ประชาไท | Prachatai3.info |
- [คลิป] เกษียร เตชะพีระ: ความ(ไม่)รู้เศรษฐศาสตร์ของนิธิ
- จดหมายจาก ส.ศิวรักษ์ ในโอกาส ออง ซาน ซูจี เยือนไทย
- เอฟทีเอวอทช์ เตือนรัฐบาลเปิดเสรีรอบคอบ ทำตาม ม.190
- เสียงจากอดีตนักหนังสือพิมพ์ยาวี “ต้องให้คนมลายูรู้จักภาษามลายู”
- ‘สองเมีย’ เคลียร์ลงตัว เงินเยียวยาถึงมือเหยื่อปุโละปุโย
- เครือข่ายผู้ติดเชื้อแถลงค้านสละชีวิตผู้ติดเชื้อและเงินเยียวยา 7.75 ล้าน
- เปิดผลศึกษาสารพัดวิธีโหด ซ้อมทรมานชายแดนใต้
- จดหมายเปิดผนึก คัดค้าน พ.ร.บ. ปรองดองฉบับหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2549
- ธิดา ถาวรเศรษฐ: การตีโจทย์ประเทศไทย
- ธิดา ถาวรเศรษฐ: การตีโจทย์ประเทศไทย
- กษัตริย์ กับ ความเป็น 'สถาบัน' :ข้อพิจารณาทางนิติศาสตร์(สังเขป)
- รายชื่อแก้ ม.112 ถึงสภาแล้ว นักวิชาการวอนรัฐบาลอย่าใช้อคติ
- เมื่อ “ทุน” ปฏิเสธเสรีภาพในการจัดตั้ง/เจรจาต่อรองร่วมของแรงงาน อีกครั้ง
- ใบตองแห้ง...ออนไลน์: ดันทุเรศ vs ดันทุรัง
- เปิดทัศนะ 'สมยศ-สุรชัย' ต่อสถานการณ์ 'ปรองดอง'
[คลิป] เกษียร เตชะพีระ: ความ(ไม่)รู้เศรษฐศาสตร์ของนิธิ Posted: 29 May 2012 01:29 PM PDT เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อภิปรายหัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" การเสวนาในโอกาสครบรอบ 72 ปี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 28 พฤษภาคม 2555 ที่ห้อง HB5200 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอภิปรายโดยเกษียร เตชะพีระ หัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" เมื่อ 28 พ.ค. 55 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (ที่มา: ประชาไท) วิดีโอคลิปการอภิปรายโดยเกษียร เตชะพีระ หัวข้อ "คุยกันฉันคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ – ว่าด้วยความ (ไม่) รู้เศรษฐศาสตร์ของอ.นิธิ" หนึ่งในหัวข้อการเสวนา "พลังแห่งความรู้แบบนิธิ" เมื่อ 28 พ.ค. 55 ที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ โดยเกษียร กล่าวถึงที่มาของหัวข้อการอภิปรายว่ามาจากการที่ "ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกป้อง จันวิทย์ ได้รวมบทความของนิธิ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ แล้วพิมพ์ออกมา 3 เล่ม (ได้แก่ ความ(ไม่)รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยง เศรษฐสวดอนุบาล) โดยเกษียรระบุว่าเล่มแรกตั้งชื่อว่าเก๋มากโดยใช้ชื่อว่า "ความ(ไม่)รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์: อ่านเศรษฐกิจไทย" ดังนั้นจึงอยากใช้หนังสือเล่มนี้คุยกับอาจารย์นิธิ ในฐานะคนไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ด้วยกันผ่านหนังสือเล่มนี้ โดยเกษียรระบุด้วยว่า เหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ต้องมาอภิปรายกันก็คือ ภาคส่วนเศรษฐกิจของสังคมสำคัญขึ้นมามากในโลกปัจจุบันซึ่งเราเรียกว่าโลกยุคโลกาภิวัฒน์ คือถ้าคุณรู้เกี่ยวกับพวกมาร์กซิสต์มันจะมีทฤษฎีอย่างหนึ่งคือ "Economic Determinism" คือความเชื่อที่ว่าภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมทั้งการเมือง รัฐ หรือวัฒนธรรมก็ดี ที่เรียกว่าโครงสร้างส่วนบนล้วนถูกกำหนดโดยเศรษฐกิจซึ่งเป็น "โครงสร้างส่วนล่าง" ทั้งสิ้น ราวกับว่าข้อคิดอันนี้ซึ่งสมัยหนึ่งเคยเป็นข้อถกเถียง รับบ้างไม่รับบ้างในวงวิชาการ กลายเป็นข้อที่ผู้คนค่อนข้างเห็นด้วยอย่างกว้างขวางมาก โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักมาร์กซิสต์ก็ได้ในโลกปัจจุบันว่า ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบันเศรษฐกิจมันกำหนดทุกอย่างจริงๆ (ว่ะ) ที่น่าสนใจก็คือว่าในโลกที่ดูเหมือนว่ามติของพวกมาร์กซิสต์ที่ว่าเศรษฐกิจกำหนดทุกอย่างของสังคม เครื่องมือมนุษย์ใช้เรียนรู้และเข้าใจเศรษฐกิจคือเศรษฐศาสตร์ มันเป็นอย่างไร แล้วผลการจัดการของมันเป็นอย่างไร ก็ออกมาฉิบหาย ตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์ที่ลามไปถึงยุโรปแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะเสร็จสิ้น ดังนั้นจึงสงสัยได้อย่างมีเหตุผลพอสมควรว่าความรู้ที่เรียกว่า "เศรษฐศาสตร์" ต้องมีปัญหา โดยการอภิปรายของเกษียรแบ่งออกเป็น ส่วนแรก อะไรคือปัญหาของเศรษฐศาสตร์ในแง่ขององค์ความรู้ และในแง่ Methodology โดยมีห้าหัวข้อย่อยได้แก่ หนึ่ง ด้านดีของความรู้เศรษฐศาสตร์ สอง คิดแบบเศรษฐศาสตร์ คือ คิดแบบไทยๆ สาม ความน่ากลัวของคนไม่รู้เศรษฐศาสตร์ สี่ นักเศรษฐศาสตร์ที่ดีน่าจะเป็นอย่างไร ห้า จุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์ และส่วนที่สอง นิธิมองเศรษฐกิจไทย ว่ามีปัญหาหลักๆ อะไรบ้าง ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดของการอภิปรายทั้งหมดประชาไทจะทยอยนำเสนอในโอกาสต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายจาก ส.ศิวรักษ์ ในโอกาส ออง ซาน ซูจี เยือนไทย Posted: 29 May 2012 11:05 AM PDT เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 55 ในโอกาสที่นางออง ซาน ซูจี มาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 29 พ.ค. - 3 มิ.ย. 55 สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนและนักเขียน ได้เขียนข้อความยินดีต้อนรับนางออง ซาน ซูจี เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษในเฟซบุ๊กเพจ Sulak Sivaraksa ทั้งนี้ บิดาของนางออง ซาน ซูจี คือ นายพลออง ซาน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประกาศเอกราชพม่าจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่ถูกลอบสังหารเมื่อปีพ.ศ. 2490 สาเหตุจากความขัดแย้งเรื่องสนธิสัญญาปางโหลง ที่นายพลอองซานริเริ่มขึ้นเพื่อมุ่งสถาปนาเอกราชแก่พม่าและให้อิสระในการปกครองแก่ชนกลุ่มน้อย หากแต่เขาถูกลอบสังหารเสียก่อน สนธิสัญญาดังกล่าวจึงมิได้ถูกนำมาปฏิบัติ 0000 เรียน นางออง ซาน ซูจี ผมขอต้อนรับท่านสู่สยามด้วยใจจริง ท่านอาจจะได้ทราบหรือไม่ทราบว่า บิดาของท่านนั้นเคยมาเยือนที่นี่ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราช เพื่อมาก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยคำเชิญของรัฐบุรุษของเรา ปรีดี พนมยงค์ เป็นเรื่องที่น่าเศร้ายิ่ง ทีบิดาของท่านต้องเสียชีวิตจากการถูกลอบสังหาร ถึงแม้ว่าปรีดี พนมยงค์ จะไม่ได้ถูกฆาตกรรมในทางกาย แต่อำนาจที่มองไม่เห็นในประเทศนี้ ก็ได้ทำลายชื่อเสียงของเขาเสียยับเยิน และยังได้สังหารเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและธรรมิกสังคมนิยมด้วย ผมหวังว่า ผมและท่านจะได้มีโอกาสพบปะกันและพูดคุยอย่างจริงจังเกี่ยวกับธรรมิกสังคมนิยมในประเทศของเราทั้งสอง
ที่มา: แปลจากข้อความในเฟซบุ๊กเพจของส. ศิวรักษ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เอฟทีเอวอทช์ เตือนรัฐบาลเปิดเสรีรอบคอบ ทำตาม ม.190 Posted: 29 May 2012 10:54 AM PDT
29 พ.ค.55 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอวอทช์ ออกแถลงการณ์เรื่อง เจรจาการค้า-เปิดเสรีรับการลงทุนอย่างรอบคอบและตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญไม่ทำให้ตกขบวนอย่างที่คิด โดยระบุว่า ขณะที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานราชการบางส่วนอ้างว่า หากประเทศไทยไม่รีบกระโดดเข้าร่วมการเจรจาฯ หรือเปิดเสรีเพื่อรับการลงทุนต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น จะทำให้ตกขบวนรถไฟ เสียเปรียบคู่แข่ง แต่ไม่ได้ปรากฏว่าประเทศสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องแลกหรือเสียไปจากการเจรจากลับกลายเป็นต้นทุนที่สูงยิ่ง ดังนั้น ภายใต้มุ่งหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) และการเจรจาเขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยอาจเข้าร่วมเจรจามีประเด็นที่ล่อแหลมและอาจนำมาซึ่งความสูญเสียดหลายด้าน จึงเสนอให้รัฐบาลต้องปฏิบัติตามหลักการความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบอย่างเป็นกลางและถี่ถ้วน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบอย่างรอบด้าน แถลงการณ์ระบุว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม World Economic Forum on East Asia ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.- 1 มิ.ย.นี้ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาพประชาชน (FTA Watch) เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะพิจารณาเปิดต้อนรับรับนักลงทุนที่มีคุณภาพและการลงทุนซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่แท้จริงอย่างยั่งยืนใน 3 ด้านคือ ด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นหัวใจหลักของการพัฒนา จะเห็นได้ว่า ในช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา แม้ระบบเศรษฐกิจของมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น, สหรัฐฯ หรือ ยุโรป จะเกิดภาวะถดถอยอย่างรุนแรง แต่ความพยายามในการครอบงำและตักตวงผลประโยชน์จากประเทศกำลังพัฒนาผ่านการทำความตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA มิได้เบาบางลงแต่อย่างใด ญี่ปุ่นใช้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (EPA) เป็นกลไกสำคัญในการขจัดข้อจำกัดด้านศุลกากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อแปลงพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ทิ้งขยะพิษอุตสาหกรรม สำหรับสหภาพยุโรป แม้จะระงับการเจรจากับ ASEAN ไปเนื่องจากมีความคืบหน้าช้ามาก ก็ได้เร่งเจราจาทวิภาคีกับหลายประเทศในภูมิภาคเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และเวียดนาม โดยมีประเทศไทยเป็นเป้าหมายสำคัญต่อไป ทางด้านสหรัฐฯเองได้มีการใช้การเจรจา ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Agreement: TPPA) เป็นเครื่องมือสำคัญในการหันกลับมาจับจองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกพร้อมไปกับการถ่วงดุลอำนาจของจีน ขณะเดียวกัน จีนก็ใช้ทุนมหาศาลที่ตนมีอยู่มาทุ่มในเกมการลงทุนเพื่อขยายอิทธิผลทางการค้าและสร้างเสริมอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศนี้ด้วยอย่างแข็งขัน ขณะที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานราชการบางส่วนอ้างว่า หากประเทศไทยไม่รีบกระโดดเข้าร่วมการเจรจาฯหรือเปิดเสรีเพื่อรับการลงทุนเหล่านี้ จะทำให้ตกขบวนรถไฟ โดยเสียเปรียบคู่แข่งที่จะสามารถส่งสินค้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจเหล่านี้ในระดับภาษีที่ต่ำกว่า พร้อมทั้งจะดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้นผ่านการให้สิทธิคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติ แต่ข้อเท็จจริงจากความตกลงที่ผ่านมาของไทย ไม่ได้ปรากฏว่าประเทศสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องแลกหรือเสียไปจากการเจรจากลับกลายเป็นต้นทุนที่สูงยิ่ง ภายใต้มุ่งหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) และการเจรจาเขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยอาจเข้าร่วมเจรจามีประเด็นที่ล่อแหลมและอาจนำมาซึ่งความสูญเสียได้ดังต่อไปนี้ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยารักษาโรค - ข้อเรียกร้องสูงกว่ามาตรฐานความตกลงทริปส์ หรือที่รู้จักกันว่าเป็นทริปส์พลัส เช่น การให้สิทธิผูกขาดข้อมูลยา การขยายอายุการผูกขาดตลาดยาที่ยาวกว่า 20 ปี และใช้ข้อยืดหยุ่นทริปส์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดราคายาที่แพงจนผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยา ส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพ ภาคการเกษตร - การเข้ามาแย่งยึดชิงที่ดิน และทรัพยากร ซึ่งในปัจจุบันซึ่งปัจจุบันมีปัญหามากอยู่แล้วทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่การผูกขาดทรัพยากรทางชีวภาพของไทย สุขภาพ - สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอร์, บุหรี่ รวมถึงขยะสารพิษอันตราย จะถูกปฏิบัติไม่ต่างจากสินค้าทั่วไปที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการซื้อขายอย่างเสรี แอลกอฮอร์, บุหรี่ รวมถึงขยะสารพิษอันตราย เป้นอันตรายต่อสุขภาพและสังคมโดยรวม แรงงาน- มาตรฐานและสิทธิแรงงานต้องถูกลดทอดเพื่อแข่งกันดึงดูดการลงทุนด้วยค่าแรงถูกและกฎระเบียบคุ้มครองแรงงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานและนำไปสู่การละเมิดสิทธิคนงานอย่างกว้างขวาง ต่อต้านสิทธิการรวมตัวและต่อรองของแรงงาน นอกจากนี้ จะยิ่งทำให้มีการขยายการเลือกปฏิบัติในส่วนของสภาพการทำงานและสิทธิระหว่างแรงงานมีฝีมือและแรงงานที่ไร้ฝีมือหรือไม่มีทักษะ ผู้บริโภค - ผู้บริโภคมักถูกนำไปเป็นข้ออ้างว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกเสมอ เพราะกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆจะถูกทำให้อ่อนแอ นโยบายสาธารณะต่างๆที่อาจไปจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมและกลุ่มทุนต่างๆ จะถูกท้าทายด้วย ‘กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน’ ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อล้มนโยบายสาธารณะหรือทำให้ไทยต้องเสียค่าโง่ดังหลายๆกรณีที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การดำเนินการใดๆ ของรัฐบาลด้านการเจรจาจัดทำความตกลง FTA หรือความตกลงที่นำไปสู่การเปิดเสรีด้านการค้า บริการและการลงทุน (ไม่ว่าจะเรียกชื่อแบบใด) ต้องปฏิบัติตามหลักการความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบอย่างเป็นกลางและถี่ถ้วน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีการประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบอย่างรอบด้าน ทั้งมิติด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ไม่พิจารณาเฉพาะผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเพียงมิติเดียวดังเช่นที่ผ่านมา โดยต้องกำหนดกรอบการเจรจาอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีการกำหนดประเด็นหรือหัวข้อการเจรจาที่ประเทศไทยจะไม่นำไปแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น เรื่องการขยายอายุคุ้มครองสิทธิบัตรยา เป็นต้น ทั้งนี้ ความตกลงใดที่ได้ดำเนินไปแล้ว อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ขอให้ทบทวนรายการสินค้าภายใต้ความตกลงฯ ฉบับดังกล่าวอีกครั้ง และให้เพิกถอนรายการสินค้าที่เป็นของเสียอันตรายทั้งหมดความตกลงฯ ฉบับนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสียงจากอดีตนักหนังสือพิมพ์ยาวี “ต้องให้คนมลายูรู้จักภาษามลายู” Posted: 29 May 2012 10:44 AM PDT เปิดรากเหง้าภาษามลายู จาก 2 อดีตนักหนังสือพิมพ์อักษรยาวี Fajar ถ่ายทอดบทเรียน ทำไมคนชายแดนใต้ไม่อ่าน แนะแนวทางกระตุ้นคนพื้นที่ สร้างสื่อด้วยภาษาของตัวเอง ชี้เหลือที่เดียวในอาเซียน เผยตัวอย่างมลายูอักษรสันสกฤต
ใกล้ที่จะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในอีกไม่ถึง 3 ปี ภาษามลายูซึ่งมีผู้ใช้มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนจึงเนื้อหอมตามไปด้วย ทว่าในชายแดนใต้ของไทย กระแสการรื้อฟื้นภาษามลายู ทั้งจากหน่วยราชการและภาคประชาชน โดยเฉพาะการเขียนด้วยอักษรยาวี มีมาซักพักใหญ่ๆ แล้ว แต่จะมีใครซักกี่คนที่ทราบว่า ภาษามลายูมีที่มาอย่างไร ทำไมต้องยืมใช้อักษรจากภาษาอื่นถึง 3 ภาษา อานิสงค์องค์ความรู้จากสองวิทยากรในค่ายอบรมข่าวนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2555 ที่ผ่าน มีคำตอบเรื่องนี้ คนแรก คือ นายอุสมัน โต๊ะตาหยง ผู้บริหารโรงเรียนบากงวิทยา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี อดีตนักข่าวและผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Fajar หนังสือพิมพ์ภาษามลายูอักษรยาวีในอดีต คนที่สองคือ นายดอรอแม หะยีหะสา อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน ปัจจุบันเป็นนักจัดรายการวิทยุภาษามลายูของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี อุสมัน โต๊ะตาหยง “อักษรยาวีเหลือที่เดียวในอาเซียน” มีการพูดถึงกันว่า คนมาลายูมีมานานกว่า 2,500 ปี ก่อนคริสตศักราช (ค.ศ.) แล้ว เป็นกลุ่มคนที่ชอบเดินทางไปมาตามชายฝั่งทะเล จากนั้นประมาณ 1,500 ปีก่อน ค.ศ. พวกเขาเข้าไปอยู่ตามถ้ำและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หลังจากนั้นเริ่มมีอำนาจปกครองตัวเอง โดยศตวรรษที่ 1 ค.ศ.เริ่มเป็นรัฐที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ ชื่ออาณาจักรลังกาสุกะ ในช่วงเริ่มต้นของอาณาจักรลังกาสุกะ มีภาษามาลายูแล้ว เป็นภาษาพูด ยังไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง ซึ่งนักประวัติศาสตร์เองก็ไม่ได้ระบุว่า อาณาจักรลังกาสุกะมีภาษาเขียน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองขึ้น โดยราชสำนักของอาณาจักรศรีวิขัยใช้อักษรสันสกฤตมาใช้เขียนภาษามลายู และใช้ในราชสำนักเท่านั้น จากนั้นศตวรรษที่ 9 ศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามาเผยแพร่ โดยชาวบ้านเป็นผู้เข้ารับศาสนาอิสลามก่อน หลังจากนั้นศตวรรษ 10 - 11 บรรดาคนในราชวงศ์หรือพวกกษัตริย์จึงเริ่มเข้ารับศาสนาอิสลาม และเริ่มใช้อักษรอาหรับเป็นตัวเขียนภาษามาลายู ทำให้ขณะนั้น ภาษามลายูมี 2 ภาษาเขียน คือสันสกฤตกับอาหรับ ยกตัวอย่างการเขียนภาษามลายูตัวอักษรสันสกฤต มีปรากฏบนศิลาจารึกโบราณ (หิน) สำหรับการใช้ตัวอักษรอาหรับมาเขียนภาษามลายูนั้น ได้มีการคิดค้นอักษรบางตัวเพิ่มเติม เพื่อให้ครบตามการออกเสียงในภาษามลายู แล้วเรียกว่า อักษรยาวี เมื่อมีการใช้ตัวอักษรยาวีในการเขียนภาษามลายูแล้ว ปรากฏว่ามีการเผยแพร่จนเป็นที่นิยม โดยมีใช้ทั้งในราชการ ราชสำนัก ตำราเรียนทางศาสนา จนถึงศตวรรษที่ 18 ดินแดนมาลายูก็ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของชาติตะวันตก และเริ่มมีการใช้อักษรโรมันคือ ตัวอักษร A B C มาใช้เขียนภาษามลายู เป็นต้นมา ปัจจุบันภาษามลายูอักษรรูมี (โรมัน) มีการใช้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะมีใช้ทั้งในราชการ การศึกษา วรรณกรรม รวมทั้งภาษาข่าวและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กำเนิด(และดับสูญ) หนังสือพิมพ์มลายูอักษรยาวีในอดีต ในอดีตที่ไม่นานมานี้ มีหนังสือพิมพ์ภาษมาลายูเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายฉบับ ฉบับหนึ่งผมได้ร่วมกันเปิดขึ้นมากับนายดอรอแม หะยีหะสา เป็นขนาดแท็ปลอยด์ ชื่อ Fajar แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว บทเรียนที่ได้ คือ ไม่มีการฝึกคนหรือเตรียมคนทำงาน มีการออกทุนส่วนตัวในการผลิตหนังสือพิมพ์ ไม่มีแผนการการตลาด แต่หวังรายได้จากยอดขายหนังสือพิมพ์อย่างเดียวและไม่มีโฆษณา สุดท้าย ไปไม่รอด และทุกอย่างจบลงในช่วงเกิดเหตุคลื่นสึนามิเมื่อปลายปี 2547 เป็นการยกเลิกที่บวกกับความหวาดระแวงของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเป็นช่วงที่สถานการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรุนแรงมาก แต่ปัจจุบันความหวาดระแวงในเรื่องนี้ไม่มีแล้ว หากจะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ก็คงไม่มีใครระแวง ปัจจุบันภาษามาลายูที่ใช้อักษรยาวีมีใช้ที่เฉพาะที่ปัตตานีที่เดียว (หมายถึง ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบางส่วนของจังหวัดสงขลา) ที่มาเลเซียและอินโดนีเซียเลิกใช้อักษรยาวีไปนานแล้ว แต่ใช้อักษรรูมีแทน ปัจจุบันมีคนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเป็นภาษามาลายูอักษรยาวีแล้ว ที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นวิจัยเกี่ยวกับประวัติผู้ก่อตั้งปอเนาะพ่อมิ่ง ปัจจุบันคนที่เรียนจบจากประเทศอินโดนีเซียกลับมาสอนภาษามาลายูจำนวนมาก แต่กลับมีคนบอกว่าภาษามลายูอินโดนีเซียใช้ไม่ได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนคนที่เรียนจบจากอินโดนีเซียบอกว่า ภาษามลายูของมาเลเซียก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน ที่จริงทั้งสองภาษานี้ไม่ได้มีปัญหาต่อกัน แต่คนที่พูดอย่างนั้น บ่งบอกถึงความอ่อนแอของการใช้ภาษามลายูของตัวเอง ดอรอแม หะยีหะสา “ต้องให้คนมลายู รู้จักภาษามลายูก่อน” แม้ปัจจุบันการพูดภาษามลายูของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากแล้ว แต่สำหรับการเขียนแล้ว ก็จำเป็นต้องเขียนให้ถูกต้อง แม้จะเข้าใจยากกว่าภาษาพูด เพราะปัจจุบันคนพูดมลายูคำภาษาไทยคำไปแล้ว คำถามคือ ทำไมขณะนี้ คนอ่านภาษามลายูอักษรยาวีได้น้อยลง ก็เพราะคนไม่ค่อยสนใจและไม่มีใครกระตุ้นให้อ่าน สิ่งหนึ่งที่จะกระตุ้นได้ คือการเขียนข่าว เพราะการเขียนข่าว เป็นการผสมผสานระหว่างความสามารถทางวิชาการกับการใช้เหตุและผล ที่สำคัญ ข่าวสามารถดึงดูดให้คนมาสนใจอ่านได้ เพราะข่าว คือเรื่องเล่าที่มีความสดใหม่ เป็นเรื่องที่คนยังไม่รู้และมีความเร็ว ที่สำคัญอีกอย่างคือ ข่าวเป็นงานเขียนที่มีคนอ่านมากที่สุด มากกว่างานเขียนชนิดอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังมีสื่อรูปแบบอื่นๆ ที่มีคนติดตามมากด้วยเช่นกัน เช่น การ์ตูน ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ข่าวมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร ซึ่งก็คือทฤษฎี 5W1H นั่นเอง แต่ข่าวไม่ใช่ประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณาชวนเชื่อ ทุกวันนี้ มีคนอยากเล่าเรื่องเยอะ แต่ไม่รู้วิธีการที่จะเล่าเรื่อง ผมเองก็มีเรื่องอยากจะเล่า จึงทำหนังสือพิมพ์ขึ้นมาให้คนอ่าน แต่ทำแล้วไปต่อไม่ได้ จึงมารายการวิทยุก็เป็นการเล่าเรื่องให้คนฟังได้เหมือนกัน หนังสือพิมพ์ Fajar ซึ่งแปลว่า รุ่งอรุณ ประสบปัญหาหลายอย่าง ประการแรก คนมลายู (ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ไม่อ่านหนังสือภาษามลายู และไม่ค่อยสนับสนุนหนังสือพิมพ์ภาษามลายู คนซื้อหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับ นำไปอ่าน 5 คน ยอดขายหนังสือพิมพ์จึงน้อย ทำให้ประสบปัญหาเรื่องการเงิน บวกกับปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่าง จนทำให้ต้องยุบหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ คนมลายูไม่เหมือนคนจีน คนจีนทำหนังสือพิมพ์เพื่อให้คนอื่นรู้จักภาษาจีน ไม่สนว่าคนจะอ่านได้หรือไม่ และมีคนซื้อ มีผลทำให้หนังสือพิมพ์จีนแพร่หลายไปทั่วโลก แต่การจะทำให้คนมลายูชอบอ่านหนังสือ คือต้องทำให้คนมลายูรู้จักภาษามลายูก่อน อาจจะโดยการผลิตหนังสือพิมพ์แจก ต้องไม่หวังผลกำไร แต่อุปสรรคใหญ่ คือ เมื่อปีที่แล้วมีผลสำรวจว่า คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ชอบอ่านหนังสือภาษาไทยเป็นอันดับ 1 มลายูอักษรรูมี เป็นอันดับ 2 ส่วนภาษามลายูอักษรยาวี เป็นอันดับ 3 ดังนั้น สิ่งที่จะต้องทำต่อไป คือต้องมีการเตรียมตัว เช่น มีการทำข่าวภาษามลายูอักษรยาวีมากขึ้น เพื่อให้มีการผลิตและใช้สื่อภาษามลายูอักษรยาวีมากขึ้น แม้มีคนอ่านน้อยก็ตาม ที่สำคัญต้องสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เรียนภาษามาลายูให้มีความเชี่ยวชาญ เพราะเด็กที่จบชั้น ม.6 แล้ว ถ้าไม่เรียนต่อสายศาสนาก็จะทำให้ต้องหยุดเรียนภาษามาลายูไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องสนับสนุนให้คนที่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้เรียนภาษามาลายูต่อไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนภาษามลายูด้วย เพราะขณะนี้ มีชาวต่างชาติเข้ามาเรียนภาษามลายูมากขึ้น เช่น คนญี่ปุ่น เพราะคนญี่ปุ่นเข้าใจว่า เมื่อเป็นประชาคมอาเซียน ภาษามลายูจะเป็นภาษาที่สำคัญในอาเซียน แต่คนในพื้นที่ไม่สนใจ ส่วน การจะเขียนข่าวภาษามลายูอักษรยาวีให้ถูกต้องนั้น ประการแรก ต้องเตรียมบุคลากรให้พร้อมและชัดเจน เนื่องจากคนที่จะทำงานข่าวได้ ต้องเป็นคนต้องตรงต่อเวลา ตัวอย่างภาษามลายูอักษรสันสกฤตและอักษรยาวี มลายูอักษรสันสกฤต หลักศิลาจารึกโบราณสมัยศรีวิชัยที่เขียนด้วยภาษามลายูอักษรสันสกฤต โดยมีการถอดข้อความเดิมเป็นภาษามลายูอักษรรูมี ดังนี้ “Wangna pun ini sakakala, prebu ratu purane pun, diwastu diya wingaran prebu guru dewataprana di wastu diya wingaran sri baduga maharaja ratu hajj di pakwan pajajaran seri sang ratu dewata pun ya nu nyusuk na pakwan diva anak rahyang dewa niskala sa(ng) sida mokta dimguna tiga i(n) cu rahyang niskala-niskala wastu ka(n) cana sa(ng) sida mokta ka nusalarang, ya siya ni nyiyan sakakala gugunungan ngabalay nyiyan samida, nyiyanl sa(ng)h yang talaga rena mahawijaya, ya siya, o o i saka, panca pandawa e(m) ban bumi 00.” ส่วนความหมายที่เป็นภาษามลายู ดังนี้ “Semoga selamat, ini tanda peringatan (untuk) Prabu Ratu almarhum Dinobatkan dia dengan nama Prabu Guru Dewataprana, dinobatkan (Iagi) dia dengan nama Sri Baduga Maharaja Ratu Aji di Pakuan Pajajaran Sri Sang Ratu Dewata. Dialah yang membuat parit (pertahanan) Pakuan.” “Dia putera Rahiyang Dewa Niskala yang dipusarakan di Gunatiga, cucu Rahiyang Niskala Wastu Kencana yang dipusarakan ke Nusa Larang. Dialah yang membuat tanda peringatan berupa gunung-gunungan, membuat undakan untuk hutan Samida, membuat Sahiyang Telaga Rena Mahawijaya (dibuat) dalam Saka 1455.” มลายูอักษรยาวีโบราณ เอกสารโบราณที่เขียนด้วยภาษามลายูอักษรยาวี หมายเหตุ : ภาพจากงานนำเสนอ เรื่อง Sejarah Tulisan Melayu ของอุสมัน โต๊ะตาหยง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘สองเมีย’ เคลียร์ลงตัว เงินเยียวยาถึงมือเหยื่อปุโละปุโย Posted: 29 May 2012 10:00 AM PDT ศอ.บต.มอบเงินเยียวยา เหยื่อเหตุ 4 ศพปุโละปุโย ตายรายละ 7.5 ล้าน ‘สองเมีย’ ลูก 11 เคลียร์ลงตัว แบ่งคนละ 2.2 แสน ผู้นำศาสนาช่วยคุยทำความเข้าใจ ส่วนคนเจ็บให้รายละ 5 แสน เจ้าของรถขายแล้วแค่ 2 แสน รัฐให้เพิ่ม 3 แสน
7.5 ล้าน - พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.(ที่ 2 จากขวา) เป็นประธานมอบเงินเยียวยา 7.5 ล้านบาท แก่ญาติผู้เสียชีวิตจากกรณีเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิต 4 ศพ ที่บ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นกรณีแรกตามหลักเกณฑ์ใหม่ของรัฐบาล เมื่อ 29 พฤษภาคม 2555 ที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี
เมื่อเวลา13.30 น.วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีเจ้าหน้าที่ยิงประชาชนเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 5 ราย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 ที่บ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยผู้รับมอบเงิน ได้แก่ ผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว รวม 9 ราย สำหรับกรณีเสียชีวิต 4 ราย ได้รับรายละ 3,000,000 บาท จากทั้งหมด 7,500,000 บาท โดยที่เหลือจะทยอยมอบให้ปีละ 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 500,000 บาท หักออก เนื่องจากได้มอบไปแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนผู้บาดเจ็บ 5 ราย ได้รายละ 500,000 บาท พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยว่า สำหรับเงินจำนวน 4,000,000 บาทที่เหลือ ได้เก็บไว้ที่ธนาคาร ซึ่งส่วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย จึงมอบหมายให้นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี พิจารณาว่า จะทำอย่างไรให้ถูกตามหลักอิสลามที่ห้ามกินดอกเบี้ย พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยว่า เงินเยียวยาดังกล่าว ไม่ใช่มรดก ซึ่งตามหลักเกณฑ์แล้ว จะต้องจ่ายให้พ่อ แม่ และลูกของผู้เสียชีวิต เพราะฉะนั้นก่อนมอบเงินดังกล่าว มีทีมงานซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการอิสลามประจำปัตตานีและผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ลงพื้นที่ทำความเข้าใจเรื่องการรับเงินดังกล่าวแล้ว โดยมีผู้เสียชีวิตรายหนึ่ง มีลูก 11 คน จึงมีการตกลงจะแบ่งเงินให้คนละ 220,000 บาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้เสียชีวิตรายดังกล่าว คือนายสาหะ สาแม ซึ่งมีลูก 11 คน จากภรรยาสองคน ซึ่งมีรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีความขัดแย้งกันเรื่องการรับเงินเยียวยา จนกระทั้งทีมงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีและผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีลงไปทำความเข้าใจ จนสามารถตกลงกันได้ สำหรับแนวทางดังกล่าว เป็นไปตามแนวทางเดิมที่คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กยต. ซึ่งเป็นคณะกรรมการเยียวยาชุดก่อนเป็นผู้กำหนด เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากความไม่สงบหลายรายที่มีภรรยามากกว่า 1 คน ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งว่า ใครจะเป็นผู้รับเงินเยียวยา จนต้องให้ผู้นำศาสนาอิสลามตีความว่า เงินเยียวยาไม่ใช่มรดก และแต่งตั้งให้ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกันพิจารณาเป็นรายกรณี นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุติธรรม ศอ.บต. เปิดเผยว่า สำหรับรถกระบะหมายเลขทะเบียน บท 3105 ปัตตานี ของนายยา ดือราแม ซึ่งเป็นรถที่ประสบเหตุและได้รับความเสียหาย ศอ.บต.จะจ่ายเงินส่วนต่าง 300,000 บาท จากราคาขายปกติ 500,000 บาท เนื่องจากนายา ได้ขายรถคันดังกล่าวได้ในราคาเพียง 200,000 บาท นายกิตติ เปิดเผยอีกว่า ส่วนผู้ได้บาดเจ็บที่ไม่สามารถทำงานได้และมีใบรับรองแพทย์ ซึ่งมี 2 คน จะได้รับเงินเยียวยาทางจิตใจ วันละ 400 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ส่วนค่ารักษาพยาบาลรัฐรับผิดชอบทั้งหมด นายยูโซะ ดอเลาะ ญาติของนายมะแอ ดอเลาะ และนายฐอบรี บือราเฮง ซึ่งเป็นได้รับบาดเจ็บ เปิดเผยว่า ขณะนี้นายมะแอ กลายเป็นผู้พิการไม่สามารถเดินได้และไม่สามารถทำกายภาพบำบัดได้ เพราะมีอายุมาก ส่วนนายนายฐอบรี ยังคงนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี โดยต้องใช้อุปกรณ์ค้ำศีรษะตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดวงตาข้างขวา ซึ่งขณะนี้ยังมองไม่เห็น สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว คือ นายรอปา บือราเฮง อายุ 18 ปี นายอิสมัน ดือราแม อายุ 55 ปี นายสาหะ สาแม นายหะมะ สะนิ อายุ 65 ปี ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บ ได้แก่ นายยา ดือราแม อายุ 58 ปี ด.ช.มะรูดิง แวกือจิ อายุ 15 ปี นายมะแอ ดอเลาะ อายุ 76 ปี และนายฐอบรี บือราเฮง อายุ 19 ปี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายผู้ติดเชื้อแถลงค้านสละชีวิตผู้ติดเชื้อและเงินเยียวยา 7.75 ล้าน Posted: 29 May 2012 09:48 AM PDT เครือข่ายผู้ติดเชื้อแถลงกรณีผู้ติดเชื้อจะสละชีวิตเพื่อกองทุนแปะเจี๊ยะเด็ก และเงินเยียวยา 7.75 ล้าน ชี้ชีวิตมีค่า ผู้ติดเชื้อมีสิทธิเข้าถึงการรักษา และ 'เป็นเอดส์ไม่ตาย' 29 พฤษภาคม 2555 เครือข่ายผู้ติดเชื้ แถลงการณ์ สืบเนื่องจากข่าวที่เลขาธิ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดผลศึกษาสารพัดวิธีโหด ซ้อมทรมานชายแดนใต้ Posted: 29 May 2012 09:48 AM PDT กลุ่มด้วยใจ รายงานผลศึกษาสารพัดวิธีโหด ซ้อมทรมานชายแดนใต้ พบ 33 รูปแบบ ส่วนใหญ่โดนในช่วงกฎหมายพิเศษ ถกทางแก้หาแบบจำลองป้องกันทำร้ายร่างกาย ตำรวจแนะ 3 ข้อ ตั้งองค์กรอิสระตรวจสอบ ทนายมุสลิมเผยปัจจุบันปัญหาลดลง ไม่มีร้องเรียนแล้ว
เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี กลุ่มด้วยใจ (Hearty Support Group) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แบบจำลองการป้องกันการซ้อมทรมาน โครงการSocial support for detainee families in Songkla prison center โดยนำเสนอผลการประเมินผลกระทบของ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในเรือนจำกลางสงขลาจากการถูกซ้อมทรมาน จำนวน 70 คน ซึ่งถูกจับกุมระหว่างปี 2547 – พ.ศ.2553 โดยมีผู้เข้าร่วม 50 คน นางสาวอัญชนา หีมมิน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ นำเสนอว่า จากการศึกษาโดยการสัมภาษณ์และสังเกต พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ให้สัมภาษณ์ได้รับผลกระทบจากการทรมานขณะถูกควบคุมตัวหรือระหว่างการซักถามภายใต้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยศึกษาระหว่าง วันที่ 20 เมษายน - 9 กรกฎาคม 2553 นางสาวอัญชนา นำเสนออีกว่า ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงส่วนใหญ่ถูกค้นร่างกายและค้นบ้านที่พักอาศัยและถูกรื้อค้น ร้อยละ 76.60 รองลงมาคือถูกจับกุม กักขัง ร้อยละ 74.47 ถูกทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 72.34 ถูกกีดกันไม่ให้พบครอบครัวหรือเพื่อน ร้อยละ70.21 โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก สูงสุดถึง 7 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกซ้อมทรมานทำร้ายร่างกายมากที่สุด โดยแต่ละคนมักได้ประสบการณ์มากกว่า 1 กรณี นางสาวอัญชนา นำเสนอต่อไปว่า ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกทำร้ายร่างกาย มักถูกกระทำระหว่างการจับกุม ในกระบวนการซักถามและการสอบสวน นางสาวอัญชนา นำเสนอว่า การศึกษาพบว่า การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษในรูปแบบที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ต้องหาคดีความมั่นคง แบ่งได้ 3 ช่วง คือ ระหว่างการจับตัว ระหว่างเดินทาง และระหว่างควบคุมตัว นางสาวอัญชนา นำเสนออีกว่า สำหรับรูปแบบการทรมาน ตรวจสอบพบ 33 รูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุด คือ มีบาดแผลถูกชก ต่อย เตะ ตบ เฆี่ยนตี ลวด กระบอง หกล้ม การทรมานในท่าต่างๆ เช่น การแขวน การถ่างขา อยู่ในอุณหภูมิสุดขั้ว ร้อน หนาว อยู่ในที่ขาดสุขลักษณะ ขังในห้องแคบหรือแออัด ปิดตาหรือคลุมศีรษะ อยู่ในที่แสงสว่างจ้าหรือที่ไม่มีแสง ข่มเหงด้วยคำพูด ทำให้อับอาย ข่มขู่เอาชีวิต จำลองการประหารชีวิต และถูกบังคำให้สารภาพหรือเขียนคำสารภาพ นางสาวอัญชนา นำเสนอต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังพบรูปแบบการทรมานแบบแปลกๆ เช่น การเผาไหม้ด้วยบุหรี่ น้ำร้อนหรือสารกัดกร่อน ทำให้ขาดอากาศหายใจ สำนักน้ำ ควันหรือสารเคมี ใช้ลูกกลิ้งหนักบดหรือกดบนโคนขาหรือแผ่นหลัง สอดลวดใต้เล็บหัวแม่เท้า ใช้สารเคมี เกลือ พริก น้ำมันเบนซินใส่ในแผลหรือรูพรุนตามร่างกาย ทรมานอวัยวะเพศ ข่มขืน ผ่าตัดนำอวัยวะภายในออก บังคับให้รับประทานยา น้ำมันหรือสารเคมี ให้อาหารหรือน้ำปนเปื้อนเชื้อโรค ใช้สัตว์รุกราน เช่น สุนัข แมงป่อง บังคับให้ปฏิบัติในสิ่งที่ขัดแย้งกับศาสนา ให้ดูถูกผู้นำศาสนา บังคับให้ทรยศผู้อื่น หรือให้ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น นางสาวอัญชนา เสนออีกว่า ส่วนผลกระทบจากการทรมานพบว่า มี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน โดยระดับบุคคล ได้แก่ ผลกระทบต่อร่างกาย เช่น พบร่องรอยถูกกระแทก เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก และจากการถูกกระทำที่อวัยวะเพศ ทำให้วิตกกังวลถึงสมรรถภาพทางเพศ ผลกระทบต่อจิตใจ พบว่า มีอาการของโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และพบภาวะเครียดสุดขีดจากการประสบเหตุร้ายแรง ผลกระทบต่อครอบครัว เช่น ถูกประณามจากสังคม ถูกแยกออกจากสังคม สูญเสียสถานะทางสังคมและอาชีพ ผลกระทบทางจิตใจต่อเด็กในครอบครัว ซึ่งเป็นอาการบาดเจ็บที่มองไม่เห็น ส่วนผลกระทบทางด้านสังคม เช่น คนในสังคมโกรธและสงสัยต่อเจ้าหน้าที่ รัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแล เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ กำหนดมาตรการหรือกระบวนการตรวจสอบมิให้มีการซ้อมทรมาน ส่งเสริมให้การซ้อมทรมานเข้าสู่การตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เกิดภาวการณ์ไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญา ผลักดันให้เกิดการเยียวยาและชดเชนอย่างเป็นระบบ และรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจหลักสิทธิมนุษยชนและรู้ช่องทางในการป้องกันกาละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ต.อ.อนุสรณ์ จิระพันธ์ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา เสนอต่อที่ประชุมว่า การแก้ปัญหาการซ้อมทรมาน 1.ให้มีองค์กรอิสระที่ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาตรวจสอบการซ้อมทรมาน หากพบว่า มีการซ้อมทรมานจริงให้ดำเนินการตามกฎหมาย 2.ให้มีนักวิชาการหลายภาคส่วน เช่น ด้านศาสนาและนักวิชาการทั่วไปที่เป็นกลาง ออกมาวิเคราะห์ความต้องการของที่แท้จริงประชาชน 3.ให้มีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวที่สามารถตัดสินใจเรื่องการซ้อมทรมาน นายอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน การร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานลดลงแล้ว อันเป็นผลมาจากการทำงานของภาคประชาชนในรณรงค์ให้ลดการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายเปิดผนึก คัดค้าน พ.ร.บ. ปรองดองฉบับหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2549 Posted: 29 May 2012 09:35 AM PDT 28 พฤษภาคม 2555 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยึดประเทศและโค่นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกต้ังมาจากประชาชนในเวลา 22.54 น. คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเวลาเกือบเที่ยงคืน ในวันที่ 20 กันยายน คปค. ออกประกาศฉบับที่ 3/2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง ให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ให้คณะองคมนตรีดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ให้ศาลคงอำนาจหน้าที่ต่อไป ในวันที่ 22 กันยายน เวลา 12.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดเทปบันทึกภาพ พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และในวันที่ 1 ตุลาคม คปค. ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2549 ทั้งนี้ในมาตรา 37 ระบุนิรโทษกรรคผู้ก่อการรัฐประหารทั้งหมด “ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติของการรัฐประหารในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 9 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านไป 6 ปี นอกจากไม่มีผู้ร่วมในการทำการรัฐประหารโค่นกระบวนการประชาธิปไตยแม้แต่คนเดียว(อีกครั้งหนึ่งแล้ว) ได้รับโทษจากการล้มล้างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ หัวหน้าคณะรัฐประหารยังได้ก่อตั้งพรรคการเมืองและนั่งอยู่ในสภาในฐานะ "ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร" โดยขณะนี้ได้ชงร่าง "พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ" ที่ระบุว่า “ อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้งและเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดอันมีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554” ทั้งนี้ พ.ร.บ.ปรองดอง หรือ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับนี้ ในหลายมาตรา เป็นการให้นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ทั้งผู้ที่สมคววรจะได้รับการนิรโทษกรรมทางการเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งได้แก่ 3.1) บรรดาการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง และทั้งกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบในการก่อความรุนแรง 3.2) การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามในเหตุการณ์ มาตรา 4) ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ...ฯลฯ ครอบคลุมระยะเวลา มาตรา 3) ...ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 หากมีการกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ในมาตรา 5 ระบุว่า “ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) หรือคำสั่งของหัวหน้า คปค. ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใดอันเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติของ องค์กรหรือของคณะบุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด” ทางรัฐบาลจะประเมินความเสียหายของประเทศไทยนับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 และจะชดเชยได้อย่างไร ถ้าไม่นำตัวผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำรัฐประหารมารับผิดชอบ และเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารทำรัฐประหารโค่นประชาธิปไตยได้อีกในอนาคต แน่นอนว่าการทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีเสถียรภาพ สันติสุข พูนสุข และอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายร่วมของประชาชนทุกคนในประเทศไทย แต่เราไม่เห็นว่า พ.ร.บ. ปรองดองที่เต็มไปด้วยช่องโหว่และข้อกังขาฉบับนี้ของพลเอกสนธิ หัวหน้าคณะรัฐประหารโค่นการเมืองประชาธิปไตยเมื่อปี 2549 จะสามารถยุติความขัดแย้งในสังคมไทยได้ และไม่มีทางที่การผ่าน พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ รังแต่จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองมากยิ่งขึ้น ถ้าประเทศไทยไม่ได้ปักหมุดแห่งการยึดมั่น เคารพและปฏิบัติตามหลักการยุติธรรมที่ได้มาตรฐานสากลและมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ประเทศจะก้าวไปข้างหน้า นักการเมืองที่เป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกจะต้องกล้าหาญในการนำประเทศด้วยการยึดมั่นในหลักการ ด้วยความซื่อตรง ซื่อสัตย์ ยุติธรรม โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศทั้งทางตรง(การเลือกตั้ง) และทางอ้อม อาทิการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และการร่วมแสดงพลังประชามติในประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนต่างๆ ทั้งนี้การปรองดองและนิรโทษกรรมเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่ต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ จึงขอเสนอแนะมายังคณะรัฐบาลและรัฐสภา ดังต่อไปนี้ 1. ขอให้ถอนญัตติการพิจารณาร่างพรบปรองดองแห่งชาติ ฉบับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ออกจากวาระการพิจารณาโดยทันที 2. ขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเรื่องการปรองดอง โดยที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการที่ประกอบจากทุกภาคส่วน (ย้ำว่าทุกภาคส่วน โดยเฉพาะต้องมีตัวแทนจากครอบครัวและตัวผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง) เพื่อร่างข้อเสนอ ทางเลือก เพื่อทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนร่วมลงประชามติ 3. ในระหว่างนี้ขอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมทั้งนักโทษคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ทุกคนโดยทันที และหยุดดำเนินคดีทั้งหมดจนกว่าจะได้ผลการลงประชามติ จึงเรียนมาด้วยความเชื่อมั่นยิ่งว่า ขณะนี้รัฐบาลก็เดินหน้าได้ ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งผลักดันเรื่องการปรองดองอย่างเร่งด่วนเช่นนี้ จนละเลยต่อหลักการแห่งความยุติธรรม(ทางความแพ่งและทางอาญา) ต่อผู้สูญเสียและผู้ได้รับผลกระทบและประชาชนทุกคน ทั้งนี้คณะรัฐบาล คณะผู้แทนในรัฐสภาทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งประชาชนทุกกลุ่ม ทุกสถาบันในประเทศไทย ต้องการเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า และเชื่อว่าจำนวนไม่น้อยพร้อมร่วมกันนำพาประเทศผ่านความคิดต่างทางการเมือง ด้วยความยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่ประชาชนทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ประเทศสันติสุข ยุติธรรม พูนสุข และยั่งยืนอย่างแท้จริง
ขอแสดงความนับถือ ACT4DEM
|
ธิดา ถาวรเศรษฐ: การตีโจทย์ประเทศไทย Posted: 29 May 2012 09:23 AM PDT สาเหตุที่มาของการปรองดองที่แตกต่างกันแล้วนำมาสู่การตีความหรือการพูดในลักษณะแตกต่างกัน ต้องนำมาสู่รากเหง้าซึ่งอยากสรุปว่าเป็นการตีโจทย์ผิด มองโจทย์ไม่ตรงกัน ตีโจทย์ของสังคมคนละอย่างกัน ประการแรกคือจับคู่ขัดแย้งหลักของสังคมไม่เหมือนกัน ประการที่สองต้องถามว่ารัฐไทยขณะนี้การปกครองเป็นระบบอะไร ถ้ามุมมองต่อสองเรื่องนี้ไม่เหมือนกันก็จะนำมาสู่ความคิดและการกระทำที่นำไปสู่การปรองดองที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น การจับคู่ขัดแย้งหลักในสังคมไทย โดยทั่วไปในกลุ่มชนชั้นนำในสังคมแม้กระทั่งนักการเมืองทั้งหลายก็ต้องจัดเป็นชนชั้นนำเหมือนกัน กลุ่มบุคคลที่มีระดับมีฐานะนำในสังคมเป็นชนชั้นกลางขึ้นไปจนถึงชนชั้นสูง ยกเว้นชนชั้นกลางส่วนหนึ่งที่พอจะก้าวหน้า ก็จะมองว่าคู่ขัดแย้งหลัก (คุณทักษิณกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ดีกันแล้วจบเป็นการปรองดอง ในสังคมไทยเอาเรื่องบุคคลมากกว่าหลักการ ไม่ว่าจะอยู่ฝั่งประชาธิปไตยหรือฝั่งเอารัฐประหารก็ตาม ถ้าเป็นฝั่งเครือข่ายระบอบอำมาตย์ก็จะมองว่าทุกอย่างที่เลวร้ายในสังคมไทยเกิดจากคุณทักษิณคนเดียว เพราะมีวิธีคิดแบบนี้สิ่งที่จะกระทำก็คือ 1.ลอบฆ่า 2.จัดการทางคดี เช่นต้องคิดคุก 3.จัดการทางทรัพย์สินคือต้องยึดทรัพย์ 4.จัดการทางฐานคือพรรคการเมือง คือยุบพรรค เพราะฉะนั้นเขาทำกับคุณทักษิณครบทุกอย่าง ถามว่าแล้วเป็นอย่างไร แก้ปัญหาได้ไหม ในฝั่งประชาธิปไตยไม่เอารัฐประหารที่คิดว่าคู่ขัดแย้งหลักมีไหมจึงมีความพยายามให้เกิดเกมยอดปิรามิด ก็คือการเจรจาระหว่างชนชั้นนำ แต่เราเข้าใจว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ และชนชั้นนำในสังคมไทยสามารถอยู่ได้ถ้าอยู่ในที่ทางที่ถูกต้อง กำหนดบทบาทให้เหมาะสมให้สอดคล้องความเป็นจริงแห่งยุคสมัย สอดคล้องกับความถูกต้อง กับตำแหน่งแห่งหนที่ควรจะอยู่ พูดง่าย ๆ คือคืนอำนาจให้ประชาชน ด้วยเหตุนี้วิธีคิดของเรื่องคำว่าปรองดองจึงได้เกิดขึ้นด้วยการเจรจาเป็นด้านหลัก การเจรจาต้องมีดุลกำลังที่เหมาะสม ในภาพการต่อสู้ของประชาชนการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ต้องมีหลักการประการแรกคือดุลกำลังสองข้างยันกันได้ อยู่ในดุลกำลังที่เหมาะสม ถ้าดุลกำลังข้างใดข้างหนึ่งชนะเด็ดขาดเขาไม่มีการเจรจา จะใช้วิธีบดขยี้โดยกำลังทหารอย่างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทำกับคนเสื้อแดงมาแล้ว คำว่าการปรองดองเป็นทั้งเป้าหมายและกระบวนการ สำหรับคนเสื้อแดงเราพูดในลักษณะเป็นเป้าหมาย เพราะกระบวนการมันยาวนานเราต้องการการปรองดองที่ยั่งยืนและแท้จริง ประชาชนต้องเอาการปรองดองเป็นเป้าหมายไม่ต้องการการปรองดองแบบเล่น ๆ แต่ในหมู่ชนชั้นนำอาจจะใช้การปรองดองเป็นกระบวนการ แต่ไม่รู้เป้าหมายจริงไม่ปรองดองหรือเปล่า บางทีเขาไม่ต้องการการปรองดองแต่ภายในใจนั้นคนละเรื่อง ประเภทปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ นี่จึงเป็นความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง แตกต่างระหว่างชนชั้นนำกับประชาชนทั่วไป โจทย์ข้อที่สอง คุณตีโจทย์ว่ารัฐไทยขณะนี้ปกครองด้วยระบอบอะไร? มีประชาธิปไตยแล้ว มีความยุติธรรมแล้วหรือ? ถ้าหลายคนถือว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วประชาชนไม่ต้องต่อสู้ “จบ” นี่คือวิธีคิด แต่คนเสื้อแดงทุกคนรู้ว่านี่ไม่ใช่ เราตีโจทย์ต่างจากกลุ่มคนชั้นนำ เรามองว่าคู่ขัดแย้งหลักคือประชาชนไทย ที่ต้องการประชาธิปไตย ต้องการอำนาจอธิปไตยคืนกลับมา ขัดแย้งกับเครือข่ายระบอบอำมาตย์ที่หวงอำนาจ ไม่คืนอำนาจให้ประชาชน ปล้นอำนาจประชาชนไป เวลาที่คุณทักษิณพูดเรื่องการปรองดองเรื่องการบริหารประเทศเราก็ฟัง แต่เรารู้ว่าตัวหลักคือประชาชน จะปรองดองหรือไม่อยู่ที่ประชาชน คุณทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนเท่านั้น ถ้าเราเข้าใจว่าคู่ขัดแย้งหลักไม่ใช่คุณทักษิณ แต่เป็นประชาชนทั้งหมด เราก็ไม่รู้สึกว่ามันจะมีปัญหาอะไรมาก เพราะคุณทักษิณเป็นคนคนหนึ่งในกระบวนแถวของประชาชนทั้งหมดที่ต่อสู้กับระบอบอำมาตย์ แต่ทั้งหมดนี้เขาเติบโตจนเขารู้ว่าประเทศนี้ถ้าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม คุณทักษิณกลับมาไม่ได้ ทุกคนต้องการเอาคนผิดมาลงโทษและอยากให้คุณทักษิณกลับมาด้วย ประเทศไทยฆ่ากันตายมาหลายรอบแล้ว ผู้ปกครองชิงกระทำให้ฝ่ายหนึ่งบอบช้ำ ฝั่งที่ถูกกระทำคือประชาชนติดคุกติดตารางสุดท้ายนิรโทษกรรม เลิกแล้วต่อกันทั้งหมดทุกครั้ง แล้วฝั่งที่ถูกกระทำก็ยอมสยบเพราะอยากให้พวกของตัวเองนั้นจะได้หลุดออกมาจากเรือนจำเสียที เพราะฉะนั้นคนที่ชิงกระทำความรุนแรงก็เลยได้เปรียบและมีอำนาจในสังคมไทยเสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นการตีโจทย์ผิดจึงนำมาสู่วิธีพูด วิธีคิด วิธีตีความที่แตกต่างกัน ขอฝากไปยังพรรคเพื่อไทยว่าในประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญหนึ่ง การปรองดองหนึ่ง เราไม่รู้ว่าคุณเขียน พรบ. อย่างไร คุณถามประชาชนบ้างหรือเปล่า แล้วแน่ใจอย่างไรว่าออกมาแล้วประชาชนจะไม่ว่าอะไร ควรทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าประชาชนเลือกมาแล้วจะรับเหมาทำแทนประชาชนได้หมด เพราะว่านี่คือการต่อสู้อีกขั้นตอนของประชาชน โดยเฉพาะประเด็น พรบ.ปรองดอง ควรสอบถามประชาชนให้ได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น และที่สำคัญประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ความจริงปรากฎและนำคนผิดมาลงโทษ ไม่ควรมีการนิรโทษกรรมยกเข่ง เพราะนั่นจะเป็นการวางระเบิดลูกใหญ่ในสังคมไทยทีเดียว ! ! ! ธิดา ถาวรเศรษฐ 26 พฤษภาคม 2555
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ธิดา ถาวรเศรษฐ: การตีโจทย์ประเทศไทย Posted: 29 May 2012 09:17 AM PDT สาเหตุที่มาของการปรองดองที่แตกต่างกันแล้วนำมาสู่การตีความหรือการพูดในลักษณะแตกต่างกัน ต้องนำมาสู่รากเหง้าซึ่งอยากสรุปว่าเป็นการตีโจทย์ผิด มองโจทย์ไม่ตรงกัน ตีโจทย์ของสังคมคนละอย่างกัน ประการแรกคือจับคู่ขัดแย้งหลักของสังคมไม่เหมือนกัน ประการที่สองต้องถามว่ารัฐไทยขณะนี้การปกครองเป็นระบบอะไร ถ้ามุมมองต่อสองเรื่องนี้ไม่เหมือนกันก็จะนำมาสู่ความคิดและการกระทำที่นำไปสู่การปรองดองที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น การจับคู่ขัดแย้งหลักในสังคมไทย โดยทั่วไปในกลุ่มชนชั้นนำในสังคมแม้กระทั่งนักการเมืองทั้งหลายก็ต้องจัดเป็นชนชั้นนำเหมือนกัน กลุ่มบุคคลที่มีระดับมีฐานะนำในสังคมเป็นชนชั้นกลางขึ้นไปจนถึงชนชั้นสูง ยกเว้นชนชั้นกลางส่วนหนึ่งที่พอจะก้าวหน้า ก็จะมองว่าคู่ขัดแย้งหลัก (คุณทักษิณกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ดีกันแล้วจบเป็นการปรองดอง ในสังคมไทยเอาเรื่องบุคคลมากกว่าหลักการ ไม่ว่าจะอยู่ฝั่งประชาธิปไตยหรือฝั่งเอารัฐประหารก็ตาม ถ้าเป็นฝั่งเครือข่ายระบอบอำมาตย์ก็จะมองว่าทุกอย่างที่เลวร้ายในสังคมไทยเกิดจากคุณทักษิณคนเดียว เพราะมีวิธีคิดแบบนี้สิ่งที่จะกระทำก็คือ 1.ลอบฆ่า 2.จัดการทางคดี เช่นต้องคิดคุก 3.จัดการทางทรัพย์สินคือต้องยึดทรัพย์ 4.จัดการทางฐานคือพรรคการเมือง คือยุบพรรค เพราะฉะนั้นเขาทำกับคุณทักษิณครบทุกอย่าง ถามว่าแล้วเป็นอย่างไร แก้ปัญหาได้ไหม ในฝั่งประชาธิปไตยไม่เอารัฐประหารที่คิดว่าคู่ขัดแย้งหลักมีไหมจึงมีความพยายามให้เกิดเกมยอดปิรามิด ก็คือการเจรจาระหว่างชนชั้นนำ แต่เราเข้าใจว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ และชนชั้นนำในสังคมไทยสามารถอยู่ได้ถ้าอยู่ในที่ทางที่ถูกต้อง กำหนดบทบาทให้เหมาะสมให้สอดคล้องความเป็นจริงแห่งยุคสมัย สอดคล้องกับความถูกต้อง กับตำแหน่งแห่งหนที่ควรจะอยู่ พูดง่าย ๆ คือคืนอำนาจให้ประชาชน ด้วยเหตุนี้วิธีคิดของเรื่องคำว่าปรองดองจึงได้เกิดขึ้นด้วยการเจรจาเป็นด้านหลัก การเจรจาต้องมีดุลกำลังที่เหมาะสม ในภาพการต่อสู้ของประชาชนการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ต้องมีหลักการประการแรกคือดุลกำลังสองข้างยันกันได้ อยู่ในดุลกำลังที่เหมาะสม ถ้าดุลกำลังข้างใดข้างหนึ่งชนะเด็ดขาดเขาไม่มีการเจรจา จะใช้วิธีบดขยี้โดยกำลังทหารอย่างที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทำกับคนเสื้อแดงมาแล้ว คำว่าการปรองดองเป็นทั้งเป้าหมายและกระบวนการ สำหรับคนเสื้อแดงเราพูดในลักษณะเป็นเป้าหมาย เพราะกระบวนการมันยาวนานเราต้องการการปรองดองที่ยั่งยืนและแท้จริง ประชาชนต้องเอาการปรองดองเป็นเป้าหมายไม่ต้องการการปรองดองแบบเล่น ๆ แต่ในหมู่ชนชั้นนำอาจจะใช้การปรองดองเป็นกระบวนการ แต่ไม่รู้เป้าหมายจริงไม่ปรองดองหรือเปล่า บางทีเขาไม่ต้องการการปรองดองแต่ภายในใจนั้นคนละเรื่อง ประเภทปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ นี่จึงเป็นความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง แตกต่างระหว่างชนชั้นนำกับประชาชนทั่วไป โจทย์ข้อที่สอง คุณตีโจทย์ว่ารัฐไทยขณะนี้ปกครองด้วยระบอบอะไร? มีประชาธิปไตยแล้ว มีความยุติธรรมแล้วหรือ? ถ้าหลายคนถือว่าเป็นประชาธิปไตยแล้วประชาชนไม่ต้องต่อสู้ “จบ” นี่คือวิธีคิด แต่คนเสื้อแดงทุกคนรู้ว่านี่ไม่ใช่ เราตีโจทย์ต่างจากกลุ่มคนชั้นนำ เรามองว่าคู่ขัดแย้งหลักคือประชาชนไทย ที่ต้องการประชาธิปไตย ต้องการอำนาจอธิปไตยคืนกลับมา ขัดแย้งกับเครือข่ายระบอบอำมาตย์ที่หวงอำนาจ ไม่คืนอำนาจให้ประชาชน ปล้นอำนาจประชาชนไป เวลาที่คุณทักษิณพูดเรื่องการปรองดองเรื่องการบริหารประเทศเราก็ฟัง แต่เรารู้ว่าตัวหลักคือประชาชน จะปรองดองหรือไม่อยู่ที่ประชาชน คุณทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนเท่านั้น ถ้าเราเข้าใจว่าคู่ขัดแย้งหลักไม่ใช่คุณทักษิณ แต่เป็นประชาชนทั้งหมด เราก็ไม่รู้สึกว่ามันจะมีปัญหาอะไรมาก เพราะคุณทักษิณเป็นคนคนหนึ่งในกระบวนแถวของประชาชนทั้งหมดที่ต่อสู้กับระบอบอำมาตย์ แต่ทั้งหมดนี้เขาเติบโตจนเขารู้ว่าประเทศนี้ถ้าไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม คุณทักษิณกลับมาไม่ได้ ทุกคนต้องการเอาคนผิดมาลงโทษและอยากให้คุณทักษิณกลับมาด้วย ประเทศไทยฆ่ากันตายมาหลายรอบแล้ว ผู้ปกครองชิงกระทำให้ฝ่ายหนึ่งบอบช้ำ ฝั่งที่ถูกกระทำคือประชาชนติดคุกติดตารางสุดท้ายนิรโทษกรรม เลิกแล้วต่อกันทั้งหมดทุกครั้ง แล้วฝั่งที่ถูกกระทำก็ยอมสยบเพราะอยากให้พวกของตัวเองนั้นจะได้หลุดออกมาจากเรือนจำเสียที เพราะฉะนั้นคนที่ชิงกระทำความรุนแรงก็เลยได้เปรียบและมีอำนาจในสังคมไทยเสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นการตีโจทย์ผิดจึงนำมาสู่วิธีพูด วิธีคิด วิธีตีความที่แตกต่างกัน ขอฝากไปยังพรรคเพื่อไทยว่าในประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญหนึ่ง การปรองดองหนึ่ง เราไม่รู้ว่าคุณเขียน พรบ. อย่างไร คุณถามประชาชนบ้างหรือเปล่า แล้วแน่ใจอย่างไรว่าออกมาแล้วประชาชนจะไม่ว่าอะไร ควรทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าประชาชนเลือกมาแล้วจะรับเหมาทำแทนประชาชนได้หมด เพราะว่านี่คือการต่อสู้อีกขั้นตอนของประชาชน โดยเฉพาะประเด็น พรบ.ปรองดอง ควรสอบถามประชาชนให้ได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น และที่สำคัญประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ความจริงปรากฎและนำคนผิดมาลงโทษ ไม่ควรมีการนิรโทษกรรมยกเข่ง เพราะนั่นจะเป็นการวางระเบิดลูกใหญ่ในสังคมไทยทีเดียว ! ! ! ธิดา ถาวรเศรษฐ 26 พฤษภาคม 2555 |
กษัตริย์ กับ ความเป็น 'สถาบัน' :ข้อพิจารณาทางนิติศาสตร์(สังเขป) Posted: 29 May 2012 08:32 AM PDT
หลังจากที่ได้ อ่านบทความ "นิธิ เอียวศรีวงศ์" เขียนถึง "นางนากพระโขนง" ผีที่มี "ตัวตน" รุ่นบุกเบิกของเมืองไทย ผมคิดว่า ผมน่าจะเล่าการก่อตัวของความเป็น "สถาบัน" ในทางทฤษฎีกฎหมายมหาชน เพื่อขยายความสังเขปบ้าง ว่า "สถาบัน" คืออะไร? และจะโยงสู่ข้อความคิดเกี่ยวกับ "สถาบันกษัตริย์" (ในตอนท้าย) ต่อไป ก่อนอื่นพิจารณาทราบฐานความคิดกันก่อนว่า "สถาบัน" จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องครบองค์ประกอบ 3 ประการหลักๆ : 1.หน้าที่ทางภารกิจหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน (fonctions) 2.อำนาจที่เป็นกิจจะลักษณะหรือมีความชัดเจน (บทบัญญัติทั้งหมดในทางกฎหมาย - กฎเกณฑ์ที่เป็นนามธรรม) (pouvoir organisé) 3.ปัจเจกบุคคลที่เข้าไปขับเคลื่อนภารกิจตามบทบัญญัติของกฎหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เราจึงเรียกว่าเป็น "สถาบัน" (Institution)[1] ย่อมไม่ใช่ ปัจเจกชน หรือ ตัวบุคคล อีกต่อไป เพราะเมื่อปัจเจกชนเหล่านี้เข้าไปดำรงอยู่ในสถาบันแล้ว ความเป็นส่วนบุคคลของเขาแท้ ๆ จะไม่มีและจะเป็นของรัฐแทน ปัจเจกชนที่เข้าไปปฏิบัติการใน "สถาบัน" เขาจะมีสถานะเพียง "หนูถีบจักร" หาก "หนู" (ปัจเจกชน) ตัวนั้นตาย กลไกหรือจักรยังดำรงอยู่และจะมี "หนู" ตัวอื่นๆ เข้าไปถีบจักรสืบเนื่องไม่ขาดสาย - กลไกรัฐ หรือสถาบันการเมืองของรัฐ จึงไม่ชะงักไปพร้อมกับ "ตัวบุคคลที่เข้าไปอยู่ในองค์กรที่ตายจากไปหรือพ้นจากตำแหน่ง" เพราะ ความเป็นสถาบัน จะดำรงอยู่อย่างสืบเนื่องโดยพลังของกฎเกณฑ์ที่เป็นนามธรรมก็คือ บทบัญญัติทั้งหลายของกฎหมายที่เกี่ยวกับภารกิจหน้าที่ของสถาบันนั้นๆ ดังกล่าวเป็นประเด็นที่ผมต้องการขยายความคำว่า "สถาบัน" ในบทความนิธิ และในย่อหน้านี้ อาจนอกประเด็นบทความ แต่เพื่อความครบถ้วนทางเนื้อหา - เวลาที่เราพูดถึง "สถาบัน" เรามักจะคิดแต่ "หน่วยงาน" หรือ "องค์กร" ในรูปนั้นอย่างเดียว แต่ตามนัยทางทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งก็ดี, กรรมสิทธิ์ก็ดี, นิติกรรมสัญญาก็ดี, รัฐบาลก็ดี ฯลฯ ล้วนเป็น "สถาบัน" ทั้งสิ้น เพราะครบถ้วนตามองค์ประกอบ ๓ ประการดังกล่าวข้างต้น (ท่านผู้อ่านลองคิดไปพลางๆ) หากเราโยงเข้าสู่ประเด็น "กษัตริย์" ก็เช่นกัน หาก "กษัตริย์" ขาด หน้าที่ทางภารกิจที่ชัดเจน, มีอำนาจที่ไม่เป็นกิจจะลักษณะหรือมีอำนาจตามพระราชอัธยาศัยเยอะ เช่นนี้ แม้ตำแหน่ง "กษัตริย์" จะมี ปัจเจกบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่ง (แม้ตำแหน่งนั้นจะมีกฎหมายรองรับด้วยก็ตาม) แต่ "กษัตริย์" ก็หาได้กลายเป็น "สถาบัน" ไปไม่ หากแต่ยังคงเป็น "ปัจเจก หรือ ตัวบุคคล" อยู่ ไม่มีความเป็นสถาบัน เช่นนี้ เมื่อบุคคลตาย, สถานะทางอำนาจย่อมตายไปด้วย นี่เป็นการอธิบายในทางนิติศาสตร์ว่าด้วยความเป็น "สถาบัน". _________________________
เชิงอรรถ [1] ท่านที่สนใจศึกษาข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับ 'ทฤษฎีว่าด้วยการจัดตั้งสถาบัน' ควรดู : ไพโรจน์ ชัยนาม.สถาบันการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาค1 ความนำทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง. กรุงเทพฯ, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524. หน้า3-4 ; โภคิน พลกุล. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา หลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2525. หน้า 77-80. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รายชื่อแก้ ม.112 ถึงสภาแล้ว นักวิชาการวอนรัฐบาลอย่าใช้อคติ Posted: 29 May 2012 03:28 AM PDT
ตอนสายของวันนี้ (29 พ.ค.55) คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 พร้อมประชาชนนับร้อยคน เดินเท้าจากหมุดอภิวัฒน์ ลานพระรูปทรงม้าไปยังรัฐสภา เพื่อนำเอกสารและรายชื่อผู้ขอแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ส่งให้กับประธานรัฐสภา บรรยากาศโดยรวมเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนเข้าร่วมกว่า 300 คน มีการนำเอกสารผู้เข้าชื่อแก้ไขมาตรา 112 บรรจุลงกล่องดำจำนวน 12 กล่อง ใส่คอนหาม ขบวนเดินเท้าเคลื่อนจากพระรูปทรงม้าไปถึงหน้ารัฐสภา โดยมีด้วยรถจักรยานยนต์นำหน้า และตัวเลข 3 9 1 8 5 ซึ่งเป็นจำนวนของผู้เข้าชื่อทั้งหมดปิดท้ายขบวน ตลอดเส้นทางมีการเปล่งเสียงให้แก้ไขมาตรา 112 และมีผู้สื่อข่าวทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจติดตามรายงานข่าวเป็นจำนวนมาก ตัวแทน ครก.112 นำโดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวแทนอีก 9 คน ได้แก่ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, พวงทอง ภวัครพันธุ์, เวียงรัฐ เนติโพธิ์, วันรัก สุวรรณวัฒนา, สุดา รังกุพันธุ์, อนุสรณ์ อุณโณ, วาด รวี, จรัล ดิษฐาอภิชัย และจิตรา คชเดช นำเอกสารพร้อมร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่จัดทำขึ้นโดยคณะนิติราษฎร์เข้ายื่นต่อประธานรัฐสภา โดยมีวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นตัวแทนออกมารับ พร้อมด้วยจารุพรรณ กุลดิลก และประสิทธิ์ ไชยศรีษะ สส.พรรคเพื่อไทย โดยนายวิสุทธิ์กล่าวว่า จากนี้ไปจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมดก่อน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะต้องใช้เวลาราว 3-4 เดือน
ทั้งนี้มีประชาชนเข้าชื่อเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ทั้งหมด 39,185 คน และมีเอกสารถูกต้องสมบูรณ์และนำส่งให้กับรัฐสภาจำนวน 26,986 คน ภายหลังการส่งรายชื่อ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า เนื่องจากมาตรา 112 มีบทลงโทษที่รุนแรงและถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ถ้ารัฐบาลมีความกล้าหาญและมีจริยธรรมทางการเมือง กล้าผลักดันการแก้ไขกฎหมายมาตรานี้ สถาบันกษัตริย์ของไทยก็จะมีความมั่นคงดังเช่นในประเทศตะวันตก นอกจากนี้นายชาญวิทย์ยังมีความกังวลถึงความล่าช้าของกระบวนการตรวจสอบรายชื่อของรัฐสภา และกังวลว่า สส. สว. รวมทั้งรัฐบาลจะไม่กล้าแตะต้องกฎหมายอาญามาตรา 112 และวิงวอนนักการเมืองให้ใช้หลักวิชาการ อย่าใช้อคติในการพิจารณาเรื่องนี้ และมีความเป็นห่วงว่าการแก้ไขมาตรา 112 จะทำได้ทันกับสถานการณ์หรือไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เมื่อ “ทุน” ปฏิเสธเสรีภาพในการจัดตั้ง/เจรจาต่อรองร่วมของแรงงาน อีกครั้ง Posted: 29 May 2012 03:26 AM PDT
เสียงตะโกน “เรารักกัน เราทำได้ ....เราต้องชนะ" ของสมาชิกสหภาพแรงงานชินเอไฮเทคประมาณ 1,500 คน ดังกึกก้องที่กระทรวงแรงงาน เพื่อปกป้ององค์กรอย่างพร้อมเพรียงกัน และเมื่อสหภาพแรงงานกลายเป็นองค์กรที่น่ารังเกียจของฝ่ายนายจ้าง เมื่อนั้นก็ปรองดองกันไม่ได้อีกต่อไป
ประเด็นปัญหา ที่สหภาพแรงงานชินเอไฮเทคต้องออกมาเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานกดดันนายจ้างรับพนักงานกลับเข้าทำงานทุกคน (2,100 คน) หลังจากที่เรียกร้องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง คือ การถูกนายจ้างชาวญี่ปุ่นปฏิเสธการยื่นข้อเรียกร้อง ตัวแทนเจรจาข้อเรียกร้องถูกพักงาน คณะกรรมการลูกจ้างถูกเลิกจ้าง รวมถึงคณะกรรมการสหภาพแรงงานจำนวน 176 คน สมาชิกถูกข่มขู่ให้ลาออก และในที่สุดสหภาพแรงงานจึงใช้สิทธินัดหยุดงานวันที่ 28 เมษายน 2555 เพื่อประท้วงการกระทำของนายจ้างและทีมผู้บริหารคนไทยที่เพิ่งถูกจ้างมาร่วมกันละเมิดสิทธิในการจัดตั้ง (The Right to Organize) เลิกจ้างไม่เป็นธรรม (Unfair Dismissals) ทำลายเสรีภาพในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม (Freedom of Association and Collective Bargaining)
รองประธานสหภาพแรงงาน นายองอาจ เชาระกำ กล่าวถึงข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นขอปรับปรุงสภาพการจ้างงาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. เกี่ยวกับตัวเงิน/งบประมาณ เช่น ขอค่าข้าวเพิ่มเติม ค่ารถรับ-ส่งที่ถูกตัดไปเมื่อต้นปี 2555 ของบประมาณสำหรับปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงงาน เช่น โต๊ะนั่งเล่น 2. เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ ขอรถเข็นพยาบาลสำหรับเคลื่อนย้ายคนงานที่ได้รับอุบัติเหตุไปยังห้องพยาบาล ขอยารักษาโรค จัดหามาตรการเยียวยาคนงานหลังจากได้รับอุบัติเหตุและเจ็บป่วยจากการทำงาน 3. เกี่ยวกับสภาพการทำงาน เช่น ให้มีการตรวจสอบสภาพการทำงานที่เสี่ยงอันตราย ขอให้มีการวินิจฉัยโรคจากการทำงานอย่างละเอียดเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเจ็บป่วย ข้อเรียกร้องดังกล่าวจะครอบคลุมพนักงานบริษัทชินเอ 2 แห่งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 2,900 คน (เป็นพนักงานหญิง 80%) ซึ่งจะช่วยสร้างคุณภาพชีวิต มาตรฐานแรงงานไทยตามมาตรฐานแรงงานสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก
สัมภาษณ์รองประธานสหภาพแรงงานชินเอไฮเทค นายองอาจ เชาระกำ นอกจากนี้ รองประธานสหภาพแรงงานอีกท่านหนึ่งคือ นายสมพร รดจันทร์ ยืนยันว่า สมาชิกทุกคนต้องการให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ เนื่องจากนายจ้างยื่นข้อแม้จะรับกลับ ยกเว้นกลุ่มพนักงานจำนวน 176 คน ซึ่งล้วนเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน สมาชิกระดับหัวหน้างาน “พวกเราสู้งานมาตลอดระยะเวลา 16 ปี จนนายจ้างชาวญี่ปุ่น จากที่มาเพียงแค่กระเป๋าใบเดียว สามารถขยายกิจการได้ถึง 3 โรง เรายอมแม้กระทั่งลดโบนัสของตัวเองเพื่อช่วยประคองกิจการของนายจ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 52 แต่ ณ วันนี้ นายจ้างกลับเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยสนับสนุนการทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานมาเป็นการทำลายสหภาพแรงงานแทน” นอกจากนี้ ยังยืนยันด้วยว่า “หากไม่มีแกนนำกลับเข้าไปด้วย พวกเราจะไม่กลับเข้าไปทำงานกับนายจ้างคนนี้อีก เพราะสหภาพแรงงานจะขาดอำนาจการต่อรอง และจะขอให้นายจ้างเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานให้แก่ลูกจ้างทั้งหมด” สำหรับสภาพการจ้างก่อนที่จะมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานเมื่อปี 2551 (ค่าจ้างขั้นต่ำปรับจาก 183 บาทเป็น 255 บาท สวัสดิการ ได้แก่ ค่าข้าว 22 บาท/วัน, ค่ารถ (โรงสุรนารี) 25 บาท/วัน, ค่ากะดึก 30 บาท/วัน, ค่าร้อน ค่าฝุ่น ค่าเสียง (ตามแผนก) 10 บาท/วัน, ค่าครองชีพ 700 บาท/เดือน, เบี้ยขยันเดือนละ 600-800 บาท หากลากิจ ลาป่วยจะไม่ได้รับในเดือนนั้น) โดยพบปัญหา พนักงานทำงานหนักเกินไป หยุดงานเพียงเดือนละ 1 วัน จะก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและปัญหาสุขภาพ มีการเลือกปฏิบัติระหว่างพนักงานประจำและพนักงานซับคอนแทรคที่ได้รับสิทธิน้อยกว่า มีการละเมิดสิทธิพื้นฐาน เช่น ถูกบังคับให้ทำงานโอที ต้องทำงานตั้งแต่ 8.00-20.00 น. ทุกวัน ทำงานหนักแต่มีรายได้รวมเดือนละ 10,000-12,000 บาท จึงเป็นเหตุผลที่พนักงานต้องจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาปกป้องสิทธิแรงงานของตนเอง นับตั้งแต่เคลื่อนย้ายการชุมนุมจากหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมามายังกระทรวงแรงงานตั้งแต่ 21 พฤษภาคม 2555 มีการเจรจากับตัวแทนฝ่ายนายจ้างเพียง 1 ครั้ง แต่ยังตกลงกันไม่ได้เพราะตัวแทนไม่มีอำนาจตัดสินใจ และล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ได้มีใบปลิวที่ไม่มีลายเซ็นกำกับ แต่มีชื่อหน่วยงานคือ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (02 246 8455) แจกแก่คนงานที่ชุมนุมใต้ถุนตึกกสร. ชี้แจงเป็นฉบับที่ 3 สรุปความได้ว่า คนงานกลับเข้าไปทำงานได้แล้ว ยกเว้น 176 คนที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์ใดๆ และให้ไปใช้สิทธิร้องทุกข์กับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อวินิจฉัย ออกคำสั่งให้รับกลับเข้าทำงานได้ ซึ่งจะดำเนินการภายใน 60 วันนับจากวันที่ร้องเรียน ข้อความของใบปลิวดังกล่าวจะอย่างไรก็ตาม ไม่เกินความคาดหมายของสหภาพแรงงาน “เราไม่ต้องการพึ่งพากลไกไตรภาคีนี้ เพราะไม่สามารถประกันอะไรได้ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนด้อยของกลไกรัฐที่ไม่สามารถรักษาสิทธิเสรีภาพ สถานะการเป็นลูกจ้างของพวกเราได้เลย” คุณสมพร กล่าว ขณะนี้ ทางสหภาพชินเอฯ ได้รับความช่วยเหลือ กำลังใจจากนักสหภาพแรงงาน ได้แก่ สมาชิกจากสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยในสังกัดเดียวกัน และจากที่อื่นๆ ซึ่งคาดหวังว่าขบวนการแรงงานไทยจะออกมาช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น อีกทั้งคณะกรรมาธิการแรงงาน รัฐสภาจะเดินทางมารับทราบปัญหาในวันที่ 29 พ.ค. 55 (โปรดดูคลิปวิดีโอและภาพประกอบรายงานด้านล่างนี้)
การเดินขบวนของสมาชิกสหภาพแรงงานชินเอที่เดินทางเข้ามาสมทบ เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 28 พฤษภาคม 2555
สมาชิกสหภาพแรงงานชินเอไฮเทค จังหวัดนครราชสีมาพร้อมกันนัดหยุดงาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใบตองแห้ง...ออนไลน์: ดันทุเรศ vs ดันทุรัง Posted: 29 May 2012 03:23 AM PDT
อ่านหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับวันอาทิตย์แล้วก็ให้สังเวชใจ กับบทวิเคราะห์การเมืองที่ว่า ทักษิณปลุกเร้าเสื้อแดงให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม ต่อสู้กับเผด็จการ เรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องความเท่าเทียม ปลุกกระแสไพร่ ไล่อำมาตย์ ฯลฯ จนทำให้ฐานมวลชนเสื้อแดงขยายตัวมากขึ้น กลายเป็นฐานเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย โดยยังมีกลุ่มเสื้อแดงอุดมการณ์ ที่ในอดีตมีแนวคิดเป็นพวกฝ่ายซ้าย ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เข้ามาร่วมเป็นแกนจัดตั้งและขับเคลื่อนมวลชน รวมถึงกลุ่มเสื้อแดงแฝงประโยชน์ ที่เข้ามาร่วมขบวนการเสื้อแดง เพื่อหวังประโยชน์ทั้งทางการเมืองและผลประโยชน์ด้านอื่นๆ จากนั้นก็สรุปว่าเมื่อทักษิณต้องการปรองดอง ไอ้พวกที่ไม่ยอมปรองดองก็คือ 2 กลุ่มหลังนี่แหละ โอ้ เมื่อก่อนพวกเมริงก็หาว่าเสื้อแดงเป็นมวลชนรับจ้าง โง่ ถูกหลอก พอตอนนี้กลับบอกว่าใครตามก้นทักกี้คือผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกร้องประชาธิปไตย แต่ถ้าใครเป็นแดงอิสระคือพวกล้มเจ้า หรือหวังผลประโยชน์ ไม่ต้องง้างปากดูก็รู้ว่ารับงานใคร กล่าวได้ว่า พ.ร.บ.ปรองดองทำให้เห็นธาตุท้อง เอ๊ย ธาตุแท้ ของทุกคน ก๊วนการเมืองพรรคเพื่อไทยทยอยกันออกมาขานรับ พ.ร.บ.ปรองดอง ข้ามศพข้ามชีวิตเลือดเนื้อของมวลชนเสื้อแดงกันหน้าตาเฉย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โชว์ฟอร์ม “ทหารอาชีพ” สวนหมัดพันธมิตร อย่าดึงกองทัพไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อ้าว ก็แหงน่อ นี่มัน พ.ร.บ.ล้างผิดให้ทหาร ไม่ต้องรับผิดการส่องหัวประชาชน ข้าง (ว่าที่) อำมาตย์ตู่ อำมาตย์เต้น ก็เล่นละครเล่เก๊ เสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฉบับที่ 3 ยกเว้นการนิรโทษผู้สั่งฆ่าประชาชน อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ว่าเป็นข้ออ้างให้ยกมือรับร่างในวาระแรก เอาไว้วาระ 2-3 ค่อยหาทางเอาตัวรอดดาบหน้า ถ้าแน่จริง ทำไมไม่สวนหมัดด้วยการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเฉพาะมวลชนที่ติดคุกละครับ เพราะนั่นคือข้อดีเพียงข้อเดียว ที่หลงอยู่น้อยนิดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขณะที่คนติดคุกตามมาตรา 112 ไม่ได้นิรโทษด้วย สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ต้องยอมรับสารภาพเป็นคดีที่ 5 รับโทษต่อเนื่องจาก 4 คดีที่แล้วเป็น 12 ปีครึ่ง เพื่อจะให้คดีถึงที่สุดและขอพระราชทานอภัยโทษ คดีอย่างนี้มีที่เดียวในโลก วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ น่าจะชวนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดมาทำวิจัยเป็นเคสอัศจรรย์ในประมวลกฎหมายไทย จำเลยติดคุกไม่ได้ประกัน จนต้องตัดใจไม่สู้คดี หวังพึ่งพระมหากรุณาธิคุณ สรุปแล้วเลยไม่รู้ว่าความถูกผิดอยู่ที่ไหน ผิดจริงหรือเปล่าไม่ต้องสนใจ แต่พอเรียกร้องให้นิรโทษคดี 112 บ้าง (ว่าที่) อำมาตย์ตู่ก็อ้างหน้าตาเฉยว่า นิติราษฎร์และ ครก.112 ดำเนินการอยู่แล้ว โดยใช้ช่องทางล่ารายชื่อยื่นต่อรัฐสภา ถ...ถ...ถ...ถุย
ภาพที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักตอนนี้คือการต่อสู้ 2 กระแส ระหว่าง พ.ร.บ.ปรองดอง “ล้างผิด” กับการปกป้องหลักนิติรัฐนิติธรรมค้ำจุนรัฐประหาร (ผมหัวร่อก๊ากเลยวันที่มหาจำลองบอกว่าบิ๊กบังทำเสียสถาบันหัวหน้าคณะปฏิวัติ) ซึ่งเข้าทางสื่อ ที่พยายามจะเน้นให้ประชาชนเลือกว่าอันไหนถูก อันไหนผิด ทั้งที่ความจริงผิดทั้งคู่ (สื่อกระแสหลักจึงพยายามปิดกั้นกระแสที่สาม สื่อสลิ่ม พันธมิตร ตีกันผู้รักประชาธิปไตยเป็น “แดงล้มเจ้า” ขณะที่สื่อใบสั่งก๊วนการเมืองเพื่อไทย ก็กำลังจะปลุกผังล้มเจ้าเช่นกัน) ผู้รักประชาธิปไตยต้องยืนยันว่าเราไม่เอา “นิรโทษเหมาเข่ง” และยืนหยัดหลักการ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร” ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือ มวลชนที่ถูกจองจำอยู่ในคุก ซึ่งกลายเป็นตัวประกัน แลกกับการนิรโทษกรรมทักษิณและผู้สั่งฆ่าประชาชน จึงต้องเรียกร้องให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมตามโรดแมพปรองดองของนิติราษฎร์ (ซึ่งนิรโทษผู้ที่มีความผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินและความผิดเล็กน้อยทันที ส่วนผู้มีความผิดเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ) แน่นอนว่านี่เป็นหนทางที่เจ็บปวด ไม่เอานิรโทษเหมาเข่ง พี่น้องที่อยู่ในคุก 50 คน ก็ต้องทนทุกข์ทรมานต่อไป แต่ต้องถามใจกันว่าสู้มาถึงขั้นนี้แล้วจะยอมให้คนผิดลอยนวลไหม และถ้ารัฐบาลเพื่อไทยแข็งขันเอาจริง (หรือเกี้ยเซี้ยอำมาตย์ได้จริง) ก็น่าจะมีหนทางช่วยประกันตัวพวกเขาไม่ใช่หรือ ฉะนั้นสิ่งที่ควรทำความชัดเจนต่อมวลชนคือ 1.พ.ร.บ.ปรองดอง “นิรโทษเหมาเข่ง” นอกจากไร้หลักการแล้วยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันใดเลย (เพราะทักษิณก็บอกว่ายังอยู่เมืองนอกได้) นอกเสียจากการช่วยเหลือมวลชนเสื้อแดงที่ยังถูกจองจำ ซึ่งสามารถออก พ.ร.บ.หรือแม้แต่ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมเป็นการเร่งด่วนได้ (ซึ่งถ้าทำตามโรดแมพนิติราษฎร์ก็ไม่ใช่การ “ช่วยพวก” แต่เป็นการคืนความยุติธรรมเพราะมวลชนส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาเกินจริง กระบวนการยุติธรรมใช้ทัศนคติเชิงลบกับเสื้อแดง) 2.ต้องยืนหยัดเอาผิดผู้รับผิดชอบการเข่นฆ่าประชาชนในเหตุการณ์พฤษภา 53 ถึงแม้ว่าถึงที่สุดแล้วอาจจะเอาผิดไม่ได้ แต่ต้องมีการหาความจริง (ซึ่งเป็นหน้าที่ คอป.แต่ตอนนี้ยังดองไม่ได้ที่ ไม่เปรี้ยวพอ) ต้องนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นเยี่ยงอย่าง ไม่ให้เกิดการฆ่าหมู่ทางการเมืองอีก ต้องลากคออดีตนายกฯ อดีตรองนายกฯ อดีต ผบ.ทบ. ผบ.ทบ. แม่ทัพนายกอง นายพลทั้งหลายขึ้นศาล ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดอาจเอาผิดไม่ได้ หรือท้ายที่สุด อาจเอาผิดแล้วนิรโทษกรรมเพื่อความปรองดอง แต่ความปรองดองนั้นต้องมาภายหลังความยุติธรรม 3.ไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรมให้บ้านเลขที่ 111 (แหง เพราะพ้นการจองจำแล้ว) และบ้านเลขที่ 109 เพราะจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยประกาศไว้ว่า ถ้านิรโทษหมายความว่าการพ้นผิด พวกเขาก็ไม่ต้องการ เพราะพวกเขาไม่ผิด รัฐประหารออกประกาศ คปค.เพิ่มโทษกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ แล้วตุลาการรัฐธรรมนูญฉวยเอามาใช้ให้มีผลย้อนหลัง การนิรโทษไม่ได้ทำให้บ้านเลขที่ 111 และ 109 พ้นโทษอย่างสง่างาม แต่การลบล้างผลพวงรัฐประหาร และแก้ไขรัฐธรรมนูญสิ จะทำให้นักการเมืองทั้งสองกลุ่มยืดอกพกความภาคภูมิว่าพวกเขาได้ความยุติธรรมคืนมาแล้ว 4.ทักษิณไม่ได้รับความยุติธรรม เรายืนยันข้อนี้ ทักษิณถูกกระทำจากรัฐประหาร สมคบกับตุลาการภิวัตน์ ซึ่งใช้อำนาจตุลาการเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ทำให้หลักนิติรัฐนิติธรรมย่อยยับ แต่การนิรโทษกรรมคดีที่ดินรัชดาและคดียึดทรัพย์ เป็นแค่การลูบหน้าปะจมูก ไม่ได้ฟื้นหลักนิติรัฐนิติธรรมคืนมา (แต่ไม่ใช่การทำลาย อย่างที่พวกพันธมิตร แมลงสาบ และ 40 สว.กล่าวหา เพราะมันถูกทำลายไปใต้อุ้งเท้าตุลาการภิวัตน์เรียบร้อยแล้ว) ขณะที่การลบล้างผลพวงรัฐประหาร ลบประกาศ คำสั่ง ของ คปค.คือการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประชาธิปไตย ในการลบล้างนิรโทษกรรมรัฐประหาร (เอาบิ๊กบังขึ้นศาลให้สมใจมหาจำลอง) ลบล้างผลพวงที่ทำให้เกิดคำพิพากษา ฉีกหน้ากากอันสูงส่งของตุลาการภิวัตน์ให้ลงมาอยู่ติดดิน (แต่ก็ให้โอกาสแก้ตัวใหม่ ด้วยการนับหนึ่งใหม่ในคดีความของทักษิณทุกคดี) การนิรโทษกรรมคือการยอมรับรัฐประหาร ยอมรับอำนาจตุลาการภิวัตน์ ว่าถูกแล้ว ชอบแล้ว แค่ทักษิณขอตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สมถะจริ๊ง) 5.ความพยายามปรองดองกับทักษิณของฝ่ายอำมาตย์ คือความต้องการที่จะรักษาสถานภาพ โดยไม่ยอมสูญเสียอะไรเลย และไม่ยอมรับผิด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนเกิดวิกฤติยาวนาน 6 ปี ยังทำหน้าตาเฉยจะกลับไปอยู่ในสถานะเดิมเหมือนก่อน 19 กันยายน 2549 เราไม่ได้ต้องการทำลายล้างใคร แต่ต้องการให้ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เปิดกว้างสิทธิเสรีภาพ เพื่อ “อำมาตย์” กับประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย ถ้าไม่มีการปฏิรูป วิกฤติจริงก็ไม่สิ้นสุด แค่ซุกไว้ใต้พรมรอวันระเบิดขึ้นใหม่ แต่แนวโน้มคือพวกเขาไม่ยอมให้ปฏิรูปอะไรเลย ไม่ให้ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจอธิปไตย ไม่ให้ปฏิรูปศาล ไม่ให้ปฏิรูปกองทัพ แค่เกี้ยเซี้ยกับทักษิณแล้วคิดว่าจะจบ มันไม่จบหรอกครับ เพราะยักษ์ตื่นขึ้นมาแล้ว 6.ความต้องการปรองดองอย่างงี่เง่า คิดสั้น และข้ามศพประชาชน คือจุดเสื่อมของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย ตลอดจนแกนนำ นปช.ที่นับแต่นี้จะถูกรุมกระทืบโดยแมลงสาบ สลิ่ม เสื้อเหลือง และสื่อ โดยมวลชนผู้รักประชาธิปไตยเหนื่อยหน่ายที่จะปกป้อง ขณะที่ฝ่ายอำมาตย์ก็จะลอยตัวจากความขัดแย้ง เดินสายพูดเรื่องคุณธรรมความดีเรื่อยเปื่อย ปล่อยให้รัฐบาลรับเผือกร้อนไป สถานการณ์เช่นนี้เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นอีกครั้ง แม้ยังไม่แน่ว่าเป็นรูปแบบใด เครือข่ายอำมาตย์ ตุลาการภิวัตน์ พร้อมจะดัดหลังพรรคเพื่อไทยทุกเมื่อ และอาจจะเกิดความสับสนปั่นป่วนขึ้นอีก อย่างน้อยก็จากการแยกขั้วของผู้รักประชาธิปไตยและแดงอิสระ ที่แม้ยังถือว่าพรรคเพื่อไทยเป็นแนวร่วมแต่ก็ไม่สนิทใจเหมือนเดิมอีก แกนนำ นปช.จะสำแดงธาตุแท้ของแต่ละคน ขบวนจะแตกออกเป็นอิสระ และคงไม่สามารถสร้างขบวนใหม่ที่เป็นเอกภาพในระยะใกล้ แต่ไม่ใช่เรื่องต้องกังวลจนมองโลกแง่ร้าย ผู้รักประชาธิปไตยจะเกาะเกี่ยวกันด้วยการนำทางความคิดของนักวิชาการ เช่นนิติราษฎร์ ซึ่งปัจจุบันมวลชนตื่นตัวขึ้นเยอะแล้ว สื่อสารกันเองทุกช่องทาง การนำด้วยหลักการ เหตุผล มีพลังลึกซึ้งกว่าพวกเย้วๆ บนเวที เมื่อ 6 ปีก่อนผมยังนั่งคุยกับ อ.วรเจตน์อยู่แค่ 2 คน ถามว่าวันนี้มีใครไม่รู้จักวรเจตน์บ้าง พันธมิตรไม่ใช่แนวร่วม อันที่จริงควรเป็นข้อ 7 แต่เน้นให้โดยเฉพาะ คริคริ ผู้รักประชาธิปไตยไม่เอา พ.ร.บ.ปรองดอง พันธมิตร แมลงสาบ สลิ่ม สื่อ ก็ไม่เอา พ.ร.บ.ปรองดอง ถือเป็นแนวร่วมเฉพาะกิจ แต่ไม่มีจุดร่วมกันเลยทางความคิด หลายปีก่อน “ภาคประชาชน” เคยเพ้อฝันว่าซักวันเสื้อเหลืองเสื้อแดงจะหันมารวมกันได้ แต่ตอนนี้ตื่นแล้ว เหลืองแดงไม่มีวันรวมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์นองเลือด พฤษภา 53 ซึ่งเสื้อเหลืองและสลิ่ม ร่วมกัน “ออกใบอนุญาตฆ่า” พธม.อาจจะเถียงว่าพวกเขาไม่ได้ออกแถลงการณ์โดนแกนนำ ยุยงส่งเสริมให้ฆ่าฟันเสื้อแดง แต่สื่อและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาปลุกความเกลียดชังอยู่ตลอด โดยแกนนำ หรือนักวิชาการที่อยู่ในศีลในธรรม ไม่เคยทักท้วงห้ามปรามกันซักนิด ครั้นมาเกิดปรากฏการณ์ทักษิณที่เขมร ทักษิณวิดีโอลิงก์ที่ราชประสงค์ และไม่กล้า ไม่แก้ ไม่เกี่ยวค่ะ กะมาตรา 112 พวกผีตองเหลืองก็เหมือนได้น้ำมนต์ลุกขึ้นมาจากหลุม ตีปี๊บดีอกดีใจ ไชโยโห่หอน ส่ายตูดร่อนเยาะเย้ยแดงอิสระ นักประชาธิปไตย ว่าถูกหลอก ถูกหักหลัง ฟังแล้วทั้งสมเพชทั้งขบขัน ดีใจทำพ่อ’งเรอะ ยังกะตัวเองจะกลับมาได้ชัยชนะ ประชาชนทั้งประเทศจะกลับไปหมอบราบคาบแก้ว ว่าคุณพ่อพันธมิตรทำถูกแล้ว ชอบแล้ว ที่ออกบัตรเชิญรัฐประหาร ปกป้องรัฐประหาร ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ชงลูกให้ตุลาการภิวัตน์ โธ่ถัง มันก็แค่เสียงตะโกนจากหลังเขา ของพวกที่ตกเวทีไปแล้ว ดำรงชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้นกันดารด้วยเศษอาหารแห่งความเพ้อฝัน จมปลักอยู่กับวันคืนเก่าๆ 193 วัน เกือบปีที่ผ่านมาก็ต้องกล้ำกลืนความพ่ายแพ้และผิดหวัง ระบายความโกรธเกรี้ยวปลอบใจกันตามหน้าเฟซบุค เว็บบอร์ด และสื่อบางฉบับ ที่พาดหัวรายวันเหมือนอกกลัดหนองมาสองร้อยปี พันธมิตรอาจกลับมาเคลื่อนไหวได้ ด้วยความงี่เง่า คิดสั้น ของรัฐบาล แต่พันธมิตรไม่มีวันก้าวไปไหนได้ ด้วยอุดมการณ์หลังเขา ยึดเอาความคิดจารีตนิยมสุดขั้วเป็นที่พึ่ง ปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชน ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ พันธมิตรจึงไม่ใช่แนวร่วมของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะอุดมการณ์สวนทางกันชัดเจน แทนที่จะมุ่งไปสู่การต่อสู้ให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น พวกเขากลับต้องการให้อำนาจผูกขาดอยู่กับชนชั้นนำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อต่อต้าน “ธุรกิจการเมือง” ปากพวกเขาอาจจะอ้างประชาชน แต่ประชาชนในความหมาย “การเมืองใหม่” จำกัดไว้แค่คนกรุงคนชั้นกลางหัวอนุรักษ์ ระบอบที่พวกเขาต้องการคือประชาธิปไตยสรรหา ระบอบอำนาจร่วมกันระหว่างชนชั้นนำ กองทัพ ตุลาการ และคนชั้นกลาง ตัดคนชนบทผู้โง่เขลาออกไปเป็นประชาผู้รอการสงเคราะห์ รอหมอประเวศมาเทศน์โปรดแก้ความเหลื่อมล้ำ พันธมิตรคือตัวแทนคนกรุงคนชั้นกลางฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่หวงอำนาจ กลัวสูญเสียบทบาท “คนชนบทเลือกรัฐบาล คนกรุงล้มรัฐบาล” ตามทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย ที่ตายโหงตายห่านไปแล้ว สื่อ นักวิชาการ นักกิจกรรม ที่เล่นตามกระแสโดยไร้เหตุผล กลัวตัวเองจะหมดบทบาท หมดราคา เมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานไปในชนบท วิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม อินเตอร์เน็ต เข้าถึงทุกหนทุกแห่ง จึงไม่ต้องแปลกใจที่พวกเขาโกรธแค้นชิงชังนักวิชาการประชาธิปไตย ที่ยืนหยัดหลักการคัดค้านความพยายามบรรลุเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงวิธีการของพวกเขา (จนหน้าแหก เสียศูนย์ พ่ายแพ้ จนมุม) ตอนแรกพวกเขากล่าวหาว่ารับเงินทักษิณ เป็นเครื่องมือทักษิณ มาตอนนี้พอยอมรับว่าเป็น “แดงอิสระ” (ที่จริง “แดงธรรมชาติ” เพราะแดงมาก่อนทักษิณ แดงมาก่อนจะมีเสื้อแดง) พวกนี้ก็ให้ร้ายว่าเป็น “แดงล้มเจ้า” เกลียดชังไม่ต่างจาก “ทุนสามานย์” หมายเสี้ยมให้แตกแยก แล้วจะได้ทำลายไปพร้อมกัน ท่าทีเช่นนี้เราจึงไม่สามารถญาติดีกับพันธมิตร ไม่สามารถเป็นแนวร่วมกับพันธมิตร ยกเว้นตัวบุคคลบางคนที่เคยสนับสนุนพันธมิตรแต่ถอยมาอยู่ในจุดที่ยังมีความเป็นมนุษย์ เศร้าเสียใจและเห็นอกเห็นใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน
ใบตองแห้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดทัศนะ 'สมยศ-สุรชัย' ต่อสถานการณ์ 'ปรองดอง' Posted: 29 May 2012 02:34 AM PDT หมายเหตุ: 2 บทความสะท้อนทัศนะเกี่ยวกับการปรองดองของสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ โดยประชาไทได้รับข้อความผ่านมาจากคนใกล้ชิด ขณะนี้ทั้งสองยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
“ความขัดแย้งด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง ด้วยความคิดความเชื่อในระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน เป็นความขัดแย้งที่ไม่อาจปรองดองกันได้ เพราะเป็นการต่อสู้กันด้วยจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกัน ระหว่างความเป็นเผด็จการกับความเป็นประชาธิปไตย” สมยศ พฤกษาเกษมสุข
"การปรองดองเป็นเพียงวิธีการเพื่อลดความรุนแรง ลดความเสียหายในการปฏิวัติสังคมเท่านั้นเอง ไม่ใช่หยุดการต่อสู้ หรือสมยอมกับกลุ่มอำนาจเก่า ในขณะที่สถานการณ์เป็นต่อ ก็จะเป็นการฉลาดน้อย นี่เป็นข้อสรุปจากที่ประชุม [สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในเรือนจำ]” สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
1 สมยศ พฤกษาเกษมสุข: ปรองดองเรื่องของลิงหลอกเจ้า
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นำมาสู่ความขัดแย้งแตกแยกที่รุนแรงที่สุดในสังคมไทย เพราะเป็นความขัดแย้งที่ขยายขอบเขตปริมณฑลออกไปอย่างกว้างขวาง สร้างผลกระทบต่อสถาบันหลักของชาติ กินระยะเวลายาวนาน ก่อให้เกิดการสูญเสียย่อยยับมหาศาลทั้งในด้านทรัพย์สินและชีวิต ที่ไม่อาจประเมินมูลค่าความเสียหาย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะสร้างการปรองดองขึ้นมาอย่างง่ายๆ ในเวลาอันสั้น ด้วยเหตุผลหยาบๆ ให้ลืมอดีตไปเสียเพื่อประเทศไทยจะได้ก้าวไปข้างหน้า การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ สร้างการปรองดองด้วยการเชิญ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มาร่วมงานรักเมืองไทย เดินห้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน 2555 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ได้นำคณะเข้ารดน้ำดำหัวพลเอกเปรม แสดงให้เห็นถึงขั้วความขัดแย้งหลักในสังคมไทยมาจากบทบาทของคนสองกลุ่ม ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในโอกาสครบรอบ 2 ปี เหตุการณ์การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 ที่สี่แยกราชประสงค์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้วีดิโอลิงก์ปราศรัยกับคนเสื้อแดง โดยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “วันนี้หากเราเลิกทิฐิ กัน แล้วหันหน้าเข้าหากัน เพื่อรักษาสถาบันทุกฝ่ายเอาไว้ ด้วยการเลิกทะเลาะกัน ถามว่าอยากปรองดองหรือไม่ ถ้าปรองดองก็มีโอกาสได้กลัยมาตอบแทนบุญคุณพี่น้อง” หากนับย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยกล่าวไว้ว่า “บุคคลซึ่งดูเหมือนมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ เข้ามาวุ่นวายองค์กรในระบบรัฐธรรมนูญมากไป มีการไม่เคารพกติกา” ถัดมาในวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้กล่าวไว้ว่า “ม้าจะมีเจ้าของคอก เวลาแข่งไปเอาจ็อกกี้ หรือเด็กขี่ม้าไปจ้างให้มาขี่ม้า ไม่ได้เป็นเจ้าของม้า” ทั้งสองข้อความถูกนำมากล่าวถึงเป็นจุดเริ่มต้นที่แสดงถึงความขัดแย้งโดยเปิดเผยของบุคคลทั้งสอง จนในที่สุดนำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กำจัดรัฐบาลทักษิณ แทนที่ด้วยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดพลเอกเปรมทั้งสิ้น หลักจากนั้นความขัดแย้งได้ขยายตัวกลายเป็นกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล แต่เป็นความขัดแย้งทั้งในด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมือง อาจกล่าวได้ว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มทุนขุนนาง กับกลุ่มทุนใหม่ในระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายหนึ่งอาศัยสถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง โดยนำกองทัพและตุลาการมาบดขยี้ทำลายล้างอีกกลุ่มหนึ่งในรูปแบบรัฐประการและตุลาการภิวัตน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งนำประชาชนออกมาต่อต้านการรัฐประหาร โดยใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือเข้าสู่อำนาจทางการเมือง จากความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำสองกลุ่ม สะท้อนออกมาผ่านตัวแทนในระดับบุคคลระหว่างพลเอกเปรม กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ขยายขอบเขตความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองกับประชาชน ผ่านวาทกรรม “อำมาตย์-ไพร่” กลายมาเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างชัดเจนระหว่างประชาธิปไตยของประชาชน กับเผด็จการอำมาตย์ จนเผชิญหน้ากันถึงจุดแตกหักกลายเป็นความรุนแรงทางการเมืองในเหตุการณ์เมษาเลือด 2552 ต่อเนื่องถึงเหตุการณ์ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 หากเป็นความขัดแย้งเชิงบุคคลหรือถ้าหากเป็นเพียงความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำ ย่อมเป็นเรื่องที่จะประนีประนอมหรือสร้างการปรองดองกันได้ ถ้าหากสามารถไกล่เกลี่ยผลประโยชน์กันให้ลงตัว การปรองดองในกลุ่มชนชั้นนำก็ตกลงกันได้ ดังเช่น ระหว่างปี 2522-2530 ช่วงที่พลเอกเปรม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ระหว่างกลุ่มข้าราชการประจำกับนักการเมืองได้อย่างลงตัว ความขัดแย้งด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง ด้วยความคิดความเชื่อในระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน เป็นความขัดแย้งที่ไม่อาจปรองดองกันได้ เพราะเป็นการต่อสู้กันด้วยจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างความเป็นเผด็จการกับความเป็นประชาธิปไตย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ในระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน สะท้อนถึงผลประโยชน์ทางชนชั้นที่แตกต่างกัน เป็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจรัฐเพื่อจัดสรรคุณค่า ทรัพยากรให้กับกลุ่มผลประโยชน์ทางชนชั้นที่แตกต่างกัน โดยแสดงออกในรูปของแนวนโยบายของพรรคการเมืองที่ได้นำเสนอต่อประชาชนในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ความขัดแย้งแบบนี้ย่อมไม่อาจปรองดองกันได้อย่างลงตัว และเป็นที่พอใจได้ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางชนชั้นที่แตกต่างกัน ความขัดแย้งเช่นนี้ย่อมนำมาสู่การพัฒนาที่ก้าวหน้า และเป็นพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงสังคม มีแต่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนคือเจ้าของอธิปไตยอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรม และความขัดแย้งไม่บานปลายไปเป็นความรุนแรงทางการเมือง ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งก็คือ หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา กระบวนการยุติธรรมมิอาจธำรงไว้ซึ่งความเป็นนิติรัฐและความยุติธรรมได้ ศาลยุติธรรมได้กลายเป็นเครื่องมือของการละเมิดสิทธิพลเมืองอย่างน่าเกลียดดังเช่นการยุบพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน การตัดสิทธิ์ทางการเมืองของนักการเมือง การใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ การจับกุมคุมขังนักโทษการเมืองจำนวนมาก กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน ด้วยการใช้อำนาจตุลาการเกินขอบเขตเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมือง ดังเช่น การเลือกปฏิบัติกรณีคนเสื้อแดงถูกดำเนินคดี จับกุมคุมขัง ไม่ให้สิทธิการประกันตัวโดยเด็ดขาด ส่วนกลุ่มคนเสื้อเหลือง การดำเนินคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ได้รับการประกันตัว หรือแม้แต่ในกลุ่มคนเสื้อแดงด้วยกันเอง หากเป็นนักการเมือง ได้รับการประกันตัว ส่วนคนธรรมดาไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว เป็นต้น เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ก็ไม่ได้มีวิสัยทัศน์ที่จะแก้ปัญหาสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม ให้มีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้ ดังเช่น การไม่แก้ไขมาตรา 112 ให้มีความก้าวหน้ากว่าเดิม การไม่แก้ไขกฎหมายอาญา เพื่อให้หลักประกันในสิทธิการประกันตัว กระทั่งไม่มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมให้เชื่อมโยงกับประชาชนและมีความโปร่งใส ดังนั้น การปรองดองจะไม่มีประโยชน์และไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง หากไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของกลุ่มอำมาตย์ ไม่มีการสร้างหลักประกันในสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมทางการเมือง การปรองดองโดยทมองข้ามความอยุติธรรม และการปรองดองทั้งที่กลิ่นคาวเลือด น้ำตา ของผู้เสียชีวิตยังไม่จางหาย การขอร้องให้เลิกทิฐิ กัน แล้วหันหน้าเข้าหากันในขณะที่ยังมีการจองจำนักโทษการเมือง จึงทำกับว่าเป็นการซุกขยะไว้ใต้พรมสวยงามที่นักการเมืองย่างเหยียบไปสู่อำนาจการเมือง เพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มคนไม่กี่คนเท่านั้น ความพยายามสร้างการปรองดองของรัฐบาลภายใต้การต่อสู้ หากสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค อิสรภาพ และประชาธิปไตย เกิดขึ้นได้เมื่อใด ความปรองดองและความวัฒนาถาวรจึงจะเกิดขึ้น เป็นจริงขึ้นมาได้เมื่อนั้น
00000000000000000000000000000000000000
2 สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ : ความปรองดองคืออะไร 30 เมษายน 2555 สภาผู้แทนคนเสื้อแดงในเรือนจำฯ ได้เปิดประชุมด่วนเพราะมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่อง อันเนื่องมาจากญัตติเรื่อง “ความปรองดอง” ทำให้เกิดความสับสนในหมู่คนเสื้อแดง เช่น แม่ของน้องเกดประกาศต่อต้านการปรองดองนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ารดน้ำอวยพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อสร้างภาพความปรองดอง การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ปทุมธานี พรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้แก่พรรคประชาธิปัตย์ ข่าวว่าเพราะคนเสื้อแดงไม่พอใจรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ทำท่าเกี๊ยะเซี้ยะกับอำมาตย์ คนเสื้อแดงทำผิดทีหลังแต่ถูกขังอยู่เต็มคุก คนเสื้อเหลืองทำผิดก่อน เป็นผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน ผ่านมาสามปีกว่าแล้ว ยังไม่ถูกจับขังคุก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สั่งฆ่าคนตายนับร้อย บาดเจ็บนับพัน ยังไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดี แต่จะปรองดองยกเลิกความผิดให้ คนเสื้อแดงก็ตายฟรี ติดคุกฟรี จึงรับไม่ได้ เรื่องนี้จึงต้องทำความเข้าใจว่า “การปรองดองคืออะไร?” คือการเจ๊ากันไป เลิกแล้วต่อกันอย่างนั้นหรือ? ถ้าเป็นเรื่องบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอาจจะใช่ แต่ความขัดแย้งปัจจุบันไม่ใช่เรื่องบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ดังคำพูดของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่กล่าวไว้และถูกตีพิมพ์ในมติชนว่า “ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคล และระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความขัดแย้งทางโครงสร้างสังคม เป็นการต่อสู้กันของสองกลุ่มอำนาจ” การปรองดองจึงเป็นการปรองดอง คือค่อยๆ เปลี่ยนโครงสร้างสังคมแบบเก่า ไปสู่โครงสร้างสังคมแบบใหม่ โดยการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ แทนการโค่นล้มอย่างรุนแรง เรียกว่าค่อยเปลี่ยนอย่ารอมชอมนั่นเอง การปรองดองจึงไม่ใช่เลิกแล้วต่อกันให้สังคมหยุดนิ่งหรือถอยหลัง ดังนั้นคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยจะต้องยึดหลัก “การขับเคลื่อนเป็นโครงสร้างสังคม” การปรองดองเพียงลดความรุนแรงเท่านั้นเอง ยังไงสังคมก็ต้องเปลี่ยน และต้องเปลี่ยนด้วยสถานการณ์ปัจจุบันนี้แหละ เพราะเงื่อนไขสุกงอม และสุกงอมขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดคือ ความคิดแบบเสื้อแดงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ส่วนความคิดแบบเสื้อเหลืองลดลง แตกกระจายและหมดพลัง คนเสื้อแดงที่ถูกสื่อมวลชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1 กลุ่มแดงดารา 2 กลุ่มแดงฮาร์ดคอร์ และ 3 กลุ่มแดงอุดมการณ์ เวลานี้แดงสองกลุ่มแรกได้มีพัฒนาการยกระดับความคิด กลายเป็นแดงอุดมการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่เมื่อพรรคเพื่อไทยและ นปช.ทำอะไรให้คลางแคลงใจว่าจะออกนอกเส้นทางการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างสังคม ก็ต้องทักท้วงติติง ไม่ใช่เดินตามอย่างหลับหูหลับตา ผ่านการต่อสู้มา 7 ปี ลองผิดลองถูก สูญเสียเลือดเนื้อ ชีวิต และอิสรภาพมากมาย คนเสื้อแดงจำนวนมากได้กลายเป็นมวลชนปฏิวัติไปแล้ว ความต้องการจึงมากกว่าสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล และนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้านเท่านั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้วิตกกังวล กลัวว่าการปรองดองจะเป็นการเกี๊ยะเซี้ยะ เพียงเพื่อให้รัฐบาลอยู่ได้ นิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศไทย แกนนำ นปช.พ้นคดี แกนนำพันธมิตรพ้นคดี นายอภิสิทธ์ นายสุเทพพ้นคดี ระบอบอำมาตย์ยังคงความศักดิ์สิทธิ์คงเดิม สังคมไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนเสื้อแดงกลัวถูกหักหลัง พรรคเพื่อไทยกับ นปช.จึงต้องทำความเข้าใจมวลชนคนเสื้อแดงที่ต่อสู้ร่วมกันมา ว่าได้ใช้ทฤษฎีอะไรในการต่อสู้ มีแนวทางและยุทธศาสตร์อย่างไร ไม่ใช่ต่อสู้สะเปะสะปะไม่มีตำราอย่างที่ผ่านมา เพราะพรรคเพื่อไทยและ นปช. ต้องแบกรับภาระทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เพียงเพื่อเลือกตั้ง จึงต้องมีลักษณะต่อสู้ จึงจะสร้างความมั่นใจแก่มวลชนได้ และมวลชนก็จะเข้าใจได้ว่าการแสดงต่างๆ เป็นเพียงยุทธวิธีเท่านั้น ไม่ว่าการไปรดน้ำขอพร พล.อ.เปรม การปรองดอง การออกฎหมายนิรโทษกรรม ปล่อยเขา ปล่อยเรา และการนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน อะไรต่างๆ มีจุดหมายปลายทางคือ “ปฏิวัติสังคม” การปรองดองจึงเป็นเพียงวิธีการเพื่อลดความรุนแรง ลดความเสียหายในการปฏิวัติสังคมเท่านั้นเอง ไม่ใช่หยุดการต่อสู้ หรือสมยอมกับกลุ่มอำนาจเก่า ในขณะที่สถานการณ์เป็นต่อ ก็จะเป็นการฉลาดน้อย เป็นข้อสรุปจากที่ประชุม
0000000000000000000000000000000 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น