ประชาไท | Prachatai3.info |
- สภาเกษตรกรฯ ร้องคงราคาจำนำข้าว 15,000 บ. ชี้ลดกะทันหันผลักภาระให้ชาวนา
- BRN ออกแถลงการณ์ฉบับ 4 ยื่นเงื่อนไขยุติปฏิบัติการช่วงรอมดอน
- BRN ออกแถลงการณ์ฉบับ 4 ยื่นเงื่อนไขยุติปฏิบัติการช่วงรอมดอน
- จี้ผู้ว่าฯ ตรังแยกแยะมอดไม้-ผู้รักษาป่า หยุดคุกคามพื้นที่โฉนดชุมชน
- 'ณัฐพล ใจจริง' ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ประจำปี 56 "ชีวประวัติของพลเมืองไทยฯ"
- นวลน้อย ธรรมเสถียร: นักข่าวพลเมือง
- สโนวเดน มีแผนลี้ภัยไปเอกกวาดอร์
- ส.ต้านโลกร้อนพร้อมพิจารณาคดีครั้งแรกเพิกถอนโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน
- ชาวบ้านสะเอียบเดือด สาดน้ำมนต์จนท.บริษัทที่ปรึกษาเขื่อนแม่น้ำยม
- ถ้อยคำรำลึก 81 ปี อภิวิฒน์สยาม 24 มิถุนา 2475 ณ หมุดคณะราษฎร
- เพจ "V for Thailand" จวก "ระบอบทักษิณ" สั่งโจรปล้นเซเว่น
- ใต้กระแสความฝัน
- ‘สุภิญญา’ สงวนความเห็น กสท.ไม่ออกหลักเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์
- กลุ่มนักเขียนแสงสำนึก แถลงทุกฝ่ายควรเคารพสิทธิในการแสดงออก
- โรฮิงญา: ชีวิตที่ห้องกัก ตอนที่ 2: ตม. กาญจนบุรี
สภาเกษตรกรฯ ร้องคงราคาจำนำข้าว 15,000 บ. ชี้ลดกะทันหันผลักภาระให้ชาวนา Posted: 24 Jun 2013 01:25 PM PDT 24 มิ.ย.56 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ตัวแทนสภาเกษตรกรภาคกลางและภาคเ นายชลิต ระบุด้วยว่าหากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอของสภาเกษตรกรฯ ก็จะเป็นกลไกที่ชาวนาเกษตรกรจะเคลื่อนไหวต่อ โดยในพรุ่งนี้จะมีชาวนาอีกส่วนหนึ่งหลายจังหวัดจะเดินทางมายื่นข้อเรียกร้องกับรัฐบาลด้วย ดังนั้นทางสภาฯ จึงเสนอต่อรัฐบาลไปว่าให้คงราคาไว้ที่ 15,000 บาทก่อน เพื่อลดกระแสการประท้วง แล้วให้ตัวแทนเกษตรกรอย่าง สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ถูกจัดตั้งตาม พรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด กขช. และ พรบ.ดังกล่าวในมาตรา 11 ก็ระบุให้อำนาจหน้าที่ของสภาฯให้ความคิดเห็น คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วย หากรัฐบาลใช้กลไกนี้ก็จะไม่บีบให้ชาวนาต้องเคลื่อนไหวตามท้องถนน ประธานสภาเกษตรกร จ.นครนายก กล่าวด้วยว่าทั้งนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติจะมีการประชุมในวันที่ 28 – 29 มิ.ย.นี้ แต่ทางสภาฯ ในส่วนของกลุ่มภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดเห็นว่าหากรอมติการประชุมดังกล่าวอาจไม่ทันการจึงออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลก่อนให้ยุติการลดราคาจำนำ และหากในอนาคตจะมีการลดราคาจำนำข้าวนั้นความชื่นต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามต้องการให้คงราคาที่ 15,000 บาท ไว้ก่อน ประธานสภาเกษตรกร จ.สระบุรี กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศลดราคาจำนำข้าวกะทันหัน ทำให้ชาวนาต้องแบบรับภาระเพราะมีการลงทุนไปแล้ว และการทำนาต่อรอบก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 – 5 เดือน บวกกับต้นทุนที่เพิ่มหลังมีการรับจำนำในราคานี้ ทั้งค่าจ้างรถไถ-รถเกี่ยวข้าว ค่าปุ๋ย ค่าเช่าที่และค่าแรง เป็นต้น สำหรับข้อกังวลกรณีการที่ชาวนาไม่ได้ประโยชน์จากโครงการจำนำข้าวอย่างเต็มที่นั้น ประธานสภาเกษตรกร จ.สระบุรี ชี้แจงว่าเรื่องนี้รัฐบาลมีมาตรการตรวจสอบควบคุมอยู่แล้วจึงไม่เป็นเรื่องที่น่ากังวล
กลุ่มชาวนา-เสื้อแดง เดินเท้าจากลานพระบรมรูปฯ นอกจากตัวแทนสภาเกษตรกรภาคกลางและภาคเ
หน้าประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
BRN ออกแถลงการณ์ฉบับ 4 ยื่นเงื่อนไขยุติปฏิบัติการช่วงรอมดอน Posted: 24 Jun 2013 01:00 PM PDT แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) นำโดยฮัสซัน ตอยิบ เผยแพร่ประกาศฉบับที่ 4 ยื่นเงื่อนไขกับรัฐไทยเพื่อยุติการปฏิบัติการทางทหารในช่วงถือศีลอด อาทิ ให้ถอนทหาร ตำรวจออกจากพื้นที่ และให้นายกฯ ลงนามในเงื่อนไข พร้อมประกาศใช้ในวันที่ 3 ก.ย. นี้ 24 มิ.ย. 56 - มีการเผยแพร่ประกาศฉบับที่ 4 ของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) ลงนามเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 56 โดยฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนของบีอาร์เอ็นในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพกับรัฐไทย โดยมีเนื้อหาระบุว่าจะยุติการปฏิบัติการทางทหารในช่วงเดือนรอมฎอนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีเงื่อนไขคือ ให้รัฐไทยถอนทหารและทหารพราน รวมถึงกำลังตำรวจและตำรวจชายแดนออกจากพื้นที่ ให้ปล่อยบรรดาอส. ที่นับถือศาสนาอิสลามจากการประจำการในช่วงรอมฎอน เพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจ มิให้รัฐไทยจับกุมหรือควบคุมตัว และมิให้จัดกิจกรรมทางสังคม
โดยฮารา ชินทาโร่ อาจารย์ด้านภาษามลายูจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เผยแพร่คำแปลของประกาศดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการทางเฟซบุ๊ก ดังนี้ คำประกาศ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ครั้งที่ ๔ อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ หัวหน้าคณะพูดคุยและตัวแทน BRN ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณา เมตตาปราณีเสมอ ขอให้สันติสุขจงมีแด่ท่าน คำประกาศ แนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี ตามข้อตกลงระหว่างแนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีกับนักล่าอาณานิคมสยาม ในวันที่ 13 มิ.ย. 2013 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (ทั้งสองฝ่าย) ตกลงกันว่าจะลดปฏิบัติการทางทหารที่ปาตานี คือ สามจังหวัดชายแดนใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา ตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ปี 2013 ฝ่ายแนวร่วมแห่งชาติมลายูปาตานีลงมติที่จะยุติปฏิบัติการทางทหารตลอดช่วงเดือนรอมฎอนและ ๑๐ วันแรกของเดือนชาวัล (Syawal) ฮิจเราะห์ศักราช ไม่ใช่แค่ลดปฏิบัติการทางทหาร โดยมีเงื่อนไขและขอบเขตดังต่อไปนี้ 1.นักล่าอาณานิคมสยามต้องถอนกำลังทหารและทหารพรานที่มาจากภาค ๑, ๒ และ ๓ ทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งมาจากศูนย์กลาง (ภาคกลาง?) ออกจากปาตานี ซึ่งก็คือ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา 2.แม่ทัพภาค ๔ ต้องถอนทหารและทหารพรานออกจากเขตหมู่บ้านในปาตานี คือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา ให้อยู่ค่ายใหญ่ของแต่ละหน่วย 3.ให้ (รัฐสยาม) ถอนกำลังตำรวจและตำรวจชายแดนออกจากเขตหมู่บ้านในปาตานี คือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา 4.ปล่อยบรรดา อส. ที่นับถือศาสนาอิสลาม (ไม่ให้ประจำการ) ตลอดช่วงเดือนรอมฎอนเพื่อที่จะพวกเขาสามารถปฏิบัติศาสนกิจและสามารถใช้ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์ 5.นักล่าอาณานิคมสยามไม่สามารถทำการโจมตี การสกัดถนน และการจับ/ควบคุมตัวอย่างเด็ดขาด 6.นักล่าอาณานิคมไม่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอน 7.ขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่างต้องมีการลงนามของนายกรัฐมนตรีของฝ่ายนักล่าอาณานิคมสยาม (รัฐสยาม) และต้องทำการประกาศในวันที่ 3 กรกฏาคม 2013 เงื่อนไขและขอบเขตเหล่านี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 รอมฎอน 1434 ฮิจเราะห์ศักราช ถึง วันที่ 10 ชาวัล 1434 ฮิจเราะห์ศักราช เพื่อเป็นการแสดงเกียรติต่อชาวอิสลามมลายูปาตานีและเพื่อที่จะพวกเขาสามารถปฏิบัติศาสนกิจอย่างสมบูรณ์ ฝ่ายรัฐ/ฝ่ายเจ้าหน้าที่ควรให้คำสั่งเพื่อไม่ขายเหล้าหรือสิ่งที่ทำให้เมา และปิดแหล่งบังเทิงและแหล่งอบายมุขตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ที่นี่ พวกเราขอเรียกร้องให้ทุกชนชั้น/ทุกคนในสังคม ประชาสังคม องค์กร NGO โดยเฉพาะบุคคลสำคัญทางด้านศาสนาในปาตานี ให้ความสำคัญแก่เงื่อนไขและขอบเขตที่กล่าวมาข้างบน คำเตือน เราขอเน้นอีกครั้งว่า การเจรจาสันติภาพระหว่าง BRN กับนักล่าอาณานิคมสยามมิอาจเกิดขึ้นตราบใดที่นักล่าอาณานิคมสยามไม่ดำเนินและให้คำตอบต่อประเด็นต่อไปนี้ 1.ข้อเรียกร้องห้าข้อจาก BRN ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม 2.การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ 3.ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทยและฐานะของหัวหน้าคณะนั้นต้องมั่นคง 4.ไม่มีการเจรจาลับหรือไม่เปิดเผย จบแค่นี้ครับ วัสลาม ขอให้ทุกท่านปฏิบัติศาสนกิจถือศีลอดอย่างสมบูร เซอลามัต ฮารา รายาและมาอัฟ ซาฺฮิร ดัน บาติน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
BRN ออกแถลงการณ์ฉบับ 4 ยื่นเงื่อนไขยุติปฏิบัติการช่วงรอมดอน Posted: 24 Jun 2013 12:59 PM PDT แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) นำโดยฮัสซัน ตอยิบ เผยแพร่ประกาศฉบับที่ 4 ยื่นเงื่อนไขกับรัฐไทยเพื่อยุติการปฏิบัติการทางทหารในช่วงถือศีลอด อาทิ ให้ถอนทหาร ตำรวจออกจากพื้นที่ และให้นายกฯ ลงนามในเงื่อนไข พร้อมประกาศใช้ในวันที่ 3 ก.ย. นี้ 24 มิ.ย. 56 - มีการเผยแพร่ประกาศฉบับที่ 4 ของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) ลงนามเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 56 โดยฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนของบีอาร์เอ็นในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพกับรัฐไทย โดยมีเนื้อหาระบุว่าจะยุติการปฏิบัติการทางทหารในช่วงเดือนรอมฎอนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีเงื่อนไขคือ ให้รัฐไทยถอนทหารและทหารพราน รวมถึงกำลังตำรวจและตำรวจชายแดนออกจากพื้นที่ ให้ปล่อยบรรดาอส. ที่นับถือศาสนาอิสลามจากการประจำการในช่วงรอมฎอน เพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจ มิให้รัฐไทยจับกุมหรือควบคุมตัว และมิให้จัดกิจกรรมทางสังคม
โดยฮารา ชินทาโร่ อาจารย์ด้านภาษามลายูจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เผยแพร่คำแปลของประกาศดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการทางเฟซบุ๊ก ดังนี้
คำประกาศ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) ครั้งที่ ๔ อุสตาซฮัสซัน ตอยิบ หัวหน้าคณะพูดคุยและตัวแทน BRN ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณา เมตตาปราณีเสมอ ขอให้สันติสุขจงมีแด่ท่าน คำประกาศ แนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี ตามข้อตกลงระหว่างแนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานีกับนักล่าอาณานิคมสยาม ในวันที่ 13 มิ.ย. 2013 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (ทั้งสองฝ่าย) ตกลงกันว่าจะลดปฏิบัติการทางทหารที่ปาตานี คือ สามจังหวัดชายแดนใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา ตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ปี 2013 ฝ่ายแนวร่วมแห่งชาติมลายูปาตานีลงมติที่จะยุติปฏิบัติการทางทหารตลอดช่วงเดือนรอมฎอนและ ๑๐ วันแรกของเดือนชาวัล (Syawal) ฮิจเราะห์ศักราช ไม่ใช่แค่ลดปฏิบัติการทางทหาร โดยมีเงื่อนไขและขอบเขตดังต่อไปนี้ 1.นักล่าอาณานิคมสยามต้องถอนกำลังทหารและทหารพรานที่มาจากภาค ๑, ๒ และ ๓ ทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งมาจากศูนย์กลาง (ภาคกลาง?) ออกจากปาตานี ซึ่งก็คือ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา 2.แม่ทัพภาค ๔ ต้องถอนทหารและทหารพรานออกจากเขตหมู่บ้านในปาตานี คือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา ให้อยู่ค่ายใหญ่ของแต่ละหน่วย 3.ให้ (รัฐสยาม) ถอนกำลังตำรวจและตำรวจชายแดนออกจากเขตหมู่บ้านในปาตานี คือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และห้าอำเภอในจังหวัดสงขลา 4.ปล่อยบรรดา อส. ที่นับถือศาสนาอิสลาม (ไม่ให้ประจำการ) ตลอดช่วงเดือนรอมฎอนเพื่อที่จะพวกเขาสามารถปฏิบัติศาสนกิจและสามารถใช้ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์ 5.นักล่าอาณานิคมสยามไม่สามารถทำการโจมตี การสกัดถนน และการจับ/ควบคุมตัวอย่างเด็ดขาด 6.นักล่าอาณานิคมไม่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอน 7.ขอบเขตและเงื่อนไขดังกล่างต้องมีการลงนามของนายกรัฐมนตรีของฝ่ายนักล่าอาณานิคมสยาม (รัฐสยาม) และต้องทำการประกาศในวันที่ 3 กรกฏาคม 2013 เงื่อนไขและขอบเขตเหล่านี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 รอมฎอน 1434 ฮิจเราะห์ศักราช ถึง วันที่ 10 ชาวัล 1434 ฮิจเราะห์ศักราช เพื่อเป็นการแสดงเกียรติต่อชาวอิสลามมลายูปาตานีและเพื่อที่จะพวกเขาสามารถปฏิบัติศาสนกิจอย่างสมบูรณ์ ฝ่ายรัฐ/ฝ่ายเจ้าหน้าที่ควรให้คำสั่งเพื่อไม่ขายเหล้าหรือสิ่งที่ทำให้เมา และปิดแหล่งบังเทิงและแหล่งอบายมุขตลอดช่วงเดือนรอมฎอน ที่นี่ พวกเราขอเรียกร้องให้ทุกชนชั้น/ทุกคนในสังคม ประชาสังคม องค์กร NGO โดยเฉพาะบุคคลสำคัญทางด้านศาสนาในปาตานี ให้ความสำคัญแก่เงื่อนไขและขอบเขตที่กล่าวมาข้างบน คำเตือน เราขอเน้นอีกครั้งว่า การเจรจาสันติภาพระหว่าง BRN กับนักล่าอาณานิคมสยามมิอาจเกิดขึ้นตราบใดที่นักล่าอาณานิคมสยามไม่ดำเนินและให้คำตอบต่อประเด็นต่อไปนี้ 1.ข้อเรียกร้องห้าข้อจาก BRN ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาของรัฐสยาม 2.การเจรจาสันติภาพต้องเป็นวาระแห่งชาติ 3.ต้องกำหนดฐานะของหัวหน้าคณะตัวแทนไทยและฐานะของหัวหน้าคณะนั้นต้องมั่นคง 4.ไม่มีการเจรจาลับหรือไม่เปิดเผย จบแค่นี้ครับ วัสลาม ขอให้ทุกท่านปฏิบัติศาสนกิจถือศีลอดอย่างสมบูร เซอลามัต ฮารา รายาและมาอัฟ ซาฺฮิร ดัน บาติน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จี้ผู้ว่าฯ ตรังแยกแยะมอดไม้-ผู้รักษาป่า หยุดคุกคามพื้นที่โฉนดชุมชน Posted: 24 Jun 2013 11:29 AM PDT เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ จี้พ่อเมืองตรังให้แยกแยะขบวนการทำไม้ออกจากชุมชนดั้งเดิมผู้รักษาป่า ยุติการรื้อถอนสะพาน และการคุกคามดำเนินคดีในพื้นที่โฉนดชุมชน ด้านพ่อเมืองตรังมีคำสั่งด่วนให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง วันที่ 24 มิ.ย.56 เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.ที่หน้าศาลากลางจังหวัดตรัง เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ประมาณ 150 คน ได้มายื่นหนังสือต่อนายธีรยุทธ เอี่่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง (ผวจ.ตรัง) เพื่อให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกเครือข่ายฯ ในพื้นที่โฉนดชุมชน ประกอบด้วย 1.ชุมชนบ้านหาดสูง ม.7 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง และ ม.5 ต.เขาปูน อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งมีหนังสือจากอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ลงวันที่ 28 พ.ค.56 สั่งให้รื้อถอนสะพานทางเข้าหมู่บ้าน และสั่งให้รื้อถอนบ้านของนางสาวกิจวรรณ สังข์ช่วย 2.ชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู หมู่ที่ 1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และ หมู่ที่ 1 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้อาวุธปืนจี้ และปักป้ายตรวจยึดจับกุมสวนยางพาราของนายสมคิด กันตังกุล ตลอดจนเตรียมดำเนินคดีอาญา นอกจากนี้ กรณีที่ ผวจ.ตรัง ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สนธิกำลังเข้าตรวจสอบการตัดไม้ทำลายป่าในเขตป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ รอยต่อ 2 อำเภอ ระหว่างบ้านเขาหลัก ม.7 ต.น้ำผุด อ.เมือง กับบ้านหาดสูง ม.5 ต.เขาปูน อ.ห้วยยอด โดยระบุว่าเส้นทางคอนกรีตขนาดเล็ก และสะพานไม้ข้ามลำน้ำ 3 จุด สร้างขึ้นโดยกลุ่มขบวนการลักลอบตัดไม้ โดยมีการใช้ควายในการชักลากไม้ดังกล่าวออกมานอกพื้นที่ นางอำนวย สังข์ช่วย คณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ชี้แจงว่า เส้นทางและสะพานข้ามลำน้ำดังกล่าวมีขนาดเล็ก โดยสะพานมีขนาดความกว้างเพียง 150 เซนติเมตร ความยาว 16 เมตร ชุมชนได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อใช้สัญจรเข้าออกหมู่บ้าน และบรรทุกพืชผลทางการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ผัก และผลไม้ ระหว่างบ้านหาดสูงกับบ้านเขาหลัก ระยะทางประมาณ 6 กม.โดยมีการบวชต้นไม้กว่า 200 ต้น ตั้งแต่ปี 2543 และมีการดูแลรักษาจนถึงปัจจุบัน พร้อมยืนยันว่าบ้านหาดสูงเป็นชุมชนดั้งเดิม มีการก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาณ 100 ปี "เส้นทางและสะพานดังกล่าวไม่ได้สร้างขึ้นโดยกลุ่มขบวนการลักลอบตัดไม้ และไม่ได้มีร่องรอยการใช้ควายในการชักลากไม้ผ่านมายังเส้นทางนี้" นางอำนวย กล่าวยืนยัน นางอำนวย กล่าวด้วยว่า ทางเครือข่ายฯ มีข้อเรียกร้องต่อท่าน ผวจ.ตรัง ให้แยกแยะชุมชนดั้งเดิม และผู้รักษาป่า ออกจากผู้บุกรุกทำลายป่า และขอให้ยุติการรื้อถอนสะพานทางเข้าพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านหาดสูง ยุติการรื้อถอนบ้านของนางสาวกิจวรรณ สังข์ช่วย สมาชิกองค์กรชุมชนปฏิรูปที่ดินบ้านหาดสูง และยุติการดำเนินคดีนายสมคิด กันตังกุล สมาชิกองค์กรชุมชนปฏิรูปที่ดินบ้านทับเขือ-ปลักหมู ตลอดจนขอให้ชะลอการดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข แก่สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด และให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามวิถีปกติไปพลางก่อน ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหา และขอให้จัดการประชุมหารือระหว่างเครือข่าย กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีท่าน ผวจ.ตรัง เป็นประธาน ด้านนายธีรยุทธ เอี่ยมตระกูล ผวจ.ตรัง กล่าวว่า ในวันนี้ตนจะส่งกำลังเจ้าหน้าที่นำโดย นายชวกิจ สุวรรณคีรี ป้องกันจังหวัดตรัง เข้าไปตรวจสอบสะพานดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหา และตรวจสอบขบวนการตัดไม้โดยจะสอบสวนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำลายป่าบ้าง ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ ใช้อาวุธ จะหาข้อเท็จจริง คนมีอำนาจแต่ละหน่วยจะต้องกำกับการทำงานของลูกน้อง จะทำแบบป่าเถื่อนไม่ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้ยื่นหนังสืออีก 3 ฉบับ ผ่าน ผวจ.ตรัง ไปยังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา ประสพดี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข) โดยมีข้อเรียกร้อง ดังนี้ 1.เร่งรัดดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ด้านที่ดิน และทรัพยากร ข้อ 5.1 และ 5.4 ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะต้องมีการมอบนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรี และส่วนราชการต่างๆ ยึดถือปฏิบัติ 2.เร่งรัดเสนอเรื่องโฉนดชุมชน (พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของนโยบายการดำเนินงานโฉนดชุมชน โดยให้ชุมชนซึ่ง ปจช. เห็นชอบให้ดำเนินงานโฉนดชุมชนแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติ ต่อไป) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ไม่ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของนโยบายการดำเนินงานโฉนดชุมชน ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกับตัวแทนรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2556 3. กำกับการทำงานของส่วนราชการต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้านที่ดิน และทรัพยากร ข้อ 5.1 และ 5.4 ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และให้สอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงระหว่างขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมกับตัวแทนรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2556 ที่ระบุว่า "รัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายด้านที่ดิน และทรัพยากร ข้อ 5.1 และ 5.4 ที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน โดยในระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามกลไก และแนวทางที่มีอยู่ ขอให้ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชะลอการดำเนินการใดๆ ที่อาจเป็นมูลเหตุให้เกิดความขัดแย้ง หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตตามปกติสุข และให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามวิถีปกติไปพลางก่อน จนกว่ากระบวนการพิจารณาของส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ตามแต่กรณีจะมีผลเป็นที่ยุติต่อไป" และ 4. มีหนังสือแจ้งเวียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมให้ปฏิบัติตามข้อ 3. และให้สอดส่องดูแลในพื้นที่ และระมัดระวังมิให้เกิดความขัดแย้ง จนเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ณัฐพล ใจจริง' ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ประจำปี 56 "ชีวประวัติของพลเมืองไทยฯ" Posted: 24 Jun 2013 10:17 AM PDT บรรยากาศในการแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2556 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ เมื่อ 24 มิ.ย. 56 ที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 81 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ กรุงเทพมหานคร มีการแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2556 โดย ดร. ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดยกล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ชีวประวัติของพลเมืองไทย : กำเนิดพัฒนาการและอุปสรรคกับภาระกิจการปกป้องประชาธิปไตย (2475 - ปัจจุบัน)" ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนผู้สนใจ ตลอดจนทายาทของคณะราษฎรและเสรีไทยเข้าร่วมฟังปาฐกถาดังกล่าวจำนวนมาก โดยณัฐพลระบุว่าเป้าหมายของบทความดังกล่าว คือ บททดลองการนำเสนอประวัติศาสตร์สามัญชน เพื่อคืนตำแหน่งแห่งที่ของสามัญชน กลับสู่ประวัติศาสตร์ไทย หรือคืนบทบาทพลเมืองกลับสู่ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย ด้วยการพยายามฉายภาพความเป็นมาของสถานะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ ภายใต้การปกครองตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันว่าเป็นเช่นไร ตลอดจนให้ภาพวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตและความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง เช่น "ไพร่" "ราษฎร" ที่ต่ำต้อย มาสู่ "พลเมือง" ผู้ทรงคุณค่าเป็นผู้มีเสรีภาพและความเสมอภาคภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการเรียกร้องให้พลเมืองมีความตระหนักในการพิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่อำนวยถึงความเป็นคนให้กับสมาชิกทุกคนในชุมชนทางการเมืองเหมือนดังคำกล่าวที่ว่า "พลเมืองเท่ากับความเป็นคน" ณัฐพล ระบุในปาฐกถาว่า ในประเทศประชาธิปไตย การเขียนถึงประวัติศาสตร์สามัญชน ผู้มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นเรื่องปกติ ขณะที่ของไทยนั้นยากจะปรากฏ ทั้งมีงานเขียนประวัติศาสตร์มหาบุรุษ เข้ามาครองพื้นที่ความรู้อย่างมากในสังคมไทย โดยงานเขียนชนิดนี้ถูกคนชั้นปกครองใช้ครอบงำผู้ถูกปกครองให้จำนนและเจียมตัวให้สมฐานะแห่งตน จนอาจเกิดคำถามถึงผลกระทบของความรู้เช่นนี้ที่มีต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของประชาธิปไตยไทย หากความมั่นคงและยั่งยินของระบอบประชาธิปไตยไทยตั้งอยู่บนความรู้ความเข้าใจ ความภูมิใจและการตระหนักในความสำคัญของคนทุกคนในฐานะผู้ที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ที่มีสิทธิและหน้าที่แล้วไซร้ หน้าที่ประการหนึ่งที่พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยทุกคนพึงมีคือการพิทักษ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น หนึ่งในหนทางในการธำรงความมั่นคงให้กับระบอบการปกครองดังกล่าว คือ การส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในที่มาแห่งตน ความยากลำบากในการเปลี่ยนแปลงสถานะจากความต่ำต้อยสู่เสรีภาพและความเสมอภาคของผู้คนให้กับพลเมือง หรือการเขียนประวัติศาสตร์ไทยให้สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยด้วย ในวาระสำคัญแห่งการรำลึกถึง 8 ทศวรรษ 2475 และ 4 ทศวรรษ 14 ตุลาคม 2516 จึงดูเหมือนไม่มีหัวข้อใดที่เหมาะสมไปกว่าการกล่าวถึงชีวประวัติพลเมืองไทย ที่พยายามให้ภาพความเป็นมาของสามัญชนไทยผู้เคยเดินผ่านความขมขื่น ความเบิกบาน ความทุกข์ระทมที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทการเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย โดยของการปาฐกถาดังกล่าว ประชาไทจะนำเสนอต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นวลน้อย ธรรมเสถียร: นักข่าวพลเมือง Posted: 24 Jun 2013 09:05 AM PDT "นักข่าวพลเมืองเป็นงานที่ดีแต่การทำแบบอาสาสมัครมันไม่ยั่งยืน มันต้องมีการให้ผลตอบแทนกันบ้าง" มาราน เปอเรียเนน (Maran Perianen) ผู้บริหารของซีเจเอ็มวาย- CJMY หรือ Citizen Journalists Malaysia กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการทำงานที่กำลังเกิดขึ้นกับกลุ่มนักข่าวพลเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย มาราน -ชายร่างใหญ่ผิวคล้ำแบบคนเชื้อสายภารตะในชุดเสื้อยืดกางเกงยีนผมยาวเกล้าหลวมๆ ดูเผินๆคล้ายนักร้องเพลงร็อคมากกว่าจะเป็นผู้บริหาร ธุรกิจที่เขากำลังจะสร้างขึ้นจากงานของนักข่าวพลเมืองก็ดูจะเป็นเรื่องที่แหวกขนบไม่น้อยไปกว่าภาพลักษณ์ของตัวเขา เพราะคำว่านักข่าวพลเมืองที่ดูจะไปกันไม่ค่อยได้กับคำว่าธุรกิจ แต่มารานมีคำอธิบายว่าพวกเขาไม่ใช่ธุรกิจเพื่อธุรกิจ ขณะที่ก็ไม่ใช่ข่าวพลเมืองเพื่อแจกฟรี "เนื่องจากเราอยากจะรักษาสภาพของการทำงานแบบอาสาสมัครไว้ระดับหนึ่ง เราก็จะไม่ให้สิ่งตอบแทนไปหมดทุกอย่าง มันต้องมีการให้และการรับในการทำงานแบบนี้ กิจกรรมของเราต้องมีรายได้แต่ไม่ใช่ตั้งเป้าว่าจะแสวงหากำไร" การประชุมที่ว่านี้เป็นงานประชุมประจำปีของกลุ่มซีเจเอ็มวาย จัดที่โกตาคินาบาลู เมืองเอกของรัฐซาบา มาเลเซียเมื่อวันที่ 8 มิย.ที่ผ่านมา เพื่อนร่วมทีมของมารานไม่ต่ำกว่าสี่สิบคนต่างสวมเสื้อยืดแขนสั้นสีแดงเพลิงมีแถบขาวที่แขน หน้าอกปักไว้ด้วยสัญลักษณ์กลุ่ม ดูท่าว่ามันจะเป็นสิ่งทำให้พวกเขารู้สึกเป็นทีมเดียวกันมากขึ้น หลายคนโพสต์ท่าถ่ายรูปหมู่ด้วยความภูมิใจกับองค์กรของตัวเอง และในความเป็นจริงพวกเขาก็มีเหตุผลที่จะภูมิใจได้ แม้ซีเจเอ็มวายจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสื่อทางเลือกรายสำคัญคือกลุ่มมาเลเซียกินี แต่มารานอธิบายว่า ในการทำงานนั้นพวกเขาแยกตัวออกมาต่างหากไม่เกี่ยวข้องกัน จากโครงการ ซีเจเอ็มวายกลายมาเป็นกลุ่ม มีนักข่าวหลายคนในกลุ่มพวกเขาที่ถูกสื่อกระแสหลักดึงตัวไปทำงานด้วย บัดนี้ซีเจเอ็มวายกลายสภาพเป็นองค์กรธุรกิจไปแล้ว แต่กว่าจะมาถึงขั้นนี้พวกเขาก็ต้องตอบคำถามตัวเองมากมายเช่นกัน มารานและเพื่อนร่วมทีมของเขาถือว่ากลุ่มของตัวเองเป็นหัวหอกของการสร้างงานแบบนักข่าวพลเมือง พวกเขาเชื่อว่าไม่มีที่ใดในอาเซียนที่ทีมนักข่าวพลเมืองจะเข้มแข็งเท่าซีเจเอ็มวาย และซีเจเอ็มวายได้กลายมาเป็นแม่แบบของงานสร้างนักข่าวพลเมืองให้กับหลายประเทศ "สื่อกระแสหลักไม่เคยสนใจข่าวชุมชน งานข่าวของพวกเขามันกำหนดจากบนลงล่างและสื่อละเลยชาวบ้านและชุมชนเหล่านั้น ถึงที่สุดแล้ว คนในชุมชนคือคนที่เสพข่าวสารของพวกเขา แต่ข่าวของพวกเขามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านและชุมชนเลย นี่คือช่องว่างที่เราต้องการจะถม"เขาว่า พวกเขาเริ่มบุกเบิกงานข่าวพลเมืองตั้งแต่ปี 2551 และประสบความสำเร็จในการจัดอบรมนักข่าวพลเมืองไปกว่าแปดร้อยคน สองปีให้หลังมานี้กลุ่มผลิตงานเขียนไปกว่าสองพันชิ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของคนที่ทำก่อนเริ่มก่อนและเป็นหัวหอกก็คือ พวกเขามักจะต้องคลำทางด้วยตนเอง ซีเจเอ็มวายก็เช่นกัน พวกเขาต้องดิ้นรนบนหนทางที่โดดเดี่ยว สู้กับสื่อกระแสหลัก สู้กับตนเองและกับปัญหาการหาแนวทาง รูปแบบ วิธีการในการนำเสนอเพื่อที่จะแตกต่างอย่างมีนัย สิ่งที่สำคัญคือการสร้างองค์กรซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เงิน – เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มสื่อทางเลือกอื่นๆที่มีปัญหาในเรื่องเดียวกัน คนทำงานที่เป็นอาสาสมัครไม่ได้ค่าตอบแทน ปัญหาใหญ่ก็คือจะจูงใจให้พวกเขาทำงานต่อไปได้อย่างไรในเมื่อในการทำงานนั้นมีทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัวและขององค์กร และแม้ว่าวันนี้จะอยู่ได้ แต่พวกเขาจะเติบโตหรือขยายตัวได้อย่างไรในฐานะองค์กรของอาสาสมัคร "การทำงานสร้างงานให้กับนักข่าวพลเมืองเป็นเรื่องใหม่ เราไม่มีโมเดลที่จะให้ทำตาม พวกเราต้องคลำหาเส้นทางอันนั้นด้วยตัวเอง" มารานยอมรับ ที่ประชุมของซีเจเอ็มวายปีนี้คนน้อยลงกว่าเดิมชนิดกวาดตาดูแล้วน่าจะมีประมาณสักสี่สิบคนจากเดิมที่พวกเขาบอกว่ามีเป็นร้อย ทั้งนี้เพราะหลายคนเดินออกจากซีเจเอ็มวายไปแล้ว มารานบอกว่า มันเป็นผลของการถกเถียงกันภายในองค์กร เช่นเดียวกับมาเลเซียกินี องค์กรร่วมภายใต้ร่มเงาเดียวกันที่ทุกวันนี้ใช้วิธีขายข่าว ซีเจเอ็มวายเองก็มาถึงจุดที่ต้องตัดสินใจว่าจะจัดการหาเงินทุนได้อย่างไร ปัญหาอันนี้เป็นปัญหาโลกแตกของคนทำสื่อรายย่อยและของนักข่าวพลเมืองทั่วไปทุกแห่งก็ว่าได้ สำหรับซีเจเอ็มวาย ปัญหานี้มีการรับมือสองวิธีหลัก คนกลุ่มหนึ่งต้องการหาวิธีสร้างรายได้จากเนื้อหาของงานที่นักข่าวพลเมืองผลิตขึ้นมา อีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยและเชื่อว่านักข่าวพลเมืองต้องใช้หลักการการทำงานแบบอาสาสมัครต่อไปเพราะไม่เช่นนั้นพวกเขาก็จะสูญเสียการเป็นนักข่าวพลเมือง ฝ่ายแรกบอกว่า หากยังทำงานแบบอาสาสมัครต่อไปพวกเขาคงขยายงานไม่ได้ การถกเถียงเพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้ลงเอยด้วยการที่ฝ่ายแรกชนะ แต่ผลของมันก็คือการเดินจากไปของคนร่วมสี่สิบคนที่เคยร่วมงานกันมาก่อนในฐานะนักข่าวพลเมือง ส่วนคนที่ยังอยู่คือกลุ่มของมารานและเพื่อนๆซึ่งสัญญาว่าพวกเขาจะมองหาวิธีการหารายได้ "เราไม่มีความคิดว่าจะทำกำไรหรือโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง แค่ต้องการให้อยู่ได้ เพราะถ้าไม่มีเงินเราก็ไปต่อไม่ได้ นี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้งานทำข่าวอยู่ในกำมือของชาวบ้านธรรมดาๆได้ และเชื่อว่าถ้าเราทำได้ สักวันหนึ่งเราอาจจะดึงพวกเขากลับมาร่วมกลุ่มกันเหมือนเดิมได้อีก" มารานว่า สำหรับการหาทุน หลักการใหญ่ๆที่เขาแนะนำซึ่งใครๆก็อาจเอาไปทำได้ นอกเหนือจากจะต้องมีเวทีสำหรับมีงานออกสู่สาธารณะ ก็อาจจะทำสิ่งที่เขาเรียกว่า crowdsourcing เป็นการหาสปอนเซอร์สนับสนุนจากในหมู่ผู้อ่าน อาจจะตั้งประเด็นหรือหา theme ในการรายงานและระดมทุนจากผู้อ่านในการรายงานหัวข้อนั้นๆ เป็นต้น (ผู้สนใจอาจหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://dailycrowdsource.com/crowdsourcing-basics/what-is-crowdsourcing ) แต่ก็มาถึงคำถามที่ว่า แล้วเนื้อหาข่าวจากชุมชนมันจะขายได้หรือ มารานชี้ว่า ซีเจเอ็มวายต้องปรับตัวอย่างมากเช่นกันในเรื่องของเนื้อหา เพราะว่าอาการเบี้ยหัวแตกของข้อมูลที่นักข่าวพลเมืองในกลุ่มส่งกันเข้ามาอย่างไร้ทิศทาง ทำให้ในที่สุดซีเจเอ็มวายต้องปรับตัวด้วยการมีโต๊ะข่าวกำหนดประเด็นที่ให้ความสำคัญ นักข่าวพลเมืองที่ส่งข่าวในประเด็นที่โต๊ะข่าวต้องการจะได้รับค่าตอบแทน นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดในเรื่องลักษณะของงานอีกหลายประการเพื่อควบคุมคุณภาพของงานข่าว ผลของการเข้ามาควบคุมลักษณะการทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงคุณภาพเช่นนี้ทำให้นักข่าวพลเมืองร่วม 40% ผันตัวเองออกจากกลุ่มไป
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ที่ Media Inside Out
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สโนวเดน มีแผนลี้ภัยไปเอกกวาดอร์ Posted: 24 Jun 2013 07:17 AM PDT เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน ผู้เปิดโปงโครงการสอดแนมอินเตอร์เน็ตพยายามหลบหนีไปยังประเทศเอกวาดอร์ ท่ามกลางการไล่ล่าจากทางการสหรัฐฯ โดยล่าสุดรายงานข่าวจากสำนักข่าวอังกฤษเผยว่าเขาเล็ดรอดการจับกุมของซีไอเอได้ หลังยกเลิกกำหนดการเดินทางเดิมที่ต้องผ่านคิวบา รายงานข่าวของสำนักข่าว เดอะ การ์เดียน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2013 กล่าวว่า เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน ผู้เปิดโปงโครงการสอดแนมของสหรัฐฯ และอังกฤษ ได้พยายามหลบหนีไปยังประเทศเอกวาดอร์ หลังจากเดินทางออกจากฮ่องกงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เดอะ การ์เดียน กล่าวว่า สโนวเดนหายตัวไปอีกครั้งขณะอยู่ในกรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย เขาได้หนีออกจากเครื่องบินโดยไม่มีใครเห็น แต่ก็ถูกตามตัวโดยแพททริซิโอ ชาเวซ เอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ โดยมีการสันนิษฐานว่าเขาจะเดินทางไปยังกรุงกีโต ประเทศเอกวาดอร์ผ่านทางคิวบาในวันที่ 24 มิ.ย. สโนวเดนได้ขอลี้ภัยทางการเมืองในเอกวาดอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางการเอกวาดอร์ได้เคยให้ที่ลี้ภัยแก่จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีคส์ที่สถานทูตของพวกเขาในกรุงลอนดอน ทางวิกิลีคส์ซึ่งคอยช่วยเหลือสโนวเดนในการเดินทางและเรื่องทางกฏหมายก็ได้ออกแถลงการณ์เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า "สโนวเดนจะใช้ช่องทางปลอดภัยเดินทางไปยังเอกวาดอร์เพื่อเป็นที่ลี้ภัยทางการเมือง โดยมีนักการทูตและนักกฏหมายของวิกิลีคส์เป้นผู้ช่วยนำทาง" จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเขามีความรู้สึกร่วมกับจุดยืนของสโนวเดน และวิกิลีกส์สนับสนุนการเปิดโปงเรื่องโครงการสอดแนมระดับใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ทางด้านรัฐมนตรีการต่างประเทศของเอกวาดอร์ซึ่งกำลังเดินทางเยือนเวียดนามกล่าวว่าพวกเขาได้รับคำขอของสโนวเดนแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำตามข้อเรียกร้องหรือไม่ โดยทางการเอกวาดอร์กำลังวิเคราะห์เรื่องผลกระทบที่ต้องรับผิดชอบจากการตัดสินใจนี้อยู่ ทางการสหรัฐฯ แสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อการที่สโนวเดนหลบหนีจากฮ่องกง ขณะเดียวกันทางการรัสเซียก็ถูกโยงเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเรื่องนี้เมื่อมีกระแสข่าวว่าสโนวเดนถูกยึดหนังสือเดินทางก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากฮ่องกงขณะเดียวกันก็ไม่มีวีซ่าที่ใช้เดินทางไปรัสเซีย แต่ทางรัสเซียก็ไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ต่อเหตุการณ์ และบอกว่าสโนวเดนจะปลอดภัยจากการตามล่าของเจ้าหน้าที่ตราบใดที่เขายังอยู่ในห้องพักผู้โดยสารรอผ่านแดน ที่สนามบินนานาชาติเชเรเมทเยโว ขณะที่ ดีมิทรี เปสคอฟ โฆษกของผู้นำรัสเซียกล่าวว่าเขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ทางการฮ่องกงออกมายอมรับเรื่องที่อนุญาตให้สโนวเดนออกจากประเทศเมื่อ 5 ชั่วโมงหลังจากที่เขาขึ้นเครื่องบิน Aeroflot ไปยังกรุงมอสโควแล้ว และเพิ่งมีการค้นพบข้อผิดพลาดด้านเอกสารสองวันหลังจากที่มีการยื่นเอกสารเดินทางอย่างเป็นทางการ โดยที่เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อคืนวันอาทืตย์ที่ผานมาว่าพวกเขาผิดหวังที่ทางการฮ่องกงไม่จับกุมตัวสโนวเดน เมื่อราวสองทุ่มของวันจันทร์ (24 มิ.ย.) ตามเวลาของไทย สำนักข่าวลอนดอนอีเวนนิงสแตนดาร์ดรายงานข่าวความคืบหน้าว่าสโนวเดนไม่ได้ขึ้นเครื่องบินไปยังกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เพื่อเดินทางต่อไปยังเอกวาดอร์ตามกำหนดการ แต่ได้เดินทางโดยเส้นทางอื่นก่อนหน้านี้ทำให้สามารถเล็ดรอดหลบหนีการจับกุมของหน่วยซีไอเอได้
Edward Snowden: diplomatic storm swirls as whistleblower seeks asylum in Ecuador, The Guardian, 24-06-2013 Whistleblower Edward Snowden dodges CIA as Cuba jet takes off without him, London Evening Standard, 24-06-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ส.ต้านโลกร้อนพร้อมพิจารณาคดีครั้งแรกเพิกถอนโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน Posted: 24 Jun 2013 07:12 AM PDT พร้อมนำทีมทนายความขึ้นแถลงให้ปากคำสู้ กบอ.พร้อมชี้ความผิดพลาดในการลัดขั้นตอนของกฎหมายให้ศาลเห็นว่ารัฐขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมั่นใจคำพิพากษา 27 มิ.ย. นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 มิถุนายน 2556 นี้เวลา 13.00 น. ศาลได้มีหมายแจ้งให้คู่กรณีในคดีพิพาทตามคดีหมายเลขดำที่ 940/2556 ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับชาวบ้านรวม 45 คน ผู้ฟ้องคดี และนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ผู้ถูกฟ้องคดีมาศาลเพื่อดำเนินการพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีนี้ทีมทนายความของสมาคมฯ ได้เตรียมนำพยานหลักฐานของการดำเนินงานโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลมาเสนอต่อศาลถึงการใช้อำนาจทางปกครองโดยไม่มีเหตุอันสมควรโดยเฉพาะการใช้อำนาจในการยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ซึ่งขัดต่อกฎหมาย ปปช.โดยชัดแจ้ง รวมทั้งความไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ก้าวข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 67 มาตรา 85 และมาตรา 87 นอกจากนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าหากปล่อยให้โครงการน้ำของรัฐบาลและ กบอ. เดินหน้าต่อไป จะสร้างความเดือดร้อนและเสียหายให้เกิดขึ้นกับชุมชน ประเทศชาติในแง่ใดบ้าง รวมทั้งจะเกิดความขัดแย้งเป็นคดีความกันทั่วประเทศ อันเนื่องมาจากความไม่พอใจในการสร้างเขื่อน การสร้างอ่างเก็บน้ำ การทำฟลัดเวย์ (Floodway) เป็นต้น และการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ กบอ.เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นการสร้าง "นิติสัมพันธ์" เกิดขึ้นแล้วระหว่างรัฐบาลกับบริษัทร่วมค้าที่ชนะการประมูลในแต่ละโมดูล(Module) อันทำให้องค์ประกอบของการฟ้องคดีของสมาคมฯและประชาชนสมบูรณ์ เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลเมื่อคราวการพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า คดีนี้เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลที่กำหนดการนั่งอ่านคำพิพากษาในวันพฤหัสที่ 27 มิถุนายนนี้ เวลา 13.00 น. จะนำไปสู่ความเชื่อมั่นของภาคประชาชนต่อศาลปกครองว่า กระบวนการทางกฎหมายเท่านั้นที่จะหยุดยั้งการใช้อำนาจทางปกครองของหน่วยงานภาครัฐ ที่ระเริงอำนาจจนก้าวข้ามขั้นตอนของกฎหมายไป โดยไม่ฟังเสียงประชาชน ให้กลับมาสู่แนวทาง ขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดได้ ซึ่งในวันดังกล่าวมีกลุ่มประชาชนกว่า 300 คนจะเดินทางไปร่วมฟังคำพิพากษาด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านสะเอียบเดือด สาดน้ำมนต์จนท.บริษัทที่ปรึกษาเขื่อนแม่น้ำยม Posted: 24 Jun 2013 06:33 AM PDT ชาวสะเอียบ เดือด ราดน้ำมนต์รดหัว จนท.บริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาเขื่อนยมบน-ยมล่าง ของกรมชลประทานเข้าพื้นที่ หลังไม่ยอมสาบานห้ามเข้าพื้นที่ศึกษา ยันจะค้านเขื่อนจนถึงที่สุด สถานการณ์ความชุลมุนจนเกิดหวิดปะทะกันระหว่างชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้าน ใน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กับเจ้าหน้าที่ บริษัทที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการสร้างเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน และเขื่อนแม่น้ำยมตอนล่าง ของกรมชลประทาน นำโดย นายถาวร บุตรราศรี เจ้าหน้าที่บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด พร้อมคณะรวม 3 คน จนถูกชาวบ้านราดน้ำมนต์ใส่หัว สาบานจะไม่เข้ามาในพื้นที่สะเอียบ รวมทั้งจะไม่เกี่ยวข้องกับเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง อีกต่อไป และถูกเชิญให้ออกจากพื้นที่โดยทันที ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 22 มิ.ย. 2556 ที่วัดบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ นายถาวร บุตรราศรี เจ้าหน้าที่บริษัทปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการสร้างเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน และเขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) ของกรมชลประทานพร้อมคณะ ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยอ้างว่าได้ส่งข้อความทางโทรศัพท์ติดต่อขอเข้าพูดคุยกับนายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานการคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนในพื้นที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยทันทีที่ชาวบ้านในพื้นที่รู้ข่าวต่างพากันทยอยเดินทางมาปิดล้อมที่ทำการกำนัน ต.สะเอียบ กว่า 100 คน เนื่องจากไม่พอใจที่มีเจ้าหน้าที่บริษัทที่ปรึกษาเข้ามาในพื้นที่ พร้อมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่ 3 ราย มาสาบานตนที่วัดบ้านดอนชัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์เริ่มชุลมุนทันทีที่นายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี กรรมการกลุ่มราษฎร์รักษ์ป่า ขอให้นายถาวร พร้อมเจ้าหน้าที่กล่าวคำสาบานตนต่อหน้าพระประธานที่วัดบ้านดอนชัย ว่าจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับโครงการแก่งเสือเต้นและโครงการเขื่อนยมบน – เขื่อนยมล่าง จะไม่เข้ามาศึกษา หรือจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการใดๆ อีกต่อไป และหากผิดคำสาบานของให้มีอันเป็นไป ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่รายหนึ่ง ไม่ยอมสาบาน โดยลุกขึ้นและดึงไมค์มาคุยชาวบ้านว่าอยากให้ชาวบ้านเข้าในถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เพราะจะไม่ให้ศึกษาโครงการทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นโห่ร้องไม่พอใจ พร้อมกับนำขันน้ำมนต์ขึ้นสาดราดหัวเจ้าหน้าที่ผู้หญิงคนหนึ่ง จนสถานการณ์ตึงเครียด และนายถาวร ได้ขอร้องให้เจ้าหน้าคนดังกล่าวยอมปฏิบัติตามคำขอของชาวบ้าน ทำให้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง ทั้งนี้ชาวบ้านขอให้ทีมงานทั้งหมดออกจากพื้นที่ทันที โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สะเอียบ คอยอำนวยความสะดวกให้ นายประสิทธิพร กล่าวว่า ชาวบ้านสะเอียบรู้สึกกังวลใจอย่างมาก เพราะปัญหาเรื่องเขื่อนแก่งเสือเต้น จนมาเป็นเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่างมีมานานกว่า 24 ปีแล้ว และชาวสะเอียบได้เคยประกาศต่อสาธารณะชนแล้วว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนการสร้างเขื่อนอย่าเข้ามาในพื้นที่ แต่นายถาวรได้เข้ามาถึง 2 ครั้งแล้ว โดยครั้งที่แรกอ้างว่า เอาขนมมาฝากหลานประธานการคัดค้านเขื่อน ซึ่งชาวบ้านได้ตักเตือนว่าห้ามเขามาพื้นที่สะเอียบ และเชิญตัวออกนอกพื้นที่ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่เมื่อ ต.สะเอียบ เปลี่ยนประธานการคัดค้านเขื่อน ก็เข้ามาหาประธานคัดค้านเขื่อนคนใหม่อีก ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่า นายถาวรและบริษัท ปัญญาฯ เจาะจงจะเข้ามาหาประธาน เพื่อที่จะเอาขนมมาฝากเฉพาะหลานประธานคัดค้านเขื่อนเท่านั้น ชาวบ้านจึงไม่พอใจจึงเชิญตัวเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรง ส่วนรอบที่ 2 นายถาวรได้นำเอกสารเชิญเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนในโครงการเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่างมาวางไว้ที่บ้านกำนัน ชาวบ้านมารู้ทีหลังว่านายถาวรได้แอบเข้ามาอีกครั้ง ชาวบ้านจึงไม่ไว้ใจ และประกาศอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้มีสร้างเกี่ยวข้องกับการสร้างการเขื่อนเข้ามาในพื้นที่โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ได้มีการติดประกาศไว้ที่ที่ขื่อเมือง แต่จนถึงวันนี้นายถาวร และเจ้าหน้าที่บริษัท ปัญญาฯ ยังเข้ามาอีก ชาวบ้านจึงเข้าล้อมจับตัวมาสาบานตนต่อหน้าพระประธานวัดบ้านดอนชัย "ประเมินว่าหลังจากนี้ปัญหาการคัดค้านสร้างเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่าง น่าจะรุนแรงขึ้น เพราะนายปลอดประสพ สุรสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. ได้ยกเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่างให้กับ กลุ่มบริษัท ไอทีดี พาเวอร์ ไชนา เจวี อยู่ในโมดูลน้ำ เอ 1 ซึ่งจะเพิ่มความรุนแรงในพื้นที่แน่นอน เพราะงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของเอกชน ก็จะต้องเร่งเดินหน้าสร้างเขื่อนให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมขอประกาศว่าชาวบ้านที่นี่มีแกนนำมาก หากตายไปกี่คน ก็จะยังมีแกนนำคนรุ่นหลัง มาสืบสานคัดค้านเขื่อนในพื้นที่สะเอียบต่ออย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมีบริษัทใดๆ จะเข้ามาเราก็จะสงวนสิทธิ์ในการไม่อนุญาตให้เข้าพื้นที่ และหากยังดื้อรั้นจะเจอมาตรการสะเอียบต่อไป รวมทั้งเตรียมทวงถามไปยังอธิบดีกรมชลประทาน ขอให้คืนวงเงินในการศึกษาโครงการนี้ " นายประสิทธิพร กล่าว นายประสิทธิพร กล่าวอีกว่า ชาวบ้านจะไม่อพยพออกจากชุมชน และยังมีจุดยืนต้านเขื่อนขนาดใหญ่ โดยเสนอทางเลือกแผนการกักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา ในกรณีของลุ่มน้ำยม มีลำน้ำสาขาถึง 77 สาขา ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดอ่างเก็บ น้ำขนาดกลางประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยใช้งบไม่มากเท่ากับเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่างที่ต้องใช้ถึง 15,000 ล้านบาท และสูญเสียป่าสักทองผืนสุดท้ายกว่า 24,000 ไร่ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม ด้านนายศรชัย อยู่สุข กรรมการหมู่บ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9 ต.สะเอียบ กล่าวว่า "ขณะนี้ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านดอนชัย บ้านดอนแก้ว บ้านแม่เต้น และบ้านดอนชัยสักทอง ได้จัดส่งชาวบ้านหมู่บ้านละ 5 คนเฝ้าเวรยามบริเวณหัวงานสร้างเขื่อน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังคนแปลกหน้า และบริษัทที่ปรึกษาทำเขื่อน โดยออกค่าใช้จ่ายกันเอง เพราะกลัวว่าจะมีคนไม่หวังดีเข้ามาในพื้นที่ โดยยังยืนยันจุดยืนที่จะไม่เอาเขื่อนใดๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะลดขนาดเป็นเขื่อนยมบน-เขื่อนยมล่าง เพราะผลกระทบต่อผืนป่าสักทองกว่า 2 หมื่นไร่ และพื้นที่ทำกิน และชาวบ้านที่จะถูกน้ำท่วมยังคงมีอยู่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ถ้อยคำรำลึก 81 ปี อภิวิฒน์สยาม 24 มิถุนา 2475 ณ หมุดคณะราษฎร Posted: 24 Jun 2013 05:59 AM PDT
ย่ำรุ่ง 24 มิ.ย.56 ที่บริเวณหมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และประชาชน ประมาณ 50 คน จัดกิจกรรมรำลึก 81 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีการอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 การจุดเทียนวางดอกไม้ การปล่อยลูกโป่งที่มีข้อความเรียกร้องการปล่อยนักโทษการเมืองและยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ม.112 รวมทั้งการกล่าวรำลึก หัวใจของระบอบประชาธิปไตยส่วนหนึ่งคือรัฐสภา ไม้หนึ่ง ก.กุนที กวีคนเสื้อแดง กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่เราควรถอดบทเรียนก็คือคณะผู้อภิวัฒน์สยามที่กระทำการสำเร็จในวันนั้นประกอบด้วยกลุ่มบุคคลทั้งที่เป็นพลเรือนและทหาร และประกอบด้วยกลุ่มหมายความคิด ดังนั้นการรวมตัวของผู้ที่อยู่ในฝ่ายประชาธิปไตยในปัจจุบันจึงจำเป็นที่จะต้องประสานกลุ่มบุคคลหลากหลายความคิด แต่มีเจตนารมณ์ร่วมที่ต้องการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย หัวใจของระบอบประชาธิปไตยส่วนหนึ่งคือรัฐสภา อยากให้ประชาชนให้ความสำคัญกับรัฐสภา เนื่องจากขณะนี้มีผู้ที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ จึงขอเรียกร้องให้ร่วมกันพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยและระบอบรัฐสภา รวมทั้งรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน "บางคนสร้างยุทธศาสตร์ 'ราษฎรไม่พร้อม' คุณต้านยันไม่ยอมให้เราก้าวหน้า ท้องพระคลังถมทวีทรัพยา แต่ในบ้านชาวนาไม่มีเงิน 81 ปี ของประชาธิปไตย เป็นตะกั่วเคลือบกะไหล่ทองผิวเผิน ตกแต่งด้วยองค์กรกลุ่มส่วนเกิน ปฏิปักษ์เผชิญหน้าประชาชน ทั้งแผ่นดินระเหยกลิ่นไอกบฏ แพร่ความคิดเคี้ยวคดเคลื่อนสับสน แผ่แผงปีกบังแสงอาทิตย์หม่น ทั่วประเทศคลื่นเหียนสาบขนครุฑ" ไม้หนึ่ง ก.กุนที อ่าน บทกวี 81 ปี อภิวัฒน์สยาม จอมพลสฤษดิ์ ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนา รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของวันนี้ด้วยว่าคณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความสุขสมบูรณ์ของประชาชน ถ้าไม่มีคณะราษฎรต่อสู้นำวิถีก็ยังไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะพัฒนาไปเป็นอย่างไร อย่างน้อยที่สุดประชาธิปไตยที่มาถึงทุกวันนี้แม้จะล้มลุกคุกคลานบ้าง แม้จะมีอุปสรรค์แต่ก็ได้เริ่มต้นแล้วโดยคณะราษฎรที่เป็นผู้บุกเบิกนำทาง สำหรับประเด็นเรื่องการเรียกร้องให้วันที่ 24 มิ.ย. เป็นวันชาตินั้น รศ.ดร.สุธาชัย กล่าวว่า ราวปี 2482 รัฐบาลคณะราษฎรได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันชาติของประเทศไทย จึงมีฐานะเป็นวันชาติอยู่ราว 21 ปี ต่อมา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยกเลิก หมุดคณะราษฎรสัญลักษณ์ความเท่าเทียม จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมาร่วมกิจกรรมกล่าวถึงความสำคัญในวันนี้ด้วยว่า "เนื่องจากเป็นวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นวันที่ประชาชนต้องเข้าร่วมรำลึกและเฉลิมฉลอง ไม่ใช่วันของบุคคล แต่เป็นวันของประชาชนหรือจะเรียกว่า "วันชาติ" อย่างแท้จริงก็ได้ การเข้าร่วมรำลึกเป็นเพราะไม่อยากให้คนรุ่นหลังหรือคนร่วมสมัยกับพวกเราลืมวันนี้ ที่ผ่านมารัฐเองก็ไม่ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ ทำให้เหตุการณ์นี้ถูกลืมเลือน วันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่แท้จริงต้องได้รับการจดจำ เราต้องทำให้สังคมได้รู้ว่ามันมีวันที่สำคัญต่อประชาชนทั้งหมด มากกว่าที่จะจดจำวันที่เกี่ยวข้องกับบุคคล" จิตรา กล่าวถึงความสำคัญของหมุดคณะราษฎรซึ่งเป็นจุดที่ทำกิจกรรมว่า เป็นสัญลักษณ์ที่เล็กมากและมองมาแต่ไกลไม่เห็น ไม่โดดเด่นหรือต้องแหงนมอง แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต้องเท่ากันทุกคน ผู้ประสานงานกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เสนอแก้ รธน.50 รายมาตราง่ายกว่า สุวรรณา ตาลเหล็ก ผู้ประสานงานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ซึ่งจัดกิจรรมรำลึกเหตุการณ์นี้เป็นประจำกล่าวถึงความสำคัญของเหตุการณ์นี้ว่า วันนี้เป็นวันที่ก่อกำเนิดหลายอย่าง เช่น วันชาติ ซึ่งทางกลุ่มเคยจัดทวงคืนวันชาติมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่กลับไม่เป็นที่สนใจ รวมไปถึงเรื่องของหลักประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากการได้รัฐธรรมนูญ ผู้ประสานงานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ด้วย เนื่องจากมีที่มาและกระบวนการได้มาโดยไม่ชอบธรรม แม้มีการอ้างเรื่องการลงประชามติ แต่ก็เป็นการลงประชามติภายใต้บรรยากาศความกลัว การประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงต่างๆ รวมถึงกระแสให้รับก่อนเพื่อให้มีการเลือกตั้งแล้วแก้รัฐธรรมนูญภายหลัง ทั้งนี้ สุวรรณา เห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญทีเดียวทั้งฉบับอาจถูกแรงต้านเยอะ จึงมองว่าควรแก้รายมาตราไปก่อนจะง่ายกว่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เพจ "V for Thailand" จวก "ระบอบทักษิณ" สั่งโจรปล้นเซเว่น Posted: 24 Jun 2013 05:00 AM PDT กรณีปล้นเซเว่นที่ดอนเมือง ล่าสุดเพจศูนย์กลางหน้ากากกายฟอว์กส์ "V for Thailand" จวกเป็นยุทธวิธีชั่วร้ายของ "ระบอบทักษิณ" ให้โจรสวมหน้ากากปล้นเซเว่น พร้อมเตือน "ชาว V" ต้องรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมรัฐบาล ขณะเดียวกันได้นัดหมายสมาชิกเปลี่ยนรูปประจำตัวเฟซบุ๊คเป็นรูป "หน้ากากขาวมาตรฐาน" พร้อมกันคืนนี้ ที่มาของภาพ: หนังสือพิมพ์ข่าวสด จากกรณีที่มีผู้สวมหน้ากากกายฟอว์กส์ 2 ราย บุกปล้นร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ย่านดอนเมืองเมื่อเช้ามืดวันนี้นั้น ล่าสุดเพจ V for Thailand ได้โพสต์สเตตัสระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการดิสเตรดิตของระบอบทักษิณ "ความยิ่งใหญ่ของชาว V นับวันจะเป็นที่รับรู้ในวงกว้างและขยายตัวไปเรื่อยๆ จนรัฐบาลต้องหาทางสกัดกั้นทุกวิถีทาง ล่าสุด ยุทธวิธีการชั่วร้ายของระบอบทักษิณ และเหล่านักโกงเมือง ที่จะดิสเครดิตของหน้ากากขาวได้บังเกิดขึ้นแล้ว โดยใช้วิธีการให้โจรสวมหน้ากาก แล้วปล้นสะดวกซื้อ ย่านดอนเมือง เมื่อคืนที่ผ่านมา วิธีแบบนี้ พวกเสื้อแดง และขี้ข้านักโกงเมืองถนัดที่สุด พวกเราชาวV ต้องรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของรัฐบาลให้ทัน" นอกจากนี้ เพจ V for Thailand ได้นัดหมายให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้เปลี่ยนรูป profile ประจำตัวในเฟซบุ๊ค เป็นรูปหน้ากากขาวในเวลา 21.00 น. คืนนี้ด้วย โดยประกาศว่า "ประกาศรวมพลชาว V คืนนี้ เตรียมตัวรับภารกิจสำคัญ เวลา 21.00 น.ภารกิจสำคัญ ขอให้เพื่อนๆ เตรียมตัวเปลี่ยน profile picture เป็นหน้ากากขาวมาตรฐาน (หน้ากากขาวหน้าตรง) เพื่อความพร้อมเพรียงในการจัดกิจกรรม" อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 03.10 น. ของวันที่ 24 มิ.ย. หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า ตำรวจ สน.ดอนเมือง ได้รับแจ้งเหตุคนร้ายเป็นชาย 2 คน รูปร่างผอม สูงไม่เกิน 170 ซม. สวมหน้ากากกายฟอว์กส์ ใช้อาวุธปืนบุกเข้าชิงทรัพย์ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ย่านถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง โดยได้เงินสดในลิ้นชักไป 1,600 บาท เหล้าแบล็คเลเบิ้ล 2 ขวด ราคาประมาณ 2,800 บาท จากนั้นวิ่งขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดไว้หน้าร้านหลบหนีไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 24 Jun 2013 04:35 AM PDT ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ฟังสุนทรพจน์ " I have a Dream " ที่มีชื่อเสียงของ Martin Luther King ,Jr. ในคราวการเดินขบวนครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเสมอภาคของคนผิวดำอเมริกา พ.ศ.๒๕๐๖ ประโยคหนึ่งที่สำคัญได้แก่ การฝันถึงเสรีภาพและความยุติธรรมซึ่งเป็นรากฐานของความฝันของชาวอเมริกัน (I still have a dream, it is a dream deeply rooted in the American dream.) ซึ่งหมายความถึงความฝันของคนที่สอดคล้องไปกับความฝันของสังคม ความหมายของคำว่า "ความฝัน" ในสุนทรพจน์นี้มีสัมพันธ์กับความคิดหลายประการ ได้แก่ ความสำนึกในความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องความเสมอภาคในสังคมที่ยังคงไว้ซึ่งความอยุติธรรมของความไม่เท่าเทียม แม้ว่าสังคมนั้นพยายามบ่อบอกแก่ทุกคนว่าเป็นดินแดนแห่งความเสมอก็ตาม ขณะเดียวกัน " ความฝัน" นี้ไม่ใช่นั่งฝัน/นอนฝันอยู่เฉยๆ หากแต่จะต้องมีปฏิบัติการณ์ของปัจเจกชนและกลุ่มทางสังคมเพื่อให้บรรลุซึ่งความฝันนั้น ผมหยิบสุนทรพจน์นี้มาเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความหมายที่ฝังอยู่ในคำแต่ละคำ ก็จะแปรเปลี่ยนไปเพื่อทำหน้าที่ทางสังคมแบบใหม่แม้ว่าจะใช้คำๆ เดิมอยู่ก็ตาม "ความฝัน" ในยุคก่อนสมัยใหม่ทุกแห่งบนพื้นที่โลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็น "ความฝัน" ที่เกิดขึ้นในช่วงการนอนหลับของคนและเป็นความฝันของปัจเจกชน (พูดง่ายๆก็คือ หลับแล้วฝัน) ความฝันทั้งหมดของคนในยุคสมัยก่อนจะถูกให้ความหมายว่าเกิดขึ้นมาเพราะอำนาจเหนือธรรมชาติได้เข้ามาบอกอนาคตที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้าย อำนาจเหนือธรรมชาติที่เข้าสร้างความฝันนี้มีทั้งเทพเจ้า ภูตผี ผีบรรพบุรุษ และเทพประจำพื้นที่ แล้วแต่แต่ละสังคมจะเคารพนับถืออะไร การทำนายฝันที่เกิดขึ้นจากอำนาจเหนือธรรมชาติจึงเป็นการทำนายว่าลักษณะความฝันนั้นๆ จะเป็นภาพหรือเหตุการณ์อะไรในอนาคต เช่น ในตำราพรหมชาติของไทย (หรือที่คนไทยรับรู้กันโดยทั่วไปแม้ว่าไม่อ่านตำราพรหมชาติ) หากฝันว่าฟันหัก ก็หมายความจะมีญาติสนิทเสียชีวิต แม้ว่าความฝันที่นำมาทำนายจะเป็นของแต่ละคนและคำทำนายความฝันก็เป็นการทำนายอนาคตของคนคนเดียว แต่คำทำนายก็จะเป็นการทำนายที่เน้นให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมของคนๆนั้นกับสรรพสิ่งรอบตัว ความฝันจึงถูกทำให้เป็นภาพเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตที่คน/มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ อย่างมากก็คือทำใจรับกับความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ความฝันและความหมายของความฝันลักษณะนี้เกิดขึ้นในสังคมที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทางสังคมมากนัก และโอกาสในการที่คนจะเลื่อนชนชั้นเป็นไปได้ยาก พร้อมกันนั้น คนทั้งหมดเชื่อว่าวิถีชีวิตของตนก็ถูกกำหนดมาแล้วจากอำนาจเหนือชาติทั้งหลาย เช่น กรรม ความฝันและความหมายของความฝันจึงเป็นเพียงการบอกกล่าวในแต่ละจังหวะหรือแต่ละจุดของชีวิตที่จะต้องเป็นไปในอนาคตตามผล/การกำหนดของอำนาจเหนือธรรมชาติ การหลับแล้วฝันหรือความฝันยังคงมีอยู่กับคนตลอดมา แต่ความหมายของความฝันและความหมายของคำว่า " ความฝัน" เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายในระยะต่อมา คำว่า "ความฝัน"ถูกทำให้เกิดความหมายใหม่ที่ซ้อนทับความหมายเดิมเอาไว้ เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและทำให้เกิด "โลกสมัยใหม่" ขึ้นมา การเดินทางเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ๆ พร้อมกับการเกิดสำนึกในศักยภาพของมนุษย์อันนำมาซึ่งสภาวะการเริ่มสลัดหลุดจากการกำหนดชีวิตของอำนาจเหนือธรรมชาติ "ความฝัน" จึงเริ่มถูกแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกยังคงเป็น " ความฝัน" ของปัจเจกชนที่หลับและฝันไป ซึ่งยังคงใช้หลักเกณฑ์การทำนายฝันแบบเดิม ส่วนที่สอง เริ่มกลายเป็น "ความ (ใฝ่) ฝัน" ที่จะสร้างอนาคตของคนและสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น ความฝันที่จะพบดินแดนใหม่ที่เต็มไปด้วยทองและจะนำทองกลับดินแดนของตน ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยก็มองว่าเป็น "ความ(ใฝ่)ฝัน " ที่เป็นไปไม่ได้ ต้นศตวรรษที่ยี่สิบ เมื่อปรมาจารย์ทางจิตวิทยา Sigmund Freud ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Interpretation of Dream ข้อถกเถียงในการทำความเข้าใจ "ความฝัน" ของบุคคลก็หันเหไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจการทำงานของจิตวิทยาปัจเจกชน และเริ่มลดทอนความสำคัญของการทำนายฝันแบบเดิมลงไป พร้อมกันนั้นเอง การขยายตัวของกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนคำอธิบายปรากฏการณ์รอบตัวมนุษย์ให้มาสู่ความจริงเชิงประจักษ์มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้การอธิบายความฝันแบบเดิมหมดพลังลงไปเรื่อยๆ ยกเว้นบางเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญในความสัมพันธ์ทางสังคมของสังคมนั้นๆ เช่น ที่เหลืออยู่ในสังคม ได้แก่ ฝันเห็นงู ฝันว่าฟันหัก เป็นต้น การใช้คำเดิมคือ " ความฝัน" ในความหมายใหม่ได้เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น เมื่อสังคมเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่สูงมากขึ้น การเลื่อนชนชั้นเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น มนุษย์เริ่มรู้สึกว่าสามารถกำหนดชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของชีวิตของตนเองได้มากขึ้น พร้อมกันนั้นเอง โลกก็ได้ให้ความหมายใหม่ที่เน้นความสำเร็จที่มนุษย์สามารถจะกระทำขึ้นมาได้ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงนี้ "ความฝัน" จึงมีความหมายใหม่ที่เป็นเสมือนเป้าหมายในอุดมคติที่คนวาดหวังเอาไว้ และจะต้องพยายามดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายนั้น ความสร้างความหมายใหม่ซ้อนทับไปในในคำเดิม (ไม่ว่า " ความฝัน "ในภาษาไทย " Dream" ในภาษาอังกฤษหรือ yume ในภาษาญี่ปุ่น) ก็ได้ทำให้เกิดการสื่อสารความหมายที่ซับซ้อนมากขึ้นและความซับซ้อนนี้ก็จะกำกับระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนตามไปด้วย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในโลกเสรี โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ได้ทำให้โอกาสในการเลื่อนชนชั้นเปิดออกอย่างกว้างขวาง จึงนำไปสู่การสร้างความฝัน/ความใฝ่ฝันที่จะก้าวไปสู่การมีชีวิตแบบใหม่ของผู้คน และทำให้เกิดการสร้าง "ความฝันของคนเมริกัน" (American Dream) ขึ้นมา แน่นอนว่าสังคมอเมริกานั้นได้สร้าง "ฝัน" ไว้ก่อนหน้านั้น แต่ความฝันก่อนหน้าไม่ใช่ความฝันของคนอเมริกันทั้งหมด เพราะคนผิวสียังคงถูกกีดกันออกจากความฝันร่วมกันของสังคม แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทุกคนล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมกันในการสร้างความฝันและการต่อสู้เพื่อบรรลุความฝันนั้น ท่านผู้อ่านที่มีอายุสักหน่อยคงจำภาพยนต์เรื่อง The Graduate ได้ ภาพยนต์เรื่องนี้ได้สะท้อน "ความฝันของอเมริกัน" ไว้อย่างเต็มเปี่ยม ชีวิตและการตัดสินใจของปัจเจกชนถุกยกไว้เหนือสิ่งอื่นใด พร้อมกันนั้นภาพความสำเร็จของชีวิตอันเกิดจากการลงทุน/ลงแรงไล่ล่าความฝันปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มชัด (หากจำหนังได้ก็คงจำเพลง The Sound of Silence และ Mrs. Robinson ได้นะครับ) ในช่วงใกล้เคียงกัน การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างไพศาล โอกาสในการเลื่อนชนชั้นเปิดขึ้นอย่างกว้างขวางพร้อมกันนั้น การศึกษาก็ขยายตัวออกไปเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การศึกษากลายเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสของการเดินผ่านไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า นักศึกษาจึงได้ร่วมกันสร้างความหมายใหม่ให้แก่ "ความฝัน" โดยได้แทนที่ความฝันด้วยความหมายของความใฝ่ฝัน คนไทยที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ก็ได้เข้าร่วมการเปลี่ยนความหมายของความฝันนี้อย่างคึกคัก หากตามอ่านหนังสือที่นักศึกษาผลิตกันในช่วงนั้นจะพบว่าการพูดกันมากมายในเรื่องการทำให้ความฝันเป็นจริงหรือความตั้งใจที่จะฝันว่าชีวิตตนเองจะไปสู่อะไร พร้อมกันนั้นนิตยสารรายสัปดาห์หรือรายปักษ์ที่มีมากขึ้นก็ได้แสดงภาพของความใฝ่ฝันที่จะต้องเดินไปให้ได้ คอลัมน์สอนการมีกิริยามารยาทที่เหมาะสมในชีวิตที่กำลังจะมาถึงก็มีในทุกเล่มและทุกฉบับ ความฝันแบบ "หลับแล้วก็ฝัน" ถูกทำให้ลดความสำคัญลงไป เพราะความ (ใฝ่) ฝันแบบใหม่ได้เข้ามาแทนที่ นักคิดฝ่ายซ้าย บรรจง บรรเจิดศิลป์ (อุดม ศรีสุวรรณ) ซึ่งได้เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจนและได้เขียนหนังสือเพื่อปรับฐานการคิดและความรู้สึกไว้ในหนังสือที่มีพลังอย่างมาก เรื่อง "ชีวิตและความใฝ่ฝัน" ความเปลี่ยนแปลงความหมายของความฝันที่เกิดขึ้นภายใต้การเคลื่อนย้ายทางสังคม (Social Mobilization) ที่เข้มข้นขึ้นได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ทศวรรษของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนมีความหวังเริ่มหดหายไป ในระยะหลังจากทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ความผันผวนไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจไทย การกระจุกตัวของกลุ่มคนชนชั้นนำปรากฏชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับการสร้างกำแพงทางวัฒนธรรมของชนชั้นก็ปรากฏชัดเจนขึ้น ได้ทำให้การข้ามชนชั้นทำได้ยากมากขึ้น โอกาสของผู้คนในการเลื่อนชนชั้นมีน้อยลง ความหมายของความฝันลักษณะที่ "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง" เริ่มกลับมาสู่ความหมายว่าหากจะฝัน ก็เท่านั้นแหละ คนธรรมดาไม่มีทางที่จะเดินไปสู่ความฝันได้ ความ (ใฝ่) ฝันที่จะมีอนาคตที่งดงามและเป็นความฝันที่จะต้องลงแรงกายแรงใจอย่างหนักเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นสูญสลายไปทีละเล็กทีละน้อย พร้อมๆกับการขยายตัวของการตอบแทนความฝันด้วยการซื้อล็อตเตอรี่/หวยใต้ดิน จนบัดนี้หาใครใช้ความหมายของความฝันที่เป็นความ (ใฝ่) ฝันได้ยากเต็มทน การเคลื่อนย้ายสถานะจากนักเรียนมาสู่นักศึกษาที่ในสมัยก่อนนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดการสร้างความ (ใฝ่) ฝันอย่างชัดเจนว่าเมื่อเป็นนักศึกษาก็หมายถึงเป็น "ปัญญาชน" และจะต้องฝันไปว่าจะสร้างอนาคตของตนและอนาคตของสังคมให้งดงามได้อย่างไร แม้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2516 วรรณกรรม/บทกวีของนักศึกษาที่ถูกให้ชื่อในภายหลักว่า " วรรณกรรม/บทกวีหาผัว-หาเมีย" ก็ยังสอดแทรกด้วยความ (ใฝ่) ฝันอยู่ แต่ที่น่าเศร้าใจ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลุ่มนักศึกษานักศึกษาระยะสองทศวรรษหลัง นักเรียนที่เคลื่อนย้านสถานะมาสู่นักศึกษาเกือบทั้งหมดเติบโตมาในสังคมที่ไม่มีความ(ใฝ่)ฝันจุนเจือเกื้อหนุนให้ฝัน พวกเขาจึงเข้ามาสู่การศึกษาเพียงเพื่อจะเอาใบปริญญาออกไปหางานที่ทำตามที่คนอื่นสั่งให้ทำเท่านั้น หากถามพวกเขาว่าความฝันของพวกเขาคืออะไร คำตอบคือ ความเงียบ เพราะพวกเขาไม่เคยมีความ(ใฝ่)ฝันใดๆ อย่างมากก็มีความฝันเพ้อเจ้อที่ไม่ต้องการการลงแรงกายแรงใจอะไร เช่น รอเดินชนกับคุณชายพุฒิภัทร ที่มุมตึกแล้วก็จะตกหลุมรักกัน การเปลี่ยนชื่อ/นามสกุลของนักศึกษาเกิดมากขึ้นในระยะสองทศวรรษหลังนี้ ก็เพราะพวกเขาไม่ได้มีความ (ใฝ่) ฝันอันใด หากแต่มีความหวังลมๆแล้งๆว่าหากเปลี่ยนชื่อ/นามสกุลแล้วจะโชคดี ( อย่างบังเอิญ) โดยไม่เคยคิดเลยว่าความโชคดีไม่มีทางเกิดขึ้นหากพวกเขาไม่เตรียมตัวให้พร้อมที่จะฉวยจังหวะเพื่อจะได้พบกับความโชคดี ความเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่าความฝันได้กำหนดเส้นทางเดินของชีวิตปัจเจกชนและชีวิตของสังคม เพราะคำนี้ไม่ใช่แค่คำเท่านั้น หากแต่เป็นชุดของความคิดที่อธิบายความสัมพันธ์ของคนกับสังคมรอบข้างที่ถูกฝังเอาไว้ในระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม ความหมายที่เลื่อนไหลไปมาระหว่างความฝันกับความ (ใฝ่) ฝันของกลุ่มคนในสังคมจึงไม่ใช่เพียงแค่ปรากฏการณ์ของการเล่นคำในสังคมเท่านั้น หากแต่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นถึงคุณภาพของผู้คนในสังคมช่วงเวลาหนึ่งๆ ความหมายของการใช้คำว่าความฝันในสังคมไทยวันนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสิ้นหวังของผุ้คนในสังคมไปแล้ว เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ความใฝ่ฝันแบบฝันให้ไกลไปให้ถึงกลับมาสู่คนไทยและสังคมไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘สุภิญญา’ สงวนความเห็น กสท.ไม่ออกหลักเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ Posted: 24 Jun 2013 03:46 AM PDT กสท.ไม่ออกประกาศเกณฑ์คัดเลือกทีวีสาธารณะ ทำเพียงหนังสือเชิญชวนแต่ไม่มีเกณฑ์การให้คะแนน 'สุภิญญา' สงวนความเห็นคัดค้าน ชี้บอร์ดใช้ดุลยพินิจล้วนต่อการให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะต่างจากเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกช่องธุรกิจ วันนี้ (24 มิ.ย.56) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แถลงผลการประชุมคณะกรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ว่าที่ประชุม กสท. มีมติในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1.ที่ประชุม กสท.มีมติเห็นชอบคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 94 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการธุรกิจ 61 ราย กิจการบริการสาธารณะ 18 ราย และกิจการบริการชุมชน 15 ราย ทั้งนี้ได้มีการพิจารณาคำขอทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 2,141 ราย 2.ที่ประชุม กสท.ได้พิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญตามมาตรา 37 จึงให้จัดการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม ก่อนนำเข้าที่ประชุม กสท.และที่ประชุม กสทช.และจัดการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปต่อไป 3.ที่ประชุม กสท.ได้พิจารณาความเห็นจากกลุ่มงานกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.ประกอบการพิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบประเภทบริการสาธารณะเพิ่มเติม ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล ทาง กสทช.ได้ออกประกาศไปแล้วทั้งสิ้น 8 ฉบับ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะไว้เรียบร้อยแล้ว คือ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 และ ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล พ.ศ.2556 และจากการตรวจสอบหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ฉบับมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องออกประกาศเพิ่มเติม โดยทางสำนักงานให้ออกเป็นประกาศเชิญชวน เพื่อสร้างความเข้าใจในร่างประกาศข้างต้น 4.ที่ประชุม กสท.ได้พิจารณา ร่างหนังสือเชิญชวนขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล บริการสาธารณะ ประเภทที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน มีมติให้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มและนำเสนอที่ประชุม กสท.อีกครั้ง ในวันเดียวกัน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้สงวนความเห็นคัดค้านความเห็นประกอบการพิจารณาจากสำนักงานด้านกฎหมายต่อ (ร่าง) ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ พ.ศ. .... เพราะจริงอยู่ว่ามีการออกกฎ กติกาหลายอย่างแล้ว แต่มีจิ๊กซอว์สำคัญบางตัวหายไป นางสาวสุภิญญา ยกตัวอย่าง การแบ่งช่องสาธารณะ 12 ช่อง (3:1:3:2:3) เป็นแค่มติบอร์ด กสท.ครั้งที่ 12 วันที่ 25 มี.ค.56 ที่เห็นชอบต่อแนวทางการอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทกิจการบริการสาธารณะ กำหนดให้เป็นช่องออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) รายเดิมจำนวน 3 ช่อง (กองทัพบก – กรมประชาสัมพันธ์ และไทยพีบีเอส) สำหรับประเภทที่เน้นรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 1 ช่อง สำหรับกิจการประเภทที่ 1 เพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ จำนวน 3 ช่อง สำหรับกิจการประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยสาธารณะ จำนวน 2 ช่อง และสำหรับการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาล รัฐสภากับประชาชน การสนับสนุนการเผยแพร่ประชาธิปไตย รวมถึงบริการข่าวสารแก่คนพิการ หรือกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม จำนวน 3 ช่อง ขณะที่ช่องทีวีประเภทธุรกิจ (3:7:7:7) รวม 24 กลับถูกระบุใน (ร่าง)ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. .... ที่กำลังจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในวันพฤหัสที่ 27 มิ.ย.นี้ ได้แก่ ช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว จำนวน 3 ช่อง ช่องข่าวสารและสาระ ช่องทั่วไปวาไรตี้แบบความคมชัดปกติ และ ช่องทั่วไปวาไรตี้แบบความคมชัดสูง จำนวนอย่างละ 7 ช่อง ตนเองจึงตั้งคำถามว่าเพียงพอหรือไม่เมื่อเทียบกับประกาศฯ เกณฑ์ของประเภทธุรกิจ กับการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อบริการสาธารณะ อย่างไรก็ตาม แม้ กสท.มีมติผ่านออกหนังสือเชิญชวนขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล บริการสาธารณะ เฉพาะประเภทที่สาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และรัฐสภากับประชาชน และสนับสนุนเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม แต่ กสท.ยืนยันมติที่จะไม่จัดทำเกณฑ์การพิจารณา หรือคะแนน พิจารณาคุณสมบัติทีวีสาธารณะทั้ง 3 ประเภท โดยเปิดให้กรรมการใช้ดุลยพินิจเป็นตัวตั้งเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตการออกใบอนุญาตทีวีประเภทธุรกิจที่คัดเลือกจากเงินประมูล นางสาวสุภิญญา กล่าววแสดงความเห็นว่า เรื่องนี้มีผลกระทบต่อความสำคัญในการใช้อำนาจของ กสทช.ที่มีผลทางปกครอง ซึ่งการออกเป็นหนังสือเชิญชวนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ เพราะอาจส่งผลทางกฎหมายต่อไปในอนาคต ส่วนตัวจึงเห็นควรออกเป็นประกาศ กสทช.และมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตามที่กฎหมายกำหนดด้วย นอกจากนี้ กสท.เห็นชอบให้จัดรับฟังความคิดเห็น Focus Group ต่อ (ร่าง) ประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์เนื้อหาการกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งนางสาวสุภิญญาฯ ได้สงวนความคิดเห็นในบางประเด็นต่อร่างฯ นี้ เนื่องจากร่างฯ ฉบับดังกล่าว มีสาระที่อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพจึงต้องใช้ความรัดกุมและมีความละเอียดอ่อนในการพิจารณา โดยเฉพาะการใช้อำนาจกำกับดูแลตามมาตรา 37 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ ทั้งนี้ กสท.มีมติรับข้อเสนอ เรื่อง "ทิศทางโทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอล" เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการจัดทำเงื่อนไขในการพิจารณาออกใบอนุญาต และเป็นข้อมูลในการกำกับดูแล ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ประเภท บริการธุรกิจระดับชาติสำหรับผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องเด็ก เยาวชน ตามมติ กสท.ในการกำหนดจำนวนใบอนุญาต 3 ใบสำหรับช่องรายการในหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว นอกจากนี้ กสท.เตรียมจัดทำ Focus Group ข้อเสนอแนวปฏิบัติ เรื่อง การรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบรอดแคสในระบบดิจิตอลประเภททางธุรกิจระดับชาติ ตามข้อความใน (ร่าง) ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลฯ ข้อ 13.5 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด โดยข้อเสนอแนวปฏิบัตินี้จะเป็นเงื่อนไขให้ผู้รับใบอนุญาตมีหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหากับผู้บริโภคได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องรอ กสทช.พร้อมทั้งหาทางหรือวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดิมซ้ำอีก โดยผู้ประกอบต้องรวบรวมฐานข้อมูลปัญหาเพื่อ กสทช.จะได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการจัดทำนโยบายต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มนักเขียนแสงสำนึก แถลงทุกฝ่ายควรเคารพสิทธิในการแสดงออก Posted: 24 Jun 2013 03:30 AM PDT 24 มิ.ย. 56 - คณะนักเขียนแสงสำนึก ได้ออกแถลงการณ์ในวาระครบรอบ 81 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นำโดยคณะราษฎร ชี้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนประชาธิปไตย วอนทุกฝ่ายเคารพการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ แม้จะไม่เห็นด้วย ระบุไม่เห็นด้วยกับการแสดงออกของกลุ่มแดงเชียงใหม่ที่ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มหน้ากากขาว เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา 0000 แถลงการณ์แสงสำนึกฉบับที่ ๓ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ในโอกาสครบรอบ ๘๑ ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นำโดยคณะราษฎร ที่มุ่งหวังให้ "อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย" คณะนักเขียนแสงสำนึกต้องการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อร่วมภารกิจการทำงานความคิดขับเคลื่อนประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง เราเชื่อว่าตราบใดที่คนไทยยังไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตราบนั้นประเทศไทยก็จะไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องที่ทำลายความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการขอนายกพระราชทาน หรือการเรียกร้องให้กองทัพก่อรัฐประหาร แม้ว่าเราจะเห็นว่าความคิดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งโง่เขลาและน่าอดสูเป็นอย่างยิ่ง แต่เรายืนยันว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะความคิดเห็นทางการเมือง ไม่ว่าความเห็นเหล่านั้นจะอัปลักษณ์เพียงใด เราไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นโดยสันติ ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นโดยรัฐหรือประชาชน เราไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ในการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่มีความคิดเห็นต่างกันเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายนที่ผ่านมา และเราไม่เห็นด้วยกับการขัดขวางปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นที่กระทำโดยสันติ ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เรายืนยันว่าการกระทำที่ใช้ความรุนแรงโดยอ้างนามของประชาชนเพื่อปิดกั้นการแสดงออกของประชาชนนั้น เป็นภัยคุกคามต่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนที่ยอมรับไม่ได้ ฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตยต้องมีความเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชนซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานโดยไม่มีข้ออ้างใด ๆ การกล่าวอ้างตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยโดยยอมรับกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรมและบั่นทอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย นั้นคือการกระทำที่ปฏิเสธตัวเอง จำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าการฟ้องร้องกล่าวโทษบุคคลใดก็ตามด้วยกฎหมายนี้ คือการกระทำที่หักหลังความเป็นประชาธิปไตย และเป็นความอัปยศของคนที่กล่าวอ้างหลักประชาธิปไตย หากเกลียดตัวก็จงอย่ากินไข่ เรียกร้องประชาธิปไตยก็ต้องเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองใด เชื้อชาติใด สัญชาติใด หรือศาสนาใด ในเมื่อเรียกร้องกล่าวอ้างประชาธิปไตยก็ย่อมต้องไม่ส่งเสริมกฎหมายที่ขัดกับหลักประชาธิปไตย ไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้งสิ้นนอกจากความไม่ละอายแก่ใจสำหรับผู้ที่กล่าวอ้างประชาธิปไตย หากแต่ยังฟ้องร้องกล่าวโทษบุคคลอื่นด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 คณะนักเขียนแสงสำนึกหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนทางการได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียม รวมไปถึงการเคารพความเห็นต่างของคนไทย จะเกิดขึ้นแก่สำนึกของ "ราษฎรทั้งหลาย" อย่างแท้จริง สมดังเจตนารมย์ของคณะราษฎร ที่ได้มอบสิทธิในฐานะพลเมืองที่เท่าเทียมกันแก่ประชาชนชาวไทยตั้งแต่เมื่อ 81 ปีมาแล้ว คณะนักเขียนแสงสำนึก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โรฮิงญา: ชีวิตที่ห้องกัก ตอนที่ 2: ตม. กาญจนบุรี Posted: 24 Jun 2013 03:22 AM PDT ปลูกฝีแขนซ้ายพม่า แขนขวาบังคลาเทศ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พร้อมกับนายกาลัม ล่ามชาวโรฮิงญาได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องกักชาวโรฮิงญา จำนวน 150 คนอายุระหว่าง 14-45 ปี เป็นเด็กชาย 32 คน (พวกเราได้ยินเสียงสวดอย่างเศร้าโศก และเสียงอ่านอัลกรูอาน จากเด็กชายผู้หนึ่ง ซึ่งสามารถจดจำคำสอนในคัมภีร์ได้ทั้งหมด)โดยมี พ.ต.ท.สมพล กาญจนาได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นและอยู่ร่วมรับฟังการสัมภาษณ์ด้วยความสนใจ (อนึ่ง ที่ห้องกักแห่งนี้ มีชาวเบงกาลี จำนวน 96 คน เข้ามาจากอินโดนีเซีย ถูกขังอยู่ ทำให้เข้าใจการจำแนกขาวโรฮิงญา ออกจากชาวเบงกาลี โดยดูจากรอยปลูกฝี ที่แขนคนละข้างกัน) ข้อมูลเบื้องต้น ได้สัมภาษณ์ชาวโรฮิงญา 3 ราย โดยเลือกตัวแทนจากผู้นำกลุ่ม ผู้นำโดยธรรมชาติ และผู้ที่อายุน้อยที่สุด (1) นายนูรกา มาล สวมเสื้อสีฟ้า อายุ 18 ปี (2) นายซาฟัด อาลาม สวมเสื้อสี้ส้ม อายุ 25 ปี (3) ดช.ยูรูลอค สวมเสื้อสีดำ อายุ 14 ปี ทั้งหมดเขียนภาษาพม่าได้เล็กน้อย เพราะได้มีโอกาสเรียน แค่ ป.2 – 3 จากการพูดคุยผ่านล่าม ได้ความว่า ผู้ต้องกักชาวโรฮิงญาทั้ง 150 คนที่นี่ ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน มาจากหมู่บ้านต่างๆแห่งละ 20 – 30 คน เมืองมองดอง รัฐอาระกัน บ้านเกิดที่อยู่นั้น มีแม่น้ำสายกว้างใหญ่ถึง 1 กิโลเมตร ลงเรือเมือวันที่ 6 มกราคม 2556 จำนวน 179 คนในเรือลำเดียวกัน(อยู่ที่ห้องกักตม.กายจนบุรี 150 คน แยกไปที่ห้องกักตม.ด่านสิงขร ประจวบคีรีขันธ์ เครื่องยนต์ 45 แรงม้า โดยลงขันกันเท่าที่มีเงินเพื่อออกจากพม่า โดยไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน ระหว่างเดินทางออกมา มี "นากาซาร์" ตรวจพบ แต่สอบถามแล้วก็บอกให้รีบออกไป และให้ข้าวสาร 2 กระสอบ ออกเรือมาได้ 16 วัน เรือก็จอดฝั่งเอง อดข้าวอดน้ำนาน 6 วันแล้ว มีเรือประมงไทยช่วยลากเข้าฝั่ง จึงรู้ว่าเป็น " Thailand " 2. ที่เมืองมองดอง รัฐอาระกันนั้น เมื่อก่อนชาวยะไข่พุทธและชาวมุสลิมโรฮิงญาอยู่ด้วยกันดีเหมือนพี่น้อง จนกระทั่งเมื่อราว 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสั่งห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาเดินทางออกจากหมู่บ้าน จะออกไปที่รัฐ(จังหวัด)ยะไข่ ก็ไม่ได้ 3. วันที่ 6 เดือน 6 (6 มิถุนายน 2555) เป็นวันศุกร์ ผู้คนหยุดทำงานเตรียมไปละหมาด
1) วันที่ 19 มีนาคม 2556 มูฮัมหมัด ฮุนเซน อายุ 30 ปี เสียชีวิตที่รพ.หาดใหญ่ 2) วันที่ 3 พค. 2556 มูฮัมหมัด แวแมราน อายุ 17 ปี เสียชีวิตที่รพ.หาดใหญ่ 3) วันที่ 10 พค. 2556 ซากอรีม อายุ 25 ปี เสียชีวิตที่รพ.สะเดา 4) วันที่ 10 พค. 2556 นายรูปีฟิก อายุ 20 ปี เสียชีวิตที่รพ.พิบูลมังสาหาร อนึ่ง การ "ระบาย" คนจากห้องกัก มี 2 ชั้น คือ 1. ระบายจากปาดัง -สะเดา -พังงา-ระนอง ซึ่งเป็นที่ที่ถูกจับจำนวนมาก ไปยังด่านที่มีห้องกัก(แต่มีคนไม่มาก) เช่น กาญจนบุรี ด่านสิงขร ตราด เชียงราย หนองคาย สักแห่งละ120 คน ถ้าด่านเหล่านี้รับไม่ไหว ก็ไปสู่กระบวนการต่อไป 2. "ระบายต่อ" ไปด่านเล็กๆแห่งละ 20 คน เช่น ระยอง อยุธยา ที่อุบล มุกดาหาร ก็มี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น