โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

"พล.อ.สนธิ" ไม่ตอบ "ใครอยู่เบื้องหลังรปห.19 กันยา?"

Posted: 21 Mar 2012 11:20 AM PDT

"เสธ.หนั่น" ถามกลางวงเสวนาศึกษาแนวทางปรองดอง ใครอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร- "พล.อ.เปรม" พาเข้าเฝ้าฯ ใช่หรือไม่-พล.อ.เปรมรู้เห็นด้วยใช่หรือไม่ ด้าน "พล.อ.สนธิ" ไม่ยอมตอบอ้างไม่อยากฟื้นฝอย ถ้าต้องการปรองดองต้องให้อภัย-ลืมอดีตบ้าง ไม่เช่นนั้นสังคมจะยิ่งขัดแย้ง บางคำถามตายแล้วก็ตอบไม่ได้ เรื่องบางเรื่องเมื่อถึงเวลาจะปรากฏขึ้นมาเอง

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรได้จัดเสวนา “รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติของสถาบันพระปกเกล้า” โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ พร้อมด้วยคณะทูตจาก 25 ประเทศเข้าร่วม

 

"พล.อ.สนธิ" เชื่อให้อภัยซึ่งกันและกันจะนำไปสู่ความปรองดอง

โดย สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ส.ส.พรรคมาตุภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธาน กมธ. พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ กล่าวเปิดเสวนาตอนหนึ่งว่าประเทศของเราจมปลักกับวังวนความขัดแย้งมาหลายปี ทุกภาคส่วนสังคมต้องการให้ประเทศเกิดปรองดองทั้งสิ้น ผลศึกษา กมธ. และสถาบันพระปกเกล้า เห็นตรงกันว่าการให้อภัยซึ่งกันและกันจะนำพาประเทศสู่ปรองดอง ถ้าประชาชนเจ้าของอำนาจพร้อมให้อภัยโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ภาคการเมืองยังสร้างอุปสรรคต่อการปรองดอง ตนขอใคร่วิงวอนทุกฝ่ายลดความรู้สึกส่วนตัว ทั้งนี้การยอมรับภารกิจจากสภาฯ เพื่อหาทางออกให้ประเทศอีกครั้ง จากที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ซึ่งตนทำด้วยความหวังดีต่อชาติบ้านเมือง เพื่อให้ภารกิจสำคัญได้สำเร็จลุล่วง แม้ถูกหลายฝ่ายกล่าวหาหลายประการ

พล.อ.สนธิ กล่าวต่อว่า ภารกิจสำคัญครั้งนี้ไม่ได้เพื่อประโยชน์บุคคล กลุ่มบุคคลหากทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยเชื่อมั่นว่าความสุจริตจะเป็นเกราะคุ้มภัย บัดนี้การดำเนินการของ กมธ.เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปคือรวบรวมผลศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า รายงานต่อสภาฯ ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป อย่างไรก็ตามขอขอบคุณทุกฝ่ายรวมถึงสถาบันพระปกเกล้าที่ได้เป็นจำเลยร่วมกับตน

 

เผยข้อเสนองานวิจัยเสนอนิรโทษกรรมทุกฝ่ายในคดีการเมือง

โดยส่วนที่เป็นข้อเสนอของคณะผู้ทำวิจัย มีข้อเสนอเรื่องการนิรโทษกรรม แบ่งออกเป็นสองทางเลือก หนึ่ง คือการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมด และกรณีเฉพาะคดีการกระทำผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น โดยคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองจะไม่ได้รับการยกเว้น แต่ทั้งสองทางเลือกจะยกเว้นกรณีความผิดที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน

ข้อเสนอของผู้วิจัยให้เหตุผลว่าการนิรโทษกรรมทั้งหมด มีข้อดีคือ จะไม่สร้างบรรยากาศที่เป็นปรปักษ์ทางการเมือง ลดความขัดแย้ง สนองความต้องการของสังคมให้เดินหน้า แต่ก็มีข้อเสียที่ผู้รับผลกระทบโดยตรงอาจยังไม่พอใจและต้องการให้มีการลงโทษ ผู้กระทำผิดอยู่ ส่วนการนิรโทษกรรมเฉพาะคดีการกระทำผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน ทางเลือกนี้สอดคล้องกับแนวทางของ คอป. แต่แนวทางนี้ จะเป็นเพียงการลดปริมาณของความขัดแย้ง และการแยกฐานความผิดที่ยึดโยงกับเรื่องการเมือง ในทางปฏิบัติทำได้ยาก

ส่วนการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  ในการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาโดยกระบวนการตรวจสอบของ คตส. ผลการวิจัยได้แบ่งออกเป็นสามทางเลือก แนวทางแรกดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาด้วยกระบวนการยุติธรรมตามปกติที่มีอยู่ โดยให้ผลการพิจารณาของ คตส.สิ้นสุดลงและโดนคดีทั้งหมด ให้ ป.ป.ช.ดำเนินการใหม่ แต่ไม่กระทบต่อคดีที่ถึงที่สุดแล้ว แนวทางนี้จะทำให้สังคมไม่รู้สึกว่าเป็นความยุติธรรมของผู้ชนะเท่านั้น และสร้างความเชื่อมั่นต่อสถาบันตุลาการ แต่แนวทางนี้อาจมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้จากประกาศ คมช.

ทางเลือกที่สอง คือการเพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมด และให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ แนวทางนี้เป็นการคืนความยุติธรรมให้กับสังคม ตามหลักนิติธรรม แต่จะทำให้บางคดีผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดี 2 ครั้ง พยานหลักฐานอาจไม่ครบถ้วน ซึ่งจะมีผลต่อคำพิพากษา

ส่วนทางเลือกที่สาม ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมด และไม่ดำเนินคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีก ครั้ง แนวทางนี้จะขจัดความเคลือบแคลงและไม่เชื่อมั่นในจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ยุติธรรม ในเรื่องที่มาของอำนาจ แต่จะทำให้ความปรองดองเกิดได้ยาก เพราะบางกลุ่มเห็นว่าผู้กระทำผิดยังลอยนวล ไม่มีการพิสูจน์ข้อกล่าวหาการกระทำผิด

 

อภิสิทธิ์ชี้งานวิจัยยังไม่สมบูรณ์ ด้าน "เสธ.หนั่น" ถามเดือดใครอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร?

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ตั้งข้อสังเกตการทำวิจัยที่ยังขาดเหตุการณ์หลายเรื่องซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง ทำให้ผลการวิจัยไม่สะท้อนข้อเท็จจริง การให้อภัย ด้วยการนิรโทษกรรมอาจไม่เกิดความเป็นธรรมกับบางคน และการจะยกเลิกคดีที่ คตส.ชี้มูล ทั้งที่คดีของ คตส.เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต ไม่ใช่คดีการต่อสู้ทางการเมืองและที่มาของ คตส. ก็ต่างกันกับ คตส. ที่มาจาก รสช. พร้อมตั้งข้อสังเกตการล้มคดี คตส.อาจมาจากมีผู้ทรงคุณวุฒิถูก คตส. ดำเนินคดี

ด้านมติชนออนไลน์ รายงานว่าบรรยากาศการเสวนาเริ่มเป็นไปอย่างดุเดือดเมื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ลุกขึ้นตั้งคำถาม 3 ข้อถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ว่า 1.ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ไม่เช่นนั้นสังคมจะคลางแคลงใจว่าอำมาตย์ ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง 2.พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้นำท่านเข้าเฝ้าฯใช่หรือไม่ และ พล.อ.เปรมรู้เห็นกับการปฏิวัติหรือไม่ และ 3.พล.อ.เปรมได้ขอร้อง พล.อ.สนธิให้ออกมาพูดความจริงกับเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 โดยผ่าน พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ 2 ครั้งใช่หรือไม่ และได้พูดความจริงตามร้องขอหรือไม่

จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้โอกาส พล.อ.สนธิตอบ 3 คำถามของ พล.ต. สนั่นก่อน แต่ พล.อ.สนธิไม่ประสงค์จะตอบคำถาม นายอภิสิทธิ์กล่าวตอนหนึ่งว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ 47 คนที่คณะวิจัยไปสัมภาษณ์ หลายคนถูก คตส.ดำเนินคดี ไม่แปลกใจคนเสนอให้ล้ม คตส. จะเป็นคนคนเดียวกันกับคนที่ คตส.ส่งให้ดำเนินคดี ตนทราบเพราะว่าตนได้กรอกแบบสอบถาม และทราบว่ามี 1 คนเสนอ แต่ก็ใส่เป็นทางเลือก แต่มี 10 คนบอกว่ากระบวนการ คตส.เดินต่อไปตามปกติ แต่คณะผู้วิจัยไม่รับเป็นข้อเสนอเป็นทางเลือก แต่ 1 คนที่เสนอให้ล้มคดีคตส. สันนิษฐานว่ามีส่วนได้เสียบอกว่าขอให้มีทางเลือก แต่คณะผู้วิจัยก็ใส่มาเป็นทางเลือกด้วย ดังนั้นขอให้ทบทวนข้อเสนอด้วย เพราะถ้าไม่ทบทวน แล้วกมธ.ไปสรุปว่าเสียงข้างมากขอเลือกทางเลือก 3 กรณี คตส.ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายดำเนินการโดย คตส.ทั้งหมด และไม่นำคดีอยู่ระหว่างตัดสินไปแล้วและระหว่างพิจารณานำมาพิจารณา หรือเลือกทางเลือกที่ 2 กรณีนิรโทษกรรม โดยอ้างเสียงข้างมากแล้วส่งให้สภาลงมติหรือส่งให้รัฐบาลนำไปใช้ อย่างนี้ปรองดองหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ปรองดอง ตนก็จะบอกว่าใครคิดทำอย่างนี้คือคนขัดขวางกระบวนการปรองดองอย่างแท้จริง

 

ด้าน "พล.อ.สนธิ" ไม่ยอมตอบ เผยไม่อยากฟื้นฝอยในสิ่งที่ขัดแย้ง ปรองดองกันต้องยึดหลังให้อภัย

ต่อมา พล.อ.สนธิได้กล่าวในช่วงท้ายว่า คำถามที่ถามตนในช่วงแรก ตนรู้สึกละอายตัวเอง สถาบันสอนให้มีความรัก เข้าใจ จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างยิ่งที่สุดในชีวิต คำถามนี้ไม่ควรมาถามตน เช่นเดียวกับที่คณะผู้วิจัยของสถาบันพระปกเกล้า คำถามบางประการตายแล้วก็ตอบไม่ได้ ดังนั้น เรื่องบางเรื่องเมื่อถึงเวลาจะปรากฏขึ้นมาเองพล.อ.สนธิกล่าวภายหลังการเสวนา ถึงความเป็นไปได้ในการทำความเข้าใจกับประชาชนกรณีเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ตามที่ พล.ต.สนั่นเรียกร้อง ว่า ไม่อยากรื้อฝอยหาตะเข็บในสิ่งที่ขัดแย้ง ถ้าต้องการสร้างความปรองดองต้องยึดหลักการให้อภัย ลืมอดีตบ้าง ไม่เช่นนั้นสังคมไทยจะย้อนยุคสู่ความขัดแย้งมากขึ้น ต้องมองข้ามไปบ้าง เพื่อความปรองดอง อะไรไม่ควรพูดก็อย่าพูด

เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าขณะนี้ไม่พร้อมจะพูดถึงเรื่องต่างๆ ในอดีตแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิกล่าวว่า คิดว่าคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) น่าจะเข้าไปตรวจสอบอยู่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สนธิ บุญยรัตกลิน

Posted: 21 Mar 2012 08:31 AM PDT

คำถามบางประการตายแล้วก็ตอบไม่ได้ ดังนั้น เรื่องบางเรื่องเมื่อถึงเวลาจะปรากฏขึ้นมาเอง

21 มี.ค. 55, มติชนออนไลน์

สัมภาษณ์พิเศษ: พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ - 2ปีชายแดนใต้จะเย็นลง

Posted: 21 Mar 2012 06:16 AM PDT

พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์

 

หลังจากเกิดกรณีทหารพรานถล่มยิงชาวบ้านอำเภอหนองจิกเสียชีวิต 4 ศพไม่กี่วัน โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ “พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์” แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2555 ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ณ เวลานั้น “พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์” มองทหารพราน มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มองสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ในภาพรวมอย่างไร ทำไมถึงมั่นใจว่าความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเย็นลงภายใน 1-2 ปี ต่อไปนี้คือคำตอบ

0 0 0 

ประเมินสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมาอย่างไร?
ผมประเมินสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยกรอบที่ผมทำคือ 1.ยุทธศาสตร์พระราชทานเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา การสร้างความเข้าใจคือ การที่รัฐใช้ความพยายามในการสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน สร้างความเข้าใจกับผู้ก่อเหตุ สร้างความเข้าใจต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง จากการทำอย่างต่อเนื่อง ผมว่าทุกส่วนทุกฝ่ายมีความเข้าใจสภาพที่เกิดขึ้นมากกว่าเดิม

ที่ผมเห็นว่าน่าจะดีกว่าเดิม เป็นผลจาการประเมินของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) คือ การสร้างเสริมศักยภาพแก่พี่น้องประชาชน เรื่องการศึกษา เรื่องอาชีพทางเศรษฐกิจ และการเมือง ผมว่ามีสภาพก้าวหน้าขึ้นมาก

2.ผมประเมินด้วยสายตา ช่วง 7–8 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขึ้นป้ายประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีนักเรียนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สอบเข้าได้มากขึ้น นั่นหมายความว่ารัฐสามารถเสริมศักยภาพให้กับเด็กได้มากขึ้น

3. เรื่องของการจัดการกับภัยแทรกซ้อนทั้งหลาย ว่าจะเป็นยาเสพติด น้ำมันเถื่อน สินค้าหนีภาษี อิทธิพลเถื่อนอำนาจมืดทั้งหลาย มีการแก้ไขกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะยาเสพติด ที่เราได้ดำเนินการมากันมา

4. เมื่อไม่นานมานี้วันมานี้ มีการร้องเรียกว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2–3 กรณี แต่โดยภาพรวมแล้ว ตั้งแต่ผมเป็นแม่ทัพ ผมสามารถจัดการเรื่องสิทธิมนุษยชน การไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิบัติการภายใต้กฎหมาย อั้นนี้ผมว่าประสบความสำเร็จ บางเรื่องมันจะเกิดเรื่องขึ้นมา รัฐไม่เคยเข้าไปปกป้องบุคคลกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผมตัวอย่างกรณีเหตุการณ์ทหารพรานยิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บ 5 คน ที่บ้านกาหยี ตำบลปูโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เราไม่เคยพูดว่าฝ่ายใดผิด แต่ใช้กระบวนการทำให้เห็น มีคณะกรรมการอิสระชุดหนึ่งชื่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ้านตำบลปูโละปุโย ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผมไม่เคยระบุว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ก่อเหตุ กรณีการซ้อมทรมานในจังหวัดนราธิวาส เมื่อเร็วๆ นี้ ผมก็พร้อมให้แจ้งความ พร้อมให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง

กรณีคลิปเด็กหญิงกับทหารเกณฑ์ ผมลงโทษทางวินัยกับทหารที่ไปก่อเหตุ พร้อมกับดำเนินมาตรการต่างๆ เพราะกองทัพมีนโยบายห้ามมีเรื่องชู้สาว ส่วนความผิดทางอาญาและแพ่ง ถ้าทางผู้เสียหายต้องการฟ้องร้อง เรายินดี ผมจะไม่ช่วยเหลือทหารที่กระทำผิด ต้องปล่อยให้ว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม คนที่ถ่ายคลิปวีดีโอนี้ ต้องได้รับโทษอย่างหนัก ถ้าคนของรัฐต้องถูกลงโทษ จะไม่มีการช่วยเหลือกัน กระบวนการเยียวยาที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ดูแลอยู่ จะเข้าไปช่วยเหลือ

เรื่องการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ผมดูตัวเลขสถิติก็ดี การบังคับใช้กฎหมายก็ดี มีความก้าวหน้าพอสมควร อาจมีบางอย่างยังไม่สามารถทำให้ยุติได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่ได้มีคดีความมั่นคงเพียงอย่างเดียว แต่มีคดีประเภทอื่นรวมอยู่ด้วย ผมจึงมองว่าการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เราทำได้ดีในระดับหนึ่ง เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน

ประเด็นที่ผมเห็นว่ามีความก้าวหน้ามากคือ ประเด็นที่ทุกภาคส่วนมีเสรีภาพ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกคนสามารถพูดได้ เขียนได้ แสดงความคิดเห็นได้ ผมว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความก้าวหน้า เพราะทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมาก

สาเหตุที่เหตุการณ์ยังไม่หมด หรือยังไม่ยุติ เป็นเพราะการบังคับใช้กฎหมายของเรา ยังไม่มีประสิทธิภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เรายังถอนรากถอนโคนไม่หมด การป้องกันปัญหาแทรกซ้อน การทำความเข้าใจกับฝ่ายที่ใช้อาวุธ ยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่ดีพอ

ปัจจัยสำคัญที่ผมเห็นว่ายังไม่ดีพอคือ ปัจจัยจากยุทธศาสตร์ของขบวนการ ยุทธศาสตร์ป้องกันมวลชนของขบวนการ จะเห็นว่ายุทธศาสตร์การป้องกันมวลชนของเขา ได้แบบอย่างมาจากการต่อสู้ในที่ต่างๆ ของโลกปัจจุบัน การใช้ความรุนแรงต่อบุคคลที่ออกมาเปิดเผยความลับของขบวนการ หรือเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐ อันนี้เป็นปัจจัยที่ผมพยายามแก้อยู่ เพราะพวกขบวนการไม่ถือกฎหมาย ขบวนการไม่ยึดถือเรื่องสิทธิมนุษยชน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ผมว่าโดยรวมแล้วพี่น้องประชาชนร้อยละเก้าสิบกว่าเห็นใจรัฐ เพราะรัฐก็เป็นของเขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เป็นของเขา สภาผู้แทนราษฎรก็พยายามออกกฎหมาย หรือนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ฉะนั้นโดยสรุปการแก้ปัญหาตามแนวทางเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา จึงประสบความสำเร็จ ผมยังมีนโยบายย่อยๆที่ทำคือ พาคนกลับบ้าน ผมให้ความสำคัญกับพี่น้อง ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าผู้ที่ลงมือปฏิบัติเอง หรือผู้เป็นแนวร่วม ผมพร้อมพาเขามาใช้ชีวิตตามปกติสุข ตามกระบวนการยุติธรรม อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ผมทำอยู่

อีกประเด็นที่เรากำลังดำเนินการอย่างจริงจังคือ การแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นความทุกข์ของพี่น้องประชาชน โครงการต่างๆ เช่น ญาลันนันบารู มัสยิดสานใจ การบำบัดผู้ติดยาเสพติดโดยอำเภอเป็นศูนย์กลาง เราถือว่าผู้ติดยาเสพติด เป็นเสมือนผู้ป่วยติดสารเคมีในสมอง ต้องบำบัดรักษา ส่วนการปราบปรามก็การดำเนินกันไป มีการยึดทรัพย์ แต่ในบางพื้นที่การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ยาเสพติด อาจจะไม่ทันใจประชาชน เพราะการค้ายาเสพติดมีแรงจูงใจค่อนข้างมาก แต่ถ้าหากโครงการมัสยิดสานใจ วัดสานใจ หรือโครงการอื่นๆ ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ผมว่าจะทำให้การปราบปรามยาเสพติดทำได้รวดเร็วขึ้น

ผมทราบดีว่า ครอบครัวที่ลูกหลานติดยาเสพติดบางทีอาจจะอาย ไม่อยากเปิดเผย ถ้าเราไม่กล้าเปิดเผย เราจะสูญเสียลูกหลานตลอดไป การนำเข้ามาบำบัดรักษาก็ดี หรือนำเข้าไปค้นหาผู้เกี่ยวข้อง วิธีนี้น่าจะแก้ไขปัญหาได้ สำหรับโครงการการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผมทำ ตอนนี้มีความก้าวหน้ามากพอสมควร

ขณะนี้ผมคิดว่า คนในขบวนการบางส่วน เห็นใจพวกเราที่กำลังแก้ปัญหาต่างๆ อยู่ แต่เขาอาจจะติดขัดบางประการ ติดขัดข้อกฎหมายบ้าง หรือความสัมพันธ์ภายในกลุ่มบ้าง ตอนนี้พื้นที่ทางการเมืองเปิดทางให้ทุกฝ่ายออกมาต่อสู้ ผมพูดหลายครั้งแล้วว่า ผมสนับสนุนการต่อสู้ของพี่น้องมลายูมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ในเวทีทางการเมือง หรือเวทีอื่นๆ ผมไม่สนับสนุนอย่างเดียวคือ การต่อสู้ด้วยอาวุธ จะเห็นได้ว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาค 4 ส่วนหน้า ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจ

กรณีนำทหารพรานมาทดแทนทหารหลักในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แน่ใจหรือว่ามาถูกทาง เพราะปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มาจากทหารพรานเยอะมาก?
ผมเรียนว่าปัญหาที่เกิดจากทหารพราน มีเพียงแค่ 2 กรณีเท่านั้นคือ กรณีทหารพรานยิงชาวบ้านกาหยี ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และที่จังหวัดยะลาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ผมคำนึงถึงเรืองนี้มาก ทำไมเราต้องเอาทหารพรานมาใช้ เราดูพื้นฐานข้อจากเรียกร้องสมัยโบราณ ที่ต้องการให้พี่น้องในพื้นที่ดูแลกันเอง รัฐกำลังปรับเรื่องนี้ ด้วยการเอาคนในท้องถิ่นมาดูแลคนท้องถิ่นกันเอง อันนี้เป็นแนวความคิด

ผมจับเรื่องทหารพรานมา 7–8 ปี ผมเห็นว่าควรจะเอาคนในท้องถิ่นมา มีการกำหนดหลักสูตรอย่างชัดเจนว่า ผู้บังคับการกรม ตัว ผบ.ร้อย หัวหน้าชุด ต้องผ่านการอบรมทางการเมือง ผมจัดตั้งชุดครูทางการเมือง เปิดให้อบรมกันถึง 10 สัปดาห์เป็นการเฉพาะ เราทำอย่างเข้มข้น

ผมย้ำว่า เราใช้คนท้องถิ่น เพราะคนท้องถิ่นเขารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดี

ผมไม่แปลกใจ ที่มีปฏิกิริยาตอบโต้จากคนบางส่วนที่ไม่ต้องการทหารพราน ผมคิดว่าทหารพรานสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ เราคำนึงถึงละพิจารณาเรื่องนี้มานานแล้ว

อาสาสมัครทหารพรานส่วนใหญ่จบระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครทหารพรานหญิงจบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยเปอร์เซ็นต์ มีการแย่งกันสมัครเป็นอาสาสมัครทหารพราน เพราะรายได้ของอาสาสมัครทหารพรานรวมแล้ว 15,000 บาท เป็นรายได้ที่ดีคนจึงมาสมัครกันเยอะ

กรณีที่อาสาสมัครทหารพรานกระทำความผิดกองทัพบก มอบอำนาจให้ผมปลดหรือลดชั้นได้ทันทีโดยตรง มีกระบวนการชัดเจนในการคัดเลือก ฉะนั้นปัญหาของผู้สื่อข่าวหรือใครก็ดี ที่มองว่าทหารพรานทำให้เสียหายบ่อยๆนั้น ผมพร้อมจะจัดการกับคนพวกนี้

หลักเกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครทหารพรานมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องทัศนคติ วุฒิภาวะ เรื่องการตัดสินใจในสภาวะที่คับขัน?
ทหารพรานไม่ได้ทำงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทหารหลักคือเจ้ากรม ผู้บังคับการกรมจบจากโรงเรียนนายร้อยจปร. ผู้บังคับบัญชาบางส่วนก็จบจากโรงเรียนนายร้อยจปร. มีทหารหลักดูแลแต่ละส่วนอยู่ ผมจึงย้อนกลับไปว่า มีกรณีอื่นอีกหรือเปล่า นอกจากกรณีบ้านกาหยี ตำบลปูโละปูโย

ทหารเกณฑ์ที่สมัครเข้าไปก็เหมือนกัน มีทหารหลักจบมาจากโรงเรียนนายร้อยจปร. โรงเรียนนายสิบ ฝึกเหมือนกัน อาสาสมัครทหารพรานสมัครเข้ามาก็มีการฝึก ฉะนั้นกฎเกณฑ์มันเข้มข้น เพราะมาด้วยความสมัครใจ ที่เข้ามาด้วยความแค้นไม่มี ถ้าเข้าแก้แค้นมีแต่จะติดคุก เพราะทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีใครละเมิดกฎหมายได้ ผมยืนยัน

หากเราทำงานไม่ชนะจิตใจประชาชนเราก็แพ้ ประชาชนไม่เอาด้วยมันแพ้อยู่แล้ว กองทัพยิ่งใหญ่ขนาดไหน หากมวลชนไม่เอาด้วย แพ้แน่นอน เรื่องนี้เราตระหนัก เราเคยผ่านศึกสงครามมา ผมรู้ดี

ในภาวะที่ต้องตัดสินใจกะทันหันภายใต้ความเครียด ความพร้อมและความสามารถในการตัดสินใจของทหารพรานไว้วางใจได้แค่ไหน?
น่าจะมีความพร้อม แต่การตัดสินใจจะถูกหรือไม่ อย่าเพิ่งวินิจฉัยทันที ถ้าทุกคนถามแล้วบอกว่าผิดเลย ผมไม่เห็นด้วย ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย กรณีบ้านกาหยี จะสรุปว่าทหารพรานผิดร้อยเปอร์เซ็นต์หรือกล่าวหาประชาชนเป็นผู้ก่อเหตุร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เราต้องกลับมาตั้งสติกันใหม่ ทำไมมันถึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมา ค่อยไล่เรียงเหตุการณ์ขึ้นมา ถ้าหากไม่ได้ไล่เรียงเรื่องราวให้ชัดเจน สังคมของเราจะเป็นอยู่กันอย่างนี้

ผมกำลังปรับการทำงานของทหารพรานใหม่ ทำอะไรลงไปแล้ว เราต้องไม่เสียหายทางการเมือง เราอาจต้องยอมให้โดนยิงตายเสียก่อน หรือโดนยิงให้ถูกเสียก่อน ถึงจะปฏิบัติการตอบโต้ได้ เราอาจจำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น

ใครไม่อยู่ในเหตุการณ์อย่างนั้น คนที่อยู่กับการเขียนหรืออยู่กับทฤษฎี มันไม่เห็นภาพการกดดัน ขณะเดียวกัน ทั้งความมืด ทั้งโดนยิงฐานมาใหม่ๆ ผมเองไม่แน่ใจว่าหากอยู่ในสภาวะอย่างนั้น จะตัดสินใจได้ดีขนาดไหน ทั้งที่ผมผ่านศึกสงครามมาขนาดนี้ แต่ผมก็พยายามปรับปรุง  พยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทาง

การใช้คนท้องถิ่นเข้ามาดูแลผ่านกระบวนการพิจารณา จนเห็นว่าคนๆ นี้ เข้ามาทำงานแล้วเราต้องได้การเมือง ไม่ใช่เสียมวลชน การได้มาซึ่งทหารพราน จึงมีรายละเอียดในกระบวนการคัดเลือกอยู่มาก มีการพิจารณากันตั้งแต่กายภาพไปจนถึงสภาพจิตใจ มีการตรวจสอบประวัติ มีการฝึก เอาครูทางการเมืองมาอบรม เพราะทุกคนไม่อยากเห็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในสภาวะอย่างนี้

อันที่จริงภาพโดยรวมแล้ว เหตุการณ์ก็ไม่ได้รุนแรงอย่างหลายคนที่อยู่ไกลๆ พื้นที่คิด ทุกคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็รู้ว่าสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด ไม่ใช่ทหารพรานจะเลวร้ายทั้งหมด รัฐพยายามปรับปรุง พยายามปรับตัวอย่างมาก ไม่มีเรื่องใดในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการร้องเรียนแล้ว ไม่ได้รับการตอบรับ

ในช่วงหลังการตรวจค้น ตรวจจับ ทำได้ตรงเป้ามากขึ้น ดูแล้วเหตุร้ายน่าจะลดลง แต่ทำไมถึงไม่ลดลง?
เรายังสามารถเปิดองค์กรลับได้ทั้งหมด การจัดตั้งองค์กรลับใช้เวลายาวนานในการปลูกฝัง งานข่าวของเราอาจจะครอบคลุมได้ เรารู้ว่าคนนี้ แต่เขายังอาศัยความเกื้อกูลในสังคม ภูมิประเทศสังคมหลบเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ได้ เรามีรายชื่อ มีผลพิสูจน์ดีเอ็นเอบุคคลที่เคลื่อนไหวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บางทีไล่จับจนต้องหลบหนี  ลักษณะสภาพพื้นที่มันเกื้อกูลให้หลบหนีได้ง่าย ทำให้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ยังทำได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

พวกเราทราบก็ดี คนที่ทำให้ประชาชนเคียดแค้นรัฐ ผมว่าน้อยลงแล้ว เราจะทำให้ไม่มีคนพวกนี้เหลืออยู่เลย อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราพยายามปลูกฝังคนของเราให้เป็นผู้รับใช้ประชาชน ผมว่าตอนนี้คนที่ทำใก้ชาวบ้านเคียดแค้นรัฐน้อยลงแล้ว เราพยายามทำให้ไม่มีเลย เพราะถ้าเรายังมีคนทำให้พี่น้องประชาชนโกรธแค้นรัฐ สงครามมันก็ไม่ยุติ

ภาระหน้าที่ของเรายังไม่สิ้นสุด เพราะภาระหน้าที่ของเราคือทำให้สงครามที่นี่จบสิ้นลง สงครามที่เกิดจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งองค์กรลับขึ้นมาต่อสู้กับรัฐ เราพยายามที่สร้างความเข้าใจ ใช้หลักการบังคับใช้กฎหมาย นำหลักอีก 5–6 ด้านมาใช้ด้วยความอดทน

จะเห็นว่าพวกเขาพยายามโทษพวกผม ทั้งที่ผมพยายามทำตามหลักการ ไม่ไปยิงคนนี้คนโน้นเด็ดขาด เพราะมันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้

มีแนวทางลดความรุนแรงอย่างไร?
สร้างความเข้ากับพี่น้องประชาชน มีความอดทนในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภัยแทรกซ้อนต่างๆ ต้องขจัดให้หมดไป ทุกฝ่ายต้องเคารพกฎหมาย เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม ใช้มาตรการทหารควบคุมพื้นที่บังคับใช้กฎหมาย นี่คือแนวทางที่เราทำอยู่

ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีหน้าที่เพิ่มศักยภาพให้กับพี่น้องประชาชนด้านเศรษฐกิจและการศึกษา นี่คือแนวทางการสร้างความเป็นธรรม ขจัดปัญหายาเสพติด หากมีแนวทางอื่นบอกผมมาได้เลย ผมพร้อมที่รับฟังและนำไปปฏิบัติ

สิ่งที่เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งก็คือ ขณะนี้ผู้คนจำนวนมากในพื้นที่กล้าแสดงออกทางการเมือง ในส่วนนี้ท่านคิดว่าทหารจะเข้ามามีส่วนสนับสนุนการแสดงออกของประชาชนอย่างไร?
หากเขาไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธ เขาก็มีเสรีภาพเต็มที่ เราจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะทหารเป็นประชาชน สมมุติมีกลุ่มต่างๆ เชิญมา เราพร้อมที่จะไปเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เชิญเราไปเป็นวิทยากร ถ้าเราพร้อมเราก็ไป จะจัดกิจกรรมทางการเมืองเราก็พร้อมสนับสนุน เพราะหากไปจำกัดเสรีภาพทางความคิดความเชื่อ ถ้าไม่มีทางออกมันจะปะทุไปเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ทางการเมือง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

นโยบายของทหารข้อหนึ่งคือ นโยบายสานใจสู่สันติ ที่ผมทำอยู่คือการปฏิบัติการทางทหาร ทำเพื่อป้องกันเท่านั้น ไม่ได้คิดทำร้ายใคร ถ้าหากปิดล้อมตรวจค้น ต้องเอาผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะครู อิหม่ามมาอยู่ด้วย ถ้าหากไม่มีการต่อสู้ ทหารจะไม่ยิงเด็ดขาด เมื่อเร็วๆ นี้ มีการปะทะกันตาย 2 อีก 2 คนมอบตัว สองคนนี้ก็ต่อสู้ทางกฎหมาย เพราะถ้าไม่มีหลักฐานทางคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 คนนี้จะหลุดคดี

การควบคุมตัวตามอำนาจกฎอัยการศึก หากไม่มีหลักฐาน ผมต้องปล่อยตัว ปกติหากมีการปะทะจะถูกวิสามัญฆาตกรรมหมด แต่กรณีเมื่อเร็วๆ นี้ 2 คนนี้ออกมามอบตัว เราก็ไม่ยิงเขา การวิสามัญฆาตกรรมไม่มีประโยชน์ ความแค้นไม่มีวันสิ้นสุด ทำร้ายคนในครอบครัวเขาก็เกิดความแค้นตามมาอีกมากมาย

ทหารระดับล่างมีความเข้าใจแนวทางนี้หรือไม่?
เหมา เจ๋อตง ใช้เวลา 20 ปี ในการเคลื่อนแนวคิดยุทธศาสตร์ เดินพูดคุยยุทธศาสตร์กับคนแนวหน้า

เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่งผ่านมา 10 ปี ยุทธศาสตร์ที่เราใช้ เมื่อเรานำไปอธิบายกับทุกคน เราพบว่าบางคนเข้าไปถึง บางคนเข้าไปไม่ลึก เหมา เจ๋อตง มีกองทัพเป็นจำนวนหลายแสน ส่วนเรามีไม่มากหรอก เราพยายามสร้างความเข้าใจ ถ้าเขาไม่เข้าใจปานนี้ คดีที่ร้องเรียนมันน่าจะเยอะ การวิสามัญมันน่าจะเยอะ

ระยะหลังมานี้ มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ 2 ชุดแล้ว ชุดแรกกรณีบ้านกาหยี ชุดสองกรณีนายซูกิฟลี ซิกะ ร้องถูกซ้อมทรมาน การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแบบนี้ จะยึดเป็นแนวทางต่อไปหรือไม่?

หากไม่ใช้แนวทางนี้แล้วจะใช้แนวทางไหน ที่ผมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ้านกาหยี  ตำบลปูโละปูโย เพราะชาวบ้านเขาร้องขอให้ตั้ง ในส่วนกระบวนการยุติธรรมปกติ ก็ต้องผ่านการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ผ่านการตรวจสอบสำนวนจากอัยการ และผ่านการพิจารณาคดีในชั้นศาล ก็ดำเนินไปตามกฎหมาย

สำหรับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ้านกาหยี ชาวบ้านขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเอง โดยให้มีตัวแทนจากศูนย์ทนายความมุสลิม ตัวแทนชาวบ้านบ้านกาหยี ตำบลปูโละปูโย ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี มีตัวแทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นมอบหมายให้ผมหางบประมาณและออกคำสั่งให้ เพื่อจะตรวจข้อเท็จจริงว่า เหตุการณ์ที่เกิดเป็นอย่างไร

หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีผลสรุปออกมาไม่ตรงกับพนักงานสอบสวน?

บอกเลยว่าการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ้านกาหยี ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่เป็นการหาข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้

การตั้งคณะกรรมการอย่างนี้ ในแง่หนึ่งเหมือนกับเปิดทางให้พลเรือนคนภายนอกเข้ามาตัดสินความถูกผิดของทหาร?

ผมพูดตรงๆ ผมแก้ผ้าให้ดูแล้ว เขาอยากจะดูอะไรก็ดู ผมมีความจริงใจในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมไม่กลัวกระบวนการตรวจสอบ

การแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ละชุดแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูองค์ประกอบการแต่งตั้งคณะกรรมสองชุดนี้ มีความแตกต่างกันอยู่ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบ้านกาหยี มีพลเรือนร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ส่วนคณะกรรมการตรวจข้อเท็จจริงกรณีการซ้อมทรมานของนายซูกิฟลี ซิกะ เป็นเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมด?

เราประกาศเป็นนโยบาย เรามีแบบธรรมเนียมปฏิบัติ หากเราไม่ทำอย่างจริงจัง วันนี้กองทัพเราสู้ไม่ชนะหรอกครับ เราต้องเชื่อสิ่งเหล่านี้ด้วย ไม่งั้นกองทัพอยู่ไม่ได้ ในเมื่อแม่ทัพประกาศเป็นนโยบายให้เคารพสิทธิมนุษยชน ตามแบบธรรมเนียมทหารถือเป็นเรื่องสำคัญ การซ้อมทรมาน การละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่อย่างนั้นองค์กรทหารอยู่ไม่ได้มาเป็นพันๆ ปี

ที่องค์กรทหารอยู่ได้ เพราะเรามีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง เรายึดระเบียบวินัย เราถือปฏิบัติตามนโยบาย หากใครขัดขืนต้องได้รับการลงโทษ แต่คนข้างนอกอาจจะรู้สึกไปอีกแบบหนึ่ง

เมื่อชาวบ้านปูโละปูโยขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผมจึงยินดีแต่งตั้งให้ ที่ใดก็แล้วแต่ เรื่องใดก็แล้วแต่ขอมาได้เลย ถ้าต้องการสอบผม ผมก็ยินดี ขอให้ว่ากันไปตามความเป็นจริง

ที่บอกว่าทหารตรวจสอบตัวเองอยู่ ขณะเดียวกันความรู้สึกของคนข้างนอกที่มองเข้ามา เขาไม่เชื่อว่าทหารตรวจสอบตัวเอง จะทำอย่างไรให้คนข้างนอกเชื่อ?
ต้องสร้างความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่น ต้องใช้ความอดทน ใช้การให้อภัย ทุกคนตรวจสอบประวัติพวกผมได้ เข้ามาตรวจสอบกฎข้อบังคับที่ทหารมี ไม่ไช่เพียงเรื่องซ้อมนายซูกิฟลี ซิกะหรอก มันยังมีการร้องเรียนเรื่องอื่นๆ อีกเยอะแยะ ผมพูดตามสภาพความเป็นจริง

คนหลายหมื่นคนอยู่ร่วมองค์กรเดียวกัน ต้องมีกฎเหล็กกำกับ เป็นคนหนุ่มถืออาวุธ อยู่ดีๆ เพื่อนโดนระเบิดตาย เข้าไปปิดล้อมหมู่บ้านยิงชาวบ้านตาย ระเบิดกันยิงกันโดยไม่มีการสอบถามกันก่อน เราเข้าใจสงคราม เราโดนกระทำเราต้องอดทนและให้อภัย คิดว่าที่เขาทำเรา เพราะเขาไม่เข้าใจ ในสงครามแบบนี้เราต้องใช้ความอดทน อดกลั้น ทุกครั้งที่ผมนำศพทหารกลับบ้าน พบญาติพี่น้อง บรรยากาศเต็มไปด้วยความเศร้าโศก ผมเสียใจที่เขาถูกกระทำ

เรามาในภารกิจรักษาความปลอดภัยครูที่สอนลูกหลานของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เราโดนกระทำ เรามาในภารกิจรักษาเป้าหมายผู้อ่อนแอ พี่น้องทั้งชาวพุทธ มุสลิม พระสงค์ ผู้ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา กลับโดนคนร้ายยิงตายอย่างโหดเหี้ยม เรามาดูแลอิหม่าม ดูแลมัสยิด ดูแลสัปบุรุษ กลับโดนยิงตาย เราโดนกระทำ มีใครบ้างที่ตรวจสอบผู้กระทำ

ผมต้องถามกลับ มีใครกล้าหรือไม่ นี่คือสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน หากพวกเราไม่ช่วยกันตรวจสอบ สภาพสังคมจะเบี่ยงเบน คนที่พยายามมาทำหน้าที่ดูแลผู้อ่อนแอ กลายเป็นผู้ผิดไปหมดเลย เราโทษทหารที่ไม่สามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ แต่ไม่มีใครตรวจสอบคนที่ลอบยิงทหาร พูดถึงปฏิบัติการของคนกลุ่มนั้น ด้วยความจริงจังและตั้งใจ เหมือนที่รัฐโดนการตรวจสอบ

ผมมั่นใจว่าเรื่องที่พวกเราร้องเรียนมามันน้อยมาก หากเหตุการณ์ลักษณะเหมือนกรณีบ้านกาหยี ตำบลปูโละปุโย ผมก็เสียใจและผมก็นอนไม่หลับ แล้วอยากจะเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ส่วนผิดถูกก็ว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม

ในเมื่อมีกฎระเบียบวินัยเข้มงวด การร้องเรียนน่าจะน้อยลง ทำไม่ถึงยังมีการร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานอยู่?
ไม่เคยคิดเลยหรือว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นเทคนิคการต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม เพราะเมื่อเราทำงานได้ผลมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับไปจำกัดขอบเขตการเคลื่อนไหวฝ่ายเขาไปโดยปริยาย 

กองทัพภาคที่ 4 มีแนวทางขยายผลการทำงานอย่างไร?
ผมถึงบอกว่า คนที่ต่อสู้ด้วยอาวุธทุกกลุ่ม ผมยินดีพาพวกเขากลับบ้าน นี่คือมาตรการใหญ่ ผมยินดีที่จะพาคนที่มีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกกลุ่มกลับบ้าน ผมพร้อมอำนวยความสะดวกให้กับผู้ต้องคดีอาญา แต่คนที่อยู่ในองค์กรลับเขาอาจจะรู้ไม่หมดว่า เรากำลังทำอะไร ก็ต้องอาศัยสื่อสารกันหลายทาง

องค์กรลับในแต่ละประเทศ กว่าจะสลายตัวได้ต้องใช้เวลา แต่หากผู้สื่อข่าวบอกว่ามีแนวทางอื่น ผมก็ยินดีรับฟังนำไปปฏิบัติ การเอาบุคคลกลับบ้านก็ดี การทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน การบังคับเจ้าหน้าที่ไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นแนวทางที่ชัดเจน ในการดำเนินการกับบุคคลที่ถูกปลูกฝังอุดมการณ์มาเป็นเวลานับสิบปี

ข้อมูลของฝ่ายทหาร สมาชิกองค์กรลับมีจำนวนเท่าไหร่?
ผมว่ามีไม่มาก ตัวที่เป็นกองกำลังจริงมีน้อย บางส่วนมาอยู่กับเจ้าหน้าที่แล้วก็มี เข้ามาให้ข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะตัดสายของขบวนการได้ บางคนให้ข้อคิด บางคนเคยประกาศต่อสาธารณชนไปแล้วว่า จะยืนหยัดต่อสู้ ตอนนี้ถ้าเขาออกมาประกาศว่า มาอยู่กับเราเขาอาจจะเสียหน้า ฉะนั้นทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องหาทางออกให้เขาด้วย

ผมเป็นนักรบอาชีพ  ผมเห็นใจที่พวกเขาพร้อมสู้ตาย เมื่อเขาได้รับข้อเท็จจริงว่า การต่อสู้นี้ไม่ใช่ หนทางของพระเจ้า ไม่ใช่หนทางการต่อสู้ที่ต้องใช้อาวุธใช้ความรุนแรง แต่เมื่อประกาศตัวไปแล้ว ก็ต้องหาทางลงให้เขาให้ได้ ลักษณะอย่างนี้มีจำนวนเยอะพอสมควร เป็นบุคคลระดับสูงในองค์กรลับ ผมเห็นใจพวกเขา เพราะพวกเขามีอุดมการณ์ ต่อสู้เพื่อคนอื่น

อะไรคือข้อผิดพลาดของขบวนการ ที่ทำให้กองทัพสามารถรุกทางการเมือง จนกุมสภาพได้ระดับหนึ่ง?
ผมว่าเขาผิดที่งานการเมือง เขาพลาดที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ มันกินเนื้อตัวเอง เท่าที่ผมเห็น เงื่อนไขที่เขาใช้ปลุกระดม การใช้ศาสนาอิสลาม เพราะศาสนาอิสลามถือว่าการฆ่าคนเป็นบาป มีการเชื่อมโยงในลักษณะประชาชาติ การใช้เงื่อนไขในประวัติศาสตร์

มันไม่มีเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ญิฮาด เพราะบ้านเราให้อิสระในการปฏิบัติศาสนกิจ ถึงแม้คนมลายูปัตตานีจะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ปัตตานีก็ไม่ใช่รัฐอิสลาม ตรงนี้เขาไม่ค่อยเข้าใจ ผมว่าสังคมเราน่าจะประนีประนอม ให้พวกเขาออกมาต่อสู้ทางการเมือง

สภาพความรุนแรงจะยังอยู่อีกหลายปีหรือไม่?
ผมว่าไม่หลายปี ที่ดูรุนแรงเพราะมันมีเหตุระเบิด เพื่อให้ประชาชนกลัว พื้นที่ปฏิบัติเขาน้อยลงแล้ว สภาพความรุนแรงที่เห็นอยู่นี้ มันถูกสร้างขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์ป้องกันไม่ให้มวลชนของเขาตีตัวออกห่าง ผมบอกเลยว่า เราร่วมกับตำรวจติดตามจับอยู่ทุกคดี แล้วจะตามจับไปเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านเขาทนไม่ไหวแล้ว พวกผมถือปืนเข้าไปในชุมชน ชาวบ้านไม่กลัวพวกผมฆ่านะ ชาวบ้านเขากลัวคนที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ถืออาวุธเข้าไปในชุมชน ชาวบ้านกลัว เพราะคนพวกนี้ไม่มีกฎหมายบังคับ สามารถทำอะไรได้ตามใจชอบ 

การกระจายอำนาจ จะเป็นทางออกจากความรุนแรงให้กับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่?
ชาวบ้านเรียกร้อง หรือขบวนการเรียกร้อง ผมเองยังไม่รู้เลย หรือนักวิชาการเรียกร้อง ผมไม่ทราบ ผมไม่วิจารณ์ หากขบวนการออกว่าเรียกร้องต้องการเขตปกครองพิเศษ ป่านนี้เรื่องมันจบลงแล้ว ถ้าขบวนการออกเรียกร้อง รัฐไทยให้อยู่แล้ว

แสดงว่าที่ออกมาเรียกร้องตอนนี้ยังไม่ใช่ตัวจริง?
ก็ไม่รู้

ตอนนี้เรายังไม่ใช่รู้ว่าขบวนการต้องการอะไรใช่หรือไม่?
ยังเป็นเรื่องเดิมอยู่คือ ต้องการเอกราช เขารู้ว่ามันไปไม่ถึงอยู่แล้ว ขณะนี้ขบวนการบางส่วนมันโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด คนที่มีอุดมการณ์จริงๆ เขาถึงอยากจะถอนตัวออกมาจากขบวนการ เราก็ต้องหาวิธีการที่จะให้เขาออกมาอย่างมีศักดิ์ศรี

ถ้าหากสภาพการต่อสู้ยังเป็นอยู่อย่างนี้  สภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่นี้จะเป็นอย่างไร?
ผมว่าให้ดูสภาพการก่อสร้าง การค้าขาย การไปมาหาสู่กัน สักประเดี๋ยวก็สงบมันจะรบกันไปได้นานขนาดไหน ลอบวางระเบิดผมก็ตามจับจนได้

เหตุการณ์วางระเบิดห้าง 2–3 ที่ ที่เพิ่งผ่านมานั้น คิดว่าตั้งใจจะก่อกวนสถานภาพทางเศรษฐกิจหรือเปล่า?
ต้องรอผลจากการพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เรื่องนี้ต้องรอดูผล

ลักษณะและการใช้ระเบิดเปลี่ยนไปจากเดิม?
ธรรมดา เดี๋ยวนี้ระบบการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ ทำให้สามารถเรียนกันได้ทั่วโลก เขาสามารถเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ แต่เขาก็ต้องรู้ด้วยว่า รัฐก็มีเครื่องมือ มีเจ้าหน้าที่ มีวิธีการ มีประชาชนที่เข้ามาอยู่กับรัฐมากขึ้น ขณะที่พวกเขาโดนจำกัดเคลื่อนไหวโดยวงประชาชน เขาจะมีความสามารถอย่างไรก็แล้ว หากโดนจำกัดด้วยวงของประชาชนแล้ว มันไปไม่รอด

การที่รัฐเอาประชาชนพื้นฐานมาเป็นทหารพราน มาเป็นตำรวจ หรือมาเป็นข้าราชการในพื้นที่นั้น มันจะทำให้พื้นที่ค่อยๆ เย็นลง เพราะบุคคลเหล่านั้นเป็นคนท้องถิ่น

อีก 4–5  ปี จะเย็นลงหรือเปล่า
ไม่น่าจะถึง ประมาณ 1–2 ปี ก็เย็นลงแล้ว พวกเขาจะไปไหน ในเมื่อเรายินดีที่ต้อนรับเขากลับบ้น 

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยังคงอยู่?
ผมว่าไม่น่าจะมีปัจจัยภายนอกเข้ามา เพราะวันนี้ประชาชนที่นี่เขาเบื่อความรุนแรงที่ไม่รู้จะจบสิ้นเมื่อไหร่ เพียงแต่ขณะเขาถูกอำนาจปลายกระบอกปืนจี้หลังอยู่

บุคคลที่จะเข้ามาใช้มาตรา 21 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มีตัวตนชัดเจนบ้างหรือยัง?
ขณะนี้มีการทดลองใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ชุดแรกมีผู้สมัครเข้ามาตรา 21 จำนวน 4 คน แต่ต่อมาขอถอนตัว ได้ยินข่าวจะกลับเข้ามาใช้มาตรา 21 อีกครั้ง อีก  2 คน ที่จะเข้ามาอยู่ในมาตรา 21  เป็นชุดใหม่

เมื่อสองวันที่ผ่านมา มีการจับกุมบุคคลที่ควบคุมคนกลุ่มนี้ได้ที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ผมบอกได้เลยว่า ถ้าหากเขาอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา เขาหนีพ้น ขณะนี้งานการข่าวกระชับวงเข้ามามากแล้ว จับกุมทุกวัน ไม่มีทางหนีรอดไปได้ รัฐก็ไม่มีการทำร้ายประชาชน ผมคิดไม่ออกว่า จะเกิดรุนแรงมากขึ้นได้อย่างไร เพราะผมไม่ทำร้ายใคร ผมบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น หากมอบตัวก็เอาเข้ามาตรา 21 เป็นเรื่องที่ดีที่เวทีทางเมืองเปิดให้มีการต่อสู้อย่างเสรี 

ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า มาตรา 21 จะใช้ได้ผลมากน้อยแค่ไหน รัฐจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือหลัก ทดแทนกฎหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนใต้ภาคใต้?
เราใช้นโยบาย ใช้ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือหลัก ส่วนมาตรา 21 ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ในการเปิดโอกาสให้คนกลับออกมาได้ บางคนมองว่ามันจะเป็นไปได้หรือไม่ สำหรับผมแล้วประชาชนมีวิจารณญาณ เขาย่อมรู้เองว่า หาก 4 คนชุดแรกปฏิเสธไม่ใช้มาตรา 21 ก็ต้องสู่กระบวนการประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากติดคุกแล้วใครละติดคุก แต่ตามกระบวนการมาตรา 21 อย่างมากก็แค่อบรมก็เลือกเอา ตอนนี้ 4 คนชุดแรก เลือกที่จะสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในเมื่อเขาเลือกทางที่จะสู้คดีก็เป็นสิทธิของเขา ผมไม่ได้เสียหน้าอะไร

ชาวบ้านที่ถูก 4 คน กระทำจะไม่ยินยอมให้พวกนี้ใช้มาตรา 21 ได้หรือเปล่า?
เขามีกระบวนการเยียวยา เข้าไปดูแล เข้าไปชดใช้ความสูญเสียจากกระทำของ 4 คนนี้ คณะกรรมการฯ เข้าไปพูดคุยกับญาติผู้เสียหายหลายครั้ง จนญาติของผู้เสียหายยินยอม เมื่อยินยอมแล้ว ปรากฏว่าเจ้าตัวกลับไม่ยอมเข้ากระบวนการมาตรา 21 สังคมก็ได้เห็นว่า รัฐได้พยายามให้ทางออกกับพวกเขาอยู่ เป็นการหาทางออกให้กับสังคม เป็นการปรองดอง

ส่วนคนที่ถูกจับตามหมายจับ หากเขาให้การเป็นประโยชน์ ก็มีเหตุอันควรที่จะพิจารณา ถ้าหากเขาร้องขอ แต่เราต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่า จะให้หรือไม่ ถ้าหากเข้ามาตรา 21 แล้ว ทำให้สังคมสงบ ก็จะพิจารณาให้เข้ามาตรา 21 ได้

การเข้าอบรมตามมาตรา 21 ใช้เวลาเพียงแค่ 6 เดือน ครอบครัวสามารถเยี่ยมได้ มีที่พักที่กินฟรี ง่ายขนาดนี้ 4 คนแรกยังไม่เอาเลย ผมว่าบ้านเราอยู่แบบประนีประนอม ไม่ใช่สังคมสุดโต่ง 

ทหารมีวินัยเข้มงวด มีนโยบายชัดเจน แต่ที่ผ่านมามีการร้องเรียนหลายกรณี บางคดีถูกนำขึ้นศาลทหาร?
คดีของทหารก็จะขึ้นศาลทหาร แต่หากคู่กรณีทหารเป็นพลเรือน ต้องไปขึ้นศาลพลเรือน สำหรับคดีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง ผมรู้ว่ามันจะจบแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจ ผมไม่ได้ดูรายละเอียด แต่ผมว่ามีการเยียวยากันไปแล้วพอสมควร  ส่วนกรณีบ้านบานา อำเภอเมืองปัตตานี ไม่รู้ว่าขึ้นศาลทหารหรือศาลพลเรือน แต่ผมมั่นใจว่าหากคู่กรณีของทหารเป็นพลเรือน จะไม่ขึ้นศาลทหาร คดีจะไปขึ้นศาลอาญา ศาลทหารจะพิจารณาคดีคู่กรณีเป็นทหารกับทหาร ศาลทหารจะลงโทษหนัก บางทีถึงประหารชีวิต ไม่อย่างนั้นองค์กรทหารอยู่ไม่ได้เป็นร้อยปี หากไม่ได้ยึดข้อบังคับ กฎระเบียบอย่างเข้มงวด ขัดคำสั่งต่อหน้าศัตรูทหาร สามารถยิงทิ้งได้เลย ไม่อย่างนั้นกองทัพจะอ่อนแอ

พื้นที่ทดลองยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  เป็นอย่างไรบ้าง?
ความจริงพื้นที่ที่มีการยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.254  เป็นพื้นที่ดีอยู่แล้ว อย่าง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา อย่างอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ไม่ได้มีเหตุอะไรมากมาย ใช้กระบวนการยุติธรรมอำเภอและตำรวจ มีทหารเข้าไปเสริมแค่นิดหน่อย

ผมอยากยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่บางพื้นที่เรายังต้องให้กองกำลังเข้าไปปฏิบัติการอยู่ ฉะนั้นก็ต้องอาศัยพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 สำหรับบางพื้นที่

สำหรับองค์กรลับ เราไม่สามารถใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ทั้งหมด พอเราจับตัวมาสอบสวน เขาก็ข่มขู่พยาน หรือยิงพยานทิ้ง ทำให้พวกเขาหลุดกันเป็นแถว ผมไปตรวจสอบบุคคลที่หลุดคดี ส่วนมากแล้วเกี่ยวข้องกับขบวนการทั้งนั้น มีแต่คนซัดถอด แต่หาคนมาเป็นพยานไม่ได้ โครงสร้างสังคมมันเป็นอย่างนี้

กระบวนการของตำรวจ ฝ่ายปกครอง ยุติธรรม มันถูกออกแบบมา สำหรับจัดการผู้ร้ายธรรมดา ที่ไม่ได้เป็นองค์กรจัดตั้ง มีอุดมการณ์ มียุทธศาสตร์ มีอาวุธ มีกองกำลังชัดเจน พื้นที่นี้จึงต้องเอากองกำลังทหารมาช่วย

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังต้องใช้ต่อไปเรื่อย

ใช้บางพื้นที่เท่านั้น ผมพยายามยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา แต่ชาวบ้านไม่ยอมให้ยกเลิก 

ในเวทีระหว่างประเทศ มีการพูดถึงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ของไทย มีมาตราที่ระบุเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชอบทางคดี ตรงนี้อาจจะทำให้เกิดวัฒนธรรมความไม่รับผิดชอบ?
ระหว่างประเทศเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ISA (กฎหมายความมั่นคง) ของประเทศมาเลเชียจับขังเป็นปีหรือสองปีได้เลย ของเราแค่เชิญตัวมาวันเดียว เราต้องรับผิดชอบถ้ามีการซ้อมทรมาน อย่างอื่นไม่ต้องรับผิดชอบ เช่น ค่าเสียเวลาจากควบคุมตัว เป็นต้น แต่การซ้อมทรมาน เจ้าหน้าที่โดนลงโทษแน่นอน ความรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ยังมีอยู่ ไม่ใช่ทำอะไรไม่ได้เลย

การร้องเรียนส่งผลให้การทำงานของเจ้าหน้าที่หยุดชะงักหรือไม่?
ก็อาจจะทำให้แรงที่จะรุกไปข้างหน้าชะลอลง ผมเห็นภาพว่าเขารุกอย่างไร มันเป็นการชิงไหวพริบกัน 

กรณีที่มีการพูดกันมาก ตั้งแต่มาเป็นแม่ทัพคือยุทธการปิดเขาบูโด มีข่าวว่ายึดอาวุธได้จำนวนมาก จะมียุทธการลักษณะอย่างนี้อีกหรือไม่?
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางการข่าว ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ปิดล้อมหรือเข้าไปยึด หากมีคนรวมตัวเพื่อเตรียมก่อเหตุอยู่บนภูเขา ถ้าเรามีข้อมูลเราจำเป็นต้องดำเนินการ เรามั่นใจว่าขบวนการใช้หลักทิ้งภูผาเข้าหามวลชน ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ ใช้หมู่บ้านเป็นตัวตั้งฐานอยู่กับประชาชน เป็นงานค่อนข้างยากและละเอียดอ่อน ในพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ผู้ปฏิบัติทำค่อนข้างยาก เพราะความคิดความเชื่อต่างกันเหมือนคนละพวก

ผมว่าด้วยความจริงใจ และใช้คนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นทหารพรานก็ดีมาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อแก้ปัญหาตามยุทธศาสตร์ 5–6 ด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ใครแพ้ ไม่มีใครเสีย พื้นที่แห่งนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของพี่น้องมลายูต่อไป มุสลิมอยู่ได้ทั่วโลก

ผมอ่านอัลกรุอ่านมากกว่าอ่านพระไตรปิฎก เพื่อที่จะทำความเข้าใจวิถีชีวิต พวกผมที่นี่มีความใส่ใจ เพราะมันเป็นสงครามแย่งชิงประชาชน เราต้องเข้าใจ ต้องพูดคุยให้รู้เรื่อง จะเห็นได้ว่าเรื่องการใส่รองเท้าเข้ามัสยิด การไปขุดสุสาน (กุร์โบ)ข องพี่น้องมุสลิมก็หายไป เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งมาจากคนพื้นเมือง

กรณีการซ้อมทรมาน มีการลงโทษทางวินัยทหารอย่างไรบ้าง?
ผิดนโยบาย ขัดนโยบาย ผิดกฎหมายก็ต้องลงโทษ การลงโทษนั้นกำหนดเลยว่า กรณีขัดคำสั่ง ขัดนโยบาย มีโทษตั้งแต่กักขัง จำขังในคุก แล้วมีงดเลื่อนยศ งดเลื่อนตำแห่ง งดพิจารณาขั้นเงินเดือน ตามแบบธรรมเนียมทหาร  ถ้าเกี่ยวข้องกฎหมายอาญาก็ส่งตัวขึ้นศาล 

กรณีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง มีการดำเนินการทางวินัยอย่างไร?
ในทางทหาร มีการลงโทษแน่นอนตามที่กล่าวข้างต้น ผมรายละเอียดไม่ได้ งดเลื่อนขั้น เมื่อโดนคดีอาญาต้องถูกพักราชการ หรืออกจากราชการไว้ก่อน ไม่ได้รับเงินเดือน รอจนศาลตัดสิน

ส่วนคดีแพ่งผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ตามกระบวนการยุติธรรม 

มีการจับยึดอาวุธอะไรได้บ้าง ศักยภาพอาวุธของขบวนการเป็นอย่างไร?
ที่ผ่านมาเรายึดอาวุธได้เยอะพอสมควร เฉพาะอาวุธที่เขาได้ไปจากค่ายกองพลพัฒนาที่ 4 (ค่ายปิเหล็ง) อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เรายึดกลับมาได้กว่า 100 กระบอก อาวุธที่ได้กลับมาเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา หากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ดี มันน่าจะมีข้อบกพร่อง อาวุธปืนน่าจะแย่ลง จำนวนกระสุนก็น้อยลง ตอนปล้นฝ่ายขบวนการได้กระสุนไปไม่เยอะ ตอนปล้นค่ายปิเหล็ง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เขาได้ปืนไปกว่า 400 กระบอก ล่าสุดปล้นฐานปฏิบัติการพระองค์ดำ สังกัด ร้อย ร.15121 ฉก.นราธิวาส หมู่ที่ 1 ตำลบมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 21 มกราคม 255 ก็ได้ปืนไป 50 กว่ากระบอก

ผมเชื่อว่าประชาชนร้อยละเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ อยากให้ชายแดนภาคใต้มีความสงบ อยากใช้ชีวิตปกติ ประชาชนส่วนใหญ่เบื่อกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ยากที่จะแก้ปัญหา เพราะขบวนการจัดตั้งฐานอยู่ในชุมชน ประชาชนในชุมชนอยู่กับเขา

ตอนนี้ทหารพรานที่เป็นคนในพื้นที่ มีจำนวนเท่าไหร่?
คนในพื้นที่มีประมาณ 70–80 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ใช่มุสลิมอย่างเดียว มีคนไทยพุทธด้วย

คิดว่าจะใช้คนพื้นที่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ได้เมื่อไหร่?
เป็นเสรีภาพของคนไทยทุกคน สามารถจะเข้ามาเป็นทหารพรานในพื้นที่นี้ได้

การศึกษาของทหารพรานอยู่ในระดับไหน?
อาสาสมัครทหารพรานหญิงจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งหมด ส่วนอาสาสมัครทหารพรานชายส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ขั้นต่ำจบการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 6 เป็นอย่างน้อย ปัจจุบันมันมีโควต้าที่กองทัพมอบให้ผมประมาณปีละ 50 ที่ ทหารพรานเงินเดือนรวมแล้วประมาณ 15,000 บาท ใครละอยากออก ใครอยากจะทำความผิด ไม่มีใครเกเรกันง่ายๆ ใครทำผิดผมเอาคนอื่นมาแทน ผมปลดได้เลย 

มีปลดไปบ้างหรือยัง?
มีหลายคน ไม่ฟังคำสั่งผมปลดหมด ทหารพรานปลดง่าย แม่ทัพปลดได้เลย

หลักสูตรทหารพรานมีอะไรบ้าง?
ฝึกพื้นฐานเบื้องต้น เหมือนทหารใหม่ ฝึกหน่วยทหารขนาดเล็ก หน่วยทหารระดับปฏิบัติการพิเศษ อบรมงานการเมืองประมาณ 12 วิชา มีวิชาประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ประเพณี กฎหมายอิสลาม เป็นต้น

ผมพยายามเร่งรัดให้เหตุการณ์สงบลงภายใน 1–2 ปีนี้ ไม่ใช่ผมจะเก่ง แต่ผมมองเห็นแนวโน้มที่จะทำให้เหตุการณ์สงบลง จากการทำงานของผม

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แม่ทัพรับทหารพรานยิงผู้บริสุทธิ์กรณี 4 ศพ ศอ.บต พร้อมเยียวยารายละ 5 แสน

Posted: 21 Mar 2012 05:54 AM PDT

แม่ทัพภาค 4 แถลงยืนยันผลสรุปของคณะกรรมการฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงคดี 4 ศพประชาชนบริสุทธิ์ เยียวยารายละ 5 แสน  ดันตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อิสระเพื่อดึงความเชื่อมั่นชาวบ้าน  พร้อมดำเนินการให้แพทย์ตรวจสภาพจิตใจทหารที่ทำงานใต้ความกดดันตึงเครียด

พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4  กล่าวถึงข้อสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ที่ทหารพรานยิงชาวบ้าน 4 คนเสียชีวิตที่บ้านกาหยีว่า เหตุการณ์นี้ “ เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ สำหรับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์  สาเหตุที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากสำคัญผิด เพราะว่าสภาพแวดล้อมในขณะนี้มืด  ประจวบกับเวลาที่เกิดนั้นค่อนข้างจะดึก”

การแถลงข่าวมีขึ้นเมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 21 มีนาคม 2555 ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า  ค่ายสิรินธร จังหวัดปัตตานี โดยมีนายประมุข ลมุล รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและ นายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีในฐานะรองประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเข้าร่วมแถลงด้วย โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่บ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา  อาสาสมัครทหารพรานสามคนได้กราดยิงเข้าใส่รถกระบะของชาวบ้านซึ่งกำลังเดินทางไปละหมาดศพในตอนค่ำทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คนและบาดเจ็บ 5 คน  เพราะเข้าใจว่าเป็นรถของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยกอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า มีนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีเป็นประธาน และมีกรรมการอีก 13 ท่าน ซึ่งรวมถึงตัวแทนจากฝ่ายทหาร ศอ.บต. ศูนย์ทนายความมุสลิม และองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ และตัวแทนชาวบ้าน โดยคณะกรรมการได้ร่วมกันลงนามรับรองรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงไปในวันอังคารที่ผ่านมาที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี

“คณะกรรมการได้ให้ความเชื่อถือต่อคำให้การของพี่น้องประชาชนมากกว่าคำให้การของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งผมยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการชุดนี้ เพราะคณะกรรมการชุดนี้ทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ และคณะกรรมการชุดนี้ได้รับความเชื่อถือจากพี่น้องประชาชน” พล.ท.อุดมชัยกล่าว

แม่ทัพภาค 4 ได้ระบุถึงข้อจำกัดของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเพื่อหาหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์  โดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะตรวจศพของชาวบ้านสองรายที่เสียชีวิตเพื่อพิสูจน์ว่า มีเขม่าดินปืนหรือไม่ได้  เพราะชาวบ้านเชื่อว่าขัดต่อหลักการทางศาสนา   

ในการให้ข้อมูลกับคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ทหารพรานระบุว่า มีเสียงปืนดังขึ้นมาก่อนหนึ่งนัด  ทำให้พวกเขาต้องยิงตอบโต้  ในขณะที่ชาวบ้านปฏิเสธว่า ไม่มีใครพกอาวุธไปในรถ  แต่หลังเกิดเหตุกลับพบอาวุธปืนอาก้าและปืนพกสั้นอย่างละหนึ่งกระบอกอยู่ในรถ พร้อมปลอกกระสุนจำนวนหนึ่ง  จากการประมวลหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการได้ระบุว่า ปลอกกระสุนปืนจำนวน 3 ปลอกที่ตกอยู่ในห้องโดยสาร ไม่ได้ถูกยิงมาจากปืนอาก้าที่พบในรถ  แต่กลับถูกยิงมาจากปืนสามกระบอกของทหารซึ่งเป็นของกลางที่อยู่ในที่เกิดเหตุนั่นเอง  นอกจากนี้ยังไม่พบเขม่าดินปืนจากปืนกระบอกนั้น ซึ่งน่าเชื่อได้ว่า ปืนนั้นไม่ได้ผ่านการยิงในขณะเกิดเหตุ   

ส่วนปืนพกสั้นที่พบในรถนั้น จากการตรวจสอบเขม่าดินปืนพบว่า มีการยิงจากปืนกระบอกดังกล่าวจริง แต่จากการเก็บตัวอย่าง ไม่พบเขม่าดินปืนจากมือของผู้ได้รับบาดเจ็บสามคน ทำให้ยืนยันได้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นผู้ยิง แต่คณะกรรมการไม่สามารถตรวจสอบเขม่าดินปืนที่ศพชาวบ้านสองคนที่เสียชีวิตที่ด้านหลังรถได้  เพราะญาติไม่ยินยอมให้ตรวจพิสูจน์  จึงไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าผู้เสียชีวิตเป็นผู้ยิงปืนพกสั้นในรถหรือไม่

“ในอนาคตมีความจำเป็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้นำศาสนา ควรได้ออกมาวินิจฉัยในเรื่องต่างๆ  เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เชื่อมั่นว่าไม่ได้ทำผิดหลักศรัทธา  เป็นเรื่องที่ผู้นำศาสนาควรจะได้ออกมาดำเนินการอย่างจริงจัง” แม่ทัพภาคสี่กล่าว 

นอกจากนี้ พล.ท.อุดมชัยยังได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นโดยให้เป็นสถาบันที่มีความอิสระ มีเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำศาสนา และผู้นำท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือ  พร้อมทั้งจะได้มีการดำเนินการให้แพทย์เข้ามาดูแลในเรื่องสภาวะจิตใจของทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้อย่างกดดันและตึงเครียดเป็นเวลานาน

นายประมุข รองเลขาธิการ ศอ.บต.  แถลงว่า  ทาง ศอ.บต.จะจ่ายค่าเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้คนละ 500,000  บาท  โดยทางจังหวัดปัตตานีได้มอบให้แล้ว 100 ,000 บาท และจะได้มีการมอบให้อีก 400,000 บาท  พร้อมทั้งจะได้มีการเยียวยาช่วยเหลือในด้านอื่นๆ ต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทุ่ม 8.4 หมื่นล้านพัฒนาใต้ ‘อันดามัน’ - เพชรเกษม 41 จี้ทบทวนเมกะโปรเจ็กต์

Posted: 21 Mar 2012 05:42 AM PDT

ครม.สัญจรภูเก็ต เห็นชอบกรอบแผนงานโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดา 117 โครงการ วงเงิน 84,064 ล้านบาท ด้านเครือข่ายเพชรเกษม 41 ตามติด ชูป้ายเขียว “หยุดแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับนายทุน”

 
ที่มาภาพ: Yingluck Shinawatra
 
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 20 มีนาคม 2555 ที่ห้องประชุมอาคารสำนักงานอธิ​การบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2555 โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม
 
เปิด 117 โครงการพัฒนา ทุ่มงบ 84,064 ล้านบาท
 
จากนั้น นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี ที่ห้องแถลงข่าวชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิ​การบดี เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. สรุปใจความสำคัญได้ว่า คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกรอบแผนงานโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง จำนวน 117 โครงการ เป็นวงเงินทั้งสิ้น 84,064 ล้านบาท
 
ประกอบด้วย โครงการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน 10 โครงการ เป็นวงเงินทั้งสิ้น 24,873 ล้านบาท มีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีสามารถดำเนินการทันที ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวท่ามาเนาะห์ ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา 30 ล้านบาท โครงการพัฒนาเกาะสุกร จ.ตรัง เป็นแหล่งท่องเที่ยว 25.94 ล้านบาท โครงการเสริมสร้างความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ที่ จ.ภูเก็ต 25.37 ล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำรองรับการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน ที่ จ.ระนอง 20 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 101.31 ล้านบาท
 
สำหรับโครงการของแต่ละจังหวัด 107 โครงการ เป็นวงเงินทั้งสิ้น 59,263 ล้านบาท แบ่งเป็น จ.ภูเก็ต 67 โครงการ 47,683 ล้านบาท พังงา 13 โครงการ 3,817 ล้านบาท กระบี่ 10 โครงการ 3,439 ล้านบาท ตรัง 6 โครงการ 334 ล้านบาท และระนอง 11 โครงการ 3,990 ล้านบาท
 
โครงการที่สามารถดำเนินการทันที สำหรับ จ.ภูเก็ต ประกอบด้วย โครงการแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จ.ภูเก็ต 25 ล้านบาท โครงการระบบท่อส่งน้ำจากโรงกรองน้ำบ้านบางโจไปยังท่าอากาศยานภูเก็ต 24.84 ล้านบาท โครงการพัฒนาระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ จ.ภูเก็ต 17.30 ล้านบาท โครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานบ้านพระวิชิตสงคราม ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 9.11 ล้านบาท โครงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงถนนเจ้าฟ้าตะวันออก 20 ล้านบาท และโครงการพัฒนาระบบตรวจจับรถยนต์วิ่งด้วยความเร็วเกินอัตราที่กำหนดและระบบตรวจจับรถยนต์ฝ่าฝืนสัญญาไฟจราจรในเขต จ.ภูเก็ต 17 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 113.25 ล้านบาท
 
จ.ระนอง ประกอบด้วย โครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้วอย่างยั่งยืน 42.26 ล้านบาท โครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวเกาะพยาม 15 ล้านบาท โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของสถาบันเกษตรกร 10.80 ล้านบาท โครงการบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายจากอุทกภัย 21.12 ล้านบาท โครงการจัดระบบป้องกันและการสื่อสารเพื่อจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนฝั่งทะเล และเกาะแก่ง 6.15 ล้านบาท โครงการส่งเสริมและเพิ่มพูนรายได้เศรษฐกิจชุมชนโดยจัดสร้างลานปาล์มชุมชน 6.50 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 101.83 ล้านบาท
 
จ.พังงา ประกอบด้วย โครงการเตรียมพื้นที่ ปรับปรุงพื้นที่ ถมดินบริเวณโครงการจัดตั้งศูนย์ราชการ จ.พังงา 35 ล้านบาท โครงการก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์อนุสรณ์สถานเรือ ต.813 42.98 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงเส้นทางสายเพชรเกษม ช่วงเขาหลัก-บางเนียง 30 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 107.98 ล้านบาท
 
จ.กระบี่ คือ โครงการก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน และอุบัติภัยทางธรรมชาติ เพื่อรองรับคุณภาพชีวิตที่ดีและการท่องเที่ยว 99.34 ล้านบาท
 
จ.ตรัง ประกอบด้วย โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวเขาช้างหาย อ.นาโยง จ.ตรัง 10 ล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว 30 ล้านบาท และโครงการการพัฒนาแหล่งน้ำ จ.ตรัง 64 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 104 ล้านบาท
 
นอกจากนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผ่อนผันให้ใช้พื้นที่ป่าชายเลนคลองเกาะผี ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต ก่อสร้างโครงการถนนสายหลักทางด้านใต้ ทางยกระดับ 600 เมตร (สะพานข้ามคลองเกาะผี) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอด้วย
 
“ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งจัดทำรายงานการจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2555 ส่งให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณปีงบประมาณ 2555 ยกเว้นโครงการการเตรียมพื้นที่ ปรับปรุงพื้นที่ ถมดินบริเวณโครงการจัดตั้งศูนย์ราชการจังหวัดพังงา ให้ดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ พ.ศ.2539 ก่อนทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ” นายชลิตรัตน์ แถลง
 
จี้รัฐบาลทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้
 
ขณะที่เวลา 12.30 น. วันเดียวกัน ที่บริเวณประตูอิราวดีทางเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาภูเก็ต เครือข่ายประชาชน 14 ภาคใต้ ในนามเพชรเกษม 41 ประมาณ 20 คน รวมตัวทำกิจกรรม โดยชูแผ่นป้ายผ้าสีเขียวเขียนข้อความว่าหยุดแผนพัฒนาภาคใต้ฉบับนายทุน
 
นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี คณะทำงานเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล กล่าวว่า รัฐมนตรีให้ความสำคัญและรับฟังเสียงจากที่ประชุมคณะกรรมร่วมภาครัฐ เอกชนฯ หรือ กรอ. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มทุนผู้ที่ได้รับประโยชน์เป็นหลัก มีการเสนอแผนพัฒนาต่างๆ แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
 
“เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ เราหวังว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่จะเคารพและเข้าใจและเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นร่วมกันสร้างสรรค์การพัฒนา สามารถกำหนดเศรษฐกิจในภาคใต้ได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” นายวิโชคศักดิ์ กล่าว
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้อง กสม.ระงับโซล่าฟาร์มทับสะแก หวั่นหมกเม็ดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

Posted: 21 Mar 2012 04:49 AM PDT

คณะกรรมการสิทธิฯ ลงพื้นที่ประจวบฯ ขณะชาวทับสะแก-เครือข่ายอนุรักษ์ฯ จี้ กฟผ.-กระทรวงพลังงาน ระงับโครงการเซลแสงอาทิตย์ 5 เมกะวัตต์และศูนย์พลังงานจนกว่า กฟผ.จริงใจ ได้ข้อสรุปการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เหลือกับชาวบ้าน

 
 
วันที่ 20 มี.ค.55 นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) เป็นประธานในเวทีประชุมร่วม 3 ฝ่าย ระหว่างคณะอนุกรรมการฯ กับตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ และตัวแทนกลุ่มชาวบ้านผู้ร้องเรียนปัญหา จากการที่มีชาวบ้านประจวบคีรีขันธ์ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในหลายกรณี ณ โรงแรมหาดทอง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
วาระการนำเสนอปัญหา ประกอบด้วย การประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจากรณีอ่างเก็บน้ำบ้านห้วยพลู  ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์  มีอธิบดีกรมชลประทาน นายอำเภอบางสะพาน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง เข้าร่วม ต่อจากนั้นเป็นการประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจากรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์  มีผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าร่วม
 
ต่อมาเป็นการประชุมเรื่อง ยุทธศาสตร์จังหวัดกับการจัดทำผังเมืองในพื้นที่และการส่งเสริมนโยบายการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีหน่วยงานและบุคคลเข้าร่วมการประชุม อาทิ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เกี่ยวข้อง
 
 
ด้าน กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก พร้อมด้วยเครือข่าย ประกอบด้วย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด และเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บางสะพาน เข้าร่วมการประชุมและได้ยื่นจดหมายต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ประธานบอร์ด กฟผ. และผู้ว่า กฟผ.ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอให้ระงับโครงการก่อสร้างเซลแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ และศูนย์พลังงานเนื้อที่ 250ไร่ บนพื้นที่ 4,142 ไร่ ใน อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกับชุมชนใน การใช้ที่ดินหมดทั้งแปลงของ กฟผ.
 
จดหมายดังกล่าวระบุว่า กฟผ.และกระทรวงพลังงานได้จัดทำแผนการก่อสร้างโครงการดังกล่าวโดยไม่มีความชัดเจนว่าพื้นที่ดินที่เหลืออีก 3,892 ไร่ซึ่งประมาณ 94%ของเนื้อที่โดยรวมจะทำโครงการใด รวมทั้งไม่มีข้อตกลงร่วมกับชุมชนในการใช้พื้นที่ ขณะที่ผู้ว่า กฟผ.ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยยอมรับว่า อ.ทับสะแกเป็นเป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน
 
ในระดับพื้นที่ มีความพยายามจาก กฟผ.ที่จะเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมาโดยตลอดในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ให้ชาวประจวบฯ รู้สึกได้ถึงความไม่จริงใจ ของ กฟผ.ในการทำโครงการดังกล่าว ซึ่งถูกมองว่าเป็นเพียงฉากเริ่มเพื่อนำไปสู่การปิดล้อมพื้นที่เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
 
อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่กรณีดังกล่าวจะเป็นประเด็นความขัดแย้งที่บานปลายต่อไป ขณะที่ไฟฟ้าของประเทศยังล้นระบบ โครงการนี้จึงไม่มีผลต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชน
 
ทั้งนี้ จดหมายกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยื่นขอระงับโครงการโซล่าฟาร์มทับสะแก มีเนื้อหาดังนี้
 
 
กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
68/12 ถ.เพชรเกษม อ.ทับสะแก
จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77130
 
20 มีนาคม 2555
 
เรื่อง ขอให้ระงับโครงการก่อสร้างเซลแสงอาทิตย์ 250ไร่ บนเนื้อที่ 4,142 ไร่ชั่วคราว จนกว่าจะมีข้อตกลงร่วมกับชุมชนใน การใช้ที่ดินหมดทั้งแปลงของ กฟผ.
เรียน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ประธานบอร์ด กฟผ.และผู้ว่า กฟผ.ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อ้างถึง แผนโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ทับสะแก 5 เมกะวัตต์และศูนย์พลังงาน 250 ไร่ของกฟผ.
สิ่งที่ส่งมาด้วย ข่าวสัมภาษณ์ผู้ว่า กฟผ.ยอมรับทับสะแกคือเป้าหมายการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของกฟผ.
 
 
ตามที่ กฟผ.และกระทรวงพลังงานดัจัดทำแผนการก่อสร้างโครงการเซลล์แสงอาทิตย์และศูนย์พลังงาน ในเนื้อที่ 250 ไร่ ที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยไม่มีความชัดเจนว่าพื้นที่ดินที่เหลืออีก 3,892 ไร่ซึ่งประมาณ 94%ของเนื้อที่โดยรวม กฟผ.ไม่มีข้อตกลงร่วมกับชุมชนว่าจะทำโครงการใด
 
ในขณะที่ผู้ว่ากฟผ.ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยอมรับว่า... อำเภอทับสะแกเป็นเป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตามข่าวที่ได้ส่งมาด้วย
 
ในระดับพื้นที่ มีความพยายามจาก กฟผ.ที่จะเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ่าถ่านหินมาโดยตลอดในระยะ4 ปีที่ผ่านมา เช่น การที่ กฟผ.ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนผังเมืองรวมชมชนทับสะแก เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเข้าเจรจากับแกนนำเรื่องกองทุนรอบโรงไฟฟ้า การทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การทำโครงการชดเชยผลกระทบทางทะเล การพยายามล่าลายชื่อชาวบ้านเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้น
 
จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ให้ชาวประจวบฯ จะเท่าทันในเล่ห์เหลี่ยม รู้ชัดถึงความไม่จริงใจ ของ กฟผ.ในการทำโครงการที่อำเภอทับสะแก
 
การก่อสร้างโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ จึงเป็นแค่ฉากเริ่มเพื่อนำไปสู่การปิดล้อมพื้นที่เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
 
ด้วยเหตุนี้ บรรยากาศความหวาดระแวงพฤติกรรมของ กฟผ.จึงเป็นกระแสคุกรุ่นอยู่ในใจของชาวประจวบมาโดยตลอด และมีแนวโน้มจะเป็นประเด็นความขัดแย้งที่บานปลายได้ไม่ยากนักและไฟฟ้าของประเทศยังล้นระบบ โครงการนี้จึงไม่มีผลต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชน
 
จึงขอให้กระทรวงพลังงานและ กฟผ.ระงับโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีข้อสรุปร่วมกับชุมชนถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินของ กฟผทั้งแปลง 4,142 ไร่ เพื่อประโยชน์ในการลดความขัดแย้งระหว่าง กฟผ.และชาวประจวบฯ
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 
กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก
กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บางสะพาน
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบหน้า ‘พฤษภา 53’: “พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว” ประจวบ ประจวบสุข

Posted: 21 Mar 2012 04:48 AM PDT

ผู้หญิงคนหนึ่งเฝ้าเลี้ยงลูกชายสามคนอยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ โดยแทบไม่เคยย่างเท้าออกไปไหนไกลจากหมู่บ้าน เธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสามีเป็นคนเสื้อแดง...หลังพฤษภา 53 นอกจากความหวังเพียงเล็กน้อยของหญิงชาวนาคนหนึ่งจะกลายเป็นเพียงสิ่งเลื่อนลอยแล้ว ชีวิตของเธอยังไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป...

 1

สามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กินกันมากว่าสิบหกปี แต่แทบไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเลย สามีเป็นชายวัยสี่สิบต้นที่ร่อนเร่ไปทำงานต่างถิ่นตั้งแต่เริ่มหนุ่ม และใช้เวลาในวัยฉกรรจ์หมดไปกับชีวิตลูกเรือตังเก เขาขึ้นบกมาหลังแม่ตาย ต่อมาได้แต่งงานกับหญิงชาวนาผู้มีแขนซ้ายใช้งานได้ไม่ปกติอันเนื่องจากอุบัติเหตุแต่ครั้งรุ่นสาวคนหนึ่ง ความไม่ชำนาญในวิถีชาวนาทำให้เขายังต้องเร่รับจ้างอยู่ตามเมืองใหญ่ ขณะภรรยาของเขาเฝ้าเลี้ยงลูกชายสามคนอยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ โดยแทบไม่เคยย่างเท้าออกไปไหนไกลจากหมู่บ้าน ช่วงเทศกาลที่ไม่ยาวนานอะไรนักและมีไม่กี่ครั้งในแต่ละปี ครอบครัวจึงจะได้อยู่กันพร้อมหน้า ถึงฤดูทำนา สามีส่งเงินมาให้ภรรยาซื้อปุ๋ยซื้อยาและจ้างคนช่วยหว่านไถเก็บเกี่ยว บางปีเขาลางานมาช่วยแบกข้าวขึ้นยุ้งบ้างอย่างเก้ๆ กังๆ


ตลอดเวลาที่อยู่กันมา หญิงชาวนาผู้นี้แทบไม่เคยก้าวล่วงชีวิตส่วนตัวของสามีในเมืองใหญ่ แม้บางคราวได้ยินข่าวเรื่องผู้หญิงอื่นลอยมาตามลม เธอยังคงก้มหน้าทอผ้าอย่างสงบนิ่ง ความรับผิดชอบที่เขามีต่อครอบครัวอย่างไม่บกพร่อง ทำให้เธออยู่ได้ด้วยความเชื่อใจ 

อย่างไรก็ตาม เธอย่อมมีความหวังว่าสักวันจะได้อยู่กันพร้อมหน้า แต่แล้วสามีของเธอก็มาถูกยิงตายเมื่อเดือนพฤษภาคมปีกลาย โดยที่เธอไม่เคยรู้เลยว่า...เขาเป็นคนเสื้อแดง 

นอกจากความหวังเพียงเล็กน้อยของหญิงชาวนาคนหนึ่งจะกลายเป็นเพียงสิ่งเลื่อนลอยแล้ว ชีวิตของเธอ...ยังไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป...
 
 

2


“รงค์ ประจวบสุข” คือหญิงชาวนาวัย 44 ปี ที่สูญเสียสามีไปในสงครามประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ปัจจุบันเธออาศัยอยู่กับลูกชายสามคนที่บ้านกรูด เลขที่ 173 หมู่ 4 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ 

ภายในบ้านชั้นเดียวสีฟ้าที่เพิ่งปลูกใหม่หลังนั้น มีภาพถ่ายขาวดำของชายกลางคนผู้หนึ่ง ใส่กรอบสีทองติดอยู่บนผนัง ขอบบนมีตัวอักษรเขียนด้วยปากกาเมจิกสีแดงลายมือโย้เย้ว่า “วีระชนผู้กล้า ประชาธิปไตย” ขอบล่างเขียนชื่อเจ้าของภาพ “นายประจวบ ประจวบสุข” ใต้ภาพมีพวงมาลัยดอกมะลิพลาสติกสีขาว ติดกุหลาบแดงที่ปลายอุบะห้อยอยู่หนึ่งพวง พื้นด้านล่างมีแก้วพลาสติกใส่น้ำกับกระถางธูปเล็กๆ ที่ทำจากก้นขวดน้ำอัดลมวางอยู่ 
 
“ประจวบ ประจวบสุข” ถูกยิงเข้าที่หน้าอก บริเวณใต้ทางด่วนพระรามสี่-บ่อนไก่ แขวงช่องนนทรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ระบุว่า เขาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 

ภรรยาของประจวบเป็นหญิงชาวบ้านที่ยังนุ่งผ้าซิ่นในชีวิตประจำวัน บ้านเรือนของเธอสะอาด ข้าวของถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ บนลานปูนแคบๆ หน้าบ้านเห็นมีกี่ทอผ้าตั้งอยู่

“เพิ่งปลูกบ้านใหม่ ตอนได้เงินที่เขาตายนี่แหละ ทำไว้ให้ลูก” หญิงชาวนาพูดขณะกุลีกุจอดึงเสื่อออกมาปูให้เรานั่ง จากนั้นเดินเข้าครัวไปชงกาแฟร้อนมาให้ พลางออกตัวอย่างเกรงใจว่า “ไม่มีอะไรจะต้อนรับเลย” 

เมื่อเราบอกว่าจะมาสอบถามเรื่องการต่อสู้ของสามีเธอ รงค์ ประจวบสุข พยักหน้า ก่อนพูดเสียงราบเรียบ ว่า “อุดมการณ์ของเขาจะนั่นมาก” 

  

3


ย้อนไปเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน 

รงค์และประจวบต่างเกิดที่บ้านกรูด แต่อยู่คนละคุ้ม ยังไม่ทันได้รู้จักกัน ประจวบก็ย้ายตามครอบครัวไปอยู่อีกอำเภอ

“ตอนแรกเขาก็เกิดที่บ้านกรูดนี่แหละจ้ะ แต่ตอนเขาเรียนอยู่ ป.3 พ่อแม่ก็ย้ายไปอยู่ที่ศรีขรภูมิ บ้านหนองสองห้อง ตอนหลังถึงย้ายกลับมา ถึงได้มาเจอกัน”

แม่ของประจวบเป็นชาวศรีขรภูมิ อำเภอติดต่อกับจอมพระทางทิศใต้ ส่วนพ่อเป็นชาวบ้านกรูด 

“ตอนนั้นเขาย้ายไปทำนา มีที่นาที่นู่นด้วย แต่คงไม่เยอะมั้ง ตอนเด็กๆ ยังเล็กๆ อยู่ รู้สึกว่าเขาจะลำบาก ต้องรับจ้างตั้งแต่เด็ก แรกๆ รับจ้างเลี้ยงหมู พอโตหน่อยก็ไปอยู่โรงงาน แล้วก็ไปลงเรือตังเกอยู่ภาคใต้ตั้งหลายปี ส่งเงินมาให้แม่เขาตลอด” 

เส้นทางชีวิตของประจวบ ก็ไม่ต่างจากวิถีของคนอีสานทั่วไป

“ตอนแรกเขาจบ ป.6 แล้วไม่ได้เรียนต่อ เพราะครอบครัวยากจน แต่ตอนหลังเห็นว่าเขาไปสมัครเรียน กศน. อยู่นะ” รงค์พูดพลางลุกไปเปิดตู้เก็บของ หยิบกระเป๋าสตางค์ของสามีที่เธอเก็บไว้อย่างดีออกมาให้ดู 

ในนั้นมีบัตรประจำตัวประชาชน ระบุชื่อ นายประจวบ ประจวบสุข เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2511 ที่อยู่ตามบัตรเลขที่ 77 หมู่ 4 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ บัตรประกันสังคม ระบุการใช้สิทธิที่โรงพยาบาลสำโรง บัตรประกันชีวิตของบริษัทไทยประกันชีวิต บัตรเอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย บัตรสมาชิกพรรคไทยรักไทย ระบุวันสมัคร วันที่ 28 มิถุนายน 2545 ภาพถ่ายขาวดำขนาดสองนิ้วของเจ้าตัวและภรรยาเมื่อครั้งยังหนุ่มสาว รวมทั้งภาพถ่ายสีสดใสของลูกชายคนสุดท้อง นอกจากนี้ยังมีปฏิทินฉบับพกที่อีกด้านเป็นภาพถ่ายของในหลวงภูมิพล
 

2


“รูปถ่ายนั่นแหละ รูปตอนเขาเรียนศึกษานอกโรงเรียน” รงค์หมายถึงภาพถ่ายขาวดำของสามีที่บัดนี้ดูเก่าซีดเซียว “แต่รู้สึกว่าเขาจะเรียนไม่จบหรอก เขาเคยเล่าให้ฟัง ไม่แน่ใจ” 

รงค์แต่งงานกับประจวบขณะเธออายุ 28 ปี ส่วนประจวบอายุน้อยกว่าเธอหนึ่งปี 

“แต่งงานแล้วเขาไปกรุงเทพฯ แต่เราอยู่ที่นี่ ก็ไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน เขาให้เราดูแลลูกอยู่บ้าน เขาก็ทำงานส่งเงินให้ใช้ตลอด...เขาทำอยู่โรงงานถั่วงา ตอนแรกอยู่สำโรง พอย้ายจากสำโรงก็ไปอยู่บางขุนเทียน ซอยสุขสวัสดิ์ 14 อยู่ได้ตั้งหลายปีนะ จนได้เป็นหัวหน้าคนงาน ตอนนายกฯ ทักษิณอยู่ เขาทำโอทำไร ได้เงินดีนะตอนนั้น ถ้าทำโอก็ได้เป็นหมื่น ตรุษจีนบางปีเขาก็ซื้อทองซื้ออะไรให้ได้ใส่บ้าง”

เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่อยู่ไกลบ้าน ประจวบจึงไม่มีเพื่อนสนิทที่บ้านกรูด รงค์ว่าเพื่อนที่สามีเธอคบหา ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน หรือไม่ก็อยู่โรงงานใกล้เคียง ซึ่งล้วนเป็นคนบ้านไกลที่รงค์ไม่รู้จัก แต่ไม่ว่าอย่างไรสามีของรงค์ก็ยังคงเป็นชาวบ้านกรูดอยู่ดี บางปีเขาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหาผ้าป่ามาทอดที่หมู่บ้าน งานส่วนรวมอื่นๆ ก็มีแก่ใจช่วยเหลือ หากไม่เหลือบ่ากว่าแรง 

“เขาเป็นคนไปอยู่กรุงเทพฯ ก็เคยซื้อเสื้อนักกีฬามาให้เยาวชนที่นี่ใส่เหมือนกัน เป็นทีมฟุตบอล แล้วผ้าป่าอย่างนี้ เขาจะเป็นประธานจัดผ้าป่ามาโรงเรียน เขาช่วยเหลือสังคม”

ส่วนภาระหน้าที่ในครอบครัว รงค์กล่าวย้ำหลายต่อหลายครั้งระหว่างการสนทนาว่าสามีของเธอรับผิดชอบได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง “เขาเป็นคนรู้รับผิดชอบครอบครัวดี ถึงจะกินเหล้าบ้างอะไรบ้าง เขาทำงานหนักเขาก็ต้องกินน่ะผู้ชาย” 

“แล้วเขาเป็นคนไม่กลัวใครนะ ถ้าไม่ผิดเขาจะไม่กลัวใครเลย แต่ถ้าผิดเขาก็จะยอมหน่อย แต่เขาก็ไม่ได้เป็นคนเกเรระรานใคร อุดมคติของเขา จะถือว่าพรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว เขาไม่ให้คิดอะไรมาก เรื่องอะไรที่ผ่านมาก็ให้ผ่านไป เขามีแต่จะเดินหน้า ตอนไปชุมนุมนี่เหมือนกัน เพื่อนเขาเล่าให้ฟังว่าเขาเดินหน้าแล้วจะไม่ถอยหลัง อุดมการณ์ของเขา แต่เขาจะไม่เล่าให้เราฟัง เรื่องไม่สบายใจจะไม่เล่าให้เมียฟัง เราก็จะไม่เป็นคนไปจุ๊กจิ๊กอะไร จะไม่ซอกแซกเขา เรื่องเงินเดือนเหมือนกัน ทางนี้จะอุดมการณ์คือ ถ้าผู้ชายเขารู้รับผิดชอบครอบครัว เขาจะต้องรู้ว่าเราเดือดร้อนอะไร เขาต้องส่งเงินมาให้ ถ้าจุดนี้เขารับผิดชอบไม่ได้ ก็แสดงว่าไม่ใช่ผู้ชายแล้ว คิดอย่างนี้ เราก็จะไม่ไปจู้จี้ เงินเดือนเท่าไหร่จะไม่ถามเลย แต่เขาก็ทำหน้าที่ของเขาไม่บกพร่อง”

บางคราวมีข่าวลือลอยมาเข้าหู รงค์ก็พยายามไม่เก็บมาใส่ใจ 

“เราจะไม่คิดอะไรอย่างนั้นเลยนะ ไว้ใจกัน คนเรามันคิดว่าเป็นผัวเดียวเมียเดียวเนาะ บ้านนอกเรา พ่อแม่สั่งสอนมาอย่างงั้น ก็อยู่กันอย่างงั้น ถึงบางครั้งจะเคยได้ยินบางคนว่าเขามีเมียอยู่กรุงเทพฯ แต่ทางนี้ไม่สนหรอก ก็นั่งทอผ้าไป บางคนบอก เอ๊ ใจเย็นทอผ้าอยู่ได้ยังไง เราจะไม่ไปตามเลยนะ (หัวเราะ) มีคนเคยเล่าให้ฟัง แต่เราไม่เคยถามเขาเลย เขาบอกว่าเขารักลูกกับเมียมาก เขาเขียนไว้ในสมุด”
 
 

4


พ่อของประจวบเสียชีวิตไปนานแล้ว แม่เสียตามไปเมื่อหลายปีก่อน พี่น้องคนอื่นๆ ก็แยกย้ายกันไปมีครอบครัว ตั้งหลักปักฐานในถิ่นอื่น ที่ยังอยู่ใกล้กันบ้างคือน้องสาวคนถัดจากประจวบ อยู่ที่บ้านปลาเข็ง ใกล้ตัวเมืองจอมพระ ห่างจากบ้านกรูดราว 10 กิโลเมตร

ชีวิตครอบครัวของรงค์และประจวบ ดำเนินไปอย่างราบรื่นบ้าง ลุ่มๆ ดอนๆ บ้าง ระยะหลังฐานะครอบครัวย่ำแย่ลง เนื่องจากประจวบตกงาน ต้องกลับมาอยู่บ้าน นาข้าวของรงค์ก็เจอฝนแล้ง ไม่ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย 

“ตอนแรกยังไม่ได้ปลูกบ้าน เราอยู่กับแม่ไปก่อน แต่ก่อนบ้านสองชั้น ตอนแรกมีลูกสองคนก็ไม่ค่อยลำบากเท่าไหร่ เขาทำงานส่งมาให้ตลอด แต่พอมีลูกคนเล็กมานี่ ครอบครัวมีอุปสรรค ก็เลยขายบ้าน แฟนตกงาน แล้วเขาต้องผ่าตัดไส้เลื่อนด้วย ต้องพักงาน ทำงานหนักไม่ได้ ลูกคนโตก็ผ่าตัดไส้ติ่งอีก ทางนี้ก็ลูกน้อย ทำนามันก็แล้ง ไม่ได้ข้าว มาตกอับปีห้าหนึ่งห้าสองนี่แหละ ตกอับมาตลอดเลย ช่วงทักษิณได้เงินดี แต่เขามีปัญหากับเถ้าแก่ เถ้าแก่นี่เขาทำงานให้ตั้งแต่เริ่มสร้างโรงงาน เถ้าแก่มีสองคนพี่น้อง เขาทะเลาะกับคนน้อง แต่คนพี่นั่นรักเขามาก ตอนออกงานมาแล้วยังโทรมาตาม แต่เขาไม่กลับไป เขาว่าเดินหน้าแล้ว ไม่ถอยหลังแล้ว” 

ช่วงเวลาราวปีกว่าที่ตกงานกลับมาอยู่บ้าน ประจวบพยายามออกรับจ้างในไร่เพื่อให้ลูกๆ พอมีเงินติดกระเป๋าไปโรงเรียน “ไม่รู้ตัดอ้อย (ตัดอ้อยไม่เป็น) ก็อุตส่าห์ไปตัด แล้วเบิกเขาตั้งห้าพัน กว่ามัดละบาทสองบาทกว่าจะได้” รงค์พูดอย่างเห็นใจสามี
 
แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยาก แต่นั่นดูเหมือนมันเป็นช่วงเวลาเดียวที่พ่อแม่ลูกได้อยู่กันพร้อมหน้า ต่อมาประจวบได้ข่าวว่าโรงงานแห่งหนึ่งย่านสำโรงกำลังจะมีตำแหน่งงานว่าง เขาตัดสินใจกลับเข้าไปขายแรงงานในเมืองใหญ่อีกครั้ง 

“ตอนนั้นเขาว่ามีคนจะออกจากงาน เลยไปรอตำแหน่งงาน ทำอยู่วันละสองร้อย เป็นลูกจ้างรายวัน ว่าทำรอไป ก็กลับไปอยู่ที่สมุทรปราการอีก เขาเคยบ่นเหมือนกันว่าไม่รู้ทำไมเขาถึงต้องผูกพันกับวัดมหาวงศ์  แถบนั้นเขารู้จักหมด เพราะอยู่ตั้งแต่เป็นหนุ่ม ก็เหมือนบ้านเขา จุดนี้แหละ ก็เลยได้ไปชุมนุม เพื่อนเขาเป็นแกนนำอยู่ทางสำโรง”

ประจวบกลับเข้าเมืองได้ไม่ถึงปี การชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงก็เริ่มขึ้น 

“เราก็พอรู้บ้างที่เขามีการประท้วงเรียกร้องให้นายกฯ ทักษิณ เกิดมาตั้งแต่เล็กจนโต ปู่ย่าตายาย แกก็ไม่เคยได้เงินชราเงินอะไรกินเหมือนทุกวันนี้ ก็ได้นายกฯ ทักษิณนี่แหละ หมู่บ้านก็ได้เงินล้านเข้าหมู่บ้านบ้าง เห็นนายกอื่นๆ หมู่บ้านไม่เห็นได้อะไรเลยเนาะ นี่แหละส่วนดีของนายกฯ ทักษิณ พอมาตอนหลังก็เห็นว่าเขายิงกัน ยังสงสัยว่าทำไมเขายิงกันอะไรนักหนา แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมาย อยู่แต่บ้านนอก อาชีพทำนา เราก็ไม่ค่อยรู้เรื่องการเมือง เขาจะทำอะไรยังไงเราก็ไม่เคยได้ไปกับเขา เป็นผู้หญิงน่ะ ลูกก็เล็กด้วย ไปไหนไม่ได้ ตอนแรกก็ ฮู้ ประเทศไทยเราทำไมมันเป็นอย่างนี้ ก็คิดอย่างนี้เนาะ ไม่รู้ว่าแฟนเราจะไป”

การชุมนุมที่กรุงเทพฯ ดำเนินไป หญิงชาวนาที่จังหวัดสุรินทร์คนหนึ่งก็ยังคงก้มหน้าก้มตาทำงานกลางไร่นาและคอยดูแลลูกชายทั้งสามของเธอต่อไป กระทั่งสงกรานต์ปีนั้นเธอล้มป่วย สามีของเธอลางานกลับมาคอยดูแล และนั่นคือครั้งสุดท้ายที่สามีภรรยาได้พบหน้ากัน

“ตอนสงกรานต์ทางนี้ไม่สบายเนาะ น้องชายปลูกมันสำปะหลัง เขาก็มาช่วยขนจนเสร็จ ก็ยังคิดภูมิใจว่า โอ้ะ มีแต่คนแข็งแรง ลูกชายก็ตั้งสามคน หลานชายอีกคนหนึ่ง ต่อไปทำไร่ทำนาไม่ต้องหาคนอื่นแล้ว หนี้สินที่มีคงไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ฟื้นได้ คิดอย่างนี้นะ”

หลังอาการป่วยของรงค์ดีขึ้น ประจวบจึงกลับไปทำงานที่สมุทรปราการ หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน เขาก็เสียชีวิต
 
 

5


ในหมู่บ้านกรูด มีแกนนำเสื้อแดงอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อการชุมนุมใหญ่เริ่มขึ้น แกนนำคนนี้จัดหารถพาชาวบ้านเข้าไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ อยู่เป็นระยะ วันหนึ่งรงค์ได้ยินชาวบ้านที่ไปร่วมชุมนุมกลับมาพูดกันว่า พบสามีของรงค์ในที่ชุมนุมด้วย

“อยู่บ้านนี้มีหัวหน้าแกนนำเขาไป ตอนปีที่แล้ว เลยได้ยินคนเขาเล่าว่า แฟนเราไปประท้วงที่กรุงเทพฯ ด้วย มีคนเขาไปเจอ เราก็ไม่เคยรู้ กลับมาเขาไม่เคยพูดกับเรา ไม่เคยเล่าให้ฟัง จะเล่าแต่กับเพื่อน เห็นเพื่อนเขาว่าเขาเคยแอบไปนานแล้ว แต่ไม่บอกทางนี้ ไม่บอกเมียให้รู้ เขาเคยบอกเพื่อนที่อยู่ที่นู่นว่าเขาไม่ชอบรัฐบาลนี้ (รัฐบาลอภิสิทธิ์) เขาพูดอย่างนี้ เราก็พอจะรู้บ้าง พอคนโทรมาบอกว่าเขาถูกยิงตายที่นั่น ก็คิดเลยว่า โห สงสัยไปกับเขาแน่ๆ เลย โกหกเราแน่ๆ เลย เวลาถามเขาจะตอบว่า ฮู่ย ไม่ยุ่งหรอก สนใจแต่ครอบครัวก็พอแล้ว เขาจะพูดอย่างงี้นะ สงสัยเขาไปหลายครั้งแล้ว แต่พอกลับมาบ้านเขาจะไม่เล่าให้เมียฟัง เวลาเขาเดินไปเล่นกับเพื่อนๆ เขาจะเล่าให้เพื่อนข้างนอกฟัง เพื่อนข้างนอกเขาเล่าบอก ถึงรู้”

ข่าวร้ายเดินทางมาถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลูกของชาวไร่ รงค์กับลูกพากันตากแดดหน้าดำอยู่กลางไร่นา

“ตอนเขาโทรมาบอกนั่น เดือนนั้นพาลูกปลูกข้าวโพด พอว่าเขาถูกยิง ก็ว่าไปทำอะไรกับเขาถึงได้ถูกยิง พี่น้องเขาก็ไปนาหมด ไม่มีใครอยู่บ้าน เขาถูกยิงวันที่สิบหก สิบห้าหรือสิบหกนี่แหละ แต่เขาไม่ได้เสียชีวิตเลย ไปเสียที่โรงบาลนะ โรงบาลอะไรน้อ มันสามโรงบาล เขาส่งมาที่ศิริราช ตอนแรกเขาไม่ได้บอกว่าเสียชีวิต บอกว่าถูกยิงเฉยๆ ตอนเขาโทรมาบอกว่าถูกยิง ก็กำลังคิดว่าจะเข้าไปดูเขาที่โรงพยาบาล ก็ว่าเขาถูกยิง ไม่รู้เป็นอะไรมากรึเปล่า พอเช้าเขาก็โทรมาบอกว่าเสียแล้ว ตอนเช้ามีแกนนำทางนี้แหละ ชื่อตาลอย อยู่บ้านยาง แกมาบอกว่าจะไปยังไง ตัวคนเดียว จะไปวิ่งเรื่องยังไง พอดีได้ ผอ.โรงเรียนสมานมิตร แกว่าจะลงเลือกตั้ง เอารถเก๋งแกแหละไปช่วยเลย พาไป ถ้างั้นก็ไม่รู้จะทำยังไง” 

ผู้อำนวยการโรงเรียนที่รงค์ว่าคือ นักการเมืองท้องถิ่นที่ตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น แต่พอถึงเวลา พรรคเพื่อไทยส่งคนอื่นลง ผู้อำนวยการโรงเรียนคนนี้จึงไปลงสมัครในนามพรรครักษ์สันติ และสอบตกในที่สุด

รงค์เล่าความรู้สึกขณะนั่งรถจากสุรินทร์เข้ากรุงเทพฯ ไปรับศพสามีว่า

“ตอนนั้นมันมีความรู้สึกใจหาย แล้วเราจะอยู่ยังไง ลูกก็กำลังเรียน สงสัยลูกไม่ได้เรียนจบ พอให้จบแต่มอสามมั้ง ก็คิดว่าจะทำยังไง มันบอกไม่ถูก เคว้งคว้าง” รงค์มีแขนซ้ายที่ใช้งานได้ไม่ปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุในวัยสาว ข้อศอกของเธอมีรอยเย็บเป็นทางยาว เหยียดออกได้ไม่สุด และพับงอได้เพียงเก้าสิบองศา ใช้ทำงานยกข้าวของหนักไม่ได้ หากใช้งานมากก็มีอาการขัดยอกปวดบวม 

“จะเห็นเขาอีกไหมน้อ คิดน่ะ ก็คนตายแล้ว เราก็ยังไม่ได้พูดอะไรกันเรื่องครอบครัว ยังไม่ได้ปรึกษากัน เขาเคยบอกแต่ว่า ตั้งใจเรียนนะลูก เดี๋ยวพ่อจะรับไปทำงาน ให้เรียนอยู่กรุงเทพฯ เลย ไปอยู่กรุงเทพฯ ทั้งหมด เขาบอกอย่างนี้ ไปเริ่มต้นใหม่อะไรใหม่ ตอนไปเจอศพเขา ก็จนไม่มีน้ำตาจะไหลแล้ว เห็นภาพเขาถูกผ่า แล้วใช้เชือกเส้นใหญ่ๆ เย็บเหมือนกระสอบป่าน นุ่งกางเกงในตัวเดียวเนาะ ดูแล้วมันหดหู่ สงสารเขา สงสารมาก ทำไมจะต้องมาตายในสภาพอย่างนี้เนาะ เคยแบกถุงถั่วงาเป็นร้อยๆ เป็นพันกระสอบ อยู่ในโรงงาน ทำไมต้องมาตายในสภาพถูกเย็บเหมือนกระสอบเลย” 

รงค์รับรู้ความเป็นไปในช่วงเวลาก่อนหน้าและชั่วขณะที่สามีเธอเสียชีวิตเพียงคร่าวๆ จากคำบอกเล่าของเพื่อนสามีที่มาร่วมงานศพ

“ปกติเขาทำงานหยุดวันอาทิตย์ วันที่เขาถูกยิงนั่นก็สงสัยป็นวันอาทิตย์มั้ง สงสัยจะแอบเถ้าแก่ไป ถูกยิงใต้สะพานพระรามสี่ ถามเพื่อนเขา เพื่อนเขาว่าวันนั้นเขาขอไปชุมนุมด้วย เขาว่าจะไปดูเหตุการณ์ด้วยว่าเขายิงกันจริงมั้ย เพื่อนเขายังว่า เขายิงกันแล้วอยากไปดูทำไม”

เมื่อถามความคิดเห็นต่อเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น รงค์ว่า

“รัฐบาลทำไม่ถูก นั่นประชาชนนะ ดูไปมันก็น่ากลัว เราเป็นชาวนา ทำนา ไม่ค่อยรู้เรื่องอย่างนี้ แต่ว่าเขาก็มีส่วนดี นายกฯ อภิสิทธิ์น่ะ เห็นเขาโอนเงินให้ฟรีไร่ละสามร้อยสี่ร้อย เขาเรียกเงินอะไร ชดเชยอะไรนี่แหละ แต่ตอนนายกฯ ทักษิณได้หลายอย่าง ทั้งบัตรสามสิบบาทรักษาทุกโรค ได้เยอะ จนบางทีเขาอาจจะเลียนแบบท่านก็ได้ แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาคิดยังไง เราเป็นคนบ้านนอกเนาะ”

ไม่เพียงความโศกเศร้าเท่านั้นที่หญิงชาวนาผู้สูญเสียชายคนรักไปต้องเผชิญ หากแต่ความตายในสถานการณ์ไม่ปกติของสามี นำมาซึ่งการถูกเหยียดหยามให้เจ็บช้ำน้ำใจ

“ตอนไปรับศพ ถูกคนที่ รพ.ศิริราชว่าด้วยนะนี่ เจ้าหน้าที่ผู้หญิงน่ะ เขาว่าจะมาประท้วงกันทำไม้ ไม่รักในหลวงหรือ ในหลวงกำลังไม่สบาย เราก็คิด เอ๊ะ แฟนเรา ในกระเป๋าเขาก็มีรูปในหลวง ทำไมจะไม่รักพระเจ้าอยู่หัว ก็คิดว่าเขาไม่ชอบเสื้อแดงมั้ง เขาถึงพูดแบบนั้น แต่เขาเป็นคนการศึกษาสูง ทำไมพูดแบบนั้น ไม่ชอบคำพูดอย่างงั้นนะ ตอนไปกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ที่สุรินทร์ก็มีคนเยาะเย้ยอีก หึย พวกอยากกินข้าวกล้อง เขาว่าอย่างนี้ เราก็นึกในใจว่าแฟนเราอยากกินข้าวกล้องขนาดนั้นเลยบ๊อ เขาก็เคยสั่งสอนลูกเนาะ เขาทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว เขาไม่อยากให้ลูกขอทานใครกิน มีการชุมนุมเขาก็ต้องไป ก็นึกอย่างนี้ ไปเบิกเงินที่ธนาคาร เขาก็ว่า มิน่า ถึงอยากพากันไปนัก เราเกือบจะร้องไห้เลย ถ้าพ่อแม่ตัวเองไปโดนอย่างนี้จะรู้สึกยังไง เห็นแก่เงินแค่สองสามหมื่นเหรอ เราก็ไม่ตอบอะไรเขาเลย เรารู้ว่าแฟนเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น ได้ยินเพื่อนที่กรุงเทพฯ พูดว่า ตอนไปสมัครเป็นสมาชิกเสื้อแดง เขาถามว่า คุณมาทำไม แฟนเรายังบอกผมมาด้วยใจครับ ไม่มีค่าจ้างให้ผมมา ผมรักประชาธิปไตย เขาตะโกนบอกอย่างนี้ คนเสื้อแดงก็ตบมือให้เขา เพื่อนเขาเล่าให้ฟังว่าเขาพูดอย่างนี้แหละ”

หรือแม้แต่คนในบ้านกรูดเอง ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เข้าใจ “การตายในสถานการณ์ไม่ปกติ” 

“บางคนเขาก็ว่า ไปทำไม เอาชีวิตไปแลกทำไม แล้วลูกเมียตัวเองจะอยู่ยังไง เขาว่าจนน้องชายเราอาย บางทีเขาก็แกล้งพูดใส่ว่า อู้ย เสื้อแดงให้เงินเยอะแยะ จริงๆ ไม่ได้หรอก ตอนที่เผาแฟนเสร็จ ก็มีคนมาหัวเราะเยาะ เขาว่า ตายเพราะอะไรไม่ตาย มาตายเพราะเรื่องอย่างนี้ เราก็รู้สึกโกรธ เขาจะตายเรื่องอะไรๆ แล้วมายุ่งทำไม ครอบครัวเขา คิดอย่างนี้ เขาเยาะเย้ยว่าตายไม่ได้อะไร เขาจะให้อะไร เขาไม่ให้อะไรหรอก แต่คนที่เข้าใจก็มี เขาก็ว่า คนใจใหญ่เนาะ ไม่กลัวตาย เสียสละชีวิตตัวเอง ลูกชายเขาภูมิใจในตัวพ่อมาก พ่อเขาเป็นประชาธิปไตย เขาเขียนบนรูปถ่ายหน้าศพพ่อเขา นั่นน่ะ เขาเป็นคนเขียน ลูกชายคนที่สองเป็นคนเขียน อาเขาก็เหมือนกัน น้องพ่อเขา ตอนไปรับศพมา เราจะลงไปเข้าห้องน้ำ ก็เลยบอกเขาว่า อาไปนั่งเฝ้าศพพี่หน่อยเด้อ เดี๋ยวจะลงไปเข้าห้องน้ำ เขาว่า หูย ไม่ต้องไปเฝ้าหรอก เขาไม่กลัวอะไรหรอก เขาเป็นนักสู้ประชาธิปไตยแล้ว เขาไม่มีกลัวอะไรหรอก น้องชายเขาพูดอย่างนี้ เขาภูมิใจในตัวพี่เขา”

ระหว่างนั้นลูกชายคนโตและคนรองของรงค์กลับมาจากข้างนอก รงค์เรียกลูกชายทั้งสองมานั่งด้วย นายพงศ์ธร ประจวบสุข หรือ “ว้าป” เด็กชายวัย 15 ปี เดินมานั่งข้างๆ แม่ ส่วน ด.ช.โรจน์ศักดิ์ ประจวบสุข หรือ “น้อง” วัย 13 ปี ลูกชายคนรอง เดินออกไปข้างนอก รงค์ว่า “น้อง” เป็นเด็กชายที่มีโลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบสุงสิงกับใคร 

ปัจจุบัน “ว้าป” เรียนอยู่ชั้น ม.4 โรงเรียนเมืองลีงวิทยา ตำบลเมืองลีง อำเภอเมืองลีง จังหวัดสุรินทร์ ส่วน “น้อง”เรียนอยู่ชั้น ม.1 โรงเรียนเดียวกัน 

เมื่อถามถึงความรู้สึกของว้าปหลังพ่อเสียชีวิต เด็กชายวัยสิบห้าปีพูดเพียงสั้นๆ ว่า “ก็เสียใจมากครับ” 
 

“ลูกทุกคนรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น” รงค์ช่วยอธิบาย “คนโตพอจะทำใจได้ แต่คนที่สองเขายังคิดมาก บางครั้งก็นั่งซึมอยู่คนเดียว เขาบอกว่าพ่อเขายังไม่ได้ตายหรอก หัวใจ ไส้ อะไรเขาคงเอาไปบริจาคให้คนอื่นหมดแล้ว พ่อหนูไม่มีวันตายหรอก พ่อเรายังไม่ได้ตายหรอกแม่ คงบริจาคอะไรข้างในให้คนอื่น เขาถึงผ่าออก แต่หัวใจก็ยังอยู่ เขาคิดไปอย่างนั้น” 

สำหรับ “ต้าร์” หรือ ด.ช.ธีรเมท ประจวบสุข วัย 5 ขวบ ลูกชายสุดท้องที่ปีนี้เพิ่งเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1 ที่โรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ผู้ได้ติดสอยห้อยตามแม่เดินทางไปรับศพพ่อด้วยนั้น รงค์ว่า เด็กน้อยพอจะรับรู้ว่าพ่อได้จากไปแล้ว 

“เขาก็รู้บ้าง ตอนพาไปวิ่งเรื่อง เขาบอกว่า แม่ พ่อเราขึ้นสวรรค์ลงไม่ได้ ขึ้นภูเขาลงไม่ได้” 
ส่วนความรู้สึกของหญิงหม้ายที่สามีตายจากไปปีกว่าแล้ว รงค์ ประจวบสุข บรรยายความรู้สึกของเธอไว้ว่า

“บางครั้งคิดอะไรอยู่คนเดียวก็น้ำตาไหล บางทีลูกแอบเห็น พ่อเขาเคยสอนไว้ว่าเป็นแม่คนอย่าเสียน้ำตาให้ลูกเห็นนะ ต้องอดทน มีอะไรมากมายหนักหนาสาหัสยังไงน้ำตาอย่าไหลให้ลูกเห็น เขาตาย เราก็เข้าใจ เขารักประชาธิปไตย เขามีความมุ่งมั่น เขาเดินหน้า เขาว่าเขาเดินหน้าแล้วเขาจะไม่ถอย อยู่บ้านเหมือนกัน ฝนตกบอกว่าไม่ต้องออกไปหาปลาหากบนะ กลัวฟ้าผ่า เขาว่า ฮึ คนเรากลัวอะไร้ คนเราถ้าจะตาย ทำยังไงก็ตาย ไม่เคยกลัวความตาย วัยรุ่นบ้านอื่นมาตี คนในหมู่บ้านพากันวิ่งหมด แต่พ่อไอ้นี้เขาไม่วิ่งนะ เขาสู้ เขาไม่กลัว” 

ถึงวันนี้รงค์ไม่ยินยอมที่จะเป็นฝ่ายก้มหน้ายอมรับความสูญเสียอยู่เพียงฝ่ายเดียว เธอรอคอยที่จะได้เห็นคนสั่งฆ่าสามีเธอถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย และกระบวนการของกฎแห่งกรรม

“อยากให้เขาหาตัวคนที่ยิง เขาไปประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ดูในโทรทัศน์ก็ไม่มีใครถือปืนถืออะไร แต่เป็นเผด็จการของเขามั้ง ก็คิดอย่างนี้ เราไม่รู้ใครยิง จะไปป้ายคนนั้นยิงเราก็ไม่รู้ ก็เก็บไว้แต่ในใจน่ะ ไม่กล้าคิดว่าใครยิง ก็แล้วแต่บาปแต่เวรแต่กรรม คนเราถ้าเขาทำบาปอะไรไว้ ในใจเขาจะไม่มีความสุขหรอก เชื่อเถอะ เราจะไปทำบุญทุกวันพระ จะกรวดน้ำทุกวันพระ จะปฏิบัติตลอดเลย ฉันเชื่อเรื่องอย่างนี้มากนะ เคยมีแล้วที่บ้านนี้ คนเขาเป็นกำนันสมัยก่อน เขายึดเอาที่ดินของปู่ เขามีอำนาจมากแต่ก่อน แต่ทุกวันนี้เห็นมั้ย ลูกหลานเขานั่น อยู่คนเดียว ตาก็บอด เป็นโรคตั้งหลายโรค ต้องหาอะไรมาแลกของแลกข้าวเราไปกินน่ะ สุดท้ายลูกหลานต้องมาเป็นคนบ้า เดินแก้ผ้าแล้วก็นั่งเล่นขี้ตัวเอง พูดอะไรก็ไม่ได้ สงสัยจะเป็นเวรกรรมที่เขาทำไว้” 

...

สำหรับชาวบ้านกรูด นอกจากคนในหมู่บ้านจะเสียชีวิตไปหนึ่งคนจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีกลายแล้ว ชายหนุ่มอีกคนยังเดินทางกลับจากกรุงเทพฯ ด้วยอาการฟั่นเฟือนวิปลาส รงค์เล่าถึงชายหนุ่มคนนี้ว่า

“คนหนึ่งกลับมามันเลอะเลือนไม่รู้เรื่องเลย ไปถูกเขาไล่ยิงมามั้ง ถึงได้ โอ้ย เสื้อแดง ช่วยหน่อย ก็ไม่มีใครช่วย ยิ่งเวลากินเหล้าพูดอะไรไม่รู้เรื่อง เหมือนคนบ้า เวลาเขาพูดอะไรเขาก็ว่า อู๋ย วิ่งไปหลบซ่อนตรงนั้นตรงนี้เหมือนคนไม่เหมือนเดิม แต่เดิมก็สมบูรณ์ดีอยู่ พูดอะไรก็รู้เรื่อง ทุกวันนี้มันเหมือนจิตใจเขาโดนอะไรมา เขาคงไปรับรู้เห็นอะไรมามั้งเนาะ อยู่บ้าน เลื่อนลอย ล่ำๆ ลอยๆ พูดอะไรไม่รู้เรื่อง อายุสามสิบกว่า เป็นหนุ่มอยู่ ไปชุมนุมตลอดเลยคนนี้ ที่บ้านนี้ไปกันสามสี่คน คนอื่นเขากลับมากัน คนนี้ไม่ยอมกลับมา อยู่ที่โน่นตลอด”
 
 

6


คุยกับภรรยาของประจวบเสร็จ เราตั้งใจจะเดินทางไปยังบ้านน้องสาวคนหนึ่งของเขา ที่ตำบลจอมพระ เห็นว่าน้องสาวคนนี้ขายของอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในตัวเมือง ยามยากแค้นขัดสนประจวบมักไปขอความช่วยเหลือจากน้องสาวคนนี้ 

ขณะเดินออกมาจากบ้าน เห็น “น้อง” ลูกชายคนรองของประจวบนั่งเล่นอยู่บนม้านั่งใต้ร่มมะยมหน้าบ้าน เราลองเข้าไปถามถึงข้อความที่เขาเขียนติดบนภาพตั้งหน้าศพพ่อ 

เด็กชายวัยสิบสามปีผู้ดูเงียบขรึมตอบเสียงเบามากว่า “จำมาจากทีวีครับ” 

...

รงค์ให้ลูกชายคนโตของเธอขี่มอเตอร์ไซค์พาเราไปที่บ้านปลาเข็ง ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อพบกับ เก็จมณี ศรีเพชร น้องสาวของประจวบ ซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่นกับสามีและลูกๆ ของเธอ วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ เก็จมณีไม่ได้ออกไปขายของ

เราไปถึงบ้านสองชั้นเลขที่ 114 หมู่ 3 ในหมู่บ้านปลาเข็งตอนบ่ายแก่ เมื่อเราบอกว่าจะมาสอบถามเรื่องของประจวบ ประจวบสุข เพื่อบันทึกเรื่องราวของเขาไว้ แม่ค้าสาววัยราว 40 ปี ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

ประจวบเป็นลูกคนที่สี่ในจำนวนพี่น้องหกคน เก็จมณีเป็นคนที่ห้า จึงค่อนข้างสนิทกัน

“แต่ก่อนตอนที่แม่ยังไม่เสีย แกก็ไปลงเรือมารักษาแม่ แม่ไม่ค่อยสบาย” เก็จมณีเล่าถึงคืนวันในอดีต “แกไปอยู่แต่กรุงเทพฯ แหละ ตลอดชีวิต มาหาครอบครัวก็ช่วงเทศกาล แล้วก็ลงไป ลำบากมั่ง สุขมั่ง ไปตามประสา เราคนจน แกเป็นคนขยัน ไม่เคยได้หยุดเลย ทำงานตลอด”

เมื่อถามถึงเรื่องการไปชุมนุมทางการเมืองของพี่ชาย เก็จมณีว่า

“กับพี่แกไม่เคยพูดเรื่องนี้นะ ปกติแกก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้กับพี่น้องคนไหน” เธอยังมีอาการสะเทือนใจอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพูดถึงพี่ชาย “มีที่แกกลับมาครั้งสุดท้ายนั่นแหละ ก่อนเสียไม่ถึงเดือน แกไปหาพี่สาว แล้วก็บอกกับพี่สาวคนนี้ว่าแกชอบเสื้อแดง แกจะไปสู้ พี่สาวก็บอก มึงไปแล้วถ้ามึงตายล่ะ แกก็ว่าแกไม่เสียดาย พี่สาวก็ไม่ห้ามนะ ก็ได้แต่บอกว่า ถ้ามึงนั่นมึงทำไปเลย พี่สาวก็เชียร์ด้วย เราก็เป็นเสื้อแดง พากันเป็นหมดแหละ” 

พี่น้องทุกคนของประจวบที่แยกย้ายกันไปมีครอบครัวต่างถิ่น ล้วนมีจุดยืนทางการเมืองเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย เมื่อการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม-พฤษภาคมปีกลาย แล้วได้รู้ว่าประจวบไปร่วมชุมนุม จึงไม่มีใครคัดค้านอย่างเด็ดขาด เพียงทักท้วงบ้างด้วยความเป็นห่วงเท่านั้น

“แกก็ไปบ่อยอยู่ ไปชุมนุมน่ะ ไปประจำ เลิกงานตอนเย็นแล้วก็ไป แต่ถ้าวันอาทิตย์อย่างนี้ ไม่ได้ไปทำงาน แกก็ไปทั้งวัน เราก็รู้จากพี่สาวว่าแกไป”

เมื่อถามว่าทำไมพี่น้องจึงพากันเป็นเสื้อแดง แม่ค้าสาวตอบว่า

“เพราะเขาช่วยคนจน ตั้งแต่เกิดมาโตขนาดนี้ การเมืองเป็นกี่สมัยเราก็เหมือนเดิมใช่มั้ย แต่พอทักษิณมาเป็น มันมีความแตกต่างขึ้นนะ ถึงได้ชอบเขา จากเงินล้านเนาะ มาช่วยหมู่บ้านเรา คนที่ไม่มีทุนจะทำมาค้าขาย ก็ได้ทุนมาช่วย ได้ประโยชน์ เราก็ว่าเขาดีนะ ช่วยรากหญ้าเยอะ พอเขาถูกล้มไปก็อยากให้เขากลับมา รู้สึกเสียดาย ก็คิดว่าพี่ชายเราก็คงคิดอย่างนี้เหมือนกัน แต่ก่อนไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมือง ถึงเวลาเลือกตั้งก็ไปเลือก ไม่มีอะไร แต่พอทักษิณมาปุ๊บ เราเริ่มสนใจแล้ว ดูข่าวดูอะไร เราติดตาม” 

การเสียชีวิตของพี่ชาย เป็นเรื่องเศร้าครั้งยิ่งใหญ่ของครอบครัว แต่ในฐานะคนเสื้อแดงที่คอยติดตามข่าวสารการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เก็จมณียอมรับว่า นี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย เธอได้เตรียมใจไว้บ้างแล้ว 

“จนวันที่เสียชีวิต เพื่อนที่ทำงานด้วยกันโทรมาบอกแฟนแก แฟนแกก็โทรมาบอกทางนี้ ตอนแรกที่รู้เสียใจมาก แต่ก็เผื่อใจไว้บ้าง ว่าไปเนาะ คนเราเกิดมายังไงก็ตาย” เก็จมณีเล่าด้วยเสียงสั่นเครือ น้ำตาเริ่มคลอ “เขาไปสู้ เออ คนเขาจะมองดูถูกนะ ส่วนมากเขาว่าโง่ (ร้องไห้) คนที่เขาไม่ชอบเสื้อแดงเขาก็จะพูดว่า คนโง่ ได้ยินก็สะเทือนใจ บางทีไปตลาด พวกคนส่วนน้อยเขาพูด ส่วนมากจะเป็นพวกคนที่เขามีอันจะกิน เขาจะว่าพวกเราโง่ บางคนก็ว่าไปเพราะอยากได้เงิน แต่พี่เราเขาไปด้วยใจ เขาชอบเสื้อแดง เขาว่าเขาจะเอาทักษิณกลับมา เขาพูดอย่างนี้ ก็เสียใจมาก มากมาก ก็ธรรมดาเนาะ คนที่เรารักจากเราไปเราก็ต้องเสียใจ แต่คิดไปคนเราเกิดมาก็ต้องตาย มองอีกแง่ เราภูมิใจที่เขาไปตายเพื่อประชาธิปไตย คนอื่นจะมองยังไงเราไม่รู้ ได้ยินเขาบอกว่า เป็นวีรชนคนกล้าใช่มั้ย ใจหนึ่งก็เสียใจ แต่เขาพูดอย่างนี้เราก็ใจชื้นขึ้นมาบ้าง เราก็ยังมีคุณค่า” เก็จมณีเช็ดน้ำตา “แต่ยังไงก็อยากให้เขาดูแลครอบครัวคนที่ตายด้วย เห็นเขาบอกจะให้เงินสิบล้าน ถ้าเขาช่วยได้ก็ดี พอจะได้ชื้นขึ้นมาบ้างเนาะ เมียแกก็ลำบาก ไม่ค่อยสมบูรณ์ด้วย ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง แขนแกข้างหนึ่งก็พิการ ทำงานหนักอะไรก็ไม่ได้ แต่ก่อนมีแต่พี่ชายเป็นเสาหลัก พอไม่มีเขาก็แย่ ถ้าได้เงินมาช่วยบ้างก็ดี เขาจะได้ลืมตาอ้าปากได้มั่ง แบ่งเบาภาระได้มั่ง แล้วไอ้คนที่เขาพูดดูถูกเรา เขาจะได้มองเราในแง่ดีขึ้นมั่ง ไม่ใช่ว่าตายไปแล้วไม่มีอะไร ครอบครัวก็ยังลำบากเหมือนเดิม” 

อย่างไรก็ตาม เก็จมณีว่า การตายของประจวบ ประจวบสุข ได้ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปแล้วจริงๆ

“ขนาดว่าเราตาสีตาสา เรายังอ่านออกเลยว่าเขาแบ่งแยกมากๆ เขาทำเหมือนเราไม่ใช่คน เราอุตส่าห์มองเป็นกลางแล้ว พี่ชายเราตาย เราก็ไม่ได้เข้าข้างใคร แต่เขาน่ะทำให้เห็นชัดเจนเลยว่าเขามองเรายังไง มองเราไม่มีคุณค่าเลย ขนาดว่าเราเป็นคนไม่อาฆาต ไม่พยาบาท ไม่ได้จองเวรอะไร แต่เขาน่ะ ทำเกินไป ทำจนเห็นชัดเลยว่ามันไม่มีความยุติธรรมอยู่เลย เราไม่ได้ไปทำอะไรผิดเลย ไม่ได้มีอาวุธในมือนะ แล้วทำไมเขาต้องพูดว่าเราเป็นผู้ก่อการร้าย คนที่ไปมือเปล่า บอกว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เขาพูดออกมาได้ยังไง อยากให้มันยุติธรรม อยากให้บอกว่าคนที่ไปชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย เขาไปสู้เพื่อประชาธิปไตย จับมือใครก็ไม่ได้ว่าใครทำ ตายไปโดยตายเปล่า โดยไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ ไม่มีใครรับผิด พอพี่เราตาย เราติดตามข่าว ติดจานดำ เรารู้มากขึ้น ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ เราเริ่มมองเห็นความแตกต่างไม่แตกต่างยังไง ชาวบ้านแถวนี้ก็เหมือนกัน เขาก็เข้าใจ ภาคเราเป็นเสื้อแดงเยอะ เขตนี้เลือกตั้งชนะ มาเป็นที่หนึ่ง พรรคอื่นมาทุ่มขนาดไหนยังแพ้เสื้อแดง คิดดู ด้วยใจขนาดไหน ไปไหนก็จะคอยเชียร์ตลอด เราไม่ได้ไปกับเขา ไม่มีเวลาไป ก็จะดูข่าวตลอด”
 
“เขาเป็นคนทำเราก่อน เปรียบเทียบตอนเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงอ้ะ ถ้าเปรียบเทียบน่ะ ...ไปมือเปล่า ไม่มีอะไร เป็นผู้ก่อการร้าย เห็นข่าวเสื้อแดงทีไรน้ำตาจะไหลทุกที ถ้าเขามาจากเลือกตั้งก็จะไม่ว่าอะไรเลยซักนิด แต่เขามา เขาเป็น ประชาชนไม่ได้เลือกเขา หนำซ้ำยังมาฆ่าประชาชนอีก ไม่มีความผิดอะไรซักอย่าง โจรก็เยอะ ขโมยก็เยอะ เห็นแตกต่างมาเลย ยาบ้าก็เยอะ ช่วงที่ทักษิณเป็นน่ะ ยาบ้าก็หมดนะ เงียบ แถวตลาดแถวอะไรเนี่ย เงียบไปหมด พอทักษิณไปนี่ โหย ระบาดเต็มเลย เขาให้เราอยู่แต่อย่างงี้ คนเรารู้ทันกันเยอะ ตื่นตัวมาก ทุกทีเราก็หลงไปตาม” 

ทุกวันนี้เก็จมณีขายของว่างจำพวกน้ำ ผลไม้ ขนม อยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในตัวเมืองจอมพระ 

“ก็พอได้ใช้ไปวันๆ ตอนเช้าก็ตื่นไปตลาด ตีสองตีสาม ถึงเย็นได้กลับบ้าน ได้หยุดเสาร์-อาทิตย์ อยู่บ้าน ลูกกำลังเรียน คนที่สองอยู่มอสอง คนเล็กก็อยู่ปอหนึ่ง ตัวเล็กก็แฝด แฝดผู้หญิงกับแฝดผู้ชาย”

บ้านปลาเข็งอยู่ห่างจากตัวเมืองจอมพระราวสองถึงสามกิโลเมตร ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเช่นเดียวกับชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นในแถบนี้ 

“ถ้าว่างจากทำนาก็ไปรับจ้าง ไปกรุงเทพฯ บ้าง ทำนาได้ปีละครั้ง ส่วนมากก็จะขาย ส่วนน้อยจะเก็บไว้กิน ขายเอาค่าปุ๋ยค่ายา แต่บางปีก็ไม่ได้เลย ค่าปุ๋ยค่ายามันแพง แต่ข้าวเรามันถูก คิดดู ยางมันกินแทนข้าวไม่ได้นะ แต่ว่ามันแพง ประเทศเราส่งออกข้าวแท้ๆ เนาะ แต่ว่าคนที่ทำนาจ๊นจน เขาไม่คิดหรอกมั้งว่า คนรวยหนึ่งคนกับคนจนเป็นสิบคน แล้วทำไมเขาไม่ให้เราขึ้นไปจากรากหญ้าเนาะ เขาอยากให้เราเลี้ยงควายไถนาต่อไป แต่เขาใช้ชีวิตสบาย” 
 
 

8


เสาร์ โพธิ์ศรี วัย 38 ปี คือชายหนุ่มที่ภรรยาของประจวบบอกว่า ไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ แล้วกลับมาสติเลื่อนลอย จำความไม่ได้ 

บ้านของเสาร์ตั้งอยู่อีกฟากถนนสายเล็กที่ตัดผ่านบ้านกรูด เยื้องจากบ้านของประจวบไปราว 500 เมตร เป็นบ้านชั้นเดียว ก่อสร้างหยาบๆ ด้วยวัสดุหลากหลาย ทั้งอิฐบล็อก สังกะสี ไม้กระดาน และไม้ไผ่ซีก สภาพทรุดโทรม 

เรากลับจากบ้านปลาเข็งมาถึงบ้านกรูดในตอนเย็น และไปที่บ้านของเสาร์ตอนใกล้ค่ำ เมื่อไปถึงพบชายหัวโล้นร่างสูงใหญ่นั่งอยู่ที่แคร่ไม้ไผ่หน้าบ้านเพียงลำพัง แววตาของเขาดูขวางๆ คล้ายหวาดกลัวผู้คน แขนซ้ายมีรอยลอกของแผลตกสะเก็ด เห็นเนื้อเปลือยแดงเป็นวงกว้าง ตามแขนขามีรอยแผลเป็นปื้นใหญ่หลายแห่ง 

เมื่อเราทักทาย เสาร์ยิ้มให้ เราถามว่าแผลที่แขนไปโดนอะไรมา ชายหนุ่มตอบว่า “รถชน”

คงได้ยินเสียงคนคุยกันอยู่หน้าบ้าน หญิงชราวัยราวหกสิบปีคนหนึ่งจึงเดินออกมาดู เมื่อถามไถ่ความเป็นไปของคนแปลกหน้าจนได้ความแล้ว หญิงชราแนะนำตัวว่าเป็นแม่ของเสาร์ โพธิ์ศรี 

“ตั้งแต่ไปกรุงเทพฯ กลับมาก็เป็นแบบนี้เลย” หญิงชราว่า “มันจำอะไรไม่ได้ กลายเป็นคนเสียประสาท ยิ่งถ้าได้กินเหล้าจะเหมือนคนประสาทหลอนเลย เลอะๆ เลือนๆ บางทีทำท่าวิ่งหลบลูกปืนไปอย่างนั้น บางทีขอเงินแม่ไปกินเหล้า แม่ไม่มีให้ ก็เอาไม้ไล่ตีแม่ พูดแบบไม่อายเลย นี่ก็เพิ่งไปขี่รถชนมาอีก หนักกว่าเดิมอีกทีนี้ ทุกวันนี้แม่ต้องนั่งเฝ้า ไม่ให้จับรถ กลัวขี่ไปชนเสาไฟฟ้าตาย” 

แม่ของเสาร์เล่าว่า ลูกชายคนนี้เรียนหนังสือถึงแค่ ป.2 ก็ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อกับแม่เลี้ยงวัวควาย 

เราหันไปถามเสาร์ว่าทำไมไม่เรียนต่อให้จบ ป.6 ชายหนุ่มยิ้มเขิน ไม่ตอบว่ากระไร แม่ของเขาจึงว่า เขาเรียนไม่รู้เรื่อง เป็นนักเรียนโข่ง ตกชั้นหลายปี ก็อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 

เสาร์ช่วยพ่อแม่เลี้ยงวัวควายอยู่พักหนึ่งก็เข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ กว่ายี่สิบปีที่ผ่านมา เขาเป็นแรงงานในโรงงานหลายแห่ง บ้างย้ายไปเป็นช่างก่อสร้าง ขายแรงงานไปเรื่อย อาชีพสุดท้ายก่อนไปชุมนุมแล้วกลับมาด้วยสภาพไม่เหมือนเก่า คือเป็นคนงานในโรงหลอมเหล็ก

ช่วงก่อนจะไปชุมนุม เสาร์ถูกไฟลวกขณะทำงาน จึงกลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน ระหว่างนั้นคนในหมู่บ้านพากันไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ ชายหนุ่มร่างใหญ่หอบร่างกายที่เต็มไปด้วยแผลเป็นจากไฟลวกขึ้นรถไปกรุงเทพฯ กับเขาด้วย 

“เห็นเขาไปกันมันก็อยากไป ก็ว่าไปสู้เพื่อประชาธิปไตย ไปก็ไม่ได้อะไร ลงทุนตัวเองอีก หมดทีสองสามพัน ไปทีแรกนั่น เงินก็ไม่มี แม่ยืมเขาให้ไปได้ 40 บาทแค่นั้นแหละ ไปกับเขาน่ะ ไปเทื่อแรกก็ได้เสื้อแดงมาใส่ ดีใจ กลับมาก็ใส่เดินอยู่ในหมู่บ้านนี่แหละ”

เราหันไปถามเสาร์ว่าทำไมถึงอยากไปชุมนุม เขายิ้มเขินๆ แล้วว่า

“หนังสะติ๊กก็สู้ชุดเกราะเขาไม่ได้หรอก ยิงดังป๊งๆๆ” 

“มันพูดไม่รู้เรื่องหรอก” แม่ของเสาร์พูดขึ้น เมื่อเห็นเราทำหน้างงๆ กับคำพูดของชายหนุ่ม “แต่ก่อนนี่ดีๆ นา ทำมาหากินได้ แต่พอไปชุมนุมกลับมาเป็นแบบนี้เลย เวลาอยู่เฉยๆ มันก็ไม่เป็นไรเท่าไหร่ แต่ถ้าได้กินเหล้าเข้าไปเท่านั้นแหละ มันว่าแต่เขาจะมาฆ่ามัน มันยิงตรงโน้นตรงนี้ มันว่าของมันน่ะ” 

ระหว่างนี้เสาร์พูดแทรกขึ้นว่า “คนเสื้อแดงชนะเพราะผู้หญิง”

เมื่อถามว่าทำไม เขาไม่ตอบ หญิงชราบ่นอะไรสองสามคำก่อนลุกเดินเข้าไปเปิดไฟภายในบ้าน ขณะนั้นฟ้ามืดแล้ว พ่อวัยชราของเสาร์จูงวัวกลับจากนามาถึง กำลังส่งพวกมันเข้าคอก

เสาร์เป็นลูกคนโต ในจำนวนพี่น้องสี่คน เขาเคยเป็นเสาหลักของครอบครัว เพราะเป็นคนเดียวที่ยังไม่มีลูกเมีย ครั้งเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ เขาคอยส่งเงินกลับมาให้พ่อแม่ที่บ้านนอกได้ใช้จ่าย เมื่อไปชุมนุมกลับมาแล้วกลายสภาพเป็นคนทำมาหากินไม่ได้ ครอบครัวจึงย่ำแย่

ระหว่างนั้นหญิงชาวบ้านวัยราว 50 ปีคนหนึ่งเดินแวะมา เธอแนะนำตัวว่าเป็นน้าสาวของเสาร์ จากนั้นถามเราว่ามาทำอะไร เมื่อเราตอบไป หญิงคนนั้นพยักหน้า แล้วว่า ครอบครัวนี้มีฐานะยากจนมาก ที่นาก็ไม่มี เมื่อครั้งเสาร์ยังเป็นเด็ก แม่ของเขาเคยพาไปเที่ยวขอทานตามหมู่บ้านต่างๆ พอได้เงินและอาหารเล็กๆ น้อยๆ มาประทังชีวิต 

ก่อนกลับจากบ้านของเสาร์ในวันนั้น เราลองถามว่าถึง ประจวบ ประจวบสุช วีรชนแห่งบ้านกรูด เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขา 

เสาร์ว่า “ประจวบตายแล้ว” 
 
 

9


เราค้างคืนที่บ้านกรูดหนึ่งคืน รุ่งเช้าได้นั่งคุยกับ นายอรุณ มาลัยทอง วัย 53 ปี คนที่ภรรยาของประจวบบอกว่า เป็นแกนนำพาชาวบ้านไปร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ แล้วได้พบกับสามีของเธอในที่ชุมนุม 

“ช่วงที่แกตายผมไม่ได้อยู่ แต่เสาร์มันอยู่” นายอรุณพูด “แต่ว่าก็เคยเจอกันตอนเย็น เลิกงานแล้วแกมาชุมนุม แกก็มาที่เต๊นท์ของผมครั้งหนึ่ง คือคนกรุงเทพฯ เขาจะมาตอนเย็น นอนคืนหนึ่ง ตอนเช้าก็ไป ผมยังถามแกว่า มาอย่างนี้เถ้าแก่เขาให้มาเหรอ แกว่าวันอาทิตย์มาได้ แล้วก็ตอนเย็นๆ ประมาณเที่ยงคืนนี่ก็จะกลับ พวกแท็กซี่อะไรเยอะเนาะ ก็นั่งคุยกัน แกว่าเนวินมันทำอย่างนี้ มันทำให้คนตาย ถ้าเนวินไม่ไปอยู่กับอภิสิทธิ์ ก็ไม่เป็นอย่างนี้ เพราะไอ้เนวินแหละ ทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ทำให้ทะเลาะกัน แกก็วิจารณ์เรื่องเนวินว่ามันปลอมตัวเป็นเสื้อแดง ตอนไป กกต. จับได้คนหนึ่ง ลูกน้องเนวิน เขาว่าจ้างวันละห้าร้อย เวลาพูดแกเอาจริง คนนี้น่ะ อยู่บ้านเหมือนกัน แกเป็นคนพูดจริง เคยขอผมว่า ถ้าพี่เลิกผมจะลง อบต. นะ สมัยหน้าให้ผมนะ ผมก็ว่า เออ ลงไปเถอะ ผมนี่ก็ลูกยังเล็กอยู่” 

นายอรุณเป็นสมาชิก อบต.สามสมัย นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยกำลังจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล 

“ผมช่วยเขาหาเสียงมาตลอด มีหน้าที่หาเสียงหาคะแนนให้พรรคไทยรักไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เพิ่งมาสมัยนี้แหละที่ไม่ได้เป็น พี่น้องบ้านติดกัน ลูกพี่ลูกน้องกันเขาขอลง เราก็เลยหลีกทางให้”

ความที่รู้จักนักการเมืองในพื้นที่ ทำให้นายอรุณมีโอกาสเข้ากรุงเทพฯ ไปร่วมชุมนุมทางการเมืองทันทีที่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อดีตนักการเมืองท้องถิ่นสามสมัยเล่าเหตุการณ์ในช่วงนั้นให้ฟังว่า

“พรรคการเมืองพลังประชาชนบอกว่าเขามีการเรียกร้องไล่อภิสิทธิ์ออก เราก็เห็นด้วยเลย ก็พากันไป ตอนนั้นไปชุดแรก เต็มรถนะ สิบกว่าคน สิบห้าคน ตอนแรกยังไม่มีบัตร นปช. คนเยอะ แต่พอชุดหลังๆ ก็เหลือสิบคน เก้าคน น้อยลง บางคนเขาว่าไปแล้วไม่ได้ทำงาน ไปกันตอนนั้นก็ไปพักระหว่างทาง ค้างคืนที่โคราชคืนหนึ่ง คนเยอะมาก ไม่มีที่นอน มีการปราศรัยที่โคราช ตีสี่ตีห้าก็ไปต่อ” 

“ทักษิณโดนล้ม ทหารยึดอำนาจ ชาวบ้านเขาไม่พอใจตรงนี้แหละ ทักษิณเขาไม่ผิด ต้องให้ทักษิณกลับคืน ทหารทำไม่ถูก ผมคิดว่ามันเผด็จการเกินไป แล้วก็มีพวกอภิสิทธิ์ มีพวกหนุนหลัง ชาวบ้านก็คิดไปอย่างนี้ มีพวกมีอิทธิพล พูดไปก็ถึงเปรม มันอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร ชาวบ้านยิ่งไม่ชอบ รัฐประหารมันไม่ดีทุกอย่าง มีแต่พวกอิทธิพล ยาบ้ายาเบ้อมันมา มาจากพวกทหารนี่แหละ ใครจะกล้าเอามา มีแต่พวกเขานั่นแหละ ตำรวจกล้าตรวจมั้ย ไม่กล้า ผมว่าตำรวจนี่ดีนะ เขาดีกว่าพวกทหารเยอะ ถ้าปล่อยทหารยึดอำนาจอีกสักสองสามปี ดูซิ เมืองไทยบ้าทั้งประเทศแหละ”

นายอรุณยังวิพากษ์รัฐธรรมนูญฉบับ คมช. ด้วยว่า

“รัฐธรรมนูญปีห้าศูนย์นี่ผมไม่ชอบเลย ผมชอบสี่ศูนย์ อย่างเรื่องผู้ใหญ่บ้าน รัฐธรรมนูญปีห้าศูนย์ให้ผู้ใหญ่เป็นไปจนหกสิบ จนเกษียณ มันจะไปทำอะไร ค่าตอบแทนก็สูงด้วย ผมว่าเอาเหมือน อบต. ดีกว่า ให้เป็นห้าปีเหมือนแต่ก่อน การพัฒนาก็จะได้พัฒนาไปเรื่อย แต่นี่อะไร วางอิทธิพลกัน กำนันก็ให้ผู้ใหญ่เลือก อย่างหมู่บ้านผมมีเก้าหมู่บ้าน ก็ให้เก้าคนเลือก ไม่เป็นประชาธิปไตย ที่ทักษิณทำถูกที่สุด พวกข้าราชการเช้าชามเย็นชาม ไปถ่ายบัตร มันเดินไปเดินมา กว่าจะได้ถ่าย ปวดหัว ก็เหมือนอย่างที่ชูวิทย์ว่า รักษาฟรีทุกอย่าง มันเอาพาราฯ มาให้ ถูกแล้ว ไปมีแต่พาราฯ ให้ สมัยอภิสิทธิ์น่ะ” 

เมื่อการชุมนุมใหญ่ปี 2553 เริ่มขึ้น ชาวบ้านกรูดหลายคนจึงเดินทางเข้าเมืองใหญ่ ไปปักหลักกินนอนบนท้องถนนร่วมกับชาวบ้านจากถิ่นอื่นทั่วสารทิศ เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา 

“ไปชุมนุมจริงๆ จังๆ ปีห้าสาม เริ่มแรกเลย ตอนชุมนุมใหญ่ ชุมนุมก็เครียดมั่ง คนมันเยอะเนาะ คุยกันไปคุยกันมา ก็ว่าเราก็ต้องสู้ เป็นยังไงก็ต้องสู้ มาขนาดนี้แล้ว มาด้วยใจ ค่าแรงไม่มี บาทเดียวก็ไม่มี ไปตอนแรกอดนะ พอนานๆ ไป ถึงมีข้าวกิน ตอนแรกซื้อข้าวกินเอง เราตั้งกลุ่มยังไม่ได้ ครั้งที่สองพอมีจังหวัดไหน จังหวัดนั้นหุงข้าวหุงปลา พวกมาจากขอนแก่น อุดรฯ ขนข้าวขนปลาไป ทางโน้นเขามี ส.ส.มามั้ง ส.ส.พวกผมขายตัวหมด ไปแต่ละทีอาทิตย์กว่าๆ ก็กลับมา บางครั้งก็เกือบสองอาทิตย์ เสื้อผ้าไม่มีที่ตาก ตากกลางคืนนิดหน่อยก็ลุยไปอีกแล้ว แฟนก็บอกลูกยังเล็กด้วย อย่าไปเลย โอ๊ย ห้ามไม่อยู่แล้ว ก็ไปข้างหน้า ไปหาเงินข้างหน้า น้องสาวผมอยู่นั่นสองคน บางทีก็ไปขอยืมเงินเขา พวกเราบางคนไปก็ไม่กลับนะ อย่างเสาร์น่ะ ไม่ยอมกลับ อยู่ตลอดเลย แต่ว่าไม่ค่อยได้เดินด้วยกัน ออกจากสถานที่ด้วยกันก็หายกันแล้ว มีตอนเย็นๆ ได้กลับมาเจอกัน”

“กลับมาได้ไม่พอสามวัน เดี๋ยวหัวหน้าเขาก็โทรมาจากกรุงเทพ มึงหารถไปอีกเด้อ คันละสิบคนอย่างน้อย ก็เลยหา จากนี้ไปถึงจอมพระ ก็พากันไป ช่วงนั้นไม่ค่อยมีงานที่บ้านด้วย ช่วงหน้าแล้ง ถ้าว่างเลี้ยงควาย ทำงานรับจ้าง ทำนาผมทำสองไร่เอง ไม่เยอะหรอก ตอนนั้นผมดูไปแล้วก็ท้อเหมือนกัน ดูไปแล้วมันก็ยาก มันไม่ยอมออก คิดไปต่างๆ นานา ว่าเรามาอย่างนี้เสียเวลาแล้ว แต่ยังไงก็สู้ไป สู้ไปเรื่อยๆ ยังไงเราต้องจับมือกัน ครั้งสุดท้ายผมกลับมาบ้าน เขายังไม่ยิงกัน เสธ.แดงยังไม่ตายเลยตอนนั้น กลับมาได้สามวัน หลวงตาอินทร์ (พระสงฆ์ที่นายอรุณนับถือ) โทรมาบอกว่าอย่าไปเลย เขายิงกันแล้ว จะไปก็ไปไม่ได้ รถเขาไม่มีใครไปแล้ว ผมก็อยากไป แต่หารถไม่ได้ หลวงตาอินทร์ว่าเขากักรถบนถนน ไม่ให้เข้าไปแล้ว พวกแกนนำไปนั่งคุยกันต้องเอาพระมาล้อมไว้ ฮ.มันบินไปบินมา พวกณัฐวุฒิ วีระ นั่งคุยกันอยู่นั่นแหละ เอาพระไปล้อมไว้”

นั่นคือสาเหตุที่ทำให้นายอรุณกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์จากบ้านกรูด ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์สลายการชุมนุมครั้งสำคัญที่ราชประสงค์และพื้นที่โดยรอบ

“ตอนเขายิงกันที่ผ่านฟ้าผมอยู่นะช่วงนั้น เหตุการณ์มันชุลมุนเหมือนกัน เหยียบกัน ต่างคนต่างอยากรู้อยากเห็น มียิงแก๊สน้ำตาจาก ฮ. พวกผมไปช่วยดันทหาร ดันตลอดแหละครับ คนมันเยอะ ผู้ชายไม่ค่อยไปข้างหน้าหรอก ส่วนมากผู้หญิง ตอนนั้นก็คิดว่าเราต้องเรียกร้องประชาธิปไตยให้ได้ มาแล้วยังไงต้องสู้ ตอนที่มีการเจรจา ทีแรกว่าจะยุบสภาในเก้าเดือน มาอีกทีสามเดือน ตอนแรกผมคิดว่าสำเร็จนะ เก้าเดือนผมไม่ยอมรับ แต่เป็นสามเดือนพอว่าหน่อย”

เมื่อการชุมนุมครั้งนั้นจบลงด้วยการล้มตายของผู้คนจำนวนมาก ทั้งยังมีคนบ้านเดียวกันเสียชีวิตด้วย นายอรุณว่า

“คนในหมู่บ้านเราเป็นคนหนึ่งที่เสียชีวิต เราก็เสียใจ ช่วงเสียชีวิต เขาโทรมาบอกผม ผมก็โทรบอกแฟนเขา โทรบอกพี่ชายเขา พี่เขาเกือบช็อกตาย น้องชายเขาตาย ทีแรกเขาก็ว่าจะไปชุมนุมด้วย เขาว่าเขาจะไปต่อต้าน ตอนนั้นผมก็ว่าหลวงตาอินทร์ (พระสงฆ์ที่นับถือ) โทรมาว่าอย่าไป ก็เลยไม่ได้เข้าไปอีก พอมาอีกอาทิตย์หนึ่ง ข่าวว่าประจวบเสียชีวิตแล้ว ผมคิดว่ามันไม่ถูกต้อง เราเรียกร้องประชาธิปไตย มันไม่น่าจะรุนแรง มันก็น่าจะมีการยุบสภา จนถึงตอนนี้ ก็รู้สึกว่า ดูไปแล้วถ้าพรรคเพื่อไทยเราไม่ได้เป็นรัฐบาล ผมว่าอาจจะหาเบาะแสไม่ได้ เน้นตรงนี้แหละ”

แต่อย่างไรนายอรุณก็ยังคิดว่า การเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง คือการตัดสินใจที่ถูกต้อง

“ไปเสื้อแดงนี่ดีที่สุดที่เราได้ไป คือหนึ่งเรามีอุดมการณ์ เรียกร้องสองมาตรฐานให้ออกไป เอาประชาธิปไตยกลับคืน เราไม่คิดว่าผู้แทนคนไหนดีไม่ดี แต่เราต้องเอาประชาธิปไตยกลับคืน ไม่ใช่เราจะไปกลั่นแกล้งใคร ชาวบ้านเดี๋ยวนี้เขาเข้าใจ ตอนเลือกตั้งก็เลือกพรรคกันอย่างเดียว สมัยนี้ ส.ส.มันได้เปรียบตรงนี้ เขาไม่พูดถึงยิ่งลักษณ์นะ ทักษิณอย่างเดียว เอาทักษิณกลับประเทศ แค่นั้นแหละ ยิ่งลักษณ์จะบริหารงานได้มั้ย ไม่รู้ แต่เลือกตั้งที่ผ่านมา ชาวบ้านเลือกทักษิณอย่างเดียว ที่เขาบอกว่าคนอีสานเงินซื้อได้ สมัยก่อนอาจจะจริงอยู่ครับ แต่เดี๋ยวนี้เงินซื้อไม่ได้หรอกครับ เงินมันมาไม่รู้เท่าไหร่ แต่ละคนหมดเป็นร้อยล้านมั้ง พรรคเพี่อไทยหมดแค่น้ำมันรถ เงินมี แต่จ่ายไม่ได้ กลัวใบแดง จ่ายโดนใบแดงแน่ๆ” 

อดีตสมาชิก อบต. แห่งบ้านกรูด อ้างถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

“ตอนเลือกตั้งมันเอาตำรวจมาบ้านผมสามคันรถ มันมาให้หัวคะแนนจ่ายเลย เบอร์สิบหก มันจ่ายสามครั้ง ครั้งแรกห้าร้อย ครั้งที่สองที่สามสามร้อย ชาวบ้านได้สามครั้งเลย แต่ผมไม่ได้ เขาว่าเป็น นปช. เลยไม่ให้ พอเขาจ่ายเงินเสร็จผมก็เดินหาชาวบ้าน บอกว่าเขาให้เงินก็เอาไปเลย ได้เงินใช้ดีแล้ว แต่เวลาเลือกให้เลือกเบอร์หนึ่ง เบอร์ยีบเอ็ดก็จ่ายสามครั้ง แต่ผมไม่ได้ ถ้าได้ก็ดีเหมือนกัน ผมไม่ได้อะไรเลย เบอร์ยี่สิบเอ็ดเรียกผมไป บอกตารุณจะเอาเงินเท่าไหร่ ให้ช่วยเบอร์ยีบเอ็ด ผมก็ว่าผมช่วยไม่ได้หรอก ชาวบ้านรู้หมดว่าผมเป็น นปช. จะเอาผมไปฆ่าผมก็ไม่ว่าอะไรหรอก แต่ผมไม่เอาหรอก ถ้าเอาเงินแล้วต้องช่วยเขา เบอร์สิบหกได้ไปห้าสิบกว่าคะแนน จากสามร้อยสิบสี่เสียง มันก็เยอะเหมือนกันเนาะ พวกทหารเขายังถามผมเลย โทรถามว่ามึงเอาเบอร์อะไร ผมก็ว่าเบอร์หนึ่งนั่นแหละ พวกทหารเกณฑ์ก็ช่วยเหมือนกัน เสื้อแดงเหมือนกัน พอวันที่สอง มีคนเรียกผมไป บอกว่านายกฯ อบต. จะเอาเงินมาให้มึง มึงเอาเท่าไหร่ ผมว่าผมไม่เอ๊า ผมช่วยไม่ได้หรอก” 

สุดท้าย นายอรุณฝากถึงรัฐบาลที่เขาทุ่มเทแรงกายแรงใจให้อย่างสุดตัวว่า

“ขอให้มาติดตามเอาคนที่ทำผิด อยากจะให้มีการดูแลครอบครัวคนที่เขาตาย เพราะพอไม่มีหัวหน้าครอบครัว ลูกก็ยังเล็กอยู่ ทำไร่ทำนาก็ไม่มีใครทำ ก็ใช้คนอื่น น้องก็ช่วยไปวันๆ ลูกชายก็ได้ช่วยเสาร์-อาทิตย์ ผมไม่อยากให้มีแล้ว ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกแล้ว ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ถ้าเป็นประชาธิปไตย ควรจะเจรจา ฟังความคิดเห็นของประชาชน ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม อยากได้ความยุติธรรมกลับคืน ถ้าเป็นประชาธิปไตยต้องมีความยุติธรรม อภิสิทธิ์นี่สองมาตรฐานแน่นอน พวกพันธมิตรฯ โดยแง่มุมผมก็ไม่ชอบ ทุกวันนี้มีมั้ย ไม่เกินสิบคนเนาะ ทุกวันนี้มันหมดแล้ว พันธมิตรฯ มันทำผิด คนไทยกับเขมรฆ่ากันเพราะอะไร ทุกวันนี้ชาวบ้านเห็นไม่ได้เลย จำลอง ศรีเมืองน่ะ เห็นปิดเลย โทรทัศน์” 


 

10


หลังค้างคืนที่บ้านกรูดหนึ่งคืน เราเดินทางกลับเข้าตัวเมืองจอมพระ เพื่อเดินทางต่อไปยังอำเภอรัตนบุรี ระหว่างนั่งรอรถโดยสาร มอเตอร์ไซค์รับจ้างวัยราวห้าสิบปีคนหนึ่งซึ่งเราพบแต่วันแรกที่มาถึงจอมพระ และเป็นคนอาสาหามอเตอร์ไซค์ไปส่งเราที่บ้านกรูด เดินเข้ามาทักทาย คุยกันสักพักแกถามว่า ไปหาใครมาที่บ้านกรูด เราตอบว่าไปบ้านคนเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว แกร้อง “อ๋อ” พร้อมเรียกชื่อ “ประจวบ ประจวบสุข” ได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังคุยต่อ

“จังหวัดสุรินทร์มีคนตายหลายคน ชาวบ้านเขาก็ไม่พอใจกัน ทหารฆ่าประชาชน คนที่นี่เขาก็ไปชุมนุม”

เมื่อพูดคุยกันต่อไปอีก จึงได้รู้ว่านอกจากวิ่งวินมอเตอร์ไซค์อยู่ในเมืองนี้แล้ว มอเตอร์ไซค์รับจ้างรุ่นใหญ่คนนี้ยังเป็นนักจัดรายการวิทยุชุมชนแถบนี้ด้วย ในชื่อ “เพชร เดโช” แกว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างในเมืองนี้รู้จักแกกันทุกคน

“ชาวบ้านเขาชอบนโยบายความเป็นธรรม ไม่ชอบความไม่ยุติธรรม ไม่ชอบสองมาตรฐาน คนหนึ่งผิด อีกคนไม่ผิด เห็นชัดทั้งที่ทำเหมือนๆ กัน เห็นชัดเลย เสื้อเหลือง เสื้อแดง” 

เพชร เดโชว่าอีกว่าเมื่อหลายปีก่อนเขาเคยได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

“ผมเคยจับมือกับทักษิณ บอกกับแกว่าให้จัดระบบมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มันไม่มีระบบ มีการเก็บส่วยหัวหน้าวิน ผมอยู่นี่มาประมาณยี่สิบปี เป็นหัวหน้าคุมตลอด เวลาใครมีปัญหาอะไร ผมมีหน้าที่ไปเคลียร์ให้ เจ้าหน้าที่อะไรๆ ช่วงทักษิณเป็นนายกฯ เศรษฐกิจดี หากินคล่อง ไปไหนก็ได้ แต่พอปฏิวัติ หากินยาก ลำบาก ตอนปฏิวัติผมก็ไปร่วม ไปฟังเวทีปราศรัยที่ธรรมศาสตร์ ทาง ส.ส.เขาจัดให้ไปฟัง ปฏิวัติไม่ดีหรอก ทำไมไม่ดี ก็มันไม่เหมือนเดิม นโยบายตัวเองก็ไม่มี อาจจะหมั่นไส้เขา ก็เลยรัฐประหาร เขาคิดใหม่ ทำใหม่ พอเขาทำได้ อิจฉาเขา ตัวเองทำไม่ได้” 

ช่วงชุมนุมใหญ่ปี 2553 เพชร เดโช เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงด้วย “ผมกลับออกมาวันที่ 19 พฤษภา ประมาณสี่โมงเช้า ทางบ้านโทรบอกว่าเขาเตรียมสลายแล้ว ให้หาทางหนี ผมเลยหาทางหนีออกมา”

“จอมพระ” เป็นอำเภอเล็กๆ ที่ยามรถโดยสารแล่นผ่าน แทบมองหาตัวเมืองไม่เจอ แต่บัดนี้ต้องบันทึกไว้ว่า ที่นี่คืออำเภอบ้านเกิดของอีกหนึ่งวีรชนเดือนพฤษภาสายเลือดอีสาน ที่สละชีวิตเพื่อปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิแห่งความเป็นคน
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กสทช.ผ่าน 3 ร่างแผนแม่บท โหวตลับ 6 ต่อ 4 คงสูตรคืนคลื่น 5-10-15

Posted: 21 Mar 2012 04:05 AM PDT

ที่ประชุม กสทช.ผ่าน 3 ร่างแผนแม่บท การบริหารคลื่นความถี่ - กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ - กิจการโทรคมนาคม คาดประกาศในราชกิจจานุเบกษาต้นเมษายน กรณีการเรียกคืนคลื่นจากหน่วยงานรัฐเดิม ผลมติลับ 6 ต่อ 4 ให้คงสูตร 5-10-15 

วันนี้ (21 มี.ค.55) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวาระการพิจารณาร่างแผนแม่บทหลัก 3 แผน ประกอบด้วย แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ....) ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.2555-2559) และได้เห็นชอบต่อ 3 ร่างแผนแม่บทหลักดังกล่าวแล้ว โดยมีบอร์ดลาประชุม 1 ท่าน คือ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ

นายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติโด (กสทช.) กล่าวว่า หลังมีมติเห็นชอบร่างแผนแม่บทดังกล่าวแล้ว คาดว่าภายในวันจันทร์นี้จะนำ 3 แผนแม่บทหลักประกาศขึ้นเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.ภายใน 7 วัน หากระหว่างนี้ไม่มีผู้ใดคัดค้านจะนำส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน แต่ถ้ามีผู้คัดค้านจะนำกลับมาให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณาอีกครั้ง
 
ส่วนกรณีสาระสำคัญของแผนบริหารคลื่นความถี่ฯ ที่มีข้อถกเถียงกันมากเรื่องระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่ สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.เผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุ บอร์ด กสทช.ได้ทำการลงมติลับร่างแผนบริหารคลื่นความถี่ฯ กรณีการเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานรัฐเดิม ผลบอร์ด 6 ต่อ 4 ลงคะแนนให้คงสูตรคืนคลื่นความถี่ตามเดิมคือ 5-10-15 ปี สำหรับกิจการสำหรับวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ตามลำดับ ส่วนเธออยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อย 1 ใน 4 ที่โหวตให้ลดจำนวนปีลง และจะทำบันทึกคำสงวนความคิดเห็นไว้ในบันทึกรายงานการประชุม
 
นายฐากรกล่าว ถึงเหตุผลว่า กสทช.แต่ละท่านได้อภิปรายโดยนำเหตุผลของแต่ละคนมาสนับสนุน แต่ไม่ได้ข้อยุติ จึงต้องโหวตโดยเป็นการลงมติลับ เพื่อให้ประกาศแผนแม่บทได้ เพราะถ้าไม่ให้ความเห็นชอบในวันนี้ผลเสียหายจะมากกว่านี้ กระบวนการต่างๆ 3 จี และอื่นๆ จะเดินไม่ได้ ที่สำคัญแผนแม่บทเมื่อประกาศแล้วก็ยังสามารถแก้ไขได้ เนื่องจากตามที่กฎหมายระบุทุก 2 ปีจะต้องมีการปรับปรุงแผนแม่บทคลื่นความถี่ใหม่
 
นายฐากร กล่าวด้วยว่า ในส่วนกิจการโทรคมได้เพิ่มเงื่อนไขว่าระยะเวลาการใช้คลื่นที่ไม่มีใบอนุญาตจะต้องไม่เกินระยะเวลาตามใบอนุญาตโทรคมนาคมเดิมที่หน่วยงานนั้นเคยได้รับจาก กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) อาทิ กรณีของบมจ.ทีโอที และบมจ. กสทโทรคมนาคม จะต้องคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นภายใน 13 ปีตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตประกอบการกิจการ ที่ทั้ง 2 องค์กรได้รับจากกทช.
 
สำหรับคลื่นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาหมดอายุไว้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของระยะเวลาสัมปทานที่เหลืออยู่ คือ บริษัท วิทยุการบิน จำกัด บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด โดยทีโอที กับ กสท เข้าข่ายคืนคลื่น 13 ปีตามระยะเวลาสัมปทานที่เหลือ ส่วนใบอนุญาตของวิทยุการบินเหลือระยะเวลา 10 ปี ขณะที่ซีเอส ล็อกซอินโฟ ยังไม่รู้ว่าเข้าข่ายใบอนุญาตประเภทไหน ส่วนเอเซียสยังไม่ได้รับใบอนุญาตจึงอยู่ระหว่างพิจารณา
 
ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำ 3 แผนแม่บทหลัก ดังกล่าว สำนักงาน กสทช. ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ....) และร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2559) และร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม (พ.ศ.2555-2559) พร้อมกันทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยเริ่มขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 ก.พ.2555 และปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 29 ก.พ.2555 โดยมีผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะจำนวนมาก
 
ต่อมาสำนักงาน กสทช.จัดทำสรุปผลนำเสนอ กสทช. พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2555 แล้ว โดย กสทช. ได้พิจารณา ร่างแผนแม่บททั้ง 3 ฉบับในการประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2555 มีมติเห็นชอบร่างแผนแม่บทดังกล่าว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แถลงผลสอบ 4 ศพปัตตานี เผยเข้าเกณฑ์ได้เงินเยียวยา7ล้าน

Posted: 21 Mar 2012 03:49 AM PDT

เลื่อนแถลงข่าวคดีเหยื่อทหารพราน 4 ศพปัตตานี กำหนดฤกษ์ใหม่ 21 มีนาฯ เปิดผลสอบข้อเท็จจริง สั่งจ่าย 400,000 เยียวยาเหยื่อ เผย 4 ศพถูกทหารพรานถล่มเข้าหลักเกณฑ์รับเงินเยียวยา 7 ล้าน

 

กิตติ สุระคำแหง

 

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 20 มีนาคม 2555 ที่ห้องกลางชล โรงแรมซี.เอส. ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีทหารพรานยิงชาวบ้านบ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เสียชีวิต 4 ศพ โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเข้าร่วมประชุม 11 นาย มีนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธานในการประชุม

นายแวดือราแม ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวว่า ขอเลื่อนการแถลงข่าวสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการฯ เป็นเวลา 08.30 น. วันที่ 21 มีนาคม 2555 ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เนื่องจากพล.ท.อุดมชัย ธรรมชาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ไม่สามารถมาแถลงข่าวในที่ประชุมคราวนี้ได้

จากนั้น คณะกรรมการฯ ได้ร่วมลงนามรับรองรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายกิตติ สุระคำแหง เลขานุการคณะกรรมการฯ เปิดเผยว่า สำหรับการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ยิงประชาชนเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บ 5 คน เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 ที่บ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโยนั้น ในส่วนของครอบครัวผู้เสียชีวิต 4 คน ประกอบด้วย ครอบครัวนายรอปา บือราเฮง นายหามะ สะหนิ นายอิสมัน ดือราแม นายสาหะ สาแม โดยจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น 500,000 บาท ขณะนี้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มอบเงินไปแล้วครอบครัวละ 100,000 บาท ส่วนอีก 4 บาท จะมอบหลังจาก พล.ท.อุดมชัย ธรรมมสาโรรัชต์ แถลงผลการสอบข้อเท็จริงต่อสื่อมวลชน ในวันที่ 21 มีนาคม 2555

นายกิตติ เปิดเผยอีกว่า สำหรับผู้เสียชีวิตในกรณีนี้ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการเสียชีวิตจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำเสนอให้เยียวยาในอัตราสูงสุดวงเงินไม่เกิน 7,000,000 บาทได้

นายกิตติ เปิดเผยอีกว่า ส่วนผู้ที่ได้บาดเจ็บจากเหตุการณ์เดียวกัน จะได้รับการดูแลจากคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐสืบเนื่องสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้จังหวัดปัตตานี โดยเบี้องต้นจะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียประโยชน์ หรือค่าที่ไม่สามารถประกอบอาชีพประมาณวันละ 400 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยไม่ตัดสิทธิประโยชน์ที่ผู้นั้นจะได้รับตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้คณะกรรมการเยียวยาฯ จะดูแลเรื่องสร้างอาชีพและให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์นี้ด้วย

“สำหรับช่วยเหลือด้านทรัพย์สินใช้หลักเกณฑ์และวิธีช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในกรณีฉุกเฉิน และอนุโลมตามมติคณะรัฐมนตรี โดยศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาจังหวัดปัตตานี คณะประเมินทรัพย์สินมีข้อสรุปว่า ให้ขายซากรถยนต์ของนายยา ดือราแม และนำเงินมาซื้อรถยนต์คันใหม่ให้นายยา” นายกิตติกล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชำนาญ จันทร์เรือง: เสียงก้องจากเชียงใหม่

Posted: 21 Mar 2012 03:40 AM PDT

ในช่วงของเดือนกุมภา-มีนา-เมษาของทุกๆปีในเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบนจะเกิดปรากฎการณ์

หมอกควันปกคลุมอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 สัปดาห์ แล้วจะมี "ลมหลวง" หรือที่เรียกกันว่าพายุฤดูร้อนพัดหมอกควันออกไป โดยจะมีฝนตกชะล้างหมอกควัน ซึ่งเมฆฝนจะเริ่มเคลื่อนเข้ามาในฤดูมรสุม มนุษย์ไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแต่เข้าใจธรรมชาติและอย่าทำอะไรฝืนธรรมชาติเท่านั้นเอง โดยไม่เคยปรากฏในพงศาวดารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดใดว่า เจ้าผู้ครองนครของหัวเมืองฝ่ายเหนือจะพากันอพยพผู้คนหนีหมอกควันหรือทำพิธีอ้อนวอนเทวดาทั้งหลายให้หมอกควันบรรเทาลง

แต่ปรากฎการณ์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบนของภาครัฐนั้นเป็นที่น่าผิดหวังมาก มีการระดมกันพ่นน้ำไปทั่วเมืองเหมือนกับการถมน้ำปิงด้วยก้อนหินสัก 2-3 คันรถกระบะ และน้ำที่พ่นๆ กันนั้นก็มักจะไปพ่นกันบริเวณหน้าเครื่องวัดฝุ่นละอองเสียด้วยสิ อาจจะเป็นเพราะเครื่องมันโกงไม่เป็น แต่คนโกงเป็น เพื่อแสดงให้เห็นว่าแก้ปัญหาได้บ้างแล้วนะ

นอกจากนั้นมีการระดมทำฝนเทียมซึ่งก็ตกมาอย่างเทียมๆ ก็คือ ไม่ตก นั่นเอง โดยอ้างเหตุผลสารพัดว่าเหตุใดถึงไม่ตก แต่ไม่มีเหตุผลหรือคำอธิบายว่า ทำอย่างไรจะให้ฝนเทียมกลายเป็นฝนจริงขึ้นมาได้

การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าจะมีปรากฏการณ์หมอกควันเกิดขึ้นอยู่ทุกปี ไม่มีการประสานงานในพื้นที่เพราะเจ้าของเงินหรือผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเพียงทางผ่านของความต้องการ ซึ่งบางทีก็ส่งผ่าน บางทีก็ไม่ผ่าน เมื่อมี “ลมหลวง” มาพัดหมอกควันให้เบาบางลง ก็ค่อยหายใจหายคอโล่งกันไปทีหนึ่ง

รัฐบาลก็ทำได้แต่เพียงออกมารณรงค์เดินต่อต้านการเผา แล้วคาดโทษผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการว่าจะถูกลงโทษหรือถูกย้ายหากแก้ปัญหาหมอกควันไม่ได้ ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลยเพราะเป็นคนมาจากที่อื่นทั้งนั้น มาแล้วก็ไป แต่ละคนต้องมาศึกษาปัญหาในพื้นที่ใหม่ทั้งนั้น พอจะรู้เรื่องก็ย้ายไปเสียแล้ว

ที่ร้ายที่สุดก็คือการระดมกันประณามผู้ที่เผาขยะโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยทั้งหลาย มีการขู่ว่าจะจับกุมคุมขังเอาคนเผาขยะเข้าคุกเข้าตาราง ทั้งๆ ที่เป็นวิถีชีวิตของคนล้านนามานับพันปี ทำให้พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยทั้งหลายต้องลุกมาเผาขยะตั้งแต่ตีสามตีสี่ เพราะกลัวโดนจับ ซึ่งเขารู้ว่าหากไปหยุดไม่ให้มีการเผาในปีนี้ ปีหน้าหรือปีถัดๆไปจะสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะหนักกว่าเดิมไปหลายเท่าตัว

ประเด็นหมอกควันได้ถูกหยิบยกไปเป็นประเด็นปัญหาสุขภาพและการท่องเที่ยวโดยคนในเมือง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูงและกลุ่มประชากรแฝงที่มีผลประโยชน์จากความเป็นเชียงใหม่เท่านั้น แต่กิจกรรมกลางแจ้งที่เป็นวิถีชีวิิตของชาวล้านนายังคงดำเนินไปตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บผักหวาน หา  ไข่มดแดง หาปลาในห้วย แผ้วถางนาไร่ ปีนเขา ล่องแก่ง ฯลฯ

เราต้องไม่ปฏิเสธว่าปรากฏการณ์หมอกควันเชียงใหม่และภาคเหนือนั้นเกิดจากไฟป่าเพราะในภาคเหนือนั้นเกิดขึ้นง่ายและเกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากป่าในภาคเหนือนั้นเป็นเป็นป่าดิบแล้งไม่เหมือนป่าดิบในภาคอื่น การเผาขยะก็มีส่วนบ้างแต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด เพราะปัญหาหมอกควัน ไม่ใช่ชาวบ้านเผาขยะ แต่เป็นปรากฏการณ์ไฟป่าตามธรรมชาติ กับการบุกรุกแผ้วถางและเผาป่าเพื่อทำไร่ทั้งที่เป็นของตนเอง และทั้งที่ถูกหนุนหลังโดยบริษัทการเกษตรข้ามชาติยักษ์ใหญ่

ฉะนั้น หากจะจับกุมคุมขังผู้คน แทนที่จะไปจับพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยซึ่งเผาขยะอยู่ตลอดทั้งปีโดยไม่มีปัญหาหมอกควันแต่อย่างใด แต่ควรที่จะไปจับพวกที่บุกรุกแผ้วถางและเผาป่าหรือพวกโรงแรม ร้านอาหารที่เผาน้ำมันปล่อยโคมลอยเป็นร้อยๆพันๆลูกโดยไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับโอกาสสำคัญทางประเพณีหรือศาสนาแต่อย่างใด

การแก้ไขปัญหาหมอกควันเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจที่อยู่ที่ส่วนกลางและผ่านราชการส่วนภูมิภาคที่เป็นร่างทรงที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่นคือตัวการหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ในปัจจุบัน

ถึงเวลาแล้วที่จะมีการเปลี่ยนแปลง คนเชียงใหม่ควรที่จะมีส่วนในการจัดการตนเอง ฉะนั้น ในกลางปี 2555 นี้ จึงจะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯโดยภาคประชาชนเข้าสู่สภา โดยมีหลักการที่สำคัญคือ การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเหลือเพียงราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่

ถึงเวลาแล้วที่คนเชียงใหม่จะลุกขึ้นมาจัดการตนเอง เพราะคนเชียงใหม่มีศักยภาพ มีศักดิ์ศรี     มีภูมิปัญญา มีบุคลากรที่เข้าใจปัญหาของตนเอง และวางแผนอนาคตของตนเองได้ อีกทั้งการทำเช่นนี้จะทำให้ประเทศของเรามีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะ “รัฐชาติจะเข้มแข็งได้ก็เพราะการมีท้องถิ่นทีเข้มแข็ง”

เชียงใหม่พร้อมแล้วในการที่จะเป็นจังหวัดจัดการตนเอง เพราะเชียงใหม่มีต้นทุนในเรื่องความเข้มแข็งของประชาชน มีภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการป่าชุมชน การจัดการสุขภาพ การเกษตรกรรมแบบยั่งยืน การจัดการเหมืองฝาย ฯลฯ 

การจัดการตนเองของเชียงใหม่จะส่งผลดีในด้านเกษตรกรรมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจนเพราะท้องถิ่น ชุมชนเกษตรและผู้ผลิตจะมีการวางแผนของตัวเองได้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้มีระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน กอปรกับเชียงใหม่มีทั้งป่า เขา และสายน้ำมากมาย ซึ่งคนเชียงใหม่รู้จักภูมิประเทศของตนเองดี รู้จักธรรมชาติของป่า รู้อารมณ์ของสายน้ำและขุนเขา ที่สำคัญรู้ว่าคนเชียงใหม่จะอยู่ร่วมและสามารถจัดการดูแลธรรมชาติได้อย่างไร เช่น กรณีหมอกควัน เป็นต้น อีกทั้งในด้านการศึกษาก็จะสามารถวางระบบให้สอดคล้องอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาจารีตฮีตฮอยของเชียงใหม่  เรียนเพื่อรู้จริง ใช้ในชีวิตจริงได้ ที่สำคัญคือเรียนแล้วสามารถพึ่งตนเองได้

ดังนั้น การการเปิดโอกาสให้เชียงใหม่จัดการตนเอง จึงเป็นการพัฒนาประเทศจากรากฐานหรือจากต้นทุนของชุมชนที่แท้จริง สู่การพัฒนาประเทศที่เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งการปรับโครงสร้างอำนาจให้สอดคล้องกับยุคสมัยเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐไทยเราอยู่รอดตลอดมา

โลกหมุนไปข้างหน้า ใครที่หยุดอยู่กับที่ก็ถือว่าเป็นการถอยหลัง ส่วนผู้ที่ถอยหลังเพิ่มอำนาจของส่วนภูมิภาคและส่วนกลางมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือผู้ที่ตายแล้วนั่นเอง

 

 

------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 21 มีนาคม 2555

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หวั่นภาคีต้านยาปลอม แฝงเจตนาทำลายยาชื่อสามัญ

Posted: 21 Mar 2012 03:29 AM PDT

ภาคประชาสังคมด้านการเข้าถึงยา ตั้งข้อสงสัย อุตฯยาข้ามชาติ-สหรัฐฯ ตั้งภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย สร้างภาพห่วงใยปัญหายาปลอม แต่สอดไส้ทรัพย์สินทางปัญญา หวังทำลายยาชื่อสามัญ

21 มี.ค.55  ตามที่สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (TPMA) จะเปิดตัว ภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย (Partnership for Safe Medicine) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา นั้น

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้รู้ว่า บริษัทยาข้ามชาติและรัฐบาลสหรัฐฯ ใส่ใจในความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเฉพาะต้องการปกป้องผู้บริโภคจากยาปลอมและไม่ปลอดภัย อีกทั้งพยายามแสวงหาภาคีร่วม อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตบางประการกับการตั้งสาขา “ภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย” (Partnership for Safe Medicine) ในประเทศไทย ว่า มีวาระซ่อนเร้นเพื่อเปลี่ยนแปลงนิยามยาปลอมโดยสร้างความสับสนให้กับสังคมว่า ยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยเป็นเรื่องเดียวกันกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ในความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องและมีวิธีแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน  หน่วยงานต่างๆ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจเข้าร่วมและอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ

“ในความเป็นจริง  ยาต้นตำรับที่จำหน่ายโดยบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเองก็เป็นยาด้อยคุณภาพได้ เนื่องจากไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตหรือขนส่งที่ดีพอ หรือพยายามลดต้นทุนการผลิตโดยจ้างให้บริษัทยาขนาดเล็กที่ไม่ได้มาตรฐานผลิตแทนแบบกดราคา  ทำให้บริษัทยาที่รับจ้างผลิตต้องลดปริมาณตัวยาสำคัญที่มีต้นทุนลง 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทยาข้ามชาติพยายามใช้หลากหลายกลยุทธเพื่อขยายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้กว้างขวางและเข้มงวดมากขึ้นจนเกินเลยจากกฎหมาย เช่น การขยายนิยามของยาปลอมจากความหมายด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้รวมไปถึงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และเสนอให้มีมาตรการแก้ไขโดยหลอกล่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เรื่องยาปลอม ที่เหมารวมยาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยว่าเป็นยาปลอม ซึ่งเป็นยุทธวิธีแบบเดียวกันที่บรรษัทยาข้ามชาติพยายามวิ่งเต้นให้องค์การอนามัยโลกบัญญัตินิยามยาปลอมให้ครอบคลุมยาด้อยคุณภาพและยาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับนิยายยาปลอมในข้อตกลงต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ที่ขณะนี้ถูกต่อต้านอย่างหนักในยุโรป กลายเป็นว่าไปเพิ่มให้ อย. จากเดิมมีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและดูความปลอดภัยและคุณภาพของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มาทำหน้าที่ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

ในขณะที่หากพิจารณาผลงานและจุดยืนที่ผ่านมาของภาคีความร่วมมือเพื่อยาปลอดภัย (Partnership for Safe Medicine) ในสหรัฐฯ และอินเดีย ก็มีท่าทีเดียวกันคือ ใช้นิยามยาปลอม (counterfeit drug)*ในเชิงการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาอ้างรวมว่าเป็นเรื่องยาปลอมในเชิงคุณภาพและความปลอดภัย (fake drug, substandard drug, spurious drug) เพื่อกดดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลด้านยาของประเทศต้องทำหน้าที่การตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาไปด้วย นั่นไม่ได้แก้ปัญหายาปลอม แต่กลับใช้ทรัพยากรรัฐไปช่วยบริษัทยาข้ามชาติคุ้มครองผลประโยชน์ของเขา และกดดันให้หน่วยงานด้านศุลกากรสามารถตรวจยึดยาชื่อสามัญที่ต้องสงสัยว่าเป็นยาปลอมในความหมายใหม่ได้เลย เช่นที่ สหภาพยุโรปยึดยาต้านไวรัสเอชไอวี และยารักษาโรคไม่ติดต่อที่ส่งจากอินเดียไปยังประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น หน่วยงานต่างๆที่จะไปร่วมภาคีนี้พึงระวัง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้เอกชน และทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ”

ทางด้าน ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา73 กำหนดขอบเขตความหมายของยาปลอม คือ 1.ยาหรือวัตถุที่ทำเทียมทั้งหรือมีบางส่วนว่าเป็นยาแท้ 2.ยาที่แสดงชื่อว่าเป็นยาอื่น หรือแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุไม่เป็นความจริง 3.ยาที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งไม่เป็นความจริง 4.ยาที่แสดงว่าเป็นยาตามตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ไม่จริง 5.ยาที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน โดยมีสาระสำคัญขาดหรือเกินกว่า 20% ของตำรับยาที่ขึ้นทะเบียนไว้ 
        
“ยาผิดมาตรฐานและยาเสื่อมคุณภาพนี้จะเน้นเรื่องคุณภาพของยา ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาปลอมแปลง (counterfeit medicine) ทรัพย์สินทางปัญญาที่ทางอุตสาหกรรมยาต้องการขยายคำนิยามแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องยาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยเป็นปัญหาใหญ่ในหลายๆ ประเทศที่ไม่มีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยที่เข้มแข็ง ในประเทศไทย เรามีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีศักยภาพทำงานตรวจสอบยาต่างๆ ในประเทศอยู่  แต่ปัญหายาด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยในไทยส่วนใหญ่เป็นยาลักลอบขายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. และยาที่ขายผ่านอินเตอร์เน็ต

“การแก้ไขปัญหาในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยและเกี่ยวพันกับชีวิตของประชาชน เป็นหน้าที่โดยตรงที่ อย. จะต้องเพิ่มศักยภาพในการควบคุมดูแลให้ดียิ่งขึ้น  แต่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างเอกชนและเป็นหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องดูแล ไม่ใช่ อย.”

นอกจากนี้ จากงานวิจัยของ กพย. พบว่า บริษัทยาต้นแบบได้มีแทคติกต่างๆที่เป็นการข่มขวัญบริษัทยาชื่อสามัญ เช่น การฟ้องร้องเอาผิดทุกรูปแบบในประเด็นที่บริษัทยาต้นแบบคิดว่าถูกละเมิดสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือแม้แต่ละเมิดลิขสิทธิ์ในเอกสารกำกับยาทั้งๆที่ไม่เข้าข่ายการเป็นวรรณกรรมที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย นอกจากนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในศาลยังส่งจดหมายไปแจ้งแกมขู่โรงพยาบาลต่างๆให้ระงับการสั่งซื้อยาชื่อสามัญที่เป็นคดีความ ทั้งๆที่คดียังไม่สิ้นสุด หากบริษัทยาชื่อสามัญเล็กๆที่ไม่มีฝ่ายกฎหมายหรือฝ่ายสิทธิบัตรที่แข็งแกร่งมากพอ ก็อาจจะถอดใจ ไม่สู้คดี ถอนยาจากตลาด ซึ่งทำให้บริษัทยาต้นแบบผูกขาดและเรียกราคายาได้แพงขึ้นเพราะขายเพียงเจ้าเดียว แม้ว่าในความเป็นจริง ในที่สุดศาลอาจจะชี้ว่า บริษัทยาชื่อสามัญนั้นอาจจะไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเลยก็ได้

“ดังนั้น หากหน่วยงานต่างๆไปหลงกล เอาเรื่องคุณภาพยาและทรัพย์สินทางปัญญาไปปนกัน เชื่อว่า จะทำให้บริษัทยาชื่อสามัญจำนวนมากถูกกลั่นแกล้งด้วยการแจ้งจับยึดยาที่ถูกต้องสงสัย ทั้งที่อาจไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพและไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเลย”

อนึ่ง หลังจากที่ประเทศไทยได้ดำเนินการประกาศการใช้สิทธิตามสิทธิกับยา  เมื่อปลายปี 2549 รัฐบาลสหรัฐ พยายามบังคับให้ไทยทำแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ในลักษณะที่มากเกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ เช่น การให้ อย.ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการขึ้นทะเบียนยา ต้องทำหน้าที่ตำรวจตรวจสอบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, ให้เพิ่มการลงโทษอาญา และอาญาแผ่นดิน แทนความผิดทางแพ่งในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ฯลฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สตม.คุมตัวคนงานพม่า ไม่ชอบด้วย กม.

Posted: 21 Mar 2012 03:14 AM PDT

ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ชี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองควบคุมตัว "ชาลี ดีอยู่" เกิน 7 วัน โดยไม่ขอศาล “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แต่ไม่ได้ละเมิดสิทธิให้เสียหายจนขนาดต้องเยียวยาเป็นเงิน

 

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ส่งใบแจ้งข่าว ระบุว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 เวลา 10.00 น. ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในคำร้องกรณีสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ควบคุมนายชาลี ดีอยู่ แรงงานชาวพม่า โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำสั่งยืนตามชั้นต้นว่า สตม. ควบคุมตัวนายชาลีโดยที่ยังมิได้มีการตรวจสอบสิทธิอาศัยของนายชาลี จึงเป็นการควบคุมตัวโดย สตม. ยังมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่าได้มีการกระทำผิดตามกฎหมายคนเข้าเมืองหรือไม่ การใช้อำนาจควบคุมตัวไว้เกิน 7 วัน จึงต้องได้รับอนุญาตจากศาล แต่ สตม. ไม่ได้ดำเนินการร้องขอต่อศาล จึงเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

และต่อกรณีการล่ามโซ่นายชาลีไว้กับเตียงผู้ป่วยระหว่างที่ถูกควบคุมตัวและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนั้น ศาลเห็นว่าเป็นการดำเนินการตามหน้าที่รับผิดชอบจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเกินสมควร และแม้จะเป็นการกระทำที่ผิดต่อระเบียบของ สตม. ที่ห้ามมิให้พันธนาการผู้ต้องกักที่เจ็บป่วยและไม่สามารถหลบนี้ได้ด้วยกำลังของตนเอง แต่ผู้คุมขังได้ทำการปลดโซ่ตรวนหลังจากวันที่รับตัวเข้าโรงพยาบาลได้เพียงสามวัน ถือได้ว่าเป็นการทุเลาความผิดพลาดได้ตามสมควร และมิได้ทำให้นายชาลีได้รับความเสียหายมากเสียจนต้องได้รับการเยียวยาด้วยเงิน จึงเห็นว่า สตม. ไม่ต้องชำระเงินเยียวยาแก่นายชาลี

คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำสั่งให้ สตม. ปล่อยตัวนายชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติชาวพม่า ซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการทำงานบาดเจ็บสาหัส แต่กลับถูกตำรวจควบคุมตัวเพื่อส่งกลับประเทศพม่า และถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ อีกทั้งศาลยังให้ สตม. จ่ายค่าเสียหายให้นายชาลี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 เนื่องจากเป็นการควบคุมตัวโดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายชาลี ต่อมา สตม. ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาล และขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้เป็นการควบคุมตัวที่ชอบด้วยกฎหมาย โดย สตม. ให้เหตุผลว่าไม่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสิทธิอาศัยของนายชาลี จึงมีอำนาจควบคุมตัวนายชาลีได้ตามกฎหมาย ซึ่ง สตม. สามารถควบคุมตัวไว้ได้นานเท่าใดก็ได้ เพื่อรอการส่งกลับ โดยไม่ต้องขอศาล โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และเคารพสิทธิของนายชาลีแล้ว

ขณะที่มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้ยื่นแก้อุทธรณ์ ยืนยัน สตม. ควบคุมตัวนายชาลีนานถึง 16 วัน โดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิอาศัยให้ถี่ถ้วน และใบอนุญาตทำงานยังไม่หมดอายุจึงเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ แม้ภายหลังสภาทนายความได้มีหนังสือทวงถามขอให้ปล่อยตัวนายชาลี แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ จน มสพ. ต้องยื่นคำร้องต่อศาล อีกทั้งการควบคุมตัวขณะเจ็บป่วยหนักและการล่ามโซ่ยังเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และขัดต่อพันธกรณีของประเทศไทยตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งห้ามการควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจและโดยปราศจากการตรวจสอบโดยศาล จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งดังกล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ระบุว่า แม้ว่าศาลอุทธรณ์จะกลับคำสั่งศาลชั้นต้นเรื่องเงินเยียวยา แต่ยังเห็นว่าคำสั่งศาลในคดีนี้เป็นก้าวสำคัญต่อการสร้างความมั่นใจในการดำเนินนโยบายและการใช้อำนาจควบคุมตัวบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมและโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพมากขึ้น
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: โดมไม่เปลี่ยนไป ใย มธ.จึงเปลี่ยนแปลง

Posted: 21 Mar 2012 03:13 AM PDT

เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไท-ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข ได้จัดกิจกรรมนิทรรศการการเมือง ประจำปี 2555 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมี สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

งานดังกล่าว นอกจากจะมีนิทรรศการ การแสดงละครโดยกลุ่มประกายไฟ ยังได้จัดวงเสวนาขึ้นที่ห้องบรรยายรวม 1 เรื่อง “โดมไม่เปลี่ยนไป แต่ทำไมคนเปลี่ยนแปลง” โดยมีศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่างยุคสมัยร่วมเสวนา ได้แก่ พนัส ทัศนียานนท์, วิทยากร เชียงกูล, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ ณัชฎา คงศรี เป็นวิทยากร

พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาปี 2543 และเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) รุ่นสุดท้าย กล่าวว่า ยุคของ มธก. สิ้นสุดลงตั้งแต่ประมาณปี 2490 สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และต้องตัดชื่อย่อมหาวิทยาลัยตัวกอไก่ออก เพราะไม่ต้องการให้ มธ. เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น แล้วต่อมาก็ยกเลิกหลักสูตร มธ.บัณฑิต

ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน ต้องเชื่อในหลักอนิจจัง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังเห็น ‘โดม’ ในรูปลักษณ์ที่คุ้นเคย โดมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธรรมศาสตร์ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แล้วทำไมคนถึงเปลี่ยน อันนี้ผมคิดว่ายิ่งเป็นสัจธรรม เพราะแม้เราเป็นลูกโดม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราต้องคิดเหมือนกัน ทุกคนมีสิทธิในการคิด มีอุดมการณ์เป็นของตัวเองซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนอาจจะคิดแบบเสรีนิยม สังคมนิยม อนุรักษ์นิยม แต่พอชีวิตเปลี่ยนผ่านไปตามอายุขัย ในแง่ของสังขารอันนี้เปลี่ยนไปแน่นอนอยู่แล้ว

“ผมเข้า มธ. ตอน 2502 ผมมีความรู้สึกยังหนุ่มยังแน่น แต่ตอนนี้ผมเกือบ 70 แล้ว ก็ต้องมีอะไรเปลี่ยน แต่สิ่งที่เป็นนัยของคำถามนี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องความคิด การที่เรากำหนดกฎเกณฑ์ตายตัวอย่างนั้น หรือกำหนดว่า มธ. ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ผมว่าไม่แฟร์ ในดินแดนแห่งเสรีภาพ ต้องมีคนที่คิดเห็นไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แต่อาจมีข้อยกเว้นอยู่อย่างหนึ่ง คือคนที่มีความคิดเห็นแบบนาซี หรือที่ไม่ชอบเสรีภาพนั้น อาจจะไม่ตรงกับธรรมศาสตร์”

“มีคนบ่นเรื่องคนเดือนตุลา ว่าทำไมพอมาถึงปี พ.ศ.นี้ จึงเปลี่ยนแปลงไปได้ขนาดนี้ อันนี้ผมคิดว่า แต่ละคนท่านก็คงจะมีเหตุผลของท่านเอง แต่ก็เป็นเรื่องน่าคิด โดยเฉพาะในยุคของทักษิณ ชินวัตร ทำไมคนเดือนตุลาถึงแตกออกเป็นสองเสี่ยง”

วิทยากร เชียงกูล ผู้แต่งบทกวี "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" ซึ่งมีท่อนที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" อดีตอาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รองอธิการบดี คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในฐานะศิษย์เก่า มธ. ยุครุ่งเรืองของกิจกรรมนักศึกษาว่า เข้า มธ. ตอนปี 2508 ออก 2512 ต้นปี เป็นคนก่อนเดือนตุลา นักศึกษาในขณะนั้นไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจสังคม อาจารย์ก็ไม่สนใจด้วยเช่นกัน อาจจะมีบางส่วนสนใจ เมื่อเทียบกับยุคก่อนๆ ซึ่งก็จะเป็นอย่างนี้ มียุคขึ้นและยุคลง ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม ต้องเข้าใจว่า มธ. ช่วงแรก ที่เป็น มธก. ค่อนข้างเป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ แต่ต่อมามาอยู่ในระบบราชการ ก็สร้างเทคโนแครตออกสู่สังคม บางช่วงก็จะไม่สนใจสังคมเท่าไร แต่บางช่วงก็จะสนใจ เช่น ช่วงที่สนับสนุนเสรีไทย หรือโดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลา จุดสำคัญอยู่ที่นักศึกษาธรรมศาสตร์ ส่วนการเปลี่ยนแปลงนั้น เราต้องถามว่า เปลี่ยนดีขึ้นหรือเลวลง ซึ่งอาจจะมีทั้งสองอย่าง เราต้องวิเคราะห์ให้ออก ผมคิดว่าปัญหาใหญ่ของสังคมไทยนี่มันเลวทรามมาก ถามว่าทำไมบทกวีเมื่อปี 11 ถึงยังอ่านได้ เพราะประเทศไทยมันไม่เอาไหน ผมคาดหวังว่า มหาวิทยาลัยควรดีกว่านี้ ผมเห็นปัญหาความยากจน การคอรัปชั่น เผด็จการ ยังอยู่เต็มไปหมด

“การพัฒนาแบบทุนนิยมดึงอาจารย์และนักศึกษาให้หลงใหลไปกับการมุ่งหาเงิน อาจารย์ก็จะทำงานวิจัย ไม่อยากจะทำงานที่ไม่ได้เงิน สมัยก่อนเราทำงานไม่ได้เงิน เพราะเราคิดว่า ต้องการเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเปลี่ยนไม่เปลี่ยนต้องมองในแง่นี้หรือเปล่า เปลี่ยนแบบนี้จะนำไปสู่ความเลวร้ายกว่านี้ไหม เราควรจะต่อต้านเผด็จการทุนนิยมไหมที่ทำให้คนใช้ความรุนแรงมากขึ้น เกิดความแตกแยกมากขึ้น เดี๋ยวนี้ปัญหาซับซ้อนมากขึ้น เป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะการศึกษาเรามันแย่ มันสอนเฉพาะทางในกรอบแคบๆ และสอนแบบท่องจำ”

ด้าน ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประจำปี 2554 ในฐานะศิษย์เก่าทั้งด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ปี 2524 ถึง 2527 และรุ่นปี 2530 ถึง 2534 และได้เรียนทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต กล่าวว่า “ตั้งแต่ปากทางเข้ามา ผมรู้สึกเหมือนหมู่บ้านบ้านนอก มันควรได้รับการดูแลให้เห็นว่า ยังมีชีวิต หรือว่าคนที่อยู่ข้างในเขาไม่สนใจจะมองจากข้างนอกเลย เขาใช้ชีวิตอยู่แต่ข้างใน มันควรได้รับการดูแลพัฒนามากกว่านี้”

“โดม ถ้าหมายถึงสัญลักษณ์ ผมว่ามันเปลี่ยนนะ ผมเรียน 2527 ช่วงนั้นผมตกงาน เป็นฝ่ายสนับสนุนการต่อต้านการย้ายไปรังสิต เขาบอกว่า ไปในนามของมหาวิทยาลัยแบบเพอร์เฟก ในที่สุดผมก็ได้บทสรุปแล้วว่า มธ. พยายามเลียนแบบจุฬา ว่าจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ก็เลยมาตั้งที่รังสิต เพราะหวังให้เป็นคอมเพล็กซ์ แต่สภาพปัจจุบัน อีกนานกว่าจะพัฒนาไปถึงตรงนั้น การที่เราเลือกพื้นที่หนึ่งโดยมีแนวคิดจะให้นักศึกษามีแนวคิดที่สมบูรณ์แบบ แค่นี้ก็แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงแล้ว

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นบททดสอบแรกๆ เลยของการไปเรียนในที่ห่างไกล เพราะอยู่นอกตัวเมือง แต่ในสภาพบรรยากาศของการเรียนการสอน สิ่งหนึ่งที่ท่าพระจันทร์มี คือความแออัด มันจึงต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านไว้

ปัจจุบันหลักสูตรที่สอนในท่าพระจันทร์ จะมีแต่หลักสูตรอินเตอร์ที่เรียนกันอยู่พันกว่าคน ซึ่งเป็นชนชั้นกลางระดับบน พวกนี้ก็มีวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง มีชีวิตที่สวยหรู สวนคนที่เป็นชนชั้นต่ำกว่าก็มาอยู่บ้านนอกที่รังสิต

การเปลี่ยนพื้นที่ เป็นผลต่อสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลในการหล่อหลอมคนด้วย ในโลกที่มีคอมพิวเตอร์ ทำให้นักศึกษาห่างไกลกันมาก แต่สมัยก่อนที่ท่าพระจันทร์ บรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ต้องเรียนรวมเกือบสองหมื่น คนก็จะรู้จักกัน เพราะเรียนรวมกันแบบคละคณะ จึงทำให้เราพบปะสังสรรค์กันได้ตลอดเวลา โรงอาหารริมแม่น้ำจึงกลายเป็นที่ให้เราสังสรรค์กัน ประตูท่าพระจันทร์ก็เป็นแหล่งรวมของการสื่อสาร เป็น mass communication สภาพทางกายภาพมันทั้งขยับตัวและเปลี่ยนแปลงในเชิงขยายตัว

“ผมจึงไม่คิดว่า มธ. ลำปาง จะมีความรู้สึกแบบเดียวกัน มันอาจจะเกิดความรู้สึกแบบลูกเมียหลวง-ลูกเมียน้อย การเปลี่ยนแปลงของอธิการบดีก็มีส่วน ในช่วงของ 40 ปีแรก ผู้บริหารเป็นระดับบิ๊กๆ เช่น ปรีดี พนมยงค์ สัญญา ธรรมศักดิ์ แต่พอมายุคหลังก็เป็นไปแบบสะเปะสะปะ เพราะฉะนั้นทั้งสัญลักษณ์ที่เป็นโดม และอุดมการณ์ความคิดจึงเปลี่ยนไปแน่ๆ เปลี่ยนทั้งคู่ คน วิถีชีวิต ซึ่งเปลี่ยนไปตามพื้นที่” ธำรงศักดิ์ กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปกครองยกคำร้อง บ.เอกชนขอคุ้มครองชั่วคราวขึ้นค่าแรง300

Posted: 21 Mar 2012 02:25 AM PDT

ศาลปกครองยกคำขอคุ้มครองทุเลาชั่วคราว 23 บริษัท ค้านขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

กรณีบริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด  พร้อมพวกรวม 42 ราย ฟ้องคดีคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 กระทรวงแรงงาน กรณีมีประกาศคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เฉพาะ 7 จัวหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ส่วนจังหวัดอื่นปรับจากเดิมประมาณร้อยละ 20 ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2555 โดยระบุว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อดัชนีค่าครองชีพ และภาระเงินเฟ้อเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย โดยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว
 

ล่าสุด เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ นายเทอดพงศ์ คงจันทร์ ตุลาการศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนได้คำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับคดีของบริษัทมูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับพวกรวม 23 บริษัท ในฐานะผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องคณะกรรมการค่าจ้าง โดยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนที่จะมีคำพิพากษา โดยให้ศาลสั่งทุเลาการบังคับตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 2 พ.ย. 2554 ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นไต่สวนของศาลรับฟังได้ว่าในการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดี ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 17 ต.ค.55 ได้มีการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.55 โดยได้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็นการพิจารณาทั้งข้อมูลที่ได้จากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ข้อคิดเห็นและข้อเสนอและจากคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง รวมทั้งข้อมูลและข้อคิดเห็นจากคณะทำงานศึกษานโยบายการขึ้นราคาค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งมีรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน และมีคณะทำงานประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนนายจ้าง และลูกจ้าง

จึงเห็นได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งพิพาท โดยเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 87 วรรคหนึ่ง อีกทั้งในการประชุมองค์ประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีมีทั้งหมด 14 คน ได้แก่ผู้แทนรัฐบาล 5 คน นายจ้าง 5 คน และลูกจ้าง 4 คน ได้มีมติเอกฉันท์ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามบัญชีที่เสนอและได้มีการออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 และเสนอต่อครม.เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2554

ดังนั้นในชั้นของการพิจารณาคำขอทุเลาการบังคับตามประกาศฉบับพิพาท จึงไม่ปรากฏว่าประกาศฉบับพิพาทน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นกรณีที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้งสามประการที่ศาลจะมีอำนาจออกคำสั่งทุเลาการบังคับตามประกาศพิพาทได้ตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ประกอบกับข้อ 72 วรรคสาม แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2543 จึงมีคำสั่งยกคำขอคุ้มครองทุเลาการบังคับตามกฎของผู้ฟ้องคดีทั้ง 23 คน
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หมอนพพร เจ้าของคอลัมน์ "เสพสมบ่มิสม" เสียชีวิตแล้ว

Posted: 21 Mar 2012 12:47 AM PDT

“หมอนพพร” คอลัมนิสต์ชื่อดัง เจ้าของคอลัมน์ “เสพสมบ่มิสม” ใน นสพ.เดลินิวส์ เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 95 ปี หลังเข้ารับการรักษาโรคปอดติดเชื้อ


 

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากญาติของ นพ.นวรัต ไกรฤกษ์ เจ้าของนามปากกา “หมอนพพร” คอลัมนิสต์ชื่อดัง “เสพสมบ่มิสม” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ว่า นพ.นวรัต ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการสงบที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากเข้ารับการรักษาโรคปอดติดเชื้อ โดยมีอายุ 95 ปี 8 เดือน 18 วัน ทางญาติได้ตั้งสวดพระอภิธรรมที่วัดธาตุทอง ศาลา 10/1 จนถึงวันที่ 25 มี.ค.นี้ และมีกำหนดฌาปนกิจวันที่ 28 มี.ค. นี้ เวลา 17.00 น.

นพ.นวรัต เป็นที่รู้จักของสังคมทั่วไป เนื่องจากช่วงปี 2520 มาเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน ทำให้ได้รู้จักกับนายห้างแสง เหตระกูล เจ้าของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จึงได้มีการชักชวนมาเขียนบทความตอบปัญหาทางเพศผ่านคอลัมน์ “เสพสมบ่มิสม” ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยใช้นามปากกาว่า “หมอนพพร” ซึ่งมาจากการผสมคำระหว่าง นายแพทย์ (นพ.) แล้วเติมคำว่า “พร” เข้าไป เนื้อหาของบทความดังกล่าวเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้อ่านเดลินิวส์ทุกเพศทุกวัยและเป็นคอลัมน์ยอดนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับประวัติ นพ.นวรัต เป็นบุตรของมหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ.ไกรฤกษ์) กับเจ้าคำ (เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่) เกิดวันที่ 25 มิ.ย. 2459 จบการศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัยเมื่อปี 2474 จากนั้นเข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาปี 2476-2480 ได้เข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสำเร็จแพทยศาสตร์บัณฑิตเมื่ออายุ 21 ปี ต่อมาปี 2481 สมรสกับ น.ส.ประยล รัตนคุปต์ มีบุตรธิดา 5 คน หลาน 14 คน และเหลน 15 คน

ชีวิตการทำงานปี 2482-2488 นพ.นวรัตน์ เข้าทำงานที่สภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์ ในตำแหน่งอายุรแพทย์ จากนั้นปี 2490 ได้มาทำงานที่สถานพยาบาลโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ปี 2492-2519 ดำรงตำแหน่ง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ รพ.โรงงานยาสูบ ระหว่างปี 2497-2498 ได้รับทุนการศึกษาจากโรงงานยาสูบไปศึกษาต่อทางโรคผิวหนังและกามโรคที่มหาวิทยาลัย Pennsylvania สหรัฐอเมริกา และเมื่อปี 2499 ได้ร่วมก่อตั้งชมรมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ช่วงปี 2519-2523 ได้ดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น