โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

“คดีรุกที่ป่า” สวนป่าโคกยาว ศาลสั่งจำคุกชาวบ้าน 4 เดือน ไม่รอลงอาญา

Posted: 13 Jun 2012 12:23 PM PDT

ปมขัดแย้งสวนป่าโคกยาว ศาลจังหวัดภูเขียวตัดสิน 2 พ่อลูก รุกเขตป่าสงวนฯ ภูซำผักหนาม ให้จำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญาตั้งวงเงินประกันไว้ 200,000 บาทต่อคน ชาวบ้านระดมเงินช่วยแต่ไม่พอจ่าย ประกันได้แค่ลูกชายที่พิการทางสมอง

 
 
 
วันนี้ 13 มิ.ย.55 ที่ศาลจังหวัดภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว ให้จำเลยคือนายทอง กุลหงส์ และนายสมปอง กุลหงส์ สองพ่อลูกชาวบ้าน ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) มีความผิดข้อหาบุกรุก แผ้วถาง ก่นสร้าง และทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ.ชัยภูมิ โดยไม่ได้รับอนุญาต ลงโทษจำคุก 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีดังกล่าวศาลได้ตั้งวงเงินประกันไว้ 200,000 บาทต่อคน ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่พยายามรวบรวมเงินประกันตัวจำเลยทั้ง 2 คน แต่ไม่เพียงพอ จึงต้องเลือกประกันตัวนายสมปองออกมาก่อนเนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงและมีปัญหาพิการทางสมอง ส่วนนายทองผู้เป็นพ่อต้องถูกจำคุก อย่างไรก็ตามมีการหารือกันว่าจะพยายามหาหลักทรัพย์มาประกันนายทองต่อไป
 
นายศรายุทธ ฤทธิพิณ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) กล่าวว่า การกำหนดหลักทรัพย์ประกันตัวในคดีนี้เป็นจำนวนเงินที่สูงมาก จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นชาวบ้านคนจนธรรมดา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และหาเก็บเห็ด หน่อไม้ เพื่อยังชีพไปวันๆ ไม่สามารถจ่ายได้ ส่วนเงินที่ชาวบ้านช่วยเหลือรวบรวมกันมาได้ก็ไม่พอจ่าย ผู้เป็นพ่อคือนายทองจึงจำต้องเสียสละนอนอยู่ในคุก เพื่อให้ลูกชายได้รับประกันตัวออกมา 
 
อนึ่ง คดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 ก.ค.54 นายประทีป ศิลปะเทศ นายอำเภอคอนสารร่วมกับเจ้าหน้าฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และ อส.จำนวนกว่า 200 นาย สนธิกำลังเข้าปิดล้อมพื้นที่บริเวณพิพาทสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และควบคุมตัวชาวบ้านจำนวน 10 คน ไปที่สถานีตำรวจภูธรห้วยยาง เพื่อสอบปากคำและแจ้งข้อหาบุกรุก แผ้วถาง ก่นสร้าง และทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่สำนักงานอัยการจังหวัดภูเขียว ต่อมามีการสั่งฟ้องชาวบ้านทั้ง 10 รายโดยจำแนกเป็น 4 คดี
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 พ.ค.55 นายคำบาง ทองทุย และนางสำเนียง ทองทุย สองสามี-ภรรยา จำเลย 1 ใน 4 คดี ได้ถูกตัดสินจำคุก 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา พร้อมให้ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติฯ หลังจากนั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้รวบรวมเงินที่ได้จากการจำนองที่ดินมาประกันตัวจำเลยทั้ง 2 คน คนละ 100,000 บาท เพื่อออกมาสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกันนี้ ยังมีชาวบ้านอีก 6 คน ใน 2 คดี ที่อยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษา
 
ทั้งนี้ พื้นที่สวนป่าโคกยาวเป็นพื้นที่พิพาทและมีกระบวนการแก้ไขปัญหามายาวนาน ซึ่งชาวบ้านพยามยามต่อสู้โดยยืนยันว่าอยู่มาก่อนการประกาศเขตป่าสงวน โดยป่าโคกยาวถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม เมื่อปี 2516 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.9 แสนไร่ และมีโครงการปลูกสวนป่ายูคาลิปตัสทดแทนพื้นที่สัมปทาน เมื่อปี 2528 ก่อนที่จะมีมติ ครม.ปี 2553 เห็นชอบให้ชาวบ้านเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่สวนป่ายูคาลิปตัสได้โดยไม่มีการข่มขู่ กักขัง ดำเนินคดีในระหว่างการแก้ไขปัญหา
 
นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ.2548 คณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ที่มีนายธนโชติ ศรีกุล ปลัดอาวุโสอำเภอคอนสารเป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถือครองทำประโยชน์ที่ดิน และการสำรวจรังวัดพื้นที่ กระทั่งมีมติว่าสวนป่าโคกยาวได้สร้างผลกระทบต่อชาวบ้านที่ถูกอพยพ ขับไล่ออกจากพื้นที่จริง และให้ดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อน
 
ต่อมาคณะอนุกรรมการสิทธิที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีรายงานผลการละเมิดสิทธิ โดยมีมติว่าการปลูกสร้างสวนป่าโคกยาวได้ละเมิดสิทธิในที่ดินของผู้ร้อง และให้ยกเลิกสวนป่าโคกยาว ทั้งนี้ ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ ให้ราชการผ่อนผันให้ราษฎรผู้เดือดร้อน สามารถทำกินในระหว่างร่อง แถวของสวนป่าไปพลางก่อน จากนั้น นายก อบต.ทุ่งลุยลาย ได้มีหนังสือไปยังผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 นครราชสีมา เพื่อขอให้ราษฎรผู้เดือดร้อนสามารถเข้าทำประโยชน์ที่ดินในพื้นที่พิพาท โดยทำกินในระหว่างร่องระหว่างแถวของสวนป่า จนกว่าการแก้ไขปัญหาจะได้ข้อยุติ
 
อีกทั้ง เมื่อวันที่ 18 เม.ย.54 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทกรณีพื้นที่ป่าไม้ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทพื้นที่ป่าไม้ ทั้งสิ้น 9 กรณี โดยมีกรณีสวนป่าโคกยาวรวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันการดำเนินการแก้ไขปัญหายังไม่มีความคืบหน้า
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูโร 2012: องค์กรเกย์โวยกองหน้าอิตาลีเหยียดเกย์ … และย้อนไปดูเรื่องนี้ในวงการฟุตบอล

Posted: 13 Jun 2012 11:15 AM PDT

Antonio Cassano กองหน้าทีมชาติอิตาลีถูกตักเตือน หลังออกมาให้สัมภาษณ์ทำนองเหยียดเกย์ ในกรณีข่าวลือที่ว่าผู้เล่นทีมชาติอิตาลีชุดลุยศึกยูโร 2012 เป็นเกย์ 2 คน และเป็นเมโทรเซ็กชวล (Metrosexual) อีก 2 คน และย้อนไปดูเรื่องเกี่ยวกับเกย์ในวงการฟุตบอล


Antonio Cassano (ที่มาภาพ: greenobles.com)

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 55 ที่ผ่านมาสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า Fabrizio Marrazzo โฆษกของกลุ่ม Gay Centre ซึ่งเป็นกลุ่มปกป้องสิทธิเกย์ ได้ออกมาตำหนิ Antonio Cassano กองหน้าทีมชาติอิตาลี ที่ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อก่อนหน้านี้ด้วยท่าทีที่เย้ยหยันกลุ่มเกย์ ในกรณีข่าวลือที่ว่าผู้เล่นทีมชาติอิตาลีชุดลุยศึกยูโร 2012 เป็นเกย์ 2 คน และเป็นเมโทรเซ็กชวล (Metrosexual) อีก 2 คน

โดยในการให้สัมภาษณ์กับสื่อที่เป็นปัญหาของ Cassano ระบุว่าเขาคาดหวังว่าจะไม่มีเกย์ในทีมชาติจะดีกว่า

Marrazzo กล่าวว่า Cassano ได้พูดถึงเกย์ด้วยทัศนคติที่โง่เขลา แสดงให้เห็นว่าเขาดูหยิ่งยโสและไร้ความรับผิดชอบ โดย Marrazzo ระบุเสริมว่ากีฬาต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกันและการเหยียดเพศเป็นการส่งสารที่อันตรายต่อเยาวชน

"Cassano แสดงให้เห็นถึงไร้ซึ่งความเคารพ ไม่ใช่แค่จากทัศนคติในด้านกีฬาเท่านั้น แต่จากความเป็นมนุษย์ด้วย , มีผู้คนมากมายที่ติดตามดูเขา และมองว่าเขาเป็นนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่”

“อย่างน้อยเขาก็สมควรได้รับการตักเตือน ถ้าหากไม่โดนเชิญออกจากการแข่งขันครั้งนี้"  --- Marrazzo ระบุ

แต่ทั้งนี้ Marrazzo กลับชื่นชม Cesare Prandelli โค้ชทีมชาติอิตาลีชุดนี้ที่มีทัศนะคติต่อเกย์แตกต่างจาก Cassano โดยกลุ่มปกป้องสิทธิเกย์ในอิตาลีมองว่าเรื่องความแตกต่างนี้ปัญหาในวงการฟุตบอล และมีดำริที่จะจัดตั้งศูนย์รับบริการปรึกษา Gay Help Line เพื่อต่อต้านการเหยียดเพศ

เกย์กับฟุตบอล

เมื่อปีที่แล้ว (2011) Manuel Neuer ผู้รักษาประตูทีมชาติเยอรมันได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Bunte เรียกร้องให้ผู้เล่นที่เป็นเกย์ในวงการฟุตบอลเปิดตัวมากกว่าเดิมเพื่อลดความกดดันส่วนตัว และเขามั่นใจว่าแฟนบอลจะสนใจที่ฝีเท้าในการเล่นมากกว่ารสนิยมทางเพศของผู้เล่น


Manuel Neuer (ที่มาภาพ: wikipedia.org)

ทั้งนี้ Neuer เป็นผู้เล่นคนสำคัญในเยอรมันที่ออกมารณรงค์เรื่องเสรีภาพทางเพศในสนามฟุตบอล หลังจากที่มีผู้เล่นในเยอรมันบางรายออกมายอมรับว่ารู้สึกมีความอึดอัดที่ต้องปกปิดเรื่องรสนิยมทางเพศ

เช่นเดียวกันเมื่อปีที่แล้วที่อังกฤษกองกลางเลือดร้อนอย่าง Joey Barton ของสโมสร QPR ออกมายอมรับว่าเขามีญาติรายหนึ่งที่เป็นเกย์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อเขาที่ทำให้ต้องออกมาสนับสนุนนักเตะที่เป็นเกย์


Joey Barton (ที่มาภาพ: wikipedia.org)

Barton ให้สัมภาษณ์กับรายการสารคดีเกี่ยวกับนักฟุตบอลเกย์ในอังกฤษของ BBC ว่ามันเป็นประเด็นที่ใกล้ตัวของเขามากเพราะน้องชายคนเล็กของพ่อเขาเป็นเกย์ และต้องปกปิดมาโดยตลอด เพราะกลัวที่จะถูกไม่ยอมรับจากคนรอบข้าง โดยครอบครัวของเขานั้นเป็นชนชั้นแรงงาน

นอกจากนี้เขาให้ความเห็นว่าการที่นักฟุตบอลไม่กล้าเปิดตัวว่าเป็นเกย์นั้นก็เพราะเป็นทัศนคติหัวโบราณของผู้จัดการทีมแต่ละทีม รวมถึงผู้มีอิทธิพลในวงการลูกหนังบางคนที่ต้องการรักษาความอนุรักษ์นิยมของเกมกีฬานี้ไว้

และ Barton ยังหวังไว้ว่านักเตะรุ่นต่อๆ ไปจะสามารถทำลายทัศนะคติเก่าๆ เหล่านี้ได้ ซึ่งมันจะช่วยเปลี่ยนความเชื่อทั้งในระดับสโมสรและวงการฟุตบอล โดยเขาคาดหมายว่าอีก 10 ปีจะมีนักเตะเปิดเผยรสนิยมทางเพศของตนมากกว่านี้

ทั้งนี้ในสารคดี Britain’s Gay Footballers ของ BBC เป็นการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเกย์ในวงการฟุตบอล ซึ่งนักหนังสือพิมพ์ผู้คลุกคลีในวงการฟุตบอลอย่าง Max Clifford ให้ความเห็นว่าว่านักฟุตบอลที่เป็นเกย์รู้ตัวดีว่าหากออกมาเปิดเผยเรื่องรสนิยมทางเพศ พวกเขาก็จะจบอาชีพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น


Justin Fashanu (ที่มาภาพ: wikipedia.org)

ตัวอย่างที่ขมขื่นก็เช่น Justin Fashanu นักฟุตบอลจอมพเนจรชาวอังกฤษ ที่ค้าแข้งอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1978-1997 เขาเป็นนักเตะผิวดำคนแรกของอังกฤษที่มีค่าตัวการย้ายทีมถึง 1 ล้านปอนด์ (ย้ายจาก Norwich City สู่ Nottingham Forest ในปี ค.ศ.1981) และยังเป็นนักเตะอังกฤษคนแรกที่เปิดเผยว่าตนเองเป็นเกย์ในปี 1990

หลังจากเลิกเล่นเขาได้ย้ายไปอยู่ยังสหรัฐอเมริกา และได้ช็อกวงการอีกครั้งโดยการแขวนคอตายเมื่อปี 1998 หลังจากถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศเด็กหนุ่มวัย 17 ปี

John Fashanu น้องชายของ Justin Fashanu กล่าวไว้ในสารคดีของ BBC ก็ออกมายอมรับผิดว่าเขาและเพื่อนร่วมทีม (น่าจะเป็นช่วงตอนค้าแข้งอยู่ที่ Norwich City) รู้สึกไม่ค่อยสบายใจในขณะที่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องแต่งตัวต่อหน้า Justin

John กล่าวว่า "เราทุกคนล้วนเห็นแก่ตัวรวมทั้ง Justin ด้วย จากการที่เขาออกมาป่าวประกาศโดยที่ไม่ได้สนใจว่าคนอื่นเลยว่าคุณเป็นเกย์ในช่วงเวลาที่เรื่องนี้ยังไม่ได้ยอมรับในสังคม" "เราร้องไห้เพื่อ Justin มามากพอแล้วตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา"

ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้มีการหารือร่วมเรื่องการกำจัดการแบ่งแยกทุกรูปแบบในเกมฟุตบอล ซึ่ง Jeremy Hunt รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมระบุว่าฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมีการเหยียดเพศสูงอยู่ ทำให้นักเตะกว่า 563 คนไม่มีใครกล้าออกมาเปิดเผยรสนิยมทางเพศว่าเป็นเกย์สักรายเพราะไม่อยากจะถูกคุกคาม

สมาคมฟุตบอลอังกฤษรับลูกมาจากรัฐบาลโดยกำหนดระยะเวลาเพื่อหาทางป้องกันการแบ่งแยกในเกมฟุตบอล เช่นการ เหยียดผิว, เหยียดเพศ ฯลฯ โดยการหารือครั้งนี้มีนายกรัฐมนตรี David Cameron เข้าร่วมประชุมด้วย

 

ประกอบการเขียน:

Activists angry over Cassano gay comments (indiatimes.com, 13-6-2012)
Italy forward Cassano says he hopes there are no gay players on team (theglobeandmail.com, 12-6-2012)
Euro 2012: Antonio Cassano 'hopes' there are no gay players in Italy squad (guardian.co.uk, 12-6-2012)
SERIE A GREATS HAVE SPLIT OPINIONS ON FOOTBALLERS ‘COMING OUT’ (forzaitalianfootball.com, 4-5-2012)
Gay football stars should come out and set an example to rest of society, says minister (dailymail.co.uk, 22-2-2012)
British football is ‘anti-gay’ (thesun.co.uk, 23-3-2012)
Joey Barton: We must accept openly gay footie stars Premier League hard man tells of uncle’s secret (thesun.co.uk, 30-1-2012)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี: การทำงานของสื่อกรณี ข่าวกลายเป็น Sexstory!!!

Posted: 13 Jun 2012 10:56 AM PDT

สองสามวันก่อน สมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คได้แชร์เวบลิงค์ข่าวจากเวบ siamzone พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงขบขันกันอย่างหนัก ข่าวนั้นเป็นข่าวอาชญากรรมว่าด้วยสาวประเภทสองสองคนถูกข่มขืนและทำร้ายร่างกาย ก่อนจะถูกชิงทรัพย์หนีโดยกรรมกรหนุ่มสองคน

ข่าวนี้จะไม่เป็นที่สนใจในวงกว้างเลยแม้แต่น้อยหากลีลาในการเขียนเนื้อหาข่าวไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาอีโรติคขนาดนี้ รายละเอียดข่าวอธิบายเหตุการณ์อย่างชัดเจนเช่น “สังเกต บริเวณเป้าของชายทั้งสอง นูนสวดออกมาเห็นลำอวัยเพศชายที่พองใหญ่ยาว นูนออกมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะความกำหนัด” และ “แถมโชว์อวัยเพศหัวถอกบานเห็นเส้นเลือดปูดโปนอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นชายทั้งสองก็หันมายิ้มไส่ตน แต่ตนก็ไม่ได้คิดเอะใจอะไร จนกระทั่งผู้ก่อเหตุ ได้ช่วยกันจับล็อคตน ไซร้คอ และดูดนมตน อย่างหื่นกระหาย” (อ่านข่าวเต็ม ๆ ได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U12227386/U12227386.html เนื่องจากลิงค์เวบเดิมได้ถูกลบไปแล้ว)
พูดจริง ๆ ว่าไม่ต้องจินตนาการตามก็เห็นภาพว่าเกิดอะไรขึ้น กลายเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีความจำเป็นขนาดไหนที่ต้องลงข่าวกันละเอียดขนาดนี้

ปกติข่าวอาชญากรรมที่ถูกรายงานโดยมากเป็นการรายงานข่าวจากนักข่าวส่วนภูมิภาคที่ประจำอยู่ ณ จังหวัดหรือเขตนั้น ๆ มีทั้งเป็นฟรีแลนซ์และนักข่าวประจำ หน้าที่ก็คือหาข่าวภูมิภาคแล้วขายข่าวให้กับทางหนังสือพิมพ์อีกที

การทำข่าวอาชญากรรมมีความลำบากอย่างหนึ่งคือเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง เว้นแต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องเช่น มีการลักทรัพย์ปล้นบ้านในเขตชุมชนนี้อยู่บ่อย ๆ นักข่าวก็อาจจะพอคาดการณ์ได้ว่าชุมชนนี้อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้อีก เมื่อไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุอาชญากรรมรายวันจะเกิดที่ไหน วิธีการง่าย ๆ เพื่อจะได้ข่าวคือไปอยู่โรงพัก

จะมีที่ไหนที่อุดมไปด้วยข่าวอาชญากรรมกว่าสถานีตำรวจ ใครมีเรื่องก็ต้องมาแจ้งความ พี่ ๆ นักข่าวเมื่ออยู่แถวนั้นก็ได้ข่าวไปในตัว และโดยมากตัวนักข่าวเองก็ไม่ได้เขียนข่าวเองด้วยซ้ำ อาศัยตีซี้ร้อยเวรพนักงานสอบสวนแล้วคัดลอกบันทึกสำนวนมาลงข่าว ไม่เสียเวลาแถมยังได้เนื้อความครบถ้วน

จากกรณีข่าวกะเทยสองสาว ผมเดาเอาว่าตอนที่เธอให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้น แม้พึ่งผ่านเหตุการณ์ร้ายมา แต่จริตในการเล่าเรื่องคงฝังลึกแล้ว ดังนั้นเธอจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นต่อพนักงานสอบสวนอย่างละเอียด พร้อมกับใส่สีสันให้พอมีอรรถรสเพื่อเรียกคะแนนสงสาร พนักงานสอบสวนจึงบันทึกไปตามเรื่องที่เธอทั้งสองกล่าวพร้อมปรับแต่งภาษาให้เป็นทางการเสียนิด เราจึงได้เห็นประโยคอธิบายความชัดเจนเช่น ‘ชายฉกรรจ์ หน้าตาแบบชายไทยแท้ หุ่นล่ำ’ และ ‘เส้นเลือดปูดโปนอย่างเห็นได้ชัด’ คาดว่าประโยคนี้คงสามารถทำให้สืบหาตัวผู้ต้องสงสัยได้เร็วขึ้น

คาดว่าพี่นักข่าวของเราก็ทำตามหน้าที่ โดยการคัดลอกมาโดยทันทีมิได้ปรับแต่งให้ดูเหมาะสม คือการเสนอข่าวต้องเป็นการให้ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปในการรายงานข่าว ข่าวที่ดีไม่ควรอุดมด้วยความเมโลดราม่า ดังนั้นการเลือกใช้คำที่แสดงให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกโดยเฉพาะคำที่อ่านแล้วนำไปสู่อคติบางอย่างไม่ว่ากับฝ่ายใดควรเลี่ยงและปรับให้เหมาะสม

ดังนั้นจากข่าวนี้น่าสนใจที่จะตั้งคำถามต่อการทำงานแบบรายวันของทั้งตัวนักข่าวเองในการกลั่นกรองข่าวเบื้องต้นว่าข่าวแบบไหนควรถูกนำเสนอหรือไม่ รวมถึงการใช้ภาษาในข่าวให้เป็นไปตามหลักการเขียนข่าว มิใช่อาศัยสะดวกพึ่งพาจากบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนทั้งดุ้น นอกจากนั้นตัวบรรณาธิการข่าวเองที่เป็นกรองอีกชั้นอาจปล่อยละเลยไม่พิจารณาอย่างละเอียดด้วยถือเป็นเพียงแค่ข่าวอาชญากรรมภูมิภาคที่ความสำคัญไม่มากนัก

ข่าวชิ้นนี้คงเป็นความขำขันระหว่างวันของคนอ่าน แต่สำหรับคนหนังสือพิมพ์แล้ว สิ่งนี้สะท้อนการทำงานของสื่อที่ทำงาน routine ที่ไม่ควรปล่อยผ่านให้เกิดอีกขึ้นอีก
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี: การทำงานของสื่อกรณี ข่าวกลายเป็น Sexstory!!!

Posted: 13 Jun 2012 10:31 AM PDT

สองสามวันก่อน สมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คได้แชร์เวบลิงค์ข่าวจากเวบ siamzone ที่อ้างว่าได้มาจากมติชน พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงขบขันกันอย่างหนัก ข่าวนั้นเป็นข่าวอาชญากรรมว่าด้วยสาวประเภทสองสองคนถูกข่มขืนและทำร้ายร่างกาย ก่อนจะถูกชิงทรัพย์หนีโดยกรรมกรหนุ่มสองคน

ข่าวนี้จะไม่เป็นที่สนใจในวงกว้างเลยแม้แต่น้อยหากลีลาในการเขียนเนื้อหาข่าวไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาอีโรติคขนาดนี้ รายละเอียดข่าวอธิบายเหตุการณ์อย่างชัดเจนเช่น “สังเกต บริเวณเป้าของชายทั้งสอง นูนสวดออกมาเห็นลำอวัยเพศชายที่พองใหญ่ยาว นูนออกมาอย่างเห็นได้ชัด เพราะความกำหนัด” และ “แถมโชว์อวัยเพศหัวถอกบานเห็นเส้นเลือดปูดโปนอย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นชายทั้งสองก็หันมายิ้มไส่ตน แต่ตนก็ไม่ได้คิดเอะใจอะไร จนกระทั่งผู้ก่อเหตุ ได้ช่วยกันจับล็อคตน ไซร้คอ และดูดนมตน อย่างหื่นกระหาย”(อ่านข่าวเต็ม ๆ ได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U12227386/U12227386.html เนื่องจากลิงค์เวบเดิมได้ถูกลบไปแล้ว)
พูดจริง ๆ ว่าไม่ต้องจินตนาการตามก็เห็นภาพว่าเกิดอะไรขึ้นกลายเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีความจำเป็นขนาดไหนที่ต้องลงข่าวกันละเอียดขนาดนี้

ปกติข่าวอาชญากรรมที่ถูกรายงานโดยมากเป็นการรายงานข่าวจากนักข่าวส่วนภูมิภาคที่ประจำอยู่ ณ จังหวัดหรือเขตนั้น ๆ มีทั้งเป็นฟรีแลนซ์และนักข่าวประจำ หน้าที่ก็คือหาข่าวภูมิภาคแล้วขายข่าวให้กับทางหนังสือพิมพ์อีกที

การทำข่าวอาชญากรรมมีความลำบากอย่างหนึ่งคือเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง เว้นแต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องเช่น มีการลักทรัพย์ปล้นบ้านในเขตชุมชนนี้อยู่บ่อย ๆ นักข่าวก็อาจจะพอคาดการณ์ได้ว่าชุมชนนี้อาจเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยได้อีก เมื่อไม่สามารถรู้ได้ว่าเหตุอาชญากรรมรายวันจะเกิดที่ไหน วิธีการง่าย ๆ เพื่อจะได้ข่าวคือไปอยู่โรงพัก

จะมีที่ไหนที่อุดมไปด้วยข่าวอาชญากรรมกว่าสถานีตำรวจ ใครมีเรื่องก็ต้องมาแจ้งความ พี่ ๆ นักข่าวเมื่ออยู่แถวนั้นก็ได้ข่าวไปในตัว และโดยมากตัวนักข่าวเองก็ไม่ได้เขียนข่าวเองด้วยซ้ำ อาศัยตีซี้ร้อยเวรพนักงานสอบสวนแล้วคัดลอกบันทึกสำนวนมาลงข่าว ไม่เสียเวลาแถมยังได้เนื้อความครบถ้วน

จากกรณีข่าวกะเทยสองสาว ผมเดาเอาว่าตอนที่เธอให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้น แม้พึ่งผ่านเหตุการณ์ร้ายมา แต่จริตในการเล่าเรื่องคงฝังลึกแล้ว ดังนั้นเธอจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นต่อพนักงานสอบสวนอย่างละเอียด พร้อมกับใส่สีสันให้พอมีอรรถรสเพื่อเรียกคะแนนสงสาร พนักงานสอบสวนจึงบันทึกไปตามเรื่องที่เธอทั้งสองกล่าวพร้อมปรับแต่งภาษาให้เป็นทางการเสียนิด เราจึงได้เห็นประโยคอธิบายความชัดเจนเช่น ‘ชายฉกรรจ์ หน้าตาแบบชายไทยแท้ หุ่นล่ำ’ และ ‘เส้นเลือดปูดโปนอย่างเห็นได้ชัด’ คาดว่าประโยคนี้คงสามารถทำให้สืบหาตัวผู้ต้องสงสัยได้เร็วขึ้น

คาดว่าพี่นักข่าวของเราก็ทำตามหน้าที่ โดยการคัดลอกมาโดยทันทีมิได้ปรับแต่งให้ดูเหมาะสม คือการเสนอข่าวต้องเป็นการให้ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไปในการรายงานข่าว ข่าวที่ดีไม่ควรอุดมด้วยความเมโลดราม่า ดังนั้นการเลือกใช้คำที่แสดงให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกโดยเฉพาะคำที่อ่านแล้วนำไปสู่อคติบางอย่างไม่ว่ากับฝ่ายใดควรเลี่ยงและปรับให้เหมาะสม

ดังนั้นจากข่าวนี้น่าสนใจที่จะตั้งคำถามต่อการทำงานแบบรายวันของทั้งตัวนักข่าวเองในการกลั่นกรองข่าวเบื้องต้นว่าข่าวแบบไหนควรถูกนำเสนอหรือไม่ รวมถึงการใช้ภาษาในข่าวให้เป็นไปตามหลักการเขียนข่าว มิใช่อาศัยสะดวกพึ่งพาจากบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนทั้งดุ้น นอกจากนั้นตัวบรรณาธิการข่าวเองที่เป็นกรองอีกชั้นอาจปล่อยละเลยไม่พิจารณาอย่างละเอียดด้วยถือเป็นเพียงแค่ข่าวอาชญากรรมภูมิภาคที่ความสำคัญไม่มากนัก

ข่าวชิ้นนี้คงเป็นความขำขันระหว่างวันของคนอ่าน แต่สำหรับคนหนังสือพิมพ์แล้ว สิ่งนี้สะท้อนการทำงานของสื่อที่ทำงาน routine ที่ไม่ควรปล่อยผ่านให้เกิดอีกขึ้นอีก
 

รำลึก 21 ปี 'ทนง โพธิ์อ่าน' และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของผู้ใช้แรงงาน

Posted: 13 Jun 2012 09:56 AM PDT

“ทนง โพธิ์อ่าน” อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย หายสาบสูญไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้น “ทนง โพธิ์อ่าน” เป็นผู้นำระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

การหายตัวไปของ “ทนง โพธิ์อ่าน” จึงมีเงื่อนงำและเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ณ ปัจจุบัน เวลาผ่านไป 21 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลชุดใดสามารถให้คำตอบต่อการสูญหายของ”ทนง โพธิ์อ่าน”

ในโอกาสรำลึกถึง “ทนง โพธิ์อ่าน” ในฐานะผู้นำแรงงานที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ผู้เขียนจึงขอเสนอบทความนี้เพื่อเปิดประเด็นปัญหาประชาธิปไตยในสังคมไทยและบทบาทของขบวนการแรงงานที่ควรจะเป็นในอนาคตและเพื่อสืบทอดจิตวิญญาณประชาธิปไตยของ “ทนง โพธิ์อ่าน”

ปัญหาประชาธิปไตยในสังคมไทย
ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราช” เป็น”ระบอบประชาธิปไตย” ที่มีพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง หรือระบอบรัฐสภา ได้เคยเขียนบทความเรื่อง “ประชาธิปไตย” เบื้องต้นสำหรับสามัญชน และได้ให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้

คำว่า “ประชาธิปไตย” ประกอบด้วยคำว่า “ประชา” หมายถึงหมู่คนคือปวงชน กับคำว่า ”อธิปไตย” หมายถึงความเป็นใหญ่คำว่า “ประชาธิปไตย” จึงหมายถึง “ความเป็นใหญ่ของปวงชน” และราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็นที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน” อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่ มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น “สามัญชน” ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

ทำนองเดียวกัน วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยสัมภาษณ์จุลนิติ โดยกล่าวถึง คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึงการปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบการปกครอง (Regime of Government) เราคงทราบว่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น ได้ผ่านรูปแบบการปกครองมาแล้วหลายรูปแบบด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นประเด็นที่นับว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุด คือ “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยควรเป็นของใครหรือควรอยู่ที่ใคร” ซึ่งในที่สุดแล้วพัฒนาการของแนวความคิดทางด้านการเมืองโดยเฉพาะในยุคสมัย ใหม่เป็นต้นมา ได้ให้การยอมรับและถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ “ควรเป็นของประชาชน”

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักการพื้นฐานหรือหัวใจที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาและคำนึงถึงคือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้นเป็นของใคร ฉะนั้น ถ้าหากว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระเจ้าหรือผู้แทนของพระเจ้า บนพื้นพิภพ หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นของนักวิชาการหรือนักปราชญ์แล้ว การปกครองในรูปแบบนั้นไม่ถือว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต้องเป็นของประชาชน หลักการนี้คือหลักการพื้นฐานอันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญหรือนิยามที่สั้นที่ สุดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ให้พิจารณาในแง่ของตัวผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศว่า เป็นใคร อย่างไรก็ตามการแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นไปได้ในหลายลักษณะ ดังนั้นการใช้อำนาจสูงสุดจึงอาจมีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปได้ เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การให้องค์กรของรัฐที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ธเนศวร์ เจริญเมือง ได้เขียนหนังสือทางเดินของประชาธิปไตย และสรุปหลักการประชาธิปไตยว่าด้วยอำนาจและการปกครอง ที่สำคัญ คือ 1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (People’s sovereignty) หมายความว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆของประเทศ ไม่มีผู้ใดมีอำนาจเหนือกว่าประชาชน หรือยิ่งใหญ่ไปกว่าประชาชน เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นหมายความว่า ระบอบการเมืองการปกครองเป็นของประชาชน ประชาชนปกครองตนเอง (Self government) แบบโดยตรง (direct rule) หรือโดยผ่านระบบผู้แทน และไม่ว่าระบอบการเมืองการปกครองจะเป็นแบบใด หรือเปลี่ยนไปอย่างไร ล้วนต้องได้รับการยินยอมจากประชาชน (Consent by the governed)

2.หลักการสิทธิมนุษยชน (Human Rights) คนเราทุกคนเกิดมาควรมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัวที่ควรได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าด้วยสามัญสำนึกหรือด้วยเหตุผลใดๆ ทั้งนี้ การปฏิบัติใดๆต่อสมาชิกในสังคมก็ควรอยู่บนหลักการนี้ อย่างน้อยก็ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้องร่วมชาติและร่วมโลก นี่คือคำประกาศในข้อที่ 1 ของปฏิญญาสากลของสห ประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UNHR) และนี่คือหลักการหนึ่งที่สำคัญของสังคมประชาธิปไตย

3 .หลักการสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน (Political rights and freedom) ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง ได้แก่ มีสิทธิที่จะลงคะแนนเลือกตั้ง สิทธิที่จะดำเนินการใดๆตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆกำหนดไว้ เช่น การตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร การถอดถอนผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ฯลฯ มีเสรีภาพในการพูด การชุมนุม การนับถือศาสนาหรือมีความเชื่อ การจัดตั้งกลุ่มหรือสมาคม และการเคลื่อนไหวใดๆทางการเมือง และที่สำคัญ มีเสรีภาพที่จะไม่ตกอยู่ในระบบการเมืองการปกครองตลอดกฎข้อบังคับใดๆที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

4 .หลักการความเสมอภาคทางการเมือง (Political equality) หมายถึงสิทธิ และเสรีภาพทางการเมืองของสมาชิกทุกคนในสังคมที่มีเท่าเทียมกัน, อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน, ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน, ไม่มีระบบอภิสิทธิ์ ไม่มีอภิสิทธิชน และไม่มีระบบสองมาตรฐานในสังคม

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังหาได้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ตามความหมายข้างต้น ซึ่ง ปิยะบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบทความถึง ปัญหาประชาธิปไตยแบบไทยๆ คือ 1. ประชาธิปไตยที่องคมนตรีมีอำนาจแทรกแซงการเมือง 2. ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นได้เพียง ข้าแผ่นดิน ไม่ใช่ พลเมือง 3. ประชาธิปไตยที่เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวบ่งชี้ประชาธิปไตย 4. ประชาธิปไตยที่มีกองทัพเป็นผู้อนุบาล 5. ประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด

ดังนั้น สังคมไทยยังห่างไกลจากความหมายของ “ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยผู้รักประชาธิปไตยทุกสาขาอาชีพทุกกลุ่มชั้นชน ต้องรวมมือกันผลักดันให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อให้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนโดยแท้จริง   

สิทธิการเลือกตั้งในสถานประกอบการของผู้ใช้แรงงาน
การเลือกตั้ง เป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงแค่การเลือกตั้ง และในสังคมไทยบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ล้วนเป็นพลเมืองที่มีสิทธิการเลือกตั้งผู้แทนทั้งระดับท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ตาม ภายใต้การพัฒนาทุนนิยมอุตสาหกรรม ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมากสู่พื้นที่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม และแรงงานส่วนใหญ่ปักหลักใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ทำงานไม่ได้กลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และจากสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงานแรงงานราคาถูก ผู้ใช้แรงงานก็ไม่ได้มีบ้านของตนเอง จึงไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่ทำงาน จึงเป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานไม่มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนทั้งระดับท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ที่ตนเองทำงานและใช้ชีวิตอยู่ จึงไม่มีอำนาจต่อรองหรือเสนอปัญหาและนโยบายต่างๆของแรงงาน ให้ผู้แทนทั้งระดับท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อประชาธิปไตย ในอนาคต จึงต้องผลักดันให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิการเลือกตั้ง ผู้แทนทั้งระดับท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสถานที่ประกอบการ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้ใช้แรงงานในการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย 

สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานอย่างเสรี
สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของประชาชนสาขาอาชีพ เป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าการรวมกลุ่มในรูปแบบของสมาคมธนาคาร สมาคมหอการค้า สมาคมพ่อค้า กลุ่มเกษตรกรรายย่อย สมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน สหพันธ์นิสิตนักศึกษา ฯลฯ ตลอดทั้งการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน อันถือเป็นเสรีภาพพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย

การรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน นั้นมีทั้งในรูปแบบสหภาพแรงงานและไม่ใช่สหภาพแรงงานซึ่งมีหลายวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อสิทธิของผู้ใช้แรงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านแรงงาน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม สิทธิการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานในยุคที่อำนาจเผด็จการทหารหรือระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็นใหญ่ ผู้ใช้แรงงานมักจะถูกริดรอนสิทธิ หรือห้ามการรวมกลุ่มกัน เช่น สมัยอำนาจเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้กฎหมายเพื่อริดรอน แทรกแซง แยกสลายขบวนการผู้ใช้แรงงานก็มักเกิดขึ้นในสมัยที่สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 ถือเป็นกฎหมายที่ออกมาในสมัยเผด็จการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ปี 2534 และเป็นกฎหมายที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพการจัดตั้ง การดำเนินงานของสหภาพแรงงาน และการคุ้มครองการเรียกร้องต่อรองของฝ่ายแรงงาน

ขณะเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม ช่วงที่สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม2516 ก็มีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์2518 ซึ่งส่งเสริมสิทธิการรวมตัวของคนงานในรูปแบบสหภาพแรงงานตามกฎหมาย (แต่ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว ต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่) หรือการผลักดันกฎหมายสำคัญๆของผู้ใช้แรงงานมักเป็นผลสำเร็จช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน เช่น กฎหมายประกันสังคม ซึ่งเกิดขึ้นสมัยนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัน ที่มาจากการการเลือกตั้ง เป็นต้น

ดังนั้น สรุปได้ว่า ถ้าตราบใดสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น สิทธิของผู้ใช้แรงงานย่อมมีมากขึ้น และปัญหาของผู้ใช้แรงงานย่อมได้รับการแก้ไขได้มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้ใช้แรงงานจึงมีภาระกิจทางประวัติศาสตร์ในการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ร่วมกับชนชั้นอื่นๆ ในสังคมไทยด้วยเช่นกัน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดึงนักร้องดัง ‘บารูดิง’ โชว์ งานเสวนา ‘ปาตานีในประวัติศาสตร์’

Posted: 13 Jun 2012 09:43 AM PDT

ม.อ.จัดเสวนาวิชาการ ‘ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม’ นำเสนองานวิจัยนอกมิติความขัดแย้งและความรุนแรง พร้อมวิจารณ์ผลงาน ดึงนักร้องดังชายแดนใต้ ‘บารูดิง’ โชว์

พุทธพล มงคลวรรณ

 

นายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2555 จะมีการจัดโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม”ที่หอประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัยที่ได้จากโครงการที่รวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษารุไบยาต

ทั้งนี้ วารสารฉบับดังกล่าว ได้ออกมาในวาระพิเศษในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมปาตานี” (Fragmented Moernities : The uest for a Soial and cultural History of Patani) ซึ่งหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย (The Asia Foundation) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2555 ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายพุทธพล เปิดเผยว่า เป้าหมายการเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงในชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดสร้างองค์ประธานใหม่ในการเขียนประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานี และเพื่อให้หลุดพ้นจากกรอบคิดที่ว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานีเป็นเพียงปริมณฑลแห่งการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงพื้นที่ความทรงจำระหว่างรัฐไทยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีเพียงอย่างเดียว จนทำให้มองไม่เห็นถึงมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีชิวิตมนุษย์

 “เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในอดีตส่วนมากเป็นประวัติศาสตร์ในมิติความขัดแย้ง หรือมิติการเมืองเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงควรมีประวัติศาสตร์ในมิติสังคมและวัฒนธรรมด้วย ผมมองว่าควรนำเสนอให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับงานวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยเน้นการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีในแง่มุมต่างๆ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” นายพุทธพล กล่าว

นายพุทธพล เปิดเผยว่า กลุ่มเป้าหมายในงาน คือ บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายประชาสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนที่ทั่วไป ที่ติดตามปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายพุทธพล เปิดเผยว่า จุดเด่นในงานของวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ได้แก่ การปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani” (ปาตานี : จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด “ปัตตานี”) โดยนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี (Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระ จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งศึกษาข้อมูล ค้นคว้า และเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆเกี่ยวกับปาตานี

จากนั้นช่วงบ่าย มีการพูดคุยและชมการแสดง “บารูดิง Unplugged” โดยมีนายบัญชา ราชมณี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมวิจารณ์งานเพลงของ “บารูดิง Unplugged” ด้วย ซึ่งบารูดิง คือนักร้องชื่อดังของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วนวันที่ 16 มิถุนายน 2555 มีการปาฐกถาเรื่อง “ความเป็นไทยใน ‘ความเป็นอื่น’ : มลายูมุสลิมในฐานะส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนิตยสารเชิงสารคดีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในเครือบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) และในช่วงสุดท้ายของงาน มีการพูดคุยกับซาการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ ทัช ธาดา และ อาแซ บูงอสายู

สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่

 

อ่านกำหนดการ
โครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง“ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดึงนักร้องดัง ‘บารูดิง’ โชว์ งานเสวนา ‘ปาตานีในประวัติศาสตร์’

Posted: 13 Jun 2012 09:43 AM PDT

ม.อ.จัดเสวนาวิชาการ ‘ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม’ นำเสนองานวิจัยนอกมิติความขัดแย้งและความรุนแรง พร้อมวิจารณ์ผลงาน ดึงนักร้องดังชายแดนใต้ ‘บารูดิง’ โชว์

พุทธพล มงคลวรรณ

 

นายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2555 จะมีการจัดโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม”ที่หอประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัยที่ได้จากโครงการที่รวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษารุไบยาต

ทั้งนี้ วารสารฉบับดังกล่าว ได้ออกมาในวาระพิเศษในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “สภาวะความเป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมปาตานี” (Fragmented Moernities : The uest for a Soial and cultural History of Patani) ซึ่งหน่วยวิจัยภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย (The Asia Foundation) และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2555 ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายพุทธพล เปิดเผยว่า เป้าหมายการเสวนาครั้งนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ในการแก้ปัญหาความรุนแรงในชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนดสร้างองค์ประธานใหม่ในการเขียนประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานี และเพื่อให้หลุดพ้นจากกรอบคิดที่ว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานีเป็นเพียงปริมณฑลแห่งการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงพื้นที่ความทรงจำระหว่างรัฐไทยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีเพียงอย่างเดียว จนทำให้มองไม่เห็นถึงมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีชิวิตมนุษย์

 “เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในอดีตส่วนมากเป็นประวัติศาสตร์ในมิติความขัดแย้ง หรือมิติการเมืองเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงควรมีประวัติศาสตร์ในมิติสังคมและวัฒนธรรมด้วย ผมมองว่าควรนำเสนอให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับงานวิจัยครั้งนี้ด้วย โดยเน้นการพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีในแง่มุมต่างๆ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” นายพุทธพล กล่าว

นายพุทธพล เปิดเผยว่า กลุ่มเป้าหมายในงาน คือ บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายประชาสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนที่ทั่วไป ที่ติดตามปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายพุทธพล เปิดเผยว่า จุดเด่นในงานของวันที่ 15 มิถุนายน 2555 ได้แก่ การปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani” (ปาตานี : จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด “ปัตตานี”) โดยนายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี (Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระ จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งศึกษาข้อมูล ค้นคว้า และเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆเกี่ยวกับปาตานี

จากนั้นช่วงบ่าย มีการพูดคุยและชมการแสดง “บารูดิง Unplugged” โดยมีนายบัญชา ราชมณี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมวิจารณ์งานเพลงของ “บารูดิง Unplugged” ด้วย ซึ่งบารูดิง คือนักร้องชื่อดังของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ส่วนวันที่ 16 มิถุนายน 2555 มีการปาฐกถาเรื่อง “ความเป็นไทยใน ‘ความเป็นอื่น’ : มลายูมุสลิมในฐานะส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ไทย โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนิตยสารเชิงสารคดีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในเครือบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) และในช่วงสุดท้ายของงาน มีการพูดคุยกับซาการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์ ทัช ธาดา และ อาแซ บูงอสายู

สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่

 

อ่านกำหนดการ
โครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง“ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.เสนอทบทวนเนื้อหาร่าง 'ปรองดอง' หวั่นกระทบเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม

Posted: 13 Jun 2012 09:29 AM PDT

ให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และทบทวนเนื้อหาถึงหลักความชอบธรรมด้วยกฎหมาย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ หรือหลักนิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชน

13 มิถุนายน 2555 นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ... เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ  พ.ศ... ออกไป เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และทบทวนเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวถึงหลักความชอบธรรมด้วยกฎหมาย (Legality) หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of power) หลักนิติรัฐ (Legal State) หรือหลักนิติธรรม (Rule of law) และหลักสิทธิมนุษยชน (Human rights)

ทั้งนี้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) มีความเห็นและข้อสังเกต 3 ประเด็นคือ 1. การนิรโทษกรรมหรือการบัญญัติให้การกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมายไม่เป็นความผิด โดยให้พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและพ้นจากการกระทำความผิดอย่างสิ้นเชิงนั้น เป็นการยกเว้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองแล้วแต่กรณี ดังนั้นบทบัญญัติดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและมีเหตุผลอันสมควร ขณะเดียวกันคปก.เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดการกระทำที่เป็นความผิดที่อาจได้รับการนิรโทษกรรมไว้อย่างกว้างขวางและให้อำนาจผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นผู้ตีความขอบเขตการ นิรโทษกรรม โดยไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะพิจารณาถึงความชอบธรรมและความเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อาจสุ่มเสี่ยงให้เกิดการกระทำอันเป็นการทุจริต และก่อให้เกิดวัฒนธรรมการปล่อยตัวคนผิดลอยนวลอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายและประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมและไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงซ้ำสองเกิดขึ้นอีก

2.การนิรโทษกรรมแบบครอบคลุมทั่วไป โดยไม่พิจารณามูลเหตุจูงใจ บริบทสภาพแวดล้อม และความชอบธรรมหรือความสมเหตุสมผลในการกระทำความผิด และยังขาดกระบวนการตรวจสอบอย่างมีระบบย่อมขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย คือไม่มีการทบทวนถึงความเหมาะสมว่าการให้นิรโทษกรรมแก่บุคคลใดๆนั้นจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักการปรองดองหรือไม่ และจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างไร จะเป็นการลดความชอบธรรมทั้งด้านสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาคและหลักประชาธิปไตย ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ

และ 3.การที่สภาผู้แทนราษฎรยังไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเพียงพอ อีกทั้งความจริงเกี่ยวกับเหตุความขัดแย้งรุนแรงยังไม่ปรากฏ การพิจารณากฎหมายดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ แต่กลับกลายเป็นการทำลายบรรยากาศการสร้างความไว้วางใจในสังคมซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จะเอื้อให้เกิดการปรองดอง

อนึ่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 มาตรา 19(5) กำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่เสนอโดยส.ส. ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่เห็นสมควร จึงเห็นควรเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ....ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

14 ปี สถาบันพระปกเกล้า 80 ปีปฏิวัติสยาม ชนะศึกแต่แพ้สงคราม? ตอนที่2 กิริยาและปฏิกิริยา

Posted: 13 Jun 2012 09:18 AM PDT

 
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์[1]
 
คณะนิติราษฏร์ขอแจ้งให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับข้อเสนอฯ ทราบและสบายใจว่า ข้อเสนอฯ ทุกข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ เป็นเรื่องที่วางอยู่บนหลักวิชาการและอำนาจตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 
การเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 นั้น ไม่ถือเป็นความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น [2]
คณะนิติราษฎร์
26 มกราคม 2555
 
 
คณะกรรมการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้าจึงแถลงมายังสังคมและประชาชนให้ทราบโดยทั่วกัน และขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ปกป้องเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดไป [3]
มหรรณพ เดชวิทักษ์ นายกสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า
31 มกราคม 2555
 
 
 
การปฏิสัมพันธ์กับการปฏิวัติสยาม 2475 การเมืองเรื่องของความทรงจำ
 
เอาเข้าจริงแล้ว คณะราษฎรและการปฏิวัติสยาม 2475 นั้นอาภัพกว่า รัชกาลที่ 7 มากนัก เนื่องจากว่า ในวาระครบรอบสำคัญ การกระทำในประวัติศาสตร์เหล่านี้ ล้วนถูกมองข้ามความสำคัญไป ตั้งแต่ปี 2525 ที่เป็นวาระครบ 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะที่ปี 2535 ก็ถูกรัศมีของวิกฤตพฤษภาทมิฬบดบังไปเสีย และตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา อันเป็นยุคสมัยที่เราคาดคิดกันว่า ประชาธิปไตยจะเติบโตและเบ่งบานอย่างงดงาม โดยเฉพาะความหวังจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ที่เอื้อต่อชนชั้นกลางในเขตเมืองเป็นอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือ กระแสสำนึกถึงประชาธิปไตยอันเป็นผลจากการลงทุนลงแรงของคณะราษฎรในนามของการปฏิวัติสยาม 2475 นั้น กลายเป็นเพียงภูมิปัญญาชายขอบ ที่การเฉลิมฉลองและการสร้างความหมายก็ยังอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อย และยิ่งหากพิจารณาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระปกเกล้า กับ การปฏิวัติสยามอาจจะมองได้อย่างน้อย 3 ช็อต ดังนี้
 
 
ช็อตแรกในปี 2545  ครบรอบ 70 ปีปฏิวัติสยาม
 
ถนนราชดำเนินนับเป็นสมรภูมิที่ผลัดกันช่วงชิงความหมายของอุดมการณ์ทางการเมืองตลอดมา คณะราษฎรเริ่มต้นทำการประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองก็บริเวณใกล้กับลานพระบรมรูปทรงม้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ศูนย์กลางสัญลักษณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ในเวลาต่อมาได้ทำการก่อสร้างหมุดคณะราษฎรขึ้นเพื่อรำลึกการกระทำทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ตามมาด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย การสร้างความทันสมัยด้วยโครงการตึกแถวทั้งสองฝั่งของราชดำเนินกลาง 
 
หลังจากการเพลี่ยงพล้ำของคณะราษฎรจนแทบตกจากเวทีประวัติศาสตร์ไปหลังทศวรรษ 2490 แล้ว ถนนราชดำเนินก็เริ่มหมดความหมายที่ผูกพันกับคณะราษฎรไปทุกที โดยเฉพาะความยิ่งใหญ่ของการเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วง 14 ตุลา 16 ที่ปราศจากที่ยืนของคณะราษฎร แต่กลายเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เชิดชูกษัตริย์แทน ยิ่งทำให้การปฏิวัติสยามดูเป็นเรื่องแปลกแยก ที่ชัดเจนมากก็คือ การต่อสู้ของประชาชนในช่วงพฤษภาทมิฬ 2535 ก็แทบจะไม่มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติสยาม 2475 หรือคณะราษฎรในเชิงฐานความคิดของการเคลื่อนไหวใดๆ
 
ในทางกลับกัน แม้ว่าสถาบันพระปกเกล้าจะพึ่งถือกำเนิดขึ้น แต่สถาบันนี้สามารถยึดตำแหน่งแห่งที่บนถนนราชดำเนิน โดยใช้ตึกกรมโยธาธิการเดิม เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ซึ่งทำหน้าที่ประดุจโรงละครที่ฉายซ้ำวาทกรรม ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่มีกษัตริย์และพิธีกรรมประชาธิปไตยเป็นศูนย์กลาง อาคารแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 7 ธันวาคม 2545 ปีเดียวกับการครบรอบ 70 ปี การปฏิวัติสยาม
 
 พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า บนถนนราชดำเนิน
ภาพจาก ฅนหลังเขา. " พาไปเที่ยวชมไฟกันครับ".
  (30 มิถุนายน 2549)


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการพูดถึงโดยละเอียดแล้วโดยชาตรี ประกิตนนทการ ในบทความ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า” [4]  บทความนี้ทำให้เห็นความหมายและการรับรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้ดีจากการวิเคราะห์นิทรรศการ มีอย่างน้อย 4 ประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ 
 
ประเด็นแรก รัชกาลที่ 7 ในฐานะกษัตริย์นักประชาธิปไตยขับเน้นผ่านประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นนั่นคือ 
การทดลองจัดตั้งเทศบาลเพื่อสอนให้ประชาชนรู้จักสิทธิในการเลือกตั้ง เพื่อที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในระดับประเทศ ขณะที่การมีประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วก็เป็นสิ่งที่อันตรายเหมือนกับการได้รับยาแรงเกินไป ซึ่งนั่นก็หมายความว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตยนั่นเอง[5]
 
ประเด็นที่สอง รัฐธรรมนูญที่เคยอ้างกันว่าเป็นสิ่งที่ รัชกาลที่ 7 ตั้งใจจะพระราชทานอยู่แล้ว แทนที่จะนำเสนอเป็นเรื่องหลักเพื่อเสริมความน่าเชื่อถือเรื่องคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่ามก็เปล่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกเน้นย้ำในฐานะเครื่องมือที่ใช้ข่มการปฏิวัติสยาม ต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษก็ไม่ได้รับการแปล ขณะที่ในส่วนนิทรรศการอื่นๆ ถ้อยคำภาษาอังกฤษที่ไม่สำคัญกลับแปลเสียละเอียดยิบ ซึ่งทำราวกับว่าเป็น รัฐธรรมนูญฉบับที่มองไม่เห็น เหตุผลก็คือ โดยสาระแล้วรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ใจกลางของอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนนายกรัฐมนตรียังอยู่กับกษัตริย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าโครงสร้างของอำนาจไม่ได้เปลี่ยนไป ที่เปลี่ยนคือรูปแบบเท่านั้น[6]
 
ประเด็นที่สาม นิทรรศการยังแสดงท่าทีที่เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติสยาม 2475 อย่างชัดเจน ในด้านการออกแบบแล้วพื้นที่ของนิทรรศการส่วนที่กล่าวถึงการปฏิวัติสยามถือว่า ขัดแย้งกับภาพรวมของนิทรรศการทั้งหมด ทั้งในด้านความไหลลื่นของนิทรรศการ และขนาดของพื้นที่ที่เล็กเกินไปเมื่อเทียบกับนิทรรศการส่วนอื่นๆ ขณะที่เอกสารสำคัญอย่างประกาศคณะราษฎร วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็ถูกทำให้กลายเป็นเพียงเอกสารโจมตีรัชกาลที่ 7 โดยไม่ได้ทำให้เห็นบริบทที่ว่า นั่นคือเหตุผลและหลักการของคณะราษฎร 
 
นอกจากนั้น หากอ่านระหว่างบรรทัดจากนิทรรศการจะเห็นว่า ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎรนั้นถูกกล่าวร้ายอย่างมีชั้นเชิงด้วยการใช้กรรมวิธีที่แยบยล นั่นคือ การใช้คำพูดของพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรกล่าวถึงปรีดีว่าเป็นผู้ที่ 
 
“serious danger to the government” (อันตรายอย่างร้ายแรงต่อรัฐบาล-ผู้เขียน) 
 
ขณะที่นิทรรศการอัญเชิญพระกระแสรับสั่งของรัชกาลที่ 7 กลับไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือ 
 
“นายปรีดีนี้เป็นคนฉลาด แต่ออกจะอวดดีสักหน่อยตามวิสัยคนหนุ่ม ถ้าได้รับราชการในตำแหน่งรับผิดชอบ
แล้ว ก็น่าจะได้ราชการดีต่อไป” 
 
วิธีการเล่าเรื่องเช่นนี้จึงมีนัยว่า แม้รัชกาลที่ 7 จะทรงเชื่อใจปรีดีว่าจะไม่เป็นผู้ทรยศดังที่พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรกังวล แต่ในที่สุดแล้วปรีดีนั้นเองกลับเป็นผู้เนรคุณ กำเริบเสิบสานจนถึงขั้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิหนำซ้ำยังเขียนประกาศคณะราษฎรกล่าวร้ายพระองค์อย่างเสียๆหายๆ  ที่ควรกล่าวไว้ด้วยก็คือ นี่เป็นการวิจารณ์ปรีดีในบริบทที่ปรีดีเริ่มมีสถานะที่สูงส่งมากขึ้น หลังจากงาน 100 ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ ในปี 2543 เป็นต้นมา
 
ประเด็นสุดท้าย ก็คือ จุดเน้นที่สุดของนิทรรศการกลับไปสถิตอยู่ที่พิธีกรรมพระราชทานรัฐธรรมนูญ อย่าลืมว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัชกาลที่ 7 กลายเป็นที่จดจำถึงความเป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตยนั่นก็คือ ภาพซ้ำๆของพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ แม้จะเป็นช่วงเวลาไม่กี่วินาที แต่ภาพซ้ำนี้กลับถูกผนึกแน่นกลายเป็นเนื้อเดียวกับความหมายของประชาธิปไตยแบบไทยๆ มาหลายทศวรรษ ทั้งที่ภาพลักษณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเปลือกนอก การแสดงออกถึงความสำคัญของประชาธิปไตยแบบนี้ ชาตรี เรียกมันว่า “ประชาธิปไตยแบบเน้นพิธีกรรม"[7]
 
 
นิทรรศการที่เน้นความสำคัญที่สุด พิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ
ที่มา :
Puripatt."ไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กันเถอะ"
ใน touronthai.
(22 ธันวาคม 2553)

 
การเปิดพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าในปลายปี 2545 ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของสถานะของรัชกาลที่ 7 เหนือการปฏิวัติสยาม อย่างไรก็ตามการปฏิวัติสยาม 2475 ก็มิได้หมดความหมายไปเสียทั้งหมด งานศึกษาเกี่ยวกับปฏิวัติสยามเริ่มฟื้นตัวอีกระลอกจากงานวิชาการในทศวรรษ 2530 หลังครบรอบ 70 ปี เห็นได้จากการตีพิมพ์ ความคิด ความรู้และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 (2546) ครั้งที่ 2 โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน 
 
ขณะที่ ชาตรี ประกิตนนทการ มีข้อเสนอใหม่ๆจากการตีความคณะราษฎรผ่านงานศิลปะสถาปัตยกรรม เพื่อถกเถียงก้บข้อสรุปเดิมๆว่า ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎรนั้นเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการฟาสซิสต์ ข้อเสนอนี้ชี้ให้เราเห็นถึงงานศิลปะที่มีมิติทางการเมืองสูง โดยให้ความสำคัญกับความเสมอภาคเท่าเทียม การชูความสำคัญของความงามเรียบง่ายแบบสามัญชน แม้กระทั่งการทำลายฐานานุศักดิ์ของสถาปัตยกรรมแบบเดิมลง ที่เราเห็นได้จาก การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม (2547 ที่ปรับมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ในปี 2546) และ คณะราษฎรฉลองรัฐธรรมนูญ : ประวัติศาสตร์การเมือง หลัง 2475 ผ่านสถาปัตยกรรม "อำนาจ" (2548) 
 
นอกจากนั้นเรายังพบงานเขียนที่พยายามทำความเข้าใจกับพลังภูมิปัญญาและเครือข่ายของฝ่ายตรงกันข้ามกับคณะราษฎรจนสามารถยึดครองตำแหน่งแห่งที่ในความทรงจำหลักเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบไทยๆที่มีกษัตริย์เป็นหัวใจได้สำเร็จ ณัฐพล ใจจริงได้แสดงให้เห็นในบทความ "การรื้อสร้าง 2475" : ฝันจริงของนักอุดมคติ "น้ำเงินแท้" (2548) ใน ศิลปวัฒนธรรม[8]   
 
 
ช็อตที่สอง รัฐประหาร 19 กันยา 49
 
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ของพลังประชาธิปไตย พวกที่สนับสนุนและแอบดีใจที่สามารถขับไล่ทักษิณออกไปได้ด้วยกระบอกปืน ไม่ว่าจะในนามนักกิจกรรมหรือนักวิชาการที่มีป้ายเรียกร้องประชาธิปไตยและการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสังคม
 
แต่สิ่งที่ได้สังคมไทยได้รับหลังจากนั้น กลับเป็นประสบการณ์ทางการเมืองอันล้ำค่า ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550, การเลือกตั้งหลังรัฐประหาร, ปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์, การเกิดขึ้นของคนเสื้อแดง นปช. ฯลฯ มันทำให้เกิดการต่อสู้ทางความคิดการเมืองที่แหลมคมมากขึ้น ผู้ที่อ้างประชาธิปไตยแต่ปากได้เปิดเผยตัวอย่างล่อนจ้อน เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรูปแบบการปกครองภายใต้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมดังขึ้นมาอย่างเซ็งแซ่ ขณะที่เว็บไซต์ เว็บบอร์ดที่เสนอข่าวสารทางการเมืองต่างคึกคักเป็นอย่างยิ่ง นำไปสู่การตั้งคำถามไปสู่ดินแดนอันต้องห้าม จึงไม่แปลกอะไรที่กระแสการบล็อกเว็บไซต์ เว็บบอร์ดจำนวนมหาศาลถูกสั่งการโดยรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน กระทั่งการปิดตัว ว่ากันว่า หนังสือเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองอย่าง ฟ้าเดียวกัน ขายดีในที่ชุมนุมเสื้อแดง
 
แรงผลักดันทางอุดมการณ์ได้ทำให้เกิดการแสวงหาความรู้ เราพบว่าหลังรัฐประหาร 2549 ได้เริ่มมีการรื้อฟื้นความรู้ และอุดมการณ์ของคณะราษฎรและการปฏิวัติสยาม เพื่อมาผนวกกับการต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้น "หมุดประชาธิปไตย" มีกูไว้ (ในใจ) ไม่ไร้เสรีภาพ (2550)[9]   โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง บทความนี้ต้องการจะล้อเลียนกระแสจตุคามรามเทพ โดยให้น้ำหนักแก่หมุดคณะราษฎรมาเป็นแก่นของเรื่อง บทความนี้ตีพิมพ์ตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน
 
ณัฐพล ใจจริง ได้เขียนบทความชี้ให้เห็นเกมการเมืองที่ฝ่ายเจ้าต้องการโค่นล้มการปฏิวัติสยาม ของคณะราษฎรใน “คว่ำปฏิวัติ - โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"” (2551)[10]   ในวันที่ 24 มิถุนา ก็เป็นคิวของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในบทความชื่อ “ความ เป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน” (2551)[11]   รวมถึงงานเขียน ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร : สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ (2552) ของ ชาตรี ประกิตนนทการ อันเป็นหนังสือรวมบทความใน ฟ้าเดียวกัน ดังนั้นกระแสภูมิปัญญาเกี่ยวกับการปฏิวัติสยาม 2475 จึงเริ่มเสียงดังมากขึ้นเรื่อยๆ 
 
 
ฟ้าเดียวกัน (ปีที่6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2551)
ณัฐพล ใจจริง เขียน “คว่ำปฏิวัติ - โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ 
"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"”
 
จะเห็นได้ว่า หลังรัฐประหาร 2549 การหยิบยืมวาทกรรม ศิลปะ และสัญลักษณ์ของคณะราษฎร และการปฏิวัติสยาม 2475 ถูกมาใช้ในพื้นที่สาธารณะเพื่อผนวกและสร้างพลังให้กับการต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้น ความคุกรุ่นของอุณหภูมิทางการเมือง เกิดขึ้นหลังจากที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม 2551 โดยอาศัย ท็อปบูธของทหาร กลุ่มอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะพลังตุลาการภิวัตน์ที่นำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน ขณะที่นักการเมืองตัวสำคัญอย่างเนวิน ชิดชอบ ก็ได้เปลี่ยนขั้วไปร่วมวงกับพรรคประชาธิปัตย์ การใช้อำนาจอย่างเลยเถิดโดยไม่สนใจผลที่จะตามมา นำไปสู่ความตึงเครียดเดือนเมษายน 2552 ที่กลุ่มเสื้อแดงพยายามขับไล่อภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่ง จนเกิดเหตุปะทะทั้งที่พัทยาและในกรุงเทพฯ 
 
ในสถานการณ์เช่นนั้นทำให้กำหนดการกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณะราษฎรและการปฏิวัติสยาม 2475 คึกคักอย่างไม่น่าเชื่อ[12]  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมของนปช. นำโดย สุรชัย แซ่ด่านในวันที่ 22-24 มิถุนายน ซึ่งมีกำหนดการทำบุญให้กับคณะราษฎร และการอ่านแถลงการณ์ของคณะราษฎรที่หมุด ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ไม่เพียงเท่านั้นยังมีงานอีกหลายแห่งได้แก่ งาน "70 ปีสยามเป็นไทย-ย้อนเวลาสู่อนาคต 24 มิถุนายน 2482-2552 " ที่ม.ธรรมศาสตร์ ภายในมีกิจกรรมเกี่ยวกับวันชาติ 24 มิถุนายน 2475 จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมด้วยคณะศิลปศาสตร์ มธ., โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ศศ. มธ., สมาคมจดหมายเหตุสยาม, กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์, ชมรมอุษาคเนย์-อาเซียน ที่เชียงใหม่จัดงาน "ฟังเพลงวันชาติ อ่านแถลงการณ์คณะราษฎร"จัดโดย กลุ่มนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ, แนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ(นกน.), กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
 
นอกจากการรื้อฟื้นความหมายของหมุดคณะราษฎร ผ่านกิจกรรมการแสดงความรำลึกถึงปฏิวัติสยาม 2475 อย่างช้าในปี 2552 เป็นต้นมาแล้ว ก้าวที่น่าสนใจก็คือ การรื้อฟื้นสัญลักษณ์ที่คนแทบจะลืมไปแล้วอย่างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หลักสี่ ให้อยู่ในการรับรู้ของสาธารณะ ผ่านการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง วันที่ 12 มีนาคม 2553 ที่นำโดย วีระ มุสิกพงศ์ แกนนำเสื้อแดง แต่ที่น่าเสียดายก็คือ อีกความหมายหนึ่งที่ซ้อนอยู่กับการต่อสู้เช่นนี้ก็คือ การใช้พิธีพราหมณ์และเลือกฤกษ์ยามที่ถือว่าเป็น วันดับอำมาตย์และยังต้องบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช[13]  ซึ่งในระยะยาวแล้วการสู้ไปกราบไปแบบนี้จะขัดแย้งกับพลังความเสมอภาคของประชาธิปไตยหรือไม่ก็ต้องคิดกันอีกที
 
ขณะที่ครบรอบรัฐประหาร 19 กันยาในปีที่ 4 ก็ได้มีการเปิดตัวของ คณะนิติราษฎร์[14] โดยชื่อแล้ว ถือว่าพ้องกับคณะราษฎร และมีสโลแกนว่า “นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” คณะนี้เป็นเหล่าอาจารย์นักวิชาการทางกฎหมายที่ยืดหยันหลักการประชาธิปไตยที่ใช้คณะราษฎรเป็นธงนำทาง ซึ่งต่อมา คณะนิติราษฎร์นี้เองได้กลายเป็นคลื่นลูกใหญ่อีกระลอกที่เป็นดังเสี้ยนหนามทิ่มแทงความไม่ชอบมาพากลอันเนื่องจาก รัฐประหาร, ตุลาการภิวัตน์ หรือกระทั่งกฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งนำไปสู่แคมเปญทั่วประเทศในนามการรณรงค์แก้ไข กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ได้ตัวเลขผู้สนับสนุนการแก้ไขประมาณ 30,000 กว่าคน ในเดือนพฤษภาคม 2555
 
 
การชุมนุมของคนเสื้อแดง ณ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หลักสี่

เว็บไซต์ของนิติราษฎร์
 

อ้อ เราอาจจะลืมไปแล้วว่า หลังรัฐประหาร 2549 สถาบันพระปกเกล้าที่อ้างตนว่าเป็นประชาธิปไตยนี้มีบทบาทอย่างไร แม้ว่าจะมีกิจกรรมอันใดบ้างของสถาบัน แต่ก็ไม่โดดเด่นเท่าใดนัก สิ่งนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นได้ชัดว่า ในจังหวะความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและความขัดแย้ง สถาบันแห่งนี้ไม่ได้แสดงจุดยืนทางวิชาการใด ต่อความเปลี่ยนแปลงสำคัญในช่วงดังกล่าว 
 

ช็อตที่สาม ปี 2555 ครบรอบ 80 ปีปฏิวัติสยาม
 
จนกระทั่งมี 2 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้สถาบันพระปกเกล้ามีชื่อปรากฏอยู่ในสังคมสาธารณะ นั่นคือ กรณีการรณรงค์แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์และกลุ่มผู้สนับสนุน ตั้งแต่ปลายปี 2554 ได้ทำให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมากในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มการเมือง สื่อมวลชนและชนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมได้แสดงออกให้เห็นถึงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ที่น่าสนใจก็คือ การคัดค้านของสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า 
 
แท้จริงแล้วสมาคมนี้ก็คือ กลุ่มทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษาเก่าของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งแต่ปี 2544[15]  มีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งคือ “เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสร้างจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”[16]   สมาคมฯ ได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านการกระทำของนิติราษฎร์อย่างชัดเจน แม้จะไม่ได้ระบุชื่อ ซึ่งการต่อต้านก็คือการต่อต้านข้างๆคูๆ ไม่ได้ยกเหตุผลอย่างที่นักวิชาการและวิญญูชนจะนำมาหักล้างกันตามหลักการ ถึงกับมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อที่พิลึกพิลั่นนั่นคือ[17]
            
1.ให้คณะบุคคลดังกล่าวได้ยุติการกระทำที่ละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2.ขอให้สถาบันการศึกษาต้นสังกัดของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ได้ดำเนินการควบคุมพฤติกรรมและการกระทำที่สร้างความแตกแยกแก่สังคมและประเทศโดยรวม และพิจารณาถึงการกล่าวอ้างตำแหน่งทางวิชาการของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศไปแสวงหาผลประโยชน์ให้เกิดแก่กลุ่มตนเองและพวกพ้องแห่งตน ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป           
3.ขอเรียกร้องให้สาธารณะสังคมได้โปรดติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกลุ่มคณะบุคคลดังกล่าวต่อไปอย่างใกล้ชิด
       
เหตุนี้อาจนับเป็นปรากฏการณ์ต่อสู้กันของนอมินี อันเป็นตัวแทนอุดมการณ์คณะราษฎร และฝ่ายตรงข้ามได้อย่างพอสังเขป
 
 
 
กรณีที่สอง งานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ[18]  เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยรัฐสภา จากกรรมาธิการปรองดอง ตัวเนื้อหาแบ่งเป็นส่วนศึกษาวิเคราะห์ด้วยบริบทสังคมการเมือง รวมไปถึงทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอต่อทางออกในการปรองดอง ที่กลายเป็นประเด็นร้อนและทำให้สถาบันพระปกเกล้าโด่งดังในข้ามคืน ที่น่าประหลาดใจก็คือ ตัวบทในงานวิจัยนี้ มีประเด็นให้ถกเถียงอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอการนิรโทษกรรมที่อาจมีผลเป็นบวกแก่เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้รักษาความไม่สงบ ซึ่งพวกเขาถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นผู้สังหารประชาชนในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 (หน้า 143-146) ยกเว้นนิรโทษกรรมกรณีความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (หน้า 146) ฯลฯ แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีนักต่อฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย และฝ่ายเสื้อแดงที่สูญเสียจากการปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐ ในอีกด้านหนึ่งก็พยายามชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของอีกฝ่ายในสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา
 
แต่แทนที่จะมีเสียงคัดค้านอย่างใหญ่โตจากฝั่งนี้ การณ์กลับเป็นว่าเสียงออร์เคสตร้าแห่งอวิชชาและความเกลียดชังของฟากฝั่ง “อประชาธิปไตย” กลับส่งเสียงต่อต้านอย่างชัดเจนผ่านสื่อ ผ่านเส้นเสียงของ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[19] , มารุต บุนนาค[20]  ที่อ้างว่าตัวเองเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันเกรงว่าจะถูกใช้ไปเป็นเครื่องมือ, รวมไปถึงสื่อของชนชั้นกลางในเมือง[21]   พวกเขาสอดบรรเลงให้ท่วงทำนองที่สยดสยองยิ่ง ด้วยการมองว่า งานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า จะช่วยทักษิณ ชินวัตรให้คืนเมือง ซึ่งการเขียนเสือให้วัวกลัวเช่นนี้ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องถกเถียงกันบนฐานด้วยเหตุและผลกันอีกต่อไป แน่นอนว่างานวิจัยนี้มีคุณูปการต่อประชาธิปไตยตรงที่
  แผนภาพจากงานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
แผนภาพจากงานวิจัย การสร้างความปรองดองแห่งชาติ 
 
มันได้สร้างการถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับ “ความจริง” อุดมการณ์ “ประชาธิปไตย” และเปิดหน้ากากให้เห็นกันว่า ใครเป็นใครในจุดยืนที่ต้องการถกเถียงทางสติปัญญาในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้
 
ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างใดที่สถาบันพระปกเกล้า แทบจะไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆกับการเฉลิมฉลองวาระมหามงคล 80 ปีปฏิวัติสยาม เท่าที่ค้นเจอ จะพบก็เพียงแต่การมีเครดิตเอี่ยวกับการร่วมจัดอย่างงาน “ความร่วมมือ 5 สถาบันกับภารกิจการขยายพื้นที่เสรีภาพให้แก่สังคมไทย 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516” ในนาม สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย, ทีดีอาร์ไอ, สถาบันพระปกเกล้า,สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯและสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย ที่นำโดย ธีรยุทธ บุญมี[22]  และอาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจเตรียมจัดงานฉลองใหญ่ในวันที่ 10 ธันวาคมมากกว่า เนื่องจากชื่อสถาบันที่ค้ำคอ รวมไปถึงการดำเนินรอยตามวาทกรรมที่พวกเขาสร้างขึ้นและผลิตซ้ำจนทุกวันนี้อาจเรียกได้ว่า มีความหมายน้อยเสียเหลือเกินแล้ว เนื่องจากว่า ภาพลักษณ์ดังกล่าวขัดกันกับประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่มากขึ้นทุกที
 
ที่ผ่านมา จุดยืนของสถาบันพระปกเกล้าจึงหนักแน่นและมั่นคงอย่างยิ่ง กับการผูกตัวเองเข้ากับประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ปฏิเสธความรุ่งโรจน์ของการปฏิวัติสยาม 2475 และคณะราษฎร กระทั่งการไม่เห็นด้วยของสถาบันพระปกเกล้าเอง ไม่ยอมสร้างข้อถกเถียงทางวิชาการเพื่อที่จะหักล้างข้อเสนอที่ผ่านมาของคณะราษฎร แต่กลับก้มหน้าก้มตาผลิตชุดความรู้เดิมและสร้างเครือข่ายทางการเมืองผ่านชุดความรู้นั้นผ่านงบประมาณของชาติ โดยแทบจะลืมไปแล้วว่า สถาบันพระปกเกล้าอยู่ภายใต้กำกับของรัฐสภาที่ยึดโยงกับประชาชน คนหมู่มากของประเทศ
 
ในตอนสุดท้าย เราจะเข้าไปดูความสัมพันธ์ภายในและบทบาทของสถาบันพระปกเกล้าที่มีต่อสังคมไทยอย่างละเอียดกัน ว่าพวกเขาสร้างและบำรุงเครือข่ายประชาธิปไตยแบบไทยๆอย่างไร.
 
 ____________________________________________________________
 
 
[1] อาจารย์ประจำ สาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
[2] นิติราษฎร์. "สารถึงผู้อ่าน - ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย" . http://www.enlightened-jurists.com/blog/61 (26 มกราคม 2555)
[3]มติชนออนไลน์. ""สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า" แถลงให้ "คณะนักวิชาการ" หยุดละเมิดสถาบันฯ" .http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328022771&grpid=03&catid=03 (31 มกราคม 2555)

[4]ชาตรี ประกิตนนทการ. “ประชาธิปไตยแบบไทยๆที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า” ใน อ่าน, 1 : 4 (มกราคม-มีนาคม 2552)
[5]ชาตรี ประกิตนนทการ. “ประชาธิปไตยแบบไทยๆที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า” ใน อ่าน, 1 : 4 (มกราคม-มีนาคม 2552) : 103-104
[6]ชาตรี ประกิตนนทการ. “ประชาธิปไตยแบบไทยๆที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า” ใน อ่าน, 1 : 4 (มกราคม-มีนาคม 2552) : 110-111
[7]ชาตรี ประกิตนนทการ. “ประชาธิปไตยแบบไทยๆที่พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า” ใน อ่าน, 1 : 4 (มกราคม-มีนาคม 2552) : 111-112
[8]ณัฐพล ใจจริง. “ "การรื้อสร้าง 2475" : ฝันจริงของนักอุดมคติ "น้ำเงินแท้" “ใน ศิลปวัฒนธรรม, 27 : 2 (ธันวาคม 2548)
[9]ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง. “ "หมุดประชาธิปไตย" มีกูไว้ (ในใจ) ไม่ไร้เสรีภาพ” . http://prachatai.com/journal/2007/06/13221(24 มิถุนายน 2550)
[10]ณัฐพล ใจจริง. “คว่ำปฏิวัติ - โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"”. ฟ้าเดียวกัน (ปีที่6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2551)
[11]สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. รำลึก "วันปฏิวัติ 24 มิถุนา" : ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน. http://prachatai.com/journal/2008/06/17161 (24 มิถุนายน 2551)
[12]ไทยอีนิวส์. "จัดกิจกรรมรำลึกวันชาติ24มิถุนากระหึ่มทั่วประเทศ". http://www.thaienews.blogspot.com/2009/06/24_17.html (17 มิถุนายน 2552)

[13]ประชาไทออนไลน์. "ประมวลภาพเสื้อแดงบวงสรวงวิญญาณทหารพิทักษ์ รธน. ที่หลักสี่ เช้า 12 มี.ค." http://prachatai.com/journal/2010/03/28134 (12 มีนาคม 2553)
[14]วรเจตน์ ภาคีรัตน์. "นิติราษฏร์ ฉบับที่ 1 (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)" ใน นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร . http://www.enlightened-jurists.com/blog/2 (19 กันยายน 2553)
[15]สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า. เกี่ยวกับสมาคมฯ, ประวัติ. http://www.kpisociety.com/about01.php (2 มิถุนายน 2555)
[16]สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า. เกี่ยวกับสมาคมฯ, วัตถุประสงค์. http://www.kpisociety.com/about02.php (2 มิถุนายน 2555)
[17]มติชนออนไลน์. ""สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า" แถลงให้ "คณะนักวิชาการ" หยุดละเมิดสถาบันฯ" .http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328022771&grpid=03&catid=03 (31 มกราคม 2555)

[18]อ่านที่นี่: งานวิจัยฉบับเต็ม “แนวทางปรองดอง” จากสถาบันพระปกเกล้า
http://prachatai.com/journal/2012/03/39768 (12 มิถุนายน 2555)
[19]ASTVผู้จัดการออนไลน์. “อภิสิทธิ์” วอนทบทวนรายงานปรองดอง ส.พระปกเกล้า ซัดปกปิดความจริงอื้อ-เอื้อคนกลุ่มเดียว. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000034911 (19 มีนาคม 2555)
[20]ASTVผู้จัดการรายวัน. "วอนถอนปรองดองหวั่นขัดแย้งหนัก". http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000041808 (2 เมษายน 2555)
[21]ASTVผู้จัดการออนไลน์. "ชำแหละ! ผลวิจัยปรองดอง 20 นักวิชาการพระปกเกล้า กำลังฆาตกรรมประเทศไทย". http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000035401(21 มีนาคม 2555)
[22]ASTVผู้จัดการออนไลน์. "5 สถาบันเปิดตัวจับมือขยายพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการให้สังคมไทย". http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039516 (28 มีนาคม 2555)
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธิปไตย ไทย-พม่า ใครจะเร็วกว่ากัน?

Posted: 13 Jun 2012 09:13 AM PDT

สัปดาห์ก่อนนี้ อองซาน ซูจี นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพม่า ซึ่งปัจจุบันได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้มาเข้าร่วมประชุมสภาเศรษฐกิจโลกภูมิภาคเอเซียตะวันออก( World Economics Forum on East Asia-WEF ) ที่กรุงเทพฯบ้านเรา และนับเป็นการออกสู่ต่างประเทศเป็นครั้งแรกของเธอ หลังจากที่เธอถูกเผด็จการทหารเมียนม่าร์กักบริเวณไว้ในบ้านพักถึง 21 ปี และเธอไม่มีโอกาสออกจากประเทศเมียนม่าร์ถึง 24 ปีเต็ม

การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมครั้งสำคัญในระดับสากล ประเทศต่างๆทุกทวีปและอนุทวีปส่งผู้แทนระดับสูงเข้าประชุมกว่า 630 คนจาก 50 ประเทศ ทั้งมีผู้นำทางความคิดเข้าร่วมกว่า 50 คน จาก 20 ประเทศ นักธุรกิจชั้นนำของโลกกว่า 450 คน ผู้แทนบริษัทชั้นนำของโลกที่กำลังมีการเจริญเติบโตสูกอีกเกือบ 60 ราย ผู้นำรุ่นใหม่ 33 คน และนักพัฒนาสังคมอีก 14 ราย ได้เข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนทัศนะและอภิปรายประเด็นปัญหาสำคัญที่เอเซียตะวันออกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทางประเทศเมียนม่าร์นั้น ทีแรกก็มีข่าวว่าประธานาธิบดีเต็งเส่งจะมาด้วยตนเองพร้อมด้วยนางอองซานซูจีที่ได้รับเชิญเป็นส่วนตัวในฐานะแขกของ WEF แต่ต่อมาทางการพม่าได้แจ้งมาว่าท่านเต็งเส่งนั้นติดภารกิจสำคัญอย่างกระทันหันจึงขอเลื่อนการมาประเทศไทยเป็นวันที่ 4-5 มิ.ย. ย และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและ รมช.กระทรวงท่องเที่ยวมาประชุมแทน

นางอองซานซูจีนั้นในฐานะแขกพิเศษของ WEF ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 29 พ.ค. แล้วไปเยี่ยมแรงงานรับจ้างชาวพม่าที่มหาชัย ซึ่งก็นำมาซึ่งความปลาบปลื้มยินดีจนแรงงานพม่าหลายพันคนยกขบวนมาจากจังหวัดต่างๆเพื่อต้อนรับเธอที่นั่น และเธอก็ได้ใช้โอกาสนั้นพบปะอย่างเป็นกันเองและกล่าวปราศัยเรียกร้องให้ชาวพม่าทุกคนที่ต้องมาอยู่เมืองไทย ให้เคารพกฎหมายไทย และทำตัวอย่าให้มีปัญหาอันใดกับประเทศไทย หากมีปัญหาอันใดเธอก็พร้อมที่จะประสานงานช่วยเหลือ และขอให้รอวันที่จะกลับประเทศในอนาคต วันถัดไปเธอได้ไปตรวจเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยในบริเวณชายแดนไทย-พม่าทางด้านจังหวัดตาก ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่านั่นเอง และส่วนใหญ่ก็สนับสนุนการต่อสู้ของ อองซานซูจี ซึ่งเธอได้รับปากกับพวกเขาว่า จะพาพวกเขากลับบ้านให้จงได้ ในวันที่ 1 มิ.ย. อันเป็นวันสุดท้ายของการประชุมWEF ครั้งสำคัญนี้. เธอได้รับเกียรติให้กล่าวปราศัยในที่ประชุม ซึ่งเธอสามารถใช้เวทีสากลนี้เรียกร้องและขอความเห็นอกเห็นใจจากนานาชาติ เชิญชวนให้เข้าไปลงทุนและช่วยพัฒนาพม่า พร้อมทั้งขอร้องถึงประเทศมหาอำนาจว่า อย่าใช้พม่าเป็นเวทีแห่งการแก่งแย่งผลประโยชน์ แต่ควรจะเป็นพื้นที่แห่งความปรองดอง

สุนทรพจน์ของอองซานซูจีในงานนี้เป็นการกล่าวอย่างไม่มีสคริปส์ แต่เธอสามารถพูดได้ใจความครอบคลุมทุกเรื่องทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีท่วงทำนองในการกล่าวที่งดงาม-กระชับ-รัดกุม ทั้งเบื้องต้น-ท่ามกลาง และบทส่งท้าย ซึ่งตลอดเวลาจะมีเสียงปรบมือสลับไปอย่างกึกก้อง วลีต่างๆที่เธอกลั่นออกมาล้วนแต่จับใจผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง และทั้งหมดไม่มีวลีใดที่เธอจะพูดเพื่อประโยชน์ตนหรือพรรคของเธอ หากแต่เป็นการพูดเพื่อประเทศชาติและประชาชนชาวพม่าทั้งสิ้น

ถือได้ว่า ประเทศพม่าประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการให้อองซานซูจีมาประเทศไทยครั้งนี้ !

พม่ากำลังเปิดประตูสู่โลกกว้าง กำลังสร้างความปรองดองในชาติ ข้อตกลงหยุดยิงและหันมาปรองดองกันของรัฐบาลกลางพม่ากับชนเผ่าต่างๆซึ่งมีมากมายได้รับการลงนามตกลงกันได้กลุ่มแล้วกลุ่มเล่า ความสงบรอบแนวชายแดนกำลังบังเกิดขึ้น การพัฒนาประชาธิปไตยก็กำลังดำเนินไปทั่วประเทศ ซึ่งอองซานซูจีก็ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า การปฏิรูปในพม่าครั้งนี้ เป็นการให้คำมั่นของทหารว่า จะพัฒนาประเทศ จะไม่หันหลังกลับ จะเดินไปข้างหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่อยากถูกคนอื่นทิ้งห่าง

เมื่ออองซานซูจีเดินทางกลับประเทศ หนังสือพิมพ์นิวส์ไลฟ์ออฟเมียนม่าร์ อันเป็นสื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลพม่า ได้ตีพิมพ์บทความชื่นชมถึงความสำเร็จเป็นอย่างสูงของอองซานซูจีที่มาประเทศไทยครั้งนี้ ซึ่งสื่อต่างๆในประเทศไทยล้วนแต่มีความเห็นกันว่า “ เป็นความผิดปกติ” ที่สื่อของรัฐบาลพม่าหันมาชื่นชมอองซานซูจี แต่ว่าในข้อเขียนอีกชิ้นหนึ่งมีความมั่นใจว่า เต็งเส่ง และอองซานซูจีนี่แหละจะช่วยกันสร้างประชาธิปไตยในพม่า

อองซานซูจี มีกำหนดการเดินทางเยือนยุโรปอีกหลายประเทศ จะไปกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นจะไปเข้าพิธีรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 1991 ที่กรุงออสโล นอร์เวย์ ซึ่งเธอได้รับ แต่ไม่อาจไปรับได้ในปีนั้น และหลังจากนั้นเธอจะไปอังกฤษ พบปะกับลูกชายทั้ง 2 ซึ่งจะจัดงานวันเกิดให้แม่ในวันที่ 19 มิ.ย. และได้รับเชิญให้ไปกล่าวสุนทรพจน์ในรัฐสภาอังกฤษในวันที่ 21 มิถุนายน

การที่รัฐบาลพม่าเปิดทางให้อองซานซูจีอย่างกว้างขวางเช่นนี้ น่าจะเป็นสัญญาณให้มั่นใจว่า พม่ากำลังเดินหน้าในทุกๆด้านอย่างเอาจริงเอาจัง-จริง เพราะการปิดประเทศ ใช้ระบบเผด็จการมานาน มีแต่ทำให้พม่าพบแต่ความยากลำบากและล้าหลังลงไปทุกวัน การ หันมาทางประชาธิปไตย และเรียกร้องให้นานาชาติรีบเข้าไปลงทุน พัฒนา ช่วยเหลือ โดยมอบให้อองซานซูจีเคลื่อนไหวทำภารกิจนี้ได้อย่างเต็มที่ อย่างนี้ เชื่อว่าในอีกไม่นาน พม่าจะขึ้นยืนผงาดเป็นประเทศแนวหน้าหนึ่งในอาเซี่ยนเป็นแน่

แล้ว “ พี่ไทย” เราล่ะ? ประชาธิปไตยจะไปถึงไหน? รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ให้แก้ คนเก่งคนมีความรู้ความสามารถก็ไม่เอามาใช้ แถมยังป้ายสีใส่ให้เลอะเทอะกระเจิงกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง อำนาจเผด็จการยังคงอาละวาดฟาดหัวฟาดหางจนรัฐสภาอันเป็นสถาบันหลักของประชาชนต้องยอมยกธงขาว ไม่อาจจะพาประเทศไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนได้

อย่างนี้ ระวังนะครับคนไทย พม่าจะไปก่อนนะครับ.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: ใจเท่าอวัยวะมด

Posted: 13 Jun 2012 09:03 AM PDT

 

เซ็งจนพูดไม่ออกไปเลยกับจิตใจอันวีรอาจหาญเท่าอวัยวะมด ของแกนนำรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย

มีอย่างที่ไหน มวยกำลังไล่ต้อนฝ่ายตรงข้ามอย่างเมามันส์ ศาลรัฐธรรมนูญมุมน้ำเงินป้อไปแป้มา โดนตุ๊ยท้องจนจะคายของเก่าอยู่รอมร่อ โดนหมักแย็ปจนคิ้วแตกเลือดเข้าตา ต้องอ้างฉบับภาษาอังกฤษ รัฐบาลกับรัฐสภาดันไม่ต้อนเข้ามุม ส่งหมัดเข้าปลายคางเช็กบิล กลับอ้างว่ากลัวจะเป็น killing zone ถอยกรูดเข่าอ่อนเอง ขอพักยกให้เวลาฝ่ายตรงข้ามให้น้ำให้ท่าหน้าตาเฉย

ทั้งที่ศึกวันทรงชัยครั้งนี้ ชกให้ดีๆ มีโอกาสสอยถึงหัวหน้าค่ายด้วยซ้ำไป

อย่ามาอ้างนะว่าขอมติรัฐสภาแล้วแพ้ วุฒิไม่เล่นด้วย ก็รัฐบาลออกอาการตั้งแต่มติวิป มติพรรค มติ ครม.และคำพูดของประธานค้อนหัก ที่ว่าจะไม่ลงมติแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 3 จะรีบปิดประชุมสภา แล้วจะมาขอมติปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหาค้อนหาหอกอันใด ในเมื่อพวกคุณยอมถอยแล้ว แค่จะแก้เกี้ยวเท่านั้น

ผมเป็น ส.ว.ผมก็ไม่เอาด้วย ไอ้กล้วยเอ๊ย

ขนาดนั้นยังมี ส.ว.ลงมติให้ตั้ง 41 คน ซึ่งก็เกินพอถ้ารัฐบาล 300 พร้อมเพรียงกัน แต่นี่เพื่อไทยยังไม่ลงกันครบเลย ขาดประชุมไป 16 คน รวมทั้งยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีสำคัญหลายคน

จากรุกไล่ คราวนี้แหละจะกลายเป็นถูกรุก เพราะเท่ากับรัฐสภาและรัฐบาลยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ปากไม่ยอมรับ แต่ใจฝ่อ แข้งขาอ่อน ศาลก็จะได้ที ไล่บี้ในอีกหลายเรื่อง

กรณีร้ายแรงที่สุด คือวินิจฉัยว่าผิดมาตรา 68 สั่งยุบพรรค อาจไม่เกิดขึ้น เพราะศาลน่าจะหยั่งกระแสแล้ว ถ้าเลอะเทอะถึงขั้นนั้น ต่อให้รัฐบาลขี้แขะ (อู้กำเมืองแฮ๋ม) ขี้ราดเยี่ยวไหลไม่กล้าสู้ แต่มวลชนยุคนี้เห็นศาลเท่าหมูแล้ว จะเกิดอะไรไม่รับประกัน (และยุบพรรคได้ก็ไม่กระทบจำนวน ส.ส.)

นี่ผมวิเคราะห์เองโดยมองยุทธศาสตร์ “อำมาตย์” ว่าเขาจะไม่รีบหักรัฐบาลเพื่อไทย แต่ใช้วิธีบ่อนทำลายไปเรื่อยๆ

กรณีร้ายแรงรองลงมา คือศาลอาจวินิจฉัยว่า ไม่ผิดมาตรา 68 ไม่ยุบพรรค แต่ลงความเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับทำไม่ได้ ให้แก้ไขได้เฉพาะส่วนเท่านั้น

เหตุผลทางกฎหมายจะอ้างอย่างไรผมยังไม่แน่ใจ แต่วิเคราะห์ว่าฝ่ายอำมาตย์กลัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะ สสร.จะเป็นใครมาจากไหนไม่มีใครทราบ ร้องสั่งข้าวเหนียวกับลาบ เอ๊ย นั่นเพลงสมัย อ่อนวงศ์... สสร.มาจากไหนไม่มีใครทราบ เกิดมันแก้ไขอำนาจทุกส่วน ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ก็ลงเหว ตอนแก้รัฐธรรมนูญ 40 ฝ่ายอำมาตย์ยังวางใจเพราะมี อานันท์ ปันยารชุน, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่ขนาดนั้นก็ดันร่างรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง จนเกิดทักกี้ขึ้นมาหลอกหลอน คราวนี้จะยอมให้ผิดพลาดอีกไมได้

หรือไม่ก็อาจออกอีกรูปหนึ่ง คือศาลอาจจะบอกว่าไม่ผิดมาตรา 68 แต่ฉวยโอกาสนี้ “คุมประพฤติ” ร่างรัฐธรรมนูญ ว่าในอนาคตในการยกร่างอาจล่อแหลมที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง ฉะนั้นขอวางข้อห้ามข้อบังคับ เป็นกับดัก ให้ตัวเองเข้ามาตรวจสอบ ยับยั้ง การร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.ได้ ทั้งก่อนลงประชามติ หรือเมื่อมีข้อโต้แย้งรายมาตรา

ฉะนั้น ถ้า สสร.จะยุบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลก็อาจเฉไฉไปวินิจฉัยมาตราอื่นว่า ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ให้ผ่าน

อย่างไรก็ดี มิพักต้องพูดถึงว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถเข้ามาตรวจสอบ วินิจฉัย หรือยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เท่ากับทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญแท้งไปในทางปฏิบัติ เพราะในด้านกลับกัน ถ้ารัฐบาล รัฐสภา มีหัวจิตหัวใจแค่เนียะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็หมดความหมายอยู่ดี

ตกลงคุณจะแก้หมวดอะไรบ้าง หรือแก้แค่มาตรา 309 กับมาตรา 237 กล้าแตะศาลไหม กล้าแก้ไขเรื่ององค์กรอิสระไหม ไม่จำเป็นต้องพูดถึงหมวดพระมหากษัตริย์ ที่ยกธงขาวกันตั้งแต่แรก

Killing Zone
Klling ใคร
ฝ่ายอำมาตย์ใช้ความขี้ขลาดของรัฐบาลและแกนนำเพื่อไทย เล่มเกมบลัฟฟ์ จนรัฐบาลเชื่อ “ฝ่ายข่าวทหาร” และการวิเคราะห์ของออเหลิม ที่อ้างว่าถ้าร่างแก้ไขมาตรา 291 วาระ 3 ผ่าน นายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ และอาจไม่ผ่าน “คณะกรรมการกลั่นกรองขององคมนตรี” เท่ากับนายกฯ เดินเข้าสู่แดนประหาร ศาลรัฐธรรมนูญจะออกคำวินิจฉัยทันทีว่าขัดรัฐธรรมนูญ

แดนประหารของใคร ถ้าใจกล้าๆ หน่อย ลองวิเคราะห์ใหม่ไหม

ผมเขียนเรื่อง “ไม่ต้องกลัวรัฐประหาร” ไว้ในเว็บ Voice TV ว่าความไร้เหตุผลและไม่มีหลักกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ เป็น “เผือกเผา” ที่ใครก็มารับช่วงต่อลำบาก ถ้าเกิดอำนาจรัฐสภากับอำนาจตุลาการขัดกัน แล้วกองทัพจะทำรัฐประหารโดยอ้างว่ารัฐบาลและรัฐสภาไม่เคารพกฎหมาย ลำพังศาลรัฐธรรมนูญก็เอาตัวไม่รอด ลำพังรัฐประหารก็เอาตัวไม่รอด ถ้ามาสอดรับในช่วงที่กระแสสังคม มวลชน นักวิชาการ และอัยการสูงสุด กำลังกินโต๊ะจีนศาลรัฐธรรมนูญอยู่อย่างนี้ รัฐประหารก็รับไป 2 เด้ง จะกล้าทำก็ให้รู้ไป

ผมไม่ทราบว่า “คณะกรรมการกลั่นกรองขององคมนตรี” ที่ออเหลิมพูดจะหมายถึงใครบ้าง แต่เท่าที่ทราบ ในองคมนตรีมีอดีตประธานศาลฎีกาหลายท่าน ซึ่งล้วนเป็นผู้ใหญ่ มีความแม่นยำเชี่ยวชาญในหลักกฎหมาย (ส่วนพวกที่ออกมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคือพวกที่ไม่มีทางได้ขึ้นถึงตำแหน่งประธานศาลฎีกา)

แต่เอาละ ผมคงไม่ก้าวล่วงไปวิเคราะห์ว่า “คณะกรรมการกลั่นกรองขององคมนตรี” ท่านจะวินิจฉัยอย่างไร แต่อยากให้คิดว่า แทนที่รัฐบาลจะใจมด กลัวความกดดันมาตกที่นายกรัฐมนตรี (ซึ่งตัวยิ่งลักษณ์เองก็แสดงอาการจนเห็นได้ชัดเจน) ทำไมคุณไม่คิดบ้างละว่า ความกดดันจะตกไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแทน

อย่าลืมว่ารัฐสภาเป็นฝ่ายที่มีเหตุผล มีอำนาจชอบธรรม คุณได้เปรียบทุกอย่างอยู่แล้ว ไม่ว่าเรื่องนี้จะต่อเนื่องไปถึงไหน

คำนูณ สิทธิสมาน บลัฟฟ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า กรณีนี้จะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท หากรัฐสภาลงมติแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทำไมไม่บอกว่า ศาลรัฐธรรมนูญสิครับ ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท รัฐสภาใช้อำนาจอย่างถูกต้อง ศาลเข้ามาขวาง ศาลต่างหากที่ทำให้เกิดปัญหา

นี่มันเกมบลัฟฟ์กันชัดๆ ดูว่าใครใจเท่าอวัยวะมด เพราะถ้ารัฐสภาลงมติ ยืดอกพกความกล้า นายกฯ มานำ ส.ส.ยกมือโดยพร้อมเพรียง แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ เผลอๆ ยังไม่ครบกำหนด 20 วัน ศาลรัฐธรรมนูญอาจเป็นฝ่ายรีบจำหน่ายคดี บอกว่าไม่มีความผิดตามมาตรา 68 ก็เป็นได้

หรือถ้าไม่ยอม ถ้าจะหักกัน ก็ให้มันรู้แล้วรู้แรดไป ดีกว่ากลายเป็นฝ่ายป้อแป้ยอมแพ้เอง แล้วก็อาจจะแก้รัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ เพราะคุณออกอาการแล้วนี่ มวยป้อแป้ทั้งที่กองเชียร์แน่นสนาม ฝ่ายตรงข้ามกลับมาเป็นฝ่ายต่อ ทำคะแนนมา 4 ยก ยก 5 ยกเดียวม้วนเสื่อไปเลย

ใครก็ไม่ทราบ ให้ออเหลิมมากำหนดยุทธศาสตร์ ทั้งที่ออเหลิมเป็นได้อย่างมากก็แค่นักยุทธวิธี ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมันเกินสติปัญญาออเหลิม บิ๊กอ๊อด บิ๊กเอี้ยทั้งหลายในพรรคเพื่อไทย หรือเผลอๆ จะเกินสติปัญญาบิ๊กแม้วเสียด้วยซ้ำ

นี่พูดด้วยความสงสัยนะครับ เพราะทักกี้เงียบกริบ ทั้งที่ไม่กี่วันก่อนยังบอกว่าจะไม่โดนเขาหลอกอีกแล้ว คราวนี้ไปโดนอะไรมาล่ะ

สถานการณ์พิสูจน์คน
ปรับพรรค ปรับ ครม.เดี๋ยวนี้
“ถ้าปล่อยให้การลงมติวาระ 3 ค้างไว้ในระหว่างปิดสมัยประชุมก็ตัวใครตัวมัน แล้วยังเอา พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาเสียบไม่ถูกเวลา ไม่หารือ ส.ส.ก่อนเลย พาลจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญพังไปด้วย”

อยากปรบมือให้ดังๆ กับคำกล่าวของ ส.ส.ที่ผมไม่ค่อยได้ยินชื่อ ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ ที่ลุกขึ้นสวนมติกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งมีเสียงข้างน้อยแค่ 2 คนคือ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ก้บจาตุรนต์ ฉายแสง

นั่นรวมถึงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยที่อาจหาญต่อปากต่อคำกับนายกฯ กลางที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

ถ้าจะมีอะไรให้มองโลกแง่ดี คือ ส.ส.ส่วนใหญ่ (ไม่เฉพาะ ส.ส.เสื้อแดง) ไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค แถมยังจะขอมติเปลี่ยนคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้วย เพราะประชุมพรรคประสาอะไร ไม่ยอมให้ ส.ส.ลงมติ

นี่แสดงว่า ส.ส.ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน กำลังจะ “ก้าวข้าม” แกนนำพรรคงี่เง่าไปแล้ว ขนาดในที่ประชุมรัฐสภา พีรพันธุ์ พาลุสุข ยังลุกขึ้นทักท้วงประธานค้อนหัก จนสุนัย จุลพงศธร ประท้วงพวกเดียวกัน

ขอเสียงมวลชน เอาพีรพันธุ์เป็นกรรมการยุทธศาสตร์พรรค หรือเป็นรัฐมนตรีเสียดีไหมครับ เป็น ส.ส.มาตั้งหลายสมัยแล้ว และสู้สุดใจ เสียอย่างเดียว ไม่มีกะตังค์กับเขาเท่านั้น

ในสถานการณ์ที่รัฐบาลขี้แขะพรรคเพื่อไทยขี้ขลาด พาประชาธิปไตยเป็นฝ่ายถูกรุก สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือปรับขบวนเตรียมรับมือให้เข้มแข็ง ขบวนนอกพรรคเป็นอีกเรื่องหนึ่ง มีความเข้มแข็งอยู่แล้วจากนักวิชาการ จากเสรีชนคนรุ่นใหม่ที่ทยอยออกมาสนับสนุนพลังประชาธิปไตย แต่ขบวนในพรรค ในรัฐบาล ใน นปช.สิ สับสนรวนเรมาตลอด

ปรับเสียดีไหม ฉวยโอกาส ยงยุทธ วิชัยดิษฐ โดน ปปช.ชี้มูลคดีที่ดินอัลไพน์ (ผิดถูกว่าอีกเรื่อง อันที่จริงผมเห็นว่าผิดในทางนิติศาสตร์ ถูกในทางรัฐศาสตร์-ฮา) ยังไงก็ต้องพ้นตำแหน่ง ทั้งรัฐมนตรี ทั้งหัวหน้าพรรค

มวลชนต้องช่วยกันกดดันละครับ ไอ้ที่บอกว่า Primary Vote น่ะ รอการเลือกตั้งครั้งหน้าช้าไป มา Primary Vote รัฐมนตรีกันเสียตอนนี้ดีกว่า

ใครไม่สู้ถอยไป อย่ามัวแต่มานั่งเป็นรัฐมนตรีหวงอำนาจ ทำมาหากิน มวลชนเขาสู้ของเขาเองมาได้ ตอนนี้ดันมีพรรคเพื่อไทยมาเป็นอุปสรรคขวางทางมวลชนเสียเอง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถ้าจะปราบทุจริตต้องเลิกการดำหัวและตบเท้าอวยพร

Posted: 13 Jun 2012 08:43 AM PDT

          ถ้าประเทศไทยมุ่งหวังที่จะปราบปรามการทุจริตจริง สิ่งหนึ่งที่พึงดำเนินการก็คือการสั่งห้ามประเพณีการดำหัวและการตบเท้าอวยพรให้หมดสิ้นจากวงราชการ  จะปล่อยให้ใครมาแอบอ้างวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่ควรรักษาไว้ในบ้านและชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการไต่เต้ามิได้

          ในช่วงสงกรานต์ เรามักจะพบการรดน้ำดำหัวข้าราชการผู้มียศและตำแหน่งสูงกว่า ตั้งแต่ระดับหัวหน้าส่วนราชการ ระดับตำบล ระดับอำเภอ ไปจนถึงระดับจังหวัด  บางภูมิภาคกินเวลาเกือบสองสัปดาห์  ในห้วงเวลานั้น การงานก็ย่อหย่อน เลิกงานก็มักก่อนเวลา  งบประมาณที่ใช้ถ้าไม่ได้มาจากเงินที่ผ่องถ่ายมาจากส่วนราชการเอง ก็มาจากการ ‘ไถ’ จากภาคธุรกิจ หรือการลงทุนของตัวเอง ซึ่งก็คงคาดหวังถอนทุนในภายหลังและหวังสร้างสายสัมพันธ์เพื่อความก้าวหน้าในวงราชการโดยไม่ได้วัดจากผลงานหรือความสามารถเป็นหลัก

          ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่าโอกาสการเติบโตในวงราชการของข้าราชการในแต่ละหน่วยงานนั้น ขึ้นอยู่กับ ‘ดวง’  อันได้แก่ว่าเป็น ‘เด็ก’ ของใคร  ได้ ‘วิ่ง’ เพียงพอและต่อเนื่องหรือไม่  และสุดท้ายคือ ‘เงิน’ ถึงเพี่อการซื้อตำแหน่งหรือไม่  ตำแหน่งที่ต้องใช้เงินซื้อนั้น ต้องเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสกระทำการทุจริต ‘ถอนทุน’ นั่นเอง  วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยจึงถูกบิดเบือนมาเพื่อการประกอบการทุจริตอย่างเป็นกระบวนการ

          ตัวอย่างสำคัญก็คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 มีข่าวสะเทือนขวัญที่นายตำรวจยศพันตำรวจเอกระดับผู้กำกับนายหนึ่งในอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร บัญชาการปล้นรถขนเงินของธนาคารแห่งหนึ่งในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นัยว่าเพื่อจะนำเงินจำนวน 14 ล้านบาทที่ได้จากการปล้นเพื่อไปซื้อตำแหน่งเป็นผู้กำกับในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย  ถ้านายตำรวจนายนี้หาเงินในทางทุจริตทางอื่นได้ครบตามจำนวน ก็คงไม่จำเป็นต้องออกปล้น จนเสียอนาคตของตนเองเช่นนี้  นี่แสดงว่ากระบวนการโกงกินได้ฝังลึกในระบบราชการแล้ว

          ดังนั้นเพื่อตัดโอกาสการประจบสอพลอ รัฐบาลจะต้องประกาศห้ามการรดน้ำดำหัวข้าราชการเนื่องในประเพณีสงกรานต์โดยเฉพาะห้ามดำเนินการในวันราชการ  บุคคลสำคัญต้องไม่จัดงานวันเกิดที่เชิญแขกมามากมายเช่นที่เห็นอยู่ทั่วไป  ทั้งนี้ตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการทุกระดับ  ยกเว้นการจัดงานในครอบครัวนอกเวลาราชการ  ข้าราชการผู้ใหญ่รายใดไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ควรลาออกจากราชการหรือไปอยู่ในภาคธุรกิจ

          ยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องที่ทางราชการควรยกเลิกเพื่อตัดตอนการประจบสอพลอที่จะนำไปสู่การทุจริตและประพฤติมิชอบได้แก่:

          1. ยกเลิกประเพณีการตบเท้าอวยพรข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในโอกาสเลื่อนยศ เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง

          2. ห้ามการเลี้ยงส่งไปรับตำแหน่งใหม่ ฯลฯ 

          3. ห้ามการเกณฑ์ข้าราชการและประชาชนมาจัดขบวนรับหรือ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะเดินทางไปหรือกลับจากต่างประเทศ

          4. ห้ามการแห่แหนให้มีริ้วขบวนมาต้อนรับในโอกาสที่ผู้หลักผู้ใหญ่เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย  ทั้งนี้เพราะกิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการกทำงานด้วยลิ้นแล้ว ยังสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและเสียเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการเพื่อรับใช้ประชาชนอีกด้วย

          ทางราชการต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงว่า การทำงานด้วยลิ้นหรือการเลียนาย เป็นหนทางไต้เต้าที่น่าอัปยศอดสู เป็นบ่อเกิดการทุจริต โกงกิน เป็นการบ่มเพาะเชื้อร้ายในวงราชการ  หากสามารถตัดโอกาสการอ้างประเพณีอย่างแนบเนียนมาเพื่อการเลีย และเพื่อการเติบโตในวงราชการทางลัดแล้ว  ระบบราชการก็จะได้ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถจริงมาปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง

          นอกจากนี้ในภาคประชาสังคม ก็ควรรณรงค์ให้มีการรณรงค์ต่อต้านข้าราชการที่ได้ดีจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การเดินขบวนไปประท้วงหน้าบ้าน หรือ ณ สถานที่ราชการดังกล่าว  การรณรงค์ให้ประชาชนไม่ไหว้หรือไม่แสดงความเคารพคนโกงกิน เป็นต้น  การสร้างกระแสสังคมที่ดีงามจากพลังประชาชนเช่นนี้น่าส่งเสริม และจะเป็นการปรามการทุจริตได้ทางหนึ่ง

          และในขณะที่รณรงค์ให้ประชาชนไม่ร่วมมือกับการบิดเบือนประเพณีอย่างผิด ๆ  สิ่งสำคัญที่สุดก็คือทางราชการยังต้องสั่งยกเลิกหรือห้ามการรดน้ำดำหัวและการตบเท้าอวยพรโดยเด็ดขาดและทันที  และจะต้องจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาสอดส่องและตรวจจับการฝ่าฝืน  มีบทลงโทษที่เข้มงวด  รวมทั้งดำเนินการลงโทษอย่างจริงจังเมื่อพบการฝ่าฝืน  การยกเลิกประเพณีการโกงจึงต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทั้งการป้องกัน การให้การศึกษาและการปราบปรามอย่างเอาจริงเอาจัง

          สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้นำการทำสงครามกับบิดเบือนประเพณีข้างต้นอันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง  ถ้าราชการไทยสามารถทำได้ บางทีประเทศไทยอาจแทบไม่ต้องมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามการทุจริตแห่งชาติ  แต่หากวัฒนธรรมการทุจริตข้างต้นยังอยู่  การดำรงอยู่ของสำนักงานฯ ดังกล่าว ก็คงเป็นแค่ “หัวหลักหัวตอ”

          ช่วยกันกำจัดการทุจริตให้สิ้น เพื่อแผ่นดินไทยอยู่รอด

 

.

โทรศัพท์ลึกลับขู่ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ หยุดเคลื่อนไหวประเด็นม. 112

Posted: 13 Jun 2012 06:25 AM PDT

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อดีตนักการทูต ซึ่งปัจจุบันเป็นนักวิชาการตำแหน่งรองศาสตราจารย์ที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโตเผยกับประชาไทว่าได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ทำร้ายร่างกาย หากเดินทางกลับประเทศไทย ถ้ายังไม่หยุดการเคลื่อนไหวรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา ปวิน ได้รับโทรศัพท์จากบุคคลนิรนามข่มขู่ให้เลิกรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หากไม่เช่นนั้นจะถูกทำร้ายร่างกาย โดยผู้โทรมาข่มขู่รู้กำหนดการเดินทางและตารางการเดินทางไปสัมมนาของนายปวินในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในช่วงปลายเดือนนี้

“วันนี้ผมได้รับโทรศัพท์ลึกลับสองครั้งจากเมืองไทย ขู่ว่า ให้ผมเลิกเรื่องแคมเปญ 112 ไม่งั้นจะเจ็บตัวเหมือนอาจารย์วรเจตน์ คนที่โทรมาเป็นคนไทย ผู้ชาย รีบพูดแล้วรีบวาง ใช้ภาษาเลวมาก เขารู้ว่าผมจะกลับไทยและไปพูดที่อุบล บอกให้ผมระวังตัว” ปวินกล่าวกับประชาไท

ทั้งนี้ ปวินระบุว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ถูกข่มขู่ และเห็นได้ชัดเจนว่าคนที่ข่มขู่เขานั้นติดตามเขาอย่างใกล้ชิดและรู้ตารางการเดินทางและกำหนดการที่เขาจะมาอภิปรายในประเทศเทศไทยเป็นอย่างดี

เว็บไซต์ ASIA SENTINEL รายงานข่าวการถูกข่มขู่ครั้งนี้โดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางการเมืองของปวิน ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ปวิน เป็นหนึ่งผู้นำการณณรงค์แก้ไขมาตรา 112 โดยเขาเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ และเป็นผู้นำรณรงค์การปล่อยตัวนายอำพล หรืออากง sms ซึ่งถูกลงโทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเวลา 20 จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความจำนวน 4 ข้อความไปยังเลขาธิการอดัตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเข้าข่ายละเมิดบทบัญญัติมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาอย่างไรก็ตามการณรงค์ดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ นายอำพลเสียชีวิตเนื่องจากมะเร็งตับระยะสุดท้ายในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ ปวินจะเดินทางมาอภิปรายในประเด็นมาตรา 112 ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในวันที่ 22 มิ.ย. และร่วมอภิปรายในงาน "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 24 มิ.ย. นี้

“ผมไม่ยกเลิกกำหนดการเดินทางกลับประเทศไทย และไม่ยกเลิกกำหนดการร่วมสัมมนาทั้งสองที่ รวมถึงการสัมมนาย่อยที่จัดขึ้นในที่อื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ผมได้แจ้งให้ทางมหาวิทยาลัยเกียวโต ต้นสังกัดทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว” นักวิชาการผู้นำการรณรงค์ “ก้าวข้ามความกลัว” กล่าวในที่สุด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูฟ่าปฏิเสธให้ทรูถ่ายทอดยูโร ด้านทรูยอมรับจอดำ-เพิ่มสิทธิให้ลูกค้า

Posted: 13 Jun 2012 05:55 AM PDT

ผู้บริหารจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ระบุเอกสารตอบกลับของยูฟ่าไม่อนุญาตให้ทรูวิชั่นถ่ายทอดบอลยูโรทุกกรณี ส่วน กสทช. ยืนยันเดินหน้าปรับทรูวิชั่นส์ วันละ 2 หมื่นบาท ด้านทรูเตรียมเยียวยาให้กับลูกค้ามอบสิทธิพิเศษแก่สมาชิกระหว่างการแข่งขันยูโร
 
13 มิ.ย. 55 - ครอบครัวข่าวรายงานว่านายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็มแซท ชี้แจงเหตุผลที่สหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรป หรือยูฟ่า ปฏิเสธให้ทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 ว่า การทำหนังสือขออนุญาตรับช่วงถ่ายทอด ได้ล่วงเลยระยะเวลาการขออนุญาต เพราะการแข่งขันได้เริ่มต้นไปแล้ว และการออกอากาศของช่อง 3,5 และ โมเดินไนน์ ที่ออกอากาศทางทรูวิชั่น เป้นการเสียค่าบริการรายเดือน จึงไม่สามารถถ่ายทอดได้อีก
 
ส่วนการประชุมบอร์ด กสทช.เมื่อวานนี้ ยืนยันให้ทรูวิชั่นเสียค่าปรับวันละ 20,000 บาท หากไม่สามารถทำให้ลูกค้าทรูวิชั่นรับชมการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 แต่ยังเปิดโอกาส
 
ทรูวิชั่นส์ยอมรับจอดำตลอดแข่งขันยูโร
 
ด้านสำนักข่าวไทยรายงานว่านายสมพันธ์ จารุมิลินท รองประธานกรรมการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) แถลงกรณีสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ไม่ให้ทรูวิชั่นส์ออกอากาศการถ่ายฟุตบอลยูโรผ่านฟรีทีวีที่รับชมผ่านกล่องทรูวิชั่นส์ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากบริการของทรูเป็นเพลย์ทีวี ทำให้ปัญหาการรับชมฟุตบอลยูโรของสมาชิกทรูและความพยายามของทรูที่ผ่านมา เป็นอันต้องสิ้นสุดลง โดยยอมรับว่าตลอดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ลูกค้าสมาชิกของทรูจะไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดได้ ก็เป็นเรื่องที่ทรูรู้สึกผิดหวังและเสียใจกับคำวินิจฉัยของยูฟ่า โดยเห็นว่าขัดธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา วันนี้ผู้บริหารทรูได้นำตารางตัวอย่างการออกอากาศ การถ่ายทอดฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ใหญ่ ๆ ซึ่งมีเอกชนไทยเข้าไปร่วมประมูลซื้อลิขสิทธิ์ระหว่างปี 2000-2011 ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเอกชนรายใดประมูลลิขสิทธิ์ได้ ผู้รับชมฟรีทีวีก็จะสามารถรับชมการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬานั้น ๆ ได้ แตกต่างจากการแข่งขันฟุตบอลยูโร ที่ผู้รับชมของทรูไม่สามารถรับชมได้
 
ทั้งนี้ หลังจากเกิดความชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถรับชมฟุตบอลยูโรได้ ทรูก็จะมีการเยียวยาให้กับลูกค้าทรู เช่น มอบสิทธิพิเศษแก่สมาชิกระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม สมาชิกของทรู ซื้อแพคเกจแพลทตินัมชมในอลาคาร์ตแพคเกจ เพิ่มรวมอีก 9 ช่อง ส่วนสมาชิกโกลด์แพคเกจ จะรับชมรายงานในแพลตตินัมแพคเกจ ส่วนสมาชิกแพคเกจอื่น ๆ ก็จะรับชมช่องกีฬาทรูสปอร์ตช่อง 1,2,3,4,5 และ 6 ได้
 
นายสมพันธ์ กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นในปีนี้ทรูหวังว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบผู้รับชมฟรีทีวีของประเทศไทย โดยทรูหวังว่าลักษณะเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก และขอเอาใจช่วยให้คณะกรรมการ กสทช. เร่งแก้ปัญหาด้วยการวางหลักเกณฑ์ เพื่อรักษาสิทธิ์ของผู้รับชมฟรีทีวีให้เป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ผู้รับชมทีวีถูกละเมิดในอนาคต ส่วนกรณีแกรมมี่จะเข้าร่วมประมูลฟุตบอลพรีเมียร์ลีกด้วยนั้น ที่ผ่านมาขอยืนยันว่าทรูกับแกรมมี่ไม่ได้เป็นศัตรู โดยกรณีแกรมมี่จะประมูลพรีเมียร์ลีก ก็จะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถประมูลขายลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผู้ประมูลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในอนาคตหากทรู ได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และมีการเผยแพร่ฟุตบอลผ่านฟรีทีวี ผู้ติดตั้งกล่องของแกรมมี่ก็จะสามารถรับชมการถ่ายทอดฟุตบอลผ่านฟรีทีวีได้ด้วย โดยไม่มีการบล็อกสัญญาณแต่อย่างใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูโร 2012: แฟนบอลโปแลนด์ปะทะรัสเซีย

Posted: 13 Jun 2012 05:38 AM PDT

แฟนบอลเลือดร้อนก่อเหตุทะเลาะวิวาทบนถนนหลวงสายหนึ่งในกรุงวอร์ซอ ก่อนเกมที่โปแลนด์และรัสเซียจะลงสนามในศึกยูโร 2012

สำนักข่าวไทยรายงานว่าเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. แฟนบอลโปแลนด์และรัสเซียจำนวนหนึ่งได้ปะทะกันบนถนนหลวงที่เป็นเส้นทางไปยังสนามเนชั่นแนล สเตเดียม ก่อนการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 นัดที่ 2 ของกลุ่ม A ภาพจากสถานีโทรทัศน์ของโปแลนด์แพร่ภาพแฟนบอลที่สวมหน้ากากและตรงเข้าทำร้ายร่างกายแฟนบอลฝั่งตรงข้าม หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันระหว่างเดินทางเข้าชมการแข่งขัน รวมทั้งขว้างปาพลุไฟและสิ่งของต่างๆ ที่หาได้จากริมถนน จนทำให้มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากเหตุการณ์ปะทะกันอย่างน้อย 2 ราย ก่อนที่ตำรวจจะเข้าระงับความรุนแรง

รายงานข่าวระบุว่า ในเกมที่ทั้งสองจะพบกันนั้น มีแฟนบอลชาวรัสเซียกว่า 5,000 คน เข้าชมการแข่งขัน และจำนวนหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเดินทาง ขณะเดียวกันยังมีแฟนบอลที่เฝ้าชมการแข่งขันอยู่บริเวณแฟนโซน ที่ทางการโปแลนด์จัดไว้สำหรับชมเกม สำหรับสาเหตุที่ทำให้แฟนบอลรัสเซียจำนวนมากเดินทางมายังกรุงวอร์ซอ เนื่องจากวันที่ 12 มิถุนายน เป็นวันชาติรัสเซีย จึงทำให้มีแฟนบอลรัสเซียจำนวนมากต้องการแสดงออกถึงความรักชาติด้วยการเดินทางมาเชียร์ทีมชาติที่จะแข่งขันกับโปแลนด์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น