โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รมช.สธ.เผยเตรียมดัน ‘ชุมชนจัดการระบบสุขภาพฯ’ เป็นวาระแห่งชาติ ปี 56-58

Posted: 21 Mar 2013 11:38 AM PDT

ประชุมวิชาการวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ เสนอ ครม.กำหนดเป้าหมาย "ชุมชนจัดการระบบสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง" เป็นวาระแห่งชาติปี 2556-2558 มุ่งประชาชนสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน เตรียมพร้อมรับมือประชาคมอาเซียน

 
เมื่อวันที่ 21 มี.ค.56 เวลา 09.00 น. ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดงานประชุมวิชาการวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี 2556 และมีพิธีมอบรางวัลอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ดีเด่นกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด พิธีประกาศเกียรติคุณผู้ประสานงานระดมทุนมูลนิธิ อสม.ได้ตามเป้าหมาย
 
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานในพิธีเปิดการประชุม กล่าวแสดงความยินดีกับ อสม.ที่ได้รับรางวัลประจำปีนี้ รวมทั้งขอบคุณ อสม.ทุกคนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลเอาใจใส่สุขภาพชาวบ้านในชุมชนด้วยความเสียสละ ภายใต้จิตอาสาในการทำงานอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน โดยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาคัดเลือก อสม.ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติยกย่องคุณงามความดี และเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ อสม.ที่ได้รวมพลังทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
 
รมช.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า อสม.มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพชุมชน รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของ อสม.ทุกคนให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยจัดฝึกอบรมฟื้นฟูความรู้ 3 ส่วนคือ เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน การอบรมความรู้เฉพาะทาง และอบรมด้านภาวะฉุกเฉิน เพื่อบรรลุเป้าหมายคือ ชุมชนจัดการระบบสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง โดยรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์การปฏิบัติงาน ให้ อสม.สามารถปฏิบัติงานเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
เป้าหมายสูงสุดของชุมชนจัดการระบบสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรงคือ สุขภาพดี มีตังค์ และยั่งยืน แนวคิดดังกล่าวถือเป็นรูปแบบใหม่ในการบริหารจัดการ ที่มีการนำศักยภาพภูมิปัญญาและการรวมพลังของชุมชนท้องถิ่นมาเชื่อมโยงให้เกิดการทำงานสอดคล้องกัน โดยต้องอาศัยการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาต่างๆ มาจัดทำแผนหรือโครงการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในปี 2556-2558
 
"ส่วนในแง่ผลกระทบจากการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คาดว่าจะมีแรงงานข้ามชาติหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น แน่นอนว่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดทั้งโรคติดต่อที่สำคัญ โรคอุบัติใหม่ รวมทั้งโรคติดต่อที่ถูกกำจัดกวาดล้างหมดไปจากประเทศไทยแล้ว เช่น กาฬโรค ก็อาจกลับมาระบาดได้อีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง รวมทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยมากขึ้น ก่อให้เกิดภาระต่อสถานพยาบาลภาครัฐเพิ่มมากขึ้น" รมช.สาธารณสุข กล่าว
 
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ชลน่าน ยังกล่าวถึงผลกระทบทางบวกเรื่องการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า เมื่อประเทศไทยมีชุมชนจัดการระบบสุขภาพเข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรงจะมีความได้เปรียบในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและจัดการปัญหาต่างๆ ได้ ส่วน อสม.ประชาชนและชุมชน สามารถพัฒนาเป็นครูและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานสาธารณสุขมูลฐานได้ คนไทยมีโอกาสพัฒนาทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยี ตลอดจนสร้างรายได้และเศรษฐกิจให้กับชุมชนอีกด้วย
 
ส่วน นาวาอากาศตรีบุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง อสม.มืออาชีพว่า มีขั้นตอนการพัฒนา อสม. 3 ระดับคือเริ่มจากการพัฒนาที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่ระบบอาสาสมัครใหม่ให้เป็น อสม.ที่มีความรู้ทั่วไปในการดูแลสุขภาพในบริการที่จำเป็น 14 กิจกรรมของสาธารณสุขมูลฐาน
 
ขั้นต่อมาคือ การพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสิ่งที่ อสม.แต่ละคนสนใจ รัก และถนัดจำนวน 10 สาขา เรียกว่า อสม.เชี่ยวชาญ และขั้นสุดท้ายคือ การพัฒนาให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน ซึ่งมีความสามารถในการวางแผน การจัดการงบประมาณ และจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บันทึกจำเลย: คำหล้า ชมชื่น โทษ 10 ปี คดีปล้นปืน 2 กระบอก

Posted: 21 Mar 2013 11:22 AM PDT

คำหล้า ชมชื่น  ผู้ต้องขังคดี "ปล้นปืน" ทหารในเหตุการณ์วันที่ 14 พ.ค.53  คำว่าปล้นปืนอาจให้ภาพที่ใหญ่เกินความเป็นจริง เพราะแท้จริงแล้วมันคือการรุมล้อมรถทหารที่เข้ามาบริเวณสามเหลี่ยมดินแดงใกล้ซอยหมอเหล็ง มีการแย่งปืนของทหารคนหนึ่งที่ยืนอยู่หลังกะบะรถ รวมทั้งนำตัวทหารลงมาจากรถและเคลื่อนย้ายรถไปที่อื่น แน่นอน ว่าเราจะเห็นผู้ชุมนุมบางส่วนเข้าไปทำร้ายทหารและบางส่วนที่พยายามห้ามปราม อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นความโกรธแค้นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นที่บริเวณใกล้เคียงกันมีการยิงชายคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและถูกนำส่งรถพยาบาล (ดูคลิปประกอบ)


คลิปจาก thaiopion1  นาทีที่ 0:40 มีผู้บาดเจ็บถูกยิง 1:45 จะเห็นรถทหารเข้ามาในพื้นที่และถูกผู้ชุมนุมล้อม


คลิปจาก TheChomfa แสดงให้เห็นการล้อมรถทหารของผู้ชุมนุม
มีการขึ้นไปชกทหารบนรถ และพยายามแย่งปืนจากมือทหาร

 

คำหล้า ถูกศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 10 ปี (อ่านรายละเอียดคำพิพากษาในลิงก์ด้านล่าง) และถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำหลักสี่ ซึ่งเป็นที่รวมของผู้ต้องขังในคดีการเมือง

00000

 

คําหล้า ชมชื่น เกิดปี 2517 เป็นชาว อ.หนองแซง จ.สระบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เขาจบการศึกษา ป.6 ที่โรงเรียนวัดหนองกะธาตุ จ.สระบุรี ด้วยความยากจนเขาจึงไม่ต้องการศึกษาต่อ และทำงานรับจ้างทั่วไป/ และรับจ้างทำนาแถวบ้านของเขา

3 ปีต่อมาเขาเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อทำงานในโรงงานทำถุงพลาสติกสำหรับใส่ผ้าห่มนวมแห่งหนึ่ง แต่ทำงานได้เพียง 2 ปี ทางบ้านของเขาก็เรียกให้เขากลับมาทำงานรับจ้างแถวบ้านอีกครั้ง

เมื่อ อายุ 21 ปีเขาสมัครใจเป็นทหาร โดยไม่จับใบดำใบแดง เขาได้รับการฝึกเป็นทหารสังกัด พล.รอ.4 รักษาพระองค์ ม.พัน 27 โดยได้รับเงินเดือนๆ ละ 1,150 บาท

2 ปีต่อมาเขาพ้นจากการเป็นทหาร และทำงานในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ทำหน้าที่ยกเฟอร์นิเจอร์เข้าตู้คอนเทนเนอร์ โดยได้ค่าแรงวันละ 150 บาท

ปลายปี 2542 พี่ชายคนหนึ่งของเขาเสียชีวิต เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงาน และสมัครเข้ามาทำงานที่สำนักการระบายน้ำ สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคลองบางซื่อ ซึ่งพี่ชายอีกคนของเขาทำงานอยู่ โดยเริ่มต้นจากการเป็นพนักงานชั่วคราว ได้รับเงินเดือนๆ ละ 4,100 บาท ทำหน้าที่จัดเรียงกระสอบทราย/ลอกท่อระบายน้ำ

ปี 2547 เขาได้รับการบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ โดยได้รับเงินเดือนๆละ 10,600 บาท ทำหน้าที่เฝ้าเครื่องสูบน้ำ ซึ่งการทำงานของที่นี่แตกต่างจากระบบราชการที่อื่นคือ เขาต้องเข้ากะเพื่อเฝ้าเครื่องสูบน้ำครั้งละ 24 ชั่วโมง วันเว้นวันสลับกับเพื่อนเจ้าหน้าที่อีก 1 คน

ปี 2549 หลังการรัฐประหาร เขารู้สึกน้อยใจที่นายกรัฐมนตรีที่เขาชื่นชอบถูกปล้นอำนาจ แต่เขาก็ไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุม หรือการเรียกร้องใดๆ

ปี 2552 กรุงเทพมหานครมีหนังสือสั่งการมาทุกหน่วยงาน รวมทั้งสำนักการระบายน้ำ ห้ามเจ้าหน้าที่ทุกคนยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมการเมืองใดๆ เขาปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

27 พ.ค. 53 เวลาประมาณ 13.30 น. ขณะที่เขากำลังทานอาหารที่ร้านอาหารประจำ (ด้านหลังกรมการขนส่งทางบก ถ.พหลโยธิน) มีกลุ่มผู้ชาย 4-5 คนขี่มอเตอร์ไซด์มาจอดใกล้กับโต๊ะที่เขากำลังนั่งทานอาหารอยู่ เขาสังเกตเห็นบางคนในกลุ่มกำลังคุยโทรศัพท์มือถืออยู่
พวกเขาลงจากรถมอเตอร์ไซด์และเดินมาหาเขา โดยบางคนถือซองสีน้ำตาล หนึ่งในนั้นถามว่าเขาใช่คำหล้าหรือไม่ แล้วบอกว่าเป็นตำรวจมาพร้อมหมายจับ

กลุ่มผู้ชายดังกล่าวดึงตัวเขาขึ้นมาจากเก้าอี้, จับมือของเขาไพล่หลัง และใส่กุญแจมือ ท่ามกลางสายตาของลูกค้าในร้านอาหาร เขาถูกนำตัวขึ้นรถมอเตอร์ไซด์ และถูกพาตัวไปฝั่งตรงข้ามวัดไผ่ตันซึ่งอยู่ติดกับที่ทำงานของเขาเพื่อเปลี่ยนขึ้นรถยนต์ที่จอดรออยู่ โดยไม่เปิดโอกาสให้ติดต่อพี่ชายของเขา

รถยนต์พาเขาไปอาคาร บช.น. หลังเก่า (อยู่ฝั่งตรงข้าม รพ.สงฆ์ ถ.ศรีอยุธยา) เขาถูกนำตัวขึ้นพาไปชั้น 3 ของอาคาร เพื่อไปพบผู้บังคับบัญชาของพวกเขา เขาถูกยึดโทรศัพท์มือถือ เขาร้องขอให้ตำรวจช่วยติดต่อญาติให้เขา แต่ตำรวจปฏิเสธ
ผู้บังคับบัญชาของตามด้วยความเมตตาว่าระหว่างจับกุมทำอะไรอยู่ เมื่อเขาบอกว่ากำลังกินข้าวแต่ยังกินไม่เสร็จ ผู้บังคับบัญชาก็ต่อว่าลูกน้องว่า  "ไอ้พวกนี้ใจร้ายจริง น่าจะให้กินเสร็จก่อน" จากนั้นเรียกให้เขาไปตักข้าวแกงซึ่งวางอยู่บนโต๊ะมาทาน เขาทำตาม แต่ทานได้เพียง 2-3 คำก็กินไม่ลงจึงเดินกลับมานั่งที่โต๊ะ เขาสังเกตเห็นตำรวจกำลังพิมพ์สำนวนอยู่ ทั้งที่เขายังไม่ได้ให้การใดๆ เลย

2-3 นาทีต่อมาตำรวจเอาสำนวนที่เพิ่งพิมพ์เสร็จกว่า 70 หน้ามาให้เขาลงลายมือชื่อ เขาพยายามจะเปิดอ่าน แต่ตำรวจเอามือปิดอย่างรวดเร็ว

"เอ๊า มึงรีบเซ็น ถ้ามึงไม่เซ็นกูจะส่งตัวมึงให้ทหาร เกิดอะไรขึ้นกับมึงกูไม่รับรู้นะ"

ด้วยความกลัวเขาจึงยอมลงลายมือชื่อในเอกสารประมาณ 5-6 หน้า หลังจากนั้นตำรวจพาตัวเขาลงไปชั้นล่างเพื่อขึ้นรถตู้ และพาเขาไปกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ถ.ศรีอยุธยา)

เมื่อเข้าไปในห้องแถลงข่าว เขาสังเกตเห็นสื่อมวลชนนั่งรออยู่ในห้องแถลงข่าวจำนวนมาก บนโต๊ะตัวใหญ่มีอาวุธ M79 และวัตถุระเบิดจำนวนมากวางอยู่ ซึ่งน่าจะเป็นของคดีอื่นที่เพิ่งแถลงข่าวเสร็จก่อนหน้านี้

เขาถูกจับนั่งลงเก้าอี้ สื่อมวลชนเริ่มถามตำรวจที่ร่วมแถลงข่าว
   "มีของกลางไหม"
   "มี M16 1 กระบอก"
   "ได้มาจากไหน"
   "ได้มาจากวัดปทุม"

ตำรวจหยิบปืน M16 จำนวน 1 กระบอกขึ้นมาวางบนโต๊ะให้สื่อมวลชนดู สื่อมวลชนเริ่มถามเขา
   "ไปปล้นทำไม"

เขาปิดปากเงียบสนิท ไม่ได้ตอบคำถาม นักข่าวจากไทยโพสท์มอบภาพถ่ายคนสวมชุดดำใส่หมวกแก๊ปปิดบังใบหน้าให้กับตำรวจ เขาเห็นคนในภาพถ่ายแว็บๆ ภาพนี้กลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้มัดตัวเขาในเวลาต่อมา

หลังแถลงข่าวเสร็จตำรวจพาเขาขึ้นรถตู้คันเดิมกลับ สน.ดินแดง ระหว่างทางเขาได้ยินตำรวจคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ด้านหลังของเขาพูดคุยกัน ได้ยินเสียงว่า "วัด วัด" เขามั่นใจว่า คนที่ชี้เป้าให้ตำรวจที่ขี่มอเตอร์ไซต์มาจับกุมเขาคือ ตำรวจที่ชื่อ "วัฒน์" ซึ่งเป็นตำรวจที่รู้จักกับเขา เนื่องจากอยู่บ้านใกล้กับบ้านของเขา

เมื่อกลับมาถึง สน.ดินแดง เขาถูกนำตัวเข้าห้องขัง ตำรวจคืนโทรศัพท์ของเขาให้กับตำรวจ สน.ดินแดง ด้วยเหตุนี้เขาจึงร้องขอให้ตำรวจ สน.ดินแดง ใช้โทรศัพท์ของเขาติดต่อภรรยาของเขา ตำรวจ สน.ดินแดง ติดต่อภรรยาของเขา และแจ้งให้เธอทราบว่า เขาอยู่ สน.ดินแดง ภรรยาของเขาเดินทางมาเยี่ยมเขาในเวลาเย็น และรับของส่วนตัวของเขากลับบ้าน
 

เวลา 19.00 น. ตำรวจพาเขาออกจากห้องขังเพื่อทำการสอบสวน
   "โดนซ้อมไหม"
   "ไม่โดนครับ"
ตำรวจเปิดเสื้อของเขาขึ้นมาดู และไม่พบบาดแผลบนร่างกายของเขาแต่อย่างใด
   "อ้าว ทำไมไม่โดนซ้อม"
   "ไม่รู้ครับ"
   "มีเพื่อนฮาร์ดคอร์ไหม
   "ไม่มี"
หลังจากสอบสวนเสร็จเขาถูกนำตัวกลับเข้าห้องขังอีกครั้ง แต่ผ่านไปเพียงครึ่งชั่วโมงเขาก็ถูกนำตัวออกจากห้องขังมาสอบสวนอีกครั้ง

ครั้งนี้เขาถูกพาตัวเข้าห้องสอบสวน เขาเห็นชายคนหนึ่งนั่งอยู่ในห้องร่วมกับตำรวจ ตำรวจพูดต่อหน้าเขาและชายคนนั้นว่า เขาลงลายมือชื่อรับสารภาพไปแล้ว เขาเพิ่งรู้ในเวลานั้นว่า เขาถูกหลอกให้ลงลายชื่อรับสารภาพ
ชายคนนั้นแนะนำตัวต่อเขาว่า เป็นทนายความจากสภาทนายความฯ "ไหนๆ เซ็นแล้วก็เซ็นเอกสารนี่อีก"

เขายอมลงลายมือชื่อโดยที่ไม่รู้ว่าเอกสารเหล่านั้นคืออะไร หลังจากนั้นเขาถูกนำตัวกลับเข้าห้องขัง และถูกนำตัวไปสอบสวนอีกครั้งเวลา 0.00 น.

วันรุ่งขึ้นเวลา 8.00 น. ภรรยาของเขาและพี่ชายของเขาที่ทำงานในสำนักการระบายน้ำซื้ออาหารมาเยี่ยมเขาถึงห้องขัง ตำรวจ สน.ดินแดง แนะนำภรรยาของเขาและพี่ชายของเขาให้ติดต่อพรรคเพื่อไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยแจ้งว่า เขาถูกจับกุมจากข้อหาทางการเมือง

ภรรยาของเขาและพี่ชายของเขารีบเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากพรรค พวกเขากลับมาหาเขาอีกครั้งในช่วงบ่าย และแจ้งข่าวดีว่าทางพรรคกำลังจัดหาหาทนายความมาช่วยเหลือ คืนนั้นเขาต้องนอนค้างในห้องขังอีก 1 คืน

วันรุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์เขาถูกส่งไปฝากขังที่ศาลอาญา (ถ.รัชดาภิเษก) ภรรยาของเขามารอเขาที่ สน.ดินแดง และขึ้นรถแท็กซี่ตามเขาไปที่ศาลอาญาด้วย เมื่อมาถึงศาลอาญาเขาถูกนำตัวเข้า ห้องขังใต้ถุนศาล ภรรยาของเขานั่งรออยู่ด้านนอก ซักพัก วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ เดินมาพูดคุยกับภรรยาของเขา และถามหาเขา ภรรยาของเขาจึงชี้นิ้วมาที่เขาซึ่งกำลังยืนเกาะลูกกรงห้องขังอยู่ ทั้งสองทักทายกันตามอัธยาศัย

เวลา 12.00 น. เขาถูกส่งเข้าเรือนจำกรุงเทพ ต่อมาเขาถูกย้ายไปแดน 8 ซึ่งวันแรกที่ย้ายแดน เขาถูกผู้ต้องขังที่อยู่ในแดน 8 ทำร้ายร่างกาย แต่โชคดีที่ผู้ต้องขังคนอื่นช่วยห้ามไว้

เขาถูกขังเรื่อยมา กระทั่งวันที่ 28 ธ.ค. 54 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ ซึ่งเป็นอาวุธปืนของทหาร 15 ปี แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี มีเหตุให้บรรเทาโทษ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจำคุก 10 ปี (อ่านรายละเอียดที่ จำคุก 10 ปี เสื้อแดงปล้นปืนทหาร 2 กระบอก ระหว่างรุมขวางรถทหารปี 53)

อีกเกือบสองปีต่อมา วันที่ 22 ม.ค. 56 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 10 ปี  (อ่านรายละเอียดที่  ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำคุก 10 ปี 'คำหล้า' คดีแย่งปืนทหาร 2 กระบอก)

เขาบอกว่า เขาอยากให้มีการนิรโทษกรรมผู้ต้องหาทางการเมืองโดยเร็วที่สุด และอยากวิงวอนทุกฝ่ายอย่าเอาประชาชนมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เนื่องจากผู้ต้องหาทางการเมืองทุกคนล้วนมีภาระดูแลครอบครัว หากตนเองได้ออกจากเรือนจำก็จะขอกลับไปอยู่กับครอบครัวอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.ชงร่าง พ.ร.บ.การกีฬาฯ แนะไม่ควรมีโทษจำคุก – วิธีจัดสรรเงินกองทุนชัด

Posted: 21 Mar 2013 11:12 AM PDT

กรรมการปฏิรูปกฎหมาย เผย คปก.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การกีฬาฯ ฉบับ ครม. พบให้อำนาจนายทะเบียนกว้างเกินไป แทรกแซงการทำงานของสมาคมกีฬาต่างๆ ได้ แนะบทกำหนดโทษไม่ควรให้เป็นความผิดอาญาที่มีโทษจำคุก ให้เป็นความผิดฝ่าฝืนระเบียบแทน

 
 
วันที่ 21 มี.ค.56 นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า นายคณิต ณ นครประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การกีฬาฯ โดยสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
 
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า คปก. ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การกีฬาฯ ฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีแล้ว เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ระบุบทกำหนดโทษทางอาญาไว้ 2 ประเภทคือ จำคุกและปรับ เมื่อพิจารณาการกระทำว่าการกระทำให้เหมาะสมเป็นความผิดอาญาหรือไม่แล้ว เห็นว่า บทกำหนดโทษในร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ควรให้เป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุก แต่อย่างไรเสียแต่ก็ควรมีสภาพบังคับ โดยอาจกำหนดให้เป็นความผิดที่ฝ่าฝืนระเบียบแทน และถือว่าการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบนี้เป็นความผิดในทางปกครอง โดยอาจกำหนดมาตรการบังคับการปกครองแทนก็ได้
 
นอกจากนี้ ในมาตรา 14 ยังกำหนดให้ผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยด้วย แต่ไม่มีที่ใดในร่าง พ.ร.บ.นี้รับรองสถานภาพของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยไว้ จึงเห็นควรให้รับรองสถานภาพของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยไว้ในร่าง พ.ร.บ.โดยอาจกำหนดให้เป็นนิติบุคคลชนิดพิเศษ หรือกำหนดให้เป็นสมาคมกีฬาประเภทหนึ่งก็ได้
 
"ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้อำนาจนายทะเบียนกว้างเกินไป อาทิ มีอำนาจสั่งให้งดการประชุมได้หากสมาคมกีฬาไม่แจ้งวันประชุม มีอำนาจในการร้องขอต่อศาลเพื่อเพิกถอนมติได้ มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการกีฬาพ้นไปจากตำแหน่ง เป็นต้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจว่ารัฐ (โดยนายทะเบียน) สามารถแทรกแซงการทำงานของสมาคมกีฬาต่างๆ ได้ ด้านกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งหากมีการจัดตั้งกองทุนนี้จะมีแหล่งเงินทุนเข้ามาไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาท คปก.จึงเห็นควรกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรเงินของกองทุนไว้อย่างชัดเจน และประกาศเกี่ยวการจัดสรรเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนทราบ" นายสุขุมพงศ์ กล่าว
 
นายสุขุมพงศ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม คปก.เห็นว่า การสนับสนุนการกีฬาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการรักษาสุขภาพของประชาชน ควรให้ภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและการสนับสนุนการกีฬาให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในระดับจังหวัดและท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถสร้างความเข้าใจ และตอบสนองความประสงค์ของประชาชนในท้องถิ่นได้ตรงเป้าหมายรวมทั้ง ต้องให้ภาคประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาด้วย เพื่อให้การกีฬาของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 
นอกจากนี้ ยังเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการส่งเสริมนักกีฬาอาชีพและสมาคมกีฬาอาชีพ ให้เกิดความร่วมมือในการส่งนักกีฬาอาชีพของตนเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติในนามของประเทศ และด้านการบริหารงานควรส่งเสริมและสนับสนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ ในการกำหนดสัดส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำแหน่งแห่งที่ของมานุษยวิทยาในสามจังหวัดภาคใต้ ?

Posted: 21 Mar 2013 10:50 AM PDT

ทุกวันนี้ ในสามจังหวัด งานวิชาการจำนวนมากมักถูกปิดปากด้วยอุดมคติด้านการแก้ไขความขัดแย้งและการมุ่งความสมานฉันท์จนเกินงาม 

ผมมีความรู้ค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับสามจังหวัดภาคใต้รวมไปถึงมาเลเซียจึงพยายามอ่านและติดตามข่าวสารและงานเขียนต่างๆ ในระยะหลังให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มมีการเจรจาสันติภาพ ผมคิดว่าการเจรจาดังกล่าวน่าจะมีผลอยู่บ้างในทางการเมืองและคงต้องใช้ความอดทนอดกลั้นพอสมควรจากแรงกดดันจากฝ่ายค้านและการเพิ่มสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ระหว่างนี้ผมคิดว่าการเตรียมความพร้อมทางวิชาการน่าจะมีส่วนก่อประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่บ้าง

ทบทวนไปสักพัก ผมรู้สึกว่าสามจังหวัดภาคใต้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมการวิจัยไปแล้ว และในนิคมแห่งนั้น งานศึกษาทางมานุษยวิทยามีบทบาทน้อยมาก ทั้งในแง่จำนวน ปฏิบัติการณ์ในพื้นที่ และนัยทางนโยบาย แน่นอน ผมไม่ได้ทวงคืนพื้นที่ของมานุษยวิทยาและไม่ได้คิดว่ามานุษยวิทยาเป็นสาขาวิชาวิเศษไปกว่าสาขาอื่น มานุษยวิทยามิได้เป็นพื้นที่แห่งความหวังขนาดนั้น ผมแค่คิดถึงสิ่งที่ตกหล่นไปในพื้นที่วิชาการสามจังหวัดภาคใต้และตระหนักในคุณสมบัติบางด้านของมานุษยวิทยาซึ่งก็คือการสะท้อนเรื่องราวจากข้างในและวิเคราะห์มันอย่างคมคาย

แต่ทั้งหมดนี้ ผมก็รู้มันน้อยเกินกว่าจะหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ผมมีแต่คำถามดังนี้ครับ

ข้อแรก หากสืบย้อนไปในประวัติศาสตร์งานวิจัยของภาคใต้ ภาคใต้น่าจะเป็นที่เดียวซึ่งไม่มีสำนักวิจัยทางมานุษยวิทยาเฉกเช่น ภาคเหนือและอีสาน หรือแม้กระทั่งในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้โดดเดี่ยวตัวเองมานาน ทั้งที่มีวิทยานิพนธระดับป.เอกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง งานศึกษาทางมานุษยวิทยาในภาคใต้รวมไปถึงบางส่วนของมาเลเซียสามารถสืบย้อนไปได้ไกลถึงงานบุกเบิกทางมานุษยวิทยายุคปลายๆ อาณานิคมอังกฤษเสียด้วยซ้ำ อะไรทำเกิดภาวะขาดแคลนงานวิชาการ ขาดความสืบเนื่องและถกเถียงทางภูมิปัญญา โดยเฉพาะช่วงหลัง 1980 จนมาถึงต้น 2000 นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นบรรยากาศที่สงบเงียบ คล้ายลมทะเลแผ่วพัด ชวนหลับฝัน ทั้งที่ในความเป็นจริงช่วงเวลาดังกล่าวคุกรุ่นไปด้วยบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมือง ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมการพัฒนา

ข้อสอง น่าสนใจมากที่บรรยากาศของภาคใต้และสามจังหวัดภาคใต้นั้นคือ ความขัดแย้งระหว่างรัฐและท้องถิ่น (กรณีใต้บน) และรัฐกับชาติพันธุ์ (กรณีสามจังหวัดภาคใต้) ภาคใต้มีเสน่ห์แรงจัดอย่างหนึ่งคือค่อนข้างแข็งข้อและตั้งคำถามกับอำนาจรัฐสูงและเป็นปฏิกริยาที่รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยองค์กรจัดตั้งอย่างเป็นทางการมากนัก ผมอาจคิดเกินเลยไปสักนิดว่า ภาคใต้และคนมลายูคือกลุ่มคนที่มีปัญหากับความเป็นไทยและอำนาจรัฐมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่เหตุใด งานวิชาการด้านมานุษยวิทยาจึงแทบไม่ปรากฏให้เห็นหรือมีน้อยชิ้นมาก ผมเผลอคิดไม่ได้ว่ามานุษยวิทยาไทยมีข้อจำกัดในการศึกษาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาติพันธุ์แบบถึงรากถึงโคนและเข้มข้น (แน่นอน งานศึกษาในรูปแบบนี้ปรากฏในภูมิภาคอื่นบ้าง แต่ก็มักเป็นความขัดแย้งชนิดไม่ถึงตายอย่างภาคใต้ และมักเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิที่ไม่ค่อยแตะหรือวิพากษ์ความเป็นไทยเท่าไรนัก)

ข้อสาม หรืออาจเป็นปัญหาด้านวิธีการและวิธีวิทยาในวงการมานุษยวิทยาไทยซึ่งไม่คุ้นเคยกับการทำงานภาคสนามในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมไปถึงประเด็นที่ล่อแหลม เปราะบางต่อความมั่นคงของตนเอง ต่อประเด็นนี้ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องใหม่มาก เราจึงตั้งหลักกันไม่ถูกว่าจะดำเนินงานวิจัยกันอย่างไร สุดท้ายก็มักเอาคำกว้างๆ มาใส่ อาทิ การต่อรอง อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ เรื่องเล่า ฯลฯ ราวกับเป็นเรื่องครอบจักรวาล พวกเราแทบไม่ได้ย่นระยะห่างระหว่างงานวิจัยกับปรากฏการณ์ภาคสนามกันเลย แต่กลับเพิ่มความแนบชิดกับมายาคติเดิมๆ ที่ผู้คนมีต่อสามจังหวัดมากกว่า 

ข้อสี่ หลังจากปี 2000 เป็นต้นมา ผมคิดว่าเริ่มมีทั้งงานระดับปริญญาโทและเอกทั้งในและนอกประเทศ แต่เหตุใดเราไม่เคยมีวงสัมมนาถกเถียงเรื่องพวกนี้อย่างจริงจังถึงการประเมินสถานะภาพทางความรู้ทางมานุษยวิทยาว่าเชื่อมโยงอย่างไรต่อคำอธิบายปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ หรือมานุษยวิทยาล้อมกรอบตัวเองมากไป (คล้ายกับล้อมกรอบพื้นที่ศึกษาแบบตายตัว) พอมีคำถามเกี่ยวกับอำนาจรัฐ ความมั่นคง ความขัดแย้ง ก็ยกให้เป็นหน้าที่ของนักรัฐศาสตร์ พอจะพิจารณาถึงเรื่องความรู้สึกอารมณ์ของผู้คน และความทุกข์ทางสังคมก็ให้เป็นหน้าที่นักสันติวิธี(เยียวยา?) ส่วนการสื่อสารกับสาธารณะก็ให้เป็นหน้าที่ของนักข่าว ผมรู้สึกวูบๆ ว่า ตกลงบทบาทหน้าที่ของนักมานุษยวิทยาในสามจังหวัดนี่อยู่ตรงไหนกันแน่ พวกเราทุ่มเวลาเป็นปีไปเสี่ยงอันตรายไปลงภาคสนาม หัดภาษามลายูบ้าง อาหรับบ้างและใช้มันอย่างผิดๆถูกๆ ไปนอนในชุมชน (ไม่ได้นอนโรงแรมนะจ๊ะ อย่างน้อยก็ตอนเก็บข้อมูลภาคสนาม) เพื่อดึงข้อมูลชีวิตประจำวัน ความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้คนออกมาสนทนากับอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ข้อมูลพวกนี้น่าจะช่วยก่อประโยชน์อย่างมากต่อความเข้าใจในพื้นที่สาธารณะ ตอนนี้เค้าเริ่มต้นเจรจาสันติภาพกัน เหตุใดเราจะไม่สามารถจัดเวทีคู่ขนานเพื่ออธิบายความซับซ้อนในชีวิตคน สันติภาพจะเกิดขึ้นได้มิใช่บนเงื่อนไขการเจรจาทางการเมืองอย่างเดียว แต่จำต้องอาศัยความเข้าใจและการ "สบตา" กับความหวาดกลัว ความสบสัน และความหวังของผู้คนด้วย

สุดท้าย ผมลองสำรวจเบื้องต้นพบว่าในรอบสิบปีที่ผ่านมา เริ่มปรากฏงานวิชาการในสามจังหวัดภาคใต้อีกครั้ง เฉพาะที่เขียนโดยนักวิชาการไทยต่างก็มีความหลากหลายและครอบคลุมพอสมควร อาทิ งานศึกษาอำนาจเหนือชีวิตในชีวิตคนมลายู นิเวศวิทยา อัตลักษณ์มลายู ชีวิตประจำวัน ความรุนแรง ผู้หญิงมลายูกับความรัก และหากเราขยายพรมแดนไปสู่เพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างสังคมวิทยาหรือสหวิทยาการก็จะพบงานศึกษาความคิดของปัญญชนผู้นำทางศาสนา คาทอลิคในโลกมลายู และไทยพุทธในโลกมลายู เป็นต้น เท่าที่ผมทราบ ยังไม่เคยมีการ "รวมศิษย์เก่าสามจังหวัด" กันอย่างจริงจังเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ รวมไปถึงการประเมินสถานภาพการศึกษาในสามจังหวัดกันอย่างจริงจัง

ทุกวันนี้ งานวิชาการจำนวนมากมักถูกปิดปากด้วยอุดมคติด้านการแก้ไขความขัดแย้งและการมุ่งความสมานฉันท์จนเกินงาม ประเด็นพวกนี้น่าจะมีส่วนช่วยในการเปิดพื้นที่ให้กับเรื่องราวที่ถูกซุกไว้ใต้พรม เรื่องที่มิอาจพูด และเรื่องที่ถูกมองข้ามในสามจังหวัด 

ใช่ ที่ผ่านมาสามจังหวัดภาคใต้มิได้ตกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงอย่างเดียว แต่ยังตกอยู่ท่ามกลางการขาดการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในเชิงปรากฏการณ์ ผลการศึกษา รวมไปถึงเรื่องอ่อนไหวต่างๆ ความเห็นดังกล่าวคือจุดเริ่มต้นในปฏฺบัติการณ์ทางวิชาการที่น่าจะมีส่วนช่วยในการสร้างนโยบายทางวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนเพียงพอในการปฏิบัติจริงต่อผู้คนในพื้นที่

 

ที่มา:PATANI FORUM

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘อุทยานการเรียนรู้’ จัดเวที ‘การอ่าน’ หวังสร้างการเรียนรู้ที่เท่าเทียม

Posted: 21 Mar 2013 10:46 AM PDT

ประชุมวิชาการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park หัวข้อ การอ่านเพื่อความเท่าเทียมกัน หวังลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความตระหนักเรื่องการอ่านเป็น "สิทธิ" ของมนุษยชาติ

 
 
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2013 ในหัวข้อ Reading for Equity: การอ่านเพื่อความเท่าเทียมกัน ระหว่างวันที่ 21-22 มี.ค.56
 
การประชุมมีนักวิชาการและนักปฏิบัติการที่มีบทบาทด้านส่งเสริมการอ่าน และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้จากไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน 3 ประเทศ ร่วมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิการอ่านจากประเทศอินเดีย มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมหาแนวทางส่งเสริมการอ่านอย่างเท่าเทียมกัน โดยหวังลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และกระตุ้นให้สังคมตระหนักว่า การอ่านเป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานอันพึงมีของมนุษยชาติ
 
ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ TK park เปิดเผยว่า การจัดประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2013 เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดสังคมการอ่าน การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นพันธกิจสำคัญของ TK park ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมการเรียนรู้และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นในประเทศ
 
การจัดประชุมครั้งนี้ สอร.ยังคงมุ่งเน้นการขยายองค์ความรู้และความรับรู้ที่มีต่อประเทศในกลุ่มอาเซียน ตลอดจนการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศทางด้านนโยบายการอ่านและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันที่แนบแน่นลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นในฐานะพลเมืองอาเซียนภายใต้ปรัชญา 'Towards ASEAN Citizenship with Books and Reading'
 
สำหรับหัวข้อการประชุมที่ว่าด้วยเรื่อง Reading for Equity หรือ การอ่านเพื่อความเท่าเทียมกัน ในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 2554 ซึ่ง สอร.มีแนวคิดให้การส่งเสริมการอ่านเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมแก่เด็กและเยาวชนไทย ที่จะเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยมีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเพื่อรู้เขา รู้เรา
 
"นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจสถานการณ์การอ่านของคนในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้พบว่าปัญหาการอ่านของแต่ละประเทศมีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก คือ การขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงการอ่านของประชากรจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากปัญหาความเหลื่อมล้ำกันทางสังคม ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาพื้นฐานของประเทศกลุ่มอาเซียนในปัจจุบัน" ดร.ทัศนัยกล่าว
 
สุดท้าย ดร.ทัศนัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ สอร.หวังว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมจะสามารถนำความรู้ แนวคิดและแนวทางการส่งเสริมการอ่านอย่างเท่าเทียม ไปต่อยอดขยายผลและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 
นอกจากนี้แล้วสังคมทุกภาคส่วนควรหันมาตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการอ่าน และการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทยอย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ เพราะวันนี้การอ่าน เป็นเรื่องของ "สิทธิ " ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ไม่ใช่เรื่องการหยิบยื่นโอกาส แต่เป็นหน้าที่ในการสร้างโอกาสและกระจายการเข้าถึงการอ่าน และการเรียนรู้ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในทุกระดับ เมื่อการอ่าน การเรียนรู้เกิดความเท่าเทียมกัน ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคมก็จะลดน้อยถอยลงและหมดไปในที่สุด
 
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ และนักปฏิบัติการที่มีบทบาทด้านส่งเสริมการอ่านและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์บนเวทีครั้งนี้ ประกอบด้วย
 
ดร.ธีร์ จินกราน ผู้ประสานงานด้านสิทธิการศึกษา ภายใต้คณะกรรมการแห่งชาติด้านการพิทักษ์สิทธิเด็ก ประเทศอินเดีย ร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ "คุณภาพการศึกษาที่เท่าเทียม : บทบาทสำคัญของการพัฒนาทักษะและนิสัยการอ่านในช่วงวัยประถมศึกษา"
 
นิลา แทนซิล ผู้ก่อตั้งโครงการอุทยานการอ่านสายรุ้ง จากประเทศอินโดนีเซีย เธอเป็นผู้ให้โอกาสการรู้หนังสือกับเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสห่างไกลความเจริญตามเกาะต่างๆ ทางภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ด้วยการระดมทุนจากสังคมไปสร้างห้องสมุดให้กับเด็กๆ จำนวน 25 แห่งบน 10 เกาะ และส่งเสริมให้คนในพื้นที่บริหารจัดการเอง จนกลายเป็นห้องสมุดที่ยั่งยืน โดยเธอยังคงทำงานประจำอยู่กับบริษัท ไนกี้  นำเสนอรายการหัวข้อ "อุทยานการอ่านสายรุ้ง ความคิดริเริ่มสู่การกระตุ้นและสร้างสรรค์จินตนาการของเด็กในพื้นที่อินโดนีเซียตะวันออก"
 
ยี เท็ต อู ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการห้องสมุดทาราพา และศูนย์การเรียนรู้อมรา, ประเทศเมียนมาร์ เป็นผู้ส่งเสริมการอ่านหนังสือให้กับเด็กและเยาวชนในกรุงย่างกุ้ง และสร้างห้องสมุดขนาดเล็กๆ ในชุมชนต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการอ่านในพม่า นำเสนอรายงานหัวข้อ"คิดใหม่เรื่องบทบาทของห้องสมุดขนาดเล็กและโครงการส่งเสริมการอ่านในพม่า"
 
เหงียน ไฮ ฮา ผู้อำนวยการห้องสมุดแห่งโรงเรียนสาธารณสุขฮานอย ประเทศเวียดนาม นำเสนอรายงานหัวข้อ "การหมุนเวียนหนังสือระหว่างห้องสมุด: แนวทางส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหนังสือและสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดช่องว่างทางวัฒนธรรมระหว่างคนในชุมชนเมืองและชนบท"   
 
ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์" โดยรศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมาเสนอแง่คิดเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมการอ่านหนังสือว่าเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเมือง หรือนิสัยคนแต่ละประเทศหรือไม่อย่างไร
 
ส่วน ดร.ภญ.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ จะมานำเสนอรายงาน "เปิดชีวิต อ่านเพื่อนบ้าน: วิเคราะห์หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียน" เพื่อวิเคราะห์ว่านิทานเด็กของแต่ละประเทศในอาเซียนมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และสุดท้าย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ นำเสนอรายงาน "เด็กอ่านโลก: จากทักษะการอ่านสู่ทักษะแห่งศตวรรษใหม่" เป็นต้น
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ทักษิณ’ โผล่เยือน ‘โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย’

Posted: 21 Mar 2013 10:33 AM PDT

สื่อท้องถิ่น 'ทวาย วอทช์' เผยภาพ 'ทักษิณ' โผล่เยือนโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา คาดนัดพบเจ้าหน้าที่ของโครงการฯ ในวันพรุ่งนี้ ด้านบริษัทอิตาเลียนไทยปฏิเสธที่จะยืนยันเรื่องดังกล่าว

เมื่อวันที่ 21 มี.ค.56 สื่อท้องถิ่น ทวาย วอทช์ (Dawei Watch) รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปเยือนที่ตั้งโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายโดยไม่ได้คาดหมาย เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปเยือนหมู่เกาะใกล้กับหาดเมามะกัน (Maungmagan) โดยเชื่อกันว่าจะมีการพบปะกับเจ้าหน้าที่ของท่าเรือน้ำลึกในวันพรุ่งนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ปฏิเสธที่จะยืนยันเรื่องดังกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวของทวาย วอทช์ระบุด้วยว่า ทักษิณยังคงอยู่ที่เกาะดังกล่าวและยังไม่ได้กลับไปที่ทวาย

ด้านรัฐมนตรีของรัฐบาลท้องถิ่นภาคตะนาวศรี กล่าวกับทวาย วอทช์ว่า เขาไม่ทราบถึงการมาเยือนครั้งนี้และไม่มีแผนที่จะพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณด้วย
 
พ.ต.ท.ทักษิณถูกปกคลุมด้วยร่มขณะอยู่บริเวณสนามบิน
 
พ.ต.ท.ทักษิณขณะโดยสารรถยนต์ในเมืองทวาย
 
 
 
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
 
ทวาย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ประเทศเมียนมาร์ และอยู่ทางตะวันตกจากกรุงเทพฯ โดยมีระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้ให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่ของโครงการทวายแก่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
 
เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นลักษณะ Greenfield และอยู่ภายใต้กฎหมาย Special Economic Zone จึงมีแผนที่จะพัฒนาทวายให้ศูนย์รวมของอุตสาหกรรมต่างๆ สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญโครงการทวายจะประกอบไปด้วยการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และท่อส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางถนนเชื่อมโครงการทวาย-ประเทศไทย โดยท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายคลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 205 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,675 เอเคอร์
 
รัฐบาลไทยได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐบาลพม่า ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2551 และบริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) ได้ MOU กับการท่าเรือของประเทศพม่า "เกี่ยวกับการเป็นผู้สำรวจเส้นทางและพื้นที่ของโครงการ" โดยได้ศึกษาเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 (1 เดือนถัดมา) ในพื้นที่ภูมิภาคทวาย
 
ต่อมาบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้จดทะเบียน บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 เพื่อดำเนินกิจการบริหารโครงการทวาย โดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รับสิทธิ์จากรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ในการพัฒนาพื้นที่
 
การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายนิคมอุตสาหกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ถูกคาดหวังว่าจะส่งผลให้ทวายก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อการค้าที่เจริญก้าวหน้าและการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้ และเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องในการขนส่งทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน
 
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 รัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้ำลึกทวายและถนนเชื่อมต่อไปยังประเทศไทย บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ลงพื้นที่ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและทำแผนงานพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2551 การท่าเรือสหภาพเมียนมาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งครอบคลุมท่าเรือน้ำลึกทวายและโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีข้อเสนอที่จะพัฒนาถนนเชื่อมโยงจากพรมแดนทวายไปสู่ประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งแบบบูรณาการ
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ซึ่งประกอบไปด้วยโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรม ถนนเชื่อมโยงพรมแดน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
 
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 กระทรวงการคลังไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการพัฒนาโครงการทวาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธานคณะทำงาน โดยมีคณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ผู้แทนธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
 
วันที่ 23 กรกฎาคม 2555  ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการสนับสนุนและผลักดันโครงการทวาย ซึ่งมีบริษัท อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการจากรัฐบาลเมียนมาร์ โดยกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐอย่างเป็นทางการ
 
ต่อมาคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย - เมียนมาร์ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมแชงกรี - ลา กรุงเทพฯ ซึ่งประเทศไทยและเมียนมาร์ได้เห็นชอบการจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วม 3 ระดับ คือ 1.คณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย - เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JHC) เป็นกลไกระดับนโยบายโดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และนายญาณ ทุน รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ เป็นประธานฯ ร่วม
 
2.คณะกรรมการประสานงานระหว่างไทย - เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JCC) โดยมี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเมียนมาร์ เป็นประธานฯ ร่วมกัน
 
3.คณะอนุกรรมการ (Sub - Committee) จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง (Infrastruture & Construction): กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 2.สาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ (Focused Industries & Business Development): กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 3.พลังงาน (Power & Energy): กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 4.การพัฒนาชุมชน (Community Development): กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 5.กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Rule & Regulation): กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 6.การเงิน (Financing): กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
 
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศเมียนมาร์ได้ขอให้ประเทศไทยเพิ่มเรื่อง การอพยพโยกย้ายประชาชนเมียนมาร์ออกจากพื้นที่โครงการ รวมถึงการบริหารจัดการแหล่งที่อยู่ใหม่ การให้ความช่วยเหลือทางอาชีพและการจ่ายค่าชดเชย และให้ประเทศไทยจัดทำ Action Plan ของโครงการ เพื่อนำเสนอประเทศเมียนมาร์พิจารณาต่อไป
 
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะเจ้าหน้าที่และบริษัทเอกชนเดินทางเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ เพื่อเจรจาและติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ร่วมกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์
 
ขณะที่ คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ (JCC) มีการทำงานที่มีความคืบหน้าทั้งในส่วนของการทบทวนข้อมูลเชิงเทคนิคและประเด็นต่างๆ ที่ยังต้องหาข้อสรุป เช่น รูปแบบทางการเงินเพื่อการระดมทุน การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเงื่อนไขบางประการที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
 
ทั้งนี้ คาดว่าคณะอนุกรรมการร่วมเมียนมาร์-ไทย 6 สาขา จะจัดทำรายละเอียดทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556  เพื่อเสนอให้คณะกรรมการร่วมระดับสูงฯ (JHC) พิจารณาเพื่อลงนามในข้อตกลง Framework Agreement ฉบับใหม่ และ Sectorial Agreement ทั้งหมดภายในเดือน มีนาคม 2556 โดยคาดว่าจะเริ่มระดมทุนและดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนเมษายน 2556 ตามที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้
 
โครงการลงทุนในทวายนั้น เป็นการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 เขตอุตสาหกรรม ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม ถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไปสู่ประเทศไทย รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์
 
ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดทวายประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในตอนเหนือของอ่าวเมืองมะกัน  มีการลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ถนนเชื่อมโยงจากทวายไปยังประเทศไทย และด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ในการเชื่อมโยงทางรถไฟจากทวาย ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ มูเซ เชื่อมต่อไปยังทางรถไฟจีนที่คุนหมิง ทำให้โครงการนี้ได้รับการเสนอให้เป็นจุดศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญของภูมิภาค
 
 
เรียบเรียงข้อมูลจาก:
ข่าวกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 458/2555
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่เผย พม่าเดินหน้าสร้างเขื่อนท่าซาง คาดกระทบ 100 หมู่บ้านในรัฐฉาน

Posted: 21 Mar 2013 10:31 AM PDT



(21 มี.ค.56) ศูนย์ข่าวคนเครือไท เครือข่ายสำนักข่าวฉาน รายงานว่า องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ (Shan Saphawa) เปิดเผยว่า รัฐบาลพม่ายังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนท่าซาง บนแม่น้ำสาละวินอย่างต่อเนื่อง ที่ตั้งโครงการดังกล่าวอยู่ห่างจากเมืองโต๋น ภาคตะวันออกของรัฐฉานไปประมาณ 10 กิโลเมตร โดยมีการเปิดเผยว่า ทางการพม่าได้เปลี่ยนชื่อจากเขื่อนท่าซางเป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าเมืองโต๋น และย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่ใหม่ ซึ่งหากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะทำให้พื้นที่ 8 เมืองที่ตั้งอยู่ตามริมแม่น้ำสาละวินต้องจมอยู่ใต้น้ำ

จายเคือแสง จากองค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางการพม่าได้เริ่มอพยพชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่โครงการให้ไปอยู่ที่อื่นแล้ว โดยทางการพม่าได้เกณฑ์ชาวบ้าน 400 คน เพื่อมาสร้างโครงการพลังงานไฟฟ้าเมืองโต๋น ซึ่งมีรายงานว่า หมู่บ้านราว 123 หมู่บ้านตามแม่น้ำสาละวินจะถูกบังคับให้อพยพไปอยู่ที่อื่น ซึ่งขณะนี้หมู่บ้านเล็กๆ บางหมู่บ้านก็เริ่มถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว

จายเคือแสงระบุว่า ในช่วงปี 2554 เขื่อนท่าซาง ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองโต๋นและเมืองปั่นได้ถูกระงับไว้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนได้ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ทางตอนบนของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งห่างจากเขตพื้นที่ก่อสร้างเดิมไป 16 กิโลเมตร สำหรับการเปลี่ยนชื่อจากโครงการเขื่อนท่าซางเป็นโครงการพลังงานไฟฟ้าเมืองโต๋นนั้น ทางด้านแหล่งข่าวใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่าเปิดเผยว่า เป็นเพราะรัฐบาลพม่าต้องการป้องกันการประท้วงจากชาวบ้านในพื้นที่สร้างเขื่อน ขณะที่มีรายงานว่า ในพื้นที่เมืองโต๋นและเมืองสาดยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้

จายเคือแสงเปิดเผยอีกว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จ ไฟฟ้าราว 90 เปอร์เซ็นต์จะถูกส่งไปขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขณะที่ไฟฟ้าราว 10 เปอร์เซ็นต์จะถูกใช้ในประเทศ ซึ่งไม่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ชาวบ้านในพื้นที่จะใช้ไฟฟ้าในส่วนนี้หรือไม่

ทั้งนี้ จายเคือแสงยังแสดงความเป็นห่วงต่อโครงการดังกล่าวด้วยว่า หากเกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวและฝนตกหนักจนทำให้เขื่อนแตก ไม่เพียงแต่เมืองโต๋นและเมืองสาดเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่ยังมีหลายเมืองอย่างเมืองปั่น ลางเคือ กุ๋นเหง ก่าลี่ เมืองปูโหลงและเมืองปูอ่อนก็จะจมอยู่ใต้น้ำเช่นเดียวกัน

โครงการเขื่อนท่าซางเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปีที่ 2553 และได้ถูกระงับไว้ในช่วงปี 2554 หลังวิศกรชาวจีน 3 คน ถูกลักพาตัวเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2554 จากกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่าย โดยทั้งหมดถูกลักพาตัวเป็นเวลากว่า 3 เดือน ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวในกลางเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนท่าซางกลับมาเริ่มก่อสร้างอีกครั้งในช่วงต้นปี 2556 ภายใต้ชื่อใหม่ว่า โครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้าเมืองโต๋น ซึ่งจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 7,100 กิโลวัตต์

องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ (Shan Saphawa) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ทำให้หมู่บ้าน 1,500 หมู่บ้านต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น และทำให้ชาวบ้านราว 3 แสนคนต้องย้ายถิ่นฐาน ขณะที่จายเคือแสง หนึ่งในสมาชิกองค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ได้กล่าวเรียกร้องให้ประชาชนในรัฐฉานทบทวนโครงการนี้อย่างจริงจัง



---------------------
หมายเหตุ: ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาล่มอีก ปชป.เสนอนับองค์ประชุม เหลือ ส.ส.แค่ 235 คน

Posted: 21 Mar 2013 10:02 AM PDT

มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ขณะที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่...) พ.ศ… ที่ ครม.เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ก่อนลงมติรับหลักการวาระ 1 ปรากฏว่า นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นเสนอให้นับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อ เนื่องจากดูด้วยสายตา มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมจำนวนน้อย

แต่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวว่า เป็นอำนาจของประธานที่จะวินิจฉัยเองว่า จะให้นับองค์ประชุมด้วยวิธีใด ซึ่งในที่สุดนายเจริญได้สั่งนับองค์ประชุมด้วยการเสียบบัตรแสดงตน ปรากฏว่าผู้แสดงตนเพียง 235 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุมที่ต้องมี 249 คน ทำให้นายเจริญสั่งปิดการประชุมสภา ทันทีในเวลา 15.05 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์สภาล่มถือเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยนิติบัญญัติ โดยก่อนหน้านี้ ก็เกิดเหตุการณ์เสียบบัตรแทนกัน จนทำให้ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเสนอนับให้นับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อ จนกระทั่งสภาล่มมาแล้ว เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีนายเจริญทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมเช่นเดียวกัน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ไปอยู่ที่อื่นไป๊"

Posted: 21 Mar 2013 09:52 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ไปอยู่ที่อื่นไป๊"

งานวิจัยยุโรปเผยการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตไม่กระทบธุรกิจดนตรี

Posted: 21 Mar 2013 09:38 AM PDT

สถาบันเพื่อการศึกษาด้านเทคโนโลยีตามแบบแผน (IPTS) สำรวจพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างการบริโภคผลงานเพลงของชาวยุโรป 16,000 คน พบว่าการดาวน์โหลดและฟังเพลงออนไลน์ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อธุรกิจดนตรี และมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายเล็กน้อย ด้านสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงฯ ออกแถลงการณ์โต้

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2556 สภานักวิจัยร่วมของคณะกรรมการยุโรป (The European Commission Joint Research Centre) ได้นำเสนอรายงานผลการวิจัยเปิดเผยว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเmอร์เน็ตไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์

สถาบันเพื่อการศึกษาด้านเทคโนโลยีตามแบบแผน (IPTS) หนึ่งในสาขาของสภาวิจัยยุโรปฯ ได้ศึกษาผ่านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างในอินเmอร์เน็ตซึ่งเป็นชาวยุโรป 16,000 ราย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเวลาหนึ่งปี
นักวิจัยกล่าวในรายงานว่า ผลงานเพลงส่วนใหญ่จากกลุ่มตัวอย่างที่มีการบริโภคกันอย่างผิดกฏหมาย จะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นหากไม่มีเว็บไซต์ดาวน์โหลดอย่างผิดกฎหมายสำหรับพวกเขา

"แม้ว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สร้างความเสียหายต่อรายได้ของการซื้อขายเพลงแบบดิจิตอลมากนัก" ทีมวิจัยกล่าว

ผลการวิจัยระบุอีกว่าการปล่อยเพลงแบบฟรีสตรีมให้ฟังบนอินเทอร์เน็ต เช่น บนเว็บ Spotify และ Pandora ยังทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วย

"จากผลการสำรวจของพวกเราพบว่า ร้อยละ 10 ของจำนวนการคลิกฟังเว็บไซต์สตรีมมิง ทำให้เกิดจำนวนคลิกซื้อเพลงระบบดิจิตอลผ่านเว็บไซต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ด้วย" ทีมวิจัยกล่าวในรายงาน

แต่ทางสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (IFPI) แสดงความคิดเห็นว่างานวิจัยชิ้นนี้มีข้อผิดพลาดและทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยพวกเขากล่าวในแถลงการณ์โต้ตอบการวิจัยในครั้งนี้ว่า ผลการวิจัยไม่ได้โยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโลกการค้า

"ถ้าหากคนดาวน์โหลดเพลงอย่างผิดกฎหมายส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อเพลงเลย (และยังมีการบริโภค ซึ่งในบางรายก็บริโภคเป็นจำนวนมาก) มันจึงเป็นเรื่องผิดตรรกะที่บอกว่าพฤติกรรมบริโภคอย่างผิดกฏหมายกระตุ้นให้เกิดการขายเพลงผ่านการดาวน์โหลดอย่างถูกกฏหมายและไม่ทำให้เกิดความเสียหาย" สมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงฯ กล่าวในแถลงการณ์


เรียบเรียงจาก

Music sales are not affected by web piracy, study finds, BBC, 20-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส.ศิวรักษ์: มนุษย์กับการย้ายถิ่นและการพัฒนา

Posted: 21 Mar 2013 08:32 AM PDT

I

สามัญมนุษย์โดยทั่วๆย่อมโยกย้ายสถานะความเป็นอยู่เพื่อความอยู่รอด หรือความเหมาะสม เช่นเคลื่อนย้ายสถานะของตนเองให้สูงส่งขึ้นทางอำนาจหรือทรัพย์ศฤงคาร หาไม่ก็อพยพโยกย้ายจากถิ่นเดิมไปยังถิ่นใหม่ ที่สะดวกกับการครองชีพยิ่งกว่าดำรงคงอยู่ในสถานที่เดิม ด้วยความเต็มใจหรือจำใจ เพราะถูกบังคับให้อพยพเคลื่อนย้าย

ที่อ้างว่าชนชาติไทยย้ายถิ่นฐานดั้งเดิมจากแถบภูเขาอัลไตในมองโกเลีย เรื่อยมาจนถึงสิบสองจุไทและสิบสองพันนาทางใต้ของจีน แล้วถูกจีนบังคับขับไสให้ต้องอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในสยามประเทศในบัดนี้นั้น เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมอย่างหลวงวิจิตรวาทการเสกสรรปั้นขึ้น จากข้อมูลผิดๆของนายดอด มิชชันนารีที่เคยอยู่เมืองจีนแล้วเขียนเรื่อง  The Thai Race ขึ้น ผนวกกับการที่หลวงวิจิตรเคยไปพบชุมชนไตในประเทศเวียดนาม ที่เรียกว่าไทดำไทแดง และไปพบไทใหญ่ในพม่า ทั้งๆที่เขาไม่เคยไปหรือพบไทยอาหมในแคว้นอัสสัมของอินเดียเอาเลยด้วยซ้ำ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ช่วยยุให้เกิดความคลั่งชาติขึ้น จนเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย หรือ Thailand แม้จนบัดนี้แล้ว เราก็ยังถูกสะกดให้รับเอาข้อเท็จมากกว่าจริง มาสมาทานเป็นสัจจะ ดังเพลงชาติที่ถูกกำหนดให้คนที่อยู่ในเมืองไทยทุกคนต้องยืนขึ้นเคารพธงทุกเช้าค่ำ เริ่มด้วยคำว่า ประเทศไทยรวมล้วนเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย  อันเป็นคำเท็จ เพราะคนในเมืองไทย จะมีแต่ชนชาติไทยเท่านั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้  พวกเราแต่ละคนมีทั้งเชื้อชาติจีน เชื้อชาติมอญ ฯลฯ ดังคำย่อของสุจิตต์ วงษ์เทศที่ว่า จปล คือเจ๊กปนลาว ผสมปนเปกับเชื้อชาติไทย หากเพลงนี้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั้นให้เกิดความคิดในเรื่องชาตินิยม ซึ่งเป็นอันตรายยิ่งนัก ดังในบัดนี้คนที่อ้างตัวว่าเป็นชนชาติไทย ยังเอาเปรียบชนชาติมลายูในสามจังหวัดภาคใต้อยู่ มิใยต้องเอ่ยว่าคนไทยในภาคกลางก็ดูถูกคนไทยในชนบทที่ห่างไกลออกไป โดยเฉพาะก็คนลาวในภาคอีสาน racism เป็นอันตรายอันร้ายกาจ ซึ่งโยงมาถึงกรณีของเสื้อเหลืองและเสื้อแดงในบัดนี้ด้วย ถ้าตีประเด็นนี้ไม่แตก ความเป็นไทยจะเข้ามากล้ำกรายความเป็นมนุษย์อย่างน่าสลดใจ

ยิ่งความเป็นไทยในบัดนี้ด้วยแล้ว โยงมาถึงคำว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จนกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นเครื่องมืออย่างดีที่มีไว้สำหรับกำจัดคนที่ไม่มีความเป็นไทยเพียงพอ หนังสือของข้าพเจ้าเรื่อง ค่อนศตวรรษของประชาธิปไตยไทย ซึ่งเต็มไปด้วยขวากหนาม ถูกตำรวจยึดเอาไป ข้าพเจ้าได้ฟ้องและแพ้ที่ศาลปกครองมาแล้ว เพราะตำรวจเห็นว่าข้าพเจ้ามีความเป็นไทยไม่พอ ดังข้าพเจ้าได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดด้วยแล้ว ถ้าศาลนี้เห็นคุณค่าของสัจจะว่าเป็นมนุษย์ สำคัญกว่าความเป็นไทยที่โยงใยกับความกึ่งดิบกึ่งดี ที่มีอนุสนธิมาจากหลวงวิจิตรวาทการและคึกฤทธิ์ ปราโมช ข้าพเจ้าก็อาจชนะคดีได้

II

สำหรับชาวไทยหรือไตลาว คือคนที่พูดภาษาดังกล่าว ซึ่งรวมถึงไทใหญ่ในพม่า ไทอาหมในอัสสัม รวมถึงไทแดงไทดำในเวียดนาม และไตลื้อในมณฑลญยูนนานของจีน ทั้งหมดนี้มีเอกลักษณ์ร่วมในทางภาษา และอาจมีวัฒนธรรมหลักบางประการที่คล้ายคลึงกัน หรือมีวิวัฒนาการมาแต่เดิมอย่างมีขนบเดียวกัน โดยจะอ้างว่าเป็นชนชาติเดียวกันนั้น ยังพิสูจน์ไม่ได้ การอ้างเรื่องชนชาติหรือเชื้อชาติ ที่สืบสายเลือดมา จนถึงกับว่ามีเลือดบริสุทธิ์ ถ้าไม่มีเชื้อชาติอื่นมาปน เป็นเรื่องของนาซีเยอรมัน ที่ถึงซึ่งกาลอวสานไปแล้ว โดยขจัดชนชาติอื่น ที่ถือว่าเป็นศัตรูอย่างเลวร้ายไป คือพวกยิว จนคนพวกนี้ถูกสังหาร ด้วยการทรมานต่างๆเป็นล้านๆคน

ชนชั้นนำของไทยก็หลงในทฤษฎีนี้แต่รัชกาลที่ 6 ซึ่งเสนอว่าชาวจีนคือยิวแห่งบูรพาทิศ แล้วคตินี้ขยายกลายไปเป็นเลวร้ายอย่างสุดๆในสมัยป.พิบูลสงครามกับ Thailand ของเขา โดยมีวิจิตรวาทการเป็นสดมภ์หลัก และความยึดถือของชนชั้นปกครองในสมัยนั้นเห็นว่าประเทศไทย ควรมีขอบเขตขยายออกไปเพื่อรวมชนชาติไท/ไตทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยเราอาจรับเอาชนชาติไทหรือไตในอาณาบริเวณอื่นๆมาผนวกเข้าเป็น Greater Thailand ด้วย ดังรัฐบาลในสมัยนั้นได้ประกาศสงครามกับรัฐบาลฝรั่งเศสในอินโดจีน และยึดเอาลาวและพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ จากกัมพูชาคืนมาได้ แม้ในเขตของกัมพูชาดังกล่าวจะมีคนพูดไทยหรือที่อ้างว่าเป็นเชื้อชาติไทยได้น้อยนักก็ตามที ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นมาเอื้ออาทรให้รัฐบาลเผด็จการสำเร็จสมปรารถนา โดยที่ญี่ปุ่นก็เป็นรัฐที่เน้นในเรื่องชาตินิยมอย่างเลวร้ายสุดๆอีกด้วย ญี่ปุ่นปฏิเสธแม้จนบัดนี้ว่าต้นราชวงศ์ของพระจักรพรรดิมาจากเกาหลี ทั้งๆที่ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรม ศาสนธรรม และอารยธรรมจากเกาหลีและจีนมาอย่างเต็มที่ แต่ก็ตอบแทนสองประเทศนั้น ด้วยการกรีฑาทัพไปยึดครองทั้งสองประเทศ แถมปู้ยี่ปู้ยำประชาชนพลเมืองและศิลปวัฒนธรรมของสองประเทศนั้นอย่างเลวร้ายยิ่งนัก

นอกจากญี่ปุ่นจะอุดหนุนให้ไทยได้ลาวและบางส่วนของเขมรคืนมาจากฝรั่งเศสแล้ว ญี่ปุ่นยังคืนรัฐไทรบุรี กลันตัน และปลิส ในมลายู จากอังกฤษมาให้ไทย พร้อมๆกับนำพากองทัพไทยไปยึดเชียงตุง ซึ่งเป็นไทใหญ่ มาไว้ในอาณัติของรัฐไทยอีกด้วย แม้รัฐต่างๆทางมลายูนั้น มีคนไทยน้อยเต็มทีก็ตาม และแล้วทั้งหมดนี้ รัฐบาลไทยก็ต้องคืนให้เจ้าของเดิมเขาไป  เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม

ถ้าไม่เข้าใจข้อมูลดังกล่าว จะเข้าใจไม่ได้ว่าทำไมคดีที่กรือแซะจึงเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ทักษิณนำมาใช้อย่างได้ประโยชน์อย่างยิ่งในระยะสั้น เพราะคนมลายูนั้นถูกเรียกว่า 'มัน' คือไม่ใช่พวก 'เรา' ทั้งยังปลุกระดมคนไทยในถิ่นอื่นๆรวมทั้งที่ในภาคอีสาน ให้เห็นดีเห็นงามกับการทำทารุณกรรมกับคนมลายูนั้นๆอีกด้วย เฉกเช่นเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช และนายอุทิศ นาคสวัสดิ์กับนายอุทาร สนิทวงศ์ ปลุกระดมให้ทหารและประชาชนเข้าไปเข่นฆ่านักศึกษาในธรรมศาสตร์ ก็เพราะอ้ายพวกนั้นเป็นญวนคอมมูนิสต์

หมายความว่าถ้าไม่ใช่พวกเราแล้ว ฆ่ามันได้ รังแกมันได้ ในทุกๆทาง ดังเช่น ประธานาธิบดีศรีลังกา ซึ่งอ้างว่าเป็นชาวพุทธชั้นนำ สั่งฆ่าทมิฬในประเทศนั้นกว่าห้าหมื่นคน แม้คนพวกนั้นจะยอมแพ้แล้ว รัฐบาลสั่งให้เรือบินทิ้งระเบิดโรงพยาบาลและโรงเรียน ทั้งๆที่รู้ว่าเขายอมแพ้แล้ว เด็กและผู้หญิงพากันตายไปเป็นเบือ ที่ถูกจับไป ก็ถูกทรมานด้วยประการต่างๆ ความข้อนี้มีศาลประชาชนที่กรุงดับลินตัดสินลงโทษแล้วว่าประธานาธิบดีศรีลังกา เป็นฆาตกรที่มีความผิดในทางฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างผิดมนุษยธรรมด้วยประการทั้งปวง แม้ศาลประชาชนจะไม่มีอำนาจในทางนิติศาสตร์สากล แต่ก็เป็นศาลแห่งมโนธรรมสำนึก ดังสหประชาชาติกำลังพิจารณาคดีที่ว่านี้อยู่ ประธานาธิบดีศรีลังกาออกจะสั่นสะเทือนพอสมควร แต่ไทยไม่เห็นกรณีนี้เป็นเรื่องเสียหาย เมื่อปีกลาย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เชิญบุคคลคนนี้ให้มาแสดงปาฐกถานำที่วิทยาเขตวังน้อยของมหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสฉลองพุทธชยันตี ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และแสดงปฐมเทศนา กับทรงตั้งคณะสงฆ์ได้ 2600 ปี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะอธิการบดีที่นั่นก็ถูกข้อกล่าวหาว่ามีเพศสัมพันธ์กับอิสตรี ทั้งยังมีความฉ้อฉลทางเงินทองอีกมิใช่น้อย ซึ่งถ้าเป็นจริงตามข้อกล่าวหา อธิการบดีก็หมดความเป็นพระ แต่ถ้าข้อหาดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ คณะสงฆ์ก็ต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านให้ปรากฎ  และฟ้องร้องคนกล่าวหาในฐานหมิ่นประมาท แต่นี่ไม่มีการดำเนินงานใดๆสิ้น คือปล่อยให้ทุกอย่างอึมครึมไปหมด ที่ต้องการก็คือคณะสงฆ์ที่ไม่โปร่งใส ดำรงทรงไว้ซึ่งพรหมจรรย์ได้ละหรือ

อนึ่ง ปีนี้ ทางศรีลังกาก็ร่วมกับนิกายสยามวงศ์แห่งประเทศนั้น จะจัดฉลอง 2600 ปีที่นิกายดังกล่าวไปตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ในลังกาทวีป โดยพระอุบาลีเป็นประธานไปจากกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ รัฐบาลลังกาเชิญน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไปเป็นประธานฝ่ายไทย เพื่อฉลองมงคลกาลดังกล่าว ณ วันวิสาขบูชาที่นครแคนดี ราชธานีเก่าของประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดบุปผารามหรือวัดมัลวัตถีกับวัดอัสคิรี ซึ่งเป็นอารามของมหาสังฆนายกทั้งสองของนิกายนี้ รวมทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วอีกด้วย

กล่าวคืออะไรๆซึ่งเป็นไปในทางรูปแบบและพิธีกรรม ที่ไม่มีเนื้อหาสาระในทางมนุษยธรม ย่อมได้รับการประโคมให้ครึกครื้นอย่างสนั่นหวั่นไหว แล้วจะเข้าหาสาระในทางศาสนธรรมได้อย่างไร

III

ขอกลับมาพูดถึงการย้ายถิ่นอีกครั้ง คือนอกจากการโยกย้ายด้วยความเต็มใจแล้ว ยังมีการโยกย้ายเพราะความจำเป็นบังคับ เช่น ชาวอังกฤษที่หนีการกดขี่ทางศาสนาไปยังโลกใหม่ ซึ่งกลายมาเป็นสหรัฐอเมริกา หรือชาวไอร์แลนด์ที่หนีความอดอยากยากไร้ไปโลกใหม่ในเวลาไล่ๆกัน แต่ครั้นคนผิวขาวพวกนี้ไปยึดครองดินแดนที่อ้างว่าเป็นโลกใหม่ได้แล้ว ก็เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนพื้นเมืองเดิมจนเกือบหมด เพื่อแย่งที่ทำมาหากิน ครั้นได้ที่ดินอย่างมโหฬารแล้ว แรงงานของพวกตนมีไม่พอ ก็ต้องไปกว้านซื้อทาสกรรมกรจากอาฟริกามาเป็นประชาชนชั้นสองในโลกใหม่ ซึ่งต้องต่อสู้กับพวกชนชั้นบนทุกๆทาง กว่าจะได้ตัวแทนของชนชาติตนมาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอยู่ในบัดนี้ โดยที่คนผิวดำในสหรัฐส่วนใหญ่ก็ยังถูกกดขี่ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ยิ่งกว่าคนผิวขาวอยู่อีกไม่น้อยเลย แม้จนบัดนี้แล้วก็ตาม

ชาวไทอาหมที่อพยพโยกย้ายจากพม่าไปอยู่ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ก็เพราะทนความเบียดเบียนบีฑาของชนชั้นปกครองในพม่าไม่ได้นั้นแลเป็นประการสำคัญ ดังมอญที่อพยพมาเมืองไทยก็เพราะทนความทารุณโหดร้ายของชนชั้นปกครองในพม่าไม่ได้นั้นแล แม้มอญที่ยังอยู่ในพม่าก็ถูกเอารัดเอาเปรียบในทางภาษา ในทางวัฒนธรรม และในทางเศรษฐกิจการเมือง ทั้งๆที่พม่าได้ศาสนธรรมและอารยธรรมไปจากมอญเป็นประการสำคัญ

ที่มอญอพยพมาอยู่เมืองไทย ดูจะได้อิสระเสรีภาพมากกว่าที่พม่า จนมาสมรสร่วมวงศ์กับชนชั้นปกครองของสยาม ถึงกับเกิดราชวงศ์ในปัจจุบันนี้เป็นตัวอย่าง โดยชนชั้นปกครองของสยามในอดีตถือตามจักรวรรดิวัตร คือพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ซึ่งประกาศตนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมต้องอุดหนุนเจ้าประเทศราช และผู้ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ให้ได้รับการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรม โดยพระราชาธิราชย่อมต้องไม่ก้าวก่ายกับการปกครองภายในของปเทศราชา ให้ประเทศราชนั้นๆรักษาศาสนธรรม วัฒนธรรมของเขาอย่างเป็นอิสระเสรี รวมถึงมฤคปักษีก็ควรได้รับการดูแลอย่างสมควร

มอญที่อพยพมาในสยามแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้จนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระภิกษุสงฆ์ล้วนได้รับความอุปถัมภ์บำรุงจากราชสำนัก ไม่แพ้พระไทย โปรดให้ห่มแหวกได้อย่างมอญ สอบเปรียญเป็นภาษามอญ และโปรดตั้งพระราชาคณะมอญให้ปกครองตนเอง จนเพิ่งมาปลาสนาการไป เมื่อชนชั้นปกครองของไทยถูกถอนกำพืดเดิมจากศาสนธรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมจนเกือบจะหมดสิ้น

ยังพระราชาของไทยที่ปกครองประเทศราชมลายู ก็โปรดให้รายามลายู ทั้งที่ไทรบุรี กลันตัน ปลิส และปัตตานี ปกครองตัวเอง โดยรักษาลัทธิศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ตลอดจนพิธีกรรมตามภูมิธรรมดั้งเดิม ดังเพิ่งมาเกิดการสั่นสะเทือนในทางนี้ เมื่อราชอาณาจักรสยามรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กรุงเทพฯ จนถึงกับถอดรายาปัตตานี นำไปขังไว้ที่นครสวรรค์เอาเลย

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แล้ว นายปรีดี พนมยงค์ เสนอให้ตั้งตำแหน่งจุฬาราชมนตรีขึ้นใหม่ ให้เป็นตัวแทนของลัทธิศาสนาอิสลาม และกำหนดให้สามสี่จังหวัดภาคใต้ปกครองตนเอง ใช้ภาษายาวี ให้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาษาไทย ให้ใช้กฎหมายอิสลามในทางแพ่งและครอบครัว ให้มีโรงเรียนอิสลามที่ไม่ด้อยไปกว่าโรงเรียนรัฐซึ่งมักจะอ้างความเป็นพุทธ

นี่คือเนื้อหาของการพัฒนาหรือการปกครองบ้านเมืองที่ใช้ได้กับคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา และต่างวัฒนธรรม ถ้าปราศจากมติดังกล่าว ไม่มีทางพัฒนาไปสู่ความสงบสุขหรือความยุติธรรมได้เลย

ขอกลับมาเอ่ยถึงชนชั้นนำของมอญในสยามอีกครั้ง เมื่ออังกฤษรบกับพม่านั้น ได้เสนอให้ชนชั้นนำของมอญในบางกอกกลับไปตั้งรามัญประเทศขึ้น โดยขอสถาปนาให้เจ้าพระยามหาโยธา ต้นตระกูลคชเสนี เป็นพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ท่านปฏิเสธ คือพอใจในการพัฒนาความเป็นมอญในสยาม ยิ่งกว่ากลับไปเสี่ยงกับความเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในพม่า

กรณีของมอญในสยาม ดูจะเป็นการอพยพโยกย้ายมาพัฒนาตนเอง อย่างควรแก่การภาคภูมิใจ ผิดกับพวกไทลื้อ ในยูนนาน ซึ่งไม่ต้องการอพยพโยกย้ายไปอยู่เชียงใหม่ แต่พระเจ้ากาวิละ ซึ่งเพิ่งตั้งเชียงใหม่ขึ้น หลังจากที่ได้รับเอกราชจากพม่า ในขณะที่เชียงใหม่เป็นเมืองร้าง พระเจ้าเชียงใหม่จึงมีคติที่ต้อง "หาผักใส่ช้า หาข้าใส่เมือง" ด้วยการกรีฑาทัพไปสิบสองปันนา สิบสองจุไท แล้วถามว่าใครสมัครใจจะอพยพไปเมืองไทยบ้าง พวกที่สมัครใจให้โกนหัวเสีย พวกไม่สมัครใจ ให้คงผมยาวไว้ ผลก็คือท่านสั่งให้มัดผมของพวกที่ไม่สมัครใจทั้งหลาย แล้วฉุดกระชากลากไปเชียงใหม่เป็นอันมาก จนมีข้าเต็มเมืองสมประสงค์ แต่ก็ทรงปกครองบ้านเมืองตามหลักจักรวรรดิวัตรอย่างน่าสังเกต แม้ชาวเขา ชาวเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรี่ยงและม้ง เมื่อถึงหน้าเอื้องหลวงบาน พวกนี้จะเอาดอกเอื้องและไพลกับยาสูบมาถวาย เจ้าหลวงเชียงใหม่จะรับบรรณาการนั้นๆแล้วเคี้ยวไพลและถ่มลงกับพื้นท้องพระโรง ซึ่งเป็นดินเหนียว และสูบยา พร้อมกับทัดดอกเอื้อง แล้วรับสั่งว่า ตราบใดที่พวกสูเอาบรรณาการมาถวายเรา เราก็สัญญากับพวกสูให้ได้อยู่กินอย่างร่มเย็นเป็นสุข ไม่ให้ท้าวเพี้ยพญาลาวไปเบียดเบียนบีฑาพวกเจ้าได้ และก็ขอให้พวกเจ้าดูแลต้นหมากรากไม้ และมฤคปักษีให้อยู่ดีมีสุขด้วยเช่นกัน

นี้คือคุณธรรมดั้งเดิม ที่อาจนำมาประยุกต์ใช้ได้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ไม่ว่าจะเพิ่งย้ายเข้ามา เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการเมือง บังคับขับไสเขา เช่นจากอินเดีย พม่า บังคลาเทศ ในบัดนี้ หรือกะเหรี่ยงและม้ง ที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนพวกคนไทยจะย้ายมาตั้งภูมิลำเนาในสยาม เมื่อยังไม่ถึงพันปีมานี้ เขาควรมีสิทธิและศักดิ์ศรีไม่แพ้คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะก็คนที่ตั้งตนเป็นชนชั้นสูง ซึ่งได้เปรียบทางเศรษฐกิจ การเมือง และทางวัฒนธรรม

ขอแถมอีกนิดว่าชาวไตลื้อที่ยังคงอยู่ในเมืองจีนจนบัดนี้ ได้รับการดูแลด้วยดีจากพรรคคอมมูนิสต์จีน จริงละหรือ หรือถูกจีนกลืนเป็นจีนไปมากแล้ว ดังจีนพยายามทำเช่นนี้กับธิเบตด้วยเหมือนกัน อย่างโหดร้ายเลวทรามยิ่งกว่าที่สิบสองพันนาเป็นไหนๆ

 

IV

จักรวรรดินิยมเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นของมหาชนคราวละจำนวนมากๆ เพราะคนผิวขาวที่ขยายอาณานิคมออกไป ล้วนต้องการแรงงานมารับใช้ลัทธิทุนนิยมของตนด้วยกันทั้งนั้น คนพวกนี้เห็นว่าคนพื้นเมืองไร้สมรรถภาพ ทำการงานไม่ทันความต้องการของชนชั้นปกครอง จึงโยกย้ายฝูงชนจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง คราวละมากๆ เช่น อังกฤษ อพยพคนทมิฬจากอินเดียใต้เข้าไปไว้ในลังกาทวีป เพื่อปลูกชาและเก็บใบชามาป้อนโรงงาน โดยที่เดิมคนสิงหฬกับคนทมิฬอยู่ด้วยกันมานาน แม้จะกระทบกระทั่งกันบ้างก็เป็นเรื่องของชนชั้นปกครอง ชาวไร่ชาวนา พ่อค้าม้าขาย ต่างมีอาชีพพอเลี้ยงตนตามอัตภาพ แต่คนอังกฤษเห็นว่าลังกาเหมาะกับกรปลูกชาเท่านั้น จึงทำลายการกสิกรรมอย่างอื่นๆเกือบหมด และใช้ชาวสิงหฬไม่ได้ดังใจ จึงอพยพชาวทมิฬเข้าไปอย่างมากมาย จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆต่อมาจนบัดนี้

เมื่ออังกฤษยึดพม่าได้ ก็เห็นว่าชาวพื้นเมืองเฉื่อยชาเกินไป จึงอพยพชาวอินเดียเข้าไปทำงานในพม่ามากต่อมาก เพราะคนอินเดียคุ้นเคยกับเจ้านายอังกฤษมาก่อน ย่อมรับใช้ชาวผิวขาวได้ดีกว่าพม่า ยิ่งเพิ่งมาเป็นเมืองขึ้นใหม่ๆ นี่ก็เป็นผลให้เมื่อเนวินยึดครองสหภาพพม่าได้โดยเผด็จการ จึงไล่คนอินเดียออกจากพม่าจนหมด หากไม่ให้เอาทรัพย์สมบัติติดตัวไปได้เลย แม้แหวนแต่งงานที่ติดนิ้วไว้ ก็ต้องถอดออก เมื่ออพยพมาจากพม่า

อังกฤษทำคล้ายๆกันกับมลายู ซึ่งอังกฤษถือว่าคนพื้นเมืองขี้เกียจ เฉื่อยชา ไม่แพ้ชาวพม่า จึงอพยพเอาคนจีนและคนอินเดียเข้าไป จนเกิดปัญหามากภายในประเทศนั้น ซึ่งก็ยังแก้ไม่ได้จนถึงทุกวันนี้

ฝรั่งเศสก็ดำเนินการคล้ายๆกัน เป็นแต่ไม่ได้เอาคนจากพวกอินโดจีนเข้าไป หากให้ญวนเข้าไปมีอิทธิพลในกัมพูชาและลาว โดยกดคนของสองประเทศนี้ลง ยิ่งญวนคาทอลิกด้วยแล้ว ยิ่งได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ จนคาทอลิกญวนได้ปกครองเวียดนามใต้อย่างเบ็ดเสร็จ เมื่ออเมริกันเข้าไปหนุน จนพวกนี้เพิ่งปลาสนาการจากอำนาจไปเมื่อไซ่ง่อนแตกไล่ๆกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19 ของเรานี่เอง

ผลกระทบที่รับจากจักรวรรดิฝรั่งนั้น รวมถึงการรับลัทธิคอมมูนิสต์จากฝรั่งด้วย ดังชาวญวนใต้ต้องอพยพหลบหนีออกนอกประเทศด้วยเรือเล็กเรือน้อยเป็นจำนวนมหาศาล เมื่อไซ่ง่อนแตก หลายคนตายในทะเล หลายคนถูกโจรสลัดไทยแย่งชิงทรัพย์สินและกระทำชำเราอย่างเลวร้าย ความข้อนี้พระอาจารย์นัทฮันห์ก็ได้เขียนบทกวีไว้อย่างน่าทึ่ง ชื่อ Call Me by My True Names ( เรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง, ร.จันเสน แปล, มูลนิธิโกมล คีมทอง, พ.ศ.2542)

 

โปรดเรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง

อย่ากล่าวว่าฉันจะจากในวันพรุ่ง

แม้วันนี้ฉันก็ยังกำลังมาถึง

 

ดูให้ดี ทุกวินาทีฉันกำลังมาถึง

เป็นตุ่มตาแรกผลิของกิ่งไม้ยามวสันต์

เป็นนกน้อยปีกบาง

หัดขับขานอยู่ในรังใหม่

เป็นดักแด้อยู่กลางดวงดอกไม้

เป็นเพชรพลอยซ่อนอยู่ในเนื้อหิน

 

ฉันยังคงมาถึง เพื่อหัวเราะและร้องไห้

เพื่อกลัวและเพื่อหวัง

จังหวะหัวใจฉันคือกำเนิดและความตาย

ของสรรพชีวิต

 

ฉันคือแมลงเม่า ที่กำลังกลายรูป

บนผิวน้ำ

และฉันคือนก

โฉบลงขยอกกลืนเจ้าแมลง

 

ฉันคือกบแหวกว่ายอย่างเป็นสุข

ในบึงใส

และฉันคืองูเขียว

เลี้ยวลดกินกบอย่างเงียบเชียบ

 

ฉันคือเด็กในอูกันดา มีแต่หนังหุ้มกระดูก

ขาฉันเล็กบางราวลำไผ่

และฉันคือพ่อค้าอาวุธ

ขายเครื่องประหัตประหารแก่อูกันดา

 

ฉันคือเด็กหญิงสิบสองขวบ

ลี้ภัยในเรือน้อย

โถมร่างลงกลางสมุทร

หลังถูกโจรสลัดข่มขืน

และฉันคือโจรสลัด

หัวใจฉันยังขาดความสามารถ

ในการเห็นและรัก

 

ฉันคือสมาชิกกรมการเมือง

ผู้กุมอำนาจล้นฟ้า

และฉันคือชายผู้ต้องจ่าย

"หนี้เลือด" แก่ประชาชน

ผู้ค่อยค่อยตายไปในค่ายแรงงาน

 

ปีติแห่งฉันดังวสันต์อันอบอุ่น

บำรุงบุปผชาติแย้มบานไปทั่วโลก

เจ็บร้าวแห่งฉันดั่งธารน้ำตา

กว้างใหญ่เนืองนองสู่ท้องสมุทรทั้งสี่

 

โปรดเรียกันด้วยนามอันแท้จริง

เพื่อฉันจักอาจยินเสียงสรวลและร่ำไห้ของตนได้พร้อมกัน

เพื่อฉันจักอาจเห็นว่าปีติและเจ็บร้าวของตนนั้นคือหนึ่ง

 โปรดเรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง

เพื่อฉันจักอาจตื่นขึ้น

และประตูหัวใจฉัน

ประตูแห่งกรุณา

จะได้เปิด

 

V

ถ้าเราเอาสาระจากบทกวีของท่านนัทฮันห์มาพิจารณา เราต้องเลิกคิดถึงผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ เลิกคิดถึงคนดีกับคนชั่ว หากหันมามองในทางอิทัปปัจจยตาว่าเราล้วนโยงใยถึงกัน เราต่างก็เป็นมิตรสหายกัน ล้วนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เราจะให้อภัยกัน เมตตากรุณาต่อกันได้อย่างไร แม้กับคนที่ทารุณโหดร้ายกับเรา

อนึ่ง การพัฒนาถ้ามุ่งไปในทางวัตถุ ให้ต้องมีทรัพย์ศฤงคารยิ่งๆขึ้น ให้มีอำนาจยิ่งๆขึ้น คนเล็กคนน้อยทุกหนแห่งย่อมเดือดร้อน แม้เขาจะอพยพโยกย้ายไปที่อื่น ก็ไปถูกเบียดเบียนบีฑาอยู่อีกนั่นเอง

ชนชั้นปกครองในทุกประเทศก็จะสยบยอมแต่กับอภิมหาอำนาจ ซึ่งในบัดนี้มีทั้งจีนและสหรัฐ โดยที่คนเล็กคนน้อยในสองประเทศนั้นก็ถูกเอาเปรียบด้วยประการต่างๆอีกด้วย

นอกจากสองจักรวรรดินี้แล้ว เรายังมีบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งโยงใยอยู่กับสองจักรวรรดิดังกล่าว โดยที่ทั้งหมดนี้สะกดให้ชนชั้นปกครองในแทบทุกประเทศสยบยอมอยู่กับเขาแทบทั้งนั้น เพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของคนพวกนั้น และเพื่อว่าเขาจะได้ความมั่นคงทางการเมืองอีกด้วย จะให้ชนชั้นนำในที่ไหนๆมาเอาใจใส่หรือหาดีกับคนเล็กคนน้อย คนปลายอ้อปลายแขม และคนอพยพจากที่ต่างๆนั้น อย่าได้พึงหวัง

เว้นเสียแต่ว่าเราจะเปลี่ยนความคิดไปจากการ พัฒนา มาเป็น ภาวนา คือ กายภาวนาควรมีร่างกายที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไปและไม่ออกกำลังกายมากเกินไป และจิตภาวนา คืออบรมจิตใจให้สงบ ให้รู้จักพอ ไม่อ้าขาผวาปีกไปเป็นคนรวย หรือคนมีอำนาจ หรือแสวงหาชื่อเสียงคำเยินยอซึ่งล้วนเป็นของปลอม โดยต้องใช้ศีลในทางภาวนาด้วย คือช่วยให้สังคมยุติธรรมอย่างสันติ ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน อุดหนุนธรรมชาติให้แวดล้อมผู้คนอย่างเหมาะสม ไม่บ้าคลั่งกับวิทยาศาสตร์กระแสหลักหรือเทคโนโลยี่ล่าสุดว่าจะแก้ปัญหาอะไรๆก็ได้  โดยที่ต้องมีปัญญาภาวนา รู้จักแสวงหาศักยภาพของตัวเราให้พบ รู้จักใช้หัวใจให้ประสานกับหัวสมอง ให้แลเห็นอะไรไม่เป็นเสี่ยงๆ หากให้เห็นอะไรๆอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งโยงใยถึงกัน เพื่อลดความเห็นแก่ตัวของเราลง แลเห็นว่าคนอื่นและสรรพสัตว์สำคัญยิ่งกว่าเรา โดยมองไปพ้นชาตินิยม หากเห็นเพื่อนมนุษย์ทั้งหมดเป็นเพื่อน เป็นญาติ แม้สัตว์และธรรมชาติก็เป็นญาติ ดังปู่ย่าตายายของเราเคารพแม่น้ำ แม่พระธรณี และแม่โพสพเป็นต้น หากมนุษย์เริ่มมีทัศนคติที่ถูกต้อง อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างลดอคติ หากลดความทะเยอทะยานในการแก่งแย่งแข่งดีลง เราจะรู้ตัวเราว่า เราทุกคนล้วนเป็นผู้อพยพด้วยกันทั้งนั้น เรากำลังจะอพยพจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ระหว่างที่เราอยู่ในโลกนี้ ก็จงอย่าติดยึดในตัวตน ในสมบัติอัครฐานในที่อยู่อาศัย หากใช้ตัวตนและทรัพย์ศฤงคารตลอดจนความรู้ความสามารถ เพื่อคนอื่นสัตว์อื่น ซึ่งคงจะอพยพโยกย้ายไปจากโลกไล่ๆกับเราถ้วนทั่วทุกสรรพสัตว์

VI

ข้าพเจ้าควรจบปาฐกถาลงได้แล้ว โดยไม่ได้เอ่ยถึงคดีชาวโรฮิงยาเลย เพราะเห็นว่าจะมีวีดีทัศน์และการอภิปรายในเรื่องนี้อยู่แล้ว ดังคดี 54 ศพที่จังหวัดระนอง แต่ก็ควรเสนอทัศนะส่วนตัวให้ปรากฎ เผื่อจะมีการอภิปรายรายละเอียดกันต่อ

กรณีของชาวโรฮิงยาที่อพยพหลบภัยไปยังถิ่นต่างๆนั้น น่าสมเพทเวทนา ยิ่งกว่ากรณี boat people ของเวียดนามเสียอีก เพราะอย่างน้อยชาวญวนยังมีพุทธศาสนิกชั้นนำอย่างพระอาจารย์นัทฮันห์ ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลในทางศาสนธรรม และโยงใยชาวพุทธจากทั่วโลกให้ตื่นขึ้น หันมาอุดหนุนคนทุกข์ยากเหล่านั้น แม้รัฐบาลส่วนใหญ่รวมถึงรัฐบาลของชาวพุทธอย่างไทย ก็ไม่ได้แสดงถึงมนุษยธรรมเอาเลย มิใยต้องเอ่ยถึงศาสนธรรม ในเรื่องนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังดีกว่ารัฐบาลไทยเสียอีก

สำหรับชาวโรฮิงยานั้น แม้รัฐบาลบังคลาเทศ ซึ่งก็เป็นมุสลิมคล้ายๆกัน ทั้งยังมีเชื้อชาติเกือบจะว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็ผลักไสไล่ส่ง เฉกเช่นประเทศอื่นๆด้วยเหมือนกัน

นิมิตดีก็ตรงที่องค์กรความร่วมมือของอิสลาม OIC---Organization of Islamic Cooperation ได้พยายามปลุกมโนธรรมสำนึกให้ชาวโลกตระหนักถึงวิกฤตการณ์อันชาวโรฮิงยาประสบอยู่ ทั้งภายในดินแดนที่ตนมีชีวิตอยู่ต่อๆกันมาหลายชั่วคน รวมถึงผู้คนที่ต้องอพยพโยกย้ายไปจากบ้านเกิดเมืองนอน โดยที่คนโรฮิงยาส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพพม่า ทางยะไข่ ซึ่งเป็นต้นตอที่มาให้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับราชาธิปไตยพม่า จนพม่าต้องเสียเอกราชให้อังกฤษไป

ก็บัดนี้ ยะไข่เป็นของพม่าในทางนิตินัย แต่ชาวโรฮิงยาที่ยะไข่กลับถูกตราหน้าว่าเป็นราษฎรประเภทสอง นี่ก็แทบไม่ต่างไปจากชาวมลายูในสามสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย แม้ชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิม แต่ที่ถือพุทธก็มี โดยที่พุทธศาสนิกเหล่านี้ ก็ญาติดีกับเพื่อนร่วมเชื้อชาติและร่วมภาษา อย่างเสมอบ่าเสมอไหล่กัน แต่แล้วชาวพุทธโรฮิงยาก็ถูกชาวพุทธพม่าตราหน้าว่าเป็นคนชายขอบ ถึงขนาดที่พวกชาวพุทธโรฮิงยาถูกฆ่าตายอย่างอเน็จอนาถ จากความผิดที่ขายอาหารให้ชาวโรฮิงยามุสลิม นี่ถ้าเหตุการณ์ 6 ต.ค. 19 ของเราขยายตัวต่อไป คนที่เห็นใจนักศึกษาในธรรมศาสตร์ อาจโดนประชาทัณฑ์อย่างกว้างขวางออกไปก็ได้ ใครจะไปรู้ เมื่อใช้ลัทธิชาตินิยม ผนวกเอาลัทธิศาสนามารับใช้ลัทธิดังกล่าว แม้พุทธศาสนาก็มีอันตรายได้มิใช่น้อย ดังที่เห็นกันมาแล้วจากลังกา และพม่าในบัดนี้

ศาสตราจารย์ Ihsanoglu เลขาธิการองค์กรความร่วมมือของมุสลิม (OIC) ส่งจดหมายถึงนางอองซานสุจี วีรสตรีของพม่า ซึ่งเคยได้รับรางวัลสันติภาพจากมูลนิธิโนเบลมาแล้ว ขอให้เธอปลุกมโนธรรมสำนึกของชาวพุทธในประเทศของเธอ ให้มีเมตตากรุณาต่อชาวโรฮิงยา ซึ่งถูกเบียดเบียนบีฑาอย่างเลวร้ายยิ่ง แต่ไม่ได้รับคำตอบจากเธอ และเธอไม่เคยประกาศเจตนารมย์ของเธอออกไปดังๆเรื่องชาวโรฮิงยาเอาเลย ทั้งนี้เพราะเธอกลายเป็นนักการเมืองไปแล้ว และเธอต้องการชนะเลือกตั้งคราวหน้า ซึ่งจะมีขึ้นภายในเวลาอีกไม่ช้าแล้ว เธอจะแสดง

วาทะอะไรๆให้ขัดใจชาวพุทธพม่าส่วนใหญ่ไม่ได้ นี้นับว่าน่าเสียใจ ดังศาสตราจารย์ Ihsanogluถึงกับประกาศว่า "อองซานสุจีสนใจเฉพาะสิทธิมนุษยชนของคนถือพุทธในพม่า เพราะผู้คนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ โดยที่พวกมุสลิมไม่ใช่มนุษย์" นี่ออกจะเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงจนอาจเกินเลยไปก็ได้ คล้ายๆกับพวกมิชชันนารีฝรั่งที่เมื่อไปยึดดินแดนในโลกใหม่ได้แล้ว ฆ่าพวกคนพื้นเมืองลงเป็นเบือ เพราะพวกนั้นยังไม่ได้รับศีลล้างบาป จึงยังไม่ได้เป็นมนุษย์

นิตยสาร อิรวดี ของคนพม่าพลัดถิ่นที่ตีพิมพ์ในเมืองไทย  อ้างคำของอองซานสุจีที่เธอกล่าวว่า คนพม่าต้องพึ่งตนเอง เพื่อให้ความฝันเป็นจริงในทางอิสรภาพและอนาคตอันสดใส เธอย้ำว่า "อย่าไปหวังให้ใครมาเป็นผู้กู้สภาพให้พม่า (savoir) โดยนิตยสารฉบับดังกล่าวประชดเธอว่า "สุจี พูดถูกแล้วที่พม่าไม่ต้องการให้ใครมาเป็นผู้อุ้มชู (savoir) แต่พม่าต้องการผู้นำ (leader) หมายความว่านิตยสารฉบับนั้นสงสัยในความเป็นผู้นำของเธอ

แล้วเมืองไทยเล่า เรามีผู้นำไหม โดยไม่ต้องเอ่ยถึงยิ่งลักษณ์ หรือทักษิณเอาเลยก็ว่าได้ แต่ทหารซึ่งเป็นรัฐภายในรัฐยังยึดเอาเผด็จการอย่างสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้นำอยู่ หรือตำราเรียนของเราก็ยกย่องเชิดชูอดีตกษัตริย์ อย่างพระนเรศวรมหาราชและพระปิยมหาราชว่าเป็นผู้นำ บุคคลดังกล่าวทำให้คนไปตายเท่าไรต่อเท่าไร แม้องค์แรกจะประกาศอิสรภาพได้จากพม่า และองค์หลังรักษาอิสรภาพไว้ได้ โดยยอมเสียดินแดนไปราวๆ 1 ใน 3 ของแผ่นดินทั้งหมด  หากเราไม่เคยมองไปหาคนเล็กคนน้อยเอาเลยใช่ไหม ว่าเขาก็อาจเป็นผู้นำได้ดีกว่าชนชั้นสูง หรือคนที่นานาชาติยกย่องว่าเป็นผู้นำเสียด้วยซ้ำ และผู้นำที่แท้ต้องเน้นในทางสันติประชาธรรม ไม่ใช่เน้นทางทารุณกรรม หรือทางด้านการมอมเมาผู้คนให้เชื่อผู้นำ เพื่อชาติจะได้พ้นภัยใดๆก็ตาม ดังขอจบคำปราศรัยนี้ ด้วยอมตพจน์จากปราชญ์จีนคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่า "ผู้นำที่ดีที่สุดคือผู้ที่ประชาชนแค่รู้ว่ามีเขาอยู่ ที่ดีรองลงมาคือผู้ที่ประชาชนรักและสรรเสริญ รองลงมาอีกก็คือผู้ที่ประชาชนเกรงกลัว ที่แย่ที่สุดคือผู้ที่ประชาชนเกลียดชัง   หากผู้นำไม่เชื่อใจผู้ใด แล้วจะมีใครเชื่อใจเขา ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่ประหยัดถ้อยคำ เขาจะไม่พูดจาออกไปสุ่มสี่สุ่มห้า เขาจะทำงานโดยไม่ถือประโยชน์ส่วนตน และเมื่องานสัมฤทธิ์ผลผู้คนจะพูดพร้อมกันว่า "พวกเราสามารถทำงานสำเร็จได้ด้วยตัวเอง"   (เต๋าเต้อจิง บทที่ 17 ผู้นำตามหลักแห่งเต๋า)

 

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บรรยาย โครงการเสวนากฎหมาย: "มองแนวทางปฏิบัติกรณีแรงงานข้ามชาติ 54 ศพ จังหวัดระนอง และกรณีโรฮิงยา ผ่านกฎหมายคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์" วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2556 สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัด กสทช.ไม่สนใจ 'ผู้บริโภค' เปลี่ยนชื่อใหม่ 'ปีวิปโยคผู้บริโภค'

Posted: 21 Mar 2013 08:27 AM PDT

(21 มี.ค.56) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีการจัดเสวนา เรื่อง  "2556 ปีทองการคุ้มครองผู้บริโภค และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิตอล" โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. กล่าวว่า สาเหตุที่เปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เพราะการมีกรรมการแค่ 5 หรือ 11 คน อาจไม่รอบด้านเพียงพอ โดยยกตัวอย่างกรณีสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้ ที่แม้คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะเสนอทางออกหลายทาง แต่กรรมการกลับโฟกัสไปที่ข้อเสนอสุดท้าย คือขยายเวลาคืนคลื่นเพื่อให้บริการต่อ ซึ่งยังไม่รู้จะผิดกฎหมายหรือไม่ด้วย ทั้งที่ข้อเสนอลำดับต้นๆ คือการขยายการคงสิทธิเลขหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ก็กลับให้รอและไม่แจ้งผู้บริโภค โดยมีกรรมการท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์สื่อในทำนองว่า การจะบอกเรื่องนี้เป็นเรื่องต้องระวัง เพราะหากผู้ใช้บริการย้ายค่ายอาจก่อให้เกิดความเสียหาย นพ.ประวิทย์ตั้งคำถามว่า ใครจะเสียหาย 

"ทั้งที่มีการประกาศให้ปีนี้เป็นปีทองของผู้บริโภค แต่กลับสนใจสิทธิของผู้ให้บริการมากกว่า" นพ.ประวิทย์กล่าว 

กสทช. ไม่สนับสนุนสิทธิผู้บริโภค ให้อำนาจเหลือแค่รับเรื่องร้องเรียน
ด้านเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า จากผลงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเป็น "ปีทองผู้ประกอบการ" มากกว่าปีทองผู้บริโภค โดยปีที่ผ่านมา พบว่า มีการแก้ไขเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนได้ใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดเพียง 16% เหลือเรื่องที่ค้างเกิน 60 วันกว่า 700 เรื่อง โดยปัจจุบัน ราว 600 เรื่อง เป็นการร้องเรียนกรณีพรีเพดหมดอายุ ถูกยึดเงิน ทั้งที่ตามประกาศ กสทช.ห้ามบัตรหมดอายุ แต่ไม่เคยมีการบังคับใช้จริง จนเมื่อผู้ประกอบการขอให้หมดอายุได้ใน 1 เดือน กลับมาอนุญาต

กรณีอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ อาทิ ค่าบริการไม่เกิน 99 สตางค์ การส่งเอสเอ็มเอสโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ใช้บริการ ตู้เติมเงินไม่ได้มาตรฐาน โดยมีการคำนวณว่า ตู้เหล่านี้สร้างความเสียหาย 1% ของจำนวนเงินที่เติมในแต่ละปี คิดเป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี 

ท้งนี้ เดือนเด่น เสนอว่า เมื่อกฎหมายกำหนดให้ต้องพิจารณาเรื่องร้องเรียนใน 30 วัน ก็ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ถูกร้องเรียนตอบกลับมาใน 15 วัน มิเช่นนั้นก็ต้องถือว่าข้อมูลของผู้บริโภคถูกต้อง 

เดือนเด่น กล่าวต่อว่า จากหลักฐานเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นว่า กสทช.ไม่สนับสนุนงานด้านนี้เลย เห็นได้จากงบประมาณที่ลดลง จำนวนบุคลากรเพียง 15 คนเมื่อเทียบกับข้อร้องเรียน 4,000 กว่าเรื่องต่อปี และจำนวนการเข้าประชุมเมื่อปีที่แล้วของผู้อำนวยการกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และรองเลขาฯ ที่เข้าประชุม 5-6 ครั้งและไม่เข้าอีกเลย 

เดือนเด่น ระบุว่า นอกจากนี้ การร้องเรียนยังทำได้ยากขึ้น โดยมีการขอเอกสารบัตรประชาชน ขณะที่ในสหรัฐฯ ใช้เพียงชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีกทั้งสำนักงานยังสร้างขั้นตอนที่ยุ่งเหยิงให้ต้องมีการอนุมัติทุกขั้นตอน ไม่อำนวยความสะดวกใดๆ เหลือหน้าที่แค่รับเรื่องร้องเรียนเท่านั้น 

ขณะเดียวกัน ยังพบว่ามีการระงับเรื่องร้องเรียนเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการด้วย เช่น มีการร้องเรียนเรื่องเสาวิทยุรบกวน ต่อมา สำนักงานได้ถอนเรื่องนี้ออกไป โดยเหตุว่า ผู้ร้องขอให้ถอน แต่เมื่อดูรายละเอียด พบว่าผู้ที่ขอให้ถอน ไม่ใช่ตัวผู้ร้องเอง และยังเป็นการถอนเรื่องกับระดับท้องถิ่น แล้วเอาจดหมายนั้นมาอ้างเพื่อขอถอนเรื่องด้วย

เดือนเด่น เสนอว่า การจะคุ้มครองผู้บริโภคได้ หน่วยงานกำกับดูแลต้องเป็นผู้กำกับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าที่ผ่านมานั้น ล้มเหลว จึงเสนอให้ กสทช. มีนโยบายส่งเสริมการแข่งขันในตลาด เช่น ส่งเสริมการเชื่อมต่อโครงข่าย กำหนดค่าอัตราค่าเชื่อมต่อ (IC Charge) ที่สามารถให้รายใหม่เข้ามาได้  เมื่อเกิดการแข่งขัน ผู้บริโภคก็จะได้รับประโยชน์

เดือนเด่น กล่าวว่า กสทช. ต้องรับผิดชอบในความล้มเหลว ไม่ใช่อ้างเรื่องความละเอียด-ระเบียบซับซ้อน เพราะถูกออกแบบให้เป็นองค์กรอิสระก็เพื่อความคล่องตัว จะมาอ้างระบบราชการเช่นนี้ไม่ได้ ทั้งนี้ กสทช.ควรพิจารณาตัวเอง หากโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ไม่เอื้อก็ควรกลับไปเป็นแบบเดิม คือ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ที่เปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีอำนาจตัดสินใจด้วย 

ด้านซีกของวิทยุโทรทัศน์นั้น ชัยรัตน์ แสงอรุณ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระบุว่า การรับเรื่องร้องเรียนยังเป็นเรื่องใหม่ เพิ่งจะมีการวางระเบียบ ขณะที่อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ก็ถูกลดจาก 9 ด้านเหลือเพียง 3 ด้าน บุคลากรก็น้อยกว่าคณะอนุฯ ฝั่งโทรคมนาคม ทำให้ยากจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ 

ชัยรัตน์ กล่าวว่า ปัญหาที่พบมากคือการโฆษณาเกินจริงในวิทยุชุมชนและเคเบิลทีวี ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ตื่นตัวรักษาสิทธิ โดยเรื่องที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ กรณีทรูวิชั่นจอดำ ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น สื่อได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งให้สื่อกำกับดูแลกันเอง โดยให้มีการร่างจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ อนุกรรมการไม่มีหน้าที่ชี้ผิดถูก ทำได้เพียงรวมความเห็น ส่งให้กรรมการวิชาชีพตัดสินเท่านั้น โจทย์จึงคือองค์กรวิชาชีพที่ว่านี้ มีหรือยัง ตรงนี้สื่ออาจจะช่วยตรวจสอบและทำให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐาน และนำสู่การแก้ไขเยียวยาผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

ด้านบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ตั้งคำถามว่า นี่จะปีทองหรือวิปโยคของผู้บริโภคกันแน่ โดยชี้ว่าจะเป็นปีทองผู้บริโภคได้จริง กสทช.ต้องเคารพสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ปี 2522 ประกอบด้วย สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินค้าและบริการ สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ ความเป็นธรรมในการทำสัญญา สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาชดเชยเยียวยาความเสียหายให้ได้ก่อน พร้อมระบุด้วยว่า ไม่ได้ขอในเรื่องใหม่ใดๆ ขอแค่ กสทช.บังคับใช้ประกาศที่ออกมาแล้ว อาทิ เรื่องค่าบริการนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ บริการพรีเพดห้ามหมดอายุ รวมถึงไม่ให้มีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยเอาข้อมูลไปให้ผู้ประกอบการบริการเสริม เป็นต้น

บุญยืน กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคผลักดันการตั้งองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค หวังว่าจะเป็นที่พึ่ง เพราะที่ผ่านมาเรื่องของผู้บริโภคไม่เคยได้รับการตอบสนองทั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่ปรากฏว่า กสทช. สุทธิพล ทวีชัยการ กลับทำความเห็นส่วนตัวคัดค้านไป ด้วยเหตุผลว่าเกรงจะแทรกแซงการทำงานของ กสทช.
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สังคมอเมริกันมี“สลิ่ม” หรือไม่?

Posted: 21 Mar 2013 07:58 AM PDT

ผมเข้าใจเอาเองว่า วาทกรรม"สลิ่ม" หมายถึงพวกแสดงนิสัยกระแดะ ดัดจริตอยู่ในสังคม ซึ่งอาจเลยไปถึงการเสแสร้งขั้นรุนแรงได้ และภาพของสลิ่มเป็นภาพเชิงลึกไม่ใช่เชิงตื้นๆ เหมือนกิริยาอาการกระแดะหรือดัดจริตโดยทั่วไป ชนิดที่เจ้าตัวผู้ที่ได้รับขนานนามว่า สลิ่ม นั้น อาจไม่รู้ตนเองเสียด้วยซ้ำว่าตนเองอยู่ในนิยามของคำดังกล่าว

"สลิ่ม" น่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นหลังจากการแบ่งสีทางการเมืองเหลือง-แดง ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องความเห็นต่างทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความเห็นต่างในเรื่องค่านิยมเชิงวัฒนธรรมด้านอื่นรวมอยู่ด้วย

และต่อมา คำว่า สลิ่ม ก็ถูกวิวัฒนาการให้มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ดราม่า"มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความหมายก็เป็นไปโดยนัยเดียวกัน

ภาพของสลิ่มนั้น ตามความหมายที่เข้าใจกัน น่าจะเป็น "มายาภาพ" ที่สลิ่มชนพยายามสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงถึง "ความเนียน"  ของการแสดงออกเชิงบวก เช่น การเป็นคนดี  มีความรู้ การเป็นคนมีจิตสาธารณะ การเป็นคนชอบเห็นอกเห็นใจคนจนหรือคนที่มีฐานะด้อยกว่า ที่สำคัญยังรวมถึงการเป็นคนธรรมะธรรมโม หรือเป็นคนฝักใฝ่ในเรื่องพุทธธรรม(ธรรมะ) ขณะที่ความจริงในแง่ของข้อเท็จจริงและวิธีการแก้ไขปัญหากลับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เช่น เมื่อพวกสลิ่ม เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ กรณีของคนมีรายได้น้อยให้มีรายได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น  แต่"ที่ยืน"หรือฐานะของพวกสลิ่ม กลับไม่เปลี่ยนแปลง ยังอยู่ในระดับบน หรืออยู่ "ใน(ระดับ)ชั้น"ของตนเองต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า ชั้นดังกล่าวย่อมสูงกว่าประชาชนจำนวนมากทั่วไป พวกเขามีศักยภาพที่แสดงถึงความเข้าใจต่อปัญหาและการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมสูญเสียอำนาจและทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือของตน พวกเขาอาจแบ่งปันโภคทรัพย์ให้ผู้คนทั่วไป แต่การแบ่งปันดังกล่าวไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคมแต่อย่างใด  เพราะโครงสร้างของสังคมยังไม่ได้เปลี่ยน

อีกแง่หนึ่งคำว่า สลิ่ม น่าจะถูกออกแบบมา เพื่อสื่อเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการพูดแบบตรงๆไม่อ้อมค้อมกับการพูด "แบบผู้ดี" มีวาทศิลป์หรือพูดแบบสุภาพ โดยการพูดของคนพูดในประการหลังแฝงไปด้วยเลศนัยบางอย่างที่มุ่งประโยชน์ต่อเจ้าตัวผู้ที่พูดนั้น โดยผู้พูดจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เช่น การพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ หรือแม้แต่คนทั่วไป แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ไม่ได้ลงมือทำการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาเดือดร้อน เพียงดีแต่พูดแสดงความเป็นห่วงเห็นใจ ซึ่งไม่แน่ใจว่าออกมาจากใจจริงหรือเปล่า (เหมือนผู้เข้าประกวดนางงามต้องแสดงอาการว่า รักเด็ก รักโลก รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น)

สามารถเปรียบเทียบได้กับการแสดงลิเก ที่นักแสดงพูดวาดภาพให้คนดูคล้อยตามและจินตนาการตามจากคำพูด เช่น การพูดว่า "ก๊อก ก๊อก ก๊อก ! ที่หมายถึงการเปิดประตู แล้ว "ทำท่า"ชะเง้อไปดูข้างในห้องว่ามีใครอยู่หรือเปล่า หรือ การ"ทำท่า" ป้องหน้า ชะเง้อคอ เมื่อกำลังมองหาใครสักคนอยู่ ซึ่งความเป็นจริงในแง่ของกิริยาอาการของการใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นไปอย่างการแสดงลิเกนี้ เพราะเวลามองหาคนจริงๆ ไม่มีใครเอามือป้องหน้า ชะเง้อคอ มองหาอย่างลิเก

หรือ..ไม่ว่าจะเลี่ยงการพูดเรื่องวิธีการมีเซ็กส์หรือการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ด้วยการใช้คำพูดสวยหรูเพียงใดก็ตาม แต่การมีเซ็กส์ของคนปกติโดยทั่วไปมีวิธีการและเป้าหมาย(ของการมีเซ็กส์)ก็คล้ายคลึงหรือเหมือนกัน ต่างอะไรกับการเอาเรื่องเซ็กส์ไว้พูดกันที่ลับแบบมุบมิบ แต่ปัญหาทางเพศยังเกลื่อนเต็มไปหมด สิ่งที่ต้องการคือ การพูดความจริงเกี่ยวกับการมีเซ็กส์อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องเพศได้

 หรือ..การกล่าวถึงการบริโภคแบบพอเพียง การกล่าวถึงโทษภัยของทุนนิยมบริโภค ขณะที่คนกล่าวยังคงใช้ของแพงๆ ตามยุคสมัยนิยม เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น การพูดอย่างทำอย่าง ก็จะกลายเป็น "สลิ่มชน" ไปโดยปริยาย แต่หากยอมรับความจริงว่าตัวเอง เป็นอย่างนั้น เช่น ชอบใช้ของแพงแต่ก็มีเงินซื้อของนั้น ก็ไม่มีใครว่า เพราะยอมรับตัวเองเสียก่อนแล้ว

หรือ..การกล่าวถึงกระบวนการการสร้างสันติภาพหอคอย โดยที่ผู้กล่าวถึงสูตรสันติภาพนั้น แทบไม่เคยสัมผัสหรือรู้รสจากเหตุการณ์ไร้ซึ่งสันติภาพเอาเลย เป็นแต่การสร้างวาทกรรมสันติภาพจากการอนุมานหรือคิดเอา เพราะแท้จริงแล้วผู้สร้างวาทกรรมสันติภาพบนหอคอยเหล่านี้ ลึกๆแล้วมีประโยชน์แอบแฝงจากวาทกรรมอยู่ด้วย ไม่ว่าเจ้าตัวผู้สร้างวาทกรรมจะรู้หรือไม่ก็ตาม หากลงไปสัมผัส หรือต่อสู้เพื่อสันติภาพด้วยตัวเองร่วมกับคนอื่นต่างหาก จึงได้ชื่อว่า ไม่เป็นสลิ่ม ซึ่งสำหรับคนพวกนี้เราสามารถเห็นได้จาก กรณีของ เนลสัน แมนเดลา แห่งแอฟริกาใต้ มหาตมะคานธี หรือแม้แต่แม่ชี เทเรซ่าแห่งอินเดีย

ปัญหามีว่า ในสังคมตะวันตก อย่างเช่น อเมริกันมีสลิ่มด้วยหรือไม่?

เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะฐานรากทางด้านวัฒนธรรมแล้ว ย่อมจะเห็นว่า สังคมอเมริกันมีรากฐานด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากไทย สังคมอเมริกันเป็นสังคมตรงไปตรงมามีพิธีรีตองน้อยกว่าไทย โดยเฉพาะในแง่ของการไม่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แต่มีการให้คุณค่าเชิงปัจเจกสูงกว่าคุณแห่งสายสัมพันธ์เชิงพหุนิยมหรือการเล่นพวก ดังนั้น ความเป็นสลิ่ม จึงน่าจะน้อยกว่าระบบไทยๆ

อย่างเช่น การเรียกชื่อคนโดยใช้คำนำหน้าซึ่งคนอเมริกันส่วนใหญ่ ไม่มีการเรียกชื่อนำหน้าว่า พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา แต่เรียกชื่อเฉยๆ ไม่ว่าคนถูกเรียกจะอยู่ในวัยเท่าใด ยกเว้นในบางกรณีเช่น เป็นญาติกัน ขณะที่คนไทยชอบเรียกชื่อนำหน้าคนเสมอ อย่างเช่น พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา  เพื่อแสดงถึงความนับถือ ความเป็นพวก หรือเพื่ออะไรก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วจะนับถือ หรือเป็นพวกจริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้นอกจากเจ้าตัวคนเรียกเท่านั้น ซึ่งหากการเรียกดังกล่าวเป็นไปตามธรรมเนียม หรือผู้เรียกหวังใช้ประโยชน์จากการเรียกคำนำหน้า(เช่น เพื่อการตีสนิท การประจบประแจง เป็นต้น) ผู้เรียกก็ได้ชื่อว่า เป็นสลิ่ม

ในแง่มุมทางการเมืองของระบบวัฒนธรรมอเมริกัน  จะขอยกตัวอย่าง 2 กรณี คือ หนึ่ง เป็นแง่มุม จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอเมริกัน กับ สอง  เป็นแง่มุมของการดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศหรือประธานาธิบดี

ในแง่มุมของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หมายถึง การบัญญัติรัฐธรรมนูญของอเมริกันคำนึงถึงหลักการใหญ่ ได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค โดยมีการนำไปใช้จริงชนิดที่สามารถเรียกได้ว่า ถูกทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมหรือวิถีประชาธิปไตย(หรือ จารีต –Mores  และวิถีประชา –Folkways) ชนิดเข้าเส้นคนอเมริกัน จนแทบแยกไม่ออกว่า อันไหนคือ หลักการของรัฐธรรมนูญและอันไหนคือหลักการประชาธิปไตย  แต่ของไทยไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น หลักการของรัฐธรรมนูญกับหลักการประชาธิปไตย เหมือนต่างเดินอยู่บนเส้นคู่ขนาน ทั้งรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยไม่ได้ถูกหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียว ยังไม่กลายเป็นจารีตและวิถีประชา จากเหตุแห่งระบบอุปถัมภ์ และระบบสัมพันธ์เชิงพหุนิยม ที่มีมายาวนานในประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ แหละนี่ก็เป็นที่มาของ "สลิ่ม" คือ พวกที่อ้างถึงประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือ การปฏิเสธปรัชญาและคุณค่าประชาธิปไตยแบบสากล   

ในแง่การดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ ซึ่งก็คือประธานาธิบดี, หมายถึงที่มาของผู้นำประเทศ ที่ไม่ว่าใครก็ตาม ในสถานะใดๆก็ตาม สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำได้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เลือกแล้ว การวางโครงสร้างการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้นำทางการเมืองหรือผู้นำประเทศตรงไปที่ประชาชน ถือเกณฑ์มติมหาชนเป็นเรื่องสำคัญ ประเด็นดังกล่าว เท่ากับเป็นการกันอำนาจอื่นให้ออกไปเสียได้ ให้อำนาจของประชาชนเท่านั้นที่เป็นใหญ่ ไม่ใช่การวางผังประชาธิปไตยแบบขั้นบันได (ที่หมายถึงเมื่อประชาชนเลือกตัวแทนของเขาแล้วก็ดันมีหน่วยงานหรือคนอื่นมาเลือกต่ออีกขั้น) เพราะประชาธิปไตยแบบขั้นบันไดจะประสบความสำเร็จได้ ด้วยเหตุที่คนในประเทศนั้นอยู่ในครรลองจารีตประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น ,การดำรงอยู่ในอำนาจของประธานาธิบดีอเมริกัน คือ ของจริง ไม่ใช่ ผู้นำสลิ่ม

นอกเหนือไปการให้ความนับถือเชิงการคุ้มครองทางกฎหมายต่อการงานอาชีพอย่างค่อนข้างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงสถานะทางสังคม ในอเมริกา ไม่ยากที่จะเห็นการเข้าคิวต่อแถวซื้อของ ร่วมกับชาวบ้านทั่วไปของนายทหารยศนายพลระดับคุมกองทัพ หรือเห็นประชาชนเดินกอดคอกับผู้พิพากษา(ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา โดยเสียงของพวกเขา)

ร้านอาหารหรือธุรกิจบริการยินดีต้อนรับลูกค้าใส่เสื้อยืด กางเกงขาสั้น และก็น่าจะยินดีต้อนรับมากกว่า ลูกค้าที่ใส่สูทเดินเข้าร้าน ซึ่งพวกที่ทำงานธุรกิจบริการชอบเรียกว่า มังคีย์สูท(Monkey suit) ทำนองแต่งตัวดี แต่โคตรขี้เหนียวทิพ(Tip)    

เมื่อกลไกโครงสร้างของระบบไม่เป็นแบบ "บน-ล่าง" หรือเป็นแนวดิ่ง  "สลิ่ม" ก็ดำรงอยู่ยาก กลายเป็นวัฒนธรรมแบบฉบับอเมริกันที่เน้นความเป็นปัจเจกและให้คุณค่ากับหนึ่งชีวิตเท่ากับหนึ่งชีวิตโดยที่ "ทุนนิยม" อาจทำให้อเมริกันฟูหรือแฟบก็ได้ แต่ไม่มีการเสริมเรื่องจุดอ่อนด้อยหรือจุดแข็งด้านสถานะทำนองการ "เปล่งรัศมีแสแสร้งทางสังคม"

คนอเมริกันก็จะไม่ "สลิ่ม" กันหรอก.

 

           

             

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

[วิดีโอ] อภิปราย: "ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112"

Posted: 21 Mar 2013 07:49 AM PDT

ในเวที "ศาลกับความยุติธรรมในสังคมไทย" ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 56 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงหนึ่งมีการเสวนาหัวข้อ "ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112" โดยวาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่ประชาไทได้นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้นั้น (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1], [2], [3])

เสวนา "ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112" ช่วงแรก อภิปรายโดยวาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก และสาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์ (รับชมแบบ HD)

เสวนา "ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112" ช่วงที่สอง อภิปรายโดยปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (รับชมแบบ HD)

 

โอกาสนี้ขอนำเสนอวิดีโอการอภิปรายของการเสวนาหัวข้อดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการอภิปรายโดยวาด รวี และสาวตรี สุขศรี โดยวาด รวี ได้ตั้งข้อสังเกตต่อคำวินิจฉัยของศาล ในคดีที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากบทความที่เผยแพร่ในนิตยสาร Voice of Taksin (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) ขณะที่สาวตรี สุขศรี นักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์ อภิปรายในเรื่องคำตัดสินในคดีที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ขัดแย้งกับหลักกฎหมาย ทั้งเรื่องการผลักภาระการพิสูจน์ให้จำเลย และการตัดสินที่ขัดกับหลักพิสูจน์จนสิ้นสงสัย กระบวนการพิจารณาคดีที่มีการตัดพยานจำเลย และการที่ผู้พิพากษาก้าวล่วงไปในอำนาจนิติบัญญัติโดยกำหนดเหตุแห่งการปล่อยตัวชั่วคราวขึ้นมาเอง นอกเหนือจากที่กำหนดในกฎหมาย (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ช่วงวิดีโอในช่วงที่สอง เป็นการอภิปรายโดยปิยบุตร แสงกนกกุล กรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ที่ผู้ต้องหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สมยศ พฤกษาเกามสุข และเอกชัย หงส์กังวาน โต้แย้งไปที่ศาล รัฐธรรมนูญว่ามาตรา 112 ขัดมาตรา 3 ซึ่งเป็นหลักนิติธรรม ขัดมาตรา 25 ประกอบมาตรา 29 ซึ่งกระทบกับเสรีภาพมากจนเกินไป โดยปิยบุตรได้นำคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่านมาอ่านประกอบ และเสนอว่า "คำวินิจฉัยนี้เป็นการเปลือยแก้ผ้าให้เห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าท่านว่ามีความคิดแบบใด ความสามารถในการใช้และตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยคดีเพื่อคุ้มครองเสรีภาพบุคคล จะสิ้นสุดลงทันที ไร้ความสามารถทันที เมื่อเจอกับกฎหมายที่คุ้มครองสถาบันกษัตริย์" (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) นอกจากนี้เป็นการอภิปรายโดยยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ซึ่งได้ร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ย้อนประวัติศาสตร์คอมมิวนิสต์ทั่วโลก และการนิรโทษกรรมในไทย

Posted: 21 Mar 2013 06:21 AM PDT

 

 

แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์มีต้นกำเนิดมาจากยุโรปตั้งแต่หลายร้อยปีก่อนคริสตกาลควบคู่กับแนวคิดแบบประชาธิปไตย ต่อมามีการพัฒนาแนวคิดนี้เรื่อยมาจากนักคิดและนักปรัชญาหลายยุคหลายสมัย

ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผู้ใช้แรงงานเป็นผู้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูง แต่กลับได้รับผลประโยชน์เพียงน้อยนิด ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้เริ่มเรียกร้องการปกครองที่พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้น แนวคิดการปกครองแบบคอมมิวนิสต์และแบบประชาธิปไตยล้วนถูกต่อต้านจากชนชั้นปกครองในยุคนั้นๆ นอกจากนี้แนวคิดทั้ง 2 แบบต่างก็ขับเคี่ยวกันเองเพื่อแย่งชิงมวลชน

หลายประเทศในยุโรปเริ่มเปลี่ยนการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ระบอบประชาธิปไตยถือเป็นอันตรายต่อชนชั้นปกครองในยุคนั้นๆ แต่ก็ไม่อาจต้านทานกระแสการเปลี่ยนแปลงได้

แต่สิ่งที่ชนชั้นปกครองและนักประชาธิปไตยทั้งหลายกลัวยิ่งกว่ากลับเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ อาจเป็นเพราะเห็นว่า ระบอบคอมมิวนิสต์ทำลายล้างระบอบทุนนิยมซึ่งเป็นฐานอำนาจสำคัญของพวกเขา

ด้วยเหตุนี้ระบอบคอมมิวนิสต์จึงกลายเป็นศัตรูสำคัญของหลายประเทศทั่วโลก ทั้งประเทศที่ยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปและเอเชียเท่านั้น

  

จุดกำเนิดกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทย

15 มี.ค. 2460 พระเจ้าซาร์นีโคลัสที่ 2 (กษัตริย์รัสเซีย) ทรงสละราชสมบัติภายหลังการก่อรัฐประหารของรัฐสภาหลวงดูมา (Duma) เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2460 รัฐสภาหลวงดูมาตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นปกครองรัสเซีย

8 พ.ย. 2460 พรรคบอลเชวิกร่วมมือกับกองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาล วลาดีมีร์ เลนิน (หัวหน้าพรรคบอลเชวิก) ได้รับการแต่งตั้งเป็น "ประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน"

สภาที่ปรึกษาประชาชนเปลี่ยนแปลงการปกครองรัสเซียเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหภาพโซเวียต" ในเวลาต่อมา นับเป็นประเทศแรกของโลกที่เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ สร้างความหวาดกลัวในลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก

1 ธ.ค. 2464 กองทัพมองโกเลียซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตสามารถขับไล่ผู้ปกครองจีน (พรรคก๊กมินตั๋ง) ซึ่งปกครองมองโกเลียโดยมีบอกด์ข่านเป็นกษัตริย์แบบหุ่นเชิดออกจากประเทศสำเร็จ
บอกด์ข่านทรงดำรงสถานะเป็นกษัตริย์ต่อไป แต่ก็แทบไม่มีพระราชอำนาจ เนื่องจากอำนาจส่วนใหญ่อยู่กับพรรคประชาชนมองโกเลีย (Mongolian People's Party) แดมเบียน ชากดาจาฟ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

มองโกเลียเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบคอมมิวนิสต์อันมีกษัตริย์เป็นประมุข นับเป็นประเทศแรกของเอเชียที่เปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ สร้างความหวั่นวิตกต่อการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย (ภายหลังการสวรรคตของบอกด์ข่านในปี 2467 มองโกเลียยังคงมีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐต่อไป แต่มาจากตำแหน่งต่างๆ เช่น ประธานรัฐขุราลใหญ่หรือประธานสภาปกครอง ก่อนที่จะยกเลิกและเปลี่ยนเป็นประธานาธิบดีในปี 2533)

ปี 2470 ร.7 ทรงตรา พ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ.2470  เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127 มาตรา 104 โดยเพิ่มโทษการกระทำที่เป็นการสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นกษัตริย์หรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้นเป็นความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นับเป็นกฎหมายแรกที่มีบทลงโทษต่อการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

15 มี.ค. 2476 ปรีดี พนมยงค์ (รัฐมนตรี) นำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) เพื่อการปฏิรูปที่ดินและรัฐสวัสดิการแก่ประชาชน (ในยุคนั้นไม่มีตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี/รมช. ตำแหน่ง "รัฐมนตรี" ที่ไม่มีกระทรวงจึงเป็นตำแหน่งที่สามารถทดแทนตำแหน่งต่างๆ ตามความเหมาะสม)

เค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ถูกหลายฝ่ายมองเป็นรูปแบบเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์จนทำให้เกิดความแตกแยกในคณะราษฎรระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้าน ปรีดี พนมยงค์

1 เม.ย. 2476 รัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดาปรับคณะรัฐมนตรี ปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

2 เม.ย. 2476 พระยามโนปกรณนิติธาดาประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476 โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เนื่องจากเห็นว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข แต่ยังไม่ยกเลิกกฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127 มาตรา 104 

12 เม.ย. 2476 ปรีดี พนมยงค์ ถูกกดดันให้ต้องเดินทางลี้ภัยไปฝรั่งเศส (เค้าโครงเศรษฐกิจสร้างความขัดแย้งในคณะราษฎรจนเขาถูกกล่าวหาว่า มีพฤติกรรมเป็นคอมมิวนิสต์)

20 มิ.ย. 2476 พล.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ก่อรัฐประหารยึดอำนาจากรัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา เพื่อยุติความขัดแย้งในคณะราษฎรจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ

29 ก.ย. 2476 ปรีดี พนมยงค์ เดินทางกลับไทย และดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ในปี 2480 (ก่อนหน้านี้ พล.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ตั้งคณะกรรมการฯเพื่อตรวจสอบ ปรีดี พนมยงค์ ต่อมาคณะกรรมการฯลงมติว่า ปรีดี พนมยงค์ ไม่มีพฤติกรรมเป็นคอมมิวนิสต์)

1 ธ.ค. 2475 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นอย่างลับๆ โดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น, ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยม

 

จุดเริ่มต้นของสงครามเย็น

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต (ฝ่ายสัมพันธมิตร) เข้ายึดครอง 6 ประเทศในยุโรปตะวันออกคือ ฮังการี, อัลบาเนีย, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, เชคโกสโลวาเกีย และโปแลนด์ 

2 ก.ย. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีประเทศที่ให้การสนับสนุนหลัก 5 ประเทศคือ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และจีนมีชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะซึ่งมีประเทศที่ให้การสนับสนุนหลัก 3 ประเทศคือ เยอรมัน, อิตาลี และญี่ปุ่น 

สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาพยายามขยายอิทธิพลของตนเองในยุโรปและเอเชียที่พยายามฟื้นตัวจากความย่อยยับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการช่วยเหลือด้านการเงิน และความร่วมมืือทางทหารในเวลาต่อมา นับเป็นจุดเริ่มของสงครามเย็น

สหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงการปกครอง 6 ประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นระบอบคอมมิวนิสต์โดยการตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดคือ ฮังการี (2489), อัลบาเนีย (2489), บัลแกเรีย (2489), โรมาเนีย (2490), เชคโกสโลวาเกีย (2491) และโปแลนด์ (2495)

ข้อตกลงจากการประชุมที่ปอตสดัม (Potsdam Conference: 17 ก.ค.-2 ส.ค. 2488) ส่งผลให้เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เกาหลีในส่วนที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 องศา (เกาหลีเหนือ) ซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้การอารักขาของสหภาพโซเวียต ส่วนเกาหลีในส่วนที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 38 องศา (เกาหลีใต้) ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมอยู่ภายใต้การอารักขาของสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และจีน การแบ่งแยกสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี 2491 

การแบ่งเกาหลีครั้งนี้เป็นการแบ่งชั่วคราวเท่านั้น หลังจากนี้ 5 ปีจะจัดให้มีการลงประชามติในเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้เพื่อรวมประเทศอีกครั้ง

ส่วนเยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมนีตะวันตกซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมอยู่ภายใต้อารักขาของสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา และเยอรมันตะวันออกซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้อารักขาของสหภาพโซเวียต การแบ่งแยกสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในปี 2492

 

จีนกับลัทธิคอมมิวนิสต์

29 ต.ค. 2489 รัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2476 จากการกดดันของพรรคการเมืองต่างๆ และกลับไปใช้กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127 มาตรา 104 เหมือนเดิม

5 มิ.ย. 2490 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ใช้แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) โดยให้การสนับสนุนด้านการเงินกับประเทศต่างๆ ในยุโรปในการฟื้นฟูประเทศ ทั้งในรูปแบบของเงินกู้และเงินช่วยเหลือ เพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรป 

แผนมาร์แชลล์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซและตุรกีเป็น 2 ประเทศแรก แผนมาร์แชลล์มีสมาชิกเพิ่ม อีกเป็น 15 ประเทศคือ สหราชอาณาจักร, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, ลักเซมเบิร์ก, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เยอรมันตะวันตก, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ไอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปรตุเกส, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ในเวลาต่อมา

25 ม.ค. 2492 โจเซฟ สตาลิน (เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต) จัดตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจร่วมกัน (Council for Mutual Economic Assistance: Comecon) เพื่อตอบโต้แผนมาร์แชลล์ โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มต้น 8 ประเทศคือ สหภาพโซเวียต, บัลแกเรีย, เชคโกสโลวาเกีย, ฮังการี, โปแลนด์, โรมาเนีย, อัลบาเนีย และเยอรมันตะวันออก (มองโกเลีย, คิวบา และเวียดนาม เข้ามาเป็นสมาชิกในภายเวลาต่อมา ต่อมาสภาแห่งนี้ถูกยกเลิกในปี  2534)

4 เม.ย. 2492 องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 7 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, โปรตุเกส, อิตาลี, นอร์เวย์, เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ (สหราชอาณาจักร, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ เข้าร่วมในเวลาต่อมา) โดยจัดตั้งความร่วมมือทางทหารเพื่อป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรป

1 ต.ค. 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตมีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ 

พรรคคอมมิวนิสต์เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาชนจีน" เหมาเจ๋อตุง ได้รับการแต่งตั้งเป็น "ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน" พรรคก๊กมินตั๋งเดินทางลี้ภัยไปไต้หวัน

10 ต.ค 2492 พรรคก๊กมินตั๋งก่อตั้ง "สาธารณรัฐจีน" ที่ไต้หวัน เจียงไคเช็ก ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดี (ไต้หวันซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาประกาศว่า รัฐบาลของตนเองเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของจีนจนมีสมาชิกภาพในองค์การสหประชาชาติในเวลาต่อมา ก่อนสูญเสียสมาชิกภาพในปี 2514)

สหรัฐอเมริกาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันแทน สร้างความไม่พอใจให้กับจีนอย่างมาก (สหรัฐอเมริกากดดันประเทศต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรให้ตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และให้การรับรองไต้หวันแทน ส่งผลให้ไทยต้องตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนในเวลาต่อมา)

 

สงครามเกาหลีกับ พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

25 มิ.ย. 2493 เกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ เนื่องจากไม่พอใจที่เกาหลีใต้จับกุมเจ้าหน้าที่ทูต 3 คนที่เกาหลีเหนือส่งไปเจรจาเพื่อเตรียมการลงประชามติการรวมประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเกาหลี (จีนเปลี่ยนท่าทีหันมาสนับสนุนเกาหลีเหนือหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีน)

22 ก.ย. 2493 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ส่งทหารเข้าร่วมทำสงครามเกาหลี ส่งผลให้นักข่าว, นักเขียน และประชาชนจำนวนมากร่วมรณรงค์ต่อต้านการเข้าร่วมสงครามเกาหลีในเวลาต่อมา

22 เม.ย. 2494 นักข่าว, นักเขียน และประชาชนร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านสงครามเกาหลี, ต่อต้านสหรัฐอเมริกาซึ่งสนับสนุนสงครามเกาหลี และเรียกร้องให้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถอนตัวจากสงครามเกาหลี

10 พ.ย. 2495 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จับกุมนักข่าว, นักเขียน และประชาชนจำนวนมาก บุคคลสำคัญหลายคน เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา), มารุต บุนนาค (ประธานกรรมการสโมสรนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์), ครอง จันดาวงศ์ และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (ภริยาของ ปรีดี พนมยงค์) ถูกจับกุมตัว

รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กล่าวหาว่า บุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมก่อให้เกิดการแตกแยก, ปลุกปั่นแบ่งชนชั้นนายทุน/กรรมกร, ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรประเทศ และยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลีตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติให้เสื่อมเสียวินัย 

ผู้ต้องหาเหล่านี้ถูกกล่าวหาหลายข้อหา ซึ่ง 1 ในนั้นคือ กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127 มาตรา 104 หลายคนถูกตัดสินมีความผิดตามกฎหมายมาตรานี้ (การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสงครามเกาหลีครั้งนี้ถูกขนานนามว่า "กบฎสันติภาพ" ในเวลาต่อมา)

13 พ.ย. 2495 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 โดยมีบทลงโทษสูงสุดคือ การจำคุกตลอดชีวิต (พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกแก้ไขหลายครั้ง ซึ่งการแก้ไขแต่ละครั้งล้วนเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น)

27 ก.ค. 2496 ภายหลังจากการผลัดกันรุก-รับเพื่อแย่งชิงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลี ในที่สุดฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน และฝ่ายพันธมิตรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกายอมลงนามในข้อตกลงพักรบเกาหลี (Korean Armistice Agreement) 

เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยใช้เส้นขนานที่ 38 องศาเหมือนเดิม คิมอิลซุงเป็นนายกรัฐมนตรีของเกาหลีเหนือต่อไป (เขาได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2491 แต่ในยุคนั้นคิมทูบองเป็นประธานสภาการปกครองสูงสุด ซึ่งเปรียบเสมือน "ประมุขแห่งรัฐ" เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดี หลังจากที่ตำแหน่งประธานสภาการปกครองสูงสุดถูกยกเลิกในปี 2515) และอีซึงมันเป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ต่อไป (เขาได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2491)

 

การนิรโทษกรรมการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 1

จากชัยชนะในเอเชียของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้สหภาพโซเวียตและจีนต้องการขยายอิทธิพลของตนเองลงมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศในอินโดจีนซึ่งไม่ไว้วางใจชาติตะวันตก เนื่องจากเวียดนามและลาวไม่ต้องการเป็นประเทศในอาณานิคมของฝรั่งเศสอีกต่อไป (ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมในอินโดจีนตั้งแต่ปี 2430 แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามายึดครองอินโดจีน ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามายึดครองอินโดจีนอีกครั้ง)

7 พ.ค. 2497 ฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามกับเวียดมินห์ที่เมืองเดียนเบียนฟู (เวียดนาม) ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการประชุมเจนีวา 2497 (Geneva Conference 1954: 26 เม.ย.-20 ก.ค. 2497) จนนำไปสู่การทำข้อตกลงเจนีวา (Geneva Accords)

ข้อตกลงเจนีวาแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วนโดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศา ฝ่ายเวียดมินต์ซึ่งใช้ระบอบคอมมิวนิสต์และได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีนได้ปกครองเวียดนามในส่วนที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 17 องศา (เวียดนามเหนือ) โฮจิมินห์เป็นนายกรัฐมนตรี 

ส่วนรัฐเวียดนามซึ่งใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยมและได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาได้ปกครองเวียดนามในส่วนที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 17 องศา (เวียดนามใต้) โงดินห์เดียมเป็นนายกรัฐมนตรี

สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าวดั่ย (จักรพรรดิเวียดนาม) ทรงเป็น "ประมุขแห่งรัฐ" ของทั้งเวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้ แต่พระองค์ต้องทรงประทับอยู่ในปารีส (ฝรั่งเศส) ต่อไป (พระองค์เสด็จออกจากเวียดนามภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และทรงถูกลดฐานะเป็น "ประมุขแห่งรัฐ" ตั้งแต่ปี 2492) 

การแบ่งเวียดนามครั้งนี้เป็นการแบ่งชั่วคราวเท่านั้น หลังจากนี้ 2 ปีจะจัดให้มีการลงประชามติในเวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้เพื่อรวมประเทศอีกครั้ง นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังยอมคืนเอกราชให้กับลาวและกัมพูชาด้วย แต่รัฐบาลของเวียดนามใต้, ลาว และกัมพูชายังเป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาต่อไป

2 มี.ค. 2498 พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ (กษัตริย์กัมพูชา) ทรงสละราชสมบัติให้กับพระบาทสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต (พระราชชนก) เพื่อทรงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา

14 พ.ค. 2498 สหภาพโซเวียตจัดทำสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เพื่อตอบโต้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยมีประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญา 8 ประเทศคือ สหภาพโซเวียต, อัลบาเนีย, บัลแกเรีย, เชคโกสโลวาเกีย, ฮังการี, โปแลนด์, โรมาเนีย และเยอรมันตะวันออก (ต่อมาสนธิสัญญาฉบับนี้ถูกยกเลิกในปี 2534)

10 ก.ค. 2498 โงดินห์เดียมประกาศไม่ยอมรับข้อตกลงเจนีวาที่จะให้มีการลงประชามติเพื่อรวมประเทศเวียดนาม โดยอ้างว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงนี้ และไม่เชื่อว่า การลงประชามติจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม สร้างความไม่พอใจให้กับเวียดนามเหนืออย่างมาก

23 ต.ค. 2498 โงดินห์เดียมจัดให้มีการลงประชามติเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเวียดนามใต้จาก "ราชอาณาจักร" ไปเป็น "สาธารณรัฐ" โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบทุนนิยม

ผลการลงประชามติซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนของโงดินห์เดียมลงมติเปลี่ยนประเทศเป็น "สาธารณรัฐ" โงดินห์เดียมได้เป็นประธานธิบดีของเวียดนามใต้ในเวลาต่อมา

ชาวเวียดนามใต้ที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ไม่พอใจกับการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเจนีวาจนนำไปสู่การจัดตั้ง "แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (เวียดกง)" ในเวลาต่อมาเพื่อต่อต้านรัฐบาลโงดินห์เดียม

1 พ.ย. 2498 เวียดนามเหนือเปิดฉากโจมตีเวียดนามใต้เพื่อการรวมประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เวียดนามเหนือและจีนยังใช้การช่วยเหลือด้านเงินทุนและยุทโธปกรณ์ให้กับฝ่ายสนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาต่อมา

13 พ.ย. 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 และยกเลิกกฎหมายลักษณอาญา ร.ศ.127 ประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้ไม่มีมาตราใดที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

17 ม.ค. 2500 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

"บรรดาการกระทำของบุคคลใดๆ ก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 หากเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาฐานกบฏภายในราชอาณาจักร ฐานกบฏภายนอกราชอาณาจักร ฐานก่อการจลาจล หรือตามกฎหมายอื่นซึ่งเป็นความผิดทำนองเดียวกันกับความผิดดังกล่าวแล้ว ก็ให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่บุคคลผู้กระทำความผิดฐานกบฏ ฐานก่อการจลาจล หรือความผิดทำนองเดียวกันกับความผิดดังกล่าว ซึ่งไม่ได้ตัวมาเพื่อดำเนินคดีก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2499"

ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการก่อกบฏหลายครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งกบฏสันติภาพ นับเป็นกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับแรกที่นิรโทษกรรมให้กับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า ภายหลังการนิรโทษกรรม ผู้ต้องหากบฏสันติภาพหลายคนเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศในเวลาต่อมา เช่น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เดินทางลี้ภัยไปฝรั่งเศส และ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เดินทางลี้ภัยไปจีน

5 พ.ค. 2501 เวียดนามเหนือแทรกซึมเข้าไปในเมืองเซโปน (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาว) และอีกหลายเมืองของลาวตามแนวชายแดนลาว-เวียดนามใต้เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์และแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามใต้ (ปัจจุบันเส้นทางนี้ถูกขนานนามว่า "เส้นทางโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Trail)") 

สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการฝึกอาวุธชาวลาวที่ยังภักดีต่อราชวงศ์ลาวเพื่อต่อต้านเส้นทางโฮจิมินห์ นอกจากนี้ยังมีการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายเส้นทางนี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

 

สหภาพโซเวียต-จีน มิตรภาพที่แปรเปลี่ยน

สหภาพโซเวียตและจีนเริ่มมีทัศนคติต่อลัทธิทุนนิยมที่แตกต่างกัน นิคิตา ครุสชอฟ (เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) นำเสนอแนวคิดที่ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิทุนนิยมจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ เหมาเจ๋อตุง (ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน) ไม่เห็นด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกร้าวของ 2 ประเทศในเวลาต่อมา

3 เม.ย. 2503 พระบาทสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต (กษัตริย์กัมพูชา) สวรรคต สมเด็จพระนโรดมสีหนุ (นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) ทรงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อทรงดำรงตำแหน่ง "ประมุขแห่งรัฐ" ในเวลาต่อมา และทรงแต่งตั้งเจ้านโรดมกานตล (พระญาติของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

16 ก.พ. 2502 ฟีเดล กัสโตร ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคิวบา (มานูเอล อุุรุสเตีย เลโอ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี) และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ 

สหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรกับคิวบาในเวลาต่อมา สร้างความระแวงต่อสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในสหรัฐอเมริกาจนนำไปสู่การคว่ำบาตรคิวบาในเวลาต่อมา ต่อมาสหรัฐอเมริกาติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในตุรกีและอิตาลี สร้างความไม่พอใจให้กับสหภาพโซเวียตเช่นเดียวกัน

8 ก.ย. 2505 สหภาพโซเวียตแอบส่งขีปนาวุธเพื่อติดตั้งในฐานยิงขีปนาวุธ 9 แห่งในคิวบา เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐอเมริกาติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในตุรกีและอีตาลีก่อนหน้านี้ 

14 ต.ค. 2505 สหรัฐอเมริกาส่งกองทัพเรือปิดล้อมคิวบา ความขัดแย้งบานปลายจนจะเกือบเกิดวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ แต่วิกฤตการณ์ยุติลงโดยสหภาพโซเวียตยอมรื้อฐานยิงขีปนาวุธออกจากคิวบา ขณะที่สหรัฐอเมริกายอมรื้อฐานยิงขีปนาวุธออกจากตุรกีและอิตาลีเช่นเดียวกัน

เหตุการณ์ครั้งนี้ต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากจีนซึ่งเคยเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นของสหภาพโซเวียตกลับเพิกเฉยที่จะให้ความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต สร้างความไม่พอใจให้กับสหภาพโซเวียตอย่างมาก

ปี 2505 รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้ พ.ร.บ.การควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2505 เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุมตัวผู้ต้องหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ได้นานถึง 180 วัน (พ.ร.บ.ฉบับนี้ถูกแก้ไขหลายครั้ง ก่อนที่จะถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512 เพื่อรวมอำนาจการควบคุมตัวเอาไว้ด้วยกัน)

 

จุดหักเหของสงครามเย็น

จากผลของสงครามเวียดนามที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี และความพยายามทำลายศาสนาพุทธของโงดินห์เดียม (เขานับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิค และต้องการเปลี่ยนชาวเวียดนามใต้ให้นับถือศาสนาคริสต์) สร้างความไม่พอใจให้กับชาวเวียดนามใต้อย่างมากจนเกิดการประท้วงหลายครั้ง สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มเปลี่ยนท่าทีต่อโงดินห์เดียม

1 พ.ย. 2506 กองทัพเวียดนามใต้ (Army of the Republic of Vietnam: ARVN) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลโงดินห์เดียม โงดินห์เดียมถูกจับกุมตัวและถูกสังหารในวันต่อมา เซืองวันมิญ (รองประธานาธิบดี) ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีในเวลาต่อมา โดยการสนับสนุนของกองทัพเวียดนามใต้

30 ม.ค. 2511 เวียดนามเหนือและเวียดกงซึ่งแทรกซึมอยู่ทั่วเวียดนามใต้ร่วมมือกันโจมตีเมืองต่างๆทั่วเวียดนามใต้ รวมทั้งกรุงไซ่ง่อน (เมืองหลวงของเวียดนามใต้ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "โฮจิมินห์") เป็นเวลาหลายวัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเวียดนามเหนือและเวียดกงร่วมกันโจมตีทั่วเวียดนามใต้อีก 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นเดียวกัน

การโจมตี 3 ครั้งนี้สร้างความประหลาดใจต่อสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อย่างมาก เนื่องจากไม่มีผู้ใดเชื่อว่า เวียดนามเหนือและเวียดกงจะมีความสามารถก่อกวนได้ขนาดนี้

ชาวอเมริกันที่ต่อต้านสงครามเวียดนามชุมนุมประท้วงรัฐบาลอเมริกันหลายครั้ง เนื่องจากไม่พอใจต่อความโหดร้ายและการทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากไปกับการทำสงครามเวียดนาม ในที่สุดรัฐบาลอเมริกันประกาศเตรียมถอนทหารออกจากเวียดนาม

2 มี.ค. 2512 เกิดการปะทะกันระหว่างสหภาพโซเวียตและจีนที่เกาะเซนเบ๋าในภาษาจีน (珍寶島) หรือดามันสกี้ในภาษารัสเซีย (о́стров Дама́нский) ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

ผลของการปะทะทำให้ทหารของทั้ง 2 ฝ่ายเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายร้อยคน ทั้ง 2 ฝ่ายเจรจาสงบศึกในเวลาต่อมา เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายหวั่นจะเกิดวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ (ปัจจุบันเกาะนี้อยู่ภายใต้การปกครองของจีน) นับเป็นจุดแตกร้าวสำคัญของสหภาพโซเวียตและจีน

ภายหลังความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตและจีนในครั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเปลี่ยนท่าทีเป็นมิตรกับจีนมากขึ้นเพื่อคานอำนาจกับสหภาพโซเวียต ทั้ง 2 ฝ่ายมีการพบปะทางการทูตอย่างลับๆ หลายครั้งในเวลาต่อมา

18 มี.ค. 2513 ลอนนอล (รมว.กลาโหมกัมพูชา) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์สิริมตะ (พระญาติของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ) และสหรัฐอเมริกาก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลเจ้านโรดมกานตล ขณะที่สมเด็จพระนโรดมสีหนุกำลังเสด็จเยือนต่างประเทศ 

สมาชิกสภาแห่งชาติกัมพูชาลงมติปลดสมเด็จพระนโรดมสีหนุออกจากตำแหน่งประมุขรัฐในเวลาต่อมา โดยไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งต่อ

สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงลี้ภัยไปจีน และทรงจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นร่วมกับกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนและเวียดนามเหนือที่กรุงปักกิ่งเพื่อตอบโต้รัฐบาลลอนนอลในเวลาต่อมา

9 ต.ค. 2513 สมาชิกสภาแห่งชาติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก "ราชอาณาจักรกัมพูชา" ไปเป็น "สาธารณรัฐเขมร" แต่ไม่มีความชัดเจนในระบอบการปกครอง ลอนนอลได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี และสัญญาที่จะจัดการเลือกตั้งภายใน 2 ปี 

5 มี.ค. 2514 สหรัฐอเมริกาเริ่มถอนทหารออกจากเวียดนาม สร้างความกังวลใจต่อเวียดนามใต้อย่างมาก แต่สหรัฐอเมริกายังคงสัญญาจะปกป้องเวียดนามใต้ต่อไป

6 เม.ย. 2514 ในระหว่างการแข่งขันปิงปองชิงแชมป์ โลกครั้งที่ 31 (28 มี.ค.-7 เม.ย. 2514) ที่เมืองนาโกยา (ญี่ปุ่น) เกลนน์ โคเว่น (นักกีฬาปิงปองอเมริกัน) พลาดรถโดยสารที่จะเดินทางไปแข่งขันที่สนามกีฬากลาง แต่นักกีฬาปิงปองจีนชวนให้เขาขึ้นรถโดยสารของพวกเขาเพื่อเป็นสนามกีฬากลางร่วมกัน นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาการทูตของทั้ง 2 ประเทศในเวลาต่อมา (มิตรภาพครั้งนี้ถูกขนานนามว่า "การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy)" ในเวลาต่อมา)

25 ต.ค. 2514 จีนได้รับการรับรองสมาชิกภาพจีนจากองค์การสหประชาชาติ และยังได้เป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council: UNSC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกถาวร 5 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต, ฝรั่งเศส, อังกฤษ และจีน) และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ ส่งผลให้สมาชิกภาพของไต้หวันสิ้นสุดลง

21 ก.พ. 2515 ริชาร์ด นิกสัน (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) เดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการ นับเป็นการก้าวแรกของการสร้างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามเย็น (สหรัฐอเมริกาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน และหันมาเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแทนในปี 2522)

ก.ย. 2515 กัมพูชาจัดการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปไตย (อินตัมเป็นหัวหน้าพรรค) และพรรคสาธารณรัฐ (นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์สิริมตะเป็นหัวหน้าพรรค) ถูกกีดกันไม่ให้ลงเลือกตั้งจึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง 

พรรคสาธารณรัฐสังคมนิยม (ลอนนอลเป็นหัวหน้าพรรค) ชนะการเลือกตั้งเพียงพรรคเดียว ลอนนอลได้เป็นประธานาธิบดีต่อไป และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น "ระบอบสังคมนิยม" ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเริ่มเปลี่ยนท่าทีต่อลอนนอล

เวียดนามเหนือโจมตีและยึดครองหลายเมืองของกัมพูชาตามแนวชายแดนกัมพูชา-เวียดนามใต้เพื่อใช้เป็นเส้นทางโฮจิมินห์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นของสมเด็จพระนโรดมสีหนุและกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตยยึดครองหลายเมืองในชนบทของกัมพูชาจากการสนับสนุนของจีนและเวียดนามเหนือ

27 ม.ค. 2516 สหรัฐอเมริกาและเวียดนามเหนือบรรลุข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Accords) โดยทั้ง 2 ฝ่ายตกลงหยุดยิง, สหรัฐอเมริกาจะถอนทหารออกทั้งหมดภายใน 60 วัน และจะจัดให้มีการลงประชามติอนาคตทางการเมืองของเวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้ นอกจากนี้ข้อตกลงฉบับนี้ยังมีผลยุติการรุกรานของเวียดนามเหนือต่อลาวและกัมพูชาด้วย

7 ก.พ. 2516 เวียดนามเหนือละเมิดข้อตกลงสันติภาพปารีส โดยโจมตีหลายเมืองตามชายแดนกัมพูชา-เวียดนามใต้อีกครั้ง เพื่อเตรียมโจมตีเวียดนามใต้

13 ธ.ค. 2517 เวียดนามเหนือเคลื่อนกำลังที่อยู่แทรกซึมในกัมพูชาโจมตีเมืองฟวกลอง (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ จ.บิ่ญฟวก เวียดนาม) และเคลื่อนกำลังปิดล้อมกรุงไซ่ง่อนในเวลาต่อมา

เจอรัลด์ รูดอล์ฟ ฟอร์ด จูเนียร์ (ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา) ร้องของบประมาณช่วยเหลือในการปกป้องเวียดนามใต้จากรัฐสภา แต่รัฐสภาปฏิเสธ

17 เม.ย. 2518 กรุงพนมเปญ (เมืองหลวงกัมพูชา) ถูกกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตยตีแตก ลอนนอลลี้ภัยไปอินโดนีเซีย ส่วนนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์สิริมตะทรงลี้ภัยไปจีน

กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตยแต่งตั้งให้สมเด็จพระนโรดมสีหนุเป็นประมุขแห่งรัฐอีกครั้ง, เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น "ระบอบคอมมิวนิสต์" และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สาธารณรัฐเขมร" เป็น "กัมพูชาประชาธิปไตย" ในปีต่อมา 

สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงขัดแย้งทางความคิดกับกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตยแต่งตั้ง พลพต (ผู้นำกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย) เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา สมเด็จพระนโรดมสีหนุจึงเสด็จกลับจีนอีกครั้ง

30 เม.ย. 2518 กรุงไซ่ง่อนถูกกองกำลังของเวียดนามเหนือตีแตก ชาวเวียดนามใต้จำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกา เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมประเทศสำเร็จ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น"ระบอบคอมมิวนิสต์" ในปีต่อมา

1 ก.ค. 2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (นายกรัฐมนตรีไทย) เดินทางเข้าพบเหมาเจ๋อตุงที่กรุงปักกิ่ง (จีน) นับเป็นการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอีกครั้งอย่างเป็นทางการ (รมว.ต่างประเทศไทยเคยพบปะกับนายกรัฐมนตรีจีนอย่างไม่เป็นทางการในการประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) ในปี 2498 จนนำไปสู่การการพบปะทางการทูตอย่างลับๆหลายครั้งในเวลาต่อมา)

26 พ.ย. 2518 สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา (กษัตริย์ลาว) ทรงสละราชสมบัติภายหลังการก่อรัฐประหารของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2518 จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น "ระบอบคอมมิวนิสต์" ในเวลาต่อมา

 

การนิรโทษกรรมการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 2

จากความสำเร็จของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีชัยชนะต่อประเทศในอินโดจีนทั้ง 3 ประเทศในปีเดียวกัน สร้างความหวาดวิตกให้กับไทย หลายฝ่ายมองว่า ไทย, มาเลเซีย และพม่าจะต้องถูกเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตาม "ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory)" 

กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตยแม้จะได้รับความช่วยเหลือจากเวียดนามเหนือจนสามารถปกครองกัมพูชา แต่ก็ระแวงว่า เวียดนามกำลังจะครอบงำอินโดจีนทั้งหมด ทั้ง 2 ประเทศจึงมีกรณีพิพาทตามแนวชายแดนหลายครั้ง แต่ก็จบลงด้วยการเจรจาทุกครั้ง

6 ต.ค. 2519 นักศึกษา/ประชาชนใน ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นพวกฝักใฝ่ในระบอบคอมมิวนิสต์ ปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐ/ผู้ต่อต้านฯจนเกิดเหตุการณ์การนองเลือดและมีผู้ถูกจับกุมนับพันคน ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในคืนเดียวกัน

นักศึกษา/ประชาชนจำนวนมากที่ไม่ถูกจับกุมหลบหนีเข้าป่าในหลายจังหวัดภาคอีสาน และร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล (พคท. เคยจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล พล.อ.ถนอม กิติขจร ในปี 2508 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ)

ผู้ต้องหา 18 คนซึ่งถูกจับกุมจากเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ถูกกล่าวหาว่า กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์และถูกส่งฟ้องศาลทหารกรุงเทพ (คดีหมายเลขดำที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ) ในเวลาต่อมา

30 เม.ย. 2520 กัมพูชาชิงลงมือโจมตีเวียดนามก่อน แต่กองกำลังที่ไม่เข้มแข็งพอจึงถูกเวียดนามโจมตีกลับ การต่อสู้ยืดเยื้อข้ามปีจนจีนต้องเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเวียดนามเห็นว่า จีนเข้าข้างกัมพูชามากเกินไป 

เวียดนามและสหภาพโซเวียตตัดสินใจให้การสนับสนุนแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา (Front d'Union nationale pour le salut du Kampuchéa: FUNSK) ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย

15 ก.ย. 2521 รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 4 ซึ่งระบุว่า

"ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19) และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา

บรรดาการกระทำที่เป็นเหตุให้จำเลยถูกฟ้องในคดีตาม วรรคหนึ่งถ้ามิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 และการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้จำเลยพ้นจากความผิดและความรับผิดด้วย"

ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องหา 18 คนซึ่งถูกกล่าวหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์จากเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 แต่ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับการเคลื่อนไหวของนักศึกษา/ประชาชนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก พคท.

 

จุดเสื่อมของลัทธิคอมมิวนิสต์ในไทย

แม้ พคท. จะได้นักศึกษา/ประชาชนจากเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 เข้าร่วมขบวนการนับพันคน แต่กลับพบความขัดแย้งหลายอย่างภายใน พคท. เนื่องจากผู้นำรุ่นเก่า-ผู้นำรุ่นใหม่มีมุมมองการต่อสู้ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้นำรุ่นเก่าที่มองสังคมไทยเป็นแบบกึ่งศักดินากึ่งทุนนิยม ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ส่งผลให้นักศึกษา/ประชาชนเหล่านี้เริ่มตีตัวออกห่าง

8 ม.ค. 2522 กรุงพนมเปญถูกเวียดนามตีแตก พลพตและผู้ที่ยังจงรักภักดีต่อพลพตแอบหลบหนีเข้ามาอยู่ในแนวชายแดนไทย ชาวกัมพูชาจำนวนมากอพยพมายังแนวชายแดนไทย

เวียดนามแต่งตั้ง เฮงสัมริน (ผู้นำแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา) เป็นประธานาธิบดีหุ่นเชิด และเปลี่ยนชื่อประเทศกัมพูชาจาก "กัมพูชาประชาธิปไตย" เป็น "สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา" ในเวลาต่อมา สร้างความไม่พอใจให้กับจีนอย่างมาก

จีนรุกรานเวียดนามเพื่อตอบโต้การรุกรานกัมพูชาของเวียดนามจนเกือบถึงกรุงฮานอย (เมืองหลวงของเวียดนาม) ก่อนถอนกองกำลังกลับโดยไม่ทราบสาเหตุ เวียดนามอ้างชัยชนะและยังคงยึดครองกัมพูชาต่อไป 

ซอนซาน (นักการเมืองกัมพูชาที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์) ก่อตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร (Khmer People's National Liberation Front: KPNLF) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา

กองซิเลียะห์ (อดีตทหารเรือที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระนโรดมสีหนุ) จัดตั้งขบวนการเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา (Mouvement pour la Liberation Nationale du Kampuchea: MOULINAKA) โดยได้รับการสนับสนุนจากจีน

กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร และขบวนการเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชาร่วมกันต่อสู้เพื่อขับไล่เวียดนามออกจากกัมพูชาในเวลาต่อมา

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติจากการไม่สนับสนุนของจีน, อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การดำเนินการทางการทูตกับต่างประเทศทำได้อย่างจำกัด

11 ก.ค. 2522 สถานีเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) ซึ่งเป็นกระบอกเสียงสำคัญของ พคท. ในจีนปิดตัวลง (รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เจรจากับรัฐบาลจีนเพื่อให้จีนกดดัน พคท. ในปิดสถานีวิทยุแห่งนี้) 

นอกจากนี้เวียดนามและลาวตัดความช่วยเหลือ พคท. ในเวลาต่อมา สถานะของ พคท. เริ่มสั่นคลอน (พคท. อ่อนแอลงมากจนต้องย้ายฐานไปในหลายจังหวัดในภายใต้และภาคตะวันตกนำไปสู่การล่มสลายในปี 2534)

23 เม.ย. 2523 รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ โดยใช้หลัก "การเมืองนำการทหาร" เพื่อต่อสู้กับการแผ่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในไทย

คำสั่งฉบับนี้มุ่งเน้นขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และปฏิบัติต่อสมาชิก พคท. อย่างเพื่อนประชาชนร่วมชาติ นอกจากนี้ยังสัญญาที่จะให้สมาชิก พคท. ที่ยอมมอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) และมีการมอบให้สิทธิทางการเมืองเหมือนประชาชนทั่วไป, จัดหาที่ดินที่เหมาะสมให้จำนวนหนึ่ง และจัดสร้างที่อยู่อาศัยตามความจำเป็นของบุคคล 

สมาชิก พคท. จำนวนมากยอมมอบตัวเพื่อเป็น ผรท. แต่ยังมีสมาชิก พคท. จำนวนหนึ่งที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับ พคท. ต่อไป

1 ก.พ. 2524 สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงก่อตั้งพรรคฟุนซินเปก ซึ่งมีขบวนการเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชาเป็นกองกำลัง โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายชาติในอาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN)

22 มิ.ย. 2525 กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย, แนวร่วมปลดปล่อยแห่ง ชาติประชาชนเขมร และพรรคฟุนซินเปก ลงนามร่วมกันจัดตั้ง "แนวร่วมเขมร 3 ฝ่าย" เป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของ "กัมพูชาประชาธิปไตย" แนวร่วมเขมร 3 ฝ่ายมีสมาชิกภาพอยู่ในสหประชาชาติในเวลาต่อมา

แนวร่วมเขมร 3 ฝ่ายแต่งตั้งสมเด็จพระนโรดมสีหนุ (พรรคฟุนซินเปก) เป็นประธานาธิบดี, ซอนซาน (แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร) เป็นนายกรัฐมนตรี และเขียวสัมพัน (กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย) เป็นรองนายกรัฐมนตรี

 

จุดจบของสงครามเย็น

สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตมุ่งเน้นการพัฒนานิวเคลียร์มาหลายสิบปีจนสร้างความหวาดวิตกต่อวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ทั่วโลก แต่สหภาพโซเวียตละเลยการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม ส่งผลให้สหภาพโซเวียตต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลาหลายปี

ก.พ. 2529 มิคาอิล กอร์บาชอฟ (ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต) นำเสนอแผนการปรับโครงสร้างประเทศจนนำไปสู่การเปิดเสรีภาพทางการเมือง (Glasnost), การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (Perestroika), การพัฒนาประชาธิปไตย (Demokratizatsiya) และการเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ (Uskoreniye) ในเวลาต่อมา นับเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการยุติสงครามเย็นในเวลาต่อมา

8 ธ.ค. 2530 มิคาอิล กอร์บาชอฟ และ โรนัลด์ เรแกน (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) ลงนามในสนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Force Treaty: INF) ซึ่งนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Reduction Treaty: START) เพื่อลดการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของทั้ง 2 ฝ่ายในปี 2534 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสานสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ

15 เม.ย. 2532 นักศึกษาจีนชุมนุมประท้วงรัฐบาลคอมมิวนิสต์และเรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมินโดยมีผู้ร่วมชุมนุมนับแสน จนนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรงในวันที่ 4 มิ.ย. 2532 (ภายหลังการปราบปรามรัฐบาลจีนเริ่มมีท่าทีผ่อนคลายความเข้มงวด และเปิดประเทศมากขึ้นในเวลาต่อมา)

1 พ.ค. 2532 สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "รัฐกัมพูชา" แต่การสู้รบจากแนวร่วมเขมร 3 ฝ่ายยังคงดำเนินต่อไป

19 ส.ค. 2532 ระบอบคอมมิวนิสต์ของโปแลนด์ล่มสลายเป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งเป็นผลพวงจากการนัดหยุดงานประท้วงทั่วประเทศหลายครั้งตั้งแต่ปี 2531 โปแลนด์เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย

ภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ ส่งผลให้หลายประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์เปลี่ยนแปลงการปกครองคือ ฮังการี (2533), เยอรมันตะวันออก (2533), เชคโกสโลวาเกีย (2533), บัลแกเรีย (2533), โรมาเนีย (2533), อัลบาเนีย (2535) และมองโกเลีย (2535) ส่งผลให้ความกลัวในลัทธิคอมมิวนิสต์ทั่วโลกลดลง

24 ส.ค. 2532 รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า

"บรรดาการกระทำของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้
      (1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
      (2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
      (3) ความผิดฐานอื่นที่เป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม (1) หรือ (2) ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง"

ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ที่ยังตกค้างอยู่ ซึ่งรวมถึงสมาชิก พคท. ที่ไม่ยอมมอบตัวตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523

12 มิ.ย. 2533 สภาประชาชนแห่งสาธารณรัฐประกาศเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นแบบ "สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย" โดยเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบรวมศูนย์มาเป็นการแบ่งเขตการปกครองหลายระดับ และเตรียมจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใน 1 ปี มิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

16 ก.ค. 2533 ยูเครนประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตเป็นประเทศแรก ตามมาด้วยอาร์เมเนีย (2533), เบลารุส (2533), จอร์เจีย (2534), เอสโตเนีย (2534), ลัตเวีย (2534), ลิธัวเนีย (2534), มอลโดวา (2534), คาซัคสถาน (2534), อุซเบกิสถาน (2534), เติร์กเมนิสถาน (2534), คีร์กิซสถาน (2534), ทาจิกิสถาน (2534) และอาเซอร์ไบจาน (2534)

12 มิ.ย. 2534 บอริส เยลต์ซิน ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชน และเตรียมตัวขึ้นเป็นประธานาธิบดีต่อจาก มิคาอิล กอร์บาชอฟ

19 ส.ค. 2534 คณะกรรมการฉุกเฉินแห่งรัฐ (State Committee of the State of Emergency) ก่อการยึดอำนาจจาก มิคาอิล กอร์บาชอฟ โดยอ้างว่า นโยบายปฏิรูปของเขามีผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำอย่างหนัก มิคาอิล กอร์บาชอฟ ถูกจับกุมตัว 

บอริส เยลต์ซิน นำชาวโซเวียตออกมาชุมนุมประท้วงการรัฐประหารครั้งนี้ทั่วประเทศจนเกิดการปะทะกับผู้ก่อการรัฐประหารใกล้ทำเนียบรัฐบาล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายคน การก่อยึดอำนาจโดยคณะกรรมการฉุกเฉินแห่งรัฐสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ส.ค. 2534 

23 ต.ค. 2534 เวียดนามยอมลงนามในสนธิสัญญาสันติ ภาพปารีส (Paris Peace Agreement 1991) เพื่อยุติความขัดแย้งในกัมพูชา เวียดนามยอมรับแนวร่วมเขมร 3 ฝ่ายร่วมรัฐบาล และเตรียมจัดการเลือกตั้งภายใน 2 ปี

14 พ.ย. 2534 รัฐกัมพูชาจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (Supreme National Council) เพื่อปกครองกัมพูชา และแต่งตั้งสมเด็จพระนโรดมสีหนุเป็น "ประธานสภาสูงสุดแห่งชาติ" ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่าประมุขแห่งรัฐ

8 ธ.ค. 2534 เครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) ก่อตั้งขึ้นจากการเจรจากันของรัสเซีย, เบลารุส และยูเครน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการค้า, การเงิน, ความร่วมมือด้านกฎหมาย และความมั่นคงของเป็นประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต

21 ธ.ค. 2534 อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, มอลโดวา, เติร์กเมนิสถาน, ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือรัฐเอกราช (ปัจจุบันเครือรัฐเอกราชมีสมาชิกที่ได้รับการรับรอง 9 ประเทศคือ รัสเซีย, อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, มอลโดวา, ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ส่วนประเทศสมาชิกที่ยังไม่ได้รับการรับรอง 2 ประเทศคือ เติร์กเมนิสถาน และยูเครน)

25 ธ.ค. 2534 มิคาอิล กอร์บาชอฟ ก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามเย็น

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สหพันธรัฐรัสเซีย" บอริส เยลต์ซิน ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี

พ.ค. 2536 กัมพูชาจัดการเลือกตั้งภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ โดยมีพรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรคคือ พรรคฟุนซินเปก, พรรคประชาชนกัมพูชา (เวียดนาม), พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตย (แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร) และพรรคเอกภาพแห่งกัมพูชา (กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย) (พรรคเอกภาพแห่งกัมพูชาขอถอนตัวจากการเลือกตั้งในเวลาต่อมา เนื่องจากระแวงข้อตกลงฉบับนี้ที่ต้องมีการวางอาวุธก่อน)

พรรคฟุนซินเปกชนะการเลือกตั้ง สร้างความไม่พอใจให้กับพรรคประชาชนกัมพูชาอย่างมากจนประกาศจะแยกประเทศ ส่งผลให้สมเด็จพระนโรดมสีหนุต้องทรงไกล่เกลี่ย และทรงยอมให้ฮุนเซน (ผู้นำพรรคประชาชนกัมพูชา) เป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกันในเวลาต่อมา

24 ก.ย. 2536 สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์อีกครั้ง (กัมพูชาแก้ไข รธน. เพื่อฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับไปเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขอีกครั้ง)

13 พ.ค. 2543 รัฐบาล ชวน หลีกภัย ประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 ส่งผลให้ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์จบสิ้นลง

28 พ.ค. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะ (กษัตริย์เนปาล) ทรงสละราชสมบัติภายหลังการก่อรัฐประหารของกองทัพเนปาล เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2549 (กองทัพเนปาลแต่งตั้ง คีรีชา ปราสาท โกอีราละ เป็นประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2550 ขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทรวีรวิกรมศาหเทวะทรงถูกปลดออกจากตำแหน่งกษัตริย์ แต่ไม่ทรงยอมสละราชสมบัติ) 

10 เม.ย. 2551 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (กบฎนิยมลัทธิเหมา) ชนะการเลือกตั้ง และเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก "ราชอาณาจักร" เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ นับเป็นประเทศแรกของโลกที่พรรคคอมมิวนิสต์ชนะการเลือกตั้ง

 

ความเห็นจากผู้เขียน

ผู้เขียนเห็นว่า หลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดี แต่สาเหตุการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์เกิดจากการยึดมั่นในหลักการเกินไปจนไม่สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำลายลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง

ในตอนแรกลัทธิคอมมิวนิสต์พยายามแย่งชิงมวลชนกับลัทธิประชาธิปไตยเพื่อต่อต้านระบอบศักดินา แต่ลัทธิประชาธิปไตยสามารถปรับตัวให้เข้ากับระบอบทุนนิยมได้ง่ายกว่า จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนจำนวนมาก รวมทั้งระบอบศักดินาที่ผันตัวเองไปเป็นระบอบทุนนิยมทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม ดังจะเห็นได้จากหลายประเทศที่เปลี่ยนไปใช้ระบอบประชาธิปไตย แต่ชนชั้นปกครองบางส่วนและนายทุนยังสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ ต่างจากระบอบคอมมิวนิสต์ที่มุ่งที่จะทำลายล้างชนชั้นปกครองและนายทุนให้สูญสิ้น

ความกลัวในลัทธิคอมมิวนิสต์เกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์จนทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ดูน่ากลัวเกินจริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ลัทธิคอมมิวนิสต์พยายามสร้างภาพให้ตนเองดูดีเกินจริงเช่นเดียวกัน

ผู้เขียนเห็นว่า ไม่มีระบอบการปกครองใดที่ดีที่สุดหรือเลวที่สุด ทั้งระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบประชาธิปไตยต่างก็อ้างว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนทุกคน แต่ในความเป็นจริงจะเห็นได้ว่า อำนาจการปกครองกลับตกเป็นของผู้ปกครองเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบประชาธิปไตยคือ "ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ" ในระบอบประชาธิปไตยประชาชนค่อนข้างมีเสรีภาพในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน, การประกอบอาชีพ และการแสดงความคิดเห็น ประชาชนจึงสามารถตักตวงผลประโยชน์เหล่านี้ได้ แม้จะไม่เท่าเทียมกันก็ตาม 

แต่ในระบอบคอมมิวนิสต์กลับตรงข้าม ระบอบคอมมิวนิสต์อ้างว่า ประชาชนทุกคนจะได้รับปัจจัย 4 อย่างเพียงพอ และมีอาชีพที่มั่นคง สิ่งนี้อาจเป็นจริงในช่วงต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการขาดประสิทธิภาพ/การพัฒนาในการผลิตสินค้า, การไม่พัฒนาระบบการเงิน/การคลัง สิ่งนี้จึงทำให้ระบอบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (ระบอบสังคมนิยม) มีแต่ถดถอยลงเรื่อยๆ

หลายคนอาจแย้งว่า ช่วงสงครามเย็นสหภาพโซเวียตใช้จ่ายเงินจำนวนมากไปกับการทำสงครามขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ จนทำให้ระบบเศรษฐกิจของตนเองต้องประสบกับปัญหา แต่ผู้เขียนเห็นว่า สหรัฐอเมริกาก็ใช้จ่ายเงินจำนวนมากไปกับการทำสงครามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นเดียวกัน แถมอาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่กลับไม่ประสบปัญหาเศรษฐกิจเท่ากับสหภาพโซเวียต เพราะสหรัฐอเมริการู้จักใช้ประโยชน์จากระบอบทุนนิยมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จนทำให้ตนเองสามารถหาเงินมาใช้จ่ายได้อย่างเพียงพอ

ส่วนการที่ระบอบคอมมิวนิสต์ควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนก็ถือเป็นสิ่งเลวร้ายไม่ต่างไประบอบประชาธิปไตยที่ห้ามประชาชนแสดงออกถึงการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งสงครามเย็นยุติลงระบอบประชาธิปไตยจึงยอมผ่อนคลายข้อห้ามนี้

ในยุคสงครามเย็นมีชาวไทยจำนวนมากถูกกล่าวหาว่า กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ หลายคนถูกลงโทษ หลายคนต้องจบชีวิตลง ทั้งจากการประหารชีวิต เช่น ศุภชัย ศรีสติ (2502) และ ครอง จันดาวงศ์ (2504) หรือจากการสังหาร เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ (2509) และ บุญสนอง บุณโยทยาน (2519) สิ่งนี้ถือเป็นความเลวร้ายของระบอบประชาธิปไตย

เมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ที่ปิดตนเองมาหลายสิบปีเริ่มยอมรับความจริงได้แล้วว่า จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง แต่การเปิดรับระบอบทุนนิยมที่เร็วเกินไปของสหภาพโซเวียตนำไปสู่การล่มสลายของโซเวียตอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน จีนจึงเลือกที่จะเปิดรับระบอบทุนนิยมและให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างช้าๆ เพื่อรักษาระบอบคอมมิวนิสต์ต่อไป

ปัจจุบันทั่วโลกมีประเทศที่ยังคงปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์เพียง 6 ประเทศคือ จีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนาม, ลาว, เนปาล และคิวบา แต่ประเทศเหล่านี้เปิดประเทศเพื่อต้อนรับระบอบทุนนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ส่วนเนปาลที่เพิ่งเป็นคอมมิวนิสต์ในภายหลัง แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดเท่ากับประเทศคอมมิวนิสต์ก่อนหน้านี้ 

นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศประยุกต์นำเอาระบอบสังคมนิยมมาใช้ร่วมกับระบอบทุนนิยมจนกลายเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare state) โดยการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นให้กับประชาชนฟรีอย่างทั่วถึง เช่น สุขภาพ, การศึกษา, การทำงาน และบำนาญหลังการเกษียน ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตกซึ่งในช่วงสงครามเย็นต่อต้านระบอบสังคมนิยมอย่างแข็งขัน

ปัจจุบันลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปเริ่มยอมรับลัทธิคอมมิวนิสต์มากขึ้น เห็นได้จากที่หลายประเทศในยุโรปตะวันตกอนุญาตให้มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับไทยไม่มีกฎหมายใดที่ลงโทษการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์อีกต่อไป แต่ก็ยังไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีแนวทางแบบคอมมิวนิสต์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีบุคคลบางกลุ่มอ้างว่า ได้ทำการฟื้นฟูพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยซึ่งเคยล่มสลายไปตั้งแต่มี 2534 ขึ้นมาใหม่ และมีอดีตสมาชิก พคท. ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแกนนำ นปช. และ พธม. เข้าร่วมเป็นสมาชิกก็ตาม 

 

 

อ้างอิง

-------------------------------------------------

1. ขบวนการคอมมิวนิสต์; สมศักดิ์ เตชะเกษม

2. สงครามเย็น; ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

3. http://th.wikipedia.org/wiki/คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

4. http://www.cabinet.thaigov.go.th/bb_main11.htm

5. http://politicalbase.in.th/index.php/พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
6. http://turnleftthai.blogspot.com/2010_11_01_archive.html
7. http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/265270

8. http://en.wikipedia.org/wiki/Cold_War

9. http://en.wikipedia.org/wiki/Korean_War

10. http://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam_War

11. http://en.wikipedia.org/wiki/Sino-Soviet_split

12. http://politicalbase.in.th/index.php/คำสั่ง_66/2523

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น