โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เสวนา : สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป SMEs ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลง

Posted: 09 Apr 2011 01:54 PM PDT

วันที่ 8 เมษายน 2554 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาเรื่อง “สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป SMEs ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลง” การเสวนาครั้งนี้เน้นไปที่ประเด็นเรื่อง “กลยุทธ์การจัดการการเปลี่ยนแปลง” (Change Management) สำหรับกลุ่มธุรกิจระดับ SMEs เพื่อรับมือกับสถานการณ์โลกที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามทั้งวิกฤติเศรษฐกิจ ความไม่สงบทางการเมือง และเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆที่ส่งผลกระทบไปยังทั่วโลก

การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นที่วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นำเสวนาโดย ดร. สิทธิพร ดาดาษ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ SMEs ร่วมเสวนาโดย ดร. อรพรรณ คงมาลัย และ วิภา ดาวมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

วิกฤติการณ์โลกส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า

วิภา ดาวมณี กล่าวเปิดเสวนาโดยเท้าความถึงสถานการณ์โลกในช่วงที่ผ่านมา วิภากล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกต้องเจอกับวิกฤติมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องภัยพิบัติที่เพิ่งจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น เธอเห็นว่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจนถึงขั้นล้มมากนัก แต่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กอย่าง SMEs กลับเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า และรัฐก็ให้ความสำคัญเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนธุรกิจกลุ่มขนาดเล็กอย่าง SMEs รัฐจะไม่เข้าไปช่วยอุ้มหากแต่ต้องเป็นผู้ดิ้นรนด้วยตัวเอง เธอกล่าวต่อไปอีกว่าอุทกภัยในปัจจุบันเป็นเรื่องของภัยพิบัติค่อนข้างมาก และกลุ่มธุรกิจก็มีเพียงน้อยรายที่จะทำประกันภัยในเรื่องความเสียหายซึ่งเกิดจากภัยพิบัติ

ดร. อรพรรณ คงมาลัย กล่าวต่อจากประเด็นของวิภาว่า สภาพสถานการณ์ปัจจุบันทำให้การประกอบธุรกิจค่อนข้างยุ่งยาก เธอกล่าวไล่ลำดับถึงสถานการณ์โลกในรอบปีที่ผ่านมาโดยเริ่มจากเรื่องการเมืองในตะวันออกกลาง ภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น และ สถานการณ์น้ำท่วมทางภาคใต้ของไทย เธอตั้งคำถามฝากไปยัง ดร.สิทธิพร ดาดาษ ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจ SMEs

 

ภาครัฐต้องดำเนินการก้าวไปอีกขั้น และต้องพัฒนาเรื่องระบบขนส่ง

ดร. สิทธิพร ดาดาษ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ SMEs เห็นว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันต้องเผชิญหน้ากับเรื่องสำคัญ 5 ประเด็น คือ ภัยธรรมชาติ การเมือง การก่อการร้าย การค้าเสรี และโลกาภิวัตน์ ตนเห็นว่าสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าจะสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ก็จริง แต่กลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับเรื่องการค้าเสรีของไทยนั้น สิทธิพรเห็นว่าต้องเปิดทัศนะให้กว้าง เขากล่าวว่าไทยดำเนินนโยบายเปิดการค้ากับต่างประเทศโดยใช้เรื่อง “แรงงาน” และ “สินค้าราคาถูก” มาเป็นจุดขายตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกเปรมฯจนกระทั่งปัจจุบัน สิทธิพรมองว่าวิธีการแบบนี้ใช้ไม่ได้สำหรับโลกปัจจุบันที่มีประเทศใหม่ๆกำลังเปิดการค้า และประเทศเหล่านี้ก็เอาเรื่องแรงงานมาเป็นจุดขายเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ประเทศเปิดใหม่เหล่านี้ได้เปรียบกว่าในเรื่องตัวเลขค่าแรงที่ต่ำกว่า เช่น ประเทศเวียดนาม

สิทธิพรเห็นว่าไทยพร้อมมานานแล้วที่จะก้าวไปอีกขั้น เขาเล่าว่า “แอฟริกาซื้อข้าวไทยเข้าไปเป็นจำนวนมาก แต่เราไม่เคยรู้เพราะเค้าซื้อจากพ่อค้าคนกลางในอิตาลีที่ซื้อข้าวไทยแล้วไปบวกกำไรอีกต่อหนึ่ง” ปัญหาตรงนี้สิทธิพรเห็นว่าเกิดจากเรื่องระบบการขนส่ง หรือโลจิสติกส์ (Logistics) ที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อม จึงทำให้พ่อค้าชาติอื่นสามารถหาประโยชน์จากสินค้าไทยได้ เขาเห็นว่าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นประเด็นสำคัญที่ไทยควรดำเนินการปรับปรุงเสียที เพราะไทยเองก็ได้เปรียบกว่าคนอื่นตรงที่เป็นประเทศที่มีสินค้าพร้อม สิทธิพรกล่าวว่า “ไทยควรกลับมาคิดได้แล้วว่าอะไรที่เราเป็นต่อเค้าแล้วเรายังไม่ได้ทำ” เขาย้ำว่าปัจจุบันความได้เปรียบไม่ได้อยู่ที่เรื่องค่าแรงเท่านั้นหากแต่เป็นเรื่องการพัฒนา มิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่าเราเป็นผู้เสียเปรียบ สิทธิพรยังกล่าวเปรียบเทียบอีกว่า ธุรกิจภาคเอกชนในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งเพราะเริ่มต้นจากภาครัฐที่สร้างความเข้มแข็งก่อน

 

ผู้ประกอบการต้องเตรียมการให้พร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤติ

สิทธิพรกล่าวถึงกระบวนการที่กลุ่มธุรกิจ SMEs ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤติ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ประเด็น คือ ต้องรู้เท่าทัน มีการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องควบคุมหรือลดระดับความเสียหาย ต้องประคองให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ และต้องกลับสู่สถานการณ์เดิมให้เร็วที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SMEs ท่านนี้เห็นว่า ผู้ประกอบการต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้จากสังคมภายนอก ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้องมีวิสัยทัศน์ และมองการไกล สิทธิพรกล่าวต่อไปอีกว่า “ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ต้องวิเคราะห์ความเสี่ยง ต้องวิเคราะห์ว่าจะเจออุปสรรคอะไร และต้องมองต่อไปอีกว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขหรือดำเนินการต่ออย่างไร” เขาย้ำว่าผู้ประกอบการต้องกำหนดแผนกลยุทธ์การจัดการให้พร้อม และต้องมีการปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

สิทธิพรมองว่าธุรกิจ SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และมีอำนาจการต่อรองต่ำ เขาเห็นว่าต้องทำโครงสร้างให้ยืดหยุ่น คล่องตัว ไม่ซับซ้อน ไม่เรื่องมาก และต้องรวดเร็ว เพราะภาคธุรกิจระดับนี้ไม่ได้มีแบรนด์ที่ดึงดูดลูกค้าได้เหมือนกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ การจัดการต่างๆจึงต้องอาศัย “ความยืดหยุ่น” และ “รวดเร็ว” เป็นจุดสำคัญในการดึงดูดลูกค้า สิทธิพรมองต่อไปอีกว่าผู้ประกอบการต้องมีความเป็นผู้นำ ทันต่อเหตุการณ์ และต้องตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆภายใต้ความกดดันให้ได้

สิทธิพรทิ้งท้ายประเด็นในการเสวนาครั้งนี้ว่า “การบริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลง” ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และต้องให้ลูกน้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สิทธิพรย้ำว่าผู้ประกอบการต้องพร้อมอำนวยความสะดวกเพื่อให้อีกฝ่ายสามารถปรับตัวได้เช่นกัน พร้อมทั้งทิ้งท้ายนิยามสำคัญของการสร้างธุรกิจ SMEs ว่า ต้อง “เกิดง่าย-ตายช้า”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ถาวร’ โยนคนสตูลตัดสินใจเอง ย้ำให้ชัดเอา–ไม่เอา‘ท่าเรือน้ำลึกปากบารา’

Posted: 09 Apr 2011 01:49 PM PDT

เมื่อเวลา 08.00 วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2554 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.) ออกอากาศรายการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหากับรัฐมนตรีถาวร ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา(ช่อง11) กรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในจังหวัดสตูล

นายถาวร กล่าวในรายการว่า รัฐบาลคำนึงถึงพี่น้องชาวสตูลว่าต้องการอย่างไร ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่มีการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราแล้ว จะไม่สามารถถอยหลังกลับมาพิจารณาได้อีก

“มีคนจังหวัดสตูลส่วนหนึ่งไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ต้องการพัฒนาจังหวัดสตูลให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี และวิถีวัฒนธรรม” นายถาวร กล่าว

นายถาวร กล่าวว่า ขณะที่ยังมีคนส่วนหนึ่งต้องการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพื่อให้เกิดการลงทุน พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด ท่าเทียบเรือสามารถขนส่งสินค้าได้ปีหนึ่งๆนับแสนๆล้านบาท เป็นการนำเงินเข้าสู่ประเทศ ประหยัดค่าขนส่งสินค้า ไม่ต้องขนสินค้าผ่านด่านศุลกากรสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ไปลงที่ท่าเรือปีนัง หรือ ไปยังเมื่อท่าบัตเตอร์เวิร์ต ประเทศมาเลเซีย

“ถ้าพี่น้องต้องการให้จังหวัดสตูลเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีเจตนารมณ์ไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึกปากบารา หรือถ้าเห็นว่าสามารถพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ มีการตั้งมาตรการทางกฎหมายบังคับ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหามลภาวะ” นายถาวร กล่าว

“ทั้งนี้คนสตูลต้องร่วมคิดกันร่วมกันหลายภาคส่วน อาทิ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.),เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) หัวหน้าส่วนการปกครองส่วนภูมิภาค ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ผู้ปกครองท้องที่ อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองส่วนท้องถิ่นและส่วนกลาง คือสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.),สมาชิกสภาเทศบาล,สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)” นายถาวร กล่าว

นายถาวร กล่าวในรายการว่า จังหวัดสตูลขึ้นชื่อด้านการท่องเที่ยว มีน้ำทะเลใส หาดทรายสวยงาม เกาะแก่งมากมาย อาทิ เกาะหินงาม เกาะหลีเป๊ะ เป็นต้น ที่ผ่านมาจังหวัดสตูลใช้ท่าเรือท่องเที่ยวร่วมกับท่าเรือประมง

โครงการก่อสร้างท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีความคืบหน้าประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 371 ล้านบาทในการก่อสร้างท่าเรือดังกล่าว

นอกจากนี้แล้วโครงการขยายผิวจราจรถนน 2 ข้าง ที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 129 ล้านบาท ไปสู่ด่านวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นระยะทาง 21.85 กิโลเมตร ที่ผ่านมาเกิดความล่าช้า เพราะว่า กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คัดค้านไม่ให้ตัดต้นไม้ 2 ข้างถนน ต่อมากรมทางหลวงแผ่นดิน กระทรวงคมนาคม ได้ปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้างให้ผิวถนนจราจรแคบลง โดยไม่ต้องตัดต้นไม้ ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554

นายถาวร เปิดเผยอีกว่า สำหรับโครงการขุดลอกคลองตายาย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณจำนวน 24.88 ล้านบาท คาดว่าขณะนี้น่าจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครอบครัว ญาติมิตรร่วมรำลึก 1 ปีการเสียชีวิต "พ.อ.ร่มเกล้า"

Posted: 09 Apr 2011 10:36 AM PDT

 
เว็บไซต์มติชนรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 เม.ย.54 ที่โบสต์เซ็นต์หลุยส์ สาธร สมาชิกในครอบครัวและญาติมิตรของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการ พล.ร 2 รอ. ที่เสียชีวิตจากปฏิบัติการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ร่วมในพิธีมิสซาตามพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณในโอกาสครบรอบ 1 ปีการเสียชีวิตของพ.อ.ร่มเกล้า
 
ทั้งนี้ ปฏิบัติการดังกล่าวมีพลเรือนเสียชีวิต 21 ราย ทหารเสียชีวิต 5 นายรวม พ.อ.ร่มเกล้า
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: อภิสิทธิ์วอนเสื้อแดง “ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” (แถลงเมื่อ 1 ปีที่แล้ว)

Posted: 09 Apr 2011 10:31 AM PDT

ย้อนรอย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แถลงเมื่อ 4 เม.ย. 53 ชี้การมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์เป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด วอนคนเสื้อแดง “กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” ก่อนที่อีกไม่กี่วันต่อมาในวันที่ 10 เม.ย. 53 จะมีการสลายการชุมนุมในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลเห็นว่าเป็นการ "ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ" ดังกล่าว

000

บทนำ

เมื่อปีที่แล้วหลังจากคนเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่นั้น ต่อมาในวันที่ 3 เมษายน 2553 ผู้ชุมนุมได้ขยายการชุมนุมเพิ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศมายังแยกราชประสงค์ ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 4 เมษายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้กล่าวแถลงการณ์พิเศษผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ในการแถลงดังกล่าวอภิสิทธิ์ระบุว่าการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าตั้งแค่วันที่ 12 มีนาคมนั้น รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ต้นว่าเราจะเคารพการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้อง แม้จะมีหลายเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายไม่สบายใจ แต่ “รัฐบาลก็ได้ใช้วิธีการในการผ่อนปรนและพยายามที่จะประสานงานกับผู้ชุมนุมมาโดยตลอดให้การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขต ดังจะเห็นได้ว่าการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้านั้น ก็สามารถดำเนินการมาได้อย่างต่อเนื่อง”

แต่เมื่อผู้ชุมนุมมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์นั้น นายอภิสิทธิ์เห็นว่า “ถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย” ดังนั้นเมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย. ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งขึ้นจากการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง จึงได้มีการออกประกาศข้อกำหนดขอให้ผู้ชุมนุมนั้นออกจากพื้นที่ แต่นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า “การออกประกาศดังกล่าวไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลนั้นจะเข้าไปดำเนินการในการเข้าไปสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรงแต่ประการใด”

นายอภิสิทธิ์ถือว่าการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยเขาขอให้ผู้ชุมนุม ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” และจะขอความร่วมมือไม่ให้มีการเดินทางเข้าไปชุมนุมในพื้นที่แยกราชประสงค์อีก เพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เกิดผลกระทบความเดือดร้อน และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า

นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกระแสที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาดกับผู้ชุมนุม ซึ่งเขาชี้แจงว่า “รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ซึ่งผมทราบดีว่ามีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าพวกเราก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยด้วยกันทุกคน รัฐบาลกำลังผ่อนคลายสถานการณ์ จะบังคับใช้กฎหมาย และจะปฏิบัติตามแนวของสากล ซึ่งเริ่มต้นจากมาตรการเบาไปหาหนัก”

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในวันที่ 7 เมษายน 2553 และอีกไม่กี่วันต่อมา ในวันที่ 10 เมษายน 2553 พื้นที่การชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศซึ่งนายอภิสิทธิ์ขอให้ผู้ชุมนุม “กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” นี้ ได้กลายเป็น Killing Zone ทันที เพราะเป็นเป้าหมายแรกของการใช้ปฏิบัติการทางทหารสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 26 ราย แยกเป็นพลเรือน 21 ราย ทหาร 5 ราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 800 รายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

สำหรับการแถลงของนายอภิสิทธิ์ให้ผู้ชุมนุม ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า” มีรายละเอียดดังนี้

000


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
4 เมษายน 2553

| “วันนี้ต้องขอยืนยันครับว่าประกาศของ ศอ.รส. ที่ให้พี่น้องประชาชนออกจากพื้นที่นั้นยังเป็นประกาศที่บังคับใช้อยู่ รัฐบาลก็จะได้ดำเนินการให้ทางเจ้าหน้าที่นั้นทำความเข้าใจกับพี่น้องที่ชุมนุมครับ ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า

 

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2553 เวลา 09.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์พิเศษถึงสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

ประชาชนที่เคารพรักทุกท่านครับ เช้าวันนี้ผมทราบดีว่าสถานการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนกลุ่มหนึ่งนั้นได้ทำให้พี่น้อง ประชาชนทั่วไปมีความรู้สึกวิตกกังวล และอาจจะมีความสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมขอถือโอกาสนี้เรียนกับพี่น้องประชาชนว่านับตั้งแต่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว ของกลุ่มคนเสื้อแดงตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม เป็นต้นมานั้น รัฐบาลได้ประกาศตั้งแต่ต้นว่าเราจะเคารพการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้อง ประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งทำให้การชุมนุมที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ทำให้หลาย ฝ่ายอาจจะมองว่าไม่สบายใจ หรือมีความไม่เหมาะสมก็ตาม แต่รัฐบาลก็ได้ใช้วิธีการในการผ่อนปรนและพยายามที่จะประสานงานกับผู้ชุมนุมมาโดยตลอดให้การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขต ดังจะเห็นได้ว่าการชุมนุมที่บริเวณผ่านฟ้านั้น ก็สามารถดำเนินการมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยในขณะเดียวกันรัฐบาลก็พยายามดำเนินการในการผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดขึ้น กับพี่น้องประชาชนคนกรุงเทพมหานครเป็นการเฉพาะในเรื่องของการจราจร และได้พยายามในการที่จะวางมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของรัฐบาลของรัฐสภา และหน่วยงานต่างๆ นั้นสามารถดำเนินการไปได้ตามปกติ

อย่าง ไรก็ตามเมื่อวานนี้ผู้ชุมนุมนั้นได้ตัดสินใจเคลื่อนขบวนไปที่สี่แยกราชประสงค์ และมีการปิดถนนบริเวณโดยรอบ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นต้องย้ำครับว่า เป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ นั่น หมายความว่าถ้าวินิจฉัยจากบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญก็ดี ดูจากบรรทัดฐานที่ศาลปกครองได้เคยวินิจฉัยเอาไว้เกี่ยวกับการชุมนุมก็ดี ถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นเมื่อคืนนี้ทางศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งขึ้นจากการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง โดยมีความมุ่งหมายในการที่จะป้องปรามและระงับเหตุต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นนั้น จึงได้มีการออกประกาศข้อกำหนดอย่างชัดแจ้งว่า ขอให้ผู้ชุมนุมนั้นออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามการออกประกาศดังกล่าวไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลนั้นจะเข้าไป ดำเนินการในการเข้าไปสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรงแต่ประการใด

สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือได้มอบหมายให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง คือในระดับของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เข้าไปเจรจาทำความเข้าใจ และแจ้งกับแกนนำและผู้ชุมนุมถึงการออกประกาศดังกล่าว เพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ชุมนุมอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งผมเชื่อว่ามีจำนวนมากไม่ทราบว่า การชุมนุมดังกล่าวขณะนี้เป็นการชุมนุมที่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งกระบวนการของการแจ้งการเจรจา การทำความเข้าใจนั้น ก็จะยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เมื่อเช้านี้ท่านรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็ได้เข้าไปดำเนินการดังกล่าว และขณะนี้ผู้ชุมนุมได้มีการเปิดเส้นทางการจราจรในระดับหนึ่งแล้ว เช่น เส้นทางจากสุขุมวิท สามารถที่จะมุ่งหน้าเข้าไปถึงสี่แยกราชประสงค์ และสามารถเลี้ยวซ้ายได้ ขณะเดียวกันเส้นทางที่มาจากถนนราชดำริ สามารถมุ่งไปที่แยกและเลี้ยวซ้ายผ่านโรงพยาบาลตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่ง

อย่างไร ก็ตามรัฐบาลยืนยันครับว่า การชุมนุมในบริเวณดังกล่าวนั้นมีความไม่เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย เพราะจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการสัญจร และการใช้เส้นทางคมนาคม ไม่เพียงเฉพาะในบริเวณนั้น แต่ทำให้พี่น้องประชาชนที่จะเดินทางไปยังทิศทางต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงนั้นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ไม่นับว่าในบริเวณดังกล่าวนั้นมีทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์การค้า ซึ่งขณะนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากกับการให้บริการกับประชาชน เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอถือโอกาสนี้เรียนกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ในที่ชุมนุมก็ดี หรือญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงของผู้ชุมนุมก็ดีครับ

ผมอยากจะย้ำว่ารัฐบาลได้เคารพ สิทธิตามรัฐธรรมนูญของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงพี่น้องที่ได้ชุมนุมมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม จะเห็นได้ว่ารัฐบาลนั้นได้รับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนที่มาชุมนุม อยู่ตลอดเวลา เป็นครั้งแรกที่ตัวผมเองในฐานะนายกรัฐมนตรีนั้น ได้มีการเจรจากับแกนนำของผู้ชุมนุม โดยผมได้ย้ำเสมอว่าตราบเท่าที่การชุมนุมนั้นอยู่ในขอบเขตของกฎหมายนั้น ก็สามารถที่จะพูดคุยกันได้ จะเห็นได้ว่าการพูดคุยเจรจาซึ่งได้กระทำถึง 2 ครั้ง มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ไปทั่วประเทศเป็นเวลายาวนานกว่า 5 ชั่วโมง เป็นการได้นำเอาเหตุและผลของผู้ชุมนุมและของรัฐบาล ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างตรงไปตรงมา

ผมขอย้ำครับว่ารัฐบาลเข้าใจ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเชื่อว่าพี่น้องชาว กรุงเทพมหานครปัจจุบันนี้ก็เข้าใจข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมแล้ว แต่คงปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่ามีพี่น้องประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ผมไม่สามารถจะบอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำหรอกครับว่า ฝ่ายใดมีมากกว่ากัน แต่ก็ต้องถือว่าทุกเสียงมีความหมาย และก็ดูจากผลการสำรวจความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนหลายต่อหลายครั้ง ก็น่าจะอนุมานได้ครับว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องไม่น้อยกว่าผู้ที่มาเรียกร้องให้มีการยุบสภาทันที หรือภายใน 15 วัน

ผมขอย้ำว่าการที่รัฐบาลมีจุดยืนที่ไม่ยุบสภาในปัจจุบันหรือภายใน 15 วันนั้น ก็เป็นเพราะว่ารัฐบาลนี้มาตามวิถีทางของระบบรัฐสภาตามกติกาที่กำหนดไว้ในรัฐ ธรรมนูญ เป็นกระบวนการที่เหมือนกับนานาประเทศที่ได้ใช้ระบบรัฐสภา ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลนี้สามารถที่จะอยู่จนครบวาระได้ ซึ่งเป็นเวลาอีก 1ปีกับ 9 เดือน ผมเองนั้นไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่ได้มองในเรื่องของการที่จะต้องอยู่ครบวาระเป็นสำคัญ ผมจึงได้มีการนำเสนอในช่วงของการเจรจามาว่ารัฐบาลนั้นพร้อมที่จะลดวาระของ ตัวเอง ถ้าสามารถทำให้บ้านเมืองสงบสุข ถ้าทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่พี่น้องประชาชน ทั้งที่มาชุมนุมและไม่มาชุมนุมนั้น สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คลี่คลายเป็นไปตามความต้องการและเป็นประโยชน์ของประเทศและส่วนรวมได้

ผมอยากจะชี้ให้เห็นครับว่าการยุบสภาในขณะนี้ หรือภายใน 15 วันคงไม่สามารถที่จะทำให้ข้อเรียกร้องต่าง ๆ เป็นจริงขึ้นมาได้ เนื่องด้วยขณะนี้จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้กระทั่ง 2-3 วันที่ผ่านมา เราจะเห็นครับว่าความคิดเห็นที่แตกต่างในทางการเมืองนั้น ยังรุนแรงมาก การยุบสภาไปสู่การเลือกตั้งไม่น่าจะทำให้การเลือกตั้งนั้นอยู่ในภาวะซึ่ง เป็นการเลือกตั้งที่สงบเรียบร้อย หรือแม้กระทั่งมีการเลือกตั้งแล้ว ก็ไม่น่าสามารถที่จะหาข้อยุติต่าง ๆ ได้ ความแตกแยกก็อาจจะดำรงอยู่ การชุมนุมเคลื่อนไหวก็อาจจะมีอยู่ เพียงแต่อาจจะต่างกลุ่มกันไป หรือจะเป็นกลุ่มเดิม ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

สิ่งที่ผมเชิญชวนก็คือว่า วันนี้รัฐบาลพร้อมครับในการที่จะหาหนทางที่เป็นทางออกจากวิกฤตในปัจจุบัน รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นข้อขุ่นข้องหมองใจของทุกกลุ่มคน แต่ต้องอาศัยเวลาในการที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน บางคนก็ได้เสนอถึงขั้นว่าจำเป็นจะต้องมีการทำการปฏิรูปเป็นการใหญ่ ซึ่งผมเรียนว่ารัฐบาลพร้อมที่จะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ เงื่อนไขสำคัญวันนี้เราไม่ควรมาถกเถียงกันว่า 15 วัน หรือ 9 เดือน หรือเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แต่มาทำงานร่วมกันก่อนครับ ทำอย่างไรให้กติกาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่มี การปะทะหรือไม่มีความเสี่ยงต่อการที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการชำระสะสางที่เห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญนั้นสามารถ ที่จะมาพูดคุยทำงานได้ด้วยกันทั้งสิ้น

สิ่งที่ผมเชิญชวนก็คือว่า วันนี้รัฐบาลพร้อมครับในการที่จะหาหนทางที่เป็นทางออกจากวิกฤตในปัจจุบัน รับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นข้อขุ่นข้องหมองใจของทุกกลุ่มคน แต่ต้องอาศัยเวลาในการที่จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน บางคนก็ได้เสนอถึงขั้นว่าจำเป็นจะต้องมีการทำการปฏิรูปเป็นการใหญ่ ซึ่งผมเรียนว่ารัฐบาลพร้อมที่จะเชิญชวนทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการในเรื่อง นี้ เงื่อนไขสำคัญวันนี้เราไม่ควรมาถกเถียงกันว่า 15 วัน หรือ 9 เดือน หรือเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ แต่มาทำงานร่วมกันก่อนครับ ทำอย่างไรให้กติกาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่มี การปะทะหรือไม่มีความเสี่ยงต่อการที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการชำระสะสางที่เห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญนั้นสามารถ ที่จะมาพูดคุยทำงานได้ด้วยกันทั้งสิ้น ผมมั่นใจว่าถ้าทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน แล้วก็มาดำเนินการตามนี้ ใช้ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีกับ 9 เดือนหรอกครับ และรัฐบาลก็พร้อมที่จะให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ในทางตรงกันข้ามครับอย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว หากมีการยุบสภาวันนี้หรือภายใน 15 วันปัญหาต่าง ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะปะทุความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันการชุมนุมของพี่น้องประชาชน ผมอยากจะเรียนว่าหากเป็นการชุมนุมซึ่งสร้างความเดือดร้อนกับพี่น้องประชาชน คนกรุงเทพฯ หรือคนกลุ่มใดก็ตาม คงไม่สามารถที่จะทำให้เกิดบรรลุข้อตกลงหรือทางออกที่ดีได้ เพราะประการหนึ่งก็คือจะมีคนที่มีความรู้สึกต่อต้านการชุมนุมซึ่งผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อน และจะมีข้อเรียกร้องที่ตรงกันข้ามหรือสวนทางกับข้อเรียกร้องของกลุ่มคนเสื้อ แดงหรือผู้ชุมนุม ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น นอกจากนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการที่พี่น้องประชาชนนั้นมาปะทะกัน ที่สำคัญที่สุดคือว่าภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ คนที่จะได้รับผลกระทบความเดือดร้อนมากที่สุด ก็จะเป็นพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะคนยากคนจนโดยส่วนรวม เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวนั้น หากทุกสิ่งทุกอย่างต้องหยุดชะงักลง และเกิดผลกระทบอย่างเช่นต่อธุรกิจ ซึ่งมีการประเมินกันไว้ว่าธุรกิจการท่องเที่ยวก็ดี และแน่นอนการค้าขายในใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครในขณะนี้ได้รับผลกระทบก็ดี ผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็นผู้ด้อยโอกาสและคนยากคนจนครับ พี่น้องที่ชุมนุมอยู่คงต้องตระหนักว่าถ้าเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ถ้าเหตุการณ์ความไม่สงบมีความยืดเยื้อนั้น แม้ว่าธุรกิจใหญ่ ๆ ดูว่าจะได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจใหญ่ ๆ ในที่สุดก็จะสามารถฟื้นตัวได้ครับ แต่บรรดาพนักงาน ลูกจ้าง ต่างหากจะได้รับผลกระทบเป็นคนแรก ทำให้คนของเราซึ่งด้อยโอกาสนั้นตกงาน ทำให้เศรษฐกิจมีภาวะของความขาดแคลนความเดือดร้อน ความฝืดเคืองมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์และไม่เป็นผลดีกับใคร รัฐบาลต้องการที่จะแก้ไขสะสางปัญหาด้วยความจริงใจครับ

วันนี้ต้องขอยืนยันครับว่าประกาศของ ศอ.รส. ที่ให้พี่น้องประชาชนออกจากพื้นที่นั้นยังเป็นประกาศที่บังคับใช้อยู่ รัฐบาลก็จะได้ดำเนินการให้ทางเจ้าหน้าที่นั้นทำความเข้าใจกับพี่น้องที่ชุมนุมครับ ขอให้กลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมที่ผ่านฟ้า ขณะเดียวกันก็จะขอความร่วมมือไม่ให้มีการเดินทางเข้าไปชุมนุมในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นการผ่อนคลายไม่ให้เกิดผลกระทบความเดือดร้อน และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลมีหน้าที่ในการรักษากฎหมาย ซึ่งผมทราบดีว่ามีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ความเด็ดขาด แต่ผมเห็นว่าพวกเราก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนไทยด้วยกันทุกคน รัฐบาลกำลังผ่อนคลายสถานการณ์ จะบังคับใช้กฎหมาย และจะปฏิบัติตามแนวของสากล ซึ่งเริ่มต้นจากมาตรการเบาไปหาหนัก

แต่ขณะนี้เมื่อเช้านี้หลังจากการพูดคุยอีกรอบหนึ่งนั้น ดูจะสามารถผ่อนคลายสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง เราจะไม่ลดละความพยายาม ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ อดทน อดกลั้น ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ชุมนุมนั้น ผมขอย้ำว่ารัฐบาลจะเร่งผ่อนคลายสถานการณ์นำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยจะไม่ให้มีความสูญเสียใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันสำหรับผู้ชุมนุม ผมย้ำอีกครั้ง ครับขอให้ท่านกลับไปใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้มีการอำนวยความ สะดวกและตกลงกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ร่วมกันหาทางออกและแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นข้อเรียก ร้องที่มีเหตุมีผลในเรื่องของความเป็นธรรม ในเรื่องของประชาธิปไตยได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายนั้น ในที่สุดจะไม่มีฝ่ายใดชนะครับ มีแต่ความสูญเสียและคนที่จะเดือดร้อนที่สุดก็คือพี่น้องประชาชนผู้ด้อยโอกาส คนยากคนจน

ผมจึงขอถือโอกาสนี้ใช้เวลาสั้น ๆ เรียนให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศได้รับทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาลต่อไป หลังจากนี้ทางช่อง 11 จะมีการนำเสนอรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ” ซึ่งผมจะได้พูดถึงงานของรัฐบาลในด้านอื่น ๆ รวมทั้งมีการสนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ท่านผู้ใดที่มีความสนใจก็จะสามารถติดตามรับชมรับฟังได้ทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 หากมีเหตุการณ์หรือมีพัฒนาการความคืบหน้าใด ๆ ผมจะใช้โอกาสในการรายงานให้กับพี่น้องประชาชนเป็นระยะ ๆ ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่งที่มีความอดทนและอดกลั้น ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่ได้ให้กำลังใจมาเป็นจำนวนมาก ให้รัฐบาลนั้นสามารถคลี่คลายปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ไปได้ด้วยดีครับ สวัสดีครับ

 
 
 
ที่มา: รวบรวมจากศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นปช.เปิดโรงเรียนวางยุทธศาสตร์สู้เพื่อประชาธิปไตย "จตุพร" เผยทหารแทรกซึมเสื้อแดง

Posted: 09 Apr 2011 10:07 AM PDT

นปช.เปิดโรงเรียนวางยุทธศาสตร์สู้เพื่อประชาธิปไตย "จตุพร" แฉตั้ง ชสจ. ส่งทหารแทรกซึมคนเสื้อแดง จัดงบฯ 8 หมื่นต่อชุด ตร.ประสานงานแกนนำ นปช.รับมือชุมนุม 10 เม.ย. วางกำลัง 23 กองร้อย
 
 
9 เม.ย. 54 - ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อเวลา 09.00 น. กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้จัดกิจกรรม โรงเรียนผู้ปฏิบัติงานระดับกรรมการจังหวัดทั่วประเทศของนปช.แดงทั้งแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 9-10 เม.ย. 54 โดยนาย นิสิต สินธุไพร ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวเปิดงาน ว่า กว่า 1 ปีที่นปช.ได้ปฏิบัติการอย่างห้าวหาญ บางคนต้องหลบหนีไปชายแดน หรือออกนอกประเทศ บางคนก็ถูกจับกุมติดคุก หรือถูกฆ่า ซึ่งสถานการณ์การเมืองทำให้ต้องมีการเปิดโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออบรมแนวทางและยกระดับการต่อสู้ วางยุทธศาสตร์ของ นปช.โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติงานตามแนวทางแดงทั้งแผ่นดินเพื่อให้ประชาชนเข้มแข็ง ดังนั้นการวางโครงสร้างองค์กรระดับภาค จังหวัด อำเภอและตำบล ของ นปช.จะทำให้องค์กรเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
 
ด้านนาง ธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานนปช. กล่าวว่า วัตถุของการเปิดโรงเรียนเพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์ของนปช. เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้เกิดความเข้มแข็งและกำหนดทิศทาง การเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งของประชาชนไปสู่ประชาธิปไตย ดังนั้นแกนนำระดับภาคระดับจังหวัดต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปถ่ายทอดสู่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้โครงสร้างใหม่ของ นปช.แม้ในอนาคตหากแกนนำไม่อยู่ก็สามารถนำคนอื่นๆมาเป็นผู้แทนได้ สำหรับยุทธวิธี นปช.จะดำเนินการตามแนวทางสันติวิธี เพราะเราต้องการชนะใจคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างน้อยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประมาณ 40 ล้านคน เราต้องทำให้เสียงมาเป็นฝ่ายเราอย่างน้อย 30 ล้านจะทำให้ระบบอำมาตย์พังทลายไปทันที
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการเปิดโรงเรียน นปช.เป็นไปด้วยความคึกคัก มีคนเสื้อแดงระดับแกนนำระดับภาค ระดับจังหวัดทั่วประเทศ และคนเสื้อแดงที่สนใจเข้าร่วมอบกว่า 2 พันคนจนเต็มห้องประชุมชั้น 6 อิมพีเรียล
 
"จตุพร" แฉตั้ง ชสจ. ส่งทหารแทรกซึมคนเสื้อแดง จัดงบฯ 8 หมื่นต่อชุด ทำงานจนกว่าชนะ "แม้ว" เด็ดขาด
 
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขึ้นเวทีแถลงต่อผู้ปฏิบัติงานระดับกรรมการจังหวัดทั่วประเทศ นปช. เมื่อวันที่ 9 เมษายน โดยระบุมีการแทรกแซงการเลือกตั้งของทหาร ซึ่งมีการบงการของทหารให้ยุบสภาตามวันเวลาที่สอดคล้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายทหารกลางปี สำหรับลำดับขั้นตอนการแทรกแซงการเลือกตั้งนั้น มีการส่งทหารลงไปกำกับการเลือกตั้งทหารลงพื้นที่เกาะติดประจำหน่วยเลือกตั้ง กำหนดภารกิจละลายพฤติกรรมและโน้มน้าวให้คนเสื้อแดงที่เอาทักษิณกลายเป็นสีส้มที่ไม่เอาทักษิณ ขณะคนสีเขียวถือเป็นพวกที่เป็นกลางให้สลายพฤติกรรมกลายเป็นพวกสีส้ม หรือกลายเป็นพวกไม่เอาทักษิณด้วยเช่นกัน โดยชุดปฏิบัติการดังกล่าวเรียกกันว่า ชุดสู้วิกฤตภัยเศรษฐกิจและชุดเสริมสร้างความเข้าใจ (ชสจ.) โดยแบ่งชุดละ 6 นาย ประกอบด้วย ระดับนายทหาร 2 นาย ระดับชั้นนายสิบ จำนวน 2 นาย และระดับพลทหารจำนวน 2 นาย มีระยะเวลาการปฏิบัติงานครั้งละ 6 เดือน ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาล 8 หมื่นบาทต่อชุด มีระยะเวลาปฏิบัติจนกว่าจะชนะทักษิณได้เด็ดขาด ซึ่งทหารเรียกกันว่า "ชุดเกาะติด"
 
"ลำดับขั้นตอนการแทรกแซงการเลือกตั้งโดยชุด ชสจ. มีหน้าที่ควบคุมและรายงานผลการปฏิบัติงานกับ กอ.รมน.จังหวัดและ กอ.รมน.ทัพภาค ตั้งแต่ระดับกองพัน กรม กองพล ไปจนถึง กอ.รมน.ทัพภาค ซึ่งจะรายงานต่อไปยัง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ. ทั้งนี้ ชุด ชสจ.ถูกอ้างอิงในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด สนับสนุนให้คนรักสถาบันกษัตริย์ เกลียดชังพวกล้มเจ้าโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ เน้นย้ำพื้นที่ที่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นหลัก ถือความสำคัญเร่งด่วนลำดับที่ 1 พื้นที่ทัพภาคที่ 1 ที่ ชสจ.ปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดคือ จ.สิงห์บุรี ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี และจันทบุรี ส่วนในพื้นที่ทัพภาคที่ 2 พื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม สกลนคร ยโสธร เลย สุรินทร์ กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ และขอนแก่น ยกเว้นจังหวัดอำนาจเจริญและบุรีรัมย์" นายจตุพร กล่าว และว่า ทุกแผนปฏิบัติการมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ. เป็นผู้ควบคุมและกำหนดแผนด้วยตนเอง
 
นายจตุพร ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกมาชี้แจงเรื่องที่ทหารลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์เลือกตั้งว่า แสดงว่านายสุเทพออกมายอมรับว่าส่งทหารลงพื้นที่ไปจริง แต่ขอบอกว่าการที่รัฐยิ่งใช้อำนาจรัฐมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แพ้การเลือกตั้งมากขึ้นเท่านั้น เชื่อว่าหลักฐานที่ตนนำมาแสดงในครั้งนี้สามารถเชื่อมโยงให้เห็นว่า กองทัพเข้ามาคุมการเมืองได้อย่างชัดเจน เพราะทหารเป็นผู้เลือกและจัดตั้งรัฐบาล เลือกคนของเขามาเป็นรัฐบาล หากไม่ได้ตามความต้องการก็จะออกมาปฏิวัติและลงไปจัดการตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่
 
ตร.ประสานงานแกนนำ นปช.รับมือชุมนุม 10 เม.ย. วางกำลัง 23 กองร้อย
 
ด้าน พล.ต.ต.สุรพงษ์ ศิริภักดี ปฏิบัติหน้าที่รอง ผบช.น. พร้อมด้วย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เดินทางมาพบนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. โดย พล.ต.วิชัยกล่าวว่า พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบช.น. ได้แสดงความห่วงใยต่อการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อรำลึกเหตุการณ์ 10 เมษายนนี้ โดยขอความร่วมมือให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและฝากให้แกนนำ นปช.กำชับไม่ให้มีการหมิ่นสถาบัน รวมไปถึงการดูแลไม่ให้มีกลุ่มก่อกวน โดยเฉพาะกลุ่มที่พ่นสีข้อความหมิ่นต่างๆ ทำให้เสียภาพลักษณ์ และไม่ให้มีการกีดขวางการจราจร โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้กำลังในการดูแลรักษาความเรียบร้อยในวันดังกล่าวจำนวนรวม 22-23 กองร้อยประกอบด้วย ช่วงค่ำอยู่ในพื้นที่ 1 กองร้อยดูแลบริเวณพื้นที่ชุมนุม และในวันที่ 10 เมษายนนี้ เจ้าหน้าที่จะเข้าเสริมอีก 7 กองร้อย นอกจากนี้ยังมีชุดปะฉะดะอีก 5 บก. ร่วมกับตำรวจจราจร 150 นาย และชุดสายสืบอีก 200 นาย ซึ่งรวมกำลังหนุนอีก 11 กองร้อย อย่างไรก็ตาม ด้านการข่าวไม่มีรายงานว่าจะมีมือที่ 3 เข้าก่อกวนแต่อย่างใด
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีการเข้าพบระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและแกนนำ นปช.ได้มีการปิดห้องหารือประมาณ 15 นาที จากนั้น นายจตุพรเปิดเผยว่า จากการหารือในการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของคนเสื้อแดง แม้ว่าทางการข่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการคาดการณ์ตัวเลขของผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 75,000 คน แต่ทาง นปช.เชื่อว่าจะมีคนเข้าร่วมเกิน 1-2 แสนคน และจะชุมนุมเสร็จสิ้นภายในเวลา 02.00 น. ของวันที่ 11 เมษายน ส่วนการขึ้นเวทีปราศรัยของนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์  อดีตเลขานุการศาลรัฐธรรมนูญ จะกล่าวถึงต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด โดยเฉพาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการยุบพรรคประชาธิปัตย์ การแทรกแซงของฝ่ายบริหารต่อสถาบันตุลาการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่คนไทยต้องรู้ความจริง เนื่องจากนายพสิษฐ์อยู่ในเหตุการณ์การหารือทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรคพลังประชาชน กรณีนายสมัคร หรือแม้แต่การยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ประชาชนรู้ข้อความจริง
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา พ.ร.บ.ชุมนุมฯ “จิตรา” ชี้แจ้งล่วงหน้าในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก

Posted: 09 Apr 2011 09:02 AM PDT

กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา”  จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ชี้การที่จะต้องแจ้งล่วงหน้านี้เป็นปัญหาแน่ ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย 

วันนี้ (9 เม.ย. 54) เวลา 13.00 น. กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา” โดยมี จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อานนท์ นำภา ทนายความสำนักราษฎรประสงค์ อนุสรณ์ อุณโณ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ สำนักงานวันอาทิตย์สีแดง อิมพีเรียลลาดพร้าว

 

จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เมื่อมีการนัดหยุดงาน ก็ต้องมีการชุมนุม การนัดหยุดงานคือการนำเสนอให้สังคมรู้ว่าเขาต้องการเรียกร้องอะไร เวลานายจ้างปิดงานเราก็ต้องชุมนุม เคยถูกปิดงานครั้งหนึ่งตอนปี 42 เราก็ชุมนุมหน้าโรงงาน ถูกคดีแรกคือบุกรุกสถานที่ คือ นิคมอุตสาหกรรมในยามวิกาล ชุมนุมอยู่ 18 วัน ก็โดนอีกข้อหาหนึ่งคือ กีดขวางทางเข้าออกของบริษัท นายจ้างเลือกที่จะไปร้องศาลแรงงาน นี่ทำให้เห็นว่าในภาวะปกติก็มีกฎหมายไว้เล่นอยู่แล้ว มีการห้ามใช้เครื่องเสียง แต่ถ้าหากชุมนุมโดยไม่มีเครื่องเสียงแล้วเราจะสื่อสารกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอีกหลายตัว กฎหมายจราจร โดยเฉพาะกฎหมายหมิ่นประมาทโดยการแจกใบปลิว หรือการหมิ่นประมาทโดยการใช้เครื่องเสียง นี่คือกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ถ้าไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมก็มีกฎหมายพวกนี้มากมายอยู่แล้ว  

ประเด็นที่น่าสนใจของ พ.ร.บ.นี้ คือต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน การที่จะต้องแจ้งล่วงหน้านี้เป็นปัญหาแน่ๆ หากเกิดเหตุอะไรขึ้นเรารอไม่ได้ ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย  พ.ร.บ.นี้ ควรพูดถึงการอำนวยความสะดวกของผู้ชุมนุมด้วย ที่จำเป็นที่สุดคือห้องน้ำ ถ้าคุณไม่อยากให้เกิดการชุมนุม คุณต้องออกมาแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว และบอกกรอบเวลาการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน

“ดูภาพรวมแล้ว พ.ร.บ การชุมนุมที่จะออกมานี้ไม่สามารถทำให้เราชุมนุมได้อย่างแน่นอน หากนำไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศนี่เขาเชื่อว่า ชุมนุมแล้วก็แค่ถูกจับ แต่ของเรานี้ไม่ใช่ เราเชื่ออะไรไม่ได้เลย” จิตราเสริม

พ.ร.บ. นี้ จะทำให้ประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันเอง ชี้รัฐไทยจารีตภายใต้รัฐสมัยใหม่

อนุสรณ์ อุณโณ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. กฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือที่รัฐสมัยใหม่ใช้ปกครองผู้คน ไม่ได้เป็นเรื่องของความมั่นคงของรัฐ ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ แต่เพื่อความสงบสุขของประชาชน เช่น ถ้าคุณไม่สวมหมวกกันน็อค นั่นไม่เป็นภัยต่อรัฐ แต่เพราะคุณไม่ดูแล ตัวเอง นี่เป็นลักษณะของรัฐสมัยใหม่ กฎหมายนี้ยังทำหน้าที่แบ่งประชาชนออกเปนสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายที่ก่อกวน คือ ผู้ชุมนุม อีกฝ่ายคือประชาชนที่ถูกปกป้อง

“รัฐอำพรางตัวเอง ผลักตัวเองจากการเป็นคู่ขัดแย้งของประชาชนอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เอาประชาชนอีกฝ่ายมาขัดแย้งกันเอง ผมว่านี่เป็นข้อที่น่ากังวล หากยังมีกฎหมายแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ เราต้องตามให้ทัน” อนุสรณ์ กล่าว

วิธีการใช้อำนาจแบบนี้เป็นอำนาจของรัฐสมัยใหม่ แต่ไทยยังมีลักษณะที่เป็นจารีตสูงมาก ขึ่งมันไม่เนียน หากเราจะดูตะวันตก เราจะพบว่ามันเนียนมาก ยกตัวอย่างเช่น มาตราแปด ระบุชัดเจนว่า การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่พักของกษัตริย์ หน่วนงานรัฐ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้าออก แต่มันคือศูนย์กลางของอำนาจรัฐต่างหาก ไม่ใช่เรื่องการกีดขวางทางสัญจรในชีวิตประจำวัน แต่เป็นการปกป้องอำนาจของประเทศ

“นี่คือความลักลั่นที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อห้ามการชุมนุมที่ตลาดสด หรืออะไรก็ตามที่คนทั่วไปจะต้องใช้ คุณต้องพูดเรื่องแบบนี้ด้วย” อนสรณ์ เสริม

มันจึงไม่ใช่การปกครองในรูปแบบสมัยใหม่ที่ใช้ประชาชนบังหน้า แต่เป็นการใช้โวหารแบบใหม่ซึ่งยังคงไว้ซึ่งอำนาจแบบเก่า มันเป็นการขยายอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาสู่ชีวิตประจำวัน ท้ายที่สุดเราจะแยกไม่ออก ว่าอะไรปกติหรือไม่ปกติ

ถ้ามองในแง่ที่เลวร้ายที่สุดหากกฎหมายนี้ผ่านขึ้นมา เราจะอยู่กับมันอย่างไร มันยังมีพื้นที่ให้เราต่อต้านขีดขืนมันได้ ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายนี้ไม่บังคับใช้ในกรณีที่มีการชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรรมทางศาสนา ต้องใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ ทำให้การตีความทางกฎหมายมันซับซ้อนมากขึ้น การชุมนุมในพื้นที่ที่ไม่น่าจะชุมนุมได้ ก็มีหลายทาง เช่น คุยกันในครัว

อนุสรณ์ทิ้งท้ายว่า กฎหมายนี้เกิดจากการผลักดันทางการเมือง แต่การเคลื่อนไหวของคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองจะมีข้อจำกัดมาก และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมสักแค่ไหนที่จะเป็นปัญหา และถ้าหากว่าเป็นปัญหาจริงๆเราจะจัดการอย่างไร มันจะต้องมีกฎหมายเป็นการเฉพาะ

สมบัติ บุญงามอนงค์ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า ไม่รู้ว่ามีใครเคยขออนุญาตไปใช้ที่สนามหลวงหรือเปล่า เคยขอไปหลายครั้ง แต่ไม่เคยได้รับอนุญาติเลย นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ขนาดสถานที่ที่สามารถให้ขอใช้ได้ ยังใช้ไม่ได้เลย

"ถ้าหากผมไปที่ที่ไม่สาธารณะอย่างเช่น เซนทรัลเวิลด์ นี่ผิดกฎหมายไหม หรือคุณอยากให้เราอยู่บนรถอย่างเดียวแล้วขับไปเรื่อยๆ หรือเราอาจจะไม่ชุมนุมแต่เราจะแสดงออกในรูปแบบอื่น ให้คุณเหวอไปเลย คุณจะเอาไหม"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมทำบุญให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุรถรับ-ส่งคนงานพม่าชนสิบล้อ เช้าวันอาทิตย์นี้

Posted: 09 Apr 2011 08:49 AM PDT

กรณีเกิดอุบัติเหตุรถสิบล้อชนเข้ากับรถหกล้อ ซึ่งเป็นรถรับ-ส่งคนงานชาวพม่ากว่า 80 คน เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยจากเหตุดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 16 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 50 ราย ในวันพรุ่งนี้ (10 เม.ย.54) เวลา 8.00 น. บริเวณตลาดกุ้ง มหาชัย จ.สมุทรสาคร ซึ่งใกล้กับจุดเกิดเหตุ จะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต นำโดยนายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา : สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป SMEs ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลง

Posted: 09 Apr 2011 08:45 AM PDT

ผู้เชี่ยวชาญด้าน SMEs ย้ำ กลุ่มธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ ความไม่สงบทางการเมือง และเหตุการณ์ภัยพิบัติ

วันที่ 8 เมษายน 2554 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาเรื่อง “สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป SMEs ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลง” การเสวนาครั้งนี้เน้นไปที่ประเด็นเรื่อง “กลยุทธ์การจัดการการเปลี่ยนแปลง” (Change Management) สำหรับกลุ่มธุรกิจระดับ SMEs เพื่อรับมือกับสถานการณ์โลกที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามทั้งวิกฤติเศรษฐกิจ ความไม่สงบทางการเมือง และเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆที่ส่งผลกระทบไปยังทั่วโลก

การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นที่วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นำเสวนาโดย ดร. สิทธิพร ดาดาษ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ SMEs ร่วมเสวนาโดย ดร. อรพรรณ คงมาลัย และ วิภา ดาวมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิกฤติการณ์โลกส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า

วิภา ดาวมณี กล่าวเปิดเสวนาโดยเท้าความถึงสถานการณ์โลกในช่วงที่ผ่านมา วิภากล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกต้องเจอกับวิกฤติมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องภัยพิบัติที่เพิ่งจะเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น เธอเห็นว่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจนถึงขั้นล้มมากนัก แต่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กอย่าง SMEs กลับเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า และรัฐก็ให้ความสำคัญเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนธุรกิจกลุ่มขนาดเล็กอย่าง SMEs รัฐจะไม่เข้าไปช่วยอุ้มหากแต่ต้องเป็นผู้ดิ้นรนด้วยตัวเอง เธอกล่าวต่อไปอีกว่าอุทกภัยในปัจจุบันเป็นเรื่องของภัยพิบัติค่อนข้างมาก และกลุ่มธุรกิจก็มีเพียงน้อยรายที่จะทำประกันภัยในเรื่องความเสียหายซึ่งเกิดจากภัยพิบัติ

ดร. อรพรรณ คงมาลัย กล่าวต่อจากประเด็นของวิภาว่า สภาพสถานการณ์ปัจจุบันทำให้การประกอบธุรกิจค่อนข้างยุ่งยาก เธอกล่าวไล่ลำดับถึงสถานการณ์โลกในรอบปีที่ผ่านมาโดยเริ่มจากเรื่องการเมืองในตะวันออกกลาง ภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น และ สถานการณ์น้ำท่วมทางภาคใต้ของไทย เธอตั้งคำถามฝากไปยัง ดร.สิทธิพร ดาดาษ ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจ SMEs

ภาครัฐต้องดำเนินการก้าวไปอีกขั้น และต้องพัฒนาเรื่องระบบขนส่ง

ดร. สิทธิพร ดาดาษ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ SMEs เห็นว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันต้องเผชิญหน้ากับเรื่องสำคัญ 5 ประเด็น คือ ภัยธรรมชาติ การเมือง การก่อการร้าย การค้าเสรี และโลกาภิวัตน์ ตนเห็นว่าสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นนั้น แม้ว่าจะสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ก็จริง แต่กลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับเรื่องการค้าเสรีของไทยนั้น สิทธิพรเห็นว่าต้องเปิดทัศนะให้กว้าง เขากล่าวว่าไทยดำเนินนโยบายเปิดการค้ากับต่างประเทศโดยใช้เรื่อง “แรงงาน” และ “สินค้าราคาถูก” มาเป็นจุดขายตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกเปรมฯจนกระทั่งปัจจุบัน สิทธิพรมองว่าวิธีการแบบนี้ใช้ไม่ได้สำหรับโลกปัจจุบันที่มีประเทศใหม่ๆกำลังเปิดการค้า และประเทศเหล่านี้ก็เอาเรื่องแรงงานมาเป็นจุดขายเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่ประเทศเปิดใหม่เหล่านี้ได้เปรียบกว่าในเรื่องตัวเลขค่าแรงที่ต่ำกว่า เช่น ประเทศเวียดนาม

สิทธิพรเห็นว่าไทยพร้อมมานานแล้วที่จะก้าวไปอีกขั้น  เขาเล่าว่า “แอฟริกาซื้อข้าวไทยเข้าไปเป็นจำนวนมาก แต่เราไม่เคยรู้เพราะเค้าซื้อจากพ่อค้าคนกลางในอิตาลีที่ซื้อข้าวไทยแล้วไปบวกกำไรอีกต่อหนึ่ง” ปัญหาตรงนี้สิทธิพรเห็นว่าเกิดจากเรื่องระบบการขนส่ง หรือโลจิสติกส์ (Logistics) ที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อม จึงทำให้พ่อค้าชาติอื่นสามารถหาประโยชน์จากสินค้าไทยได้ เขาเห็นว่าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นประเด็นสำคัญที่ไทยควรดำเนินการปรับปรุงเสียที เพราะไทยเองก็ได้เปรียบกว่าคนอื่นตรงที่เป็นประเทศที่มีสินค้าพร้อม สิทธิพรกล่าวว่า “ไทยควรกลับมาคิดได้แล้วว่าอะไรที่เราเป็นต่อเค้าแล้วเรายังไม่ได้ทำ” เขาย้ำว่าปัจจุบันความได้เปรียบไม่ได้อยู่ที่เรื่องค่าแรงเท่านั้นหากแต่เป็นเรื่องการพัฒนา มิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่าเราเป็นผู้เสียเปรียบ สิทธิพรยังกล่าวเปรียบเทียบอีกว่า ธุรกิจภาคเอกชนในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งเพราะเริ่มต้นจากภาครัฐที่สร้างความเข้มแข็งก่อน

ผู้ประกอบการต้องเตรียมการให้พร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤติ

สิทธิพรกล่าวถึงกระบวนการที่กลุ่มธุรกิจ SMEs ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับวิกฤติ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ประเด็น คือ ต้องรู้เท่าทัน มีการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องควบคุมหรือลดระดับความเสียหาย ต้องประคองให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ และต้องกลับสู่สถานการณ์เดิมให้เร็วที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SMEs ท่านนี้เห็นว่า ผู้ประกอบการต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้จากสังคมภายนอก ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้องมีวิสัยทัศน์ และมองการไกล สิทธิพรกล่าวต่อไปอีกว่า “ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ต้องวิเคราะห์ความเสี่ยง ต้องวิเคราะห์ว่าจะเจออุปสรรคอะไร และต้องมองต่อไปอีกว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขหรือดำเนินการต่ออย่างไร” เขาย้ำว่าผู้ประกอบการต้องกำหนดแผนกลยุทธ์การจัดการให้พร้อม และต้องมีการปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

สิทธิพรมองว่าธุรกิจ SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และมีอำนาจการต่อรองต่ำ เขาเห็นว่าต้องทำโครงสร้างให้ยืดหยุ่น คล่องตัว ไม่ซับซ้อน ไม่เรื่องมาก และต้องรวดเร็ว เพราะภาคธุรกิจระดับนี้ไม่ได้มีแบรนด์ที่ดึงดูดลูกค้าได้เหมือนกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ การจัดการต่างๆจึงต้องอาศัย “ความยืดหยุ่น” และ “รวดเร็ว” เป็นจุดสำคัญในการดึงดูดลูกค้า สิทธิพรมองต่อไปอีกว่าผู้ประกอบการต้องมีความเป็นผู้นำ ทันต่อเหตุการณ์ และต้องตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆภายใต้ความกดดันให้ได้

สิทธิพรทิ้งท้ายประเด็นในการเสวนาครั้งนี้ว่า “การบริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลง” ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และต้องให้ลูกน้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สิทธิพรย้ำว่าผู้ประกอบการต้องพร้อมอำนวยความสะดวกเพื่อให้อีกฝ่ายสามารถปรับตัวได้เช่นกัน พร้อมทั้งทิ้งท้ายนิยามสำคัญของการสร้างธุรกิจ SMEs ว่า ต้อง “เกิดง่าย-ตายช้า”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธีร์ อันมัย: อยุติธรรมซึ่งหน้า

Posted: 09 Apr 2011 07:46 AM PDT

 
“แล้วพี่มีกระดาษ ปากกา พร้อมจดแล้วบ่ ?”
“บ่มีค่ะ เขียนใส่ขี่ดินนี่ล่ะ”
 
หลังคุยกันราว 8 นาที เธอวานให้ผมบอกเบอร์โทรศัพท์ของผมให้เธอเขียนลงผืนดินตรงลานบ้านอย่างช้า ๆ  เพราะเธอไม่รู้วิธีการโทรกลับเบอร์ที่เรียกเข้า
 
เธอขี่มอเตอร์ไซค์คันเดียวของครอบครัวไม่เป็น และมันก็เป็นเหตุให้ลูกชายคนเล็กของเธอต้องขาดเรียนประจำ
เมื่อ สามีถูกตำรวจเรียกตัวไปสอบสวนที่ สภ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานีเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 และถูกคุมขังด้วยข้อหาอุกฉกรรจ์ความยาว 2 – 3 หน้า จากนั้น ก็ไม่มีใครขี่รถเครื่องส่งเด็กชายวัย 9 ขวบไปโรงเรียนที่อยู่ห่างจากบ้าน 10 กิโลเมตร โชคดีที่มีเพื่อนบ้านบางคนแวะมารับส่งบ้าง แต่หากวันไหนเขาไม่ว่างหรือไม่มีใครผ่านมา เด็กชายก็จะไม่ได้ไปโรงเรียนที่เขาเองก็ดูจะไม่มีกะจิตกะใจจะเล่าจะเรียน
 
เธอกลายเป็นกำลังหลักของครอบครัว ลูกชายคนโตไปเป็นทหารเกณฑ์ ลูกสาววัย 18 ปีเข้าไปรับจ้างในกรุงเทพฯมีรายได้ไม่แน่นอน
 
แล้งนี้เธอลงมือปลูกมันสำปะหลังเหมือนหลายปีที่ผ่านมา เพียงแต่ปีนี้สามีของเธอกลายเป็นนักโทษการเมืองข้อหาหนัก จากนั้นภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเงินสหกรณ์มาลงทุนทำไร่มันสำปะหลังเมื่อปี ที่แล้ว 50,000 บาทก็กลายเป็นภาระหนักอึ้งให้หญิงวัย 47 ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดตามลำพัง
 
ในวันที่สามีถูกจับนั้น เธอกับเขากำลังปลูกมันสำปะหลังด้วยความหวังว่า จะสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและนำมาใช้หนี้ได้ เหลือไว้พอจับจ่ายและเป็นต้นทุนในปีต่อไป
 
เธอบอกว่า ตำรวจมาที่บ้านด้วยท่าทีเป็นมิตรและขอเชิญสามีของเธอไปให้ปากคำที่สถานี ตำรวจ ฝ่ายสามีเองก็เชื่อมั่นว่า เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมใด ๆ และเชื่อโดยสุจริตใจว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีอย่างแน่นอน
“พอ ไปถึงโรงพัก ผมก็เห็นข้อหาหนา 2 - 3 หน้า ผมก็ปฏิเสธทุกข้อหา ตำรวจจากกรมสอบสวนคดีพิเศษเองก็ยืนยันว่า คนในรูปนั้นไม่ใช่ผม แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่รับฟัง” และเขายังยืนยันทุกครั้งว่า “หากมีหลักฐาน มีวิดีโอ หรือมีรูปที่ยืนยันได้ว่าผมมีส่วนในเหตุการณ์ตามที่ทางการกล่าวหา ก็เอาผมไปตัดหัวได้เลย แต่ถ้าพิสูจน์แล้ว ผมบริสุทธิ์ ต้องให้ความยุติธรรมกับผมด้วย”
“ข้าพเจ้าขอสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า
ข้าพเจ้าจะให้การต่อศาลด้วยความสัตย์จริง
หากข้าพเจ้านำความเท็จมากล่าว
ขอให้ข้าพเจ้ามีอันเป็นไปภายในสามวันเจ็ดวัน
หากข้าพเจ้าให้การด้วยความสัตย์จริง
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขความเจริญ”
 
จาก นั้น คืนวันในเรือนจำก็เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ พร้อมกับความเชื่อมั่นในความยุติธรรมในประเทศนี้ที่เขาเชื่อถือก็สึกกร่อน ร่อนลงอย่างเฉื่อยชา โดยมีชะตากรรมของชายวัย 52 ปีที่พ่วงด้วยชะตากรรมของครอบครัวที่อยู่ห่างจากเรือนจำออกไปกว่า 100 กิโลเมตรเป็นเครื่องเซ่นสังเวย
...
ความไกล และเงื่อนไขชีวิตที่มีข้อจำกัด เธอต้องกู้ยืมหนี้นอกระบบมา 30,000 บาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ค่าเดินทางมาเยี่ยมสามีที่เรือนจำในตัวเมือง ค่าเช่าเหมารถเที่ยวละ 900 – 1,000 บาท
 
นอกจากความหวังที่ลด ลงแล้ว สิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นในความรู้สึกของเธอเสมอ คือ ความกังขาต่อความยุติธรรมในประเทศนี้ โดยมีดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบร้อยละ 7 ของเงินต้น 30,000 บาท เป็นเงาทาบทับถมทวีบนซากปรักหักพังของชีวิตเธอ
 
จากเดือนเป็นหลายเดือนจนจะกลายเป็นขวบปี และดูเหมือนว่า ความช่วยเหลือต่าง ๆ เดินทางไปแทบไม่ถึงเธอ
 
“เคยได้รับเงินบริจาคประมาณ 600 – 700 บาท จากนั้นก็ไม่ได้รับความช่วยเหลืออีกเลย อาจเป็นเพราะเราอยู่ไกลจากตัวเมือง คนที่ต้องการช่วยเหลือเองก็คงไม่สะดวก”
 
สิ่งอัน เล็กน้อยที่พอจะหาเลี้ยงปากท้องลูกน้อยและตัวของนางเองตอนนี้คือ รับจ้างเก็บมะม่วง ขณะที่อีกใจก็ยังหวังว่า ความยุติธรรมบนแผ่นดินนี้จะยังพอมีและเธอก็ยังรอสามีกลับมาร่วมพลิกฟื้นไร่ มันสำปะหลังให้กลายเป็นความหวัง เหมือนลูกชายคนเล็กเองก็เฝ้ารอพ่อกลับมาเป็นสารถีส่วนตัวพาเขาไปโรงเรียน เปิดเทอมปีนี้ เขาจะขึ้น ป.5 แล้ว
...
หลังจากการสัมภาษณ์ผู้ ต้องขังกรณีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อปลายเดือนมีนาคมผมลังเลและ สับสนระคนหมดพลัง ความเศร้าท้นถั่งและยังไม่อาจคาดเดาคำตอบได้ว่า เรื่องนี้จะจบลงอย่างไร
 
นับตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันนี้ การเดินทางของความยุติธรรมในคดีการเมืองประเทศนี้น่ากังขา และได้พิสูจน์ตัวเองอย่างถ่องแท้และโจ่งแจ้งสุดในกรณีนี้
 
ครั้น พอได้สัมผัสความจริงของคนร่วมชีวิต ร่วมชะตากรรมของผู้ต้องขังหลาย ๆ ราย มันเหมือนถูกทุบที่ห้วด้วยค้อนอันหนักหน่วงอย่างจัง ได้แต่นั่งจด นั่งฟัง นิ่งงัน มึนงง ว้างโหวงในความรู้สึก ทึมทึบในหัวใจ
 
ประเทศนี้ช่างสิ้นไร้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน กระบวนเข้าถึงความยุติธรรมยังห่างไกล
 
7 x 30,000 = 210,000 และ 210,000 / 100 = 2,100
 
ผมพยายามคิดคำนวณว่า ร้อยละ 7 ต่อเดือนของเงิน 30,000 บาทนั้นมันเท่าไรล่ะ
 
มันคือ 2,100 บาทต่อเดือน  
 
หากเวลาล่วงเข้าเดือนที่สิบที่นางเริ่มกู้ยืมมาเพื่อประทังชีวิตและเป็นค่าใช้ จ่ายสำหรับเดินทางเข้าเมืองมาเยี่ยมสามีที่ถูกคุมขัง ก็เท่ากับว่า ลำพังดอกเบี้ย 10 เดือน ก็ปาเข้าไป 21,000 บาท เงินต้นอีก 30,000 บาท เธอมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 51,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยไม่เคยหยุดนิ่ง และหนี้เก่าในระบบอีก 50,000 บาทยังไม่ต้องพูดถึง
 
ในขณะที่สามีของนางสูญเสียอิสรภาพ ครอบครัวของนางมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
ใคร หน่วยงานไหน ใครรับผิดชอบชีวิต สวัสดิการ ความเป็นธรรมบนแผ่นดินนี้ งบประมาณสมานฉันท์ ปรองดอง ปฏิรูปทั้งหลายถูกละลายไปกับกิจกรรมใด แล้วปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้
...
 
ความจริงตรงนี้
อยุติธรรมซึ่งหน้า
ความตายเต็มตา
 
เราเพียงลอบมองแล้วเบือนหน้า
บ้างปาดน้ำตาสะอื้นไห้
บ้างสาปส่งด้วยสะใจ
 
สบตาตัวเอง
ลอบมองผู้คน
เราล้วนน่าละอาย
...
ผ่านไปสองชั่วโมง เธอโทรศัพท์กลับมา บอกหมายเลขบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ด้วยหวังว่า หากมีคนอยากช่วยแบ่งเบาภาระที่เกิดจากรัฐภัยให้กับครอบครัวของเธอบ้าง
 
965 8011 612
 
ผมบรรจงจดและทบทวนหมายเลขบัญชีของ นางดอกจันทร์ ธนูศิลป์ แล้วกล่าวอวยพรให้เธอเข้มแข็งและอดทน
เธอบอกว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ อิสรภาพของสามีเธอ ก่อนผมจะวางสายแล้วลงมือเขียนเรื่องราวความยุติธรรมบนแผ่นดินนี้
 

นางดอกจันทร์ ธนูทอง
บัญชีทวีโชค ธกส สาขาศรีเมืองใหม่
เลขที่ 965 8011 612

 

ที่มาบทความ: เฟซบุ๊คของธีร์ อันมัย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนเสื้อแดงประท้วงไล่ประธานองคมนตรีหน้าหอประชุมกองทัพอากาศ

Posted: 09 Apr 2011 07:42 AM PDT

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาเปิดงานเลี้ยงวันกองทัพอากาศ แต่ต้องหลบเข้าด้านหลังหอประชุม เพราะด้านหน้ามีแดงลำลูกกาชุมนุมขับไล่ ด้าน "การุณ โหสกุล" วอนผู้ชุมนุมเดินทางกลับ เพราะเคยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพอากาศหลายครั้ง ขอให้เก็บแรงไว้ชุมนุม 10 เมษา

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 17.45 น. คนเสื้อแดงกลุ่ม "สถานีวิทยุเพื่อมวลชนคนลำลูกกา" ได้รวมตัวกันที่ริมฟุตบาทฝั่งตรงข้ามหอประชุมกองทัพอากาศ ถ.พหลโยธิน ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงเนื่องในวันกองทัพอากาศ

ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มาร่วมงานวันเลี้ยงรับรองวันสถาปนากองทัพอากาศ ที่หอประชุมกองทัพอากาศ ดอนเมือง โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พร้อมด้วย ผบ.เหล่าทัพ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาร่วมงาน โดยบุคคลสำคัญทั้งหมดเดินทางมาทางด้านหลังของหอประชุมกองทัพอากาศ เนื่องจากด้านหน้าหอประชุมฯ บริเวณถนนพหลโยธินมีกลุ่มคนเสื้อแดงมาชุมนุมขับไล่ พล.อ.เปรม

จากนั้นเวลา 19.20 น. พล.อ.เปรม ได้ขึ้นเวทีเชิญผู้ร่วมงานดื่มเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จนางเจ้าพระบรมพระราชินีนาถ แล้วจากนั้นได้เดินลงเวทีไปโดยทันที ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวบนเวทีว่า รอบสองปีที่ผ่านมาเกิดเหตุความไม่สงบส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างมาก และส่งผลต่อการจัดงานนี้ จึงยินดีเป็นพิเศษที่ได้จัดงานนี้ภายใต้สถานการณ์ปกติ

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขอชื่นชมกองทัพอากาศที่มีประสิทธิภาพในช่วงที่บ้านเมืองมีภาวะ ด้านความมั่นคงของประเทศชาติ เมื่อรัฐบาลเข้ามาได้กำหนดนโบายความมั่นคงในการปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย นอกจากนี้ในรอบสองปีกองทัพอากาศเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินนโยบายรัฐบาลให้บรรลุผลสำเร็จ โดยรัฐบาลมุ่งมั่นสนับสนุนกองทัพให้ทันสมัยรองรับภัยคุมคามสมัยใหม่ ส่งเสริมกำลังพล โดยเฉพาะภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จึงขอขอบคุณ ผบ.ทอ. และกำลังพลในโอกาสนี้ด้วย และหวังว่าจะสนใจติดตามสถานการณ์ในประเทศและโลกต่อเนื่อง ทั้งสถานการณ์ความมั่นคงและภัยพิบัติ

โดยหลังคนเสื้อแดงชุมนุมหน้าหอประชุมกองทัพอากาศนาน 1 ชั่วโมง กรุงเทพธุรกิจรายงานด้วยว่า ผู้ชุมนุมได้เดินทางกลับ หลังนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้ขึ้นพูดรถขยายเสียงขอให้ยุติการชุมนุม เนื่องจากดอนเมืองเป็นเหมือนบ้านของตน และเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งในวันนี้เป็นวันสถาปนากองทัพอากาศ ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือจากทหารอากาศหลายครั้ง ดังนั้นจึงขอร้องว่าช่วยให้ตนได้มีที่ยืนบ้าง อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ชุมนุมเก็บแรงไว้ในวันชุมนุมใหญ่ 10 เม.ย.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: 10 เมษา ประวัติศาสตร์ของความเชื่อ ?

Posted: 09 Apr 2011 07:35 AM PDT

 
ไม่น่าเชื่อว่าประวัติศาสตร์ระยะใกล้ของเหตุการณ์สังหารประชาชนเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ท่ามกลางสายตาผู้สื่อข่าวทั้งไทยและเทศ ทั้งเครื่องมือเก็บบันทึกภาพของหน่วยงานราชการและส่วนตัวของผู้ร่วมชุมนุมอีกจำนวนมาก แต่จนบัดนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานอย่างเป็นสาธารณะว่า ข้อเท็จจริง คืออะไร
 
ความตายร่วม 25 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่า 800 คน เป็นฝีมือใครกันแน่ เป็นฝีมือของทหารหรือชายชุดดำ และชายชุดดำเป็นใครมาจากไหน ทำไมการชุมนุมจึงเกิดการยกระดับกดดันแทนการเจรจาให้ได้ข้อยุติทั้งที่การยกระดับการชุมนุมเช่นนั้น ทั้งแกนนำเสื้อแดงและฝ่ายรัฐบาลต่างคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่า อาจต้องมีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชน
 
ยิ่งนับถอยหลังไปยิ่งน่าสงสัยว่าเหตุใดฝ่ายรัฐบาลจึงเตรียมสรรพกำลังมากมายถึง 50,000 คน พร้อมยุทโธปกรณ์และงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
 
และยิ่งดูจากหลัง 10 เมษา ถึง 19 พฤษภา แต่ละฝ่ายต่างเดินหน้าสู่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชน เพียงเพราะเดิมพันกันด้วยการ เลือกตั้ง-ไม่เลือกตั้ง
 
นี่ย่อมเป็นการเดิมพันที่ผิดปกติของความขัดแย้งทางการเมืองปกติ แล้วข้อหาเรื่องขบวนการล้มเจ้า และการก่อการร้ายถูกโยนใส่มวลชนเสื้อแดงเพียงเพราะฝ่ายรัฐบาลและขุนทหารต้องการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเท่านั้นหรือ?
 
กองกำลังชุดดำมาจากไหน? กองกำลังทหารถูกจัดมาจากหน่วยไหนเป็นพิเศษ เบื้องหลังความเข้มแข็งของรัฐบาลอภิสิทธิ์คืออะไร? สังคมนี้พูดกันได้เพียง อำมาตย์  อำนาจนอกระบบ มือที่มองไม่เห็น แต่พูดกันได้ในระดับที่เป็นเพียง ความเชื่อเท่านั้น
 
เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์หรือซักไซ้ไล่เรียงด้วยเหตุผล และนำสืบพยานหลักฐานอย่างถึงที่สุดเพื่อแสดง ข้อเท็จจริง ของ เบื้องหลัง ได้อย่างตรงไปตรงมา
 
ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ 10 เมษา จึงยังคงเป็นประวัติศาสตร์ของความเชื่อ เป็นความเชื่อที่สร้างขึ้นจากการตีความ ข้อเท็จจริง ในมุมมองที่แตกต่าง
 
สำหรับฝ่ายรัฐ เสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี ประวัติศาสตร์ 10 เมษา คือประวัติศาสตร์ของ คนเสื้อแดงฆ่ากันเอง แต่สำหรับคนเสื้อแดง ประวัติศาสตร์ 10 เมษา คือประวัติศาสตร์ของ รัฐบาลและกองทัพฆ่าประชาชนและดูเหมือนคนเสื้อแดงจะไม่เชื่อว่าลำพังรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และกองทัพคงไม่กล้าที่จะรักษาอำนาจของพวกตนเองเอาไว้ด้วย การฆ่าประชาชน
 
อย่าลืมว่าคนเสื้อแดงชูประเด็น โค่นอำมาตยอย่าลืมว่าอีกฝ่ายกล่าวหาว่ามี ขบวนการล้มเจ้า ในมวลชนเสื้อแดง หากไม่มีข้ออ้างเรื่องขบวนการล้มเจ้า ไม่กลัวการ โค่นอำมาตย์ เพียงแค่ไม่ต้องการยุบสภาอย่างเดียว จะมีน้ำหนักพอหรือจะกล้าพอที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะใช้กำลังมหาศาลปราบปรามประชาชนหรือ?
 
ปัญหาคือ ขบวนการล้มเจ้า ก็เป็นเพียง ความเชื่อ ที่สร้างขึ้นจาก ผังการล้มเจ้า ซึ่งเขียนขึ้นอย่างจับแพะชนแกะ ส่วน โค่นอำมาตย์ก็เป็นความเชื่อที่สร้างขึ้นให้สังคมกลัวว่ามี นัยยะ ที่เหนือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นไป
 
ฉะนั้น ปรากฏการณ์ 10 เมษา จึงซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ เงื่อน ที่ซ่อนอยู่ก็ถูกนำมาพูดถึงโดย นัยยะ กันอย่างแพร่หลาย กระนั้นการพูดบนเวทีสาธารณะก็พูดกันได้เพียง นัยยะที่ยังไม่อาจสรุป ข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาธารณะ ของ นัยยะ นั้นได้ สังคมจึงไม่อาจเขียนประวัติศาสตร์แห่งข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ 10 เมษา ได้อย่างชัดเจน
 
แต่การที่ประวัติศาสตร์ 10 เมษา ยังคงเป็นประวัติศาสตร์แห่งความเชื่อ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ที่สังคมไทยควรลืมเลือน หากแต่สังคมควรต่อสู้เพื่อเปลี่ยนสถานะจากประวัติศาสตร์แห่งความเชื่อให้เป็นประวัติศาสตร์แห่งข้อเท็จจริง
 
ความเชื่อ นั้นเป็นความคลุมเครือที่ชนชั้นนำหรือฝ่ายกุมอำนาจรัฐมักนำไปใช้เพื่อมอมเมาประชาชนตลอดมาทุกยุคสมัย ฉะนั้น พวกเขาจึงหลอกสังคมให้คล้อยตามได้ว่าการใช้กำลังปราบปรามประชาชนโดยข้ออ้างอย่างคลุมเครือเพื่อ ปกป้องสถาบันเป็นข้ออ้างที่ชอบธรรม
 
หากสังคมยังอยู่กับประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่คลุมเครือ ก็ยากอยางยิ่งที่สังคมเราจะข้ามพ้นความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองซ้ำรอยเดิมอีก หรือพูดตรงๆ ก็คือหากสังคมเราไม่สามารถเปลี่ยนสถานะประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่คลุมเครือให้เป็นประวัติศาสตร์ของข้อเท็จจริงที่เห็นตรงกันได้ ก็ไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่าสังคมเราจะเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้ด้วยสันติวิธี
 
ฉะนั้น ภารกิจของการเขียนประวัติศาสตร์ 10 เมษา จากประวัติศาสตร์ของความเชื่อที่คลุมเครือให้เป็นประวัติศาสตร์ของข้อเท็จจริงที่สาธารณชนเห็นตรงกัน จึงไม่ใช่ภารกิจของคนเสื้อแดงเท่านั้น หากแต่เป็นภารกิจของสังคมไทยทั้งสังคมที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นประชาธิปไตยด้วยแนวทางสันติวิธี
 
จะเป็นเช่นนั้นได้ สังคมไทยต้องก้าวไปสู่การสร้างกฎหมายและวัฒนธรรมการตรวจสอบ ทุกอำนาจสาธารณะ อย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียม
 
เขียนประวัติศาสตร์ของข้อเท็จจริงให้ตาสว่างกันทั้งแผ่นดิน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลอกฆ่าประชาชนโดยอ้างความมั่นคงของอำนาจของพวกชนชั้นนำให้เป็น ความมั่นคงของชาติ อีกต่อไป !
 
      
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คารวะจิตใจกล้าสู้กล้าเสียสละของวีรชน 10 เมษายน 2553 ยืนหยัดอุดมการประชาธิปไตย “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ”

Posted: 09 Apr 2011 07:27 AM PDT

 
วันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน ได้ใช้กองกำลังทหารพร้อมอาวุธได้ทำการริดรอนสิทธิเสรีภาพการชุมนุมทางการเมืองของผู้รักประชาธิปไตย เป็นผลให้ผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง เสียชีวิต
 
วันนี้ 10 เมษายน ปีที่แล้ว ผู้ปกครองประเทศไทย ได้ใช้กำลังทหารล้อมปราบปรามสังหารประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ด้วยสองมืออันว่างเปล่า จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และต่อมาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 93 ศพ และคนบาดเจ็บอีกนับสองพันคนในที่สุด
 
นับเป็นโศกนาฎกรรมทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ ชนชั้นปกครองเข่นฆ่าประชาชนผู้ถูกปกครองของตนเอง
 
ขณะที่วีรชน คนเสื้อแดง ได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่ออุดมการประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าคนเราเท่ากัน ไม่ว่าไพร่หรืออำมาตย์ ไม่ว่ามาจากฟ้าหรือเติบโตจากผืนดิน ได้เสียสละชีวิตเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของสังคมไทย เพื่ออนาคตของประชาธิปไตย
 
นับเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของวีรชนที่ควรค่าเคารพคารวะอย่างยิ่ง และคนที่มีชีวิตอยู่ คนรุ่นหลัง จักต้องต่อสู้เพื่อสืบทอดอุดมการประชาธิปไตยและเพื่อให้ประชาธิปไตยในสังคมไทยปักหลักฐานมั่นคง หลังจากผู้กล้าได้กระทำการถากถางเส้นทางสายนี้มานับตั้งแต่การปฏิวัติ 2475
 
นอกจากนี้แล้ว รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนยังได้ใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาว่าเป็นการกระทำของชายชุดดำ ไม่ใช่ทหารของรัฐ
 
แต่ผ่านพ้นมาหนึ่งปีแล้ว ยังไม่มีหลักฐานชิ้นใดจากรัฐ ที่มือเครื่องมือครบครันในการพิสูจน์ ว่าใครคือชายชุดดำ หรือว่าชายชุดดำกับรัฐเป็นตัวเดียวกัน? อีกด้านหนึ่ง รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนยังกล่าวหา ว่าผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง เป็นผู้ก่อการร้าย เพื่อหาความชอบธรรมให้กับรัฐเอง
 
นับเป็นการกระทำของเยี่ยงผู้ปกครองอำนาจนิยมเผด็จการทั่วโลก
 
นับเป็นการประทำของระบอบอำมาตยาธิปไตยทั่วโลก เช่นกัน
 
ขณะที่ คนเจ็บถูกใส่ร้าย คนตายถูกกล่าวหา คนฆ่ายังลอยหน้า คนสั่งฆ่ายังลอยนวล
 
ผู้เขียนจึงขอเสนอรูปธรรมในการต่อสู้เพื่ออุดมการประชาธิปไตย เพื่อเบียดขับขจัดรัฐบาลที่อำนาจนอกระบบ อำนาจทหาร อำนาจศาล มือที่มองไม่เห็นทั้งหลายทั้งปวงที่ หนุนหลังอยู่ หรือระบอบอำมาตยาธิปไตย นั้นคือ
 
1. ฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนต้องถูกลงโทษ เพื่อความยุติธรรมในสังคม และเพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ ฆาตรกรลอยนวลลอยหน้า
 
2. ยกเลิกกฎหมายที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น กฎหมาย 112 และนิติรัฐต้องคู่นิติธรรม กฎหมายต้องมาตราฐานเดียว
 
3. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 ที่เป็นเครื่องมือของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ให้อำนาจกับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย โดยการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต้องมาจากประชาชนเท่านั้น
 
4. จัดตั้งกลุ่ม จัดการศึกษา แสวงหาเพื่อนมิตร ขยายมวลชนเสื้อแดง ให้แดงทั้งแผ่นดิน
 
5. สนับสนุนพรรคเพื่อไทยให้ชนะการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก
 
6. คัดค้านต่อต้านอำนาจนอกระบบ อำนาจทหาร มือที่มองไม่เห็นแทรกแซงการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลภายหลังเลือกตั้ง
 
ด้วยจิตคารวะ วีรชนคนเสื้อแดง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทรัพยากรแห่งอำนาจกับประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง

Posted: 09 Apr 2011 07:13 AM PDT

 

อำนาจ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ ที่ถูกถักทอขึ้นมาตามธรรมชาติ เสมือนเป็นตาข่ายผืนใหญ่ๆ ที่ครอบคลุมสังคมทั้งสังคมไว้ด้วยกัน อำนาจแม้จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่การดำรงอยู่ของอำนาจจะเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีทั้งลักษณะเท่าเทียมกันและเหลื่อมล้ำกัน ทั้งนี้เพราะเหตุอันเนื่องมาจากทรัพยากรแห่งอำนาจของบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีทรัพยากรแห่งอำนาจมากกว่า สูงกว่าสามารถทำให้ผู้ที่มีทรัพยากรแห่งอำนาจที่ต่ำกว่า น้อยกว่าปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของตนได้เสมอไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม ขณะเดียวกันผู้อยู่ใต้อำนาจก็พร้อมยินยอมปฏิบัติตามโดยมีเงื่อนไขและปัจจัยที่ต่างกันทั้งความเชื่อถือศรัทธา การคาดหวังประโยชน์ รวมทั้งความเกรงกลัว

เมื่อหันมามองทรัพยากรแห่งอำนาจในสังคมไทย เราจะพบว่าเดิมทีสังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมากนัก มีความสัมพันธ์แบบญาติพี่น้องที่ต่างฝ่ายต้องพึ่งพาอาศัยต่อกัน ดั่งที่เรียกกันว่าสังคมบุพกาล ครอบครัวและชุมชนจะทำการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ กระบวนการผลิตสลับซับซ้อนมากขึ้น สังคมได้พัฒนาจากสังคมแบบบุพกาลที่มีแต่สันติสุข มาสู่สังคมที่เริ่มซับซ้อนมากขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง เพราะโครงสร้างสังคมไทยได้พัฒนาไปในลักษณะรัฐเหนือสังคม รัฐจึงเป็นตัวตั้งสังคมเป็นตัวตาม นับเนื่องตั้งแต่รัฐศักดิ์นาเป็นต้นมา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่ต้องพึ่งพากัน เช่นระหว่างไพร่กับมูลนาย โดยมูลนายจะให้ความอุปถัมภ์ทางการเมือง (Political patronage) และเศรษฐกิจแก่ไพร่ เพื่อแรกกับความสวามิภักดิ์และการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Economic Surplus)

การเปลี่ยนถ่ายจากระบบศักดินาสู่ระบบทุนนิยมส่งผลให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบอุปถัมภ์ของรัฐศักดินาสิ้นสุดลง แต่เปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์กับประชาชนซึ่งอยู่ในฐานะผู้ได้รับการอุปถัมภ์ เพราะต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต หรือระหว่างนายทุนซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ กับแรงงานในฐานะผู้ได้รับการอุปถัมภ์ เพราะต้องพึ่งพาค่าจ้าง พัฒนาการของสังคมได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการผลิตอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งหลากหลายตามมา ซึ่งล้วนมาจากความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำในสังคมทั้งสิ้น

จากโครงสร้างสังคมไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นรากฐานสำคัญของการจัดโครงสร้างของสังคม (Social Organization) ที่ทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่มคนทั้งสองฝ่ายที่พึ่งพาและแรกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันเป็นไปในลักษณะที่ไม่เท่าเทียมกัน นโยบายสาธารณะทั้งหลายเกิดจากกลไกอำนาจนิยมของผู้ปกครองเพราะเป็นผู้กุมกลไกทรัพยากรแห่งอำนาจเอาไว้ นโยบายจึงไม่ได้มาจากความต้องการหรือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ประโยชน์มักตกกับผู้ปกครองเป็นหลักประชาชนมักถูกกดขี่และถูกเอาเปรียบเสมอมา ประวัติศาสตร์ทางสังคมที่ผ่านมาจึงเป็นประวัติของความขัดแย้ง นับเนื่องแต่สังคมทาสที่มีคู่ขัดแย้งระหว่างนายทาส-ทาส ควบคู่ไปสู่สังคมศักดินา [1] ที่เป็นทั้งเครื่องมือ ระบบที่สร้างระดับชั้นของคนในสังคม และวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลที่ทำให้สมาชิกในสังคมต่างทราบฐานะและหน้าที่ของตนในสังคมนั้นว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชน จึงเป็นช่วงที่มีคู่ขัดแย้งระหว่างมูลนาย-ไพร่ ตามมา

ไพร่ถูกกำหนดให้สังกัดมูลนายเพื่อการเกณฑ์แรงงาน มีทั้งไพร่สมกับไพร่หลวง ไพร่สมคือชายไทยที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ต้องขึ้นทะเบียนเพื่อสักทองมือสังกัดกรม โดยยังไม่ต้องทำงานให้หลวงแต่ให้มูลนายเป็นผู้ใช้งานไปก่อนภายใต้การดูแลของมูลนาย เมื่ออายุครบ 20 ปีจึงยกเป็นไพร่หลวงจะต้องเข้ารับราชการตามกรมกองที่สังกัดเรียกว่า เข้าเวร ไพร่ในสมัยอยุธยาถูกเกณฑ์แรงงานเข้าเดือนออกเดือน ต่อมาต้นรัตนโกสินทร์ได้ลดลงเหลือเพียงเข้าเดือนออกสองเดือน ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ลดเวลาลงอีกเหลือเพียงเข้าเดือนออกสามเดือน แต่ไพร่มีภาระต้องส่งส่วยแทนการเกณฑ์แรงงานเป็นการแลกเปลี่ยน

ต่อมาเมื่อเข้าสู่สังคมทุนนิยม มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเพื่อทำการผลิตอย่างเป็นระบเริ่มมีตัวตนผู้ผลิตเจ้าของปัจจัยการผลิต และแรงงาน เริ่มเกิดหน่อเนื้อกลุ่มชนชั้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ ทรัพย์สิน เกียรติยศชื่อเสียงที่ต่างกัน หรือการดำรงอำนาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าบุคคลอื่นๆในสังคม มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการที่ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตมีอย่างจำกัดทว่าความต้องการที่เพิ่มทวีคูณมากขึ้นอย่างไม่จำกัด การแย่งชิงจึงรุนแรงขึ้นตามลำดับ เริ่มคู่ขัดแย้งใหม่ระหว่างนายทุน-แรงงาน

ยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบันนี้ ชนชั้นเดียวกันก็ยังมีการแย่งชิงผลประโยชน์และอื่นๆ รวมทั้งเอารัดเอาเปรียบต่อกันยิ่งส่งผลให้คนในชนชั้นเดียวกันแบ่งฝ่ายเด่นชัดมากยิ่งขึ้น กลไกอำนาจระหว่างประเทศได้เข้ามาครอบงำการตัดสินใจของรัฐชาติอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งยิ่งซับซ้อนหาจุดลงตัวแทบไม่ได้รัฐก็ไม่สามารถเข้าจัดการความขัดแย้งเหล่านั้นได้ นี่คือลำดับการแบ่งฝ่ายของคนในสังคมตามยุคสมัยเพื่อคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ชนชั้นตน ทั้งหลายเหล่านี้เป็นความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างเชิงอำนาจ ที่ยึดโยงทั้ง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เข้าด้วยกันจนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งในสังคมแทบทั้งสิ้น [2] ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจำเป็นต้องคลี่คลายปัญหาดังกล่าวให้หมดไปจากสังคมไทยโดย การปรับแก้ระบบโครงสร้างเชิงอำนาจและกลไกที่เกี่ยวข้องให้เกิดสมดุลยวิถีในสังคมทุกมิติ กล่าวคือ

1) กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดสรรทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

รัฐสมัยใหม่(Modern state )ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญอยู่ที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายของรัฐเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ความต้องการที่ไม่จำกัด ที่เรียกกันว่านโยบายสาธารณะ [3] แต่นับเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันนโยบายสาธารณะมักจะถูกกำหนดขึ้นภายใต้กลไกอำนานิยม ตามความต้องการของผู้ปกครองเป็นหลัก จึงไม่อาจสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่องและตอกย้ำปัญหาความขัดแย้งทางสังคมตลอดมา เป็นต้นว่ากลุ่มสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน กลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนา กลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้ [4] ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ภาคประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่อาจมีผลกระทบกับวิถีชีวิตของประชาชนวิถีชุมชน ให้คนทั้งที่มีอำนาจและไม่มีอำนาจได้เข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยการผลิตอย่างเสมอภาคกัน

2) กลไกการกระจายอำนาจทางปกครองให้เกิดประชาสังคมอย่างทั่วถึง

โครงสร้างสังคมไทยมีลักษณะรัฐเหนือสังคม รัฐเป็นตัวตั้งสังคมเป็นตัวตาม ทั้งนี้เพราะรัฐและกลไกของรัฐเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ความเป็นไปของสังคมทั้งระบบ โครงสร้างอำนาจของรัฐไทยจึงเป็นรัฐรวมศูนย์เข้าส่วนกลางอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง เป็นไปตามกลไกการปกครองที่ประกอบด้วยราชการส่วนกลาง ที่มีกระทรวง ทบวง กรม เป็นกลไก แม้จะมีราชการส่วนท้องถิ่นที่มีทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการบริหารรูปแบบพิเศษทั้งเมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร เป็นกลไกทางปกครองในลักษณะกระจายอำนาจ แต่ราชการส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ไม่ได้มีสิทธิอำนาจที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง เพราะต้องบริหารจัดการภายใต้นโยบายของราชการส่วนกลาง ทั้งบุคลากร และงบประมาณ ส่งผลให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐส่วนกลางกับส่วนทองถิ่นไม่เสมอภาค การจัดการส่วนท้องถิ่นตกอยู่ภายใต้การบงการของส่วนกลางตลอดมา กลไกการปกครองจึงไม่อาจสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน หรือคุ้มครองประชาชนได้อย่างแท้จริง การไร้อำนาจของท้องถิ่นและประชาชนส่งผลให้คนเหล่านั้นต้องแสวงหาอำนาจ แสวงหาการอุปถัมภ์และการคุ้มครองเพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและความคุ้มครอง รวมทั้งการจัดสรรประโยชน์ทั้งปวง ดังนั้นจำเป็นต้องให้ประชาชนในทุกๆ พื้นที่ได้มีโอกาสสร้างประชาสังคม (Civil society) กำหนดความต้องการของตนเองและชุมชนกระจายทุกๆพื้นที่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม

 3) กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศประชากร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ ภูเขา แร่ธาตุ) การตั้งถิ่นฐานตลอดจนถึงเอกลักษณ์และสมบัติทางวัฒนธรรมซึ่งสามารถเห็นได้ชัดในรูปของศิลปกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ และกิจกรรมที่สืบทอดความมีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบันในรูปแบบกิจกรรมท้องถิ่นต่างๆ สิ่งแวดล้อมจึงเป็นกระบวนการทั้งหมดของชีวิตมนุษย์กับธรรมชาติที่เกี่ยวเนื่องกันมีผลต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เห็นได้ในทันทีและปรากฏให้เห็นในภายหลัง นอกจากนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมยังได้เกี่ยวพันต่อเนื่องกับปัญหาของชุมชนและสังคมทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม โบราณคดี สุขภาพอนามัย ฯลฯ ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาที่รวมตัวอยู่ในกระบวนการทางด้านการพัฒนาเกี่ยวพันกับโครงการพัฒนาต่างๆ

สังคมมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแยกไม่ออก ในอดีตปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีไม่มากนัก เนื่องจากผู้คนมีชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างช้าๆ ธรรมชาติสามารถสร้างความสมดุลของตัวเองได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงจึงยังไม่ปรากฏ ต่อมาเมื่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจึงปรากฏมากขึ้นตามลำดับ ทั้งภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ อากาศ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลาย และหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่า น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ปัญหาชุมชนแออัด แหล่งเสื่อมโทรม และปัญหาจากขยะมูลฝอย เป็นต้น หลายครั้งที่พบว่าภัยจากสิ่งแวดล้อมมีเหตุอันเนื่องมาจากการพัฒนาที่มิได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพราะนักธุรกิจมักจะมองว่าขบวนการทางสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้นในระยะยาวจะนำความผาสุกสู่ประชาชน



การก่อตัวของโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการค้า อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีทั้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมส่งผลให้การผลิตมีผลผลิตส่วนเกินมากขึ้น สินค้าผลิตเพื่อจำหน่ายเพิ่มทวีมากขึ้น การเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของทุนนิยม ทั้งด้านการผลิต เทคโนโลยี การสื่อสาร กลุ่มทุนที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาได้สะสมทุน ขยายการผลิต และขยายตลาดและพัฒนาไปจนกระทั่งมีอำนาจเหนือรัฐเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ดำเนินกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตน รัฐและกลไกของรัฐตกอยู่ภายใต้การครอบงำและควบคุมของกลุ่มทุน ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาของสิ่งแวดล้อมเป็นผลผลิตของระบบตลาดในเศรษฐกิจทุนนิยม การผลิตมีทั้งต้นทุนภายในและต้นทุนภายนอก ต้นทุนภายในคือปัจจัยการผลิตทั้งหลาย ส่วนต้นทุนภายนอกคือสิ่งที่อุตสาหกรรมผลักดันออกมาสู่ชุมชนในรูปของสารพิษ ของเสียและขยะมูลฝอย โดยผู้ผลิตคำนึงแต่ต้นทุนภายในเท่านั้น แต่ได้มองข้ามต้นทุนภายนอกเหล่านี้ ไม่ต้องจ่ายเงินสำหรับการป้องกัน การจัดการ และการบรรเทาผลร้ายที่เกิดกับสังคม ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน จนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐและระหว่างประชาชนกับพ่อค้านายทุน สภาพความขัดแย้งขยายกว้างยิ่งขึ้น ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ สังคมเริ่มตระหนักว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเน้นความเจริญทางด้านเศรษฐกิจได้ไปลดทอนคุณภาพที่ดีของชีวิต การพัฒนาแม้จะทำให้สังคมมนุษย์มีความสุข ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น แต่ต้องเสี่ยงกับภัยจากมลภาวะทั้งปวง

การพัฒนาทางเศรษฐกิจต้องให้ความสำคัญปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มากกว่ามุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมแต่เพียงประการเดียว การพัฒนาเพื่อคุณภาพแห่งชีวิต ก็คือความพยายามร่วมกันในอันที่จะใช้ทรัพยากรอันมีค่าของชาติให้เกิดผลที่สุด สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของชาติให้มากที่สุด เพื่อให้โครงการพัฒนาทั้งหลายไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือหากว่ามีก็ต้องน้อยที่สุด ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญคือ ผลดีในทางเศรษฐกิจ ความเหมาะสมในทางสังคม เหมาะสมในทางเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และสิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ

ดังนั้นการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย อันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกันของทรัพยากรแห่งอำนาจระหว่างคนในสังคม ...จากประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งที่ผ่านมานั้น ทางแก้ที่สำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเชิงอำนาจและกลไกที่เกี่ยวข้องให้มีความเสมอภาคผ่านกระบวนการ..การจัดสรรทรัพยากรแห่งอำนาจให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมอย่างแท้จริง....แล้วสังคมไทยจะกลับมาสันติสุขอีกครั้งหนึ่ง.

 

เชิงอรรถ

[1] ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลในสังคมมีศักดินาโดยทั่วกัน ศักดินา เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลโดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น เช่น ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ ไพร่มีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น ซึ่งหน่วยที่ใช้ในการกำหนดโดยใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ ก็มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน แต่เป็นเงื่อนไขในการปรับไหม หรือพินัย หากมีกรณีการกระทำความผิดคนที่ถือศักดินาสูง จะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ หรือการชำระค่าปรับก็ยึดเอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานคนที่ถือศักดินาสูงก็จะชำระค่าปรับสูงตามลำดับ

[2] ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ มาร์คซิสม์กับแนวทางแก้ไขความขัดแย้งในสังคมไทย. บทความ. ประชาไทหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 26 ธันวาคม 2553

[3]  นโยบายสาธารณะหมายถึง กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่กระทำ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนองความต้องการของสังคมอันเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม นอกจากนั้นยังมีการให้นิยามไว้หลากหลายด้วยกัน เช่น

[4] Ira Sharkansky ให้ความหมายนโยบายสาธารณะหมายถึง กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาล ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาลไม่ว่าทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ

[5] Thomas R. Dye ให้ความหมายไว้ว่า นโยบายสาธารณะ คือสิ่งที่รัฐบาลเลือกกระทำ หรือไม่กระทำ หากเลือกกระทำจะครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร และกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นโอกาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจกรรมที่กระทำบรรลุเป้าหมายในการให้บริการแก่สมาชิกในสังคม

[6] David Easton ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะว่าหมายถึงสิ่งที่รัฐบาลใช้อำนาจในการจัดสรรค่านิยมทั้งมวล และสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำนั้นเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม ดู่เพิ่มเติมในสมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ,กรุงเทพฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2543 : 3-13

[7] ธนชาติ ธรรมโชติ.ศึกษากระบวนการก่อเกิดและการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร.วิทยานิพนธ์.ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง.คณะเศรษฐศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“Chrysotile” และผลกระทบทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้น

Posted: 09 Apr 2011 06:59 AM PDT

 
ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช”) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ”) ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ได้มีมติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งห้ามใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ ดังต่อไปนี้
 
(ก) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการควบคุมแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างเร่งด่วน ภายในปี 2554 ซึ่งจะห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสินค้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์
 
(ข) ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
 
(ค) ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนามาตรการเพื่อควบคุมการรื้อถอน ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารหรือวัสดุที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ และการกำหนดมาตรการการทิ้งขยะแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ โดยเฉพาะในกิจการก่อสร้างและการบริการติดตั้ง
 
(ง) ให้กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ
 
(จ) ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตรวจสอบและประกาศรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบให้สังคมรับรู้ และ ดำเนินการห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ พร้อมกับพิจารณาออก กฎ ระเบียบ หรือกฎหมาย ที่ควบคุมสินค้าที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง
 
(ฉ) ให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพิ่มอัตราภาษีการนำเข้าแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ และลดอัตราภาษีการนำเข้าของสารที่นำมาใช้ทดแทนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขพิเศษที่จะไม่กระทบต่อการจัดเก็บภาษีของสารอื่นที่อยู่ในรหัสเดียวกัน
 
(ช) ให้สำนักนายกรัฐมนตรีปรับเพิ่มเกณฑ์ในระเบียบเดิม เรื่องการก่อสร้างอาคารของส่วนราชการโดยกำหนดไม่ให้ใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซมอาคารใหม่อย่างเคร่งครัด
 
โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี หรือ ภายในปี 2555
 
ซึ่งรัฐบาลได้แสดงท่าทีว่าอาจจะดำเนินการตามข้อเสนอของ คสช. โดยการประกาศให้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 ภายใต้ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.วัตถุอันตราย) ซึ่งจะต้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพไปดำเนินการออกประกาศเพื่อประกาศให้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ตามมาตรา 43 [1] แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย โดยจะมีผลทำให้ไม่สามารถผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ในครอบครองซึ่งแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ได้
 
ถ้าหากรัฐบาลตัดสินใจ หรือ มีมติสั่งห้ามใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ ตามข้อเสนอของ คสช. ดังกล่าวจริง การกระทำดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบทางกฎหมายต่อภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่สำคัญตามมาดังนี้
 
(1) ก่อให้เกิดการใช้สิทธิฟ้องร้องภายใต้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย”) เนื่องจากแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นสารที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในสินค้ากระเบื้องที่มีผู้บริโภคใช้กันอย่างแพร่หลายและกว้างขว้าง หากคณะรัฐมนตรี หรือ รัฐบาล มีมติและ/หรือการดำเนินการประกาศให้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นวัตถุอันตราย และสั่งห้ามมิให้มีการใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ในประเทศไทย จะทำให้สินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ที่ขายและใช้ในประเทศตลอดเวลา 70 ปีที่ผ่านมา กลายเป็น สินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้บริโภคที่ได้ใช้ ใช้ หรือเคยใช้สินค้าที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบ มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการรายนั้นๆ ถึงแม้กฎหมายฉบับนี้ได้มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งทำให้เกิดการจำกัดสิทธิของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าก่อนวันที่กฎหมายฉบับนี้จะประกาศใช้ให้ไม่สามารถมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสินค้าอันตรายนี้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ได้ และอาจมีผู้ผลิตบางรายกล่าวอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายภายใต้กฎหมายดังกล่าว เนื่องจากได้เลิกผลิตสินค้าที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบก่อนที่ พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าวจะบังคับใช้นั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากสินค้าที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ที่ผู้ผลิตรายนั้นได้เลิกผลิตไปแล้วยังมีการวางขายและจำหน่ายอยู่ภายหลัง พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย บังคับใช้ ผู้ผลิตรายดังกล่าวก็ยังมีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าดังกล่าวของผู้ผลิตรายนั้นภายหลังที่ พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัยบังคับใช้นั่นเอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ผลิตหรือเคยผลิตกระเบื้องที่มี แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบดังกล่าว มีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อผู้บริโภคในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภค ไม่ว่าผู้ประกอบการจะจงใจกระทำหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
 
(2)  ก่อให้เกิดการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายมูลละเมิดภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 [2] นอกจากผู้บริโภคผู้ซื้อสินค้าที่มีแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบจะสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ผลิตภายใต้ พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ได้แล้ว ผู้บริโภคยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ผลิตในฐานที่ผู้ผลิตระทำการละเมิดไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้อีก โดยกรณีนี้ไม่ว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าดังกล่าวมาก่อนหรือหลัง พ.ร.บ. สินค้าที่ไม่ปลอดภัย บังคับใช้ ผู้บริโภคทุกคนก็มีสิทธิที่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ผลิตทุกรายที่เกี่ยวข้องได้ เพียงแต่อาจมีปัญหาในเรื่องภาระการพิสูจน์และอายุความในการฟ้องร้องคดีซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าเสียหาย หรือไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด   ตามมาตรา 448 [3] แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
โดยนอกจากการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดจากผู้บริโภคแล้ว อาจมีการดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจากแรงงานที่ได้ทำงานในโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เป็นส่วนประกอบต่อผู้ประกอบการเจ้าของโรงงานดังกล่าว ในฐานที่ผู้ประกอบการเจ้าของโรงงานกระทำการละเมิดไม่ว่าโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้แรงงานดังกล่าวได้รับอันตรายจากการทำงานโดยใช้สารที่เป็นวัตถุอันตราย
 
นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาในต่างประเทศถึงกรณีการดำเนินการฟ้องร้องอันเป็นผลกระทบมาจากการดำเนินการสั่งห้ามใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ ที่น่าสนใจ ดังนี้
 
- กรณีศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ตามข้อมูลจากhttp://www.rand.org/content/dam/rand/pubs/documented_briefings/2005/DB397.pdf
สรุปได้ว่า ในประเทศอเมริกามีอัตราการฟ้องร้องในเรื่องนี้สูงมาก ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะภาคธุรกิจอุตสาหกรรมแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์เองเท่านั้น แต่ได้ส่งผลกระทบไปถึงเกือบทุกภาคธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2549 เพียงแค่ปีเดียวนั้น มีการฟ้องร้องที่เกิดจากความตื่นตระหนกของผู้บริโภคที่มีต่อ แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์มากกว่า 60,000 คดี โดยมีผู้ฟ้องร้องกว่า 600,000 ราย และมีผู้ถูกฟ้องกว่า 8,400 ราย โดยมีมูลค่าการจ่ายค่าชดเชยทดแทนความเสียหายกว่า 11 ล้านล้านบาท และบริษัทที่ถูกฟ้องส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้นได้มีคำร้องขอเป็นผู้ล้มละลายเนื่องจากการถูกฟ้องร้องในคดีดังกล่าว
 
- กรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ตามข้อมูลจาก http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/ed20100529a1.html ปรากฏข้อมูลว่าศาลในประเทศญี่ปุ่นได้มีคำสั่งให้รัฐบาลรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่แรงงานที่ทำงานในโรงงานแร่ใยหิน โดยคิดเป็นมูลค่าชดเชยค่าเสียหายถึง 435 ล้านเยน และยังปรากฏข้อมูลตามhttp://www.japantoday.com/category/national/view/honda-ordered-to-pay-y54-mil-in-damages-over-asbestos-related-case ว่าศาลได้เคยมีคำสั่งให้บริษัทฮอนด้าในประเทศญี่ปุ่น ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่พนักงานที่ทำงานในโรงงานของฮอนด้าเป็นจำนวน 54 ล้านเยน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวอ้างว่าเป็นมะเร็งเนื่องจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหินจากโรงงานของฮอนด้า
 
- กรณีศึกษาของประเทศอินเดีย ตามข้อมูลจาก www.chrysotile.com/data/inde_janvier2011_en.pdf ปรากฏข้อมูลว่าได้เคยมีกรณีองค์กรเอกชน (NGO) ยื่นคำฟ้องต่อศาลสูงในประเทศอินเดียเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามการใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ โดยยึดหลักฐานว่าใยหินทำให้สุขภาพร่างกายเสียหายรุนแรงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ภายใต้กระเบื้องหลังคาซึ่งสร้างด้วยแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ ซึ่งผลปรากฏออกมาว่าศาลสูงของประเทศอินเดียได้มีคำสั่งไม่รับคำร้องยุติการใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ดังกล่าวขององค์กรเอกชน (NGO)  และในทางกลับกันศาลกลับมีคำสั่งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องออกกฎหมายและวิธีการควบคุมการใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้แนวทางเรื่องความปลอดภัยของอุตสาหกรรมที่กำหนดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ
 
- กรณีศึกษาของประเทศฝรั่งเศส ตามข้อมูลที่ปรากฏจากรายงาน The Damage by Abestos and The Problems of the Compensation/ Reliief in Japan ตาม http://www.ps.ritsumei.ac.jp/cocreative/research_output/discussion_paper/discussion_paper016.pdf มีการอ้างถึงการดำเนินการของรัฐบาลฝรั่งเศสในการดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายว่า รัฐบาลของประเทศฝรั่งเศสรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย โดยการจัดให้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อจัดการเยียวยาและชดใช้ค่าเสียหายขึ้น ซึ่งมีกรรมการมาจากหลายภาคส่วน รวมถึงตัวแทนจากกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในการชดใช้ค่าเสียหาย โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการ
 
ซึ่งจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าหากรัฐบาลมีมติหรือมีการดำเนินการในการสั่งระงับการใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์ อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางกฎหมายต่อภาคส่วนต่างๆ ในสังคมตามมา โดยอาจก็ให้เกิดการเรียกร้องค่าเสียหายมูลค่ามหาศาลที่ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเองต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่รัฐจะมีมติดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่อสำคัญที่จะต้องพิจารณาให้ดีถึงผลดีและผลเสีย และความวุ่นวายต่างๆ ในสังคมที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่รัฐต้องตั้งคำถามก่อนดำเนินการว่า ประเทศไทยเหมาะสมและพร้อมจริงหรือที่จะดำเนินการสั่งห้ามใช้แร่ใยหินประเภทไครโซไทล์
 
 
 
………………………
 
[1] มาตรา 43ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบเฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การขออนุญาต การอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศระบุวัตถุใดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้นำมาตรา 41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
[2] มาตรา 420ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
 
[3] มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ     
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

1 ปีสลายการชุมนุม 10 เมษา สมัชชาสังคมก้าวหน้าจี้เยียวยาเหยื่อ-ประกันผู้ตกค้างในคุก

Posted: 09 Apr 2011 06:44 AM PDT

9 เม.ย. 54 - สมัชชาสังคมก้าวหน้าออกแถลงการเรียกร้องให้ช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสีย ชีวิต ผู้ได้รับาดเจ็บ อย่างเร่งด่วนและให้ประกันตัวผู้ถูกจับกุมทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับ เหตุการณ์สลายการชุมนุมทันที
 

แถลงการณ์ ครบรอบ 1 ปี การสลายการชุมนุม 10 เมษายน

เหตุการณ์กวาดล้างการชุมนุมเสื้อแดง 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 กำลังจะเวียนมาครบ 1 ปี ในครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคน ผู้บาดเจ็บนับพันคนและถูกจับกุมคุมขังหลายร้อยคน นับเป็นเหตุการณ์ครั้งเลวร้ายอีกครั้งหนึ่งที่ฝ่ายรัฐใช้อาวุธสงครามสลายการชุมนุมของฝ่ายตรงข้ามทางเมืองที่ชุมนุมโดยสงบ

ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ได้อ้างว่าพยายามสร้างความปรองดอง แต่กลับเรียกฝ่ายเสื้อแดงผู้ร่วมการชุมนุมว่า "พวกเผาบ้าน เผาเมือง" และไม่พยายามให้ความยุติธรรมกับพวกเขาแม้แต่น้อย ผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิต ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ผู้ถูกจับกุมไม่ได้รับการประกันตัว ย่อมแสดงว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีความพยายามสร้างความปรองดอง แต่กลับพยายามช่วงชิงมวลชนผ่านคณะกรรมการปฏิรูปของนายแพทย์ประเวศ วะสีและนายอนันต์ ปันยารชุน อันจะนำไปสู่การสร้างความแตกแยกมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สายเกินไปสำหรับนายอภิสิทธิ์ ที่จะสร้างความสมานฉันท์ด้วยการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและอำนวยความยุติธรรมกับพวกเขา

ขณะเดียวกัน แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เรียกร้องให้มีการปล่อยนักโทษการเมือง และได้รับความสำเร็จในการประกันตัวแกนนำออกมา แต่ นปช. ไม่ควรเพียงหยุดเท่านั้น หากว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกร้องให้มีการประกันตัวที่ถูกจับกุมทั้งหมดในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยกลไกทางการเมืองที่มีอย่างจริงจัง พร้อมกับการดูแลเอาใจใส่ผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิต ความเดือดร้อนของมิตรร่วมรบมิอาจทนรอไปจนกว่าหลังการเลือกตั้งหรือพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล

เราขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ดังนี้

1. ให้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับาดเจ็บ อย่างเร่งด่วน

2. ให้ประกันตัวผู้ถูกจับกุมทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมทันที

เราขอเรียกร้องให้ นปช. ผลักดันข้อเรียกร้องที่มีต่อรัฐบาล 2 ข้อนี้อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดผลโดยเร็ว

สมัชชาสังคมก้าวหน้า
9 เมษายน 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น