โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ชำนาญ จันทร์เรือง: ห้ามขายเหล้าวันพระใหญ่ขัดรัฐธรรมนูญ (อีกครั้ง)

Posted: 03 Aug 2012 08:17 AM PDT

จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ แต่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ซึ่งตามประกาศดังกล่าวกำหนดห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ ๔ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา โดยยกเว้นให้ขายในโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรมที่มีการจดทะเบียนที่ถูกต้องเท่านั้น โดยมีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา คือ ตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นมา ซึ่งผลของการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นไปอย่างขาดๆเกินๆ มีการฝ่าฝืนข้อห้ามให้เห็นกันอยู่โดยทั่วไป นั้น

จากประกาศฉบับดังกล่าวก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันอย่างมากมายแต่ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นไปที่การเลือกยกเว้นให้ขายในโรงแรมแต่ไม่มีการยกประเด็นของการขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมากล่าวถึงแต่อย่างใด ทั้งๆที่มีประเด็นปัญหากฎหมายที่น่าสนใจไม่น้อยว่าประกาศฉบับดังกล่าวนั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร เพราะขัดต่อหลักการพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้วยหลักการที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นด้วยหลักการที่ว่าด้วยความเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นหลักที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ฯลฯ


หลักการที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา

ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใดที่กำหนดไว้ว่าคนไทยจะต้องนับถือศาสนาพุทธและจะต้องปฏิบัติตามข้อห้ามของศาสนาพุทธเท่านั้น การดื่มสุราในศาสนาบางศาสนามิได้เป็นข้อห้ามร้ายแรงที่จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง และที่สำคัญรัฐไทยเป็นรัฐฆราวาสหรือรัฐโลกวิสัย(secular state)มิใช่รัฐเทวาธิปไตย(theocratic state)ที่ยึดศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นที่ตั้งโดยศาสนาจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักรดังเช่นรัฐอื่นๆดังเช่นคริสต์จักรในยุคกลางของยุโรปหรือในตะวันออกกลางปัจจุบันที่บัญญัติให้หลักการทางศาสนาเป็นข้อห้ามทางกฎหมาย ผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ

การงดเว้นการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ดีและควรปฏิบัติ แต่มิใช่สิ่งที่จะต้องถึงขนาดถูกลงโทษด้วยการถูกปรับหรือจำคุก และย่อมไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งหากผู้ถูกลงโทษเป็นศาสนิกในศาสนาอื่นที่ไม่มีข้อห้ามเช่นนั้น
      
ในทางตรงข้ามมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญกลับบัญญัติรับรองให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนและบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนาธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนแตกต่างจากบุคคลอื่น

หลักการที่ว่าด้วยความเสมอภาค

มาตรา ๓๐ วรรคสามของรัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้

จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งถึงสองประเด็นคือ นอกเหนือจากการเลือกห้ามในวันพระใหญ่ซึ่งเกี่ยวพันกับความเชื่อทางศาสนาแล้ว การยกเว้นให้ขายในโรงแรมเท่านั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติในฐานะทางเศรษฐกิจเพราะมีแต่คนมีสตางค์เท่านั้นที่จะเข้าไปดื่มกินในโรงแรมได้ พูดง่ายๆว่าคนจนไม่มีสิทธิทั้งๆที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนั่นเอง

หลักที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

บุคคลที่ทำมาค้าขายโดยสุจริตและเสียภาษีให้แก่รัฐอย่างถูกต้องและครบถ้วนย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๓ ที่บัญญัติให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ และการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

การที่รัฐยกเอาข้อห้ามทางศาสนามาบัญญัติเป็นกฎหมายที่เป็นบทลงโทษบุคคลที่ทำมาค้าขายโดยสุจริตและเสียภาษีให้แก่รัฐอย่างถูกต้องและครบถ้วน จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้อย่างชัดแจ้ง จะทำได้อย่างมากเพียงการขอความร่วมมือเท่านั้น หากไม่ให้ความร่วมมือก็เป็นเรื่องของมาตรการทางสังคมที่จะลงโทษหรือต่อต้าน มิใช่การลงโทษด้วยการจำหรือปรับเช่นนี้
      

นายกรัฐมนตรีในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองหรืออนุบัญญัติที่ออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งมีสถานะเป็นกฎตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ ซึ่งบัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง นายกรัฐมนตรีจึงควรที่จะต้องถูกตรวจสอบการใช้อำนาจ ทางปกครองในการออกกฎนี้
       

ฉะนั้น แทนที่จะปล่อยให้มีการตอกลิ่มปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและขัดแย้งทางความเชื่อศาสนาซึ่งมีมากอยู่แล้วให้เพิ่มมากขึ้นจากประกาศเจ้าปัญหานี้ จึงควรที่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าวตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ น่าจะได้นำคดีไปสู่องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีนี้ ซึ่งก็คือศาลปกครองเพื่อให้มีการวินิจฉัยถึงความชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานว่า การที่นายกรัฐมนตรีออกประกาศเช่นนี้ จะขัดต่อกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าหรือรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พม่าไม่ยอมส่งลูกน้องคนสนิท "หน่อคำ" ให้จีน

Posted: 03 Aug 2012 07:42 AM PDT

ทางการพม่าไม่ยอมส่งมอบลูกน้องคนสนิท "หน่อคำ" ผู้ต้องสงสัยลงมือสังหารลูกจีน 13 ศพ ให้แก่ทางการจีน

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทางการจีนเดินทางไปกรุงเนปิดอว์ สหภาพพม่า เพื่อขอรับตัวนายอ่องเมียด ลูกน้องคนสนิทนายหน่อคำ ซึ่งวางอาวุธให้กับทางการพม่าหลังจากนายหน่อคำถูกจับกุม โดยเมื่อวันที่ 28 ก.ค. เจ้าหน้าที่จีนได้เดินทางจากกรุงเนปิดอว์มายังเมืองเชียงตุง (รัฐฉานภาคตะวันออก) เพื่อทำการสอบสวนนายอ่องเมียด ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำเชียงตุง ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่จีนได้ขอตัวไปสอบสวนและดำเนินคดีในจีน แต่ว่าได้รับคำปฏิเสธจากทางการพม่าโดยอ้างว่า นายอ่องเมียด เป็นผู้ยอมมอบตัวเองไม่ใช่ผู้ถูกจับกุมมาได้
 
ทั้งนี้ มีรายงานว่า หลังจากเข้ามอบตัวและถูกควบคุมตัว นายอ่องเมียด ได้ปฏิเสธเสียงแข็งตลอดมาว่าไม่ได้มีส่วนรู้เห็น หรือ เกี่ยวข้องกับเหตุสังหารลูกเรือจีนทั้ง 13 ศพ ขณะที่ผู้ใกล้ชิดภรรยาน้อย นายอ่องเมียด เปิดเผยว่า นายอ่องเมียดได้ยอมรับสารภาพเป็นผู้ก่อเหตุลงมือสังหารลูกเรือจีน 13 ศพ เพราะถูกเจ้าหน้าที่ทางการพม่าทำการทารุณสอบสวนอย่างรุนแรง
 
หลังจากนายหน่อคำ ถูกทางการลาวจับเมื่อวันที่ 25 เม.ย 55 นายอ่องเมียด นำลูกน้องจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธไปมอบตัวให้กับทางการพม่า ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 55 หลังจากมอบตัวให้ทางการพม่าเขาได้ถูกควบคุมตัว ส่วนลูกน้องถูกสอบสวนคนละ 2-3 วันก็ได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด
 
นายอ่องเมี่ยด มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจนหง อายุ 42 ปี เป็นคนบ้านน้ำเขิม อ.เมืองเลน จ.ท่าขี้เหล็ก เป็นอดีตทหารในกองทัพเมืองไตย MTA ภายใต้การนำของขุนส่า หลังขุนส่าวางอาวุธให้กับทางการพม่า นายอ่องเมียด ได้ร่วมจัดตั้งเป็นกองกำลังอาสาสมัครร่วมกับนายหน่อคำ โดยได้รับตำแหน่งเป็นรองของหน่อคำ โดยเคลื่อนไหวในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำจนกระทั่งหน่อคำถูกจับ และเขาได้ยอมวางอาวุธมอบตัวให้ทางการพม่า

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แดงลำพูนประท้วง อ้าง ส.ส. นำเงินภาษีไปช่วยผู้สมัคร อบจ.

Posted: 03 Aug 2012 03:32 AM PDT

กลุ่มคนเสื้อแดงลำพูนฮือประท้วง ชูป้ายถล่ม ส.ส.ลำพูน-เจ้าหน้าที่รัฐฯ แฉใช้เงินหลวงหาเสียง-ซื้อเสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. สร้างความแตกแยกให้ชาวบ้าน


 

ที่มาภาพ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่ากลุ่มคนเสื้อแดง นปช.ลำพูน ได้รวมกลุ่มกันออกมาประท้วงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมจังหวัด และ ส.ส.จังหวัดลำพูน ซึ่งล้วนแต่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้งสิ้น ที่หน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมาโดยระบุในป้ายข้อความที่นำมาชูประท้วงว่า มีการนำเงินภาษีประชาชนไปช่วยผู้สมัครนายก อบจ.ลำพูน หาเสียงเลือกตั้ง ทอดทิ้งคนจน, ส.ส.ใช้อำนาจรัฐลำเอียง สร้างความแตกแยกให้คนลำพูน, คนเสื้อแดงเรียกร้องความถูกต้อง ส.ส.-จนท.ไม่โปร่งใส เอาเงินภาษีไปหาเสียง ไม่แน่จริง, เอาเงินหลวงซื้อเสียง ทอดทิ้งคนจน เป็นต้น
      
นอกจากนี้นายกมล ยะพรหม ผู้ประสานงานแดง นปช.ลำพูน ยังได้ทำหนังสือร้องเรียนเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน, ประธาน กกต.จังหวัดลำพูน, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดลำพูน, สำนักงาน ป.ป.ช., สำนักงาน สตง. โดยระบุว่าเนื่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ส่อไปในทางช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.ลำพูน ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 11 ส.ค.55 ที่จะถึงนี้
      
หนังสือร้องเรียนของกลุ่มคนเสื้อแดงดังกล่าวระบุว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน ได้นำเงินงบประมาณของทางราชการไปสงเคราะห์ประชาชนตามนโยบายช่วยเหลือคนยากจน หรือบุคคลไร้ที่พึ่ง ครอบครัวละ 1,000-2,000 บาท ซึ่งการจ่ายเงินดังกล่าวมีเจตนาช่วยเหลือผู้สมัครนายก อบจ.ลำพูน อาจจะเป็นการสมรู้ร่วมกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงขอให้มีการตรวจสอบ และให้เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมฯ หยุดการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวไปก่อน จนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว
      
อย่างไรก็ตาม การออกมาประท้วง ส.ส.ลำพูน และเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมฯ จังหวัดลำพูน ของกลุ่มคนเสื้อแดงครั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีการนำเสนอผ่านสื่อหลักใดๆ เลย ทางเครือข่ายกลุ่มคนเสื้อแดงจึงได้นำรูปภาพ-หนังสือร้องเรียน ฯลฯ โพสต์ขึ้น Facebook แทน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"คนทำงาน" มิ.ย. 2555 : สื่อนอกตีแผ่ชีวิตคนงานพม่า และไทยยังถูกสหรัฐจับตาเรื่องค้ามนุษย์

Posted: 03 Aug 2012 02:56 AM PDT


Published under a Creative Commons License By attribution, non-commercial

"เทพไท" ชี้อย่าผูกขาดเสื้อแดง คนไทยทุกคนใส่ได้ เพราะเป็นสีของธงชาติ

Posted: 03 Aug 2012 02:03 AM PDT

“เทพไท” ลั่นทวงคืนสีแดง ชี้อย่าผูกขาดเสื้อแดง คนไทยทุกคนใส่ได้ เพราะเป็นสีของธงชาติ ปัด ปชป.แทรกแซงเลือก “ปธ.วุฒิ”

3 ส.ค. 55 - เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่าที่พรรคประชาธิปัตยน์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาระบุว่าการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สวมเสื้อสีแดงขึ้นเวทีผ่าความจริงเป็นการบิดเบือนเจตนารมย์ เพราะการสวมเสื้อแดง อยู่ที่อุดมการณ์ว่า  สีแดงเป็นสีที่คนไทย มีสิทธิ์ใส่ทุกคน แต่ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่รู้สึกตะขิดตะขวงใจในการใส่ เพราะถูกคนบางกลุ่มจับจองเป็นเจ้าของสีแดง การที่แกนนำคนเสื้อแดงออกมาอ้างว่าเรื่องอุดมการณ์ในการใส่เสื้อแดง โดยเฉพาะที่มีตรา นปช.นั้น อยากถามว่ามีอุดมการณ์อย่างไร เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงแต่ละกลุ่มล้วนแล้วแต่มีอุดมการณ์ต่างกันมากมาย เช่น กลุ่มแดงสยาม แดงล้มเจ้า แดงคอมมิวนิสต์ แดงคอร์รัปชั่น แดงเผาบ้านเผาเมือง แต่สิ่งที่เราเรียกร้องให้คนไทยใช้เสื้อสีแดงได้ เพราะเชื่อว่าคนไทยมีอุดมการณ์ที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสีหนึ่งในธงชาติ จึงไม่อยากให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาบิดเบือนหรือผูกขาดความเป็นเจ้าของสีแดง

นายเทพไท ยังกล่าวถึงการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกวุฒิสภาออกมาวิเคราะห์ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ และพาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนอยากชี้แจงว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยแทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา เพราะต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปโดยอิสระและเป็นดุลพินิจของสมาชิกวุฒิสภา การพาดพิงมาที่พรรคประชาธิปัตย์ว่าเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้วประธานวุฒิสภาก็เปลี่ยนขั้วได้นั้น ตนเห็นว่าวุฒิสภาจะเลือกใครก็ได้ พรรคยอมรับมติของวุฒิสภา แต่อยากให้ ส.ว.ตั้งสติ เพราะตำแหน่งประธานวุมิสภา ถือเป็นสภาสูงควรได้คนที่เป็นธรรม มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ ถ้าให้พรรคการเมืองบางพรรคเข้าไปแทรกแซง เป็นคนของรัฐบาล การเมืองจะย้อนยุคเหมือนปี 2548 ก่อนการเกิดรัฐประหารคือ รัฐบาลสามารถแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ และวุฒิสภาจะถูกกล่าวหาเป็นสภาทาสเหมือนปี 2548 ดังนั้นจึงอยากให้ส.ว.เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"เทพไท" ชี้อย่าผูกขาดเสื้อแดง คนไทยทุกคนใส่ได้ เพราะเป็นสีของธงชาติ

Posted: 03 Aug 2012 02:03 AM PDT

“เทพไท” ลั่นทวงคืนสีแดง ชี้อย่าผูกขาดเสื้อแดง คนไทยทุกคนใส่ได้ เพราะเป็นสีของธงชาติ ปัด ปชป.แทรกแซงเลือก “ปธ.วุฒิ”

3 ส.ค. 55 - เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่าที่พรรคประชาธิปัตยน์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาระบุว่าการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สวมเสื้อสีแดงขึ้นเวทีผ่าความจริงเป็นการบิดเบือนเจตนารมย์ เพราะการสวมเสื้อแดง อยู่ที่อุดมการณ์ว่า  สีแดงเป็นสีที่คนไทย มีสิทธิ์ใส่ทุกคน แต่ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่รู้สึกตะขิดตะขวงใจในการใส่ เพราะถูกคนบางกลุ่มจับจองเป็นเจ้าของสีแดง การที่แกนนำคนเสื้อแดงออกมาอ้างว่าเรื่องอุดมการณ์ในการใส่เสื้อแดง โดยเฉพาะที่มีตรา นปช.นั้น อยากถามว่ามีอุดมการณ์อย่างไร เพราะกลุ่มคนเสื้อแดงแต่ละกลุ่มล้วนแล้วแต่มีอุดมการณ์ต่างกันมากมาย เช่น กลุ่มแดงสยาม แดงล้มเจ้า แดงคอมมิวนิสต์ แดงคอร์รัปชั่น แดงเผาบ้านเผาเมือง แต่สิ่งที่เราเรียกร้องให้คนไทยใช้เสื้อสีแดงได้ เพราะเชื่อว่าคนไทยมีอุดมการณ์ที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสีหนึ่งในธงชาติ จึงไม่อยากให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาบิดเบือนหรือผูกขาดความเป็นเจ้าของสีแดง

นายเทพไท ยังกล่าวถึงการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกวุฒิสภาออกมาวิเคราะห์ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ และพาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนอยากชี้แจงว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยแทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา เพราะต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปโดยอิสระและเป็นดุลพินิจของสมาชิกวุฒิสภา การพาดพิงมาที่พรรคประชาธิปัตย์ว่าเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้วประธานวุฒิสภาก็เปลี่ยนขั้วได้นั้น ตนเห็นว่าวุฒิสภาจะเลือกใครก็ได้ พรรคยอมรับมติของวุฒิสภา แต่อยากให้ ส.ว.ตั้งสติ เพราะตำแหน่งประธานวุมิสภา ถือเป็นสภาสูงควรได้คนที่เป็นธรรม มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ ถ้าให้พรรคการเมืองบางพรรคเข้าไปแทรกแซง เป็นคนของรัฐบาล การเมืองจะย้อนยุคเหมือนปี 2548 ก่อนการเกิดรัฐประหารคือ รัฐบาลสามารถแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ และวุฒิสภาจะถูกกล่าวหาเป็นสภาทาสเหมือนปี 2548 ดังนั้นจึงอยากให้ส.ว.เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?

Posted: 03 Aug 2012 01:32 AM PDT

การต่อสู้ขับเคี่ยวกันระหว่างพลังเผด็จการกับพลังประชาธิปไตยในหลายปีมานี้ แนวรบที่เข้มข้นดุเดือดไม่น้อยไปกว่าการต่อสู้บนท้องถนนและในสภาก็คือ การต่อสู้ทางความคิดและวาทกรรม ระหว่างอุดมการณ์ “ประชาธิปไตยเสรีนิยม” กับความคิดเผด็จการครอบงำในรูปลัทธิราชาชาตินิยมและ “ประชาธิปไตยแบบไทย”

วาทกรรมทหนึ่งที่สร้างความสับสนแม้แต่ในหมู่นักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันเองก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” (Illiberal Democracy) ใช้เป็นครั้งแรกโดยนายฟารีด ซาคาเรีย (Fareed Zakaria) คอลัมนิสต์ชาวอินเดียสัญชาติอเมริกัน และใช้กันในหมู่นักวิชาการและคอลัมนิสต์ตะวันตกจำนวนหนึ่ง

แนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ชี้ว่า ระบอบการเมืองที่มีการเลือกตั้งและ “เป็นประชาธิปไตย” นั้น อาจ “ไม่เป็นเสรีนิยม” คือไม่ให้เสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่พลเมืองของตน เช่น รัสเซียและประเทศอดีตสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก บางประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งมีพรรคการเมืองหลายพรรค มีการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลอยู่ในมือของกลุ่มชนชั้นนำที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหลายประการ เช่น เสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาลและผู้นำ เสรีภาพในการรวมกลุ่มตั้งสมาคม รัฐควบคุมสื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์ ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ ใช้วิธีการทั้งในและนอกกฎหมายกับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล เป็นต้น ประเทศเหล่านี้จึง “เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่เป็นเสรีนิยม”

ในทางตรงข้าม ก็มี “ระบอบอัตตาธิปไตยที่เป็นเสรีนิยม” (Liberal Autocracy) คือ ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลยังให้ “เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” แก่พลเมืองของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ระบบตลาดทุนนิยมและวิสาหกิจเอกชน ตัวอย่างเช่น ประเทศในยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (นายซาคาเรียอ้างถึงออสโตร-ฮังการี) และ ฮ่องกง ในปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้จึง “ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเสรีนิยม”

ก่อนรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและคอลัมนิสต์ไทยจำนวนหนึ่งก็นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาโจมตีระบอบรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยว่า “เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” คือชนะเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “ฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพย์ติด” “ปราบปรามประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนองเลือด” ควบคุมแทรกแซงสื่อ ทุจริตคอรัปชั่น แทรกแซงวุฒิสภาและองค์กรอิสระ เป็นต้น

หลังรัฐประหาร คำว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ถูกนำมาใช้โจมตีขบวนประชาธิปไตยที่ต่อต้านรัฐประหารและสนับสนุนพรรคการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า เป็นพวก “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” ยึดเอาการเลือกตั้งเป็นสรณะหนึ่งเดียวที่รองรับความชอบธรรมทางการเมืองทั้งปวง แต่มีเนื้อในที่ “ไม่เป็นเสรีนิยม” เพราะสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นเผด็จอำนาจ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

แนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการตะวันตกจำนวนหนึ่ง ประเด็นใจกลางคือ การลดรูป “ลัทธิเสรีนิยม” จากหลักการเสรีภาพสากลที่ครอบคลุมทั้งระบอบสถาบันการเมืองประชาธิปไตยแบบตัวแทนและหลักสิทธิ์เสรีภาพของประชาชน ลงมาเหลือแค่การให้มีสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยแยกจากระบอบสถาบันการเมือง หากมีการเลือกตั้ง ก็เรียกว่า “ประชาธิปไตย” ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็เรียกว่า “อัตตาธิปไตย” ผลก็คือความสับสนปนเปทางตรรกะที่อาจมีระบอบการเมืองที่เป็นอำนาจนิยม แต่ให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน (เรียกว่า “ระบอบอัตตาธิปไตยที่เป็นเสรีนิยม”) และก็มีระบอบการเมืองที่มีการเลือกตั้ง แต่ละเมิดสิทธิ์เสรีภาพของประชาชน (เรียกว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”)

แนวคิดนี้ ถึงที่สุด มีพื้นฐานความเชื่อว่า ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเป็น “ฝูงชนที่ไร้สติ สายตาสั้น หวังประโยชน์และความมั่นคงเฉพาะหน้า” ถูกชักจูงหรือครอบงำโดยนักการเมืองกลุ่มชนชั้นนำให้ลงคะแนนเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่าทั้งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” อาจนำไปสู่สองทางเลือกคือ ในปริบทที่ระบอบการเมืองยังมีการเลือกตั้ง ก็ให้ส่งเสริมหลักการแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ก้าวไปสู่การเป็น “ประชาธิปไตยเสรีนิยม” เต็มรูปแบบ

แต่อีกทางเลือกหนึ่ง กลับนำไปสู่การปฏิเสธหรือการลดทอนความสำคัญของการเมืองแบบเลือกตั้ง โดยอ้างว่า การเลือกตั้งไม่ใช่สารัตถะของระบอบการเมือง การประเมินระบอบการเมืองหนึ่ง ๆ ไม่ใช่อยู่ที่ว่า มีการเลือกตั้งหรือไม่ แต่ให้ดูที่ “เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” ของประชาชนเป็นสำคัญ ผู้ที่สมาทานแนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” มักจะเลือกหนทางที่สองคือ หันไปสนับสนุนการใช้กลไกนอกระบบการเมืองมาควบคุมอำนาจที่จากการเลือกตั้ง เชิดชู “ลัทธิชนชั้นนำ” ที่ปลอดพ้นจาก “ความชั่วร้ายของการเมืองแบบเลือกตั้งที่สายตาสั้นและเต็มไปด้วยผลประโยชน์” ดังจะเห็นได้จากที่นายซาคาเรียเองเสนอให้ “ลดความเป็นประชาธิปไตยลง” ด้วยการให้อำนาจแก่ผู้กระทำการ “ที่ไม่ถูกกดดันจากประชาธิปไตย” เช่น องค์การการค้าโลก ธนาคารกลาง ศาลฎีกา องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น

จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” จึงมีเสน่ห์หอมหวล ดึงดูดนักวิชาการ คอลัมนิสต์ และองค์กรพัฒนาเอกชนไทยที่แต่ไหนแต่ไรมาก็เกลียดชังนักการเมืองและระบบการเมืองแบบเลือกตั้ง หยิบยกขึ้นมาเป็นอาวุธทางวาทกรรมทิ่มแทงฝ่ายประชาธิปไตย ปฏิเสธลักษณะก้าวหน้าและเป็น “เสรีนิยม” ของขบวนประชาธิปไตย ตรรกะของคนพวกนี้เข้าขั้น “เลอะเทอะ” เมื่อประกาศว่า การปกครองของพวกจารีตนิยม (รวมถึงอันธพาลการเมืองเช่น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) นั้น “เป็นเสรีนิยม คือให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน แต่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ในขณะที่ฝ่ายประชาชน “เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่เป็นเสรีนิยม เพราะไปสนับสนุนนักการเมืองที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน”

ลัทธิเสรีนิยมเป็นแนวคิดสากลที่ครอบคลุมทั้งระบอบการเมืองแบบเลือกตั้งและหลักแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน สองประการนี้เป็นสิ่งเดียวกันและแยกกันไม่ออก ประเทศที่มีการเมืองแบบเลือกตั้ง มีหลายพรรคการเมือง แต่ไม่มี “หลักสิทธิเสรีภาพ” ต่อพลเมืองของตน ถึงอย่างไร ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นระบอบอำนาจนิยมแฝงเร้นชนิดหนึ่ง ที่ใช้เปลือกนอกของ “การเมืองแบบเลือกตั้ง” มาสวมคลุมร่างหมาป่าของตน ในทางตรงข้าม ประเทศที่มีระบอบการเมืองผูกขาดโดยกลุ่มหรือครอบครัวชนชั้นนำ แต่อ้างว่า ให้ “สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน” ก็ไม่ใช่เสรีนิยม เพราะถึงอย่างไร “สิทธิเสรีภาพของประชาชน” ก็ยังถูกจำกัดด้วยข้อห้ามที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธ หรือคัดค้านอำนาจการปกครองของชนชั้นนำนั้นอยู่ดี

ประเทศหนึ่งมีเพียงสองทางเลือกคือ เป็น “ประชาธิปไตยเสรีนิยม” หรือเป็น “ระบอบอำนาจนิยม (ทั้งแฝงเร้นและเปิดเผย) ประเทศไทยนับตั้งแต่รัฐประหาร 2500 เป็นต้นมา อยู่ในระบอบอำนาจนิยมของพวกจารีตนิยม ที่บางช่วงสวมเสื้อคลุม “การเมืองแบบเลือกตั้ง” ที่ให้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลและทางเศรษฐกิจอย่างจำกัดแก่ประชาชน แต่ในความเป็นจริง เต็มไปด้วยการกดขี่ทางชนชั้น การผูกขาดเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจของพวกจารีตนิยมและทุนเก่า การครอบงำทางความคิดอุดมการณ์อย่างเบ็ดเสร็จ และการปราบปรามผู้ที่เห็นต่างอย่างไร้เมตตา (ตัวอย่าง ป.อาญา ม.112 และการฆ่าหมู่ประชาชนถึงสี่ครั้งในรอบ 30 ปี) ส่วนสมุนของระบอบนี้ เช่น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เป็นพวกอันธพาลฟัสซิสต์คลั่งชาติ ระบอบการปกครองและกลุ่มอันธพาลที่ว่านี้ ไม่มีอะไรที่เป็นเสรีนิยมเลยแม้แต่น้อย

สำหรับฝ่ายประชาธิปไตยแล้ว เครื่องหมายแห่งความเป็นเสรีนิยมอย่างแท้จริงของพวกเขาคือ การปฏิเสธ “ลัทธิเหนือโลก” และ “ลัทธิฝุ่นใต้ตีน” ทุกรูปแบบ ยืนยันว่า คนเรานั้นเกิดมาเพียบพร้อมไปด้วยสิทธิเสรีภาพ มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากัน ทุกคนคือ “เสรีชน” การปกครองที่ชอบธรรมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเสียงส่วนใหญ่ ความขัดแย้งและความเห็นต่างทางการเมืองต้องแก้ไขอย่างสันติด้วยการเลือกตั้งเท่านั้น ขบวนประชาธิปไตยของไทยปัจจุบันนี้แหละคือ “ขบวนประชาธิปไตยเสรีนิยม” อย่างแท้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'โอบาม่า' ลงนาม 'คำสั่งลับ' ให้ความช่วยเหลือกบฏซีเรีย

Posted: 03 Aug 2012 12:51 AM PDT

สหรัฐฯ อนุญาต CIA ช่วยเหลือด้านงานข่าว รวมถึงอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฏในซีเรีย นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจากตุรกี และผู้มั่งคั่งในกาตาร์-ซาอุฯ ขณะที่นักสิทธิมนุษยชนในซีเรียเผยข้อมูลการต่อสู้ทำให้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป ส่วนฮิวแมนไรท์วอชวิจารณ์ที่ทางการเลบานอนส่งตัวชาวซีเรียกลับประเทศ

 

 

วันที่ 2 ส.ค. 2012 ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐฯ ได้ลงนามคำสั่งลับที่อนุญาตให้สหรัฐฯ สนับสนุนกลุ่มกบฏที่พยายามโค่นล้มประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด และรัฐบาลซีเรีย

คำสั่งของโอบาม่าซึ่งมีการอนุมัติช่วงต้นปีที่ผ่านมาเรียกว่า "การสืบค้น" ด้านงานข่าวกรอง ที่อนุญาตให้หน่วยงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (CIA) และหน่วยงานอื่นๆ ให้การความช่วยเหลือกลุ่มกบฏในการโค่นล้มอัสซาด

ทางโฆษกของทำเนียบขาว ทอมมี่ เวียเตอร์ ก็ปฏิเสธจะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางสหรัฐฯ เริ่มหยุดส่งอาวุธอันตรายให้กับฝ่ายกบฏในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ยังกระทำอยู่

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และยุโรปกล่าวไว้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่ากลุ่มกบฏในซีเรียมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านการประสานงานและประสิทธิภาพ การกล่าวเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายตะวันตกมีความเชื่อมั่นในกลุ่มกบฏมากขึ้นจากที่แต่ก่อนเคยบอกว่าพวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่มีการจัดตั้งที่ดี

นอกจากเรื่อง 'คำสั่งลับ' แล้ว ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เองก็แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้ใช้เงิน 25 ล้านดอลลาร์ (ราว 788 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฏ ซึ่งทางการสหรัฐฯ อ้างว่าส่วนใหญ่เป็นความช่วยเหลือด้านเครื่องมือสื่อสาร รวมถึงวิทยุเปลี่ยนข้อความเป็นรหัสลับ

ฝ่ายการต่างประเทศของสหรัฐฯ บอกอีกว่าทางสหรัฐฯ ยังได้จัดงบประมาณ 64 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,017 ล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนซีเรีย รวมถึงบริจาคให้โครงการอาหารโลก, คณะกรรมการกาชาดสากล และองค์กรให้ความช่วยเหลืออื่นๆ

ผู้มั่งคั่งในกาตาร์-ซาอุฯ ให้เงินสนับสนุนกบฏ

แหล่งข่าวในรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยอีกว่า จากเอกสารการสืบค้นของประธานาธิบดี ทางสหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับศูนย์บัญชาการลับของตุรกีและพันธมิตรของพวกเขา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตุรกี, กาตาร์ และซาอุดิอาร์เบีย ได้ตั้งฐานทัพลับใกล้กับชายแดนซีเรียเพื่อให้ความช่วยเหลือทั้งทางการทหารและการสื่อสารแก่ฝ่ายกบฏ

"ศูนย์กลางประสานงาน" อยู่ในอดานา เมืองทางตอนใต้ของตุรกี ห่างจากชายแดนซีเรีย 100 กม. ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ฐานทัพอากาศอินเซอลิคของสหรัฐฯ ที่มีหน่วยงานข่าวกรองการทหารของสหรัฐฯ ทำงานอยู่ในนั้น

มีรายงานว่ารัฐบาลตุรกีเริ่มมีส่วนร่วมกับกลุ่มกบฏในซีเรียมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่แหล่งข่าวในยุโรประบุว่าเหล่าตระกูลที่มีฐานะในซาอุฯ และกาตาร์ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มกบฏ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศต่างก็เรียกร้องผ่านสื่อให้อัสซาดออกจากตำแหน่ง

มีรายงานอีกว่าเมื่อวันที่ 31 ก.ค. กองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (FSA) ได้รับอาวุธจรวดต่อต้านอากาศยานจำนวนราว 20 กว่าลูก ซึ่งสามารถใช้เป็นอาวุธตอบโต้เฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินรบของอัสซาดได้

สำนัก NBC ของสหรัฐฯ ระบุว่า มีอาวุธยิงจรวด MANPADs ถูกลำเลียงจากตุรกีเพื่อส่งไปให้กลุ่มกบฏของซีเรีบ แต่บัสซัม อัล-ดาดา ผู้ให้ปรึกษาทางการเมืองของ FSA ปฏิเสธรายงานข่าวของ NBC และกล่าวให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ภาษาอาหรับ อัล-อาราบิยา บอกว่าพวกเขาไม่ได้รับอาวุธใดๆ เลย

เผยภาพวีดิโอกบฏซีเรียประหาร 'ชาบิยา' กองทหารรับจ้างฝ่ายรัฐบาล

ในวันเดียวกัน (2 ก.ค.) สำนักอัลจาซีร่าเปิดเผยภาพวีดิโอแสดงให้เห็นกลุ่มกบฏประหารชีวิตกลุ่มทหารรับจ้างฝ่ายรัฐบาลในเมืองอเล็ปโป

กลุ่มชายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม 'ชาบิยา' กลุ่มทหารรับจ้างที่ช่วยเหลือรัฐบาลซีเรียปราบปรามประชาชน ถูกสั่งให้ยืนเรียงแถวแล้วยิงทิ้งในระยะเผาขน

ผู้บรรยายวีดิโอใน Youtube บอกว่าชายเหล่านี้มาจากตระกูล บาร์รี ซึ่งฝ่ายกบฏตั้งข้อหาว่าพวกเขาเป็นฆาตกร

กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียเปิดเผยตัวเลขผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งในซีเรียโดยระบุว่ามีคนถูกสังหารเมือวันที่ 1 ส.ค. ทั่วประเทศซ๊เรีย 135 คน เป็นประชาชน 74 ราย เป็นทหาร 43 ราย และเป็นฝ่ายกบฏ 18 ราย ขณะที่วันที่ 31 ก.ค. ที่คนเสียชีวิตทั้งหมด 124 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนในเมืองอเล็ปโป

เลบานอนส่งตัวชาวซ๊เรียกลับประเทศ

ขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าประเทศเลบานอนได้ส่งตัวชาวซีเรีย 14 คนกลับประเทศ แม้ว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ตามชายแดนก็ตาม จนนักสิทธิมนุษยชนวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้

ทางตัวแทนกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำกรุงเบรุตกล่าวว่า กลุ่มผู้ที่ถูกส่งตัวกลับประเทศกลัวว่าตัวเองจะถูกใส่ร้ายและสังหารเมื่อกลับไป และมีหนึ่งในนั้นที่น่าจะเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง แต่ทางการเลบานอนอ้างว่าเหตุผลที่ส่งตัวกลับไม่ใช่มาจากเรื่องการเมือง แต่พวกเขาถูกส่งตัวกลับตามหลักกฏหมายทั่วไป และไม่มีใครเป้นนักกิจกรรมทางการเมือง

ที่มาเรียบเรียงจาก:

Obama inks 'secret order' to aid Syria rebels, Aljazeera, 02-08-2012
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/08/20128264510724249.html

Regime loyalists 'executed' in Syria's Aleppo, Aljazeera, 02-08-2012
http://www.aljazeera.com/video/middleeast/2012/08/20128222712598918.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น