ประชาไท | Prachatai3.info |
- ทุกวันนี้ ‘เอ็นเอสเอ’ แย่ซะยิ่งกว่า ‘สตาซี’ หรือ ‘1984’ ของจอร์จ ออร์เวลได้อย่างไร?
- ม.ราชภัฏยะลาได้บัณฑิตมลายูรุ่นแรก ย้ำมุ่งพัฒนาสู่อาเซียน
- ย้ายอีก50ผู้ต้องขังคดีไฟใต้ กลับคุกบ้านเกิดก่อนรอมฎอน
- 'วงการข่าว' ขยับ จัดระดมความเห็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่างเก่า-ใหม่
- 7 อรหันต์ ถอนตัว ไม่ร่วมเป็นคณะผู้รับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงสอบสวนองค์การเภสัช
- ปัญหาจากการล่มสลายของโครงการรับจำนำข้าว
- นักวิจัยภาษาศาสตร์เผย 'โทรล' ไม่ได้ประสงค์ร้าย แต่แค่เบื่อหน่าย
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง
- ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: คำประกาศ BRN กับ 10 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับ “สันติสนทนา”
- ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz ขัดเจตนารมณ์กฎหมายหรือไม่?
ทุกวันนี้ ‘เอ็นเอสเอ’ แย่ซะยิ่งกว่า ‘สตาซี’ หรือ ‘1984’ ของจอร์จ ออร์เวลได้อย่างไร? Posted: 28 Jun 2013 11:33 AM PDT แปลจาก How Today's NSA Is Much, Much Worse Than Stasi Or Orwell's "1984" (http://falkvinge.net/2013/06/19/how-todays-nsa-is-much-much-worse-than-stasi-or-orwells-1984/) เขียนโดย Rick Falkvinge (ริค ฟอล์ควินจ์) แปลและเรียบเรียงโดย พล สามนานนท์
ยังมีอีกหลายคนที่เตือนพวกเราว่ากำลังเดินละเมอเข้าไปหาสังคมแบบที่มีสตาซี1 หรือสังคมแบบ "1984" อยู่ แต่พวกเขาพลาดอย่างมากอยู่อย่างหนึ่ง: พวกเรามาไกล ไกลกว่าจุดที่มีสตาซีหรือ "1984" ซะอีก เครื่องมือที่รัฐใช้ติดตาม สะกดรอย และบันทึกตัวพลเรือนนั้นเป็นวัตถุแห่งฝันร้าย ย่อหน้าที่กล่าวถึงฉากและสภาพแวดล้อมในเรื่อง 1984 ยังคงเป็นอะไรที่ทำให้ขนลุกได้อยู่เสมอถึงแม้หนังสือจะเก่าจนหมดการผูกขาดลิขสิทธิ์2 ในออสเตรเลียไปแล้ว: เบื้องหลังวินสตัน เสียงจากโทรภาพยังคงพร่ำถึงการผลิตเหล็กได้เกินต้องการ ตามแผนสามปีครั้งที่เก้า โทรภาพนี้เป็นทั้งเครื่องรับและส่งพร้อมกันในตัว ไม่ว่าวินสตันจะทำเสียงอะไร เพียงดังกว่าเสียงกระพริบแผ่วที่สุด ก็จะถูกมันดักไว้ได้ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น ตราบใดที่เขายังอยู่ในข่ายความสามารถรับภาพของเจ้ากล่องโลหะนี้ ภาพและเสียงของเขาจะถูกถ่ายทอดโดยไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครกำลังจับตาดูอยู่หรือไม่ ในเวลาไหนก็ได้ที่พวกนั้นต้องการ ตำรวจความคิดจะใช้ระบบใดหรือจับตาดูใครสักคนบ่อยแค่ไหนนั้นเป็นเพียงเรื่องของการคาดเดา เป็นที่เข้าใจกันด้วยซ้ำไปว่าพวกเขากำลังเฝ้ามองทุกคนอยู่ทุกขณะ พวกเขาสามารถเสียบปลั๊กเข้ากับสายของคุณได้ทุกเมื่อที่เขาต้องการ คุณจะต้องดำเนินชีวิตโดยมีนิสัยอันแปรมาเป็นสัญชาตญาณว่า มีคนได้ยินเสียงทุกเสียงที่คุณทำขึ้น ความเคลื่อนไหวทุกอย่างของคุณจะถูกจับตามอง ยกเว้นในความมืด3 เรามาไกลเหลือเกิน ไกลเกินจุดนี้แล้ว แทนที่คำว่า "ตำรวจความคิด" ข้างบนแล้วใช้คำกว้างๆอย่างคำว่า "รัฐบาล" และคุณก็จะเรื่องนี้ก็จะเข้ากันเหมาเจาะกับเรื่องราวของเอ็นเอสเอของสหรัฐแบบสตาซี เรื่องของกฎหมายเอ็ฟอาร์เอ4ในสวีเดน หรือเรื่องอื่นในเทือกนี้ เจ้าหน้าที่รัฐอ้างว่า "พวกเราไม่ได้กำลังเฝ้าดูทุกคนอยู่ตลอดเวลา เรามุ่งเป้าไปที่บุคคลต่างๆกัน" ซึ่งสิ่งที่เขียนไว้ข้างต้นนี้ เป็นที่แน่นอนว่า "ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พวกเขาก็เสียบปลั๊กดักสายของคุณเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่เขาต้องการ" อ้อ ใช่ กล้องน่ะหรือ? รัฐบาลไม่ได้ติดกล้องไว้ในบ้านทุกหลังน่ะ ใช่ไหม? แน่นอนว่าไม่ แต่พวกเราทำ และรัฐบาลได้ใช้สิทธิในการใช้มันของพวกนี้ในการสอดส่องพวกเรา เจาะเข้าคอมพิวเตอร์เราและใช้เว็บแคมของพวกเรา เยอรมันมีชื่อในเรื่องนี้เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า "โทรจันของรัฐ"5 สิ่งที่ต่างกันอยู่อย่างหนึ่งระหว่างฉากดังกล่าวใน 1984 กับทุกวันนี้ ในแง่ของกล้อง ก็คือ เราติดตั้งมันเอง จนตอนนี้ นอกจากเราอยู่ในระดับของ 1984 หรือสตาซีแล้ว ก็ยังมีหลายอย่างที่แย่กว่านั้น การเคลื่อนไหวของเรา อย่างการเดินอยู่ในเมืองก็ยังถูกติดตาม สะกดรอย และบันทึก6 – เรียกได้ว่าแทบจะทุกฝีก้าว ทุกๆก้าวที่คุณเดินไป พวกเขาจะจับจ้องคุณ ถ้าคุณเดินออกนอกเส้นทางปกติที่คุณเดินอยู่ประจำ คุณจะถูกบันทึกและถูกจับตามองเอาไว้ ครั้งแรกที่คุณเห็น "แผนที่การเคลื่อนไหว"7 ของคุณเอง และตระหนักได้ว่ามีคนบางคนเก็บข้อมูลนี้ไว้และใช้มันสู้กับคุณ จนทำให้คุณสันหลังวาบ เช่น คุณอยู่ที่ไหนตอน 17 เมษายน 2013 ณ 13.21 น. ตามเวลามาตรฐานของยุโรป? คุณกำลังเคลื่อนไหว ด้วยความเร็วเท่าไหร่? จากที่ไหนไปที่ไหน? มีคนตอบคำถามพวกนี้ได้ แต่คนที่ตอบนั้นกลับไม่ใช่ตัวคุณเอง สิ่งนี้นำไปสู่ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโลกสังคมในจินตนาการสยองขวัญแบบดิสโทเปียและความเลวร้ายของสังคมวันนี้ ใครก็ตามที่เคยดูหรืออ่าน 1984 จะนึกออกว่าถ้ารัฐจับไม่ได้ว่าคุณพูดอะไรไว้ในตอนนั้น คุณก็รอดตัวไป คำพูดต่างๆจะหายไปเร็วพอๆกับที่พวกเขาได้พูดหรือฟัง หรือ ไม่ฟัง ทุกวันนี้มันต่างออกไปใน ในโลกดิสโทเปียพวกนี้ อะไรก็ตามที่คุณพูดออกมาสามารถและจะถูกนำไปใช้สู้กับตัวคุณเองได้ ส่วนทุกวันนี้ ทุกสิ่งที่คุณพูดออกมาสามารถและจะถูกนำไปใช้สู้กับตัวคุณเองได้ ไม่เพียงแค่วันนี้ แต่ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าในอนาคตด้วย ทุกอย่างถูกบันทึกไว้หมดแล้ว ทุกๆอย่าง ถ้าคุณถูกหมายหัวด้วยข้อหาอันโง่เง่าในหนึ่งปีนับจากนี้ อะไรที่คุณพูดไว้เมื่อ 5 นาทีก่อนจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ว่าคุณพูดอะไรไว้กับใคร ถ้ากฎหมายหรือมาตรฐานของสังคมเปลี่ยนไปจนทำสิ่งที่คุณทำอยู่ตอนนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องสงสัยในอีกราวสิบปีข้างหน้า คุณก็จะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลต้องสงสัยเมื่อมีคนมาเจอเข้า – เมื่อทุกอย่างถูกบันทึกเอาไว้หมดแล้ว สตาซีไม่ได้บันทึกว่าคุณอ่านบทความไหนอยู่ในหนังสือพิมพ์ เป็นเวลานานเท่าไหร่ และในลำดับไหน แบบนั้น พร้อมกับทุกความคิดที่คุณได้สำรวจขณะที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกถาวร แม้คุณจะไม่เคยบอกกล่าวกับมนุษย์คนใดมาก่อน คุณบอกว่าคุณใช้การเข้ารหัสอย่างนั้นหรือ? มัมเบิ้ล, เรดโฟน, พีจีพี8? มันใช้ได้ผลกับคุณแค่ไหนกันเชียว ทุกๆรูปแบบของการเข้ารหัสย่อมมีอายุการป้องกันของมัน (shell life) อะไรที่เจาะไม่ได้ในวันนี้ คือสิ่งที่เจาะไม่ได้เมื่อราวสิบปีก่อน และเอ็นเอสเอยังเก็บการสื่อสารทุกชิ้นส่วนที่ถูกเข้ารหัสไว้อยู่แล้วด้วย ดังนั้น อะไรที่ก็ตามที่มันถูกเจาะไม่ได้ในวันนี้ ก็ยังอาจจะถูกเจาะได้ในอีกสิบปีข้างหน้า ถ้าคุณยังคงเข้ารหัสสิ่งต่างๆด้วยเจตนาที่จะรักษามันไว้ตลอดกาลล่ะก็ เข้าใจไว้ได้เลยว่าความจริงมันจะไม่เป็นไปเช่นนั้น โอ้ คุณเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่หรือ? เดี๋ยวก่อนนะ คุณเข้ารหัสมันตั้งแต่แรกแล้วใช่ไหม? เราคงจะคิดว่าพอกุญแจเข้ารหัส (cryptokey) หายแล้วก็ต้องเปลี่ยนกุญแจนั้นก่อนที่จะทำการสื่อสาร เหมือนกุญแจเข้าบ้านหายแล้วก็ต้องเปลี่ยนดอกใหม่ จริงๆแล้วมันแย่กว่านั้น ถ้าเราทำกุญแจหาย พวกเราก็แค่ถอดรหัสข้อมูลทุกอย่างที่เราส่งไปเข้ารหัสนั่นล่ะ – สำหรับบางคนที่ยังเก็บกุญแจเข้ารหัสไว้ก็โชคร้ายหน่อยที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น การที่กุญแจบ้านหายไป มันไม่ได้หมายความว่า บ้านของคุณจะถูกงัดเข้าไปเมื่อปีก่อน แต่สิ่งนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรณีของกุญแจเข้ารหัสทุกวันนี้ พวกเรานั้นมาไกล ไกลเกินจุดที่มีสตาซี หรือแบบ "1984" แล้ว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะหยุดซักหน่อย แล้วสังเกต และฟังสิ่งที่เราได้สร้างขึ้นมาเอง
เกี่ยวกับ ริค ฟอล์ควินจ์: หมายเหตุ: 1 สตาซี หรือ Stasi คือ Ministerium für Staatssicherheit หรือกระทรวงความมั่นคงของรัฐ กอ่ตั้งขึ้นในปี 1950 และยุบกระทรวงนี้ไปในปี 1990 ในยุคที่เยอรมันตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) ล่มสลาย ถูกขนานนามว่าเป็นหน่วยข่าวกรองและหน่วยตำรวจลับที่รุนแรงหน่วยงานหนึ่งของโลก 2 1984 ของจอร์จ ออร์เวล ต้นฉบับภาษาอังกฤษสามารถอ่านได้ที่ Project Gutenberg Australia http://gutenberg.net.au/ebooks01/0100021.txt 3 ยกสำนวนแปลมาจาก บทที่ 1 ย่อหน้าที่ 5 จาก 1984 ฉบับแปลภาษาไทยโดย รัศมี เผ่าเหลืองทอง 4 FRA หรือ Försvarets radioanstalt คือสำนักงานป้องกันคลื่นวิทยุแห่งชาติแห่งสวีเดน (www.fra.se) เนื้อหาของการออกกฎหมายดังกล่าวสามารถอ่านได้ที่นี่: https://en.wikipedia.org/wiki/FRA_law 5 โทรจันของรัฐ เรียกว่า Bundestrojaner (Federal Trojan) ในเยอรมัน 6 ดูเรื่องการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์: https://en.wikipedia.org/wiki/Data_Retention_Directive 7 ดูกรณีนักการเมืองพรรคสีเขียว (Green Party) ชื่อมาลเธอ ชปิทซ์ได้ฟ้องผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของเยอรมันว่าได้เก็บข้อมูลกิจกรรมหลายอย่างไว้ จนเขาได้รับข้อมูล(อันน่าตกใจ)จำนวน 35,830 บรรทัดของรหัสที่บ่งตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และการเคลื่อนไหวของเขาตลอด 6 เดือน สามารถดูได้ที่นี่: http://www.zeit.de/datenschutz/malte-spitz-data-retention 8 - เรดโฟน (Redphone) พัฒนาโดย Whisper Systems ใช้ในการเช้ารหัสการสื่อสารบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ - พีจีพี (PGP) หรือ Pretty Good Privacy คือระบบการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลที่พัฒนาโดยฟิล ซิมเมอร์แมน (Phil Zimmermann) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ม.ราชภัฏยะลาได้บัณฑิตมลายูรุ่นแรก ย้ำมุ่งพัฒนาสู่อาเซียน Posted: 28 Jun 2013 09:44 AM PDT มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้บัณฑิตมลายูรุ่นแรกแล้ว ยืนยันมั่นใจในมาตรฐาน ผ่านการฝึกงานจากประเทศมาเลเซีย ชี้มองเห็นโอกาส จึงบังคับให้นักศึกษาทุกคนเรียนลงทะเบียนเรียน ย้ำมุ่งพัฒนาสู่อาเซียน น.ส.พารีดา หะยีเตะ ประธานหลักสูตรภาษามลายู มหาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีบัณฑิตที่เรียนจบหลักสูตรวิชาภาษามลายู นับตั้งแต่มีการเปิดสอนหลักสูตรนี้เมื่อปีการศึกษา 2553 โดยบัณฑิตรุ่นแรกนี้จะมีจำนวนประมาณ 28 คน น.ส.พารีดา เปิดเผยต่อไปว่า นักศึกษาทั้งหมดได้ผ่านการฝึกงานจากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย(Universiti Kebangsaan Malaysia) หรือ UKM เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ศูนย์วัฒนธรรมมาเลเซีย ห้องสมุด เป็นต้น เพื่อให้เรียนรู้การใช้ภาษามลายูด้วยตัวเองในพื้นที่จริง น.ส.พารีดา เปิดเผยอีกว่า หลักสูตรวิชาภาษามลายู สังกัดภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เริ่มเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรด้านภาษามลายู เพื่อพัฒนาให้เป็นภาษาที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เป็นแหล่งความรู้และงานวิจัยภาษามลายู รวมทั้งยังได้จัดฝึกอบรมบุคลากรครูสอนภาษามลายูตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ด้วย น.ส.พารีดา เปิดเผยด้วยว่า หลักสูตรวิชาภาษามลายูเปิดรับนักศึกษาทุกคน ทั้งในและนอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่มีและไม่มีพื้นฐานด้านภาษามลายู โดยใช้วิธีการสอนในระบบ 2 ภาษา คือภาษาไทยและมลายูในปีแรก เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับตัวได้ก่อน แล้วจะค่อยๆลดการสอนด้วยภาษาไทยลง เป็นต้น ดร.เวคิน นพนิตย์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนเรียนวิชาภาษามลายูเบื้องต้นเป็นวิชาบังคับ เพราะถือว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาทุกคน ดร.เวคิน เปิดเผยต่อไปว่า เหตุที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเปิดสอนหลักสูตรภาษามลายู เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย จึงจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะภาษา เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ร้อยละ 80 ใช้ภาษามลายู นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในอาเซียนใช้ภาษามลายู นายอับดุลเลาะ สะมิง บัณฑิตรุ่นแรกของหลักสูตรภาษามลายู มหาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า แม้การเรียนภาษามลายูที่นี่อาจเสียเปรียบผู้ที่เรียนภาษามลายูในต่างประเทศ เช่น ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ความสามารถในเชิงวิชาการไม่แตกต่างกันมาก นายอับดุลเลาะ กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนภาษามลายูให้มีชีวิตชีวาขึ้นในพื้นที่นั้นมีหลายวิธีการ ตัวอย่างเช่น ในสมัยที่ตนเรียนอยู่มีการจัดกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งกิจกรรมทางวิชาการและการจัดนิทรรศการนำเสนอเรื่องความสำคัญของภาษามลายูและวัฒนธรรมมลายู ทำให้วันนี้สังคมส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ให้ความสำคัญกับภาษามลายูมากขึ้น และเชื่อว่า ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษามลายูจะมีโอกาสมากกว่าคนทั่วไป นายอับดุลเลาะ เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้บัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่มีงานทำ โดยเฉพาะในสายงานที่เกี่ยวข้องกับภาษามลายู เพราะเพิ่งเรียนจบมาหมาดๆ อ่านข่าวนี้ฉบับภาษามลายูได้ที่ http://issuu.com/deepsouthwatch/docs/sinaran_vol.6
ศอ.บต.อบรมภาษามลายูให้ข้าราชการตำรวจ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 สำนักสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) รายงานว่า นายวิทยา พานิชพงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นประธานปิดการอบรมหลักสูตรภาษามลายูถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบวุฒิบัตรให้ข้าราชการตำรวจที่ผ่านการอบรมจำนวนกว่า 100 นาย ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี นายวิทยา กล่าวว่า ตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่สัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน เพราะต้องรักษากฎหมาย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง อีกทั้งให้บริการและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ดังนั้นการเรียนรู้ภาษมลายูถิ่น จะทำให้สามารถขจัดปัญหาการติดต่อสื่อสารและสามารถลดเงื่อนไขของสังคมได้ในระดับหนึ่ง โดยเชื่อว่า ภาษามลายูถิ่นเป็นอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจของประชาชนในพื้นที่ การเรียนรู้และเข้าใจภาษา จะสามารถสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ประชาชนในทิศทางบวก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ย้ายอีก50ผู้ต้องขังคดีไฟใต้ กลับคุกบ้านเกิดก่อนรอมฎอน Posted: 28 Jun 2013 09:37 AM PDT เตรียมย้ายผู้ต้องขังคดีความมั่งคงจากคุกบางขวางกว่า 50 ราย สู่เรือนจำบ้านเกิดก่อนรอมฎอน ศอ.บต.พาญาติเยี่ยมครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพ ญาติเห็นด้วยกับบีอาร์เอ็นที่ให้ปล่อยนักโทษคดีไฟใต้ พร้อมแนะบนโต๊ะเจรจาสันติภาพต้องมีตัวแทนคนในพื้นที่ วันที่ 28 มิถุนายน 2556 ที่โรงแรมเซาเทิร์นวิว จ.ปัตตานี ญาติผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำบางขวาง กรุงเทพมหานครกว่า 200 คน ได้รวมตัวกันเพื่อเตรียมเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังที่เรือนจำบางขวางด้วยรถทัวร์จำนวน 5 คัน ตามโครงการสานสายใจจากครอบครัวสู่ผู้ต้องขังในเรือนจำนอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ทั้งนี้มีผู้ต้องขังในเรือนจำบางขวางที่ญาติจะไปเยี่ยมในครั้งนี้จำนวน 57 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังคดีความมั่นคง โดยก่อนเดินทางได้มีเจ้าหน้าที่ของศอ.บต.มาอธิบายถึงขั้นตอนและระเบียบในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง โดยมีกำหนดเข้าเยี่ยมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 โดยมีกลุ่มเพื่อน จ. เป็นอาสาสมัครร่วมเดินทางไปด้วย ก่อนออกเดินทางในเวลาประมาณ 15.00 น. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.ได้มาพบปะให้กำลังใจญาติผู้ต้องขังทั้งหมด และกลุ่มผู้หญิงจากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้มาร่วมพบปะและขอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พ.ต.อ.ทวี กล่าวระหว่างพบปะว่า การให้ญาติเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังในครั้งนี้ ถือเป็นการไปรับผู้ต้องขังกลับบ้าน หมายถึงการย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำบางขวาง กรุงเทพมหานครมาอยู่ที่เรือนจำในจังหวัดบ้านเกิดของผู้ต้องขังเอง เพื่อความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของญาติ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายๆอย่าง พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อไปว่า จะพยายามย้ายผู้ต้องขังดังกล่าวให้ได้ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 หรือก่อนเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม พ.ต.อ.ทวี กล่าวด้วยว่า ส่วนผู้ต้องขังที่ศาลตัดสินลงโทษประหารชีวิตและคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งไม่สามารถย้ายได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการศาลและขั้งตอนตามกฎหมายนั้น มีอยู่ 2 คน แต่ก็จะพยายามให้ทุกคนได้กลับมา พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า สำหรับผู้ต้องขังคดีความมั่นคงที่คดีสิ้นสุดแล้ว มี 6 รายที่ไม่สามารถย้ายเรือนจำได้ แต่ตนจะพยายามขอให้ได้กลับมาอยู่ที่เรือนจำกลางสงขลาให้ได้ "หลังจากการเดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องขังในครั้งนี้แล้ว ผมจะขออนุญาตนำตัวผู้ต้องขังกลับมาอยู่ในภูมิลำเนาของตัวเอง เช่น ถ้าผู้ต้องขังเป็นคนจังหวัดนราธิวาส ก็จะขอย้ายมาอยู่ที่เรือนจำนราธิวาส แต่ถ้าเป็นผู้ต้องขังที่มีโทษหนักๆ ก็จะให้ย้ายมาอยู่ที่เรือนจำกลางสงขลา" พ.ต.อ.ทวี กล่าว พ.ต.อ.ทวี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีนโยบายที่จะบรรเทาความเดือนร้อนของญาติผู้ต้องขัง เพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ คลายความคิดถึงที่มีต่อผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำที่กรุงเทพมหานคร โดยจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมประกาศขยายอำนาจการคุมขังของเรือนจำกลางนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา รวมทั้งเบตง จ.ยะลา ให้ครอบคลุมอัตราการลงโทษของผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้สามารถนำกลับมาอยู่ใกล้ชิดกับญาติพี่น้องได้มากที่สุด นางสีตีนอร์ เจ๊ะเลาะ ชาวบ้านควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ภรรยาผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในคดีโจมตีเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 หรือวันเดียวกับเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิต แต่ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย นางสีตีนอร์ กล่าวว่า ตนยังไม่แน่ใจว่าสามีจะได้ย้ายกลับมาอยู่ในเรือนจำที่จังหวัดปัตตานีหรือไม่ เช่นเดียวกับญาติคนอื่นๆบางคนด้วย เพราะยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ผู้ต้องขัง 6 คนที่อาจจะไม่ได้ย้ายนั้นเป็นใครบ้าง นางสีตีนอร์ กล่าวด้วยว่า กรณีที่กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) มีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ หนึ่งในนั้นคือ ให้ปล่อยตัวนักโทษคดีความมั่นคงทุกคนนั้น อยากให้รัฐบาลรับพิจารณาด้วย แต่ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ปล่อยทุกคน ต้องพิจารณาดูเป็นรายบุคคลว่า ใครบ้างที่สมควรปล่อยตัวไป แต่หากคนนั้นทำผิดจริงก็ไม่สมควรปล่อย นางสีตีนอร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ด้วยว่า ถ้าจะให้เกิดสันติภาพขึ้นในพื้นที่ คงต้องใช้เวลาอีก 10 ปี เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก จะต้องเรียกหลายฝ่ายมาแก้ปัญหาร่วมกัน มาเจรจากัน ต้องพยายามเจรจา ต้องประนีประนอมกัน นางสีตีนอร์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา การเจรจายังไม่ได้ผล จึงควรปรับเปลี่ยนตัวหรือคณะตัวแทนเจรจาด้วย เพราะชุดเก่าที่ไปเจรจานั้น ไม่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ที่สำคัญต้องมีตัวแทนของประชาชนด้วย เพราะย่อมรู้ดีว่าประชาชนต้องการอะไร อีกอย่างสถานการณ์ก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุด และการเจรจาไม่ใช่ไปเจาะจงที่กลุ่มBRN อย่างเดียว นางสีตีนอร์ กล่าวด้วยว่า ในการเจรจานั้น อยากให้มีการเปิดเผยแพร่ต่อสาธารณะมากกว่าเป็นการเจรจาลับ และบนโต๊ะเจรจานั้น อยากให้มีแกนนำชาวบ้านในพื้นที่ ผู้นำศาสนาและประชาชนมีส่วนร่วมด้วย และเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้นลง ก็ให้แถลงให้ประชาชนรับทราบด้วย เพราะที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยทราบว่า การเจราเป็นอย่างไร โดยเฉพาะทางฝ่ายรัฐไทยที่ไม่เคยออกมาแถลง มีแต่ฝ่าย BRN เท่านั้นที่ออกมาแถลงข้อเรียกร้องต่อฝ่ายรัฐ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'วงการข่าว' ขยับ จัดระดมความเห็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่างเก่า-ใหม่ Posted: 28 Jun 2013 08:47 AM PDT
(28 มิ.ย.56) ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดการเสวนา หัวข้อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน? ณ บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด หอประชุมพุทธยาคา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า โดย นิรันดร์ เยาวภา นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 มีผลบังคับใช้ ผู้ใช้และผู้อยู่ในแวดวงเห็นทั้งประโยชน์ของการมีกฎหมายเฉพาะเพื่อควบคุมการกระทำความผิดที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ แต่ก็มีปัญหาความไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ.นี้ เรื่องนิยามความผิด ซึ่งบางประเด็นขึ้นกับดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ การปิดเว็บ ยังไม่ชัดว่าจะปิดยังไง ตามกฎหมายบอกให้ใช้คำสั่งศาล แต่บางครั้งไม่มีการใช้ หรือจะปิดถึงเมื่อใด ทำให้มีการยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ผ่านการรับฟังความเห็นไป 2-3 รอบแล้ว แต่อาจมีปัญหาสื่อสาร ทำให้แม้แต่นักข่าวสายไอทียังบอกว่าไม่ทราบเรื่องประชาพิจารณ์เท่าไหร่ จึงมีการจัดงานขึ้น เพื่อรวบรวมความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ดูร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับร่างโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)(สพธอ.)ที่ด้านล่าง) อนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าวถึงปัญหาจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมฯ ว่า มีปัญหาบ้าง แต่ไม่มากถึงขนาดปฏิบัติตามไม่ได้ โดยมีกรณีที่บอกให้บล็อคก่อนจะมีคำสั่งศาล ก็จัดการให้ แต่ก็ได้ขอให้ส่งคำสั่งศาลตามมา เพราะเข้าใจว่าการขอคำสั่งศาลต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายไม่มีคำสั่งศาลตามมา ก็ต้องปลดบล็อคออกเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่หน่วยงานรัฐหน่วยหนึ่งแจ้งมาให้บล็อคเว็บๆ หนึ่ง เพราะกลัวว่าปล่อยไว้จะเกิดความเสียหาย แต่อีกหน่วยงานบอกว่าอย่าบล็อค เพราะต้องการเก็บหลักฐาน เพื่อเตรียมจับกุม พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า ทุกฝ่ายยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้และความเข้าใจในข้อเท็จจริงและบริบททางดิจิตอลที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดการแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท โดยการใช้มาตรา 14(1) ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เรื่องการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ มาใช้แทนข้อหาหมิ่นประมาทปกติ ซึ่งยอมความได้ และมีข้อยกเว้นที่มากกว่า และเมื่อแจ้งความผิดตามมาตรา 14 (1) แล้วก็สามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้มาตรา 18 เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเป็นการละเมิดสิทธิการใช้งานและสิทธิอื่นๆ ต่อไปด้วย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ว่า โดยหลักการนั้นดี แต่ยังมีปัญหาหลายประเด็น ได้แก่ มาตราที่เพิ่มขึ้นใหม่ เรื่องการทำซ้ำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจซ้ำซ้อนของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ การแก้ไขให้ยอมความได้จะเกิดปัญหาตามมา ทุกวันนี้ แม้ยอมความไม่ได้ การจะหาเอกสารคดีจำนวนมากที่เกิดในเฟซบุ๊กยังใช้เวลานาน หากให้ยอมความได้ อายุความจะเหลือเพียงสามเดือน ไม่พอในการหาหลักฐาน นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดการขู่ฟ้องเอาเงินเข้ากระเป๋า แบบที่เกิดกับกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ รวมถึงการบล็อคเว็บที่เดิมมีการกรองสามชั้น คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรีไอซีที และศาล แต่ร่างใหม่ ตัดขั้นตอนของการส่งไปให้รัฐมนตรีไอซีทีอนุมัติออก ถามว่า มาตรการกลั่นกรองอยู่ตรงไหน จะกระทบกับสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ทั้งนี้ ไพบูลย์ เสนอด้วยว่า ในการทำงานนั้น แต่ละส่วนมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างการขอล็อกไฟล์จากไอเอสพีแต่ละราย จะได้ข้อมูลไม่เหมือนกัน ขึ้นกับการตีความ จึงอยากให้มีหลัก code of conduct เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและเพื่อให้ภาคประชาชนตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ควรมีคณะกรรมการดูแลเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ พร้อมกับเสนอให้มี lawful interception ซึ่งเป็นการดักข้อมูลตามกฎหมายด้วย ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวว่า จุดที่อยากให้แก้ไข คือ การปลดบล็อคเว็บ ที่ผ่านมาบางเว็บเลิกทำไปแล้ว แต่ก็ยังถูกบล็อคอยู่ ตอนนี้รายชื่อเว็บที่ต้องบล็อคนั้นยาวมาก ทำให้ระบบช้า เพราะต้องตรวจก่อน ถามว่าทำไมทุกคนต้องถูกลงโทษด้วย นอกจากนี้ ยังมีมาตรา 15 ซึ่งเอาผิดกับผู้ให้บริการที่เจตนาปล่อยให้เกิดการกระทำความผิด โดยชี้ว่า เมื่อผู้ใช้บริการมาใช้งานนั้น ผู้ให้บริการไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าสิ่งที่ส่งผิดกฎหมายหรือไม่ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อดักข้อมูลทั้งหมด เปิดอ่านอีเมลทุกฉบับ ดูไฟล์ทุกไฟล์ ก่อนการส่งต่อ ถามว่าผู้ใช้จะยินยอมหรือไม่ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง ชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความบิดเบี้ยว โดยเมื่อโฮสติ้งรู้สึกว่าอาจเกิดปัญหาหรือหมิ่นเหม่ ก็จะบอกปัดให้ผู้ใช้บริการไปใช้บริการต่างประเทศ หรือไปใช้เฟซบุ๊ก ผลก็คือ สิ่งที่ภาครัฐอยากแตะก็แตะไม่ถึง โฮสติ้งในเมืองไทยจะใสสะอาด แต่ของไม่ดีไม่หายไป เพียงแต่ไม่อยู่เมืองไทยเท่านั้นเอง ภูมิจิต เสนอทางแก้ว่า ควรเอาเรื่องเทคนิคและเนื้อหาออกจากกัน เพราะเทคนิคเป็นเรื่องที่ตัดสินได้ชัดเจนกว่า แต่หากเป็นเรื่องเนื้อหา คนทำโฮสติ้ง ทำเว็บ ไม่มีทางรู้ว่าข้อมูลไหนจริงไม่จริง นอกจากนี้ บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้เนื้อหาเปลี่ยนแปลงตาม จึงไม่ควรเอาเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มาเกี่ยวกับเรื่องเนื้อหา นอกจากนี้ ภูมิจิต แนะด้วยว่า ร่างฉบับใหม่นี้ควรจะต้องทำเช่นเดียวกับที่ศาลปกครองทำกับโครงการการจัดการน้ำ นั่นคือ ให้มีการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทุกคน อภิศิลป์ กล่าวว่า นอกจากนี้ มาตรการแจ้งเตือนและเอาออก (notice and take down) ที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งกำหนดผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไข หรือระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ภายในเวลาอันเหมาะสม นับแต่วันที่รู้หรือได้รับแจ้งหรือในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดนั้น มีข้อดีคือ ง่ายต่อการจัดการของผู้ให้บริการ เพราะไม่ต้องตัดสินใจเอง แต่ก็มีข้อเสีย เนื่องจากข้อมูลตามมาตรานี้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งยังมีความไม่ชัดเจนว่าจะตีความอย่างไร ถามว่า หากมีคนโพสต์ข้อมูลเรื่องความเสียหายจากนโยบายภาครัฐ จะเป็นความมั่นคงหรือไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 อรหันต์ ถอนตัว ไม่ร่วมเป็นคณะผู้รับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงสอบสวนองค์การเภสัช Posted: 28 Jun 2013 08:29 AM PDT ระบุ ประดิษฐ-พิพัฒน์บิดเบือนข้ 28 มิ.ย.2556 ตามที่ประธานกรรมการองค์การเภสั นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวว่ "การที่รัฐมนตรีประดิษฐมีคำสั่ นพ.วชิระ บถพิบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ชมรมแพทย์ชนบทพยายามที่ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว เพราะในคำสั่งให้เป็นแค่คณะผู้ ทางด้าน นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเช่นเดียวกันว่า คำสั่งนี้ ผิดไปจากข้อตกลงที่เลขาธิ ทางด้านนายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิ ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้ ทั้งนี้ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 ด้านการควบคุมป้องกันโรค, ศ.ดร.ภญ.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช และนายชำนาญ พิเชษฐ์พันธ์ นักกฎหมาย ต่างได้แสดงเจตจำนงค์ชัดเจนไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัญหาจากการล่มสลายของโครงการรับจำนำข้าว Posted: 28 Jun 2013 08:04 AM PDT ไม่มีใครคาดคิดว่ารัฐบาลจะกล้าตัดสินใจลดราคาจำนำข้าวและจำกัดวงเงินรับจำนำ อย่างกระทันหัน (ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกนโยบายการจำนำข้าวทุกเม็ดโดยปริยาย) เพราะตลอดเวลารัฐบาลมักจะอ้างเสมอว่าโครงการนี้เป็นนโยบายที่ดี สามารถเพิ่มรายได้ให้ชาวนา ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และรัฐบาลสามารถขายข้าวให้รัฐบาลต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องลดราคาจำนำข้าว น่าจะเกิดจากรายงานของมูดดี้ส์ที่แสดงความกังวลต่อการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวกว่า 2 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่ารัฐบาลต้องใช้เงินเพิ่มเติมอีกจำนวนมากในการรับจำนำ ทำให้รัฐบาลอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายงบประมาณสมดุลในปี 2560 และอาจส่งผลกระทบต่อการลดเครดิตของประเทศไทย การตัดสินใจครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลเพื่อไทยยอมรับฟังคำเตือนของฝรั่งหัวแดง ต่างจากในสมัยรัฐบาลทักษิณที่เคยแสดงความไม่พอใจว่า "ยูเอ็นไม่ใช่ พ่อ" ยิ่งกว่านั้นการที่รัฐบาลยอมผิดสัญญาตามที่เคยหาเสียงไว้กับชาวนา ก็แสดงว่ารัฐบาลยอมรับว่าการจำนำข้าวมีปัญหาการคลังอย่างรุนแรง นี่คือ บทเรียนสำคัญว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปประชาชนต้องใช้สติในการพิจารณาว่า "นโยบาย" ที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอนั้นจะมีผลเสียหายอย่างไร ไม่ใช่มองแต่ประโยชน์ที่ตนจะได้เพียงอย่างเดียว พรรคการเมืองเองก็ควรมีความรับผิดชอบที่จะต้องวิเคราะห์ผลดีผลเสียของนโยบายต่างๆก่อนที่นำนโยบายออกมาเสนอขายต่อประชาชน ผู้บริหารพรรคการเมืองต่างก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ และมีนักวิชาการที่มีความรู้สูง สังคมไทยคงไม่ต้องออกกฎกติกาบังคับเรื่องนโยบายหาเสียง หรือให้องค์กรอิสระมาตามตรวจสอบนโยบายหาเสียง นักการเมืองต่างคนต่างก็โตเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่ใช่เด็กๆ การตัดสินใจลดราคาจำนำลงอย่างรวดเร็วดูเหมือนจะเน้นเฉพาะการเฉือนรายได้ชาวนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนจากราคาจำนำที่สูงลิบลิ่วเท่านั้น แต่ภาวะขาดทุนในโครงการจำนำข้าวมิได้เกิดจากราคาจำนำเพียงอย่างเดียว การขาดทุนยังเกิดจากการอุดหนุนผู้บริโภค ค่าใช้จ่ายของโครงการ ตลอดจนการขาดทุนที่เกิดจากการระบายข้าวไม่โปร่งใสและการทุจริตในโครงการ นอกจากนั้นการยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวอย่างกระทันหันอาจส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกลดลงอย่างฮวบฮาบ ทำให้ชาวนาที่อยู่นอกโครงการจำนำอาจประสบภาวะขาดทุนจากการขายข้าว คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติต้องนำประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาโดยเร่งด่วน
ประเด็นแรก ถ้ารัฐบาลต้องการลดภาระการขาดทุนจากโครงการจำนำข้าว รัฐบาลควรต้องลดการขาดทุนจากการระบายข้าวและการอุดหนุนผู้บริโภคด้วย การขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว นอกจากจะเกิดจากการตั้งราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ 15,000 บาทต่อตัน (โดยชาวนาไม่ได้เป็นฝ่ายเรียกร้องแต่แรก) การขาดทุนอีกส่วนหนึ่งยังเกิดจากการระบายข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่รัฐบาลไม่เคยยอมแถลงตัวเลขราคาข้าวที่รัฐบาลขายได้และปริมาณข้าวที่ขาย โชคดีที่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติเมื่อ 18 มิถุนายน 2556 นายวราเทพ รัตนากร ได้รายงานตัวเลขรายรับรายจ่ายของการจำนำข้าว 3 ฤดู (ตั้งแต่ตุลาคม 2554 ถึง 31 มกราคม 2556) ทำให้ผมสามารถคำนวณหาปริมาณการระบายข้าว ปริมาณสต๊อคที่เหลืออยู่ และที่สำคัญ คือ ราคาข้าวที่รัฐขาย (ตามตัวเลขของกรมการค้าต่างประเทศ) (ดูภาคผนวก) จากการคำนวณดังกล่าว พบว่า รัฐบาลระบายข้าวจำนวน 4.99 ล้านตัน ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.21 บาท ขณะที่ต้นทุนของข้าวสารในโครงการสูงถึง กก.ละ 33.62 บาท แปลว่ารัฐบาลขาดทุนกก.ละ 23.41 บาท การขาดทุนนี้ประกอบด้วยการขาดทุนจากการตั้งราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดกิโลกรัมละ 14.52 บาท ขาดทุนจากต้นทุนดำเนินการ[1] (เช่น ค่าจ้าง โรงสี ค่าเช่าโกดัง ฯลฯ) 0.74 บาทต่อกก. และที่เหลือคือขาดทุนจากการระบายข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาดอีก 8.15 บาท/กก. (รูปที่ 1) การขาดทุนจากการระบายข้าว ยังสามารถแยกได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการขาดทุนจากนโยบายข้าวสารราคาถูก ซึ่งเป็นการอุดหนุนผู้บริโภคกิโลกรัมละ 0.45 บาทและขาดทุนจากการขายข้าวให้พ่อค้าบางรายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด รัฐบาลเพื่อไทยประสบความสำเร็จในการทำให้ข้าวเปลือกมีราคาแพง และข้าวสารราคาถูก (รูปที่ 2) การที่รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกถึงเกือบ 63.5 ล้านตัน (ประมาณร้อยละ 57 ของผลผลิต 3 ฤดู ในช่วงตุลาคม 2554-เมษายน 2555) ราคาข้าวสารในประเทศจะต้องถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการโจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงต้องระบายข้าวจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในราคาที่ค่อนข้าวคงที่ (ประมาณ 22 บาทต่อกิโลกรัม) รัฐบาลมีวิธีระบายข้าว 2 วิธี คือ การขายข้าวถุงละ 70 บาท (หรือ 14 บาทต่อกก.) จำนวน 1.8 ล้านตัน แต่ข้อมูลของคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสมาชิกพบว่ามีข้าวถุงที่ส่งไปขายยังร้านถูกใจเพียง 5-10 % เท่านั้น วิธีนี้จึงไม่ได้ผลในการลดราคาข้าวขายปลีก วิธีระบายข้าวอีกวิธีที่ช่วยให้ราคาขายปลีกข้าวสารเจ้าในตลาดมีราคาถูกเพียงถุงละ 110-120 บา (หรือ 22-24 บาท/กก.) คือ การขายข้าวทุกชนิดจำนวนมากให้พ่อค้าบางคนในราคาถูก ตัวเลขจากรายงานของรมว.วราเทพ รัตนากร ทำให้เราทราบว่ากระทรวงพาณิชย์ขายข้าวสารราคาเฉลี่ยเพียง 10.21 บาท/กก.[2] พ่อค้าที่โชคดีเหล่านี้สามารถนำข้าวไปขายส่งในราคากก.ละ 16 บาทราคาขายส่งนี้ต่ำพอที่จะทำให้พ่อค้าขายปลีกสามารถขายข้าวสารคุณภาพต่ำในราคากก.ละ 22-24 บาท ให้ผู้บริโภค ผลการระบายข้าวสารราคาถูกทำให้ราคาขายปลีกข้าวสารทุกชนิดในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ย 24.17 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ราคาขายปลีกสูงกว่าเล็กน้อย คือ 24.62 บาทต่อกิโลกรัม แปลว่ารัฐบาลควักเงินอุดหนุนผู้บริโภคข้าวกิโลกรัมละ 0.45 บาท ดังนั้นส่วนต่างที่เหลือจึงเป็นการนำเข้าภาษีไปแจกให้พ่อค้าบางคน ส่วนต่างนี้เท่ากับ 7.7 บาทต่อกก. หรือร้อยละ 33 ของมูลค่าการขาดทุนจำนวน 1.22 แสนล้านบาท (ดูรูปที่ 1)
ที่มา: คำนวนจาก (2) ราคาข้าวเปลือกทุกชนิดของกรมการค้าภายใน (3) ราคาขายปลีกข้าวสารทุกชนิดในตลาดกรุงเทพฯ ของสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
รูปที่ 2: ข้าวเปลือกแพง ข้าวสารถูก ที่มา: กรมการค้าภายใน. และสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
ประเด็นที่สอง การขาดทุนจากการระบายข้าวเกิดจากการที่รัฐบาลขายข้าวแบบไม่โปร่งใสให้แก่พ่อค้าบางรายในราคาถูกเป็นพิเศษ คำอภิปรายของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ระบุว่ารัฐบาลขายข้าวราคาถูกให้โรงสีแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชรในราคากิโลกรัมละ 5.7 บาท ทั้งๆที่ราคาขายส่งข้าวสารในตลาด คือ 16 บาท แสดงว่าโรงสีดังกล่าวพันกำไรส่วนต่างถึงกิโลกรัมละ 10.30 บาท ถ้าเราทราบปริมาณข้าวที่รัฐขายในราคาถูกๆ เราก็จะสามารถคำนวณจำนวนเงินภาษีประชาชนที่ถูกนำไปแจกให้พ่อค้าพรรคพวกได้ โชคดีที่รายงานการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องออกมายอมรับว่ามีข้าวสารที่ยังไม่ได้ลงบัญชีอีก 2.5 ล้านตัน ทำให้ไม่สามารถปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวนาปีฤดู 2555/56 ได้ ตัวเลขดังกล่าวช่วยให้เราทราบวิธีการลักลอบนำข้าวจำนวนมากในโครงการจำนำไปขายในตลาด ส่วนบนของรูปที่ 3 แสดงขั้นตอนปกติของการจำนำ เมื่อชาวนานำข้าวเปลือกไปจำนำที่โรงสีโรงสีจะต้องสีแปรสภาพใน 7 วัน แล้วนำข้าวสารส่งมอบให้โกดังกลางของรัฐบาลที่เช่าจากเอกชน รูปที่ 3: การส่งมอบข้าวตามขั้นตอน และการแอบขายข้าวในโครงการจำนำ ส่วนขั้นตอนการทุจริต คือ หลังจากรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาแล้วโรงสีบางแห่งแอบนำข้าวที่สีแปรสภาพไปขายให้ผู้ค้าข้าว (หรือบางกรณีแอบนำข้าวเปลือกไปขายให้โรงสีผู้ส่งออกข้าวนึ่ง) จากนั้นค่อยไปหาซื้อข้าวสารราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน มาส่งคืนให้โกดังกลางของรัฐบาลในภายหลัง ส่วนโกดังบางแห่งที่ไม่สามารถหาข้าวสารราคาถูกมาเข้าโกดังก่อนมีการตรวจสอบ ก็อาจเผาโกดังทิ้งตามที่มีข่าวเป็นระยะๆ หรือถูกจับได้ตามที่เป็นข่าว แต่การลักลอบนำข้าวไปหมุนขายแบบนี้จะทำได้ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น (เช่น กรณีโรงสีที่พิจิตรลักลอบนำเข้าจำนำไปขาย 9,000 ตัน) เป็นไปไม่ได้ที่ข้าวสารจะหายไปจากโกดังกลางถึง 2.5 ล้านตันหากไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงเข้าไปเกี่ยวข้อง คำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ต่อ รมว.วราเทพ รัตนากร ว่าข้าวจำนวนนี้ยังไม่ได้สีแปรสภาพ จึงไม่ได้ลงในบัญชีข้าวสารก็ฟังไม่ค่อยขึ้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริงโรงสีก็จะต้องมีข้าวเปลือกกองเป็นภูเขาหลายพันลูก ตัวเลขข้าวสารที่ไม่ได้ลงบัญชีนี้เป็นต้นเหตุของคำสั่งให้ตรวจสต๊อคข้าวของโรงสีและโกดังทั่วประเทศในวันที่ 27 มิถุนายน ศกนี้ แต่กว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจ โรงสีและโกดังคงหาข้าวมาส่งคืนแล้ว เพราะวันเวลาล่วงเลยมานานเกือบ 5 เดือนหลังจากการทำรายงานปิดบัญชี ณ วันที่ 31 มกราคม 2556 หลักฐานสำคัญที่เป็นเงื่อนไขเอื้ออำนวยให้โรงสีไม่ต้องส่งมอบข้าวสารเข้าโกดังใน 7 วัน และสามารถนำเข้าข้าวสารราคาถูกจากต่างประเทศโดยถูกกฎหมายมาเข้าโกดังกลางแทน ไม่ต้องแอบลักลอบนำเข้าแบบกองทัพมด คือ การที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการจำนำข้าว ได้อนุญาติให้มีการผ่อนผันให้โรงสีที่รับจำนำข้าวเปลือกไว้จำนวนมาก ไม่ต้องสีแปรสภาพและนำส่งข้าวสารเข้าโกดังกลางใน 7 วัน[3] ผู้เกี่ยวข้องในวงการข้าวคาดว่าอาจมีการผ่อนผันให้ยืดเวลาการสีแปรสภาพข้าวสารนานถึง 2 เดือน เดิมกระทรวงพาณิชย์มีประกาศอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวสารจากประเทศเพื่อนบ้านตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน เฉพาะในบางเดือนที่ไม่มีการเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศ (คือ พฤษภาคม ถึง ตุลาคม) การนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านจะเสียภาษีนอกโควตาความข้อตกลง WTO ในอัตรา 52% ต้นทุนการนำเข้าข้าวจึงค่อนข้างสูง แต่ผู้นำเข้าจะใช้วิธีสำแดงมูลค่าข้าวและปริมาณข้าวต่ำกว่าความจริง เช่น สำแดงว่าราคาข้าวสารนำเข้ากิโลกรัมละ 3-4 บาท แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2555 รมว.กระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2539 ออกระเบียบให้มีการออกหนังสือรับรองการนำเข้าที่ได้สิทธิ์ชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณีตามความตกลงภายใต้ WTO ได้ทุกเดือนตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2556 ประกาศดังกล่าวช่วยให้ผู้ค้าข้าวสามารถนำเข้าข้าวสารจากประเทศเพื่อนบ้านได้ทุกเดือนโดยมีต้นทุนต่ำลง ถ้าไม่มีประกาศทั้งสองฉบับรองรับ กระบวนการขโมยข้าวของผู้เสียภาษีไปขายอย่างเป็นล่ำเป็นสันคงทำได้ลำบาก และมีต้นทุนสูง คำถามสำคัญ คือ มีข้าวจำนวนเท่าไรที่ถูกลักลอบจากคลังรัฐบาล นำไปหมุนขายก่อน เราทราบว่าในช่วงที่มีการจำนำข้าวระหว่างเดือนตุลาคม 2554-สิ้นมีนาคม 2556 รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกทั้ง 3 ฤดู (นาปี 2554/55 นาปรัง 2555 และนาปี 2555/56) รวมทั้งสิ้น 36.48 ล้านตัน ซึ่งแปลงเป็นข้าวสารได้ 22.52 ล้านตัน) ส่วนผลผลิตข้าวทั้งประเทศเท่ากับ 39.68 ล้านตันข้าวสาร ก็แปลว่ามีข้าวอยู่ในมือโรงสีและพ่อค้าประมาณ 17.16 ล้านตัน แต่พ่อค้าข้าวจะต้องมีสต๊อคข้าวอยู่ในมือประมาณ 1.0 ล้านตัน ดังนั้นตลาดข้าวเอกชน จะมีข้าวขายเพียง 16.16 ล้านตัน ขณะเดียวกันในช่วง 18 เดือนดังกล่าว คนไทยต้องบริโภคข้าว 15.90 ล้านตันและมีการส่งออก 10.17 ล้านตัน รวม 26.07 ล้านตัน แสดงว่าตลาดยังขาดข้าวอยู่อีก 9.91 ล้านตัน (26.07-16.16) ข้าวจำนวนนี้จะต้องมาจากการระบายข้าวของรัฐบาลอย่างแน่นอน ถ้ามีการระบายข้าวน้อยกว่านี้ ราคาข้าวสารในตลาดจะต้องแพงขึ้นกว่าสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่รัฐบาลเพื่อไทยประสบความสำเร็จในการตรึงราคาข้าวสารให้มีราคาถูกกว่าสมัยอภิสิทธิ์ และทำให้ราคาข้าวเปลือกแพง (รูปที่ 2) ทว่า นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 ว่ากระทรวงพาณิชย์ได้ระบายข้าวเพียง 7.07 ล้านตัน จึงเกิดคำถามว่าข้าวอีก 2.84 ล้านตันมาจากไหน คำตอบก็คือ นอกจากการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายในประเทศ และข้าวบางส่วนถูกนำไปส่งมอบให้โกดังกลางแทนข้าวของชาวนาไทยที่ถูกลักลอบออกจากโกดังไปหมุนขายก่อนแล้ว ก็ยังมีข้าวสารในโครงการรับจำนำจำนวน 2.5 ล้านตัน ที่ไม่ได้ลงบัญชี แต่ถูกลักลอบนำออกไปขายในตลาดและยังมิได้นำข้าวสารมาคืนโกดัง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถจัดการนำข้าวดังกล่าวมาคืนคลังได้ ก็เท่ากับประชาชนต้องสูญเสียเงินภาษีจำนวน 40,000 ล้านบาท (หรือ 2.5 ล้านตันคูณราคาขายส่ง 16,000 บาทต่อตัน) หรือถ้ามีการขายข้าวจำนวนดังกล่าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาด รัฐบาลก็ต้องขาดทุน รัฐบาลจะต้องรีบจัดการสะสางปัญหาการทุจริตและภาระขาดทุนโดยเร่งด่วน โดยเริ่มต้นจากการแถลงรายละเอียดของการระบายข้าว ตั้งแต่ราคาข้าวปริมาณข้าวที่ขาย วิธีขาย และชื่อผู้ซื้อ เป็นต้น ผมหวังว่าหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ จะมีการแถลงข้อมูลเหล่านี้
ประเด็นสุดท้าย การลดราคารับจำนำ และจำกัดวงเงินรับจำนำต่อเกษตรกร เท่ากับการยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ดโดยปริยาย ผลที่จะตามมา คือ ราคาข้าวเปลือกในตลาดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทุกคนรู้ว่ารัฐบาลมีข้าวในสต๊อคจำนวนมาก (อาจสูงถึง 17 ล้านตัน) สต๊อคจำนวนนี้กับผลผลิตข้าวในฤดูใหม่จะทำให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศลดต่ำลง ทำให้ชาวนาเดือดร้อน โดยเฉพาะชาวนาจำนวน 3 ล้านครัวเรือนที่ไม่ได้นำข้าวไปจำนำกับรัฐบาล แต่ดูเหมือนว่า รัฐบาลไม่เคยคิดถึงผลกระทบในด้านนี้เลย ข้อเสนอการเยียวยาเกษตรกรด้วยมาตรการช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูกอาจไม่เพียงพอ และคงไม่ได้ผลมากนัก ดังนั้นรัฐบาลจะต้องพิจารณาหาหนทางป้องกันมิให้ราคาข้าวเปลือกทรุดฮวบลงมาก เช่น ทบทวนการยกเลิกโครงการแบบกระทันหันโดยหาวิธีการค่อยๆยกเลิกโครงการรับจำนำ พร้อมมาตรการเสริม เช่น กลยุทธ์การระบายข้าว อย่างระมัดระวัง เป็นต้น
................................................................................
ภาคผนวก การคำนวณหาราคาข้าว-ปริมาณข้าวที่รัฐบาลระบายและสต๊อคข้าว
หมายเหตุ : ถ้าใช้ข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีราคาข้าวที่ระบายจะเท่ากับ 7,341.4 บาทต่อตันจึงหมายความว่าการระบายข้าว 8.41 ล้านตัน จะขาดทุนตันละ 26,277.5 บาท (ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ที่เฉลี่ย 23,409 บาทต่อตัน) ที่มา : วราเทพ รัตนากร "ผลการรวมรวมข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล"
[1] ใช้ตัวเลขต้นทุนของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งยังมิได้รวมค่าเสื่อมของข้าว และดอกเบี้ยจากเงินทุนที่ใช้ซื้อข้าวเก็บในโกดัง ถ้ารวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ต้นทุนดำเนินการจะสูงถึงกิโลกรัมละ 3.63 บาทต่อกก. [2] ถ้าใช้ข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ราคาขายเฉลี่ย 6.97 บาทต่อกก.และขาดทุน กก.ละ 26.65 ขาท [3] ฝ่ายเลขานุการ กขช. "หลักเกณฑ์การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555" กุมภาพันธ์ 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักวิจัยภาษาศาสตร์เผย 'โทรล' ไม่ได้ประสงค์ร้าย แต่แค่เบื่อหน่าย Posted: 28 Jun 2013 06:11 AM PDT นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์จาก ม. แลงคาสเตอร์ ของอังกฤษวิจัยจากกรณีศึกษา 4,000 รายเรื่อง "โทรล" (ผู้ชอบกลั่นแกล้งหรือยั่วยุ) โดยบอกว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มี 27 มิ.ย. 2013 - งานวิจัยจากมหาวิทยาลั ดร. แคลร์ ฮาร์ดาเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ ฮาร์ดาเกอร์ ได้ ทำการวิเคราะห์ข้อความที่โพสท์ งานวิจัยของฮาร์ดาเกอร์กล่าวว่า กลุ่มโทรลจะกระทำการด้วยความรู้ งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ "ความก้าวร้าว การล่อลวงและหลอกใช้มีอยู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ยั "พวกเขาจะใช้วิธีการต่างกั นักวิจัยเตือนว่ มีดาราบางคนเช่น ดันแคน เจมส์ บอกว่าเขาได้รับข้อความในเชิ ขณะที่คนธรรมดาทั่วไปมักจะรู้สึ
7 วิธีการที่พวกโทรลชอบใช้ งานวิจัยได้มีการกล่าวถึงวิธี สอง การวิจารณ์แต่ทำเสียเองเช่ สาม การแสร้งทำตัวขัดแย้งกับจุดยื สี่ การให้คำแนะนำอันตรายหรือส่ ห้า การสร้างความตื่นตระหนกด้ หกคือ การกล่าวร้าย ข่มขู่ หรือด่าทอผู้อื่นอย่ และเจ็ด การส่งข้อความยั่วโมโห สร้างความไม่พอใจ แบบเดียวกันไปให้หลายๆ กลุ่มและรอการตอบสนอง เรียบเรียงจาก: Trolls who post vicious abuse on Twitter aren't acting out of malice – they're just bored, reveals study, The Independent, 27-06-2013 http://www.independent.co.uk/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง Posted: 28 Jun 2013 05:05 AM PDT ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เป็นชื่อของภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่จะเข้าฉายอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้ สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นหนุ่ม ชื่อ นนทวัฒน์ นำเบญจพล ภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความน่าสนใจในฐานะหนังนอกกระแส ที่มีลักษณะสัจนิยม(realistic) ถ่ายภาพและบันทึกเหตุการณ์ตามที่เป็นจริง เป็นแบบสารคดีโดยไม่อาศัยเนื้อเรื่องแบบละคร หรืออาศัยดารานำที่เป็นหนุ่มหล่อสาวสวย เป็นเครื่องจูงใจ แต่ใช้การบอกเล่าหรือฟ้องสังคมด้วยเนื้อเรื่องที่ตรงไปตรงมา ก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เคยเป็นข่าวมาแล้ว ตั้งแต่เมื่อสร้างเสร็จ แล้วกลายเป็นหนังที่ถูกเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายา ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ในวันที่ 23 เมษายน กลับมีข่าวว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดีทัศน์ได้พิจารณาห้ามฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในราชอาณาจักร โดยเห็นว่า เนื้อหาและภาพของภาพยนตร์นี้ก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิด กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจชักจูงให้ผู้ชมหลงเชื่อจึงไม่ควรอนุญาตให้เผยแพร่ เป็นการดีที่อีก 2 วันต่อมา คำสั่งห้ามฉายก็ถูกยกเลิกโดยคณะกรรมการพิจาณาภาพยนตร์ชุดใหญ่ เพียงแต่คณะกรรมการขอจัดหนังในเรท 18 พร้อมกันนั้น ผู้สร้างถูกขอร้องให้ดูดเสียงในช่วงต้นเรื่องความยาว 2 วินาที-ซึ่งเป็นประโยคที่พิธีกรบนเวทีในงานเคาท์เดาวน์รับปีใหม่ที่สี่แยกราชประสงค์-พูดว่า "เรามาร่วมเคาท์ดาวน์และร่วมฉลองให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 84 พรรษา" ซึ่งฝ่ายผู้สร้างก็ยอมรับตามนั้น เพราะเห็นว่า ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของเรื่อง เนื้อเรื่องของภาพยนตร์ เปิดฉากที่งานเคาน์ดาวน์ปีใหม่ พ.ศ.2554 แต่ก็ได้ย้อนเหตุการณ์เล่าไปถึงการกวาดล้างปราบปรามประชาชนคนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553 ด้วย จากนั้น ภาพยนตร์ก็เล่าถึงเรื่องชีวิตของชายคนหนึ่ง ชื่อ อ๊อด ที่เป็นชาวบ้านธรรมดา บ้านเดิมอยู่ที่ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษณ๋ จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เขาพระวิหาร เล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ของอ๊อดที่มีการศึกษาไม่สูงนัก และใช้ชีวิตบวชเป็นเณรอยู่ถึง 4 ปี ก่อนที่จะสึก แล้วไปจับใบแดง ต้องเข้าเป็นทหารประจำการ หลังจากที่ต้องฝึกฝนอย่างหนักแล้ว ก็ถูกส่งไปประจำการที่สามจังหวัดภาคใต้ จากนั้น ก็ได้เป็นทหารชั้นผู้น้อยที่ถูกส่งมาปราบการชุมนุมของคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯด้วย ทั้งที่ญาติพี่น้องและชาวบ้านสนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงแทบทั้งสิ้น แต่อ๊อดก็ต้องมาปฏิบัติตามหน้าที่ ในกรณีนี้ เท่ากับว่าภาพยนตร์ได้พยายามเล่าเรื่องการปราบปรามคนเสื้อแดงในอีกทัศนะหนึ่ง ทั้งยังได้ใส่ข้อความเพื่อเสนอทัศนะเกี่ยวกับคนเสื้อแดงต่อผู้ชม เช่นเล่าว่า ที่ราชประสงค์"เคยมีการปิดล้อมสังหารหมู่ กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างจังหวัด" และว่า "รัฐบาลไทยในสมัยนั้นอ้างว่าเป็นการกระทำของมือที่สาม เพื่อสร้างสถานการณ์ใส่ร้ายรัฐบาล" แต่"กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัฐบาลและทหาร" จากนั้นก็อธิบายต่อไปว่า "ชาวกรุงเทพฯและผู้ไม่สนับสนุนหลายคนกล่าวชื่นชมรัฐบาลและทหาร" ขณะที่ "ชาวต่างจังหวัดถูกปรามาสว่าโง่ เห็นแก่เงิน" แต่นั่นยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ เรื่องสำคัญที่สุดที่ภาพยนตร์เล่าก็คือ ผลกระทบของความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่กันทรลักษณ์ อันเป็นมุมมองที่คนเมืองและกลุ่มเสื้อเหลืองและกลุ่มรักชาติที่สนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนไม่เคยคำนึงถึง เพราะเมื่อสถานการณ์ดึงเครียดและเกิดการสู้รบตามพรมแดน ประชาชนทั้งสองฝากพรมแดนได้รับความเดือดร้อนโดยตรง ต้องเสี่ยงกับกระสุนปืนร้ายแรงที่ทหารสองฝ่ายยิงตอบโต้กัน และต้องอพยพออกจากเขตพื้นที่อันตราย ดังนั้น ชาวบ้านจึงมีความพอใจมากกว่า ในการเปลี่ยนรัฐบาลจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วทำให้การเผชิญหน้าระหว่างประเทศยุติลง อย่างน้อยก็ทำให้พวกเขาได้ชีวิตปกติกลับคืนมา ภาพยนตร์ฟ้าต่ำแผ่นดินสูงยังไปไกลกว่านั้น เพราะยังได้เล่าเรื่องความขัดแย้งเดียวกันในความเชื่อและเรื่องเล่าของประชาชนฝ่ายกัมพูชาที่อุดรมีชัยด้วยว่า ฝ่ายไทยต่างหากที่พยายามบุกรุกและโกงดินแดนชองกัมพูชาตลอดมา จนถึงขนาดว่า อาศัยเงื่อนไขที่กัมพูชามีสงคราม ย้ายหลักพรมแดนตามใจชอบ เช่นกล่าวว่า "หลักเขตไม่ได้เดินย้อนกลับไปทางฝั่งไทย แต่มันเขยิบมาทางฝั่งของเรา" และทหารไทยก็เป็นฝ่ายเปิดฉากโจมตีกัมพูชาก่อน ฝ่ายกัมพูชาจึงเป็นสู้เพื่อปกป้องพรมแดนและชีวิตของประชาชน และยังลงท้ายเรื่องด้วยการสำรวจถนนสายใหม่ที่ขึ้นเขาพระวิหารจากฝ่งกัมพูชา ที่เป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รับทราบในไทย นัยยะที่ภาพยนตร์นี้พยายามสะท้อนก็คือ เส้นเขตแดนระหว่างประเทศเป็นเพียงสิ่งสมมุติ แต่ก็กลายเป็นเส้นแบ่งประชาชนให้ขัดแย้งกัน ทั้งที่ประชาชนทั้งสองฝากพรมแดนต่างก็พูดภาษาเขมรเช่นเดียวกัน และประชาชนสองฝ่ายก็ปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติมากกว่าที่จะมีกรณีพิพาทกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Boudery ซึ่งหมายถึงเขตแดน นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้สร้างภาพยนตร์ได้อธิบายว่า "หลายคนมองว่าเป็นเรื่องของเขตแดน แต่ความจริงแล้วตามความคิดของผมหมายถึงเขตแดนตามความคิดของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำเสนอของตนในตัวภาพยนตร์แล้วจะพยายามนำเสนอให้รอบด้านให้มากที่สุด ให้ตัวละครแต่ละคนได้มีโอกาสมากที่สุด" ภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงเป็นสารคดีอันน่าสนใจ อย่างน้อยที่สุดก็คือการนำพาสาธารณชนชาวไทยไปรับรู้มุมมองของฝ่ายกัมพูชา ซึ่งถือเป็นงานสร้างสรรค์อย่างง่าย ที่จะทำมาซึ่งประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: คำประกาศ BRN กับ 10 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับ “สันติสนทนา” Posted: 28 Jun 2013 03:56 AM PDT เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 อุสตาซหะซัน ตอยยิบ ตัวแทนคนหนึ่งของ BRN ในกระบวนการสันติสนทนาที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 ได้นำเสนอคำประกาศ BRN ครั้งที่ 4 ทาง Youtube ว่าจะยุติปฏิบัติการทางทหารตลอดเดือนรอมฏอน (เริ่มประมาณวันที่ 10 กรกฎาคม) จนถึง 10 วันแรกของเดือนเซาวาล (คือประมาณวันที่ 17 สิงหาคม) ดังที่ได้เคยตกลงกันในสันติสนทนาครั้งหลังสุดเมื่อ 13 มิถุนายน 2556 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์โดยมีเงื่อนไขให้ทางการไทยต้องถอนกำลังทหาร-ตำรวจออกไปจากพื้นที่สามจังหวัดและห้าอำเภอของสงขลา ให้ทหารของกองทัพภาค 4 อยู่ในที่ตั้ง ไม่ให้ฝ่ายราชการโจมตี ปิดถนน จับ ควบคุมคน หรือ จัดกิจกรรมสังคมที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอน กับให้ อ.ส.ที่เป็นมุสลิมไม่ต้องประจำการเพื่อให้พวกเขาไปปฏิบัติศาสนกิจที่บ้านได้ อีกทั้งห้ามขายเหล้าหรือสิ่งมึนเมาอื่นๆ ปิดแหล่งอบายมุขต่างๆตลอดเดือนรอมฎอน ทั้งหมดนี้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ลงนามและต้องประกาศในวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะคาดคะเนสีหน้าของท่านผู้บัญชาการทหารบกเมื่อได้รับรู้เนื้อหาในคำประกาศBRN ครั้งที่ 4 นี้ ที่จริงคงไม่ได้มีแต่ท่านผู้บัญชาการทหารบกเท่านั้นที่จะรู้สึก "ปี๊ด"กับคำประกาศครั้งหลังนี้ แต่หลายฝ่ายในสังคมไทยนอกพื้นที่ซึ่งความรุนแรงดำเนินอยู่ก็คงจะ "ปี๊ด" เช่นกัน ปัญหามีอยู่ว่าเมื่อ "ปี๊ด" ไปแล้วผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความมั่นคงภาคใต้ และผู้คนในสังคมไทยควรทำอย่างไรต่อ? ข้อเขียนสั้นๆนี้เป็นการชวนให้ฝ่ายต่างๆในสังคมไทยได้ทำความเข้าใจกับ "สันติสนทนา" ที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมไทยมั่นใจในทิศทางการแก้ปัญหา และพร้อมเตรียมรับแรงกระเพื่อมที่จะเกิดจาก "สันติสนทนา" ได้ด้วยความรอบคอบ มีเหตุมีผลบนพื้นฐานของความรู้ในเรื่องนี้เพื่อประโยชน์สุขของประเทศ 1. สิ่งที่ผู้คนในสังคมไทยควรตั้งคำถามไม่ใช่ว่า BRN มีเจตนาอย่างไรจึงแถลงคำประกาศเช่นนี้หรือคิดอย่างไรจึงแถลงคำประกาศชนิดที่ก็รู้กันทั่วไปว่า ฝ่ายรัฐบาล ภาคราชการ และผู้คนในสังคมไทยจำนวนมากคงรับข้อเสนอเหล่านี้ไม่ได้ แต่ควรถามว่าคำประกาศของ BRN กำลังทำงานอย่างไรในสังคมไทยขณะนี้โดยเฉพาะที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับ "สันติสนทนา" 2. ผมเลือกใช้คำว่า "สันติสนทนา" (peace dialogue) เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นไม่ใช่ "การเจรจาสันติภาพ" (peace negotiation)ข้อต่างสำคัญคือ ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการเจรจาสันติภาพคือ ข้อตกลงสันติภาพ (peace agreement) แต่สิ่งที่อาจจะได้จาก "สันติสนทนา" คือความเข้าใจในกันและกันตลอดจนบรรยากาศในการร่วมกันหาทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงที่กำลังรัดรึงทุกฝ่ายอยู่ 3. กฎข้อแรกที่บิดาของสันติศึกษาคือ โยฮัน กัลตุง เคยสอนเกี่ยวกับการทำงานกับความขัดแย้งโดยเฉพาะในแนวทางสันติสนทนาคือ "อย่าฟังแต่เฉพาะสิ่งที่เขาพูด แต่ต้องฟังสิ่งที่เขาไม่ได้พูดด้วย" ในแง่นี้จะเห็นได้ว่า คำประกาศฉบับที่ 4 ของ BRN สะท้อนการทำงานที่เตรียมการมา เพราะเลือกประกาศเสนอให้ยุติความรุนแรงในช่วงเวลาเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม (holy time) ด้วยการใช้วันที่สำคัญทางการเมืองของไทยในอดีตเป็นหมุดตรึงคือ วันเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเมื่อ 81 ปีก่อนคือ 24 มิถุนายน อีกทั้งเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามในคำประกาศของตนในวันที่ 3 กรกฎาคม อันเป็นวันครบรอบชัยชนะของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ผ่านการเลือกตั้งเมื่อสองปีก่อนพอดี กล่าวได้ว่าคำประกาศนี้เป็นการจัดวางเวลาศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาไว้ในเวลาทางประวัติศาสตร์และการเมืองประชาธิปไตยของสังคมไทย ทั้งหมดนี้หมายความว่า คงต้อง "อ่าน" ประกาศของ BRN ในฐานะคำแถลงต่อสังคม คือไม่ใช่ตั้งคำถามว่า ฝ่ายเขาต้องการอะไร แต่ที่สำคัญอยู่ที่เขากำลังบอกกับฝ่ายใด? ว่าเขาเป็นใคร? และคิดว่ารัฐและสังคมไทยเป็นอย่างไร? 4. ทุกครั้งและเกือบทุกหนแห่งที่เริ่มใช้ "สันติสนทนา" ความรุนแรงก็มักเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ "สันติสนทนา"ไม่ใช่ "เทคนิค" ในการเผชิญกับความขัดแย้งที่ถึงตาย แต่ "สันติสนทนา" เป็น "การเมืองแห่งความขัดแย้ง" ชนิดที่การหาทางลดและมุ่งขจัดความรุนแรงให้หมดไปสัมพันธ์กับปัญหาความชอบธรรมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของคนที่ก้าวเข้าสู่เวที "สันติสนทนา" กล่าวคือ ถ้า "สันติสนทนา" สร้างความชอบธรรมให้กับหะซัน ตอยยิบและมิตรสหายของเขาซึ่งก็มีบทบาทให้ฝ่ายอื่นๆซึ่งต่อสู้กับรัฐไทยอยู่ต้องยอมรับ ขณะที่ฝ่ายที่ไม่ได้ขึ้นรถไฟสันติภาพขบวนนี้ก็ต้องหาวิธีลดทอนความชอบธรรมของ BRN ซึ่งรวมทั้งการใช้ความรุนแรงเป็นฐานความชอบธรรมของตน เป็นไปได้ว่าเพราะเหตุนี้ในกรณีของไทยคณะทำงาน ศอ.บต.ที่ศึกษาเรื่องนี้จึงพบว่า นับแต่เริ่มสันติสนทนาเมื่อ 28 มีนาคม 2556 จนปัจจุบัน ความรุนแรงในพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า 5. แต่ถ้าถามว่าแล้วยังจะต้อง "สนทนา" กันต่อไปอีกหรือ คำตอบก็คือแน่นอน เพราะในการศึกษากลุ่มใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะการ "ก่อการร้าย" ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 268 กลุ่ม ของ Rand Corporation พบว่า มีเพียงร้อยละ 7 หรือ 20 กลุ่มเท่านั้นที่รัฐใช้กำลังทหารเอาชนะได้ ขณะที่ ร้อยละ 43 ของกลุ่มใช้ความรุนแรงหรือ 114 กลุ่มโดยเฉพาะที่มีสมาชิกเกินพันคนเลิกสู้รบ เพราะหันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองปรกติ (Dudouet 2013) ได้ ปัญหาความขัดแย้งที่ถึงตายอย่างที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ที่สุดก็เช่นเดียวกัน ความรุนแรงคงไม่อาจทำให้ความขัดแย้งนี้จบลงได้ 6. หลายคนคงถามว่า ถ้าเช่นนั้นจะต้อง "คุย" กันไปอีกนานเท่าใดกว่าจะตกลงกันได้? ผมคิดว่าไม่มีใครบอกได้ว่าในกรณีของไทยสันติสนทนาจะใช้เวลาเท่าใด เพราะเรื่องนี้เป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลากว่าจะกลายเป็นข้อตกลงสันติภาพ ในกรณีของอาเจะห์กับรัฐบาลอินโดนีเซียก็ใช้เวลา 16 ปี ตั้งแต่ 2532 ถึง 2548 จึงบรรลุข้อตกลงเฮลซิงกิ (เพราะมีฟินแลนด์เข้ามาช่วยกระบวนการ) หรือ กรณีมุสลิมมินดาเนากับรัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ใช้เวลาพูดคุยกันนาน 26 ปีตั้งแต่ 2529 ถึง 2555 ผ่านข้อตกลงหยุดยิงหลายครั้งหลายหน และมีรัฐบาลจากหลายประเทศรวมทั้งมาเลเซียเข้ามามีส่วนร่วม 7. ถ้าถามว่าที่สนทนากันมาแล้วได้อะไร? คำตอบก็คือนอกจากจะได้พบเห็นตัวตนของฝ่าย BRNผู้เข้ามาเจรจา สร้างบรรยากาศแห่งการพูดคุยแล้ว ที่สำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพแห่งความชอบธรรมในความขัดแย้งนี้ เพราะการเมืองของสันติสนทนาเป็นการลดทอนความชอบธรรมของการใช้ความรุนแรงของผู้ใช้ (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด) โดยเฉพาะเมื่อเหยื่อเป็น เด็ก เป็นผู้หญิง เป็นคนแก่ หรือเป็นครูทั้งที่เป็นครูสอนศาสนาและครูโรงเรียนของรัฐ อาจเพราะเช่นนี้งานวิจัยของศอบต.จึงพบว่า หลังจากเริ่มสันติสนทนาเมื่อเดือนมีนาคม 2556 จนถึงบัดนี้ จำนวนเหยื่อความรุนแรงที่เป็นพลเรือนจึงลดลงครึ่งหนึ่ง 8. ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหานี้ควรคิดให้ชัดเจนว่า ที่ตัดสินใจเลือกเส้นทาง "สันติสนทนา" ก็ไม่เพียงเพราะเห็นว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่ถูกด้วยมีคุณค่าทางศีลธรรมแฝงอยู่ในตัว แต่เพราะประวัติศาสตร์ความขัดแย้งที่ถึงตาย (deadly conflicts) รอบโลกสอนเราว่า ในที่สุดคู่ขัดแย้งก็ต้อง "คุย" กัน ไม่ว่าจะรบรากันนานเพียงไร แม้ที่ "ดูเหมือน" ว่าจะจบลงได้ด้วยการใช้กำลัง (อย่างในศรีลังกา) ก็พบว่าการใช้ความรุนแรงไม่ได้นำมาซึ่งสันติภาพยั่งยืน เพราะได้ทิ้งเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง โกรธแค้น ที่รอเวลาปรากฏตัวใหม่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมในอนาคต และต้องหาหนทางเพาะสร้างสมานฉันท์ในสังคมด้วยความยากลำบาก(Keethaponcalan 2013) อีกทั้งความรุนแรงก็มีต้นทุนสูงไม่ว่าจะเป็นชีวิตผู้คนทั้งพลเรือนและนักรบของทั้งสองฝ่าย หรือต้นทุนทางวัฒนธรรมตลอดจนเงินทองมากมายที่หมดไปกับการใช้ความรุนแรง 9. ฝ่ายความมั่นคงทั้งทหารและพลเรือนควรทดลองพิจารณาว่า "สันติสนทนา" เป็นวิธีการ/กระบวนการต่อสู้จัดการกับความขัดแย้งที่ถึงตาย โดยอาศัย "อาวุธ" ชุดใหม่ "อาวุธ" ที่ว่านี้มีอยู่ในเนื้อตัวทางวัฒนธรรม ในประวัติศาสตร์ของสังคมไทย เป็นอาวุธที่เคยใช้เอาชนะความขัดแย้งใหญ่ๆมามาก ไม่ว่าจะเป็น "อาวุธ" ที่ช่วยให้ประเทศรอดจากการเป็น "ฝ่ายแพ้" ในสงครามโลก หรือเอาชนะภัยคุกคามจากอุดมการณ์ในอดีต 10. แต่ "อาวุธ" ชนิดนี้ก็เหมือน "อาวุธ" อย่างอื่นคือ คนใช้ก็ต้องใช้ด้วยความเข้าใจ และการใช้ "อาวุธ" เช่นนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากสังคมไทยโดยรวม ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์การใช้ สันติสนทนาด้วยการตระเตรียมจริงจัง พร้อมจะทำงานเช่นนี้ในระยะยาวและท่ามกลางมรสุมอุปสรรคต่างๆ ทั้งหมดนี้เพื่อสถาปนาความมั่นคงที่ยั่งยืนในอนาคตบนพื้นฐานของความเป็นจริงที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz ขัดเจตนารมณ์กฎหมายหรือไม่? Posted: 27 Jun 2013 09:29 PM PDT เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงมติเห็นชอบ 7 ต่อ 2 ใน (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..... (ประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ) ซึ่งมีใจความสำคัญอยู่ที่ การอนุญาตให้ผู้ให้บริการสามารถให้บริการบนคลื่นความถี่ที่หมดอายุสัมปทานได้ต่อไปชั่วคราว เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ใช้บริการที่ยังคงค้างอยู่หลังคลื่นหมดอายุสัมปทานให้สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่อง หรือไม่เจอกับเหตุการณ์ "ซิมดับ" ประกาศฉบับดังกล่าวเป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อกรณีการหมดอายุสัมปทานของคลื่นความถี่ 1800 MHz ในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งบริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ทรูมูฟ) และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ใช้ให้บริการกับลูกค้าผ่านสัญญาสัมปทานที่ทำขึ้นกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (กสท) โดย กสทช. อ้างว่า เนื่องจากมีผู้ใช้บริการอยู่บนคลื่นดังกล่าวรวมกันเกือบ 18 ล้านราย และสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กสทช. จึงต้องใช้มาตรการขยายระยะเวลาชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบจากกรณีซิมดับ ด้วยเหตุนี้ นอกจากคำถามสำคัญที่ว่าเหตุใด กสทช. โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จึงไม่สามารถดำเนินการให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นทั้งที่มีเวลาเตรียมการล่วงหน้า จนเป็นเหตุให้ต้องขยายระยะเวลาคืนคลื่นออกไปโดยอ้างผู้บริโภค (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ "ขยายระยะเวลาคืนคลื่น 1800 MHz: เยียวยาผู้บริโภคหรือใคร?") อีกคำถามสำคัญต่อกรณีการจัดการกับคลื่น 1800 MHz คือ กสทช. มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาคืนคลื่นหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดหรือไม่? และการกระทำดังกล่าวขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตหรือไม่? ในร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการฯ กทค. อ้างอำนาจตามกฎหมายดังนี้
นอกจากนี้ กทค. ยังตีความมาตรา 45 (ผู้ใดประสงค์ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับอนุญาตโดยวิธีการประมูลคลื่นเท่านั้น) ว่ามาตรการขยายระยะเวลาเป็นมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค มิใช่ "ความประสงค์" ของผู้ให้บริการ กล่าวคือเอกชนไม่ได้ต้องการประกอบกิจการ แต่ กทค. นำคลื่นไปให้เอกชนใช้เพื่อเยียวยาผู้บริโภค จึงไม่เข้าข่ายมาตรา 45 การตีความกฎหมาย "ในแบบ กทค." สามารถโต้เถียงได้ดังนี้
นอกจากข้อถกเถียงในตัว "เนื้อหา" ของกฎหมายดังที่กล่าวไป ด้าน "กระบวนการ" ในการตีความกฎหมายก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะในกรณีที่มีข้อถกเถียงหรือความไม่แน่ใจในการตีความกฎหมายเกิดขึ้น (คณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า 1800 ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวทางการขยายระยะเวลาเพื่อป้องกันซิมดับเอง ก็เห็นว่าอาจติดปัญหาทางข้อกฎหมาย) กทค. ก็ควรส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. ให้แนวทางความเห็น ทว่า กทค. กลับปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น และเลือกผูกขาดการตีความกฎหมายไว้เอง ซึ่งอาจเป็นเพราะคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายฯ ชุดดังกล่าวเคยมีตีความในกรณีที่คล้ายกันของคลื่น 800 MHz ว่า พ.ร.บ. องค์กรฯ กำหนดว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องทำโดยวิธีการประมูลเท่านั้น ประกอบกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ก็มิได้ให้อำนาจ กสทช. พิจารณาขยายระยะเวลาคลื่นหมดอายุสัมปทานได้ "จึงไม่อาจที่จะพิจารณาขยายระยะเวลาในการใช้งานคลื่นความถี่ได้" เมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมายข้างต้นแล้ว กทค. ไม่มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นออกไป เจตนารมณ์ในกฎหมายต้องการให้คลื่นที่หมดอายุสัมปทานคืนกลับมาสู่มือสาธารณะในฐานะทรัพยากรสื่อสารของชาติ และให้อำนาจ กสทช. เป็นตัวแทนในการจัดสรรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานซึ่งขาดความโปร่งใสและสร้างสนามแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม ไปสู่ระบบใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล ซึ่งมีความโปร่งใสและสร้างกฎกติกาการแข่งขันที่เท่าเทียมกว่า การขยายระยะเวลาโดย "จับผู้บริโภคเป็นตัวประกัน" ทั้งที่ กทค. มีเวลาเตรียมการเพียงพอให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นโดยไม่ขัดกับข้อกฎหมาย ย่อมเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ดีให้กับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ กทค. ตามที่กฎหมายกำหนด
[1] อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น