ประชาไท | Prachatai3.info |
- ซีรีส์จำนำข้าว (3): เสียงจากชาวนา เหนือ-กลาง-ทุ่งกุลาร้องไห้
- บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 1
- เสวนา: ความรุนแรงในสังคมไทย กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต
- เสวนา: ความรุนแรงในสังคมไทย กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต
- 'จินตนา แก้วขาว' ปาฐกถา รำลึก 39 ปี 14 ตุลา "ประชาธิปไตยกับการปกป้องทรัพยากร"
- 'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: อุดมการณ์จากป่าเขา: สหายเรายังคนเดิม
- สตรีไทใหญ่-คะฉิ่นในรัฐฉานตั้งกลุ่มปราบยาเสพติดกลางแหล่งระบาด
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 7-13 ต.ค. 2555
- "รสนา" ชี้โฆษณาการปรับขึ้นราคา LPG ของ ก.พลังงาน บิดเบือนข้อเท็จจริง
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (ตอนจบ)
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (ตอนจบ)
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซีรีส์จำนำข้าว (3): เสียงจากชาวนา เหนือ-กลาง-ทุ่งกุลาร้องไห้ Posted: 14 Oct 2012 12:08 PM PDT
สำหรับชาวนา หลายคนอาจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบถามเรื่องนี้จากพวกเขา เนื่องจากเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้โดยตรง กระนั้น หากสอบถามกันให้ชัดเจนขึ้น เราจะเห็นแง่มุมบางอย่างของพวกเขา ซึ่งก็ไม่ได้เห็นเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด และมีมุมมองนำเสนทางออกของปัญหาแตกต่างกันไป
00000000000
สมาน ทัดเที่ยง |
บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 1 Posted: 14 Oct 2012 10:59 AM PDT รายการบ้านเมืองไม่ใช่ของเรา เทปนี้คุยกันเรื่องระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกา และการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกันชนที่ใกล้เข้ามาทุกที รวมถึงสาระเกี่ยวกับธรรมเนียมการดีเบตของว่าที่ประธานาธิบดี และวิเคราะห์การดีเบตรอบแรกที่เพิ่งผ่านไประหว่าง Mitt Romney กับ Barack Obama พบกับพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และแขกรับเชิญ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ที่เพิ่งคว้าปริญญาเอกมาหมาดๆ จากมหาวิทยาลัยยูท่าห์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา: ความรุนแรงในสังคมไทย กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต Posted: 14 Oct 2012 10:55 AM PDT เนื่องในสัปดาห์ยุติโทษประหารชีวิตสากล "ศิโรตม์" ชี้โทษประหารเป็นบทลงโทษที่มีอคติทางการเมืองและชนชั้น ในขณะที่งานวิจัยระบุ ความชอบธรรมในการใช้โทษประหารถูกปลูกฝังในสังคมไทยย้อนไปตั้งแต่ "ไตรภูมิกถา" เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 55 เวลา 13.30 น. ณ สมาคมฝรั่งเศส เนื่องในสัปดาห์เพื่อการยุติโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้จัดเสวนาในหัวข้อ "ความรุนแรงในสังคมไทย: กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต" โดยมีวิทยากรจากแวดวงสื่อ วิชาการ และสถาบันตำรวจ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนต่อประเด็นดังกล่าว โดยศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ มองว่า โทษประหารชีวิต นอกจากจะขัดกับหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นการลงโทษที่มักมีคติทางการเมืองและชนชั้นแฝงอยู่ด้วยเสมอๆ ในขณะที่งานวิจัยของ พ.ต.ท. หญิงธัญญรัตน์ ทิวถนอม ชี้ให้เห็นว่า ความชอบธรรมของโทษประหารชีวิต ถูกสร้างขึ้นในสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงและโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะในทางวิชาการและข้อถกเถียงว่า โทษดังกล่าวควรจะมีหรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นด้วย มองว่า มาตรการนี้เป็นวิธีการที่สร้างความปลอดภัยและสันติภาพในสังคม แต่ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วย มองว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะที่โหดร้าย ซึ่งเป็นการมองเชิงศีลธรรม และขัดกับหลักการพื้นฐานของศาสนา นอกจากนี้ ยังมีการเสนอด้วยว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างไปจากโทษแบบอื่น เนื่องจากหากตัดสินไปแล้ว พบว่าผิด หรือเกินกว่าเหตุ ไม่สามารถย้อนคืนได้ ชีวิตของคนที่ถูกประหารไม่กลับมาแล้ว จึงจะเห็นว่า โทษนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังมากๆ ข้อถกเถียงอีกอย่างหนึ่ง มีการเสนอจากนักกฎหมายอเมริกันว่า โทษประหารชีวิต เมื่อใช้ไปแล้ว มันทำลายระบบกฎหมายทั้งหมดเอง เพราะมันมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติและแฝงไปด้วยอคติทางสังคม เหมือนเป็นการตีตราว่า ความผิดแบบไหนหรือคนแบบไหนควรจะถูกประหาร จึงจะเห็นว่าไม่สามารถมีความยุติธรรมได้ ถึงแม้ว่าจะตัดสินถูกคนแล้วก็ตาม ข้อถกเถียงอีกข้อหนึ่งคือการมองว่า โทษประหารชีวิตมีความรุนแรงเกินไป และไม่สามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ ในสังคมไทย มักจะเป็นการถกเถียงแบบนี้ ในทางกลับกัน ฝ่ายที่เห็นด้วย จะเห็นว่า โทษประหารเป็นวิธีที่แก้ปัญหาอาชญากรรมให้เด็ดขาด นอกจากนี้ โทษประหารชีวิต ยังมีลักษณะที่เลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน เพราะหากใช้เหตุผลว่า ต้องประหารชีวิตเพราะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโทษแก่ผู้อื่นในภายภาคหน้า ถ้าเช่นนั้น ก็จำเป็นต้องประหารชีวิตผู้ที่ทำความผิดโทษอื่นๆ ด้วย ขับรถชนผู้อื่น หรือยาเสพติด เป็นต้น ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าลักษณะของโทษประหารชีวิตไม่มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ศิโรตม์ยังตั้งคำถามด้วยว่า หากโทษประหารชีวิต ถูกใช้กับอาชญากรที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตแล้ว ผู้นำประเทศที่บริหารประเทศและทำให้ประชาชนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของรัฐ ควรจะต้องถูกลงโทษด้วยหรือไม่ หากใช้ตรรกะเดียวกัน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการเอาผู้นำประเทศมาลงโทษ ฉะนั้นจึงจะเห็นว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติอยู่มาก ศิโรตม์ยังมองว่า การประหารชีวิต ยังวางอยู่บนสาเหตุหลักอยู่อีกสองอย่าง คือ วางอยู่บนความกลัว และความต้องการล้างแค้น แต่การประชาทันฑ์ผู้อื่น และการล้างแค้น เป็นการบริการจัดการสังคมและความคิดที่ล้าหลัง และไม่ได้การันตีว่าชีวิตของคนในสังคมจะปลอดภัยขึ้น "เพราะฉะนั้นกฎหมายกับความรุนแรง มันเชื่อมโยงกันด้วยโทษประหารชีวิต คือการประหารชีวิตเป็นการใช้ความรุนแรงโดยชอบธรรม มีกฎหมายบอกว่าการกระทำนี้มันชอบธรรม ทั้งๆ ที่โดยในตัวมันเองแล้ว ก็ไม่ต่างกับการฆ่าแบบอื่น มันก็คือการฆ่าแบบหนึ่ง" ศิโรตม์กล่าว "การประหารชีวิตที่ถูกต้องด้วยกฎหมาย คือการฆ่าที่ถูกต้องโดยกฎหมาย" และตั้งคำถามว่า รัฐใช้เหตุผลอันใดในการฆ่า และเหตุใดประชาชนถึงให้การยอมรับกับการฆ่าดังกล่าว หากมองผ่านมุมมองของประชาธิปไตยเสรีนิยม สิทธิในการดำรงชีวิต ยังนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ศิโรตม์ชี้ว่า หากเราเชื่อว่ารัฐมีสิทธิในการประหารชีวิตพลเมือง และพรากเอาชีวิตคนไป เท่ากับว่า เรายืนยันว่า การดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่รัฐเลือกที่จะให้ เป็นการเลือกปฏิบัติ และเชื่อว่า มนุษย์มีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นชุดเหตุผลที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกันตามสังคมประชาธิปไตย โทษประหารชีวิต ยังมักจะถูกใช้ในสถานการณ์ทางการเมือง ตัวอย่างเช่นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ช่วงพ.ศ.2501 - 2507 มีการใช้มาตรา 17 ซึ่งให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกคำสั่งประหารชีวิต และมีผลทำให้นักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยถูกสังหารเป็นจำนวนมาก ยังรวมถึงผู้ต้องหาสามคนในกรณีสวรรคตของร. 8 ก็ยังเป็นที่ตั้งคำถามกันจนถึงทุกวันนี้ว่า พวกเขามีความผิดจริงหรือไม่ พ.ต.ท. หญิงธัญญรัตน์ ทิวถนอมอาจารย์ด้านการบริการในหน่วยงานตำรวจ และผู้เขียนงานวิจัยเรื่อง "กระแสโลกาภิวัฒน์และการลงโทษประหารชีวิตในรัฐไทย" มองย้อนไปยังทฤษฎีการมองรัฐทั้งในยุโรปและเอเชียที่เชื่อว่า รัฐมีอำนาจในการกำกับดูแลสังคม จึงมีสิทธิที่จะลงโทษในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อย่างไรก็ตาม การประหารชีวิตนั้นก็ไม่ถูกต้องยุติธรรม เพราะมันเป็นการพรากชีวิตและสิทธิเบื้องต้นของพลเมืองไป นอกจากนี้ ความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณที่ว่า หากทำไม่ดีแล้ว ธรรมชาติจะลงโทษ หรือความเชื่อเรื่องพระราชาลงโทษประชาชน ที่ผูกโยงกับ "ไตรภูมิพระร่วง" ซึ่งเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาในสมัยโบราณ ยังสะท้อนให้เห็นในพระอัยการกบฎศึก ตัวบทกฎหมายในสมัยโบราณ ที่มีการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงต่อประชาชน ทำให้เป็นสิ่งที่สร้างความชอบธรรมให้รัฐ และปลูกฝังทางความเชื่อของประชาชนด้วยว่า โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็น "แม้แต่เรื่องบาปบุญคุณโทษ เราถูกปลูกฝังมาว่า คนดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งกฎหมายความเชื่อโบราณที่กล่าวมา ก็บอกว่า ถ้าคนทำดีแล้วแล้วจะมีเรื่องได้ยังไง" งานวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า โทษประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่ออาชญากรรม ธัญญรัตน์กล่าวว่า โทษที่มีผลต่ออาชญากรรมมีสามตัวแปร คือ "ความรวดเร็ว ความรุนแรง และความชัดเจน" แต่จริงๆ แล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อาชญากรรม คือ "ความรวดเร็วและความชัดเจน" ในการลงโทษมากกว่า แต่กระบวนการยุติธรรมในการไต่สวนโดยปรกติ มักใช้เวลายาวนานเช่น 4-5 ปี ทำให้เกิดความล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น และขาดปัจจัยเรื่องความรวดเร็วลงไป ธัญญรัตน์กล่าวด้วยว่า ผู้ที่มักถูกลงโทษประหารชีวิต มักจะเป็นคนจนและไม่มีเงินจ้างทนายมาสู้คดี เมื่อถูกจับ ก็ไม่มีและไม่ทราบแนวทางการพิทักษ์สิทธิตนเองที่ถูกต้องตามกระบวนการไต่สวน เธอยังกล่าวถึง "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์" ด้วยว่า แทนที่จะมองว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องที่กระทำต่อรัฐ และรัฐมีหน้าที่ลงโทษผู้กระทำผิด ควรจะมองว่า ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น สังคม รัฐ ผู้กระทำผิด และเหยื่อของผู้กระทำผิด ควรมาร่วมกันคิดว่า เหตุใดสังคมจึงผลิตคนที่เป็นอาชญากรออกมา มีปัญหาทางโครงสร้างใดที่เอื้อให้เกิดปัญหาดังกล่าว และมีมาตรการเยียวยาและร่วมกันหาทางออกจากทุกฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาต่อไปในอนาคต ดร. วิทย์ สิทธิเวคินมองว่า สื่อในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อสังคมค่อนข้างเยอะ เป็นผู้ที่สามารถฟอร์มความคิดของสังคมได้ ประชาชนจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อ โดยสื่อเองก็จำเป็นต้องรายงานโดยให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง และลดอคติหรือค่านิยมออกไป เขายังกล่าวถึงการควบคุมกำกับสื่อด้วยว่า สื่อจำเป็นต้องกำกับกันเองโดยเฉพาะในเรื่องของความรุนแรง และการนำเสนอข่าวในเชิงการประชาทันฑ์จากสังคม โดยเฉพาะก่อนที่กสทช. จะทำการเปิดประมูลทีวีดิจิตอลเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ เขาระบุว่า ประชาชนได้มีส่วนร่วมในสื่อและประเด็นสาธารณะมากยิ่งขึ้น ผ่านโซเชียลมีเดียทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเรื่องดีในการดูแลกำกับสื่อและผลักดันประเด็นทางสังคม พ.ต.ท. เอนก อะนันทวรรณอาจารย์สอนวิชาสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน กล่าวว่า ถึงแม้มักจะมีข่าวบ่อยๆ ว่าตำรวจมักเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานและธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงมีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวในสถาบันการศึกษาของตำรวจโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ก็มีข้อจำกัดบ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถปฏิบัติได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ประชาชนก็จำเป็นต้องตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเองด้วย ต่อเรื่องการนำตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ถือว่าขัดกับกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ เขาระบุว่า ตามหลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา เพราะการจับกุมตามกฎหมาย ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนตามระเบียบ แต่สื่อมวลชนมักทำกันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งเป็นการสร้างค่าธรรมเนียมผิดๆ ให้แก่สังคมและผู้ต้องหาเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา: ความรุนแรงในสังคมไทย กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต Posted: 14 Oct 2012 10:54 AM PDT เนื่องในสัปดาห์ยุติโทษประหารชีวิตสากล "ศิโรฒม์" ชี้โทษประหารเป็นบทลงโทษที่มีอคติทางการเมืองและชนชั้น ในขณะที่งานวิจัยระบุ ความชอบธรรมในการใช้โทษประหารถูกปลูกฝังในสังคมไทยย้อนไปตั้งแต่ "ไตรภูมิกถา"
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 55 เวลา 13.30 น. ณ สมาคมฝรั่งเศส เนื่องในสัปดาห์เพื่อการยุติโทษประหารชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้จัดเสวนาในหัวข้อ "ความรุนแรงในสังคมไทย: กรณีศึกษาโทษประหารชีวิต" โดยมีวิทยากรจากแวดวงสื่อ วิชาการ และสถาบันตำรวจ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนต่อประเด็นดังกล่าว โดยศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ มองว่า โทษประหารชีวิต นอกจากจะขัดกับหลักการเสรีนิยมประชาธิปไตยแล้ว ยังเป็นการลงโทษที่มักมีคติทางการเมืองและชนชั้นแฝงอยู่ด้วยเสมอๆ ในขณะที่งานวิจัยของพ.ต.ท. หญิงธัญญรัตน์ ทิวถนอม ชี้ให้เห็นว่า ความชอบธรรมของโทษประหารชีวิต ถูกสร้างขึ้นในสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงและโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะในทางวิชาการและข้อถกเถียงว่า โทษดังกล่าวควรจะมีหรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นด้วย มองว่า มาตรการนี้เป็นวิธีการที่สร้างความปลอดภัยและสันติภาพในสังคม แต่ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วย มองว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะที่โหดร้าย ซึ่งเป็นการมองเชิงศีลธรรม และขัดกับหลักการพื้นฐานของศาสนา นอกจากนี้ ยังมีการเสนอด้วยว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างไปจากโทษแบบอื่น เนื่องจากหากตัดสินไปแล้ว พบว่าผิด หรือเกินกว่าเหตุ ไม่สามารถย้อนคืนได้ ชีวิตของคนที่ถูกประหารไม่กลับมาแล้ว จึงจะเห็นว่า โทษนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังมากๆ ข้อถกเถียงอีกอย่างหนึ่ง มีการเสนอจากนักกฎหมายอเมริกันว่า โทษประหารชีวิต เมื่อใช้ไปแล้ว มันทำลายระบบกฎหมายทั้งหมดเอง เพราะมันมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติและแฝงไปด้วยอคติทางสังคม เหมือนเป็นการตีตราว่า ความผิดแบบไหนหรือคนแบบไหนควรจะถูกประหาร จึงจะเห็นว่าไม่สามารถมีความยุติธรรมได้ ถึงแม้ว่าจะตัดสินถูกคนแล้วก็ตาม ข้อถกเถียงอีกข้อหนึ่งคือการมองว่า โทษประหารชีวิตมีความรุนแรงเกินไป และไม่สามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ ในสังคมไทย มักจะเป็นการถกเถียงแบบนี้ ในทางกลับกัน ฝ่ายที่เห็นด้วย จะเห็นว่า โทษประหารเป็นวิธีที่แก้ปัญหาอาชญากรรมให้เด็ดขาด นอกจากนี้ โทษประหารชีวิต ยังมีลักษณะที่เลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน เพราะหากใช้เหตุผลว่า ต้องประหารชีวิตเพราะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโทษแก่ผู้อื่นในภายภาคหน้า ถ้าเช่นนั้น ก็จำเป็นต้องประหารชีวิตผู้ที่ทำความผิดโทษอื่นๆ ด้วย ขับรถชนผู้อื่น หรือยาเสพติด เป็นต้น ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าลักษณะของโทษประหารชีวิตไม่มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ศิโรฒม์ยังตั้งคำถามด้วยว่า หากโทษประหารชีวิต ถูกใช้กับอาชญากรที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตแล้ว ผู้นำประเทศที่บริหารประเทศและทำให้ประชาชนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของรัฐ ควรจะต้องถูกลงโทษด้วยหรือไม่ หากใช้ตรรกะเดียวกัน แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการเอาผู้นำประเทศมาลงโทษ ฉะนั้นจึงจะเห็นว่า โทษประหารชีวิตมีลักษณะของการเลือกปฏิบัติอยู่มาก ศิโรฒม์ยังมองว่า การประหารชีวิต ยังวางอยู่บนสาเหตุหลักอยู่อีกสองอย่าง คือ วางอยู่บนความกลัว และความต้องการล้างแค้น แต่การประชาทันฑ์ผู้อื่น และการล้างแค้น เป็นการบริการจัดการสังคมและความคิดที่ล้าหลัง และไม่ได้การันตีว่าชีวิตของคนในสังคมจะปลอดภัยขึ้น "เพราะฉะนั้นกฎหมายกับความรุนแรง มันเชื่อมโยงกันด้วยโทษประหารชีวิต คือการประหารชีวิตเป็นการใช้ความรุนแรงโดยชอบธรรม มีกฎหมายบอกว่าการกระทำนี้มันชอบธรรม ทั้งๆ ที่โดยในตัวมันเองแล้ว ก็ไม่ต่างกับการฆ่าแบบอื่น มันก็คือการฆ่าแบบหนึ่ง" ศิโรฒม์กล่าว "การประหารชีวิตที่ถูกต้องด้วยกฎหมาย คือการฆ่าที่ถูกต้องโดยกฎหมาย" และตั้งคำถามว่า รัฐใช้เหตุผลอันใดในการฆ่า และเหตุใดประชาชนถึงให้การยอมรับกับการฆ่าดังกล่าว หากมองผ่านมุมมองของประชาธิปไตยเสรีนิยม สิทธิในการดำรงชีวิต ยังนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ศิโรฒม์ชี้ว่า หากเราเชื่อว่ารัฐมีสิทธิในการประหารชีวิตพลเมือง และพรากเอาชีวิตคนไป เท่ากับว่า เรายืนยันว่า การดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่รัฐเลือกที่จะให้ เป็นการเลือกปฏิบัติ และเชื่อว่า มนุษย์มีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นชุดเหตุผลที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียมกันตามสังคมประชาธิปไตย โทษประหารชีวิต ยังมักจะถูกใช้ในสถานการณ์ทางการเมือง ตัวอย่างเช่นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ช่วงพ.ศ.2501 - 2507 มีการใช้มาตรา 17 ซึ่งให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกคำสั่งประหารชีวิต และมีผลทำให้นักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยถูกสังหารเป็นจำนวนมาก ยังรวมถึงผู้ต้องหาสามคนในกรณีสวรรคตของร. 8 ก็ยังเป็นที่ตั้งคำถามกันจนถึงทุกวันนี้ว่า พวกเขามีความผิดจริงหรือไม่ พ.ต.ท. หญิงธัญญรัตน์ ทิวถนอมอาจารย์ด้านการบริการในหน่วยงานตำรวจ และผู้เขียนงานวิจัยเรื่อง "กระแสโลกาภิวัฒน์และการลงโทษประหารชีวิตในรัฐไทย" มองย้อนไปยังทฤษฎีการมองรัฐทั้งในยุโรปและเอเชียที่เชื่อว่า รัฐมีอำนาจในการกำกับดูแลสังคม จึงมีสิทธิที่จะลงโทษในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อย่างไรก็ตาม การประหารชีวิตนั้นก็ไม่ถูกต้องยุติธรรม เพราะมันเป็นการพรากชีวิตและสิทธิเบื้องต้นของพลเมืองไป นอกจากนี้ ความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณที่ว่า หากทำไม่ดีแล้ว ธรรมชาติจะลงโทษ หรือความเชื่อเรื่องพระราชาลงโทษประชาชน ที่ผูกโยงกับ "ไตรภูมิพระร่วง" ซึ่งเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาในสมัยโบราณ ยังสะท้อนให้เห็นในพระอัยการกบฎศึก ตัวบทกฎหมายในสมัยโบราณ ที่มีการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงต่อประชาชน ทำให้เป็นสิ่งที่สร้างความชอบธรรมให้รัฐ และปลูกฝังทางความเชื่อของประชาชนด้วยว่า โทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็น "แม้แต่เรื่องบาปบุญคุณโทษ เราถูกปลูกฝังมาว่า คนดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งกฎหมายความเชื่อโบราณที่กล่าวมา ก็บอกว่า ถ้าคนทำดีแล้วแล้วจะมีเรื่องได้ยังไง" งานวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า โทษประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่ออาชญากรรม ธัญญรัตน์กล่าวว่า โทษที่มีผลต่ออาชญากรรมมีสามตัวแปร คือ "ความรวดเร็ว ความรุนแรง และความชัดเจน" แต่จริงๆ แล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อาชญากรรม คือ "ความรวดเร็วและความชัดเจน" ในการลงโทษมากกว่า แต่กระบวนการยุติธรรมในการไต่สวนโดยปรกติ มักใช้เวลายาวนานเช่น 4-5 ปี ทำให้เกิดความล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น และขาดปัจจัยเรื่องความรวดเร็วลงไป ธัญญรัตน์กล่าวด้วยว่า ผู้ที่มักถูกลงโทษประหารชีวิต มักจะเป็นคนจนและไม่มีเงินจ้างทนายมาสู้คดี เมื่อถูกจับ ก็ไม่มีและไม่ทราบแนวทางการพิทักษ์สิทธิตนเองที่ถูกต้องตามกระบวนการไต่สวน เธอยังกล่าวถึง "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์" ด้วยว่า แทนที่จะมองว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องที่กระทำต่อรัฐ และรัฐมีหน้าที่ลงโทษผู้กระทำผิด ควรจะมองว่า ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น สังคม รัฐ ผู้กระทำผิด และเหยื่อของผู้กระทำผิด ควรมาร่วมกันคิดว่า เหตุใดสังคมจึงผลิตคนที่เป็นอาชญากรออกมา มีปัญหาทางโครงสร้างใดที่เอื้อให้เกิดปัญหาดังกล่าว และมีมาตรการเยียวยาและร่วมกันหาทางออกจากทุกฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาต่อไปในอนาคต ดร. วิทย์ สิทธิเวคินมองว่า สื่อในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อสังคมค่อนข้างเยอะ เป็นผู้ที่สามารถฟอร์มความคิดของสังคมได้ ประชาชนจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อ โดยสื่อเองก็จำเป็นต้องรายงานโดยให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง และลดอคติหรือค่านิยมออกไป เขายังกล่าวถึงการควบคุมกำกับสื่อด้วยว่า สื่อจำเป็นต้องกำกับกันเองโดยเฉพาะในเรื่องของความรุนแรง และการนำเสนอข่าวในเชิงการประชาทันฑ์จากสังคม โดยเฉพาะก่อนที่กสทช. จะทำการเปิดประมูลทีวีดิจิตอลเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ เขาระบุว่า ประชาชนได้มีส่วนร่วมในสื่อและประเด็นสาธารณะมากยิ่งขึ้น ผ่านโซเชียลมีเดียทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเรื่องดีในการดูแลกำกับสื่อและผลักดันประเด็นทางสังคม พล.ต.ท. อเนก อนันทวันอาจารย์สอนวิชาสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน กล่าวว่า ถึงแม้มักจะมีข่าวบ่อยๆ ว่าตำรวจมักเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานและธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงมีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวในสถาบันการศึกษาของตำรวจโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ก็มีข้อจำกัดบ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถปฏิบัติได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ประชาชนก็จำเป็นต้องตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเองด้วย ต่อเรื่องการนำตัวผู้ต้องหาไปแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชน ถือว่าขัดกับกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ เขาระบุว่า ตามหลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา เพราะการจับกุมตามกฎหมาย ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนตามระเบียบ แต่สื่อมวลชนมักทำกันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งเป็นการสร้างค่าธรรมเนียมผิดๆ ให้แก่สังคมและผู้ต้องหาเอง
|
'จินตนา แก้วขาว' ปาฐกถา รำลึก 39 ปี 14 ตุลา "ประชาธิปไตยกับการปกป้องทรัพยากร" Posted: 14 Oct 2012 10:22 AM PDT ปาฐกถาสะท้อนปัญหา เสนอรัฐต้องเปลี่ยนมุมมองต่อการพัฒนาและกระบวนการยุติธรรม "นฤมล ทับจุมพล" ปัจฉิมกถา สนับสนุนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ย้ำความขัดแย้งไม่ใช่แค่เทศนาให้คนปรองดองสมานฉันท์ 14 ต.ค.55 เวลา 10.00 น. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว มูลนิธิ 14 ตุลา ได้จัดพิธีรำลึก 39 ปี 14 ตุลาคม 2516 ในงานดังกล่าวมีการปาฐกถา 14 ตุลา หัวข้อ "ประชาธิปไตยกับการปกป้องทรัพยากร" โดย จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ และปัจฉิมกถา โดย ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จินตนา แก้วขาว ขณะปาฐกถา ในการปาฐกถา จินตนา แก้วขาว ได้เล่าถึงประวัติการต่อสู้ของตนเองและกลุ่มในการปกป้องทรัพยากรในชุมชน ปัญหาของการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งปัญหาของกระบวนการยุติธรรมที่ทั้งคนในกลุ่มและตนเองประสบจากการถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ในข้อหาบุกรุก จากกรณีการต่อสู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่บ้านกรูดบ่อนอก หลังจากที่ต่อสู้คดีมานานถึง 9 ปี แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูดยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ขณะที่ตนเองถูกคุมขังว่า หากไม่มี ส.ว. หรือองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) รวมทั้งพี่น้องประชาชนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และทั่วประเทศให้ความสนใจกับกรณีที่ตนเองประสบ อาจไม่สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยในเรือนจำ โดยก่อนหน้าที่จะเข้าเรือนจำได้มีการเจรจากับเจ้าหน้าที่ว่าตนเองจะไม่เรียกใครว่า "นาย" ในนั้น ไม่ทำงานในเรือนจำ ไม่เอาเงินปันผล ตนเองเพียงมาอาศัยอยู่ 4 เดือน เพราะตนเองไม่ผิด จินตนา ยังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า คุกขังได้แต่คนจน คนไม่มีเงินประกันตัว ไม่มีทนาย เพราะจากที่ตนเองเข้าไป พบคนที่ไม่ได้กระทำผิดแต่ต้องมาติดคุกจำนวนมาก โดยยกตัวอย่างกรณีหญิงชราคนหนึ่งที่ป่วยสะโพกหลุด ถูกจับมาแทนลูก แต่เมื่อลูกรับผิดและติดคุกแล้ว แม่กลับไม่ได้รับการปล่อยตัว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด กล่าวอีกว่า "ขณะนี้ แพะ เราไม่รู้ว่ามีอีกกี่คน และแพะจะเข้มแข็งได้แค่ไหนในขณะที่เขาไม่ได้ทำผิด" สิ่งที่ประสบในกระบวนการยุติธรรมยังมีกระบวนการเกลี้ยกล่อม แม้ไม่ผิดก็ให้ยอมรับ จินตนา ยังมองว่าเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมไม่มีความเป็นกลาง ตั้งแต่กระบวนการในชั้นตำรวจเป็นต้นมา จินตนา เสนอให้มีการแยกคดีชาวบ้านออกจากคดีอาญา ถ้าการกระทำของชาวบ้านเหล่านั้นเป็นการกระทำเพื่อสาธารณะที่ไม่ได้เอาไว้เพื่อตนเอง แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด เสนอว่า สำหรับการพัฒนา รัฐต้องยอมรับการมีส่วนร่วมและสิทธิในการจัดการพื้นที่ของประชาชน แต่ในความเป็นจริงกลับไม่มีสิทธิชุมชน สิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วม แม้มีประชาธิปไตยตั้งแต่ 2475 ก็ไม่ได้ใช้ คนที่ใช้กลายเป็นนักการเมืองและนายทุน ในขณะที่การต่อสู้ของพี่น้องที่ประจวบฯ ยึดสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกรัฐมองว่าเป็นพวกหัวแข็งและพยายามใช้ทุกวิถีทางในการจัดการ จินตนา สะท้อนมุมมองด้านการพัฒนาที่แตกต่างกันในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ ว่าในขณะที่รัฐมองว่าพื้นที่ตรงนั้นควรเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม แต่ชาวบ้านต้องการเป็นพื้นที่เกษตร พื้นที่ท่องเที่ยว รัฐมองว่าจังหวัดประจวบฯ ยาว จึงควรมีโรงไฟฟ้า ในขณะที่ชาวบ้านมองว่าพื้นที่ยาวมีชายฝั่งยาวยิ่งควรเป็นแหล่งท่องเที่ยว สุดท้ายจินตนา กล่าวโดยหวังว่าการต่อสู้ของพี่น้องกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูดจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับสังคมไทยได้บ้าง โดยย้ำด้วยว่าต้องใช้เวลานานในการต่อสู้เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจกับคนทั่งประเทศ เพื่อที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งคาราวะการต่อสู้ของคนรุ่นเก่า คนรุ่น 14 ตุลา ที่ได้ปูแนวทางบางอย่างไว้ให้กับพวกตนได้เดินตาม นฤมล ทับจุมพล หลังจากนั้น ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวปัจฉิมกถาต่อว่า มี 3 ประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้คุณจินตนา แก้วขาว 1. สังคมไทยยังมีความรุนแรงมาโดยตลอด ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา หรือเหตุการณ์เดือนตุลาที่เกิดขึ้นมาไม่นานนี้ เหตุการณ์เมษา-พ.ค. ที่ผ่านมา สังคมไทยที่มักพูดถึงความเมตตากรุณา ยิ้มสยาม แต่กลับไม่ได้สะสางสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นความรุนแรงโดยรัฐและโครงสร้างต้องได้รับการสะสาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหรือแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต่างๆแสดงแสดงให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างมาโดยตลอด ตัวเลขช่องว่างระหว่างรายได้ ระหว่างกลุ่มคนจนสุดกับกลุ่มคนรวยสุดสูงถึง 30 เท่า การถือครองที่ดินห่างกันถึง 2 แสนเท่า ในขณะที่การตั้งคำถามกับความรุนแรงของรัฐของโครงสร้างกลับถูกใช้ความรุนแรงกลับมา ดังนั้นปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้างจึงเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่กับการจัดการของรัฐที่ใช้ความรุนแรงต่อคนที่ตั้งคำถามเหล่านั้นด้วย 2. การต่อสู้ของชุมชนเป็นปฏิบัติการสันติวิธีในการปกป้องทรัพยากรชุมชนเพื่อนำไปสู่การสื่อสารกับสังคม ที่ไม่ได้ทำเพื่อตนเองแต่ทำเพื่อสาธารณะ และผู้ปฏิบัติการพร้อมที่จะรับผลจากการปฏิบัติการนั้น ที่จินตนา แก้วขาวทำเป็นปฏิบัติการที่ต้องใช้ความกล้าและการเผชิญหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะในสังคมไทยสอนให้ยอมจำนน ยอมรับอำนาจ ดังนั้นสิ่งที่จินตนา แก้วขาวและกลุ่มทำคือการไม่ยอมจำนนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ แสดงให้เห็นถึงการที่สามารถไม่ยอมจำนนและไม่ใช้ความรุนแรงได้ จึงต้องอาศัยความกล้าหาญ นวัตกรรมและความอดทน นฤมล ทับจุมพล ยังกล่าวด้วยว่าการต่อสู้ของชาวบ้านไม่ใช่แค่หน้าข่าวเท่านั้น แต่เขาต้องสู้เป็น 10 ปี กับการต่อสู้คดี ดังนั้นคนในเมืองไม่ควรไปดูแคลนเขา ดังนั้นการต่อสู้ของพวกเขาทำให้พบความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงกายภาพ เช่น การข่มขู่ การฆาตกรรม อย่างกรณี เจริญ วัดอักษร อดีตประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก หรือกรณีจินตนาเองที่ถูกขัง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่จะเห็นเมือมีการต่อรอง ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม จากการที่สังคมโดยรวมไม่ยอมรับว่ารัฐกระทำผิดต่อพลเมือง เพราะเรามีวัฒนธรรมให้ยอมๆกันไป ในประเด็นที่ 3 ปัญหากระบวนการยุติธรรม สังคมไทย สังคมไทยเราต้องตั้งคำถามกับกระบวนการยุติธรรมว่าได้สร้างหลักนิติธรรมหรือยัง สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชุมนุมพูดถึงสิทธิชุมชนต่างๆ แต่ปรากฏว่าในกระบวนการยุติธรรมใช้เพียงกฎหมายอาญา เฉพาะวันนี้กลุ่มองค์กรที่ต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและความเป็นธรรม มี 3,000 คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งยังไม่รวมคดีทางการเมืองอีกจำนวนมาก หากบุคลากรในกรบวนการยุติธรรมไม่ใช้กฎหมายตามหลักความยุติธรรมจะเป็นการผลักให้ประชาชนเหล่านั้นใช้วิธีอื่นในการต่อสู้ นฤมล ทับจุมพล กล่าวสรุปในตอนท้ายของปัจฉิมกถาว่า สังคมไทยต้องแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างคนรวยกับคนจน และในระหว่างที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องสร้างกลไกเพื่อคลีคลายในการจัดการความขัดแย้ง สร้างเวทีต่อรอง รวมทั้งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพราะความขัดแย้งไม่ใช่แค่เทศนาให้คนปรองดองสมานฉันท์ แต่เราต้องดูบทเรียนการต่อสู้ที่ผ่านมา นอกจากนี้ในช่วงบ่าย ที่บริเวณลานโพ หน้าตึกคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีพิธีประกาศรับรองวันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเปิดตัว ปฏิมากรรม "หมุด 14 ตุลา" โดยมี นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา เป็นประธานเปิด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: อุดมการณ์จากป่าเขา: สหายเรายังคนเดิม Posted: 14 Oct 2012 10:12 AM PDT และแล้ว 6 ตุลาก็เป็นของเสื้อแดงอีกปี แม้จะมีเหลืองๆ ไปแจมพิธีไว้อาลัยตอนเช้า ผมไม่เข้าใจทำไมพวกเสื้อเหลืองต้องโวยวาย ในเมื่อพวกเขาก็จัดงาน 7 ตุลาอยู่แล้ว ทำไมไม่จัด 6-7 ตุลาควบกันไป ไม่เห็นมีใครห้าม ให้พวกพันธมิตรจูงลูกจูงหลานมาดูนิทรรศการเก้าอี้ฟาด ให้ความรู้พี่น้องเอ๊ยว่ากาลครั้งหนึ่งมีการแต่งภาพละครแขวนคอ อ้างข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปลุกอุดมการณ์กษัตริย์นิยมล้นเกิน นำกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน เข้าไปเข่นฆ่านิสิตนักศึกษาประชาชนผู้บริสุทธิ์ บุคลากรพันธมิตรก็มีครบ พร้อมเล่าบรรยากาศยุคนั้น ตั้งแต่สนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ปลอมตัวเป็นนักข่าวดาวสยามเข้าไปถ่ายภาพไว้ ชัชวาลย์ ประทุมวิทย์ (ชาติสุทธิชัย) ก็ผู้ประสานงานแนวร่วมศิลปิน ที่มีเพื่อนหลายคนพลีชีพอย่างกล้าหาญหน้าหอใหญ่เพื่อปกป้องพวกเรา ประยูร อัครบวร ก็เป็น 1 ใน 18 ผู้นำนักศึกษาที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ถึง 2 ปี ประพันธ์ คูณมี อาจข้ามไปเล่าเรื่องในป่า พี่เปี๊ยก พิภพ ธงไชย ก็อาจเล่าเรื่องสมัยจัดตั้งส่งไปพบ อ.ป๋วยที่อังกฤษ พร้อมนิวัติ กองเพียร ส่วนมหาจำลองก็อาจมาเปิดใจว่าทำไมจึงไป "สังเกตการณ์" ที่ลานพระรูป คริคริ แล้วทำไมไม่จัด พวกซ้าย (เก่า) เสื้อเหลืองก็รู้ตัวดี ขนาดเขียนถึงยังไม่ค่อยเขียน กลับมาโวยวายที่ 6 ตุลากลายเป็นของเสื้อแดง ทำไมไม่แข่งกันทำให้มวลชน "ก้าวหน้า" หรืออุดมการณ์ 7 ตุลามันตรงข้ามกับ 6 ตุลา จนต้องละทิ้งอุดมการณ์ที่เคยมี (แล้วจะมาทวงสีแดงคืนทำไม) แต่เอาละ วันนี้ขอคุยเรื่องที่คุยได้ทั้งสองขั้วดีกว่า ตอนที่พี่เนาว์ พี่หงา ออกมาทวงสีแดง ด่าเจ็ดซ้าย แล้วเกิดวิวาทะ มีการเปรียบเทียบเปรียบเปรยตัวละคร 2 สีทำนองว่าซ้ายเก่าที่มาอยู่สีแดงเป็นพวกที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เห็นแก่เงิน เข้าข้างทุน ขณะที่พวกแดงก็ด่าพวกเหลืองเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญเหมือนกัน ผมก็แย้งอยู่ว่าทำไมไม่เอาวัฒน์ วรรลยางกูร ไปเปรียบกับพี่หงาเล่า เปรียบผิดคู่นี่หว่า เพราะวัฒน์กับพี่หงาก็ยังเหมือนเดิม วัฒน์เป็นคนจริงใจ ใช้ชีวิตกับชาวบ้านมาตลอด เขียนเรื่องชีวิตคนธรรมดาสามัญผู้ถูกกระทำ เย็นย่ำก็หน้าแดงกรึ่ม พี่หงาแกก็เป็นศิลปินคนเดิม ใจถึงใจ ไม่เคยสนใจทรัพย์สินเงินทอง พรรคพวก สหาย เชิญไปแสดงที่ไหนก็ไป ขอแค่ออกค่ารถค่าเหล้าให้ เรื่องชีวทัศน์ส่วนตัวแกก็เป็นอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแม้แต่สมัยอยู่ป่า คริคริ เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้คุยกับพี่คนหนึ่ง (แดง) ถึงเพื่อนอดีตนักกิจกรรมคนหนึ่ง (เหลือง) หลังจากทั้งคู่เกิดวิวาทะกัน คุยแบบ off record เขาก็เล่าพฤติกรรมตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน ว่าไอ้นี่มันชอบทำงานเอาหน้ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่ไม่เคยเอาจริง ถึงเวลาคับขันหายเฉย เอ้า กลับมาอีกข้างมั่ง รุ่นพี่อีกราย (ไม่เหลืองไม่แดง) เล่าไปด่าไปเรื่องซ้ายเสื้อแดง จัดแต่งงานลูกเมียเก่าแล้วเอาเมียใหม่ไปนั่งรับซอง ถามว่าเขาเป็นคนแบบนี้มานานแล้วหรือ คำตอบคือนานแล้ว ไม่เกี่ยวกับเป็นเหลืองเป็นแดงหรอก ผมมาคิดทบทวนดู ถึงอดีตสหายที่เคยร่วมเป็นร่วมตายกัน ว่าความเป็นเหลืองเป็นแดงทำให้เขาเปลี่ยนไปไหม คำตอบคือไม่เปลี่ยน หรือถ้าเปลี่ยนก็ไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจ แม้เป็นอุปนิสัยที่ไม่แสดงออกเมื่อ 30 ปีก่อน แต่ย้อนคิดไปก็พอมองเห็น สหายสนิทรายหนึ่งเป็นเหลือง ตอนอยู่ป่า ช่วงขัดแย้งกับจัดตั้ง เขา "เสียคิด" โดนสหายหญิงคนหนึ่งวิพากษ์ซึ่งหน้า จนสูญเสียความทรนงในตัวเอง นอนคุยกัน 2 คนเขาบอกว่าได้ยินเสียงหยดน้ำบิดตัวอย่างปวดร้าวอยู่ในซอกหิน ออกจากป่ามาก็ทำงานกับ NGO ทำเรื่องสิทธิมนุษยชน มาย้อนคิดดูผมก็ไม่ค่อยแปลกใจที่คนได้ยินเสียงหยดน้ำบิดตัวอย่างปวดร้าวอยู่ในซอกหินจะกลายเป็นเหลืองอย่างบริสุทธิ์ใจ (ฮา หยอกกันเล่นน่า) สหายเก่าอีกราย สังสรรค์อยู่กับแกนนำเหลือง แต่ก้าวข้ามความเป็นเหลือง แม้จะไม่เห็นด้วยกับแดง และยังเห็นด้วยกับเหลืองบางเรื่อง เช่นเรื่องภาคประชาชน แต่ก็มีความคิดดีๆ เยอะ ผมได้ไอเดียดีๆ จากการคุยกันหลายครั้ง รายนี้สมัยอยู่ป่าเป็นนักรบแกล้วกล้า มือหยอดปืน ค. เคยไปรบด้วยกัน ศัตรูยิงปืนกลมา ยอดหญ้าตีนเนินด้านหน้ากระจุยเห็นๆ คาตา ผมขาสั่น พวกยังเฉย ออกจากป่ามาก็ประสบความสำเร็จทางธุรกิจพอตัว เอ้า อีกรายเป็นสหายนักศึกษาระดับนำหน่อย เป็นเจ๊ใหญ่ที่นับถือผูกพัน ออกจากป่ามาไม่มีตังค์ยังเคยไปหยิบยืม เพื่อนฝูงขอความช่วยเหลืออะไรมีแต่ให้ ทำไมแกเป็นเหลือง ก็ไม่ค่อยได้คุยกันนัก แต่ถ้าถามว่าความเป็นเหลืองเป็นแดงจะทำให้ความนับถือผูกพันนี้เปลี่ยนไปไหม ก็ไม่ เจ๊ก็ยังเป็นเจ๊ที่ผมรักนับถือเหมือนเดิม ต่างกับสหายอีกราย นี่ห่างหน่อย เมื่อก่อนก็ดูดี แต่หลังๆ เพิ่งรู้ว่าเขาใช้ความมีชื่อเสียงในขบวนการต่อต้านทักษิณสร้างสถานะให้ตัวเอง ไปอยู่ที่ไหนก็สร้างอาณาจักร มาย้อนคิดดู แปลกใจไหม ก็ไม่ค่อยแปลกใจ เขาเป็นคนที่ดูนิ่ม เนียน แต่มีอะไรแฝงลึก ไม่ใช่คนเปิดตัวคบหาเฮฮากันอยู่แล้ว ผมว่าทุกคนไปคิดทบทวนดูก็จะรู้สึก สหายเราไม่ได้เปลี่ยน ไม่ว่าวันนี้เขาอยู่สีไหน คนที่เคยร่วมเป็นร่วมตาย เคยทุกข์ยากมาด้วยกัน ฝ่าห่ากระสุนมาด้วยกัน กินข้าวปนข้าวโพดมาด้วยกัน ใครที่จริงใจก็ยังเป็นคนจริงใจ ใครคบได้ก็ยังคบได้ คนที่กล้าออกหน้าในสนามรบ คนที่ยินดีเหนื่อยยากกว่าคนอื่น ก็ยังเป็นคนเดิม ส่วนพวกที่พยายามทำตัวเป็น "ลูกที่ดีของพรรค ลูกที่รักของประชาชน" ซึ่งออกจากป่าแล้วมักประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวเองดูดี แม่-ก็ยังเหมือนเดิม อาจมีบางคนที่คุณอยู่ห่างเขาหน่อย ไม่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน แล้วเคยมองเขาในแง่ดี ตอนนี้ก็คิดว่าเขาเปลี่ยนไป อันที่จริงไม่ใช่ ลองสอบประวัติดู ปัญหาคือชีวิตในขบวนการนักศึกษา ชีวิตในป่า เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ เราคือเด็กหนุ่มสาวที่เฝ้าใฝ่ฝัน มองโลกใสสะอาดไปหมด ไม่เคยมองสหายในแง่ลบ ถ้าจำได้สมัยออกจากป่าใหม่ๆ เคยมีคำเตือนว่า ห้ามให้สหายยืมเงินหรือแลกเช็ค ใครฝ่าฝืนจะพบสัจธรรมว่า เสียเงินไม่พอ ยังเสียมิตรร่วมรบอีกต่างหาก (ฮาไม่ออก) อันที่จริง สหายส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้าเป็นคนที่ออกรบด้วยกัน ทุกข์ยากด้วยกัน คุณก็รู้ว่าใครที่มันจ้องควานชิ้นหมูในแกงหน่อไม้เป็นคนที่ให้ยืมตังค์ไม่ได้ ปัญหาคือคนที่เราอยู่ห่าง หรือพวกแกนนำต่างหาก ที่เรามองเขาแง่ดีด้านเดียว แล้ว 30 ปีก็ไม่เคยข้องแวะกันเลย จนมาเห็นพฤติกรรมในยุคแบ่งสีเลือกข้าง ฉะนั้นคำเตือนวันนี้จึงเปลี่ยนไป ใครที่คุณมั่นใจว่าให้ยืมตังค์ได้ เขาก็ยังเป็นคนเดิมไม่ว่าจะเหลืองหรือแดง ซึ่งอันที่จริงผมก็ยังมั่นใจว่าสหายเก่าเกือบทั้งหมดคบได้ มีบางคนเท่านั้นที่เป็นนักฉวยโอกาส ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ เช่นจู้จี้จุกจิก ครอบงำความคิด ฯลฯ ผมว่าส่วนใหญ่ก็ยังเหมือนเดิมอีกแหละ หมอเหวงกับ อ.ธิดาแกก็ไม่น่าเปลี่ยนจากสมัยเป็น ส.เข้ม ส.ปูน เท่าไหร่หรอก (ฮา) ทัศนะเป็นเรื่องที่แตกต่างกันได้ สำคัญว่าแต่ละคนเลือกข้างด้วยความจริงใจหรือฉวยโอกาส พวกที่เป็นเหลืองบางราย ที่มีชื่อเสียงก็ฉวยโอกาส เช่น พรรคพวกรายหนึ่งไม่เคยรับผิดชอบชีวิตตัวเองหรือลูกเมีย ไปอยู่กับไทยรักไทยกับอดีตสหายรุ่นพี่ต่อหน้าทำดี ลับหลังไปเลื่อยขาเก้าอี้ในวงเพื่อน หารู้ไม่ว่าสหายเก่าแอบเปิดมือถือใต้โต๊ะ ถ่ายทอดสดให้พี่เขาฟังหมด แต่หลายรายก็จริงใจแบบของจริง เช่น อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ใครที่รู้จักมา 20-30 ปีต้องรู้ว่าแกไม่เคยเปลี่ยน แกไม่เคยสนใจลาภยศสรรเสริญทรัพย์สินส่วนตัว แต่มีแนวโน้มอนาธิปไตยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว (ฮา) ล่าสุดก็เพิ่งเรียกหาปฏิวัติประชาชน เลิกเป็นชนชั้นกรรมาชีพเถอะ ผมเคยเข้าประชุมหน่วย ย. เจอสหายวิจารณ์ตัวเอง ตำหนิตัวเองว่าควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ต้องทำมาสเตอร์เบท เซ่อไปเลย ผิดด้วยหรือวะ จะหัวเราะก็ไม่กล้า หลังออกจากป่า กลับสู่โลกทุนนิยม สู่ชีวิตมนุษย์ธรรมดาที่เวียนว่ายในกิเลสตัณหา คนส่วนหนึ่งก็ยังไม่ยอมรับความจริง ยังเอาหนังสือชีวทัศน์เยาวชนขว้างหัวคนอื่น ทั้งที่แก่จะเข้าโลงอยู่แล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ผัวเมียเลิกกัน ผัวมีเด็กใหม่เป็นเลขา เฮ้ยมันก็เรื่องของเขา ต่อให้เขาไม่เลิกกันแล้วมีกิ๊ก ก็เรื่องของเขา ไม่ต้องปากหอยปากปู ไม่ต้องเอามาตรฐานศีลธรรมที่ไหนไปจับ เว้นแต่ปล้ำเด็ก หรือไข่ไปเรื่อยไม่รับผิดชอบ นี่พูดในมาตรฐานคนอ่านหนังสือโป๊ ชอบดูหนังโป๊ และเป็นสมาชิกเว็บโป๊ (ฮา) แต่ไม่เคยทำตัวหัวงู ไม่เคยนอกใจเมีย กระนั้นผมก็ถือว่าชีวิตทางศีลธรรมของแต่ละคนมีขอบเขตต่างกันได้ อยู่ที่หาความสมดุลระหว่างด้านสว่างกับด้านมืดของชีวิตได้อย่างไร ที่ไม่ไปทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน เรื่องทำมาหากินก็เหมือนกัน ลึกๆ แล้วอดีตสหายจะรู้สึกว่าอาชีพที่น่ายกย่องสำหรับผู้เคยดัดแปลงตนเองเป็น "ชนชั้นกรรมาชีพ" ต้องเป็น NGO แบบ มด วนิดา (หรือรสนา โตสิตระกูล) หรือเป็นนักวิชาการแบบเสกสรรค์ ธีรยุทธ รองลงมาก็เป็นสื่อ ทั้งที่ความจริงไม่มีใครเลือกได้ แล้วแต่จังหวะ โอกาสของชีวิต บางคนก็ต้องไปขายประกัน บางคนก็ต้องทำธุรกิจ เป็น "นายทุน" เจ้าของกิจการ เล็กบ้างใหญ่บ้าง บางคนก็เป็นลูกจ้างเขาตลอดกาล บางคนประกอบอาชีพอิสระ บางคนก็ล้มเหลวตลอดชีวิต ทัศนะแต่ละคนอาจเปลี่ยนไปตามวัยและประสบการณ์ แต่ถามว่าส่วนใหญ่ยังมี "อุดมการณ์" อยู่ไหม ผมเชื่อว่ามี ในแง่ของความคิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม สร้างสรรค์สิ่งดีงาม โห เจ้าของร้านเหล้าเพื่อชีวิตยังร่วมขบวนกู้ชาติ (ฮา) เพียงแต่บางคนมันต้องขายประกันเลี้ยงครอบครัว ขับรถส่งลูกไปโรงเรียน แม้อยากสะพายย่ามขึ้นล่องกับม็อบปากมูลแบบไอ้มด แต่ความเป็นจริงของชีวิตมันทำไม่ได้ คนที่จะเป็น Idol แบบนั้นได้มีน้อยกว่าน้อย หลายปีก่อนอดีตสหายรุ่นพี่ที่ผู้คนรักนับถืออย่างกว้างขวางเสียชีวิต อย่างน่าเศร้าเพราะแกเพิ่งประสบความสำเร็จ เพิ่งสร้างบ้านราคาหลายสิบล้าน วันแรกที่ตั้งศพ สหายเก่าตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัยด้วยกันมาพร้อมเพรียง ร้องเพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" ดังก้องคฤหาสน์ที่วังเวง ผมน้ำตาซึมด้วยความตื้นตัน แม้แวบหนึ่งก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกประหลาด ว่าบรรยากาศมันไม่ให้เลย มันน่าจะอยู่ในป่าหรือในกระท่อม ไม่ใช่คฤหาสน์หลังงาม มีสระน้ำมีสนาม เนื้อที่เป็นไร่ แต่ถามว่าพี่ที่ผมรักยังมีอุดมการณ์อยู่ไหม ผมเชื่อว่ามีจนลมหายใจสุดท้าย ถึงแม้ในวิถีชีวิต จะต้องต่อสู้ดิ้นรน วิ่งเต้นทำธุรกิจ คบคนมากมาย คบพวกเขี้ยวลาก นักการเมืองเจ้าเล่ห์ แต่กับเพื่อน กับน้อง กับอดีตสหาย ไม่ว่าตอนรวยหรือจน แกให้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยหัวใจดวงเดิม ผมเชื่อว่าสหายส่วนใหญ่มีอุดมการณ์ เพียงแต่ไม่มีโอกาสแสดงออก นอกจากทำสิ่งที่ดีๆ ในชีวิตปกติ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ แทบทุกคนจึงกระโจนเข้ามา ไม่ว่าเลือกข้างไหน ก็ไม่มีใครมีสิทธิผูกขาดอุดมการณ์ โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในแวดวง NGO นักเคลื่อนไหว นักสิทธิมนุษยชน ก็ต้องยอมรับว่าสหายที่ขายประกันมันโดดเข้ามาเลือกข้าง "แดง" ด้วยอุดมการณ์ ไม่ใช่ด่ากราดกันว่าเข้าข้างทุน แต่แน่นอน ผมต้องสงวนสิทธิที่จะทวงถามอุดมการณ์ 6 ตุลา จะต่อต้านทักษิณผมไม่ว่า แต่คุณยอมรับการปลุกกระแส "คลั่งเจ้า" มากำจัดศัตรูทางการเมือง กระทั่งเข่นฆ่าปราบปรามกันได้อย่างไร ที่น่ารำคาญมากคือพวกซ้ายเสื้อเหลืองมักกล่าวหาคนตุลาที่ไปเป็นนักการเมือง ที่อยู่กับพรรคไทยรักไทย จนพรรคเพื่อไทย ว่ารับใช้ทุน กอบโกยหาผลประโยชน์ใส่ตัว ผมอยากถามว่าแล้วคนที่อยู่พรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคอื่นล่ะ (น่าจะเหมือนกัน) คนพวกนี้ขีดเส้นระหว่างอุดมการณ์กับ "การเมืองสกปรก" แบบว่าเกี่ยวข้องไม่ได้เลย เท่ากับละทิ้งอุดมการณ์ สมัคร ส.ส. สจ. นายกเทศมนตรี ฯลฯ เอาแล้ว สกปรกแล้ว ถามว่าถ้าเขาจะเข้าสู่การเมืองเพื่อหวังเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นบ้าง ไม่ได้หรือครับ นักการเมืองคนตุลาในไทยรักไทยก็รับเอานโยบาย 30 บาทจากพวกคนตุลาในแพทย์ชนบท ไปช่วยเหลือประชาชนทั้งประเทศ ประชาธิปัตย์ก็ไม่ต่างกัน ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ ก็เคยเป็นตัวตั้งตัวตีเรื่องกระจายอำนาจ แต่ถามว่าถ้าเขาจะเข้าสู่ "การเมืองสกปรก" แล้วทำตัวอย่าง NGO มันเป็นไปได้หรือครับ ไอ้การเป็นนักการเมืองในอุดมคติ ใสซื่อ มือสะอาด มันเป็นจริงหรือในระบบการเมืองไทย เพื่อนเราถ้าเขาเลือกเดินเส้นทางนั้น เขาก็จำเป็นต้องยอมเปื้อนอะไรหลายอย่าง ฉะนั้นการวิจารณ์คนที่เป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้อีกมาตรฐานหนึ่ง ดูว่าเขารักษาจุดยืนไว้ได้มากน้อยเพียงใด ผมก็ไม่เคยใช้มาตรฐานเดียวกันที่วิจารณ์ซ้ายเสื้อเหลืองไปวิจารณ์ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ , วิทยา แก้วภราดัย เพราะเขาเป็นนักการเมือง เขามีพันธะต่อพรรค ต่อประชาชนในเขตเลือกตั้ง บางครั้งก็ต้องแถเพื่อพรรคบ้าง เราก็เหน็บนิดแซวหน่อย เออ ถ้าวิทยาซึ่งเคยบาดเจ็บ 6 ตุลาออกมาเป็นตัวปลุก "ผังล้มเจ้า" ฆ่ามันๆ แบบนั้นต้องด่า แต่การปกป้องพรรคว่าไม่ผิด ก็ต้องเข้าใจว่าเขาเป็นนักการเมือง อันที่จริงเรามักสับสนระหว่างนักการเมืองกับนักฉวยโอกาส ซึ่งบ่อยครั้งเป็นคนเดียวกัน แต่นักฉวยโอกาสที่ไม่ใช่นักการเมือง ก็มีเยอะไป พวกที่ทำมาหากินกับนักการเมืองแล้วไปยกก้นตัวเองว่ามีศีลธรรมจรรยา นำขบวนกู้ชาติ ก็เห็นอยู่ อย่าให้ชี้ตัว ที่ต้องพูดอีกเพราะรำคาญกับการใช้คำพูดตื้นๆ ของคนที่เคยเป็น ส.อย่างพี่สมชาย หอมลออ ที่ว่า "ผมกับเหวง ก็เคยอยู่พรรคคอมมิวนิสต์มาด้วยกัน แต่ผมไม่เคยเปลี่ยนไปอยู่พรรคนายทุน ผมไม่เคยเป็นเครื่องมือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง" (ศูนย์ข่าวอิศรา) คนอยู่พรรคคอมมิวนิสต์แล้วไปอยู่พรรคนายทุนผิด เพราะพี่สมชายใช้มายาคติของคนออกจากป่ามาตีว่ามันผิด ทั้งที่การเล่นการเมืองในระบบนี้ พรรคการเมืองทุกพรรคก็เป็น "พรรคนายทุน" ตามความหมายลัทธิมาร์กซ์ทั้งสิ้น หมอเหวง ชำนิ วิทยา ก็อยู่ "พรรคนายทุน" กันทั้งสิ้นไม่ใช่หรือครับ ประการต่อมาที่ตื้นมากสำหรับคนเคยเป็น ส.คือ "ผมไม่เคยเป็นเครื่องมือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง" (แน่ใจนะ) ทุกคนก็รู้ว่านี่เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ ทุนใหม่ ทุนเก่า แน่ใจนะว่าคุณไม่เคยเป็นเครื่องมือกลุ่มทุนใดกลุ่มทุนหนึ่ง ถ้าพี่สมชายจะโต้หมอเหวงที่ "แถ" ว่าไม่มีชายชุดดำ ก็โต้ไปสิครับ แต่อย่าบลั๊ฟกันด้วยคำว่า "พรรคนายทุน" แต่ละคนจำเป็นต้องเลือกในวิถีการต่อสู้ หมอเหวงแกก็ต่อต้านทักษิณมาก่อน จนพันธมิตรไปขอ ม.7 แกถึงพลิกข้าง แกอาจถลำเข้าไปผูกตัวเองกับ นปช.มากไป จนสุดท้ายก็ต้องเป็น ส.ส.เพื่อเอาเอกสิทธิคุ้มครอง ถูกผิดวิจารณ์กันได้ แต่อย่ามายกตนว่าคนออกจากป่ามาเป็นนักสิทธิมนุษยชนนี่แม่-ยอดเยี่ยมเลย แต่ถ้าเป็นนักการเมือง อยู่พรรคนายทุน เลวชัวร์ ถ้าจะวิจารณ์ว่าหมอเหวงเป็นนักฉวยโอกาส ไต่เต้าทางการเมือง ก็ว่ากันตรงๆ แต่ในทัศนะผม นักฉวยโอกาสไม่ได้มีเฉพาะนักการเมือง แวดวงนักวิชาการ หรือ NGO ระดับท็อป ก็ "เล่นการเมือง" กันเยอะไป นักวิชาการฉวยโอกาสสร้างชื่อจากการเคลื่อนไหวการเมือง เป็นคณบดี เป็นอธิการบดี หรือไปรับงานวิจัยตัวเลข 8 หลัก ก็เยอะไป NGO บางคนก็ต้อง "เล่นการเมือง" สร้างภาพตัวเองให้ดูดีในสายตาองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้รับทุน เพื่อให้ได้เป็นตัวแทน เลิกใช้วาทกรรมอย่างนี้แล้วมาโต้กันแฟร์ๆ ดีกว่าครับ ผมก็ไม่เคยแถว่าไม่มีชายชุดดำ แค่ใช้จุดยืน 6 ตุลามองว่ามีหรือไม่มีมันก็ไม่ควรใช้กองทัพ อาวุธกระสุนจริง เข้าล้อมปราบอยู่ดี (มิพักต้องพูดถึง "ผังล้มเจ้า")
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สตรีไทใหญ่-คะฉิ่นในรัฐฉานตั้งกลุ่มปราบยาเสพติดกลางแหล่งระบาด Posted: 14 Oct 2012 07:38 AM PDT หญิงชาวไทใหญ่และคะฉิ่นที่เมืองป้อ ใกล้กับเมืองหมู่แจ้ รัฐฉาน ตั้งกลุ่มปราบยาเสพติด หลังพื้นที่เป็นเขตอิทธิพลพ่อค้ายา-จนท.เมินปราบปราม หากทางกลุ่มสตรีทราบว่ สำนักข่าวฉาน รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวในพื้นที่รัฐฉาน ซึ่งเปิดเผยว่า กลุ่มผู้หญิงไทใหญ่และคะฉิ่นที่เมืองป้อ อ.เมืองหมู่แจ้ รัฐฉานตอนเหนือ รวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่ ส่วนสาเหตุที่กลุ่มผู้หญิงได้ ทั้งนี้ แหล่งข่าวเผยว่า ในพื้นที่เมืองป้อ เป็นเขตพื้นที่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 7-13 ต.ค. 2555 Posted: 14 Oct 2012 02:12 AM PDT ทุ่ม 5 พันล้าน ปล่อยกู้ "ผู้ประกันตน" ไปทำงานตปท. เผยให้สิทธิรายละไม่เกิน 1 แสนบาท
เตือนแรงงานไทย เปิดเน็ต-ไปนอก
ผู้ประกันตน"เอดส์-ไต"เซ็ง ย้ายสิทธิติดกม.ความลับฯ
ปราจีนบุรี-พนง.แพน ประท้วงจ่ายค่าชดเชยหลังถูกไล่ออก
กองทุนประกันสังคมเล็งลงทุนเพิ่มใน ตปท.200 ล้านดอลล์ ปลายปีนี้-ต้นปีหน้า
"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ประชานิยม "จบใหม่" เงินเดือน 1.5 หมื่น ทำ "ป.ตรี" เตะฝุ่นปีหน้า 1.6-1.7 แสนคน
ลุ้นอัตราจ้าง สอศ.ขึ้นพนักงานราชการ 1 หมื่นอัตรา
พนง.ผลิตรองเท้าส่งออกบุกศาลากลางปราจีนฯ ทวงสิทธิเงินค่าถูกเลิกจ้าง
ก.แรงงาน ชู 3 มาตรการ เตรียมพร้อมรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บ. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"รสนา" ชี้โฆษณาการปรับขึ้นราคา LPG ของ ก.พลังงาน บิดเบือนข้อเท็จจริง Posted: 14 Oct 2012 01:51 AM PDT "รสนา โตสิตระกูล" สว.กทม. ชี้โฆษณาของกระทรวงพลังงาน ในการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี ในภาคครัวเรือนและภาคยานยนต์ โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนและบิดเบือนข้อเท็จจริงกับประชาชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (ตอนจบ) Posted: 14 Oct 2012 12:45 AM PDT นโยบายเมดิคัลฮับเมื่อปี 2546 สร้างความตื่นตัวให้โรงพยาบาลเอกชน จากเดิมที่มีโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่เป็นลักษณะโรงพยาบาลนานาชาติรับรักษาลูกค้าชาวต่างชาติและมีบุคลากรที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าที่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดกลาง ขนาดใหญ่และโรงพยาบาลลูกของเครือข่ายขนาดใหญ่ต่างมีแผนกรับลูกค้าต่างชาติเกือบทุกโรงพยาบาล และลูกค้าต่างชาติก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ชาวจีน อาหรับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนรัฐบาลและขาดความต่อเนื่องของนโยบายทำให้การพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับมีความกระจัดกระจายและไม่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคได้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนมีสภาพให้การบริการการแพทย์เชิงท่องเที่ยว(medical tourism) มากกว่าการเป็นเมดิคัลฮับ (medical hub)ในความหมายของความเป็นเลิศด้านการแพทย์ทุกสาขา ได้มาตรฐานความปลอดภัยคุณภาพระดับสากล และเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ การพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านการสร้างโครงสร้างคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อตั้งแต่สนามบินไปสู่เมดิคัลฮับ ตัวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว และงานบริการด้านอื่นๆ เช่น งานด้านเอกสาร พาสปอร์ต ส่วนภายในศูนย์เมดิคัลฮับเป็นศูนย์รวมของการบริการทางการแพทย์ทุกสาขา ห้องแลบ และศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ภายในบริเวณใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ต้องมีการสร้างโรงแรมที่พักที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ภายในโรงแรมมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการรักษา ในด้านบุคลากรสาธารณสุข ภาครัฐต้องผลิตบุคลากร ทั้งพยาบาล แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขสาขาอื่นๆ เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ บุคลากรสาธารณสุขทุกคนต้องพูดได้อย่างน้อยสองถึงสามภาษาอย่างชำนาญ ในปัจจุบันบริเวณที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับได้ทันทีคือ บริเวณตั้งแต่สามย่านติดต่อทอดยาวไปถึงอนุสาวรีย์ชัย เพราะตั้งอยู่ในใจกลางเมืองความเจริญ และที่ท่องเที่ยว มีระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อตั้งแต่สนามบิน มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ห้องแลป ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงต่างประเทศ โรงแรม ร้านอาหาร และบุคลากรที่มีความพร้อม เนื่องจากนโยบายต้องอาศัยภาษีประชาชนในการสร้างเมดิคัลฮับเพื่อตอบสนองความต้องการการรักษาของคนรวยจากต่างประเทศ และคัดกรองเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขที่มีความสามารถสูงเข้าสู่ระบบ นโยบายเมดิคัลฮับจึงมีข้อด้อยให้วิจารณ์ว่าจะสร้างความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขไทย คนเก่งๆจะสมองไหลไปสู่เมดิคัลฮับที่ค่าตอบแทนสูงกว่า อัตราส่วนระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่แตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นปัญหาในปัจจุบันจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีก นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบให้ราคาค่ารักษาในตลาดพุ่งสูงขึ้น ระบบสาธารณสุขภาครัฐจะล้มละลายจากการต้องทุ่มเงินเพิ่มค่าตอบแทนให้หมอเพื่อลดภาวะสมองไหล นอกจากนี้การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกสามปีข้างหน้า ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอจากการที่บุคลากรทางการแพทย์โยกย้ายไปทำงานในประเทศอื่นในอาเซียนที่มีรายได้มากกว่า และนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวอาเซียนที่ย้ายเข้ามารักษาในประเทศไทย เกิดการแย่งทรัพยากรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ และคุณภาพการรักษาของคนไทยด้อยลง [1] จากข้างต้นสิ่งที่จำเป็นต้องนำมาคิดให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่งคือ เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเรื่องการแย่งชิงทรัพยกรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ระหว่างภาครัฐและเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเอง เรื่องแรก ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเมดิคัลฮับเป็นนโยบายคนละเรื่องกัน นโยบายแรกเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ส่วนนโยบายที่สองเป็นนโยบายของรับบาลไทย การเกิดหรือไม่เกิดเมดิคัลฮับในไทยไม่สามารถหยุดยั้งการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 ประเภทแรงงานฝีมือได้แก่ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหรือการแพทย์ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรม วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพด้านวิศวกรรม วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม วิชาชีพเกี่ยวกับการสำรวจและนักสำรวจ และวิชาชีพบัญชี เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีแล้วบุคลากรสาธารณสุขส่วนหนึ่งย่อมสมองไหลไปสู่พื้นที่ๆเงินเดือนสูงกว่า ได้แก่ สิงคโปร์ และ บรูไน อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแรงงานสาธารณสุขไม่น่ารุนแรงอย่างที่คิดเนื่องจากอุปสรรคความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรมและศาสนา โดยเฉพาะศาสนาอิสลามซึ่งมีกฎระเบียบการรักษาที่แตกต่างจากศาสนาพุทธ ในทางตรงกันข้ามการสร้างเมดิคัลฮับในประเทศไทยอาจส่งผลลดภาวะสมองไหลไปสู่สิงคโปร์หรือบรูไน เมื่อประเทศไทยมีเมดิคัลฮับเป็นของตนเองและสามารถแข่งขันเมดิคัลฮับในสิงคโปร์และมาเลเซีย สามารถสร้างรายได้และมีเงินเดือนสูงที่ดึงดูดให้บุคลากรสาธารณสุขเก่งๆอยู่ทำงานในประเทศไทยต่อไป เรื่องที่สองเรื่องการแย่งทรัพยากรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน ประเด็นนี้ต้องกลับมาทบทวนใหม่ว่าทุกวันนี้ในระบบสาธารณสุขไทยไม่มีการแย่งชิงทรัพยการสาธารณสุขระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ ระหว่างภาคเอกชนเลยใช่หรือไม่? คำตอบคือไม่ ทุกวันนี้ถึงแม้ไม่มีเมดิคัลฮับ ภาคเอกชนก็พร้อมที่จ่ายเงินเดือนสูงๆเพื่อซื้อตัวคนเก่งๆจากภาครัฐมาอยู่แล้ว ภาคเอกชนพร้อมที่จะซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ยารักษาโรคราคาแพง มาพื่อแข่งขันกับภาครัฐและภาคเอกชนด้วยกันเอง นักลงทุนพร้อมที่จะเปิดโรงพยาบาลใหม่ๆได้ทันทีถ้าโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนมหาศาล สิ่งที่อาจส่งผลกระทบภายหลังการเกิดเมดิคัลฮับคือ การแย่งทรัพยากรระหว่างคนไทยกัยคนต่างชาติ เพราะถึงแม้ลูกค้าต่างชาติจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับคนไทยในประเทศแต่สามรถดึงบุคลากรสาธารณสุขได้มากกว่า [2] การวางธงคำตอบว่านโยบายเมดิคัลฮับจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยจึงเปรียบเสมือนการปิดตาข้างเดียวและไม่ยอมรับว่าทุกวันนี้ระบบสาธารณสุขไทยมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว และละเลยต้นตอของความไม่เท่าเทียมกันนั้นออกไป จากตอนที่หนึ่งและสองได้สรุปสาเหตุปัญหาของความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยไว้ 5ประการคือ 1.ความไม่เท่าเทียมกันด้านชนชั้นสังคมและ 2.การกระจายความมั่งคั่ง 3.ความไม่เท่าเทียมกันด้านการพัฒนาระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 4.การขาดการลงทุนจากภาครัฐ และการปราศจากกฎหมายและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ และ 5.ทำให้การแพทย์พาณิชย์เติบโตขึ้นในระบบสาธารณสุขไทย นโยบายเมดิคัลฮับจะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นหรือไม่จึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบเพราะขึ้นอยู่กับการออกแบบนโยบายควบคุมไม่ให้ซ้ำเติมเหตุผลห้าประการข้างต้น แทนที่จะหวาดกลัวว่าเมดิคัลฮับจะสร้างความไม่เท่าเทียม เราควรออกแบบนโยบายสร้างเมดิคัลฮับเพื่อนำความเจริญเข้าประเทศและสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมควบคู่กันไป โดยเมดิคัลฮับสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนบริการย่อยคือ บริการด้านการรักษาพยาบาล และภาคบริการควบคู่ได้แก่ ภาคโรงแรมการท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งจุดประสงค์ของความเท่าเทียมในระบบสาธารณสุขคือลดความเหลื่อมล้ำในภาคการรักษากล่าวคือ ถ้าประชาชนไม่ว่ายากดีมีจนอย่างไรถ้าป่วยเหมือนกันและได้รับการรักษาที่มาตรฐานเดียวกันย่อมเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ความแตกต่างด้านภาคบริการควบคู่เช่นเรื่องโรงแรม การท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่นอกเหนือระบบสาธารณสุข ลูกค้าย่อมมีสิทธิจ่ายราคาแพงเพื่อซื้อบริการที่แตกต่างได้ เมดิคัลฮับสามารถสร้างความเท่าเทียมได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบนโยบายเช่น
นอกจากนี้ควรตั้งอัตราภาษีก้าวหน้าเพื่อกระจายความมั่งคั่งจากบุคลากรสาธารณสุขในเมดิคัลฮับและผู้ประกอบการไปสู่สังคม การตั้งอัตราภาษีควรตั้งในอัตราที่พอเหมาะเพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนส่วนหนึ่งเข้ามาในระบบเมดิคัลฮับและสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และควรเก็บค่ารักษาราคาแพง หรือเก็บภาษีกับชาวต่างชาติที่เข้ามารักษาในเมดิคัลฮับโดยไม่ควรกังวลว่าจะไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับเมดิคัลฮับต่างประเทศได้ เพราะเมดิคัลฮับแข่งขันกันด้านคุณภาพบริการซึ่งบุคลากรสาธารณสุขไทยมีความสามารถสูง
การที่สังคมให้ความสำคัญในประเด็นความไม่เท่าเทียมกันย่อมเป็นสัญญาณที่ดี แต่การมุ่งเฉพาะประเด็นเดียวโดยขาดการมองรอบด้านประเด็นอื่นอาจส่งผลเสียอย่างคาดไม่ถึง ความไม่เท่าเทียมกันสามารถฆ่าคนได้ แต่ความยากจนเองก็สามาถฆ่าคนตายได้เช่นกัน การลดความไม่เท่าเทียมกันในสาธารณสุขโดยมุ่งเน้นแต่การจัดหาการรักษาพยาบาลที่ดีและราคาถูกแก่ประชาชนย่อมสร้างระบบประกันสุขภาพภาครัฐที่ไม่ยั่งยืน แต่ต้องมีนโยบายยกระดับรายได้ความเป็นอยู่ จัดหาอาชีพให้คนจนด้วยเพื่อให้คนจนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง มีรายได้เป็นของตนเองและสามารถจ่ายภาษีให้รัฐเพื่อให้รัฐนำเงินภาษีประชาชนมาใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขภาครัฐซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี นอกจากการสร้างเมดิคัลฮับควบคู่กับการลดความไม่เท่าเทียมแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันคือการสร้างเมดิคัลฮับไม่ควรมุ่งเป็นการพาณิชย์มากไปจนกระทั่งละเลยประเด็นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งระบบกฎหมายจริยธรรมการแพทย์และชีวจริยศาสตร์ไม่แข็งแรงพอ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วในอนาคตเมดิคัลฮับประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดแปลงเพศ การเปลี่ยนมดลูกผู้หญิงเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเด็กทารก การลักลอบปลูกถ่ายอวัยวะ การทดลองทางการแพทย์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความแตกแยกกับสังคมในอนาคต
เชิงอรรถ [1] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341307618&grpid=03&catid=&subcatid= [2] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341307618&grpid=03&catid=&subcatid= ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: เมดิคัลฮับและความไม่เท่าเทียม (ตอนจบ) Posted: 14 Oct 2012 12:43 AM PDT นโยบายเมดิคัลฮับเมื่อปี 2546 สร้างความตื่นตัวให้โรงพยาบาลเอกชน จากเดิมที่มีโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่เป็นลักษณะโรงพยาบาลนานาชาติรับรักษาลูกค้าชาวต่างชาติและมีบุคลากรที่สามารถสื่อสารกับลูกค้าที่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดกลาง ขนาดใหญ่และโรงพยาบาลลูกของเครือข่ายขนาดใหญ่ต่างมีแผนกรับลูกค้าต่างชาติเกือบทุกโรงพยาบาล และลูกค้าต่างชาติก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ชาวจีน อาหรับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนรัฐบาลและขาดความต่อเนื่องของนโยบายทำให้การพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับมีความกระจัดกระจายและไม่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคได้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนมีสภาพให้การบริการการแพทย์เชิงท่องเที่ยว(medical tourism) มากกว่าการเป็นเมดิคัลฮับ (medical hub)ในความหมายของความเป็นเลิศด้านการแพทย์ทุกสาขา ได้มาตรฐานความปลอดภัยคุณภาพระดับสากล และเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ การพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ ในด้านการสร้างโครงสร้างคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อตั้งแต่สนามบินไปสู่เมดิคัลฮับ ตัวเมือง สถานที่ท่องเที่ยว และงานบริการด้านอื่นๆ เช่น งานด้านเอกสาร พาสปอร์ต ส่วนภายในศูนย์เมดิคัลฮับเป็นศูนย์รวมของการบริการทางการแพทย์ทุกสาขา ห้องแลบ และศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ภายในบริเวณใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ต้องมีการสร้างโรงแรมที่พักที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ภายในโรงแรมมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการรักษา ในด้านบุคลากรสาธารณสุข ภาครัฐต้องผลิตบุคลากร ทั้งพยาบาล แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขสาขาอื่นๆ เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ บุคลากรสาธารณสุขทุกคนต้องพูดได้อย่างน้อยสองถึงสามภาษาอย่างชำนาญ ในปัจจุบันบริเวณที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นเมดิคัลฮับได้ทันทีคือ บริเวณตั้งแต่สามย่านติดต่อทอดยาวไปถึงอนุสาวรีย์ชัย เพราะตั้งอยู่ในใจกลางเมืองความเจริญ และที่ท่องเที่ยว มีระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อตั้งแต่สนามบิน มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ห้องแลป ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงต่างประเทศ โรงแรม ร้านอาหาร และบุคลากรที่มีความพร้อม เนื่องจากนโยบายต้องอาศัยภาษีประชาชนในการสร้างเมดิคัลฮับเพื่อตอบสนองความต้องการการรักษาของคนรวยจากต่างประเทศ และคัดกรองเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขที่มีความสามารถสูงเข้าสู่ระบบ นโยบายเมดิคัลฮับจึงมีข้อด้อยให้วิจารณ์ว่าจะสร้างความเหลื่อมล้ำในระบบสาธารณสุขไทย คนเก่งๆจะสมองไหลไปสู่เมดิคัลฮับที่ค่าตอบแทนสูงกว่า อัตราส่วนระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่แตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นปัญหาในปัจจุบันจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีก นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบให้ราคาค่ารักษาในตลาดพุ่งสูงขึ้น ระบบสาธารณสุขภาครัฐจะล้มละลายจากการต้องทุ่มเงินเพิ่มค่าตอบแทนให้หมอเพื่อลดภาวะสมองไหล นอกจากนี้การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกสามปีข้างหน้า ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอจากการที่บุคลากรทางการแพทย์โยกย้ายไปทำงานในประเทศอื่นในอาเซียนที่มีรายได้มากกว่า และนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวอาเซียนที่ย้ายเข้ามารักษาในประเทศไทย เกิดการแย่งทรัพยากรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ และคุณภาพการรักษาของคนไทยด้อยลง [1] จากข้างต้นสิ่งที่จำเป็นต้องนำมาคิดให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่งคือ เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเรื่องการแย่งชิงทรัพยกรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ระหว่างภาครัฐและเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเอง เรื่องที่สองเรื่องการแย่งทรัพยากรสาธารณสุขระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน ประเด็นนี้ต้องกลับมาทบทวนใหม่ว่าทุกวันนี้ในระบบสาธารณสุขไทยไม่มีการแย่งชิงทรัพยการสาธารณสุขระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ ระหว่างภาคเอกชนเลยใช่หรือไม่? คำตอบคือไม่ ทุกวันนี้ถึงแม้ไม่มีเมดิคัลฮับ ภาคเอกชนก็พร้อมที่จ่ายเงินเดือนสูงๆเพื่อซื้อตัวคนเก่งๆจากภาครัฐมาอยู่แล้ว ภาคเอกชนพร้อมที่จะซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ยารักษาโรคราคาแพง มาพื่อแข่งขันกับภาครัฐและภาคเอกชนด้วยกันเอง นักลงทุนพร้อมที่จะเปิดโรงพยาบาลใหม่ๆได้ทันทีถ้าโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนมหาศาล สิ่งที่อาจส่งผลกระทบภายหลังการเกิดเมดิคัลฮับคือ การแย่งทรัพยากรระหว่างคนไทยกัยคนต่างชาติ เพราะถึงแม้ลูกค้าต่างชาติจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับคนไทยในประเทศแต่สามรถดึงบุคลากรสาธารณสุขได้มากกว่า [2] การวางธงคำตอบว่านโยบายเมดิคัลฮับจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยจึงเปรียบเสมือนการปิดตาข้างเดียวและไม่ยอมรับว่าทุกวันนี้ระบบสาธารณสุขไทยมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว และละเลยต้นตอของความไม่เท่าเทียมกันนั้นออกไป จากตอนที่หนึ่งและสองได้สรุปสาเหตุปัญหาของความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุขไทยไว้ 5ประการคือ 1ความไม่เท่าเทียมกันด้านชนชั้นสังคมและ 2การกระจายความมั่งคั่ง 3ความไม่เท่าเทียมกันด้านการพัฒนาระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 4การขาดการลงทุนจากภาครัฐ และการปราศจากกฎหมายและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพและ5ทำให้การแพทย์พาณิชย์เติบโตขึ้นในระบบสาธารณสุขไทย นโยบายเมดิคัลฮับจะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นหรือไม่จึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบเพราะขึ้นอยู่กับการออกแบบนโยบายควบคุมไม่ให้ซ้ำเติมเหตุผลห้าประการข้างต้น
นอกจากนี้ควรตั้งอัตราภาษีก้าวหน้าเพื่อกระจายความมั่งคั่งจากบุคลากรสาธารณสุขในเมดิคัลฮับและผู้ประกอบการไปสู่สังคม การตั้งอัตราภาษีควรตั้งในอัตราที่พอเหมาะเพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนส่วนหนึ่งเข้ามาในระบบเมดิคัลฮับและสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
การที่สังคมให้ความสำคัญในประเด็นความไม่เท่าเทียมกันย่อมเป็นสัญญาณที่ดี แต่การมุ่งเฉพาะประเด็นเดียวโดยขาดการมองรอบด้านประเด็นอื่นอาจส่งผลเสียอย่างคาดไม่ถึง ความไม่เท่าเทียมกันสามารถฆ่าคนได้ แต่ความยากจนเองก็สามาถฆ่าคนตายได้เช่นกัน การลดความไม่เท่าเทียมกันในสาธารณสุขโดยมุ่งเน้นแต่การจัดหาการรักษาพยาบาลที่ดีและราคาถูกแก่ประชาชนย่อมสร้างระบบประกันสุขภาพภาครัฐที่ไม่ยั่งยืน แต่ต้องมีนโยบายยกระดับรายได้ความเป็นอยู่ จัดหาอาชีพให้คนจนด้วยเพื่อให้คนจนสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง มีรายได้เป็นของตนเองและสามารถจ่ายภาษีให้รัฐเพื่อให้รัฐนำเงินภาษีประชาชนมาใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขภาครัฐซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี นอกจากการสร้างเมดิคัลฮับควบคู่กับการลดความไม่เท่าเทียมแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันคือการสร้างเมดิคัลฮับไม่ควรมุ่งเป็นการพาณิชย์มากไปจนกระทั่งละเลยประเด็นเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งระบบกฎหมายจริยธรรมการแพทย์และชีวจริยศาสตร์ไม่แข็งแรงพอ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วในอนาคตเมดิคัลฮับประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดแปลงเพศ การเปลี่ยนมดลูกผู้หญิงเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเด็กทารก การลักลอบปลูกถ่ายอวัยวะ การทดลองทางการแพทย์ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความแตกแยกกับสังคมในอนาคต
เชิงอรรถ [1] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341307618&grpid=03&catid=&subcatid= [2] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341307618&grpid=03&catid=&subcatid= |
Posted: 14 Oct 2012 12:34 AM PDT |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น