โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กองทัพบกแจง 6 ศพวัดปทุมฯ

Posted: 19 Jun 2012 02:41 PM PDT

19 มิถุนายน 2555 พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก แถลงและชี้แจงกรณีที่ศาลอาญากรุงเทพใต้พิจารณาไต่สวนพยานกรณีการการเสียชีวิต 6 ศพ ที่วัดปทุมวนาราม โดยพยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สอบสวนได้ให้การว่า การเสียชีวิตผู้ผู้ชุมนุมเกิดจากอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ และมีวิถีกระสุนจากบนลงล่าง ทั้งนี้ รองโฆษกกองทัพบกระบุว่า มิได้มุ่งหวังจะให้เกิดผลกระทบสถานการณ์บ้านเมือง แต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริงจากหลักฐานทีเกิดขึ้น จึงขอชี้แจงใน 3 ประด็น ดังนี้

1.ประเด็นผู้เสียชีวิต 5 ศพ ถูกยิงด้วยกระสูน .223 หัวสีเขียว ซึ่งเป็นกระสุนที่ใช้กับ M 16 และ ทราโว ที่มีการระบุว่ามีใช้เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้น ในข้อเท็จจริงคือ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 เจ้าหน้าที่ได้ถูกปล้นปืน และกระสุนที่บริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นอาวุธปืนทราโว จำนวน 12 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนขนาด.223 หัวสีเขียว จำนวน 700 นัด ปืนลูกซอง จำนวน 35 กระบอก พร้อมกระสูนยาง 1,152 นัด และในวันเดียวกัน 

เจ้าหน้าที่ทหารได้ถูกปล้นปืนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นปืนนทราโว 13 กระบอก และวันที่ 15 พ.ค. 53 เจ้าหน้าที่ได้ถูกปล้นปืนบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เป็นอาวุธปืน M 16 2 กระบอก และกระสุน M 16 อีก 100 นัด ซึ่งปืนและกระสุนปืนที่ถูกปล้นไปเหล่านี้ มีหลักฐานพบว่าได้ถูกนำมาใช้ก่อเหตุในหลายๆ เหตุการณ์ โดยขณะนี้ทางกองทัพได้อาวุธปืนคืนมาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่อาวุธปืนส่วนใหญ่ที่ถูกปล้นไปยังไม่ได้รับคืน 

2.ประเด็นการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ที่ระบุว่าไม่พบร่องรอยจากการยิงจากบริเวณด้านล่างขึ้นไปบนสถานีรถไฟฟ้านั้น ในข้อเท็จจริงการเคลื่อนย้ายกำลังของเจ้าหน้าที่ทหารขณะนั้น ไม่สามารถผ่านแยกเฉลิมเผ่าเข้าไปได้ เนื่องจากชายชุดดำที่อยู่บนพื้นราบได้ยิงสกัดกั้นเจ้าหน้าที่ไม่ให้มีการเคลื่อนกำลังเข้าไป และการตรวจสอบของพนักงานสอบสวนที่ได้สอบสวนพยานเจ้าหน้าที่ทหารได้ให้การถึงชายชุดดำว่า 

ชายชุดดำได้หลบอยู่บริเวณตอหม้อต้นที่ 1 นับจากบริเวณแยกเฉลิมเผ่า และได้ใช้อาวุธปืนความเร็วสูงยิงใส่เจ้าหน้าที่ โดยสังเกตได้จากกระสุนปืนที่ไปกระทบกับตอหม้อและคานปูนของรางรถไฟฟ้า ซึ่งแตกกระจายและมีฝุ่นตกลงมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน และมีภาพถ่ายของรอยกระสุนอยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสยาม แต่ไม่มีการกล่าวถึง

3.ประเด็นภาพถ่ายของประจักษ์พยานที่นำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหลังเกิดเหตุ พบว่า บนรางรถไฟมีเพียงเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่ประจำอยู่ ทั้งนี้ข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่ทหารวางกำลังอยู่บนรางรถไฟฟ้าจริง แต่การวางกำลังไม่ได้วางตลอดแนว เพราะถูกขัดขวางตลอดเวลา แนวที่วางกำลังไปได้แค่จากสถานีรถไฟฟ้าสยามถึงวัดปทุมเท่านั้น ซึ่งข้อมูลข้อเท็จจริงดังกล่าว กองทัพบกได้ส่งให้ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) คณะกรรมาธิการวุฒิสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและพิจารณาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ 

ทั้งนี้ กองทัพบกมิได้มุ่งหวังว่าจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงซึ่งกระบวนการยุติธรรม แต่คาดหวังว่าทุกฝ่ายจะทำหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งนี้ยืนยันว่า การชี้แจงครั้งนี้ไม่ได้เป็นคำสั่งจากผบ.ทบ.แต่อย่างใด แต่กองทัพบกเกรงว่า ประชาชนอาจเกิดความเข้าใจผิดไปจากข้อเท็จจริงจึงอยากชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงตามหลักฐานที่เกิดขึ้น

 

.......................
เรียบเรียงจาก: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ เว็บไชต์ไทยรัฐ และเอเอสทีวีผู้จัดการ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาก 7 ต.ค.-พ.ค.53 คำถามต่อ "แพทย์" ถึงการให้ความช่วยเหลือ

Posted: 19 Jun 2012 11:38 AM PDT


ภาพจาก The doctr (CC BY-NC-ND 2.0)

 

 

(19 มิ.ย.55) ในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “แผ่นดินเดียวกันแต่เหมือนอยู่คนละโลก ? : วาระการวิจัยเพื่ออนาคต” ผกาวดี สุพรรณจิตวนา นักวิชาการสาธารณสุข เสนองานวิจัยเรื่อง “การช่วยเหลือทางการแพทย์ในสถานการณ์ความรุนแรงกับพลวัตของความไว้วางใจ” โดยกล่าวว่า เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดคำถามคือ กรณี เสธ.แดง ที่ถูกยิงห่างจากประตูโรงพยาบาลจุฬาฯ ไม่เท่าไหร่ แต่ถูกนำส่งโรงพยาบาลที่ไกลออกไปมาก ประเด็นสำคัญคือ เกิดอะไรขึ้นกับความไว้วางใจของบุคลากรหรือของสถาบันทางด้านการรักษาพยาบาล จนทำให้ไม่กล้านำคนเจ็บสาหัสเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ได้ชื่อว่าอันดับหนึ่งของประเทศ

โดยเมื่อย้อนดูที่มา จะพบการแสดงบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์หลายอย่างที่นำมาสู่จุดนั้น บุคลากรทางการแพทย์หลายคนแสดงจุดยืนโดยไม่ใช่ความรู้ทางการแพทย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่บอกว่าในฐานะแพทย์ รู้สึกหรือมีจุดยืนอย่างไรกับความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิด

อีกกลุ่มคือกลุ่มที่เอาความรู้ความสามารถทางการแพทย์มาเป็นเงื่อนไขทางการเมืองเรียกร้องประเด็นบางอย่างทางการเมือง เช่น การแถลงข่าวงดตรวจตำรวจในเครื่องแบบ ประเด็นนี้ก่อให้เกิดการวิจารณ์จริยธรรมทางการแพทย์อย่างรุนแรงทั้งในกลุ่มแพทย์เองและสังคมทั่วไป หรือการใช้ความรู้ทางการแพทย์เจาะเลือดไม่ใช่เพื่อการรักษา แต่เพื่อแสดงออกทางการเมืองว่า พร้อมพลีเลือดเพื่อประเทศชาติ ทั้งสองกรณีนี้เป็นกลุ่มที่บอกว่าความรู้ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้สนับสนุนทางการเมือง

และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่บอกว่า ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ใครเข้ามาก็รักษา ปัญหาคือพื้นที่รักษาอยู่ตรงไหน โดยพื้นที่ที่เข้าไปรักษาบางครั้งเกี่ยวข้องกับการบอกว่าตัวเองอยู่ข้างไหน ทั้งนี้ บางที ทำงานอยู่ที่เดิม แต่ถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นกลาง

ผกาวดีชี้ว่า บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อยสามบทบาทซ้อนทับกัน และไม่สามารถแสดงความชัดเจนในตัวเองออกมาได้ โดยการอ้างว่า ให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด บางทีไม่ได้ถูกสาธารณชนรับรู้ในลักษณะนั้น โดยเฉพาะคู่กรณีของแต่ละฝ่ายไม่ได้รับรู้ว่าความเป็นกลางของบุคลาการทางการแพทย์ในช่วงที่มีวิกฤตทางการเมืองนั้นเป็นกลางจริงหรือไม่ จนนำมาสู่การบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อตรวจค้นในเดือนเมษายน หรือประนามบุคลาการทางการแพทย์ในหลายเหตุการณ์ว่าไม่มีจริยธรรม

คำถามคือ เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ ควรทำอย่างไร อยู่เฉยๆ ใครเข้ามาก็รักษา หรือเมื่อถูกกล่าวหาจะทำอย่างไร และเครื่องมือ-ความรู้ทางการแพทย์ สามารถเป็นเงื่อนไขในการแสดงความเห็นทางการเมือง ได้หรือเปล่า ทำให้เกิดสันติวิธีหรือลดความรุนแรงได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม เรื่องการช่วยเหลือหรือการแทรกแซงทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นในต่างประเทศเช่นกัน โดยยังเป็นที่โต้แย้งกันอย่างมาก และปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อสรุป โดยการช่วยเหลือหรือการแทรกแซงทางวัฒนธรรมนั้นมีหลักการว่าต้องยึดความทุกข์-ความยากลำบากของมนุษย์ กรณีกาชาดมีหลักที่ยึดว่า ไม่เผยแพร่หรือประนามฝ่ายใดในพื้นที่ที่ตัวเองทำงาน แต่ก็มีแพทย์กลุ่มย่อยที่ทำงานกับกาชาด บอกว่ากาชาดไม่เป็นกลางจริง แต่สนับสนุนความรุนแรงให้ดำรงอยู่และรุนแรงมากขึ้น เพราะเมื่อเจอรัฐทำรุนแรง กลับปิดปากเงียบ ก้มหน้าก้มตารักษาต่อไป ด้วยเหตุนี้ แพทย์บางกลุ่มจึงแยกตัวออกมา โดยกลุ่มที่เด่นมากคือ กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน เพื่อเผยแพร่ว่าประเทศนั้นๆ รัฐบาลโหดร้ายกับประชาชนอย่างไร

อย่างไรก็ตาม การแยกตัวออกมาไม่ได้ทำให้เกิดคำถามเรื่องการปฏิบัติที่แตกต่างเท่านั้น แต่มีความไม่ไว้วางใจในจริยธรรมทางการแพทย์ในทางระหว่างประเทศด้วย ที่พูดถึงมาก คือ กรณีกาชาดในอิรักที่โดนทั้งคาร์บอมและระเบิดหลายครั้ง มีคำถามว่ากาชาดเข้าไปช่วยอย่างดีที่สุดแล้ว ทำไมจึงถูกทำร้าย ก็มีงานศึกษาพบว่า การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในอิรักทั้งหมด ถูกกำหนดโดยรัฐบาลจอร์จ บุชทั้งสิ้น โดยเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ทางการทหาร เพื่อให้ประชาชนอิรักหันมาหาสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังมีคำถามถึงอิสระในการให้ความช่วยเหลือด้วย โดยพบว่าองค์กรช่วยเหลือทางมนุษยชนหลายแห่งดำรงอยู่ด้วยเงินบริจาคโดยเฉพาะจากแถบยุโรปหรือสหรัฐฯ รวมถึงการบริจาคให้กับองค์กรต่างๆ ก็ขึ้นกับความสนใจของผู้บริจาค เช่น กรณีสึนามิอาจได้รับความสนใจมาก ขณะที่ไม่มีใครยอมบริจาคให้คองโก ซึ่งเกิดการฆ่าจำนวนมาก

รวมถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่เกิดจากการขยายขอบเขตหน้าที่จากการเป็นผู้ช่วยเหลือมาเป็นผู้สร้างเงื่อนไขให้เกิดสันติภาพ โดยในลิเบีย บาห์เรน ซีเรีย บุคลากรทางการแพทย์ถูกจับ ถูกฆ่า และถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งที่แพทย์ทำงานที่เดิม รักษาคนไข้ที่เดิม แต่ประเด็นคือชุมชนนั้นต่อต้านรัฐบาล เมื่อรัฐบาลทหารยึดพื้นที่นั้นได้ ก็จับแพทย์ที่ผ่าตัดผู้ประท้วงมาฆ่าด้วยข้อหาช่วยเหลือผู้ก่อการร้าย

"ส่วนของไทยเอง ตั้งแต่ 7 ต.ค.51 จนกระทั่งถึง 29 เม.ย.53 ในเหตุการณ์บุกโรงพยาบาลจุฬาฯ จะเห็นว่ามันมีปัญหาความไม่ไว้วางใจจากการแสดงบทบาทดังที่ดิฉันได้กล่าวมาตอนต้น แล้วสุดท้ายการปฏิเสธการรักษาแบบมีเงื่อนไขของแพทย์บางกลุ่มและการใช้ความรู้ทางการแพทย์แสดงออกทางการเมือง ย่อมนำไปสู่การที่มีทั้งแนวคิด จริยธรรมและหลักการปฏิบัติทางการแพทย์ที่มีการโต้แย้งกันอยู่และหาข้อสรุปไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดที่ตัวเองควรจะทำในแต่ละสถานการณ์ แม้จะประกาศว่าเป็นกลางอย่างที่สุดและไม่เลือกฝ่ายมากที่สุด สังคมก็ยังไม่สามารถรับรู้ในประเด็นนั้นได้ จึงกลายเป็นบริบทที่ยังท้าทายบุคลากรทางการแพทย์และบริบทในประเทศไทย ซึ่งความรุนแรงก็ยังไม่จบสิ้นซะทีเดียว"

อย่างไรก็ตาม ผกาวดีกล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้ว่ายังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยจากการได้มีการลงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อไปดูว่าผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรงมีการปฏิบัติทางการแพทย์อย่างไร เบื้องต้นพบว่า มีการใช้ความรู้ทางการแพทย์ตอบโต้กับอำนาจและความรุนแรง อาทิ การปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลคนไข้ที่ทหารต้องการตามจับ การห้ามไม่ให้ทหารเข้าไปตั้งค่ายในสถานีอนามัย หรือการยืนยันจะเข้าไปในพื้นที่ แม้จะถูกไล่จากประชาชนเพราะไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรบ.เชียงใหม่มหานคร:ขุนนางเอ็นจีโอและยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ?

Posted: 19 Jun 2012 10:08 AM PDT

การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ชุมชน   เพราะหากกระจุกอยู่ส่วนกลางจะทำอะไรไม่ได้ คอรัปชั่นจะเกิดขึ้นมาก บ้านเมืองแก้ปัญหาอะไรไม่ได้  ทหารก็ทำรัฐประหารได้ง่ายเพราะอำนาจกระจุก ถ้ากระจายไปสู่ชุมชน รัฐประหารทำไม่ได้ คอรัปชั่นยาก                                                                                                                                        

ประเวศ วะสี 

รัฐประหารคราวที่แล้วสำเร็จเพราะไม่กระจายอำนาจ หรือสำเร็จเพราะคณะรัฐประหารเขาเชิญเอ็นจีโอไปนั่งสภาครับ? ที่กระชับพื้นที่แล้วมีคนตายแล้วลากไปได้จนจบสมัยได้หน่ะ  ส่วนหนึ่งก็เพราะไปตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหรือปล่าวครับ ?                                                                                                                                   

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ 

 

กระแสการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการออก พรบ.เชียงใหม่มหานคร ภายใต้แนวคิด “จังหวัดจัดการตนเอง” (น่าจะความหมายเดียวกันกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่เปลี่ยนให้ดูเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง) ของเหล่า ขุนนางเอ็นจีโอ (ในที่นี่หมายถึงเอ็นจีโอสายอนุรักษ์นิยม)

ที่มี ประเวศ วะสี เป็นหัวขบวน ที่มีความเชื่อหรืออ้างว่า  จะเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางโครงสร้างอำนาจ เป็นการปฎิรูปโครงสร้าง  แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเหลือง-แดง  ระหว่างอำมาตย์-ไพร่ ได้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นประชาธิปไตยรากหญ้าหรือประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่น

ประหนึ่งว่า  แนวคิด” จังหวัดจัดการตนเอง”   เป็นยาแก้ได้สารพัดโรค

เหมือนดั่งเช่นที่ผ่านมาด้วยการท่องคาถา   “สภาองค์กรชุมชน”  “สิทธิชุมชน”   “จังหวัดบูรณาการ”  “เศรษฐกิจพอเพียง”  “ความเหลื่อมล้ำ”  “ การปฏิรูปประเทศไทย”   ฯลฯ  แล้วก็ละเมอเพ้อพกว่า แก้ได้สารพัดโรค

นับเป็นความเพ้อฝันเพ้อเจอยิ่งนัก หากไม่มี”เจตนา”บิดเบี้ยวการเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาธิปไตย? 

เนื่องจาก หากเหล่า “ขุนนางเอ็นจีโอ”  ให้ความสำคัญกับกติกาประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นดังที่แอบอ้าง  ก็ถือเป็นตลกร้ายสิ้นดี เพราะขัดแย้งในตัวมันเอง  ถ้าเสนอหรือยอมรับให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอิสระจากอำนาจส่วนกลาง  แต่กลับปฏิเสธไม่ยอมรับการเลือกตั้งผู้บริหารระดับประเทศตามวิถีรัฐสภา  หรือกติกาการเมืองประชาธิปไตยระดับประเทศ เหมือนที่ผ่านมาและเป็นอยู่

ขุนนางเอ็นจีโอ ควรยอมรับกติกา ประชาธิปไตย ยอมรับสิทธิคนส่วนใหญ่ และต่อสู้กันตามกติกา หนึ่งเสียงหนึ่งสิทธิ์ในการเลือกผู้บริหารปกครองประเทศ จึงจะทำให้ความขัดแย้งมีจุดลงตัวได้อย่างที่ควรจะเป็นเหมือนเช่นอารยประเทศ   มิใช่ไม่ยอมรับมติคนส่วนใหญ่อย่างที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยก่อวิกฤตการเมืองปัจจุบันอยู่ 

2.  นอกจากนี้พวก”ขุนนางเอ็นจีโอ” ยังได้มีการกล่าวอ้างว่า  แดงเหลืองยุติความขัดแย้ง และได้ร่วมมือกันเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าว

แต่บทบาทที่ผ่านมาที่ต้องบันทึกจดจำไว้ในประวัติศาสตร์ของประชาชนว่า  เหล่าขุนนางเอ็นจีโอกลุ่มนี้ได้สนับสนุนฝ่ายอำมาตยาธิปไตยทั้งที่เผยตัวชัดเจน และทั้งแบบอีแอบเหนียมอาย  ทั้งก่อนและรัฐประหาร 19 กันยายน 2549    รวมทั้งออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550   อันเป็นผลพวงของคณะรัฐประหาร   

บางคนดำรงตำแหน่งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  บางคนดำรงตำแหน่งเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่แต่งตั้งขึ้นโดย คณะรัฐประหารคมช.     

บางคนดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการปฏิรูปที่จัดตั้งขึ้น  โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ชน   ภายหลังการล้อมปราบสังหารประชาชน 93ศพได้เพียงไม่กี่วัน

คงไม่มีใครที่ต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ปฏิเสธการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพียงแต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้น เป็นส่วนหนึ่ง ต้องเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับของกระบวนการการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ระดับประเทศ

ไม่มีการเคลื่อนไหวฝ่ายประชาธิปไตยประเทศไหนในโลกที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง  แต่กลับหลีกเลี่ยงเมินเฉยต่อ “อำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย” ที่ยังดำรงอยู่และยังครอบงำกดทับอำนาจของประชาชนอยู่อย่างล้นฟ้า    เช่น  อำนาจกองทัพ   อำนาจศาล  เป็นต้น

การเคลื่อนไหวให้มีการกระจายอำนาจที่แท้จริง จึงต้องเคลื่อนไหวคัดค้านต่อต้านอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยอย่างปฏิเสธไม่ได้    ยิ่งสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน ดังนั้นเป้าหลักยุทธศาสตร์ใหญ่จึงอยู่ที่อำนาจนอกระบบ เป็นประเด็นใหญ่มิใช่ “จังหวัดจัดการตนเอง”  ที่อ้างว่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหารัฐประหารได้   อย่างที่ ประเวศ วะสี  เทศนาไว้

ตราบใดที่ต้องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น  แต่ยอมรับหรือสนับสนุนอำนาจนอกระบอบ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็เป็นเพียง”กลลวง” หรือ”วาทกรรมจอมปลอม” ของเหล่าขุนนางเอ็นจีโอที่ต้องการบิดเบือนการเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้นเองหาก 

“ขุนนางเอ็นจีโอ”   เป็นนักประชาธิปไตยเพียงพอ มีจิตใจไม่คับแคบ แม้จะมีความคิดอนุรักษ์นิยมก็ตาม พวกเขาควรเปลี่ยนความคิดคนที่พวกเขาทำงานด้วยที่เป็นเหลือง ให้รักประชาธิปไตยมากกว่า หรืออย่างน้อยเคารพกติกาประชาธิปไตย แม้ยังเป็นเหลืองอยู่ก็ตาม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แต่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กัน เพื่อไม่เกิดความเกลียดชังและความรุนแรงอย่างที่มิควรจะเป็นไม่ว่าจะเป็นเหลืองหรือแดงก็ตาม 

3. ภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475   ( “วันชาติ”   ปีนี้ครบรอบ 80 ปี)   คณะราษฎร มีข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและผลักดันรูปธรรมจัดให้มีการเลือกตั้งเทศบาล ขึ้น

“คณะราษฎร”  เป็นฝ่ายประชาธิปไตย มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย ต้องการผลักดันให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย  ต้องการให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ตามคำแถลงของคณะราษฎร

ภารกิจทางประวัติศาสตร์ของคณะราษฎร ต้องการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์  สร้างประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ  มีหลักนิติธรรม นิติรัฐ  มีการเลือกตั้งแบบรัฐสภา ไม่ต้องการให้อำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยอยู่เหนืออำนาจประชาชนในแผ่นดิน

แต่หัวขบวนการของจังหวัดจัดการตนเอง กลับอยู่ฝั่งตรงข้ามฝ่ายประชาธิปไตยมาตลอดสม่ำเสมอ และมิเคยสำนึกผิด หรือกล้ายอมรับว่าตนเองเป็นฝ่ายอำมาตยาธิปไตย จนถึงทุกวันนี้ 

ขณะที่ ร่างพรบ.เชียงใหม่มหานคร  ที่เป็นเป็นรูปธรรมจากแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง นั้น ในเนื้อหา   ยังมีคำถามถึงข้อเสนอ เช่นว่า สภาประชาชนท้องถิ่นมาจากไหน? ใครเลือก?  เลือกกันเองหรือ? คนเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ ถือเป็นภาคประชาชนได้หรือไม่ ?ยอมรับได้หรือไม่? หรือมีเฉพาะเครือข่ายภาคประชาชนของขุนนางเอ็นจีโอ ของหมอประเวศเท่านั้นหรือไม่ ?

การจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่นที่เป็นธรรม จะ เป็นไปได้อย่างไร  ?  เมื่องบประมาณแผ่นดินยังต้องจัดสรรให้อำนาจนอกระบบ จำนวนไม่น้อย  เช่น งบประมาณกองทัพ  งบประมาณองค์กรอิสระ  และอื่นๆและโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมจะเป็นไปได้อย่างไร ?

เนื่องเพราะ  ความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทยที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เฉกเช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ เกาหลีใต้    จึงมิมีเพียงความสัมพันทางอำนาจระหว่างรัฐส่วนกลาง กับท้องถิ่นเท่านั้น แต่มีความทับซ้อนภายใต้ภาวะ “รัฐซ้อนรัฐ “ดำรงอยู่จริง   และหน่วยงานราชการ หน่วยงานพิเศษ บางหน่วยงานที่มีอำนาจไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน แต่กลับมีพลังต่อรอง กับรัฐบาลอย่างที่เป็นอยู่ได้สูง หรือกลับมีอิทธิพลอำนาจเหนือรัฐและรัฐบาลด้วยซ้ำไป

นอกจากนี้แล้ว  กฎหมายเชียงใหม่มหานคร จะผ่านกระบวนการรัฐสภาได้อย่างไร ?  เมื่ออำนาจพิจารณากฎหมาย ส่วนหนึ่งอยู่ในมือของวุฒิสภา และจำนวนมากมาจากการลากตั้งของอำนาจคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งล้วนเป็นข้าราชการเก่าที่เคยชินมีแนวคิดรวมศูนย์อำนาจแบบฝ่ายอำมายาธิปไตย กฎหมายเชียงใหม่มหานคร จะถูกบิดเบือนบิดเบี้ยวไปเหมือนกฎหมายหลายฉบับที่ผ่านมาหรือไม่ ? 

4.  ที่กล่าวมาทั้งหมด  ผู้เขียนมิใช่ต้องการขัดขวางเส้นทางประชาธิปไตยท้องถิ่น  มิใช่ประเภท มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ   มิใช่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพียงแต่ต้องการตั้งคำถาม ถกเถียง ตรวจสอบและตั้งข้อสงสัยต่อบทบาทขุนนางเอ็นจีโอ (ที่แอบอ้างประชาธิปไตยท้องถิ่น แต่ชิงชังประชาธิปไตยระดับชาติพร้อมๆกับสนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย)

สำหรับผู้ร่วมขบวนที่ใฝ่ฝันถึงประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ถึงยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น ตราบที่สังคมไทย ยังมีคนโหยหารัฐประหาร และหลักการเสรีภาพ ความเสมอภาค อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน หลักการนิติรัฐ/นิติธรรม ยังคงถูกละเมิดย่ำยีอย่างชัดแจ้งทั้งโดยกองทัพ และกระบวนการตุลาการรัฐประหาร

ผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย จึงต้องต่อสู้กับอำนาจนอกระบบ   ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์   ไม่อาจเคลื่อนไหวการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นประเด็นเเดียว ต้องโยงใยประชาธิปไตยโดยรวมทั้งหมดอย่างมิอาจปฎิเสธได้

และหากตราบใด “ขุนนางเอ็นจีโอ”  ปฏิเสธกติกาประชาธิปไตยโดยรวมทั้งหมด  พวกเขาก็หาได้เป็นนักประชาธิปไตยที่แท้จริงซึ่งใฝ่ฝันถึงประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ดั่งที่คณะราษฎร ได้แผ้วถางเส้นทางไว้ไม่เพราะ ไม่มีประเทศไหนในโลกที่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ในขณะที่ยัง มีอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย ยังดำรงอยู่และมีอำนาจอย่างล้นฟ้า 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาไทบันเทิง: กรณี 'ดวงใจ' และ Thailand Got Talent : กลยุทธ์เรียกเรตติ้งอิงดราม่า

Posted: 19 Jun 2012 09:08 AM PDT

กลายเป็นประเด็นร้อนพูดกันปากต่อปากเมื่อสาวนางหนึ่งขึ้นเวทีรายการโชว์ความสามารถ Thailand Got Talent เธอจัดการถอดเสื้อชั้นใน จากนั้นป้ายสีและละเลงตัวไปทั่วผืนผ้าใบด้วยลีลาอันเร่าร้อน กรรมการทั้งสามคนเสียงแตกออกเป็นสอง ฝ่ายชายทั้งสองให้ผ่านด้วยเหตุผลว่านี่คือศิลปะเขารับได้ ส่วนฝ่ายหญิงเกิดภาวะไม่ถูกใจอย่างแรก ปฏิเสธจะให้ผ่านพร้อมสีหน้างุนงงกรรมการอีกสองท่านว่าให้ผ่านไปได้อย่างไร

กรรมการหญิงท่านนั้นแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง เธอเดินออกจากห้องส่งไปในทันทีทำให้รายการต้องยุติการถ่ายทำ (รายการนี้เป็นรายการบันทึกเทปและที่เราเห็นก็เป็นเทปเหตุการณ์) ทว่าเธอยังหยุด เธอเดินไปถามพิธีกรทั้งสองด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวว่าให้การแสดงแบบนี้ (ที่เธอบอกว่าไม่ใช่ศิลปะ) ผ่านเข้ารอบได้อย่างไร

นับแต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ถูกนำไปเสนอในข่าวเกือบทุกรายการ พาดหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ทุกหัว กลายเป็นประเด็นวิพากษ์ วิจารณ์ และวิเคราะห์ ทั้งบทบาทของกรรมการ และความเป็นศิลปะหรือไม่เป็นศิลปะของการแสดงในวันนั้นอย่างร้อนแรงในเฟซบุ๊ค กระแสความคิดแตกเป็นหลายฝ่ายเถียงกันเผ็ดร้อน

ในขณะที่หลายคนหลายฝ่ายพรมนิ้วบนคีย์บอร์ด คนที่ได้ประโยชน์จากดราม่าเหล่านี้คงกำลังหัวเราะร่า
คนได้ประโยชน์จากกรณีมีอยู่เจ้าเดียวคือบริษัทผู้ผลิตรายการนี้ หากลองมองพิจารณาจากสิ่งที่ได้เห็นในรายการก็เชื่อได้ไม่ยากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมเกิดจาการคิดวิเคราะห์ผลดีผลเสียไว้เรียบร้อยแล้ว

คุณคิดหรือว่าโปรดิวเซอร์ที่ควบคุมการผลิตรายการจะคิดและตัดสินใจไม่ได้ว่าการแสดงไหน “ควร” หรือ “ไม่ควร” ออกอากาศ กว่าจะมาเป็นโปรดิวเซอร์ได้ ต้องผ่านงานมาอย่างหลากหลายและโชกโชน ถูกเคี่ยวกรำด้วยระบบคิด “เฉพาะองค์กรบริษัท” ว่ารายการแบบไหน รสนิยมแบบใด รูปแบบการนำเสนอสไตล์ไหนที่จะสามารถสร้างความนิยมให้กับรายการตนได้มากที่สุด

รายการนี้เป็นรายการบันทึกเทป มิใช่รายการสด สิ่งที่คนดูได้เห็นร่วมกันคือนั่นเป็นรายการเทปที่สามารถตัดต่อ เลือกมุมกล้อง ตัดทิ้ง เซนเซอร์ได้อย่างมากมายดั่งใจโปรดิวเซอร์และผู้กำกับปรารถนา ปัญหาที่น่าคิดคือทำไมรายการเมื่อรู้ว่าการแสดงนี้ 'อาจ' ก่อปัญหาตามมาได้ ใยจึงเลือกนำเสนอ แถมที่สำคัญยังนำเอาเบื้องหลังที่กรรมการหญิงอารมณ์เสียและตามไปโวยวายอีก

เห็นแค่นี้ก็รู้แล้วว่าทีมงานตั้งใจปล่อยเทปนี้ออกมา พวกเขามีวิจารณญาณพอที่จะรู้ว่าแม้จะก่อให้เกิดปัญหาบางอย่างตามมา แต่สิ่งที่ได้รับคือการเป็น Talk of the Town นั้นสามารถเรียกเรตติ้งรายการในครั้งต่อไปให้พุ่งสูงได้อย่างที่ต้องการ ชั่งน้ำหนักแล้วคุ้มมากกว่าเสีย

ครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อกันว่า Camera never lies แต่ทุกวันนี้ความคิดแบบนี้คงเปลี่ยนไปเพราะอะไร ๆ ในทีวีคงเซ็ทกันไว้เสียหมด กลายเป็น Television and camera always lie. ต่างหาก

ทีมงานคงจับกลวิธีได้ (ไม่รู้เพราะอ่าน drama addict แล้วเกิดพุทธปัญญาหรือเปล่า) ว่าในโลกไซเบอร์มีโอกาสเกิดความขัดแย้งทางความคิด และถกเถียงกันด้วยคำรุนแรงทั้งมีเหตุผลและไม่มีเหตุผล แถไปก็เยอะ แถมรักใครจริงก็จะเคียงข้างเชียร์จนกว่าจะตายกันไปข้าง แล้วประเด็นไหนที่ร้อนขึ้นมาก็พลุ่งพล่านแบบไฟไหม้ฟาง คือร้อนไวและร้อนแรง แต่ดับเร็ว ดังนั้นกระแสสังคมที่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นได้รายวันแล้วเป็นประเด็นถกเถียงได้ทันที กลวิธีเรียกคนดูแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จมากเท่าอดีต สู้สร้างประเด็นร้อนในรายการเพื่อให้คนสนใจจนพูดคุยกันไปทั่ว จนคนจับตาดูกันทุกสัปดาห์ว่าอาทิตย์นี้จะมีเรื่องมหัศจรรย์อะไรอีก

หากสังเกตดูจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ ทีมงานคัดเลือกแล้วว่าจะให้คนแบบไหน การแสดงแบบใด ขึ้นเวที (เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ทุกการแสดงและทุกคนจะได้ขึ้นเวที เพราะต้องมีการออดิชั่นคัดให้ผ่านหรือไม่ผ่านสกรีนมาก่อนแล้ว) ด้วยการที่ทำรายการที่เน้นเร้าอารมณ์มาหลายงานและยาวนาน (ชมรมขนหัวลุกกับอารมณ์กระตุกขวัญ แฟนพันธุ์แท้กับอารมณ์ตื่นเต้นสุดขีดกับการลุ้นคำตอบจนกลายเป็นเครื่องหมายการค้าของปัญญา นิรันดร์กุล) ทีมงานย่อมรู้ดีว่าการแสดงเพียงอย่างเดียวอาจเรียกความสนใจได้ไม่มากพอและมีรายการอีกไม่น้อยที่มีลักษณะคล้ายกัน (อย่างเกมพันหน้าของค่ายทริปเปิลทู ก็ให้คนมาแสดงความสามารถเช่นกัน)

“หมากัดคนไม่เป็นข่าว แต่ถ้าคนกัดหมาเป็นข่าว” ฉันใดก็ฉันนั้น รายการจึงต้องสร้างความแปลก ความเฉพาะเจาะจงของแต่ละคนเพื่อการจดจำมากไปกว่าการแสดง คนดูจึงได้เห็นอัตถชีวประวัติแบบย่อ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันที่เลือกเอาเฉพาะความลำบากยากเค้นมาเสนอ เราจึงได้เห็นหญิงสาวเสียงดีแต่ยากจนร้องเพลง What's going on (เธอร้องดีจริง แต่แบคกราวด์ชีวิตเธอช่วยทำให้คนอินกับเสียงเธอขึ้นอีกสองเท่า) หรือกลุ่มเด็กพิการที่บ้านที่พักอาศัยกำลังประสบปัญหาการเงิน เป็นต้น

ผมเชื่อว่าทีมงานต้องรู้ว่าดวงใจ หญิงสาวจากแพร่มีการแสดงเป็นเปลือกอกวาดภาพ และทีมงานคาดผลไว้ว่าย่อมเกิดอะไรแบบนี้ (ลองนึกถึงการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หากมีนักศึกษาสักกลุ่มเสนอโครงร่างรายการว่าจะให้มีผู้หญิงมาใช้นมวาดรูป คงต้องถูกซักไซ้จากอาจารย์จนถึงที่สุดถึงความเหมาะสม) ที่สำคัญ ไม่แน่ว่าสิ่งที่เราเห็นในทีวีนั้นอาจจะมีความจริงบางชุดซ่อนแฝงอยู่ก็ได้

ความรู้สึกของผมในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา เห็นปฏิกิริยาในเฟซบุ๊คแล้วคล้ายกับเรากำลังกลายเป็นเหยื่อรายการทีวีอย่างไรไม่ทราบ หลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน นักวิชาการไม่น้อยวิเคราะห์กันว่านี่คือภาพนั้นเป็นศิลปะหรือไม่ บ้างก็ใช้แนวคิดเรื่องการเป็นขบถผ่านร่างกาย ด้วยมองว่าดวงใจกำลังแสดงผลงานผ่านนมที่เปลือยเปล่าอันสื่อถึงการขบถต่อจารีตสังคมที่ต้องแต่งกายปิดบังหน้าอก บ้างก็มองตามแมคลูแฮนว่ามนุษย์เองก็คือสื่อ การกระทำของดวงใจก็เป็นการสื่อสารโดยใช้ตัวเธอเป็นสื่อ (medium)

ไม่ว่าจะวิเคราะห์กันละเอียดขนาดไหน ทิศทางใด มุมมองจากใคร เหมือนเรากำลังเต้นไปตามเกมที่รายการได้เซ็ทไว้แต่แรก สมมติถ้าการกระทำของดวงใจเป็นเพียงการสั่งให้ทำจากโปรดิวเซอร์ ไม่ว่ามุมมองไหนอาจจะกลายเป็นมองผิดฝาผิดตัวเนื่องด้วยเจตจำนงของดวงใจที่บิดเบือนเปลี่ยนไป (ย้ำว่าสมมติ)

ผมเองหวังว่าน่าจะสามารถใช้ในการกระตุ้นให้คนดูหันมาสนใจการรู้เท่าทันสื่อมากขึ้น ในเมื่อทีวีไม่เคยให้ภาพความจริงแท้ กล้องไม่เคยเสนอภาพที่จริงร้อยเปอร์เซนต์ เราเองไม่มีวันรู้ว่าเบื้องหลังรายการทีวีหนึ่ง ๆ ลึกลับซับซ้อนขนาดไหน คนดูอย่างเรา ๆ ก็จงอย่างเชื่อสิ่งที่มองเห็นผ่านทีวีอย่างหมดใจเสียทันที

เพราะทีวีนั้นโกหกมาตลอดตั้งแต่วันที่ถูกกำเนิดขึ้นมา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา TCIJ: 'วารสารศาสตร์ตายแล้ว?' หนังสือพิมพ์ไม่รอด?

Posted: 19 Jun 2012 05:04 AM PDT

TCIJ จัดเสวนา ‘วารสารศาสตร์ยังเป็นวิชาชีพอยู่หรือไม่’ วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในวงการสื่อ นักวิชาการระบุสื่อเก่าไม่มีพื้นที่ให้คนทุกกลุ่ม ดันสื่อใหม่-สื่อออนไลน์โต บก.ประชาไทโยนระเบิด วิชาวารสารศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีในสังคมการเรียนรู้ปัจจุบัน การเขียนข่าวสามารถฝึกฝนได้ไม่ต้องจบวารสารฯ งานวิจัยชี้คนไทย 30 ล้านไม่อ่านหนังสือพิมพ์ แต่อ่านข่าวผ่านช่องทางอื่น บีบหนังสือพิมพ์ปรับตัวเพื่ออยู่รอด เรียกร้องปรับหลักสูตรวารสารฯ ต้องเน้นความรู้พื้นฐานให้นักข่าว รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูล เพิ่มความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่แค่รีทวิต

เทคโนโลยีเป็นมือที่มองเห็นชัดๆ ว่ากำลังขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างรวดเร็วและส่งผลสะเทือนไปยังทุกๆ องคาพยพ ในแวดวงสื่อสารมวลชน อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีคือนักเขียนแผนที่ผู้ขะมักเขม้นรื้อถอนภูมิทัศน์ของสื่อชนิดถอนรากถอนโคน นำพาความท้าทายใหม่ๆ ที่สื่อเก่าอาจไม่เคยเผชิญมาก่อน องค์กรสื่อหลายแห่งเริ่มปรับตัวในอัตราความเร็วที่แตกต่างกันไปเพื่อรับมือและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่อาณาเขตของสื่อใหม่ 

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีก็เอื้อให้คนธรรมดาที่อยู่ถูกที่ ถูกเวลา แปรฐานะเป็นสื่อพลเมือง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย ได้อย่างง่ายดาย และบ่อยครั้งที่มุมมองความคิดของสื่อพลเมืองมีความแหลมคมไม่ยิ่งหย่อนหรือบางครั้งก็เหนือกว่าตัวนักข่าวอาชีพ ภาวการณ์นี้ก่อเกิดข้อกังขาที่ตามมาเป็นลูกโซ่ว่า เกิดอะไรขึ้นกับสื่อมืออาชีพ เลยเถิดไปถึงต้นตอว่า เกิดอะไรขึ้นกับการผลิตนักข่าวของสถาบันการศึกษา ที่นับวันก็ดูเหมือนคุณภาพของนักข่าวจะไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถนำเสนอประเด็นสาธารณะที่แตกต่าง เชื่อมโยง แหลมคม ลึก และเข้มข้นได้ คำถามแรงๆ ที่เคยถามนานมาแล้ว จึงกลับปรากฏขึ้นอีกครั้งในยุคนี้ว่า ‘วารสารศาสตร์ยังเป็นวิชาชีพอยู่หรือไม่?’ เพราะนักข่าวอาชีพจำนวนไม่น้อยก็ไม่ได้ผ่านหลักสูตรด้านวารสารศาสตร์

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ร่วมกับโครงการสะพานของ United States Agency for International Development (USAID) จึงได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อนี้ขึ้น  เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา   เพื่อระดมสมองค้นหาคำตอบต่อปรากฏการณ์อันท้าทาย ท้าทายทั้งต่อสื่อมวลชน นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ และอาจหมายถึงสังคมไทยด้วย

การพิมพ์เพิ่มอำนาจประชาชน แต่ถูกทุนครอบงำทำให้ไม่รองรับคนทุกกลุ่ม
จากการซักถามผู้คนในวิชาชีพสื่อของ อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าวารสารศาสตร์ยังจำเป็นหรือไม่ คำตอบที่ได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ทางหนึ่งเห็นว่ายังจำเป็น เพราะวารสารศาสตร์จะมอบหลักการ ความคิดพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน เข้าใจบุคลิกของสื่อต่างๆ และรู้วิธีการสื่อสารให้ถูกต้องตามขนบหรือไวยากรณ์ของสื่อนั้น ที่สำคัญ จะมีความแม่นยำด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อมากกว่า ผู้ที่ไม่ได้จบมาโดยตรง 

คำตอบอีกแนวทางหนึ่งแย้งว่า นักข่าวไม่จำเป็นต้องจบวารสารศาสตร์ แต่สามารถเรียนรู้การเขียนข่าวจากการทำงานจริงได้ทันที ทั้งยังไม่เห็นว่า ผู้ที่จบด้านวารสารศาสตร์จะมีสิ่งที่เรียกว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้จบมาตรงไหน และเสนอด้วยว่า วารสารศาสตร์ควรเปิดสอนระดับหลังปริญญาตรี หลังจากเรียนศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ แล้ว

อรินตั้งต้นอธิบายผ่านกรอบประวัติศาสตร์ว่า ในอดีตที่การอ่านออกเขียนได้ผูกขาดอยู่กับชนชั้นนำในสังคม หมายถึงอำนาจก็ถูกผูกขาดด้วยเช่นกัน แต่การพิมพ์ทำให้อำนาจสั่นคลอนเพราะทำให้เกิดผู้ที่อ่านออกเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประวัติศาสตร์ดำเนินถึงจุดจุดหนึ่ง หนังสือพิมพ์จึงเกิดขึ้นและสอดรับกับแนวคิดประชาธิปไตยพอดิบพอดี เป็นที่มาของคำว่า เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน

“แต่เมื่อสื่อมวลชนเข้าสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบภายใต้ทุนนิยมที่หล่อเลี้ยงด้วยการลงทุนและกำไร ผู้อ่านก็เริ่มเปลี่ยนไป จากพลเมืองกลายเป็นลูกค้า มีการประหยัดการลงทุนด้วยการขยายกิจการข้ามสื่อ เนื้อหาสำเร็จรูปแบบเดียวใช้ได้กับทุกช่องทาง เน้นข่าวเข้าใจง่ายๆ แบบมุมมองขาวกับดำทั้งที่สังคมซับซ้อนขึ้น ผลก็คือ ระบบการสื่อสารของสังคมจึงไม่มีพื้นที่รองรับคนทุกกลุ่ม และคนที่จบด้านวารสารศาสตร์มาทำอาชีพนี้ก็มักถูกตั้งคำถามถึงการทำหน้าที่ตามปรัชญาแห่งวิชาชีพอยู่เสมอ”

นักข่าวเชื่อมโยงความรู้ไม่ได้ จึงขาดการตั้งคำถาม
ในมุมมองของอริน แม้ว่าหลักสูตรวารสารศาสตร์จะมีการสอนวิชาพื้นฐาน เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ประวัติศาสตร์ แต่ปัญหาคือให้ความสำคัญแค่ไหนและสามารถฝึกให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้และประเด็นที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสาขาวิชาได้หรือไม่ อรินยกตัวอย่างข่าวการขึ้นค่าแรง 300 บาท ที่สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่มุ่งนำเสนอแต่ปัญหาจากการขึ้นค่าแรง แต่ไม่ค่อยเปิดพื้นที่ให้กลุ่มแรงงานได้ส่งเสียงมากนักและดูเหมือนจะมองไม่เห็นโครงสร้างที่กดทับแรงงานอยู่ 

“เมื่อเชื่อมโยงความรู้จากวิชาพื้นฐานได้ไม่ดีพอ ไม่มีพื้นที่ให้ มันจึงเกิดแนวคิดและการดำเนินการที่ท้าทายสื่อหลัก อย่างสื่อทางเลือก สื่อพลเมือง สื่อชุมชน เพราะของเดิมไม่ตอบโจทย์พวกเขา มันสร้างญัตติสาธารณะของพวกเขาขึ้นไม่ได้ เมื่อสร้างไม่ได้ก็เชื่อมโยงพลังของสังคมได้ไม่มากพอที่แก้ไขปัญหา”

ที่ผ่านมาจึงเกิดกรณีที่สื่อหลักดึงข่าวจากสื่อทางเลือกมารายงาน ซึ่งด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่า หากสื่อหลักไม่ปรับตัว ผู้อ่านก็ไม่อ่าน

เทคโนโลยีลดอำนาจสื่อ เพิ่มอำนาจผู้อ่าน กดดันนักข่าวให้รับผิดชอบมากขึ้น
นอกจากนี้ อรินยังเห็นว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ประชาชนสามารถสื่อสารสู่สาธารณะได้ง่ายและไม่มีใครควบคุมช่องทางการสื่อสารใหม่ได้ สถานการณ์เช่นนี้กำลังสั่นคลอนอำนาจที่เคยอยู่เฉพาะในมือสื่อมวลชนแต่เดิม และเกิดกระบวนการประชาธิปไตยและการสื่อสารขึ้น เนื่องจากนักข่าวไม่ใช่ผู้เดียวที่เป็นผู้รักษาช่องทางการสื่อสารอีกต่อไป แต่โอนไปยังทุกคนจึงเท่ากับเป็นการกระจายอำนาจการผลิตและอำนาจการควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร อำนาจการนิยามความจริงก็ถูกกระจายออกไปสู่ใครก็ได้จากที่เคยมีแต่นักข่าวเป็นผู้กำหนดวาระความคิด การควบคุมโดยรัฐและทุนทำได้ยากขึ้นเนื่องจากมีผู้ให้บริการมากขึ้นเท่ากับกระจายอำนาจการให้บริการ และจากเดิมที่ผู้อ่าน/ผู้ชมถูกกำหนดให้เลือกเสพข้อมูลข่าวสารที่สื่อกำหนดมา แต่ยุคนี้เสรีภาพในการอ่านมีมากขึ้น ทางเลือกมีมากขึ้น

“พฤติกรรมการอ่านยุคใหม่จึงเป็นการกวาดสายตาไปเรื่อยๆ เพื่อหาข้อมูลเฉพาะที่สนใจมากกว่าอ่านรายละเอียด ซึ่งก็มีปัญหาในตัวเอง เพราะคนอ่านจะมีหน้าจอเป็นโลกแห่งความจริง สิ่งที่มานอกช่องทางกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง และยังอาจมีปัญหาเรื่องความถูกต้องหรือไม่ก็เป็นข้อมูลที่ผลิตขึ้นมาโจมตีกัน”

อรินทิ้งคำถามไว้ว่า อันที่จริงสื่อหลักถูกท้าทายมานานแล้ว การที่สื่อใหม่มีเนื้อหาที่เป็นทางเลือก สร้างบทบาทให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น มีมุมมองแหลมคมขึ้น ซึ่งความสำเร็จของสื่อทางเลือกและการมีส่วนร่วมของคนทั่วไปกับสื่อใหม่ สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความไม่สำเร็จของสื่อที่มีอยู่แต่เดิมหรือเปล่า ปัจจุบันสื่อหลักจึงกำลังถูกกดดันให้มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะมากขึ้นเรื่อยๆ

อรินสรุปในช่วงท้ายว่า การที่ใครก็สามารถสื่อสารได้ผ่านช่องทางของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาสื่อ สะท้อนว่าที่ผ่านมาสื่อเองต่างหากที่ไม่ค่อยสนใจใคร การเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องไปสู่ปรัชญาแห่งวิชาชีพด้านวารสารศาสตร์อย่างเข้มข้น ผลิตนักศึกษาที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้และประเด็นทางสังคมได้ อรินยังมองว่า จะอย่างไรก็ตามการผลิตข่าวยังคงต้องยึดหลักการทางวารสารศาสตร์ เพราะบางครั้งประชาชนก็ไม่มีเวลาและทักษะเพียงพอ นักวิชาชีพต้องเข้ามาทำในส่วนนี้ วารสารศาสตร์ต้องช่วยเป็นอาวุธให้สาธารณะและพลเมืองให้มีความกระตือรือร้นมากขึ้น

ระหว่างนี้ ผู้ร่วมอภิปรายท่านหนึ่งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า เหตุที่วิชาวารสารศาสตร์กำลังตกต่ำ ปัญหาน่าจะอยู่ที่โรงเรียนผลิตครูวารสารศาสตร์ที่ผลิตซ้ำอยู่แบบเดิมทั้งที่สังคมเปลี่ยนไป โรงเรียนวารสารศาสตร์และแหล่งผลิตครูวารสารศาสตร์ที่มาสอนนักศึกษาวารสารศาสตร์ก็หยุดนิ่งอยู่กับที่ เปลี่ยนเฉพาะเครื่องมือ ขณะที่ตั้งแต่ยุค 1980 วิชาวารสารศาสตร์ในต่างประเทศมีการเชื่อมโยงผสมผสานกับต่างวิชาแล้ว เช่น เศรษฐศาสตร์การสื่อสาร การสื่อสารทางการเมือง สังคมวิทยาการสื่อสาร แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีการสอน นักศึกษาต้องเป็นผู้เชื่อมโยงเอง ซึ่งก็ขึ้นกับอัตวิสัยของนักศึกษาแต่ละคนว่าจะมีความ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้มากเพียงใด

บก.ประชาไทย ยันวิชาวารสารศาสตร์ไม่มีความจำเป็นอีกแล้ว
มุมมองของอรินยังเป็นไปในเชิงประนีประนอมและตั้งคำถามว่า วารสารศาสตร์ควรจะปรับตัวให้ทันโลก แต่ในมุมที่สุดขั้วกว่าของชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท เห็นว่าวิชาวารสารศาสตร์ไม่มีความจำเป็นอีกแล้วท่ามกลางสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ การฝึกฝน และทักษะต่างๆ ผ่านโลกไซเบอร์ ส่วนประเด็นจรรยาบรรณ ชูวัสก็ไม่เห็นว่านักข่าวที่ผ่านการเรียนวารสารศาสตร์จะมีมากน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เรียนตรงไหน ดังนั้น วิชาวารสารศาสตร์จึงควรยกไปอยู่ในระดับปริญญาโทมากกว่า และเน้นการเรียนในเชิงทฤษฎีและปรัชญา

ชูวัสอธิบายความแตกต่างของนักข่าวออนไลน์ซึ่งจะเกี่ยวพันถึงการปรับตัวที่ควรจะเป็นของวิชาและวิชาชีพวารสารศาสตร์ผ่านประสบการณ์ของประชาไทว่า สำหรับประชาไทที่วางตำแหน่งตนเองเป็นสื่อทางเลือก ส่งผลต่อการกำหนดความเป็นนักข่าวว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร ข้อจำกัดในยุคแรกๆ ที่ประชาไทเผชิญคือการมีนักข่าวน้อย ไม่เพียงพอที่จะไปประจำตามสถานที่ต่างๆ จึงต้องเขย่าระบบการทำงานใหม่ตามต้นทุนในมือ โดยดึงนักข่าวทุกคนเข้าสำนักงานและแต่ละคนต้องตามประเด็นหลากหลาย ไม่วิ่งตามกระแสรายวัน เน้นการทำข่าวที่ไม่เป็นข่าว และกล้านำเสนอข่าวที่สื่อกระแสหลักไม่เอ่ยถึง ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าทำให้ประชาไทเป็นที่รับรู้ของสังคมผ่านข่าวกรณีตากใบ จังหวัดนราธิวาส

สื่อออนไลน์เปลี่ยนขนบ-วิธีทำงาน ช่วยพัฒนานักข่าว
“ผมจึงคิดว่าที่ทางของสื่อทางเลือกมี เพียงแต่ต้องหานักข่าวต้องปรับตัวตามสภาพของสื่อ ทฤษฎีที่เรียนกัน สามเหลี่ยมหัวคว่ำที่เนื้อหาสำคัญที่สุดจะต้องอยู่ส่วนบนไล่เรียงความสำคัญลงมาถึงน้อยที่สุด มันเกิดขึ้นตามข้อจำกัดของเนื้อที่กระดาษให้บรรณาธิการตัดส่วนท้ายทิ้งไปได้ แต่มันใช้ไม่ได้บนพื้นที่ออนไลน์ที่ไม่จำกัด ขนบ วิธีการเขียนข่าว วิธีคิดต่อข่าว มันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว”

พื้นที่และขนบที่แตกต่างของนักข่าวออนไลน์สร้างจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวมันเอง ชูวัสกล่าวว่า เมื่อพื้นที่ไม่จำกัด ข่าวที่นักข่าวออนไลน์เขียนจึงสามารถลงรายละเอียดได้โดยปล่อยภาระความยาวของเนื้อหาให้เป็นของผู้อ่าน การทำข่าวงานเสวนาหรือสถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นการ ‘ฟังยาว’ ‘ตามยาว’ ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้ของนักข่าวไปในตัว อีกประการคือทำให้หน้าที่ของนักข่าวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะมันบังคับให้นักข่าวต้องเป็นบรรณาธิการ ต้องรีไรท์งาน ต้องรู้หลายสาขาที่ติดตาม และต้องเชื่อมโยงข้อมูลได้ ขณะเดียวกัน จุดอ่อนก็เกิดขึ้นเมื่อนักข่าวออนไลน์มักจะไม่คลุกคลีกับแหล่งข่าว ทำให้ไม่มีแหล่งข่าวเชิงลึกเหมือนสื่อรายวันที่อยู่ตามกระทรวงซึ่งจะสนิทกับนักการเมืองมาก เอื้อให้เกิดข่าวเจาะได้ง่ายกว่าสื่อทางเลือก ชูวัสคิดว่าอาจจะไม่เป็นธรรมนักที่จะเรียกร้องข่าวเจาะในเชิงข้อมูลลับจากนักข่าวออนไลน์

“ทั้งหมดนี้ผมสรุปได้ว่า สื่อทางเลือกหรือนักข่าวประชาไทมีแนวโน้มที่จะเป็นนักกิจกรรมที่มีข่าวเป็นเครื่องมือ เนื่องจากคลุกคลีกับปัญหาเยอะ ไม่ใช่นักข่าวที่มีอุดมคติในแบบเดิม”

นักข่าวไม่ต้องจบวารสารฯ แต่ต้องขยันเรียนรู้
แล้วประชาไทจะรับนักข่าวแบบไหน ในมุมมองของชูวัสที่ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้มากกว่าการเรียนในห้องเรียน แน่นอนว่า ผู้จบวารสารศาสตร์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลือกแรก แต่จะดูความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เป็นสำคัญ เพราะทักษะการเขียนข่าวไม่ใช่เรื่องยากและสามารถฝึกฝนได้ในเวลาไม่นาน แต่ที่ยากและต้องอาศัยเวลามากกว่าคือการขลุกกับประเด็นปัญหา การหามุม การเหลาประเด็นข่าว ซึ่งชูวัสเชื่อว่าสื่อทางเลือกจะเอื้อกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ได้มากกว่าสื่อกระแสหลัก

“สรุปจาก 7 ปีของประชาไท ถ้าผมจะรับนักข่าว ผมอยากรับนักข่าวที่ไม่ต้องเขียนข่าวเป็น ไม่ต้องท่องจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ สิ่งเหล่านี้มาเรียนรู้ทีหลังได้ ขอแต่เพียงมีของ แล้วมาผสมกับพวกเรา ช่วยกันสร้างนวัตกรรม ผมจะรับคนแบบนี้”

คนไทย 30 ล้านไม่อ่านหนังสือพิมพ์ แต่เลือกสื่อประเภทอื่น บีบหนังสือพิมพ์ปรับตัว
ด้าน ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้ทำวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่านของหนังสือพิมพ์ไทยไปสู่ยุคดิจิตอล กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้หนังสือพิมพ์ในต่างประเทศกำลังประสบปัญหาจำนวนผู้อ่านลดลง ซึ่งหมายถึงเม็ดเงินจากโฆษณาที่ลดลงต่อเนื่องด้วย ทำให้สื่อหลายสำนักต้องปฏิรูปองค์กร ปรับรูปแบบเนื้อหา พัฒนาศักยภาพนักข่าว และแสวงหาแหล่งรายได้อื่นเพิ่มเติม

ในส่วนของประเทศไทย แม้ยังไม่มีปรากฏการณ์ล้มละลายของหนังสือพิมพ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่ก็ถูกสื่อใหม่ดึงงบโฆษณาไปมาก และข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2551 ก็พบว่า คนไทยถึง 31,919,617 คน ระบุว่าไม่อ่านหนังสือพิมพ์ โดยเหตุผลที่มีผู้ให้มากที่สุดคือ สนใจสื่อประเภทอื่นมากกว่า หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกได้ว่า หากหนังสือพิมพ์ไม่ปรับตัวหรือปรับตัวไม่ทันก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะล้มหายตายจาก

งานศึกษาองค์กรหนังสือพิมพ์ 7 แห่งของ ดร.สุดารัตน์ พบว่า ทุกองค์กรตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์ที่มีต่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการประเมินศักยภาพขององค์กร ณ ปัจจุบัน หนังสือพิมพ์บางแห่งโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ฉบับเล็กๆ ดูจะไม่ค่อยกังวลนัก เชื่อว่าผลกระทบยังมาไม่ถึง เพราะผู้อ่านผูกติดอยู่กับคอลัมนิสต์เป็นหลัก สื่อจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ไม่น่าจะส่งผล ขณะที่บางฉบับคิดว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากเป็นองค์กรที่ไม่เก่ามากจึงมีการปรับตัวเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่บางฉบับก็ยอมรับว่าได้รับผลกระทบมาก ประเด็นที่น่าสนใจคือผู้บริหารหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบอกว่า ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือการดึงคนไปทำงานในสื่อใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า

ทุกองค์กรยังเห็นตรงกันว่าพฤติกรรมผู้อ่านเปลี่ยนไปมาก ผู้อ่านกลุ่มเดิมมีอายุมากขึ้น ขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่มีแนวโน้มที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะมีทางเลือกการบริโภคสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ช่วยตอบสนองการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าและเข้าถึงได้ตลอดเวลา

ในแง่ของการปรับตัวนั้น ดร.สุดารัตน์กล่าวว่า มีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญของแต่ละองค์กร ที่ผ่านมาจะได้ยินข่าวว่าองค์กรสื่อจัดหาอุปกรณ์สื่อสาร เช่น บีบี ไอแพด แอร์การ์ด ให้แก่นักข่าว บางแห่งมีนโยบายให้นักข่าวต้องมีเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ สำหรับเป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวในโซเชียล มิเดีย ถ้าหากองค์กรให้ความสำคัญมากก็จะจัดหาอุปกรณ์ให้แก่นักข่าวทุกคน ไม่ว่าจะเป็นซื้อให้หรือออกเงินให้บางส่วนก็แล้วแต่องค์กร ถ้าเห็นความสำคัญปานกลางก็จะให้อุปกรณ์เฉพาะหน่วย แต่ถ้าคิดว่ามีความสำคัญน้อยก็จะให้อุปกรณ์เฉพาะบางคนที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีมาตรฐานของการให้เทคโนโลยีไม่เท่ากัน

เร่งพัฒนาคน-ปรับเนื้อเบาลง รับพฤติกรรมการอ่านคนรุ่นใหม่
“ด้านการพัฒนาบุคลากรก็มีหลายแบบ บางที่รับคนใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีมาเสริม เก็บคนเก่าที่เนื้อหาแน่นๆ ไว้ หรือสมาคมวิชาชีพก็เป็นแหล่งอบรมฝึกฝนที่องค์กรสื่อจะส่งนักข่าวของตนไปร่วม รวมทั้งการจัดอบรมสัมมนาภายใน พบว่าทุกองค์กรเน้นตรงนี้ค่อนข้างมาก เช่น การชี้แจงนโยบาย การใช้สื่อใหม่ มีการอบรมการทำเว็บไซต์ การใช้บีบีในการทำรายงานข่าว การตัดต่อคลิปวิดิโอ”

ประเด็นข้างต้นเกี่ยวเนื่องกับการปรับเปลี่ยนกำลังคนที่มีหลายรูปแบบ บางแห่งใช้การเกษียณอายุก่อนเวลา หรือบางองค์กรที่ไม่รับคนใหม่ ยกเว้นส่วนที่จะดูแลเรื่องเทคโนโลยีและมัลติ-มิเดียซึ่งมักเป็นคนรุ่นใหม่ ก็จะใช้วิธีฝึกอบรมคนเก่าเพิ่มเพื่อให้คนเหล่านี้ทำงานได้หลากหลายสื่อมากขึ้น ทำงานรอบด้านมากขึ้น ด้านการบริหารจัดการจะเปิดโอกาสให้คนในองค์กรก้าวสู่ระดับบริหารก่อน หากไม่สามารถปฏิบัติงานถึงจะดึงบุคคลภายนอกเข้ามาบริหารแทน

“กรณีเดลินิวส์ที่ปรับเปลี่ยนกำลังคนโดยนำนักข่าวหน้า 1 ขึ้นมารับผิดชอบข่าวทีวีสลับกับข่าวออนไลน์ เพื่อจะดูว่าคนไหนน่าจะไปต่อได้ และให้เลือกทิศทางที่อยากไป”

แน่นอนว่า ช่องทางและพฤติกรรมการอ่านที่ไม่เหมือนเดิม เนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอย่อมต้องถูกปรับเปลี่ยน ดร.สุดารัตน์ พบว่า ทุกองค์กรจะมีการเน้นเนื้อหาที่ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น กีฬา บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ข่าวมีความสั้นและกระชับ เพราะพฤติกรรมการอ่านคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบอ่านเนื้อหายาวๆ เน้นภาพประกอบขนาดใหญ่ กราฟฟิก เพื่อช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วและเพิ่มสีสันการนำเสนอ

องค์กรสื่อมุ่งธุรกิจพีอาร์-อีเวนท์เพิ่ม หวังอยู่รอด
ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านธุรกิจก็บีบให้องค์กรสื่อหนังสือพิมพ์ต้องเพิ่มช่องทางใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดขนาดกระดาษ หรือการขยายไปสู่สื่อออนไลน์และสื่ออื่นๆ ดร.สุดารัตน์ ย้ำว่าการขยายไปสู่สื่ออื่นไม่ใช่ทางเลือก แต่คือความจำเป็นในการดำรงอยู่ทางธุรกิจ เป็นการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ไปพร้อมกัน

“ตรงนี้มีการขยับทุกแห่ง มีการสร้างสตูดิโอทีวีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีวิธีข้ามไปยังสื่ออื่นไม่เหมือนกัน องค์กรเก่าจะมีปัญหาคนเก่าๆ ที่ค่อนข้างปรับตัวยาก ก็ให้อยู่ไป แต่จะส่งลูกหลานรุ่นใหม่ๆ เข้ามาสร้างระบบอีกแท่งหนึ่งที่เป็นสื่อใหม่ เช่น ไทยรัฐที่เก่ากับใหม่จะแยกกันเลย แต่เดลินิวส์จะพยายามเกลี่ยรวม”

อีกวิธีการหนึ่งคือการทำธุรกิจด้านกิจกรรมการตลาดและประชาสัมพันธ์ เช่น ธุรกิจสิ่งพิมพ์ การจัดงานอบรมสัมมนา การรับจัดกิจกรรมพิเศษ (Event Organizer) หรือกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

“จะเห็นว่าเราสามารถแบ่งองค์กรสื่อได้เป็น 3 กลุ่ม หนึ่ง-ยังนิ่งอยู่ แต่ก็กังวลใจ เตรียมเปิดเว็บไซต์เหมือนกัน สอง-พยายามจะก้าวเดิน แต่อาจจะยังไม่มั่นคงมากก็เลยกั๊กๆ นิด แต่มีรองรับไว้หมดแล้ว ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จะขยายไปสู่สื่ออื่นๆ แน่นอน 3-กลุ่มที่วิ่งเลย บางองค์กรในกลุ่มนี้ก็กำลังมองๆ เนชั่นเหมือนกันว่าจะเวิร์คหรือจะล้ม ถ้าเวิร์คก็จะไปแบบเนชั่น”

สื่อไทยกำลังเป็น ‘นิวส์รูม 2.0’ แต่ยังไปไม่ถึง 3.0
จากข้อมูลข้างต้น ดร.สุดารัตน์ ตั้งคำถามในฐานะผู้ผลิตวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานสื่อมวลชนว่า นักวารสารศาสตร์ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในสภาวะที่ ‘ใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้’ ซึ่ง ดร.สุดารัตน์ให้คำตอบว่า Newspapers may die but journalism will stay หรือสื่อหนังสือพิมพ์กระดาษอาจจะตายไป แต่ความเป็นวิชาชีพวารสารศาสตร์ยังมีความจำเป็น ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าวารสารศาสตร์และนักวิชาชีพต้องปรับตัว

ดร.สุดารัตน์ กล่าวถึง การทำงานข่าวในยุคก่อนที่เรียกว่า นิวส์รูม 1.0 หมายถึงแต่ละสื่อ-โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุแยกออกจากกัน มีกองบรรณาธิการผลิตเข้าไปในช่องทางออกมาเป็นสื่อแต่ละประเภทในแนวตั้ง ผู้สื่อข่าวทำหน้าที่คัดสรรข่าวจากแหล่งข่าวผ่านเข้าสู่กระบวนการบรรณาธิการและการผลิตสู่ผู้รับสาร  บรรณาธิการเป็นศูนย์กลางของนิวส์รูม 1.0 ซึ่งเป็นรูปแบบเก่า

แต่จากการทำวิจัย พบว่า หลายที่พยายามหลอมรวมสื่อ ปัจจุบัน หลายที่อยู่ที่ นิวส์รูม 2.0 คือนักข่าวทำข่าวหนึ่งชิ้น แล้วส่งเผยแพร่แยกตามสื่อต่างๆ ในเครือ เรียกว่าระบบถังข่าวหรือกระทะข่าว สื่อแต่ละประเภทสามารถหยิบยืมข่าวเดียวกันนี้ไปเผยแพร่ได้ ดร.สุดารัตน์ กล่าวว่า ถึงกระนั้นก็ยังไม่เป็นการหลอมรวมสมบูรณ์แบบ คือหนึ่งเนื้อหาสำหรับหลายช่องทาง ทำเนื้อหาที่เดียวแล้วกระจายออก แต่ถ้าเป็นระบบนิวส์รูม 3.0 แต่ละโต๊ะข่าว เช่น ข่าวกีฬา การเมือง เศรษฐกิจ แต่ละโต๊ะจะแยกกันเป็นอิสระและทำข่าวส่งสื่อทุกประเภทโดยตัวเอง ซึ่งขณะนี้องค์กรสื่อในบ้านเรายังไปไม่ถึง

ระบบนิวส์รูมที่แตกต่าง หมายถึงนิเวศใหม่ของสื่อย่อมเปลี่ยน เห็นได้ว่า ตัวชุมชน ผู้รับสื่อ หรือกลุ่มบล็อกเกอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น หมายความว่าบางครั้งประเด็นข่าวอาจเกิดจากชุมชนที่โพสต์มันขึ้นมา อย่างกรณีครูอังคณา สื่อมวลชนไม่ได้เป็นศูนย์กลางอีกต่อไป เพราะฉะนั้นรูปแบบที่วุ่นวายแบบนี้จะมีกระแสเรื่องผ่านไปมามากมาย ทำให้เกิดประเด็นมากขึ้น

ต้องปรับหลักสูตรวารสารฯ เตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลง
แนวโน้มเทคโนโลยีและนิเวศสื่อต้องเคลื่อนไปในทิศทางที่ว่าแน่นอนและเริ่มแล้ว การเรียนการสอนวารสารศาสตร์น่าจะถึงเวลาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบท ดร.สุดารัตน์ ยกตัวอย่างการสอนวิชาวารสารศาสตร์ในอเมริกาว่า

“ในอเมริกา นักศึกษาต้องเรียนตัวอื่นจบก่อน แล้วจึงจะเรียนวารสารศาสตร์เป็นวิชาโท เพราะเขาถือว่าทักษะทางวารสารศาสตร์เป็นส่วนที่เสริมเข้ามา แต่ของประเทศไทยจะกลับหัวนิดหนึ่ง คือเอาวารสารศาสตร์เป็นตัวหลัก แล้วไปลดทอนความรู้ในประเด็นสาธารณะอื่นๆ ทำให้หลายคนบ่นว่าการเรียนการสอนของเราทำไมไม่เหมือนชาวบ้าน”

เมื่อมีกระแสเรื่องวิ่งผ่านไปมามากขึ้น จำเป็นที่ตัวนักข่าวจะต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้และมองหาประเด็นผลประโยชน์สาธารณะขึ้นมานำเสนอ เพราะถึงแม้ว่าใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้ แต่ข้อมูลส่วนนี้ยังเป็นส่วนที่นักข่าวพลเมืองทั่วไปเข้าไม่ถึง

“ถ้าถามว่ายังมีอาชีพนักข่าวอยู่หรือไม่ มี เพียงแต่แต่ละจุดตอบสนองไม่เหมือนกัน บางส่วนเรื่องกว้าง บางส่วนเรื่องแคบๆ เจาะๆ ไม่มีความจำเป็นที่ทุกคนต้องเหมือนกัน ในตลาดข่าวตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องสำคัญ ต้องสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของคนอื่น”

อนาคตของนักวิชาชีพด้านวารสารจึงต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้อ่าน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหา รูปแบบ การจัดหน้า และวิธีการนำเสนอ นั่นแปลว่าในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหนึ่งเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาทุกอย่าง หรือไม่จำเป็นต้อง Mass นักข่าวต้องเพิ่มทักษะด้านอื่นๆ เช่น การเจาะข่าว หรือกลวิธีการเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับสื่อแต่ละประเภท สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่รูปแบบอีกต่อไป แต่อยู่ที่สามารถเล่าเรื่องได้หรือไม่

“ในอนาคต ความมีลักษณะเฉพาะจะเป็นสิ่งสำคัญกว่ารูปแบบ ฉะนั้น หน้าตาของการศึกษาวารสาร เชื่อว่าทักษะการรายงานข่าวหรือทักษะการเขียนยังต้องมีอยู่ แต่เปลี่ยนรูปแบบไป การแสวงหาแหล่งข่าวต้องมี แต่ไม่เหมือนเดิม การเล่าเรื่องต้องคำนึงถึงสื่อหลายๆ ประเภท ถ้าออกโมบายต้องแบบนี้ ออกวิทยุต้องแบบนี้ คลิปต้องแบบนี้ นักข่าวต้องผลิตข่าวข้ามสื่อได้”

วารสารศาสตร์จำเป็นต้องมีหรือไม่?
ในช่วงของการอภิปรายแลกเปลี่ยน ชูวัส เปิดประเด็นแบบที่เขาเรียกว่า ‘โยนระเบิด’ ด้วยคำถามที่เป็นหัวข้อการเสวนาว่า วารสารศาสตร์ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งเขามองว่าไม่จำเป็นอีกแล้ว เพราะในสังคมแห่งการเรียนรู้เช่นนี้มันมีกลไกขึ้นมาแทนหมดแล้ว

“มีอะไรที่เรียนรู้ไม่ได้บ้างในสังคมแห่งการเรียนรู้ตอนนี้ที่เกี่ยวกับวารสารศาสตร์ แต่ผมไม่ได้บอกว่า วิชาชีพสื่อมวลชนไม่ควรมี แต่วิชาชีพวารสารศาสตร์ไม่มีความจำเป็นแล้ว แต่ควรจะไปในเชิงปรัชญา การรู้เท่าทันสื่อ จะทวิตหรือรีทวิตอย่างไร และควรอยู่ในทุกวิชาชีพ สอนตั้งแต่เด็ก ป.1 เรื่องการสื่อสารกับมวลชนก็เห็นด้วยว่าต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นภายใต้การเรียนการสอนเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เองแล้วในสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคนี้” ชูวัสกล่าว

ด้านศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์ข่าว TCIJ เห็นต่างกับชูวัสในแง่ที่ว่า แม้คนที่จะเป็นนักข่าวไม่จำเป็นต้องจบวารสารศาสตร์หรือนิเทศศาสตร์ แต่เขายืนยันว่าผู้ที่จะเป็นนักข่าวมืออาชีพได้จะต้องผ่านการฝึกฝน มิใช่แค่การเรียนรู้ผ่านยูทูบ โดยยกตัวอย่างว่า บีบีซีของอังกฤษถึงจะเปิดช่องทางให้คนนอกป้อนเรื่องให้ แต่ก็ไม่ได้รับการเผยแพร่ผ่านช่องทางหลัก ส่วนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางหลักจะเป็นเนื้อหาที่บีบีซีเป็นผู้ผลิตและบางรายการจะเห็นได้ว่าใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ซึ่งไม่สามารถปล่อยให้มือสมัครเล่นทำได้

ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจต่อประเด็นความเป็นนักข่าว ความเป็นข่าว และข้อมูลที่เผยแพร่ในโลกโซเชียล มิเดีย ซึ่งดูเหมือน ดร.นิษฐา พยายามตอบคำถามที่ว่า วารสารศาสตร์ยังมีความจำเป็นหรือไม่

“เดี๋ยวนี้ทุกคนนิยมทวิต อ่านทวิตเตอร์เป็นร้อยๆ และที่ทวิตกันมา ก็เป็นการรีทวิตสัก 98 ข้อความ เหลือที่เป็นต้นทางจริงๆ แค่ 1 หรือ 2 ข้อความเท่านั้น ซึ่งเราพบว่าเพียงแค่นี้เป็นข่าวแล้วหรือ ทั้งที่เป็นแค่การรีทวิต เพราะถ้าข้อมูลผิดตั้งแต่ทวิตแรก แสดงว่าที่รีทวิตก็ผิดมาเรื่อยๆ ตรงนี้เราต้องบอกนักศึกษาไม่เฉพาะวารสารศาสตร์ว่า ถ้าคุณเริ่มต้นจากการรีทวิตโดยไม่ตรวจสอบต้นทางให้เห็นที่มาที่ไปเสียก่อน ก็อย่าเป็นนักข่าวเลยดีกว่า เพราะอย่างนี้ใครก็ทำได้”

ผอ.ทีซีไอเจ ระบุเป็นความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทย
ส่วนสุชาดา จักรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าว TCIJ ตั้งข้อสังเกตในประเด็นความตกต่ำของวิชาวารสารศาสตร์ว่า จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่เฉพาะวารสารศาสตร์เท่านั้น แต่รวมถึงวิชาอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดอาจเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นความอ่อนแอของระบบการศึกษา แต่เหตุที่วารสารศาสตร์ถูกตั้งคำถามสองสามชั้น อาจเป็นเพราะ... 

“มันเป็นอำนาจชนิดเดียวที่เหลืออยู่ที่พอเรียกได้ว่าเป็นสมบัติสาธารณะหรือเป็นสถาบันสาธารณะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สังคมตั้งคำถามเยอะ บวกด้วยสถานการณ์ทางการเมืองช่วง 5 ปีนี้ ที่เราวุ่นวายอยู่ในหลุมดำที่มีสื่อเป็นตัวเล่นสำคัญตัวหนึ่ง เพราะผู้คนในสังคมรับรู้ข่าวสารผ่านกลไกชนิดเดียวที่ทำงานอยู่คือสื่อ จึงต้องจับตา เรียกร้อง ตั้งคำถาม ด่าว่าสื่อ มากกว่าวิชาชีพอื่น เมื่อวารสารฯ เป็นศาสตร์แห่งการผลิตคนที่จะทำงานเกี่ยวกับกลไกการสื่อสารของสังคม จึงถูกเรียกร้องมาก”

นอกจากนี้ สุชาดา ยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า มีวิชาชีพไม่กี่วิชาชีพที่ต้องผ่านการฝึกงาน เช่น แพทย์ ทนายความ และวารสารศาสตร์ นั่นเป็นเพราะอาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่ให้คุณให้โทษแก่คนจำนวนมาก จึงต้องผ่านการฝึกงานเพื่อแปรทฤษฎีสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ต้องรับรู้อารมณ์ของสังคม มีการตัดสิน มีความรอบรู้เพียงพอ

“นักศึกษาวารสารศาสตร์อาจไม่รู้จากชั้นเรียนว่าอีไอเอ (การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) เอชไอเอ (การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ) คืออะไร แต่เมื่อเป็นนักข่าว แม้จะไม่ได้ทำข่าวสิ่งแวดล้อม แต่เกิดเหตุหุ้นตกในตลาดหลักทรัพย์ แล้วไปเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ไม่มีเอชไอเอ แล้วมันเกี่ยวกันได้อย่างไร คุณสามารถอธิบายได้หรือไม่ ปัญหาคือนักข่าวไม่มีความรู้ เมื่ออ่านข้อมูลชุดหนึ่งแล้วไม่เข้าใจ ก็ไม่มีความสามารถที่จะนำเสนอสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้”

รื้อถอนความคิดใหม่ เพิ่มความเป็นมืออาชีพของนักข่าว
ขณะที่การอภิปรายดำเนินไปอย่างเข้มข้นจากการโยนระเบิดของชูวัส ดร.สุดารัตน์ ได้แสดงความคิดเห็นว่าที่น่าสนใจด้วยการถอยไปสู่รากศัพท์ของคำว่า Journalist ที่มีความหมายว่า ผู้บันทึก ซึ่งในยุคสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย หากยังยึดติดกับความหมายเดิมๆ ของวารสารศาสตร์อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เมื่อผู้คนมีความสนใจเฉพาะด้านมากขึ้น นักวิชาชีพวารสารศาสตร์ต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความสนใจเฉพาะให้ได้ ดังนั้น เมื่อ Journalist คือผู้บันทึก ไม่ว่าจะบันทึกผ่านสื่อใหม่ สื่อเก่า หรือสื่อออนไลน์ ก็ยังคงเป็น Journalist จึงอาจป่วยการที่จะถกเถียงว่าใครเป็นหรือไม่เป็น Journalist สิ่งสำคัญกว่าคือวิชาวารสารศาสตร์จะสร้างนักข่าวที่มีคุณภาพได้อย่างไร

“ตั้งแต่อดีตก็ไม่มีเจอร์นัลลิสต์ คนที่สอนวารสารในอเมริกา อังกฤษ ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มาจากด้านวารสารศาสตร์ แต่มาจากภาษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มาจากหลายสายผสมกัน วารสารก็เพิ่งเป็นสาขาเมื่อไม่นานมานี้ ดังนั้น คนที่เป็นคนสอนก็ต้องรู้ว่าจะบูรณาการอย่างไรเพื่อให้อาชีพนี้มีพื้นที่ จะต้องรื้อถอนวิธีคิดเก่าและสร้างวิธีคิดใหม่ๆ ขึ้น”

ดร.สุดารัตน์ ยกถ้อยคำของนักข่าวชาวต่างประเทศผู้หนึ่งที่ผันตัวเองไปเป็นอาจารย์ว่า อนาคตลักษณะของนักข่าวจะเหมือนไข่ดาว คนที่มีความสามารถด้านการจับประเด็นจะเหมือนไข่แดงตรงกลางและจะมีไม่มาก ส่วนไข่ขาวข้างนอกคือนักข่าวพลเมืองที่อาจจะมีความเชี่ยวชาญบางเรื่อง ไข่แดงจำนวนน้อยจะเป็นหลักของข้อมูลที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อผ่านโซเชียลมีเดีย

“ถ้าเราบอกว่าไม่มีสื่อมวลชนแบบเดิมเลยหรือคนที่ทำหน้าที่หาข่าว แล้วเราจะเอาที่ไหนมาทวิต นักข่าวพลเมืองจะไปอยู่ในสภาได้หรือเปล่า เรายังต้องมีคนที่ทำหน้าที่เป็นแก่น แล้วคนที่เหลือจะทำหน้าที่เสริมในส่วนที่เป็นข้อมูลรอบๆ นอก เช่น น้ำท่วมประมาณไหน ลำปางจะหนาวมากหนาวน้อย เป็นนักข่าวพลเมืองได้ เมื่อก่อนถ้านักข่าวไม่เข้าใจเรื่องที่จะเขียนก็ไม่รู้จะเขียนออกมายังไง แต่ตอนนี้ด้วยปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ มันทำให้เราสามารถดึงศักยภาพของคนเยอะแยะมาขยำรวมกันได้ และทำให้รู้เรื่องได้ มันอาจไม่ใช่รูปแบบเดิม อย่ายึดติด อาจจะเป็นรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนไปเลยก็ได้ สิ่งสำคัญ ณ เวลานี้ คือจะต้องสร้างความแตกต่างให้ได้ระหว่างคนที่เป็นมืออาชีพกับมือสมัครเล่น ถ้ามืออาชีพไม่มีความแตกต่างกับมือสมัครเล่น ก็ไม่เป็นมืออาชีพ ต้องลึกกว่า ขุดคุ้ยได้มากกว่า เฉพาะด้านมากกว่า รวบรวมประเด็นได้ดีกว่า เพราะคนที่เป็นเจอร์นัลลิสต์คือศูนย์กลางที่ดึงศักยภาพหลายๆ ทางเข้ามาได้ แต่ถ้าแค่ทวิตเตอร์ ก็เป็นได้แค่นักข่าวพลเมือง”

วารสารศาสตร์ยังเป็นวิชาชีพอยู่หรือไม่? ยังไร้คำตอบ
ช่วงสุดท้ายของการเสวนา สุชาดา สรุปการพูดคุยทั้งหมดว่า ขณะนี้กำลังเกิดการปะทะกันระหว่าง 2 กระแส หนึ่งคือกระแสที่ว่าการเรียนการสอนในระบบวารสารศาสตร์กำลังมีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิต อันเนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยน ผู้รับสารเปลี่ยน บริบทเปลี่ยน และกำลังตกอยู่ในภาวะถูกรื้อถอน ซึ่งยังไม่มีคำตอบสุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร

กระแสที่สอง ไปในทางตรงกันข้ามคือไม่ได้เป็นปัญหา แต่เป็นธรรมชาติทั่วไปของการเกิดสิ่งใหม่ เช่น เมื่อสื่อกระแสหลักเดิมไม่เคยมีพื้นที่ให้แก่คนทุกกลุ่ม ก็ย่อมต้องมีคนที่เข้าไม่ถึงพื้นที่กระแสหลักพยายามสร้างพื้นที่ของตนเพื่อส่งเสียง พร้อมกับมีคนส่วนหนึ่งที่อยากได้ข่าวสารทางเลือก

“ทั้งหมดที่คุยกันมามีเรื่องสั้นๆ แค่สองสามเรื่อง หนึ่งคือเรากำลังพูดถึงวิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ของวารสารศาสตร์ว่าของเดิมมีปัญหาหรือไม่ และกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่อะไร สอง วิธีการสื่อ เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน ต้องหาวิธีการเขียน การนำเสนอแบบใหม่ ให้เหมาะกับเครื่องมือที่เปลี่ยนไป รวมถึงเรื่องของเนื้อหาด้วย”

ส่วนวารสารศาสตร์ยังเป็นอาชีพอยู่หรือไม่นั้น คงต้องกลับไปทบทวนให้ชัดเสียก่อนว่า วิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ของวารสารศาสตร์ถึงเวลาต้องสร้างความรอบรู้ชนิดข้ามศาสตร์หรือยัง หรือจะคงรักษาวารสารศาสตร์แบบเก่าไว้ ทั้งหมดนี้ยังไม่มีคำตอบ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แกนนำพูโล-บีอาร์เอ็นคองเกรสฟ้องสื่อหมิ่นประมาท

Posted: 19 Jun 2012 04:43 AM PDT

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่นคำฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัดปัตตานี กรณีเนชั่นสุดสัปดาห์ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากล่าวหานายซูดิงคาน แกนนำพูโล และผู้อาวุโส แห่งบีอาร์เอ็นคองเกรส

วันที่ 20 มิถุนายน 2555 ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ยื่นคำฟ้องบริษัท เอ็นเอ็มจี นิวส์ จำกัดกับพวกฯ (หนังสือพิมพ์ เนชั่นสุดสัปดาห์) ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาต่อศาลจังหวัดปัตตานี ในกรณีนำเสนอบทความและภาพถ่ายลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือนิตยสารดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการใส่ความทำให้คนไทยมุสลิมส่วนใหญ่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปเป็นผู้ประกอบการร้านต้มยำกุ้งที่ประเทศมาเลเซียได้รับความเสียหาย

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2555 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน บริษัท เอ็นเอ็มจี นิวส์ จำกัดกับพวกฯ (หนังสือพิมพ์ เนชั่นสุดสัปดาห์) ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ฉบับที่ 1036 วันที่ 6 เมษายน 2555 โดยการพิมพ์และโฆษณาข่าวในหนังสือนิตยสารสุดสัปดาห์ เดอะเนชั่น และได้นำภาพถ่ายของประธานชมรมต้มยำกุ้งประเทศมาเลยเซียกับพวก ลงพิมพ์เป็นภาพปกในหน้าแรก โดยพาดหัวข่าวว่า “ทวี สอดส่อง”ซดต้มยำมาเลย์ไม่เจรจาแต่พาที ทำให้คนทั่วไปที่ได้อ่านบทความดังกล่าวเข้าใจว่าบุคคลในภาพถ่ายเป็นกลุ่มขบวนการก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งเป็นความผิดอาญา

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้เสียหายทั้งหมด ให้ดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัท เอ็มเอ็มจี นิวส์ จำกับ กับพวก เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย ที่เป็นผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตได้รับความเสียหาย และเพื่อทำให้ความจริงปรากฏต่อสาธารณะ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง เรื่องเล่าบนเส้นทางการบังคับใช้กฎหมายใหม่ พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555

Posted: 19 Jun 2012 04:27 AM PDT

 

 

“สมัยโน้นลำบากมากนะ คนจนจนขนาดที่ต้องเอากระสอบมาใส่แทนเสื้อผ้า” คำบอกเล่าถึงอดีตจากคุณยายวัย 91

ฉันออกเดินทางแต่เช้ามืดจากกรุงเทพ เพื่อไปยังอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ชื่ออำเภออาจจะไม่คุ้นเหมือนเกาะช้าง เกาะกูด แต่อำเภอนี้มีอะไร ทำไมฉันต้องเดินทางไกลมานะเหรอ

เคยได้ยินคำเหล่านี้มั้ย
“ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง”
“คนไทยพลัดถิ่นจากเกาะกง”

ที่นี่มีผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง อาศัยอยู่ ย้อนไปเมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เดิมเมืองประจันตคีรีเขตต์(เกาะกง) อยู่ในการปกครองของสยาม แต่เมื่อมีการทำ “อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศสว่าด้วยอนุญาตที่ดินริมฝั่งแม่น้ำโขง ตามความในสัญญา 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122 Convention entre la France et le  Siam Modifiant les Stipulations du Traité du 3 Octobre 1893, concernant des Autres Arrangemants, signé à Paris, le 13 Février 1904” ขึ้นเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา แต่ฝรั่งเศสกลับยึดด่านซ้ายและตราด รวมถึงเกาะกงไว้เป็นประกัน

ตาม “หนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิกฝรั่งเสศ 23 มีนาคม ร.ศ.125  Traité entre Sa Majesté la Roi de Siam et Monsieur le Président de la République Française, fait à Bangkok, le 23 mars 1907” เพื่อให้ได้เมืองตราดกลับมา สยามยอมยกเขมรส่วนในให้ฝรั่งเศสปกครอง (ข้อ1,2) โดยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 หรือร.ศ.126 ฝรั่งเศสทำพิธีมอบตราดคืนให้แก่สยาม แต่ไม่ได้ประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) คนเชื้อสายไทยที่อยู่อาศัยในเกาะกง จึงกลายเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาดินแดนส่วนนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชานั่นเอง

เมื่อเขมรแดงเรืองอำนาจ เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คนเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ที่นั่นไม่สามารถอยู่อาศัยอีกต่อไปได้ จึงหนีเข้ามายังดินแดนของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดตราด บ้างก็เล่าว่าเดินข้ามเขาข้ามน้ำมา บางคนก็นั่งเรือมาทางทะเล จากปัญหาความไม่มั่นคงในชีวิต ทรัพย์สิน ความอดอยาก พวกเขาต้องทิ้งบ้านเรือน ทรัพย์สินไว้เบื้องหลัง เพื่อให้มีชีวิตรอด ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าแม้เมื่อเข้ามาอยู่บนผืนแผ่นดินไทยจะเป็นอย่างไร คงเหมือนกับคำที่ว่า “หนีไปตายเอาดาบหน้า”

จากการพูดคุยกับคนไทยพลัดถิ่นจากเกาะกง ต้องถือว่าพูดภาษาไทยได้ชัดเจนดี แม้จะมีสำเนียงเหน่อๆ  แต่ก็เหมือนเวลาที่เราพูดกับคนตราด แม้กระทั่งคนแก่ที่เป็นคนเชื้อสายไทยที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเกาะกง ยังพูดภาษาไทยได้ชัดถ้อยชัดคำ ต่างกับผู้ที่ไม่ใช่คนเชื้อสายไทย แม้จะถือบัตรผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา“เลขหลักที่หก-เจ็ดเป็น 63”, บัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา“เลขหลักที่หก-เจ็ดเป็น 64”, บัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา “เลขหลักที่หก-เจ็ดเป็น 65” แต่กลับพูดภาษาไทยไม่ชัดเลย ทำให้เกิดข้อข้อสังเกตว่าเขาอาจไม่ใช่คนเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเขตเกาะกง ?

ผ่านประเด็นเรื่องภาษา มาที่เรื่องวิถีชีวิตกันบ้าง ส่วนใหญ่คนไทยพลัดถิ่นที่นี่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการประมง อาศัยอยู่ริมคลองต่างๆ เช่น คลองสน คลองมะขาม คลองไม้รูด เป็นต้น ขอบอกว่าอาหารทะเลที่นี่สดมาก ประเพณีวัฒนธรรมก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเราคนไทยเลย เช่นมีงานขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน สงกรานต์ ลอยกระทง  

แต่จะสังเกตได้ว่าในชุมชนคลองสนนี้มีแรงงานชาวกัมพูชาอาศัยอยู่ด้วย นอกจากความต่างเรื่องภาษายังสังเกตเห็นได้ถึงความแตกต่างในเรื่องวิถีชีวิต เช่น ชอบใส่ชุดนอนลายการ์ตูนเป็นชุดในเวลากลางวัน ซึ่งเหมือนกันคนกัมพูชาที่ฉันไปพบเห็นที่เกาะกง พี่คนไทยพลัดถิ่นเล่าให้ฉันฟังว่า เค้าไม่ได้แยกว่าชุดนอนต้องใส่เวลานอน

ตามพ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555 [2] ได้แยกกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่เป็น “ผู้ทรงสิทธิในสัญชาติไทย” หรือจะได้รับการคืนสัญชาติไทย ด้วยเพราะคนกลุ่มนี้สืบสายโลหิตจากบรรพบุรุษที่เป็นคนไทย (หลักสืบสายโลหิต) โดยแบ่งเป็น2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. คนไทยพลัดถิ่น ตามมาตรา 3 ซึ่งได้ให้คำนิยามไว้ว่า “คนไทยพลัดถิ่นหมายความว่า ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นโดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณรจักรไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”ซึ่งต้องดำเนินการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามมาตรา 9/6 “ให้ผู้ซึ่งคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นให้การรับรองควมเป็นคนไทยพลัดถิ่น เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด”

2. คนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับสัญชาติไทยก่อนวันที่พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (คนไทยพลัดถิ่นตามมาตรา 5 พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555)

พบว่า คนไทยพลัดถิ่นที่บ้านคลองสนแห่งนี้มีผู้ทรงสิทธิทั้ง 2 กลุ่มนี้ SWIT ได้ให้ความรู้ในเรื่องผู้ทรงสิทธิ เพื่อให้ชาวบ้านได้รู้ว่าใครอยู่กลุ่มไหน เพื่อจะได้ดำเนินการอะไรต่อไป แต่โดยส่วนใหญ่ ที่ถือบัตรหลักที่หก-เจ็ดเป็นเลข 63 64 65 นั้นจะเป็นผู้ทรงสิทธิกลุ่มที่หนึ่ง ที่ต้องได้รับการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเสียก่อน จึงจะได้คืนสัญชาติ ส่วนผู้ทรงสิทธิกลุ่มที่สอง บ้างก็ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้ตามม.7ทวิ หรือ หากเป็นคนรุ่นที่เกิดในเมืองไทยก็จะได้สัญชาติตามมาตรา23 ไปแล้วบ้าง

คนไทยพลัดถิ่นที่เป็นเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดตราด จะทราบเรื่องกฎหมาย และกลุ่มผู้ทรงสิทธิ มีการเตรียมความพร้อมในการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เช่นทำแผนผังเครือญาติ (family tree)ไว้ เพราะคนที่อยู่ที่คลองสนก็เป็นเครือญาติกันอยู่แล้ว บางคนสามารถนำแผนพังเครือญาติของอีกครอบครัวมาเชื่อมโยงกันได้ ส่วนใหญ่จะใช้นามสกุลสุขสวัสดิ์ เนื่องจากบางคนแม้จะอพยพเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับครอบครัว แต่เมื่อมีการจัดทำบัตรประจำตัว กลับกลายเป็นว่าได้บัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชาบัตรผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา แต่คนอื่นๆในครอบครัวถือบัตรผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชาก็มี อย่างน้อยแผนผังเครือญาติก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงเชื้อสายไทยของคนที่ถือบัตรประจำตัวประเภทต่างๆ รวมถึงผู้ที่ถือบัตรประจำตัวสัญชาติไทยด้วย แตกต่างกับคนไทยพลัดถิ่นที่คลองไม้รูด ที่ฉันได้ไปพบมา คนที่นี่ไม่รู้เรื่องกฎหมาย ผู้ทรงสิทธิ ไม่รู้ว่าตนเป็นผู้ทรงสิทธิตามกลุ่มไหน ไม่มีการเตรียมความพร้อมในการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เพราะคิดว่าเมื่อมีกฎหมาย เดี๋ยวผู้ใหญ่บ้านนำเรื่องมาแจ้ง รัฐก็จะดำเนินการให้ตน เปรียบกับการรอการดำเนินงานภาครัฐฝ่ายเดียว โดยทางอ.ดรุณ ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย สถาบันฯ (SWIT) ได้ชี้แจงถึงกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่5 ผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายนี้ และสอนให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ทำแผนผังเครือญาติ เมื่อเข้าใจเป็นที่ตรงกันแล้ว มีคุณลุงคนหนึ่งพูดว่า “ก็ไม่นึกว่าชีวิตนี้จะได้มีสัญชาติไทยกับเขา”

เมื่อเช้าวันที่ 30 เมษายน 2555 ผู้ทรงสิทธิกลุ่มที่สองนี้ได้ไปสอบถามกับปลัดจิระศักดิ์ ชูแก้ว ปลัดฝ่ายทะเบียน อำเภอคลองใหญ่ ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล เพื่อจะได้เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ปลัดก็แจ้งว่ายังไม่มีแนวทางปฏิบัติลงมา ยังดำเนินการให้ไม่ได้ หากมีหนังสือสั่งการมาแล้วก็ยินดีดำเนินการให้  และวันนี้เช่นกันซึ่งทราบในภายหลังว่า ได้มีหนังสือ มท.0309.1/ว1910 เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่5) พ.ศ.2555 ข้อ(3.3)สรุปความได้ว่า  คนตามมาตรา 5 พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่5 พ.ศ.2555 จะต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนราษฎรให้ถูกต้องตรงกับสถานะที่กฎหมายให้การรับรองไว้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

แต่ในส่วนสรุปตอนท้ายหนังสือ ข้อ 2) กรณีขอเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดในทะเบียนบ้าน ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลตามมาตรา5 พ.ร.บ.สัญชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555 นั้น ได้ระบุว่า “ขณะนี้กรมการปกครองโดยสำนักทะเบียนกลางกำลังดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโปรแกรมการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์”

ในฐานะนักกฎหมายจึงเห็นช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย แม้พ.ร.บ.จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ระบบราชการไทยยังไม่พร้อมดำเนินการเพื่อการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย การติดตามการบังคับใช้กฎหมายใหม่จึงเป็นหน้าที่สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยแต่ต้องตกอยู่ในสถานะความไร้สัญชาติมาอย่างยาวนานได้รับการแก้ไขปัญหาและได้รับการรับรองสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิด และสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้โดยเร็วตามเจตนารมณ์ของกฎหมายใหม่

 

 



[1]

บันทึกจากการลงพื้นที่คนไทยพลัดถิ่นจากเกาะกง อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2555

 [2]

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม  2555 มีผลบังคับใช้วันที่ 22 มีนาคม 2555

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘นาซ่า’ มา ‘อู่ตะเภา’ กับ ‘เมฆเงาทางกฎหมาย’

Posted: 19 Jun 2012 04:09 AM PDT

คำถาม: กรณีที่รัฐบาลไทย ยอมให้  ‘นาซ่า’ ใช้ ‘อู่ตะเภา’ สำรวจอากาศตามข่าว นั้น ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ?

ตอบ: การจะพิจารณาว่าเรื่องใดต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่นั้น ไม่สามารถพิจารณาแค่เรื่อง “ความมั่นคง” เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาตามลำดับขั้นอย่างน้อย ดังนี้

1. ต้องพิจารณาก่อนว่า เป็น “หนังสือสัญญา” หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญได้วางหลักตีความว่า “หนังสือสัญญา” ตามความหมาย มาตรา 190 ก็คือ “สนธิสัญญา” ตามความหมายทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ ต้องเป็นหนังสือที่ทำขึ้นระหว่างประเทศไทยกับรัฐประเทศอื่น หรือ องค์การระหว่างประเทศที่มีสถานะบุคคลในทางระหว่างประเทศ (เช่น ไม่รวมถึงสมาคมระหว่างประเทศระหว่างเอกชนทั่วไป เป็นต้น)

นอกจากนี้ “หนังสือสัญญา” จะต้องมุ่งสร้าง “พันธะผูกพันในทางกฎหมาย” เช่น กำหนด “หน้าที่” ที่ต้องกระทำ และ “สิทธิเรียกร้อง” ให้มีการกระทำหรือให้ประโยชน์ตาม “หนังสือสัญญา” ทั้งนี้ โดยอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ 

ดังนั้น การจะพิจารณากรณี ‘อู่ตะเภา’ นั้น ในขั้นแรก จึงต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของการติดต่อตกลงว่า ‘นาซ่า’ เข้ามาติดต่อหรือตกลงกับรัฐบาลไทยในสถานะใด และเป็นไปในนามรัฐบาลสหรัฐฯ หรือไม่ และที่สำคัญ การติดต่อตกลงครั้งนี้ เป็นเพียงการ “ถ้อยทีถ้อยอาศัย” เพื่อเอื้อเฟื้อช่วยเหลือดำเนินความสะดวกตามแบบความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศตามปกติ โดยไม่มุ่งให้เกิดสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่

เช่น หากการติดต่อตกลงครั้งนี้ ส่งผลเพียงแค่ให้‘นาซ่า’ ได้รับความสะดวกจากไมตรีของรัฐบาลไทย และรัฐบาลไทยสามารถระงับการเอื้อเฟื้อหรือการให้ความสะดวกดังกล่าวได้โดยที่ ‘นาซ่า’ ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องหน้าที่ตามกฎหมายจากรัฐบาลไทย ก็อาจพิจารณาได้ว่ากรณี ‘อู่ตะเภา’ นั้น ไม่ได้เป็น “หนังสือสัญญา” ตามความหมายทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ และย่อมไม่เข้ากรณี มาตรา 190 ตั้งแต่ขั้นแรก แม้อาจมองว่าเกี่ยวข้องกับความมั่นคงก็ตาม

2. หากเป็น “หนังสือสัญญา” จึงดูต่อว่า เข้ากรณีเฉพาะ 5 กรณี หรือไม่
หากพิจารณาได้ว่าการติดต่อตกลงกับ “นาซ่า” ครั้งนี้ เป็น “หนังสือสัญญา”  แล้ว จึงค่อยพิจารณาต่อว่า “หนังสือสัญญา”  ที่ว่านั้น เข้าลักษณะกรณีเฉพาะ 5 กรณี  ตาม มาตรา 190 วรรคสองหรือไม่ ซึ่งกรณีทั้ง 5 ได้แก่

(1) มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย

(2) มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(3) ต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา

(4) มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง

(5) มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

(สำหรับคำอธิบายโดยละเอียด โปรดดู http://bit.ly/MCrPHQ)

หากจะมีผู้ใดอ้างว่า กรณีดังกล่าวกระทบต่อความมั่นคง ก็อาจอ้างว่าเข้ากรณี “มีผลกระทบต่อความมั่นคงทาง...สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง” ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและเป็นสิทธิของฝ่ายบริหารและรัฐสภาที่จะตีความ และสมาชิกรัฐสภาก็สามารถอ้างมาตรา 190 วรรคหกเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้

อย่างไรก็ดี น่าสังเกตว่า สมาชิกรัฐสภาจะดำเนินการดังกล่าวระหว่างปิดสมัยประชุมได้หรือไม่ และรัฐบาลวางแผนเรื่องเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าอย่างไร และที่สำคัญ เมื่อ มาตรา 190 วรรคห้า ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมให้ “รัฐสภา” เป็นผู้ตรากฎหมายที่กำหนดรายละเอียด “ประเภท” ของหนังสือสัญญาที่ว่าแล้ว แต่สภายังตรากฎหมายไม่เสร็จแล้วไซร้ จะเป็นการสมควรหรือไม่ที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวเข้ามาวินิจฉัย “ประเภท” ของหนังสือสัญญา ล่วงไปก่อนที่ “รัฐสภา” จะได้ตรากฎหมายดังกล่าว

คำถาม: หากมองว่ากรณี ‘อู่ตะเภา’ ไม่เข้ากรณี มาตรา 190 แล้ว จะทำให้ฝ่ายบริหารพ้นจากการตรวจสอบจนสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ หรือไม่ ?

ตอบ: “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ได้ตรากฎหมายหลายฉบับที่กำหนดขั้นตอนวิธีการให้ “ฝ่ายบริหาร” ไปดำเนินการเกี่ยวกับความมั่นคงอย่างรอบคอบและรอบด้านตามกลไกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว อาทิ กลไก “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” ตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502  และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551  หรือแม้แต่การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ “นโยบายด้านการทหาร” ก็มีกลไกของ “สภากลาโหม” ตาม พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 รองรับอยู่ ซึ่งกลไกเหล่านี้ ไม่ได้ตัดสินใจโดยฝ่ายการเมืองเพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น

ทั้งนี้ สมควรย้ำว่า เหตุที่ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ได้ตรากฎหมายเหล่านี้ขึ้น ก็เพื่อกำหนดกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับความมั่นคงที่มีความรอบคอบรอบด้าน ซึ่ง “ฝ่ายนิติบัญญัติ” เองทราบดีว่า ตนนั้นไม่อาจก้าวล้ำตัดสินใจแทนฝ่ายบริหารได้ทุกเรื่อง และบางเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้พิจารณาตามกรอบของกฎหมาย มากกว่าที่จะนำข้อมูลมาเปิดเผยและอภิปรายทั่วไปในสภา ต่างจากฝ่ายความมั่นคงเองที่ย่อมมีความชำนาญที่จะเข้ามาดูแลเรื่องความมั่นคง เช่น การกำหนดให้มีบุคคลากรฝ่ายความมั่นคงของไทยร่วมสำรวจหรือจัดทำแผนการบิน (flight plan) กับ “นาซ่า” เป็นต้น

คำถาม: แม้จะมองว่ากรณี ‘อู่ตะเภา’ ไม่เกี่ยวกับความมั่นคง แต่หากมีการดำเนินการไปแล้ว ฝ่ายบริหารมีกระบวนการติดตามตรวจสอบอย่างไรไม่ให้มีการดำเนินการนอกลู่นอกทาง ?

ตอบ: “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ได้ตรากฎหมายบางฉบับที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารควบคุมติดตาม “เรื่องที่ไม่ใช่ความมั่นคง แต่อาจกระทบความมั่นคง”  เช่น “พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497” ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องการเดินอากาศที่นอกเหนือไปจากราชการทหาร ราชการตำรวจ ราชการศุลกากร และราชการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ก็ยังเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ใช้เพื่อประโยชน์ความมั่นคงได้ เช่น มาตรา 60/23 บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งควบคุมการดำเนินงานสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาตที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะเป็นการชั่วคราวได้ เป็นต้น

ดังนั้น แม้หากผู้ใดจะอ้างว่ากิจกรรมของ “นาซ่า” เป็นเรื่องสำรวจอากาศและไม่ใช่เรื่องความมั่นคง แต่ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ก็ได้ตรากฎหมายเพื่อให้ “ฝ่ายบริหาร” มีอำนาจหน้าที่ตรวสอบติดตามกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อประโยชน์ความมั่นคงได้เช่นกัน

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 
ในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ไม่อาจปฏิเสธยุทธศาสตร์การมีพันธมิตรในทางระหว่างประเทศตามกลไลการแข่งขันของโลก การปกครองประเทศชาติย่อมมีความสลับซับซ้อนและไม่อาจให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอำนาจควบคุมดูแลรับผิดชอบทุกเรื่องได้หมดแต่เพียงผู้เดียว กฎหมายจึงต้องถูกตีความให้รักษาประโยชน์ของชาติควบคู่ไปกับประสิทธิภาพของการดำเนินภารกิจของรัฐ อีกทั้งต้องรักษาความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยโดยไม่ปล่อยให้การตัดสินใจดำเนินภารกิจของประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเสียงข้างน้อย ซึ่งนอกจากจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้ว อาจยังเป็นผู้ที่ไม่ได้รับผิดชอบ หรือไม่มีประสบการณ์และความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจอีกด้วย

ดังนั้น หากผู้หวังดีผู้ใดประสงค์ให้ “รัฐสภา” ตรวจสอบ “รัฐบาล” ให้รักษาประโยชน์และความมั่นคงของประเทศชาติ ผู้นั้นก็พึงระวังไม่อ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อย่างพร่ำเพรื่อจนการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายบริหารตกอยู่ภายใต้การขอความเห็นชอบของศาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไปเสียหมด แต่ผู้หวังดีนั้นควรจะขยันหมั่นเพียรโดยการตรวจสอบว่า “ฝ่ายบริหาร” ได้ดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนและอำนาจหน้าที่ตาม “กฎหมายทั้งหลาย” ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (ซึ่งศาลเองก็อาจเข้ามาร่วมตรวจสอบในบางเรื่องได้เช่นกัน)

เพราะสุดท้าย “กฎหมายทั้งหลาย” เหล่านี้ ซึ่งมีมากมายนอกเหนือไปจาก รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก็คือสิ่งที่ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดดุลการตรวจสอบ “ฝ่ายบริหาร” “ฝ่ายนิติบัญญัติ”  และ “ฝ่ายตุลาการ” นั่นเอง และกฎหมายนี้มีผลบังคับตลอดเวลา ไม่ว่านอกหรือในสมัยประชุมของรัฐสภา และเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องตรวจตราการบังคับใช้กฎหมาย โดยไม่ “ยึดความง่าย” โดยการอ้าง มาตรา 190 ครอบจักรวาลเพียงมาตราเดียว

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มาตรา 190 โปรดดูที่ http://bit.ly/MCrPHQ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสนอ 3 วิธีจัดการ hate speech โดยไม่ต้องเซ็นเซอร์ แต่ให้ระวังคำพูดยั่วยุ

Posted: 19 Jun 2012 02:31 AM PDT

ชาญชัย ชัยสุขโกศล จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดล เสนอกรณีศึกษาจากต่างประเทศและแนวทางในการจัดการกับปัญหา Hate speech โดยไม่ต้องเซ็นเซอร์ แต่ย้ำให้ระวังการพูดที่ยั่วยุให้เกิดการคุกคามทำร้าย (Do harm speech)

(19 มิ.ย.55)  ในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “แผ่นดินเดียวกันแต่เหมือนอยู่คนละโลก ? : วาระการวิจัยเพื่ออนาคต” ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์   ชาญชัย ชัยสุขโกศล สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในหัวข้อ Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย (Harmful information) ด้านมืดอินเทอร์เน็ตและประสบการณ์การรับมือของต่างประเทศ โดยยกตัวอย่าง Hate speech ว่ามีอาทิ กลุ่ม KKK ในสหรัฐอเมริกาที่ใช้ความรุนแรงกับคนผิวสี หรืออีกกรณีคือ การใช้ Free speech อย่างสุดโต่ง ในรวันดาที่มีผู้เสียชีวิต 800,000 คนใน 100 วัน โดยการใช้วิทยุสื่อสารบอกตำแหน่งของกลุ่มตุ๊ดซี่ ซึ่งเป็นผู้ถูกล่าว่าอยู่ที่ไหนและจะเดินทางไปได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจคล้ายๆ กับบ้านเรา นอกจากนี้ยีงมีเว็บไซต์ของกลุ่มคนที่เชิดชูผิวขาว มีเกมยิงคนผิวสี-ผิวเหลือง นักเขียนการ์ตูนชาวเดนมาร์กวาดภาพลูกระเบิดอยู่บนศีรษะศาสดามูฮัมหมัด ส่วน Harmful information เช่น การเผยแพร่เชือดคอคนอย่างไร วิธีสร้างระเบิด สูตรปรุงยาพิษโดยหาซื้อส่วนผสมได้จากร้านยาทั่วไป 

ชาญชัย ชี้ว่า การจัดการกับ Hate Speech มักใช้มาตรการทางกฎหมายและการเซ็นเซอร์ อย่างไรก็ตาม เขามองว่าเสรีภาพในการแสดงออกหรือ Free speech ควรมีได้ โดยยก จอห์น สจ๊วต มิลล์ ที่ให้เหตุผลว่า หากคนไม่ได้ถกเถียงกัน จะเกิด Dogma (หลักเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์) เกิดความมัวเมา จึงต้องเปิดให้มีการถกเถียงเพื่อหาความจริง โดยมีกรณีเดียวที่ควรถูกจำกัดคือมีการใช้ Free speech เพื่อทำร้ายผู้อื่น ดังนั้น ในส่วน harmful information เขาจึงเห็นว่าควรเซ็นเซอร์ แม้การเซ็นเซอร์อาจมีประสิทธิภาพต่ำ แต่อย่างน้อยก็ไม่ได้เผยแพร่ผ่านช่องทางของตัวเอง

ทั้งนี้ เขาเสนอว่า การจัดการกับ hate speech นั้นมีวิธีอื่นๆ ได้แก่ หนึ่ง การพูดโต้ตอบกับ hate speech เพื่อให้มีตลาดเสรีทางความคิด ให้คนฟังพิจารณา ใช้วิจารณ์ของตัวเองและเลือก สอง อารยะขัดขืนทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กรณีกลุ่มซาปาติสต้า ในรัฐเชียปาส เม็กซิโก ที่ต่อต้านรัฐบาลเนื่องจากเข้าร่วมเขตการค้าเสรี NAFTA โดยให้คนคลิกเข้าเว็บของรัฐบาล 5 เว็บพร้อมกันจนส่งผลให้เว็บล่ม โดยวิธีการแบบนี้ทำให้ให้คนทั่วโลกร่วมประท้วงได้ แต่ก็ถือเป็นความผิดในกฎหมายไทย 

สาม การป่วนทางวัฒนธรรม เช่น การกลับสัญลักษณ์ ล้อเลียน เปลี่ยนความหมาย เช่น ในแอฟริกาใต้ มีผู้ที่รำคาญป้ายโฆษณาจำนวนมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนถนนได้ จึงเปลี่ยนคำ เช่น Red Bull เป็น Dead bull, คลื่นวิทยุ Virgin กลายเป็น Viagra, Coca Cola เป็น corruption นอกจากนี้ยังมีกรณีนักเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่า "เจ้าหญิงฮิยาบ" (Princess Hijab) ในฝรั่งเศส ซึ่งปฏิบัติการคลุมฮิยาบให้โปสเตอร์ที่มีภาพโป๊ๆ ในรถไฟใต้ดิน หรือทาสีกำแพงเป็นรูปผู้หญิงคลุมฮิยาบโดยใช้สีธงชาติฝรั่งเศส เพื่อสื่อว่า ฮิยาบและฝรั่งเศสต้องอยู่ด้วยกันได้  

 

ภาพจาก http://www.princesshijab.org/

"เรามีวิธีแสดงออกได้เยอะมากกว่าการเซ็นเซอร์และใช้ความรุนแรงตอบโต้กัน"ชาญชัยกล่าวและว่า เมื่อพูดเรื่องสันติวิธี ความหมายจะกว้างมาก แต่เขาเน้นเพียงว่าต้องไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ โดยชี้ว่า หากเรามีความเกลียดชังไม่ได้ จะผิดธรรมชาติ แต่คำถามคือควรจะทำอย่างไรกับความเกลียดชังมากกว่า 

ชาญชัย กล่าวว่า hate speech ไม่จำเป็นต้องแบน แต่สิ่งที่ต้องแบนคือความรุนแรงทางกายภาพ เช่น Do harm speech หรือการแสดงความเห็นให้มีการทำร้ายคนอื่น ขณะที่ความรุนแรงทางวัฒนธรรม หรือด้านอื่นๆ นั้น แม้ว่าอยากจะจัดการก็ควรใช้มาตรการอื่น 

เขากล่าวย้ำว่า สันติวิธีมีได้ในทุกจุดยืน คืออาจจะเป็นนาซีแบบสันติวิธีก็ได้ เกลียดใครก็เชิญ แต่อย่าใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ตอนนี้ ในเมืองไทย เราเกลียดชังกันมาก ซึ่งยังอยู่ในระดับที่รับได้ แต่ในระยะยาว จะเป็นระเบิดเวลาของความเกลียดชัง ซึ่งที่ผ่านมาก็ระเบิดมา 2-3 ทีแล้ว และอาจก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างมหาศาลตามมา 


รายงานวิจัยฉบับเต็ม

http://chaisuk.wordpress.com/2011/06/16/hate-speech-full-report/ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แปดสิบปี ประชาธิปไตย มืดจนมองไม่เห็น ”

Posted: 19 Jun 2012 12:27 AM PDT

 
  • เหมือนไม่มีกฎหมายใช้บังคับ                                 กับอำนาจหนึ่งนั้นในสามส่วน

เหมือนหลุดพ้นจากกรอบผิด-ชอบมวล             จึงเรรวนล้ำรุกขึ้นทุกวัน

 

  • บริสุทธิ์ ยุติธรรม อันล้ำเลิศ                 ผู้คนเทิดทูนค่ามาเปลี่ยนผัน

นิติธรรมเสื่อมถอยล่องลอยพลัน                          “หลักการบั่นถอนรากเหลือหลักกู

 

  • คนผิดคนชั่วช้ากลับคลาคลาด                                โดยอำนาจดุลพินิจเหนือทุกผู้

ยังไม่ครบองค์ประกอบอันชอบชู               ยังไม่อยู่ในประเด็นที่เป็นจริง

 

  • แต่ในเรื่องเดียวกันที่ผันผ่าน                                   เคยประหารชีวิตเขาวอดดิ่ง

ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอ้างอิง                                       ยกตำราทั้งหิ้งมาบรรยาย

 

  • ข้อเท็จจริงแตกต่างทั้งที่เหมือน                     แล้วบิดเบือนตัวบทของกฎหมาย

พฤติกรรมซับซ้อนและซ่อนปลาย               ผลสุดท้ายฝ่ายอธรรมครอบงำเมือง

 

  • มือที่มองไม่เห็นเป็นอีกอย่าง                อำนาจในโครงสร้างเป็นอีกเรื่อง

นิติบัญญัติ “ “ บริหารสองฟันเฟือง            ล้วนนับเนื่องในหลักการคานและคุม

  • นักการเมืองฉ้อราษฎร์คอร์รัปชั่น                        ย่อมรู้กันสนั่นสื่อราวไฟสุม

เหมือนตกอยู่ในนรกหัวอกรุม                            มือกฎหมายไล่ขยุ้มจนย่อยยับ

 

  • ที่หนีรอดก็หลบเร้นไม่เห็นฝั่ง                              ได้แต่หวังไว้ว่าชะตากลับ

เร่งเวลาอายุความครบตามนับ                        จะสิ้นดับเสียก่อนสุดร้อนใจ

 

  • แต่อำนาจมืดมิดผู้ขีดเส้น                                      มืดจนมองไม่เห็นว่าเป็นไฉน

คำบรรยายที่อ่านประการใด                             เบื้องหลังเล่ามีใครชักใยกัน

 

  • เกิดคดีตีความตามใจผิด                                      สื่อที่ไหนกล้าสะกิดให้ไหวหวั่น

ชี้ขาดสองมาตรฐานประมาณนั้น                     คอร์รับชั่นตามมาชั่วช้านัก

 

  • เมื่อไม่มีกฎหมายใช้บังคับ                                 กับอำนาจหนึ่งให้เห็นเป็นประจักษ์

มือที่มองไม่เห็นจึงเร้นลัก                           เข้าไปชักใยโยงในองค์กร

  • ประชาธิปไตยไทยจึงไร้หลัก                             ยังมืดมนหม่นนักเส้นทึบซ่อน

บ้านเมืองยังช้ำชอกยังยอกย้อน             ประชาชนรุ่มร้อนและรอคอย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น