการณ์ รวมทั้งได้วัตถุพยานคงทำให้มีแนวทางที่ดีในการสืบสวน

ส่วนที่มี กระแสพุ่งเป้าการสังหารมาจากเรื่องความเคลื่อนไหวทางการเมืองจากชุดไล่ล่า เช็คบิลเชือดไก่ให้ลิงดู เพราะเป็นแกนนำคนเสื้อแดง และการ์ด นปช.นั้น พ.ต.อ.วชิรวิชญ์ กล่าวว่า หลักจากการสอบสวน ณ ปัจจุบัน นายศักดิ์นรินทร์ ไม่ได้เป็นแกนนำคนสำคัญ เป็นแต่เพียงคนที่เคลื่อนไหวระดับอำเภอ และจังหวัดเท่านั้นเอง ซึ่งไม่น่าจะมีความชัดเจนหรือหนักหน่วงขนาดนั้น

ต่อข้อถามถึง ที่มีข่าวว่าผู้ตายสนิทและใกล้ชิดกับนายอริสมันต์ และนายสุภรณ์ แกนนำ นปช. รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา ตอบว่า เท่าที่ตรวจสอบข้อมูลแล้วน่าจะเป็นไปทางนายอนุวัฒน์ ทินราช อดีตกำนัน ต.บัวลาย อ.บัวใหญ่ อดีตผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยมากกว่า เพราะทำงานเคลื่อนไหวทางการเมือง และผู้ตายเป็นทั้ง ตร.อาสา เป็นทั้งมูลนิธิ ทำตัวบริการสาธารณะ เป็นคนที่มีน้ำใจดีคนหนึ่ง และเป็นคนที่ชอบแสดงออก แต่ในเรื่องที่ไปขัดแย้งกับใครตำรวจจะสืบสวนเจาะลึกลงไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนถ้ามีเบาะแสก็ช่วยแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีตำรวจยินดีรับฟัง

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นายศักรินทร์ผู้เสียชีวิต ถือเป้นแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง จ.นครราชสีมา ที่ อ.บัวใหญ่ และยังทำหน้าที่การ์ด นปช.ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะเป็นคนช่วยแกนนำ นปช.ที่กำลังถูกชุดไล่ล่าตามล่าตัวในขณะนี้คือ "กี้ร์" นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง กับ "แรมโบ้อีสาน" นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ โรยตัวหลบหนีในการจับกุมในการชุมนุมที่กรุงเทพฯ

ส.ส.ในพื้นที่ ชี้เป็นจุด เริ่มไล่ล่า "แดง"

ส่วนนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า พวกตนหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว แต่ยังมีการพยายามตามราวี สร้างปมให้สังคมเกลียดชังคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง คนในเขต อ.บัวใหญ่ ทราบดีว่านายศักรินทร์เป็นเพียงวัยรุ่นที่สนใจการเมือง รักเสื้อแดง ไม่เคยขัดแย้งกับใคร โดยเฉพาะชู้สาว ดังที่พยายามเบี่ยงเบนประเด็น

นายประเสริฐ กล่าวด้วยว่า คำสั่งฆ่านายศักรินทร์เป็นจุดเริ่มต้นของการตามล่าคนเสื้อแดงที่มีอำนาจลึกลับเป็นผู้บงการ ลิ่วล้อจะสร้างเรื่องราวว่าสาเหตุมาจากการฆ่าตัดตอนระหว่างเสื้อแดงด้วยกัน จึงขอความเป็นธรรมให้ด้วย ฝากถึงตำรวจที่เกียร์ว่าง ไม่ยอมสืบสวนหาคนร้ายมาลงโทษ ทั้งๆ ที่มีการแจ้งเบาะแสมาอย่างชัดเจน ตนจะเดินหน้ารวบรวมพยานหลักฐานนำไปเปิดเผยในสภาผู้แทนราษฎรถึงผู้อยู่เบื้อง หลังการฆ่านายศักรินทร์

ด้านนายอนุวัฒน์ ทินราช ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพื่อไทย และผู้ประสานงานกลุ่ม นปช.โคราช เปิดเผยว่า นายศักรินทร์เป็นลูกน้องคนสนิท ทำหน้าที่เป็นเลขาฯส่วนตัว ตนมอบหมายให้รับผิดชอบการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. จ.นครราชสีมา โดยได้รับการวางตัวไม่ต้องให้สัมภาษณ์เป็นข่าว แต่จะเป็นผู้ดำเนินการประสานงานทุกครั้ง ด้วยบุคลิกที่โผงผาง แม้การปราศรัยมีข้อมูลไม่ลึกมากนัก แต่น้ำเสียงค่อนข้างดุดัน ถึงลูกถึงคน มีอายุไม่ถึง 30 ปี จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชุมนุม

"อ้วน บัวใหญ่" โดดเด่นในการนำมวลชนชุมนุมขับไล่รัฐมนตรี และนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน จ.นครราชสีมา ถือเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดา ประเภทแสบคูณสอง เคยผลักอกนายตำรวจใหญ่มาแล้ว เป็นประเด็นสำคัญที่อาจมีหลายบุคคลกลุ่มมาร่วมจองกฐิน

ขณะนี้ ศพของอ้วน บัวใหญ่ ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดบัวใหญ่ เขตเทศบาลเมืองบัวใหญ่ กำหนดฌาปนกิจศพ วันที่ 13 มิถุนายน เวลา 15.00 น. โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี

ตร.ขอนแก่น รวบ 2 เสื้อแดงมือเผาศาลากลาง-เอ็นบีที ด้าน DSI บุกรังฮาร์ดคอร์พัทยา ยึดอาวุธสงครามขยายผลคดีก่อการร้าย

รวบเสื้อแดงมือเผาศาลากลาง-เอ็นบีทีขอนแก่นอีก 2 คน

10 มิ.ย.53 พ.ต.อ.ธวัชชัย นิลานุช รอง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่น ทำลายธนาคารกรุงเทพ และบุกรุกเผาบ้าน นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย และ อดีต รมช.คมนาคม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ได้เข้าสอบปากคำ น.ส.ปาริฉัตร ภูนกยูง อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 258 ม.14 ต.คลองขาม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ผู้ต้องหาในคดี ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นและโรงเรือนอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งถูกจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ จ.197/2553 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553

นายไพรวัลย์ แสนสะท้าน อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 ม.3 ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผู้ต้องหาในคดี ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น, ร่วมกันบุรุกเคหสถานโดยใช้กำลังประทุษร้าย, ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และร่วมกันชุมนุมมั่วสุมกัน ณ ที่ใดหรือการะทำการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ซึ่งถูกจับกุมตามหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ จ.203/2553 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ที่ห้องขัง สภ.เมืองขอนแก่น

หลังการสอบสวน ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวน คุมตัวผู้ต้องหาทั้งสองราย ไปฝากขังที่ศาลจังหวัดขอนแก่นทันที แต่ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ คุมตัวผู้ต้องหาไปขึ้นรถ น.ส.ปาริฉัตร ได้ยกโทรศัพท์มือถือของตัวเองขึ้นมาโชว์ พร้อมกับตะโกนว่า “รักทักษิณ” และ “ทักษิณ จะอยู่ในหัวใจของตนตลอดไป”

นอกจากนี้ น.ส.ปาริฉัตร กล่าวอีกว่า ตนไม่ผิด ไปร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช.มาหลายครั้ง ไม่เคยทำผิด เมื่อถูกตำรวจจับก็ไม่กลัว เพราะได้ติดต่อทางโทรศัพท์มือถือกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย และ นายจตุพร พรมพันธ์ แกนนำ นปช.ให้รับรู้แล้ว ซึ่งทั้งสองคน ก็รับปากว่าจะให้ทนายความมาพูดคุย เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป

พ.ต.อ.ธวัชชัย กล่าวว่า ตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่น ทำลายธนาคารกรุงเทพ และบุกรุกเผาบ้าน นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย และ อดีตรมช.คมนาคม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 นั้น ได้รวบรวมหลักฐาน เพื่อขอหมายจับ จับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมที่กระทำผิดในวันดังกล่าว และได้ออกหมายจับไปแล้วจำนวน 183 ราย

แยกเป็นคดีเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ออกหมายจับ จำนวน 57 ราย จับกุมได้ 3 ราย คดีเผาสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่น ออกหมายจับ จำนวน 67 ราย จับกุมได้ 3 ราย คดีบุกรุกเผาบ้าน นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ออกหมายจับ จำนวน 25 ราย จับกุมได้ 11 ราย ส่วนคดีทำลายธนาคารกรุงเทพ ออกหมายจับแล้วเช่นกัน รวมทั้งหมดทั้ง 4 คดี สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว 26 ราย ซึ่งผู้ต้องหาบางราย มีหลักฐานเป็นภาพถ่าย ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ยืนยันการกระทำผิดถึง 2 จุด ก็จะถูกออกหมายจับ 2 หมาย

ในส่วนของ น.ส.ปาริฉัตร ถูกจับในคดีเผาศาลากลางและเอ็นบีที ซึ่งก็หมายถึงว่าคนเดียวมีสองหมายจับ ส่วนนายไพรวัลย์นั้น ถูกจับในคดีบุกรุกบ้านนายประจักษ์ จากการสอบสวนผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมไม่มีการซัดทอดถึงผู้ใด แต่ยอมรับว่าได้เข้าร่วมชุมนุมและอยู่ร่วมในวันเกิดเหตุ แต่หากมีการซัดทอดถึงผู้บงการหรือผู้ให้การสนับสนุน หากมีพยานหลักฐาน โยงใยถึงใครก็จะเรียกตัวมาสอบสวน และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ขณะนี้ ยังไม่พบตัวบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการกระทำผิด มีเพียง นางซาบีน่า ซาห์ ซึ่งได้ปรากฏตัวในกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ก่อนที่จะมีการเผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ขณะนี้ก็ออกหมายจับแล้ว อยู่ระหว่างการหลบหนี

ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวน.ส.ปาริฉัตร ภูนกยูง ออกจากห้องขัง สภ.เมืองขอนแก่น น.ส.ปาริฉัตรได้โชว์รูป พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมกับบอกว่า “จะติดคุกกี่ปีก็ยอม เพราะคิดถึงและรักทักษิณมาก ” ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำตัวขึ้นรถคุมขังผู้ต้องหานำตัวส่งฝากขังที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อดำเนินคดีต่อไป

DSI บุกรังฮาร์ดคอร์พัทยา ยึดอาวุธสงครามขยายผลคดีก่อการร้าย

วันเดียวกันนี้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนดคีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีก่อการร้ายว่า ว่า พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีดีเอสไอ ได้นำชุดปฏิบัติการพิเศษ และพนักงานสอบสวนได้ลงพื้นที่เมืองพัทยา และเข้ายึดอาวุธจากกลุ่มฮาร์ดคอร์ ได้ของกลางหลายรายการเป็นเครื่องยิงระเบิดเอ็ม 79 และอาวุธปืนเอ็ม 16 จากกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับ นปช.ซึ่งดีเอสไอจะเร่งสอบสวนขยายผลถึงเครือข่ายผู้กระทำความผิดต่อไป

"มานิต" ซุ่มเงียบโยกรอง ผู้ว่าฯ 8 จังหวัด

10 มิ.ย.53 นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งแต่งตั้งย้าย รองผู้ว่าราชการจังหวัด และแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด 8 รายมีดังนี้ ให้นาย ชาญวิทย์ วสยางกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และนายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร

นอกจากนี้ยังมีการย้ายรองผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 6 ราย ได้แก่ นายวิทยา กามนต์ รองผู้ว่าฯ สมุทรปราการ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ นครราชสีมา, นาย ชาติชาย อุทัยพันธ์ รองผู้ว่าฯ สุรินทร์ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯสมุทรปราการ, นายปิติธรรม ฐิติมนตรี รองผู้ว่าฯศรีสะเกษ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ สุรินทร์, นาย นิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าฯ สุโขทัย ดำรงตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ภูเก็ต, นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าฯ ภูเก็ต ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าฯ สุโขทัย, นายวรกร ยกยิ่ง รองผู้ว่าฯ ชุมพร ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ทั้งนี้ สำหรับนายชาญวิทย์ , นายวิทยา และนายสมิทธิ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.โดยกำหนดให้เดินทางไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งในวันที่ 21 มิ.ย.53 ส่วนนายไพโรจน์ และนายวรการ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.53 โดยให้เดินทางไปรายงานตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งวันที่ 14 มิ.ย.53

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อแต่งตั้งโยกย้าย บุคคลส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่สนิทสนมกับพรรคภูมิใจไทย โดยเฉพาะนาย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประธานคณะทำงาน รมว.มหาดไทย และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ซึ่งถือว่าเป็นการจัดเตรียมบุคคลรองรับการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้า ยกเว้นนาย ไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ จะเกษียณราชการในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ดำรงตำแหน่งแทนนาย การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ที่ได้ลาออกไปเป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสารแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการแต่งตั้งรอผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งในช่วงเดือนตุลาคมเท่านั้น

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบผู้ที่มีสิทธิ์จะขึ้นชั้นเลื่อนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมนั่งในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดนานกว่า 3 ปี มีคุณสมบัติที่ถือว่าจะสามารถดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในฤดูการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งใหญ่ มีดังนี้ นายปิติธรรม ฐิติมนตรี สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือสิงห์ทอง นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสิงห์ดำ และนายวรการ ยกยิ่ง สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือสิงห์แดง

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์,http://www.dailynews.co.th, http://www.komchadluek.net, www.matichon.co.th

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอฟริกาใต้ 2010 : คนหลังฉากฟุตบอลโลก (1) แรงงานทาสในอุตสาหกรรมเย็บลูกฟุตบอล

Posted: 11 Jun 2010 01:08 PM PDT

หลายคนต่างจับจ้องไปที่แอฟริกาใต้เจ้าภาพบอลโลกครั้งล่าสุด ส่วนในอีกซีกโลกอย่างปากีสถาน ที่ซึ่งเคยมีคุณูปการต่อวงการฟุตบอลมาก เพราะครั้งหนึ่งประเทศนี้ได้เย็บลุกหนังลูกกลมกลมๆ นี้ส่งออกให้คนทั่วโลกถึง 80% และปัจจุบันพวกเขาก็ยัง “กินไม่ดีอยู่ไม่ดี” เช่นเดิม

<!--break-->

1.

 
แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมเย็บลูกฟุตบอลที่ปากีสถาน (ภาพจาก ILO)
จากรายงานของสภาสิทธิแรงงานนานาชาติ (International Labor Rights Forum : ILRF) ชี้ว่ามากกว่าทศวรรษมาแล้วที่อุตสาหกรรมผลิตลูกฟุตบอลได้กดขี่ขูดรีดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ในปากีสถาน อินเดีย จีน และประเทศไทย โดย ILRF ระบุว่าแรงงานเย็บลูกฟุตบอลต่างต้องเจอกับกับความยากลำบากไม่ว่าจะเป็นค่าแรงที่แสนจะต่ำ สภาพการทำงานที่ย่ำแย่ การละเมิดสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง รวมถึงปัญหาการใช้แรงงานเด็ก
ปฏิกิริยาต่อข้อแปดเปื้อนด้านการใช้แรงงานเด็กในห่วงโซ่สายพานการผลิตลูกฟุตบอลนี้ FIFA เองก็ได้เริ่มกำหนด “ความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร (corporate social responsibility)” ในปลายทศวรรษ 1990’s FIFA ปฏิบัติ การสร้างความชอบธรรมต่อคำวิพากษ์วิจารณ์จากการรณรงค์เรื่องสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมเย็บลูกฟุตบอลที่ปากีสถานที่พบว่าในอุตสาหกรรมผลิตลูกฟุตบอลในปากีสถานนั้นมีการใช้แรงงานเด็ก
ถึงแม้ FIFA ได้ระบุรายละเอียดไว้ในความรับผิดชอบขององค์กรว่า “มีความตระหนักที่จะต่อสู้กับปัญหาการใช้แรงงานเด็ก และสนับสนุนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) รวมถึงโปรแกรมการขจัดการใช้แรงงานเด็ก (IPEC) ในความพยายามที่จะถอนรากถอนโคนการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมผลิตลูกฟุตบอลในปากีสถาน”
และแบรนด์อุปกรณ์กีฬาชั้นนำก็ได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกันว่าจะซื้อลูกฟุตบอลจากซัพพลายเออร์ที่ ILO รับรองเรื่องมาตรฐานสิทธิแรงงานแล้วเท่านั้น
ปัจจุบัน FIFA มีแผนการให้เกมการแข่งขันฟุตบอลเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษาให้กับชุมชนในแอฟริกา ตามภารกิจฟื้นฟูเด็กพิการและส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของสตรี
แต่รายงานของ ILRF ชี้ให้เห็นว่าโครงการการกุศลของ FIFA ถูกบดบังความด้วยความล้มเหลวของการพยายามเอาตัวรอดของอุตสาหกรรมภายใต้พื้นฐานของข้อตกลง Atlanta (Atlanta Agreement) ที่เป็นข้อตกลงระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กับสภาพหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมืองเซียลคอต (Sialkot) และ UNICEF เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1997 โดยเป้าหมายคือการต่อสู้กับการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมการทำฟุตบอลในประเทศปากีสถาน
ทำไมปากีสถานถึงเป็นประเด็น? ก้เพราะประเทศนี้มีความสำคัญต่อวงการฟุตบอลเป็นอย่างมาก ประมาณการกันว่าในช่วงทศวรรษที่ 1990’s นั้น 80% ของลูกฟุตบอลที่เย็บด้วยมือในโลกนี้เย็บขึ้นในปากีสถาน และสามในสี่ของจำนวนนี้มาจากเมืองเดียวคือ เซียลคอต (Sialkot) ทั้งนี้การเย็บลูกฟุตบอลในเซียลคอตเริ่มมาตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เพื่อป้อนให้กับกองทัพอังกฤษในอินเดีย
 
“แทงโก้” (Tango) ลูกฟุตบอลที่ใช้ในทัวร์นาเมนท์การแข่งขันฟุตบอลโลกและกีฬาโอลิมปิคปี 1984 ที่สเปน (ภาพจาก soccerballworld.com)
ผลงานก้องโลกจากการขูดรีดแรงงานในเมืองเซียลคอตที่ใครอาจจะไม่ทราบก็คือที่นี่เป็นฐานการผลิตลูกฟุตบอลที่คลาสสิคที่สุดรุ่นหนึ่งของ Adidas คือ “แทงโก้” (Tango) ที่เป็นลูกฟุตบอลที่ใช้ในทัวร์นาเมนท์การแข่งขันฟุตบอลโลกและกีฬาโอลิมปิคปี 1984 ที่สเปน
ก่อนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปที่อังกฤษในปี ค.ศ.1996 จะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเวลานั้นลูกฟุตบอลที่เย็บด้วยมือจะต้องเย็บ 1,800 ครั้งต่อฟุตบอลหนึ่งลูกและได้ค่าแรงเพียง 27 PKR (ปากีสถานรูปี)  และแรงงานเด็กที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้จะไม่ได้ไปโรงเรียนต้องช่วยพ่อแม่เย็บลูกฟุตบอลอยู่ที่บ้าน องค์กร Save the Children เปิดเผยว่า 81% ของเด็กเย็บลูกฟุตบอลประมาณ 5,000 – 7,000 คน ทำงานเพื่อหาเงินมาเป็นค่าปัจจัยในการดำรงชีพ ซึ่งมันไม่ใช่หน้าที่ของเด็กเลย เหล่าเอ็นจีโอ นักเคลื่อนไหวทางสังคม องค์กรแรงงาน จึงได้ร่วมกันผลักดันให้มีข้อตกลง Atlanta ดังที่ได้กล่าวไป แต่ผลของมันไม่ได้ทำให้แรงงานเด็กหายไป หากเป็นแค่การเพิ่มค่าแรงในการเย็บลูกฟุตบอลเป็น 40 PKR ต่อลูกฟุตบอลหนึ่งลูก ยังมีการลักลอบใช้แรงงานเด็กอยู่ และแรงงานที่นั่นยังคงแร้นแค้นเหมือนเดิม
สภาพการจ้างในอุตสาหกรรมเย็บลูกฟุตบอลในปากีสถาน
ปัจจุบันปากีสถานเป็นประเทศอันดับสองที่ส่งออกลูกฟุตบอลมากที่สุดรองจากประเทศจีน และแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ก็พบกับความยากลำบาก
ในปี 2008 รัฐบาลปากีสถานได้เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจาก 4,800 PKR เป็น 6,000 PKR (ประมาณ 73.8 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน แต่จากแบบสอบถามของ ILRF ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแรงงานเย็บลูกฟุตบอลไม่ได้รับค่าแรงตามกฎหมายนี้ และยังไม่พอต่อความเป็นจริงของค่าครองชีพค่าใช้จ่ายในปากีสถาน

Bahaar ชายวัย 30 ปี ทำงานให้กับบริษัทซัพพลายเออร์ Vision Technology Corporation โดยเขาเป็นแรงงานชั่วคราวได้รับค่าแรงรายชิ้น ได้รายได้รวมเพียง 3600 PKR (ประมาณ 44.2831 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ซึ่งยังต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายถึง 40% และรายได้ของเขาเองนั้นก็ไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายของครอบครัว ที่มีค่าใช้จ่าย 13,200 PKR (ประมาณ 162 ดอลลาร์สหรัฐ)
Yalda คุณแม่ลูกสี่ ได้รับค่าจ้างจากการเย็บลูกฟุตบอล 40 PKR ต่อลูก ทำงานสัปดาห์ละ 6 เธอมีรายได้รวมจากการเย็บลูกฟุตบอลนี้ 5000 ถึง 5500 PKR (ประมาณ 61-68) ต่อเดือน ซึ่งมันยากลำบากมากต่อการรับผิดชอบต่อการให้การศึกษาของลูกๆ ซึ่งการศึกษาในปากีสถานดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินไปสำหรับคนจน

ด้านสุขภาพและอนามัย จากรายงานพบว่าพบว่างานที่มีลักษณะซ้ำๆ ทำให้คนงานพบกับปัญหาจากลักษณะงานที่ต้องนั่งยองๆ หรือคุกเข่าเป็นเวลานาน ทำให้มีการปวดเมื่อยตามร่างกายและมีอาการมือและขาบวม มีอาการปวดเมื่อยตาม ขา ท้อง ไหล่และข้อต่อ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย น้ำดื่มสะอาดไม่เพียงพอและสถานที่ทำงานไม่มีอากาศถ่ายเท
ด้านสิทธิแรงงานสิทธิในการรวมตัวเจรจาและต่อรองนั้นพบว่า แรงงานมีสิทธิน้อยมากซึ่งเหมือนกับในหลายๆ ที่ ทั้งที่ตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญปากีสถาน ได้ระบุเรื่องสิทธิที่จะจัดตั้งสมาคมหรือสหภาพแรงงานไว้ "ทุกคนมีสิทธิในการสมาคมหรือสหภาพแรงงาน ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายที่กำหนดไว้ หรือขัดต่ออธิปไตยหรือความมั่นคงของปากีสถานสาธารณะหรือศีลธรรมอันดีของประเทศ" แต่จากรายงานของ ILRF แรงงานในอุตสาหกรรมนี้เป็นแรงงานเหมาค่าแรงรายชิ้น รวมถึงมีจำนวนน้อยมากที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานขาดพลังในการต่อรองกับนายจ้าง
2.
ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันแอฟริกาใต้ 2010 อย่างเป็นทางการ “จาบูลานี” (Jabulani) ใช้ในการแข่งขันรอบแรกถึงรอบรองชนะเลิศ และ “โจบูลานี” (Jo'bulani) ที่จะใช้ในนัดชิงชนะเลิศ (ที่มาภาพ shine2010.co.za)
สำหรับการแข่งขันในปี 2010 นี้ ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันในมหกรรมฟุตบอลโลก“จาบูลานี” (Jabulani) และ“โจบูลานี” (Jo'bulani) ที่จะใช้ในนัดชิงชนะเลิศ ได้รับการกล่าวขวัญถึงพอสมควร โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย รวมถึงพิษสงที่ทำให้เมื่อออกจากเท้าผู้เล่นแล้วมีความเร็วและแรง สร้างปัญหาให้กับผู้รักษาประตู และคาดหมายกันว่าจะเกิดการทำประตูที่สวยงามไม่มากก็น้อยในทัวร์นาเมนท์นี้
จากข้อมูลของ Adidas “จาบูลานี” และ “โจบูลานี” นั้นเป็นลูกฟุตบอลที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในประวัติศาสตร์ทำให้เป็นลูกฟุตบอลที่กลม ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกนำมาใช้ก็คือ “GripnGroove” ที่จะเพิ่มเล็ดและร่องบนผิวลูกบอลเพื่อสัมผัสบอลที่แม่นยำ โดยผิวชั้นนอกของลูกฟุตบอลจะมีชิ้นส่วนทั้งหมด 8 ชิ้นที่จะใช้การประกอบกันโดยเทคโนโลยี 3 มิติ ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการอัดด้วยแรงดันความร้อน 3 มิติ ทำให้ลูกฟุตบอลมีความกลมกลึงสมบูรณ์แบบที่สุด ตามการออกแบบและวิจัยโดยมหาวิทยาลัยลาฟโบโร (Loughborough University) ของประเทศอังกฤษ โดยทาง Adidas กล่าวว่าจาบูลานี จะมีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากที่สุดยามลอยกลางอากาศ และยังยึดเกาะเป็นเยี่ยมในทุกสภาพอากาศ และทุกสภาพพื้นผิวของสนาม
ซึ่งในด้านการผลิต “จาบูลานี” และ “โจบูลานี”  ยังคงเป็นที่คลุมเครือ แต่มีข่าวกระเซ็นกระสายออกมาว่า“จาบูลานี” และ “โจบูลานี” ผลิตจากโรงงานในไต้หวัน และมีการเชื่อมโยงถึงซัพพลายเออร์จากทั้งในประเทศจีนและปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงาน
ถือว่าเป็นความท้าทายขององกรสิทธิแรงงานที่ต้องค้นหาความจริงของสายพานการผลิตลูกฟุตบอลเทคโนโลยีสุดล้ำหน้านี้มาเปิดเผยต่อวงกว้างต่อไป
แหล่งข้อมูล:
ฟุตบอล ประเด็นเล็ก สะท้านโลก (ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล แปลจาก Trigger Issue: Football, Cris Brazier, โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2552)
คอลัมน์: ฟรีสไตล์จากอังกฤษ: สิ่งละอันพันละน้อยในฟุตบอลโลก 2010 (ณัฐวุฒิ ประเทืองศิลป์
, เดลินิวส์, 4-6-2010)
Missed the Goal for Workers: The Reality of Soccer Ball Stitchers in Pakistan, India, China and Thailand (An International Labor Rights Forum report, 7-6-2010)
South Africa’s World Cup Brims with Broken Promises (Michelle Chen, inthesetimes.com, 9-6-2010)
http://en.wikipedia.org/wiki/Adidas_Jabulani (เข้าดูเมื่อ 11-6-2010)
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นายกฯ ระดมนักวิจัย 28 องค์กรร่วมแผนปรองดอง

Posted: 11 Jun 2010 12:50 PM PDT

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้บริหารองค์การมหาชน 28 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ นำโดยนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)มาหารือเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแผนปรองดองแห่งชาติ

<!--break-->

เว็บไซต์แนวหน้ารายงานว่า ที่ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้บริหารองค์การมหาชน 28 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ นำโดยนางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)มาหารือเพื่อระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแผนปรองดองแห่งชาติ ทั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

โดยนายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชี้แจงถึงแนวทางตามแผนปรองดองทั้ง 5 ข้อที่ได้ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมแผนไปเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ว่า สภาพปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาความมั่นคง เกิดความรุนแรงซึ่งสาเหตุเนื่องมาจากแกนนำนปช.ทำตามการส่งสัญญาณจากคนที่ อยู่ต่างประเทศที่ไม่ยอมให้รับเงื่อนไขที่ตนเสนอการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.2553 และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นถือเป็นอุทธาหรณ์ ถ้าไม่ระมัดระวังภาพความรุนแรงมันก็จะซึมเข้าอยู่ในความรับรู้และมีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของคนได้ อย่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่เป็นหนึ่งในองค์การมหาชนก็เป็นเหยื่อของสภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ภายในสัปดาห์หน้านี้จะมีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบของสำนักเลขาธิการปฏิรูปประเทศไทย และมีความมั่นใจว่าสังคมไทย 80 % เห็นด้วยกับแผนปรองดองเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยที่ประกาศไป แต่จะมีคนอย่างน้อยประมาณ 20 % ที่ยังระแวง ต่อต้าน คัดค้านเพราะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนกลุ่มนี้ยังแสดงจุดยืนท่ช ดเจนอยู่ ซึ่งเราไปห้ามเขาไม่ได้ แต่เราก็ไม่ได้ไปทอดทิ้งคนกลุ่มนี้ เราต้องเข้าไปให้ถึงคนอีก 20 % นั้นให้ได้ และองค์กรภาคส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากภาครัฐจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่อยู่ในการเมืองแน่นอนหรือกลไกของรัฐหรือราชการ

จากนั้นนายกฯได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารองค์การต่างๆ แสดงความคิดเห็น แต่ความเห็นที่น่าสนใจคือ นางปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า เกี่ยวกับความแตกต่างความเหลื่อมต่ำสูงในสังคมมีจริงและรุนแรง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ในประเทศไทยมีความอคติในวัฒนธรรมสูงมาก โดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าดูในสื่อทำไมคนอีสานถึงต้องเป็นคนใช้ตลอด ต้องกินส้มตำ ขณะที่จริงๆแล้วชนบทอีสานเปลี่ยนแปลงมากมีนักวิจัยบางคนได้เทียบอัตราจำนวน ต่อจำนวนแล้วคนอีสานมีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตมากกว่าคนกรุงเทพฯ เพราะไป ทำงานต่างประเทศแต่ภาพเหล่านี้ไม่ได้รับการสรรเสริญ เรายังเห็นว่าคนกรุงเหนือกว่าคนชนบทฉลาดกว่า มีการศึกษาสูงกว่า ถูกหลอกยากกว่าทำอย่างไร ทัศนคติเหล่านี้จะได้รับการแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องที่เอาจับยาก และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมันตอกย้ำอคติดังกล่าวว่าคนจากต่าง จังหวัดหรือชาวบ้านไม่รู้  หรือไม่มีสำนักทางการเมืองถูกหลอก ซึ่งเป็นอคติซึ่งคนกรุงเองต้องแก้ไขความเข้าใจของตัวเอง ถ้าจะปรองดองเราต้องยอมรับว่าหลายอย่างเราไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต้องยอมว่าเรามีความแตกต่าง ต้องยอมรับว่าสังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมปิดล็อก เยาวชนที่มีภาษาแตกต่างกัน ทัศนการเมืองแตกต่างกัน มีความหวังในชีวิตแตกต่างกันแต่ทำอย่างไรเราจะมาอยู่ร่วมกันในฐานะเพื่อน ร่วมแผ่นดินที่ปัญหาร่วมกัน ต้องสร้างพื้นที่ให้คนที่คิดไม่เหมือนกันมาคุยกัน อาจต้องพัฒนาไม่ใช่เฉพาะที่ภาคใต้ตอนนี้ทั่วประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ วัฒนธรรมในการที่จะอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

นาง ปริตตา กล่าวว่า การเผยความจริงออกเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อนำไปสู่ความยุติธรรม ความเป็นธรรม แต่เราได้แต่ความจริงไม่ได้หัวใจความเกลียด ความโกรธแค้น ความเดือดดาลจะไม่หายไป คิดว่าการเก็บความจริงไม่ง่ายที่จะดำเนินการโดยรัฐซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่กรณี ทำอย่างไรเราจะสร้างพื้นที่เพื่อให้ทุกคนเต็มใจที่จะเล่าเรื่องของตัวเอง และอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญแต่เป็นเรื่องราวของมนุษย์เพื่อที่จะทำให้เรา เห็นว่าเขาก็เป็นมนุษย์เราก็เป็นมนุษย์ เหตุการณ์สงคราม ความรุนแรงมักจะลดทอนความเป็นมนุษย์ถ้าเราเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ที่ถือปืน ทำให้นองเลือด เป็นผู้ที่ปราบปรามเป็นผู้กดขี่ หรือเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงทำอย่างไรที่เราจะมีวิธีจะเก็บเรื่องราวซึ่ง หลายประเทศหลายเหตุการณ์จะมีการเก็บเรื่องเล่าที่จะทำให้เห็นว่าทุกคนก็เป็น มนุษย์ ทุกคนก็ผิด ทุกคนมีความโกรธ มีความรัก วิธีทำอาจต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย เช่น เครือข่ายในชุมชนเองจะต้องเก็บความจริงเอง และอย่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรคิดว่ามีเครื่องมือเก็บข้อมูลได้โดยปราศจาก ความระแวงลดความระแวงให้น้อยที่สุด เราน่าจะมีพื้นที่หรือคลังเพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของคลังความจริง อันนี้ เพื่อให้เด็กสักคนที่มาร่วมรู้สึกเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งนั้น และเราสามารถเป็นเพื่อนมนุษย์เดียวกันต่อไปได้

ที่มา: http://www.naewna.com

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิทรรศการภาพถ่าย: “ผู้หญิงพิการ: แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า”

Posted: 11 Jun 2010 12:40 PM PDT

อิสระอภิลักษณ์ พวงแก้ว ช่างภาพอิสระถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตและการทำงานของผู้หญิงพิการจำนวน 25 คนจากหลากหลายอาชีพและหลากหลายความพิการ เผยแง่มุมที่มักไม่ถูกพูดถึงในสังคมไทยของผู้หญิงพิการในฐานะ แรงผลักดัน ผู้สร้างสรรค์และผู้ให้

<!--break-->

องค์การคนพิการสากล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ จัดนิทรรศการภาพถ่ายในหัวข้อ “ผู้หญิงพิการ: แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า” วันที่ 17 - 27 มิ.ย. 53 ณ บริเวณโถงชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นิทรรศการภาพถ่ายขาวดำจำนวน 50 ภาพ ถ่ายทอดโดยช่างภาพอิสระอภิลักษณ์ พวงแก้วซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตและการทำงานของผู้หญิงพิการจำนวน 25 คนจากหลากหลายอาชีพและหลากหลายความพิการ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงแง่มุมที่มักไม่ถูกพูดถึงในสังคมไทยของผู้หญิงพิการในฐานะของการเป็นแรงผลักดัน ผู้สร้างสรรค์และผู้ให้

โดยวันที่ 17 มิ.ย. จะมีการเปิดนิทรรศการเวลา 13.00-16.00 น. ณ บริเวณโถงชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีการเสวนาเรื่อง“เรื่องเพศของหญิงพิการ เรื่องต้อง (ไม่) ห้าม” ซึ่งนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิคนพิการและศิลปิน นำโดย ดร. เพ็ญจันทร์ ประดับมุข- เชอร์เรอร์ คณะสังคมศาสตร์ฯ ม. มหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศวิถีของคนพิการ คุณนิวัติ กองเพียร ศิลปินและนักวิจารณ์งานศิลปะ ฯลฯ จะร่วมพูดคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพศวิถีและความสำคัญของสิทธิทางด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของหญิงพิการ รวมทั้งรับฟังประสบการณ์ที่น่าประทับใจของตัวแทนหญิงพิการ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน

ภาพตัวอย่างที่จะได้ชมจากนิทรรศการ

000

กำหนดการ
พิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “หญิงพิการ: แรงบันดาลใจ ความงามและคุณค่า”
และเสวนา “เรื่องเพศของหญิงพิการ เรื่องต้อง (ไม่) ห้าม”
วันที่ 17 มิถุนายน 2553
ณ บริเวณโถงชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

12.30 – 13.00 น.  ลงทะเบียน
13.00 – 13.10 น.  ผู้จัดการโครงการกล่าวแนะนำโครงการ
13.10 – 13.30 น.  หัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากล  ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัด   นิทรรศการและเชิญประธานเปิดงาน  
13.30 – 14.00 น.  ประธานกล่าวเปิดงานและเดินชมภาพถ่ายภายในงาน  
14.00 – 14.15 น.  พักและเตรียมการเสวนา 

14.15 - 15.15 น.  เสวนา “เรื่องเพศของหญิงพิการ เรื่องต้อง (ไม่) ห้าม” ร่วมเสวนาโดย
  ดร. เพ็ญจันทร์ ประดับมุข- เชอร์เรอร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศวิถีของคนพิการ
  คุณนิวัติ กองเพียร ศิลปินและนักวิจารณ์งานศิลปะ
                                            คุณเสาวลักษณ์ ทองก๊วย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิคนพิการ หัวหน้าสำนักงานองค์การคนพิการสากล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  ดำเนินการเสวนา โดย คุณสายสวรรค์ ขยันยิ่ง

15.15 – 16.00 น. แบ่งปันประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจ โดย
  คุณจิณฑาทิพย์ ศิลโสภิต เจ้าของธุรกิจฐานการ์เมนท์
  คุณพัชราวัลย์ แสงสุนทร อดีตนักแสดงจากภาพยนต์ “ผู้ชายชื่อต้น ผู้หญิงชื่อนุช”
  คุณโยชิมิ โฮริอุจิ  ผู้ก่อตั้งคาราวานหนอนหนังสือ “ออลเวยส์ รีดดิ้ง คาราวาน”
  ร่วมพูดคุยโดยอภิลักษณ์ พวงแก้ว ช่างภาพผู้ถ่ายทอดเรื่องราว
16.00 น.  กล่าวขอบคุณและปิดงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ประสานงาน คุณ สุรีพร ยุพา - โทร 02 271 2123 มือถือ 086 7183140 อีเมล tum_org@yahoo.com
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ให้เหตุผล "ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดไม่ต่างจาก ดร.สุธาชัย"

Posted: 11 Jun 2010 11:10 AM PDT

ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอควบคุมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขตามคำร้องของ ศอฉ. โดยระบุว่า "เห็นว่าผู้ร้องคัดค้านถูกควบคุมตัวพร้อมกับ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อย อีกทั้งไม่ปรากฏว่าในกรณีของผู้ร้องคัดค้านจะมีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดแตกต่างจากดร.สุธาชัยแต่อย่างใดในชั้นนี้ จึงให้ยกคำร้อง"

<!--break-->

เวลาประมาณ 12.00 น. ศาลยกคำร้อง ศอฉ.กรณีขอคุมตัว “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” ต่อครั้งที่ 3 ชี้ ไม่มีความจำเป็น เหตุความวุ่นวายสิ้นสุดแล้ว

ทั้งนี้ กำหนดควบคุมรอบที่ 2 ตัวของ นายสมยศ จะสิ้นสุดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.นี้ โดยวันศุกร์ ที่ 10 เป็นวันสุดท้ายที่เจ้าหน้าที่ต้องไปขอขยายเวลา เจ้าหน้าที่ตาม อย่างไรก็ตาม นายสมยศได้ร้องคัดค้าน และศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอควบคุมตัวของ ศอฉ. โดยระบุว่า "เห็นว่าผู้ร้องคัดค้านถูกควบคุมตัวพร้อมกับ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อย อีกทั้งไม่ปรากฏว่าในกรณีของผู้ร้องคัดค้านจะมีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดแตกต่างจากดร.สุธาชัยแต่อย่างใดในชั้นนี้ จึงให้ยกคำร้อง"

นายสมยศ ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ค. พร้อมกับ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และถูกนำไปควบคุมตัวไว้ที่ค่ายอดิศร จ.ลพบุรี ซึ่งดร. สุธาชัยได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรถไปรับตัวออกมาจากค่ายอดิศร แล้วนำตัวมาส่งที่ สน.นางเลิ้ง เพื่อสอบปากคำและทำเอกสาร จากนั้นจึงมีญาติมารับและเดินทางกลับบ้าน ทั้งนี้ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้อนุญาตให้ปล่อยตัว ทราบเพียงว่ามีตำรวจจากกองปราบวิทยุมาที่ค่ายทหารให้ปล่อยตัวก่อนเวลาที่จะถูกนำตัวออกมาไม่นานนัก

ก่อนหน้านี้มีกอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการได้ร่วมกันออกมาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสุธาชัย ขณะที่เครือข่ายแรงงานทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศก็ออกแถลงการณ์และร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศเช่นกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์ศราวุฒิ ประทุมราช: “นปช. ทุกคนคือนักโทษการเมือง…ความผิดของนักโทษการเมืองคือไม่มีความผิด”

Posted: 11 Jun 2010 10:11 AM PDT

<!--break-->

ท่ามกลางกระแส ปรองดอง และการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ที่รัฐบาลประกาศแล้วว่าดร. คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด และนักวิชาการกฎหมายผู้เชี่ยวชาญคดีอาญา จะเป็นหัวเรือใหญ่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จัดการความจริงต่อกรณีการสังหารประชาชน และความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเดือน เมษายน และเดือน พฤษภาคม กระทั่งมีคนตายไปแล้วกว่า 91 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 1,800 คน

ประชาไทสัมภาษณ์ ศราวุฒิ ประทุมราชว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการสลายการชุมนุม ในฐานะนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนไทยที่ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบก่อนการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

ศราวุฒิ เป็นนักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน ให้กับสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มาเป็นเวลานาน และเขาเป็นนักสิทธิมนุษยชนในจำนวนน้อยนิดที่ออกมาเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “คนเสื้อแดง” เขาระบุด้วยว่า สิ่งในฐานะที่คิดต่างกับรัฐ นปช. ทุกคนมีสถานะเป็นนักโทษการเมือง ซึ่งไม่มีความผิด และจะต้องได้รับการปล่อยตัวในทันที

ประชาไท: ทางออกของกรณีการสอบข้อเท็จจริงของกรณีการสลายการชุมนุมในมุมมองของคุณที่เป็นนักสิทธิมนุษยชนและเป็นนักกฎหมายด้วย  คืออะไร

ศราวุฒิ:  การตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงมันเป็นหลักการที่มักจะเกิดขึ้นหลังความรุนแรงในหลายๆ ประเทศ  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มักจะตั้งกัน ปัญหาก็คือว่ามันมักจะเกิดขึ้นเสมอในประเทศที่มีปัญหาว่ารัฐที่เป็นผู้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและเป็นผู้ปราบปรามประชาชน แล้วรัฐมีความชอบธรรมแค่ไหนที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบตัวเอง จริงคณะกรรมที่ตั้งขึ้นมารัฐอาจจะไม่มีความตั้งใจที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการละเมิดของตัวเองแต่รัฐอาจจะมีข้อสมมติฐานว่าเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่เกิดความรุนแรงนั้นอาจจะไม่ได้เกิดจากรัฐ และถ้ามีสมมติฐานแบบนี้ปั๊บ คุณอภิสิทธิ์ก็อาจจะบอกว่าผมไม่ได้รับรายงานหรือไม่มีเหตุอะไรที่ควรจะเชื่อได้ว่าทหารยิงเข้าไปในวัดปทุมฯ หรือ คนทุกคนในที่เกิดเหตุที่ถูกทหารยิงเพราะว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง หรือมีผู้ก่อการร้ายแฝงอยู่ซึ่งการพูดแบบนี้ซ้ำซากเป็นการทำลายความชอบธรรมของการชุมนุมโดยสงบของคนเสื้อแดง แต่ฝ่ายคนเสื้อแดงก็มีจุดอ่อนว่าไม่ยืนยันชัดเจนว่าคนที่มีอาวุธที่อยู่ในที่ชุมนุมนั้นเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเขาพูดแต่เพียงว่ามีกองกำลังที่จะช่วยเขาอยู่ ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าเป็นความคลุ่มเครือ ไม่ว่าจะพูดทีเล่นที่จริง หรือมีความหมายอย่างนั้นจริงๆ ก็ตาม ก็ทำให้คนในสังคมมีความเคลือบแคลงต่อคนเสื้อแดง แต่ถ้าถามว่ารัฐบาลมีความชอบธรรมในการตั้งคณะกรรมการไหม ผมมองว่าไม่มีความชอบธรรม

ประชาไท: แปลว่าถ้าผู้ชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง หรือมีกองกำลัง ความชอบธรรมของผู้ชุมนุมก็จะลดลงทำให้รัฐบาลมีความชอบธรรมในการปราบปรามผู้ชุมนุมมากขึ้นใช่ไหม
ศราวุฒิ: ก็ต้องไปปราบกองกำลัง ไม่ใช่ปราบคนเสื้อแดง หรือการชุมนุมทั้งหมด ผมว่านี่ต้องแยกให้ชัดเจน เรื่องนี้ต้องแยกให้ชัดในเชิงหลักการ เหมือนกับถ้าเรามีการเดินขบวนกันไปตามท้องถนนอย่างสงบแล้วมีคนๆ หนึ่งไปทุบเสาไฟไฟฟ้า ทำลายสิ่งของสาธารณะ หรือทุบรถยนต์ ก็อาจจะติดกับหลุมพรางตรงนี้ว่า นี่เห็นไหมการชุมนุมมีความรุนแรง แต่ลืมไปว่าการกระทำความผิดกฎหมายอาญา ใครกระทำความผิดคนนั้นต้องรับผิดชอบ ในที่ชุมนุมคนไหนทำอะไรก็เป็นความรับผิดชอบส่าวนตัวแต่ไม่เกี่ยวกับคนทั้งหมด เพราฉะนั้นถ้าเกิดรัฐบาลอ้างว่ามีคนชุดดำ มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายอยู่ในที่ชุมนุม คุณก็มีหน้าที่ต้องไปสืบสวนสอบสวนหามาให้ได้ แต่ไม่ใช่บอกว่าทั้งที่ชุมนุมนั้นมีคนชุดดำแอบแฝงอยู่ผมก็จะกระชับพื้นที่ อันนี้อันตราย จะเหมารวมว่าผู้ชุมนุมทั้งหมดใช้ความรุนแรงซึ่งมันไม่ใช่ บางคนเขามาเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยแล้วมันถูกกลบความต้องการ เป้าหมายตรงนี้ไป

ประชาไท: ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำในเบื้องต้นอะไร
ศราวุฒิ: สิ่งที่ต้องทำคือต้องลาออกก่อน แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง แล้วถ้าคุณอภิสิทธิ์ต้องลาออกแล้วหาคนอื่นมาทำหน้าที่แทน ให้เป็นสิ่งที่รับกันได้ก่อน

ประชาไท: นายกต้องลาออกก่อนหรือ
ศราวุฒิ:  ต้องลาออก แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง แล้วคนใหม่ที่เข้ามาก็จะมีอำนาจที่จะสั่งการตั้งคนหรือตั้งคระกรรมการที่จะตรวจสอบโดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจรัฐหรือผู้สั่งการเดิม แล้วก็เอาคดีขึ้นสู่ศาลเป็นเรื่องๆ ไป เช่นคดีที่ตายระหว่างการปราบปราม ตั้งแต่วันที่ 10 ต้องถือว่าเป็นการตายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องมีการไต่สวนการตาย ซึ่งศาลและหมอนิติเวชจะเป็นผู้พิสูจน์ว่าการตายตายที่ไหน ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นการตายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐก็มาสู้เรื่องการสอบสวนในคดีอาญา ว่าเจ้าหน้าที่คนไหนไปยิงคนไหน คนที่เสียชีวิตนั้นอยู่ในความควบคุมของหน่วยงานไหน เช็คไม่ยากเพราะคำสั่งต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจน ไม่ว่าจะสั่งทางโทรศัพท์หรือเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ต้องมีผู้รัดผิดชอบชัดเจน ในแง่คำสั่ง และเนื่องจากเป็น พ.ร.ก. ฉุกเฉินตรวจสอบโดยศาลปกครองไม่ได้ก็ต้องไปใช้ศาลอาญาและศาลแพ่ง ทุกกรณีไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมที่จะฟอกความถูกผิด และทั้งนี้ต้องมีกลไกพิสูจน์ศพอย่างถูกต้องและเอาพยานทุกฝ่ายมาสอบกันในศาล ซึ่งมักเข้าใจผิดกันว่าในชั้นนี้ญาติผู้เสียชีวิตไม่ต้องมาในขั้นศาลก็ได้ เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้กระทำ แต่จริงๆ แล้วการไต่สวนนี้มีความสำคัญเพราเหตุว่าจะนำไปสู่การได้หลักฐานถ้าได้ซักถามมีข้อสงสัยในหลักฐานการชันสูตรที่ได้มาก็จะนำไปสู่การดำเนินคดีได้

ประชาไท: ทั้งหมดนี้ใช้กระบวนการตามปกติ
ศราวุฒิ: กระบวนการตามปกติครับและผมคิดว่าศาลเองน่าจะแสดงบทบาทในเชิงเป็นองค์กรในการควบคุมความชอบธรรมของหลักกฎหมายหลักนิติธรรม

ประชาไท: มีคดีที่เกี่ยวเนื่องเช่น การจับกุมคุมขัง เช่น กรณีของนักโทษออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าตัวเองเป็นนักโทษการเมือง
ศราวุฒิ: การจับคนที่วันที่ 19 หลังการสลายการชุมนุมผมถือว่าไม่ควรถูกจับ เพราะเขาเป็นนักโทษการเมืองเขาไปเรียกร้องประชาธิปไตย เขาไม่ได้ทำอะไรผิด การชุมนุมไม่ผิดกฎหมายนะครับ ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่รัฐไปฟ้องคดีแกนนำเป็นคดีก่อการร้าย ซึ่งศาลก็ไม่ได้อธิบายว่าพฤติการณ์อะไรของแกนนำที่เข้าข่ายการก่อการร้าย ซึ่งต้องมีการอุทธรณ์ แต่เข้าใจว่าไม่มีเพราะหมดอายุความอุทธรณ์แล้ว แต่ว่าแม้กฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินบังคับอยู่แต่ไม่ตัดสิทธิการที่ศาลจะมามีอำนาจ ผู้ชุมนุมที่อยู่ในวันที่ 19 รัฐบาลก็ประกาศให้ออกมามอบตัว มันไม่มีลักษณะที่บอกว่าถ้าคุณออกมาแล้วจะปลอดภัย ไม่ถูกจับ ขณะเดียวกันกลับมีลักษณะว่าถ้าอยู่ต่อผมยิงคุณตายได้นะ มันขัดกับหลักนิติธรรม นิติรัฐ ซึ่งฮิตเลอร์ก็ใช้หลักนิติรัฐไม่ต่างกับ

ประชาไท: ไม่มีการชุมนุมที่ผิด แต่ของไทยมันไปผิดกฎหมายอื่น เช่น กีดขวางการจราจร
ศราวุฒิ: ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเมื่อเสรีภาพหนึ่งได้ใช้อาจต้องมีการสละ และสังคมไทยต้องเรียนรู้  จริงๆ เราก็เรียนรู้กันมานานแล้ว  เมื่อ 14 ตุลา นักศึกษาประชาชนปิดถนนราชดำเนิน คนในกรุงเทพฯ ก็ใช้เส้นทางอื่นได้ โอเค คนในยุคนั้นอาจจะเกิดความเข้าใจได้ว่า ผู้คนในสังคมสนับสนุนการชุมนุม แต่ว่า การชุมนุมนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะเราไม่มีเครื่องมือในการพูดถึงการแก้ปัญหา เพราะว่ากว่าบ้านเร่าจะเกิดการชุมนุได้ต้องผ่านการร้องเรียนมาจากหลายหน่วยงาน ทำให้ต้องชุมนุมยืดเยื้อ จะไปเปรียบเทียบกับบ้านอื่นเมืองอื่นเขาชุมนุมกัน 3 ชม. ก็เลิก นั่นคือเขามีกลไกการแก้ปัญหา ต้องพูดให้ครบถ้วน ไม่งั้นก็มองแค่ปรากฏการณ์

ประชาไท: แต่ที่ผ่านมา  ใช่ว่ามีการยอมรับว่าการชุมนุย่อมเกิดการรอนสิทธิ แต่มีการกล่าวอ้างเรื่องความเสียหายหลายหมื่นล้าน
ศราวุฒิ: โอเค การชุมนุมครั้งนี้อาจจะมองว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสองขั้ว  แต่สิ่งที่ประชาชนต้องฟังหรือวิเคราะห์คือเราเห็นด้วยกับอำนาจหรือแง่มุมของฝ่ายไหน ถ้าเห็นว่ารัฐบาลนั้นไม่ชอบธรรมแล้วตั้งแต่ต้น ก็ควรสนับสนุนคนเสื้อแดง แต่คนไปติดกับอยู่ตลอดเวลาว่าเสื้อแดงมีทักษิณหนุนหลัง ซึ่งนี่เป็นการโยนบาปให้คนๆ เดียว ซึ่งไม่ใช้ อย่าลืมว่าการเมืองนั้นมีคนหลายกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง มีประชาชน มีนักธุรกิจ ฯลฯ เมื่อประชาชนมาพูดเสียงไม่ดังเท่านักธุรกิจ เมื่อพูดเรื่องความเสียหาย เราต้องดูว่ามีการละเมิดกฎหมายอื่นหรือไม่ ที่นอกเหนือจากไปการปิดถนน และคนที่เดือดร้อนก็ต้องฟังผู้ชุมนุมให้เขาได้ใช้สิทธิ ซึ่งถ้าผมพูดออกไปหลายคนก็ส่ายหัว รับไม่ได้ แต่คำถามคือ จะให้เขาไปชุมนุมที่ไหน เพราะการชุมนุมคือการกดดัน จะให้เขาไปชุมนุมที่สนามหลวงโดยที่ไม่มีใครสนใจหรือ นี่คือวิธีที่สันติที่สุดแล้ว

ประชาไท: คุณยังยืนยันว่าการชุมนุมสันติอยู่หรือ
ศราวุฒิ: โดยรวมผมคิดว่ายังสันติอยู่แต่ถ้าเขาไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าใครมาช่วยเขา วันที่ 10 เกิดอะไรขึ้น  ในความคิดเห็นผม ผมยังมองว่าเป็นความขัดแย้งกันระหว่างทหาร เราไม่มีข้อมูลมาก แต่ทหารบางส่วนอาจจะไม่พอใจว่าทำไมไม่ปราบเสียที ไม่อยู่ใต้อาณัติของผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพล.อ.อนุพงษ์อาจจะมีจุดยืนว่าไม่ใช่หน้าที่ของทหารว่าถ้าปัญหาเรียกร้องของ นปช. มาจากการเมืองต้องให้การเมืองแก้ ผมว่านี่เป็นจุดยืนที่ถูกต้อง ต้องใช้การเมืองนำ ทหารมีหน้าทีปกป้องประเทศ ไม่ใช่เอามาดูแลกการชุมนุม บริบทมันต่างกัน

แต่การชุมนุมมันควรจะมีกรอบ มีช่วงเวลาและสามารถที่จะควบคุมฝูงชนของตัวเองได้ด้วยนะ ที่ผ่านมาเสื้อแดงอาจจะมีปัญหาตรงนี้ เพราะบางทีก็ไม่สามารถควบคุมมวลชน อย่าว่าแต่มวลชนเลย แกนนำเองก็ยังคุมกันเองไม่ได้ ซึ่งนี่ต้องจัดการในแง่ของการจัดการชุมนุม

ประชาไท: คนที่ถูกจับกุมอยู่ตอนนี้จะสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้าง
ศราวุฒิ:  คุณถูกแจ้งข้อหา พ.ร.ก. ฉุกเฉิน หรือถูกแจ้งข้อหาคดีอาญา คือในกฎหมายฉุกเฉินบอกแต่เพียงว่าคุณถูกเชิญตัวมาเพื่อซักถาม แต่กรณีมีคนเสื้อแดงถูกจับตั้งแต่วันที่ 19 ออกจากที่ชุมนุมปุ๊บ มีทหารรออยู่แล้วชี้คนนี้ไปได้ คนนี้ไปขึ้นรถ นี่คือเลือกปฏิบัติชัดเจน คือเลือกดูเสื้อผ้า หน้าตาท่าทางแล้วจากนั้นส่งตัวไปโรงพักไปเรือนจำ ฉะนั้นถ้าคุณถูกจับแค่ว่าขัดคำสั่งเจ้าพนักงานบอกให้เลิกการชุมนุมแล้วไม่เลิก ตรงนี้ผมถือว่าไม่ควรถูกจับ แต่ถ้ามีข้อหาว่าไปวางเพลิง ไปเผาเซ็นเตอร์วัน นั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็ต้องได้พบทนายความ  และไม่ควรเอามาแถลงข่าว อย่างวันก่อนหน้านี้เอาผู้ต้องหามาแล้วบอกว่าวางเพลิงเผาเซ็นเตอร์วัน พอเขาพูดเขาบอกว่าผมไม่ได้เผา ซึ่งถ้าเป็นผม ผมถือว่าชีวิตผม เกียรติยศชื่อเสียงของผมถูกทำลายแล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ต้องให้เขาเข้าใจข้อหา ถ้าเขาบอกไม่ได้เผา คุณก็ต้องมีหลักฐานและต้องบันทึกว่าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ และต้องไม่เอาแถลงข่าว แม้ว่าผู้ต้องหาจะให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับที่ตำรวจจะมาพิจารณาว่าจะเอามาแถลงข่าวหรือไปทำแผนประกอบคำสารภาพ เหมือนกันกับคดีข่มขืน ที่ปล่อยให้ญาติรุมกระทืบ ไม่ต้องพามาให้สะใจ
ผมเห็นว่าต้องปล่อยคนที่ถูกจับในคดีฉุกเฉินทั้งหมด แล้วสงสัยใครก็ใช้สิทธิไปตามคดีอาญาทั่วไป 

ในสมัยหนึ่งเราเคยรณรงค์ให้มีการนิรโทษกรรมคนที่มีการกระทำคอมมิวนิสต์ ก็กลายเป็นไม่มีการฟ้องข้อหาคอมมิวนิสต์แต่ไปฟ้องคดีอาญา

ผู้ต้องหาการเมืองต้องปล่อย คุณสมยศหรือใครๆ ก็ต้องปล่อยออกมาให้หมด เมื่อวานผมเห็นข้อมูลของกองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  มีผู้ถูกจับ 417 คน และก็มีชื่อไปซ้ำกับทางมูลนิธิกระจกเงา ผมเห็นวาบางส่วนมีคดีอาญา แต่ส่วนใหญ่เป็นการความผิดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งผมเห็นว่าต้องปล่อยตัวทั้งหมด เพราะการมาร่วมชุมนุมไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นความผิดทางการเมือง และแม้จะมีการฆ่าพนักงานตามคดีอาญา ถามว่าอยู่ดีๆ ผมจะฆ่าเจ้าพนักงานเรื่องอะไรถ้าไม่ใช่เพราะจุดมุ่งหมายทางการเมือง ในคดีของนปช. เขาใช้อาวุธสงครามประกาศต่อสู้แย่งชิงอำนาจรัฐหรือยัง...ยัง ผมถือว่าเป็นการต่อสู้ทางการเมืองตามปกติ ดังนั้นกรณีที่มีการฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือทหาร ตำรวจอะไรก็ตาม ก็เพราะแรงจูงใจทางการเมือง เพราะเขาถูกจำกัดความคิด เหมือนกันกับภาคใต้

ประชาไท: แม้แต่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าเจ้าพนักงานหรือ
ศราวุฒิ: ใช่ เราต้องปฏิบัติต่อเขาในฐานะที่เขาถูกจำกัดความคิด  เพียงแต่รัฐบาลหลายรัฐไปจับเขาเพื่อเบี่ยงเบนประเด็น การฆ่านั้นจริงหรือไม่จริงต้องไปสู้ในศาล  อย่างกรณีคอมมิวนิสต์ เขาโดนข้อหายิงตำรวจเพื่อแย่งชิงแกนนำ แต่ผู้ต้องหาคนนี้เป็นแพะ ถูกพรรคสั่งให้ไปยอมรับ แล้วก็เอาหลักฐานมา แต่เขายินยอม เขาถือว่านี่เป็นมติของพรรค ในคดีแบบนี้ ต้องถือว่า นปช. ทุกคนเป็นนักโทษการเมือง เพราะจุดมุ่งหมายคือการเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายมาเผา

ประชาไท: แล้วความผิดของนักโทษการเมืองคืออะไร
ศราวุฒิ: จริงๆ  คือมันไม่ควรจะเป็นความผิดไง  คนที่คิดแตกต่างจากรัฐไม่มีความผิดนะ  แต่ว่าถ้ามีความคิดต่างกันไปก็มาสู้กันตามวิถีทางประชาธิปไตยจะลงเลือกตั่งจะสู้อะไร แต่ถ้าไปเผาไปยิง ก็ต้องว่ากันไปเป็นเรื่องๆ  ต้องไปหาข้อเท็จจริง แต่ของเราเวลาเกิดเหตุชุลมุนแล้วก็จับไว้ก่อนไปหาหลักฐานที่หลัง ซึ่งไม่ถูกต้องนะ การฟ้องคดีอาญา คือจุดมุ่งหมายให้เจ้าพนักงานร่วมกันค้นหาข้อเท็จจริง คือถ้าตำรวจตั้งต้นว่าผิด มันไม่ใช่ นี่มันสวนทางกันกับหลักการ ในทางปฏิบัติแล้วละเอียดอ่อนและต้องปฏิรูปการค้นหาความจริง เรายุดหลักนิติธรรมแค่ไหน แล้วรัฐอ้างหลักนิติรัฐ คือรัฐที่ใช้กฎหมาย แต่ไม่มีนิติธรรมได้อย่างไร ถ้าเป็นรัฐที่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ต้องไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง

ประชาไท: การมีคณะกรรมการเพื่อหาข้อเท็จจริง ในประเทศอื่นๆ มีตัวอย่างที่ดีบ้างไหม
ศราวุฒิ: อินโดนีเซีย  มีคณะกรรมการคล้ายๆ กับกรรมการสมานฉันท์ตั้งมาจากบุคคลหลายฝ่ายที่ได้รับการยอมรับในสังคม ตั้งขึ้นหลังจากซูฮาร์โตถูกล้มจากอำนาจ  ตั้งขึ้นมาเพื่อสอบสวนกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการปราบปรามการชุมนุม จะบอกว่าได้คระกรรมการนี้มาแล้วบ้านเมืองเขาสงบเรียบร้อยก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่คระกรรมการที่มาจากรัฐประชาธิปไตยก็เป็นกระบวนการทีประชาชนยอมรับ แล้วของเราคณะกรรมการตั้งขึ้นมาแล้วไปเชิญอาจารย์คณิต ณ นครมา แล้วก็รัฐบาลบอกว่าจะสร้างความปรองดอง ผมว่ามันปรองดองไม่ได้นะ เพราะอำนาจรัฐชุดนี้ยังอยู่ คนก็ยังกลัว อาจารย์คณิตอาจจะเป็นคนเก่ง มีหลักนิติธรรม แต่จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างไรภายใต้ความหวาดกลัวของประชาชน

ประชาไท: แต่ก็คงมีกรรรมการขึ้นมาแน่ๆ คุณอยากบอกอะไรกับอาจารย์คณิต ณ นคร และกรรมการที่จะเข้ามา
ศราวุฒิ:  ประเด็นแรกต้องหาคณะกรรมการที่ไม่เอนเอียง เป็นอิสระ ไม่รู้สังคมไทยจะเข้าใจหรือเปล่า คือเราต้องไม่อยู่ภายใต้อาณัติ แรงกดดัน ไม่เกรงใจใคร ตรงไปตรงมา รู้หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิมนุษยชน  เข้าใจหลักกฎหมายมหาชน  และเข้าใจกระบวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ต้องดูเรื่องปฏิบัติการของทหาร ทำจริงหรือเปล่าที่บอกว่าเบาไปหาหนัก ศพต่างๆ ต้องถูกตรวจสอบโดยนักนิติวิทยาศาสตร์ ประการที่ 2 คือต้องทำงานอย่างรวดเร็วซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะเร็วได้แค่ไหน ภายใต้ภาวะแบบนิ ต้องหาข้อมูลจากหลายๆ ฝ่าย จาก นปช. จากแกนนำ ขณะที่มีการไล่ล่ามีการประกาศตามไล่ล่า หมายจับ ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลอยากจะให้คระกรรมการชุดนี้ งานได้อย่างดีก็ต้องยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินก่อน และต้องไม่จับไม่ฟอง คนที่ถูกจับในวันที่19 เพราะถือว่าเขาเป็นนักโทษทางการเมือง ต้องเอาการเมืองมาแก้

ประชาไท: คุณเคยบอกว่า  เอ็นจีโอก็ไม่เหมาะที่จะมาเป็นกรรมการชุดนี้

ศราวุฒิ: ผมมองจากตัวเองเป็นตัวตั้ง  ว่าตัวเองก็ไม่เป็นกลาง เราอาจจะเข้าข้างรัฐบาล หรือเราอาจจะเข้าข้างฝ่ายแดง  ไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปเป็นผู้ค้นหาความจริง แต่เอ็นจีโอต้องตรวจสอบกรรมการชุดนี้ แต่ถ้ามีเอ็นจีโอคนไหนเข้าไปผมก็ต้องตรวจสอบ และตรวจสอบทั้งคณะ และถ้าเขามีความเชี่ยวชาญเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย ก็ต้องตั้งคำถามกันแรงๆ ว่าหลักการด้านสิทธิมนุษยชนของเขาคืออะไร เพราะว่า ความแตกต่างต้องไม่นำมาสู่การเลือกปฏิบัติ ถ้าคุณเป็นเสื้อเหลือง ก็อย่าเข้ามา หรือเห็นร้ายกับเสื้อแดงก็อย่าเข้ามาเป็นกรรมการชุดนี้ หรือใครบอกให้เอาเหลืองแดงมารวมกันเป็นหลากสี มันไม่จริงหรอก ผมว่าทำงานไม่ได้หรอก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่าลักควายไทย ขอค่าไถ่เป็นทีวี-จานดาวเทียม

Posted: 11 Jun 2010 05:26 AM PDT

สำนักข่าวฉาน รายงานว่า ทหารพม่าตรงข้ามอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ แอบเข้ามาลักควายชาวบ้านฝั่งไทย 20 ตัว ขอค่าไถ่เป็นโทรทัศน์–จานดาวเทียม เจ้าของควายลงขันซื้อทีวีติดจานดาวเทียม พร้อมโทรศัพท์มือถือเติมเงิน ชาวบ้านเชื่อไว้ชมบอลโลก

<!--break-->

(SHAN 11 มิ.ย. 53) - ทหารพม่าตรงข้ามอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ แอบเข้ามาลักควายชาวบ้านฝั่งไทย ขอค่าไถ่เป็นโทรทัศน์ – จานดาวเทียม เชื่อไว้ชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก

มีรายงานจากชาย แดนด้าน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ว่า เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา ชาวบ้านเปียงหลวง ในอำเภอเวียงแหง คนหนึ่งได้รับแจ้งจากทหารพม่า ที่ปักฐานอยู่ชายแดนไทย – พม่า ตรงข้ามวัดฟ้าเวียงอินทร์ บ้านหลักแต่ง ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง ว่า มีควายของชาวบ้านในฝั่งไทยฝูงหนึ่งจำนวน 23 ตัว ได้พลัดเข้าไปในฝั่งพม่า (รัฐฉาน) ขอให้แจ้งผู้เป็นเจ้าของไปพบเพื่อรับควายจำนวนดังกล่าวกลับด้วย

หลังจากชาวบ้านคนดังกล่าวได้ไปสอบหาผู้เป็นเจ้าของควายทราบว่า เป็นของชาวบ้านบ้านใหม่เมืองจ๊อต อยู่ห่างชายแดนประมาณ 3 กม. ซึ่งหลังจากเจ้าของทราบเรื่อง ในช่วงเย็นวันเดียวกัน ได้พากันไปพบทหารพม่า โดยทหารพม่าอ้างว่า ควายฝูงดังกล่าวได้เข้าไปในเขตของตนจึงร่วมกันจับ ไว้ และขอให้นำโทรทัศน์ 1 เครื่อง พร้อมด้วยจานดาวเทียม 1 ชุด และโทรศัพท์มือถือพร้อมเติมเงินไปไถ่เอาคืน หลังชาวบ้านตกลงจะซื้อของที่ต้องการไปให้ ทางฝ่ายทหารพม่าได้คืนควายให้ 20 ตัว ส่วนที่เหลืออีก 3 ต้ว บอกว่าจะปล่อยคืนให้หลังได้รับของแล้ว 

เมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) เจ้าของควายซึ่งมีหลายคนได้ลงขันกันไปซื้อโทรทัศน์ขนาด 21 นิ้ว 1 เครื่อง พร้อมด้วยจานดาวเทียม และโทรศัพท์มือถือพร้อมเติมเงินให้ รวมมูลค่าเกือบ 1 หมื่นบาท นำไปมอบให้กับทหารพม่า จากนั้นทางฝ่ายทหารพม่าจึงได้คืนควายที่เหลือให้ทั้งหมด

ทั้งนี้ เจ้าของควายคนหนึ่งเผยว่า ควายฝูงดังกล่าวถูกปล่อยไว้ในคอกที่ล้อมไว้เป็นบริเวณกว้างในป่า ใกล้ชายแดนด้านทิศตะวันออกของบ้านหลักแต่ง ซึ่งปล่อยไว้นานแล้ว ที่ผ่านมาไม่เคยมีควายตัวใดพลัดข้ามไปในฝั่งพม่า จากการไปตรวจสอบคอกที่ปล่อยไว้พบว่า มีรอยรั้วถูกรื้อถอนและพบรอยร้องเท้าคล้ายของทหารจำนวนมาก คาดว่า ทหารพม่าคงแอบเข้ามาลักต้อนควายออกไปเอง ส่วนเรื่องที่ทหารพม่าได้ขอค่าไถ่เป็นโทรทัศน์ จานดาวเทียม และโทรศัพท์มือถือนั้น เชื่อว่า น่าจะนำไปใช้รับชมการถ่ายทอดศึกฟุตบอลโลก ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในเย็นวันนี้

 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

สำนัก ข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทยใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: คิดวิปริต ปิดประเทศ

Posted: 11 Jun 2010 02:53 AM PDT

<!--break-->

 
 
การปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมตามคำสั่งของผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพ อย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุดที่เริ่มจากวิกฤตเมษาเลือด 10 เมษายน 2553 มาจนถึง 19 พฤษภาคมนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? และจะจบลงอย่างไร? ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่เฉพาะอยู่ในหัวใจอันงุนงงของคนไทยแต่เป็นคำถามที่อยู่ในหัวใจอันงุนงงของคนทั้งโลกเพราะเป็นภาวะวิปริตทางการเมืองของประเทศในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังจะก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเส้นแบ่งระหว่างประเทศที่มีฐานการผลิตเพื่อพออยู่พอกินกับประเทศที่มีฐานการผลิตเพื่อการตลาด แต่แล้วประเทศไทยกลับถูกฉุดกระชากให้ถอยหลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตสงครามกลางเมืองในรูปแบบของประเทศด้อยพัฒนาที่ทำการผลิตเพียงเพื่อพอกิน ปัญหาทั้งหมดมีคำตอบจากระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบพอเพียง ที่มีกระบวนทัศน์ (Paradigm) แปลกประหลาดจากโลกแห่งยุคไซเบอร์ที่ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลวางแผนมาแต่ต้นแล้วคือ “ปราบและปิดประเทศ”
 
โลกแห่งอำนาจต้องคงที่ : วิถีคิดแนวจารีตนิยม
กระบวนทัศน์แห่งอำนาจของระบอบอำมาตย์ที่มีแนวคิดการเมืองแนวจารีตนิยมคือไม่ยอมรับพัฒนาการของการเมืองในระบบโลกแห่งยุคแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ถนนทุกสายมุ่งสู่การรวมศูนย์อำนาจที่มหาชนในฐานะผู้บริโภคและแนวคิดจารีตนิยมทางการเมืองนี้ได้กลายเป็นรากเหง้าปัญหาของประเทศไทยในวันนี้ โดยลักษณะแนวคิดจะเห็นได้จากชนชั้นนำจะดูถูกสามัญชนคนรากหญ้าว่า “โง่ และไม่มีความเข้าใจประชาธิปไตย” และมองระบอบประชาธิปไตยว่า “เป็นระบอบที่เลวร้ายไร้คุณธรรม” แต่พวกเขาไม่อาจจะฝ่าฝืนกระแสโลกได้จึงวางแนวพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลาครึ่งศตวรรษ ให้อยู่ในแนวทางที่นักวิชาการแอนดรู วอล์คเกอร์ (Andrew Walker) จากออสเตรเลียให้นิยามว่าเป็น “ประชาธิปไตยพอเพียง” แต่นักวิชาการไทยใช้คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ” คือประชาธิปไตยสลับการรัฐประหารโดยเฉพาะเมื่อระบอบประชาธิปไตยส่งสัญญาณว่าเริ่มมั่นคงขึ้นทุกครั้งก็จะเกิดการรัฐประหารตามมาเป็นสูตรที่คอการเมืองไทยสามารถทำนายได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงนักวิชาการเพราะเป็นเสมือนชีวิตประจำวันของการเมืองไทยจนชาชิน และนั่นคือวิถีคิดการเมืองแนวจารีตนิยมที่เชื่อมั่น การปกครองแบบจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติต่อๆกันมาโดยเน้นคุณธรรมทางจิตใจมากกว่าปากท้องและการกินดีอยู่ดีของประชาชน
 
ลงทุนชีวิตมนุษย์เพื่อรักษาอำนาจ
วิถีคิดแนวจารีตนิยมของระบอบอำมาตย์คิดว่าโลกนี้ปั้นได้ดังใจนึกด้วยดินน้ำมัน ด้วยเพราะไม่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการสังคม
 
ความพยายามที่จะสร้างอำนาจด้วยระบอบประชาธิปไตยแห่งคุณธรรมตามโมเดลแนวคิดจารีตนิยมนี้ จึงก่อกำเนิดขึ้นจากแนวคิดข้างต้น แม้จำเป็นจะต้องลงทุนด้วยชีวิตของมนุษย์ก็ยอม ดังนั้นในอดีตจึงเกิดการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนอย่างโหดร้ายที่สุด ดังเช่นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ภายใต้การบริหารจัดการของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี) โดยประกาศปิดประเทศ 12 ปี เพื่อจะใช้เวลา 12 ปีนั้น ปั้นเยาวชนให้มีอุดมการณ์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดังใจนึก และในขณะเดียวกันก็ประกาศกวาดล้าง นักเรียน นักศึกษา ที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งที่อยู่ในเมืองและหนีไปอยู่ในป่า ติดอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอย่างถึงที่สุด จึงทำให้สถานการณ์สงครามประชาชนที่มีเชื้อไฟอยู่ในขณะนั้นปะทุรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ แต่แล้วแนวคิดปิดประเทศก็พังทลายลงด้วยการนำของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทำการยึดอำนาจล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงเป็นที่ไม่พอใจของอำมาตย์แต่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ แล้วสถานการณ์สงครามประชาชนก็คลี่คลายลงเป็นลำดับด้วยนโยบายสมานฉันท์โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักเรียนนักศึกษาทั้งหมดและให้กลับคืนสู่ห้องเรียนได้ แล้วสังคมก็กลับสู่ความปรองดองเกิดพัฒนาการทางสังคมก้าวหน้าขึ้นต่อไป แต่เมื่อพัฒนาไปได้อีกระยะหนึ่งแนวคิดจารีตนิยมของระบอบอำมาตย์ก็หวาดวิตกต่อวิวัฒนาการที่ทำให้สังคมขยายใหญ่โตขึ้นอีก จึงตัดสินใจเข้าขัดขวางพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง ปรากฏหลักฐานชัดคือการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่ครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนอย่างใจคิด ด้วยเพราะโลกได้พัฒนาก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่ประชาชนหูตาสว่างยากที่จะครอบงำความคิดโดยง่าย จึงนำมาซึ่งวิกฤตประเทศ แล้วแนวคิดปิดประเทศเพื่อรักษาระบอบอำมาตย์ก็ยิ่งมีเหตุผลรองรับมากขึ้น
 
การล้อมปราบสังหารประชาชนตั้งแต่ 10 เมษายน จนถึง 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมาจึงมิใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปประเทศในภาวการณ์พิเศษที่คนทั่วโลกรู้ดีว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น (แต่คนไทยถูกปิดตา ไม่ให้รู้เห็น) ดังนั้นเป้าหมายการกวาดล้างระบอบทักษิณหรือแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบมิใช่อุบัติเหตุ ด้วยเพราะแนวคิดของระบอบทักษิณได้แสดงออกชัดเจนนับแต่การถูกรัฐประหารว่าไม่สยบยอม, ด้วยเหตุนี้ข้อสรุปว่าต้อง “กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” จึงเกิดขึ้น
 
เสื้อแดงยิ่งเติบใหญ่ยิ่งต้องกำจัด
 
“แม้ผมตายผมก็ยังจะตามหาความยุติธรรม”
 
คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ข้างต้น ยังก้องดังในโสตประสาทของระบอบอำมาตย์ให้เคียดแค้นและอาฆาต พ.ต.ท.ทักษิณ จนเกิดข้อสรุปที่จะต้องกำจัดทักษิณอย่างถอนรากถอนโคน เพราะในอดีตไม่เคยมีผู้นำรัฐบาลคนไหนที่ถูกรัฐประหารแล้วจะกล้าโงหัวขึ้นมากล่าวเช่นนี้
 
การยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน การก่อจลาจลยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบินสุวรรณภูมิประสานกับการใช้องค์กรศาลภายใต้นโยบาย “ตุลาการภิวัฒน์” ล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คือรูปธรรมยืนยันถึงข้อสรุปของระบอบอำมาตย์ที่จะต้อง “กำจัดทักษิณอย่างถอนรากถอนโคน” ข้างต้น
 
การเติบใหญ่ของขบวนการคนเสื้อแดงที่เห็นความไม่เป็นธรรมทางสังคมการเมืองของระบอบอำมาตย์ที่ใช้กฎหมายอย่าง 2 มาตรฐาน จึงเกิดการขยายตัวทั่วประเทศ แต่แทนที่ระบอบอำมาตย์จะรู้สำนึกตัวเองถึงความชำรุดบกพร่องของระบอบของตนก็กลับตีความว่าเป็นผลมาจากเงินทักษิณที่อัดฉีดยุยง และการล้อมปราบฆ่าคนเสื้อแดงในเหตุการณ์สงกรานต์เลือดเมื่อ 12-13 เมษายน 2552 ซึ่งแทนที่คนเสื้อแดงจะหวาดกลัวและหยุดเคลื่อนไหวแต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นคนเสื้อแดงยิ่งขยายตัวทั้งประเทศ จนถึงขั้นเกิดการชุมนุมใหญ่อย่างยืดเยื้อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภายิ่งเป็นผลให้ข้อสรุปของอำมาตย์ที่พร้อมจะฆ่าประชาชนคนเสื้อแดงอย่างโหดร้ายในฐานะ “เสี้ยนหนามแผ่นดิน” และพร้อมจะปิดประเทศ จึงเกิดขึ้นอย่างสิ้นสงสัยในเหตุการณ์ล้อมปราบจาก 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 และการไล่ปราบปรามตามจับในขณะนี้
 
แผนเผด็จศึกเสื้อแดงเกิดก่อนการชุมนุม
หากใครได้ติดตามข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์และบทวิเคราะห์ต่างๆ ในช่วงตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2553 นี้ ข่าวจะกระชั้นถี่ขึ้นถึงแนวคิดของมหาอำมาตย์ว่า จะมีการจัดการประเทศใหม่ แม้จะมีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นแสนก็ยอม แม้จะปิดประเทศก็อยู่ได้ไม่เดือดร้อนอะไร โดยเปรียบเทียบกับการดำรงอยู่ของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า
 
รูปธรรมที่เป็นเชื้อมูลของความคิดนี้ที่เล็ดรอดออกมายืนยันได้จากคนใกล้ชิดของมหาอำมาตย์ เช่น การนำเสนอแนวคิดการเมืองใหม่ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรในเดือนมิถุนายน 2551 ที่เสนอโครงสร้างอำนาจหลักที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งคือระบบ 70:30 และคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ คนใกล้ชิดพลเอกเปรมตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน    “โลกวันนี้” วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า
 
“ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการสังคายนาและปฏิรูปประเทศไทยใหม่ โดยต้องหยุดปัญหาที่วุ่นวายไว้สักระยะหนึ่งเพราะกลไกของเราใช้ไม่ได้ อย่ามาพูดว่าสภาเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยเพราะที่มาของ ส.ส.ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ขอย้ำว่าต้องมีการปฏิวัติจริงๆ ไม่ใช่จอมปลอม ต้องไม่ให้เหมือนกับการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ที่เป็นการปฏิวัติที่ใช้ไม่ได้”
 
รูปธรรมที่ยืนยันความคิดนี้เกิดจากปฏิบัติการจริงแล้วคือการล้อมปราบฆ่าประชาชนที่มาเรียกร้องการยุบสภาเมื่อ 10 เมษายน 2553 ด้วยการประดิษฐ์คำสั่งฆ่าที่ไพเราะว่า “ขอคืนพื้นที่” และการล้อมยิงประชาชนเหมือนล่าสัตว์ที่เริ่มต้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2553 ประเดิมด้วยพลแม่นผืนสังหาร “เสธแดง” พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล และติดตามมาด้วยการ “เล็งเป้าฆ่า” ตลอดสัปดาห์อย่างเมามัน ด้วยการประดิษฐ์คำสั่งฆ่าใหม่ที่ไพเราะกว่าเก่าว่า“กระชับพื้นที่”
 
หากเรานำข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมต่อก็จะพบความจริงว่าการล้อมปราบประชาชนอย่างโหดร้ายมิใช่ความจงใจของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการจะยุติการชุมนุมตามคำกล่าวอ้าง แต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” และสิ่งที่จะต้องติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการปิดประเทศ
 
ลำดับเหตุการณ์ก่อนเกิดเมษา-พฤษภาเลือด
1. 26 กุมภาพันธ์ 2553 ลั่นระฆัง“กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” ด้วยคำพิพากษายึดทรัพย์ทักษิณและตามมาด้วยการเตรียมปราบการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่จะเริ่มต้น 12 มีนาคม 2553
2. เริ่มต้นประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงนำทหารในสายอำนาจของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบกที่ถูกกำหนดตัวให้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ออกมาทำหน้าที่แทนตำรวจ ตั้งแต่ก่อนวันที่ 12 มีนาคม 2553 ที่แกนนำ นปช.ประกาศเริ่มต้นการชุมนุม ทั้งๆที่ในต่างประเทศการควบคุมฝูงชนจะเริ่มต้นจากการใช้ตำรวจ
 
3. พฤติกรรมผิดสังเกตของทหาร ทหารที่ออกมามีอาวุธสงครามครบมือเตรียมปราบปรามโดยปิดบังหน่วยต้นสังกัดทั้งหมดทั้งที่เครื่องแบบประจำตัวและยานพาหนะพร้อมทั้งปิดทะเบียนรถที่ขนส่งทหารออกมาประจำตามถนนและด่านตรวจต่างๆ ทั้งหมด
 
4. สร้างข่าวเตรียมสังหารคนเสื้อแดงอย่างชอบธรรมด้วยการตั้งข้อหา “ขบวนการล้มเจ้า” โดยเริ่มต้นจากการเปิดวาทะกรรมปลุกระดมจากกลุ่มพันธมิตรก่อนเมื่อปลายปี 2552 ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ASTV ว่า “ล้มเจ้า” ซึ่งสอดรับกับการปลุกระดมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในโทรทัศน์ช่อง 11 และการประกาศอย่างเป็นทางการของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในข่าวโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจในนาม ศอฉ. นับจาก 7 เมษายน 2553
 
5. ประกาศเขตรอบโรงพยาบาลศิริราชเป็นพื้นที่ปลอดแดงเด็ดขาด และห้ามการเดินทางไปถวายพระพรของพสกนิกรโดยเด็ดขาดก่อนจะเริ่มต้นการชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยมีนัยยะสำคัญทางการข่าวจิตวิทยาว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ไม่จงรักภักดีเพื่อโน้มน้าวให้สารธารณชนสนับสนุนแผนการฆ่าคนเสื้อแดงอย่างชอบธรรม
 
6. อภิสิทธิ์-สุเทพ เล่นละครตอบรับยุบสภาอย่างเสียไม่ได้ ตลอดระยะเวลาเริ่มต้นการชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่ 12 มีนาคม เรียกร้องให้มีการยุบสภานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ(ผู้บัญชาการรบที่รับคำสั่งจากมหาอำมาตย์)ไม่เคยแสดงท่าทีตอบรับหรือเพียงแค่รับพิจารณาว่าจะยุบสภาเลย การเจรจาของรัฐบาลเรื่องการยุบสภา 2 ครั้ง กับแกนนำ นปช.จึงเป็นเพียงฉากละครมีนายสุเทพผู้อยู่เบื้องหลังเชิดนายอภิสิทธิ์ในฐานะนายกฯ และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ ในฐานะเลขานายกฯ และนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ อดีตคอมมิวนิสต์เก่าผู้มีประสบการณ์งานมวลชนขึ้นเล่นละครอย่างเสียไม่ได้เท่านั้น และเมื่อการเจรจาล้มเหลวนายสุเทพ ก็แสดงความดีอกดีใจและยั่วยุด้วยถ้อยคำว่า “เมื่อไม่มีการเจรจารัฐบาลก็จะอยู่จนครบอายุ 1 ปี กับอีก 9 เดือน”
           
7. สร้างเงื่อนไขประกาศภาวะฉุกเฉิน อภิสิทธิ์-สุเทพ ได้วางแผน “ใช้ขนมหวานล่อมด” โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ประกาศจะมาประชุม ค.ร.ม.ที่สภาในวันพุธที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งตรงกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อยั่วยุให้คนเสื้อแดงปิดล้อมสภาเช่นเดียวกับที่กลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองเคยทำเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ทั้งๆที่รู้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะต้องตามมาประท้วงนายอภิสิทธิ์อย่างแน่นอนเพราะสภาอยู่ใกล้กับการชุมนุมคนเสื้อแดง(ขณะนั้นอยู่ที่สะพานผ่านฟ้า) และเป็นที่น่าสังเกตว่านับตั้งแต่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็ใช้กรมทหารราบที่ 11 และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่ห่างไกลการชุมนุมเป็นที่ประชุม ครม.มาโดยตลอดแต่อยู่ๆก็อยากจะมาประชุม ครม.ที่สภา แล้วทุกอย่างก็เข้าแผนการร้ายนี้
 
เป็นที่น่าสังเกตว่านายอภิสิทธิ์แถลงข่าวถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์บุกสภา แต่ในประกาศกลับไม่กล่าวอ้างเหตุการณ์การบุกสภาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร คงจะเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์รู้อยู่แก่ใจดีว่าเรื่องการบุกสภาของคนเสื้อแดงนั้นยังขาดเหตุขาดผลอยู่
 
รูปธรรมการถอนรากถอนโคนทักษิณ
เหตุการณ์ใช้หน่วยสแนปเปอร์ลอบยิง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดงในหัวค่ำของคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เป็นการจุดพลุส่องสว่างให้เห็นถึงความแค้นของระบอบอำมาตย์อันไม่อาจจะปกปิดได้อีกแล้ว นับแต่นั้นทหารหน่วยพลแม่นปืนที่เป็นกองกำลังหน่วยสำคัญของพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นคู่อาฆาตกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มาก่อนก็เปิดฉากไล่ยิงประชาชนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นแกนนำผู้ก่อการร้ายและพวกล้มเจ้าเป็นผลให้ประชาชนผู้สุจริตบาดเจ็บล้มตายเป็นใบไม้ล่วงแล้วตามมาด้วยการล้อมฆ่าปิดท้ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 โดยยิงเข้าไปในวัดปทุมวนาราม เขตอภัยทาน ด้วยเข้าใจว่าผู้ก่อการร้ายหนีเข้าไปในวัด จนสตรีที่เป็นอาสาสมัครพยาบาล กมลเกด อัคฮาด เสียชีวิต และการติดตามจับบุคคลที่รัฐบาลอภิสิทธิ์หมายหัวทำบัญชีไว้ว่า “ฮาร์ดคอร์” ของทักษิณก็ตามมา รวมทั้งการประกาศควบคุมบัญชีเงินธนาคารของประชาชนอีกจำนวนมากรวมทั้งควบคุมเงินของนักหนังสือพิมพ์อย่างนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บก. VOICE OF TAKSIN รวมทั้งการออกไล่ล่าปิดหนังสือพิมพ์ของฝ่ายเสื้อแดง และจับนายสมยศและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาคประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้านในสภาที่กำลังทำอย่างต่อเนื่อง
 
ความรุนแรงเกินคาดแต่ไม่เกินแผน
สิ่งที่ระบอบอำมาตย์คาดไม่ถึงว่าประชาชนคนรากหญ้าจะมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตย และเข้าใจกลไกธุรกิจของอำมาตย์มากขึ้น จนถึงขั้นกล้าต่อสู้กับพวกเขาอย่างถึงที่สุด นั่นคือรูปธรรมที่เป็นจริง เมื่อแกนนำ นปช. ประกาศยอมแพ้เพื่อรักษาชีวิตของประชาชนที่มีทั้งเด็กผู้หญิง และคนแก่บริเวณหน้าเวทีที่ราชประสงค์ แต่ประชาชนกลับประกาศสู้ตายและเสียใจร้องไห้ที่แกนนำยอมจำนนแล้วนับจากนั้นพวกเขาที่ไร้การจัดตั้งก็กระจายกันโจมตีเผาสถานที่ทางการค้าต่างๆ ที่เขาเชื่อว่าเป็นของพวกอำมาตย์หรือที่เหล่าอำมาตย์ใช้อภิสิทธิ์ทางการเมืองคุ้มครองธุรกิจให้ รวมทั้งฝ่ายอำมาตย์ก็สวมรอยหนุนการเผาด้วยเพื่อจะได้เกิดความชอบธรรมในการไล่ฆ่าพวกเสื้อแดง เช่น ศูนย์การค้าสยาม ศูนย์การค้าเวิร์ลเทรด ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และไม่เว้นแม้แต่ตึกโทรทัศน์ช่อง 3 ที่เป็นตัวแทนของสื่อที่สนับสนุนระบบอยุติธรรม 2 มาตรฐาน ก็ไหม้เป็นจุล และการก่อจลาจลได้กระจายตัวไปทั่วกรุงเทพ และทั่วประเทศ ศาลากลางซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐอำมาตย์จึงเป็นเป้าหมายของการบุกโจมตีซึ่งสภาพความรุนแรงและมีเนื้อหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย
 
เหตุการณ์ความรุนแรงเช่นนี้เกินความคาดหมายแต่ไม่เกินแผนของอำมาตย์ที่ประเมินไว้
 
ปิดประเทศเป็นความชอบธรรม
ทางออกของสถานการณ์การเมืองไทยวันนี้ไม่ช้าก็เร็ว คือการประกาศปิดประเทศอย่างเป็นทางการ เพราะโดยเนื้อแท้ของสถานการณ์วันนี้คือการปิดประเทศแล้ว
 
การประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างเชียงใหม่ และอุดรธานี เป็นต้นรวมเกือบครึ่งประเทศรวมทั้งการปิดเว็บไซด์ และการควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โดยเฉพาะการปิดวิทยุชุมชนเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของรูปธรรมการปิดประเทศ และเป็นรูปธรรมที่บ่งบอกว่าจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะเวลาสำคัญที่สุดของการผลัดเปลี่ยนอำนาจของรัฐไทยใกล้เข้ามาเต็มทีแล้ว การปิดประเทศเพื่อควบคุมความเป็นเอกภาพแบบโบราณ คือ เอกภาพแห่งอำนาจ เอกภาพแห่งความเงียบสงบ จะต้องเกิดขึ้นเพื่อรองรับเหตุการณ์สำคัญ
 
เอกภาพแห่งอำนาจ และเอกภาพแห่งความเงียบสงบจะมาในรูปแบบการรัฐประหารแนวใหม่ แต่เนื้อหาแนวเดิม
 
ถ้อยคำที่เรียกขานอำนาจใหม่ก็จะไพเราะไม่แพ้คำว่า “กระชับพื้นที่ หรือขอคืนพื้นที่” เช่น สภาสมานฉันท์แห่งชาติ เป็นต้น
 
ภาพการปิดประเทศจะยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อใกล้เดือนกันยายน และยิ่งๆเด่นชัดเมื่อเห็นภาพผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ที่มีนามว่า “ป” ปลาตาขวาง ขึ้นแทน “ป” ป๊อกไม่ปฏิวัติ
 
สื่อเล็กๆ อย่าง vot ขอพยากรณ์ฟันธงตามคำขวัญของเราที่ว่า “อ่านคุณภาพใหม่ที่สื่อใหญ่ไม่กล้าตีพิมพ์”
 
ปิดประเทศเป็นความจำเป็นและความชอบธรรมที่ระบอบอำมาตย์ประเมินไว้เป็นจริงแล้ว
 
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง
 

*บทความนี้เป็นผลงานของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่เตรียมจะตีพิมพ์ใน VOICE OF TAKSIN ฉบับที่ 21 ก่อนที่จะถูกคำสั่งของศอฉ.สั่งปิดไม่ให้ตีพิมพ์จำหน่าย โดยมีบางส่วนที่ทางทีมบก. ขัดเกลาเพิ่มเติม

 
 

 

 

 


           
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คลิปเสวนา“นักข่าวเล่าให้ฟัง : จากราชดำเนินถึงราชประสงค์”

Posted: 10 Jun 2010 09:48 PM PDT

คลิปจากการเสวนา "นักข่าวเล่าให้ฟัง: จากราชดำเนินถึงราชประสงค์" อภิปรายและบอกเล่าเหตุการณ์โดยผู้สื่อข่าวในเหตุการณ์ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค. 53

<!--break-->

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม 12 อาคารเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย (Thailand Democracy Watch : TDW) จัดการเสวนาวิชาการในหัวข้อ “นักข่าวเล่าให้ฟัง : จากราชดำเนินถึงราชประสงค์” โดยมีผู้สื่อข่าวที่อยู่ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง หรือ นปช. ในวันที่ 10 เม.ย.2553 และ 13-19 เม.ย.2553 มาร่วมอภิปรายและบอกเล่าเหตุการณ์

ผู้ร่วมเสวนา ประกอบไปด้วยผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และ โทรทัศน์ ฐปนีย์ เอียดศรีชัย จากไทยทีวีสีช่อง 3, สุรศักดิ์ กล้าหาญ จากบางกอกโพสต์, ตวงศักดิ์ สินชื่นธุวล จากมติชน, ทวีชัย เจาวัฒนา บรรณาธิการภาพจากเนชั่น, เสถียร วิริยะพรรณพงศา จากเนชั่น และสถาพร คงพิพัฒวัฒนา จากทีวีไทย โดยมี ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการอภิปราย ในการเสวนานี้มีผู้สื่อข่าวและ ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก โดยคลิปการเสวนามีดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1

ช่วงที่ 2

ช่วงที่ 3

ช่วงที่ 4

ช่วงที่ 5

ช่วงที่ 6

ช่วงที่ 7

ช่วงที่ 8

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: นักประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์

Posted: 10 Jun 2010 05:42 PM PDT

<!--break-->

หมายเหตุ: วันที่ 11 มิ.ย. 53

เรียนผู้อ่านประชาไท

เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ทีมงานอยู่ระหว่างการแก้ไขให้สามารถรับชมได้ตามปกติในเร็วๆ นี้

 

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ChuPitchTV #72

 

 

 

 

 

 

ตอน: นักประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์
"ChuPitch TV" คืนจอหลังหายหน้าหายตาไป 2 เดือน
โดยตอนล่าสุด "พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์" สัมภาษณ์ "สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ" หลังได้รับอิสรภาพจาก ศอฉ.

ความยาว 48 นาที

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น