โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ASEAN WEEKLY: ลาว-แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Posted: 20 Mar 2012 07:26 AM PDT

พบกับสารพันเรื่องราวและบทวิเคราะห์น่าสนใจในรอบสัปดาห์กับรายการ “อาเซียน วีคลี่ย์” สัปดาห์นี้มาคุยกันถึงข่าวคราวจากประเทศเวียดนาม ซึ่งเตรียมส่งพระสงฆ์ไปทำนุบำรุงพุทธศาสนาบนหมู่เกาะสแปรตลีย์ กลางทะเลจีนใต้ มาฟังข้อมูลและการวิเคราะห์ว่าเหตุใดหมู่เกาะสแปรตลีย์จึงกลายมาเป็นระเบิดเวลาที่นำความขัดแย้งมาสู่ภูมิภาคนี้ ทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ทางการทหาร การเดินเรือ และการเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติขนาดมหึมา ต่อกันด้วยการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับแรงงานโดยรัฐบาลหลายประเทศของอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะมากจะน้อยต่างกันอย่างไร

ช่วงที่ 2 ประเทศลาว ซึ่งประกาศตัวเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนป้อนขายให้กับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค มาทำความรู้จักกับประเทศลาวแบบวิเคราะห์เจาะลึก ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โครงสร้างการเมืองการปกครอง และการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลลาววางเป้าหมายที่จะผลักดันประเทศให้พ้นจากความยากจนด้วยโครงการขายพลังงานไฟฟ้าจะเป็นอย่างไร

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์ ‘การเมืองที่มีจริยธรรม’ เป็นไปไม่ได้

Posted: 20 Mar 2012 06:18 AM PDT

เป็นเรื่องบังเอิญที่ประจวบเหมาะเหลือเกิน เมื่อผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเรื่อง "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" กับการแถลงข่าวของศาสตราจารย์ธีรยุทธ บุญมี ระบุตรงกันว่า “ทักษิณคือตัวปัญหา”

ดังผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าที่ว่า “...ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากมุมมองต่อระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ตรงกัน โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นแกนกลางของความขัดแย้ง” (ดูมติชนออนไลน์ 16 มี.ค.55)

ดังธีรยุทธสรุปว่า “...เท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น” (ดูมติชนออนไลน์ 18 มี.ค.55)

แต่ทั้งผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าและธีรยุทธต่างไม่ได้ระบุถึง “ความผิด” ของอำนาจนอกระบบหรืออำมาตย์ในการทำรัฐประหาร 19 กันยา 49 นอกจากจะไม่พูดถึงความผิดแล้ว ผู้วิจัยยังเสนอว่า “ไม่ควรรื้อฟื้นเอาผิดกับการรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีต”

ผลวิจัยยังระบุอีกว่า “...มีกลุ่มคน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องเสียงข้างมากในสภาฯ อีกฝ่ายเห็นว่าประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม เพราะเห็นว่าเสียงข้างมากไม่ได้ถูกต้องเสมอไป…” และว่า “...สังคมมีปัญหาความขัดแย้งสูง และพบว่า สังคมมีความขัดแย้ง ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์...” 

ขณะที่ธีรยุทธแถลงตอนหนึ่งคล้ายกันว่า “อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด” และพูดเชิงอุปมาอุปมัยว่า “เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง”

ซึ่งเราอาจเห็นภาพ “การเมืองคนเลว-คนดี” จากคำอธิบายเชิงสังคมวิทยาของธีรยุทธที่ว่า “ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์...ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตยดูได้ของชนชั้นสูง”

“ประชาธิปไตยดูได้” ที่ธีรยุทธพูดถึงก็คือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ตามผลวิจัยระบุนั่นเอง และ “ประชาธิปไตยกินได้” ของชาวบ้านจริงๆ แล้วก็คือ “ประชาธิปไตยที่ยอมรับเสียงข้างมาก” นั่นเอง เพราะการออกมาต่อสู้ของชาวบ้านก็คือการออกมาปฏิเสธรัฐประหาร ปฏิเสธอภิสิทธิ์ของเสียงส่วนน้อย และระบบอำมาตย์ พูดอีกอย่างว่า การต่อสู้ของชาวบ้านก็เพื่อยืนยันว่า เสียงข้างมากของพวกเขาต้องมีความหมาย ซึ่งที่จริงก็คือการยืนยันความเสมอภาคของ “1 คน = 1 เสียง” นั่นแหละ อย่างนี้จะเรียกว่าการต่อสู้ของชาวบ้านมีอุดมการณ์หรือไม่?

(ผมขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่ง เวลาที่นักวิชาการวิจารณ์ทักษิณและเสื้อแดงรากหญ้าทำนองว่า “ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด” มันเหมือนกับเขากำลังชี้หน้าด่า “พวกสู้ไป กราบไป” ว่า “ไม่มีอุดมการณ์...” โดยที่คนวิจารณ์นั้นไม่ได้แตะอำนาจนอกระบบและฝ่ายที่สนับสนุนอำนาจนอกระบบให้รักษา “โครงสร้างที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ให้คงอยู่ต่อไป ตกลงนักวิชาการที่กำลังวิจารณ์อะไรแบบนี้เขาคิดว่า ตนเองกำลังทำหน้าที่บนจุดยืนหรืออุดมการณ์อะไรกันแน่?)

แต่ประเด็นสำคัญ หรือประเด็นปัญหาในเชิง “หลักการ อุดมการณ์” ที่ธีรยุทธและงานวิจัยสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ตั้งคำถามคือ “ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ที่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงเรียกร้องต้องการนั้นคืออะไร และมันใช่หรือไม่ว่าประชาธิปไตยในความหมายดังกล่าวจะเป็น “ประชาธิปไตยที่ดูได้” และ “มาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ได้จริง

เมื่อดูจากข้อเท็จจริงในบริบทความขัดแย้งที่เป็นมาและเป็นอยู่ จะเห็นว่า ฝ่ายที่ยืนยัน“ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” คือฝ่ายตรงข้ามกับเสื้อแดง ได้แก่อำมาตย์ กองทัพ พันธมิตร ประชาธิปัตย์ และประชาธิปไตยในความหมายดังกล่าวของพวกเขาก็คือ “ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์” นั่นเอง

ได้แก่ ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ใน “มาตรฐานเดียวกัน” กับบุคคลสาธารณะอื่นๆ

ถามว่า ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์จะเป็นประชาธิปไตยที่มาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรมได้หรือไม่? ตอบว่า “ไม่ได้แน่นอน” คือมันไม่ได้ทั้งคุณธรรมและจริยธรรมทางศาสนา และคุณธรรมจริยธรรมทางสังคม-การเมือง

ประเด็นแรก จริยธรรมทางศาสนา เรามักจะบอกว่าสังคมไทยเป็น “สังคมพุทธ” ใช่ไหม และรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ก็บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ” แต่ในจารีตพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าถูกด่าได้ วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เมื่อไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ ก็เท่ากับว่าชาวพุทธไทยไม่ได้ยึดถือแบบอย่างของพระพุทธเจ้า และดูเหมือนจะยกสถานะของสถาบันกษัตริย์ให้เหนือกว่าสถานะของพระพุทธเจ้าหรือไม่?

ยิ่งกว่านั้น หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนาคือ หลักกาลามสูตร และอริยสัจสี่ จะไม่สามารถ apply กับเรื่องสำคัญของของสถาบันกษัตริย์ได้เลย เช่น หลักกาลามสูตรนั้นถือว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” แต่ถามว่า เรายอมรับความเป็นจริงของทศพิธราชธรรม (เป็นต้น) ได้อย่างไร ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์โดยการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้

และตามหลักอริยสัจสี่นั้น การรู้ความจริงของปัญหาและสาเหตุของปัญหาคือ “เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้” ของการแก้ปัญหาทุกเรื่อง แต่เมื่อไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเราจะรู้ความจริงของปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่มีการอ้างอิงสถานะอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในทางการเมือง เช่น ในเหตุการณ์ 6 ตุลา, 19 กันยา, พฤษภา 53 เป็นต้นได้อย่างไร

ประเด็นที่สอง จริยธรรมทางสังคม-การเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ย่อมไม่สามารถจะมีได้ภายใต้ “ระบบการเมืองที่ไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์” เพราะว่าหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคคือ “หลักจริยธรรมสากล” หมายถึงหลักจริยธรรมที่ต้อง applyกับทุกคนอย่างเท่าเทียม

เมื่อเราใช้หลักการนี้ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมือง และบุคคลสาธารณะอื่นๆ แต่ไม่ apply ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ ก็หมายความว่า เราปฏิบัติผิดหลักจริยธรรมสากล เพราะเท่ากับ “เรากำลังทำของที่เป็นสากลให้เป็นของไม่สากล”

ผลที่ตามมาจากการปฏิบัติผิดหลักจริยธรรมสากลดังกล่าว ก็คือ “ความอยุติธรรม” ที่เราเรียกกันว่า “สองมาตรฐาน” นั่นเอง ดังผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า และคำแถลงของธีรยุทธ ที่ “ขับเน้น” ความผิดของนักการเมืองเพียงฝ่ายเดียวว่าเป็น “ศูนย์กลางของความขัดแย้ง”

ฉะนั้น “ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ที่ผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าและธีรยุทธพูดถึง จึงเป็นประชาธิปไตยที่โดยพื้นฐานแล้วขัดต่อทั้งหลักจริยธรรมสำคัญของพุทธศาสนา และหลักจริยธรรมสากล อันเป็นหลักจริยธรรมทางสังคม-การเมืองที่เป็น “แก่นสาร” ของความเป็นประชาธิปไตย

มันจึงเป็นเรื่องน่าประหลาดอย่างเหลือเชื่อที่สถาบันวิชาการชั้นนำ และปัญญาชนชั้นนำขวัญใจชนชั้นกลางและชนชั้นสูงของประเทศนี้ ไม่สามารถจะมองเห็น “ปัญหาระดับรากฐาน” หรือปัญหาใน “เชิงหลักการ” ว่า ภายใต้ “ระบบประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์” นั้น “การเมืองที่มีจริยธรรม” ในความหมายของ "หลักจริยธรรมสากล" อันเป็นรากฐานประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ (หรือแม้แต่จริยธรรมแบบพุทธศาสนาเองก็มีปัญหาดังที่ยกตัวอย่างเป็นต้น)

ตกลงว่าประชาธิปไตยเช่นนี้ เป็น “ประชาธิปไตยดูได้” อย่างไรไม่ทราบครับ ท่านศาสตราจารย์เสื้อกั๊กที่เคารพ!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

8 ผู้ต้องขังคดี ม.112 ส่งจม.ถึงนายกฯ ช่วยขออภัยโทษ

Posted: 20 Mar 2012 05:16 AM PDT

20 มี.ค.55 รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ที่คดีเด็ดขาดแล้วรวม 8 คน ร่วมกันเขียนจดหมายจากเรือนจำถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษแก่พวกเขา โดยระบุว่า "บัดนี้พวกข้าพเจ้าทั้งหมดรู้สึกสำนึกผิดด้วยความเสียใจยิ่ง ต่อการกระทำที่ผิดพลาด จึงไม่ขอต่อสู้คดี ยอมรับสารภาพให้ศาลตัดสินใจลงโทษจนคดีถึงที่สุด และใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษ จึงร้องทุกข์ต่อท่านนายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือพวกข้าพเจ้าให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานด้วยเถิด”

จดหมายมีใจความดังนี้

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ฯ

วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2555

เรื่อง ร้องทุกข์ ขอให้รัฐบาล ดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษให้

เรียน นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

พวกข้าพเจ้าตามรายชื่อท้ายหนังสือร้องทุกข์ฉบับนี้ เป็นผู้ต้องโทษในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงพ้นขั้นตอนการพิจารณาของศาลอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของฝ่ายบริหารที่มีท่านนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด

ตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อจำเลยถูกพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็มีสิทธิที่จะยื่นทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เฉพาะตัวบุคคลได้ตามมาตรา 259 ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าจะทูลเกล้าถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์ ขอรับพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้

มาตรา 260 ผู้ถวายเรื่องราวซึ่งต้องจำคุกอยู่ในเรือนจำจะยื่นเรื่องราวต่อพัศดี หรือผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวนั้นแล้วให้พัศดีหรือผู้บัญชาการเรือนจำออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นเรื่องราว แล้วให้รีบส่งเรื่องราวนั้นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

มาตรา 261 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ถวายเรื่องราวต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่า ควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่

ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควรจะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้

ดังนั้นพวกข้าพเจ้าซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกพิพากษาจำคุกในคดีเดียวกัน อันเป็นความผิดจากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของบ้านเมือง หรือบางคนใช้ความรู้สึกคึกคะนองอย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล เป็นการใช้เสรีภาพอย่างผิดพลาด มิได้เป็นอาชญากรชั่วร้ายแต่อย่างใด

บัดนี้พวกข้าพเจ้าทั้งหมดรู้สึกสำนึกผิดด้วยความเสียใจยิ่ง ต่อการกระทำที่ผิดพลาด จึงไม่ขอต่อสู้คดี ยอมรับสารภาพให้ศาลตัดสินใจลงโทษจนคดีถึงที่สุด และใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษ

จึงร้องทุกข์ต่อท่านนายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือพวกข้าพเจ้าให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานด้วยเถิด

ด้วยความเคารพอย่างสูง

1.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์

2.นายวราวุธ ฐานังกรณ์

3.นายเลอพงศ์ วิไชยคำมาตย์

4.นายสุริยันต์ กกเปือย

5.นายณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์

6.นายเสถียร รัตนวงศ์

7.นายวันชัย แซ่ตัน

8.นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล

 

ทั้งนี้ สุรชัยถูกตัดสินจำคุกใน 3 คดีรวม 15 ปีรับสารภาพลดเหลือ 7 ปี 6 เดือน และยังเหลือคดีที่ตัดสินในสู้คดีอีก 1 คดี, วราวุธ หรือสุชาติ นาคบางไทร ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี รับสารภาพเหลือ 3 ปี, นายเลอพงศ์ ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี รับสารภาพเหลือ 2 ปี 6 เดือน, สุริยันต์ ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี 1 เดือน รับสารภาพเหลือ 3 ปี 15 วัน, ณัฐ ถูกตัดสินจำคุก9 ปี รับสารภาพเหลือ 3 ปี 18 เดือน, เสถียร ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี รับสารภาพเหลือ 3 ปี, วันชัย ถูกตัดสินจำคุกรวม 15 ปี คดีแรก 10 ปีและคดีที่สอง 5 ปี, ดารณี ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี

8 ผู้ต้องขังหมิ่นส่งจม.ถึงนายกฯ ช่วยขออภัยโทษ

8 ผู้ต้องขังหมิ่นส่งจม.ถึงนายกฯ ช่วยขออภัยโทษ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ต้อนรับ ครม.สัญจรใต้ ‘คปสม.’จี้แก้ปัญหาคนจน - ‘เพชรเกษม 41’ ต้านเมกะโปรเจ็กต์

Posted: 20 Mar 2012 04:30 AM PDT

‘คปสม.’ร้องนายกฯ แก้ปัญหาคนจน

วันที่ 19 มี.ค.55 เวลาประมาณ 09.00 น.เครือข่ายสิทธิคนจนภูเก็ต เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย ในนามเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ประมาณ 300 คน รวมตัวกันที่บริเวณถนนฝั่งตรงข้ามรั้วท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่มีกำหนดเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมครม.สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาคนจน

ขณะขบวนเคลื่อนถึงบริเวณสนามแยกไฟแดงระยะทางห่างจากสนามบินภูเก็ตประมาณ 500 เมตร พล.ต.ต.ชลิต ถิ่นธานี ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 8 ฝ่ายอำนวยการ นำกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 150 นาย เข้าสกัดกั้นเพื่อเจรจาให้ยุติการเคลื่อนไหวไปยังสนามบิน

หลังจากใช้เวลาในการเจรจาประมาณ 30 นาที จนได้ข้อสรุปในที่สรุปว่าให้มีการเคลื่อนขบวนต่อไปได้ และอนุญาตให้มีการส่งตัวแทนจำนวน 15 คนรอพบนายกรัฐมนตรี ในบริเวณด้านห้องรับรองพิเศษภายในสนามบินภูเก็ต โดยมีกองกำลังจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 150 นายนำขบวน

เวลาประมาณ 10.00 น. นางสาวฒุฒิพร ทิพย์วงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสิทธิคนจนภูเก็ต และตัวแทนของกลุ่ม 15 คน ได้ยื่นหนังสือต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ บริเวณด้านห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่ามกลางมวลชนกลุ่มคนเสื้อแดง รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดภูเก็ต ที่เดินทางมาให้กำลังใจอย่างเนืองแน่น และมีการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเต็มกำลัง

IMG_0170

IMG_0154

IMG_0264

kk

lll

IMG_0277

จี้รัฐบาลเร่งสางปัญหาชาวเล-ที่ดิน-สาธารณูปโภค

นางสาวฒุฒิพร ได้ขอให้นายกฯ และรัฐบาลเร่งดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1.ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 เรื่องการประกาศพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษชาวเล ทั้งในเรื่องที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน วัฒนธรรมของชาวเล เป็นต้น

2.เร่งรัดให้มีการออกโฉนดชุมชนในพื้นที่ภูเก็ต ซึ่งมีชุมชนที่ต้องการโฉนดชุมชนทั้งหมด 17 แห่ง ขณะนี้ทางคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปชช.) ได้ผ่านการเห็นชอบไปแล้ว 7 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนคลองเกาะผี ท่าเรือใหม่รัษฎา สะปำ ท่าสัก อ่าวยนต์ แหลมหลา และปากบาง แต่ยังไม่สามารถออกโฉนดชุมชนได้ รวมทั้งในส่วนของชุมชนที่ยังไม่ผ่านการเห็นชอบฯ ก็ขอให้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอน 3.ขอให้ช่วยแก้ปัญหา เรื่องชุมชน 2-3 แห่งในภูเก็ต เช่น ชุมชนหลังสวนหลวง ร.9 ชุมชนโคกโตนด ชุมชนชาวเลราไวย์ ที่ถูกนายทุนฟ้องดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกที่ดิน

4.ให้หน่วยงานของรัฐนำระบบสาธารณูปโภค ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้าเข้าไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่อยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ โดยด่วนที่สุด เพราะชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าหน่วยละ 20-40 บาท รวมทั้งค่าน้ำประปา บางครอบครัวต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า สูงถึงเดือนละ 4,000 บาท ในขณะนี้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในแต่ละวัน

ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ รับฟังปัญหาพร้อมรับปากว่าจะนำข้อมูลเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาเป็นการเร่งด่วน จากนั้นนางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปพบกลุ่มมวลชนจากเครือข่ายต่างๆ ที่รอรับอยู่บริเวณรั้วปากทางเข้าสนามบินด้วย ก่อนที่จะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจต่อที่จังหวัดพังงา

ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 (2) ชูป้ายปิดถนนรับ ครม.สัญจร

เมื่อเวลา 12.00 น. วันเดียวกัน (19 มี.ค.54) บนสะพานสารสิน รอยต่อระหว่างจังหวัดพังงาและภูเก็ตฝั่งขาออก เครือข่ายภาคประชาชน 14 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในชื่อเครือข่ายเพชรเกษม 41 ประมาณ 30 คน ได้รวมตัวกัน เขียนข้อความบนป้ายผ้าสีเขียวระบุ “หยุดแผนพัฒนาภาคใต้ ฉบับนายทุน” ก่อนร่วมกันถือป้ายและธงสีเขียวแสดงต่อรถที่วิ่งผ่านไปมา

จากนั้นมีการเคลื่อนขบวนจากกลางสะพานไปต้นสะพานฝั่ง ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยปราบจราจล อาสมัครรักษาดินแดน (อ.ส.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน 200 นาย ตรึงสถานการณ์

เครือข่ายเพชรเกษม 41 ได้มีการแจกหนังสืออธิบายเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ในจังหวัดสตูล ทั้งท่าเรือน้ำลึกปากบารา เขื่อนคลองช้าง นิคมอุตสาหกรรมละงู-มะนัง รถไฟรางคู่ คลังน้ำมัน ท่อก๊าซและท่อน้ำมันเชื่อมจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ให้แก่ชาวบ้านที่อยู่ริมถนนที่ให้ความสนใจ

สืบเนื่องจาก ในวันนี้ (20 มี.ค.55) ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต และมีแนวโน้มว่าจะมีการอนุมัติเมกะโปรเจ็กต์ในภาคใต้ โดยเฉพาะโครงการที่สุ่มเสี่ยงที่สุดคือท่าเรือน้ำลึกปากบารา หนึ่งในแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ที่มีท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน นิคมอุตสาหกรรม ทั้งฝั่งสงขลา-สตูล และมีท่อขนส่งก๊าซ ท่อน้ำมันเชื่อมต่อ ที่เหลือเพียงแค่กระบวนการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา 4,734 ไร่ เท่านั้น

นอกจากนั้นโครงการดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในโครงการแผนพัฒนาและฟื้นฟูประเทศตามแผนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ (กยน.) ด้วย

เผยไม่ยื่นหนังสือให้นายกฯ เหตุยื่นแล้วไม่มีการตอบสนอง

นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล หนึ่งในเครือข่ายเพชรเกษม 41 ปราศรัยว่า เหตุที่ออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อคัดค้านแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่อาจนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในวันพรุ่งนี้ เหตุที่ไม่ยื่นหนังสือกับนายกฯ เพราะที่ผ่านมาเพราะสมัชชาสุขภาพเคยเสนอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนแต่ผลออกมาก็ไม่ตอบสนองกับความต้องการแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็มาประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลด้วย จึงตัดสินใจไม่ยื่นหนังสือ

“ตอนแรกเราจะยกพลกันมาจำนวนมากแต่ไม่อยากให้มีการเผชิญหน้ากับมวลชนเสื้อแดง และคนที่มาต้อนรับนายกฯ เราจึงตั้งใจมากันแค่ 30 คน หากรัฐบาลยังผลักดันแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะเจอกับปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เข้มข้นขึ้นแน่” นายวิโชคศักดิ์ กล่าว

ต่อมาเวลา 14.00 น. เครือข่ายเพชรเกษม 41 ขับรถออกจากพื้นที่ดังกล่าว เพื่อมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต ทว่าเมื่อผ่านหัวสะพานสารสินฝั่งภูเก็ต เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 50 นายได้ตั้งด่านสกัด และทำการตรวจค้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ด่านตำรวจตรวจคนเข้าเมืองท่าฉัตรไชย อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 20 นายได้สกัด และทำการตรวจค้นเป็นระยะเวลาประมาณ 15 นาที มีการฉุดกระชากป้ายผ้ากันระหว่างตำรวจและเครือข่ายเพชรเกษม 41 ก่อนปล่อยไปในเวลาต่อมา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผลทดลองล่าสุดพบ 'นิวทรีโน' ไม่ได้เร็วกว่าแสง

Posted: 20 Mar 2012 03:25 AM PDT

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ข่าววิทยาศาสตร์ LiveScience รายงานข่าวผลการทดลองล่าสุดของอนุภาค 'นิวทรีโน' ซึ่งก่อนหน้านี้มีคนทดลองว่าสามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสง แต่การทดลองล่าสุดจากอีกหน่วยงานหนึ่งได้ผลการทดลองในทางตรงข้ามคือนิวทรีโนเดินทางช้ากว่าแสง

เมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ มีกลุ่มนักฟิสิกส์ที่ได้ทำการทดลองโลกตะลึง คือการค้นพบว่ามีอนุภาคที่สามารถเดินทางได้ไวกว่าแสง แต่ขณะเดียวกันก็มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากกังขาและคิดว่าการทดลองชิ้นนี้มีข้อบกพร่องอยู่

ล่าสุดกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในอิตาลีได้ทำการทดลองอิสระขึ้นมาอีกครั้งในโครงการที่ชื่ออิคารัส (ICARUS) เพื่อวัดความเร็วของอนุภาคนิวทรีโน ซึ่งแต่เดิมเป็นผลงานการทดลองของโครงการโอเปรา (OPERA) ในสวิตเซอร์แลนด์

โดยการทดลองล่าสุดของอิคารัสค้นพบว่าอนุภาคนิวทรีโนเดินทางด้วยความเร็วสูงแต่ก็ไม่ได้เร็วกว่าความเร็วแสง

แม้ว่าการทดลองของอิคารัสอาจไม่ถึงขั้นทำให้การทดลองของโอเปราถูกพิสูจน์ว่าผิด แต่พวกเขาบอกว่าด้วยสัญชาติญาณของนักวิทยาศาสตร์ การค้นพบของโอเปราดูเป็นเรื่องผิดปกติ

"หลักฐานข้อผิดพลาดอย่างแรกที่มีคนชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการทดลองของโอเปราคือ เครื่องมือที่ใช้วัดผล" เซอจิโอ แบร์โตลุคซี กล่าว เขาเป็นหัวหน้านักวิจัยที่แล็บฟิสิกส์เซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นที่ทำการทดลองของโครงการโอเปรา

ในเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว (2011) นักวิทยาศาสตร์จากโครงการโอเปราได้ทำการทดลองโดยส่งลำอนุภาคนิวทรีโนจากห้องทดลองของเซิร์นในเจนีวา ไปยังเครื่องตรวจจับที่อยู่ใต้พื้นโลก ห่างจากเซิร์นออกไป 454 ไมล์ (730 กม.) ที่แกรนซัสโซ อิตาลี และพบว่ามันเดินทางเร็วกว่าแสง 60 นาโนวินาที (0.000000006 วินาที)

การค้นพบดังกล่าวเป็นเรื่องน่าทึ่งเนื่องจากตามทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์แล้ว ความเร็วแสงถือเป็นความเร็วขีดสุดของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์ในโครงการโอเปราเองก็รู้สึกทึ่งไม่แพ้กัน และเชิญให้นักวิจัยคนอื่นๆ ตรวจสอบวิเคราะห์ผล รวมถึงทดลองซ้ำในเรื่องนี้เพื่อพิสูจน์ว่าเป้นจริงหรือเท็จ

ในตอนนี้การวิจัยของโครงการอิคารัสก็ค้นพบว่านิวทรีโนอาจจะไม่ได้มหัศจรรย์อย่างที่คิด

คาร์โล รูบเบีย โฆษกของโครงการอิคารัสกล่าวว่า การทดลองของอิคารัสเป้นการช่วยตรวจสอบผลการทดลองแปลกประหลาดของโอเปราในปีที่แล้ว "อิคารัสวัดความเร็วของนิวทรีโนได้ว่าพวกมันไม่ได้เดินทางเร็วกว่าความเร็วแสง นี่เป็นการวัดผลที่ยากและละเอียดอ่อน และพวกเขาก็ชี้ให้เห็นความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"

เช่นเดียวกับการทดลองของโอเปรา อิคารัสได้วัดความเร็วจากการเดินทางของลำอนุภาคนิวทรีโนจากจุดตั้งต้นคือเซิร์น ที่แกรสซัสโซ แต่เครื่องตรวจวัดของอิคารัสใช้สารที่เป้นของเหลวอาร์กอน 600 ตัน ขณะที่โอเปราใช้แผ่นตะกั่วที่แทรกด้วยฟิล์มถ่ายภาพเป็นเครื่องตรวจวัด

นิวทรีโนเป็นอนุภาคที่ยากจะตรวจวัดมากเนื่องจากมันแทบจะไม่มีมวล และมีประจุเป็นกลาง ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยมีปฏิกิริยากับอนุภาคอื่น เครื่องตรวจจับนิวทรีโนแต่ละชนิดต่างก็อาศัยอะตอมที่มีมวลใหญ่โดยหวังว่าจะมีชิ้นส่วนเล็กๆ ของนิวทรีโนมาปะทะกับนิวเคลียสของอะตอม และปล่อยออนุภาคอื่นๆ ที่สามารถมองเห็นได้ออกมา

นอกจากอิคารัสแล้ว นักวิยาศาสตร์ที่อื่นยังมีแผนการทดลองเรื่องนิวทรีโนของตนเอง ยังมีเครื่องตรวจจับนิวทรีโนอยู่อีกสองเครื่องในแกรนซัสโซชื่อว่า บอร์เรซซิโน (BOREXINO) และ แอลวีดี (LVD) นอกจากนี้แล้วยังมีการทดลองไมนอส (MINOS) จากรัฐอิลินอยส์ และ โครงการทีทูเค (T2K) ในญี่ปุ่น ที่ต้องการทำการตรวจวัดความเร็วของนิวทรีโนด้วยตนเอง

"ความเข้มงวดกวดขับเป็นเรื่องสำคัญ และการทดลองของแกรนซัสโซ บอร์เรซซิโน อิคารัส แอลวีดี และโอเปราจะทำการตรวจวัดลำอนุภาคจากเซิร์นในเดือน พ.ค. เพื่อหาผลสรุปในเรื่องนี้" แบร์โตลุคซีกล่าว "นอกจากนี้แล้ว กำลังจะมีการตรวจสอบซ้ำที่แกรนซัสโซ เพื่อเทียบเวลาของอนุภาคคอสมิคระหว่างการทดลองสองครั้งของ โอเปราและแอลวีดี ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม การทดลองของโอเปราดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยมีการเปิดกว้างให้กับการตรวจสอบผลการทดลอง และเชื้อเชิญให้มีการทดลองวัดผลอิสระ นี้คือการทำงานในแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์"

 

ที่มา:
Faster-Than-Light Particles? Not So Fast, New Test Says, Livescience, 16-03-2012
http://www.livescience.com/19118-faster-light-neutrinos-opera-icarus.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การกระจายอำนาจที่ไม่เพียงพอ: บทเรียนจากวิกฤติหมอกควันภาคเหนือตอนบน

Posted: 20 Mar 2012 03:20 AM PDT

บทความโดย "ณัฐกร วิทิตานนท์" "ปัญหาหมอกควันเป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งเรื่องความซ้ำซ้อน-แยกส่วนในการทำงาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายกับปัญหานี้ และเป็นอำนาจในระดับส่วนกลางทั้งสิ้น ส่งผลให้การแก้ปัญหาไม่เป็นเอกภาพ ต่างฝ่ายต่างทำ"

ตลอดหลายเดือนมานี้หัวข้อหลักที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงในหมู่เพื่อนฝูงที่พำนัก-ทำงานในจังหวัดภาคเหนือตอนบน หนีไม่พ้นเรื่องปัญหาหมอกควัน เพื่อนผมบางคนถึงกับแสดงออกด้วยการเปลี่ยนทั้งเสียงเรียกเข้าและเสียงรอสายโทรศัพท์เป็นเพลง “หมอกหรือควัน” ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ หลายคนแม้ไม่พูดบ่น แต่ก็สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นควันมาทำงาน

หมอกควันกลายเป็นปัญหาปกติของภาคเหนือที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงอากาศแล้ง (อาจเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมักมีปริมาณสูงสุดในเดือนมีนาคม) โดยเริ่มเข้าขั้นรุนแรงตั้งแต่ราวปี 2550 เป็นต้นมา ปีนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าหมอกควันเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคม เรื่องนี้ไม่ต้องให้ใครมาบอก แต่ก็รู้สึกเองได้จากการเห็นและสูดดม ประกอบกับสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแบบป่าไม้ขุนเขา ทำให้มลพิษต่าง ๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมไปทั่วเมือง คุณภาพอากาศแย่ลงมาก พบปริมาณผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดเชียงใหม่

คำถามพื้นฐานที่ยังไม่มีฝ่ายใดให้คำตอบได้แบบตรงไปตรงมา คือ ควันเกิดจากอะไร และมาจากที่ไหนกันแน่ แบ่งคำตอบได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามาจากไฟป่าตามธรรมชาติกับอีกกลุ่มเชื่อว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งกรณีหลังนี้ก็มีสาเหตุหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น เกิดจากความสะเพร่ามีคนชอบทิ้งก้นบุหรี่ลงข้างทาง, เผาขยะเผาใบไม้แห้งตามบ้านเรือน, เผาถางพื้นที่ทำเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรเพื่อยังชีพของชาวเขา หรือเกษตรเชิงพาณิชย์ทั่วไป เช่น ทำสวนส้ม ไร่ข้าวโพด ขยายพื้นที่ปลูกยาง ฯลฯ เพราะทำได้ง่าย และมีต้นทุนต่ำ, มาจากการเผาขนานใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้านตอนบน อย่างพม่า ลาว และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่าที่กำลังส่งเสริมให้ประชาชนเปิดพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชน้ำมัน อย่างสบู่ดำ, บ้างก็คิดไปกันว่าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงมือเผาเสียเองเพื่อให้ได้งบประมาณมา หรือกระทั่งถึงขนาดมีคนเชื่อว่าเป็นผลจากการที่ชาวบ้านเผาเพื่อหาผักหวานเห็ดถอบมาขายมากิน

ทว่างานวิจัยบางชิ้นก็พอช่วยทำให้มองเห็นอะไรขึ้น เช่นที่ทีมวิจัยเรื่องหมอกควัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอผลการวิจัยชี้ชัดปัญหาหมอกควันมาจากพื้นที่นอกเมือง และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนนอกเมือง เสี่ยงต่อโรคมะเร็งเนื่องจากรับสารพิษในควันเยอะกว่าปกติ (ดู http://m.thairath.co.th/content/region/242613)

การวัดค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) และค่าคุณภาพอากาศ (AQI) เพิ่มสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน และเกณฑ์ปานกลางในแทบทุกพื้นที่ของทั้ง 8 จังหวัดตั้งแต่ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา จากข้อมูลของทางสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ พบค่าสูงสุดที่อำเภอแม่สายเป็นประจำ ชวนให้ยิ่งปักใจเชื่อว่าควันส่วนใหญ่ลอยมาจากประเทศพม่านี่เอง

 

ตารางแสดงพื้นที่ที่วัดค่า PM10 และค่า AQI ได้สูงที่สุดในแต่ละช่วงเวลาและผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม

(เรียบเรียงจาก http://aqnis.pcd.go.th/taxonomy/term/61)

1 .ค. 2555
16 .ค. 2555
1 .พ.2555
16 .พ. 2555
1 มี.ค. 2555
16 มี.ค. 2555
อ.แม่สาย
จ.เชียงราย
อ.เมือง
จ.แพร่
อ.แม่สาย
จ.เชียงราย
อ.แม่เมาะ
จ.ลำปาง
อ.แม่สาย
จ.เชียงราย
อ.แม่สาย
จ.เชียงราย
ปานกลาง
ทุกจังหวัด
ปานกลาง
ทุกจังหวัด
ปานกลาง
ทุกจังหวัด
เกินมาตรฐาน และมีผลกระทบต่อสุขภาพ
แทบทุกจังหวัด
เกินมาตรฐาน และมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทุกจังหวัด
ปานกลาง
ทุกจังหวัด

ปัญหาสำคัญคือรัฐบาลกลางตอบสนองต่อปัญหานี้ช้ามากๆ อาจเพราะช่วงนั้นกำลังอยู่ระหว่างการผลักดันร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเงินกู้บริหารจัดการน้ำหลายแสนล้าน และมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ขณะที่ราชการส่วนภูมิภาคคือจังหวัดก็แทบจะไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหานี้เลย มัวแต่รอให้รัฐบาลสั่งการลงมาก่อน

-          ครั้งแรกที่คนระดับนำของรัฐบาลแสดงความกังวลต่อปัญหานี้ออกสื่อ คือเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ โดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งกำชับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเร่งประสาน 8 จังหวัดภาคเหนือหามาตรการในการแก้วิกฤตหมอกควันและไฟป่าอย่างเร่งด่วน โดยที่ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบนปรับแผนขึ้นบิน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอีกทาง

-  1 มีนาคม กระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบปัญหาวิกฤตหมอกควันผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือ ประสานแผน และเชื่อมโยงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในระดับพื้นที่

-  3 มีนาคม น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข รายงานเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้รัฐมนตรีหลายคนรีบลงพื้นที่ไปแก้ปัญหา และให้ประสานไปยังประเทศพม่าและลาวเพื่อขอความร่วมมือให้ลดการเผา

-  6 มีนาคม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งฝ่ายปกครอง การศึกษา อปท. ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานสังกัดนายกรัฐมนตรี สั่งการให้บังคับใช้กฎหมายจริงจัง ต่อผู้ที่บุกรุกทำลายป่า และต่อผู้ที่เผาทั่วไป โดยทางกระทรวงวิทยาศาสตร์จะสนับสนุนรายงานภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปใช้ในการประเมินสถานการณ์ของตน ซึ่งในวันรุ่งขึ้น นายวรวัจน์ พร้อมด้วยหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเดินรณรงค์ “หยุดเผาเพื่อลมหายใจ” ไปตามถนนท่าแพในตัวเมืองเชียงใหม่ และแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชน

ข้างต้นคือลำดับเหตุการณ์สำคัญคร่าวๆ เกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อปัญหานี้ ทำให้พอสรุปได้ว่ารัฐบาลปล่อยปัญหานี้จนล่วงเลยเข้าสู่เดือนที่สาม จึงเพิ่งจะหันมาให้ความสนใจดูแลอย่างเอาจริงเอาจัง

มาตรการของทางจังหวัดที่มาเร่งรัดดำเนินการ (ในวันที่ควันเต็มฟ้า) จึงหนีไม่พ้นการประสานให้ อปท.ต่างๆ นำรถน้ำที่มีอยู่ออกมาช่วยฉีดน้ำ จัดทำป้ายรณรงค์ติดตามข้างถนนชี้ให้เห็นถึงปัญหาอันเนื่องมาจากการเผา ข้อความเช่น เผาป่าทำให้โลกร้อน” เป็นต้น (ทั้งๆ ที่ อปท.ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการเช่นนี้มานานแล้ว) พูดจริงๆ มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้เข้าไปแก้ที่รากเหง้าของปัญหาได้เลย นั่นคือการหยุดเผาเพื่อลดปริมาณควันพิษ หากแต่เป็นการบรรเทาพิษของควันลงเท่านั้น ผู้ว่าฯ บางจังหวัดที่ทำงานขยันขันแข็งในเรื่องอื่นบางเรื่อง เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาหมอกควันกลับนิ่งเฉยจนน่าผิดหวัง

สำหรับผม มีข้อเสนอแบ่งเป็นสองขั้นเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควัน ขั้นแรกคือแนวทางระยะสั้น ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้า กับอีกขั้นที่เป็นแนวทางในระยะยาว

 

แนวทางขั้นต้น ได้แก่

(1) มีกฎหมายในเรื่องนี้อยู่มากพอ เช่น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504, พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ.2535 รวมถึงข้อบัญญัติท้องถิ่น เช่น ประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่เรื่องการควบคุมการเผาในที่โล่ง พ.ศ.2547 เพื่อดำเนินคดีกับผู้เผาขยะและกิ่งไม้ในเขตเมือง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท (กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าท้องถิ่นรู้และเข้าใจดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเองมานานแล้ว คือตั้งแต่หลายปีก่อนหน้าที่ปัญหาหมอกควันจะเข้าขั้นวิกฤติเสียอีก) แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ ประการทำให้ขาดการบังคับใช้ เช่น งบประมาณ บุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจัง

(2) พยายามกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ รู้สึกถึงความเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ หากพบเห็นการเผาหรือมีไฟไหม้ที่ใดต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปดำเนินการดับไฟโดยเร็ว

(3) รูปแบบการรณรงค์ที่ผ่านมาไม่ได้ผล ลำพังป้าย สปอตวิทยุ เดินรณรงค์ ฯลฯ แบบที่นิยมทำกันตลอดหลายปีมานี้ คงพอสรุปได้ว่าไม่ได้ผล เนื่องจากไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเราพอทราบว่าควันมาจากการเผาในพื้นที่นอกเขตเมืองเป็นหลัก ดังนั้น การรณรงค์จึงต้องไปทุ่มเททำในพื้นที่ชนบท ภายใต้รูปแบบ-วิธีการที่ลงลึกให้มากที่สุด (4) ต้องริเริ่มคิดสร้างมาตรการส่งเสริม-บังคับเพื่อลดการเผาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เพื่อลดการเผาขยะการเผาใบไม้แห้งในครัวเรือน อปท.ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดเก็บนำไปทำลาย โดยที่อาจลดภาษีบำรุงท้องที่ หรือภาษีโรงเรือนและที่ดินให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น

 

ส่วนแนวทางในระยะยาวจะต้องเข้าไปแก้ที่โครงสร้างการปกครอง ต้องทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับสูง คือ กำหนดให้มีผู้บริหารสูงสุดระดับจังหวัดคนเดียวที่มาจากการเลือกตั้ง (ปัจจุบันมีทั้งผู้ว่าฯ และนายก อบจ.) ยกเลิกราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้เหลือเพียงท้องถิ่น และให้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน บุคลากรจากส่วนกลางคืนมาอยู่ที่ท้องถิ่น (ทั้งระดับจังหวัด และระดับพื้นที่) อีกทั้งเรื่องเกี่ยวกับภาษีก็ต้องให้อยู่ในอำนาจของท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ในที่สุดท้องถิ่นมีศักยภาพที่จะดูแลแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ของตนได้เอง

ปัญหาหมอกควันเป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งเรื่องความซ้ำซ้อน-แยกส่วนในการทำงาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายกับปัญหานี้ และเป็นอำนาจในระดับส่วนกลางทั้งสิ้น ส่งผลให้การแก้ปัญหาไม่เป็นเอกภาพ ต่างฝ่ายต่างทำ

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าผู้ว่าฯ ต้องการใช้เฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินสำรวจย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะมีแค่บางหน่วยงานเท่านั้นที่มี ฮ.ใช้ ทางจังหวัดต้องทำหนังสือไปขออนุเคราะห์จากหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้มีอำนาจตัดสินใจก็อยู่ที่ส่วนกลางอีก เช่น ตำรวจตระเวนชายแดน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกองทัพ เมื่อไม่ทราบต้นตอของปัญหาก็ยากที่จะแก้ได้ตรงจุด

 

หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหมอกควันในระดับส่วนกลาง

ชื่อหน่วยงานตามภารกิจ

สังกัด

กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

กระทรวงมหาดไทย

กรมป่าไม้

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรมคุ้มครองมลพิษ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรมอุตุนิยมวิทยา

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตกรรม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ระบบเผยแพร่ข้อมูลภาพฉายลักษณะอากาศรายวัน)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่าการแก้ปัญหาโดยราชการส่วนภูมิภาคมีปัญหาหลายข้อ ไม่ว่าจะล่าช้า และคิดการณ์สั้น ถามว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร คำตอบง่ายๆ คือ หนึ่ง ผู้ว่าฯ (รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการอื่นในจังหวัด) มีที่มาจากทางไหน ท่านก็ย่อมต้องทำงานรับใช้ทางนั้นแข็งขันเป็นธรรมดา ซึ่งแน่นอนว่าทางนั้นไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ สอง การแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าฯ (รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการอื่นในจังหวัด) บ่อยครั้ง เฉลี่ยปีเศษต่อ 1 คน เช่นที่เชียงราย 10 ปีเปลี่ยนผู้ว่าฯ 10 คน (ดูตารางข้างท้าย) ส่งผลให้ผู้ว่าฯ ไม่สนใจทำงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ในระยะยาว และแบบเอาจริงเอาจัง เพราะนั่นไม่เกี่ยวกับสถานะตำแหน่งของตน บทบาทโดดเด่นของผู้ว่าฯ จึงไม่ต่างจากพรีเซ็นเตอร์ที่เน้นไปปรากฎตัวในงานกิจกรรมต่างๆ แทน สาม ผู้ว่าฯ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนท้องถิ่น จึงไม่มีความเข้าใจในพื้นที่ และขาดสำนึกความเป็นเจ้าของ ตัวอย่างเรื่องหนึ่งที่เคยมีคนเล่าให้ผมฟังคือ มีผู้ว่าฯ เชียงรายท่านหนึ่งไปตรวจราชการที่อำเภอแม่สาย และได้ถามกับแม่ค้าแถวนั้นว่าแม่สายติดกับประเทศลาวตรงไหน ทั้งที่อันที่จริงแม่สายติดเพียงพม่าประเทศเดียว

 
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือตอนบนในรอบสิบปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2545-ปัจจุบัน)
 
เชียงใหม่
เชียงราย
แพร่
น่าน
พะเยา
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
นายโกสินทร์ เกษทอง (2544-2545)
นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงษ์ (2544-2545)
นายอมรพันธุ์         นิมานันท์ (2544-2546)
ร.ต.ต.ธนะพงษ์ จักกะพาก (2541-2545)
นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ (2543-2545)
นายพจน์ อู่ธนา
(2542-2545)
นายพีระ มานะทัศน์ (2542-2545)
นายเรียบ นราดิศร (2542-2545)
นายพิสิษฐ เกตุผาสุข
(2544-2545)
นายนรินทร์ พานิชกิจ
(2545-2547)
นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง
(2546-2547)
นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล (2545-2548)
นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง
(2545-2546)
นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ
(2545-2548)
นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
(2545-2546)
นายธวัช เสถียรนาม(2545-2547)
นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์
(2546-2549)
นายวรเกียรติ สมสร้อย
(2547-2549)
นายสันทัด จัตุชัย
(2547-2548)
นายปริญญา ปานทอง
(2548-2550)
นายบวร รัตนประสิทธิ์ (2546-2548)
นายดิเรก ก้อนกลีบ
(2548-2550)
นายอมรทัต นิรัติศยกุล
(2546-2550)
นายอุดม พัวสกุล (2547-2549)
นายวิชัย ศรีขวัญ
(2549-2550)
นายอุดม พัวสกุล
(มิ.ย.-พ.ย. 2549)
นายอธิคม สุวรรณพงศ์
(2548-2550)
นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์
(2550-2551)
นายวิทยา ปิณฑะแพทย์
(2548-2549)
นายธงชัย วงษ์เหรียญทอง
(2550-2552)
นายดิเรก ก้อนกลีบ
(2550-2551)
นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์(2549-2551)
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
(2550-2552)
นายอมรพันธุ์ นิมานันท์
(2549-2550)
ว่าที่ ร.ต. พงษ์ศักดิ์ พลายเวช
(2550-2552)
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
(2551-2552)
นายธนเษก อัศวานุวัตร
(2549-2551)
นายกำธร ถาวรสถิตย์
(2552-2555)
นายอมรพันธุ์ นิมานันท์
(2551-2552)
นายอมรพันธุ์ นิมานันท์
(เม.ย.-ต.ค.2551)
นายอมรพันธุ์ นิมานันท์
(2552-2553)
นายปรีชา กมลบุตร
(2550-2551)
นายวัลลภ พริ้งพงษ์
(2552-2552)
นายวีรวิทย์ วิวัฒนวณิช (2552-2553)
นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช
(2551-2552)
นางนฤมล ปาลวัฒน์
(2555-ปัจจุบัน)
นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ (มี.ค.-พ.ย. 2552)
นายดิเรก ก้อนกลีบ(2551-2554)
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
(2553-ปัจจุบัน)
นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง
(2551-2552)
นายสมชัย หทยะตันติ
(2552-2553)
นายเสนีย์ จิตตเกษม(2553-2554)
นายเชิดศักดิ์ ชูศรี
(2552-2553)
 
นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ (2552-2553)
นายสุรชัย ขันอาสา(2554-ปัจจุบัน)
 
นายสุเมธ แสงนิ่มนวล
(2552-2553)
นายชวน   ศิรินันท์พร
(2553-2554)
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ (2554-ปัจจุบัน)
นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ
(2553-2554)
 
นายอธิคม สุพรรณพงศ์(2553-2554)
 
 
นายสมชัย หทยะตันติ
(2553-2554)
นายเกษม วัฒนธรรม
(2554-ปัจจุบัน)
 
นายไมตรี อินทุสุต
(2554-ปัจจุบัน)
 
นายบุญเชิด คิดเห็น (2554- ปัจจุบัน)
 
 
นายธานินทร์ สุภาแสน
(2554-ปัจจุบัน)
 
 
 
 
 
 
 

รวม 7 คน

 

รวม 10 คน

 

รวม 9 คน

 

รวม 8 คน

 

รวม 9 คน

 

รวม 6 คน

 

รวม 9 คน

รวม 7 คน
 

ข้อเสนอในระยะยาวของผมก็เป็นข้อเสนอเดียวกับที่หลายฝ่ายเรียกร้องมาก่อน ไล่ตั้งแต่นโยบายของหลายพรรคการเมืองที่จุดประเด็นเรื่องเลือกตั้งผู้ว่าฯ ตั้งแต่ช่วงที่มีเลือกตั้งราวปี 2536-2537 (หลังพฤษภาทมิฬ’35) มาจนถึงแถลงการณ์ว่าด้วยแนวทางปฏิรูปโครงสร้างอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่เสนอให้ยุบราชการส่วนภูมิภาคในปี 2554 (หลังพฤษภาอำมหิต’53)

การผลักดันเรื่องนี้ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายการเมือง แต่มีกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในหลายๆ จังหวัด กรณีเชียงใหม่จัดการตนเองก็เข้ามาอยู่ในขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นเพื่อยกร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารเชียงใหม่มหานครแล้ว แต่ถ้ายึดแนวทางนี้ต้องใช้เวลา และที่ผ่านมาไม่เคยมีใครทำได้สำเร็จมาก่อน (ไม่ว่าจะ พ.ร.บ.ป่าชุมชน หรือ พ.ร.บ.สุราพื้นบ้าน) ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าน่าจะใช้โอกาสในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บรรจุข้อเรียกร้องเหล่านี้ลงในรัฐธรรมนูญเสียเลย (ทำแบบเดียวกับที่กองทัพ ศาล อัยการ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญต่างๆ เคยทำ เมื่อคราวยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 50) คือใช้กฎหมายสูงสุดมาเป็นหลักประกันว่าการกระจายอำนาจในระดับสูงจะต้องเกิดขึ้นจริงๆ

ในการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ คุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตอบโต้ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วน ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งยกเหตุผลว่ารัฐบาลควรไปแก้เรื่องปากท้องให้ได้ก่อนที่จะคิดแก้รัฐธรรมนูญว่า ทำไมถึงคิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรหลายอย่างให้ออกมาดีพร้อมกันไม่ได้ หรือกรณีหมอกควันจะมีข้อยกเว้น เพราะเป็นเรื่องเล็กเกินไปสำหรับรัฐบาล รัฐบาลจึงทำได้ไม่ดีพอ

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิติธรรมตุลาการ กับสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

Posted: 20 Mar 2012 03:14 AM PDT

สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบันถึงความมีมาตรฐานและมีนิติธรรมในกระบวนการพิจารณาและการใช้ดุลพินิจของตุลาการของไทยว่าสอดคล้องกับหลักสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมสากลเพียงใด

วันพุธที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีเวทีเสวนาเรื่อง “สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว” จัดโดย คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) มีผู้นำการอภิปรายเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ ศ.ดร. อุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน คอ.นธ. ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ กรรมการและเลขานุการ คอ.นธ. และนายมานิตย์ สุขอนันต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จากเวทีเสวนามีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง และทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกั้นว่า สิทธิในการได้รับการประกันตัว หลักคือ “ศาลจะต้องอนุญาตให้ประกันตัว การไม่ให้ประกันตัวถือเป็นข้อยกเว้น” ทั้งนี้ตามสิทธิที่ปรากฏในกฏหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 และมาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อ.) มาตรา 108 และมาตรา 108/1

ตามหลักนิติธรรมสากลในกระบวนวิธีพิจารณาความอาญามีหลักสำคัญที่ศาลทั่วโลกยึดถือเป็นบรรทัดฐานและได้ปรากฏในบทบัญญัติกฎหมายของไทย ได้แก่

“บุคคลย่อมเสมอภาคภายใต้กฎหมาย” (Equality before the law) (รธน. มาตรา 30)

“บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดและกำหนดโทษไว้” (No crime, no punishment without a previous penal law) (รธน. มาตรา 39 และ ป.อ. มาตรา 2)

“ให้สัญนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีความผิด” (Presumption of innocence until proven guilty beyond a reasonable doubt) กล่าวคือผู้กล่าวหาจะต้องพิสูจน์ไห้ได้ว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นความผิด (Actus reus) และผู้ถูกกล่าวหามีเจตนาในการกระทำความผิดนั้น (Mens rea) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดอาญาอันนำมาซึ่งหลักภาระการพิสูจน์ (Burden of proof) “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ” (ป.วิ.อ. มาตรา 174) และ “ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย” (ป.วิ.อ. มาตรา 227)

หลักการเหล่านี้เป็นหลักนิติธรรมสำคัญ เป็นหลักทั่วไปในกระบวนการยุติธรรมที่ทั่วโลกให้การยอมรับและปฏิบัติมาอย่างแพร่หลายและยาวนาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันสิทธิของประชาชนที่จะไม่ถูกกลั่นแกล้งโดยอำนาจรัฐ

เมื่อกล่าวถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แม้ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548 ข้อ 2 ระบุว่า “เมื่อศาลได้รับคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวแล้วให้รีบพิจารณาและมีคำสั่งโดยเร็วโดยให้ถือเป็นหลักว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นไว้”

แต่ในทางปฏิบัติศาลจะใข้ดุลพินิจไม่ให้ประกันตัวโดยอ้าง “เหตุจำเป็น” ผู้พิพากษามานิตย์ สุขอนันต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กล่าวว่า “เหตุจำเป็น เช่น กรณีเหตุบ้านการเมือง จับผู้ต้องหาได้ในที่เกิดเหตุ หากปล่อยไปแล้วจะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายระส่ำระสาย” ดุลพินิจยังเป็นที่เคลือบแคลงต่อผู้เกี่ยวข้องว่า นาย ก. ชาวบ้านจากอำเภอ ข. จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวายระส่ำระสาย สิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันคือ คนที่มีเงิน มีชื่อเสียง มีอำนาจหรือมีอิทธิพลกลับเป็นคนที่ได้รับโอกาสในการประกันตัวมากที่สุด เช่น กรณีคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ศาลเพิ่งจะให้ประกันตัวเมื่อไม่นานมานี้ กรณีคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หรือคุณจตุพร พรหมพันธ์ ทั้งที่ยังมีคนเสื้อแดงที่เป็นชาวบ้านที่ยังคงอยู่ในห้องขังอีกหลายคน

ในหลายกรณีศาลมักให้เหตุผลว่า เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่ปรากฏว่าผู้มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลมีแนวโน้มว่าจะหลบหนีมากกว่า บางกรณียังอยู่ระหว่างการหลบหนี เช่น กรณีนายสมชาย คุณปลื้ม หรือกำนันเปาะ และกรณีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นต้น

อย่างกรณีคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ศาลพิจารณาจำคุกในคดีล่าสุด 20 ปี (ลดลงจากคำตัดสินของศาลให้ลงโทษจำคุก 42 ปี 6 เดือนเนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ลงโทษได้ไม่เกิน 20 ปี) และมีคดีอื่นก่อนหน้านี้อีกที่ศาลได้ตัดสินลงโทษแล้ว เช่นนี้อัตราโทษยังไม่สูงพอที่ศาลจะพึงพิจารณาว่าจำเลยจะหลบหนีหรืออย่างไร หากแต่การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจให้ประกันตัวคุณสนธิย่อมกระทำได้ตราบเท่าที่คดียังไม่ถึงที่สุด กล่าวคือจำเลยย่อมได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้บริสุทธ์ิและได้รับสิทธิ์ประกันตัวจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมีความผิดจริง

ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอประกันตัว แต่ยังเป็นสิ่งที่ยากเกินเอื้อมสำหรับกรณีนายอำพลหรืออากง นายสุรชัย แซ่ด่าน และดา ตอร์ปิโด ที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ให้ประกันตัว กรณีอาจเป็นได้ว่าการไม่ได้รับสิทธิประกันตัว คงเป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เป็นคดีร้ายแรงเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของชาติ จึงไม่อาจจะให้ประกันตัวได้ ประเด็นนี้คงไม่ก่อให้เกิดข้อสงสัยถึงมาตรฐานของศาลมากนัก หากไม่ปรากฏว่าคุณสนธิเองก็โดนข้อกล่าวหาโทษฐานเดียวกันนี้และได้รับอนุญาตให้ประกันตัวออกไปด้วยเงินห้าแสนบาท ในขณะที่กรณีนายอำพลหรืออากงจำเลยในความผิดฐานเดียวกันได้ใช้เงินสด 1 ล้านบาทพร้อมตำแหน่งของนักวิชาการอีก 7 ท่านเพื่อขอประกันตัว แต่ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล โดยศาลอ้างว่า "เป็นคดีที่กระทบกระเทือนกับความรู้สึกต่อปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดี และอัตราโทษสูงปล่อยไปเกรงจะหลบหนี"

นี่ยังมีตัวอย่างอีกหลายต่อหลายคดีที่ศาลไม่ให้สิทธิประกันตัวและคดีจบลงด้วยการยกฟ้องจำเลย มีหลายกรณีที่จำเลยต้องติดคุกฟรีต้องเสียประวัติ เสียสุขภาพ และเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างประเมินค่ามิได้ นี่ยังไม่นับรวมอีกหลายพันคดีที่ศาลอ้างเป็นคดีความมั่นคงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันที่ยังเป็นที่กล่าวขานถึงมาตรฐานการใช้ดุลพินิจของศาลว่า มีการนำหลักความเสมอภาคของบุคคลภายใต้กฎหมายและการสัญนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์มาใช้หรือไม่ทั้งที่เป็นหลักการสำคัญของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

ในเวทีเสวนาท่านผู้พิพากษามานิตย์ได้เน้นย้ำว่า ศาลไทยก้าวหน้ากว่านานาประเทศ คงจะจริง เพราะในขณะที่ประเทศต่างๆ ยังยึดหลักเก่าแก่ คือ “ให้สันนิษฐานว่าบุคคลบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยว่ามีความผิด” “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ” และ “ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย” ซึ่งนักกฎหมายทั่วโลกต่างรู้ดี แต่พอเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง เกี่ยวกับมาตรา 112 ศาลไทยกลับใช้หลัก “สันนิษฐานว่า บุคคลผู้นั้นกระทำความผิดร้ายแรงจนกว่าบุคคลดังกล่าวจะได้พิสูจน์ตนต่อศาลให้ปราศจากข้อสงสัยว่าตนบริสุทธิ์ และหากมีความเคลือบแคลงสงสัยประการใด ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนและไม่ให้ประกันตัว” นี่คงเป็นความก้าวหน้าที่น่าประหลาดใจยิ่ง

เสรีภาพของประชาชนกำลังถูกคุกคามโดยกระบวนการยุติธรรมของเราเองหรือไม่ คดีนายอำพลหรืออากงเป็นที่ประจักษ์ถึงพัฒนาการแบบก้าวกระโดดของศาลไทย แต่หากผู้พิพากษาจะยังคงจดจำหลักการเก่าแก่ในการอำนวยความยุติธรรมที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมตามหลักที่ว่า “ยอมปล่อยคนผิดไปร้อยคนดีกว่าลงโทษผู้บริสุทธิ์เพียงหนึ่งคน” เชื่อว่าเหตุการณ์เช่นนี้คงจะไม่เกิดขึ้น

หากจะว่าประเทศไทยมีสองมาตรฐานคงไม่ใช่ ประเทศไทยมีหลายมาตรฐานจนไม่สามารถจะใช้อะไรเป็นบรรทัดฐานได้เลย เช่นนี้ประชาชนจะมีความเชื่อมั่นกับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศได้อย่างไร กระบวนการยุติธรรมยังเคารพหลักนิติธรรมเมตตาธรรมอยู่หรือไม่ หรือเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อใช้กำจัดคนที่เห็นต่างและยากแก่การควบคุมให้สิ้นไปเท่านั้น

เช่นนี้จึงไม่แปลกที่หลายคนเลือกที่จะรับสารภาพแทนการต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด เพราะไม่รู้ว่าจะต้องอยู่ในคุกต่อไปอีกนานเท่าใด และยังมีอีกหลายต่อหลายกรณีที่ผู้ที่ถูกกล่าวหาเลือกที่จะหนีไปอยู่ต่างประเทศแทนการเข้ามาต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในกระบวนการยุติธรรมไทย ตามที่มีนักวิชาการนักกิจกรรมออกมาเคลื่อนไหวออกมาวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งอย่างมากมายไม่ใช่เพราะเขาเหล่านั้นเชื่อว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด แต่เพราะพวกเขาเห็นความไม่เป็นธรรมในกระบวนการพิสูจน์ความผิดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเหล่านั้นต้องเผชิญอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง หากวันนี้บ้านเมืองจะต้องระส่ำระสายเพราะการเรียกร้องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ท่านจะกล้าบอกไหมว่าใครเป็นต้นเหตุ

เนื่องจากสถาบันศาลเป็นสถาบันอันทรงเกียรติของชาติ ประชาชนจึงไว้วางใจให้มีอำนาจใช้ดุลพินิจอย่างกว้างขวางในหลายกรณี คำถามวันนี้คือ ดุลพินิจของตุลาการเป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรมหรือไม่ ประเทศไทยยังกล้าที่จะอ้างหรือว่ากฎหมายตอบสนองประโยชน์สูขของประชาชนและประเทศชาติ เพื่อความน่าเชื่อถือ หรือเพื่อป้องกันการเกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นสิทธิพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ วันนี้หากศาลยังคงเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของบุคลากรและกลไกในกระบวนการยุติธรรมที่ตนมีบทบาทอยู่ คงจะไม่สายเกินไปหากศาลจะพิจารณาให้บุคคลได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมด้วยพยานหลักฐานภายใต้ระบบกฎหมายอย่างเสมอภาค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐานที่มีความน่าเชื่อถือและเชิดชูความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของไทยต่อไป

เว้นแต่จะเป็นอีกกรณีที่ศาลไทยจะอ้างว่า ประเทศไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะไม่สามารถเปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ ดังนั้น “นิติธรรมตุลาการไทย” จึงไม่จำเป็นต้องเหมือนประเทศใดในโลก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักสหภาพเกาหลีแนะคีย์สำคัญสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง

Posted: 20 Mar 2012 02:13 AM PDT

ประธานกิตติมศักดิ์ Korea Labor & Society Institute (KLSI) แนะเทคนิคการสร้างสหภาพแรงงานให้เข้มแข็ง ระบุแกนนำสหภาพในระดับแผนกหรือไลน์การผลิตที่ใกล้ชิดกับคนงานฐานเป็นกุญแจสำคัญ ต้องอุทิศตนต่อองค์กรและเข้าใจฐานมวลชน

เมื่อวันที่ 17 – 18 มี.ค. 55 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเวอโรนิก้า กรุงเทพฯ สหพันธ์แรงงานสากลของคนงานในกิจการเคมี พลังงาน เหมืองแร่ และคนงานทั่วไป (ICEM) ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “มาตรฐานแรงงานสากลและการเจรจาต่อรองร่วม” โดยมีนักสหภาพอาวุโสจากประเทศเกาหลีใต้ได้เดินทางมาให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการสหภาพแรงงานแก่นักสหภาพแรงงานไทย

Kim Keumsoo (คนขวา)

คิม คึมซู (Kim Keumsoo) ประธานกิตติมศักดิ์ Korea Labor & Society Institute (KLSI) ได้บรรยายในหัวข้อ “กิจกรรมสหภาพแรงงาน” โดยคิมเกริ่นนำว่าสถานที่ทำงานคือสถานที่คนทำงานและทำการผลิตอยู่ทุกวัน แต่สำหรับนายทุน สถานที่ทำงานคือฐานการสร้างกำไร โดยนายทุนได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมาควบคุมคนงาน และเพิ่มความเข้มข้นในการควบคุมและขูดรีดคนงาน

การถูกขูดรีดหนักขึ้นทำให้คนงานเกิดความไม่พอใจ จึงเกิด “ข้อเรียกร้องของคนงาน” ตามมา และสถานที่ทำงานก็กลายเป็นสมรภูมิแนวหน้าของขบวนการแรงงานและการทำกิจกรรมของสหภาพแรงงาน

ต่อคำถามที่ว่าทำไมกิจกรรมของสหภาพแรงงานจึงสำคัญนั้นก็เพราะว่า “ข้อเรียกร้องของคนงาน” เป็นพื้นฐานในการสร้างอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นแรงขับเคลื่อนในการต่อสู้ โดยข้อเรียกร้องและการตัดสินใจต่างๆ ของสหภาพต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการของคนงาน และการทำการ “จัดตั้ง” คนงานในสถานที่ทำงาน ถือว่าเป็นหน่วยกิจกรรมพื้นฐานของสหภาพแรงงาน โดยจะต้องดำเนินกิจกรรมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ อาทิ การประชุมแกนนำสหภาพ, กรรมการ, ตัวแทนคนงาน (ระดับแผนก/สาขา) การประชุมส่วนงานต่างๆ ของสหภาพ (ฝ่ายการศึกษา, ฝ่ายจัดตั้ง, ฝ่ายเจรจาต่อรอง) มีการจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และกิจกรรมเหล่านี้ต้องทำอย่างเป็นทางการ มีขั้นตอนที่เป็นระบบแบบแผน

ทั้งนี้คิมให้ความสำคัญกับแกนนำสหภาพในระดับแผนกหรือไลน์การผลิต (แกนนำระดับส่วนงาน) ที่ใกล้ชิดกับคนงานฐาน โดยหน้าที่บทบาทของแกนนำสหภาพในระดับแผนกนี้คือ รวบรวมข้อเรียกร้องหรือความต้องการของสมาชิก โดยหมั่นทำทุกๆ วันให้เป็นกิจวัตร, ทำหน้าที่แสดงให้เห็นบทบาทในการทำกิจกรรมสหภาพแรงงานว่าเป็นสิ่งสำคัญ, ทำหน้าที่จัดการประชุมและจัดการศึกษาให้กับสมาชิกในโรงงาน และต้องพยายามสร้างให้เกิด “ประชาธิปไตย” ในสหภาพแรงงาน

ทั้งนี้แกนนำระดับส่วนงานต้องสร้างบุคลิกที่เอื้อต่อการที่จะต้องติดต่อกับคนงานเป็นประจำทุกวัน, ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่คนอื่นมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี, ให้สัญญาในการทำงานที่บริษัทมอบหมายให้ทำ, ซื่อสัตย์และอุทิศตน, ไม่ประนีประนอมกับความอยุติธรรม, เป็นผู้นำที่ไม่ต้องรอให้สถานการณ์เกิดขึ้นก่อนแล้วจึงดำเนินการตอบโต้ แต่ต้องชิงลงมือปฏิบัติการณ์ก่อน และต้องมีความมั่นใจและมีประสบการณ์

ซึ่งหลักการพื้นฐานของกิจกรรมสหภาพแรงงานนั้น ต้องสร้างแรงดึงดูดต่อมวลชนคนงานได้ดี มีความรู้สึกที่ดีและรู้จักประเมินอารมณ์ของสมาชิกสหภาพ เข้าใจต่อข้อร้องเรียนของสมาชิกและความต้องการของสมาชิก ทั้งนี้ต้องหาหรือสร้างคนที่มีบุคลิกที่เป็นแกนกลางหรือหาประเด็นที่เป็นแกนกลางในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้ได้

โดยกิจกรรมสหภาพต้องเหมาะสมสอดคล้องกับหลักขององค์กร โดยการรวบรวมความต้องการของสมาชิก สร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน และต้องเอาชนะปัญหาความแตกแยกต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นให้ได้ รวมถึงต้องพัฒนาศักยภาพความสามารถของสหภาพให้ดำเนินกิจการสหภาพในทางปฏิบัติให้ได้

ทั้งนี้ทัศนะคติของแกนนำสหภาพในระดับแผนกหรือไลน์การผลิต (แกนนำระดับส่วนงาน) ที่ใกล้ชิดกับคนงานฐานนั้นที่ดีนั้นจะต้องมีดังนี้

1. มีการคิดโดยมีมวลชนเป็นศูนย์กลาง และต้องสร้างกิจกรรมที่มีมวลเป็นศูนย์กลางเช่นกัน

2. เข้าใจความเป็นจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (ขบวนการแรงงานคือการเคลื่อนไหวเพื่อแปรรูปความเป็นจริงที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น)

3. มองโลกที่เป็นจริงว่า สังคมและโลกของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรที่คงอยู่ทนได้ตลอดกาล

4. คิดและลงมือปฏิบัติด้วยความสร้างสรรค์

5. มีทัศนคติที่เป็นประชาธิปไตย

6. ไม่กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์

7. การคำมั่นสัญญาต่อใครก็ตามจะต้องปฏิบัติตามนั้นได้

8. มีบุคลิก เรียบง่าย ตรงไปตรงมา มีความอ่อนน้อม จริงใจ ซื่อสัตย์และกล้าหาญ

 

เกี่ยวกับ คิม คึมซู (Kim Keumsoo)

เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1937 เป็นผู้นำรุ่นหนุ่มสาวในเหตุการณ์ปฏิวัติเดือนเมษายน 1960 เคยติดคุกในฐานะนักโทษทางการเมืองในปี 1964 และ 1974 เคยเข้าร่วมกับองค์กรแรงงานในเกาหลีหลายแห่ง เช่น FKTU และ KCTU รวมถึงองค์กรการจัดการศึกษาของคนงานอย่าง KLEA และ KLSI เป็นที่ปรึกษาอาวุโสให้กับพรรคแรงงานเกาหลี (Democratic Labor Party - DLP ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น Unified Progressive Party - UPP) ปัจจุบันดำรงประธานกิตติมศักดิ์ Korea Labor & Society Institute (KLSI) รวมถึงยังคงเดินทางไปให้ความรู้กับสหภาพแรงงานในภูมิภาคเอเชียและเก็บข้อมูลเพื่อเขียนหนังสือเกี่ยวกับสหภาพแรงงานในภูมิภาคนี้

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น