โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

โหมโรงเวทีดับไฟใต้ ชี้‘เพื่อไทย’มาสถานการณ์เปลี่ยน

Posted: 02 Jun 2011 12:26 PM PDT

พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ในเวทีสาธารณะ “ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?” ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะมีการเชิญตัวแทนพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งมาอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของแต่ละพรรค และความเห็นในเรื่องการแก้ปัญหาด้วยการกระจายอำนาจ

“ขณะนี้มี 5 ตัวแทนพรรคการเมืองที่ตอบรับจะมาร่วมเวทีครั้งนี้ คือ นายพีรยศ ราฮิมมูลา ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์)ลำดับที่ 41 พรรคประชาธิปัตย์ นายมูฮำหมัดอารีฟีน จะปะกียา ผู้สมัคร ส.ส.ปัตตานี เขต 2 พรรคมาตุภูมิ นายบูราฮานุดิง อุเซ็ง ผู้สมัคร ส.ส.ยะลา เขต 3 พรรคเพื่อไทย นายมุคตาร์ กีละ ผู้สมัคร ส.ส.นราธิวาส เขต 3 พรรคประชาธรรม และนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ ผู้สมัครระบบปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 พรรคแทนคุณแผ่นดิน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยว่า การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ เป็นการถือโอกาศในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เพื่อจะรับฟังว่า แต่ละพรรคการเมืองมีแนวคิดในเรื่องการกระจายอำนาจอย่างไร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองการปกครองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้หลักการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดประเด็นเรื่อง “ปัตตานีมหานคร” ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเรื่องการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการกระจายอำนาจ ตามที่คณะทำงานภาคประชาสังคม ของสภาพพัฒนาการเมืองได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ ปี 2552 รวม 49 เวที จนค้นพบความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ 8 ประการ และมีการสังเคราะห์ออกมาจนได้รูปแบบโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูบแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาแล้ว

โหมโรงเวทีดับไฟใต้ ชี้‘เพื่อไทย’มาสถานการณ์เปลี่ยน
รูปแบบและโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญ
“ปัตตานีมหานคร” ของเครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ด้วยการปฏิรูปการเมืองการปกครอง โดยให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองมากขึ้น จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประชาชนย่อมเข้าใจปัญหาของประชาชนดี แต่โครงสร้างอำนาจที่มีอยู่ คือการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง เช่น การแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนายกรัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้ง ซึ่งไม่ใช่คนในพื้นที่

“ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสรรหาผู้นำของตนเอง เป็นการกระจายโครงสร้างทางอำนาจให้กับประชาชน เช่น คนปัตตานี ก็เลือกคนปัตตานีมาเป็นผู้นำ ส่วนจะขึ้นมาปกครองบ้านเมืองอย่างไรนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาจเป็นเลือกตั้งหรือสรรหาคนมาให้เลือกตั้งก็ได้”

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวอีกว่า ประเด็นที่สองคือ ต้องกระจายงบประมาณ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีรายได้ไม่เท่ากัน แล้วแต่ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น จังหวัดภูเก็ตเก็บภาษีได้ปีละเป็นแสนล้าน แต่ภูเก็ตได้รับการจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาจังหวัดเพียง 2 -3 หมื่นล้านบาทต่อปี หรือจังหวัดปัตตานีที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่นอกชายฝั่ง คือ แหล่งพัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย หรือ เจดีเอ แต่ถูกนำส่งท่อไปขึ้นฝั่งที่จังหวัดสงขลา ประโยชน์ก็ได้กับคนสงขลา แต่ปัตตานีไม่ได้อะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม

“หรือแม้แต่เรื่องการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ 35% ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว รัฐบาลก็ยังทำไม่ได้ กระทวงต่างก็ยังหวงงบประมาณอยู่ อยากบริหารงบประมาณเอง นั่นคือการแย่งชิงงบประมาณนั่นเอง” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยด้วยว่า เรื่องนี้คณะทำงานในเครือข่ายของสภาพัฒนาการเมืองใช้เวลาเป็นปีในการอธิบายเรื่องนี้ให้ชาวบ้านฟัง เพราะชาวบ้านไม่เคยรู้เรื่องอย่างนี้ ซึ่งก็คือการจัดเวทีทั้ง 49 เวทีดังกล่าว เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ

“เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราต้องปฏิรูปประเทศไทย คือ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ และกระจายงบประมาณ ซึ่งก็ตรงกับที่คณะทำงานปฏิรูปประเทศไทยค้นพบ แต่เราก็ค้นพบมาก่อน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวด้วยว่า ตนไม่อยากวิจารณ์ความคิดและนโยบายของพรรคการเมือง เพราะไม่ได้ผ่านความเห็นของประชาชน เพียงแต่คิดเองว่า นโยบายน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ หรือเอาความคิดของนักวิชาการมา ไม่ว่าพรรคมาตุภูมิหรือพรรคเพื่อไทย

“เมื่อฟังนักวิชาการ ก็ต้องว่าตามที่นักวิชาการพูด เขาไม่เคยจัดเวทีเหมือนที่เราทำเกือบ 50 เวทีๆละ 30 คน ตอนนี้เรามีทั้งร่างกฎหมาย มีทั้งงานวิจัยรองรับเยอะแยะ เพราะฉะนั้นต้องติดตามดูว่า พรรคการเมืองจะทำอย่างไรและ จะทำเพื่อประชาชนหรือไม่” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวถึงนโยบายในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคต่างๆ ด้วยว่า นโยบายนครปัตตานีของพรรคเพื่อไทย ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร ในขณะที่เจ้าของต้นคิดเรื่องนี้ คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็ลาออกจากพรรคเพื่อไปแล้ว ส่วนกลุ่มวาดะห์ก็แตกกลุ่มไปแล้ว เหลือนายซูการ์โน มะทา กับนายบูราฮานุดิง อุเซ็ง ที่ยังอยู่ ทั้งสองคนจะทำอะไรได้

“ส่วนพรรคมาตุภูมิบอกว่า จะตั้งทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะอยากจะได้รัฐมนตรีใช่ไหม เพราะทบวงก็ยังอยู่ที่กรุงเทพ การแก้ปัญหาก็เป็นเพียงแค่ย้ายจากกระทรวงมหาดไทยไปที่อยู่ทบวงเท่านั้นเอง เพราะทบวงนี้ไม่ได้อยู่ที่นราธิวาส เป็นเพียงการเพิ่มรัฐมนตรีขึ้นมาอีกคน เพิ่มพนักงาน เพิ่มงบประมาณ เพิ่มโน่น เพิ่มนี่ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากกระทรวงมหาดไทยเดิม แล้วชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวอีกว่า ส่วนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะสานต่อนโยบายเดิมหลังจากได้ออกพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. ถามว่าจะสานต่ออะไร ในเมื่อศอ.บต.มีแต่ชื่อ ส่วนเลขาธิการศอ.บต.ก็ยังเป็นคนเดิม โดยเปลี่ยนจากผู้อำนวยการมาเป็นเลขานุการเท่านั้น แต่ยังไม่เห็นว่าทำอะไรบ้างแล้ว ส่วนสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่มีการตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็กลายเป็นว่า การได้มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาก็ไม่โปร่งใสมากนัก เพราะคนที่ได้มา เป็นคนของราชการ

“ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล สถานการณ์คงยังเหมือนเดิม แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล อาจเกิดความเปลี่ยนแปลงบ้าง ดังนั้น ความคาดหวังต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าพรรคเพื่อไทยทำจริงตามที่หาเสียง ก็คงจะมีโอกาสเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ แต่งานของพรรคประชาธิปัตย์ทำ ไม่ใช่การกระจายอำนาจ แต่เป็นการปรับโครงสร้างอำนาจของราชการเอง มีการเพิ่มอำนาจมากขึ้นเท่านั้นเอง” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

“เพราะคนไม่เข้าใจปัญหา จึงไม่เข้าใจบริบทของการแก้ปัญหา จึงยังแก้ปัญหาแบบเดิม ซึ่งการปรับโครงสร้างของศอ.บต.ก็คือยังเป็นการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวดีกว่า ตอนนี้ยังไม่มีพรรคการเมืองไหนที่จริงจังกับเรื่องการกระจายอำนาจ แต่คณะทำงานในเครือข่ายก็ต้องสร้างกระแส สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน เพื่อให้เกิดกระแสต้องการความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองการปกครองในพื้นที่

“การที่พล.อ.ชวลิต เสนอในเรื่องนครปัตตานี ก็คงจะเป็นผลมาจากการสร้างกระแสของเรา เพราะที่ผ่านมามีการจัดเวทีใหญ่เพื่อนำขับเคลื่อนเรื่องการกระจายอำนาจมาแล้วถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวเสริมว่า เวทีในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 นี้ ก็เพื่อจะฟังความคิดของนักการเมือง แต่ถ้าเขาไม่มีความคิดในเรื่องนี้ ก็แล้วแต่เขา แต่ภาคประชาชนก็ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพราะประชาชนจะมีทางเลือกมากขึ้น

“ต่อไปเมื่อพรรคการเมืองเห็นด้วยทั้งหมด ร่างกฎหมายของเราที่เข้าสภาก็จะผ่านความเห็นชอบ เราไม่ได้หวังสมัยนี้สมัยเดียว ถ้ามีการเลือกตั้งอีก เราก็จะทำเวทีอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ เพราะเป็นความต้องการของประชาชน” พล.ต.ต.จำรูญ กล่าว

8 ความคาดหวังจากผลศึกษาปกครองชายแดนใต้

ผลการศึกษา การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค้นพบ 8 ความคาดหวังจากเวทีสาธารณะตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนมกราคม 2554 รวม 49 เวที มีผู้เข้าร่วม 1,427 คน องค์กรภาคีเครือข่าย ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ประชาชนมีความคาดหวังที่จะมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 8 ประการ ดังนี้

  1. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  2. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องเป็นการปกครองที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการเมืองในลักษณะที่ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีที่ยืนและเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย (Inclusiveness) รับฟังเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง รวมทั้งมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพที่เป็นรูปธรรมแก่คนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่
  3. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดทางการปกครองเป็นคนในพื้นที่ และมีจานวนข้าราชการไทยพุทธและไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในสัดส่วนที่สอดคล้องกับจำนวนประชากร ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารและข้าราชการที่มีสานึกรักท้องถิ่น และมีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
  4. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีกลไกที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการริเริ่ม เสนอแนะ และตัดสินใจในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจการของท้องถิ่น รวมทั้งกากับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้ในระดับที่ทาให้ประชาชนรู้สึกว่าตนเองได้มีอำนาจในการจัดการชีวิตของตัวเองดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 281 ของรัฐธรรมนูญที่เน้น “หลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น”
  5. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการกลั่นกรองผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่สามารถลดการแข่งขันแตกแยกในชุมชนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในระดับหนึ่งว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจานวนหนึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง
  6. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องใช้สองภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายูปัตตานีควบคู่กันไปบนสถานที่และป้ายต่างๆ ของทางราชการ
  7. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการศึกษาที่อยู่ในมาตรฐานกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และในขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วย โดยใช้หลักสูตรการศึกษาที่บูรณาการระหว่างสายสามัญและสายศาสนา รวมทั้งมีการเรียนการสอนวิชาภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ ในลักษณะที่ผู้ปกครองจากทุกกลุ่มวัฒนธรรมต่างมีความสบายใจและมั่นใจที่จะส่งบุตรหลานของตนเข้ามาศึกษาเล่าเรียน
  8. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีการบังคับใช้ระบบกฎหมายอิสลามกับคนมุสลิมในพื้นที่ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ การวินิจฉัยตัดสิน และการมีสภาพบังคับ โดยเน้นไปที่กฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยตรงมากที่สุด

 

กำหนดการ เวทีสาธารณะ “ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?”

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2554 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

องค์กรร่วมจัด: เครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมืององค์กรร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ – สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียน

09.30 – 09.45 น. เปิดเวทีสาธารณะ

  • โดย ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

09.45 – 10.30 น. ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง

  • ปาฐกถานำเรื่อง "การกระจายอำนาจ กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้"

10.30 – 11.30 น.

  • เปิดประเด็น “ปัตตานีมหานคร – เชียงใหม่มหานคร: ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสู่การดูแลตัวเอง”
  • โดย นายมันโซร์ สาและ – เครือข่ายขับเคลื่อนการกระจายอำนาจเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนฯ
  • นายสวิง ตันอุด – เครือข่ายประชาสังคมเพื่อการจัดการตัวเอง จังหวัดเชียงใหม่
  • ดำเนินรายการโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง

11.30 – 12.30 น. แลกเปลี่ยนความเห็นและซักถามจากผู้เข้าร่วมเวที

  • ดำเนินรายการโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง

12.30 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและละหมาด

13.30 – 15.30 น. อภิปราย “ฟังเสียงฝ่ายการเมือง: ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจจริงหรือ?”

  • โดย ตัวแทนพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ดำเนินรายการโดย อ.จิรพันธ์ เดมะ – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

15.30 – 16.15 น. แลกเปลี่ยนความเห็นและซักถาม

  • ดำเนินรายการโดย อ.จิรพันธ์ เดมะ – คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

16.15 – 16.30 น. สรุปและปิดเวทีสาธารณะ โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ

  • ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"เพื่อไทย" ออกแถลงการณ์ไม่ร่วมงานกับ "ภูมิใจไทย"

Posted: 02 Jun 2011 12:01 PM PDT

"เพื่อไทย" ออกแถลงการณ์ลั่นไม่ร่วมงาน ไม่ตั้งรัฐบาลกับ "ภูมิใจไทย" เหตุมีอุดมการณ์และวิธีการทำงานต่างกันมาก

วันนี้พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 2 มิ.ย. 54 มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลงลายมือชื่อท้ายแถลงการณ์ มีรายละเอียดดังนี้

"ตามที่มีข่าวในสื่อมวลชนในทำนองว่า พรรคภูมิใจไทยและพรรคเพื่อไทยอาจร่วมทำงานการเมืองและร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งนั้นคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยได้ประชุมปรึกษาหารือแล้ว ขอกราบเรียนว่า พรรคเพื่อไทยมีอุดมการณ์และวิธีการทำงานแตกต่างจากพรรคภูมิใจไทยเป็นอย่างมาก

ดังนั้น พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนที่จะไม่ร่วมทำงานทางการเมืองและร่วมจัดตั้ง รัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทยภายหลังการเลือกตั้งในครั้งนี้

(ลงลายมือชื่อ) (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) หัวหน้าพรรคเพื่อไทย 2 มิถุนายน 2554"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศ.นพ.ประเวศ วะสี: ปลดล็อคความไม่สงบหลังเลือกตั้ง

Posted: 02 Jun 2011 11:16 AM PDT

1.ความไม่สงบหลังเลือกตั้ง คนเป็นอันมากไม่เชื่อว่าจะมีความสงบหลังเลือกตั้ง เพราะปัจจัยให้เกิดความไม่สงบยังดำรงอยู่เหมือนเดิม เหมือนถูกล็อคอยู่ด้วย เหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ

(1) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เสียงข้างมาก แล้วพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาล พท. และมวลชนคนเสื้อแดงก็จะกล่าวหาว่ากองทัพและมือที่มองไม่เห็นเข้ามาจัดการไม่ให้ พท. เป็นรัฐบาลอย่างนี้ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยประชาธิปัตย์

(2) ถ้า พท. ได้เสียงข้างมากแล้วจัดตั้งรัฐบาล และต้องการนำทักษิณกลับมา พวกที่เกลียดกลัวทักษิณ พวกที่เกลียดกลัวการล้มเจ้า ก็จะรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาล


2.การแก้ไขตามเหตุปัจจัย ควรปลดล็อคเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความไม่สงบดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้

(1) ถ้า พท. ได้เสียงมาเป็นอันดับ 1 ควรให้เวลา พท. พยายามจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ อย่าใช้อำนาจนอกระบบใดๆ ไปขู่เข็ญพรรคการเมืองให้ทำตามที่ตัวต้องการ ให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลมีความโปร่งใสที่คนไว้วางใจเชื่อถือได้มากที่สุด

(2) ถ้า พท. จัดตั้งรัฐบาล จะนำทักษิณกลับหรือไม่ทักษิณก็สามารถบงการรัฐบาล พท. อยู่ดี คุณทักษิณควรจะถือโอกาสแก้ตัว คุณเคยมีอำนาจสูงสุดมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะคิดว่าทำดีเพียงใด แต่การที่มีคนเกลียดและกลัวจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ถ้าคุณทักษิณปรับตัว ว่าอะไรที่ทำให้คนเกลียดและกลัวก็อย่าไปทำ พิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิถีประเทศไทยต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองของคุณทักษิณ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทยและต่อโลก และเป็นการปลดล็อคความไม่สงบอย่างสำคัญ

(3) การปลดล็อคให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องมาฆ่ากันตาย ความกลัวว่าจะมีคนมาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยที่จะทำให้คนไทยฆ่ากันตาย คนไทยทุกฝ่ายควรจะมาร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะทำให้สถาบันไม่เป็นประเด็นที่คนไทยจะต้องฆ่ากันได้อย่างไร ประเทศประชาธิปไตยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น อังกฤษ สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สถาบันของเขาไม่เป็นประเด็นทางการเมืองที่ผู้คนจะต้องมาทะเลาะกันเลย เราติดอยู่ตรงนี้นานจนบ้านเมืองไม่สามารถก้าวหน้าไปได้อย่างสันติ สมควรที่สังคมไทยจะต้องก้าวข้ามข้อติดขัดทางประวัติศาสตร์ ควรศึกษาดูว่าในประเทศดังกล่าวข้างต้นเขามีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประเพณีปฏิบัติอย่างไร ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับระบบการเมือง กับระบบราชการ กับระบบธุรกิจ และกับสังคม ประเด็นไม่น่าจะอยู่ที่การโค่นล้มและการปราบปรามผู้ที่คิดว่าจะคิดโค่นล้ม แต่อยู่ที่การปรับความสัมพันธ์มากกว่า

(4) ปรับวิถีคิด คนไทยเข้าไปสู่วิถีคิดแบบแยกข้างแยกขั้วและคิดห้ำหั่นกันมากเกิน อะไรเป็นพวกตัวถูกหมด ถ้าเป็นพวกอื่นผิดหมด ฝ่ายค้านๆ และจ้องทำลายฝ่ายรัฐบาลลูกเดียวและกลับกัน พระพุทธศาสนาปฏิเสธวิธีคิดตายตัวแยกส่วนแบบนี้ เพราะผิดธรรมชาติความเป็นจริง ธรรมชาติของสรรพสิ่งๆ ล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา

การคิดแบบกระแสของเหตุปัจจัยนี้บางทีเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา การคิดแบบแยกส่วนตายตัวสุดโต่งไม่ใช่วิถีคิดแบบพุทธ และไม่ใช่วิถีคิดแบบวิทยาศาสตร์ใหม่ วิทยาศาสตร์เก่านั้นคิดแบบตายตัวจึงแยกส่วนและสุดโต่ง วิทยาศาสตร์ใหม่พบว่าสรรพสิ่งล้วนไม่ตายตัวจึงเชื่อมโยงสัมพันธ์ การคิดแบบแยกส่วนตายตัวนำไปสู่ความแตกแยกและรุนแรง การแบ่งพรรคการเมืองเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านแบบตายตัวก็อยู่บนความคิดที่ล้าสมัยแบบวิทยาศาสตร์เก่า ความคิดที่ล้าสมัยเช่นนี้นำไปสู่การต่อสู้เอาเป็นเอาตายกันเกินไป

ในอนาคตควรทำความเข้าใจวิถีคิดแบบพุทธและวิทยาศาสตร์ใหม่ซึ่งสอดคล้องกัน ว่าพรรคการเมืองใช่จะต้องแยกข้างแยกขั้วและห้ำหั่นกันแบบเอาเป็นเอาตาย วัตถุประสงค์ของพรรคการเมืองไม่ใช่เพื่อห้ำหั่นฝ่ายตรงข้าม แต่เพื่อพัฒนาบ้านเมือง อะไรที่ควรจะร่วมมือกันเพื่อบ้านเมืองก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ใช้ค้านดะด่าทุกเรื่องในสหรัฐอเมริกานั้นอะไรที่สำคัญของชาติพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะร่วมมือกัน 

ประธานาธิบดีเชิญฝ่ายค้านมารับประทานอาหารเช้าที่ทำเนียบขาวบ่อยๆ เพื่อปรึกษาหารือ บางครั้งประธานาธิบดีก็ตั้งคนของพรรคตรงข้ามมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของตน อย่างนายโรเบิต เกตส์รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบันก็เป็นริพับลิกัน เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของบุชมาก่อน เขารักชาติเหนือพรรค

เราลองดูบ้างดีไหม ถ้า พท. ตั้งรัฐบาล ชวนคนเก่งๆ จาก ปชป. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน 

และในทางกลับกันถ้า ปชป. ตั้งรัฐบาลก็ชวนคนเก่งๆ ของ พท. มาเป็นรัฐมนตรีสักคนสองคน เพื่อเริ่มต้นสปิริตแห่งวิถีคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทา ว่าพรรคการเมืองนั้นเสริมกันได้ในขณะที่ตรวจสอบไปพร้อมกัน เราต้องรักชาติเหนือพรรค

สื่อมวลชนก็ไม่ควรส่งเสริมการคิดแบบแยกข้างแยกขั้วตายตัว และเชียร์ให้ตบตีกัน การเมืองไม่ใช่เวทีมวย แต่เป็นที่ที่จะต้องใช้สติปัญญาทำประโยชน์ให้บ้านเมือง คนในวงการสื่อสารควรศึกษาวิธีคิดว่าการคิดแบบตายตัวแยกส่วนเป็นอย่างไร การคิดแบบมัชฌิมาปฏิปทาหรือคิดแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นอย่างไร ระบบการศึกษาทั้งหมดควรสนใจวิธีคิด พระและชาวพุทธควรสนใจวิถีคิดแบบพุทธสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมโลก ต้องเปลี่ยนวิถีคิดใหม่เพื่อไปให้พ้นความรุนแรงไอน์สไตน์ เคยกล่าวว่า “เราต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้”

(5) การเคลื่อนไหวมวลชนอย่างสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวมวลชนเป็นการเมืองภาคประชาชนอย่างหนึ่ง ถ้าทำให้ดีจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายที่ตามปรกติทำได้ยาก ไม่ควรใช้ความรุนแรงเพราะจะทำให้ถูกปราบปรามและกระบวนการหดหาย ไม่ควรใช้การด่าทอลูกเดียว เพราะจะทำให้ตีบตัน ไม่ควรทำสิ่งที่สังคมรังเกียจเพราะจะทำให้ขาดการสนับสนุน การเคลื่อนไหวเรื่องความเป็นธรรมจะมีความชอบธรรมมากและมีคนเข้าร่วมมากขึ้นๆ เพราะความไม่เป็นธรรมกระทบทุกแง่มุมของชีวิตของประชาชนจำนวนมาก 

ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ผู้ถูกเรียกร้องทำไม่ได้ การเคลื่อนไหวมวลชนควรจะต้องไปให้ถึงประเด็นนโยบาย เช่นอย่างที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอไว้ เช่น ปฏิรูประบบอำนาจรัฐ ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นธรรม เป็นต้น ถ้าการเคลื่อนไหวมวลชนสามารถขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่จะสร้างความเป็นธรรม-ลดความเหลื่อมล้ำ การเคลื่อนไหวมวลชนก็จะเป็นพลังสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เป็นทั้งพลังทางสังคมและพลังทางปัญญาที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยสันติวิธี

เป้าหมายที่ใหญ่และสูงส่ง จะทำให้คนไทยทุกภาคส่วนไม่ว่าสีอะไร สามารถร่วมกันได้การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลี่ยมล้ำ ควรจะเป็นเป้าหมายร่วมกันของคนไทยทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง คุณทักษิณ คุณอภิสิทธิ์ หรือคนโดยอื่นใดทั้งหลายทั้งปวงคนไทยไม่เคยมีเป้าหมายร่วม มีแต่เป้าหมายแยกย่อยของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กร แต่ละสถาบัน ที่แตกต่างและทอนกำลังกันเอง ทำให้บ้านเมืองวิกฤตมากขึ้นๆ 

เป้าหมายร่วม จะทำให้คนไทยรวมตัวกันออกจากวิกฤตได้

3.สร้างจิตสำนึกใหม่ ความไม่สมกันของสังคมไทยขณะนี้ก็คือ “สังคมใหญ่-แต่คนไทยจิตเล็ก” สังคมไทยปัจจุบันมีขนาดใหญ่และหลากหลายมาก แต่จิตคนไทยยังไม่ใหญ่ไปตามตัว กล่าวคือยังเห็นแคบๆ ยังเห็นแก่ตัวเอง เห็นแก่พวก เห็นแก่พรรค มากกว่าเห็นแก่สังคมเป็นส่วนรวม  ถ้าเราไม่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด เห็นเฉพาะส่วนทำเพื่อเฉพาะส่วนย่อมไม่สามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของทั้งหมด สังคมจึงป่วยและวิกฤต คนไทยต้องพัฒนาจิตสำนึกใหม่ให้เป็นจิตใหญ่ที่เห็นทั้งหมดและทำเพื่อทั้งหมด จึงจะสามารถรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศได้ 

วิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก แต่สภาวะวิกฤตจะมาบีบบังคับให้เกิดขึ้น เพราะตราบใดที่ยังมีวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่าก็จะเกิดวิกฤตการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ไล่ต้อนเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดวิถีคิดใหม่และจิตสำนึกใหม่แท้ที่จริงวิถีคิดเก่าและจิตสำนึกเก่ากำลังนำโลกไปสู่วิกฤตการณ์ใหญ่ ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์แห่งการอยู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ดังที่   หายนภัยทางธรรมชาติกำลังคืบคลานเข้ามามากขึ้นๆ วิกฤตการณ์ของมนุษยชาติครั้งนี้เป็นวิกฤตการณ์ทางอารยธรรม เป็นจุดเปลี่ยนทางอารยธรรม (civilization turning Point) 

อารยธรรมใหม่ เป็นอารยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกัน

อารยธรรมใหม่เกิดจากวิถีคิดใหม่ และจิตสำนึกใหม่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิชาการชี้ปมใหญ่สังคมไทย ไม่ยอมรับ “การเลือกตั้ง”

Posted: 02 Jun 2011 10:46 AM PDT

 

2 มิ.ย.54 มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาทางวิชาการ การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง: ฝ่าวิกฤต ฤา ซ้ำรอย “Dialogue on ‘The Role and Direction of Political Party in Thailand after 2011 Election’ ” ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. และ รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จาตุรนต์ ฉายแสง
บ้านเมืองหลังการเลือกตั้ง ถ้ามองแบบคณิตศาสตร์ก็มีความเป็นได้อยู่ 2-3 แบบ ที่ใครจะจับขั้วกับใคร จนได้เป็นรัฐบาล ที่ผ่านมาคอลัมนิสต์หรือหนังสือพิมพ์มองว่าถ้าเพื่อไทยได้เสียงมากกว่าประชาธิปัตย์ แต่ว่ายังห่างจากครึ่งหนึ่ง เช่น 200 หรือ 210 เสียงประชาธิปัตย์ก็คงจะตั้งรัฐบาลได้ และบางพวกก็มองว่าเค้าคงไม่ยอมให้เพื่อไทยตั้งรัฐบาล แต่ถ้าเสียงได้ถึงครึ่งหรือเกินครึ่ง โอกาสที่เพื่อไทยจะตั้งรัฐบาลได้ก็มี

ถ้าประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล การเมืองก็จะย้อนกลับมาคล้าย ๆ สองปีก่อนยุบสภา คือได้พรรคร่วมรัฐบาลเหมือนปัจจุบัน แล้วอาจจะมีปัญหาอะไรที่คล้ายกับปัจจุบันหรือจะพัฒนาไปอีกแบบหนึ่ง

ถ้าเพื่อไทยได้เสียงเกินครึ่งแล้วตั้งรัฐบาล ก็อาจจะเลือกพรรคร่วมรัฐบาลง่ายหน่อย แต่ก็คงจะต้องเจอเสียงคัดค้านเสียงต่อต้านในช่วงแรกซึ่งก็คงไม่ถนัดเท่าไร ทั้งยังมีผู้ที่ไม่อยากเห็นเพื่อไทยตั้งรัฐบาล ผู้ที่สกัดกั้นมาตลอดจะยอมหรือเปล่า จะปล่อยให้บริหารนานเท่าไร จะมีการใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญมาจัดการหรือกลไกนอกสภา เช่น การชุมนุมที่เรียกร้องให้ไทยต้องรบกับกัมพูชาจะเข้มข้นขึ้นมั้ย แล้วจะมีเสียงประสานมาจากส่วนอื่นมากน้อยแค่ไหน

ถ้าเพื่อไทยได้เสียงไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แล้วมีพรรคเล็กหรือพรรคขนาดกลางบางพรรคมาร่วมแล้วตั้งรัฐบาลได้ ก็จะคล้ายกับเมื่อตอนพรรคพลังประชาชนเป็นแกน แล้วต่อมาก็ต้องเจอการชุมนุม ตามมาด้วยการยุบพรรคโดย กกต.และศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็เปลี่ยนรัฐบาล ในระหว่างนั้นมันก็มีพัฒนาการของการเมืองนอกสภา ทั้งการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลของเสื้อเหลืองกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงซึ่งก็มีพัฒนาการจากที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ยุบสภาแล้วการชุมนุมก็ยุติไปโดยมีการมอบตัวดำเนินคดี พอถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ แกนนำของคนเสื้อแดงจำนวนมากมาลงสมัครรับเลือกตั้งอยู่ในพรรคเพื่อไทย คือการรวมสองอย่างนี้เข้าด้วยกันมุ่งไปสู่โจทย์เดียวกันคือชนะเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างเสื้อแดงมีพัฒนาการที่น่าสนใจตรงที่ว่าเข้ามารวมกับพรรคการเมืองเพื่อจะเอาชนะการเลือกตั้ง

แต่ถ้านำภาพจำลองตามแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมาโยงกับความขัดแย้งทางการเมืองที่สะสมมาในรอบ 5-6 ปีมานี้ ก็น่าสนใจมากว่าความขัดแย้งดังกล่าวเมื่อมาเจอกับคณิตศาสตร์แต่ละแบบจะนำไปสู่อะไร การเมืองไทยจะพัฒนาต่อไปอย่างไร ความขัดแย้งจะคลี่คลายหรือว่าจะเขม็งเกลียวมากขึ้น ที่น่าสนใจมากผมคิดว่าหลังจากระยะนั้นแล้ว ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ถ้าความขัดแย้งในสังคมไทยยังคงมีอยู่อย่างที่เป็นมาและยังไม่ถูกแก้ในเรื่องใหญ่ ๆ เช่น กติกา วัฒนธรรมทางการเมือง บรรยากาศแวดล้อมทางการเมืองที่ใครเคยมีอำนาจบทบาทอย่างไรก็ยังอยากมีอำนาจบทบาทนั้นอยู่ต่อไป จะทำให้เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทย จะเกิดอะไรกับวิกฤตทางการเมืองที่ได้สะสมมาตลอดห้าหกปี

หัวใจของปัญหาการเมืองไทยอยู่ที่การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง
“ยอมรับผลการเลือกตั้ง” กับ “รักษาระบบ” ดูเหมือนสองอย่างนี้จะห่างไกลกับสังคมไทยมาก สังคมไทยมีปัญหาตั้งแต่ไม่ยอมรับการเลือกตั้ง เริ่มตั้งแต่ความคิดง่าย ๆ ว่า ประชาชนยังโง่อยู่ ปล่อยให้ตาสีตาสามามีเสียงเท่ากับนักคิด หรือราษฎรอาวุโสได้อย่างไร ความคิดที่ว่าเลือกตั้งไปก็ไม่มีประโยชน์ มีมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ตอนหลังมาเรื่องของการยอมรับไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้งเป็นหัวใจสำคัญของปัญหาวิกฤตของประเทศไทย

ตอนนี้ดูเหมือนว่าความคิดที่ว่านี้มีทั้งที่เปิดเผยและที่ซ่อน ๆ อยู่ คำถามมีมาว่าทั้งเสื้อแดง และผู้มีอำนาจจะยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้มั้ย ส่วนเรื่องว่ายอมรับผลการเลือกตั้งเสียเถิดเพื่อเห็นแก่ระบบ ดูจะห่างไกลจากสังคมไทยมากในความเป็นจริง หมายความว่าเขาไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งถึงขั้นว่ายอมล้มระบบไปก็ได้ คือบอกว่าระบบไม่สำคัญหรอก รัฐธรรมนูญไม่สำคัญหรอกมันเป็นกระดาษ ฉีกเสียก่อนก็ได้ถ้าประเทศจะเสียหาย ไม่ต้องมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ได้ ก็ไม่สำคัญอะไรเมื่อคนเขียนได้ก็ฉีกมันทิ้งได้ แล้วระบบมันจะเปลี่ยนไปยังไงก็ได้ขอให้มีคนดีบริหารประเทศ สภาพแบบนี้เป็นปัญหาพื้นฐานมาตลอด

มาช่วงหลังมีหลายฝ่ายเตรียมเหตุผลที่จะไม่ยอมรับการเลือกตั้งไว้ในกระเป๋าแล้ว เราจะมีการเลือกตั้งได้ต้องได้รับการอนุญาตจากกองทัพก่อน กองทัพบอกว่าเราจะไม่รัฐประหารแล้ว เชิญเถอะมีการเลือกตั้งแน่ ประเทศนี้ก็เลยมีเลือกตั้ง ใครมาเป็นรัฐบาลก็ได้ กองทัพรับได้ทั้งนั้น แต่ว่าพอถึงเวลาจริง ๆ แล้วรัฐมนตรีกลาโหมไม่ใช่คนในกองทัพไม่รู้จะรับได้หรือเปล่า หลังสุดมีความเห็นเรื่องโหวตโน คือใครก็ไม่รับ พรรคไหนก็ไม่เอา คือบอกว่าอย่าเลือกสัตว์เข้าสภา สภาพอย่างนี้จะไปถึงขั้นไหนกัน การเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้มีอะไรดีขึ้นไหม

ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
การเมืองไทยหลังการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่ามีอนาคต ตามความคาดหวังของคนทั่วไปกว้าง ๆ มีสองทางที่จะเป็นไปได้คือ 1.เปลี่ยนผ่านอย่างสงบสันติ 2.เกิดความรุนแรง ซึ่งมันมีความเป็นไปได้ทั้งสองอย่างขึ้นกับปัจจัยในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ผมให้น้ำหนักไปที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การที่จะยอมรับกันมากขึ้น คือยอมรับระบบ ยอมรับผล เพราะธรรมดาการเลือกตั้งย่อมนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง

การยอมรับที่ว่า หมายถึงการเกิดสิ่งที่เรียกว่าความชอบธรรมทางการเมือง คือบรรยากาศของความชอบธรรมทางการเมืองจะต้องเกิดขึ้น นี่คือสภาพที่เป็นปกติของการเมืองในที่ต่าง ๆ ทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศที่การเมืองราบรื่น ต่อเนื่องและสันติมากกว่าการใช้กำลังนอกระบบ จะพบว่าความชอบธรรมทางการเมืองของเขาค่อนข้างสูง แม้จะมีอุบัติเหตุอะไรบ้างแต่พูดได้ว่าแรงจูงใจที่จะยอมรับความชอบธรรมจะมีมากกว่า

เช่น กรณีหลายปีก่อนที่บุชกับอัลกอร์จากเดโมแครทคะแนนสูสีกันมาก แล้วคะแนนจะมาตัดสินกันที่รัฐฟลอริด้า ซึ่งคะแนนของบุชชนะ แต่ก็มีการท้วงมาว่าคะแนนที่ได้จากฟลอริด้าเกิดจากการใช้อำนาจมืด ก็มีการฟ้องศาลให้นับคะแนนกันใหม่ พอนับไปสักพักมีแนวโน้มว่าคะแนนตีกลับไปอีกข้าง อัลกอร์เริ่มมีโอกาสเขาเลยทำเรื่องไปถึงศาลสูงของฟลอริด้าเพื่อให้เรียกให้มาตัดสินกันใหม่หมดว่าใครจะได้ไม่ได้ ตอนนั้นคาดกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะพลิกล็อคแน่ ศาลจะตัดสินให้อีกฝ่ายได้ แต่ว่าก่อนที่จะมีการตัดสินมีการเจรจากันหลังศาล ในที่สุดมีข้อเสนอยุติการใช้ศาลตัดสิน เลิกราต่อกัน ให้ระบบมันเดินไปตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าเกิดศาลตัดสินให้เดโมแครทชนะ ความไม่พอใจของฝ่ายรีพับลีกันจะสูง จะเกิดความไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งทะเลาะเบาะแว้งกันต่อไปมากมาย เขาเลยคิดว่ามันไม่คุ้มกับระบอบประชาธิปไตยที่สร้างมาสองร้อยปีแล้วจะมาพังในปีเดียว  ความต่อเนื่องจึงสำคัญ คืนนั้นพอประกาศคะแนนฝ่ายที่แพ้ก็โทรศัพท์ไปแสดงความยินดีเพื่อจะปราบลูกพรรคว่า นี่คือตัวอย่างการยุติความขัดแย้งไม่ให้มาทำลายระบบ มันต้องรักษาระบบก่อน รักษาเรือก่อน คนถึงจะไปรอดได้

สำหรับทางออกของเมืองไทยก็เช่นเดียวกัน จะต้องเกิดความชอบธรรมในระดับมวลชน ความต้องการนี้จะต้องมาจากความรับรู้จากความเข้าใจยอมรับโดยสำนึกของเขาเอง เพราะฉะนั้นการเอานักการเมืองหัวหน้าพรรคหรือผู้มีอำนาจใดก็ตามมายืนยันว่าจะไม่ยึดอำนาจนั้น จะไม่เป็นหลักประกันต่อความชอบธรรมจริง ๆ เพราะถ้าประชาชนถูกล่อลวงโดยวาทกรรมทำให้ความเห็นเปลี่ยน โดยอำนาจของการโฆษณาชวนเชื่อของสถาบันอำนาจเก่าในสังคมเยอะมาก อนาคตของเราจึงอยู่ที่ว่าความชอบธรรมอันนี้จะมาจากความยอมรับของประชาชนจำนวนมาก จนกระทั่งผู้นำกลุ่มการเมือง สถาบันต่าง ๆ ไม่สามารถใช้อำนาจเหนือระบบการเมืองเข้ามาแทรกแซงจัดการได้

มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมทางการเมืองขึ้นสำหรับอนาคตของประเทศไทย การดำรงอยู่ของการเมืองที่สถาบันนอกระบบราชการเข้ามามีบทบาทกับการเมืองมากขึ้น การปกครองของไทยมาจากชนชั้นนำกลุ่มน้อยโดยตลอดตั้งแต่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ยาวนาน คือ ชนชั้นนำมาโดยช่องทางพิเศษ วิธีอธิบายแบบโบราณคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองของระบบการเมืองสยามคือผู้มีบุญญาบารมี ซึ่งเป็นโลกทัศน์แบบพุทธที่ครอบงำให้การศึกษาทำความเข้าใจสังคมไปไม่ถึงความจริง ควบคู่ไปกับความเชื่อว่ากษัตริย์ผู้มีบุญมี “หน้าที่” ที่จะต้องปกครอง จรรโลงความถูกต้องดีงามของโลก ต่อมาเมื่อโลกเปลี่ยนไปสู่แนวความคิดแบบสมัยใหม่ แนวคิดเรื่องสิทธิของประชาชนก็เข้ามาแทนที่ เกิดการลดระดับผู้มีบุญลงมาเป็นผู้มีความสามารถมีคุณสมบัติที่เป็นที่ยอมรับกันได้ ซึ่งปัจจุบันก็คือระบอบประชาธิปไตย ที่อิงกับคนส่วนใหญ่ ตอบสนองต่อคนส่วนใหญ่และประชาธิปไตยเองก็อิงกับเศรษฐศาสตร์การเมืองทุนนิยมที่ยึดตลาดหรือคนส่วนใหญ่เป็นหลัก เพราะฉะนั้นจะมีอะไรที่ดีกว่าการเลือกตั้ง

เราโยนความผิดให้ชาวบ้านมาตลอดว่าชาวบ้านโง่ การศึกษาต่ำ ทำให้การเลือกตั้งไม่ดี ในอเมริกาคนที่ไปออกเสียงเลือกตั้งก็ไม่ได้รู้มากไปกว่าชาวบ้านในเมืองไทย เผลอ ๆ ความตื่นตัว ความเข้าใจ การติดตามประเด็นทางการเมืองแบบเอาเรื่องเอาราวอาจจะน้อยกว่าคนไทยเสียอีก เพียงแต่ว่านักการเมืองเขาอยู่ในระบบ ระบบมันควบคุม คนที่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้งเพื่อที่จะเอาคนที่ระบบบอกว่าไม่มีคุณภาพแล้วออกไปเท่านั้นเอง ส.ส.อเมริกาเขาเลือกทุกสองปี ซึ่งเร็วมาก ในอเมริกาทุกสองปีจึงมีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นใครซื้อเสียงได้ก็ซื้อไป ใครจะมีเงินถุงเงินถังซื้อได้ทุกสองปี ไม่มีทาง มันจึงไม่เกี่ยวกับความโง่ความฉลาดของชาวบ้าน แต่สำคัญอยู่ที่ระบบมันเดิน ระบบมันจัดการของมันเอง จึงไม่อยู่ที่ความเก่งกาจความยิ่งใหญ่ ความซื่อสัตย์ของ ส.ส.

หลังการเลือกตั้งเชื่อว่าจะมีความขัดแย้งแน่ แต่เมื่อดูจากพัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมา เชื่อว่าเราสามารถผลักดันให้ไปสู่ทางบวกได้ คือสร้างให้เกิดระบบที่ชอบธรรมที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มไปสู่เป้าหมายนั้น

พลังที่มาขับเคลื่อนประชาธิปไตยไม่ใช่พลังอัศวินม้าขาว อย่าฝากความหวังไว้กับสถาบันเดียวหรือคนเดียว ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ไร้สาระที่สุด ไม่มีทาง มันเป็นไปไม่ได้ ที่ประชาธิปไตยเติบโตอยู่ได้มา เพราะมันขยายส่งทอดต่อไปจนถึงขั้นที่เรียกว่าไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือสถาบันใดที่จะมาหยุดยั้งทำลายมันได้

การเคลื่อนไหวของกลุ่มสีเหลืองสีแดง มีคุณูปการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้เป็นสาธารณะ มีคนหลายกลุ่มหลายความเชื่อหลายอุดมคติเข้าไปร่วมตั้งแต่ซ้ายไปจนถึงขวาสุดขั้ว เช่น แนวคิดโหวตโน ผมคิดว่ามันย้อนกลับไปยังยุคพรีโมเดิร์น คือ ก่อนรัชกาลที่ 5 เสียอีก

รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา
วัฒนธรรมทางการเมืองเรื่องการต่อสู้เพื่อขยายอำนาจจากชนชั้นนำมาสู่ประชาชน เปรียบเทียบระหว่างไทยกับอเมริกามันต่างกัน อเมริกาผ่านการต่อสู้มาเป็นร้อย ๆ ปี แต่ของเราเป็นประชาธิปไตยจากบนฟ้ามา ความรู้สึกของการต่อสู้จึงไม่เหมือนกัน เราไม่คิดว่าระบบที่เขาต่อสู้ให้ได้มามันสำคัญขนาดไหน

ในเรื่องการเมืองหลังการเลือกตั้ง เมื่อย้อนมาดูประเด็นทางวัฒนธรรมก็เห็นแต่ปัญหา เอาแค่ระดับการยอมรับการเลือกตั้งก็เป็นปัญหาแล้ว แน่นอนว่าการเลือกตั้งมันมีจุดโหว่เยอะ แต่ ณ วันนี้ต้องยอมรับว่ามันเป็นกลไกที่เลวน้อยที่สุด เหมือนกับระบอบประชาธิปไตย ที่อาจไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุดแต่มันเลวน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการมีอำนาจของกลุ่มคนเล็ก ๆ มาปกครองเหมือนเผด็จการทหารสมัยก่อน

หลังการเลือกตั้ง เห็นปัญหาที่ตามมาก็คือ มันมีอาการป่วยทางวัฒนธรรมในสังคมไทยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้ง เราจะเห็นได้ว่าการมองเรื่องการเลือกตั้งระหว่างคนระดับรากหญ้ากับคนที่กุมอำนาจในสังคม รวมถึงคนชั้นกลางที่มีการศึกษาด้วยจะแตกต่างกัน ชนชั้นนำทางการเมืองจะมองว่าเลือกตั้งเป็นเรื่องของคนที่ไม่ค่อยมีการศึกษา พวกนี้ถูกซื้อเสียง ถูกหลอกง่าย เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งคือเรื่องของคนถูกนักการเมืองหลอก แต่มุมของคนข้างล่าง การเลือกตั้งคือจุดที่เขาจะได้แสดงสิทธิและเสียงของตัวเองเพื่อตัดสินว่าใครจะเป็นผู้ปกครอง จุดนี้จะสร้างปัญหาทางวัฒนธรรมอย่างมาก เพราะหลังการเลือกตั้งแล้วคนกลุ่มหนึ่งก็จะคิดว่า การเลือกตั้งเป็นแค่องค์ประกอบอย่างหนึ่งของการเมืองไทย เครือข่ายของอำนาจที่มีอยู่ในการเมืองไทยสามารถเข้าไปจัดการกับการเลือกตั้งได้ ในขณะที่คนอีกมุมหนึ่งบอกว่านี่คือชะตาชีวิตของประเทศที่ต้องให้คนส่วนใหญ่เป็นคนตัดสิน ไม่ใช่ให้คนส่วนน้อยตัดสิน

ปัญหาที่ตามมาคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจและไม่ยอมรับผลการตัดสินจากการเลือกตั้ง จะเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อแนวคิดนี้ยังมีอยู่หลังการเลือกตั้ง ฝ่ายที่กุมอำนาจอยู่ก็จะไม่แฮปปี้ และเมื่อมองในเรื่องของสองสีที่แตกต่างกันเกี่ยวโยงกับการเลือกตั้ง ที่อาจจะปลุกม็อบขึ้นมาคัดค้านกัน การระดมคนกันขึ้นมาเช่นนี้มีแต่จะทำให้ตกลงกันไม่ได้ จะโค่นล้มกันไปมา ประเทศจะไม่ไปไหน รัฐประหาร 49 เป็นจุดที่ทำให้เกิดวังวนนี้ขึ้นมา ถ้ายังอยู่ในวังวนที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งต่อไป ประเทศไทยก็ไปลำบาก

ตราบใดที่ยังมองว่าคนกลุ่มหนึ่งเหนือกว่า ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งถึงแม้จะมีเสียงส่วนใหญ่จากการเลือกตั้งหนุนอยู่เป็นคนที่ด้อยกว่า ดูเหมือนว่าคนที่มีการศึกษาน้อยที่ยอมรับในการเลือกตั้งมีจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตยมากกว่าหรือเปล่า และอาจจะไปถึงอีกขั้นหนึ่งก็คือ มีความพยายามทำลายความชอบธรรมของการเลือกตั้งจากคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมันสอดคล้องไปด้วยกันกับอาการป่วยทางวัฒนธรรม ผมยืนยันว่าการปฏิเสธการเลือกตั้งคือการปฏิเสธกระบวนการและระบอบที่เลวน้อยที่สุด

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปฏิบัติการ OPERACY ฝรั่งสร้างผู้นำไทยในแดนเขมร

Posted: 02 Jun 2011 10:05 AM PDT

 กลุ่มเยาวชนชายแดนใต้และกลุ่มประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้ง ลุยแดนเขมร เข้าร่วมอบรม OPERACY ในโครงการ SAPAN ครูฝรั่งจับฝึกสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำ ฝึกมองปัญหานอกกรอบเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

บุกเขมร - ตัวแทนเยาวชนและคนทำงานภาคประชาสังคมจากประเทศไทยทั้ง 17 คน 
เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรOPERACY ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ถ่ายรูปหมู่


เมื่อประมวลภาพย้อนหลังเหตุรุนแรง ณ ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะนานกว่า 7 ปีแล้ว แต่ภาพแห่งการทำลายล้าง และผู้คนบาดเจ็บล้มตาย ดูทีท่าว่าสถิติเหล่านั้นจะไม่ลดลง และมักมีคำถามตามหลังมาอีกมากมายว่า ใครทำ? ทำเพื่ออะไร? แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป? 

แต่ในภาวะความขัดแย้งเช่นนี้ ก็มักจะแยกแยะไม่ออกว่าใครเป็นใคร ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง ใครอยู่เบื้องหลัง แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม คือประชาชนธรรมดา แม้แต่ข้าราชการของรัฐที่ต้องทำหน้าที่แก้ปัญหา ก็ยังเป็นผู้ได้รับผลกระทบเหมือนกัน

เมื่อทุกคนคือ “...ผู้ที่อยู่ในวงจรของปัญหา …” ทุกคนจึงพยายามมองหาทางแก้ปัญหา แต่ดูเหมือนว่า แต่ละคนก็มีวิธีการแก้ปัญหาที่เสมือนเป็นกรอบบางอย่างครอบอยู่ บางที่การออกนอกกรอบ แล้วมองย้อนกลับไปในกรอบของแต่ละคน ก็อาจทำให้มองเห็นวงจรของปัญหาที่มันเชื่อมร้อยปมเงื่อนต่างๆ เอาไว้ ก็คงจะช่วยแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

นั่นคือคำอธิบายวัตถุประสงค์ของ คือ โครงการ SAPAN หรือ โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) เพื่อนำไปสู่ฉันทามติ ดำเนินการโดย DAI (Thailand) Ltd. ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษา มีเป้าหมายเพื่อเสริมและสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

โครงการนี้ได้รับงบสนับสนุนจากองค์กร USAID หรือกองทุนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development) ซึ่งส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายการอบรม คือเยาวชนและคนทำงานขับเคลื่อนประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เป็นการจัดการอบรม “OPERACY” ณ เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 15 – 28 พฤษภาคม 2554 เพื่อสร้างคนที่จะมามองปัญหาจากนอกวงจร และไม่ติดกับดักของปัญหานั้น

โดยเป็นการอบรมพร้อมกับคณะทำงานด้านประชาสังคม บุคคลากรในมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศไทย ทั้งหมด 17 คน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วม และเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างพื้นที่ เพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ที่มีประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ตามเจตนารมณ์ของโครงการสะพานของ DAI นั้นเอง

OPERACY โดยศัพท์แล้วไม่มีความหมายในพจนานุกรม มีแต่มีคำขยายความที่เข้าใจง่าย คือ การสร้างให้คนตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองและพลิกจากคนที่ไร้เป้าหมายสู่ผู้นำที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

ผู้ดำเนินกระบวนการอบรมเข้มในสองอาทิตย์นี้คือ เจ้าตำรับหลักสูตร OPERACY นั้นก็คือ CHRISTOPHER LEE ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอินโดนีเซีย มีผู้ผ่านการอบรมของเขามาแล้วเกือบสองแสนคน จากประเทศ คืออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรขององค์กรที่มีชื่อว่า HUMAN AND EARTH DEVELOPMENT CENTER หรือ HEDC

HEDC ทำงานบนเป้าหมายหลักคือ สร้างผู้นำแห่งอนาคต BUILDING LEADERSHIP FOR THE FUTURE

CHRISTOPHER LEE หรือที่ผู้เข้าร่วมอบรม เรียกว่า Teacher Christ มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ภัยพิบัติ และภาวะสงคราม ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการทำงานเดิมไปแบบลูกจ้างทำงานให้แหล่งทุนที่มีโปรเจ็กต์ในพื้นที่เหล่านั้นในรูปแบบการพัฒนาทั้ง UNDP (united nation development program) AUSAID ประเทศออสเตรเลีย และอีกหลากหลายโครงการของแหล่งทุนในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา

Teacher Christ ได้เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น ทำให้มองเห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า “ทรัพยากรสำคัญที่จะทำให้ประเทศที่ประสบปัญหาเหล่านั้น ฟื้นขึ้นมาคือคนในพื้นที่นั้นต้องมีส่วนร่วม” teacher Christ กล่าวย้ำ

แต่คำถามที่ท้าทายการอบรมเหล่านี้คือ เหยื่อที่ถูกกระทำจะลุกขึ้นแก้ปัญหาเหล่านั้นได้...เป็นไปได้อย่างไร

ที่ผ่านมา HEDC ได้จัดการอบรมให้กับคนเกือบสองแสนคน จากหลากหลายองค์กร ในสามประเทศคืออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว และกัมพูชา

ผู้ที่เข้าร่วมอบรมที่ผ่านมาของHEDCนั้น มีหลากหลายอาชีพและหลากหลายอายุ ที่น่าสนใจคือ ผู้เข้าร่วมไม่ใช่กลุ่มคนที่มีปัญหา แต่เป็น นักพัฒนาชุมชน เยาวชน คนรากหญ้า องค์กรที่มีชื่อเสียง แม้กระทั่งข้าราชการระดับสูงที่เป็นผู้ผ่านการอบรมให้การยอมรับ และให้ความสนใจจะขยายการอบรมในลักษณะนี้ ไปสู่กลุ่มคนระดับล่างลงไปจากองค์ของตัวเองอีกด้วย เพื่อการยกระดับความคิดของพนักงานในองค์กร และจากสิ่งนั้นจะสามารถทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากเนื้อหาของ OPERACY แล้ว การเข้าอบรมครั้งนี้ ยังได้พบเรื่องราวที่น่าสนใจกว่า ดังเช่นหลายกรณีตัวอย่างที่ถูกหยิบยกขึ้นมา

“ทุกอย่างที่เราสอนคือสิ่งที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว และเป็นสิ่งที่อยู่กับทุกคน แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือ เราสอนให้คนเหล่านั้น รู้จักศักยภาพของตัวเอง พลังของความคิด รู้จักปรับเปลี่ยนเป้าหมายของตัวเองให้ชัด เชื่อมั่นในมัน”

“แต่นั้นยังไม่เพียงพอ เมื่อทราบแล้ว ต้องนำไปใช้ให้เป็นด้วย ซึ่งนั่นเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ คือรู้แต่ไม่ทำ เราสร้างให้คนที่ผ่านการอบรมกับเราเชื่อมั่น แล้วเขาจะเปลี่ยนตัวเองไปสู่ความสำเร็จอย่างน่าประหลาดใจ” อาจารย์คริสต์กล่าว

คนที่ผ่านการ OPERACY ในครั้งนี้ มีความพิเศษกว่าทุกครั้งคือ พวกเขากลับไปพร้อมเทคนิคกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปต่อยอดกกับผู้อื่นในประเทศไทย โดยเจตนารมณ์ของโครงการสะพาน ที่ตั้งใจให้คนกลุ่มนี้ เป็นคนที่สร้างความเป็นผู้นำให้คนในประเทศ โดยการ OPERACY

ทั้งนี้เพื่อการลดปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น เรื่องภาษาที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซีย จึงเป็นสิ่งที่ต้องลดให้เหลือน้อยที่สุด จึงกลายเป็นนำคนในไทยออกมารับองค์ความรู้ เพื่อขยายต่อในประเทศ และคุณภาพระดับปัจเจกของคนในประเทศจะส่งผลถึงคุณภาพโดยรวมของประเทศไทยเอง

แต่ละประเทศที่อาจารย์เคยให้การอบรม มีปัญหาที่ต่างกันไป บริบทของแต่ละประเทศต่างกัน ทำให้การสร้างคนในพื้นที่นั้น ต่างไปด้วย อย่างประสบการณ์การฟื้นฟูจิตใจของคนที่ตกอยู่ในภวังค์กับฝันร้ายจากสึนามิ อย่างเขตปกครองพิเศษแบบอิสลามของอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประสบภัยสึนามิ เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า คนเหล่านั้นต้องเจอกับความหดหู่สุดขีด เพราะบางคนไม่เหลืออะไรเลยในชีวิต บางคนคิดฆ่าตัวตาย แม้จะมีความช่วยเหลือจากหลายประเทศ ก็ยังไม่สามารถเยียวยาคนกลุ่มนั้นได้ ในการให้ OPERACY แก่พวกเขา ก็ต้องมีการตระหนักเรื่องนี้เป็นพิเศษ

OPERACY พิสูจน์ให้คนอาเจะห์เห็นว่า ชะตากรรมไม่อาจกำหนดได้ก็จริง แต่ชีวิตที่เหลือต้องดำเนินต่อไป คนที่ผ่าน OPERACY ที่ฟื้นจากความรู้สึก ที่ฆ่าตัวเองมานานหลายเดือน สู่คนที่พร้อมจะเริ่มเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เพื่อชีวิตที่เหลือที่ดีกว่าเดิม

“เปาะฮุไซนี เป็นตัวอย่างของกลุ่มคนที่ฟื้นฟูจิตใจขึ้นมาได้”

อาจารย์บอกว่า หลังจากที่เข้ารับการอบรมไม่นาน ได้ข่าวอีกทีชีวิตเปาะฮูไสนีเปลี่ยนไป เขาเริ่มเก็บซากไม้ที่คลื่นยักษ์พัดพามา สร้างร้านขายของชำ

“ตอนนั้นคนรอบข้างหัวเราะเยาะใส่เขา ไม่มีใครคิดว่า จากสิ่งที่เขาเริ่มต้นในวันนั้นกับซากไม้และความเชื่อมั่นว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อล้มเหลว แต่เกิดมาเพื่อประสบความสำเร็จ วันนี้ เขามีมินิมาร์ทครบวงจรเพียงระยะเวลาอันสั้น”

อาจารย์คริสต์ยังให้ความเห็นด้วยว่า เยาวชนในพื้นที่ความขัดแย้ง ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะวัยแห่งการเรียนรู้ พวกเขาจะจดจำภาพความรุนแรงต่างๆ ไว้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อจิตใจได้ง่าย โดยจะทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่กระด้าง มีจิตใจด้านชา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่พึ่งประสงค์ตามมา

อาจารย์คริสต์จึงแนะเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่เข้าการอบรมในครั้งนี้ว่า ต้องนำกระบวนการOPERACY ไปขยายต่อในพื้นที่ แม้ว่ามันอาจจะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมในวันนี้ได้ไม่มากก็ตาม แต่ในอนาคตเป็นของเด็กในยุคนี้ อาจเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น

“เราต้องเรียนรู้ความผิดพลาดจากผู้ใหญ่ในวันนี้ แล้วสร้างคนแห่งอนาคตไม่ให้ตามรอยเดิม” อาจารย์คริสต์ บอก

การอบรมครั้งนี้ YOUTH For DEVELOPMENT ASSOCIATION หรือ สมาคมเยาวชนเพื่อการพัฒนา เป็นแกนกลางในการรวมตัวกันของเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยในครั้งนี้มีนายตูแวดานียา ตูแวแมแง ประธานสมาคม ที่มีบทบาทในการทำงานด้านความคิดกับเยาวชนในพื้นที่ เป็นผู้ประสานงานหลัก โดยมีความคิดว่า การอบรมในลักษณะนี้จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของเยาวชนได้

นายตูแวดานียา บอกว่า “การอบรมในลักษณะนี้ ทำให้เราได้ทบทวนการทำงานทั้งตัวเองและองค์กรที่มีบทบาทในพื้นที่ และคิดต่อว่าจะขยายมันสู่ผู้อื่นอย่างไรโดยไม่กระทบต่อบริบทหลักของพื้นที่ เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะสร้างคนเพื่อแก้ปัญหา

ในอนาคต SAPAN เตรียมที่นำคนกลุ่มนี้ไปแพร่ขยายแนวคิดนี้ต่อ เพราะเชื่อว่าการสร้างความเป็นผู้นำในระดับปัจเจกได้ จะส่งผลต่อส่วนรวมของประเทศไทย

“การที่จะแก้ปัญหาในสังคม โดยการออกมายืนนอกวงจรของปัญหา แล้วมองย้อนกลับไปให้เห็นภาพรวมของปัญหาและค่อยหาทางแก้ คือ วิธีการหนึ่งที่เยาวชนเหล่านี้กำลังเรียนรู้อยู่ โดยเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะสามารถแก้ปัญหาได้”

เยาวชนกับการ OPERACY เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อสร้างเยาวชนให้รู้จักตัวเองและมองเห็นความเชื่อมโยงของตัวเองกับปัญหาต่างๆ จึงเชื่อว่า สิ่งที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่กับความขัดแย้งนั้น จะสามารถลดลงได้ด้วยมือของพวกเขาเองในอนาคต

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

NLD จัดประชุมเยาวชนครั้งแรกหลังจากที่ซูจีได้รับการปล่อยตัว

Posted: 02 Jun 2011 09:41 AM PDT

สมาชิกของพรรคเอ็นแอลดีจากทั่วประเทศได้เข้าร่วมประชุมที่สำนักงานใหญ่ของพรรคเอ็นแอลดีเมื่อเร็วๆนี้ นับเป็นการประชุมและรวมตัวกันครั้งแรกของกลุ่มเยาวชน นับตั้งแต่นางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดีได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

ตามรายงานระบุว่า มีตัวแทนของคนหนุ่มสาวซึ่งเป็นสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีกว่า 100 คนเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ด้านนายโอนข่าย โฆษกของพรรคเอ็นแอลดีเปิดเผยว่า นางซูจีเป็นผู้เรียกร้องให้มีการประชุมเพื่อให้เยาวชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ด้านผิ่วผิ่วติน ผู้นำเยาวชนพรรคเอ็นแอลดีและที่รู้จักกันดีในฐานะนักเคลื่อนไหวที่ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องที่ดีที่คนหนุ่มสาวจะได้มีโอกาสรับรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆของประเทศ

สถานการณ์ในแต่ละรัฐและในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เยาวชนซึ่งเป็นสมาชิกพรรคเอ็นแลดีจำนวนมากไม่เพียงแต่ทำงานในด้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และการที่ให้เยาวชนมาอยู่รวมกันเช่นนี้ จะทำให้เราสามารถหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคต” ผิ่วผิ่วตินกล่าว

ผิ่วผิ่วตินยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่พบว่าเป็นปัญหากับกลุ่มเยาวชนสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ การถูกกดดันและถูกจำกัดในการเคลื่อนไหวจากทางรัฐบาล ทั้งนี้ ตัวแทนจากกลุ่มเยาชนเตรียมนำเรื่องนี้มาหารือในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางในการทำงานภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้

มีรายงานว่า พรรคเอ็นแอลดียังมีแผนที่จะจัดอบรมในด้านการเมืองให้กับตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มเยาวชนและองค์กรผู้หญิงในระหว่างวันที่ 20 ถึง 28 ในเดือนนี้ด้วย โดยจะมีนักวิชาการพม่าอย่าง ดร.จ่อ ยิน หล่าย และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยจากฮ่องกงและสิงคโปร์มาให้การอบรมด้วย

(Irrawaddy 1 มิถุนายน 54)

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แพทย์พม่าเรียกร้องให้รัฐบังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่อย่างจริงจัง

Posted: 02 Jun 2011 09:33 AM PDT

เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา สมาคมแพทย์พม่า (Myanmar Doctors’ Association -MDA) ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าบังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่อย่างจริงจัง

สมาคมแพทย์พม่าเปิดเผยว่า ทุกวันนี้ประชาชนในพม่าไม่เคารพกฎหมายการห้ามสูบบุหรี่ เช่นยังคงสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะที่ห้ามสูบบุหรี่ เช่นเดียวกับร้านค้าทั่วไปที่ยังขายบุหรี่เป็นมวนหรือแบ่งซองขาย ทั้งที่เป็นข้อห้าม โดยเปิดเผยเพิ่มเติมว่า มีผู้สูบบุหรี่ซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างน้อยราว 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูบบุหรี่ทั้งหมดในพม่า ซึ่งกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ยังพบว่ามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมอยู่ด้วย

สมาคมแพทย์พม่าเปิดเผยว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง แต่ประชาชนในพม่าส่วนใหญ่ก็ยังไม่ตระหนักถึงผลร้ายของการสูบบุหรี่และไม่ฟังคำเตือนของแพทย์  “พ่อตาและพี่เขยของผมต่างป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปอดและมะเร็งที่ลิ้นจากการสูบบุหรี่ แต่พวกเขาก็ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้” แพทย์คนหนึ่งกล่าว

ด้านนายแพทย์ขิ่นโซวินกล่าวว่า รัฐบาลพม่าควรบังคับใช้กฎหมายการห้ามสูบบุหรี่อย่างจริงจัง และควรปรับขึ้นภาษีบุหรี่ รวมไปถึงการห้ามนำเข้าบุหรี่ที่มีราคาถูกจากชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ นายแพทย์ขิ่นโซวินยังเสนอแนะให้รัฐบาลหันมาให้ความรู้เกี่ยวกับผลร้ายของการสูบบุหรี่ตามสื่อต่างๆให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนองค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่แล้วกว่า 1 ร้อยล้านคนทั่วโลก

(Mizzima 1 มิถุนายน 2554)

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: สหภาพแรงงานไทย-เทศ รณรงค์รับ 3 พนง.เคเอฟซีที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงาน

Posted: 02 Jun 2011 09:14 AM PDT

วันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เป็นเจ้าของ ผู้บริหารและ ผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน KFC และ พิซซ่าฮัท ในประเทศไทย เพื่อแสดงความกังวลใจต่อสถานการณ์ปัญหาแรงงานสัมพันธ์และการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัทฯ โดยเฉพาะการเลิกจ้างคนงานซึ่งเป็นผู้จัดการเขต 3 คน หลังยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอปรับปรุงสภาพการจ้างงาน โดยส่งจดหมายผ่านทาง ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 1150 ของ บริษัท ยัมฯ

ขณะที่ศูนย์ฯ ดังกล่าวได้ตอบจดหมายทางอีเมล ยืนยันว่าการเลิกจ้างอดีตผู้จัดการเขตทั้งสามได้ปฎิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องทั้งทางด้านกฎหมาย และจริยธรรม

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 พ.ค 54 ที่ผ่านมาได้มีการยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท ยัมฯ ของ 141 นักวิชาการ ศิลปิน นักสหภาพแรงงานและประชาชน ผ่านทาง ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 1150 ของ บ.ยัมฯ (http://www.yum.co.th/contact.php) ปัจจุบันได้มีผู้ร่วมลงชื่อทั้งในนามบุคคลและองค์กร รวมเป็น 197 คน แล้ว (ดูรายชื่อได้ที่ https://www.facebook.com/event.php?eid=215940275098002)

ขณะที่เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ไอยูเอฟ (Uniting Food, Farm and Hotel Workers World-Wide) ซึ่งเป็นสหพันธ์แรงงานระดับสากลในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม ร้านอาหาร ได้โพสต์ข่าวเพื่อรณรงค์ให้ผู้สนใจร่วมคลิกส่งหนังสือถึงผู้บริหารของยัมฯ เพื่อให้รับพนักงานเคเอฟซีทั้ง 3 คนที่ถูกเลิกจ้างอันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากการรวมตัวยื่นข้อเรียกร้อง โดยจะเป็นการส่งหนังสือถึงผู้บริหารยัมอินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้รับทั้งสามคนกลับเข้าทำงาน หยุดละเมิดและคุกคามผู้ที่สนับสนุนสหภาพฯ และเคารพสิทธิในการเจรจาต่อรอง

จดหมายแสดงความกังวลใจของกลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า

จดหมายตอบกลับทางอีเมลจากทาง “ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ 1150” ของยัมฯ

จาก TH-1150 csc-1150@yum.com
เรียนคุณ พรมมา

ทางบริษัท ยัม เรสเตอรองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ใคร่ขอชี้แจงถึงกรณีที่ท่านได้สอบถามและแสดงความกังวลใจต่อกรณีที่บริษัทได้เลิกจ้างอดีตผู้จัดการเขตทั้ง 3 ท่าน ซึ่งรายละเอียดทั้งหมด ท่านสามารถอ่านได้ที่ https://www.facebook.com/kfcth?sk=app_4949752878

บริษัทหวังว่าการชี้แจงของเราจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับท่าน

ขอแสดงความนับถือ
TH-1150 Web Ordering Support Team

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

BungarayaNews: ละครเร่ อนาชีด เพื่อผู้พิการ ความเข้าใจภายใต้สุนทรีภาพ

Posted: 02 Jun 2011 09:04 AM PDT

ผู้พิการที่คนปกติส่วนใหญ่มองเห็นแต่ความผิดปกติ และผิดแปลกไปจากคนธรรมดาทางด้านกายภาพ แต่กลับไม่ได้รับรู้และมองให้ลึกลงไปว่าเขาเหล่านั้นมีความสามารถอะไรบ้าง คนพิการไม่ค่อยจะได้รับความช่วยเหลือ หรือเหลียวแล หลายคนยังอาจจะเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อผู้พิการ อาจจะด้วยไม่มีเวทีหรือพื้นที่ในการที่จะให้คนที่ปกติและคนพิการมาพบปะพูดคุยกัน ซึ่งที่จริงแล้วผู้พิการก็เป็นสมาชิกภายในสังคม ชุมชน เฉกเช่นเราทุกคน

กลุ่มต้มยำ(การแสดง) และชมรมส่งเสริมและพัฒนาอนาชีด ได้ริเริ่ม และเล็งเห็นถึงการนำเอาการแสดงละครเวที และการนำเอาเพลงอนาชีดมาร้อยเรียง พร้อมทั้งแต่งบทละคร และบทเพลงอนาชีด เพื่อสื่อสารให้กลุ่มคนที่มีร่างกายปกติ ได้เข้าใจในความเป็นผู้พิการ และเป็นการให้กำลังใจ ไม่ว่าการใช้ชีวิตประจำวัน หรือสิ่งที่ต่างๆที่สามารถสร้างความเข้าใจผู้พิการได้ และเมื่อวันที่ 27 พ.ค. - 1 มิ.ย. 54 โครงการละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ได้เริ่มทำการอบรมให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องความพิการ และเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อละครเร่ และเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ

นายมาตูรีดี มะสาแม ผู้ประสานงานโครงการบทละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ได้กล่าวถึงแรงจูงใจแรกและสิ่งที่จุดประกายในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับผู้พิการว่า เดิมได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับละครอยู่แล้ว ต่อมามีเจ้าหน้าที่ในสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ ได้ติดต่อมาเพื่อให้เสนอโครงการเกี่ยวกับผู้พิการ จึงได้เสนอโครงการบทละครเร่เพื่อความเข้าใจผู้พิการ และโครงการบทเพลงอนาชีดเพื่อคนพิการ ต่อมาโครงการก็ไดรับการพิจารณา จึงได้เลือกนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางด้านการละคร ร่วมกับเด็กเยาวชนที่มีความสนใจทางด้านละคร

ส่วนของอนาชีดได้เชิญอาจารย์ผู้ที่แต่งเพลง และนักร้องอนาชีด ทางกลุ่มมีการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้พิการ ได้เชิญวิทยากรที่ทำงานสร้างความเข้าใจเรื่องผู้พิการมาให้ความรู้

ทางด้านกระบวนการมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อนำประเด็นที่ได้จากการพูดคุย ถึงความเป็นผู้พิการให้เข้าใจโดยวิทยากรผู้พิการ เพื่อนำผันไปเป็นบทละครและบทเพลงอนาชีด อาจจะยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถสร้างความเข้าใจแก่คนฟังปกติมาน้อยแค่ไหน ผู้ฟังและผู้ชมจะเป็นคนที่จะตัดสินเองว่าจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน

มาตูรีดี กล่าวถึงอุปสรรคในการจัดกิจกรรมนี้ว่า เวทีการสร้างความเข้าใจนี้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคไม่ได้เป็นความพิการไม่มีแขน ไม่มีขา แต่กลับเป็นคนปกติที่เราได้เชิญไม่ค่อยมีเวลาที่จะเข้าร่วมการอบรมเบื้องต้น ส่วนตัวมีข้อมูลทางด้านคนพิการน้อยมาก ส่วนผู้ที่พิการเนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เราอาจจะได้เชิญให้มาเข้าร่วมในงานของการแสดงละครและเพลงอนาชีดอีกประมาณ 1 เดือน

นายอับดุลเล๊าะ สนิโช (ฟาน) นักร้องนำวงอนาซีด “ฟาร์ฮาน” Farhan ได้เล่าถึงการได้มาเข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ว่า ผู้จัดทำโครงการมองเห็นถึงความสำคัญของคนพิการ และได้ชวนให้เข้าร่วมโครงการละครเร่เพื่อคนพิการ และบทเพลงอนาซีดเพื่อคนพิการ ทำให้ตนเองสนใจ แล้วบทเพลงอนาซีดที่พูดถึงกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่มีโดยเฉพาะ ซึ่งคนพิการเองในแง่ของศาสนาอิสลามแล้วก็มีความเท่าเทียมกันกับคนปกติทั่วไป แค่ร่างกายของเขาเท่านั้นที่ไม่ปกติ แต่หน้าที่ของเขาก็ยังคงต้องจงรักพักดีต่ออัลลอฮ และโครงการนี้เราจะมาแต่งเพลงอนาซีดให้แก่คนพิการโดยเฉพาะ

เป็นเรื่องที่ยากหน่อยที่จะมาแต่งเพลงเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมอบรมให้รับทราบถึงชีวิตจริงของคนกลุ่มนี้ การดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร อารมณ์ของเขาเป็นอย่างไร เราต้องมาหาจุดไคลแมกซ์ของการใช้ชีวิตของคนพิการให้เข้าลึกมากที่สุด

กิจกรรมในวันแรกของการอบรมได้แสดงบทบาทของผู้พิการทางสายตา ทำให้ทราบถึงความยากลำบาก เวลาที่จะออกไปไหนมาไหนเกิดความระแวงกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบข้าง อินชาอัลลอฮ(ความประสงค์ของอัลลอฮ) หากว่าจบโครงการเราสามารรับรู้วิธีการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้พิการ ในการถ่ายทอดเนื้อหาบทเพลงอนาซีดคนพิการ

ฟาน กล่าวถึงอุปสรรคในการแต่งเพลงเนื้อหาที่เกี่ยวกับคนพิการว่า การจะเล่าให้คนปกติได้รับรู้ถึงเนื้อหาผู้พิการการใช้ภาษา เราต้องพยายามหาคำไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษามลายู จะหาศัพท์ที่ฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ทำนองเข้าถึงอารมณ์ เนื้อหาเพลงที่กำลังแต่งอยู่คือ Buat Mu Teman หมายถึง “เพื่อเธอ เพื่อน(คนพิการ)” จะบอกให้เขามีความอดทน และพยายาม เขาก็คือพี่น้องของเรา

นางสาวณธกมล รุ่งทิพ (พี่เอิร์ท) ผู้จัดการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ กรุงเทพฯ วิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้พิการในพื้นที่ว่า คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเข้าใจในความเป็นผู้พิการอยู่บ้าง แต่มีโอกาสในการพบปะกับผู้พิการ จากการสอบถามเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เห็นได้จากในการใช้ชีวิตแต่ละวันจะเห็นคนพิการออกมาไปไหนมาไหนมากนัก โดยส่วนตัวแล้วจากการสัมผัสกับเพื่อนๆในพื้นที่ มีความปรารถนาดีต่อคนพิการ แต่อาจจะยังไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิด

เนื้อหาที่พูดคุย มีจุดประสงค์ในการทำความเข้าใจในความพิการ ซึ่งเดิมมีคนเข้าใจว่าปัญหามาจากร่างกาย มองไม่เห็น เดินไม่ได้ ไม่ได้ยิน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราไม่สามารถทำกิจวัตรได้อย่างปกติ ทำงานก็ทำไม่ได้ คนสมัยก่อนทุกๆที่จะคิดอย่างนั้น คิดว่าหากแก้ไขในร่างกายได้ทุกอย่างก็จะง่าย แต่ต่อมาจริงๆแล้วปัญหาของคนที่มองไม่เห็นทำให้ไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่เพราะว่าเขาอ่านไม่ออก หรือมองไม่เห็น เขาสามารถที่จะใช้หูฟังแทน สิ่งที่พยายามสื่อสารคือถ้าเรายอมรับในสิ่งที่ไม่เหมือนกันแล้วออกแบบให้แต่ละคนใช้วิธีการของตนเองได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาเรื่องความพิการหรือเสียเปรียบก็จะน้องลง

พี่เอิร์ท กล่าวเกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการว่า ตามกฎหมายไทยท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน ถือว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ก้าวหน้า ผู้แทนผู้พิการไทยก็ส่วนในการร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งเป็นอนุสัญญาระดับนานาชาติ และกฎหมายไทย พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2550  และพ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมมีกลไกในการร้องเรียน เริ่มมีการสื่อสารให้ความเข้าใจ และต้องมีการช่วยนำไปปฏิบัติใช้ให้เกิดประโยชน์

ส่วนสิทธิคนพิการในพื้นที่ 3 จังหวัด เพื่อนที่พิการเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง ทางด้านสิทธิคงจะไม่มีข้อแตกต่างเนื่องเป็นกฎหมายระดับประเทศ อยู่ที่ว่าความแตกต่างของสถานการณ์ในพื้นที่ไม่เหมือนกัน อย่างสิทธิคนพิการชาวเขาทางเหนือเขามีสิทธิแต่ใช้สิทธิอย่างไม่เต็มที่ เพราะว่าด้วยสภาพแวดล้อมยังมีหลายอย่างที่ยังไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญต่อผู้พิการทุกคนมีคุณค่า ในความเป็นมนุษย์ และเขาต้องรู้จักสิทธิของตัวเอง และสังคมต้องเรียนรู้สิทธิของผู้พิการด้วย

สิทธิของเพื่อนๆ ในจังหวัดชายแดนใต้ มีสิทธิเพิ่มขึ้นในการสร้างงาน และโรงงานใดที่จ้างงานคนจำนวน 100 คน ต้องมีการจ้างคนพิการทำงาน 1 คน ในประเด็นของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เมื่อเรานึกถึงพื้นที่แล้วสิ่งแรกที่เรานึกถึงประเด็นความรุนแรงทำให้เราลืมในอีกหลายๆประเด็น อาจจะเป็นผลที่ทำให้สิทธิเพื่อนๆคนพิการไม่ชัดเจน

ควรมีการใช้สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในโรงเรียนในครอบครัว เนื่องจากการเรียนรู้จากสื่อ และอินเตอร์เน็ตมีอิทธิผลมากขึ้น ถ้าสามารถได้บอกกล่าวเกี่ยวกับผู้พิการว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย แต่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หากว่าจะมีสร้างอาคารหรือตึกควรนึกถึงผู้สูงอายุ คนพิการ คนตาบอก มีผู้หญิงท้อง ถ้าเราทำอะไรแล้วเปิดใจออกเพื่อคนหลายๆคนทำให้เราอยู่ร่วมกันง่ายๆขึ้น และโครงการนี้จะเป็นการสร้างความเข้าใจในคนพิการมากขึ้น เชื่อว่าจะต้องมีการทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จากการฟังเนื้อหาของบทเพลงอนาซีดซึ่งเป็นเพลงที่มีเจตนาที่ดี เพลงและละครเร่ เป็นสื่อที่ตรงกับผู้รับชมรับฟัง ให้ข้อความ ให้สารในมุมมองที่ดีต่อเพื่อนบุคคลเหล่านี้ พี่เอิร์ท ปิดท้ายด้วยประเด็นการสร้างความเข้าใจเข้าใจในคนพิการมากขึ้น

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักกิจกรรมมาเลย์ผิดหมิ่นประมาท ยอมทวีตขอโทษ 100 ครั้ง

Posted: 02 Jun 2011 07:35 AM PDT

ศาลมาเลเซียมีคำสั่งหลังทำข้อตกลงระงับคดีให้ ฟามี ฟัดซิล (Fahmi Fadzil) นักกิจกรรมทางสังคมชาวมาเลเซีย ทวีตข้อความขอโทษบริษัทบลูอิงค์มีเดีย 100 ครั้ง จากกรณีที่เขาทวีตข้อความเมื่อเดือนมกราคมว่า เพื่อนคนหนึ่งซึ่งตั้งครรภ์ถูกนายจ้างซึ่งคือนิตยสาร Female ดำเนินการโดย บ.บลูอิงค์ ปฏิบัติกับเธออย่างไม่เหมาะสม

แม้ว่าฟามีได้ทวีตข้อความขอโทษ หลังทวีตข้อกล่าวหาดังกล่าวเพียงไม่กี่ชั่วโมงแล้ว แต่ฝ่ายกฎหมายของบริษัทได้ส่งหนังสือเรียกค่าเสียหายจำนวนหนึ่งรวมถึงให้ลงโฆษณาขอโทษในหนังสือพิมพ์หลักๆ ด้วย

ล่าสุด สัปดาห์นี้ ฟามีได้ยอมทำข้อตกลงระงับคดี โดยเขาต้องทวีตข้อความ "ผมทำให้บริษัทบลูอิงค์มีเดียและนิตยสาร Female เสียชื่อเสียง ข้อความที่ผมทวีตเกี่ยวกับนโยบายแรงงานสัมพันธ์ของบริษัทไม่เป็นความจริง ผมขอถอนคำพูดและขออภัยมา ณ โอกาสนี้" 100 ครั้ง ภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันนี้ (2 มิ.ย.)เป็นต้นไป โดยล่าสุด (21.20น.เวลาประเทศไทย) ฟามีทวีตข้อความดังกล่าวแล้ว 23 ครั้ง


ไทม์ไลน์ทวิตเตอร์ของฟามี ปัจจุบันมีผู้ติดตาม 4,514 คน

จากกรณีดังกล่าว ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ในทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง โดยมีการติดแท็ก #defahmi เพื่อสนับสนุนฟามี และเสรีภาพในการทวีต หลายรายทวีตล้อเลียนข้อความขอโทษดังกล่าว อาทิ "ฉันทำให้บริษัทบลูอิงค์มีเดียและนิตยสาร Female เสียชื่อเสียง ข้อความที่ฉันทวีตเกี่ยวกับความไม่เข้าใจโซเชียลมีเดียของบริษัทไม่เป็นความจริง ฉันขอถอนคำพูดและขออภัยมา ณ โอกาสนี้" @TriciaYeoh

 


 

อนึ่ง ปีที่ผ่านมา ทางการมาเลเซียได้จับกุม-ฟ้องร้องประชาชนหลายรายด้วยข้อกล่าวหาดูหมิ่นราชวงศ์และก่อความปั่นป่วนแก่ศาสนาผ่านเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่รัฐมนตรีรายหนึ่งยื่นฟ้องหมิ่นประมาทบล็อกเกอร์คนหนึ่งซึ่งระบุว่าเขาข่มขืนแม่บ้านชาวอินโดนีเซียด้วย

 

เรียบเรียงจาก
http://www.digitaljournal.com/article/307466

http://asiancorrespondent.com/56486/malaysia-defamation-case-100-apologies-on-twitter/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เว็บไซต์รณรงค์ร่อนอีเมลเรียกร้อง ทีมเรดบูลล์ เรซซิ่ง ถอนทีมแข่งที่บาห์เรน

Posted: 02 Jun 2011 05:42 AM PDT

เว็บไซต์ www.avaaz.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับการณรงค์ออนไลน์ ส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์เรียกร้องให้ประชาชนร่วมลงชื่อเพื่อยับยั้งทีมเรดบูลล์ เรซซิ่ง Red Bull Racing ลงแข่งขันกรังปรีซ์ ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบาห์เรน เพื่อบอยคอตกรณีที่รัฐบาลบาห์เรนใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม

จดหมายดังกล่าวระบุว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลที่โหดเหี้ยมของบาห์เรนประกาศจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟอมูลาร์วันกรังปรีซ์ แต่นักแข่งจำนวนมากไม่สบายใจที่จะเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าวเนื่องจากมีการใช้กำลังทารุณกรรม พยาบาล นักเรียน และผู้ประท้วง

โดยจดหมายดังกล่าวเรียกร้องให้ทีมฟอมูล่าร์วันของเรดบูลให้ถอนตัวจากการแข่งขันดังกล่าว ในฐานะที่เป็นทีมระดับนำ เพื่อบอยคอตรัฐบาลบาห์เรนจนกว่าจะมีการยุติการใช้ความรุนแรง

เว็บไซต์รณรงค์ร่อนอีเมล์เรียกร้อง ทีมเรดบูลล์ เรซซิ่ง ถอนทีมแข่งที่บาร์เรน

จดหมายรณรงค์ดังกล่าวระบุว่า เรดบูลล์มีชื่อเสียงในด้านการกีฬาและในฐานะเครื่องดื่มบำรุงกำลัง การณรงค์ครั้งนี้หวังเรียกร้องให้ทีมเรดบูลล์ตัดสินใจถอนตัวออกจากการแข่งขันดังกล่าว และหากทีมเรดบูลล์ถอนตัวจากการแข่งขัน จะส่งผลต่อการตัดสินใจถอนตัวของทีมฟอร์มูล่าวันอื่นๆ ด้วยเช่นกัน และจะทำให้การแข่งขันดังกล่าวถูกยกเลิกไปซึ่งถือเป็นการสร้างผลสะเทือนต่อรัฐบาลที่โหดร้ายของบาห์เรน และเพื่อส่งสาส์นว่าโลกไม่เพิกเฉยต่อรัฐที่อำมหิต ทั้งนี้การต่อต้านด้วยการไม่ร่วมแข่งขันกีฬานั้นเคยประสบความสำเร็จในการกดดันรัฐบาลที่แบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้มาแล้ว และหวังว่าการรณรงค์ครั้งนี้ก็จะทำได้เช่นกัน

การรณงรงค์ครั้งนี้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 300,000 รายชื่อภายในวันพรุ่งนี้ (3 มิ.ย.) โดยทีมรณรงค์ของ www.avaaz.org จะทำการรวบรวมและส่งรายชื่อให้กับทีมเรดบูลล์ต่อไป

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจร่วมลงชื่อ สามารถลงชื่อได้ที่ http://www.avaaz.org/en/no_f1_in_brutal_bahrain/?vl

สำหรับทีม เรดบูลล์ เรซซิ่ง เคยสร้างความฮือฮาด้วยการปิดถนนราชดำเนิน แสดงการขับรถแข่ง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ปีที่แล้ว เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ในปี 2554 โดย บริษัท กระทิงแดง จำกัด ในฐานะบริษัทแม่ของผลิตภัณฑ์เรดบูลล์ (กระทิงแดง) ทั่วโลก ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และสิงห์ คอร์ปอเรชัน ภายใต้ชื่อโครงการ "Ratchadamnoen Red bull street of Bangkok 2010" ซึ่งเป็นนำรถแข่งฟอร์มูล่า วัน (Formula 1) ในสังกัดทีม Red Bull Racing ที่เพิ่งคว้าแชมป์โลกรถสูตรหนึ่งฤดูกาล 2010 มาลงวิ่งบนถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และมีประชาชนที่สนใจร่วมชมจำนวนมาก

เว็บไซต์รณรงค์ร่อนอีเมล์เรียกร้อง ทีมเรดบูลล์ เรซซิ่ง ถอนทีมแข่งที่บาร์เรน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย

Posted: 02 Jun 2011 05:23 AM PDT

เสวนา : บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย-0

วานนี้ (1มิ.ย.) มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์ร่วมกับสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย”เรื่องการเมืองไทยกับพรรคการเมือง ณ โรงแรมสยามซิตี้ ร่วมเสวนาโดย พีรพล พัฒนพีรเดช นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น สุรพล สงฆ์รักษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์ดอะ เนชั่น และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข จากประชาไท

ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับการพัฒนาประชาธิปไตย

เสวนา : บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย-a

นายสุรพล สงฆ์รักษ์ กล่าวในมุมมองของภาคประชาชนว่า การเมืองของภาคประชาชน คือการต่อสู้ตามหลักประชาธิปไตยที่วางอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชน สุรพงษ์กล่าวว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างความเท่าเทียม และการปกป้องฐานทรัพยากรนั้นทำให้คนสามารถอยู่ร่วมกันและสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้ แต่เมื่อนโยบายการพัฒนาของรัฐทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ไม่ใช่เพียงแค่ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นแต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะด้วย สุรพงษ์ชี้ว่าประชาชนควรมีสิทธิที่จะต่อรองผลประโยชน์และมีควรส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะประชาชนคือเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง และไม่ใช่มีเพียงแค่อำนาจในวันลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น

สำหรับภาคประชาชนกับประชาธิปไตยในมุมมองของสุรพงษ์นั้น เขากล่าวว่าภาคประชาชนจะต้องมีการต่อสู้ที่วางอยู่บนการเข้าถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเท่าเทียม ต้องเกิดสิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชน มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร ภาคประชาชนต้องสามารถตรวจสอบและคัดค้านทุนนิยมโลกภิวัตน์ที่จะส่งผลกระทบต่อคนหลายกลุ่ม และต้องมีการถ่วงดุลทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถตรวจสอบกลไกตลาดได้ สุรพลกล่าวต่อถึงประเด็นเรื่องที่ดิน โดยกล่าวว่าจำนวนที่ดินของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจนั้นมีมากเกินไป ควรมีการกระจายไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง

สุรพลชี้ว่าประชาธิปไตยต้องมีการพัฒนาเพราะประชาธิปไตยมีอภิสิทธิ์มากกว่ารัฐธรรมนูญ และการเติบโตของทุนนิยมก็ทำให้อำนาจถูกถ่ายโอนไปที่คนเพียงกลุ่มเดียวจนนำมาสู่ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน แต่รัฐบาลก็มักจะยกเอาเรื่องผลประโยชน์ของชาติมาอ้างถึงความชอบธรรม สุรพงษ์กล่าวทิ้งท้ายว่ารัฐควรให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม โดยต้องยกเลิกการใช้อำนาจของกองทัพ นอกจากนี้ยังต้องมีการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม และต้องมีการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยตรงเพื่อเป็นทิศทางไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตย และสร้างมุมมองใหม่ของภาคประชาชนที่จะนำมาสู่การสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง
 

ภาคประชาชนควรมีส่วนร่วมในท้องถิ่นโดยไม่ต้องพึ่งรัฐ

เสวนา : บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย-b

นายพีระพล พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ตั้งคำถามถึงกรณีภัยพิบัติน้ำท่วมที่ผ่านมาว่า “ทำไมภาครัฐของประชาชนถึงไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้” พีระพลชี้ว่าว่าระบบราชการของไทยล้มเหลวมาเป็นเวลานานแล้ว แม้แต่การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ขอนแก่นซึ่งเป็นท้องถิ่นของเขานั้นก็ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะระบบไม่เอื้อ พีระพลเห็นว่าระบบราชการไทยกำลังจมดิ่งอยู่กับการเลื่อนชั้น และเน้นเรื่องระเบียบเป็นเรื่องใหญ่ จึงทำให้ไม่เอื้อต่อการพัฒนาในเรื่องต่างๆสำหรับท้องถิ่น

นายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเห็นว่าภาครัฐควรมีการประสานงานผ่านชุมชน หรือแกนนำของชุมชนซึ่งเป็นภาคประชาชนโดยตรง เขาชี้ว่าหากภาครัฐมีการจัดระบบดีๆและเมื่องบประมาณสามารถเข้าถึงชุมชนและประชาชนได้จริงนั้น ก็จะไม่มีการปิดถนนเหมือนกับที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน พีระพลยกตัวอย่างถึงโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคว่าเป็นโครงการที่ไม่ต้องผ่านระบบราชการจึงทำให้สามารถจัดการเรื่องงบประมาณได้ง่ายและสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง

พีรพลกล่าวในฐานะของผู้นำท้องถิ่นว่า รัฐควรให้ตัวแทนท้องถิ่นทั่วประเทศมานั่งคุยร่วมกัน ไม่ใช่ว่าให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมเพียงแค่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง เขาชี้ว่าประชาชนควรมีความคล่องตัวในความเป็นอยู่ของตนเอง นายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเสนอว่าราชการควรทำหน้าที่ในการตรวจสอบงบประมาณ การดำเนินการควรเป็นเรื่องของภาคประชาชน และทั้งสองส่วนนี้จะนำมาสู่การปฏิบัติเชิงรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นจากภาคประชาชน
 

ภาคประชาชนไม่จำเป็นต้องมีจุดร่วมเดียวกันทั้งหมด

เสวนา : บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย-c

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาประเด็นความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชนกับระบอบประชาธิปไตยว่า ระบอบประชาธิปไตยมีสิ่งทับซ้อนกันอยู่สองอย่าง คือ สถาบันการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งที่วัดกันเพียงว่าใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล และสถาบันทางการเมืองที่วางอยู่บนสังคมที่คนต้องมีความสัมพันธ์อย่างเท่าเทียมกันโดยพื้นฐาน ศิโรตม์ชี้ว่าสังคมประชาธิปไตยต้องมีครบทั้งสองเรื่อง เพราะคนเชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการเมืองทำให้ชีวิตของตนดีชึ้นกว่าระบอบเผด็จการและต้องการได้รับความยุติธรรมที่เทียมกัน

ศิโรตม์เห็นว่าความสัมพันธ์ของคนในสังคมเป็นสิ่งที่ควรพูดถึง เช่น การวมกลุ่มของกลุ่มสหภาพแรงงาน และกลุ่มเคลื่อนไหวชาวมุสลิมที่ออกมาเรียกร้องสิทธิตามหลักศาสนาของตน แต่เมื่อพูดถึงสิ่งเหล่านี้ในสังคมไทยกลับเป็นสิ่งที่คนรับไม่ได้ หรือกว่าที่จะเป็นที่ยอมรับในสังคมได้ก็ต้องใช้เวลานาน

ศิโรตม์กล่าวต่อไปอีกว่าประชาธิปไตยในโลกตะวันตกนั้น มองไปถึงอีกจุดหนึ่งว่าในกลุ่มของภาคประชาชนไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกันทุกเรื่อง เขายกตัวอย่างเปรียบเทียบถึงภาคประชาชนสองกลุ่มในประเทศไทยว่า ในกลุ่มคนเสื้อแดงก็มีแดงหลายเฉดและมาจากหลายชนชั้น ส่วนกลุ่มเสื้อเหลืองที่รณรงค์โหวตโนนั้น ก็อาจมีคนเสื้อเหลืองบางคนต้องการที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้

ศิโรตม์ชี้ว่าภาคประชาชนไม่จำเป็นที่จะต้องมีจุดร่วมเดียวกันก็ได้ เพราะในแต่ละสังคมต่างก็ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
 

ภาคประชาชนกับประชาธิปไตยควรมีการกระจายสู่ท้องถิ่น

เสวนา : บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย-d

ประวิตร กล่าวว่าประชาธิปไตยกับประชาชนไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการเลือกตั้งเท่านั้น ประชาชนควรอยู่ได้ในวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่โยงไปได้ในหลายมิติ ประวิตรกล่าวต่อไปว่า คนต้องมีความอดทนกับระยะเวลาที่จะได้เห็นพัฒนาการของประชาธิปไตย เขาชี้ว่าในที่สุดแล้วประชาชนต้องพยายามทำให้ทุกสถาบันเปิดกว้างและสามารถทำการตรวจสอบได้

ประวิตรกล่าวถึงมุมมองของคนกรุงเทพต่อเรื่องการเมืองระดับท้องถิ่นว่า ถูกสร้างภาพให้เป็นเรื่องของการคอรัปชั่น เขาเห็นต่างว่าการเมืองท้องถิ่นจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจกับการเลือกผู้แทน และจะเป็นการริเริ่มของภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตยจากระดับท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากคนท้องถิ่นนั้นก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะผลักดันการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับท้องถิ่นให้สามารถเกิดขึ้นได้ ประวิตรชี้ว่าปัจจุบันทุกอย่างกระจุกอยู่แค่ในพื้นที่กรุงเทพ แม้แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้รับการแต่งตั้งโดยมีคำสั่งจากกรุงเทพ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์หาเสียงเชียงใหม่-ดื่มกาแฟย่านนิมมานฯ พระป่าซางทักต้องแก้ดวง

Posted: 02 Jun 2011 05:05 AM PDT

หัวหน้าพรรค ปชป. หาเสียงภาคเหนือวันที่สอง ร่วมสืบชะตาที่ป่าซาง ลั่นไม่มีสิทธิยอมแพ้ เพราะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ประเทศ พระแนะให้ "แก้ดวง" มาร์คปัดไม่มีเวลา ก่อนขึ้นเชียงใหม่ไปหาเสียงที่แม่ริมเจอ "ธงแดง" ปักต้อนรับแถมแกนนำแดงรักเชียงใหม่ 51 "ดีเจอ้อม" ร่วมฟังปราศรัยด้วย ขากลับไหว้ครูบาศรีวิชัย-ดื่มกาแฟที่นิมมานฯ ก่อนบินกลับกรุงเทพฯ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา (ที่มา: เฟซบุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ขอถ่ายรูปร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างดื่มกาแฟที่ร้านกาแฟวาวี ย่าน ถ.นิมมานเหมินทร์ จ.เชียงใหม่ เมื่อ 2 มิ.ย. (ที่มา: เฟซบุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

แกนนำแดง "รักเชียงใหม่ 51" ร่วมฟังอภิสิทธิ์ปราศรัยที่แม่ริม

วันนี้ (2 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาช่วยลูกพรรคหาเสียงที่หอประชุมโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 7 มี ร.อ.หญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ลงสมัครในเขตนี้ แข่งกับ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ จากพรรคเพื่อไทย โดยมีตำรวจปราบจลาจล ตำรวจท้องที่ ตำรวจ ตชด. 2 กองร้อย วางกำลังเฝ้าระวังเหตุ

นอกจากนี้นางกัญญาภัค มณีจักร หรือ ดีเจอ้อม แกนนำคนเสื้อแดง กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ได้เดินทางเข้ามาฟังการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ด้วย โดยได้บอกว่ามาในฐานะประชาชนเพื่อรับฟังการปราศรัยหาเสียง โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดเส้นทางที่คณะของนายอภิสิทธิ์เดินทาง มีการนำธงแดงมาปักตลอดเส้นทางทั้งตามหน้าบ้านและเสาไฟฟ้า

 

แวะดื่มกาแฟย่านนิมมานฯ ก่อนบินกลับ กทม. - เผยเลิกไปฮอด-หลังมีข่าวกลุ่มต้าน

หลังจากการปราศรัยที่ ร.ร.แม่ริมวิทยาคม คณะของนายอภิสิทธิ์เดินทางไปสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เชิงดอยสุเทพ จากนั้นนายอภิสิทธิ์ได้เดินทางไปหาเสียงที่ ถ.นิมมานเหมินทร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และแวะดื่มกาแฟที่ร้านกาแฟวาวี สาขานิมมานพรอมินาด ซอย 4 ถ.นิมมานเหมินทร์ ร่วมกับผู้สมัคร ส.ส. ประชาธิปัตย์ในเชียงใหม่ และทีมงานผู้สมัคร โดยในเวลา 16.00 น. นายอภิสิทธิ์ได้เดินทางไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติ จ.เชียงใหม่ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ทันที

ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ที่ จ.เชียงใหม่ โดยเปลี่ยนจากการไปปราศรัยที่ อ.ฮอด ในเขตเลือกตั้งที่ 10 เป็น อ.แม่ริม ในเขตเลือกตั้งที่ 7 แทน เนื่องจากมีรายงานว่าจะมีประชาชนรวมตัวต่อต้าน

 

พระป่าซางทัก "อภิสิทธิ์" ต้องแก้ดวง เพราะคู่แข่งมีดวงพิฆาตมากกว่า

อนึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางขึ้นมาหาเสียงที่ภาคเหนือ โดยทีเมื่อคืนวานนี้ (1 มิ.ย.) ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติ จ.เชียงราย จากนั้นเดินทางไปปราศรัยที่ จ.พะเยา และได้พักค้างคืนวัดหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยก่อนหน้านี้ ในช่วงเช้าวันที่ 2 มิ.ย. เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ซึ่งพักที่วัดหนองเงือก ได้ตื่นนอนแต่เช้า โดยนายอภิสิทธิ์สวมชุดพื้นเมืองแบบชาวยอง ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวยองใน จ.ลำพูน ที่อพยพมาจากรัฐฉานเมื่อ 200 ปีที่แล้ว โดยนายอภิสิทธิ์เดินทางออกไปเยี่ยมชมตลาดหนองเงือก และมีพ่อค้าแม่ค้าขอถ่ายรูปด้วย

จากนั้นนายอภิสิทธิ์เดินกลับวัด มีชาวบ้านได้นำวัตถุมงคลยันต์ 108 ที่พันรอบเอว ให้กับนายอภิสิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้ร่วมตักบาตรพระสงฆ์ พร้อมกับชาวบ้านและร่วมพิธีสืบชะตาสะเดาะห์บายศรีเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย อย่างไรก็ตามหลวงพ่อพระครูโพธิโสภณ เจ้าอาวาส ได้ตรวจดวงชะตาให้นายอภิสิทธิ์ พร้อมกับกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นคนดวงแข็ง แต่ช่วงนี้เป็นช่วงของการต่อสู้ และการต่อสู้ก็จะเป็นในลักษณะสูสีกัน ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์จะต้องมาแก้ดวง ด้านนายอภิสิทธิ์เองก็ได้กล่าวกับหลวงพ่อว่า “ ช่วงนี้ผมภารกิจเยอะงานยุ่ง ไม่ค่อยมีเวลา” หลวงพ่อจึงได้บอกกลับไปว่าหากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้วนายอภิสิทธิ์ ควรที่จะรีบมาแก้ดวง เพราะเขามีดวงพิฆาตมากกว่าเรา”

อภิสิทธิ์ลั่นไม่มีสิทธิยอมแพ้ เพราะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ประเทศ

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานด้วยว่า ก่อนที่จะออกจากวัดนายอภิสิทธิ์ได้กล่าวกับประชาชนที่มาร่วมในงานพิธีกรรมดังกล่าวว่า ตนเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้นำของประเทศ ไม่มีสิทธิ์ที่จะท้อ หรือไม่มีสิทธิที่จะยอมแพ้ ต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประเทศเศรษฐกิจในหลายประเทศเองยังมีปัญหาอยู่มาก แต่ก็ขอยืนยันว่า เวลานี้ประเทศไทย เริ่มมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแล้ว

“วันนี้ผมขอใช้  10 นิ้ว กับ 2 มือที่มีอยู่ เดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ โดยจะไม่ใช้ 1 นิ้ว ไปชี้หรือสั่ง แต่จะใช้ 10 นิ้วที่มีประณมมือไหว้อย่างนอบน้อม ผมทำงานไม่เหมือนคนอื่น และวันนี้หมดยุคการเป็นผู้นำที่จะตัดสินใจอะไรตามใจตัวเอง แต่จะต้องเป็นผู้นำที่ต้องรับฟังปัญหาของประชาชนและรับฟังความเห็นของคนอื่น ด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

 

ลงพื้นที่ป่าซาง ชาวบ้านใช้ผ้าแดงซับเหงื่อมาร์ค

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ พร้อมคณะอาทิ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำวสำนักนายกฯ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม และในฐานะรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ  และผู้สมัคร ส.ส.ของจังหวัดลำพูน ได้เดินทางไปยังโรงงานจันทร์ศรี ผ้าฝ้ายทอมือ เพื่อเยี่ยมชมการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่าฝ้ายทอมือ จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังบริเวณ บ้านแม่อาว ต.ไร่ดง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เพื่อไปดูความคืบหน้าของโครงการจัดสรรที่ทำกินให้เกษตรกรและโครงการโฉนดชุมชน ซึ่งที่บ้านแม่อาวเป็นพื้นที่มีการริ่เริ่มโครงการโฉนดชุมชน เป็นที่แรกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานด้วยว่า ชาวบ้านได้อวยพรให้นายอภิสิทธิ์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และมีแม่บ้านคนหนึ่งได้นำผ้าเช็ดหน้าสีแดงขึ้นเช็ดใบหน้าทั้ง 2 ข้างให้นายอภิสิทธิ์ด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุเจน กรรพฤทธิ์: ว่าด้วยภาพยนตร์เรื่อง “รากเรา” (Our Roots) ผู้กำกับหลงลืมอะไร ?

Posted: 02 Jun 2011 02:26 AM PDT

 

 

“รากเรา" (Our Roots)
รากเหง้า วิถีชีวิต จิตวิญญาณ ความเป็นไทยที่ควรภาคภูมิ 

ภาพยนตร์สารคดี* “รากเรา” จะพาผู้ชมร่วมเดินทางไปบนแผ่นดินไทย เพื่อรับฟังท่วงทำนองของแผ่นดินที่ส่งเสียงมาสู่เราอย่างแผ่วเบา ท่ามกลางการถาโถมของสิ่งเร่งเร้าต่างๆ รอบตัว ภาพยนตร์เรื่องนี้ เพียงหวังให้คุณได้ "หยุด" เพื่อเปิดดวงตา เปิดหัวใจ ให้เห็นแก่นแท้อันเป็นรากแก้วของคนไทย อันเป็น "รากเรา" ที่เชื่อมถึงกัน...ผลงานกำกับโดย นิสา คงศรี และ อารียา สิริโสดา"
 

* เน้นโดยผู้เขียนบทความ

 

 
           
หัวค่ำวันแรกของเดือนมิถุนายน 2554   
โรงหนังสกาล่า, กรุงเทพฯ
           
ข้อความในแผ่นพับที่ผมได้รับแจกหน้าโรงหนังสกาล่า ทำให้ผมตั้งความหวังเล็กๆ ว่า ตั๋วรอบสื่อมวลชนที่ได้มานอกจากจะทำให้ได้ดูหนังฟรีแล้วจะทำให้ได้ดูหนังดีอีกด้วย ด้วยข้อความเหล่านี้ได้สร้างความท้าทายในใจของผู้ดูหนัง (สมัครเล่น) อย่างผมว่าหนังเรื่องนี้ที่สร้างโดยผู้กำกับสองคนที่หลายคนบอกว่ามีมุมมอง น่าสนใจจะ “ตั้งคำถาม” และ “ตีความ” ความเป็นไทยในความคิดของผู้กำกับออกมาและสื่อสารกับคนดูได้อย่างน่าสนุก
           
ภาพยนตร์ “รากเรา” ในรอบสื่อเปิดตัวด้วยการฉายคลิปวิดีโอการทำงานหนักเป็นเวลาราว 1 ปีกว่า จากนั้นก็นำสองผู้กำกับคือ คุณนิสา คงศรี และคุณอารียา สิริโสดา ออกมาในชุดสบายๆ ใส่กางเกงลักษณะคล้ายกางเกงเลและเสื้อยืดสกรีนชื่อภาพยนตร์ “รากเรา”
           
พวกเขานั่งบนเก้าอี้ไม้เล่าถึงที่มาของชื่อ ว่าเดิมมีแนวคิดหลายแนวในการตั้งชื่อ ก่อนจะออกมาเป็น “รากของเรา” และถูกทอนเป็น “รากเรา” โดยคุณอารียา ซึ่งทำให้ผมชื่นชมกับความสามารถในการ “คิดชื่อ” ของเธอ
            
พวกเธอเล่าว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลผลิตมาจากการเดินทางไปสัมผัสคนไทยในจังหวัดต่างๆ จน “ไปเจอหลายสิ่งที่งดงามซ่อนอยู่ เป็นความงามที่เรียบง่าย เห็นแล้วอยากบอกต่อ เหมือนตอนที่เราทำเด็กโต๋และปักษ์ใต้บ้านเรา” โดยพวกเธอบอกว่ารากเรานั้น “ยิ่งใหญ่กว่ามาก” เพราะ “เหมือนเราได้เจอคำตอบว่าอะไรที่มันก่อเกิดความเป็น ‘เรา’ เช่นทุกวันนี้” และพวกเธอเชื่อว่าจะทำให้หลายคนคลี่คลายว่านิยามของคนไทยคืออะไร

ในแผ่นพับยังให้ข้อมูลกับผมว่าหนังเรื่องนี้จะใช้ศิลปะการแสดงของทุกภาคในประเทศไทยเป็นสื่อเดินเรื่องโดยผู้กำกับทั้งสองจะเข้าไปคลุกคลีและพูดคุยกับศิลปินในท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจ “ความเป็นไทย” ผ่านศิลปะการแสดงที่ได้สร้างและสั่งสมมายาวนาน
           
จากนั้นก็เป็นการแสดงของวงโปงลางจากโรงเรียนหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งหนึ่งในสมาชิกวงนั้นก็ถูกพิธีกรสัมภาษณ์โดยให้การว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าสูญสิ้นไปเราก็คงอยู่ไม่ได้
           
จากนั้นก็เป็น 84 นาทีของการฉายหนัง ซึ่งทำให้ผมช็อก
           
เริ่มต้นด้วยภาพของความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ภาพเด็กนักเรียนรีบไปโรงเรียน ภาพผู้คนวัยทำงานเดินไปมาบนท้องถนนอย่างรีบเร่ง จากนั้นก็ตัดเข้าสู่ฉากที่ผู้กำกับสองคนไปพบกับศิลปินที่เล่นซอล่องน่าน ในจังหวัดน่าน โดยคุณป๊อบ (อารีดา) และคุณนิสา ได้เข้าไปพูดคุยกับศิลปินและแสดงความอาลัยอาวรณ์กับ “ความเป็นไทย”
            
คุณป๊อบสร้างความทรงจำในฉากนี้ด้วยประโยคทองระหว่างนั่งพื้นเปิบขันโตกในประโยคที่พอจับใจความได้ว่า “นั่งกินใต้ถุนบ้านแบบนี้เป็นไทยที่สุดแล้ว เบื่อเนอะ KFC เบื่อเนอะ Mc Donald” (ในโรงภาพยนตร์มีเสียงหัวเราะ) ในขณะที่คุณนิสาสร้างความทรงจำให้กับผู้ชมในฉากนี้ด้วยการแสดงอาการคับข้องใจขณะสนทนากับปราชญ์ท่านหนึ่งของน่านว่า “ทำไมคนที่นี่ยังรักและเอื้อเฟื้อต่อกัน” และกล่าวด้วยอารมณ์ว่าเธอก็เกิดในชนบท แต่ทำไมสิ่งนี้มันหายไป ทำไมจึงยังเหลือที่น่านที่เดียว ก่อนที่ปราชญ์ท่านนั้นจะรับปากไปตามน้ำ
            
ในขณะที่ข้อมูลประวัติศาสตร์ระบุว่า ประเทศไทยนั้นเพิ่งถือกำเนิดเมื่อปี 2482 และคงต้องย้อนลึกกว่าเดิมไปอีกว่าก่อนหน้าที่จะมีการปฏิรูปการปกครองสมัย ร.5 น่านมีฐานะเป็น “นครรัฐ” เรียกว่า “นันทบุรีศรีนครน่าน” มีกษัตริย์ของตนเอง ทั้งนี้ คนเหนือไม่ได้เรียกตัวเองว่าคนไทย บางทีเขาเรียกตนเองว่า “คนเมือง”
             
ในความเป็นจริงอีกเช่นกันยังมีอีกหลายชุมชนที่ยังคงมีวัฒนธรรมเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ การสรุปว่าน่านที่เดียวเท่านั้นที่ยังคงเหลือวัฒนธรรมเช่นนี้จึงเป็นการเหมารวมอย่างผิดหลักวิชาเป็นอย่างยิ่ง
              
จากนั้นภาพตัดไปที่สุรินทร์เล่าเรื่องการทิ้งบ้านไปทำงานในเมืองใหญ่ของคนอีสานและพวกเขาพยายามกลับมารดน้ำดำหัวบุพการีในวันสงกรานต์ คนอีสานท่านหนึ่งกล่าวอย่างกินใจว่า “ไม่มีเงินยังไงก็ต้องกลับมาอาบน้ำแม่” และสรุปว่าความกตัญญูรู้คุณคือความงดงามในจิตใจของคนไทย ฯลฯ ซึ่งถูกต้องทั้งสิ้น
             
ทว่า ผมกลับมีคำถามว่าแล้วอะไร ทำให้คนเหล่านี้ต้องกลับไปทำงานในเมืองใหญ่ แล้วทำไมการกระจายทรัพยากร การเติบโตของเมืองต่างๆ จึงไม่เท่ากัน “ความกตัญญู” ที่เห็นคือคำตอบของปัญหาที่ผู้กำกับนำเสนอทั้งหมดทั้งมวลแล้วหรือ อะไรที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถอยู่กับบ้านได้
            
ขณะที่ค้างคาใจ ผู้กำกับสองท่านก็พาผมลงไปที่นครศรีธรรมราชไปดูเรื่องของนาย หนังตะลุงที่ยังคงใช้คำตอบแบบคนที่จมอยู่กับความคิดดั้งเดิมที่ทุกปัญหา (ผัวเมียทะเลาะกัน ขโมย เด็กโชว์เต้า สังคมแตกแยก ฯลฯ) ล้วนตอบได้ด้วยคำตอบที่ว่า “เพราะคนไม่มีศีลไม่มีธรรม”
          
ซึ่งแสดงวิธีคิดที่ติดอยู่กับคัมภีร์ไตรภูมิกถา (ซึ่งเป็นรากวิธีคิดจริงๆ ของคนพุทธเถรวาท) ซึ่งในยุคสมัยนี้ คนจำนวนมากตั้งคำถามกับปราชญ์เหล่านี้ว่า แล้วกระบวนการแก้คืออะไร มันคือระบบการศึกษา มันคือระบบสังคม ผลพวงจากเศรษฐกิจ ฯลฯ ที่ต้องมานั่งวิเคราะห์กันมากกว่านี้เพื่อหาคำตอบ ดีกว่ามักง่ายใช้คำตอบสำเร็จรูปเช่นนี้และทางแก้ที่ชั่วนาตาปีปราชญ์ทั้งหลายคิดกันออกคือห้ามโน่น ห้ามนี่ เปิดวิชาศีลธรรมและหน้าที่พลเมือง 101 ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยและส่งเด็กเข้าวัดเท่านั้น
              
ในที่สุดครึ่งแรกของภาพยนตร์ (ที่อ้างว่า) เป็นสารคดีก็ผ่านไป โดยที่ผมงุนงงว่าผู้กำกับพยายามจะบอกอะไรกับคนดู ระหว่างนั้นหนังก็ตั้งคำถามว่าเราลืมอะไรไป ก่อนจะพาไปดูเรื่องราวของการเล่นหนังใหญ่ที่ราชบุรีและความพยายามของคนที่นั่นในการสืบทอดวัฒนธรรม โดยมีพิธีกรสองคนแต่งตัวสวยงามเป็นสาวผู้ดีเมืองกรุงเข้าไปชื่นชมกับ บรรยากาศเหล่านี้และสัมภาษณ์ๆๆๆ คนที่เกี่ยวข้องและดื่มด่ำไปโดยไม่ตั้งคำถาม
           
ถึงตรงนี้หลังหลับๆ ตื่นๆ มานานเพราะเบื่อสารในภาพยนตร์ที่สุดจะเชยไม่ต่างกับตำราเรียนสมัยประถม มัธยม นำเสนอ ผมก็ตัดสินใจลุกออกจากโรงภาพยนตร์ด้วยถึงตรงนี้ ผมคิดว่าผมสามารถคาดเดาเนื้อเรื่องได้แทบทั้งหมดแล้วโดยไม่มีความจำเป็นต้องดูบทสรุปอีกต่อไป
           
รุ่นน้องที่ไปดูด้วยกันบอกภายหลังว่าท่อนท้ายเรื่องนี้เสนอการฟ้อนเมืองของภาคเหนือและสรุปว่าธรรมะทำให้คนไทยยึดมั่นในความดี จิตวิญญาณคือศรัทธาที่หลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว ก่อนจะตั้งถามว่าใครจะรักษาความเป็นไทย
            
สุดท้ายของสุดท้ายปิดด้วยการก่นประณามความเจริญของเมืองกรุง
           
สิ่งที่ตกค้างในใจของผมเมื่อชมสารคดีเรื่องนี้จบคือ ผู้กำกับทั้งสองท่านเขาหาอะไรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
          
เขามีวิธีคิดอย่างไรในการสร้างภาพยนตร์ที่อ้างว่าเป็นสารคดี หากแต่มีฉากที่แสดงถึงอัตตาของคนทำ
          
ทำไมหลังการ “ทำงานหนัก” หนังสารคดีที่ผู้กำกับเรื่องนี้การันตีว่าแสนจะ “ยิ่งใหญ่” กลับยังใช้ตำรากระทรวงศึกษาตอบว่าอะไรคือความเป็นไทย ทั้งยังสั่งสอนและครอบงำคนดูแบบ “ไม่เนียน”
           
แน่นอน ศิลปะ วัฒนธรรมที่นำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณค่าสมควรแก่การรักษาและสืบทอด
            
หากแต่รากเหง้าของสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “วัฒนธรรมร่วม” ของคนอุษาคเนย์มิใช่หรือ ซึ่งผมจะไม่กล่าวให้ยืดยาวในที่นี้ด้วยปัจจุบันมีงานวิชาการ งานวิจัย และหลักฐานจำนวนมากยืนยันมากเกินจะพูดถึงได้หมดในบทความเดียว
            
นี่ยังไม่นับการ “เกลียดตัวกินไข่” ด้วยทั้ง 2 ท่านต่างมาหากินในกรุงเทพฯ และได้ดิบได้ดีจาก “โอกาส” ที่เมืองซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นต้นเหตุของความเสื่อมทั้งมวลมอบให้ โดย “ก่นด่า” และมอบบท “ผู้ร้าย” ให้ตลอดเวลา
           
โดยที่หลงลืมไปว่า ปัญหาต้นตอคือการพัฒนาแบบ “กระจุก” ที่มีมาหลายยุคสมัย และพวกเขาก็เป็นเพียงเบี้ยตัวหนึ่งที่ต้องปรับตัวกับสภาพนั้นด้วยการเข้ามา แข่งขัน กิน ขี้ .... นอน ในเมืองนี้ ฯลฯ (แถมยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก่อมลภาวะอีกต่างหาก ไม่คิดจะช่วยกันแก้ปัญหาเลยหรือครับ มากกว่ามาด่ากัน)
             
และเมื่อวันหนึ่งพวกเขาเข้าถึงสถานะบางอย่าง พวกเขาก็ด่ากรุงเทพฯ ไม่มีชิ้นดี โดยลืมไปว่ากรุงเทพฯ มีมุมดีอยู่มากมาย
             
ทางแก้ที่ผมเข้าใจว่าพวกเธอเสนอคือการไปสัมผัสการละเล่น วัฒนธรรม การหนีออกไปใช้ชีวิตนอกเมืองโดยที่โครงสร้างสังคมระดับบนยังไม่มีการแก้ไข ก็ไม่น่าจะเป็นทางออกของปัญหาที่พวกเขาฟูมฟาย
           
เพราะจนทุกวันนี้คนชนบทส่วนมากที่พวกเขามองว่าสุดแสน “โรแมนติก” ก็เจอปัญหานาล่ม ปุ๋ยแพง ฯลฯ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
           
โดยที่ของที่นำเสนอในภาพยนตร์เหล่านี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด
             
อย่างมากก็ถ่ายทอดออกมาผ่านหนังตะลุง !

ทั้งที่ในยุคสมัยนี้ การใช้สิ่งเหล่านี้ควบคู่ไปกับการใช้พื้นที่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ดูจะได้ผลกว่ามาก ถ้าจะแตะเรื่องนี้ภาพยนตร์ทำไมจึงไม่พูด หรือเสนออะไรที่ใหม่กว่าที่ผมหรือคนทั่วไปคิด
           
ทำไมผมถึงต้องวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ 
           
หนึ่ง ถ้าเข้าใจไม่ผิดผู้กำกับทั้ง 2 ท่านได้รับการสนับสนุนทุนส่วนหนึ่งจาก “ภาษีบาป” โดย สสส. (เพราะผมซัดเบียร์บางครั้งจึงมีสิทธิมีเสียง)
            
สอง ได้เงินจาก ททท. ซึ่งใช้เงิน “ภาษี” ของประชาชน
            
สาม ได้การสนับสนุนทุนอีกส่วนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ที่ยังมีคำถามว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรเหนือรัฐที่มีรายได้มหาศาลจากการเจ้าของที่ดินจำนวนมหาศาล และถือเป็นต้นเหตุของปัญหาบางส่วนที่นำเสนอในภาพยนตร์แต่ผู้กำกับไม่ได้ตอบ หรือไม่)
           
สำหรับ “รากเรา” ในฐานะคนดู ผมตรวจข้อสอบแล้วคงต้องระบุว่า ว่าถ้าใช้งบประมาณของประชาชนกับเวลาอย่างที่อธิบาย คงต้องให้ 0 และปรับให้ส่งคืนเงินภาษีทั้งหมดสู่คลังหลวง เนื่องจากผลงานชิ้นนี้ตกมาตรฐานในระดับเลวร้าย
            
ด้วยสุดท้ายแล้ว มันก็เป็นเหมือนเป็นการให้เงินคน 2 คนไปเที่ยว
 
ให้เงินเพื่อให้คน 2 คนเอากล้องไปถ่ายตัวเอง แสดงอัตตาตัดสินเรื่องนั้นเรื่องนี้ผ่านการทำหนังโดยไม่มีหาหลักฐานรองรับ ให้สมกับเป็นงาน “สารคดี”

         
บางทีคนดูอย่างผมคงต้องถามผู้กำกับว่ากว่าขวบปีที่ใช้เวลาผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ 

พวกคุณหลงลืมอะไรไปหรือไม่  ?

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“กรีนพีซ” ฉลองนโยบายข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอ รับ “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ”

Posted: 02 Jun 2011 01:47 AM PDT

ชี้นโยบาย “ข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอ” ไม่เพียงช่วยปกป้องชาวนาไทยและผู้บริโภค แต่ยังช่วยรักษา “ข้าวไทย” ในฐานะมรดกสำคัญของชาติ พร้อมจัดแสดงศิลปะ 3 มิติ สื่อรณรงค์สะท้อนเสียงจาก “ผู้บริโภค 1 ล้านคนในยุโรปที่ปฎิเสธพืชจีเอ็มโอ” และ “นิทรรศการข้าวไทย”

 
วันนี้ (2 มิ.ย.54) เว็บไซต์ “กรีนพีซ” เผยแพร่ข้อมูลการจัดแสดงผลงานศิลปะสามมิติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่เพื่อสะท้อนวิถีการเกษตรกรรมเชิงนิเวศ เนื่องในโอกาสวันข้าวและชาวนาแห่งชาติจะมาถึงในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ณ มิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ โดยระบุถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของคนไทยที่มีต่อประเพณีและภูมิปัญญาของชาวนาไทย ผู้ซึ่งสามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยได้โดยไม่ต้องพึ่งจีเอ็มโอ
 
“การที่นโยบายข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอได้ถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยอย่างชัดเจนนั้น แสดงให้เห็นว่า พืชจีเอ็มโอนอกจากจะไม่มีความจำเป็นใดๆ แล้วยังบั่นทอนและทำลายความยั่งยืนของอนาคตเกษตรกรรมไทย และนี่ถือเป็นชัยชนะที่สำคัญของชาวนาไทยและผู้บริโภคทุกคนเพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้คำมั่นอย่างเป็นทางการว่าจะปกป้องการเกษตรกรรมและผลผลิตข้าวไทยให้รอดพ้นจากความเสี่ยงทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอันเนื่องมาจากพืชจีเอ็มโอ” ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
 
“กรีนพีซขอสนับสนุนนโยบายข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอนี้ และพร้อมที่จะส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อปกป้องให้ข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอตลอดไป นอกจากนี้เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับทราบว่ารัฐบาลจะยังคงรักษานโยบายดังกล่าวไว้ในแผนยุทธศาสตร์ฉบับต่อๆไปด้วย” ณัฐวิภา กล่าวเสริม
 
แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฉบับปัจจุบันนั้นมีผลบังคับใช้ระหว่างปี พ.ศ.2550-2554 โดยที่แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างจุดแข็งให้กับผลผลิตข้าวไทยและส่งเสริมความเป็นอยู่ของชาวนาไทยพร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ดังนั้น การกำหนดให้มีนโยบายข้าวไทยปลอดจีเอ็มโอจึงถือกลยุทธ์ที่สำคัญในการรักษาชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้นำด้านการผลิตข้าวของโลก
 
กรีนพีซ ยังคงย้ำถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พืชจีเอ็มโอจะทำลายอนาคตและความหลากหลายทางชีวภาพของข้าวไทยและบีบคั้นให้การทำนาและชาวนาไทยต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของโลกผู้ซึ่งถือครองสิทธิทั้งหมดในเทคโนโลยีจีเอ็มโอไว้อย่างสมบูรณ์
 
ผลงานศิลปะสามมิติผืนใหญ่ที่กรีนพีซนำมาจัดแสดงนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่มีประชาชนในสหภาพยุโรปกว่า 1,000,000 คนร่วมลงชื่อเรียกร้องอาหารที่ปลอดภัยและปลอดจากจีเอ็มโอ โดยกิจกรรมการเฉลิมฉลองดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2553 ที่หน้าสำนักงานสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลล์ เพื่อนำส่งรายชื่อผู้บริโภคทั้ง 1,000,000 ต่อสหภาพยุโรปที่เรียกร้องเกษตรกรรมที่ปลอดจีเอ็มโอ
 
การรวบรวมรายชื่อดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกรีนพีซและ Avaaz  (องค์กรสัญชาติเยอรมัน ที่ทำงานรณรงค์ต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสหภาพยุโรป) ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสหภาพยุโรปที่พบว่าประชาชนชาวยุโรปกว่า 1,000,000 คนต่างมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ ทุกคนต่างต้องการอาหารที่ปลอดภัยและเรียกร้องให้สหภาพยุโรปยุติพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในยุโรป ผลงานศิลปะชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการเกษตรกรรมเชิงนิเวศซึ่งคือหนทางที่ยั่งยืนสำหรับอนาคตของการเกษตรกรรมที่ไม่ต้องพึ่งพาพืชจีเอ็มโอและยังเป็นการรวบรวมเอารายชื่อทั้ง 1,000,000 รายชื่อไว้ในผลงานชิ้นนี้ด้วย
 
“นโยบายดังกล่าวยังถือเป็นการย้ำให้เห็นว่า การส่งเสริมการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับโลกและปลอดภัยกับมนุษย์นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศและเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายข้าวปลอดจีเอ็มโอดังกล่าว แต่ยังหมายรวมถึงผู้บริโภคทั่วโลกที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้เช่นเดียวกันและยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในข้าวไทยให้กับผู้บริโภคเหล่านั้นได้อีกด้วย ผู้บริโภค 1,000,000 นี้ต่างตระหนักดีกว่าพืชจีเอ็มโอไม่ปลอดภัยต่อการนำมาใช้เป็นอาหารและเป็นภัยต่อระบบเกษตรกรรม และผู้บริโภคชาวไทยก็คิดเช่นนั้นด้วย” ณัฐวิภา กล่าวเสริม
 
กรีนพีซพร้อมด้วยเครือข่ายเกษตรกรไทยต่างๆ ร่วมกันจัดงานนิทรรศการข้าวไทยขึ้นเพื่อย้อนให้เห็นถึงอดีตและวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับข้าวไทย ส่งเสริมการเรียนรู้พันธุ์ข้าวไทยที่หลากหลาย และแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับข้าวไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และรวมถึงนิทรรศการที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของพืชจีเอ็มโอด้วยเช่นกัน
 
ทั้งนี้ การแสดงผลงานศิลปะสามมิติและนิทรรศการและผลงานของเครือข่ายเกษตรกรรมไทย จะจัดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมชมได้ระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายนนี้ และนิทรรศการข้าวไทยของกรีนพีซจะถูกนำมาจัดแสดงต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 2-30 มิถุนายน ที่มิวเซียมสยาม ระหว่างเวลา 10.00 – 18.00 น. (ปิดทำการทุกวันจันทร์)
 
 
 
หมายเหตุ
 
แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด (หน้าที่ 4 ระบุว่า “กำหนดให้ข้าวไทย เพื่อการค้า เป็นข้าวปลอดการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMOs) โดยการกำหนดมาตรการตรวจสอบและรับรองข้าวปลอดการตกแต่งทางพันธุกรรม GMOs” )
 
เอกสาร “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น