โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รายงาน: ประชันกึ๋นดับไฟใต้ นโยบาย6พรรคในเวทีกระจายอำนาจ

Posted: 05 Jun 2011 09:51 AM PDT

ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง หลายองค์กรพยายามจัดเวทีให้นักการเมืองแต่ละพรรคมาแสดงวิสัยทัศน์และแนวนโยบายต่างๆ ให้ประชาชนได้ทราบ

ในเวทีสาธารณะ เรื่อง"ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจ" ก็เป็นเวทีหนึ่งที่สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับองค์กร เมื่อที่ 4 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ก็ได้เชิญตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการกระจายอำนาจ

ครั้งนี้มีตัวแทน 6 พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผศ.จิระพันธ์ เดมะ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นผู้ดำเนินรายการ ตัวแทนทั้ง 6 พรรค ได้แก่

แต่ละพรรคมีแนวนโยบายอย่างไร มีเนื้อสรุปได้ดังนี้

นายมูฮำมัดซูลฮัน ลามะทา พรรคชาติไทยพัฒนา

พรรคชาติไทยพัฒนาจะตั้งศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจร รูปแบบคล้ายรัฐบาลส่วนหน้าที่มาตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาพรรคสนับสนุนการออกพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. พรรคจึงพยายามนำเสนอนโยบายที่ทำได้ใน 4 ปี ไม่อยากเสนอโมเดล(รูปแบบ) ที่ทำไม่ได้ใน 4 ปีหลังจากเลือกตั้ง

ความแตกต่างของบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจรกับศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) คือ ศอ.บต.มีงบประมาณของตัวเอง กระทรวงต่างๆก็มีงบประมาณของตัวเอง ต่างก็วางงบประมาณของตัวเอง ไม่มีความเป็นเอกภาพ สิ่งที่พรรคเสนอคือการวางงบประมาณตรงนี้ และมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจ

ถามว่าการกระจายอำนาจอยู่ตรงไหน ก็อยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน และของทุกภาคส่วน มีอำนาจจริงๆในการวางกรอบงบประมาณ แม้ศอ.บต.มีสภาที่ปรึกษาในการวางกรอบงบประมาณ แต่ก็เฉพาะงบประมาณของศอ.บต. และศอ.บต.ก็ไม่สามารถไปควบคุมงบประมาณกระทรวงอื่นได้ แต่ศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจรมีอำนาจเบ็ดเสร็จมากขึ้น

เป็นการยกระดับศอ.บต.ขึ้นมาเป็นศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจร ซึ่งทำได้แน่นอนในระยะเวลา 4 ปี โครงสร้างคือ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบ

นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์

หลายเวทีที่มีนักการเมืองและนักวิชาการเรียกร้อง ให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยรวม 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและ 4 อำเภอของสงขลา เป็นปัตตานีมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นใหญ่ จะมีรูปแบบอย่างไร ดูในเรื่องพื้นที่ก่อน คือ มีพื้นที่รวม 11,000 ตารางกิโลเมตรเศษ เทียบกับกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ 1,500 ตารางกิโลเมตร ต่างกันมาก ประชาชนใน 3 จังหวัด มี 1.8 ล้านคน กรุงเทพมหานครมีเกือบ 6 ล้านคน 3 จังหวัดมี 32 อำเภอ กรุงเทพมหานครมี 50 เขต รูปแบบที่แต่ละคนเสนอยังไม่มีรายละเอียดที่พอจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร

พรรคประชาธิปัตย์ก็กระจายอำนาจ หนึ่งคือ มีอบจง อบต. เทศบาล มี 200 กว่าภารกิจ ที่ส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเห็นได้ว่า ในท้องถิ่นมีพี่น้องมุสลิมเป็นผู้นำอยู่ ในเขตเทศบาลก็มีพี่น้องไทยเชื้อสายจีนเป็นผู้นำ ผมคิดว่าการกระจายอำนาจแบบนี้น่า จะใช้ได้ แต่ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของให้กระจายอำนาจเพิ่มอีกเป็น 300 ภารกิจ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลก็ไม่น่าจะยาก ยินดีที่จะเพิ่มภารกิจให้

อย่างเช่น เรื่องการศึกษาท้องถิ่น อยากให้มีโรงเรียนสองภาษา คือ ภาษามลายูถิ่นหรือภาษายาวีควบคู่กับภาษาไทย อันนี้ทำแล้วและตั้งใจจะเพิ่มทุกพื้นที่ สอง หลักสูตรที่ท้องถิ่นต้องการคือวิถีชีวิตมุสลิม อันนี้ได้ สาม ในพ.ร.บ.ศอ.บต.ได้เขียนให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ อยากได้เขตเศรษฐกิจที่ไร้แอลกอฮอล์ ปลอดอบายมุข ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิมก็ทำได้ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

ยังมีเรื่องที่กระจายอำนาจได้อีก คือ ตอนนี้หลายคนต้องการให้มีศาลชารีอะห์จากหลักนิติธรรมทั่วไป ในเรื่องครอบครัวและมรดก ตอนนี้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ลงนามในร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลชารีอะห์แล้ว ค้างอยู่ในสภาแล้ว สาระสำคัญคือ พี่น้องที่เป็นมุสลิมสมัครใจที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมที่ศาลชารีอะห์เมื่อมีข้อพิพาทในเรื่องครอบครัวและมรดก จะมีแผนกศาลชารีอะห์อยู่ทั่วประเทศ วิธีพิจารณาความก็ต้องตามหลักศาสนาอิสลามและผู้พิพากษาก็ต้องเรียนจบหลักสูตรกฎหมายอิสลาม

ถามว่า ศอ.บต.กระจายอำนาจการปกครองและการบริหารงบประมาณมาหรือยัง กฎหมายเขียนไว้อีกว่า ให้คณะกรรมการรัฐมนตรีภาคใต้ มี 34 คน มีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา มีตัวแทนประชาชนอีก 5 คน

เรื่องที่อำนาจส่วนกลางเปิดโอกาสให้นายอำเภอกำกับดูแลการจัดทำงบประมาณของ อบต. และผู้ว่าราชการมากำกับดูแลการจัดทำงบประมาณของอบจ.เป็นเรื่องปลีกย่อย สามารถแก้ไขกฎหมายได้ โดยให้สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของศอ.บต. จำนวน 49 คน เสนอแก้ไขได้ เพราะในกฎหมายฉบับนี้ บอกว่า การจัดทำนโยบายของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ชาติพันธ์ ประติศาสตร์และสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ถ้าจะหยิบเอากฎหมาย องค์กรและโครงสร้างที่สามารถดำเนินการได้เลยทันที ไม่ต้องออกกฎหมายใหม่ ตั้งมหานครปัตตานี ไม่ต้องจัดตั้งทบวงซึ่งต้องใช้เวลาจัดตั้งร่วม 2 ปี ใช้อันนี้ไปก่อน ถ้าใช้แล้วเห็นว่าไม่ดี ก็ค่อยๆวิวัฒนาการได้

ข้อสังเกต คือ การจัดการในรูปแบบการกระจายอำนาจ ต้องใช้งบประมาณเป็นมหาศาล ตัวอย่างเช่น ถ้าจะมีการเลือกตั้งในมหานครปัตตานี จะหาเสียงกันอย่างไร ต้องมีการลงทุนที่สูง ยกเว้นถ้าไม่มีการซื้อเสียง การติดต่อราชการกับสำนักงานมหานครปัตตานี ชาวบ้านจะทำอย่างไร เพราะมีสภาหลายชั้น ชาวบ้านที่อยู่ไกล จะเดินทางมาอย่างไร

นายอีรฟาน สุหลง พรรคเพื่อไทย

ประเด็นการกระจายอำนาจ ได้มีการพูดถึงในนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการนำของ นายบุรฮานุดิง อุเซ็ง สมาชิกพรรคเพื่อไทย นโยบาย คือ การเพิ่มงบประมาณให้องค์กรส่วนท้องถิ่น 25 เปอร์เซ็นต์จากงบประมาณแผ่นดิน

เพราะวันนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งงบหายไป อย่างเช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เมื่อปีที่แล้ว งบประมาณหายไป 35 ล้านบาท เพราะตัวเงินไม่มีมีแต่ตัวเลขงบประมาณ ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงมีนโยบายที่จะเพิ่มงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ 25 %

นโยบายของพรรคเพื่อไทยมีทั้งหมด 36 นโยบายหลัก ในส่วนประเด็นนโยบายมหานครปัตตานีนั้น แม้จะยาก แต่เราจะพยายามทำ โดยรวม 3 จังหวัด เป็นนครปัตตานี โดยจะมีรูปแบบของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด เปรียบเสมือนองค์การบริหารส่วนตำบลใหญ่ แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นเดิม คือ อบต. อบจ.และเทศบาล ยังอยู่เหมือนเดิม

พรรคเพื่อไทยพูดถึงนครปัตตานี ไม่ใช่นครรัฐปัตตานี เราไม่คิดแบ่งแยกดินแดน แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ในส่วนประเด็นศอ.บต. ที่มีอยู่แล้วนั้น จะปรับให้ผู้อำนวยการมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งต่างกับของพรรคประชาธิปัตย์ที่ผู้อำนวยการ ซึ่งปัจจุบันคือเลขาธิการมาจากส่วนกลาง ตอนนี้ศอ.บต.ทำดีแล้ว แต่ถามว่า ผู้แทนที่อยู่ในสภาที่ปรึกษาของ ศอ.บต. มีมุสลิมอยู่กี่คน

วันนี้สังคมไทยมีปัญหามาก จะทำอย่างไรที่จะให้ท้องถิ่นสามารถปกครองตนเองได้ แต่รูปแบบที่พรรคเพื่อไทยจะทำนั้น เราเปลี่ยนนิดเดียวเอง และนโยบายเหล่านี้ ไม่ใช่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนคิด แต่มาจากทีมงานของเราที่คิดขึ้นมา ต้องขอบคุณพล.อ.ชวลิต ที่เป็นคนเสนอแนวคิดนี้ ตอนนี้ความคิดนี้ยังอยู่ แม้พล.อ.ชวลิตไม่ได้อยู่พรรคเพื่อไปแล้ว

พรรคมีนโยบายเพื่อปากท้อง 30 ข้อ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ จบปริญญาตรีได้เงินเดือน 15,000 บาท ส่วนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนมุสลิม คือ จะโค้วต้าผู้ประกอบพิธีฮัจย์ จะยกระดับมาตรฐานการส่งเสริมกิจการฮัจย์ โดยจะสร้างที่พักใกล้กับมัสยิดฮารอมในประเทศซาอุดิอาระเบีย และจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดิอาระเบีย

นายมะเซะ บากา พรรคดำรงไทย

ต้นเหตุของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การใช้กฎหมายพิเศษต่างๆ ดังนั้นนโยบายของพรรคเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอย่างเดียว คือ การยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในพื้นที่

เหตุที่ต้องการยกเลิกเนื่องจากพรรคมีนโยบายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งแม้พรรคดำรงธรรมเป็นพรรคเล็ก แต่พร้อมทำงาน ส่วนหลังจากยกเลิกไปแล้ว จะทำอะไรต่อไปนั้น ต้องถามประชาชนอีกที แต่ผมต้องการให้พวกเรามีสิทธิเสรีภาพก่อน อย่างอื่นไม่มีอะไร ต้องถามพี่น้องประชาชน

เมื่อยกเลิกไปแล้ว ก็ทำให้เรามีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าปัญหายังมีอยู่และอยากใช้พระราชกำหนดนี้อีก ก็ใช้ได้

นายมูฮำหมัดอารีฟีน จะปะกียา พรรคมาตุภูมิ

ในมุมมองของพรรคมาตรภูมิ ประเด็นปัญหาภาคใต้เป็นวาระของชาติและเป็นนโยบายหลักของพรรคมาตุภูมิปัญหาภาคใต้ไม่ใช่ปัญหาไม่มีจะกิน แต่เป็นเรื่องความจริง ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่มีเอกภาพและไม่ต่อเนื่อง มีความขัดแย้งและแข่งขันอยากมาทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการแก้ปัญหาไม่นำเอาคำสอนในคำภีร์อัลกุร-อาน มาเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหา และ กำหนดประเด็นปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น นโยบายหลัก คือ การสร้างความเข้าใจและสามัคคี

นโยบายของพรรคมาตุภูมิ คือการตั้งทบวงบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของสงขลา ผู้ที่เป็นหัวหน้าของทบวงต้องเป็นรัฐมนตรี มาประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมที่นี่ รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลประชาชน

ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสิทธิเป็นรัฐมนตรี โดยคนที่จะเป็นรัฐมนตรีจะต้องมีศาสนา คนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีทบวงนั้น ต้องเป็นส.ส. จะมาจากจังหวัดไหนก็ได้ แต่ต้องมาอยู่ที่นี่

การพิจารณางบประมาณก็ต้องผ่านทบวงนี้ โดยกรมต่างๆ ก็ต้องมาอยู่ที่นี่ ส่วนจังหวัดยังเป็นข้าราชการ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะไม่แตะต้อง และจะคงไว้ซึ่งแม่ทัพภาคที่ 4 มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

พรรคมาตุภูมิเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ ซึ่งการกระจายอำนาจของพรรคคือการเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม

นายอัซโตร่า โต๊ะราแม พรรคความหวังใหม่

นักการเมืองคนแรกที่พูดเรื่องการกระจายอำนาจและมหานครปัตตานี คือ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่และเป็นนักการเมืองที่ไม่เหมือนคนอื่น ในอดีตคนที่คิดเรื่อง การกระจายอำนาจ คือ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา แต่สุดท้ายถูกมองว่า ต้องการแบ่งแยกดินแดน

พรรคความหวังใหม่ เป็นพรรคที่มาจากรากหญ้าจริงๆ ไม่ใช่มาจากส่วนบน และ ต้องการการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบมหานครปัตตานี ที่มีความหลากหลาย ทางศาสนาและเชื้อชาติ ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้

พรรคความหวังใหม่ต้องการมีมหานครปัตตานี เพื่อคนไทยพุทธและมุสลิม และเราจะมีเมืองใหม่นูซันตารา ซึ่ง ผมคิดเอง จะเป็นเมืองไหร่ก็ได้ แต่นี่คือนากือรี(เมือง)ของเราเอง

เราจะมีมหาวิทยาลัยของคนพุทธ มุสลิม มีมัสยิดที่ใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีวัดที่ใหญ่ด้วย จะให้มีการสอนภาษามลายูมาตรฐาน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วีดีโอ : ภูมิซรอล ในความสงบชั่วคราว

Posted: 05 Jun 2011 08:27 AM PDT

การปะทะกันระหว่างทหารไทยและกัมพูชาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้หมู่บ้านภูมิซรอล ซึ่งตั้งอยู่ในแนวปะทะใกล้ปราสาทเขาพระวิหารใน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ถูกถล่มด้วยกระสุนปืนใหญ่อย่างหนัก ผ่านมากว่า 4 เดือนแล้ว ความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของชาวบ้านที่นั่นเป็นอย่างไร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์: คำขอโทษ จากนายกอภิสิทธิ์

Posted: 05 Jun 2011 06:11 AM PDT

92 ศพ

2,000 ผู้บาดเจ็บ

162 คดีภายใต้การควบคุมของดีเอสไอ

31 ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงศีรษะ

0 คำขอโทษจากนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่มีอภิสิทธิ์ในการได้พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์หลายต่อหลายครั้ง ได้สัมภาษณ์ ได้สอบถามในหลายๆ ประเด็น หนึ่งในสิ่งที่ผมได้ถามด้วยความอยากรู้ คือเรื่องของ “คำขอโทษ” จากปากของนายกฯอภิสิทธิ์ หลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม

ทุกครั้งก่อนได้สัมภาษณ์พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ทีมงานจะยืนยันว่า ผมสามารถถามคำถามอะไรก็ได้กับคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งด้วยลีลาฟุตเวิร์กระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ถามเรื่องไหนไป นายกอภิสิทธิ์ก็ตอบได้หมด เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร มีดีมีร้าย แต่นายกอภิสิทธิ์ชี้แจงได้หมด

ยกเว้นอยู่คำถามเดียว ที่ไม่สามารถออกอากาศได้ 

“หลังการสลายการชุมนุม มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก เรื่องความรับผิดชอบย่อมเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศแล้วมีผู้เสียชีวิตด้วยประเด็นทางการเมือง นายกอภิสิทธิ์ต้องการจะขออภัยฝั่งผู้ชุมนุมบ้างหรือไม่?”

ผมได้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนี้อยู่สองครั้ง เฝ้ารอคำตอบด้วยใจระทึกและความคาดหวัง ใจระทึกว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร และคาดหวังว่าเราอาจจะได้ยินคำขอโทษจากผู้นำประเทศที่ตัดสินใจผิดพลาดจากเหตุทางการเมืองสักครั้ง

แต่สุดท้ายก็ไม่
ไม่ได้ยิน “คำขอโทษ”
ฅไม่ได้รับรู้ถึง “ความสำนึกผิด”

ที่ได้ยินกลับมาคือ
“คำถามนี้ไม่สามารถออกอากาศได้”

ถามว่าทำไม?
“เพราะถ้าเราขอโทษ เท่ากับว่าฝ่ายเรายอมรับว่าเป็นฝ่ายผิด”

นี่คือคำตอบเดียวที่ได้รับจากนายกอภิสิทธิ์ กับความรู้สึกลึกๆจากใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวัง 

ความคาดหวังจากนายกรัฐมนตรีที่เคยพูดว่า “ผมขอเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ” 
ความคาดหวังจากนักการเมืองที่เคยพูดว่า “จะหนึ่งคนหรือแสนคนเราก็ต้องรับฟัง”
ความคาดหวังที่จะได้ยินคำว่า "ขอโทษ" เพื่อให้รับรู้ว่าท่านนายก เข้าใจถึงความผิดพลาด ในการตัดสินใจของตัวเอง

ความคาดหวังจากมาตรฐานของคนทั่วไป ...
ที่ไม่ได้ต้องการจะล้มล้างรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ ...
ที่ไม่ได้คาดหวังว่าท่านจะต้องยุบสภาหรือลาออก ...

เพียงแต่คาดหวัง “คำขอโทษ”
“คำขอโทษ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวัง จากคนที่เราใส่ใจ ให้ความสำคัญ
.... และยังพร้อมที่จะรับฟัง

 

.............................
หมายเหตุ: บทความนี้เขียนเมื่อช่วงเดือนตุลาคมปี 2553 หลังจากผมได้รับเชิญให้ไปถามคำถามนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านรายการทางเวบไซท์ของนายกรัฐมนตรี

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์: คำขอโทษ จากนายกอภิสิทธิ์

Posted: 05 Jun 2011 06:10 AM PDT

ประชาไทได้รับบทความจากนักข่าวภาคสนามชื่อดัง เป็นบทความที่เขียนขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 53 เนื้อหาเกี่ยวกับความคาดหวังและการรอคอย

92 ศพ

2,000 ผู้บาดเจ็บ

162 คดีภายใต้การควบคุมของดีเอสไอ

31 ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงศีรษะ

0 คำขอโทษจากนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ที่มีอภิสิทธิ์ในการได้พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์หลายต่อหลายครั้ง ได้สัมภาษณ์ ได้สอบถามในหลายๆ ประเด็น หนึ่งในสิ่งที่ผมได้ถามด้วยความอยากรู้ คือเรื่องของ “คำขอโทษ” จากปากของนายกฯอภิสิทธิ์ หลังจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม

ทุกครั้งก่อนได้สัมภาษณ์พูดคุยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ทีมงานจะยืนยันว่า ผมสามารถถามคำถามอะไรก็ได้กับคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งด้วยลีลาฟุตเวิร์กระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ถามเรื่องไหนไป นายกอภิสิทธิ์ก็ตอบได้หมด เรื่องจริงจะเป็นอย่างไร มีดีมีร้าย แต่นายกอภิสิทธิ์ชี้แจงได้หมด

ยกเว้นอยู่คำถามเดียว ที่ไม่สามารถออกอากาศได้ 

“หลังการสลายการชุมนุม มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก เรื่องความรับผิดชอบย่อมเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศแล้วมีผู้เสียชีวิตด้วยประเด็นทางการเมือง นายกอภิสิทธิ์ต้องการจะขออภัยฝั่งผู้ชุมนุมบ้างหรือไม่?”

ผมได้ถามนายกรัฐมนตรีเรื่องนี้อยู่สองครั้ง เฝ้ารอคำตอบด้วยใจระทึกและความคาดหวัง ใจระทึกว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร และคาดหวังว่าเราอาจจะได้ยินคำขอโทษจากผู้นำประเทศที่ตัดสินใจผิดพลาดจากเหตุทางการเมืองสักครั้ง

แต่สุดท้ายก็ไม่
ไม่ได้ยิน “คำขอโทษ”
ฅไม่ได้รับรู้ถึง “ความสำนึกผิด”

ที่ได้ยินกลับมาคือ
“คำถามนี้ไม่สามารถออกอากาศได้”

ถามว่าทำไม?
“เพราะถ้าเราขอโทษ เท่ากับว่าฝ่ายเรายอมรับว่าเป็นฝ่ายผิด”

นี่คือคำตอบเดียวที่ได้รับจากนายกอภิสิทธิ์ กับความรู้สึกลึกๆจากใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวัง 

ความคาดหวังจากนายกรัฐมนตรีที่เคยพูดว่า “ผมขอเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ” 
ความคาดหวังจากนักการเมืองที่เคยพูดว่า “จะหนึ่งคนหรือแสนคนเราก็ต้องรับฟัง”
ความคาดหวังที่จะได้ยินคำว่า "ขอโทษ" เพื่อให้รับรู้ว่าท่านนายก เข้าใจถึงความผิดพลาด ในการตัดสินใจของตัวเอง

ความคาดหวังจากมาตรฐานของคนทั่วไป ...
ที่ไม่ได้ต้องการจะล้มล้างรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ ...
ที่ไม่ได้คาดหวังว่าท่านจะต้องยุบสภาหรือลาออก ...

เพียงแต่คาดหวัง “คำขอโทษ”
“คำขอโทษ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวัง จากคนที่เราใส่ใจ ให้ความสำคัญ
.... และยังพร้อมที่จะรับฟัง

 

.............................
หมายเหตุ: บทความนี้เขียนเมื่อช่วงเดือนตุลาคมปี 2553 หลังจากผมได้รับเชิญให้ไปถามคำถามนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านรายการทางเวบไซท์ของนายกรัฐมนตรี

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิติราษฎร์ ฉบับที่ 23 (สาวตรี สุขศรี): ข้อสังเกตบางประการต่อคำสารภาพเรื่องแผนผังล้มเจ้า

Posted: 05 Jun 2011 05:37 AM PDT

สัปดาห์ที่ผ่านมามีปรากฎการณ์น่าสนใจกำเนิดขึ้น ต้นต่อมาจากคำรับสารภาพของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (อดีตโฆษก ศอฉ.) หรือ “เสธ.ไก่อู” ซึ่งกล่าวต่อศาลไว้ทำนองว่า “แผนผังล้มเจ้า” นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใดโดยยังไม่มีข้อยืนยันว่ารายชื่อที่อยู่ในแผนผังคือคนที่คิด "ล้มเจ้า" หรือ "ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์" จริง ๆ(1)

คำสารภาพนี้ได้มีการกล่าวโทษไปยังบทบาทและการทำหน้าที่ของ "สื่อมวลชน" ด้วยที่นำแผนผังฯ ไป "ขยายความ" ต่อกันเองจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมกันนั้นก็แสดงความเชื่อมั่นต่อการใช้ "ดุลพินิจและวิจารณญาณ" ของสังคมและประชาชนไทยว่าคงจะสามารถพิจารณาเองได้ว่าผังล้มเจ้าของ ศอฉ. นั้นหมายความอย่างไรกันแน่ จากปรากฎการณ์ดังกล่าว มีเรื่องที่ควรตั้งเป็นข้อสังเกต และข้อน่านำไปปฏิบัติหลายประการดังนี้...

1. สังคมที่ร้องหาคนดี โดยไม่มีคำตำหนิต่อผู้กล่าวความเท็จ
"ประการที่สอง ในช่วงเวลานั้น มีข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ตกล่าวหาในลักษณะทำนองว่า ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ซึ่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โทรศัพท์มาสั่งการศอฉ อยู่ตลอดเวลา ให้ดำเนินการนานับประการกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่น ซึ่งหมายความว่ามีความพยายามยามเป็นความจริง ศอฉ ก็มีความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบความจริงเป็นเช่นไร"   

                                                                                                 คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ

คำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. ในประเด็นเรื่องความพยายามในการช่วยแก้ข้อกล่าวหาที่อาจไม่เป็นความจริง และน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ "ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์" นั้น อันที่จริงต้องถือเป็นเรื่องถูกต้องดีแล้ว หากศอฉ. จะแสดงความเป็นสุภาพบุรุษหาทางชี้แจง เพื่อปกป้องบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการกระทำ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตนเอง และจะยิ่งถูกต้องที่สุด ถ้าความเป็นสุภาพบุรุษของศอฉ.เยี่ยงนี้เกิดขึ้นกับทุก ๆ คนไม่ว่าผู้นั้นจะมียศฐาเป็น "ท่านผู้หญิง" หรือว่าเป็นเพียง "สามัญชนคนธรรมดา"

อย่างไรก็ตาม สังคมไทยไม่ควรยอมรับได้เลยหากคำชี้แจงเพื่อปกป้องบุคคลคนหนึ่ง กลับกลายเป็นการกล่าวหา หรือ "เสมือนกล่าวหา" บุคคลอีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บน "มูลความจริง" เพราะนั่นย่อมทำให้บุคคลอื่น ๆ เหล่านั้นอาจได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับท่านผู้หญิงฯ เราย่อมไม่อาจให้อภัยได้ เมื่อพบว่า "ความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบว่าความจริงเป็นเช่นไร"  อันเป็นคำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. นั้น  กลับไม่ใช่การชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่เป็น “ความจริง” เพื่ออธิบายให้สังคม “ทราบความจริง” แต่กลายเป็นการกล่าว “ความไม่จริง” เรื่องหนึ่ง เพื่ออธิบาย “ความไม่จริง” อีกเรื่องหนึ่ง คำถามก็คือ เช่นนี้แล้วเมื่อไหร่กันที่สังคมไทยจะได้รับทราบ "ความจริง"

อนึ่ง ไม่ว่าในความเป็นจริงจะมีขบวนการล้มล้างสถาบันฯ อยู่หรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้คิดล้มล้าง แต่นั่นย่อมไม่ใช่ประเด็น หรือข้อแก้ตัวให้กับการกล่าวหาบุคคลใด ๆ โดยขาด "ข้อเท็จจริง" ที่จะมายืนยันความผิดที่ผู้ถูกใส่ความจนอาจได้รับโทษ หรือถูกเกลียดชังจากสังคม ฉะนั้น ศอฉ. จึงต้องมีความรับผิดชอบบางประการต่อเรื่องนี้ (ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป) ในขณะที่คนอื่นใดที่เพิกเฉยต่อการกระทำของศอฉ. โดยยกข้ออ้างทำนองว่า "แผงผังอาจไม่จริง แต่ก็ใช่ว่าขบวนการล้มเจ้าจะไม่มีอยู่จริง"  ควรต้องนับว่าเป็นผู้บกพร่องทางตรรก วิจารณญาณ และออกจะไร้สติสัมปชัญญะอยู่มาก

นับเป็นเรื่องน่าสนใจเช่นกัน เมื่อปรากฎการณ์นี้มาพร้อมกับความเงียบงันโดยพร้อมเพรียงกันของผู้คนทั้งที่มีอาวุโส และไม่มีอาวุโสทั้งหลาย ที่มักคร่ำครวญหาผู้มีศีลธรรมความดีงามให้เข้าสู่อำนาจและทำตนเป็นแบบอย่าง เป็นหลักเป็นฐานกับบ้านเมือง เขาเหล่านี้ทำเหมือนกับว่า "การไม่กล่าวคำเท็จ การไม่พูดจาส่อเสียด หรือการไม่นำเสนอข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบ เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน รวมทั้งการกล่าวคำที่อาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย" เหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อหนึ่งที่ผู้มีธรรมควรยึดถือปฏิบัติ หรือเป็นหมุดหมายหนึ่งของคุณลักษณะแห่งการเป็น "คนดีมีศีลธรรม" บุคคลเหล่านี้ คือ คนที่พร้อมยกมือสนับสนุนให้จำกัดจัดการเสรีภาพของสามัญชนอย่างถึงที่สุด หากคำพูดของมันผู้นั้นทำท่าว่าจะก่อความเสียหายให้แก่อภิสิทธิ์ชน แต่กลับหดมือซุกกระเป๋าเมื่ออภิสิทธิ์ชนเป็นคนทำให้สามัญชนต้องเสื่อมเสีย 

ฤาคำว่า "ศีลธรรมและความดีงาม" ของประเทศนี้ไม่ได้รวมถึงการ "ห้ามกล่าวความเท็จ" 

2. บทบาทของสื่อกระแสหลัก
น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อสังคมไทยต้องพบว่า ณ เวลาที่ศอฉ. แถลงข่าวต่าง ๆ ในช่วงของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สื่อกระแสหลักทุกช่องต่างทำ จ้องทำ หรือต้องทำข่าวเพื่อนำเสนอต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งนอกเหนือจากการถ่ายทอดสดการแถลงข่าว (อันเป็นเสมือนหน้าที่ของสื่อเหล่านั้น) แล้ว ยังมีการสรุปความและนำเสนอในช่วงเวลาข่าวเช้าบ่ายเย็นอีกด้วย แต่การณ์กลับปรากฏว่าสื่อกระแสหลักทุกช่อง สื่อหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อ้างว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ต่างพร้อมใจกันเพิกเฉย และไม่ทำข่าวการสารภาพของโฆษกศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้ว “แผนผังล้มเจ้า” (ที่สำนักข่าวตนเคยนำไปขยายความเอง ตามคำซัดทอดของพ.อ.สรรเสริญ) นั้น ศอฉ. มิได้พูดหรือมิได้ตั้งใจให้หมายความว่าคนซึ่งมีรายชื่อในผังนั้นมีพฤติกรรม หรือมีความคิดที่จะล้มล้างสถาบันฯ จริง ๆ  คงมีเพียงสื่อทางเลือก หรือสื่อกระแสรองเพียงไม่กี่สำนักเท่านั้นที่เขียนข่าวถึง

ไม่ว่าการ “ขยายความต่อ” จะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจากความสมัครใจหรือไม่  แต่เมื่อปรากฎว่าสิ่งที่นำไปขยายความนั้นไม่เป็นข้อความจริง หรืออย่างน้อยที่สุดมันอาจทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จนอาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย คำถามก็คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้บ้างหรือไม่ การทำข่าวนำเสนอ “ความจริง”  เพื่อแก้ไข “ความไม่จริง” หรือแก้ไข "ความบิดเบือน" ที่ตนเคยเสนอออกไปในอดีต  มิได้เป็นสิ่งที่ควรทำ หรือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการทำหน้าที่ของ “สื่อไทย” ฉะนั้นหรอกหรือ

ฤาว่าผู้มีรายชื่อในแผนผังกำมะลอฉบับนี้  และได้รับความเสียหายจากการเสนอข่าวของสื่อเหล่านี้ ควรต้องดำเนินการฟ้องร้องสื่อจริง ๆ ตามคำแนะนำของ พ.อ. สรรเสริญ เพื่อสร้างบรรทัดฐานแก่สังคม พร้อม ๆ กับเรียกร้องจรรยาบรรณจากสื่อ

3. โปรดใช้วิจารณญาณแบบไทย ๆ
"...แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม เพราะเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องตัดสิน ส่วนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจะฟ้องร้องกับผู้ที่นำไปขยายความในทางที่ผิดจากเจตนารมณ์ของศอฉ ก็สุดแล้วแต่บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณา...“ 

                                                                         คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ

เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2553 สถานีวิทยุชุมชนถูกปิดจำนวน 26 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ถูกยุติการออกอากาศจำนวน 6 แห่ง ปรากฏชื่อในข่ายมีความผิด 84 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด (2) ราวเดือนเมษายนปี 2554 วิทยุชุมชนเสื้อแดง 13 แห่งถูกปิด หรือให้ยุติการออกอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล(3) จากการสำรวจสถิติการปิดกั้นเว็บไซท์ตั้งแต่ปี 2550 ถึง กลางปี 2553 มีเว็บเพจถูกคำสั่งศาลปิดกั้นการเข้าถึงอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 74, 686 ยูอาร์แอล เลขหมายยูอาร์แอลดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจากหลักพันเป็นหลักหมื่นในช่วงปี 2552 และเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี 2553  (4) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการชุมนุม และมีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง

ข้อเท็จจริงเบื้องต้น คือ สื่อต่าง ๆ ที่ถูกปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงเหล่านี้ นอกจากฝ่ายรัฐบาล หรือหน่วยงานที่ปิดกั้นแล้ว ไม่มีใครมีโอกาสได้รับรู้เลยว่าเนื้อหาที่เผยแพร่อันเป็นสาเหตุของการถูกปิดกั้นนั้นเป็นอย่างไร หรือขัดต่อกฎหมายอย่างไร สื่อที่ถูกปิดกั้นบางสื่อนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลาย มีทั้งที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดได้ และเรื่องทั่ว ๆ ไปที่ไม่น่าจะเป็นความผิด (เพราะเนื้อหาในลักษณะเดียวกันสามารถนำเสนอได้ในสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ถูกปิดกั้น)

แต่ด้วยเหตุผลบางประการ "สื่อเหล่านั้น" ก็กลับถูกปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงทั้งหมดแบบไม่เลือกเนื้อหา จำนวนตัวเลขยูอาร์แอลที่ถูกปิดกั้นโดยคำสั่งศาลจากผลการสำรวจดังกล่าว ยังมิได้นับรวมเว็บเพจอีกจำนวนมหาศาลที่ถูกปิดกั้นโดยคำสั่งของศอฉ. ซึ่งไม่ได้ขอคำสั่งศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (มาตรา 20) แต่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

และข้อเท็จจริงเบื้องต้นอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ที่ผ่านมาแม้สื่อจำนวนมากจะโดนปิดกั้นไปแล้ว (ปัจจุบันหลายแห่งยังถูกปิดกั้นต่อไป แม้จะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ไปแล้วก็ตาม) หรือห้ามไม่ให้ดำเนินการ หรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน แต่กลับมีผู้ที่ต้องรับผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เป็นเจ้าของสื่อเหล่านั้นถูกฟ้องร้อง หรือถูกศาลพิพากษาว่าเผยแพร่สิ่งที่เป็นความผิดตามกฎหมายจริง ๆ ในจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสื่อที่ถูกปิดกั้นไป จึงนำมาซึ่งข้อสงสัยว่าตกลงแล้ว "เนื้อหา" ที่ถูกปิดกั้นนั้นเป็นความผิด หรือว่าไม่ผิด ตัวเลขสถิติ (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) รวมทั้งรูปแบบ และวิธีการในการปิดกั้นสื่อเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุดสามารถสะท้อนได้ว่า ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐไม่ได้ต้องการให้ประชาชนรับสื่อโดยใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการตัดสินความน่าเชื่อถือของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รัฐหาได้พยายามเปิดพื้นที่ หรือให้โอกาสในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับทุก ๆ ฝ่ายไม่

ทั้งที่ข้อมูลที่หลากหลายเหล่านั้นมีความสำคัญยิ่งที่จะทำให้การคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของประชาชน และสังคมเป็นไปได้อย่างถูกต้อง หรือไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และด้วยสถานการณ์การไล่ล่าสื่อที่เห็นต่างจากฝ่ายรัฐดัวกล่าวมา ประกอบกับพฤติกรรมดูถูกหรือไม่ไว้วางใจสติปัญญาของประชาชนไทยของภาครัฐ จึงนับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจยิ่งว่า เมื่อมาถึงกรณี “แผนผังล้มเจ้า” แล้ว พ.อ. สรรเสริญ กลับร้องหาและเชื่อมั่นอย่างมากในวิจารณญาณของผู้คนในสังคม

ต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ประเด็นคงมิใช่เรื่องที่ผู้เขียนอยากตัดพ้อ หรือประชดประชันการใช้อำนาจรัฐแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญที่อยากชี้ชวนให้ตั้งคำถามดัง ๆ ก็คือ ในท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนคนไทยมีโอกาสเข้าถึง หรือได้รับข้อมูลข่าวสารอย่าง “ครบถ้วนรอบด้าน” จากทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากันหรือไม่ อย่างไร เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจหรือใช้วิจารณญาณต่อเรื่อง "แผนผังล้มเจ้า" (รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ในช่วงความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมาด้วยว่าฝ่ายใดผิดถูก)

หากพิจารณาให้ดี ๆ เราจะเห็นถึงความย้อนแย้งในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะในขณะที่ ศอฉ. เรียกร้องการตัดสินใจจากสังคมโดยวิเคราะห์จากข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่ แต่ปรากฎว่าในช่วงเวลานั้น รัฐ ศอฉ. และสื่อที่เห็นด้วยกับรัฐ แทบจะเป็นฝ่ายเดียวที่มีพื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อประชาชนได้อย่างเต็มที่

เช่นนี้แล้ว ศอฉ. จะต้องแปลกใจด้วยหรือ หรืออันที่จริงแล้วศอฉ. ควรคาดหมายได้อยู่แล้วด้วยซ้ำไปว่า ด้วยการใช้  “วิจารณญาณแบบไทย ๆ” ผลลัพธ์ที่ออกมาต่อกรณีแผนผังล้มเจ้าของตนและพวกจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร

4. ว่าด้วยความรับผิดชอบในทางกฎหมาย
ไม่ว่าเสธไก่อู ศอฉ. หรือคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะยอมรับหรือไม่ก็ตาม แต่ย่อมปฏิเสธได้ยากว่า "แผนผังล้มเจ้า" มีหน้าที่ "ทางการเมือง" ประการสำคัญ (ดังที่เกษียร เตชะพีระ เคยกล่าวไว้แล้ว5) เพราะนอกจากผังดังกล่าวจะกลายเป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ถูกอ้างอิงโดย DSI ในการดำเนินการกับกลุ่มบุคคลแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังเคยใช้ผังนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการอ้างอิงความชอบธรรมสำหรับการกระทำของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำรุนแรงต่อคนไทยด้วยกัน ในฐานะองค์กรผู้ปกป้องสถาบันฯ สำคัญของชาติ 

ทั้งนี้ รายชื่อบุคคลหรือองค์กรที่ปรากฎอยู่ในแผนผังจำนวนหนึ่งคือชื่อของแกนนำนปช. ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษว่ามีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ แล้ว ผู้ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาหรือกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี รวมทั้งผู้ที่อาจยังไม่ถูกตั้งข้อหาใด ๆ แต่ถูกประณามจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ด้วยพลังการทำลายล้างของ "แผนผังล้มเจ้า" ไม่ว่าจะเป็น การสลายการชุมนุมจนมีประชาชนบาดเจ็บและล้มตายจำนวนมากถึงสองครั้งสองครา การสร้างความรู้สึกเกลียดชังให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ตำรวจ ทหาร การดำเนินคดีกับบุคคลฝ่ายต่าง ๆ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวพันกับการล้มล้างสถาบันฯ ส่งผลให้บุคคลจำนวนไม่น้อยถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว หมายรวมกระทั่งความไม่พอใจต่อสถาบันฯ ที่เริ่มแผ่ขยายไปในหมู่ประชาชนมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน เราจึงไม่อาจเพิกเฉย หรือไม่ตั้งคำถามใด ๆ ต่อเรื่องนี้ได้เลย และกลุ่มบุคคลผู้เต้าแผนผังฯ จะสามารถลอยตัวเหนือปัญหา โยนภาระให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายแบบที่เป็นอยู่กระนั้นหรือ หากวิเคราะห์จากพฤติการณ์และเจตนาแล้ว การกระทำของศอฉ. และพวก จึงน่าจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 326, 328  (6 )กล่าวสรุปให้สั้น และง่ายสำหรับบทบัญญัติทั้ง 3 มาตรานี้ได้ว่า มาตรา 157 คือบทที่ว่าด้วย "ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ" กล่าวคือ เจ้าพนักงานของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ของตนไปในทางมิชอบก็ดี ไปในทางทุจริตก็ดี เพียงเพื่อใส่ร้าย กลั่นแกล้ง หรือก่อให้เกิดความเสียหายในทางใดทางหนึ่งแก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ดี เจ้าพนักงานของรัฐเหล่านั้นจะต้องมีความรับผิดทางอาญา เช่นนี้แล้วเมื่อ ศอฉ. รู้ทั้งรู้ว่ารายชื่อที่ตนนำมาจับโยงใยไปมาในเอกสาร แล้วตั้งชื่อเอกสารว่า "แผนผังเครือข่ายล้มเจ้า" เป็นเรื่องที่ยังไม่มีมูล หรือยังไม่มีข้อยืนยันได้ว่าคนเหล่านั้นคิดล้มล้างสถาบันฯ จริงๆ แต่ยังนำมาแถลงให้เป็นข่าวใหญ่ครึกโครม แจกจ่ายเอกสารแก่สื่อมวลชน จึงย่อมมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ มุ่งแต่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่สังคม และทำให้บุคคลในแผนผังฯ ได้รับความเสียหาย 

นอกจากนี้  การกระทำดังกล่าวยังเข้าข่ายเป็นการ "ใส่ความ" ตาม มาตรา 326 คือ การกล่าวร้ายต่อบุคคลอื่นใดกับบุคคลที่สาม ในประการที่ "น่าจะ" ทำให้บุคคลที่ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดในฐานหมิ่นประมาท บทบัญญัตินี้มีความน่าสนใจอยู่มากตรงที่ ผู้ถูกใส่ความสามารถร้องขอความเป็นธรรมจากศาลได้แม้จะไม่ปรากฎ "ความเสียหาย" ที่เป็นรูปธรรมขึ้นจริงก็ตาม เพราะกฎหมายใช้คำว่า "น่าจะ" เท่านั้น

จากกรณีนี้ ย่อมชัดเจนว่าประเทศไทยและสังคมยังคงอ่อนไหวกับเรื่องราวใด ๆ ที่เกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (พิจารณาได้จากสถานการณ์เชียร์และต้านมาตรา 112) ดังนั้น  ไม่ว่าในความเป็นจริงบุคคลต่าง ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ในแผนผังฯ จะได้รับความเสียหายหรือถูกใครเกลียดชังจริงหรือไม่ แต่คำว่า "ล้มเจ้า" นี้ห้วงยามปัจจุบันย่อมเป็นถ้อยที่ "น่าจะ" ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเสียหาย หรือถูกเกลียดชังได้ทั้งสิ้น อนึ่ง พฤติการณ์ในการ "ใส่ความ" ดังกล่าว ได้ปรากฎชัดเจนว่า ศอฉ. กระทำด้วยการแถลงต่อ "สื่อ" หรือด้วยการ "โฆษณา" ดังนั้นจึงอาจต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 328 (หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา)

อย่างไรก็ตาม จากคำรับสารภาพของพ.อ. สรรเสริญ ที่ว่า

"ข้าฯได้รับมอบหมายให้นำเอกสารเหล่านั้นไปแจกแก่สื่อมวลชน ซึ่งเอกสารที่ไปแจกนั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้ เกี่ยวข้องในฐานะอยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งให้สังคมพิจารณาและวินิจฉัยเอาเอง....ซึ่งมิได้แถลงเลยว่า บุคคลทั้งปวงเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้อยู่ในขบวนการ และมิได้ให้หมายความเช่นนั้น  แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม...“

ผู้เขียนจึงเห็นควรต้องอธิบายถึงบททีว่าด้วย "เจตนา" ในทางอาญาโดยสังเขปไว้เสียด้วย ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า ศอฉ.ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดได้ด้วยคำแก้เกี้ยวง่าย ๆ ดังกล่าว

ในทางกฎหมายอาญานั้น "เจตนา" ในการกระทำความผิด อันถือเป็นองค์ประกอบ (ภายใน) สำคัญที่จะตัดสินได้ว่าผู้กระทำต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนหรือไม่นั้น มิได้มีแค่เพียง "เจตนาประสงค์ต่อผล" เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเจตนาอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้กระทำสามารถ "คาดหมาย" หรือ "เล็งเห็น" ผลเสียหายจากการกระทำของตนด้วย หรือที่เรียกว่า "เจตนาเล็งเห็นผล" ยกตัวอย่างเช่น

นาย ก ยิงปืนไปที่ นาย ข เพราะต้องการฆ่านาย ข ให้ตาย ปรากฎว่านาย ข ตายจริง เช่นนี้ย่อมชัดเจนว่า นาย ก มีเจตนาที่ประสงค์ต่อผล คือ ความตายของนาย ข  นาย ก ต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล   แต่ในอีกกรณีหนึ่ง นาย ก ยิงปืนไปในฝูงชน โดยมีความประสงค์แค่ต้องการ "ข่มขู่" ไม่ได้อยากให้ใครตาย แต่ในความเป็นจริงการยิงปืนไปเช่นนั้น นาย ก ย่อมสามารถคาดหมาย หรือเล็งเห็นผลได้ว่าต้องมีหรืออาจมีใครตาย ปรากฎว่า นาย ข ซึ่งยืนอยู่ในฝูงชนนั้นตายจริง ๆ จากลูกกระสุนของนาย ก  เช่นนี้ นาย ก จะโบ้ยใบ้ว่าตนเองไม่ได้เจตนาให้นาย ข ตาย หรืออย่างมากก็แค่ประมาทเลินเล่อ (ซึ่งมีโทษน้อยกว่าเจตนา) มิได้  ในทางกฎหมายอาญานั้น นาย ก ต้องรับผิด ฐานฆ่า นาย ข ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล

เมื่อนำตัวอย่างดังกล่าวมาพิจารณากับกรณี "แผนผังล้มเจ้า" จะเห็นได้ว่า ด้วยห้วงยามแห่งการแถลงข่าว ด้วยความที่เป็นประเด็นอ่อนไหวอย่างมากสำหรับประเทศไทย ด้วยรายชื่อที่เกี่ยวข้อง (คนที่โดนพิพากษาว่าหมิ่นแล้ว โดนข้อหา แกนนำนปช.) ด้วยข้อมูลอื่นที่ศอฉ. และฝ่ายรัฐโหมเสนอต่อประชาชนก่อนหน้า ซึ่งแวดล้อมแผนผังฯ อยู่ เช่นนี้ แม้ศอฉ. ไม่ได้กล่าวถ้อยคำด้วยตนเองตรงๆ ชัดๆ ว่า "เอกสารที่ไปแจกนั้น

หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์" ก็ย่อมเป็นกรณีที่ศอฉ. สามารถเล็งเห็นผลได้ว่า สื่อและสังคมจะเข้าใจไปเช่นนั้น และเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฎในหลาย ๆ กรณีว่าได้เกิดความเข้าใจไปเช่นนั้นจริง ๆ ศอฉ. ย่อมมิอาจปฏิเสธความรับชอบของตนได้โดยอาศัยหลักการในเรื่อง "เจตนาเล็งเห็นผล" นี้เอง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ 423  (7 )สำหรับคนที่มีรายชื่อในแผนผังฯ และความเสียหายได้เกิดขึ้นจริงจนอาจพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมถึง "ค่า" แห่งความเสียหายนั้น น่าจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้อีกด้วย ทั้งนี้ โดยอาศัยมาตรา 420 และมาตรา 423 ในหมวดทีว่าด้วยเรื่องละเมิดโดยทั่วไป และการหมิ่นประมาทในทางแพ่ง เพราะจากคำรับสารภาพของพ.อ. สรรเสริญ เองย่อมชัดเจนแล้วว่าเป็นการ "กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง" 

พระราชบัญญัติว่าด้วยกากระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) สำหรับประเด็นนี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ที่ผ่านมาได้เคยมีการนำเอกสาร หรือแผนผังดังกล่าวไปเผยแพร่ หรือนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยหน่วยงานของศอฉ. หรือหน่วยงานของรัฐบาลเองด้วยหรือไม่ แต่หากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น กรณีเช่นนี้ย่อมมีโอกาสเข้าข่ายเป็นความผิดตาม มาตรา 14(2) ได้เช่นกัน ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน..." 

ปฏิเสธได้ยากว่าข้อหา "ล้มเจ้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยฝ่ายรัฐ (ไม่มีฐานความผิดนี้ปรากฎอยู่ที่ใดในกฎหมาย) เป็นคำกล่าวหาที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการกล่าวหานี้เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง หรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เกิดกระแสการคัดง้างกันระหว่างฝ่ายนิยมเจ้าและไม่นิยมเจ้าอยู่เนือง ๆ 

ในขณะที่ประชาชนโดยทั่วไปเองก็เริ่มรู้สึกหวาดกลัว และไม่มั่นคงในสเถียรภาพ เมื่อจู่ ๆ หน่วยงานของรัฐ (โดย ศอฉ.) เป็นผู้ลุกขึ้นมาปั้นแต่งว่ามีขบวนการล้มเจ้าอยู่จริง โดยทำทีชี้ชัดได้ว่ามีใครในขบวนการนี้บ้างย่อมต้องก่อให้เกิด "ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" ได้เป็นธรรมดา

สำหรับคำถามที่ว่า แผนผังล้มเจ้ากำมะลอฉบับนี้ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานชี้ได้เลยหรือไม่ว่า ฝ่ายรัฐกระทำผิดกฎหมายในการสั่งให้ทหารสลายการชุมนุมจนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย หรือใช้เพื่อการสั่งให้จับกุมหน่วงเหนี่ยวกักขังบุคคลอื่นไว้โดยมิชอบ โดยความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า ณ ปัจจุบัน โดยตัวของเอกสารเอง คงไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อชี้ชัด ๆ เช่นนั้นได้ เว้นแต่มีเอกสาร "คำสั่ง" ชิ้นอื่นใดมาประกอบว่าการสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม หรือการดำเนินการต่าง ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นโดยอาศัยแผนผังฯ นี้เป็น "ข้อหา" หลักหรือข้อหาพื้นฐาน ไม่ใช่ข้อหาอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อหาการ "ก่อการร้าย" ที่รัฐบาลมักกล่าวถึงเสมอๆ

หากในที่สุดแล้วข้อเท็จจริงยังมีแค่เพียงว่า ศอฉ. หรือฝ่ายรัฐ ใช้แผนผังฯ นี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ "กล่อมเกลา" หรือ "ชักจูง" ให้ตำรวจทหารผู้ปฏิบัติการ ปฏิบัติการได้อย่างเต็มที่เพราะรู้สึกว่าตนกำลังกระทำใน "สิ่งที่ถูกต้อง" หรือกำลัง "กำจัดอริราชศัตรู" การดำรงอยู่ของแผนผังฯ นี้ คงเป็นได้แต่เพียงเอกสาร "โฆษณาชวนเชื่อ" (Propaganda) ของฝ่ายรัฐ หรือฝ่ายนิยมเจ้าเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า พฤติกรรมการสร้างเรื่อง แต่งผังฯ รวมทั้งการแถลงข่าวแบบเล็งเห็นผลในความเสียหายที่อาจมีต่อบุคคลอื่นได้ดังกล่าวไปแล้วนั้น ย่อมใช้เป็น "หลักฐานประกอบ" ในประเด็นชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของคำพูด และการกระทำในช่วงที่ผ่านมาของฝ่ายรัฐได้เช่นกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่รัฐมีข้อพิพาทกับประชาชน, ปัญหาการยัดเยียดข้อกล่าวหา, การบิดเบือนคลิปภาพ เสียง หรือวีดิโอ, การกระพือข่าวการพบอาวุธหนักในที่เกิดเหตุ ฯลฯ เพราะคำสารภาพโดยศอฉ. ครั้งนี้ย่อมเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสงสัยได้ว่า การให้ข่าวก็ดี การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ก็ดีของฝ่ายรัฐที่ผ่าน ๆ ตั้งอยู่บนความโปร่งใส มีมูลเหตุที่ไม่สุจริต มีเป้าหมายอื่นใดแอบแฝง หรือได้ทำไปเพื่อความสงบสุข หรือเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมอย่างแท้จริง หรือไม่

สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่า ถ้าสื่อไทยมีจรรยาบรรณกว่านี้อีกนิด  ถ้าคนไทยเปิดตากว้างกว่านี้อีกหน่อย  และถ้าสังคมไทยจะมีวุฒิภาวะกว่านี้อีกเพียงเล็กน้อย  กรณีแผนผังล้มเจ้ากำมะลอของศอฉ. ก็น่าจะพอมีคุณูปการได้บ้าง อย่างน้อยที่สุดก็ในฐานะที่เป็นเครื่องเตือนสติคนไทยว่า อย่างมงายหลงเชื่อถ้อยแถลงของฝ่ายรัฐไปเสียทุกเรื่อง. 

 

---------------------------------------------

เชิงอรรถ

1)  ดูข่าวนี้ รวมทั้งเอกสารกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล ได้จากสำนักข่าวประชาไท http://www.prachatai3.info/journal/2011/05/34974

2) ข้อมูลจากรายงานผลการศึกษา "การจับกุมดำเนินคดีและปิดสถานีวิทยุชุมชน ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (7 เมษายน – 7 กรกฎาคม 2553) โดย โครงการเฝ้าระวังการแทรกแซงวิทยุชุมชน (Community Radio Watch) ดำเนินการโดย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) สนับสนุนโดย มูลนิธิไฮริค เบิลล์

3) ดูข่าวนี้ได้จาก "ปิดวิทยุชุมชนแดงหมิ่น หนุนทหารป้องสถาบัน" จากสำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000051458

4) ผลการวิจัย "สถานการณ์การควบคุม และปิดกั้นสื่อออนไลน์ด้วยการอ้างกฎหมายและแนวนโยบายแห่งรัฐไทย" สนับสนุนโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์; http://www.enlightened-jurists.com/directory/134

5) อ่านบทความเกษียร เตชะพีระ "หน้าที่ทางการเมืองของแผนฟังเครือข่ายล้มเจ้า" ที่ http://www.siamintelligence.com/politics-function-of-anti-monarchy-chart/

6) มาตรา 157 "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ"

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ชาวบ้านเก้าบาตร” เตรียมตั้ง “กองทุนต่อสู้คดี” กรณีชิงที่ดินโนนดินแดง

Posted: 05 Jun 2011 02:52 AM PDT

ชาวชุมชนบ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เตรียมจัดกิจกรรม 6-7 มิ.ย.นี้ หวังระดมทุนตั้งกองทุนต่อสู้คดี จากกรณีกินเข้าทำกินในพื้นที่หมดสัญญาเช่าป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ ปมขัดแย้งรัฐกับประชาชนไร้ที่ทำกิน
 
 
 
วันนี้ (5 มิ.ย.54) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ P move ได้ออกหนังสือรับบริจาคระดมทุน เพื่อตั้งกองทุนต่อสู้คดี ของชาวบ้านชุมชนเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์โดยในวันที่ 6-7 มิ.ย.นี้ จะมีการจัดกิจกรรมระดมทุนขึ้น เพื่อระดมทรัพยากรในการดำเนินการเกี่ยวกับคดีที่ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้แจ้งความ ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานอัยการรวมทั้งเก็บไว้ใช้เกี่ยวกับเครื่องอุปโภค และบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพต่อไป
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวถือเป็นผู้ได้รับผลกระทบ จากปัญหาเรื่องที่ทำกินในพื้นที่สัญญาเช่าป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดงที่รัฐอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย ข้ออ้างเพื่อความปลอดภัย แล้วนำที่ดินนั้นมาให้เอกชนเช่าทำสวนป่า จนในปี 2539 รัฐประกาศยกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งทับซ้อนและสร้างปัญหาทับที่ทำกินของชาวบ้านอย่างมากมาย
 
ต่อมาเมื่อบางบริษัทเริ่มหมดสัญญาเช่าหรือหมดอายุสัมปทานลง เมื่อปี 2546 ชาวบ้านที่เสียที่ดินทำกินในครั้งนั้นจึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อร้องคืนสิทธิที่ดินทำกิน โดยให้รัฐคืนสิทธ์ให้เจ้าของที่ดินเดิมและนำมาจัดสรรให้เกษตรกรยากจนไร้ที่ทำกิน จนมาถึงปี 2552 ชาวบ้านในนามเครือข่ายปฏิรูปที่ดินบ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง 170 ครอบครัวได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่หมดสัญญาเช่าของบริษัทเอกชนซึ่งเคยเช่าปลูกยูคาลิปตัส ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน เข้าไปจับจองพื้นที่หมดสัญญาเช่าอีกหลายกลุ่ม
 
ที่ผ่านมากรณีชุมชนเก้าบาตรมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในฐานะสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยร่วมกับรัฐบาล และได้เสนอเป็นพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชนแล้ว แต่สถานการณ์ในพื้นที่ชาวบ้านกลับถูกแจ้งความดำเนินคดี และยังคงยังถูกหน่วยงานฝ่ายความมั่งคงใช้ความรุนแรงขับไล่ออกจากพื้นที
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 พ.ค.54 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้ร่วมกับสภาประชาชน 4 ภาคประมาณ 5,000 คน ได้เข้าไปยังพื้นที่ โดยอ้างว่าต้องการเข้ามาในพื้นที่เพื่อปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ แต่ชาวบ้านที่อาศัยทำกินอยู่บริเวณนั้นกลับไม่ได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้เลย จึงมีการกันไม่ให้ทหารเข้าไปในพื้นที่ จนเกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรง และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 9 คน โดยชาวบ้านบางรายได้รับบาดเจ็บถึงขั้นที่ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลโนนดินแดง
 
 
 
ที่พิเศษ/2554
 
วันที่ 1 มิถุนายน 2554
 
เรื่อง      รับบริจาคระดมทุนตั้งกองทุนต่อสู้คดี ชุมชนเก้าบาตร
เรียน      พี่น้องขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและทุกท่าน
สิ่งที่ส่งมาด้วย กำหนดการ
 
ด้วย ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาเรื่องที่ทำกินในพื้นที่สัญญาเช่าป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ และได้เข้าอยู่อาศัยเพื่อและทำการเกษตรในระหว่างการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในบริเวณพื้นที่สัญญาเช่าและทางชาวบ้านได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้แจ้งความดำเนินคดี ปัจจุบันคดีอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานอัยการ
 
ในการนี้ กลุ่มชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้กำหนดให้มีกิจกรรมระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนต่อสู้คดี ชุมชนเก้าบาตรขึ้น ในวันที่ 6-7 มิถุนายน 2554 ณ ชุมชนเก้าบาตร ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อระดมทรัพยากรในการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดี รวมทั้งเก็บไว้ใช้เกี่ยวกับเครื่องอุปโภค และบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพ ต่อไป
 
จึงเรียนมายังพี่น้องขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และผู้มีศรัทธาต่อความเป็นธรรมทุกท่านร่วมบริจาคจตุปัจจัยเพื่อจัดตั้งกองทุนต่อสู้คดีชุมชนเก้าบาตร และขอเชิญร่วมงานดังกล่าวตามกำหนดการที่แนบมาด้วย ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
 
 
ศรัทธา เชื่อมั่น
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
 
 
ทั้งนี้ ท่านที่ประสงค์สนับสนุนกองทุนกองทุนต่อสู้คดี มาร่วมงานหรือมีการแสดง ที่ชุมชนเก้าบาตร สามารถติดต่อได้ที่
 
นายไพรฑูรย์ สร้อยสด 081-3036871 ชาวบ้านในพื้นที่
นายศักดิ์สิทธิ์ บุญญะบาล 084-6586194
น.ส.สดใส สร่างโศรก 089-4238338 ผู้ประสานงาน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P move)
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ใครๆบนแผ่นดินไทยก็เข้าถึงบริการสุขภาพได้” :หัวใจอยู่ที่ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care)

Posted: 04 Jun 2011 07:41 PM PDT

 

(1)

“ไม่ใช่คนทุกคนบนแผ่นดินไทย จะเข้าถึงบริการสุขภาพถ้วนหน้าได้”

“อู” หนุ่มแรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ทำงานอยู่ในไร่สตรอเบอรี่บ้านแม่ยางห้า ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านที่มีการทำไร่สตรอเบอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีการจ้างแรงงานอพยพข้ามชาติเข้ามาทำงานในไร่ เฉพาะบ้านแม่ยางห้าไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันคนเดินหน้าเศร้าเข้ามาหาตอนที่ฉันขึ้นไปที่หมู่บ้านเมื่อกลางพฤษภาคม 2554 เขาพูดด้วยน้ำเสียงกะท่อนกะแท่นพยายามที่จะสื่อสารภาษาไทยให้ได้มากที่สุดว่า “ช่วงนี้ผมเป็นอะไรก็ไม่รู้ เวียนหัว คลื่นไส้ ท้องเสียบ่อยครั้ง ตามตัวเป็นผื่นแดง บางครั้งก็หายใจไม่ค่อยออก บางทีก็ตาแดง อาการแบบนี้จะเป็นทุกครั้งหลังจากที่พ่นยาฆ่าแมลงเสร็จแล้ว กว่าอาการจะหายใช้เวลาถึง 3-4 วัน แต่ตอนนี้วันไหนที่ไม่พ่นยา ผมก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน อยากให้พี่ช่วยเป็นเพื่อน พาไปสถานีอนามัยหน่อยครับ ผมไม่ได้ต่อบัตรแรงงานมาหลายปีแล้ว เพราะปีๆหนึ่งทำสตรอเบอรี่แค่ 7 เดือนเท่านั้น ต่อบัตรไปก็ไม่คุ้ม ค่าใช้จ่ายในการต่อบัตรแพงมาก ผมไม่กล้าไปคนเดียว เพื่อนๆที่นี่ก็กลัวเหมือนกัน ไม่รู้ค่ายาจะแพงไหม เพราะผมไม่มีบัตรต่างด้าว อยากให้พี่ช่วยคุยกับหมอให้ผมหน่อยครับ”

กรณีของ “อู” ทำให้ฉันอดคิดถึง “ไม้” หนุ่มวัยรุ่นชาวมอแกนจากเกาะพยาม เกาะแห่งหนึ่งกลางทะเลอันดามัน อ.เมือง จ.ระนอง ขึ้นมาทันที กลางเดือนเมษายน 2554 ขณะที่ฉันกำลังจะเดินข้ามน้ำทะเลที่ไม่ลึกมากนักไปยังหมู่บ้านซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของอ่าวเขาควาย ได้มีโอกาสเจอกับ “ไม้” เขาเล่าให้ฟังว่า “แม้ว่าชาวมอแกนจะไม่มีบัตรประจำตัวอะไรเลย แต่หมอที่สถานีอนามัยเกาะพยามก็ให้การรักษาพวกเราอย่างดี ไม่สนว่าจะมีบัตรหรือไม่มีบัตร แต่นั่นล่ะครับ ไม่ค่อยมีใครอยากไปหาหมอถ้าไม่เจ็บป่วยหนักจริงๆ ถ้าวันไหนน้ำทะเลลด เราต้องเดินข้ามมาที่ฝั่งนี้ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าชั่วโมง แม้จะเป็นระยะใกล้ๆก็ตาม แต่ถ้าน้ำขึ้น น้ำก็ต้องขึ้นจนพอที่เรือจะแล่นเข้ามาเทียบที่ท่าหมู่บ้านได้ ถึงจะไปได้ แต่นั่นล่ะมาถึงที่ฝั่งก็ต้องเดินไปที่สถานีอนามัยอีก ซึ่งอยู่ห่างไปถึง 2-3 กิโลเมตร บนเกาะใช้ได้แต่มอเตอร์ไซด์เท่านั้น ส่วนพวกผมต้องเดินกันอย่างเดียว สู้รักษากันที่หมู่บ้านง่ายกว่า อีกเรื่องที่ไม่มีใครอยากไปหาหมอ คือ ต้องเสียค่ายาแพง เพราะหมอบอกว่าเราไม่มีบัตรประชาชนและบัตรประกันสุขภาพ ทำให้ต้องเรียกเก็บเงิน ทั้งๆที่หมอก็สงสารและรู้ดีว่าพวกเราไม่มีเงินจ่าย บางครั้งมีชาวบ้านบางคนต้องถูกส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลระนอง อยู่บนฝั่งทางโน้น พวกเราก็ไม่รู้จะเดินทางไปเยี่ยมอย่างไร จะถูกตำรวจจับไหม เพราะไม่มีบัตรอะไรเลย ไหนจะค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่ารักษาอีก วุ่นวายมาก จะเอาเงินมาจากไหน ชาวบ้านบางคนบอกว่าปล่อยให้ตายไป ง่ายกว่า”

นี้ไม่นับกรณีของ “ดาว” สาวกะเหรี่ยง แรงงานอพยพข้ามชาติถูกกฎหมาย ต่อบัตรแรงงานทุกปีตามนโยบายรัฐบาลไทย ทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่ร้านขายเนื้อหมูแห่งหนึ่ง ย่านสะพานควาย กรุงเทพฯ “ครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว ตอนดาวยังไม่รู้จักครู [2] ดาวเคยหั่นหมูจนมีดบาดนิ้ว ตอนนั้นง่วงมาก ตาหลับแล้วแต่ยังต้องแล่เนื้อหมูอยู่เลย ครั้งหนึ่งหั่นโดนนิ้วตัวเอง แต่เจ๊ก็ไม่สนใจ ต้องไปโรงพยาบาลเองกับเพื่อน แต่ดาวพูดไม่ชัด พอถึงโรงพยาบาลดาวพูดภาษาไทยไม่ได้ ไม่รู้จะบอกอย่างไร เวลาพยาบาลถาม ดาวไม่เข้าใจ ตอบไม่ได้ พยาบาลก็ไม่สนใจ ปล่อยดาวไว้ ไม่มาทำแผลให้ เพราะคุยกันไม่ได้ มีคนไทยคนหนึ่งสงสาร เดินไปบอกพยาบาลว่าดาวคงเป็นต่างด้าว พูดภาษาไทยไม่ได้ แม้โรงพยาบาลที่นี่จะมีภาษาพม่า แต่ดาวอ่านภาษาพม่าไม่ออก ดาวเป็นกะเหรี่ยง อยู่ที่พม่าก็ไม่เคยเข้าโรงเรียน ดาวไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ครูเคยบอกว่าดาวมีบัตร ดาวไปโรงพยาบาลได้ ตำรวจไม่จับ แต่ทำไมหมอไม่รักษา เพราะดาวพูดภาษาไทยไม่ได้ใช่ไหมคะ ครูต้องช่วยให้ดาวพูดภาษาไทยให้ได้”

เช่นเดียวกับ “นาง” สาววัย 40 กว่า ชาวปลาง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่บรรพบุรุษอพยพมาจากสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และมาอาศัยก่อตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านที่ อ.แม่สรวย อ.แม่สาย จ.เชียงราย นานหลายสิบปี จนในที่สุดคนในหมู่บ้านมีบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลขขึ้นต้นด้วยเลข “6” หมายถึง เป็นกลุ่มซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและได้รับบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (สมัยก่อนคือกลุ่มที่เรียกว่า “บัตรสี”) คนกลุ่มนี้หลายร้อยคนอพยพโยกย้ายมารับจ้างเป็นแรงงานในสวนกล้วยไม้ ต.บางเลน อ.บางเลน จ.นครปฐม บางคนอยู่ที่นี่มานานไม่ต่ำกว่าสิบปีแล้ว นางเล่าให้ฟังว่า “การทำงานในสวนกล้วยไม้ ปัญหาหลักๆ คือ ปัญหาจากผลกระทบจากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง แต่พวกเราก็ไม่มีทางเลือกมากนัก จะให้ไปทำอาชีพอื่นก็ไม่รู้จะทำอะไร อยู่ที่นี่รายได้ก็พอเลี้ยงตัวเอง และส่งกลับบ้านที่แม่สรวยได้บ้าง นายจ้างก็เข้าใจ ดูแลกันอย่างดี ไม่มีปัญหาเรื่องค่าจ้าง แต่เรื่องใหญ่สุดคือ เวลาไปโรงพยาบาล เราต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเอง ไม่เหมือนพวกแรงงานต่างด้าว ที่โชคดีไปโรงพยาบาลก็เสียแค่ 30 บาท อย่างเราอยู่ประเทศไทยมานานแล้ว พูดภาษาไทยชัดแจ๋ว มีบัตรประชาชน แต่ทำไมเรายังต้องเสียเงินอยู่อีก ทำให้หลายคนเวลาเจ็บป่วยจึงเลือกไปสถานีอนามัยแทน เพราะค่ายาถูกกว่า หรือไม่อย่างนั้นก็ไปคลินิกแทนเลย เพราะอย่างไรก็เสียเงินอยู่แล้ว” ฉันถามนางต่อว่า “เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลไทยมีนโยบายให้คนกลุ่มบัตรเลข 6 เลขเดียวกับที่นางถือบัตรอยู่ ไปขึ้นทะเบียนที่โรงพยาบาลที่นางมีทะเบียนบ้านอยู่ เพื่อให้มีสิทธิรักษาพยาบาลเหมือนคนไทยได้ นางไม่ได้กลับบ้านแม่สรวยไปทำเหรอ” นางทำหน้างุนงง และบอกว่า “ไม่เข้าใจ คืออะไร ? ไม่เห็นมีใครมาบอกเรื่องนี้เลย คนในหมู่บ้านที่เป็นคนปลางก็ไม่มีใครทราบเรื่องนี้เหมือนกัน”

4 เรื่องเล่าที่กล่าวมา คือ ปัญหาหลักของการเข้าไม่ถึงบริการของรัฐด้านสุขภาพของคนทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะคนกลุ่มที่เรียกว่า “แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล” ซึ่งเป็นคนที่ตกอยู่ในสถานะไร้รัฐ หรือไร้สัญชาติ หรือไม่มีสถานะที่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฎเกณฑ์ทางกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย

แน่นอนแม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นนโยบายที่สำคัญที่ทำให้คนไทยที่มีเอกสารแสดงตนว่าเป็นคนไทยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ [3] ผนวกกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่ครม.อนุมติงบประมาณจำนวน 918,137,900 บาท (ปี 2554) ดูแลประชากรกลุ่มนี้ในแผ่นดินไทยเพิ่มขึ้นอีก 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 457,409 คน คือ (1) กลุ่มที่ ครม.มีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร (เลขประจำตัวบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 3,4,5,8) (2) กลุ่มที่ถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (เลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 6,7) และ (3) กลุ่มที่ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (เลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0) ซึ่งเป็นนักเรียนในสถาบันการศึกษา,คนไร้รากเหง้า และบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ [4] รวมถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยกลุ่มแรงงานข้ามชาตินั้นจะถูกกำหนดให้ต้องซื้อหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

อย่างไรก็ตามพบว่ามีประชากรบางกลุ่มบนแผ่นดินไทย ได้ตกหล่นไปจากระบบหลักประกันสุขภาพ อย่างน้อยได้แก่

(1) บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร (กลุ่มบัตรเลข 0 กลุ่มที่ 1 ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548) เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานาน กลับประเทศต้นทางไม่ได้ รวม 148,389 คน

(2) ผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแถบชายแดนไทย-พม่าทั้ง 9 แห่ง รวม 138,076 คน

(3) ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศต้นทาง เช่น บุตร หลาน ญาติพี่น้อง หรือบุพการี ที่ไม่ได้ทำงาน ในที่นี้ทราบเฉพาะบุตรของแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.2552 จำนวน 5,317 คน

(4) แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน รวมถึงผู้ลี้ภัยนอกค่ายที่ไม่มีค่ายพักพิง เช่น ผู้ลี้ภัยชาวไทใหญ่ ชาวปะโอ หรือชาวโรฮิงญา เป็นต้น ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง

(5) คนไทยจริงๆที่ไม่มีการบันทึกตัวตนในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรของรัฐไทย หรือเรียกว่า "คนไทยไร้ตัวตน" เป็นคนไทยที่เกิดในแผ่นดินไทยแต่ตกหล่นจากการจดทะเบียนการเกิด รวมทั้งไม่ได้เข้าสู่การสำรวจตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิฯ จึงไม่มีบัตรประจำตัวใดๆ ในที่นี้ไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง

ในความเป็นจริงแล้วโรงพยาบาลทุกแห่งต้องให้บริการกลุ่มคนเหล่านี้ตามหลักมนุษยธรรม ไม่มีโรงพยาบาลใดที่สามารถปฏิเสธการรักษาคนเหล่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องเจียดงบประมาณที่ได้รับสำหรับการรักษาคนไทยมารักษากลุ่มคนเหล่านี้ ส่งผลให้หน่วยบริการเหล่านี้มีภาระหนี้สินจำนวนมาก จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2551 พบว่า มีโรงพยาบาล 172 แห่ง จาก 15 จังหวัด ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เป็นเงินกว่า 500 ล้านบาท แบ่งเป็นผู้ป่วยใน 75,798 คน เป็นเงิน 447 ล้านบาท ผู้ป่วยนอก 747,825 ครั้ง เป็นเงิน 21 ล้านบาท  ซึ่ง 5 โรงพยาบาลที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายมาที่สุด คือ  รพ.แม่สอด รพ.เชียงราย รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รพ.นครพิงค์ และ รพ.ระนอง

แน่นอนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เรียกว่า “การไม่มีนโยบายที่เอื้อต่อการเข้าถึง”

อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่า “กลุ่มที่มีนโยบายอยู่แล้วจะมิพักประสบปัญหา” ไม่ว่าจะเป็น

- กลุ่มคนตามมติครม. 23 มีนาคม 2553 ในกลุ่มนี้พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิหรือไม่ อย่างไร รวมถึงจำนวนมากออกไปทำงานนอกสถานที่ ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนาที่ตนเองมีชื่อในหน่วยบริการอยู่ ทำให้ไม่ได้กลับมาลงทะเบียนแจ้งชื่อ นี้ไม่นับว่าหน่วยบริการปฏิเสธการรักษาหากมารับบริการไม่ตรงกับชื่อหรือภูมิลำเนาที่อยู่ในทะเบียนบ้าน อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถใช้บริการข้ามเขตจังหวัดได้ หรือบางคนที่มีสิทธิแล้วมาใช้บริการก็เกิดปัญหาเรื่องการไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง รวมถึงในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถใช้บริการได้เพียงที่รพ. 3 แห่งเท่านั้น คือ รพ.เลิดสิน รพ.ราชวิถี และรพ.นพรัตนราชธานี นอกจากนั้นแล้วสำหรับการดูแลสุขภาพคนกลุ่มนี้ที่ปัจจุบันยังเป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลักดันให้มีกฎหมายมารองรับอย่างถาวร เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับประชาชน

- กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนและหรือต่ออายุรายปี ต้องประสบปัญหา ปัญหาเรื่องการสื่อสารต่างภาษา ความไม่คุ้นเคยและหวาดกลัวในการเข้ารับบริการ ประกอบกับความเสี่ยงจากการถูกจับ หรือรีดไถระหว่างเดินทางมาโรงพยาบาล เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ที่มีประกันสุขภาพมาใช้บริการน้อย และจำนวนมากมาโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อป่วยหนักมากแล้ว ทำให้หน่วยบริการสุขภาพมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูง นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าระบบประกันสุขภาพที่แรงงานจ่ายเงินตอนขึ้นทะเบียนปีละ 1,300 บาท ก็ยังไม่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการรักษาโรคเอดส์ ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่มีโอกาสได้รับยาต้านไวรัส และโรคติดต่อบางโรคด้วยเช่นกัน รวมถึงการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก็ยังไม่ครอบคลุม

ดังนั้นถึงเวลาแล้วคงต้องยอมรับความจริงว่าวันนี้ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยยังมีเงื่อนไข ปัจจัย ข้อจำกัดที่ทำให้คนทุกคนบนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเป็นใคร ถูกเรียกชื่อว่าอย่างไร แต่พวกเขาและเธอคือคนที่มีตัวตนจริงๆที่ตกหล่นไปจากระบบดังกล่าว ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างแท้จริง อีกหลายคนก็ไม่ได้รับการคุ้มครองจากความเจ็บป่วย

(2)
“ใครๆบนแผ่นดินไทยก็เข้าถึงบริการสุขภาพได้”: หัวใจอยู่ที่ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care)
[5]

การกล่าวโทษและโยนความผิดเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนทุกคนบนแผ่นดินไทยไปให้ใครคนใดหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง นี้มิใช่เป็นการแสวงหาทางออกที่ดีร่วมกัน เอาเข้าจริงๆแล้วมีความพยายามของคนหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับท้องถิ่นที่ต่างมีส่วนได้ส่วนเสียกับประชากรกลุ่มนี้ หรือเป็นคนที่เดือดร้อนหรือได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน ลุกขึ้นมาจัดการปัญหาร่วมกัน มาสร้างกลไกในระดับพื้นที่บางอย่างที่ทำให้ผู้ตกหล่นได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการและการดูแลด้านสุขภาพของรัฐไทย โดยเฉพาะคนที่ไม่มีบัตรไม่มีสิทธิใดๆเลย นี้คือโจทย์ที่ท้าทายในการจัดการอย่างยิ่ง ข่ายความร่วมมือเล็กๆนี้ก่อเกิดในหลายพื้นที่จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกจรดตะวันตก ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่มีความเป็นพลวัตรสูง ทำงานยาก ซับซ้อน เลื่อนไหล ไม่แน่นอน แต่พื้นที่ต่างประสบกับปัญหานี้ร่วมหรือคล้ายคลึงกัน เป็นการพยายามทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็น “เจ้าของปัญหา” ตามบทบาทและความถนัดที่แตกต่างกันออกไป

ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน

เครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงได้พัฒนาให้เกิดอาสาสมัครทำหน้าที่เป็นล่ามประจำชุมชนด้านสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมีล่ามประจำชุมชนจำนวน 43 คน มาจาก 7 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง ดาระอั้ง(ปะหล่อง) คะฉิ่น อาข่า ลาหู่ และไทยวน ประจำอยู่ที่ชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย, อำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอขุมยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยล่ามประจำชุมชนจะมีบทบาทหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชนตนเอง เช่น พาผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล แปลภาษา ที่ปรึกษาเรื่องโรคต่างๆ ตลอดทั้งการเป็นกลไกในการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขและรายงานสถานการณ์ปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปใช้ผลักดันในระดับนโยบายต่อไป เช่น ที่โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง ต.เทอดไทย พื้นที่นี้มีความหลากหลาย ทั้งหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา ทพ.ญ.ปาริชาติ ลุนทา ผอ.โรงพยาบาล เล่าว่า “ผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก ผู้หญิงคนชรา และ 99 เปอร์เซ็นต์เป็นชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ที่พูดภาษาไทยไม่ได้ ล่ามประจำชุมชนอาสาจะพาเข้าไปลงทะเบียนประวัติผู้ป่วย พาผู้ป่วยเข้าห้องตรวจเป็นสื่อกลางระหว่างหมอกับคนไข้ในการซักถามอาการป่วย หลังจากการตรวจเสร็จแล้วล่ามจะแปลคำแนะนำของหมอเพื่อบอกต่อกับคนไข้ เรื่องวิธีการดูแลรักษาสุขภาพครั้นตรวจเสร็จจะพาไปห้องรับยา ล่ามก็จะบอกขั้นตอนและวิธีการกินยาว่า ต้องกินยาหลังอาหาร หรือก่อนอาหาร กี่ครั้งต่อวัน ช่วยทำให้หมอและพยาบาลทำงานได้สะดวกง่ายขึ้น เพราะเมื่อคนป่วยมาถึงมือหมอ เราจะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอาการของคนไข้ทั้งหมดผ่านล่าม จะทำให้การตรวจรักษาเร็วยิ่งขึ้น”

ที่จังหวัดระนอง

แรงงานข้ามชาติจากพม่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากใน ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง โดยเฉพาะในหมู่ที่ 4, 5, 6 ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนหนาแน่นแออัด ส่งผลให้คนในชุมชนทั้ง “คนไทย” และ “ไม่ใช่คนไทย” มีปัญหาในเรื่องสุขภาพตามมา ทางมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จ.ระนอง จึงได้ประสานความร่วมมือกับสถานีอนามัยบางริ้นบ้านมิตรภาพจัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานไทย-พม่า โดยใช้ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านหรือที่รู้จักกันดีว่า อสม. โดยหวังให้มีการรวมกลุ่มของ อสม. และตัวแทนของแรงงานข้ามชาติในชุมชนเพื่อทำงานร่วมกัน ในการให้บริการด้านสุขภาพแก่คนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงแรงงานข้ามชาติทั้งมีบัตรและไม่มีบัตร เพื่อทำให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้มากขึ้น เพราะมีศูนย์กระจายอยู่ตามหมู่บ้าน เกิดการรวมกลุ่มกันของชาวไทยและแรงงานข้ามชาติทำให้มีการช่วยเหลือหรือสื่อสารกันได้ เมื่อมีการดูแลรักษากันในเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นก็จะส่งต่อเข้าสู่ระบบโดยผ่านมูลนิธิ
ศุภนิมิต สถานีอนามัย และโรงพยาบาลต่อไป จนในที่สุดงานดังกล่าวนี้พัฒนาเป็นกลไกเล็กๆในรูปคณะทำงานที่เป็นกลไกความร่วมมือการดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ระหว่างสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติใน ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง  ผ่านกลไก “ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนไทย-พม่า มิตรภาพ (ศสมช.ทม)”

นอกจากนั้นแล้วการดำเนินโครงการดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติจังหวัดระนอง ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) รวมทั้งโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ ภายใต้โครงการฟ้ามิตรจังหวัดระนอง ซึ่งทั้ง 2 โครงการเน้นไปที่เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งหน่วยงานบริการสาธารณสุขที่มีอยู่ในการให้บริการที่เป็นมิตรแก่แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะการสนับสนุนพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว และล่ามประจำโรงพยาบาล ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติบุคลากรสาธารณสุข เป็นต้น เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานทั้ง 3 ภาคส่วนนี้เองสอดคล้องกับนโยบายในระดับจังหวัด นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นมา กลุ่มงานสาธารณสุขชายแดนซึ่งเป็นกลุ่มงานหนึ่งในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้มีการบูรณาการแผนการทำงานดูแลสุขภาพแรงงานอพยพข้ามชาติจากประเทศพม่า กับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดและแผนความมั่นคงจังหวัด เป็นลักษณะของการพัฒนากลไกการประสานงานสาธารณสุขชายแดนโดยบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่านยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 5 ด้าน คือ (1) พัฒนาระบบสุขภาพประชากรต่างด้าวและการเข้าถึงบริการสุขภาพ (2) การสร้างหลักประกันสุขภาพ (3) การมีส่วนร่วมของแรงงานต่างด้าวและชุมชนในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว (4) การพัฒนาระบบสารสนเทศ (5) ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

ที่จังหวัดอำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

มูลนิธิพัฒนรักษ์ได้สำรวจข้อมูลพบว่าในพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ได้มีแรงงานจากลาวจำนวนมากลักลอบข้ามชายแดนเข้ามาทำงานตามฤดูกาล เช่น  ดำนา เกี่ยวข้าว  ตัดอ้อย ปลูกยาสูบ ทำงานในสวนยางพารา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ตกหล่นจากระบบการจดทะเบียน มูลนิธิจึงได้พัฒนาโครงการเพื่อทำกิจกรรมนำร่องโดยเน้นการประสานความร่วมมือกับภาคีในท้องถิ่นต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อหาแนวทางในการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะในด้านสุขภาพ เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้ต้องเจอกับสภาพปัญหาในหลายๆด้าน อาทิ ไม่มีที่พัก ไม่มีห้องน้ำที่เหมาะสม นายจ้างมักจะให้นอนอยู่ในพื้นที่ไร่นา เพื่อจะได้หลบหลีกไม่ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเห็น ไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างเพียงพอ และกินอยู่อย่างไม่ถูกสุขลักษณะในระหว่างการทำงาน เมื่อได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานหรือมีอาการเจ็บป่วยก็จะไม่ไปหาหมอเนื่องจากกลัวถูกจับ และมักจะไปหาหมอเมื่อมีอาการหนักแล้วทำให้รักษายากและส่งผลอันตรายต่อชีวิต การรับจ้างทำงานไม่มีอัตราค่าจ้างที่แน่นอน ไม่ได้คำนึงถึงอัตราค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่ แรงงานที่ทำงานในพื้นที่เกษตรที่มีการใช้สารเคมีสูง  ไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันตัวเองจากสารเคมี แรงงานที่ทำงานตามสถานบันเทิงไม่มีความรู้ในการรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอดส์ และหลายคนกลายเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ เป็นต้น

ที่จังหวัดกาญจนบุรี

สภาคริสตจักรในประเทศไทยได้เปิดหน่วยบริการสุขภาพขึ้นมาชื่อว่า สถานพยาบาลคริสเตียนแม่น้ำแควน้อย ตั้งอยู่ที่ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี เพื่อดูแลคนที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือคนที่ตกหล่นจากการเข้าถึงบริการของรัฐโดยเฉพาะ เดิมในอดีตพื้นที่อำเภอสังขละบุรีไม่มีโรงพยาบาล แต่ละปีชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและมอญเจ็บป่วยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะไข้มาลาเรีย ทางหน่วยงานจึงเปิดโรงพยาบาลขนาดเล็กจำนวน 25 เตียงขึ้นมา ปัจจุบันพบว่าในปี 2552-2553 จำนวนผู้ป่วยนอกสัญชาติไทยเข้ารับบริการ 5,167 ครั้ง ในขณะที่ผู้ไม่มีสัญชาติไทยมารับบริการถึง 12,538 ครั้ง  คิดเป็นอัตราส่วนการเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกไม่มีสัญชาติไทย 71%  ผู้ป่วยนอกไทย 29 %  และจำนวนผู้ป่วยในสัญชาติไทยเข้ารับบริการ 377 ครั้ง ผู้ไม่มีสัญชาติไทย 1,585 ครั้ง คิดเป็นอัตราส่วนการเข้ารับบริการผู้ป่วยใน ไม่มีสัญชาติไทย 88 % ผู้ป่วยในไทย 12 % ทั้งนี้โรงพยาบาลต้องรับภาระหนี้สินจากประชากรกลุ่มนี้ปีละหลายสิบล้านบาท

ที่จังหวัดตาก

แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง เจ้าของคลินิกแม่ตาว หรือที่เรียกว่าคลินิกหมอซินเธีย คลินิกแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2532 ที่ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด เพื่อให้บริการด้านอนามัยและสังคมสงเคราะห์กับประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ ปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจในพม่าได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยต้องแบกรับภาระในหลายด้าน การให้บริการสาธารณสุขของคลินิกแห่งนี้จึงเป็นการช่วยเหลือประชาชนจากประเทศพม่าและแบ่งเบาภาระทางด้านสาธารณสุขของไทยด้วยเช่นกัน ที่นี่รับรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และนี้คงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนชาวพม่าที่เจ็บป่วย และถูกทางการปฏิเสธการรักษาเพราะพวกเขาไม่มีเงิน ต่างดั้นด้นเดินทางข้ามชายแดนที่ไกลและลำบากมาให้แม่ตาวคลินิกแห่งนี้รักษาให้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางคลินิกได้ส่งเจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขจ.ตากมาโดยตลอด รายงานประจำปี 2551ของคลินิกแม่ตาว ระบุว่าคลินิกฯให้บริการผู้ป่วยนอก 29,874 ราย ผู้ป่วยใน 3,918 ราย มีผู้ป่วยแผนกศัลยกรรม 7,074 ราย มีเด็ก 13,438 คน มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเด็ก ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางตา 9,782 รายโดย 1,545 คนได้รับการผ่าตัดตา มีผู้ได้รับขาเทียมรายใหม่ 221 ราย และมีผู้มารักษาโรคฟัน 4,741 ราย นอกจากนี้ทางคลินิกยังช่วยเหลือในงานด้านรณรงค์ด้านสาธารณสุขในกลุ่มแรงงานข้ามชาติอีกหลายด้าน ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาวันละ 300 คน ถือได้ว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของทางโรงพยาบาลแม่สอดซึ่งประสบปัญหางบประมาณไม่เพียงพอปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทไปได้มาก

ครั้งหนึ่งนายแพทย์รณไตร เรืองวีรยุทธ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สอด ได้กล่าวยกย่องคุณหมอซินเธียไว้ว่า “คลินิกของเธอช่วยเราควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายโรค เราทั้งสองฝ่ายใช้มาตรการทางสาธารณสุขที่ดีและทำงานร่วมกันในการให้วัคซีน ในเมื่อโรคภัยต่างๆ ไม่สนใจเส้นแบ่งเขตแดน ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมก็ไม่มีการแบ่งแยกพรมแดนเช่นกัน คุณต้องให้วัคซีนแก่เด็กที่เดินทางข้ามไปมาทั้งสองฝั่งเส้นแดน มันคงไม่มีความหมายอะไรเลยหากคุณจะพุ่งเป้าไปแค่คนกลุ่มเดียว แม่ตาวคลินิกฝึกอบรมคนจากหมู่บ้านในฝั่งพม่าให้สามารถบริหารจัดการการให้วัคซีน และนี่คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคติดต่อต่างๆ คลินิกหมอซินเธียมีบทบาทด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในการหยุดยั้งการแพร่กระจายการติดเชื้อและเชื้อโรคต่างๆ คลินิกเป็นปราการด่านแรกในการจัดการปัญหาที่แอบซ่อนอยู่ จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับปัญหาการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที”

ที่จังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลสมุทรสาคร ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ เช่น มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน พัฒนาให้เกิดกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) และพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) ในชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติที่นี่ซึ่งมีกว่า 1 แสนคน จำนวนมากเมื่อเจ็บป่วยมักไม่กล้าไปรักษา เพราะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือกลัวถูกจับ ดังนั้นการดูแลสุขภาพคนกลุ่มนี้จึงต้องทำในเชิงรุกแทน รวมทั้งแรงงานบางอาชีพถูกจำกัดพื้นที่ทำงานหรือแรงงานไม่มีบัตรอนุญาตทำงาน ก็ยิ่งทำให้ยากต่อการเข้าถึง ดังนั้นการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครแรงงาน ซึ่งสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาของกลุ่มแรงงาน เช่น ภาษากะเหรี่ยง ภาษามอญ ให้เป็นผู้เชื่อมโยงกับชุมชนแรงงานและผู้ให้บริการสุขภาพในพื้นที่ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่ดี

การทำงานอย่างน้อย 6 พื้นที่ ที่กล่าวมาผ่านข่ายต่างๆเหล่านี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์เล็กๆแต่กลับทำให้แรงงานข้ามชาติ ผู้ติดตาม และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมายก็เข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้จริง ในทางวิชาการเรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า “ระบบบริการสุขภาพแบบปฐมภูมิ (Primary care)” เพราะเป็นบริการด่านแรกที่อยู่ใกล้ชิดกับคนในพื้นที่มากที่สุด โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนอย่างต่อเนื่อง ด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป อยู่ใกล้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตกลุ่มเป้าหมายจริง ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ รวมถึงมีการทำงานเป็นทีมของบุคลากรด้านวิชาชีพสาธารณสุขที่เชื่อมประสานกับองค์กรต่างๆและชุมชน โดยเฉพาะในลักษณะของการทำหน้าที่หน่วยบริการในชุมชน นอกเหนือจากการมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยพื้นฐานแล้ว แน่นอนการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิไม่สามารถทำงานอย่างโดดเดี่ยวได้ การพัฒนาเป็นลักษณะแบบเครือข่าย (District Health System) เพื่อให้เกิดเครือข่ายกับโรงพยาบาลแม่ข่ายในพื้นที่ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในอนาคตยิ่ง รวมถึงการเชื่อมประสาน การระดมทุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนสุขภาพตำบล ชุมชนไทยในพื้นที่ มาใช้ในการพัฒนางานบริการสุขภาพ ทั้งการร่วมกำหนดทิศทาง บริหารจัดการ สนับสนุนทรัพยากร และติดตามประเมินผล เพื่อให้มีระบบบริการปฐมภูมิที่ยั่งยืนในพื้นที่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาไปพร้อมกันในระยะต่อไป

เชิงอรรถ

[1]  นักวิจัยในโครงการวิจัยเรื่อง : ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับนายณัฐพงษ์ มณีกร และนางรำพึง จำปากุล จากหน่วยงานพัฒนาและบริการสังคม สภาคริสตจักรในประเทศไทย ได้รับทุนวิจัยจากชุดโครงการความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน: ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระยะเวลาดำเนินการ 1 มีนาคม 2554 – 31 กรกฎาคม 2555

[2]  ดาว เรียกผู้เขียนว่า “ครู” เพราะเคยสอนภาษาไทยให้ร่วม 3 ปี

[3]  รวมถึงในกรณีของระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นหลักประกันสุขภาพอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับคนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง

[4]  อย่างไรในกลุ่มนี้ครม.ได้อนุมัติงบประมาณถึงปี 2554 เท่านั้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องผลักดันเกิดเป็นนโยบายที่ถาวรต่อไป กลุ่มเลข 3,4 คือ คนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายคนเข้าเมือง ได้สิทธิอาศัยถาวร เลข 3 จำนวน 58,995 คน เลข 4 จำนวน 286 คน
กลุ่มเลข 5,8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิอาศัยถาวร เป็นกลุ่มคนประเภทเดียวกัน เพียงแต่การมีชื่อในทะเบียนราษฎรต่างเวลากัน เลข 5 เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านก่อน 22 มีนาคม 2535 จำนวน 3,045 คน ส่วนเลข 8 เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หลัง 22 มีนาคม 2535 จำนวน 27,707 คน กลุ่มเลข 6 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว (ม.12, 13, 34, 35 พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม.17 พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522) จำนวน 234,501 คน กลุ่มเลข 7 คือ บุตรคนกลุ่มเลข 6 จำนวน 62,362 คน กลุ่มเลข 0 คือ บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งกรมการปกครองได้เริ่มสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 (มีเลข 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 0) ในส่วนที่เป็นกลุ่มเด็กนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา จำนวน 66,937 คน กลุ่มเลข 0 ที่เป็นคนไร้รากเหง้า จำนวน 3,553 คน กลุ่มเลข 0 ที่เป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ จำนวน 23 คน

[5]  ข้อมูลบางส่วนเป็นผลมาจากการทำงานของภาคีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คพรส.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อตุลาคม 2552 –พฤษภาคม 2554
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น