โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

โสภณ พรโชคชัย: บันทึกบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรเมื่อ 29 ม.ค.54

Posted: 30 Jan 2011 12:59 PM PST

 
ผมไม่ใช่พันธมิตร และก็ไม่ใช่เสื้อแดง แต่สนใจกิจกรรมทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย เย็นวันเสาร์ที่29 มกราคม 2554 ผมเลยไปสังเกตการการชุมนุมของพี่น้องฝ่ายพันธมิตร โดยเดินทางไปคนเดียว ลองดูนะครับ จะได้เห็นภาพบรรยากาศ ซึ่งหลายท่านคงไม่คิดจะย่างกรายผ่านไป หลายท่านอาจอยากไปแต่ไม่มีโอกาสได้ไป การดูไว้อาจทำให้เขาเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของพี่น้องคนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง
 
ผมได้เห็นคุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กำลังแจกลายเซ็นให้แฟน ๆ แล้วจากนั้นก็ถ่ายรูปหมู่กัน ผมก็เลยขอเข้าไปร่วมถ่ายด้วย นอกจากนั้นยังพบมหาจำลองกำลังขี่มอเตอร์ไซค์คันเล็ก ๆ ผมได้ถ่ายรูปท่านไว้เหมือนกัน แต่รูปดังกล่าว ไม่มีผมอยู่ด้วย ผมเลยไม่ได้นำมาลงไว้ในที่นี้ (ฮา)
 
ฝ่ายพันธมิตรก็กลัวจะมีคนแปลกปลอมเข้ามาในที่ชุมนุม มีการค้นกระเป๋าถือ แม้แต่กระเป๋าของสุภาพสตรี เพราะก่อนหน้านี้ก็พบระเบิดแบบที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นระเบิด 2 จังหวะ คือจังหวะแรกหลอกให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจ แล้วจะมีจังหวะที่ 2 กดบึมตอนเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ไม่ทราบว่าเป็นการค้นพบวัตถุระเบิดเพื่อขู่ฝ่ายพันธมิตรไม่ให้ไปชุมนุมหรือเปล่า
 
 
อย่าว่าแต่ฝ่ายพันธมิตรจะกลัวเลยครับ แม้แต่ฝ่ายรัฐบาลก็กลัวจะถูกบุกทำเนียบเหมือนครั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ดังนั้นในวันนี้จึงมีรั้วลวดหนามหลายชั้น แน่นหนาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันภัย (ฮา) นอกจากนั้นยังมีทหาร-ตำรวจเดินกันขวักไขว่ พร้อมกับมีการจัดกองกำลัง และมีแท่งคอนกรีตคอยรับมือการบุกทำเนียบอีกชั้นหนึ่ง ด้านในทำเนียบยังมีลำโพงขนาดใหญ่ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเครื่องเสียงสลายการชุมนุม (Long Rang Acoustic Device: LRAD) หรือไม่
 
 
บรรยากาศบนเวที
ณ เวทีใหญ่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ในช่วงเวลาประมาณ 17:30 น. แม้แดดร่มลมตกแล้ว แต่ก็มีประชาชนเข้าร่วมไม่มากนัก ผมได้พบเห็นแฟน ๆ พันธมิตรบางคนนั่งแท็กซี่มาบ้าง ขับรถมาบ้าง บางคนถึงขนาดนั่งรถเข็นมาชุมนุมก็ยังมี แต่จำนวนคนโดยรวมยังมีน้อย   ยกเว้นในช่วงด้านหน้าของเวที ที่มีแฟน ๆ นั่งเก้าอี้พับ หรือนอนฟังการปราศรัยอยู่หนาแน่นพอสมควร แต่ส่วนใหญ่จะนั่งอยู่ห่าง ๆ กัน
 
ยิ่งเวทีสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ซึ่งเป็นที่ ๆ ท่านโพธิรักษ์ ศูนย์รวมใจของกลุ่มสันติอโศก กำลังปราศรัยอยู่ ณ เวลา 18:15 น. นั้น ยิ่งมีจำนวนน้อยมาก ทั้งนี้คงเป็นธรรมดาที่คนไทยไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม คงไม่ค่อยอยากฟังธรรมะมากนัก คงเป็นเพราะไม่เร้าใจตามกระแสการชุมนุมทางการเมือง อย่างไรก็ตามสำหรับศิษย์สันติอโศก ก็ยังพอมีนั่งฟังอยู่ประปราย
 
 การกินอยู่หลับนอน
กลุ่มสันติอโศกรับหน้าที่ในการจัดหาอาหารการกิน สังเกตดูตามภาพจะเห็นคนเดินเท้าเปล่าในส่วนของคนทำอาหาร คาดว่ากลุ่มสันติอโศก คงพาชาวบ้านในเครือจากสำนักต่าง ๆ ทั้งหมดมาร่วมในการนี้ หลังจากทำเสร็จก็นำไปแจกจ่ายตามพื้นที่ต่าง ๆ ของการชุมนุม โดยมีเตนท์ขนาดใหญ่ที่เป็นที่แจกอาหารมังสะวิรัติ หากดูตามภาพคงต้องทำอาหารต่อเนื่องเพื่อเลี้ยงผู้เข้าชุมนุม
 
แต่นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมี แม่ยกฝ่ายพันธมิตร พาโรตี ลอดช่อง ขนมครก หรือแม้แต่สับปะรด มาให้ทานเป็นจุด ๆ อีกด้วย ผมในฐานะที่ไปร่วมชุมนุม ก็ได้รับอานิสงส์ได้ทานสับปะรดปอกสด ๆ จากพี่น้องพันธมิตรนครปฐมเช่นกัน รสชาติก็ดีครับ แต่นี่เป็นน้ำใจของ แม่ยกที่ร่วมชุมนุม ซึ่งก็สามารถสร้างความอิ่มเอมให้กับผู้ชุมนุมได้ระดับหนึ่ง
 
เท่าที่สังเกต ม็อบนี้มีเตนท์นอนที่สวยงามโดดเด่น และมีเตนท์นอนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเป็นเตนท์ขนาดเล็ก ๆ คาดว่าคงใช้นอนเตนท์ละคนเป็นสำคัญ และที่สำคัญที่สุดก็คือเตนท์จำนวนมาก ๆ เช่นนี้ก็กินเนื้อที่ถนนและพื้นที่แถวนั้นไปเป็นอันมาก ทำให้แลดูเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ แม้ว่าจะยังมีผู้มาเข้าร่วมไม่มากนักก็ตาม
 
ดูความน่ารัก
สำหรับผู้ที่มาชุมนุมแล้วเกิดความเมื่อยล้า ก็สามารถใช้บริการนวดแผนโบราณได้ สนนราคาถูก ผู้เข้าร่วมชุมนุมมาใช้บริการเป็นระยะ ๆ สังเกตดูผู้ให้บริการซึ่งเป็นสาวใหญ่ก็มีอารมณ์ดี สนุกสนาน และที่สำคัญยังได้เงินอีกด้วย คาดว่าจะเป็นกิจการที่ดีมากในการชุมนุมลักษณะนี้   เมื่อวันก่อนผมผ่านวัดพระยาไกร เห็นติดป้ายค่านวดตกชั่วโมงละ 70 บาท ก็แทบหาคนนวดไม่ได้ แต่ที่นี่คงมีผู้ใช้บริการต่อเนื่อง
 
และเพื่อให้เกิดภาวะร่วมสมัย (Intrend) ณ ซุ้มหนึ่งของการชุมนุมจึงมีการแต่งตัวชุดนักโทษกัมพูชา มาเพื่อขอล่ารายชื่อ 20,000 ชื่อเพื่อประเด็นอะไรบางอย่างที่ผมฟังไม่ถนัดเกี่ยวกับกัมพูชา ซึ่งกิจกรรมนี้นำโดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ ซึ่งเคยล่ารายชื่อ 20,000 ชื่อ เพื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้งนี้ดูไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร
 
สำหรับภาพข้างต้นนี้ ไม่ทราบว่ากัมพูชาจะหาว่าไทยละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ประการหนึ่งก็คือ ชุดนักโทษกัมพูชา ดูดีกว่านักโทษไทย ที่ยังต้องมีโซ่ตรวน และเป็นแบบขาสั้น แขนสั้น สีตุ่น ๆ อย่างไรก็ตามหากให้ผมใส่ ผมก็คงไม่ขอใส่หรอกครับ (ฮา)
 
แหล่งเงินทุน
อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มสันติอโศกเป็นแหล่งคนและแหล่งเงินทุนใหญ่ที่สุด ตามภาพการบริจาค จะเห็นได้ว่ามหาจำลองบริจาคมากที่สุด ณ วันที่แสดง ที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้เข้าชุมนุมจำนวนมาก หรืออาจดูเป็นคนส่วนใหญ่ก็คือชาวสันติอโศก ซึ่งมีชุมชนชาวสันติอโศกอยู่หลายแห่งในภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้การย้ายครัวเรือนมาอยู่อาศัยในพื้นที่ชุมนุมทำได้ง่ายขึ้น
 
อย่างไรก็ตามภาพที่เป็น สันติอโศกอาจทำให้ผู้ที่เห็นด้วยกับกลุ่มพันธมิตรบางส่วนอาจรู้สึกแปลกแยกไปจากตนก็เป็นได้ อาจส่งผลให้จำนวนผู้ชุมนุมไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควรมีมาก่อน หรืออาจจะเป็นเพราะประเด็นการเรียกร้องยังไม่แรงเท่าที่ควรหรืออย่างไร ก็คงต้องให้ผู้สันทัดกรณีให้คำอรรถาธิบายต่อไป แต่สำหรับผม คงให้ภาพในฐานะผู้สังเกตการเท่านั้น
 
เพลงสุดท้ายของแผ่นดิน
ในระหว่างสังเกตการณ์ชุมนุมพี่น้องเสื้อเหลือง ฝ่ายพันธมิตร ณ เวลา 18:00 น. เสียงเพลงชาติไทยดังขึ้น ทุกคนที่ชุมนุมก็พร้อมใจกันร้องเพลงชาติ ผมเคยไปสังเกตการณ์ชุมนุมของพี่น้องเสื้อแดง ก็พบปรากฏการณ์เดียวกัน ผมจึงเชื่อว่าเพลงชาติไทย คงเป็นเพลงสุดท้ายในแผ่นดินไทยที่ทั้งพี่น้องเสื้อเหลือง และพี่น้องเสื้อแดงจะร่วมร้องกันได้
 
ดีครับ อย่างน้อยเราก็มีความรักในชาติ ขอให้แตกต่างแต่อย่าแตกแยก คือ แตกต่างในความคิดได้ แต่อย่าได้แตกแยกกันมากกว่านี้ในหมู่คนไทยเลยครับ ผู้ที่กดขี่ขูดรีดประชาชนจะยิ่งสบายนะครับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หลวงตามหาบัวละสังขาร-คนเข้ากราบไหว้ล้นหลาม

Posted: 30 Jan 2011 12:34 PM PST

30 ม.ค.54 - พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ได้ละสังขารเมื่อเวลา  03.53 น. ภายในห้องปลอดเชื้อกุฎิหลวงตา รวมศิริอายุ 97 ปี 5 เดือน 18 วัน 77 พรรษา ทั้งนี้ มีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เฝ้าดูอาการพร้อมคณะแพทย์และลูกศิษย์อย่างใกล้ชิด ร่างหลวงตาถูกเคลื่อนจากห้องปลอดเชื้อ เข้าไปอยู่ห้องข้างๆ ซึ่งเป็นห้องพักของหลวงตา โดยมีกำหนดจะประกอบพิธี หลังจากพระฉันภัตราหารเช้าแล้ว จากนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จกลับมาประทับอยู่เรือนรับรองในวัดป่าบ้านตาด เพื่อรอทรงบาตร ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าว ต่างหลั่งไหลกันมาที่วัดเป็นจำนวนมาก

นายแพทย์พิชาติ ดลเฉลิมยุทธนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่า คำชี้แจงคณะแพทย์ วันที่ 30 มกราคม เวลา 02.49 น.หลวงตามีอาการทรุดลง อยู่ในภาวะวิกฤติ ระดับความดันโลหิตเริ่มต่ำลง ตรวจพบสมองหยุดทำงาน เวลา 03.25 น. ตรวจพบม่านตาขยาย ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า เวลา 03.40 น. ชีพจร 54 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 38/49 มิลลิเมตรปรอท ออกซิเจนในเลือดมีค่าเท่ากับศูนย์ เวลา 03.50 น. ชีพจร 49 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 38/16 มิลลิเมตรปรอท ออกซิเจนในเลือดมีค่าเท่ากับศูนย์ เวลา 03.53 นาที หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบทั่วกัน

นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เผยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานโกศโถและทรงรับศพหลวงตามหาบัว ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน ส่วนการประชุมคณะผู้เกี่ยวข้อง หลังจากเสร็จพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในเวลา 18.00 น. วันนี้ จะนำสรีระของหลวงตามหาบัวบรรจุลงในหีบไม้ แล้วนิมนต์ไปตั้งไว้ที่ศาลาการเปรียญใหญ่ หน้าวัดป่าบ้านตาด โดยโกศพระราชทานจะตั้งเป็นเกียรติไว้ด้านหลัง เพื่อบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจะพิจารณากำหนดการกันอีกครั้ง

นายสันต์ กรุงศรี หัวหน้าสถานีวิทยุยานเกราะอุดรธานี  ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวว่า ทางคณะกรรมการวัดป่าบ้านตาด พร้อมใจกันจัดทำพิธีศพของหลวงตามหาบัว ตามที่พินัยกรรม ได้ระบุไว้ คือจัดพิธีศพแบบเรียบง่าย ไม่มีพิธีสวดศพในตอนค่ำ จัดตั้งศพให้ประชาชนเข้ากราบไหว้แบบใกล้ชิด ในตอนเช้าก็มีการทำบุญตักบาตรเหมือนตอนที่หลวงตามหาบัว ยังมีชีวิตอยู่ และในวันนี้ได้มีประชาชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัดเกิดความสงสัยว่ามีการตั้งกองผ้าป่าไปทั่วบริเวณวัด เกรงว่าจะเป็นการหลอกลวง ทางกรรมการวัดจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ที่แอบอ้างการทำบุญ มาเรี่ยไรในบริเวณวัด และจะมีกรรมการวัดคอยดูแล เพื่อนำเงิน ทองคำที่ได้รับบริจาคส่งเข้าคลังหลวงทั้งหมดตามที่หลวงตาได้ สั่งเสียเอาไว้ก่อนหน้านี้ โดยกำหนดพิธีการเคารพสรีระศพ ทางวัดได้แต่งตั้งให้ พระอาจารย์อินถวาย สันตุสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย เป็นผู้จัดการชั่วคราว จนกว่าจะมีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

ทั้งนี้มีประชาชนและญาติธรรมหลั่งไหลมากราบไหว้กว่าแสนคน นอกจากนี้ยังมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้านำแผงสลากกินแบ่งรัฐบาล มาวางขายจำนวนกว่า 50 แผงกระจายไปทั่วบริเวณหน้าวัด ชาวบ้านต่างหาซื้อเลขเด็ดตาม อายุของหลวงตามหาบัว 

 

เรียบเรียงจากเว็บไซต์ข่าวสด และเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดจดหมาย นปช. ถึงผู้พิพากษาทั่วประเทศ

Posted: 30 Jan 2011 12:16 PM PST

30 ม.ค.54 นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ แกนนำ นปช. ระบุว่า นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมจะมีการวิดีโอลิงก์จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 31 มกราคม เวลาประมาณ 11.30 น. มายังชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อพูดคุยกับคนเสื้อแดงถึงรายละเอียดการยื่นฟ้องร้องรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีการสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ เมื่อปีที่ผ่านมาต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
 
ส่วนการชุมนุมวันที่ 13 ก.พ.ที่จะถึงนั้นเปลี่ยนสถานที่จากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มาเป็นที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เพื่อเรียกร้องและขอความยุติธรรมใน 5 ประเด็นที่รัฐบาลดำเนินการ 2 มาตรฐานระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงและแกนนำพันธมิตร คือ 1.การตั้งข้อกล่าวหา 2.การสั่งฟ้องคดี 3.กระบวนการพิจารณาคดี 4.สิทธิการประกันตัว และ 5.สิ่งที่เรียกว่า 2 มาตรฐาน แต่ยืนยันว่าการชุมนุมจะไม่ปักหลักเหมือนกลุ่ม พธม.
 
ขณะที่นายสลักธรรม โตจิราการ ลูกชายของหมอเหวงและนางธิดา ได้เผยแพร่เอกสารจดหมายถึงผู้พิพากษาทั่วประเทศ ใน facebook ส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้
 
 
 
จดหมายถึงผู้พิพากษาทั่วประเทศ
 
เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เลขที่ 33 ถนนงามวงศ์งาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 
 
วันที่ 28 มกราคม 2554
 
เรียน ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ
 
ด้วยกระผมแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน(ดังรายนามที่ปรากฏท้ายจดหมายฉบับนี้)ผู้ต้องหาคดีร่วมก่อการร้าย จากการชุมนุมทางการเมืองในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2553 ซึ่งถูกควบคุมตัวและจำขังเป็นเวลากว่า 8 เดือนตั้งแต่ยุติการชุมนุมและยังไม่ได้รับสิทธิ์ประกันตัวจนถึงขณะนี้ มีความทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจจากการไร้อิสรภาพ ทั้งยังรู้สึกคับแค้นไร้ที่พึ่งจากกระบวนการยุติธรรมในคดี จึงเขียนจดหมายมาปรับทุกข์กับท่าน เพื่อให้ความจริงดังจะกล่าวต่อไปนี้ปรากฏต่อผู้ทรงภูมิรู้ทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมหากท่านจะกรุณามีข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ทั้งต่อพวกกระผมและประชาชนอีกกว่า 100 ชีวิตที่ยังคงถูกจำขังจากเหตุการณ์เดียวกันก็จะน้อมรับด้วยความยินดี หรือ หากเพียงท่านจะรับทราบความเป็นมาแห่งความทุกข์ของประชาชนในกรณีนี้ก็น่าจะเกิดประกายแห่งแสงสว่างมิให้ประเทศไทยมืดมนจนเกินไปนัก
 
1. การตั้งข้อกล่าวหา แม้จะยินดีเข้าสู่กระบวมการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามพยานหลักฐานแต่พวกกระผมก็ยังมิอาจทำใจยอมรับข้อกล่าวหาก่อการร้ายได้ เพราะการชุมนุมของ นปช.เป็นการต่อสู้ทางการเมืองโดยมีอุดมการณ์สูงสุดคือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดหลักสันติวิธีในการต่อสู้ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงทั้งรูปแบบ วิธีการ และเป้าหมายของขบวนการก่อเหตุใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ นปช. ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายขณะที่กลุ่มผู้ก่อเหตุในพื้นที่ภาคใต้เป็นเพียงผู้ก่อความไม่สงบ ตลอดช่วงเวลาหลังยุติการชุมนุมรัฐบาลใช้วาทกรรม “ผู้ก่อการร้าย” เป็นเครื่องมือในการจับกุม คุมขัง คุกคาม และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดข้อสงสัยว่าข้อหาก่อการร้ายตั้งขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฎหมาย หรือตั้งขึ้นเพื่อความถูกใจของรัฐบาลเพื่อใช้จัดการกับผ่ายตรงข้ามทางการเมืองเท่านั้น
 
2. การสั่งฟ้องคดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดีเอสไอ ในฐานะพนักงานสอบสวนแถลงข่าวรายวัน ยืนยันตลอดเวลาว่าสั่งฟ้องคดีนี้อย่างแน่นอน ทั้งที่ขณะนั้นขั้นตอนรวบรวมพยานหลักฐานยังไม่แล้วเสร็จ ถือเป็นการปักธงคดี ไว้ล่วงหน้าโดยไม่แคร์สายตาประชาชน ทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาคย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมทำหนังสือราชการถึงสำนักงานอัยการสูงสุดเร่งรัดให้เจ้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้องให้ทันก่อนครบกำหนดฝากขังซึ่งไม่เคยปรากฏเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนในกระบวนการยุติธรรมชั้นอัยการ ในที่สุดเจ้าพนักงานอัยการก็มีความเห็นสั่งฟ้องในวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ตามกรอบเวลาที่ รมว.ยุติธรรมกำหนด ทั้งที่ทนายจำเลยยื่นร้องขอความเป็นธรรมให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมแต่กลับไม่ได้รับการพิจารณาแม้แต่ปากเดียว ซึ่งแน่นอนว่าหากมีการสอบปากคำพยานเพิ่มเติมตามที่จำเลยร้องขอก็จะสั่งฟ้องคดีไม่ทันตามนโยบายของ รมว.กระทรวงยุติธรรม ระหว่างความยุติธรรมตามข้อกฎหายกับนโยบายของผู้มีอำนาจการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ต้องยึดหลักเกณฑ์ใด
 
สำนวนฟ้องของดีเอสไอ ระบุว่าการชุมนุมของ นปช. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ แต่ในการแถลงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 ดีเอสไอ ระบุว่าเหตุเสียชีวิตอย่างน้อย 13 รายเชื่อได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนสาเหตุที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องฝ่ายเจ้าหน้าที่เพราะต้องส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากยึดตามประมวลกฎหมายดังกล่าวโดยเฉพาะมาตรา 129 วรรคท้าย “ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล” การมิได้ชันสูตรพลิกศพอย่างถูกต้องและครบถ้วน จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่แล้วเสร็จนั้นส่งผลให้การสั่งฟ้องพวกกระผมในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ ในการแถลงวันเดียวกันอธิบดี ดีเอสไอ กล่าวด้วยว่า “เหตุการณ์เสียชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่เกิดท่ามกลางการจลาจลเป็นเหตุสับสนวุ่นวายอย่างวิกฤต การแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงจึงมีข้อจำกัดเป็นอย่ายิ่ง” (มติชน 21 ม.ค. 2554) นับเวลาจากวันที่สั่งฟ้อง 11 สิงหาคม 2553 ถึงวันแถลงข่าว 20 มกราคม 2554 รวมเวลากว่า 5 เดือน ดีเอสไอ ยังระบุว่าการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปอย่างยากลำบากน่าสนใจอย่างยิ่งว่า ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2553 พวกกระผมถูกสั่งฟ้องด้วยหลักฐานใด และหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้นเพียงพอต่อการสั่งฟ้องในคดีก่อการร้ายหรือไม่
 
3. กระบวนการพิจารณาคดี มีการนัดตรวจพยานหลักฐานครั้งแรกในวันที่ 27 กันยายน 2553 จำเลยทุกคนไปศาลแต่เนื่องจากบัญชีพยานหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่ายมีเป็นจำนวนมากไม่อาจหาข้อยุติได้ในวันดังกล่าว ศาลจึงเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานออกไปเป็นวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นที่ทราบในทางปฏิบัติว่าช่วงเวลาก่อนและหลังเทศกาลขึ้นปีใหม่มักจะไม่มีการดำเนินการะบวนการพิจารณาคดีนอกจากเป็นงานธุรการทั่วไปของศาลเท่านั้น ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเบิกตัวจำเลยมาศาลแต่ศาลไม่อนุญาตและเมื่อถึงวันนัดก็สั่งเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 17 มกราคม 2554 ด้วยเหตุผลว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนติดภารกิจ 17 มกราคม 2554 ศาลอนุญาตให้เบิกตัวจำเลยตามคำร้องของทนายแต่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนไม่อนุญาตให้นำตัวจำเลยมายังหน้าบัลลังก์ศาล จำเลยจึงต้องนั่งรอบริเวณใต้ถุนศาลอาญารัชดา ทนายจำเลยร้องขอให้เบิกตัวจำเลยขึ้นมาเพื่อได้มีโอกาสปรึกษาหารือหากมีการปรับลดหรือเปลี่ยนแปลงบัญชีพยานหลักฐานแต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาต ทั้งยังระบุว่าจะดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีโดยไม่ต้องให้จำเลยมาศาลหากจะนำสืบจำเลยคนใดก็ให้เบิกมาเฉพาะบุคคล พร้อมทั้งสั่งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีและเชิญผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกห้องพิจารณา มีการจดรายชื่อเอาไว้และบอกว่าคราวต่อไปไม่ให้มาร่วมฟังการพิจารณาอีกคงเหลือแต่บุตร-ภรรยาจำเลยเท่านั้น ในที่สุดก็เลื่อนนัดตรวจพยานอีกครั้งเป็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554
 
คดีนี้มีอัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตและอยู่ในความสนใจของประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ กระบวนการพิจารณาและผลการตัดสินคดีจะเป็นอย่างไรย่อมถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แต่จำเลยกลับไม่มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดี ประชาชนผู้สนใจซึ่งแน่นอนว่าจะเพิ่มมากขึ้นในขั้นตอนนำสืบพยานโจทก์ และจำเลยก็มีแนวโน้มถูกจำกัดสิทธิ์ในการติดตามการพิจารณาคดีเช่นเดียวกัน หากเป็นเช่นนั้นการตัดสินคดีไปเลยจะรวบรัดกว่าหรือไม่ นับจากวันนัดตรวจพยานหลักฐานวันแรก 27 กันยายน 2553 ถึงวันกำหนดนัดครั้งที่ 4 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 รวมเวลากว่า 5 เดือนการพิจารณาคดียังไม่มีอะไรคืบหน้า แล้วชะตากรรมของพวกกระผมจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
4. สิทธิการประกันตัว พวกกระผมเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่โดยทราบชัดเจนว่าถูกออกหมายจับในคดีก่อการร้ายและจากประวัติการต่อสู้ทางการเมืองในสถานการณ์ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยปรากฏพฤติการณ์หลบหนีในทุกคดีที่ถูกกล่าวหา และหากพิจารณาเหตุผลตามข้อกฎหมายว่าด้วยการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ไม่น่าเป็นอุปสรรคใดๆในการได้รับสิทธิ์ประกันตัว แต่พวกกระผมก็ยังคงถูกจำขังทั้งที่ยื่นขอประกันตัวไปแล้วทั้งศาลชั้นต้น และอุทธรณ์รวมหลายครั้ง ในขณะที่นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. จำเลยที่ 1 ได้รับสิทธิ์ประกันตัวจากการไต่สวนและลงมติของที่ประชุมใหญ่ศาลอุทธรณ์โดยศาลกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวไว้หลายข้อและนายวีระ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นายวีระ ได้รับการประกันตัวด้วยเหตุผลใด และทำไมจำเลยคนอื่นซึ่งมีสถานะรองจากนายวีระในองค์กร นปช. จึงไม่ได้รับโอกาสจากกระบวนการยุติธรรมแบบเดียวกัน
 
ยิ่งไปกว่านั้นคือกรณี นายสมชาย ไพบูลย์แกนนำ นปช. อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีปลุกปั่นยุยงให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 7 ปี ก็ยื่นประกันตัวไปแล้วหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาตเช่นเดียวกัน พวกกระผมควรทำความเข้าใจกรณีเหล่านี้อย่าไร นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอจากหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศในเรื่องการให้อนุญาตประกันตัวผู้ต้องหาในคดีนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในชาติ โดยเฉพาะคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดอง คอป. ซึ่งยืนยันเรื่องนี้มาโดยตลอด เช่นเดียวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีข้อเสนอในเรื่องเดียวกันแม้กระทั่ง ศอฉ. ก็เคยออกหนังสือลงนามโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธาน ศอฉ. ในขณะนั้น ระบุว่า ไม่ขัดข้องหากศาลอนุญาตให้ประกันตัว รัฐบาลเองก็มีความมั่นใจในสถานการณ์โดยการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ทุกครั้งที่ผ่านมาก็อยู่ในความสงบเรียบร้อยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ จากทั้งหมดที่กล่าวมาจึงสรุปเป็นคำถามได้ว่า แล้วพวกกระผมต้องทำอย่างไรจึงจะได้รับสิทธิ์ประกันตัว
 
5. สิ่งที่เรียกว่า 2 มาตรฐาน ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมมากขึ้นเป็นลำดับจนวาทกรรม “2มาตรฐาน”กลายเป็นสาระหลักอย่างหนึ่งเมื่อพูดถึงสาเหตุของความขัดแย้งที่ยังไม่เห็นช่องทางยุติในสังคมไทย รูปธรรมของ 2มาตรฐาน มีหลากหลายตามความสนใจและความเข้าใจของผู้ที่จะหยิบยกมาอธิบาย ในที่นี้จะขอเปรียบเทียบแนวปฏิบัติของกระบวนการยุติธรรมต่อกลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพอให้เกิดความเข้าใจ ดังนี้ - แกนนำ นปช. ถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย มีการจำขังทันทีจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการประกันตัว แต่แกนนำพันธมิตรถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายมากว่า 2 ปี คดียังอยู่ในชั้นตำรวจ ทุกคนได้ประกันตัวและสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้โดยสะดวก ส่วนที่ไม่มอบตัวถูกออกหมายจับ เช่น นายการุณ ใสงาม ก็สามารถเดินทางผ่านขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองไปเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้ผู้ถูกคุมขังที่ประเทศกัมพูชาแล้วกลับเข้าประเทศโดยที่หมายจับไร้ศักดิ์ศรีทางกฎหมายอย่างสิ้นเชิง นายวีระ สมความคิด อีกหนึ่งผู้ถูกออกหมายจับคดีก่อการร้ายสามารถร่วมคณะกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไปเกิดปัญหาที่กัมพูชา ไม่มีแกนนำพันธมิตรคนใดถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำประเทศไทย ต้องใช้ความพยายามดิ้นรนในระดับนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จึงจะได้ใช้ชีวิตในเรือนจำ และในที่สุดในวันที่ 27 มกราคม 2554 นายไชยวัฒน์ สินสุวงค์และนาย สมบูรณ์ ทองบุราณก็ได้รับการประกันตัวไปเรียบร้อยแล้วโดยใช้หลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดรวมสำหรับ 2 คน 8 แสนบาท ข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นจริงหรือ - ผู้ชุมนุมพันธมิตรขับรถทับเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตูการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ศาลพิพากษาจำคุกแต่ให้รอลงอาญา การ์ดพันธมิตรหลายสิบคนบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ NBT ศาลพิพากษาจำคุกแต่อนุญาตให้ประกันตัวครบทุกคน ผู้ชุมนุม นปช. โดนข้อหาฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน ปิดเส้นทางจราจรก่อความวุ่นวาย ศาลตัดสินจำคุก 6 เดือน 1 ปี หรือ 1 ปี 6 เดือนไม่ได้รับการประกันตัว ขณะนี้อยู่ในเรือนจำหลายจังหวัด
 
จากตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่หยิบยกมาท่านผู้พิพากษาเห็นว่า 2 มาตรฐาน ที่ประชาชนพูดกันโดยทั่วไปมีจริงหรือไม่ หากมีจริงเราจะนำพาสังคมไทยออกจากภาวะตกต่ำเช่นนี้ได้อย่างไร มีเสียงเรียกร้องสันติภาพจากทุกมุมของประเทศแต่ถ้าไม่มีความยุติธรรมเป็นพื้นฐานสันติภาพนั้นจะเกิดได้อย่างไร การเอาตัวอาชญากรมาจำขังไว้ย่อมได้ผลในการลดอาชญากรรม แต่การเอาตัวผู้ต้องหาทางการเมืองมาจำขังจะได้ผลตรงกันข้าม นั่นคือเป็นการเพิ่มความขัดแย้งให้ขยายตัวมากขึ้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้มิได้ส่งผลให้ประชาชนหมดทางสู้ หากแต่จะทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือก ท่านผู้พิพากษาคิดว่าท่านจะมีส่วนผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแท้จริงในประเทศไทย และมีความเท่าเทียมกันภายใต้กรอบแห่งกฎหมายเพื่อคลี่คลายวิกฤตแห่งความขัดแย้งนี้ได้หรือไม่ พวกกระผมมั่นใจว่าท่านทำได้ จึงเขียนจดหมายมาปรับทุกข์ในวันนี้
 
ด้วยความเคารพ
 
แกนนำ นปช.
 
 
รายนามแกนนำ
นาย ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ
นาย เหวง โตจิราการ
นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง
นาย นิสิต สินธุไพร
นาย ขวัญชัย สาระคำ
นาย วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย
นาย ยศวริต ชูกล่อม
นาย สมชาย ไพบูลย์
และผู้ต้องหา นปช. คดีอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” เสนอจัดการปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน

Posted: 30 Jan 2011 11:51 AM PST

 
 
เมื่อวันที่ 28 ม.ค.54 ที่โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน จ.เชียงใหม่ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดโครงการอบรมวิชาการ หัวข้อ “เขตแดนของเรา เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา” (Our Boundaries—Our Asean Neighbors) ครั้งที่ 3 โดยก่อนหน้านี้จัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 9 ม.ค. 54 และที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 14 ม.ค.54
 
ในช่วงบ่าย มีการสัมมนาหัวข้อ “กรณีศึกษาเขตแดนระหว่างประเทศ – ไทยกับเพื่อนบ้าน และการแก้ไขปัญหาของมรดกโลก” ในตอนหนึ่งของการสัมมนา ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวว่า แม่น้ำโขง-เทือกเขาพนมดงรักเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน กรณีเขาและปราสาทพระวิหารที่มีอาณาเขตเพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตร ดูเหมือนว่าสภาพปัจจุบัน ทางออกของปัญหาจะเป็นขาวหรือไม่ก็เป็นดำ จะเป็นบวกหรือไม่ก็เป็นลบ ดังสองทัศนะของผู้อาวุโสสองท่านตรงกันข้ามกัน ซึ่งคุณ สาวีตรี สุวรรณสถิต เป็นชุดกรรมการมรดกโลกชองฝ่ายไทย ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในบทความเรื่อง “มรดกโลกสองฟากพรมแดน-กรณีอุทยานแห่งชาติและน้ำตกอีกวาซู ในอาร์เจนตินาและบราซิล” ว่า กรณีมรดกโลกสองฝั่งพรแดนที่อีกวาซู ในประเทศอาร์เจนตินาและบราซิลนั้น น่าจะเป็นกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมรดกโลกในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทย ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจจะเป็นบทเรียนที่ให้แนวคิดในเชิงบวก ในกรณีที่ไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านมีมรดกโลก ที่มีปัญหาพรมแดนกัน รวมทั้งการป้องกัน การดำเนินการก่อสร้างถนน หรือเขื่อนในบริเวณที่อาจจะเป็นการคุกคามเชิงลบ ที่มีต่อมรดกโลกได้ คือ การทำมรดกโลกข้ามเขตแดน
 
ส่วนความเห็นที่ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม เสนอไว้ คือ ปัญหามันแก้ง่าย หนึ่ง ใช้โอกาสตรงนี้ไล่เขมรออกจาก 4.6 ตารางกิโลเมตร ถ้าไม่ไล่ก็ให้ยกเลิกมรดกโลก ประชุมไม่ได้ในคราวหน้า ฮุนเซนก็คลั่งอีก ถ้ามองมุมกลับเราได้เปรียบช และสอง ถอนยูเนสโก แล้วก็ถอน MOU พ.ศ. 2543
 
ดังนั้น เรามาพิจารณาความเป็นไปได้จากความคิดเห็นทั้งสองคน คือ การแก้ไขปัญหาโดยการเสนอมรดกโลกข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นข้อเสนอในระยะสั้น หรือเฉพาะหน้า  โดยอย่างแรก ปรึกษาหารือและเจรจาตามสันติวิธี โดยแนวทางของบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา หรือ MOU พ.ศ.2543 ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร กับนายวาคิมฮง ในสมัยของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อย่างที่สอง นำปัญหาข้อพิพาททั้งหมด กลับไปขึ้นศาลโลก หรือสาม ส่งกองกำลังทั้งบก-เรือ-อากาศ-ทำสงครามกับกัมพูชา
 
ชาญวิทย์กล่าวด้วยว่า ประชามหาชนชาวสยามไทย น่าจะเห็นด้วยที่จะเลือกกับข้อหนึ่ง คือ ปรึกษาหารือและเจรจาตามสันติวิธี และวิธีแก้ไขระยะยาว โดยข้อเสนอในระยะยาวนั้น พิจารณาจากธรรมชาติที่มารวมตัวมาบรรจบกันที่นี่ ที่นี่จึงสมควรเป็นดินแดนสันติสุข ใช้กรอบของสามประเทศ เป็นมรดกข้ามพรมแดน แม่น้ำโขง-พนมดงรัก เป็นมรดกโลกข้ามพรมแดนของอาเซียน 3 ประเทศครอบคลุมจากป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทพระวิหาร ปราสาทวัดพู ถึงน้ำตกคอนพะเพ็งและแก่งลีผี ทำให้เป็นมรดกข้ามพรมแดน
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตาอียิปต์ ! หลายขั้วอำนาจชิงจังหวะได้เปรียบสูงสุด หลังมูบารัคออก

Posted: 30 Jan 2011 10:22 AM PST

 
ชื่อเดิม: จับตามกราทมิฬในอียิปต์ หลายขั้วอำนาจกำลังรอโอกาสชิงจังหวะได้เปรียบสูงสุด หลังมูบารัคออก
ที่มา: Siam Intelligence Unit
 
 
การเดินขบวนประท้วงของประชาชนในหลายประเทศ จนกระทั่งเกิดความวุ่นวายลุกลามใหญ่โต คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีอย่าง Social Media มีบทบาทอย่างยิ่ง จนถึงขนาดที่นิตยสารชื่อดัง “Foreign Affairs” ของสภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Council on Foreign Relations หรือ CFR) ซึ่งเป็นองค์กรคลังความคิดสำคัญที่ว่ากันว่าอยู่เบื้องหลังบทบาทของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาพาดหัวปกหนังสือฉบับเดือน มกราคม/กุมภาพันธ์ 2544 เป็นบทความของ Clay Shirky ว่า “The Political Power of Social Media”

 

ที่มา Foreign Affairs
การเดินขบวนประท้วงของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางหลายประเทศ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ เริ่มจาก การปฏิวัติดอกมะลิ” (Jusmine revolution) ที่ตูนิเซียจนทำให้ผู้นำรัฐบาลต้องลงจากตำแหน่ง ก่อนระบาดไปยังอัลจีเรีย ลิเบีย จอร์แดน โอมาน เลบานอน และ อียิปต์ ในที่สุด

 

ที่มา Boston Big Picture
 
สถานการณ์ของอียิปต์ในตอนนี้ต้องเรียกว่าชะตาของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค กำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะถึงจะประกาศตั้งรัฐบาลใหม่ แต่สถานการณ์ก็ยังไม่สงบ ประชาชนต่างเรียกร้องคำตอบสุดท้าย
 
มูบารัคต้องออกไป !!!
 
ตอนนี้หน่วยต่อต้านจราจลกึ่งติดอาวุธของ กองกำลังความมั่นคงกลาง (Central Security Forces หรือ CSF) ถอนตัวออกจากการรักษาความปลอดภัยตามท้องถนนกลางกรุงไคโร นี่คือสภาพการณ์ที่อำนาจรัฐ หายไปจากเมืองหลวง ในขณะที่กองกำลังทหารเข้ามารักษาการณ์แทนที่ นั่นทำให้ประชาชนต่างแสดงความยินดีและตอบรับการเข้ามารักษาสถานการณ์ของกองทัพ เพราะยังมองว่ากองทัพเป็นผู้รักษาความสงบและสามารถกดดันให้ประธานาธิบดีมูบารัคถอยลงจากม่านการเมืองได้
 
แต่ท่ามกลางม่านหมอกของข่าวสารบนเครือข่ายสื่อทางสังคมอย่าง Facebook หรือ Twitter กระบวนการต่อรองและชิงจังหวะทางการเมืองเบื้องหลังกำลังเริ่มก่อตัวขึ้น
 
หากมูบารัคถอนตัวออกไปจริง นี่จะกลายเป็นโอกาสให้หลายฝ่ายทะยานขึ้นสู่อำนาจ ในจำนวนนี้กลุ่มภราดามุสลิมอียิปต์ (Mulim Brotherhood หรือ MB) ซึ่งเป็นกลุ่มเคร่งศาสนา และว่ากันว่าได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มฟาตาห์ในปาเลสไตน์ อ่านสถานการณ์ขาดว่าหากเร่งรีบทำอะไรไปตอนนี้ รังแต่จะทำให้เงื้อมมือของสหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ซึ่งหวังว่าอียิปต์จะเป็นตัวแทนของมุสลิมสายกลาง เพื่อคอยคานอำนาจขั้วมุสลิมเคร่งศาสนาหลายแห่งในตะวันออกกลาง แถมยังเป็นประเทศแกนสำคัญในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอีกด้วย จะเข้ามากระชับสถานการณ์จนกระทั่งทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นคุณกับพวกตน
 
กลุ่มภารดามุสลิมจึงยังนิ่งเงียบแต่ขยับเครือข่ายทางสังคมซึ่งวางรากฐานไว้เป็นอย่างดี ในการให้ความช่วยเหลืออาหารและการปฐมพยาบาลแก่ผู้ชุมนุมประท้วง
 
โมเมนตัมทางการเมืองตอนนี้จึงย้ายไปอยู่กับกองทัพ ในฐานะองค์กรที่มีการจัดตั้งแข็งแกร่งที่สุด ติดอาวุธ และมีหน้าที่โดยตรงในการรักษาความสงบ ผู้นำกองทัพอย่างจอมพล โมฮัมหมัด ฮุสเซน ทันทาวี รมว.กลาโหม ผู้ซึ่งดูแลกองกำลังพิทักษ์สาธารณรัฐโดยตรง และพลตรี ซามี อันนัน หัวหน้าคณะเสนาธิการกองทัพอียิปต์ (ซึ่งเพิ่งบินกลับมาที่อียิปต์วานนี้ หลังจากหารืออย่างเคร่งเครียดกับตัวแทนของสหรัฐอเมริกา) นี่ขึ้นกับท่าทีของทั้งสองว่าจะเอาอย่างไรต่อไป และกองทัพจะอดทนรอคอยการยอมวางมือของมูบารัคได้นานแค่ไหน ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง
 
แต่ใช่ว่ากองทัพจะไม่มีความเสี่ยง จริงอยู่แม้ตอนนี้ภาพลักษณ์ของกองทัพจะเป็นบวกกับประชาชนผู้ประท้วงบนท้องถนน แต่หากเกิดการลั่นกระสุนและมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นเพียงรายเดียว ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม เมื่อนั้นกองทัพก็อาจจะอยู่ไม่ได้ และนั่นอาจจะเป็นโอกาสของเหล่าภราดามุสลิมที่จะออกโรงต่อไป
 
ในโครงสร้างของกองทัพเองก็ใช่ว่าจะไว้ใจได้ ดูภายนอกเสมือนหนึ่งว่ามีความเป็นระบบระเบียบและมีการปฏิบัติตามคำบังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด แต่ประวัติศาสตร์ก็เคยมีร่องรอยความขัดแย้งภายในมาก่อนแล้ว ในสมัยการโค่นกษัตริย์อียิปต์ที่หนุนโดยอังกฤษ เพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐอียิปต์สมัยใหม่ในปี 1952 เป็นปฏิบัติการที่นำโดย กามัล อับเดล นัซเซอร์ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งแค่นายพัน ในขณะที่ อันวาร์ ซาดัต ที่ถือเป็นผู้อยู่ข้างกลุ่มเคร่งศาสนามุสลิม ผู้ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากนัสเซอร์ถูกลอบสังหารในปี 1981 นั่นทำให้มูบารักมีโอกาสขึ้นสู่อำนาจ
 
ทั้งสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลคงจะทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้อยู่หลังฉาก เพื่อนำความสงบกลับมาสู่กรุงไคโรโดยเร็วที่สุด แต่ในตอนนี้กลุ่มอำนาจที่จะกลายเป็นตัวตัดสินชะตากรรมของอียิปต์อยู่ที่กองทัพเท่านั้น
 
 
 
* แปลและเรียบเรียงจาก Stratfor
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 23 - 29 ม.ค. 2554

Posted: 30 Jan 2011 10:08 AM PST

โฆษกปชป. เผย สมัยประชุมนี้รัฐเดินเครื่องเร่งแก้ไขกฎหมายประกันสังคม

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการขับเคลื่อนแนวทางการปฏิรูปประเทศ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ของสนับสนุนแนวทางของการหารือกับประธานคณะกรรมการปฏิรูป ประเทศไทย และ คณะกรรมการกระบวนการปรองดอง ต่อเนื่องในทุกสัปดาห์ ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการที่จะนำความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการ อิสระชุดต่างๆนั้นมาประเมิณร่วมกับสถานการณ์ทางการเมือง และความมั่นคงภายในประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในสังคมว่า รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤติ ควบคู่กับการดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งความคืบหน้าของคณะกรรมการนั้นก้จะเป็นเหตุผลสำคัยที่จะนำมาประกอบในการ ตัดสินใจ ในการกำหนดระยะเสวลาที่เหมาะสมในการคืนอำนาจกลับสู่ประชาชนอีกครั้ง
       
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าพรรคฯขอสนับสนุนแนวทางในการที่จะใช้ประชุมสภาสมัยนี้เร่งแก้ไข กฎหมายประกันสังคมเพื่อเปิดช่องทางให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอยู่ในภาคการจ้างงานนอกระบบสามารถที่จะมีหลักประกันความั่นคงในชีวิต และเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ โดยปีนี้รัฐตั้งเป้าหมายบุคคลที่เข้ามาสู่ะบบตามมาตรา 40 อย่างน้อย 2.4 ล้านคน และจะขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายของอาสาสมัครแรงงานที่ดำเนินการโดยกระทรวงแรง งานนั้นให้สามารถที่เชื่อมโยงกับผุ้ประกอบอาชีพอิสระ ทั้งเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ผู้มีกิจการ ผู้บริการแท็กซี่ หาบเร่ แผงลอย มอร์เตอร์ไซต์รับจ้าง คนงานในบ้าน และคนงานก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มอาชีพอื่นๆ ให้มีหลักประกันความคุ้มครอง ให้ได้รับการชดเชยในกรณีเจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ ในการปฏิบัติงาน

เพื่อสร้างความมั่นคงและขยายหลัก ประกันสังคมนี้ให้ครอบคลุมคนไทยทุกกลุ่ม และเป็นการยืนยันสิทธิโดยการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่ประชานิยม ที่รัฐบาลชุดหนึ่งๆหยิบยื่น และถอนไปเมื่อไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะหากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้สำเร็จลงก็จะมีผลผูกพันถึงรัฐบาลต่อไปในอนาคต ทุกรัฐบาล จึงของให้สมาชิกของรัฐสภาที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมายได้ให้การสนับสนุน การทำงานของรัฐบาลในการแก้ไขมาตรา 40 กำหมายประกันสังคมในครั้งนี้

(ฐานเศรษฐกิจ, 23-1-2554)

แรงงานพม่ากว่า 600 คนหยุดงานประท้วงขอขึ้นค่าจ้างและเพิ่มสวัสดิการ

24 ม.ค. 54  - ตำรวจของสภ.บ้านคา  อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ตชด.137  จากอ.สวนผึ้ง  ทหารหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ กองกำลังสุรสีห์  อ.สวนผึ้ง และอส.จากอ.บ้านคา กว่า 200 นายเข้าดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยหลังจากแรงงานต่างด้าวชาวพม่ากว่า 600 คนหยุดงานประท้วงโรงงานวีแอนด์เค สัปปะรดกระป๋อง จำกัด ตั้งอยู่ หมู่ 7 ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา โดยยื่นข้อเรียกร้องทั้งหมด 4 ข้อคือ ขอเพิ่มค่าแรงจากเดิมที่ได้วันละ 174 บาท เป็นวันละ 180 บาท  ขอห้องน้ำเพิ่มเพราะห้องน้ำที่มีอยู่นั้นน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับแรงงาน ต่างด้าวที่มีอยู่    ขอสวัสดิการต่างๆที่คนไทยได้รับ  และขอไม่ให้ทางโรงงานเข้ามายุ่งในกรณีที่มีการทะเลาะวิวาทกันเองในหมู่ของ แรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตามข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้องให้ทางเจ้าของโรงงานกลับมาจากต่าง ประเทศเสียก่อน

ด้านนายธีระเดช  โปสะพันธ์  ปลัดอำเภอบ้านคา กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับข้อเรียกร้องมาและประสานให้กับทางกรมสัวสดิการและคุ้มครองแรง งานเข้ามาดูแล  เพื่อไม่ให้เกิดเหตุบานปลายพร้อมกับประสานให้กับโรงงานได้นำข้อเรียกร้องไป เสนอต่อทางผู้บริหารของโรงงานเพื่อจะได้ข้อสรุปว่าจะสามารถดำเนินการตามข้อ เรียกร้องได้หรือไม่ เนื่องจากถ้าปล่อยไว้ก็จะยิ่งทำให้ปัญหานั้นบานปลาย เพราะแรงงานสำคัญของโรงงานส่วนใหญ่นั้นเป็นแรงงานต่างด้าว ส่วนคนไทยนั้นมีเพียงแค่ 200 กว่า คน  ทำให้ไม่สามารถผลิตสัปปะรดกระป๋องส่งออกขายได้

(โพสต์ทูเดย์, 24-1-2554)

แนะผู้ประกันตน 9 ล้านคนถามรัฐบาล ทำไมเป็นกลุ่มเดียวที่ยังต้องจ่ายสิทธิรักษาพยาบาลเอง

24 นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพใหญ่ๆอยู่ 3 ระบบ คือ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใครจะสังกัดอยู่ระบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นใคร เป็นข้าราชการก็ได้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นแรงงานได้สิทธิประกันสังคม ส่วนกลุ่มที่เหลือซึ่งไม่เข้าสังกัดสองพวกแรกจะได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ประเด็นสำคัญคือความไม่เป็นธรรม ที่สิทธิประกันสังคมเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ตัว เองได้มีสิทธิสุขภาพ โดยในจำนวน 5 % ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆเดือนนั้น 1 % ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร โดยมีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดูแลส่วนนี้ให้ ซึ่งใช้วิธีการเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วม โดยเป็นวิธีจ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวจ่ายแล้วจ่ายเลย ไปใช้บริการหรือไม่ใช้ เงินของผู้ประกันตนก็จะอยู่ที่โรงพยาบาล ยังไม่รวมถึงคุณภาพของบริการที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกันตนก็ตระหนักดีว่าคุณภาพเป็นอย่างไร
      
นพ.พงศธร กล่าวต่อว่า ผู้ ประกันตน ผู้นำแรงงาน ควรถามคำถามนี้กับรัฐบาลและสำนักงานประกันสังคมให้มากๆ ถามจนให้ได้คำตอบว่า ทำไมคุณเป็นคนกลุ่มเดียวในประเทศไทยจากคนไทย 65 ล้านคนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิรักษาพยาบาล สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ในจำนวน 5 % ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบให้กับประกันสังคมในทุกๆเดือนนั้น 1 % ถูกหักเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นเม็ดเงินกว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทั้งหมด 40,000 ล้านบาท ที่ประกันสังคมใช้ไปในแต่ละปีสำหรับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 ด้าน การจัดหลักประกันสุขภาพให้คนไทย มีเงื่อนไขว่า คุณเป็นใคร เมื่อรากของฐานคิดเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดสิทธิหลักประกันสุขภาพซ้อนขึ้นมาอีกหลายระบบ เช่น ถ้าเป็น ส.ส. ส.ว. และองค์กรอิสระ สิทธิสุขภาพจะพิเศษกว่ากลุ่มอื่น ปัจจุบันเหมาจ่ายรายหัวอยู่ที่ปีละ 20,000-30,000 บาทต่อคน ยังไม่รวมสิทธิพิเศษอื่นๆอีกมากมาย และล่าสุดมีความพยายามที่จะขยายเพิ่มเป็นปีละ 50,000 บาทต่อคน
      
จนถึงขณะนี้ไทยมีระบบประกัน สังคมกว่า 20 ปี กฏหมายประกันสังคมฉบับนี้ล้าหลังไปแล้ว แล้ว ผมคิดว่าประเด็นนี้ควรต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจังว่า ทำไมผู้ประกันตนยังต้องจ่ายเงินเพื่อสิทธิสุขภาพของตนเองอยู่ ระบบแบบนี้ยุติธรรมกับผู้ประกันตนหรือไม่ ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่คนที่เหลือรัฐจ่ายให้หมด ยิ่งกว่านั้น ยังจ่ายให้แต่ละคนอย่างไม่เท่าเทียมกันด้วย ส่งผลให้สิทธิสุขภาพของคนไทยแตกต่างกันมาก ซึ่งปรัชญาของหลักประกันสุขภาพ คือ การสร้างหลักประกันให้กับคนทุกคนให้สามารถเข้าถึงบริการเมื่อมีความจำเป็น อย่างเท่าเทียมกัน และไม่ต้องล้มละลายหากต้องเผชิญกับค่ารักษาพยาบาลราคาแพง ดังนั้นทุกคนควรมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาสองมาตรฐานและความไม่เป็นธรรมอย่างรุนแรง เรื่องนี้ทุกฝ่ายความร่วมมือกันเร่งแก้ไขนพ.พงศธร กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-1-2554)

ส.อ.ท.เผยไทยขาดแคลนแรงงานครึ่งล้านตำแหน่ง


24 ม.ค. 54 - นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังลงนามร่วมกับพันธมิตร 5 แห่ง ในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ซึ่งนำร่องใน 6 จังหวัดประกอบด้วย ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุมทรสงคราม สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ว่า ขณะนี้ปัญหาขาดแคลนแรงงานยังไม่ทุเลาลงจากปีที่แล้ว และยังมีแนวโน้มที่ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีการย้ายฐานของเอสเอ็มอีจากญี่ปุ่นมาไทย ทำให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบขาดแคลนแรงงานไม่น้อยกว่า 4-5 แสนคน


ทั้งนี้ เมื่อช่วงเดือนต.ค.ปีที่ผ่านมา ส.อ.ท.สำรวจความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมหลักในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน, ใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรกลโลหะการจักรกลการเกษตร, แม่พิมพ์ มีความต้องการแรงงานใน 5 ปี(54-58) ประมาณ 2.48 แสนคน แต่ในช่วงต้นปีได้ประเมินอีกครั้งพบว่ากลุ่มนี้ต้องการแรงงานมากกว่าที่เคย สำรวจไว้อีกกว่า 1 แสนคน ล่าสุดตัวเลขอยู่ที่ 3.5 แสนคน

(เดลินิวส์, 24-1-2554)

สปส.กำไรพุ่ง 3.3 หมื่นล้าน

24 ม.ค. 54 - นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่าสปส.มีผลตอบแทนการลงทุนปี 2553 เป็นจำนวน 33,750 ล้านบาท ประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ 25,772ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากหลักทรัพย์ 8,028 ล้านบาท เทียบกับปี2552ซึ่งมีผลตอบแทนอยู่ที่ 26,634 ล้านบาท ถือว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 26.71% ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ยทุกปีอยู่ที่7.54%

นายปั้นกล่าวว่าการลงทุนในปี 2554 จะใช้วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดไหลเข้าจากเงินสมทบและรายรับจากการลงทุน 8 หมื่นล้านบาท ส่วนอีก7 หมื่นล้านบาทมาจากเงินครบกำหนดจากการลงทุนในพันธบัตรและเงินฝาก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างของอนุมัติแผนการลงทุนจากคณะกรรมการสปส. โดยเน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำ กว่า 70% ส่วนอีก 10% ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี

ทั้งนี้ในส่วนของเงินกองทุนประกัน สังคมปัจจุบันมีเงินทั้งสิ้น789,181ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 635,077 ล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินกองทุนกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 102,250 ล้านบาทและเงินกองทุนกรณีว่างงาน 51,854 ล้านบาท

นายปั้นกล่าวว่าในส่วนของการดูแล สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนนั้น คาดว่าในเดือนก.ค.จะเริ่มเก็บเงินสมทบจากแรงงานนอกระบบได้ โดยขณะนี้ประสานกับกลุ่มตัวแทนหมู่บ้านเพื่อสำรวจความต้องการของแรงงานนอก ระบบที่สนใจเข้าร่วมโครงการโดยตั้งเป้าไว้ที่ 2.4ล้านคน

"ที่กังวลคือเมื่อขนาดมันใหญ่ขึ้น จาก50คนในปัจจุบันเป็น 2.4 ล้านคน เราต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น มีการประสานตัวแทนหมู่บ้านให้ช่วยเก็บเงินมาส่งที่สำนักงานในระดับอำเภอและ ประสานกับหน่วยงาน เช่น ไปรษณีย์ ธนาคารออมสินและธกส.ให้เป็นช่องทางชำระเงินอีกทางหนึ่งด้วย"นายปั้นกล่าว

ทั้งนี้ข้อเรียกร้องจากหลายฝ่ายที่ ให้โอนสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในระบบกว่า 9.7ล้านคนไปให้สปสช.เป็นผู้รับผิดชอบแทนนั้น นายปั้นกล่าวว่าบริการของประกันสังคมไม่ได้มีแค่เรื่องการรักษาพยาบาลเพียง อย่างเดียวแต่ยังมีสิทธิประโยชน์อีกหลายกรณี บางอย่างที่สปส.มีแต่สปสช.ก็ไม่มี เช่นการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ยอมรับว่าบางเรื่องอาจทำได้ช้ากว่าสปสช.แต่ในระยะยาวแล้วสปส.ต้องปรับสิทธิ ประโยชน์ให้เทียบเท่าหรือมากกว่าสปสช.อยู่แล้ว

(โพสต์ทูเดย์, 24-1-2554)

นำร่อง 7 จังหวัด ส่งนร.อาชีวะฝึกฝีมือในโรงงาน

24 ม.ค. 54 - นายนคร ศิลปะอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระยะเวลา 5 ปี ระหว่าง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา สถาบันโรงเรียนอาชีวะศึกษาเอกชน สถาบันไทย-เยอรมัน และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในการพัฒนานักเรียนอาชีวะศึกษาให้มีทักษะฝีมืออาชีพตรงตามความต้องการของ ตลาดแรงงาน

โดยรูปแบบการพัฒนาจะใช้วิธีส่งนัก ศึกษาเข้าไปฝึกงานในสถานประกอบการระหว่างเรียนเพื่อให้ได้เรียนรู้ทักษะจาก การทำงานจริงและสามารถนำชั่วโมงฝึกงานมารวมเป็นชั่วโมงการเรียนการสอนได้ รวมทั้งสามารถให้สถาบันอาชีวะส่งนักศึกษามาฝึกที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานได้ อีกด้วย

ทั้งนี้รายละเอียดการฝึกงานทั้งหมด ยังคงต้องหารือกันอีกครั้ง ซึ่งทุกหน่วยงานจะทำงานในลักษณะบูรณาการร่วมกันโดยมีสภาอุตสาหกรรมเป็นผู้ ประสานงาน

ในเบื้องต้นจะนำร่องฝึกงานในสถาน ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในระดับอาชีวะศึกษาและนัก เรียนที่จบออกมายังขาดทักษะฝีมืออาชีพ

(โพสต์ทูเดย์, 24-1-2554)

เจรจาไม่คืบ นายจ้างยื้อหวังบีบให้คนงานยอมรับข้อเสนอ

การเจรจาข้อพิพาทแรงงาน ระหว่างสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทยกับบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) ไร้ความคืบหน้านายจ้างยืนกานต้องทำงาน 3 กะ หวังลดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงานในอนาคต สหภาพแรงงานรู้แนวหากยอมรับการทำงาน 3 กะวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงแน่ ด้านนอกห้องเจรจามีสมาชิกของสหภาพแรงงานมารอฟังผลการเจรจากว่า 150 คน ทุกคนรอฟังผล ด้วยความหวัง เพราะต้องการกลับเข้าทำงานเร็วที่สุด
 
สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 20 ข้อ โดยมีการนัดเจรจาครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 และเช้าตรู่วันเดียวกันบริษัทประกาศปิดงาน 7 วัน โดยอ้างสาเหตุเครื่องจักรเสียจำเป็นต้องหยุดการผลิตชั่วคราว แต่เบื้องหลังยังคงมีการผลิต โดยเปิดรับพนังงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติมาทำงานแทนพนักงานประจำเป็น จำนวนมาก

โดยผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานนั้นหาผลสรุปได้แล้วเกือบทั้งหมดแล้วเหลือเพียง รายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ขณะเดียวกันข้อเรียกร้องของนายจ้างที่ยื่นต่อสหภาพแรงงานทั้ง 3 ข้อ นั้นคือ 1.ขอเปลี่ยนเวลาทำงานจากเดิม 2 กะเป็น 3 กะ 2.เปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายเบี้ยการผลิต โดยยกเลิกมาเป็นรูปแบบมาตรฐานการทำงาน ตามวิธีการมาตรฐานทั่วไป 3.ขอให้มีอายุขอตกลงเป็นเวลา 3 ปี ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้และสหภาพแรงงานยืนยันไม่อาจรับข้อเสนอ ของนายจ้างได้
 
วันที่ 17 มกราคม 2554 ณ ห้องประชุมเหมราช ห้อง เอ นิคมอุสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง สหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทยกับบริษัทแม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) เจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 6 ผลการเจราจาไม่มีความคืบหน้ายังหาทางออกร่วมกันไม่ได้ นายจ้างยืนยันต้องการให้สหภาพรับข้อเสนอ
 
สมาชิกรายหนึ่งบอกกับนักสื่อสารแรงงานว่ารู้สึกไม่ค่อยดีกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้เลย ไม่รู้นายจ้างต้องการอะไร ทำงาน 3 กะ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริงหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจนัก แต่ผมคิดว่าเขาต้องการควบคุมเรามากกว่า ต้องการแยกพวกเราออกจากกันและกล่าวย้ำกับนักสื่อสารแรงงานอีกว่าข้อเรียกร้องของพวกเราก็ยอมทุกอย่างแล้ว แต่นายจ้างยังไม่ยอมจะให้ทำงาน 3 กะให้ได้ ผมไม่เอาหลอกครับ ยังไงก็ไม่เอา
 
นาย ชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย กล่าวชี้แจ้งสมาชิกที่มารอรับฟังผลการเจราจาว่าตัวเลขที่นายจ้างเสนอมาหากทำงาน 3 กะนั้นน้อยมาก ค่ากะเพิ่มจากเดิม 720 เป็น 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น และต้องทำโอทีกว่า 300 ชั่วโมงต่อเดือน จึงจะมีรายรับประมาณ 12,000 บาทต่อเดือนและกล่าวต่ออีกว่าค่าแรงของพวกเราทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่ามันไม่พอ ที่พอจะให้เราอยู่รอดไปแต่ละเดือนได้เพราะอาศัยเบี้ยการผลิตและโอที หากทำงาน 3 กะเบี้ยผลิตก็หาย หากต้องการทำโอที่ก็คงต้องทำงานควงกะ” 
 
ขณะ เดียวกันเจ้าหน้าประนอมข้อพิพาทแรงงานเสนอทางออกให้ทั้งสองฝ่ายโดยเสนอให้ เพิ่มรายได้รวมก่อนทำงานล่วงเวลา โดยต้องได้รับค่าจ้างอย่างน้อยเดือนละ 15,000 บาท ให้นายจ้างนำไปพิจารณา และในวันที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 13.30 น. จะมีการเจราจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอีกครั้ง ที่สำนักงานนิคมอุสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด
 
วันที่ 18 มกราคม 2554เวลาประมาณ 14.00 น. ตัวแทนนายจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องฉบับใหม่แทนฉบับเก่าที่ถอนข้อเรียกร้องให้ กับสหภาพแรงงาน แต่สหภาพแรงงานไม่เซ็นรับข้อเรียกร้อง ซึ่งมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมจากข้อเรียกร้องเดิมอีก 2 ข้อ คือ ขอไม่จ่ายค่าเดินทางจากเดิมเดือนละ 900 บาท โดยจะจัดรถรับส่งให้ และขอลดค่าเช่าบ้านจากเดิม 800 ต่อเดือนเหลือ 600 บาทต่อเดือน
 
ถอน! ยื่นใหม่! ประกาศปิดงาน! นโยบายของใครกัน?
 
คนงานแม็กซิส 1,000 กว่าคน ชุมนุมที่ป่ายางเพื่อเตรียมรับมือกับนโยบาย อำนาจ นายทุน ที่รวมกลุ่มกันมาเพื่อทำให้คนงานมีความอ่อนแอลง ไม่ให้มีการรวมตัว ไม่ให้เกิดความเข้มแข็ง ไม่ให้รวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องสภาพการจ้างใหม่ และล้มสหภาพแรงงานในที่สุด คนงานจึงรวมตัวและตั้งมั่นที่ป่ายาง เพื่อสิทธิของตนเอง
 
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 เวลา 13.00 น.ข้อพิพาทครั้งที่ 7 มีการเจรจาเกิดขึ้นฝ่ายตัวแทนนายจ้างได้อ้างสารจากประธานบริษัทฯว่า ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานจำนวน 20 ข้อ ที่ตกลงกันได้จะถูกยกเลิกทั้งหมดและให้กลับไปใช้สภาพการจ้างเดิมและจะไม่มี การเจรจาอีก ต่อมาเวลา 14.30 น. บริษัทฯได้ยื่นหนังสือถอนข้อเรียกร้องของบริษัทฯ 3 ข้อและได้ยื่นข้อเรียกร้องฉบับใหม่เพิ่มเติมจากฉบับเดิมเป็น 5 ข้อ คือ 1.เปลี่ยนสภาพการทำงานจาก 2 กะเป็น 3 กะ 2.ขอยกเลิกเบี้ยการผลิต 3.ขอยกเลิกค่าเดินทาง 4. ขอลดค่าบ้านจาก 800 เหลือ 600 บาทต่อเดือน 5. ข้อตกลงมีอายุ 36 เดือน การนำไปสู่การปิดงานในที่สุด เพราะวันที่ 22 มกราคม 2554 นี้สภาพการจ้างเดิมจะหมดอายุลง
 
ภาพของคนงาน 1,000 กว่าคนต้องถูกลอยแพเพียงเพราะอยากเปลี่ยนสภาพการจ้างงานใหม่ให้คุณภาพชีวิต ของตัวเองดีขึ้นผิดด้วยหรือ! ทำงานหนัก เสี่ยงอันตราย สารเคมี ปอดหาย ตายในที่สุด ออกมาเรียกร้องเพื่อการจ้างงานที่ให้นายจ้างมองเห็นคุณภาพชีวิตของคนงานให้ ดีขึ้น นโยบาย CSR ที่นายจ้างทำสู่สังคมอยู่คงต้องวอนนายจ้างกลับมาดูคุณภาพชีวิตของคนงานใน บริษัทฯตัวเองบ้าง!!! เสียงสะท้อนจากคนงาน

(นักสื่อสารแรงงาน, 24-1-2554)

กอ.รมน.เสนอปัญหาใบขับขี่แรงงานต่างด้าวให้ สมช.

25 ม.ค. 54 - นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากการที่กลุมตงๆไม่เห็นด้วยที่สำนักงานขนส่งจังหวัดระนอง ออกใบอนุญาตขับรถหรือใบขับขี่ส่วนบุคคลให้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ มีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตสีแดง เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ได้พยายามแก้ไขปัญหาให้สำนักงานขนส่งชะลอการออกใบอนุญาต แต่ไม่สามารถยกเลิกการออกใบอนุญาตขับรถได้เนื่องจากเป็นกฎกระทรวง ล่าสุดกอ.รมน. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือ โดยได้ข้อสรุปว่าการที่ขนส่งออกใบอนุญาตขับรถให้บุคคลต่างด้าวสัญชาติพม่า ที่มีพาสปอร์ตนั้น ถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่หน่วยงานต่างๆ ไม่เห็นด้วยนั้นทาง กอ.รมน.ได้เสนอเรื่องไปให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)เป็นผู้พิจารณาแก้ไข ปัญหา


ด้านนางชริตว์จาร์ คล่องการยิง ขนส่งจังหวัดระนอง กล่าวว่า ทางขนส่งได้เข้มงวดกับผู้สอบใบขับขี่ทุกคนปฏิบัติเหมือนกันสุ่มข้อสอบจาก คอมพิวเตอร์ซึ่งออนไลน์มาจากส่วนกลาง ซึ่งมี 5 ภาษา ผลสอบจะพิมพ์จากคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้ การสอบใบขับขี่ให้กับแรงงานต่างด้าวจะเปิดสอบเดือนละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นเดือนและกลางเดือน


พล.ต.ต.วิทูร  ธรรมรักษา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้มงวดกับผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกชนิดหากไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายก็จะถูกจับกุมดำเนินคดี โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวไม่สามารถขับขี่รถสาธารณะหรือรถรับจ้างได้เนื่องจาก ใบขับขี่ที่ขนส่งออกให้เป็นใบขับขี่รถส่วนบุคคลเท่านั้น  ส่วนที่เกรงกันว่าจะเอามาวิ่งรับจ้างในกลุ่มแรงงานต่างด้าวด้วยกันเองนั้น หากใครมีเบาะแสก็สามารถแจ้งตำรวจท้องที่ให้เข้าตรวจสอบได้ทันที

(ข่าวสด, 25-1-2554)

รมว.แรงงาน เผย การเจรจากับทางการพม่าเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าวในไทยราบรื่น

25 ม.ค. 54 - รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน เผย การเจรจากับทางการพม่าเกี่ยวกับปัญหาแรงงานต่างด้าวในไทยราบรื่น โดยพม่าจะส่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์สัญชาติพม่ามาประจำด่านในไทย พร้อมขอให้ไทยเปิดขึ้นทะเบียนต่างด้าวรอบใหม่

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 22 - 24 มกราคม ที่ผ่านมา ว่า ได้มีการหารือแนวทางการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ยังล่า ช้าที่เป็นผลมาจากการปิดด่านกับ นายหม่อง หมิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า โดยทางการพม่า ยืนยันจะให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว พม่าให้แล้วเสร็จทันกำหนดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 โดยจะยังคงเจ้าหน้าที่ของพม่าในด่านพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนอง รวมทั้งจะส่งเจ้าหน้าที่ของพม่ามาประจำด่านอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายด้วย ขณะที่ด่านในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ยังมีปัญหาปิดชายแดนทำให้ไม่สามารถเปิดพิสูจน์สัญชาติได้นั้น ทางการพม่าพร้อมจะส่งเจ้าหน้าที่มาประจำด่านอื่นในประเทศไทยแทน โดยคาดว่าจะเป็นด่านที่จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ทางการพม่ายังได้ขอให้ประเทศไทยเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบ ใหม่ด้วย ซึ่งทางการพม่ายืนยันจะช่วยดำเนินการเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ทั้งการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำบัตรแสดงบุคคลว่าเป็นพลเมืองของพม่า ซึ่งหากเปิดขึ้นทะเบียนแล้วยังมีการหลบหนีเข้ามาทำงานในไทย ทางการพม่ายินดีให้ประเทศไทยดำเนินการตามกฎหมาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า หากมีการเปิดขึ้นทะเบียนต่างด้าวรอบใหม่ กรมการจัดหางานจะส่งรถเคลื่อนที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อรับขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ทางการพม่ายังขอให้กระทรวงแรงงานสำรวจจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ ชัดเจน เพื่อแจ้งไปยังสถานทูตพม่าในไทย เพื่อออกเอกสารแสดงตัวบุคคล และหนังสือรับรอง เพื่อใช้ในการพิสูจน์สัญชาติด้วย ส่วนการนำเข้าอย่างถูกกฎหมายยังอยู่ระหว่างการประสานงาน ซึ่งใช้รูปแบบผ่านบริษัทในพม่า

(สำนักข่าวแห่งชาติกรมประชาสัมพันธ์, 25-1-2554)

สหภาพรถไฟยื่นหนังสือทวงถามค่าทำงานล่วงเวลา

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือให้ผู้บริหารการรถไฟฯ เพื่อติดตามเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานเกินกว่าเวลาปกติ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพนักงานไม่มีสิทธิ์เบิกเงิน แต่สามารถเบิกเงินตามค่าจ้างรายชั่วโมงที่ทำงาน โดยการรถไฟฯ ไม่ได้จ่ายตั้งแต่ปี 2549 รวมเป็นเงินกว่า 1,700 ล้านบาท และได้มีการทวงถามหลายครั้ง ปรากฏว่ายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ


อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ฝ่ายบริหารรับปากว่า จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟท.ในวันที่ 26 ม.ค.นี้ เพื่อให้บอร์ดที่มีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานประธานบอร์ดรฟท.พิจารณาด้วย

(ไทยรัฐ, 25-1-2554)

แรงงานพม่าเลิกสไตร์ค หลังเจรจาเจ้าของโรงงานได้ข้อยุติ

ความคืบหน้ากรณีคนงานชาวพม่ากว่า 600 คน ซึ่งทำงานให้กับโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วี แอนด์ เค จังหวัดราชบุรี นัดหยุดงานเพื่อขอให้นายจ้างขึ้นค่าแรง จ่ายค่าชดเชยกรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน ปรับปรุงการเข้าถึงการรักษาพยาบาล สร้างห้องน้ำเพิ่มเนื่องจากไม่เพียงพอกับจำนวนแรงงาน แจกแจงรายละเอียดเงินเดือนที่ถูกหักไปก่อนที่พวกเขาจะได้รับ และยุติการเลือกปฏิบัติระหว่างแรง งานไทยและพม่า เมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยระหว่างการชุมนุมประท้วง มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจกว่า 200 นายเข้ามาดูแลสถานการณ์

นายสุทธิพงศ์ คงพาผล ผู้ประสานงานด้านสิทธิแรงงาน มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP) ให้สัมภาษณ์ว่า การเจรจาได้ข้อยุติแล้ว ตั้งแต่เมื่อเย็นวันที่ 24 ม.ค. โดยนายจ้างตกลงตามที่คนงานพม่าเรียกร้อง และล่าสุด (25 ม.ค.) คนงานได้กลับเข้าทำงานตามปกติแล้ว

(ประชาไท, 26-1-2554)

กมธ.แรงงานดันร่าง พรบ.ประกันสังคมเข้าสภา

26 ม.ค. 54 - ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันนี้จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่...  พ.ศ.... ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังจากที่มีความพยายามผลักดันร่างดังกล่าว เข้าสู่สภา มาเป็นเวลานาน ทั้งนี้ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้เดินทางมายื่นหนังสือขอบคุณ กรรมาธิการ ที่ให้ผลักดันร่างเข้าสู่สภา ขณะเดียวกันขอให้ ส.ส.ทุกคน ร่วมกันสนับสนุนร่างนี้ให้ออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพื่อขยายสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานนอกระบบทุกคน   

(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 26-1-2554)

คนงานเหมืองทองอัครายกทีมบุกศาลากลาง จี้ทวนคำสั่งปิดเหมืองเฟส 2

26 ม.ค. 54 - ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดพิจิตรได้มีกลุ่ม ผู้ใช้แรงงาน พนักงาน ชาวบ้าน รวมถึงครอบครัวของพนักงานบริษัทในเครือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ประมาณ 1,200 คน นำโดยนายสาธิต นาคสุก อายุ 42 ปี รองประธานคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพนักงานบริษัทเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ได้มาชุมนุมยื่นหนังสือขอความเห็นใจให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ หรือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง
      
ที่ก่อนหน้านี้ได้ถูกฟ้องร้องว่ามีการดำเนินกิจการส่งผลกระทบต่อ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม จนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ หยุดทำเหมืองแร่ทองคำเฟส 2 ในภาคกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.00 น.จนถึง 05.00 น.
      
กลุ่มพนักงานระบุว่า คำสั่งดังกล่าวส่งผลให้พนักงานนับพันคน ที่ทำงานในภาคกลางคืนมาเกือบ 10 ปี มีภาระทางครอบครัว การดำรงชีพต้องตกงานและเดือดร้อน เนื่องจากคำสั่งหยุดการดำเนินกิจการดังกล่าว จึงได้รวมตัวกันมาร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือ
      
พร้อมกับให้เหตุผลว่า นอกจากนี้ส่งผลถึงเศรษฐกิจชุมชนและการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นที่ปีหนึ่งๆ อัคราไมนิ่ง จ่ายเงินพัฒนาสิ่งแวดล้อมตำบลถึงปีละ 10 ล้านบาท และจ้างงานปีละไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท รวมถึงเงินตราต่างประเทศจาการส่งออกแร่ทองคำ ที่เคยมีรายได้กว่าปีละ 3 พันล้านบาท จึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องและชี้แจงให้ผู้ว่าฯพิจิตร ได้พิจารณาทบทวนเพื่อรายงานและอนุเคราะห์ให้ช่วยสั่งให้เปิดดำเนินกิจการต่อ ไป
      
ขณะที่นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง กล่าวว่า ตนเองก็กินอยู่พักอาศัยในชุมชนรอบเหมืองด้วยเช่นกันเหมือนกับผู้ร้องเรียน แต่ไม่เคยได้รับผลกระทบในทุกประเด็นอย่างที่มีกลุ่ม NGO ร้องเรียนและฟ้องศาลปกครองแต่อย่างใด จึงเชื่อมั่นว่าการฟ้องร้องและการร้องเรียนจนเป็นที่มาของคำสั่งปิดเหมือ งเฟส 2 ช่วงกลางคืน มีกลุ่มนายทุนผู้ค้าที่ดินรอบเหมืองบีบเสนอขายที่ดินในราคาแพง แต่บริษัทฯ ไม่รับซื้อ จนทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
      
ล่าสุด นายสุวิทย์ได้เรียกประชุมด่วนคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ไตรภาคี 21 คน อันได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคราชการ ตัวแทนของเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง และตัวแทนของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และอยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียด
      
ผู้ว่าฯ พิจิตร ให้คำมั่นว่า ทุกฝ่ายล้วนเป็นประชาชนคนพิจิตร ดังนั้นจึงต้องให้การดูแลอย่างสมดุลไม่เข้าข้างใคร และจะได้ทำความเห็นเสนอไปยังอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-1-2554)

นายจ้างสั่งหยุดงานใช้มาตรา 75 ทั้งปี ลูกจ้างค่าจ้างหด ต้องหารายได้เสริม

ปัญหาการสั่งหยุดงานโดยใช้มาตรา 75 (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) ยังมีอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะบริษัทฯในเขตย่าน กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ทำให้คนงานได้รับความเดือดร้อน ค่าใช่จ่ายไม่เพียงพอในแต่ละเดือน  บริษัทฯ ผลิตผ้าลูกไม้ ส่งขายภายในประเทศ และต่างประเทศ  มีร้านในย่านพาหุรัตน์ และที่ประตูน้ำเป็นอีกแห่งหนึ่งที่อ้างว่า ไม่มีออร์เดอร์ ทำให้บริษัทฯขาดสภาพคล่อง สารพัดสาเหตุที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการใช้มาตรา 75 สั่งหยุดงาน  แต่เวลางานเยอะก็ส่งทำงานล่วงเวลาพอหมดงานก็สั่งหยุด ม.75 ชั่วคราวตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จ่ายค่าจ้างเพียง ร้อยละ 75 เฉพาะพนักงานแผนกลูกไม้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการสั่งหยุดเป็นช่วงๆ เมื่อเร็วๆนี้ สั่งหยุดงาน ระหว่างวันที่ 16 – 27 พฤศจิกายน 2553 โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ใช้วิธีให้พนักงานลงชื่อยินยอมในตอนเย็นหลังเลิกงานก่อนที่จะหยุดในวันถัดไป พนักงานส่วนใหญ่ยินยอม หากไม่ลงลายมือชื่อยินยอมบริษัทจะให้ไปทำงานแผนกอื่นๆแทน ซึ่งเป็นแผนกที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะแผนกช่างเครื่อง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

ปัญหาที่นายจ้างใช้มาตร 75 ดังกล่าวทำให้พนักงานหลายคนได้รับผลกระทบค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ บ้างก็ลาออกจากงานไปหางานใหม่  ส่วนพนักงานที่มีอายุมากแล้วจะลาออกไปหางานใหม่ทำก็ไม่ได้ต้องทนรับ สภาพอย่างนี้ต่อไป บางคนต้องหารายได้เสริมเช่น ขายของเล็กๆน้อยๆ เพื่อจะได้มีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือนไป

จากเหตุการณ์ดังกล่าว สหภาพแรงงานสิ่งทอสมุทรสาคร ได้ทำหนังสือเข้าหารือกับนายจ้าง ซึ่งนายจ้างส่งผู้แทนมาคุยด้วยแต่ก็ไม่มีความชัดเจนในการแก้ปัญหา บอกแต่เพียงว่าเห็นใจและเข้าใจ

ประธานสหภาพฯให้ ความเห็น ต่อกรณีนี้ว่า บริษัทฯใช้ช่องทางการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวตามมาตรา 75 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งพนักงานจะได้รับค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 ถือเป็นการเอาเปรียบพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ  ช่วงที่มีออเดอร์เข้ามาจำนวนมากนายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลา เมื่อไม่มีงานก็จะสั่งให้หยุดงานตามมาตร 75 เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นปัญหากับพนักงานมาก ในเรื่องค่าจ้างไม่เพียงพอ ต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จนพนักงานส่วนหนึ่งลาออกจากงานไปเพราะทนไม่ไหว บางส่วนก็ต้องหาอาชีพพิเศษทำเพื่อประทังรายได้ให้พออยู่ได้”  

ทำงานมา 15 ปียังได้รับค่าแรงงานขั้นต่ำก็แทบไม่พอกิน ต้องไปขายของได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็ต้องทน ยังมาสั่ง ม. 75 อย่างนี้มันเอาเปรียบเกินไปน่าจะเห็นใจกันบ้าง”     นางหนูวาด   ผานคำ พนักงานแผนกลูกไม้ กล่าวอย่างสิ้นหวัง

ส่วนน.ส. สารี่ ทรัพย์แย้ม กล่าวเสริมว่า ลูกกำลังเรียนรายได้ ก็มาขาดหายไปในขณะที่รายจ่ายคงที่ ต้องรับผ้ามาตัดที่บ้านถ้าไม่ทำก็ไม่พอค่าใช้จ่าย อาศัยว่ากินกันประหยัดหน่อยจึงพอจะอยู่ได้

ทางฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ของ กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า  “หาก กฎหมายฉบับนี้ไม่ถูกแก้ไขในยุคของคมช.(คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ที่ทางสภานิติบัญญัติแห่ง(สนช.)ได้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75ใหม่หากเป็นมาตรา 75 เดิมที่กำหนดว่าการที่นายจ้างจะประกาศหยุดงานตามมาตรา 75 ต้องเกิดจากเหตุสุดวิสัย น้ำท้วม ไฟไหม้เป็นต้น นายจ้างจะมาอ้างไม่มีออเดอร์แล้วสั่งหยุดไม่ได้ ฉะนั้นกรณีการที่แก้กฎหมายใหม่ที่ทำให้นายจ้างใช้มาตรานี้โดยอ้างเหตุว่าไม่ มีออเดอร์ได้เพราะถือว่าเป็นเรื่องการบริหารจัดการของบริษัทไม่เกี่ยวกับ ลูกจ้าง การแก้ไขในปีพ.ศ.2551ของสนช.กลับไปเปิดช่องให้นายจ้างใช้เป็นเหตุในการสั่ง หยุดจนทำให้ลูกจ้างเดือดร้อนนางสาวสุรินทร์ พิมพา ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่กล่าว

ทั้งนี้ล่าสุด ทางบริษัทฯ ส่งงานไปย้อมข้างนอก ไม่ได้ย้อมภายในบริษัทฯเช่นเดิมทำให้มีกำหนดระยะเวลาในการส่งคืนบริษัทล่า ช้าต้องรอส่งกลับเป็นอาทิตย์ หรือ 15 วัน จึงทำให้ไม่มีงานทำ นายจ้างก็ให้หยุดงานชั่วคราวใช้มาตรา 75 และคนงานบางคนต้องหางานเสริมทำ เป็นปัญหาในครอบครัวในค่าใช้จ่ายและความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ลูกจ้างต้องพากันเอาข้าวมาจากบ้านต่างจังหวัด เพื่อหุงหาไปกินเอง ไม่ต้องซื้อ

นางสาวสุรินทร์ พิมพา กล่าวอีกว่า ในตอนนี้ลูกจ้างที่มีลูกที่ต้องเรียนหนังสือก็ลำบากมาก ต้องหาเงินในลูกไปเรียน ทั้ง ค่ารถ ค่ากิน ค่ากิจกรรมของการเรียนอีก  เมื่อเดือนธันวาคม  2553 มีคนงานอายุ 60 ปีขอลาออกงาน 1 คน ไปคุยกับนายจ้างนายจ้างจ่าย  2  หมื่นบาท ทำงานมานานกว่า 20 ปี  แล้วมีข่าวมาว่าถ้าใครอยากออกงานให้เขียนใบลาเข้าไปแล้วนายจ้างจะพิจารณาให้ มีคนงาน 2 คนในแผนก ลูกไม้ มีอายุราว 40-44 ปี ทำงานมา 15 ปี 1 คน อีกคนอายุงาน 11 ปี เขียนใบลาขอออกงานมีผลในวันที่  14  มกราคม  2554  นายจ้างอนุมัติจ่ายคนละ 2 หมื่นบาท ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า การที่นายจ้างใช้วิธีการใช้มาตรา 75 จ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 หากคนงานทนไม่ได้ลาออกไปเองจ่ายเงินให้บ้างเล็กน้อย หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเหล่านี้ก็ตองจ่ายเงินตามกฎหมายซึ่งอาจเป็นเงิน มากพอควร จึงอาจเป็นไปได้ ที่นายจ้างจะใช้วิธีการแบบนี้แก้ปัญหาแทนการเลิกจ้างคนงานที่อายุมาก

(นักสื่อสารแรงงาน, 26-1-2554)

ลูกจ้างงง NTN นิเด็คประกาศปิดกิจการ! พร้อมเปิดโครงการสมัครใจลาออก?

เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา บริษัท นิเด็ค แบริ่ง ระยอง ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด ประกาศปิดกิจการอย่างถาวร  แต่เปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจ  มีการติดประกาศบนบอร์ดของบริษัทฯว่า บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบว่า บริษัทฯ ได้กำหนดวันสำหรับการปิดกิจการอย่างถาวร ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2554 เป็นต้นไป พนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงาน และอยู่ร่วมกันจนถึงวันสุดท้ายคือ วันที่ 29 มกราคม 2554 โดยบริษัทฯ จะจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานที่ถูกเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานพร้อมค่า บอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน

หลังจากที่เปิดโครงการลาออกด้วยความ สมัครใจ ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2553 และมีพนักงานเข้าโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 816 คน บริษัทฯก็เปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจขึ้นอีกเป็นครั้งสุดท้ายและอ้าง อีกว่า สถานการณ์ของบริษัทฯ ณ วันนี้ ได้มาถึงจุดที่บริษัทฯไม่สามารถดำเนินกิจการได้อีกต่อไป ดังนั้นบริษัทฯมีความจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะแจ้งให้พนักงานที่ ยังไม่ได้เข้าโครงการลาออกด้วยความสมัครใจทุกคนทราบดังนี้ ค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยอัตราระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรง งานบวกเงินช่วยเหลือพิเศษ 45 วัน บริษัทฯจะจ่ายสิทธิประโยชน์นี้ให้แก่พนักงานในวันที่ 29 มกราคม 2554

นางขันแก้ว  สุโพธิ์ ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน กล่าวว่า ถึงแม้บริษัทฯจะติดประกาศปิดกิจการให้พนักงานรับทราบแต่ในฐานะคนงานคนหนึ่ง ต้องการให้ผู้บริหารแสดงความจริงใจโดยการออกมาชี้แจงถึงสถานการณ์ที่เกิด ขึ้นกับปากของผู้บริหารถึงคนงานด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่ติดกระดาษที่บอร์ดเพื่อแจ้งให้คนงานได้รับทราบเท่านั้น และไม่มีการดูแลเอาใจใส่คนท้องหรือคนงานเลย ทั้งที่คนงานทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เคยทำผลกำไรให้กับบริษัทฯ

อดีตคนงาน นิเด็ค คนหนึ่ง ซึ่งเข้าโครงการดังกล่าว กล่าวว่า เธอออกไปหาสมัครงานที่นิคมอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นได้ไปสมัครงานที่ศาลาแดง หน้านิคมฯ มีการตั้งโต๊ะรับสมัครงานของรับเหมาค่าแรง (subcontract)นั้นระบุชัดเจนว่า ไม่รับพนักงานที่มาจาก บริษัท นิเด็ค เปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจและปิดกิจการแล้วทำไมต้องกีดกันคนงานไม่ให้ มีงานทำด้วย วอนผู้มีอำนาจของบ้านเมืองลงมาแก้ปัญหา ให้ได้มีงานทำเพื่อเลี้ยงพ่อแม่ต่อไปด้วย โปรดอย่ากีดกันคนงานเอ็นทีเอ็นนิเด็ดในการที่จะมีงานทำ โดยที่เราเองก็ไม่ทราบเหตุผลว่าทำไหมถึงไม่รับคนงานที่มาจากโรงงานนี้ทำงาน

แรงงานที่นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยองขาดแคลนจริงหรือทั้งที่นายจ้างหลายกิจการต่างเปิดโครงการสมัครใจลาออก มีจำนวนพนักงานเข้าตามโครงการดังกล่าวมากมายที่ยังไม่มีงานทำ แต่มีการประกาศว่าแรงงานไทยขาดแคลนต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ความจริงแล้วนโยบาย อำนาจ นายทุน ชี้นำให้นำแรงงานข้ามชาติเข้ามา เพื่อลดต้นทุนการผลิต และลดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงาน เพราะแรงงานข้ามชาติไม่มีการรวมตัวต่อรอง ไม่มีการเรียกร้องต่อรอง ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างใหม่เพื่อเอาลัดเอาเปรียบคนงานมากขึ้น

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นได้ว่า การละเมิดสิทธิแรงงานกำลังรุนแรงและแรงงานไทยถูกกระทำมากยิ่งขึ้น เปิดช่องทางของกฎหมายให้นายจ้างเอาเปรียบกับลูกจ้าง ซึ่งตนก็สงสัยอยู่ว่ากระทรวงแรงงานเคยคิดแก้ปัญหาเชิงรุกช่วยเหลือลูกจ้าง บ้างหรือไม่ นี้คือคำถามทิ้งท้ายของหนึ่งในพนักงานNTNนิเด็ด ที่ยังรอความจริงว่าบริษัทแจ้งปิดกิจการ หรือหวังแค่ล้มสหภาพแรงงาน

อนึ่ง บริษัท NIDEC CORPORATION เป็นบริษัทแม่ที่เป็นอันดับที่ 14 ของโลก  ทั้งนี้ยังมีการขนถ่ายสินค้าภายในบริษัทเหมือนปกติ

(นักสื่อสารแรงงาน, 26-1-2554)

แรงงาน 'ลิเบีย' เจอมรสุมหนักเจ้าหนี้โขกดอกบีบยึดที่ทำกิน

25 ม.ค.54 - นายมานะ พึ่งกล่อม ตัวแทนแรงงานไทยในลิเบียที่ไปทำงานผ่านนายหน้าบริษัทจัดหางานเงินและทอง พัฒนา จำกัดส่งไปยังบริษัทนายจ้างแรนฮิลล์ (RANHILL) เปิดเผยว่า ตนได้เข้ายื่นเอกสารหลักฐานร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับ นายสุวิทย์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรปราการ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา โดยสรุปการไม่ได้รับความเป็นธรรมคือบริษัทจัดหางานก่อนเดินทางไปได้ทำสัญญา กับแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่เดือน ต.ค.52

หนังสือร้องเรียน ระบุว่า หลังจากพี่น้องแรงงานเดินทางไปถึงลิเบียแล้ว ข้อตกลงในหนังสือสัญญาว่าจ้างปรากฏว่า ไม่ตรงตามที่กำหนดตกลงกันเอาไว้ที่เมืองไทยอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ต้องเซ็นสัญญาว่าจ้างใหม่ แบบมัดมือชกและไม่มีความเป็นมาตรฐาน,ตำแหน่งงานถูกสับเปลี่ยน, อัตราค่าแรงคนงานไม่ตรงตามที่ระบุเอาไว้, ทำงานเกินวันละ8 ชม., งานไม่มีโอทีทำจนถึงปัจจุบัน ก่อนมาแจ้งว่ามีโอทีทุกวันและมีโอทีบังคับ, ที่พักอาหาร น้ำดื่ม ไม่มีการจัดระบบที่ดีและเหมาะสมต่อสุขภาพพลานามัย, การเดินทาง ออกไปปฏิบัติงานไม่มีมาตรฐาน ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพ ต้องเดินเท้าวันละ3-6 กม.วันละ 3-4 รอบ, การเบิกจ่ายค่าแรงงานของคนงานแต่ละเดือนไม่ตรงตามที่กำหนดเอาไว้ และการโอนค่าแรงงานของคนงานไม่โอนโดยตรงให้กับคนงานจนถึงเดือนต.ค.53

"ตามที่พวกกระผมได้กล่าวเอาไว้ เบื้องต้นนั้นปัญหาตรงนี้ได้สร้างความลำบากและความเดือดร้อนให้แก่ตัวพวก กระผมและครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะพวกกระผมได้กู้หนี้ยืมสินไว้กับนายทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางมา ทำงานในครั้งนี้เป็นค่าคอมมิชชั่นที่สูงเกินจริงเช่น 1.2-1.9 แสนบาทต่อคนมีเรื่องของดอกเบี้ยเป็นภาวะร่วมอยู่ด้วย โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นๆค้ำจำนองเป็นหลักประกันเอาไว้กับนายทุน ซึ่งล่าสุดผมเองได้เสียที่ดินที่เอาจำนองไว้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา อีกหลายคนกำลังถูกทวงหนี้และดอกเบี้ยอย่างหนักด้วย"

นายมานะ เปิดเผยอีกว่า วันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมาได้เดินทางมาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ เพื่อมาไต่สวนคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทที่บริษัท จัดหางานเงินและทองฯได้ฟ้องร้องตนเรียกร้องเงิน 1 ล้านบาท ทั้งนี้ทนายของตนที่ไปขอร้องให้สภาทนายความแห่งประเทศไทยช่วยเหลือติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการไต่สวนออกไป

"ขอร้องให้ทางผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้าน เมืองรีบลงมาดูแลปัญหาแรงงานไทยในลิเบียด่วน เพราะตอนนี้กว่า 1 พันชีวิตตกระกำลำบากต้องการกลับประเทศไทยแต่ก็กลับไม่ได้ นายจ้างไม่ให้กลับไม่จ่ายค่าเครื่องบินให้ เงินค่าจ้างแรงงานยิ่งล่าช้าหนักกว่าเก่า พวกผมที่เดินทางกลับมาแล้วและกำลังจะกลับมาอีกพยายามรวมตัวกันร้องเรียนขอ ความเป็นธรรมซึ่งจะดิ้นรนต่อสู้ต่อไปอย่างถึงที่สุด"

นายมานะ ยังได้กล่าวถึงกรณี นายยกผาลี ชาวนครพนมที่ไปทำงานลิเบีย 3-4 เดือนแล้วเสียชีวิตเป็นตัวอย่างหนึ่งที่การส่งแรงงานไปลิเบียไม่มีมาตรฐาน คนสูงอายุและมีโรคประจำตัวเป็นความดันสูงยังผ่านการตรวจสอบสุขภาพอีกแล้ว ต้องไปตกระกำลำบากจนจบชีวิตไปและยังไม่ได้ค่าประกันแรงงานอีกถึง 1.7 แสนบาท

(สยามรัฐ, 26-1-2554)

'เอ็นจีโอ' โวยรัฐหละหลวมรวมหัวนายหน้าค้าแรงงาน

26 ม.ค. 54 - ศูนย์ศึกษาพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์,ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวได้จัดการประชุมเชิง ปฏิบัติการเรื่อง"สถานการณ์การย้ายถิ่นและผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิและ การค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ" โดย นายสมพงษ์สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวกล่าวว่าแม้ สังคมไทยจะมองเห็นความสำคัญของแรงงานกลุ่มนี้มากขึ้น แต่ผลการวิจัยที่ได้ขบวนการนำส่งแรงงานด้วยวิธีผิดกฎหมายทำให้ท้ายที่สุดแรง งานต้องไปลงเอยอยู่บนเรือประมง หรือแหล่งค้าประเวณีหลายแห่ง

ขณะที่ นายฟิลลิป โรเบิร์ตสันนักวิจัยอิสระเรื่องการค้ามนุษย์ กล่าวว่ารัฐบาลมักจะพูดอยู่เสมอว่าให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนรวมถึง ปัญหาแรงงานต่างด้าวแต่การปฏิบัตินั้นแทบจะตรงกันข้ามกับความจริง ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่รัฐ คือ

สิ่งที่แรงงานต่างด้าวกลัวมากที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่สังกัดอะไรก็ตามมักจะเห็นแรงงานต่างด้าวเป็น ธนาคารขั้นดีที่สามารถรีดไถเงินได้เป็นประจำ ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วง เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ก็ทำให้พวกเขาไม่มีที่พึ่ง และถูกกระบวนการเอารัดเอาเปรียบจากนายหน้าในที่สุด

(แนวหน้า, 27-1-2554)

อัยการสั่งฟ้อง 3 แกนนำไทรอัมพ์ข้อหามั่วสุมก่อความวุ่นวาย

27 ม.ค. 54 - น.ส.จิตรา  คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ  น.ส.บุญรอด  สายวงศ์ อดีตเลขาธิการสหภาพฯและนายสุนทร บุญยอด  ได้เข้าฟังคำพิจารณาของอัยการ  ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดา กรุงเทพฯ  กรณีถูกออกหมายจับข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 108 เลขที่ 2494/2552 และ 2495/2552 ลงวันที่ 27 ส.ค. 52

เหตุเกิดจาก การชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.นั้น เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศ ไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ แม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

เจ้าพนักงานอัยการได้แจ้งผลการ พิจารณาโดยอัยการได้ส่งฟ้องศาลผู้ต้องหา ทั้งสามรายในข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ  โดยอัยการได้ยกฟ้องข้อหากีดขวางทางจราจรเนื่องจากคดีหมดอายุความ

ทั้งนี้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ส่ง ตัวผู้ต้องหาทั้งสามนำไปฝากขังไว้ที่ ศาลอาญารัชฎา  โดยมีกลุ่มผู้ใช้แรงงานมาเป็นเพื่อนและให้กำลังใจผู้ต้องหาทั้งสามประมาณ 40 คน  และในขณะนี้ทางทนายของผู้ต้องหาทั้งความกำลังเดินเรื่องการขอประกันตัว 

(ประชาไท, 27-1-2554)

โฆษกกระทรวงแรงงานแนะนายจ้างนำแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์ไปคลอดที่โรงพยาบาล

27 ม.ค. 54 - นายนายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กรณีที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้ง ลาว กัมพูชา และพม่า ที่ทำงานในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย เกิดตั้งครรภ์และคลอดบุตรในประเทศไทย ขอแนะนำนายจ้างให้พาแรงงานต่างด้าวไปคลอดที่โรงพยาบาล รวมทั้งเก็บสูติบัตรที่โรงพยาบาลออกให้ พร้อมถ่ายสำเนาเก็บไว้ด้วย เนื่องจากในสูติบัตรดังกล่าวจะระบุว่าใครเป็นผู้ให้กำเนิด เพื่อเวลาเดินทางกลับ บุตรของแรงงานต่างด้าวจะได้มีหลักฐานในการเข้าประเทศต้นทาง เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพ พม่า และเข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ก็ได้รับทราบว่าทางการพม่ากำลังเร่งออกมาตรการเพื่อรับรองบุคคลของพม่าใน ต่างประเทศ ซึ่งเตรียมนำเรื่องนี้เข้าคณะรัฐมนตรีของประเทศพม่า หากผ่านความเห็นชอบจะให้สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าในประเทศ ไทยออกเอกสารรับรองบุคคลให้แก่แรงงานพม่า และบุตรที่เกิดในประเทศไทยด้วย

โฆษกกระทรวงแรงงาน ยังกล่าวแนะนำให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยและใบอนุญาตการทำงานจะหมด อายุลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ รีบไปต่อใบอนุญาตการทำงานที่จัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 27-1-2554)

ปธ.สหภาพฯเห็นพ้อง 'กสท' จับมือ 'ทรู'

28 ม.ค. 54 - นายสุขุม ชื่นมะนา ประธานสหภาพแรงงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวถึงกรณีที่ กสท ร่วมมือกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด เข้าซื้อหุ้นในกลุ่มของบริษัทฮัทชิสัน ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการเซ็นสัญญาระหว่าง กสท และ ทรู ที่เกิดขึ้นวานนี้ (27 ม.ค.) เนื่องจากไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทใดๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันการทำธุรกิจมือถือร่วมกับทรูในระบบ3 จีเอชเอสพีเอ ถือเป็นการสร้างรายได้ในระยะยาว เพราะหาก กสท ไม่เร่งเซ็นสัญญาหรือทำธุรกิจร่วมกับทรูจะทำให้บริษัทสูญเสียรายได้และเสีย โอกาส


"ส่วนตัวเห็นว่าร่วมมือนี้ กสท ได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ ดังนั้น จึงไม่ได้ต่อต้านหรือคัดค้านและเห็นชอบตามที่ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายมุมมองในภาคธุรกิจ ถ้าใครเดินงานเร็วก็จะถูกเตะขา แต่การทำกับทรูก็ต้องมีเสียประโยชน์ แต่ถ้าได้ประโยชน์มากกว่าเสียก็ต้องยอมรับ เช่นเดียวกับวันนี้ ไม่มีใครช่างน้ำหนักได้ว่าใครได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์" ประธานสหภาพ กล่าว


อย่างไรก็ตาม สหภาพฯ กสท ได้ส่งข้อเสนอเรียกร้องสองประการ คือ 1.ในส่วนของสัมปทานเดิมของบริษัท ทรูมูฟ ขอให้ ผู้บริหาร กสท เร่งรัด การโอนทรัพย์สินตามสัญญาบีทีโอ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด และ 2. การเซ็นสัญญาเช่าใช้โครงข่ายกับทรูล่าสุด ซึ่งมีอายุ 14 ปี คลื่นความถี่ในการให้บริการจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของ กสท เท่านั้น


ขณะที่ วันเดียวกัน มีบัตรสารสนเทศ จากพนักงาน กสท บางส่วน ส่งโทรสาร (แฟ๊กซ์) ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร โดยมีประเด็นหลัก คือ ไม่เห็นด้วยที่ กสท ทำสัญญากับ ทรู และให้ กสท รอการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการล่ารายชื่อ และจำนวนพนักงานก่อนยื่นเสนอต่อ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานบอร์ด กสท ต่อไป

(ไทยรัฐ, 28-1-2554)

คนงานแม็กซิสเตรียมรุกเข้ากรุงยื่นนายกแก้ปัญหา

27 ม.ค. 54 - คนงานแม็คซิสแพ็คกะเป๋านัดกันเตรียมเคลื่อนพลหวังให้ผู้มีอำนาจทางการเมือง สั่งการให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าไปทำงาน และเข้าสู่แรงงานสัมพันธ์ที่ดีตามนโยบายของรัฐ ด้วยความรู้สึกไม่อยากที่จะทุบหม้อข้าวตัวเอง แต่ต้องการการจ้างงานที่มีความเป็นธรรม เกิดสิทธิอันชอบธรรมของลูกจ้างนั้น แต่นายจ้างไม่ต้องจ่ายต้นทุนเพิ่ม นายจ้างยังหวังการจ้างงานแรงงานราคาถูก นำแรงงานข้ามชาติทำงานแทน
 
หนึ่งในแรงงานข้ามคนจีนที่เข้าร่วมเรียกร้องกับสหภาพแรงงาน อายุ 36 ปี กล่าวว่า ปู่ย่าตายายเป็นคนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 อาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ตนเองเข้ามาทำงานที่บริษัทฯแม็กซิสได้ 5 ปีแล้ว อยู่แผนก เปลี่ยนพิมพ์ (อัดดอกยาง) รู้สึกแค้น ทำงานมานานแล้ว ขออะไรไปก็ไม่ได้ ถ้าเราไม่สู้เป็นไปไม่ได้ที่นายจ้างจะให้เรามาง่ายๆก็ต้องสู้ ตอนนี้คงต้องทำทุกอย่างเพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว
 
ให้สัมภาษณ์กับนักสื่อสารแรงงานต่อกรณีการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่า ไม่ เคยเชื่อใจเจ้าหน้าที่ มีอะไรหลายอย่างที่เจ้าหน้าที่ทำมีเงื่อนงำ เหมื่อนเข้าข้างนายจ้าง ถึงแม้ว่าผมจะเป็นคนจีนผมก็จะสู้จนถึงที่สุด ขอให้คนงานไทยที่เข้าไปทำงานอยู่ตอนนี้ออกมาเรียกร้องสิทธิของตัวเองด้วยกัน
 
นายสราวุธ  เมียดประโคน อายุ 30 ปี ไม่มีครอบครัว กล่าวว่า เป็นห่วงการทำงาน ไม่รู้จะเข้าทำงานตอนไหน เจ้าหน้าที่ของรัฐทำงานช้ามาก รับเรื่องไปแล้วก็ได้แต่รับไปไม่ทำอะไร เรื่องที่รับไปไม่มีความคืบหน้า ผมอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ของตน รู้จักหน้าที่ของตนเองว่า ต้องรับใช้ประชาชน คนงานหวังว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐคงต้องสร้างความกระจ่างและช่วยเหลือ แรงงานได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้

(นักสื่อสารแรงงาน, 28-1-2554)

ประสานลิเบียช่วยแรงงานไทย

กรมการจัดหางาน-นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้รับการร้องทุกข์จาก น.ส.ประทุม ภูเดช กับพวกรวม 19 คน กรณีสามีและเพื่อนคนงานไทย จำนวน 130 คน ไปทำงานในประเทศลิเบีย โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานแมนโปร เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทจัดหางาน พี.พี.พี ก่อสร้าง (ไทยแลนด์) จำกัด มีกลุ่มชายฉกรรจ์ชาวลิเบีย 100 คน ใช้อาวุธปืนบุกปล้นทรัพย์ภายในแคมป์ที่พักคนงานไทย บังกลาเทศ และเกาหลี ซึ่งมีคนงานพักอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 500 คน ขู่ทำร้ายและไล่คนงานออกจากแคมป์ ยึดเครื่องมือหนักชนิดต่างๆ เผาทำลายสำนักงาน คนงานหลบหนีไปพักอาศัยอยู่ในโรงอาหารภายในแคมป์คนงาน อยู่ห่างออกไปกว่า 3 กิโลเมตร

ล่าสุดทางการลิเบียประกาศเคอร์ฟิว ห้ามเข้า-ออก ในบริเวณที่มีกลุ่มชายฉกรรจ์บุกรุกเผาทำลายกรมการจัดหางานประสานกับสำนักงาน ใหญ่ของบริษัท WON Construction Co.,Ltd  ที่ประเทศเกาหลี และสำนักงานสาขาที่เมือง Benghazi ขอให้ทางการลิเบียส่งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไปคุ้มครองคนงาน ตลอดจนเพิ่มอาหารในแคมป์ที่มีคนงานหลบหนีภัยเข้าไปพักอาศัย กรมการจัดหางานจะติดตามสถานการณ์โดยประสานกับบริษัทจัดหางานผู้จัดส่งคนงาน ไปทำงานอย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะยุติ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

(ข่าวสด, 28-1-2554)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อียิปต์ปิดสำนักงานอัลจาซีรา ถอนใบอนุญาตทำงานนักข่าว

Posted: 30 Jan 2011 09:50 AM PST

 
 
เว็บไซต์อัลจาซีรา รายงานว่ารัฐบาลอียิปต์ปิดสถานีโทรทัศน์อัลจาซีราสาขาอียิปต์และเพิกถอนใบอนุญาตการทำงานของเจ้าหน้าที่สถานีในวันนี้ ขณะที่โฆษกของอัลจาซีราระบุ นี่คือการบีบคั้นและคุกคามเสรีภาพในการรายงานข่าวของผู้สื่อข่าว
 
สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ประกาศว่า รัฐบาลอียิปต์ถอนใบอนุญาตออกอากาศของสถานีอัลจาซีร่าจากประเทศอียิปต์ และจะปิดสำนักงานของอัลจาซีราในกรุงไคโร
 
"รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูลข่าวสารสั่งให้สถานีอัลจาซีราหยุดดำเนินการชั่วคราวและสั่งเพิกถอนในอนุญาตของพนักงานสถานีทั้งหมดในวันนี้โฆษกของมีนานิวส์ กล่าวในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
 
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวอัลจาซีราได้ออกแถลงการณ์ประณามการปิดสถานีโทรทัศน์อัลจาซีราสาขาไคโรโดยรัฐบาลอียิปต์
 
โฆษกของอัลจาซีรากล่าวว่า ทางบริษัทจะเดินหน้ารายงานข่าวต่อไปอย่างไม่เกรงกลัว
 
"อัลจาซีราเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการบีบคั้นและคุกคามเสรีภาพในการรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวของพวกเรา"
 
"ในภาวะที่เกิดความปั่นป่วนโกลาหลขึ้นในสังคมอียิปต์เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เสียงของทุกฝ่ายจะต้องถูกรับฟัง การปิดสำนักงานของเราโดยรัฐบาลอียิปต์นั้นมีจุดประสงค์เพื่อจะปิดกั้นและทำให้เสียงของประชาชนชาวอียิปต์เงียบลง
 
"อัลจาซีรา ขอให้คำมั่นกับผู้ชมทั้งในประเทศอียิปต์และทั่วโลกว่าเราจะยังคงนำเสนอรายงานสถานการณ์ในอียิปต์แบบเจาะลึกและรอบด้านต่อไป
 
"ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีราได้นำเสนอรายงานซึ่งหาได้ยากจากทั่วทุกมุมของอียิปต์โดยต้องเผชิญหน้ากับความอันตรายและสถานการณ์ที่ไม่ปกติ อัลจาซีราถูกข่มขู่จากรัฐบาลอียิปต์ด้วยการทำลายเสรีภาพในการรายงานข่าวสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอียิปต์
 
ด้านBlognone รายงานว่าสำนักข่าวอัลจาซีราจากประเทศกาตาร์ เคยประกาศเปิดคลังวิดีโอของตัวเองให้ผู้อื่นนำไปใช้ ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons มาก่อนแล้ว
ในเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ที่ประเทศอียิปต์ อัลจาซีราอาศัยข้อได้เปรียบที่เป็นนักข่าวมุสลิมด้วยกัน และส่งทีมเข้าไปในกรุงไคโรถึง 7 ทีม รวมถึงนักข่าวในจังหวัดอื่นๆ ของอียิปต์อีกมาก จึงมีเนื้อหา ภาพถ่าย วิดีโอ บทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประท้วงมากมาย
 
และเมื่ออียิปต์ตัดการสื่อสารหลายๆ ชนิดกับโลกภายนอก สำนักข่าวอื่นๆ จึงรายงานข่าวจากอียิปต์ได้ค่อนข้างจำกัด ทาง Al Jazeera ที่มีเนื้อหาข่าวพวกนี้พร้อมอยู่แล้ว จึงเปิดเนื้อหาบางส่วนออกมาเป็น Creative Commons เพื่อให้สำนักข่าวอื่นๆ นำไปใช้ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ขอเพียงอ้างที่มาจากอัลจาซีรา เท่านั้น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สวนป่าคอนสาร: 32 ปีที่ไร้ที่ดิน กับคดี อ.อ.ป.ฟ้องขับไล่ 31 ชาวบ้าน

Posted: 30 Jan 2011 08:40 AM PST

 
ข้อมูลจาก: ทีมปฏิบัติงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
 
 
 
 
ขณะที่โฉนดชุมชนฉบับแรกของประเทศ โดยรัฐบาลที่นำโดยนายกอภิสิทธิ เวชชาชีวะ จะถูกส่งมอบให้กับชาวบ้านสหกรณ์การเช่าที่ดินคลองโยง ในวันที่ 12 ก.พ.นี้ แต่ในอีกหลายพื้นที่ของประเทศก็ยังประสบกับปัญหาเกษตรกรรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่ว่าที่ดินรกร้างว่างเปล่าของเอกชน ที่เขตป่าที่อยู่ในความดูแลของรัฐ หรือที่ดินที่ถูกประกาศเขตพื้นที่รัฐทับซ้อนกับที่ดินทำกินของชาวบ้าน
 
กรณีสวนป่าคอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ คือ อีกหนึ่งรูปธรรมปัญหาพื้นที่พิพาทของชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดในสาระสำคัญของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขการครอบครองมาก่อน 3 ปี แม้จากประวัติศาสตร์การบุกเบิกถือครองทำประโยชน์ในที่ดินชาวบ้านจะมีความชอบธรรมที่จะมีที่ดินทำกิน หลังจากต้องสูญเสียที่ดินมาเป็นเวลานานกว่า 32 ปี แต่จากการดำเนินการของรัฐที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถนำเอาที่ดินซึ่งหมดอายุสัมปทานมาจัดให้แก่ชาวบ้านที่ยากจนได้
 
นอกจากนั้นที่ผ่านมาองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เจ้าของพื้นที่สวนป่าคอนสาร ยังได้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือเพื่อบีบบังคับให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่โดยการฟ้องขับไล่ชาวบ้านจำนวน 31 คน และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมถึงต้นไม้ อีกทั้งได้ขอคุ้มครองชั่วคราว ห้ามไม่ให้ขยายพื้นที่ครอบครองออกจากพื้นที่เดิม และห้ามไม่ให้เพาะปลูกเพิ่มเติม
 
คดีดังกล่าวศาลได้ออกหมายการบังคับคดีให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งทางทนายฝ่ายชาวบ้านได้ยื่นคำร้องของดการบังคดีและศาลจะมีคำพิพากษาในวันที่ 16 ก.พ.2554 นี้
 
 
“ชุมชนบ่อแก้ว” การฮึดสู้โดยผู้สูญเสียที่ดิน
 
นับเนื่องจากเมื่อปี 2521 ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าไปดำเนินโครงการปลูกสร้างสวนป่าคอนสาร เพื่อปลูกยูคาลิปตัส และให้สัมปทานทำไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมด 4,401 ไร่ ของ จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านหลายครอบครัวต้องอพยพออกจากพื้นที่เดิม บ้างไปอาศัยอยู่กับญาติ และบางครอบครัวต้องกลายเป็นแรงงานรับจ้างเพราะไม่มีที่ดินหลงเหลืออยู่เลย
 
การปลูกสร้างสวนป่าคอนสารสร้างปัญหาใหญ่ให้ชาวบ้าน ต.ทุ่งพระ เนื่องจากมีการใช้พื้นที่เกินพื้นที่จริงที่วางไว้ และรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทำกิน-ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกร และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่
 
ชาวบ้านผู้เสียหายกลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มที่ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่จนกลายเป็นกลุ่มคนไร้ที่ดินทำกิน ด้วยวิธีการบังคับ ข่มขู่ คุกคาม จับกุม ดำเนินคดี ตั้งข้อหาเกินความจริงใส่ร้ายชาวบ้านด้วยการเอาระเบิดมาฝังไว้ในพื้นที่
 
กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ตกอยู่ในภาวะต้องจำยอมสมัครเป็นสมาชิกหมู่บ้านป่าไม้จำนวน 130 ครอบครัว ซึ่งปัจจุบัน อ.อ.ป.ยังไม่ได้จัดสรรที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับสมาชิกกลุ่มนี้ตามที่สัญญาไว้ ประกอบกับบางครอบครัวได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะไปหาที่ดินทำกินได้จากที่ไหน
 
“ชุมชนบ่อแก้ว” จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 จากการรวมตัวของชาวบ้านผู้ประสบปัญหาสูญเสียที่ดินมาเป็นเวลานานกว่า 32 ปี ที่ได้เข้าปักหลักชุมนุมในพื้นที่บริเวณสวนป่าคอนสาร ซึ่งอยู่ในการดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิเพื่อเรียกร้องให้ได้ทำกินในพื้นที่ทำกินเดิมของตนเอง
 
ทั้งนี้ ก่อนมาเป็นชุมชนบ่อแก้วในปัจจุบัน ชาวบ้านใน ต.ทุ่งพระ อยู่อาศัยกันเป็นชุมชนประกอบด้วย บ้านน้อยภูซาง บ้านหัวปลวกแหลม บ้านทุ่งพระ บ้านโนนหัวนา บ้านห้วยไห โดยยืนยันได้จากหลักฐานสิทธิการถือครองที่ดิน สค.1 ที่ออกเมื่อปี พ.ศ.2486
 
 
การต่อสู้อันยาวนานของชุมชน
 
ก่อนหน้านี้ชาวบ้าน ต.ทุ่งพระได้รวมตัวกันคัดค้าน อ.อ.ป.ตั้งแต่เริ่มเข้ามาดำเนินโครงการ และเรียกร้องให้ยกเลิกการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารและคืนสิทธิในที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านผู้เดือดร้อน แต่ อ.อ.ป.ก็ยังคงเข้าดำเนินโครงการมาจนถึงปัจจุบัน
 
ในปี พ.ศ.2547-2548 ผู้เดือดร้อนจากที่ดินทำกินกรณีสวนป่าคอนสาร เริ่มชุมนุมเรียกร้องให้มีกลไกการแก้ไขปัญหาร่วม โดยมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประชาคมตำบลทุ่งพระ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงการเรียกร้องผ่านองค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
 
คณะทำงานที่แต่งตั้งเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัด และมีหัวหน้าสวนป่าคอนสารเป็นประธานคณะทำงาน ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ชาวบ้านจำนวน 277 ราย ได้รับผลกระทบจากการปลูกสร้างสวนป่าจริง โดยมีมติให้ยกเลิกสวนป่าคอนสารและนำพื้นที่มาจัดสรรให้กับชาวบ้าน
 
ต่อมาจึงมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อ ประชาคมตำบลทุ่งพระจากทุกหมู่บ้าน ตอกย้ำมติเดิมให้ยกเลิกสวนป่าคอนสารและให้นำที่ดินจำนวน 1,500 ไร่มาจัดสรรให้ชาวบ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ได้
 
แต่คำตอบที่ชัดเจนเหล่านี้ก็ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้เนื่องจากอ้างว่าเรื่องนี้ต้องมีแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายของรัฐมนตรีกระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
 
24 มี.ค.2552 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) คณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีกระบวนการแก้ไขปัญหากรณีปัญหาที่ดินป่าไม้จนถึงปัจจุบันไปจำนวนทั้งหมด 8 ครั้ง และได้ลงพื้นที่ดูข้อเท็จจริงที่สวนป่าคอนสาร จำนวน 4 ครั้ง แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่มีแนวทางหรือกระบวนการที่จะทำให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินในพื้นที่พิพาทได้
 
ตลอดระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมาผู้ได้รับผลกระทบจากการปลูกสร้างสวนป่าคอนสารทับที่ดินทำกิน ที่ได้สูญเสียที่ดินไป และยังไม่มีความมั่นใจว่าจะได้ที่ดินกลับคืนมาเมื่อไหร่
 
 
 “โฉนดชุมชน” แนวทางที่ยังรอคำตอบ เมื่อชาวบ้านยังโดนคดี
 
วันที่ 17 ก.ค.2552 ผู้เดือดร้อนจากสวนป่าคอนสารจำนวน 169 ครอบครัวได้เข้าไปปักหลักรอคำตอบจากรัฐบาลในบริเวณพื้นที่พิพาท ตั้งเป็นชุมชนบ่อแก้ว โดยมีข้อเรียกร้องให้ยกเลิกสวนป่าคอนสารโดยเด็ดขาด และให้นำที่ดินมาจัดสรรให้ชาวบ้านในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” ประกอบกับในระหว่างการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ได้จำนวน 1,500 ไร่ ตามมติประชาคมทุ่งพระ (29 ธ.ค.2551)
 
ปรากฏว่าในเดือนถัดมา เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2552 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้ฟ้องขับไล่ชาวบ้านผู้เดือดร้อนจำนวน 31 คนให้ออกจากพื้นที่ และได้ขอคุ้มครองชั่วคราว ห้ามไม่ให้ขยายพื้นที่ครอบครองออกจากพื้นที่เดิม ไม่ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น และห้ามขัดขวางโจทก์ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่พิพาท
 
ตลอดระยะเวลาร่วม 2 ปีที่ผ่านมา อ.อ.ป.ได้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือบีบบังคับให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ โดยเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553 ศาลได้พิพากษาให้ชาวบ้าน 31 คนออกจากพื้นที่และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมถึงต้นไม้ และเมื่อวันที่ 17 ส.ค.2553 ศาลได้ออกหมายการบังคับคดีให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งทางทนายฝ่ายชาวบ้านได้ยื่นคำร้องของดการบังคดีและศาลจะมีคำพิพากษาในวันที่ 16 ก.พ.2554 นี้
 
การดำเนินคดีกับชาวบ้าน นอกจากจะชี้ให้เห็นว่า อ.อ.ปไม่ยอมรับต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ยังพิสูจน์ว่าปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเพราะความล่าช้าและการไม่กล้าตัดสินใจของหน่วยงานรัฐ จึงเป็นการตอกย้ำที่เพิ่มความทุกข์ทรมานให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหาที่ดินทำกิน
 
ทั้งนี้ มาตรการระยะสั้นที่ชาวบ้านเรียกร้องเพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนของพวกเขา คือ ทาง อ.อ.ป ต้องยกเลิกการดำเนินคดีกับชาวบ้านทั้ง 31 คน พร้อมยืนยันว่าไม่ได้บุกรุกที่ดินของ ออป.แต่เป็นการเข้าไปเพื่อขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินเดิมของชาวบ้าน และผลักดันให้รัฐบาลเร่งจัดสรรที่ดินทำกินในพื้นที่พิพาทจำนวน 1,500 ไร่ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 32 ปี ในรูปแบบ "โฉนดชุมชน"
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เหตุเกิดที่มติชน : เสียงร้องเรียนแด่เพื่อนร่วมวิชาชีพ

Posted: 30 Jan 2011 08:00 AM PST

 
 
ได้รับทราบจากเพื่อนในแวดวงสื่อมวลชนว่า กำลังเกิดความระส่ำระสายอย่างหนักในหมู่พนักงานบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
ความระส่ำระสายดังกล่าวไม่ใช่เกิดการโยกย้ายระดับบริหารครั้งใหญ่ในบริษัทเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่เกิดจากการออกระเบียบบริษัทซึ่งเป็นข้อตกลงสภาพการจ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงและเอาเปรียบพนักงานอย่างรุนแรง
 
ในปี 2547 พนักงานมติชน รู้สึกยินดีและชื่นชมผู้บริหารบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุพนักงานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)และบริษัทในเครือซึ่งมีสาระสำคัญคือ
 
1.พนักงานอายุ 60 ปีซึ่งเกษียณอายุ ให้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จและเงินค่าชดเชย โดยเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จ ให้นำระยะเวลาการทำงานคิดเป็นจำนวนปี คูณอัตราเงินเดือนสุดท้ายเมื่อครบเกษียณอายุ ทั้งนี้ จะต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่าของอัตราเงินเดือนสุดท้าย (เงินชดเชยที่จ่ายให้ให้ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของเงินบำเหน็จด้วย)
 
2.กรณีที่พนักงานรายใดมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และประสงค์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงานด้วยการเกษียณอายุก่อนกำหนด สามารถกระทำได้โดยแจ้งความจำนงล่วงหน้ากับผู้จัดการทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยพนักงานผู้นั้นจะได้รับสิทธิในเงินบำเหน็จตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับพนักงานที่อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์คือให้นับจำนวนปีที่ทำงานบวกจำนวนปีของอายุที่เหลือจนครบ 60 ปีบริบูรณ์ แล้วนำไปคูณอัตราเงินเดือนสุดท้าย
 
จากระเบียบดังกล่าว อธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า พนักงานคนหนึ่งทำงานมานาน 30 ปี จนเกษียณอายุ มีเงินเดือน(รวมเงินอื่นๆ เช่น ค่าครองชีพ ที่จ่ายเป็นรายเดือน 50,000บาท) ก็ได้จะบำเหน็จ จากบริษัทรวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านบาท( 30 ปีคูณ 50,000 บาท )
 
สำหรับผู้ที่อายุครบ 55 ปี ที่ต้องการเกษียณก่อกำหนด สมมุติว่า ทำงานมา 25 ปี เงินเดือน 50,000 บาท ก็จะได้รับเงินบำเหน็จทั้งสิน 1.5 ล้านบาทเช่นกัน (25+5 ปี คูณ 50,000บาท)
 
การออกระเบียบดังกล่าว นอกจากชื่นชมยินดีแล้ว พนักงานยังมีกำลังใจที่จะทุ่มเททำงานเพื่อบริษัทเพราะเมื่อถึงบั้นปลาย ก็ยังมี “เงินก้อน” สุดท้ายในชีวิต แม้ไม่มากนัก เนื่องจากเงินเดือนของพนักงานมติชนทั่วไปค่อนข้างต่ำ เช่น ผู้สื่อข่าวทำงานมานาน 15 ปี ยังมีเงินเดือนประมาณ 20,000 บาท
 
อย่างไรก็ตาม เงินก้อนดังกล่าว นอกจากนำไปชำระหนี้สิน(สำหรับบางคน)แล้ว ก็คิดว่ายังเหลือพอ สามารถนำไปลงทุนให้เกิดดอกผลเพื่อนำไปเลี้ยงชีพยามชราได้
 
แต่แล้ว ความหวังและความยินดีดังกล่าวได้พังทลายจนหมดสิ้น เมื่อบริษัทได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเกษียณอายุพนักงานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)และบริษัทในเครือฉบับใหม่ ลงวันที่ 17 มกราคม 2554(มีการอ้างถึงระเบียบบริษัทในเรื่องเดียวกันฉบับที่ 3 และฉบับที่ 2 แต่ไม่เคยมีการติดประกาศให้พนักงานทราบว่า มีการออกระเบียบดังกล่าวเลย) ยกเลิกการจ่ายบำเหน็จให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุ 60 ปีและขอพ้นสภาพพนักงานเมื่ออายุครบ 55 ปีและให้จ่ายเป็นเงินค่าชดเชยการเลิกจ้างเพียงอย่างเดียวโดยอ้างว่า ระเบียบเดิมที่มีการจ่ายบำเหน็จนั้น ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบริษัท จึงขอแก้ไขระเบียบการจ่ายเงินชดเชยสำหรับผู้ที่เกษียณอายุ ดังนี้
 
1.พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
 
2.พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
 
3.พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
 
4.พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
 
5. พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
 
สำหรับผู้ที่ต้องการขอพ้นสภาพพนักงาน เมื่ออายุครบ 55 ปี ก็จะได้รับสิทธิในเงินค่าชดเชยเช่นเดียวกับพนักงานที่เกษียณอายุ ถ้าได้รับการอนุมัติจากผู้จัดการทั่วไป (มีการแก้ไขจากระเบียบฉบับแรกที่พนักงานจะได้รับสิทธิทันทีเมื่อยื่นขอลาออกครบ 30 วัน)
 
จากระเบียบดังกล่าว อธิบายได้ง่ายๆว่า เงินค่าบำเหน็จที่บริษัทเคยออกระเบียบว่า จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อเกษียณอายุ(เพื่อตอบแทนพนักงานที่ช่วยกันทำงานกับบริษัทมายาวนาน)หรือขอพ้นสภาพการเป็นพนักงานเมื่ออายุครบ 55 ปี ถูกยกเลิกทั้งหมด
 
แต่ให้จ่ายเป็นเงินค่าชดเชยเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นอัตราขั้นต่ำสุดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ที่บอกว่า เป็นอัตราขั้นต่ำสุดนั้นก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ แต่ถ้าบริษัทใดเห็นใจและต้องการเพิ่มสวัสดิการให้พนักงานก็สามารถจ่ายเงินมากกว่าเงินชดเชยตามกฎหมายได้ เช่น เงินบำเหน็จ)
 
จากตัวอย่างที่พนักงานเกษียณอายุ ทำงานมานาน 30 ปี มีเงินเดือน 50,000 บาท แทนที่จะได้เงินบำเหน็จ(รวมค่าเงินชดดชย)ตามระเบียบเดิม 1.5 ล้านบาท ก็จะได้รับเงินชดเชยอย่างเดียวเหลือเพียง 5 แสนบาท
 
เท่ากับเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตหาย(ถูกปล้น?)ไปทันที 1 ล้านบาท
 
เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานที่อายุ 50 ปีขึ้นไป อายุใกล้ 50 ปี กว่า 55 ปี หรือเกือบ 60 ปีจะไม่ระส่ำระสายได้อย่างไร
 
แม้แต่ผู้ที่มีอายุกว่า 40 ปี และหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับบริษัทก็อยู่ในสภาพที่เกิดคำถามว่า ทำไมผู้บริหารและเจ้าของจึงโหดร้ายกับพนักงานเช่นนี้ ออกระเบียบมาบังคับพนักงานฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านการปรึกษาหารือกับพนักงานแม้แต่น้อย
 
ระเบียบดังกล่าวไม่เพียงแต่บังคับกับพนักงานทั่วไปเท่านั้น แม้แต่กับพนักงานที่อายุใกล้ 60 ปีและยื่นขอพ้นสภาพพนักงานก่อนที่จะออกระเบียบเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554 ก็ถูกดึงเรื่องไว้ไม่อนุมัติเพื่อให้เข้าเกณฑ์ของระเบียบใหม่ ทั้งๆ ที่พนักงานผู้นี้ทำงานมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมานานกว่า 30 ปี
 
โครงการการระดมทุนช่วยน้องสำหรับฟื้นฟูห้องสมุดที่ถูกน้ำท่วมที่ออกโฆษณากันใหญ่โตของเครือมติชน อาจทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดูดีว่า ต้องการมีส่วนช่วยเหลือดูแลสังคม
 
แต่สำหรับชะตากรรมของพนักงานมติชนนั้น กำลังถูกทอดทิ้ง เอารัดเอาเปรียบและกดขี่อย่างหนักและไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น