โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประมวลภาพ: เสื้อแดงอิสระจัดรำลึก 2 ปี 10 เมษา จารึก 26 ศพแรก

Posted: 10 Apr 2012 12:54 PM PDT

 

10 เม.ย. 55 – เมื่อเวลาราว 17.00 น. กลุ่มเสื้อแดงอิสระราว 200-300 คน ร่วมกันรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 2 ปีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 โดยมีกิจกรรมการจุดเทียนและวางดอกไม้รำลึก ณ บริเวณที่มีการเสียชีวิต ได้แก่ บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน และถนนดินสอ ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทย์ ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายขบวนไปรวมที่หน้ารัฐสภา โดยมีการปราศรัยสลับกับการเล่นดนตรีไปจนถึงกลางดึก

หลังจากที่ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาราว 17.00 น. คนเสื้อแดงพร้อมญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเม.ย. –พ.ค. 53 ได้เดินขบวนมายังบริเวณสี่แยกคอกวัว ซึ่งเป็นจุดแรกที่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 โดยระหว่างการจุดเทียนรำลึก ประชาชนได้ร่วมร้องเพลง “นักสู้ธุลีดิน” พร้อมกับมีการประกาศรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 รายประกอบด้วยรายชื่อพลเรือน 21 รายและทหารอีก 5 ราย

ในขณะที่ช่วงเช้าของวันเดียวกัน ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ได้วางพวงหรีดบริเวณสี่แยกคอกวัวเพื่อไว้อาลัยการเสียชีวิตของพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม ซึ่งเป็นนายทหารที่เสียชีวิตในวันที่ 10 เม.ย. ในขณะปฏิบัติหน้าที่ และเวลาบ่ายสามโมง มีการจัด “งานรำลึกสองปี 10 เมษา พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และเพื่อนมิตร” ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ. ราชดำเนิน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยก่อนหน้านี้ ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มนปช. ประกาศว่าจะจัดกิจกรรมทำบุญเพื่อรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวในวันนี้ที่บริเวณสี่แยกคอกวัวเช่นเดียวกัน แต่ภายหลังได้เลื่อนไปจัดเป็นวันที่ 11 เม.ย. แทน เนื่องจากเกรงว่าจะงานกระทบต่อขบวนพระราชพิธีเก็บพระอัฐิ 

0000

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ณ วันที่ 10 เมษายน 2553



ลำดับ


ชื่อ สกุล


อาย


โรงพยาบาล


สถานที่ชันสูตร


บาดแผล


สถานที่ตาย


เหตุตาย


หมายเหตุ


1


Mr. Hiroyuki Muramoto


43


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


2


นาย สวาท วงงาม


43


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


3


นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข


36


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


4


นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า


44


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ปืนสงคราม


5


นาย จรูญ ฉายแม้น


46


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังในกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่ 1


ก่อนถึง รพ.


ปอดขวาและตับขวาฉีกขาด


ปืนสงคราม


6


นาย วสันต์ ภู่ทอง


39


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


7


นาย ไม่ทราบชื่อ (สยาม วัฒนนุกุล)


53


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอก ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


8


นาย มนต์ชัย แซ่จอง


54


กลาง


นต.รพ.ตร.


ไม่พบบาดแผล


ใน รพ.


ระบบหายใจล้มเหลว จากโรคถุงลมโป่งพอง


แก๊สน้ำตา

 


9


นาย อ้าพน ตติยรัตน์


26


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


10


นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร


23


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


11


นาย ไพรศล ทิพย์ลม


37


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


12


นาย เกรียงไกร ทำน้อย


24


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง


ใน รพ.


อวัยวะในช่องท้องฉีกขาด


ปืนสงคราม


13


นาย คะนึง ฉัตรเท


50


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังในหน้ากระดูกสันหลังส่วนอก


ก่อนถึง รพ.


ปอดขวาและตับขวาฉีกขาด


ปืนสงคราม


14


พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์


25


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


แผลเปิดกะโหลกท้ายทอยขวาน่อง 2 ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ก่อนถึง รพ.

 


สมองฉีกขาด

 


ระเบิด

 


15


พลฯ อนุพงษ์ เมืองรำพัน


21


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ทรวงอกฟกช้ำ, น่อง 2 ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ระเบิด


16


นายนภพล เผ่าพนัส


30


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ถูกยิงที่ท้อง


ใน รพ.


 


ปืนสงคราม


17


.. ร่มเกล้า ธุวธรรม


43


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ระเบิด


18


พลฯ สิงหา อ่อนทรง


 


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ระเบิด


19


พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี


22


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ระเบิด


20


นายสมิง แตงเพชร


49


จุฬาฯ


จุฬาฯ


ถูกยิงศีรษะ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม

 

หมายเหตุ

  • ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านฟ้า รวม 26 ราย เป็นทหาร 5 ราย, พลเรือน 21 ราย (ทหารนอกประจำการ 1 ราย, นักข่าวรอยเตอร์ 1 ราย)
  • รายที่ 25 นาย มานะ อาจราญ ถูกกระสุนปืนเสียชีวิตขณะอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต รายที่ 26 เสียชีวิตเพิ่มหลังนอนพักใน โรงพยาบาล (15 พ.ค.53)

 0000

 

DSCF8936 DSCF8938 DSCF8935 DSCF8944
กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตรำลึกเหตุการณ์ 10 เม.ย. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

IMG_4676
พ่อและแม่ของนายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ หนึ่งในผู้เสียชีวิตเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย. 53
มาไว้อาลัย ณ จุดที่ลูกชายเสียชีวิต บริเวณสี่แยกคอกวัว

IMG_4720

บรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ และภรรยา พ่อและแม่ของ เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์

IMG_4769 IMG_4790
ผู้ชุมนุมร่วมจุดเทียนและร้องเพลงนักสู้ธุลีดินบริเวณสี่แยกคอกวัว
IMG_4830
พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ "พยาบาลเกด" กมลเกด อัคฮาด
หนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนพฤษภา 53

IMG_4868 IMG_4840 IMG_4846
กลุ่มประกายไฟแสดงละคร และร่วมกรวดน้ำแก่ผู้เสียชีวิต
IMG_4886 IMG_4885
เวทีปราศรัยบริเวณหน้ารัฐสภา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัศนะต่อการปรองดอง จากหนึ่งพ่อผู้เสียชีวิต 10 เมษา

Posted: 10 Apr 2012 12:15 PM PDT

 

 

 

5 คำถามกับ บรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ พ่อของ เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ชายหนุ่มที่เสียชีวิตด้วยวัย 28 ปี ที่บริเวณสี่แยกคอกวัวในคืนวันที่ 10 เม.ย.53 ขณะที่กำลังทหารกำลังเข้า “ขอคืนพื้นที่” จากผู้ชุมนุม เขาอยู่ในกลุ่มคนที่อยู่ด้านหน้าและถูกยิงเข้าที่แผงอก 5 นัด

เราพบเขาและภรรยาโดยบังเอิญที่หัวถนนข้าวสารตอนบ่ายแก่ ขณะกำลังนั่งพักริมถนน หลังจากจุดเทียน วางอาหารไว้หน้ารูปถ่ายของลูกชายในจุดใกล้เคียงกับจุดที่เขาเสียชีวิต ก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะร่วมจุดเทียนรำลึกผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการในช่วงค่ำ

00000

ผ่านไป 2 ปี ทุกวันนี้ชีวิตเป็นอย่างไร และต้องการอะไรมากที่สุด

ตั้งแต่ลูกตายตั้งแต่วันที่ 10 เมษา2553 ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีความสุขกับสิ่งเป็นอยู่ คิดถึงแต่ลูก อยากให้ลูกกลับมาอยู่ด้วย จะกิน จะเที่ยว จะอะไรก็ไม่เหมือนตอนลูกอยู่ อยากให้เขากลับมา แต่มันเป็นไปไม่ได้ อยากให้รัฐบาลชุดยิ่งลักษณ์ดำเนินคดีให้กับลูกชายและผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพ ให้รู้ว่าใครเข่นฆ่าประชาชน อยากให้เร่งหาคนสั่งฆ่ามาลงโทษ

 

มองทิศทางการปรองดองตอนนี้อย่างไร

เรื่องการปรองดองนั้นเราสนับสนุน  ไม่ว่าจะเป็นการนิรโทษกรรม หรือปรองดอง ครอบครัวฟุ้งกลิ่นจันทร์ยินดี ไม่เช่นนั้นสังคมมันคงไปต่อไม่ได้ แต่เรื่องค้นหาความจริงและหาคนผิดในเหตุการณ์ปี53 ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพทำไว้ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องหาข้อเท็จจริง

 

แต่ถ้านิรโทษกรรมก็จะครอบคลุมทุกฝ่าย

ต่อให้นิรโทษกรรมทุกฝ่าย ก็ขอให้ครอบครัวฟุ้งกลิ่นจันทร์รู้ว่าใครเป็นคนผิด ให้รู้ว่ามีคนผิด ไม่เป็นไร ขอให้ได้รู้ ก็เหมือนกับเหตุการณ์ทั่วๆ ไป 14 ตุลา พฤษภา35 ก็นิรโทษกรรมให้คนฆ่าประชาชนทั้งนั้น

...แต่พ่อว่า ถึงที่สุดนรกจะไม่นิรโทษกรรมให้คนสั่งฆ่าประชาชน

 

อีกฝั่งถนน คนกลุ่มหนึ่งก็มาจัดงานรำลึกถึงการจากไปพล.อ.ร่มเกล้า ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้ง มองกรณีนี้อย่างไร

พ.อ.ร่มเกล้าก็เป็นประชาชนคนหนึ่งที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ถ้าเขาไม่ทำเขาก็ได้รับโทษ อาจมีคนฝั่งนั้นบอกว่า คนเสื้อแดงหรือผู้ชุมนุมยิง เขารู้ได้อย่างไร เห็นหรือเปล่า เหมือนทางรัฐบาลว่าชายชุดดำ จับได้ไหมก็จับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพ.อ.ร่มเกล้า หรือพี่น้องประชาชนที่ตายตรงนี้ ทุกคนมีสิทธิจัดรำลึกให้แต่ละคนเหมือนกันไม่มีใครห้ามได้ ประชาธิปไตย อย่างวันนี้คนเสื้อแดงไม่ได้ทำบุญ เพราะว่ามีเหตุการณ์สำคัญ เสื้อแดงก็ต้องยอมรับ เลื่อนก็ต้องเลื่อน คนเสื้อแดงยอมรับได้ทุกรูปแบบ ถูกกระทำซ้ำยังไงก็ต้องยอมรับ

 

แล้วทำไมยังมาจุดเทียนไว้อาลัยเงียบๆ

สำหรับตัวเราเอง จะเลื่อน ไม่เลื่อน มันอยู่ที่เรา มันก็ต้องยึดวันที่ 10 เมษาเป็นเสาหลัก เพราะลูกเราเสียชีวิตวันนี้ ไม่ใช่วันที่ 11 12 13 14 15 ฉะนั้นเราต้องเห็นความสำคัญของวันที่ 10 เมษา เราจะไม่มีวันลืมเลือน ใครจะพูดยังไง ขอให้ลืม ญาติวีรชน 10 เมษาลืมไม่ได้ มันต้องจำไว้ให้แม่นว่าวันนี้เป็นวันที่สิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นกับลูกชายและพี่น้องเราทั้ง 91 ศพ

 

ก่อนหน้านี้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่เองก็ร่วมขบวนเสื้อแดง ลูกก็ร่วมด้วยจนสูญเสียเขาไป ตอนนี้ยังเชื่อในผู้นำ หรือแนวทางแบบที่ตัวเองเคยเชื่อไหม

เราก็ต้องเดินตามทางลูกชาย เพราะลูกชายคิดเสมอว่าประเทศนี้ยังไม่มีความยุติธรรมให้ประชาชนคนรากหญ้า ก็ต้องต่อสู้เรียกร้องให้ลูกชายให้สำเร็จ นั่นแหละถึงจะเรียกว่าได้รับสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ส่วนตัวบุคคลเราก็จำเป็นต้องเชื่อมั่น แม้เขาอาจจะล่าช้า หย่อนยาน แต่เราก็ต้องร่วมกัน และต้องผลักดันการค้นหาความจริงต่อไป ไม่มีหยุด  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รำลึก 2 ปี พล.อ.ร่มเกล้า ภรรยายันปรองดองเริ่มต้นจาก “ความจริง”

Posted: 10 Apr 2012 11:26 AM PDT

 

 

 

10 เม.ย.55  เวลา  13.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการจัดงานรำลึกเหตุการณ์การเสียชีวิตของของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รอง เสธ.พล.ร.2 รอ.) จากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 โดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้นำผู้เข้าร่วมไปววางดอกไม้ ณ จุดที่พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิต เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่พลเอกร่มเกล้า ณ  บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ

จากนั้นเวลาประมาณ 15.00 น. ได้เคลื่อนขบวนมายังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ เพื่อจัด “งานรำลึก 2 ปี พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และเพื่อนมิตร” โดยก่อนจะมีเวทีเสวนา นางทิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ได้กล่าวแนะนำญาติพลทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์และเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดความรู้สึก ก่อนที่นางทิชาจะกล่าวถึงการปรองดองว่า การปรองดองมีหลายเงื่อนไขหลายหลายองค์ประกอบที่ คู่กรณีและฝ่ายต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรองดอง ไม่ใช่เฉพาะเหยื่อไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่หรือว่านั่งอยู่ในสภาหรือมีตำแหน่งแต่อย่างใด

นางทิชากล่าวว่า คำว่าปรองดองเป็นเรื่องของความรู้สึกของคน ความต้องการหรือจุดยืนของแต่ละคนก็ต่างกัน อย่างพวกเราในฐานะผู้เสียชีวิต ครอบครัวผู้เสียชีวิต สิ่งที่เราต้องการคงไม่มีอะไรที่มาทดแทนได้ สิ่งที่เราอยากได้คืนก็คือชีวิตของคนที่เรารัก แต่ยังไงมันก็ไม่มีวันได้คืน สิ่งที่เราอยากจะเรียกร้องก็คืออย่าให้คนอื่นต้องเสียชีวิตเหมือนอย่างที่พวกเราได้เจอ คนที่ยังอยู่นั้นเหมือนตายไปแล้วทั้งเป็น

“จะบอกไว้เลยคนที่อยู่นี้ เขาไม่ได้ฆ่าร่มเกล้าคนเดียวแต่เขาฆ่าเราด้วย มันตายไปด้วย เพราะฉะนั้นคือไม่อยากให้พวกเราต้องเจอกับสภาพสูญเสียแบบนี้อีก นอกจากว่าคนที่สูญเสียไปไม่เป็นทรัพยากรที่จะทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง ร่มเกล้าเนถ้าอยู่ก็ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองได้อีกมาก” นางทิชากล่าว

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีต ผอ.หน่วยข่าวกรอง กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่ 10 เม.ย.53 ว่าทหารจำเป็นต้องเข้ามาสลายการชุมนุมเนื่องจากการเดินทางสู่ฝั่งธนถูกปิดกั้น จึงต้องการพื้นที่บางส่วนคืนเพื่อเปิดเส้นทาง แต่กลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีไม้ไผ่เหลาแหลมเป็นอาวุธมีกำลังมากกว่า กำลังทหารจึงไม่สามารถรุกเข้าไปได้ และเมื่อเกิดการปะทะกับกองกำลังไม่ทราบฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถอยหลังได้เพราะถูกปิดเส้นทาง แม้ทหารมีอาวุธก็ไม่กล้ายิงเนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวอาศัยประชาชนคุ้มกัน ความสูญเสียจึงเกิดขึ้น  จนมาถึงปัจจุบันนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอซึ่งเคยบอกว่าเสื้อแดงเป็นคนทำ วันนี้ก็สติฟั่นฟือนไปแล้ว

พล.ท.นันทเดชยังกล่าวถึงการปรองดองว่า  สิ่งที่ต้องทำก่อนการปรองดองคือการค้นหาความจริงของเหตุการณ์ในวันนั้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นก็ใช้เวลานับสิบๆ ปีกว่าจะค้นหาความจริงและนำไปสู่การปรองดอง

“มันจะเป็นไปได้อย่างไรในมื่อรอยแผลแห่งความแค้นยังปรากฏอยู่” อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกล่าว

นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปอย่างไม่อาจคาดคิด โดยรัฐบาลพยายามจะอ้างการปรองดองโดยให้ตัวเองกลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จและบอกให้สังคมลืมการเสียชีวิตของประชาชน ทหารในเหตุการณ์ที่ผ่านมา

นายสมชายยังกล่าวถึงมติครม. 10 ม.ค.55 ที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียชีวิต 7.5 ล้านบาทว่า แม้ตนจะเข้าใจว่าการช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวผู้สูญเสีย แต่ก็นับเป็นการกระทำที่สองมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ภาคใต้ หรือการชดเชยให้กับผู้ต้องขังที่ถูกยกฟ้อง ที่สำคัญ เงินดังกล่าวมีที่มาไม่ชอบมาพากล เนื่องจากนายจตุพร พรหมพันธ์ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ได้กล่าวตั้งแต่ตอนที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งว่าตกลงกันได้แล้วว่าจะจ่ายชดเชยผู้เสียชีวิต 10 ล้านบาท แต่ในที่สุดก็มีการต่อรองลดลง 25% เพื่อการปรองดอง

สมชายกล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในเวลาซึ่งเป็นหลักสากลและเป็นข้อเสนอที่ทั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดอง (คอป.) และสถาบันพระปกเกล้าเสนอก็คือ การค้นหาความจริงให้ปรากฏ แต่วันนี้รัฐบาลกลับรวบรัดตัดตอน ผู้ต้องหาที่จับได้ว่าเป็นผู้ยิง M79 วันนี้ก็ไม่แน่ว่านอนสบายอยู่เรือนจำใหม่บางเขนหรือไม่

 

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหากล่าวว่า ข้อผิดพลาดสำคัญคือ หลัง 19 ก.ย.49 นักการเมืองที่เราต่อสู้ด้วย ไม่ได้ถูกจัดการอย่างทันทีทันใด จึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกได้ และคนทำรัฐประหารในวันนี้ก็ไปอยู่ฝ่ายที่ตัวเองรัฐประหารเสียแล้ว

“ทหารที่ลุกมาปฏิวัตินั้นฉวยโอกาส ถ้าไม่ปฏิวัติ ประชาชนก็จัดการกับทักษิณไปได้นานแล้ว วันนั้นยังไม่มีเสื้อแดง และกำลังของทักษิณก็อ่อนล้า วันี้เป็นสงครามชิงเมือง สภาไม่สามารถทำอะไรได้ เขาอาศัยการยกมือเท่านั้น เลือกตั้งในเงิน 50,000 ล้านก็ยึดประเทศไทยได้แล้ว แล้วเข้ามาล้วงทรัพยากร” รสนากล่าว พร้อมระบุให้จับตาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะยิ่งตัดอำนาจประชาชนในการตรวจสอบรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 67 หรือ มาตรา 190

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านนี้ในช่วงเช้า ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดพิธีทำบุญครบรอบ 2 ปีการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า โดยมี พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาคที่ 1  นายทหารชั้นผู้ใหญ่จาก พล.ร.2 รอ. และผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวมาร่วมงาน  และนางนิชา ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เหตุการณ์ผ่านไป 2 ปี มีสิ่งที่เราไม่เข้าใจเกิดขึ้น จนต้องสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับคดีต่างๆ เพราะ 2 ปีก็เป็นเวลาที่เราให้มากพอสมควรกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ แต่ว่าคดีมีความคืบหน้าไประยะหนึ่งแล้ว ดูเหมือนกับว่ามีการเปลี่ยน ซึ่งเราไม่เข้าใจก็ต้องถามด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่อยากจะฟังคำตอบ

เมื่อถามว่า มั่นใจว่าจะหาตัวคนร้ายที่สังหาร พ.อ.ร่มเกล้าได้หรือไม่ นางนิชากล่าวว่า เป็นเรื่องยาก เพราะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก แต่อย่างน้อยที่สุดถ้าเราเห็นความตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะป้องกันป้องปราม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก คงจะทำให้การตายของคนที่ตายไปไม่สูญเปล่า ไม่ว่าจะหาตัวได้หรือไม่ได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐแสดงให้เห็นว่าหลักนิติรัฐคืออะไร และยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

ส่วนเรื่องการปรองดอง นางนิชากล่าวว่า ถ้ามองความปรองดองสมานฉันท์ ไม่ใช่มีแค่การนิรโทษกรรม แต่มีองค์ประกอบ 4 อย่างคือ การค้นหาความจริง การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การเยียวยา การนิรโทษกรรม ไม่สามารถจะแตะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบอกว่านี่คือการปรองดอง ทุกอย่างต้องไปทั้ง 4 ตัวแปร แล้วควรต้องเรียงลำดับว่าจาก 1 ไปสู่ 2 3 และ 4 แต่วันนี้ต้องการคำอธิบายว่า ทำไมข้ามขั้นตอนการค้นหาความจริง แล้วกระโดดไปสู่นิรโทษกรรม อยากจะฝากว่า ความปรองดองสมานฉันท์เป็นเรื่องของคนในชาติ ประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาในการเยียวยาเวลา มันเป็นโอสถที่ใช้ในการเยียวยา จะทำให้การพูดคุยกันในสังคม การเปิดใจความคิดเห็นรับฟังซึ่งกันละกัน ก็เป็นการเยียวยาไปในตัว หากรีบเร่งมากน่าจะนำไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดี ประชาชนน่าจะมีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการสมานฉันท์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อิหร่านเตรียมตัดอินเทอร์เน็ต สร้างอินทราเน็ตใช้ในประเทศภายใน 5 เดือน

Posted: 10 Apr 2012 11:13 AM PDT

เว็บไซต์ blognone รายงานว่า Reza Taghipour รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีของอิหร่านประกาศแผนการสร้าง "อินเทอร์เน็ตสะอาด" โดยการสร้างบริการต่างๆ ขึ้นทดแทนบริการจากโลกตะวันตก เช่น Iran Mail, Iran Search Engine โดยอิหร่านเคยประกาศแผนการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว

แผนการนี้จะแบ่งออกเป็นช่วง ช่วงแรกจะตัดบริการใหญ่ๆ ที่รัฐบาลได้ทำขึ้นทดแทนแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นภายในเดือนสิงหาคมจะตัดเว็บทั้งหมดออก เหลือให้เข้าได้เฉพาะเว็บที่อยู่ในรายการอนุญาตเท่านั้น

การสมัคร Iran Mail ทุกวันนี้ต้องอาศัย ชื่อจริง, บัตรประชาชน, และกรอกที่อยู่เต็ม โดยกระบวนการต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานรัฐก่อนใช้งาน

ก่อนหน้านี้อิหร่านเป็นชาติที่พยายามเซ็นเซอร์หรือดักฟังการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างหนัก มีประชาชนจำนวนมากถูกจับเพราะโพสต์ข้อความผิดกฏหมาย และมีความพยายามจะปิดกั้น Tor (ระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยนิรนาม) อย่างต่อเนื่อง

นโยบายการสร้างเน็ตภายในประเทศของอิหร่านถูกวิจารณ์ว่าจะปิดโอกาสของบริษัทอิหร่านในการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะจีนและรัสเซีย ตอนนี้อิหร่านมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 11% ของประชากร

แผนการของอิหร่านมีดังนี้

สร้างเครือข่ายภายในประเทศสำหรับคนมุสลิม เน้นจริยธรรมและศีลธรรม สอดคล้องตามกฎหมายอิสลาม
ประชาชน 60% ของประเทศจะได้ใช้เครือข่ายใหม่ในเร็วๆ นี้ และจะใช้หมดทั้งประเทศภายใน 2 ปี
ช่วงแรกๆ อิหร่านจะยังมีเน็ตทั้งสองแบบขนานกันไป โดยธนาคาร หน่วยงานราชการ บริษัทขนาดใหญ่ จะยังใช้อินเทอร์เน็ตปกติได้อยู่
แต่ภายหลัง ประเทศอิหร่านจะเปลี่ยนมาใช้เครือข่ายในประเทศแทนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
อิหร่านยังจะพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองเพื่อใช้แทนวินโดวส์ และจะเปิดตัวในอีกไม่ช้า

 

ที่มา:

  • อิหร่านเตรียมตัดอินเทอร์เน็ต สร้างบริการอินทราเน็ตใช้ในประเทศภายในห้าเดือน
    http://www.blognone.com/node/31509
  • อิหร่านจะสร้าง "เน็ตในประเทศ" ใช้แทน "อินเทอร์เน็ต" ภายใน 2 ปี
    http://www.blognone.com/news/23983
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประณามบอร์ด สปส.เหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน

Posted: 10 Apr 2012 11:05 AM PDT

(10 เม.ย.55) ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ออกแถลงการณ์เรื่อง "ประณามบอร์ด สปส.เหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุ

กเฉิน 3 กองทุน" จากกรณีมติคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ไม่เห็นชอบในการเซ็นข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย เรื่องให้ประชาชนเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ หากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยใช้อัตราการจ่าย DRG ละ 10,500 บาท ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอีกมหาศาล

โดยระบุว่า มติดังกล่าวถือเป็นมติที่แสดงถึงความไม่เข้าใจความทุกข์ยากของผู้ประกันตน ของคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนถือเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหามากที่สุด คือ ผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ปีละ 2 ครั้ง และต้องสำรองจ่ายไปก่อนใน 72 ชั่วโมง เกินจากนั้นผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบเอง นโยบายในข้อตกลงร่วม 3 ฝ่ายกรณีฉุกเฉินนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนสูงสุดทันที ถือว่าได้ปลดแอกผู้ประกันตนจากความยากลำบากในกรณีฉุกเฉินทันที

ดังนั้น ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนจึงขอประณามกรรมการประกันสังคมที่ไม่ก้าวหน้า ไม่เห็นความทุกข์ของผู้ประกันตน ไม่มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาของผู้ประกันตนที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนี้ รวมถึงเมื่อมีความพยายามของส่วนอื่นที่มุ่งแก้ปัญหาให้ผู้ประกันตนอย่างถูกทาง ก็มีมติที่แสดงความไม่เข้าใจทุกข์นี้ด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แผนหยุดยิงไร้หวัง รัฐบาลซีเรียยิงคนหนีข้ามแดนไปตุรกี

Posted: 10 Apr 2012 11:02 AM PDT

แม้จะถึงกำหนดการหยุดยิงในวันแรกตามแผนของยูเอ็น แต่ซีเรียก็ยังคงปะทะกันโดยไม่มีทีท่าว่าจะมีการหยุดยิงทั้งสองฝ่าย ฝ่ายรัฐบาลซีเรียยิงข้ามฝั่งพรมแดนไปยังตุรกีเพื่อสกัดผู้อพยพ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านบอกต้องการกำลังทางอากาศยานจากต่างชาติ

วันที่ 10 เม.ย.55 สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า แม้จะถึงกำหนดการที่ทางยูเอ็นเสนอแผนหยุดยิงจากทุกฝ่ายในซีเรียเป็นวันแรก แต่ก็ยังคงมีการยิงและใช้อาวุธหนักถล่มหมู่บ้านประชาชน

กองทัพซีเรียได้ยิงโจมตีใส่หมู่บ้านคนข้ามรอยต่อพรมแดน ขณะที่กลุ่มทางการทูตพยายามทำให้แผนการสันติภาพของยูเอ็นบรรลุผล แม้จะผ่านขั้นแรกของกำหนดเส้นตายการหยุดยิงไปแล้วก็ตาม

โคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติผู้เสนอแผนดังกล่าวเดินทางเยือนตุรกีและอิหร่านในวันที่ 10 เม.ย. ขณะที่รัสเซียต้อนรับการมาเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศของซีเรีย

"กำหนดการวันที่ 10 เม.ย. กลายเป็นโมฆะ" นาชิ โครู รอง รมต.ต่างประเทศของตุรกีกล่าว ขณะเดียวกันตุรกีก็ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการใช้อาวุธยิงข้ามฟากพรมแดนใส่ค่ายผู้ลี้ภัยในตุรกีจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย ในเขตชายแดนที่อันนันหมายจะมาเยือนในวันเดียวกันนี้

ประเทศใกล้เคียงอีกหนึ่งคือเลบานอนก็ออกมาประนามการสังหารผู้สื่อข่าวในประเทศเลบานอนโดยการที่ทหารของซีเรียยิงข้ามพรมแดนมาอีกฝั่ง

โฆษกการต่างประเทศของสหรัฐฯ วิกเตอเรีย นูแลนด์ บอกว่า "เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้อีกอย่างหนึ่งว่ารัฐบาลอัสซาด ดูไม่มีความต้องการปฏิบัติตามฉันทามติที่ให้ไว้กับโคฟี่ อันนันเลย"

ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีร่า อนิตา แมคนอจ รายงานจากแอนตาคิอาทางตอนใต้ของตุรกีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการยกระดับของสถานการณ์ความตึงเครียดในเขตชายแดนซึ่งมีระดับความตึงเครียดสูงอยู่แล้ว

มีรายงานว่าเหตุยิงข้ามพรมแดนดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่กองกำลังของซีเรียพยายามสกัดกั้นไม่ให้ผู้อพยพหนีเข้าไปในประเทศตุรกี

มีชาวซีเรียหลายพันคนอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 8 แห่ง ในเขตปกครอง 3 แห่งติดกับพรมแดนของซีเรีย ขณะที่มีผู้อพยพส่วนอื่นๆ ข้ามพรมแดนไปยังเลบานอน, จอร์แดน และอิรัก

ในกรุงดามากัส ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ไม่ได้กล่าวอะไรในวันจันทร์ (9 เม.ย.) ที่ผ่านมา เขาไม่ได้บอกว่าจะปฏิบัติตามข้อเสนอของอันนันในการนำกองทัพออกจากเขตบ้านเรือนประชาชนภายในวันที่ 10 เม.ย. หรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา อัสซาดได้เรียกร้องให้ฝ่ายกบฎมีศรัทธาที่ดีต่อฝ่ายรัฐบาล ซึ่งทางผู้นำฝ่ายต่อต้านปฏิเสธ เมื่อรวมกับเหตุการณ์ปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ของกองทัพซีเรียแล้ว ทำให้มีความสงสัยว่ากำหนดการหยุดยิงเต็มรูปแบบที่อันนันกำหนดเส้นตายไว้ในเวลา 6 โมงเช้าของวันพฤหัสฯ (12 เม.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่

ด้าน วาลิด อัล-มูอะเล็ม รมต.ต่างประเทศของซีเรีย ไปเยือนรัสเซียเพื่อหารือกับรมต.ต่างประเทศของรัสเซีย เซอกี ราฟลอฟ

หนึ่งในตัวแทนของลาฟรอฟบอกว่ารัสเซียกำลังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของซีเรียในการเปิดให้มีการเจรจากับฝ่ายต่อต้าน แต่เขาก็กล่าวย้ำว่าทางรัสเซียไม่สนับสนุนการใช้กำลังจากต่างชาติเข้าแทรกแซง

'หากแผนการของอันนันไม่สำเร็จ ... ซีเรียก็จะเข้าสู่สงครามกลางเมือง'

นอกจากฝ่ายรัฐบาลจะยังไม่หยุดยิงแล้ว ยังไม่สัญญาณใดบ่งบอกว่าฝ่ายกบฎจะหยุดยิงเช่นกัน นักกิจกรรมฝ่ายต้านรัฐบาลบอกว่ากองกำลังของพวกเขาติดอาวุธเบาและอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย กำลังถูกฝ่ายรัฐบาลโจมตีอย่างหนัก

นายพลคนหนึ่งที่ย้ายข้างจากฝ่ายรัฐบาลมาเป็นฝ่ายต่อต้านต้องการให้มีกองกำลังทางอากาศจากต่างชาติโจมตีใส่ปืนใหญ่และหน่วยรถถังของกองทัพซีเรีย

"คุณไม่จำเป็นต้องดำเนินภารกิจทางอากาศในระยะยาวก็ได้ ร้อยละ 70 ของกองกำลังซีเรียเริ่มไม่ทำอะไรแล้ว และการจู่โจมทางอากาศยานจะเป็นการส่งข้อความให้กับประชาชนชาวซีเรียได้รับรู้ว่า ประชาคมโลกอยู่ข้างพวกเขา" มุสตาฟา อัล-ชีค เจ้าหน้าที่ทหารที่ย้ายข้างมาอยู่ฝ่ายต่อต้านกล่าว

ชีคกล่าวอีกว่า อัสซาดไม่สามารถอาศัยกองทัพจากการเกณฑ์ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นมุสลิมนิกายซุนนีได้ เนื่องจากพวกเขาจะไม่ฟังคำสั่งจากเหล่าผู้นำกองทัพที่ประกอบด้วยชาวนิกายอะลาไวท์แบบเดียวกับประธานาธิบดีซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย

นอกจากนี้ชีคยังเรียกร้องสหรัฐฯ ตุรกี และชาติอาหรับ ทำการโจมตีแบบเดียวกับที่เคยทำในสมัยทศวรรษ 1990 กับยูโกสลาเวีย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทหารที่หนีออกจากกองทัพได้รวมกลุ่มกัน

ขณะเดียวกันทางนักกิจกรรมฝ่ายต่อต้านก็กล่าวหาว่ากองกำลังรัฐบาลได้ยิงถล่มหมู่บ้านใกล้ๆ กับเมืองอิดลิบ รวมถึงในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียรายงานตัวเลขความสูญเสียว่า มีผู้เสียชีวิตจากการปะทะในวันที่ 9 เม.ย. จำนวน 48 ราย รวมทหาร 12 ราย มีประชาชนอย่างน้อย 35 รายถูกสังหารในหมู่บ้าน ลาทัมนา ใจกลางเขตฮามา

"รัฐบาลคิดว่าพวกเขาจะสามารถควบคุมพื้นที่ที่มีฝ่ายกบฎไว้ได้ทั้งหมด ก่อนวันที่ 10 เม.ย. และเมื่อไม่สำเร็จ พวกเขาจึงได้แต่ฆ่าเวลา" รามี อับเดล ราห์มาน สมาชิกองค์กรสิทธิฯ กล่าว

"หากแผนการของอันนันไม่เป็นผล ก็จะไม่มีแผนการใดสำเร็จอีกแล้ว ซีเรียจะเข้าสู่สงครามกลางเมือง" ราห์มานกล่าว

 

ที่มา

Syria ceasefire plan prospects grow dim, 10-04-2012, Aljazeera
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/04/201249162749211983.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายถึงคุณ สังคม

Posted: 10 Apr 2012 09:53 AM PDT

เขียนที่ ไหนสักแห่ง
10 เมษายน 2555

เรียนคุณสังคมที่รักและเคารพ
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณสังคม เพื่อสอบถามสารทุกข์สุขดิบว่าเป็นอย่างไร เพราะทราบว่าเพิ่งสูญเสียญาติผู้ใหญ่ไป หวังว่าคุณจะหายโศกเศร้าแล้ว แต่วันที่ผมเขียนจดหมายนี้ไม่ทราบว่าคุณยังจำได้หรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อปี 2553 ตอนตะวันใกล้ลับขอบฟ้า ผมคิดว่าคุณคงจำไม่ค่อยได้แล้วหรือจำได้ก็คงเลือนรางทั้งๆ ที่เวลาผ่านมาเพียงช่วงไม่กี่ปี วันนั้นมีคนใส่เสื้อแดงกลุ่มหนึ่งมาชุมนุมด้วยความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่ง ที่เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจ เค้าเหล่านั้นออกมาเรียกร้องให้พิสูจน์เจตจำนงของประชาชนด้วยการยุบสภาและให้มีการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เขาได้ตอบรับในวันนั้นคือการเข้าล้อมปราบด้วยกระสุนจริงแต่ประดิษฐ์ถ้อยคำว่า มาขอพื้นที่คืน คุณสังคมคงพอรำลึกถึงได้แม้จะพยายามให้บิดเบือนอย่างใดก็ตาม พยายามนำกระแสธารวาทกรรมต่างๆ มาชำระล้างความจริงแท้ให้ออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์สักเพียงใด แต่สิ่งที่ไม่ได้จางหายไปคือ ภาพชีวิตที่ร่วงหล่น โลหิตที่ไหลนองบนพื้นถนนและสาดกระเซ็นใส่เสื้อสีแดง ที่แม้มันจะสีเดียวกันกับเลือดแต่ก็มองเห็นได้เด่นชัดเมื่อเปรอะเลอะเนื้อตัว เสียงกระสุนปลิวว่อนตัดอากาศมาปะทะร่าง ปะปนกับเสียงโห่ร้องพร้อมร่ำไห้กับชะตากรรมของผู้ร่วมอุดมการณ์ คุณสังคมพอระลึกได้หรือไม่ครับ ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผู้คนเรียกหาการให้อภัย การปรองดอง เรียกร้องให้ลืมอดีตเสีย แต่ผมและเหล่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์คงลืมไม่ได้ แต่ก็ได้แต่กล้ำกลืนเพราะมีคนบอกว่าเราต้องเดินหน้าเพื่อสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาของประเทศ ผมคงไม่ขออะไรคุณสังคมมาก เพียงขอมาปรับทุกข์แบบเล่าสู่กันฟัง

คุณสังคมครับ ช่วงนี้พอจะได้เจอกับท่านอดีตนายกและรองนายกผู้สั่งการในเหตุการณ์นั้นบ้างหรือไม่ครับ ถ้าเจอพวกเค้าหรือคนในพรรคของเค้าฝากความไปบอกกล่าวเขาด้วยครับว่า ท่านเหล่านั้นควรมีความละอายในสิ่งที่ได้กระทำลงไปบ้าง แม้แต่เพียงเล็กน้อยพอให้รู้ว่าท่านยังมีสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีศาสนาบ้าง เพราะหลังจากเหตุการณ์ในวันที่ 10 ท่านเหล่านั้นนอกจากสั่งฆ่าเพื่อนเราแล้ว ยังขุดศพเพื่อนเรามาเยาะเย้ยถากถาง ประณามหยามหมิ่น เหยียบหยามใส่ร้ายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คนเจ็บเพื่อนเราถูกใส่ร้าย กล่าวหาคนตายว่าเป็นโจรเผาบ้านเผาเมือง ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นที่ตาย ตายก่อนไฟไหม้ทั้งสิ้น แม้แต่ในวันนี้ท่านเหล่านั้นก็มีการทำกิจกรรมทางการเมืองบริเวณที่เพื่อนเราตาย ความรู้สึกของเราประหนึ่ง ฆาตกรวนเวียนกลับไปที่เกิดเหตุ แล้วถ่มน้ำลายรดหน้าศพ ฝากคุณสังคมไปบอกท่านเหล่านั้น ได้โปรดหยุดทำอะไรที่หมิ่นหยามน้ำใจกันบ้างเถิดครับ

สุดท้ายนี้ผมฝากถึงคุณสังคมโดยตรงนะครับ ฝากให้คุณสังคมกลับไปเรียนรู้ประวัติศาตร์การเมืองและนำมาเป็นบทเรียนเสียบ้าง ว่าแนวคิดแบบไหนทำให้คนเป็นอย่างไร การที่คุณสังคมจะรักใครมากเกลียดใครมากนั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะในเมื่อเราบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตย แต่กระนั้นการรักใครเกลียดใครก็ไม่ได้หมายความว่าคุณสังคมจะสนับสนุนให้มีการฆ่ากันได้เพียงเพราะปัญหาเรื่องความรักความเกลียดเท่านั้น คุณสังคมต้องหัดเข้าใจและหัดใช้มันสมองคิดไตร่ตรองหาเหตุและผลในเรื่องต่างๆ ใช่แต่เพียงอ่านหัวข้อข่าวจากสื่อมวลชนเลือกข้างเพียงสี่ห้าบรรทัดแล้วท่านก็มาตัดสินเอาเอง คุณสังคมต้องออกจากกะลาทางความคิดล้าหลังที่ครอบงำคุณสังคมเองอยู่แล้วหัดไปดูว่าประเทศอารยะนั้นเค้ามีวิธีใช้เหตุผลกันอย่างไร และไม่ว่าคุณสังคมจะเข้าใจเหตุการณ์ 10 เมษา 53 อย่างไรก็ช่าง แต่ขออย่างว่าอย่าได้ลืมมันไป และจงจำไว้เพื่อเตือนความคิดสติปัญญาว่า คนเราไม่ควรพรากชีวิตผู้อื่นเพียงเพราะเค้าคิดไม่เหมือนกัน

ด้วยความระลึกถึง

10 เมษายน 2555
ปล. ขออุทิศแด่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เอฟทีเอ ว็อทช์ เบรคอธิบดีกรมเจรจาฯ หวั่นเข้าร่วม TPP กระทบการเข้าถึงยา

Posted: 10 Apr 2012 01:25 AM PDT

(10 เม.ย.55) ตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พยายามผลักดันให้ประเทศไทยการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) โดยอ้างผลการศึกษาว่า อุตสาหกรรมไทย ทั้งเกษตร อาหาร สิ่งทอ อัญมณี ท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ จะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลงนี้อย่างมาก

นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา สมาชิกกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอ ว็อทช์ เห็นว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศควรให้ข้อมูลกับสาธารณะอย่างครบถ้วน เพราะในการศึกษาเบื้องต้นของกรมฯที่จัดจ้างบริษัทเอกชนทำ ยังระบุว่า การเข้าร่วม TPP มีผลกระทบอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงยาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

“กรมเจรจาฯควรเลิกวิธีการโฆษณาชวนเชื่อว่าทำเอฟทีเอมีแต่ด้านดีด้านเดียวได้แล้ว เพราะแม้แต่งานศึกษาที่กรมเจรจาฯจัดจ้างบริษัทเอกชนทำ ยังชี้ว่า ในการเจรจา TPP ที่ 8 ประเทศกำลังเจรจาฯกันอยู่ สหรัฐฯมีข้อเรียกร้องสูงมาก ทั้งการบังคับให้จดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การขยายอายุสิทธิบัตร จาก 20 ปีออกไปอีกไม่เกิน 5 ปีเพื่อชดเชยความล่าช้าของกระบวนการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร และให้ขยายอายุสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการใช้ยาแบบใหม่เพียงเล็กน้อย การผูกขาดข้อมูลยา 5 ปี สำหรับยาใหม่ และ 3 ปี สำหรับยาที่ได้รับสิทธิบัตรมาแล้ว ในเรื่องนี้ท่าทีสมาชิก TPP อื่นๆ ยังมองว่า จะทำให้ผูกขาดยาต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ จำกัดการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ไม่อนุญาตให้หน่วยงานจัดซื้อยาของรัฐต่อรองราคายา และบังคับเปิดตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ยิ่งไปกว่านั้น ด้านการค้าบริการและการลงทุน สหรัฐฯเรียกร้องให้ใช้แนวทาง Nagative List (อะไรที่เปิดเสรีไม่ได้ให้แจ้ง) ให้เปิดให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% การโอนเงินทำได้โดยเสรีและไม่มีอุปสรรค ต้องการให้มีบทบัญญัติเรื่องอนุญาโตตุลาการที่จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องยกเลิกนโยบายสาธารณะหรือเรียกค่าชดเชยจากรัฐในนโยบายต่างๆ ได้ ซึ่งขณะนี้ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม และบรูไน ยังไม่ยอมรับ ส่วนออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ประกาศไม่ต้องการให้มีบทบัญญัติเรื่องอนุญาโตตุลาการ”

สมาชิกเอฟทีเอ ว็อทช์ ระบุว่า สิ่งสำคัญที่กรมเจรจาฯไม่ยอมพูด หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ คือ การที่ประเทศใดเข้าไปเจรจาทีหลังจะถูกบังคับให้ยอมรับความตกลงที่มากกว่า ประเทศสมาชิกเดิม 8 ประเทศ ซึ่งขณะนี้ ญี่ปุ่นกำลังเผชิญภาวะความกระอักกระอ่วนนี้อยู่

“ในระยะหลัง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดจ้างบริษัทเอกชนมาทำการศึกษามากขึ้น ในการนำเสนองานศึกษาของบริษัทเอกชนที่กรมเจรจาฯจัดจ้างหลายครั้ง เชิญแต่ภาคเอกชน เช่น สภา หอการค้า สภาอุตสาหกรรม แต่ไม่เคยเชิญภาคประชาสังคมหรือกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ เลย ขอเรียกร้องให้กรมเจรจาฯ ยุติการโฆษณาชวนเชื่อ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชน ดำเนินการอย่างเปิดเผยโปร่งใส ทำการศึกษาอย่างครบถ้วนรอบด้าน และเปิดรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะอย่างจริงจัง จริงใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ”

นอกจากนี้ การเจรจา TPP ถูกตั้งข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศว่า สหรัฐฯพยายามผลักดันอย่างมาก เพราะต้องการขยายอิทธิพลด้านการค้าและการเมืองผ่าน TPP และชิงความได้เปรียบเหนือจีน มากกว่าที่จะเป็นเรื่องวัตุประสงค์ทางการค้าเท่านั้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

Posted: 10 Apr 2012 12:57 AM PDT


 

ผมเพิ่งเขียนเรื่อง “รัดทำมะนวยกะอรหัง” ลงในคมชัดลึก แต่มีประเด็นที่ควรนำมาขยาย เกี่ยวกับกรณีที่ “10 อรหันต์” ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ทักท้วงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่คณะกรรมาธิการจะนำกลับเข้ามาพิจารณาวาระ 2 ในรัฐสภาวันที่ 10-11 เม.ย.นี้

ก่อนอื่นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับ 10 อรหันต์ ขอบอกว่า สื่อที่ตีข่าวนี้ ล้วนแต่มั่ว เพราะไม่เข้าใจประเด็นจริงๆ เช่น บางฉบับบอกว่า 10 อรหันต์ชี้ 3 ประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ ไทยโพสต์บอกว่า 10 อรหันต์แฉ รธน.มิบังควร ขนาดศูนย์ข่าวอิศรายังบอกว่า ที่ปรึกษาผู้ตรวจการฟันธง 3 ร่างขัดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง

ประเด็นที่ 10 อรหันต์ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญคือการกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ประเด็นนี้ตกไปแล้ว เพราะคณะกรรมาธิการชี้แจงว่า เป็นแค่ร่างของคณะรัฐมนตรี ร่างของคณะกรรมาธิการแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแล้ว

อันที่จริงประเด็นนี้ก็ถกเถียงกันได้เหมือนกัน เพราะ 10 อรหันต์ยกมาตรา 195 วรรคแรกมาอ้างว่า “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้บัญญัติให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การที่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามร่างกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจึงไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๙๕ วรรคแรก”

ถ้าตีความตามตัวบท ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ร่างแก้ไขมาตรา 211 สมัยบรรหาร ก็มีบรรหารลงนามฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยอภิสิทธิ์ ก็มีอภิสิทธิ์ลงนาม แต่ถ้าพูดกันตามหลักการจริงๆ ผมว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ถูกต้อง นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ในพระราชบัญญัติ เพื่อประกาศใช้ เพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรให้ประธานรัฐสภาลงนามฯ เพราะไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับเต็มทุกฉบับก็มีประธานรัฐสภา (หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เป็นผู้ลงนาม แต่พอร่างแก้ไข กลับให้นายกฯ ลงนาม มันตลก

แต่ไม่เป็นไรเป็นแค่ประเด็นทางเทคนิค หยวนๆ ไปได้

ประเด็นใหญ่จริงๆ คือ 10 อรหันต์คัดค้านการให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญที่ สสร.ร่างออกมา ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย และให้เขียนเพิ่มเข้าไปในมาตรา 291/13

“ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคสาม (เพื่อลงประชามติ) ถ้านายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบแล้วนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้เสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา แล้วให้ประธานรัฐสภาส่งความเห็นดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นตกไป”

โห ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.ตกไปเลยนะครับ

ประเด็นนี้ขอยืนยันว่ายอมไม่ได้ ด้วย 2 เหตุผลด้วยกัน คือหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจจะยุบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดบทตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเสียใหม่ เช่นให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดคัดเลือกจากบัญชีนักวิชาการ ผู้พิพากษา นักปกครอง ฯลฯ โดยมีบทเฉพาะกาลว่า หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ 6 เดือนหรือ 1 ปี ให้ตุลาการชุดนี้พ้นจากตำแหน่งแล้วเลือกใหม่ ฯลฯ

ไม่ว่าจะกำหนดอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนได้เสีย ฉะนั้นสมมติศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไป โดยอ้างว่าขัดต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข-ด้วยความปรารถนาดีต่อตุลาการ ผมว่าท่านได้กินต้มซุปเปอร์หม้อใหญ่แน่ (จะสั่งไปให้จากสกายไฮ คริคริ)

เหตุผลข้อสอง อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจที่รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่อยู่สูงกว่า ฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะไปตีความรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ได้

พูดภาษาชาวบ้านคือรัฐธรรมนูญเป็นแม่ผู้ให้อำนาจศาล ศาลมีอำนาจตีความว่าร่างพระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีอำนาจตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เวลาที่รัฐสภาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ตัวแม่ที่ให้อำนาจตัวเอง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะไปตีความใดๆ ทั้งสิ้น

ตอนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แก้รัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยก็เคยส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่วินิจฉัยเพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาล 10 อรหันต์ก็รู้ครับ จึงพยายามจะยัดเข้ามาอยู่ในมาตรา 291/13 ดังกล่าว

แต่ประเด็นที่ 3 ที่ 10 อรหันต์ทักท้วงผมเห็นว่าถูกต้อง และคณะกรรมาธิการต้องแก้ไขโดยด่วน นั่นคือประเด็นที่ทั้ง 3 ร่างของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา กำหนดว่าหลังลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยให้นำมาตรา 150 และ 151 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งหมายถึงให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งแล้วหากทรงยับยั้งก็ส่งกลับไปให้รัฐสภาลงมติยืนยันนั้น

“คณะกรรมการฯ เห็นว่าไม่ควรบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ เพราะเมื่อประชาชนลงประชามติแล้ว การให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งแล้วกลับไปรัฐสภาเป็นผู้ลงมติยืนยันได้อีก ย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ทั้งยังเป็นการมิบังควรอย่างยิ่งในทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ ควรบัญญัติให้มีการลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ดังที่เคยบัญญัติมาในอดีตก็จะเหมาะสมกว่า”

ประเด็นนี้กรรมาธิการยังฟังไม่ได้ศัพท์อยู่เลยนะครับเพราะพีรพันธุ์ พาลุสุข รองประธานกรรมาธิการจากพรรคเพื่อไทย บอกว่ารู้สึกแปลกใจ “เขาไปยกมาได้อย่างไร กระทั่งกฎหมายธรรมดา ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งไว้ สภาฯก็มีสิทธิทบทวน เป็นมาตั้งแต่สมัยไหนๆ แล้ว เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เราไม่ได้ไปลดพระราชอำนาจอะไรเลย เขาคงเข้าใจผิด”

พีรพันธุ์น่ะแหละเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว 10 อรหันต์เสนอว่า “มิบังควรให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งประชามติ” ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วประกาศใช้เลย

นี่เป็นหลักการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ที่จริงต้องพูดให้ชัดเลยว่า “พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งประชามติ” เพราะประชามติคือการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นอำนาจสูงสุด สูงกว่าอำนาจรัฐสภาเสียอีก

ฉะนั้นการกำหนดว่าให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง แล้วให้รัฐสภาลงมติยืนยันจึงผิดเพี้ยน เพราะแม้แต่รัฐสภาก็ยังมีอำนาจต่ำกว่าประชามติของประชาชนทั้งประเทศ จะไปยืนยันได้ไง

อันที่จริงถ้า 10 อรหันต์พูดซะให้เคลียร์ แทนที่จะมัวอ้อมแอ้มไปใช้ศัพท์ “มิบังควร” ผู้คนก็คงเข้าใจชัดเจนกว่านี้ แต่อย่างว่า 10 อรหันต์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสำนัก “อ้างพระราชอำนาจ” ก็เลยอ้ำๆ อึ้งๆ หลบๆ เลี่ยงๆ

ยิ่งตอนที่กิตติศักดิ์ ปรกติ แถลงข่าวการประชุมครั้งก่อน 28 มี.ค.ยิ่งเพี้ยนไปใหญ่ (แต่ผมอ้างจากเดลินิวส์ ถ้าข่าวผิดก็ขออภัย)

"ที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการโดยมีข้อยุติร่วมกันว่า เมื่อประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนมาพิจารณาอีก และในข้อเท็จจริงแม้พระมหากษัตริย์อาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วพระมหากษัตริย์ไม่เคยใช้พระราชอำนาจในเรื่องการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญที่มีการลงมติโดยประชาชนแล้ว

"กรรมการที่เสนอเห็นว่าหากให้มีการนำรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 150 และมาตรา 151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตรา พ.ร.บ.มาบังคับใช้ โดยอนุโลมกับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนได้ เช่นถ้าประชาชนลงประชามติแล้วมีการทูลเกล้าฯขึ้นไปและพระมหากษัตริย์ทรงไม่ถวายคืนกลับมา รัฐสภาก็ต้องมาพิจารณาดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วก็จะเกิดปัญหาว่ารัฐสภาจะเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์หรือประชาชน ซึ่งที่ประชุมมองว่าถ้ามีการบัญญัติให้นำมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้กับร่างรับธรรมนูญฉบับใหม่โดยอนุโลมก็อาจทำให้เกิดข้อโต้แย้งโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการบัญญัติเพียงว่าประชาชนหากประชาชนมีประชามติรับร่างประชาชนแล้ว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์แล้วจบเลย"

คำอธิบายนี้พยายามจะบอกว่าทรงมีพระราชอำนาจอยู่แต่ไม่เคยใช้ ผิดครับ พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจยับยั้งประชามติ ไม่สามารถใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เพราะประชามติอยู่เหนือพระราชอำนาจ

สาเหตุที่ไม่มีพระราชอำนาจ ถ้าอธิบายอย่างนุ่มนวลก็อธิบายตามย่อหน้าที่สองนั่นแหละ คุณจะไปบัญญัติให้พระมหากษัตริย์มีความเห็นขัดกับประชาชนเสียงข้างมากได้ไง

ฟังแล้วอย่างง คือผมเห็นด้วยกับ 10 อรหันต์ในข้อสรุป แต่เหตุผลต่างกัน อธิบายเรื่องพระราชอำนาจต่างกัน เพราะ 10 อรหันต์พยายามอธิบายว่ายังอาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ผมว่าไม่ได้

ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องการให้พระมหากษัตริย์พ้นไปจากความขัดแย้ง เป็นที่เคารพ เป็นศูนย์รวมจิตใจ จึงไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์แสดงความเห็น ซึ่งย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย

การลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา ในฐานะองค์ประมุข ไม่ได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์เห็นชอบ ผู้รับผิดชอบคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น

มีแต่ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้พระมหากษัตริย์ใช้สิทธิ Veto ได้ แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญน่าจะเผื่อไว้ว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.นั้นมีผู้คัดค้านมาก ก่อให้เกิดความขัดแย้ง องค์ประมุขก็เป็นที่พึ่งสุดท้าย สมมติเช่นมีผู้ถวายฎีกาขอให้ยับยั้ง จึงทรงยับยั้ง ไม่ใช่เป็นความเห็นของพระองค์แต่อย่างใด

ซึ่งที่ผ่านมาในรัชกาลนี้ ในหลวงก็ไม่เคยยับยั้งด้วยความเห็นส่วนพระองค์ เคยมีแต่ในรัฐบาลไทยรักไทยที่ทรงยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ราชภัฏ เพราะมีปัญหาที่วุฒิสภาตีกลับแล้วสภาผู้แทนยืนร่างเดิม แล้วเป็นร่างที่ทำไม่เรียบร้อย มั่ว เลอะเทอะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายไม่ได้

ในแง่นี้ ที่จริงก็ยังเป็นการใช้ “พระราชอำนาจ” ในแง่ของการกลั่นกรองตรวจสอบกระบวนการ คล้ายๆ กับกรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่ในหลวงไม่ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ ผู้ว่า สตง.คนใหม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่สะเด็ดน้ำว่าคุณหญิงพ้นตำแหน่งหรือไม่แล้ววุฒิสภาไปตั้งคนใหม่

การใช้พระราชอำนาจกลั่นกรองกระบวนการไม่ใช่ความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในแง่นี้แม้รัฐธรรมนูญไม่ให้อำนาจ Veto พระมหากษัตริย์ก็ยับยั้งได้ สมมติเช่น รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา แล้วมีรัฐมนตรีออกมาโวยว่าองค์ประชุมไม่ครบ ก็สามารถยับยั้งไว้ก่อนจนกว่าจะมีการยืนยัน

แต่แม้รัฐธรรมนูญจะเปิดช่องให้พระมหากษัตริย์แสดง “ความเห็น” ได้ในการ Veto พระราชบัญญัติตามมาตรา 151 “พระราชอำนาจ” นั้นก็ยังมีอำนาจน้อยกว่ามติของรัฐสภาอยู่ดี ฉะนั้นถ้าถามว่า ประชามติของประชาชนทั้งประเทศกับมติของ ส.ส. ส.ว. 650 คน อำนาจไหนใหญ่กว่า ก็ ซตพ.ครับ พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

คณะกรรมาธิการควรลบมาตรานี้ทิ้งเสีย เพราะจริงๆ แล้วทั้ง 3 ร่างก๊อปมาจากมาตรา 291(7) ปัจจุบัน ก๊อปโดยไม่ใช้สมอง ว่านั่นมันเป็นการแก้ไขโดยรัฐสภา นี่เป็นการแก้ไขโดยประชามติ

แต่ก็ควรขอบคุณ 10 อรหันต์งามๆ เพราะถ้ากรรมาธิการตัดออกโดยลำพัง แมลงสาบและสลิ่มคงปั้นข้อหา “ล้มล้างพระราชอำนาจ” โยนใส่กันวุ่นวาย นี่ยังดี มี 10 อรหันต์อย่าง อ.สุรพล นิติไกรพจน์ อ.จรัส สุวรรณมาลา อ.นรนิติ เศรษฐบุตร อ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็นเกราะอยู่แล้ว

 

ใบตองแห้ง
10 เม.ย.55
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลยกฟ้อง “บก.ลายจุด” จัดชุมนุม “เปลือยเพื่อชีวิต”กลางดงกระสุน ไม่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 10 Apr 2012 12:30 AM PDT

 

10 เม.ย.55   ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ผู้พิพากษาอ่านคำตัดสินคดีที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด เป็นผู้ต้องหาในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มั่วสุมทางการเมืองเกิน 5 คน กีดขวางทางจราจร และก่อความไม่สงบแก่ประชาชน ในพื้นที่ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจากกรณีที่จัดกิจกรรม “เปลือยเพื่อชีวิต” และเวทีชั่วคราวบริเวณใต้ทางด่วนดินแดง เมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 โดยศาลยกฟ้องคดีนี้

ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจำเลยระบุถึงเหตุผลในคำพิพากษาว่า ศาลเห็นว่าเหตุการณ์ความรุนแรงได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น มีการใช้กระสุนจริงจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก การตั้งเวทีเล็กก็ดำเนินมาก่อนที่นายสมบัติจะมีการจัดกิจกรรม นอกจากนี้กิจกรรมที่นายสมบัติจัดก็เป็นไปโดยสันติ ปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงตามฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่สามารถลิดรอนสิทธิดังกล่าวได้ โดยเฉพาะเมื่อนายสมบัติเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ศึกษาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ย่อมต้องเข้าไปอยู่ในที่ชุมนุมเพื่อสังเกตการณ์อยู่แล้ว  

นายสมบัติ กล่าวว่า วันนี้ได้เตรียมตัวไปฟังคำพิพากษาโดยคาดว่าจะถูกพิพากษาลงโทษโดยให้รอลงอาญา เช่นเดียวกับคดีลักษณะเดียวกันอีกคดีหนึ่งที่ตัดสินไปก่อนหน้านี้ เป็นความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน บริเวณเรียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ จึงรู้สึกค่อนข้างประหลาดใจเมื่อศาลตัดสินยกฟ้อง โดยยืนยันหลักการสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนในการชุมนุม ไม่มีอำนาจใดจะมาลิดรอนความเป็นมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ากิจกรรมดังกล่าวชัดเจนมากว่าไม่ได้ยั่วยุความรุนแรงและทำให้ประชาชนสงบลงด้วยซ้ำ ศาลจึงยกฟ้อง โดยคาดว่าคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญ

เมื่อถามว่าคิดอย่างไรกับคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ก่อนหน้านี้ประชาชนจำนวนมากถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาหลายเดือน สมบัติกล่าวว่า คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นคดีทางการเมือง และต้องยอมรับว่ามีการพิจารณาจากบรรยากาศทางการเมือง เกี่ยวพันกับสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วงหลังเกิดเหตุใหม่มันถูกใช้อย่างเกินเลยมากเพราะต้องการให้เกิดความเข็ดหลาบเพื่อหยุดสถานการณ์  แค่เพียงคนไปส่งข้าวส่งน้ำในม็อบก็ถูกตัดสินลงโทษจำคุกแล้ว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

10 เมษา 53: นิทรรศการรถถัง จุดเปลี่ยนสู่ความรุนแรง

Posted: 09 Apr 2012 10:51 PM PDT

ในวาระครบรอบ 2 ปี เหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 หลายคนอาจจำมันได้เพียงเลือนรางหลังสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย เหตุการณ์นั้นเป็นหมุดหมายสำคัญในแง่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสูญเสีย ด้วยความพยายาม “ขอคืนพื้นที่”ของรัฐบาลในขณะนั้น และจบด้วยความตายของพลเรือน 20 ชีวิต ทหาร 5 ชีวิต มีผู้บาดเจ็บรวม 863 คน ก่อนสถานการณ์จะค่อยๆ ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตร่วมร้อยคนในเดือนถัดมาของปีเดียวกัน ท่ามกลางเรื่องเล่าเกี่ยวกับ “ชายชุดดำ” ที่สร้างความกังขาและสร้างความชอบธรรมทำให้เรื่องราวทั้งหมดกลายเป็นสีเทา

สีเทา เหมือนหมอกควันที่ค่อยๆ จางหายไปกับสายลม โดยไม่มีใครได้อะไรจากความสูญเสียดังกล่าว แม้แต่บทเรียนที่จะไม่กลับไปสู่จุดเดิม

 

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก we watch

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น