โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รอบโลกแรงงานกุมภาพันธ์ 2556

Posted: 03 Mar 2013 10:17 AM PST

 

อินโดนีเซียหารือ MOU คุ้มครองแรงงานกับ 6 ประเทศ รวมทั้งไทย 
 
1 ก.พ. 56 - นายมูไฮมิน อีสคันดาร์ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและการย้ายถิ่นอินโดนีเซีย กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่องการคุ้มครองแรงงานอินโดนีเซียที่ทำงานอยู่ใน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย ซาอุดีอาระเบีย  เกาหลีใต้ เยอรมนี บรูไน และคูเวต
 
นายอีสคันดาร์กล่าวว่า เนื้อหาของการหารือกับเจ้าหน้าที่ของทั้ง 6 ประเทศ เป็นเรื่องของร่างบันทึกความเข้าใจ โดยเน้นเรื่องของการปรับปรุงการคุ้มครองและสวัสดิการของแรงงานอินโดนีเซียที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศอย่างไร ส่วนประเด็นอื่นๆ ที่หารือในครั้งนี้ยังรวมถึงกระบวนการการรับแรงงานเข้าทำงาน สัญญาการทำงาน เงินเดือน และวิธีการจ่ายเงินเดือน การเก็บหนังสือเดินทาง สิทธิการมีวันหยุดในแต่ละสัปดาห์ และบริษัทจัดหาแรงงาน ค่านายหน้าในการนำแรงงานเข้าทำงาน การฝึกความสามารถ และการจัดการความขัดแย้ง นอกจากนี้ นายอีสคันดาร์กล่าวว่า อินโดนีเซียยังได้เสนอตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วม (เจทีเอฟ) ซึ่งจะช่วยจัดการความขัดแย้งระหว่างแรงงานกับนายจ้างอีกด้วย
 
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลอินโดนีเซียเคยทำบันทึกความเข้าใจเดียวกันนี้กับรัฐบาลของ 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน เลบานอน และออสเตรเลีย
 
แรงงานขาดแคลนระบาดทั่วโลก กระทบคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจ
 
7 ก.พ. 56 - ธุรกิจทั่วโลกตอนนี้กำลังเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ โดยผลการสำรวจล่าสุดจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) ซึ่งนำเสนอว่า 4 ใน 10 (39%) ของธุรกิจทั่วโลกต้องใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ทั้งนี้ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะทางเทคนิคนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด (64%) และสร้างความวิตกกังวลว่าจะกระทบความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการ ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเติบโตและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
 
ทอม โซเรนเซน พาร์ทเนอร์และหัวหน้าสายงานการจัดจ้างบุคลากรระดับผู้บริหาร ของแกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า "แท้จริงแล้ว กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วยังมีอัตราการว่างงานในระดับสูง ดังนั้น ผลการสำรวจที่ว่านักบริหารธุรกิจกำลังกังวลกับการขาดแคลนแรงงานมีทักษะนั้นจึงบังเอิญเป็นเหมือนการเสียดสีข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ผมเห็นว่าในระยะสั้น นักบริหารธุรกิจจำเป็นต้องถ่ายทอดทักษะให้กับแรงงานภายนอกองค์กรเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ความสามารถให้ได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในระยะยาว นักบริหารธุรกิจจำเป็นต้องลงทุนกับโครงการอบรมให้ความรู้ภายในองค์กรเพื่อหล่อหลอมบุคลากรและจะเสริมสร้างให้พวกเขาสามารถทำงานเชิงยุทธศาสตร์ เกิดการพัฒนา และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไป"
 
ทอม โซเรนเซน กล่าวเสริมว่า "แม้แต่สหประชาชาติ (United Nations) ยังรายงานไว้เมื่อหลายปีก่อนว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีจำนวนลดลงอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งประเทศจีนและสิงคโปร์กำลังประสบกับภาวะขาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ส่วนประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในช่วง 2020-2025 ดังนั้น หากคุณคิดว่าตอนนี้แรงงานหาได้ยากอยู่แล้ว ในความเป็นจริง ผมคิดว่าปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นอีกหลายเท่า"
 
"การประกอบธุรกิจนั้นไม่อาจดำเนินไปได้โดยปราศจากบุคลากร การมอบหมายให้ทีมงานที่มีประสิทธิภาพทำงานที่ธรรมดาๆ มักจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าการให้ทีมงานที่ไร้ความสามารถดำเนินงาน เพราะบุคลากรชั้นเลิศช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตให้กับองค์กร ทั้งยังช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และส่งผลให้ธุรกิจเกิดการเติบโต ดังนั้น ในระยะยาว ผู้บริหารธุรกิจต้องมั่นใจว่าโครงการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทของตนจะเอื้อต่อการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถอย่างยั่งยืน"
 
ในการนี้ ทั้งในกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ล้วนประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเชิงเทคนิค โดย 61% ของธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 65% ของธุรกิจในกลุ่มประเทศ G7 ระบุถึงปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ การขาดประสบการณ์ในการทำงาน (56%) และการขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม (54%) ก็เป็นปัญหาที่ได้รับการกล่าวถึงเช่นกัน นอกจากนี้ 1 ใน 5 ของผู้บริหารธุรกิจ (21%) กล่าวว่ากฎระเบียบเพื่อตรวจสอบคนเข้าเมืองยังเป็นปัญหาอีกด้วย
 
ผลกระทบจากปัญหาเรื่องแรงงานต่อคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจนั้นมีหลักฐานสนับสนุนอันชัดเจน กล่าวคือ รายงาน IBR เปิดเผยว่ากว่า 1 ใน 4 ของธุรกิจ (28%) คาดว่าแผนการขยายธุรกิจในปี 2013 จะต้องประสบกับปัญหาเนื่องจากขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ส่วนกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC ก็มีการรายงานในลักษณะเดียวกันหากทว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงกว่า โดยอยู่ที่กว่า 1 ใน 3 (36%) ซึ่งผลการสำรวจนี้ลดลงจาก 35% ทั่วโลกในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งสมัยนั้นอัตราการจ้างงานนั้นสูงกว่าในปัจจุบันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
 
มร. โซเรนเซน กล่าวเพิ่มเติมว่า "เราได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการเจรจาระหว่างสถาบันการศึกษา รัฐบาล และผู้บริหารธุรกิจอยู่แล้ว แต่รายงานฉบับนี้น่าจะส่งผลให้มีแรงผลักดันในเรื่องใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ เพราะยังคงมีความไม่เชื่อมโยงกันในสถานการณ์ที่ว่าผู้บริหารธุรกิจนั้นมีความต้องการอย่างมากในการว่าจ้างแรงงานมีทักษะ ส่วนผู้ที่ว่างงานจำนวนมากก็ยังคงกำลังหางานทำ
 
"สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งต่อธุรกิจและผู้ที่ว่างงาน ในที่สุดแล้ว การเติบโตของเศรษฐกิจก็จะได้รับผลกระทบ โดยธุรกิจจะมีข้อจำกัดในการขยายตัว และบุคคลที่ว่างงานก็ไม่มีรายรับเพียงพอที่จะใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจะก่อให้เกิดวงจรอันไม่พึงประสงค์ ดังนั้น ผมขอเสนอแนะว่าการพัฒนาทักษะของบุคลากรควรจะได้รับการยกระดับความสำคัญ และบรรจุอยู่ในนโยบายสาธารณะ"
 
มณฑลทางใต้ของจีนจะยกเลิกการลงโทษด้วยการใช้แรงงาน
 
7 ก.พ. 56 - มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน ระงับการลงโทษด้วยการใช้แรงงานแล้ว โดยเป็นแห่งแรกในประเทศที่เริ่มยกเลิกระบบ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก
 
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานวานนี้ว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายระดับสูงของมณฑลยูนนานประกาศว่า มณฑลยูนนานจะไม่ส่งผู้กระทำความผิดฐานเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ ร้องเรียนทางการโดยการก่อความไม่สงบ และทำลายภาพพจน์ของเจ้าหน้าที่ ไปยังค่ายแรงงานอีกต่อไป และยังจะระงับการลงโทษด้วยการใช้แรงงานสำหรับผู้ที่ถูกจับด้วยข้อหาอื่นๆ อาทิ เสพยาเสพติด และขายบริการทางเพศ ส่วนผู้ที่อยู่ในค่ายแรงงานจะถูกปล่อยตัวหลังจากรับโทษครบกำหนด
 
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา นายเมิ่ง เจียนจู ประธานคณะกรรมการการเมืองและกฎหมายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวว่า จะยกเลิกการลงโทษผู้กระทำความผิดด้วยการใช้แรงงานในปีนี้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาประชาชนแห่งชาติจีน ซึ่งจะจัดการประชุมในเดือนมีนาคมนี้
 
ด้านนางเยี่ยน จื่อชาน ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมในมณฑลกวางตุ้ง กล่าวเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า มณฑลกวางตุ้งได้เตรียมการเพื่อยกเลิกระบบค่ายแรงงานทันทีที่ได้รับการอนุมัติให้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศระบบค่ายแรงงานถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากบรรดาทนายและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนว่าเป็นวิธีการที่ล้าสมัย และเปิดโอกาสให้มีการกดขี่ข่มเหงผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่และนโยบายของทางการ โดยเฉพาะการคุมขัง
 
กลุ่มสิทธิฯเกาหลีใต้เห็นชอบ แอร์สาว'เอเชียนา แอร์ไลน์ส'ขอใส่กางเกงขายาว
 
แอร์โฮสเตสสาวสายการบินเอเชียนา แอร์ไลน์ส เรียกร้องผู้บริหารให้คลายกฎเครื่องแต่งกายอันแสนเข้มงวด ให้สามารถสวมใส่กางเกงขายาวปฏิบัติหน้าที่ได้ ท่ามกลางความเห็นชอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเกาหลีใต้...
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 7 ก.พ. ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเกาหลีใต้ เห็นชอบตามคำเรียกร้องของบรรดาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิง แห่งสายการบินเอเชียนา แอร์ไลน์ส ที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารขอให้ผ่อนปรนกฎการแต่งกาย ให้สามารถสวมกางเกงขายาวระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้
 
ทั้งนี้ การเห็นชอบดังกล่าวของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถือเป็นชัยชนะเล็กๆ ของเหล่าแอร์โฮสเตสสาวกว่า 3,400 คน หลังเคยรวมตัวกันขอให้สายการบินลดความเข้มงวดเรื่องการแต่งกายเมื่อปีที่แล้ว จากการกำหนดจำนวนกิ๊บติดผม และความยาวของต่างหู เป็นต้น ขณะที่ประธานสหภาพพนักงานเอเชียนาหวังว่า การตัดสินใจดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเรื่่องการแต่งกายและการแต่งหน้า ต่อกลุ่มลูกจ้างหญิงที่มีอาชีพด้านการให้บริการในเกาหลีใต้ด้วย
 
อย่างไรก็ดี สายการบินเอเชียนา ระบุว่า จะพิจารณากางเกงขายาวในการออกแบบเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบพนักงานครั้งใหม่ แต่ยังไม่สามารถรับรองได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อนึ่ง เอเชียนา เป็นสายการบินสัญชาติเกาหลีใต้เพียงสายการบินเดียว ที่ไม่อนุญาตให้แอร์โฮสเตสสวมใส่กางเกงขายาว.
 
ตูนิเซียนัดหยุดงานทั่วประเทศประท้วงรัฐบาล
 
8 ก.พ. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงตูนิส ประเทศตูนิเซียว่า วิกฤตการเมืองในตูนิเซียส่อเค้าทวีความรุนแรงขึ้นอีก หลังสหภาพแรงงานเรียกร้องให้ประชาชนผละงานทั่วประเทศพร้อมกัน ท่ามกลางการปะทะเดือดระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับตำรวจปราบจลาจลในหลายพื้นที่ อันมีชนวนเหตุมาจากการลอบสังหารผู้นำพรรคฝ่ายค้านคนสำคัญเมื่อช่วงกลางสัปดาห์
 
สหภาพแรงงานกลางตูนิเซีย ( ยูจีทีที ) องค์กรภาคประชาชนที่มีอิทธิพลที่สุดของประเทศ ออกแถลงการณ์ปลุกระดมให้ประชาชนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนในกรุงตูนิสในวันนี้ เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อกรณีการลอบสังหารนายชาครี บีเลด แกนนำพรรคฝ่ายค้านคนสำคัญ ซึ่งมักวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และพรรคเอนนาห์ดา ซึ่งครองเสียงข้างมากอยู่ในรัฐสภาอย่างเปิดเผย ทั้งนี้ บีเลดถูกมือปืนนิรนามลอบยิงสังหารหน้าบ้านพักของตัวเอง เมื่อวันที่ 6 ก.พ.
 
การเสียชีวิตของบีเลดปลุกให้กระแสการต่อต้านรัฐบาลลุกโชนขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมกล่าวหาว่า พรรคเอนนาห์ดาคือผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหาร แม้นายกรัฐมนตรีฮามาดี เจบาลี จะแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติทันที ยืนยันการจัดตั้งรัฐบาล "เทคโนแครต" หรือรัฐบาลนักวิชาการ เพื่อหวังคลี่คลายสถานการณ์ แต่ข้อเสนอของเขากลับได้รับการคัดค้านจากสภาแห่งชาติ โดยนายซาห์บิ เอทิก ประธานสภาแห่งชาติ ให้เหตุผลว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นของเจบาลีเพียงคนเดียว และยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกพรรคเอนนาห์ดา
 
คำกล่าวของเอทิกทำให้สถานการณ์การชุมนุมบานปลายยิ่งขึ้นอีก มีรายงานว่าตำรวจปราบจลาจลต้องยิงทั้งแก๊ซน้ำตาและกระสุนยางเข้าสลายกลุ่มผู้ประท้วงนับหมื่นคน ที่หลั่งไหลมารวมตัวกันบริเวณจัตุรัสฮาบิบ บูเกียบา กลางกรุงตูนิส เป็นเหตุให้ตำรวจปราบจลาจลเสียชีวิตแล้ว 1 นาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
 
จัตุรัสดังกล่าวเป็นสถานที่เริ่มต้นการชุมนุมเพื่อโค่นล้มอำนาจเผด็จการของประธานาธิบดีซิเน เอล อาบีดีน เบน อาลี เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตูนิเซียครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" หรือการประท้วงโค่นล้มผู้นำในหลายประเทศแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
 
บาร์เคลย์สจะลดพนักงาน 3,700 อัตรา ตามแผนปรับโครงสร้าง
 
12 ก.พ. 56 - สถาบันการเงินบาร์เคลย์ส เตรียมลดพนักงานอย่างน้อย 3,700 อัตรา และในหน่วยงานวาณิชธนกิจ ตามแผนปรับโครงสร้างของผู้บริหารคนใหม่ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายประจำปี 1,700 ล้านปอนด์ และยกระดับมาตรฐาน
 
โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแผนปรับโครงสร้างของนายแอนโทนี เจนกินส์ ซีอีโอคนใหม่ ที่ต้องการเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมา หลังเผชิญปัญหาอื้อฉาวหลายเรื่อง เช่น กรณีที่พนักงานธนาคารร่วมมือกันปั่นอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร (ไลเบอร์) คิดเป็นมูลค่า 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
นอกจากนี้ บาร์เคลย์สยังมีแผนจ่ายโบนัสพนักงานในหน่วยงานวาณิชธนกิจเฉลี่ย 54,100 ปอนด์ ลดลงร้อยละ 17 จากปีก่อน ซึ่งโบนัสทั้งหมดของธนาคารมีมูลค่ารวม 1,850 ล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 14 จากปีก่อน ผู้บริหารบาร์เคลย์สมีแผนมุ่งเน้นการลงทุนในอังกฤษ สหรัฐ และแอฟริกา รวมทั้งลดขนาดสำนักงานทั่วยุโรปและเอเชีย
 
นายกญี่ปุ่นเรียกร้องผู้นำธุรกิจปรับขึ้นเงินเดือนพนักงานเพื่อยุติเงินฝืด
 
นายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ของญี่ปุ่นเรียกร้องให้ผู้นำธุรกิจของประเทศปรับขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานของบริษัท นับเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยที่สะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจของรัฐบาลเพื่อเร่งดำเนินการต่อสู้กับภาวะเงินฝืดที่มีมาอย่างยาวนาน
 
คำเรียกร้องของนายอาเบะมีขึ้นในระหว่างการประชุมร่วมกับล็อบบี้ยิสต์ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี ซึ่งรวมไปถึงนายฮิโรมาสะ โยเนคูระ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น ที่ได้ระบุเมื่อเร็วๆนี้ว่าจะไม่หรือเลื่อนการปรับขึ้นเงินเดือนออกไปในการประชุมประจำปีร่วมกับสหภาพแรงงาน
 
นายอาเบะซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในโอนถ่ายการพลิกฟื้นกำไรของบริษัทไปยังภาคครัวเรือนในรูปของการปรับขึ้นเงินเดือน ตลอดทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนในขณะที่กดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นผ่อนคลายนโยบายการเงินในเชิงรุกมากขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางธุรกิจ
 
ทั้งนี้ ธนาคารญี่ปุ่นเห็นดัวยกับรัฐบาลในเรื่องการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่านโยบายการเงินต้องใช้ระยะเวลาจึงจะเห็นผลการถ่ายรายได้ไปยังพนักงาน และการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อโดยที่เงินเดือนไม่ได้ปรับขึ้นตามจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
 
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ผู้นำธุรกิจที่เข้าพบนายเอเบะยังมาจากสมาคมผู้บริหารธุรกิจของญี่ปุ่นและหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ในขณะที่นายอากิระ อามาริ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจก็เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน
 
ING เตรียมปลดพนักงาน 2,400 คน หลังกำไรไตรมาส 4 พลาดเป้า
 
13 ก.พ. 56 - ไอเอ็นจี กรุ๊ป ผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ เตรียมปลดพนักงาน 1,400 คนในเนเธอร์แลนด์ และ 1,000 คนในเบลเยียม รวมเป็น 2,400 คน หลังกำไรไตรมาส 4 ปีที่แล้วพลาดเป้า ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนหลักก็ลดลง
 
ไอเอ็นจีรายงานว่า กำไรสุทธิในไตรมาส 4/2555 อยู่ที่ 1.43 พันล้านยูโร (1.92 พันล้านดอลลาร์) เทียบกับ 1.19 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์
 
ขณะเดียวกันสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งชี้วัดความแข็งแกร่งทางการเงิน ก็ลดลงเหลือ 11.9% ณ สิ้นเดือนธ.ค. จาก 12.1% ในไตรมาส 3
 
นายแจน ฮอมเมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไอเอ็นจี กล่าวว่า "ปีนี้สภาพเศรษฐกิจยังคงมีความท้าทาย เราต้องพร้อมรับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นทุกรายในระยะยาว"
 
ทั้งนี้ การประกาศปลดพนักงานครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ไอเอ็นจีประกาศปลดพนักงานในธุรกิจธนาคารและประกันลง 2,350 คน เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว โดยไอเอ็นจีตั้งเป้าว่าจะต้องลดต้นทุนให้ได้ 1 พันล้านยูโรต่อปีภายในปี 2558
 
"ทอมสัน รอยเตอร์ส" จ่อปลดพนักงานทั่วโลก 2,500 ตำแหน่ง
 
14 ก.พ. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า บริษัท "ทอมสัน รอยเตอร์ส" ผู้ให้บริการทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก และให้บริการรายงานข่าวสารให้แก่สำนักข่าวชั้นนำทั่วโลก เผยแผนเตรียมปลดพนักงานทั่วโลก 2,500 ตำแหน่งภายในสิ้นปีนี้ ที่เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย
 
นายเจมส์ สมิธ ประธานบริษัททอมสัน รอยเตอร์ส แถลงเมื่อวันพุธว่า เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กร และเพื่อลดความเสี่ยงในนโยบายการเงินของบริษัท อันจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดผลกำไรได้ในปีนี้ บริษัทจึงจำเป็นต้องปลดพนักงานออก 2,500 ตำแหน่งทั่วโลก ภายในสิ้นปี 2556 แบ่งเป็น 11% จากพนักงานในส่วนการให้บริการทางการเงิน ที่ปัจจุบันมีอยู่ราว 22,500 คนทั่วโลก และอีก 4% จากพนักงานในส่วนสายงานสื่อสารมวลชนและโทรคมนาคม ที่มีอยู่กว่า 60,000 คนทั่วโลก
 
แม้ผลประกอบการปีที่แล้วของบริษัท เฉพาะในไตรมาสที่ 4 จะได้กำไรกว่า 3.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ถือว่าลดลงอย่างมากหากเทียบกับผลกำไรในช่วงเวลาเดียวของปี 2554 ซึ่งอยู่ที่กว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสมิธคาดว่าสาเหตุมาจากธุรกิจให้คำปรึกษาทางการเงินที่ซบเซาอย่างมากจนน่าใจหาย
 
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของผลกำไรตลอดทั้งปี 2555 อยู่ที่กว่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเมื่อปีก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
ทอมสัน รอยเตอร์ส ก่อตั้งเมื่อปี 2551 จากการรวมตัวระหว่างสำนักข่าว รอยเตอร์ส สำนักข่าวเก่าแก่ของโลกอายุกว่า 162 ปี ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ กับบริษัท ทอมสัน คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาทางการเงินของแคนาดา ปัจจุบัน ทอมสัน รอยเตอร์ส มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ของสหรัฐ
 
2 สนามบินหลักเยอรมนีป่วน รปภ.สไตรก์
 
14 ก.พ. 56 - สำนักข่าวรอยเตอร์และเอพี รายงานจากเมืองดุสเซลดอล์ฟ ประเทศเยอรมนี ว่า การผละงานประท้วงขอขึ้นค่าแรงของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประจำสนามบินดุสเซลดอล์ฟ และสนามบินฮัมบวร์ก ซึ่งเป็น 2 สนามบินหลักที่มีผู้โดยสารใช้บริการเดินทาง ผ่านเข้าออกมากที่สุดของเยอรมนี ในวันนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารหลายหมื่นคน โดยที่สนารมบินเมืองดุสเซลดอล์ฟ ทางภาคตะวันตกของประเทศ พนักงาน รปภ. ของสนามบินราว 400 คน ซึ่งสังกัดสหภาพแรงงานแวร์ดี พร้อมใจกันผละงานประท้วง ทำให้เที่ยวบินโดยสาร 183 เที่ยว ถูกเลือนการเดินทางไปจนกระทั่งถึงวันศุกร์ ส่วนสนามบินฮัมบวร์ก ทางภาคเหนือ เที่ยวบินถูกยกเลิก 103 เที่ยวในวันนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารประมาณ 17,000 คน
 
การผละงานประท้วงครั้งนี้ สหภาพแรงงานแวร์ดีบอกให้พนักงานในสังกัด หยุดงานตั้งแต่กะเช้าวันพฤหัสบดี จนถึงเวลาเที่ยงคืน ความคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาต่อรองขอขึ้นค่าแรงจากนายจ้าง อีก 2.50 – 3.64 ยูโรต่อชั่วโมง สำหรับพนักงาน รปภ. ในสังกัด ซึ่งทำงานอยู่ในเขตรัฐนอร์ธ ไรน์-เวสต์ฟาเลีย ที่สนามบินดุสเซลดอล์ฟตั้งอยู่ ส่วน รปภ.ในสังกัดราว 600 คน ที่สนามบินฮัมบวร์ก ขอขึ้นค่าแรงอีก 2.70 ยูโรต่อชั่วโมง.
 
ชาวสิงคโปร์ประท้วงแผนรับแรงงานต่างชาติเพิ่ม
 
17 ก.พ. 56 - ชาวสิงคโปร์หลายพันคนชุมนุมประท้วงแผนการของรัฐบาลที่จะรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น เพื่อชดเชยกับอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง  
 
การประท้วงรัฐบาลสิงคโปร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งในครั้งนี้กลุ่มผู้ประท้วงไม่พอใจที่รัฐบาลมีแผนจะเพิ่มประชากรให้ได้ถึง 6.9 ล้านคน ภายในปี 2573 ขณะที่เวลานี้อัตราการเกิดลดลงอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลระบุว่า การรับแรงงานอพยพเป็นสิ่งจำเป็น
 
ปัจจุบันสิงคโปร์มีผู้อพยพอยู่เกือบร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด 5.3 ล้านคน ซึ่งทางผู้ประท้วงเห็นว่า การหลั่งไหลของผู้อพยพทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าเล่าเรียนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่คุณภาพของบริการตามโรงพยาบาลและระบบขนส่งสาธารณะลดลง ผู้ประท้วงบางคนยังไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลมีแผนจะรับผู้อพยพเพิ่มอีก 1 ล้านคน ขณะที่บางคนไม่พอใจที่รัฐบาลไม่รับฟังความเห็นของพวกเขา
 
นักข่าวบีบีซีประท้วงหยุดงาน 24 ชม. ค้านนโยบาย "บังคับลาออก"
 
18 ก.พ. 56 - ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ เริ่มประท้วงผละงาน 24 ชั่วโมงในวันนี้(18 ก.พ.) เพื่อประท้วงการบังคับให้ลาออก คาดว่าจะทำให้การออกอากาศกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์เกิดปัญหา
 
สมาชิกสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติ (เอ็นยูเจ) เริ่มผละงานตั้งแต่เวลา 00.00 น. วันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น (07.00 น.วันจันทร์ตามเวลาในไทย) เพื่อประท้วงหลังไม่สามารถหาข้อตกลงได้ร่วมกันกับฝ่ายบริหารเรื่องการบังคับให้พนักงานลาออก 30 คน
 
โดยบีบีซี เริ่มลดพนักงานราว 2,000 คน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "Delivering Quality First" ที่บีบีซีเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อรายการข่าวปกติ
 
โดยการบังคับให้ลาออกครั้งนี้ เกิดขึ้นกับพนักงานในส่วนของบีบีซีสกอตแลนด์ 9 ราย  สถานีวิทยุไฟฟ์ไลฟ์ ภาคบริการเครือข่ายเอเชีย และเวิลด์ เซอร์วิส
 
เลขาธิการสหภาพกล่าวว่า สมาชิกเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องงานและการทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างมีคุณภาพ พวกเขาไม่พอใจที่ผู้บริหารบีบีซีตัดสินใจย่ำแย่เช่นนี้ แทนที่บีบีซีจะพัฒนาแผนการจ้างงานอย่างเหมาะสมในทุกภาคส่วน แต่ฝ่ายบริหารกลับบริหารงานที่ทำให้ภาษีของประชาชนสูญปล่าโดยใช่เหตุ ที่ทำให้เสียนักข่าวที่มีประสบการณ์และความสามารถ พวกเขาขอเงินชดเชยการออกจากงานเป็นจำนวน 6 เดือน และว่าตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมามีพนักงานถูกบังคับให้ลาออกแล้ว 7,000 ตำแหน่ง
 
ด้านบีบีซีเปิดเผยว่า ทางผู้บริหารเข้าใจถึงความยากลำบากของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่รู้สึกผิดหวังที่สหภาพเลือกวิธีการเช่นนี้ และพร้อมที่จะนำรายการข่าวตามปกติกลับมาอีกครั้ง
 
สเปนจะจอดเที่ยวบินกว่าพันเที่ยวในสัปดาห์นี้เพราะพนักงานผละงาน
 
18 ก.พ. 56 - พนักงานสายการบินไอบีเรียของสเปนเริ่มผละงาน 5 วัน ตั้งแต่วันนี้ คาดว่าจะทำให้เที่ยวบินในสเปนต้องจอดเที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวในสัปดาห์นี้
 
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานยกกระเป๋า และนักบินของสายการบินไอบีเรียจะผละงานทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 5 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมเพื่อประท้วงฝ่ายบริหารที่จะลดพนักงาน 3,807 ตำแหน่ง และลดเงินเดือน สายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบินวันจันทร์ถึงวันศุกร์นี้ทั้งหมด 415 เที่ยว แต่คาดว่าจะทำให้สายการบินอื่น ๆ ต้องยกเลิกเที่ยวบินด้วยรวมทั้งหมด 1,200 เที่ยว เนื่องจากบริการตามท่าอากาศยานในสเปนจะมีปัญหา สายการบินไอบีเรียแจ้งว่า จะมีผู้โดยสาร 70,000 คนได้รับผลกระทบจากการผละงานครั้งแรกวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์นี้ สายการบินได้จัดให้ผู้โดยสารขึ้นเที่ยวบินอื่นหรือสายการบินอื่นแล้ว และจะคืนเงินหรือเลื่อนกำหนดวันเดินทางให้แก่ผู้โดยสารรายอื่น
 
สายการบินไอบีเรียซึ่งควบรวมกิจการกับสายการบินบริติชแอร์เวย์ของอังกฤษเป็นอินเตอร์เนชั่นนัล แอร์ไลน์ กรุ๊ป เมื่อปี 2554 แจ้งผลประกอบการขาดทุน 262 ล้านยูโร (ราว 10,480 ล้านบาท) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีก่อน การผละงานของพนักงานในช่วงนี้ตรงกับช่วงปิดภาคเรียนในอังกฤษ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวรายใหญ่ที่สุดของสเปน รัฐมนตรีคมนาคมสเปนขอร้องให้เลี่ยงการผละงานเพราะจะทำให้เศรษฐกิจประเทศเสียหายวันละกว่า 10 ล้านยูโร (กว่า 400 ล้านบาท) การท่องเที่ยวครองสัดส่วนถึงร้อยละ 11 ของเศรษฐกิจสเปน ขณะที่อัตราว่างงานในประเทศสูงถึงร้อยละ 26
 
คนงานสร้างสนามบอลโลกที่บราซิลขู่สไตรค์
 
19 ก.พ. 56 - บราซิล เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 เจอเรื่องวุ่นวายอีกแล้ว หลังมีรายงานว่าคนงานที่ทำการก่อสร้างสนามมาราคาน่า ที่กรุง ริโอ เดอ จาเนโร เมืองหลวงแดนแซมบ้า หนึ่งในสนามที่เตรียมจะใช้เป็นสังเวียน เวิลด์ คัพ ขู่จะหยุดงานเมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หากไม่ได้รับสวัสดิการตามที่เรียกร้อง
 
ก่อนหน้านี้ฝ่ายจัดการเเข่งขันของชาติเจ้าภาพก็ประสบปัญหาการทำงานเเข่งกับเวลา เพราะงานสร้างสนามอาจเสร็จไม่ทันกำหนด ทำให้การที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานขู่จะหยุดงานจะทำให้การสร้างสนามอาจยิ่งล่าช้ากว่ากำหนด โดยตัวแทนกลุ่มคนงานระบุถึงข้อเรียกร้องครั้งนี้ว่า ต้องการขึ้นค่าแรง ขอคูปองอาหาร และประกันชีวิตสำหรับครอบครัวด้วย
 
ด้าน วากเนอร์ อันตูเนส ซีเกวร่า ผู้ว่าการเมือง ริโอ เดอ จาเนโร ยืนยันว่าจะมีการเจรจากับผู้ใช้แรงงานในวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ และหากการเจรจาไม่บรรลุผล ก็จะเปิดประชุมเพื่อลงคะแนนเสียงเรื่องข้อตกลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม บราซิล ยังมีปัญหาต้องทำงานแข่งกับเวลาก่อนถึงเส้นตายที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ "ฟีฟ่า" ที่เพิ่งขยายออกไปถึงวันที่ 15 เมษายน เป็นกรณีพิเศษ
 
สำหรับสนาม มาราคาน่า เป็นสนามที่ใช้จัดรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1950 และได้มีการนำมาปรับปรุงอีกครั้งด้วยงบประมาณ 295 ล้านปอนด์ (ประมาณ 14,750 ล้านบาท) เพื่อใช้ในศึกฟุตบอลโลก และ ศึก ฟีฟ่า คอนเฟเดอเรชั่น คัพ ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยมีกำหนดเเล้วเสร็จเดิมอยู่ที่ 31 ธันวาคมทีผ่านมา ขณะที่จะเตรียมใช้งานนัดแรกในเกมกระชับมิตรระหว่าง บราซิล และ อังกฤษ ในวันที่ 2 มิถุนายนนี้
 
 
สเปน-สายการบินไอบีเรีย ประท้วงหยุดงานครั้งใหญ่
 
19 ก.พ. 56 - สายการบินไอบีเรียประท้วงหยุดงานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสายการบิน สร้างความโกลาหลให้กับผู้โดยสารและสนามบิน
 
ทั้งพนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ของสายการบินไอบีเรีย ของสเปน ประกาศประท้วงหยุดงานเป็นเวลา 15 วัน ตั้งแต่เมื่อวานนี้ แต่นักบินยังไม่ร่วมสไตร์คในอาทิตย์นี้ แต่จะเข้าร่วมประท้วงหยุดงานในครั้งหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4-18 มีนาคม สาเหตุที่ทำให้พนักงานของสายการบินไอบีเรียออกมาประท้วงเนื่องจากผู้บริหารมีแผนที่จะปลดพนักงาน 3,800 คน คิดเป็น 19 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพนักงานทั้งหมด เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้สหภาพแรงงานที่ไม่ต้องการให้ปลดพนักงานและลดเงินเดือน ทำให้สายการบินไอบีเรีย ต้องยกเลิกเที่ยวบินกว่า 415 เที่ยวในสัปดาห์นี้ คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของเที่ยวบินทั้งหมดที่ให้บริการ
 
นอกจากนี้ยังเกิดเหตุชุลมุนขึ้นที่สนามบินบาราจาสในกรุงมาดริด เมื่อวานนี้ จนตำรวจต้องจับกุมตัวพนักงานที่ออกมาประท้วงไว้ 5 คน
 
นักข่าวบีบีซีผละงานประท้วง ครบ 24 ชม. กระทบการออกอากาศของสถานี
 
19 ก.พ. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 19 ก.พ. ว่า ผู้สื่อข่าวบีบีซี และสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติอังกฤษ (เอ็นยูเจ) รวมตัวกันผละงานประท้วง ครบ 24 ชั่วโมง เพื่อแสดงความไม่พอใจและเรียกร้องให้มีการทบทวนอีกครั้ง กรณีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (บีบีซี) ปลดผู้สื่อข่าว 30 คน ออกจากตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรม 
 
ทั้งนี้ การหยุดงานประท้วงดังกล่าว ส่งผลให้รายการวิทยุ ซึ่งออกอากาศทางบีบีซี เรดิโอ 4 ต้องยกเลิกจากผังรายการ และทดแทนด้วยข่าวสั้นและการออกอากาศซ้ำรายการเดิม ขณะที่โฆษกของบีบีซีระบุผิดหวังกับการหยุดงานประท้วง แต่ยืนยันว่าจะเจรจาหาข้อตกลงที่เหมาะสม ร่วมกับสหภาพผู้สื่อข่าวต่อไป
 
อนึ่ง ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา บีบีซีเลิกจ้างพนักงานมากถึง 2,000 ตำแหน่ง ซึ่งการประท้วงครั้งนี้ ผู้เรียกร้องยื่นข้อเสนอให้บีบีซี ขยายเวลาว่าจ้างผู้สื่อข่าวที่ถูกสั่งปลดต่อไปอีก 6 เดือน เพื่อให้มีการเตรียมพร้อมรับภาวะว่างงาน.
 
แรงงานอินเดียสไตรก์ทั่วประเทศ 2 วัน ต้านรัฐเปิดเสรี
 
20 ก.พ. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ว่า เกิดเหตุรุนแรงประปรายในหลายเมืองของอินเดียในวันนี้ หลังจากคนงานโรงงานผลิต รวมทั้งพนักงานลูกจ้างธนาคาร และคนขับแท็กซี่สามล้อหลายล้านคน พร้อมใจกันหยุดงานประท้วงทั่วประเทศเป็นเวลา 2 วันตั้งแต่วันนี้ ตามเสียงเรียกร้องของสหภาพแรงงานต้นสังกัด โดยมีรายงานการก่อความรุนแรงในหลายเมือง รวมถึงเมืองอัมบาลา ทางภาคเหนือ ซึ่งแกนนำแรงงานถูกรถบัสโดยสารแล่นทับเสียชีวิต ขณะพยายามนอนขวางทาง เพื่อไม่ให้รถวิ่งออกจากอู่ไปให้บริการผู้โดยสาร และที่นิคมอุตสาหกรรมนอยดา ชานเมืองหลวงกรุงนิวเดลี กลุ่มผู้ประท้วงใช้ท่อนเหล็กทุบทำลายหน้าต่างโรงงาน รวมทั้งจุดไฟเผารถบรรทุกและรถยนต์หลายคัน
 
ที่กรุงนิวเดลี บริการรถเมล์โดยสารประจำทาง และรถไฟใต้ดิน มีคนใช้บริการแน่นขนัด เนื่องจากกลุ่มคนขับรถแท็กซี่และรถสามล้อเกือบทั้งหมด เข้าร่วมการประท้วงตามท้องถนน
 
การผละงานประท้วงตามเสียงเรียกร้องของสหภาพแรงงาน มีขึ้นเพื่อคัดค้านแผนการของรัฐบาล ในการเปิดเสรีภาคการค้าปลีก ธนาคาร และการบิน แก่นักลงทุนต่างชาติ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังสะดุด นอกจากนั้น แกนนำการประท้วงยังได้ยื่นข้อเรียกร้อง 10 ข้อต่อรัฐบาล ซึ่งรวมถึง การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแก่แรงงานทุกประเภท เป็นเดือนละ 10,000 รูปี (ประมาณ 5,550 บาท) ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และจัดให้มีสวัสดิการสังคมแก่แรงงานทุกคน
 
กรีซผละงานประท้วง 24 ชม.
 
20 ก.พ. 56 - วิกฤติหนี้สินของกรีซยังคงพ่นพิษไม่เลิก กลุ่มสหภาพแรงงานเตรียมผละงานประท้วงครั้งใหญ่ 24 ชั่วโมงเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่คาดว่าจะทำให้ตัวเลขคนตกงานในกรีซพุ่งขึ้นไปแตะระดับถึง 30%ในปีนี้
 
คนงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะก่อหวอดประท้วงครั้งใหญ่ที่คาดว่าจะทำให้การคมนาคมในประเทศต้องกลายเป็นอัมพาตอีกครั้ง โดยเฉพาะเที่ยวบิน, เรือเฟอร์รี่และบริการสาธารณะต่างๆ ขณะที่ก่อนหน้านั้นกลุ่มคนตกงานบางส่วนได้เริ่มจัดการชุมนุมประท้วงล่วงหน้าไปบ้างแล้ว ผู้ประท้วงหลายคนโอดครวญว่าพวกเขาไม่มีแม้แต่เงินที่จะซื้อรองเท้าให้ลูกหรือสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างคุณแม่ลูก 2 รายนี้ที่ต้องตกงานหลังบริษัทล้มละลายเมื่อปีที่แล้ว และเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันอีก 150 คนที่ยังคงไม่ได้เงินเดือนค้างจ่ายอีก 5 เดือน ขณะที่คนมีงานทำคนอื่นๆ เริ่มประสบปัญหาได้รับค่าจ้างไม่สม่ำเสมอ กรุงเอเธนส์นครหลวงของกรีซตำรวจต้องวางกำลัง 3,000 นายเพื่อป้องกันเหตุร้ายระหว่างการชุมนุม ที่คาดว่าจะทำให้กรีซต้องกลายเป็นอัมพาตไปในทุกภาคส่วนอีกครั้ง
 
คนขับแท็กซี่ในเกาหลีใต้ผละงานประท้วงทั่วประเทศ
 
20 ก.พ. 56 - คนขับแท็กซี่ในเกาหลีใต้ผละงานประท้วงทั่วประเทศเพื่อแสดงความไม่พอใจที่ประธานาธิบดีปฏิเสธการแก้กฎหมายให้แท็กซี่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
 
ผู้ประท้วงต่างพากันแสดงความไม่พอใจที่ประธานา ธิบดี ลี มยอง บัก ปฏิเสธร่างกฎหมายฉบับแก้ไข ซึ่งจัดหมวดหมู่ให้คนขับแท็กซี่เป็นคนงานขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว แต่นายลีไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณในเรื่องนี้และดำเนินการได้ยาก การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นทั่วประเทศซึ่งทางการระบุว่ามีผู้เข้าร่วมเกือบ 32,000 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 ของจำนวนแท็กซี่ทั้งหมด โดยในกรุงโซลมีแท็กซี่เข้าร่วมร้อยละ 13.8 ทำให้รัฐบาลต้องจัดหารถบัสมาเสริมและเพิ่มจำนวนเที่ยวรถไฟใต้ดินเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเดินทางไปทำงานของประชาชนในวันนี้
 
คนงานภาครัฐของมาลาวีขู่ปิดสนามบินในเมืองหลวง
 
20 ก.พ. 56 - คนงานภาครัฐของมาลาวี ประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาขู่จะปิดท่าอากาศยานระหว่างประเทศกรุงลิลองเวในวันนี้ อันเป็นส่วนหนึ่งของการผละงานนาน 1 สัปดาห์เรียกร้องขอขึ้นค่าจ้าง
 
การปิดท่ากาศยานดังกล่าวจะกระทบต่อเที่ยวบินของสายการบินเคนยาแอร์เวย์ เซาต์แอฟริกันแอร์เวย์ และเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ คนงานภาครัฐกว่า 100,000 คน ผละงานตั้งแต่สัปดาห์ก่อน เรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างร้อยละ 65 คิดเป็น 2 เท่าของอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรับมือกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพราะเงินกวาจาของมาลาวีอ่อนค่าลง การผละงานทำให้โรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน โรงพยาบาลไม่มีแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย
 
ด้านรัฐมนตรีคลังเผยว่า ไม่มีงบประมาณพอจะขึ้นค่าจ้างให้ได้และกำลังเจรจากับผู้ผละงาน ปัจจุบันรัฐบาลต้องจ่ายค่าจ้างคนงานภาครัฐ 97,000 ล้านกวาจา (เกือบ 8,310 ล้านบาท) หากยอมให้ตามที่เรียกร้อง ก็จะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งเท่ากับงบประมาณทั้งหมดของประเทศ
 
'ฟ็อกซ์คอนน์' ระงับจ้างคนงานใหม่ เดา 'iPhone5' ขายไม่ดี
 
21 ก.พ. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 21 ก.พ. กลุ่มบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี ผู้ผลิตและประกอบอุปกรณ์ไอทีให้กับบริษัทแอปเปิล ระงับการจ้างงานพนักงานรายใหม่ ที่โรงงานใหญ่ในเมืองเซินเจิ้น โดยแถลงการณ์ภายในระบุว่า "ขณะนี้ยังไม่มีแผนจ้างงานที่โรงงานในจีนแผ่นดินใหญ่" และให้สัมภาษณ์กับไฟแนนซ์เชียลไทม์ส ว่า "อย่างน้อยอาจยังไม่รับแรงงานรายใหม่จนถึงสิ้นเดือน มี.ค.นี้" อย่างไรก็ดียังไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะยอดการสั่งสินค้า iPhone5 ลดลงหรือไม่ หรือปรับลดการผลิตเนื่องจากความต้องการสินค้าลดน้อยลง
 
ฟ็อกซ์คอนน์ เป็นเครือข่ายโรงงานรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ที่ผลิตสินค้าไอทีให้กับบริษัทต่างๆ อาทิ ฮิวเล็ตต์ แพ็คการ์ด เดลล์ โซนี่ และแอปเปิล เป็นต้น ด้านหลุยส์ หวู โฆษกฟ็อกซ์คอนน์ เผยว่าเมื่อวันหยุดยาวเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา พนักงานต่างเดินทางกลับถิ่นฐาน และกลับมาทำงานราว 97% แต่ไม่มีแผนการรับคนงานเพิ่มแม้บางส่วนจะออกไปแบบไม่บอกกล่าวก็ตาม
 
ทั้งนี้ ไตรมาสสุดท้ายปลายปี 2012 แอปเปิล จำหน่ายสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ได้เพียง 47.8 ล้านเครื่อง น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 50 ล้านเครื่อง ซึ่ง iPhone ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญยิ่งกับแอปเปิล และเมื่อวันพุธที่ผ่านมา 20 ก.พ. หุ้นร่วงลง 2% อยู่ที่ 451 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตกฮวบมากถึง 34% จากเมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งทำสถิติทะยานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ
 
ชาวสเปนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล
 
25 ก.พ. 56 - ชาวสเปนจำนวนมากพากันเดินขบวนมายังอาคารรัฐสภาของประเทศเมื่อวาน เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดที่รัฐบาลผลักดันออกมา การเดินขบวนครั้งนี้เกิดขึ้นในวันครบรอบ 32 ปีเหตุการณ์ที่กองทัพพยายามล้มล้างรัฐบาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
 
งานนี้ กลุ่มผู้ประท้วงที่มีอยู่หลากหลายกลุ่ม พยายามทำให้การชุมนุมรวมพลังกันเป็นหนึ่งเดียว โดยการชูคำขวัญเดียวกันเรื่องการต่อต้านการยึดอำนาจของทหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2524
 
ทางผู้จัดการชุมนุมบอกว่า ปัจจุบันสเปนตกอยู่ภายใต้การยึดอำนาจทางการเงิน และเรียกร้องให้ประชาชนออกมาประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด พวกเขามองว่ารัฐบาลชอบเอาใจพวกสถาบันการเงิน โดยปล่อยให้ประชาชนธรรมดาๆ ต้องลำบากแทน
 
กลุ่มผู้ชุมนุมออกมาตำหนิเรื่องความกดดันต่อตลาดการเงิน การคอร์รัปชั่นในรัฐบาลและในระบบการธนาคาร รวมทั้งเรียกร้องให้บรรดานักการเมืองในสภาทางออกในแนวอื่น ที่ทำให้ระบบสวัสดิการสังคมไม่ได้รับผลกระทบ
 
ปัจจุบัน เศรษฐกิจสเปนกำลังเผชิญกับภาวะการถดถอยครั้งใหญ่ ทำให้รัฐบาลต้องรัดเข็มขัด ตัดลดการใช้จ่าย และขึ้นภาษี สำหรับอัตราการว่างงานก็อยู่ที่กว่าร้อยละ 25 และคาดว่าจะขยับไปถึงร้อยละ 27
 
"เจพีมอร์แกน เชส" เตรียมปลดพนักงาน 19,000 ตำแหน่ง
 
27 ก.พ. 56 - สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ว่า "เจพีมอร์แกน เชส" วาณิชธนกิจรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ หากวัดจากจำนวนสินทรัพย์ เผยแผนเตรียมปลดพนักงาน 19,000 ตำแหน่ง ภายในสิ้นปี 2557 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายควบคุมงบประมาณ
 
น.ส.คริสติน เลมเกา โฆษกของเจพีมอร์แกนเชส กล่าวว่า ในจำนวนตำแหน่งงานทั้งหมดที่จะมีการปรับลดนั้น จะมาจากฝ่ายสินเชื่อมากที่สุด 15,000 ตำแหน่ง ส่วนอีก 4,000 ตำแหน่งจะมาจากฝ่ายบริหารธุรกิจเพื่อผู้บริโภค
 
อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีแผนเพิ่มตำแหน่งงานอีก 2,000 ตำแหน่งในส่วนของฝ่ายบริหารสินทรัพย์ และฝ่ายดูแลสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เท่ากับว่า ตำแหน่งงานในอนาคตของธนาคารจะเหลืออยู่ที่ราว 17,000 ตำแหน่ง
 
ทั้งนี้ เจพีมอร์แกนเชสประเมินแล้วว่า นโยบายปรับโครงสร้างภายในองค์กรดังกล่าว เมื่อร่วมกับการใช้นโยบาย "การสร้างพลังรวมทางต้นทุน" จะช่วยปรับลดค่าใช้จ่ายของธนาคารในปี 2557 ได้กว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2555
 
หลังต้องสูญเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากความผิดพลาดในการประกอบธุรกิจ ที่ส่งผลให้ผู้บริหารระดับสูงหลายคนต้องยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเมื่อปีที่แล้ว ผลประกอบการของเจพีมอร์แกน เชสประจำปี 2555 อยู่ที่กว่า 21.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
 
Yahoo จะเลิกนโยบายที่ให้พนักงานทำงานจากบ้าน
 
27 ก.พ. 56 - Yahoo จะเลิกนโยบายที่ให้พนักงานทำงานจากบ้านได้ เพราะเห็นว่าทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นโยบายใหม่นี้เป็นมาตรการของ CEO คนใหม่ Marissa Mayer ซึ่งรับตำแหน่งปีที่แล้วและลาคลอดไปช่วงสั้นๆ ส่งท้าย Samsung จะเปิดตัวโทรศัพท์ Galaxy S Smartphone วันที่ 14 มีนาคมที่นครนิวยอร์ค
 
"เบสท์บาย" ประกาศปลดพนักงาน 400 อัตรา
 
27 ก.พ. 56 - เบสท์ บาย บริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของสหรัฐฯ เดินหน้าแผนลดค่าใช้จ่าย โดยการประกาศปลดพนักงานออกอีก 400 อัตรา
 
พนักงานที่ถูกปลดออกจำนวน 400 คนนี้ เป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของเบสท์ บาย ในรัฐมินเนโซต้า ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 8,000 คน และการลดจำนวนพนักงานลงครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนประหยัดค่าใช้จ่ายของเบสท์ บาย ภายใต้การนำของนาย Hubert Joly ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของเบสท์ บาย ซึ่งได้ประกาศกับบรรดานักลงทุนเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า จะประหยัดค่าใช้จ่ายลงให้ได้ประมาณ 725 ล้านดอลลาร์
 
เผยโรงงานแอปเปิ้ลในจีนใช้แรงงานเยี่ยงทาส
 
28 ก.ค. 56 - SACOM (Student & Scholars Against Corporate Misbehavior) กลุ่มเฝ้าระวังจากฮ่องกงกล่าวหาว่าโรงงานในจีนที่ผลิตอุปกรณ์ให้กับแอปเปิ้ล 3 แห่งปฏิบัติตัวกับแรงงานราวกับพวกเขาไม่ใช่มนุษย์
 
โรงงานทั้งสามแห่งนี้คือ Foxlink, Pegatron และ Wintek ที่ไม่มีสาธารณูปโภคที่มนุษย์ต้องการและยังใช้แรงงานนักศึกษาด้วย แม้ว่าแอปเปิ้ลจะเพิ่มมาตรการตรวจสอบโรงงานในจีนและลงโทษโรงงานที่ผิดหลักเกณฑ์
 
จากรายงานของ SACOM ประเมินว่าสภาพบางอย่างในโรงงานย่ำแย่ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลที่มีสูงมาก จึงเป็นผลทำให้คนงานต้องทำงานข้ามวันข้ามคืน บางคนทำงานถึง 14 ชั่วโมงต่อวันแต่มีวันหยุดแค่ 1- 2 วันในรอบสามเดือน นั่นหมายถึงการผิดกฎหมายแรงงานของจีนและหลักเกณฑ์ของแอปเปิ้ลด้วย
 
รายงานฉบับนี้ทาง Sacom ได้ข้อมูลมาจากการพูดคุยกับคนงานจำนวน 130 คนจากทั้ง 3 โรงงานเมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคนงานทำงานเยี่ยงทาส โดยเฉพาะในช่วงพีค คนงานต้องทำงานสูงสุด 14 ชั่วโมงต่อวัน มีหยุดแค่ 1-2 วันในรอบสามเดือน หลายคนถูกบังคับให้ทำงานที่ไม่มีการจ่ายค่าจ้างด้วยการลดเวลาพักทานอาหาร และต้องมาถึงโรงงานก่อนเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่วนเงินเดือนคนงานทั่วไปอยู่ที่ 1,300 – 1,400 หยวนเท่านั้น (6,500 – 7,000 บาท) ทั้งที่จริงคนงานควรได้รับค่าจ้าง 2,000 – 5,000 หยวน (10,000 – 25,000 บาท) เพราะพวกเขาทำโอทีตั้งเยอะ
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: ประชาไท, สำนักข่าวไทย, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชนออนไลน์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ยาฮู!' เปลี่ยนกฎ ให้ พนง.เข้าออฟฟิศ ตั้งแต่ 1 มิ.ย.นี้

Posted: 03 Mar 2013 09:39 AM PST

ยาฮู! สั่ง พนง.หยุดทำงานที่บ้าน ระบุเริ่มสร้างความเป็นหนึ่งเดียวด้วยการอยู่ร่วมกันทางกายภาพ ขณะบริษัทไอทีอื่นๆ ยังคงนโยบายทำงานจากที่บ้าน

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เว็บ AllThingsD ซึ่งเป็นเว็บข่าวเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตและสื่อ เผยแพร่หนังสือของฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ "ยาฮู" บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบไปด้วยเว็บท่า เสิร์ชเอนจิน อีเมล ฯลฯ ที่ระบุให้พนักงานทั้งหมดของยาฮูราว 14,500 คน เข้ามาทำงานที่สำนักงาน แทนการทำงานที่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ โดยให้เหตุผลว่า การจะเป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด ต้องอาศัยการสื่อสารและการประสานงาน ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กัน และมีหลายครั้งที่การตัดสินใจหรือการคาดการณ์ดีๆ เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนที่โถงทางเดินหรือในโรงอาหาร การพบผู้คนใหม่ๆ หรือการประชุมแบบปัจจุบันทันด่วน บ่อยครั้งที่ความเร็วและคุณภาพถูกทำลายลงเมื่อเราทำงานที่บ้าน

นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า ยาฮูต้องการจะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยจะเริ่มที่การอยู่ร่วมกันทางกายภาพ ทั้งนี้ พนักงานที่ทำงานที่บ้านต้องปรับตัวโดยไม่มีข้อยกเว้น หรือมิเช่นนั้น ก็ต้องลาออก

การเปลี่ยนแปลงนโยบายของยาฮูครั้งนี้จะกระทบกับพนักงานหลายร้อยคนในแผนกลูกค้าสัมพันธ์ที่ทำงานที่บ้านเต็มเวลา รวมไปถึงพนักงานที่ทำงานที่บ้านเพียง 1-2 วันต่อสัปดาห์ด้วย หลังนโยบายนี้ออกมา พนักงานที่ได้รับผลกระทบขุ่นเคืองใจอย่างยิ่ง เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าถูกจ้างบนเงื่อนไขที่จะทำงานได้อย่างยืดหยุ่นตั้งแต่แรก

สำหรับนโยบายดังกล่าว เป็นความคิดของมาริสสา เมเยอร์ ซีอีโอวัย 37 ปี อดีตผู้บริหารกูเกิล ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในยาฮูเมื่อกรกฎาคมปีที่แล้ว มีรายงานว่าเธอเป็นคนที่ทำงานหนักมากคนหนึ่ง โดยเธอลาคลอดเพียงสองสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาทำงานต่อโดยสร้างเนอเซอรีไว้ใกล้ออฟฟิศเพื่อจะได้อยู่ใกล้ลูกชายของเธอและทำงานได้นานขึ้น

เว็บ AllThingsD รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า นโยบายนี้เกิดจากที่เมเยอร์สังเกตว่า ลานจอดรถของบริษัทค่อนข้างโล่งในช่วงเช้าและว่างอย่างรวดเร็วในตอนห้าโมงเย็น ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนมองว่า เมเยอร์กำลังหาทางเขี่ยพนักงานที่ไม่มีผลงานออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 

ขณะที่ ริชาร์ด แบรนสัน มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ประธานกลุ่มบริษัท "เวอร์จิ้น" แสดงความเห็นต่อนโยบายดังกล่าวผ่านบล็อกว่า ยาฮูควรให้เสรีภาพในการเลือกสถานที่ทำงาน และบอกอีกว่า ดูเหมือนเป็นการก้าวถอยหลังในยุคที่การทำงานระยะไกลง่ายและมีประสิทธิภาพกว่าที่ผ่านมา

ด้านซีเอฟโอของกูเกิล เมื่อถูกถามว่ามีคนทำงานระยะไกลกี่คน เขาบอกว่า น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยเขาชี้ว่า มันเหมือนมีเวทมนตร์บางอย่างระหว่างที่แบ่งปันอาหารกัน ใช้เวลาร่วมกัน ระดมความเห็นกัน หรือถามความเห็นกันที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มันเป็นช่วงเวลาที่มหัศจรรย์ ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาบริษัท การพัฒนาตัวเอง และการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม พนักงานกูเกิลได้รับอนุญาต หรือแม้แต่สนับสนุนให้ทำงานที่บ้าน แต่กูเกิลก็ไม่ได้ออกนโยบายเรื่องนี้อย่างทางการโดยปล่อยให้เป็นดุลพินิจของพนักงานเอง

ส่วนโฆษกของทวิตเตอร์บอกว่า ทวิตเตอร์เชื่อว่ามีผลประโยชน์ทั้งแบบที่จับต้องได้และไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อพนักงานทำงานใต้หลังคาเดียวกัน แต่ก็เชื่อว่าบางครั้งการทำงานระยะไกลก็เป็นเรื่องสำคัญ และทวิตเตอร์ก็อนุญาตให้ยืดหยุ่นได้

เช่นเดียวกัน โฆษกไมโครซอฟต์บอกว่า ได้เสนอตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นให้พนักงาน

โฆษกของโฟร์สแควร์ โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เปิดให้ผู้ใช้เช็คอินตามสถานที่ต่างๆ บอกว่า นโยบายของเราอนุญาตให้ทำงานแบบยืดหยุ่น โดยนโยบายนี้มีผลทั้งกับชั่วโมงการทำงานและสถานที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีพนักงานคนไหนเลยที่ทำงานเฉพาะที่บ้าน โดยอาจมีทำงานที่บ้านบางครั้ง

โฆษกของพาธ (Path) โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เปิดให้แชร์เรื่องราวต่างๆ ได้คล้ายกับเฟซบุ๊ก บอกว่า ใช้นโยบายทำงานที่บ้าน โดยผู้จัดการและพนักงานจะแก้ปัญหาในรายละเอียดร่วมกัน

ขณะที่ไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้พนักงานทำงานจากระยะไกลมานาน เขียนไว้ในเว็บเลยว่า ไอบีเอ็มเป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่บุกเบิกการลดการเดินทางของพนักงาน มาเกือบสองทศวรรษ โดยมีทั้งโปรแกรมที่ให้พนักงานทำงานที่บ้าน และทำงานแบบเคลื่อนที่ ทุกวันนี้ มีพนักงานมากกว่า 128,000 คน หรือ 29 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก ที่เข้าร่วมในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง โดยในปี 2554 เฉพาะในสหรัฐฯ โปรแกรมทำงานที่บ้านได้ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงราว 6.4 ล้านแกลลอน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 50,000 เมตริกตัน

 

แปลและเรียบเรียงจาก
http://allthingsd.com/20130222/physically-together-heres-the-internal-yahoo-no-work-from-home-memo-which-extends-beyond-remote-workers/
http://allthingsd.com/20130225/survey-says-despite-yahoo-ban-most-tech-companies-support-work-from-home-for-employees/
http://www.virgin.com/richard-branson/blog/give-people-the-freedom-of-where-to-work

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สรุปเพิ่มเติมงานเสวนาเรื่องทุนกับแรงงาน 24 ก.พ. ที่ประชาไทไม่รายงาน

Posted: 03 Mar 2013 08:07 AM PST

ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนา หัวข้อ"ทำไมกลุ่มทุนบางกลุ่มถึงคัดค้านการปรับค่าจ้าง  300  บาททั่วประเทศ" ของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 56 ที่ห้องประชุม 14 ตุลา 19 ถ.ราชดำเนิน ส่วนประเด็นที่นำเสนอคือ สถานการณ์ปัญหาแรงงานปัจจุบันในบริบทความขัดแย้งทางการเมือง : การปรับตัวของชนชั้นนายทุนและผลกระทบต่อแรงงาน  คู่กับวิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ที่นำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มทุน  แต่สำนักข่าวประชาไทไม่รายงานให้ครบองค์ประกอบของการเสวนาที่มีวิทยากร 2 คน โดยไม่ทราบเหตุผล

ผู้เขียนจึงขอสรุปด้วยตัวเองเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับองค์กรแรงงานสำหรับวิจารณ์และแก้ไข ดังนี้

สถานการณ์แรงงานไทยปัจจุบันถูกนำเสนอออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 และช่วงปี 2555-2556  มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาและสะท้อนนัยทางการเมือง เพื่อนำประเด็นที่สรุปไปแลกเปลี่ยนทัศนะกับสหภาพแรงงานในอนาคต

เราอยู่ในกระแสที่รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยใช้นโยบายประชานิยมเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำคู่ขนานไปกับนโยบายเสรีนิยมเอาใจนักลงทุน ลดภาษีนิติบุคคลเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กอปรกับการดำรงนโยบายค่าจ้างราคาถูกสวัสดิการต่ำกับระบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจูงใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  พร้อมๆ กับการอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองทั้งในเชิงสัญลักษณ์ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงโดยอ้างความมั่นคงของรัฐทำลายขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ขบวนการเสื้อแดง ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือ

ประเด็นปัญหาความไม่เป็นธรรมที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาและกลไกรัฐกระทำต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่

¡  ขบวนการต้านรัฐประหารปี 2549 ถูกกลั่นแกล้ง ทำลาย

¡  เสรีภาพในการรวมตัว ชุมนุม แสดงความเห็นที่แตกต่างกัน ถูกคุกคามด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ ที่ใช้โดยกลไกรัฐที่เข้มแข็งคือ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ

¡  ผู้ต้องหา นักโทษทางการเมืองจากการถูกสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพ.ค.53 ยังคงถูกกักขังอย่างไม่เป็นธรรมหลายคน

 

สถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม ปี 2554

วิกฤตน้ำท่วมสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ ดังนี้

·       ผู้ประกอบการในจ.อยุธยาได้รับความเสียหาย รวมมูลค่า 25 พันล้านบาท

·       โรงงานถูกน้ำท่วมประมาณ 500 แห่งใน 19 จังหวัด

·       สถานประกอบการทั่วประเทศได้รับผลกระทบ รวม 31 จังหวัด จำนวนกว่า 28,000 แห่ง 

·       ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานจำนวน 9.9 ล้านคน 

·       ผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมจำนวน 1,000 คน บาดเจ็บ 107,000 คน

·       แรงงานถูกเลิกจ้างจำนวน 50,000 คน จากสถานประกอบทั้งหมด 117 แห่ง

·       ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานเหมาค่าแรง หรือเอาท์ซอร์ส

·       สหภาพแรงงานถูกทำลายประมาณ 10 แห่ง

ภายใต้สถานการณ์ข้างต้น ผู้ประกอบการต้องระงับการผลิตเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนการผลิตไปยังลูกค้า หรือแบรนด์ ทำให้ลูกค้าหาผู้รับจ้างผลิตรายใหม่แทนที่ ทำให้สูญเสียโอกาสในการดำเนินกิจการ  และยังต้องรื้อฟื้นกิจการอีกเป็นเวลา 2-3 เดือน จึงขอระงับการจ่ายหนี้สินและขอเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารของรัฐในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 

นอกจากนี้ นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ยังใช้มาตรการกับลูกจ้างที่แตกต่างกันไป เช่น

·       เลิกจ้างและปิดกิจการ

·       ย้ายแรงงานไปยังฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดในภาคตะวันออกเพื่อหนีน้ำท่วม

·       เลิกจ้างคนงานทั้งหมด และรับคนใหม่เข้ามาทำงานแทนและเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน

·       เลิกจ้างคนงานบางส่วน ซึ่งเป็นคนงานเหมาและย้ายโรงงานไปจังหวัดอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วม ทำให้คนงานหลายคนไม่ต้องการย้าย

·       ขายกิจการ ถ่ายโอนพนักงานทั้งหมดไปยังนายจ้างคนใหม่ โดยไม่มีความชัดเจนเรื่องสภาพการจ้างงาน

·       ให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออก เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย

สำหรับนายจ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ กระทำดังนี้

·       ใช้น้ำท่วมเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างคนงานจำนวนมากและทำลายสหภาพแรงงาน

·       มีข้อพิพาทกับแรงงาน และเลิกจ้าง ทำลายสหภาพแรงงาน

·       นายจ้างที่เข้ามากุมกิจการบริษัทบางแห่งที่ได้รับผลกระทบ ขอเปลี่ยนสภาพการจ้างงานลูกจ้างบริษัทเดิม และเลิกจ้างบางส่วน

ดังนั้น เราสามารถสรุปประเด็นปัญหาแรงงานของปี 2554 ได้ดังนี้

·       เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลอยแพลูกจ้างเหมาค่าแรง

·       ลดค่าจ้างลดลงเหลือ 25%, 50%,75%

·       ย้ายโรงงานไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

·       สหภาพแรงงานถูกทำลายอำนาจการต่อรอง

(รายงานสถานการณ์แรงงานช่วงน้ำท่วม อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย www.thailabour.org)

เหตุผลของนายจ้างที่ใช้ยกเลิกสัญญาจ้างงานข้างต้น มีดังนี้

¡  น้ำท่วมโรงงาน เครื่องจักรเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้บางส่วนและต้องลดจำนวนลูกจ้างส่วนเกินเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

¡  น้ำไม่ท่วมโรงงาน แต่ขาดชิ้นส่วนการผลิตบางส่วนจากผู้ผลิตรายอื่นที่น้ำท่วม ทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ ต้องลดกำลังการผลิตลง

¡  น้ำท่วมโรงงาน ดำเนินการผลิตไม่ได้ ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

¡  ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ จึงต้องลดจำนวนลูกจ้าง

ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐตอบสนองปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการดังนี้

¡  ตำรวจไม่รับแจ้งความจากคนงานที่ถูกโกงค่าจ้าง

¡  ศาลแรงงานพยายามกดดันลูกจ้างให้ยอมรับการเลิกจ้างและรับค่าชดเชยแทน

¡  การร้องทุกข์ผ่านสำนักงานแรงงานและสวัสดิการจังหวัดไม่บังเกิดผล เพราะไม่อำนวยความสะดวกคนงานให้เจรจาต่อรองกับนายจ้าง

¡  ขั้นตอนการสอบสวนร้องทุกข์ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาถึง 60 วันและต่ออีก 30 วันหากนายจ้างอุทธรณ์

¡  กระทรวงแรงงานไม่ตรวจสอบการกระทำไม่เป็นธรรมของนายจ้างที่โกงค่าจ้าง ค่าชดเชย ทำลายสหภาพแรงงาน ใช้กลอุบายหลอกลวงลูกจ้าง

¡  กระทรวงยืดหยุ่นกฎระเบียบเป็นคุณให้นายจ้างไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายในการจ่ายค่าชดเชย โดยยอมให้แบ่งจ่ายคนงานเป็น 2 งวด

เราสามารถสรุปผลกระทบของวิกฤตน้ำท่วมที่ส่งผลต่อผู้ใช้แรงงาน ดังนี้

¡  ภาวะความไม่มั่นคงเมื่อเกิดวิกฤต การละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นทั่วไป

¡  จากนโยบายจ้างงานแบบยืดหยุ่นทำให้แรงงานสูญเสียสถานะการจ้างงานโดยง่าย

¡  การลดบทบาทของรัฐในการดูแลคุ้มครองสวัสดิการสังคมของผู้ใช้แรงงาน

¡  สวัสดิการสังคมไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับปัญหาวิกฤต ทำให้แรงงานถูกผลักภาระ

¡  ระบบยุติธรรมไม่เห็นใจแรงงาน (2 มาตรฐาน)

 

สถานการณ์แรงงานหลังประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ 300

ผู้เขียนได้สำรวจสถานการณ์หลังจากรัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมษายน 2555 ว่าส่งผลต่อการปรับตัวของนายจ้างอย่างไร  โดยศึกษากรณีโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง ในอ.วังน้อย จ.อยุธยา

บริษัท N  P (ขอปกปิดชื่อจริง) รับจ้างผลิตมอเตอร์หมุนของฮาร์ดดิสไดร์ฟ  (spindle motors) ให้แก่แบรนด์ Western Digital, Seagate, Hitachi  ได้ปรับตัวด้วยวิธีการดังนี้

¡  เร่งงานให้ได้ตามเป้าการผลิต

¡  เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต คนงานหญิงทำงานหนักขึ้น

¡  ลดค่าใช้จ่ายของโรงงาน

ในขณะที่สภาพการจ้างงานของคนงานจำนวน 2,000 คน ในภาพรวมยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนี้

¡  สถานะลูกจ้างเป็นพนักงานรายเดือน จำนวนประมาณ 1,500 คน และเป็นพนักงานรายวัน ประมาณ 500 คน  ไม่มีพนักงานเหมาช่วง  

¡  85% เป็นกำลังแรงงานหญิง

¡  ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มจาก 190 บาทเป็น 282 บาท จากนั้นขึ้นตามอายุงาน

¡  ระบบวันทำงาน ทำ 5 หยุด 1 วัน ไม่กำหนดวันหยุดตายตัว มี 2 กะ เริ่มเวลา 8.00-17.00 น.

¡  โอที ตั้งแต่เวลา 17.30 – 20.00 น. (2.5 ช.ม.)

¡  กะดึก 35 บาท (เปลี่ยนทุกสัปดาห์)

สวัสดิการ ได้แก่

¡  เบี้ยขยัน เริ่มจาก 600 บาทถึง 800 บาท

¡  โบนัสประจำปีกำหนด  71 วัน จ่ายทุกวันที่ 29 เดือนธ.ค.

¡  ค่าครองชีพ 960 บาท/เดือน

¡  ค่าข้าว 20/ด

¡  ค่าความเสี่ยง 12 บาท/วัน ในแผนกส่องกล้อง

รวมสวัสดิการที่เป็นตัวเงิน  2,735-3,047 บาทต่อวันทำงาน 26 วัน

การปรับค่าจ้าง เดือนละ 2,160 สำหรับพนักงานรายเดือน ดังตัวอย่างเช่น

¡  คนงานใหม่  8,460 บาท

¡  คนงานที่มีอายุงาน 4 ปี  8,910 บาท

¡  คนงานที่มีอายุงาน 10 ปี 10,200 บาท

¡  คนงานที่มีอายุงาน 16  ปี 11,000 บาท

¡  คนงานที่มีอายุงาน 20 ปี 12,290 บาท

¡  คนงานที่มีอายุงาน 21 ปี 14,000 บาท

จากรายได้ข้างต้น ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต พวกเขาจึงต้องการค่าจ้างวันละ 1,000 บาท เพื่อเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อีก 2 คน

เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินเดือนของฝ่ายบริหาร ทำให้เห็นโครงสร้างรายได้ที่เหลื่อมล้ำกัน ดังนี้

¡  ประธานบริษัทและกรรมการบอร์ด (ไม่ทราบแน่ชัด)

¡  ผู้จัดการโรงงาน 200,000

¡  รองผู้จัดการโรงงาน 150,000

¡  ผู้จัดการฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต, ฝ่ายบริหารทั่วไป  60,000-80,000

¡  รองผู้จัดการ เช่น ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ QA 40,000-60,000

¡  หัวหน้า Senior 40,000-50,000

¡  ซุปเปอร์ไวเซอร์   30,000-40,000 

¡  ผู้ช่วยซุปฯ 20,000

¡   Senior Staff  15,000

¡   Staff  12,000

¡   หัวหน้างาน 13,000+1,000 (ค่าตำแหน่ง)

¡   รองหัวหน้างาน Sub-leader-12,000+500 (ค่าตำแหน่ง)

¡   ฝ่ายปฏิบัติการ  8,460 (ปรับตามอายุงาน)

กรณีศึกษาข้างต้นพนักงานยังไม่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง แต่พบว่ามีปัญหาการลาออกของพนักงานเพราะไม่สามารถทนทำงานหนักได้ ที่ก่อให้เกิดปัญหาความเครียดตามมา

จากตัวอย่างการปรับตัวของทุนข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า ยังไม่มีการยกระดับมาตรฐานการจ้างงานให้สูงขึ้น  ล่าสุดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้าง จากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556 ว่ามีสถานประกอบการเลิกจ้าง จำนวน 41 แห่ง รวมลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1, 874  คน  ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง เพียง 495 คน แต่ยังมีสถานประกอบการเสี่ยงเลิกจ้างเพิ่ม อีก 24 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,901 คน  และมีแรงงานที่เป็นผู้ประกันตน ขึ้นทะเบียนว่างงานสะสมแล้วจำนวนประมาณ 52,000 คน

 ในการปรับตัวของทุนอีกรูปแบบหนึ่งคือ ปรับลดสวัสดิการเดิมลงเพื่อชดเชยกับการปรับอัตราค่าจ้าง ซึ่งพบเห็นทั่วไป เพื่อรักษาอัตรากำไรไม่ให้ลดลง อีกทั้งยังมีนายจ้างที่เลือกใช้วิธีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานเพื่อบั่นทอนอำนาจการเจรจาต่อรอง ดังกรณีของสหภาพแรงงานอิเลคโทรลักซ์ ที่สมาชิกจำนวน 129 คน ถูกเลิกจ้างจากการขอเจรจาปรับฐานเงินเดือนตามอายุงาน เมื่อเดือนม.ค.56  และยังมีสหภาพแรงงานด้านขนส่งภาคเอกชนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น

ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดย่อย-กลาง

จากข้อมูลจากปลัดกระทรวงแรงงานเมื่อเดือนม.ค. 56 พบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ปิดกิจการลง โดยสาเหตุหลัก คือ ประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เช่น ขาดออร์เดอร์สั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาเรื่องการย้ายกิจการจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ขาดสภาพคล่องจากการบริหารธุรกิจโดยภาพรวม  ดังนั้นการปิดกิจการจึงมาจากปัจจัยภายในสืบเนื่องจากปีที่แล้ว และอาจเป็นการกล่าวอ้างผสมรอยว่าเกิดจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจมากกว่า

สรุปประเด็นแรงงานจากสถานการณ์ปี 2555-2556

1.      แรงงานยังมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ

2.      แรงงานยังไม่มีอำนาจการต่อรองที่แท้จริง

3.      ระบบสวัสดิการถูกนายจ้างปรับลดและรัฐไม่ปรับปรุง

4.      ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนยังไม่ได้รับการแก้ไข

5.      ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานถูกแช่แข็ง

6.      นโยบายประชานิยมไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้

7.      กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไร้ประสิทธิภาพ

ปัญหาเศรษฐกิจแรงงานต่อนัยทางการเมือง มีประเด็นดังนี้

1.      การใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบ เพราะระบบอภิสิทธิ์ชนในโครงสร้างรัฐไทยเข้มแข็ง สถานะทางชนชั้นระหว่างทุนกับแรงงานยังคงแตกต่างกัน

2.      ประชาชนถูกลดทอนอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่มีอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายในระดับสถานที่ทำงานและระดับการเมือง

3.      ประชาธิปไตยอ่อนแอ การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีมากขึ้น สิทธิเสรีภาพในสถานที่ทำงานและระดับการเมืองของประชาชนยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง

4.      ไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เช่น เก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า ปรับปรุงสวัสดิการให้ได้มาตรฐานสากล

ข้อเสนอต่อการปรับปรุงแนวทางการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน

1.      ปรับปรุงขบวนการแรงงาน ด้วยการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสมาชิกให้มีพื้นที่แสดงออกมากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างสมาชิกกับแกนนำทั้งด้านความสามารถและอำนาจการตัดสินใจ

2.      สหภาพแรงงานต้องเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ระบบการเลือกตั้งที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอ และไม่ประกันการมีประชาธิปไตยภายในองค์กรได้เสมอไป

3.      มีโครงการทางการเมืองของตัวเอง มีชุดความคิดทางการเมืองชัดเจน

4.      มีชุดข้อเสนอที่เป็นระบบ และมีการจัดลำดับความสำคัญ

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พลทหารแมนนิ่ง: อเมริกามีสิทธิจะได้รู้ "ราคาที่แท้จริงของสงคราม"

Posted: 03 Mar 2013 01:57 AM PST

พลทหารแมนนิงสารภาพเหตุปูดเอกสารลับรัฐบาลสหรัสู่วิกิลีกส์ แจงสาธารณะควรรับรู้เพื่อได้ถกเถียงนโยบายต้านก่อการร้าย ในขณะที่ศาลทหารสหรัฐไม่รับคำสารภาพ และเตรียมดำเนินคดีข้อหาช่วยเหลือศัตรู ซึ่งอาจทำให้แมนนิงถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

 

3 มี.ค. 56 - เว็บไซต์เดอะ การ์เดียนรายงานว่า อัยการรัฐบาลสหรัฐเตรียมเดินหน้าดำเนินคดีต่อพลทหารแบรดลีย์ แมนนิงวัย 25 ปี ทั้งหมด 22 ข้อหา รวมถึงข้อหาช่วยเหลือศัตรู ซึ่งอาจทำให้เขามีสิทธิถูกจำคุกตลอดชีวิต แม้แมนนิ่งจะรับสารภาพเหตุผลของการเผยแพร่เอกสารลับของรัฐบาลสหรัฐต่อเว็บไซต์วิกิลีกส์ไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา 
 
โดยในการพิจารณาคดีเบื้องต้นก่อนการไต่สวนเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (28 ก.พ.) แมนนิ่งได้อ่านแถลงการณ์จำนวน 35 หน้า เพื่อชี้แจงเหตุผลของการเผยแพร่ข้อมูลลับของรัฐบาลสหรัฐ อาทิ วีดีโอที่ชื่อ "collateral murder" ซึ่งเผยการโจมตีของเฮลิคอปเตอร์สหรัฐในอิรัก และบันทึกสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน ในระหว่างที่เขาทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลในกองทัพสหรัฐที่กรุงแบกแดด เมื่อปี 2009 
 
แมนนิ่งกล่าวว่า สาเหตุที่เขาตัดสินใจส่งต่อเอกสารดังกล่าวให้กับเว็บไซต์วิกิลีกส์ เนื่องจากเขารู้สึกว่าประชาชนชาวสหรัฐมีสิทธิจะได้รับรู้ "ราคาที่แท้จริงของสงคราม" และรู้สึก "รังเกียจ" การกระทำที่กระหายเลือดของกองทัพสหรัฐที่ใช้เฮลิคอปเตอร์สังหารประชาชนชาวอิรัก ซึ่งส่งผลให้เด็กและนักข่าวรอยเตอร์อีกสองคนเสียชีวิต 
 


วีดีโอ "Collateral Murder" เผยการโจมตีของเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่สหรัฐในอิรัก

 
เขาเชื่อว่า บันทึกสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก  ซึ่งเผยแพร่ต่อมาโดยเว็บไซต์วิกิลีกส์ เป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดในยุคสมัยต่อการเปิดเผยราคาที่แท้จริงของการทำสงคราม 
 
ทั้งนี้ บันทึกสงครามอิรัก (Iraq war logs) เป็นเอกสารที่รวบรวมรายงานการทำสงครามของกองทัพสหรัฐในอิรักจำนวน 391,832 ฉบับ ระหว่างปี 2004-2009 ซึ่งบันทึกสถิติการเสียชีวิตของประชาชนทั้งหมด 150,000 คน และในจำนวนนั้นคิดเป็นพลเรือนราวร้อยละ 80 ของทั้งหมด ส่วนบันทึกสงครามอัฟกานิสถาน (Afghan war logs) ได้รวบรวมเอกสารลับจำนวน 91,731 ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งต่อมาวิกิลีกส์ได้เผยแพร่ต่อหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน, นิวยอร์กไทมส์ และ แดร์ ชปีเกล จำนวน 75,000 ฉบับ 
 
"เราหมกมุ่นกับการจับคนและสังหารเป้าหมายตามคำสั่ง และทำให้เราละเลยเป้าหมายและภารกิจ ผมเชื่อว่าหากสาธารณะ โดยเฉพาะประชาชนชาวอเมริกาได้รับรู้เรื่องนี้ มันอาจจะทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องกองทัพและนโยบายต่างประเทศ ที่ทำให้สังคมได้ฉุดคิดเรื่องความจำเป็นในการต่อต้านการก่อการร้ายที่ทำให้เราละเลยสถานการณ์ของมนุษย์ที่เรามีส่วนร่วมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน" แมนนิงกล่าว 
 
ในระหว่างการพิจารณาคดีเบื้องต้น ผู้พิพากษาได้ถามย้ำถึงแถลงการณ์ของแมนนิง ซึ่งแมนนิงได้ย้ำถึงเหตุผลทางศีลธรรมที่จำเป็นต่อการกระทำของเขา ว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ที่ดีต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม เขาก็ยอมรับว่า การกระทำดังกล่าว ทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาต และส่งผลเสียต่อระเบียบวินัย และชื่อเสียงของกองทัพ 
 
แมนนิงถูกดำเนินคดีภายใต้ศาลทหารจำนวน 22 ข้อหา โดยถึงแม้เขาจะรับสารภาพใน 10 ข้อหา แต่ยังปฏิเสธไม่รับในข้อหาจารกรรมหรือการช่วยเหลือศัตรู ซึ่งเป็นข้อหาร้ายแรงที่อาจทำให้เขาถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
 
ผู้สนับสนุนแมนนิงได้ประท้วงการดำเนินคดีดังกล่าว โดยชี้ว่าแมนนิงได้รับสารภาพและทำสิ่งที่จำเป็นไปแล้ว และชี้ว่า การตัดสินใจของอัยการเป็นการกระทำทางการเมือง เพื่อที่จะส่งข้อความออกไปยังสาธารณะว่า รัฐบาลสหรัฐจะไม่ทนต่อการกระทำของแบรดลีย์แม้แต่น้อย
 
ทั้งนี้ ศาลมีกำหนดไต่สวนในวันที่ 3 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ และคาดว่าอาจใช้ระยะเวลาราว 12 อาทิตย์ แต่อาจจะสั้นลงบ้างเนื่องจากการสารภาพของแมนนิง ทำให้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าแมนนิงนำเอกสารดังกล่าวออกมาเผยแพร่สู่วิกิลีกส์ 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพ็ญจันทร์ โพธิ์บริสุทธิ์

Posted: 02 Mar 2013 09:05 PM PST

"อินเตอร์เน็ตช่วยส่งเสริมประชาธิปไตยและให้ข้อมูลกับคนที่กำลังจะไปเลือกตั้ง แต่ปัญหาของคนไทยคือ คิดว่าคนอื่นๆ จะเป็นคนที่โดนกล่อมโดนหลอกได้ง่ายโดยสื่อ เลยจะต้องมีการแบนกันเรื่อยมา"

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยยูทาห์ ผู้ศึกษาวิจัยด้านโซเชียลมีเดีย กล่าวถึงการเคอร์ฟิวโซเชียลเน็ตเวิร์คห้ามหาเสียงหลัง 6 โมงเย็น

15 ปีองค์กรอิสระ 'วิษณุ วรัญญู' ชี้อำนาจล้น แนะเอาออกจาก รธน.

Posted: 02 Mar 2013 07:50 PM PST

1 มี.ค.56 เว็บไซต์ประชาไทร่วมกับโครงการสะพาน จัดงานสัมมนา "15 ปีองค์กรอิสระ สำรวจธรรมาภิบาล สำรวจประชาธิปไตย" โดยมี คริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

พงศ์เทพ กล่าวว่า องค์กรอิสระกับธรรมาภิบาลเป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องขบคิดกันอย่างจริง จากประสบการณ์ที่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นจุดก่อกำเนิดองค์กรอิสระนั้นทำให้เห็นว่า สสร.ในเวลานั้นผิดพลาด เพราะคิดว่าจะหาคนที่เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้เข้ามาในองค์กรอิสระ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้อย่างที่คาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ใครจะมาตรวจสอบองค์กรเหล่านี้ซึ่งมีอำนาจมหาศาล ทำอย่างไรที่จะจัดกลไกให้องค์กรเหล่านี้ต้องมีการยึดโยงกับประชาชนและต้องถูกตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญ 2550 สร้างกลไกที่ประหลาดมาก รัฐสภาซึ่งส่วนใหญ่มาจากประชาชน มีอำนาจจำกัดในการตรวจสอบองค์กรอิสระ กรรมาธิการต่างๆ ไม่สามารถเรียกคนในองค์กรอิสระ หรือฝ่ายตุลาการ มาสอบถามได้

รศ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด และหัวหน้าโครงการวิจัย 'องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ' เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ปี 2539 กล่าวว่า การพูดถึงองค์กรอิสระ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยถูกแช่แข็งด้านพัฒนาการรัฐธรรมนูญมาเป็นเวลานานนับแต่ปี 2490 การยกร่างรัฐธรรมนูญล้วนอยู่ในวงจรเดิมและขาดจิตนาการใหม่ๆ สวนทางกับกระแสโลก จนมาถึงรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเริ่มมีสิ่งใหม่ จินตนาการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น องค์กรอิสระ  การบรรจุองค์กรอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้หลุดพ้นจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง แต่ผลก็คือ ทำให้องค์กรเหล่านี้เองรวมถึงคนทั่วไปเข้าใจว่า คือ องค์กรอิสระเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นองค์กรเทียบเท่ารัฐสภา  รัฐบาล ศาล ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และทำให้องค์กรอิสระไม่ถูกตรวจสอบ

วิษณุกล่าวในรัฐธรรมนูญ 2550 ไปไกลยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 องค์กรอิสระถูกจัดหมวดหมู่ว่าเป็น "องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" อย่างชัดเจนในทางการตรวจสอบก็มีการจำกัดอำนาจศาลปกครองไว้ด้วยว่า จะตรวจสอบอำนาจชี้ขาดขององค์กรเหล่านี้ไม่ได้

เขากล่าวต่อว่า ลักษณะเช่นนี้ส่งผลเสียหลายประการ คือ เกิดการทับซ้อนกับอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอื่นๆ และเป็นตัวนำสู่วิกฤตการเมือง การบริหารได้ง่าย  และทำให้ไม่มีการคิดค้นที่จะมีองค์กรอิสระนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไทยไปไกลจนควรจะต้องพัฒนาองค์กรอิสระขึ้นมาอีกหลายส่วน ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ สามารถออกเป็นกฎหมายเฉพาะได้  เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสารออนไลน์ เพื่อดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชน, องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐ,  องค์กรที่ดูแลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม  เป็นต้น

สำหรับข้อเสนอนั้นวิษณุระบุว่า ในการจัดทำรัฐธรรมนูญบับใหม่ ควรจะกำหนดสถานะ หรือที่ทางขององค์กรอิสระให้ถูกต้อง ชัดเจนว่าเป็นองค์กรประเภทไหน และในการที่จะกำหนดอำนาจหน้าที่ ที่มา โครงสร้าง ขององค์กรอิสระควรได้มีการศึกษาในแต่ละส่วน แต่ละกิจกรรมว่าควรเป็นอย่างไร เพราะจะกำหนดที่มาเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการตรวจสอบได้ และวางระบบให้มีประสิทธิภาพจริงๆ ไม่ใช่เขียนไว้เพียงสวยหรู ซึ่งมีวิธีที่จะใช้จินตนาการคิดให้เกิดความรับผิดชอบขององค์กรอิสระได้หลายรูปแบบ

เมธี ครองแก้ว อดีต ป.ป.ช.กล่าวว่า จากการที่ตนเองเป็นกรรมการ ปปช. มา 6 ปี คิดว่าองค์กรอิสระเป็นนวัตกรรมที่แหวกแนวคิดแบบเดิมๆ การเกิดขึ้นขององค์กรอิสระคือการสร้างฐานอำนาจที่ 4 ที่มีความเด่นเฉพาะที่นอกจาก 3 อำนาจหลักคือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ซึ่งทั้ง 3 อำนาจในไทยมีความไม่สมบูรณ์ในกาทำงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาในตัวมันเอง จึงต้องสร้างฐานอำนาจที่ 4 เพื่อสร้างความถ่วงดุล ส่วนกระบวนการตรวจสอบองค์กรอิสระนั้น จากประสบการณ์การทำงานเห็นว่า ไม่มีปัญหา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้ทำงานมีอยู่แล้ว ไม่ต้องกังวล รวมทั้งกรรมการภายในก็ตรวจสอบกันเองอยู่ นอกจากนี้ยังถูกตรวจสอบโดยวุฒิสภาอีก อีกทั้งทุกครั้งที่มีการชี้มูลก็จะถูกฟ้องกลับทุกครั้ง รวมทั้งมีการทำรายงานต่อสภาและแถลงต่อประชาชนทุกปี เราทำงานด้วยความระมัดระวังที่สุด ไม่มีการลุแก่อำนาจ

โคทม อารียา อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยไม่ได้มีถึง 4 อำนาจ เหมือนดังที่เมธีกล่าว แต่มีอยู่เพียง 3อำนาจครึ่ง  เพราะฝ่ายนิติบัญญัติกับบริหารเป็นอำนาจที่ควบกันเป็นหนึ่งอำนาจครึ่ง

บทบาทขององค์กรอิสระยังคงมีความจำเป็น เพื่อถ่วงดุลตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่คานกันและกินรวบ ส่วนอำนาจตุลาการก็เป็นมรดกจากรัฐราการ ในช่วงที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่น่าสนใจคือ จะออกแบบอย่างไรให้ยึดโยงกับประชาชนแต่ไม่เสียความเป็นอิสระ

สำหรับปัญหาเรื่องขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระนั้น โคทมเห็นว่าไม่ควรนำองค์กรอิสระออกจากรัฐธรรมนูญ  แต่ควรมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญรองรับว่าองค์กรใดควรมีฐานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอิสระได้ง่ายขึ้นหากมีความจำเป็น ในส่วนของการตรวจสอบองค์กรอิสระนั้น ปัจจุบันการเงินมีระบบตรวจสอบอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบได้โดยศาล ในส่วนของประชาชนก็สามารถเข้าชื่อกันถอดถอนได้ เรื่องสำคัญกว่าคือจะปลอดการแทรกแซงจากการเมืองได้หรือไม่ เรื่องงนี้หากองค์กรอิสระเข้มแข็ง อยู่ในสายตาประชาชน ผลงานมีประชาชนสนับสนุนก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นไม่ว่า การใช้อำนาจเกิน, การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ยังไม่ทันได้รับการแก้ไขก็เกิดรัฐประหารเสียก่อน  ยกตัวอย่างปัญหา กรณี ปปช. เมื่อชี้มูลแล้วต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ มันสร้างปัญหามาก เท่ากับเป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน  ส่วนปัญหาการตรวจสอบนั้น การฟ้องศษลอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะหลายเรื่องฟ้องศาลไม่ได้ เช่น การตรวจสอบว่าเลือกปฏิบัติ เมื่อไปร้องกับ ส.ว.ที่จะทำหน้าที่ถอดถอนได้ แต่ปรากฏว่าเป็น ส.ว.สรรหาอีก กลไกนี้ก็ล้มเหลว ฉะนั้น การหักเหหลังรัฐประหารจนเกิด รธน.50 เกิดผลกระทบที่สำคัญและร้ายแรงต่อระบบอำนาจ อำนาจมากไปลดลงมาได้ แต่ที่มาและการตรวจสอบเป็นเรื่องสำคัญที่มีปัญหามาก และเมื่อมีการถกเถียงเรื่องนี้ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญด้วยนั้น โดยสภาพทำให้องค์กรอิสระย่อมอยู่กับข้างที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ

ในช่วงบ่ายมีการจัดสัมมนาอีกหัวข้อหนึ่งในเรื่อง องค์กรอิสระ สื่อมวล สองพลังสร้างธรรมภิบาล โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปรายได้แก่ สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฏหมาย, สุภิญญา กลางรณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, ภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ภัทระ คำพิทักษ์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สื่อข่าวข่าวหนังสือพิมพ์มติชนและมีบทบาทสำคัญในการขุดคุ้ยกรณีทุจริตยาเมื่อปี  2541  กล่าวว่า เวลาพูดเรื่ององค์กรอิสระ เมื่อมองระยะสั้นจะเห็นเพียงการถกเถียงกันเพียงแต่ว่าควรมีหรือไม่มีองค์กรอิสระ จากฝ่ายที่ชอบและไม่ชอบทักษิณ ทั้งที่เราควรมองยาวไปกว่านั้น เพราะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่เกิดมาเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ

นอกจากนี้ภัทระหยิบยกกรณีการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับ ป.ป.ช.จนนำไปสู่การนำนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการงทุจริตยามาลงโทษได้ เมื่อปี 2541 ด้วย

"ในกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังมีหลายกรณีที่ผู้บริหาร ป.ป.ช.กับสื่อมวลชนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างไม่เป็นทางการ แต่โดยรวมแล้วภาพขององค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ 40 แทบไม่มีองค์กรอื่นๆ อีกที่สื่อได้ทำงานใกล้ชิด นอกจาก ป.ป.ช. แล้วยังไม่มีการประสานพลังกันมากพอ"

ภัทระกล่าวว่า สังคมไทยเป็นประชาธิปไตย แต่วัฒนธรรมหลายอย่างไม่เกิดขึ้น ไม่ยอมรับความเห็นต่าง ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล เมื่อไม่เกิดสิ่งเหล่านี้องค์กรอิสระทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต้องมีอยู่ แม้ตัวองค์กรอิสระหลายแห่งจะมีปัญหาเป็นที่ถกเถียงในสังคม แต่หากดูโดยภาพรวมจะเห็นว่าช่วงนี้ยังคงเป็นช่วงของการเรียนรู้ เป็นช่วงที่มีโจทย์เพิ่มขึ้นหลายอย่าง มีวิกฤตให้เราได้ทดลองหลายอย่าง  ต้องใจเย็นสักนิดในช่วงการลองผิดลองถูกขององค์กรอิสระทั้งหลาย  การใช้รัฐธรรมนูญในแต่ละช่วงล้วนมีปัญหาเฉพาะของมัน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะรธน.40 ดีกว่า 50 หรือเปล่า แต่สิ่งที่ต้องคิดให้มากคือ ในการใช้รัฐธรรมนูญแต่ละครั้งนั้นมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในสังคมที่บิดเบี้ยวนี้ ต้องยอมรับความจริงและหาทางแก้ไข คนหวังว่าการมีองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่พอทำแล้วไม่ได้ผล ถ้าเราจะแก้กฎหมายจะลดจะเพิ่มองค์กรอิสระก็ดี เราต้องเข้าใจที่มาที่ไปขององค์กรอิสระ และเข้าใจทั้งระบบว่าการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจในภาพรวมคืออะไร ถ้าเราจะใส่อำนาจให้นักการเมืองมากขึ้น องค์กรตรวจสอบนักการเมืองจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพด้วย

สุนี ไชยรส กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 40 เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างดุลยภาพและตรวจสอบทุกอำนาจ หัวใจสำคัญในการตรวจสอบคือ ข้อมูลต่างๆ ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 (สสร. 40) ถกเถียงกันมากในเรื่องนี้จนเห็นว่า 3 อำนาจหลักยังไม่เพียงพอ จึงต้องหากลไกขององค์กรอิสระ บนแนวคิดว่ารัฐบาลต้องถูกตรวจสอบได้ตลอดเวลา การร่วมมือกันระหว่างองค์กรอิสระและสื่อมวลชนจะทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในสังคมเพื่อส่งเสริมธรรมภิบาลได้มาก โดยหลักการเราจึงต้องเน้นให้มีเสรีภาพสื่ออย่างสูงสุดในสังคมประชาธิปไตย แต่ทั้งสองส่วนก็ต้องตรจสอบซึ่งกันและกันได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรอื่นอาจจะถูกสื่อถูกประชาชนวิจารณ์ได้มาก แต่องค์กรอิสระอย่างศาล ดูเหมือนคำวิจารณ์ยังไปไม่ค่อยถึง

สุนีกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ 40 ไม่ได้ดีทั้งหมด แต่ก็ยังถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกับภาคประชาชนผ่านคณะกรรมการสรรหา ยึดโยงกับวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนด้วย แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงเป็นรัฐธรรมนูญ 50 ทำให้ที่มาและองค์ประกอบขององค์กรอิสระเพี้ยนจากเจตนารมณ์เดิม การออกแบบไม่ยึดโยงกับประชาชน ส่วนใหญ่ยึดโยงกับศาลซึ่งมีบทบาทในการเลือกสรรองค์กรอิสระ

สุนียังหยิบยกประเด็นที่ฝากให้ประชาชนจับตา คือ กรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขร่างกฎหมายคณะกรรมการสิทธิฯ ที่กำลังเขาสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยเพิ่มประโยคสำคัญที่แย่มากว่า ห้ามกรรมการสิทธิฯ เปิดเผยข้อมูลที่ได้มากจากการตรวจสอบ เท่ากับเป็นการล็อคมือล็อคเท้าไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม กรณีที่จะเปิดข้อมูลได้เฉพาะการให้การต่อศาล กับการจัดทำรายงานของกรรมการเท่านั้น

ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี กล่าวว่า การทำหน้าที่ของสื่อในการทำข่าวสืบสวนเปิดโปงการทุจริตน่าจะทำได้ดีขึ้นเมื่อมีองค์กรอิสระเกิดขึ้น เพราะเป็นอำนาจที่ 4 ที่จะตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เช่น ป.ป.ช.  คตง. แต่องค์กรเหล่านี้ก็มีปัญหาภายในอยู่มาก ส่วนในกลุ่ม อัยการ กสม.และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ ก็มีปัญหาการเมืองแทรกแซง มีปัญหาในกระบวนการสรรหา

ปัญหาสำคัญของการทำงานร่วมกับระหว่างสื่อและองค์กรอิสระคือ แม้องค์กรอิสระจะเป็นช่องทางข้อมูลที่สำคัญ แต่ยังมีปัญหาการประสานข้อมูล หรือการที่องค์กรอิสระมีเรื่องต้องเก็บรักษาความลับ ปัจจุบันสถานบันอิศราพยายามสร้างความร่วมมือกับป.ป.ช.ในการอบรมให้ความรู้ผู้สื่อข่าวถึงบทบาทหน้าที่และช่องทางการเข้าถึงข้อมูล แต่ก็ยังไม่มีการสร้างกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม และเร็วๆ นี้สถาบันอิศรากำลังจะสร้างความร่วมมือกับคณะกรรมการสิทธิฯ เป็นลำดับต่อไป

สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า เวลาเราพยายามจะปิดจุดอ่อนในตัวบทกฎหมาย แต่ก็มักมีจุดอ่อนใหม่เสมอ กฎหมายเกี่ยวกับ กสทช.ปรับกันมายาวนาน เมื่อกลุ่มทุนเข้ามามากเราพยายามกีดกัน แต่สุดท้ายสัดส่วนกรรมการก็เหมือนหนีเสือปะจรเข้า มีภาครัฐราชการทหารพลเรือนเข้ามามาก ไม่ว่าจะรอบคอบอย่างไรก็อยู่ที่คนที่เข้ามาด้วยโดยเฉพาะ และน่าจะต้องมีการระบุในกฎหมายให้ชัดเจนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลของกสทช.ด้วยโดยเฉพาะการตัดสินใจของกรรมการ เพราะ กสทช.นับเป็น "Super องค์กรอิสระ"

อย่างไรก็ตาม กสทช.ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ศักดิ์ศรีในทางราชการยังไม่เท่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้ถูกเขียนชื่อไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นองค์กรภายใต้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในความเป็นจริงเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มากเพราะมีรายได้ของตัวเองจำนวนมหาศาล ไม่ต้องขอรัฐสภา ลดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ข้อดีของการมีรายได้เองคือ อิสระจริง ไม่ง้อทุนจากภาครัฐ แต่ข้ออ่อนคือทำให้องค์กรใช้เงินมือเติบและไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มข้น และมีความซับซ้อนขึ้นกว่าองค์กรอื่นโดยเฉพาะเมื่อ กสทช.กลายเป็นองค์กรที่ใช้งบโฆษณามาก และหากมีการปรับแก้กฎหมาย ควรให้มีการตรวจสอบรายปีโดยรัฐสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก ‘บุญสนอง บุญโยทยาน’ ตื่นตาพรรคฝ่ายซ้ายฝรั่งเศส-มาเลย์-เอลซวาดอร์

Posted: 02 Mar 2013 07:29 PM PST

จากซ้ายไปขวา ปิยบุตร แสงกนกกุล อานนท์ ชวาลาวัณย์ พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ และพัชณีย์ คำหนัก ในการเสวนาหัวข้อ "ว่าด้วยพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตย" ในงานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน เมื่อ 1 มีนาคมที่ผ่านมา

2 มี.ค.56  โครงการรวบรวมประวัติและผลงานของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน จัดงานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน เหลียวหลังแลหน้า ทางออกระบบพรรคการเมือง ที่ ร.ร.รามาการ์เดนส์ ย่านหลักสี่ ถ.วิภาวดีรังสิต โดยในงานมีวงสัมมนาว่าด้วยตัวอย่างพรรคสังคมนิยมในประเทศต่างๆ ได้แก่ อานนท์ ชวาลาวัณย์:  พลวัตพรรคการเมืองในอเมริกากลาง กรณีศึกษาพรรคการเมืองในเอลซัลวาดอร์, พัชณีย์ คำหนัก: พรรคฝ่ายซ้ายในอาเซียน กรณีศึกษาพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในมาเลเซีย, ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล : การกลับมาของพรรคสังคมนิยมในฝรั่งเศส

ทั้งนี้ บุญสนอง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการ 'พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย' ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของผู้มีแนวคิดสังคมนิยม และบางส่วนจาก "กลุ่มคน 100 คน ที่ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" และ "13 กบฏ เรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ที่เป็นจุดสำคัญของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาเคยลงสมัครสมาชิกผู้แทนราษฎร ในปี 2518 แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาเขาถูกลอบยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางโดยรถยนต์ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ในวันที่ 28 ก.พ.2519

ปิยบุตร แสงกนกกุล และอานนท์ ชวาลาวัณย์ ในการเสวนาหัวข้อ "ว่าด้วยพรรคการเมืองในโลกประชาธิปไตย" ในงานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน เมื่อ 1 มีนาคมที่ผ่านมา

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ลักษณะพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสนั้นจุดกำเนิดเพื่อเป็นฝ่ายค้าน จนตัดสินใจทบทวนว่า ค้านตลอดเวลา ไม่ได้ทำ ไม่มีประโยชน์จึงปรับพรรคใหม่ ทำอย่างไรได้เป็นรัฐบาล พรรคสังคมฝรั่งเศสไม่มีเจ้าของ เพราะมีอุดมการณ์พรรคชี้นำ มีประชาธิปไตยภายในพรรค สมาชิกมีส่วนร่วม เถียงกัน กัดกันมาก แต่เวลาเลือกตั้งผนึกกำลังกัน มีการสร้างคนทุกปี อย่างไรก็ตาม พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสปัจจุบันมีความถึงรากถึงโคน (radical)  น้อยลง แลกกับการไปเป็นรัฐบาล เพื่อให้อุดมคติเกิดผลในทางความจริง นอกจากนี้การสร้างพันธมิตรและแนวร่วมตลอดเวลาก็เป็นปัจจัยสำคัญ พันธมิตรยาวนานที่สุดคือ สหภาพแรงงาน ประกอบกับพรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆ ตั้งแต่พรรคกรีนจนถึงพรรคคอมมิวนิสต์

"ถ้าถามว่าในประเทศไทย สังคมนิยมจะกลับมาได้ไหม ตราบใดที่สังคมการเมืองของไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ผมว่ายาก ประชาธิปไตยมันต้องได้ แล้วตอนนั้นจะเถียงกันแล้วว่า จะขวา จะซ้าย ประเทศไทยไม่มีขวาซ้าย มีแต่ประชาธิปไตยกับเผด็จการ ในต่างประเทศที่ลงข่าวสลายชุมนุม รัฐประหาร ต่อให้เป็นฝ่ายขวายุโรปก็งง รับไม่ได้ ดังนั้น  เอามิติฝ่ายซ้ายมาจับประเทศไทย มันจับไม่ถูก เพราะมันยังไม่เป็นแม้แต่ประชาธิปไตย" ปิยบุตรกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า หากย้อนมองดูประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น ในฝรั่งเศสและเยอรมัน จะพบว่า ชะตากรรมของคนที่เป็นสังคมนิยม มักถูกฝ่ายรัฐเข้าสั่งหารโดยวิธีนอกกฎหมายเสมอๆ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ ดร.บุญสนอง

สำหรับพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสนั้น ปิยบุตรแบ่งการอธิบายเป็นสองประเด็นใหญ่ ได้แก่ พัฒนาการของพรรคสังคมนิยมฝรั่ง และปัจจัยที่ให้พรรคนี้อยู่ในฐานะพรรคของมวลชน ไม่มีเจ้าของ

เขากล่าวว่า ในปี 1870 ซึ่งฝรั่งเศสเข้าสู่สาธารณรัฐที่3 ฝ่ายซ้ายของฝรั่งเศสมี 2 สายคือ  ซ้ายปฏิรูปที่นิยมระบบรัฐสภา และฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง ที่ใช้แนวทางติดอาวุธ  แต่ทั้งสองสายนี้ก็ไม่แตกกันมากเพราะมีศัตรูร่วมกันอยู่ที่ระบอบกษัตริย์และ ความคิดแบบนโปเลียน โบนาปาร์ต แต่แม้ทั้งสองสายจะทะเลาะกัน แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้จะเห็นว่าซ้ายสองกระแสทะเลาะกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ฝ่ายซ้ายก้าวหน้าไปได้คือ การที่ฝรั่งเศสรับรองสิทธิการนัดหยุดงาน ในปี 1864 ซึ่งทำให้ฝ่ายซ้ายมีเครื่องมือในการต่อรอง

ปิยบุตรกล่าวต่อว่า ปี 1889 มีการจัดสากลที่ 2 ที่ปารีส ซึ่งเป็นการรวมพลังฝ่ายซ้าย ปี 1905 ฝรั่งเศสตั้งกลุ่ม SFIO (French Section of the Workers' International ) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแรกของการตั้งพรรค ในปี 1920 สากลที่ 3 เลนินขึ้นมา และทำให้ฝ่ายซ้ายแตกอีกรอบ เนื่องจากเขาตั้งเงื่อนไขบางอย่างซึ่งทำให้ฝ่ายซ้ายทะเลาะกัน  เสียงข้างมากตัดสินใจออกไปตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส เน้นการปฏิวัติทั้งโลกพร้อมกัน ส่วนที่ยึด SFIO ก็ตั้งพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส  จนกระทั่งในปี 1936 หัวหน้าพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่เพียงไม่นานก็ล้มก่อนเข้าสู่สงครามโลกหลังสงครามโลก เป็นช่วงฝ่ายซ้ายตกต่ำ ส่งสมาชิกลงแข่งขันเลือกตั้ง ได้ก็ได้คะแนนเสียงเพียง 5%

เขากล่าวต่อว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสคือ เกิดมาเพื่อเป็นฝ่ายค้านตลอดเวลา ในช่วงหลังจึงคิดกันได้ว่าหากไม่มีโอกาสนำสิ่งที่ค้านไปทำย่อมไม่เกิดประโยชน์ จึงคิดปรับพรรคใหม่หาทางให้ได้รับเสียงข้างมาก หมุดหมายสำคัญคือ ปี 1971 มีการจัดประชุมสภาใหญ่ ครั้งนั้นมีคนขอลงสมัครเป็นผู้นำพรรคหลายคน   เมื่อได้หัวหน้าก็เริ่มจัดรณรงค์หลายปีโดยเริ่มการรวมกลุ่มสารพัดซ้าย หลากหลายเฉดเข้าด้วยกัน  จนกระทั่งปี 1981 พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาและได้เป็นประธานาธิบดี การรวมเสียงที่สำคัญคือการสร้างพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส มีการหารือกันเพื่อเตรียมวางแผนนโยบายใหม่ โดยจูนคลื่นกันไว้ก่อนระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับพรรคสังคมนิยม

ครั้งนี้เป็นการชนะแบบสง่าผ่าเผย  เมื่อได้บริหารประเทศ พรรคฝ่ายซ้ายจัดการทุกอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปี ผลงานสำคัญ เช่น ยกเลิกโทษประหารชีวิต, กำหนดเกษียณอายุที่ 60 ปี , สิทธิในการลาคลอดทั้งชายหญิง คนละ 5 สัปดาห์ต่อบุตร 1 คน, การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ, การเก็บภาษีผู้มีรายได้สูง, อนุญาตให้สตรียุติการตั้งครรภ์ได้โดยสมัครใจ ซึ่งฝ่ายขวาทำมาก่อน แต่ฝ่ายซ้ายเพิ่มในส่วนว่าเบิกประกันสังคมได้, การทำวิทยุโทรทัศน์ช่องความรู้, การแก้ไขเรื่องบทบาททางการเมืองหญิงชายให้เท่ากัน, การกำหนดการทำงานขั้นสูงไม่เกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ที่สำคัญคือ ทำรถไฟความเร็วสูง,การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นซึ่งมีการเลือกตั้งโดยตรง, สร้างพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ฯ ฝ่ายซ้ายเติบโตมาเรื่อยแล้วจึงค่อยๆ ถดถอยลง ประกอบกับยุโรปเริ่มลดบทบาทรัฐด้วย ฝ่ายขวจึงกลับมาได้ในที่สุด

ปิยบุตรกล่าวต่อว่า ในปี 2008 มีจัดสัมมนาใหญ่ เพราะฝ่ายซ้ายแพ้ฝ่ายขวาอย่างหนัก จึงทบทวนกันอีกครั้งเพื่อปรับพรรคอีกรอบให้ได้เสียงข้างมากในสภา ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในปี 2012 วิธีการปรับพรรค คือ ย้อนกลับไปเอาสมาชิกพรรค แกนนำพรรคเคาะประตูหาชาวบ้านใหม่ โดยมีสโลแกน "ฝรั่งเศสที่เรารัก" ไถ่ถามทุกบ้าน ขอดีเบตกับทุกพื้นที่ทั่วประเทศถึงแนวนโยบายด้านต่างๆ หลังจากนั้นแบ่งทีมศึกษา เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา ความปลอดภัย เศรษฐกิจ แล้วจัดงานอภิปรายตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆ เชิญสมาชิกพรรคมาแลกเปลี่ยน สิ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ คือ การนำระบบ primary vote มาใช้ โดยในตัดสินหาตัวแทนลงสมัครเพื่อเป็นประธานาธิบดีในปี 2012 ผู้สมัคร 6 คนต้องแข่งขันกันจนชนะโหวตในพรรคก่อน แสดงให้เห็นว่าตัวแทนที่ลงแข่งจะไม่มีทางที่จะหิ้วกระเป๋าเงินเข้ามากำหนดได้ วิธีการแข่งขันก็ให้เลือกตั้งอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นมีสมาชิกพรรค 2.8 ล้านคนที่มาออกเสียงลงคะแนน ในการออกเสียงต้องนำเงินมาบริจาคให้พรรคด้วย 1 ยูโร มีการจัดดีเบตออกโทรทัศน์ 3 ครั้ง จนสุดท้ายได้ ฟร็องซัว ออล็องด์  เป็นผู้ชนะ ส่วนนโยบายก็มีการทำไว้แล้วเรียบร้อยจากการเดินสายหารือทั่วประเทศ เขาลงเลือกตั้งโดยม สโลแกนว่า "การเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวนี้ !" โดยในแผ่นพับโฆษณา มีแนวนโยบายทั้งหมด 60 ข้อ หลังจากได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี สื่อและทุกฝ่ายก็ตรวจสอบจาก 60 ข้อดังกล่าว

"หากเราดูการเดินทางของพรรคสังคมนิยมปัจจุบัน เราจะเห็นว่าปี 2012 พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ชนะทุกสนามเลือกตั้ง  แต่ก็ไม่มีทหาร ไม่มีใครออกมาพูดว่า นี่คือเผด็จการรัฐสภา เผด็จการกินรวบประเทศ ฝ่ายขวาเขาก็รอ อีก 5 ปีมาเลือกกันใหม่ ซึ่งไม่แน่อาจชนะเพราะฝ่ายซ้ายเก็บภาษีเยอะ" ปิยบุตรกล่าว

 ในส่วนของปัจจัยที่ทำให้พรรคสังคมนิยมไม่มีนายทุนใหญ่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ปิยบุตรกล่าวว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ 1.มีอุดมการณ์ชี้นำพรรคอยู่แล้ว โดยธรรมชาติจึงไม่มีใครเป็นเจ้าของ วัฒนธรรมภายในก็พยายามทำให้เป็นประชาธิปไตยตั้งแต่รากขึ้นมา

2.ฝรั่งเศสอาจประหลาดหน่อยตรงที่พรรคการเมืองเกิดจากเสรีภาพในการวมตัวกัน ในฝรั่งเศสสมาคมต่างๆ เต็มประเทศเพราะรวมตัวกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน แต่การจดทะเบียนกับรัฐจะได้ของแลกเปลี่ยน เช่น เงินอุดหนุน ลดหย่อนภาษี

3.พรรคสังคมนิยม มีแนวทางชัดเจนในการสร้างคนใหม่ๆ พรรคมีการสร้างมหาวิทยาลัยของเขาเอง 2 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยถาวรแห่งหนึ่ง คำซึ่งจะมีการจัดอบรมใหญ่ ปีละ 4 สัปดาห์ ที่จะจัด เวียนไปตามหัวเมืองใหญ่ พวกแกนนำ หัวคะแนนจะมาอบรม , อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยฤดูร้อน ทุกฤดูร้อนจะมีการจัดการศึกษาที่เมืองตากอากาศ เน้นกลุ่มเยาวชน นักศึกษา ที่เริ่มมีแนวคิดสังคมนิยม นอกจากเรียนรู้วิธีคิดแล้ว ยังได้เจอเพื่อนๆ สร้างเครือข่าย

4.สร้าง think thank ขึ้นมาชื่อ "ห้องทดลองของความคิด" เอานักวิชาการมานั่งสกัดนโยบาย โดยเอาข้อมูลจากที่เดินสายทั่วประเทศมาประมวลผล

5.การสร้างเครือข่าย ผูกมิตรกับขบวนการสหภาพแรงงาน กับอีกด้านคือเครือข่ายสังคมนิยมทั่วโลก

 

 

อานนท์ ชวาลาวัณย์ จากกลุ่มประกายไฟ กล่าวถึงการก่อตัวของพรรคสังคมนิยมในเอลซวาดอร์ คือพรรค FMLN  (The Farabundo Martí National Liberation Front) พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายนี้มีจุดก่อกำเนิดในแบบขบวนการติดอาวุธก่อน แล้วเพิ่งตั้งเป็นพรรคการเมืองเมื่อปี 1992

เอลซวาดอร์  อยู่ในอเมริกากลาง พึ่งพิงระบบเศรษฐกิจกาแฟ เกิดกลุ่มชนชั้นนำที่ผูกขาดที่ดิน คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานยากจน ไม่มีที่ดินเกิดการเมืองแบบเจ้าที่ดิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทหาร ปัจจัยที่ทำให้เกิดการต่อสู้  นอกจากนี้กระแสการปฏิวัติในคิวบา ซึ่งเป็นกลุ่มสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ก็ยิ่งทำให้คนหนุ่มสาวฮึกเหิม สุดท้ายเกิดการลุกขึ้นสู้โดยมีกองกำลังติดอาวุธหลายๆ กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีแนวทาง แนวคิดของตัวเอง การต่อสู้ไม่ได้มีเอกภาพมากนัก รู้แต่เพียงมีศัตรูร่วมกัน คือ รัฐบาลเผด็จการ ทำให้การต่อสู้ไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ ราวปี 1980 การลอบสังหารนักบวชคริสต์ที่ช่วยเหลือชาวนายากจนในเมืองหลวงโดยกลุ่มฝ่ายขวา ผลักดันให้กลุ่มติดอาวุธรู้สึกว่าต้องรวมตัวกัน FMLN ถูกตั้งขึ้นโดยในช่วงต้นเป็นร่มให้แต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันในลักษณะแนวร่วม

กลุ่มติดอาวุธยังไม่พร้อมจะสู้กับรัฐบาล แต่เมื่อเรแกนได้รับชัยชนะเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาเป็นประธานาธิบดี เขาสนับสนุนกลุ่มกองกำลังฝ่ายขวาในอเมริกาใต้และในหลายภูมิภาค  รวมทั้งหนุนเผด็จการเอลซวาดอร์ กลุ่มติดอาวุธฝ่ายซ้ายจึงต้องเปิดศึกระหว่างกัน และต้องชนะเร็วที่สุด สุดท้ายเกิดเป็นสงครามกลางเมือง

แต่เมื่อบริบทโลกเปลี่ยนแปลง กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย การสนับสนุนจากฝ่ายซ้ายทั้งหลายลดน้อยลง ทำให้ FMLN เริ่มอยากเจรจา แต่เพื่อให้เจรจาในสถานะเท่ากัน จึงรบหนักหน่วงขึ้น จนยูเอ็น เข้ามาเป็นตัวกลางเมื่อปี 1990 การเจรจาแบ่งเป็น 2 หัวข้อคือสร้างเงื่อนไขหยุดยิง กับ การรับคนเข้าสู่สังคม การเจรจาคืบหน้ามาด้วยดีและสำเร็จเมื่อปี 1992 ที่เม็กซิโก มีการยุติสงครามอย่างเป็นทางการ หลังการเจรจา ทหารกลับไปเป็นพลเรือน แปรสภาพตัวเองจากกองกำลังติดอาวุธเป็นพรรคการเมืองในระบบ ซึ่งก็มีข้อถกเถียงกันว่า จะไปทางไหนดี มุมหนึ่งคิดว่าสังคมนิยมคงไม่เวิร์คแล้วจึงลดระดับเหลือสังคมนิยมประชาธิปไตย

ประเด็นนี้ทำให้เกิดการแตกแยกภายใน ผู้ไม่เห็นด้วยก็แยกตัวออกไป ปี 2004 ถกเถียงเรื่องนี้อีก สุดท้ายพรรคในฐานะสถาบันทางการเมืองก็ยังอยู่ และเข้าสู่การเลือกตั้ง  ตัวแทนพรรคได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี คือ Mauricio Funes ซึ่งไปตกลงเป็นพันธมิตรกับกลุ่มกลางๆ ที่ไม่ได้เป็นสังคมนิยม และมีการพูดคุยกับกลุ่มทุนกลุ่มหนึ่งและได้รับการสนับสนุนเงินหาเสียง ปัญหาที่เกิดตามมาคือ มีพันธะผูกพันระหว่างกลุ่มทุนกับพรรคการเมือง นั่นคือ เขาสัญญาว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแบบถึงรากถึงโคนในเรื่องเศรษฐกิจ ทำให้เขาถูกครหาว่าสูญเสียตัวตน ปฏิรูปได้น้อยเกินไป แถมยังต้องพึ่งพิงสหรัฐด้วย เพราะประสบวิกฤตเศรษฐกิจและต้องกู้เงินจากอเมริกา

พัชณีย์ คำหนัก  นักวิจัยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย กล่าวถึงพรรคสังคมนิยมมาเลเซียว่า ในปีพ.ศ.2534 องค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรที่ทำงานกับคนจนเมืองและชนบทในประเทศมาเลเซียเริ่มจัดตั้งเครือข่ายแนวร่วม และอีก 3 ปีต่อมา ก็ได้ร่วมกันเดินขบวนประท้วงที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ มีคนเข้าร่วมจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นการตื่นของชนชั้นแรงงานในขณะนั้น

พรรคสังคมนิยมมาเลเซียประกาศตัวในปี 2541 แตในมาเลเซียจดทะเบียนพรรคด้วยชื่อ "สังคมนิยม" นั้นยากลำบากต้องใช้เวลาต่อสู้ถึง 10 ปีจึงได้จดทะเบียนพรรคการเมือง พรรคนี้ประกอบด้วยเสาหลักอย่างขบวนการชาวนา ขบวนการแรงงาน ที่มีประสบการณ์จัดตั้งยาวนาน ช่วงก่อตั้งมีข้อถกเถียงใหญ่ ใช้เวลา 3 ปี คือ 1. เป็นการฆ่าตัวตายทางการเมืองหรือไม่ เพราะแนวทางนี้ในมาเลย์ถูกทำลาย ผู้คนเข่นฆ่า จับกุมจำนวนมาก  แต่ก็ยังถกเถียงกันต่อว่าแนวทางที่ถูกคืออะไร นอกจากนี้พรรคนี้ยังมีรูปแบบในการเคลื่อนไหวแตกต่างจากพรรคใหญ่สองพรรค เพราะไม่ได้ยึดติดว่ารัฐสภาคือปลายทาง สิ่งที่เข้มแข็งคือ การทำงานกับมวลชน  นโยบายหลัก สิทธิแรงงาน ค่าจ้างขั้นต่ำ ขจัดนโยบายเสรีนิยมใหม่ (เช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) , ยับยั้งข้อตกลงการค้าเสรี, จัดหาความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้ชนบท, หยุดการเมืองศาสนาและเหยียดสีผิว, ขจัดทุจริตคอรัปชั่น

พัชณีกล่าวต่อว่า สำหรับบริบทของไทยนั้น  พรรคแนวร่วมสังคมประชาธิปไตย ประกาศตัวใน ปี 2553 แต่ก็ประสบปัญหาทางกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อพรรคสังคมนิยม ในขณะที่ประเทศในเอเชียมีพรรคคอมมิวนิสต์เช่น จีน เวียดนาม ที่ชนชั้นนำชอบเดินทางไปกระชับความสัมพันธ์ ชวนมาลงทุนในเมืองไทย  ซึ่งทางรัฐบาลจีนก็ควรจะเชิญ กกต. ไปดูงาน

สำหรับข้อเสนอต่อขบวนการประชาธิปไตยไทยนั้น เธอเสนอว่า ต้องปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมืองให้ตั้งพรรคสังคมนิยม เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้มากขึ้น เปิดให้มีการแข่งขันทางการเมืองอย่างเสรีจริง, กกต. ผู้พิพากษาต้องมาจากการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจ  และทัศนคติอันคับแคบ, รณรงค์ป้องกันการใช้ความรุนแรงกับคนนิยมแนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ หยุดวัฒนธรรมการฆ่า ทำลายประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลง, ตระหนักถึงบทบาทของประชาชนในขบวนการต่างๆ ได้แก่ ขบวนการแรงงาน ชาวนา รวมถึงองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยมากขึ้น และสร้างเสริมศักยภาพขององค์กรในการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ด้วยการริเริ่มสร้างพรรคมวลชน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่เอาเลือดเกย์ ... แต่ก็ได้เลือดเกย์ (อยู่ดี)

Posted: 02 Mar 2013 06:50 PM PST

ในที่สุดกรณีไม่รับเลือดบริจาคจาก 'ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย' ของสภากาชาดไทยก็กลายเป็นข่าวฮ็อต เมื่อปรากฏคลิปวิดิโอ 3 หนุ่มกระจายในเน็ทแสดงความอึดอัดขัดข้องใจกรณีไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทยแล้วถูกสภากาชาดไทยปฏิเสธไม่รับเลือดของพวกเขาเนื่องจากพวกเขาเป็น 'กะเทย'

โดยปกติเมื่อบุคคลมีความประสงค์จะบริจาคเลือด ทางศูนย์รับบริจาคจะมีแบบฟอร์มให้ผู้บริจาคเลือดกรอกหรือขีดเครื่องหมายลงในช่องสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบหรือกลั่นกรองว่าอย่างน้อยผู้บริจาครายนี้ก็มีสุขภาพร่างกายที่ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บในระดับหนึ่ง เพื่อที่จะนำเลือดที่ได้รับบริจาคนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบภายในห้องแล็บอีกที แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยที่กำลังรอรับเลือดตามโรงพยาบาลต่างๆ

หนึ่งในหัวข้อที่แบบฟอร์มต้องการให้ผู้บริจาคตอบคำถามลงไปก็คือ 'ท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือไม่' โดยกำหนดให้ตอบเฉพาะผู้บริจาคที่เป็นเพศชายเท่านั้น หากผู้บริจาคที่เป็นเพศชายกาเครื่องหมายตรงคำว่า 'ใช่' ลงไป สภากาชาดไทยก็จะไม่รับเลือดของผู้บริจาคท่านนั้นทันที เพราะถือว่าผู้บริจาคขาดคุณสมบัติตามที่สภากาชาดต้องการ  

สภากาชาดไทยถือว่า 'ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย' เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันของผู้บริจาคท่านนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว หรือมีการป้องกันที่ดี หรือแม้ว่าผู้บริจาคท่านนั้นจะเป็นชายที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ไม่ติดเชื้อใดๆ แต่หากท่านกาเครื่องหมายลงตรงช่องที่ยอมรับว่าท่าน 'เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย' แค่ขีดเดียว ความตั้งใจที่อุตส่าห์เตรียมตัวออกจากบ้านมาบริจาคเลือดเพื่อสร้างสมบุญกุศลก็จะหมดโอกาสไปในบัดดล

มีทางเดียวคือต้องเลี่ยงโกหกไปว่า 'ท่านเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง' เท่านี้เลือดของท่านก็จะได้รับการยอมรับ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิงถือเป็นเซ็กที่ตรงตามคุณสมบัติที่สภากาชาดไทยต้องการ แม้ว่าวิธีการมีเพศสัมพันธ์ของชายกับหญิงอาจจะไม่มีการป้องกันใดๆ เลยสภากาชาดไทยก็ยังถือว่าปลอดภัยกว่าเซ็กของเพศเดียวกันระหว่างชายกับชาย  เพียงเท่านี้ก็วิเคราะห์ได้ว่าสภากาชาดไทยมีความลำเอียงในการรับเลือดของผู้บริจาคเพียงใด เพราะสาเหตุของการแพร่เชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ได้เกี่ยวกับว่าบุคคลนั้นมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือต่างเพศ

ดังนั้น ขึ้นชื่อว่า 'เพศสัมพันธ์' ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศใดต่างก็มีความเสี่ยงเท่าๆ กันหากการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นไปโดยปราศจากการป้องกันที่ปลอดภัย

มีบางท่านกล่าวว่าการถือศีล 5 สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ได้ แต่ความจริงที่ปรากฏก็คือ มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งถึงแม้เธอจะถือศีล 5 ไม่มีกิ๊ก ไม่มีชายอื่น มีเพียงสามีคนเดียว แต่ในที่สุดเธอก็ติดเชื้อ HIV จากสามี การถือศีล 5 เพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้แปลว่าจะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ บางทีอาจต้องเขยิบขึ้นไปถือ 'ศีลพรหมจรรย์' คืองดมีเพศสัมพันธ์จึงจะได้ผลชะงัด แต่ก็เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างนั้น

ในกระบวนการรับเลือดจากผู้บริจาคมีการนำเลือดไปตรวจสอบในห้องแล็บ หากพบว่าเลือดมีเชื้อก็จะมีการนำเลือดนั้นไปทิ้งหรือทำลาย สภากาชาดจึงไม่จำเป็นต้องมีการเลือกปฏิบัติกับ 'ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย' ตั้งแต่การกรอกคุณสมบัติลงในใบสมัครเช่นนั้น ไม่มีประโยชน์อันใดที่สภากาชาดไทยจะต้องทำให้ผู้บริจาคต้องกลายเป็นคนโกหก

ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสสัมภาษณ์ชายผู้หนึ่ง เขาเล่าให้ฟังว่าเขาบริจาคเลือดทุก 3 เดือน ภายหลังจากบริจาคเลือดทางศูนย์จะส่งจดหมายขอบคุณไปที่บ้านทุกครั้ง ซึ่งหมายความว่าเลือดของเขาใช้ได้ ชายผู้นี้บริจาคเลือดติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

ในเรื่องการใช้ชีวิตทางเพศ ชายผู้นี้ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันค่อนข้างบ่อยและไม่ซ้ำหน้ากัน ที่สำคัญเขาใช้ถุงยางอนามัยป้องกันตนเองทุกครั้ง  

เขาบริจาคเลือดแล้วรอผลการบริจาคเลือดอยู่ที่บ้านซึ่งเท่ากับเป็นการตรวจหาเชื้อ HIV ไปโดยอัตโนมัติ เขาใช้วิธีนี้เพราะถือเป็นความสะดวกสบายอย่างหนึ่ง แม้จะทราบผลช้าหน่อยแต่ก็ไม่ต้องบากหน้าไปที่ศูนย์ตรวจเลือดโดยตรงให้เป็นที่สังเกต เพราะอาจจะต้องเสี่ยงกับการถูกตั้งคำถามที่ไม่พึงประสงค์จากเจ้าหน้าที่พยาบาล และแน่นอนเขาไม่เคยกาคำตอบต่อคำถามที่ว่า 'ท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือไม่'  มันไม่มีประโยชน์อะไรที่เขาจะต้องบอกความจริง เพราะจุดประสงค์ของเขาคือมาบริจาคเลือด ไม่ได้มาเปิดเผยว่าตนเองไปนอนกับใครมา

นอกจากจะได้บุญแล้วยังเป็นการตรวจหาเชื้อ HIV ไปโดยอัตโนมัติ เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว ระหว่างนั้นเขาก็ใช้วิถีชีวิตทางเพศตามปรารถนา ในขณะที่สภากาชาดไทยไม่เคยรู้ว่าแท้จริงแล้วมีเลือดเกย์กระจายสู่ผู้ป่วยไปมากมายเท่าไหร่ในแต่ละปี เพราะไม่มีเกย์คนไหนกาคำตอบว่า เขามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน อันเป็นการทำให้เสียโอกาสในการทำบุญบริจาคโลหิต และเลือดของพวกเขาก็ผ่านการตรวจสอบในห้องแล็บว่าใช้ได้เหมือนอย่างที่ชายหนุ่มคนดังกล่าวได้รับจดหมายขอบคุณส่งไปที่บ้านทุกครั้งหลังบริจาคโลหิต

จึงเป็นเรื่องที่ประเมินได้ว่าคนป่วยตามโรงพยาบาลที่รับเลือดกันไป คนที่รังเกียจเกียจเกย์ โรงพยาบาลที่รังเกียจเกย์ หมอและพยาบาลที่รังเกียจเกย์ สภากาชาดไทยที่รังเกียจเกย์ พวกเขาต่างก็รับเลือดจากเกย์กันไปในปริมาณที่บอกไม่ได้ว่ามากเท่าไรในแต่ละปี จึงออกจะเป็นเรื่องตลกในสังคมที่รังเกียจเกย์สังคมนี้ที่ไม่ต้องการรับรู้ว่าพวกเขาได้รับเลือดจากเกย์แม้แต่หยดเดียว แต่เลือดบริจาคที่กระจายไปในโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องมีหยดเลือดเกย์ผสมอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน

ผู้เขียนมองว่าสภากาชาดไทยควรนำคำถามว่า 'ท่านมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันหรือไม่' ออกจากแบบฟอร์มได้แล้ว เพราะในทางปฏิบัติไม่มีชายคนไหนกาคำตอบว่าตนเองมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันลงไปในแบบฟอร์มแน่นอน เพราะเขามาบริจาคเลือดไม่ได้มาเปิดเผยว่าตนเองไปนอนกับใครมา และเชื่อว่าเกย์จำนวนมากก็คงไม่มีใครระบุเช่นนั้น เพราะเท่ากับเป็นการพลาดโอกาสในการทำบุญบริจาคเลือดตามที่ตนเองมุ่งหวัง สภากาชาดมีหน้าที่แค่นำเลือดไปตรวจหาเชื้อ หากไม่พบเชื้อก็นำเลือดไปจ่ายให้ผู้ป่วย หากมีเชื้อก็นำเลือดไปทำลาย

หรือถ้าสภากาชาดไทยยังคงรังเกียจเกย์ ไม่ต้องการเลือดจากเกย์ แต่ก็ยังคงได้รับเลือดจากเกย์ไปแจกจ่ายให้คนป่วยที่กำลังรอรับเลือดตามโรงพยาบาลต่างๆ อยู่ดี

โบราณท่านว่า 'ยิ่งเกลียดอะไร ก็ยิ่งเจอสิ่งนั้น'

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น