โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รมว.แรงงานเผยเตรียมลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติรอบใหม่

Posted: 19 Apr 2011 02:24 PM PDT

เผยมติที่ประชุม กบร. ให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวครั้งที่ 6 รอบใหม่ หวังแรงงานร้อยละ 90 เข้ามาลงทะเบียน หากผู้ประกอบการไม่นำลูกจ้างมาลงทะเบียนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์ เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 22 หน่วยงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ว่าที่ประชุมมีมติร่วมกันให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวครั้งที่ 6 ที่ผิดกฎหมายรอบใหม่ โดยสามารถดำเนินการได้ภายหลัง พล.ต.สนั่น นำเรื่องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ จึงจะดำเนินการประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการและลูกจ้างทั่วประเทศ

โดยกรมจัดหางานจะให้มีหน่วยงานรับจดทะเบียนในแต่ละจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าศูนย์ นอกจากนี้ในการรับจดทะเบียนจะมีการจัดเก็บข้อมูลโดยการทำไบโอดาต้าจัดเก็บลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว รวมทั้งโครงสร้างใบหน้า จากนั้นจึงจะออกใบอนุญาตทำงาน หรือ เวิร์กเพอร์มิต เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้

นายเฉลิมชัย เชื่อว่าจะมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาจดทะเบียนประมาณร้อยละ 90 ส่วนช่วงเวลาเปิดลงทะเบียนมีเพียงครั้งเดียว หากผู้ประกอบการรายใดไม่นำลูกจ้างมาจดทะเบียนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลต่างจากแรงงานปกติ เนื่องจากแรงงานส่วนนี้ทำงานในทะเลเป็นส่วนใหญ่ โดยจัดทำเป็นรูปแบบสมาคม เพื่อแก้ปัญหาการย้ายข้ามเรือที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

“การจดทะเบียนครั้งนี้มีมาตรการที่ชัดเจนและเป็นหัวใจหลัก คือ การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ซึ่งผู้ประกอบการที่ไม่มาจดทะเบียนหรือละเมิดก็จะถูกดำเนินคดี ซึ่งโทษขั้นรุนแรงที่สุดคือ ข้อหาการค้ามนุษย์ที่สำคัญการเปิดโอกาสให้จดทะเบียนในครั้งนี้ถือเป็น มาตรการจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับแรงงานใต้ดิน” นายเฉลิมชัย กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประเทศลุ่มน้ำโขงหารือโครงการเขื่อนไซยะบุรี เวียดนาม-กัมพูชากังวลผลกระทบ

Posted: 19 Apr 2011 11:32 AM PDT

 
 
 
19 เม.ย.54 ที่นครหลวงเวียงจันทน์  สปป.ลาว – ประเทศกัมพูชา สปป. ลาว ไทย และเวียดนาม ได้ตกลงร่วมกันในการนำกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าสำหรับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีไปสู่การตัดสินใจในระดับรัฐมนตรี เนื่องจากไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันในเดินหน้าโครงการ
 
ประเทศสมาชิกทั้งสี่ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงบรรลุข้อสรุปของการพิจารณาวาระพิเศษในระดับคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งประเทศสมาชิกได้ประชุมพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับข้อเสนอโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำกั้นลำน้ำโขงแห่งแรกในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
 
คณะกรรมการร่วมเห็นด้วยว่าประเทศสมาชิกแต่ละประเทศยังมีมุมมองต่อโครงการที่แตกต่างกันแม้ว่ากระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้ากำลังจะสิ้นสุดลง
 
ในการประชุมพิจารณา ประเทศลาวยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นที่จะยืดระยะเวลาของกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าอีกต่อไป เนื่องจากการตัดสินใจดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ในทางปฏิบัติ ในขณะที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนต่อประเทศสมาชิกอื่นๆ ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้
 
อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกที่เหลือคือกัมพูชา ไทย และเวียดนามได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับช่องว่างขององค์ความรู้ทางเทคนิคและการศึกษาเกี่ยวกับโครงการ การคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนในลุ่มน้ำโขงจำเป็นต้องมีดำเนินการประชุมประชาพิจารณ์ให้มากขึ้น
 
“เราขอแสดงความขอบคุณต่อข้อคิดเห็นต่างๆ และเราจะพิจารณาแก้ไขเพื่อคลายความกังวลทั้งหมด” นาย วิละพอน วิลาวง (Viraphonh Viravong) หัวหน้าผู้แทนจากประเทศลาว
 
ประเทศลาวเสนอให้ยุติกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าตามที่ระบุไว้ในขั้นตอนการปรึกษาการหารือล่วงหน้าข้อ 5.5.1 ซึ่งกล่าวว่ากำหนดเวลาสำหรับกระบวนการนี้คือหกเดือน และข้อ 5.5.2 ซึ่งระบุการขยายกำหนดเวลาสำหรับขั้นตอนนี้ต้องมาจากการตัดสินใจของคณะกรรมการร่วม
 
ประเทศลาวกล่าวว่าการศึกษาเพิ่มเติมจำเป็นต้องยืดระยะเวลาออกไปอีกมากกว่า 6 เดือน ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่อาจรับรองได้ว่าจะสามารถคลายความกังวลในด้านต่างๆจากประเทศสมาชิก
 
โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีจะเป็นไปตามข้อกำหนดการออกแบบเบื้องต้นของการสร้างเขื่อนของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และตัวอย่างต้นแบบที่ดีที่สุดโดยอิงจากมาตรฐานในระดับสากล กล่าวโดยผู้แทนประเทศลาว การพิจารณาเพิ่มเติมของผลกระทบต่อการเดินเรือ บันไดปลาโจน การเคลื่อนที่ของตะกอน คุณภาพน้ำและนิเวศทางน้ำ และความปลอดภัยของเขื่อนสามารถลดผลกระทบดังกล่าวในระดับที่ยอมรับได้
 
อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกอื่นๆได้แสดงความกังวลในด้านต่างๆ และให้ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการดังกล่าว
 
ด้านประเทศกัมพูชากล่าวว่า น่าจะต้องมีเวลามากกว่านี้ เพื่อให้ประเทศผู้แจ้งปัญหา (notifying country) และผู้พัฒนาโครงการดังกล่าว ได้เติมเต็มช่องว่างด้านความต้องการด้านเทคโนโลยี และเพื่อการปรึกษาหารือที่มีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกและต่อสาธารณชน
 
ประเทศกัมพูชายังได้กล่าวว่า จะต้องมีการจัดทำการศึกษาอย่างละเอียดรวมถึงการประเมิณผลกระทบข้ามพรมแดนและผลกระทบสิ่งแวดล้อมสะสม อีกทั้งยังเพิ่มเติมว่า ต้องมีการจัดเตรียมมาตรการการเตรียมพร้อมและมาตรการการรับมือต่อผลกระทบต่างๆ ขณะที่การจัดการด้านอื่นๆ อันได้แก่ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างประเทศ การจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และกองทุนทางสังคม ต้องมีการร่วมกันจัดตั้งให้เกิดขึ้นจริง
 
“ในเมื่อเรามีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับโครงการนี้ กัมพูชาจึงเสนอให้มีการขยายเวลาการปรึกษาหารือล่วงหน้านี้ออกไปให้นานขึ้น” ประเทศกัมพูชาได้กล่าวในการตอบโต้อย่างเป็นทางการ
 
 
เขากล่าวด้วยว่า ร่างข้อเสนอในการสร้างเขื่อนไซยะบุรีฉบับปัจจุบันควรจะคำนึงถึงการป้องกันการอพยพถิ่นฐานของปลาหลากหลายพันธุ์ทั้งที่อยู่ทางต้นน้ำและปลายน้ำซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแสดงความเป็นห่วง
 
 
ทางฝ่ายประเทศไทยได้ยอมรับถึงความสำคัญของโครงการนี้ต่อแผนการพัฒนาของประเทศลาว และได้กล่าวว่า ในการที่จะดำเนินโครงการต่อไปได้นั้น ควรจะต้องมีการจัดทำมาตรการป้องกันและบรรเทาสำหรับประชาชนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
 
ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงข้อกังวลต่างๆ ด้านการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดขึ้นจากการปรึกษาหารือระดับชาติ อันได้แก่ ความสูญเสียด้านการประมงและพื้นที่ชุ่มน้ำ การขาดมาตรการป้องกันและบรรเทาที่ชัดเจน โดยประเทศไทยมีความเป็นห่วงต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำโขง
 
ประเทศไทยยังได้เสนอข้อกังวลจากเวทีสาธารณะว่า ยังมีข้อสงสัยต่อความยั่งยืนของโครงการนี้ รวมทั้งกรอบเวลาที่ตั้งไว้สำหรับกระบวนการการหารือล่วงหน้านี้ยังไม่เพียงพอและควรต้องยืดเวลาออกไป
 
“ดังนั้น ทางเราจึงต้องการให้มีการนำความคิดเห็นของประชาชนและข้อกังวลต่างๆ ไปพิจารณาทบทวน” นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำกล่าว
 
ด้านนายปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนวานนี้ว่า ต้องหารือกับประเทศสมาชิกกรรมาธิการลุ่มน้ำโขงรายอื่นๆ คือลาว เวียดนามและกัมพูชา ก่อนที่จะมีกรตัดสินใจอะไรลงไป แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะร้องขอให้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 
ขณะเดียวกัน ประเทศเวียดนามแสดงความกังวลอย่างสูงสุดต่อการขาดการจัดทำการประเมิณผลกระทบข้ามพรมแดนและผลกระทบสะสมอย่างละเอียดเพียงพอ โดยโครงการนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อลำน้ำตอนล่าง โดยเฉพาะที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
 
พร้อมกันนี้ ประเทศเวียดนามยังได้แนะนำให้เลื่อนโครงการนี้ รวมทั้งโครงการด้านพลังงานน้ำอื่นๆ ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นบนลำน้ำโขงสายหลัก ออกไปอย่างน้อยสิบปี
 
ดร.ลี ดึก ตรัง (Le Duc Trung) หัวหน้าคณะผู้แทนจากเวียดนามกล่าวย้ำว่า “ควรจะมองว่าการเลื่อนโครงการนี้ออกไป จะก่อให้เกิดผลดีในการที่จะให้เวลารัฐบาลของประเทศในลุ่มน้ำจัดทำการศึกษาเชิงปริมาณโดยละเอียดในด้านผลกระทบสะสมต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้น”
 
ประเทศเวียดนามยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กรอบเวลาที่มีอยู่จำกัดสำหรับกระบวนการปรึกษาหารือนี้ ไม่เพียงพอที่จะทำให้บรรลุข้อตกลงของกระบวนการ การเลื่อนโครงการออกไป จะสามารถช่วยให้ประเทศได้เกิดความเข้าใจและสร้างความมั่นใจต่อสาธารณชนและประชาชนในพื้นที่ ดร.ดึก ตรัง กล่าว
 
คณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง จะรายงานผลการตัดสินใจต่อรัฐมนตรีของประเทศตนเองในวันนี้
 
 
 

 
 
 หมายเหตุ
 
 
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ปี 1995 ได้กำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (PNPCA) ซึ่งกำหนดไว้ว่าประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการร่วมของ MRC (Joint Committee) ในกรณีที่ประเทศมีความประสงค์ที่จะมีโครงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ใดๆ (เช่นโครงการพัฒนาไฟฟ้ าพลังน้ำ) บนแม่น้ำโขงสายหลักหรือแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโครงการดังกล่าวอาจจะสร้างผลกระทบข้ามเขตแดนต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่ปลายน้ำ
 
กระบวนการ PNPCA ถือเป็นกลไกที่เป็นทางการที่จะช่วยประเทศสมาชิกของ MRC ในการนำเสนอโครงการแต่ละโครงการให้ประเทศสมาชิกทั้งสี่ประเทศร่วมกันพิจารณาในระดับภูมิภาค ในกรณีโครงการเขื่อนไซยะบุรี รัฐบาลของประเทศลาวได้แจ้งให้ MRC เริ่มใช้กระบวนการ PNPCA
 
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวถึงโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานในแขวงไซยะบุรี เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ภายใต้กระบวนการ PNPCA ประเทศสมาชิกทั้งสี่จะดำเนินการปรึกษาหารือร่วมกันต่อข้อเสนอโครงการ เพื่อบรรลุข้อสรุปของการดำเนินโครงการระหว่างประเทศสมาชิกในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการ
 
เมื่อได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศดำเนินการประชุมปรึกษาหารือภายในประเทศโดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ เพื่อรับฟังและสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองต่อโครงการ นอกจากนี้คณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขงดำเนินการตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อศึกษาทบทวนรายงานและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ จากรัฐบาลประเทศลาว
 
กระบวรการปรึกษาหารือเป็นหนึ่งในระเบียบปฏิบัติภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ปี 1995 เพื่อการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งในระดับภูมิภาค
 
โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังงน้ำไซยะบุรีเป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำโครงการแรกบนแม่น้ำโขงสายหลักหรือสายประธาน (mainstream) ซึ่งอยู่ปลายน้ำจากประเทศจีน โครงการนี้จะมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ 1,260 เมกะวัตต์ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อป้อนความต้องการพลังงานของประเทศไทย
 
เขื่อนไซยะบุรีมีที่ตั้งอยู่ที่ประมาณ 150 กิโลเมตร ลงมาทางใต้จากหลวงพระบาง ในประเทศลาว เขื่อนนี้มีความสามารถในการผลิตอยุ่ที่ 1,260 เมกะวัตต์ โดยความยาวของเขื่อนอยู่ที่ประมาณ 810 เมตร สูง 32 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 49 ตารางกิโลเมตร กักเก็บน้ำได้ 225 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งออกขายให้กับประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างเขื่อนไซยะบุรีคือการสร้างรายได้เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศลาว บริษัทผู้ก่อสร้างคือ บริษัท ช.การช่าง ของประเทศไทยซึ่งได้มีการเจรจาตกลงค่าธรรมเนียมกับการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EGAT) ในเดือนกรฎาคม 2553
 
คณะกรรมธิการลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานความร่วมมือในการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน โดยมีสมาชิกคือประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม และคณะกรรมธิการลุ่มแม่น้ำโขงเป็นหน่วยงานในการประสานกระบวนการ PNPCA ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาทุกภาคส่วน ได้แก่การประมงธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างโอกาสทางการเกษตร รักษาการเดินเรืออย่างอิสระ การจัดการอุทกภัย และการปกปักรักษาระบบนิเวศที่สำคัญ
 
การประชุมปรึกษาหารือในวาระพิเศษของคณะกรรมการร่วมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อสรุปของกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าสำหรับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี โดยประเทศสมาชิกทั้งสามได้แสดงการตอบรับอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมการประชุม
 

 
 
 
ที่มาบางส่วนจาก
Laos takes heat for dam work
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

Posted: 19 Apr 2011 11:08 AM PDT

19 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง นำโดย สมบัติ บุญงามอนงค์ ชุมนุมหน้าห้างเซนทรัลเวิลด์ แยกราชประสงค์ เพื่อรำลึกการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คนเสื้อแดงกลุ่มนี้จัดเป็นประจำทุกวันที่ 19 ของทุกเดือน โดยมีกิจกรรมถือป้าย ผูกเชือก เปิดเพลง เต้นรำ แต่ไม่มีการตั้งเวทีปราศรัย เริ่มขึ้นในเวลา 14.00 น. และจบลงประมาณ 19.00 น.

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

แกนนอน นปช. ชุมนุมระลึก 'วันที่ 19' รัฐประหาร ก.ย. 49-สลายชุมนุม พ.ค.53

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คอป.รับฟังกรณีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ทหารยันเข้าไม่ถึง ดีเอสไอเผยรายละเอียดผู้ต้องหา

Posted: 19 Apr 2011 10:52 AM PDT

คอป.ประชุมรับฟังกรณีเผา CTW ทหารยันไม่ได้เผา เข้าไม่ถึงพื้นที่ช่วงไฟไหม้ ดีเอสไอเผย มี 2 สำนวน คดีปล้นทรัพย์ 9 ราย คดีร่วมกันวางเพลิง 7 ราย จับได้แล้ว 4 ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ดีเอสไออ้างพยานบุคคลชี้เป็นกลุ่มผู้ชุมนุม 20-30 คนบุก CTW หลังแกนนำประกาศยุติชุมนุม 

19 เม.ย.54 ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)   คณะอนุกรรมการ ที่มีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธานมีการเปิดเวทีรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ครั้งที่ 11 "กรณีการเผาอาคารสถานที่ในเขตกรุงเทพมหานคร" มีนายสมชาย เป็นประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมพุ่งเป้าไปยังการสอบถามข้อมูลการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ (Central World- CTW) มีผู้มาให้ข้อมูลทั้งผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ทหารระดับผู้บังคับบัญชาหน่วยในพื้นที่ ตำรวจเจ้าของสำนวน พนักงานสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หน่วยกู้ชีพ และเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
 
เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กล่าวว่า ในวันที่ 19 พ.ค.53 หน่วยของตนรับผิดชอบกระชับพื้นที่ตั้งแต่แยกปทุมวัน สนามศุภฯ เทคโนโลยีปทุมวันฯ โดยมีการตั้งด่านตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 พ.ค.เพื่อเป็นประตูให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนออก [ในช่วงดังกล่าว มีประกาศ ศอฉ.ไม่อนุญาตให้เข้าพื้นที่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยอนุญาตให้ออกจากพื้นที่เท่านั้น-ประชาไท] จนวันที่ 19 พ.ค. จึงเริ่มขยับตั้งแต่เวลา 5.00 น.ไปจนถึงห้างมาบุญครองจากนั้นตั้งด่านโดยเปิดถนน 1 เลนเพื่อให้ผู้ชุมนุมออก จนช่วงบ่าย หลังแกนนำประกาศมอบตัว เวลาประมาณ 14.00 น. ประชาชนบางส่วนทยอยออก ทหารได้ตรวจค้นอาวุธและส่งกลับบ้าน เวลาประมาณ 15.00 น.ทหารเคลื่อนไปยังฝั่งห้างสยามดิสคัฟเวอรี่โดยมีกำลังพลทั้งภาคพื้นที่และบนสกายวอล์ค เคลียร์กองยางรถยนต์ แล้วได้รับคำสั่งให้หยุดแค่นั้น ช่วงนั้นมองจากสกายวอล์คเห็นกลุ่มควันจากCTWแล้ว มีคำสั่งให้คุ้มครองหน่วยดับเพลิงเข้าไป แต่ตนบอกว่ายังเข้าไม่ได้เพราะไม่ปลอดภัย สุดท้ายจึงได้รับอนุมัติให้เข้าพื้นที่เวลาประมาณ 17.00 น. ใช้เส้นทางถนนพระราม1 เข้าเคลียร์พื้นที่สยามสแควร์ พอถึงโรงหนังสกาลาเริ่มมีการยิงปะทะมาจากฝั่งสยาม เมื่อถึงบริเวณแยกเฉลิมเผ่ามีการแจ้งว่ามีชายชุดดำถืออาวุธปืนยาวประมาณ 3-4 คนยิงเจ้าหน้าที่ 2-3 นัดแล้วถอย เจ้าหน้าที่ตอบโต้แต่ยิงโดนตอม่อ อาวุธที่คนร้ายใช้น่าจะเป็นเอ็ม 16 เพราะวันรุ่งขึ้นเห็นปลอกกระสุน จากนั้นก็ไม่ได้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพราะเริ่มมืด ประกอบกับมีรถหกล้อซึ่งใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีจอดอยู่ 2 คัน เกรงว่าจะมีการวางระเบิดจึงถนนกำลังมาอยู่ที่ห้างพารากอน กระทั่งเวลาประมาณ 19.00น. ศอฉ.จึงให้หน่วยตนประสานกับรถดับเพลิง เริ่มเข้ามาดับไฟซึ่งกว่าไฟจะเริ่มมอดก็ราว 5.00 น.ของอีกวัน
จากนั้นวันที่ 20 พ.ค. ทหารก็ยังเข้าไม่ได้ มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ก่อน จนกระทั่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ตอนบ่าย เจอระเบิดตามกุฏิ มีการฝังปืนเอ็ม 16 ไว้ใต้ต้นไม้หลายกระบอก จากนั้นประมาณ 14.00 น.จึงได้จัดกำลังเคลื่อนเข้าไปคุ้มครอง CTW เกรงว่าจะถูกเผาอีก แต่ก็เฝ้าเพียงโดยรอบเพราะเจ้าหน้าที่ CTW ไม่ให้เข้า จนวันที่ 21 พ.ค.ประมาณ 11.00 น.ได้รับแจ้งว่ามีการซุกซ่อนอาวุธในร้านวัตสัน ในห้าง CTW จึงนำกำลังเข้าไป 1 หมู่แต่ค้นไม่พบ สภาพในห้างพบว่ามีการรื้อค้นลิ้นชักใส่เงินของร้านกาแฟที่อยู่ตามทางเดินด้วย จากนั้นเกือบ 14.00 น. จึงได้รับรายงานว่าพบศพผู้ชายคนหนึ่งที่สำลักควันเสียชีวิตนานแล้วอยู่ด้านใน
อนุกรรมการสอบถามว่า ภาพบนรางรถไฟฟ้า BTS ที่ทหารใช้อาวุธจ่อยิงไปยังวัดปทุม เป็นวันที่เท่าใด เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลที่ 1 รอ.กล่าวว่า ไม่ทราบว่าถ่ายวันที่เท่าไร แต่ยอมรับว่าวันนั้นมีทหารจากหน่วยอื่นประจำการอยู่บนราง BTS หน่วยของตนอยู่แค่ภาคพื้นที่กับสกายวอล์ค แต่หน่วยบนราง BTS เคลื่อนที่มาทีหลังหน่วยของตน เพราะตนยังต่อว่าเขาอยู่เลยว่าเล็งยิงระวังโดนทหารหน่วยข้างหน้าด้วยกันเอง อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าหน่วยของตนไม่มีการใช้อาวุธอย่างแน่นอน
 
ด้านรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล6 ซึ่งดูแล สน.ปทุมวัน กล่าวว่า ให้รายละเอียดในเรื่องการดำเนินคดีไม่ได้มากนัก เพราะกำลังจะขึ้นศาล และตำรวจได้ส่งสำนวนให้กับีเอสไอแล้ว อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 พ.ค. ตนได้คุมกำลังตำรวจอารักขาวังสระปทุม เห็นกลุ่มควันจาก CTW เริ่มหนาแน่นเวลา 17.00-18.00 น. ซึ่งไม่มีหน่วยไหนพิสูจน์ทราบในที่เกิดเหตุได้เพราะไม่ปลอดภัย ส่วนรถดับเพลิงที่เข้าไม่ได้นั้น ไม่กล้าเข้าหรือโดนสั่งห้ามเข้านั้นตนก็ไม่สามารถยืนยันความชัดเจนได้ จนกระทั่งประมาณ 20.00 น.เศษ จึงมีการร้องขอรถดับเพลิงจาก กทม.และลุยกันเข้าไปดับเพลิง ส่วนการตรวจพบศพนั้นพบในช่วงบ่ายวันที่ 21 พ.ค. สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เข้าไปก่อนหน้านี้เพราะเกรงว่าตึกจะถล่ม
.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า คดีเกี่ยวกับการเผาสถานที่ราชการในต่างจังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี, อุดรธานี, ขอนแก่น, มุกดาหาร, เชียงใหม่ สำนวนอยู่ในชั้นศาลหมดแล้ว ส่วนคดีเผาในกรุงเทพฯ นั้น ดีเอสไอรับมา 48 คดี ที่เสร็จสิ้นแล้วมี 2 คดี ได้แก่ เผา CTW และปล้นทรัพย์ โดยรับสำนวนการสอบสวนมาจาก สน.ปทุมวัน จากสำนวนพบว่าพฤติการณ์เกิดขึ้นหลังการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ ผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจราว 20-30 คนได้บุกเข้าไปใน CTW ใช้อุปกรณ์ทำลายกระจก แต่เนื่องจากกระจกเป็นกระจกนิรภัยจึงมีการใช้แก๊สเผาจนละลาย จากกล้องวงจรปิดของห้าง CTWแม้ไม่ชัดเจนนักแต่ตำรวจได้ออกหมายจับผู้ต้องหาร่วมกันวางเพลิงแล้ว 7 คน และดีเอสไอออกหมายจับเพิ่มอีก 2 คน ซึ่งใช้ขวดน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ใช้สินค้าในห้างเป็นเชื้อเพลิง ในจำนวนนี้สามารถจับกุมได้แล้ว 4 คน เป็นเยาวชน 2 คน ผู้ใหญ่ 1 คน และตามจับกุมได้ที่สนามหลวงอีก 1 คน จากภาพถ่ายที่ CTW ขณะถือถังดับเพลิง ซึ่งพนักงานในห้างให้การว่า คนกลุ่มนี้ถือถังดับเพลิงไว้ทุบทำลายกระจก

ส่วนของ CTW นั้น พยานให้การว่า ผู้กระทำความผิดเข้ามาทางชั้น G รอบแรกเข้ามาจุดเพลิงแต่สปริงเกอร์ทำงาน รอบที่สองมีการยิงลูกแก้วเข้ามา รวมถึงใช้ประทัดยักษ์และระเบิดด้วย จนเจ้าหน้าที่ข้างในได้รับบาดเจ็บต้องถอยไปรวมกันที่ลานจอดรถ มีการอพยพคนออกจากห้างทั้งหมด เมื่อกำลังเจ้าหน้าที่มาถึงได้ลำเลียงออกไปลานจอดรถด้านล่างระหว่างนั้นได้ยินเสียงคนทุบทำลายกระจกภายในจึงเข้าไปดู มีการยิงกัน และจับคนร้ายได้ 9 คน แต่จับอาวุธปืนไม่ได้ แจ้งข้อหาปล้นทรัพย์โดยในจำนวนนี้มีส่วนที่เป็นผู้ต้องหาในคดีปล้นทรัพย์ด้วย 

.ต.อ.ปิยะกล่าวว่า อัยการสั่งฟ้องแล้วทั้ง 2 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งควรจะสืบพยานเสร็จแล้วแต่จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนและได้ประกันไม่มาศาล จึงต้องนัดใหม่ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ส่วนผู้ต้องหารายอื่นไม่ได้รับการประกันตัว
 
อนุกรรมการถามว่าพฤติการณ์มีลักษณะใดจึงสรุปในสำนวนว่าเป็นการวางเพลิง เจ้าหน้าที่จากดีเอสไอตอบว่า ใช้หลักฐานจากคำให้การของพยาน ซึ่งดีเอสไอรับสำนวนหลังจากเกิดเหตุแล้วประมาณ 1 เดือน ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานระบุว่าเป็นการวางเพลิง
 
เมื่อถามว่ายืนยันได้ไหมว่าไม่ใช่ฝีมือของทหาร เจ้าหน้าที่จากดีเอสไอระบุว่า ไม่มีพยานคนใดระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
 
เมื่อถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะเป็นฝีมือของมือที่สาม เจ้าหน้าที่กล่าวว่า การชุมนุมของ นปช.ในช่วงหลังผู้ชุมนุมไม่ได้ใส่เสื้อแดง และเราไม่ทราบว่าคนชุมนุมเป็น นปช.ทั้งหมดหรือไม่ จากการสันนิษฐานในช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าหน้าที่ทหารได้ปิดกั้นทุกด้านไว้หมด ไม่ใครเข้าได้อีกนอกจากคนที่อยู่ที่นั่น
 
ขณะที่หัวหน้าสถานีดับเพลิงพระนคร กล่าวว่า ในวันที่ 19 พ.ค. ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้บริเวณจุฬา ซอย 4, 5, 6 จึงออกไปดับเพลิงบริเวณดังกล่าว ซึ่งเข้าไปได้ยากเพราะทหารมีการตั้งด่านสกัดหลายจุด ระหว่างเดินทางไปและดับเพลิงได้ยินเสียงปืนตลอด อีกส่วนหนึ่งคือบริเวณ CTW ซึ่งไม่ได้เข้าไปในวันเกิดเหตุ แต่เข้าไปในวันที่ 20 พ.ค. เพราะเข้าพื้นที่ไม่ได้ ได้ยินเสียงปืนตลอด แม้ทหารช่วยคุ้มกัน แต่ก็เสี่ยงเกินไป ได้ยินเสียงปืนทีก็ต้องหลบ จนกระทั่งรถใหญ่เข้าได้หลังเที่ยงคืน เมื่อไปถึงอาคารก็ถล่มแล้วจึงมุ่งดับไฟอย่างเดียว เมื่ออนุกรรมการถามว่ามีการสกัดกั้นจากคนเสื้อแดงเพื่อไม่ให้ดับไฟหรือไม่ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงระบุว่าไม่มี เพราะทหารบล็อคไว้หมดแล้ว
 
ในช่วงท้าย นายนิค นอสติทส นักข่าวอิสระได้ให้ข้อมูลว่า เขามีภาพในวันที่ 19 พ.ค.ซึ่งเห็นทหารอยู่บริเวณ CTW แต่เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ กล่าวว่า ในวันดังกล่าวหน่วยของเขาอยู่แยกศาลาแดง เข้าไม่ถึง CTW โดน M79 3-4 ลูก จนผู้ใต้บังคับบัญชาเสียชีวิต 1 ราย จึงต้องปรับกำลังอยู่ตรงแยกราชดำริ-สารสิน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารระดับผู้บังคับบัญชาอีกนายหนึ่งระบุว่า หลังเหตุการณ์จบ กองทัพบกได้เชิญผู้บังคับบัญชาทุกหน่วยประชุมเพื่อทบทวนเหตุการณ์ ซึ่งขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้เผา CTW แน่นอน เริ่มมีการเผาตอนประมาณ 14.00 น. ซึ่งยังไม่มีทหารหน่วยใดที่เข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผบก.ยะลาเผย คาร์บอมบ์โยงหลายคดี-สั่งเฝ้าระวังอีกคัน

Posted: 19 Apr 2011 10:25 AM PDT

กรณีที่มีคนร้ายนำรถยนต์เก๋ง ยี่ห้อฮอนด้า รุ่น CIVIC แบบ 3 ประตู สีเทาดำ หมายเลขทะเบียน บค 5309 ยะลา (ป้ายทะเบียนปลอม) คนร้ายประกอบวัตถุระเบิดใส่ไว้ในถังแก๊สปิคนิก น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม ซุกซ่อนไว้ด้านหลังของรถยนต์ จุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร ไปจอดบริเวณหน้าร้านขายยาเอี่ยงไท้ไล้ เลขที่ 543 เยื้องกับแขวงการทางยะลา ถ.สิโรรส ในเขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554

จากนั้นได้กดชนวนระเบิดขึ้น ขณะรถยนต์เจ้าหน้าที่ทหารพรานขับผ่าน จนทำให้มีเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัด 4714 กรมทหารพรานที่ 47 ประจำฐานปฏิบัติการบ้านปะแต ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 1 นาย และยังมีเจ้าหน้าที่ทหารพราน และประชาชนได้รับบาดเจ็บ อีกจำนวน 23 ราย

พล.ต.ต.โชติ ชวาลวิวัฒน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า เหตุคาร์บอมบ์ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ทหารพรานเสียชีวิต จำนวน 1 ราย บาดเจ็บอีก 6 นาย ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บนับสิบราย หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด (EOD - ARMY) และกำลังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เข้าร่วมระดมผล เพื่อหาข้อมูลและสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการแบ่งมอบหน้าที่ในการติดตามขยายผล

จากข้อมูลที่ได้ในที่เกิดเหตุเบื้องต้น พบว่า สะเก็ดระเบิด และรูปแบบของการก่อเหตุจุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร ประกอบระเบิดด้วยถังแก๊สปิคนิก เหมือนกับการก่อเหตุคาร์บอมบ์ หน้าร้านเฮนเบเกอรี่ ถนน ณ นคร เขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 13 ก.พ 2554 และเหตุจักรยานยนต์บอมบ์ หน้าร้านทองรุ่งอนันต์ ถนน ระนอง เขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 21 ก.พ 2554 ซึ่งก็มีการเร่งรัดสืบสวนพยานต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้จังหวัด เพื่อเข้าไปเยียวยาผู้ที่เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย

ส่วนการสืบสวนขยายผล ชุดสืบสวนได้เข้าไปดูในข้อมูลเก่า ดูความเชื่อมโยงของคดี ดูถึงพฤติกรรมของคนร้าย รวมไปถึงกลุ่มของคนร้าย มีข้อมูลที่ตรงกันว่า ก่อนเกิดเหตุมีกลุ่มของผู้ต้องหาที่เคยก่อเหตุระเบิด เมื่อปี 52 และได้ประกันตัวไปในชั้นศาล และกำลังหลบหนีอยู่จำนวน 2 คน เข้ามาในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ก็ยังเป็นชื่อเก่าที่กำลังหลบหนีอยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็กำลังติดตามดูว่า เป็น 2 คนนี้หรือไม่อย่างไร ซึ่งในครั้งนี้ก็มีผู้ที่นำรถยนต์มาจอด และมีผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์มารอรับ

ในขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งติดตามหาพยาน มีการหาพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ และตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด ซึ่งต้องใช้ภาพจากกล้องของเทศบาลนครยะลา ที่ติดอยู่ทั้งหมดกว่า 300 จุด ต้องมีการไล่ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด ทุกๆ จุด ต้องใช้เวลาพอสมควร ก็พบว่า รถยนต์คันที่เกิดเหตุคือรถยนต์ฮอนด้า รุ่น CIVIC แบบ 3 ประตู สีเทาดำ ได้วิ่งเข้ามาจอดตรงจุดเกิดเหตุ เมื่อเวลา 05.30 น.และก็พบว่าผู้ต้องสงสัยที่คาดว่าน่าจะเป็นคนจุดชนวนระเบิด ขับขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าดรีม สีน้ำเงิน มารับผู้ที่นำรถยนต์มาจอด ขับมุ่งหน้าไปทางชุมชนตลาดเก่า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองได้เข้าทำการปิดล้อมตรวจค้น แต่ก็ไม่พบคนร้ายแต่อย่างใด

สำหรับเหตุคาร์บอมบ์ในครั้งนี้ กลุ่มที่ก่อเหตุมีรถยนต์ทั้งหมด จำนวน 5 คัน ประกอบด้วย  1. ใช้ก่อเหตุบริเวณหน้าร้านคาราโอเกะ กลางเมืองนราธิวาส เมื่อกลางดึกของวันที่ 19 ก.พ 2554  2. ใช้ก่อเหตุบริเวณแฟลต 5 ชั้น ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองได้เข้าทำการปิดล้อมตรวจค้น แต่ก็ไม่พบคนร้ายแต่อย่างใด เมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 7 มี.ค 2554  3. ใช้ก่อเหตุปล้นร้านทอง บริเวณถนนบุษยพันธ์ เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 14 มี.ค 2554 จำนวน 1 คัน

4. ใช่ก่อเหตุคาร์บอมบ์หน้าร้านขายยาเอี่ยงไท้ไล้ เลขที่ 543 ใกล้กับแขวงการทางยะลา ถนนสิโรรส เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 18 เม.ย.จำนวน 1 คัน ซึ่งในขณะนี้ก็ยังคงมีรถยนต์กระบะ ที่ยังคงต้องเฝ้าระวังอีก จำนวน 1 คัน คือ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อมิตซูบิชิ รุ่นสตราด้า รวมทั้งรถจักรยานยนต์ อีกจำนวนหนึ่งที่ถูกขโมยไป ซึ่งตนเองก็ได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อไปแล้ว

สำหรับมาตรการที่จะป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่า ในพื้นที่ของเทศบาลนครยะลา พื้นที่ 19 ตารางกิโลเมตร ถือว่ากว้างพอสมควร มีเส้นทางเข้าออกในเขตเมือง 23 ช่องทาง ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และ ฝ่ายปกครอง มีการทุ่มเทกำลังในการป้องกันเหตุร้ายอย่างเต็มที่ ให้ประชาชนได้สนุกสนานในช่วงเทศกาลได้อย่างสบายใจ ซึ่งก็สามารถป้องกันไม่ให้มีเหตุเกิดขึ้นได้ จนกระทั่งเกิดเหตุคาร์บอมบ์ขึ้น เมื่อเกิดเหตุร้ายอย่างนี้ขึ้นตนเองก็มีความจำเป็นต้องขยายจุดปลอดภัย หรือ จุด Safety zone ไปยังถนนสิโรรส เพิ่มเติมจากจุดเดิมที่มีอยู่แล้ว

ส่วนในจุดเดิมที่มีการจัดโซน เป็นโซน Safety zone ก็ไม่ได้เกิดเหตุร้ายใดๆ เกิดขึ้น จึงอยากฝากให้เจ้าของกิจการในย่านการค้าดังกล่าว มีความอดทน อาจจะไม่คล่องตัวเหมือนปกติ เพราะหากมีความสะดวกสบาย ช่องทางการเข้ามาก่อเหตุของกลุ่มคนร้ายก็จะเข้ามาก่อเหตุร้ายในพื้นที่ได้ง่ายขึ้น

ที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐเบรกแจก ส.ป.ก. 4-01 สะเดา หลีกทางสร้างด่านใหม่ ชาวบ้านค้าน

Posted: 19 Apr 2011 10:19 AM PDT

นายนพดล สองเมือง นายอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง เปิดเผยว่า ได้เลื่อนการประชุมคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง จากเดิมเวลา 10.30 น. วันที่ 19 เมษายน 2554 ออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากความไม่พร้อมของคณะกรรมการ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ จะมีการหาแนวทางแก้ไขกรณีชาวบ้าน 41 รายในบ้านไทย-จังโหลน ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดาไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ เนื้อที่ 720 ไร่

นายนพดล เปิดเผยต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ ตนได้ส่งหนังสือให้สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ให้พูดคุยเจรจากับชาวบ้านกลุ่มนี้แล้ว เพื่อให้ทราบความต้องการของชาวบ้านกลุ่มนี้ รวมทั้งเรื่องค่าชดเชยผลอาสินในที่ดินเขตพื้นที่โครงการด้วย

นายนพดล เปิดต่ออีกว่า ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้นัดเจรจากับชาวบ้านทีละคนวันละ 2 คน ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2554 เป็นต้นได้ แต่ชาวบ้าน 40 คน ไม่ยอม โดยต้องการให้เจรจาพร้อมกันทั้ง 40 คน จากนั้นก็ไม่ยอมเจรจาอีก ทำให้การแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่มีความคืบหน้า โดยปัญหาที่เกิดขึ้น ตนได้รายงานให้นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบแล้ว ซึ่งนายถาวรยังไม่ได้สั่งการใดๆ

นายนพดล เปิดเผยอีกว่า ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน( ส.ป.ก.4-01) แล้ว แต่ถูกยับยั้งไว้ เนื่องจากเป็นที่ดินจะมีโครงการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ จึงยังไม่มีการแจกหนังสืออนุญาตให้ชาวบ้าน ซึ่งการแจกหนังสือดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด

สำหรับคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าอาสินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ 4 ฝ่ายของคณะกรรมการพัฒนาการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

นางชุลีกร ดิษโสภา ชาวบ้าน 1 ใน 41 ราย ในนามกลุ่มเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก เปิดเผยว่า ชาวบ้านได้เดินทางไปที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจสอบว่าพวกตนได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ปรากฏว่า มีหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ของชาวบ้านทั้ง 41 ราย แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า เหตุที่ยังไม่ได้แจกให้ชาวบ้าน เนื่องจากยังไม่ได้รับการสั่งการจากสำนักนายกรัฐมนตรี

นางชุลีกร เปิดเผยด้วยว่า เมื่อเช้าวันที่ 10 มีนาคม 2554 พนักงานอัยการจังหวัดนาทวี ได้เรียกนายอภิชาต ช่อเรืองศักดิ์ ซึ่งเป็น 1 ใน 41 คนเข้าเจรจาเป็นคนแรก จากนั้นในช่วงบ่าย พนักงานอัยการเรียกนางจุรีรัตน์ ศิริคุรุรัตน์ ชาวบ้านอีกคนเข้าเจรจา ซึ่งนางจุรีรัตน์ เดินทางมาพร้อมกับชาวบ้านอีกหลาย และได้ตกลงกันว่า จะขอให้ทุกคนเข้าฟังการไกล่เกลี่ยด้วย แต่พนักงานอัยการไม่ยอม ชาวบ้านจึงพากันเดินทางกลับบ้าน โดยไม่ยอมพูดคุยและจะไม่ไปตามนัดอีก

“ชาวบ้านทุกคนไม่ต้องการเจรจาเรื่องค่าชดเชยผลอาสินในที่ดิน แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือ ไม่อยากให้สร้างด่านแห่งใหม่ที่นี่” นางชุลีกร กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ในการประชุมคณะกรรมการหลายครั้ง ได้มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดสงขลานำเอกาสารให้ชาวบ้านลงชื่อขอสละสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีใครลงชื่อ

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ในนามเครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก 10 คน ได้เดินทางไปพบกับนายจำนงค์ จิตรพิวัตน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) พร้อมคณะที่เดินทางลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาผลกระทบจากเหมืองหินเขาคูหาและผลกระทบจากด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ที่โรงเรียนสิทธิชุมชนเขาคูหา หมู่ที่ 9 บ้านหัวยาง ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

นายจำนงค์ เปิดเผยว่า ขณะกำลังประชุมอยู่กับชาวบ้าน เลขานุการของนายภูเบศ จันทนิมิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายสาทิตย์ วงค์หนองเตย) ได้โทรศัพท์มาสอบถามตนว่า ชาวบ้านด่านนอกได้รับเอกสารหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก. 4 – 01) แล้วหรือไม่ ตนตอบกลับไปว่า ยังไม่ได้รับ

นายจำนง เปิดเผยต่อไปว่า ชาวบ้านบอกตนว่า เคยไปขอเอกสาร ส.ป.ก. 4 – 01 ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดสงขลา แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ยังไม่มีหนังสือสั่งการจากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก.) ให้แจก ส.ป.ก.4 - 01 ให้ชาวบ้าน 41 รายที่ครอบครองที่ดินในเขตพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่

“กรณีปัญหาที่ดินด่านนอก อำเภอสะเดา เป็นปัญหาใหญ่ที่สลับซับซ้อน อีกทั้งเป็นแผนการพัฒนาของภาครัฐ ที่จะรองรับการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ชาวบ้านถูกกดดันจากหน่วยงานของรัฐเป็นอย่างมาก เบื้องต้นกระทบกับที่ดินของชาวบ้าน 41 ราย และชาวบ้านออกมาเคลื่อนไหวต้องการส.ป.ก.4-01 และตั้งเป้าหมายไม่ให้มีการสร้างด่านแห่งใหม่” นายจำนงค์ กล่าว

การพบปะดังกล่าว มีขึ้นเนื่องจากก่อนหน้านี้เครือข่ายชุมชนชาวสวนยางด่านนอก และคปสม.เข้าร่วมขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ ชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาของภาคประชาชน โดยกรณีเหมืองหินเขาคูหา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวอร์จิเนียหยุดทำงานหลังเจอทอนาร์โดถล่มติดต่อกัน

Posted: 19 Apr 2011 10:11 AM PDT

พายุทอร์นาโดที่ถล่มสหรัฐอย่างต่อเนื่องเกือบ 249 ลูก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 45 คน และก่อความเสียหายในวงกว้าง เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 เตาหยุดทำงานอัตโนมัติเพราะระบบพลังงานได้รับความเสียหาย


ดู พายุทอร์นาโดที่ถล่มสหรัฐ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

แผนที่ 12 รัฐในสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับผลกระทบจากทอร์นาโด

 

พายุทอร์นาโดเริ่มพัดเข้าถล่มรัฐโอคลาโฮมาเป็นที่แรกก่อนที่โหมกระหน่ำไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ นอร์ธคาโรไลน่าคือรัฐที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด โดยมีประชาชนเสียชีวิตไปแล้ว 22 คน

เว็บไซต์ซีเอ็เอ็นระบุว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างวันพฤหัสบดีที่แล้วถึงวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีรายงานการเกิดพายุทอร์นาโดต่อเนื่องกันอย่างน้อย 97 ลูก และมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขที่จะได้รับการยืนยันอาจะมีถึง 249 โดยมี 12 รัฐที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่นอร์ธแคโรไลนา เซาท์แคโรไลน่า เวอร์จิเนีย โอกลาโฮมา แคนซัส หลุยเซียนา มิสซิสซิปปี้ อลาบามา มิสซูรี อิลลินอยส์ จอร์เจีย และแมรี่แลนด์

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยนิวเคลียร์ของสหรัฐ หรือเอ็นอาร์ซี ออกมาเผยว่ากำลังจับตาดูโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซูรี่ ในรัฐเวอร์จิเนีย โดยระบุว่าเตาปฏิกรณ์สองโรงหยุดทำงานอัตโนมัติเนื่องจากพายุทอร์นาโดตัดขาดพลังงานที่ถูกส่งเข้าไปป้อนยังโรงไฟฟ้า และเครื่องผลิตพลังงานสำรองจากดีเซลเกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานการรั่วไหลของกัมมันตรังสี และเจ้าหน้าที่ยังคงเดินหน้าทำการซ่อมแซมโรงไฟฟ้าดังกล่าว

เว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยนระบุว่า ทอร์นาโดลูกนี้จัดอยู่ในบรรดาพายุทอร์นาโดที่เลวร้ายที่สุดของสหรัฐในรอบ 20 ปี โดยเมื่อปีที่ผ่านมา มีประชาชนเสียชีวิตจากทอร์นาโดถล่มรัฐมิสซิสซิปปี้ เมื่อปี 2527 พายุทอร์นาโดที่พัดเข้าโจมตีรัฐนอร์ธแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนาคร่าชีวิตประชาชนไป 57 คน และที่เลวร้ายที่สุดคือเมื่อปี 2517 มีประชาชนเสียชีวิตจากเหตุทอร์นาโดถล่มในตอนใต้ของประเทศ 330 คน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์:เรื่องเพศแบบไม่ไทย-ไม่พุทธ กับการโต้เถียงประเด็นเปลื้องผ้าเล่นสงกรานต์

Posted: 19 Apr 2011 10:00 AM PDT

การหยิบยกความเป็นไทยโยนใส่กันในการถกเถียงประเด็นเปลือยอกเล่นสงกรานต์น่าหวาดหวั่น เพราะสะท้อนเข้าใจผิดบวกยึดมั่นถือมั่นที่น่ากลัว

ฝ่ายเสียงดังมองว่าการเปิดเผยเนื้อตัวในที่สาธารณะสะท้อนความไม่รักนวลตามแบบ วัฒนธรรมไทย อีกฝ่ายบอกว่าคนสยามแต่เดิมเปลือยอกเป็นเรื่องธรรมดา
 
พูดกันในวงวิชาการมานานว่าค่านิยมเรื่องเพศกระแสหลักที่ภาครัฐยึดถือ "ไม่ไทยและไม่พุทธ" แต่นำเข้าความเชื่อและวิถีแบบฝรั่งห่อหุ้มด้วยความเป็นไทย (อ่านรายละเอียดประเด็นนี้ได้ใน "ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี" อีกหนึ่งงานวิจัยที่โดนแบนของชลิดาภรณ์)
 
คนไทยจำนวนไม่น้อยความจำสั้น ลืมไปหมดแล้วว่าค่านิยมเรื่องเพศที่เน้นการปกปิดร่างกายและขังเซ็กส์ในการ แต่งงานเป็นของนำเข้าช่วงกลางรัตนโกสินทร์
 
ความทรงจำคลาดเคลื่อนว่าค่านิยมเรื่องเพศแบบฝรั่งหลายอย่างเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของไทย ทำให้เกิดการประณามคนที่ไม่ทำตามว่าไม่รักษาความเป็นไทย
 
การอ้างอิงความเป็นไทยประณามการกระทำหลุดกรอบค่านิยมเรื่องเพศแบบนำเข้า ทำให้การโต้เถียงหรือชวนคิดเป็นไปได้ยาก เพราะเห็นต่าง=ไม่ไทย=ทำลายสังคม
 
ดูเหมือนค่านิยมเรื่องเพศหลายชุดที่ผสมปนเประหว่างของเดิม ของนำเข้า และวิถีปฏิบัติและการมองโลกที่เปลี่ยนไปตามเวลา ดำรงอยู่ไปพร้อมกันในสังคมไทย
 
การเถียงกันเรื่องเพศไม่น่าจะอ้างความเป็นไทยแบบมักง่าย หรืออ้างวิถีเดิมของสยามแบบผู้รู้ เพราะดูเหมือนคนไทยจะไม่ได้เป็นอย่างที่แต่ละฝ่ายเห็น
 
เรื่องเพศของคนไทยไม่เหมือนคนสยาม ไม่ใช่พุทธตามคำสอน (แต่เป็นพุทธแบบบอกเล่า+นิยมเทพและผี) แต่ผสมอะไรไว้หลายอย่างจนเถียงกันบนฐานเดียวลำบาก
 
การผสมปนเปของค่านิยมเรื่องเพศ+การให้ค่ากับความกล้าแสดงออกและความพอใจของ บุคคล ทำให้ได้เห็นการกระทำทางเพศมากมายที่ไม่เป็นตามกรอบหลัก
 
น่ามหัศจรรย์ที่คนไม่สงสัยว่าความเชื่อและค่านิยมที่ตัวเองยึดถือเป็นจินตนาการ ที่เชื่อมกับความเป็นไทย ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีของผู้คนในสังคมนี้
 
คนไม่ตั้งคำถามกับค่านิยมหลักเรื่องเพศแบบนำเข้า แต่โกรธประณามเมื่อเห็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับจินตนาการว่าด้วยความถูก ต้องเรื่องเพศของตนเอง
 
คนไทยมักอธิบายสาเหตุของปัญหาต่างๆโดยโทษคนบางคน ตั้งแต่สาวถอดเสื้อเล่นสงกรานต์ไปถึงทักษิณ คิดว่าจัดการกับคนที่เป็นต้นเหตุได้ปัญหาก็จบ
 
การยึดมั่นค่านิยมเรื่องเพศแบบนำเข้าและไม่อยากเผชิญหน้ากับความซับซ้อนของ ปัญหา ทำให้หลายคนสบายใจ+พอใจกับการขอโทษของสาวที่ถอดเสื้อเล่นสงกรานต์
 
การโต้เถียงเรื่องค่านิยมเรื่องเพศ ความเป็นไทย ผลกระทบของนโยบายขายประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว เงียบงันไปเพราะคนพอใจที่ได้เห็นการขอโทษของ 3 สาว
 

ประมาณว่าเมื่อ “คนผิด” สำนึกผิดและขอโทษ (แพะถูกบูชายัญ) สังคมก็กลับไปสงบสุขเหมือนเดิม จนกว่าจะถูกเขย่าอีกครั้งด้วยเรื่องน่าตกใจอื่นๆต่อไป

ที่มา:Chalidaporn

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เวียงแหง: การคืบคลานของสิ่งแปลกปลอมที่ชื่อ ‘เหมืองแร่’ (ตอน 1)

Posted: 19 Apr 2011 08:55 AM PDT

ชื่อบทความเดิม:
เวียงแหง เมืองชายแดน ประวัติศาสตร์ตำนาน กับการคืบคลานของสิ่งแปลกปลอมที่ชื่อ เหมืองแร่ (ตอน 1)

 

เวียงแหง เป็นอำเภอเล็กๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่อยู่ติดกับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 134 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าระยะทางห่างไกลมากอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางสายหลัก ใช้ถนนโชตนา หมายเลข 107 จากเชียงใหม่-อ.แม่ริม- อ.แม่แตง - อ.เชียงดาว แล้วแยกไปตามถนนหมายเลข 1178 ไปบ้านเมืองงาย ก่อนถึงทางแยกแม่จา- อ.เวียงแหง ไปตามถนนหมายเลข 1322 ระยะทาง 58 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลาดยาง ที่มีความคดเคี้ยวและลาดชันสูง มุ่งตรงไปยังอำเภอเวียงแหง และไปสิ้นสุดถนนสายนี้ที่บ้านหลักแต่ง ตำบลเปียงหลวง ด่านเล็กๆ ประตูชายแดนเข้าสู่ประเทศพม่า ทว่าจนถึงบัดนี้ประตูนั้นถูกปิดตาย ด้วยยังหาข้อยุติเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันไม่ได้

เวียงแหง ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 750 เมตร และมียอดเขาที่สูงที่สุดคือดอยปักกะลา มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,905 เมตร บนความสูงระดับนี้ จึงทำให้เวียงแหงซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขานั้นมีสภาพภูมิอากาศดี มีทิวทัศน์งดงามตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เราจะพบทะเลหมอก กับสภาพป่าอันสมบูรณ์หลากหลาย มองเห็นทุ่งดอกบัวตองและดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยบานอยู่รายรอบสองข้างทาง

ระหว่างทางเข้าสู่ตัวอำเภอ จะมองเห็นคำขวัญของอำเภอเวียงแหงติดไว้อย่างโดดเด่นว่า...‘พระธาตุแสนไหเป็นศรี ประเพณีหลายเผ่า ชมทิวเขาสุดสยาม งามล้ำค่าฟ้าเวียงแหง’ ทำให้หลายคนที่มาเยือน ได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และตำนานของเวียงแหง รวมทั้งเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมประเพณี และการดำรงอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในหุบเขาแห่งนี้

เรียนรู้ประวัติศาสตร์และตำนานเวียงแหง

‘เวียงแหง’ หรือ ‘เมิงแหง’ ตามสำเนียงของชาวไตหรือชาวไทยใหญ่ในท้องถิ่นใช้พูดเรียกกันนั้น ในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้มีการกล่าวถึง เวียงแหง เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า…ในสมัยพุทธกาล ได้มีสาวกของพระพุทธเจ้าได้ ออกเผยแพร่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่ออกเผยแพร่หลักธรรมไปในที่ต่างๆ นั้น ได้มาถึงดอยๆ หนึ่ง ซึ่งมีชื่อขณะนั้นว่า ‘ดอยห้วยผักกูด’ ในระหว่างที่พักผ่อนอยู่นั้น ได้มีชาวเขาเผ่าปวาเก่อญอหรือกะเหรี่ยง ได้นำแตงโมมาถวายสาวกของพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่กำลังสับแตงโมอยู่นั้นฟันก็กระเทาะออกมา (คำว่ากระเทาะหรือแตกนี้ ภาษาไทยเดิมใช้คำว่า ‘แหง’ สาวกของพระพุทธเจ้าจึงได้เอาฟันที่กระเทาะวางไว้ ณ ที่นั้น แล้วตั้งชื่อสถานที่นั้นว่า ‘เมืองแหง’ หลังจากฉันเสร็จก็โยนเปลือกแตงโมลง ที่ห้วยผักกูดและได้กลายเป็นลำห้วยที่ชื่อ ‘แม่แตง’ และด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกขานชื่อ เมืองแหง หรือ เวียงแหง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘เวียง’ นั้นเป็นคำนาม หมายถึงเมืองๆ หนึ่งที่มีขอบเขตจำกัดบางแห่งมีคูเมืองล้อมรอบ เช่น เวียงเชียงใหม่ เวียงฝาง เวียงป่าเป้า เป็นต้น เวียงแหง ในอดีตก็ถือได้ว่า เป็นอีกเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง โดยมีเจ้าเมือง ซึ่งเป็นชาวไทยใหญ่ ปกครองอยู่ และมีคูเมืองล้อมรอบ 2 ด้าน คือทิศเหนือ และทิศตะวันออก(ของหมู่บ้านเมืองแหงในปัจจุบัน) จึงถือว่าเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเชียงใหม่ ครั้นเมื่อหมดยุคสมัยของการปกครองแบบเจ้าเมืองแล้ว บ้านเมืองแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า ‘เมืองแหง’ และ ‘เวียงแหง’ ตั้งแต่สมัยนั้น เป็นต้นมา ปัจจุบัน เราจะพบเห็นปรากฏร่องรอยคูน้ำและคันกำแพงโบราณ อยู่บริเวณใจกลางบ้านเมืองแหง ทว่ายังไม่มีหน่วยงานใดทำการสำรวจขุดค้นอย่างเป็นระบบ

และเมื่อศึกษาค้นคว้าในเชิงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ให้ย้อนลึกลงไปอีก มีการกล่าวอ้างกันว่า เวียงแหงแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาสิ้นพระชนม์ระหว่างพักทัพเพื่อเตรียมไปตีกรุงอังวะ

ในหนังสือ "ประวัติพระบรมธาตุแสนไห" ที่ทางอำเภอเวียงแหงจัดพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2542 อ้างว่า เหตุการณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เกี่ยวโยงกับพระบรมธาตุแสนไห ฉบับ พ่อครูบุญส่ง วิริยะตานนท์ ค้นคว้าประกอบพระราชนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พอสันนิษฐานได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพขึ้นมาทางเชียงใหม่ เพื่อตีเมืองอังวะของพม่า เมื่อวันพฤหัสบดีเดือนยี่ แรม 6 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2147 โดยเสด็จร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถไปทางเมืองฝางทัพหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปทางเมืองห้างหลวง (น่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบัน)

ครั้นปลายเดือน 5 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2148 สันนิษฐานว่าพระองค์เดินทัพผ่านสันเขาขุนคองไปถึงเมืองแหง และพักทัพที่บริเวณลานหน้าพระบรมธาตุแสนไห เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสมมีแม่น้ำแตงไหลผ่าน สามารถเรียกรวมผลและเสบียงอาหารได้สะดวก ขณะพักทัพคงจะมีการชุดบ่อน้ำเพื่อใช้ส่วนพระองค์ และช้างศึก ซึ่งปัจจุบันบริเวณดังกล่าวมีบ่อน้ำเก่าแก่มีน้ำใสสะอาด ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บ่อน้ำช้าง" เดิมภายในบ่อน้ำใช้ไม้เลียงกันดินพัง ต่อมาชาวไทยใหญ่ได้ก่อเป็นสถูปครอบบ่อน้ำไว้ มีรูปปั้นช้างศึกนอนหมอบอยู่ข้างบนสถูป หันหน้าเข้าหาพระบรมธาตุ

กระนั้น กรณีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ได้เสด็จนำทัพขึ้นมาในเขตนี้ ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2147-2148 นั้น ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าปรากฏชื่อของ "เวียงแหง" ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับใด ๆ หรือแม้แต่เอกสารของล้านนาเอง ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อกรณีนี้มากนัก เพราะเหตุระยะเวลานี้ บ้านเมืองหรือชุมชนในเขตต่างๆ ของล้านนา กำลังตกอยู่ภายใต้การปกครอง-บริหารของพม่า มีบ้างบางคราวที่ราชสำนักพม่าอ่อนแอ ก็เกิดการก่อขบถแข็งข้อขึ้นเป็นครั้งคราว เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะที่สมเด็จพระนเรศวรฯทรงประกาศอิสรภาพกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่าได้สำเร็จแล้ว ฝ่ายเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองล้านนาอื่นๆ ต่างก็ยอมเข้ามาสวามิภักดิ์กับอยุธยารวมถึงแคว้นไทยใหญ่ในเขตฝั่งตะวันตกแม่น้ำคง(สาละวิน) ด้วย

กรณีของแคว้นไทยใหญ่นี้เอง ที่เป็นชนวนให้สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จยกกำลังทัพขึ้นมาจากกรุงศรีอยุธยา หมายจะขับไล่กำลังทัพจากพม่าจากเมืองอังวะ ที่เข้ามายึดเอา ‘เมืองนาย’ (ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าเมืองหน่าย) และเตรียมที่จะเข้ายึดเอา ‘เมืองแสนหวี’ ที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นไทใหญ่ต่อไป ดังรายละเอียดของเหตุการณ์ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ดังนี้

พระเจ้าเชียงใหม่ก็อัญเชิญพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จเข้าไปนมัสการพระพุทธสิหิงค์ในเมืองเชียงใหม่นั้นเดือนหนึ่ง จึงยกทัพหลวงเสด็จไปจากเมืองเชียงใหม่โดยทางอังวะ พระเจ้าเชียงใหม่แลลูกพระเจ้าเชียงใหม่ทั้งสามไปโดยเสด็จทัพหลวง สมเด็จพระพุทธิเจ้าหลวงก็ยกพยหโยธาทัพเสด็จทางเมืองห้างหลวง

พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตร ก็ยกทัพหลวงเสด็จไปโดยทางเมืองฝาง แลเด็จถึงเมืองฝางในวันพฤหัสบดี แรม 11 ค่ำ เดือน 5 ฝ่ายสมเด็จพระพุทธิเจ้าหลวงเสด็จถึงเมืองห้างหลวงและตั้งทัพหลวงอยู่ตำบลทุ่งแก้ว แรมทัพในตำบลนั้น ส่วนพญากำแพงเพชร และพระหัวเมืองชุนหมื่นทั้งหลายผู้เป็นหัวหน้า ก็ยกช้างม้ารี้พลไปถึงแม่น้ำคง ในขณะนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระประชวรหนัก ก็ตรัสใช้ข้าหลวงไปกราบทูลพระกรุณาถึงเมืองฝาง พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จจากเมืองฝางมายังสมเด็จพระพุทธิเจ้าหลวงในเมืองห้างหลวง และเสด็จถึงในวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง เบญจศกนั้น

รุ่งขึ้นวันจันทร์เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ เพลาชายแล้วสองบาท สมเด็จพระพุทธิเจ้าหลวง พระพรรษาปีมะโรงศก เมื่อราชสมบัตินั้น ศักราช 940 ปีขาลนั้น พระชนม์ได้ 35 พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ 15 พรรษา เมื่อเสด็จสวรรคตในเมืองห้างหลวง พระชนม์ได้ 50 พรรษา

นั่นเป็นอีกหนึ่งห้วงประวัติศาสตร์สำคัญ ที่มีหลายฝ่าย(โดยเฉพาะนักวิชาการ กลุ่มคน องค์กรของรัฐและเอกชนที่มีผลประโชน์ในพื้นที่)พยายามยึดโยงเอาเวียงแหงไปมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องราวเหล่านั้นด้วย โดยมีการพยายามวิเคราะห์กันว่า เมืองห้างหลวง ในพงศาวดารนั้น คือ เมืองแหง หรือเวียงแหง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครยืนยันได้แน่ชัด

แต่ที่แน่ๆ เวียงแหง ในอดีตนั้น เคยมีสถานะเป็นตำบล ตามเขตปกครองที่ขึ้นอยู่กับอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ด้วยสภาพที่แวดล้อมด้วยผืนป่า ภูเขาล้อมรอบ และยังมีพื้นที่อยู่ติดกับชายแดนไทย-พม่า การคมนาคมในสมัยก่อนห่างไกล ทุรกันดาร เป็นไปด้วยยากลำบาก โดยเฉพาะถนนหนทางในหน้าฝน การเดินทางเข้าออกไม่ได้ เวียงแหงจึงเหมือนเป็นเมืองปิด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปกครองและการป้องกันรักษาความสงบในเขตพื้นที่ดังกล่าว

กระทั่ง ในปี พ.ศ.2524 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และตั้งเป็นอำเภอเวียงแหง ขึ้นในปี พ.ศ.2536 ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลเมืองแหง ตำบลแสนไห และตำบลเปียงหลวง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 23 หมู่บ้าน รวมเนื้อที่ประมาณ 672.172 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,050 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อ ต.แสนไห ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ทิศใต้ ติดต่อ ต.ทุ่งข้าวพวง ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว และต.กึ้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดต่อ ต.เมืองนะ และต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อ ต. เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน และประเทศสหภาพพม่า(เมียนมาร์)

แน่นอน การมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อกับหลายหมู่บ้าน หลากชุมชน รวมทั้งติดต่อกับเขตชายแดนประเทศเพื่อนบ้านเช่นนี้ ย่อมทำให้เวียงแหงนั้นมีร่องรอยอารยธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างและน่าศึกษาเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

 

ความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ คือเสน่ห์ความงามเชื่อมร้อยคนเวียงแหง

เวียงแหง ถือว่าเป็นเมืองที่มีความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมให้เราได้เห็นสัมผัส จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ นั่นคือ เป็นอำเภอที่มีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่รวมกัน ซึ่งมีทั้งคนพื้นเมือง ลาหู่ ลีซู ไทใหญ่ จีนคณะชาติ ดาระอั้ง ปะโอ และปกาเกอะญอ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่กระจัดกระจายไปตามไหล่เขาและทุ่งราบหุบเขา

ในปัจจุบัน มีการสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ในเวียงแหง ไว้ว่า ประกอบด้วย คนพื้นเมืองล้านนา 39% อดีตทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออิสระ 6.02 % บุคคลบนพื้นที่ราบสูง 23.13 % กระเหรี่ยง 6.82 % ลีซอ 5.66 % มูเซอ 2.66 % ผู้พลัดถิ่นจากพม่าและแรงงานพม่า 6.31 % รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 25,000 คน ซึ่งประชากรในพื้นที่อำเภอเวียงแหง ส่วนใหญ่นอกจากเป็นกลุ่มคนพื้นเมืองล้านนาแล้ว จะเป็นประชากรที่เป็นผู้อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตพื้นที่เวียงแหงอย่างถาวร

ยกตัวอย่าง ประวัติหมู่บ้านห้วยไคร้ ก็บอกว่าชุมชนตั้งอยู่บริเวณลำห้วยและมีต้นไคร้ขึ้นอยู่มาก จึงเรียกว่าบ้านห้วยไคร้ ผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า ผู้อพยพรุ่นแรกๆ คือ นางคำเป็นคนเมืองปั่น ประเทศพม่า และได้เข้ามาและแต่งงานกับนายอ้าย คำอ้าย ซึ่งเป็นคนเมือง มาจากเมืองเชียงใหม่ ต่อมามีผู้คนอีกหลายๆ พื้นที่ เช่น เมืองน่าน เชียงใหม่ แกน้อย ได้อพยพเข้ามา จนในปัจจุบัน บ้านห้วยไคร้ มีประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 หลังคาเรือน และมีหลายเผ่าพันธุ์ มีทั้งชาวไทยพื้นเมืองเมือง ไทยใหญ่ (คนไต) จีน ลาหู่ ลีซู

บ้านเปียงหลวง ก็มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่โดดเด่น นั่นคือเป็นชุมชนที่สองกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ นั่นคือ ไทยใหญ่ และจีนคณะชาติ ซึ่งต่างก็อพยพหนีภัยสงครามจากฟากฝั่งพม่ามาตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกัน ต่อมาได้มีอีกหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง อพยพเข้ามาอยู่กระจัดกระจายไปตามไหล่เขาริมชายแดน และแน่นอน จึงทำให้บ้านเปียงหลวง มีวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าเรียนรู้ศึกษาหลายด้านด้วยกัน ชุมชนที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีจุดเด่นหลายอย่างที่ดึงดูดนักเดินทางที่ไปเยือน ไม่ว่าจะเป็นวัดเปียงหลวง รูปทรงไทยใหญ่ที่งดงาม ตลาดร้านรวงที่มีสินค้าจากพม่าและจีนมาวางขายทั้งสองฟากถนน บ้านหินของกลุ่มคนจีนคณะชาติ

และที่ดึงดูดความสนใจของนักเดินทางมากที่สุด คือ วัดฟ้าเวียงอินทร์ ว่ากันว่า เป็นวัดที่พ่อเฒ่าโปโมเฮง หรือนายพลกอนเจิง ประธานสภาปฏิวัติชนชาติไต เป็นผู้ร่วมชักชวนพี่น้องชาวไตที่อาศัยอยู่ทั้งสองฟากฝั่งไทยและรัฐฉาน ร่วมกันสร้างด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทว่าเมื่อเขาสิ้นชีพแล้ว ความขัดแย้งเริ่มโหมเข้ามาปกคลุมในพื้นที่วัดฟ้าเวียงอินทร์ เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารไตกับทหารพม่าอย่างหนักหน่วงรุนแรง ทหารไตพ่ายถอยร่นออกไป ทหารพม่าเข้ายึดพื้นที่ของรัฐฉานจนชิดติดเขตชายแดนไทย สุดท้าย วัดฟ้าเวียงอินทร์ จำต้องถูกแบ่งแยกแบ่งเขตพื้นที่การครอบครอง ปัจจุบัน วัดฟ้าเวียงอินทร์ ถูกตัดแบ่งครึ่ง โดยฟากฝั่งหนึ่งกลายเป็นฐานที่มั่นของพม่าเข้ายึดครอง อีกฟากหนึ่งทหารไทยตั้งมั่นคุ้มกันอยู่ไม่ไกลกันนัก

นอกนั้น ยังมีกลุ่มชาวไทยภูเขา เช่น หมู่บ้านแม่แพม ตั้งอยู่ในหุบเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวอำเภอเวียงแหง เป็นชุมชนชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือที่ชาวบ้านเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ เผ่าพันธุ์มนุษย์ที่รักความสงบ สันโดษ มีวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมสอดคล้องและสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างแนบแน่นและยาวนาน

จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน บอกว่า ชุมชนบ้านแม่แพม นั้นอายุของหมู่บ้านน่าจะไม่ต่ำกว่า 200 ปีมาแล้ว โดยผู้เข้ามาอาศัยอยู่รุ่นแรก เป็นคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอาชีพเป็นควานช้าง เป็นลูกจ้างชักลากไม้ให้กับผู้ที่ได้รับสัมปทานป่าผืนนี้ ต่อมา จึงชักชวนกันตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2428 โดยมี นายกะพอ ซึ่งเป็นผู้นำด้านพิธีกรรม (ฮีโข่) เป็นผู้นำชุมชนในสมัยนั้น ครั้นเมื่อผู้นำชุมชนเสียชีวิตลง ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวบ้าน จะมีการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ จึงพากันย้ายไปอยู่ในพื้นที่รอบๆ ชุมชนเดิมนั่นเอง ต่อมา ราวปี พ.ศ.2495 ชาวบ้านจึงเริ่มปักหลักปักฐานอยู่ในพื้นที่เป็นการถาวร

และ ‘บ้านกองลม’ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 100 ปี เดิมชื่อบ้าน ‘กุงคำ บ้านจำ นํ้าแตง’ คนกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่ คือ พ่อเฒ่าอาว และพ่อเฒ่าเมืองชาววา เป็นชาวบ้านที่อพยพมาจากอำเภอสะเมิง นอกจากนั้น ยังมีเรื่องเล่าด้วยว่า หมู่บ้านนี้มีถํ้าที่ซุกซ่อนทองคำเอาไว้อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ‘กุงคำ’ และเนื่องจากหมู่บ้านอยู่ติดกับลำน้ำแตง ซึ่งคำว่าติดอยู่กับแม่น้ำแตงนี้ ในภาษาเหนือเรียกว่า ‘จำ น้ำ แตง’ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า บ้านกุงคำ จำ นํ้าแตง(บ้านกองคำ ปากถํ้าจำ นํ้าแตง) ต่อมา เมื่อหลายคนได้ยินว่ามีทองคำอยู่ในถ้ำเป็นจำนวนมาก ประชาชนจึงพากันอพยพมาอยู่ที่หมู่บ้านนี้มากขึ้น รวมทั้งคนไทยใหญ่(คนไต) ที่ได้อพยพหนีสงครามมาจากฝั่งพม่า แต่เมื่อมีคนมาอยู่มากขึ้น กลับไม่มีผู้ใดพบถํ้าทองคำดังกล่าวนั้นเลย หลายคนจึงเชื่อว่าถํ้าปิดเองเพราะไม่ต้องการให้สมบัติเล็ดลอดออกไป ต่อมา ประชาชนจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า ‘กองลม’เพราะไม่พบทองคำตามคำเล่าลือ เป็นเพียงการโกหกเท่านั้น โดยคำว่า ‘ลม’ ในภาษาเหนือนั้นหมายถึงโกหก

ปัจจุบัน บ้านกองลม แยกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 2 บ้านกองลม และ หมู่ 10 บ้านกองลมใหม่ มีจำนวน 500 หลังคาเรือน และประชากรประมาณ 2,500 คน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพื้นเมือง และมีชาวไทยใหญ่ประมาณ 30 ครอบครัว

เมื่อมองภาพรวมของเวียงแหง จะพบว่า คนเวียงแหงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางหมู่บ้านนับถือศาสนาคริสต์ ส่วนคนที่อยู่บนดอยส่วนมากจะนับถือผี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบชนบท ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย โดยพักอาศัยอยู่รวมกันหลายชั่วอายุคน

ชนแต่ละเผ่ามีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า ที่โดดเด่น ได้แก่ ประเพณีกินวอ ประเพณีปอยส่างลอง ประเพณีตานหอพระเจ้าของชาวไทยใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จองพารา ประเพณีสรงน้ำพระธาตุแสนไห ประเพณีตรุษจีน ประเพณีเลี้ยงฝาย และเลี้ยงเหมือง และประเพณีกี่จื่อ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ในอำเภอเวียงแหง นั้นมีทั้งวัฒนธรรมที่สอดคล้องกันและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ชนเผ่าที่แตกต่างกัน ทุกชนเผ่ามีการดำเนินชีวิตที่สอดประสานกันได้อย่างดี วัฒนธรรมบางอย่างได้ผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างดี มีกิจกรรมด้วยกันโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านความเชื่อ ศาสนา เป็นเครื่องมือในการสอดประสาน ประเพณีที่น่าสนใจของชาวเวียงแหง

(โปรดติดตามอ่าน ตอนหน้า)

ข้อมูลประกอบ

  • โครงการสิทธิชุมชนศึกษา กรณีลุ่มน้ำแม่แตงตอนบน
  • เอกสารประกอบโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินลิกไนต์เวียงแหง กฟผ.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความเห็นทางกฎหมายต่อร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ

Posted: 19 Apr 2011 08:04 AM PDT

ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการของร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ...และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2554 ขณะนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญได้จัดทำรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.....เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรแล้วนั้น

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ...ฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว ยังมีข้อน่าห่วงกังวลในทางหลักการกฎหมาย สภาพบังคับและผลการบังคับใช้กฎหมายหลายประการจึงขอเสนอความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎร ต่อวุฒิสภา และต่อประชาชนทั่วไปดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 การแจ้งการชุมนุม การขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุม และการแจ้งการเดินขบวน
การกำหนดให้มีการแจ้งการชุมนุมล่วงหน้า 48 ชั่วโมงก่อนการชุมนุม และแจ้งก่อนเดินขบวน 24 ชั่วโมง ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ได้คำนึงถึงสภาพการชุมนุมที่เกิดขึ้นจริงซึ่งมีทั้งการชุมนุมที่ได้เตรียมการชุมนุมมาก่อน และการชุมนุมที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน การบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าวจะทำให้การชุมนุมโดยฉับพลัน อันเป็นการควบคุมการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนจนเกินขอบเขต และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้

อย่างไรก็ตาม แม้ร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าวจะมีบทบัญญัติอันเป็นการขอผ่อนผันการชุมนุมให้แจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 48 ชั่วโมงได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวกลับมีลักษณะเป็นการ “ขออนุญาต” ซึ่งถือเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้ใช้กฎหมายจำกัดการชุมนุมได้เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะเท่านั้น

ประเด็นที่ 2 การใช้อำนาจศาลในการสั่งห้ามการชุมนุม หรือสั่งเลิกการชุมนุมเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและหลักนิติรัฐ
บทบัญญัติร่างพระราชบัญญัตินี้หลายมาตรากำหนดให้ศาลเข้ามาใช้ดุลพินิจในการสั่งห้ามการชุมนุม หรือสั่งเลิกการชุมนุม เช่น ในกรณีที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมเห็นว่าการชุมนุมสาธารณะที่ได้รับแจ้งนั้นขัดต่อมาตรา 8 ผู้รับแจ้งมีหน้าที่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งห้ามการชุมนุม คำสั่งศาลในการห้ามการชุมนุมดังกล่าวเป็นที่สุดไม่สามารถอุทธรณ์ได้ หรือ ในกรณีที่ผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามประกาศให้เลิกการชุมนุมของเจ้าพนักงาน หรือมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย มาตรา 24 กำหนดให้เจ้าพนักงานและผู้เดือดร้อนเสียหายสามารถร้องขอให้ศาลสั่งเลิกการชุมนุมได้ คำสั่งศาลถือเป็นที่สุด ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นการกระทำในขอบเขตอำนาจฝ่ายบริหารในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรง ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการในการใช้อำนาจสั่งห้ามการชุมนุมหรือสั่งให้เลิกการชุมนุมโดยตรง ซึ่งโดยหลักแล้วฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการตามขอบเขตอำนาจของกฎหมายไปเองก่อน แล้วองค์กรตุลาการจึงเข้ามาใช้อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นการร่างกฎหมายในลักษณะนี้ย่อมเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง และจะทำให้องค์กรตุลาการกลายเป็นคู่ขัดแย้งของประชาชนเสียเอง รวมถึงอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของสถาบันตุลาการในอนาคต

นอกจากนี้การกำหนดให้คำสั่งศาลในการสั่งห้ามชุมนุมตามมาตรา 13 คำสั่งศาลในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผ่อนผันการชุมนุมตามมาตรา 14 คำสั่งศาลในการสั่งเลิกการชุมนุมตามมาตรา 25 เป็นที่สุดนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำในฐานะฝ่ายบริหารแล้ว คำสั่งดังกล่าวยังไม่สามารถถูกตรวจสอบได้อีกโดยองค์กรตุลาการในลำดับที่สูงขึ้นไป ซึ่งโดยหลักการหากคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดในฝ่ายบริหาร ประชาชนยังสามารถใช้องค์กรตุลาการในการตรวจสอบอำนาจดังกล่าวได้ และเมื่อองค์กรตุลาการในลำดับต้นพิจารณาแล้วยังสามารถถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการในลำดับสูงขึ้นไป แต่ในกรณีนี้เมื่อตุลาการได้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วถือเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัว ไม่สามารถตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการได้อีกต่อไปเพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้คำสั่งศาลเป็นที่สุดแล้ว การบัญญัติกฎหมายในลักษณะนี้ย่อมขัดต่อหลักนิติรัฐ ขัดรัฐธรรมนูญ และขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้งซึ่งการใช้อำนาจไม่ว่าโดยฝ่ายบริหาร หรือโดยฝ่ายตุลาการนั้นต้องสามารถตรวจสอบได้

ประเด็นที่ 3 ความไม่ชัดเจนของถ้อยคำทางกฎหมาย
ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ....ฉบับนี้มีลักษณะเป็นการควบคุมการชุมนุม มากกว่าการส่งเสริมการใช้สิทธิในการชุมนุม แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 63 จะบัญญัติให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้ เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึกแต่บทบัญญัติที่นำมาจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นจะกระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญแห่งสิทธินั้นมิได้ แต่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับมีบทบัญญัติที่มีความคลุมเคลือและสามารถตีความได้อย่างกว้างขวางเพื่อใช้ในการจำกัดการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน เช่น “กีดขวางทางเข้าออก” “ไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ” ซึ่งโดยสภาพ การชุมนุมทั่วไปย่อมก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนอยู่แล้ว เพียงแต่จะก่อความไม่สะดวกแค่ไหนเพียงไร เกินสมควรหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องให้สังคมไทยได้เรียนรู้ในสิทธิและเสรีภาพของทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตามถ้อยคำตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะต้องตีความจำนวนมากจึงมีความสุ่มเสี่ยงในการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ชุมนุม การบัญญัติถ้อยคำที่กว้างขวางเกินไปย่อมเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ถ้อยคำตามมาตรา 17 (5) ซึ่งกำหนดให้ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ “ไม่ทำให้ผู้อื่นกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินหรือเสรีภาพ” จะเห็นว่าหน้าที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นอัตวิสัย ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล จึงไม่สมควรนำมาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะการบัญญัติให้ความผิดดังกล่าวมีโทษทางอาญา

ทั้งนี้แม้กระทั่งในประมวลกฎหมายอาญาเองจะมีข้อความลักษณะดังกล่าวแต่องค์ประกอบดังกล่าวก็เป็นเพียงเจตนาพิเศษซึ่งยังต้องมีการกระทำซึ่งมีลักษณะภาวะวิสัยเป็นองค์ประกอบ เช่นในมาตรา 309 ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ....” บทบัญญัติดังกล่าวยังบัญญัติให้มีการกระทำคือ “ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด” ไม่ใช่การทำให้กลัวโดยมีลักษณะเป็นอัตตวิสัยและสามารถวัดได้ยากตามร่างพระราชบัญญัตินี้

ประเด็นที่ 4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมาย
เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายสำคัญ เป็นกฎหมายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง รัฐต้องตระหนักว่าการออกกฎหมายมาเพื่อจำกัดเสรีภาพการชุมนุมดังกล่าวไม่ใช่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมเท่านั้น แต่หมายถึงการเข้าถึงสิทธิอื่นๆของประชาชนด้วย เนื่องจากกลไกการแก้ไขปัญหาภายในประเทศยังไม่สามารถปกป้องคุ้มครอง หรือรับรองสิทธิของประชานได้อย่างเต็มที่ การใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ เพื่อแสดงออกซึ่งความเห็นที่ต่างกันทางการเมืองจึงต้องยิ่งได้รับความเคารพ ดังนั้นรัฐจำเป็นต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการตามมาตรา 57 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ [1]

การดำเนินการออกกฎหมายอย่างเร่งรีบ ขาดความละเอียดรอบคอบ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ทั้งที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังถูกวิพากษ์จากสังคมอย่างกว้างขวางย่อมแสดงให้เห็นถึงความจงใจของรัฐบาลในการออกกฎหมายเพื่อจำกัดและควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานในประชาธิปไตย ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนและการคำนึงถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง กลไกแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่น กฎหมายที่มาจากการพิจารณาบริบทของประเทศไทยย่อมเป็นทางออกที่ดี มากกว่ากฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

ประเด็นที่ 5 ฐานที่มาของปัญหาในการชุมนุม
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ร่างขึ้นมาจากพื้นฐานความกลัวการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนในช่วง 3- 4 ปีที่ผ่านมา และภาวะการณ์ของรัฐที่ไม่สามารถจัดการกับการชุมนุมขนาดใหญ่ได้ แต่รัฐควรตระหนักถึงที่มาของปัญหาในการชุมนุมซึ่งมาจากการที่รัฐไม่สามารถตอบสนองหรือเพิกเฉยต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมถึงกลไกการตอบสนองการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นไม่ทำงาน ทำให้กรุงเทพมหานคร สถานที่ราชการ ย่านการค้ากลายเป็นพื้นที่ในการกดดันรัฐบาลให้ทำงาน การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ชุมนุม และการตอบสนองต่อปัญหาจึงเป็นทางออกที่ยั่งยืนมากกว่าการควบคุมโดยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะถูกบังคับใช้และก่อผลกระทบต่อการชุมนุมของประชาชนซึ่งมีมวลชนน้อย แต่ไม่สามารถจัดการหรือแก้ปัญหาการชุมนุมที่มีมวลชนจำนวนมาก อันเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกทาง เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และอาจก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้น

บทสรุปและข้อเสนอแนะ
แม้มาตรา 63 รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้รัฐสามารถจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธได้โดยกฎหมาย ในกรณีที่เป็นการชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครองความสะดวกประชาชนที่จะใช้พื้นที่สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบระหว่างภาวะสงคราม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศกฎอัยการศึก แต่การจำกัดสิทธิดังกล่าวต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญของสิทธินั้นๆ

ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การออกกฎหมายฉบับนี้นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่กลับจะสร้างความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น รวมถึงอาจเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันตุลาการ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าปัจจุบันในส่วนของการกระทำความผิดอาญาเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองอยู่แล้ว ส่วนกติกาซึ่งประชาชนจะใช้เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพอื่นๆซึ่งมากระทบกันนั้นยังเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยยังต้องเรียนรู้และจัดการร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุม หากมีการออกกฎหมายควรเป็นกฎหมายที่มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน มีความชัดเจนในเรื่องอำนาจ หน้าที่ ขั้นตอนการดำเนินการ สิทธิของบุคคลต่างๆ และมีบทบัญญัติเป็นการส่งเสริมการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ กฎหมายจึงจะมีสภาพบังคับใช้ได้จริง ไม่ใช่เพียงการออกกฎหมายเพื่อมาควบคุมและจำกัดสิทธิ โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทปัญหาของประเทศ เพราะการกระทำดังกล่าวไม่ใช่การแก้ปัญหา และจะเป็นการเพิ่มปัญหามากยิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกกฎหมายฉบับนี้หยุดการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ....ซึ่งมีเนื้อหาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้สังคมมีโอกาสแลกเปลี่ยน ถกเถียงการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม และมีส่วนร่วมหากจำเป็นต้องมีการดำเนินการเพื่อออกกฎหมายดังกล่าว เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยสงบและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ด้วยความเคารพในสิทธิเสรีภาพของทุกฝ่าย
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

อ้างอิง

  1. มาตรา 57 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 บัญญัติว่า “การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชนให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การเดินทางครั้งใหม่ของโลกอาหรับ

Posted: 19 Apr 2011 07:56 AM PDT

ถึงคราวที่ผู้นำชาติอาหรับต้องตกเป็นเหยื่อของอภิตำนาน (Meta-Narrative) ที่ตัวเองมีส่วนสำคัญในการวางplot และดำเนินเรื่องตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาหลังปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระจากจักรวรรดินิยมตะวันตก อภิตำนานดังกล่าวถูกทำให้ดูเสมือนจริงเสียจนผู้สร้างมันเองมากับมือก็คิดว่ามันเป็นเรื่องจริง

อภิตำนานเรื่องนี้กล่าวว่า โลกอาหรับไม่เหมาะกับประชาธิปไตย วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นระบอบการดำเนินชีวิตของมุสลิมในโลกอาหรับ เข้ากันไม่ได้กับระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นผลผลิตของระบบคิดตะวันตก อิสลามกับประชาธิปไตยเป็นความคิดขั้วตรงข้ามที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง อภิตำนานเรื่องนี้ตอกย้ำ “ความไม่เหมาะสม” ของประชาธิปไตยในโลกอาหรับ และเลยเถิดไปจนกระทั่งประณามและผลักไสผู้ที่มีแนวคิดประชาธิปไตยและพยายามต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้เป็นพวกนอกรีต (heresy) และเป็นพวกสมคบคิดกับตะวันตกเพื่อทำลายล้างอิสลาม

บรรดาผู้นำ กลไกของรัฐ ตลอดจนนักวิชาการศาสนาซึ่งได้รับเงินเดือนและผลประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐ หรือที่เรียกรวมๆ ว่านักวิชาการศาสนาจัดตั้ง (Religious Establishment) เป็นผู้สร้างอภิตำนานนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาอำนาจของตัวเองเอาไว้ให้ยาวนานที่สุด

ในอีกด้านหนึ่ง พวกนักบูรพาคดี (Orientalists) ตลอดจนนักวิชาการด้านความมั่นคงและผู้เชี่ยวชาญด้านก่อการร้าย ได้สร้างภาพให้คนอาหรับ (มุสลิม) เป็นพวกลึกลับ เข้าใจยาก ชอบใช้ความรุนแรงและไม่อดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง (Intolerance) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย “พวกเขา (คนอาหรับ/มุสลิม)” ไม่เหมือน “เรา” ซึ่งยึดคุณค่าบางอย่างเฉพาะ (A particular Values) ของเรา และเรามีอารยธรรมสูงสุดในกระบวนการวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ อภิตำนานเรื่องนี้ฟังดูสมจริงมากขึ้นเมื่อมันถูกขยายความโดย นักวิชาการรัฐศาสตร์ระดับโลกอย่างศาสตราจารย์ แซมมวล ฮันติงตัน ซึ่งชี้ว่าอารยรธรรมอิสลามเข้ากันไม่ได้กับอารยธรรมตะวันตกที่มีระบอบประชาธิปไตยเป็นแรงขับเคลื่อน และท้ายที่สุดมันจะ “ปะทะ (clash)” กัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์โจมตีตึกเวิร์ลเทรดในเดือนกันยายน 2001 หรือที่รู้จักกันในนามเหตุการณ์ 9/11 และเรื่องราวตามมาทั้งสงครามในอีรัก อัฟกานิสถาน และการตอบโต้จากกลุ่มมุสลิม เป็นข้อพิสูจน์คำพูดของฮันติงตัน มีผลทำให้เขากลายเป็นศาสดาไปในชั่วข้ามคืน

คำพูดและท่าทีของผู้นำโลกอาหรับผู้ที่ถูกขับไล่ออกไปแล้ว (มูบาร๊อค/อียิปต์ และเบน อาลี/ตูนีเซีย) และผู้ที่กำลังจะพ่ายแพ้ต่อพลังของประชาชน (อับดุลเลาะห์ ซอและห์/เยเมน กัดดาฟี/ลิเบีย กษัตรย์ อะห์หมัดอีซา อัล-คอลีฟะฮ์/บาเรน ) สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขามุ่งมั่นและเชื่อจริงๆว่าพลังประชาธิปไตย เป็นแค่ปฏิกิริยา (Reaction) ของพวกชนชั้นล่างที่ขาดโอกาสทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการบริหารงานทางด้านเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของคณะรัฐมนตรี “พวกชาวบ้านว่างงาน ข้าวของแพง จึงโกรธแค้นและรวมตัวกันประท้วงรัฐบาล” มาตรการการแก้ไขปัญหาจึงเพียงแค่เพิ่มการจ้างงาน หรือไม่ก็ปลดรัฐมนตรีทั้งคณะ ดังที่ผู้นำอียิปต์ จอร์แดน เยเมน และบาเรน นำมาใช้ในช่วงต้นๆของการรับมือกับการประท้วงของประชาชน

พวกผู้นำชาติอาหรับมิได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก่อตัวอย่างรวดเร็วในรอบสิบปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดกับดักของอภิตำนานข้างต้น พวกเขาคิดว่าสังคมในขณะนี้ยังคงเหมือนสังคมอาหรับในช่วงทศวรรษ 60s และ70s ที่โลกอาหรับรวมตัวกันทำสงครามต่อต้านอิสราเอล หรือช่วง 80s และ 90s ที่ภัยจากการปฏิวัติของพวกชีอะฮ์ในอิหร่านและสงครามอ่าวได้ตรึงผู้คนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น มันเป็นช่วงเวลาที่สังคมอยู่ในภาวะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว โดยมีผู้นำอยู่สูงสุด ขนาบข้างด้วยอำนาจทางทหารและผู้นำศาสนา มันเป็นช่วงเวลา “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” หรือ ช่วงเวลา “คุณพ่อรู้ดีที่สุด (Father know best)” แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของพวกเขา ได้ผ่านพ้นไปแล้ว

พวกผู้นำโลกอาหรับไม่ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรที่คนวัยหนุ่มมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในสังคม (โครงสร้างประชากรในสังคมมุสลิมแตกต่างอย่างมากกับสังคมอื่นเนื่องจากทัศนคติด้านส่งเสริมการแต่งงานและต่อต้านการคุมกำเนิด) พวกเขาเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ส่งทวีตเตอร์ เล่น เฟซบุค สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ พวกเขาเริ่มไม่เชื่อฟัง “ผู้ใหญ่” และนักวิชาการ “อาวุโส” ทางศาสนา อำนาจทางสังคมจากที่เคยหลอมรวม และมีลำดับชั้น (Hierarchy) เริ่มแตกกระจาย (Fragmented) อย่างยากที่จะควบคุมได้อีกต่อไป ความรู้ทั้งทางโลกและศาสนา สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายจากอินเตอร์เนต ปัจจุบันหากต้องการอ่านงานเขียนอย่าง อิห์ยา อูลูม อัดดีน (การฟื้นตัวขึ้นใหม่ของศาสนศาสตร์) ของอิหม่ามฆอซาลี นักเทววิทยาผู้โด่งดังในศตวรรษที่ 10 รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ (commentary) ดังกล่าว เพียงแค่คริ๊กก็สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง จากที่ในอดีตจะต้องเดินทางหลายร้อยหรือหลายพันไมล์ไปศึกษากับผู้รู้ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่คน การผูกขาดความรู้โดยรัฐ ผู้อาวุโส นักวิชาการศาสนา ทั้งที่เป็นลูกคู่ของรัฐและผู้ที่สถาปนาตัวเองเป็นผู้รู้ ได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับโดยสังคมสมัยใหม่

เห็นได้ชัดว่าภาวะดังกล่าวข้างต้นไม่อาจแก้ไขได้เพียงแค่ปลดหรือปรับคณะรัฐมนตรี หรือเพิ่มการจ้างงาน หากแต่เป็นภาวะบังคับให้รัฐ จะต้องมองในเรื่องอำนาจเสียใหม่ นั่นคืออำนาจมิได้ผูกขาดอยู่กับตัวอีกต่อไป และอำนาจของตัวจะมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อผ่านการถกเถียง เจรจา ต่อรอง ของผู้คนในสังคม ความเข้าใจเรื่องอำนาจอันใหม่นี้ มิใช่เพียงแค่การ “เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม” เท่านั้น หากแต่เป็นการ “ยอมรับ” การมีตัวตนอยู่จริงของสิทธิของผู้คน ในอันที่จะพูด เขียน โต้แย้ง กำหนด ปริมลฑลส่วนตัว (Private Sphere) และปริมลฑลสาธารณะ (Public Sphere)

ก่อนหน้านั้นสิทธิอันนี้ถูกปิดบัง หรือบดบัง ด้วยอภิตำนานเรื่องความไม่เหมาะสมของแนวคิดประชาธิปไตยที่เน้นสิทธิเสรีภาพ แต่เมื่ออภิตำนานดังกล่าวถูกทุบแตกกระจายด้วยภาวะทางสังคมแบบใหม่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พลังของมันจึงโชว์ออกมา รวมทั้งพิสูจน์ให้โลกเห็นอีกครั้ง (หลังจาก เอ็ดวาร์ด ซาอิด ได้พิสูจน์ในหนังสือ Orientalism อันโด่งดังของเขา) ว่า “พวกเขาเหมือนเรา” คนอาหรับ/มุสลิม เหมือนเรา พวกเขาช้อบปิ้ง กินแม็คโดนัล ดูหนัง บ้าดารา ดูซีเอ็นเอ็น(CNN) อัลจาซีเราะห์(Al-Jazeerah) เล่นเฟซบุ๊ค ส่ง ทวิตเตอร์ รักเสรีภาพ เคารพในสิทธิของผู้อื่น ฯลฯ เหมือนกับเรา

ดูเหมือนท้ายที่สุด อดีตประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบาร๊อคและเหล่านายทหารที่ยืนเคียงข้างเขา พอที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงอันนี้ อียิปต์จึงสามารถหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมืองมาได้อย่างหวุดหวิด แต่พันเอก มูฮัมมัด กัดาฟี ผู้นำลิเบียยังคงอยู่ในโลกแบบเก่า โลกที่ตัวเองสร้างขึ้น เขาจึงทำทุกวิถีทางที่จะรักษาอำนาจตัวเองเอาไว้แม้จะเป็นการนำประเทศเข้าสู่สงครามกลางเมือง และสร้างเงื่อนไขเชื้อเชิญมหาอำนาจให้มารุมกินโต๊ะ ดังเช่นที่ อดีตประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุซเซน แห่งอิรักได้กระทำกับประเทศและประชาชนของตัวเองไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ท้ายที่สุด ลิเบียจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆจากสงครามและความขัดแย้งและต้องใช้พลังทางเศรษฐกิจและพลังทางสังคมอย่างมหาศาลในการฟื้นฟูให้ประเทศกลับสู่สภาพเดิมอีกครั้ง จากบทเรียนของอิรักและอัฟกานิสถานกระบวนการฟื้นฟูจะกินเวลาครึ่งศตวรรษหรือมากกว่านั้น

โลกอาหรับได้ผ่านการเดินทางมาหลายครั้งตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ หลังจากปิดเส้นทางการปกครองในระบอบคอลีฟะฮ (กาหลิบ)ในปี 1924 โลกอาหรับได้สำรวจเส้นทางใหม่ๆ เพื่อนำสังคมของพวกเขาไปสู่สันติภาพและความรุ่งเรือง ทั้งเส้นทางของระบบสังคมนิยมที่อิงอยู่กับอดีตสหภาพโซเวียต เส้นทางชาตินิยมอาหรับ (Pan-Arabism) เส้นทางอิสลามนิยม (Islamism) แบบอนุรักษ์ของซาอุดิอารเบีย หรือเส้นทางอิสลามนิยมแบบปฎิวัติของอิหร่าน แต่ดูเหมือนครั้งนี้โลกอาหรับกำลังถูกซัดเข้าสู่เส้นทางที่พวกผู้นำมีอำนาจผูกขาดน้อยลงเรื่อยๆ ในการกำหนดชะตากรรมของสังคม

หากพวกผู้นำและเหล่าทหารซึ่งกุมอำนาจอยู่ในขณะนี้ไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงของสภาวะสังคมดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เราจะได้เห็นสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศในโลกอาหรับ

มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การเปลือยอก, ภาษากาย และมรดกแห่งรัฐเทวราชานิยม

Posted: 19 Apr 2011 07:26 AM PDT

ผมเชื่อว่าหลายท่าน คงจะพอได้ทราบข่าวสองข่าวที่ในขณะนี้กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในสังคม นั่นคือ ข่าวของหญิงสาวที่ไปเต้นเปลือยอกบนหลังคารถในวันสงกรานต์ จนกลายมาเป็นประเด็นใหญ่โตในบ้านเมือง โดยถูกโยงใยถึงความเสื่อมเสียทางวัฒนธรรม[สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303033776]  และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือ การที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ จ้องจะยื่นฟ้องกลุ่มผู้แสดงภาษากายในขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์กำลังปราศรัย โดยโยงว่าเป็นภาษากายที่บ่งชี้ถึงการเห็นด้วย หรืออวยนายจตุพร และการกระทำดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ [สามารถอ่านรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้จาก http://www.prachatai3.info/journal/2011/04/34074]

 
ข่าวทั้งสองนี้ หากอ่านโดยไม่ได้สนใจอะไรมากนัก อาจจะมองมันในสถานะที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ผมกลับมองว่ามันมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวพ่วงกันอยู่ไม่น้อย นั่นก็คือ “วิธีการมองด้วยมุมมองของพระเจ้า (God’s eye view)” จากผู้ซึ่งเชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีอำนาจในทางปกครอง มองลงมายังประชากรแห่งรัฐ ผู้ซึ่งคนกลุ่มดังกล่าวมองว่าเป็น “ผู้ใต้ปกครอง” ของตน ซึ่งรูปแบบการมองเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรในทางประวัติศาสตร์โลก เพราะสำนึกคิดแบบ “เทวราชา” นั้นแหละคือ รูปแบบการปกครองที่เป็นเช่นว่าโดยตรง คือ ตัวกษัตริย์นั้นเป็นผู้ทรงภูมิ ที่ได้รับการอนุญาตจากสวรรค์ หรือเป็นตัวแทนแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือเป็นเทพองค์หนึ่งเองที่ลงมาจุติบนโลกมนุษย์ เพื่อปกครองมนุษย์เดินดินธรรมดาให้อยู่รอดต่อไปได้ ฉะนั้นการ “มีตัวตนอยู่ และการกระทำใดๆ” ของคนในอาณาจักรนั้นๆ จึงเป็นเพียง “การอนุญาตให้มีตัวตนอยู่ หรืออนุญาตให้กระทำได้” โดยกษัตริย์ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งพระเจ้านั้นเท่านั้นเอง ปรากฏการณ์ และสำนึกคิดดังกล่าว เกิดขึ้นมาหมดแล้วแทบจะทุกพื้นที่ในโลก ตั้งแต่แดนไอยคุปต์, อินเดีย, จีน, ญี่ปุ่น, อาณาจักรขอม, จนถึงอาณาจักรอยุธยาเอง (ฯลฯ ฯลฯ)
 
ภายใต้สำนึกคิดแบบนี้นั้น “คนในดินแดน หรือผู้ใต้ปกครอง” จึงจะเป็นเพียง “วัตถุแห่งความปรารถนา (Object of Desire)” ที่ขึ้นตรงอยู่กับผู้ปกครองเท่านั้น การกระทำใด ที่เสมือนจะทำไปโดยเสรีนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงการกระทำที่ “ผู้ปกครองอนุญาต หรืออนุโลมให้ทำได้ ซึ่งการอนุญาต หรืออนุโลมนั้นพร้อมที่จะถูกดึงกลับคืนมาได้ทุกเมื่อ” หรือกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ “สิทธิ และอำนาจเหนือร่างกายของตนเองนั้น ไม่ได้อยู่กับตัวเจ้าของร่างกายอันมีเลือดเนื้อนั้น แต่สิทธิ และอำนาจดังกล่าวตกอยู่กับตัวผู้ปกครองโดยสัมบูรณ์”
 
เมื่อกาลผ่านไป แนวคิดแบบรัฐเทวราชานิยมนั้นก็ถูกกัดกร่อน ท้าทาย และทำลายลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดขึ้นของระบอบคิดแบบประชาธิปไตย ที่มองว่าอำนาจ และสิทธิเหนือร่างกายของตนนั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สุด ที่ไม่พึงโดนควบคุม หรือผูกขาดโดยผู้ใด อันนำมาสู่แนวคิดที่มองกระทั่งว่า “อำนาจเหนือร่างกายนั้น คือ สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพของประชาธิปไตย และการลุกฮือต่อต้านระบอบเก่า” อย่างในการปฏิวัติฝรั่งเศสเอง ก็มีการนำภาพโป๊ (Pornography) มาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงเสรีภาพ และอำนาจเหนือร่างกายในลักษณะดังกล่าวด้วยเช่นกัน
 
เพราะฉะนั้นแล้ว ในสายตาของผมมันจึงเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่ในประเทศไทยตอนนี้ การที่หญิงสาวจะออกมาเต้นเปลือยอก หรือกลุ่มคนที่อยู่รอบตัวนายจตุพรจะแสดงท่าทางบางอย่างขึ้นมา แล้วจะต้องถูกเอาผิดโดยรัฐนั้น กลับเป็นเรื่องที่สังคมหลายภาคส่วนพากันเฮโลเห็นดีเห็นงามด้วย หรือแม้แต่นักเคลื่อนไหว ที่อ้างตนว่าเป็นเสรีชน หรือนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยบางคนยังออกมากล่าวร้ายสาวเปลือยอก ทั้งที่ท่าทีของคนในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมันควรจะตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ความลั่กลั่นในสังคมที่ตัวรัฐเองก็พยายามอ้างว่าตนเป็นประเทศประชาธิปไตย หรือขบวนการเคลื่อนไหว (ที่อ้างว่า) เพื่อประชาธิปไตยบางกลุ่ม (หรือบางคน) กลับเห็นด้วยกับการที่รัฐมาช่วงชิงสิทธิ และอำนาจเหนือร่างกายของสมาชิกแห่งรัฐผู้อื่นไป และทำให้การโชว์นม หรือการแสดงท่าทางบางอย่างรอบตัวนายจตุพร กลายเป็นอาชญากรรมไป
 
ในขณะที่ทั่วโลก กำลังพยายามขยายขอบเขตของสิทธิ และอำนาจเหนือร่างกายของปัจเจกบุคคลให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีองค์กรอย่างเป็นทางการที่เรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิในการเปลือยอกอย่างเท่าเทียม อย่าง Topless Equal Right Association หรือ TERA[1] ขึ้นมาแล้ว และในยุโรปหลายประเทศเอง ก็อนุญาตให้ทุกเพศ มีสิทธิในการเปลือยอกได้โดยทั่วไป อย่างเท่าเทียมกันแล้ว (ซึ่งจะยกเว้นก็แต่สถานที่ทางการของรัฐ หรือสถานที่ของเอกชนบางจุดที่อนุญาตให้กำหนดแนวทางการแต่งตัว – Dress Code – ได้ แต่โดยทั่วไปอนุญาต) อาทิเช่น ประเทศสวีเดน หรือ ประเทศเดนมาร์ก และยังมีประเทศที่ประชาธิปไตยก้าวหน้าอีกหลายแห่งทั่วโลกกำลังพยายามผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไปเรื่อยๆ
 
ในประเทศไทยนั้น ด้วยมรดกที่หลงเหลือมาจากยุครัฐเทวราชานิยม ซึ่งมรดกทางความคิดนี้เหลือมากเกินกว่าที่จะเรียกได้ว่าเป็นเพียงซากทางความคิด จึงทำให้เกิดเป็นสังคมไทยที่พยายามอ้างตัวว่าเป็นสังคมประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันก็มีมุมมองต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างกษัตริย์ในยุคเทวราชาต่อไป (ด้วยการอ้างแบบไร้ตรรกะผ่านคำว่า “อเนกนิกรณ์สโมสรสมมติ”)และเป็นรัฐซึ่งมีวาทกรรมเรื่อง “ประเพณีไทยงดงาม ไม่แพ้ใครในโลก” เป็นเสมือนหนึ่งสมบูรณาญาสิทธิวาทกรรม ที่ไม่อาจจะแตะต้อง หรือเห็นต่างได้ ด้วยความคิดว่าวัฒนธรรมไทยเป็นอะไรที่จรูญจรัสรัศมีพราวพร่างพร้อย อย่างที่เป็นอยู่ ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่พร้อมจะดึงเอาลักษณะทุกอย่างที่ตนมองว่าเป็นสิ่ง “ดีงาม” รวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเราเองได้หมดสิ้น โดยไม่รู้สึกแปลกประหลาด หรือเขินอาย ดั่งที่เราจะพบได้จากเพลงในโฆษณาเบียร์ช้าง โดยแอ๊ด คาราบาว ที่ว่า “คนไหนคนไทย จะรู้ได้ไง ถ้ามีน้ำใจล่ะคนไทยแน่นอน” อันซึ่งในทางความเป็นจริง ไม่มีแม้แต่เศษเสี้ยวละอองธุลีใดๆ เลยที่จะบ่งวัดได้ว่า “นั่นคือคนไทย” หรือ การผูกขาดอำนาจเหนือความคิดในลักษณะเดียวกันว่า “คนไทยทุกคนรักพ่อหลวง คนที่ไม่รักก็ไปอยู่ประเทศอื่น มันไม่ใช่คนไทย” ฉะนั้นวิธีการในการ “กำหนดลักษณะทางวัฒนธรรม (Cultural Characterization)” ในสังคมไทยที่เกิดขึ้นนี้เองที่มันกลายมาเป็นเครื่องมือ (Mechanism) ของรัฐไทย ผู้ซึ่งยังมองตัวเองว่าเป็นผู้ปกครองในระบอบรัฐเทวราชานิยมอยู่นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยจะมีเฉพาะลักษณะ (ทางการกระทำที่วัดมาตราฐานด้วยวัฒนธรรม) ที่ผู้กุมอำนาจเห็นควรให้อยู่เท่านั้น จึงมีสิทธิอยู่ต่อไปได้ และลักษณะของการกระทำใดที่รัฐไม่นิยม ก็จะต้องถูกเขี่ยทิ้งให้สูญพันธุ์ไป
 
เพราะฉะนั้นด้วยพลังของวาทกรรมทางวัฒนธรรมที่รัฐพร่ำกล่อมเกลาตลอดวันตลอดคืน และสร้างให้เป็นวาทกรรมที่เห็นต่างไม่ได้ วิพากษ์ไม่ได้ เพราะนำมันไปผูกติดกับชาตินิยม และเทวราชานิยม ชนิดที่ว่าผู้ใดเห็นต่างจากวัฒนธรรมดังกล่าวก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกขายชาติ หรือโดนฝรั่งล้างสมองไปเสียหมด ย่อมทำให้สังคมอย่างไทยที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น พร้อมจะคำราม ก่นด่าใส่ผู้ซึ่งพยายามจะหลุดออกจากการเป็นวัตถุแห่งปรารถนา (Object of Desire) แล้วกลายมาเป็น “นายแห่งความปรารถนา (Subject of Desire)” นั้น อย่างพร้อมเพรียงกัน และรู้สึกเป็นหน้าที่อันพึงกระทำ ในฐานะผู้สืบสานวัฒนธรรมอันแจ่มจรัสของชาติ ให้ไร้ซึ่งมลทินต่อไป
 
ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าประหลาดอีกครั้ง หากเราลองสำรวจดู โดยใช้แว่นตาความรักชาติแบบหลวงวิจิตรวาทการยุคใหม่ (ที่คลั่งชาติ เสียยิ่งกว่าหลวงวิจิตรฯ เองเสียอีกนี่แหละ) มาสำรวจดู ประเทศที่เค้าอนุญาตให้สามารถเปิดอกโชว์ได้อย่างเต็มที่แล้วอย่างเดนมาร์ก หรือสวีเดนนั้น ก็ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแสนนานไม่แพ้ประเทศไทย หรือสยามประเทศ หรือกรุงธนบุรี หรืออาณาจักรอยุธยา (ไล่ไปเรื่อย จนถึงเทือกเขาอัลไตไปนู่น) เลย และทั้งสองประเทศก็ล้วนแต่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปกครองมาช้านาน มิได้ผิดแผกจากประเทศไทยเลยแม้แต่น้อย แต่ผมก็ไม่คิดว่าจะมีชาวโลกมาเที่ยวประณามว่าสองชาตินี้มีวัฒนธรรมอันบัดซบ ฟอนเฟะเพียงเพราะการให้คนสามารถมีสิทธิเหนือเต้าของตน หรือแม้แต่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาได้แต่อย่างใด

เหตุที่ผมต้องพยายามสวมแว่นตาแบบหลวงวิจิตรฯ ทั้งที่ตัวผมนั้นรังเกียจเป็นอย่างยิ่งนี้ ก็เพื่อจะบอกท่านที่เชื่อเช่นนั้นว่า ข้ออ้างประเภทดังกล่าว ที่ว่าการเปลือยอกเป็นอาชญากรรม ทำลายวัฒนธรรมของชาติหรือที่ว่าการแสดงท่าทีบางประการเป็นการทำลายเกียรติ์ของประมุขของประเทศนั้น เป็นข้ออ้างที่ใช้ไม่ได้เลย (จริงๆ แล้ว ต่อให้ไม่ต้องมีข้อเปรียบเทียบที่ว่านี้ มันก็ใช้ไม่ได้ในเชิงตรรกะโดยตัวมันเองอยู่แล้ว สรุปคือ ใช้ไม่ได้ทั้งด้วยตัวมันเอง และเชิงเปรียบเทียบเลยทีเดียว)

 
สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงหลังจากได้พล่ามเรื่อยเปื่อยมามากมายแล้วนั่นก็คือ ผมอยากให้ทุกท่านโปรดจงระวังตัวให้ดี เมื่อใดก็ตามที่การเปลือยอก หรือการแสดงท่าทางใดๆ ได้กลายไปเป็นอาชญากรรมแห่งรัฐแล้วนั้น ทุกๆ ย่างก้าว และการกระทำในชีวิตท่าน นับตั้งแต่การรับประทานอาหาร, ดื่มน้ำ, ไปจนกระทั่งการมีเพศสัมพันธ์ ย่อมอาจกลายเป็นอาชญากรรมได้ทั้งสิ้น นั่นเป็นเพราะว่าสิทธิและอำนาจเหนือร่างกายท่านได้ถูกฉีกทึ้ง และถอนคืนไปแล้ว ไปสู่อุ้งมือของผู้มีอำนาจ และผู้ควบคุมกลไกทางวัฒนธรรม และใครก็ตามที่หวังจะลุกขึ้นต่อต้าน และแสดงความเป็นนายเหนือร่างกายของตนเอง ดังสตรีเปลือยอก หรือเหล่าคนที่ยืนรายรอบนายจตุพร ย่อมกลายเป็นเหยื่อสังเวยชั้นดี ที่ผู้มีอำนาจจะจิกทึ้งให้ท่านได้แลดูและหลาบจำว่า “พี่เบิ้มกำลังจ้องมองคุณอยู่”
 
-----------------------


[1] เว็บไซต์ทางการ ขององค์กร TERA สามารถเข้าถึงได้จาก http://www.tera.ca/

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่มสิทธิมนุษยชนกังวลไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับ

Posted: 19 Apr 2011 06:00 AM PDT

ต่อกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยมีแผนส่งผู้ลี้ภัยกลับพม่านั้น ล่าสุด กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ พร้อมแนะรัฐบาลทบทวนก่อนตัดสินใจ เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพพม่ายังไม่คลี่คลายและยังไม่ปลอดภัย พื้นที่เต็มไปด้วยกับระเบิด

เกี่ยวกับกรณีที่ไทยมีแผนที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับพม่านั้น ล่าสุด กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ และแนะให้ไทยทบทวนและประเมินผลเรื่องนี้ก่อนที่จะตัดสินใจ เนื่องจากพื้นที่ที่จะส่งผู้ลี้ภัยกลับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงนั้นพบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพพม่าในพื้นที่ยังไม่คลี่คลายและยังไม่ปลอดภัย เพราะยังเต็มไปด้วยกับระเบิด

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยประกาศมีแผนจะผลักดันผู้ลี้ภัยจำนวน 140, 000 คน ที่อยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 แห่ง ตรงชายแดนไทย – พม่ามีขึ้นหลังจากเห็นว่า พม่ามีรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่เข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งไทยเห็นว่า น่าจะถึงเวลาที่ต้องเจรจากับรัฐบาลพม่าในการับผู้ลี้ภัยกลับไปยังฝั่งพม่า

อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์ นักเคลื่อนไหวและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่ผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงจะถูกส่งตัวกลับบ้านในตอนนี้ เพราะสถานการณ์สู้รบ ความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังเกิดขึ้นต่อเนื่องทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ด้านเจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กล่าวว่า การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับนั้นควรขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ลี้ภัยเองด้วย

ส่วนองค์กร Thailand Burma Border Consortium (TBBC) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไป หากส่งผู้ลี้ภัยกลับในตอนนี้ และข่าวการผลักดันผู้ลี้ภัยกลับพม่าได้สร้างความกลัวและความกังวลใจให้กับผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมาก

มันเป็นไปไม่ได้ หากจะส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังพื้นที่อันตราย ซึ่งไม่มีความแน่นอนอย่างนั้น สถานการณ์ความขัดแย้งอาจยิ่งบังคับให้ชาวบ้านกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง แม้พวกเขาจะถูกส่งตัวกลับพม่าแล้วก็ตาม” แซลลี่ ท็อปสัน รองผู้อำนวยการ TBBC กล่าว

ขณะที่ ซอ โพ ชาน จากองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group - KHRG) กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า “สงครามการเมืองที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดกว่า 60 ปีที่ผ่านมา มันยากเกินไปที่จะมองเห็นว่า ผู้ลี้ภัยกว่า 140,000 คนจะได้อยู่ในที่ปลอดภัยได้ย่างไร คนที่คิดจะส่งผู้ลี้ภัยกลับควรหยุดทำเช่นนั้น เพราะพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จะต้องถูกส่งกลับนั้น ตอนนี้ยังเต็มไปด้วยกับระเบิด ทั้งจากกองทัพพม่าและชนกลุ่มน้อยติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงหลายกลุ่ม และหากผู้ลี้ภัยถูกส่งกลับ ผู้สังเกตการณ์จากนานาชาติเองก็ควรที่จะสามารถรับรองและเป็นพยานได้ว่า ผู้ลี้ภัยจะได้รับความต้องการขั้นพื้นฐาน”

ด้านวาคูชี เลขาธิการร่วมองค์กรสันนิบาตสตรีพม่า (Women's League of Burma-WLB) กล่าวแสดงความเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กและผู้หญิงหากต้องถูกส่งตัวกลับ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ถูกโจมตีได้ง่าย พร้อมทั้งเสนอแนะว่า กองทัพพม่าควรถอนฐานที่มั่นทั้งหมดออกจากรัฐกะเหรี่ยง และผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดควรเข้าไปในพื้นที่เพื่อเก็บกู้ระเบิดที่ถูกฝังอยู่ เพื่อรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัยก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับ  

(Irrawaddy 18 เมษายน 54)

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารเกณฑ์พม่าหนีทัพร่วมกองกำลังไทใหญ่ SSA

Posted: 19 Apr 2011 05:52 AM PDT

ทหารพม่าประจำเมืองโขหลำ รัฐฉานภาคใต้ 6 นาย ได้มอบตัวกับกองทัพรัฐฉาน SSA พร้อมอาวุธประจำกาย เผยถูกผู้บังคับบัญชากดขี่ข่มเหง ทั้งสั่งบังคับรังแกชาวบ้าน

เว็บไซท์ taifreedom ของกองทัพรัฐฉาน "ใต้" (Shan State Army 'South') รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา มีทหารในกองทัพพม่า ประจำพื้นที่เมืองโขหลำ ในรัฐฉานภาคใต้ สังกัดกองพันทหารราบที่ 152 จำนวน 6 นาย พร้อมอาวุธปืน 9 กระบอก และเครื่องกระสุนจำนวนหนึ่ง หนีทัพมาเข้าร่วมกับทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่เมืองโขหลำ

โดยทหารพม่าทั้ง 6 นาย ประกอบด้วย 1. ส.ท.ติ่นโก่ละ อายุ 26 ปี มีภูมิลำเนาอยู่เมืองซูเมี่ยว ในภาคปะโก 2. พลทหารโมจี้ต อายุ 25 ปี ภูมิลำเนาเมืองพิวเมี่ยว 3. พลทหารหม่องทวย อายุ 18 ปี ภูมิลำเนาโมกะเล เขตย่างกุ้ง 4. พลทหารจ่อตู่ อายุ 25 ปี ภูมิลำเนา เหล่เวยเมี่ยว เขตกรุงเนปิตอว์ 5. พลทหารโตแต้ดอ่อง อายุ 25 ปี ภูมิลำเนา ต่องต่าเมี่ยว ในภาคสะกาย และ 6. พลทหารมิ้นชิตอู อายุ 19 ปี ภูมิลำเนา เหล่เวยเมี่ยว เขตกรุงเนปิตอว์

จากการสอบถามทราบว่า ทั้งหมดเป็นทหารเกณฑ์ระยะ 5 ปี ถูกส่งเข้าประจำการในรัฐฉานอยู่สังกัดกองพันทหารราบที่ 152 เมืองโขหลำ พื้นที่ตั้งกองทัพภาคแห่งใหม่ของกองทัพพม่า สาเหตุที่หนีมาเข้าร่วมกองทัพรัฐฉาน SSA เนื่องจากไม่อาจทนต่อการถูกกดขี่ข่มเหงและเอารัดเอาเปรียบจากผู้บังคับบัญชา โดยพวกเขาถูกบังคับให้ทำงานหนักและให้กระทำการข่มขู่รีดไถและทารุณชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหนีมาเข้าร่วมกองทัพรัฐฉาน SSA ทำหน้าที่ยึดที่ดินและเกณฑ์ชาวบ้านทำงานสำหรับสร้างกองทัพภาคแห่งใหม่

ส่วนอาวุธปืนที่ทหารพม่าทั้ง 6 นาย นำติดตัวมามอบให้กับทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ประกอบด้วย ปืน MA-1 จำนวน 4 กระบอก ปืน MA-2 จำนวน 2 กระบอก ปืน MA-3 จำนวน 2 กระบอก ปืน MA-4 ติดเครื่องยิงลูกระเบิด M-79 จำนวน 1 กระบอก กระสุนปืนจำนวน 992 นัด และ แม็กกาซีนบรรจุกระสุนอีก 34 แม็ก 

ขณะที่กองทัพรัฐฉาน SSA ได้แสดงความยินดีกับการสวามิภักดิ์ของทหารพม่าทั้ง 6 นาย โดยให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นพร้อมกับได้มอบรางวัลให้จำนวนหนึ่ง โดยกองทัพรัฐฉาน SSA ระบุจะจัดหาที่อยู่และมอบหน้าที่ตามความประสงค์ของทหารทั้ง 6 นายต่อไป

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัพพม่าขู่ปราบกลุ่ม "หน่อคำ" เจ้าพ่อยาเสพติดแห่งสามเหลี่ยมทองคำ

Posted: 19 Apr 2011 05:44 AM PDT

กองทัพพม่าขู่กำจัดกองกำลังติดอาวุธกลุ่มของ นายหน่อคำ เจ้าพ่อยาเสพติดสามเหลี่ยมทองคำ หลังก่อเหตุจับเรียกค่าไถ่ลูกเรือบ่อนคาสิโนจีนในฝั่งลาว

มีรายงานจากแหล่งชายแดนด้านจังหวัดเชียงราย ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กองบัญชาการกองทัพภาคสามเหลี่ยมของพม่า มีบก.อยู่ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก ได้ยื่นคำขาดพร้อมกำหนดทางเลือกให้กองกำลังติดอาวุธภายใต้การนำของนายหน่อคำ เจ้าพ่อยาเสพติดแห่งสามเหลี่ยมทองคำ และอดีตหัวหน้ากองกำลังอาสาสมัครใต้กำกับกองทัพพม่า หลังก่อเหตุเรียกเก็บภาษีเรือสินค้าในแม่โขงและจับตัวลูกเรือเรียกค่าไถ่ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ กองทัพพม่าได้กำหนดทางเลือกและขีดเส้นตายให้กองกำลังติดอาวุธกลุ่มของนายหน่อคำ โดยให้วางอาวุธภายในวันที่ 18 เมษายน และว่าหากไม่วางอาวุธก็ให้นำกำลังไปเข้าร่วมกองกำลังว้า UWSA หรือ กองทัพรัฐฉาน SSA กลุ่มพล.ท.เจ้ายอดศึก ระบุ หากไม่เช่นนั้นจะถูกปราบปรามกวาดล้างอย่างหนัก

คำขู่ของกองทัพพม่าดังกล่าวมีขึ้น หลังจากเมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา มีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นกลุ่มของนายหน่อคำ ได้ก่อเหตุปล้นเรือบ่อนคาสิโน "คิงโรมัน" ที่ตั้งอยู่บ้านต้นผึ้ง ในฝั่งลาว รวม 3 ลำ และได้จับตัวลูกเรือพร้อมด้วยนักพนันบนเรือจำนวน 19 คน ไปเรียกไถ่คนละ 6 หมื่นหยวน (ราว 2.7 แสนบาท) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 8 เมษายน นายจ่าวเว่ย เจ้าของบ่อนคาสิโนได้นำเงินจำนวน 25 ล้านบาท ไปไถ่ตัวนักพนันจำนวน 13 คน ขณะนี้ยังเหลือนักพนันรอจ่ายค่าไถ่อยู่อีกจำนวนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า จนถึงขณะนี้กลุ่มของนายหน่อคำ ยังไม่ได้วางอาวุธให้กับกองทัพพม่าตามที่ถูกขีดเส้นตายไว้ในวันที่ 18 เมษายน ซึ่งกองกำลังของนายหน่อคำยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพรัฐฉาน SSA นายหนึ่งเปิดเผยว่า ทางกลุ่มยังไม่ได้รับการติดต่อขอเข้าร่วมจากกลุ่มของนายหน่อคำ และว่าทางกองทัพรัฐฉาน SSA ไม่เคยมีการติดต่อกับกลุ่มดังกล่าวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กองกำลังติดอาวุธภายใต้การนำของนายหน่อคำ ซึ่งเป็นอดีตนายทหารกองทัพเมืองไตย MTA ของขุนส่า และอดีตหัวหน้ากองกำลังอาสาสมัครใต้กำกับของกองทัพพม่า มักกระทำการเรียกเก็บภาษีเรือลำเลียงสินค้าในแม่น้ำโขง และจับเรียกค่าไถ่ลูกเรือบ่อยครั้ง โดยทางกลุ่มอ้างว่าเป็นการเก็บค่าคุ้มครองผ่านในพื้นที่ ซึ่งเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2552 กลุ่มของนายหน่อคำ ได้ก่อเหตุโจมตีเรือสินค้าของจีนกลางแม่น้ำโขง ขณะเข้าไปเพื่อหวังเก็บภาษีครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ลูกเรือเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 3 คน

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น