โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ปคปอ. เตรียมย้าย “นักโทษการเมือง” ไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่

Posted: 08 Dec 2011 12:29 PM PST

คณะกรรมการประสานงานคอป. มีมติแยก-ย้ายนักโทษที่เกี่ยวข้องกับคดีการเมืองไปอยู่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ หวังสร้างบรรยากาศปรองดอง อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผยปัจจุบันมีนักโทษการเมืองราว 100 คน รวมแกนนำเสื้อแดงและนักโทษคดีหมิ่น เช่น “อากง”, 'สุรชัย' และ 'สมยศ'

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีหน่วยงานสำคัญหลายหน่วย เช่น กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมราชทัณฑ์ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งกระทรวงยุติธรรมมี 3 หน่วยงานหลักในการดำเนินการเรื่องนี้คิดว่างานด้านนี้ของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งจะผ่านด้วยดีจากความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ โฆษก ปคอป.กล่าวว่า หน้าที่หลักของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การนำมาตรการหรือข้อเสนอของ คอป.มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยมีหน่วยงานรัฐบาลหลายส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จะนำไปดำเนินการได้และครม.มีมติรับทราบการดำเนินงานของคณะกรรมการ ปคอป.แล้ว ซึ่งแผนงานจะมุ่งไปใน 3 มิติ คือ มาตรการเยียวยาทางอาญาซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคดีการเมือง ซึ่งจะรวมถึงคดีหมิ่นสถาบันด้วย จากนั้นจะมีกระบวนการเยียวยาด้านแพ่งและจะหามาตรการที่เหมาะสมที่จะเยียวยาในลักษณะอื่นๆ จากนั้นจะเป็นมาตรการในการสื่อสารกับสังคม เพื่อให้เข้าใจกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้น

นายวีระวงค์กล่าวว่า เรื่องสำคัญในการประชุม คือ ปคอป.ได้ประสานกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการ เพื่อที่จะสรุปสถานะคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองว่าขณะนี้อยู่ที่ไหนอย่างไรแล้ว ส่วนต่อไปที่จะต้องทำ คือ อนุกรรมการที่จะมีการแต่งตั้งขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอาญาและเรื่องแพ่งจะไปพิจารณาต่อไปว่าจะทำอย่างไรเบื้องต้นได้มีมาตรการสำคัญที่เยียวยาทางอาญาที่จะออกมาแล้ว คือ มีผู้ต้องขังในขณะนี้ ที่เกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองจำนวน 101 คนเข้าใจว่าจากการพระราชทานอภัยโทษจะลดลงประมาณ 20 คนส่วนที่เหลือจะมีการย้ายโดยกรมราชฑัณฑ์ไปไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ซึ่งน่าจะทำได้ภายในวันที่ 21 ธ.ค.นี้

ส่วนมาตรการอื่นๆ ตามที่ คอป.เสนอมา จะมีคณะอนุกรรมการไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น จะมีการปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้มากกว่านี้หรือไม่ ด้วยวิธีอย่างไรจะมีการพิจารณาเรื่องการตั้งข้อหาและการดำเนินคดีกับคดีที่ยังไม่สิ้นสุดในระยะต่อไป จะทำอย่างไรจะชะลอจนกว่ามีมาตรการเหมาะสมทางด้านอาญาหรือมีข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้หรือไม่ในวิธีการดังกล่าวจะเป็นระดับต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนในการตั้งคณะอนุฯ และใช้เวลาอีกระยะในการหามาตรการที่เหมาะสมและเสนอต่อ ปคอป. และปคอป.จะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามที่เห็นควรต่อไป

ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุดเล็งเยียวยา-ประชาสัมพันธ์

ด้าน นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะรองโฆษกกล่าวว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่ประชุมได้มอบหมายประธานเป็นผู้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นอนุกรรมการ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 คณะ 1.เป็นอนุกรรมการด้านการเยียวยาโดยใช้มาตรฐานสากลมาดูว่าคดีความผิดทางการเมืองไม่น่าจะเป็นโทษทางอาญาหรือไม่ การพิจารณาต้องดูเรื่องเหล่านี้ด้วย 2.คณอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งก็จะนำมาตรฐานสากลมาใช้เช่นกันเพื่อดูความสมเหตุสมผลของคดี เนื้อของคดี การกล่าวหาต่างๆ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ 3.อนุกรรมการด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อต้องการให้ประชาชนในประเทศรับทราบถึงการดำเนินการต่างๆปรัชญาการดำเนินคดีทางการเมืองเป็นอย่างไรบ้าง และระดับสากลทำอย่างไรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นที่เฝ้ามองของต่างประเทศ ซึ่งนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นผู้นำผลการประชุมต่างๆ ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศเนื่องจากมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและชาวต่างชาติเสียชีวิตด้วยในคดีที่เกี่ยวข้อง จึงต้องประชาสัมพันธ์ด้านต่างประเทศด้วย

ด้าน นายธานีกล่าวว่า จากการประชุมครั้งที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้นำผลประชุมและมติครม.ทำเอกสารเผยแพร่ภาษาอังกฤษส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลไทยทั่วโลกแล้ว และขึ้นเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยเพื่อให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ต่างประเทศได้ติดตามเรื่องการปรองดองและการดำเนินการของคณะกรรมการอย่างใกล้ชิดซึ่งในการพบปะกับผู้นำต่างประเทศต่างๆ มักจะสอบถามเรื่องนี้และสนับสนุนกระบวนการปรองดองและพร้อมให้การสนับสนุนทางวิชาการกับฝ่ายไทยด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องของรูปคดีมีบทสรุปแล้วหรือไม่ และเรื่องข้อกล่าวหาบางเรื่องมีการตั้งข้อกล่าวหาเกินกว่าเหตุมีการดูแลเรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในขณะนี้จากข้อมูลกองงานที่เกี่ยวข้องได้เชิญสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังไม่ได้มีการลงในรายละเอียดของข้อกล่าวหาว่าการกล่าวหานี้เป็นอย่างไร เพราะว่าความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้เป็นเรื่องของผู้ที่ถูกคุมขังเพราะตอนนี้มีผู้ที่ถูกคุมอยู่ 101 คนที่เราต้องหามาตรการเข้าไปดูแล เพื่อให้มีการย้ายออกมาที่โรงเรียนพลตำรวจ ซึ่งความหมายของ คอป.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองเป็นคดีที่ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังรัฐประหารตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 ในมาตรการต่างๆ ที่ คอป.จะดูแลจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะอยู่สีไหนก็แล้วแต่ รวมถึงทหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้องจะได้รับการดูแลในแบบเดียวกัน

นายอเนกกล่าวต่อว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สรุปสำนวนคดีที่เกี่ยวข้องว่ามีอะไรบ้างซึ่งคดีที่เกิดก่อนปี 2549 ทางตำรวจก็กำลังดำเนินการอยู่ส่วนคดีทีเกิดหลังปี 2549 ทางตำรวจได้เก็บข้อมูลเกือบจะแล้วเสร็จทั้งนี้คดีที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2552-2553 กำลังดำเนินและจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ทางอัยการสูงสุดได้รายงานประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องถึงประเด็นโทษว่ารุนแรงไปหรือไม่ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวกำลังเข้าไปดูว่ามีคดีไหนบ้างมีสำนวนข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินกว่าเหตุซึ่งอาจจะมีการพูดถึงเรื่องการชะลอการดำเนินคดีอาญาในเรื่องทางการเมืองตามข้อเสนอของนายคณิต ณ นคร

เมื่อถามว่า เหตุผลในการย้ายผู้ต้องขังคดีทางการเมืองจากรมราชฑัณไปโรงเรียนพลตำรวจบางเขนหรือการพิจารณาคดีอาญาไม่ให้เป็นคดีอาญา นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในแนวคิดที่เป็นสากล ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับประเทศเกิดแนวคิดทางอาญาและทางแพ่งขึ้น 2 ประการคือมาตรการทางอาญาตามปกติที่มาตามประมวลกฎหมายหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาจจะไม่เหมาะสมสาเหตุเป็นเพราะมูลเหตุจูงใจทางด้านที่มีการลงโทษทางอาญาปกตินั้นเป็นมูลเหตุลักษณะการเป็นผู้ร้ายแต่เมื่อไหร่ที่มีคดีมีการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเริ่มมีมูลเหตุจูงใจที่ไม่ใช่มูลเหตุดังเดิมอันเป็นที่มาของกฎหมาย ผลต่างๆ จะนำมาใช้ได้อย่างไร และเพียงไร ซึ่งตอนนี้คำตอบยังไม่ทราบจนกว่าคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร

นายวีระวงศ์กล่าวว่า ส่วนมาตรการทางแพ่ง หมายความว่าในเรื่องที่เกิดขึ้น คือ ผู้ที่กระทำและผู้ที่ถูกกระทำจึงจำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาว่าผู้ถูกกระทำจะได้รับการเยียวยาอย่างไรซึ่งในมาตรการสากลที่เคยใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วเกิดความคิดขึ้นว่าวิธีการเยียวยาทางแพ่งที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับเรื่องเยียวยาความเสียหายก็อาจจะไม่เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อคำนึงสิทธิมนุษยชนจึงจำเป็นต้องมีคณะอนุกรรมการเพื่อมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบเพื่อเอาแนวคิดที่ประสบความสำเร็จในที่อื่นๆ มาใช้ในประเทศไทยเมื่อถามว่า ตัวเลขผู้ที่ถูกคุมขังทั้งก่อนปฎิวัติและหลังน่าจะมีจำนวนมากกว่า 101 คน นายวีระวงศ์ กล่าวว่าบางส่วนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ได้รับการประกันตัว เพราะฉะนั้นในขณะนี้คือผู้ที่ลงคดีถึงที่สุดแล้วหรือว่าด้วยเหตุใดที่ไม่ได้รับการประกันตัวก็ถูกคุมขังอยู่อย่างนั้น

อธิบดีกรมคุกเผยเตรียมย้าย “กี้” หากไม่ได้ประกัน

ในวันเดียวกัน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีการเคลื่อนย้ายนักโทษคดีการเมือง ไปคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ว่า เนื่องจากมีข้อเสนอจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และมติคณะรัฐมนตรี เห็นควรให้แยกนักโทษคดีการเมืองออกจากนักโทษคดีอาชญากรรมทั่วไป ทางกรมราชทัณฑ์จึงจะดำเนินการย้ายนักโทษที่เข้าข่ายคดีการเมืองกว่า 100 คน ซึ่งรวม นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำ นปช. หากยังไม่ได้รับการประกันตัว ไปอยู่ยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ที่กำลังปรับปรุงอยู่ในขณะนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณานักโทษการเมืองที่จะย้ายมาอยู่เรืองจำชั่วคราวหลักสี่นั้น ทาง คอป. จะเป็นผู้กำหนดทั้งหมด 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงในส่วนของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากกลับมารับโทษนั้น จะถูกนำไปคุมขังอยู่ในเรือนจำใด ด้านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า รอให้กลับมาก่อน ถึงจะพิจารณาอีกครั้ง ว่าจะดำเนินการอย่างใด

“ธิดา” เผยนักโทษคดีหมิ่นฯ ทั้ง “อากง”-สมยศ-สุรชัย ย้ายด้วย

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (7 ธ.ค.) เดลินิวส์ยังรายงานว่า นางธิดา  ถาวรเศรษฐ์  รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)  กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการขอให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองไปคุมขังยังเรือนจำเฉพาะที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขนว่า  หลังยื่นเรื่องดังกล่าวต่อพล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  รมว.ยุติธรรม  เพื่อให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่  โดยผู้ต้องโทษกลุ่มแรกที่จะถูกย้ายตัวไปควบคุมมีจำนวน 32 คน ประกอบด้วยผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯจำนวน 28 ราย , ทัณฑสถานหญิงกลาง 1 คน ,เรือนจำพิเศษธนบุรี 1 คน และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี 2

“ตนทราบจากพ.ต.อ.สุชาติ  วงศ์อนันต์ชัย  อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ว่าจะให้มีการย้ายนักโทษให้เข้ามาอยู่ที่เรือนจำดังกล่าววันที่ 21 ธ.ค.นี้  เนื่องจากเรือนจำได้ทำการปรับปรุง  โดยในจำนวนนี้มี นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ , นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง  นักโทษต้องโทษคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วย”นางธิดา กล่าว

สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ซึ่งอยู่ในโรงเรียนพลตำรวจบางเขน สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้มีการปรับปรุงเพื่อเตรียมรองรับการควบคุมตัวนักโทษคดีการเมืองและนักโทษต่างประเทศ ในยุคที่พล.ต.อ.เพรียวพันธ์  ดามาพงศ์ เป็นผบ.ตร. ได้มีคำสั่งให้มีการปรับปรุงอาคารเดิมความสูง 4 ชั้น โดยได้ทาสีรั้วใหม่เป็นสีเหลืองอ่อน  ส่วนตัวตึกมีทั้งสีขาว และสีส้ม  ด้านนอกอาคารติดเหล็กดัด ป้องกันการหลบหนี  ทั้งนี้เรือนจำดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นที่คุมขัง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในปี 2535 ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬด้วย

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ : นโยบายที่ผู้บริหารมองไปไม่พ้นหัวแม่ตีนตัวเอง

Posted: 08 Dec 2011 10:33 AM PST

วันก่อนนั่งอ่านเว็บข่าวประชาไท เห็นคุณ ปกรณ์ อารีกุล นักศึกษา-นักกิจกรรม จากกลุ่มลูกชาวบ้าน เขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ผู้เขียนรู้สึกว่ามีโอกาสที่ดีที่จะหยิบเรื่องนี้มากระตุ้นสังคมอีกครั้งในฐานะ “อดีตนักกิจกรรม” ที่เคยจับประเด็นนี้มาก่อนอย่างเข้มข้นสมัยเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยที่เคยอยู่ในระบบราชการและออกนอกระบบราชการไปแล้วในสมัย “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ภายใต้รัฐบาลพลเอกสุยุทธ์ จุลานนท์

บทความชิ้นนี้จะนำท่านผู้อ่านไปสำรวจตรวจตราสิ่งที่อยู่ใต้สมองของ “ผู้บริหารมหาวิทยาลัย” กันบ้าง พวกเขามีมุมมองต่อนโยบายนี้อย่างไร ทำไมถึงได้ “กระเหี้ยนกระหือรือ” อยากนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการกันเร็วๆนัก...

เกริ่นนำ
ในที่สุด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ดำเนินนโยบายนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการอีกครั้ง หลังจากที่นโยบายนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ (หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ”) ถูกนำเสนออย่างจริงจังเป็นครั้งแรกหลังปี พ.ศ.2540 ซึ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลประชาธิปัตย์ยุคชวน หลีกภัย ได้ผลักดันนโยบายนี้เพื่อตอบสนอง “เงื่อนไข” ของการกู้เงินมาจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในราวปี พ.ศ.2542 เพื่อผลักภาระงบประมาณประเทศไปสู่ภาคสาธารณะ ภาคสาธารณะในที่นี้หมายถึง ประชาชนและพ่อแม่ผู้ปกครองของนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ

เผือกร้อนของรัฐบาลในประเด็นนี้มีจุดเริ่มต้นวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2554 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “ขบวนการนักศึกษา” โดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเดินขบวนประท้วงไปยังรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือให้รัฐบาลทบทวนนโยบายการนำมหาวิทยาลัยของพวกเขาออกนอกระบบราชการ  โดยมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกมารับหนังสือจากนักศึกษาด้วยตัวเอง ทั้งนี้ ตัวรัฐมนตรีกล่าวยืนยันกับนักศึกษาว่าจะไม่มีการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอย่างแน่นอนในสมัยของเขา

เวลาผ่านไปราว 3 เดือน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็เดินหน้าผลักดันนโยบายต่อท่ามกลางความไม่พอใจของนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาทวงถามความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย เมื่อ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ สกอ. ได้ประกาศเปรี้ยงผ่านสื่อมวลชนว่าได้รับการยืนยันจาก 4 มหาวิทยาลัยว่าพร้อมที่จะออกนอกระบบราชการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เมื่อติดตามจากข่าว  ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าใครกันแน่ที่ “กระสัน” อยากออกนอกระบบจนตัวสั่น ระหว่างรัฐบาล  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือว่ามหาวิทยาลัย ? ดูท่าแล้วเรื่องนี้มีความสลับซับซ้อนไม่น้อย คงต้องค่อยๆทำความเข้าใจถึงพอจะตอบได้ว่า “ทำไมถึงอยากออกนอกระบบราชการกันนัก” โดยเฉพาะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งหลาย

บริบทโดยย่อของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ
หากมองย้อนกลับไปไกลถึงยุคก่อน 14 ตุลาฯ ขอเสนอการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการนับว่าเป็นเรื่องที่ก้าวหน้าพอสมควรเนื่องจากประเทศไทยยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของนายทหารการเมืองกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะเป็นเผด็จการและมีการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศอย่างเข้มงวดรวมไปถึงการเข้าควบคุมและครอบงำมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเกือบถูกจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยึดเอาไปหลังจากกรณีแมนฮัตตัน  และความพยายามส่งคนของรัฐบาลทหารเข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัยต่างๆผ่านสภามหาวิทยาลัย หรือนั่งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยก็มีให้เห็น ดังนั้น เมื่อภาวะความกดดันในมหาวิทยาลัยเกิดจากระบอบการเมืองแบบรัฐราชการ จึงมีผู้เสนอให้นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเพราะต้องการสลัดอำนาจเผด็จการให้ออกจากพื้นที่วิชาการ หากผู้เขียนจำไม่ผิด อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ น่าจะเป็นนักวิชาการท่านแรกๆที่นำเสนอประเด็นนี้ออกสู่สาธารณะ

หลังปี พ.ศ.2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในประเทศไทย รัฐบาลประชาธิปัตย์มีการดำเนินนโยบายหลายประการเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของเงินกู้ก้อนต่างๆ หนึ่งในนั้นคือเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญก็คือ “การทำให้มหาวิทยาลัยเป็นอิสระจากรัฐ” หรือหากพูดให้ถึงรากถึงโคนมากกว่านั้น การออกนอกระบบราชการก็คือ “การปลดภาระทางการคลังของประเทศและผลักภาระเหล่านั้นไปให้ประชาชนและผู้ปกครองแทน”

“หัวแม่ตีน” ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
“ข้ออ้าง” ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งคือการอ้างว่าการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการคือการสร้างความคล่องตัวในการบริหารงานเพราะการอยู่ในระบบราชการมีข้อจำกัดไม่คล่องตัว  มีอิสระในทางวิชาการ มีความเป็นเลิศในทางวิชาการ และพนักงานมหาวิทยาลัยทุกคนก็จะมีความมั่นคงขึ้น ข้ออ้างเหล่านี้คือข้ออ้างยอดฮิตมาโดยตลอดซึ่งไม่ว่าจะถามคำถามอย่างไรผู้บริหารก็คงท่องจำได้เพียงเท่านี้ คิดเป็นอื่นก็คงแปลกประหลาดเพราะคิดอะไรไม่ได้มากกว่านั้นแน่

 เมื่อพิจารณาดูข้ออ้างเหล่านั้น  เช่น มุมมองว่าระบบราชการที่ใช้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในเวลานี้ไม่มีความคล่องตัว จะหยิบจับอะไรก็ติดขัดไปเสียทั้งหมด  ต้องรอหลายขั้นหลายตอนกว่าจะดำเนินการไปได้อะไรทำนองนั้น  ผู้เขียนเห็นว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ระบบราชการที่เป็นอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐในขณะนี้ไม่ได้มีความ “เลวร้าย” ขนาดที่จะต้องล้มเลิกไปโดยสิ้นเชิง ตรงกันข้าม ระบบราชการมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ขนาดเทคโนแครตระดับแนวหน้าของไทยท่านหนึ่งอย่างคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็ยัง “ยืนยัน” ว่าระบบราชการไทยมีการพัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอจนก้าวหน้าไปกว่าความจำเป็นที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการแล้ว[1]

ประการต่อมา เงื่อนไขที่ผู้บริหารอ้างว่าการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการคือการ “ให้ความมั่นคงแก่พนักงานมหาวิทยาลัย” ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในขณะนี้ ข้อเท็จจริงก็คือ มหาวิทยาลัยออกนอกระบบให้สิทธิแก่ข้าราชการว่าจะเลือกเป็นข้าราชการต่อไปหรือเปลี่ยนสถานะตัวเองเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายหลังที่ออกนอกระบบ แต่ว่ากรณีที่พนักงานมีมากกว่าข้าราชการนั้นมีผลมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.2542 ซึ่ง “ล็อค” ไม่ให้มีอัตราข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐอีกต่อไปโดยการให้บรรจุพนักงานอัตราจ้างแทนอัตราข้าราชการ[2]

  การ “วางยา” ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นเพราะว่าต้องการบีบให้จำนวนข้าราชการในมหาวิทยาลัยน้อยลงเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการให้ง่ายขึ้น การวางยาในครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของข้ออ้างผู้บริหารในปัจจุบัน

การแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงของพนักงานมหาวิทยาลัยนั้นง่ายมากและไม่จำเป็นต้องออกนอกระบบราชการด้วยซ้ำ ผู้เขียนเสนอว่าสภามหาวิทยาลัยสามารถเสนอให้ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.2542 หรือว่าเสนอร่างกฎหมายทั่วไปฉบับหนึ่งที่รับรองความมั่นคงของพนักงานมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ  หรืออาจต้องแก้ไขไปทั้งสองส่วนพร้อมๆกัน  เรื่องเหล่านี้สภามหาวิทยาลัยสามารถทำได้ (เสนอเข้าไปรัฐสภาได้) แต่ผู้เขียนคิดว่าสภามหาวิทยาลัยคงไม่ทำ เพราะประเดี๋ยว “ขนมอร่อยๆ” จะหายไปจากมือ ?

 ประเด็นต่อมา การออกนอกระบบราชการทำให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือความเป็นเลิศทางวิชาการไม่ได้เกี่ยวข้องว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่หรือไม่อยู่ในระบบราชการ ความเป็นเลิศทางวิชาการขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น งบประมาณการวิจัย, อัตราส่วนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา, หลักสูตรที่มีความพร้อมและความถนัดในทางวิชาการเฉพาะทาง, ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ฯลฯ แม้ว่ามหาวิทยาลัยอยู่ในระบบราชการก็สามารถเป็นเลิศทางวิชาการได้ ผู้เขียนไม่เชื่อว่าระบบราชการคือตัวการเพียงตัวเดียวทำลายความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งอ้าง  ผู้บริหารสามารถสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการภายใต้ระบบราชการได้  ระบบราชการในมหาวิทยาลัยไม่ได้มี “วัฒนธรรมบนลงล่าง” อย่างเข้มข้นเหมือนองค์กรราชการอื่นๆ มหาวิทยาลัยมีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากองค์กรราชการอื่นๆตรงที่มุ่งเน้นการศึกษาทางวิชาการและสนับสนุนความเป็นอิสระทางวิชาการอยู่แล้ว ไม่มีผู้บังคับบัญชาคนใดมาบีบบังคับให้อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องทำตามที่ตนเองต้องการได้หากการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยึดถือหลักการในทางวิชาการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย ใครมาบังคับให้อาจารย์ออกนอกหลักการทางวิชาการไม่ได้  มิฉะนั้นอาจารย์จะสอนหนังสือในระดับสูงได้อย่างไร

 อีกประการหนึ่ง พูดแบบขำๆ ผู้เขียนก็ยังไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการของไทยมหาวิทยาลัยใดติดอันดับ Top 100 ของโลกเสียที (ถ้าหากมหาวิทยาลัยไทยไม่นับมาตรฐานการจัดอันดับโลกของตะวันตกอย่างที่รัฐไทยยอมรับ มหาวิทยาลัยไทยคงติดอันดับจักรวาลไปแล้วเพราะเราเก่งเรื่องไสยศาสตร์และพิธีกรรมขอหวย  ฝรั่งและเอเลี่ยนคงสู้ไม่ได้) กล่าวโดยสรุป นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นเลิศทางวิชาการ ผู้บริหารมักไปโยงเรื่องงบประมาณกับความเป็นเลิศทางวิชาการเสียมากกว่า ทำไมไม่พูดให้หมด ?

เมื่อกล่าวถึงประเด็นงบประมาณ  ผู้เขียนมีความเห็นว่าประเด็นนี้คือประเด็นที่สำคัญที่สุดของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ค่อยยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดเท่าใดนัก (พูดไปก็คงเข้าตัวเอง ? พูดไปเดี๋ยวความแตก ?)

การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยยังงมโข่งมองเห็นแต่นิ้วแม่ตีนตัวเองก็เพราะประเด็นลึกๆประเด็นนี้   การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการคือการ “มอบอำนาจสูงสุดให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย” (เรียกอย่างสวยงามว่าคือความคล่องตัว) เมื่อผู้บริหารได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อไหร่ พวกเขาจะมี “อำนาจล้นมหาวิทยาลัย” ในทันที เพราะรัฐจะปัดภาระทุกอย่างออกไปจากตัวให้มากที่สุดรวมไปถึงอำนาจการตัดสินใจต่างๆภายในมหาวิทยาลัย  ผู้บริหารแทบจะกลายเป็น “พระเจ้า” ในทุกๆเรื่องรวมไปถึงเรื่องเงินๆทองๆด้วย ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้บริหารก็อ่อนแอลงไปมาก  หากเราลองหยิบพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐซักแห่งขึ้นมาดูก็จะพบการตรวจสอบที่ “ว่างเปล่า” เพราะมีแต่องค์กรถ่วงดุลในภาษากฎหมายอันสละสลวยแต่ไม่มีอำนาจใดๆในการตรวจสอบผู้บริหารอย่างเข้มข้นเลย  ในขณะที่อำนาจการบริหารงบประมาณมหาวิทยาลัยอยู่ที่ผู้บริหาร  การขึ้นเงินเดือน การขึ้นค่าตำแหน่ง การจ่ายผลตอบแทนต่างๆ ก็อยู่ในอำนาจผู้บริหารทั้งสิ้น กรณีนี้เคยเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกแห่งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2547

เมื่อผู้บริหารถูกสื่อมวลชน ITV ยุคนั้นแฉกลางอากาศว่าถ้าหากออกนอกระบบราชการ เงินเดือนของอธิการบดีจะขึ้นไปอยู่ที่สามแสนกว่าบาทซึ่งมากกว่าเงินเดือนนายกรัฐมนตรี !!  (ตอนนี้ผู้เขียนไม่ทราบแล้วว่าหลังจากมหาวิทยาลัยนั้นออกนอกระบบราชการไปแล้วเงินเดือนของผู้บริหารได้เท่าไหร่เพราะไม่ได้ติดตาม) ดังนั้น เรื่องการบริหารงบประมาณมหาวิทยาลัยภายใต้สภาพเช่นนี้คงไม่ต่างอะไรกับแดนสนธยา ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครทราบ ไม่มีการตรวจสอบอย่างถูกต้องตามครรลอง รับนักศึกษาเข้ามาเรียนเยอะๆแทบไม่อั้น (เพราะจะได้เงินจากนักศึกษาเยอะๆ จะได้มีเงินมาจ่ายเงินเดือนเยอะๆ) นี่กระมังถึงเรียกว่าความคล่องตัว

นอกจากนี้ ระบบการเล่นพรรคเล่นพวกจะเข้มแข็งมากขึ้นเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ อาจจะมีคนเถียงว่าอยู่ในระบบก็เล่นกันอยู่แล้ว ประเดี๋ยวผู้เขียนจะวิเคราะห์ต่อว่าเมื่อผู้บริหารรวบอำนาจทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ตัวเองแล้วจะเกิดอะไรขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผู้คนทั้งหลายที่ทำงานกินเงินเดือนอัตราจ้างในมหาวิทยาลัยจะต้อง “ก้มหัว” อย่างไม่ต้องสงสัย หากปีนเกลียวมากๆอาจตกงานได้ หากไม่ใช่พวกอาจถูกบีบออกจากงานได้ง่ายๆ หรือถ้าไม่รับใช้ฝ่ายการเมืองที่ผู้บริหารถือข้างอยู่ก็คงถูกบีบให้ออกจากงาน พนักงานมหาวิทยาลัยแทบทุกคนต้องใช้วิธีการแบบเดียวกันเพื่อเอาชีวิตรอดคือการยอมผู้บริหารทุกอย่าง นักวิชาการครูบาอาจารย์อัตราจ้างทั้งหลายก็คงอ้างหลักการทางวิชาการได้ไม่เต็มที่เพราะลูกเมียต้องกินต้องใช้  ตกงานไปใครรับผิดชอบ  มิต้องพูดถึงความเป็นเลิศทางวิชาการให้เสียเวลาเลย

การออกนอกระบบราชการเรียกร้องให้ผู้บริการต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรม และมีศีลธรรมกำกับการบริหารงานค่อนข้างสูงเนื่องจากอำนาจของพวกเขาเหล่านั้นตรวจสอบแทบไม่ได้ (แต่สามารถให้คุณหรือให้โทษใครก็ได้) อนิจจา สิ่งที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยไทยทุกวันนี้เป็นอย่างไรคนในแวดวงก็คงรับรู้และรับทราบกันเป็นอย่างดี ฉะนั้น ระบบที่มอบอำนาจเด็ดขาดให้แก่คณะบุคคลที่มีแนวโน้มฉ้อฉลเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ ?   

ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะมีความแตกต่างอะไรจากนักการเมืองเพราะต้องการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองเช่นเดียวกัน....?

สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศตกต่ำลงไป  ผู้บริหารที่ฉ้อฉล ไร้การตรวจสอบ ถ่วงดุลอะไรไม่ได้ มีแต่จะนำพาให้ลงเหว ลูกหลานออกมาโง่เต็มบ้านเต็มเมือง  นักศึกษามีแต่ปริมาณแต่ไร้คุณภาพ ?

เป็นคำถามที่สังคมต้องการคำตอบอย่างจริงจัง หากท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งหลายจะเงยหน้าขึ้นมาจากหัวแม่ตีนของตัวเองมองไปทางสังคมและประเทศที่พวกท่านอาศัยอยู่บ้างแล้วคิดว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูป  คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้หากพวกท่านตั้งใจสร้างแม้ภายในระบบก็สามารถทำได้  

ผู้เขียนเองก็มิได้มองว่าระบบราชการมีความสมบูรณ์แบบ ทุกระบบย่อมมีข้อบกพร่องแต่อย่างน้อยที่สุดระบบราชการก็ยังสามารถถ่วงดุลตรวจสอบการใช้อำนาจได้ดีกว่าออกนอกระบบราชการ (ที่กฎหมายเขียนให้มีการตรวจสอบอ่อนแลง) อยู่ในระบบราชการก็สามารถสร้างความคล่องตัวภายใต้การตรวจสอบถ่วงดุลได้ สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่พนักงานอัตราจ้างได้  เราสามารถหาทางแก้ไขมันได้

เราจะออกนอกระบบไปทำไมในเมื่อเราทุกคนต่างรู้ดีว่าระบบใหม่ที่จะนำมาใช้มีความเลวร้ายสารพัดดำรงอยู่ (ดีสำหรับผู้บริหารฝ่ายเดียวแต่เลวร้ายสำหรับคนอื่นๆโดยเฉพาะต่อสังคมไทย) 

นักศึกษาเขาไม่ได้พอใจนโยบายแบบนี้ทุกคนหรอกนะครับ อย่าทำเรื่องนี้ให้กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวเลย  ....

ผมเบื่อความวุ่นวายทางการเมืองมากพออยู่แล้ว ...

 


[1] เข้าถึงได้ใน http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=08&action=view&id=012772#q  ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2547 หมายเหตุ ยังมีประเด็นถกเถียงเรื่องโครงสร้างการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมถ้าหากไม่อยู่ในระบบราชการปรากฎอยู่ในคำตอบของ อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ อีกด้วย  หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปอ่านตัวเต็มได้ครับ

[2] รายละเอียดปรากฏในหนังสือของทบวงมหาวิทยาลัยส่งถึงคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2542 ชื่อเรื่อง ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณเพื่อการจ้างบุคลากรทดแทนอัตราราชการ  เข้าถึงได้ใน http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ดูแนวทาง 'เฉลิม' ปราบเว็บหมิ่น งัดมาตรการ 'ขอร่วมมือ กฎหมาย และ...ประจาน'

Posted: 08 Dec 2011 09:54 AM PST

ยิ่งลักษณ์แต่งตั้ง “เฉลิม” เป็นหัวขบวน 22 กรรมการ เผยพร้อมใช้ทั้งนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และการประจาน ปราบเว็บหมิ่นฯ ด้านปลัดไอซีทีเผยเฟซบุ๊กร่วมมือปิดบัญชีคนโพสต์หมิ่นแล้ว 6 หมื่นราย

เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการดำเนินการปราบปรามเว็บไซต์ที่โพสต์และส่งข้อความที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทว่า ตนเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบว่า ผบ.ทบ.ระบุว่า กองทัพเป็นห่วงเรื่องนี้ แต่ทางกองทัพมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีและกำลังพล นายกฯจึงได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285 /2554 ลงวันที่ 7 ธ.ค. 54 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำหนดนโยบายการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอ ข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 22 คน มีตนเป็นประธาน และผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น ปลัดไอซีที เป็นกรรมการ

นอกจากนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะบูรณาการการทำงาน โดยใช้สถานที่ทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจะติดตั้งเครื่องมือ ติดตามตรวจสอบการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะประชุมนัดแรกวันที่ 9 ธ.ค.นี้ เวลา 11.00 น. และขอความร่วมมือคณะกรรมการทุกคน ต้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงทุกครั้ง หากจำเป็น มาไม่ได้ ต้องมอบให้คนที่มีอำนาจตัดสินใจมาร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ ขอให้ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้ง ให้ร่วมมือกันรักษาพระเกียรติยศ ให้จริงจัง ต้องไม่บกพร่อง ห้ามมีข้ออ้างว่าทำไม่ได้ ว่าเว็บไซต์ที่เผยแพร่เป็นเว็บไซต์จากต่างประเทศ เพราะสามารถหยุด และห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่ต่อได้ ถ้าไม่ทำ ตนจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะแถลงความคืบหน้าการทำงานให้นายกฯ ประชาชนทราบเป็นระยะ โดยจะบอกเฉพาะว่า ส่งมาจากไหน และใครเผยแพร่ แต่จะไม่เผยแพร่เรื่องของเนื้อหา

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ได้มอบให้ ผบ.ตร.เป็นหัวหน้ารับผิดชอบในส่วนของตำรวจ และให้ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร. เป็นคนดูเรื่องกำลังคน ส่วนเรื่องเทคโนโลยี ของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และกระทรวงกลาโหม และตำรวจชุดสืบสวน ชุดเฝ้าระวัง และชุดตรวจค้น ทำงานร่วมกัน ซึ่งตนจะลงไปกำกับเอง ถ้าเจ้าของเว็บไซต์ยังดื้อหรือหัวหมอ ก็จะลงไปเจรจาเอง หากเรื่องนี้ใช้หลักนิติศาสตร์แก้ปัญหาได้ก็ใช้ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ใช้รัฐศาสตร์เข้าไปจัดการ โดยจะใช้การประจานตัวผู้กระทำ แต่ไม่ประจานเนื้อหา เพราะต้องระวังในการนำเสนอ

“งานนี้เป็นงานที่ท้าทาย แต่ผมเต็มใจ และตั้งใจที่จะทำ ทุกคนที่ได้รับแต่งตั้งรอเวลานี้มานานแล้ว แต่ไม่เคยมีใครคิดจะบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกัน ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาติดขัดเรื่องขั้นตอน เช่น เวลาที่ฝ่ายเทคโนโลยีของตำรวจจะตรวจค้น ก็ติดที่ขั้นตอนที่ว่าต้องไปหาเจ้าหน้าที่ไอซีที แต่ตอนนี้ตนเชิญกระทรวงไอซีทีมาคุยว่าติดขัดกันเรื่องอะไร ส่วนความขัดแย้งของหน่วยงานต่างๆ ผมจะลงไปกำกับเอง อย่าทำแบบขอไปที ไม่ได้ ต้องทำตามภารกิจหน้าที่ ต้องยกเลิกขั้นตอนธุรการที่ทำงานมีปัญหาลง เพราะตอนนี้ระดับปลัดกระทรวงลงมาทำงานแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องฟัง ดังนั้นต้องลดขั้นตอนลง เพื่อความสำเร็จของงาน จับคนทำผิดก่อน เมื่อเรื่องไปถึงศาล ต้องรีบดำเนินการทันที จะรอให้ถึงวันเปิดทำงานก่อนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นงานไม่เสร็จ”

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวต่อว่า แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมีอำนาจในการทำงาน แต่ต้องดูให้สอดรับกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องกำจัดและสกัดเว็บไซต์ที่กระทบสถาบัน และมาดูข้อกฎหมายว่า ทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง ถ้าทำไม่ได้ ต้องแก้ไขเพื่อให้ทำได้

เมื่อถามว่า ตั้งเป้าการทำงานว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จได้เมื่อไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าทำได้ อยากให้เสร็จพรุ่งนี้ แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยรัฐบาลนี้เริ่มทำอย่างเป็นรูปธรรม ทุกรัฐบาลทำ แต่เป็นแค่นามธรรม

เมื่อถามว่าจะแก้ปัญหาเว็บไซต์ที่มาจากต่างประเทศ จะทำอย่างไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า อย่าไปเผยแพร่ต่อ ก็ถือว่าให้ความร่วมมือแล้ว ส่วนบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ ให้เลิกพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ถ้าไม่เลิก ผิดกฎหมาย และดำเนินการเด็ดขาด ขณะที่เจ้าหน้าที่อย่ามาอ้างว่าไม่รู้ไม่เข้าใจ ถ้ารู้แล้วปล่อยก็ติดคุกด้วย ถ้าอยากติดคุกก็เชิญ ตนไม่ได้ขู่แต่เอาจริง เพราะที่ผ่านมาเหลาะแหละ เมื่อรู้ก็ไปพูด ทั้งที่เรื่องแบบนี้เขาให้สกัดกั้น ไม่ใช่ออกมาพูด

เมื่อถามว่า แต่มีกลุ่มการเมืองพยายามเคลื่อนไหวมายื่นหนังสือให้สกัดเว็บหมิ่นสถาบัน เพื่อกระทุ้งให้เป็นข่าวอยู่เรื่อยๆ รองนายกฯ กล่าวว่า มีคนหลายพวก คือพวกที่คิดว่าจะชนะการเลือกตั้งแล้วกลับแพ้ ยังทำใจไม่ได้ พวกที่เดินไปอุ้มไก่แพ้ พวกใจร้อนที่เห็นว่าได้เวลาแล้วที่จะเปลี่ยนไปเป็นพวกเก่า เพราะรัฐบาลมัวแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ประชาชนไม่ยอม และพวกที่ผิดหวังที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง

เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่หากรัฐบาลเอาจริง อาจผิดใจกับคนเสื้อแดงได้ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มีผิดใจ เพราะคนเสื้อแดงเขารักพรรคเพื่อไทยชั่วฟ้าดินสลาย ชั่วกัลปาวสาน จะผิดใจเรื่องอะไร เพราะมาร่วมกันทำความดี แม้ตนจะไม่เคยขึ้นเวทีเสื้อแดง แต่เชื่อว่าคนเสื้อแดงมีเหตุผล ต่อข้อถามว่าการเดินหน้าเรื่องนี้เป็นการตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม ที่หยิบยกว่ารัฐบาลไม่จงรักภักดีมาโจมตีหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ไม่มี ไม่ได้ตอบโต้

ต่อข้อถามว่า รัฐบาลต้องการสร้างผลงานเรื่องนี้ รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นผลงาน แต่เป็นหน้าที่ เมื่อก่อนไม่มีการมอบหมายตนให้ทำ แต่มอบให้ไปดูเรื่องคดีลูกเรือจีน 13 ศพ แก้ปัญหายาเสพติด ตนก็ไป
 

 

ไอซีทีเผยเฟซบุ๊กร่วมมือปิดบัญชีคนโพสต์หมิ่นแล้ว 6 หมื่นราย
วันเดียวกัน เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่า นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวชี้แจงระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2555 ว่า การกระทำความผิดหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านทางเว็บไซต์เชื่อมั่นว่ามีจำนวนไม่มากโดยเป็นบุคคลกลุ่มเก่าคอยดำเนินการ ไอซีทีได้ทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อประสานกับผู้ให้บริการในต่างประเทศโดยเฉพาะเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ยูทูบ เป็นต้น

"เมื่อเราเข้าไปตรวจสอบพบว่าในปี 2553เป็นลักษณะกระทำการผ่านทางเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงในลักษณะที่ต้องตั้งใจเข้าไปดูมากกว่าบังเอิญเข้าไปพบ แต่เมื่อมาเป็นสื่อสังคมออนไลน์พบว่ามีการกระจายข้อความรวดเร็วแพร่หลายมากกว่าที่ผ่านมา ไอซีทีได้พยายามจัดการที่ต้นตอโดยขอความร่วมมือไปยังผู้ดูแลเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล และยูทูบ ซึ่งเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกูเกิ้ลและยูทูบ" นางจีราวรรณ กล่าว

นางจีราวรรณ กล่าวว่า สำหรับเฟซบุ๊กที่ผ่านมาเรายังไม่ได้รับความร่วมมือเลยเพราะเขามีนโยบายของเขาว่าต้องให้ทุกคนสามารถเผยแพร่ข้อมูลอะไรก็ได้ไม่ได้จำกัดสิทธิเพราะการยิ่งไม่จำกัดสิทธิมากเท่าไหร่ เว็บไซต์จะยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากเฟซบุ๊กแล้วโดยเมื่อเราทำความเข้าใจกับผู้ให้บริการกว่า 5 เดือนซึ่งปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาเราได้รับการตอบรับมาว่ามีการยอมปิดบัญชีผู้ใช้บางรายที่มีการเผยแพร่ข้อความดังกล่าวแล้ว สามารถลดผู้ที่เผยแพร่ข้อความไม่เหมาะสมได้แล้วถึง 6 หมื่นราย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุเทพให้ปากคำ บชน. สลายคนเสื้อแดง

Posted: 08 Dec 2011 09:53 AM PST

สุเทพ เข้าให้ปากคำ คดีสลายคนเสื้อแดง อ้างชายชุดดำ อภิสิทธิ์ไม่เกี่ยว และเป็นไปตามกฎหมาย

8 ธันวาคม 2554 เวลา 13.45 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) พร้อมทนายความส่วนตัว เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อให้ปากคำคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ระหว่างเดือน เม.ย.53 ถึง 19 พ.ค.53 ซึ่งส่งให้มีผู้เสียชีวิต 92 ศพ บาดเจ็บราว 2,000 คน โดยมี พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น.ในฐานะหัวหน้าชุดสอบสวนคดีสลายการชุมนุมเป็นผู้สอบปากคำ

เวลา 17.20 น. นายสุเทพ ได้เดินออกมาจากห้องสอบสวน ก่อนให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะให้การในทุกเรื่อง เป็นการทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่เคยได้รับภารกิจให้ปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความวุ่นวายและเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองในช่วงที่เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง โดยการให้ปากคำนี้ เป็นกรณีการออกคำสั่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินเพื่อรองรับการจราจรผ่านสะพานพระราม 8 และสะพานพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 ภายใต้กรอบของกฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พ.ศ.2548 หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2553 และจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้น มอบหมายให้ตนเป็นผู้อำนวยการ กำกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ

เว็บไซต์ข่าวสด รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายสุเทพว่า นายกฯอภิสิทธิ์ ได้ออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 มาตรา 11 ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของตนเป็นผู้ออกคำสั่ง ตนออกคำสั่งปฏิบัติการต่างๆ ได้ถ่ายสำเนาคำสั่งทั้งหลายมามอบให้พนักงานสอบสวนครบถ้วน พร้อมทั้งอธิบายว่า การสั่งการในวันที่ 10 เม.ย.2553 ตนเป็นผู้สั่งการแต่ผู้เดียว ท่านนายกฯอภิสิทธิ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งการด้วย ตนก็สั่งการตามหน้าที่และตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจตนไว้ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานที่รับคำสั่งจากตนก็ได้ปฎิบัติงานอยู่ในกรอบของคำสั่งที่ชอบทุกประการได้ติดตามกำกับตลอดเวลาไม่ได้เกินกว่ากรอบที่กำหนดแต่อย่างใด โดยนัดอีกวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 14.00 น. ได้นำภาพบางภาพมาแสดงกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นภาพนิ่งเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายชายชุดดำ และเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนและเจ้าหน้าที่ โดยก็ถามว่ามีวีดีโอหรือไม่ก็จะหามา ซึ่งภาพที่ได้เป็นภาพที่เคยออกตามสื่อบ้างแล้ว” นายสุเทพกล่าว

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 14 ธันวาคม พนักงานสอบสวนจะเรียกสอบในเรื่องของวันที่ 13 เมษายน วันที่ 14-16-19 พฤษภาคม 2553 โดยนายกอภิสิทธิ์ไม่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งของ ศอฉ. เมื่อมอบหมายก็ไม่ได้ก้าวล่วง ให้แนวนโยบายในฐานะหัวหน้ารัฐบาลตั้งแต่ต้น โดยให้แก้ไขเรื่องปัญหาจราจร การประชุม ศอฉ. ตนก็เป็นประธาน นายกฯอภิสิทธิ์ เข้าไปบางครั้ง ส่วนใหญ่เข้าไปในช่วงการประชุมสรุปสถานการณ์ เพราะใช้เวลาเจรจาผู้ชุมนุม แสวงหาความร่วมมือกับผู้ชุมนุม แนวทางในการปรองดองสมานฉันท์ เป็นคนละหน้าที่กัน

ด้าน พล.ต.ต.อนุชัย กล่าวว่า จากการพูดคุยสอบปากคำ ได้รับความร่วมมือดี แต่รายละเอียดในสำนวนและการสอบสวนคงเปิดเผยไม่ได้ อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 ธันวาคม จะเชิญตัวนายสุเทพมาสอบปากคำเพิ่มเติมอีกครั้งในส่วนของรายละเอียดในเหตุการณ์วันอื่นๆ โดยวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 14.00 น. ได้รับการประสานจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาว่าจะเข้าพบพนักงานสอบสวน ที่ บช.น. เช่นกัน

ข่าวสดอ้างรายงานข่าวเปิดเผยว่า ในที่ประชุม พล.ต.ต.อนุชัย มอบหมายให้ พ.ต.อ.วัลลภ ประทุมเมือง รอง ผบก.น.9 ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนชุดพิเศษเป็นผู้ตั้งประเด็นคำถามเพื่อสอบถามนายสุเทพ มีคำถามหลักประมาณ 18 ข้อ และคำถามเสริม กรณีมีการสอบถามแล้วแตกประเด็น 8-9 ข้อ โดยก่อนสอบถาม พนักงานสอบสวนได้ถามนายสุเทพว่า หากจะสอบถามเกี่ยวกับภาพรวมในการสลายการชุมนุมได้หรือไม่ แต่นายสุเทพปฏิเสธอ้างว่า ไม่ได้เตรียมตัวมา และพนักงานสอบสวนแจ้งให้มาพบเพื่อสอบถามในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิมูราโมโตะช่างภาพชาวญี่ปุ่นเมื่อ 10 เมษายน 53 เท่านั้น หากจะสอบถามในสำนวนอื่นๆ ให้พนักงานสอบสวนนัดมาสอบสวนใหม่อีกครั้ง

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เมื่อถามว่าเป็นผู้สั่งให้สลายการชุมนุมใช่หรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า สั่งการในอำนาจหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามขอบเขตของกฎหมาย เพราะขณะนั้นมีผู้ใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่จึงต้องมีการป้องกันตัวและควบคุมสถานการณ์ ซึ่งเป็นที่มาของการตั้ง ศอฉ. ซึ่งจากการสอบถามนั้นนายสุเทพ มักจะใช้วิธีการเล่าถึงที่มาที่ไปในแต่ละเรื่องมากกว่าจะตอบคำถามพนักงานสอบสวนตามตรง นอกจากนี้ยังมีการนำภาพเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน มาฉายในห้องด้วย

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ และข่าวสด 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อลิซาเบ็ธ แพร็ต

Posted: 08 Dec 2011 06:49 AM PST

โจ กอร์ดอน ถูกตัดสินลงโทษจากสิทธิในการแสดงออกที่เขาพึงมี เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล

กงศุลสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ฉบับประชาธิปไตยฯ ตอนที่ 2 มรณกรรมใต้ตีนเผด็จการ

Posted: 08 Dec 2011 06:09 AM PST

 

บทความนี้อุทิศให้กับ
อ.สุรพศ ทวีศักดิ์,
อากง อำพล
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
โจ กอร์ดอน
และผู้ได้รับความไม่เป็นธรรมท่านอื่นๆ
อันเนื่องมาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

 

"สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีพระเถระผู้เป็นชั้นอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งพระอนุเถระผู้เป็นชั้นศิษย์ เมื่อต้องเข้าประชุมโต้เถียงกันในสภาโดยฐานะเป็นสมาชิกเท่ากันก็เป็นเหตุให้เสื่อมความเคารพยำเกรง ผิดหลักพระธรรมวินัย เสียผลในทางปกครอง ทั้งเป็นเหตุให้เสื่อมความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน จะอ้างว่าอนุวัตรตามพระพุทธานุญาตที่ให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมทั้งปวง ทำนองเดียวกับระบอบการปกครองบ้านเมืองที่ให้ประชาชนมีส่วนมีเสียงในการปกครองนั้นไม่ได้" [1]

ข้อโต้แย้งเพื่อล้มพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 โดย ในปี 2490 ใน สำเนาหนังสือร้องเรียนและบันทึกคำชี้แจงประกอบหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับพระราชบัญญัตคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2518, น.1-24

 

...ถ้าเกิดองค์กรใดก็ตามมีสามอำนาจในองค์กรเดียว องค์กรนั้นสมควรเรียกว่า ‘มาเฟีย’ มากกว่า คือถ้าจะออกกฎเอง ตามหลักสากลก็ต้องเป็นการออกกฎในกรอบของกฎหมายแม่บทที่ตราขึ้นโดยสภา แต่การวินิจฉัยสั่งการ เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้หากจะให้เป็นที่สุดเหมือนกับเขาใช้อำนาจตุลาการเอง อันนี้ยอมไม่ได้ องค์กรเหล่านี้สามารถออกคำสั่งได้ แต่คำสั่งที่ออกมาต้องไม่เป็นที่สุด ต้องสามารถถูกฟ้องร้องต่อศาลได้”

คำให้สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปี 2554 [2]

 

ชัยชนะของการผลักดันกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2484 มิได้จีรังยั่งยืน แต่เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติที่ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป การพ่ายแพ้ที่ไม่อาจยืนกฎหมายดังกล่าวในสังคม นอกจากจะแสดงให้เห็นกลไกการจัดการอำนาจในสังคมสงฆ์แบบประชาธิปไตยที่พังทลายลงไปแล้ว ยังทำให้เราเห็นได้ว่าคุณค่าของแนวคิดประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐานมาตั้งแต่ปี 2475 ถูกปู้ยี่ปู้ยำอย่างย่อยยับทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับชาติ การเมืองระดับท้องถิ่นในเทศบาลทั่วประเทศ นับเป็นความสำเร็จในการลบมรดกของคณะราษฎรออกจากแผนที่ประเทศไทย ในอีกด้านก็คือ การรุมฉีดยาขนานเดิมที่เปี่ยมล้นอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ผู้สมัครอยู่ที่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การทำความเข้าใจความเสื่อมสลายของอุดมการณ์ประชาธิปไตยของกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกระจกสะท้อนถึงสังคมการเมืองไทยและทำให้เราประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาได้แม่นยำมากขึ้นด้วย

พลังจากการสั่งสมของระบบศักดินาและอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมในสังคมไทยมีรากฐานที่ลงลึกและสลับซับซ้อนมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันถูกผูกอยู่กับโครงสร้างทางการเมืองแบบจารีตที่มีอายุยาวนาน ดังนั้นระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อคณะสงฆ์นั้นยึดโยงตั้งแต่ยอดบนสุดคือ สถาบันกษัตริย์จากนั้นก็ลดหลั่นมาสู่เจ้านาย ขุนศึก ขุนนาง และชาวบ้าน

การตีกลับของพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนสามารถคว่ำอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎรลงไปได้นั้นผ่านการบ่มเพาะและต่อสู้มาจนสุกได้ที่ หากมองแบบโลกคู่ขนานกันกับโลกของฆราวาสแล้ว ภายในโลกของของคณะสงฆ์ เราก็จะเห็นการขับเคี่ยวต่อสู้ที่เข้มข้นไม่แพ้กัน แต่พลังของพ.ร.บ. 2484 นับว่ายังมีโอกาสอยู่รอดยาวนานกว่า หลังจากที่อุดมการณ์และตัวบุคคลในนามคณะราษฎรได้ถูกโค่นทำลายไปแล้วตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2490

 

การเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คดีสวรรคต และจุดจบคณะราษฎร

แม้ปรีดี พนมยงค์จะขึ้นมามีอำนาจ ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสั้นๆ จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นในปี 2489 ความมั่นคงดังกล่าวช่างไม่ยั่งยืน กลุ่มอำนาจของเขาพังทลายลงด้วยข้อกล่าวหาทางการเมือง จากพรรคอนุรักษ์นิยมอย่างประชาธิปัตย์ กรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ผสมโรงกับข้อกล่าวหาทุจริตคอรัปชั่นโดยพรรคพวกของปรีดี ทำให้รัฐนาวาของคณะราษฎรปีกซ้ายกลุ่มปรีดี ต้องพบจุดจบด้วยการรัฐประหารในปี 2490 รัฐประหารครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทหารทำการยึดอำนาจโดยด้วยกำลังและฉีกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศทิ้ง สำหรับผู้เขียนแล้วนับเป็นความรุนแรงที่เลวร้ายอุกฉกรรจ์ที่ได้ทำลายบรรทัดฐานทางสังคมการเมืองที่เชื่อมั่นในความเสมอภาคของคน มันไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเท่านั้น แต่เป็นการโต้กลับจากฟากฝั่งอนุรักษ์นิยมเพื่อรื้ออุดมการณ์ของคณะราษฎร และสร้างอุดมการณ์และความชอบธรรมทางการเมืองของตนขึ้นมาใหม่

นั่นคือ ต้นแบบของการรัฐประหารที่กลายเป็นวงจรขบวนการอุบาทว์ ที่ทหารใช้กำลังยึดอำนาจและถ่ายเทอำนาจรัฏฐาธิปัตย์มาสู่ตนโดยสร้างข้ออ้างที่อิงแอบกับสถาบันทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม รัฐธรรมนูญที่เคยศักดิ์สิทธิ์และถูกยกย่องว่าจะอยู่ชั่วกัลปาวสานกลับถูกเหยียบย่ำและฉีกทิ้งง่ายๆ เพื่อสถาปนาความชอบธรรมของหมู่คณะของคน วิธีการนี้สืบทอดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงครั้งล่าสุดในปี 2549

พลังอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมนานาชนิดเติบโตอย่างโรแมนติก บีบคั้นอารมณ์ มีสีสันภายใต้การเมืองวัฒนธรรมของฝ่ายขวาเติบโตและขายดิบขายดี วรรณกรรมที่เป็นหมุดหมายที่สำคัญก็คือ สี่แผ่นดิน ศัตรูเก่าของคณะราษฎร ที่เป็นนักโทษการเมืองรวมทั้งปัญญาชนฝ่ายขวาก็ผลิตผลงานสารคดีการเมืองเพื่อตอกย้ำความเลวร้ายของคณะราษฎร

พร้อมทั้งสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าและพวกพ้องอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

อาจกล่าวได้ว่าความล่มสลายพ่ายแพ้ของคณะราษฎร นอกจากจะปราชัยต่อกำลังทหาร (ที่พ่ายแพ้อย่างราบคาบในกบฏวังหลวงปี 2492 ) แล้ว ยังสู้ไม่ได้เลยกับกระแสนิยมในด่านวัฒนธรรมอันโรแมนติกโหยหาวันหวาน โลกหลัง 2490 จึงกลายเป็นโลกคนละใบกับ 15ปีที่แล้ว ที่คนสามัญขึ้นมากู่ร้องตะโกนต่อชัยชนะในนามของความเสมอภาค

 

รอยปริแตกในคณะสงฆ์ การเสี้ยมสอนและความอ่อนแอ

การเมืองในคณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นมานานนมตั้งแต่ก่อนที่โครงสร้างการปกครองของคณะสงฆ์จะเดินตามแนวคณะราษฎรเสียอีก ในโครงสร้างใหม่แม้โดยอำนาจการปกครองจะถูกแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 เพื่อถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบซึ่งกันและกัน แต่ปัญหาหลักกลับเป็นอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมที่ยังเกาะแน่นอยู่ภายในสังคมสงฆ์อย่างแข็งแกร่ง ระบบเส้นสายและอุปถัมภ์ที่หยั่งรากลึกก็ถือเป็นด่านกั้นสำคัญที่ไม่ค่อยจะลงตัวกับแนวคิดแบบมนุษยนิยม เหตุผลนิยม และความเสมอภาค ที่มากับระบอบประชาธิปไตย

จุดอ่อนที่สำคัญของระบอบใหม่ก็คือ มันมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะทำให้ฝ่ายอำนาจเก่ารุกกลับมาใช้อำนาจเข้าไปล้มล้างการดำรงอยู่ของกฎหมายฉบับนี้

 

การเมืองในจีวร กับ ความขัดแย้งระหว่างมหานิกาย

การแตกแยกของคณะสงฆ์ ไม่ได้แยกเป็น 2 เสี่ยง เฉพาะมหานิกาย กับ ธรรมยุตเพียงเท่านั้น พบว่าในมหานิกายเองก็ยังแบ่งฝ่ายเป็นมหานิกายดั้งเดิมและ มหานิกายแปลงอีก ที่มีของเรื่องนี้อยู่ที่ “จีวร”

สมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราช ได้พยายามเปลี่ยนรูปแบบการครองผ้าด้วยการนำไปสู่เป็นวาระหลักประชุมในปี 2457 [3] ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่จะบีบให้พระมหานิกายครองจีวรแบบธรรมยุต ในครั้งนั้นได้ทำให้พระมหานิกายเกิดความเห็นเป็น 2 ฝ่ายนั่นคือ ฝ่ายที่สนับสนุนที่เป็นพระผู้ใหญ่ก็คือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุ และพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม และพระอีก 10 รูป กับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยคือ พระพิมลธรรม (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา ญาณฉนฺโท) วัดระฆังโฆสิตาราม และพระเทพเวที (น่วม) วัดสระเกศ [4] นี่คือ รอยปริแตกที่นำไปสู่การแบ่งฝักฝ่ายในมหานิกาย การวินิจฉัยดังกล่าวในเวลาต่อมา ได้กลายเป็นเครื่องมือในการบีบบังคับจากพระผู้มีอำนาจชั้นผู้ใหญ่ ให้พระชั้นผู้น้อยปฏิบัติตาม [5] อย่างไรก็ตามเรื่องการครองจีวรก็ไม่ได้ถูกบังคับใช้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ปล่อยให้เกิดความคลุมเครือต่อไป แต่นั่นก็ได้บ่มเพาะความไม่ไว้วางใจกันในมหานิกายขึ้นอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากการความหวาดระแวงของมหานิกายที่มีต่อธรรมยุตว่าจะเข้ามาครอบงำมหานิกาย อันเป็นประสบการณ์ความเจ็บปวดโดยตรงที่พวกเขาเคยเผชิญมา

 

มหานิกาย กับตำแหน่งสังฆนายกที่หลุดลอย

หากมองเพียงผิวเผินจะเห็นว่า เมื่อคณะราษฎรกลับมาเป็นใหญ่ ได้ส่งผลดีต่อการกลับมามีอำนาจของมหานิกายด้วย สมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศนเทพวราราม (แพ ติสฺสเทโว) ได้รับตำแหน่งพระสังฆราช หลังจากที่ธรรมยุตครองตำแหน่งนี้มาถึง 2 สมัยติดต่อกันมา

อย่างไรก็ตามในโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์หลังจากพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ในทางปฏิบัติแล้ว ตำแหน่งสำคัญที่สุดก็คือ สังฆนายก ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่จะทำหน้าที่วางนโยบายในการผลักดันความก้าวหน้าของคณะสงฆ์ดุจดั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือกันว่าเป็นตำแหน่งที่กุมอำนาจเหนือกว่า ประธานสังฆสภา ประธานวินัยธร และสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นประมุขเสียอีก

แคนดิเดทสังฆนายกที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งของฝ่ายมหานิกายก็คือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ขณะที่ฝ่ายธรรมยุต คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อย่างไรก็ตามด้วยความที่สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระมหานิกายแปลง และยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าวชิรญาณวโรรสมาก่อน ทั้งยังเป็นผู้ที่ผลักดันให้การศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยมีความเติบโตก้าวหน้ามาก จึงมีศิษย์ที่เป็นทั้งพระในฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต [6] ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝ่ายธรรมยุตทำให้สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ถูกระแวงแก่คณะสงฆ์มหานิกายดั้งเดิม ไม่เพียงเท่านั้นในสายตาของคณะปฏิสังขรณ์ฯ เห็นว่าหลังจากที่คณะได้ดำเนินการเรียกร้องพ.ร.บ.สงฆ์อย่างเปิดเผย ในครั้งนั้นกลับไม่พบพระจากวัดมหาธาตุและวัดเบญจมบพิตรที่อาจนับว่าเป็นวัดมหานิกายแปลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยเลย [7] เหล่านี้คือ ความกังขาต่อความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งสำคัญของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง)

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่า ทำไมแทนที่ฝ่ายมหานิกายจะรวมตัวกันหนุนให้สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ขึ้นเป็นสังฆนายกรูปแรกในประวัติศาสตร์ กลับกลายเป็นว่า ฝ่ายมหานิกายนั่นแหละที่กีดกันมหานิกายกันเอง จนในที่สุด สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ต้องไปรับตำแหน่งประธานสังฆสภาเสีย ความขัดแย้งนี้กลับเป็นผลดีแก่ฝ่ายธรรมยุตที่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ในที่สุดก็สามารถผลักดันให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) ขึ้นเป็นสังฆนายกได้สำเร็จ

เมื่อพิจารณากลับไปที่อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 แล้วจะพบว่า การจัดสรรตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้ทำให้มหานิกายมีความได้เปรียบเลย กลับเป็นฝ่ายธรรมยุตได้ดำรงตำแหน่งผู้กุมอำนาจบริหารสูงสุดนั่นคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) วัดบรมนิวาส ในตำแหน่งสังฆนายก (2485) [8] และอำนาจตุลาการ นั่นคือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ชื่น สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศ ในตำแหน่งประธานคณะวินัยธร (2485) [9] ถือเป็น 2 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตย

 

ประชุมสังคายนาพระไตรปิฏก ธรรมวินัยเพื่อรวมคณะสงฆ์

ระเบิดเวลาที่ฝ่ายธรรมยุตตระหนักดีนั่นก็คือ การระบุไว้ในบทเฉพาะกาลว่าภายใน 8 ปีหลังประกาศใช้กฎหมายนี้จะให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกและรวมนิกายทั้งสองให้เป็นหนึ่งเดียว หลังจากรัฐบาลเปิดวัดประชาธิปไตย (ซึ่งต่อมาก็คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน) ในปี 2485 ก็เริ่มเดินหน้าจัดการสร้างความเอกภาพในวงการสงฆ์ โดยการเริ่มผลักดันการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยมีนัยเพื่อการชำระความเข้าใจให้ตรงกันเพื่อที่จะรวมทั้งสองนิกายให้เป็นหนึ่งเดียว การประชุมครั้งแรกมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2486 ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระสังฆราช (ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศน์ฯ เป็นประธานในการประชุม แม้จะมีผู้เข้าร่วมอย่าง คณะสังฆมนตรี พล.ต.ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมการศาสนา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัยก็ตาม แต่การประชุมที่มีในครั้งหลังๆ ก็ไม่สามารถสร้างความคืบหน้าจนต้องเลิกราไปในที่สุด [10] นัยของสังคายนาคือ การรวมนิกาย เป็นสิ่งที่ฝ่ายธรรมยุตไม่ยอมให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เรื่องนี้ถูกทำให้เงียบและหายไปในที่สุด

 

การเมืองในอายุขัย การเมืองในความตาย

ความตายไม่ใช่การสิ้นสุดหรือจุดจบของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตและอำนาจเท่านั้น แต่เป็นโอกาสของอำนาจใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ด้วย ความตายจึงผูกพันอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทางการเมืองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสังคมอนุร้กษ์นิยมที่ให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส ที่ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ ผู้มีอาวุโสมาก และมีเส้นสายอุปถัมภ์ที่แข็งแกร่ง ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ในคณะสงฆ์จึงพบปัญหาว่า กว่าที่พระผู้ใหญ่จะขึ้นมามีอำนาจในการปกครอง แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์มามากเพียงใด แต่สังขารและความสดใหม่ในเชิงสร้างสรรค์นั้นก็มีข้อจำกัดเสียแล้ว กรณีของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ว่ากันว่าได้ขึ้นตำแหน่งสมเด็จในอายุที่น้อยมาก นั่นก็คือเมื่ออายุได้ 58 ปีแล้ว [11] ดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยเลยว่า พระชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจอยู่ล้วนแก่พรรษา และสังขารร่วงโรยเกือบทั้งสิ้น ยังไม่รวมปัญหาที่ว่าพระผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยไม่สามารถดำเนินการในตำแหน่งตัวเอง ได้มอบหมายให้พระลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ดำเนินการแทนอีก

หลังพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มรณกรรมของพระผู้ใหญ่ 2 รูปใกล้ๆกัน กลับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพลี่ยงพล้ำทางการเมืองในคณะสงฆ์มหานิกาย เพราะว่าพระทั้งสองนั้นเป็นบุคลากรที่สำคัญยิ่ง นั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ มรณภาพเมื่อปี 2486 มีผลให้ตำแหน่งประธานสังฆสภาตกอยู่กับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) อีกปีถัดมา สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สิ้นพระชนม์ในปี 2487 [12] ประมุขของสงฆ์ และผู้กุมอำนาจอธิปไตยทั้งสามคือ สังฆนายก ประธานสังฆสภา และประธานวินัยธร จึงอยู่ในอำนาจของพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุตทั้งหมด

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว 2399-2487)
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว 2399-2487)

ความตายของพระเถระหลังจากนี้ ยิ่งก่อปมเงื่อนทางการเมืองในคณะสงฆ์ให้ทวีขึ้น อย่างที่พระในสังคมสงฆ์ไม่อาจจะจินตนาการได้

 

ล้ม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ภาคแรก

ความเข้มแข็งอันเนื่องมาจากเอกภาพและการกุมสภาพนำของฝ่ายธรรมยุต ได้นำไปสู่การหาวิธีถอดสลักระเบิดเวลาเรื่องการรวมนิกายออก พบการระบุว่าในช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพในช่วงรอยต่อของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นว่ากันว่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่ง ร่วมกันเสนอร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาด้วยซ้ำ [13] อย่างไรก็ตามระหว่างนี้พระผู้ใหญ่ในฝ่ายมหานิกายก็ได้ไหวตัวทันและจับตาการเคลื่อนไหวดังกล่าวอยู่

 

ข้อขัดแย้งเรื่องการตั้งสังฆนายก

แม้ว่าในปี 2489 จะมีการประชุมสังฆสภา ได้มีการเลือกพระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ เป็นประธานสังฆสภา และพระปิฎกโกศล (พระธีรภทฺโท) วัดประยุรวงศาวาส เป็นรองประธานสังฆสภา [14] ซึ่งล้วนเป็นพระจากมหานิกาย แต่ในปีเดียวกันนี้ก็ถือว่าเป็นระยะที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งของสังฆนายกด้วย ตำแหน่งอันสำคัญยิ่งของคณะสงฆ์นี้ทางฝ่ายธรรมยุตได้เดินหน้าผลักดันให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นสังฆนายก สืบเนื่องจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) [15] โดยไม่พิจารณาว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) จะชราภาพมากแล้วที่อายุ 74 ปี

ขณะที่ฝ่ายมหานิกายเองก็มีแคนดิเดทอยู่หลายตัวเลือกนั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) อายุ 70 วัดพระเชตุพน, พระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) อายุ 57 วัดเบญจมบพิตร, พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) อายุ 55 วัดมหาธาตุ [16] อย่างไรก็ตามดังที่ทราบกันเมื่ออำนาจอธิปไตยและประมุขของคณะสงฆ์อยู่แต่ในมือพระธรรมยุต ในที่สุดการโต้แย้งการผลักดันคนของธรรมยุตโดยพระฝ่ายมหานิกายก็ไม่เป็นผล เพราะในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็บรรลุเป้าหมาย

ข้อโต้แย้งที่ว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ชราจนเกรงจะทำงานไม่ไหว ก็ได้การแต่งตั้งให้พระธรรมปาโมกข์ (จวน อุฏฺฐายี) สังฆมนตรีว่าการองค์กรเผยแผ่ เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก [17] ทั้งที่มีอาวุโสน้อยกว่าแคนดิเดทฝ่ายมหานิกาย การตัดสินใจตั้งสังฆนายกโดยไม่มีมาตรฐานและลำเอียงเข้าฝ่ายธรรมยุตอย่างจะแจ้งเช่นนี้จึงสร้างความไม่พอใจให้กับพระมหานิกายอีกครั้ง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)

 

สำนักอบรมครูวัดสามพระยา สุมกำลังโต้ธรรมยุต

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันมหานิกายตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา เพื่อสกัดกั้นฝ่ายธรรมยุตในการล้มพ.ร.บ.ปัจจุบัน ปี 2489 พระปริยัตโศภน (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา ได้เป็นแกนนำในจัดตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา (ส.อ.ส.) โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังคือ พระพรหมมุนี (ปลด กิตตฺโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร และพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) วัดมหาธาตุ [18] เป้าหมายลึกๆของการตั้งสำนักนี้เพื่อใช้เคลื่อนไหวสกัดกั้นความพยายามของฝ่ายธรรมยุตที่จะคว่ำพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 นั่นเอง แต่จุดประสงค์การจัดตั้งสำนักอย่างเป็นทางการนั้นชี้ว่า เน้นการปลูกฝัง ความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และความประพฤติดีให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับการอบรม และมีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนา ขนบธรรมเนียมและการศึกษาให้ "อวดแก่ศาสนาอื่นๆให้ได้" ที่น่าสนใจก็คือ ได้มีการเชิญพระมหาเปรียญและพระคณาธิการ (พระสังฆาธิการ) ในระดับต่างๆ จากกรุงเทพและต่างจังหวัดมารับการอบรมเป็นรุ่นๆ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ซึ่งระหว่างการบรรยายก็มีการพูดจาพาดพิงถึงคณะสงฆ์ธรรมยุตอย่างรุนแรงและตรงไปตรงมา [19] ความเคลื่อนไหวในสำนักนี้จึงเป็นป้อมค่ายที่ฝ่ายมหานิกายส่วนหนึ่งใช้ในการระดมบุคลากร และหลอมรวมความคิดต่อต้านธรรมยุตอย่างแข็งขัน

ปฏิกิริยาจากการกระทำดังกล่าวก็คือ มีคำวิจารณ์ถึงสำนักอบรมครูวัดสามพระยาว่าเป็น "ลัทธิอุบาทว์" "สำนักอั้งยี่สามพระยา" ทั้งยังเรียกร้องให้บอยคอตต่อสำนักนี้ นอกจากนั้นฝ่ายธรรมยุตเอง เมื่อพลันทราบข่าวก็ได้มีหนังสือเวียนไปถึงพระสามเณรในสังกัดว่า มีพระนิกายหนึ่งได้รวมตัวกล่าวจ้วงจาบคณะของตนอย่างรุนแรงโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย แต่ขอให้จงตั้งในอาการสงบและใช้ขันติธรรมให้ถึงที่สุด [20]

ความเคลื่อนไหวของสำนักอบรมครูวัดสามพระยา อาจนับได้ว่าเริ่มจุดติด เมื่อพระทั้งหลายในมหานิกายได้ให้ความสนใจ ผู้เข้าร่วมจำนวนมากจนมีการกล่าวไว้ว่า ประสบปัญหาที่พักอาศัยและการขบฉัน ปาฐกถาพิเศษแต่ละครั้งก็มีบรรพชิต คฤหัสถ์ รวมถึงสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นอันมาก [21] การณ์ทั้งหลายเหมือนจะไปได้ดีและเข้าทางต่อการเคลื่อนไหวของฝ่ายมหานิกาย แต่ก็เกิดสะดุดด้วยขัดแย้งภายในอีกเหตุการณ์หนึ่ง นั่นคือ ปัญหาที่มาจากการมรณภาพของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพนฯ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ปี 2490 [22]

วัดสามพระยา ที่ตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา ฐานต่อต้านฝ่ายธรรมยุตของฝ่ายมหานิกาย
วัดสามพระยา ที่ตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา ฐานต่อต้านฝ่ายธรรมยุตของฝ่ายมหานิกาย

 

จี้ที่จุดอ่อน แบ่งแยกแล้วปกครอง แคนดิเดทชิง มท.1 ของสงฆ์

การเพลี่ยงพล้ำของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายไม่ได้อยู่ที่การสูญเสียบุคลากรเท่านั้น แต่ความขัดแย้งร้าวฉานภายในมหานิกายเองก็ทำให้ความเป็นเอกภาพเริ่มเสื่อมคลายลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อแคนดิเดทที่จะชิงตำแหน่ง สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นับเป็นพระผู้ใหญ่ทั้งสองรูปจากมหานิกายอย่าง พระพรหมมุนี (ปลด กิตตฺโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร และพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) วัดมหาธาตุ ที่เคยสนับสนุนการดำเนินการของสำนักอบรมครู วัดสามพระยา โดยชื่อชั้นแล้ว ทั้งสองล้วนมีความสามารถที่โดดเด่น เหมาะสมนับได้ว่าาตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของทางโลกเลยทีเดียว [23] เป็นที่สงสัยว่า การที่ผู้มีอำนาจฝ่ายธรรมยุตเลือกพระพิมลธรรม (ช้อย) ให้ดำรงตำแหน่งนี้ ก็เพื่อที่จะสร้างให้เกิดช่องโหว่ที่จุดเกรงใจนี้เอง การทำให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจระหว่างพระทั้งสองรูปนั้น ยังกระทบชิ่งไปถึงสำนักอบรมครูวัดสามพระยาด้วย ทำให้การดำเนินกิจกรรมของสำนักนี้ต้องปรับเปลี่ยนท่าทีจนมีลักษณะอ่อนตัวลงอีกอย่างเห็นผล [24] พระพิมลธรรม (ช้อย) ได้รับแต่งตั้งในเดือนเมษายน 2490

 

อ้างประชาธิปไตยและไตรปิฎก เพื่อล้มประชาธิปไตยในคณะสงฆ์

เมื่อธรรมยุตกระชับอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในตำแหน่งสำคัญได้อีกครั้ง ความเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ก็ค่อยๆเผยตัวออกมาในที่แจ้ง โดยเฉพาะหลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2489 ฝ่ายธรรมยุตพลิกเกมโดยหยิบฉวย มาตรา 13 ที่ว่าด้วย “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธินิยมใดๆ และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” [25] มาตีความว่า การดึงดันที่จะรวมนิกายเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้ การดำเนินการอย่างเป็นระบบแสดงออกมาอย่างชัดเจนในจดหมายของพระเถรธรรมยุตที่ลงนามพระเถระ 22 รูป ตั้งแต่พระระดับสังฆนายกลงมา โดยยื่นให้แก่ สมเด็จพระสังฆราช [26] ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการโจมตีพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อยู่ 2 เรื่องหลักได้แก่ การละเมิดต่อกฎอันได้แก่ พระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก รัฐธรรมนูญ ตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกัน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ ความบกพร่องในตัวบทของกฎหมายดังกล่าว

การละเมิดต่อพระธรรมวินัยนั้น นอกจากรัฐบาลที่ผ่านมาจะออกกฎหมายโดยออกตัวว่าจะตีความการปฏิบัติเพื่อรักษาพระธรรมวินัยแต่ก็เห็นว่า ไม่สามารถทำได้จริง [27] และการที่พ.ร.บ.มีความตั้งใจที่จะรวมนิกายทั้งสองนั้น ถือเป็นการละเมิดพระวินัยเรื่องห้ามภิกษุนานาสังวาส ซึ่งนั่นก็ถือว่าการเหยียดและกล่าวหาพระมหานิกายว่าไม่เป็นอุปสัมบันไม่เป็นพระอีกด้วย [28]

การละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ อ้างเรื่องบทเฉพาะกาล 8 ปีขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2489 ที่ให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา นอกจากนั้นที่น่าสนใจ มีการนำประเด็นเกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาในกรณีต่างประเทศด้วย [29]

การละเมิดต่อธรรมเนียมปฏิบัติสืบมา การสังคายนาจะไม่ทำให้รวมนิกายได้ อ้างการทำไตรปิฎกฉบับงานพระบรมศพ ร.6 ปี 2470 ที่ผ่านมาก็ไม่ทำให้รวมนิกายได้ [30] และไม่เป็นไปตามคลองธรรม อ้างว่า พ.ร.บ.เกิดขึ้นเพราะถูกฝืนใจบังคับให้ผิดจากพระวินัย [31] ธรรมยุตมีน้อยกว่ามหานิกาย ในทางปฏิบัติมหานิกายจะกลืนธรรมยุตให้เปลี่ยนลัทธิที่นิยมมาช้านาน กฎหมายนี้จึงเป็น "กฎหมายซ่อนเงื่อน" [32]

แต่เหตุผลที่น่าจะตรงใจของฝ่ายต่อต้านมากที่สุดน่าจะเป็นข้ออ้างที่ว่า พ.ร.บ.ฯ นี้ขัดกับวิธีปกครองสงฆ์ จากเดิมที่เคยปกครองแบบอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ พ.ร.บฯนี้ทำให้สงฆ์เป็นรูปการเมือง "สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีพระเถระและผู้เป็นชั้นอุปัชฌาย์อาจารย์ ทั้งพระอนุเถระผู้เป็นชั้นศิษย์ เมื่อต้องเข้าประชุมโต้เถียงกันในสภาโดยฐานะเป็นสมาชิกเท่ากัน ก็เป็นเหตุให้เสื่อมความยำเกรงผิดหลักพระธรรมวินัย เสียผลในการปกครอง ทั้งเป็นเหตุให้เสื่อความเคารพยำเกรง ผิดหลักพระธรรมวินัย" [33]

นอกจากนั้นการชำระคดี พวกเขายังอ้างคติทางศาสนาถือว่า ปล่อยผู้กระทำผิดคนเดียวไว้ในศาสนา ย่อมทำให้หมู่เสื่อมเสีย เป็นเหตุให้พระศาสนาเศร้าหมอง ต้องแก้ไขไม่ให้เป็นที่รังเกียจสงสัยของหมู่ และไม่ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่ผู้ละเมิดพระวินัย และไม่เห็นด้วยกับกฎหมายบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายมีหลักเกณฑ์ที่จัดการแก่ผู้กระทำผิดที่ในบางกรณีแม้จะเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ได้จริงตามกฎหมายก็ปล่อยผู้กระทำผิด ถือกันตามคติที่ว่าปล่อยคนผิด ดีกว่าลงโทษผู้ไม่ผิด หากสงสัยไม่มีหลักฐาน ก็ยกผลประโยชน์ให้จำเลย ซึ่งสวนทางกับคติพุทธศาสนาแบบที่พวกเขาเข้าใจ [34]

หนังสือเพื่อคว่ำพ.ร.บสงฆ์นี้เขียนขึ้นใน ปี 2490

 

แคนดิเดทชิง มท.1 ของสงฆ์ และความแตกแยกของมหานิกายรอบใหม่

มรณกรรมของพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ในเดือนมกราคม 2491 นับเป็นการจากไปของพระผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญเนื่องจากว่า พระรูปนี้ครองถึง อีกรูป 3 ตำแหน่ง นั่นคือ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะตรวจการภาค 1 และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุนั้นในที่สุดก็ตกเป็นของ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดสุวรรณดาราม อยุธยา โดยราบรื่น แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือ ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ที่ว่างลง อย่าลืมว่าตำแหน่งนี้ ก็เคยเป็นตำแหน่งที่ล่อให้เกิดความขัดแย้งมาแล้วในครั้งหนึ่ง พระปริยัติโศภณ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา ได้แสดงความเห็นว่า ควรให้ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร ขึ้นครองตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะนอกจากสมเด็จพระวันรัต (ปลด) เคยเป็นเคนดิเดทคู่กับพระพิมลธรรม (ช้อย) มาก่อนแล้ว ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ทางความคิดกับฝ่ายธรรมยุต ดังนั้นสมเด็จพระวันรัต (ปลด) จึงมีความเหมาะสมในตำแหน่งเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่คู่แคนดิเดทในครั้งคือ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดสุวรรณดาราม อยุธยา อันเป็นพระในสายวัดมหาธาตุ ซึ่งในมุมมองของพระปริยัติโศภณ (ฟื้น) แล้วถือว่าเป็นคนอ่อน อาจถูกธรรมยุตครอบงำได้ [35] ซึ่งไม่นับว่ามีคุณสมบัติมากพอที่จะต่อกรกับฝ่ายธรรมยุต

ความคิดดังกล่าวพระปริยัติโศภณนำไปปรึกษาไปทั่ว และพบว่าส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วย [36] แต่การตัดสินใจแต่งตั้งจากตำแหน่งนี้จาก สังฆมนตรี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2491 กลับพลิกโผ และกลายเป็นว่า พระธรรมไตรโลกาจารย์ได้ขึ้นครองตำแหน่งนี้แทน เหตุการณ์นี้ทำให้พระปริยัติโศภณ (ฟื้น) เสียหน้าและทำการลาออกจากตำแหน่ง สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาทันที [37]

ด้วยวิธีเช่นนี้จึงทำให้ฝ่ายมหานิกาย ถูกแบ่งเป็น 2 เสี่ยงด้วยความขัดแย้ง คือ สายวัดเบญจมบพิตร นำโดย สมเด็จวันรัต (ปลด)-สายวัดสามพระยา นำโดย พระปริยัติโศภณ (ฟื้น) กับอีกเสี่ยงคือ ฝ่ายวัดมหาธาตุ นำโดย พระธรรมไตรโลกาจารย์ [38] ความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่ระดับโครงสร้างและมีผลทำให้พ.ร.บ.คณะสงฆ์จบชีวิตลง และเกิดกรณีที่อัปยศที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในสังคมไทย

 

ตั้งสังฆนายก ต้องมหานิกายเท่านั้น!

ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว ตำแหน่งสังฆนายกยิ่งแล้วใหญ่ วิกฤตสังฆนายกประทุขึ้น หลังมรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณถาวโร) สังฆนายก ในเดือนมิถุนายน 2494 มีผลให้สังฆมนตรีถูกยุบไปด้วย การแต่งตั้งสังฆมนตรีรูปใหม่นั่นคือ พระศาสนโสภณ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ขึ้นเป็นพระสังฆนายก ในเดือนมิถุนายน 2494 [39] ความขุ่นเคืองจนเกินรับไหวของคณะสงฆ์มหานิกาย ได้ระเบิดออกมาด้วยการเคลื่อนไหวโค่นล้มสังฆนายกรูปใหม่หมาดๆ

ในสายตาของพระมหานิกายแล้ว สังฆนายกรูปใหม่จะเป็นใครไม่ได้นอกจาก สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรที่สมทั้งวัยวุฒิและฐานันดรศักดิ์มากกว่า ยังไม่นับว่า สมเด็จพระวันรัต (ปลด) พลาดจากตำแหน่งสำคัญมาตั้งแต่สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการพิจารณาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่แต่ในมือคณะสงฆ์ธรรมยุติ ส่วนพระมหานิกายถูกกีดกันออกมา สภาพดังกล่าวดำรงมาตั้งแต่ปี 2485-2494 ในเวลาเกือบสิบปีที่สังฆนายกมาจากธรรมยุต [40]

ประเด็นร้อนนี้ถูกยกระดับขึ้นเมื่อ พระเทพเวที (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา ได้ยกประเด็น "สองหัวสองหาง" ขึ้นมาตอบโต้ธรรมยุต เพื่อให้แยกสังฆนายกของทั้งสองฝ่าย ท่าทีเช่นนี้ไปกันได้กับความอึดอัด และสิ่งที่พระมหานิกายจำนวนมากคิดอยู่ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในการล่าลายเซ็นพระ เมื่อนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงครามทราบเรื่อง ก็ขอร้องให้ใช้วิธีอื่นเพราะเกรงจะทำให้สงฆ์แตกแยกมากกว่าที่เป็นอยู่ [41]

อย่างไรก็ตามเมื่อพระทั้งหลายได้ตกกระไดพลอยโจนไปแล้ว ด้วยการลงนามอย่างเปิดเผย ประเมินกันแล้วว่าถ้าหากหยุดเคลื่อนไหวก็คงจะพบกับหายนะด้วยอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นธรรมที่กดทับอยู่ จึงเสี่ยงเดินหน้าต่อไปพึ่งพระผู้ใหญ่ในมหานิกาย และได้รับคำปรึกษาว่า ให้ไปขอลายเซ็นจาก พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ซึ่งบัดนั้นเป็นสังฆมนตรีองค์การปกครอง อันจะส่งผลการเคลื่อนไวมีน้ำหนักและมีความชอบธรรม

 

จากม็อบสงฆ์โค่นสังฆนายกธรรมยุต สู่ข้อตกลงตำหนักเพชร

ในเบื้องต้นพระพิมลธรรม (อาจ) กล่าวปฏิเสธในการลงนามด้วยเหตุผลว่า หากร่วมลงนามแล้ว ก็จะถือได้ว่าเป็นผู้เสียหาย มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะทำให้สูญเสียความเป็นกลางไม่สามารถโต้แย้งในที่ประชุมสังฆมนตรีได้ หรือโต้แย้งก็อาจไม่มีน้ำหนัก อย่างไรก็ตามพระที่ยกโขยงกันมาล่าลายเซ็นได้ทั้งปลอบทั้งขู่ จนมีผู้เหลืออดบริภาษต่อพระพิมลธรรม (อาจ) ว่า "ไอ้ชาติลาวตาขาว" ถึงจุดนั้นทำให้พระพิมลธรรม (อาจ) เปลี่ยนใจลงนามให้ แต่มีข้อแม้ว่า จะขอแก้ไขหนังสือฉบับนั้นด้วยตนเอง ซึ่งในวันต่อมาก็มีหนังสือสองฉบับไปที่นายกรัฐมนตรี ในเรื่อง "ขอถวายตำแหน่งสังฆนายกแด่สมเด็จพระวันรัต" และสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง "ขอร้องให้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งสมเด็จพระวันรัตเป็นสังฆนายก" [42] หลังจากที่พระพิมลธรรม (อาจ) ยื่นหนังสือไปแล้วและรอคอยอย่างใจเย็น พระอีกส่วนหนึ่งที่เป็นระดับเจ้าคณะตรวจการภาค เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค เจ้าคณะจังหวัด และผู้แทนเจ้าคณะจังหวัด รวม 71 รูปทั่วประเทศ ก็ลงนามยื่นหนังสือลงวันที่ 30 มิถุนายน 2494 สนับสนุนมติพระจำนวน 47 รูปที่ยื่นไปก่อนหน้านี้ กดดันอย่างหนักเข้าไปอีก [43]

พลังที่กดดันอย่างมากนี้ ในที่สุดก็นำไปสู่การประชุมที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2494 โดยคณะธรรมยุตยินยอมให้แต่งตั้งพระฝ่ายมหานิกายเป็นสังฆนายก แต่ต้องรับเงื่อนไข คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ในการปกครองส่วนกลาง ให้คณะสังฆมนตรีบริหารร่วมกัน แต่ปกครองบังคับบัญชาตามนิกาย การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย [44] ต่อมาข้อตกลงนี้เรียกว่า "ข้อตกลงตำหนักเพชร" ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อที่ประชุมที่ข้อสรุป สมเด็จพระสังฆราชก็แจ้งว่า พระศาสนโศภณ (จวน) ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสังฆนายกแล้ว [45] คล้ายกับว่าเตรียมการกันมาก่อน อย่างไรก็ตามในความขัดแย้งนี้ที่แบ่งการปกครองอย่างชัดเจนขึ้น กลับทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายที่จะสร้างผลงานในอาณาจักรของตนมากขึ้น [46]

ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ
ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ

 

พุทธทาสกับการวิจารณ์โครงสร้างปกครองสงฆ์ [47]

ในสังคมการเมืองสงฆ์ เรายังพบบันทึกที่พุทธทาสภิกขุวิจารณ์โครงสร้างการปกครองสงฆ์ โดยบันทึกไว้ในหน้าที่ระบุวันที่ 18-21 มีนาคม 2495 วิจารณ์ว่าควรจะปรับเปลี่ยน เพราะมีลักษณะเป็นเผด็จการโดยตรงและโดยอ้อม ไม่เป็น “สังฆาธิปไตย” หรือไม่เป็นไปตาม “ธรรมวินัยแท้” พุทธทาสได้เขียนถึง “ระบอบการปกครองใหม่” โดยแบ่งเป็น 3 แผนก นั่นคือ ส่วนวิชาการ (เทฆนิค) คณาจารย์, ส่วนบริหาร (4 องค์การณ์) คณาธิการ และส่วนสมณธรรม โดย 2 ส่วนแรกน่าจะเป็นกลุ่มคามวาสี และกลุ่มสุดท้ายน่าจะเป็น ธรรมาจารย์, อรัญวาสี หรืออาจกล่าวได้ว่า ให้จัดการปกครองโดยแยกแยะจากวัตรปฏิบัติที่ต่างกันไปนั่นเอง นอกจากนั้นพุทธทาสยังเสนอให้เปลี่ยนการปกครองระดับจังหวัดใหม่ ให้มีตำแหน่ง “ผู้กำกับการกรรมการสงฆ์จังหวัด” (หรือเจ้าคณะจังหวัด) ที่ “รอบรู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ มีคุณธรรมสูง แตกฉานในกฎระเบียบ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ฯลฯ” แม้จะอายุน้อยก็ตาม สามารถถวายความคิดเห็นหรือ “ควบคุมผู้เฒ่า” ได้ ซึ่งในจังหวัดจะให้มี 5 องค์การนั่นคือ องค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ องค์การสาธารณูปการและ องค์การสมณธรรม องค์การสุดท้ายน่าจะเป็นการสนับสนุนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมที่พุทธทาสสนใจอยู่ ตำแหน่งนี้พุทธทาสมีความเป็นว่าจะต้องเป็น “คนหนุ่มที่ดี ที่สามารถ ทันสมัย และสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา” และเห็นว่า การอยู่ในตำแหน่งตลอดกาลนั้นเป็น “เผด็จการอยู่ในตัว”

อนึ่งการวิจารณ์ดังกล่าวก็มีบริบทของมันอยู่ เมื่อเราพลิกดูบันทึกวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2495 พบว่า พระพิมลธรรม (อาจ) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองมาที่สุราษฎร์ธานี และมีกำหนดการจำวัดที่สวนโมกข์ด้วย ขณะนั้นพุทธทาสมีสมณศักดิ์เป็น พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ (ได้รับการแต่งตั้งในปี 2493) แน่นอนว่า พุทธทาสเป็นพระผู้ใหญ่ที่ต้องรู้เห็นกับสภาพสังคมสงฆ์ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี และไม่อาจลอยตัวอยู่เหนือปัญหาการเมืองของสงฆ์ในขณะนั้นได้ นี่คือหลักฐานส่วนหนึ่งที่พุทธทาสเกี่ยวพันกับปัญหาการเมืองสงฆ์

พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง  แสดงบันทึกว่าด้วยชีวิต ศาสนา สังคม การเมือง สันติภาพ และหลักคิดสำคัญ เล่มนี้แสดงให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองสงฆ์ในปี 2495
พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง แสดงบันทึกว่าด้วยชีวิต ศาสนา สังคม การเมือง สันติภาพ และหลักคิดสำคัญเล่มนี้แสดงให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองสงฆ์ในปี 2495

  

การเติบโตของฝ่ายซ้ายและการเชิดชูความดีแบบปัจเจกชน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในทศวรรษ 2490 การเติบโตของอุดมการณ์ไม่ได้มีเพียงเฉพาะฝ่ายขวาที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ราชาชาตินิยมเท่านั้น แต่ฝ่ายซ้ายอุดมการณ์สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ต่างก็มีพื้นที่ “บนดิน” มีโอกาสสื่อสารกับสาธารณะอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ การรวมกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย พรรคสหชีพ ฯลฯ อย่างไรก็ตามกลางทศวรรษ 2490 ที่การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้น แม้รัฐบาลไทยได้ยกเลิก พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2489 แต่กระนั้นพ.ร.บ.ลักษณะดังกล่าวก็ปรากฏอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2495 ก่อนหน้านั้นไม่กี่วันก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า กบฏสันติภาพ ซึ่งเป็นการจับกุมกวาดล้างนักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวน 104 คน เป็นนักโทษการเมืองที่ติดคุกยาวนานไปจนถึงปี 2500 ที่น่าสนใจก็คือ จากช่องทางดังกล่าวพบว่า มีพระวิปัสสนาเข้าไปสอนกรรมฐานแก่นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง และหนึ่งในนั้นก็คือ พระพิมลธรรม (อาจ) แห่งวัดมหาธาตุ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งๆที่เรื่องคุณธรรม ความดีงาม ก็ถูกพร่ำหาอยู่ไม่ขาดปาก แต่กลับเป็นความดีที่แยกขาดจากโครงสร้างอันอยุติธรรม เป็นความดีที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอำนาจอันไม่ชอบธรรม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนั่นก็คือ การที่คณะรัฐประหาร 2490 อ้างความเป็นคนดีมีศีลธรรม และเหตุผลทางจริยธรรมต่างๆนานา โค่นล้มรัฐบาลด้วยข้ออ้างเรื่องทุจริต และกรณีสวรรคต ยังไม่นับว่ากรณีสวรรคตที่ปรีดี พนมยงค์ถูกใส่ร้าย ด้วยกลเกมสกปรกอย่างการจ้างคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง” นั้น คนดี นักศีลธรรมทั้งหลายก็ไม่ได้มีบทบาทออกมาช่วยรับรองเกียรติ ด้วยจิตใจอันมีศีลธรรมแม้แต่น้อย หรือเป็นว่าเมื่อศีลธรรมเข้าตาจนหน้ามืดตามัว สังคมคนดีก็ปราศจากสติปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่า ใครดีใครชั่ว ดังนั้นเมื่อฝ่ายรัฐประหารและอนุรักษ์นิยมสร้างปีศาจปรีดี พนมยงค์ขึ้นมา ความบ้องตื้นของสังคมไทยก็อ้าแขนรับอย่างอบอุ่น พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ถูกผลักให้เดินทางที่โหดร้ายไม่แพ้กับปรีดีในเวลาต่อมา

 

คอมมิวนิสต์ก็เป็นอรหันต์ได้?

เรื่องหนึ่งที่พระพิมลธรรม (อาจ) ถูกใส่ร้ายและประเด็นการเมืองทางโลกด้วยนั่นก็คือ ข้อหาที่เกี่ยวพันกับคอมมิวนิสต์ กระทั่งมีการกล่าวถึงขนาดว่า คอมมิวนิสต์บวชเป็นพระได้หรือไม่ พระพิมลธรรม (อาจ) ไม่เห็นว่าเป็นปัญหาที่จะให้คอมมิวนิสต์บวชได้ ข้อกล่าวหานี้เป็นอีกด้านหนึ่งของคำตอบทำนองว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ของพระกิตติวุฑโฑในอีกราว 2 ทศวรรษต่อมา แต่ในครั้งนี้อาจเรียกว่า “คอมมิวนิสต์ก็เป็นอรหันต์ได้” [48] ในคราว “กบฏสันติภาพ” ในปี 2495 อันเนื่องมาจากการตั้งคณะกรรมการสันติภาพ พบว่าพระพิมลธรรม (อาจ) ได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนวิปัสสนากรรมฐานในเรือนจำด้วย อย่างน้อยมีนักโทษการเมือง 2 คนที่เข้าเรียนกรรมฐานด้วยนั่นคือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และสมัคร บุราวาส จากจำนวน 104 คน จากบันทึกของสมัคร บุราวาสได้ระบุไว้ว่า เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ปี 2498 [49]

ภาพการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กรณีกบฏสันติภาพ ปี 2500 ภายในภาพมีกุหลาบ สายประดิษฐ์รวมอยู่ด้วย
ภาพการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กรณีกบฏสันติภาพ ปี 2500 ภายในภาพมีกุหลาบ สายประดิษฐ์รวมอยู่ด้วย

 

รัฐประหาร 2500

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลวิเคราะห์ไว้ว่า ความโหดเหี้ยมและมือเปื้อนเลือดของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีเผ่า ศรียานนท์ ทหารเก่าที่กลายมาเป็นอธิบดีกรมตำรวจและได้ก่อกรรมทำเข็ญต่างๆนานาและมีอำนาจอยู่ในมืออย่างล้นเหลือนั้น ได้ทำให้เหล่าปัญญาชน นักเคลื่อนไหว นักปฏิวัติ “เลือดเข้าตา” ได้เห็นว่า เผ่านี่แหละที่เป็นศัตรูหมายเลข 1 จึงได้โจมตีเผ่าด้วยความรู้สึกว่า กำลังทำในสิ่งที่ถูกจริยธรรม ได้ทำการล้างแค้นให้เหยื่อที่ถูกเผ่าฆ่า ขณะที่เผ่าเป็น “มาร” แต่พวกปัญญาชนเป็น “นักรบจริยธรรม” ที่มีหน้าที่ปราบมาร ขณะที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ไม่ต้องลงแรงมาก เพียงแต่

รู้จักจังหวะปรากฏตัว และทำตัวให้เป็นขวัญใจประชาชน ในที่สุดก็ทำการรัฐประหารเมื่อ 16 กันยายน 2500 [50] นั่นทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม หมดอำนาจและต้องลี้ภัยและไม่ได้กลับเมืองไทยตราบจนชีวิตหาไม่

 

รัฐประหารซ้ำ 2501 และการฉีกรัฐธรรมนูญ

การรัฐประหารในปี 2500 โดยยอมให้มีรัฐสภากันอยู่ แม้จะมีถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาภาพลักษณ์ แต่ปรากฏว่า สิ่งที่ผู้ยึดอำนาจทนไม่ได้ก็คือ ความวุ่นวายที่ตามมาจากการมีสภา พรรคการเมือง เสรีภาพของสื่อมวลชน แม้กระทั่งองค์กรของเหล่ากรรมกร ในที่สุดจึงมีการยึดอำนาจซ้ำและไม่มีการอ้อมค้อม คณะรัฐประหารได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปพร้อมๆ กับอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ล้มเลิกสภา สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก้าวขึ้นในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในฐานะเผด็จการอย่างเต็มตัว รัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501

ในวงการสงฆ์นั้น ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2500 การที่รัฐบาลเก่าสนับสนุนพระสงฆ์โดยเฉพาะฝ่ายมหานิกาย เมื่อเปลี่ยนขั้วนั่นก็ทำให้ สำนักอบรมครูวัดสามพระยาที่มีบทบาทเผชิญหน้าคณะธรรมยุต ที่นำโดยพระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เจ้าคณะจังหวัดพระนคร ต้องยุติกิจกรรมลงอย่างสิ้นเชิง [51]

เดือนพฤศจิกายน 2501 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น) สิ้นพระชนม์ ได้มีการแต่งตั้ง สมเด็จพระวันรัต (ปลด) สังฆนายก เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชตามพระราชบัญญัติ [52]

 

พระพิมลธรรม (อาจ) กับความขุ่นเคืองของสฤษดิ์

ระหว่างที่พระเถระรุ่นใหญ่ล้มหายตายจากไปเรื่อย พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ได้สร้างผลงานขึ้นอย่างโดดเด่นในฐานะสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และยังมีความใกล้ชิดกับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทั้งยังเคยแวะไป

สนทนากับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ที่ลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ญี่ปุ่นอีกด้วย การเข้าพบครั้งนั้นทำให้มิตรสหายและบุคคลต่างๆ ก็เข้าไปนมัสการอยู่เนืองๆ สิ่งเหล่านี้เข้าหู สฤษดิ์์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติอย่างแน่นอน และนั่นทำให้พระพิมลธรรม (อาจ)ไม่เป็นที่ไว้วางใจต่อสฤษดิ์ คนอย่างสฤษดิ์จะคิดอย่างไรเมื่อเกิดการเปรียบเทียบเมื่อ การเดินทางไปอีสานของเขาที่มีคนมาต้อนรับไม่มากนัก ผิดกับพระพิมลธรรมที่พระสงฆ์และประชาชนพากันต้อนรับอย่างเนืองแน่น [53]

ป.พิบูลสงคราม และพระพิมลธรรม (อาจ)
ป.พิบูลสงคราม และพระพิมลธรรม (อาจ)

 

สมรภูมิประชุมสัมมันตนาพระคณาธิการทั่วราชอาณาจักร

เดือนเมษายน 2503 สมเด็จพระวันรัต (ปลด) สังฆนายกและผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช จัดประชุมสัมมันตนาพระคณาธิการทั่วราชอาณาจักร โดยเชิญพระจำนวน 523 รูป อันประกอบด้วย เจ้าคณะตรวจการภาคทุกรูป, เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาคทุกรูป, เจ้าคณะจังหวัดทุกรูป และเจ้าอาวาสในจังหวัดพระนครและธนบุรี [54] โดยมีนัยการเมือง มีการกล่าวว่าจะเชื่อมต่อพระศาสนาในการสร้างความเจริญให้กับชาติสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของคณะปฏิวัติ สอดคล้องกับการส่งสาส์นมาปวารณาตัวช่วยเหลือเรื่องแก้ไข พ.ร.บ. ของสฤษดิ์ และโอกาสนี้ยังถือว่าเป็นการเชิญพระทั้งหลายมาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพอดีตสมเด็จพระสังฆราชอีกด้วย [55]

งานนี้ยังมีเบื้องหลังว่า เป็นความตั้งใจของสมเด็จพระวันรัต (ปลด) ที่จะดันให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ขึ้นเป็นสังฆนายก จึงได้นำสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน) กับ พระพิมลธรรม (อาจ) มาบรรยายประชันกัน แต่ผลปรากฏว่า พระพิมลธรรม (อาจ) บรรยายได้คมคาย กว้างขวางและแจ่มชัดกว่า [56]

การประชุมครั้งนี้ยังมีวาระว่าด้วยการเลือกสมเด็จพระสังฆราชด้วย พระธรรมนายก (สมบูรณ์ จนฺทเถร)ได้เปิดประเด็นสนับสนุน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

ด้านพรรษา เมื่อเทียบกับสมเด็จพระวันรัต (ปลด) ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า เรื่องนี้คงเป็นดำริของพระพิมลธรรม (อาจ) เนื่องจาก พระธรรมนายก(สมบูรณ์)เป็นศิษย์วัดมหาธาตุและรู้กันว่าเป็นมือซ้ายของพระพิมลธรรม (อาจ) หลังจากนั้นมา จึงมีข่าวลือและใบปลิวโจมตีพระพิมลธรรมสารพัด ขณะที่พระพิมลธรรมกลับวางเฉย ไม่ชี้แจงใดๆ โดยให้เหตุผลว่า การตนเองที่ลนลานไปชี้แจงโดยผู้ใหญ่ไม่ได้เรียกไปนั้นทำไม่ได้และบัณฑิตเขาไม่ทำกัน [57]

พระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์
พระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์ มอบของที่ระลึกแก่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถหลังใหม่ วัดสัมพันธวงศ์ปี 2506

 

สังฆราชใหม่ สังฆนายกใหม่ ตัดตอนกลุ่มอำนาจเก่า

สมเด็จพระวันรัต (ปลด) ขึ้นแท่นได้รับการสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤษภาคม 2503 [58] และในเดือนเดียวกัน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) ก็ขึ้นเป็นสังฆนายก [59] การขึ้นมีอำนาจของสังฆนายกใหม่ได้ตัดสังฆมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งอยู่เดิมออกไปจำนวนมาก ข้อพิรุธก็คือ เมื่อปรับคณะสังฆมนตรีแล้ว สังฆนายกลนลานออกแถลงการณ์ชี้แจง [60] แน่นอนว่าการตั้งสังฆมนตรีครั้งนี้ เพื่อการสกัดให้พระพิมลธรรม (อาจ) หลุดจากวงโคจร และทำให้พระที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ต้องหลุดวงอำนาจการปกครองคณะสงฆในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น พระศาสนโศภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธวาสวิหาร (ธรรมยุต) , พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศ (ธรรมยุต) [61], พระธรรมปิฎก (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (ธรรมยุต) พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) วัดราษฎร์บำรุง จังหวัดชลบุรี พระเถระสายมหาธาตุ และมือขวาพระพิมลธรรม [62] นี่คือ จุดเริ่มต้น

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) (2432-2505)   สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) สังฆนายก (2440-2514)
ภาพซ้าย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) (2432-2505)
ภาพขวา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) สังฆนายก (2440-2514)

 

โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)

เรื่องร้ายแรงอันน่าละอายนี้ เกิดขึ้นเดือนสิงหาคม 2503 สังฆนายกและสังฆมนตรี รับทราบคำร้องเรียนจากการประชุมร่วมกับตำรวจสันติบาลว่า มี 2 ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) เสพเมถุนธรรมทางเวจมรรค (ร่วมเพศทางทวารหนัก) กับพวกตนจนสำเร็จความใคร่ การกล่าวหาเช่นนี้ ตามกระบวนการยุติธรรมของสงฆ์ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แล้ว จะต้องมอบเรื่องให้คณะวินัยธร ที่ถืออำนาจอธิปไตยทางตุลาการ แต่ที่น่าตกใจก็คือ สังฆนายก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) กลับด่วนวินิจฉัยเองด้วยการเขียนหนังสือสั้นๆ เสนอสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) [63] กระนั้นสมเด็จพระสังฆราช ก็รับลูกต่อทันควันด้วยการออกหนังสือไปยังพระพิมลธรรม (อาจ) มีข้อความที่น่าสนใจว่า

"ด้วยทางการตำรวจได้ทำการสอบสวนเรื่องความประพฤติของท่านได้ความประจักษ์แล้ว...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศ และหลบหายตัวไปเสีย จะเป็นการดีกว่าที่จะปรากฏโดยประการอื่นๆ เพื่อรักษาตัวท่านเอง และเพื่อเห็นแก่วัดและพระศาสนา"

พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ตอบจดหมายกลับไป โดยมีใจความว่า ข้อเสนอที่ให้หนีไปนั้นไม่เป็นผลดีต่อวัดมหาธาตุและศาสนาโดยรวม และโดยส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรม หนังสือดังกล่าวลงวันที่ 22 กันยายน 2503 พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวจากการปรักปรำ อีกสองวันต่อมา ปรากฏคณะสงฆ์วัดมหาธาตุจำนวน 465 รูปได้ทำหนังสือและลงนามยืนยันความบริสุทธิ์ [64]

อย่างไรก็ตามทางเบื้องบนก็มีจดหมายให้ชี้แจง และแม้พระพิมลธรรม (อาจ) จะชี้แจงกลับไป ก็ดูราวกับว่าไม่มีผลใดๆ ซ้ำยังเดินหน้าตัดสินโดยข้ามกระบวนการที่ชอบธรรมโดยการประกาศถอดสมณศักดิ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2503 ไม่เฉพาะกับพระพิมลธรรม (อาจ) เท่านั้น แต่พระศาสนโสภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธิวาส ที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ด้วยข้อหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยออกมาในนามของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลายเซ็น สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 [65] การโค่นล้มพระพิมลธรรมจึงได้ดึงเอาอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวพันเพื่อทำลายศัตรูของตนอย่างสิ้นคิด

แม้จะถูกถอดสมณศักดิ์ พระพิมลธรรม(อาจ) ที่กลายเป็นพระอาสภเถระ ก็ยังตั้งมั่นเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน แม้ว่าจะลงเอยด้วยการใช้อำนาจรัฐมาบีบบังคับให้สึกด้วยการส่งสันติบาล ไปจับกุม ณ วัดมหาธาตุ ในวันที่ 20 เมษายน 2505 ด้วยข้อหาว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร พระอาสภเถร ไม่แสดงอาการขัดขืน แต่ขอเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนบันทึกสั่งการงานที่คั่งค้างอยู่อย่างองอาจ ก่อนจะถูกนำตัวไปสันติบาล [66] เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่พบว่า ระหว่างจับกุมได้กรมตำรวจ ได้นำแถลงการณ์ส่งไปออกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อ้างความจำเป็นในการจับกุมคราวนี้ว่า

"ถ้าปล่อยไว้ก็จะเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป" [67]

ในที่สุดก็พระอาสภเถระก็ถูกกระชากผ้ากาสาวพัสตร์ออกไปโดยคำสั่งของสังฆมนตรีโดยผู้ลงมือคือ พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา และพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) วัดไตรมิตร ทำให้ต้องเปลี่ยนไปครองผ้ากาสาวพัสตร์สีขาวแทน การสึกจบลงด้วยการที่อดีตพระอาสภเถระเดินทางไปจำพรรษาในฐานะอาคันตุกะ ณ สันติปาลาราม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2505 ถูกทำให้หายไปจากวงการสงฆ์อีกสิบกว่าปี [68] การใช้อำนาจในการสึกให้ขาดจากความเป็นพระนั้น เป็นโทษสูงเทียบได้กับการประหารชีวิตเลยทีเดียว การใช้อำนาจบนกระบวนการไม่ชอบธรรมอย่างเลวร้ายเพื่อทำลายบุคคลๆเดียว นอกจากจะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ภายใต้กฎหมายเดียวกันแล้ว ยังเป็นการบิดเบือนกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับใช้เป้าหมายอย่างไร้ความชอบธรรมอย่างยิ่ง โศกนาฏกรรมชีวิตของปรีดี พนมยงค์ ที่สุดท้ายต้องลี้ภัยและตายในต่างแดน ก็มีจุดจบที่เอน็จอนาถไม่ต่างไปจากพระพิมลธรรม (อาจ) เลย

พระพิมลธรรม (อาจ) ในชุดห่มขาว
พระพิมลธรรม (อาจ) ในชุดห่มขาว

ลายมือของพระพิมลธรรม (อาจ)
ลายมือของพระพิมลธรรม (อาจ) อ่านได้ว่า “ถึงแม้ว่าจะมีผู้มีใจโหดร้ายทารุณแย่งชิง ผ้ากาสาวพัตรของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตรชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตาม พระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงขอให้ท่านเจ้าคุณ ผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้ โปรดทราบและเป็นสักขีพยาน ให้แก่กระผมตามคำปฏิญาณนี้ด้วย - อาสภเถร!”

 

แม้ทั้งสองจะถูกใส่ร้าย แต่เรายังไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่า สังคมร่วมสมัยจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อความไม่ถูกต้องนี้อย่างไร สอดคล้องกับคำอธิบายทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ในสังคมไทยที่แทบจะไม่ได้ยึดโยงกับหน้าประวัติศาสตร์ ทั้งยังแสร้งลืมราวกับว่า คุณงามความดี และคนดีมีศีลธรรมทั้งหลายบริสุทธิ์ อยู่ลอยเหนือจากความจริงจากสังคม คนที่ถูกลงโทษก็สมควรด้วยแล้วกับความผิดโดยไม่ตั้งคำถาม หรือไม่ก็จำนนต่อความบ้อท่าของตัวเอง หรือที่สุดจะโทษว่าเป็นกรรมของบุคคล ก็สุดแล้วแต่จะอธิบายกัน

คำพูดที่พระพิมลธรรม (อาจ) เคยพูดไว้กับ สมัคร บุราวาศ เมื่ออยู่ในเรือนจำไม่อาจสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นกับเขาได้เลยนั่นคือ

“วิปัสสนากรรมฐานนี้แหละจะนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลกนี้ได้” [69]

 

ล้มพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ภาคสอง

ความอื้อฉาวจากกรณีพระพิมลธรรม ยิ่งทำให้สังฆสภาไม่สามารถดำเนินการอย่างราบรื่น พระที่เป็นสมาชิกสภามักยื่นกระทู้ถามเสมอ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม สังฆนายก และสังฆมนตรีรูปอื่นก็ไม่สามารถตอบต่อสภาให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างสังฆสภากับสังฆมนตรี แน่นอนว่าเป็นอุปสรรคต่อการปกครองคณะสงฆ์ให้ราบรื่น ในที่สุดก็ไปสู่การยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ อย่างไรก็ดี แรงต้านพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้เป็นไฟสุมขอนมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 แล้ว ความวุ่นวายอันเนื่องมาจากการโต้เถียงทางความคิดที่ละเมิดต่อลำดับศักดิ์สูงต่ำในสังคมสงฆ์ การถ่วงดุลตรวจสอบไม่ให้เกิดอำนาจที่ฉ้อฉล ก็ทำให้การปกครองสงฆ์เป็นไปอย่างไม่สะดวกใจสำหรับพระสงฆ์บางคน [70]

 

เขียนด้วยมือประชาชน ลบด้วยส้นตีนเผด็จการ

ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการ 5 รูปเมื่อเดือนตุลาคม 2501 เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องของพ.ร.บ.เดิม โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน) สังฆนายก เป็นประธาน ซึ่งประเด็นที่คณะสงฆ์เห็นว่าเป็นปัญหาคือ ความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2489 มาตรา 13 ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่พระฝ่ายธรรมยุต 22 รูปนำเสนอเมื่อปี 2490 มาแล้ว [71] จึงได้มีการดำเนินการยกร่างพ.ร.บ. ไม่พบว่าร่างดังกล่าวมีความคืบหน้าเพียงใด เรื่องพ.ร.บ.ใหม่เป็นข่าวอีกทีก็คือ การที่สภาร่างรัฐธรรมนูญในอำนาจของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2505 โดยมีพระอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นประธานกรรมาธิการ และกรรมาธิการคนสำคัญที่เป็นพระเปรียญเก่าอย่าง ปิ่น มุทุกันต์ ยศพันเอก [72] (ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศาสนาในปี 2506) ร่างดังกล่าวแทบจะไม่มีเสียงคัดค้าน อาจเป็นเพราะว่า กฎหมายดังกล่าวมีใบสั่งมาจากสฤษดิ์ การคัดค้านจึงถูกทำให้เงียบลงโดยปริยาย และในที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ลงมติเห็นควรใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายด้วยผลคะแนนผู้เห็นด้วย 112 เสียง และไม่เห็นด้วย 1 เสียง กฎหมายดังกล่าวก์ถือว่าผ่านที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 13 ธันวาคม 2505 เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 [73]

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราเมื่อ 25 ธันวาคม 2505
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราเมื่อ 25 ธันวาคม 2505

 

ทั้งที่ปัญหาการจัดการเชิงโครงสร้างดังกล่าวต้องการระบบตรวจสอบ ถ่วงดุลและความรับผิดชอบ การล้มกระดานโครงสร้างดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการใช้อำนาจเข้าไปจัดการปัญหา ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปอย่างฉาบฉวย และกลับทำให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนากลับเข้าไปอยู่ปริมณฑลที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ดังเดิม ในบรรทัดฐานของสังคมไทยในยุค “ปฏิวัติ” ที่นำโดย สฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เป็นหัวหอกสำคัญในการรื้อฟื้นอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม ราชาชาตินิยมอย่างเต็มกำลัง ขณะเดียวกันก็ได้ทำการกวาดล้างเสี้ยนหนามตั้งแต่ฝ่ายซ้าย มาจนถึงฝ่ายเสรีนิยม กดหัวให้อยู่ใต้บรรยากาศเผด็จการ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกันแล้ว สังคมสงฆ์เมื่อถูกตามใจด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 กฎหมายดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งในปี 2535 โดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิม มาจนถึงปัจจุบันทำให้เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญทางโลกจะหกล้มหกลุก ลองผิดลองถูกในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ โดยเฉพาะฉบับหลังๆที่ให้ความสำคัญกับประชาชน สิทธิของคนในระดับต่างๆมากขึ้น แต่กฎหมายของคณะสงฆ์ก็ยังผดุงซึ่งอำนาจของพระในกลุ่มเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความลี้ลับสนธยาของวงการสงฆ์ ทั้งยังประสานเสียงไปกับการเติบโตของสังคมความเชื่อ พุทธพาณิชย์ และนับวันการปกครองสงฆ์ก็นับวันจะประสบปัญหาอันเนื่องมาจากความหลากหลายของลัทธิพิธีจำนวนมาก เซลล์ย่อยๆเหล่านี้ หากไม่มีอำนาจวาสนาบารมีมากพอ ก็จะถูกอำนาจรัฐที่มอบมาสู่มือสงฆ์ ทำลายล้างและบดขยี้ แต่หากว่าเซลล์นั้นเข้มแข็งและเกาะเกี่ยวกันแน่น หรือกระทั่งมีเส้นสายมากพอ นับวันสิ่งเหล่านั้นก็จะเริ่มกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม หรือในอนาคตก็จะเข้ามากลืนกินสิ่งที่สงฆ์พยายามรักษาไว้อย่างสุดชีวิตนั้นก็ได้.

 

อ้างอิง:

  1. แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.230
  2. กองบรรณาธิการประชาไท. "คุยกันยาวๆ กับ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’: อ่านกันชัดๆ ว่าด้วยความพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ" . http://prachatai.com/journal/2011/09/37007 (21 กันยายน 2554)
  3. แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.113
  4. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.115
  5. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.120
  6. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.184
  7. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.184
  8. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.190
  9. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.193-195
  10. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.204
  11. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.184
  12. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.204-206
  13. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.212
  14. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.206
  15. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.207
  16. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.211
  17. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.209
  18. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.213
  19. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.213-214
  20. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.214
  21. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.214
  22. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.216
  23. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.216-217
  24. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.218
  25. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ใน ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 30 เล่มที่ 63 , 10 พฤษภาคม 2489
  26. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.220 และ 232
  27. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.224
  28. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.220-221
  29. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.222
  30. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.222
  31. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.228
  32. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.228
  33. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.230
  34. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.230
  35. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.237
  36. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.238
  37. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.238-239
  38. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.241
  39. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.250
  40. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.252
  41. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.254
  42. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.261-262
  43. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.265
  44. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.266
  45. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.266
  46. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.274
  47. พุทธทาสภิกขุ. พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง (กรุงเทพฯ : สวนโมกขพลารามและคณะธรรมทานสุราษฎร์ธานี, พิมพ์ครั้งที่ 2), 2548
  48. "คอมมิวนิสต์สายพระ" http://board.palungjit.com/archive/t-117430.html (8 มีนาคม 2551) ในระยะสั้นผู้เขียนมีข้อจำกัดในการหาแหล่งข้อมูลชั้นต้น ข้อมูลดังกล่าวจะตัองรอการยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออีกครั้ง
  49. สมัคร บุราวาศ. หนึ่งเดือนในวิปัสสนา (กรุงเทพฯ : ศยาม), 2544, น.8
  50. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "deja vu ทักษิณ VS นายกฯพระราชทาน, พิบูล-เผ่า VS สฤษดิ์." ใน ประชาไทออนไลน์. http://prachatai.com/journal/2006/03/7681 (10 มีนาคม 2549)
  51. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.278-279
  52. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.279
  53. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.278-279
  54. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.283
  55. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.282-283
  56. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.283
  57. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.285-286
  58. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.287
  59. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.289
  60. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.290-291
  61. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.293
  62. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.294
  63. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.296
  64. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.299-300
  65. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.306-307
  66. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.308-310
  67. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.310
  68. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.322
  69. สมัคร บุราวาศ. เรื่องเดียวกัน, น.36
  70. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.323
  71. กรมการศานา. “รายงานการประชุมคณะสังฆมนตรี ครั้งที 15/2501” วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2501 ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร” อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, น.218
  72. รัฐสภา. รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ)” เล่ม 4. พ.ศ.2505 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.219
  73. รัฐสภา. รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ)” เล่ม 4. พ.ศ.2505, น.1193 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.219
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ว่าด้วยผู้นำเผด็จการซีเรียที่คล้ายกับอดีตผู้นำไทย

Posted: 08 Dec 2011 04:33 AM PST

ในบรรดาผู้นำที่ปกครองประเทศด้วยกระบอกปืน บาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar Al Assad) ประธานาธิบดีซีเรีย นับเป็นเผด็จการที่มีความรู้และการศึกษาดีมากคนหนึ่ง ตั้งแต่เล็ก เขาเป็นเด็กเรียนเก่ง และต่อมาเรียนจนจบแพทย์ในประเทศ ก่อนทำงานเป็นแพทย์เสนารักษ์อยู่สี่ปี จากนั้นจึงไปเรียนต่อด้านจักษุวิทยาจนจบที่ประเทศอังกฤษ

ไม่น่าแปลกใจที่ภาษาอังกฤษเขาอยู่ในระดับที่ดีมาก คล้ายกับอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ผ่านมาของไทยเรา ซึ่งก็ได้รับการศึกษา (และยังเกิด) ที่ประเทศอังกฤษด้วย

นายบาชาร์ อัล อัสซาดขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งในปี 2543 และ 2550 โดยไม่มีคู่แข่งทั้งสองครั้ง จะว่าไปก็คงเป็นเรื่องบังเอิญเพราะในวัยเด็กเขาไม่เคยมีความใฝ่ฝันหรือความสนใจในทางการเมือง แต่เหตุที่ต้องมาสืบทอดบัลลังก์จากบิดาของเขาคือนายฮาเฟซ อัล อัสซาด (Hafez Al Assad) ที่เคยปกครองซีเรียถึง 29 ปีจนเสียชีวิตเมื่อปี 2543 ก็เป็นเพราะว่าพี่ชายของนายอัสซาดซึ่งได้รับการหมายหมั้นให้เป็นผู้นำสืบทอดจากบิดา ต้องจบชีวิตลงกะทันหัน

เมื่อวันก่อน นายอัสซาดให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตก เข้าใจว่าเป็นครั้งแรก คือสถานีโทรทัศน์เอบีซีนิวส์ (ABC News) ของสหรัฐอเมริกา ลักษณะการแสดงความเห็นของเขาคล้ายกับนายกฯ คนก่อนของเรา คือแสดงความฉลาดหลักแหลมในการใช้ภาษา การใช้เหตุผล และคารมโวหารต่าง ๆ

ที่เหมือนกันอีกอย่างก็คือสิ่งที่เขาพูดตรงข้ามกับความจริงที่ประชาชนทั่วโลกรับรู้ โดยเฉพาะเขาปฏิเสธว่าคนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย 4-5 พันคนที่เสียชีวิตไม่ได้ตายเพราะถูกทหารยิง เหมือนอย่างรายงานขององค์การสหประชาชาติหรือสำนักข่าวในตะวันตกระบุ

เขาบอกว่า “คนส่วนใหญ่ที่ถูกสังหารเป็นประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลด้วยซ้ำ” และยังบอกอีกด้วยว่าในจำนวนคนที่เสียชีวิตนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมากถึง 1,100 นาย สอดรับกับก่อนหน้านี้ที่เขาอ้างเสมอว่า ทหารไม่ได้ยิงประชาชน แต่พยายามยิงพวกก่อการร้ายที่เข้ามายิงประชาชนต่างหาก จึงถูกยิงสวนจนเสียชีวิต

เขายอมรับเหมือนกันว่าเจ้าหน้าที่ที่ติดอาวุธบางส่วนอาจล้ำเส้นไปบ้าง และอ้างว่าจะมีการนำตัวเจ้าหน้าที่เหล่านั้นมาลงโทษ แต่เขาปฏิเสธเช่นเดียวกับอดีตนายกฯ ไทยว่า รัฐบาลไม่ได้เป็นคนให้ใบสั่งฆ่าประชาชน

“การกระทำที่ทารุณโหดร้ายทุกประการเป็นผลมาจากการปฏิบัติส่วนบุคคล ไม่มีคำสั่งจากหน่วยบังคับบัญชาต่าง ๆ และคุณควรทราบเรื่องนี้” เขากล่าวกับบาบารา วอลเทอร์ (Barbara Walters) ผู้สัมภาษณ์จากเอบีซีนิวส์ “มีความแตกต่างระหว่างการมีนโยบายให้ปราบปรามประชาชนกับความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีความแตกต่างอย่างมาก” นายอัสซาดกล่าว

เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามต่อว่า “แต่ท่านคงต้องเป็นผู้สั่งการ” นายอัสซาดตอบว่า “เราไม่ได้ฆ่าประชาชนของเรา...ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกที่ฆ่าประชาชนของตนเอง เว้นแต่ผู้นำประเทศนั้นจะเป็นคนบ้า”

ในทำนองเดียวกันกับนายอัสซาด นายโมฮ้มมา กัดดาฟี อดีตเผด็จการลิเบียก็ให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนหน้าที่เขาจะถูกโค่นล้มไม่กี่เดือนว่า "ประชาชนรักผม ประชาชนทุกคนสนับสนุนผม พวกเขารักผม” “พวกเขาจะตายเพื่อปกป้องผม”

คงต้องคอยดูตอนจบของเผด็จการดีกรีแพทย์จากลอนดอนท่านนี้ว่าจะสวยหรูกว่าเผด็จการอื่นหรือไม่

 รับชมวิดีโอที่อัสซาดให้สัมภาษณ์ ABC News ได้ที่นี่ (แบ่งเป็นหลายตอน)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คุยกับ ‘ซาเลีย’ ศิลปินสาวกัมพูชา มุมมองคนศิลปะ : ละครเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริงหรือ?!

Posted: 08 Dec 2011 03:51 AM PST

ซาเลีย เป็นศิลปินสาวชาวกัมพูชา เธอมีโอกาสเดินทางมาร่วมงานกิจกรรม International People’s Theatre Forum:ละครเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริงหรือ? ซึ่งมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) ร่วมกับภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ SEAMEO-SPAFAได้จัดขึ้น ณ โรงละครมะขามป้อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7-9 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนักวิชาการ นักการละคร ศิลปินหลายแขนง 20 ชาติเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ภายในงานนั้น มีการ Showcases จากกลุ่มเพื่อนๆ ศิลปิน ประเทศต่างๆ และเธอก็เป็นคนหนึ่งที่ได้นำศิลปะการแสดงกายกรรมแบบการแสดงแบบเซอร์คัส Circus มาโชว์ด้วย ซึ่งได้สร้างความสนใจฮือฮาให้กับผู้เข้าชมงานเป็นอย่างมาก กับท่วงท่าลีลาอันอ่อนช้อยของเธอ เธอบอกว่า ศิลปะทำให้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับผู้คนได้อีกด้วย

 

ซาเลียมีภูมิลำเนาเดิมจากเมืองไหนของกัมพูชา ?
มาจากพระตะบองค่ะ

ทำไมถึงสนใจศิลปะการแสดงแบบเซอร์คัส?
ที่สนใจการแสดงแบบเซอร์คัส เพราะว่าชอบ แล้วก็หลงรักการแสดงประเภทนี้ และศิลปะที่เลือกนี้มันทำให้ตัวเองสามารถแสดงและได้เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้ได้พบเห็น เพิ่มประสบการณ์และนำศิลปะไปแลกเปลี่ยนกับชาติอื่นๆ ได้

ศิลปะแนวนี้มีในกัมพูชามานานแล้วหรือว่าเพิ่งเกิดขึ้น?
มีมานานแล้วเหมือนกัน

แล้วมันสามารถนำไปเชื่อมโยงกับผู้คน กับชุมชนได้อย่างไรบ้าง?
เป็นการทำงานเป็นหน่วยงานอาจจะคล้ายๆ กับกรมศิลป์ของไทยนั่นแหละ แล้วก็จะมีเว็บไซต์ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามาดูได้ อีกอันหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงได้ ก็คือว่าเวลาเดินทางไปทำการแสดงจะเกิดการมีส่วนร่วม ก็จะให้คนที่อยู่ในชุมชนมาเรียนมาฝึกเล็กๆ น้อยๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีดูการแสดง มันอาจจะไม่ได้ในแง่ของการนึกคิดเท่าไหร่ แต่ว่ามันทำให้เรามีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน ซึ่งการแสดงศิลปะแบบนี้มันไม่ใช่สำหรับเฉพาะแค่เด็กๆ เท่านั้น แต่ว่าจะเป็นใครก็ได้ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้ามา แล้วเราก็ไม่ได้เก็บเงิน เพราะว่ามันมีมานานแล้ว แต่ว่ามีช่วงหนึ่งมันขาดหายไป แต่พอช่วงหลัง ได้มีความพยายามที่จะรื้อฟื้นกลับเข้ามาใหม่ ก็พยายามอนุรักษ์ไว้

ดูเหมือนศิลปะแนวนี้จะช่วยรักษาสุขภาพด้วยใช่ไหม?
อันดับแรกเลย ก็คือ มันช่วยให้เป็นคนรูปร่างดี(ยิ้ม) แต่สำหรับในการฝึกนั้น จริงๆ แล้วถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อร่างกายเหมือนกัน เพราะว่าเวลาฝึกไป มันจะเกิดความร้อนในร่างกาย และขณะเกิดความร้อนในร่างกายขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ตาม ครูบอกให้หยุด ก็จะต้องหยุดทันที เพราะว่าถ้าไม่หยุด บางทีมันอันตรายถึงชีวิตเลยแหละ

การแสดงแบบเซอร์คัส นี่ถือเป็นศิลปะของกัมพูชาเลยหรือเปล่า?
จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ของเราโดยตรง แต่ว่ามันผสมปนเประหว่างศิลปะของฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น แล้วก็อื่นๆ แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือว่า หน่วยงานของเราได้ส่งเสริมให้เยาวชนออกไปเรียนแล้วก็กลับมาทำงานด้านนี้ แต่งานกายกรรมเหล่านี้มันเป็นงานที่จะต้องเข้าถึงบุคคล แต่ถ้าทำเดี่ยวมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จะเข้าถึงยาก ดังนั้นเราก็จะต้องผสมผสานกัน

คุณคิดว่าสังคมกัมพูชากับสังคมไทยคล้ายหรือแตกต่างกันไหม?
ใกล้เคียงกันมาก ก็มีคำหลายๆ คำที่ใช้เหมือนที่ไทยใช้

ชอบสังคมไทยหรือสังคมกัมพูชา?
มันเหมือนกันแทบจะไม่มีอะไรต่าง ก็ไม่ได้รู้สึกว่าชอบอะไรมากกว่า แต่มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์(ยิ้ม)

ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางความคิดระหว่างสังคมไทยกับสังคมกัมพูชามีความรู้สึกยังไงบ้าง?
จริงๆ แล้ว รู้สึกไม่ชอบเรื่องนี้นะ มันไม่ดีทั้งนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ เพราะว่าเราเหมือนเพื่อนบ้านกัน ไม่ว่าทหารฝั่งไหนจะตาย มันเป็นเรื่องไม่ดีทั้งนั้น ต่างคนต่างเสีย เพราะสองประเทศนี้มันใกล้กันมาก น่าจะตั้งซึ่งความเป็นเพื่อนซึ่งกันและกันมากกว่า

ในฐานะที่เป็นคนกัมพูชา มีอะไรอยากสื่อไปยังคนไทยรับรู้บ้างว่า ถ้าเป็นได้อยากทำอะไรมากที่สุดในโลกเวลานี้?
อยากทำให้มีความสุข อยากจะพูดเกี่ยวกับความสุข อยากจะพูด อยากจะทำอะไรก็ได้ เพื่อให้มันเกิดความสุข เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงจากคนแม่แจ่มหลังน้ำท่วม ทำไมเขื่อนจึงผุดขึ้นมาหลังน้ำลด?

Posted: 08 Dec 2011 03:24 AM PST

 

ภาพเหตุการณ์น้ำท่วมแม่แจ่มครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือว่ามีความรุนแรงและสร้างความเสียหายอย่างมาก หลังถูกน้ำป่าไหลหลากลงมาจากดอย ผ่านช่องเขาลงมาในหุบเขา จนทำให้สายน้ำจากแม่น้ำแจ่มได้ล้นทะลักเข้าท่วมทุ่งนาและชุมชนที่อยู่ทั้งสองฟากฝั่งอย่างรุนแรง ยังคงสร้างความวิตกหวั่นไหวต่อคนในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก

“น้ำมาในตอนตีหนึ่งตีสอง มาแรงมาก แล้วไหลเข้าท่วมตั้งแต่พื้นที่บ้านทับ มาจนถึงเขตเทศบาลตำบลแม่แจ่ม เขตตัวอำเภอ ท่วมทั้งทุ่งนา บ้านเรือน บางแห่งท่วมเกือบมิดหลังคาบ้านเลยทีเดียว และที่สำคัญ มีต้นไม้และท่อนซุงไหลมากระแทกบ้านชาวบ้านด้วย” นายสมเกียรติ มีธรรม สถาบันอ้อผญา บอกเล่าให้ฟัง

เช่นเดียวกับ นายอุทิศ สมบัติ ประธานกลุ่มสภาพัฒนาเมืองแจ๋ม กล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดน้ำท่วมแม่แจ่มประมาณ 3 เดือนก่อน ตนเองเคยได้พูดวิเคราะห์และคาดการณ์เอาไว้ให้คนแม่แจ่มฟังว่า อีกไม่นาน คนแม่แจ่มอาจเจอน้ำท่วมใหญ่ แล้วก็เกิดขึ้นจนได้

“สาเหตุที่ผมคาดการณ์ล่วงหน้าแบบนั้น เพราะว่าเรารู้ว่าแม่แจ่มเปลี่ยนไปมาก เพราะระบบทุนนิยมนั่นแหละที่เข้าไป แล้วทำชาวบ้านที่อยู่ตามเขตป่าเขตต้นน้ำ พากันรุกปลูกพืชเศรษฐกิจอย่าง หอมแดง ข้าวโพดกันอย่างต่อเนื่อง แน่นอน เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำแห้ง พอถึงหน้าฝน ดินถูกชะล้าง ไม่สามารถซับน้ำได้ มันก็ต้องไหลทะลักลงมาอย่างแรง” นายอุทิศ บอกย้ำ

หลังน้ำลด เริ่มมีการจับกลุ่มคุยกัน ฟากหนึ่งเป็นเสียงของชาวบ้านที่บอกว่านี่คือสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติว่า แม่แจ่มกำลังใกล้วิกฤติซึ่งจำเป็นต้องค้นหารากเหง้าและหาทางแก้ไขทรัพยากรดิน น้ำ ป่าทั้งระบบ แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีเสียงอีกฟากหนึ่ง ได้เสนอแนวคิดกลางวงประชุมระดับอำเภอว่า จำเป็นต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำแจ่ม ซึ่งได้ทำให้ชาวบ้านและคนทำงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เกิดความวิตกและฉงนมากขึ้น ว่าทำไมระดับผู้นำท้องถิ่นถึงออกมาเสนอแนวคิดเช่นนี้

เพราะที่ผ่านมา ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในเขตภาคกลางและกรุงเทพ ที่ทุกคนรับรู้ว่า สาเหตุหลักๆ นั้นมาจากเขื่อนและการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน

“ปัญหาน้ำท่วมแม่แจ่มครั้งนี้ มันเป็นเพียงแค่การเตือนของธรรมชาติเท่านั้น และหนทางแก้ไข มันคงไม่ใช่การสร้างเขื่อนหรอก แต่มันต้องมีการแก้ไขปัญหากันทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพราะฉะนั้น คนแม่แจ่มทั้งหมดจะต้องมานั่งคุยกัน หาทางออกร่วมกัน อย่าเพิ่งใจร้อน ผลีผลาม เอะอะอะไรๆ ก็สร้างเขื่อนๆ” นายอุทิศ บอกเล่าให้ฟัง

จากข้อมูล วารสารแม่แจ่มนิวส์ ที่สถาบันอ้อผญา และกลุ่มสภาพัฒนาเมืองแจ๋ม ได้จัดทำขึ้นฉบับล่าสุด ระบุไว้ว่า การเสนอสร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่แจ่มเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณ“ผาสะกาบ” ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากบ้านกองกาน ต.แม่ศึก เพียงไม่กี่กิโลเมตร ของนายก อบต.และกำนันในอำเภอแม่แจ่ม นั้นกำลังกลายเป็นประเด็นใหม่ที่คนเมืองแจ่มต้องหันมาใส่ใจ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนามากกว่าในเวลานี้

เนื่องจากการคิดแก้ปัญหาที่ปราศจากข้อมูลหรือองค์ความรู้รองรับนั้น ทำให้เกิดปัญหามากกว่าแก้ปัญหา การจะทำอะไรก็ตามในสังคมแม่แจ่มวันนี้ ซึ่งไม่เหมือนแม่แจ่มเมื่อ20-30 ปีก่อน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ในการแก้ปัญหา ที่สำคัญต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลหรือองค์รวมรู้อย่างรอบด้าน กรณีการสร้างเขื่อนแก้ปัญหาน้ำท่วมแม่แจ่มก็เช่นกัน ต้องให้ชาวบ้านทั้งหน้าเขื่อนหลังเขื่อนคิดและตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้ทั้งด้านบวกและด้านลบ

ทั้งนี้ ได้มีการหยิบยกข้อมูลให้ฉุกคิดด้วยว่า ปัจจุบันประเทศที่เจริญแล้วอย่างอเมริกา สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ก่อนใครและมากที่สุดในโลก ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา มีเขื่อนทั้งประเทศมากถึง 1,800 เขื่อน มีทั้งเขื่อนป้องกันน้ำท่วม, เพื่อการชลประทาน และผลิตไฟฟ้า ในรอบ 75 ปีที่ผ่านมา 43 รัฐในอเมริกาพากันทุบเขื่อนทิ้งไปแล้ว 175 เขื่อน เฉพาะปี 2542 เพียงปีเดียว ทุบเขื่อนทิ้งไปแล้ว 62 เขื่อน เนื่องจากไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ทุบเขื่อนขนาดใหญ่ 2 เขื่อน ที่ปิดกั้นแม่น้ำเอลวาในอุทยานแห่งชาติโอลิมปิก มลรัฐวอชิงตัน เพื่อเปิดทางให้ฝูงปลาแซลมอนสายพันธุ์แปซิฟิก 6 ชนิด และปลาสตีลเฮดได้อพยพขึ้นไปวางไข่ทางต้นแม่น้ำได้ และเปิดทางให้ดินตะกอนที่ถูกปิดกั้นนำธาตุอาหารลงไปสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ท้ายน้ำ ในการรื้อเขื่อนครั้งนี้ รัฐบาลต้องจ่ายเงินซื้อเขื่อนและโรงไฟฟ้าคืนจากเอกชนมากถึง 1,180 ล้านบาท ใช้เวลารื้อทำลาย 3 - 5 ปี ขณะที่เขื่อนขนาดเล็กลงมา เช่น เขื่อนมาร์มอตในแม่น้ำแซนดี้และเขื่อนในแม่น้ำลิตเติลแซนดี้ มลรัฐออริกอน รัฐบาลต้องจ่ายเงินเพื่อทุบเขื่อนมากถึง 640 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมงบประมาณในการฟื้นฟูร่องน้ำให้คืนสู่สภาพธรรมชาติอีกนับพันล้านบาท 

จากข้อมูลงานวิจัยผลกระทบจากเขื่อนมากมายทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงรายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) และรายงานธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการสร้างเขื่อนทั่วโลกพูดตรงกันว่า การสร้างเขื่อนแม้จะก่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีผลกระทบมหาศาลในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ และการเปิดเขื่อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นป่าธรรมชาติและป่าต้นน้ำถูกน้ำท่วม ดินหน้าเขื่อนและท้ายเขื่อนขาดแร่ธาตุ สัตว์ป่าล้มตายและมีลักษณะด้อย สัตว์น้ำบางชนิดสูญพันธ์เนื่องจากไม่สามารถขยายพันธุ์ในน้ำนิ่งได้ พื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วม ต้องอพยพไปอยู่ที่ใหม่ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการทำมาหากิน วัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป  ทำให้เกิดโรคที่มากับระบบนิเวศน้ำนิ่งซึ่งมียุงและหอยเป็นพาหะ ขณะที่การเปิดเขื่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็กระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรในสถานที่ท่องเที่ยว

นายสมเกียรติ มีธรรม จากสถาบันอ้อผญา ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ได้มีการวิเคราะห์ถึงกรณี “เขื่อนแม่แจ่ม” ไว้อย่างน่าสนใจว่า ถ้าหากมีการสร้างเขื่อนแม่แจ่มจริงๆ เชื่อว่า คนแม่แจ่มไม่มีทางเลี่ยงผลกระทบนี้ไปได้ เพราะว่าบทเรียนจากการสร้างเขื่อนขนาดเล็กและขนานใหญ่หลายประเทศทั่วโลก ร่วมทั้งในประเทศไทย นั้นเป็นบทเรียนที่ต้องเรียนรู้และหาทางออกที่สอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่นร่วมกัน

“โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นลำน้ำเพียงแห่งเดียวที่หล่อเลี้ยงผู้คนมานาน และเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมแห่งสายน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวแม่แจ่มมาจนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญสายน้ำที่เห็นทุกเมื่อเชื่อวันดูว่าไม่มีอะไรน่าสนใจนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสายน้ำอื่นหลายอย่างที่คนแม่แจ่มต้องร่วมกันรักษาไว้”

ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนแม่แจ่ม หากมีการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม นั่นคือ

1. สองฝั่งลำน้ำแม่แจ่มและลุ่มน้ำแม่แจ่ม มีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ที่ช่วยรักษาความสมดุลของทุกชีวิตสองฝั่งลำน้ำเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ความแตกต่างของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และวัฒนธรรม ได้ชี้ให้เห็นถึงอัญมณีอันล้ำค่าที่มากับสายน้ำแห่งนี้ เมื่อมีเขื่อนเกิดขึ้น “หอยก้นแหลม” ซึ่งมีเฉพาะต้นน้ำแม่แจ่มเพียงแห่งเดียว และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ขยายพันธุ์ได้เฉพาะในน้ำไหลก็จะสูญพันธุ์ไป ไม่มีปลาที่อร่อยให้มาทำ “น้ำพริกโย๊ะ” ซึ่งมีแห่งเดียวในโลกได้อีกสองฝั่งลำน้ำแม่แจ่ม ไม่ว่าจะเป็นหอย ต้นไม้ และสำเนียงพูด ของคนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

2. ตัวเขื่อนตั้งอยู่ใกล้พื้นที่รับน้ำจากลำห้วยสาขาน้อยใหญ่มากมาย ส่วนใต้เขื่อนมีเพียง 2 ลำห้วยเท่านั้น น้ำท่วมแม่แจ่มเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2554 จำนวน 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ มาจากลำห้วยต่างๆ หน้าเขื่อนขึ้นไป เมื่อเขื่อนรองรับน้ำไว้เต็มอัตรา ดังที่เกิดขึ้นกับเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2554 น้ำที่มีปริมาณมากก็จะถูกระบายออกมาจนท่วมทุ่งนาและบ้านเรือนอย่างเคย

3. เขื่อนรองรับน้ำน้อยลงทุกปีเนื่องจากมีตะกอนเต็มเขื่อน จากข้อมูลสำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน ได้วัดตะกอนน้ำแม่แจ่มตั้งแต่ปี 2511-2548 พบว่า ตะกอนน้ำแม่แจ่มเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 771,418 ตัน ตะกอนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในแต่ละปี เช่นปีพ.ศ.2548 ปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,199.42 ล้าน ลบ.ม.  มีตะกอนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,487,688 ตัน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าในปี 2548 มีปริมาณตะกอนมากกว่าปริมาณน้ำถึง 2 แสนกว่าตัน ปริมาณตะกอนมหาศาลดังกล่าวมานี้ เมื่อมีเขื่อนกั้นไว้ก็จะสะสมหนาขึ้นทุกปี ทำให้หน้าเขื่อนตื้นเขิน ไม่สามารถรองรับน้ำเติมที่และไม่มีทางขุดลอกออกได้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็จะล้นทะลักออกจากเขื่อนท่วมพื้นที่ใต้เขื่อนเหมือนเดิม การสร้างเขื่อนจึงไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้

4. สถานที่ตั้งของเขื่อนตั้งอยู่บริเวณพื้นที่คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้องห้ามตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528 ไม่ให้มีการใช้พื้นที่ในทุกกรณีโดยเด็ดขาด

5. เขื่อนตั้งอยู่ใกล้รอยเลื่อน หรือรอยแตกในเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวถึง 4 รอย ได้แก่รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น 1 ใน 13 รอยเลื่อนที่กรมทรัพยากรธรณีระบุว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง นอกจากนั้นยังมีรอยเลื่อนขุนยวม, รอยเลื่อนแม่ลาน้อย, และรอยเลื่อนแม่ลาหลวง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนหนึ่งรอยเลื่อนใดซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเขื่อนนัก โอกาสที่จะทำให้เขื่อนปริร้าวและแตกได้ ผู้รับกรรมจะเป็นใครถ้าไม่ใช่คนใต้เขื่อน

6. กรณีปัญหาขาดแคลนน้ำการเกษตร ในปี 2553 อำเภอแม่แจ่มมีพื้นที่นาซึ่งใช้ปลูกข้าวและพืชอื่นๆ 33,056 ไร่ มีแหล่งน้ำที่พัฒนาแล้ว 38 แห่ง ประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ และฝายขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป รองรับพื้นที่ใช้น้ำการเกษตร 27,264 ไร่ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเรามีพื้นที่ขาดแคลนน้ำการเกษตรเพียง 5,792 ไร่เท่านั้น พื้นที่ดังกล่าว กรมชลประทานมีแผนสร้างฝายและอ่างเก็บน้ำทุกตำบล จำนวน 7 โครงการ โดยจะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2555 - 2561 ด้วยเงินลงทุน 1,165 ล้านบาท นอกจากนั้นกรมทรัพยากรน้ำ ยังมีแผนพัฒนา ฟื้นฟู และปรับปรุงแหล่งน้ำอีก 7 โครงการ/ตำบล ดังนั้นปัญหาขาดแคลนน้ำการเกษตรก็จะหมดไป จึงไม่มีความจำเป็นต้องสร้างเขื่อนให้เสียงบประมาณโดยใช่เหตุ

7. เขื่อนไม่ได้เกิดจากความต้องการของชุมชน จากข้อมูลงานวิจัยโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่ แผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำอำเภอแม่แจ่ม พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำมีระดับความรุนแรงน้อยมาก แต่เมื่อพิจารณาจากความต้องการเร่งด่วนของชุมชนกลับพบว่า ชุมชนต้องการฝาย อ่างเก็บน้ำ ประปาหมู่บ้าน คลองส่งน้ำ ฝายน้ำล้น ประปาภูเขา ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ ขุดสระน้ำ สร้างฝายและลำเหมือง ฝายต้นน้ำ บ่อบาดาล และถังเก็บน้ำ เท่านั้น ซึ่งทางกรมชลประทานและทรัพยากรน้ำมีแผนจะดำเนินการแก้ปัญหาอยู่แล้ว

แน่นอนว่า น้ำท่วมแม่แจ่มเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อาจเป็นสิ่งที่หลายคนวิตก แต่ประเด็นเรื่อง ‘เขื่อนแม่แจ่ม’ นั้นกำลังสร้างวิตกกังวลมากยิ่งกว่า เพราะชาวบ้านหลายคนที่ศึกษาข้อมูล รับรู้แล้วว่าในห้วงเวลานี้ “เขื่อน”ไม่ใช่ทางออกสำเร็จรูป และยังไม่ใช่ความต้องการของชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างแท้จริง

แต่การหันมาร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพของดิน น้ำ ป่า ประกอบกับการหันมาวิเคราะห์และหาทางออกเรื่องปัญหาการขยายตัว การรุกคืบของระบบทุนนิยมที่แผ่ขยายไปทั่วทุกม่อนดอย หุบเขาและทุ่งราบของแม่แจ่มต่างหากที่จะช่วยกันเยียวยาและฟื้นฟูแม่แจ่มให้รอดพ้นจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ ให้มีชีวิตคืนสู่สันติสุขได้อีกครั้ง                

    

 

ข้อมูลประกอบ
วารสาร แม่แจ่มนิวส์ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปธน. ซีเรียให้สัมภาษณ์สื่อสหรัฐฯ บอกไม่รู้สึกผิดและไม่มีส่วนสั่งปราบประชาชน

Posted: 08 Dec 2011 02:58 AM PST

ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ของซีเรีย ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ABC ของอังกฤษ ปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นคนสั่งปราบปรามประชาชน และโทษว่าเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรงที่แฝงตัวอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมด้วยความสงบ บางส่วนก็เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ของซีเรีย ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ABC ของอังกฤษ ปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นคนสั่งปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรงในการชุมนุมประท้วงที่กินเวลาถึง 9 เดือน และมีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 4,000 รายจากการรายงานของสหประชาติ

อย่างไรก็ตามอัสซาดบอกว่าเขาไม่ได้มีอำนาจสั่งการหน่วยรักษาความปลอดภัยของประเทศ และสหประชาชาตินั้นเชื่อถือไม่ได้ โดยรัฐบาลของอัสซาดยังได้ถูกตั้งข้อกล่าวหา 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ' จากสหประชาชาติด้วย

"พวกนั้นไม่ใช่กองกำลังของผม" อัสซาดกล่าวเมื่อถูกถามว่ากองทัพซีเรียปราบปรามประชาชนรุนแรงเกินไปหรือไม่

"พวกนั้นเป็นกองทัพที่เป็นของรัฐบาล ผมไม่ได้เป็นเจ้าของ ผมเป็นประธานาธิบดี ผมไม่ได้เป็นเจ้าของประเทศ ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกที่จะสังหารประชาชนของตัวเอง เว้นแต่ว่ามีผู้นำเป็นคนบ้า" อัสซาดกล่าว

อย่างไรก็ตาม สำนักอัลจาซีร่ารายงานว่า ในบทบาทหน้าที่ของประธานาธิบดีนั้น อัสซาดยังถือเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพของซีเรียด้วย ซึ่งก็มีรายงายว่าเขาได้ใช้กำลังรถถัง เรือรบ ทหารนอกเครื่องแบบ และสไนเปอร์ในการล้อมปราบผู้ต่อต้านรัฐบาลในเขตที่มีคนอยู่อาศัยทั่วประเทศ การใช้ความรุนแรงดังกล่าวทำให้มีทหารรักษาความปลอดภัยของซีเรีย 25,000 ราย หลบหนีและย้ายข้างมาจับอาวุธช่วยเหลือคุ้มกันประชาชนจากการถูกปราบ

ทางสหรัฐฯ ในเวลาต่อมาได้คัดค้านคำกล่าวของอัสซาดที่ว่าเขาไม่ได้สั่งปราบผู้ชุมนุม โดย เจย์ คาร์นี โฆษกทำเนียบขาว บอกว่าเรื่องนี้ไม่น่าเชื่อถือเลย

"ทางสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศทั่วโลกที่ร่วมกันประณามความโหดเหี้ยมรุนแรงในประเทศซีเรีย โดยรัฐบาลอัสซาดนั้น ต่างก็รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นและใครมีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์"

อัสซาดยังได้ตอบคำถามของพิธีกรบาร์บาร่า วอลเทอร์ส อีกว่า เขาไม่มีความรู้สึกผิดเลย

"ผมทำดีที่สุดในการปกป้องประชาชน ดังนั้นผมถึงไม่รู้สึกผิด" อัสซาดกล่าว "คุณจะเสียใจเวลาเห็นชีวิตที่ต้องสูญเสียไป แต่คุณไม่รู้สึกผิด เวลาที่คุณไม่ได้ฆ่าใคร"

BBC รายงานว่า อัสซาดกล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากร, กลุ่มศาสนาหัวรุนแรง และผู้ก่อการร้าย ผู้มีความเห็นใจต่ออัล-เคด้า ที่อัสซาดอ้างว่ามีปะปนอยู่กับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสงบ เขายังบอกอีกว่าผู้ที่ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาล โดยมีทหารและตำรวจ 1,100 ราย อยู่ในตัวเลขผู้เสียชีวิต

ขณะเดียวกันอัสซาดก็ได้กล่าวโทษว่า ความรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ หรือบางครั้งก็มีเจ้าหน้าที่กระทำเกินขอบเขต โดยอัสซาดบอกว่าผู้ที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตก็จะถูกลงโทษ

" 'การตอบโต้อย่างรุนแรง' ที่เกิดขึ้นทุกอย่างมาจากตัวบุคคลเอง ไม่ได้มาจากตัวสถาบัน นี่คือสิ่งที่คุณควรจะรู้เอาไว้" อัสซาดกล่าว "มันมีความแตกต่างกันระหว่างการใช้นโยบายปราบปราม และการที่เจ้าหน้าที่บางคนกระทำผิดพลาด มันมีความแตกต่างอย่างใหญ่หลวง"

เมื่อถูกท้าทายด้วยคำถามเรื่องการกวาดต้อนจับกุมผู้คนรวมถึงเด็กๆ อัสซาดก็บอกว่าที่มาของข่าวนี้ไม่น่าเชื่อถือ คุณควรจะไปดูให้เห็นกับตา คุณจะเชื่อสิ่งที่ฟังมาไม่ได้

และเมื่อถูกถามว่าเขากลัวว่าจะต้องพบจุดจบแบบเดียวกับ มุมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย หรือฮอสนี มูบารัค อดีตผู้นำอียิปต์ หรือไม่ อัสซาดตอบว่าสิ่งเดียวที่เขากลัวคือสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชนของตนเอง

รุลา อามิน ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่าให้ความเห็นต่อบทสัมภาษณ์ว่า อัสซาดมักจะย้ำเสมอมาว่าเขาไม่ได้กำลังเผชิญหน้าอยู่กับผู้ประท้วงที่ชุมนุมอย่างสงบ แต่กำลังสู้กับต่างชาติที่วางแผนจะบ่อนทำลายซีเรีย ทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่อัสซาดจะกล่าวให้สัมภาษณ์เช่นนี้

เมื่อไม่นานมานี้อัสซาดได้สัญญาว่าจะปฏิรูปในเรื่องประชาธิปไตยและเสรีภาพในซีเรีย แต่นักกิจกรรมจำนวนมากก็สงสัยว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงหรือไม่ในเมื่อรัฐบาลยังคงปราบปรามประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า รัฐบาลซีเรียดำเนินมาตรการปฏิรูปแล้วส่วนหนึ่งเช่นการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกำลังจะกำหนดวันเลือกตั้งเร็วๆ นี้ แต่ผู้ประท้วงที่ยังคงปักหลักอยู่ต่างก็บอกว่ายังไม่พอ พวกเขาต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง พวกเขาต้องการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม พวกเขาต้องการเสรีภาพมากกว่านี้ และปราศจากการทุจริต พวกเขาไม่ต้องการอยู่ถายใต้การปกครองของอัสซาดอีกต่อไป

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โทษก่อนความผิดของจตุพร

Posted: 08 Dec 2011 02:26 AM PST

ข้อถกเถียงประการสำคัญในกรณีของคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ก็คือว่าสถานะของการเป็น ส.ส. จะสิ้นสุดหรือไม่ภายหลังที่คุณจตุพรไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากอยู่ระหว่างถูกคุมขังอยู่ภายใต้คำสั่งของศาล

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสียงข้างมากมีความเห็นว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของคุณจตุพรควรจะต้องสิ้นสุด เพราะเมื่อไม่ได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งก็ย่อมมีผลต่อเนื่องทำให้สถานะของการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยยุติลง เมื่อไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองก็ย่อมทำให้บุคคลดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นไปตาม พ.ร.บ. พรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญ 2550

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ กกต. มีความเห็นว่าการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคุณจตุพรไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนาของตนเอง หากเป็นเพราะต้องอยู่ภายใต้การคุมขังโดยหมายศาล ซึ่งคุณจตุพรก็ได้ขออนุญาตจากศาลเพื่อไปลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้งแล้วหากแต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งจึงควรต้องนับว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งการไม่ไปลงคะแนนเสียงโดยมีเหตุจำเป็นนี้ทาง กกต. ก็ได้เคยยอมรับให้เป็นการกระทำที่ไม่นำไปสู่การเสียสิทธิทางการเมืองได้ในหลายกรณี

อย่างไรก็ตาม บทความชิ้นนี้ไม่ได้ต้องการแสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยของ กกต. ในกรณีคุณจตุพรแต่อย่างใด แต่ต้องการตั้งคำถามถึง “หลักการ” หรือความชอบธรรมของกฎหมายในการลงโทษต่อคุณจตุพรว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานทางกฎหมายหรือไม่

หลักการทางกฎหมายที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่นักเรียนกฎหมายก็คือว่าบุคคลจะถูกลงโทษก็ต่อเมื่อได้กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด และรวมทั้งการลงโทษบุคคลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีกระบวนการในวินิจฉัยโดยองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นธรรมเกิดขึ้น อันนำมาสู่หลักการทางกฎหมายว่าตราบเท่าที่ยังเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ต้องสันนิษฐานว่าบุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน

แนวความคิดดังกล่าวนี้วางอยู่บนหลักการแบบเสรีนิยม อันหมายความว่าอำนาจรัฐเป็นสิ่งที่ต้องถูกจำกัดไว้โดยกฎหมาย และเมื่อใดที่รัฐจะเข้ามาแทรกแซงหรือจำกัดชีวิตของผู้คนต้องปรากฏอย่างชัดเจนว่าบุคคลนั้นได้กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด โดยกระบวนการในการวินิจชี้ขาดความผิดต้องดำเนินไปอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถโต้แย้งและหักล้างพยานหลักได้อย่างเต็มที่

เมื่อถูกสันนิษฐานว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ การลงโทษใดๆ กับบุคคลผู้ตกอยู่ในสถานะของผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงย่อมไม่อาจบังเกิดขึ้น มิฉะนั้น ย่อมถือว่าเป็นการลงโทษต่อบุคคลที่ยังมิได้กระทำความผิดอันใดเลย

เมื่อนำหลักการดังกล่าวมาพิจารณากรณีของคุณจตุพรก็จะพบว่าในคดีที่ได้ตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในข้อหาต่างๆ นั้น ยังไม่มีคดีใดที่ได้ดำเนินการจนถึงที่สุด กล่าวคือยังไม่ได้มีคำพิพากษาอันเป็นที่ยุติแล้วว่าบุคคลดังกล่าวนี้กระทำความผิดตามที่ได้ถูกกล่าวหา เพราะฉะนั้น หากตามหลักการทางกฎหมายก็ย่อมต้องถือว่าคุณจตุพรยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ และไม่ควรได้รับโทษใดๆ อันเป็นผลมาจากการถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าว

ซึ่งก็เป็นที่ชัดเจนว่ายังไม่มีการลงโทษสถานใดเกิดขึ้นกับคุณจตุพรจากข้อกล่าวหาที่ตนเองเผชิญอยู่ อย่างไรก็ตาม ถึงจะไม่ใช่การลงโทษโดยตรงจากข้อกล่าวหาที่ต้องเผชิญ แต่กลับกลายเป็นว่าด้วยการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีและถูกคุมขังไว้โดยคำสั่งของศาลกลับทำให้คุณจตุพรอาจต้องเสียสิทธิในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองรวมไปถึงสิทธิในการลงรับสมัครเลือกตั้ง ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าการเสียสิทธิเช่นนี้สืบเนื่องมาจากการตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด จึงย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการลงโทษจากการต้องตกเป็นผู้ต้องหาแม้จะยังไม่ได้มีการตัดสินถูกผิดเกิดขึ้นก็ตาม

คำถามก็คือว่าบทบัญญัติของกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ขัดกับหลักการทางกฎหมายอย่างสำคัญใช่หรือไม่  

การพิจารณาถึงหลักการดังกล่าวนี้มีความสำคัญเพราะเป็นการวางมาตรฐานของระบบกฎหมายต่อชีวิตของผู้คนในสังคม หากบุคคลใดต้องเผชิญกับการกระทำในลักษณะดังกล่าวก็ควรที่จะต้องถูกโต้แย้งในมาตรฐานเช่นเดียวกัน

สมมติว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกกล่าวหาว่าขับรถชนคนตายในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งแล้วถูกควบคุมตัวเอาไว้โดยไม่ได้รับการประกันตัว รวมทั้งเมื่อขอออกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ไม่ได้รับอนุญาต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คุณอภิสิทธิ์พ้นจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และเสียสิทธิในการลงรับสมัครลงเลือกตั้งในนามสมาชิกพรรคการเมือง ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าบทบัญญัติของกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะคุณอภิสิทธิ์ยังอยู่ในสถานะของผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น

หากต่อมาในภายหลังคุณอภิสิทธิ์พ้นไปจากข้อกล่าวหาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แม้จะได้รับความบริสุทธิ์กลับคืนมาแต่โทษจากการเสียสิทธิรับสมัครเลือกตั้งที่เสียไปก็ไม่อาจหวนกลับคืนมาได้

การพิจารณาต่อกรณีของคุณจตุพรจึงไม่ควรเป็นเพียงแค่การให้ความสำคัญต่อบทบัญญัติของกฎหมายเพียงอย่างเดียว หลักการทางกฎหมาย (Legal Principle) มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายก็ควรที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ตีความกฎหมายควรต้องทำให้เกิดความสอดคล้องกับสิ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ   

แน่นอนว่าการยืนยันถึงหลักการในทางกฎหมายซึ่งอาจทำให้บุคคลบางสีบางฝ่ายได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในห้วงเวลาเฉพาะหน้า และอาจเป็นผลให้หลายคนอาจรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่จะต้องยอมรับในหลักการดังกล่าว แต่ต้องไม่ลืมว่าการจะก้าวให้พ้นความขัดแย้งที่ลงลึกในสังคมไทยหนทางหนึ่งก็คือการสถาปนาระบบกฎหมายที่ชอบธรรมให้บังเกิดขึ้นและถูกบังคับใช้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างของจุดยืนทางการเมืองหรือมีเป็นความเกลียดชังมากน้อยเพียงใดก็ตาม

         

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในคอลัมน์กฎเมืองกฎหมาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 8 ธันวาคม 2554 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ดีเอสไอบุกจับดีเจเสื้อแดงมุกดาหารคดีชุมนุมปี53

Posted: 07 Dec 2011 09:04 PM PST

กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)บุกจับดีเจเสื้อแดงกลางตลาดสดมุกดาหาร ข้อหาปิดถนนสกัดตำรวจจากมุกดาหารเพื่อไม่ให้เดินทางลงมาสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อเดือนเมษายน 2553 

8 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณ 06.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายได้บุกเข้าจับกุมนายสุภัสชัย ศรีสุภา อดีตดีเจสถานีวิทยุชุมชน  106.75 เมกกะเฮิร์ต(มุกดาหาร) ที่ร้านขายของชำกลางตลาดสดเทศบาล 2 อ.เมือง จ.มุกดาหาร ซึ่งนายสุภัสชัยเปิดร้านขายของอยู่  โดยแสดงตัวว่ามาจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม และแสดงหมายจับในข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ก่อความวุ่นวาย, ร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต  จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวอดีตดีเจเสื้อแดงผู้นี้ไปยัง สภ.เมืองมุกดาหาร ต่อมา

หลังจากที่ผู้ต้องหาได้รายงานตัวและลงบันทึกการจับกุมแล้ว เวลาประมาณ 09.00 น. เจ้าหน้าที่จากดีเอสไอได้ควบคุมตัวนายสุภัสชัยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาที่กรมสวบสวนคดีพิเศษ

ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายสุภัสชัยว่า หมายจับดังกล่าวเป็นหมายจับที่ออกจากเหตุการณ์ที่คนเสื้อแดงทำการปิดถนนเส้นทางที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตรวจรถโดยสารและรถตู้ทุกคันที่ผ่าน   เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553  เพื่อสกัดกั้นรถตำรวจไม่ให้ส่งกำลังไปสนับสนุนการสลายการชุมนุมที่ กทม. หลังเหตุการณ์ปะทะกันที่อนุสรณ์สถานดอนเมือง และบริเวณตลาดไทย  อย่างไรก็ตามตนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด  และได้ประสานเรื่องการประกันตัวกับทางกรุงเทพฯ เรียบร้อยแล้ว ทันทีที่เดินทางถึงดีเอสไอและรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ก็จะยื่นขอประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 200,000 บาททันที

นายสุภัสชัยกล่าวต่อว่าตนเองน่าจะได้ประกัน เนื่องจากทางขอนแก่นที่ถูกหมายจับจากเหตุการณ์ปิดถนนเหมือนกัน ซึ่งเข้ามอบตัวก่อนหน้านี้ (นายไชยยา สิมมา-ประชาไท) ก็ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ทั้งนี้ หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ และมีเหตุการณ์เผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553  ตนเองซึ่งมีบทบาทเสมอเมื่อมีการตั้งเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงมุกดาหาร และถูกหมายหัวว่าเป็นหนึ่งในแกนนำเผาศาลากลาง  มีข่าวลือว่าตนเองได้ถูกออกหมายจับด้วย จึงหนีหมายจับไประยะหนึ่ง  เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ยุบสภา บรรยากาศการไล่ล่าจับกุมผ่อนคลายขึ้น  นายสุภัสชัยจึงกลับมาใช้ชีวิตกับครอบครัวตามปกติ จนถูกตำรวจดีเอสไอจากกรุงเทพฯ เข้าจับกุมในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนายสุภัสชัยกลับมาขังที่ สภ.เมืองมุกดาหารแล้ว หลังจากเดินทางไปจนถึงจังหวัดร้อยเอ็ด และได้รับการประสานงานจากกรมฯ ว่า พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะเดินทางมารับมอบตัวและแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายสุภัสชัยที่ จ.มุกดาหารเองในวันรุ่งขึ้น (9 ธ.ค.54)  (หมายเหตุ เพิ่มเติมเมื่อ 23.32น.)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รอบโลกแรงงานพฤศจิกายน 2554

Posted: 07 Dec 2011 08:12 PM PST

ประชาชนประท้วงก่อนประชุมสุดยอดจี 20 ที่ฝรั่งเศส

2 พ.ย. 54 - ผู้ต่อต้านทุนนิยมหลายพันคนหลั่งไหลไปยังชายหาดริเวียราในเมืองนีซของฝรั่งเศส เพื่อเดินขบวนประท้วงความโลภของบริษัทใหญ่ก่อนที่จะมีการประชุมผู้นำกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำและเศรษฐกิจเกิดใหม่ (จี 20) ที่เมืองคานส์ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน

ผู้ประท้วงเดินทางมาจากทั่วยุโรปตั้งแต่วันจันทร์ (31 ต.ค.) เดินขบวนส่งเสียงดังไปตามชายหาด พวกเขามาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประชาชน ซึ่งจะจัดขึ้นคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดจี 20 ที่เมืองคานส์ อยู่ห่างออกไป 30 กิโลเมตร ตำรวจประเมินว่ามีผู้ร่วมเดินขบวน 5,400 คน แต่ผู้จัดแย้งว่ามีมากถึง 10,000-12,000 คน และหวังว่ารัฐบาลจะฟังเสียงของประชาชน

นักเคลื่อนไหวของกลุ่มออกซ์แฟมราว 100 คนจากหลายประเทศ เช่น สเปน เบลเยียม เม็กซิโก มาร่วมเดินขบวนด้วย หลายคนสวมหมวกโรบินฮู้ด ซึ่งเป็นจอมโจรที่ปล้นคนรวยไปแจกจ่ายให้คนจน และถือกระเป๋าผ้ากระสอบเป็นสัญลักษณ์แทนตลาดหลักทรัพย์ พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลเก็บภาษีการทำธุรกรรมทางการเงิน

การประท้วงต่อต้านทุนนิยมผุดขึ้นกว่า 80 ประเทศในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยได้ต้นแบบมาจากการยึดครองวอลล์สตรีทในสหรัฐ

ท่าเรือสำคัญในแคลิฟอร์เนียยังปิดหลังกลุ่มต่อต้านวอลล์สตรีทประท้วงใหญ่

3 พ.ย. 54 - ท่าเรือโอกแลนด์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือพลุกพล่านที่สุดในสหรัฐยังคงปิดในเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากกลุ่มต่อต้านวอลล์สตรีทเคลื่อนขบวนประท้วงครั้งใหญ่

เว็บไซต์ของท่าเรือแจ้งเมื่อกลางดึกวันพุธ (2 พ.ย.) ว่า ท่าเรือแห่งนี้ค้าขายกับเอเชียถึงร้อยละ 59 และเป็นท่าเรือพลุกพล่านอับดับ 4 ของประเทศโดยวัดจากปริมาณสินค้า ทางท่าเรือได้ให้พนักงานกลับบ้านเร็วกว่าปกติเพราะผู้ประท้วงจำนวนมากเข้ายึดที่เทียบเรือ ท่าเรือจะหยุดการทำงานจนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัย หวังว่าจะเริ่มทำงานได้อีกครั้งในวันศุกร์และพนักงานจะสามารถเข้าไปทำงานได้โดยไม่เกิดเหตุใด ๆ จนถึงขณะนี้ไม่มีพนักงานถูกทำร้ายร่างกาย ไม่มีทรัพย์สินเสียหาย และไม่มีปัญหาความปลอดภัยขั้นร้ายแรง

ท่าเรือโอกแลนด์ปิดหลังจากกลุ่มผู้ประท้วงหลายพันคนชุมนุมใจกลางเมืองโอกแลนด์ เพื่อสนับสนุนการผละงานที่มีผู้ปลุกระดมขึ้นหลังจากตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายฝูงชนเมื่อสัปดาห์ก่อนและมีผู้บาดเจ็บ 1 คน การประท้วงส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ แต่มีข่าวว่าการทำลายทรัพย์สินบางจุด เป้าหมายคือสาขาธนาคารที่ปิดทำการ.

กลุ่ม “ออกคิวพาย ซิดนีย์” หลายร้อยคนออกมาชุมนุมประท้วงบนถนนหลายแห่งในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย

5 พ.ย. 54 - กลุ่มผู้ประท้วง “ออกคิวพาย ซิดนีย์” หลายร้อยคนออกมาชุมนุมบนถนนหลายแห่งในนครซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่สุดของออสเตรเลีย ท่ามกลางการรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างเข้มงวดของตำรวจ กลุ่มนักเคลื่อนไหวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องให้ประชาชนออกมาประท้วงต่อต้านความละโมบของกลุ่มทุนนิยมทั่วโลกให้คำมั่นว่า จะเข้ายึดศูนย์การค้ากลางใจเมืองย่านธุรกิจของนครซิดนีย์ ขณะที่ตำรวจปราบจลาจล และรถบรรทุก 2 คันของตำรวจเตรียมพร้อมปฏิบัติหน้าในบริเวณที่มีการชุมนุม.

สหภาพแรงงานอิสราเอลขู่ผละงานใหญ่ประท้วงการละเมิดสัญญาจ้างงาน

6 พ.ย. 54 - สหภาพแรงงานทรงอิทธิพลในอิสราเอลชักชวนสมาชิกผละงานโดยไม่มีกำหนดเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่จะถึงนี้ เพื่อประท้วงการละเมิดสัญญาจ้างงาน

สมาพันธ์สหภาพแรงงานฮิสทาดรุตกล่าวหารัฐบาลว่า หันไปจ้างพนักงานสัญญาจ้างมากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่ได้สิทธิและความคุ้มครองน้อยกว่าข้าราชการที่ได้รับความคุ้มครองจากข้อตกลงอำนาจการต่อรอง การผละงานโดยไม่มีกำหนดครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประท้วงการที่ชาวอิสราเอลจำนวนมากในภาครัฐและเอกชนบางแห่งต้องกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง การใช้แรงงานบุคคลเหล่านี้ซึ่งไม่มีสวัสดิการสังคม ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าเกณฑ์ และถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นโรคระบาดที่จะต้องหาทางหยุดยั้ง สมาพันธ์ไม่สามารถบอกได้ว่า มีแรงงานกลุ่มนี้จำนวนเท่าใดเพราะตลาดขยายตัวรวดเร็วมาก

การผละงานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 11.00 น.วันจันทร์ตามเวลาในไทย จะกระทบการทำงานของกระทรวง หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลและคลินิกของรัฐ  การขนส่งมวลชน ท่าอากาศยานเบนกูเรียน ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทไฟฟ้าและโทรคมนาคม ก่อนหน้านี้รัฐบาลและสมาพันธ์ได้เจรจากันมาหลายวันแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ สมาพันธ์ต้องการให้พนักงานสัญญาจ้างร้อยละ 1 ได้รับความคุ้มครองเหมือนข้าราชการ แต่รัฐบาลยืนยันไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะกระทบเศรษฐกิจ แต่พร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและสิทธิบางอย่างให้แก่พนักงานสัญญาจ้าง

ลูกจ้างโรงพยาบาลในเซี่ยงไฮ้หลายร้อย หยุดงานประท้วงเรียกร้องขึ้นค่าแรง

7 พ.ย. 54 - ลูกจ้างในโรงพยาบาลเหล่านี้มีหน้าที่ทำความสะอาดและปฐมพยาบาลผู้ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ส่วนเรื่องการรักษาเขาไม่มีหน้าที่ ต้องปล่อยให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ทำ ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะต้องทำงานให้โรงพยาบาลผ่านการเซ็นสัญญาจากบริษัทเอกชน และมีหน้าที่ลงไปบริการด้านสาธารณสุขแก่ครอบครัวที่ไม่สามารถมาโรงพยาบาลได้ โดยให้ค่าจ้างเป็นรายวันตั้งแต่ 40-80 หยวน

โรงพยาบาลฯ เผยว่า การประท้วงหยุดงาน ลูกจ้างได้รวมตัวกันบริเวณระเบียงแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลซินหวา ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยซั่งไห่เจียวทง เมื่อเวลาประมาณ 7.00น. ตามเวลาท้องถิ่น บรรดาลูกจ้างไม่มีใครยอมทำหน้าที่ปกติของตนเองเลย ตั้งแต่ทำความสะอาดห้องน้ำ ส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด หรือตรวจอาการเบื้องต้น    

พนักงานเกือบ 500 คนที่ทำงานในโรงพยาบาลนี้ได้ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างที่เป็นเอกชน ซึ่งก็คือ ซั่งไห่ จีเฉิน ไฮจีน แอนด์ โลจิสติกส์ เซอร์วิส ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2543 ซึ่งเป็นองค์กรการลงทุนจากกรมอนามัยและศูนย์บริการโลจิสติกส์เซี่ยงไฮ้   

พนักงานที่ประท้วงทั้งหมดปกติมีหน้าที่ทำความสะอาด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย และส่งอาหารให้กับผู้ป่วย พวกเขาเรียกร้องว่า 1 เดือนได้หยุดงานแค่ 7 วัน ไม่สามารถลากิจในรายปีได้ พร้อมกับเรียกร้องให้จ่ายจ่าจ้างเพิ่ม และบอกรายละเอียดด้วยว่า ในวันเสาร์อาทิตย์พวกเขาจะต้องมาเข้าเวรลำพังเพียงเวรละ 2 คน และไม่ได้ค่าล่วงเวลา    

พวกเขายอมออกจากระเบียงห้องฉุกเฉินหลังจากเวลา 10.00 น. เพื่อไปต่อรองกับนายจ้าง   

ฝ่ายโรงพยาบาลเรียกร้องให้นายจ้างแก้ปัญหานี้ให้เร็วที่สุด และให้ชี้แจงเหตุผลและรายละเอียดของการเจรจาระหว่างพนักงานเหล่านี้กับประธานบริษัทฯ นายหวง เฉิน ต่อมา 17.00 น. พนักงานบางคนยอมทำงานตามปกติ     

หญิงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว xinmin.cn ของซั่งไห่ว่า เธอทำงานให้กับบริษัทนี้มาตั้งแต่ปี 2544 และบริษัทไม่จ่ายค่าประกันสังคมให้เธอมา 18 เดือนแล้ว

ลูกจ้างอีกคนชี้ว่า พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ลากิจบ้างเลย หรือไม่ได้รับเงินพิเศษจากการทำงานนอกเวลาตามกฎหมายแรงงานของประเทศด้วย พวกเขาได้เงินเดือนเพียงเดือนละ 1,280 หยวน เท่ากับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำสุด และก็จะมีการลดค่าจ้างลงไปอีกหากพวกเขาลากิจ

ส่วนผู้บริหารฝ่ายกฎหมายของบริษัทฯ เผยว่า ลูกจ้างได้ค่าจ้างตามสัญญา และส่วนการจ่ายประกันสังคมนั้นมีความผิดพลาดเพียงบางรายเท่านั้น

มาเลเซียรับจะให้หลักประกันที่ดีขึ้นแก่แรงงานต่างด้าว

15 พ.ย. 54 - นายเอส ซูบรามาเนียม รัฐมนตรีทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลจะมีระบบการตรวจสอบที่ดีขึ้นเพื่อให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว เขาบอกว่า ระบบใหม่ของรัฐบาลจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการเฝ้าสังเกตเพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว

นายซูบรามาเนียม กล่าวด้วยว่าแรงงานทั้งหมดในมาเลเซีย รวมถึงคนงานต่างชาติต่างได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านค่าจ้างและการจัดสรรงาน แต่ก็ยอมรับว่า แม้กฎหมายของมาเลเซียจะไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างด้าว แต่ในบางครั้งก็ยังพบว่ามีการล่วงละเมิดสิทธิของแรงงานต่างด้าวเหมือนกัน

อินโดนีเซีย-มาเลเซียตกลงเรื่องสิทธิแรงงานต่างชาติได้แล้ว

18 พ.ย. 54 - รัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียบรรลุข้อตกลงรับประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพของแรงงานอินโดนีเซียแล้ว

หนังสือพิมพ์จาการ์โพสต์ของอินโดนีเซียรายงานว่า ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมเรื่องสัญญาการจ้างงาน มาตรฐานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง วันหยุดประจำสัปดาห์ การเก็บหนังสือเดินทางอย่างปลอดภัย ระเบียบดูแลบริษัทจัดหางาน โครงสร้างค่าใช้จ่ายของการจัดหางาน การฝึกอบรม การเกลี่ยไกล่ข้อขัดแย้งและการตรวจลงตราหนังสือเดินทางสำหรับพลเมืองนอกกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ (เจพีวีซา) 

นายมูห์ไอมิน อิสกันดาร์ รัฐมนตรีแรงงานของอินโดนีเซียเผยว่า บรรลุข้อตกลงกับมาเลเซียนอกรอบการประชุมสุดยอดสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่บาหลี ส่วนบันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศเรื่องคนทำงานบ้านจะถูกยกเลิกในวันที่ 1 ธันวาคม รัฐบาลอินโดนีเซียและมาเลเซียยังได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมขึ้นประเมินและติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ด้วย โดยจะมีสำนักงานตั้งอยู่ในทั้งสองประเทศ และจะประกาศข้อตกลงนี้ให้สาธารณชนทราบโดยเร็ว โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลงโทษผู้ละเมิด

อิตาลีประท้วงรับนายกฯใหม่ หลังแถลงนโยบายเดินหน้ารัดเข็มขัด

19 พ.ย. 54 - นายมอนตี มาริโอ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีประกาศแผนเศรษฐกิจและลดหนี้สิน หลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า รัฐบาลใหม่ของเขามีภารกิจสำคัญในการป้องกันการเลี่ยงภาษี ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อให้มีกำลังในการจ้างพนักงานใหม่ รวมถึงเดินหน้ามาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและรัดเข็มขัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศและกลุ่มยูโรโซนเผชิญวิกฤติทางการเงินเพิ่มเติม ขณะเดียวกันมาตรการต่างๆ จะต้องไม่กระทบต่อความกลมเกลียวของประชาชนในสังคม โดยรัฐบาลของเขาจะต้องเผชิญการลงมติไว้วางใจของวุฒิสภาในวันนี้

ทันทีที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีแถลงนโยบายเศรษฐกิจให้ประชาชนรับทราบ การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นในกรุงโรมและอีกหลายเมืองทั่วประเทศ เช่น มิลาน และซิซิลี นักศึกษาและคนหนุ่มสาวพากันปะทะกับตำรวจปราบจลาจลในเมืองต่างๆ ขณะที่สหภาพแรงงานขนส่งประกาศเดินหน้าแผนหยุดให้บริการรถโดยสารและรถไฟตามที่ได้กำหนดเอาไว้แล้ว

ด้านนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับสือมวลชนอิตาลีว่า จะไม่มีวันวางมือทางการเมืองอย่างเด็ดขาด แม้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่ลงชิงชัยในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกแล้วก็ตาม โดยจะทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์ให้พรรคการเมืองที่ตนตั้งขึ้นมากับมือก้าวสู่ชัยชนะให้ได้ ใครที่อยากให้ตนวางมือแล้วหันไปเขียนหนังสืออัตชีวประวัติอยู่กับบ้านนั้น เลิกคิดได้แล้ว

ส่วนที่สหรัฐ กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านทุนนิยมได้พากันเดินขบวนในย่านการเงินสำคัญนครนิวยอร์ก เพื่อขัดขวางนักค้าหลักทรัพย์มิให้เข้าไปในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้ ตำรวจได้เข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวผู้ประท้วงไปดำเนินคดีราว 60 คน พร้อมทั้งวางแนวปิดกั้นโดยรอบตลาดหลักทรัพย์ อนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่จะผ่านเข้าออกได้ การชุมนุมประท้วงครั้งนี้เป็นการฉลองครบรอบ 2 เดือนของการเริ่มต้นประท้วงทุนนิยมในนิวยอร์ก ที่เริ่มครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายนที่ผ่านมา

คนงานผลิตชิ้นส่วนให้แอปเปิลในจีน ประท้วงหยุดงานนับพัน

23 พ.ย. 54 - ศูนย์ติดตามแรงงานในประเทศจีนเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยคน บางคนมีอาวุธปราบจลาจล ได้ระดมพลเข้าไปในพื้นที่ หลังจากพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เซินเจิ้นรวมตัวออกมาประท้วง (23 พ.ย.) พร้อมกับปิดกั้นทางหลวงในช่วงเวลาทำงานเป็นเวลานาน       

“โดยปกติแรงงานในโรงงานจะทำงานล่วงเวลามากถึง 100 - 120 ชั่วโมงต่อเดือน และนอกจากนั้นพวกเขายังต้องทุกข์ทรมานกับความอันตรายจากสถานที่ทำงาน มีการไล่พนักงานรุ่นเก่าออก และมักได้รับคำด่าทอจากผู้จัดการอีก” ศูนย์ติดตามฯ เผย    

โรงงานดังกล่าวจ้างแรงงานจำนวน 3,000 คน ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำไข่มุก หรือแม่น้ำจูเจียง ซึ่งเป็นแหล่งรวมแรงงานอพยพหลายล้านคน โรงงานดังกล่าวเป็นของกลุ่มผลิตชิ้นส่วนจิ้งหยวนของไต้หวัน ซึ่งผลิตชิ้นส่วนให้กับแอปเปิลและไอบีเอ็ม     

กลุ่มสิทธิเผยในแถลงการณ์ว่า “การประท้วงหยุดงานสิ้นสุดลงหลังจากบริษัทสัญญาว่าจะลดจำนวนการทำงานล่วงเวลาลง และขณะนี้ไม่มีใครในโรงงานกล้าพูดอะไรอีก”    

ก่อนหน้านี้แรงงานหญิงโรงงานชุดชั้นในที่เซินเจิ้น ซึ่งติดกับฮ่องกง ได้ตัดไฟฟ้าโรงงานและขว้างปาอุปกรณ์ในโรงงานหลังจากผู้จัดการด่าทอพวกเธอว่า “โดดหลังคาตายไปลงนรกซะ”

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แรงงานกว่า 7,000 คนในโรงงานทำรองเท้าของนิว บาลานซ์ อาดิดาส และไนกี้ ที่ตงกวน ออกมารวมตัวประท้วง และปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สืบเนื่องจากปัญหาไล่พนักงานออกและตัดลดค่าแรง.

แรงงานอินโดนีเซียประท้วงขอขึ้นค่าแรง

24 พ.ย. 54 - แรงงานชาวอินโดนีเซียหลายพันคนเดินขบวนประท้วงบนเกาะบาตาม เรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีหน้า บรรดาแรงงานเดินขบวนประท้วงไปตามท้องถนนก่อนมาชุมนุมด้านนอกสำนักงานนายกเทศมนตรีของเกาะบาตาม เรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นเดือนละ 6,400 บาทในปีหน้า ตามที่บริษัทและนายจ้างได้เคยให้คำมั่นไว้ หลังจากผลสำรวจล่าสุดพบว่า ค่าจ้างและเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตประจำวัน บรรดาแรงงานยังประกาศว่าจะนัดหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ หากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถเจรจากับนายจ้างเพื่อให้ได้ข้อยุติ ทั้งนี้ มีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจประปรายในหลายจุด แต่ไม่มีรายงานเหตุรุนแรงหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ

แรงงานโปรตุเกสประท้วงใหญ่ มาตรการรัดเข็มขัด

25 พ.ย. 54 - ผู้ใช้แรงงานในโปรตุเกสชุมนุมบนท้องถนนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล  ส่งผลให้การขนส่งสาธารณะหยุดชะงัก

สหภาพแรงงานที่สำคัญ 2 แห่งของโปรตุเกสผละงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมงและชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ  พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลที่มีเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณ  ซึ่งโปรตุเกสกำลังได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในฤดูใบไม้ผลิเป็นต้นมา

รัฐบาลโปรตุเกสสั่งตัดเงินเดือนข้าราชการ และจะขึ้นภาษีเงินได้และภาษีการบริโภคตั้งแต่ปีหน้า   การประท้วงทำให้โรงเรียนและโรงพยาบาลจำนวนมากปิดทำการในวันพฤหัสบดี  ส่วนระบบรถไฟใต้ดินในกรุงลิสบอนปิดบริการตลอดทั้งวัน เช่นเดียวกับเที่ยวบินกว่า 400 เที่ยวซึ่งมีเที่ยวบินระหว่างประเทศรวมอยู่ด้วย ได้ถูกยกเลิก

ผู้ประท้วงจำนวนหลายพันคนปิดล้อมอาคารรัฐสภาในกรุงลิสบอน และมีผู้ประท้วงอย่างน้อย 3 คนถูกจับในการปะทะกับตำรวจ

บริษัทฟิตซ์ เรตติง บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินรายใหญ่ 1 ใน 3 แห่งของโลก ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้สาธารณะของโปรตุเกสอยู่ที่ระดับ ดับเบิลบีพลัส

แรงงานสิ่งทอกัมพูชายินดีถ้วนหน้ากับประกาศขึ้นค่าแรงอีกเดือนละ 5 ดอลลาร์

25 พ.ย. 54 - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ระบุว่า ค่าแรงขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างสิ่งทอของกัมพูชา อยู่ที่ 61 ดอลลาร์ต่อเดือน หากทำงานล่วงเวลา หรือนำกลับไปทำที่บ้านเพิ่มจะมีค่าแรงอยู่ราว 90-100 ดอลลาร์      

นายกรัฐมนตรี ฮุนเซน กล่าวเมื่อวันพุธ ว่า การเพิ่มค่าแรงที่ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายนี้จะมีผลลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนม.ค. และว่าเงินส่วนนี้จะช่วยให้แรงงานมีสุขภาพดีขึ้น   

“เรามีความสุขมากเกี่ยวกับการเพิ่มค่าแรง สิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่ของเรา” นางแก้ว รานี แรงงานหญิงในกรุงพนมเปญ กล่าว   

ภายในปี 2554 นี้ เกิดเหตุเป็นลมหมู่ขึ้นหลายสิบครั้งกับแรงงานหลายร้อยคนในอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา โดยโรงงานบางแห่งผลิตสินค้าให้กับร้านที่มีชื่อเสียงหรือยี่ห้อดัง เช่น พูม่า หรือ H&M  

เหตุเป็นลมหมู่ที่เกิดขึ้นมักกล่าวอ้างว่ามีสาเหตุมาจากสุขภาพที่ย่ำแย่ของแรงงาน ระบบถ่ายเทอากาศในโรงงานไม่ดี หรือการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย แต่นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า แรงงานจำนวนมากทำงานติดต่อกันนานหลายชั่วโมงและอดอาหารเพื่อนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือครอบครัวในประเทศที่ยากจนแห่งนี้      

นางจิลล์ ทัคเกอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาทางเทคนิคของโครงการ Better Factories Cambodia ของ ILO กล่าวว่า แม้ปัญหาหลายอย่างยังคงมีอยู่แต่รัฐบาล และเจ้าของโรงงานควรได้รับความยกย่องจากความเคลื่อนไหวครั้งนี้ที่ช่วยให้ความเป็นอยู่ของแรงงาน 400,000 คนดีขึ้นและช่วยชีวิตชาวกัมพูชาได้ถึง 1.7 ล้านคน

นายเจีย มุนี หัวหน้าสหภาพแรงงานอิสระ กล่าวว่า การเพิ่มค่าแรงจะช่วยแรงงานในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสำหรับดูแลสุขภาพตนเอง

“เงินจำนวน 5 ดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นแม้จะเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่ดีกว่าไม่ได้รับอะไรเลย” นายเจีย มุนี กล่าว

ทั้งนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอถือเป็นแหล่งรายได้หลักจากต่างประเทศของกัมพูชา

แรงงานอังกฤษประมาณ 2 ล้านคนร่วมการคัดค้านระเบียบบำนาญฉบับใหม่

30 พ.ย. 54 - พนักงานและลูกจ้างส่วนงานบริการสาธารณะของอังกฤษ จำนวนมากถึง 2 ล้านคน ร่วมกันคัดค้านระเบียบใหม่ของการจ่ายเงินบำนาญซึ่งคนทำงานจะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นและทำงานนานขึ้น ซึ่งจะเป็นการเดินขบวนครั้งใหญ่ที่สุดของคนรุ่นปัจจุบัน โดยมีโรงเรียน โรงพยาบาล สนามบิน ท่าเรือและองค์กรรัฐเข้าร่วมการเดินขบวนครั้งนี้ แต่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า การเดินขบวนประท้วงไม่สามารถทำให้ผู้ประท้วงได้ในสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่จะส่งตัวแทนเข้ามาร่วมการเจรจา เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงจากภาครัฐไม่ใช่การรับฟังคำบอกเล่าจากหัวหน้ากลุ่ม

ซึ่งก่อนหน้านี้ บรรดาผู้นำของสหภาพแรงงานแสดงความไม่พอใจระเบียบใหม่ที่ให้ยืดเวลาไปจนถึงปี พ.ศ. 2569 ที่คนอายุ 67 ปีถึงจะได้รับเงินบำนาญ สำหรับการประท้วงครั้งนี้จะใช้เวลา 24 ชั่วโมงซึ่งนอกจากหน่วยงานรัฐแล้ว พนักงานของสำนักงานทางหลวง และ ตำรวจชุมชนก็จะเข้าร่วมการหยุดงานด้วยเช่นกัน กับทำให้มีความกังวลว่าโรงเรียนในอังกฤษร้อยละ 90 ต้องปิดเพราะครูไปเข้าร่วมการชุมนุม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลตัดสินจำคุก "โจ กอร์ดอน" 2 ปีครึ่ง

Posted: 07 Dec 2011 07:30 PM PST

คดีแปลหนังสือ TKNS ศาลตัดสินจำคุก "โจ กอร์ดอน" 5 ปี แต่สารภาพจึงลดโทษเหลือ 2 ปีครึ่ง ทนายเล็งขออภัยโทษ ด้านกงสุลสหรัฐแถลงผิดหวังต่อผลการตัดสิน

เวลา 9.00 น. วันนี้ที่ห้องพิจารณาคดี 812 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีการอ่านคำพิพากษาคดี โจ กอร์ดอน หรือ เลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เนื่องจากแปลและเผยแพร่ หนังสือ "The King never smiles" (TKNS) โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 10 ต.ค. จำเลยตัดสินใจรับสารภาพ (อ่านข่่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยศาลตัดสินให้ลงโทษจำคุกนายโจ กอร์ดอน เป็นเวลา 5 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษ 2 ปี 6 เดือน โดยทนายความจำเลยเตรียมยื่นขออภัยโทษ หากอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์

ด้านสถานกงสุลสหรัฐในประเทศไทย กล่าวว่าการตัดสินลงโทษดังกล่าวเป็นเรื่อง "รุนแรง" (severe) ถึงแม้ว่าจะนับว่าน้อยแล้วสำหรับนักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 

อลิซาเบ็ธ แพร็ต ตัวแทนสถานทูตสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า โจ กอร์ดอน ถูกตัดสินลงโทษจากสิทธิในการแสดงออกที่เขาพึงมี

"เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล" แพร็ตกล่าว

ตัวแทนกงสุลสหรัฐยังกล่าวว่า จะให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนแก่โจ กอร์ดอนต่อไปโดยเร็วที่สุด 

ทั้งนี้ มีผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศราว 50 คน ให้ความสนใจการอ่านคำพิพากษาคดีนายโจ กอร์ดอน ที่ห้องพิจารณาคดี ณ ศาลอาญา

นายเลอพงษ์ มีสัญชาติไทย-อเมริกัน อายุ 54 ปี ได้ออกจากประเทศไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เกือบ 30 ปี มีความสามารถด้านศิลปะหลายอย่าง เช่น ถ่ายรูป วาดภาพ โดยเคยเปิดนิทรรศการภาพเขียนในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญการเล่นกีตาร์อะคูสติก เคยร่วมแต่งเพลงกับนักดนตรีเพื่อชีวีตชื่อดังของไทยอย่าง หงา คาราวาน และร่วมเป็นทีมงานในการผลิตภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตของชาวอีสานผู้ได้รับ ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเรื่องเรื่อง ทองปาน  ซึ่งมี ไพจง ไหลสกุล ,รัศมี เผ่าเหลืองทอง, ยุทธนา มุกดาสนิทและ สุรชัย จันทิมาทร เป็นผู้กำกับ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2519

ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 54 ที่ จ.นครราชสีมา ตามหมายจับเลขที่ 318/2554 ออกเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 54 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ฯ และกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ทั้งนี้เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า "บาทเดียว" และเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า "สิน แซ่จิ้ว" โดยในบล็อกของเขาซึ่งใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles และถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการแปลหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทย

สำหรับหนังสือ The King Never Smiles เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เขียนโดย Paul Handley นักข่าวอิสระซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Yale เผยแพร่เมื่อปี 2549 ปัจจุบันเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย

นับแต่ถูกจับกุมโจปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาโดยทันทีและถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร และทนายได้ยื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวโดยอ้างสิทธิพื้นฐาน และยังระบุว่าโจมีโรคความดันเลือดและโรคเกาต์ที่ต้องการการรักษา แต่ศาลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงและกระทบต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งมีโทษสูง และเขาอาจทำลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้

หลังจากพยายามขอประกันตัวต่อเนื่องเป็นจำนวน 8 ครั้ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันแรกของการนัดพิจารณาคดี โจตัดสินใจประกาศว่าเขาไม่ขอต่อสู้คดี ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะพฤติการณ์ของจำเลยแล้วรายงานต่อ ศาลภายใน 20 วัน และกำหนดวันพิพากษาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 แต่ด้วยเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้วันพิพากษาถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2554 นับแต่วันจับกุมจนถึงวันพิพากษา โจถูกควบคุมตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 199 วัน หรือ 6 เดือนกับ 15 วัน 

 

หมายเหตุ:ติดตามรายงานกระบวนการพิจารณาคดีฉบับเต็มที่ประชาไทค่ำวันนี้(8/12/54)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น