โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

คุยกับหมอนิรันดร์ เมื่อ ม. 112 ถึงมืออนุกรรมการสิทธิ์

Posted: 13 Feb 2012 08:11 AM PST

ประชาไทสัมภาษณ์ น.พ.นิรัดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ถึงการทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีการร้องเรียนว่าการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าข่ายละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ทั้งนี้ประชาไทพูดคุยเฉพาะหลักการทำงานของ “อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง” ในส่วนที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้ เนื่องจากทุกกรณีที่เกี่ยวข้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและบางกรณีอยู่ระหว่างการประสานงานของอนุกรรมการฯ เพื่อขอข้อเท็จจริงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

ช่วงนี้มีการตรวจสอบการใช้มาตรา 112 ไป 2-3 กรณี มีข้อสังเกตอย่างไรเกี่ยวกับการใช้มาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวพันกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

อนุกรรมการที่รับผิดชอบการศึกษาการร้องเรียนกรณีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็คืออนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งผมเป็นประธานอยู่ เราเองได้รับเรื่องร้องเรียนในกรณีของการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วยการบังคับใช้มาตรา 112 เท่าที่จำได้มี 3 กรณีแรกคือคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่ทำวารสาร เรดพาวเวอร์ กรณีที่สองคือ อ.สมศักดิ์ เจียมธรสกุล จากการเขียนยทความในเว็บไซต์ และกรณีที่ 3 ก็คือกรณีของอาจารย์สุรพศ ทวีศักดิ์ ก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่เราต้องไปตรวจสอบตามหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร

การละเมิดนั้นเป็นการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันแต่อย่างไร เราถือเป็นหน้าที่ของอนุกรรมการฯ ที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริง เราไม่มีการตั้งธงว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไขหรือจะยกเลิก

ประการที่สองต้องยอมรับว่าการบังคับใช้มาตรา 112 ได้ปรากฏต่อเวทีโลกในการประชุมที่เจนีวา ขององค์การสหประชาชาติในกิจกรรมที่เรียกว่าการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และมีการตั้งประเด็นเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 ร่วมกับการใช้พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีสถิติการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราทำให้คนถูกละเมิดด้วยการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราค่อนข้างเยอะในสองสามปีที่ผ่านมา

ขณะนั้นตัวแทนไทย ท่านสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ท่านเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนอยู่ด้วย ก็เป็นเวทีที่รัฐบาลไทยต้องตอบทั้งในส่วนของการบังคับใช้มาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และหลังจากนั้นต้องมีการติดตามว่าผลที่เราได้ชี้แจงไว้เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เราต้องชี้แจงเขาต่อในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ว่าสิ่งเหล่านี้มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไรบ้าง นี่คือการทำงานระดับชาติที่เชื่อมโยงกับระดับโลกด้วย ซึ่งกรรมการสิทธินั้นทำงานนี้โดยมีอำนาจหน้าที่ต่อกรณีดังกล่าว 3 ประการคือ

หนึ่ง อำนาจหน้าที่ในการหาข้อเท็จจริงจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่ามีสิ่งที่กิดขึ้นเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริงหรือไม่

สอง การมองเรื่องนโยบายของการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้มีปัญหาเกิดขึ้นอย่างไรและจะให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไร

ประการที่สามคือ หน้าที่ในการประสานหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายทั้งวสองส่วน ทั้งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่าการบังคับใช้กฎหมายนั้นมีสิ่งที่ต้องได้รับการทบทวนหรือปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษชนสากลอย่างไรบ้างเพราะประเทศไทยนั้นได้ลงนามผูกพันตนตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง นี่คือพันธะผูกพันที่ต่อเนื่องมาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและต่อเนื่องมาถึงอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิมทางการเมือง ที่รับผิดชอบเรื่องนี้อยู่

 

คนที่คิดว่าตนเองได้ผลกระทบจากการบังคับช้มาตรา 112 ต้องร้องเข้ามายัง กสม. เพราะกสม. ไม่มีอำนาจลงไปตรวจสอบเองใช่ไหม

ไม่ใช่ทั้งหมด ก็มีทั้งสองส่วนคือ อาจจะมีผู้ร้องมาก็ได้ ส่วนที่สองถ้าไม่มีผู้ร้องแต่เราพบว่ามีการละเมิดเราอาจจะเป็นผู้ลงมือไปสอบ แต่ความเซนซิทีฟต่างกันคือบางกรณีที่ผู้ถูกละเมิดเขาไม่ร้องมาแล้วลงไปตรวจสอบ บางครั้งต้องยอมรับว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของความรุนแรงในพื้นที่ คนที่เขาร้องมาเขาไม่อยากเปิดเผยชื่อเพราะอาจจะกระทบต่อชีวิต สวัสดิภาพความปลอดภัย ความเป็นอยู่ บางคนก็ไม่กล้าร้องมา หรือร้องมาแต่ไม่อยากปรากฏชื่อ ฉะนั้นก็ต้องมองทั้งกระบวนการ คือไม่จำเป็นต้องมีคนร้อง แต่การมีคนร้องเข้ามานั้นก็หมายความว่าเราสามารถที่จะหาข้อมูลหรือผู้มีส่วนได้เสียมาซักถามได้ แต่ถ้าไม่มีคนร้องเราอาจจะต้องไปดูตามความเหมาะสมกับพื้นที่ด้วย คือการตรวจสอบเราไม่ควรจะไปกระทบต่อผู้ถูกละเมิดจากอำนาจและอิทธิพล เป็นสิ่งที่เราต้องคิดเผื่อคนที่ถูกละเมิดด้วย

 

เรื่องการบังคับใช้ 112 มีปัญหาเช่นนี้ไหม เรื่องการเกรงกลัวอิทธิพล หรือกระแสสังคมที่มีลักษณะที่ชี้ผิดชี้ถูกต่อคนที่ถูกฟ้องร้อง มีผลกระทบต่อการทำงานบ้างไหม

เท่าที่ทำมา ผมยังไม่เคยเจอนะครับ เพียงแต่ว่าในประเด็น 112 เราพบสภาพสังคมไทยขณะนี้มีปัญหา คือสภาพสังคมที่มีความคิดเห็นต่างๆ กันทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยผมถือว่เปนเรื่องปกติ แต่ที่เป็นเรื่องไม่ปกติและที่เรากังวลคือการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยทำให้เกิดความเป็นฝักฝ่ายเป็นพวกกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นคือการเผชิญหน้ากัน การกล่าวหากัน เช่น กรณีของคนที่แตะ 112 กลายเป็นผู้ที่ต้องการล้มสถาบัน นั่นคือการกล่าวหากันและสรุปเลย นี่เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยสบายใจและไม่อยากให้สังคมไทยถลำลึกและไปสู่ความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรง

เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาต่อความเห็นที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมในระบอบประชาธิปไตยก็ควรเป็นการแก้ไขแบบอารยะ คือการไม่ให้คนตีกัน ไม่ให้คนทะเลาะกัน ก็คือต้องรับฟังความคิดเห็น แล้วเมื่อฟังแล้ว ก็ต้องมาดูว่าความเห็นใดอันไหนเป็นเรื่องถูกต้องเหมาะสม และสำคัญที่สุดคือว่าความเห็นที่ต่างนั้น อะไรที่จะทำไปสู่การแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก

ผมคิดว่า ‘อะไร’ มันสำคัญกว่า ‘อย่างไร’ ถ้าเรามัวแต่ถามว่าทำไมถึงออกมาแสดงความเห็น เราต้องยอมรับกติกาก่อนว่าในสังคมประชาธิปไตย ใครที่ออกมาแสดงความคิดเห็นอบ่างตรงไปตรงมา ตามหลักวิชาการ ไม่เข้าข่ายเรื่องการดูถูกละเมิดคนอื่น ผมคิดว่าเราต้องฟัง แต่เอาความคิดต่างตรงนั้นมาคิดว่าแล้วอะไรทำให้เกิดความเห็นต่างเหล่านั้น แล้วความเห็นต่างเหล่านั้นจริงๆ แล้วมีข้อสรุปในการเอามาทบทวนแก้ไขไม่ให้มีการละเมิด ไม่ให้มีการกระทำผิดขึ้นอีกได้ไหม หรือจริงๆ แล้วไม่มีมูลเลย เราก็จะได้รู้กัน

เราต้องยอมรับความเป็นเหตุเป็นผล องค์ความรู้ในการตัดสินปัญหา ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกหรือความเห็น

 

กรณีที่มีการร้องเรียน ล่าสุดคือกรณีของสุรพศ ทวีศักดิ์ ที่ถูกบุคคลหนึ่งร้องทุกข์กล่าวโทษ และพบว่าบุคคลนั้นได้ฟ้องร้องลักษณะเดียวกันหลายคดี ทางอนุกรรมการฯ มีข้อสังเกตอย่างไรต่อการใช้กฎหมายลักษณะนี้

ผมคิดว่าเป็นกรณีตัวอย่างหนึ่งที่มีผู้ไปร้องเรียนและแจ้งความต่อสถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด แจ้งความเอาผิดกับอาจารย์สุรพศ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหลายๆ กรณี ซึ่งอาจารย์สุรพศอาจจะเป็นกรณีที่พิเศษขึ้นมาหน่อยหนึ่งคือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สิ่งที่อาจารย์เน้นและร้องมาก็คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงควาเมห็นทางวิชาการ ซึ่งไม่ใช่ว่าอาจารย์เพิ่งจะมาแสดงความเห็นตอนนี้แต่เป็นมาตลอดอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีคนเห็นต่างและมองว่าสิ่งที่อาจารย์นำเสนอไปขัดกับมาตรา 112 แล้วเผอิญการใช้กฎหมายในมาตรา 112 นั้น ใครก็ไปแจ้งความได้ ตรงนี้เราต้องไปศึกษาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้างแล้วข้อเท็จจริงในการบังคับใช้กฎหมายนี้ในกรณีอาจารย์สุรพศ เมื่อมาซักถามต่างๆ แล้วพบว่า ที่ร้อยเอ็ดมีสถิติการร้องเรียนมาตรา 112 ที่ค่อนข้างสูงพอสมควร จึงต้องมาดูว่าการกล่าวหากันด้วยมาตรา 112 มีข้อเท็จจริงในมุมมองของผู้ร้องและผู้ถูกร้องอย่างไรบ้างซึ่งสังคมควรจะได้มารับรู้ข้อมูลตรงนี้มากกว่าจะมาบอกว่าคนที่ต้องการแก้ไขมาตรา 112 เป็นคนที่ต้องการจะล้มสถาบัน หรืออีกคนหนึ่งรักสถาบัน นั่เนป็นแค่การมองที่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุต้องมาดูก่อนว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง

 

วันนี้ที่ทางอนุกรรมการฯ จะไปเยี่ยมปณิธาน พฤกษาเกษมสุขซึ่งพ่อของเขาถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 และร้องขอสิทธิประกันตัวมาเจ็ดครั้งแล้ว กรรมการสิทธิ์มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรต่อกรณีนี้

กรณีคุณสมยศนั้นเป็นกรณีแรกๆ ที่เรารับเข้ามาตรวจสอบ และผมก็ได้ไปเยี่ยมที่เรือนจำ ครั้งสุดท้ายก็คือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และทราบว่าเขามีปัญหาสุขภาพด้วยจึงไปตรวจเยี่ยมพร้อมกับคนอื่นๆ ที่ถูกคดีข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ผมคิดว่ากรณีลูกชายคุณสมยศออกมาแสดงการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยการอดข่าวเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เขาทำได้ ในฐานะที่ผมเป็นกรรมการสิทธิซึ่งผมเองให้ความสนใจและไม่ได้มองว่าเราทำหน้าที่แค่ตรวจสอบเพื่อเอาข้อมูลแต่เรามีหน้าที่ต้องติดตามดูว่าคุณสมยศเขาได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ต้องหาที่มีสิทธิในการได้รับการประกันตัว สิทธิในกระบวนการยุติธรรมอะไรบ้าง

การที่ลูกชายคุณสมยศออกมาอดข้าวเพื่อให้เห็นสิทธิการประกันตัว ก็เป็นหน้าที่ที่ผมต้องไปฟังเหตุผลจากลูกชายคุณสมยศ และส่วนที่สองคือในฐานะที่เป็นหมอ เห็นคนทำอะไรที่มีโอกาสเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ ผมก็ถือโอกาสไปช่วยูและแนะนำไม่ให้เขาเปนอันตรายจากการเคลื่อนไหวแบบนี้

 

มาตรา 112 นั้นปฏิเสธได้ยากว่าเกี่ยวพันกับความขัดแย้งในสังคมไทยมายาวนานพอสมควร ขณะที่กรรมการสิทธิ์เองก็ถูกคาดหวังในสองส่วนคือ คาดหวังเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน และคาดหวังความเป็นกลาง กรรมการสิทธิ์พบขอจำกัดอะไรในการทำงานหรือไม่

เป็นเรื่องของอนุฯ ชุดผมที่รับงานมารับผิดชอบ คือผมคิดว่าความเห็นต่าง ในสังคมประบอบประชาธิปไตยเราต้องรู้ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เรามีวิธีจัดการความเห็นต่างที่เป็นเรื่องของความขัดแย้งอย่างไรบ้าง ผมคิดว่าสังคมไทยขณะนี้ต้องยอมรับว่าเราต้องตรงเข้าไปที่ปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อหามุมมองให้ถูกต้อง แต่ถ้าเราปล่อยไว้มันก็เหมือนเป็นฝีที่เป็นหนอง สักวันหนองมันก็ต้องระเบิดออกมา เพราะฉะนั้น ประเด็นเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 ก็เช่นเดียวกัน ผมคิดว่าถ้าเรายอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วหาว่าปัญหานั้นเกิดจากอะไร จากอะไรนั้นเราก็ค้นคว้าหาข้อมูลแล้วเอามาดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย เช่น ขณะนี้ มีความเห็นของนิติราษฎร์ออกมาเป็นความเห็นทางวิชาการ ผมก็ไม่ได้จะบอกว่าผมเห็นด้วย แต่ความคิดเห็นของผมเป็นอย่างไรนั้น ผมก็มีหน้าที่ต้องตรวจหาข้อเท็จจริง เช่นเดียวกันมีคณะกรรมการออกมารณรงค์มาตรา 112 เขาก็ทำหน้าที่ในฐานะภาคประชาสังคมในการเคลื่อนไหวถ้าเขาคิดว่ากฎหมายนี้มีปัญหา ก็เป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนเที่เขาจะทำได้ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในกรอบนั่นหมายความว่าถ้าเขาเสนอต่อสภาแล้วสภาบอกไม่รับ รัฐบาลบอกว่าไม่เสนอกฎหมายนี้เรื่องก็จบ แต่มันก็ทำให้เห็นความงดงามของตัวอย่างในสังคมว่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ มันเกิดขึ้นได้ ถ้าอยู่ในประเด็นที่ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและไม่เป็นการทำลายประโยชน์สาธารณะ ก็เป็นไปตามครรลองคือระบบรัฐสภาและรัฐบาลที่มารับผิดชอบ ถ้าทำได้ เราก็เป็นตัวอย่างการจัดการความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสังคมเอากรณีนี้เป็นตัวอย่างได้ สังคมไทยก็จะมีบทเรียนของการจัดการความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม สังคมไทยจะได้มีบทเรียนและมีแนวคิดในการทำงานว่าความเห็นต่างขัดแย้งกันนั้นสังคมไทยจัดการได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวหา หรือเผชิญหน้ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นความรุนแรงลุกลามจนเกิดการกระทบกระทั่งกัน 

 

คุยกับหมอนิรันดร์ เมื่อ ม. 112 ถึงมืออนุกรรมการสิทธิ์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พนง.สอบสวน สภ.เมืองร้อยเอ็ด แจง อนุกสม. กรณีไอแพดร้องทุกข์กล่าวโทษนักปรัชญาชายขอบด้วยม. 112

Posted: 13 Feb 2012 07:02 AM PST

สารวัตรเจ้าของคดีฟ้องนักปรัชญาชายขอบ รับสถิติรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยมาตรา 112 สูงกว่าพื้นที่อื่น ระบุ ตำรวจต้องทำตามหน้าที่ หากไม่รับคำร้องทุกข์ถือว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ชี้ผู้ถูกร้องโดยไม่มีมูลและเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการสืบสวนต่อแล้ว สามารถฟ้องกลับได้ฐานแจ้งความเท็จ

วันนี้ (13 ก.พ.55) อนุกรรมการสิทธิด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เชิญ พ.ต.ท.สุคิด เพ็ชรโยธา พนักงานสอบสวน สบ.3 เจ้าของคดี ที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือนามปากกา "I Pad" ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือนามปากกา นักปรัชญาชายขอบ

โดย พ.ต.ท.สุคิดให้ข้อมูลพื้นฐานว่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2553 นายวิพุธ สุขประเสริฐซึ่งมีภูมิลำเนาเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด มาร้องทุกข์กล่าวโทษ ว่ามีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับมาตรา 112 โดยมาร้องทุกข์กล่าวโทษเว็บไซต์ประชาไท จากบทความเรื่อง 'จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?' ซึ่งเขียนโดยนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดยร้องทุกข์กล่าวโทษในส่วนของผู้ที่โพสต์เข้ามาแสดงความคิดเห็น ได้แก่ ผู้ใช้นามแฝงว่า นักปรัชญาชายขอบ ผู้เขียนบทความคือนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และผู้แสดงความเห็นท้ายบทความอีก 3 ราย รวมทั้งสิ้น 5 ราย

ต่อมา สภ.เมืองร้อยเอ็ดก็ตั้งคณะสอบสวน มีการสอบสวนผู้เกี่ยวข้อง เลขไอพีแอดเดรส มาตรวจสอบที่กองบังคับการสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่กระทรวงไอซีที จนกระทั่งทราบว่ามีใครบ้าง จากนั้นมีการประชุมโดยที่ต้องขอความเห็นชอบออกหมายจับจากผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค ที่ประชุมมีมติว่าให้ดำเนินคดีกับสุรพศ ทวีศักดิ์ ซึ่งใช้นามแฝงว่านักปรัชญาชายขอบ และอีกรายหนึ่งซึ่งไม่ขอเอ่ยนาม เพราะอยู่ระหว่างการดำเนินคดี

จากนั้นมีการเสนอมติในการแจ้งข้อกล่าวหาไปยังตร.ภูธรภาค 4 และเข้าที่ประชุมของคณะพนักงานสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 ให้สอบพยานเพิ่มเติมอีกหลายปาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง ปลัดจังหวัดฝ่ายท้องถิ่น นายกเทศมนตรี และนายก อบจ. รวมถึงนักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ประกอบ จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ ตร.ภูธรภาค 4 ก็มีมติเห็นชอบให้มีการอนุมัติ คือให้ออกหมายเรียกก่อน ถ้าออกหมายเรียกแล้วไม่มา ก็ให้ออกหมายจับ ซึ่งนายสุรพศก็ขอเลื่อนรายงานตัวมาเป็นวันที่ 17 ก.พ.

จากการร้องทุกข์กล่าวโทษคราวเดียวกัน ไอแพดร้องมา 5 คน แต่จากการสอบสวน เข้าข่ายว่าอาจเป็นความผิด 2 คน โดยอีกรายหนึ่งก็ถูกหมายเรียกเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ กระบวนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนสอบสวนคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ความเห็นของพนักงานสอบสวนยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนต้องส่งไปให้ ตร.ภูธรภาค และ ตร.ส่วนกลางพิจารณาตามลำดับ แม้ สภ.เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งให้พิจารณาเช่นกัน

พ.ต.ท.สุคิดให้ความเห็นกรณีที่มีการฟ้องร้องที่ สภ.เมืองร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมากว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกคดี หากไม่เช่นนั้นก็จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจึงเป็นผู้ใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในชั้นสืบสวนสอบสวน หากเห็นว่ากรณีใดไม่เข้าลักษณะความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 เลย และได้รับความเห็นจาก ตร.ภาคและตร.ส่วนกลางแล้ว ก็จะไม่ดำเนินการต่อ จากการณีของนายวิพุธที่ร้องบุคคลจำนวน 5 รายในการร้องทุกข์คราวเดียวกับสุรพศ แต่ตำรวจสอบแล้วมีมูลเพียง 2 ราย

พ.ต.ท.สุคิดระบุว่า การร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกกรณี แต่หากกรณีใดไม่เป็นข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการสืบสวนและสั่งฟ้องแล้ว ผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดยไม่มีมูลก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษกลับได้ในฐานะแจ้งความเท็จ

ทั้งนี้ อนุกรรมการฯ ได้สอบถามกรณีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่สภ.เมืองร้อยเอ็ดจำนวนมากกว่าปกติ พ.ต.ท.สุคิดรับว่าจากปี 2553 เป็นต้นมา มีการร้องทุกข์มากจริงและมีสถิติสูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4 ด้วยกัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไท พฤกษาเกษมสุข อดข้าวเข้าสู่วันที่ 3 คนยังแห่ให้กำลังใจ หมอแนะพัก-กำหนดเวลาเยี่ยม

Posted: 13 Feb 2012 06:45 AM PST

ปณิธาน (ไท) พฤกษาเกษมสุข อดข้าวหน้าศาลอาญาเป็นวันที่ 3 เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขผู้เป็นพ่อ ซึ่งถูกฟ้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ และยังไม่ได้รับการประกันตัว หลังจากได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไปทั้งสิ้น 6 ครั้ง รวมระยะเวลาถูกขังระหว่างพิจารณาคดีกว่า 10 เดือนแล้ว

 

โดยวันนี้ (13 ก.พ. 2555) น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าเยี่ยมให้กำลังใจ พร้อมระบุว่า การที่ลูกชายนายสมยศออกมาอดข้าวเพื่อเรียกร้องให้เห็นสิทธิการประกันตัว ก็เป็นหน้าที่จะต้องมาฟังข้อเท็จจริง และส่วนที่สองคือในฐานะที่เป็นหมอ เห็นคนทำอะไรที่มีโอกาสเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ ก็ถือโอกาสไปช่วยดูและแนะนำไม่ให้เขาเป็นอันตรายจากการเคลื่อนไหวแบบนี้

โดย น.พ.นิรันดร์ด้วยกล่าวว่า การออกมาแสดงการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยการอดข่าวเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เขาทำได้

“ในฐานะที่ผมเป็นกรรมการสิทธิฯ ซึ่งผมเองให้ความสนใจและไม่ได้มองว่าเราทำหน้าที่แค่ตรวจสอบเพื่อเอาข้อมูลแต่เรามีหน้าที่ต้องติดตามดูว่าคุณสมยศเขาได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ต้องหาที่มีสิทธิในการได้รับการประกันตัว สิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างไรบ้าง”

ก่อนหน้านั้นเล็กน้อย นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้ามาเยี่ยมนายปณิธานและทักทายกับบรรดาผู้ที่เดินทางมาให้กำลังใจ จากนั้นลักขณา ปันวิชัย หรือคำ ผกา นักเขียนชื่อดังและวันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาเช่นกัน โดยทั้งสองร่วมลงชื่อและเขียนข้อความให้กำลังใจแก่นายปณิธาน และพูดคุยด้วยเป็นเวลาสั้นๆ

สำหรับนายปณิธานวันนี้มีท่าทีเหนื่อยล้าแต่ยังมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยมีผู้เดินทางมาให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม วันนี้มีการปิดป้ายประกาศคำแนะนำจากแพทย์กำหนดเวลาเยี่ยมนายปณิธาน เหลือเพียง 2 ช่วง คือ เวลา 10.00-13.00น. และ 17.00-21.00น. เนื่องจากต้องการให้นายปณิธานได้พักผ่อนให้มากขึ้น

อนึ่ง ปณิธานประกาศอดข้าวเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับพ่อของเขาเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 112 ชั่วโมง หรือ 4 วันกับอีก 16 ชั่วโมง
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลื่อนสืบพยานคดี "สมยศ" ไป 18 เม.ย. หลังเดินทางถึงสงขลา

Posted: 13 Feb 2012 05:44 AM PST

หลังนำตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ ไปสงขลา เพื่อสืบพยาน ปรากฏว่าพยานไม่มาศาล เพราะพักอยู่ที่ปทุมธานี สะดวกให้ปากคำที่กทม. ทนายเชื่อเป็นการกลั่นแกล้ง เตรียมอุทธรณ์ประกันตัวสมยศต่อ หลังถูกยกคำร้องเป็นครั้งที่ 6

 

(13 ก.พ. 55) ตามที่มีกำหนดสืบพยานที่ศาลจังหวัดสงขลา ในคดีที่สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณและเรด พาวเวอร์ และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยก่อนหน้านี้ สมยศถูกส่งตัวไปเรือนจำจังหวัดต่างๆ ได้แก่ สระแก้ว เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ เพื่อสืบพยานโจทก์ และถูกส่งตัวมาที่เรือนจำ จ.สงขลาเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา

สุวิทย์ ทองนวล ทนายความของสมยศ ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีการสืบพยานในวันนี้ เนื่องจากเมื่อไปถึงศาล ปรากฏว่าพยานไม่มา และเมื่ออัยการ จ.สงขลา ติดต่อไปยังพยาน ได้คำตอบว่า พยานพักอยู่ที่ปทุมธานี สะดวกให้ปากคำที่กรุงเทพฯ ศาลจังหวัดสงขลาจึงส่งประเด็นกลับมาที่ศาลอาญา กรุงเทพฯ โดยจะมีการสืบพยานอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. ที่ศาลอาญารัชดา กรุงเทพฯ

ทนายของสมยศให้ความเห็นว่า เหตุการณ์แบบนี้เหมือนเป็นการกลั่นแกล้งกัน เพราะพยานแต่ละปากนั้นพักอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่กลับมีการเรียกสืบพยานที่ภูมิลำเนาของพยาน ซึ่งที่ผ่านมา ตนเองก็แถลงคัดค้านการสืบพยานในลักษณะนี้ทุกครั้ง เนื่องจากทราบว่าพยานทุกปากอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งยังยินดีออกค่าใช้จ่ายให้กับพยานปากต่อไป ให้สามารถเดินทางมาเบิกความที่ศาลในกรุงเทพฯ ได้ ทั้งนี้ เพราะการเดินทางแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความยากลำบาก สมยศซึ่งมีปัญหาสุขภาพจะต้องนั่งที่หลังรถกระบะ มีโซ่ตรวน และเจอกับสภาพอากาศร้อน อย่างที่เดินทางมาสงขลา ใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง

สุวิทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้เขาได้แถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้รีบออกหมายส่งตัวสมยศกลับไปที่กรุงเทพฯ เนื่องจากคดีนี้เป็นเรื่องของความเชื่อ อาจมีการตั้งข้อรังเกียจ รวมถึงอาจมีความขัดแย้งเรื่องสีทางการเมือง หากอยู่นานเกรงจะเป็นอันตราย ซึ่งศาลก็ได้ออกคำสั่งให้นำตัวสมยศกลับกรุงเทพฯ โดยเร็ว คาดว่าน่าจะใช้เวลา 1-2 วัน

ส่วนการยื่นประกันตัวนั้น สุวิทย์ระบุว่า หลังจากยื่นประกันตัวเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความพยายามครั้งที่ 6 แล้ว ศาลได้ยกคำร้องด้วยเหตุผลเดิมคือ ไม่มีเหตุกลับคำสั่งเดิม ดังนั้น เขาจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ ในวันที่ 16 ก.พ. นี้ซึ่งเป็นวันที่ปณิธาน บุตรชายของสมยศจะอดอาหารครบ 112 ชั่วโมง

สำหรับบรรยากาศในเรือนจำขณะนี้ แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่าผู้ต้องหาคดี 112 หลายรายได้รับการติดต่อจากพนักงานอัยการให้รับสารภาพ ส่งผลให้มีบางรายที่รับสารภาพแล้ว เช่น กรณีสุรชัย แซ่ด่าน และมีหลายคนเกรงว่าหากไม่รับสารภาพแล้วจะได้รับโทษเต็มๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TDRI ชี้ TPBS ใน มี.ค.-พ.ค.53 มีแนวโน้มรับวาทกรรมที่รัฐสร้างขึ้นมาโดยปราศจากคำถาม

Posted: 13 Feb 2012 05:29 AM PST

เว็บไซต์วอยซ์ทีวี เผยแพร่รายงานการวิจัยของ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง เรื่อง 'ความเป็นอิสระของทีวีสาธารณะและการถ่ายทอดวาทกรรมและปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐ: กรณีศึกษาการชุมชุมทางการเมืองในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553' ระบุว่า ทีวีไทยเป็นส่วนหนึ่งขององค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยออกแบบไว้อย่างระมัดระวังเพื่อให้มีหลักประกันด้านความเป็นอิสระจากรัฐบาล (ด้วยโครงสร้างตามกฎหมาย) และจากกลุ่มทุนอื่น (โดยกำหนดให้มีแหล่งทุนสนับสนุนหลักที่ชัดเจนจากภาษีบาปปี ละไม่เกิน 2,000 ล้าน) 

 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังมีข้อวิพากษ์วิจารณ์และมีการศึกษาที่ชี้ว่า ทีวีไทยยังเป็นสถานีที่ไม่มีความโดดเด่นในด้านความเป็นอิสระอย่างที่ควรจะเป็น (และสามารถเป็นได้)   หรือเป็นกลางทางการเมือง(ในความหมายของ unbiased/impartiality) อย่างแท้จริง หรือมีความเป็นมืออาชีพที่สามารถเป็นต้นแบบที่คนทางทีวีช่องอื่นๆ (ที่อาจจะไม่มีโอกาสที่ดีเท่า เพราะต้องรับใช้ทุน รัฐ หรือกองทัพ) ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างการศึกษานี้พยายามวิเคราะห์ความเป็นอิสระและความเป็นกลางทางการเมืองของทีวีไทย โดยใช้วิธีหาหรือแสดงหลักฐานในกรณีที่การนำเสนอของทีวีไทยมีความเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานชั้นเลิศ (ideal standard)  ในด้านเหล่านี้ของทีวีสาธารณะ    

วิธีการศึกษาประกอบด้วย การติดตามดูทีวีไทยในช่วงเดือน มี.ค.–พ.ค. 2553 การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ รับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากการประชุมอื่นๆ และการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในวงการสื่อจำนวนหนึ่งที่สนใจปัญหานี้และติดตามชมทีวีไทยในช่วงดังกล่าว 

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะที่ใช้ภาษีของประชาชนและมุ่งหวังให้เกิดความตระหนักถึงมาตรฐาน/ความเป็นอิสระ/จริยธรรมของสื่อสาธารณะในการนำเสนอข่าวสารที่รอบด้านให้ประชาชน

ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าในบางช่วงทีวีไทยเป็นช่องที่เสนอข่าวการชุมนุมมากกว่าฟรีทีวีโดยเฉลี่ย แต่การที่ทีวีไทยไม่ได้เสนอข่าวที่รัฐพยายามใช้สื่อโทรทัศน์ในการทำสงครามจิตวิทยาต่อสาธารณะ ในขณะที่มีการรับและถ่ายทอดวาทกรรมต่างๆ ที่รัฐสร้างขึ้นภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง (ซึ่งอย่างน้อยบางส่วนเป็นวาทกรรมทีเห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นเพื่อดำเนินการตอบโต้กับผู้ชุมนุมและ/หรือฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง) มาใช้เป็นภาษาข่าวของสถานี  โดยปราศจากการตั้งคำถามหรือมุมมองที่วิเคราะห์วิจารณ์ต่อสาธารณะ และการที่แทบจะไม่เสนอข่าวการแทรกแซงสื่อและการปิดกั้นเว็บไซท์ต่างๆ ของรัฐและกองทัพ  จึงทำให้ภาพของทีวีไทยในด้านความเป็นอิสระของ  “สื่อสาธารณะ”  ไม่ได้มีความโดดเด่นไปจากสื่อโทรทัศน์ของรัฐหรือสื่อโทรทัศน์ทั่วไปที่มักอยู่ภายใต้วัฒนธรรมกำกับการทำงานของรัฐ และมีแนวโน้มที่จะให้พื้นที่เต็มที่กับภาครัฐ และรับวาทกรรมที่รัฐสร้างขึ้นมาเหมือนโดยปราศจากคำถามหรือมุมมองวิพากษ์วิจารณ์  ทำให้ทีวีไทยยังไม่ได้มีภาพของสื่อที่มีความเป็นมืออาชีพและเป็นอิสระจากอำนาจรัฐ ซึ่งเป็นความคาดหวังของคนจำนวนมากต่อทีวีไทยในช่วงที่มีการผลักดันให้ตั้งทีวีช่องนี้ขึ้นมา

ผลการศึกษาที่พบว่า ทีวีไทยมีแนวโน้มที่ไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลในช่วงการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม  2553 นี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าทีวีไทยเข้าข้างรัฐบาลหรือกองทัพเสมอไป แต่อาจจะสะท้อนความไม่เป็นกลางหรือการเลือกข้างของทีวีไทย ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเอียงข้างฝ่ายตรงข้ามกับรัฐในการชุมนุมทางการเมืองในช่วงก่อนปี 2552 

แม้ว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงในปัจจุบัน จะเป็นเรื่องยากที่ทีวีไทยหรือสื่ออื่นใดจะสามารถทำให้ผู้ชมทุกคนเห็นว่ามีความเป็นกลาง ซึ่งกรรมการนโยบายและผู้บริหารทีวีไทยหลายท่านได้แย้งว่าทีวีไทย  “ถูกด่า/วิจารณ์จากทั้งแดงทั้งเหลือง” และบางท่านมองดูปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นกลาง เพราะแสดงว่าได้ให้พื้นที่กับทั้งสองฝ่ายแล้ว  แต่ปรากฏการณ์นี้อาจสะท้อนปัญหาความเอนเอียงไปมาตามกระแสหรือเสียงวิจารณ์ในช่วงต่างๆ ก็เป็นได้  ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถท างานได้อย่างเป็นมืออาชีพที่ไม่เลือกข้างอย่างแท้จริง ก็น่าจะทำให้ข้อครหาเหล่านี้น้อยลงหรือหมดไป (และเปลี่ยนจากการ “ถูกด่าจากทั้งแดงทั้งเหลือง” เป็น “ไม่ถูกด่าจากทั้งเหลืองและแดง” แทน)  ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถไปถึงจุดที่คนจำนวนมากเกิดความเชื่อมั่นว่าทีวีช่องนี้เป็นทีวีที่อิสระและมีความเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้และกล้าที่จะแสวงหาความจริงมาตีแผ่ โดยไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแล้ว คนเหล่านั้นก็จะเกิดความหวงแหนและจะช่วยปกป้องทีวีช่องนี้ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็น  “สินทรัพย์”  (asset)  ที่มีค่าและเกราะกำบังของทีวีไทยในอนาคต  

เป็นที่น่าสังเกตว่า  ถึงแม้ทีวีสาธารณะในบางประเทศมีภาพลักษณ์ที่มีจุดยืนทางการเมืองและในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ใช่ตรงกลาง ตัวอย่างเช่น PBS  ในสหรัฐได้ชื่อว่าเป็นทีวีเสรีนิยม (liberal)  รวมทั้งรายการและพิธีกรที่มีชื่อเสียงของช่องบางคนด้วย  อย่างไรก็ตาม ทีวีเหล่านี้มักจะมีนโยบายที่ชัดเจนในการเปิดพื้นที่ให้กับรายการที่ได้ชื่อว่ามีจุดยืนทางการเมืองต่างออกไป  นอกจากนี้การทำงานของทีวีอย่าง PBS ก็ได้รับความยอมรับในความเป็นมืออาชีพค่อนข้างสูง และโดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อครหาเรื่องการบิดเบือนใดๆ  ความยอมรับในส่วนนี้ทำให้พิธีกรข่าวของ PBS มักได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ด าเนินรายการ (moderator) ในการโต้วาทีในการเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอยู่บ่อยๆ โดยไม่มีข้อคัดค้านหรือข้อครหาเรื่ องความไม่เป็นกลางทางการเมืองแต่อย่างใด  ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นเป้าหมายที่ทีวีไทยควรจะตั้งและพยายามดำเนินงานแบบมืออาชีพในการนำเสนอข่าวสารและรายการอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากการยัดเยียด บิดเบือน หรือโจมตีเพื่อช่วยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยกลายเป็นทีวีสาธารณะที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและยังสามารถรักษาจุดยืนขององค์กร (ถ้ามี) ไปพร้อมกันด้วย

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของประชาไท รายงานวิจัยส่วนบุคคลของ วิโรจน์ ณ ระนอง ชิ้นนี้เวลาจัดทำขึ้นในเดือนตุลาคม 2553 ในช่วงเข้าอบรม บสก.2 (หลักสูตรอบรมผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.) รุ่นที่ 2) ของสถาบันอิศรา โดยผู้วิจัยได้ชี้แจงในท้ายข่าวของวอยซ์ทีวีว่า 

"TPBS โดยคุณหมอพลเดช (ปิ่นประทีป) เชิญผมไปประเมิน และต่อมา block ไม่ให้ีตีพิมพ์เผยแพร่ ก็เพิ่งมีให้ download เช่นกัน เพราะผมถือว่าโดยเจตนารมณ์ที่ พ.ร.บ. TPBS กำหนดให้มีการประเมินภายนอก ก็เพือสาธารณะสามารถตรวจสอบได้ และผมได้ให้เวลามาเป็นปีจนถึงช่วงนี้ ที่มีรายงานการประเมินปีภายนอกของปีถัดมา (โดย อ.ปัทมาวดี ซูซูกิ และคณะ) ออกมาให้เปรียบเทียบได้แล้ว (ในเว็บ TPBS มีเฉพาะบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ในแต่ละปี) ซึ่งยกเว้นในเรื่องความน่าเชื่อถือของข่าว (ที่ผู้ประเมินอิงผลจากการทำ focus group กับกลุ่มคนที่ใกล้ชิด TPBS เป็นหลัก) แล้ว ผมได้ฟังการนำเสนอที่ กมธ.วุฒิ และดูรายงานไปคร่าวๆ เชื่อว่าผลการประเมินเรื่องและด้านอื่นๆ ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก"

 

 

 

AttachmentSize
ความเป็นอิสระของทีวีสาธารณะ และการถ่ายทอดวาทกรรมและ ปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐ: กรณีศึกษาการชุมชุมทางการเมืองใน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 โดย ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง.pdf938.84 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

มธ.แจงไม่ได้ห้ามถก ม.112 แต่ผู้จัดต้องรับผิดชอบ

Posted: 13 Feb 2012 03:23 AM PST

13 ก.พ.55 นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และผู้อำนวยการสำนัก เพื่อทบทวนมติกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555  ที่ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในประเด็นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ความว่า

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2555 และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทยนั้น มติดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการตีความไปในหลายแง่หลายมุมที่แตกต่างกัน อีกทั้งองค์การนักศึกษามหาวิทยาธรรมศาสตร์และสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีหนังสือขอให้มหาวิทยาลัยพิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวข้างต้น

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 3/2555 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ได้พิจารณาความเห็นของทุกฝ่ายและเห็นว่า มหาวิทยาลัยควรชี้แจงมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม ให้ชัดเจนเพื่อเข้าใจตรงกัน โดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีความเห็นว่า

1.ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังยึดมั่นในจิตวิญญาณแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยึดมั่นในหลักการที่มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพทุกตารางนิ้วและยืนยันว่าในดินแดนธรรมศาสตร์ ยังเต็มเปี่ยมด้วยเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความเห็น

2.แต่หากการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นใดๆ ตามสิทธิที่มีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าของกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้คัดค้านและมีโอกาสเป็นชนวนให้เกิดความรุนแรง ซึ่งทุกฝ่ายทราบดีว่าสังคมไทยไม่ควรบอบช้ำจากเหตุการณ์เหล่านี้อีก ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในฐานะผู้รับผิดชอบชีวิตของประชาคมธรรมศาสตร์ ชีวิตของประชาชนที่อยู่รายรอบ อาคารสถานที่และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยซึ่งล้วนมาจากภาษีอากรของประชาชน จำเป็นต้องใช้มาตรการเท่าที่จำเป็นเพื่อไม่เปิดโอกาสให้เกิดสถานการณ์รุนแรงที่สังคมไทยไม่อยากเห็นอีก

3. โดยหลักการมหาวิทยาลัยยินดีให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในทุกเรื่อง โดยการอนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่เพื่อแสดงความคิดเห็นตามสิทธิเสรีภาพทางวิชาการต้องอยู่บนเงื่อนไขต่อไปนี้

           3.1 ผู้จัดต้องรับผิดชอบดูแลให้การประชุมแสดงความคิดเห็นหรือกิจกรรมทางวิชาการอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย

           3.2 ผู้จัดรับผิดชอบมิให้มีการแสดงออกอย่างเปิดเผยหรือในเชิงสัญลักษณ์อันอาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรงหรือเกิดการท้าทายในระหว่างที่ผู้ที่มีความคิดแตกต่างกัน

           3.3 ผู้จัดต้องรับผิดชอบยุติกิจกรรมได้ภายในเวลาที่กำหนดหรือที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหากีดขวางทางสัญจร หรือสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนโดยรวม ภายหลังยุติกิจกรรมทางวิชาการ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและพื้นที่ต่อเนื่องโดยรอบมหาวิทยาลัย

4. การออกประกาศเรื่องการเข้มงวดการใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆนั้น ใช้ปฏิบัติทั้งต่อกลุ่มผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย ไม่ได้เลือกปฏิบัติเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยประเมินจากสถานการณ์ความสุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการตัดสินใจ และเมื่อสถานการณ์ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวคลี่คลายลง มหาวิทยาลัยก็ยินดีอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ตามปกติ ทั้งนี้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ได้ตัดสินใจบนพื้นฐานเหตุผลอื่นใด

ขอย้ำว่า ผู้บริหารทุกคนยังเคารพในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพทางวิชาการทุกตารางนิ้วในธรรมศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยน ตราบใดที่การใช้เสรีภาพนั้นอยู่บนหลักสันติวิธี มีขันติธรรม เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน เป็นสุภาพชน มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ

ด้านเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานการแถลงของนายพรชัย ตระกูลวรานนท์เพิ่มเติมว่า หนังสือที่ถูกส่งมาจากตัวแทนนักศึกษาไม่ได้บอกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ก็ให้มีการทบทวนซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการทบทวนแล้วและเพิ่มรายละเอียดดังกล่าว และผลบังคับใช้ตามแถลงการณ์นั้นยังไมได้กำหนดกรอบเวลา แต่คงจะประเมินจากกรณีความขัดแย้งว่าคลี่คลายตัวลงหรือยัง เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมสถานการณ์ให้รุนแรงมากขึ้น แต่หากประเด็นดังกล่าวเบาลง และพูดจาด้วยเหตุและผลมากขึ้น ก็อาจจะวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนกรณีการเคลื่อนไหวในประเด็น ม.112นั้น ในทางวิชาการ มหาวิทยาลัยไม่ได้ห้าม  ยกตัวอย่างเมื่อวันที่30มกราคมที่ผ่านมาซึ่งมติดังกล่าวออกมาแต่ก็มีการใช้เสวนาวิชาการของกลุ่มต่างๆในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมแท้ๆไม่มีบุคคลภายนอกมาเคลื่อนไหวหรือมาร่วมแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่าสนับสนุนหรือคัดค้าน และที่ผ่านมาก็มีอาจารย์ได้รวมตัวกันพูดคุยในประเด็นนี้ แต่ไม่มีการเชิญชวน ดังนั้นถือเป็นใช้สิทธิตามเสรีภาพทางวิชาการที่ยังดำเนินอยู่ ทั้งในส่วนของอาจารย์และนักศึกษา

ทั้งนี้ยังได้รายงานคำถามของผู้สื่อข่าวที่ถามว่า กลุ่มนิติราษฎร์ยังสามารถจัดกิจกรรมได้อยู่หรือไม่ นายพรชัย กล่าวว่า ต้องทำเรื่องเสนอมาให้พิจารณา ซึ่งคณะกรรมการก็จะพิจารณาในรายละเอียด ดูองค์ประกอบ โดยจะพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการแท้ๆ ไม่นำไปสู่การเผชิญหน้าก็จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป ทั้งนี้นอกเหนือจากอาจารย์ที่จัดกิจกรรมแล้ว นักศึกษาก็สามารถใช้สิทธิในการแสดงออกได้ตามปกติ เช่นเดียวกับบุคคลภายนอกก็ต้องมีการขออนุญาตและมีการพิจารณาตามความเหมาะสม

 

 

เรียบเรียงจาก: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ฅนอำนาจเจริญนับหมื่นร่วมประกาศ “ธรรมนูญประชาชน” สร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

Posted: 13 Feb 2012 02:35 AM PST

ประกาศ “ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ” จังหวัดแรกของประเทศ ใช้สัญลักษณ์สุ่มไก่หงายขึ้นฟ้ารองรับธรรมนูญฉบับประชาชน สื่อถึงการปลดปล่อยอิสรภาพจากระบบการเมืองการปกครองรวมศูนย์ เผยหวังขยายผลทั่วประเทศใน 4 ปี

 
 
วันนี้ (13 ก.พ.55) เวลา 07.00 น.ประชาชนฅนอำนาจเจริญ นับหมื่นคนจาก 7 อำเภอ 63 ตำบล แห่ร่วมงานวันประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญจนแน่นสนามหน้าศาลากลางจังหวัด โดยเริ่มขบวนแห่ธงทิว และธรรมนูญ จากสนามหน้าพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไปตามถนนชยางกูรเข้าสู่สนามหน้าศาลากลางจังหวัด ริ้วขบวนยาวเหยียดไปตามถนน โดยมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานหลายฝ่ายด้วยกัน ทั้งตัวแทนจากประธานสภาพัฒนาทางการเมือง (สพม.) และสมาชิก สพม.จากทั่วประเทศ 77 จังหวัดๆ ละ 5 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานในพิธีเปิด
 
งานประกาศธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญครั้งนี้ใช้สัญลักษณ์สุ่มไก่หงายขึ้นฟ้ารองรับธรรมนูญฉบับประชาชน มีความหมายว่า ที่ผ่านมาประชาชนถูกครอบงำ และกักขังหน่วงอิสรภาพมานานจากระบบการเมืองการปกครองแบบรวมศูนย์ การช่วงชิงทรัพยากรธรรมของท้องถิ่น จนทำให้ประชาชนตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก วันนี้จึงเป็นการปลดปล่อยอิสรภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง ทั้งในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา งานพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม การเมืองการปกครอง อย่างรอบด้านตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการร่างธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ โดยพี่น้องมีส่วนร่วมกันจัดทำใช้เวลาดำเนินงานกว่า 1 ปี จนถึงวันนี้จึงจัดให้มีการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญขึ้น และเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทยที่ได้ประกาศใช้ เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่จังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย
 
 
จากนั้น นายวิรัตน์ สุขกุล ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.อำนาจเจริญ แกนนำการจัดงานประกาศในเวทีให้ผู้มาร่วมได้รับทราบเจตนารมณ์งานวันนี้ ท่ามกลางเสียงปรบมือ และสะบัดธงตราสัญลักษณ์ของประชาชนฅนอำนาจเจริญที่มาร่วมงาน
 
ภายในงาน หลังจากการเปิดพิธีอย่างเป็นทางการโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีการมอบธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญแก่ตัวแทนตำบล 63 ตำบลๆ ละ 1 เล่ม และตัวแทนจากสมาชิกสภาพัฒนาทางการเมือง (สพม.) 77 จังหวัด เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง และนำไปสู่การขยายผลทั่วประเทศ จนสามารถสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชนฅนไทยอย่างแท้จริงภายใน 4 ปีนี้ให้ได้สำเร็จ
 
นายวานิชย์ บุตรี ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ ได้เสนอแนวทางแก่องค์กรภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานสร้างธรรมนูญประชาชนไปสู่จังหวัดการตนเองได้จริงอย่างทั่วประเทศ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานราชการ ในด้าน 1.สนับสนุนให้เกิดเวทีกลางระดับจังหวัด หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคีพัฒนาอื่น ๆ เพื่อออกแบบการขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ สู่การปฏิบัติ 2.สนับสนุนทรัพยากร (คน ทุน อุปกรณ์) มนการดำเนินงานขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ ในพื้นที่นำร่อง 30 พื้นที่ 3.สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญสู่การปฏิบัติ
 
นายวานิชย์ กล่าวถึงข้อเสนอต่อสภาพัฒนาการเมือง ว่า มี 4 ข้อ คือ 1.การถอดบทเรียนและการจัดการองค์ความรู้ในพื้นที่นำร่อง 2.สนับสนุนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้พื้นที่ขยายจังหวัดที่สนใจ 3.พัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากพื้นที่ปฏิบัติการให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง 4.สนับสนุนทรัพยากรให้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนและบริบทของพื้นที่ 5.สนับสนุนการจัดทำพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเอง
 
ส่วนข้อเสนอต่อสำนักงานปฏิรูป คือ นำบทเรียนจากพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ขยายผลสู่นโยบายสาธารณะ และข้อเสนอต่อสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน คือ การสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานจังหวัดจัดการตนเองไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ให้ครบทุกจังหวัด
 
นายวานิช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการผลักดันให้มีการนำธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ประชาชนฅนอำนาจเจริญ ยังได้ประกาศร่วมกันอีกว่า จะมีการดำเนินงานผ่านกลไกสภากลาง ทั้งในระดับชุมชน ตำบล และจังหวัด ก็คือ กลไกระดับจังหวัด ออกแบบกระบวนการขับเคลื่อนทำระบบ การคัดเลือกพื้นที่รูปธรรมปฏิบัติการนำร่อง ให้เกิดสภากลาง และ 1 ตำบล 1 แผนพัฒนา อย่างน้อย 30 พื้นที่ ทุกตำบลต้องนำธรรมนูญของตำบลตนเองไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ตามศักยภาพของพื้นที่ อย่างน้อย ร้อยละ 20 ของธรรมนูญทั้งหมด มีทีมติดตาม หนุนเสริมทางวิชาการและกระบวนการอย่างต่อเนื่อง มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ ประสบการณ์การทำงานเป็นระยะ มีระบบสื่อสารต่อสาธารณะและภาคีร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จังหวัด และ/หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องสนับสนุนงบประมาณให้เป็นกองทุนกลางในการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฝรั่งฟ้อง รพ.ชื่อดัง โฆษณา 'รับประกันความพอใจ'

Posted: 13 Feb 2012 02:04 AM PST

13 ก.พ.55 นางสาวเฮเลน่า เกรสซ์ แจ้งข่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 13.30 น. ณ ศาลแพ่งรัชดา ศาลแพ่งได้นัดพร้อมคดีหมายเลขดำที่ ผบ 4043/2554 ระหว่างนางสาวเฮเลน่า เกรสซ์ โจทก์ ยื่นฟ้องบริษัทโรงพยาบาลยันฮี นายแพทย์ สุทัศน์ คุณวโรตม์ และนางธัญญลักษณ์ เลิศปิยะ จำเลยที่ 1, 2 และ 3 ข้อหาละเมิด ผิดสัญญา เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 8,432,400 บาท โดยคดีดังกล่าว นายหน้านางธัญญลักษณ์ เลิศปิยะที่เป็นที่รู้จักในสื่ออินเตอร์เน็ตในนาม “ป้าวุ้นเส้น” ได้ให้โจทก์ทำศัลยกรรมตกแต่งลดขนาดจมูกและคางกับโรงพยาบาลยันฮีที่มีการโมษณาประชาสัมพันธ์ว่า “รับประกันความพึงพอใจ" "หากไม่พอใจก็จะมีการแก้ไขให้” โจทก์จึงทำการรักษากับลูกจ้างของโรงพยาบาล คือ นายแพทย์ สุทัศน์ คุณวโรตม์ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ปรากฏว่าได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ และแพทย์หลายท่านทั้งในและต่างประเทศยืนยันว่าจมูกเสียรูป ต้องได้รับการซ่อมแซม

โดยแพทย์ที่เมืองไทยหลายรายแนะนำให้โจทก์ไปทำการรักษาต่อในต่างประเทศ ที่แพทย์มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไขจมูกแบบชาวต่างชาติมากกว่า ฝ่ายโจทก์ได้พยายามติดต่อให้ทางโรงพยาบาลยันฮีให้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำการรักษาเยียวยาแก้ไขความบกพร่องและรักษาจนเกิดความพึงพอใจตามที่โรงพยาบาลยันฮีได้โฆษณาประชาสัมพันธ์รับประกันไว้แต่โรงพยาบาลยันฮีกลับไม่รับผิดชอบ โดยทางโรงพยาบาลยืนยันว่าจมูกสวยงามดี ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และจะคืนเงินให้เท่านั้น จนโจทก์ต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีความ

ในจดหมายของนางสาวเฮเลน่า เกรสซ์ ได้ชี้แจงจุดประสงค์ของการฟ้องร้องในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องชอบธรรมของสังคม โดยขอให้ศาลสั่งให้โรงพยาบาลยันฮี และ “ป้าวุ้นเส้น” ทำลายข้อความประชาสัมพันธ์หลอกลวงประชาชนทั้งหมด เช่น สวยด้วยแพทย์ สวยด้วยยันฮี รับประกันความพึงพอใจ มีคุณภาพ ปลอดภัย แน่นอน ฯลฯ เพราะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ในบางกรณีจำเลยไม่สามารถทำได้จริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อจูงใจทำให้หลงผิดเนื่องจากการผ่าตัดศัลยกรรมความงามย่อมมีความเสี่ยง ไม่สามารถรับประกันผลลัพท์และความพึงพอใจได้ ในอดีตก็เคยมีผู้ที่ไม่ได้รับความพึงพอใจจากบริการของโรงพยาบาลยันฮีหลายราย บางรายก็ฟ้องร้องโรงพยาบาลยันฮีจนเป็นคดีความมาแล้ว

"อนึ่งผู้ประกอบการไม่ควรโฆษณาชวนเชื่อในสิ่งที่ทำไม่ได้จริง ในกรณีนี้นอกจากขอให้จำเลยทั้งสามรักษาสัญญา ทำลายข้อความประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ประชาชนหลงผิดและจำเลยทำไม่ได้จริงแล้ว ยังขอให้ศาลสั่งโรงพยาบาลยันฮีนำข้อความที่มิชอบด้วยกฏหมาย ริดรอนสิทธิ์ และเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ออกจากหนังสือสัญญาและเอกสารต่าง ๆ ของโรงพยาบาลยันฮีด้วย เช่น การให้ผู้มาใช้บริการเซ็นว่า “จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากแพทย์หรือจากโรงพยาบาล” ในหนังสือสัญญาแสดงความยินยอมรักษาโดยวิธีผ่าตัดหรือหัตถการและเวลาผู้ป่วยขอรับเวชระเบียน ซึ่งเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฏหมาย เนื่องจากคนไข้ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องร้องหากเกิดความเสียหาย และมีสิทธิ์รับเวชระเบียนอย่างไม่มีเงื่อนไข"

นางสาวเฮเลน่า เกรสซ์ ระบุว่ากรณีนี้จะสร้างบรรทัดฐานที่ดีในสังคมไทยไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการธุรกิจสถานพยาบาลอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน โดยผู้ประกอบการต้องมีบรรทัดฐานทางจริยธรรมอันสูงส่งไม่ด่างพร่อย เงินที่ได้รับจากการฟ้องร้องหากเพียงพอต่อการรักษาเยี่ยวยาจมูกแล้ว สินไหมทดแทนหากได้รับจากศาลจะบริจาคให้กับการกุศลทั้งหมด จึงขอแจ้งให้สื่อมวลชนติดตามสอดส่องดูแลให้กรณีนี้ได้รับความเป็นธรรมเพื่อปกป้องประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการทางการแพทย์ในเมืองไทยด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สปสช.รับลูกดูผู้ป่วยธาลัสซีเมียครบวงจร นักวิชาการจับตาดูแผนล้มบัตรทอง

Posted: 13 Feb 2012 01:13 AM PST

รองเลขาธิการ สปสช. เห็นด้วยที่มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยจะผลักดันให้ โรคนี้มีการดูแลอย่างครบวงจรในระบบบัตรทอง เผยบอร์ด สปสช.ชุดเดิมได้อนุมัติงบปี 55เพิ่มเติมให้แล้วจำนวนกว่า 50 ล้านบาท อาจารย์นักวิชาการอาวุโสชี้ถ้าระบบบัตรทองล้มจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศลำบากมาก ปลุกทุกคนต้องช่วยกันจับตาดู

13 กุมภาพันธ์ 2555 นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. ชี้แจงกรณีข่าวว่าโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยถูกตัดออกจากชุดสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทองและทางมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีมัยแห่งประเทศไทยจะเข้าหารือกับ สปสช. เพื่อผลักดันแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่าข้อเท็จจริงโรคนี้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์เหมาจ่ายตั้งแต่แรก ต่อมามีการแยกการบริหารเป็นแบบโครงการพิเศษ โดย สปสช. จัดสรรงบตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ทุกรายทั่วประเทศและมอบให้กรมอนามัยเป็นผู้ดำเนินการทำให้การเข้าถึงบริการดีขึ้น ต่อมาในปี 2551 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นว่าการเข้าถึงบริการมีปัญหาน้อยลงและเพื่อกระจายอำนาจการจัดการให้หน่วยบริการในพื้นที่มากขึ้น จึงมีนโยบายให้การดูแลผู้ป่วยดังกล่าวกลับไปอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์เหมาจ่ายเหมือนเดิม พร้อมกับการเพิ่มสิทธิในเรื่องยาขับธาตุเหล็กซึ่งเดิมมีราคาแพงทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และจากการติดตามผลปรากฏว่าการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวในหญิงตั้งครรภ์ทำได้น้อยลง จึงมีการหารือร่วมกันระหว่าง สปสช.กับ กรมอนามัยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องและเตรียมจะฟื้นโครงการดูแลผู้ป่วยดังกล่าวแบบครบวงจรเหมือนผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย กล่าวคือมีการแยกงบต่างหากและจัดสรรงบเพิ่มเติมในการตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ทุกราย และถ้าสงสัยจะตรวจคู่สมรสด้วย รวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคและการยุติการตั้งครรภ์ในรายที่จำเป็น โดยบอร์ด สปสช.ชุดเดิมได้ตั้งงบประมาณปี 55เพิ่มเติมให้แล้วกว่า 50 ล้านบาท

“สปสช.ยืนยันว่าปัญหาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแล และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มูลนิธิฯและนักวิชาการอาวุโสจะเข้ามาช่วยกันผลักดัน สร้างระบบที่ดีที่สุดในการดูแลผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวยืนยัน

ต่อกระแสข่าวที่ผู้ป่วยและกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและชมรมแพทย์ชนบทได้ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความคิดเห็นห่วงว่าฝ่ายการเมืองและกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนมีแผนที่จะล้มระบบบัตรทองหรือทำให้เป็นระบบอนาถา ต่อเรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ พญ.สุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าแผนล้มระบบบัตรทองถ้าทำจริงจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศลำบากมาก “ ส่วนตัวเห็นว่าไม่น่าจะเป็นการล้มระบบ แต่จะล้มสิทธิประโยชน์ในการรักษาโรคแนวดิ่งหรือโรคเรื้อรัง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องมาช่วยกันจับตา” ศ. เกียรติคุณ พญ.สุดสาคร กล่าว

รายงานจากแหล่งข่าวว่าชมรมแพทย์ชนบทกำลังเตรียมการเคลื่อนไหวสมาชิกทั่วประเทศร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มรักหลักประกันสุขภาพและนักวิชาการอาวุโสในการจับตาและคัดค้านแผนล้มระบบบัตรทอง รวมทั้งตรวจสอบการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองจากงบประมาณช่วยน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะงบจัดซื้อกระเป๋า อสม.และเรือช่วยน้ำท่วมที่มีราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า “เพื่อปกป้องงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและรักษาระบบคุณธรรมในการโยกย้ายผู้บริหารในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนข้าราชการที่มีข้อมูลดังกล่าว ส่งมอบข้อมูลและร่วมเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลที่กำลังเกิดขึ้นในกระทรวงและกองทุน สปสช.” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรักหรือความหลง

Posted: 13 Feb 2012 01:05 AM PST

          เนื่องในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 ผมจึงขออนุญาตเขียนถึงทัชมาฮาล ที่ว่ากันว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักอันแสนโรแมนติก แต่ผมว่านี่คืออนุสรณ์สถานแห่งความหลง ที่สร้างความอัปยศให้กับประชาชน และสร้างความเสียหายบักโกรกให้กับประเทศชาติในอดีต

ท่านที่เคยเดินทางไปเที่ยว ประชุม สัมมนา หรือค้าขายที่อินเดีย คงต้องมีหรือหาโอกาสแวะไปทัชมาฮาลที่ว่ากันว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก และถือเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่  ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนนับล้าน ๆ คน แง่มุมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ก็คือ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์นี้คุ้มค่าหรือไม่

          ทัชมาฮาลตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยะมุนา นครอาครา รัฐอุตตระประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นโดยชาห์ญะฮาน กษัตริย์แห่งราชวงศ์โมกุลในปี พ.ศ.2196 หรือ 359 ปีมาแล้ว (นับถึงปี 2555) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักแก่มเหสีมุมตัส มาฮาล ซึ่งสิ้นพระชนม์ไป โดยพระนางมีพระราชโอรสธิดาถึง 14 พระองค์  ทัชมาฮาลใช้เวลาสร้างถึง 22 ปี ใช้แรงงานคนกว่า 20,000 คน และประดับด้วยอัญมณี (ที่ไถหรือซื้อ) จากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศอินเดียและเพื่อนบ้าน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2526

          สิ่งก่อสร้างนี้ออกแบบโดยอุสตาด ไอซา ซึ่งถูกประหารชีวิตหลังจากสร้างเสร็จเพราะชาห์ญะฮานไม่ต้องการให้สถาปนิกนี้มีโอกาสไปออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยกว่านี้ อาคารหลักมีขนาดกว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร บริเวณอาคารหลักได้รับการยกสูงจากริมฝั่งแม่น้ำประมาณ 50 เมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารทางเข้าและอาคารโดยรอบอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีพื้นที่รวม 42 เอเคอร์หรือประมาณ 106 ไร่

          อย่างไรก็ตามภายหลังการก่อสร้างทัชมาฮาลไม่นาน  ชาห์ญะฮานก็กลับคิดการใหญ่อีก คิดจะสร้างอาคารอีกหลังหนึ่งสำหรับพระองค์เอง โดยใช้หินสีดำ ให้ตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำยะมุนา ตรงข้ามกับทัชมาฮาล เพื่อให้อยู่คู่กัน  แต่การนี้คงต้องใช้เงินอีกมหาศาล  ดังนั้นออรังเซบ พระราชบุตรของพระองค์เอง จึงทำรัฐประหารเพราะลำพังการก่อสร้างทัชมาฮาลก็ทำให้เศรษฐกิจย่อยยับ  “ทรราช” ชาห์ญะฮานจึงถูกขังไว้ ณ ป้องอาครา จนสวรรคตในอีก 8 ปีต่อมา (พ.ศ.2209) ในวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระองค์จ้องมองเศษกระจกที่ใช้สะท้อนภาพของทัชมาอาล และสวรรคตในขณะที่มือยังถือเศษกระจกดังกล่าวอยู่ ออรังเซบจึงฝังพระศพของพระราชบิดาเคียงข้างมุมตัส มาฮาล

          สำหรับต้นทุนค่าก่อสร้างเมื่อคำนวณเป็นเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เป็นเงินประมาณ 500 ล้านเหรียญในปี พ.ศ.2548 หรือประมาณ 615 ล้านเหรียญสหรัฐ ณ ปี 2555 ซึ่งคิดเป็นเงินไทยประมาณ 19,000 ล้านบาท  อย่างไรก็ตามบางแหล่งอาจประมาณการไว้สูงกว่านี้ การนำเงินคงคลังไปใช้มากมายพร้อมกับการเกณฑ์ผู้คนมาใช้แรงงานเป็นจำนวนนับหมื่นเพื่อมเหสีที่สิ้นพระชนม์ไปเช่นนี้ อาจถือเป็นการโกงประชาชน และทำร้ายประเทศชาติเพื่อสนองความต้องการของตนเองในฐานะ “ทรราช” ในทางหนึ่ง

          สำหรับค่าที่ดิน 106 ไร่นั้น จากการสำรวจเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) พบว่าที่ดินในย่านนอกเมืองตกไร่ละ 7 ล้านบาท ส่วนในเมืองที่ดินที่สามารถใช้สร้างโรงแรมใกล้ทัชมาฮาล ตกไร่ละ 48 ล้านบาท หากไม่มีทัชมาฮาล และสมมติให้ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินในเมืองทั่วไปที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว ราคาคงจะตกเป็นเงินไร่ละ 40 ล้านบาท ดังนั้นที่ดินทัชมาฮาลนี้จึงน่าจะเป็นเงินประมาณ 4,240 ล้านบาท และเมื่อรวมกับค่าก่อสร้าง 19,000 ล้านบาทแล้ว จึงเป็นเงินต้นทุนค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 23,240  ล้านบาท ซึ่งหากนำเงินจำนวนนี้มาสร้างทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร เช่น ทาวด่วนดาวคะนอง จะสามารถสร้างได้เป็นระยะทางประมาณ 43 กิโลเมตร (ตารางเมตรละ 32,000 บาท) ซึ่งเป็นคุณูปการกว่าทัชมาฮาลมาก

          คราวนี้มาพิจารณาถึงรายได้จากการเข้าชมทัชมาฮาลนั้น ในกรณีชาวอินเดียเก็บเป็นเงิน 20 รูปีต่อหัว ชาวต่างประเทศทั่วไปเก็บเป็นเงิน 750 รูปีต่อหัว ส่วนชาวเอเชียใต้อื่นเก็บเป็นเงิน 510 รูปีต่อหัว ส่วนเด็กต่ำกว่า 15 ปีไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีค่าเข้าชมในช่วงกลางคืนซึ่งเก็บในอัตราใกล้เคียงกันอีกด้วย  แต่ในแต่ละเดือนจะเปิดช่วงกลางคืนอยู่ไม่กี่วันเท่านั้น (ช่วงคืนเดือนเพ็ญ) โดยในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวประมาณ 2-4 ล้านคน โดยเป็นชาวต่างประเทศ 200,000 คน

          ในที่นี้สมมติให้เก็บค่าเข้าชมแก่ชาวต่างประเทศเฉลี่ย 700 รูปี และชาวอินเดีย 20 รูปีต่อหัว โดยในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวชาวอินเดียประมาณ 3 ล้านคน เป็นชาวต่างประเทศ 200,000 คน ก็จะสามารถเก็บเงินได้ ประมาณ 200 ล้านรูปีต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทย 120.54 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่าย 30% โดยประมาณแล้ว ก็จะเป็นเงินได้สุทธิ 84.4 ล้านบาท หากแปลงรายได้เป็นมูลค่าด้วยอัตราผลตอบแทนที่ 5% เพราะแทบไม่ต้องลงทุนอะไรในขณะนี้ (ยกเว้นการซ่อมแซมและการบำรุงรักษา) ก็จะเป็นเงิน 1,688 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่ประเมินไว้ 23,240 ล้านบาทเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการดำรงอยู่ของทัชมาฮาล ก็ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหลายเท่าตัว โดยในที่นี้หากสมมติให้มีผลกระทบอีก 4-6 เท่าตัว ก็ยังเป็นเงินน้อยกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่ประเมินได้อยู่ดี

          ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การก่อสร้างทัชมาฮาลในเบื้องแรกโดยผู้ปกครองในอดีต เจ๊งตั้งแต่วันแรกที่คิดสร้างแล้ว ส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ ฐานะของประชาชน และการคลังของประเทศชาติอย่างรุนแรง จนต้องถูกรัฐประหารไปในที่สุด และในปัจจุบัน แม้จะมีผู้คนจากทั่วโลกไปท่องเที่ยว ก็ไม่อาจเกิดความคุ้มทุนจากการท่องเที่ยวแต่อย่างใด

          โดยสรุปแล้ว ในแง่หนึ่ง ทัชมาฮาลจึงอาจเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักอันงดงามมั่นคง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นอนุสรณ์สถานของการขูดรีดแรงงานประชาชนและทรัพยากรของชาติและเพื่อนบ้าน  หากไม่มีความปรารถนาอันแรงกล้า (บ้า/หลง) และการมีอำนาจอันยิ่งใหญ่ในการบังคับเอา ก็คงไม่สามารถเสกสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเช่นนี้ให้ชนรุ่นหลังได้ประจักษ์ในศักยภาพของมนุษย์ได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จากสมยศถึงลูก: เธอคือดอกไม้งามเปี่ยมความหวัง เธอคือพลังสร้างสรรค์สังคมใหม่

Posted: 13 Feb 2012 12:30 AM PST


ปณิธาน นั่งอดอาหารประท้วง ที่หน้าศาลอาญา
เมื่อวันที่ 11 ก.พ.55

 

ถึง น้องไท ลูกรัก

เธอคือดอกไม้งามเปี่ยมความหวัง
เธอคือพลังสร้างสรรค์สังคมใหม่
เธอคือมณีแก้วแพรวสดใส
เธอคือไทมรรคาที่ปรากฏ

กล้าต้านเผด็จการอันเคี้ยวคด
กล้ากบถต่อกฎเกณฑ์อันเลวร้าย
กล้าแกร่งด้วยศรัทธาที่ท้าทาย
กล้าสู้ด้วยหมายรักหักหาญกล้า

ก้าวเกิดขบวนการอหิงสา
ก้าวนำพามวลชนพ้นทางตัน
ก้าวไปให้ถึงฝั่งแห่งความฝัน
ก้าวไปให้ถึงวันฝันเป็นจริง
 

13 กุมภาพันธ์ 2555
ศาลจังหวัดสงขลา

 

 

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ระหว่างการสืบพยานที่ศาลจังหวัดสงขลา สมยศ พฤกษาเกษมสุข เขียนบทกวีถึงปณิธาน หรือ ไท บุตรชายซึ่งอยู่ระหว่างอดอาหารประท้วง 112 ชั่วโมงที่หน้าศาลอาญา เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับสมยศ ซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำกว่า 10 เดือน เนื่องจากศาลไม่ให้ประกันตัว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม: ครก.112 สัญจรเชียงใหม่ เดินหน้าล่ารายชื่อหนุนแก้ ม.112

Posted: 12 Feb 2012 11:14 PM PST

สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่า วานนี้ (12 ก.พ.55)เวลาประมาณ 13.00 น. ณ ห้องประชุมข่วงสันกำแพง อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ร่วมกับกลุ่มประชาชนในอ.สันกำแพง จัดเวที "ครก.112 สัญจรเชียงใหม่" เพื่อให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอนิติราษฎร์ในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน
 
ทีมอาสาสมัครช่วยเหลือครก. 112 ในการรวบรวมเอกสารและรายชื่อผู้สนับสนุนแก้ไขแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เปิดเผยกับสำนักข่าวประชาธรรมว่า ตั้งแต่เปิดเวทีล่ารายชื่อมีผู้มาร่วมลงชื่อพอสมควร ส่วนใหญ่อยากมาลงชื่อแต่ไม่ได้เตรียมเอกสารมา จึงนำกลับไปเขียนที่บ้าน บางส่วนนำแบบฟอร์มกลับไปให้เพื่อนและคนที่ไม่ได้มาร่วมงานก็มี ซึ่งโดยรวมแล้วมีผู้ติดต่อขอรับแบบฟอร์มทั้งหมดประมาณ 500 ชุด  รวมทั้งมีผู้ขอเป็นศูนย์กระจายข้อมูลข่าวสารและเอกสารอีกว่า 17 จุดทั่วเมืองเชียงใหม่
 
"ปัญหาที่ครก.112 พบตั้งแต่เริ่มล่ารายชื่อมา คือ ผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายใส่ข้อมูลในเอกสารไม่ครบ ลายเซ็นตกหล่น รวมถึงไม่ได้เซ็นกำกับเอกสารว่า "เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่...) พ.ศ...." ทำให้เอกสารที่ได้มาไม่สมบูรณ์" หนึ่งในทีมงานอาสา กล่าว
 
นางสุชีรา รักษาภักดี กลุ่มพลังผญ๋าแม่ญิงล้านนาเจียงใหม่ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเปิดกำแพงให้ทุกคนเรียนรู้ว่าการล่ารายชื่อไม่ได้เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้ผิดกฎหมาย เราควรจะศึกษาเรียนรู้ร่วมกันว่าอะไรควรอะไรไม่ควร จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวเชื่อมให้คนเข้าถึงข้อมูลมากว่า ส่วนใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล
 
"ม.112 คนเข้าใจน้อย พอพูดถึง 112 เหมือนมีกำแพงกั้น คือไม่เข้าใจข้อมูลข่าวสารเรื่องม .112 เราจึงอยากให้ความรู้ความเข้าใจกับพี่น้องเรา" นางสุชีรา กล่าว
 
นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า การล่ารายชื่อเพื่อแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112ไม่ผิดกฎหมาย ถ้าเห็นด้วยทุกคนสามารถร่วมลงชื่อได้ และการแก้ไขมาตรานี้ไม่ใช่เพื่อล้มเจ้า แต่ในทางกลับกันตนเชื่อว่าจะทำให้สถาบันกษัตริย์มั่นคงกว่าเดิมด้วย
 
ดร.สุดา รังกุพันธ์ ตัวแทนจากครก.112 กล่าวว่า เราต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศโดยวิธีการทางกฎหมาย เพราะประเทศเราเข้าสู่วิกฤตทางการเมืองเพราะกระบวนการตุลาการภิวัฒน์  นิติราษฎร์พยายามเสนอกระบวนการทางนิติศาสตร์เพื่อให้ประเทศเราเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราจึงสนับสนุนข้อเสนอของนิติราษฎร์
 
"นับตั้งแต่ นิติราษฎร์เสนอข้อเสนอนี้ออกมา ยังไม่มีใคร เถียงในเนื้อหาสาระเลย  เถียงแต่ด้านห้ามพูดถึง ห้ามคิด แม้ว่าการแก้กฎหมายจะถูกต้องชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญก็ตาม"
 
ดร.สุดา กล่าวอีกว่า นักวิชาการทั่วโลกให้การสนับสนุนข้อเสนอของนิติราษฎร์เพราะ อิงอยู่กับกฎหมายนานาชาติ หรือกฎหมายสากล เป็นกฎหมายที่ให้สิทธิเสรีภาพ โดยยังอิงอยู่กับบริบททางสังคมไทย คือ ยังคงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉะนั้นบุคคลใดที่อยากถกเถียงก็อยากให้ถกเถียงอยู่ในกรอบที่นิติราษฎร์เสนอ
 
ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549 กฎหมายมาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่ยอมรับว่า นักโทษคดีมาตรา 112 เป็นนักโทษการเมือง
 
ปัญหาของกฎหมายตรานี้ คือ บทลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ การอนุญาตให้ใครก็ได้เป็นผู้ฟ้องร้อง  ซึ่งข้อเสนอของนิติราษฎร์จะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้
 
หลังจากอากงถูกตัดสินลงโทษ 20 ปี สร้างความสะเทือนขวัญไปทั่วโลก องค์กรด้านการท่องเที่ยวได้สรุปผลออกมาว่า ปัญหาที่นักท่องเที่ยวกังวลสูงสุดคือ หนึ่ง น้ำท่วมกรุงเทพฯ กับ สองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะการที่เขาส่ง SMS ในเมืองไทย ไม่รู้ว่าหมายเลขอีมี่จะถูกใช้เป็นหลักฐานอย่างเลือนลอยเมื่อไหร่
 
ดร.สุดา กล่าวอีกว่า ข้อเสนอที่ตนคิดว่าสำคัญ คือ  การนำกฎหมายมาตรานี้ออกจากหมวดความมั่นคง เพราะจากบทเรียนกรณีคุณสมยศ หรือคนอื่นที่ถูกดำเนินคดีนี้ ไม่สามารถได้รับการประกันตัวเพราะถูกอ้างว่าเกี่ยวกับความมั่นคง และจำนวนโทษที่มีอัตราสูง
 
นายสุรินทร์ แก้วผกา หรือลุงรินทร์ วัย 67 ปี ผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขประมวลกฎอาญามาตรา 112 กล่าวว่า ตนลงชื่อร่วมแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ เพราะเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นปัญหา ถูกใช้ในการตัดกำลังทางการเมือง และอยากให้กฎหมายประเทศไทยเป็นอารยะเหมือนประเทศอื่น  
 
นายกิตติกร เพียรประกอบ เดินทางจากอ.พร้าว จ.เชียงใหม่เพื่อมาร่วมลงรายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าวว่า  การแก้ไขกฎหมายมาตรานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความยุติธรรมในส่วนต่างๆ เพราะที่ผ่านมากฎหมายมาตรานี้ถูกบังคับใช้อย่างไม่เป็นธรรม  พิสูจน์ไม่ได้ว่าผิด ก็ถูกล่าวหาว่าผิด
 
นางจินดา เฟื่องฟู หรือป้าจินดา ผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าวว่า กฎหมายนี้ไม่มีความเป็นธรรม อยู่ๆก็จับคนเข้าคุก เราเลยสงสัยว่ากฎหมายนี้มันมีปัญหาอะไรถึงทำให้คนติดคุกนานขนาดนั้น พอไปดูที่สาเหตุจึงเห็นว่ามาตรานี้สมควรได้รับการแก้ไข และข้อเสนอของนิติราษฎร์ก็เพียงแค่แก้ไขให้มันดีขึ้น ไม่ได้ล้มเลิก
 
โดยส่วนตัวเห็นว่าควรคงกฎหมายนี้ไว้อยู่เพื่อรักษาเกรียติของพระมหากษัตริย์ แต่ถ้าจับคนที่ไม่รู้อิโน่อิเน่เข้าคุกด้วยกฎหมายนี้มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังเห็นว่า กฎหมายนี้มีช่องทางเพื่อให้คนนำมากลั่นแกล้งกัน ที่สำคัญพอถูกแจ้งความดำเนินคดีก็ทำอะไรไม่ได้เลย ฉะนั้นกฎหมายมาตรานี้สมควรได้รับการแก้ไข
 
นางแจ่มจันทร์ จันทรส ชาวอ.สันกำแพง ผู้มาร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าวว่า ตนสังเกตการดำเนินคดีในมาตรา 112 ที่ผ่านมา เห็นว่า คนที่ถูกลงโทษไม่น่าจะมีความผิดตามมาตรา 112 เพราะไม่ได้คิดล้มเจ้าเลย แต่ที่ถูกลงโทษเพราะอยู่ฝ่ายตรงข้าม หรือคิดไม่เหมือนกับเขาเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับข้อเสนอนิติราษฎร์ที่ให้แก้ไขกฎหมายมาตรานี้.
 
ที่มาข่าว: http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n3_13022012_01
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ประชุมสรุปบทเรียนเครือข่ายเกษตรกรฯ ย้ำ ‘หนี้สิน’ ปัญหาเร่งด่วน

Posted: 12 Feb 2012 10:04 PM PST

สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) จัดสัมมนาเพื่อสรุปบทเรียนประจำปี 2555 ย้ำปัญหาหนี้สิน ชี้เกษตรกรต้องเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิตด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้

 
 
เมื่อวันที่ 7-8 ก.พ.55 สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) จัดสัมมนาประจำปี เพื่อสรุปบทเรียนความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งในภาพรวมและกรณีเร่งด่วนในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน และวางแนวทางการเคลื่อนไหวในปีต่อไป โดยมีเกษตรกร 114 คน จากภาคกลาง อีสาน และใต้ เข้าร่วม ณ บริเวณที่ทำการกลุ่มองค์กรเกษตรกรสามัคคีก้าวหน้า อ.สามโก้ จ.อ่างทอง
 
กิมอัง พงษ์นาราย ผู้ประสานงาน สค.ปท. กล่าวว่า ปัญหาของเกษตรกรมาจากสิ่งแวดล้อม หรือความสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หายไป  พันธุ์ข้าวดั้งเดิมที่อยู่กับธรรมชาติได้หายไป มีแต่พันธุ์ที่รัฐบาลให้มา ซึ่งต้องใช้ปุ๋ยเคมีดูแล ทำให้ดินเสีย ความอุดมสมบูรณ์ของจึงหายหมด
 
“สค.ปท. รวมตัวกันเพื่อให้เกษตรกรได้พึ่งพาตนเอง สามารถกำหนดราคาได้ และในอนาคตจะตั้งเป็นบริษัท แต่ก็ไม่รู้จะสู้กับบริษัทจำกัดได้หรือไม่ แต่เราก็ต้องทำ โรงสีมีที่เป็นร้อยไร่ แต่ชาวนาเป็นหนี้” กิมอังกล่าว
 
ชัยวัฒน์  ตรีวิทยา กองเลขานุการ สค.ปท.กล่าวถึงปัญหาเร่งด่วนของเกษตรกรสมาชิก สค.ปท.ในปัจจุบัน ว่า ประเด็นหนี้สินที่มีกับสถาบันการเงินต่างๆ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะพี่น้องหลายรายกำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย บางรายกำลังจะถูกยึดที่ดินขายทอดตลาด แต่ในระยะยาว คณะทำงาน สค.ปท. ได้วางแนวทางการจัดการศึกษาพี่น้องเพื่อให้เห็นถึงปัญหาทางโครงสร้าง ระบบกลไกตลาดที่ไม่เป็นธรรม และนโยบายของรัฐที่ไม่ได้ส่งเสริมการประกอบอาชีพของพี่น้องเกษตรกร ทั้งๆ ที่เป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้
 
“เฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่เป็นสมาชิก สค.ปท. นั้นเป็นหนี้รวมกันกว่า 1,000 ล้านบาท นี่คือปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลไม่เคยจริงใจในการแก้ปัญหา” ชัยวัฒน์ กล่าว
 
ทั้งนี้ ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอันเกิดจากการขาดทุนจากโรคระบาดต่างๆ ธรรมชาติที่มีอยู่เสียสมดุล ปัญหาราคาพืชผลผลิตตกต่ำ ปัญหาอุทกภัย จึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้รวมตัวกัน และได้ก่อตั้งองค์กรอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน กรกฎาคม 2548 ในชื่อ “สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย” หรือ สค.ปท.ภายหลังจากการปรึกษาหารือและถกเถียงแลกเปลี่ยนในประเด็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร โดยกลไกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
 
จากการก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2548 จนถึงปี 2550 สค.ปท.ได้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนสมาชิกมาโดยตลอดตามสถานการณ์ทางสังคม และความเคลื่อนตัวของกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการประสานงานกับกลุ่มสภาประชาชนอีสานตั้งแต่ ปลายปี 2549 ที่กลุ่มสมาชิกสภาประชาชนอิสานได้แยกตัวออกไปเคลื่อนใหวภายในภาคด้วยตัวเอง ภายใต้แนวทางและวิธิการที่แตกต่างจาก สค.ปท.หรือการเชื่อมประสานเป็นครั้งคราวในแต่ละสถานการณ์กับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
 
ในปี พ.ศ.2550 สค.ปท. เคลื่อนใหวโดยมีสมาชิกส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มองค์กรจากภาคกลาง และภาคอื่นๆ บางส่วน ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอ่างทอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
ต่อมาจากการสัมมนาประจำปี 2553 สมาชิก สค.ปท. มีมติให้เปลี่ยนชื่อจาก “สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย” มาเป็น “สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย” และใช้ตัวย่อเดิม คือ “สค.ปท.” เพื่อเป็นการแสดงตัวตนว่าองค์กรสมาชิกของ สค.ปท.เป็นองค์กรของเกษตรกรอย่างแท้จริงโดยมีเป้าหมายองค์กร ที่สำคัญคือ 1.ผลักดันให้มีการจัดการหนี้โดยกฎหมายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างทั่วถึงทันเหตุการณ์
 
2.การฟื้นฟูอาชีพโดยกระบวนการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อย่างทั่วถึงทันเหตุการณ์ 3.ยกเลิกหนี้สินที่ไม่ชอบธรรม 4.เกษตรกรต้องมีที่ดินทำกินอย่างพอเพียง 5.ผลักดันให้กฎหมายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นเครื่องมือของการแก้ปัญหาภาคการเกษตรและเป็นวาระแห่งชาติ 6.เสนอแก้กฎหมายเพื่อนำหนี้นอกระบบของเกษตรกรมาให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดการหนี้ 7.เสนอให้ปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาของเกษตรกร 8.คุ้มครองผลผลิตและการสร้างสวัสดิการของเกษตรกร
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ไท' ยื่นหนังสือถึงอธิบดีศาลเรียกร้องสิทธิประกันตัวสมยศ

Posted: 12 Feb 2012 08:50 PM PST

อดอาหาร 112 ชั่วโมงดำเนินต่อไปเป็นวันที่ 3 "ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข" ยื่นหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เรียกร้องสิทธิการประกันตัวของบิดา พร้อมเริ่มการโกนหัวในเช้าวันนี้

พระอาจารย์เมธา ชาตเมโธ เดินทางมาจาก จ.ชุมพร เพื่อมาให้กำลังใจนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข (ที่มา: กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย LLTD)

สุธาชีย ยื่มประเสริฐ อาจารย์ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางมาเยี่ยมนายปณิธาน พฤกษาเกษมสุขในช่วงเช้าก่อนโกนหัว (ที่มา: กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย LLTD)

นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข เริ่มการโกนหัวในวันนี้ (ที่มา: กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย LLTD)

นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข เริ่มการโกนหัวในวันนี้ (ที่มา: เอื้อเฟื้อภาพจากคุณ Heaven Love)

 

13 ก.พ. 55 – บริเวณหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ “ไท” บุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งปัจจุบันยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำและไม่ได้สิทธิรับประกันตัวในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยังคงอดอาหารประท้วงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 นับตั้งแต่เริ่มอดอาหารเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 11 ก.พ. โดยวันนี้มีผู้ให้กำลังใจเดินทางมาเยี่ยมนายปณิธานจำนวนมาก ขณะที่ผุสดี งามขำ อายุ 54 ปี คนเสื้อแดงคนสุดท้ายที่ออกจากที่ชุมนุมราชประสงค์เมื่อ 19 พ.ค. 53 ก็ยังคงอยู่ร่วมอดอาหารด้วย

โดยกิจกรรมในวันนี้ ตั้งแต่ช่วงเช้านายปณิธานได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เรียกร้องสิทธิการประกันตัวของบิดา โดยอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาไม่ออกมารับหนังสือ แต่ให้เลขานุการอธิบดีฯ มารับหนังสือแทน และต่อมาเวลาประมาณ 10.20 น. นายปณิธานได้เริ่มโกนหัวแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น