โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ตัดโบกี้รถไฟขวาง ‘ชาวบ้านปากมูน’ เข้ากรุงฯ ทวงสัญญารัฐบาล

Posted: 30 Jun 2013 12:33 PM PDT

ชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล กว่าครึ่งร้อย ถูกตัดโบกี้ปล่อยทิ้งกลางสถานีรถไฟวารินชำราบ หลังรวมตัวขึ้นรถไฟเที่ยวเย็นไปทวงสัญญากับนายกฯ ร้องปฏิบัติตามข้อตกลง ตั้งกรรมการระดับชาติแก้ปัญหา-เร่งเปิดประตูระบายน้ำ

 
วันที่ (30 มิ.ย.56) ชาวบ้านกรณีสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูลเตรียมทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาลโดยขบวนรถไฟเที่ยวเย็นของวันที่ 30 มิ.ย.หลังจากมีการประสานงานกับแขวงเดินรถไฟวารินชำราบและเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟไว้ล่วงหน้าแล้ว
 
แต่ในช่วงบ่ายเมื่อชาวบ้านราว 70 คนเดินทางไปยังสถานีรถไฟวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อเคลื่อนขบวน กลับถูกปฏิเสธไม่ให้ขึ้นรถไฟ โดยอ้างว่าไม่สามารถจัดตู้โดยสารรถไฟฟรีให้ได้ตามที่เรียกร้อง และต้องซื้อตัวหากต้องการเดินทางในเวลาดังกล่าว อีกทั้งมีการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาสัมพันธ์รถไฟเข้ามาพูดกดดันชาวบ้านโดยยกกฎระเบียบและบทลงโทษต่างๆ
 
 
การปฏิเสธที่จะอำนวยความสะดวกให้ตามที่ตกลง ทำให้ชาวบ้านปากมูนต้องขึ้นยึดที่นั่งบนโบกี้รถไฟ แต่ต่อมาในเวลาประมาณ 17.20 น. นายสถานีรถไฟวารินฯ ได้สั่งให้รถไฟขบวนที่มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ ออกจากสถานี โดยตัดโบกี้ที่ชาวบ้านปากมูนโดยสารและตู้โดยสารอีก 3 โบกี้ไว้ที่ชานชาลาสถานีรถไฟวารินฯ ซึ่งขัดแย้งกับที่เจ้าหน้าที่ได้อ้างไว้ว่าไม่มีตู้โดยสารว่างเลย 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชาวบ้านปากมูนที่ถูกตัดโบกี้ทิ้งไว้ที่ชานชาลา ยังคงปลักหลักอยู่บนโบกี้รถไฟดังกล่าว และจะค้างแรมที่สถานีรถไฟวารินฯ ในคืนนี้
 
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนปากมูลได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องมากว่า 24 ปีแล้ว ล่าสุดในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติครม.วันที่ 28 พ.ค.56 เรื่องการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล มีสาระสำคัญคือ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นหนึ่งคณะ ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมชุมนุมเรียกร้องกับเครือข่ายผู้เดือดร้อนทั่วประเทศในนาม P-move ระหว่างวันที่ 6-23 พ.ค.56
 
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับการลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว ในขณะที่ช่วงเวลานี้กำลังเข้าสู่ฤดูกาลหาปลาของชาวบ้านแล้ว แต่ยังไม่มีคำสั่งหรือมติของคณะกรรมการฯ ให้เปิดเขื่อนได้ ทำให้ไม่สามารถหาปลาได้ ชาวบ้านผู้เดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนปากมูลจึงได้มีมติเดินทางไปทวงสัญญาจากรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาล 
 
ด้าน พ.ต.ท.สุทิน สะเดา รอง ผกก.ป.สภ.วารินชำราบ นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับกลุ่มสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูลแล้ว พร้อมกับยืนยันว่า พรุ่งนี้เช้าชาวบ้านจะได้เดินทางด้วยรถไฟฟรีอย่างแน่นอน โดยก่อนหน้านี้ทางสถานียืนยันว่า กลุ่มสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล จะต้องซื้อตั๋วจึงจะสามารถเดินทางได้ และหากจะเดินทางฟรีจะสามารถเดินทางได้ในเวลา 07.00 น.ของวันนี้ (1 ก.ค.56)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ กสทช. หาวิธีคำนวณตรวจแถวค่าบริการ 3G เผยวิจัยพบค่าบริการลดไม่ถึง 15%

Posted: 30 Jun 2013 11:51 AM PDT

งานศึกษา NBTC Policy Watch พบค่าบริการ 3G ส่วนใหญ่ลดลงไม่ถึง15% พร้อมเสนอวิธีการเพื่อใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของผู้บริโภค

(28 มิ.ย.56) โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม หรือ NBTC Policy Watch ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) นำเสนอรายงานในหัวข้อ "ลดค่าบริการ 3G ลง 15% ใครได้ประโยชน์?: ข้อเสนอวิธีการเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงค่าบริการ" โดย พรเทพ เบญญาอภิกุล นักวิจัยประจำโครงการ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พรเทพ กล่าวว่า หลังจากที่ กสทช. กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกรายลดราคาแพคเกจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ลงร้อยละ 15 จากราคาแพคเกจ 2G และกำหนดอัตราอ้างอิงสำหรับแพคเกจใหม่โดยกำหนดเป็นรายลักษณะบริการคือค่าโทรนาทีละ 0.82 บาท, SMS ข้อความละ 1.33 บาท, MMS ครั้งละ  3.32 บาทอินเทอร์เน็ตต่อ 1เมกะไบต์ละ 0.28 บาท พบว่าการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาแพคเกจแต่ละแพคเกจว่าเป็นไปตามอัตราที่กำหนดหรือไม่นั้นทำได้ยาก เนื่องจากอัตราอ้างอิงที่ประกาศเป็นรายบริการนั้นไม่สอดคล้องกับลักษณะการให้บริการและการคิดราคาที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริงที่ผู้บริโภคซื้อเป็นแพคเกจไม่สามารถแยกซื้อบริการแต่ละประเภทแยกกันได้ การที่บริการทั้งหมดถูกผูกรวมเข้าด้วยกันในรูปของแพคเกจทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้บริโภคและ กสทช. จะตรวจสอบว่าในแต่ละแพคเกจ บริการใดคิดราคาเกินกว่าราคาอ้างอิง

"การที่บริการเสียงและข้อมูลถูกขายพ่วงรวมกันเป็นแพคเกจทำให้ผู้บริโภคที่ใช้บริการน้อยถูกคิดราคาในอัตราที่แพงกว่าผู้บริโภคที่ใช้บริการมาก การกำหนดราคาอ้างอิงเพียงอัตราเดียวแยกตามประเภทบริการอาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคบางกลุ่มเช่น กลุ่มที่มีการใช้งานสูงซึ่งอัตราค่าบริการต่อหน่วยการใช้ของแพคเกจที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ใช้อยู่จะมีค่าที่ต่ำกว่าอัตราอ้างอิงที่ กสทช. ประกาศอยู่แล้ว" พรเทพ กล่าว

พรเทพ เสนอว่า กสทช. จำเป็นที่จะต้องกำหนดวิธีการวัดราคาที่สะท้อนลักษณะการใช้งานของผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถแน่ใจได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงและเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาการให้บริการในอนาคต ซึ่งวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือการสร้าง"ลักษณะการใช้บริการ"หรือ "ตะกร้าสินค้า" ที่แสดงปริมาณการใช้บริการประเภทต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวแทนของผู้บริโภคหลายกลุ่มที่มีลักษณะการใช้บริการเสียงและข้อมูลที่ต่างกัน และคำนวณค่าใช้จ่ายของแต่ละกลุ่มว่าเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดจากแพคเกจที่เปลี่ยนแปลงไป

พรเทพยังได้แสดงตัวอย่างการคำนวณโดยทดลองสร้าง "ลักษณะการใช้บริการ" จำนวน 24 ลักษณะ เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการใช้บริการด้านเสียงและข้อมูลที่ต่าง ๆ กัน โดย พรเทพ คำนวณค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคทั้ง 24 ประเภทนี้ต้องจ่ายภายใต้แพคเกจรายเดือน 2G ของผู้ให้บริการทั้งสามราย และเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากแพคเกจรายเดือน 3G ของผู้ให้บริการรายเดือน และตรวจสอบดูว่าในแต่ละลักษณะการใช้บริการ แต่ละกลุ่มมีค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร และมีกลุ่มใดบ้างที่จ่ายลดลงกว่า 15% ตามความตั้งใจของ กสทช.

พรเทพ พบว่า จากลักษณะการใช้งานทั้ง 24 แบบ บริษัท AIS มีค่าบริการลดลงโดยเฉลี่ยประมาณ 7.8% ในขณะที่ บริษัท TRUE มีค่าบริการลดลงเฉลี่ย 8.5% ในขณะที่ DTAC มีค่าบริการลดลง 17.7% (ดูตารางประกอบ)

สำหรับบริษัท AIS พบว่ามีเพียง 5 กลุ่มลักษณะการใช้บริการ จาก 24 กลุ่ม เท่านั้นที่จะจ่ายค่าบริการลดลงมากกว่า 15% ในระบบ 3G ในขณะที่มีถึง 13 กลุ่มลักษณะการใช้งานที่จ่ายค่าบริการลดลงน้อยกว่า 5%

ส่วนบริษัท TRUE พบว่ามี 9 กลุ่มลักษณะการใช้บริการที่จ่ายค่าบริการลดลงมากกว่า 15% และ 11 กลุ่มที่จ่ายค่าบริการลดลงน้อยกว่า 5%

ในขณะที่ DTAC มีถึง 10 กลุ่มลักษณะการใช้งานที่ค่าบริการลดลงมากกว่า 15 % และมีเพียง 2 กลุ่มมีค่าบริการลดน้อยกว่า 5%

 

ตารางแสดงจำนวนประเภทการใช้งานที่ราคาลดลง และค่าเฉลี่ยราคาที่ลดทั้งหมด

บริษัท

จำนวนประเภทการใช้ที่มีจ่ายค่าบริการลดลงมากกว่า 15%

จำนวนประเภทการใช้ที่มีจ่ายค่าบริการลดลงน้อยกว่า5%

ราคาลดลงเฉลี่ยทั้ง 24 กลุ่มประเภทการใช้งาน

AIS

5

13

7.8%

TRUE

9

11

8.5%

DTAC

10

2

17.7%

 

พรเทพ ให้ความเห็นว่าความสำเร็จในการลดราคาค่าบริการของ DTAC น่าจะมีสาเหตุมาจากการแบ่งการคิดราคาเป็นรายบริการ (unbundled) และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกส่วนผสมของบริการเสียงและข้อมูลที่ต้องการอย่างยืดหยุ่นซึ่งแพคเกจ 3G ของ DTAC สามารถแบ่งย่อยลงได้ถึง 9 แพคเกจ

"หากพิจารณาในภาพรวมจะพบว่ากลุ่มผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการใช้งานบริการเสียงในระดับสูงจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการลดราคาแพคเกจน้อยที่สุด เหตุผลเนื่องจากว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้มีแนวโน้มการใช้บริการเสียงเกินจำนวนนาทีที่แพคเกจกำหนด แต่ราคาค่าโทรเกินแพคเกจสำหรับผู้ให้บริการทุกรายที่ 1.25-1.5 บาทต่อนาที ยังมีค่าสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่ กสทช. กำหนดและราคาค่าโทรเกินแพคเกจในระบบ 3G เป็นต้นทุนที่ยังไม่ลดลงสำหรับผู้บริโภคกลุ่มโทรมาก" พรเทพให้ความเห็น

ในทางตรงกันข้าม พรเทพ ชี้ว่า ผู้บริโภคในกลุ่มที่มีการโทรน้อยแต่ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการลดราคาแพคเกจ 3G ของผู้ประกอบการ ผลดังกล่าวบ่งชี้ว่าผู้ประกอบการมีแนวโน้มการลดราคาแพคเกจผ่านการปรับเปลี่ยนลักษณะแพคเกจโดยการเพิ่มปริมาณข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์เฉพาะกับผู้บริโภคกลุ่มที่เน้นการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

พรเทพ สรุปว่า กสทช. จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือในการติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการทำธุรกิจ และลักษณะการใช้งานของผู้บริโภคซึ่งวิธีการใช้ตระกร้าสินค้าที่นำเสนอมีข้อดีที่สามารถแสดงผลกระทบต่อผู้บริโภคได้หลายกลุ่ม และการคำนวณคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงที่บริการหลายประเภทถูกขายพ่วงเป็นแพคเกจซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดผลของนโยบายและติดตามสภาวะราคาและระดับการแข่งขันในตลาด

 

 

ตารางประกอบ

ตารางที่ 1การเปลี่ยนแปลงราคาค่าบริการรายเดือนของ AIS ต่อประเภทการใช้งาน (ร้อยละ)

 

ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อเดือน

 

100MB

500MB

1000MB

2000MB

ปริมาณการโทรต่อเดือน

60 นาที

-25.1

-25.1

0.0

-20.0

200 นาที

-5.3

-5.3

-11.1

-20.0

400 นาที

-3.2

-3.2

-14.3

-20.0

600 นาที

-2.3

-2.3

-8.7

-4.4

1000 นาที

-1.5

-1.5

-5.7

-2.9

2295 นาที

-0.7

-0.7

-2.7

-1.4

ราคาเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้ง 24 ตะกร้า:   -7.8%

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงมากกว่า 15%:     5 ตะกร้า

 

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงน้อยกว่า5%:     13 ตะกร้า

 

 

ตารางที่ 2การเปลี่ยนแปลงราคาค่าบริการรายเดือนของ TRUEต่อประเภท (ร้อยละ)

 

ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อเดือน

 

100MB

500MB

1000MB

2000MB

ปริมาณการโทรต่อเดือน

60 นาที

99.3

-53.9

-38.5

-33.4

200 นาที

40.7

-53.9

-38.5

-33.4

400 นาที

18.7

-34.4

-22.4

-8.3

600 นาที

12.1

-22.0

-12.2

0.0

1000 นาที

7.1

-14.8

-8.2

0.0

2295 นาที

3.1

-7.2

-4.0

0.0

ราคาเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้ง 24 ตะกร้า:   -8.5%

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงมากกว่า 15%:     9 ตะกร้า

 

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงน้อยกว่า5%:     11 ตะกร้า

 

 

ตารางที่ 3การเปลี่ยนแปลงราคาค่าบริการรายเดือนของ DTACต่อประเภทการใช้งาน (ร้อยละ)

ตะกร้า OECD

ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อเดือน

ตะกร้าเพิ่มเติม

100MB

500MB

1000MB

2000MB

ปริมาณการโทรต่อเดือน

60 นาที

-25.1

-57.2

-42.9

-16.7

200 นาที

0.0

-42.9

-42.9

-16.7

400 นาที

-10.7

-19.4

-19.4

-16.7

600 นาที

-12.8

-12.8

-12.8

-2.6

1000 นาที

-14.8

-14.8

-14.8

-7.4

2295 นาที

-6.1

-6.1

-6.1

-3.0

ราคาเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยทั้ง 24 ตะกร้า:   -17.7%

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงมากกว่า 15%:     10 ตะกร้า

 

จำนวนตะกร้าที่ราคาลดลงน้อยกว่า5%:     2 ตะกร้า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปมสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ 1,486 ไร่ นายทุน-ชาวบ้าน ใครบุกรุกใคร?

Posted: 30 Jun 2013 10:59 AM PDT

ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนา ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐต่อศาลปกครอง เหตุไม่เร่งเพิกถอน น.ส.3 บริษัทเอกชนในเขตป่า จากกรณีพิพาทที่ดินสวนปาล์ม 1,486 ไร่ ทำชาวบ้านถูกฟ้องทั้งแพ่ง-อาญา ต้องชดใช้ค่าเสียหายรวมถึง 15 ล้าน กับคำถาม 'นายทุนรุกที่ป่า' หรือ 'ชาวบ้านรุกที่นายทุน'

 
 
จากความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุด กรณีพิพาทที่ดินสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ 1,486 ไร่ ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนา ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี นำเอกสารหลักฐาน เข้ายื่นฟ้องหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐ 4 หน่วยงาน คือ กรมที่ดิน อธิบดีกรมที่ดิน คณะกรรมการสอบสวนตามความใน ม.61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และกรมป่าไม้ ต่อศาลปกครอง แผนกคดีสิ่งแวดล้อม เป็นคดีหมายเลขดำ 1373/2556 เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.56
 
คำฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินและคณะกรรมการสอบสวนฯ ที่มีคำสั่งไม่เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) 10 แปลง และโฉนดที่ดินจำนวน 13 ฉบับ ตาม ม.61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินออกให้บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่ป่าไม้ถาวรหมายเลข 92 แปลงที่ 29 และป่าสงวนแห่งชาติป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม ในเขต อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 
 
อีกทั้งขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับให้กรมป่าไม้ปฏิบัติการและใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เพื่อดำเนินการให้บริษัทคู่กรณีดังกล่าวออกจากเขตป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติ
 
000
 
 
สุรพล สงฆ์รักษ์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรภาคใต้ (สกต.) กล่าวว่า ที่ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ทางคดีในครั้งนี้ เนื่องจากประสบความเดือดร้อนจากการที่เอกสารสิทธิ์ดังกล่าวถูกบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มฯ นำมาฟ้องร้องนำเนินคดีกับชาวบ้านทั้งทางอาญาและทางแพ่ง โดยอ้างความเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดิน 1,486 ไร่ ซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3ก 330 ไร่ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการออกเอกสารสิทธิ
 
นำไปสู่การตัดสินลงโทษจำคุกชาวบ้าน และให้ชดใช้ค่าเสียหายรวมกว่า 15 ล้านบาท รวมทั้งขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ ทั้งที่ชาวบ้านยืนยันว่าได้เข้าไปอยู่อาศัยในที่ ส.ป.ก.ที่มีการยึดคืนจากบริษัทฯ แล้ว
 
อีกทั้ง ยังมีคำถามว่าเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวออกโดยชอบหรือไม่ โดยศาลให้ความเห็นไว้ว่า เอกสารสิทธิ์ที่ดินแม้จะออกในพื้นที่ป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อยังไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์และเป็นชื่อของบริษัทฯ อยู่ ถือว่าบริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน
 
"บุกรุกก่อนมีสิทธิ์ก่อน เพราะกฎหมายนั้นรับร้องสิทธิของผู้มาก่อน ส่วนผู้มาทีหลังต้องยอมรับสิทธิของผู้ที่มาคนแรก" สรไกร ศรศรี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาในการฟ้องคดีปกครอง กล่าวถึงสภาพปัญหาที่ชาวบ้านต้องผจญอยู่ในขณะนี้
 
ขณะที่ ศิริวรรณ เลิศว่องเกียรติไพศาล คณะทำงานในคดีปกครองชี้ว่า การที่รัฐในฐานะเจ้าของที่ดินเพิกเฉย ไม่เข้าไปดำเนินการตามกฎหมาย และจัดการให้เกิดความเป็นทำตั้งแต่ต้น นั่นคือเงื่อนปมปัญหา
 
000
 
กรณีปัญหาการกระจายการถือครองที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่แตกต่างกับในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายนำพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมาให้เช่าระยะยาวหลายสิบปี และเช่าในราคาถูก แต่ชาวบ้านที่ยากจนผู้ไม่มีที่ดินทำกินกลับไม่ได้รับสิทธิในการเช่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เช่าที่ดินส่วนใหญ่เป็นนายทุน นักการเมืองและข้าราชการ 
 
จนเมื่อรัฐบาลต่อๆ มาต้องมีนโยบายตรวจสอบการถือครองทำประโยชน์ของบริษัทและนายทุนรายใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลสะเทือนต่อการจัดการโครงสร้างการกระจายการถือครองที่ดินให้เกิดความเป็นธรรมขึ้น
 
เมื่อปี 2550 ชาวบ้านซึ่งไม่มีที่ดินทำกินในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ได้เรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ดำเนินการตรวจสอบการถือครองและทำประโยชน์ ของบริษัทและนายทุนรายใหญ่ตามมติคณะรัฐมนตรี นำมาสู่คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานระดับอำเภอตรวจสอบที่ดิน ของบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มฯ ใน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยการมีสวนร่วมของหน้าที่รัฐ ผู้ปกครองท้องที่ ตัวแทนบริษัท และผู้แทนชาวบ้าน
 
ผลการตรวจสอบของคณะทำงานพบว่า บริษัทฯ ครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่กว่า 3,392 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.อยู่ในเขตป่าไม้ถาวรหมายเลข 92 แปลง 29 เนื้อที่ 1,210 ไร่ 2.อยู่ในเขต ส.ป.ก.เนื้อที่ 276 ไร่ และ3.อยู่ในเขตออกเอกสารสิทธิ์กรมที่ดิน เนื้อที่ 1,901 ไร่
 
ทั้งนี้ ที่ดินในเขตป่าไม้ถาวรและ ส.ป.ก.รวมแล้วเป็นเนื้อที่กว่า 1,486 ไร่นี้เอง บริษัทฯ ได้อ้างตัวเป็นผู้ครอบครองแล้วนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้าน และเป็นที่มาของการยื่นฟ้องคดีทางปกครองของชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนา
 
 
000
 
จากการพูดกับทีมทนายความ จากสภาทนายความ ในฐานะคณะทำงานในคดีปกครอง แจกแจงข้อมูลของชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาในกรณี พิพาทที่ดินสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ 1,486 ไร่ ได้ดังนี้
 
1.คดีอาญา บริษัทฯ ฟ้องชาวบ้านข้อหาร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ในพื้นที่มี นส.3ก จำนวน 330 ไร่ พร้อมระบุว่าพื้นที่ที่เหลืออยู่ระหว่างการออกเอกสารสิทธิเพิ่ม โดยไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า นส.3ก ดังกล่าวอยู่ตรงไหนในพื้นที่ 1,486 ไร่
 
อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาอ้างมีเหตุสงสัยว่าอยู่ในพื้นที่จึงสั่งลงโทษจำเลย ทั้งที่การระบุมีเหตุสงสัยในคดีอาญาปกติต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ชาวบ้านจึงถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีการถือครองที่ดินโดยมิชอบของบริษัทเอกชน
 
2.ตามความจริงชุมชนสันติพัฒนาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 276 ไร่ ในที่ดิน ส.ป.ก.ที่บริษัทฯ อ้างตัวเป็นเจ้าของ โดยเมื่อราวปลายปี 2550 ชาวบ้านที่ขาดแคลนที่ดินทำกินได้เข้าไปก่อตั้งชุมชน เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินด้วยตนเอง พร้อมกับเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดำเนินการจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรม หลังจากพบว่าบริษัทฯ ถือครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่มีการดำเนินการใดๆ
 
ขณะนี้พื้นที่ดังกล่าว สปก.จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีหนังสือส่งมอบพื้นที่ให้กับชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านอยู่อาศัยทำกินไปก่อน จนกว่าจะมีการดำเนินการจัดสรรอย่างเป็นธรรม ตามหนังสืออ้างถึงสำนักการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ กษ 1204/1977 ลงวันที่ 23 มี.ค.52
 
3.ที่ดิน 1,486 ไร่ ไม่ใช่ที่ดินของบริษัทฯ แต่เป็นที่ดินของรัฐ โดยแบ่งเป็นที่ ส.ป.ก.ประมาณ 276 ไร่เศษ ซึ่งเป็นตั้งชุมชน ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในเขตป่าไม้ถาวร รวมทั้งที่ดิน น.ส.3ก 330 ไร่ ที่บริษัทฯ อ้างว่ามีเอกสารสิทธิ์ด้วย
 
ยืนยันจากการตรวจสอบของหลายหน่วยงาน อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งพบว่าเอกสารสิทธิออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
000
 
 
"เอกสารสิทธิ์ถูกใช้อ้างอิงความชอบโดยกฎหมายมาตลอด จึงควรยุติการใช้เอกสารสิทธิ์ที่ไม่ชอบ" สรไกรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ของบริษัทเอกชน
 
นอกเหนือจากการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ นส.3ก ของบริษัทเอกชน เพื่อคืนที่ดินให้สาธารณะนำมาจัดสรรแก่เกษตร หรือดำเนินการบำรุงรักษาต่อไปตามความเหมาะสมแล้ว ทนายความในคดียังคาดหวังด้วยว่า การดำเนินการทางคดีปกครองจะส่งผลต่อคดีอาญาและคดีแพ่งที่บริษัทฯ ฟ้องร้องชาวบ้านอยู่
 
สรไกร กล่าวด้วยว่า หากศาลปกครองรับฟ้อง จะนำคำรับฟ้องไปยื่นต่อศาลในคดีอาญาให้เห็นว่ามีการดำเนินการที่จะเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ และความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างที่ศาลชั้นต้นลงความเห็น
 
ส่วนสุทิน บรมเจต คณะทำงานสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ แสดงความเห็นว่า ประเด็นการออกเอกสารสิทธิ์นั้นค่อนข้างชัดเจนแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ที่ว่าศาลจะพิจารณารับคำฟ้องของชาวบ้านหรือไม่ ในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 เดือนหลังจากนี้
 
หากศาลปกครองตีความอย่างกว้าง อาศัยสิทธิชุมชน ชาวบ้านในฐานะผู้ได้รับความเสียหายตามกฎหมายมีสิทธิ์ฟ้องได้ แต่หากตีความอย่างแคบว่า การเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบในที่ดินรัฐ เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ชาวบ้านไม่ใช่ผู้เสียหายก็ไม่สามารถฟ้องคดีได้ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านสามารถดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
 
000
 
 
ภาพรวมโดยสรุปของกรณีพิพาทที่ดินสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ มีว่า บริษัทเอกชนรายใหญ่บุกรุกที่ป่า และใช้เอกสารสิทธิที่ครอบครองพื้นที่เพียงจำนวนหนึ่งไปใช้อ้างความเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด เพื่อทำประโยชน์ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าทำได้ก็เข้าไปทำประโยชน์บ้าง จึงถูกบริษัทฟ้องร้องดำเนินคดี
 
'ถือครองก่อนมีสิทธิก่อน' คือข้ออ้างของบริษัทเอกชน ขณะที่ชาวบ้านก็อ้างว่า 'การถือครองของบริษัทเอกชนไม่ชอบด้วยกฎหมาย' กลายเป็นความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายเป็นความรุนแรงในพื้นที่
 
อย่างไรก็ตามในการต่อสู้ทางคดีนั้น ชาวบ้านมักตกอยู่ในภาวะคู่ชกที่เสียเปรียบเต็มประตู
 
ศิริวรรณ กล่าวว่า การหาความเป็นธรรมโดยใช้กระบวนการยุติธรรมต้องใช้เวลามาก และชาวบ้านก็มักเข้าไม่ถึงกระบวนการนี้ ทั้งหน่วยงานที่จะมาให้ความช่วยเหลือและทนายความที่มีความเข้าใจคดีก็หาได้ยาก ดังนั้นจึงหวังว่าในคดีนี้ชาวบ้านจะได้รับความเป็นธรรมจากศาล โดยเริ่มต้นจากการรับพิจารณาคดี
 
"บริษัทหนึ่งครอบครองที่ดินกว่า 4 หมื่นไร่ ขณะที่ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนามีเจตนาให้รัฐจัดสรรที่ดินทำกินครอบครัวละ 11 ไร่เท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้" บุญฤทธิ์ ภิรมย์ ชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนา หนึ่งในผู้ฟ้องคดีกล่าวถึงความไม่เป็นธรรมที่เขาได้สัมผัส
 
 
 
รายละเอียดและความคืบหน้าคดี
 
1.คดีอาญาดำ 1912, 2131/2552 แดง 3738, 3739/2554 (รวมการพิจารณา 2 คดี)
ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โจทก์
บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) โจทก์ร่วม
นายมนัส กลับชัย กับพวกรวม 9 คน จำเลย
ข้อหา ร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
 
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยทั้งเก้ามีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกจำคุก 1 ปี 6 เดือน คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา
 
2.คดีแพ่งดำ 1243/2551 แดง 138/2555
ระหว่าง บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด โจทก์
นางอรพิน วัชรเฉลิม กับพวกรวม 3 คน จำเลย
ข้อหา ละเมิด ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท
 
ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดิน 110 ไร่ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะออกไปจากที่พิพาท และชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะออกไปจากที่ดินพิพาท และชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ 30,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมเฉพาะทุนทรัพย์ที่ชนะคดี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา
 
3.คดีแพ่งดำ 230/2552 แดง 953/2554
ระหว่าง บริษัท สหอุตสาหกรรน้ำมันปาล์ม จำกัด โจทก์
นายมนัส กลับชัย กับพวกรวม 12 คน จำเลย
ข้อหา ละเมิด ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท
 
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1, 3, 5-9, 11, 12 รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดิน 110 ไร่ และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนว่าจะชำระเสร็จ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาทจนกว่าจะขนย้ายฯ
 
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย ในส่วนของจำเลยขอยกเว้นค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ศาลมีคำสั่งอนุญาต และขอทุเลาการบังคับคดี ศาลยังไม่มีคำสั่งต้องรอให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับคดี
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.55 โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศเพื่อจะดำเนินการรื้อถอนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เริ่มดำเนินการรื้อถอน 29 มิ.ย.55
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.55 ตัวแทนชาวบ้านชุมชนสันติพัฒนาได้เข้าประชุมร่วมกับ นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสำนักปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งทาง สปก.ยืนยันบังคับคดีไม่มีสิทธิ์เข้าไปรื้อถอนชุมชนเพราะเป็นพื้นที่ สปก.และสปก.ได้ส่งมอบพื้นที่ไปแล้ว และมีการทำหนังสือแจ้งไปทางบังคับคดีระงับการรื้อถอน
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“อรหันต์(น.)” การตีความใหม่ในยุคเครื่องบินเจ็ต

Posted: 30 Jun 2013 10:13 AM PDT

เกริ่นนำ


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542) ให้คำจำกัดความคำนาม "อรหันต์" หมายถึง ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน 4 ชั้น และคำว่า "อริยบุคคล" อันเป็นศัพท์เฉพาะนั้น ยังหมายถึง บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ [1] เช่นนี้เราจะได้ว่า "อรหันต์เป็นบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษขั้นสูงสุด" ทว่าคำจำกัดความนี้กลับไม่ได้บอกอะไรแก่เรา นอกจากชนชั้นหรือระดับขั้น ฉะนั้น พระไตรปิฎกอันเป็นต้นเรื่องอาจให้คำตอบได้มากกว่า ในมาคัณฑิยสูตร กล่าวถึง "ความเป็นอรหันต์" ไว้ว่า "ท่านเป็นผู้ไม่กลับมาเกิดอีก ถึงที่สุดของการบำเพ็ญเพียรแล้ว จบภารกิจที่ต้องทำแล้ว และไม่มีภารกิจใดต้องทำต่อไปอีก" [2] กระนั้น มาคัณฑิยสูตรก็ไม่ได้ให้อะไรมากนัก นอกจากความเชื่อที่ว่าเมื่อเป็นอรหันต์แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ดังนั้น การย้อนกลับไปพิจารณาเกณฑ์สำคัญ น่าจะช่วยเราได้ดีที่สุด "สังโยชน์ 10" เป็นเกณฑ์หนึ่งที่จะช่วยจัดจำแนกเรื่อง "ภาวะอรหันต์" ได้ เนื่องจากมีคำจำกัดความเป็นคู่ตรงข้ามกับภาวะอรหันต์ กล่าวคือ "ภาวะอรหันต์" เป็นที่เข้าใจกันดีว่า หมายถึง การพ้นจากเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย แต่ "สังโยชน์ 10" หมายถึง กิเลสอันผูกใจสัตว์ เป็นธรรม (สิ่ง) ที่มัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ [3] ดังนั้น จึงเป็นคู่ตรงข้ามกัน และ ทางเดียวที่จะบรรลุธรรมวิเศษขั้นสูงสุดได้ในที่นี้ คือ "ตัดกิเลสเครื่องผูกทั้งหมด" [4] ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการตัดเสียซึ่งเครื่องผูกสัตว์นี้เป็นพิเศษ [5]

สำหรับประเทศไทยมีการใช้คำว่า "อรหันต์" เพิ่มสูงขึ้นผ่านกระบวนการผลิตซ้ำเพื่อจุดประสงค์อะไรบางอย่างและเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า นักบวชหลายรูปในพุทธศาสนาถูกลูกศิษย์ยกย่องให้เป็นพระอรหันต์  บ้างก็ยกย่องอย่างเป็นทางการผ่านหนังสือในลักษณะชีวประวัติ บ้างก็ยกย่องอย่างไม่เป็นทางการด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ปัญหาคือลูกศิษย์ทั้งหลายใช้เกณฑ์ใดในการตรวจสอบว่า พระอาจารย์ที่เคารพนับถือนั้น บรรลุธรรมวิเศษขั้นสูงสุดเป็นถึงพระอรหันต์? น่าสังเกตว่า พระอริยบุคคลระดับสกิทาคามี กลับไม่เป็นที่กล่าวถึงแต่ประการใด และพระสูตรชื่อ ฉวิโสธนสูตร [6] ซึ่งเป็นคำแนะนำจากพระพุทธเจ้าในการตรวจสอบภิกษุผู้พยากรณ์ว่าตนบรรลุอรหัตผลกลับไม่เป็นที่กล่าวถึงด้วย กลายเป็นว่า "อรหันต์" ไม่สามารถตรวจสอบได้ ด้วยเหตุผลยอดนิยมจากบทสวดทำวัตรที่ว่า "พึงรู้ได้เฉพาะตน" [7] กระนั้นหรือ? ทั้งที่จริง หลักการของหนังสือชื่อพระไตรปิฎก ก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบนี้อยู่
 

เนื้อหา

ปัญหาการยกตนขึ้น "ตำแหน่งอรหันต์" อันเป็นตำแหน่งสูงสุด ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยืมคำนี้มาจากระบบราชการในยุคนั้น [8] เป็นเรื่องที่มีแนวทางในการแก้ปัญหาไว้นานแล้ว ในชั้นแรก พระพุทธเจ้าเสนอว่า ไม่ควรทั้งยอมรับและคัดค้าน (ท่าทีอนุรักษ์สัจจะ) แต่ให้เลือกเฟ้นถามคำถามสำคัญเพื่อตรวจสอบภาวะความเป็นอรหันต์ของผู้อ้าง และคำถามแรกที่ต้องถาม นั่นคือ "รู้ได้อย่างไร?" [9] และจบด้วยคำถามที่ว่า ท่านกำจัดอนุสัย ซึ่งหมายถึง กิเลสที่ไม่แสดงตัวออกมาได้อย่างไร? มีญาณ (ปัญญา) อะไรไปกำจัดกิเลสอันบางเบาเหล่านั้นจนถึงที่สุด? ทั้งหมดนี้ต้องแสดงให้สังฆะ (กลุ่ม) เห็นเพื่อให้สังฆะอนุโมทนาว่าท่านผู้นี้พ้นอนุสัย 7 แล้วจริง [10] กล่าวคือ พ้นจากความติดใจอยากได้สิ่งบำเรอประสาทสัมผัสแม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (กามราคานุสัย)  พ้นจากความคิดขัดเคืองหงุดหงิดรำคาญแม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (ปฏิฆานุสัย) พ้นจากความลังเลสงสัยในธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญเพียรแม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (ทิฏฐานุสัย) พ้นจากความถือตัวถือตนว่านี่เรานี่เขาสำคัญตัวผิดแม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (มานานุสัย) พ้นจากความติดในภาวะและการเกิดภาวะต่างๆ แม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (ภวราคานุสัย) และพ้นจากความไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงแม้เพียงเล็กน้อยแล้วจริง 1 (อวิชชานุสัย) ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าสังฆะจะพึงรับรอง หรือที่เรียกว่า พึงอนุโมทนากับ "ความเป็นอรหันต์" นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เริ่มตั้งแต่ภูมิรู้ทางธรรมของสังฆะนั้นทีเดียว ดังนั้น ไม่ใช่ว่าปุถุชนคนธรรมดาจะเที่ยวแต่งตั้ง "ความเป็นอรหันต์" ให้ใครต่อใครได้ เพราะ "ความเป็นอรหันต์" ไม่ใช่ตำแหน่ง แต่เป็นชื่อที่ใช้บ่งบอกปลายทางของการบำเพ็ญตนเท่านั้น และถ้านักบวชในสำนักของพระพุทธเจ้ากระทำการ "อวด" (อุตริ) เสียเอง กล่าวคือ อวดอ้างว่าได้บรรลุธรรมวิเศษทั้งที่เมื่อสังฆะพิสูจน์แล้วกลับเห็นว่าเป็นเท็จ แม้เมื่อครูอาจารย์ในสังฆะอื่นด้วยพิสูจน์แล้วกลับเห็นว่าเป็นเท็จ เมื่อตรวจสอบดูในพระไตรปิฎกนั้นก็ยังมีข้อขัดแย้งที่แก้ต่างไม่ขึ้น ว่ากันตามพระวินัยแล้วให้ถือว่า โมฆบุรุษผู้อุตรินั้นขาดจากการเป็นภิกษุในสังฆะแล้ว คือ ควรลาสิกขาบทไปเสีย เพราะเป็นอลัชชี (ผู้ไร้ยางอาย)

               

อีกประการหนึ่ง "ความเป็นอรหันต์" ไม่จำเป็นต้องมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริ์ยตามโลกทัศน์ของปุถุชนคนธรรมดาแต่ประการใด และ "ความเป็นอรหันต์" ก็มิได้ผูกกับโลกทัศน์แบบ "อภิมนุษย์" ด้วย จริงอยู่เรื่องเล่าเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของพระอรหันต์ที่นิยมนำมาสวดหรือท่องบ่น เช่น บทถวายพรพระ (พาหุงมหากาฯ) จะอ้างถึงความมีอิทธิฤทธิ์ของพระอรหันตสาวกองค์สำคัญ [11] แต่หลักการในพุทธศาสนากลับให้การยอมรับว่า "บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษขั้นสูงสุด" ไม่จำเป็นต้องมีอิทธิฤทธิ์ ขอเพียงหลุดพ้นจากสังโยชน์เครื่องร้อยรัดได้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นและเพียงพอแล้ว ฉะนั้น "อภิมนุษย์" ที่มีอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย อาจหมายถึง ใครก็ตามที่มีอำนาจจิตแก่กล้าเพราะจิตไปบริกรรมบางอย่างเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับภาวะอรหันต์ตามตัวบทในคัมภีร์ แม้กระทั่งในเรื่องอิทธิฤทธิ์ฝ่ายยมกปาฏิหาริย์ด้วย การกล่าวตู่ว่าอาจารย์ของตนเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ใช่ท่าทีที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว เฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์ พระพุทธเจ้าถึงกับทรงตำหนิว่า "ผู้แสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อแลกกับสิ่งของมีค่าก็ไม่ต่างจากหญิงที่เปิดเผยอวัยวะสงวนเพียงเพื่อแลกกับเงินทอง" [12] นี่จึงเป็นจุดยืนที่หนักแน่นของพระพุทธเจ้าผู้เป็นครูของผู้บำเพ็ญธรรม
               

ยิ่งไปกว่านั้น พระไตรปิฎกซึ่งเป็นเพียงหนังสือเล่มหนึ่งที่รวบรวมแนวทางและเรื่องเล่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและสาวก กลับไม่ค่อยถูกอ่าน ทั้งที่ เนื้อเรื่องส่วนหนึ่งเป็นนิทานคุณธรรมที่สอนให้ปุถุชนรู้จักงดเว้นการเบียดเบียนกันในขั้นพื้นฐาน มีเฉพาะบางส่วนเท่านั้นที่เป็นการอรรถาธิบายธรรมที่ลึกซึ้ง ดังที่รู้จักกัน เช่น ปฏิจจสมุปบาท 12 ฉะนั้น การตีความคำว่า "อรหันต์(น.)" ในยุคสมัยนี้ ก็เป็นเหตุเนื่องมาจากความเพิกเฉยที่จะอ่านศึกษาพระไตรปิฎก จึงทำให้เกิดชุดคำอธิบายใหม่ที่น่าสงสัยว่าแปลกหรือคลาดเคลื่อนจากตัวบทมากจนผิดสังเกต เนื่องจาก เป็นการหยิบเอาคำนามมาใช้ใหม่ เพื่อแต่งตั้งสถาปนา "ใครคนหนึ่ง" ให้เป็น "อภิมนุษย์" โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอย่างกว้างขวางว่าตรงกับกฎเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าในฐานะพระศาสดาให้ไว้หรือไม่?  และเมื่อสถาปนาคำว่า "อรหันต์" ในลักษณะแต่งตั้งเช่นนี้แล้ว ก็มักจะลงมือผลิตซ้ำให้มากพอ จนท้ายที่สุด "สิ่งที่ยังไม่ได้รับพิสูจน์" ก็กลับเป็นความจริงขึ้นมาได้ กลายเป็นว่า "โลกนี้มีพระอรหันต์เกิดขึ้น" ทั้งที่ในความเป็นจริงยังไม่มีการตรวจสอบแต่ประการใด นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างน่าตกใจในกึ่งพุทธกาลนี้
               

อาจเป็นเพราะ "อรหันต์(น.)" เป็นคำนามที่ทรงอิทธิพลกับคนไทยมากกว่าคำว่า "โสดาบัน" แน่นอน เพราะคนไทยคุ้นหูกับคำๆ นี้มากกว่า ในขณะที่อริยบุคคลระดับอื่นกลับไม่เป็นที่พูดถึงในวงกว้าง เป็นพิเศษสำหรับในยุคพุทธพาณิชย์ "ความเป็นพระอรหันต์" สามารถสร้างเงินทองให้เกิดดอกผลได้อย่างมากมายเป็นกอบเป็นกำ มีหรือที่บรรดาลูกศิษย์ผู้มีความโลภเป็นที่ตั้งจะไม่ปรารถนาเข้าเกาะชายผ้าเหลืองของอาจารย์รวยกันอย่างถ้วนหน้า มาตรการเลี่ยงบาลีทุกรูปแบบจึงถูกนำมาใช้อย่างรอบคอบและรัดกุม กระนั้นก็ดี ภูมิรู้ทางศาสนาในประเทศนี้ยังย่ำแย่หนักถึงกับว่า ไม่จำเป็นต้องเลี่ยงบาลีหรือมีคำอธิบายใดๆก็ได้ ขอเพียงมีการผลิตซ้ำที่มากพอก็พร้อมแล้วที่จะเชื่อและกราบไหว้ ทั้งที่ในความเป็นจริง ท่าทีเช่นนี้ ขัดแย้งโดยตรงกับพุทธพจน์หลายแห่ง เป็นต้น กาลามสูตร 10
               

ธุรกิจชนิดที่หากินกับภาพลักษณ์อันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าทำกันอย่างเบ่งบานในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีใครกล้าตรวจสอบภาษีหรือรายรับของพระภิกษุสงฆ์ กลายเป็นว่าโครงการต่างๆที่ "พระอรหันต์" (ลูกศิษย์ถวายสมญานาม) จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจตรวจสอบได้ทั้งสิ้น ใครก็ตามกล้าตั้งคำถามเช่นนี้กับพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีลงดงาม คนผู้นั้นจะกลายเป็นบุคคลผู้ไม่สะอาด เป็นผู้ประทุษร้ายต่อพระพุทธศาสนา ทั้งที่จริงพระพุทธเจ้าประทานพุทธานุญาตให้สรรพสัตว์ทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพุทธบริษัท หรือ เดียรถีย์ (นอกศาสนา) ซักถามได้เสมอ เพราะพระพุทธเจ้าทรงถือว่าทุกอย่างมีเหตุปัจจัย และหลักธรรมสูงสุดที่พระองค์ตรัสรู้นั่นคือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ (อริยสัจ) ก็เป็นธรรมที่เนื่องมาจากการตั้งไว้ของธรรมนั้น พระพุทธเจ้ามิได้ถือครองกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหลักธรรมเหมือนแนวคิดเรื่องทรัพย์สินแต่ประการใด กลับกันพระองค์ทรงแนะนำให้ลูกศิษย์ทุกรูปปล่อยวางการถือครองทรัพย์สินอีกด้วย และเมื่อมีข้อสงสัยสำคัญ พระองค์จะแสดงธรรมเสมอเพื่อให้คลายความสงสัย เพื่อทำให้เป็นประโยชน์ในการฝึกตน เช่นเดียวกันเรื่องใดที่แสดงธรรมแล้วไม่เป็นไปเพื่อคลายความสงสัย ไม่ทำให้เป็นประโยชน์ในการฝึกตน พระองค์ก็จะนิ่งเฉยเสียไม่ทรงตอบ แต่โดยทั่วไป เรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของพระภิกษุในสังฆะ พระพุทธเจ้าทรงเน้นหนักและพัฒนาพระวินัยขึ้นอย่างแข็งแรงในช่วงชีวิตของพระองค์ซึ่งค่อนข้างครบถ้วนครอบคลุม จุดประสงค์ก็เพื่อป้องปรามบรรดาพระภิกษุที่มีจริตผาดแผลง เป็นต้น พระอุทายี พระฉัพพัคคีย์ นั่นเอง
 

สรุป

โดยไม่ต้องสงสัย สมญานาม "อรหันต์" เป็นคำสรรเสริญที่ลูกศิษย์ในยุคนี้ กล้าใช้เรียกอาจารย์ของตนเองโดยพลการ เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในการฝึกตน เป็นพฤติกรรมที่ทุกสำนักควรสอดส่องและงดเว้น เพราะคุณสมบัติและคำจำกัดความ "อรหันต์" นั้นย่อมตั้งอยู่ แม้จะมีส่วนผิดแปลกแตกย่อยไปในแต่ละนิกาย แต่ความหมายโดยทั่วไปก็เหมือนกัน คือ "เป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกมัด" และลำดับของการฝึกปฏิบัติจิตเพื่อให้ลุล่วงไปในแต่ละขั้นตอนสู่อริยบุคคลย่อมตั้งอยู่ แม้จะมีวิธีผิดแปลกแตกย่อยหลากหลายแต่ก็มุ่งหน้าไปในทางเดียวกันคือ "ตัดเครื่องผูกมัด" ซึ่งถ้าแต่ละสำนักปล่อยให้ใครก็ได้เที่ยวพูดไปเช่นนี้ จะเป็นการคะนองมือคะนองเท้าผิดรูปของผู้ปฏิบัติธรรมไป และทุกวันนี้ เมื่อ "อรหันต์" บางรูปกลายเป็นผู้ที่ไม่ชอบอยู่วิเวก และมีสมณกิจมากมายเสียจนน่าสงสัยว่าเอาเวลาใดตั้งมั่นในบำเพ็ญภาวนา ก็ชวนให้ยิ่งสงสัยและน่าตั้งคำถามว่า ที่ว่าเป็นอรหันต์นั้น  "รู้ได้อย่างไร?" และ "มีปัญญาอะไรไปกำจัดกิเลสอันบางเบาเหล่านั้นจนถึงที่สุด?" เพราะลำพังการแสดงบทบาทสมมติที่ยอดเยี่ยมและการโฆษณาที่ทุ่มทุนสร้าง ไม่ช่วยให้ "อรหันต์แต่งตั้ง" กลายเป็น "อรหันต์" แท้จริงได้เลยแม้แต่น้อย ตราบใดที่ผู้ถือตนว่าปฏิบัติธรรมยังแยกแยะไม่ออกระหว่าง "วัฒนธรรมศาสนาพุทธ" กับ "ธรรมะของพุทธะซึ่งเป็นของสากล" แล้ว ย่อมจะมีโมฆบุรุษแอบอ้างความเป็นอรหันต์และอิทธิฤทธิ์ของเดรัจฉานวิชาให้อยู่เหนืออริยสัจ 4 อยู่เสมอ สำคัญที่สุดคือ หากการเป็นอริยบุคคลทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ทำได้ง่ายดายราวกับกดน้ำร้อนเพื่อปรุงบะหมี่สำเร็จรูปให้สุกแล้ว หนังสือชื่อพระไตรปิฎกจะมีประโยชน์อะไร? เพราะแค่อ่านเอกสารสรุปหรือไฟล์เสียงธรรมเทศนาจากบรรดาอรหันต์ยุคใหม่ก็เป็นสุดยอดแห่งธรรมแล้วมิใช่หรือ? อาจจะต่างกันเพียงอย่างหลังต้องใช้เงินหรือร่างกายมาแลกเท่านั้นเอง !

 

 

 

อ้างอิง
[1] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 [online]
[2] "ขีณา ชาติ, วุสิตํ พรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ, นาปรํ อิตฺถตฺตาย" (มาคัณฑิยสูตร)
[3]  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม [online]
[4] ขุ.อิติ. 25/24/15
[5] ที.ปา. 11/116/46
[6] ม.อุ 14/123
[7] "ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ – วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน" (บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ)
[8] ธนิต อยู่โพธิ์. (2541). อานิสงส์วิปัสสนากัมมัฏฐาน. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก
[9] ม.อุ 14/123
[10] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม [online]
[11] บทถวายพรพระเล่าถึงพระโมคคัลลานะอรหันตสาวกผู้เป็นเลิศเรื่องอิทธิฤทธิ์ปราบนันโทปนันทนาคราช
[12] วินย.จุลฺลวคฺค, ทุติย. 7/15-16

           
           
           
           
            

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอ.รมน.ภาค 4 สน.แถลงเหตุบึ้มทหาร 8 ศพ ย้ำดูแลให้เดือนรอมฎอนปลอดภัย

Posted: 30 Jun 2013 01:30 AM PDT

โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. ยืนยันใช้แนวทางที่ผู้บัญชาการสั่งดูแลความปลอดภัยในเดือนรอมฎอน เคารพในสิทธิมนุษยชนตามกระบวนการยุติธรรม ชี้เหตุที่เกิดเป็นการกระทำของผู้บิดเบือนหลักศาสนาและมีอุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่ง วันเดียวกันเกิดเหตุยิงครูสาวตาดีการามัน

 
พ.อ.ปราโมทย์ พรมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ว่า จากกรณีที่คนร้ายลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทหาร ร้อย.ร 4021 หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 2 เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน เป็นเหตุให้ทหารเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บ 2 นาย และราษฎรได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 2 คน ทางกอ.รมน.ภาค 4 สน.ขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้
 
"กอ.รมน.ภาค 4 สน. จะยังคงดำเนินความมุ่งหมายในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตามนโยบายและข้อสั่งการของผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ด้วยการเคารพในหลักของกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด และจะเร่งติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะยังคงดำเนินการสนับสนุน อำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนในการประกอบศาสนากิจ เนื่องในเดือนรอมฎอนในปีนี้อย่างเต็มที่"
 
พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ ด้วยการบูรณาการกำลังพลทุกภาคส่วน ลงมาแก้ปัญหาอย่างเป็นเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาผ่านศูนย์ปฏิบัติการอำเภอไปสู่หมู่บ้านเป้าหมาย ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้กับประชาชน ส่วนราชการต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยังยืนในอนาคต
 
"กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ขอสดุดีในวีรกรรมอันกล้าหาญที่ได้ทุ่มเท และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ เพื่อที่จะรักษาความสงบสุขของพี่น้องประชาชน โดยกองทัพจะดูแลเยียวยากำลังพลและสวัสดิการต่างๆ อย่างเต็มกำลังความสามารถและสมเกียรติ"
 
พ.อ.ปราโมทย์ ได้กล่าวถึงการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงตลอด 9 ปีทีผ่านมา รวมทั้งเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า เป็นการกระทำของกลุ่มที่บิดเบือนหลักศาสนา มีแนวคิดอุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่งและตกขอบ ซึ่งได้ทำลายความหวังและโอกาสของพี่น้องประชาชนที่ต้องการความสันติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
 
ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะกองกำลังกลุ่มนี้ได้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างทุ่มเทร่วมกับพี่น้องประชาชนจนเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อมั่น
 
"กอ.รมน.ภาค 4 สน.ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมและเครือข่ายตางๆ ร่วมกันประณามการกระทำดังกล่าวและประกาศจุดยืนในการปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในทุกกรณี" พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวปิดท้าย
 
ยิงครูสาวโรงเรียนตาดีกายะลาดับ 1
 
เวลา 15.50 น. วันเดียวกัน เกิดเหตุคนร้ายยิงนางสาวคอรีเย๊าะ สาเล็ง อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 56/7 ม. 1 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ. ยะลา เป็นครูสอนโรงเรียนตาดีกาบ้านบือแนสะแต ม.5 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา เหตุเกิดบนถนนสายชนบท บ้านตันหยงม.1 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ส่วนสาเหตุ เจ้าหน้าที่ระบุว่าอยู่ระหว่างการสอบสวนว่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบหรือเป็นเรื่องส่วนตัว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุภิญญาหวั่น กรณีช่อง 5 ตัดสกู๊ปข่าว กระทบสิทธินักข่าว-ความเชื่อมั่นให้สื่อกำกับกันเอง

Posted: 30 Jun 2013 01:02 AM PDT

สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. กังวล กรณี ตัดสกู๊ปข่าวกลางอากาศ ช่อง 5 กระทบสิทธินักข่าวลดทอนแนวทางการกำกับดูแลกันเองของวิชาชีพสื่อตามแนวทาง กสทช.เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องและสภาวิชาชีพข่าวฯ หาข้อเท็จจริงพร้อมสรุปบทเรียนให้สังคม

สืบเนื่องจากกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ปล่อยโฆษณาแทรกคั่น ในรายการฮาร์ดคอร์ข่าว ขณะกำลังนำเสนอสกู๊ปข่าวโครงการการจัดการน้ำของรัฐบาลกับบริษัท เค วอเตอร์ เมื่อวันพุธที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา

ล่าสุด (30มิ.ย.56) สุภิญญา กลางณรงค์  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า แม้ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ได้ออกมายอมรับการตัดสินใจใช้ดุลยพินิจเซ็นเซอร์ตัวเองในการออกอากาศข่าวนี้แล้ว เพราะเกรงว่าข้อมูลไม่ครบรอบด้าน ในขณะที่บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทผู้ผลิตร่วม ได้ออกแถลงการณ์ว่าเป็นดุลยพินิจของสถานี พร้อมทั้งยืนยันหลักสำคัญในการนำเสนอข่าวในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดีและยึดหลักในการทำงานในวิชาชีพมาอย่างสม่ำเสมอ แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ควรมีการฟังความเห็นของนักข่าว หรือกองบรรณาธิการที่เกี่ยวข้องถึงการนำเสนอข่าวนี้ ได้มีโอกาสออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะเกรงว่าอาจกระทบต่อศักดิ์ศรีของนักข่าว คนทำข่าว หรือกองบรรณาธิการข่าวที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริง

สุภิญญา กล่าววว่า กรณีการเซ็นเซอร์ตัวเองในรายการนำเสนอข่าวสารถือเป็นการส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารข้อมูลของประชาชน ตามบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

สุภิญญา กล่าวต่อว่า แม้การเซ็นเซอร์ตัวเองจะไม่ได้เป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่อาจส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการกำกับดูแลกันเองของผู้ประกอบกิจการวิชาชีพในกิจการโทรทัศน์ ว่าได้ใช้เหตุผลที่เพียงพอต่อการกำกับตัวเองตามจรรยาบรรณหรือไม่ และในฐานะประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมกำกับดูแลกันเองจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในคณะอนุกรรมการเพื่อที่จะเชิญตัวแทนสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 รวมทั้งบริษัทผู้ร่วมผลิตและสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มาร่วมพูดคุยเพื่อหาข้อมูลข้อเท็จจริง สรุปบทเรียนต่อสังคมและพัฒนาต่อแนวทางการกำกับดูแลกันเองของกิจการนี้ต่อไป ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ช่องดังกล่าวที่กำลังจะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ประเภทสาธารณะ (โดยไม่ต้องผ่านการบิวตี้คอนเทสต์) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสาร ตลอดจนการสร้างความน่าเชื่อและความเชื่อมั่นในสังคมต่อไปด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสทช.ลงใต้เล็งแจกคูปองลดราคาตัวแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล–แฉกลโกงมือถือดูดเงิน

Posted: 30 Jun 2013 12:09 AM PDT

สองคณะกรรมการ กสทช. ลงชายแดนใต้เปิดวงคุยพบประชาสังคมชายแดนใต้ เผยแจงชาวบ้านอย่าเชื่อคำโฆษณา ทีวีดิจิตอลยังใช้ไม่ได้ แม้แต่ในกรุงเทพเพราะยังไม่ติดตั้งเสาสัญญาณ เล็งแจกคูปองลดราคาตัวแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล ใช้กับทีวีรุ่นเก่า แฉกลโกงสารพัดวิธีการบริษัทมือถือดูดเงิน

 
 
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ จัดเสวนา "2 องค์กร กสทช. ด้านสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภคพบเครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้" ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี โดยมีนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาร่วมเสวนา
 
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า ทีวีดิจิตอลที่กำลังจะมาแทนทีวีระบบอนาล็อกในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีการประกาศใช้เนื่องจากยังไม่มีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ทั้งที่มีนโยบายที่จะติดตั้งเสารับส่งสัญญาณในกรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปยังหัวเมืองต่างๆ และพื้นที่อื่นๆ แต่ปัจจุบันแม้แต่ในกรุงเทพมหานคร ก็ยังไม่มีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ จึงต้องรออีกซักระยะกว่าสัญญาณระบบดิจิตอลจะสามารถส่งไปทั่วพื้นที่ทั่วประเทศ จึงไม่อยากให้รีบร้อนซื้อโทรทัศน์ที่รองรับระบบดิจิตอล
 
นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า ใครมีโทรทัศน์เครื่องเก่าก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องใหม่ เนื่องจากยังสามารถใช้งานได้ เพียงแต่ต้องติดตั้งกล่องรับสัญญาณเพื่อแปลงรหัสให้เป็นดิจิตอล ซึ่งกล่องรับสัญญาณดังกล่าวทาง กสทช. มีนโยบายจะแจกคูปองลดราคาให้ประชาชนทุกครัวเรือน เพื่อให้สามารถซื้อกล่องรับสัญญาณดังกล่าวในราคาที่ถูกลง ซึ่งราคายังไม่ชัดเจน แต่น่าจะประมาณ 1,000 กว่าบาท
 
นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาของร้านค้าที่เริ่มมีจำหน่ายโทรทัศน์ที่รองรับระบบดิจิตอลในท้องตลาดแล้ว ถึงแม้จะซื้อโทรทัศน์ที่รองรับระบบดิจิตอลได้ แต่ก็ยังใช้งานไม่ได้อยู่ดี เนื่องจากทาง กสทช. ยังไม่ได้ประกาศจะปล่อยสัญญาณดิจิตอลออกมาใช้ในขณะนี้ 
 
"กสทช.จะเริ่มทยอยปล่อยสัญญาณเป็นโซนๆ ก่อน เริ่มจากกรุงเทพฯและตามหัวเมืองต่างๆ ซึ่งจะมีการประกาศยืนยันว่า พื้นที่ใดสามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้แล้วบ้าง และทาง กสทช. ระบุไว้ว่าสัญญาณต้องเข้าถึงพื้นที่ 50% ของประเทศภายในหนึ่งปี แล้วจะขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ อีก 80% และ 100% ตามลำดับในเวลาต่อมา" นางสาวสุภิญญา กล่าว
 
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กล่าวถึงสิทธิของผู้บริโภคว่า คนไทยที่ใช้บริการโทรศัพท์ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบติดตั้งตามบ้าน ถูกผู้ประกอบการโกงค่าบริการเกินจริงมาตลอด เป็นปัญหาที่ผลักภาระให้ผู้บริโภคต้องดิ้นรนเรียกร้องสิทธิทวงถามความเป็นธรรมเองมาตลอด และประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าถูกผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทผลิตเครื่องโทรศัพท์และผู้จ่ายคลื่นความถี่โทรศัพท์ปิดบังข้อมูลสิทธิของผู้ใช้บริการ
 
นายประวิทย์ กล่าวว่า ตัวอย่างปัญหาที่ผู้ใช้บริการมักจะถูกลิดรอนสิทธิ เช่น การที่แม่ข่ายสัญญาณโทรศัพท์ไม่คืนเงินที่เหลือค้างในระบบ หลังจากถูกระงับบริการไป ซึ่งเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะสามารถเรียกร้องคืนเงินที่เหลือค้างอยู่ในระบบนั้นได้ แต่ผู้ประกอบการจะไม่แจ้งสิทธิใดๆให้ผู้บริโภคทราบ 
 
อีกปัญหาคือ ถูกตัดค่าบริการ ข้อความสั้นหรือ SMS ทั้งๆที่ไม่เคยสมัครเพื่อใช้บริการมาก่อน ซึ่งบางข้อความจะถูกส่งมาเป็นไวรัสติดตั้งตัวเองอัตโนมัติ แล้วดูดข้อมูลจากเครื่องโทรศัพท์ไปรวมถึงพาสเวิร์ดต่างๆที่ค้างในระบบโทรศัพท์ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกแฮคข้อมูล หลายรายถูกขโมยรหัสบัญชีธนาคารออนไลน์ไป
 
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า มีหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย บางครั้งถูกตัดเงินในระบบ ทั้งๆที่ไม่รู้ตัว และมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ทราบว่าจะทวงสิทธิตัวเองจากผู้ประกอบการอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่หลอกลวงผู้บริโภค และละเมิดสิทธิ ทั้งนี้ ต้องหวังให้ประชาชนรู้เท่าทันเทคโนโลยี และอย่าปล่อยให้ปัญหาที่ประสบกับตัวเองผ่านเลยไป ต้องเผยแพร่เพื่อเตือนประชาชนรายอื่นๆที่อาจจะประสบเหตุการณ์เดียวกัน
 
นายประวิทย์ กล่าวว่า ทาง กสทช. ได้ฝากให้ประชาชนติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริการโทรคมนาคมจากเว็บไซต์ www.tcp.nbtc.go.th หรือจะสอบถามข้อสงสัยต่างๆได้ที่ เบอร์ 1200 ย้ำว่า ทางตนต้องการข้อเสนอแนะจากสังคม เพื่อร่วมผลักดันเปลี่ยนแปลงนโยบายบางข้อที่อาจจะยังเอื้อต่อผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนไม่เต็มที่ ทั้งนี้ ต้องเป็นความร่วมมือกันระหว่างประชาชน ประชาสังคมและคณะกรรมการใน กสทช. เอง มาร่วมแก้ไข
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เผยผลสำเร็จลดคิวผ่าตัดตาต้อกระจก จากข้ามปีเหลือไม่เกิน 3 เดือน

Posted: 29 Jun 2013 11:55 PM PDT

 

สปสช.เผยผลสำเร็จลดคิวผ่าตัดตาต้อกระจก จากเคยรอคิวข้ามปี เหลือไม่เกิน 3 เดือน แจง สปสช.ร่วมมือกับ สธ.ใช้แนวทางจัดการโรคเฉพาะเพื่อลดการรอคิวผู้ป่วยโรคตาต้อกระจก ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่กว่า 60,000 ราย และมีผู้ป่วยสะสมกว่า 1 แสนราย 

 
30 มิ.ย. 56 - นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เพื่อให้ผู้ป่วยบางกลุ่มโรคได้เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วนั้น สปสช.ได้ใช้วิธีการบริหารจัดการโรคเฉพาะ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับการบริการให้มีคุณภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชน โดยเฉพาะโรคหรือบริการที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงมากและต้องได้รับบริการต่อเนื่อง รวมถึงโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากเนื่องจากรอคิวนาน อาทิ โรคตาต้อกระจก ซึ่งแต่ละปีมีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคตาต้อกระจกรายใหม่ 60,000 คน ขณะที่มีผู้ป่วยสะสมรอรับการผ่าตัดกว่า 100,000 คน ซึ่งหากยังปล่อยให้สภาวะดำเนินไปเช่นนี้ จะส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยสะสมทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้สูงอายุและครอบครัว สปสช.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขใช้แนวทางการบริหารจัดการโรคเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
 
ทั้งนี้ สปสช.ได้สนับสนุนการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยต้อกระจกอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งในส่วนของการให้บริการรักษาที่รพ.และการรักษาโดยหน่วยผ่าตัดต้อกระจกในโครงการผ่าตัดต้อกระจกเชิงรุก มีการกำหนดแนวทางการชดเชยที่เหมาะสม ชัดเจนแก่โรงพยาบาลที่ให้บริการรักษา ซึ่งเป็นการใช้การบริหารจัดการร่วมกับกลไกทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้โรงพยาบาลในการผ่าตัดตาต้อกระจกให้ผู้ป่วย เป็นการสร้างแรงจูงใจ ทำให้ผู้ป่วยโรคตาต้อกระจกในประเทศไทยเข้าถึงบริการมากขึ้น ลดการรอคิว ลดจำนวนผู้ป่วยสะสม และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย ผลการดำเนินงาน มีผู้ได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 100,000 ราย โดยล่าสุดในปี 2555 มีผู้ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกและการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม 141,574 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 142 จากเป้าหมาย 100,000 ครั้ง
 
นายแพทย์วินัย กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล กรณี "ไม่ต้องรอรักษานาน" ในโรคต้อกระจก ที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ สามารถได้รับการผ่าตัดภายใน 90 วัน ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 87 ได้รับการผ่าตัดภายใน 90 วัน ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และที่เหลือร้อยละ 13 ได้รับการผ่าตัดภายใน 38 วัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดต่างๆ สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการผ่าตัดได้บรรลุตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ ลดการรอคิวจากเดิม 6 เดือน-1 ปี เป็นไม่เกิน 3 เดือน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาพบรรยากาศหาเสียงวันแรกเลือกตั้งกัมพูชา 2013

Posted: 29 Jun 2013 10:46 PM PDT

วันที่ 28 ก.ค.ที่จะถึงนี้ หรืออีกราว 1 เดือนจากนี้ไป จะเป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปของประเทศกัมพูชา การรณรงค์หาเสียงวันแรกซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ตั้งแต่ตอนสายของวันที่ 27 มิ.ย.ในเมืองพนมเปญเป็นไปอย่างคึกคักตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะพรรคประชาชนกัมพูชา หรือ Cambodian People's Party (CPP) ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซน จัดขบวนรถติดลำโพงและขบวนพาเหรดสวมเสื้อขาวที่มีภาพแกนนำพรรค พร้อมถือป้าย ธงชาติ และธงที่มีสัญลักษณ์ของพรรคเคลื่อนไปตามถนนสายต่างๆ ในพนมเปญ

ตาม 4 แยกมีการตั้งเต็นท์พร้อมประกาศเชิญชวนให้ประชาชนเลือกพรรค CPP ส่วนการหาเสียงของพรรคการเมืองขนาดเล็กและพรรคฝ่ายค้านค่อนข้างเงียบเหงา จะมีป้ายหาเสียงขนาดเล็กของพรรคฝ่ายค้านติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าให้เห็นอยู่บ้างแบบบางตา และนานๆ ครั้งจะมีรถยนต์ติดลำโพงที่ไม่ใช่พรรครัฐบาลวิ่งไปบนถนนในพนมเปญ

ขณะเดียวกัน ในวันที่ 29 มิ.ย.56 กระทรวงข้อมูลข่าวสารของกัมพูชาประกาศห้ามการออกอากาศรายการของสถานีวิทยุต่างประเทศที่ถ่ายทอดเสียงเป็นภาษาแขมร์ จนถึงวันที่ 28 ก.ค.ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งทั่วไป หนึ่งในจำนวนที่ถูกห้าม คือ สถานีวิทยุเสียงอเมริกา หรือ Voice of America (VOA) ซึ่งภายหลังการวิจารณ์อย่างหนักจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารของกัมพูชาจึงยอมให้สถานีวิทยุต่างประเทศสามารถออกอากาศได้ตามเดิม


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมบัติ บุญงามอนงค์

Posted: 29 Jun 2013 09:51 PM PDT

"..ประเทศชาติไม่ได้ล่มสลายเพราะมีคนใส่หน้ากากแล้วออกมายืนในที่สาธารณะหรอก แต่จะล่มสลายเพราะคนในสังคมไม่ยอมให้มีพื้นที่แตกต่างกันทางความคิดแล้วใช้กำลังเข้าเผชิญหน้ากัน"

30 มิ.ย.56, โพสต์สถานะบนเฟซบุ๊ก

สนนท.จี้ สภา-รบ.แก้ รธน. เร่งด่วน วอน ตลก. ฝ่ายค้าน อำนาจนอกระบบหยุดขวาง

Posted: 29 Jun 2013 09:21 PM PDT

28 มิ.ย.56 เวลาประมาณ 10.00 น. ตัวแทนสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) นำโดยนายสุพัฒน์ อาษาศรี เลขาธิการ สนนท. เดินทางเข้ายืนจดหมายถึงประธานรัฐสภาเพื่อเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายค้าน องค์กรอิสระและอำนาจนอกระบบทุกรูปแบบหยุดขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ที่เป็นผลผลิตจากรัฐประหาร 19 ก.ย.49 โดยระหว่างรอยื่นจดหมาย สนนท. มีการแสดงละครล้อเลียนกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์จากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ก่อนที่ตัวประธานรัฐสภาออกมารับจดหมายพร้อมรับปากจะส่งต่อไปยังประธานรัฐสภา เพื่อพิจารณาต่อไป

เลขาธิการ สนนท. มองว่า ผลผลิตจากการรัฐประหารไม่ได้มีแค่รัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงองค์กรอิสระต่างๆและ สมาชิกวุฒิสภาสายสรรหา ที่ผู้สนับสนุนการรัฐประหารไปดำรงตำแหน่งอยู่ เป็นที่ชัดเจนว่าแม้คณะรัฐประหารจะยุบตัวลงไป แต่ขุมอำนาจในการทำลายล้างรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนยังคงอยู่และพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งต้องออกจากตำแหน่งหรือทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองเพื่อจะได้ให้เกิดนายกแต่งตั้ง ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย

นายสุพัฒน์ กล่าวถึงปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยว่า ฝ่ายบริหารซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนและเป็นที่พึ่งเพื่อให้การผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้ตอบสนองความต้องการนั้น เพียงแต่ยังคงรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลให้อยู่ยาวนานที่สุดเท่านั้น ส่วนฝ่ายตุลาการนั้นกลับไม่ได้เป็นที่หวังพึ่งของประชาชนเพราะเป็นอำนาจเดียวที่ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารและ ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยทำงานกันเป็นเครือข่ายตั้งแต่ ฝ่ายค้าน กลุ่มมวลชน สว.สรรหา องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ และอำนาจนอกระบบ ด้านอำนาจนิติบัญญัติถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างใด แม้ว่าจะมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งวุฒิสภาก็แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มทำให้ไม่เป็นเอกภาพในการผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยนายสุพัฒน์ เปิดเผยว่า สนนท.จะขับเคลื่อนประเด็นรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมกับสังคมไทย และต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ จึงได้จัดโครงการรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยการจัดเวทีเสวนาเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยครั้งที่ 1 ในวันที่ 4 ก.ค.นี้ ณ ห้องสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และจะเดินหน้าผลักดันการจัดเวทีเสวนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรับฟังความเห็น แล้วรวบรวมส่งสภาและรัฐบาลต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

“คนหลากหลายทางเพศไม่ได้ป่วย...ไม่ต้องบำบัดรักษา”

Posted: 29 Jun 2013 08:15 AM PDT

เนื่องจากเดือนมิถุนายนนี้ เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ อันนี้มีต้นกำเนิด จากการลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของชาว LGBTIQ ที่บาร์เกย์ ชื่อสโตนวอลล์ ในนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 หรือ 44 ปี ก่อน

เครือข่ายหลากหลายทางเพศแห่งประเทศไทย จึงถือเป็นโอกาสอันนี้ที่จะใช้เดือนนี้และวันนี้เพื่อรณรงค์ยุติอคติต่อบุคคลหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะในแง่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต/จิตวิทยา "ฉันไม่ป่วย" ที่ตอกย้ำ ผลิตซ้ำมาตลอดว่าคนเหล่านี้เป็นโรคจิต หรือไม่ก็มีความวิปริตทางเพศ เบี่ยงเบนทางเพศเป็นต้น ซึ่งมันได้นำไปสู่ปัญหาในการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าว

***************************************************

 

จดหมายเปิดผนึก

 

29 มิถุนายน 2556

 

เรียน                          ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง TCIJ

เรื่อง              การนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม

 

สืบเนื่องมาจากการนำเสนอข่าว "เปิดคอร์สแก้ไข'เบี่ยงเบนทางเพศ'ฯ"  บนเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดย คุณปาลิดา พุทธประเสริฐ นั้น เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายทางเพศและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ใคร่ขอแสดงความคิดเห็นและชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และไม่ผลิตซ้ำอคติต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

 

ควรใช้ภาษาที่ไม่ทำให้รู้สึกในด้านลบต่อกลุ่มที่กล่าวถึงในการสื่อข่าว

ในข่าวได้กล่าวถึงโรงเรียนติวเตอร์เอกชนที่เปิดกิจกรรมเพื่อ "แก้ไขพฤติกรรม" ซึ่งในข่าวเรียกว่า "เบี่ยงเบนทางเพศ" ทางเครือข่ายฯ เห็นว่าเป็นการใช้คำที่แสดงถึงอคติต่อความหลากหลายทางเพศ และเป็นคำที่ผู้สื่อข่าวอาจใช้ในการอ้างอิงคำพูดของผู้ให้สัมภาษณ์ได้ แต่ไม่ควรใช้ในการรายงานข่าวโดยทั่วไป เพราะตามที่แพทย์ที่ให้สัมภาษณ์ในข่าวได้ระบุไว้แล้ว การรักเพศเดียวกันมิได้จัดว่าเป็นความผิดปกติ ดังนั้น การใช้คำว่า "ความเบี่ยงเบน" ก็ย่อมถือว่าเป็นอคติ ซึ่งผู้รายงานข่าวไม่ควรส่งเสริมหรือผลิตซ้ำ ไม่ต่างจากอคติและการเหยียดหยามในประเด็นอื่นๆ เช่น ศาสนา สีผิว หรือเชื้อชาติเป็นต้น ทางเครือข่ายความหลากหลายทางเพศขอแนะนำให้ใช้คำที่เป็นกลางและแสดงถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มบุคคลที่กล่าวถึง เช่น "คนรักเพศเดียวกัน" ในกรณีชายรักชายหรือหญิงรักหญิง หรือ  "คนข้ามเพศ" ในกรณีบุคคลที่มักเรียกกันว่ากะเทยหรือสาวประเภทสอง หรือในการกล่าวถึงปรากฏการณ์โดยรวม ก็สามารถใช้คำว่า "ความหลากหลายทางเพศ" ได้ หรือในอีกทาง ก็สามารถใช้คำย่อที่มาจากภาษาอังกฤษว่า LGBTIQ ซึ่งย่อมาจากคำเรียกกลุ่มอัตตลักษณ์ต่างๆ (lesbian, gay, bisexual, transgender, intersex และ queer หรือ questioning) ภายใต้ความหมายของคำว่า "ความหลากหลายทางเพศ"

 

สัดส่วนประชากร LGBTIQ มีมากกว่าที่คิด

แหล่งข้อมูลที่สัมภาษณ์ไว้ในข่าวตอบว่าขนาดประชากรที่เกี่ยวข้องกับตัวประเด็นมีประมาณ 1 ต่อ 30,000 คน ซึ่งในข่าวก็วิจารณ์ไว้ว่าไม่น่าจะตรงกับสถานการณ์ที่แท้จริง

เนื่องจากในสังคมยังมีอคติต่อชาว LGBTIQ อยู่ งานวิจัยเกี่ยวกับขนาดของจำนวนประชากรกลุ่มนี้จึงเผชิญความท้าทายทางวิธีวิทยาที่ว่า เมื่อถูกถามแล้ว หลายๆ คนจึงอาจไม่กล้าเปิดเผยต่อนักวิจัยหรือนักสำรวจแปลกหน้าว่าตนรักเพศเดียวกันหรือเป็นคนข้ามเพศ ขนาดจำนวนประชากรที่พบในงานวิจัยจึงน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริง แต่จากการสำรวจเยาวชนในภาคเหนือของประเทศไทยที่ใช้วิธีตอบข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่ามีความเป็นส่วนตัวในการตอบ พบว่าเยาวชนไทยเกินร้อยละ 10 ระบุว่าเป็นคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ หรือยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับความชอบทางเพศของตนเอง[1]

 

ความพยายามที่จะเปลี่ยนความชอบทางเพศของบุคคลไม่ได้ผลและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิต

ในส่วนของตัวประเด็นที่สื่อไว้ในข่าว ทางเครือข่ายฯ ขอชี้แจงข้อมูลที่ขาดจากตัวข่าวไป กล่าวคือ "การบำบัด" คนรักเพศเดียวกันเพื่อให้เปลี่ยนใจมาชอบคนต่างเพศ นั้นปรากฏในสังคมตะวันตกมายาวนาน และส่วนใหญ่เกิดจากอคติทางศาสนาต่อคนรักเพศเดียวกัน แต่จากที่องค์กรวิชาชีพชั้นนำ เช่น สามาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ได้ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ พบว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ที่น่าเชื่อถือว่าการบำบัดดังกล่าวจะได้ผล แต่มีหลักฐานอยู่บ้างว่าอาจมีผลเสียต่อสภาพจิตใจของผู้ถูก "บำบัด"[2] ดังนั้น องค์กรเหล่านี้จึงไม่สนับสนุนการบำบัดดังกล่าว

รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมายห้ามการบำบัดผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในลักษณะดังกล่าว[3] เนื่องจากเห็นว่าอาจเกิดผลเสียต่อผู้ถูกบำบัด เพราะฉะนั้น ทางเครือข่ายความหลากหลายทางเพศจึงรู้สึกแปลกใจที่ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิตที่สัมภาษณ์ไว้ในข่าวละเลยที่พิจารณาข้อมูลส่วนนี้ ในเมื่อหน้าที่ของกรมสุขภาพจิตคือการส่งเสริมสุขภาพจิต ไม่ใช่การสนับสนุนวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตของประชาชน

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเข้าใจไม่ยาก เพราะในการบำบัดดังกล่าวมีความพยายามที่จะโน้มน้าวผู้ถูกบำบัดให้เชื่อว่าความชอบทางเพศหรือตัวตนทางเพศของตัวเองเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่สมควร และควรปรับเปลี่ยน แต่เมื่อการบำบัดไม่สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวได้ ผู้ถูกบำบัดจะโทษตนเองและรู้สึกว่าตนเองล้มเลว ซึ่งย่อมมีผลเสียต่อการเคารพนับถือตัวเองของผู้ถูกบำบัด

 

สังคมที่น่าอยู่เกิดจากการยอมรับและเคารพความแตกต่าง

ทางเครือข่ายฯ เข้าใจว่าในสังคมไทยยังมีอคติหลายแบบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอคติทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบัน มาตรา 30 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยระบุว่าการเลือกปฏิบัติบนฐานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระทำมิได้ ดังที่เขียนไว้ในบันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญคือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 ห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุแห่งเพศ โดยคำว่า "เพศ" นั้นในเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญได้ให้คำอธิบายไว้ว่า "ความแตกต่างเรื่อง "เพศ" นอกจากหมายถึงความแตกต่างระหว่างชายหรือหญิงแล้ว ยังหมายรวมถึงความแตกต่างของบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity) หรือเพศสภาพ (Gender) หรือความหลากหลายทางเพศ (Sexual Diversity) แตกต่างจากเพศที่ผู้นั้นถือกำเนิดอยู่ด้วย จึงไม่ได้บัญญัติคำดังกล่าวข้างต้นไว้ในมาตรา 30 เนื่องจากคำว่า "เพศ" ได้หมายความรวมถึงคำดังกล่าวอยู่แล้ว และจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ"[4]

เมื่อคนในสังคมถูกหมิ่นศักดิศรีในเรื่องสีผิว คำตอบไม่ใช่การกดดันให้คนที่ถูกเหยียดหยามให้พยายามเปลี่ยนสีผิว หรือเมื่อคนคนหนึ่งถูกเหยียดหยามในเรื่องศาสนา คำตอบไม่ใช่การกดดันให้คนนั้นเปลี่ยนศาสนา และในลักษณะเดียวกัน เมื่อคนคนหนึ่งไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องความหลากหลายทางเพศ คำตอบก็ย่อมไม่ใช่การกดดันให้คนนั้นพยายามเปลี่ยนความชอบหรือตัวตนทางเพศ แต่คำตอบคือการยอมรับและเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา เพื่อนำเสนอข้อมูลในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นธรรมต่อประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยต่อไป

 

ขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายความหลากหลายทางเพศแห่งประเทศไทย

 

หมายเหตุ : สามารถติดต่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่

คุณ Timo Ojanen นักวิจัย ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 089-022-7597

คุณ ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ โทร. 085-041-8477

คุณอัญชนา สุวรรณานนท์ โครงการจัดตั้งมูลนิธิอัญจารี โทร.086-994-9525

 




[1] Tangmunkongvorakul, A., Banwell, C., Carmichael, G., Utomo, I. D. & Sleigh, A. (2010). Sexual identities and lifestyles among non-heterosexual urban Chiang Mai youth: Implications for health. Culture, Health & Sexuality, 12, 827 — 841.

[2] APA Task Force on Appropriate Therapeutic Responses to Sexual Orientation (2009). Report of the Task Force on Appropriate Therapeutic Responses to Sexual Orientation. Washington, DC: American Psychological Association.

[3] Slosson, M. (2012, September 30). California bans gay "conversion" therapy for minors. Retrieved from http://www.reuters.com/article/2012/09/30/us-california-gaytherapy-idUSBRE88T0DR20120930

[4] คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ. 2550.เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ดาวน์โหลดจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_cons50/cons50-intention.pdf

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุวินัย ภรณวลัย

Posted: 29 Jun 2013 07:51 AM PDT

"ผมสลดใจกับพฤติกรรมของปุถุชนที่ครั้งหนึ่งเคยแห่แหนบูชา"อริยบุคคล"ที่อ้างตนว่าเป็นชาติสุดท้าย พอต่อมาก็มาเหยียบย่ำ ถ่มน้ำลายบุคคลผู้นั้น เพียงเพราะสื่อชี้นำและเปิดโปงว่าเขาไม่ใช่อริยบุคคล ปุถุชนผู้ต่ำต้อยเหล่านี้ต่างหากคือผู้ที่สร้าง "บุคคลศักดิ์สิทธิ์" ขึ้นมาเป็นรูปเคารพบูชาเพียงเพื่อเป็นข้ออ้างให้กับความต่ำต้อยในความเป็นปุถุชนของตนเอง พวกเขาเคารพบูชา "บุคคลที่รู้แจ้ง" เพียงเพื่อหลีกหนีหรือปฏิเสธที่จะรู้แจ้งด้วยความเจ้าเล่ห์ของอัตตาของพวกเขาเท่านั้น นี่คืออีกด้านหนึ่งที่สังคมนี้มองข้ามไปในกรณีของหลวงปู่เณรคำ และจะว่าไปแล้วนี่คือต้นตอที่สร้างคนลวงโลกอย่างหลวงปู่เณรคำขึ้นมา"

28 มิ.ย.56, โพสต์สถานะในเฟซบุ๊ก 'Suvinai Pornavalai'

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล: จากทรงนักเรียน ถึงข้อเสนอยกเลิกความเป็นไทย

Posted: 29 Jun 2013 06:23 AM PDT

สนทนากับ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และบรรณาธิการนิตยสารปาจารยสาร

หลังจากก่อนหน้านี้ "สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย" ได้รณรงค์ให้มีการยกเลิกทรงนักเรียน และต่อมากระทรวงศึกษาธิการยอมปรนด้วยการออกระเบียบกฎกระทรวงฉบับใหม่ และมีหนังสือสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัดให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรง และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ ทันทีที่เปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556 แต่ล่าสุด เนติวิทย์บอกว่า ได้รับการร้องเรียนว่ายังพบโรงเรียนหลายร้อยแห่งที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1], [2])

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวด้วยว่าทางสมาพันธ์นักเรียนไทยฯ จะเรียกร้องให้มีการยกเลิกทรงนักเรียนต่อไป รวมถึงข้อเสนอให้เรื่องการยกเลิกความเป็นไทยด้วย

"เรื่องทรงผมไม่ใช่ว่าได้รองทรงแล้วจะจบ เราจะเรียกร้องไปถึงที่สุดเลยครับ คือจำเป็นเลยที่จะต้องยกเลิกกฎระเบียบเรื่องทรงผม เพราะว่าผมเชื่อเลยครับถ้าสมัยก่อนเขาให้รองทรง นักเรียนก็ต้องต่อสู้อยู่ดี ก็ต้องเรียกร้องสิ่งที่มากกว่า ไม่มีใครหรอกครับที่จะต้องการโดนจำกัดเสรีภาพ และเสรีภาพที่ทางกระทรวง (ศึกษาธิการ) ให้ เป็นเสรีภาพจอมปลอมเท่านั้นเอง ทำให้เราหลงเชื่อว่าเรามีอิสรภาพ มีเสรีภาพแล้ว เสรีภาพที่แท้จริง ต้องไม่ควบคุมกันครับ นี่เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องไปให้ถึงที่สุด"

"และเราจะเรียกร้องเกี่ยวกับ อาจจะเรื่องความเป็นไทยด้วย เพราะเรารู้สึกแย่กับความเป็นไทยเต็มที่แล้ว เพราะเวลาสู้เรื่องทรงผม ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาชอบอ้างเรื่องความเป็นไทย ดังนั้นทางสมาพันธ์ฯ ซึ่งเป็นนักเรียน เป็นเยาวชน ต้องการปลุกมโนธรรมของนักเรียน และครู อาจารย์ให้รู้ว่าความเป็นไทยมันไม่มีอยู่จริง นอกจากอุปโลกน์ขึ้นมา เราจะต่อสู้เรื่องวาทกรรมพวกนี้ด้วย และจะต่อสู้เรื่องโรงเรียนเล็กๆ โรงเรียนน้อยๆ ต่างๆ รวมถึงจะเอาเรื่องการศึกษาทางเลือกมาพิจารณา แล้วก็คุยเรื่องประเด็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการว่าจะเป็นอย่างไร" เนติวิทย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กล่าวตอนหนึ่งในการให้สัมภาษณ์

นอกจากนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ทางสมาพันธ์นักเรียนไทยฯ จะจัดเสวนาเปิดครั้งที่ 1 "ทิศทางนักเรียนไทยในอนาคต" ด้วย ที่ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเขากล่าวว่าจะเป็นการเปิดตัวกลุ่มครั้งแรก จะมีการพูดเรื่องทรงผม เครื่องแบบนักเรียน รวมถึงทิศทางของนักเรียนไทยในอนาคต โดยจะเป็นการคุยกันให้แตกฉาน นอกจากนี้ทางกลุ่มก็จะเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนกลุ่มนักเรียนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในโรงเรียนแห่งต่างๆ ด้วย

ในวันที่พูดคุยกับเนติวิทย์ คือวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 โดยและวันดังกล่าวเขาได้หยุดเรียน เพื่อมาฟังปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยเขาบอกว่า ได้หยุดโรงเรียนเองเช่นนี้เพื่อร่วมกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว

โดยเขาเล่าให้ฟังด้วยว่า ในปีนี้เป็นโอกาสที่ดี ที่เขาสามารถจัดงาน "สัปดาห์รำลึกอภิวัฒน์สยาม 2475" ขึ้นภายในโรงเรียนที่เขาอธิบายว่า "มีสภาพที่อนุรักษ์นิยมอย่างเต็มที่" อย่างไรก็ตามในหมู่เพื่อนนักเรียนยังไม่ตระหนัก เพราะการเรียนที่มุ่งไปเพื่อสอบนั้น นักเรียนส่วนมากต้องสอบอย่างเดียว ยิ่งอยู่ชั้น ม.5 จึงขึ้น ม.6 แล้ว ตอนนี้ยิ่งต้องเตรียม ว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยอะไรดี จะตามฝันอย่างไรดี เขาไม่มีเวลามาสนใจเรื่องแบบนี้

เขากล่าวด้วว่าเห็นด้วยกับประกาศของคณะราษฎรอย่างเต็มที่ "โดยส่วนของหลัก 6 ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสมอภาค เสรีภาพ เรื่องเอกราช ความปลอดภัย การศึกษา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในสังคมไทย ตอนนี้สิ่งเหล่านี้ไม่มีอย่างเต็มที่ เรื่องการศึกษาก็ดี ราษฎรก็ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทุกคน และการศึกษาก็ห่วยแตก การศึกษาซึ่งคณะราษฎรต้องการปลูกฝังให้เราเป็นพลเมือง แต่ตอนนี้เราไม่ได้เป็นพลเมือง ตอนนี้เราอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่สามารถคิดได้อย่างอิสระ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

The Economist วิเคราะห์กระแสการตื่นตัวของชนชั้นกลางในการประท้วงทั่วโลก

Posted: 29 Jun 2013 04:41 AM PDT

ดิ อิโคโนมิสต์ ชี้ กระแสตื่นตัวในหมู่ชนชั้นกลางและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เอื้อต่อการกระจายข้อมูล ทำให้เกิดการทำตามกันอย่างเรื่องหน้ากาก V และเหตุการณ์ประท้วงหลายแห่งทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาทั้งในบราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย ฯลฯ 

29 มิ.ย. 2013 -  เว็บไซต์ The Economist นำเสนอบทความชื่อ "The march of protest" เกี่ยวกับกระแสการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บางแห่งมีการใช้หน้ากาก กาย ฟอว์กส์ จากตัวละคร V ในการ์ตูนยุค 1980 ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้นิรนาม" (Anonymous)

โดยการประท้วงในแต่ละที่มีที่มาต่างกัน เช่น ในบราซิลเริ่มต้นมาจากการประท้วงต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง, ในตุรกีเริ่มจะการประท้วงโครงการก่อสร้างที่มีการรื้อถอนสวนสาธารณะ, อินโดนีเซียมีการประท้วงการขึ้นราคาเชื้อเพลิง, ในบัลแกเรียเป็นการประท้วงการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกเดียวกันในรัฐบาล ส่วนในเขตประเทศยุโรปก็มีการประท้วงต่อต้านนโยบายจำกัดงบประมาณ (austerity) ขณะที่ปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" ในตอนนี้ก็กลายเป็นการประท้วงโดยถาวรในแทบทุกเรื่อง ผู้ประท้วงแต่ละกลุ่มต่างก็มีความไม่พอใจในแบบของตัวเอง

แต่กระนั้นในบทความกล่าวว่า ผู้คนก็ยังคงมีลักษณะของการเรียกร้องร่วมกัน ผู้ชุมนุมก็มีลักษณะคล้ายกัน แบบการประท้วงที่เคยเกิดขึ้นในปี 1848, 1968 และ 1989 แม้ว่าการประท้วงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาจะเกิดการรวมตัวอย่างรวดเร็ว ในยุคนี้มีความตื่นตัวของประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ และผู้ชุมนุมก็มักจะเป็นกลุ่มชนชั้นกลางธรรมดาๆ ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ที่มีข้อเรียกร้องเรียงกันเป็นรายการ พวกเขามีทั้งความสนุกสนานและความโกรธในการกล่าวประณามการทุจริต, ความไร้ประสิทธิภาพ และความจองหองของผู้บริหารประเทศ

ไม่มีใครรู้ว่าปรากฏการณ์ในปี 2013 จะเปลี่ยนโลกไปอย่างไรหรือแม้กระทั่งจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริงหรือไม่ ในปี 1989 สหภาพโซเวียตคลอนแคลนและล่มสลาย แต่ในปี 1848 ที่มาร์กซ์ เชื่อว่าเป็นกระแสการปฏิวัติชนชั้นแรงงานครั้งแรกก็ต้องแปลกใจกับการเบ่งบานของระบบทุนนิยมในอีกหลายทศวรรษต่อมา และในปี 1968 ที่ดูเหมือนจะเป็นแนวถอนรากถอนโคนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเพศมากกว่าเรื่องการเมือง แม้ว่าในตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่าปรากฏการณ์ปี 2013 จะนำไปสู่อะไร แต่สำหรับนักการเมืองที่พยายามใช้วิธีการแบบเก่านั้น มันไม่ใช่ข่าวดีเลย


จากโลกออนไลน์มาสู่ท้องถนน

จังหวะของการประท้วงถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งจากการพัฒนาเทคโนโลยี การที่หน้ากาก V ปรากฏขึ้นทั้งในบราซิลและตุรกีเป็นเพราะว่าการประท้วงมีการจัดตั้งผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งมีทั้งการกระจายข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนให้เลียนแบบกัน และทำให้เกิดเป็นแฟชั่น คนที่มีสมาร์ทโฟนต่างก็เผยแพร่ข่าวสารแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ข่าวสารที่น่าเชื่อถือเสมอไป เมื่อตำรวจจุดไฟเผาที่พักผู้ชุมนุมในสวนสาธารณะเกซีเมื่อวันที่ 31 พ.ค. ในกรุงอิสตันบูล ข่าวเหตุการณ์นี้ก็ไปปรากฏในทวิตเตอร์ทันที หลังจากที่ชาวตุรกีพากันออกไปประท้วงบนท้องถนนเพื่อแสดงความไม่พอใจก็มีการสุมไฟใส่ข่าวว่าผู้ประท้วงเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ แม้ว่าจะมีบางเรื่องกลายเป็นเรื่องไม่จริง แต่มันก็ถูกทำให้กลายเป็นประเด็นที่นิยมพูดถึงในการชุมนุมไปแล้ว

นอกจากนี้การประท้วงยังไม่ได้มาจากการจัดตั้งโดยสหภาพฯ หรือกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา บางกรณีเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีเป้าหมายของตัวเอง เช่น กลุ่มที่ต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารในเซา เปาโล แต่เมื่อข่าวสารแพร่ออกไปเร็วมาก ทำมให้ประเด็นหลักๆ ของการประท้วงเปลี่ยนไป ซึ่งโดยตัวมันเองทำให้การประท้วงมีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย แต่ขณะเดียวกันการขาดการจัดการก็ทำให้วาระในการชุมนุมดูไม่แน่ชัด การประท้วงในบราซิลกลายสภาพเป็นการกล่าวประณามทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่การทุจริตคอร์รัปชั่นไปจนถึงบริการสาธารณะ หรือในบัลแกเรียเมื่อรัฐบาลยอมรับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมด้วยการยกเลิกการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายความมั่นคงคนใหม่ แต่มวลชนก็ไม่ฟังรัฐบาลแล้ว

บรรยากาศของนักกิจกรรมเช่นนี้อาจจะหายไปเร็วเท่ากับตอนที่มันเกิดขึ้นซึ่งเป็นชะตากรรมเดียวกับกลุ่มผู้ประท้วง Occupy ที่เคยปักหลักชุมนุมในหลายๆ เมืองของสหรัฐฯ เมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ผู้ประท้วงมีความรู้สึกไม่พอใจอย่างลึกซึ่งจากที่เคยถูกกระทำมา ในอียิปต์มีความผิดพลาดร้ายแรงเกิดขึ้นในรัฐบาลทุกระดับทำให้การประท้วงในอียิปต์กลายเป็นการต้านรัฐบาล ขณะที่ในยุโรปเป็นเรื่องของการต่อสู้กับการลดรายจ่ายด้านงบประมาณ โดยทุกครั้งที่มีการตัดงบประมาณครั้งใหม่ เช่นล่าสุดคือสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของกรีซ ก็จะทำให้เกิดการประท้วงขึ้นอีกครั้ง

ในบางครั้งเหตุการณ์ก็มาจากความรู้สึกถูกกีดกันจากทรัพยากรความมั่งคั่งรอบตัว เช่นการก่อจลาจลของกลุ่มผู้อพยพในย่านชานเมืองของสวีเดนเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา หรือเหตุการณ์จลาจลโดยกลุ่มวัยรุ่นอังกฤษในปี 2011 โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่าสวีเดนมีอัตราการว่างงานของเยาวชนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานทั่วไป กลุ่มวัยรุ่นในอังกฤษก็ได้รับการศึกษาที่แย่และมีการเปรียบเทียบสถานะ

เมื่อเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตดีขึ้นทำให้ผู้คนคาดหวังว่าคุณภาพชีวิตของตนจะได้รับการพัฒนาชึ้นด้วย ความมั่งคั่งนี้จะถูกนำไปใช้กับบริการสาธารณะและในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมเช่นในบราซิลก็จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน แต่ในตอนนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจกำลังอยู่ในอันตราย อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของบราซิลลดลงจากร้อยละ 7.5 ในปี 2010 เหลือ ร้อยละ 0,9 ในปี 2012 ในอินโดนีเซียซึ่ง GDP ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์ (ราว 150,000 บาท) ต่อหัว การขึ้นราคาเชื้อเพลิงก็ทำให้ครอบครัวคนธรรมดาทั่วไปรู้สึกสูญเสีย

ขณะเดียวกันก็มีเรื่องของความคาดหวังทางการเมืองจากกลุ่มชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมามีกลุ่มเยาวชนผู้มีการศึกษาในอินเดียมากันออกมาเดินขบวนในหลายๆ เมืองหลังเกิดเหตุข่มขืนหมู่นักศึกษาแพทย์วัย 23 ปี พวกเขาประท้วงที่รัฐไม่มีการคุ้มครองผู้หญิงที่ดีพอ ในช่วงปี 2011 ก็มีการประท้วงใหญ่กว่าเมื่อเหล่าชนชั้นกลางลุกขึ้นต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในหมู่เจ้าหน้าที่รัฐบาลทุกระดับ

The Economist เปิดเผยข้อมูลว่าประเทศตุรกีมีนักศึกษาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ตั่งแต่ปี 1995 ชนชั้นกลางหนุ่มสาวเหล่านี้รู้สึกต่อต้านแนวคิดอนุรักษ์นิยมเชิงศาสนาของนายกฯ เรเซป ตอย์ยิป เออร์โดแกน ผู้สนับสนุนการอยู่แบบครอบครัวใหญ่และมีการควบคุมแอลกอฮอล ขณะที่ประชาชน 40 ล้านคนในบราซิลที่ตะเกียกตะกายออกมาจากความยากจนในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงินภาษี พวกเขาต่างต้องการบริการสาธารณะ แต่กลับได้รับสนามกีฬาที่ราคาสูงเกินจริงมาแทน


เผด็จการต้องจ่ายแพงกว่า

เมื่อถามว่าแล้วการประท้วงในปีนี้จะจบลงอย่างไร หากตอบแบบมองโลกในแง่ร้ายก็คือประชาธิปไตยจะยากขึ้น เมื่อการพยายามแบ่งสรรคทรัพยากรให้กลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่มคงยุ่งยากขึ้นหากมีการประท้วงตามท้องถนนในอีกไม่กี่วัน นั่นหมายความว่าในเขตยุโรปจะร้อนระอุขึ้นช่วงฤดูร้อนนี้ จนถึงบัดนี้นักการเมืองในยุโรปยังสามารถหาทางบ่ายเบี่ยงได้อยู่ (เช่นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในปารีสมาจากกลุ่ม "Frigide Barjot" ซึ่งเป็นกลุ่มคาโธลิกที่ประท้วงต่อต้านการแต่งงานของเกย์) แต่ไม่ว่ารายจ่ายสาธารณะลดลงต่ำกว่า GDP ร้อยละ 5 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า การขาดเสถียรภาพทางสังคมจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในจุดๆ หนึ่งเหล่าผู้นำในยุโรปก็จะเริ่มตัดงบประมาณที่ใช้จ่ายมากเกินไปสวัสดิการสังคมและต้องเผชิญความอ่อนแอของสถาบันของยุโรป แล้วความวุ่นวายจะตามมา

แต่โชคดีที่ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เก่งในการปรับตัว เมื่อนักการเมืองยอมรับว่าประชาชนต้องการสิ่งที่ดีขึ้น และผลโหวตก็ทำให้พวกเขาพอใจ สิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนไปได้ เช่นการประท้วงการทุจริตในอินเดียก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยทันที แต่พวกเขาได้สร้างวาระร่วมกันของชาติขึ้นมา ทำให้มีคำสัญญาว่าจะมีการปฏิรูปในด้านนี้ ส่วนในบราซิล ประธานาธิบดีดิลมา รุสเซฟ ก็ต้องการให้มีการอภิปรายระดับชาติในเรื่องการปฏิรูปการเมือง เรื่องนี้ไม่ได้มาอย่างรวดเร็วหรือง่ายดาย แต่การประท้วงก็ช่วยพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศที่กำลังเติบโตขึ้นได้ แม้กระทั่งกับสหภาพยุโรปเอง

แม้ว่าบางคนในประเทศประชาธิปไตยอาจอิจฉาที่เหล่าเผด็จการมีอำนาจในการยับยั้งการชุมนุมประท้วงได้ ในจีนประสบความสำเร็จด้วยการป้องกันไม่ให้การประท้วงระดับท้องถิ่นขยายตัวเป็นการประท้วงระดับชาติ ซาอุดิอาร์เบียใช้วิธีการติดสินบนผู้ต่อต้านให้เงียบลง ในรัสเซียใช้การข่มเหงด้วยการขู่จ่ายค่าปรับและจับเข้าคุก แต่ในระยะยาวกลุ่มเผด็จการอาจต้องจ่ายด้วยราคาที่แพงกว่า การกำลังขับไล่ผู้คนออกจากท้องถนนจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอลงอย่างมาก ซึ่งเออร์โดแกนน่าจะรู้ในเรื่องนี้ และเช่นที่รัฐบาลอาหรับได้เรียนรู้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ระบอบเผด็จการไม่เหลือช่องทางให้ผู้ประท้วงได้ระบายความโกรธแค้น ผู้นำของจีน รัสเซีย และซาอุฯ ก็คงรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ กันบ้างเมื่อได้เห็นการต่อสู้ของเหล่าประเทศประชาธิปไตยในปี 2013

เรียบเรียงจาก

The march of protest, The Economist, 29-06-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้สหรัฐอเมริกาต้องไม่ไล่ล่าเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน

Posted: 29 Jun 2013 04:29 AM PDT

29 มิ.ย. 56 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกังวลว่านายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ผู้เปิดโปงความลับของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) มีความเสี่ยงที่ถูกปฎิบัติอย่างทารุณหากเขาถูกส่งตัวข้ามแดนสู่สหรัฐอเมริกา จึงเรียกร้องสหรัฐอเมริกาต้องไม่ดำเนินคดีกับใครก็ตามที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล  หลังจากกรณีนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ถูกตั้งข้อกล่าวหาภายใต้กฎหมายจารกรรม

วิดนีย์ บราวน์ (Widney Brown) ผู้อำนวยการอาวุโสด้านกฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าไม่ควรมีใครถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายใดก็ตามสำหรับการเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลสหรัฐ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวควรได้รับความคุ้มครองภายใต้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพในการแสดงออก

"เขาถูกตั้งข้อหาโดยรัฐบาลสหรัฐสำหรับการเปิดโปงรัฐบาลและการกระทำที่ผิดกฎหมายอื่น ๆ ของรัฐบาลที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน"

อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ) กำลังหนีหลังจากออกมาเปิดเผยว่ารัฐบาลสหรัฐกำลังสร้างกลไกสอดแนมขนาดมหึมาทั้งภายในประเทศและทั่วโลก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2556 สโนว์เดนถูกฟ้องร้องข้อหาขโมยทรัพย์สินรัฐบาลจากการนำรายละเอียดโครงการลับสุดยอดมาเปิดเผยผ่านสื่อ มีรายงานว่าเห็นเขาครั้งสุดท้ายในกรุงมอสโกของรัสเซีย และกำลังจะขอลี้ภัยในเอกวาดอร์

เจ้าหน้าที่สหรัฐรวมทั้งเลขานุการของนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ประณามสโนว์เดนผู้เปิดโปงโครงการสอดแนมของรัฐบาลสหรัฐว่าเป็น "คนทรยศต่อประเทศชาติ"

นอกจากการยื่นฟ้องสโนว์เดนแล้ว รัฐบาลสหรัฐยังได้เพิกถอนหนังสือเดินทางของเขา  ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพในการเดินทางและแสวงหาที่พักพิง

ตามรายงานของสื่อ สโนว์เดนมีเป้าหมายที่จะแสวงหาที่ลี้ภัยในเอกวาดอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้แจงว่าบุคคลจะต้องไม่ถูกส่งตัวข้ามแดนในขณะที่พวกเขามีการร้องขอลี้ภัยในประเทศใดๆ ก็ตาม

"ไม่ว่าสโนว์เดนจะตัดสินใจไปที่ใด เขามีสิทธิที่จะแสวงหาที่พักพิงเพื่อลี้ภัย คำขอดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อเขาแสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวที่จะถูกทำร้ายและสังหาร แต่ถึงแม้ว่าคำขอดังกล่าวจะล้มเหลว ก็จะต้องไม่มีประเทศใดที่ส่งตัวเขาข้ามแดนเพื่อกลับไปยังอีกประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงจะถูกปฎิบัติอย่างทารุณ การส่งตัวเขากลับไปยังสหรัฐอเมริกาจะทำให้เขามีความเสี่ยงอย่างมากในการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างยิ่ง" บราวน์กล่าวทิ้งทาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเผยรายจ่ายจากเงินภาษีประชาชนของเจ้าชายชาร์ลส์ลดลง 48%

Posted: 29 Jun 2013 04:16 AM PDT

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ว่า เงินกองทุนสาธารณะสำหรับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ลดลงจาก 2.2 ล้านปอนด์ เหลือ 1.2 ล้านปอนด์ หรือลดลงร้อยละ 48 ในปีงบประมาณ 2555-2556 โดยอ้างข้อมูลจากรายงานประจำปีของมกุฎราชกุมาร
 
งบที่ลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากประเทศที่พระองค์เสด็จไปเยือน โดยรายงานรายรับรายจ่ายประจำปีเปิดเผยว่ารายได้ทั้งหมดของเข้าฟ้าชายชาร์ลส์ทั้งปี เท่ากับ 20.2 ล้านปอนด์
 
ส่วนรายรับส่วนพระองค์ที่มาจากดัชชี ออฟ คอร์นวอลล์ เป็นหน่วยงานจัดการที่ดิน ทรัพย์สิน และการลงทุนทางการเงินของชาร์ลส์ เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 4 คิดเป็น 19 ล้านปอนด์ โดยบีบีซีรายงานว่า กว่าครึ่งของรายได้ของพระองค์ที่หักภาษีแล้ว ถูกใช้ไปกับภารกิจทางการและมูลนิธิการกุศลต่างๆ 
 
ในปีงบประมาณ 2554-2555 รายรับของพระองค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ก่อนจะลดลงร้อยละ 48 ในปีนี้ 
 
พระองค์ได้จัดสรรงบประมาณ 11 ล้านปอนด์ เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นทางการ และอีก 2.5 ล้านปอนด์เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จ่ายภาษีเป็นจำนวน 4.4 ล้านปอนด์ด้วยในปีนี้ 
 
รายงานระบุว่า พระองค์ทรงจ้างเจ้าหน้าที่ทั้งหมดอย่างน้อย 148 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายราว 6.3 ล้านปอนด์ต่อปี ในจำนวนนี้รวมถึงเชฟ คนรับใช้ส่วนตัว ชาวสวน และอีกเจ้าหน้าที่อีก 125 คนเพื่อทำงานในส่วนของภารกิจที่เป็นทางการและงานการกุศล 
 
"ในปี 2555-2556 เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงกระทำภารกิจเป็นจำนวน 657 ภารกิจที่เป็นทางการ ในจำนวนนี้มี 154 ภารกิจในต่างประเทศ ส่วนดัชเชส ออฟ คอร์นวอลล์ทรงกระทำภารกิจ 277 ภารกิจ ในจำนวนนี้คิดเป็นภารกิจในต่างประเทศ 122 ครั้ง" รายงานประจำปีของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ระบุ 
 
รายงานของพระราชวังบัคกิงแฮมซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เปิดเผยว่างบประมาณของรัฐบาลที่จัดสรรให้ราชวงศ์เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 1 ล้านปอนด์ เป็น 33.3 ล้านปอนด์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา
 
ส่วนงบประมาณสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เพิ่มขึ้นอีก 9 แสนปอนด์ในปีงบประมาณปีล่าสุด 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ลาสเวกัส : การบริหารจัดการการพนัน & จริยธรรม

Posted: 28 Jun 2013 09:36 PM PDT

10 กว่าปีที่สัมผัสลาสเวกัส (รัฐเนวาดา) ทำให้ผมได้เห็นอะไรต่างๆเกี่ยวกับการบริหารจัดการอบายมุขของเมืองนี้พอสมควร

จากความเชื่อภายใต้กรอบของทุน(นิยม)ของการจัดการแบบอเมริกัน ซึ่งบัดนี้ความเชื่อดังกล่าวได้กระจายออกไปทั่วโลก ในชื่อ "ทุนเสรี" ซึ่งหมายถึงการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยทุน และเมริกันทั้งเอกชนทั้งรัฐบาลพยายามทำความเชื่อนี้ให้เป็นจริงอยู่เสมอเป็นเวลาเกินกว่าศตวรรษ

หนึ่งในกิจกรรม เหล่านี้ ได้แก่  ความเชื่อในเรื่องการบริหารจัดการด้านอบายมุข ที่ผมมองว่า ลาสเวกัส คือ เมืองต้นแบบ ให้กับเมืองหลายเมืองในอเมริกา เช่น นิวออร์ลีน แอตแลนติกซิตี้  ฯลฯ และเมืองอีกหลายเมืองในโลก เช่น มาเก๊า(จีน) แคนติ้ง(มาเลเซีย) และสถานคาสิโนในประเทศเพื่อนบ้านของไทยเกือบทุกที่

อบายมุข อย่างเช่น การพนัน เหล้า และอื่นๆ ถูกนำมาแปรเปลี่ยนเป็นกิจกรรมธุรกิจภายใต้เงื่อนไขทางด้านกฎหมาย ที่สำคัญ คือ มีการจำกัดพื้นที่ในส่วนของการพนัน

กรณีของลาสเวกัส  น้ำหนักย่อมหมายถึง ธุรกิจบ่อน เมืองนี้เริ่มทำการธุรกิจบ่อน(คาสิโน) ในปี 1931 เรื่อยมาจนเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า เป็นเมืองที่มีพัฒนาการตลอดมา ในเชิงของการปรับตัวให้เข้ากับกระแสสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ความเป็นไปของโลก

บรรยากาศกลิ่นอายลาสเวกัสเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับลาสเวกัส ณ วันนี้  จึงแตกต่างกัน ขณะที่เมื่อก่อน ลาสเวกัส เป็นเมืองที่ให้น้ำหนักในด้านบ่อนหรือการพนัน แต่ปัจจุบันเมืองนี้ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมการประชุม(convention) ระดับโลกอีกเป็นจำนวนมาก

พูดกันว่า ในระบบการพนัน ไม่ว่ากิจกรรมอะไรก็ตาม สามารถนับหรือนำมาเป็นกิจกรรมด้านพนันได้หมด  แม้ลาสเวกัสอาจไม่ได้ตรงกับคำพูดที่ว่าทั้งหมด หากแต่กิจกรรมการพนันหลายอย่างก็ถูกรวบรวมไว้ที่นี่ ทั้งการพนันในอาคารบ่อนและนอกอาคารบ่อนจำพวก สปอร์ตบุ๊ค การแข่งกีฬาต่างๆ ไล่ตั้งแต่แข่งม้า จนถึงแข่งรถ แข่งฯลฯ

ผู้คนจำนวนมากเดินทางมายังเมืองนี้ เพื่อเข้าร่วมเหตุการณ์เฉพาะคราวในช่วงของการจัดกิจกรรมการแข่งขัน เมื่อพวกเขาเดินทางกลับก็ทิ้งสถานที่บางแห่งนอกเมืองลาสเวกัส ให้อยู่เวิ้งว้างแบบซาดิสม์ต่อไป สถานที่นั้นๆก็จะเงียบ จนกว่ากิจกรรมประจำปีจะวนกลับมาใหม่

ในบรรยากาศแบบทะเลทราย (โมฮาเว่) ดูไปแล้ว เหมือนผู้คนตกในสถานการณ์เวิ้งว้างแบบซาดิสม์ เงียบ ร้อน หนาว น้ำแข็ง ลม และฝุ่นดิน เว้นในอาคารบ่อน ที่ทำงานกัน 7 วัน 24 ชั่วโมง

ธุรกิจบ่อนของลาสเวกัสกำกับโดยคณะกรรมการกำกับการพนันของรัฐเนวาดา (Nevada Gaming Control Board) ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลกิจกรรมการพนันให้เป็นตามระเบียบภายใต้กฎหมายของรัฐเนวาดา และคณะกรรมการชุดเดียวกันนี้ต่อมา มีบทบาทในการจัดทำระบบบ่อนทั่วโลก โดยใช้มาตรฐานของรัฐเนวาดาเป็นเกณฑ์ อย่างเช่น บ่อนที่มาเก๊า คณะกรรมการกำกับการพนันของรัฐเนวาด้าก็ไปเซ็ตระบบให้เหมือนกัน ทั้งดูเหมือนมาเก๊า จะจำลองระบบบ่อนของลาสเวกัสไปใช้เกือบทั้งหมด ต่อมามีเจ้าของบ่อนในลาสเวกัสทะยอยไปเปิดกิจการในมาเก๊ากันจำนวนมาก  ที่เห็นก็อย่างสตีฟ วินน์  (Steve Wynn)เจ้าของวินน์รีสอร์ตและคาสิโน รวมถึง นักลงทุนในกลุ่ม Las Vegas Sands Corporation เจ้าของคาสิโนและโรงแรมเวเนเชียน นำโดย นักธุกิจใหญ่ เชลดอน อเดลสัน(Sheldon Adelson)  

เมื่อผมได้คุยกับเจ้าหน้าที่ นักการเมืองท้องถิ่น และคนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับบ่อน ซึ่งมีหลายระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับรัฐ ความคิดในการบริหารจัดการบ่อนในระดับนโยบายเปลี่ยนแปลงมาตลอด โดยผู้ที่มีเสียงสำคัญ มาจาก 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบ่อนกับฝ่ายประชาชน และเป็นสองฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับจากธุรกิจบ่อนโดยตรง

เมืองลาสเวกัสถูกพัฒนามาไกล จากเดิมที่ต้องการให้บ่อนและอบายมุขด้านอื่นๆ เช่น โสเภณี เป็นตัวกระตุ้นในการสร้างสรรค์ ความเจริญด้านวัตถุ และโสเภณีเอง ก็เป็นอีกหมวดหนึ่งของอบายมุข "ซ่อง"ถูกกำหนดให้เป็นธุรกิจระบบกฎหมาย แต่ไม่ใช่ในคลาร์คเค้าน์ตี้  ซึ่งเป็นเค้าน์ตี้ที่เมืองลาสเวกัสตั้งอยู่ ซ่องที่ถูกกฎหมายตั้งอยู่ที่ ไนเค้าน์ตี้ ติดกับคลาร์คเค้าน์ตี้)

รายได้จากบ่อนจำนวนมาก ถูกนำไปใช้ในการอุดหนุนการศึกษาของรัฐและพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ ที่กำหนดสัดส่วนโดยกฎหมายท้องถิ่น รวมทั้งมีการกำหนดโซนนิ่งต่างๆ ใช้ระเบียบบังคับเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชน เข้าไปยุ่งกับบ่อน ในขณะที่พวกเขาไม่บรรลุทั้งวุฒิภาวะและนิติภาวะ

คณะกรรมการกำกับบ่อนของเนวาดาทำงานกันอย่างเข้มงวด ถามว่าปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการพนันไหม คงต้องตอบว่า มีการจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการพนัน และให้การศึกษาที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพนัน หรือ Nevada Council on Problem Gambling  ซึ่งทำหน้าที่เหมือนหน่วยงานในระดับชาติในการป้องและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพนัน คือ National Council on Problem Gambling  

แต่เมื่อถามว่า ทำไมในรัฐเนวาดายังมีการพนันอยู่ แม้ว่าจะผ่านยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และพัฒนาเมืองโดยอาศัยการพนันมาแล้ว พวกที่ทำงานในคณะกรรมการกำกับการพนันของเนวาดาอธิบายให้ฟัง ซึ่งผมขอสรุปเป็นข้อๆดังนี้ครับ

1. เมือง(อย่างลาสเวกัส) ยังต้องอาศัยการรายได้จากการพนันเป็นหลัก แม้ว่าจะมีรายได้จากส่วนอื่นๆ เช่น โรงแรม การจัดประชุม เพิ่มขึ้นก็ตาม ทั้งหมดเกื้อกูลต่อการรายได้และการมีงานทำของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่น ที่ยังอิงกับธุรกิจบ่อนและธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2.  เมืองถูกพัฒนาโดยรายได้ธุรกิจบ่อนและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสวัสดิการสังคม และด้านศึกษา โดยมีการนำรายได้ที่ได้จากการจ่ายภาษีบาปและการบริจาคของบ่อนในสัดส่วนที่สูงไปใช้เพื่อการดังกล่าว

3. นิสัยของผู้คน จำนวนมากชอบเล่นการพนัน สถานพนันสร้างแรงดึงดูดอย่างมหาศาลต่อผู้คนจำนวนมากทั่วโลกให้มาเยือนเมือง(ลาสเวกัสและเมืองอื่นๆ) ถึงอย่างไรคงไม่สามารถปฏิเสธ ความชื่นชอบการพนันของผู้คนไปได้ สำหรับคนที่ชอบเล่นการพนันนั้นอย่างไรเสียก็คงต้องเล่น ขณะที่คนที่ไม่ชอบการพนันก็ย่อมไม่เล่นไม่ว่าจะมีสถานพนันตั้งอยู่อย่างยั่วยวนเพียงใดก็ตาม

4. มีการวางกฎเกณฑ์อย่างเข้มงวดในการเล่นการพนัน  การป้องกันการโกง ระบบรักษาความปลอดภัย ภายในและภายนอกบ่อน

5. การเปิดสถานพนันตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในแง่การแยกแยะด้านการบริหารจัดการธุรกิจกับเรื่องทางศีลธรรม และจริยธรรม ออกจากกัน เรื่องธุรกิจ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ ตามนโยบายของรัฐ เช่น หน่วยงานที่กำกับและดูแลสถานพนัน(หรืออบายมุขอื่นๆ) ก็ทำหน้าที่ไป ขณะที่หน่วยงานด้านส่งเสริมศีลธรรมและส่งเสริมการศึกษาที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพนันก็ทำหน้าที่ของพวกเขาเช่นกัน 

อีกนัยหนึ่ง คือ รัฐมีหน้าที่เชิงการจัดการ(นโยบาย) ทั้งการควบคุมกำกับกฎกติกา กำกับสถานพนัน  กำกับผู้เล่น และกำกับผู้ที่ไม่สามารถเล่นได้ รวมถึงให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพนัน  เช่น ชี้ให้เห็นถึงโทษภัยของการพนันว่าเป็นอย่างไร

รัฐมีหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจการพนันให้อยู่ในความเรียบร้อย  อยู่ในกฎกติกา เพื่อให้รัฐได้ผลประโยชน์ใน 2 ด้าน คือ ผลด้านรายได้เข้ารัฐและการสร้างงานสำหรับประชาชน ตามมติของเสียงส่วนใหญ่ที่มองว่าธุรกิจการพนัน เป็นเรื่องจำเป็นต่อความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจของประชาชนในรัฐเนวาดา

โดยเฉลี่ยแล้วเนวาด้า มีรายได้จากธุรกิจการพนันประมาณ 10,000 กว่าล้านดอลลาร์ ขณะที่ลาสเวกัสเมืองเดียว มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 กว่าล้านดอลลาร์ต่อปี

ในช่วงเศรษฐกิจอเมริกันตกต่ำ 4-5 ปีที่ผ่านมา เมืองการพนันอย่างลาสเวกัส เป็นเมืองหนึ่งของหลายเมืองในอเมริกาที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซา

สำหรับกรณีของลาสเวกัส ความจริงต้นเหตุไม่ได้มาจากการพนัน แต่มาจากการเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (subprime  crisis) พวกที่ทำงานอยู่ในคณะกรรมการกำกับการพนันของรัฐเนวาดาเลยพากันสรุปว่า การพนันไม่มีวันตายและพวกเขาต้องทำงานอย่างเข้มแข็งในการดูแลบ่อนต่อไป  

ทั้งพวกเขายังมองว่า การบริหารจัดการบ่อนกับประเด็นจริยธรรม ศีลธรรม เป็นคนละเรื่องกัน เพียงแต่ที่เหมือนกันคือ ต้องอาศัยการบริหารจัดการโดยรัฐทั้งคู่

เพราะมาตรฐานของการบริหารจัดการของรัฐนั่นเอง คือ แบบแผนด้านจริยธรรม โดยประชาชน(ผู้มีสิทธิโหวต)ไม่จำเป็นต้องใส่หัวข้อด้านจริยธรรมไว้ในธรรมนูญการบริหารจัดการของรัฐก็ได้

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai