โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รัฐบาลเคนยาถูกตั้งคำถาม กรณีเพิกเฉยคำเตือนเหตุโจมตีห้างเวสท์เกท

Posted: 30 Sep 2013 11:50 AM PDT

จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญชาวโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีกลุ่มติดอาวุธบุกห้างในประเทศเคนยา มีข้อมูลรั่วไหลจากรัฐบาลเคนยาระบุว่าทางการเคนยาได้รับคำเตือนเรื่องจู่โจมห้างสรรพสินค้าก่อนหน้านี้แล้วหนึ่งปี แต่กลับไม่ได้เพิ่มระบบความปลอดภัยใดๆ

30 ก.ย. 2013 - หลังจากเหตุการณ์ที่มีกลุ่มติดอาวุธบุกเข้าไปในห้างสรรพสินค้าเวสท์เกท กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และจับประชาชนเป็นตัวประกันจนกระทั่งมีการยิงต่อสู้กันเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ทางการเคนยา เมื่อวันที่ 21-24 ก.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุด รัฐบาลของเคนยาก็ถูกตั้งคำถามจากการที่พวกเขาเพิกเฉยต่อการเตือนภัยก่อนหน้าเหตุการณ์

สำนักข่าวอัลจาซีราเปิดเผยว่า พวกเขาได้รับรู้ข้อมูลจากทางรัฐบาลเคนยาซึ่งระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงได้รับคำเตือนก่อนหน้าเหตุการณ์จู่โจมห้างตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยรายงานดังกล่าวมีการเตือนว่ากลุ่มอัล-ชาบับ วางแผนจู่โจมแบบพลีชีพมีเป้าหมายเป็นห้างเวสท์เกทและโบสถ์โฮลีแฟมิลี่บาซิลิกาในกรุงไนโรบี

เหตุจู่โจมห้างเวสท์เกททำให้มีผู้เสียชีวิต 72 คน เป็นพลเรือน 61 คน เป็นทหาร 6 คน และกลุ่มติดอาวุธ 5 คน โดยกลุ่มอัล-ชาบับ ซึ่งเป็นกลุ่มหัวรุนแรงจากโซมาเลียได้ออกมาประกาศว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อเหตุ

เมื่อต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำกรุงไนโรบีก็แสดงความกังวลว่าอาจจะมีการโจมตีชาวยิวในช่วงวันสำคัญทางศาสนาในเดือน ก.ย. และบอกอีกว่ามีกลุ่มติดอาวุธอัล-ชาบับจำนวนหนึ่งเดินทางจากโซมาเลียเข้ามาในเคนยาโดยได้รับบัตรผู้ลี้ภัย

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีรารายงานจากกรุงไนโรบีว่า ข้อมูลรายงานที่ได้รับสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลเคนยาอย่างมาก เนื่องจากในนั้นระบุว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสภาเป็นผู้ที่ได้รับข้อมูลคำเตือนเรื่องการโจมตีด้วย ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าทำไมจึงไม่มีการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยในห้างเวสท์เกท นอกจากนี้กลุ่มติดอาวุธยังสามารถเช่าพื้นที่ในห้างเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักอาวุธสำหรับการโจมตีได้

ด้านทางการเคนยากำลังทำการสืบสวนและตามจับกุมผู้ก่อเหตุในคดีนี้ซึ่งยังคงมีผู้สูญหายหลายสิบคน โดยเมื่อวันอาทิตย์ (29) ที่ผ่านมาสามารถจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยรายใหม่ได้ ทำให้มีผู้ถูกจับกุมตัวแล้ว 12 ราย แต่มีการปล่อยตัวไป 3 ราย โดยทางการไม่ได้เปิดเผยว่าคนที่ถูกจับกุมตัวอยู่ในห้างช่วงที่มีการจู่โจมด้วยหรือไม่

อัลจาซีรากล่าวอีกว่าประชาชนชาวเคนยารู้สึกไม่พอใจที่รัฐบาลไม่เต็มใจยอมเปิดเผยข้อมูลเรื่องการจู่โจมห้างเวสท์เกท โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ หลังการโจมตีเกิดขึ้นแล้วหลายชั่วโมง

 


เรียบเรียงจาก
Kenya government faces questions over siege, Aljazeera, 30-09-2013
http://www.aljazeera.com/news/africa/2013/09/kenya-government-faces-questions-over-siege-2013929125854751767.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี

Posted: 30 Sep 2013 11:38 AM PDT

(30 ก.ย.56) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กสท. ได้มีการพิจารณาใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (MUX) เพื่อให้บริการในระดับชาติเป็นระยะเวลา 15 ปี แก่กองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เพิ่มอีก 1 โครงข่าย รวมแล้ว กสท.ให้ใบอนุญาตโครงข่ายไปแล้ว 5 ใบ ได้แก่  อสมท. 1 ใบ  ไทยพีบีเอส  1 ใบ กรมประชาสัมพันธ์ 1 ใบ และ กองทัพบก (ช่อง 5) 2 ใบ

สำหรับการให้ใบอนุญาตโครงข่ายเพิ่มให้ช่อง 5  เพื่อแลกกับการยุติบทบาทส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกของคู่สัญญาสัมปทานช่อง 7 เป็นระยะเวลา  5 ปี หรือปีพ.ศ.2561  จากเดิมสัญญาเดิม 10 ปี หรือปีพ.ศ.2566  ทั้งนี้ช่อง 5 ต้องยื่นเสนอแผนการดำเนินงานการคืนคลื่นให้ กสท.ระยะเวลา 2 ปี   เพื่อสนับสนุนการปลี่ยนผ่านทีวีระบบดิจิตอลและช่อง 5 ยินดีที่จะยุติสัญญาที่เกี่ยวกับเอกชน  ในขณะที่ช่อง 7 ต้องปฏิบัติตามคู่สัญญาจนหมดสัญญาสัมปทาน


ทำหนังสือแจ้งช่อง 7 แจงกติกาประมูลทีวีดิจิตอล
พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า  นอกจากนี้ กสท.ได้ทำหนังสือถึง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง7) เพื่อชี้แจงเงื่อนไข หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจ 24 ช่อง  ที่กำหนดว่าผู้เข้าร่วมประมูลในหมวดหมู่เดียวกันต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย และห้ามการถือหุ้นร่วมกันไม่เกินร้อยละ 10   เนื่องจากช่อง 7 ได้ยื่นหนังสือยังกสท. 2 ครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัท จันทร์ 25 จำกัด  ของน.ส.สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ที่ถือหุ้นในช่อง 7 ร้อยละ 21  ซึ่งทั้ง 2 บริษัทซื้อเอกสารประมูลช่องวาไรตี้คุณภาพคมชัด (ไฮเดฟฟินิชั่น หรือ เอชดี )

อย่างไรก็ตาม กสท.ส่งหนังสือเพื่อยึดหลักตามกฎ กติกา  ขณะที่การพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการถือหุ้นนั้นจะพิจารณาเมื่อเป็นผู้ขอยื่นรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ต.ค.56  โดยจะยังไม่มีการตรวจสอบผู้ที่มายื่นซื้อซองเอกสาร ส่วนในวันที่ 4 ต.ค. 56 จะมีการชี้แจงผู้ที่ซื้อซองเอกสารและให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาได้เป็นรายบริษัทอย่างเป็นทางการ


ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่

ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ.2556 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นั่นคือ จะต้องไม่มีเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของผู้เข้าร่วมการประมูลรายอื่น เช่น การเป็นผู้ที่เกี่ยวโยงกัน โดยการที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีผู้ถือหุ้นเดียวกันเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เข้าร่วมการประมูลนั้น ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
 

ขยายเวลาตรวจสอบกำลังส่งวิทยุอีก 1 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุม กสท. อนุมัติการขยายเวลาดำเนินการเรื่องใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่ด้วยจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบในการทดสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงยังไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ เนื่องจากจำนวนผู้ได้รับอนุญาตมีจำนวนมาก จึงขยายเวลาออกไปอีก 1 ปีหลังจากได้รับการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 49 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 42 ราย กิจการบริการสาธารณะ 2 ราย และกิจการบริการชุมชน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 2,844 ราย

ที่ประชุม กสท. อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. .... ในหัวข้อการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป

 


ที่มา: Press Release กสทช. และ เว็บไซต์เดลินิวส์ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสท. ให้โครงข่ายช่อง 5 แลกคืนอะนาล็อกใน 5 ปี

Posted: 30 Sep 2013 11:38 AM PDT

(30 ก.ย.56) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กสท. ได้มีการพิจารณาใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (MUX) เพื่อให้บริการในระดับชาติเป็นระยะเวลา 15 ปี แก่กองทัพบกโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) เพิ่มอีก 1 โครงข่าย รวมแล้ว กสท.ให้ใบอนุญาตโครงข่ายไปแล้ว 5 ใบ ได้แก่  อสมท. 1 ใบ  ไทยพีบีเอส  1 ใบ กรมประชาสัมพันธ์ 1 ใบ และ กองทัพบก (ช่อง 5) 2 ใบ

สำหรับการให้ใบอนุญาตโครงข่ายเพิ่มให้ช่อง 5  เพื่อแลกกับการยุติบทบาทส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกของคู่สัญญาสัมปทานช่อง 7 เป็นระยะเวลา  5 ปี หรือปีพ.ศ.2561  จากเดิมสัญญาเดิม 10 ปี หรือปีพ.ศ.2566  ทั้งนี้ช่อง 5 ต้องยื่นเสนอแผนการดำเนินงานการคืนคลื่นให้ กสท.ระยะเวลา 2 ปี   เพื่อสนับสนุนการปลี่ยนผ่านทีวีระบบดิจิตอลและช่อง 5 ยินดีที่จะยุติสัญญาที่เกี่ยวกับเอกชน  ในขณะที่ช่อง 7 ต้องปฏิบัติตามคู่สัญญาจนหมดสัญญาสัมปทาน


ทำหนังสือแจ้งช่อง 7 แจงกติกาประมูลทีวีดิจิตอล
พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า  นอกจากนี้ กสท.ได้ทำหนังสือถึง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง7) เพื่อชี้แจงเงื่อนไข หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลธุรกิจ 24 ช่อง  ที่กำหนดว่าผู้เข้าร่วมประมูลในหมวดหมู่เดียวกันต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย และห้ามการถือหุ้นร่วมกันไม่เกินร้อยละ 10   เนื่องจากช่อง 7 ได้ยื่นหนังสือยังกสท. 2 ครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัท จันทร์ 25 จำกัด  ของน.ส.สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ที่ถือหุ้นในช่อง 7 ร้อยละ 21  ซึ่งทั้ง 2 บริษัทซื้อเอกสารประมูลช่องวาไรตี้คุณภาพคมชัด (ไฮเดฟฟินิชั่น หรือ เอชดี )

อย่างไรก็ตาม กสท.ส่งหนังสือเพื่อยึดหลักตามกฎ กติกา  ขณะที่การพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติการถือหุ้นนั้นจะพิจารณาเมื่อเป็นผู้ขอยื่นรับใบอนุญาตในวันที่ 28-29 ต.ค.56  โดยจะยังไม่มีการตรวจสอบผู้ที่มายื่นซื้อซองเอกสาร ส่วนในวันที่ 4 ต.ค. 56 จะมีการชี้แจงผู้ที่ซื้อซองเอกสารและให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอนัดหมายเพื่อขอคำปรึกษาได้เป็นรายบริษัทอย่างเป็นทางการ


ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ.2556 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่

ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ.2556 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีสิทธิเข้าร่วมประมูลจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน นั่นคือ จะต้องไม่มีเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของผู้เข้าร่วมการประมูลรายอื่น เช่น การเป็นผู้ที่เกี่ยวโยงกัน โดยการที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีผู้ถือหุ้นเดียวกันเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เข้าร่วมการประมูลนั้น ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
 

ขยายเวลาตรวจสอบกำลังส่งวิทยุอีก 1 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุม กสท. อนุมัติการขยายเวลาดำเนินการเรื่องใบอนุญาตวิทยุคมนาคมสำหรับผู้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ทั้งนี้ หลังจากที่ได้รับการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่ด้วยจำนวนห้องปฏิบัติการทดสอบในการทดสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงสำหรับการทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงยังไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ เนื่องจากจำนวนผู้ได้รับอนุญาตมีจำนวนมาก จึงขยายเวลาออกไปอีก 1 ปีหลังจากได้รับการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

ที่ประชุม กสท. มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 49 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 42 ราย กิจการบริการสาธารณะ 2 ราย และกิจการบริการชุมชน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 2,844 ราย

ที่ประชุม กสท. อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. .... ในหัวข้อการอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์บริการสาธารณะ ประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐและเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป

 


ที่มา: Press Release กสทช. และ เว็บไซต์เดลินิวส์ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มองความเป็นไป ‘วิทยุชุมชน’ บนแพลตฟอร์มดิจิตอล

Posted: 30 Sep 2013 08:58 AM PDT

ผลศึกษา 'การเปลี่ยนผ่านการกระจายเสียงสู่ระบบดิจิตอลในประเทศไทย' ชี้ผลกระทบ พร้อมตั้งคำถามจะนำไปสู่การปฏิรูปสื่อในแง่ความเป็นเจ้าของ-เนื้อหาหลากหลายได้เพียงใด รวมถึงความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีที่อาจยิ่งถ่างกว้างขึ้น
 
 
วันนี้ (30 ก.ย.56) สาโรจน์ แววมณี นักวิจัยอิสระ จากสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) นำเสนอข้อมูลการศึกษา "การเปลี่ยนผ่านการกระจายเสียงสู่ระบบดิจิตอลในประเทศไทย" ในการประชุมสมัชชากรรมการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน
 
ก่อนหน้านี้ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่1 กำหนดให้เริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภายใน 4 ปี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางแผนเปิดประมูลการให้บริการวิทยุดิจิตอลในปี 57 โดยระบุว่า จะไม่มีการยุติการกระจายเสียงวิทยุระบบอนาล็อกทั้งหมดเหมือนกิจการโทรทัศน์ และอาจเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการบางส่วนใช้ระบบอนาล็อกต่อไป ขณะเดียวกัน กสทช.ก็กำลังพิจารณาให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาทดลองออกอากาศในระบบดิจิตอลหรือให้ใบอนุญาตออกอากาศในระยะเริ่มต้นเพื่อสร้างแรงจูงใจ
 
สาโรจน์ชี้ว่า ผลกระทบในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอล ประกอบด้วย ผลกระทบด้านเทคโนโลยี เนื่องจากไทยไม่ได้พัฒนาระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และเทคโนโลยีนี้ก็ต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ คำถามคือไทยจะนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพื่อเปลี่ยนแปลงมาตรฐานในการรับส่งสัญญาณดิจิตอลบ่อยแค่ไหน
 
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่มักมีราคาแพง ผู้ให้บริการกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ในการบริการชุมชนจะประสบปัญหาการลงทุน เนื่องจากไม่มีรายได้จากการโฆษณา รวมถึงผลกระทบด้านสังคม ที่กลุ่มผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยหรือมีอาชีพที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ผู้สูงอายุ เกษตรกรในชนบท ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ และคนพิการ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่
 
สาโรจน์ยังตั้งคำถามถึง กสทช.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลด้วยว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเท่านั้นหรือไม่ จะนำไปสู่การปฏิรูปสื่อในแง่ความเป็นเจ้าของและความหลากหลายของเนื้อหาได้เพียงใด รวมถึงความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลระหว่างคนรวยที่เข้าถึงและมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี กับคนจนที่เข้าไม่ถึงและไม่มีความรู้ด้านนี้จะยิ่งถ่างกว้างขึ้นหรือไม่
 
ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การกระจายเสียงวิทยุดิจิตอล สาโรจน์เสนอว่า ควรให้สถานีวิทยุธุรกิจขนาดใหญ่และสถานีวิทยุบริการสาธารณะเริ่มกระจายเสียงในระบบดิจิตอลก่อน เพราะมีความสามารถในการเข้าถึงทุนและความรู้ เทคโนโลยีดิจิตอล ส่วนวิทยุธุรกิจขนาดเล็ก (ท้องถิ่น) และวิทยุชุมชนควรกระจายเสียงระบบอนาล็อก (เอฟเอ็ม) ไปก่อน จนกว่าเครื่องส่งดิจิตอลจะราคาถูกลง และผู้รับซื้อเครื่องรับดิจิตอลมาใช้มากกว่า 50% ถึงจะเริ่มส่งเสริมให้วิทยุธุรกิจขนาดเล็กและวิทยุชุมชนเข้าสู่กระบวนการกระจายเสียงในระบบดิจิตอล
 
นอกจากนี้ ในการกำหนดมาตรฐานเครื่องรับวิทยุควรจะกำหนดให้สามารถรับคลื่นสัญญาณทั้งอนาล็อกและดิจิตอลด้วย
 
ด้านการส่งเสริมทดลองกระจายเสียงระบบดิจิตอล สาโรจน์เสนอว่า จำเป็นต้องให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานแก่สถานีวิทยุชุมชน และเริ่มก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชนดิจิตอลในเขตเมืองใหญ่ก่อน เพื่อใช้เป็นพื้นที่สะสมองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้การกระจายเสียงวิทยุดิจิตอลแก่สถานีวิทยุชุมชนนอกเขตเมืองใหญ่ในอนาคต
 
ส่วนศรีจุฬา หยงสตาร์ จากมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ กล่าวในการเสวนา 'แลไปข้างหน้า วิทยุชุมชนไทย' เล่าถึงบทเรียนเรื่องวิทยุชุมชนจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และศรีลังกา
 
ศรีจุฬา กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ ถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการทำวิทยุชุมชน มีองค์กรกำกับดูแลคล้ายกับ กสทช.ของไทย โดยข้อเสนอจากวิทยุชุมชนต่อองค์กรกำกับดูแล ประกอบด้วย 1.การขอคลื่นความถี่เฉพาะสำหรับวิทยุชุมชน 2.กฎเกณฑ์การจัดตั้งวิทยุชุมชนที่ยืดหยุ่น เนื่องจากกฎเดิมแข็งตัวเกินไป ทำให้การจัดตั้งล่าช้า
 
3.ขอให้ควบคุมวิทยุธุรกิจในพื้นที่ที่มีวิทยุชุมชนอยู่แล้ว เนื่องจากวิทยุธุรกิจจะมีความพร้อมกว่าด้านเงินทุน 4.ขอให้ลดภาษีนำเข้าอุปกรณ์วิทยุชุมชน 5.ให้มีการกำกับดูแล 6.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือสนับสนุนวิทยุที่สะท้อนความเป็นชุมชนจริงๆ
 
ขณะที่ในอินโดนีเซีย แม้จะมีองค์กรอิสระเพื่อกำกับดูแลโดยเฉพาะ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้ทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของกระทรวงสื่อสารและเทคโนโลยีเท่านั้น เป็นผลให้การออกใบอนุญาตวิทยุขนาดเล็กล่าช้า
 
บทเรียนสุดท้ายคือ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศแรกที่ได้รับการสนับสนุนจากยูเนสโกในการจัดตั้งวิทยุชุมชน แต่ปรากฏว่าล้มเหลว เพราะเมื่อแหล่งทุนและรัฐลงไปจัดตั้ง จึงไม่สะท้อนความต้องการของชุมชนจริงๆ
 
สำหรับอนาคตของวิทยุชุมชนไทย ศรีจุฬา เสนอว่า มี 4 ประเด็นที่ต้องพูดคุยกัน แต่ยังไม่เห็นในการพูดคุยของ กสทช. ได้แก่ 1.การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลของวิทยุชุมชน 2.การออกใบอนุญาตวิทยุชุมชน นั้นตอบโจทย์อนาคตของวิทยุชุมชนจริงหรือไม่ 3.สัดส่วน 20% ของสื่อภาคประชาชนตามที่ระบุในกฎหมายนั้น อยู่ในฝั่งชุมชนหรือฝั่งสาธารณะด้วย และ 4.การมีอยู่ของกองทุนวิจัย กสทช.สนับสนุนการมีอยู่อย่างยั่งยืนของวิทยุชุมชนหรือไม่
 
ด้านสิขเรศ ศิรากานต์ อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวถึงบทบาทของ กสทช.ด้วยว่ายังขาดการพิจารณาถึงผู้ใช้หรือประชาชน โดยที่ผ่านมา จะเห็นว่าเน้นในด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านกฎหมาย ระเบียบประกาศต่างๆ และด้านเทคนิคมากเกินไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

Posted: 30 Sep 2013 08:04 AM PDT

"ประเด็นก็คือเขาอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ได้ไหม คำตอบก็คือ อ้างไม่ได้นะครับ เพราะว่าอย่างที่ผมได้เรียนไปว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 154 มันเป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติที่มีการอ้างว่าตราขึ้นโดยขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้มันไม่ใช่เรื่องของร่างพระราชบัญญัติตามที่มาตรา 154 กำหนดไว้ แต่มันเป็นเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มันเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน"

กล่าวถึงกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านยื่นต่อปธ.วุฒิสภาส่งเรื่องไปยังศาล รธน.โดยอ้าง รธน. 154 ว่าการแก้ไข รธน. เรื่องที่มา ส.ว. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC?

Posted: 30 Sep 2013 06:19 AM PDT

คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ  ระบุมีแรงงานจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน เหตุนายจ้างบาง รายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่หักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้าง ชี้กฎหมายประกันสังคมยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ พร้อมเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกสัญชาติ
 
คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ  ระบุมีแรงงานจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน เหตุนายจ้างบาง รายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่หักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้าง ชี้กฎหมายประกันสังคมยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ พร้อมเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทุกสัญชาติ
 
ที่ห้องประชุมชั้น 19 สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)วันนี้  (30 ก.ย.) คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม (คปก.) ร่วมกับ คณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ  เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG)และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM)ร่วมกันจัดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง  "ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC
 
นายบัณฑิต แป้นวิเศษ คณะกรรมการปฏิบัติการเครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3  สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย โดยการบันทึกของสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ประมาณ 977,195 คน ในขณะที่ตัวเลขของกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เดือนกรกฎาคม 2555  และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีตัวเลขแรงงานข้ามชาติ 3  สัญชาติ ประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้อง ได้ประมาณการว่ามีจำนวนแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ ที่ทั้งจดทะเบียน และไม่ผ่านการจดทะเบียน มีไม่น้อยกว่า 2-3 ล้านคนทั่วประเทศ
 
คณะกรรมการปฏิบัติการเครือข่ายเพื่อแรงงานข้ามชาติกล่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการพัฒนารูปแบบกลไก เพื่อการเข้าถึงหลักประกันทางสังคม ที่เหมาะสมสำหรับแรงงานข้ามชาติและองค์กรภาคีเครือข่าย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับแกนนำสหภาพแรงงาน และแกนนำแรงงานข้ามชาติ พบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงระบบประกันสังคม เนื่องจากนายจ้างบางรายไม่ยอมแจ้งนำลูกจ้างเข้าประกันสังคม แต่มีการหักเก็บเงินค่าจ้างลูกจ้างไป แล้วอ้างว่าจะนำเงินส่งประกันสังคมให้ หรือกรณีการเข้าไม่ถึงข้อมูลในด้านการใช้สิทธิ และช่องทางการไปใช้สิทธิประกันสังคม ทำให้แรงงานข้ามชาติที่เป็นสมาชิกประกันสังคมส่วนใหญ่ จะไปหาซื้อยาตามร้านขายยา หรือไปรักษาที่คลินิกใกล้สถานที่พักของตนเอง
 
นอกจากนี้แล้วจากการเปิดเผยข้อมูลของนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่าแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมในปีแรก คือปี 2553 แต่เมื่อเดือนตุลาคม 2555 สำนักงานประกันสังคมระบุว่ามีแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพียง 217,927 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนสถิติตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนของแรงงานข้ามชาติทั้งหมด
 
นายบัณฑิตกล่าวว่า สาเหตุที่แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมน้อยเนื่องจากระบบประกันสังคมถูกออกแบบมาใช้สำหรับพลเมืองไทย ที่ต้องได้รับการคุ้มครองในระหว่างการทำงานจนถึงวัยชรา หรือหลังเกษียณอายุในการทำงาน แต่กลุ่มแรงงานข้ามชาติอยู่อาศัยทำงานได้เพียง 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศตนเอง ตามเงื่อนไขนโยบายรัฐเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ และกฎหมายแรงงานต่างด้าว 2551  ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงการใช้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม ตามมาตรา 33 ของกฎหมายประกันสังคม เช่น สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล,ลาคลอด,เงินสงเคราะห์บุตร,ชดเชยการขาดรายได้,การประกันการว่างงาน,และบำนาญชราภาพ  
 
อีกทั้งปัจจุบันมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ... ที่เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมวาระ 1 ไปสู่วาระ 2  และ 3  โดยทั้งนี้มีมาตราที่น่าเป็นห่วง และมีผลต่อการปรับสิทธิประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติในอนาคต รวมถึงการเกี่ยวร้อยต่อนโยบายรัฐบาลที่จะนำแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองทำงานแบบถูกกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมในมิติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
 
ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม ในนามคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ร่วมกับคณะทำงานติดตามประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ เห็นความจำเป็นที่จะทำงานติดตามต่อเนื่องและเพื่อสร้างทางเลือก โดยอาศัยข้อมูลเชิงปรากฏการด้านสถานการณ์ปัญหาเชิงลึก และการสร้างเสริมรูปแบบกลไกการเข้าถึงสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับนโยบาย และกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องจากพื้นที่สู่นโยบาย ในทางปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน  สู่การรณรงค์ปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายด้านสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายประกันสังคม ในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) 2558 อีกด้วย
 
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอย่างถูกฎหมายทุกคนควรจะได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน เนื่องจากตอนเราเรียกเก็บเงินประกันสังคมเราเรียกเก็บแบบไม่มีเงื่อนไข แต่ทำไมเมื่อเราจะจ่ายเงินประกันถึงมีเงื่อนไขและข้อจำกัด นอกจากนี้การเข้ามาเป็นผู้ประกันตนน่าจะมีสิทธิตั้งแต่วันแรกที่จ่ายเงินไป ตนได้มีการเสนอให้มีการปรับระยะเวลาในการใช้สิทธิประโยชน์ให้เริ่มต้นหลังจากเข้าเป็นผู้ประกันตนได้เลยทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. 2558เหมือนบริษัทเอกชนที่ทำประกันชีวิตแล้วได้รับความคุ้มครองตั้งแต่วันแรก แต่เงินประกันสังคมกว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับสิทธิครอบคลุมจะต้องใช้เวลา 1-3 เดือนหลังจากที่ได้จ่ายเงินไปแล้ว ซึ่งแรงงานในประเทศอาเซียนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ซึ่งจะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
 
ดังนั้นประเทศไทยควรมีมาตรการในการรองรับแรงงานเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบเหมาช่วงหรือเอ้าท์ซอส ประกันสังคมยังไม่ได้เข้าไปดูแลแรงงานในส่วนนี้ เมื่อเรารู้ปัญหาแล้วเราก็ควรจะต้องรีบแก้ไข ทั้งนี้ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพก็ควรเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติโดยรัฐจะต้องพิจารณารับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ที่อนุญาตให้แรงงานมีสิทธิรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงานได้หากถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช่ต้องทนยอมรับสภาพเหมือนในปัจจุบัน
 
นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ตัวแทนจากมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า ปัญหาของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมยังมีการเลือกปฏิบัติ และไม่สามารถเข้าถึงสิทธิได้เหมือนลูกจ้างไทย  เนื่องจากนายจ้างจะรับผิดชอบจ่ายเงินทดแทนโดยตรงแก่แรงงานข้ามชาติเฉพาะรายที่ประสบอันตราย  ทั้งนี้ ประกันสังคมได้ระบุเป็นนโยบายว่าจะดูแลแรงงานข้ามชาติเฉพาะในส่วนของแรงงานที่เข้าเมืองที่ถูกกฎหมายและแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่านโยบายดังกล่าวขัดแย้งกับกฎหมายประกันสังคมซึ่งให้การดูแลลูกจ้างทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติและอื่นๆ จึงอยากให้ประกันสังคมทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งผลกระทบจากนโยบายเห็นได้ชัดคือกรณีการทำงานและส่วนใหญ่มักเป็นกรณีบาดเจ็บสาหัสและต้องมีการร้องเรียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ต้องออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน แต่นายจ้างบางรายนั้นก็ยังเกลี้ยกล่อมต่อรองจ่ายเงินทดแทนให้แรงานข้ามชาติน้อยและล่าช้ากว่าที่กฏหมายกำหนดไว้  
 
นอกจากนี้ตนเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมเนื่องจากเป็นการออกแบบสำหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยเท่านั้น ซึ่งในการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมนั้นการให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติกรณีเจ็บป่วย ควรเป็นความรับผิดชอบตามสิทธิประโยชน์ของสำนักงานประกันสังคมเช่นเดิม รวมถึงกรณีค่าชดเชยในการเจ็บป่วย รวมถึงกรณีของการคลอดบุตร แต่ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคมควรจะเลือกทำสัญญากับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อใช้รูปแบบการบริการแบบประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมในส่วนนี้ ส่วนสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพทางเครือข่ายเห็นพ้องกับข้อเสนอของรัฐบาลที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 77 ทวิ ซึ่งจะให้แรงงานข้ามชาติสามารถขอรับเงินบำเหน็จในกรณีที่สิ้นสุดสัญญาจ้างและต้องการกลับประเทศต้นทาง ไม่ต้องรอให้อายุครบ 55 ปี
 
ขณะที่นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายประกันสังคมในประเทศไทยที่บังคับใช้ทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติพันกันเหมือนงูกินหาง สิ่งสำคัญคือเราควรพูดคุยกันในเรื่องเงื่อนไขของการปรับแก้กฎหมายที่จะสามารถรองรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กฎหมายเรานั้นจะต้องทำให้ทุกคนที่เป็นแรงงานในประเทศอาเซียนได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน โดยยึดหลักของมาตรฐานสากลซึ่งขณะนี้ก็เหลือระยะเวลาอีก 3 ปี ทุกประเทศก็จะเปิดประเทศอย่างเสรี เราจึงควรใช้เวลานี้ในการปรับแก้กฎหมายให้รองรับกับทุกสถานการณ์ของแรงงานดีกว่าต้องมานั่งแก้ใหม่หลังจากเปิดเสรีอาเซียนแล้วเพราะจะทำให้เกิดความยุ่งยาก
 
ด้านนายดร.อารักษ์ พรหมมณี รองเลขาธิการประกันสังคมกล่าวว่า ตามหลักการของประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองกับแรงงานในระบบดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาคือแรงงานนอกระบบที่เราจะต้องมาพิจารณาว่าแรงงานเหล่านี้จะเข้าถึงสิทธิได้อย่างไรและได้รับการดูแลอย่างไร ทั้งนี้ปัจจุบันแรงงานนอกระบบก็กำลังจะกลายเป็นแรงงานในระบบซึ่งปัจจุบันมีแรงงานขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว 342,236 คน จากแรงงานทั้งหมด 1 ล้าน 5 แสนกว่าคน และในส่วนที่เหลือก็กำลังอยู่ในระหว่างการบริการจัดการ  อย่างไรก็ตามประกันสังคมมีแนวคิดที่จะสร้างการปฏิบัติที่มีความเท่าเทียมแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีความเหมาะสมและต้องดูเงื่อนไขของการทำงานและระยะเวลาในการพำนักในประเทศไทยรวมถึงจะต้องสร้างข้อตกลงในเรื่องสิทธิประกันสังคมกับกลุ่มอาเซียน ซึ่งถ้าเรามีข้อตกลงได้เรื่องการเปิดเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเราก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.พร้อมเต็มที่ ระบบรองรับกองทุนค่ารักษาอปท.

Posted: 30 Sep 2013 05:30 AM PDT

ครม.เห็นชอบในหลักการพ.ร.ฏ.กองทุนค่ารักษาอปท.แล้ว ด้านสปสช.เผยความพร้อมรองรับบริการข้าราชการท้องถิ่นใช้สิทธิ์ตามกองทุนค่ารักษาอปท. จัดระบบไอที การเบิกจ่าย คุ้มครองสิทธิ์ รองรับ แจงยอดผู้ลงทะเบียนกว่า 6.6 แสนรายแล้ว เกือบครบจำนวนผู้มีสิทธิ์ 7 แสนคนทั่วประเทศ 

 
ครม.เห็นชอบในหลักการพ.ร.ฏ.กองทุนค่ารักษาอปท.แล้ว ด้านสปสช.เผยความพร้อมรองรับบริการข้าราชการท้องถิ่นใช้สิทธิ์ตามกองทุนค่ารักษาอปท. จัดระบบไอที การเบิกจ่าย คุ้มครองสิทธิ์ รองรับ แจงยอดผู้ลงทะเบียนกว่า 6.6 แสนรายแล้ว เกือบครบจำนวนผู้มีสิทธิ์ 7 แสนคนทั่วประเทศ ชี้หลังพ.ร.ฏ.มีผลบังคับใช้ ข้าราชการท้องถิ่นไปใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลไม่ต้องสำรองจ่าย มีสปสช.จัดการระบบให้ แต่หากใครยังไม่ลงทะเบียนต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วจึงเบิกคืนทีหลัง แนะรีบลงทะเบียนใช้บริการ
 
นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ รัฐบาลได้มีนโยบายจัดตั้งกองทุนกลางค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัว เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวให้ได้รับบริการที่เสมอภาคกับสิทธิอื่นๆ และลดภาระความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ซึ่งสิทธิประโยชน์นั้น มีความเสมอภาคและทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ โดยที่ผู้มีสิทธิ์ไม่ต้องสำรองจ่าย สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง 
 
เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า ล่าสุด คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกากองทุนค่ารักษาพยาบาลข้าราชการท้องถิ่น กำหนดให้พนักงานและลูกจ้างของ อปท.ใช้สิทธิจ่ายตรงในการรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม หลังจากนี้กระบวนการจะมีการเสนอร่าง พ.ร.ฏ.ที่ครม.ให้ความเห็นชอบ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น จากนั้นส่งกลับมายัง ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง และนำร่าง พ.ร.ฏ.ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงพิจารณาโปรดเกล้า ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป
 
นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ในส่วนการเตรียมงานของสปสช.นั้น ขณะนี้มีความพร้อมในทุกด้านแล้ว ทั้งการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ และผู้ใช้สิทธิ์ร่วมของข้าราชการส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้อง ครบถ้วน โดยการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาและให้ อปท.แต่ละแห่งคีย์ข้อมูลลงไปในโปรแกรม ปัจจุบันมียอดของผู้ใช้สิทธิ์มากกว่า 660,000 ราย จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 แห่ง เทศบาล 1,900 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) 5,693 แห่ง เหลืออปท.ประมาณ 98 แห่งที่ยังให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน สามารถลงทะเบียนได้ที่นายทะเบียนประจำอปท.ที่สังกัดอยู่ ใช้ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส และใบรับรองบุตร โดยสิทธิจะเกิดภายใน 1 วันหลังการบันทึกข้อมูล
 
"ในการใช้บริการนั้น สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้มีเลข 13 หลัก กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ใช้สูติบัตร สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน หากไปใช้บริการต้องสำรองจ่ายแล้วนำใบเสร็จไปเบิกจ่ายกับต้นสังกัด แล้วจะได้รับเงินคืนหลังจากตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารแล้ว ดังนั้นจึงขอให้ผู้มีสิทธิ์ทุกท่านไปลงทะเบียนโดยเร็วที่สุดจะสามารถใช้บริการได้สะดวกกว่า" เลขาธิการสปสช.กล่าว
 
ทั้งนี้ สปสช.ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลทั่วประเทศว่าเมื่อข้าราชการท้องถิ่นไปใช้บริการที่โรงพยาบาล การให้บริการ การตรวจสอบสิทธิ์ การเก็บเงินจาก สปสช. จะเป็นอย่างไร ในส่วนของการเก็บเงินจากสปสช. นั้น ทาง สปสช. ได้พัฒนาการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว  รวมทั้งการเตรียมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ข้าราชการท้องถิ่น หากมีปัญหาหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถโทร.สอบถามได้ที่ สายด่วนสปสช. 1330
 
นายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กองทุนค่ารักษาสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญของอปท.ด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นเรียกร้องมานาน ซึ่งต้องการให้สิทธิการรักษาพยาบาลเทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือน และใช้หลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยจัดตั้งเป็นกองทุนให้มีการบริหารจัดการร่วม ไม่ใช่ให้แต่ละท้องถิ่นไปจัดการและแบกรับความเสี่ยงเองอย่างที่ผ่านมา ซึ่งต้องขอบคุณทางรัฐบาลที่เห็นปัญหาและดำเนินการแก้ไขให้ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่ม ใช้งบประมาณจากที่มีอยู่แต่ใช้หลักการบริหารจัดการแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยมีสปสช.เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนนี้ให้ และในส่วนของการเตรียมความพร้อมนั้น ทางอปท.ทุกแห่งได้จัดการลงทะเบียนให้ผู้มีสิทธิทุกคนเรียบร้อยแล้ว
 
"ขณะนี้ยังมีความไม่ชัดเจนบางประการ เนื่องจากแม้ครม.จะอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2556 แล้ว แต่ยังไม่มีการโปรดเกล้าและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งข้าราชการส่วนท้องถิ่นยังกังวลว่าในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นต้น หากจะต้องไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลจะทำอย่างไร เบิกจ่ายตรงได้เลยหรือไม่ หรือต้องสำรองจ่ายไปก่อน ต้องขอความชัดเจนเพิ่มเติมด้วย แต่หากระบุว่าย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีความสบายใจ และไม่ต้องมีการสำรองจ่ายไปก่อน สามารถเข้าสู่กระบวนการใช้สิทธิและสวัสดิการตรงนี้ตามที่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงให้บุคคลผู้มีสิทธิตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน" ประธานสมาพันธ์กล่าวฯ
 
ประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของกองทุนค่ารักษาอปท.นั้น ทางอปท.มีความคาดหวังว่า ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องได้รับการเบิกจ่ายตรงกับโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่ต้องสำรองจ่าย และจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพให้มีมาตรฐานเที่ยบเท่าข้าราชการพลเรือน ซึ่งจุดนี้กองทุนค่ารักษาอปท.ตอบโจทย์ให้แล้ว แต่ยังมีที่อปท.ต้องการคือ ในการบริหารงานกองทุนค่ารักษาอปท.นี้ จะต้องเปิดโอกาสให้อปท.เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล และในอนาคตอยากให้กองทุนค่ารักษาอปท.นี้ดูแลบุคลากรที่ทำงานในส่วนท้องถิ่นด้วย เช่น บุคลากรฝ่ายการเมือง สมาชิกอปท. รองนายกอปท. และลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุไปแล้ว โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่รวมผู้มีสิทธิร่วมอื่นๆ คือ บุตร ภรรยา พ่อและแม่ มารวมด้วย เพราะนี่เป็นกลุ่มบุคลากรที่ทำงานให้ท้องถิ่นและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดียวกัน จึงอยากให้รัฐบาลดูแลตรงจุดนี้ด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส.ว.สรรหา เตือนทูลเกล้าฯ ร่าง รธน. โดยไม่รอศาล รธน. เท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

Posted: 30 Sep 2013 04:25 AM PDT

ส.ว.สรรหา เตือนว่าหากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไข รธน. ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยไม่รอศาล รธน.วินิจฉัย ถือเป็นการมิบังควร ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท และผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และอาจมีผู้ยื่นเรื่องต่อศาล รธน. ว่านายกรัฐมนตรีผิด รธน. ม.68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (30 ก.ย.) ว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เพื่อขอให้ระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่มา ส.ว. เนื่องจากวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมากลุ่ม ส.ว.ได้ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอให้ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยล่าสุดทราบว่าประธานวุฒิสภากำลังให้ฝ่ายธุรการตรวจสอบลายมือชื่อ ส.ว.และจะส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบในสัปดาห์นี้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวาย จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการอ้างว่าจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วันนั้นใช้ในกรณีที่ร่างกฎหมายไม่มีการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ แต่หากยื่นให้ศาลตรวจสอบตามมาตรา 154 แล้ว ต้องระงับการทูลเกล้าฯ ถวายไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย แม้จะพ้นกำหนด 20 วันแล้วก็ตาม ซึ่งล่าสุดกรณีร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ก็เลยกำหนดการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 20 วันแล้วเช่นเดียวกัน

นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า หากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบผิดปกติ ตามคำแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาและจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการตรวจสอบร่างกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เชื่อได้ว่าอาจจะมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่มีปัญหามากมายยังไม่สิ้นข้อสงสัย และอยู่ในระหว่างการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่กลับนำขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบ เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจถูกกล่าวโทษว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 157 จึงหวังว่านายกรัฐมนตรีจะระงับนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่าเหตุใดทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายพรรคเพื่อไทยถึงได้เร่งรีบให้นายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอย่างเร่งรีบ ไม่ทราบว่าเป็นการทำเพื่อรักษาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข หรือต้องการสนองความต้องการบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะขณะนี้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะว่าร่างฉบับนี้มีหลายอย่างที่ไม่เรียบร้อยค่อนข้างมาก เช่น การแปรญัตติ การกดบัตรแทนกัน และที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่ามีความสำคัญและมีศักดิ์สูงกว่าร่าง พ.ร.บ.จึงไม่สมควรที่จะผ่านออกไป โดยไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงความถูกต้องก่อน

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ที่ผ่านมาถือเป็นประเพณีปฏิบัติว่า หากเรื่องใดยังไม่ได้ข้อยุติหรือยังมีความสงสัย ต้องยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด และขณะนี้มีผู้ยื่นเรื่องแล้ว และยังไม่มีข้อสรุป ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ จะเป็นการระคายเคืองหรือไม่ และอยากเตือนไม่ให้นายกรัฐมนตรีนำเรื่องนี้ขึ้นไป เพื่อให้เป็นพระราชภาระ ซึ่งอาจจะมีผู้ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่านายกรัฐมนตรี กระทำการเข้าข่ายล้มล้างการปกครองขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68

อนึ่งก่อนหน้านี้ "ประชาไท" สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ได้ เนื่องจาก มาตรา 154 เป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นอำนาจของรัฐสภา (อ่านต่อที่นี่)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสั่งการตาย 2 เสื้อแดง 10 เมษา หน้าร.ร.สตรีวิทฯ วิถีกระสุนมาจากฝ่าย จนท.

Posted: 30 Sep 2013 03:05 AM PDT

"จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล"เหยื่อกระสุน 10 เมษา 53 หน้า ร.ร.สตรีวิทฯ เหตุการณ์เดียวกับ 'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย' ศาลสั่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ

"จรูญ ฉายแม้น-สยาม วัฒนนุกูล"

10.00 น. วันที่ 30 ก.ย. ที่ห้องพิจารณา 603 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอ่านคำสั่งชันสูตรการเสียชีวิต คดีที่พนักงานอัยการสำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายจรูญ ฉายแม้น ผู้ตายที่ 1 และนายสยาม วัฒนนุกูล ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ ในเหตุกระชับพื้นที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553

โดย ศาลได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ผู้ร้องมีประจักษ์พยาน 4 ปากอยู่ในที่เกิดเหตุบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ต่างเบิกความยืนยันว่า เห็นประกายไฟจากกระบอกปืนและได้ยินเสียงปืนจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปบริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้สี่แยกสะพานวันชาติ ซึ่งขณะนั้นประจักษ์พยานเห็นผู้ตายทั้งสองล้มลงที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จึงเชื่อว่าพยานทั้ง 4 ต่างเบิกความไปตามความจริงที่ได้รู้เห็นมา ประกอบกับแพทย์จากนิติเวชที่ชันสูตรศพผู้ตายทั้งสองยืนยันว่านายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง โดยสาเหตุการตายเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบพบเศษลูกกระสุนปืน เศษตะกั่ว เศษเหล็กในศพของผู้ตายที่ 1  ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากการถูกยิงด้วยกระสุนปืน ตรวจพบเศษตะกั่วในศพผู้ตายที่ 2 ประกอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนยืนยันว่า เศษลูกกระสุนปืนที่พบในศพของผู้ตายที่ 1 เป็นอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้ในวันเกิดเหตุ และแม้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเศษตะกั่วที่พบในศพผู้ตายที่ 2 มีขนาดเท่าใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายทั้งสองอยู่ในบริเวณเดียวกันและล้มลงในช่วงระหว่างที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงมาทางผู้ชุมนุมที่ติดตามเข้าไป จึงเชื่อว่าผู้ตายทั้งสองถูกกระสุนปืนที่ยิงมาจากบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ คำเบิกความของพยานยังสอดคล้องกับผู้ตรวจวิถีกระสุนในบริเวณที่เกิดเหตุ จากข้อเท็จจริงและเหตุผลทั้งหมดที่ได้วินิจฉัยมา เชื่อได้ว่ากระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายทั้งสองนั้น มีวิถีกระสุนปืนที่ยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่พยานของผู้ร้องทั้งหมดที่นำสืบมา ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ

ศาลจึงมีคำสั่งว่า นายจรูญ ผู้ตายที่ 1 ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 เวลาประมาณ 22.00 น. สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงที่ทรวงอก ทำลายปอดและตับ ส่วนนายสยาม ผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายขณะนำส่งโรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 10-11 เม.ย.53 สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่ด้านหลังทะลุทรวงอก ทำลายหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอก และเสียโลหิตมาก  ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงานที่ถอยร่นจากแนวป้องกันบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาไปที่บริเวณซอยข้างวัดบวรนิเวศใกล้แยกสะพานวันชาติ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ

'ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย'

สำหรับเหตุการณ์คืนวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ นั้น นอกจากการตายของนายจรูญ และนายสยาม แล้ว ยังมีเหตุการณ์ เวลาและสถานที่เดียวกันอีก 3 ศพ สำคัญที่อยู่ในกระบวนการไต่สวนการตายอีกคือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุมนปช. ซึ่งคดีของทั้ง 3 ศพนี้อยู่ในคดีเดียวกันและจะมีการไต่สวนการตายต่ออีกในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: จารึกนามนี้ด้วยชีวิน

Posted: 30 Sep 2013 12:47 AM PDT


ภาพประกอบโดย  Prainn Rakthai

 

 

ลุงพร้อม ยอมพลี แม้ชีวิต
ลุงคิด แน่วแน่ ต้องแก้ไข
ลุงสู้ อุทิศ หมดจิตใจ
ลุงไม่ ยอมอยู่ ให้ดูแคลน

 

ลุงขอ ลบคำ สบประมาท
ลุงประกาศ ด้วยชีวี ที่หวงแหน
ลุงชน รถถัง ดั่งตัวแทน
ลุงแขวน คอหมาย ให้วายชนม์

 

เพียงหวัง คนไทย ได้ตื่นรู้
อย่าอยู่ ใต้เงา ที่เขาปล้น
ปลดแอก ปลดเปลื้อง จากเบื้องบน
ให้คน ตาสว่าง ทั้งแผ่นดิน

 

"นวมทอง ไพรวัลย์" นามนั้นชัด
ยืนหยัด ปณิธาน แกร่งปานหิน
จารึก นามนี้ ด้วยชีวิน
ไม่สิ้น ศักดิ์ศรี "วีรชน" 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ก.ย. 2556

Posted: 30 Sep 2013 12:24 AM PDT

บอร์ด สปส.ไฟเขียว สำนักบริหารการลงทุน เป็นองค์กรอิสระ 


(26 ก.ย.) นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมที่จะแยกสำนักบริหารจัดการการลงทุนของ สปส.ออกไปเป็นหน่วยงานเฉพาะ โดยอาจจะตั้งเป็นองค์กรอิสระเพื่อความคล่องตัวในการนำเงินกองทุนไปลงทุนใน รูปแบบต่างๆ ซึ่งจะจัดจ้างพนักงานในอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมทั้งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ กองทุนและเจ้าหน้าที่บริหารกองทุน โดยเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ได้เห็นชอบอนุมัติการปรับโครงสร้าง รวมทั้งกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนโดยเพิ่มเป็น 44 ตำแหน่งจากที่มีอยู่ 20 ตำแหน่งเรียบร้อยแล้วโดยขั้นตอนต่อไปคือการแก้กฎหมาย พ.ร.บประกันสังคม พ.ศ.2533 และจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีในการแก้ไขกฎหมายและจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระได้ จึงคาดว่าจะเริ่มจัดตั้งสำนักบริหารจัดการการลงทุนของ สปส.ที่เป็นองค์กรอิสระได้ในปี พ.ศ.2557
      
ทั้งนี้ สปส.ได้ปรับแผนการลงทุนระยะ 5 ปีนี้ โดยจะมีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานและสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36 จากปัจจุบันได้กำหนดสัดส่วนไว้ไม่เกินร้อยละ 20 และสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ในปัจจุบันจะลดเหลือร้อยละ 64 ซึ่งการปรับสัดส่วนการลงทุนเช่นนี้คาดว่าจะทำให้กองทุนมีผลตอบแทนเฉลี่ย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 จากร้อยละ 4.5 ซึ่งแต่ละปี สปส.จะมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-9-2556)

กระทรวงแรงงาน ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางาน 2 บริษัท

นพ.สมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน ได้ยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทจัดหางานแฟรี่เทรด จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่บ้านวิชั่นวิลล์ 3 ซอยสามัคคี 30 ถนนสามัคคี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และบริษัทจัดหางานนิธิโรจน์ เซ็นเตอร์ เซอร์วิส จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 305/17 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตามความประสงค์ขอยกเลิกใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ ของทั้ง 2 บริษัท ทั้งนี้หากผู้ใดมีเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการจัดหางานของบริษัทดังกล่าว สามารถแจ้งนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

(มติชนออนไลน์, 27-9-2556)

อมตะดัน "มหกรรมแรงงานผู้พิการ"

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อมตะ ได้ร่วมกับ สำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรี และสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เตรียมจัดงาน "มหกรรมนัดพบแรงงานผู้พิการ" เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประกอบกับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พิการที่มีศักยภาพความพร้อมในการทำงาน ได้แสดงความสามารถของตนเองเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัว และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานในนิคมฯ ที่ต้องการรับผู้พิการเข้าทำงาน

ทั้งนี้ กิจกรรมภายในจะพบกับตำแหน่งงานว่างที่พร้อมรองรับผู้พิการรวมกว่า 300 อัตรา ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายสนับสนุนด้านการผลิต อาทิ แผนกงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ งานชุบสี งานสโตร์ งานบรรจุภัณฑ์ งานธุรการ เป็นต้น โดยงานนี้จะมีกำหนดจัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09.00-15.00 น. ณ อาคารอมตะเซอร์วิส เซอร์เตอร์ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี

(บ้านเมือง, 27-9-2556)

รถบัสรับส่งคนงานเสียหลักชนเสาไฟฟ้า เจ็บ 20 คน

เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมือง สระบุรี รับแจ้งเหตุมีรถบัสรับส่งคนงานเสียหลักพุ่งข้ามเลนมาชนเสาไฟฟ้าริมถนน หลัก กม.ที่ 7-8 ถนนมิตรภาพ ขามุ่งหน้านครราชสีมา หมู่ที่ 2 ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง สระบุรี มีผู้ติดภายในและบาดเจ็บ จำนวนมาก เจ้าหน้าที่มาที่เกิดเหตุพบรถบัสส่งคนงานของบริษัท พิยา แสงนิว ทะเบียน 30-0825 พระนครศรีอยุธยา เป็นรถบัส รับ-ส่งคนงาน บ.นิสเดส อยู่ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา รถคันดังกล่าวพุ่งชนเสาไฟฟ้า ข้างถนนหน้าห้างโรบินสัน เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างรัตนตรัยธรรมสถาน สระบุรี ช่วยกันงัดร่างออกมานำส่งโรงพยาบาล ศูนย์สระบุรี ส่วนคนเจ็บที่เหลือเจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลสระบุรี 12 คน พร้อมคนขับยังไม่ทราบชื่อได้รับบาดเจ็บ

จากการสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่า รถบัสส่งคนงานคันดังกล่าวได้วิ่งมาจาก อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำคนงานมาส่งที่ อ.แก่งคอย สระบุรี ขณะที่ขับมาตามถนนคาดว่าคนขับเกิดหลับใน แล้วเสียหลักข้างข้ามเลนทางด่วนออกมาทางคู่ขนานเสียพุ่งชนเสาไฟฟ้าจนหัก ไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้บาดเจ็บดังกล่าว

(ครอบครัวข่าว, 29-9-2556)

พระนครเปิดโอกาส จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว

นางมรกต สนิทธางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนคร กล่าวว่า เขตเปิดให้ยื่นจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว (ท.ร.38/1) สัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา ซึ่งขั้นตอนและเอกสารในการดำเนินการประกอบด้วย 1.หนังสือประทับตรา ที่ได้รับจากสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1 ได้แก่ หนังสือแสดงความต้องการจ้าง บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว และแบบประวัติแรงงานต่างด้าว) 2.ยื่นจัดทำทะเบียนประวัติ ท.ต.1 (รับได้ที่สำนักงานเขต) 3.ตัวแรงงานต่างด้าว 4.รูปถ่ายแรงงานต่างด้าว 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป? 5.สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง 6.สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง 7.สำเนาหนังสือรับรองบริษัท/หจก.

กรณีที่นายจ้างไม่เป็นเจ้าบ้าน ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน และหนังสือมอบอำนาจ จากเจ้าบ้านด้วย โดยสามารถยื่นเรื่องได้ที่ฝ่ายทะเบียน อาคาร 2 ชั้น 2 สำนักงานเขตพระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ในวันและเวลาราชการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1 โทร. 02-2236215-7 หรือฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตพระนคร โทร. 02-6289066 ต่อ 6560, 6561

(แนวหน้า, 26-9-2556)

"เฉลิม" สั่งชะลอนำเข้าแรงงานบังกลาเทศ 5 หมื่นคน

(27 ก.ย.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารกระทรวงแรงงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นประธานการประชุมได้มอบนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว โดยให้กระทรวงแรงงานไปทบทวนการเตรียมนำเข้าแรงงานต่างด้าวกลุ่มใหม่ เช่น แรงงานบังกลาเทศ 5 หมื่นคน ที่เตรียมจะนำเข้ามาทำงานด้านประมงและก่อสร้างว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียง ใด โดยได้แต่งตั้งตนเองพร้อมด้วย นายพูลศักดิ์ เศรษฐนันท์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน และนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ซึ่งทุกคนจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ให้เป็นคณะทำงานพิเศษในการศึกษาเรื่องความต้องการแรงงานต่างด้าว ว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการประเภทใดที่ต้องการแรงงานต่างด้าว และแต่ละประเภทต้องการจำนวนเท่าใด อาชีพไหนบ้าง รวมถึงวางแนวทางบริหารจัดการแรงงานบนพื้นฐานจำนวนที่มีอยู่ในประเทศให้ดี ก่อน เชื่อว่าจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล หลังจากนั้นจะรายงาน รมว.แรงงาน ต่อไป
      
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงแรงงานได้รายงานถึงสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี แต่ไม่พบว่ามีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมหรือที่ตั้งของบริษัท ต่างๆ รวมถึงผู้ใช้แรงงาน อย่างไรก็ตามได้กำชับให้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-9-2556)

ก.แรงงาน หารือ 10 ประเทศ สร้างมาตรฐานแรงงานอาเซียน

เมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมให้คำปรึกษาหารือในการกำหนดขอบเขตการ ประเมินผลการดำเนินการ AEC Road Map การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีต่อการรับรู้มาตรฐานฝีมือแรงงานร่วมกันในอาเซียน ว่า เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ประเทศไทย โดยกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในปีนี้เป็นความสนับสนุนขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ที่อยากให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีมาตรฐานฝีมือแรงงานเดียวกันทั้งหมด โดยทุกประเทศมาหารือกันเพื่อดูเรื่องของมาตรฐานฝีมือแรงงานและการเคลื่อน ย้ายแรงงานของแต่ละประเทศ รวมทั้งเป็นการนำเสนอรายงานของแต่ละประเทศว่าตอนนี้ได้ดำเนินการในเรื่อง อะไรไปแล้วบ้างในด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
 
โดยมีเจ้าหน้าที่ของไอแอลโอคอยให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ ซึ่งไอแอลโอยังรณรงค์ให้ทุกประเทศส่งเสริมในด้านงานที่มีคุณค่า (Decent work) หมายถึงงานที่มีความเหมาะสมทุกอย่าง ทั้งด้านค่าจ้าง สวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในการพัฒนาคนของแต่ละประเทศ

ด้าน นางมาเรีย อังเซสธิส อาเรร์ร่า มังกาฮาส รองผู้อำนวยการสำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค ไอแอลโอ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ริเริ่มในเรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยแต่ละประเทศนั้นต่างมีมาตรฐานด้านแรงงานที่แตกต่างกัน
 
ดังนั้นการร่วมพูดคุยในครั้งนี้คือการนำมาตรฐานของทุกประเทศมาปรับเข้า หากันเพื่อหามาตรฐานกลางของอาเซียนที่จะใช้เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (เออีซี) ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐานที่ดีด้านการท่องเที่ยว การบริการ การเกษตร ที่ผ่านมาไทยได้เปิดให้หลายประเทศเข้ามาศึกษาดูงานและมองว่าไทยจะเป็นแนว หน้าของอาเซียนในการแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศต่างๆ ได้

(มติชนออนไลน์, 30-9-2556)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

21ปี ข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87, 98

Posted: 30 Sep 2013 12:05 AM PDT

ทบทวนที่มาที่ไปของการผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม

กว่า 21 ปี ของการเรียกร้องขององค์กรแรงงานในประเทศไทยเพื่อให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม

21 ปีบนเส้นทางอันขรุขระของการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ดูได้จากตัวเลขจำนวนสถานประกอบการที่กระทรวงพาณิชย์ระบุเมื่อธันวาคม 2555 รวม 409,977 แห่ง แต่กลับมีการตั้งสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพียง 1,379 แห่ง (กุมภาพันธ์ 2556) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสถานประกอบการเท่านั้น ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนสหภาพแรงงานน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค

อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของผู้ใช้แรงงาน และถือเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อีกทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งทั่วโลกจะให้การยอมรับในสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นประเทศที่ยอมรับในสิทธิแรงงาน มีการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยผ่านการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของแรงงาน

ในปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2555 กระทรวงแรงงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 190 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเมื่อเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม จำนวน 5 ครั้ง โดยภาคเหนือจัดที่เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่ขอนแก่น ภาคตะวันออกจัดที่ชลบุรี ภาคใต้จัดที่สุราษฎร์ธานี และภาคกลางจัดที่กรุงเทพ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 492 คน

กระทรวงแรงงานได้สรุปผลในภาพรวม พบว่า

-           มีผู้เข้าร่วมที่เห็นด้วยกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 รวม 85.94 % ไม่เห็นด้วย 9.89 % และไม่แสดงความคิดเห็น 4.17 %

-           มีผู้เข้าร่วมที่เห็นด้วยกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 98 รวม 87.44 % ไม่เห็นด้วย 7.29 % และไม่แสดงความคิดเห็น 5.47%

ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้มีการเสนอแนะว่าภาครัฐควรรีบดำเนินการในการให้สัตยาบันทั้ง 2 ฉบับ และปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับการรวมตัวและเจรจาต่อรอง อีกทั้งรัฐไม่ควรนำปัญหาแรงงานข้ามชาติมาเป็นอุปสรรคต่อการให้สัตยาบัน เห็นควรให้กำหนดแนวทางการใช้สิทธิในการรวมตัวภายใต้เสรีภาพที่พึงมีพึงได้ เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ

นอกจากนั้นแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความเห็นข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง "การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98" ซึ่งได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับไปพร้อมกัน

นี้ไม่นับว่าเป็นครั้งแรกที่ ILO ประเทศไทย ก็ได้บรรจุเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ไว้ในโครงการระดับประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่าปี 2555-2558 โดยให้เป็นงานที่ต้องดำเนินการในลำดับต้น และกำหนดกรอบเวลาการให้สัตยาบันของรัฐบาลไทยให้แล้วเสร็จภายในปี 2557

ดังนั้นกล่าวได้ว่าวันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมอย่างยิ่งในการที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จักต้องเสนอเรื่องดังกล่าวนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เพื่อให้ความเห็นชอบ และจะได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาให้เห็นชอบก่อนดำเนินการให้มีผลผูกพันต่อไป

ทั้งนี้เนื่องจากอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ มีคาบเกี่ยวกับกับมาตรา 190[1]  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550 และขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังพิจารณา "ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 190" ไม่แล้วเสร็จ ทำให้ไม่มีความชัดเจนในกรณีการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ว่าเข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่ อย่างไร

จากข้อมูลเดือนมิถุนายน 2556 กระทรวงแรงงานได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน ว่ากระทรวงแรงงานได้สอบถามความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว ได้รับคำตอบว่าอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ น่าจะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550

สำหรับในส่วนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ได้ตอบความเห็นนี้กลับมาที่กระทรวงแรงงาน มีเพียงจดหมายแจ้งว่าให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเป็นผู้สอบถามไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแทน

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่ากระบวนการให้สัตยาบัน คือ ความร่วมมือระหว่างฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา อย่างใกล้ชิดในการดำเนินการ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจของการผลักดันขององค์กรแรงงานกลุ่มต่างๆมากขึ้น  จึงขอทบทวนที่มาที่ไปและย้อนกลับไปยังช่วงปี 2534-2535 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการผลักดันเรื่องนี้

(1) การหายตัวไปของทนง โพธิ์อ่าน : จุดเริ่มต้นของการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98

23 กุมภาพันธ์ 2534

กลุ่มทหารที่เรียกตนเองว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีผู้มาจากการเลือกตั้ง สังคมไทยในขณะนั้นได้ถูกปกคลุมไปด้วยเงาทะมึนแห่งความอยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพของประชาชนถูกลิดรอนและถูกกำราบด้วยกฎอัยการศึก

26 กุมภาพันธ์ 2534

พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้เรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบเพื่อชี้แจงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ ในการชี้แจงครั้งนั้นพลเอกสุจินดาได้พูดว่า "ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร" แต่สำหรับทนง โพธิอ่าน แล้ว ในฐานะผู้นำแรงงานซึ่งมีตำแหน่งในขณะนั้นเป็นรองประธานภาคพื้นเอเชียแปชิฟิกของสมาพันธ์แรงงานเสรีแรงงานระหว่างประเทศ (ICFTU) เขาเห็นว่า "เป็นเพียงลมปากที่ไม่อาจเชื่อถือได้"

เพราะต่อมาไม่นาน รสช. ก็ได้ลิดรอนสิทธิสหภาพแรงงานของคนงานรัฐวิสาหกิจ ทนง โพธิอ่าน ได้เรียกประชุมสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณามาตรการตอบโต้ในประเด็นการแยกแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงาน

ภายหลังการประชุมเขาได้แสดงทัศนะอย่างแข็งกร้าวต่อคณะ รสช.ว่า

"ทหารกำลังสร้างปัญหาให้กับกรรมกรด้วยการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 อย่านึกว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินแล้วจะทำอะไรก็ได้ ต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง และเวลานี้ทหารทำให้กรรมกรเป็นทุกข์ วันนี้สามช่า วันหน้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่"

1 พฤษภาคม 2534

การจัดงานวันกรรมกรสากลถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬาไทย- ญี่ปุ่นดินแดง เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานออกมาเดินขบวน

14 มิถุนายน 2534

สภาแรงงานแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของทนง โพธิอ่าน ได้จัดการประชุมใหญ่กลางท้องสนามหลวง เรียกร้องให้คืนสหภาพแรงงานให้คนงานรัฐวิสาหกิจและยกเลิกประกาศ รสช.ฉบับที่ 54

ผลจากการเรียกร้องดังกล่าวทนง โพธิอ่าน ถูกสั่งห้ามมิให้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพราะเกรงว่าจะนำเรื่องการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 ไปประณามกลางที่ประชุมนานาชาติ

19 มิถุนายน 2534

ทนง โพธิอ่าน ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย จากนั้นจนบัดนี้กว่า 22 ปีล่วงแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นหรือได้ข่าวที่แท้จริงเกี่ยวกับทนงอีกเลย

กล่าวได้ว่านี้อาจคือจุดเริ่มต้นสำคัญของการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 เพราะกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยไม่สามารถคุ้มครองการลุกขึ้นมาต่อสู้ของแรงงานได้แม้แต่น้อย

ภาพโดย ปกป้อง POAKPONG.com

(2) 21 ปีข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล : การรับรองอนุสัญญารับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98

7 เมษายน 2535

พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย

1 พฤษภาคม 2535

กลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่าง ๆ กลุ่มสหพันธ์แรงงาน กลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ร่วมกันจัดงานวันกรรมกรสากลหน้ารัฐสภา ซึ่งในขณะนั้น รสช. ประกาศกร้าว ห้ามมิให้กรรมกรจัดงานวันกรรมกรสากลในปีนั้น

และหลังจากนั้นหลายคนคงทราบดีได้เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬขึ้นมา มีการเดินขบวนเพื่อขับไล่เผด็จการ รสช. มีการปราบปรามอย่างรุนแรง จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่ายเข้าเฝ้า พลเอก
สุจินดาลาออกจากตำแหน่ง นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ

13 กันยายน

มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2536

มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจึงอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานฯมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

อ.ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา เคยแลกเปลี่ยนเสมอมาในเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่า "องค์กรแรงงานได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยเนื่องในวันกรรมกรสากลมาตั้งแต่ปี 2535 แล้ว แต่ไม่เคยได้รับการขานรับจากรัฐ"  ช่วงฮึกเหิมสุดของการเรียกร้องกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2552 เมื่อองค์กรแรงงานระดับชาติส่วนใหญ่ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง "คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87และ 98" โดยมีคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเป็นประธานคณะทำงาน และช่วยกันรณรงค์อย่างจริงจังในปี 2552-2553 จนกระทรวงแรงงานได้จัดตั้ง "คณะทำงานประสานการดำเนินงานเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98" ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลย้อนกลับไปยังปี 2535 ได้ มีเพียงข้อมูลของบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่ได้รวบรวมข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลของคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน คือ ปี 2556

ทั้งนี้ในปี 2547 เป็นปีแรกที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการในปี 2546 ได้มีการแยกการจัดงานวันกรรมกรสากลออกมาจากคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ

ดังนั้นในตารางด้านล่างนี้ก็จะบรรจุให้เห็นข้อเรียกร้องของทั้ง 2 องค์กรจัดงาน โดย code ข้อเรียกร้องที่แต่ละองค์กรได้ยื่นต่อรัฐบาลโดยตรง ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของการเรียกร้องในเรื่องการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 รวมถึงข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ว่าเกิดขึ้นมากว่า 21 ปีแล้ว แม้ว่าจะไม่ต่อเนื่องทุกปี แต่ก็ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องสำคัญ 

มีรายละเอียดดังนี้

ปี

ชื่อประธานกรรมการจัดงาน

วันแรงงานแห่งชาติ

 

ข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ

ของคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ /

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87,98

2540

นายชิน  ทับพลี

สภาลูกจ้างแห่งชาติ

§  ข้อ 9 ขอให้รัฐบาลคืนสิทธิการจัดตั้งสหภาพแรงงานให้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ

§  ข้อ 11 ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยสิทธิการจัดตั้ง และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการเจรจาต่อรอง ฉบับที่ 141 ว่าด้วยการจัดตั้งของคนงานภาคเกษตร

§  ข้อ 12 ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้เริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงาน

§  ข้อ 13 ขอให้รัฐบาลเร่งติดตามสอบสวนค้นหานายทนง
โพธิอ่าน ผู้นำแรงงานที่สูญหายไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยุค รสช.

2541

นายบรรจง  พรพัฒนานิคม

แรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 7 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและฉบับที่ 98 ว่าด้วยการเจรจาต่างๆ

§  ข้อ 8 คืนสิทธิการจัดตั้งสหภาพแรงงานและรัฐวิสาหกิจภายในสิ้นปีนี้

 

2542

นายพานิชย์  เจริญเผ่า

สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 8 ให้รัฐบาลดำเนินการให้ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับที่เสนอโดยฝ่ายแรงงานมีผลบังคับใช้

§  ข้อ 9 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาไอแอลโอ ฉบับที่ 87 ,98,111, 117 และ 135

2543

นายประเทือง  แสงสังข์

(ชินโชติ แสงสังข์)

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 8 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้

2544

นายเสน่ห์  ตันติเสนาะ

เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

§  ข้อ 6 รัฐบาลต้องสร้างความเป็นเอกภาพของระบบแรงงานสัมพันธ์ด้วยการมี พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์เพียงฉบับเดียว โดยยกเลิก พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ปี 2543 และแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ปี 2518 เพื่อให้เหลือฉบับเดียว

§  ข้อ 7 รัฐบาลต้องกำหนดเวลาที่แน่นอนเพื่อให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98

2545

นายพนัส  ไทยล้วน

แรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้

2546

นายมนัส  โกศล

พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 9 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง

§  มีเพียงข้อเรียกร้องข้อที่ 2 ขอให้รัฐนำพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมกับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ภายในปี 2546

2547

นายประเทือง  แสงสังข์

(ชินโชติ  แสงสังข์)

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 4 ให้รับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้มีเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กรหรือเข้าร่วมองค์กรใดๆที่ตนเลือกในการปกป้องคุ้มครอง และรักษาผลประโยชน์ของตนเอง โดยปราศจากการแทรกแซง

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 4 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO ที่ 87 และ 98 ซึ่งว่าด้วยการเจรจาต่อรอง และการรวมตัวอย่างเป็นอิสระ

2548

นายพนัส  ไทยล้วน

แรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 2 ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 5 ให้รัฐบาลประกาศรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลเกือบทั่วโลกให้การรับรองแล้ว ยกเว้นรัฐบาลไทย เพื่อเป็นหลักประกันของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ในการคุ้มครองสิทธิคนงานทุกประเภทในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และคนงานทุกประเภทต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกัน รวมทั้งคนงานอพยพจากประเทศต่างๆ ที่มาทำงานในประเทศไทย และว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม ที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ และไม่ถูกแทรกแซงจากองค์การหรือหน่วยงานอื่น

2549

นายบรรจง บุญรัตน์

ศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 8 รับรองอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 87 และ 98 เกี่ยวกับการรวมตัวและเจราจาต่อรอง

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 4 ให้รัฐบาลประกาศรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอนุสัญญาขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลเกือบทั่วโลกให้การรับรอง ยกเว้นประเทศไทย เพื่อเป็นหลักประกันกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในการคุ้มครองสิทธิคนงานทุกประเภทในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน

2550

นายมนัส  โกศล

พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 9 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง

§  มีเพียงข้อเรียกร้องข้อที่ 3 ขอให้รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง

§  มีเพียงข้อเรียกร้องข้อที่ 1 ให้รัฐบาลประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน)

2551

นายอุดมศักดิ์  บุพนิมิต

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 3 รัฐบาลปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 อาทิ นิยามคำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง  การรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87,98 การใช้สิทธิการลาของสหภาพแรงในการประชุม อบรม สัมมนา การเป็นพยานในคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ค.ร.ส.) ได้กรณีนายจ้างใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อศาลแรงงานให้นายจ้างนำเงินวางศาล เป็นต้น 

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง

§  มีเพียงข้อเรียกร้องข้อที่ 1 ให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับเดียว

2552

นายชินโชติ  แสงสังข์

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 6 ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา 87, 98 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 5 รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันร่วมเจรจาต่อรอง เป็นอนุสัญญาแรงงานหลัก (Core Labour Standard) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศภาคีสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ดังนั้นก็ควรปฏิบัติให้สมฐานะที่เป็นประเทศภาคีสมาชิก โดยการประกาศให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว และให้มีนโยบายด้านแรงงานในการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2553

นายทวี  เตชะธีราวัฒน์

สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 6 รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  ฉบับที่ 87 และ 98

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 5 รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และสิทธิในการรวมตัวกันร่วมเจรจาต่อรอง เป็นอนุสัญญาแรงงานหลัก (Core Labour Standard) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ดังนั้นในฐานะภาคีร่วมของ ILO รัฐบาลไทยก็ควรประกาศให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาดังกล่าว และให้มีนโยบายด้านแรงงานในการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2554

นายชินโชติ  แสงสังข์

สภาแรงงานแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 1 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 1 รัฐต้องให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98

2555

นายชัยพร จันทนา

สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย

§  ข้อ 1 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 1 รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองภายในปี พ.ศ.2555 เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง

2556

นายชินโชติ แสงสังข์

สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศ

§  ข้อ 1 ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ได้รับสิทธิในการรวมตัว และเจรจาต่อรอง

คณะกรรมการ

สมานฉันท์แรงงานไทย

§  ข้อ 1 รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง

 

ดังนั้นจากการประมวลข้อเรียกร้องของคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ และในส่วนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงเห็นได้ว่าข้อเรียกร้องในเรื่องนี้เป็นข้อเรียกร้องที่องค์กรแรงงานได้มีการเคลื่อนไหวและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมากที่สุดกว่าข้อเรียกร้องอื่นๆ จึงถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรต้องเร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาพื้นฐานทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ซึ่งจะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 64 ที่บัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น..." และยังเป็นการส่งเสริมให้คนงานและนายจ้างมีสิทธิและเสรีภาพในการสมาคมตามมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วยเช่นเดียวกัน

 


[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้วางรากฐานใหม่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาสังคมในกระบวนการทำ "สนธิสัญญาระหว่างประเทศ" โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 190 และได้กำหนดบทบาทของรัฐสภา เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

 

ทั้งนี้คำว่า "สนธิสัญญา" อาจจะมีชื่ออย่างใดก็ได้ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา พิธีสาร บันทึกความเข้าใจ เอกสารเสริมอนุสัญญา ความตกลง หนังสือแลกเปลี่ยน บันทึกการเจรจา ธรรมนูญ ปฏิญญา เป็นต้น นอกจากนั้นการตกลงด้วยวาจาระหว่างรัฐก็มีฐานะเป็นสนธิสัญญา แม้จะไม่ได้อยู่ภายใต้บทนิยามของอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 ก็ตามก็ยังคงมีฐานะทางกฎหมายเป็นสนธิสัญญาเช่นเดียวกัน


เจตนารมณ์สำคัญในการบัญญัติมาตรา 190 เป็นผลมาจากการที่ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการทำความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้า การลงทุน จำนวนมาก และโดยเหตุที่การทำความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวนั้น เป็นความลับมาโดยตลอด จึงเห็นว่าไม่ควรที่ไทยจะผูกพันตามสนธิสัญญาโดยการลงนามเพียงอย่างเดียว สมควรที่จะต้องให้รัฐสภาร่วมกันพิจารณา และต้องให้มีการให้สัตยาบันก่อนที่จะผูกพันตามสนธิสัญญา เพื่อให้โอกาสสังคมไทยได้ศึกษาอย่างรอบคอบในข้อบทที่ถูกต้องแท้จริงของสนธิสัญญานั้น (Authentic Text) และเป็นโอกาสที่สังคมไทยจะได้รู้อย่างแท้จริงว่าสนธิสัญญา หรือ ความตกลงที่รัฐบาลทำนั้นทำให้สังคมไทยได้ หรือเสียอะไรบ้าง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” มองปรากฏการณ์โปสเตอร์“อั้มเนโกะ” - อ่านแนวโน้มคดีพระวิหาร

Posted: 29 Sep 2013 08:12 AM PDT

ในช่วงเวลาที่หลายสิ่งอย่างกำลังจะวิ่งผ่านเลยไป และสิ่งใหม่กำลังจะเข้ามาทดแทน เป็นความเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่สำนึกการสร้าง "ตัวตน" ในสังคมส่วนหนึ่งยังผูกติดกับสิ่งเก่า จนดูราวกับยังไม่พร้อมจะพบกับความเปลี่ยนแปลง  ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมเลื่อนฐานะทางสังคมผ่านชุดนักศึกษาเพื่อนำไปสู่ความเป็น "เจ้าคนนายคน"หรือ แนวคิด "ชาตินิยม" กรณีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกกำลังจะตัดสินคดีระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องราวตกทอดมานับร้อยปีกระทั่งถึงปัจจุบันซึ่งเข้าสู่ยุคที่รถไฟความเร็วสูงกำลังเข้ามาเชื่อมต่อภูมิภาคทั้งในประเทศและนอกประเทศ 

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเจ้าของรางวัลฟูกูโอกะ ประจำปี 2555 ฉายภาพอนาคต ผ่านบทเรียนในอดีต ด้วยสาตาของปรมาจารย์ด้านประวัติศาสตร์

-ตอนนี้อาจารย์ ยังถูกโจมตี ว่าเป็นนักวิชาการขายชาติ อยู่ไหม

ขายไม่ได้หรอก เพราะว่า ผมไม่ได้เป็นเจ้าของชาติ  แต่มันก็แปลก เรื่องการโจมตีผม เรื่องข้อมูลประวัติศาสตร์ ในด้านหนึ่ง ก็ทำให้เราเสียหาย เสียชื่อเสียง แต่ถ้ามองกลับไปแล้ว มันกลับกลายเป็นทำให้ผม ได้รับการยอมรับในวงวิชาการ มากขึ้น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เลยทำให้ผมได้รับรางวัล ต่อไปเรื่อยๆ แล้วผมคิดว่า การพูดการเขียนของผม ก็มีคนรับฟังเยอะ

แล้วกรณีปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ผมได้รับการเชิญไปพูดเยอะมาก ในอเมริกา ประมาณ 4-5 มหาวิทยาลัย (คอร์แนล โอไฮโอ วีสคอนซิน ยูซีแอลเอ และเบิร์คเลย์) ในญี่ปุ่น ทั้งโตเกียว เกียวโต รวมทั้งในยุโรป (เบอร์ลิน ฮัมบวร์ก) ด้วย คือ เรื่องปราสาทและเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจมาก เป็นประเด็นระหว่างประเทศ นอกจากมีคู่ขัดแย้งไทย-กัมพูชาแล้ว และยังอยู่ในกรอบของอาเซียนด้วย ทำให้ผมมีบทบาททางวิชาการในบั้นปลายชีวิต มากกว่าที่ผมเคยคิดว่าตัวเองจะมี  มองในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้เราเกิดสติปัญญามากขึ้นกว่าเดิม

-แนวคิดของอาจารย์ นับแต่เริ่มเคลื่อนไหวทำความเข้าใจคดีปราสาทพระวิหาร จนถึงขณะนี้ฝ่ายหนุน หรือฝ่ายต้าน ที่อ่อนกำลังลงกว่าเดิม

ผมคิดว่าคนที่ตกอยู่ในวาทกรรม "ชาตินิยม" แบบเดิมๆ ตอนหลังก็หายๆ ไป เมื่อข้อมูลที่แท้จริงมันปรากฏ ผมว่าเขาก็ไม่สามารถจะพูดไปได้   อย่างเช่นว่า แผนที่ (หนึ่งต่อสองแสน) นั้น สยามไม่รู้เรื่องด้วย ฝรั่งเศสทำ ฝ่ายเดียวมันก็ไม่ใช่ หรือแผนที่ (หนึ่งต่อสองแสน) นั้น สยามไทย ไม่เคยรับรอง มันก็ไม่ใช่ หรือว่าทางขึ้นทางด้านกัมพูชาไม่มี ก็ไม่ใช่อีก คือ มีอะไรหลายอย่างที่เป็น "มายาคติ" แล้วเมื่อเกิดความขัดแย้ง ความจริงก็ปรากฏขึ้นมา เช่นว่า แผนที่นั้น ไทยสยาม มีผู้แทนไปร่วมสำรวจ คือ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หรือ มรว. สท้าน สนิทวงศ์) และทั้งเสนาบดีการต่างประเทศ กับมหาดไทยของไทยสยาม ให้การรับรอง นำมาใช้ในราชการสมัยรัชกาลที่ 5 (กรมเทววงศ์ฯ กับ กรมดำรงฯ) เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้รัฐบาลไทย สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ที่มี มรว. เสนีย์ ปราโมช เป็นทนายนั้น ต้องแพ้คดีศาลโลก ด้วยคะแนน 9:3 เมื่อปี 2505 แต่รัฐบาลไทยตั้งแต่นั้น จนกระทั่งบัดนี้ ก็ไม่พูดความจริงกับประชาชนชาวไทย ทำให้เรา รวมทั้งผม เข้าใจผิดๆ ตลอดมากว่า 50 ปี

แล้วอย่างที่เราเห็น การปลุกระดม "ชาตินิยม" เป็นความรักชาติของคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในถนนราชดำเนิน ซึ่งไม่ ถูกกระทบกระเทือนอะไรเลย เมื่อเกิดสงคราม เกิดการสู้รบขึ้น กลับเป็นชาวบ้านชายแดน แถวๆศรีสะเกษ ต้องรับกรรม อพยพจ้าละหวั่น เห็นได้ชัดว่า "วาทกรรมเสียดินแดน" นั้น เป็น "วาทะ" ของชาวกรุง แต่ "กรรม" ตกอยู่กับชาวบ้าน สร้างปัญหาให้ส่วนรวมและประเทศขาติ ฉะนั้น วิธีคิด ความรักชาติแบบเดิมๆ คับแคบ ผมว่ามันเป็นไปไม่ได้แล้ว

-ล่าสุด มีหนังสือ PreahVihear: A Guide to the Thai-Cambodian Conflict and Its Solutions ใช้เวลาทำเล่มนี้นานแค่ไหน

เริ่มเขียน ประมาณ ปี 2010 หรือ ปี 2553 เราผู้แต่ง 3 คน เดินสายสัมภาษณ์ผู้นำกัมพูชา กับผู้นำไทย เราสัมภาษณ์คนไม่น้อยในกัมพูชา รวมทั้งรัฐมนตรีช่วยกลาโหม

ในเมืองไทยก็สัมภาษณ์ ฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศหลายคน รวมทั้ง ดร.เตช บุนนาค งานนี้ สิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพ แต่พิมพ์ในไทย โดยไวท์โลตัส ออกวางตลาดเล่มละ 495 บาท เล่มเล็กๆ  จะเปิดตัว หนังสือ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ตึกมณียา ราชประสงค์วันที่  30 ก.ย. เวลา 19.00 น. จากนั้น จะเปิดตัว ที่พนมเปญ เป็นสถาบันวิชาการของนโรดมศิริวุฒิ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของกษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน ช่วยเป็นองค์ประธานเปิดตัวให้ ครับ เราอยู่ในกลุ่มที่พยายามสร้าง "สันติภาพ" ระหว่างชาติอาเซียนด้วยกัน

หนังสือเล่มนี้ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์  ทำงานหลัก รองลงมาก็ ท่านทูต ปู สุทธิรักษ์ เพิ่งรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศล่าสุด โดยก่อนที่จะลงมือเขียนหนังสือ ก็มีสัมมนา มีคุย จนความคิดเข้ากันได้ว่าจะเสนออย่างไร ตอนท้ายเสนอว่า ในกรอบการตกลง ก็หนีไม่พ้นทวิภาคี คือ 2 ฝ่าย ไทยกับกัมพูชา ต้องตกลงกัน ถ้าหาทางออกไม่ได้ ก็อาจจะต้องเป็นพหุภาคี ในกรอบของอาเซียน โดยมีอินโดนีเซียเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นตัวกลาง

ในแง่นี้ แปลว่า เรามองว่า ความขัดแย้งต้องยุติโดยการเจรจา การใช้กำลังรบ ไม่มีทางประสบความสำเร็จ โลกก็ไม่ยอมรับ การสู้รบ ปะทะ เป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก  มีความเป็นมา ปัญหา และเมื่อศาลโลกตัดสินแล้วควรจะเป็นอย่างไร

เป็นหนังสือ ที่พูดถึง ปัญหาและทางออกของคดีปราสาทพระวิหาร ภายหลังการตัดสินของศาลโลกแล้วมันจะเป็นอย่างไร ซึ่ง เรื่องคงไม่จบที่ศาลโลก เพราะ มีพลังกระแส "ลัทธิชาตินิยม" ทั้งในไทย และกัมพูชาอยู่ แต่ส่วนตัว มองว่าปัญหาจะไม่ร้ายแรงเท่าปี 2551 ในสมัยรัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช และ คงไม่ร้ายแรงขนาดเมื่อปี 2553 ตอนต้นปีที่มีการปะทะกันที่ชายแดน มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายไม่น้อยประชาชนที่อยู่ชายแดนของศรีสะเกษ ก็ต้องอพยพกันจ้าละหวั่น

คิดว่า ตอนนี้ ไม่น่าจะรุนแรงขนาดนั้น ถ้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ตัดสินให้ทั้ง 2 ฝ่าย กลับไปตกลงหาทางยุติข้อพิพาทกันเอง นั้น ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ว่า ถ้าศาลตัดสินออกมาว่า บริเวณพื้นที่ทับซ้อนนั้น ให้เป็นไปตามแผนที่ (หนึ่งต่อสองแสน) ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ก็จะถูกตีความว่า ไทย "เสียดินแดน" (ความจริง "ไม่ได้ดินแดน" เสียมากกว่า) และก็คงมีปัญหากัน อาจจะเป็นชนวนการประท้วงขึ้นมาอีกในเมืองไทย โดยกลุ่มเก่า ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล แต่ผมก็อยากเชื่อว่า "ฟืนเปียก" คง "จุดไม่ติด" เท่าไหร่ อาจจะเป็นประเด็นร้อน แต่คงสุมไฟให้ลุกโชนไม่ได้

ผมว่าประเด็นใหญ่ จะเป็นประเด็นปัจจุบันของการเมืองไทย เช่น "จำนำข้าว" หรือ "กฎหมายนิรโทษกรรม" หรือ "การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" แต่อยากจะเชื่อว่ารัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ น่าจะรักษาสถานการณ์ได้ ไม่ง่ายนัก แต่ก็น่าจะ "เอาอยู่"

-พลังชาตินิยม จะตกอยู่ในฐานะใด ในยุคที่รัฐบาลกำลังจะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคด้วยการคมนาคม

หลีกเลี่ยงไม่พ้น โลกปัจจุบันที่เราเรียกว่าสมัยของ "โลกาภิวัตน์" โลกห้อมล้อมอาเซียน และอาเซียนก็ห้อมล้อมประเทศไทย ในแง่ของภูมิภาค อาเซียนก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ และรัฐบาลนี้ ของคุณยิ่งลักษณ์ ให้ความสำคัญกับอาเซียน มากกว่าสมัยรัฐบาลคุณทักษิณด้วยซ้ำไป  เพราะฉะนั้น มันไม่เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาเมื่อ 50 ปีก่อน มันจึงโยงไปยังเรื่องของการคมนาคม แต่ก่อนเราพูดถึงเรื่องการเชื่อมตะวันออกกับตะวันตก เชื่อมดานัง ในเวียดนามกลาง มายังลาว สวันเขต เข้ามายังมุกดาหาร มายังพิษณุโลก แล้วก็ไปออกที่แม่สอด จังหวัดตาก ไปสุดเส้นทางที่มะละแหม่ง แปลว่า เส้นทางนี้ เสร็จเกือบจะหมดแล้ว เหลือช่วงสั้นๆ ในพม่าเท่านั้นเอง

เราวิ่งรถได้สบายมาก ถ้าจะวิ่งจากตาก พิษณุโลก ไปอีสาน มุกดาหาร ข้ามแม่น้ำโขง เข้าไปในลาว ไปเวียดนามกลาง ประเภทที่บอกว่า กินข้าวเช้าที่มุกดาหาร กินข้าวกลางวันในลาว และกินข้าวเย็นที่ชายทะเลเวียดนามกลาง เป็นเรื่องธรรมดามากตอนนี้

อีกเส้นที่ดูมาแรง คือ จากจีนตอนใต้ จากยูนนาน จากกวางสีเข้ามายังลาว แล้วก็ลงมายังหนองคาย มาโคราช เข้ามากรุงเทพฯ แล้วไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์ อะไรทำนองนี้ ผมคิดว่า เรื่องแบบนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก มีทั้งแรงสนับสนุนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น และแรงตอบสนองภายในอาเซียนเอง

ผมคิดว่า ลาวก็เล่นเกม ให้ตัวเอง กลายเป็นแลนด์ลิงค์ ลาว อาจจะนึกภาพตัวเองเป็นสวิสเซอร์แลนด์ ไม่มีทางออกทะเล แต่ทันที ที่เปลี่ยนสภาพเป็นแลนด์ลิงค์ มีทั้งทางถนน และทางรถไฟเชื่อม ลาวก็มีอิสระในการติดต่อมากขึ้น คือ เมื่อก่อนต้องออกทางไทยเท่านั้น คือ เข้ามาอีสาน แล้วก็มากรุงเทพฯ แต่ตอนนี้ ลาวเชื่อมกับ มหาสมุทรด้านแปซิฟิกได้สบายๆ คือ สามารถไปดานังได้สบายๆ

รถไฟในบ้านเราตอนนี้ ก็ทำรองรับ เช่น รางคู่ รถไฟความเร็วสูง ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผลักดันเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆ ฉะนั้น  ตามมาด้วยเงินกู้ 2 ล้านล้าน

ฝ่ายตรงข้าม ก็พยายามดิสเครดิตโครงการเหล่านี้ หรือ เสนออะไรที่ต่างจากนี้ เช่น กรณีแย่งแบรนด์2020 กัน ซึ่ง ใครจะชนะ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชนตัดสิน ส่วนองค์กรอิสระ ก็เหมือนกับ ตัวประกอบที่สำคัญ และผมคิดว่า การที่นำเรื่องไปให้องค์กรอสระตัดสิน ก็เหมือนแทงหวย ฟ้องหลายๆ อัน โดยหวังว่าจะฟลุ๊คถูกเข้าสักอัน แต่ผมคิดว่า ปัจจุบันนี้ไม่ง่าย

 แบรนด์2020 ของรัฐบาล(จาก เฟซบุค รมต. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)

 แบรนด์2020 ของ ฝ่ายค้าน(จากเวบไซต์ข่าวสด)


เพราะข้อมูลข่าวสาร มันแพร่สะพัดมากๆ ด้วยโซเชียลมีเดีย ผมคิดว่า คนมันไม่ต้องพึ่ง "สื่อกระแสหลัก" อีกต่อไปแล้ว อย่างเอาเข้าจริงๆ  ผมก็ไม่พึ่งสื่อกระแสหลัก โทรทัศน์ วิทยุ เพราะ เราหาข้อมูลของเราเอง แล้วคนจำนวนมาก ปัจจุบัน เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่าเมื่อ 7 ปีที่แล้ว มากกว่า ก่อนรัฐประหาร 19 กันยา 2549

ตอนนี้ จะพูดอ้างข้อมูลมาอำกันอย่างแต่ก่อน ไม่ได้แล้ว เช่นกรณี ข้อมูลว่า แผนที่ฝรั่งเศสทำฝ่ายเดียว ซึ่งมันก็ไม่ใช่ เพราะ รัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ร่วมทำแผนที่ เรื่องมันจบเกมไปแล้ว และถูกรื้อฟื้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีการเรียกร้องดินแดน เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ จำปาศักดิ์ เชียงตุง เมืองพาน 4 รัฐมลายู แต่ก็ต้องคืนไปเมื่อญี่ปุ่นแพ้ ตอนนั้นไทยเกือบถูกปรับเป็นประเทศแพ้สงคราม แต่พอดีมี "เสรีไทย" และท่านปรีดี พนมยงค์"กู้ชาติ กู้สถานการณ์" ไว้ได้ และเรื่องมันก็จบไปแล้ว

แต่มารื้อฟื้นสมัย จอมพลสฤษดิ์ธนะรัขต์ แล้วก็แพ้คดีในศาลโลก 9 ต่อ 3 แล้วก็ยังมารื้อฟื้นกันอีกตอน "มรดกโลก" สมัยต่อต้านรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช เรื่องมันยาวเป็น 100 ปี ยังกับกรณีแย่งมรดก "บ้านทรายทอง" ของฝ่ายตระกูลพินิตนันท์ ของพจมาน กับฝ่ายตระกูลสว่างวงศ์ ณ อยุธยา ของหม่อมแม่ กับหญิงเล็ก โชคดีมีชายกลาง เข้ามาทำให้เกิดความรัก และปรองดองกันได้ จบแบบนิยาย "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" ครับ

ส่วน "ลัทธิชาตินิยม" นั้น ถ้าจะปลุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันต้องคุมกลไกของรัฐ อย่างเช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แต่ตอนนี้ รัฐบาลที่คุมกลไกเหล่านี้อยู่ เป็นรัฐบาล "เพื่อไทย" ซึ่งมีมิตรไมตรีอันดีกับรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซ็น ซึ่งแตกต่างกับรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอย่างคุณกษิต ภิรมย์ ที่สถานการณ์เลวร้ายมาก เพราะเมื่อรัฐบาลต่อรัฐบาลเป็นศัตรูกัน เราก็เห็นได้ชัด มีการปะทะ สู้รบ ยิงกัน เป็นการสู้รบเล็กๆ ยังไม่ถึงกับเป็นสงครามใหญ่ เมื่อต้นปี 2553 แต่สถานการณ์ตอนนี้ 2556 มันไม่ใช่

-ทำไมใช้เกมเดิมมาล้มรัฐบาล ไม่ได้แล้ว

ผมคิดว่าเรื่องนี้ ล้มรัฐบาลไม่ได้ และ คนส่วนใหญ่ก็เพลีย กับการประท้วงที่ผ่านมา ก็จุดไม่ติด ไม่ว่าจะเป็น เสธ.อ้าย หรือการที่คุณชวน คุณอภิสิทธิ์ นำหน้าเดินขบวนให้ประชาชนไป "ส่ง" เข้าประชุมรัฐสภา แล้วก็ "โบกมือลา" กันไป คนคงเบื่อและเพลีย เกมนี้มันนานมาก ถ้ามองกลับไป 19 ก.ย. 2549 ก็7 ปี ถ้ามองกลับไปตอนเริ่มประท้วงคุณทักษิณ ก็ 10 ปีแล้ว มันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ยาวผิดปกติ แต่ก็ยังจบไม่ง่าย

-ประชาธิปัตย์ ยังคงมีความพยายาม แสดงการต่อต้านทั้งเวทีปราศรัย และ ในสภา

ผมคิดว่า พวกเขายังมี "อำนาจเดิม บารมีเดิม เงินเดิม" สนับสนุนอยู่ ตอนนี้ ผมว่ามันเป็นช่วงของ "การเปลี่ยนผ่าน" ที่ใหญ่โตมโหฬารมากๆ สำคัญมากๆ ที่ "อำนาจเดิม บารมีเดิม เงินเดิม" ถูกท้าทายด้วย "อำนาจใหม่ บารมีใหม่ เงินใหม่"

"กลุ่มเดิม" อาศัยฐานกำลังเก่า ในกรุงเทพฯ และในเมืองใหญ่ๆ บางเมือง แต่ "กลุ่มใหม่" (อำนาจใหม่ บารมีใหม่ เงินใหม่) ใช้ฐานจาก "คนชั้นกลางใหม่" ที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นคนซึ่งจะอยู่ในชนบท เป็นชาวไร่ชาวนา ตามแบบเก่า ก็ไม่ใช่ หรืออยู่ในเมือง เป็นคนเมือง 100% ก็ไม่ใช่อีก แต่เป็นคนที่อยู่ระหว่างเมืองกับชนบท อันนี้เป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคอีสาน กับภาคเหนือ

แล้วเกมที่ตัวแทนของ "อำนาจเดิม บารมีเดิม เงินเดิม" เล่น แม้จะอ้างว่าเป็น "ประชาธิปไตย" แต่เอาเข้าจริงเป็นเกมของฝ่าย "อำมาตยาธิปไตย" เสียมากกว่า เป็นเกม "อนุรักษ์นิยม" มากกว่า

เพราะฉะนั้น ฐานมันแคบกว่า ในขณะที่ฝ่าย "กลุ่มใหม่" เล่นเกมเลือกตั้ง เล่นเกมรัฐสภา เล่นเกมประชาธิปไตยแบบสากลโลก คือ 1 คน ต่อ 1 เสียง ฝ่าย "กลุ่มเก่า" ก็ไม่อยากได้ เพราะเขาก็อยากได้ 70:30 อย่างที่เราเคยได้ยิน ฝ่าย "กลุ่มเก่า" ก็ยังต้องการ สว.สรรหา สว.แต่งตั้ง แต่แนวโน้มของโลกปัจจุบัน มันกลับไปแบบเก่าไม่ได้แล้ว

-รถไฟความเร็วสูง จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับยุคนี้ เหมือนหรือแตกต่างอย่างไร กับรถไฟสมัยรัชกาลที่ 5

รถไฟของรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องของ กระบวนการทันสมัย โมเดิร์นไนซ์เซชั่น หมายความว่าประเทศในโลกทั้งหลาย ในสมัยเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ต้องมีรถไฟ มันเป็นเครื่องมือของรัฐ ที่จะควบคุมทางการเมือง และมีผลพลอยได้ ทางด้านเศรษฐกิจ

รถไฟไทย มาจากการที่รัชกาลที่ 5 เสด็จอินเดีย เป็นเวลาหลายสัปดาห์ทีเดียว ท่านเดินทางโดยรถไฟ จากกัลกัตตา ไปถึงเดลีไปถึงบอมเบย์ (มุมไบ) เป็นการเดินทางที่ยาวมากๆ แล้วท่านก็เห็นว่า รถไฟ เป็นเรื่องใหญ่มากที่สยามประเทศจะต้องมี

เข้าใจว่า ท่านเห็นรถไฟ อาจจะครั้งแรกในอินโดนีเซีย เมื่อเสด็จเยือนสิงคโปร์ กับ ชวา แล้วก็เห็นดัชช์ สร้างทางรถไฟสายแรกๆ ที่เมืองสมารัง แล้วในปีถัดมา ท่านก็เสด็จอินเดีย ตอนนั้น อายุ 17-18 ท่านประทับใจมาก ในที่สุดก็นำมาซึ่งการสร้างทางรถไฟในสยาม

แต่ผมว่าเป้าหมายของ รัชกาลที่ 5 ในการสร้างทางรถไฟ มันเป็นเรื่องทางการเมือง ความมั่นคงมากกว่า ฉะนั้น เราจะเห็นรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ-อยุธยา และก็โคราช คือทำอย่างไรจะคุม หัวเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ได้ หลังจากนั้น ก็ค่อยๆ ขยายไปเรื่อย จนกระทั่งถึงหนองคาย อุบล มีลักษณะกรุงเทพฯ คุมหัวเมือง ต้องการคุมอีสานให้ได้ ฉะนั้น ทางรถไฟสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ก็คุมโคราช เราจะเห็นรูปในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จ และทรงถ่ายรูปที่ไทรงาม พิมาย ที่โคราช แล้วข้างล่างก็คือ การเชื่อมต่อกับทางรถไฟของอังกฤษ ทางภาคเหนือ กว่าจะทะลุถ้ำขุนตาลไปถึงเชียงใหม่ ก็ตกมารัชกาลที่ 6 แล้วใช้เวลายาวนานมาก เพราะภูมิประเทศกันดาร ไม่อำนวย เงินก็ไม่มี

ฉะนั้น รัชกาลที่ 5 กับอังกฤษ จึงตกลงกันว่า ให้อังกฤษได้ดินแดน 4 รัฐมลายู คือ เคดะห์ (ไทรบุรี) กลันตัน ตรังกานูปลิส ส่วนสยามเอาปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล ในแง่หนึ่ง ก็คือเพื่อได้เงินกู้จากอังกฤษด้วย ถ้าเราดูพระราชดำรัส ตอนปลายรัชกาลต่อบรรดาเสนาบดี จะเห็นชัดมากในเรื่องนี้ ที่จะต้องแลก "เอาทั้งอธิปไตย เอกราช" ของสยามไว้ และสร้างพันธไมตรีอันดี กับทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศส (โดยยอมสละอำนาจอธิปไตยเหนือมณฑลบูรพา หรือ เสียมเรียบ พระตะบอง รวมทั้งปราสาทเขาพระวิหาร และปราสาทวัดพู)

ดังนั้น ก็เป็นเรื่องของความทันสมัยและ ความมั่นคงทางการเมือง เป็นหลัก

แต่รถไฟความเร็วสูงที่มาโดย กลุ่ม "อำนาจใหม่ เงินใหม่ ของกลุ่มทักษิณ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผมว่าเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจเป็นหลัก คือ จะเป็นการเชื่อมภาคต่างๆ ในประเทศไทย เข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็เชื่อมกับประเทศข้างเคียง ฉะนั้น เป็นเรื่องของ การทำให้มีการโยกย้ายผู้คน แรงงาน ธุรกิจได้สะดวก โยกย้ายผลผลิตได้สะดวกขึ้น

-รถไฟความเร็วสูง กับโอกาสการเชื่อมต่อไปถึงยุโรปไหม

นั่นก็เป็นความฝันของคนหลายรุ่นนะ ที่จะเชื่อมให้ได้ แต่ผมคิดว่ามันคงยาก เพราะสถานการณ์ทางการเมือง ในหลายๆ ประเทศ ยังไม่อำนวย คือ หมายความว่า ถ้าเชื่อม ไปพม่า อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี ยังยาก เป็นความฝันที่ยังห่างไกลมาก ผมว่า อันนี้ เป็นเรื่องความมั่นคงมากกว่าเศรษฐกิจ อาจจะไม่คุ้ม รัสเซียก็ทำจากกรุงมอสโค มาถึงเมืองวลาดีวอสต๊อก คือจากยุโรปมาถึงชายฝั่งแปซิฟิก 

แต่ผมสงสัยว่าอันที่อาจจะเปลี่ยน และมีความสำคัญมากๆ คือ การเชื่อมต่อกับเมืองจีน ถ้าเชื่อมกับยูนนาน หรือกวางสีได้ คงเปลี่ยนเยอะเลย และสงสัยว่า อันนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ก็ไม่รู้ในแง่การเมืองจะเป็นอย่างไร คงหนีไม่พ้น ทั้งลาว ทั้งกัมพูชา และไทย ต้องอยู่ใต้อิทธิพลจีน อย่างมากๆ จีนเคยเป็นเจ้าโลกในอุษาคเนย์มาเป็นพันๆปี ทำไมจะกลับมามีอำนาจอีกไม่ได้ ตอนนี้ฝรั่งตะวันตก ก็เริ่มอ่อนกำลังลงแล้ว ไม่ใช่หรือ

-เป็นเรื่องดีหรือไม่ดี

ก็คงทั้งดีและไม่ดี ช่วยไม่ได้ จีนก็มีอิทธิพลอยู่แล้ว ผู้นำไทยเรา ก็วิ่งไปประจบจีนกันไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ใช่หรือ เดี๋ยวก็ไปฮ่องกง เดี๋ยวก็ไปปักกิ่ง เดี๋ยวก็ไปทัวร์

-ชุดนักศึกษาในอาเซียน

ก็มี ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย อันเป็นมรดกตกทองมาจากยุคอาณานิคม และยุคสมบูรณาสิทธิราชย์ แต่ผมคิดว่ากรณีเวียดนาม อาจจะไม่ซีเรียสมากเท่ากับของไทย คืออาจจะแต่งเฉพาะเวลามีงานพิธี แต่ปกติ เวลาเราไปที่มหาวิทยาลัย ก็ดูนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้ซีเรียสเท่าไหร่

เอาเข้าจริงๆ ในเมืองไทยก็ไม่ซีเรียสเท่าไหร่นะ จะว่าไปแล้ว ถ้าเทียบกับลาวและกัมพูชา อันนั้น เขาจะอนุรักษ์นิยมมากกว่าไทย ของเรา ผมว่า นิสิต นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยระดับนำๆ ก็ค่อนข้างมีอิสระในการต่างกาย ถ้าดูไปแล้ว เราจะเห็นว่า อาจจะมีแต่งชุดนักศึกษา ตอนอยู่ ปี  1 ผมว่าไม่ซีเรียส

-การรณรงค์ค้านการบังคับแต่งชุดนักศึกษา โดย "อั้มเนโกะ" 

กรณีธรรมศาสตร์ ถ้าเราพูดถึงการรณรงค์ ของ อั้มเนโกะ ผมว่า เขา/เธอ เก่งมาก ที่ใช้รูปเพียง 4 รูป แล้วผู้คนวุ่นวายกันไปหมด ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย แสดงว่า "ตกหลุม" อั้มเนโกะ หมดเลย รวมทั้งบรรดาอาจารย์ทั้งหลาย (หัวเราะ) ซึ่งผมว่ามันกลายเป็นเรื่องตลก คือในแง่ของธรรมศาสตร์ มีเครื่องแบบก็จริง แต่ธรรมศาสตร์ ก็มีทางออกให้นักศึกษา ด้วยการบอกให้แต่งตัวสุภาพ แต่ในธรรมศาสตร์ อาจารย์ก็จะเข้มงวดไม่เท่ากัน บางคณะ บางอาจารย์ จะเข้มงวดเป็นพิเศษ บางคณะบางอาจารย์ ก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ อย่างตัวผมเอง ผมก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เพราะ ผมเองก็ไม่ได้แต่ง เครื่องแบบอาจารย์" ไปทำงาน ไปสอนหนังสือ ฉะนั้น เราจะไปเรียกร้อง ให้นักศึกษาแต่งเครื่องแบบ ก็เป็นเรื่องตลก ถ้าเราไม่ทำ เราก็ไม่ควรจะไปเรียกร้องให้คนอื่นเขาทำ (หัวเราะ)

กรณีนี้ ผมคิดว่า เป็นการทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ แล้วก็ ขาดความเข้าอกเข้าใจในเยาวชนคนหนุ่มสาว ถามว่า เรื่องเครื่องแบบ มีมาตั้งแต่ เมื่อไหร่ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว นักศึกษา มี  "5 ย" ผมยาว กางเกงยีนส์ รองเท้ายาง สะพายย่าม และ ย ที่ 5 อะไรก็ไม่รู้นึกไม่ออก.... รุ่นเสกสรร ประเสริฐกุล ก็มีแล้ว ประท้วง ไม่ใส่ชุดนักศึกษา

ผมจำได้ว่า เวลานั้น พวกผู้บริหารมหาวิทยาลัยบ้าจี้ ก็จะหงุดหงิดกับนักศึกษาที่ไว้ผมยาว ยุคนั้น เป็นแฟชั่น ฮิปปี้ อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็จะออกมาให้ท้ายนักศึกษา อะไรทำนองนี้ ฉะนั้น ก็มีมาเป็นระยะๆ ผมก็ไม่ค่อยซีเรียสอะไรเท่าไหร่ เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย และอย่างที่ผมบอกว่าธรรมศาสตร์ ก็ได้เปิดช่องไว้แล้ว ในระเบียบของมหาวิทยาลัย คุณไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษา คุณแต่งชุดสุภาพก็ได้ ในระเบียบของมหาวิทยาลัย

เพียงแต่ว่า อาจารย์บางคนอาจจะบ้าจี้ เส้นตื้นไปหน่อย

-เครื่องแบบนักศึกษา ใน 4 ประเทศของอาเซียน บ่งบอกวิธีคิดอะไร

ผมว่าเครื่องแบบ เป็นตัวกำหนดสถานะ ของ "เจ้าคนนายคน" ดังนั้น คนจำนวนเยอะเลย ก็อ้างเรื่องระเบียบ ความเรียบร้อย ประหยัด แต่เอาเข้าจริง เครื่องแบบเป็นตัวกำหนดสถานะ ว่าเมื่อคุณเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัยแล้ว ถ้าคุณไม่เป็น "อีลีท" มาโดยกำเนิด คุณก็กำลังจะได้เป็น "อีลีท" เมื่อผ่านมหาวิทยาลัยนี้ไป เพราะฉะนั้น กลุ่มที่ต้องการเป็น "เจ้าคนนายคน" ก็ต้องการรักษาสถานภาพอันนี้เอาไว้ เป็นการรักษา "อำนาจ" อย่างหนึ่ง ต้องมีการใส่เครื่องแบบก่อนเปลี่ยนสถานะ ฉะนั้น ในสังคมที่มีความเป็น "อนุรักษ์นิยม" สูง อย่างกรณี ลาว กัมพูชา แม้จะผ่าน "การปฏิวัติ" มาแล้วก็ตาม แต่ผมคิดว่า "ผู้นำ" ก็มีลักษณะความเป็น "อนุรักษ์นิยม" สูงอยู่มากๆ จึงพยายามรักษาระเบียบแบบแผนสมัยอาณานิคมเดิมเอาไว้ คนที่จะเข้ามาอยู่ในสมาคม สังคมเดียวกับเขา ก็ต้องช่วยกัน "รักษา" (สัญลักษณ์แห่งอำนาจ) อันนี้เอาไว้

ซึ่งดูไปแล้ว มันก็ไม่เหมาะกับสังคมมหาวิทยาลัยปัจจุบัน เพราะสังคมมหาวิทยาลัย ต้องเปิดโอกาสให้มีการแสวงหา มันไม่ใช่จับเข้าแถวแล้วอ้าง "ความเป็นระเบียบเรียบร้อย" ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะสร้างสังคมมหาวิทยาลัย ที่เป็นและมี "วิชาการ" ได้ คือดูแล้วมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลก แล้วต้องแต่ง "เครื่องแบบ" สงสัยจะไม่มีแล้วในโลกใบนี้

โอเค เวลามีพิธีกรรม เขาก็จะใส่เครื่องแบบ เช่น ฮาร์เวิร์ด เยล เคมบริดจ์ออกซ์ฟอร์ด แม้กระทั่ง โตเกียว เกียวโต ผมอยากเชื่อว่านักศึกษา เขารู้ "กาละ และ เทศะ" ว่าเวลาอะไร ควรทำอะไร แต่ไม่ใช่บังคับกัน ทุกวี่ทุกวัน น่ารำคาญ

แต่ผมว่า เรื่องแบบนี้เดี๋ยวก็ลืม แล้วกลับไปเป็นเหมือนเดิม คือใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง แต่สงสัยกระโปรงยาวกำลังจะมา หลังจากคนเบื่อแฟชั่นสั้น "เสมอหู" ก็กำลังเปลี่ยน ล่าสุด ไม่กี่วันนี้ ผมไปคุมสอบ มีนักศึกษาปีหนึ่ง นุ่งกระโปรงยาว ถึงพื้นมาเพียบเลย (หัวเราะ)

กระโปรงผู้หญิง ไม่ยาวก็สั้น ไม่รัดก็พอง รุ่นพี่สาวผม ปลายยุค 50s ต้องใส่กระโปรงเหมือนสุ่ม ข้างในมีผ้าเป็นสุ่ม เป็นผ้าพอง กระโปรงบาน ตอนหลัง ก็เปลี่ยนเป็นแคบ เป็นสั้น เดี๋ยวก็ยาว เป็นแฟชั่น คนหนุ่มคนสาว ก็รักสวยรักงาม อยากมีแฟชั่น ดังนั้น อาจารย์และผู้บริหารไม่ควรจะ "ประสาท"

-โปสเตอร์ทั้ง 4 ภาพ ไม่เหมาะสมและแรงไปไหม

มันแรงสิ เพราะเขา/เธอ จงใจ ให้แรง ให้เห็นปุ๊บ แล้วโวยวายเลย เขา/เธอไม่ใช่ไม่จงใจ เขา/เธอ ประสบความสำเร็จในการเขย่าประสาท ในแง่หนึ่ง เขา/เธอ เป็นคน "ครีเอทีพ" มากๆ ถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ ถ้าเราอยู่ในสมัยโน้นจะว่าไง "เลดี้ โกไดวา" แก้ผ้าขี่ม้า รอบเมืองประท้วง ผู้คนแทบจะบ้าตาย ต้องปิดหน้าต่าง ปิดบ้าน (แต่แอบดู) มีคนมา "แก้ผ้า ประท้วง"

ในประวัติศาสตร์ ในโลกนี้ จะมีคนทำอะไรแหลมๆ ออกมา ทำให้คนต้องรู้สึกไม่รู้จะทำอย่างไร

เอาง่ายๆ การยืนเพื่อทำความเคารพเพลงสรรเสริญในโรงหนัง ก็เกิดขึ้นในโรงหนังอังกฤษ แล้วในที่สุดก็มีกลุ่มนักศึกษา ที่พอดูหนังจบแล้วขึ้นเพลง god save the king or the queen นักศึกษา ก็วิ่งหนีออกจากโรง เจ้าของโรงหนังก็ต้องย้าย เพลงมาไว้ก่อนหนังฉาย พร้อมๆ กับโฆษณาสินค้า ซึ่งคนก็ไม่ชอบ ในที่สุดในอังกฤษ ก็ยกเลิกไปตั้งนานแล้ว ส่วนเมืองไทย ไปลอกอังกฤษมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เริ่มมีกระบวนการตั้งคำถามว่า ก็มาดูหนัง แล้วทำไมเรื่องการเคารพ ต้องเอามาไว้ตอนดูหนัง  ผมคิดว่า แต่ละยุคก็มีคนแหลมๆ ขึ้นมาแบบนี้

เรื่องนี้ผมสงสารอาจารย์ มากกว่าโกรธ "อั้ม" (เขา/เธอ) นะ อาจารย์วิ่งไปชน "ปังตอ"  เอง (หัวเราะ)


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ เปิดตัวหนัง “LOVE+ รักไม่ติดลบ” ชู ถึงมีHIV ก็เรียนได้-รักได้

Posted: 29 Sep 2013 07:39 AM PDT

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2556 เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง LOVE+ รักไม่ติดลบ ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล พลาซา แอร์พอร์ต เชียงใหม่ โดยภายในงานมีการเสวนา "เบื้องหลังหนัง มีชีวิต(บวก)" พูดคุยกับผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกับเอชไอวีมากว่า 20 ปี และทีมผู้กำกับภาพยนตร์

นางรจนา ยี่บัว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จ.เชียงใหม่ เล่าภาพการทำงานว่า เป้าหมายการทำงานของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ คือต้องการให้คนในชุมชนเข้าใจเรื่องเอดส์ ว่าเราอยู่ร่วมกันได้ โดยให้ผู้ติดเชื้อฯ อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เพราะเดิมทีผู้ติดเชื้อฯ จะถูกรังเกียจ เช่น ไปช่วยงานในชุมชน ก็ไม่ให้ทำกับข้าว เวลาทำกิจกรรมก็ถูกมองว่าเป็นคนแพร่เชื้อฯ ทั้งที่เอชไอวีไม่ได้ติดกันง่ายๆ

ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 11 กลุ่ม ที่ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน 11 โรงพยาบาล มีเด็กที่มีเชื้อฯ ที่กลุ่มได้ติดตามดูแลอยู่จำนวน 135คน ส่วนใหญ่กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่น โดยในพื้นที่ที่เขาทำงานนั้น มีเด็กที่ติดเชื้อฯ คนหนึ่งใช้ชีวิตเหมือนวัยรุ่นทั่วไป เรียนหนังสือ มีเพื่อน มีครอบครัวที่เข้าใจ เขาก็ดูแลตัวเอง ใช้ชีวิตปกติ กับเด็กอีกคนหนึ่งที่มีเชื้อฯ เหมือนกัน แต่เพื่อนและคนรอบข้างไม่เข้าใจ พอไปโรงเรียน ถึงเวลาจะกินยา ก็เบื่อที่ต้องเจอกับคำถามว่ากินยาอะไร หรือทำไมต้องไปโรงพยาบาลทุกเดือน ซึ่งยาที่กิน คือยาต้านไวรัส ที่ต้องกินต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ทำให้เขาไม่ต้องการกินยา และที่เขาไม่กล้าบอกเพื่อน เพราะกลัวเพื่อนจะรังเกียจ นี่ทำให้เห็นว่า หากมีคนรอบข้างที่เข้าใจ การใช้ชีวิตของผู้ติดเชื้อฯ ก็จะง่ายขึ้น

"ถึงแม้เราจะติดเชื้อฯ เราก็ใช้ชีวิตเหมือนคนที่ไม่ติดเชื้อฯ เพราะเราเห็นคุณค่าของตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เราต้องไม่มองว่าการมีเชื้อฯ ทำให้เราต้องลดคุณค่าของตัวเองลง พอมองข้ามได้เราจะมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตกับครอบครัว กับชุมชน" นางรจนา เล่าถึงการติดเชื้อฯ ของตัวเอง

ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวถึงแผนการจัดกิจกรรมภายหลังจากฉายภาพยนตร์เรื่อง "LOVE+ รักไม่ติดลบ" ว่าจะนำภาพยนตร์เรื่องนี้ไปสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนในโรงเรียน ว่าวัยรุ่นที่มีเชื้อฯ ก็มีชีวิตเหมือนวัยรุ่นทั่วไป เรียนได้ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความรักได้


 

ด้านนางลำดวน มหาวัน ผู้จัดการภาค มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) สำนักงานภาคเหนือ กล่าวว่า ในการทำงานภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชนนั้น เป้าหมายของการทำงานคือ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในชุมชน เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กยากจน เด็กพิการ หรือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ เป็นต้น โดยสร้างคณะทำงานเด็กฯ ที่มาจากหลายฝ่ายในชุมชน เช่น ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข หรือผู้นำชุมชน ซึ่งคณะทำงานนี้จะเป็นกลไกหลักในการช่วยเหลือเด็กที่รอบด้าน

"ความท้าทายในการทำงานคือ เราต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกัน เพราะการทำงานมาจากหลายภาคส่วน ไม่ใช่เฉพาะภาคประชาสังคมอย่างเดียว รวมทั้งจะทำยังไงให้คนทำงานมีทัศนะบวกกับเด็กเหล่านี้ เช่น ไม่ตีตราเด็ก ไม่ละเมิดสิทธิเด็ก และคำนึงถึงเรื่องละเอียดอ่อนกับเด็ก เช่น ไม่มองว่าเด็กที่มีเชื้อฯ ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ เพราะแม้คนทำงานจะห่วงเรื่องการส่งต่อเชื้อฯ ให้กับคนอื่น แต่ก็ต้องเคารพในการตัดสินใจของเด็ก ไม่ตัดสินใจแทน หรือรู้จักรักษาความลับ เป็นต้น" ผู้จัดการภาคเอดส์เน็ท กล่าว 

นายปฏิภาณ บุณฑริก หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ ให้สัมภาษณ์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเค้าโครงเรื่องจากเรื่องจริง โดยเขาหาวิธีเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ไม่บิดเบือนความจริง และนำเสนอในด้านบวก โดยผู้ชมนั้น จะเห็นว่าวัยรุ่นที่ติดเชื้อฯ ก็เป็นคนธรรมดา ถ้าไม่ได้บอกว่าติดเชื้อฯ ในทางกลับกัน หากผู้ติดเชื้อฯ ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ต้องการให้หาจุดตรงกลางในการใช้ชีวิต ไม่ปิดกั้นตัวเองมากจนเกินไป แต่ให้มองชีวิตในแง่บวก ไม่คิดว่าตัวเองด้อยกว่าใคร จะได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เพียงแค่ดูแลตัวเองเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้น่าจะใกล้เคียงกับเรื่องราวของหลายๆ คน

"ทั้งหมดในหนังเรื่องนี้พูดถึงอคติ ที่คนมักมีแว่นตาอคติอยู่ ทำให้การมองคนด้วยกัน หรือเพื่อน พอมันมีอะไรบางอย่างเปลี่ยนไป ทำให้เรามองเขาเปลี่ยนไป อาจไม่ดี หรือรังเกียจกัน ไม่ใช่แค่เรื่องเอชไอวี แต่รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น เรื่องความหลากหลายทางเพศ ซึ่งหนังเรื่องนี้จะช่วยถอดอคติ หรือแว่นตานั้นออก แต่สิ่งสำคัญคืออยากให้คนดูเปิดใจก่อน ที่จะรับฟังสิ่งที่หนังเรื่องนี้บอก" ผู้กำกับฯ กล่าว

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  เครือข่ายผู้ติดเชื้อเปิดตัวหนัง 'LOVE+ รักไม่ติดลบ'

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดร.มะรอนิง สาแลมิง ครั้งแรกของ ‘ผู้รู้อิสลามในตำแหน่งสูงเพื่อดับไฟใต้’

Posted: 29 Sep 2013 07:14 AM PDT

สัมภาษณ์รองเลขาธิการ ศอ.บต. ครั้งแรกของผู้รู้อิสลามในตำแหน่งระดับสูงเพื่องานดับไฟใต้ พร้อมคำอธิบายเนื้องานทางศาสนาเพื่อปูทางไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง กับความหมายของสันติภาพและการยับยั้งความอยุติธรรม

ดูเหมือนว่า หลังจากดร.มะรอนิง สาแลมิง เข้ามารับตำแหน่งรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. อย่างเป็นทางการเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำการขับเคลื่อนงานด้านกิจการศาสนาอิสลามที่จะส่งผลต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ดูจะคึกคักขึ้นมา
 
ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ดร.มะรอนิงคือผู้รู้ศาสนาอิสลาม เป็นนักวิชาการศาสนาที่สามารถเข้ามารับตำแหน่งข้าราชการระดับสูงในพื้นที่ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะก่อนถูกโยกมารับตำแหน่ง ดร.มะรอนิงรองเลขาธิการศอ.บต. เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายอิสลาม ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) เป็นตำแหน่งทางวิชาการ
 
นั่นเป็นไปตามความตั้งใจของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต.ที่ต้องการให้มีผู้รู้ศาสนาอิสลามมาช่วยงานด้านกิจการศาสนาอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่าบางเรื่องจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านศาสนาอิสลามที่ลึกซึ้งมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ยิ่งในภาวะที่สังคมพื้นที่เรียกร้องโหยหาความชัดเจนและคำอธิบายทางหลักการอย่างเปิดเผยมาเนิ่นนาน


ดร.มะรอนิง สาแลมิง 

ครั้งแรกผู้รู้อิสลามในตำแหน่งสูง(เพื่องานดับไฟใต้)
 
ดร.มะรอนิง เรียนจบปริญญาสาขากฎหมายอิสลาม(Islamic Law) จากมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จบปริญญาโทสาขากฎหมายชารีอะห์ (Principles of Jurispredence) และจบปริญญาเอกสาขาเดียวกันและมหาวิทยาลัยเดียวกัน
 
ดร.มะรอนิง มั่นใจที่มารับตำแหน่งนี้ เพราะได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทั้งจากกลุ่มผู้นำศาสนา คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลาและนราธิวาสและนักวิชาการในพื้นที่อีกหลายคน ซึ่งคุณสมบัติหลายอย่างที่พ.ต.อ.ทวีกำหนด ทำให้หลายคนยกมือชี้มายังดร.มะรอนิง แม้เจ้าตัวยืนยันว่าที่จริงยังมีคนอื่นที่มีความรู้ความสามารถอีกหลายคนก็ตาม
 
บวกกับสิ่งที่เจ้าตัวยืนยันว่า การที่มีผู้รู้ศาสนาอิสลามอยู่ในตำแหน่งระดับสูงนั้น เป็น"ฟัรดูกิฟายะห์" อันเป็นข้อบัญญัติในเชิงสังคมที่สังคมหนึ่งจะต้องมี
 
"งานทางศาสนาที่เราทำระหว่างทาง..."
 
ถามว่านับตั้งแต่มารับตำแหน่ง ได้นำเนื้อหาสาระทางศาสนาอิสลามมาใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงอย่างไรบ้าง ฟังคำตอบจาก ดร.มะรอนิง ดังนี้
 
"ต้องยอมรับว่า ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมเข้ามารับตำแหน่งนี้ เป็นการเตรียมตัวมากกว่าการลงลึกไปในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน"
 
"การเตรียมตัว คือ การใช้ภาวการณ์หรือสถานการณ์ เช่น ช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเราสามารถแปลสาระคำสอนทางศาสนาที่เน้นเรื่องการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ(พระเจ้าที่ชาวมุสลิมนับถือ) มาเป็นโครงการต่างๆ ผ่านสาระทางศาสนา ผ่านศาสตร์สังคมของอิสลาม เช่นเดียวกับการช่วยเหลือสังคมและการสร้างสันติในเรื่องต่างๆ
 
ในโครงการต่างๆ จะต้องอธิบายว่าเป็นการช่วยเหลือเด็กกำพร้า แม่หม้าย แม้แต่คนในเรือนจำ ก่อนหน้านั้น ก็เป็นการนำอินผาลัน คัมภีร์อัลกุรอานไปฝากให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ การนำโต๊ะอิหม่ามจากประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นลูกหลานของคนปัตตานีมาเป็นอิหม่ามในบ้านเราในเดือนรอมฎอน
 
สิ่งนั้นเป็นเราะมะห์(ความโปรดปรานของพระเจ้า)ในเดือนรอมฎอน เพราะถือว่า 10 วันแรกในเดือนรอมฎอนเป็นเราะมะห์ 10 วันกลางเป็นมัฆฟีเราะ(การให้อภัย) และ 10 วันสุดท้าย เป็นอิตกุมมินัลนาร์(การปลดปล่อยตัวเองจากไฟนรก) เราจึงมาแปลมาเป็นโครงการทั้งหมด
 
ยิ่งในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน เราสนับสนุนการอิติกาฟ (การประกอบศาสนกิจในช่วงกลางคืน) เรานำฮาดิษ(วัจนะ การกระทำและการยอมรับของศาสดามูฮัมหมัด) มาแปลเป็นโครงการ นำสาระในคัมภีร์อัลกุรอานหรือสาระทางศาสนามาเป็นแปลเป็นโครงการ สิ่งเหล่านั้นจะเป็นแฝงไปด้วยเนื้อหาของศาสตร์สังคมและการส่งเสริมสันติในตัวเองและสังคมต่างๆ
 
ในช่วงพิธีฮัจญ์ เราก็นำเอาสภาพการณ์ในช่วงนี้มาทำให้เกิดสิ่งที่สร้างสรรค์ ในเชิงการอยู่รวมกันในสังคม สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามองว่า ศาสนาเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจและทุกคนก็รับได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเดือนรอมฎอนปีนี้ต่างจากเดือนรอมฎอมปีที่ผ่านมา งานอีกส่วนหนึ่งจะเป็นการสานสัมพันธ์ทางศาสนา"
 
คำอธิบาย "อิสลาม-ความขัดแย้ง-สันติภาพ"
 
ในช่วงที่มีการเกิดขึ้นของกระบวนการสันติภาพหรือการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ทางศอ.บต.จะเน้นนำเรื่องศาสนาไปมีส่วนในการสร้างบรรยากาศในช่วงที่มีการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
 
เรื่องกระบวนการสันติภาพเป็นเรื่องที่มีความชัดเจนมากในทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในเนื้อหาสาระที่ศาสนาอิสลามพูดถึง เพราะคำว่าอิสลามเองก็มีความหมายว่า สันติ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เป็นเชิงปฏิบัติจะต้องเป็นการสนองต่อความหมายของอิสลาม คือ สันติ และทุกคนก็เข้าใจ
 
แต่ถามว่าทำไมโลกถึงยังเกิดปัญหาความขัดแย้งกันอยู่ ไม่ใช่แค่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น ปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นทั่วโลก เช่น ในกลุ่มประเทศอาหรับ อย่างซีเรีย ลิเบีย อียิปต์ หรือในอินโดนีเซียก็ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งเหมือนกัน และเป็นความขัดแย้งระหว่างคนมุสลิมด้วยกัน
 
ขนาดมุสลิมด้วยกันยังเกิดความขัดแย้งกัน ถ้าเป็นคนต่างศาสนิกก็ต้องมีปัญหาอยู่แล้ว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น เพราะพวกเขาไม่เข้าใจศาสนาอิสลามใช่ไหม ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเนื้อหาสาระทางศาสนามันชัดเจน แต่เพราะมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยแวดล้อมตัวบุคคลหรือสภาพการณ์ที่ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ตาม หรือถูกกระทำก็ตาม 
 
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปสนับสนุนหรือไปทำให้เกิดการตีความ หรือความเข้าใจในเชิงที่ต้องการจะให้พ้นจากความขัดแย้งนั้น
 
ในศาสนาอิสลามเอง ถือเรื่องสันติเป็นสาระสำคัญ แต่ขณะเดียวกัน อะไรที่ไปทำร้ายสันติ เช่น การขดขี่ ความอยุติธรรม ก็มีข้ออ้างที่จะผลักให้ออกจากการถูกกระทำนั้นได้ 
 
ดังนั้น เราจะต้องอธิบายได้ว่า การที่เราถูกกระทำนั้นเราก็จะต้องปกป้องตัวเอง ซึ่งศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ผู้ศรัทธาถือว่า เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ เพราะถือว่ามี(คำสอน)ทุกอย่างในตัวมันเอง ทั้งศาสนากิจ เศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง โดยไม่สามารถปฏิเสธได้
 
ในเมื่อมีทุกอย่าง เราก็จะเลือกคำสอนที่จะสนองต่อเนื้อหาสาระเชิงการเมืองการปกครองหรือเชิงสังคม เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดความอยุติธรรมขึ้นมา ดังนั้น จะต้องมีคนลุกขึ้นมาเพื่อปราบปรามความอยุติธรรมนั้น ดังฮาดิษที่ว่า จงพูดความจริงต่อหน้าผู้ปกครองที่อธรรม ซึ่งถือเป็นการญีฮาด(การต่อสู้ในทางศาสนา)อย่างหนึ่ง เพื่อยับยั้งความอยุติธรรม
 
ความจริงและการตีความ (เพื่อยับยั้งอยุติธรรม)
 
ดังนั้น จึงมีการให้ความหมายของการญีฮาดไปต่างๆ เพราะมันสามารถอธิบายได้ ฉะนั้นเงื่อนไขต่างๆ(ที่นำไปสู่ความอยุติธรรม)เหล่านี้ สามารถที่จะอธิบายได้ด้วย จึงเกิดปรากฏการณ์หรือพัฒนาการในเชิงการตีความขึ้นมา (ว่าใครจะตีความอย่างไรหรือตีความไปถึงไหน)
 
แม้ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าศาสนาอิสลามมีครบถ้วนทุกเรื่อง แต่ทุกอย่างนั้นจะต้องมีการโน้มน้าวให้สนองความสันติตามความหมายของอิสลาม 
 
ขณะเดียวกัน ในเรื่องสันตินั้นก็มีเงื่อนไข และเกิดการอธิบายหรือการตีความขึ้นมาด้วย ซึ่งมีผลในเชิงปฏิบัติหรือเชิงพัฒนาการในตัวของมัน
 
ฉะนั้น ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องนี้ เราก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องนี้ ถ้าเราพูดเรื่องความขัดแย้ง เราก็ต้องไม่มีอคติ ต้องมีใจที่บริสุทธิ์จึงพูดถึงสิ่งเหล่านี้ได้ 
 
ถ้าเรามีใจที่อคติหรือไม่บริสุทธิ์ การตีความก็จะเกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นวังวน จะเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ แต่ถ้าเรามีจิตใจบริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺและไม่มีอคติต่อบุคคลแล้ว เราก็พูดเรื่องนี้ได้
 
เพราะทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่เป็นสิ่งอธรรมมันก็เป็นสิ่งที่อธรรม ไม่ว่าเราจะใช้วาทกรรมใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้อัลลอฮฺเท่านั้นที่เป็นผู้รู้ บางครั้งเราไม่อาจจะลงไปถึงสิ่งที่เป็นความจริงได้ดั่งที่อัลลอฮฺรู้
 
เพราะฉะนั้นอะไรที่เกิดขึ้นในเรื่องศาสนาก็จะมีคำตอบอยู่แล้ว แต่ในการหาคำตอบนั้นต้องใช้เวลา บางคนอาจจะเห็นคำตอบที่เร็วขึ้น เพราะอัลลอฮฺต้องการให้เขาเห็น
 
บางคนที่อัลลอฮฺไม่ต้องการให้เห็นหรือให้รู้คำตอบได้เร็ว ก็จะมีการตีความต่างๆนานาขึ้นมา สุดท้ายก็จะเกิดสิ่งที่เป็นความจริงขึ้นมา เพราะนี่คือความจริง
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เมื่ออำนาจศาล รธน. ปะทะอำนาจรัฐสภา (อีกแล้ว)

Posted: 29 Sep 2013 07:00 AM PDT


28 ก.ย. คือวันที่ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญมาถึงจุดร้อนฉ่าอีกครั้ง เมื่อสภามีมติเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มา ส.ว. ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียงขณะที่ ฝ่ายค้าน และกลุ่ม 40 ส.ว. วอล์คเอาท์

หมากการเมืองและหมากกฎหมายที่พรรคฝ่ายค้านและ ส.ว. บางส่วนได้วางไว้ก่อนหน้านี้ ก็กลายมาเป็นปัจจัยพัวพันการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อทันที

โดยก่อนหน้านี้ นายสาย กังกะเวคิน ส.ว. ระยอง และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เรื่องขอให้พิจารณาว่าการแก้ไขรธน. ในส่วนของที่มา ส.ว. นั้นเข้าข่ายผิด ม. 68 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากนั้น 25 ก.ย. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องพร้อมแจ้งมายังสำนักเลขาธิการรัฐสภา ให้แจ้งต่อประธานรัฐสภาว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของไว้พิจารณาแล้ว

พลันที่มีการลงมติผ่านฉลุย ด้วยคะแนน 358 เสียง ประธานวิปฝ่ายค้านก็ได้ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ ส.ส. 143 คน ต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และรองประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 ทันที

แล้วทั้งหมดนี้มันคืออะไร เสียงของส.ส. และส.ว. 358 เสียงยังคงมีความหมายใช้การได้หรือไม่ แล้วบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณีนี้ จะมีผลยับยั้งมติของรัฐสภาและกระบวนการต่อไปที่เข้าสู่ขั้นตอนพระราชวินิจฉัยหรือไม่ ประชาไทสัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักกฎหมายจากกลุ่มนิติราษฎร์ รองศาสตราจารย์ด้านกฎหมายมหาชน เพื่อให้เขาอธิบายโดยละเอียด

000

วรเจตน์ : ผมอธิบายแบบนี้ก่อน เรียงลำดับไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย นะครับว่า ตอนนี้ กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ มันดำเนินมาจนกระทั่งผ่านวาระ 3 แล้ว

การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญที่เป็นประเด็นอยู่นี้ เป็นการแก้รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งรัฐสภาก็ได้ประชุมกัน แล้วกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ก็ดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ทำเป็น 3 วาระ และเมื่อเช้าเมื่อนี้ก็ผ่านวาระ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยคะแนนเสียงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ทีนี้ขั้นตอนต่อไปถัดจากนี้ ผมเอาขั้นตอนในทางกฎหมายก่อน ขั้นตอนถัดจากนี้จะเป็นไปตามมาตรา 291 (7) ก็คือ เมื่อมีการลงมติไปตามที่กล่าว ก็คือผ่านทั้ง 3 วาระมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และ 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 291 (7)

เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 150

ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้

มาตรา 151

ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและ พระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษา ร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้น ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน คืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

ก็หมายความว่า เมื่ออ่านมาตรา 291 (7) ประกอบมาตรา 150 กับมาตรา 151 แล้ว ก็จะได้ความว่าในขั้นตอนถัดจากนี้ไป นายกรัฐมนตรีก็ต้องมีหน้าที่ในการนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน อันนี้เป็นไปตามความในมาตรา 150 ที่จะอนุโลมมาใช้กับกระบวนการในการนำขึ้นทูลเกล้าด้วย

และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ ถ้ามีการนำขึ้นทูลเกล้าไปแล้ว ก็จะเป็นประเด็นต่อไปในเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้พระราชอำนาจเอาไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิ มีพระราชอำนาจที่จะ เรียกว่าวีโต้ หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เรียกว่าใช้สิทธิวีโต้

การวีโต้ เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการวีโต้โดยชัดแจ้ง พระราชทานคืนกลับมายังสภา ไม่ลงพระปรมาภิไธย กรณีที่สองเป็นการวีโต้โดยปริยาย คือเก็บร่างรัฐธรรมนูญนี้ไว้จนพ้น 90 วัน มิได้พระราชทานกลับคืนมา ผลก็คือจะไม่มีการลงพระปรมาภิไธย ทำให้รัฐบาลต้องประชุมกันใหม่ เพื่อจะดูว่าสภาจะยืนยันร่างนี้หรือไม่ ซึ่งถ้าเกิดประชุมกันแล้ว รัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธย พระราชทานคืนมาใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเสมือนเป็นกฎหมายได้เลย อันนี้คือขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป ตามขั้นตอนปกติในทางกฎหมาย

คลิกดูภาพขนาดใหญ่

ประเด็นที่กำลังเป็นปัญหาอยู่นี้ มันมีกระบวนการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ผมเท้าความนะครับว่า หลังจากที่มีการพิจารณาในวาระที่ 1 และวาระที่ 2 ไปแล้ว มีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง ได้ไปยื่นเรื่องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 อันนั้นเป็นการยื่นตรง เขาเดินไปหาศาลรัฐธรรมนูญแล้วยื่นเข้าไป แล้วศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับเรื่องพิจารณา การยื่นตามมาตรา 68 นั้น ยื่นโดยอ้างว่าฝ่ายรัฐบาลนั้นใช้สิทธิและเสรีภาพในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

แล้วก็ดังที่เราเคยพูดกันว่าจริงๆ การยื่นตามมาตรา 68 ไม่สามารถยื่นตรงได้ ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุด อันนี้เป็นไปตามมาตรา 68 วรรค 2 แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็รับไว้พิจารณาโดยตีความว่า พวกนี้สามารถไปยื่นตรงได้เลย

แต่ในความเห็นของผมเองและนักกฎหมายจำนวนมากเลยเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา เพราะเป็นเรื่องการใช้สิทธิและเสรีภาพล้มล้างการปกครอง แต่กรณีนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามอำนาจหน้าที่ ที่รัฐธรรมนูญให้ไว้กับรัฐสภา แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญก็รับคดีเอาไว้แล้ว แล้วตอนที่รับเรื่องเอาไว้ ฝ่ายผู้ยื่นคือ ส.ว. จำนวนหนึ่ง ก็ยื่นคำร้องขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราวด้วย คือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรัฐสภาห้ามไม่ให้มีการลงมติวาระ 3 แต่ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้แต่รับเรื่องเอาไว้พิจารณาแต่ว่าไม่มีการสั่งคุ้มครองชั่วคราว ผลก็คือสภาก็เดินหน้าลงมติวาระ 3 ไปเมื่อเช้านี้ และก็ผ่านไปเรียบร้อย

ทีนี้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ จะมีคำถามเกิดขึ้นตามมาว่าตอนนี้ ถึงแม้ผมจะมีความเห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ศาลก็บอกว่าเขามีอำนาจและเขารับเอาไว้ ถ้าเกิดศาลมาวินิจฉัยในวันพรุ่งนี้ วันมะรืนนี้ หรือวันถัดไป ผลจะเป็นอย่างไร นี่เป็นประเด็นที่เราจะได้พูดกันต่อไป แต่ว่าเท่าที่ได้ทราบข่าวมา ก็คือว่าหลังจากที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ววันนี้ ผมทราบข่าวมาว่าจะมี ส.ส. หรือ ส.ว. จำนวนหนึ่ง จะหาทางระงับยับยั้งการที่นายกจะต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมส่วนนี้ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

เท่าที่ทราบมาก็คือ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว. จำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็น ส.ว. ที่มาจากการสรรหา เขาก็จะเข้าชื่อกันแล้วยื่นเรื่องให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านวาระ 3 มาแล้วนั้นขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 เพราะว่าถ้าเกิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 154 ผลก็คือว่า ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยไม่ได้ คือเป็นการยับยั้งการนำร่างฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ น่ะครับ เพราะตามมาตรา 68 มันยับยั้งอะไรไม่ได้ และศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้สั่งยับยั้งเอาไว้ ตอนนี้ฝ่ายค้านและฝ่าย ส.ว. เองก็หาช่องทางใหม่ คือช่องทางตามมาตรา 154 

ม. 154 ให้ศาลตรวจสอบร่างพ.ร.บ.  ไม่ใช่ร่างแก้ไข รธน.

ในทางกฎหมายต้องอธิบายว่า มาตรา 154 เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตรวจสอบกรณีของการตราร่างพระราชบัญญัติที่จะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติ ถ้าผ่านมา 3 วาระ แล้วฝ่ายค้านเขาไม่เห็นด้วย บอกว่าร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านมาขัดรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญมาตรา 154 ก็ให้อำนาจ ส.ส. , ส.ว. หรือ ส.ส. และ ส.ว. รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ก็คือประมาณ 65 คน สามารถเข้าชื่อไปที่ประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกได้ แล้วให้ประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกนั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แล้วระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย นายกก็จะต้องไม่นำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย คือต้องรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ทีนี้ ส.ส. ฝ่ายค้าน และ ส.ว. สรรหาที่เขาไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขาจะอ้างรัฐธรรมนูญมารตรา 154 เพื่อระงับยับยั้ง

ประเด็นก็คือเขาอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ได้ไหม คำตอบก็คือ อ้างไม่ได้นะครับ เพราะว่าอย่างที่ผมได้เรียนไปว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 154 มันเป็นกรณีของร่างพระราชบัญญัติที่มีการอ้างว่าตราขึ้นโดยขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้มันไม่ใช่เรื่องของร่างพระราชบัญญัติตามที่มาตรา 154 กำหนดไว้ แต่มันเป็นเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มันเป็นกฎหมายคนละชนิดกัน

เพราะฉะนั้น ผลก็คือว่า ส.ส. ส.ว. แม้เข้าชื่อกันไป ประธานสภาก็ไม่สามารถที่จะส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่าไม่ตรงตามความในมาตรา 154 พูดง่ายๆ ก็คือ เรื่องนี้ถ้ายื่นมาแล้วผมเป็นประธานรัฐสภา ผมก็ไม่ส่งเรื่องไปครับ เพราะว่ามันไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 154 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นเรื่องร่างพระราชบัญญัติ ไม่ได้พูดถึงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แล้วผมเข้าใจเอาเองว่าประธานรัฐสภาก็จะไม่ส่งเรื่องนี้ไป แล้วถามว่าถ้าประธานไม่ส่งแล้ว ส.ส. ส.ว. เดินตรงไปหาศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ในระบบกฎหมายของเราทำไม่ได้ครับ

ดูจากช่องทางแล้วก็อาจจะคาดหมายได้ว่า เรื่องนี้จะไม่ไปศาลรัฐธรรมนูญค่อนข้างแน่นอน ตามมาตรา 154 เพราะฉะนั้นก็ไม่มีกรณีของการยับยั้งการทูลเกล้าได้ ผลในทางกฎหมายก็คือนับตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป เมื่อนายกได้รับจดหมายจากประธานรัฐสภาแล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน 3 วาระแล้ว นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ตามมาตรา 150 ประกอบกับ มาตรา 291 (7) ต้องนำร่างนี้ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างฯ จากสภา

กล่าวโดยสรุป จากนี้ไปขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นขั้นตอนที่เป็นหน้าที่ทางรัฐธรรมนูญ เป็นขั้นตอนที่ ไม่มีผู้ใดระงับยับยั้งได้ ก็จะต้องมีการนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายไปอย่างแน่นอน

ทีนี้ประเด็นจะมีอยู่ว่า ในทางกฎหมายก็จะเป็นอย่างที่ผมบอกอย่างนี้แหละ แต่ในทางการเมือง การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาตามมาตรา 68 จากการยื่นของ ส.ว. เมื่อตอนที่ผ่านวาระ 2 ไปแล้ว ผลคืออะไร ผลคือการรับเรื่องไว้แบบนี้ แม้ศาลจะไม่สั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้ลงมติวาระสาม หรือแม้ศาลจะสั่งคุ้มครองชั่วคราว รัฐสภาก็ไม่น่าจะฟังคำสั่งศาลเพราะศาลไม่มีอำนาจ ผมก็เห็นเช่นนั้นว่าศาลไม่มีอำนาจในเรื่องนี้ แต่ตอนนี้ศาลรับเอาไว้แล้ว ก็คาดหมายกันว่าศาลอาจมีคำวินิจฉัยออกมา

ทีนี้ การรับคดีไว้พิจารณาจะส่งผลในทางการเมือง แม้ในทางกฎหมายผมเห็นว่าทำไม่ได้ แต่ว่าจะมีอิทธิพลหรือส่งผลในทางการเมืองคือ มันจะทำให้บุคคลต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แล้วเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปในการโหวตในสภา ก็จะเอาประเด็นนี้ยกมาอ้างว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาอยู่  นายกรัฐมนตรีไม่ควรนำเรื่องที่ค้างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย จะเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท นึกออกไหมครับ เพราะฉะนั้นการอ้างจะเป็นการอ้างเพื่อใช้ต่อสู้ทางการเมืองนับตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป

แต่อย่างที่ผมบอกว่าข้ออ้างนี้มันก็เป็นข้อกล่าวอ้าง ในด้านหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเขาก็อ้างได้เหมือนกันว่าความจริงศาลรัฐธรรมนูญไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญดันไปรับเรื่องไว้พิจารณาเอง โดยที่ตัวเองไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้ และเป็นการก้าวก่ายอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นของรัฐสภา เพราะฉะนั้นเมื่อกระบวนการที่เขาทำมามันผ่านกระบวนการมาเรียบร้อยแล้ว มันก็ต้องเดินหน้าต่อไป จะเอาเหตุนี้มาอ้างไม่ได้ แล้วก็เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา 291(7) ประกอบ 150

ทีนี้ลองคาดหมายว่าการรับคดีไว้พิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนี้ ถ้ามองในแง่ของการเมืองทั้งระบบในเชิงของต่อสู้กันทางการเมืองที่ชิงกันอยู่ตอนนี้ ผมอยากจะให้ลองมองกว้างนิดหนึ่ง คือถามว่าทำไมการคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มันต้องใช้กลไกกันขนาดนี้ เอาเป็นเอาตานกันขนาดนี้ในทุกวิถีทาง คำตอบคือรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นผลพวงต่อเนื่องมาจากการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นผลพวงต่อเนื่องมา ฝ่ายเขาได้วางกลไกในรัฐธรรมนูญ สร้างกลไกต่างๆ มาเขาก็ย่อมไม่อยากกลไกที่เขาสร้างเอาไว้ซึ่งกลไกหลายส่วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยถูกขจัดไป ตัว ส.ว. หรือวุฒิสภานั้นเป็นหมากสำคัญหรือเป็นกลไกสำคัญอันหนึ่งที่ต้องรักษาเอาไว้

เพราะฉะนั้นในแง่นี้ ต่อไปจะเป็นการต่อสู้กันที่แหลมคมมากขึ้น มีการดึงเอาประเด็นต่างๆ เข้ามาเพื่อขัดขวางไม่ให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้วได้ในช่วงระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ถัดไปจากนี้ค่อนข้างจะแน่นอน

นายกนำร่างแก้ไขรธน. ขึ้นทูลกล้าฯ จะเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีนี้ไว้พิจารณาโดยที่ตอนนี้ยังไม่มีคำวินิจฉัยออกมา มันจะส่งผลคือ หากว่านายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมไปแล้วก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ผลก็คือ การที่คดียังค้างอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการนำไปกล่าวอ้าง อย่างน้อยบรรดาคณะบุคคลต่างๆ ที่อาจจะถวายคำปรึกษาก็อาจกล่าวอ้างได้ว่าเรื่องนี้มีคดีในศาลรัฐธรรมนูญ พูดง่ายๆ ก็คือว่าเป็นข้อพิจารณา

ผมอาจจะกล่าวได้ในแง่นี้ว่า ประเด็นที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญจะถูกนำไปใช้ในแง่ที่จะส่งผลต่อการมีพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมพูดเลยไปมากกว่านี้ไม่ได้ ถ้าพูดเลยไปกว่านี้จะไปติดเพดานของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ชี้ให้เห็นได้เพียงแค่นี้ว่าสิ่งที่ค้างอยู่ในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะถูกนำมาใช้เป็นข้อกล่าวอ้างได้หลังจากขั้นตอนที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ไปแล้ว นี่เป็นการวิเคราะห์ในแง่ทางการเมือง

ถ้าเกิดสภาพการณ์เป็นอีกอย่างหนึ่ง ในช่วง 2-3 วันนี้ก่อนที่นายกฯ จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เกิดศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา มีการนัดฟังคำวินิจฉัยโดยที่นายกฯ ยังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้า มันก็จะเกิดสภาพอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาว่าการแก้ไขนี้ไม่ชอบ คำถามคือมันจะส่งผลผูกพันกับนายกรัฐมนตรีกับรัฐสภาขนาดไหน อันนี้ก็จะเกิดเป็นประเด็นที่จะต้องมีการวินิจฉัย

ถ้าเกิดมีคำวินิจฉัยก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ก็คือจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันนี้ ถ้ามีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ผมก็ไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญยังจะมีคำวินิจฉัยอะไรออกมาอีกหรือไม่ เพราะมันขั้นตอนมันจะผ่านนายกฯ ไปแล้ว ไปเข้าเขตที่เป็นเรื่องพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของประมุขของรัฐไป

ถ้าเกิดวินิจฉัยออกมาก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตอนนี้ก็จะเป็นประเด็นแล้วว่า ถ้าคำวินิจฉัยออกมาในทางที่เป็นคุณกับฝ่ายที่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายคัดค้านก็จะหยิบเอาคำวินิจฉัยนี้มาบอกว่านายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าไม่ได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ก็จะเป็นประเด็นว่าคำวินิจฉัยนี้จะผูกพันนายกรัฐมนตรีไหม ผูกพันรัฐสภาหรือไม่ ผมคิดว่าถ้าออกมาแบบนี้จริง ก็อาจมีประเด็นที่รัฐสภาปฏิเสธที่จะผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ความจริงในรัฐธรรมนูญก็มีการเขียนไว้เหมือนกันกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร ก็จะมีคนหยิบบทบัญญัติแบบนี้มาอ้างเป็นสรณะว่า พอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ได้ ถ้ายังไม่มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ก็ต้องมีการระงับเอาไว้

ประเด็นที่อยากให้คิดกันคือ ประเด็นในทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร แน่นอนก็จะมีคนอ้างว่า ทุกคนต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ผมมีความเห็นว่า การเคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นการเคารพแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น หมายความว่า ศาลตัดสินอะไรมาทุกอย่างต้องเคารพและผูกพันทั้งหมด เคารพแบบหูหนวกตาบอด แบบไม่ต้องใช้สติปัญญาใดๆ ทั้งสิ้น

ถ้าปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเอง เป็นการเข้ามาวินิจฉัยเรื่องที่ตัวเองไม่มีอำนาจ คำวินิจฉัยนั้นก็เป็นเศษกระดาษที่ไม่สามารถผูกพันองค์กรของรัฐองค์กรไหนได้ แล้วองค์กรตามรัฐธรรมนูญเองก็ต้องยืนยันอำนาจแบบนี้ว่า คำวินิจฉัยอันนี้ไม่มีผลผูกพันองค์กรในทางรัฐธรรมนูญ

ถามว่าทำไมถึงอธิบายแบบนี้ เพราะมีนักกฎหมายใหญ่บางท่านอธิบายว่าถ้าอย่างนั้นระบบจะไม่เดิน ถ้าคนไม่ฟังคำวินิจฉัยของศาลจะเกิดอะไรขึ้น แต่ท่านไม่ได้บอกว่าหากตัวศาลเองไปวินิจฉัยในเรื่องที่ตัวเองไม่มีอำนาจอย่างชัดแจ้ง จะไปบังคับคนอื่นหรือองค์กรอื่นเคารพคำวินิจฉัยได้อย่างไร

เราต้องไม่ลืมว่าคำวินิจฉัยอันนี้เป็นคำวินิจฉัยในคดีรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเองเป็นเพียงองค์กรหนึ่งในทางรัฐธรรมนูญที่มีสถานะเสมอกับคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ไม่ได้มีสถานะเหนือกว่า เพราะฉะนั้นเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาแล้ว แม้ว่าโดยหลัก องค์กรของรัฐทุกองค์กรจะต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็จริงอยู่ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าผูกพันโดยไม่มีเงื่อนไข

พูดอีกอย่างก็ได้ สมมติว่า ศาลรัฐธรรมนูญเกิดวินิจฉัยออกมาว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ขัดรัฐธรรมนูญแล้วต้องวินิจฉัยว่าคนที่ยกมือโหวตให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นกบฏ แล้วสั่งประหารชีวิต ส.ส. ส.ว.ที่ยกมือโหวตให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งหมด ถามว่าจะยังมีใครในประเทศนี้ที่จะเชื่อฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ได้อีก

การทำคำวินิจฉัยแบบนี้ออกมามันขัดกับกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ไม่ใช่จะอ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันองค์กรทุกองค์กร แล้วก็ตัดสินอะไรก็ได้ เขียนลงมาในคำวินิจฉัยแล้วก็ผูกพันหมด มันไม่ได้เป็นแบบนั้น มันต้องดูเหตุดูผลด้วย

แล้วองค์กรอย่างรัฐสภา เขาก็ทรงอำนาจของเขา และเรื่องนี้มันเป็น authority หรือเป็นอำนาจโดยแท้ของรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแม้แต่มาตราเดียวในระบบกฎหมายไทยที่เปิดโอกาสให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

เพราะฉะนั้นผลก็คือว่าในทางกฎหมาย คำวินิจฉัยนี้ที่ออกมาก็จะไม่มีผลผูกพันองค์กรของรัฐ และตัวรัฐสภาเองจะต้องเป็นคนยืนยันความไม่ผูกพันของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็จะเกิดเป็นวิกฤติทางรัฐธรรมนูญขึ้นมา

พอถึงจุดนั้น มันก็จะพ้นไปจากประเด็นในเรื่องของข้อกฎหมาย แต่จะเป็นการงัดข้อกันในแง่ของอำนาจในทางความเป็นจริง เพราะถือว่าองค์กรของรัฐไม่เคารพอำนาจของกันและกันไปแล้ว เพราะถือว่าองค์กรหนึ่งก้าวล่วงอำนาจของอีกองค์กรหนึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับว่าสุดท้ายแล้วคนส่วนใหญ่ องค์กรของรัฐนั้นเขาเชื่อฟังอำนาจไหน ถ้าเขาเชื่อฟังว่ารัฐสภาถูกต้อง ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาก็เป็นเรื่องวินิจฉัยไป เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีผลอะไร มันก็ไม่ได้มีผลอะไร

ต้องไม่ลืมว่ากระบวนการในระบบของเรา สุดท้ายก็จะไปที่พระมหากษัตริย์ที่จะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วเรื่องผ่านรัฐสภามา ก็ต้องถือว่า รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรในทางการเมือง จะเป็นคนรับผิดชอบในทางการเมือง และนายกรัฐมนตรีเป็นคนรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงในพระปรมาภิไธย นี่ก็คือคำอธิบายของผมที่มีต่อสภาพการในทางกฎหมายที่จะเกิดขึ้นถัดจากนี้ไป หลังจากที่รัฐสภามีมติผ่านวาระสามไปเมื่อเช้าวันที่ 28 กันยาที่ผ่านมา

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยอ้างว่า อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ได้หรือไม่

ผมเห็นว่าเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญละเมิดรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ เพราะมันไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจเขา ตามมาตรา 68 ที่ใช้อ้างตัวบทก็เขียนชัดว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้"

คำถามคือเขาแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างการปกครองตรงไหน มีแต่ว่าการกำหนดอย่างนี้มันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนตัวระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงยิ่งขึ้น

โดยความเห็นส่วนตัวของผม ถ้าถามว่าผมเห็นด้วยไหมร้อยเปอร์เซ็นต์ไหมกับการให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ผมว่ามันดูจากบริบทนี้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูว่าสภาทำอะไร ผมเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ถูกต้องมันต้องทำทั้งฉบับ เพราะกลไกรัฐธรรมนูญมันจะโยงกัน แต่ว่าพอทำทั้งฉบับมันก็ทำไม่ได้เพราะครั้งที่แล้วศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าต้องทำประชามติก่อนและ แนะนำให้แก้เป็นรายมาตรา ฝ่ายข้างมากในสภาก็ทำตามคำแนะนำ แก้เป็นรายมาตรา เริ่มแก้จากเรื่องที่วุฒิสมาชิกมาจากการสรรหาก่อน แล้วพอเขาทำแบบนี้เสร็จก็มีการไปยื่นอีกศาลอีกว่าการแก้ไขนี้ขัดกับมาตรา 68

คำถามก็คือ การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผลที่จะต่อสู้กันแล้ว คือพอบอกไม่ให้แก้ทั้งฉบับเขาก็มาแก้รายมาตรา พอมาแก้รายมาตรา คนที่ยื่นบอกว่าแก้ทั้งฉบับไม่ได้จะเป็นการล้มล้างการปกครอง ก็บอกว่านี่เป็นการล้มล้างการปกครองอีก ผมถามว่าแล้วจะแก้กันยังไง สรุปคือมันแก้ไม่ได้ใช่ไหม เพราะมันเป็นผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยา 49 ที่ต้องรักษาอย่างเคร่งครัดกระนั้นหรือ

ถ้าถามผมว่า เห็นด้วยไหมกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องนี้เรื่องวุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมก็ยังสงวนความเห็นอันนี้อยู่นะ ระหว่างที่แก้ครั้งนี้กับแบบที่เป็นอยู่อันไหนดีกว่ากัน ถ้าเทียบกันแค่สองอย่างนี้ ผมก็ต้องบอกว่าไอ้แบบที่แก้มันดีกว่า แต่ถ้าถามว่ามีทางเลือกที่ดีกว่านี้ไหม มันมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ ถ้าทำโดยโครงสร้างของระบบทั้งระบบประกอบกัน มันมีระบบวิธีการเลือกตั้งซึ่งได้การกระจายตัวคนไปมากกว่านี้ แต่ว่าในเมื่อตอนนี้การต่อสู้มันบีบเรียวให้เหลือแค่ คุณจะเอา ส.ว.ที่มาจากการสรรหา หรือจะเอา ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าคำถามมีอยู่เท่านี้ ผมก็ต้องบอกว่าเอา ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง

ถ้าเกิดนายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยไหม เพราะถ้านำขึ้นทูลเกล้าไปแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ไปตามขั้นตอนและอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แล้ว แล้วศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอะไรออกมาในขั้นตอนนั้น จะวินิจฉัยออกมายังไง

ก็เป็นไปได้ เขาอาจจะวินิจฉัยออกมาในตอนนั้นอันนี้ก็ไม่ทราบได้ ตอนนี้มันจึงอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะวินิจฉัยอย่างไร แต่ผมเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้คือกลับเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง ก็คือ จำหน่ายคดี เพราะกระบวนการมันไปหมดแล้ว มันเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตั้งแต่แรกแล้ว ตอนนี้เขาเดินหน้าโหวตผ่านวาระสามไปแล้ว รางในทางรัฐธรรมนูญบอกให้ต้องเดินทางไปข้างหน้า ก็ต้องจำหน่ายคดีไป

มีคนอ้างอีกอันหนึ่งเหมือนกันว่า มีข้อครหาว่า ส.ส.มีการกดบัตรแทนกัน กรณีนี้ต้องตรวจสอบกันไปในเชิงการเมือง เขาไม่ได้เปิดกลไกตรวจสอบในทางกฎหมายให้ จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่แม้จะจริงมันก็ไม่เป็นสาระที่จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการโหวตทั้งหมดเป็นโมฆะ เพราะคะแนนเสียงผ่านเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้จำนวนมากพอสมควร พูดง่ายๆ คือกระบวนการนี้ ถือว่าได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนในทางรัฐธรรมนูญแล้ว และต้องเดินหน้าไปจนสุดกระบวนการ

ถ้าตอบในเชิงของการวิเคราะห์ทางการเมือง ผมยังประเมินและวิเคราะห์ว่า จะมีความพยายามขัดขวางการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเรื่องนี้อย่างรุนแรงต่อไปอีกในช่วงนี้ และแม้กระบวนการจะเดินมาจนถึงจุดนี้แล้ว ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าต่อไปข้างหน้าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอีก

แต่ผมค่อนข้างแน่ใจว่า รัฐธรรมนูญปี 50 ได้วางกลไกที่เป็นผลต่อเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยา 49 เอาไว้ แล้ววัตถุประสงค์ของการรัฐประหาร 19 กันยา 49 ยังไม่บรรลุบริบูรณ์ คือมันบรรลุผลในระดับหนึ่งแล้ว โค่นรัฐบาลไปได้ มีการยุบพรรค มีอะไรไปแล้ว พูดง่ายๆ คืออำนาจเดิมก่อนรัฐประหารยังเป็นฝ่ายครองอำนาจหลักอยู่ตอนนี้ในกลไกของรัฐ มันก็ไม่สอดรับกับความต้องการของผู้ที่ทำรัฐประหารหรือแม้แต่ผู้ที่บงการให้ทำรัฐประหารถ้าหากมี ซึ่งอาจจะอยู่ข้างหลัง

เพราะฉะนั้น ถัดจากนี้ไปเราก็จะเห็นว่า ความพยายามที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญนี้เอาไว้ อุปมาเหมือนดังไข่ไดโนเสาร์ที่จะไม่ให้แตก มันจะทวีความรุนแรงและความแหลมคมขึ้นเป็นลำดับ

ถ้าถามผมว่าแน่ใจขนาดไหนว่าสุดท้ายจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้ว ผมบอกได้เลยว่าความแน่ใจของผมมีน้อยกว่าความไม่แน่ใจเยอะมาก อันนี้พูดในทางการเมือง ทั้งที่ความจริงในทางกฎหมายแล้ว ผมตอบว่ามันต้องเป็นไปตามนี้ มีเหตุมีผล มีความชอบธรรมทางกฎหมายอย่างเต็มเปี่ยม แต่ว่าในทางการเมืองมันก็มีกลไก มีลูกเล่น มีแทคติก มีอะไรต่างๆ เข้ามา เราจะได้เห็นต่อไปในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 3 แล้วจะบรรลุผลได้ ก็ต้องอาศัยความกล้าหาญของรัฐบาล

ถูกต้อง ในแง่นี้รัฐบาลก็ต้องยืนไปตามหลักการแล้วก็ไปจนสุด ก็มีคนพูดถึงเรื่องของพระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจในการวีโต้ ถ้าเกิดว่ามี ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้ เป็นพระราชวินิจฉัยของพระองค์ แต่ผมตอบไปจากหลักในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมันก็เป็นขั้นตอนอันหนึ่ง วีโต้กลับมาก็ประชุมสภากันแล้วว่ากันไปตามหลักเกณฑ์มาตรา 291 (7) "เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" ประกอบกับมาตรา 151 ถ้าวีโต้กลับมาแล้วคะแนนไม่ถึงสองในสามก็ตก ก็ต้องพยายามใหม่ ก็ต้องเป็นแบบนั้น

แต่ในด้านหนึ่ง จะเห็นกลไกในทางกฎหมายว่าเดินไปตามขั้นตอนของมัน เราก็ว่ากันไปตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ถูกต้อง เพราะนี่คือกติกาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คนร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ปี 50 วางเอาไว้เอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ เขาได้ทำตามกติกาที่พวกคุณวางเอาไว้เอง ไม่ได้ไปทำนอกกติกาเลย

แต่ตอนนี้พูดง่ายๆ คือ ฝ่ายที่มีส่วนหรือเกี่ยวพันในการวางกติกาที่ส่งผลต่อกลไกในรัฐธรรมนูญปี 50 กลับพยายามที่จะขจัดขัดขวาง ตั้งแต่ตอนที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญแล้ว รับรัฐธรรมนูญแล้ว บอกว่าว่ารับๆ ไปก่อนแล้วไปแก้ทีหลัง จำกันได้ไหม คนทีพูดตอนนี้เป็นยังไง แล้วพอจะแก้ดูสิว่ามันยากขนาดไหน

เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจได้ว่านี่คือการต่อสู้กัน คือมันเป็นผลพวงของการทำรัฐประหาร เป็นการสู้กันทางกำลังที่ยังไม่จบ ข้อที่น่าเสียดายคือ ท่ามกลางการต่อสู้แบบนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่ได้นำหลักการที่แท้จริงออกมาพูด ซึ่งแน่นอนถ้าถามผม ผมเห็นว่าฝ่ายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เขาเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องกว่าฝ่ายที่คัดค้าน และผมเห็นว่าการแก้ไขมันสามารถทำได้ดีกว่านี้ โดยกลไกที่มีระบบถ่วงดุลที่ดีกว่านี้ แต่ตอนนี้เมื่อมันสู้กันแบบนี้ ก็ต้องเอาทางที่เป็นผลเสียน้อยที่สุดก่อน นั่นก็คือ พยายามแก้ให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดก่อน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สังเคราะห์บทเรียนจากกรณี “กะหรี่” และ “อีดอก”

Posted: 29 Sep 2013 06:35 AM PDT

 
จนถึงวันนี้ก็ยังมีความแค่ข้างเดียวให้ฟัง และถ้ามองจากคำให้การที่ปรากฏจากทั้งสองฝ่าย ดูเหมือนข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือการเข้าไปรุกราน (?) ของครู การกล่าวคำว่า "อุบาทว์" "กะหรี่" และ "อีดอก" ซึ่งกลายเป็นเรื่องเมาท์กระจายกันทั่ว คนในมหาวิทยาลัยคนหนึ่งบอกขำๆว่า มหาวิทยาลัยของเรามีกรณีให้ถก(ทะเลาะ)-ทุ่ม(เถียง) กันอยู่มิเว้นวาย นี่เป็นแค่เรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งเท่านั้น  ฉันฟังแล้วก็เห็นด้วยในระดับหนึ่งเพราะมหาวิทยาลัยของเรามีเรื่องแรงร้อนกว่านี้มากจริงๆ แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหู ทั้งถือหางนักศึกษาและเข้าข้างครู ทำให้เรื่องนี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและไม่ธรรมดา ทั้งในแง่บทบาทหน้าที่ของครู การปะทะกันของสองขั้วความคิด และการแห่ตามอย่างเถิดเทิงทิงนองนอยของคนในสังคม ก็เลยอยากจะแสดงทัศนะบางประการเรื่องนี้สักเล็กน้อย เนื่องจากได้ยินว่าคณะไม่อยากให้พูดถึงและเนื่องจากไม่ได้ฟังความจากอีกฝ่าย จึงขอเขียนในภาพกว้างโดยอิงข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนพอสังเขปก็แล้วกัน
 
1. ครู: อำนาจ หน้าที่ 
 
เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้สงสัยในบทบาทของบุคลากรทางการศึกษาขึ้นมาตงิดๆ นอกจากงานในเชิงวิชาการ อันหมายรวมถึงการสอนหนังสือ การค้นคว้าทำงานวิจัย และการผลิตตำราต่างๆ ครูบาอาจารย์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรต่อนักศึกษาอีกบ้าง และควรจะมีบทบาทมากน้อยแค่ไหนในการกำกับดูแล "สิ่งอื่น" ที่นอกเหนือจากความรู้เชิงวิชาการ
 
หากมองว่านักศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นผู้ใหญ่ คิดและตัดสินใจเองได้--ถึงแม้การเลี้ยงดูของพ่อแม่ยุคใหม่อาจทำให้เด็กบางคนขาดประสบการณ์ที่จะเสริมการตัดสินใจให้เฉียบคม แต่พวกเขาก็น่าจะมีวุฒิภาวะที่จะลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง มีวิจารณญาณและสร้างวินัยเองได้ สามารถเดินไปในทางที่ถูกที่ควรตามแบบของเขาได้--เราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องดูแลเด็กๆให้อยู่ในกรอบ ไม่ต้องมีระเบียบที่น่าหัวเราะอย่างห้ามผับบาร์นอกรั้วมหาวิทยาลัยในระยะไม่เกินหนึ่งกิโลเมตรขายแอลกอฮอล์ และไม่ต้องพูดถึงเครื่องแบบ แต่วิธีคิดในปัจจุบันไม่ใช่เช่นนั้น เรายังมองว่าเด็กก็คือเด็ก ครูต้องปกป้องดูแลแทนผู้ปกครอง และสถาบันการศึกษาเป็นดินแดนที่สะอาด ปราศจากมลทินใดๆ ทั้งเรื่องอื้อฉาวคาวโลกีย์และเรื่องผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งในความจริงแล้วมัน เอ้อ...ไม่ใช่
 
สมัยที่ทำงานอยู่ในบริษัท คุณแม่ของเด็กฝึกงานซึ่งมาจากต่างจังหวัดโทร.มาฝากฝังลูกสาวให้ช่วยดูแล ให้ฉันดุว่าได้เต็มที่ บังเอิญฉันก็ดันไปรู้ว่าลูกสาวของแม่ได้ทำพฤติกรรมที่เหลือวิสัยจะดูแลได้ไปเสียแล้ว ฉันก็ได้แต่ตะกุกตะกักรับปากไปแกนๆ จะให้บอกไปได้อย่างไรว่าฉันจะเอาสิทธิ์ (ห่าน) อะไรไปตักเตือนห้ามปรามลูกสาวของแม่โดยไม่ถูกถอนหงอก (ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี) ที่ทำได้ก็แค่ดูกับแลจริงๆเท่านั้น
 
ฉันจึงค่อนข้างเห็นด้วยกับการปล่อยไหล อาจเพราะไม่ได้เป็นครูมาตั้งแต่ต้น ถามว่าดูดายไหม ก็แล้วแต่กรณี แต่ส่วนตัว ฉันขอเปลืองใจกับเด็กที่เรียกว่า "ของเรา" ได้เต็มปากมากกว่า นั่นหมายถึงคนที่เรารู้จัก รู้ใจ รู้ว่าถามได้ เตือนได้ และรับฟัง โลกมีบัวตูมบัวบานมากมายในหลายสระ ใครจะไปดูแลทุกดอกได้ ฉันมีโอกาสพบนักศึกษาถึงขั้นจำชื่อได้ปีละไม่ถึงห้าสิบ เออะ จริงๆอาจจะแค่สามสิบ ถ้าไม่มองตัวเองล้ำเลิศเกินไป ดูแลที่มีอยู่ให้ดีก่อนเถอะ ดังนั้น ถ้าคำเตือนของฉันจะมีค่าอยู่บ้าง ก็ขอเป็นคนที่เข้าใจความหวังดีเบื้องหลังการใช้อำนาจของเรา และไม่ทำให้เราเสียใจที่เสือกจะดีกว่า
 
และการแต่งกายก็ไม่มีวันเป็นปัญหาที่จะทำให้ฉันเข้าไปต่อว่าใครได้ (เพราะทุกวันนี้ฉันก็แต่งตัวติดเกณฑ์ต่ำสุดในมาตรฐานความสุภาพของคนทั่วไปอยู่แล้ว แค่ไม่โป๊เท่านั้น ฮา) ฉันคิดว่าเขามีเหตุผลของเขา เช่น เขาอาจชอบแบบนี้ ขี้เกียจซักรีด บ้านไม่มีตู้เสื้อผ้า หรืออยากประกาศความงามทางสรีระให้โลกรู้ ก็เรื่องของเขา ตราบใดที่เขารับผิดชอบตัวเองและทุกการกระทำที่เป็นผลสืบเนื่องด้วยตัวเอง ไม่ขอให้เราช่วย เราก็มองอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ เขาโตเป็นผู้ใหญ่จนเอาผัวเอาเมียได้แล้ว (แค่บังเอิญอยู่ในสถาบันการศึกษา) เราจะเอามาตรของเราไปวัดเขาอย่างไรได้
 
แต่มีอาจารย์บางคนที่ "อดไม่ได้" เพราะถือเป็นหน้าที่หรือเป็นอุดมการณ์ทางวิชาชีพ อันเป็นปกติของคนเป็นครูที่พึงมีความหวังดีต่อนักศึกษาและสถาบันที่ตนสังกัด ระดับและขอบเขตต่างกันไปตามมุมมอง ประสบการณ์ และวิธีคิดของแต่ละคน ซึ่งจะแปรเป็นการกระทำ (หรือไม่กระทำ) ที่แตกต่างกัน ดูเหมือนสิ่งนี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในคนรุ่นหนึ่ง เขาก็คงไม่อยากเป็นแบบนั้น และนั่นไม่น่าจะใช่การบ้าอำนาจเสียทีเดียว เพราะเขาไม่ได้ลุกขึ้นเอาไม้ไล่ระรานคนไปทั่ว แต่จะลุกขึ้นเมื่อมีเหตุที่เขาคิดเห็นว่าไม่ถูกไม่ควร ขณะที่คนอีกรุ่นหนึ่งไม่เพียงไม่มีสิ่งเหล่านี้ ยังไม่ต้องการด้วย คำถามก็คือมหาวิทยาลัยคาดหวังให้บุคลากรทางการศึกษาทำอะไรหรือไม่ทำอะไรบ้าง สมมติว่าครู (ยัง) มีบทบาทหน้าที่ที่จะตักเตือน ห้ามปราม การกระทำที่ครูเห็นว่าไม่เหมาะไม่ควรในสถาบันการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้คือการแต่งตัวผิดกาลเทศะ เราจะให้ความไม่ต้องการ ไม่ยินยอม และไม่พอใจของเด็ก เป็นเหตุผลให้ครูละเลยหรือยุติบทบาทหน้าที่อันพึงกระทำไหม หรือครูที่กระทำตามบทบาทหน้าที่ที่สถาบันคาดหวังมีความผิดสมควรถูกรุมประณามโดยที่สถาบันไม่ออกมาปกป้องเลยแบบนี้ไหม แล้วเราจะยังไงกันต่อหลังจากนี้
 
มหาวิทยาลัยเป็นโลกจำลองที่เปิดให้นักศึกษาลองผิดลองถูก โดย (ควรจะ) มีครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะและให้แนวทาง แต่ก็น่าเสียดายและต้องยอมรับว่าเราไม่อาจหาบุคลากรที่ดีพร้อมและถูกใจทุกคนได้ เราจึงมีครูที่สวมวิญญาณผู้คุ้มกฎหรือครูที่ทำผิดเองอยู่ บางครั้งเราก็เลือกไม่ได้ (ครูก็เลือกเราไม่ได้เหมือนกัน) แต่การทำความรู้จักและ "ดีล" กับครูแต่ละประเภทคือการเรียนรู้ เพราะเราจะได้เจอคนทุกแบบในโลกจริง ต่อให้แย่ ห่วย โหด งี่เง่า หรือร้ายกาจอย่างไร ครูจะทำร้ายเราแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น การเรียนรู้ล่วงหน้าจะทำให้เราพร้อมรับมือคนข้างนอกได้ดีขึ้น และถึงจะสรุปไม่ได้ว่าคนอายุมากกว่าจะฉลาด มีวิสัยทัศน์ หรือมีโลกทัศน์ เลิศกว่าคนอายุน้อยกว่า แต่ที่แน่ๆก็คือเขามีประสบการณ์และรู้มากกว่าเรา (อย่างน้อยก็ในเชิงวิชาการ--บางด้าน) สารัตถะของการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัย ต่างความคิด คือการเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ใช่การผรุสวาทด่าทอคนที่เห็นต่างจากเราว่าโง่เง่า แก่กะโหลกกะลา บ้าอำนาจ
 
ในกรณีนี้ คงเป็นเรื่องน่าชื่นชมหากผู้อ่อนวัยจะแสดงความเหนือกว่าทางความคิดและให้บทเรียนที่มีประโยชน์แก่ผู้แก่วัยได้ หากเธอพิสูจน์ได้ว่ามีความคิดอ่านลึกซึ้ง มีวุฒิภาวะ (ที่จะรักษาสติ ไม่ตอบโต้ด้วยโทสะและยอมให้อารมณ์ชี้นำ ไม่ว่าจะเพื่อปกป้องตัวเองหรือใครก็ตาม) แต่เนื่องจากยากที่นักศึกษาทั้งหมดจะทำเช่นนั้นได้ แม้กระทั่งคนที่ดูจะเข้มข้นที่สุด กติกาเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีอยู่เพื่อไม่ให้โลกจำลองนี้โคจรผิดทางด้วยความเร็วเกินขีดจนกระทบกระแทกดาวดวงอื่น ฉะนั้น ใครเล่าที่ต้องเป็นผู้คุ้มกฎ
 
อีกข้อหนึ่งที่น่าคิดก็คือการยอมให้ครูดุว่าสั่งสอน สมัยก่อน การน้อมตัวเป็นศิษย์หมายถึงการยอมให้ครูตำหนิตักเตือน คนรุ่นโน้นจึงไม่มีปัญหาถ้าครูจะขอดูบัตรนักศึกษาในโรงอาหารหรือพารากอน ถามว่าเขาโง่หรือ เขาขลาดหรือ เขายอมจำนนต่ออำนาจหรือ ฉันว่าไม่ใช่ เขายอมลงให้เพราะศรัทธาที่มีต่อบุคคลหรือวิชาชีพนั้นต่างหาก หากคนรุ่นหนึ่งมอบความศักดิ์สิทธิ์ให้ครูหรือเครื่องแบบ (เช่นที่เธอเลือกไม่ทำ) นั่นไม่ใช่ความโง่ เขลา ขลาด แต่เป็นทางเลือก และหากเธอเลือกที่จะไม่ให้ ขณะที่ครูยังทึกทักว่าตัวเองได้รับสิทธิ์นั้นอยู่ ครูผู้นั้นก็อาจอยู่ผิดยุคโดยไม่ยอมปรับตัว แต่เขาไม่ได้บ้าอำนาจหรอก
 
แน่ละว่าครูไม่ควรตัดสินใครด้วยอคติส่วนตัว แต่ข้อหนึ่งที่น่าจะพิจารณาด้วยก็คือ ครูในสถานศึกษา (ของรัฐ) ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเพราะผลตอบแทนทางการเงิน และมักเลือกสอนที่สถาบันเดิมของตน ด้วยเหตุนี้ คำทักท้วง ตำหนิ ดุว่า (หรือรุนแรงกว่านั้น) ของครูจึงอาจมี "ความรู้สึกส่วนตัว" ปนอยู่ค่อนข้างมาก แต่ต้องไม่ลืมว่านั่นคือการกระทำตามสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนในยุคที่คนส่วนใหญ่นิ่งดูดายโดยถือคติว่า "ธุระไม่ใช่" ครูคนนั้นมีอคติจริงๆ ฉันเห็นด้วย แต่เหตุผลเริ่มแรกที่ทำให้เขาเดินเข้าไปคือความเป็นห่วงสถาบันและการยึดในบทบาทหน้าที่ของตน แม้จะยึดมาตรวัดคุณค่าบางประการที่บิดเบี้ยว (ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย) แต่นั่นไม่ควรเป็นเหตุผลให้นักศึกษาด่ากลับหรือบุกตามหาคู่กรณีด้วยแผนลวงต่างๆเพื่อถ่ายรูปประจาน (เพราะนั่นจะทำให้ผู้ถูกกระทำเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ตอบโต้หรือตรงกันข้ามได้)
 
 
2. การปะทะกันระหว่างอดีตกับอนาคต 
 
สิ่งที่ปรากฏชัดในกรณีนี้คือการปะทะกันของทัศนคติสองขั้ว ขั้วหนึ่งเชื่อว่าความดีความงามคือระเบียบแบบแผน ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาจะดำรงอยู่ได้ด้วยการตั้งมั่นในวินัย ภาพลักษณ์ และสิ่งปรุงแต่งที่งดงาม รวมทั้งจับคู่ความดีความงาม คุณค่า สถาบัน ไว้ในกลุ่มตรงข้ามกับสถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า ความเสื่อมเสีย และสถานบริการทางเพศ ขณะที่อีกขั้วหนึ่งเชื่อว่าแก่นแกนและเนื้อแท้ต่างหากที่พิสูจน์ความดีความงามของคน ไม่ใช่เครื่องแบบหรือเสื้อผ้าที่แสดงความสุภาพ และคนทุกคนมีอิสรภาพที่จะคิด ที่จะเติบโต ที่จะเป็น ให้ค่ากับตัวตน ความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาคของมนุษย์ เหนือข้อจำกัดทางระเบียบวินัย มารยาท และกาลเทศะ
 
ด้วยเงื่อนไขว่าคำบอกเล่านั้นเป็นจริง เราเห็นคีย์เวิร์ด เช่น แต่งตัวไม่เหมาะสม ผิดระเบียบ เสื่อมเสียชื่อเสียงมหาวิทยาลัย ในส่วนที่ครูพูด ขณะที่นักศึกษาแสดงสีหน้าไม่ยี่หระ ยิ้มเยาะ ตอบโต้อย่างไม่สะทกสะท้านหรือสะดุ้งสะเทือน และทำให้ครูเดินหนีไปโดยทำอะไรไม่ได้ นอกจากทิ้ง "ถ้อยคำ" ทำร้ายตัวเองให้เธอนำมาฟ้องศาลประชาชนอย่างที่เป็นอยู่
 
ถามว่าครูผิดไหม ฉันไม่เห็นด้วยกับถ้อยคำและท่าทีของครู (จากเรื่องที่เล่า) แต่ไม่มีปัญหาที่ครูเข้าไปแสดงตัวและชี้แจงความล่อแหลมและความหมิ่นเหม่ต่อกาลเทศะของเด็ก ฉันว่าเขาน่านับถือด้วยซ้ำที่กล้าทำสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกว่าควร เสือกไหม โดยพฤติกรรมก็ใช่ แต่โดยเจตนาและบทบาท น่าจะอยู่ในขอบเขตที่ทำได้ นั่นคือการเข้าไปตักเตือน (หรือดุว่า) ในบริบทของสถานที่และสถานการณ์แวดล้อมนี้ (แต่ไม่รู้ว่าที่นี่อนุญาตให้ครูริบบัตรนักศึกษาได้หรือเปล่า ได้ยินว่าสถาบันหลายแห่งให้สิทธิ์นั้นกับครู) ส่วนเด็กจะเชื่อ ชอบ หรือเชิดชูไหม ก็อีกเรื่องหนึ่ง
 
แต่โดยพื้นฐานนะ ต่อให้ไม่พอใจแค่ไหน ทั้งสองฝ่ายก็ควรเจรจาหาความกันอย่างมนุษย์ผู้ "ใฝ่" ความเจริญ การด่าเด็กว่าหน้าตาว่าอุบาทว์/ที่นี่ไม่ใช่พารากอน ไม่ใช่ประเด็น ขณะเดียวกัน การเยาะยั่ว ตีฝีปาก และเถียงคำไม่ตกฟากของอีกฝ่ายก็ไม่ใช่สิ่งพึงทำ ต่อให้ยืนด่าจนตายก็ใช่ว่าครูจะบังคับเรานุ่งโจงห่มสไบได้ เม้งเหนื่อยแล้วครูก็มักจะหนีไปหาที่ช้ำในตายเงียบๆ แต่การเถียงฉอดๆแบบด่าไปห้า ตอบมายี่สิบ คือการราดน้ำมันใส่กองเพลิงดีๆนี่เอง
 
และเมื่อมันไหม้ลาม (ไปถึงคนอื่น) ขึ้นมา...ไฟกลายเป็นคนผิดฝ่ายเดียวหรือ
 
 
3. กะหรี่และอีดอก เขาด่ากัน แล้วเราด่าใคร 

เมื่อขิงไม่ยอมเพราะสถานะเหนือกว่าและเชื่อมั่นในเกณฑ์ความถูกต้องเกณฑ์หนึ่ง ส่วนข่าก็ไม่หยุดเพราะเนื้อหาในตัวแรงจัดชัดจริง ความเผ็ดก็เลยกระจายไปทั่วโรงอาหาร แต่ประเด็นที่ยกขึ้นมาฟูมฟายคืออะไร ครูบ้าอำนาจเอาสิทธิ์อะไรมาขอดูบัตร? ฉันทำตามสิทธิเสรีภาพ ไม่หนักหัวใคร ยุ่งอะไรด้วย? หรือโกรธแทนกะหรี่ เอ้อ คนที่ถูกพาดพิง? เท่าที่อ่านดู น่าจะเป็นข้อหลัง เพราะสองข้อแรกตอบโต้ไปแล้ว ส่วนที่ว่าโกรธแทนกะหรี่ จริงๆ คำว่า "อีดอก" ก็น่าจะสาใจผู้คนที่โกรธแค้นแทนกะหรี่ทั่วโลกแล้ว ลำพังแค่ "แต่งตัวเหมือนกะหรี่" นี่ฉันไม่รู้สึกเท่าไรนะ มันก็แค่ "คำ" มันก็แค่ "การอุปมา" ถึงเสื้อผ้า แต่รู้สึกจี๊ดใจเมื่อประโยคนี้ไปรวมกับ "ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสีย" คือกะหรี่แต่งตัววับแวมเพื่อทำงาน นั่นเป็นอาชีพของเขา การที่กะหรี่แต่งตัววับแวมหรือการที่ใครแต่งตัวเหมือนกะหรี่ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียยังไงหรือ มหาวิทยาลัยคงไม่เสื่อมเสียเพราะคนประกอบอาชีพนั้นหรือแต่งตัวแบบนั้นหรอก แต่จะเสียหายเพราะทัศนคติแบบนั้นต่างหาก
 
อย่างไรก็เถอะ แค่การบอกเล่าว่า นังครูชะนีคนหนึ่งด่าเราว่าแต่งตัวเป็นกะหรี่ ทำให้มหาวิทยาลัยเสียชื่อ ก็ส่ง "พลัง" สะท้อนกลับไปทำร้ายคนพูดโดยที่เราไม่ต้องเปลืองตัวแล้ว จะฟูมฟายต่อทำไม ให้สังคมรับรู้และครุ่นคิด? ให้สังคมร่วมประณาม ด่าทอ เกลียดชัง เพื่อความสะใจ? ให้อีนังชะนีนี่อยู่ไม่ได้? คงไม่ใช่ข้อแรกแน่ๆ ยิ่งถ้าดูพฤติกรรมสืบเนื่องที่อุตส่าห์สืบหาตัว หาชื่อ ด้วยวิธีต่างๆ มองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากต้องการประจานให้อาย หรือเอาให้ตาย ซึ่งทำแล้วมันเกิดผลดีกับใคร (ตัวเอง) ไหม มันเป็นการกระทำที่คับแคบและไร้เหตุผลแบบที่เธอก่นด่าประณามอยู่ใช่หรือไม่
 
หากเปลี่ยนมาเล่าเรื่องนี้ด้วยท่าทีชวนขบคิด ให้ผู้คนถกเถียงและหาทางออก (ที่เราต้องการ) ในเรื่องบทบาทของครู กาลเทศะ มารยาท และวินัย อะไรทำนองนี้ จะทำให้เกิดวิวาทะในทางสร้างสรรค์มากกว่าไหม
 
ที่สำคัญ การที่มหาชนผู้เจริญจำนวนมากเข้ามารับฟังและกดไลก์ พร้อมสาดคำด่าใส่ผู้หญิงคนหนึ่งที่พวกเขาไม่รู้จัก ไม่ได้ถูกด่าเอง หรือเอาจริงๆ ไม่ได้ยินจากปากเจ้าตัวด้วยซ้ำ มันยุติธรรมแล้วหรือ เป็นการกระทำที่น่ายกย่องของผู้คนที่รักความเสมอภาคมากสินะ ไม่สะดุดใจบ้างหรือที่อยู่ๆ เราก็พร้อมจะรุมด่าใครคนหนึ่งที่เราไม่เห็นด้วยด้วยถ้อยคำรุนแรง (แม้จะไม่เหยียดหยาม) ได้ทันควันโดยไม่ต้องแม้กระทั่งหยุดฟังว่าอีกฝ่ายมีอะไรจะแก้ตัวไหม นี่มันอคติรูปแบบหนึ่งหรือเปล่า การที่เราพร้อมจะเฮโลเชื่อสิ่งที่เพื่อน (?) เล่า มั่นใจว่าเขาไม่โกหกบิดเบือน และถือศัตรูของเพื่อนเป็นของเราเพียงเพราะเขาเป็นฝ่ายมีอำนาจ และร่วมเล่นงานคนคนนั้น มันทำให้เรามีศักดิ์ศรีกว่าตรงไหน กระทั่งศาลยังมีความยุติธรรมก่อนจะตัดสินความเลย มุมมองของคนที่มองเรื่องนี้ย่อมต่างกัน ทั้งฝ่ายพูดและฝ่ายฟัง ขณะที่เธอยิ้มเยาะและตอกกลับแรงๆ แต่กลับเล่นบทผู้ถูกกระทำ ชักนำเพื่อนๆให้รุมโจมตีศัตรูผู้กระทำ แน่ใจหรือว่าเธอไม่ได้กระทำการต่างๆเหล่านั้นด้วยอคติแบบเดียวกัน หรืออาจจะเลวร้ายยิ่งกว่า แน่ใจหรือว่าเธอไม่ได้กระทำเขาเช่นเดียวกัน บางที เธออาจตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่กระแทกความรู้สึกของอีกฝ่าย (เธอคงคิดว่า แล้วไง ก็สมแล้ว มาเล่นเราก่อน เราอยู่ของเราดีๆ ใช่ไหม) แต่ก็นั่นแหละ ความเจ็บช้ำน้ำใจในศักดิ์ศรีของผู้ใหญ่ที่ถูก "เด็กเมื่อวานซืน" ย้อนเย้ยอาจส่งผลให้เกิดอาการกระอักโลหิต และหลุดคำพูดที่ไม่เหมาะสมออกมาก็ได้ และในกรณีนี้ เขาก็ถูกกระทำไม่ต่างจากเธอเช่นกัน (ไม่พูดถึงฝ่ายที่เห็นด้วยกับครู เพราะครูไม่ได้ออกมาอธิบายการกระทำของตัวเอง และฉันคงไม่สามารถที่จะตีความหรืออธิบายแทนได้ แต่เข้าใจว่าฝ่ายที่ออกมาเห็นด้วยกับครูก็เพราะต่อต้านปฏิกิริยาจากคำบอกเล่าของนักศึกษานั่นเอง)
 
เอาเถอะ นั่นไม่ใช่คำแก้ตัว (และฉันก็ไม่คิดจะแก้ตัวแทนใคร) เมื่อคำพูดหลุดออกไปแล้ว ผิดก็คือผิด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม บทเรียนของคนเป็นครู (ทุกคน) โดยเฉพาะคนที่อยู่ในขั้วความคิดแบบอนุรักษนิยม ก็คือการทบทวน จูน และปรับทัศนคติของตนเสียใหม่ เพื่อให้ก้าวตาม ก้าวทัน และ (อาจจะ) ก้าวนำในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แล้วเธอต้องการอะไรอีก ต้องให้เขาออกมากราบเท้ากะหรี่ทั่วประเทศก่อนจึงยอมเลิกราหรือ และถ้าเขาทำแบบนั้น เธอจะพากันกราบเท้าขอโทษเขาด้วยไหม ถ้าดูจากตัวหนังสือ ฉันคิดว่าความโกรธและความชิงชังที่ปะทุออกมาในโพสต์มันรุนแรงและแผดเผากว่าแก่นความคิดที่ก้าวหน้าอยู่หลายช่วงตัวทีเดียว เพราะว่าที่สุดแล้ว อคติของเขาก็แค่คำพูด เป็นอคติที่หลุดออกมาดังๆจากการสะสมที่เขาเองอาจไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ แน่ละว่ามีความเป็นมนุษย์ของคนบางคน อาชีพบางอาชีพ ถูกทำร้ายให้บาดเจ็บ แต่เอาจริงๆนะ สิ่งสำคัญก็คือยังไม่มี "ใคร" เป็น "อะไร" สักคนเดียว
 
อย่างไรก็ตาม คงต้องบันทึกไว้ว่า กรณีนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์หนึ่ง นั่นคือครูก็ถูกด่าได้ (แถมคนด่ายังบอกเล่าได้อย่างหน้าชื่นเสียอีก) และการแสดงความไม่พอใจของคนรุ่นนี้ก็ทำได้ทันทีและเสรีมากๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าควรรู้สึกยังไงกับปรากฏการณ์นี้ดี สำหรับคนที่โตมาในยุคบูชาครู ก็ทำใจลำบากนะ ไม่ใช่เพราะการสวนกลับ หากเป็นท่าทีและวาจามากกว่า (คือต่อให้ครูร้ายยังไง ฉันคงไม่ด่าครูว่าอีดอก แล้วเอามาเล่าให้เพื่อนฟังสนุกปากแน่ๆ) แต่ในทางหนึ่ง นี่คือการลอกเปลือกนอกที่เรียกว่ามารยาทของมนุษย์ออกไป เมื่อไม่พอใจ จะมีสถานะเป็นอาจารย์หรือนักศึกษา เราก็ลุกขึ้นด่ากันด้วยถ้อยคำแรงๆที่มุ่งทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายให้ถึงที่สุด หรือฟาดฟันกันให้ตายไปข้างหนึ่ง ซึ่งจะว่าไป อยู่กันแบบจริงใจเหมือนสมัยหินก็อาจทำให้คนดัดจริตน้อยลงได้ แต่ฉันไม่เชื่อหรอกนะว่าโลกไร้มายาจะดีไปกว่าโลกดัดจริตสักกี่มากน้อย มนุษย์มีความหลากหลายและกลิ้งกลมเกินกว่าจะอยู่กันอย่างสงบได้ง่าย ไม่ว่าในโลกที่ออกแบบมาดีเพียงใด และโลกที่ว่านั้นยังไม่เคยปรากฏที่ไหน และคงจะไม่ปรากฏในเร็วๆนี้
 
ขอปิดท้ายด้วยเรื่องน่าสลดใจที่เพิ่งได้ยินมาเมื่อวาน ครูที่โรงเรียนแถวบ้านถูกให้ออกเนื่องจากผู้ปกครองของเด็กมาร้องเรียนว่าครูผู้นั้นล่วงละเมิดทางเพศบุตรหลานของตน เด็กชายคนหนึ่งถูกล่วงละเมิดโดยไม่สมยอมมาหลายครั้งจนไม่ยอมมาโรงเรียน พ่อแม่คาดคั้นจนได้ความจริงที่แสนเจ็บปวด เจ้ากรมข่าว (ลือ) เล่าว่าเด็กมีอาการบวมเจ่อทั้งที่ปากและอวัยวะเพศ และแกอยู่แค่มัธยมต้นเท่านั้น ไม่มีใครรู้ว่าตลอดหลายปีที่สอนหนังสือ ครูหนุ่มผู้นี้ได้กระทำชำเราเด็กชายไปกี่คนแล้วและอย่างไรบ้าง ส่วนที่สมยอมนั้นก็เอาเถิด (วะ) แต่อีกกี่คนที่ยอมเพราะหวาดกลัว เพราะเห็นว่าเป็นครู และกี่คนที่แบกบาดแผลเหล่านั้นออกไปจากโรงเรียน พระเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ว่าบาดแผลนั้นฝังในและจะไปทำร้ายลูกหลานหรือใครอื่นอีกมากมายเท่าไรในอนาคต อสุรกายในคราบครูเช่นนี้อาจไม่เคยพูดจาหมิ่นหยามเพศแม่หรืออาชีพอะไรทั้งนั้นในโลก แต่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเจ็บช้ำกับเลือดเนื้อและหัวใจของคนเป็นๆเช่นนี้น่าประณามมากกว่าหรือเปล่า และหลังจากลาออกจากที่นี่แล้ว เขาจะไปก่อการละเมิดใครที่ไหนอีกบ้าง เมื่อไม่ได้ดำเนินคดี ไม่ได้ถูกไล่ออก ประวัติอันขาวสะอาดอาจทำให้เขาเข้าทำงานในโรงเรียนที่ไหนก็ได้ และใครจะรู้ว่าในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ (ซึ่งไม่น่าจะต่ำกว่า 30 ปี) เขาจะทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กอีกเท่าไร
 
หากพวกเธอเจ็บร้อนจะเป็นจะตายกับครูดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนที่ประกอบอาชีพหนึ่ง ขอให้พวกเธอเดือดร้อนให้มากกว่านี้หลายๆเท่ากับครูหรือใครก็ตามที่เหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อและชีวิตจริงๆ 
 
เรื่องของวาทกรรมและการปะทะกันทางความคิดช่วยบริหารสมองส่วนวิพากษ์วิจารณ์ได้ดี และอาจจะช่วยให้หลายๆคนฉุกใจคิดทบทวนกรอบอคติของตัวเอง รวมถึงเปิดใจที่จะคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่นมากขึ้นได้ แต่อะไรเล่าจะช่วยให้คนที่ลงมือกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่หยุดทำแบบนั้นได้ และเราควรจะมีปฎิกิริยากับคนเหล่านั้นอย่างไร
 
ฝากไว้ให้ช่วยคิดต่อนะ
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วอนอย่าด่วนตัดสิน ปธ.สหภาพฯ อสมท.แจงเหตุคนค้นฅนตอน"ศศินฯ"ระงับออกอากาศ

Posted: 29 Sep 2013 06:02 AM PDT

เบื้องต้นเทปส่งมาล่าช้าไม่เป็นไปตามตกลง รักษาการปธ.สหภาพแรงงานฯ อสมท. โพสต์เฟซบุ๊ก แจงกรณีรายการคน ค้น ฅน ตอน "ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม.จากป่าสู่เมือง" จะมีข้อเท็จจริงให้ทราบถึงสาเหตุ วอนอย่าด่วนตัดสินทั้งองค์กร 

29 ก.ย.56 เวลา 15.31 น. นายสุวิทย์ มิ่งมล รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท. โพสต์ภาพที่เป็นข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้แจงถึงกรณีรายการ คน ค้น ฅน ตอน "ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง" ถูกระงับการออกอากาศทางช่อง MCOT หรือช่อง 9 อสมท. ว่า จะมีข้อเท็จจริงให้ทุกๆ คนทราบว่าสาเหตุเกิดจากการสั่งงดการออกอากาศ หรือมีการสั่งปรับแก้เนื้อหาบางส่วน ระบุเบื้องต้น มีการชี้แจงว่า เทปส่งมาล่าช้า ไม่เป็นไปตามตกลง อย่างไรก็ต้อมก็ต้องรอข้อมูลจากทางทีวีบูรพาด้วย

โดยรักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อสมท. โพสต์ว่า "จากกรณีคนค้นฅน ในฐานะประธานสหภาพ ยืนยันจะมีเท็จจริงมาให้สังคมแน่ ว่าสั่งงดออกอากาศหรือให้ปรับแก้ เรื่องนี้เบื้องต้น มีการชี้แจงว่า เทปส่งมาล่าช้า ไม่เป็นไปตามตกลงคือ ก่อนออกอากาศ 3 วัน ทำให้การปรับแก้ไม่ทัน แต่ก็ต้องรอข้อมูลทางทีวีบูรพาด้วย ส่วนตัวคนทำข่าวลุกขึ้นประท้วงผู้บริหารในยุคหนึ่ง ซึ่งจะมีการโละรายการกบนอกกะลาและคนค้นฅน และจากจุดนั้นก็ลงสมัครสหภาพจนมาเป็นประธาน การแสดงออกต่อสาธารณะด้วยการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ก็ต้องขอความเป็นธรรมให้ อสมท.ด้วย อย่าเพิ่งด่วนตัดสินทั้งองค์กร ด้วยเหตุจากรายการเดียว"

"รอข้อมูลทางทีวีบูพาด้วย ถ้าไม่ยืนกับประชาชน ครั้งหนึ่งเราไม่ลุกขึ้นมาประท้วงให้ รายการของทีวีบูรพาหรอกครับ และจุดยืนผม ชัดเจน จะต้องมีคำตอบให้สังคม แต่ถ้าจะเหมารวมด่ากราดสื่อไปหมด คนที่ตั้งใจดี ก็คงจะค่อยๆ ท้อกันไปเอง และก็ย้ายฝั่งเลือกข้างกันไปจนหมด ทุกสังคมมีทั้งคนดี คนไม่ดี แยกแยะให้กำลังใจกันดีกว่าครับ" สุวิทย์ คอมเมนท์เพิ่มเติม

ภาพข้อความจากเฟซบุ๊กสุวิทย์ มิ่งมล

ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง บนยูทูป

ซึ่งวานนี้(28 ก.ย.) เวลา 21.43 น. เฟซบุกแฟนเพจ "คนค้นฅน"  ได้นำเทปรายการซึ่งมีการปรับปรุงใหม่ดังกล่าวมาเผยแพร่ในยูทูป และแชร์ผ่านเฟซบุ๊กพร้อมข้อความว่า

"คำชี้แจงกรณี รายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง ไม่ได้ออกอากาศในวันเสารที่ 28 กย. นี้ ตามที่รายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง ไม่ได้ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 28 กย. 2556 นั้น เนื่องจากทางฝ่ายพิจารณาเทปออกอากาศ ได้แจ้งมายังรายการฯ ว่า อยากให้นำเนื้อหาไปปรับแก้ ให้มีความสมดุลทั้ง 2 ฝ่าย คือมีทั้งข้อมูล และบทสัมภาษณ์จากฝ่ายสนับสนุนการสร้างเขื่อน และฝ่ายคัดค้าน รวมทั้งให้ตัดทอนเนื้อหาส่วนที่พิจารณาว่า จะทำให้เกิดการยั่วยุ ขัดแย้ง ออก ซึ่งทางรายการ " คนค้นฅน " ได้นำความเห็นนั้น กลับมาพิจารณาอย่างจริงจัง และได้ปรับแก้เนื้อหาบางส่วนตามที่ทางสถานีฯ ห่วงใย บนพื้นฐานที่ไม่ให้เสียจุดยืนและรูปแบบของ­รายการ ที่เป็นสารคดีชีวิต ไม่ใช่สารคดีเชิงข่าว นอกจากนั้น รายการ ฯ ยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมผ่านรายการ ฯ ว่า พร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลของฝ่ายที่สนับสนุน­การสร้างเขื่อนในโอกาสต่อไป และได้ส่งเทปกลับไปยังสถานีฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลการพิจารณาก็เป็นไปตามที่ปรากฎในข่าวสาร

ดังนั้นเพื่อความเข้าใจร่วมกันของสังคม ทางรายการ คนค้นฅน จึงขอนำเทปรายการ ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง ที่ผ่านการปรับแก้บนพื้นฐานที่รายการฯ พิจารณาแล้วว่า เหมาะสม และไม่เสียเจตนารมณ์ของรายการ มาเผยแพร่ผ่านสังคมออนไลน์ เพื่อให้ทุกท่านได้ร่วมกันพิจารณา

ทั้งนี้รายการฯ ขอชี้แจงว่า ไม่มีวัตถุประสงค์ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย โจมตีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้สังคมได้พิจารณาร่วมกันในการหาทาง­ออกอย่างสันติและเป็นธรรม

รายการคนค้นฅน
ทีวีบูรพา จำกัด"

วีดีโอคลิปรายการ คนค้นฅน ตอน ศศิน เฉลิมลาภ 388 กม. จากป่าสู่เมือง :

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวมข่าวนิติบัญญัติประจำสัปดาห์ 23-29 ก.ย. 2556

Posted: 29 Sep 2013 05:58 AM PDT

รวมข่าวจากฝ่ายนิติบัญญัติ กรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ กฎหมาย ร่างกฎหมาย และความเคลื่อนไหวในรัฐสภาของ ส.ส. และ ส.ว. และพรรคการเมืองต่างๆ ประจำสัปดาห์
 
รองปธ.สผ. คนที่ 1 ชี้ แถลงผลงานรัฐบาล 1 วันไม่เพียงพอ
 
23 ก.ย. 56 - รองประธาน สผ. คนที่ 1 ชี้ แถลงผลงานรัฐบาล 1 วันไม่เพียงพอ คาดเพิ่มวันพฤหัสบดีที่ 26 อีก 1 วัน หวัง ชี้แจง ตอบข้อซักถามอย่างเต็มที่ พร้อมระบุ ช่วงเดือนตุลาคม อาจมีการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 190 และ ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม
 
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรอบการอภิปรายการประชุมเพื่อรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่ 1 (วันที่ 23 สิงหาคม 2554 ถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2555) ว่า ได้มอบหมายให้วิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลหารือกรอบเวลาในการอภิปรายแล้ว แต่ส่วนตัวคาดว่าเวลา 1 วันอาจไม่เพียงพอ จึงอาจเพิ่มวันแถลงผลงานอีก 1 วันคือวันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายนนี้ หลังการพิจารณากระทู้ถามสด เพื่อเปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ชี้แจงและซักถามกันอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ไม่กังวลและเชื่อว่าบรรยากาศการประชุมจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากเป็นการนำเสนอผลงานของรัฐบาลตามข้อเท็จจริงและชี้จุดบกพร่อง โดยไม่มีการลงมติ
 
นายเจริญ กล่าวต่อถึงการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว.ในวาระ 3 ว่า จะลงมติในวันเสาร์ที่ 28 ก.ย.นี้  ส่วนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ คาดว่าจะบรรจุระเบียบวาระในช่วงต้นเดือนตุลาคม และในช่วงปลายเดือน คาดว่าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมจะแล้วเสร็จในชั้นกรรมาธิการและส่งให้ที่ประชุมพิจารณาในวาระ 2
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
ส.ว.สรรหา ชี้ เปลี่ยนพรรคการเมืองเป็นสถาบัน อย่าเป็นสมบัติใครคนหนึ่ง ช่วยแก้ปัญหาการเมืองไทย
 
23 ก.ย. 56 - ส.ว.สรรหา ชี้ เปลี่ยนพรรคการเมืองเป็นสถาบัน อย่าเป็นสมบัติใครคนหนึ่ง ช่วยแก้ปัญหาการเมืองไทย  แนะ ดูแบบอย่างจีนตัดสินจำคุกตลอดชีวิตกับผู้นำของพรรคที่ทุจริตคอรัปชั่น
 
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา  กล่าวว่า ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ร้อยละ 62.4 เชื่อว่ารัฐบาลตัวจริงที่บริหารประเทศ และเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ขณะที่ประชาชน ร้อยละ 80 เชื่อว่า ปัญหาของประเทศส่วนใหญ่เกิดจากนักการเมือง เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้นักการเมืองมีอำนาจมากที่สุด  อีกทั้งล่าสุดก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้พรรคการเมืองสามารถส่งคนมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้อีก  ทั้งนี้ ตนเห็นว่า ถ้าพรรคการเมืองเป็นสถาบันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าพรรคการเมืองเป็นสมบัติส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง เช่นเป็นพรรคการเมืองในไทยแต่เจ้าของพรรคไปอาศัยอยู่ต่างประเทศ ก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องบริหารราชการแผ่นดิน เพราะเจ้าของที่ไปอาศัยอยู่ต่างประเทศคนนั้น ไม่รู้ถึงปัญหาความเดือดร้อนที่แท้จริงของประชาชน  ขณะเดียวกันก็เป็นที่น่าละอายไปทั่วโลกที่ไทยมีพรรคการเมืองแบบเป็นสมบัติส่วนตัวที่เจ้าของพรรคตัวจริงไปอาศัยอยู่ประเทศอื่น แต่กลับเป็นพรรครัฐบาลที่บริหารประเทศในปัจจุบัน  ซึ่งตนขอเสนอว่าการปรับปรุงการเมืองไทยนั้น ต้องเปลี่ยนพรรคการเมืองให้เป็นสถาบัน อย่าเป็นสมบัติใครคนหนึ่ง และอยากให้ดูแบบอย่างจีนที่ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตกับผู้นำของพรรคที่ทุจริตคอรัปชั่น
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, เรณู เขมาปัญญา / ข่าว / เรียบเรียง
 
วุฒิสภาเห็นชอบให้ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
 
23 ก.ย. 56 - ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบให้ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ แทน นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง
 
ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบให้นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ แทน นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง ด้วยคะแนน 82 เสียง ต่อ 41 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง และไม่ลงคะแนน 2 เสียง โดยนายทวีเกียรติ เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเบื้องต้นจากมติของประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านฯ  และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งรวมเป็นคณะกรรมการสรรหา จากนั้นส่งต่อให้คณะกรรมาธิการสามัญตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ที่ประกอบด้วย ส.ว.จำนวน 25 คน มีนายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นประธาน ทำหน้าที่รวมรวมพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่จำเป็นจากการขอความร่วมมือไปยังสื่อมวลชน ส่วนราชการ และประชาชนให้แสดงความคิดเห็น ข้อมูล ข้อเท็จจริงของนายทวีเกียรติ มายังกรรมาธิการฯ เพื่อประกอบการพิจารณา รวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่าน ตู้ ปณ.45 ปณฝ.รัฐสภา และเว็บไซต์ของวุฒิสภา ซึ่งไม่ปรากฏประวัติฯ ความประพฤติของนายทวีเกียรติที่เป็นผลเสียแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้เชิญ นายทวีเกียรติ เข้าแลกเปลี่ยนความเห็นกับกรรมาธิการสามัญ แล้วสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้จัดทำเป็นรายงานลับเสนอให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณาก่อนมีมติด้วยวิธีลงคะแนนลับ
 
สำหรับ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อายุ 60 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด จบปริญญาเอกเกียรตินิยมทางกฎหมายอาญาจากประเทศฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งงานสำคัญ อาทิกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) กรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการพัฒนากฎหมาย กรมศิลปากร
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
ปธ.ที่ปรึกษา กมธ.ด้านต่างประเทศ วุฒิสภา เตือนรัฐบาล อย่าคิดสั้นตั้งศูนย์ลี้ภัย หวั่นโรฮิงญาหลายล้านทะลักเข้าไทย
 
23 ก.ย. 56 - ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ด้านต่างประเทศวุฒิสภา เตือนรัฐบาล อย่าคิดสั้นตั้งศูนย์ลี้ภัยอย่างเป็นทางการ หวั่นโรฮิงญาหลายล้าน ทะลักเข้าไทย พร้อมจี้นายกฯ – สมช. รับข้อเสนอหน่วยปฏิบัติไปพิจารณาและเร่งดำเนินการด่วน
 
นายพิเชต สุนทรพิพิธ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ด้านต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าวถึงปัญหาชาวโรฮิงญาในพื้นที่ จ.พังงา และจ.สงขลา ว่า จากการที่คณะกรรมาธิการฯ  ได้ลงพื้นที่  พบว่า ปัญหานี้สั่งสมมานานแล้ว ห้องกักกันที่ทางตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่เตรียมไว้สำหรับผู้กักกัน 40 คน แต่ต้องกักกันชาวโรฮิงญา กว่าร้อยคน จนมีการทำลายห้องกักกัน  อีกทั้งไม่สามารถจะกระจายชาวโรฮิงญาไปกักกันยังโรงพักต่าง ๆ ได้  ส่วนทางมาเลเซีย และออสเตรียเลีย ก็ประกาศชัดว่าไม่รับชาวโรฮิงญาเข้าประเทศ  ขณะที่มีชาวโรฮิงญาหลายคนอยากเดินทางกลับท้องถิ่น  แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถปล่อยตัวได้ เพราะไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาล ต้องกักกันไว้อย่างไม่มีอนาคต  อย่างไรก็ตาม  หน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ได้มีข้อเสนอฝากไปถึงรัฐบาล โดยเฉพาะ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่ารัฐบาลอย่าคิดสั้นเปิดศูนย์ผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการตามที่ UNSCR  ผลักดัน เพราะนั่นเท่ากับการเปิดประตูให้โรฮิงญาล้านเศษใน จ.ยะไข่  และอีกหลายล้านคนในบังกลาเทศหลั่งไหลเข้าไทย ซึ่งจะเป็นปัญหาไม่รู้จบ   ทั้งนี้ ตนขอฝากให้นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอนี้ไปพิจารณาและเร่งดำเนินการโดยเร็ว   ก่อนถึงช่วงสิ้นมรสุมซึ่งเป็นช่วงที่โรฮิงญาจะทะลักเข้าไทย
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, เรณู  เขมาปัญญา / ข่าว / เรียบเรียง
 
วุฒิสภา เห็นชอบ พรก.ภาษีสุรา แล้ว
 
23 ก.ย. 56 - วุฒิสภามีมติเห็นชอบพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสุรา พ.ศ.2493 (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2556 ด้วยเสียง 99 ต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง
 
ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบพระราชกำหนด(พรก.)แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 (ฉบับที่7)พ.ศ. 2556 ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 ด้วยเสียง 99 ต่อ 8 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง โดยพระราชกำหนดดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้วิธีการจัดเก็บภาษีสุราสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอาการจึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ มีสาระสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสุราทั้งระบบ ทั้งการเปลี่ยนฐานการคำนวณภาษีมาอยู่ที่ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย และเสียภาษีทั้งในอัตราตามมูลค่าและตามปริมาณ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงเพดานอัตราภาษีสุราแช่และอัตราภาษีสุรากลั่นด้วย
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
รองปธ.รัฐสภา หวัง วรรณกรรมการเมืองยังประโยชน์ต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทย
 
24 ก.ย. 56 - รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย ครั้งที่ 12 ระบุ ยินดีและชื่นชมทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด หวัง วรรณกรรมการเมืองจะเป็นประโยชน์ต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยในอนาคต
 
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา มอบรางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทย ครั้งที่ 12 ให้กับผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ประเภทเรื่องสั้น คือ ผลงานเรื่อง "การยืนยันอีกครั้งหนึ่งของสาวแม่ฮ้างแห่งหมู่บ้านตาเอกทะไม" โดย ลูเธอร์-เทอรัว รางวัลดีเด่น คือ ผลงานเรื่อง "ถนนสู่ทุ่งหญ้า" โดย รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์ ส่วนผลงานประเภทบทกวี ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม คือ ผลงานเรื่อง "เบี้ย" โดย อรุณรุ่ง สัตย์สวี และรางวัลดีเด่นเรื่อง "ความตายของนกฟีนิกซ์" โดย รางชางฯ รวมถึงผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้ายของทั้ง 2 ประเภท ประเภทละ 10 ผลงาน
 
นายนิคม กล่าวหลังมอบรางวัลว่า รางวัลพานแว่นฟ้าถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ตนจึงรู้สึกยินดีและชื่นชมผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดและผู้ที่ได้รับรางวัล เพราะถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการรังสรรค์ บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง อีกทั้งยังช่วยเป็นส่วนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของบ้านเมืองให้กับคนรุ่นหลังได้รับทราบ ทั้งนี้เชื่อว่าวรรณกรรมที่ทุกคนได้ร่วมกันรังสรรค์ไว้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทย
 
สำหรับรางวัลประเภทเรื่องสั้นและบทกวี รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทยยอดเยี่ยมจะได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเข็มและเกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 100,000 บาท รางวัลพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทยดีเด่น ประเภทละ 1 รางวัล ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเข็มและเกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 60,000 บาท รางวัลผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การตัดสินรอบสุดท้าย ประเภทละไม่เกิน 10 รางวัล จะได้รับเกียรติบัตรพร้อมเข็มของประธานรัฐสภาและเงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
อดีต รมต.ไอซีที แถลงปิดสำนวนข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ยืนยัน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตยึดมั่นผลประโยชน์ของชาติ
 
24 ก.ย. 56 - นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รมต.ไอซีที แถลงปิดสำนวนข้อกล่าวหา ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดกรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน ยืนยัน ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตรอบคอบ ยึดมั่นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ด้านที่ประชุมวุฒิสภานัดประชุมเพื่อลงมติถอดถอนหรือไม่วันที่ 1 ต.ค.นี้
 
วันนี้ (24 ก.ย 56) เวลาประมาณ 10.00 น. การประชุมวุฒิสภาที่มีนายนิคม ไวยรัชพาณิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณารับฟังคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจาของนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) (ตามข้อบังคับฯ ข้อ 122) ที่ถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดจากการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน   โครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ  (ไอพีสตาร์)  เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บ. ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือใน บ.ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โดยมิชอบ
 
ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา ว่า ตลอดการทำงานที่ผ่านมาได้ทำงานโดยยึดมั่นถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตด้วยความรอบคอบ เพื่อพัฒนากระทรวงไอซีทีให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างเสรีด้วยความเที่ยงธรรม โดยยืนยันว่า ข้อกล่าวหาตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลดังกล่าวไม่มีมูล ขัดหลักนิติธรรม ตามที่ได้แถลงเปิดสำนวนไปเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ภายหลังที่ประชุมวุฒิสภารับฟังคำแถลงปิดสำนวนดังกล่าวได้นัดประชุมเพื่อลงมติถอดถอนนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รมต.ไอซีที ออกจากตำแหน่งหรือไม่ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เวลา 10.00 น. ซึ่งการออกเสียงลงคะแนนของวุฒิสภาจะกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ โดยมติที่ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งต้องไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, อรุณี ตันศักดิ์ดา / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง
 
รองประธานวุฒิสภา รับการยื่นรายชื่อ 52 ส.ว.ขอถอดถอนประธานวุฒิสภา
 
24 ก.ย. 56 - นพ.อนันต์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 รับการยื่นรายชื่อ 52 ส.ว. ที่ขอถอดถอนประธานวุฒิสภา จากกรณีทำหน้าที่ไม่เป็นกลาง โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะ รองประธานฯ เปิดใจ วางตนลำบากระหว่าง ส.ว.สรรหา กับเลือกตั้ง วอนให้มีการพูดคุย
 
นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 รับการยื่นเรื่องจากกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดย รศ.พรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ ที่รวบรวมรายชื่อ ส.ว.จำนวน 52 คน ขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 274 โดยระบุ ถึงการทำหน้าที่ที่ต้องเป็นกลางอย่างเคร่งครัด โปร่งใส ยุติธรรม ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย แม้ใจจะอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อธำรงศักดิ์ศรีวุฒิสภา โดยเฉพาะจากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากทำไม่ได้ นายนิคม ควรลงจากบัลลังก์แล้วทำเพียงหน้าที่ ส.ว. รวมถึง พฤติกรรมการให้ข้อมูลข่าวสารที่ควรให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ นายสมชาย แสวงการ และนายประสงค์ นุรักษ์ กล่าวยืนยันว่า ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้ง สามารถทำงานร่วมกันได้ ขณะที่ ส.ว.สรรหาล้วนเข้ามาทำหน้าที่ตามกติกา และพร้อมที่จะไปตามกติกา โดยยังคงทำงานเพื่อประชาชนได้ อย่างไรก็ตาม การที่ ส.ว. ยื่นถอดถอนประธานวุฒิสภา นับเป็นครั้งแรก เนื่องจากเคยยื่นเรื่องต่อกรรมการจริยธรรมแล้ว แต่นายนิคม ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม
 
ด้านรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 กล่าวว่า จะดำเนินการตามขั้นตอนในการตรวจสอบรายชื่อและยื่นต่อ ปปช. ภายใจ 15 วัน พร้อมเปิดใจ ไม่ต้องการให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นถือเป็นครั้งแรกที่รู้สึกองค์กรวุฒิสภาน่าจะมีปัญหา ขอวอนให้มีการพูดคุยระหว่างกัน ขณะที่ ส.ว.ส่วนใหญ่ที่มาจากสรรหา และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ต่างทำงานร่วมกันมากว่า 5 ปี แล้ว และขณะนี้ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ส.ว.เลือกตั้งจะมีสิทธิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกหรือไม่ หรือ ส.ว.สรรหาจะต้องไปยกชุดหรือไม่ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.ที่ดำเนินการไปแล้วจะผ่านหรือต้องเป็นโมฆะ จึงขอให้ทำงานร่วมกันเพื่อจรรโลงองค์กรวุฒิสภาต่อไป
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
ส.ว.เพชรบุรี สนับสนุนให้มีกฎหมายกำหนดช้างไทยเป็นสัตว์สงวน
 
24 ก.ย. 56 - ส.ว.เพชรบุรี สนับสนุนแนวทางแก้กฎหมาย ปลดล็อคให้ช้างจากสัตว์พาหนะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เสนอ เพื่อคุ้มครองช้าง พร้อมแนะรัฐบาลช่วยคนเลี้ยงช้างในปัจจุบันไม่ให้รับผลกระทบจากการครอบครองช้างย้อนหลัง
 
นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี กล่าวสนับสนุนแนวทางของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่จะเสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นการปลดล๊อคช้าง จากสัตว์พาหนะ ให้กลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พร้อมระบุเหตุผลว่า การให้ช้างเป็นสัตว์พาหนะทำให้เกิดการซื้อขาย ช้างมีราคา เกิดปัญหาช้างเร่ร่อน ขอทาน ตายเพราะถูกไฟช๊อตในเมือง เกิดเป็นภาพไม่น่าดู นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการลักลอบนำลูกช้างจากป่ามาสวมตั๋วรูปพรรณ แล้วต้องตายก่อนวัย เพราะยังมีอายุน้อยไม่แข็งแรงพอ
 
นางสาวสุมล กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณีผู้เลี้ยงช้างที่ออกมาคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวนั้น ตนขอเสนอแนะให้รัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยพิจารณาให้การดำเนินการไม่มีผลย้อนหลังกับผู้ที่ครอบครองช้างอยู่แล้ว แต่นับจากนี้ ประชาชนจะเป็นเจ้าของช้างไม่ได้ เพราะถือเป็นสัตว์ป่า ภายใต้การคุ้มครองของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชแล้ว
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
ฝ่ายค้าน มุ่งอภิปรายแถลงผลงานรัฐบาล 3 ประเด็น
 
24 ก.ย. 56 - ฝ่ายค้าน คาดอภิปรายแถลงผลงานรัฐบาลแล้วเสร็จภายใน 2 วัน พร้อมเผย การอภิปรายจะมุ่งชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ล้มเหลว ทุจริต และผิดกฎหมายของรัฐบาล
 
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน)  กล่าวถึง การอภิปรายแถลงผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาล ว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้านคาดว่าการแถลงผลงานรัฐบาลน่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 วัน คือวันที่ 24 - 25 กันยายน ส่วนกรอบเวลาการอภิปรายระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลยังไม่มีการตกลงที่ชัดเจน เบื้องต้นฝ่ายรัฐบาลได้เวลาอภิปราย 7 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน 10 ชั่วโมงโดยเห็นว่าการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้จะเริ่มในเวลา 14.00 น. ก็ควรจะจบที่เวลา 22.00 น. แล้วประชุมต่อในวันพรุ่งนี้ (25 ก.ย. 56) ส่วนกรอบเนื้อหาการอภิปรายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เรื่องความล้มเหลว การทุจริต และการกระทำผิดกฎหมาย โดยการอภิปรายจะมุ่งเน้นการทำงานปีแรกของรัฐบาลเป็นหลัก แต่อาจจะมีการอภิปรายคาบเกี่ยวการทำงานของรัฐบาลปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ด้วย เพื่อให้รัฐบาลนำไปปรับปรุงการบริหารราชการ เนื่องจากรัฐบาลแถลงผลงานล่าช้ามากทั้งที่ควรแถลงผลงานครบ 1 ปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555
 
ประธานวิปฝ่ายค้าน ยังกล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่า ฝ่ายค้านได้มีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะสามารถดำเนินการได้ภายในสมัยประชุมนี้
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, อรุณี ตันศักดิ์ดา / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง
 
นายกรัฐมนตรี ย้ำ รัฐบาลให้ความสำคัญกับแก้ปัญหายางพาราอย่างต่อเนื่อง ยืนยันไม่เลือกปฏิบัติ
 
24 ก.ย. 56 -    นายกรัฐมนตรี ระบุ รัฐบาลติดตามสถานการณ์และให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาราคายางพาราอย่างต่อเนื่อง ยื่นยันไม่เลือกปฏิบัติและต้องการเห็นบรรยากาศความปรองดองและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
 
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีที่ 1 ถึงกรณีการแก้ปัญหาราคายางพาราว่า รัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์และให้ความสำคัญต่อการเจรจาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายบริหารลงพื้นที่เจรจาและล่าสุดก็ได้มีการเจรจาร่วมกันระหว่างตัวแทนเกษตรกรและฝ่ายบริหาร อย่างไรก็ตามต้องการให้ทุกกลุ่มร่วมพุดคุยพร้อมกันเพราะจะทำให้การแก้ไขปัญหาดำเนินการไปอย่างมีระบบ ทั้งนี้ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เลือกปฏิบัติและเห็นด้วยในเรื่องของการสร้างความปรองดอง รวมทั้งการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
ฝ่ายค้านเผยคลิป ส.ส. กดบัตรแทนกันในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
24 ก.ย 56 - ฝ่ายค้านจะยื่นหลักฐานคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมในวันที่ 25 ก.ย 56  หลังพบมีการกดบัตรแทนกันในการลงมติมาตรา 9 และ 10 ระบุเป็นสิ่งยืนยันเพิ่มเติมว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบ
 
นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์  ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงข่าวกรณีฝ่ายค้านยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจะเข้าข่ายการดำเนินการในลักษณะเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายก็ขอให้ศาลสั่งยกเลิกการแก้ไขและขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการลงมติวาระ 3 ไว้ก่อน  โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านมีประเด็นที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก 1 ประเด็นที่สามารถชี้ได้ว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การกดบัตรแทนกันในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 9 และ 10 ซึ่งการกดบัตรแทนกันใน 2 มาตราดังกล่าว มีคลิปที่ชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ซึ่งวิปฝ่ายค้านได้มอบหมายให้นายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ไปให้รายละเอียดกับศาลรัฐธรรมนูญในเช้าวันที่ 25 ก.ย 2556
 
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวด้วยว่า การกดบัตรแทนกันทำให้เจตนารมณ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกละเมิด เพราะสมาชิกรัฐสภาหนึ่งคนสามารถออกเสียงได้เพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น  และก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการลงมติในร่างพระราชบัญญัติอย่างน้อย 4 ฉบับที่ดำเนินการในขณะองค์ประชุมไม่ครบ จนส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติที่มีปัญหาดังกล่าวต้องตกไป  จึงสามารถนำกรณีที่เคยเกิดขึ้นมาเทียบเคียงกับการกดบัตรแทนกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตราได้
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, มันทนา  ศรีเพ็ญประภา  ข่าว/เรียบเรียง
 
โฆษกเพื่อไทย เชื่อ คลิปเสียบบัตรแทนกันเกิดจากการตัดต่อ
 
25 ก.ย. 56 - โฆษกพรรคเพื่อไทย เชื่อ คลิป ส.ส.เสียบบัตรแทนกันเกิดจากการตัดต่อ ชี้ ควรส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ ตรวจสอบก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ หากทำจริงถือเป็นความผิดส่วนบุคคลและพรรคมีมาตรการในการลงโทษ
 
นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นหลักฐาน คลิปที่อ้างว่าเป็น ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย เสียบบัตรลงมติร่างแก้ไข รธน.แทนกัน เพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) เพื่อขอให้วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่และให้ชะลอการลงมติออกไปว่า ถือเป็นการกระทำที่หวังผลประโยชน์ทางการเมือง ขวางระบบประชาธิปไตยและเป็นความพยายามขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะยังไม่มีการพิสูจน์ความถูกต้องของคลิป ยังไม่มีการสอบถามพยานบุคคล ว่าคลิปดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ รวมถึงบุคคลในภาพก็ยังไม่ได้มีโอกาสชี้แจงใดๆ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า น่าจะมีการตัดต่อเพราะจากที่ได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเสียงกับภาพที่ปรากฎไม่ตรงกัน จึงเห็นว่าควรมีคนกลาง อาทิ คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พิสูจน์ความถูกต้องก่อนยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป
 
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวยืนยันว่า จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อไป เพราะหากพิสูจน์แล้วว่าเป็นการกดบัตรแทนกันจริงก็ถือเป็นความผิดเฉพาะตัวบุคคล เพราะคะแนนลงมติเห็นชอบนั้นมากกว่าไม่เห็นชอบเป็นร้อยคะแนน และพรรคก็มีมาตรการในการลงโทษแน่นอน พร้อมกันนี้ขอท้าว่า หากมีหลักฐานที่ชัดเจนกว่านี้ควรนำออกมาให้ทราบ
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
ส.ส.ปชป. จี้รัฐ เร่งแก้ปัญหาหมิ่นสถาบัน
 
25 ก.ย. 56 - ส.ส.กทม. ปชป. เรียกร้องรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบริหารจัดการงบ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม พร้อมจี้ รัฐบาลและดีเอสไอ เร่งแก้ปัญหาหมิ่นสถาบันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา
 
นายแทนคุณ จิตต์อิสระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลว่า ขณะนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และดูเหมือนว่างบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทยังไม่ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งบริหารจัดการงบดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และขอให้ทุกภาคส่วนติดตามการใช้งบประมาณและการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ซึ่งจะหมายถึงความมั่นคงและอยู่รอดของประชาชนด้วย ส่วนคนที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วม ก็อยากให้ตั้งคำถามไปยังรัฐบาลว่าได้ทำอะไรเพื่อป้องกันปัญหาน้ำแล้วหรือไม่
 
ส.ส.แทนคุณ กล่าวถึงประเด็นหมิ่นสถาบันด้วยว่า ปัญหานี้เริ่มแพร่กระจายและเนื้อหาที่นำเสนอทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับประเด็นการเมือง จึงอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (อีเอสไอ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาดังกล่าว และที่สำคัญรัฐบาลเคยบอกว่าจะแสดงความจริงใจด้วยการเร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่ที่ผ่านมายังไม่เห็นการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม ตรงกันข้ามความน่ากลัวของเนื้อหาเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลจึงควรแสดงความจริงใจโดยการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
ผู้นำฝ่ายค้านฯ รับหนังสือขอคัดค้านการขอสัมปทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน จากกลุ่มผู้คัดค้าน
 
25 ก.ย. 56 - ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือขอคัดค้านการขอสัมปทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน จากประธานกลุ่มผู้คัดค้านเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินและคณะ เรียกร้องให้การทำประชาคมในวันที่ 1 ก.ย.56 ที่ผ่านมาเป็นโมฆะและยกเลิกการดำเนินการขอสัมปทานเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน
 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือขอคัดค้านการขอสัมปทานบัตรทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดิน จากนายสมาน รวมสันเทียะ ประธานกลุ่มผู้คัดค้านเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินและคณะ ประกอบด้วย ประชาชน ต.พันดุง ต.หนองสรวง อ.ขามทะเลสอ และประชาชน ต.ค้างพลู อ.โนนไทย เนื่องจากเห็นว่าการทำประชาคมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 ไม่มีความโปรงใส ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในรัศมี 500 เมตร ถูกกักกันสิทธิ์เข้าร่วมการขอคัดค้านการขอสัมปทานบัตร โดยมีความไม่ชอบมาพากลคือ ไม่เชิญเจ้าของพื้นที่ที่มีส่วนได้เสียเข้าร่วมรับฟังการทำประชาคม มีชายชุดดำใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนและรถของกรมตำรวจ จอดขวางทางสาธารณะเพื่อขัดขวางไม่ให้ประชาชนที่จะมารับฟังคำชี้แจงการทำประชาคมเข้าไป ข้อมูลรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ มีการบิดเบือนความจริง โดยมีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 บ้านหนองหัวแหวน ตำบลพันดุง อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา เซ็นให้คำรับรองถูกต้องเอกสารการไต่สวนและทางบริษัทได้นำนักวิชาการมาแนะนำข้อมูลเพียงแต่ในด้านดี โดยไม่ชี้แจงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะตามมาในภายหลัง นอกจากนี้ การทำเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินดังกล่าว ยังทำให้ประชาชนเดือดร้อน เกิดความวิตกกังวลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความแตกแยกในชุมชนของ จึงได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้นำฝ่ายค้านเพื่อให้ช่วยดำเนินการช่วยเหลือประชาชน โดยให้การทำประชาคมในวันที่ 1 ก.ย.56 ที่ผ่านมาเป็นโมฆะ ช่วยตรวจสอบข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกับการทำประชาคม และให้บริษัท ซอลทเวิร์คส จำกัด ยกเลิกการดำเนินการขอทำสัมปทานเหมืองแร่เกลือหินใต้ดินตามหนังสือเลขที่ 3/2555,4/2555
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เริ่มแล้ว วันนี้ต้องติดตามกระทู้ถามสดรัฐบาลเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแม่วงก์
 
26 ก.ย. 56  –  การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เริ่มแล้ว  ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน เตรียมตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ และปัญหาการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์
 
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (26 ก.ย. ) ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. โดยมีนายวิสุทธิ์  ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหารือเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน นอกจากนี้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังจะพิจารณาวาระกระทู้ถามสด ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้าน เตรียมตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมถึงปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ และปัญหาการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ เนื่องจากทั้ง 2 เรื่อง ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการตั้งกระทู้ถามสดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เรื่องปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำด้วย
 
ขณะที่ วาระกระทู้ถามทั่วไป เป็นเรื่องของงบประมาณก่อสร้างระบบสูบน้ำและระบบคลองซอย พื้นที่ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และเรื่องขอทราบความคืบหน้าของโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี รวมถึงเรื่องการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างหอประชุม โรงเรียนวังม่วงพิทยาคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, นภาทิพย์  นูโพนทอง  ผู้สื่อข่าว / เรียบเรียง
 
โฆษกเพื่อไทย ยืนยันเดินหน้าโหวตวาระ 3 แก้ รธน. 28 ก.ย.นี้
 
26 ก.ย. 56 - โฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยัน เดินหน้าโหวตวาระ 3 แก้ไข รธน.ประเด็นที่มา ส.ว. 28 ก.ย.นี้แน่นอน พร้อมระบุ เตรียมยื่นตรวจสอบการกระทำของ ส.ส.วิรัช ที่ออกมาข่มขู่สมาชิกที่จะลงมติวาระ 3
 
นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ว่า วิปรัฐบาลจะเดินหน้าโหวตวาระ 3 ในวันที่ 28 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน เพราะเห็นว่าเป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำแนะนำว่ารัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขเป็นรายมาตราได้ และไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิไตยตามมาตรา 68 ส่วนกรณีที่นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุทำนองข่มขู่นายกรัฐมนตรีและสมาชิกที่จะลงมติในวาระ3 ว่าจะถอดถอนหากนำร่างนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ เห็นว่า ปชป.ไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีเกียรติยศของฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งตนจะยื่นตรวจสอบการกระทำของนายวิรัช ว่าเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาหรือไม่
 
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อถึงกรณที่นายสาธิต ปิตุเตชะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาท้าทายให้ตนออกจากตำแหน่งหากตรวจสอบว่าคลิป ส.ส.กดบัตรแทนกันเป็นของจริงว่า ตนขอท้ากลับว่าถ้านายสาธิต ไม่ยื่นให้ตรวจสอบตามขั้นตอนของรัฐสภา แสดงว่าไม่บริสุทธิ์ใจ เพราะมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกเสียจากว่า ประชาธิปัตย์ต้องการทำให้เป็นเกมการเมือง
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง
 
กมธ.การศึกษา สผ. ยืนยันลูกจ้างชั่วคราววุฒิปริญญาตรี งบดำเนินงาน สพฐ.จะได้รับการปรับเงินเดือน 15,000 บาท พร้อมมีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ต.ค. 55
 
26 ก.ย. 56 - กมธ.การศึกษา สผ.ยืนยันลูกจ้างชั่วคราววุฒิปริญญาตรี งบดำเนินงานของ สพฐ.จะได้รับการปรับเงินเพิ่มค่าครองชีพให้ได้เงินเดือน 15,000 บาท ตามนโยบายรัฐบาล พร้อมมีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ต.ค. 55
 
นายพงศกร อรรณนพพร รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาคนที่ 1 สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าให้กับสมาพันธ์เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนแห่งประเทศไทย ที่ร้องเรียนปัญหาเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราววุฒิปริญญาตรี โครงการคืนครูให้นักเรียน ยังไม่ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพลูกจ้างชั่วคราววุฒิปริญญาตรีเป็นเดือนละ 15,000 บาท ตามแนวนโยบายรัฐบาล โดยนายพงศกร ระบุว่า กรรมาธิการได้ติดตามปัญหาดังกล่าวให้กับสมาพันธ์มาตั้งแต่เดือน มี.ค. 56 และเมื่อวันที่ 17 ก.ย. สมาพันธ์รวมตัวชุมนุมเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาลทำให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแจ้งว่าจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนตุลาคม นี้ อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการได้เร่งติดตามการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยประสานรัฐมนตรีฯ พร้อมได้รับความชัดเจนจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และกรมบัญชีกลางว่าได้เตรียมกันเงินส่วนนี้ไว้แล้ว รอเพียงเข้าสู่คณะกรรมการกลั่นกรองอีกครั้งแล้วนำเข้าที่ประชุม ครม.อนุมัติ จึงขอยืนยันว่ากลุ่มลูกจ้างชั่วคราวที่ยื่นเรื่องร้องเรียนเข้ามากว่า 2 พันคน จะได้ปรับเงินเพิ่มค่าครองชีพให้ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท อย่างแน่นอน โดยจะมีผลย้อนตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.55 ถึง 30 ก.ย.56
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
ส.ส.อุบลราชธานี ทวงถามรัฐบาลถึงงบฯ 3.5 แสนล้าน แก้ปัญหาน้ำแบบบูรณาการ หลังหลายจังหวัดทางภาคอีสานต้องจมน้ำ
 
26 ก.ย. 56 - ส.ส.อุบลราชธานี  ทวงถามรัฐบาลถึงงบแก้ปัญหาน้ำแบบบูรณาการ  3.5 แสนล้าน หลังหลายจังหวัดทางภาคอีสานต้องจมน้ำ พร้อมชี้ พื้นนาอีสานท่วมหนึ่งครั้ง เท่ากับไม่มีข้าวกินทั้งปี เรียกร้องรัฐบาลเพิ่มค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษ
 
นายศุภชัย ศรีหล้า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคอีสานว่า  ขณะที่หลายจังหวัดทางภาคอีสานกำลังประสบอุทกภัยอย่างหนัก โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ตนจึงอยากทวงถามรัฐบาลถึงเงินงบประมาณ 3.5 แสนล้าน ที่จะนำมาแก้ปัญหาน้ำแบบบูรณาการ ว่าจะนำมาแก้ไขในพื้นที่ทางภาคอีสานบ้างหรือไม่ เพราะทั้งต้นน้ำชีที่ชัยภูมิ ต้นน้ำมูลที่นครราชสีมา ไหลมากลางน้ำที่อีสานกลาง และมาบรรจบกันที่ปลายน้ำจังหวัดอุบลราชธานี   ที่ทางพื้นที่อีสานไม่ได้รับการแก้ไขเลย  แล้วจะหวังการแก้ไขอย่างไรกับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้
 
ส.ส.อุบลราชธานี ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษให้กับประชาชนชาวอีสานที่ประสบอุทกภัย เนื่องจากชาวนาภาคอีสานทำนาปีละครั้ง แต่ขณะนี้ข้าวกำลังตั้งท้องได้รับความเสียหาย ซึ่งถ้าท่วมหนึ่งครั้งเท่ากับไม่มีข้าวกินทั้ง ตนจึงขอให้รัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือด้วย
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, เรณู เขมาปัญญา / ข่าว / เรียบเรียง
 
เวทีสัมมนาแก้ไขการกระทำละเมิดต่อพระพุทธรูป วุฒิสภา เรียกร้องพุทธศาสนิกชน ร่วมปกป้องการกระทำไม่เหมาะสมกับสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา
 
27 ก.ย. 56 - เวทีสัมมนาการป้องกันและแก้ไขการกระทำละเมิดต่อพระพุทธรูปและสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา ที่กรรมาธิการศาสนาฯ วุฒิสภาจัดขึ้น ระบุข้อมูล พุทศาสนิกชนเริ่มเสื่อมถอยจากปัจจัยทางสังคม วอนใช้ความกล้าร่วมออกมาปกป้องการกระทำไม่เหมาะสมกับพระพุทธรูป พร้อมดำเนินวิถีพุทธให้เข้มข้นมากขึ้น
 
เวทีสัมมนาการป้องกันและแก้ไขการกระทำละเมิดต่อพระพุทธรูปและสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา  และมี 17องค์กรเครือข่ายชาวพุทธ หน่วยงานราชการและเอกชนเข้าร่วมเพื่อแสดงความเห็นในการปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง   โดยพระพรหมเมธี ประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวสัมโมทนียกถาให้ทุกคนออกมาปกป้องรักษาพระพุทธศาสนาที่มีอายุมากว่า 2,600 ปี ด้วยหลักเมตตา อภัย และสันติ และเมื่อมีการนำสัญลักษณ์ทางศาสนาไปใช้ในทางไม่เหมาะสมจึงถือเป็นโอกาสที่ชาวพุทธจะต้องช่วยกันทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อช่วยปกป้องพระพระพุทธศาสนาที่ทุกคนเคารพนับถือ
 
ขณะที่ นายอนันต์ อริยะชัยพาณิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 กล่าวว่า โลกที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดการแสวงหาประโยชน์โดยไม่เคารพต่อศาสนา ซึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์รวมถึงการขาดความเคารพให้เกียรติ เช่น การนำพระพุทธรูปมาประดับตกแต่งในสถานบริการ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการค้า รวมถึงการที่ชาวพุทธเองก็มีวิถีชาวพุทธที่ด้อยจางลงไป และความเสื่อมลงเองทางศาสนา อาทิ การกระทำของพระสงฆ์บางรูปที่ทำให้บางส่วนเสื่อมศรัทธา ดังนั้น ผู้นับถือพุทธศาสนาจะต้องเริ่มมาคิดกันใหม่ว่าทำอย่างไรศาสนาจึงจะกลับมาเข้มข้นขึ้นในจิตใจ และแน่นอนว่าคำสอนให้ปล่อยวางอัตตา แต่ไม่ใช่การปล่อยวางพระศาสดาอย่างแน่นอน
 
ด้าน อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกุล ประธานองค์กรโนอิ้ง บุดด้า เปิดเผยว่า การกระทำที่ลบหลู่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำคลิปวิดีโอมาเปิดแสดงให้เห็นภาพการกระะทำไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะในต่างประเทศ อาทิ นำภาพเศียรพระพุทธรูปใช้เป็นลายสักบริเวณต้นขา ภาพหญิงสาวนั่งเก้าอี้ที่ออกแบบเป็นพระพุทธรูปมาแสดง รวมถึงข้อมูลที่เดินทางไปดูด้วยตนเองที่บุดด้าบาร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีการนำพระพุทธรูปมาใช้ตกแต่ง และโฆษณาถึงความเป็นเมจิกคัลหรือทำให้เกิดความรู้สึกมนต์ขลัง ตนจึงต้องการกลับมาถามที่สังคมชาวพุทธ ถึงการแสดงความกตัญญูในการปกป้อง ตอบแทน ในขณะที่พุทธศาสนิกชนเริ่มอ่อนแอ ทั้งจากศีลธรรมที่บกพร่อง การท่องธรรมเพียงเพื่อปริญญา หรือการที่มองพระพุทธรูปมีไว้เพื่อขอพรแต่ไม่ได้เข้าถึงธรรม ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมที่ผิด จึงขอให้ทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ ในการแก้ไขสิ่งผิดให้กลับมาสู่สิ่งที่ถูกต้อง ขอให้ใช้ความกล้าหาญ ออกมาช่วยกันปกป้องด้วยทุกศักยภาพที่มี
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา  เทียกทอง / ข่าว มันทนา ศรีเพ็ญประภา / เรียบเรียง 
 
รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว แล้ว
 
28 ก.ย 56 - รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาแล้วด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 ไม่เห็นชอบ 2 งดออกเสียง 30 เสียงโดยฝ่ายค้านและกลุ่ม 40 สว. วอร์คเอาท์หลังประธานสั่งเดินหน้าการลงมติต่อ
 
การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติรัฐธรรมนูญวาระ 3 เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 10.30 น. โดยนายสมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของพลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ส.ว สรรหา และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ  ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ สว. เป็นกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองประเทศอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งจะแจ้งเป็นเอกสารถึงสมาชิกรัฐสภาต่อไป
 
ทั้งนี้ก่อนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้หารือต่อที่ประชุมว่าควรชะลอการลงมติในวันนี้ไว้ก่อนเนื่องจากเห็นว่าศาล รธน. ได้มีคำสั่งให้รับคำร้องของพลเอกสมเจตน์  และนาย้วิรัตน์ ไว้แล้ว  รวมถึงรับคำร้องของนายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส พรรคประชาธิปัตย์ที่ขอให้วินิจฉัยกรณีมีสมาชิกรัฐสภากดบัตรแทนกันในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 9 และ 10 ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตามในขณะที่ประธานวิปฝ่ายค้านกำลังหารือกับที่ประชุมสภาในเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่ามีการประท้วงจาก ส.ส เพื่อไทยหลายคน  ในที่สุดประธานรัฐสภาได้วินิจฉัยให้มีการลงมติทันที 
 
ด้าน รศ.ทัศนา บุญทอง สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ได้กล่าวว่าการที่ศาลรับแล้วถือว่าอยู่ในกระบวนการ จึงขอเสนอญัตติให้เลื่อนการพิจารณาวาระ 3 ออกไปก่อน แต่ประธานรัฐสภากล่าวว่าได้ดำเนินการเข้าสู่ระเบียบวาระไปแล้ว จึงไม่สามารถให้ดำเนินการอื่นใดได้ และได้สั่งนับองค์ประชุมและดำเนินการลงมติด้วยการขานชื่อทันที ซึ่ง ส.ส พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 สว ได้พากันเดินออกจากห้องประชุม ทันที
 
สำหรับผลการลงลงมติปรากฏว่าที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 ไม่เห็นชอบ 2 งดออกเสียง 30 เสียง ทั้งนี้ภายหลังการประธานสั่งปิดประชุม นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ ประธานวิปฝ่ายค้านได้ยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพาณิชย์ ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาทันที  เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, มันทนา  ศรีเพ็ญประภา  ข่าว/เรียบเรียง กมลา สาครมณีทรัพย์  เอื้อเฟื้อภาพ
 
กลุ่ม 40 ส.ว. ยื่นเรื่องผ่านประธานรัฐสภาขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแก้ รธน.ขัด ม. 154
 
28 ก.ย 56 - กลุ่ม 40 ส.ว. ยื่น 68 รายชื่อ ผ่านประธานรัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไข รธน.เรื่องที่มา ส.ว. ขัด ม. 154 (1) เพราะเนื้อหา และกระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังที่ประชุมรัฐสภา ลงมติผ่านวาระ 3 พร้อมเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีวันจันทร์นี้เพื่อให้ระงับการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ
 
กลุ่ม 40 ส.ว.นำโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายสมชาย แสวงการ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ยื่นรายชื่อสมาชิก 68 คน ต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา เพื่อให้นำความเห็นของสมาชิกรัฐสภาให้ดำเนินการส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154(1) เนื่องจากเนื้อหาและกระบวนการพิจารณา ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
 
นายไพบูลย์ กล่าวว่า  ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งในส่วนของสาระเนื้อหาใน 4 ประเด็นและกระบวนการดำเนินการอีก 5 ประเด็น รวมเป็น 9 ประเด็น ดังนั้นจึงขอให้ประธานรัฐสภาเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร่งด่วน ทั้งนี้ มาตรา 154 ไม่ได้ให้ดุลยพินิจกับประธานรัฐสภา    การที่สมาชิกส่งเรื่องให้กับประธานก็เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ประธานฯจึงมีหน้าที่ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่ส่งก็อาจจะเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และตนเชื่อว่าสุดท้ายประธานฯก็คงต้องส่งไปยังศาลฯ ประเด็นอยู่ที่นายกฯที่ได้รับทราบแล้วว่ามีการยื่นในมาตราดังกล่าว  นายกฯจึงไม่มีเหตุที่จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านสภาขึ้นทูลเกล้าฯ เพราะเป็นการไม่สมควร และอาจจะเป็นการระคายเคืองเบื้องยุคลบาท โดยตนเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลฯมีผลผูกพันแต่ละกรณี ไม่ใช่ผูกพันทุกกรณี
 
ทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งให้ทราบในวันจันทร์ที่ 30 กันยายนนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ระงับการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวขึ้นทูลเกล้า ตาม มาตรา 154 วรรค 2 พร้อมทั้งจะมีการทำหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อให้รับทราบต่อไป
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, มันทนา ศรีเพ็ญประภา  ข่าว/เรียบเรียง
 
ฝ่ายค้านยื่นหนังสือผ่านประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
28 ก.ย 56 - ประธานวิปฝ่ายค้านยื่นหนังสือผ่านประธานรัฐสภาขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา สว. ทันที่ที่รัฐสภามีมติผ่านวาระ 3  ระบุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วาระ 1-3 ระบุการยื่นครั้งนี้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154
 
นายจุรินทร์  ลักษณะวิศิษฐ์  ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช  ประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภา เพื่อขอให้รัฐสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ สว. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการตราหรือไม่  โดยการยื่นเรื่องในครั้งนี้เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 154  ที่ระบุว่าในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับใดมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติก็สามารถเสนอความเห็นต่อประธานสภาเพื่อให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
 
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า เมื่อฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภาแล้ว ประธานรัฐสภาต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขฉบับนี้ และแจ้งต่อนายกรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด โดยประธานรัฐสภาไม่มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจเองว่าควรจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ตามอยากฝากไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังไม่ผ่านการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการไม่บังควรหากจะยื่นทูลเกล้าฯ และนายกฯ เองในฐานะ สส.บัญชีรายชื่อ ยังสามารถขอเลื่อนญัตติการพิจารณาออกไปได้ แต่กลับไม่ทำ ดังนั้นขณะนี้ประธานรัฐสภาควรจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อไม่ให้เผือกร้อนตกอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรีเอง
 
นอกจากนี้ ฝ่ายค้านจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ที่ไม่ยอมรับญัตติที่มีสมาชิกรัฐสภาเสนอให้เลื่อนการลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน ทั้ง ๆ ที่มีสมาชิกในห้องประชุมยกมือให้การรับรองญัตติดังกล่าวแล้ว ซึ่งพวกตนเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับการประชุม และขัดต่อรัฐธรรมนูญ   อย่างไรก็ตามเท่ากับว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ชอบในกระบวนการตั้งแต่การพิจารณาในวาระ 1 ถึงวาระ 3
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, มันทนา ศรีเพ็ญประภา ข่าว/เรียบเรียง
 
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ยื่นใบสมัครเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็น กกต.
 
29 ก.ย. 56 - พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี  ปลัดกระทรวงคมนาคมเข้ายื่นใบสมัครที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขอเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็น กกต. แทนชุดเดิมที่หมดวาระ ระบุ จะนำประสบการณ์งานรักษาความสงบเรียบร้อยช่วงเลือกตั้งและลงประชามติรัฐธรรมนูญ 50 มาใช้ พร้อมพัฒนาการเลือกตั้งให้มีความรวดเร็วด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าช่วย
 
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี  ปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เข้ายื่นมายื่นใบสมัครและเอกสารเพื่อขอเข้ารับการสรรหาเป็นคณะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. โดยพล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า เหตุผลที่มาสมัครรับการสรรหาเป็น กกต. เนื่องจากมีความรู้ ความเชี่ยวชาญมากกว่าด้านอื่น ๆ และต้องการนำประสบการณ์ในชีวิตราชการที่มีมายาวนานที่ประสบความสำเร็จในหลายตำแหน่ง มาใช้รับใช้ประเทศชาติ ประกอบกับได้ช่วยงาน กกต.มาตั้งแต่ปี 50 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยการลงประชามติรัฐธรรมนูญปี 50 การเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.ปี 51 รวมถึงยังเป็นที่ปรึกษา นายประพันธ์  นัยโกวิท หนึ่งใน กกต. ด้วย หากได้รับการคัดเลือกครั้งนี้จะขอสานต่องานเดิม พร้อมกับพัฒนาด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในงานเลือกตั้งให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่หากไม่ได้รับการคัดเลือก ก็พร้อมอุทิศตนช่วยงานของ กกต. ในฐานะที่ปรึกษาต่อไป ส่วนข้อถามที่ว่าข้าราชการประจำมักถูกมองว่ามีความเชื่อมโยงกับทางการเมืองนั้น พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า หลักสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการประจำ คือ ต้องเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งตนมั่นใจในจุดนี้       
 
ทั้งนี้ พล.ต.อ.วิเชียร นับเป็นผู้สมัครรายที่ 16 ที่ขอเข้ารับการคัดเลือกเป็น กกต. จากสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาชุดที่มีนายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ทำหน้าที่คัดสรรและเสนอรายชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็น กกต.จำนวน 3 คน จากจำนวน กกต.ที่ต้องมีทั้งสิ้น 5 คน  ส่วน กกต.อีก 2 คน จะมาจากการสรรหาของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา สำหรับผู้สนใจเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็น กกต.ยังสามารถยื่นใบสมัครและเอกสารได้ที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา 2 หรืออาคารสุขปะพฤติ ได้จนถึงวันจันทร์ที่ 30 ก.ย. นี้ 
 
ที่มา: วิทยุรัฐสภา, ลักขณา เทียกทอง ข่าว/เรียบเรียง
 
ปชป.ประนามปธ.รัฐสภาสั่งรวบรัดลงมติวาระ 3 เชื่อทำตามใบสั่ง
 
29 ก.ย. 56 - นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาและคุณสมบัติ ส.ว. ในวาระสามว่า เป็นการรับใช้คนที่บงการจากต่างแดนอย่างชัดเจน แม้รัฐบาลจะมีสิทธิในการลงคะแนนเพื่ิอรับหลักการวาระ 3 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาฯคือ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้พยายามตัดบทไม่ให้โอกาสนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ( วิปฝ่ายค้าน) ให้เหตุผลที่ควรจะชะลอการลงมติไปก่อน และยังไม่เปิดโอกาสให้ ส.ว.ที่เสนอญัตติให้เลื่อนการลงมติไปก่อนด้วย
 
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทำให้กระบวนการของสภาไม่มีความสง่างาม เป็นการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เปิดโอกาสให้สามี ภรรยา ครอบครัวนักการเมืองมีโอกาสเป็นสมาชิกวุฒิสภา และส.ว.ปัจจุบันมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที่ สะท้อนวุฒิภาวะของนักการเมืองบางจำพวก ที่แก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองไม่ใช่เพื่อประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การตีความของศาลรรัฐธรรมนูญ ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ส.ว.ชุดปัจจุบันไปเป็นสมัครได้อีก
 
ที่มา: เนชั่นทันข่าว
 
รบ.วอนหยุดกดดันนายกฯ ชี้ต้องทูลเกล้าฯ ร่างแก้ไข รธน.ที่มา ส.ว.ภายใน 20 วัน
 
29 ก.ย. 56 - ร.ท. หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอให้ทุกฝ่ายหยุดกดดันน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ   เนื่องจาก รัฐธรรมนูญได้กำหนดขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว ว่าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ทั้งยังได้กำหนดหน้าที่และกรอบเวลาเอาไว้ชัดเจนว่า หลังจากลงมติครบ 3 วาระแล้ว ใครมีหน้าที่ต้องทำอย่างไร ภายในเวลากี่วัน ในเมื่อขณะนี้ รัฐสภาตัดสินใจลงมติออกมาแบบนี้ นายกฯ ก็ต้องทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ไม่เช่นนั้น ก็จะกลายเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
 
"ขอให้ทุกฝ่ายเชื่อมั่น ว่า นายกฯ จะรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้แสดงจุดยืนมาตลอด ว่าระมัดระวังในการปฏิบัติตามกฎหมายในทุกเรื่อง ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่กำลังเคลื่อนไหวเพื่อกดดันนายกฯ โปรดกลับไปอ่านรัฐธรรมนูญให้ถี่ถ้วน ไม่ใช่ว่าดื้อดึงคัดค้านอย่างไร้เหตุผล อันที่จริง บุคคลเหล่านี้ ก็เป็นสมาชิกรัฐสภา ย่อมต้องรู้อยู่แก่ใจดีว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะมากดดันให้ นายกฯ ใช้ดุลยพินิจ อย่างโน้นอย่างนี้ ตามความต้องการของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่เหตุที่หันมาใช้วิธีกดดัน นายกฯ คงเป็นเพราะต้องการเบี่ยงเบนประเด็น เนื่องจากไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ"
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (7) บัญญัติไว้ว่า เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน
 
ที่มา: มติชนออนไลน์
 
ปชป.ซัด "ขุนค้อน" ปิดปาก "จุรินทร์-ทัศนา" ชะลอโหวตวาระ3
 
29 ก.ย. 56 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อเวลา 10.30 น.   วันที่ 29 กันยายน  นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษก ปชป. แถลงข่าวกรณีหลังที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรรมนูญ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เกี่ยวกับที่มาส.ว. วาระที่ 3 ด้วยคะแนน 358 ต่อ 2 เสียง และงดออกเสียง 30 เสียง ว่า การที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาในฐานะประธานในที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยตัดบทไม่ให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปค้าน)  หารืออธิบายว่าที่ประชุมรัฐสภาควรที่จะชะลอการลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน นอกจากนั้นเมื่อมีการทักท้วงจากนางทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา เสนอญัตติให้เลื่อนการลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน แต่ประธานรัฐสภาไม่เปิดโอกาสและยังรวบรัดตัดตอนการลงคะแนนเพื่อรับหลักการการลงมติวาระ 3 ซึ่งตนเห็นว่ากระบวนการเช่นนี้ทำให้รัฐสภาไม่มีความสง่างามในการปฏิบัติหน้าที่
 
"ประชาชนเห็นชัดเจนว่าการโหวตวาระ 3 เกี่ยวกับที่มา ส.ว.เป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เปิดโอกาสให้ญาติพี่น้องของนักการเมืองสมัครเป็นส.ว. เป็นการเปิดโอกาสให้ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันสามารถกลับมาเลือกตั้งและมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งส.ว.ที่จะหมดวาระลงในต้นปี 57 ได้อีก ถือเป็นการกระทำผิดหลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 นอกจากนี้ยังมีเรื่องพฤติกรรมในการเสียบบัตรแทนกัน ซึ่งถือเป็นการทุจริตและการลงคะแนนครั้งนั้นไม่ชอบด้วยข้อบังคับและรัฐธรรมนูญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การตีความของศาลรัฐธรรมนูญและพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นไปด้วยความชอบหรือไม่"นายชวนนท์กล่าว
 
ที่มา: มติชนออนไลน์
 
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เขื่อนแม่วงก์กับปรากฏการณ์นิยามชนชั้น

Posted: 29 Sep 2013 03:28 AM PDT

กรณีคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ มีบทความอย่างน้อย 3 ชิ้นที่มีน้ำเสียงไปในทางเดียวกัน ทั้งหมดปะทะเข้ากับชนชั้นกลาง โดยมีข้อเสนอใน 3 ประเด็นหลัก

1. "เขื่อนอีกหลายเขื่อนทำไมไม่ออกมาต่อต้าน " ทำไม่จึงเลือกต่อต้านเฉพาะแม่วงก์ มีการเปรียบเทียบกับการไม่เอาเขื่อนของชาวบ้านปากมูลที่ชนชั้นกลางเหล่านี้ไม่เคยสนใจใยดี รวมทั้งไม่คิดจะแตะต้องสิ่งที่อยู่ข้างบนเหนือรัฐบาลซึ่งสนับสนุนการสร้างเขื่อน

"เมื่อเปรียบเทียบว่าเป็นเรื่องการคัดค้านโครงการเขื่อนเหมือนกัน แต่คนกลุ่มหนึ่งพูดเพียงเบา ๆ ก็กลายเป็นเรื่อง "ดัง" ขึ้นมาได้ ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งตะโกนเท่าไหร่กี่พันวันกี่สิบปีกลับไม่มีคนใส่ใจจะฟังมากนัก จะทำได้ก็แค่การเป็นข่าวกรอบเล็ก ๆ ในหน้าสื่อ หรือสื่อออนไลน์ สาเหตุของความเปรียบต่างในเรื่องนี้คงไม่ใช่เพียง "เสียง" ที่ดังไม่เท่ากันเทานั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการให้หรือไม่ให้ความสำคัญแก่ คนที่ลุกขึ้นมาพูด เรื่องที่พูด รวมถึงประเด็นที่นำมาพูด"

2.วิธีคิดแบบอนุรักษ์ ไม่ได้สนใจปากท้อง มุ่งแต่หลักการความดีงาม เก็บรักษาไว้ ละเลยชีวิตที่เป็นจริงของชาวบ้านเป็นเพียง"ความฟินของชนชั้นกลาง"

" หากจะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ประเด็นสิทธิชุมชน/สิทธิมนุษยชนของชนชั้นล่างนั้นเป็นเรื่องที่ "ขายไม่ดี" เท่ากับเรื่องการต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชนชั้นกลาง โดยชนชั้นกลาง และเพื่อชนชั้นกลาง"

...มันแลดู "บริสุทธิ์" ไร้มลทิน ไม่มี "การเมือง" ไม่ต้องมาคอยสงสัยว่าคนที่ออกมาชุมนุมค้านเขื่อนนั้นถูกใครจ้างมา (เพราะชนชั้นกลางต่างมีฐานะทางเศรษฐกิจดีอยู่แล้ว) ไม่ต้องสงสัยว่าทำเพื่อผลประโยชน์ "ส่วนตัว" หรือ ผลประโยชน์ "ของประเทศชาติ" (เพราะชนชั้นกลางอยู่ไกลจากพื้นที่โครงการฯ จึงไม่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน) และไม่ต้องสงสัยเรื่อง "จิตสำนึก" ทางสิ่งแวดล้อม (เพราะชนชั้นกลางต่างมีการศึกษาจึงตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี) 

3. มีความเห็นแย้งว่าไม่ใช่แค่ความฟินของชนชั้นกลางหรือสิทธิ์ที่มีอยู่เหนือกว่าดูดีกว่า แต่มันเป็นเรื่องยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่างหาก

"การเคลื่อนไหวของชาวบ้านในประเด็นสิ่งแวดล้อมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากชนชั้นกลาง อาจไม่ใช่เพราะชนชั้นกลางไม่สนใจ หรือไม่คิดที่จะสนใจ น่าคิดหรือไม่ว่าเป็นเพราะ "ยุทธวิธีและการสื่อสาร ไม่ได้รับการตอบสนอง" ชาวบ้านอยู่กับจอมเสียม หัวเผือกหัวมัน ชาวบ้านไม่ได้อยู่กับ Facebook Line หรือ Twitter ยิ่งสื่อกระแสหลักนำเสนอแต่ข่าวดารา และสิ่งบันเทิงเริงรมย์จนเกินพอดี จนไม่เหลือพื้นที่ปากเสียงให้กับพลเมืองที่เดือดร้อน การเคลื่อนไหวจึงเป็นเหมือนเทียนที่ถูกเป่าให้ดับเสียสนิท"

และมีประโยคที่น่าสนใจซึ่งถูกนำไปอ้างอิงต่อในหลายที่ในโลกออนไลน์ 

"ชนชั้นบน ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า "มีแค่เงิน" แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง "สมอง และแรงงาน"

ชนชั้นกลาง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า "มีแค่ความคิด" แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง "ความมุ่งมั่น และการลงมือทำ"

ชนชั้นล่าง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า "มีแค่แรง" แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง "ยุทธวิธี และการวางแผน"
 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งว่าคนแต่ละชนชั้นได้เรียนรู้ข้อจำกัดของตนเอง และแสดงให้เห็นถึงความหวังของขบวนการประชาสังคมกำลังถือกำเนิดขึ้นอย่างเข้มแข็งในสังคมไทย แต่สิ่งที่เป็นข้อเสนอในบทความนี้ก็ยังคงตอกย้ำความคิดแบบชนชั้น ที่ปะทะเข้ากับชนชั้นกลางไม่ต่างไปจาก 2 ประเด็นแรก 

เพราะดูเหมือนว่าถ้าไม่ใช่ยุทธวิธีที่เข้าถึง และประเด็นการสื่อสารที่ตรงใจแล้ว ชนชั้นกลางก็ไม่ออกมาร่วมอยู่ดี ยิ่งประโยคที่ว่า 

ชนชั้นกลาง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า "มีแค่ความคิด" แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง "ความมุ่งมั่น และการลงมือทำ"

ชนชั้นล่าง ได้เรียนรู้จาก ศศินฯ ว่า "มีแค่แรง" แต่ก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เพราะต้องใช้ทั้ง "ยุทธวิธี และการวางแผน"

ยิ่งตอกย้ำว่า ชนชั้นล่างนั้นมีแต่แรง ไม่มีความคิด ขณะที่ชนชั้นกลางได้ออกมา "แสดงความมุ่งมั่นและลงมือทำแล้ว"

 ดังนั้นทั้ง 3 ประเด็นของข้อถกเถียงทำให้ได้ข้อสรุปชัดขึ้นว่า บ้านเรามีเสียงที่ดังไม่เท่ากันระหว่างชาวบ้าน กับคนในเมือง ซึ่งถูกเรียกว่า "ชนชั้นกลาง" ชนชั้นกลางพวกนี้ไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่าผลประโยชน์ของตัวเอง การจะออกมาเรียกร้องอะไรจะต้องคิดคำนวณ ดูมีภาพลักษณ์ที่ดี บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากการเมือง มียุทธวิธีและการสื่อสารที่ตรงใจจึงจะออกมา

ผมพยายามจะมองให้ไกลไปกว่านั้นในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมองว่า

1.มันไม่ได้เป็นเรื่องของชนชั้นสูง กลาง ต่ำ อะไร แต่มันเป็นเรื่องของ ภูมิศาสตร์การเมือง เป็นเรื่องของสถานที่ และการใช้ประโยชน์จากสถานที่ ชนชั้นกลางไม่ได้แตกต่างจากชาวบ้าน ที่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมการเคลื่อนไหว ชาวบ้านเองก็ไม่ได้มาร่วมหรือสนอกสนใจ ประท้วง ไม่เอาเขื่อนแม่วงก์ ทวงคืน ปตท. หรือยึดคืนเขาพระวิหาร เช่นกัน มันต่างกันตรงที่ว่าคนเหล่านี้รู้สึกว่าตัวเองมีพื้นที่ ตัวตน อยู่กับสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด

เรื่องที่ชนชั้นกลางจะออกมาเคลื่อนไหว มักจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ได้กระทบโดยตรง แต่กระทบโดยอ้อม เป็นเรื่องที่ถูกทำให้เชื่อว่า เป็นของคนทั้งประเทศที่จะต้องปกป้องดูแล เช่น เรื่องประสาทเขาพระวิหาร การสูญเสียดินแดน การทวงคืน ปตท. การขับไล่รัฐบาลที่มีปัญหาคอรัปชั่น นโยบายจำนำข้าว การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องเหล่านี้มีผลกระทบโดยอ้อมไม่ได้ตรงไปตรงมา รุนแรง เฉพาะเจาะจงสำหรับใครหรือกลุ่มใด ต่างจากเรื่องของชาวบ้านที่ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องในเรื่องที่กระทบโดยตรง ซึ่งผู้ที่ถูกเรียกว่าชนชั้นกลาง มักไม่ใส่ใจเพราะถือว่าเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยในสังคม และเรื่องที่ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเหล่านั้น ก็มักเป็นเรื่องที่ถูกอ้างว่าเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเสมอ

2. เกิดปรากฏการณ์ที่รัฐไทย มักใช้ประโยชน์โดยอาศัย ผลประโยชน์ของคนเมือง ในฐานะผู้ผลิตสร้าง GDP โดยอ้างว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ ทั้งที่ในทางปฏิบัติผลจาก GDP นั้นเอื้อประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยให้กับคนส่วนน้อยซึ่งพิจารณาได้จากค่าการกระจายรายได้ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างคนรวยกับคนยากจน แต่ GDP ถูกทำให้เข้าใจว่า เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ ข้ออ้างนี้ใช้ไปช่วงชิง ยึดครอง ทรัพยากรในชนบทเสมอมา แต่ในปัจจุบันกรณีเขื่อนแม่วงก์กลับทิศกลับทาง คือ รัฐบาลอ้างผลประโยชน์ของชนบท ชาวบ้าน โดยขอให้ยอมแลกกับป่าที่สร้างใหม่ได้ แต่วิธีพูด วิธีจัดการของรัฐบาลก็ยังคงเหมือนเดิมคือ แยกพื้นที่ชนบท/เมือง ชนชั้นกลาง/ ชาวบ้าน เป็นรูปการบริหารจัดการที่สร้างความขัดแย้งแตกต่างอยู่ตลอดเวลาในระบบการปกครองไทย

3. การพัฒนายังคงเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลเสมอ ในการขยายอำนาจ การควบคุมต่อประชาชน ขณะที่รัฐเริ่มสูญเสียพื้นที่ ให้กับ สิทธิชุมชนท้องถิ่น รัฐก็สร้างเครื่องมือชุดใหม่ขึ้นมา เป็นเรื่องใหญ่ เป็น Mega Project คือทำเรื่องเฉพาะพื้นที่ หลาย ๆ พื้นที่ให้กลายเป็นเรื่องที่ต้องจัดการในระดับนโยบายส่วนกลางที่ต้องมีอำนาจเบ็ดเสร็จ เร่งด่วน และใช้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อวางแผนทั้งระบบ (อย่างบูรณาการ) ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นข้ออ้างเข้าไปบริหารจัดการทรัพยากร ละเมิดสิทธิประชาชน โดยอ้างภัยพิบัติ เขื่อนแม่วงก์จึงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลให้ได้รับรู้กันในวงกว้าง หรือ รับฟังเสียงอย่างรอบด้าน ทั้งยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการสร้างเขื่อนในเขตอุทยานแห่งชาติซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองเฉพาะ 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เจรจา นายจ้าง-คนงาน บ.จอร์จี้ แอนด์ ลู ยังไม่ได้ข้อตกลง

Posted: 29 Sep 2013 01:08 AM PDT

 
29 ก.ย. 56 - สืบเนื่องจากกรณีพนักงานในบริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ตั้งที่ ม.3 ต.แช่ช้าง อ. สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ได้ทำการยื่นร้องทุกข์ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากไม่พอใจที่นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของคนงาน และได้มีการเจรจาระหว่างผู้บริหารและตัวแทนพนักงานเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
 
โดยความต้องการหลักของคนงาน คือต้องการให้บริษัทกลับไปจ้างพนักงานเป็นรายเดือน และประกันรายได้ขั้นต่ำของพนักงานตามกฎหมายที่วันละ 300 บาท หลังจากที่บริษัทได้ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตในโรงงานให้พนักงานทำงานรายชิ้น อีกทั้งให้บริษัทฯ กลับไปใช้ระบบการผลิตที่มี QC แทนที่ให้พนักงานฝ่ายผลิตจรวจเช็คผลงานกันเอง ซึ่งส่งผลต่อความสามัคคีของพนักงาน รวมทั้งกฎระเบียบสภาพการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงซึ่งสร้างความยากลำบากในการทำงานให้กับคนงาน 
 
ทั้งนี้ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ได้นัดหมายให้มีการเจรจาอีกครั้งในวันพุธที่ 2 ต.ค. 56 นี้
 
อนึ่งบริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด ตั้งอยู่ที่  121 หมู่ 3 ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบริษัทผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์ Pure Handknit และ Neon Buddha ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท 5 แสนบาท และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนครั้งล่าสุด ในปี พ.ศ. 2554 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 24 ล้านบาท (ส่วนข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท จอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2549 ด้วยทุนจดทะเบียน 24 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนตามสัญชาติเป็นสัญชาติฮ่องกง 100% หมวดการผลิตเครื่องแต่งกาย วัตถุประสงค์ ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในปี 2554 มีหนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 401,472,876.82 บาท กำไรสุทธิจากการดำเนินกิจการ 2,399,422.37 บาท)
 
 
แบรนด์ Pure Handknit และ Neon Buddha
 
 
 
 
 
 
 
 
ข้อมูลเบื้องต้นริษัทจอร์จี้ แอนด์ ลู จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
 
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทูลเกล้าฯ รธน.ทันที

Posted: 28 Sep 2013 09:33 PM PDT

2 ปีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สังคมไทยกลับเข้าสู่ความมีเหตุผลมากขึ้น สังคมไทยเริ่มยอมรับหลักการประชาธิปไตย ที่ตัดสินความขัดแย้งด้วยการเลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจศาลล้มรัฐบาล เพราะตระหนักว่าจะนำมาซึ่งความปั่นป่วนวุ่นวาย ความรุนแรง สูญเสียเลือดเนื้อ

ปีกหนึ่งของฝ่ายประชาธิปไตย ปีกหนึ่งของภาคประชาสังคม เริ่ม "Reposition" พูดคุยกันมากขึ้น หาทางก้าวข้ามความขัดแย้ง ในหลักการประชาธิปไตยที่ไม่ได้บอกว่าคุณต้องยอมให้รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จทุกอย่าง เรื่องใดที่รัฐบาลทำไม่ถูก ก็ต้องร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ คัดค้าน ด้วยเหตุผล เช่น ระบบบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ซึ่งไม่เปิดให้สังคมมีส่วนร่วม ซ้ำผู้รับผิดชอบอย่าง ปลอดประสพ สุรัสวดี ยังมีท่าทีแข็งกร้าวไม่รับฟังใคร ก็นำมาซึ่งการเคลื่อนไหวคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งแม้ยังเปื้อนสีอยู่มากแต่ผู้คนส่วนหนึ่งก็ก้าวข้ามสีได้

กระนั้น ก็ยังมีเสียงข้างน้อยที่ดื้อด้านดันทุรัง ขัดขวางการกลับสู่วิถีประชาธิปไตยอย่างบ้าคลั่ง กระทั่งพร้อมจะทำลายสังคมเพื่อชัยชนะ คนพวกนี้เคยบอกว่าตัวเองเป็นคนดี แต่วันนี้ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่มานานแล้ว เพราะยอมใช้วิธีการที่เลวร้ายทุกอย่าง แม้กระทั่งดึงเอาสถาบันสูงสุดลงมาอยู่ในความขัดแย้งอีกครั้ง แม้กระทั่งมองไปข้างหน้าอาจจะเห็นสงครามกลางเมือง ก็ยังต้องการเอาชนะ

ความพยายามขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุด กำลังจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ผู้รักประชาธิปไตยไม่สามารถอยู่ร่วมโลกคนพวกนี้ได้ ไม่ว่านักการเมืองแมลงสาบ นักวิชาการอุบาทว์ อำมาตย์ดื้อรั้น หรือสื่อคลั่ง

 

นายกฯ มีหน้าที่ทูลเกล้าฯ

ขอชื่นชมความกล้าหาญของรัฐสภา ที่ทำหน้าที่สมกับได้รับเลือกมาจากประชาชน ลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 เพื่อให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งตามหลักการประชาธิปไตย

รัฐธรรมนูญมาตรา 291 (7) ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

"มาตรา 150 ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภาเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้"

"มาตรา 151 ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวันให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"

จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็น "หน้าที่" ของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ได้ให้อำนาจวินิจฉัย หากนายกรัฐมนตรีไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ก็จะกลายเป็นความผิด ฐานไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แล้วก็จะมีพวกฉวยโอกาสไปยื่นถอดถอนอีก

คำถามคือ นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบหรือไม่ หากเกิดปัญหาตามมา ถ้าคิดอย่างตรงไปตรงมา ด้วยสติปัญญาคนธรรมดาสามัญก็เหลือเฟือ เพราะจะเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับนายกฯ นี่ครับ รัฐสภาเป็นผู้ลงมติ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้นายกฯ ทำหน้าที่เหมือน "คนเดินสาร" เท่านั้น หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ หากไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐสภา หรือพระมหากษัตริย์กับรัฐสภา

ถ้าอธิบายให้ลึกลงไปในหลักประชาธิปไตย ถามว่าทำไมต้องให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ทำไมไม่ให้ประธานรัฐสภา

เรื่องนี้ต้องย้อนไปดูว่า รัฐธรรมนูญ 2475 ซึ่งคณะราษฎรเอามาจากอังกฤษ ประเทศแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีลงนามฯ แทบทุกเรื่อง แม้แต่พระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษา ทำอย่างนี้มาหลายสิบปี จนระยะหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ลงนามฯ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง

แต่ริ้วรอยของการที่ "ฝ่ายบริหาร" ต้องลงนามฯ ก็ยังปรากฏอยู่ ดังรัฐธรรมนูญมาตรา195 บัญญัติว่า "บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้"

บทบัญญัตินี้มีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2475 "มาตรา 7  การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ"

และในรัฐธรรมนูญ 2475 "มาตรา 57 ภายในบังคับแห่งมาตรา 32 และ 46 บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ท่านว่ารัฐมนตรีนายหนึ่งต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบ"

มาตรา 46 คือประธานสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี มาตรา 32 คือ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เข้าชื่อขอเปิดสภา ให้ประธานสภาลงนามรับสนอง

นี่แสดงว่าอะไร แสดงว่าระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในสถานะของ "ฝ่ายบริหาร" เหมือนที่ทรงเป็นมาแต่อดีต เพียงแต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว พระองค์ไม่อยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบ หน้าที่ทูลเกล้าฯ และลงนามรับสนองจึงเป็นของนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังจากนั้นฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่ประกาศและบังคับใช้ หรือแบบไทยก็คือประกาศลงราชกิจจานุเบกษา

นักกฎหมายประชาธิปไตยยังชี้ด้วยซ้ำไปว่าเจตนารมณ์ของการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจ "วีโต้" นั้นไม่ได้ประสงค์ให้พระมหากษัตริย์ทรงมีความเห็น เพราะสถานะของพระองค์ทรงพ้นจากความขัดแย้งแล้ว แต่เจตนารมณ์คือเปิดช่องให้ฝ่ายบริหาร "ถวายคำแนะนำ" วีโต้กฎหมายที่บัญญัติจากรัฐสภาซึ่งอาจเกิดกรณีที่ฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วย

ทั้งนี้ให้สังเกตด้วยว่า มาตรา 151 ซึ่งให้รัฐสภาต้องลงมติยืนยันด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 นั้น เดิมทีรัฐธรรมนูญ 2475 กำหนดให้ยืนยันด้วยคะแนนเสียงเพียงกึ่งหนึ่งก็พอ แต่รัฐประหาร 2490 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นอำนาจจารีตได้บัญญัติให้ต้องใช้คะแนน 2 ใน 3 และใช้สืบต่อมาจนวันนี้

 

แก๊งตีความอุบาทว์

ไม่ว่าจะมองอย่างไร นายกรัฐมนตรีต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ และหากมีความขัดแย้งใดเกิดขึ้น ก็มิใช่ความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีบทบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงมายับยั้ง แต่ศาลกลับตีความขยายอำนาจตัวเอง

แต่ก็มีความพยายามตีความแบบอุบาทว์ชาติชั่ว ว่าการที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นการ "สร้างความระคายเคือง"

"การที่นายกรัฐมนตรีจะนำกฎหมายใดขึ้นทูลเกล้าฯ กฎหมายนั้นต้องไม่มีปัญหา ให้ระคายเคืองประมุขของประเทศ ผู้ทรงลงพระปรมาภิไธย"

คนพูดไม่ใช่แค่นักกฎหมายปลายแถวแบบคมสัน โพธิ์คง ที่ไทยรัฐออนไลน์ให้เนื้อที่ยาวเหยียด แต่เป็นศาสตราจารย์ซึ่งอ่านแล้วต้องร้องว่า "กล้วยแน่ะ"

ถ้าไม่ทูลเกล้าฯ แล้วจะทำอย่างไร นี่คือบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ใครกันแน่ที่ไม่ยึดถือรัฐธรรมนูญ

แถมยังพาลตีความว่า ส.ส. ส.ว.สามารถเข้าชื่อกันยับยั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 154 (1) ได้ แม้มาตรา 154 (1) กำหนดไว้แค่ร่างพระราชบัญญัติก็ตาม

"แต่โดยหลักการแล้ว เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคงเหมารวมถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สามารถบังคับใช้โดยอนุโลมได้ เพราะถือเป็นการตรากฎหมายเช่นเดียวกัน"

กล้วยๆๆๆ เอากล้วยไปทั้งเครือเลย เป็นศาสตราจารย์มาได้ไง มาตรา 291 (7) เขียนไว้ชัดๆ ว่าให้นำมาตรา 150,151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม คนระดับศาสตราจารย์บอกว่าอะไรก็อนุโลมได้หมด ถ้าอย่างนั้นประเทศนี้ไม่ต้องปกครองด้วยกฎหมายแล้วครับ ศาลก็ใช้อำนาจชี้ถูกชี้ผิดตามอำเภอใจ โดยมีฝ่ายค้านกับ ส.ว.ลากตั้งชงเรื่อง มีศาสตราจารย์ช่วยอธิบาย มีสื่อไว้คอยเชียร์ กลับดำเป็นขาว

ผมสะอิดสะเอียนกับการตีความอุบาทว์เหล่านี้จนไม่อยากโต้แย้ง เพราะประชาชนที่มีเหตุผล ก็มองออก เช่นข้ออ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สว.มาจากการเลือกตั้งอาจผิดมาตรา 68 เพราะอาจผิดมาตรา 291 แล้วจะถึงขั้นยุบพรรค ถอดถอน ส.ส. ส.ว.

มาตรา 291 (1) วรรคสอง บัญญัติว่า "ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ จะเสนอมิได้"

ถ้าจะตีความว่าการแก้ไขไม่ให้มี ส.ว.ลากตั้งอย่างสมชาย แสวงการ, ไพบูลย์ นิติตะวัน, สมเจตน์ บุญถนอม, ประสาร มฤคพิทักษ์ ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ แล้วถอด ส.ส. ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็เอาเลย

ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องพูดเหตุผลกันแล้ว ฆ่ากันดีกว่า อย่าคิดว่าจะชนะและจะได้อยู่อย่างสงบสุข

 

"ชง" ด้วยเจตนาอะไร

เมื่อมองกระบวนการทั้งหมด การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เท่ากับบีบให้รัฐสภาต้องตัดสินใจว่าจะยืนยันอำนาจที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของตน ลงมติเมื่อครบ 15 วันหรือไม่ จากนั้นก็ทำให้นายกฯ จำเป็นต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้ง จนอาจต้องมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเนื่องจากมีความขัดแย้งระหว่างองค์กร จึงยังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย

นี่มองในแง่ที่ศาลอาจไม่ตีความมาตรา 68 ถอดถอน 358 ส.ส. ส.ว.ที่ลงมติแก้รัฐธรรมนูญ เพราะศาลก็ต้องประเมินเหมือนกันว่าถ้าไปถึงขั้นนั้นบ้านเมืองแหลกราญแน่ (เหมือนที่วสันต์อ้างว่าศาลมองดูแล้ว บ้านเมืองไปไม่ได้ เมื่อปี 2551) อาจจะออกมาแบบปีที่แล้วคือห้ามแก้แต่ไม่ถอดถอน ไม่ล้มรัฐบาล ให้อยู่ต่อไปแต่แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้แม้แต่มาตราเดียว

ที่แย่กว่าปีที่แล้วคือ ครั้งนี้มีความพยายามที่จะดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาวินิจฉัยความขัดแย้ง โดยอาศัยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ สร้างความ "ระคายเคือง" ซึ่งต้องถามว่าใครกันแน่ที่สร้างความระคายเคือง

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ พระมหากษัตริย์อาจไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยไม่ได้หมายความว่าพระองค์ไม่เห็นด้วยกับรัฐสภา ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงเห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 องค์กร พระองค์ไม่อยู่ในสถานะที่จะตัดสินความขัดแย้ง จึงอาจไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ก็จะกลับกลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญถูกวีโต้ หากรัฐสภาจะยืนยันก็ต้องใช้เสียง 2 ใน 3

แล้วก็จะมีการสร้างกระแสทางการเมือง อ้างสถาบันสูงสุดมาล้มประชาธิปไตยอีก ทั้งที่ผมเพิ่งเขียนว่า 2 ปีในรัฐบาลนี้ มีเรื่องดีคือหลายฝ่ายได้พยายามกันสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากความขัดแย้ง จนกระแสวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ที่เคยขึ้นสูงก่อนหน้านี้ ค่อยๆ ลดลง

พวกจ้องล้มระบอบประชาธิปไตย ก็จะโทษรัฐสภา และนายกรัฐมนตรี แต่ถามว่าใครใช้อำนาจโดยถูกต้อง รัฐสภายืนยันอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีหลักการเหตุผลในระบอบประชาธิปไตยสนับสนุน การยกเลิก ส.ว.ลากตั้ง เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย ถ้าใครจะตะแบงว่าประชาธิปไตยต้องมีลากตั้ง ก็เอาสิครับ นักรัฐศาสตร์ นักนิติศาสตร์ รื้อตำราให้หมด เอาคำสอนของ 40 ส.ว.มาใช้แทน

สาเหตุที่ฝ่ายล้มล้างประชาธิปไตยยอมไม่ได้ ที่จะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เพราะนี่เป็นด่านแรก ที่จะนำไปสู่การพังทลายของ "ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์" จะมีผลต่ออำนาจสรรหาองค์กรอิสระทุกองค์กร

รัฐสภาจำเป็นต้องยืนหยัด เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่ารัฐสภาจะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เลยแม้แต่มาตราเดียว ศาลรัฐธรรมนูญจะขัดขวางทั้งหมด

อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เราพยายามแล้วที่จะกลับสู่วิถีประชาธิปไตยปกติ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพยึดเหนี่ยวโดยพ้นจากความขัดแย้งพ้นจากการอิงแอบของเครือข่ายอำนาจ อย่างสันติและค่อยเป็นค่อยไป

เมื่อเลี่ยงไม่ได้ นายกรัฐมนตรีก็ควรทูลเกล้าฯ ร่างรัฐธรรมนูญโดยทันที โดยเร็วที่สุด ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 20 วัน เพื่อลดกระแสสร้างความปั่นป่วนรวนเรต่างๆ เพื่อยุติข้ออ้างเหลวไหลมาตรา 154(1)

หลังจากนั้นก็ "วัดใจ" ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าจะมีคำวินิจฉัยที่ทำให้ความขัดแย้งถึง "ทางตัน" หรือไม่

หากไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย รัฐสภาก็ต้องน้อมรับ และถือว่าพระองค์ท่านทรงอยู่ในสถานะที่พ้นจากความขัดแย้ง แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐสภาจะต้องลงมติยืนยันตามมาตรา 151 แม้ต้องใช้คะแนนเสียงถึง 2 ใน 3 ซึ่งคงไม่ถึง และร่างรัฐธรรมนูญก็ตกไป นับจากนี้ จะเป็น "ทางตัน" ที่แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้เลย

แต่รัฐสภาก็ต้องยืนยัน ตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ (อย่ามาอ้างเหตุผลอุบาทว์ๆ อีกว่าลบหลู่หรือไม่ยอมรับพระราชอำนาจ ในเมื่อมาตรา 151 ให้อำนาจยืนยัน)

และวันนั้น ต้องระดมมวลชนผู้รักประชาธิปไตยออกมาชุมนุมเป็นล้านๆ คนทั่วประเทศ ใส่เสื้อแดง หรือเสื้อดำก็แล้วแต่ เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐสภา

 

                                                                                                ใบตองแห้ง

                                                                                                29 ก.ย.56

.....................................

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai