โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ใจ อึ๊งภากรณ์: การปรองดองของยิ่งลักษณ์ได้แต่ปกป้องอำนาจอำมาตย์

Posted: 07 Apr 2012 09:06 AM PDT

 
 
สองปีหลังจากที่ทหารฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ และ 9 เดือนหลังชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เราเห็นได้ชัดว่าเพื่อไทย นายกยิ่งลักษณ์ และอดีตนายกทักษิณ ปรองดองกับทหารมือเปื้อนเลือดบนซากศพคนเสื้อแดง พร้อมกับหันหลังให้กับนักโทษการเมือง ไม่ว่าใครจะแก้ตัวต่างๆ นาๆ ให้รัฐบาล แต่ผมขอยืนยันตรงนี้
 
ทั้งๆ ที่เสื้อแดงจำนวนมากเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่รัฐบาลตอบแทนด้วยความกระตือรือร้นในแสดงความเป็นมิตรกับอาชญากรอย่าง ประยุทธ์ และอนุพงษ์ และแทนที่จะนำฆาตกรมาขึ้นศาล มีการเลื่อนขั้นและเอาใจทหารมือเปื้อนเลือดแทน นักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์และสุเทพก็ลอยนวลเช่นกัน แต่ในกรณีหลังมีการเล่นละครในสภาเพื่อสร้างภาพว่าอยู่คนละข้าง ในความเป็นจริงทั้งสองพรรคการเมืองนี้ไม่ได้อยู่ข้างประชาชน แต่อยู่ข้างอำมาตย์
 
การที่รัฐบาลเพื่อไทย นำโดยรัฐมนตรีที่มีภาพอื้อฉาวอย่างเฉลิม หรือขี้ข้าเสื้อเหลืองอย่างอนุดิษฐ์ เน้นการเร่งใช้กฏหมายเผด็จการ 112 มากขึ้นตั้งแต่ชนะการเลือกตั้ง อาจเป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทยและทักษิณที่จะพิสูจน์ “ความจงรักภักดี” แต่ที่สำคัญกว่านั้น เป็นการพิสูจน์ว่าเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ พร้อมจะคลานและถ่อมตัวต่อกองทัพ และพร้อมจะให้กองทัพมีอำนาจพิเศษนอกรัฐธรรมนูญในการกำหนดสังคมการเมืองไทย เพราะกฏหมาย 112 มีความสำคัญที่สุดในการปกป้องทหาร เพื่อให้ทหารสามารถอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ในทุกอย่างที่ทหารทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำรัฐประหาร หรือฆ่าประชาชน
 
กฏหมายเผด็จการ 112 ถูกใช้ในการทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และทำลายประชาธิปไตยมานาน ทุกวันนี้นักโทษ 112 จำนวนมากติดคุกอยู่ในสภาพย่ำแย่ คนอย่างคุณสมยศไม่ได้รับการประกันทั้งๆ ที่ยังไม่มีการตัดสินคดี และคนอย่าง อ.สุรชัยหรืออากง ถูกกดดันด้วยอายุและสุขภาพ ให้ “สารภาพผิด” เพื่อหวังได้รับอภัยโทษในอนาคต แต่รัฐบาลตั้งหน้าตั้งตาปฏิเสธที่จะแก้กฏหมายชั่วอันนี้
 
นักการเมืองเพื่อไทยอาจอ้าง “ภัยจากรัฐประหาร” เพื่อให้ความชอบธรรมกับการปรองดองแบบยอมจำนน แต่ในทางปฏิบัตินโยบายการปรองดองของรัฐบาลมีผลในการปกป้องอำนาจทหารที่จะทำรัฐประหารอีกในอนาคต ซึ่งคล้ายๆ กับสถานการณ์ในพม่าทุกวันนี้
 
นอกจากปัญหา 112 และการไม่ยอมนำฆาตกรมาขึ้นศาลแล้ว ยังไม่มีมาตรการอะไรที่มีความหมายในการปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงนอกจากการตั้งคุกพิเศษ อีกสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยไม่ยอมนำทหารและคนอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาลก็อาจเพราะกลัวว่า อาจจะมีคนที่รักความเป็นธรรม เรียกร้องให้นำทักษิณและทหารมาขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ตากใบด้วย
 
ทักษิณคงอยากจะปรองดองแบบจับมือกับอำมาตย์ เพื่อหวังกลับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ในขณะเดียวกันมีการยกฟ้อง จักรภพ เพ็ญแข ในคดี 112 ซึ่งอาจเป็นการ “เอาใจ” ทักษิณเพราะคุณจักรภพเคยใกล้ชิดกับทักษิณ แต่นั้นไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจักรภพต้องการปรองดองแบบนี้กับอำมาตย์ เราคงต้องถามเจ้าตัวเอง
 
การโยนเงินให้ผู้ที่ได้ผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่การปรองดองหรือการเยียวยาที่แท้จริง มันเหมือนการโยนเงินให้ครอบครัวคนจนโดยเศรษฐี หลังจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะชีวิตวีรชนประชาธิปไตย ตั้งค่าเป็นเงินทองไม่ได้ และยิ่งกว่านั้นเงินนี้มาจากภาษีประชาชนคนจนเอง ไม่ได้เป็นการจ่ายค่าชดเชยโดยทหารฆาตกรจากกระเป๋าตนเองแต่อย่างใด การโยนเงินให้ครอบครัวพลเรือนที่ถูกทหารฆ่าในภาคใต้ก็ไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้แต่อย่างใดอีกด้วย เราจะปล่อยให้พวกนั้นซื้อความสงบด้วยเงินของเราเองแบบนี้หรือ?
 
แกนนำ นปช. อาจพูดจานามธรรมเรื่องการไม่ทอดทิ้งวีรชนและการช่วยนักโทษ และอาจมีการเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญเล็กๆ น้อยๆ แต่ในรูปธรรมบทบาทหลักของ นปช. คือการสลายขบวนการและระงับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ และไม่มีการรณรงค์ให้แก้หรือยกเลิก 112 โดย นปช. แต่อย่างใด
 
ในขณะที่เพื่อไทย ทหาร  ปรองดองกันเพื่อรักษาสถานภาพของอำมาตย์ และขณะที่คณะกรรมการปรองดองของรัฐสภามีประธานที่เคยทำรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบบประชาธิปไตย แสงสว่างแห่งความหวังอยู่ที่คณะนิติราษฏร์ที่ต้องการลบผลพวงรัฐประหาร และอยู่ที่ขบวนการเพื่อปฏิรูป 112 คนก้าวหน้าทุกคนควรช่วยกันสร้างขบวนการมวลชนเพื่อผลักดันสิ่งเหล่านี้ เพราะถ้าเราไม่เคลื่อนไหว การปรองดองก็จะเป็นแค่การปกป้องอำมาตย์บนซากศพวีรชน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชป.ท้าไม่นิรโทษกรรม เสนอสูตร 2-1 "สุเทพ-อภิสิทธิ์" ประกบแลก “ทักษิณ”

Posted: 07 Apr 2012 08:50 AM PDT

“เทพไท” เสนอสูตร "2-1" เรียกร้อง “ทักษิณ” รับข้อเสนอไม่นิรโทษกรรม "สุเทพ-อภิสิทธิ์" แลกแบบ 2 ต่อ 1 ผิดหวังนายกไม่เป็นผู้นำปรองดอง พร้อมขอรัฐบาลเปิดใจกว้างอภิปรายแก้ รธน.วาระ 2 อย่าพะวงเวลาเกินงาม
 
7 เม.ย. 55 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 2 ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 10-11เม.ย.นี้ว่า อยากจะให้รัฐบาลเปิดกว้างในการอภิปรายและถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติที่สามารถใช้สิทธิ์อภิปรายได้อย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลไม่ควรใช้ห้วงเวลาเป็นตัวกำหนดหรือบีบคั้นการอภิปรายของสมาชิก ถ้าการอภิปรายไม่สามารถเสร็จทันภายในวันที่10-12 เม.ย.นี้ ก็ควรจะขยายเวลาเปิดอภิปรายต่อหลังช่วงสงกรานต์แม้ว่าการลงมติในวาระ3 จะล่วงเลยวันที่30 เม.ย.นี้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ก็ตาม
       
นายเทพไท กล่าวว่า หากไม่ทันในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตอนแรก ตนขอเสนอว่ารัฐบาลควรที่จะปิดสมัยประชุมก่อน แล้วเปิดสมัยวิสามัญในวาระ3 ไม่ควรขยายเวลาประชุมต่อในเดือนพ.ค. เพราะทั้ง ส.ส.-ส.ว.ไม่มีความพร้อมที่จะร่วมประชุมในช่วงนั้น เพราะมีกรรมาธิการหลายคณะได้รับการอนุมัติจากประธาน ให้เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศแล้ว ซึ่งจะสร้างความเสียหายในแผนงานและโครงการในสมาชิกทั้งหมด
       
ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลไม่รีบเร่งจนเกินไปก็ควรจะเลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไป พิจารณาในสมัยประชุมทั่วไปจะเหมาะหรือเปิดสภาสมัยวิสามัญจะสมกว่า อย่ากลัวที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพียงเพื่อเพราะเกรงกลัวการจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากฝ่ายค้าน
       
ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอยกเว้นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายอภิสิทธ์ แบบ 2 ต่อ 1 ว่า ยังไม่มีเสียงตอบรับจากคนในพรรคเพื่อไทยแม้แต่คนเดียว จึงอยากจะเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแสดงท่าทีว่าจะยอมรับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ ถ้าหากว่าไม่พร้อมจะตอบเรื่องนี้กับสังคมก็ให้ส่งสัญญาณมายังตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เป็นน้องสาว เพราะจะได้พิสูจน์ว่าการปรองดองครั้งนี้ไม่ได้ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียว
       
“นอกจากนี้อยากจะตำหนิท่าทีของนายกฯที่จะสามารถเป็นผู้นำการปรองดองได้ กลับไม่มีท่าทีต่อเรื่องนี้ เอาแต่พยายามบ่ายเบี่ยงโยนเรื่องดังกล่าวมากเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร และตัวเองก็ไม่เคยให้ความสำคัญใน 2 วันที่มีการอภิปรายเรื่องนี้ นายกฯก็ไม่ได้เข้ามารับฟังความคิดเห็นในสภาแม้แต่วินาทีเดียว จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลมีทิศทางหรือจุดยืนอย่างไร ดังนั้นจึงขอเรียกร้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนออกมา” นายเทพไทกล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1 - 7 เม.ย. 2555

Posted: 07 Apr 2012 07:02 AM PDT

คสรท.ย้ำจุดยืนนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างไม่เป็นธรรม 

กรุงเทพฯ 1 เม.ย. - คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ย้ำจุดยืนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ  แต่ค้านมาตรการคงค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557-58 เหตุค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน ทั่วประเทศ 9 แห่ง

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงจุดยืนสนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ว่าหากนโยบายดังกล่าวจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดระบบค่าแรงที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมโอกาสมีงานทำที่มี คุณค่า (Decent Work) ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่ดำเนินการให้มีการส่งเสริมในทุกรัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง ที่เป็นสมาชิกในการเสริมสร้างคุณค่าในแต่ละประเทศ
   
ทั้งนี้ คสรท. มีจุดยืนต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท ดังนี้ 1.ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยดำเนินนโยบาย ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้กับผู้ใช้แรงงานกว่า 38 ล้านคน 2. ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมในมาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำ ตามหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  และ 3.ขอคัดค้านมาตรการคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557 และ 2558 เนื่องจากสภาวการณ์ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของแรงงาน
   
อย่างไรก็ตาม จากนโยบายดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากยังไม่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นได้จริง และอาจมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย คสรท.จึงได้ประสานความร่วมมือองค์กรแรงงานเพื่อให้เปิด “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม” เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจัดตั้งศูนย์ 9 ศูนย์ ได้แก่ 1) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02 2513170 2) ศูนย์แรงงาน กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ย่านนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราโทรศัพท์ 038 842921 ผู้ประสานงาน นายราเล่ อยู่เป็นสุข 084 5408778

3) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เลขที่ 32 หมู่ 1 ถ.สุดบรรทัด ต. ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทรศัพท์ 036 245441 ผู้ประสานงาน นายบุญสม ทาวิจิตร 0817590827 ,4) กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก เลขที่ 120/46 หมู่ 3 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038 337523 ผู้ประสานงาน นายสมพร ขวัญเนตร 0837695687 ,5) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย - TEAM เลขที่ 1/446 หมู่ที่ 14 ซอยบางแสน 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 7078072 ผู้ประสานงาน นายยงยุทธ เม่นตะเภา 0818282538 ,6) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เลขที่ 50/32 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 02 8125277 ผู้ประสานงาน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย 0811787489
   
7) สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต เลขที่ 12/133 หมู่ 3 ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน นายวิจิตร ดาสันทัด 0815351764 , 8) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลขที่ 44 ซอยวิภาวดีรังสิต 11 นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02 5378973 ผู้ประสานงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน 0863361110 และ 9) สหพันธ์แรงงานธนาคารสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 2252166 ผู้ประสานงาน นายศักดิ์สิทธิ์ อุดมศิลป์ (เลขาธิการ) 0896977826

(สำนักข่าวไทย, 1-4-2555)

 
พนง.40 มหา′ลัยร้องรัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรม คุณภาพชีวิตตกต่ำ ขอสิทธิเท่า "ข้าราชการ"

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดเสวนาเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า 13 ปี พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไทย" โดยมีนายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ น.ท. สุมิตร สุวรรณ อาจารย์ประจำคณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน ในฐานะผู้แทนเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา โดยมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 300 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม

น.ท.สุมิตรกล่าวว่า เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เกิดจากการรวมตัวของพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่านทาง เฟซบุ๊ก และได้เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์และการดูแล ที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันมีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 40,000-50,000 คน อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีพนักงานประมาณ 60% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แต่สถานะดังกล่าวถูกผูกมัดด้วยสัญญาจ้าง ทำให้อาจารย์เกิดความกังวลว่า อาจจะถูกประเมินไม่ต่อสัญญาจ้างด้วยระบบที่ไม่เป็นธรรม

"ปัญหาดังกล่าวทำให้บุคลากรขาดกำลังใจ รวมถึงไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามหลักที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ไว้ ที่สำคัญคือ การไม่ได้รับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้ 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุที่เป็นอัตราปัจจุบัน และนโยบายที่รัฐบาลขึ้นเงินเดือน 5% ให้ข้าราชการ กลับไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำงานมานานและอัตรา เงินเดือนเกินอัตราบรรจุแรกเข้า ขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัย" น.ท.สุมิตรกล่าว

น.ท.สุมิตรกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้เครือข่ายได้ยื่นหนังสือถึงนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยว ข้องตั้งแต่ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สกอ. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้ามาดูแลพนักงานมหาวิทยาลัย โดยกำหนดกลไกการประเมินที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงในประสิทธิภาพการทำงาน ยกเลิกระบบประกันสังคม โดยจัดทำสวัสดิการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าระบบราชการเดิม และเสนอให้แก้กฎหมาย คือ พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... เพื่อให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ

"หากเราปล่อยให้สภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเช่นนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมากกับคุณภาพนักศึกษา และคุณภาพการศึกษาในระยะยาว เพราะเมื่ออาจารย์ยังไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ไม่มีกำลังใจที่จะสอน และบางคนต้องไปทำอาชีพเสริม เช่น ขายประกัน ขายของนอกเวลางาน แทนที่จะใช้เวลาพัฒนางานสอน หรือบางคนลาออกไปสอบเป็นครูประถม เพราะมีสถานะเป็นข้าราชการและได้รับสวัสดิการดีกว่า" น.ท.สุมิตรกล่าว

ด้านนายภาวิชกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับผู้บริหารและสภา มหาวิทยาลัยว่าจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยต้องพยายามสะท้อนปัญหาเพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจ แต่ถ้าผู้บริหารยังไม่เข้าใจ แนวทางการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นแนวทางที่น่าจะสามารถ ดำเนินการได้

ขณะที่นายขจรกล่าวว่า ยอมรับว่า สกอ.ไม่ได้เข้าไปดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้พนักงานมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้กระจายอำนาจให้มหาวิทยาลัยต่างๆ บริหารจัดการตัวเองได้ เท่าที่ดูมีหลายแห่งสามารถนำงบประมาณที่ได้รับไปดูแลพนักงานได้อย่างดี ขณะที่อีกหลายแห่งไม่สามารถทำได้ ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการดูดคนเก่ง คนดี เข้าไปเป็นอาจารย์ หากมหาวิทยาลัยใดไม่สามารถดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับพนักงานได้ ก็จะไม่มีคนเก่งคนดีมาทำงาน

(มติชน, 1-4-2555)

 
ก.แรงงาน เร่งช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ประสบเหตุคาร์บอมบ์ในภาคใต้

นางสาวส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผล กระทบจากเหตุคาร์บอมบ์ที่บริเวณโรงแรม ลี การ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยสำนักงานประกันสังคม ได้รายงานยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 27 คน และผู้ประกันตนมาตรา 39 เสียชีวิต จำนวน 1 คน ส่วนการให้ความช่วยเหลือนั้น ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกชี้แจงและแจ้งสิทธิ ณ จุดเกิดเหตุร่วมกับจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งได้ประสานญาติผู้ประกันตนที่เสียชีวิต เพื่อมอบค่าทำศพ เป็นเงินจำนวน 40,000 บาท ในวันนี้ (2 เม.ย.55) โดยมี นายสุรพล พนัสอำพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ นางสุพัชรี มีครุฑ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้แทนกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ในวันนี้ยังมีกำหนดเยี่ยมผู้ประกันตนที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ต่างๆ ด้วย

รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับเหตุการณ์ระเบิดบริเวณถนนร่วมมิตร ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 12.00 น. เป็นเหตุให้มีลูกจ้าง และผู้ประกันตนเสียชีวิต 6 คน และบาดเจ็บ 17 คน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลาได้เร่งเข้าช่วยเหลือ เพื่อประสานโรงพยาบาลจังหวัดยะลาเพื่อดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2-4-2555)

 
กสร.เชื่อ รัฐบาลมีมาตรการดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขั้นค่าจ้าง

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วง แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะมีมาตรการดูแลเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุนแรง ขณะเดียวกัน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเอสเอ็มอีสะท้อนปัญหาและสิ่งที่ต้องการให้ช่วยเหลือ โดยในเบื้องต้นอาจจะมีมาตรการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วยในระยะแรก เพื่อปรับปรุงสถานประกอบการ เพราะจากการรับฟังปัญหาส่วนใหญ่กลุ่มเอสเอ็มอีต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ สิ่งที่เพิ่มขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งขณะนี้ก็ได้ส่งพนักงานตรวจแรงงานลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ อย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้นายจ้างอาจตัดสินใจปลดคนงานที่ทำงานต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องการ และหันไปพัฒนาคนงานที่เหลือโดยไม่รับคนงานเพิ่ม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ดังนั้นช่วงนี้ผู้ใช้แรงงานต้องเร่งพัฒนาตนเอง ทำงานได้ปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่เข้าข่ายถูกเลิกจ้าง

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2-4-2555)

 
จบปริญญาว่างงานมากที่สุด 9.8 หมื่นคน

ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรประจำเดือนมกราคม 2555 พบว่ามีจำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.28 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมที่จะทำงาน 38.62 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.92 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.15 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.78 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 15.66 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น
 
จำนวนผู้มีงาน 37.92 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 13.39 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 24.53 ล้านคน
 
สำหรับจำนวนของผู้ที่ว่างงานในเดือนมกราคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 3.15 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.9 หมื่นคน(จาก 3.74 แสนคน เป็น 3.15 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.43 แสนคน (จาก 1.72 แสนคน เป็น 3.15 แสนคน)
 
ส่วนการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชนหรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.9 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.8 เป็นร้อยละ 2.9 เมื่อเปรียบเทียบกันเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมากลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 2.9
 
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2555 พบว่า ผู้ว่างงานที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 9.8 หมื่นคน(ร้อนละ 1.4) รองลงมาเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8.3 หมื่นคน(ร้อยละ 1.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.5 หมื่นคน(ร้อยละ 1.0) ระดับประถมศึกษา 4.8 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.1 หมื่นคน (ร้อยละ0.2) เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานลดลงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด 4.2 หมื่นคน รองลงมาคือผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.6 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 1.5 หมื่นคน และจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.3 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.1 หมื่นคน ตามลำดับ
 
หากพิจารณาอัตราการว่างงานเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือร้อยละ 1.1 รองลงมาเป็นภาคกลางมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.7 ภาคเหนือร้อยละ 0.6 และภาคใต้ร้อยละ 0.5

(มติชน, 2-4-2555)

 
หลังปรับค่าจ้าง 300 บาท ลูกจ้างในภูเก็ตวอนรัฐควบคุมราคาสินค้า

ตามที่จังหวัดภูเก็ต ได้เป็นหนึ่งใน 7 จังหวัดนำร่องการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท  พร้อมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร เริ่มในเดือนเมษายนนี้ จากการสำรวจสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ต  พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขอให้ภาครัฐช่วยดูแลในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น และออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าที่อาจปรับสูงขึ้นตามมาจากการประกาศใช้ค่าแรง ขั้นต่ำ

อย่างไรก็ตามมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้แรงงานบางกลุ่ม ที่ยังกังวล เพราะหากคำนวณรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังน้อยกว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากค่าครองชีพ  ส่งผลให้พวกเขาไม่มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในอนาคต

ด้านนายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดภูเก็ต โชคดีที่สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นโรงแรมและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งมีประมาณ 8 พันแห่งที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ และสถานประกอบการเหล่านี้ จ่ายเงินค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอาจะมีปัญหาในเรื่องของการจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำเกิด ขึ้นบ้าง ซึ่งจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบในกรณีที่มีปัญหาการร้องเรียนเข้ามา

สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ได้ขอความร่วมมือนายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎหมาย จ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ว่าลูกจ้างมีเชื้อชาติ สัญชาติใด  หากไม่ดำเนินการมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

(phuketindex.com, 2-4-2555)

 
รมว.แรงงานให้ สปส.ขยายวงเงินกู้เพิ่มขึ้นแก่เอสเอ็มอี

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ต่อจากนี้จะขอความร่วมมือทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งทำความเข้าใจกับนายจ้างและลูกจ้างในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง รวมถึงสำนักงานประกันสังคม (สปส.) หากพบว่ามีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ทาง สปส.จะต้องเพิ่มวงเงินปล่อยกู้ให้แก่สถานประกอบการมากขึ้นกว่าวงเงินใน ปัจจุบันที่เตรียมไว้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

ส่วนกรณีที่ นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นห่วงว่าจะมีแรงงานได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทโดยคาดว่าจะถูกเลิกจ้างประมาณ 5 หมื่นคนและขอให้กระทรวงแรงงานให้เงินช่วยเหลือแรงงานผู้ที่ถูกเลิกจ้างเป็น ค่าครองชีพชั่วคราวในลักษณะเช็คช่วยชาติรายละ 2 พันบาท และหางานใหม่ให้ทำ นั้น คสรท.มีสิทธิที่จะเสนอได้ แต่มองว่าปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงานอยู่แล้ว โดยแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและยังไม่มีงานทำจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งรวมแล้วเป็นเงินมากกว่า 2 พันบาท

ส่วนกรณีที่แรงงานตกงาน นั้น เรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วงเพราะปัจจุบันไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และขณะนี้มีอัตราตำแหน่งงานว่างกว่า 1.3 แสนอัตรา ซึ่งได้สั่งการให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) จัดงานนัดพบแรงงานในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างได้มีงานทำโดยเร็ว และให้ กพร.จัดอบรมทักษะฝีมือให้แก่แรงงานก่อนเข้าทำงานสถานประกอบการแห่งใหม่

(กรุงเทพธุรกิจ, 2-4-2555)

 
เปิดศูนย์และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ให้บริการประชาชน ช่วงสงกรานต์

นายประพันธ์ มนทการติวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เตรียมตั้งจุดบริการตรวจสภาพ ซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ รถจักรยานยนต์ ให้กับประชาชน รองรับการเดินทางกลับภูมิลำเนาของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเทศกาล ระหว่างวันที่ 1 – 10 เมษายน 2555 รับบริการ ณ ที่ตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดทั่ว ประเทศ และช่วงระหว่างเทศกาล ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2555 ตั้งจุดบริการบนถนนสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งในจุดต่างๆ จะมีการรับบริการตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ บริการจุดพักรถ บริการเครื่องดื่ม ผ้าเย็น และนวดแผนไทย เพื่อลดอุบัติเหตุและผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าจากการขับรถเป็นเวลานาน ขณะเดียวกันยังเป็นการรณรงค์การลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งตามจุดบริการต่างๆ จะมีการแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการแก้ปัญหาของรถเบื้องต้น ด้วย

ทั้งนี้สถิติการเกิดอุบัติเหตุช่วงวันหยุดสงกรานต์ปี 2554 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เกิดอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2554 รวม 3,215 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 271 คน และผู้บาดเจ็บรวม 3,476 คน

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 3-4-2555)

 
เตือน 'นายจ้าง' บังคับสวัสดิการรวม 300

 3 เม.ย.55 นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ออกมาระบุว่าได้รับร้องเรียนจาก แรงงานผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรมโดยถูกนายจ้างข่ม ขู่ไล่ออกและบังคับให้เซ็นยินยอมรับค่าจ้างตามที่บริษัทกำหนดโดยนำสวัสดิการ ค่าจ้างต่างๆมารวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ว่า อยากให้ คสรท.เร่งส่งข้อมูลในเรื่องนี้มายังกสร.หรือตัวแรงงานที่เป็นผู้ร้องเรียนใน กรณีข้างต้นเข้ามาร้องเรียนที่กสร.ก็ได้เพื่อที่ตนจะได้สั่งให้พนักงานตรวจ แรงงานใช้อำนาจตามกฎหมายออกหนังสือเตือนนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยการ ปรับขึ้นค่าจ้างตามอัตราใหม่

ทั้งนี้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวของนายจ้างเป็นการจงใจที่จะไม่ปรับขึ้นค่าจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยจะให้เวลา 30 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม จะเอาผิดตามกฎหมายโดยมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่นายจ้างบังคับเซ็นยินยอม ทางกสร.ไม่มีอำนาจไปเอาผิดได้เพราะเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากมีการฟ้องร้องกันก็ต้องมีการพิสูจน์กันต่อไป

นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายจ้างนำเอาสวัสดิการเช่น ค่าครองชีพ ค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ตามหลักกฎหมายแล้วนายจ้างไม่สามารถนำสวัสดิการต่างๆไปรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ได้เพราะเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยกเว้นกรณีนาย จ้างกับลูกจ้างจะทำความตกลงกันและทั้งสองฝ่ายยินยอม ซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

อย่างไรก็ตาม จะต้องดูว่าสวัสดิการที่จะไปรวมเป็นค่าจ้างนั้นนายจ้างมีเจตนาในการ จ่ายอย่างไรและมีการจ่ายกันในลักษณะใด หากเป็นการให้ค่าตอบแทนเช่น ค่าครองชีพ ค่าเซอร์วิสชาร์จ ซึ่งมีการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ก็สามารถนำมารวมเป็นค่าจ้างได้ และจะต้องนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณเวลาปรับเงินเดือน จ่ายโบนัสและโอทีด้วย แต่ถ้าเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจในการทำงานโดยจ่ายเป็นครั้งคราวก็ไม่สามรถนำมา รวมเป็นค่าจ้าง

อธิบดี กสร.กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทยเปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้ รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทโดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุดเป็นธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย(ยาม) พนักงานโรงแรม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างนั้น โดยส่วนใหญ่แม่บ้านและยามมีสถานภาพเป็นลูกจ้างของบริษัทรักษาความปลอดภัย บริษัทรับจ้างทำความสะอาด ซึ่งจะต้องได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างอีก 40% หากอยู่ใน 7 จังหวัดเช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ก็จะต้องได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทเช่นกัน

อีกทั้ง บริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทรับจ้างทำความสะอาด จะไปรับเหมางานจากสถานประกอบการต่างๆและจัดส่งแม่บ้านและยามที่อยู่ในสังกัด เข้าไปทำงานในสถานประกอบการต่างๆ หากเลิกจ้างแม่บ้าน ยาม ทางบริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทรับจ้างทำความสะอาด ก็จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยและเงินสิทธิประโยชน์อื่นๆตามที่กฎหมายคุ้ม ครองแรงงานกำหนดไว้

“ผมไม่เชื่อว่าแม่บ้านและยาม จะถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก เพราะงานเหล่านี้เป็นงานเฉพาะ ถ้าไม่จ้างแม่บ้าน ยามแล้วใครจะมาทำหน้าที่ดูแลและทำความสะอาดสถานประกอบการต่างๆ” นายอาทิตย์ กล่าว

(คม ชัด ลึก, 3-4-2555)

 
เตือนนายจ้างจ่ายค่าจ้างอัตราใหม่ให้ลูกจ้าง มิเช่นนั้นต้องจ่ายย้อนหลัง

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงานในทุกจังหวัด เพิ่มเติมจากส่วนกลางที่กระทรวงแรงงาน เนื่องจากมองว่าประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบ และเดือดร้อนเรื่องต่างๆ มีอยู่ทั่วประเทศ โดยให้จัดตั้งที่สำนักงานแรงงานจังหวัด เพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำประจำปี 2555 และส่งมายังส่วนกลาง ขณะเดียวกันยังทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกจากปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปต่าง ประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างอัตราใหม่ ที่ปรับเพิ่มร้อยละ 40 ทั่วประเทศ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็จะออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามทันที แต่หากยังฝ่าฝืนก็จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันที่เริ่มบังคับใช้ให้กับผู้ ใช้แรงงาน

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า มีแนวคิดที่จะเพิ่มผลิตภาพเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพของเครื่องจักรในประเภทอุตสาหกรรมให้สามารถใช้ งานได้เต็มประสิทธิภาพ คล้ายแนวคิดการประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยที่รัฐบาลจะสนับสนุนการหาผู้มาตรวจสอบและกำหนดเกณฑ์ควบคุม

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
คาดจะส่งแรงงานไทยกลุ่มแรกไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้ในเดือนนี้

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลว่า ขณะนี้ให้กรมการจัดหางานประสานไปยังองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้าย ถิ่นฐาน หรือ ไอโอเอ็ม จัดส่งรายชื่อเพิ่มเติมสำหรับแรงงานไทยชุดแรกที่จะไปอิสราเอล โดยการจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐ จากจำนวนเดิมที่ได้รับโควตา 200 คน จะขอเพิ่มเป็น 400-500 คน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงจะได้รับการยืนยันจากไอโอเอ็มในเรื่องจำนวนแรงงานไทยที่จะไปอิสราเอลแน่ นอน คาดว่าจะสามารถส่งแรงงานไทยล็อตแรกได้ในช่วงเดือนเมษายนนี้ ส่วนกรณีที่มีการแอบอ้างชื่อมูลนิธิชัยพัฒนาในการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัวผู้แอบอ้าง ซึ่งกองปราบปรามเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ได้มอบนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางานติดตามเรื่องนี้แล้ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้ที่เป็นห่วงคือ การส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศสวีเดน ในการนำคนงานไปเก็บผลไม้ป่า จึงได้สั่งให้กรมการจัดหางานสรุปรายละเอียดว่าแรงงานไทยที่เดินทางไป จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ไปด้วยวิธีใด เนื่องจากขณะนี้กำลังตรวจสอบการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในทุกประเทศ เพราะไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นกรณีที่มีปัญหาการเรียกเก็บค่า บริการ (ค่าหัวคิว) แรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอล  

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
บอร์ดค่าจ้างเตรียมขยับขึ้นค่าจ้างให้นักเรียน-นักศึกษาทำงานนอกเวลา

ก.แรงงาน 4 เม.ย.- บอร์ดค่าจ้างเตรียมขยับขึ้นค่าจ้างให้นักเรียน-นักศึกษาทำงานนอกเวลา  ชี้ค่าจ้างปัจจุบันไม่สอดคล้องค่าครองชีพ เผย ก.คลัง เตรียมเสนอมาตรการช่วยเอสเอ็มอีภายใน เม.ย.นี้ พร้อมตั้งศูนย์ร้องเรียนค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ
 
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงของนักเรียน นักศึกษาที่ทำงานนอกเวลา เนื่องจากเห็นว่าอัตราค่าจ้างในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ  รวมถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นอีกร้อยละ 40 ทั่วประเทศ ไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกลาง หาตัวเลขอัตราค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานของนักเรียน นักศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันอัตราค่าจ้างทำงานของนักเรียน นักศึกษาอยู่ที่ชั่วโมงละ 30 บาท และกฎหมายกำหนดให้ทำงานไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง โดยให้เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการค้าจ้างกลางโดยเร็วที่สุด  แต่คาดว่าอาจจะประกาศใช้ไม่ทันในช่วงปิดเทอมนี้
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวัน ละ 300 บาท  จากติดตามผลกระทบในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ยังไม่พบสัญญาณความผิดปกติ ทั้งในส่วนของค่าครองชีพ หรืออัตราเงินเฟ้อ ส่วนการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะได้รับผลกระทบมากนั้น ผู้แทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่า เตรียมนำมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดภาษีส่วนต่างของต้นทุนค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นอัตรา 1.5 เท่า ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น การเปิดโอกาสให้ปรับปรุงเครื่องจักรด้วยการปล่อยสินเชื่อการซื้อเครื่องจักร ใหม่  และสามารถหักภาษีได้ 100%  จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน เม.ย.นี้

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำว่า จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่สามารถผ่อนผันได้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ ได้  หากฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกกระทรวงแรงงานอยู่ในช่วงของการตักเตือน หากฝ่าฝืนจะลงโทษอย่างเด็ดขาด  ขณะที่ล่าสุดกระทรวงแรงงานได้ขยาย “ศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงาน” เพื่อรับเรื่องร้องเรียนปัญหาและผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จากทั้งลูกจ้างและนายจ้าง  รวมทั้งกรณีเรียกเก็บค่าหัวการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยศูนย์นี้จะตั้งอยู่ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด

(สำนักข่าวไทย, 4-4-2555)

 
'ลูกจ้างไปรษณีย์' อีสานขอค่าแรง 300 บาท

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 4 เมษายน   ที่หน้าสำนักงานไปษณีย์เขต 4 ขอนแก่น ถ.ศูนย์ราชการ เขตเทศบาลนครขอนแก่น ลูกจ้างประจำ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)เขต 4 ขอนแก่น ประมาณ 500 คน จาก 470 ตำบลใน 8 จังหวัดภาคอีสาน ได้รวมตัวกันประท้วงขอปรับขึ้นค่าตอบแทนเงินเดือนในการทำงาน 300 บาท ต่อวัน หรือค่าจ้างอย่างน้อย 9,000 บาท ต่อเดือน

หลังจากตลอดการทำงานเกือบ 30 ปี ที่ผ่านมา ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ที่ได้รับค่าจ้างต่อเดือนไม่ถึง 6,000 บาท และไม่มีค่าคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน พร้อมทั้งสวัสดิการอื่นใด ตามกฎหมายแรงงานที่รุบุไว้ ทำให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ได้รับความเดือดร้อนจากค่าจ้างและสถานภาพ จึงพากันรวมตัวประท้วงขอขึ้นค่าแรง พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องผ่าน ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ส่งถึงผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้ดำเนินการตามที่เรียกร้อง
 
นายพัฒนพงษ์ นวมศรี รองเรขาธิการสหพันธ์ไปรษณีย์อนุญาตแห่งประเทศไทย แกนนำลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ประท้วงขอขึ้นค่าแรง กล่าวว่า ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศเกือบ 4,000 คน กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ถูกมองข้ามในเรื่องการจ้างงานหรือค่าตอบแทนต่อเดือนมาโดยตลอด ทั้งที่การทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ในขณะนี้ก็มีสภาพการทำงานเหมือนกับพนักงานทั่วไป

อีกทั้งที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ การทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ก็หนักกว่า แต่ไม่มีค่าคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน และสวัสดิการอื่นใด ตามกฎหมายแรงงานที่รุบุไว้ ขณะนี้ลูกจ้างไปรษณีย์ (ปณอ.)ได้รับงินเดือนแต่ละคนไม่ถึง 6,000 บาท เนื่องจากแต่ละคนจะมีระดับชั้รนไม่เหมือนกัน ระดับ 1 ได้รับเงินเดือน 4,720 บาท ระดับ 2 ได้ 5,030 บาท ระดับ 3 ได้ 5,340 บาท ระดับ 4 ได้ 5,560 บาท และระดับ 5 ได้ 5,850 บาท ต่อเดือน น้ำมันรถจักรยานยนต์คนละ 20 ลิตร เท่านี้ไม่พอใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัว

และเมื่อรายรับที่ได้มากับการทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) เพียงเท่านี้ ไม่พอกับรายจ่ายที่จะเลี้ยงครอบครัวให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ให้อยู่รอดได้ในสภาวะปัจจุบัน ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ทุกคนจึงมีมติที่จะร้องขอ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ปรับเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวะความเป็นจริงที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน แต่การร้องรอที่ผ่านมาก็ไม่เป็นผล จึงรวมตังประท้วงขอคำตอบในการเพิ่มเงินเดือนเป็นรายละ 9,000 บาท  "นายพัฒนพงษ์ กล่าว"

ขณะที่ นายประสิทธิ์ ทวีผล ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ที่มารับข้อเรียกร้องกับ ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) กล่าวกับผู้ประท้วงว่า ใน บริษัท ไปรษณีย์ไทย ก็มีการพูดคุยกันในระดับผู้บริหารมาโดยตลอดว่า  จะมีการปรับค่าตอบแทนให้กับพนักงานและลูกจ้างไปรษณีย์ทุกคนในส่วนของค่า บำเหน็จ ตามที่มีคำสั่งออกมา แต่อาจจะไม่เป็นไปตามต้องการคือวันละ 300 บาท ตามที่เรียกร้อง แต่ว่าจริงๆแล้วเราต้องไปดูข้อกำหนดของทางราชการ ของทางรัฐบาลว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 นั้น ไม่ได้บังคับในทุกพื้นที่ของประเทศ อันนี้ก็ต้องไปดูค่าแรงขั้นต่ำประกอบด้วย
           
"และในส่วนนี้หนังสือที่รับไว้จากลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาตได้ยื่นมา ก็จะรับไว้และจะรีบส่งให้ทางผู้บริหาร แล้วจะให้คำตอบภายในวันที่ 30 เมษายน นี้ ถึงจะแจ้งให้ทราบได้ ส่วนที่จะให้ทางไปรษณีย์ให้คำตอบวันนี้เลย ข้อสรุปอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ เพราะทางผู้บริหารก็ต้องไปประชุมคณะกรรมการ ที่จะต้องพูดคุยกันไปรษณีย์เขต 4 ตัดสินใจอะไรไม่ได้ แต่ยืนยันไปรษณีย์ไทยไม่ได้ทอดทิ้ง ซึ่งท่านก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพวกเราที่ให้บริการกับพี่น้อง ประชาชนทั่วประเทศ"นายประสิทธิ์ กล่าว
          
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ที่มารับข้อเรียกร้องกับ ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ได้ชี้แจงไปว่าไม่สามารถตัดสินใจตามข้อเรียงร้องได้ ทำให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ที่ประท้วงไม่พอใจโห่ร้องและจะปักหลักประท้วงอยู่ที่ไปรษณีเขต 4 เพื่อกดดันให้ผู้บริหาร บริษัทไปรษณีย์ไทย รับข้อเรียกร้องให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะทำทุกงวิถีทางเพื่อกดดันให้ได้รับค่าตอบแทน ทำให้ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ต้องแรกตัวแทนลุกท้างที่ประท้วงไปเจรจากันเพื่อหาทางออก แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป

(คมชัดลึก, 4-4-2555)

 
เผยสอบหลอกแรงงานไทยไปอิสราเอล มีหลักฐานจำนวนมากต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริง การเรียกเก็บค่าบริการ(ค่าหัวคิว) ในการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีนายโชคชัย ศรีทอง เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งเอกสารหลักฐานที่ได้รับจากแรงงานไทยในอิสราเอลและญาติของแรงงานไทยที่ อยู่ในประเทศ มีจำนวนมากประมาณ 20-30 ชิ้นต่อแรงงานไทย 1 คน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารระยะหนึ่ง ส่วนนายสุทธิ สุโกศล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจราชการกรม ขณะนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
บริษัทรับเหมาทำความสะอาดให้หน่วยราชการ ต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้

ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงกรณีแม่บ้าน บริษัทรับเหมาทำความสะอาดให้หน่วยราชการ ต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ หากฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินคดี

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีแม่บ้านประจำกระทรวงแรงงานร้องเรียนไม่ได้รับการปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แรงงานที่เป็นลูกจ้างเอกชน จะต้องได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่ ซึ่งปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา จะอ้างเหตุผลเรื่องการทำสัญญากับกระทรวงแรงงานแบบปีต่อปีตามปีงบประมาณ ซึ่งไม่ตรงกับช่วงที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างไม่ได้ หากไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ กองคลัง ไปทำการตรวจสอบสัญญาที่ทำกับบริษัทรับเหมางานทำความสะอาด เพื่อดูว่าสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้หรือไม่ นอกจากนี้จะตรวจสอบต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทรับเหมาทำความสะอาดว่าได้รับผล กระทบจากการปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทหรือไม่ หากกระทบมากก็พร้อมยกเลิกสัญญาเก่า และบวกต้นทุนค่าจ้างให้ใหม่

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาของส่วนราชการอื่นๆ ที่มีการจ้างงานในลักษณะเดียวกัน อยากแนะนำให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบสัญญาบริษัทรับเหมาเพื่อแก้ไข เป็นรายไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบางบริษัทได้มีการเตรียมรับมือหรือปรับขึ้นค่าจ้างไว้ล่วงหน้าแล้ว

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 5-4-2555)

 
กสร.แจง ค่าครองชีพรวมค่าจ้างได้หากลูกจ้างยอม

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กล่าวถึงกรณีที่แรงงานใน จ.ระยอง และ จ.ปทุมธานี ร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างไม่เป็นธรรม ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ว่า ถูกนายจ้างบังคับให้ลงชื่อยินยอมรับค่าจ้างตามอัตราที่นายจ้างกำหนด โดยนำเอาค่าสวัสดิการต่างๆ มารวมให้ได้ค่าจ้างตามอัตราใหม่ว่า ได้มอบให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั้ง   2  จังหวัด เข้าไปตรวจสอบและทำความเข้าใจกับนายจ้าง ทั้งนี้พบว่าบางกรณีก็เป็นความเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  ไม่สามารถนำสวัสดิการไปรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ เว้นแต่กรณีที่นายจ้างกับลูกจ้างทำความตกลงกันและทั้งสองฝ่ายยินยอมนำเอา สวัสดิการ  เช่น ค่าครองชีพ  ค่าเซอร์วิสชาร์จ ซึ่งมีการจ่ายเป็นประจำทุกเดือนมารวมเป็นค่าจ้าง แต่นายจ้างจะต้องใช้เป็นฐานในการคำนวณเวลาปรับเงินเดือน จ่ายโบนัสและโอที รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยสูงขึ้น
      
สำหรับสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าอาหาร ค่ารถไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าจ้างได้ เพราะไม่ใช่ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำ ทั้งนี้ ได้สั่งให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด จัดประชุมผู้ประกอบการและเชิญมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยจะจัดเป็นรายภาคตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคมนี้

(โลกวันนี้, 5-4-2555)

 
นำร่องจ้างคนพิการตามสัดส่วนใหม่ที่กำหนดให้ทั้งรัฐและเอกชนจ้างคนพิการ 1 คนต่อลูกจ้าง 100 คน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้สรุปผลการจ้างงานคนพิการในภาพรวมกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2555 ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2554 ในสัดส่วนลูกจ้าง 100 คน ต่อการจ้างผู้พิการ 1 คน โดยในส่วนของกระทรวงแรงงานมีบุคลากรทั้งสิ้น 13,433 คน ส่งผลให้ต้องจ้างผู้พิการเข้าทำงานจำนวน 134 คน กระจายตามหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการครบตามจำนวนแล้ว นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน ได้ยกร่าง ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและได้ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อนำประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป พร้อมหวังว่าหน่วยงานอื่นๆ จะนำไปปฏิบัติตาม เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 5-4-2555)

 
รมว.แรงงาน เปิดช่องแรงงานนอกระบบเข้าประกันสังคม

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รมว.พาณิชย์เงา ระบุว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการดูแลแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน ว่า กระทรวงแรงงานเห็นความสำคัญของคนเหล่านี้ สำนักงานประกันสังคมจึงเปิดโอกาสให้แรงงานกลุ่มนี้สมัครใจเข้าสู่ระบบประกัน สังคมตามมาตรา 40 ได้ โดยสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้สิทธิประโยชน์ 3 ประการ กรณีเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล 2-20 วันต่อไป ได้รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท และ 2.จ่ายสมทบ 150 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี กรณีเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิตได้รับเท่าทางเลือกที่ 1 แต่ยังรวมถึงกรณีชราภาพได้รับรับเงินก้อนวัยหลังเกษียณ

(มติชน, 5-4-2555)

 
พนักงานผลิตยางบริดจสโตนกว่า 1,400 คน ชุมนุมประท้วงผู้บริหารหน้าโรงงาน

5 เม.ย. 55 - ที่หน้าโรงานผลิตยางรถยนต์ส่งออกทั่วโลก ยี่ห้อบริดจสโตน ของบริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 7 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนกว่า 1,400 ตน รวมตัวประท้วงผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ที่สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน เมื่อเที่ยงคืนของวันที่ 29 มี.ค.55 รวม 6 วันแล้ว
      
การปิดบริษัทในครั้งนี้ ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า นอกจากนั้น ยังติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายผลิตใหม่ โดยให้เงินเดือนสูงกว่าเดิม ในราคาฝึกงาน 300 บาทต่อวัน หากรับเข้าทำงาน ได้วันละ 335 บาท ไม่รวมสวัสดิการ ทำให้พนักงานเดิมกว่า 1,400 คน ต้องตกงานทันที
      
ปัญหาที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากสหภาพแรงงานของโรงงาน นำโดย นายเพชรรุ่ง ผลสุข ประธานสหภาพ ตัวแทนพนักงานทั้งหมด ยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ยกเลิกระบบคิดเงินเดือนค่าจ้างใหม่ เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา ทางโรงงานได้นำเอาระบบเงินเดือนแบบโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาใช้ คือ เป็นระบบเงินเดือนที่อายุงานยิ่งนาน เงินเดือนยิ่งน้อย และแรงงานที่ทำอยู่ ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่เคยได้รับ

กลุ่มสหภาพฯ จึงเรียกร้อง ขอให้นำกลับไปใช้ระบบเงินเดือนแบบเดิม คือให้เงินค่าจ้างตามอายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อทางสหภาพฯ ได้ทำหนังสือเรียกร้อง และไปเจรจากันที่แรงงานจังหวัดชลบุรีเป็นจำนวน 4 ครั้ง จนถึงเมื่อเที่ยงคืน วันที่ 29 มี.ค. ผู้บริหารสั่งปิดประตูโรงงานแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ดังนั้น จึงมารวมตัวประท้วงเพื่อขอให้ยกเลิกระบบเงินแบบประเทศญี่ปุ่น กลับมาใช้แบบเดิม ขอให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานอย่างเดิม
      
นายมหาชาติ สุขพร รองประธานสหภาพฯ กล่าวว่า พวกตนไม่พอใจที่โรงงานกดขี่ค่าแรง เมื่อทำหนังสือขอเจรจาผู้บริหารไม่ยอมเจรจาแถมปิดโรงงาน พร้อมรับพนักงานใหม่ และพยายามตะล่อมให้พนักงานเดิมกลับเข้าทำงาน ซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงได้รวมตัวประท้วงดังกล่าว
      
อนึ่ง โรงงานแห่งนี้ ส่งยางออกทั่วโลก มีกำลังการผลิตยางรถยนต์ 8,400 เส้นต่อวัน และกำลังขยายกำลังผลิตเป็นวันละ 13,000 เส้นต่อวัน ในอีก 3 ปีข้างหน้า พนักงาน 1 คน สามารถสร้างรายได้ให้แก่โรงงาน 12 ล้านบาทต่อเดือน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 5-4-2555)

 
แรงงานลำพูนร้อง – พนักงานเก่ายังไม่ได้ขึ้นค่าแรง หลังประกาศค่าจ้างใหม่มีผลบังคับ

6 เม.ย. 55 - ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างออกประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 54 มีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร และปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ จ.ลำพูน คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จากเดิมวันละ 169 บาท ในปี 2554 ได้ปรับเป็น 236 บาทนั้น

ล่าสุดผู้ใช้แรงงานใน จ.ลำพูน รายหนึ่งร้องเรียนมาทางผู้สื่อข่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ใช้วิธีเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงาน โดยใช้วิธีปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 236 บาทเฉพาะพนักงานที่อายุงานน้อยซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึง 236 บาท ส่วนพนักงานเดิมที่ได้รับค่าจ้างถึง 236 บาทต่อวันแล้ว โรงงานจะใช้วิธีปรับให้เล็กน้อยซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะ กรรมการค่าจ้างปรับขึ้นมา หรือหลายโรงงานก็ไม่ยอมปรับเลย

ทั้งนี้มีการชุมนุมและเจรจากับผู้บริหารเพื่อให้ปรับอัตราค่าจ้างให้สอด คล้องกับประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในหลายโรงงาน เช่น โรงงานผลิตคาร์บูเรเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งภายในนิคมอุตสาหกรรม ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน มีการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานและผู้บริหารในช่วงหลังเลิกงานติดต่อกันหลาย คืน เพื่อต่อรองเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงานเก่า โดยมีพนักงานหลายร้อยคนชุมนุมรอผลการเจรจาภายนอกโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่บริษัท เอส ยู เอส (ไทยแลนด์) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์โลหะเพื่อการส่งออก มีแผนเลิกจ้างพนักงานซึ่งเป็นแกนนำทีร้องเรียนเรื่องการปรับค่าจ้างด้วย

(ประชาไท, 6-4-2555)

 
คลินิกโรคจากทำงานทะลุเป้า ลดอันตราย 4.55 ต่อพันราย

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้ แจงการดำเนินงานและสร้างเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน วันที่ 4-5 เมษายนที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ว่าคลินิกโรคจากการทำงานให้บริการเชิงรับลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วยเนื่องจากการทำงาน เช่น การตรวจรักษา วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพที่ได้มาตรฐาน และบริการเชิงรุก ได้แก่ การส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวัง และอุบัติเหตุจากการทำงาน ปี 2554 ขยายการให้บริการได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 68 แห่งเป็น 82 แห่ง ดูแลครอบคลุมลูกจ้างได้จำนวน 8.22 ล้านคนในสถานประกอบการ 338,270 แห่ง ช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการประสบอันตรายจากการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

"ข้อมูลสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ปีงบประมาณ 2554 โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน สามารถลดการประสบอันตราย กรณีหยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และตาย ลงได้เหลืออัตรา 4.55 ต่อพันราย จากอัตรา 5.37 ต่อพันราย ในปี 2553 หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของคลินิกโรคจากการทำงานมาสร้างระบบป้องกัน และเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน และสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ส่งผลให้ลูกจ้างได้รับการวินิจฉัย และรักษาโรคจากการทำงานอย่างถูกต้องและได้รับเงินทดแทนอย่างรวดเร็ว" นายวิทยากล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 6-4-2555)

 
ธปท.เปิดอัตราค่าจ้างปี 2554 จบป.ตรีได้เฉลี่ย1.8หมื่น -ป.เอกได้ 8 หมื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ได้รายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยเฉลี่ย สิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา

แยกตามการศึกษาและสาขาอาชีพ โดยแยกค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยตั้งแต่ไม่มีการศึกษา จนถึงปริญญาตรีเฉลี่ยทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่า ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานที่ไม่มีการศึกษา ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,789.17 ต่อเดือน
         
ขณะที่แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 5,734 บาทต่อเดือน สำหรับแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีค้าจ้างเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 6,089.98 บาท ส่วนแรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าได้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 6,972.18 บาทต่อเดือน

ด้านค่าจ้างของแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย จะแยกเป็น 3 ประเภท โดยค่าจ้างแรงงานของผู้จบมัธยมปลายสายอาชีวะ จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดที่ 12,500.59 บาท ส่วนแรงงงานที่จบมัธยมปลายสายสามัญจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุด 7,863.45 บาทต่อเดือน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในสายวิชาการศึกษา ซึ่งหมายถึงด้านวิเคราะห์ วิจัย วางแผนพัฒนา เทคโนโลยีในการศึกษา จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 7,960.42 บาท
         
สำหรับแรงงานระดับอนุปริญญา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมทุกประเภทอยู่ที่ 11,209.59 บาทต่อเดือน โดยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของผู้จบสายสามัญ มีรายได้เฉลี่ยสูงอยู่ที่ 13,647.59 บาทต่อเดือน สายอาชีวศึกษากลายเป็นสายที่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 11,054.49 บาทต่อเดือน ขณะที่สายวิชาการการศึกษามีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 11,443.89 บาทต่อเดือน

เมื่อสำรวจถึงค่าจ้างแรงงานระดับปริญญาตรี พบว่า แรงงานในระดับปริญญาตรีสิ้นปี 2554 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 18,210.34 บาท แยกเป็น สายวิชาการ มีค่าจ้างเฉลี่ย 17,882.10 บาทต่อเดือน สายวิชาชีพ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน 17,032.20 บาท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น สายวิชาการการศึกษาขึ้นมาเป็นสายที่มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 22,796.45 บาทต่อเดือน
    
เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยระหว่างผู้ที่มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี กับสูงกว่าปริญญาตรีจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยแบบก้าวกระโดด โดยจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในปี 2554 ของแรงงานระดับปริญญาตรีที่ 18,843.53 บาทต่อเดือน เมื่อขึ้นมาเป็นแรงงานระดับปริญญาโทจะมีค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 33,881.35 บาทต่อเดือน และหากเป็นแรงงานระดับปริญญาเอก ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนจะขึ้นไปที่ 80,288.83 บาทต่อเดือน
        
ขณะที่การสำรวจค่าจ้างแรงงาน จำแนกตามอาชีพ ทุกระดับการศึกษานั้น อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส และเอกชนระดับผู้จัดการ มีค่าจ้างแรงงานสูงที่สุดเฉลี่ยที่ 26,360.33 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 21,984.92 บาทต่อเดือน ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องมีค่าจ้างเฉลี่ยที่ 16,264.77 บาทต่อเดือน ขณะที่เสมียนมีค่าจ้างเฉลี่ย 12,532.73 บาทต่อเดือน พนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้า และตลาดสด มีค่าจ้างเฉลี่ย 8,806.28 บาทต่อเดือน ผู้ปฎิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวจ้อง มีค่าจ้างเฉลี่ย 7,502.91 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงาน และเครื่องจักร รวมทั้งการประกอบมีค้าจ้างเฉลี่ย 7,504.97 บาทต่อเดือน อาชีพขั้นพื้นฐาน 5,038.08 บาทต่อเดือน และอาชีพอื่นๆ 13,388.81 บาทต่อเดือน

(ฐานเศรษฐกิจ, 6-4-2555)

 
สปสช.ตีปี๊บดึงแรงงานนอกระบบ เข้าประกันสังคม-ตั้งเป้าปีนี้ 1.2 ล้านคน

ภายหลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด มีกระแสข่าวว่านายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังมีนโยบายเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากนโยบายของนายเผดิมชัยที่ต้องการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้เปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 24.1 ล้านคน ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ใช่ลูกจ้างในสถานประกอบการ เช่น กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง แท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับจ้างทางการเกษตร หาบเร่แผงลอย คนทำงานบ้าน รับจ้างทั่วไป รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานอยู่ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ สามารถสมัครเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 40 ได้ โดยปี 2555 นี้ สปส.อยู่ระหว่างทำประชาสัมพันธ์ดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่มาตรา 40 ตั้งเป้าราว 1.2 ล้านคน จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 600,000 คน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ใน 2 ทางเลือก

"ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี 1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อเป็นผู้ป่วยในและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี 2.กรณีทุพพลภาพได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี 3.กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท ส่วนทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี โดย 3 กรณีแรกจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกัน และเพิ่มกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนสำหรับวัยหลังเกษียณเรียกว่าบำเหน็จ ซึ่งจะคำนวณตามเงินที่ส่งสมทบเข้า สปส." ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว และว่า สำหรับหลักเกณฑ์สำคัญคือ แรงงานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกัน สังคมทุกพื้นที่ หน่วยบริการเคลื่อนที่ หรือสมัครผ่านตัวแทนที่ได้รับการอบรมจาก สปส.

น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่หากจะให้ดียิ่งขึ้นไม่ควรแยกว่าแรงงานนอกระบบ หรือในระบบ แต่ควรเป็นระบบเดียว เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะต้องได้รับเหมือนกัน หรือแตกต่างกันน้อยที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เครือข่ายแรงงานได้รวมตัวกันล่ารายชื่อกว่า 14,000 รายชื่อ เพื่อยกร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชนขึ้น ซึ่งจะระบุถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของแรงงานนอกระบบที่ควรได้รับเหมือนแรงงานในระบบด้วย เรื่องนี้ไม่ยาก เพียงแค่รัฐบาลให้ความสำคัญก็ย่อมตราออกมาใช้ได้อย่างแน่นอน

นายดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงผลการศึกษาเรื่องผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อย กว่า 300 บาทต่อวันว่า จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิต โดยเฉพาะการจ้างงานในกิจการเอกชนที่มีคนงาน 10-99 คน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จะลดลงอย่างมาก และแรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหลุดออกไปอยู่นอกภาคการผลิต เช่น เข้าไปช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือการว่างงานแฝง และในกิจการเอกชนขนาดต่ำกว่า 10 คน ซึ่งส่วนมากอยู่ในภาคเกษตร ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยผู้ประกอบการในการปรับตัว และช่วยเหลือด้านแหล่งรองรับแรงงานที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อไม่ต้องว่างงาน

ด้านนายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำในประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่่่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เพิ่มเป็น 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ได้ใช้นโยบายประหยัดต้นทุนด้านอื่นแทน เพื่อไม่ต้องผลักภาระราคาสินค้าไปให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ เชื่อว่าไม่มีผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือซัพพลายเออร์รายใดที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้าในขณะนี้ เพราะตลาดกำลังมีการแข่งกันสูง การปรับราคาเพิ่มจะทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้

ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวกรณีการแก้ปัญหาของแพงของรัฐบาลว่า แทนที่รัฐบาลจะมากล่าวหาว่าของแพงไม่เท่าในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ควรเอาเวลาไปแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้ดีกว่า อย่างโครงการร้านขายของถูก ประชาชนต้องตามให้ทัน เพราะเอาเงินภาษีไปทำให้ของถูก เปรียบเหมือนกับเอาเงินจากกระเป๋าซ้ายไปใส่กระเป๋าขวา ซึ่งไม่ได้ช่วยจริง ถ้าต้องการจะแก้ไขต้องทำอย่างเป็นระบบ ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็ทำได้ เหมือนครั้งที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เคยทำด้วยการระดมของถูกมาขาย ซึ่งไม่ได้ใช้เงินภาษีจากประชาชนมาทำให้ของถูกแต่อย่างใด

"ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พรรคประชาธิปัตย์จะจัดโครงการขายสินค้าราคาถูก ภายใต้ชื่อว่า "ประชาธิปัตย์ของถูก สู้แพงทั้งแผ่นดิน" โดยจะมีการนำสินค้าจำเป็นราคาต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ข้าว มาจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ กทม. ในราคาถูก ซึ่งสินค้าบางรายการอาจจะถูกกว่าโครงการธงฟ้าของรัฐบาล โดย ส.ส.กทม. ของพรรคจะนำไปขายในเขตของตนเอง" นายอภิสิทธิ์กล่าว

(มติชน, 7-4-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กะเหรี่ยง KNU-รัฐบาลพม่าเห็นชอบแผน 13 ข้อเพื่อสร้างสันติภาพ

Posted: 07 Apr 2012 05:48 AM PDT

คณะเจรจาจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เดินทางไปยังเมืองผาอัน-ย่างกุ้ง เพื่อหารือเรื่องการหยุดยิง ก่อนได้ข้อตกลงร่วม 13 ข้อ เพื่อวางกรอบการสร้างสันติภาพ รวมทั้งหลักปฏิบัติเพื่อรับรองความปลอดภัยพลเรือน วางแผนตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้ลี้ภัย การกำจัดทุ่นระเบิด และปล่อยนักโทษการเมืองชาวกะเหรี่ยงด้วย ขณะที่ล่าสุดวันนี้เลขาธิการ KNU และคณะเดินทางไปเนปิดอว์เพื่อหารือกับประธานาธิบดีพม่าด้วย 

 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง-รัฐบาลพม่า บรรลุข้อตกลงร่วม 13 ข้อ เพื่อวางกรอบสร้างสันติภาพ

เว็บไซต์ Karennews รายงานวันนี้ (7 เม.ย.) ว่าคณะเจรจาจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU) และรัฐบาลพม่าสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน 13 ข้อ เพื่อสร้างกรอบการเจรจาหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย ภายหลังจากที่มี "การเจรจาสันติภาพ" เมื่อวานนี้ (6 เม.ย.) ที่โรงแรมเซโดนา ในย่างกุ้ง โดยคณะสังเกตการณ์จากต่างประเทศ และผู้นำชาวกะเหรี่ยงต่างๆ ได้รับอนุญาตให้เฝ้าสังเกตการณ์เจรจาดังกล่าว

ทั้งนี้ภายหลังจากการเจรจา 1 วัน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะรับหลักการที่จะทำให้เกิด "ผลในทางปฏิบัติที่มีความก้าวหน้า" และจะทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการหยุดยิงทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของกลุ่มชนชาติต่างๆ

ข้อตกลงร่วมกันทั้ง 13 ข้อดังกล่าว มาจากความเห็นชอบจากทั้ง 2 ฝ่าย มีการอ่านและนำเสนอต่อหน้าสักขีพยานและสื่อมวลชนที่มาติดตามทำข่าว

ทั้งนี้ KNU และรัฐบาลพม่ากล่าวว่าทั้งสองฝ่ายได้สนทนากัน เห็นชอบร่วมกัน และได้เตรียม "หลักปฏิบัติสำหรับการหยุดยิง" เพื่อการันตีความปลอดภัยของประชาชน

 

เตรียมตั้งคณะสังเกตการณ์หยุดยิงจากทั้งสองฝ่าย และวางแผนพัฒนาร่วมกัน

ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะมีคณะกรรมการสร้างสันติภาพในระดับเมือง อำเภอ และตำบล โดยทั้งสองฝ่ายตัดสินใจที่จะมี "คณะสังเกตการณ์หยุดยิง" ระดับท้องถิ่น ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบให้ "คณะสังเกตการณ์นานาชาติ" เข้ามาหลังจากที่กระบวนการหยุดยิงมีความคิบหน้าด้วย

นอกจากนี้ หนึ่งใน 13 ข้อตกลงร่วมกันของทั้งสองฝ่ายยังรวมไปถึงแผนการตั้งถิ่นฐานใหม่สำหรับผู้ลี้ภัยภายในประเทศ การกำจัดทุ่นระเบิด การตั้งถิ่นฐานใหม่สำหรับผู้ลี้ภัย การมอบสัญชาติ การทำให้นิติรัฐมีผลในทางปฏิบัติ และการทำงานร่วมกันเพื่อ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" สิทธิในที่ดินทำกิน การร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมสันติภาพ และปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวกะเหรี่ยง

สำหรับคณะเจรจาของฝ่ายสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU 13 คน นำโดยเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนาง นอว์ ซิปโปร่า เส่ง ส่วนคณะเจรจาของฝ่ายรัฐบาลพม่า 12 คน นำโดยรัฐมนตรีกิจการรถไฟ นายอ่อง มิน

ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4 - 11 เมษายน นี้ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU มีกำหนดการหารือกับรัฐบาลพม่าเรื่องการสร้างสันติภาพ โดยตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. มีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลพม่าที่เมืองผาอัน รัฐกะเหรี่ยง ในเรื่องหลักปฏิบัติของกองทัพทั้งสองฝ่าย การสังเกตการณ์การหยุดยิง การตั้งสำนักงานประสานงาน นอกจากนี้ในวันที่ 5 เม.ย. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมในรัฐกะเหรี่ยงที่เมืองผาอัน ก่อนออกเดินทางไปยังนครย่างกุ้งเพื่อหารือเรื่องการสร้างสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลพม่าในระดับสหภาพเมื่อ 6 เม.ย. ดังกล่าว

นอว์ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) (หันหน้า คนที่สองจากซ้าย) หารือกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ที่กรุงเนปิดอว์ วันนี้ (7 เม.ย.) ที่มา: Voice Weekly/facebook.com

 

เลขาธิการ KNU หารือประธานาธิบดี "เต็ง เส่ง"

ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (7 เม.ย.) มีรายงานว่านางนอว์ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU และคณะประมาณ 6 คน ได้เดินทางโดย "เที่ยวบินพิเศษ" จากนครย่างกุ้งไปยังกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า เพื่อหารือกับนายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีพม่าเป็นเวลา 90 นาที ทั้งนี้รายละเอียดของการหารือยังไม่มีการเปิดเผย อย่างไรก็ตามสื่อพม่าหลายฉบับได้เผยแพร่ภาพถ่ายเลขาธิการ KNU หารือกับนายเต็ง เส่ง

ขณะที่เว็บไซต์ของบางกอกโพสต์ รายงานวันนี้ อ้างอิงคำพูดของประธานาธิบดีพม่า ผ่านการให้ข่าวของ "แหล่งข่าว" ที่เป็นเจ้าหน้าที่พม่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารือดังกล่าว โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้กลุ่มการเมืองทุกกลุ่มได้มีตัวแทนทางการเมือง "อาวุธที่ถือในมือของพวกเขา ไม่ควรนำมาใช้สู้กันและกัน แต่ควรใช้เพื่อปกป้องประเทศ" แหล่งข่าวอ้างคำพูดของนายเต็ง เส่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการยืนยันถ้อยแถลงดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อันพังเพยไทยแท้แต่นานมา..."

Posted: 07 Apr 2012 05:39 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อันพังเพยไทยแท้แต่นานมา..."

ซีเรียยิ่งปะทุหนัก หลังยูเอ็นเสนอแผนสันติภาพ

Posted: 07 Apr 2012 05:09 AM PDT

หลังจากที่ยูเอ็นเสนอแผนการสันติภาพ 6 ประเด็น และแผนระงับการใช้กำลังกับทุกฝ่ายในวันที่ 10-12 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ก็มีรายงานว่าความรุนแรงตามเมืองต่างๆ ยิ่งปะทุหนักขึ้น มีผู้อพยพล้นทะลักเข้าประเทศตุรกี
 
7 เม.ย. 55 - บังคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวประณามการใช้กำลังปราบปรามประชาชนครั้งล่าสุดของรัฐบาลซีเรีย หลังจากที่สหประชาชาติเสนอแผนการสันติภาพ 6 ประเด็น และแผนการระงับจากใช้กำลังจากทุกฝ่ายภายในวันที่ 10-12 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางรัฐบาลซีเรียก็ตกลงยอมรับข้อเสนอดังกล่าวแล้ว
 
บังคีมูน กล่าวว่า กำหนดการหยุดยิงในวันที่ 10 เม.ย. นั้นไม่ใช่สิ่งที่กองทัพฝ่ายประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด จะใช้อ้างเพื่อทำการสังหารประชาชนต่อไปได้
 
นักกิจกรรมบอกว่ามีประชาชนอย่างน้อย 100 คนถูกสังหารในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เมื่อกองทัพเพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามมากขึ้น 
 
โดยก่อนหน้านี้ ประเทศตุรกีก็ได้ขอความช่วยจากสหประชาชาติจากการที่มีผู้อพยพจากซีเรียล้นทะลักเข้ามาในประเทศ อาห์เม็ด ดาวูโตกลู รมต.ต่างประเทศของตุรกีกล่าวว่า ปริมาณของผู้อพยพเพิ่มสูงขึ้นสองเท่าหลังจากที่อัสซาดยอมรับข้อเสนอที่สหประชาชาติกับองค์กรสันนิบาตชาติอาหรับเป็นผู้ร่างขึ้นมา
 
รมต.ต่างประเทศตุรกีกล่าวว่า มีชาวซีเรียมากกว่า 2,800 คนข้ามเขตแดนมายังตุรกีในช่วง 36 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยในตอนนี้มีผู้อพยพจากซีเรียรวมกว่า 24,000 คนแล้ว มีผู้อพยพหลายคนบอกเล่าถึงการโจมตีด้วยอาวุธหนักของรัฐบาล
 
แผนการสันติภาพ 6 ประเด็น ที่มีโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการยูเอ็นเป็นผู้แทนในการเจรจา มีการเสนอให้ยุติการใช้ความรุนแรงจากกองกำลังของทุกฝ่ายในวันที่ 10 เม.ย. และให้มีการหยุดยิงโดยสิ้นเชิงในวันที่ 12 เม.ย.
 
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ประเทศสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางต่างกังขาว่าซีเรียจะยอมปฏิบัติตามข้อตกลงจริงหรือไม่
 
จากแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมา บังคีมุน บอกว่า การโจมตีประชาชนครั้งล่าสุดของรัฐบาลซีเรีย ถือเป็นการละเมิดข้อเรียกร้องของสหประชาชาติที่เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดปฏิบัติการทางมหาร
 
แถลงการณ์ระบุว่า บังคีมูน แสดงความเสียใจต่อการที่รัฐบาลซีเรีบใช้กำลังโจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมถึงเด็กและผู้หญิง แม้ว่ารัฐบาลซีเรียจะมีฉันทามติในการหยุดใช้อาวุธหนักโจมตีใส่เขตชุมชนก็ตาม
 
ผู้สื่อข่าว BBC รายงานว่า แม้จะใกล้เวลากำหนดการระงับความรุนแรงในวันที่ 10 เม.ย. แล้ว แต่ในเมืองฮอมและเขตอื่นๆ อีกบางเขต ดูจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แทนที่ความรุนแรงจะลดลง
 
นักกิจกรรมกล่าวหาว่ารัฐบาลพยายามจะใช้กำลังปราบปรามประชาชนให้ราบคาบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แต่ทางฝ่ายรัฐบาลบอกว่ากลุ่มกองกำลังกบฏได้ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์หลังจากที่มีการถอนกำลังกองทัพออกจากเมืองแล้ว
 
ทีมเจรจาของสหประชาชาติยังคงอยู่ในกรุงดามาสกัสของซีเรียเพื่อหารือเรื่องความเป็นไปได้ใยการที่จะให้คณะตรวจสอบของยูเอ็นเข้ามาตรวจสอบเรื่องการหยุดยิง โดยโคฟี่ อันนัน บอกว่าหากการเจรจาสำเร็จ ทางยูเอ็นจะส่งคณะตรวจสอบมายังซีเรีย 200-250 คน
 
ทางยูเอ็นเปิดเผยว่ามีคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ประท้วงยาวนานของซีเรียแล้วกว่า 9,000 คน
 

 

ภาคผนวก
แผนการสันติภาพ 6 ประเด็น ของอันนัน

1.) ควรมีกระบวนการนำโดยซีเรีย ในการระบุถึงความคาดหวังและความกังวลของประชาชน
2.) การหยุดรบจากกองกำลังของทุกฝ่ายเพื่อปกป้องประชาชน โดยมีการดูแลจากยูเอ็นในเรื่องนี้
3.) ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ และให้มีการหยุดเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม 2 ชั่วโมงต่อวัน
4.) ทางรัฐบาลต้องระบุถึงปริมาณและระยะเวลาการปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมอย่างไม่มีสาเหตุ
5.) ทางรัฐบาลต้องให้เสรีภาพในการเดินทางของนักข่าวทั่วประเทศ
6.) ทางรัฐบาลต้องเคารพเสรีภาพในการรวมตัวและสิทธิในการชุมนุมอย่างสันติ


กำหนดการหยุดยิง
- ในวันที่ 10 เม.ย. รัฐบาลซีเรียต้องถอนกำลังทัพและอาวุธหนักเช่นรถถัง ออกจากเมือง หมู่บ้าน และย่านชุมชน
- หลังจากนั้น 48 ชั่วโมงต้องมีการหยุดยิง โดยตั้งอยู่บนฐานที่ให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องปฏิบัติตามการนำของรัฐบาล
- ในเวลา 6.00 น. ของวันที่ 12 เม.ย. ต้องไม่มีความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะจากฝ่ายใดก็ตาม
- ขั้นตอนต่อจากนั้น ทุกฝ่ายจะมีการเจรจาหารือเพื่อหาข้อยุติทางการเมือง

 

 
 
 
ที่มา:
 
Syria crisis: UN chief Ban Ki-moon condemns attacks, 07-04-2012, BBC
http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-17642576
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น