ประชาไท | Prachatai3.info |
- การแสดง "ตังยัด" กลับมาคู่สงกรานต์พม่าแล้ว - หลัง "ต้องห้าม" นานกว่า 30 ปี
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (๒)
- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเปรียบเทียบไทย-ฝรั่งเศส 4: การปรึกษาหารือกับประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมของท้องถิ่น(La consultation des citoyens)
- สงกรานต์คึก-เหยื่อบอมบ์แย่ มอ.ระดมอาสาสมัครฟื้นฟูจิตใจ
- นักสันติภาพเรียกร้องอาเซียนมีบทบาทแก้ปมขัดแย้งชาติสมาชิก
- ผู้ช่วยนักบินการบินไทยนัดลาหยุดสงกรานต์ เรียกร้องสิทธิประโยชน์
- ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อะไรคือก้าวต่อไปของฝ่ายแรงงาน
- ชมรม สสร. 2550 ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ "ครม.-ส.ส.-ส.ว." เหตุเร่งแก้ไข รธน.ไม่เป็นไปตามขั้นตอน
- วันที่ 2 ของ "สงกรานต์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์" เกิดอุบัติเหตุ 481 ครั้ง ตายเพิ่ม 58 ราย
- ผู้รอดชีวิตกราดยิงมัสยิดปะนาเระเผยนาทีปลิดชีพเพื่อนบ้าน
- ตาดีกาเจอปัญหารัฐจัดหลักสูตรใหม่พัฒนาคุณภาพครู
- "ทักษิณ" เผย "พล.อ.เปรม" เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพ พร้อมอวยพรให้สุขภาพดี
- สื่อเกาหลีเหนือระบุแผนปล่อยดาวเทียมกวางเมียงซง 3 ล้มเหลว
การแสดง "ตังยัด" กลับมาคู่สงกรานต์พม่าแล้ว - หลัง "ต้องห้าม" นานกว่า 30 ปี Posted: 13 Apr 2012 12:47 PM PDT การแสดงแบบพม่าในช่วงสงกรานต์เพื่อล้อเลียนสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงปีเก่า ได้รับอนุญาตให้มีการละเล่นแล้วหลัง "ต้องห้าม" มานานกว่า 3 ทศวรรษ เนื่องจากรัฐบาลเกรงจะมีการผสมโรงต่อต้านรัฐบาล โดยช่วงสงกรานต์พม่าปีนี้คณะตลกหนวดสามพี่น้อง "ปาปาเลย์" ซึ่งเคยถูกจำคุกมากว่า 5 ปี ฐานแสดงล้อเลียนรัฐบาล ขอประเดิมแสดง "ตังยัด" แห่ไปรอบเมืองช่วงสงกรานต์ปีนี้ ภาพจากสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือดีวีบี เป็นพิธีเปิดเทศกาลสงกรานต์พม่า หรือ "ติงยาน" ที่เมืองมัณฑะเลย์ เมืองอันดับสองของพม่า ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันสุกดิบ หรือ "วันอะโจ่เนะ" 12 เม.ย. โดยตลอดสงกรานต์ 5 วันที่มัณฑะเลย์ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 16 เม.ย. นอกจาก "เหย่กะซา" หรือการเล่นน้ำแล้วจะมีการประดับตกแต่งซุ้มรอบคูเมืองมัณฑะเลย์ มีคณะนักร้องนักดนตรีมากมายมาร้องเพลงประชันกัน และมีขบวนแห่ของคณะนักแสดง นักดนตรีกลุ่มต่างๆ แห่ไปรอบคูเมืองตลอด 5 วัน และสำหรับปีนี้การแสดง "ตังยัด" ที่ถูกทางการพม่าห้ามเล่นมากว่า 30 ปี ก็จะเริ่มนำมาแสดงเช่นกัน การแสดง "ตังยัด" ของนักกิจกรรมชาวพม่าที่ลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์พม่า "ติงยาน" เมื่อปี 2552 ทั้งนี้ศิลปินและนักกิจกรรมพม่าที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศจะถือโอกาสนี้แสดงการละเล่น "ตังยัด" เพื่อเสียดสีรัฐบาลพม่า ขณะที่ในรอบ 30 ปีนี้ "ตังยัด" ถือเป็นการแสดงต้องห้ามโดยทางการพม่า มีผู้บันทึกภาพการแสดง "ตังยัด" ของคณะตลกหนวดสามพี่น้อง (Mustache Brothers) หรือ "ปาปาเลย์" ที่เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา ถือเป็นการประเด็นการแสดง "ตังยัด" หลังถูกทางการห้ามเล่นมานานกว่า 30 ปี โดยเนื้อหาในคลิปเป็นการล้อเลียนระบบสาธารณสุขของพม่า ทั้งนี้คณะตลกหนวดสามพี่น้อง หรือ "ปาปาเลย์" จะแสดง "ตังยัด" บนขบวนรถแห่ไปรอบคูเมืองมัณฑะเลย์ ในช่วงเทศกาลติงยานนี้ แต่ไม่รับปากว่าจะแสดงครบทั้ง 5 วันของเทศกาลเนื่องจากติดขัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันรถ การกลับมาของ "ตังยัด" การแสดงต้องห้ามช่วงสงกรานต์ ในรอบหลายเดือนมานี้ ไม่เพียงแต่ทางการพม่าจะเริ่มผ่อนปรนในเรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และเปิดพื้นที่ให้กับพรรคฝ่ายค้านอย่างเอ็นแอลดีเข้ามามีที่นั่งในสภาแล้ว ในด้านวัฒนธรรมก็เริ่มมีการผ่อนปรนข้อห้ามหลายเรื่อง โดย เว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ ดีวีบี ได้เผยแพร่บทรายงานเรื่อง "ตังยัด กลับมาแล้ว" เนื้อหาระบุถึงการแสดง "ตังยัด" (Thangyat) ซึ่งนิยมเล่นช่วงเทศกาลติงยาน หรือสงกรานต์พม่า แต่ถูกทางการห้ามมิให้มีการแสดงดังกล่าวมากว่า 30 ปีนั้น ในช่วงเทศกาลติงยานปีนี้ ทางการได้อนุญาตให้ทำการแสดงได้แล้ว ทั้งนี้การแสดงดังกล่าว นักแสดงมักจะเต้นและร้องเพลง พร้อมเล่นมุกตลกที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าได้ห้ามมิให้มีการแสดงดังกล่าว โดยมีการออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนรวมตัวกันตะโกนคำขวัญต่อต้านรัฐบาล ซู หั่น นักเขียนชาวมัณฑะเลย์กล่าวว่าเทศกาลติงยาน และการแสดงตังยัดไม่สามารถแยกจากกันได้ "นี่ก็ผ่านมากว่า 30 ปีแล้ว ทั้งที่เทศกาลติงยาน และตังยัดเป็นสองสิ่งที่ไม่อาจแยกจากกัน เพราะเทศกาลติงยานเป็นเทศกาลเพื่อประชาชน และควรมีเสรีสำหรับทุกคน ไม่ควรถูกผูกขาดโดยคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และควรนำหลักการนี้มาใช้กับการแสดงตังยัดด้วย
คณะตลกหนวด "ปาปาเลย์" ขอประเดิมแสดง "ตังยัด" แห่รอบเมืองมัณฑะเลย์ เพื่อเป็นการฉลองการกลับมาของ "ตังยัด" ศิลปินที่เมืองมัณฑะเลย์ "ปาปาเลย์" หรือ คณะตลกหนวดสามพี่น้อง (อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง) กล่าวว่าจะเตรียมการแสดง "ตังยัด" แห่ไปพร้อมกับกับขบวนแห่ติงยานอื่นๆ ในเมืองมัณฑะเลย์ โดยคณะตลกหนวดสามพี่น้องระบุด้วยว่าจะแสดง "ตังยัด" ล้อเลียนในเรื่องการศึกษา สุขภาพ เศรษฐกิจ และกระบวนการยุติธรรมของพม่า "ประชาชนชาวเมืองมัณฑะเลย์รอมานานที่จะได้เห็นการแสดง "ตังยัด" อีกครั้ง คณะปาปาเลย์จะแสดงร่วมกับเพื่อนตลกคนอื่นๆ" ลูมอว์ น้องชายคนเล็ก หนึ่งในสมาชิกของคณะปาปาเลย์กล่าว โดยตลกในเมืองมัณฑะเลย์คนอื่นๆ ได้แก่ ตะเปย จา เอ, เดปา และ อ่อง ขิ่น จะร่วมแสดงด้วย อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่สามารถแสดงตลกได้ทั้ง 5 วันในช่วงเทศกาลติงยานเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันให้กับขบวนรถแห่ ทั้งนี้สองตลกหนวดในคณะปาปาเลย์ คือปาปาเลย์ และลูซอว์ เคยถูกทางการพม่าขังตั้งแต่เดือนมกราคมปี 39 และต้องโทษจำคุก 7 ปีในข้อหาทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการแสดงตลก ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวในเดือนกรกฎาคมปี 44 สำหรับเมืองมัณฑะเลย์ ถือเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของพม่า ทั้งนี้ในอดีตมีคณะตังยัดกว่า 40 คณะ นอกจากนี้มัณฑะเลย์ยังเป็นเมืองของนักเขียนหลายคน เช่น ซอว์ อ่อง, ขิ่น อ่อง วินต์ และซาน วิน เฉ่ง รวมทั้งนักกวีจำนวนหนึ่งที่ตั้งคณะตังยัดในช่วงเทศกาล อย่างเช่น วงเมี้ยวมะ ซึ่งมีชื่อเสียงก็จะร่วมแสดงในขบวนแห่เทศกาลติงยานเช่นกัน ทั้งนี้ ในช่วงเทศกาลติงยานจะมีการตกแต่งซุ้มขึ้นรอบๆ คูเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งวงดนตรีและนักร้องคณะต่างๆ จะมาแสดงดนตรี ณ ที่แห่งนี้เช่นกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (๒) Posted: 13 Apr 2012 10:26 AM PDT จากตอนที่แล้ว ที่แบ่งทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ด้านการกระจายอย่างยุติธรรมออกเป็นสามกลุ่มคือ Libertarianisme, Utilitarianisme และ Egalitarisme liberal กลุ่ม Libertarianisme เชื่อว่าความยุติธรรมเกิดจากการปกป้องกรรมสิทธิของปัจเจกชนจากอำนาจรัฐหรือปัจเจกชนคนอื่นๆ ปัจเจกชนมีสิทธิในการครอบครองสิ่งของจากผลผลิตแรงงานของตนเอง มิใช่มาจากการใช้กำลังเข้าปล้นแย่งชิงของบุคคลอื่น สาเหตุที่แนวความคิดเสรีนิยมกำเนิดขึ้นมาและได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไปสาเหตุหนึ่งเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการผลิตจำนวนมากและเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อการค้าขึ้น ส่งผลให้เกิดกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ได้แก่กลุ่มพ่อค้าที่ครอบครองปัจจัยการผลิตขึ้นมาท้าทายอำนาจกลุ่มอำนาจเศรษฐกิจเดิมคือ กลุ่มเจ้าขุนมูลนาย ระบบการค้าในศตวรรษที่๑๘มิได้เสรีเช่นปัจจุบัน แต่ถูกเก็บภาษีด้วยวิธีหลากหลายรูปแบบจากอำนาจรัฐ ประชาชนทำงานหนักแต่ผลผลิตส่วนใหญ่กลับถูกเก็บภาษี การเก็บภาษีอย่างหนักหน่วงสร้างความไม่พอใจแก่พ่อค้าและประชาชน พวกเขาเห็นว่าเขาควรได้รับผลตอบแทนจากสิ่งที่เขาทำ มิใช่โดนปล้นไปจากรัฐ Utilitarianisme ปฏิเสธแนวความคิด Libertarianisme ที่เชื่อว่าควรจำกัดอำนาจรัฐให้น้อยที่สุด Utilitarianisme เชื่อว่ารัฐต้องเข้ามาแทรกแซงการกระจายทรัพยากรเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีความสุขมากที่สุด และผลที่ตามมาคือความผาสุกของสังคมโดยรวม Utilitarianisme เชื่อว่าการที่ปัจเจกบุคคลครอบครองทุกสิ่งเป็นกรรมสิทธิไม่สามารถเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจเจกบุคคลอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่ตนมีอย่างมีประสิทธิภาพและควรโอนถ่ายไปให้บุคคลอื่นมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น มีคนสองคน คนแรกตาบอดแต่มีแว่นตาไว้ในครอบครอง ส่วนคนที่สองหูหนวกแต่มีวิทยุไว้ครอบครอง ทั้งสองคนครอบครองสินค้าที่ไม่ก่อประโยชน์กับตัวเขา และควรจะมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งถ้ายึดถือตามแนวความคิดเสรีนิยมแล้วการถ่ายโอนทรัพยากรจะเกิดได้เมื่อทั้งสองฝ่ายเต็มใจซึ่งถ้าทั้งสองฝ่ายไม่เต็มใจการถ่ายโอนก็ไม่เกิดและไม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ปัจเจกครอบครอง ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้าแทรกแซงทำการโอนถ่ายทรัพยากรระหว่างสองคนโดยที่ทั้งสองคนไม่จำเป็นต้องยินยอม Utilitarianisme เชื่อว่าปัจเจกบุคคลมีข้อจำกัดในด้านข้อมูลและไม่สามารถตระหนักว่าควรจะแบ่งทรัพยากรของตนเองให้สังคมเท่าไร หรือควรถ่ายโอนทรัพยากรอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กรรมสิทธิส่วนบุคคลสามารถถูกละเมิดได้ในนามของรัฐเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของสังคม Libertarianisme และ Utilitarianisme จึงเป็นแนวความคิดแตกต่างสองขั้วระหว่างฝ่ายแรกที่การกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐกับฝ่ายที่สองการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมนั้นเกิดจากการแทรกแซงของรัฐ ซึ่งแนวความคิดทั้งสองต่างก็มีข้อเสียและไม่สามารถก่อให้เกิดการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้นแนวความคิด Egalitarisme liberal จึงเกิดขึ้นมาจากการสมาสของแนวคิดทั้งสองข้างต้นเพื่อพัฒนาให้เกิดการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมตามสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นักคิดสำคัญของ Egalitarisme liberal คือ John Rawls ผู้เขียนหนังสือ Theory of justice แนวความคิดของเขาเป็นการสมาสร่วมกันระหว่างการแทรกแซงจากรัฐกับการรักษากรรมสิทธิเอกชนไปด้วยกัน การแทรกแซงจากรัฐไม่ควรมีมากเกินไปและควรถูกจำกัดโดยเนื่องจากรอว์เป็นผู้นิยมสัญญาประชาคมและสถาบันนิยม ดังนั้นการแทรกแซงจากรัฐจึงกระทำได้ภายใต้สถาบันทางสังคมคือกฎหมาย โดยที่กฎหมายต้องนิยามอำนาจและหน้าที่อย่างชัดเจนในการแทรกแซงกรรมสิทธิเอกชน ถ้าการแทรกแซงจากรัฐนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ย่อมไม่แตกต่างจากการปล้นจากรัฐ และกฎหมายที่บัญญัติอำนาจการแทรกแซงจากรัฐนั้นต่างจากกฎหมายสมบูรณาญาสิทธิราชที่กฎหมายมาจากตัวกษัตริย์ อำนาจกฎหมายของรอว์ต้องมาจากข้อตกลงร่วมกันของสังคมที่พ้องกับระบอบประชาธิปไตย การแทรกแซงของรัฐมีจุดประสงค์เพื่อการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมมิใช่เพื่ออรรถประโยชน์สูงสุดของสังคมแบบแนวความคิดอรรถประโยชน์นิยม อย่างไรก็ตามการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมก็มิได้มีจุดประสงค์ให้คนทุกคนในสังคมมีทรัพยากรที่เท่าๆกันเหมือนกันหมดเฉกเช่นสังคมนิยมยูโธเปียวาดฝันเอาไว้ การกระจายทรัพยากรให้เท่ากันมีขีดจำกัดได้ในจุดๆหนึ่ง และรักษากรรมสิทธิส่วนบุคคลจนถึงระดับหนึ่ง เช่น สินค้าสาธารณสุขเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนในสังคมพึงมี รัฐบาลจึงสร้างระบบประกันสุขภาพสามสิบบาทรักษาทุกโรคให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามปัจเจกชนก็ไม่ได้ถูกห้ามในการขวนขวายหาสินค้าสาธารณสุขเพิ่มเติมด้วยตนเอง เช่นการซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชน เป็นต้น ถึงแม้รอว์ยอมรับการแทรกแซงจากรัฐ แต่เขาเองก็ให้ความสำคัญกับกรรมสิทธิส่วนบุคคลและแนวความคิดเสรีนิยม รอว์เขียนหลักการที่หนึ่งในTheory of justice ไว้ว่า “แต่ละคนคนต้องมีสิทธิเท่าเทียมภายในระบบที่มีการให้เสรีภาพพื้นฐานขยายมากที่สุด โดยเข้ากันได้กับเสรีภาพแบบเดียวกันของบุคคลอื่น” ซึ่งเสรีภาพขั้นพื้นฐานได้แก่ เสรีภาพในการเลือกตั้ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในกรรมสิทธิเป็นต้น ถึงแม้รอว์เป็นนักคิดคนแรกๆของสาย Egalitarisme liberal งานเขียนของเขา Theory of justice ก็มิใช่คัมภีร์ไบเบิลที่ถูกวิพากษณ์วิจารณ์ไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนต่างเคยวิจารณ์งานของรอว์ รวมถึงอมาตยา เซนซึ่งมีแนวความคิดสาย Egalitarisme liberalเช่นเดียวกัน เซนวิพากษณ์แนวความคิดของรอว์ในการกระจายสินค้าพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ได้สนใจว่าสินค้านั้นสามารถสร้างอะไรให้แก่ปัจเจกชนที่ได้รับบ้าง การกระจายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่สนใจลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล ความต้องการส่วนบุคคลส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่เท่ากันได้ เช่น อาหารซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานที่ทุกคนต้องการใช้เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานและมีชีวิตอยู่ต่อ ถ้าตามความคิดของรอว์ทุกคนต้องกระจายได้อาหารให้ทุกคนเท่าๆกันหรือให้คนที่ลำบากที่สุดในสังคมก่อน ในที่นี้สมมติว่าทุกคนจะได้อาหารวันละหนึ่งจานเท่าๆกัน แต่ถ้าสมมติว่ามีคนสองคนแตกต่างกันโดยคนแรกมีสภาพร่างกายที่แตกต่างจากคนที่สองเขามีความต้องการอาหารวันละสองจานเพื่อมีชีวิตรอด ในขณะที่คนที่สองต้องการอาหารเพียงหนึ่งจานก็เพียงพอมีชีวิตรอดต่อไปได้ ดังนั้นถ้ามีการกระจายตามแนวความคิดของรอว์แล้วคนแรกก็ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้และต้องตายในที่สุด หรือถ้าสมมติว่าในสังคมหนึ่งให้ค่าว่ารถยนต์เป็นสินค้าขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี ดังนั้นตามแนวความคิดรอว์แล้วรัฐต้องจัดแจงให้ทุกคนมีรถยนต์ใช้โดยมิได้คำนึงว่ารถสามารถสร้างผลประโยชน์ให้ทุกๆคนหรือไม่ คนตาบอด หรือพิการก็ต้องมีรถโดยไม่สามารถใช้ได้ สำหรับเซนแล้วสวัสดิภาพของปัจเจกบุคคลมีส่วนหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากสภาพแวดล้อมที่ ปัจเจกบุคคลไม่ควรที่จะรับผิดชอบ สภาพแวดล้อมต่างๆเช่น เพศ ความสามารถ สถาบันสังคมเป็นต้น จุดประสงค์ของเซนคือ การลบล้างอิทธิพลของตัวแปรสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสวัสดิภาพของปัจเจกบุคคล นิยามของสวัสดิภาพบุคคลมี ๒ มิติด้วยกันคือ มิติด้านวัตถุประสงค์ และมิติส่วนบุคคล มิติส่วนวัตถุประสงค์ เซนเรียกว่า functioning ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหรือสินค้าของปัจเจกบุคคลและผลลัพธ์ของกิจกรรมนั้น เช่น สมมติว่า วัตถุประสงค์ของสวัสดิภาพบุคคลที่ต้องการคือ การมีสุขภาพดี แต่การมีสุขภาพดีต้องมีกิจกรรมบางอย่างเช่น การกินอาหารที่ดี การขาดสารอาหารส่งผลให้สุขภาพไม่ดี เป็นต้น เขียนอยู่ในรูปฟังกชันได้ดังนี้
คิอ กิจกรรมหรือสินค้าของปัจเจกบุคคล เช่นอาหาร c คือฟังก์ชันที่เปลี่ยนสินค้าหรือกิจกรรมเป็นสวัสดิภาพบุคคล เช่นการส่ฃผลให้สุขภาพดี มิติที่สองคือ มิติส่วนบุคคลที่มีผลต่อสวัสดิภาพบุคคลที่ได้รับ เซนเรียกว่า Capability มิตินี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลเช่น ความพึงพอใจ รสนิยม ความเชื่อส่วนตัวเป็นต้น Capability จึงประกอบด้วยเซตของ functioning และเสรีภาพในการเลือกของปัจเจกบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ปัจเจกบุคคลหนึ่งมีโอกาสเลือกว่าจะกินข้าวหรือจะอดข้าว ซึ่งถ้ากินข้าวแล้วจะส่งผลให้สุขภาพดี และถ้าอดข้าวส่งผลให้สุขภาพแย่ แต่เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาแล้วเขาเลือกที่จะอดข้าวและส่งผลให้สุขภาพแย่ตามมา ในกรณีที่ว่านี้ไม่ถือว่ามีความไม่เท่าเทียมกันในด้านกระจายทรัพยากรอาหาร เพราะว่าปัจเจกบุคคลมีโอกาสที่จะเลือกว่ากินหรือไม่กินอาหาร ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่อดอยากตาย เพราะการอดอยากตายนั้นหมายถึงว่าปัจเจกบุคคลไม่มีอาหารและไม่มีโอกาสที่จะเลือกว่ากินหรือไม่กินได้ เมื่อเขียนเป็นฟังกชันจะได้
คือ สวัสดิภาพส่วนบุคคลที่ได้รับ ซึ่งขึ้นอยู่กับเสรีภาพของการเลือก ( ) จากตะกร้าเซต functioning ดังนั้นความยุติธรรมในการกระจายตามความคิดของเซนคือ การกระจายให้ทุกคนมีโอกาสในทางเลือกที่เท่าเทียมกัน หรือ หมายถึงการที่ให้ทุกคนมีตะกร้าเซตfunctioning ให้เลือกเหมือนๆกัน โดยไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องมีสวัสดิภาพโดยรวมเท่ากันหมด แต่ทุกคนต้องมีเสรีภาพ และมีโอกาสในการเลือกได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 13 Apr 2012 10:11 AM PDT การปรึกษาหารือในระบอบประชาธิปไตยนั้นเปรียบได้กับวจนะของอีสปที่ได้กล่าวว่าของบางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่ดีหรือแย่นั้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้(la pire ou la meilleur des chose) การปรึกษาหารือในรบอบประชาธิปไตยท้องถิ่นก็เช่นกัน [1] หาการปรึกษาหารือนั้นถูกนำไปเป็นการประกันผลของคำสั่งต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นการใช้ไปในทางที่แย่แต่หากเป็นการใช้ไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชากรนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดี หนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1989 ที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อความหนึ่งระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรับฟังความเห็นของผู้ใช้บริการสาธารณะเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการจัดทำบริการ เราต้องออกจากทางสองแพร่ระหว่างผู้ใช้บริการที่ไม่กระตือรือล้นและผู้ใช้บริการที่ให้ความเห็น ผู้ใช้บริการควรจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความเห็นหรือข้อเสนอต่างๆ
เครื่องมือเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ
1.การจัดทำประชามติท้องถิ่น 1.1 ข้อห้ามของหลักประชาธิปไตยทางตรง(ในการจัดทำประชามติ)ในท้องถิ่น หลักการจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษา(le référendum consultatif)และหลักการจัดทำประชามติแบบตัดสินใจ(le référendum décisoire) มีความแตกต่างกันอย่างหนึ่งคือ การจัดทำประชามติแบบตัดสินใจนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้การรับรองหรือบัญญัติไว้ ในบรรดาประเทศต่างๆทั่วโลกบางประเทศมีระบบการทำประชามติที่ค่อนข้างก้าวหน้ากวาประเทศฝรั่งเศสเช่น ในเยอรมนีมีการใช้ประชามติแบบตัดสินใจค่อนข้างมากในแลนเดอร์ ในอิตาลีหากเป็นการจัดทำประชามติแบบปรึกษาหารือนั้นเปิดโอกาสให้มีการริเริ่มทำประชามติโดยประชาชนได้เป็นต้น รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสนั้นไม่อนุญาตให้มีการใช้อำนาจแบบประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นได้อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสเองไม่เคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่นส่วนของสภาแห่งรัฐนั้นได้เคยมีคำวินิจฉัยทำนองนี้มาแล้วดังปรากฎในคดี Commune d'Aigre 7 avril 1905 และในคดี Commune de Brugneur 15 janvier 1909 แต่สำหรับการใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรงในระดับชาตินั้นรัฐธรรมนูญกลับรับรองไว้ซึ่งความปรากฎในมาตรา 2 ว่าอำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชนซึ่งใช้อำนาจนั้นผ่านทางผู้แทนของตนและการออกเสียงลงประชามติ ซึ่งตรงข้ามกับในระดับทองถิ่นทีกำหนดว่าผู้แทนของท้องถิ่นหรือฝ่ายบริหารท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการให้มีการใช้ประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นได้ซึ่งได้มีการตีความมาตรา72วรรค2ของรัฐธรรมนูญในเรื่องหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญับรองไว้นี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปให้ประชาชนเข้ามาใช้ได้โดยตรง แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะห้ามการใช้ประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นไว้แต่ก็มีข้อยกเว้นสองประการแต่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมของท้องถิ่นหากแต่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเท่านั้น กรณีแรกได้แก่กรณีของคณะกรรมการสหภาพที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินของเทศบาลยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเรียกร้องให้มีการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อทรัพย์สินนั้นได้ กรณีที่สองได้แก่กรณีที่เปรเฟต์หรือสมาชิกสภาเทศบาลมากกว่ากึ่งหนึ่งสามารถขอความเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยวิธีการออกเสียงประชามติได้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับโครงการในการรวมเทศบาล 1.2 ประชามติแบบขอคำปรึกษา ประชามติแบบขอคำปรึกษาถูกบัญญัติไว้ในมาตรา L2411-16 ของประมวลกฎหมายว่าด้วยการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่ประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาในเทศบาลโดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีของสิ่งแวดล้อมและกรณีของการรวมตัวกันของเทศบาล รัฐบัญญัติลงวันที่ 16 กรกฎาคม 1971 เกี่ยวข้องกับการรวมเทศบาลได้กำหนดให้ประชามติเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปกครอง ในระหว่างปี 1971-1984 มีการทำประชามติแบบขอคำปรึกษาทั้งสิ้นประมาน73ครั้ง ตามรัฐบัญญัติ Joxe-Marchand ประชามติแบบขอคำปรึกษาในระดับเทศบาลนั้นถือเป็นเครื่องมือในการแสดงออกของประชาชนแม้ว่าจะเป็นการริเริ่มแบบขวยเขินก็ตาม มาตรา10ของรัฐบัญญัติฉบับนี้ได้กล่าวว่าสิทธิในการับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิในการจัดทำการปรึกษาหารือนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักว่าด้วยความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การออกเสียงประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นสวงนไว้ให้เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเทศบาลหรือสมาชิกของเทศบาลที่มารวมกันเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลเท่านั้นซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในที่นี้คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไปและมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ การขอคำปรึกษานั้นในบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับที่เล็กกว่าเทศบาลก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสม ผลของประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นไม่มีรูปแบบตายตัวและที่สำคัญคือไม่ผูกพันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทำตามผลของประชามตินั้น ความเป็นประชาธิปไตยนั้นจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชนว่ามากหรือน้อยเพียงใดและรวมถึงสิทธิของประชาชนในการเป็นผู้ริเร่มทำประชามติอีกด้วย 1.3 การริเริ่มจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษา นายกเทศมนตรีนั้นไม่มีข้อผูกมัดใดๆกับประชาชนในการจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือการริเริ่มในการจัดให้มีการขอคำปรึกษานั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวของนายกเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนกว่ากึ่งหนึ่งขึ้นไปสำหรับเทศบาลที่มีประชากรไม่เกิน3500คนและสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนหนึ่งในสามสำหรับเทศบาลที่มีประชากรตั้งแต่3500คนขึ้นไปเท่านั้นการขอให้จัดกระบวนการปรึกษาหารือนั้นจะไม่มีการริเริ่มโดยประชาชนยกเว้นกรณีที่กำหนดไว้โดยรัฐบัญญัติPasquaที่ได้อนุญาตไว้เป็นกรณีเฉพาะกล่าวคือกรณีของการการจัดการรูปแบบท้องถิ่นซึ่งสามารถทำได้โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งในห้าและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจร้องขอต่อสภาท้องถิ่นว่าขอให้มีการจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษาได้แต่สภาท้อถิ่นไม่มีหน้าที่ผูกพันตามคำร้องขอนั้น สำหรับองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลนั้นการริเริ่จัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นสามารถริเริ่มโดยนายกเทศมนตรีที่เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือนั้นหรือโดยสมาชอกของสภาแห่งองค์กรความร่วมมือจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งในห้าและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งกรณีของการริเริ่มโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน กระบวนการในการจัดทำประชามตินั้นค่อนข้างที่จะพิเศษภายใต้เหตุผลที่ว่าสมาชิกสภาเทศบาลไม่ต้องการให้นายกเทศมนตรีมีสภาพเป็นนโปเลียนน้อยเพราะจะทำให้การจัดทำประชามตินั้นมีสภาพเป็นการรับรองการกระทำของตนให้ชอบด้วยกฎหมายและใช้ในการกำจดปฏิปักษ์ทางการเมือง การจัดทำประชามตินั้นอาจขอให้มีการจัดทำหลายเรื่องได้ภายในปีเดียวกันแต่ถ้าหากเป็นการขอให้จัดทำประชามติที่มีเนื้อหาเดิมหรือคล้ายกันนั้นจะต้องรอเวลาอย่างน้อยสองปีหลังจากการจัดทำประชามติฉบับแรกจบสิ้นลง การจัดทำประชามตินั้นจะไม่สามารถจัดทำได้ในขณะที่สภาท้องถิ่นหมดวาระหรือขณะที่อยู่ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 1.4 วัตถุประสงค์ของประชามติแบบปรึกษาหารือ การจัดประชามติในระดับท้องถิ่นนั้นสิ่งที่สำคัญคือเรื่องที่จะดำเนินการจัดทำประชามติจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในเขตอำนาจของเทศบาลหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจดการองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาล ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถออกเสียงประชามติแบบปรึกษาหารือได้ในเฉพาะเรื่องที่อยู่ในอำนาจของสภาเทศบาลหรืออยู่ในอำนาจของนายกเทศมนตรีส่วนอำนาจในการตัดสินใจนั้นยังคงสงวนไว้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย สิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นถูกจำกัดเพียงแค่การให้ความเห็นในร่างข้อบัญัติท้องถิ่นแต่ไม่ได้หมายความว่าการทำประชามตินี้จะเป็นการรับรองร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นฉบับนั้นนอกจากนั้นการปรึกษาหารือในกิจกรรมของท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์ในระดัชาติย่อมไม่อาจทำได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นในกรณีของเทศบาลเมืองChamonix เมือง Servoz และเมือง Les Ouches ที่ได้จัดให้มีการทำประชามติเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขาMont blanc ว่าเหมาะสมหรือไม่และจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสุขภาพหรือไม่ อย่างไรก็ตามศาลปกครองแห่งเมืองGrenoble ได้ทำการเพกถอนการทำประชามตินี้แต่รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมกลับยอมรับผลของการปรึกษาหารือนี้และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของถาระกิจที่ต้องดำเนินการในระดับชาติ
2. องค์กรเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ ในระดับท้องถิ่นการปรึกษาหารือนั้นมีสามรูปแบบด้วยกันโดยที่ทั้งสามรูปแบบนี้ต่างเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่นทั้งสิ้น โดยที่รูปแบบของการปรึกษาหารือนั้นได้แก่ 1.การปรึกษาหารือในเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม 2.การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นผู้ใช้บริการสาธารณะ 3.การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง 2.1 การปรึกษาหารือในเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทันทีที่มีการจัดตั้งองค์กรมหาชนระดับภาคองค์กรเกี่ยวกับการปรึกษาหารือได้ถูกจัดตั้งขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมที่ถูกพัฒนามาจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจประจำภาค นั้นถือเป็นตัวแทนขององค์กรวิชาชีพและสังคมที่มีอำนาจในการจัดให้มีการปรึกษาหารือกับประชาชนภายใต้กิจกรรมที่ถูกกำหนดโดยกฎมาย หลังจากปี1982 คณะกรรมาการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากสี่กลุ่มด้วยกันได้แก่ตัวแทนของบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ผู้แทนของกลุ่มสหภาพผู้ทำงาน ผู้แทนขององค์กรความร่วมมือในการมีส่วนร่วมระดับภาค(กลุ่มผู้บริโภค มหาวิทยาลัย) แลุะผู้ทรงคุณวุฒิ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้สามารถจำแนกได้เป็นสามประเภทได้แก่ ประเภทแรกคือการจัดให้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาภาค ประเภทที่สองได้แก่การทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคและการงบประมานประเภทที่สามได้แก่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของประธานสภาภาคในส่วที่เกี่ยวข้องการเศรษฐกิจและสังคม รัฐบัญญัติ Voynet ลงวันที่ 25 มิถุนายน1999 ได้จัดตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมระดับภาคขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถ่นระดับภาค สมาชิกสภาภาคมีหน้าที่ผูกพันในการต้องหารือกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมของภาคและคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคต้องจัดทำรายงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปีเพื่อชี้แจงถึงโครงการที่ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง 2.2 การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการสาธารณะ ภาระกิจที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นคือการจัดทำบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การปรึกษาหารือกับผู้ใช้บริการนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยซึ่งการปรึกษาหารือนั้นเป็นการปรึกษาหารือเกี่ยวกับผลผลิตหรือการให้บริการของบริการสาธารณะประเภทต่างอาจถือได้ว่าผู้ใช้บริการนั้นเป็นผู้เล่นคนนึงในองค์กรผู้จัดทำบริการสาธารณะ รัฐบัญญัติลงวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 ได้กำหนดให้เทศบาลที่มีประชากรมากกว่า3500คน ต้องจัดตั้งองค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้จัดทำโดยเทศบาลนั้นๆนอกจากนั้นรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ la démocratie de proximité ไดทำให้ข้อผูกพันตามกฎหมายวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 นั้นใช้ได้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดและภาคด้วยนอกจากนั้นยังรวมไปถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลอีกด้วย องค์กรนี้จะประกอบไปด้วยสมาชิกขององค์กรผู้ใช้บริการสาธารณะในประเภทที่เกี่ยวข้องโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน กฎหมายได้กำหนดขอบอำนาจขององค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะไว้วาให้มีหน้าที่ในการเข้าไปจัดทำความเห็นเกี่ยวกับการมอบหมายให้จัดทำบริการสาธารณะรวมถึงโครงการที่จัดทำโดยนิติบุคคลภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐ นอกจากนั้นยังมีภาระกิจประจำปีได้แก่ การจัดทำรายงานเกี่ยวกับการมอบหมายให้เอกชนเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับราคาและคุณภาพของบรการด้านการประปาการสุขาภิบาลและการจัดเก็บขยะ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับงบดุลของโครงการที่จัดทำโดยนิติบุคคลภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐ 2.3 การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง การปรึกษาหารือกับพลเมืองนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนเติมเต็มของประชาธิปไตยแบบผู้แทนเนื่องจากในบางครั้งระบบผู้แทนอาจมีปัญหาในเรื่องของความเชื่อมโยงกับประชาชนและไม่อาจตอบสนองความต้องการได้เต็มที่จึงกล่าวได้วาการปรึกษาหารือนั้นมีประโยชน์อยางมากกับะบบผู้แทน 2.3.1 การปรึกษากับพลเมืองแบบผู้แทน รัฐบัญญัติ PLM(Paris Lyon Marseille) ในปี1982 ได้ขยายขอบเขตในการปรึกษากับประชาชนในสามเมืองใหญ่ว่าให้สภาเขต(conseil d'arrondissement) มีหน้าที่ผูกพันในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่กระทบต่อทางภูมิศาสตร์ในเขตและรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ขอบเขตที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นยังถูกทบทวนและนำไปใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประชากรตั้งแต่100,000คนขึ้นไปโดยให้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นโดยจำนวนสมาชิกองค์กรที่ปรึกษานั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ประชากรของเทศบาลโดยใช้เกณฑ์เดียวกับสมาชิกสภาเทศบาลนอกจากนั้นสมาชิกสภาที่ปรึกษายังมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนโดยการเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน 2.3.2 การปรึกษากับพลเมืองแบบมีส่วนร่วม รัฐบัญญัติลงวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 ได้กำหยดให้สภาเทศบาลแต่ละแห่งสามารถจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาขึ้นได้ในทุกๆปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเทศบาลสภาที่ปรึกษานี้ประกอบไปด้สยสมาชิกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลอย่างไรก็ตามประธานของสภาที่ปรึกษานี้จะต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี สภที่ปรึกษานี้มหน้าที่เกี่ยวกับทุกเรื่องที่เป็นผลประโชน์ของท้องถิ่นและสามารถรับฟังปัญหาของประชากรในย่านต่างๆได้รวมถึงรับฟังปัญหาจากกลุ่มของประชากรได้ สภาที่ปรึกษานี้มีสถานะที่แตกต่างจากคณะกรรมการท้องถิ่นอื่นๆที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสภาเทศบาล องค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลก็สามารถจัดตั้งองค์กรที่ปรึกษาได้เช่นกันภายใต้หลักการเดียวกันกับของเทศบาล อย่างไรก็ตามสภาที่ปรึกษานี้มีอำนาจเพียงแค่ให้ความเห็นเท่านั้นไม่ได้มีอำนาจนการตัดสินใจนอกจากนั้นความเห็นของสภาที่ปรึกษานี้ยังไม่ผูกพันสภาเทศบาลในการนำไปใช้บังคับด้วยเช่นกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สงกรานต์คึก-เหยื่อบอมบ์แย่ มอ.ระดมอาสาสมัครฟื้นฟูจิตใจ Posted: 13 Apr 2012 08:31 AM PDT เทศกาลสงกรานต์ในหาดใหญ่คึก นักท่องเที่ยวต่างชาติแห่เล่นน้ำหน้าโรงแรมลีการ์เด้นส์ หาดใหญ่ เผย 3 องค์กร ในม.อ.หาดใหญ่ รับอาสาสมัครเยียวยาจิตใจ เหยื่อคาร์บอมบ์ยังผวา ตกใจแม้แต่เสียงประตู คึกคัก – นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานบนถนนประชาธิปัตย์ หน้าโรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ถูกลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการเล่นน้ำสงกรานต์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา เต็มไปด้วยความคึกคัก มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยต่างเล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานโดยเฉพาะบนถนนประชาธิปัตย์ หน้าโรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า ที่ถูกลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ส่วนหน้าโรงแรมด้านถนนเสน่หานุสรณ์ มีการจัดเวทีแสดงคอนเสิร์ท มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่นกัน รวมทั้งพื้นที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 – 3 ซึ่งเป็นย่านธุรกิจใจกลางเมือง นางวัลภา ฐาน์กาญจน์ ผู้จัดการโครงการบัญฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (บอ.มอ.) เปิดเผยว่า โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมาฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ร่วมจัด “โครงการหาดใหญ่รวมพลังสร้างสรรค์กำลังใจ” แก่เหยื่อเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ที่โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า โดยขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครอาสาสมัครและระดมทุนช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ นางวัลภา เปิดเผยอีกว่า เหตุการณ์นี้กระทบความรู้สึกคนหาดใหญ่มาก โดยเฉพาะผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติผู้ประสบเหตุ จำเป็นต้องเข้ามาดูแลสภาพจิตใจ จึงควรจะวางแผนระยะยาวในการช่วยเหลือด้านจิตใจ เช่น ผู้ประสบภัยรายหนึ่งมีสภาพจิตใจอ่อนไหวมาก แม้ได้ยินเสียงปิดประตูก็ยังรู้สึกตกใจกลัว จึงต้องดูแลสภาพจิตใจมากเป็นพิเศษ นางวัลภา เปิดเผยว่า หลังเหตุระเบิดหนึ่งสัปดาห์ได้เข้าเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย เพื่อสอบถามความต้องการเบื้องต้น และประเมินสภาพจิตใจทั้งผู้ป่วยและญาติ พบว่า มีสภาพจิตใจแย่มาก และมีความเครียด นางวัลภา เปิดเผยว่า สำหรับคุณสมบัติของอาสาสมัคร แค่มีใจอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็มาสมัครได้ ส่วนภารกิจของอาสาสมัคร คือการเข้าเยียวยาจิตใจทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บและสมาชิกครอบครัวของเหยื่อของผู้ประสบเหตุ ซึ่งในระยะแรกต้องการอาสาสมัครเพียง 30 คน โดยจะมีการอบรมระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมเบื้องต้น ในวันที่ 28 เมษายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ “ลักษณะงานมีสองอย่าง คือการเข้าไปรับฟังผู้ประสบเหตุและครอบครัวเพื่อให้ลดความเครียด และให้ความรู้เรื่องสิทธิการเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งตอนนี้ทราบเพียงว่า นายกรัฐมนตรีประกาศว่า จะช่วยเหลือเยียวยากรณีคาร์บอมบ์หาดใหญ่เหมือนกับกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทีมงานต้องการการยืนยันเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง” นางวัลภา กล่าว นางวัลภา เปิดเผยว่า สำหรับผู้สนใจ ต้องการทราบช่องทางการสมัครหรือข้อมูลเบื้องต้น สอบถามรายละเอียดได้ที่เว็บไซด์ Face book ชื่อ“เยาวชนจิตอาสา ม.อ.” หรือทางอีเมล golfgeb@hotmail.com สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักสันติภาพเรียกร้องอาเซียนมีบทบาทแก้ปมขัดแย้งชาติสมาชิก Posted: 13 Apr 2012 04:20 AM PDT กรุงพนมเปญ กัมพูชา (มินดานิวส์) – เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา กลุ่มนักรณรงค์เพื่อสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมกันเรียกร้องให้สมาคมอาเซียนขยายขอบเขตการทำงานของกลไกที่ตั้งขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้ง โดยให้รวมไปถึงเรื่องของความขัดแย้งภายในแต่ละประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งในจำนวนนี้รวมไปถึงปัญหากบฏโมโรในมินดาเนา ที่กินเวลาเรื้อรังมาหลายสิบปี สมาชิกของกลุ่มคณะทำงานเพื่อสร้างสันติภาพ หรือ Working Group on Peacebuiding ของที่ประชุมภาคประชาสังคม/เวทีภาคประชาชนอาเซียนประจำปี 2012 ที่ประชุมกันที่กรุงพนมเปญ ได้นำเสนอประเด็นดังกล่าว อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะผลักดันให้อาเซียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการหาข้อยุติให้กับความขัดแย้ง ทั้งภายในและภายนอกหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับสมาชิกกลุ่มประชาคมอาเซียน “ถึงเวลาแล้วที่อาเซียนจะต้องเข้าไปมีส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายใน ที่ขณะนี้กำลังส่งผลกระทบต่อสมาชิกรายใหญ่สี่ประเทศของอาเซียน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม” คาร์เมน กัทเมย์ตัน นักรณรงค์เพื่อสันติภาพในฐานะผู้จัดการโครงการ Initiatives for International Dialogue หรือ IID ที่อยู่ในมินดาเนากล่าวในการแถลงข่าว เธออ้างถึงกรณีความขัดแย้งในมินดาเนาคือ การก่อกบฏของกลุ่มแนวร่วมกู้ชาติอิสลามโมโร หรือเอ็มไอแอลเอฟ (MILF) กรณีการก่อเหตุรุนแรงโดยกลุ่มที่เป็นมาเลย์มุสลิมในภาคใต้ของไทย กรณีกบฏในอาเจะห์ในอินโดนีเซีย และกรณีกบฏคะฉิ่นในพม่า กัทเมย์ตันชี้ว่าอาเซียนได้จัดตั้งกลไกในการคลี่คลายความขัดแย้งขึ้นมา โดยรวมไว้ในกฎบัตรอาเซียนที่ขณะนี้ใช้มาได้สองปีแล้ว แต่กลไกนี้ขณะนี้มีการนำมาใช้จัดการกับปัญหาภายนอกเท่านั้น เธอชี้ว่าที่ผ่านมาอาเซียนได้ยึดหลักการ “ไม่แทรกแซง” ในกรณีที่เห็นว่ากรณีนั้นๆ มีเนื้อหาเป็นเรื่องของกิจการภายในประเทศ “เราเองก็ตระหนักเรื่องนี้ (หลักการไม่แทรกแซง) แต่ว่าตอนนี้มันมีกลไกอันนี้ขึ้นมาแล้ว (ในการแก้ไขความขัดแย้ง) อาเซียนควรจะยอมรับความจริงมากขึ้น และหันมาจัดการ (ความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่เหล่านี้) หากอาเซียนต้องการจะเดินไปข้างหน้า ในเรื่องข้อเสนอเรื่องการรวมตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างประชาคมร่วม” กัทเมย์ตันกล่าวกับมินดานิวส์ต่อมา ในกรณีของเอ็มไอแอลเอฟ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลฟิลิปปินส์อยู่นั้น เธอกล่าวว่าอาเซียนอาจจะเริ่มต้นเข้าไปมีบทบาทได้ด้วยการเข้าไปช่วยจัดการประสานงานการเจรจา ซึ่งขณะนี้มาเลเซียเป็นผู้รับดำเนินการอยู่ “ไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยบทบาทที่สำคัญนัก (ในการเจรจา) แค่มีส่วนเล็กๆ ในกระบวนการก็อาจจะพอแล้ว” เธอระบุ นอกเหนือจากเรื่องการขยายงานในส่วนของกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งของอาเซียน คณะทำงานกลุ่มนี้ยังได้เสนอแนะให้อาเซียนเข้าไปมีบทบาทช่วยเจรจาคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชา ในเรื่องปราสาทพระวิหารด้วย กลุ่มชี้ว่า อาเซียนควรจะยืนยันให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามความเห็นของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ได้ตัดสินเรื่องนี้เอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการตัดสินที่เป็นคุณกับกัมพูชามากกว่า กลุ่มเสนอให้อาเซียนดำเนินการเพื่อไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองประเทศ ถอนทหารออกจากพื้นที่ที่พิพาทกันอยู่ นอกจากนั้นคณะทำงานชุดนี้ยังเสนอให้อาเซียนทบทวนกลไกในการคลี่คลายความขัดแย้งที่มีอยู่ เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว ขยายครอบคลุมไปถึงเรื่องบทบาทของสตรี กลุ่มเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก (ACWC – ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children) รวมเอาเรื่องของการปกป้องคุ้มครองให้ความมั่นคงแก่ผู้หญิงและเด็กไว้ในแผนงานของคณะกรรมาธิการ กลุ่มเสนอให้คณะกรรมาธิการหาทางรับมือสถานการณ์ของผู้หญิงและเด็ก ที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งและให้ติดตามและดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการละเมิดทางเพศในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหลายๆ กรณีที่มีการกล่าวหากันว่าเกิดขึ้นแล้วในพม่า กัทเมย์ตันกล่าวอีกว่า เพื่อจะส่งเสริมบทบาทในเรื่องการคลี่คลายความขัดแย้งภายในอาเซียนอันนี้ กลุ่มเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณจากอาเซียน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมในเรื่องการสร้างสันติภาพในภูมิภาค เธอบอกว่า กลุ่มมุ่งหวังให้กองทุนอาเซียนรับภาระหน้าที่อันนี้ “ขณะนี้เรากำลังพยายามประสานงานติดต่อใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการมากขึ้น และพยายามจะหาทางเข้าไปมีที่นั่งในคณะกรรมการด้านความมั่นคงและการเมืองของอาเซียน เพื่อที่เราจะได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ในอันที่จะหยิบยกประเด็นต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาพูดคุย” กัทเมย์ตันกล่าวเพิ่มเติม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ผู้ช่วยนักบินการบินไทยนัดลาหยุดสงกรานต์ เรียกร้องสิทธิประโยชน์ Posted: 13 Apr 2012 04:03 AM PDT 13 เม.ย. 55 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าผู้ช่วยนักบินของการบินไทยพร้อมใจกันลาหยุดงานเป็นจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของนักบินเพิ่มเติม และไม่พอใจการทำงานของฝ่ายบริหารบางคน ทำให้ฝ่ายดูแลนักบินต้องจัดนักบินสับเปลี่ยนวุ่ยวาย จนส่งผลให้เที่ยวบินสายการบินไทย บางเที่ยวบินต้องล่าช้า ล่าสุดการบินไทยออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า เหตุที่บางเที่ยวบินล่าช้า เป็นผลจากที่การบินไทยมีการเพิ่มเที่ยวบินรองรับผู้โดยสารช่วงสงกรานต์ แต่การบินไทยมีนักบินส่วนหนึ่งได้ลาพักผ่อนในช่วงดังกล่าวด้วย ทำให้มีผลกระทบต่อการเรียกนักบินมาปฏิบัติการบินทดแทนนักบินที่ขอลาพักผ่อน พร้อมยืนยันสามารถบริหารจัดการให้มีนักบินปฏิบัติการบินได้ในทุกเที่ยวบิน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการแต่อย่างใด ด้านเว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าน.ต.อัษฎาวุธ วัฒนางกูร รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติบัติการบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กรณีเกิดเหตุการณ์เที่ยวบินการบินไทยล่าช้า ในบางเที่ยวบิน เป็นผลจากการที่การบินไทยมีการเพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการของผู้โดยสารในเทศกาลสงกรานต์ แต่การบินไทยมีนักบินส่วนหนึ่งได้ลาพักผ่อน เพื่อใช้เวลาอยู่กับครอบครัวในช่วงดังกล่าวด้วย จึงทำให้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย ต่อการเรียกนักบินมาปฏิบัติการบินทดแทนนักบินที่ขอลาพักผ่อน ซึ่งฝ่ายปฏิบัติการ การบินไทย ขอยืนยันว่า สามารถบริหารจัดการให้มีนักบินปฏิบัติการบินได้ในทุกเที่ยวบิน ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการแต่อย่างใด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อะไรคือก้าวต่อไปของฝ่ายแรงงาน Posted: 13 Apr 2012 03:47 AM PDT อย่างที่ทราบกันดีว่ากระทรวงแรงงานได้ประกาศให้มีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำใน 7 จังหวัดนำร่องไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา สำหรับกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐมและนนทบุรี กำหนดให้อัตราค่าแรงขั้นต่ำเริ่มต้นที่อัตราใหม่ 301 บาท จากเดิม 215 บาทต่อวันและภูเก็ตเริ่มต้นที่ 309 บาท จาก 221 บาทต่อวัน การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ถือว่ามีนัยสำคัญสำหรับผู้ใช้แรงงานในสังคมไทยสองประการ กล่าวคือ ประการแรก ถือเป็นการเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดดหรือจะพูดว่าเป็นการปรับค่าแรงในสัดส่วนที่สูงที่สุด นั่นคือ ร้อยละ 40 ของอัตราค่าจ้างที่ใช้กันอยู่ เท่าที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่มีการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2515 ก็ว่าได้ ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากเจตนารมณ์ของฝ่ายราชการแต่เกิดขึ้นจากนโยบายของพรรคการเมืองในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป นั่นคือ พรรคเพื่อไทย (ความจริง พรรคการเมืองใหญ่แทบทุกพรรคแข่งขันกันเสนอนโยบายนี้ความแตกต่างจึงอยู่ที่สัดส่วนของอัตราค่าแรงที่เสนอให้ปรับขึ้นเท่านั้น) จึงอาจกล่าวได้ว่า การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศในฐานะฐานเสียงของพรรคการเมือง ถือได้ว่าการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ต่างจากที่ผ่านมาตรงที่ไม่ได้เป็นผลลัพธ์ของการร้องขอและรอความกรุณาจากฝ่ายข้าราชการเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการสะท้อนปัญหาในระดับชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงานผ่านกลไกหรือช่องทางการเมืองที่เป็นทางการ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการรณรงค์จากฝ่ายแรงงานเองตั้งแต่ต้นก็ตาม แน่นอน เราทราบกันดีอีกเช่นกันว่าการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามที่ฝ่ายแรงงานคาดหวัง เพราะอุปสรรคสำคัญของการปรับอัตราค่าแรงให้สะท้อนกับความเป็นจริงเรื่องค่าครองชีพนั้น คือ อิทธิพลของฝ่ายนายจ้างและนักอุตสาหกรรมอย่างสภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงกลไกการปรับค่าแรงที่ใช้กันอยู่ ก็คือ คณะกรรมการค่าจ้างกลางซึ่งเป็นโครงสร้างที่ถูกครอบงำโดยฝ่ายราชการเป็นหลัก ทั้งสองปัจจัยนี้ทำให้การปรับค่าแรงในอดีตเป็นไปอย่างยากลำบากตลอดมา เสียงของคนงานที่กระจัดกระจายและอ่อนแรงจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจจากภาคการเมืองและสื่อกระแสหลักนัก ผู้ที่ติดตามวิวาทะเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทมาตั้งแต่ต้น ย่อมรู้ดีว่ากระแสต่อต้านการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่สำคัญนั้นเกิดขึ้นจากองค์กรผลประโยชน์ของฝ่ายนายจ้างดังกล่าว ล่าสุด ต้นเดือนเมษายนที่เพิ่งมีการประกาศใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำใน 7 จังหวัดนำร่องนั้น นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทยได้ให้สัมภาษณ์ว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีการจ้างพนักงานตั้งแต่ 1-25 คน ซึ่งมีจำนวนถึง 98% ของสถานประกอบการในประเทศ ผู้เขียนเชื่อว่านี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความพยายามบิดเบือนประเด็นเรื่องความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำของเอสเอ็มอีไทย ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขาดแหล่งเงินทุนและสาธารณูปโภคที่ทันสมัย การขาดความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและนโยบายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ให้กลายเป็นเพียงเรื่องค่าแรง นอกจากนี้ ฝ่ายนายจ้างยังไม่เคยเสนอความจริงอีกครึ่งหนึ่งที่ว่าการแข่งขันบนฐานของการกดค่าแรงให้ต่ำนั้น ส่งผลเสียต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเองในระยะยาว ยังไม่ต้องพูดว่างานวิจัยจำนวนมากก็ชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตของคนงานไทยสูงกว่าค่าแรงที่พวกเขาได้รับอยู่มาก ประเด็นสำคัญ ก็คือ ฝ่ายนายจ้างพยายามเรียกร้องให้การตัดสินใจปรับค่าแรงขั้นต่ำกลับไปผ่านกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางเหมือนที่ผ่านมา เพราะทราบดีว่านี่เป็นกลไกที่ฝ่ายนายจ้างสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าและพวกเขาได้ประโยชน์จากกลไกนี้มาโดยตลอด ยิ่งไปกว่านั้น แนวโน้มที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 1 เมษายน ก็คือ โรงงานหลายแห่งในพื้นที่นำร่อง 7 จังหวัดเริ่มส่งสัญญาณว่าต้องการปรับตัวเพื่อรักษาอัตรากำไรเดิมโดยไม่สนใจความเป็นอยู่ของคนงาน ไม่ต้องพูดถึงการปรับปรุงศักยภาพการบริหารของกิจการ คนงานจำนวนหนึ่งจึงได้รับคำบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วว่าพวกเขาจะถูกตัดลดสวัสดิการการจ้างงานที่เคยได้รับ ไม่ว่าค่าทำงานล่วงเวลา ค่าที่พักหรือค่าอาหารที่ถือเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้คนงานสามารถรับมือกับค่าครองชีพที่สูงในปัจจุบันได้ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จึงสุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นเพียงการเล่นกลหลอกตาของฝ่ายนายจ้าง ถึงแม้อัตราค่าแรงขั้นต่ำใน 7 จังหวัดจะประกาศใช้ไปแล้ว รวมถึงอีก 70 จังหวัดที่เหลือที่กำลังจะรอปรับตามไปในวันที่ 1 มกราคมศกหน้า แต่ประเด็นสำคัญที่ยังรอคอยฝ่ายแรงงานและสังคมไทยอยู่ข้างหน้าก็ยังคงเป็นเรื่องอำนาจต่อรองที่เหลื่อมล้ำระหว่างคนงานกับฝ่ายนายจ้าง ทั้งภายในและภายนอกโรงงาน (ที่มีระบบข้าราชการอ่อนแอเป็นผู้คุมกฎกติกา) สุดท้ายแนวโน้มที่พี่น้องคนงานจะได้รับประโยชน์จากนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำคงไม่มีมากนักหากคนงานและฝ่ายแรงงานเองไม่อาจฉกฉวยโอกาสที่เริ่มแง้มออกเล็กน้อยนี้เพื่อสอดแทรกเอาตัวเข้าไปยืนในพื้นที่การต่อรองเรื่องค่าจ้างให้มั่นคงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การรวมกลุ่มจัดตั้งเพื่อการต่อรองอย่างเข้มแข็งเท่านั้นที่จะช่วยให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ไม่ใช่การรอรับความกรุณาจากฝ่ายราชการหรือฝ่ายการเมือง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงฝ่ายนายจ้างที่เล็งเห็นแต่กำไรสูงสุดของตัวเองเป็นหลัก สวัสดีปีใหม่ไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ชมรม สสร. 2550 ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ "ครม.-ส.ส.-ส.ว." เหตุเร่งแก้ไข รธน.ไม่เป็นไปตามขั้นตอน Posted: 13 Apr 2012 03:35 AM PDT เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา ชมรม สสร. 2550 ทำหนังสือลงรายชื่อ 96 คนถึงประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ "ครม.-ส.ส.-ส.ว." จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ .. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 12 เมษายน 2555 เรื่อง ขอเสนอข้อมูลการปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เรียน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้าพเจ้าผู้ลงนามไว้ท้ายหนังสือนี้ เป็นคนไทย ถือสัญชาติไทย มีสิทธิและเสรีภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จึงจำเป็นยื่นคำร้องนี้ต่อท่านเป็นเบื้องต้น เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้ ด้วยคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิ พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 โดยมีหลักการว่า กำหนดให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการคัดเลือก และให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ เหตุผลที่มีหลักการดังกล่าวเพราะเป็นการสมควรกำหนดให้มีวิธิการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง สำหรับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น มีหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดให้ความเห็นชอบตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา แล้วให้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่ หากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญทูลเกล้าฯ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ถ้าในกรณี ไม่ผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป หรือจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ให้ผู้เสนอญัตติเสนอญัตติได้ใหม่โดยมีหลักการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เหตุผลในการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพราะเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาดังกล่าวได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวต่อประธานรัฐสภา และประธานรัฐสภาได้บรรจุเข้าระบียบวาระการประชุม บัดนี้ได้ประชุมรัฐสภาพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นในวาระที่ 1 แล้ว และรัฐสภาได้มีมติรับหลักการ ชณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการในวาระที่ 2 – 3 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ในมาตรา 291 ซึ่งผู้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้งยังต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญส่วนที่ว่าด้วยการตราพระราชบัญญัติด้วย เพราะรัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นจะต้องเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเปิด เผยให้ประชาชนทราบ และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้ ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 7 ว่าด้วยการตราพระราชบัญญัติ ซึ่งจะต้องปฏิบัติด้วย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง นอกจากนั้น จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีหลักการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร. และให้ ส.ส.ร. เป็นองค์กรในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ใช่กรณีที่จะทำได้โดยถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 แต่เป็นกรณีอื่น ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และถือว่าเป็นกรณีขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปไม่ได้เลย แต่เป็นกรณีอื่น กล่าวคือ เป็นกรณีให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ล้มล้างไป แล้วออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทน ซึ่ง กล่าวอีกนัย คือเป็นกรณีรัฐธรรมนูญถูกล้มล้างโดยแท้จริง กรณีที่เกิดขึ้นเช่นที่กล่าวข้างต้น ถือว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถูกล้มล้างไปแล้ว มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาแทนที่ ซึ่งการที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญ จะมีผลทำให้การรับรองสิทธิเสรีภาพหมดไป องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นองค์กรอิสระและองค์กรที่ปราศจากการรับรองของรัฐ กรณีคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภาดังกล่าว กล่าวคือ ประการแรก ในส่วนหลักการและเหตุผล ผู้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ฃี้แจงแสดงเหตุให้เป็นที่ทราบว่า รัฐธรรมนูญเดิมส่วนใดมีข้อบกพร่องและบกพร่องอย่างไร และจะแก้ไขเพิ่มเติมใหม่เป็นอย่างไร อาศัยเหตุผลอะไรที่จะแก้ไขใหม่เช่นนั้น ที่สำคัญคือช้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องแบ่งเป็นมาตรา แต่ผู้เสนอก็หาได้ปฏิบัติไม่ โดยไม่ได้เสนอเลยแม้แต่ส่วนเดียว เป็นต้นว่า หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้เสนอไม่น่าจะแก้ไข แต่ผู้เสนอก็ไม่ได้นำมาเขียนไว้เป็นรายมาตรา ซึ่งรัฐธรรมนูญที่จะขอแก้ไขใหม่ว่ามีความอย่างไรบ้าง ซึ่งกินความถึงว่า ผู้เสนอไม่ได้เปิดเผยให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดว่าร่างใหม่นั้นมีอย่างไร ได้โดยสะดวก การปฏิบัติของผู้เสนอจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายอย่างแจ้งชัด กล่าวอีกนัย ผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจงใจล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยปกปิดประฃาชนไม่ให้ทราบ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความว่าอย่างไร สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามีรับรองไว้หรือไม่อย่างไร ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยมีหลักการว่า กำหนดให้รัฐสภาเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ หรือว่าด้วยองค์กรอิสระและอง ค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญว่ามีอย่างไร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุม พ.ศ.2553หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มีระบุไว้ รวมทั้ง มีหลักการและเหตุผล กับบันทึกสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การปฏิบัติของ คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคประชาราช และสมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จ งใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งถือว่าฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งวุฒิสภามีอำนาจถอนถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ตามมาตรา 270 นอกจากนั้น ตามคำเสนอของผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว ปรากฏว่าเสนอให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเพิ่มบทที่ว่าด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. และให้ ส.ส.ร.เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเดิมเท่ากับขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในบทที่ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแทนที่รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับเดิม ในคำเสนอขอต่อรัฐสภาจึงไม่ได้ร้องขอแก้ไขในสาระสำคัญแห่งรัฐธรรมนูญ กรณีตามคำเสนอของคณะบุคคลดังกล่าว จึงเป็นการเสนอขอให้ตั้ง ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นเพื่อใช้นอกจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้เสนอจึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมูญ การขอให้ ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เท่ากับว่าเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ หรือถูกล้มล้างไปนั่นเอง ซึ่งแม้ไม่ได้มีการเขียนระบุไว้โดยตรงเช่นนั้นก็ตาม แต่ผู้อ่านญัตติก็เข้าใจได้ถึงเจตนาของผู้เสนอ การที่ผู้เสนอมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 ไปโดยสิ้นเชิงเช่นนี้ ไม่อาจทำได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550เพราะพิเคราะห์แล้ว กฎหมายไม่มีเจตนาให้ยกเลิกทั้งฉบับแล้วออกเป็นฉบับใหม่ ดังที่มาตรา 291 ระบุว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตาsหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้” ไม่ได้ใช้คำว่า “จะทำได้” ดังที่เคยใช้ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวอักษร ว่าถ้าแก้ไขบางส่วนนั้นเท่านั้นที่ทำได้ ถ้าจะยกเลิกทั้งฉบับ แล้วทำฉบับใหม่แทนที่ ทำไม่ได้ การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะบุคคลที่เสนอให้รัฐสภาพิจารณา ไม่ได้กระทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 การ กระทำของคณะบุคคลซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย น่าคลางแคลงใจว่า คณะบุคคลดังกล่าวได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อประเทศชาติอย่างไรหรือไม่ โดยจะล้มล้างสถาบันที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และโดยจะล้มล้างสถาบันที่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต การฉ้อราษฎร์บังหลวง และผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งสถาบันเหล่านี้ได้ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่เดิมไม่มีหน่วยงานดูแลป้องกันปราบปรามโดยเฉพาะ การที่คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กระทำการลักษณะฝ่าฝืนกฎหมายสื่อเจตนามุ่งร้ายไปในทางดังกล่าว อาจถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งย่อมจะยังให้เกิดผลเสียแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ แต่การที่มุ่งจะให้มี ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนที่รัฐธรรมนูญ 2550 ในลักษณะล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 และเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 ไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ใช้มาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเครื่องมือในการล้มล้างและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ2550 ไม่ได้ใช้มาตรา 291 ในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสุจริต และเพื่อความสงบเรียบร้อยและเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ การที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญโดยออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงเนื้อความในฉบับเดิม พฤติการณ์แห่งกรณีเช่นนี้หาเรียกได้ว่า เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่ กรณีจัดว่าเป็นการกระทำในกรอบที่เรียกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ และการที่จะปล่อยให้ดำเนินการไปจนบรรลุวาระที่ 3 แห่งญัตติดังกล่าว กรณีต้องถือว่ารัฐธรรมนูญใหม่ได้ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ กรณีนี้น่าพิจารณาได้ไหมว่า ผู้ร่วมกันตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ได้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เมื่อกฎหมายที่ตราขึ้นมีความเป็นมาโดยมิชอบก็ไม่อาจบังคับใช้ได้ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทุกฝ่าย มีหน้าที่ที่จะต้องจัดการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและสั่งให้ตกไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ว่าด้วยการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ชมรม สสร. 2550 ได้พิจารณาการดำเนินการดังกล่าว ในความพยายามอย่างเร่งรีบ ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ว่าเป็นการอันมิชอบ และมิได้เป็นไปตามขั้นตอน อันมีบัญญัติไว้ในมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการสอบสวนโดยด่วน และพิจารณาข้อเท็จจริงว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของคณะรัฐมนตรีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนประธานรัฐสภา รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 244 ได้บัญญัติไว้ และแม้หากการที่ผู้เสนอ เสนอเข้ามา แม้รัฐสภาจะได้มีมติรับหลักการในวาระที่ 1 แล้วก็ตาม ก็จะเพิกถอนมตินั้น โดยถือว่าผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่ดำเนินการอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนของตัวบทกฎหมาย และขัดแย้งต่อบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญ หากปล่อยให้ดำเนินการไปจนเสร็จสิ้น ตามข้อเสนอของผู้เสนอขอแก้ไข จะมีผลอย่างกว้าขวาง ต่อประเทศชาติและประชาชน อันเกิดจากรัฐธรรมนูญใหม่ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ อาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ประกอบกับเจนนารมย์ ชมรม สสร.2550 ดังกราบเรียนมานี้ ชอบที่ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำวินิจฉัยว่า บทกฏหมาย คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่ผู้เสนอเข้ามา เป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และให้ตกไป โปรดรับดำเนินการต่อไปด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ประธานชมรม สสร. 2550
รายชื่อสมาชิกชมรม สสร. 2550 ผู้ร่วมยื่นคำร้องนี้
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ 2 คุณกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร 3 คุณกฤษฏา ให้วัฒนานุกูล 4 คุณกล้าณรงค์ จันทิก 5 คุณการุณ ใสงาม 6 รองศาสตราจารย์กิตติ ตีเศรษฐ 7 ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม 8 คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ 9 คุณคมสัน โพธิ์คง 10 คุณจรัญ ภักดีธนากุล 11 ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา 12 คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี 13 ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ 14 รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 15 คุณช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง 16 คุณชนินทร์ บัวประเสริฐ 17 คุณชวลิต หมื่นนุช 18 คุณชาติชาย เจียมศรีพงษ์ 19 คุณชาติชาย แสงสุข 20 คุณชาลี กางอิ่ม 21 นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ 22 คุณโชคชัย อักษรนันท์ 23 ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ 24 รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เดโชติรส 25 คุณเดโช สวนานนท์ 26 คุณธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ 27 พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร 28 คุณธวัช บวรนิชยกูร 29 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย 30 รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 31 รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร 32 คุณนิตย์ วังวิวัฒน์ 33 คุณนุรักษ์ มาประณีต 34 คุณปกรณ์ ปรียากร 35 คุณประดิษฐ์ เหลืองอร่าม 36 คุณประพันธ์ นัยโกวิท 37 คุณประวิทย์ อัครชิโนเรศ 38 คุณประสงค์ พิทูรกิจจา 39 คุณปริญญา ศิริสารการ 40 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร 41 คุณพวงเพชร สารคุณ 42 คุณพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ 43 คุณโอรส วงษ์สิทธิ์ 44 คุณวัชรา หงส์ประภัศร 45 คุณวิชัย รูปขำดี 46 คุณวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์ 47 คุณวิชัย ศรีขวัญ 48 ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ 49 คุณวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ 50 คุณวิทยา คชเขื่อน 51 คุณวิทยา งานทวี 52 คุณวิทวัส บุญญสถิตย์ 53 คุณวินัส ม่านมุงศิลป์ 54 คุณวุฒิชาติ กัลยาณมิตร 55 รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย 56 ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช 57 คุณศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล 58 คุณศิวะ แสงมณี 59 คุณเศวต ทินกูล 60 คุณสดศรี สัตยธรรม 61 คุณสนั่น อินทรประเสริฐ 62 คุณสมเกียรติ รอดเจริญ 63 ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ 64 คุณสมชัย ฤชุพันธุ์ 65 คุณสมยศ สมวิวัฒน์ชัย 66 คุณสวัสดิ์ โชติพานิช 67 คุณสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ 68 คุณสวิง ตันอุด 69 คุณสามขวัญ พนมขวัญ 70 คุณสุนทร จันทร์รังสี 71 คุณสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 72 คุณสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล 73 คุณเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ 74 คุณเสรี นิมะยุ 75 คุณเสรี สุวรรณภานนท์ 76 คุณหลักชัย กิตติพล 77 คุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล 78 คุณอภิชาติ ดำดี 79 คุณอรรครัตน์ รัตนจันทร์ 80 คุณอรัญ ธรรมโน 81 คุณอลิสา พันธุศักดิ์ 82 คุณอัครวิทย์ สุมาวงศ์ 83 คุณอังคณา นีละไพจิตร 84 คุณอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ 85 คุณอุทิศ ชูช่วย 86 คุณโอกาส เตพละกุล 87 คุณพิสิฐ ลี้อาธรรม 88 พลเรือเอกพีรศักดิ์ วัชรมูล 89 คุณไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ 90 คุณไพโรจน์ พรหมสาส์น 91 คุณมนตรี เพชรขุ้ม 92 คุณมนูญศรี โชติเทวัญ 93 คุณมานิจ สุขสมจิตร 94 พลตำรวจเอกมีชัย นุกูลกิจ 95 คุณรัฐ ชูกลิ่น 96 รองศาสตราจารย์รุจิรา เตขางกูร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วันที่ 2 ของ "สงกรานต์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์" เกิดอุบัติเหตุ 481 ครั้ง ตายเพิ่ม 58 ราย Posted: 13 Apr 2012 03:07 AM PDT จนถึงวันที่ 12 เม.ย. ทั่วประเทศ เกิดอุบัติเหตุ 481 ครั้ง เสียชีวิต 58 ราย บาดเจ็บ 515 ราย รวมสถิติสะสม 2 วัน เกิดอุบัติเหตุ 824 ครั้ง เสียชีวิต 88 ราย บาดเจ็บ 890 ราย 13 เม.ย. 55 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2555 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะ แถลงข่าวว่า วันนี้เป็นวันที่สอง ของการแถลงข่าวการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2555 หรือการรณรงค์ "สงกรานต์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์" จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (วันที่ 12 เมษายน 2555) ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเดินทางอย่างหนาแน่น จากการประมวลผลระบบรายงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนในระดับอำเภอและจังหวัดทั่วประเทศ พบว่าทั่วประเทศ เกิดอุบัติเหตุ 481 ครั้ง เสียชีวิต 58 ราย บาดเจ็บ 515 ราย รวมสถิติสะสม 2 วัน เกิดอุบัติเหตุ 824 ครั้ง เสียชีวิต 88 ราย บาดเจ็บ 890 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือตายเป็นศูนย์ ตามเป้าหมาย มี 38 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 7 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 15จังหวัด ภาคใต้7จังหวัด จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด เมื่อวานนี้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร และนครนายก จำนวนจังหวัดละ 5 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด 2 วัน ได้แก่จังหวัดชุมพร นครนายก และพิจิตร จังหวัดละ 5 ราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากการเมาสุราร้อยละ 39 รองลงมาคือ การขับรถเร็วร้อยละ 21 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ การโดยสารรถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 31 และ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 3 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์ร้อยละ 84 รองลงมา คือ รถปิคอัพร้อยละ7 มีการเรียกตรวจยานพาหนะทั้งสิ้น 686,758 คัน เพิ่มขึ้นจากวันที่ผ่านมา 169,118 คัน และมีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 74,538 ราย เพิ่มขึ้น 18,425 ราย มีการดำเนินคดีในข้อหาขับรถย้อนศรเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 32 ข้อหาขับรถเร็วเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 และเมาสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ24 ตามลำดับ นายวิทยากล่าวต่อว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงการเฉลิมฉลองของเทศกาลสงกรานต์แล้ว โดยพบว่าวันที่ 13 เมษายน จะมีผู้เสียชีวิตจากการเมาแล้วขับสูงสุด ได้กำชับทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการ 7 ข้อได้แก่ 1.ให้เข้มงวดกวดขันการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493 อย่างเคร่งครัด จากการสำรวจของกรมควบคุมโรคยังพบว่ามีการจำหน่ายในสถานที่ห้ามขาย ได้แก่ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะร้อยละ 4 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ส่วนการขายในเวลาห้ามขาย พบยังมีผู้กระทำผิด ร้อยละ0.4 ลดจากปีที่แล้ว 2.ให้ควบคุม เฝ้าระวัง และติดตามการเล่นสาดน้ำบนท้ายรถกระบะที่บรรทุกถังน้ำและมีผู้โดยสารเล่นสาดน้ำ ตักเตือนไม่ให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถกระบะ 3.ห้ามเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่เสี่ยง เช่น ริมถนนข้างทาง ทางร่วม ทางแยก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการควบคุมมิให้มีการเล่นสาดน้ำที่อันตราย เช่น สาดน้ำไปที่รถจักรยานยนต์ขณะกำลังแล่นบนถนน 4.ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เฝ้าระวังเด็กและเยาวชน ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ขับรถหากเกิดอุบัติ ผู้ปกครอง หรือเจ้าของรถจักรยานยนต์ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 5. ในกรณีที่พบว่ามีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต อายุต่ำกว่า 20 ปี โดยมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้จังหวัดมีการสืบสวนและดำเนินคดีไปถึงผู้ขาย พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินการมายังศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อขยายผลการดำเนินการตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 6.ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งจุดตรวจเน้นบนถนนสายรองในตำบล หมู่บ้าน บังคับใช้กฎหมายเข้มงวดทั้งเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย โดยเฉพาะผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เสียชีวิตสูงสุด 7.ให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ผ่านเส้นทางที่มีการเล่นสาดน้ำสงกรานต์เป็นพิเศษ เนื่องจากสภาพถนนเปียกลื่น ซึ่งอาจมีการหยุดรถในระยะกระชั้นชิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งในขณะขับขี่ จากสถิติอุบัติเหตุพบว่า การเสียชีวิตที่เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยยังอยู่ในเกณฑ์สูงถึงกว่าร้อยละ40 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ผู้รอดชีวิตกราดยิงมัสยิดปะนาเระเผยนาทีปลิดชีพเพื่อนบ้าน Posted: 13 Apr 2012 02:56 AM PDT ปากคำชาวบ้านที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงมัสยิดปะนาเระ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เมื่อคืนวันพุธที่ 11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ชาวมุสลิมที่บ้านนาพร้าวถูกยิงกราดเสียชีวิตหน้ามัสยิดเล็กๆ ในหมู่บ้านเมื่อคืนวันพุธที่ 11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์รุนแรงเหตุที่สี่ในรอบเจ็ดวันในหมู่บ้านเล็กๆ ใกล้ทะเลแห่งนี้ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วสี่คน คำอธิบายซึ่งเหตุผลและแรงจูงใจของการก่อเหตุยังคงคลุมเครือเหมือนหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ความถี่ของเหตุและความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นได้สร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ชาวบ้านมารวมตัวกันที่มูศอลลา (มัสยิดขนาดเล็ก) ซาบีลุลคอยร์ที่บ้านนาพร้าว หมู่ที่ 2 ในอำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานีในเช้าวันพฤหัสบดีเพื่อฝังศพของรอมลี หะยีดาเล็งและยาลี ตาเห ชายมุสลิมในวันห้าสิบซึ่งถูกยิงเสียชีวิตที่มูศอลลาแห่งเดียวกันนี้ในคืนที่ผ่านมา เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาประมาณสองทุ่มหลังละหมาดอิซา (ละหมาดตอนค่ำ) ที่มูศอลลาแห่งนี้ซึ่งในบริเวณที่ค่อนข้างเปลี่ยวมีบ้านเรือนตั้งอยู่รอบๆ เพียงไม่กี่หลังคาเรือน นางเจ๊ะสะปีเยาะ โว๊ะ ภรรยาของนายรอมลีเป็นอีกคนที่บาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ดังกล่าว เธอยังคงนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ยาแม เปาะมะ ชาวบ้านที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์คนหนึ่งย้อนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผู้ร่วมละหมาดอิซาในคืนนั้นประมาณ 20 คน หลังจากประกอบศาสนกิจเสร็จ ชาวบ้านต่างพากันแยกย้ายกลับบ้านเกือบหมด จนเหลือตนเองและชาวบ้านอีก 5 คน ซึ่งกำลังรอเพื่อนบ้านคนหนึ่งกำลังปิดไฟในมัสยิดให้เรียบร้อย หลังจากปิดไฟ มีผู้อยู่ในเหตุการณ์คนหนึ่งกำลังเข้าห้องน้ำซึ่งอยู่ด้างข้างของบริเวณมูศอลลา อีก 5 คนที่เหลือกำลังทยอยเดินออกมา โดยนายยาลี ตาเห เป็นคนแรกที่เดินออกจากบริเวณลานละหมาดเพื่อกลับบ้านที่อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียง 10 เมตร และเมื่อนายยาลีเดินพ้นกำแพงรั้วออกมา คนร้ายที่คาดว่าอยู่ห่างจากกำแพงไปไม่กี่เมตรหลังรถกระบะสีบรอนซ์ของรอมลีที่จอดขนานกับกำแพงมูซอลลาได้กราดยิงกระสุนชุดแรกด้วยปืนอาก้าถูกนายยาลีหลายนัด นายยาลีวิ่งกลับมาด้านหลังกำแพงเพื่อหลบคนร้ายที่กำลังกราดยิง อิสมาแอ เวาะเด็ง ชาวบ้านวัย 31 ปีที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่าตนกำลังนั่งคร่อมบนรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ด้านในของกำแพงเตรียมจะขับกลับบ้าน แต่ได้หยุดคุยกับนายรอมลี เมื่อได้ยินเสียงปืนชุดแรก ทำให้เขารีบหลบอยู่ข้างรถจักรยานยนต์โดยหมอบลงต่ำกับพื้น เขาเห็นนายยาลีวิ่งมาหลบตรงต้นไม้ที่ปลูกติดกับกำแพง เขารู้สึกว่าผู้ร้ายขยับเข้าใกล้กำแพงดังกล่าวมากขึ้นและเริ่มกราดกระสุนชุดที่สองไปยังทิศเดิม คือยิงมายังจุดที่ยาลีวิ่งเข้ามา ซึ่งในบริเวณดังกล่าวรอมลียืนอยู่กับภรรยาของเขา รอมลีถูกยิงเข้าที่บริเวณศรีษะ เขาเสียชีวิตทันที ส่วนเจ๊ะสะปีเยาะถูกยิงบริเวณลำตัว เธอถูกนำส่งโรงพยาบาลหลังเหตุการณ์สงบลง “ผมนอนหมอบลงกับพื้น เห็นยาลีที่วิ่งเข้ามาหลบตรงต้นฝรั่งข้างกำแพง พอกระสุนชุดสองยิงมา รอมลีซึ่งจะวิ่งมาหลบที่กำแพงถูกยิงที่หัว ล้มลง เจ๊ะสะปีเยาะก็ถูกยิง ค่อยๆ ล้มลงเช่นกัน” มะแอ กาเจชาวบ้านวัย 65 ปีซึ่งหลบอยู่ที่ข้างเก้าอี้หินอ่อนห่างจากจุดที่รอมลีถูกยิงประมาณสามเมตรเล่าด้วยท่าทีที่ยังหวาดผวาว่า เมื่อเสียงปืนสงบลง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้มูศอลลาพยายามรีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล รถกระบะของรอมลีไม่อาจถูกใช้เป็นพาหนะในการเคลื่อนย้ายคนเจ็บได้ เพราะล้อถูกกระสุนยิงจนยางแบน ยาลีเสียชีวิตระหว่างทาง เหตุการณ์กราดยิงมัสยิดนี้เป็นความรุนแรงครั้งที่สี่ที่เกิดขึ้นในบ้านนาพร้าวในรอบเจ็ดวันที่ผ่านมา วันพฤหัสที่แล้ว (5 เมษายน) คนร้ายลอบยิงสองพ่อลูกเจ้าของร้านคาร์แคร์ ทำให้นายฮะ สาเระ ซึ่งเป็นบิดา ซึ่งอายุ 63 ปีเสียชีวิต ส่วนลูกชายซึ่งอายุ 26 ปีได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่แขน หลังเหตุมุสลิมสองพ่อลูกถูกยิง สองวันถัดมา (7 เมษายน) นายเอกชัย ทองใหญ่ อายุ 35 ปี คนพุทธซึ่งเป็นลูกจ้างแขวงการทาง อ.ปะนาเระ ก็ถูกยิงเสียชีวิตขณะขี่จักรยานบนถนนซึ่งไม่ไกลจากสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงมูซอลลามากนัก ร.ต.ท. กัมปนาท แคยิหวาซึ่งเป็นร้อยเวรที่ดูแลคดีนี้กล่าวว่านายเอกชัยถูกยิงจากทางด้านหลัง จนรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงที่พงหญ้าข้างถนน คนร้ายตามมายิงซ้ำที่ขมับขวาจนเสียชีวิต เหตุการณ์ที่สามเกิดขึ้นในวันจันทร์ (9 เมษายน) คนร้ายได้ยิงช่างซ่อมรถจักรยานคนไทยพุทธ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุเล็กๆ ที่ไม่ได้เป็นข่าวเพราะเหยื่อบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ความรุนแรงได้ยกระดับขึ้นเมื่อเกิดเหตุสุดท้ายขึ้นที่มูซอลลา ชาวบ้านที่รอดชีวิตหลายคนยังคงงุนงงสงสัยว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในหมู่บ้านได้ ตำรวจยังคงไม่ได้สรุปแน่ชัดว่าเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันนี้เกี่ยวข้องกันหรือไม่ เป็นเรื่องของสถานการณ์ความไม่สงบทั้งหมดหรือไม่ และใครเป็นคนทำ ญาติของผู้ที่เสียชีวิตคนหนึ่งกล่าวในวงอาหารหลังการทำพิธีศพเสร็จว่า “ผมคิดว่าทหารพรานทำ ...คนมุสลิมไม่ทำหรอก เขาจะไม่มีทางยิงเข้าไปในบ้านของพระเจ้า” แม้ว่านี่จะเป็นเพียงความเชื่อของชาวบ้าน แต่ก็อาจบ่งบอกได้ถึงความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในพื้นที่ก็เป็นได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ตาดีกาเจอปัญหารัฐจัดหลักสูตรใหม่พัฒนาคุณภาพครู Posted: 13 Apr 2012 01:48 AM PDT รัฐเร่งจัดระบบตาดีกา รองรับหลักสูตรใหม่ เน้นพัฒนาคุณภาพผู้สอน ชมรมยอมรับ เนื้อหาสูงกว่าศักยภาพครู ส่งผลให้เด็กมีคุณภาพการศึกษาต่ำ แนะเพิ่มวิทยากรอบรมที่พูดภาษามลายู 2 หลักสูตร – ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดลาโละตูวอ หมู่ที่ 5 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นหนึ่งในหลายแห่งที่ใช้ทั้งหลักสูตรของรัฐและของศูนย์ประสานงานตาดีกาชายแดนใต้ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของครู นายอาซิ มะเด็ง ประธานชมรมตาดีกามะรือโบตก ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และผู้บริหารโรงเรียนตาดีกาฮีดายาตุลซูเบียน หมู่ที่ 3 ตำบลมะรือโบตก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2555 สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ส่งเจ้าหน้าลงไปนิเทศครูตาดีกาตามโรงเรียนต่างๆ ในอำเภอระแงะ และสั่งให้โรงเรียนตาดีกา จัดทำระบบข้อมูลและเอกสารของโรงเรียน เช่น ทะเบียนนักเรียน บัญชีรายรับรายจ่าย และใบวัดผลการศึกษาของนักเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของครูตาดีกาตามหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.2548 / ฮ.ค.1426 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2550 นายอาซิ เปิดเผยว่า หลักสูตรดังกล่าว เป็นหลักสูตรใหม่ที่รัฐนำมาใช้ แทนหลักสูตรตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2540 ของมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้ (PERKASA) ที่ใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอาซิ เปิดเผยว่า ก่อนนำหลักสูตรใหม่มาใช้ นักเรียนมีผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจ แต่หลังจากใช้หลักสูตรใหม่ ผลการเรียนของนักเรียนต่ำลงกว่าเดิม จึงต้องใช้ทั้ง 2 หลักสูตรควบคู่กัน นายอาซิ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอระแงะ ได้เข้ามาติดตามผลการเรียนของนักเรียนและแจกสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนของครู ส่วนชมรมตาดีกามะรือโบตกเอง คิดที่จะสร้างมุมภาษามลายูในโรงเรียนตาดีกา เพื่อยกระดับภาษาให้กับครูและนักเรียน นายอาซิ เปิดเผยว่า โรงเรียนตาดีกาในชมรมตาดีกามะรือโบตกใช้ทั้ง 2 หลักสูตรควบคู่กัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เพราะหลักสูตรเดิม นักเรียนจะเข้าใจง่ายกว่า ส่วนการใช้หลักสูตรใหม่ เป็นการสนองนโยบายรัฐบาล นายอับดุลวอฮา สาอุ คณะทำงานฝ่ายวิชาการ มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้ (PERKASA) เปิดเผยว่า หลังจากโรงเรียนตาดีกาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.2548 / ฮ.ค.1426 ของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้คุณภาพของนักเรียนตาดีกาลดลง เนื่องจากหลักสูตรดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียน เพราะคณะผู้จัดทำหลักสูตรบางคนไม่ใช่คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และไม่มีความรู้เรื่องตาดีกาดีพอ นายอับดุลวอฮา เปิดเผยว่า นอกจากนี้ ครูตาดีกาไม่มีศักยภาพพอที่จะสอนได้ครบตามหลักสูตรของรัฐบาล หากต้องการให้สอนได้ครบตามหลักสูตรดังกล่าว จำเป็นต้องเพิ่มระยะเวลาในการสอนให้มากขึ้น เนื่องจากโรงเรียนตาดีกาเปิดสอนเพียง 2 วัน คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ ส่วนวันจันทร์ถึงวันศุกร์เด็กต้องไปเรียนสามัญ นายอับดุลวอฮา เปิดเผยว่า หลักสูตรดังกล่าว มีการเน้นเนื้อหาด้านวิชาการ มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กำหนดให้มีกิจกรรม และมีการผสมผสานสื่อการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งต่างจากหลักสูตรเดิมที่เน้นเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจมากกว่า ทำให้เกินศักยภาพของครูตาดีกา นายอับดุลวอฮา เปิดเผยต่อไปว่า เดิมโรงเรียนตาดีกาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้หลักสูตรตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2540 มาตั้งแต่ปี 2540 เป็นหลักสูตรที่จัดทำโดยมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้ (PERKASA) หลังจากเกิดเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลพยายามให้โรงเรียนตาดีกาอยู่ภายใต้การดูแลของราชการและนำหลักสูตรใหม่มาใช้แทนหลักสูตรเดิม ทั้งที่ความจริงโรงเรียนตาดีกาเป็นการศึกษานอกระบบ นายอัดนัง อาแวบือซา หัวหน้าฝ่ายวิชาการมูลนิธิศูนย์ตาดีกานราธิวาส กล่าวว่า วิทยากรอบรมครูตาดีกาให้สามารถสอนตามหลักสูตรของรัฐบาลไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับตาดีกาโดยตรง และไม่มีความรู้เรื่องตาดีกาดีพอ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของครูตาดีกาได้ ปัญหานี้ต้องแก้ไขโดยนำผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตาดีกา และมีความชำนาญด้านภาษามลายูมาเป็นวิทยากรอบรม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"ทักษิณ" เผย "พล.อ.เปรม" เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพ พร้อมอวยพรให้สุขภาพดี Posted: 13 Apr 2012 12:48 AM PDT ส.ส.เพื่อไทย-เสื้อแดงต่อคิวดำหัว "ทักษิณ" ที่เวียงจันทน์ ด้านทักษิณอวยพรสงกรานต์คนไทยขอให้มีความคิดร่วมกันสร้างสรรค์ เพราะมีสิ่งท้าทายหลายเรื่อง ส่วน "เทพไท" หวั่นทักษิณเยือนลาว กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ รบ.ไทยจะเป็นใจ ส.ส.เพื่อไทย-เสื้อแดงต่อคิวดำหัวทักษิณที่เวียงจันทน์ มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (13 เม.ย.) ว่า กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดงได้เดินทางไปที่โรงแรมกรีนปาร์ค บูติค โฮเต็ล ถ.คูเวียง นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อร่วมดำหัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยตอนหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวและอวยพรชาวไทยเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ขอให้คนไทยมีความคิดร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น เพราะเรากำลังเผชิญสิ่งท้าทายข้างหน้ามาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอากาศ เรื่องเศรษฐกิจ สังคม เรื่องการประลองกำลังของค่ายต่างๆ เรื่องความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย "ให้สงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นที่ดี กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศว่าเราจะรักกัน เราจะทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวของเรา จะทำเพื่อให้บ้านเมืองเข้มแข็ง เพื่อให้เรามีความสุขกันถ้วนหน้า โชคดีวันสงกรานต์" นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อวยพร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าขอให้เข้มแข็ง
อวยพร "เปรม" ให้สุขภาพดีต่อไป เผยเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า สำหรับช่วงปีใหม่ไทยอยากจะอวยพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษอย่างไรนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า "จริงๆ แล้ว ป๋าเปรมเป็นผู้ใหญ่ที่ผมเคารพรักท่าน ตอนที่อยู่ไปกราบเคารพท่านเป็นประจำ ปีนี้ท่านอายุมากแต่ยังท่านแข็งแรง ยังอิจฉา ถ้าผมอายุน้อยกว่าท่านหน่อย จะแข็งแรงเท่าท่านหรือไม่ สุขภาพดีมาก ก็ฝากกราบความปรารถดีให้ท่านสุขภาพท่านดีต่อไป เพราะสุขภาพท่านดีมาก ทั้งสุขภาพกายและจิต เป็นการรักษาสุขภาพที่เราน่าเอาอย่าง" พร้อมกันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวด้วยว่าการกลับบ้านแบบเท่ๆ จะเป็นรูปแบบไหน ก็ไม่รู้ ถ้าไม่เท่ก็ยังไม่กลับ และที่มาเขียนข่าวกันผมจะสวมหน้ากากเดินข้ามประเทศไป ก็ว่าไปเรื่อยเปื่อย อย่างนั้นยังไม่เท่ ถ้าเท่ต้องผูกไทด์ใส่สูทเดินลงเครื่องบินเท่กว่า
ก่อนหน้านี้เคยอัด "เปรม" ว่าเชิด "พล.อ.สนธิ" ก่อนหันไปเชิด "อภิสิทธิ์" ที่ฉอเลาะกว่า ก่อนหน้านี้ในการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อ 5 มี.ค. 53 ที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยโฟนอินเข้าไประหว่างการชุมนุมว่า "วันนี้บ้านเมืองไม่อยู่ในประชาธิปไตย บ้านเมืองอยู่ในภาวการณ์ปฏิวัติ เพราะหัวหน้าคณะปฏิวัติยังเป็นคนเดิมอยู่ ผมพูดหลายครั้งแล้วว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นเพียงหุ่นเชิดของคุณเปรม เท่านั้นเอง และวันนี้หุ่นเชิดตัวใหม่น่าตาดีกว่า ฉอเลาะกว่า ก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งคุณเปรมก็เลยชอบ บ้านเมืองวันนี้ปล่อยให้เขาปู้ยี่ปู้ยำไปเยอะแล้ว โดยการใช้กระบวนการปฏิวัติรัฐประหารปล้นอำนาจประชาชนไป" พร้อมเรียกร้องว่า "ประชาชนมีสิทธิที่จะไปทวงคืนอำนาจของประชาชนในวันที่ 14 มี.ค.นี้อย่างพร้อมเพรียงกัน อำนาจเป็นของประชาชน ใครที่มันอ้างว่า เป็นคนสั่งการอำนาจนั้นอำนาจนี้นั่นของปลอม อำนาจที่แท้จริงในแผ่นดินนี้เป็นของประชาชน ประชาชนจะต้องลุกขึ้นมาทวงอำนาจของตัวเอง เพื่อสิทธิและเสรีภาพของตัวเอง"
"เทพไท" หวั่นทักษิณเยือนลาว กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แม้ รบ.ไทยเป็นใจ ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานความเห็นของ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกล่าวว่า อยากถาม พ.ต.ท.ทักษิณว่า การรออีกไม่นานที่จะกลับมานั้นเป็นการรอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่รัฐบาลนี้จะออกให้ด้วยใช่หรือไม่ ทั้งนี้ อยากจะเตือน พ.ต.ท.ทักษิณว่า การเคลื่อนไหวใดๆ ในประเทศเพื่อนบ้านอาจจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ เพราะแม้ว่ารัฐบาลไทยในขณะนี้จะรู้เห็นเป็นใจกับการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ผู้บริหารประเทศควรคำนึงถึง” นายเทพไทกล่าว นายเทพไทกล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าการที่กลุ่ม นปช.ไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณที่ประเทศลาวเป็นสิทธิส่วนบุคคลนั้น นายเทพไทกล่าวว่า ถ้าจะดูเฉพาะ นปช.และคนเสื้อแดงที่เดินทางไปในครั้งนี้ ก็ยอมรับได้ว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล เพราะคนเสื้อแดงเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์จะเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ แต่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ จะอ้างสิทธิส่วนบุคคลไม่ได้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในฐานะนักโทษหนีคดี และต้องคำพิพากษาของศาลไทยมีโทษจำคุกถึง 2 ปี และเป็นบุคคลที่ทางการไทยต้องการนำตัวมาลงโทษตามคำพิพากษา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สื่อเกาหลีเหนือระบุแผนปล่อยดาวเทียมกวางเมียงซง 3 ล้มเหลว Posted: 12 Apr 2012 11:13 PM PDT สำนักข่าว KCNA ของเกาหลีเหนือ เคยรายงานก่อนหน้านี้เมื่อ 16 มี.ค. ว่า ประชาชนชาวเกาหลีเหนือมีความมั่นใจว่าโครงการปล่อยจรวด เพื่อส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจะประสบความสำเร็จ สำนักข่าว KCNA ของเกาหลีเหนือเผยแพร่ภาพผู้เชี่ยวชาญและสื่อมวลชนต่างประเทศ ได้รับเชิญไปดูฐานปล่อยจรวดโซแฮ เมื่อ 8 เม.ย. ก่อนการปล่อยจรวดอึนฮา-3 เพื่อส่งดาวเทียมกวางเมียงซง 3 สถานีโทรทัศน์กลางเกาหลีเหนือ (KCTV) เผยแพร่ภาพอนิเมชั่นการปล่อยจรวดเพื่อส่งดาวเทียมกวางเมียงซง-2 เมื่อปี 2552 สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ รายงานว่ามีการปล่อยจรวดเพื่อส่งดาวเทียมกวางเมียงซง-3 ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเช้าวันนี้ แต่การส่งเกิดล้มเหลว โดยสถานีภาคพื้นดิมไม่สามารถตรวจสอบวิถีโคจรของดาวเทียมได้ สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (KCNA) รายงานว่า การปล่อยจรวดอึนฮา-3 (Unha-3) เพื่อส่งดาวเทียมกวางเมียงซง 3 (Kwangmyongsong-3) ที่ฐานปล่อยจรวดโซแฮ เมืองโชซาน จังหวัดปยองอันเหนือ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 7.38 น. 55 วินาที ตามเวลาท้องถิ่นวันนี้ (13 เม.ย.) หรือ 5.38 น. ตามเวลาในประเทศไทย อย่างไรก็ตามสถานีตรวจสอบดาวเทียมภาคพื้นดินล้มเหลวที่จะตรวจสอบวิธีโคจรของดาวเทียมดังกล่าว โดยนักวิทยาศาสตร์ ช่างเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญขณะนี้กำลังตรวจสอบสาเหตุของความล้มเหลวดังกล่าว ด้านสำนักข่าวยอนฮับของทางการเกาหลีใต้ อ้างข้อมูลของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ว่า จรวดเกิดระเบิดขึ้นใน 2 นาทีหลังจากปล่อยออกไป และแตกออกเป็น 20ชิ้น และตกลงไปในน่านน้ำสากลห่างจากชายฝั่งเกาหลีเหนือไปทางทิศตะวันตก กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ระบุด้วยว่า กองทัพเกาหลีใต้ ได้ทำการค้นหาบริเวณดังกล่าวเพื่อกู้ซากจรวด อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวยอนฮับ รายงานด้วยว่า เกาหลีเหนือได้ขู่ไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะตอบโต้อย่างทันทีและไร้ความปราณี ต่อประเทศใดๆ ก็ตามที่สกัดกั้นการปล่อยจรวดหรือเข้าเก็บซากจรวด
ที่มา: แปลจาก N. Korea says its satellite failed to enter orbit, Yonhap, 2012/04/13 13:50 KST DPRK′s Satellite Fails to Enter Its Orbit, KCNA, 13 April 2012 http://www.kcna.kp/
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น