โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

หนัง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ โดนแบน อ้างก่อความแตกแยก

Posted: 03 Apr 2012 12:14 PM PDT

 

3 เม.ย.55 คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์(กองเซ็นเซอร์) ในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีมติสั่งห้ามฉาย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้รับทุนสร้างจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2553 ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จและเข้าตรวจพิจารณาปีนี้

ตามเอกสารบันทึกการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ระบุว่า “คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 (3) จึงมีมติไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 26 (7) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551”

ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นจากบทละคร ‘โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ’ (The Tragedy of Macbeth) ของวิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) กวี เอกของโลก เป็นเรื่องราวของขุนพลที่มักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไร้ขอบเขตและคลั่งไคล้ในไสยศาสตร์ เมื่อมีแม่มดมาทักว่าจะได้เป็นกษัตริย์ในภายหน้า และโดยการยุยงของภรรยา เขาสังหารพระราชาเพื่อสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แม็คเบ็ธปกครองแผ่นดินด้วยความบ้าอำนาจ พาให้บ้านเมืองตกอยู่ในยุคมืดมนแห่งความหวาดกลัว โดยที่ตัวเขาเองก็ปราศจากความสุข ต้องใช้ความรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรักษาอำนาจของตน ละครเรื่องแม็คเบ็ธนี้ ได้มีการจัดแสดงโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของเด็กมัธยมต้นทั่วโลกมายาวนาน และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายครั้ง โดยนักทำหนังอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น

ด้านมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่องดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ถึงการแบนภาพยนตร์ดังกล่าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และระบุว่า “เหตุการณ์นี้ทำให้ผมเห็นว่า เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องศีลธรรม ความโลภ ความบ้าอำนาจ ความมักใหญ่ใฝ่สูงอันไร้ขอบเขตกันได้อีกแล้วในประเทศไทย ผู้คนอยู่กันด้วยความกลัว ราวกับว่าอยู่ใต้แม็คเบ็ธในบทละครของเชคสเปียร์จริงๆ มันแปลกประหลาดมากที่องค์กรของกระทรวงวัฒนธรรมลุกขึ้นแบนหนังที่กระทรวงวัฒนธรรมเองเป็นผู้สนับสนุน และกองเซ็นเซอร์ ภายใต้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เห็นควรแบนเชคสเปียร์”

ส่วนผู้กำกับหนังเรื่องนี้ สมานรัชฎ์ (อิ๋ง) กาญจนะวณิชย์ ได้เขียนบทความลงในเว็บไซต์shakespearemustdie.com ในวันที่ 19 มี.ค.55 ก่อนจะส่งหนังเรื่องดังกล่าวให้กองเซ็นเซอร์พิจารณาด้วยความไม่แน่ใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะผ่านการพิจารณา โดยอาจโดนตั้งคำถามว่าจะทำให้สังคมแตกแยกมากขึ้นหรือไม่ โดยผู้กำกับได้ยืนยันว่า คติประจำกองถ่ายคือ  “ต่อสู้ความกลัวด้วยศิลปะ – สร้างศิลปะด้วยความรัก” พร้อมทั้งบรรยายความรู้สึกถึงความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ซึ่งทำให้การถ่ายทำหยุดชะงักรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา

ตอนหนึ่งในบทความระบุว่า “‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ คือจุดรวมฝันร้ายของเรา นี่คือมโนภาพแห่งความสยองขวัญของเรา มันเป็นหนังผีมิใช่หรือ? หนังผีสมควรเป็นเรื่องของสิ่งที่พาให้เราใจหายและหวาดผวา มันไม่ใช่รายงานข่าวหรือแม้กระทั่งสารคดี มันไม่มีหน้าที่เลคเชอร์ข้อมูลอะไรให้คุณเชื่อ มันมีไว้ให้คุณได้สัมผัสด้วยอารมณ์ความรู้สึก ก็เท่านั้นเอง เราดูดซึมยาพิษจากยุคสมัยมาถักทอเป็นภาพต้องมนต์สะกดเพื่อความสนุกเพลิดเพลินของคนดู”

"หนังผี-หนังสยองขวัญ จะทำหน้าที่ของมัน--คือไล่ผีและปลดปล่อยปมขมวดทางจิตให้เรา--ได้สำเร็จก็ต่อเมื่อมันไม่หลีกเลี่ยงสารพิษในผืนดินถิ่นกำเนิดของมัน แต่พร้อมที่จะหยั่งรากลึกลงไปในก้นบึ้งของพิษร้ายนั้นอย่างเต็มอกเต็มใจและเต็มที่"

“มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้ง‘คนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตุลย์ สิทธิสมวงศ์: ข้อเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า บทสรุปทักษิณดีหรือเลว?

Posted: 03 Apr 2012 11:19 AM PDT

ชื่อบทความเดิม: ความสงบที่คนไทยโหยหา

ช่วงนี้คนไทยจะได้ยินแต่เสียงเรียกร้องให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะดังมาจากคนใกล้ชิดทักษิณในพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนมาก ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ควรจะเลิกเล่นการเมืองไปเลี้ยงหลานได้แล้ว ยังออกมาขยับปากเรียกร้องปรองดองกันใหญ่ ทั้งบิ๊กจิ๋ว บิ๊กหนั่น และที่แปลกมากคือคนที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจมาจากทักษิณ คือ พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน ดูเหมือนจะกลับตัวกลับใจ กลืนน้ำลายตัวเอง ลืมข้ออ้างในการทำรัฐประหาร 4 ข้อเสียสิ้น ทำเป็นสำนึกผิด เรียกร้องให้นิรโทษกรรมพวกเสื้อแดงที่ชุมนุมเผาบ้านเผาเมือง และให้ยกเลิกคดีคอร์รัปชั่นทั้งหมดที่ คตส.ได้ตรวจสอบ ส่งฟ้องไว้ ทั้งๆที่พลเอกสนธิเป็นคนลงนามแต่งตั้งคตส.เอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้พิพากษาลงโทษจำคุก 1 คดี และยึดทรัพย์ 4 หมื่น 6 พันล้าน อีก 1 คดี แถมรอพิพากษาคดีอาญาอีกด้วย ที่แปลกไปใหญ่ก็คือ ญาติคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปีพ.ศ. 2553 ออกมาประกาศไม่เอาด้วยกับกระบวนการปรองดองโดยไม่ไต่สวนหาผู้กระทำผิด (แต่หลายคนขอรับเงิน 7.75 ล้าน แปลกดีนะ) อีกทั้งคนไทยที่รู้ทันทักษิณก็ออกมาคัดค้านการนิรโทษกรรมให้กับทักษิณและเสื้อแดงทีเผาบ้านเผาเมือง ไม่เห็นด้วยกับการรวบรัดปรองดองแต่ทักษิณได้ประโยชน์ไปเต็มๆ แล้วอย่างนี้มันจะปรองดองกันได้หรือ

ก่อนที่เมืองไทยจะเข้าสู่ยุคทักษิณครองเมือง รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็ถูกกล่าวหาว่ามีการคอร์รัปชั่น กันทุกรัฐบาล แต่ไม่เคยมีสมัยใดเลยที่คนไทยจะแตกแยกแบ่งเป็นฝักฝ่ายประจันหน้ากันขนาดนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ประชาชนก็เป็นหนึ่งอันเดียวกันต่อต้านรัฐบาลสุจินดาที่อ้างว่าเสียสัตย์เพื่อชาติ แม้จะเกิดนองเลือด แต่ก็สงบลงด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อเข้าสู่ยุคทักษิณก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และชนะการเลือกตั้ง (อย่างใสสะอาด?) จนได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้แสดงการแทรกแซงครอบงำศาลรัฐธรรมนูญจนพ้นผิดคดีซุกหุ้นอย่างขะมุกขะมอม แต่เขาก็ซ่อนหุ้น ใช้อำนาจหน้าที่หาผลประโยชน์ด้วยการแปลงสัมปทานต่างๆของบริษัทชินคอร์ปฯ จนได้ประโยชน์เข้าตัวมหาศาล ในขณะเดียวกันก็แต่งตั้งโยกย้ายเอาคนของตัวมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ แม้แต่กองสลากก็ไม่เว้น มีการออกนโยบายประชานิยมจนเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน แต่ที่ชอบที่สุดคือกองทุนหมู่บ้าน ที่กลายเป็นนโยบายหาเสียงว่า ถ้าไม่เลือกพรรคของทักษิณ กองทุนหมู่บ้านจะถูกยุบ เรียกเงินคืน ชาวบ้านก็เลยต้องเลือกพรรคไทยรักไทยอยู่ร่ำไป ทักษิณเองถึงกับหลุดปากว่า พื้นที่ใดเลือกพรรคไทยรักไทย เขาจะดูแลก่อนเป็นพิเศษ

เมื่อถูกปฏิวัติรัฐประหาร ทักษิณก็ได้ใช้แกนนำวีระ จตุพร ณัฐวุฒิ เหวง กี้ร์ ฯลฯก่อการชุมนุมบุกบ้านสี่เสา ในยุครัฐบาลสุรยุทธ เมื่อพันธมิตรบุกทำเนียบ เสื้อแดงก็ออกมาโจมตีปะทะกันจนบาดเจ็บ มีการยิง M 79 ใส่พันธมิตรหลายครั้ง จนมีคนบาดเจ็บล้มตาย เมื่อสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในปีพ.ศ. 2552 ทักษิณก็ได้สั่งการให้แกนนำเสื้อแดงชุมนุมด้วยความรุนแรง บุกทำลายการประชุมอาเซียนที่พัทยา มีการบุกไปทำร้ายทุบรถนายกฯอภิสิทธิ์ที่กระทรวงมหาดไทย จนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีบาดเจ็บ แต่ทหารก็ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ โดยไม่มีคนตาย ในปีพ.ศ. 2553 ทักษิณจึงให้แกนนำเสื้อแดงจัดการชุมนุมอีก คราวนี้มีการใช้กลุ่มติดอาวุธฝึกโดยเสธ.แดง สนับสนุน จนมีการยิงอาวุธสงครามใส่ทหารจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว มีนักข่าวญี่ปุ่นและคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง ล้มตาย ซึ่งเข้าทางทักษิณและแกนนำเสื้อแดงกล่าวหาว่า รัฐบาลและทหารเข่นฆ่าผู้ชุมนุม ซึ่งจากภาพข่าวที่ปรากฏไปทั่วโลกมันตรงกันข้าม เมื่อนักข่าวต่างประเทศสัมภาษณ์ทักษิณ ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุมด้วยความรุนแรงนี้ใช่หรือไม่ ทักษิณถึงกับตอบปฏิเสธอย่างตะกุกตะกัก ว่าเขาไม่ได้อยู่เบื้องหลัง แต่ความจริงก็คือความจริงวันยังค่ำ  เพราะภาพวีดิโอลิงก์ ที่ทักษิณประกาศกับคนเสื้อแดงอย่างชัดเจนว่า หากมีเสียงปืนแตกเมื่อใด เขาจะมานำหน้าประชาชนเสื้อแดงต่อสู้ (ซึ่งแม้จะมีการยิงกัน เสื้อแดงล้มตาย แต่ทักษิณก็ไม่ได้ทำตามที่พูด แกนนำก็ไม่มีใครบาดเจ็บล้มตาย ได้เป็นใหญ่เป็นโต เสวยสุขเป็นอำมาตย์ จนปัจจุบัน)

ผมจึงสรุปได้ว่า “ความแตกแยกที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้ เกิดจากความต้องการที่จะพ้นผิด กลับมามีอำนาจของทักษิณ ชินวัตร แล้วใช้อำนาจเงินปลุกระดมคนเสื้อแดง ให้ออกมาชุมนุมด้วยความรุนแรง ปะทะต่อสู้กับคนที่ต่อต้านทักษิณ  เสมือนกับเกราะป้องกันทักษิณ และเป็นอาวุธทำลายและข่มขู่คนที่ต่อต้านทักษิณ”

นี่คือสิ่งที่ผมให้สัมภาษณ์กับนักวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งผมได้อ่านรายงานการวิจัยฯแล้ว รายงานที่ออกมาดูเหมือนว่าไม่เคยได้สัมภาษณ์ผมเลย กลับมีข้อเสนอให้ไปพูดคุยกันว่าจะยกโทษให้ทักษิณ โดยการยกเลิกคดีที่คตส.ทำไว้ โดยอ้างโน่นนี่นั่น (ซึ่งข้อเสนอนี้น่าจะมาจากทักษิณ หรือ ลิ่วล้อที่ถูกสัมภาษณ์ด้วย) พลเอกชวลิต ถึงกับบอกว่าต้องยกเลิกคดี เพราะคตส.ตั้งกฎภายหลังการทำผิด หรือพูดเหมือนกับว่าคตส.ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับทักษิณตัดสินคดีเองอย่างมีอคติ ซึ่งเป็นการหลงผิดอย่างสิ้นเชิง (สมกับความเป็นอัลไซเมอร์)

คนในสถาบันพระปกเกล้าคลุกคลีกับคนในวงการเมืองมานาน ก็น่าจะรู้ทันว่าการขอให้สถาบันพระปกเกล้าทำการวิจัยครั้งนี้ เป็นเพียงการหาตัวช่วยทางการเมือง สร้างความชอบธรรม เป็นข้ออ้างในการออกพรบ.ปรองดอง หรือนิรโทษกรรมทักษิณเท่านั้น แม้รายงานจะระบุว่า เป็นเพียงหัวข้อให้นำไปพูดคุยอภิปรายจนได้ข้อสรุปในหมู่ประชาชน ความปรองดองจึงจะเกิดขึ้น แต่คณะกรรมาธิการปรองดอง ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ก็มาจากพรรคเพื่อทักษิณก็ไม่สนใจใจความสำคัญของรายงานวิจัยดังกล่าว เลือกแต่จุดที่ทักษิณได้ประโยชน์ เมื่อถูกทักท้วงหนักๆ เข้า พลเอกสนธิ ประธานคณะกรรมาธิการปรองดอง ถึงกับบอกว่าให้ลืมๆ อดีตไปเสีย ให้อภัยทักษิณ ทั้งๆ ที่ทักษิณไม่เคยสำนึกผิด บอกว่าตัวเองไม่มีความผิด  แล้วคนที่เขารักความเป็นธรรมเขาจะยอมได้อย่างไร

ในสัปดาห์นี้ ( 3 เม.ย. 55) สภาสถาบันพระปกเกล้าจะประชุมกันเรื่องรายงานวิจัยปรองดองนี้ ก็หวังว่า คณะกรรมการบริหารของสถาบันตลอดจนคณะผู้วิจัย จะได้หามาตรการที่เหมาะสมที่จะดำเนินการกับการนำผลการวิจัยของสถาบันไปใช้อย่างผิดๆ อย่างน้อยทางคณะผู้วิจัยจะต้องเปิดเผยต่อสังคมว่าเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นอย่างไร เพราะคนจำนวนมากยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมาธิการปรองดองได้บิดเบือนเอาผลการวิจัยของสถาบันฯไปใช้อย่างผิดเจตนารมณ์เช่นไร และผลของการบิดเบือนนั้นจะนำมาสู่การนิรโทษกรรมให้กับนักโทษหนีคุก (The Fugitive) ทักษิณ อันเป็นการปล่อยให้คนชั่วคนโกงลอยนวล ไม่ต้องรับโทษ นำไปสู่ความแตกแยกในสังคมไทยอย่างรุนแรง ซึ่งคงไม่ใช่วัตถุประสงค์ของสถาบันพระปกเกล้าและคณะผู้วิจัยเป็นแน่แท้ การที่หัวหน้าคณะผู้วิจัยใช้คำว่า ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องให้มันเกิด คงเป็นการปัดความรับผิดชอบต่อความแตกแยกที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย อันเนื่องมาจากการอ้างรายงานการวิจัย เพียงเพื่อช่วยทักษิณให้พ้นโทษ

ผมขอเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องกับรายงานการวิจัยเรื่องการปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าทุกระดับ ตระหนักถึงความสำคัญของการค้นหาความจริง ต้นเหตุที่แท้จริงของความแตกแยกในสังคมไทย ควรเป็นผู้จัดการสานเสวนา ในหัวข้อต่างๆ ตามข้อเสนอในรายงานวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในสังคมไทย การที่คนไทยสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งรู้ทันการโกงของทักษิณ เรียกร้องให้มีการจับกุมคนโกงมาลงโทษทั้งข้อหาคอร์รัปชั่น และข้อหาสนับสนุนให้เกิดการก่อการร้าย กับอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นทักษิณเป็นเทวดามาโปรด ทั้งๆ ที่เงินที่เอาไปใช้ในโครงการประชานิยมต่างๆ ก็ไม่ใช่เงินทักษิณ แต่ในขณะเดียวกันทักษิณก็กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวอย่างมหาศาล (ขนาดถูกยึดทรัพย์ 4 หมื่น 6 พันล้าน ยังมีเงินทองใช้สอยในต่างประเทศอย่างสุขสบาย แสดงว่าตอนเป็นนายกฯ ซุกซ่อนทรัพย์สิน ไม่แจ้งรายการให้ ปปช.ทราบมากมายขนาดไหน) ในช่วงเวลาที่องค์กรต่างๆ ตกอยู่ใต้อำนาจเงินของทักษิณหมดแล้ว ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชนจำนวนมาก หากสถาบันพระปกเกล้าจะมีความรับผิดชอบต่อแผ่นดินไทย ทำความจริงให้กระจ่างว่าทักษิณดีหรือเลว สุจริตหรือคดโกงกันแน่ เมื่อคนไทยทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน ความแตกแยกก็จะหมดสิ้นไป ความสงบสุขที่หายไปจากแผ่นดินไทยมานานจะได้กลับคืนมา ไม่ต้องจำใจทำเป็นแกล้งลืมความเลวความชั่วที่ทักษิณทำไว้ อย่างที่พลเอกสนธิ ประธาน คชม. (คนช่วยแม้ว) บอกให้เราลืม คนไทยที่รักความเป็นธรรมเขาประกาศก้องแล้วว่า เราไม่ยกโทษให้คนโกงชาติ สร้างความแตกแยก อย่างเด็ดขาด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้องผู้ว่าฯ ตรัง กำกับป่าไม้หยุดคุกคามพื้นที่โฉนดชุมชน

Posted: 03 Apr 2012 10:32 AM PDT

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด รวมตัวหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง ยื่นผู้ว่าฯ เรียกร้องให้กำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานอื่นภายใต้การดูแล หยุดคุกคามชาวบ้านพื้นที่โฉนดชุมชน หันไปปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง

 
 
เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. วันที่ 3 เม.ย.55 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กว่า 200 คน เดินทางไปรวมตัวกันบริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย เพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เรียกร้องให้กำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานอื่น ภายใต้การบริหารงานของจังหวัดตรัง เพื่อให้เกิดการปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้ง ข่มขู่คุกคามดำเนินคดีกับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม
 
นายชัยยศ ธงไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เป็นตัวแทนรับหนังสือของเครือข่ายฯ พร้อมรับปากจะส่งต่อข้อเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเร่งแก้ปัญหา
 
นอกจากนั้น ทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เรียกร้องให้รัฐบาลสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน โดยให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีการคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ทั้งในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอื่นๆ พร้อมกันนั้น ทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือถึงกองทัพภาคที่ 4 ผ่านตัวแทน กอ.รมน. จ.ตรัง ด้วย
 
 
นายสมนึก พุฒนวล กรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ มายื่นหนังสือครั้งนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา นายสมชัย แสงแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 50 นาย เข้าไปตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง ทั้งๆ ที่หัวหน้าอุทยานฯ ได้มาเดินแนวเขตโฉนดชุมชนร่วมกับชาวบ้าน และสัญญาว่าจะไม่เข้ามาตัดฟันต้นยางในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู แต่เขาก็ทำผิดสัญญา
 
“นโยบายของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเน้นการปราบปรามชุมชนในเขตป่า โดยไม่ได้แยกแยะพิจารณาข้อเท็จจริงว่าชุมชนอยู่อาศัยและทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่า เราขอเรียกร้องให้กรมอุทยานฯ หยุดการกระทำที่มีเจตนาแอบแฝง และหันกลับมาร่วมมือกับชุมชนในการรักษาป่า โดยเคารพสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ ตามแนวทางโฉนดชุมชนและสิทธิชุมชนมาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญ” นายสมนึก กล่าว
 
ด้านนางกันยา ปันกิติ กรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวเสริมว่า รัฐบาลพูดเรื่องการปรองดอง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้ปรองดองกับคนยากจน น่าสังเกตว่ารัฐบาลกำลังใช้เกษตรกรรายย่อย และปัญหาที่ดินทำกินเป็นหมากในเกมการเมืองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ทั้งที่นโยบายโฉนดชุมชนเป็นนโยบายของภาคประชาชน ซึ่งเราได้นำเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2550
 
“รัฐบาลต้องสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ขอให้นายกรัฐมนตรีควรมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีการคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ทั้งในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอื่นๆ” นางกันยา กล่าว
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้เข้าไปประชุมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แล้วแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลา 16.30 น.
 
ทั้งนี้ ทางเครือข่ายฯ ได้ปิดถนนหน้าศาลากลาง 1 ช่องจราจร เนื่องจากมีกลุ่มผู้เดือดร้อนเรื่องการยื่นคำขอออกโฉนดพร้อมชำระค่ารังวัดที่ดินไปเมื่อปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับโฉนดที่ดิน ในพื้นที่ ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง กว่า 200 คน ได้ชุมนุมอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดตรัง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 เม.ย.55 และจะชุมนุมยืดเยื้อจนกว่าจะได้รับคำตอบจากรัฐบาล
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทฤษฎี 'คนดี' ของพลเอกเปรม

Posted: 03 Apr 2012 09:44 AM PDT

เป็นที่ทราบกันว่าในบ้านเรานั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “เสาหลักทางจริยธรรม” ของประเทศ เป็นแบบอย่างของ “คนซื่อสัตย์สุจริต” และเป็นผู้หนึ่งที่ออกมาพูดย้ำเรื่อง “คนดี” และ “คุณธรรมจริยธรรม” มากที่สุด

โดยเฉพาะในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา เขาออกเดินสายพูดเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และคนดีหลายครั้ง กระทั่งรับรองบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังรัฐประหารว่า “สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุด” และต่อมายังกล่าวสนับสนุนบุคคลที่จะเป็นนายกฯ ในรัฐบาลที่ไปตั้งในค่ายทหารว่า “ประเทศไทยโชคดีที่ได้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ” (ซึ่งเราได้ประจักษ์แล้วว่า ประเทศนี้โชคดีขนาดไหนที่มีนายกฯสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองซึ่งมีคนตาย 92 ศพ และยังแถมท้ายด้วยการปะทะระหว่างกองทัพไทย-กัมพูชาอีก โดยที่ทั้งหมดนั้นอภิสิทธิ์ยืนยันอย่างแข็งขันว่า “ไม่ใช่ความผิดใดๆ ของเขาเลย”)

วันนี้เมื่อบรรยากาศทางการเมืองทำท่าว่าจะเกิด “สงครามปรองดอง” พลเอกเปรมเริ่มออกบรรยายเรื่อง “คนดี” และ “คุณธรรมจริยธรรม” อีกแล้ว และทิ้งท้ายด้วย “คำสาปแช่ง” ตามเคยว่า "ผมเชื่อว่าชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครมีสิทธิยึดถือเป็นของตนเองได้ ผมเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และจะปกป้องคนดี และสาปแช่งคนไม่ดี คนทรยศต่อชาติบ้านเมืองให้พินาศไป…"

นี่คือคำกล่าวทิ้งท้ายในการบรรยายพิเศษ เนื่องในโอกาสครบรอบ 12 ปี ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (ดูมติชนออนไลน์ 3 เมษายน 2555)

คนดีคือคนเช่นไร? พลเอเปรมอธิบายว่า “คนดี” ต้องมีคุณลักษณะ 9 ประการ คือ

1.จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2.ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและจงรักภักดี

3.คนที่เป็นผู้บังคับบัญชา ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างกับผู้ใต้บังคับบัญชา คนเป็นนายคนต้องมีความเมตตา เป็นธรรม เป็นนายคนต้องมีแต่ให้ และรับได้อย่างเดียว คือ รับความทุกข์ ความลำบากยากเข็ญของคนอื่น มาแก้ไข

4.หาทางขจัดความยากจน

5.ยึดถือ และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

6.ต้องทำงานให้คุ้มค่า คุ้มเวลาและคุ้มความเป็นคน ซึ่งตนใช้วิธีทำงานที่ยึดถือมา คือ สะดวก เรียบง่ายและประหยัด หากคนที่นำไปใช้เชื่อว่าจะได้ประโยชน์

7.ดำรงวัฒนธรรมไทย เช่น วัฒนธรรมการละเล่นท้องถิ่นของภาคใต้ กลาง อีสาน เหนือ การพูดภาษาถิ่น โดยตนขอพูดตรงๆ ว่าไม่ควรจะเห่อฝรั่ง ไม่ควรลอกเลียนฝรั่ง จนไม่เหลือความเป็นไทย

8.พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ ต้องถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องดูแลยุวชน เยาวชนให้เติบโตมาเป็นคนดีของชาติบ้านเมืองให้ได้

9.ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม ผมว่าคนดีเท่านั้นที่จะมีคุณธรรมและจริยธรรมได้

ผมมีข้อสังเกตมานานว่า พลเอกเปรมมักจะพูดคำว่า “ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” “จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” “ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ” แต่ไม่เคยได้ยินเขาพูดคำว่า “ประชาชน ประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ” เลย

ฉะนั้น หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า “คนดี” ในความหมายของพลเอกเปรมไม่จำเป็นต้องมีความจงรักภักดี และซื่อสัตย์ต่อประชาชน ประชาธิปไตย เคารพและเสียสละปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ใช่หรือไม่?

เพราะโดยหลักการแล้ว “ค่านิยม” (value) ของ “คนดี” กับค่านิยมของ “สังคมที่ดี” ต้องมีความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน และถ้าสังคมที่ดีหมายถึงสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย ค่านิยมในการเป็นสังคมที่ดีเช่นนี้ก็ต้องเป็น “ค่านิยมยึดถือความยุติธรรมในการอยู่ร่วมกันบนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ” ฉะนั้น คนดีที่มีคุณสมบัติส่งเสริมสังคมที่ดีก็ต้องมี “ค่านิยมจงรักภักดี และซื่อสัตย์ต่อประชาชน ประชาธิปไตย เคารพและเสียสละปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ”

หมายความว่า “ความเป็นคนดีไม่อาจแยกขาดจากความเป็นสังคมที่ดี” หรือ “ความเป็นคนดีกับความเป็นสังคมที่ดีต่างสนับสนุนกันและกัน”

ความหมายที่ลึกซึ้งไปว่านั้นคือ “ความเป็นคนดี” ไม่อาจแยกออกจาก “ความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่ามีศักดิ์ศรีในตนเอง” ซึ่งคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นอยู่ที่การใช้ “เหตุผลและเสรีภาพ” ในการเลือกสิ่งที่ดีแก่ตนเองและสังคมที่ตนเองสังกัด สังคมประชาธิปไตยคือสังคมที่สนับสนุนการใช้เหตุผลและเสรีภาพในความหมายดังกล่าว

ฉะนั้น สังคมประชาธิปไตยจึงเป็นสังคมที่ดีที่สนับสนุน “คนดีที่มีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตนเอง”

โดยนัยนี้สังคมประชาธิปไตยจึงเป็นสังคมที่ส่งเสริม “ความเป็นมนุษย์” คือ “ความมีเหตุผลและเสรีภาพ” เพราะเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้เหตุผลและเสรีภาพภายใต้หลักการสากลอันเดียวกัน คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ซึ่งเป็นรากฐานของ “ความยุติธรรม” ในการที่ทุกคนจะได้ใช้เหตุผลและเสรีภาพของตนเองแสวงหาสิ่งที่ดี หรือการมีชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียม

คนดีในสังคมประชาธิปไตยจึงไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” ของระบบความเชื่อ ลัทธิศักดิ์สิทธิ์ หรืออำนาจพิเศษใดๆ ที่นอกเหนือไปจากอำนาจของประชาชน

หมายความว่า คนดีต้องไม่ถูกใช้เป็น“เครื่องมือ” ค้ำจุนอำนาจอื่นที่นอกเหนือจากอำนาจของพวกเขาในนามของความสวามิภักดิ์ การรับใช้ ปกป้องอะไรก็ตามที่ “กดทับ” การใช้เหตุผลและเสรีภาพของพวกเขา

และเมื่อเขาใช้เหตุผลและเสรีภาพต่อสู้เพื่อความเป็นประชาธิปไตย หรือหลักการสากลคือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เขาต้องไม่ถูกถูกสาปแช่ง ถูกจับติดคุกเป็น “นักโทษทางความคิด” หรือถูกฆ่า เพียงเพราะเขาคิดต่าง เชื่อต่าง และ/หรือยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิ อำนาจของตนเอง ซึ่งพูดอย่างถึงที่สุดก็คือการยืนยัน “ศักดิ์ศรีความเป็นคนของตนเอง” นั่นเอง

นี่คือความหมายของ “คนดี” และค่านิยมของคนดีที่สนับสนุนค่านิยมของสังคมที่ดี คือสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่พลเอกเปรมไม่เคยพูดถึงเลย

และคนดีที่ยึดมั่นใน“ค่านิยมจงรักภักดี และซื่อสัตย์ต่อประชาชน ประชาธิปไตย เคารพและเสียสละปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ” ย่อมไม่มีทางจะทำรัฐประหารล้มระบบสังคมที่ดีคือสังคมประชาธิปไตย และไม่มีทางสนับสนุนรัฐประหารทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอย่างแน่นอน

ถึงเวลาแล้วที่สังคมเราจำเป็นต้องนิยามความหมายของ “คนดี” และ “ค่านิยม” ของคนดีเสียใหม่ให้ความหมายของ “คนดี” และ “ค่านิยม” ของคนดีสอดคล้องและส่งเสริมค่านิยมการยึด “ความยุติธรรม” ในการอยู่ร่วมกันบนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ อันเป็นหลักการพื้นฐานของสังคมที่ดี หรือสังคมประชาธิปไตยที่ปกป้องเราทุกคนให้เป็น “มนุษย์ที่มีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตนเอง” อย่างแท้จริง!

ซึ่งหมายถึง เป็นมนุษย์ที่สามารถใช้ “เหตุผลและเสรีภาพ” แสวงหาการมีชีวิตที่ดีและสังคมที่ควรจะเป็น ไม่ใช่เป็นเพียง “มนุษย์เครื่องมือ” เท่านั้น!  

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: กราบไปใช่ว่ายอม

Posted: 03 Apr 2012 09:40 AM PDT

กราบเถอะนะ หากว่าจำต้องกราบ
มิใช่ยอมศิโรราบเพราะกราบก้ม
เพียงผ่อนคลายจากเงื่อนไขอันโสมม
กลับมาเพื่อสั่งสมกำลังใจ...

เพื่อคืนสู่อ้อมกอดเคยพลอดรัก
เพื่อคืนสู่ชายคาพักที่ร้างไร้
เพื่อนำฟืนกลับมาสุมให้เป็นไฟ
เพื่อบางใครที่ทนรออย่างทรมาน..

กราบเสียเถิดหากจำเป็นต้องกราบ
ใช่ผิดบาปที่ต้องฉาบด้วยยิ้มหวาน
ก็เมืองนี้มันตอแหลพิกลพิการ
ก็ซาตานมันสอนเราให้เท่าทัน!! 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอพฯ 'Girls Around Me' ถูกถอนหลังโดนวิจารณ์เรื่องความเป็นส่วนตัว

Posted: 03 Apr 2012 09:16 AM PDT

แอพลิเคชั่นมือถือ Girls Around Me ถูกวิจารณ์เรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัว และกลัวว่าโปรแกรมนี้จะสนับสนุนการสะกดรอยตาม จนทำให้ผู้พัฒนาถอนโปรแกรมออกชั่วคราว

2 เม.ย. 2012 - สำนักข่าว BBC รายงานว่า ผู้พัฒนาโปรแกรมแอปปลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือที่ชื่อ Girls Around Me ได้ถอนโปรแกรมดังกล่าวออกเนื่องจากมีผู้ใช้ต่อว่า

โดยโปรแกรม Girls Around Me เป็นโปรแกรมที่สามารถให้ผู้ใช้สำรวจได้ว่ามีผู้หญิงคนใดในละแวกใกล้เคียงกับเขา 'เช็คอิน' อยู่ที่ใดโปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์กแล้วบ้าง
 
โปรแกรมนี้ใช้ข้อมูลที่เปิดเผยให้บุคคลทัวไปทราบจากเว็บ Foursquare ซึ่งเป็นเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กเกี่ยวกับสถานที่ ตัว Foursquare เองก็ยกเลิกไม่ให้แอปปลิเคชั่นดังกล่าวเข้าถึงข้อมูลของพวกเขาได้แล้ว
 
โดยเมื่อวันเสาร์ที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา Foursuqare ได้ตัดการเชื่อมต่อของโปรแกรมนี้โดยให้เหตุผลว่าโปรแกรมแอปฯ ตัวนี้ละเมิดนโยบายด้านข้อมูลการรวมตัวกันตามสถานที่ต่างๆ มีบล็อกจำนวนหนึ่งนำโดย Cult of Mac ตั้งคำถามว่าโปรแกรมแอปฯ นี้กำลังสนับสนุนการแอบสะกดรอยตามหรือไม่
 
i-Free ผู้พัฒนาแอปปลิเคชั่นดังกล่าวจากรัสเซีย เปิดเผยว่า ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อโปรแกรมนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างมาก
 
ในแถลงการณ์ของบริษัทผู้พัฒนา Girls Around Me ตีพิมพ์ใน Wall Street Journal กล่าวไว้ว่า "พวกเราเชื่อว่ามันเป็นเรื่องผิดจริยธรรมในการหาแพะรับบาปเพื่อพูดถึงเรื่องความกังวลด้านความเป้นส่วนตัว"
 
แถลงการณ์อธิบายว่า Girls Around Me ไม่อนุญาตให้กลุ่มคนไม่ระบุชื่อใช้โปรแกรมนี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะสั่งค้นหาตัวบุคคลหรือค้นหาที่อยู่ของพวกเขาโดยใช้โปรแกรม Girls Around Me แต่โปรแกรมนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สำรวจสถานที่ใกล้เคียงเท่านั้น เหมือนกับว่าได้เดินผ่านและมองเข้าไปในหน้าต่างบ้าน
 
"พวกเรามองว่ากระแสด้านลบต่อโปรแกรมนี้เป็นการเจ้าใจผิดต่อเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ความสามารถและข้อจำกัดของโปรแกรมนี้"
 
"Girls Around Me ไม่ได้ให้ข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ได้เปิดเผยต่อผู้ใช้เมื่อพวกเขาเชื่อมต่อเข้าบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมถึงไม่ได้เปิดเผยข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องการให้เปิดเผยกับคนอื่น"
 
 
กระแสตื่นตัวในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ?
ทางบริษัทเปิดเผยอีกว่าพวกเขาได้ถอนแอปปลิเคชั่นตัวนี้ออกจาก iTunes app store ซึ่งถูกดาวโหลดไปมากกว่า 70,000 ครั้งแล้ว
 
แอปปลิเคชั่นตัวนี้นำข้อมูลมาจาก Foursquare ที่ผู้คนใช้ 'เช็คอิน' ในการบอกตำแหน่งของตัวเองว่ากำลังอยู่ที่ไหนเช่นในร้านค้า หรือในบาร์ ซึ่งประเทศสหรัฐฯ ที่โปรแกรมแอปปลเคชั่นเป็นที่นิยมสูงสุด เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มธุรกิจจะมีข้อเสนอพิเศษให้กับคนที่เช็คอินกับเว็บไซต์
 
นอกจากมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับพื้นที่แล้ว แอปปลิเคชั่นตัวนี้ยังได้เชื่อมต่อกับข้อมูลของเฟสบุ๊คเพื่อเผยแพร่ภาพของผู้ใช้ซึ่งอย่ใกล้เคียง ทำให้ผู้ใช้ Girls Around Me ดูข้อมูลโปรไฟล์จากภาพแผนที่ได้อีกด้วย
 
ข้อมูลอื่นๆ เช่น สถานภาพความสัมพันธุ์และรูปภาพ ก็สามารถเปิดเผยให้ผู้อื่นเห้นได้ ตามแต่การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เอง
 
บล็อกชื่อดังอย่าง Cult of Mac พูดถึงโปรแกรมแอปปลิเคชั่นนี้ว่า เป็น "สิ่งที่ปลุกให้เราตื่นตัวในเรื่องความเป็นส่วนตัว"
 
บล็อกเกอร์ จอห์น บราวน์ลี เขียนไว้ว่า "Girls Around Me ไม่ได้เป็นโปรแกรมที่คุณใช้สำหรับหาคู่หนุ่มสาวหรืออะไรเทือกๆ นั้น"
 
"นี่เป็นแอปปลิเคชั่นที่คุณควรดาวน์โหลดไว้เพื่อสอนให้คนที่คุณห่วงใยเรียนรู้ว่าเรื่องความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องจริงจัง โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟสบุ๊คและ Foursquare จะเปิดเผยตัวคุณและคนที่คุณรัก หากคุณไม่รู้ว่าคุณได้แชร์ข้อมูลของคุณม่มากเท่าใด"
 
ผู้พัฒนาโปรแกรมเปิดเผยว่า พวกเขาจะพัฒนาแอปปลิเคชั่นตัวนี้เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีเพียงการ 'เช็คอิน' ตามสถานที่สาธารณะเท่านั้นที่จะมีการเปิดเผยต่อผู้ใช้ และกำลังพัฒนาเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการ Android ด้วย
 
อย่างไรก็ตามแอปปลิเคชั่นของพวกเขาไม่ว่าเวอร์ชั่นใดก็จะยังไม่สามารถใช้งานได้ หาก Foursquare ป้องกันไม่ให้บริษัท i-Free ใช้ข้อมูลของพวกเขา
 
 
 
ที่มา
Privacy backlash over Girls Around Me mobile app, BBC, 02-04-2012
 
‘Girls Around Me’ Developer Defends App After Foursquare Dismissal, Wall Street Journal, 31-04-2012
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายถึง รมว.ศึกษาฯ ให้ทบทวนหลักเกณฑ์ 'หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน' รุ่นที่ 3

Posted: 03 Apr 2012 09:09 AM PDT

พวกเรานักเรียนทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน รุ่นที่  1, รุ่นที่  2, นักเรียนทุนอื่นๆ, และบุคคลทั่วไป (ตามรายชื่อด้านล่าง) รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาของเยาวชน และได้ดำเนินการโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนต่อเป็นรุ่นที่  3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรทุนให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่มีฐานะ ยากจนจากทุกอำเภอ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของชาติ และเป็นรากฐานสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมจะประกาศรับสมัครเพิ่มเติมทุนโครงการ หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนรุ่นที่  3 (ซึ่งขณะนี้เหลืออีกกว่า 600 อำเภอที่ยังไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก) และมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับสมัคร โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ (1) ผู้สมัครทุนนี้ไม่จำเป็นต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัว และไม่มีการจำกัดสิทธิ์เฉพาะเด็กยากจน และ (2) เพิ่ม เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสอบผ่านข้อเขียนจากเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 นั้น พวกเราไม่เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลดังนี้

1. การปรับความยืดหยุ่นให้ผู้สมัครไม่ต้องยื่นหลักฐานรับรองรายได้ของครอบครัว และการเปิดช่องโหว่ให้ผู้ที่ไม่ได้มีฐานะยากจนจริงสามารถสมัครทุนนี้ได้ ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับวัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ ที่ต้องการกระจายและเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่มีฐานะยากจน หากทางคณะกรรมการเห็นว่าเกณฑ์รายได้ของครอบครัวจากเดิมไม่เกิน 150,000 บาท/ ปี เป็นการจำกัดสิทธิผู้สมัครบางราย ก็อาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม (เช่น ไม่เกิน 200,000 บาท/ ปี หรืออาจแบ่งเกณฑ์รายได้แบบเจาะจงพื้นที่ตามอัตราค่าครองชีพในแต่ละจังหวัด หรือแต่ละอำเภอ เป็นต้น) ทั้งนี้ต้องเป็นรายได้ที่อยู่ในข่าย "ยากจน" และ สอดคล้องกับข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น พวกเราเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ใช้หลักฐานรับรองราย ได้ของครอบครัวประกอบการรับสมัครเพิ่มเติม

2. การเพิ่มฐานคะแนนขั้นต่ำสำหรับการสอบข้อเขียนจากเดิมต้องผ่านร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 ไม่ใช่แนวทางเพื่อแก้ปัญหาที่ในหลายอำเภอไม่มีผู้ผ่านการสอบข้อเขียน เพราะผู้ที่จะมาสมัครในรอบใหม่ก็คือนักเรียนกลุ่มเดิมหรือกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นการยากที่นักเรียนกลุ่มนี้จะสามารถสอบข้อเขียนได้ถึงร้อยละ 80 หรือมากกว่า การแก้ปัญหาด้วยการยืดหยุ่นเรื่องฐานะทางครอบครัวและการให้นักเรียนที่ไม่ได้มีฐานะยากจนสามารถสมัครทุนนี้ได้ ด้วยหวังจะให้จำนวนผู้สอบผ่านข้อเขียนมีมากขึ้นนั้น นอกจากจะขัดกับวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว ยังเป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำอย่างหนักหน่วงถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยที่นักเรียนยากจน/ในชนบทต้องเสียเปรียบนักเรียนที่มีฐานะดี/ในมืองในหลายๆ ด้าน ซึ่งทุกด้านล้วนมีผลต่อคะแนนในการสอบข้อเขียนทั้งสิ้น           

3. หากทางคณะกรรมการยังเห็นว่าเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของการสอบผ่านข้อเขียนมีความสำคัญ เช่นอาจส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของผู้รับทุน และความคุ้มค่าที่ประเทศจะได้รับจาก "การลงทุน" โดยเฉพาะกับผู้ที่จะเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม พวกเราก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มฐานคะแนนขั้นต่ำ แต่เห็นควรให้คงไว้ในระดับเดิม (ร้อยละ 60) หรือแม้แต่ต้องมีการยืดหยุ่นให้ผู้ที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 60 อาจเป็นผู้มิสิทธิ์ได้รับทุนในกรณีที่อำเภอนั้นไม่มีผู้้ได้คะแนนถึงร้อยละ 60 และต้องมีมาตรการในการฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้นก่อนการเดินทางไปศึกษาต่อ หรือ อาจกำหนดเป็นเงื่อนไขว่าผู้สมัครที่สอบได้คะแนนข้อเขียนในระดับใดต้องเรียนในประเทศหรือสามารถเลือกไปศึกษายังต่างประเทศได้ หรือ อาจสร้างระบบคัดกรองชั้นที่สองขึ้นเพื่อประเมินผู้ได้รับทุนในด้านอื่นประกอบ  เช่นศักยภาพในการเรียนรู้ การปรับตัวและการพัฒนาตนเอง ฯลฯ เพื่อพิจารณาว่าผู้ได้รับทุนสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศได้หรือไม่ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพราะการกีดกันนักเรียนยากจนที่สอบข้อเขียนได้คะแนนน้อย ด้วยการยืดหยุ่นและเปิดช่องโหว่ให้นักเรียนฐานะดีที่มีแนวโน้มจะสอบข้อเขียน ได้คะแนนสูงสามารถสมัครทุนนี้ได้ ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อีกทั้งยังเป็นการปิดกั้นโอกาสและดูถูกศักยภาพของบุคคลว่าไม่อาจสามารถพัฒนาตนเองได้ ที่สุดแล้วแนวนโยบายดังกล่าวถือเป็นการตอกย้ำและผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาใน สังคมไทยให้ดำรงอยู่ต่อไป

พวกเรา กลุ่มนักเรียนทุนและคนไทยผู้ตระหนักและรู้สึกกังวลกับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงขอเรียกร้องให้ทางกระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาทบทวนนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับสมัครเพิ่มเติมทุนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนรุ่นที่  3 อย่างรอบคอบอีกครั้ง โดยต้องคำนึงถึงหลักการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงการเป็นสำคัญ

 

            ด้วยความเคารพ
            31 มีนาคม 2555

 

 

นายวิจิตร ประพงษ์                     นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่  1 (อ. มช.) 
นายสุทธิชัย ใจติ๊บ                       นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นายดุษฎี บุพการีพร                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (ธุรกิจส่วนตัว)
นายภูชิต ม่วงมั่น                        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นายเอกชัย มาตวงศ์                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นายภัทรพงศ์ ตนเหี่ยม                 นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (พนักงานบริษัทเอกชน)
นายธิปไตร แสละวงศ์                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 และทุนรัฐบาลฝรั่งเศส (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวแววดาว คุณกัณหา          นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษเอกชน)
นายอนุชา เบ็ญสลามัน                นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายสุริยา มารศรี                        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นายนที สรวารี                            ผู้สนับสนุน (เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน)
นายอัมรินทร์ บัวเจริญ                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นายนิกร ไชยเครื่อง                      นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นายสุวัฒน์ พิมพ์่ประเสริฐ            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นางสาวกาญจนา องคศิลป์          นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 และทุนกระทรวงวิทย์ฯ (นักศึกษาโท-เอก)
นางสาวสุวรรณภา นิลพนมชัย      นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (นักศึกษาปริญญาโท)
นายวุฒิชัย ระถาพล                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (พนักงานราชการ)
นายยุทธนา จันทะขิน                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวดุจเดือน อุดมทรัพย์         นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (นักศึกษาปริญญาเอก)
นายเปรมชัย จินะสาม                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นายธนูวิทย์ ประมาชิด                 นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นายจักรินทร์ ช่างทำร่อง               ผู้สนับสนุน
นายเสกสรร พรมเกษา                 นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวสุนิษา ไชยพรหม นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นายพลากร พันธ์เนียม                 นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นายเจนรบ เจริญจิตต์                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นายสุนทร แสงค้า                       นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 และทุนบริษัทเอกชนฝรั่งเศส (นักศึกษาป. โท)
นายสราวุฒิ ไชยนอก                   นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายวุฒินันท์ วงศ์ใหญ่                 นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายยงยุทธิ์ ก้งดี                         นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นางสาวขนิษฐา สีเงิน                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นางสาวทานตะวัน อุณาภาค        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (พนักงานราชการ)
นางสาวสุพรรณษา ขุนทอง          นักเรียนสอบชิงทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่  3
นายภวินท์ จารย์ลี                       นักเรียนสอบชิงทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่  3
นางสาวนฤมล โรจน์ทองคำ          นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1  (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวทิพวัลย์ นวลมุสิก            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)        
นางสาวจันทร์สุดา ภิรมย์ราช        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายนัฐพล กิจสมัคร                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2
นางสาวสุภาคิณี อภิชัย                นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นางสาวพัชรีภรณ์ ใจทอง             นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวสุกัญญา บุตรหลำ           นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2
นางสาววรัญญา ช่างแช่ม            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)    
นางสาวสะใบพร พัฒนพานิชกุล   นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)    
นายวัชรินทร์ ขอเพิ่มกลาง            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (ธุรกิจส่วนตัว)
นายรุ่งโรจน์ เจริญไทย                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)     
นางสาวเดือนเพ็ญ กาละปัตย์       นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นางสาวศุภลักษณ์ สีสันต์            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)
นางสาวนินดาร์ มะลี                   นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (ธุรกิจส่วนตัว)
นางสาวรัตนาพร สิริบาล นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่  2 (เภสัชกร)
นางสาวจิรวดี สารสุวรรณ            นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (วิศวกรบริษัทเอกชน)
นางสาวคณินสญา เร่งพิมาย        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นางสาวพัชรินทร์ สายสู่               นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายมโนทัย ไชยแสง                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นายสัญชัย แวดเวียง                   นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2
นายบรรพต รสจันทน์                   นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษา ปริญญาโท)
นายธนัยนันท์ ราชกิตวาณิชย์        ผู้สนับสนุน  
นางสาวเบญจพิศ นาเมืองรักษ์     นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายอาทิตย์ โรจนา                      นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (Analyst - GHRSC -BK, EML.)  
นายแสนศักดิ์ สำเภาทอง             นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1
นายวรเชษฐ์ อุทธา                      นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 และทุนกระทรวงวิทย์ (นักศึกษาปริญญาโท-เอก)
นายอำพล อินทะคง                    นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (วิศวกรเอกชน)
นางสาวอังคณา เก่งเที่ยว นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นางสาวเรณู พึ่งบ้านเกาะ นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นางสาวระวิวรรณ บัญชาธนากิจ   ผู้สนับสนุน (นักศึกษาปริญญาเอก)
นายยุทธพงษ์ สิงห์จันลา              นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (นักศึกษาปริญญาเอก)
นางสาวสมสกุล มณีรัตน             นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 1 (นักศึกษาปริญญาเอก)
นางสาวศิริรัตน์ คงสิรพิพัฒน์        นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2
นางสาวอรพรรณ ศรีวิพัฒน์          นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายภาคภูมิ ทวีสิทธิชาติ             ผู้สนับสนุน (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5)
นายปณต ศรีโยธา                       ผู้สนับสนุน (นักศึกษาปริญญาตรี)
นายชัยสิทธิ์ หิรัญรัตน์                  นักเรียนทุนหนึ่งอำเภอฯ รุ่นที่ 2 (นักศึกษาปริญญาโท)

 

 

หมายเหตุ : ข่าว/ ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10150698163497080
http://www.dailynews.co.th/education/19448
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039529

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การรณรงค์หรือการบังคับให้ปฏิญาณตนว่า “จะยึดมั่นหรือจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

Posted: 03 Apr 2012 09:00 AM PDT

จะช้าหรือเร็วรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 จะต้องถูกแก้ แต่ที่แน่นอนในหมวดของสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยที่ว่าด้วยการนับถือศาสนาที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพสมบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” คงไม่ถูกแก้ไขไปด้วย เพราะเป็นแบบมาตรฐานทั่วไปของรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่จะยกมาก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าการรณรงค์หรือการบังคับให้ปฏิญาณตนว่า “จะยึดมั่นหรือจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” นั้นขัดรัฐธรรมนูญ เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะไม่นับถือศาสนา ฉะนั้นการบังคับหรือการรณรงค์ แม้กระทั่งคำกล่าวของบุคคลสำคัญในบ้านเมืองที่ให้ยึดมั่นหรือจงรักภักดีต่อศาสนา จึงเป็นการบังคับขืนใจให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตนไม่ชอบหรือศรัทธาในแง่ของการปฏิบัติ (หรือไม่ปฏิบัติ) ตามพิธีกรรมตามความเชื่อของตนนั่นเอง

เมื่อกล่าวถึงการไม่นับถือศาสนาสำหรับคนไทยเราแล้วดูเหมือนว่าจะเป็นของแปลกประหลาดแต่ในต่างประเทศเป็นสิ่งธรรมดามาก จากเว็บไซต์ http://www2.ttcn.ne.jp/~honkawa/9460.html ได้แสดงผลการสำรวจจำนวนร้อยละของผู้ไม่นับถือศาสนาในประเทศต่าง ๆ ดังนี้

เอสโตเนีย 75.5%, อาเซอร์ไบจาน 74%, แอลเบเนีย 60-75%, สาธารณรัฐประชาชนจีน 59-71%, สวีเดน 46-85%, สาธารณรัฐเช็ค 59%(ยังไม่รวมผู้ที่ไม่กรอกข้อมูลในแบบสำรวจอีก 8%), ญี่ปุ่น 51.8%, รัสเซีย 48.1 %, เบลารุส 47.8%, เวียดนาม 46.1%, เนเธอร์แลนด์ 44.0%, ฟินแลนด์ 28-60%, ฮังการี 42.6%, ยูเครน 42.4%, อิสราเอล 41.0%, ลัตเวีย 40.6%, เกาหลีใต้ 36.4%, เบลเยียม 35.4%, นิวซีแลนด์ 34.7% (จาก 87.3% ของผู้สอบถาม), ชิลี 33.8%, เยอรมนี 32.7%, ลักเซมเบอร์ก 29.9%, สโลเวเนีย 29.9%, ฝรั่งเศส 27.2% (ชาย 30.6% หญิง 23.9%,), เวเนซูเอลา 27.0%, สโลเวเกีย 23.1%, เมกซิโก 20.5%, ลิทัวเนีย 19.4%, เดนมาร์ก 19%, ออสเตรเลีย 18.7% (จากผู้ตอบ 88.8% ซึ่งรวมถึง 29.9%ของผู้ที่ไม่ตอบและตอบไม่ชัดเจน), อิตาลี 17.8%, สเปน 17%, แคนาดา 16.2%, อาร์เจนตินา 16.0%, สหราชอาณาจักร 15.5% (23.2% ไม่ตอบ), แอฟริกาใต้ 15.1%, สหรัฐอเมริกา 15.0% (จาก 94.6% ของผู้ตอบ) ฯลฯ น่าเสียดายที่ไม่มีข้อมูลการสำรวจของประเทศไทยเรา แต่ผมเชื่อว่าคงมีจำนวนมากที่ระบุศาสนาลงในเฉพาะทะเบียนบ้าน โดยไม่ได้มีการนับถือหรือปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาที่ตนระบุไว้ แต่ก็ไม่กล้าประกาศว่าตนไม่นับถือศาสนาใดใด เพราะเกรงผลกระทบตามมาทางสังคม

การมีศาสนาก็คงจะเป็นเหมือนกับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผลดีของการมีศาสนาก็คือเมื่อมนุษย์เชื่อมั่นในศาสนาที่ตนเองนับถืออย่างแท้จริงแล้ว มนุษย์ก็จะไม่ทำความชั่ว จะทำแต่ความดี ซึ่งย่อมที่จะเป็นผลดีทั้งต่อจิตใจของตนเอง และต่อสังคม โลกก็มีสันติภาพ

ส่วนผลเสียก็คือการแต่งเติมคำสอนออกไปมากมายจนผิดเพี้ยน มีการเพิ่มเติม “พิธีกรรม”จนกลายเป็นการปฏิบัติที่งมงายไร้เหตุผล ซึ่งไม่ได้ช่วยให้ผู้ที่นับถือเข้าใจหรือเห็นแจ้งในชีวิตขึ้นมาได้ มีการอาศัยศาสนาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่นับถือในลักษณะของธุรกิจการพาณิชย์ไป มีการปฏิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสอนดั้งเดิมจนเป็นที่กังขาว่า ฤาศาสนานั้นๆจะไม่ใช่ของดีที่แท้จริง

ผลเสียที่สำคัญก็คือ “ความใจแคบของศาสนิก” ที่มักจะเชื่อตามกันมาว่าหากใครที่เปลี่ยนศาสนาไปนับถือศาสนาอื่นหรือเปลี่ยนเป็นไม่นับถือศาสนาเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง สมควรที่จะต้องถูกรับโทษทัณฑ์อย่างแสนสาหัสตราบนานเท่านาน แม้จะตายไปแล้วก็ตามสำหรับศาสนาที่เชื่อในโลกนี้โลกหน้า

บางครั้งการนับถือศาสนาก็กลับกลายเป็นการเพิ่มข้อผูกมัดให้แก่ชีวิตของผู้นับถือศาสนามากขึ้น เพราะอันเนื่องมาจากเหตุของข้อบังคับในศาสนานั่นเอง แทนที่ศาสนาจะช่วยให้มีอิสรภาพ ก็กลับเป็นว่าศาสนากลายเป็นสิ่งครอบงำหรือผูกมัดให้ผู้นับถือสูญเสียอิสรภาพในการคิด การพูด และการกระทำที่แม้ว่าจะถูกต้องตามหลักสากลก็ตาม

ฉะนั้น จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดอันใดที่ผู้มีปัญญาทั้งหลายจะแสวงหาแนวทางที่บริสุทธิ์ ดีงาม      ไม่งมงาย ไม่ไร้เหตุผล เป็นสากล และช่วยให้เข้าใจในชีวิต บางคนจึงละทิ้งศาสนาเดิมของตนแล้วกลายเป็น “คนไม่นับถือศาสนา (irreligious persons)” ไปในที่สุด ซึ่งนับวันคนไม่นับถือศาสนาเช่นนี้จะเพิ่มทวีมากขึ้นในโลกปัจจุบัน

เมื่อไม่มีศาสนาแล้วจะเป็นอย่างไร

ประเด็นนี้ไม่น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ที่มีสติปัญญามาก แต่น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ที่มีสติปัญญาน้อยหรือไม่มีสติปัญญา เพราะผู้ที่มีสติปัญญาน้อยค่อนข้างเสี่ยงที่จะทำความชั่วได้ง่าย ด้วยเหตุอันมาจากการขาดเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหรือภูมิคุ้มกัน เพราะเขาไม่เชื่อในผลแห่งการกระทำ จึงพยายามแสวงหาและเสพความสุขให้เต็มอิ่มในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าตายไปแล้วก็ไม่ได้เสพอีก ซึ่งการแสวงหาและการเสพในทางที่ผิดนี้ยิ่งเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเองและสังคมด้วย

ในทางกลับกันสำหรับผู้ที่มีสติปัญญามากย่อมเห็นว่าไม่ว่าจะตายไปแล้วหรือไม่ก็ตาม การทำความชั่วนั้นย่อมมีผลเสีย การทำความดีย่อมมีผลดีในตัวของมันเองอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้ที่มีสติปัญญาอย่างแท้จริงแม้ไม่มีศาสนาเขาก็ยังทำแต่ความดีและไม่ทำความชั่วได้เหมือนกับคนที่มีศาสนา เพราะผู้ที่ทำความดีนั้นชีวิตของเขาก็ย่อมที่จะมีแต่ความสงบสุข ไม่เดือดร้อน เพราะการทำความดีของเขาในปัจจุบันแม้ตายไปแล้วถ้าโลกหน้ามีจริงเขาก็ย่อมได้รับอย่างแน่นอน แต่หากโลกหน้าไม่มีจริง เขาก็ไม่ขาดทุนเพราะเขาได้รับผลดีอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งผมของดเว้นที่จะยกตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สังคมเคารพยกย่องว่าเป็น  คนดีหลายๆท่านที่เป็นผู้ไม่ได้นับถือศาสนาใดใด เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้หันมาไม่นับถือศาสนาหรือเป็นการสร้างศาสดาใหม่ขึ้นมาในบรรดาของผู้ที่ไม่นับถือศาสนาไปเสีย

กล่าวโดยสรุปก็คือ ใครเชื่อ ใครนับถือศาสนาไหนก็นับถือไป ใครไม่เชื่อ ใครไม่นับถือศาสนาก็ย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวที่ย่อมไม่อาจถูกละเมิดหรือถูกบังคับให้ต้องนับถือศาสนาใดใด ดังที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้และดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง และถ้าจะให้ดีหาก สสร.55จะบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ชัดๆไปเลยว่าบุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการนับถือหรือไม่นับถือศาสนาก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ไม่ต้องมาเถียงหรือตีความกันให้ยุ่งยากและเสียเวลา


 

............................................

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 4 เมษายน 2555 ในหัวข้อ “สิทธิ เสรีภาพในการไม่  นับถือศาสนา”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เคลียร์ลานจอดรถ ‘ลีการ์เดนส์’ พบ 40 คันใช้ทะเบียนปลอม

Posted: 03 Apr 2012 08:52 AM PDT

 

เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ร่วมกันเคลียร์รถออกจากที่จอดรถชั้นใต้ดินโรงแรมลี การ์เด้นส์ พลาซ่า โดยทยอยนำรถจักรยานยนต์ขึ้นมาก่อน พบรถใช้ทะเบียนไม่ตรงกับตัวรถมากถึง 40 คัน

 


เคลียร์ลานจอดรถ “ลี การ์เดนส์” พบทะเบียนรถไม่ตรง 40 คัน ย้ายเอาไปเก็บที่ค่ายเสนาณรงค์ รอเจ้าของนำหลักฐานไปยืนยัน จังหวัดสงขลาเร็วทันใจ จ่ายเงินเยียยวยามาเลย์เสียชีวิตแล้ว เลขานายกฯ มาเลย์ยัน ไม่ได้สั่งห้ามนักท่องเที่ยวมาเลย์มาหาดใหญ่

เคลียร์ลานจอดรถ “ลี การ์เดนส์” พบทะเบียนไม่ตรงอื้อ
รายงานข่าวจากโรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาแจ้งว่า ตั้งแต่เช้าวันที่ 3 เมษายน 2555 เจ้าหน้าที่ได้เข้าเคลียร์พื้นที่และลงไปเคลื่อนย้ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ออกจากชั้นใต้ดินของโรงแรม ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 โดยทยอยนำรถจักรยานยนต์ออกมาก่อน

ทั้งนี้ รถที่ติดอยู่ในชั้นใต้ดินของโรงแรมเกือบ 40 คัน มีปัญหาการครอบครองรถและป้ายทะเบียนไม่ตรงกับที่จดทะเบียนรถไว้ ในส่วนนี้ได้นำไปเก็บไว้ที่ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ เพื่อให้เจ้าของนำหลักฐานของรถมายืนยัน จากนั้นได้ทยอยเคลียร์รถยนต์ที่ถูกไฟไหม้อีกเกือบ 50 คัน ส่วนใหญ่เหลือแต่ซากออกมาจากที่จอดรถชั้นใต้ดิน เพื่อเปิดพื้นที่ให้โรงแรมซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

นายสุกิจ วัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักการช่างเทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธามาร่วมตรวจสอบโครงสร้างของโรงแรมอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณชั้นใต้ดินจุดเกิดเหตุระเบิดว่า ยังใช้งานได้หรือไม่ หรือต้องปรับปรุงโครงสร้างส่วนใดบ้าง

รายงานข่าวจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แจ้งว่า จากการสืบสวนพบคนร้ายฉวยโอกาสขับรถเข้าไปยังลานจอดรถชั้นใต้ดินโรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า ในช่วงสับเปลี่ยนเวรยาม เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นผลให้รถคันก่อเหตุไม่มีบัตรอนุญาตให้เข้าไปจอดรถ และไม่มีการตรวจค้นรถก่อนเข้าจอด จากการสืบสวนยังพบด้วยว่า รถที่ใช้ก่อเหตุได้เข้าไปพักในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 1 วัน ก่อนคนร้ายจะนำมาใช้วางระเบิดคาร์บอมบ์

ขณะเดียวกันพล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางลงตรวจสอบสถานเกิดเหตุและติดตามความคืบหน้าคดี จากเบาะแส 2 ผู้ต้องสงสัยที่ได้มาจากภาพวงจรปิด เชื่อว่าเป็นกลุ่มแนวร่วมขบวนการก่อความไม่สงบที่มีประวัติอยู่แล้ว

เยียวยาญาติผู้เสียชีวิตชาวมาเลย์แล้ว
เมื่อเย็นวันที่ 2 เมษายน 2555 ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสุรพล พนัสอำพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้มอบเงินเยียวยาให้กับญาติของ MR. LOW TSIAN HOCK ชาวมาเลเซีย ซึ่งเสียชีวิตจากจากเหตุระเบิดที่โรงแรมลีการ์เดนส์ พลาซ่าแล้ว จำนวน 459,000 บาท แยกเป็นเงินจากจังหวัดสงขลา 150,000 บาท จากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 309,000 บาท มีดาโต๊ะ ลัตชารีมัน อับดุลเลาะห์ เลขานุการนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะตัวแทนรัฐบาลมาเลเซีย เป็นพยาน โดยศพของนักท่องเที่ยวรายนี้ ญาติจะบำเพ็ญกุศลในจังหวัดสงขลา หลังจากฌาปนกิจแล้วเสร็จจะนำเถ้ากระดูกกลับประเทศมาเลเซียต่อไป ในการนี้ ดาโต๊ะ ลัตชารีมัน อับดุลเลาะห์ ได้เยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บชาวมาเลเซีย ที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ 4 คน ซึ่งทั้งหมดพ้นขีดอันตราย

ดาโต๊ะ ลัต ชารีมัน อับดุลเลาะ กล่าวว่า รัฐบาลมาเลเซียเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอแสดงความเสียใจมายังผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ขอบคุณรัฐบาลไทย จังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์ และให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บชาวมาเลเซียอย่างเต็มที่และดีที่สุด

“ผมขอยืนยันว่าประเทศมาเลเซียไม่ได้ประกาศห้ามชาวมาเลเซียเข้ามาเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ เพราะคนมาเลเซียผูกพันกับเมืองหาดใหญ่ เราเป็นพี่เป็นน้องกัน รู้ดีว่าการเข้ามาเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ปลอดภัยแค่ไหน ที่ผ่านมาการรักษาความปลอดภัยเมืองหาดใหญ่อยู่ในระดับดี ดังนั้นการมาเที่ยวเมืองหาดใหญ่ เป็นเรื่องที่ชาวมาเลเซียแต่ละคนพิจารณาได้เอง” ดาโต๊ะ ลัต ชารีมัน อับดุลเลาะ กล่าว

นายสุรพล เปิดเผยว่า สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่โรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่า เบื้องต้นจังหวัดสงขลา ได้จ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในกรณีที่เสียชีวิตจ่ายค่าจัดการศพ 25,000 บาท ถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัวจ่ายเพิ่มอีก 25,000 บาท กรณีได้รับบาดเจ็บรักษาตัวเกิน 3 วัน จ่าย 3,000 บาท บาดเจ็บเล็กน้อยจ่าย 2,000 บาท พร้อมกับจ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายละ 2,000 บาท หากเป็นนักท่องเที่ยวเสียชีวิตกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะจ่ายเงินผ่านสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลาอีก 309,000 บาท

สำหรับเหตุระเบิดกลางเมืองยะลา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 11 ราย เป็นชาย 5 ราย หญิง 6 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 106 ราย ขณะนี้ยังมีผู้นอนพักรักษาอยู่ตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา 25 ราย จากการสำรวจพบอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 35 หลัง รถยนต์ได้รับความเสียหาย 11 คัน รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย 18 คัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เหลียวหลังแลหน้า 13 ปี พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา

Posted: 03 Apr 2012 08:46 AM PDT

การแปรเปลี่ยนสภาพการบริหารของสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ภายใต้การบริหารงานในระบบราชการไปเป็นแบบอยู่นอกระบบราชการหรือที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ” มีแนวคิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 แต่ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดๆ เนื่องจากความไม่เข้าใจและความไม่แน่ใจในสถานภาพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2531 ในสมัยรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ที่ออกนอกระบบราชการแห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากที่ผ่านมาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในระบบราชการ มีระเบียบหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย ขาดความคล่องตัว ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การเงินและพัสดุ ซึ่งขัดกับลักษณะการบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการความเป็นอิสระคล่องตัว เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศและความก้าวหน้าทางวิชาการ อีกทั้งได้เกิดภาวะ “สมองไหล” ต้องสูญเสียบุคลากรเก่งๆ ที่มีความรู้ความสามารถสูงไปสู่ภาคธุรกิจเอกชนหรือไม่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานภาครัฐได้ โดยเฉพาะการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นับว่าเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพขององค์กรภาครัฐอย่างยิ่ง

ระบบ “พนักงานมหาวิทยาลัย” ได้ถูกนำมาใช้แทนระบบ “ข้าราชการ” อย่างเป็นทางการ ภายหลังวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2542 เพื่อลดรายจ่ายภาครัฐ โดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ (ค.ป.ร.) ได้ระงับการกำหนดอัตราข้าราชการใหม่ทุกประเภทให้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาที่ต้องการให้เปลี่ยนสถานภาพการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2542 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการจ้างบุคลากรสาย ก. ในอัตราข้าราชการแรกบรรจุ ซึ่งเป็นอัตราปัจจุบันบวกด้วยอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 70 (1.7 เท่า) และให้จ้างบุคลากรสาย ข. และสาย ค. ในอัตราข้าราชการแรกบรรจุ ซึ่งเป็นอัตราปัจจุบันบวกด้วยอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 50 (1.5 เท่า) จนกว่าจะปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายในปี พ.ศ. 2545

ในขณะที่ทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้ให้หลักการว่า “พนักงานมหาวิทยาลัย” เป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้กฎหมายของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม โดยได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าในปัจจุบัน แต่ไม่ควรต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจ สามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงาน โดยจะได้รับตามความสามารถและภาระงาน ซึ่งพิจารณาตามคุณภาพและปริมาณงานวิจัย ดังนั้นอาจารย์แต่ละคนเงินเดือนไม่ควรเท่ากัน สำหรับระบบบัญชีเงินเดือนควรแยกระหว่างบุคลากรสายวิชาชีพและสายปฏิบัติการ ทั้งนี้ทุกมหาวิทยาลัยจะใช้บัญชีเงินเดือนเดียวกันในระยะ 3 ปีแรกของการเปลี่ยนระบบ การกำหนดผลประโยชน์เกื้อกูลจะต้องไม่ต่ำกว่าที่ควรได้รับ งบสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี ควรขอจัดสรรงบประมาณจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน โดยมีแนวปฏิบัติในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สรุปได้ดังนี้

1. ต้องเป็นระบบที่ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถและรักษาคนดีไว้ได้

2. ให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดบัญชีอัตราเงินเดือน โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและภาระงานเป็นสำคัญ

3. การกำหนดผลประโยชน์และสวัสดิการ พนักงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะได้รับสิทธิและประโยชน์เกื้อกูลรวมกันแล้วจะไม่น้อยกว่าระบบราชการ เช่น ไม่มีระเบียบบำเหน็จ บำนาญ แต่มีระบบกองทุนเลี้ยงชีพแทน เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีวิธีการที่แตกต่างกันไป

4. กำหนดเงื่อนไขการจ้างและกลไกการประเมิน โดยคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยยึดหลักการ 4 ประการ คือ

1)  วิธีการประเมินต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรม

2)  กลไกการประเมินควรใช้องค์คณะบุคคลทั้งภายในและภายนอก

3)  ผลของการประเมินต้องนำไปพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้ได้คุณภาพ

4)  กฎเกณฑ์การดำเนินการต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม

5. การถ่ายโอนเข้าสู่ระบบใหม่ ให้มีคณะกรรมการประเมินศักยภาพบุคคลขึ้น 

6. การขอตำแหน่งทางวิชาการ ภายใต้กฎเกณฑ์ข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัย

7. พนักงานมหาวิทยาลัยยังคงให้ได้รับสิทธิการของเครื่องราชอิสริยาภรณ์เช่นเดียวกับข้าราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ในปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาที่ได้เปลี่ยนสถานภาพการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 14 สถาบัน คงเหลืออีก 65 สถาบัน ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสถานภาพการบริหารได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถเปลี่ยนสถานภาพการบริหารเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้ทั้งหมด แต่บุคลากรที่เข้ามาใหม่ได้ถูกเปลี่ยนสถานภาพจาก “ข้าราชการ” เป็น “พนักงานมหาวิทยาลัย” ไปหมดแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณแผ่นดินกับพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ซึ่งมีจำนวนหลายหมื่นคน การปรับสถานะภาพดังกล่าว ได้ผูกมัดไว้ด้วยระบบ “สัญญาจ้าง” ที่มีระยะเวลาการว่าจ้างตามสัญญา ส่งกระทบต่อ “ความมั่นคง” ในการทำงาน “เสรีภาพทางวิชาการ” ของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะต้องกังวลกับสัญญาจ้างงานที่อาจถูกประเมินให้ออกจากงานได้โดยไม่เป็นธรรม สะท้อนให้เห็นว่า รัฐหรือผู้บริหารกำลังต้องการควบคุมอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ให้แสดงความคิดเห็นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของรัฐ ซึ่งต่างจากในอดีตที่ผ่านมาที่อาจารย์มหาวิทยาลัย คือ ผู้นำความคิดของสังคม โดยเฉพาะเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญๆ เช่น 14 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งถ้าตัวเองยังขาดความมั่นคงแบบนี้ก็อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะไปสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับใคร

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบใหม่นี้ นอกจากจะไม่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้สามารถสูงเข้ามาทำงานได้แล้วยังกลับสร้างปัญหามากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในเรื่อง การขาด “ขวัญกำลังใจ” ในการทำงาน “พนักงานมหาวิทยาลัย” ไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามหลักการที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ไว้ ที่สำคัญ คือ การไม่ได้รับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้ 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุที่เป็นอัตราปัจจุบัน ซึ่งเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุในปัจจุบัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2555 ได้กำหนดให้บุคลากรภาครัฐที่จบปริญญาตรีได้รับเงินเดือน 11,680 บาท บวกกับค่าครองชีพอีก 3,320 บาท รวมเป็นเงิน 15,000 บาท (ตามนโยบายรัฐบาล) วุฒิปริญญาโท 15,300 บาท และวุฒิปริญญาเอก 19,000 บาท

นโยบายดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำงานมานานและเงินเดือนเกินอัตราแรกบรรจุแล้ว ซึ่งเป็นการทำลายระบบโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งในบางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยตามการปรับเงินเดือนข้าราชการตลอดสัญญาจ้างที่ผ่านมาเลย และไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ “พนักงานมหาวิทยาลัย” มีภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ไม่ทุ่มเทในการทำงานหรือการสอนให้มีคุณภาพ ไม่เกิดความผูกพันและความรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อ “ประสิทธิภาพ” ในการทำงานและ “คุณภาพการศึกษา” ของไทยในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นอกจากนั้น “พนักงานมหาวิทยาลัย” ยังได้สูญเสียสิทธิและผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ ที่เป็นข้อดีของระบบข้าราชการไปเกือบทั้งหมด เช่น

1. การใช้ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนประกันสังคม แทนการได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ ซึ่งมีสถานะภาพที่แย่กว่า อีกทั้งยังไม่สามารถเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ก.บ.ข.) ได้

2. การใช้ระบบประกันสังคมในการรักษาพยาบาลตนเอง ซึ่งมีปัญหาทั้งเรื่องการให้บริการและคุณภาพของยา ในขณะที่ไม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลบิดามารดา คู่สมรสและบุตร เหมือนกับระบบข้าราชการ

3. ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี เงินเดือนในระหว่างการลาศึกษาต่อ เงินตอบแทนพิเศษประจำปี (โบนัส) เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งทางวิชาการ อีก 1 เท่า (ในบางสถาบันอาจกำหนดให้ได้รับเงินค่าตอบแทนอีก 1 เท่า เช่นเดียวกับข้าราชการ)

4. ไม่สามารถดำเนินการธุรกรรมทางการเงินหรือการค้ำประกันได้ เนื่องจากมีสถานภาพเป็นเพียง “ลูกจ้าง” ซึ่งไม่มีความมั่นคง โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานและต่อ “สัญญาจ้าง” ตามระยะเวลาที่กำหนด

จากสภาพปัจจุบันที่กล่าวมา เกียรติยศและศักดิ์ศรีของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเดิม อาจถึงจุดตกต่ำสุดขีด พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกำลังมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ลงหรือไม่

อีกสักระยะหนึ่งเราอาจจะเห็นหนี้สินของคนในมหาวิทยาลัยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบุคลากรในมหาวิทยาลัยอาจได้เงินเดือนน้อยกว่าครูอาจารย์ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ถ้าไม่เปิดสอนหลักสูตรภาคพิเศษหรือรับงานภายนอก) ในวันนี้เราอาจเห็นบางคนได้เริ่มละทิ้งอุดมการณ์ไปสมัครสอบเป็นข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว และต่อไปครูอาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่เพียงผลิตบัณฑิตตามเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาในเชิงปริมาณให้สูงขึ้นเท่านั้น สาขาวิชาใดที่ไม่มีผู้เรียนหรือมีคนสนใจน้อยจะอยู่ไม่ได้ เพราะการศึกษากำลังจะกลายเป็นธุรกิจ ลูกศิษย์กลายเป็นลูกค้า ดังนั้นถ้าจ่ายครบก็จะจบแน่ ! แต่คุณภาพของบัณฑิตจะเป็นอย่างไรไม่สามารถตอบได้

หากเราปล่อยไว้ในสภาพเช่นนี้ จะเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สังคมไทย ดังนั้นจะต้องสร้าง “เกียรติยศศักดิ์ศรีและความมั่นคง” ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษากลับคืนมาโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ เพื่อคุณภาพของอุดมศึกษาไทยและเยาวชนของชาติ


สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนกูเกิลเสียดาย พ.ร.บ.คอมฯ ทำบรรยากาศปิด ไม่เอื้อลงทุน

Posted: 03 Apr 2012 08:39 AM PDT

ในการอภิปรายหัวข้อ "ประเทศไทยพร้อมหรือยังสำหรับเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ?" ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการพูดถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของไทยที่มีบทลงโทษต่อตัวกลาง หรือผู้ให้บริการ เทียบเท่ากับผู้กระทำความผิด กับความสามารถในการแข่งขันของไทย

เควิน แบงสตัน (Kevin Bankston) จากศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและเทคโนโลยี Center for Democracy and Technology กล่าวถึงแนวคิด อย่าทำร้ายคนส่งสาร (Don't shoot the messenger) ที่ถูกใช้ในการปกป้องตัวกลางหรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ว่าคนส่งสารไม่ควรถูกลงโทษเพราะไม่ยุติธรรม เนื่องจากตัวกลางไม่ได้เป็นผู้สร้างเนื้อหานั้นๆ และอาจทำให้ไม่ได้รับข้อมูลสำคัญ พร้อมชี้ว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก-โรมัน ที่มีการลงโทษผู้ส่งสารที่แจ้งเตือนข่าวร้าย ทำให้ไม่มีใครกล้าส่งสารอีก ส่งผลต่อความพ่ายแพ้ของเมือง หรือจีนในอดีต ที่จะปล่อยคนส่งสารเดินทางกลับอย่างปลอดภัย

เควิน กล่าวว่า ปัจจุบัน คนส่งสารในยุคใหม่ (modern messenger) คือ วิกิพีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ซึ่งมีข้อมูลถูกสร้างโดยผู้ใช้จำนวนมหาศาล พร้อมชี้ว่าเฟซบุ๊กของมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ค อาจจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีกฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่ปกป้องตัวกลางจากการรับผิด

ทั้งนี้ เขาชี้ว่า การเก็บล็อคไฟล์ 90 วัน หรือต้องมอนิเตอร์สิ่งที่มีผู้โพสต์ ตลอด 24 ชม. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการประเภทที่ผู้ใช้สร้างเนื้อหาไม่ต้องทำในสหรัฐฯ หรือยุโรป เช่นนี้แล้วเหตุใดคนจะต้องลงทุนในไทยที่มีสภาพกฎหมายแบบนี้

พิรงรอง รามสูต ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากกรณีที่มีผู้โพสต์คลิปที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในยูทูป และกระทรวงไอซีทีของไทยได้ขอให้ถอดคลิปดังกล่าวออกแต่ยูทูปปฏิเสธเนื่องจากไม่ใช่นโยบายของยูทูป จนนำไปสู่การที่กระทรวงไอซีทีบล็อคเว็บยูทูป นำมาซึ่งการผลักดัน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จนสำเร็จในปี 2550 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร

พิรงรอง กล่าวต่อว่า จากงานวิจัยของ iLaw พบว่ามีการฟ้องร้องในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ (17%) น้อยกว่าประเด็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต (63%) โดยเธอมองว่าการออกกฎหมายนี้ทำให้ตัวกลางต้องรับผิดชอบแบบเดียวกับบรรณาธิการสิ่งพิมพ์ พร้อมเปรียบเทียบว่า แทนที่กระทรวงไอซีทีจะสร้างถนน แต่กลับสร้างตัวหนอนที่ทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างมีข้อจำกัด

วันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Pantip.com กล่าวว่า ก่อนมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีการใช้กฎหมายสิ่งพิมพ์กับผู้ประกอบการเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ถูกจัดเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ซึ่งห่างไกลความเป็นจริง เพราะ บก.นสพ.มีโอกาสตรวจเนื้อหาก่อน แต่เว็บมาสเตอร์ไม่มีโอกาสเห็นข้อความก่อนออนไลน์

วันฉัตรเล่าถึงคดีหนึ่งหลังจากมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเว็บพันทิปถูกฟ้อง และพันทิปต่อสู้ในประเด็นที่ว่า ข้อความที่มีผู้มาโพสต์เป็นข้อความตรงกับที่มีคนกลุ่มหนึ่งออกประกาศมาจริงๆ จึงไม่ใช่การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ และเปรียบเทียบระดับการรับผิดของตัวกลางว่า พันทิปเป็นผู้ให้บริการเช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก ที่หากมีผู้ทำแฟนเพจขึ้นผู้ดูแลแฟนเพจก็มีสิทธิลบข้อความที่ถูกโพสต์ได้ ดังนั้นพันทิปในฐานะผู้ให้บริการจึงไม่ได้อยู่ในชั้นใกล้ที่สุดที่จะลบได้ โดยคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยกฟ้อง ขณะนี้อยู่ในศาลอุทธรณ์

วันฉัตรเล่าว่า ในเว็บพันทิป คนที่จะโพสต์ได้ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกโดยใช้เลขบัตรประชาชน ซึ่งมีผลทางจิตวิทยาทำให้ผู้เขียนระมัดระวัง เพราะหากทำผิด สามารถถูกตามตัวได้ นอกจากนั้นยังมีพนักงานมอนิเตอร์เนื้อหาและให้ผู้อ่านแจ้งเมื่อพบสิ่งไม่เหมาะสม ซึ่งพันทิปโชคดีที่มีผู้อ่านดีๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ผิดกฎหมายมีผลทำร้ายสังคมสามารถเอาออกได้ทันที แต่ส่วนที่ยากคือข้อความที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น การเปิดโปงต่างๆ ซึ่งพันทิปมีแนวทางการจัดการคือ จะไม่ลบหากเนื้อหามีประโยชน์ต่อสาธารณะ นิติกรมีความเห็นว่าเข้าข่ายข้อยกเว้นของกฎหมาย และต้องมั่นใจว่าหาตัวคนเขียนข้อความได้จริงเมื่อขึ้นศาล

เขามองว่า พ.ร.บ.คอมฯ ช่วยให้ผู้ดูแลกฎหมายเข้าใจคนทำเว็บมากขึ้น รวมถึงทำให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทั้งนี้ เขามองว่าตัวกลางหรือ messenger มีสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นทางผ่านข้อมูล (conduit) ที่ถือเป็นผู้ส่งสาร 100% กับกลุ่มที่เป็นที่เก็บข้อมูล (data storage) ซึ่งเขามองว่าไม่ใช่ผู้ส่งสาร 100% ซึ่งควรจะหาจุดสมดุลในการรับผิดชอบสังคมและภาระหน้าที่ที่ผู้ให้บริการต้องแบกรับ อย่างไรก็ตาม เขาเองก็ยังมองว่าหาจุดสมดุลได้ยาก เนื่องจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังมีความต้องการที่แตกต่างกัน

แอน เลวิน (Ann Lavin) หัวหน้าฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และนโยบาย Google เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ใช้ที่แอคทีฟ โดยในงานที่กูเกิลจัดเมื่อสัปดาห์ก่อน มีผู้เข้าร่วมมากกว่าที่คาดไว้ ไม่แน่ว่าเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กใหม่อาจมาจากไทยก็ได้ แต่เธอมองว่าภายใต้บรรยากาศของไทยเช่นนี้ การลงทุนและนวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้น รวมถึงจะไม่มีการสร้างเนื้อหา หากผู้ใช้มองว่าจะเป็นอันตราย

ในช่วงถาม-ตอบ มีคำถามว่าผู้ใช้ตอบสนองต่อระเบียบใหม่ที่ต้องลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชนของพันทิปอย่างไร วันฉัตร กล่าวว่า การลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชนมีมาก่อนที่จะมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยช่วงแรก ผู้ใช้จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย แต่เขาได้พยายามชี้ให้เห็นว่าการลงทะเบียนจะเกิดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ ไม่ใช่เนื้อหารุนแรงที่มาจากคนที่โพสต์แบบไม่รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาคนก็เริ่มเห็นด้วยและหันมาลงทะเบียนมากขึ้น ขณะที่เควินกล่าวถึงประเด็นความนิรนามว่ามักมีความคาดหวังว่าการแสดงตัวตนหรือชื่อจริงจะทำให้เกิดชุมชนที่ดี แต่กลับมีงานวิจัยพบว่าผู้ที่ใช้นามแฝงแสดงความเห็นที่มีคุณภาพกว่า

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มองก้าวต่อไปของพม่า ผ่านสายตา “โก โก จี” ผู้นำนักศึกษายุค ‘88’

Posted: 03 Apr 2012 08:03 AM PDT

อัจฉรา อัชฌายกชาติ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์สัมภาษณ์ “โก โก จี” (Ko Ko Kyi) ถึงมุมมองต่ออนาคตของพม่าหลังการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1เมษายน เขาเป็นอดีตผู้นำนักศึกษาพม่ารุ่น 8888 ผู้ได้รับโทษจำคุก 65 ปีจากกิจกรรมทางการเมือง และถูกจองจำเป็นเวลา 4 เดือนครึ่ง ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา 

 

ถาม: เมื่อคุณถูกจองจำอยู่ คุณได้คาดหวังไหมว่าการปฏิรูปในพม่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น

ตอบ: ผมก็ไม่แปลกใจมากนัก ตอนที่อยู่ในคุก พวกเราไม่ได้แค่นั่งอยู่เฉยๆ หรือถอดใจ เราก็พยายามหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภายนอกอยู่เรื่อยๆ เรารู้ว่าผู้นำทหารจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเนื่องจากแรงกดดันจากประชาคมนานาชาติที่ไม่ชอบรัฐบาลที่กดขี่ประชาชน เขาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากระบอบทหารมาเป็นรัฐบาลพลเรือน

 

มีกระแสมองโลกในแง่ดีค่อนข้างมากในพม่า แต่ประวัติศาสตร์การปราบปรามประชาชนที่โหดร้ายก็ยังคงเลือนรางอยู่ คุณมองสถานการณ์หลังการเลือกตั้งว่าอย่างไรบ้าง

นี่เป็นช่วงเวลาที่สนใจมากในประวัติศาสตร์ของเรา เพราะเราจะได้เห็นทหารและกลุ่มฝ่ายค้านนั่งอยู่ร่วมกันในสภาเป็นครั้งแรก และนี่ก็เป็นสถานการณ์ที่แปลกมากสำหรับเรา

ด้วยเก้าอี้ 45 ที่นั่ง ถึงแม้ว่าพรรคเอ็นแอลดีจะได้ที่นั่งทั้งหมด แต่มันก็ไม่มีความหมายอะไรอยู่ดี เพราะเมื่อเทียบกับที่นั่งที่เหลือราว 86% ที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยกองทัพและพรรค USDP ที่สนับสนุนทหารก็นับว่าเป็นส่วนน้อยมากๆ

อย่างไรก็ตาม อองซานซูจีก็เป็นบุคคลที่มีความน่าเกรงขามที่แตกต่าง เธอสามารถพูดเสียงดังกว่าสมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆ

 

คุณคิดว่าภาคประชาชนสังคมจะสามารถเบ่งบานภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมืองเช่นในปัจจุบันได้อย่างไร

แน่นอนว่า นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในประเทศของเราเพราะเราไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ภายใต้ระบอบการเมืองพรรคเดียว มันก็พอมีองค์กรด้านสันติภาพ การพัฒนาและอาสาสมัครบ้าง แต่หลังจากขบวนการเคลื่อนไหวรุ่น 8888 และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมหลังเหตุการณ์นาร์กิส ประชาชนชาวพม่าก็เล็งเห็นแล้วว่าพวกเขาจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในประเด็นแห่งชาติและของชุมชน

รัฐบาลทหารได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาไม่สามารถจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ ประชาชนรุ่นใหม่จึงค่อนข้างกระตือรือร้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับปัญหาต่างๆ ในสังคม

 

คุณมองว่าจังหวะของการปฏิรูปทางการเมืองเป็นอย่างไร เมื่อพิจารณาจากว่ารัฐบาลพลเรือนเพิ่งจะตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติยังลังเลต่อการเปลี่ยนแปลง พวกเขาตอบสนองและกระทำบางสิ่งจากเพียงมุมเรื่องความมั่นคงเท่านั้น แต่ในขณะที่สังคมเราพัฒนาไป พวกเขาจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงการเคารพเสียงของประชาชน สิทธิ เสรีภาพและอิสรภาพของพลเมือง

นอกจากนี้ ยังมีการโต้เถียงด้วยว่าเศรษฐกิจหรือการเมืองจะสำคัญกว่ากัน เหล่าเผด็จการได้พยายามที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยแบบผสม และทำการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในแนวทางที่พวกเขาถนัด

 

มีความคาดหวังต่อการเจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์และการปรองดองแห่งชาติอย่างไร

นี่เป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก เพราะเป็นปัญหาที่มีมาถึงครึ่งศตวรรษ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในคราวเดียว

ผู้นำคนก่อนๆ พยายามจะแก้ปัญหาประเด็นชาติพันธุ์ โดยเสนอการหยุดยิง แต่มันก็เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขากล่าวถึงเรื่องนี้ผ่านงานพัฒนาในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วย แต่นั่นก็ยังไม่พอ

พวกเขาจัดการปัญหานี้จากมุมมองของกองทัพและความมั่นคง พวกเขาควรต้องจัดการมันจากมุมมองที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมุมทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมือง ไม่เช่นนั้น เราจะไม่สามารถแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ได้ นอกจากนี้ ที่ผ่านมา การพูดคุยมักถูกจัดขึ้นระหว่างผู้นำพม่าและผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ โดยที่เสียงของคนรากหญ้าไม่ได้มีส่วนร่วม

คนกลุ่มชาติพันธุ์นั้นยากจนและไร้เดียงสา พวกเขาไม่รู้สิทธิ ไม่รู้ว่าจะแสดงความต้องการของตัวเองอย่างไร เสียงส่วนมากของพวกเขาหายไป (จากกระบวนการปรองดอง) ดังนั้น หากพวกเราต้องการสันติภาพที่ยั่งยืนในประเทศ พวกเราจะต้องกระตุ้นและยอมให้เสียงเงียบปรากฏออกมา

 

ภารกิจต่อไปของคุณคืออะไร - - จะรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน?

ในนามของกลุ่ม "คนรุ่น '88" ผมได้เดินทางไปเยือนในหลายพื้นที่ของพม่า โดยทริปแรก หลังจากที่ผมได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเมื่อสามเดือนก่อน ผมได้ไปที่ภาคอิระวดี ซึ่งน่าสงสารมาก พวกเขาไม่มีความคิดเรื่องอะไรคือสังคมเปิด อะไรคือความโปร่งใส

แต่ผมก็ยังมองโลกในแง่ดีว่า เราได้หลอมรวมให้เกิดพันธมิตรและเครือข่ายกับกลุ่มต่างๆ มากมายทั้งกลุ่มด้านศิลปวัฒนธรรม กลุ่มศาสนา กลุ่มที่ทำงานพัฒนา และกลุ่มอาสาสมัคร รวมทั้งกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งขึ้นอย่างรัฐคะฉิ่นด้วย

กลุ่ม "คนรุ่น '88" ได้ประกาศด้วยว่าสนับสนุนออง ซาน ซูจี และพรรคของเธอ แต่นอกจากช่องทางรัฐสภา ประชาธิปไตยสาธารณะก็มีความสำคัญสำหรับพม่าด้วย เราจำเป็นต้องทำงานเพื่อเสริมศักยภาพให้กับองค์ความรู้ เพิ่มการตระหนักรู้และความมั่นใจให้กับประชาชน โดยสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น อย่างเช่นการประท้วงเขื่อนมิตซง และโครงการโรงไฟฟ้าทวาย

ตอนนี้ผมเองกำลังนำภารกิจการค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อ ส.ส. ชื่อขิ่น หม่อง ยี (KhineMaung Yi) ภายหลังจากที่ประชาชนราว 10,000 คน ที่อำเภอตะโกง ทางตะวันออกของภาคย่างกุ้ง ได้เข้าชื่อกันร้องเรียนว่ารัฐบาลบังคับให้พวกเขาขายที่ซึ่งพวกเขาหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงจากเงินเดือนข้าราชการ

ใช่ นี่คือสิ่งที่พวกเรากำลังดำเนินการในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายที่ดินเขาบรรทัด จี้กรมอุทยานฯ หยุด! แย่งยึดที่ดินชุมชน ประเคนนายทุน

Posted: 03 Apr 2012 07:04 AM PDT

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2  จี้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต้องยุติการแย่งชิงทรัพยากรจากชุมชนท้องถิ่นไปเพื่อสนองนายทุนและภาคอุตสาหกรรม

 
วันนี้ (3 เม.ย.55) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 “กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต้องยุติการแย่งยึดที่ดินชุมชน เพื่อไปประเคนให้นายทุน” จากกรณีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้โอกาสในช่วงเวลาปัจจุบันที่รัฐบาลยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาการจัดการที่ดิน ปราบปรามชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตป่าทั่วประเทศ โดยไม่ได้แยกแยะ พิจารณาถึงข้อเท็จจริงว่าชุมชนเหล่านั้นอยู่อาศัยและทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่า
 
ตั้งข้อสังเกตได้ว่า การปราบปรามครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในพื้นที่ป่า รวมทั้งเป็นการเปิดทางให้นายทุนเข้ามาทำธุรกิจการท่องเที่ยว และแย่งชิงทรัพยากรจากชุมชนท้องถิ่นไปเพื่อสนองนายทุนและภาคอุตสาหกรรม
 
แถลงการณ์ระบุข้อมูลว่า ในส่วนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตั้งเป้าหมายจับกุมและรื้อถอนสวนยางพื้นที่หลายแสนไร่ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน โดยระดมเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็วจากทั่วประเทศ รวมทั้งสนธิกำลังทหาร ตชด. ฝ่ายปกครอง ร่วมกันดำเนินการ
 
ในกรณีจังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่ได้เริ่มปฏิบัติการปราบปรามแล้ว โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มี.ค.55 นายสุรเชษฐ์ วันดีเรืองไพศาล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดได้จับกุมชาวบ้านในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ม.2 ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 2 ราย ในขณะที่นำหมากแห้งออกไปจำหน่าย แต่ตำรวจไม่รับแจ้งความเนื่องจากเห็นว่าเป็นวิถีชีวิตปกติของชาวบ้าน
 
ต่อมาวันที่ 30 มี.ค.55 นายสมชัย แสงแก้ว หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้จำนวน 50 นาย เข้าไปตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินถือครองเพียง 4 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง ทั้งที่พื้นที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) แล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้
 
แต่อีกด้านหนึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ กลับละเลยให้มีการตัดไม้ทำลายป่าในหลายพื้นที่ รวมถึงการปล่อยให้นายทุนชาวไทยและต่างชาติดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์มิชอบ สร้างโรงแรมหรูริมทะเลหลายแห่ง นอกจากนั้นยังมีแผนการเตรียมเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา พื้นที่ 5,000 ไร่ เพื่อให้กรมเจ้าท่าถมทะเลสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา และมีแผนให้กรมชลประทานสร้างเขื่อน 7 เขื่อนในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จ.สตูล และจ.สงขลา เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเนื้อที่ 150,000 ไร่ ใน จ.สตูล และหลายหมื่นไร่ ในจ.สงขลา ภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์สตูล-สงขลา
 
ขอเรียกร้อง ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด มีดังนี้ 1.รัฐบาลต้องสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน นายกรัฐมนตรีควรมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน
 
2.กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต้องหยุดการดำเนินการปราบปรามชาวบ้าน และหันกลับมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่า โดยเคารพสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ 3.ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ต้องกำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานราชการอื่นภายใต้การบริหารงานของจังหวัดตรัง เพื่อให้เกิดการปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้ง ข่มขู่คุกคามดำเนินคดีกับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม และ 4.สังคมต้องร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และขอบเขตการใช้อำนาจรัฐของกรมอุทยานแห่งชาติฯ
 
 
 
แถลงการณ์ฉบับที่ 2 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต้องยุติการแย่งยึดที่ดินชุมชน เพื่อไปประเคนให้นายทุน
 
รัฐบาลชุดปัจจุบัน ประกาศจะสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้แถลงนโยบาย ข้อ 5.4 ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ว่าจะ “ปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างยั่งยืนโดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย...ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน” แต่จนถึงปัจจุบัน นโยบายเหล่านี้ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
 
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ฉกฉวยโอกาสในช่วงเวลาปัจจุบัน ปราบปรามชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตป่าทั่วประเทศ โดยไม่ได้แยกแยะ พิจารณาถึงข้อเท็จจริง ว่าชุมชนเหล่านั้นอยู่อาศัยและทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่าหรือไม่ ในส่วนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตั้งเป้าหมายจับกุมและรื้อถอนสวนยางพื้นที่หลายแสนไร่ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน โดยระดมเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็วจากทั่วประเทศ รวมทั้งสนธิกำลังทหาร ตชด. ฝ่ายปกครอง ร่วมกันดำเนินการ
 
กรณีจังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่ได้เริ่มปฏิบัติการปราบปรามแล้ว โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2555 นายสุรเชษฐ์ วันดีเรืองไพศาล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดได้จับกุมชาวบ้าน ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ม.2 ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 2 ราย ในขณะที่นำหมากแห้งออกไปจำหน่าย แต่ตำรวจไม่รับแจ้งความเนื่องจากเห็นว่าเป็นวิถีชีวิตปกติของชาวบ้าน ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2555 นายสมชัย แสงแก้ว หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้จำนวน 50 นาย เข้าไปตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินถือครองเพียง 4 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง ทั้งที่พื้นที่โฉนดชุมชนบ้านตระ และบ้านทับเขือ-ปลักหมู ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) แล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้
 
ในขณะที่การปราบปรามประชาชนคนเล็กคนน้อยเป็นไปอย่างเข้มข้น ในอีกด้านหนึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ กลับปล่อยปละละเลยให้มีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่หลายแห่ง รวมถึงการปล่อยให้นายทุนชาวไทยและต่างชาติดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์มิชอบ สร้างโรงแรมหรู ริมทะเลหลายแห่ง นอกจากนั้นยังมีแผนการเตรียมเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา พื้นที่ 5,000 ไร่ เพื่อให้กรมเจ้าท่าถมทะเลสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา และมีแผนให้กรมชลประทานสร้างเขื่อน 7 เขื่อนในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จังหวัดสตูล และสงขลา เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเนื้อที่ 150,000 ไร่ ในจังหวัดสตูล และหลายหมื่นไร่ ในจังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์สตูล-สงขลา
 
จากพฤติกรรมดังกล่าว จึงตั้งข้อสังเกตได้ว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ มีเจตนาปราบปรามประชาชนและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในเขตป่า โดยไม่แยกแยะว่าชุมชนเหล่านั้น จะอยู่มาก่อนหรือมีสิทธิอันชอบธรรมในที่ดินของตนเองหรือไม่ จึงเป็นไปได้เช่นกันว่า การปราบปรามครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในพื้นที่ป่า รวมทั้งเป็นการเปิดทางให้นายทุนเข้ามาทำธุรกิจการท่องเที่ยว และแย่งชิงทรัพยากรจากชุมชนท้องถิ่นไปเพื่อสนองนายทุนและภาคอุตสาหกรรม
 
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ขอเรียกร้องให้กรมอุทยานแห่งชาติ กลับมาทำหน้าที่ที่เหมาะสมในการปกป้องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดย
 
1. รัฐบาลต้องสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน นายกรัฐมนตรีควรมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีการคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ทั้งในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอื่นๆ
 
2. กรมอุทยานแห่งชาติฯ ต้องหยุดการกระทำที่ป่าเถื่อนและแอบแฝงด้วยทุจริต และหันกลับมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่า โดยเคารพสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐ ตามแนวทางโฉนดชุมชนและสิทธิชุมชน มาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญ
 
3. ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ต้องกำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานราชการอื่น ภายใต้การบริหารงานของจังหวัดตรัง เพื่อให้เกิดการปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้ง ข่มขู่คุกคามดำเนินคดีกับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม
 
4. สังคมต้องร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และขอบเขตการใช้อำนาจรัฐของกรมอุทยานแห่งชาติฯ
 
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
วันที่ 3 เมษายน 2555
 
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์พิเศษ 'จักรภพ เพ็ญแข': คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน

Posted: 03 Apr 2012 03:49 AM PDT

บ่ายแก่ของวันที่ 30 มี.ค.2555 ทีมข่าวของประชาไทนัดพบกับจักรภพ เพ็ญแข ในร้านกาแฟแห่งหนึ่งกลางกรุงพนมเปญ เราถามเขาในฐานะคนไกลบ้านที่ลี้ภัยการเมืองมานานกว่า 3 ปี นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการต่างประเทศที่อยู่ในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งไม่เป็นเนื้อเดียวกับแกนนำในขบวนการต่อสู้ด้วยกันนัก และถูกกล่าวหาด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

3 ปีที่ไม่ได้อยู่เมืองไทย เขามองเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และกำลังคิด-ทำอะไรอยู่

จักรภพตั้งประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประการ ประการแรกคือ เขามองเห็นว่าเมืองไทยภายใต้กระแสปรองดองนั้นเป็นวาระพักรบ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทางเลือกที่สามของการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้น แม้จะยังไม่เห็นรูปร่างหน้าตาที่ชัดเจนของทางสายนี้ แต่เขาเห็นว่า นี่เป็นโอกาสที่จะตั้งคำถามให้คนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้เลือกว่า จะสู้เพื่อเปลี่ยนสังคมหรือสู้เพียงเพื่อรวบสังคมมาเป็นของตัวเอง

เราถามเขาถึงบทบาทของทักษิณในขบวนต่อสู้ ซึ่งจักรภพยังคงแสดงความหวังว่าทักษิณมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมแต่นั่นเป็นสิ่งที่ทักษิณต้องเลือกเองว่าจะเลือกทางสบายหรือลำบาก

และสุดท้าย เงื่อนไขในการกลับประเทศ แม้ว่าจะข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นอัยการจะสั่งไม่ฟ้องไปแล้วในวันเดียวกับที่เขาให้สัมภาษณ์ประชาไท (30 มี.ค.) แต่นั่นไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้เขาเดินทางกลับเข้าประเทศ

0 0 0

สัมภาษณ์พิเศษจักรภพ เพ็ญแข:  คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน

“ประวัติศาสตร์มองเห็นชัดเมื่อมองย้อนหลัง แต่ระหว่างสร้างไม่มีใครรู้ว่าใครถูกใครผิด แล้วถ้าเราเชื่อในประชาธิปไตย ไม่ควรคิดว่ามีใครคิดถูกใครคิดผิดก่อน เพราะมันไม่ควรจะรู้ก่อน ถ้ารู้ก่อน คนนั้นก็ควรจะเป็นผู้นำตลอดชีพของประเทศ แต่ถ้ามันไม่มี เราก็ต้องหาความคิดที่ดีที่สุดของขณะนั้น”

 

ประชาไท: ตั้งแต่ออกจากเมืองไทยมาทำอะไรบ้าง
ผมออกจากเมืองไทยมาเมื่อเดือนเมษายน ปี 2552 ก็สามปีพอดีนับถึงตอนนี้ ออกมาแล้วก็ไปอยู่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะช่วงสองปีแรกก็ไปอยู่ประมาณ 4-5 ประเทศ และก็มีฐานที่มั่นอยู่บางที่ซึ่งเราพอจะนั่งนิ่งๆ ได้วางแผนการดำเนินการ หรือส่งเสริมการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับขบวนเรา

งานก็จะแบ่งเป็นสองสามอย่างคือ งานประสานงานภารกิจเพื่อประชาธิปไตย ที่มีทั้งปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติการสื่อเพื่อการเรียนรู้

ส่วนแง่ของความคิดช่วงสามปี อาจจะแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคือการสานต่อภารกิจที่ชะงักไปในวันที่ 19 พฤษภาคม ปี 53 นั่นก็คือการแสดงพลังมวลชนเพื่อสื่อสารถึงความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมไทย พูดตรงนี้ต้องมีฟุตโน้ตนิดหนึ่งว่า คนที่เรียกว่าแกนนำในขบวนการประชาธิปไตยได้หยุดชะงัก ณ วันที่ 19 พฤษภาคม ปี 53 ไม่ได้คิดถึงเป้าหมายปลายทางตรงกันทุกคน บางคนก็มองว่าขู่กรรโชกหรือว่าแบล็คเมลเพื่อให้เหตุการณ์นั้นหยุดลงคล้ายๆ เดือนพฤษภาคม 35 หรือพฤษภาประชาธรรม บางคนก็รวมพลังเพื่อจะสื่อสารความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง บางคนก็รวมพลังมวลชนเพื่อบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง มันมีดีกรีของความแตกต่างหลากหลายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม แต่เมื่อหยุดชะงักมันก็ไม่มีการถกเถียงกันต่อว่าจะทำอะไรเหนือจากนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่มาทำนอกประเทศก็คือการสานต่อความคิดของคนที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม

ผมก็ยอมรับว่าไม่ได้คิดถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจในรัฐบาล แต่คิดถึงอำนาจในโครงสร้าง แต่ก็รู้เช่นเดียวกันว่า คนที่ทำร่วมกันอยู่นี้ก็ไม่ได้เห็นตรงกันทุกคน เราเคยเปรียบเทียบการต่อสู้ระยะที่ผ่านมาว่าเหมือนการขึ้นรถประจำทางซึ่งมันมีหลายป้าย เราอาจจะอยากไปจนสุดทางแต่ก็อาจมีบางคนบนรถที่ขอลงป้ายก่อน หรือหลายคนเปรียบเทียบกับบางซื่อ หัวลำโพงในตอนช่วงนั้น ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ถือว่าเป็นปัญหา ผมถือว่าเป็นวุฒิภาวะของขบวนประชาธิปไตย และที่สำคัญประวัติศาสตร์จริงก็มักจะเป็นเช่นนี้ ก็คือประวัติศาสตร์มองเห็นชัดเมื่อมองย้อนหลัง แต่ระหว่างสร้างไม่มีใครรู้ว่าใครถูกใครผิด แล้วถ้าเราเชื่อในประชาธิปไตย ไม่ควรคิดว่ามีใครคิดถูกใครคิดผิดก่อน เพราะมันไม่ควรจะรู้ก่อน ถ้ารู้ก่อน คนนั้นก็ควรจะเป็นผู้นำตลอดชีพของประเทศ แต่ถ้ามันไม่มี เราก็ต้องหาความคิดที่ดีที่สุดของขณะนั้น หรือที่ประชาชนสนับสนุนมากที่สุดขณะนั้น ซึ่งก็ผิดได้เหมือนกัน นี่คือความคิดที่สะท้อนออกมาเป็นภารกิจระหว่างอยู่นอกประเทศ

ที่เล่าให้ฟังว่าแบ่งความคิดเป็น 2 ระยะใน 2 ปีแรก เป็นระยะของการสางภารกิจ 19 พฤษภาคม 2553 แต่ว่าปีก่อนหน้านี้เป็นเรื่องการมองหาแนวทางที่ 3 ในการเดินไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศ แต่ทางสายที่ 3 หมายความว่า ถ้าหากฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐมาแต่เดิมตัดสินใจเข้าร่วมปรองดองกับฝ่ายที่เป็นตัวแทนของมวลชนเพื่อผลระยะสั้น เราก็ควรจะมีคนทำงานต่อเนื่องไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการจะไปถึงจริงๆ โดยที่คนเหล่านี้ไม่ต้องเข้าร่วมในขบวนการปรองดองก็ได้ ไม่ต้องเข้าร่วมในขบวนการต่างตอบแทนก็ได้ ไม่ต้องมีอำนาจรัฐก็ได้ ถามว่าคนเหล่านี้คิดว่าตัวเองเป็นเทวดาหรือยังไง คิดว่าตัวเองต้องถูกต้อง เปล่า ก็เหมือนคนที่มีความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป คนเกิดมาก็มีคุณค่าชีวิต เราเชื่ออะไรก็วางชีวิตไว้บนนั้น แล้วถ้าเรายอมสละชีวิตเพื่อสิ่งนั้น เราก็ตอบโจทย์คนอื่นได้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร แต่จะถูกไม่ถูกเป็นเรื่องอนาคตที่คนอื่นที่จะตัดสินเรา นี่ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องกังวล เลยตอบอย่างนี้ว่ามันเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรมปะปนกันไป มันก็เลยเป็นคำตอบว่าทำไมผมตัดสินใจอยู่ต่อ ไม่กลับเข้าประเทศ

มีความพยายาม มีแรงกดดัน มีการติดสินบน มีการขอร้อง มีการขู่เข็ญ พูดตรงๆ มีการหลอกล่อใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ หลอกล่อให้กลับเข้าไป เหตุผลไม่ใช่เราสำคัญ เป็นเพราะต้องการให้ทุกคนเข้าไปสู่กระบวนการปรองดอง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจต่อรองเต็มที่ในการที่จะจบศึกครั้งนี้หรือพักรบครั้งนี้ โดยที่ตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด แต่เผอิญว่าประเทศมันคงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

แต่คำถามก็คือว่าในกระบวนการที่คุณจักรภพทำอยู่นอกประเทศ สามารถรับประกันได้หรือว่าจะส่งผลได้จริงมากกว่าการกลับเข้าไปอยู่ในประเทศ
ไม่ได้หรอกครับ แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรามีอิสรภาพที่จะทำงานได้โดยไม่ต้องไปต่อรองกับระบบกฎหมายหรือระบบกดดันทางสังคม ผมขอย้อนไปนิดหนึ่ง จากคำตอบเมื่อกี้ผมขอสรุปท้ายว่า การต่อสู้ 2 เฟสมันเป็นอย่างนี้ 2 ปีแรกมันต่อจากเหตุการณ์พฤษภา 53 แต่ปีหลังกลายเป็นต่อจาก 24 มิถุนา 2475

อะไรที่ทำให้รู้สึกว่าต้องเปลี่ยน กระบวนการปรองดองหรือ
ผมขอพูดจากข้อเท็จจริงดีกว่านะ ผมตอบเท่าที่รู้ก็คือว่า เหตุที่การปรองดองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเกือบจะสัมฤทธิ์ผลตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เป็นเพราะฝ่ายแรกหรือฝ่ายที่สอง แต่เป็นเพราะนิติราษฎร์ การเกิดขึ้นของนิติราษฎร์เป็นการสร้างความรู้สึกคุกคามให้กับฝ่ายอำนาจเก่าอย่างรุนแรง

นิติราษฎร์เป็นกลุ่มที่ฝ่ายอำนาจเก่ากลัวมากกว่า นปช.และคุณทักษิณเยอะ ทุกครั้งที่นิติราษฎร์ออกโรงมีความเคลื่อนไหว จะมีการยอมจากฝ่ายอำนาจเก่ามาก มากในทุกเรื่องในทุกมิติ ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้อยากยกหางนิติราษฎร์ ไม่อยากให้นิติราษฎร์กลายเป็นเทวดาใหม่เหมือนกัน แต่เพื่ออยากให้รู้ว่ามีผล และคนที่สนับสนุนนิติราษฎร์ไม่ควรไปเยินยอนิติราษฎร์จนกลายเป็นเทวดาไป แต่ช่วยเขาคิดช่วยเขาทำ ตรงไหนเริ่มจะไม่ไหว ก็ต้องประคองก็ช่วยกันด้วย เพื่อให้มันเป็นขบวนการประชาชนต่อไป

ทุกขบวนการการเมือง เมื่อมีความนับสนุนมากๆ จากประชาชน จะมีคนที่เรียกว่าผู้ดำรงชีพจากการเมือง เข้ามาแทรกกลาง ถ้าพูดไม่เพราะคือ นายหน้าการเมืองเข้ามาแทรกกลาง จนกระทั่งยกผู้นำการเมืองขึ้นไปอยู่บนหิ้ง และประชาชนไปอยู่ข้างล่าง ตัวเขาจะได้เป็นชนชั้นที่จะเชื่อมโยงทั้งสองราย เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มันเกิดขึ้นกับทุกขบวนการเมื่อเวลาผ่านไป เพราะฉะนั้น ไม่อยากเห็นแบบนั้นกับนิติราษฎร์ เพราะฉะนั้นการที่นิติราษฎร์มีตัวตนที่ชัดเจน แล้วก็มีคนอย่างอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล) ทั้งเห็นด้วยและวิจารณ์นิติราษฎร์จะทำให้ขบวนการมันอยู่ได้อย่างดี มันเป็นสมดุลใหม่ อยากให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ หรือมีอย่างอาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) หรือมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ยืนอยู่ห่างๆ แล้วตะโกนไกลๆ มาว่า เอาเลย แต่ไม่เข้าร่วม อย่างนี้เป็นวิธีการประคอง

เมื่อกี้ไม่ได้พูดจากความคิดนะ พูดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ผมก็เป็นนักศึกษาจากของจริงเหมือนกัน ผมก็นั่งดู เอ๊ะ ทำไมนักวิชาการ 7 คนซึ่งไม่มีฐานอำนาจทางการเมืองใดๆ เลย ไม่มีลักษณะเชื่อมโยงทางการเมืองใดๆ เลย ไม่มีทุนทางการเมืองที่สนับสนุนอย่างชัดเจนใดๆ เลยถึงได้เป็นที่ครั่นคร้ามของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด แล้วเรียกว่าสามารถชี้นำทุกอย่างโครงสร้างในสังคมปัจจุบันได้ ผมก็เลยได้คำตอบกับตัวเองว่า อำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงประเทศจากนี้ไป คืออำนาจในการเปลี่ยนแปลงความคิด มาสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิทธิทางการเมืองนะ สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิของเด็ก สิทธิของคู่สมรส สิทธิของ sexual orientation สิทธิในทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะมันจะกลับไปตอบโจทย์เดียวกัน หรือแม้แต่สิทธิของอภิชาติพงศ์ที่เป็นอภิชาติพงศ์ สิทธิของโจอี้บอยที่เป็นโจอี้บอย สิทธิของใครต่อใครที่จะเป็นตัวของตัวเองมันกลายเป็นปราการใหญ่ที่ทำให้ทุกคนมีจุดร่วมกันโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นแนวร่วมโดยที่ไม่เหมือนกันเลย แบบที่หลายประเทศเป็น อย่างสหรัฐอเมริกาเป็น อย่างในยุโรปเป็น ไปถามเลยนั่งกันอยู่ 3 คน มีความเห็น 4 อย่าง แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะมีลักษณะร่วมก็คือว่าแบบเธอๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบฉันๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบคุณๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน ตกลงมีลักษณะร่วมกันคือ ไม่อยากให้มายุ่ง มันก็จะมาผนึกกำลังกัน นี่คือสิ่งที่นิติราษฎร์กำลังนำความคิดนี้เข้ามา สุดท้ายคนที่หนุนนิติราษฎร์อาจจะไม่ใช่คนที่เชื่อตามนิติราษฎร์ แต่จะเป็นคนที่ออกมากป้องให้นิติราษฎร์ได้คิดอย่างนิติราษฎร์ต่อ เพื่อวันหนึ่งฉันจะได้คิดแบบฉันบ้าง นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากของความคิดแบบเดิมของไทย ซึ่งเชื่อว่ามันต้องมีความคิดหนึ่ง ก็คือความคิดปรองดอง มันก็ความคิดเดียวกับที่ชูสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์นั่นแหละ หลักคิดเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนเรื่อง

สัมภาษณ์พิเศษจักรภพ เพ็ญแข:  คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน

“ขบวนการเสื้อแดงที่กำลังต่อสู้อยู่นี่ เราต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคม หรือเราต่อสู้เพื่อที่จะรวบสังคมมาเป็นของเราแทน”

 

ตอนนี้กลุ่มที่มีพลังผลักดันขับเคลื่อน แน่ๆ ก็มีสองฝั่งคือ ฝั่งที่เป็น นปช.กับอีกฝั่งคืออำนาจเก่า พูดตามตรงทั้งสองก็ปฏิเสธนิติราษฎร์ทั้งคู่ นิติราษฎร์อาจเป็นการจุดประกายให้คนจำนวนหนึ่ง แต่นิติราษฎร์ก็เผชิญความท้าทายว่าอยู่เหมือนกันว่าจะสานความคิดต่อไปยังกลุ่มคนที่ไกลตัวได้ยังไง
เหตุที่อำนาจเก่า จะเรียกมวลชนใหม่ นปช.หรือเพื่อไทย หรือผู้ที่รักนายกฯ ทักษิณก็ตาม มีปัญหากับนิติราษฎร์ทั้งคู่เลย เพราะสองกลุ่ม อำนาจเก่ากับมวลชนใหม่มีลักษณะที่เหมือนกันระหว่างเขามากกว่าที่จะเหมือนกับนิติราษฎร์ เขาแปลกแยกกับนิติราษฎร์ทั้งคู่ สุดท้ายมันถึงได้เป็นตัววัดไงว่า ขบวนการเสื้อแดงที่กำลังต่อสู้อยู่นี่ เราต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคม หรือเราต่อสู้เพื่อที่จะรวบสังคมมาเป็นของเราแทน นี่คือหัวใจของเรื่องนะ ผมบอกไม่ได้ว่าทางที่สามจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร บอกได้แต่เพียงว่าทางที่สามจะเริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ แต่การเข้าสู่อำนาจอาจจะมีการสวนกันโดยคนใหม่ๆ ตามเงื่อนไขเวลาในขณะนั้น คนที่สู้เพื่อทางสายที่สามอาจจะสู้แล้วตายไป สู้แล้วหมดไฟไป แต่จะมีคนมาแทน ที่ผมพูดว่าอยู่คือทางนะ ไม่ใช่คน คนอาจจะไปตามเวลาเพราะมันสู้ไม่ไหว อำนาจที่ต้องสู้มันเยอะ แต่ทางมันจะยังอยู่นี่คือสิ่งที่ผมเห็นว่าที่เขาต้องรีบปรองดองกันระหว่างสองทางเพราะลึกๆ แล้วเขาไม่อยากให้ทางที่สามนั้นเกิดขึ้น แต่ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่มันจะก่อรูปไปทางนั้นยังไม่เห็นชัด และด้วยความที่ไม่ชัดนี่แหละที่ทำให้ทางสายที่สามน่ากลัว เพราะมนุษย์กลัวสิ่งที่ตัวไม่รู้

ดังนั้นแล้ว การปรองดองก็อาจจะไม่บรรลุเป้าหมายได้
ผมมองว่าการปรองดองเป็นสถานีพักกลางทางของการต่อสู้ทางการเมือง มีประโยชน์ เพราะอย่างต่ำสุดก็ทำให้คนไม่ต้องฆ่ากันอย่างชัดเจนเพราะไม่มีเหตุที่จะต้องฆ่ากันตรงจุดนี้ แต่จะไปฆ่ากันในอนาคตหรือไม่ ไม่รู้ แต่ในขณะนี้ก็หยุดฆ่ากันและจับมือกันอยู่ ไม่มีใครจะเถียงได้ว่าไม่ดีเพียงแต่สิ่งที่จะเถียงได้ก็คือว่ามันอาจจะไม่ได้หยุดจริง เป็นเพียงแค่หยุดพัก ซึ่งก็ไม่เป็นไร คนที่ทำให้ช่วยหยุดความรุนแรงได้ก็ควรจะได้รับความดีได้รับเครดิต เพราะฉะนั้นถ้าถามผม ผมก็สนับสนุนกระบวนการปรองดอง แต่จะให้ผมไปร่วมไหม ผมไม่เข้าร่วมด้วยไม่คัดค้านแต่ ผมขออยู่ข้างทางสายที่สามนี้ดีกว่า

ถามว่าปรองดองจะสำเร็จหรือไม่ ผมกลับมองว่ามันเป็นกิจกรรมเรียนรู้ของสังคมไทย สนุกจะตาย สนธิ สนั่น ฉีกร่างกฎหมายปรองดอง อภิสิทธิ์น็อตหลุด ผมว่าสนุกจะตายไป เหมือนว่าอยู่ในสถานีพักรบแต่ก็ยังนั่งคนละมุม

แต่คนกลุ่มหนึ่งเขาคงไม่สนุกด้วย เช่นคนที่เสียลูก หรือเสียญาติไปในความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา
แน่นอน แม่น้องเกด เขาก็พูดถูก ก็ยังหาคนที่รับผิดชอบในการตายของลูกสาวเขาไม่ได้แล้วจะมาปรองดองกันได้ยังไง ผมก็คิดว่าเป็นคำถามที่ชอบธรรมนะ แล้วคำถามนี้แม้จะถามเป็นโจทย์ง่ายๆ เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า อ้าวแล้วลูกฉันล่ะ เธอจูบปากกันแล้วลูกฉันล่ะ เป็นคำถามที่พื้นฐานมากนะ แต่มันมีพลังมาก เพราะมันทำให้คนตอบไม่ได้ นอกจากจะมีคนไปแอบโอบกอดแล้วบอกว่า ใจเย็นๆ น่า วันหลังค่อยคุยกัน มันจะตอบด้วยอะไรล่ะ

นี่เป็นประเด็นที่คุณจักรภพเคยพูดกับคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยว่าอย่าให้ใครมาหลอกใช้ ขณะที่ตอนนี้กำลังมีกระบวนการปรองดอง คนเสื้อแดงควรจะทำความเข้าใจกับกระบวนการปรองดองอย่างไร
มันต้องยอมให้ทั้งสังคมเดินไปสู่ถนนสายมึนงงสับสนแบบนี้แหละ แล้ววันหนึ่งเราจะได้เกิดคำตอบในใจตัวเราเองขึ้นมา ตรงนี้ไงล่ะที่คำว่านักการเมืองมันถึงได้เกิดขึ้นมา คำว่านักการเมืองมีขึ้นมาเพราะว่าในการสับสนความไม่รู้และความไม่ได้สื่อสารกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง มันจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่บอกว่าฉันรู้คำตอบ แล้วฉันขอเสนอเลือกฉันก็แล้วกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่านักการเมือง เพราะฉะนั้นนักการเมืองถึงมีตั้งแต่ดีที่สุดเป็นรัฐบุรุษ จนถึงชั่วที่สุดเป็นโสเภณีการเมือง ถามว่าจำเป็นไหมต้องมี พี่ว่าในยามนี้ นักการเมืองมีความจำเป็นน้อย ในช่วงเวลานี้นะ และเรากำลังรอให้มันมีฮีโรใหม่ในสังคมไทยเยอะแยะ นิติราษฎร์เมื่อก่อนใครรู้จักกันบ้างล่ะ แต่ตอนนี้กลายมาเป็นฮีโร่ของคนเยอะแยะ และบางคนยังยอมรับ ป้าคนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในทีวีช่องแดงว่าอ่านที่นิติราษฎร์เขียนนี่ไม่รู้เรื่องเลย แต่แกสนับสนุนเพราะว่าแกรู้สึกว่ามันตรงกับแก ผมถึงได้พูดไงว่าทางสายที่สามมันใหญ่กว่าภาษาพูด ใหญ่กว่านิติราษฎร์ กลายเป็นความรู้สึกว่าไม่เอาทางโน้นแต่จะเอาทางนี้ เวลาทีพูดถึงรูปการเปลี่ยนแปลงที่นอกกรอบปัจจุบันนั้น คนจะเชียร์ ทั้งๆ ที่การพูดแบบนิติราษฎร์ถ้าเป็นเมือสิบปีก่อนหน้านี้จะกลายเป็นการเพ้อฝัน คนไม่เอาด้วย ประการต่อมาคือคนเริ่มเชื่อมโยงกับคำนามธรรม เช่น สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ โอกาส แต่คำที่เคยทำให้คนเชียร์ คนเฮสมัยก่อน เช่น คนจน การต่อสู้ ปฏิวัติ โค่นล้ม กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่แล้ว เหมือนว่าคนไปตั้งเป้าหมายไกลกว่าเมื่อก่อนแล้ว ตอนนี้คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ไปถึงเสรีภาพ ทำอย่างไรก็ได้ให้ไปถึงโอกาส ทำอย่างไรก็ได้ให้ไปถึงความเป็นคน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกอย่างมันเปลี่ยนนะ แต่ปัญหาคือประเทศไทยที่อยู่บนกองปรักหักพังจะทำอย่างไรให้ไปถึงตรงนี้

ผมเองซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่งก็กำลังนั่งใช้ความคิด กำลังคิดว่าจะต้องเขียนอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่างเพื่อให้เป็นเป้าไว้ให้โยนลูกดอก ไม่ได้ทำให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่เป็นที่ปาเป้าเพราะมันต้องมีสิ่งที่จูงความคิดไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เหมือนที่เรานั่งกันอยู่แล้วบอกไม่ได้ว่าอยากกินอะไร รู้แต่ว่าไม่อยากกินสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เหมือนทำเมนูขึ้นมา สุดท้ายเราก็อาจจะได้คำตอบซึ่งอาจจะเป็นน้ำเปล่าก็ได้ ก็ต้องให้คนคิด คลำทาง ให้คนอย่างแม่น้องเกด คนอย่างภรรยาอากงถามคำถามมากขึ้น

การเกิดขึ้นมาจากกองซากปรักหักพัง หรือเรากำลังรอการหักพัง
เป็นไปได้ มันพังไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่สำหรับผมอะไรที่มันหยุดฟังก์ชั่นแล้ว มันก็คือการพัง ไม่ต้องรอให้มันพังลงมากองกับพื้น ผมถามง่ายๆ ว่า ตัวอย่างเช่น เอ็นจีโอจำนวนหนึ่งทำไมถึงยังรอไม่เข้าร่วมกับฝ่ายทักษิณ หรือฝ่ายอำนาจเก่า ทำไม-ก็เพราะมันยังไม่ใช่ทางนั้นไง ที่ผ่านมา เอ็นจีโอก็งงนะ คือทั้งแดงทั้งเหลือง ก็งงทั้งคู่ มันก็ไม่ใช่ทั้งคู่สำหรับทัศนะของสายที่สาม เพราะเอ็นจีโอวางตัวเองอยู่ในสายที่สามมาตลอด และถ้าหากว่าทางสายที่สามเข้าสู่อำนาจ เอ็นจีโอก็จะออกมาแล้ววิจารณ์ทางนั้น นี่คือหน้าที่ของเอ็นจีโอซึ่งควรจะเป็น คือเป็นใครก็ได้ที่ไม่มีอำนาจแต่สามารถจะเป็นแนวร่วมกับใครก็ได้ที่จะมีอำนาจ แล้วเมื่อเขามีอำนาจก็วิจารณ์เขาต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมันเป็นหน้าที่ของเอ็นจีโอ

แต่เวลาเราพูดถึงซากปรักหักพัง ในเชิงโครงสร้างอำนาจที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน ความรุนแรงจะเกิดขึ้นมากแค่ไหน
ผมกลับมองว่า เวลาที่เราจะเข้าไปดูหนังสยองขวัญแล้วมีคนบอกว่ามันน่ากลัวทุกช็อตเลย หายใจไม่ได้เลยนะทุกช็อตเลย สุดท้ายมันจะไม่น่ากลัวมากเท่าไหร่ เพราะเราระวังมาก ฉะนั้นถ้าบอกว่า ลมหยุดพักเมื่อไหร่จะตายแน่ประเทศนี้ ก็จะทำให้กลุ่มคนที่เสียประโยชน์มากเตรียมตัวและผลจากการเตรียมตัวนั้นมันไม่ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่มันจะเหมือนมะเร็ง คือมาอุดทางนี้ก็ไประเบิดทีหลัง พูดง่ายๆ ก็คือในระยะปะทุมันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อจะมีใครจากไปแต่มันจะเกิดขึ้นในระยะที่พยายามจะอยู่ด้วยกันแล้วอยู่ไมได้

ผมพูดแบบสมมติว่า ถ้าผมเป็นคนที่มีอำนาจเบอร์สองเบอร์สาม ผมจะยอมให้คนเบอร์ร้อยมาไล่บี้ผมเหรอ ผมก็ต้องจัดการซะก่อนที่สิ่งนี้จะเกิดแต่อำนาจก็มีเรื่องตลกก็คือความคิดที่ว่าอีกฝ่ายจะใช้อำนาจอาจจะทำให้ตัวเองชิงใช้อำนาจก่อน สงครามเกิดขึ้นเพราะคิดว่าอีกฝ่ายจะทำก่อน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะว่ามีการกระทำเกิดขึ้นแต่เกิดขึ้นเพราะความกลัว

ซึ่งการเมืองไทยที่ผ่านมาก็เป็นอย่างนั้น
ถึงจุดนั้นเกิดขึ้นจริงๆ เราประชาชนก็ไม่รู้หรอกว่าเกิดขึ้น เขาไม่บอกหรอกจนกว่าเขาจะจัดเสร็จหมดแล้ว ผมจะบอกได้ไหมว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผมก็เหมือนทุกคนคอยโทรเช็คว่าจริงหรือเปล่า ผมได้ข่าวลือมาอย่างนั้นอย่างนี้

มันจะไม่ส่งผลถึงประชาชนบ้างหรือ
ส่งผลสิ นี่เป็นสิ่งที่ย้อนกลับไปถามคำถามแรก คือกิจกรรมที่ผมทำคือการทำกิจกรรมกับประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงระดับผู้นำกับผู้นำที่จะกระทบกับประชาชน มันจะลดผลกระทบที่คนมีอำนาจทำกับประชาชน แต่ถ้าเราไม่มีกิจกรรมกับประชาชน ก็เหมือนกับจอหนังมืดแล้วประชาชนไม่รู้จะทำอะไร เราต้องมีกิจกรรมแจกไฟฉายบอกทางออกเพื่อเตรียมตัวในกรณีที่จอหนังขาดก็เดินออกได้ ไม่ลำบาก

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอยู่ข้างนอกประเทศทำกิจกรรมได้มากกว่า ได้พบปะคนมากกว่า
มีโอกาสมากกว่าอยู่ที่เมืองไทยด้วยซ้ำ หลายเรื่องที่อยู่เมืองไทยต้องกระซิบกระซาบกัน ต้องใช้รหัส แต่อยู่ข้างนอกนี้ไม่ต้องใช้ พูดได้ชัดเจนว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไร เพราะบางทีเราใช่รหัสเราไม่ได้พูดถึงตัวคน ผมว่าผมมีโอกาสมากกว่า ทำงานได้เยอะกว่าอยู่เมืองไทย สมัยผมอยู่พีทีวี มาเป็น นปช. แล้วมาเป็น นปก. ผมว่าผมเป็นตัวแสดงมากกว่าผู้ขับเคลื่อนนะ บทบาทการแสดงน้อยลง

โดยศักยภาพของคุณ คุณเลือกที่จะไม่ทำก็ได้นี่
ได้ แต่ผมมีชีวิตเดียว ก็ต้องลองดูสิ การอยู่ทุกวันนี้มีความสุขดี แต่ถ้าอยู่ที่บ้านคงมีความสุขกว่านี้มากกว่าอยู่หลายๆ ประเทศแบบนี้ แต่ผมเป็นทาสความคิดตัวเอง เมื่อเรามีความคิดความเชื่อเราก็อยากเห็น ชีวิตเราจะมีความหมายจากสิ่งนั้น ผมก็บอกกับคนที่ผมรักทุกคน ญาติพี่น้องของผม ว่าถ้ามันจบลงอย่างสูญเปล่า ก็ขอให้มีความสุขกับประสบการณ์ ผมไม่ได้รอที่จะมีความสุขจากเป้าหมายอย่างเดียว ถ้ากลับไปรับตำแหน่งสูงๆ โก้ๆ แล้วมีบทบาทประหนึ่งว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงผมก็เลือกได้ แต่ผมเลือกจะทำสิ่งนี้มากกว่า แล้วผมก็ไม่ทำตัวเองให้ชัดเจนนักด้วย มีคนหลายคนคิดว่าผมเป็นคนจริงใจแต่ก็ไม่แน่ใจว่าจริงใจหรือเปล่า คือว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้ามีอำนาจเต็มที่แล้วจะเป็นอย่างไร แล้วสุดท้ายก็มาจากเรื่องส่วนตัวเพราะผมเป็นคนที่ไม่เปิดเผยเรื่องส่วนตัว ไอ้ความที่เราไม่บอกคนมันทำให้คนรู้สึกว่าไม่รู้จัก ก็ใม่กล้าสนับสนุนเต็มที่ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมสามารถจะถอยจากการแสดงบทบาทได้

เป้าที่คิดไว้ มีคุณทักษิณด้วยไหม ทางที่สามยังมีคุณทักษิณหรือเปล่า
ผมตอบเพื่อให้ลงประชาไทนะ ว่าคุณทักษิณจะเป็นเป้าที่มีก็ได้ไม่มีก็ได้ ถ้ามี ก็เป็นสิ่งที่คุณทักษิณเลือกที่จะเสนอตัวเองเข้ามาอยู่ในเป้าใหม่ ถามว่าวันนี้คุณทักษิณอยู่ในทางปรองดองนะ ไม่ได้อยู่ในแนวทางที่สามนะ แต่อยู่ในแนวทางที่สอง และท่านก็พูดชัด ว่าอยากจะปรองดอง ไอ้เรื่องที่ออกมาแหย่นิดแหย่หน่อยจะตั้งจตุพรเป็นรัฐมนตรีบ้าง มารดน้ำดำหัวที่ลาวที่กัมพูชา เหล่านี้เป็นเพียงกิจกรรมการตลาดของท่านภายในเส้นทางสายที่สอง ไม่ใช่เป็นสะพานมาสู่สายที่สาม ฉะนั้นไอ้เป้าหมายของผมที่จะให้คนปาลูกดอกว่าจะเอานั้น ถ้าจะมีทักษิณก็คือการที่ท่านเลือกจะขยายตัวเองจากแนวทางที่สองมาสู่สายที่สาม ผมก็เคยพูดกับท่านตรงๆ ว่าท่านอยู่ในฐานะที่ดีที่สุด เป็น First among equal นะ ท่านก็เท่ากับประชาชนคือท่านมีโอกาสมากกว่าประชาชนอีกหลายล้านคนในการที่จะนำขบวนนี้ไป แต่ว่ามันขึ้นกับท่านว่าจะพอใจที่จะมีความสุขจากการนี้หรือเปล่า ถ้าท่านไม่สนุกกับการเดินทางตรงนี้ท่านไปไม่ไหวหรอกเพราะมันหนักมันเหนื่อย แต่ถ้าหากว่าท่านไม่เอาตรงนี้จะกลับไปสบายก็ต้องถามว่าท่านอยู่ได้ไหมกับสิ่งที่ท่านเริ่มต้นมาอย่างสวยงามแล้วบอกว่าเอาแค่นี้ ผมมองว่าท่านเป็นผู้นำปฏิวัติได้แต่ท่านเลือกหรือไม่ ก็ยังไม่ชัด

ตรงนี้แหละที่ทำให้มองได้เช่นกันว่า ถึงที่สุดคนเสื้อแดงก็ไม่ได้ก้าวพ้นทักษิณไป เพราะไม่ว่าจะมีทางเลือกไหน มีข้อเสนอใหม่อย่างไรก็ยังต้องอาศัยทักษิณเป็นผู้นำ
ผมก็จะถามกลับทุกครั้งว่า ลองเสกคาถาให้คุณทักษิณหายไปจากจอภาพ คนเหล่านี้จะกลับไปบูชาสิ่งเดิมไหม ถ้าเขากลับไปผมจะเชื่อเสื้อเหลือง แต่ถ้าไม่กลับไปต้องหาสีใหม่ไว้ให้เขานะ สีอื่นนะ สีบานเย็นหรืออะไรก็ได้ (หัวเราะ)

คนที่ฟังนิติราษฎร์ก็ยังเชียร์ทักษิณนะ
ก็ไม่เป็นไร เพราะคุณทักษิณยังเป็นทางที่สองหรือสามก็ได้ แต่ถ้าเขาบอกว่าหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ไปทางที่สาม แต่เขาคงไม่พูดหรอก เพราะเขาฉลาด

แต่ก็ทำให้ขบวนของเสื้อแดงปั่นป่วน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะทักษิณไม่มีความชัดเจน
ก็เป็นอย่างนั้น แต่ผมเข้าใจนะ ผมเข้าใจในความเหนื่อยยากของท่าน ในชีวิตนั้นท่านเลือกแล้วว่าจะเป็นนักธุรกิจ ชีวิตเลือกมาตั้งแต่อายุสามสิบ คนเป็นนักธุรกิจเขาตัดสินใจแล้วว่าจะช่วยตัวเขาก่อนแล้วช่วยสังคมทีหลัง เขาเลือกแล้วนะ เขาตั้งร้านเขาจะขายเราก่อนนะ เขาไม่ใช่จะแจกคนเร่ร่อนก่อนนะ ถูกไหม ถึงตรงนี้ต้องแฟร์กับเขานะ เขาไม่ได้ปกปิดอำพรางนะ เขาบอกแล้ว เราก็ต้องเอามาบวกลบคูณหารเอา ผมก็ต้องพูดว่าเพื่อให้เกิดความชัดเจนในขบวนการก็ต้องเป็น นายกทักษินพลัส คือนายกทักษิณแล้วบวกกับอะไรอย่างใหม่ถึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีคุณทักษิณก็เหนื่อยตายเลย ต้องไปสร้างอะไรใหม่อีกเยอะเลย แต่ถ้าคุณทักษิณไม่มีอะไรใหม่คนก็จะบอกว่า เอ๊ะ เวลาผ่านไปไม่เห็นมีอะไรใหม่เลย ผมก็บอกกับท่านตรงๆ ท่านก็เลยสบอารมณ์กับผมบ้างไม่สบอารมณ์บ้าง

แต่ผมมาร่วมกับท่านไม่ได้อยู่กับบริษัทท่าน คือนายกทักษิณเหมือนนักธุรกิจที่ตั้งบริษัทหาเงินและทำสมาคมการกุศลด้วยน่ะ ผมไม่ได้อยู่ตรงบริษัทนะ ผมอยู่ตรงสมาคม ท่านก็ต้องเข้าใจ แต่เผอิญลูกน้องท่านสองกลุ่มมันก็ดูคละกันแล้วเวลาไปเจอกันใหนแต่ละที่ทุกคนก็หน้าตาเหมือนกันหมด เลยไม่รู้คนไหนบริษัท คนไหนสมาคม แต่วันนี้ผมขอบอกผ่านประชาไทว่าผมอยู่ตรงสมาคมไม่ได้อยู่ตรงบริษัท

แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ล่ะ อยู่ตรงบริษัทหรือสมาคม
(หัวเราะ) บริษัท ... แต่ทั้งหมดที่ผมพูดไม่ได้ชี้ปัญหาของฝ่ายเรา แต่ชี้ให้เห็นวุฒิภาวะว่าอยู่ตรงไหน ผมก็บอกแล้วว่าต้องทักษิณพลัส ฉะนั้นเมื่อเรามีตรงนี้แล้ว เราก็ต้องสร้างพลัสต่อไปที่เราต้องเอื้อมมือไปหาคนที่จะพลัสต่อ เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าความสัมพันธ์....สมมติว่าเรามีบริษัทจะไปคุยกับอีกบริษัทหนึ่งพ่อค้ากับพ่อค้าคุยกันง่ายนะ แต่ถ้าหากจะคบกันเอ็นจีโอขึ้นมา จะเลี้ยงข้าวเขาสักมื้อเขาไม่ยอมรับนะ เขาไม่ขาย เราจะคุยกับเขาอย่างไร นี่คือสิ่งที่บริษัทงง เพราะการสังสรรค์ทางความคิดไม่ใช่คนที่คนทุกประเภทเป็นคนบางเรื่องมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาเพราะไม่เคยทำ บางคนเขาเคยทำก็เห็นว่าเป็นไปได้ การจูนคลื่นความคิด ทำให้คนที่เป็นนักคิดที่อยู่ในซีกฝ่ายบริษัทถึงได้อยู่ยาก อยู่เหมือนไม่อยู่เพราะไม่รู้จะพูดกับใคร แม้แต่คนในรุ่นเก่าๆ อย่างคุณปองพล อดิเรกสาร ที่มาจากตระกูลอภิสิทธิ์ชนที่รู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนตัวเอง ก็แสลงกับพรรคไทยรักไทยเพราะมันสื่อสารไม่ได้ระหว่างคนสองกลุ่ม นี่คือตัวอย่างถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้ก็เกิดทักษิณพลัสไม่ได้

คนเสื้อแดงจะจัดวางตัวเองในความสัมพันธ์นี้อย่างไร คือกระแสความนิยมของรัฐบาลในกระแสปรองดองก็ลดลงเรื่อยๆ
ตอบยาก ดีที่สุดที่จะตอบได้คือ พวกเราทุกคนควรจะรู้สึกดีใจที่เราจะมีตัวเลือก มีทางเลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา มากกว่าทางเลือกรุ่นพ่อแม่เราที่มีแต่เพียงว่าจะปรับตัวเขาหาเขาหรือไม่ แม่กระทั่งธุรกิจที่ไม่อยากเดินไปสู่ธุรกิจอำมาตย์หรือทุนนิยมล้าหลัง ก็ยังเลือกเป็น SMEs ได้ นี่เป็นทางเลือกของชีวิตนะ ทำธุรกิจของตัวเองขึ้นมาได้นี่ ผมไม่ได้มองว่านี่อยู่นอกกรอบประชาธิปไตย มันเป็นเรื่องเดียวกันนะ เหมือนคนรุ่นหลังได้ซื้อเวลาที่จะตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร มันเหมือนกับการวัดใจกัน ถ้าเราเป็นชาวต่างประเทศเราจะมองประเทศไทยได้ง่ายกว่าตัวเราเองเพราะเรารู้สึกมันยากที่จะพูด แต่สมมติว่าเราเป็นฟิจิ เรามองไทยว่าคนไทยบางคนตายไป บางคนเกษียณตัวเอง บางคนแก่ บางคนทะเลาะกันเองในหมู่พี่น้องครอบครัว บางคนเบื่อการเมืองขอไปทำธุรกิจก่อน บางคนเบื่อประเทศไทยขอไปทำงานต่างประเทศ ความคิดของคนเหล่านี้สุดท้ายจะกลับมาให้คำจำกัดความใหม่ของประเทศไทยว่าจะมีหน้าตาอย่างไร เราไปจำกัดตัวเองให้คิดเสกลประเทศไทย แต่ถ้าเราคิดสเกลภูมิภาคหรือระหว่างประเทศมันจะแก้ปัญหาประเทศไทยไดมากกว่านี้ โดยเฉพาะระยะนี้ซึ่งเป็นระยะคอย อย่างผมเองผมเป็นคนทำงานการเมือง ถ้าผมกลับประเทศผมก็ต้องเทคไซด์ข้างนี้ ผมก็ไม่กลับ ทำอย่างอื่นของผมดีกว่า

จากพื้นฐานทีเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญการต่างประเทศเมื่ออยู่ข้างนอกยังติดตามประเด็นการต่างประเทศไหม
ยังติดตามใกล้ชิด แต่ไม่ได้พูดออกไป ไม่อยากพูดเรื่องการเมืองช่วงนี้แต่อยากดูสถานะไทยในโลก กำลังจะเริ่มหาแพลตฟอร์มอยู่ อาจจะผ่านเว็บนี่แหละ

คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งยังติดคุกอยู่ รวมถึงคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกกล่าวหาด้วยมาตรา 112 จากการเป็น บ.ก.เรดพาวเวอร์ มีข้อเสนออะไรในการช่วยเหลือคนเหล่านี้
การลงโทษทางการเมืองเป็นหลักฐานที่ชี้สภาพการณ์ทางการเมือง คุณสมยศถ้าอยู่นอกประเทศก็ทำประโยชน์ได้เยอะ แต่ด้วยความที่แกมีภารกิจในประเทศสูงก็ไปถูกจับกุม ผมทำได้ก็คือการประชาสัมพันธ์ในประชาคมระหว่างประเทศในปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ความอับจนของประเด็นนี้ก็คือว่า ถ้าประชาชนในประเทศยังไม่ลุกขึ้นมาชี้ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน มันไม่มีประเทศภายนอกที่ไหนจะเข้าไปแทรกแซงได้ ที่ต่างชาติเข้าไปแทรกแซงลิเบีย ตูนีเซียได้ เพราะเขาแสดงให้เห็นว่าเขาสู้กับอำนาจในประเทศนะ แต่คนไทยไม่ได้แสดงแบบนั้นนะ ยังคงแสดงว่าถ้าปรองดองได้ก็ดี ความกดดันในทางระหว่างประเทศที่จะเข้าไปช่วยคุณสมยศ ช่วยคุณสุรชัย ช่วยนักโทษการเมืองจึงทำไม่ได้เต็มที่ และยังมีเรื่องของการเปรียบเทียบอีกอย่างเราเอาเรื่อง 91 ศพเข้าศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) หลังจากนั้น 3 วัน ซีเรียมีกรณีเก้าพันกว่าศพ เรื่องไทยกลายเป็นเรื่องเล็กเรื่องน่าตกใจน้อยกว่า ก็เป็นความโชคร้ายของเราอันหนึ่ง ส่วนที่ว่าจะไปติดคุกแทนดีไหม ติดคุกเป็นเพื่อนดีไหม ผมคิดว่าไม่น่าจะประเป็นประโยชน์และผมคิดว่าคุณสมยศเข้าใจ

ข้อวิพากษ์วิจารณ์หลักสำหรับนักวิชาการ หรือคนที่อยู่ในต่างประเทศคือ มีข้อได้เปรียบ สามารถที่จะพูดได้ ปลุกเร้าคนได้ แต่ถึงที่สุดคนที่ตื่นขึ้นมาไม่รู้จะแสดงออกได้แค่ไหน กลับกลายเป็นเหยื่อทางการเมือง แกนนำหรือคนที่ปลุกเร้าจะตอบตัวเองอย่างไร รับผิดชอบอย่างไร
การต่อสู้ทางการเมืองมันลงเอยด้วยการเสียสละหลายรูปแบบ การติดคุกเป็นเรื่องหนึ่ง ยังมีเรื่องการเสียชีวิต การพิการ เสียโอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อครอบครัว หลายคนไม่ได้บาดเจ็บล้มตายเลย แต่ครอบครัวไม่มีกิน ลูกหลานหลายบ้านไม่มีเงินเรียนหนังสือ ถึงได้มีเรื่องการเยียวยาและยังไม่เป็นระบบ ซึ่งถ้าทำไม่ดีก็เหมือนกับการรับจ้างต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งถ้าทำไม่ดีจะน่าเกลียดมาก กลายเป็นโรงทานคนเสื้อแดง โรงทานมวลชน ซึ่งถ้าทำไม่ดี เราจะไม่มีเกียรติในการต่อสู้ครั้งต่อไป

และเราต้องอย่าลืมว่าคนที่ต้องพลัดบ้านพลัดเมืองมาอยู่นอกบ้านเกิดเมืองนอน ก็เป็นคนที่ถูกกระทำอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงความทุกข์หรือคร่ำครวญ พูดตามคำพระก็เหมือนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์แต่เป็นทุกข์ที่ต่างรูปแบบกันไป ฉะนั้นถ้าถามว่าจะรับผิดชอบอย่างไรก็ต้องตอบว่า ต้องผลักดันให้การต่อสู้ของเราประสบผลสำเร็จเร็วที่สุด

สัมภาษณ์พิเศษจักรภพ เพ็ญแข:  คงต้องปล่อยให้ลิ้มรสของการปรองดองกันเสียก่อน

“จุดอ่อนของระบอบประชาธิปไตยไทยตรงนี้ก็คือ เรากระเหี้ยนกระหือรือที่จะปรองดอง ไม่มีความอุตสาหะพอที่จะหาจุดตัดขาด ถ้าคนเรารอมชอมเร็วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทนได้แค่ไหน”

 

ในการต่อสู้ทางการเมืองต้องขยายแนวร่วม แต่จุดอ่อนอะไรที่ฝ่ายประชาธิปไตย ถ้าเราเชื่อว่าคุณทักษิณเป็นประชาธิปไตย หรือแนวทางที่สามที่คุณจักรภพยังพยายามหาอยู่นี้ มีจุดอ่อนอะไรที่ทำให้ไม่สามารถขยายแนวร่วมดึงคนจากอีกฝั่งเข้ามาได้เสียที
มีสองสามจุด จุดแรกและน่าจะสำคัญมากคือตัวนายกทักษิณเองเป็นตัวแทนของประบอบทุนนิยมไม่ใช่ตัวแทนของประชาสังคมทำให้เครือข่ายที่จะร่วมต่อสู้นั้นลังเล ข้อสองคือ ขบวนการประชาธิปไตยรอบหลังที่เริ่มต้นด้วยรัฐบาลไทยรักไทยจนบัดนี้เป็นการต่อสู้เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยแทบไม่ได้พูดเรื่องความเสมอภาคหรือความเป็นธรรมทางสังคม มันทำให้คนที่ตอสู้เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมเกิดความรู้สึกไม่ศรัทธา ยิ่งขณะนี้เป็นเรื่องการเยียวยา การชดเชย มันทำให้หลายคนรู้สึกว่านี่มันอะไรกัน เพราะถ้าพูดกันอย่างไม่เกรงใจกันแล้ว พูดแล้วจะถูกว่าก็ยอม ถึงที่สุดคือการต่อสู้ทางการเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละไม่ได้อะไรกลับคืนเลยสักคนหนึ่ง จะจนยากอย่างไรก็ต้องรับผลนั้น ผมต้องขอพูดประโยคนี้ แต่แน่นอนล่ะคนด้วยกันเราก็เห็นใจกัน แต่ต้องอย่าให้ตรงนี้มาแทนจิตสำนึกของการต่อสู้ เพราะเราต้องไม่ลืมความดีงามว่ามวลชนเขามาต่อสู้ก็ไม่ได้หวังผลการเยียวยาตรงนี้ แต่เมื่อสู้แล้วลำบากก็ต้องเยียวยา ไม่ใช่เขามาสู้เพื่อให้ได้รับการเยียวยา และคนให้ต้องระวัง

สาม จุดอ่อนของระบอบประชาธิปไตยไทยตรงนี้ก็คือ เรากระเหี้ยนกระหือรือที่จะปรองดอง ไม่มีความอุตสาหะพอที่จะหาจุดตัดขาด ถ้าคนเรารอมชอมเร็วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทนได้แค่ไหน รอมชอม สมานฉันท์หรืออะไรก็ตาม มันฟังดูดีมากนะ แต่มันทำให้เราเก็บความไม่เด็ดขาด ตกลงไม่รู้ว่าขอบของสังคมอยู่ตรงไหนเพราะเรามีสิ่งนี้มาคลุมไว้แล้ว แต่แน่นอนว่าผมพูดไปผมก็ขัดกับตัวเองว่าอะไรที่ทำใหไม่ต้องเสียหายอีกก็คงวรจะดีใจ

คิดว่าจะกลับเมืองไทยเมืองไหร่ ด้วยเงื่อนไขอะไร
ไม่มีกำหนดกลับ แต่เงื่อนไขที่จะกลับคือ ผมอยากเห็นทางสายที่สามเป็นรูปธรรมขึ้น สองคือ (ยิ้ม) อยากให้ทุกคนได้รู้รสของปรองดองเสียก่อนว่า มันเปรี้ยวหวานมันเค็มอร่อยแค่ไหน หรือเป็นพิษแล้วค่อยคิดกลับ สาม ซึ่งเป็นเป้าหมายส่วนตัว ไม่ได้พูดให้เท่ห์น่ะ ผมคงกลับหลังประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นก่อน เพราะผมอยากขยายฐานการต่อสู้ของไทยให้กลายเป็นงานของประชาคมอาเซียน

ซึ่งยากมาก เพราะรัฐบาลในอาเซียนก็ไม่ได้มีระดับความเป็นประชาธิปไตยที่แตกต่างกับไทยสักเท่าไหร่
(ยิ้ม) มีมาเฟียที่เลวร้ายกับคนในบ้านตัวเอง และทำตัวเป็นเศรษฐีใจบุญนอกบ้านก็มีนะครับ ที่พูดนี่ไม่ใช่เป็นไอเดีย พูดเพราะมันมีอย่างนั้นจริงๆ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถาบันพระปกเกล้าเบรกสภา ขู่ดึงกลับรายงาน “ปรองดอง” แนะต่อเวลาศึกษา

Posted: 03 Apr 2012 03:41 AM PDT

3 เม.ย.55 สถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ชี้แจงปมรายงานร้อน “ปรองดองแห่งชาติ” ยืนยันทำตามเสรีภาพวิชาการ เสนอสภาผู้แทนฯ ลงมติวันที่ 4 เม.ย.นี้เพียงรับทราบเบื้องต้น พร้อมขยายเวลาศึกษา จัดเวทีทุกระดับทั่วประเทศ ไม่เร่งรัดนำไปปฏิบัติ เพราะอาจเป็นปม “สงครามปองดอง” หากไม่ทำตามข้อเสนอ เจ้าของลิขสิทธิ์ขู่ดึงรายงานกลับ

 0000


สถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ เรื่อง รายงานการวิจัย
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ” 

ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รายงานการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่คณะผู้วิจัยได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรไปตามที่คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ขอให้ศึกษาแล้วนั้น

สถาบันพระปกเกล้าขอแถลงข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะทางออกเพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศความปรองดองในชาติ ดังนี้

1. หน้าที่ทำการวิจัยที่คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรขอ

โดยใช้เงินสถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.
2541 ภายใต้กำกับดูแลของประธานรัฐสภา และมีหน้าที่ตามมาตรา 6(8) ซึ่งบัญญัติว่า ให้สถาบัน ส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

ดังนั้น เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ให้สถาบันทำการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยตั้งคำถามว่า อะไรคือปัจจัย หรือกระบวนการที่ทำให้การปรองดองแห่งชาติประสบความสำเร็จ สถาบันจึงนำเรื่องเสนอเสนอสภาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อพิจารณาคำขอดังกล่าว สภาสถาบันได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการโดยใช้งบประมาณของสถาบันเอง

การดำเนินการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการทำหน้าที่ส่งเสริมวิชาการรัฐสภาตามหน้าที่ของสถาบันในกฎหมาย โดยไม่มีการรับจ้างดังที่วิพากษ์วิจารณ์กันแต่อย่างใดดังนั้น ลิขสิทธิ์ของรายงานดังกล่าวจึงเป็นของสถาบันตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

2. การรับทำงานวิจัยได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้วจากสภาสถาบันพระปกเกล้า

เนื่องจากการขอให้ทำงานวิจัยดังกล่าว สถาบันไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ และผลการวิจัยมีผลกระทบทางการเมือง สถาบัน จึงนำคำขอของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาสถาบันในการประชุมสภาสถาบัน ครั้งที่
11 /2554 เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554 สภาสถาบันซึ่งประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานสภาสถาบัน ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง คือ ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร 2 คน ประธานคณะกรรมาธิการสามัญวุฒิสภา 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 11 คน โดยมีเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นกรรมการและเลขานุการ ได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว มีมติให้รับทำการศึกษาโดยมีข้อสังเกตหลายประการ อาทิ ให้ขยายเวลาจาก 30 วัน เป็น 120 วัน ให้ดำเนินการโดยอิสระ และมีเสรีภาพทางวิชาการอย่างแท้จริง มิให้ยกร่างกฎหมายเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งสถาบันก็ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตดังกล่าวทุกประการ

3. รายงานการวิจัยเป็นเสรีภาพทางวิชาการ และความรับผิดชอบของคณะผู้วิจัย

เมื่อรับทำการศึกษาแล้ว สถาบันก็แต่งตั้งคณะผู้วิจัยขึ้นตามกระบวนการปกติที่เคยปฏิบัติมาประกอบด้วย ผู้วิจัย 20 คน โดยมี รศ.วุฒิสาร ตันไชย เป็นหัวหน้าคณะได้ใช้เวลาศึกษา 120 วัน ตามกรอบเวลาที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขอ เมื่อมีการทักท้วงและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันก็ได้ลงไปตรวจสอบทั้งระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) และเนื้อหาสารัตถะ (content) ของงานวิจัย และข้อเสนอก็พบว่า กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวมีความถูกต้องตามหลักวิชาการควรแก่กรณี

แม้ว่าเลขาธิการจะขอให้คณะผู้วิจัยนำข้อท้วงติงของทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบแล้ว คณะผู้วิจัยก็ได้ปรับแก้บางส่วนแต่คงยืนยันผลการวิจัย โดยเฉพาะข้อที่ว่า ปัจจุบันบรรยากาศความปรองดองยังไม่เกิด เพราะทุกฝ่ายยังมีพฤติกรรมและท่าทีเหมือนเดิม คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการสร้างบรรยากาศความปรองดองทั้งระดับบน คือในฝ่ายการเมือง และระดับล่าง คือประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกัน (dialogue) จนมีฉันทามติในระดับเหมาะสม โดยนำข้อเสนอที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิไปเป็นประเด็นในการพูดคุยหาทางออกร่วมกัน คณะผู้วิจัยยืนยันว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวไม่ใช่ข้อสรุปที่ให้นำไปปฏิบัติทันทีแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม คณะผู้วิจัยจึงได้ทำหนังสือแถลงจุดยืนต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 และได้เตือนไว้ในหนังสือดังกล่าวว่า การรวบรัดใช้เสียงข้างมาก โดยไม่ทำตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้

การยืนยันผลการวิจัยของคณะผู้วิจัยดังกล่าวจึงเป็นความอิสระและเสรีภาพทางวิชาการซึ่งมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองไว้ ที่สถาบันและผู้ใดก็มิอาจก้าวล่วงได้

4. สถาบันไม่จำต้องเห็นพ้องด้วยกับงานวิจัย

ในฐานะผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวิจัย สถาบันทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการให้ใช้ หรือของานวิจัยกลับคืนได้ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ความเห็นและข้อเสนอในรายงานการวิจัยหรืองานวิชาการอื่น ซึ่งสถาบันให้จัดทำทุกเรื่องตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันมาจนถึงการวิจัยเรื่องนี้ย่อมเป็นความเห็นของผู้วิจัยเอง สถาบันไม่จำต้องเห็นพ้องด้วย แต่เมื่อลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 สถาบันก็ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืน และห้ามทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ตามมาตรา 27 โดยเฉพาะเมื่อมีการเลือกนำรายงานบางส่วนไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง และอาจจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงขึ้น หรือมีการรวบรัดนำประเด็นซึ่งผู้วิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยแสวงหาทางออกร่วมกันไปปฏิบัติทันที โดยไม่ได้นำไปพูดคุยให้กว้างขวางทั้งประเทศ

5. ทางออก

ทางออกเพื่อความปรองดองแห่งชาติอย่างแท้จริง สภาผู้แทนราษฎรพึงมีมติในวันที่ 4 เมษายน 2555

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่อันจะนำไปสู่ความรุนแรง และเพื่อสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศ สถาบันจึงเสนอให้

(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากควรมีมติรับทราบรายงานของคณะ กรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไว้ชั้นหนึ่งก่อน และขยายอายุคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ออกไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญสมัยหน้าเป็นอย่างน้อยและให้นำรายงานดังกล่าวไปจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ทั้งระดับพรรคการเมืองและในระดับประชาชนทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง โดยไม่เร่งรีบรวบรัดเลือกนำข้อเสนอที่ตนหรือพรรคของตนได้ประโยชน์ไปปฏิบัติ ทั้งที่ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่นักวิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยหาทางออกจนได้ข้อยุติร่วมกันเท่านั้น

(2) ขอร้องให้พรรคฝ่ายค้าน และคนไทยทุกกลุ่มที่ต้องการเห็นบ้านเมืองก้าวไปข้างหน้า ด้วยความปรองดอง โดยมีภราดรภาพต่อกัน ให้ความร่วมมือในการพูดคุยหาทางออกร่วมกันทำนอง สุนทรียสนทนา (appreciative dialogue) หรือการเสวนาที่สร้างสรรค์ (Constructive dialogue) เพื่อยุติข้อขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานนี้ลง

(3) ขอร้องให้สื่อมวลชนรายงานข่าวให้ครบถ้วนเพื่อความปรองดองอย่างแท้จริง

(4) ขอร้องให้ประชาชนอย่าเพิ่งเชื่อคำพูดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนกว่าจะได้อ่านรายงานการวิจัยฉบับย่อ และรายงานการวิจัยฉบับเต็มใน www.kpi.ac.th แล้ว จึงค่อยตัดสินตามหลักกาลามสูตร

สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอย่างแท้ จริง หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติตามข้อเสนอในข้อ 1 สถาบันก็พร้อมจะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในการเปิดเวทีพูดคุยหาทางออกทั่วประเทศ โดยเฉพาะผ่านศูนย์การเมืองภาคพลเมืองของสถาบันซึ่งมี 48 จังหวัดทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกับรายงาน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังข้อเสนอเดิมของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ อันจะนำไปสู่ความสับสนของประชาชน และนำไปสู่ สงครามความปรองดองอันเป็นการสถาปนา ความยุติธรรมของผู้ชนะขึ้น ทั้งยังจะเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง และความรุนแรงนั้น สถาบันก็มีความเสียใจที่จะต้องขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืนมา และหากผู้ใดจะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณะชนจะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาบันก่อน

สถาบันเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเห็นความสงบ และปรองดองในบ้านเมืองจึงขอเรียกร้องให้ผู้แทนปวงชนทุกฝ่าย ตอบสนองความต้องการของปวงชน โดยใช้วิจารณญาณที่รอบคอบ ปราศจากมานะทิฐิ และประโยชน์ส่วนตน หรือส่วนพรรคอย่างแท้จริง

00000

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น