โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รัฐบาลควรถือธงนำในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ

Posted: 27 May 2012 11:26 AM PDT

รัฐบาลไทยมีความหวาดวิตกมานานว่าการที่องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation หรือ โอไอซี) เข้ามาเกี่ยวข้องจะเป็นการยกระดับให้ความขัดแย้งในภาคใต้กลายเป็นประเด็นสากลและอาจทำให้โอกาสในการแยกดินแดนอาจเป็นจริงได้มากขึ้น

นาย Sayed Kassam El-Masry ที่ปรึกษาและผู้แทนพิเศษของเลขาธิการโอไอซีกล่าวกับประชาชนที่มารอต้อนรับที่มัสยิด 300 ปีหรือมัสยิดอาดีอัลฮูเซ็นที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาสใน วันที่ 9 พฤษภาคม 2555 (ภาพ: ฮัสซัน โตะดง) 

ประมาณหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่ผู้แทนระดับสูงของโอไอซีจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย  โอไอซีได้ออกแถลงการณ์หลังเกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ในวันที่ 31 มีนาคมในอ.หาดใหญ่ จ.สงขลาและจ.ยะลาโดยประณามว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็น “การก่อการร้าย” ทางการไทยและผู้สังเกตการณ์อิสระต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าขบวนการน่าจะอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ในครั้งนั้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คนและบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน

ในวันที่ 9 พฤษภาคม  นาย Sayed Kassam El-Masry ที่ปรึกษาและผู้แทนพิเศษของเลขาธิการโอไอซีได้กล่าวกับประชาชนที่มาต้อนรับที่จ.ยะลาเป็นภาษาอาราบิคว่า “อัรกุรอ่านได้บอกไว้ว่าผู้ใดฆ่าผู้บริสุทธิ์เพียงหนึ่งคน  ก็เหมือนเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งโลก”  นอกจากนั้น เอกสารการแถลงข่าวร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้แทนโอไอซีซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 14 พฤษภาคมก็ได้ย้ำประเด็นนี้อีกว่า “ทั้งสองฝ่ายประณามการกระทำรุนแรงต่อพลเมืองอย่างไม่แยกแยะเพราะสิ่งนี้ขัดกับหลักคำสอนของอิสลาม”

เป็นที่ชัดเจนว่าเหตุการณคาร์บอมบ์เป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างสำคัญสำหรับขบวนการ ซึ่งกลับส่งผลให้รัฐไทยได้คะแนนทางการเมืองไปอย่างไม่ตั้งใจ  เหตุการณ์รุนแรงในครั้งนั้นลดความชอบธรรมของขบวนการในสายตาของประชาคมโลก โดยเฉพาะในโลกมุสลิมและผู้ที่เห็นอกเห็นใจต่อการต่อสู้ของพวกเขา

โอไอซีนับเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รองจากสหประชาชาติ  โอไอซีประกอบไปด้วยสมาชิก 57 ประเทศซึ่งล้วนมีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม  โอไอซีมีความเห็นอกเห็นใจต่อปัญหาของคนมลายูมุสลิมในภาคใต้ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศไทย   แต่ก็ได้แสดงจุดยืนคัดค้านการฆ่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์อย่างถึงที่สุด ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองใดๆ ที่จะทำให้การกระทำเช่นนั้นมีความชอบธรรมได้

ปัญญาชนมลายูมุสลิมและผู้นำศาสนาบางคนก็ออกมาตั้งคำถามในที่สาธารณะกับพี่น้องร่วมศาสนาของพวกเขาด้วยเช่นกัน  เป็นความเคลื่อนไหวที่เราไม่ได้เห็นบ่อยนักที่คณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี  มูลนิธิศูนย์ทนายมุสลิมและกลุ่มประชาสังคมอื่นๆ ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันหลังเหตุการณ์คารบอมบ์ เรียกร้องให้ผู้ก่อความรุนแรงหยุดการกระทำเช่นนี้และร่วมกันแก้ไขความเห็นที่แตกต่างทางการเมืองด้วยสันติวิธี

อ.อับดุลสุโก ดินอะ ปัญญาชนชาวมลายูมุสลิมได้เขียนบทความลงในหน้าเว็บไซต์ของศูนย์ข่าวภาคใต้ สถาบันอิศราว่า จริงอยู่ที่คัมภีร์อัลกุรอานส่งเสริมให้ผู้ที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากผู้กดขี่และการกระทำเช่นนั้นคือ การญิฮาด  แต่การก่อเหตุคาร์บอมบ์นั้นไม่ใช่การญิฮาดและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุในครั้งนั้นก็ไม่สมควรเรียกว่านักรบเพื่อพระเจ้า  เขากล่าวว่า “การก่อการร้ายไม่ใช่การญิฮาด”  เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าความเห็นของพี่น้องมุสลิมทั้งในและนอกประเทศเหล่านี้จะมีผลอย่างไรหรือไม่ต่อการกระทำของขบวนการในอนาคต

ความเห็นของโอไอซีส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางบวกกับสิ่งที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการ   แต่ว่าทางโอไอซีได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยบอกว่ากฎหมายพิเศษนี้เป็นเงื่อนไขให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำให้เกิดสภาวะของการไม่ต้องรับผิด (climate of impunity)

พ.ร.ก. ฉุกเฉินถูกใช้ในปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งต้องมีการต่ออายุทุกสามเดือน   พ.ร.ก. อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไว้ได้ไม่เกิน 30 วันโดยไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา  และพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบทนายความในช่วงเวลาดังกล่าว

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจต้องขออนุมัติหมายจับจากศาลก่อนดำเนินการจับกุม แต่การออกหมายภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นใช้หลักฐานน้อยกว่าการออกหมายภายใต้ป.วิอาญาซึ่งเป็นกฎหมายปกติ  ก่อนหน้านี้ การอนุญาตให้เยี่ยมนั้นขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงแต่เพียงผู้เดียว แต่ว่าหลังจากที่นักสิทธิมนุษยชนได้ทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง  ในปัจจุบันนี้ ญาติสามารถที่จะเข้าเยี่ยมได้

ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ในอำนาจ เขากล่าวว่ารัฐบาลของเขาจะพิจารณายกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินในพื้นที่ที่มีความรุนแรงต่ำ  ข้อเสนอของรัฐบาลถูกทหารตำรวจคัดค้าน รัฐบาลสามารถยกเลิกกฎหมายพิเศษได้เพียงพื้นที่เดียวคือ อ.แม่ลานในจังหวัดปัตตานี  รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไม่ได้กล่าวอะไรในประเด็นนี้  เพราะไม่มีแรงจูงใจใดๆ ที่เธอจะลุกขึ้นมาเผชิญหน้ากับกองทัพในเรื่องนี้

ในวันที่ 10 พฤษภาคม  พล.ท. อุดมชัย  ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคสี่ ได้กล่าวกับผู้แทนโอไอซีระหว่างการประชุมที่ยะลาว่าเขาได้เสนอต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการสนทนากับผู้เขียน พล.ท.อุดมชัยกล่าวว่าขณะนี้สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินจึงไม่ได้มีความจำเป็นมากนัก คงต้องดูกันต่อไปว่าคำพูดของแม่ทัพภาคสี่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริงหรือไม่  เดือนมิถุนายนซึ่งจะเป็นกำหนดเวลาของการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินรอบถัดไป จะเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้พิสูจน์ความจริง

ประเด็นอีกอย่างหนึ่งที่ทางโอไอซีได้หยิบยกขึ้นมา แต่ไม่ได้ถูกระบุอย่างเป็นทางการในแถลงการณ์ คือ ความสำคัญของการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ซึ่งรวมถึงขบวนการที่ติดอาวุธด้วย นาย El-Masry ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งการดำเนินการในเรื่องนี้เขาใช้คำว่า “ยิ่งเร็ว ยิ่งดี”

สิ่งที่เขากล่าวนี้อาจทำให้เจ้าหน้าที่ของไทยบางส่วนไม่พอใจ ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยไม่พอใจอย่างมากที่โอไอซีจัดการประชุมพูดคุยกับขบวนการขึ้นพร้อมกันในกรุงกัวลาลัมเปอร์กับเจดดาห์ในช่วงปลายปี 2553  ดูเหมือนกับว่ารัฐบาลไทยจะประสบความสำเร็จในการเจรจาให้โอไอซีระงับกระบวนการนี้ นาย El-Masry ระบุในระหว่างการเยือนประเทศไทยว่าโอไอซีจะ “สนับสนุน” ให้รัฐบาลไทยดำเนินการพูดคุยกับผู้เห็นต่างแต่ว่าจะไม่เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลาง   กลุ่มขบวนการรุ่นเก่าซึ่งลี้ภัยอยู่นอกประเทศที่คาดหวังสูงกับโอไอซีอาจจะผิดหวังกับคำแถลงนี้

การมาเยือนในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดูเหมือนรัฐบาลไทยจะมีแต้มต่อในเวทีสากล โอไอซีได้ระบุชัดว่าเขาเคารพในเรื่องบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยและถือว่าเรื่องปัญหาภาคใต้นี้เป็นเรื่องภายใน   แต่ รัฐบาลก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจกับชัยชนะทางการทูตนี้   ไม่มีใครควรที่จะเฉลิมฉลองในขณะที่ผู้คนยังคงล้มตายอยู่เกือบทุกวัน

หากว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความรุนแรงยุติลง  รัฐบาลจะต้องแสดงถึงความจริงจังและต่อเนื่องในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ การที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อนโยบายการพูดคุยอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2555 – 2557 ที่ร่างขึ้นโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นั้นก็เป็นเรื่องที่ดี  แต่อุปสรรคที่สำคัญในขณะนี้คือความไร้เอกภาพและการแข่งขันกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุยนี้

การพูดคุยที่ดำเนินการโดย สมช. ซึ่งได้ทำมาหลายปีอย่างเงียบๆ และไม่เป็นทางการดูเหมือนจะชะงักลง หลังจากที่พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ริเริ่มการพูดคุยในกรอบใหม่ในช่วงหลายเดือนๆ ที่ผ่านมา

ความเห็นของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกหลังเหตุการณ์คาร์บอมบ์ดูเหมือนจะเป็นการวิจารณ์การดำเนินการของพ.ต.อ.ทวีในเรื่องนี้โดยตรง  พรรคเพื่อไทยได้ให้การสนับสนุน พ.ต.อ.ทวีอย่างเต็มที่ พล.อ.ประยุทธได้กล่าวว่าการพูดคุยกับขบวนการเพียงบางกลุ่มบางคนอาจจะทำให้กลุ่มอื่นๆ ที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจไม่พอใจ และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดคาร์บอมบ์ขึ้น   ประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงยิ่งขึ้นอีกหลังจากที่ฝ่ายค้านได้นำเอาข่าวการพูดคุยระหว่างอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกับกลุ่มขบวนการที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศในเดือนมีนาคมที่ผ่านมามาเปิดเผยกับสาธารณะ  การต่อสู้กันทางการเมืองระหว่างทักษิณกับกองทัพทำให้การพูดคุยเพื่อสันติภาพนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก

การเจรจาระหว่างกลุ่มที่ขัดแย้งกันนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญในการยุติความรุนแรงในหลายๆ พื้นที่ที่มีความขัดแย้ง แม้ว่ากระบวนการนี้อาจจะใช้เวลานานก็ตาม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ควรจะต้องมีภาวะการนำในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่เข้มแข็งมากขึ้น   อำนาจของรัฐบาลพลเรือนควรที่จะได้รับการหนุนเสริม ในขณะที่กองทัพควรมีบทบาทรองในเรื่องนี้ หากดูถึงสมการทางอำนาจในยุคหลังการรัฐประหารแล้ว เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเรื่องนี้เป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาล นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมามีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่าห้าพันคนในความขัดแย้งในภาคใต้ รัฐบาลไม่สามารถที่จะผัดวันประกันพรุ่งได้อีกต่อไป

 

หมายเหตุ : บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 22พฤษภาคม 2555  ภายใต้หัวเรื่อง “Govt must now take lead in peace dialogue”  

รุ่งรวี  เฉลิมศรีภิญโญรัช เป็นนักวิจัยอิสระที่ติดตามสถานการณ์ในภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง  ติดต่อผู้เขียนได้ที่  rungraweech@gmail.com 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เวียงรัฐ เนติโพธิ์

Posted: 27 May 2012 07:16 AM PDT

เรายินดีจะอยู่ในนรกที่เป็นประชาธิปไตย ดีกว่าอยู่ในสวรรค์ที่กดขี่

เสวนา "อ้อมกอดและกำปั้น 112 วันของการรณรงค์" หอประชุมศรีบูรพา วันที่ 27 พ.ค. 2555

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 20 - 26 พ.ค. 2555

Posted: 27 May 2012 06:58 AM PDT

 “ปู” กำชับมาตรการส่งแรงงานไปบาห์เรน ชูบ้านเอื้ออาทรเป็นแบบอย่าง  
 
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ปรารภในที่ประชุมถึงผลการเยือนประเทศบาห์เรน ว่ายุทธศาสตร์สำคัญของบาห์เรนคล้ายกับไทย เพราะไทยกำลังจะวางยุทธศาสตร์เป็นประเทศที่เป็นคอนเนกอินนิตี้กับประเทศใน กลุ่มลุ่มน้ำโขง ประเทศในประชาคมอาเซียน รวมถึงประเทศพม่า ซึ่งข่าวดีคือบาห์เรนเห็นชอบที่จะสนับสนุนให้เอกชนและรัฐบาลของเขาสั่งซื้อ ข้าวและผลไม้ ดอกไม้จากประเทศไทยมากขึ้น ขณะที่ภาคการก่อสร้างที่บาห์เรนก็ต้องการแรงงานทักษะฝีมือสูงจากประเทศไทย นายกฯจึงให้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไปศึกษาในรายละเอียดว่าจะส่งเสริมแรงงานไทยไปบาห์เรนได้อย่างไรบ้าง รวมถึงก่อนหน้านี้ที่กระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่าอียูได้แบรนด์ไก่ไทยจากวิกฤตไข้หวัดนก ซึ่งบาห์เรนได้รับคำสั่งปลดล็อกจากอียูและนำเข้าไก่สดไทยเพิ่มขึ้นแล้ว 
       
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า นโยบายบ้านเอื้ออาทรของบาห์เรนก็ถือเป็นแบบอย่างที่บ้านเอื้ออาทรของไทยควร ไปดู เรื่องการดูแลสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ไทยและบาห์เรนจะประกาศยุทธศาสตร์ร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือ เรื่องการหาศูนย์กระจายสินค้าและเป็นหุ้นส่วนทำธุรกิจร่วมกัน ส่วนการเยือนกาตาร์ของนายกฯ นั้น เป็นข่าวดีสำหรับชาวเชียงใหม่ คือกาตาร์แอร์ไลน์ได้อนุมัติเปิดเส้นทางบินตรงจากกาตาร์ถึงเชียงใหม่ และในปี 2022 กาตาร์จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก โดยไทยอาสาให้คำแนะนำเรื่องการบริหารจัดการกีฬา เรื่องสุขภาพ และทางการแพทย์ 
       
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังฝากการบ้านให้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในการดูร่างทีโออาร์ ในการจัดการบริหารจัดการงบประมาณของคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ หรือ กนอช. และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) จะต้องมีความถูกต้องตามหลักกฎหมายโดยให้ปรึกษากฤษฎีกา และให้กฤษฎีกาตรวจ โดยนายปลอดประสพได้เรียนในที่ประชุมเบื้องต้นว่า ได้ร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว รอเพียงความเห็นของกฤษฎีกา ซึ่งพี่น้องประชาชนสบายใจในฤดูน้ำนี้ได้ 
       
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้นายกฯ ได้มอบให้นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปดูกรมชลประทาน ซึ่งมีหน้าที่ในการรายงานข้อมูลทุกมิติในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ไม่ใช่รายงานเฉพาะปริมาณน้ำที่มีอยู่หรือคงเหลือในเขื่อน แต่ต้องไปดูการบริหารจัดการปริมาณการระบายน้ำด้วย เนื่องจากการระบายน้ำจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งยังน้อยอยู่ จึงต้องเพิ่มเรื่องทิศทางการไหล ปริมาณการปล่อยออกจากเขื่อนจะต้องรายงาน ครม.อย่างใกล้ชิด และกรมชลประทานและผู้เกี่ยวข้องต้องมีการประชุมเป็นทางการอย่างน้อยสัปดาห์ ละ 1 ครั้ง ส่วนการประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจตัวเลข จะต้องประชุมทุกวัน หากมีวาระพิเศษจะต้องมีเทเลคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับรัฐมนตรี และต้องรายงาน ครม.ทุกสัปดาห์ 
       
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องที่ไทยเป็นประธาน World Economic Forum on East Asia 2012 โดยในวันที่ 31 พ.ค.ซึ่งจะมีผู้นำประเทศมาเยือนจำนวนมาก นายกฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำความเข้าใจกับประชาชนในเส้นทางที่ขบวน รถผู้นำจะขับเคลื่อนผ่านไป โดยจะมีการสื่อสารกับประชาชนเป็นระยะเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ ซึ่งอาจจะกระทบต่อความสะดวกสบายของประชาชน นอกจากนั้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยกระทรวงการต่างประเทศเตรียมตัดชุด ผ้าไหมให้รัฐมนตรีได้ใส่ เพื่อต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-5-2555)
 
คนงาน "ชินเอ" บุกขึ้นตึก ก.แรงงาน เรียกนายจ้างเจรจา-รับคนงานกลับทั้งหมด 
 
ก.แรงงาน 21พ.ค.- ความคืบหน้าการชุมนุมของคนงานจาก บริษัทชินเอ ไฮเทค จำกัด จ.นครราชสีมา ที่เดินทางมาชุมนุมที่กระทรวงแรงงานตั้งแต่ช่วงเช้า ล่าสุดกลุ่มคนงานได้เดินทางมาสมทบอีกกว่า 200 คน  ยกระดับการชุมนุม โดยแบ่งคนกระจายไปตามชั้นต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ชั้น 1-7 พร้อมส่งเสียงเรียกร้องให้กระทรวงฯ เรียกผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมาเจรจา เพื่อให้รับคนงานทั้งหมดกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไขทำให้การทำงานของเจ้า หน้าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก แม้จะมีการส่งเจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจก็ตาม แต่คนงานก็ยังไม่ยินยอม 
 
ล่าสุดนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้สั่งให้ประกาศเสียงตามสาย ขอความร่วมมือคนงานให้ลงไปชุมนุมด้านล่าง ก่อนจะเชิญนายจ้างมาร่วมหาทางออก เรื่องที่เกิดขึ้น เบื้องต้นตัวแทนนายจ้างยินยอมจะรับคนงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีความผิด ยกเว้น กลุ่มผู้นำคนงาน 176 คนที่ถูกไล่ออกก่อนหน้านี้ ซึ่งนายจ้างจะขอสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งนี้ หากนายจ้างไม่ยอมรับผู้ใดกลับและคิดว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อวินิจฉัย โดยนายจ้างพร้อมรับคนงานกลับหากผลการวินิจฉัยชี้ว่าคนงานไม่มีความผิด 
 
(สำนักข่าวไทย, 21-5-2555)
 
“เผดิมชัย” พบม็อบแรงงานชินเอ-แนะรีบกลับเข้าทำงาน 
 
22 พ.ค. 55 - บรรยากาศการชุมนุมประท้วงของคนงานบริษัท ชินเอ-ไฮเทค จำกัด ซึ่งปักหลักประท้วงภายในกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) ล่าสุดนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มาพูดคุยกับกลุ่มคนงานที่ชุมนุมอยู่บริเวณใต้อาคาร พร้อมสอบถามถึงปัญหาและข้อเรียกร้อง ซึ่งคนงานหลายคนได้บอกถึงปัญหา เช่น การลาพักร้อนแล้วต้องยื่นใบรับรองแพทย์ ถูกลดเบี้ยขยัน หรือถูกบังคับให้เขียนใบลาออกจากสมาชิกสหภาพแรงงาน และเปลี่ยนสัญญาจ้างเป็นแบบรับเหมาช่วง โดยคนงานยังยืนยันข้อเรียกร้องให้บริษัทฯ รับแกนนำคนงานที่ถูกเลิกจ้างทั้ง 176 คน กลับเข้าทำงาน ไม่เช่นนั้นก็พร้อมจะถูกบริษัทฯ เลิกจ้างทั้งหมด 
  
นายเผดิมชัย ระบุว่า อยากให้คนงานรวบรวมรายชื่อผู้ถูกเลิกจ้างทั้ง 176 คน พร้อมปัญหาต่างๆ ส่งให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เป็นคนกลางช่วยเจรจากับผู้บริหารบริษัทฯ และอยากให้คนงานกลับเข้าทำงานโดยเร็วที่สุด เพราะบริษัทฯ ยังยินดีรับกลับเข้าทำงาน และเตือนว่าเคลื่อนไหวโดยตกเป็นเครื่องมือของคนบางคน ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ จนนักลงทุนไม่กล้าเข้ามาลงทุน เพราะกลัวเจอปัญหาแรงงานนัดหยุดงานชุมนุมประท้วง 
  
ต่อมาเวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยปราบจลาจล กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 จำนวน 40 นาย เข้ามาภายในกระทรวงแรงงาน เพื่อดูแลความเรียบร้อย ซึ่งภาพรวมสถานการณ์ยังคงปกติ 
 
(สำนักข่าวไทย, 23-5-2555)
 
ทีดีอาร์ไอ ชี้แรงงานวัยหนุ่มสาวตกงาน 3% หากค่าจ้างเพิ่มขึ้นทุกๆ 10% แนะรัฐบาลหามาตรการรองรับ 
 
นายดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า จากการศึกษาผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่อการเคลื่อนไหวในตลาดแรงงาน พบว่า กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ คนงานวัยหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งผลการคำนวณตามแบบจำลอง Fixed Effects และ Arellano & Bond พบว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% จะส่งผลให้แรงงานกลุ่มนี้ตกงาน 3% 
 
นายดิลกะ กล่าวว่า แรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานไร้ทักษะ เมื่อตกงานแล้วจะถูกภาคผลิตที่ไม่เป็นทางการดูดซับไว้ อาทิ ช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่า จ้าง หรือในกิจการเอกชนขนาดลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร 
 
ขณะที่คนงานกลุ่มอายุตั้งแต่ 25-55 ปี ไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือ ยกเว้นแรงงานในภาคค้า ปลีก/ค้าส่ง ซึ่งจะกระจายมาอยู่ในภาคเกษตร ก่อสร้าง โรงแรม และร้านอาหาร 
 
นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องเพิ่มผลิตภาพไม่ต่ำกว่าปีละ 3-4% หรือทำกำไรเพิ่ม 12% ในช่วง 3 ปีนี้ถึงจะสามารถอยู่รอดจากผลกระทบการขึ้นค่าจ้างได้ 
 
(MSN การเงินการธนาคาร, 23-5-2555)

แรงงานกว่า 200 คน เดินเท้าบุกอนุสาวรีย์ชัยฯ หลังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 
 
24 พ.ค. 55 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจาก จ.นครราชสีมา กว่า 200 คน นำโดยนายเอกรัตน์ พรหมพันธุ์ใจ ได้เดินเท้าจากกระทรวงแรงงาน ถ.มิตรไมตรี มายังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยก่อนหน้านี้ หรือ 3 วันที่แล้วได้เดินทางไปยังอาคารมาลีนนท์ เพื่อร้องเรียนกับสื่อมวลชนมาแล้ว แต่วันนี้ยังไม่มีจุดหมายว่าจะไปยังจุดใด เพราะยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ด้านพ.ต.ท.วิรัช เสือสืบพันธ์ สว.จร.สน.ดินแดง ระบุว่า การจราจรยังไม่มีปัญหาอย่างใด 
 
(มติชนออนไลน์, 24-5-2555)
 
โรงแรมเอวาซอนภูเก็ต เลิกจ้างพนักงาน 400 คน 
 
23 พ.ค. 55 - ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต นายวารินทร์ สิงห์คง รองประธานสหภาพแรงงานภูเก็ตไอซ์แลนด์ พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ ประมาณ 10 คน ได้เข้าพบ นายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาแนวทางยุติปัญหา หลังจาก โรงแรมเอวาซอน ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่มีอายุเปิดดำเนินกิจการมากว่า 30 ปี ได้ประกาศบอกเลิกกิจการ และเลิกจ้างพนักงานกว่า 400 คน เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และในวันนี้ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ได้มีหนังสือเชิญทั้ง 2 ฝ่าย มาพบ และได้ร่วมปรึกษาหารือเพื่อป้องกันปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่า ฝ่ายนายจ้างขอเลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 12 มิ.ย. 2555 โดยที่ให้เหตุผลว่า ไม่สะดวกที่จะเข้าร่วมหารือในวันดังกล่าวเป็นเหตุให้ฝ่ายลูกจ้างนัดรวมตัว กันในวันพรุ่งนี้อีกครั้ง เพื่อเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อหาแนวทางยุติปัญหา โดยประเด็นหลักๆ ที่ฝ่ายลูกจ้าง ต้องการจากนายจ้าง คือ เรื่องค่าตอบแทนพิเศษ ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนตามกฎหมาย และเหตุผลที่นายจ้างต้องเลิกกิจการ และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดด้วย 
 
(ไอเอ็นเอ็น, 23-5-2555)
 
ปธ.สหภาพรถไฟอีสานจวกไม่ปรับปรุงรถจักรดีเซล 
 
24 พ.ค. 55 - นายสาธร สินปุร ประธานสหภาพประธานสหภา?พรถไฟอีสาน แรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็น กรณีหัวรถจักร หมายเลข 4212 ตกรางที่บริเวณหลักเสาโทรเลขที่ 156/2 บ้านน้ำพุใหม่พัฒนา หมู่ 1 ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง นครราชสีมา ว่าคันที่เกิดอุบัติเหตุเป็นรถจักรดีเซล ยี่ห้ออัลสตอม ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส มีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี หากเป็นประเทศอื่นๆ ปลดระวางกันแล้ว หรือนำเข้าไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ 
 
สาเหตุที่เกิดขึ้น สหภาพ ฯ ได้เรียกร้องผ่านรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยให้ปรับปรุง โดยติดตั้งอุปกรณ์เบรกอัตโนมัติ หรือ ปารค์กิ้งเบรก ซึ่งจะทำงานเมื่อระบบเบรกลมขัดข้อง แต่หัวรถจักรรุ่นนี้ ไม่ได้ติดตั้งแต่อย่างใด ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนหัวรถจักร ที่นำมาใช้ลากจูงโบกี้ต่างๆ จึงต้องทนนำมาใช้ หัวรถจักรดีเซล มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 20 ปี จึงเกิดปัญหาเสื่อมสภาพและชำรุดไปตามการใช้งาน มีจำนวนไม่พอเพียงต่อการจัดเดินรถ ซึ่งขบวนหัวรถจักรที่ใหม่ที่สุดของการรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อมาใช้งาน เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เฉพาะขบวนรถไฟสายอีสาน โดยเฉลี่ยวันละ 2 ขบวน จะต้องมีหัวจักรชำรุด เครื่องยนต์ หรือระบบการขับเคลื่อนมีปัญหา 
 
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ขบวนรถที่ 68 รถธรรมดา อุบล ฯ -กรุงเทพฯ เสียอยู่บนราง เขต อ.สีคิ้ว นครราชสีมา เครื่องยนต์ขัดข้อง เสียเวลา 176 นาที และ ขบวนรถที่ 234 รถธรรมดา สุรินทร์ -กรุงเทพ ฯ เครื่องยนต์ขัดข้อง เสียเวลา 186 นาที ผู้โดยสารได้รับผลกระทบ เสียเวลาในการเดินทาง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการคือจัดซื้อหัวจักรใหม่และซ่อมบำรุงหัวรถจักรที่จอด เสียอยู่ที่โรงซ่อมมักกะสัน และ บางซื่อ รวมทั้งโครงการระบบรถไฟรางคู่ ที่ผ่านการอนุมัติของ ครม.แล้ว รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว 
 
(เนชั่นทันข่าว, 24-5-2555)
 
สภาฯ ยานยนต์จี้ขอกำลังสนับสนุนคนงานชินเอ
 
เมื่อ วันที่ 24 พ.ค. 55 - สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์เชิญร่วมสนับสนุน สหภาพแรงงานชินเอ ไฮเทค โดยมีรายละเอียดดังนี้ ...
 
ที่ ส.อ.ย.ท. พิเศษ/2555
 
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
 
เรื่อง เชิญร่วมสนับสนุนสหภาพแรงงานชินเอ ไฮเทค
 
เรียน ประธานสหภาพแรงงาน
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย แถลงการณ์สหภาพแรงงานชินเอ ไฮเทค
 
จาก สถานการณ์เกิดปัญหาพิพาทแรงงานระหว่างสหภาพแรงงานชินเอ ไฮเทค กับบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ มีการเลิกจ้างคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ และขัดขวาง แทรกแซง การดำเนินกิจกรรมสหภาพฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 จนกระทั่งเหตุการณ์บานปลายและขยายวงกว้าง เนื่องจากบริษัทฯ ได้จ้างฝ่ายทรัพยากรบุคคลมาใหม่ (เป็นทนายความ) เพื่อต่อสู้กับสหภาพฯ โดยเฉพาะมีการเลิกจ้าง คณะกรรมการลูกจ้าง ผู้แทนการเจรจา และตักเตือนคณะกรรมการเพิ่มขึ้น เหตุการณ์ได้พัฒนาขึ้น มีการงด O.T. ประท้วง นัดหยุดงาน ที่หน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพฯได้มีการยื่นหนังสือต่อทางผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่ก็ยังไม่ สามารถหาข้อยุติได้ จนสหภาพฯต้องนำเรื่องส่งถึงกระทรวงแรงงาน แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ จนถึงปัจจุบันทางสหภาพฯพร้อมสมาชิกได้รวมตัวชุมนุมกันที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งทางสภาฯ ก็ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด เพื่อให้การต่อสู้รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชน ตามสิทธิอันชอบธรรมของลูกจ้าง 
 
ดัง นั้นเพื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาบรรลุข้อยุติด้วยดี ทางสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ แห่งประเทศไทย  จึงใคร่ขอความร่วมมือมายังทุกท่านเพื่อให้การสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาให้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี
 
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และใคร่ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
 
ขอแสดงความนับถือ
(นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล)
 
เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
 
อนึ่งข้อมูลจากแถลงการณ์สหภาพแรงงานชินเอไอเทคได้ระบุถึงปัญหาที่คนงานโดนกระทำไว้ดังนี้
 
บริษัท ชินเอ ไฮ-เทค จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์โดยการฉีดอลูมิเนียม ส่งให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทุกแบรนด์ทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในสายการผลิตของโตโยต้า  ฮอนด้า อีซูซุ นิสสัน เป็นต้น บริษัทฯได้ตั้งอยู่ในประเทศและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันสามารถขยายสาขา ออกได้จำนวน ๓สาขาใหญ่ๆ ตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ๒โรงงาน และอยุธยาอีก ๑โรงงาน
 
สหภาพ แรงงานชินเอไฮเทค จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘  จากสภาพปัญหาภายในที่พนักงานไม่ได้รับการดูแล เช่น พนักงานระดับปฏิบัติการไม่ได้รับการขึ้นค่าจ้างเลยแม้แต่บาทเดียวนับสิบปี พนักงานซับคอนแทรคจะได้รับสวัสดิการ และโบนัสน้อยกว่าพนักงานประจำ การละเมิดสิทธิพื้นฐานเช่นถูกบังคับให้ทำโอทีใครไม่มาจะออกหนังสือเตือน ต้องทำงานตั้งแต่ ๘.๐๐-๒๐.๐๐น.ทุกวัน ได้หยุดเฉพาะวันเปลี่ยนกะนั้นก็คือได้หยุดแค่เดือนละ ๑วัน ทำให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำเกิดปัญหาครอบครัว และปัญหาสุขภาพ นี่เป็นแค่ตัวอย่างบางเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ ๕ปีที่แล้ว
 
ปี แรกที่มีสหภาพฯก็เกิดการกระทบกระทั้งกันบ้างเพราะทางบริษัทฯยังไม่เข้าใจ หลักการแรงงานสัมพันธ์ ส่วนตัวสหภาพฯเองก็ยังไม่ได้ชี้แจงนโยบายให้ชัดเจน แต่เมื่อประธานบริษัทฯลงมาพุดคุยกับทางสหภาพฯปัญหาทุกอย่างก็คลี่คลายลง  ทั้งสหภาพฯและบริษัทฯก็ดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลตลอดมา เช่นในปีที่บริษัทฯประสบปัญหาเศรษฐกิจปี๕๒ สหภาพฯก็ยื่นข้อเสนอขอลดโบนัสตัวเองเพื่อช่วยประคองโดยทางบริษัทฯไม่ได้ร้อง ขอ  ต่อมาปี๕๓ บริษัทฯเริ่มฟื้นตัวทางสหภาพฯก็ตัดสินใจไม่ยื่นข้อเรียกร้องในปีนั้นเพื่อ เป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน  ต่อมาปี๕๔ เมื่อบริษัทฯฟื้นคืนสภาพปกติทางบริษัทฯก็ตอบแทนน้ำใจแก่สหภาพฯโดยการสนับ สนุนเวลาในการทำกิจกรรมของสหภาพฯ พร้อมทั้งยังมอบเงินสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือน
 
แต่ เมื่อต้นปี ๕๕ นี้ ทางนายจ้างได้จ้างวานคนนอกเข้ามาล้มสหภาพฯ หันมาเป็นศัตรูกับลูกจ้างที่ร่วมสร้างบริษัทฯนี้ขึ้นมา มีการขออำนาจศาลเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้าง ๒ ท่านแต่เมื่อศาลพิจารณาพิพากษายกคำร้อง ทางบริษัทฯกลับไม่ยอมรับการตัดสิน ไม่ยอมรับพนักงานทั้งสองกลับเข้าทำงาน สหภาพฯยื่นข้อเรียกร้องขอปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง ยื่นแก่นายจ้างในวันที่ ๒ เม.ย.๕๕ มีการเปิดการเจรจา แต่ในระหว่างการเจรจานายจ้างได้สั่งพักงานกรรมการสหภาพฯเริ่มตั้งแต่วันที่๙ เม.ย.๕๕ จำนวน๔ท่าน โดยไม่มีการสอบสวนในความผิดที่ตั้งมา และยังข่มขู่ให้สมาชิกสหภาพฯลาออกจากการเป็นสมาชิกภาพ การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ จนในวันที่ ๒๗ เม.ย.๕๕ สหภาพฯแจ้งเจ้าหน้าที่แรงงานขอใช้สิทธินัดหยุดงานตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๒๘ เม.ย.๕๕ เวลา๑๘.๐๐น. เป็นต้นไป สมาชิกสหภาพฯทั้งหมด๒,๐๐๐คน ได้รวมตัวกันนัดหยุดงานและรวมตัวที่ศาลากลาง จ.นครราชสีมา หลังจากการนัดหยุดงานนายจ้างได้ออกคำสั่งเลิกจ้างคณะกรรมการลูกจ้าง กรรมการสหภาพฯ และสมาชิกสหภาพฯ จำนวน๑๗๖คน แล้วยังออกหนังสือข่มขู่พนักงานที่ออกมาชุมนุมอีกคนละ๒๐๐ล้านต่อคน ออกโดยสำนักงานทนายความชัยรัตน์ ทัดเทียม
 
ทาง สหภาพฯได้กำหนดแนวทางไว้สองทางดังนี้ คือ ๑.นายจ้างต้องรับพนักงานทุกคนกลับเข้าทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ  หรือ ๒.เลิกจ้างแล้วจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่ไม่ต้องการกลับ เข้าทำงาน
 
(ประชาไท, 25-5-2555)
 
ยกฟ้อง! คดีคนงานถูกฟ้อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 
 
ศาลยกฟ้องคดีนายจ้างแจ้งข้อหาหมิ่นประมาท ทั้งกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีทำหนังสือร้องเรียน แล้วปรากฏมีการอีเมลถึงองค์การอื่นๆ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยเป็นเพียงผู้ทำหนังสือร้องเรียน และไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นผู้ส่งอีเมล 
 
25 พ.ค.55 - ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ จากกรณีมีการส่งอีเมลหนังสือร้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ โดยศาลเห็นว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าจำเลยเป็นผู้ส่งอีเมลดังกล่าวจริงหรือ ไม่ เพียงแต่ยืนยันได้ว่าเป็นผู้ทำหนังสือร้องเรียน 
 
ทั้งนี้ คดีนี้เป็นคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัท ทีไอจี ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ซึ่งภายหลังการเจรจาไกล่เกลี่ยฝ่ายนายจ้างได้ยอมความโดยถอนฟ้องไป แต่ยังคงเหลือข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความได้ ทำให้ต้องต่อสู้คดีต่อไป 
 
(ประชาไท, 25-5-2555)
 
พนักงานเอวาซอนภูเก็ต ร้องผู้ว่าฯเจรจานายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ 
 
จากกรณีโรงแรมเอวาซอน ภูเก็ต ซึ่งเปิดดำเนินกิจการมากว่า 30 ปี ประกาศเลิกกิจการ และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด กว่า 400 คน ทำให้พนักงานทั้งหมดตกงานทันที เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น 
 
ล่าสุดวันนี้ (24 พ.ค.55) นายสันทัด เสริฐประสิทธิ์ ประธานกรรมการสหภาพแรงงานภูเก็ตไอร์แลนด์ พร้อมสมาชิกฯ 100 กว่าคน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผ่าน ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อช่วยเจรจากับนายจ้างให้จ่ายค่าชดเชยพิเศษนอกเหนือจากทางโรงแรมจ่ายตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 
 
โดยทางสหภาพได้ให้เหตุผลที่ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวว่า เพราะพนักงานส่วนใหญ่อายุงานเฉลี่ย 15 ปีขึ้นไป และอายุเฉลี่ยของพนักงานก็อยู่ระหว่าง 30-50 ปี เป็นส่วนใหญ่ และเป็นตัวหลักในการรับผิดชอบครอบครัว ถึงแม้ว่าทางโรงแรมจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว แต่จากอายุของพนักงานส่วนใหญ่ ที่มีอายุค่อนข้างเยอะ ทำให้มีความยากลำบากต่อการหางานทำใหม่ ดังนั้นทางสหภาพแรงงานภูเก็ตไอซ์แลนด์ จึงได้ขอให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตช่วยเจรจากับนายจ้างให้จ่ายเงินค่า ชดเชยพิเศษ ตามอัตราเงินเดือนสุดท้าย 4 เดือน ให้แก่ลูกจ้างที่มีอายุงานไม่เกิน 10 ปี และให้จ่ายเงิน ค่าชดเชย พิเศษ ตามอัตรา เงินเดือนสุดท้าย 8 เดือน ให้แก่ลูกจ้าง อายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 
 
ด้าน ดร. สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวขณะรับหนังสือว่า ขณะนี้ทราบปัญหาของทุกท่านเป็นอย่างดี และจะทำรายงานถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตดูแลปัญหาความเดือดร้อนให้ 
 
ได้ข้อสรุปอย่างไรจะแจ้งกลับไปทางสหภาพฯ ให้ทราบในทันที อย่างไรก็ตามทราบว่าขณะนี้ทางโรงแรมต่าง ๆ ใน จ.ภูเก็ต ต้องการพนักงานเพิ่มหลายอัตรา ถือว่าเป็นข่าวดีของทุก ๆ ฝ่าย อยากให้ลองไปสมัครเพื่อจะได้ทำงานอย่างต่อเนื่องทันที 
 
ในขณะที่นายพ่วง สองนาม ผู้ช่วยจัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตอนนี้ขอให้ทุกคนไปยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต กรณีคนว่างงาน ซึ่งตนได้ประสานกับฝ่ายบุคคลของโรงแรมอย่างต่อเนื่อง และทราบว่า ส่วนใหญ่ได้เดินทางไปยื่นเอกสารดังกล่าวแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นก็ขอให้ยื่นภายใน 30 วัน 
 
นอกจากนี้ทางกรมการจัดหางานได้ออกประกาศรับสมัครเพื่อจัดส่งคนไทยไปทำ งานประเภทโรงแรมที่มาเก๊า หากใครสนใจสามารถไปลงทะเบียน แจ้งความจำนงได้ เพื่อจะได้มีงานทำเร็วขึ้น และในวันที่ 27 พ.ค.ที่จะถึงนี้ทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตได้จัดกิจกรรมนัดพบแรงงาน ที่ห้างสรรพสินค้าโฮมเวิร์ค ซึ่งจะมีตำแหน่งงานว่างกว่า 1,000 อัตรา ช่วงนี้ ไม่อยากให้ทุกคนต้องกังวลกับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อยากให้ทุกคนช่วยตนเองไปก่อนโดยต้องไปสมัครงานก่อน 
 
(phuketindex.com, 24-5-2555)
 
แรงงานบุรีรัมย์ถูกตุ๋นอันดับ 3 ของประเทศ - เตรียมตั้งศูนย์บริการครบวงจร 
 
นายอิทธิ คงวีระวัฒน์ จัดหางานจ.บุรีรัมย์ บุรีรัมย์ - จัดหางาน จ.บุรีรัมย์ เตรียมตั้งศูนย์บริการไปทำงานต่างประเทศแบบครบวงจร ป้องกันการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ ลดปัญหาเรียกค่าหัวที่ไม่เป็นธรรม หลังพบสถิติแรงงานถูกหลอกมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ ล่าสุดมีแรงงานถูกหลอก 12 ราย สูญร่วม 2 ล้าน 
 
วันนี้ ( 26 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เตรียมจัดตั้งศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศแบบครบวงจร ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกให้กับคนหางาน ที่มีความประสงค์จะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล และรับบริการจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง ณ จุดเดียว ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงจบกระบวนการเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ 
 
โดยจะมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมให้บริการ อาทิ กรมการกงสุลฯ มาให้บริการเกี่ยวกับการทำหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตให้กับแรงงาน , ธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์การเกษตร มาให้บริการด้านสินเชื่อแก่คนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศ , บริษัทจัดหางานเอกชนที่จดทะเบียนถูกต้องในพื้นที่จังหวัด เข้ามาร่วมให้บริการ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มาให้บริการเรื่องการตรวจสุขภาพ และอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้บริการด้วย 
 
นายอิทธิ คงวีระวัฒน์ จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า เชื่อว่าหากมีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวแล้ว จะสามารถลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ให้กับคนหางานที่ต้องการไปทำงานยังต่างประเทศได้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันกลุ่มสาย นายหน้า ที่จะเข้ามาหลอกลวงแรงงาน และยังจะช่วยลดปัญหาการเรียกเก็บค่าหัวที่ไม่เป็นธรรมกับคนหางานได้ในอีกทาง หนึ่งด้วย 
 
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่าจังหวัดบุรีรัมย์มีคนหางานที่ถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศมากเป็น อันดับ 3 ของประเทศ และล่าสุดได้มีแรงงานถูกหลอก 12 ราย รวมมูลค่าความเสียหายร่วม 2 ล้านบาท เจ้าหน้าที่สามารถติดตามจับกุมสาย นายหน้าเถื่อนได้ 6 ราย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-5-2555)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์พันธมิตรฯ: การปฏิรูปประเทศไทย และกำหนดการเคลื่อนไหวต่อไป

Posted: 27 May 2012 05:04 AM PDT

ข้อเสนอหลักการปกครองประเทศ “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” 15 ข้อ โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมนัดหมายชุมนุมหน้ารัฐสภา 30 พ.ค. หยุด พ.ร.บ.ปรองดอง

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 26 พ.ค. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ที่สวนลุมพินี พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3/2555 เรื่อง “การปฏิรูปประเทศไทย และกำหนดการเคลื่อนไหวต่อไป” โดยมีเนื้อหาดังนี้

 

แถลงการณ์ฉบับที่ 3/2555 เรื่อง “การปฏิรูปประเทศไทย และกำหนดการเคลื่อนไหวต่อไป”

ตามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประกาศจุดยืนตามฉันทานุมัติของพี่น้องประชาชนในการเดินหน้าปฏิรูประเทศไทยดังปรากฏตามแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2555 เรื่อง หยุดเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ รวมพลังปฏิรูปประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 นั้น

แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ดำเนินการเดินสายให้องค์ความรู้และข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้เกิดความตื่นรู้ในการรวมพลังในการปฏิรูประเทศไทย ตลอดจนได้ประชุมตลอดจนระดมความคิดเห็นนักวิชาการ นักธุรกิจ และประชาชน เพื่อนำมาสู่ทิศทางการปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดให้ประกาศ “ร่างหลักการปกครองประเทศไทย” เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ในแนวทางของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และให้นำร่างหลักการปกครองประเทศดังกล่าวไประดมความคิดเห็น ทำประชาพิจารณ์ และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ต่อไปดังนี้

ร่างหลักการปกครองประเทศ “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน”

1. หลักการปกครองประเทศต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ : องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

2. หลักการปกครองประเทศต่อความมั่นคงแห่งรัฐ : กองทัพมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณภาพ แห่งเขตอำนาจรัฐ ความมั่นคงของรัฐ และผลประโยชน์แห่งชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย : อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประโยชน์ของประชาชนในทุกวันเวลา ไม่ใช่เฉพาะวันหย่อนบัตรเลือกตั้งผู้แทนประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงมีอำนาจในการตัดสินใจ มีอำนาจในการตรวจสอบ และมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลของรัฐ

4. หลักการถ่วงดุลและตรวจสอบ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่ออำนาจอธิปไตยที่ต้องสามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้จริง โดยให้มีที่มาจากเบ้าหลอมที่แตกต่างกัน และผู้แทนของประชาชนมีความหลากหลายทั้งในมิติทางพื้นที่ มิติทางวิชาชีพ และมิติทางสังคม

5. หลักการปกครองประเทศต่อระบบพรรคการเมือง: ขจัดเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งโดยทุนสามานย์ที่เข้ามาครอบงำประเทศในทุกรูปแบบ และผู้แทนประชาชนไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

6. หลักการปกครองประเทศในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง : การทุจริตต้องไม่มีอายุความ ผู้เสียหายคือประชาชนที่ฟ้องร้องได้ในทุกคดี และการทุจริตให้มีบทลงโทษสถานหนักสูงสุดคือประหารชีวิต

7. หลักการปกครองประเทศเพื่อปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม : ประชาชนสามารถเข้าถึงและพึ่งพิงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง ปฏิรูปอัยการให้ปลอดจากอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ปฏิรูปตำรวจให้ขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลและกระบวนการยุติธรรมต้องถูกตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน

8. หลักการปกครองส่วนท้องถิ่น : กระจายการบริหาร กระจายระบบข้าราชการ กระจายการจัดการและรับผิดชอบประเทศ กระจายงบประมาณสู้ท้องถิ่นโดยตรงอย่างเป็นรูปธรรมโดยปราศจากการสกัดกั้นหรือครอบงำจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจากรัฐบาลส่วนกลาง

9. หลักการอยู่ร่วมกันของคนในชาติ : ประชาชนในประเทศอยู่ด้วยกันอย่างมีภราดรภาพ มีความเป็นพี่น้องกัน มีความเท่าเทียมกันทั้งในศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์

10. หลักการระบบเศรษฐกิจ : ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและงบประมาณของประเทศ

11. หลักการปกครองในโอกาสของระบบเศรษฐกิจ : ให้ประชาชนทุกระดับและทุกท้องถิ่นต้องมีโอกาสและที่ยืนในระบบเศรษฐกิจตามความสามารถและศักยภาพของตนเอง

12. หลักการปกครองเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรของประเทศ : ผู้ที่ได้ใช้ทรัพยากรมากทำลายสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมมาก จำเป็นต้องจ่ายภาษีคืนกลับประเทศมากกว่าผู้ที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าหรือทำลายสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมน้อยกว่า

13. หลักการปกครองประเทศในทรัพยากรธรรมชาติ : ทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นสมบัติของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ต้องมีไว้เพื่อประโยชน์กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศอย่างคุ้มค่าสูงสุด และสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับประเทศอย่างโปร่งใส ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเพียงไม่กี่คน

14. หลักการปกครองประเทศในด้านการศึกษา : ปฏิรูปการศึกษาให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานักเรียนให้ได้สูงสุดตามศักยภาพของเด็กโดยให้ควบคู่ไปกับคุณธรรม และรัฐมีหน้าที่สร้างมาตรฐานกลางและวัดผลมาตรฐานของทุกโรงเรียนในประเทศ

15. หลักการปกครองประเทศในด้านสื่อสารมวลชน : ดำเนินการขจัดความเท็จออกจากสังคม สร้างความจริงให้เกิดขึ้น สร้างพื้นที่และสนับสนุนทั้งนโยบายและงบประมาณให้กับสื่อมวลชนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศอย่างแท้จริง

ภายใต้หลักปกครองประเทศทั้ง 15 ประการข้างต้นนี้ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเห็นสมควรให้ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องต่อไปดังนี้

ประการแรก ให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในแต่ละจังหวัดให้จัดการประชุม เสวนา และประชาพิจารณ์และระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมในหลักปกครองประเทศ และให้หาทิศทางกำหนดหลักปกครองประจำจังหวัด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนของจังหวัดตนเองต่อไป

ประการที่สอง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าบัดนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งได้ยื่นต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตราพระราชบัญญัติปรองดองขึ้น โดยจะเริ่มมีการพิจารณาวาระดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวมีเนื้อหาในการล้างผลความผิดให้กับนักโทษชายทักษิณ ชินวัตรและพวก ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินให้นักโทษชายทักษิณ ชินวัตรมีโทษต้องจำคุกไปแล้ว อันเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ และนิติธรรม อีกทั้งยังละเมิดหลักการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศแล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นเงื่อนไขที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะเคลื่อนไหวชุมนุมอีกประการหนึ่งด้วย

และเนื่องด้วยในการประชุมวาระที่ 1 ที่กำลังจะเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรคัดค้านการดำเนินการดังกล่าว และขอให้ผู้ที่เสนอวาระดังกล่าวถอนวาระดังกล่าวออกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยจะนัดหมายให้มีการตั้งขบวนในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ในเวลา 09.00 น. เพื่อเดินทางไปที่หน้ารัฐสภาต่อไป

จึงขอเรียนเชิญพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียง

ด้วยจิตคารวะ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ณ อาคารลุมพินีสถาน สวนลุมพินี
บนเวทีเมืองไทยรายสัปดาห์ภาคพิเศษ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนาปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ถึงเวลาสามัญชนลุกยืนตัวตรง

Posted: 27 May 2012 04:30 AM PDT

 

 

27 พ.ค. 2555 นักวิชาการผู้ร่วมรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และพวงทอง ภวัครพันธุ์ ร่วมเสวนาหัวข้อปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ในโอกาสปิดการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากดำเนินต่อเนื่องมาทั้งสิ้น 112 วัน โดยมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 39,185 คน

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มาตรา 112- พ.ศ. 2475 จุดร่วมมุมมองแตกต่าง ความเปลี่ยนแปลงบนเหรียญสองด้าน หัว-ก้อย

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวว่า ได้ปรับทุกข์กับอาจารย์นิธิว่าคนวัยเราไม่น่าจะต้องมาอยู่กับนักวิชาการรุ่นใหม่แล้ว แต่เมื่อได้ทบทวนสถานการณ์และบทบาทของตนเองในฐานะนักวิชาการและปัญญาชนแล้ว ในที่สุดก็ตัดสินใจเข้าร่วม จากนั้นได้กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ไทยกับมาตรฐานสากลและกฎหมายหมิ่นมาตรา 112

จากการศึกษาและการสอนวิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยามประเทศไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ขณะนี้สังคมและประชาชนคนไทยเผชิญปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายปี 2475 ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของคณะเจ้าก็กล่าวได้ว่าคณะราษฎรใจร้อนชิงสุกก่อนห่าม แต่ถ้ามองจากเหรีญด้านก้อยก็จะเห็นว่าคณะเจ้านั่นเองที่ล่าช้า อืดอาดไม่ทันโลก

จากการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ทดลองดุสิตธานี รัชกาลที่ 7 ให้ที่ปรึกษาต่างชาติร่างรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่มีการมอบรัฐธรรมนูญเสียที จึงจำเป็นต้องมีการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 

เราจะสามารถปฏิรูปและแก้ไขกฎหมายหมิ่น ม. 112 ได้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ภายในและสังคมระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นเรื่องต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเหรียญด้านหัว-ก้อย กลุ่มอำนาจเดิมกับอำนาจใหม่

โดยชาญวิทย์กล่าวว่า ได้พบการชี้ถึงปัญหา ม.112 ในหนังสือล่าสุดที่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นบรรณาธิการ คือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work

ในหนังสือเล่มดังกล่าวมีอยู่บทหนึ่งที่พูดเรื่องกฎหมายหมิ่น กล่าวว่า จากพ.ศ. 2536-2547 เป็นเวลา 11 ปี จำนวนคดีหมิ่นใหม่ๆ ลดลงครึ่งหนึ่ง และไม่มีคดีหมิ่นเลยในปี 2545 ซึ่งน่าจะเป็นยุคต้นของรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาเร็วๆ นี้จำนวนคดีหมิ่นที่เข้ามาสู่ระบบศาลไทยเพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต ปี 2552 สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ (เป็นปีเดียวกับที่มีปัญหามรดกโลกและเขาพระวิหาร)

นอกจากนั้นยังมีการขยายความว่ากฎหมายหมิ่นของไทยนั้นมีโทษรุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปี โทษขั้นต่ำของไทยเท่ากับโทษสูงสุดของจอร์แดน และสูงกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับในยุโรป ทำให้ราชอาณาจักรไทยในสมัยปัจจุบันมีคดีหมิ่นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเช่นเดียวกัน ข้อความนี้มาจากหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work

ข้อมูลเชิงประจักษ์จากหนังสือเล่มนี้น่าจะเพียงพอที่ทำให้ท่านทั้งหลายจะต้องนำมาพิจารณาเพื่อปฏิรูป ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ต้องพูดถึงอดีตที่ค้างคา รวมถึงคดีอากงที่เสียชีวิตไปแล้วในคุก

ทั้งนี้ข้อเสนอของครก. 112 คณะนิติราษฎร์ และกลุ่มสันติประชาธรรม คนหนุ่มสาว กวี และประชาชนหากสามารถผลักดันให้ผ่านสภา มี ส.ส. ส.ว. ที่มีทัศนะกว้างไกล มีความกล้าหาญทางจริยธรรมทางการเมือง รับลูกที่จะดำเนินการต่อในกรอบของกฎหมาย และกรอบรัฐธรรมนูญ ก็จะช่วยให้สังคมไทยมีสันติสุข และทำให้สถาบันกษัตริย์มั่นคงสถาพร และที่สำคัญคือได้มาตรฐานสากล ดังเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหราชอาณาจักรและยุโปรตะวันตก ไม่ทำให้สถาบันอ่อนแอและล่มสลายอย่างในยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้

จากการศึกษาทางวิชาการพบว่าสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันออก อาจจะรวมหรือไม่รวมญี่ปุ่นที่แพ้สงคราม ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคงเพราะได้ปฏิรูปให้เป็นสถาบันที่ให้พระคุณ กอปรด้วยเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา มากกว่าการใช้พระเดช ที่ข่มขู่ด้วยคุกตาราง ทำให้เกิดความกลัว

เราได้เห็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ ปรีดี พนมยงค์ เหยื่อคดีสวรรคต ร. 8 เหยื่อพฤษภาอำมหิต หรือเหตุการณ์ที่เกิดกับผู้คนชนบท ชายแดนห่างไกลที่ห่างไกลจากคนที่อยู่ในเมืองหลวง

บรรดาอารยะประเทศในยุโรปตะวันตก ส่วนใหญ่ก็มีกฎหมายหมิ่น แต่การบังคับใช้ไม่สาหัสสากรรจ์และพร่ำเพรื่อ และไม่ปล่อยให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ถ้าเราจะรักษาสถาบันประชาธิปไตยให้ควบคู่กับการรักษาสถาบันกษัตริย์ต้องปฏิรูปกฎหมายหมิ่นมาตรา 112 ดูประเทศที่สถาบันกษัตริย์อยู่ควบคู่กับสถาบันประชาธิปไตย และหนีไม่พ้นต้องดูแบบประเทศอังกฤษที่เราเลียนแบบมาแม้แต่คำขวัญ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือแม้แต่เพลงสรรเสริญพระบารมี ในสมัยรัชกาลที่ 4 เครื่องราชย์ฯ การถอนสายบัว นานานัปการ มาจากอังกฤษที่เป็นมาตรฐานสากลของสถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตยซึ่งทำให้รักษาสถาบันกษัตริยไว้ได้ ไม่ใช่ทำให้สถาบันกษัตริย์ขัดแย้งกับสถาบันประชาธิปไตย

สังคมไทยถึงจุดที่กำลังถูกท้าทายอย่างมาก เราต้องไม่ฝืนกระแสโลก ยิ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีการสื่อสารรวดเร็ว การบอกว่าประเทศเราไม่ควรนำไปเปรียบกับสังคมโลก แน่นอนแม้เราจะมีลักษณะพิเศษแต่เราก็อยูในสังคมโลก ถามว่าประเทศส่วนใหญ่ 15 หรือ 30 ประเทศเป็นสถาบันกษัตริย์ ที่เหลืออีก 85 เปอร์เซ็นต์เป็นระบบประธานาธิบดี

ถ้าเราทำให้สถาบันกษัตริย์กับสถาบันประชาธิปไตยขัดแย้งกัน จะทำให้สังคมเรามีปัญหาแน่ๆ แต่ถ้าทำให้อยู่ร่วมกันได้ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นหลายครั้งไม่ว่าจะเป็น 14 ต.ค.2516, 6 ต.ค.2519 พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ ไม่ใช่พฤษภาทมิฬ “ทมิฬ” ที่เป็นผู้สร้างอารยธรรม ทมิฬไม่เกี่ยวอะไรกับราชดำเนินและราชประสงค์เลย ดังนั้นขอให้ยกเลิกคำว่าทมิฬ

ท้ายสุดก็ค่อนข้างเป็นห่วงว่าการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นนี้น่าจะยากเย็นเพราะมีอำนาจเดิมที่เต็มไปด้วยนโมหะและอวิชชาสูงมาก ส่วนพลังใหม่ อำนาจใหม่ก็มีทั้งที่เฉื่อยชา เมินเฉย ได้ดีแล้วทำเป็นวัวลืมตีน บางคนเกี๊ยะเซี๊ยะ บางคนมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ คนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในสังคมชั้นสูงที่ผมจำเป็นต้องพบปะเป็นครั้งคราว คุยทีไรก็บอกเห็นด้วยกับเรื่องการแก้ไขนี้ แต่น้อยคนที่จะกล้าพูดในที่สาธารณะ แสดงความคิดเห็นขีดเขียนเพื่อสังคม ผมจึงเห็นว่าถ้าเป็นอย่างนี้ก็มีโอกาสที่สังคมนี้จะแตกหักไปสู่การนองเลือดเหมือน พ.ค. 53 เกิดกาลียุคดังที่ปรากฏในเพลงยาวพยากรณ์ และบนหน้าบรรณปราสาทเขาพนมรุ้ง เขาพระวิหาร

สังคมไทยเรายังพอมีโอกาสปลดล็อกเงื่อนไขกาลียุคหรือนองเลือดได้ แต่ก็ต้องการผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรมสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในปีกพลังอำนาจเดิม

การปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของสากลโลกใช้คนไม่มากเพียงสิบเพียงร้อยที่จะก้าวมาเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง และต้องได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ที่เป็นตัวจริงของจริง ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศเรามีตัวจริงของจริงจำนวนไม่น้อย มีประชาชนที่หลากหลายจำนวนมากมายมหาศาลทั้งในกรุง ในชนบท อย่างไม่เคยเกิดมาก่อน ที่พร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายหมิ่น มาตรา 112 ที่จะให้สถาบันกษัตริย์อยู่ร่วมกับประชาธิปไตยได้อย่างสงบสันติ เสมอภาค ภราดรภาพ ตามเจตนารมณ์ของการปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิ.ย. 2475 และการปฏิวัติประชาชน 14 ต.ค. 2516

“คบเพลิงของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อศักดิ์ศรีควาเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันได้ส่งต่อมายังประชาชนรุ่นเราท่าน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า 14 ต.ค. 2516 กลางเก่ากลางใหม่-พ.ค. 2535 หรือรุ่นล่าสุด เม.ย.-พ.ค. 2553” ชาญวิทย์กล่าวในที่สุด

 

นิธิ เอียวศรีวงศ์: หกสิบกว่าปีที่ยาวนานมากที่สถาบันกษัตริย์ควบคุม เลือกการปรับตัวได้ แต่คราวนี้ไม่ใช่ มีคนหน้าไพร่ๆ อย่างพวกเราเข้ามาขอมีส่วนบ้าง

หากอยากพูดเรื่องการปรับปรุงสถาบันกษัตริย์ ก็คงต้องใช้สติอย่างเต็มที่ในการอภิปรายอย่างระมัดระวัง เรื่องนี้น่าเศร้าไม่ใช่เรื่องน่าขำ เราอยู่ในอาณาจักรไรซ์ที่3 หรือโซเวียตกันแน่ ผมคาดว่าในฐานะคนที่มีลูกมีหลานที่จะต้องมีชีวีตอยู่ในประเทศนี้ต่อไปมันน่าเศร้ามากๆ เพราะโซเวียตได้ล่มสลายไปแล้ว

เราได้ยินเสมอมาว่าสถาบันกษัตริย์ไทยดำรงอยู่มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยถึงบัดนี้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ผมอยากถามว่าคุณบ้าหรือเปล่าเพราะไม่มีสถาบันใดในโลกนี้ที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ปรับเปลี่ยน แม้แต่ตัวเราเองก็ต้องปรับเปลี่ยน โดยคนอื่นเปลี่ยนแปลงเราบ้างหรือเปลี่ยนโดยเรานึกได้แล้วปรับตัวเองบ้าง ดังนั้นสถาบันอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้ต้องถูกเปลี่ยนเสมอ ไม่เช่นนั้นก็อยูไม่ได้

ย้อนกลับมาที่สถาบันกษัตริย์ไทยใน 100-200 กว่าปีที่ผ่านมา มีวิกฤตหลายครั้งที่สถาบันต้องชิงปรับตัวเอง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของสถาบันในการสถาปนาอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดเหนือขุนนางทั้งส่วนกลางและภูมิภาค และเหนือพระ ให้ต้องอยู่ใต้อำนาจอาณัติบัญชาของการเมือง

ความล้มเหลวครั้งสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตย รัชกาลที่ 7 ก็คิดว่าจะตั้งนายกฯ แต่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ก็บอกว่าจะตั้งไปทำไม ถ้าตั้งนายกฯ เขาก็ด่านายกฯ แทนท่าน เพราะท่านเป็นคนตั้งนายกฯ ไปบอกให้ฝรั่งเขียนรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่กล้าประกาศ ไม่ทันการณ์ตลอดเวลา ผลจึงเกิด 2475 หลังจากนั้นฝ่ายสถาบันกษัตริย์ที่ไม่ได้หมายถึงกษัตริย์องค์เดียว แต่หมายถึงเจ้านายทั้งหลายก็พยายามทุกวิถีทาง เช่น อยู่ๆ นายกฯ ประกาศปิดสภา ทั้งๆ ที่อยู่ในสมัยประชุม ง่ายๆ คือรัฐประหารโดยมีพระปรมาภิไธย รัชกาลที่ 7 รับรองการรัฐประหารนั้นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเกิดกบฏบวรเดช ซึ่งหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่าอย่างน้อย รัชกาลที่ 7 ทรงรู้เห็นมาก่อน และไม่ได้เตือนรัฐบาลว่าจะเกิดการรัฐประหาร ช่วงเวลาดังกล่าวที่ความพยายามที่จะชิงอำนาจกลับคืนมา ถือว่าเป็นความพยายามปรับตัวแต่ไม่สำเร็จ

หลังจากปี 2476-2490 เป็นครั้งแรกที่สถาบันกษัตริย์ถูกปรับตัวโดยคนอื่น คนอื่นบังคับให้ต้องปรับ มีรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย พ.ศ. 2489 ที่ร่างขึ้นโดยสถาบันกษัตริย์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ก่อนหน้านั้นเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะหลายๆ มาตราด้วยซ้ำไป ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ฝ่ายสถาบันกษัตริย์ที่ประกอบด้วยเจ้านายหลายพระองค์ ขุนนางและนายทุนที่ได้รับเงินกู้จากพระคลังข้างที่  หมดกำลังอย่างสิ้นเชิง

การเคลื่อนไหวเพื่อแก้มาตรา 112 เป็นเวลาอันเหมาะสมที่ อ.ชาญวิทย์กล่าวว่าสถาบันกษัตริย์ต้องปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ที่ อ.ชาญวิทย์พูดว่า “เห็นด้วยๆ” นี่ เขาเห็นด้วยจากใจจริง แต่ปัญหาคือใครจะเป็นคนปรับ เพราะนี่เป็นครั้งแรกของความเคลื่อนไหวในสังคมไทยหลัง พ.ศ. 2476-2490 ที่คนหน้าตาไพร่ๆ อย่างพวกเรามีส่วนร่วมในการปรับ และสิ่งนี้ต่างหาก ท่าทีอันนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ เพราะจากช่วงเวลา พ.ศ. 2476-2490  ก็ 60 กว่าปีที่ยาวนานมากที่สถาบันกษัตริย์ควบคุม เลือกการปรับตัวได้ แต่คราวนี้ไม่ใช่ มีคนหน้าไพร่ๆ อย่างพวกเราเข้ามาขอมีส่วนบ้าง กรณีที่อ.เวรเจตน์โดนชกไม่ใช่เรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องคนดีคนเลว แต่เพราะท่าทีที่บังอาจถึงขนาดที่จะเป็นผู้หนึ่งที่จะปรับเปลี่ยนสถาบันกษัติย์ อันนี้ต่างหากที่เขารับไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่พวกเราต้องรับต่อไป อาจจะไม่ใช่กำปั้นโดยตรง แต่เราทุกคนจะต้องโดนอย่างเดียวกับที่อ.วรเจตน์โดน เพราะคุณกำลังทำสิ่งที่มันท้าทายต่ออำนาจที่ดำรงอย่างค่อนข้างยืนนานในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ไม่มีหนทางเรียบง่ายหรือสบาย อะไรจะเกิดก็ต้องพร้อมยอมรับมัน 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ คือสัญญาณว่าสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า การเกิดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมีสัญญาณชัดเจนว่าประชาชนสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง และความพยายามนี้หลายคนยังรับไม่ได้ อย่างที่อ.นิธิได้กล่าวมา ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 15 ม.ค.55 ที่ผ่านมาเขาได้นั่งอยู่บนเวทีนี้และอธิบายตัวร่างแก้ไขมาตรา 112 โดยหวังว่าคนที่ไม่เข้าใจจะเปิดใจรับฟัง เมื่อย้อนรำลึกกลับไป หลัง 15 ม.ค. สัก 1 สัปดาห์ก็ยังไม่เป็นข่าวใหญ่  แต่เริ่มเป็นข่าวเพราะว่าหนังสือพิมพ์ไปเสนอเรื่องนิติราษฎร์เสนอให้กษัตริย์ต้องสาบานตนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และปิยบุตร แสงกนกกุล เสนอเรื่องกษัตริย์ไม่ควรมีพระราชดำรัสสด จากนั้นกระแสข่าวก็โหมโจมตีคณะนิติราษฎร์อย่างรุนแรง และทำให้ 112 ได้รับรู้สู่สังคมวงกว้างขึ้น

วรเจตน์กล่าวว่าเมื่อเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เข้าสู่ความรับรู้ของสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาที่ตัวเขาค่อนข้างมาก และแม้ทางเดินจะยาวก็ต้องเดินต่อไป สำหรับวันนี้เป็นจุดที่น่าดีใจที่มีรายชื่อเพียงพอ และเมื่อประชาชนพยายามลุกขึ้นยืนแล้วก็ต้องยืนให้ได้ ยืนให้ตรง และการเสนอร่างแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ต่อสภา ต่อเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน

“คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยคือว่ามันจะประสบความสำเร็จไหม ผมคิดว่าเราหลายคนในที่นี้ก็รู้แก้ใจว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เรากำลังพยายามพูดถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในสังคมไทย 112 เป็นประเด็นที่สาธารณชนต้องพูดถึงต่อไป ท่าทีของนักการเมืองนั้นเห็นอยู่แล้วว่าไม่ประสงค์จะแก้ไข พรรคที่เป็นรัฐบาลก็ปฏิเสธการแก้ไขอย่างเด็ดขาด หลายคนก็สงสัยว่าแล้วจะทำไปทำไม เพราะโอกาสที่จะผ่านสภาคงมีไม่มาก ผมเรียนว่าความสำเร็จนั้นเป็นคนละเรื่องกับความพยายาม เราพยายาม ความสำเร็จเป็นเรื่องในอนาคต ผมรู้สึกว่าการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ผมรู้สึกว่าอาจจะช้าเกินไปแล้ว หรืออาจจะสายเกินไปแล้ว แต่ว่าแน่นอน นี่เป็นสิ่งที่ฝ่ายชนชั้นนำควรต้องประเมินว่าความรู้สึกของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วในกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

“มาตรา 112 คงเป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งทำให้การทำงานทางวิชาการเป็นไปได้ยากลำบาก โอกาสที่พัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าก็ไม่ง่าย โอกาสที่จะแก้ไขหรือปฏิรูปหรือยกเลิกเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ใช่แค่เรื่องนักโทษที่เป็นลำดับแรกที่เราคำนึงถึง แต่รวมถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปด้วย ตลอดระยะเวลา 112 วันผมเฝ้ารอคอยการโต้เถียงอย่างเป็นอารยะจากฝ่ายที่เห็นว่ามาตรา 112 ควรดำรงอยู่ต่อไป ทุกครั้งที่มีจดหมายมาถึงผม ผมหวังว่าจะได้เห็นความเห็นที่แตกต่างอย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่ 112 วันผ่านไป ผมไม่พบความเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลทั้งในที่สาธารณะและในที่ส่วนตัว ว่าทำไม 112 จึงแก้ไม่ได้”

วรเจตน์กล่าวว่าข้อโต้แย้งที่มักพบคือกฎหมายนี้มีมานานแล้ว ซึ่งจริงๆ กฎหมายมาตรานี้มีปัญหาอย่างน้อยที่สุดในทางหลักการ และทางทฤษฎี และมีคนได้รับความเดือดร้อนจริงๆ จึงไม่สามารถปฏิเสธปัญหาของมาตรานี้อีกต่อไป

“ผมคิดว่าวันนี้การเมืองไทยมาถึงทางแยกที่สำคัญ ปรากฏการณ์ 112 จะเป็นปัจจัยสำคัญ มีหลายคนที่ผมคิดว่าเขาอยู่ใกล้ผม แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้เขาอยู่ห่างจากผมมาก แต่บางคนในความมืด ผมไม่เคยคิดว่าเขาอยูใกล้ผม ผมก็พบว่าเขาอยู่ใกล้ๆ ผมนี่เอง”

ถึงทางแยก 112 vs ปรองดอง จะเดินต่อบนหนทางประชาธิปไตย หรือจะแยกไปเส้นทางอื่น

วรเจตน์กล่าวว่า ความพยายามเสนอเรื่องนี้ด้วยใจบริสุทธ์และซื่อตรงนี้อาจจะสร้างความขุ่นเคืองใจขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการเมืองอาจจะประเมินเรื่องเหล่านี้ต่ำเกินไป ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นวันนี้จะละเลยเรื่อง 112 ไม่ได้ อำนาจไม่ได้อยู่ในมือชนชั้นนำไม่กี่คนอีกต่อไปแล้ว แม้แต่หมู่คนเสื้อแดงด้วยกันเอง อำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณที่มีต่อการชี้ประเด็นต่างๆ นั้นอาจจะไม่เพียงพอ เมื่อพูดถึง 112 ตอนนี้สังคมไปไกลมากแล้วและดำเนินมาถึงทางแยกสำคัญ หลังจาก 29 พ.ค. นี้ที่เสนอต่อสภา ก็คงตามมาด้วยพ.รบ.ปรองดอง สองเรื่องนี้เมื่อรวมกันเข้าก็แยกคนออกว่าใครจะเดินต่อไปบนเส้นทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ใครจะเดินไปบนเส้นทางอื่น ซึ่งก็ยากที่จะเดินร่วมกันไปได้ ที่สุดต้องตัดสินใจ จำนวนคนที่เดินไปในทางนี้อาจจะไม่มาก แต่คงจะมากขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนตัวผมเองอยากจะขอบคุณหลายคนที่สร้างปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ขึ้นมา ท่านหนึ่งที่ผมอยากจะเอ่ยคือ อาจารย์สมศักดิ์ [เจียมธีรสกุล] ที่ได้แสดงความเป็นห่วง แม้ความเห็นจะแตกต่างกัน แต่ท่านเป็นคนหนึ่งที่ทำให้การอภิปรายเรื่องนี้มีวิตชีวาในหมู่นักวิชาการทั่วไป ผมได้รับกำลังใจจากคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่เคยคิดว่าจะมาอยู่ในจุดที่นำในทางความคิดในลักษณะแบบนี้ แต่ผมเชื่อว่าความคิดนี้ได้เข้ามาสู่สังคมแล้ว และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะขยายออกไป

“การรณรงค์เรื่องนี้คงไม่สำเร็จในเร็ววัน กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องจะต้องดำเนินต่อไป จากนี้ถ้าใครด่าผม ผมอาจจะทำข้อสอบปรนัย 10 ข้อ ถ้าผ่านก็มีสิทธิด่าผมได้ แต่ถ้าไม่ผ่านก็อยากให้ไปทำความเข้าใจเสียก่อน แล้วค่อยมาด่าต่อไป”

“เราพยายามลุกขึ้นยืนตรง และเรายืนตรงคนเดียวไม่พอ เราต้องพยายามชวนคนในสังคมให้ลุกขึ้น มีคนจำนวนไม่น้อยพอใจที่จะนั่งพับเพียบต่อไป เราอาจจะต้องบอกกับเขาว่านั่งพับเพียบนานๆ มันเมื่อย และอธิบายให้เขาเข้าใจถึงการยืนตัวตรง และในที่สุดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จะได้เปลี่ยนสังคมไทย ปรับทัศนะสถาบันกษัตริย์ ศาล และกองทัพให้อยู่ร่วมกันได้โดยสันติและปลดวงจรความสูญเสียเสียที”

วรเจตน์กล่าวถึงข้อกล่าวหาว่าการแก้ไขมาตรา 112 จะทำให้คนด่าเจ้าได้โดยอิสระนั้น เขาเห็นว่าการเปิดโอกาสให้คนได้วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตจะลดทอนอารมณ์เช่นนั้นออกไป เหมือนรูระบายให้แก่กาน้ำที่กำลังเดือด และเขาย้ำว่า การแก้ไขมาตรา 112 ในเวลานี้อาจจะช้าเกินไปแล้วด้วย

 

ถาม-ตอบ

 ถาม  กษัตริย์มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่

วรเจตน์: ปกติเราอธิบายว่ากษัตริย์มาจากการสืบสันตติวงศ์ แต่ถ้ามาจากการเลือกตั้งก็จะเป็นประธานาธิบดี ไม่ใช่ราชอาณาจักรแล้ว แต่มีกรณีที่กษัตริย์มาจากการเลือกได้ เป็นการเลือกในหมู่ราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมา แต่ที่มาจากประชาชนไปลงคะแนน ระบอบแบบนี้ไม่มีอยู่เพราะระบอบกษัตริย์ใช้ระบบการสืบสันตติวงศ์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาตลอดเวลาที่มีการเปลี่ยนรัฐเข้าสู่รัฐสมัยใหม่

ถาม กษัตริย์ไม่รับรองการรัฐประหารได้ไหม

วรเจตน์: ท่านคิดว่าได้หรือไม่ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ขอตอบว่าในประเทศสเปนเคยมีกรณีกษัตริย์ไม่รับรองการรัฐประหาร แต่ถ้าพูดกันทางหลักการ เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสุ่มเสี่ยง โดยกษัตริย์สเปนถือว่ามีหน้าที่ต้องพิทักษ์รัฐธรรนูญและนี่เป็นเหตุผลอันหนึ่งที่นิติราษฎร์เสนอว่าก่อนขึ้นครองราชย์ให้กษัตริย์ปฏิญาณ หรือแสดงออกว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าประมุขของชาติ รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระองค์พิทักษ์รัฐธรรทนูญไว้ ต่อมาเมื่อทหารคิดจะทำรัฐประหารจะไปกำหนดให้พระมหากษัตริย์ ลงนามก็ทำให้กษัตริย์ต้องทรงฝ่าฝืนคำปฏิญาณ ผมตอบได้เท่านี้

ถาม กษัตริย์มาจากสามัญชนได้ไหม

ชาญวิทย์:  ต้องตอบด้วยวิชาประวัติศาสตร์ เพราะถ้าไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็เหมือนตาบอดข้างหนึ่ง แต่ถ้าเชื่อประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการก็ตาบอดสองข้าง คำถามนี้ ถ้าดูประวัติศาสตร์ ก็ต้องตอบแบบ น.ม.ส. ว่า “อันผู้ดีมีมาแต่ไหนแน่ สืบไปแน่แท้ก็คือไพร่” จักรพรรดินโปเลียนที่สถาปนาพระองค์ขึ้นมายิ่งใหญ่มาก ก็มาจากสามัญชน

สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระเจ้ากรุงธนบุรี พระพุทธยอดฟ้ารัชกาลที่ 1 คือต้องเริ่มต้นจากเป็นสามัญชนทั้งนั้น เพียงแต่ว่าโลกในอดีต โลกสมัยเก่าสามารถสถาปนาราชวงศ์ใหม่ได้ แต่ปัจจุบันโลกสมัยใหม่เป็นไปไม่ได้แล้ว โลกสมัยใหม่ไม่สามารถมีราชวงศ์ใหม่ๆ ได้ ล่าสุดไม่กี่สิบปีนี้ที่อังกฤษสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ในตะวันออกกลาง เดิมเป็นหัวหน้าเผ่าเล็กๆ เช่นซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน สวาซิแลนด์ เลโซโธ เป็นต้น

ปัจจุบันถ้าดูสถิติจากบทความที่เกษียร เตชะพีระ แปลจากงานของเบน แอนเดอร์สัน ก็จะมีรายชื่อสถาบันกษัตริย์อยู่ราว 27-30 ประเทศ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของสหประชาชาติ ที่ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศ

โดยชาญวิทย์กล่าวว่าปัจจุบันนี้โลกไม่ยอมรับราชวงศ์ใหม่ๆ แล้ว ที่จะมีผู้ปกครองโดยคนๆ เดียว

ถาม อาจารย์นิธิคิดอย่างไรกับ พ.ร.บ. ปรองดอง

นิธิ: ขอตอบสั้นๆ ว่าไม่เห็นด้วย แต่เมื่อถามว่าความเป็นไปได้ในทางการเมือง จะปลดปล่อยผู้กระทำผิดสังหารประชาชน เราจะต่อต้านอย่างไร ก็สารภาพว่าตันมากๆ แต่แน่นอนจะไม่ไปร่วมกับพธม. ในการต่อต้าน ขณะที่เราต้องการพลังในการที่จะควบคุมนักการเมืองไว้ต่อไปให้ได้ ฉะนั้นก็ตอบไม่ได้

และคิดว่าประชาชนเล่นการเมืองเรื่องการเลือกตั้งน้อยเกินไป เราต้องคิดให้ดีว่าเราจะใช้การหย่อนบัตรเพื่อคุมนักการเมืองอย่างไร นักการเมืองส่วนใหญ่เลวทั้งนั้น แต่เราอย่าเกลียดคนเลว คนดีที่คุมไม่ได้อันตรายกว่าคนเลว ปัญหาของเราคือต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำสร้างองค์กรและขบวนการที่ประชาชนอย่างเราสามารถคุมคนชั่วได้ และหนึ่งในการคุมคนชั่วก็คือมีการเลือกตั้ง เราต้องกลับมาคิดเรื่องนี้ให้ดีว่าทำอย่างไรจะคุมนักการเมืองได้

ประเด็นที่สอง เป็นความจริงที่ว่าทุกราชวงศ์ในโลกนี้กลัว ไม่ว่าราชวงศ์ใดก็แล้วแต่ถ้าคุณพบว่าเลิกไปล้มไปก็จะไม่เกิดราชวงศ์ใหม่อีก พูดง่ายๆ ก็คือตัวระบบมันอยู่ไม่ได้อีกแล้วในโลกปัจจุบันนี้ และความรู้อันนี้ผมคิดว่าสำหรับเราประชาชนไม่ได้สนใจเท่าไร แต่สำหรับคนที่อยู่ในราชวงศ์เขารู้ดี และเขารู้ดีนี่แหละที่น่ากลัว

นิธิกล่าวถึงฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องควีนส์ กรณีท่าทีของราชวังต่อการตายของเลดี้ไดอานา หลังจากที่รัฐบาลบอกร้อยแปดว่าไดอานานั้นมีคนรักมาก คนเริ่มออกมารำลึก วางดอกไม้ไว้อาลัย แล้วราชวังจะยังเฉยอยู่ไม่ได้ ที่สุดแล้วรัฐบาลก็ถวายคำแนะนำแนวทางปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่าในสังคมประชาธิปไตย อำนาจจะงัดกันไปมา แต่ที่สุดแล้วต้องมีอำนาจหนึ่งที่เป็นสุดยอดที่จะตัดสินและผู้มีอำนาจนั้นก็คือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่แทนที่จะเป็นคำสั่งก็เป็นการถวายคำแนะนำให้ปฏิบัติ

นิธิกล่าวว่า มีนักวิชาการรายหนึ่งอธิบายว่า ก่อน 24 มิ.ย. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ หลัง 24 มิ.ย. อำนาจธิปไตยกลับมาเป็นของประชาชน ทำให้หลังรัฐประหารอำนาจคืนมาสูกษัตริย์นี่ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหาร แต่จริงๆ แล้ว  24 มิ.ย 2475 ร. 7 ได้ลงพระนามในฐานะพระมหากษัตริย์ไทยรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นการผูกมัดกษัตริย์ทุกพระองค์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสียงสะท้อน ญาติผู้ต้องขัง-คนทำงานรณรงค์ในพื้นที่

Posted: 27 May 2012 03:11 AM PDT

ครอบครัวผู้ต้องขังม. 112 มองนักโทษ-ผู้ต้องหาได้รับการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ทั้งในกระบวนการยุติธรรมและการรักษาพยาบาล ในขณะที่นักวิชาการร่วมรณรงค์ระบุ ได้เสียงตอบรับการรณรงค์แก้ไขม. 112 ในภูมิภาคเป็นอย่างดี

 27 พ.ค.55 ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในเวที บันทึก 112 วันแก้ไข ม.112 จัดโดยคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ในช่วงเสวนา “เสียงจากเหยื่อ” มีการอภิปรายประสบการณ์ต่อกระบวนการยุติธรรมจากครอบครัวของผู้ต้องขัง-ม. 112 โดยชี้ว่าได้รับการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานทางมนุษยธรรมทั้งตั้งแต่กระบวนการจับกุม คุมขัง ไปจนถึงสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล 

ในวงเสวนา “อ้อมกอดและกำปั้น  112 วัน ของการรณรงค์” เวียงรัฐ เนติโพธิ์  อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬา หนึ่งในครก.112 เป็นพิธีกรดำเนินรายการ โดยกล่าวว่า การณรงค์เรื่องนี้ไปในหลายจังหวัด ไม่ว่า ราชบุรี ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พิษณุโลก ระยอง พัทลุง เป็นต้น โดยมีนักวิชาการ นักเขียน นักคิดไปร่วมเวทีย่อยในจังหวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเวทีดังกล่าวจัดโดยเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าชื่อแก้ไขกฎหมายนี้

ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวว่า กระบวนการจับกุมตัวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยในกรณีของนายสุรชัย ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 54 ในขณะเดินทางกลับบ้านหลังจากเสร็จสิ้นจากกิจกรรมปราศรัยที่สนามหลวง ราวเวลาตีหนึ่ง มีตำรวจในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบราว 10 คน พร้อมอาวุธครบมือ ได้ดักจับบริเวณที่พักของคนรู้จัก แต่หลังจากที่ขัดขืนไม่ยอมให้ควบคุมตัว ภายหลังจึงถูกตำรวจนำตัวไปส่่งยังสน. โชคชัย ต่อมาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 5 คดี จากสน.ในอุดรธานี ราชบุรี เชียงใหม่ ที่ชนะสงครามและโชคชัยในกรุงเทพฯ โดยล่าสุดถูกตัดสินลงโทษ 20 ปี หลังจากรับสารภาพจึงลดลงเหลือ 10 ปี 

ปราณีเล่าว่า หลังจากที่สามีของเธอถูกคุมขังตัวในเรือนจำ ก็ทราบว่าสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำค่อนข้างแย่มาก โดยห้องขังมีสภาพแออัด เนื่องจากผู้ต้องขังจำนวนมากไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อต่างๆ ทำให้ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วเช่นอากง ซึ่งเป็นโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย มีอาการเจ็บป่วยแย่ลงจนสุดท้ายต้องเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ห้องน้ำของนักโทษก็มีเพียงสองห้อง ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนนักโทษราว 50 กว่าคนต่อหนึ่งแดน ซึ่งนับว่าไม่เพียงพอ 

ในแง่ของการรักษาพยาบาล เธอเล่าว่า โรงพยาบาลประจำที่เรือนจำ มีแพทย์ประจำเพียงสองคน โดยแต่ละคนมีเวรการรักษาเพียงรอบละสองชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ประกอบกับคุณภาพอาหารของนักโทษในเรือนจำที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้นักโทษไม่ได้รับคุณค่าโภชนาการอย่างเพียงพอ ซึ่งเธอมองว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักโทษเจ็บป่วยมากขึ้น 

รสมาลิน ภรรยาของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” กล่าวว่า ก่อนที่อากงจะถูกจับ ทางอากงและครอบครัวไม่ทราบมาก่อนเลย เธอกล่าวว่า อยู่ดีๆ ก็มีตำรวจพร้อมสื่อมวลชนจำนวนมากเข้ามาบุกจับ

“ดิฉันไม่รู้เลยว่าการโบกมือวันที่ 3 พ.ค. 55 จะเป็นการโบกมือครั้งสุดท้ายของเขา จากนั้นเราก็จากกันและเราก็ไม่ได้เจอกันอีก อยากจะบอกกับสังคมว่า อยากจะให้สังคมมองนักโทษไม่ว่าเขาจะโดนคดีไหน เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเรา อยากให้เห็นอกเห็นใจและโปรดให้เขาได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่เขาพึงมื 

“สามีอยู่ในเรือนจำ ภรรยามีนรกอยู่ในใจ” ภรรยาอากงกล่าว  

ด้านสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีม. 112 กล่าวว่า ก่อนหน้าที่สมยศจะถูกจับกุม ก็พอทราบมาแล้วว่าเขากำลังถูกจับตามองจากทางการ เนื่องจากก่อนหน้านี้สมยศเคยถูกจับกุมแล้วด้วยพ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาแล้ว โดยหลังจากที่เขาถูกจับกุมตัวบริเวณด่านอรัญประเทศ ในขณะที่เดินทางออกไปยังประเทศกัมพูชา ก็ถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำ โดยยังไม่ได้รับการประกันตัวแม้แต่ครั้งเดียว 

เธอมองว่า การจับกุมตัวสมยศ เป็นกรณีที่ถูกทางการปฏิบัติอย่างไร้หลักมนุษยธรรม เพราะนอกจากจะถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวแล้ว เขายังถูกกล่าวหาว่าพยายามหลบหนีด้วย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ มาพิสูจน์   

นอกจากภรรยาของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาม. 112 ได้มาร่วมกล่าวในวงอภิปราย “เสียงจากเหยื่อ 112” แล้ว ยังมีบิดาของนายสุริยัน (สงวนนามสกุล) หรือ “หมี” ได้มาเล่าประสบการณ์ของตนเองด้วย โดยสุริยันเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่ถูกตัดสินจำคุก ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 6 ปี 1 เดือน แต่ในภายหลังลดเหลือ 3 ปี 15 วันเนื่องจากรับสารภาพว่าส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง โดยบิดาของสุริยันกล่าวว่า ช่วงแรกๆที่นายสุริยันถูกคุมขังในเรือนจำนั้น เขามีอาการกลัวถูกทำร้าย และมีอาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ด้วย แต่ยังคงให้กำลังใจลูกชาย พร้อมทั้งกล่าวว่า ตนมุ่งหมายจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป 

ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่ถูกจับกุมในข้อหาม. 112 และพ.ร.บ. คอมพ์ เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2552-2555 เนื่องจากเผยแพร่ลิงก์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง และในขณะนี้ถูกปล่อยตัวแล้ว มาร่วมบอกกล่าวประสบการณ์ด้วย 

นักวิชาการครก. 112 ปันประสบการณ์ “อ้อมกอด” และ “กำปั้น”

สุดา รังกุพันธ์  เล่าว่า วันที่ตัดสินใจร่วมกับ ครก.112 ตัดสินใจยาก เพราะปวารณาตัวช่วยเหลือพี่น้องเสื้อแดงในฐานะนักวิชาการเสื้อแดง ในขณะที่ท่าทีของผู้รักประชาธิปไตยเองก็มีความคิดหลากหลาย โดยเฉพาะองค์กรหลักอย่าง นปช. ก็มีท่าทีชัดเจนว่าไม่ร่วมในการเข้าชื่อแก้ไข มาตรา 112 จตุพร พรหมพันธ์ ก็บอกให้รอเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก่อน แต่เราก็รอไม่ได้ เราไม่อยากให้มีผู้เสียชีวิตในเรือนจำด้วยมาตรานี้เพิ่มอีก  

สุดา ตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลังจากมี ครก.สัญจรไปต่างจังหวัดทำให้พบความประหลาดใจมาก เพราะมีแต่สนับสนุนการแก้มาตรานี้ มีแต่ขอเวทีเพิ่มตลอดเวลา เชื่อมั่นว่าถ้ามีการทำประชามติ มาตรานี้ก็ต้องได้รับการแก้ไขอย่างแน่นอน

วาด รวี เล่าว่า  การตระเวนหลายจังหวัดทำให้ปรากฏการณ์ที่คนธรรมดาทั่วไปตื่นตัวสิทธิทางการเมืองอย่างสูง รู้สึกว่าสิทธิเขาถูกละเมิด เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้ชนชั้นนำ คนมีอำนาจ เริ่มต้องตีความอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชนใหม่ ไม่น่าจะมองแบบที่ผ่านมา การจะมองข้ามหัวประชาชนแล้วคุยกันเองคงเป็นไปได้ยากขึ้นทุกที ถ้านักการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสำนึกประชาชนนี้ ว่าเขารู้สึกจริงๆ แล้วว่าเขาเป็นเจ้าของประเทศ พรรคการเมืองที่เป็นพรรคที่ประชาชนเลือกมา และเขาปกป้อง แต่เขาเริ่มรู้สึกเรื่อยๆ ว่าไม่ใช่พรรคของเขามากขึ้นทุกทีๆ มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างสำคัญ 

วาด รวี กล่าวอีกว่า เคยนำเสนอเรื่องนี้ในวงเอ็นจีโอเสื้อเหลือง อธิบายกันจนเข้าใจและเห็นร่วมกันว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่สุดท้ายก็สรุปว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยก็ใช้ว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ตลอดเวลาที่รณรงค์ หากมองย้อนกลับไปที่ 15 ม.ค.ที่เริ่มการรณรงค์ ย้อนไปตอนที่นิติราษฎร์เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ย้อนไปถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถูกดำเนินคดี เราจะเห็นความพร้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น เวลากำลังมาถึงเรื่อยๆ พร้อมๆ กับความเข้าใจของประชาชน แต่พอถึงเวลาจริงๆ คนที่จะไม่รู้ตัวคือคนที่มีอำนาจ

ปิยบุตร แสงกนกกุล ในการออกต่างจังหวัดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องมาตรานี้กับประชาชน  ตอนแรกกังวลใจเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แต่สุดท้ายก็ไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม ตอนตั้ง ครก.คิดว่าน่าจะได้ถึงแสนชื่อ  เพราะดูปฏิกิริยาของประชาชนตลอดสองสามปีที่พูดว่า “ตาสว่าง” นั้นมีจำนวนเยอะมาก จนกระทั่งนักการเมืองหลายคนออกมาเบรคว่า ต่อให้ร่างนี้เข้ามาในสภาก็ไม่มีใครยอมรับ ผ่านไปหนึ่งเดือนจึงพบว่าได้เพียงพันรายชื่อเศษๆ เท่านั้น และทีมรณรงค์ในพื้นที่ก็สะท้อนว่ามีความไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายด้วย เพราะกลัวโดนคดีฯ เราจึงลงไปในพื้นที่ด้วย และได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับประชาชนในพื้นที่ เช่น หลายคนยังกังวลว่าเรื่องนี้อาจทำให้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาถูกทำรัฐประหารอีก แต่ตนมองต่างไปเพราะดูจากสภาพการณ์แล้ว ไม่น่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพราะชนชั้นนำทั้งสองข้างไม่พร้อมจะมีรัฐประหารอีกแล้ว ต้นทุนสูงเกินไป เป็นต้น 

ส่วนเรื่องกำปั้น กรณีของผมต่อเนื่องจากการพูดที่จุฬาฯ กรณีพระราชดำรัส แล้วยังมาเรื่องครก.อีก ซึ่งก็ได้รับจดหมายในการต่อต้าน ติเตียน กระทั่งดูหมิ่นหยาบคาย หรือมีลักษณะข่มขู่ เช่น ตัดรูปของตนเฉพาะส่วนหัวใส่ซองจดหมายมายังคณะ  พร้อมอ่านตัวอย่างจากจดหมายบางฉบับ เรียกเสียงโห่ฮาจากผู้ฟังจนลั่นห้องประชุม 

ปิยบุตร สรุปว่า เพราะ ส.ส.ไม่ทำเรื่องเสียเอง จึงตกเป็นภาระของประชาชนต้องมารวบรวมชื่อส่งสภา และเราไม่จำเป็นต้องทำเลยเรื่องนี้ ถ้าไม่มีการใช้มาตรานี้อย่างหนักและพิสดารตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถพูดได้เลยว่านี่คือว่าสำเร็จ จนกว่ามาตรานี้จะถูกแก้ไข วันนี้เป็นเพียงการแถลงข่าวว่ารวบรวมรายชื่อได้เท่าไร นอกจากนี้หลายคนยังถามว่าแก้มาตรานี้ได้จะแก้ปัญหาประเทศได้ทั้งหมดหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ มันเป็นตัวอย่างปัญหาหนึ่งของการเมืองไทยเท่านั้น เพียงแต่เป็นรูปธรรมที่สุด เพราะตายจริง เจ็บจริง ติดคุกจริง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ตำแหน่งแห่งที่ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ และกองทัพ มาตรานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา ครก.เองก็ยังมีอะไรที่ต้องทำต่ออีกมาก หลังจากเสนอรายชื่อทั้งหมดให้รัฐสภา 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ครก. 112’ แถลงรณรงค์ครบ 112 วัน เตรียมยื่น 3 หมื่นชื่อต่อรัฐสภาอังคารนี้

Posted: 27 May 2012 12:42 AM PDT

คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 แถลงผลหลังจัดเวทีรณรงค์ทั่วประเทศยาวกว่า 5 เดือน เผยรวมได้กว่า 3 หมื่นรายชื่อ นัดรวมพลหมุดคณะราษฎรก่อนนำรายชื่อไปยื่นต่อส.ส.ที่รัฐสภาอังคารนี้ 

 27 พ.ค. 55 - ราว 13.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ได้จัดงาน “บันทึก 112 วัน แก้ไข ม. 112” เพื่อแถลงเกี่ยวกับการสิ้นสุดการรณรงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของครก. 112 ที่เริ่มดำเนินมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เป็นเวลากว่า 5 เดือน  โดยกล่าวว่า สามารถรวบรวมผู้เข้าลงชื่อแก้ไข. ม. 112 ได้กว่า 3 หมื่นคน และเตรียมนำรายชื่อทั้งหมดเข้ายื่นต่อรัฐสภาในวันอังคารที่จะถึงนี้ (29 พ.ค.)

โดยวาด รวี จากคณะนักเขียนแสงสำนึก และยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. ธรรมศาสตร์ จากครก. 112 ได้ร่วมแถลงผลการรณรงค์ ดังนี้

 

 ครก.๑๑๒ แถลงสรุปการรณรงค์ ๑๑๒ วัน

วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ระหว่างวิกฤตการเมืองที่ผ่านมา นับแต่การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙  ได้มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นจำนวนมากจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้วยการตีความกฎหมายบนอุดมการณ์ที่ผิดหลักการประชาธิปไตย และตีความการกระทำผิดอย่างกว้าง จนแม้แต่การแปลหนังสือก็กลายเป็นการกระทำผิด ในการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่าง ๆ ได้ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษคดีการเมือง ๑๑๒ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่ได้รับการสืบพยานอย่างเพียงพอ ไม่ได้รับสิทธิ์ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไต่สวนคดีโดยปิดลับ เป็นต้น

การกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษการเมืองคดี ๑๑๒ สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้รักความเป็นธรรม และผู้ที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยจำนวนมาก มีผู้เรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี ๒๕๕๓ เช่น การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ โดยกลุ่ม ๒๔ มิถุนายน และกลุ่มแดงสยาม กระทั่งต้นปี ๒๕๕๔ คณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ขึ้นมา และเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ และนักเขียน

หลังจากได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ประชาชนต่างคาดหวังว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แต่เหตุการณ์ก็กลับไม่เป็นไปดังหวัง กรณีตัดสินนายอำพล หรืออากงอย่างไม่เป็นธรรมสร้างความรู้สึกสิ้นหวังให้กับประชาชนจำนวนมาก ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยกลุ่มต่าง ๆ จึงรวมตัวกับนักวิชาการและนักเขียน นักกิจกรรม ขึ้นเป็น คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ ด้วยการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ยื่นกฎหมายเข้าสู่สภา แต่หลังจากครบการรณรงค์ ๑๑๒ วันไปเพียงสามวัน ก็เกิดเรื่องเศร้าขึ้น นายอำพลเสียชีวิตในเรือนจำด้วยอาการป่วย 

บัดนี้ได้เวลาที่ ครก.๑๑๒ จะแถลงจำนวนผู้ลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขกฎหมาย และกำหนดวันเพื่อยื่นร่างกฎหมายเข้าสู่สภาแล้ว

นับแต่วันที่ ๑๕ มกราคมเป็นต้นมา ครก.๑๑๒ ได้รณรงค์อภิปรายปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ  ในทุกภูมิภาค ทั้งเหนือ กลาง ใต้ ตะวันออก อิสาน  ครก.๑๑๒ ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนจำนวนมาก ประชาชนและนักกิจกรรมทางการเมืองเสื้อแดงทุกภาคส่วน  ซึ่งขออภัยที่ไม่อาจกล่าวชื่อออกมาได้หมดในที่นี้ จนกระทั่งบัดนี้ มีผู้ลงชื่อแก้กฎหมายทั้งสิ้นจำนวน ๓๘,๒๘๑ คน  โดยมีผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลางจำนวน ๒,๖๓๒ คน  ตะวันออก ๒๐๘ คน  เหนือ ๒,๖๐๕ คน  อิสาน ๒๒,๓๕๗ คน  ใต้ ๑๑๘ คน  ในจำนวนนี้มีแบบฟอร์มที่เสียจำนวน ๑๐,๓๖๐ คน  และมีรายชื่อที่พร้อมส่งสภาเป็นจำนวน ๒๗,๒๙๑ คน

การรณรงค์ของครก. ๑๑๒ ไม่ได้เป็นเพียงการรณรงค์รวบรวมรายชื่อและการลงนามขอแก้ไขกฎหมายเท่านั้น แต่คณะรณรงค์เอง กลับได้ความรู้ความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างขนานใหญ่ ปรากฏการณ์ที่เราอาจเรียกได้ว่า “ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์” นั้นสั่นสะเทือนสังคมไทยหลายประการด้วยกัน ดังจะขอตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้

ประการแรก กล่าวได้ว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่การเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้แผ่ซ่าน ลงลึกไปถึงผู้คนรากหญ้า คนรากหญ้าเข้าใจถึงปัญหาของม. ๑๑๒ เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวบทกฏหมาย นั่นคือปัญหาของการดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาของการแทรกแซงการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจนอกระบบ และปัญหาของวงจรอุบาทว์ทางการเมืองของการรัฐประหาร ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากดินถึงฟ้า

ประการที่สอง เหตุที่การรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ ได้รับการตอบรับอย่างดี เป็นเพราะประชาชนรากหญ้าเข้าใจว่าการคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพในร่างกาย และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ส่งผลเลวร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่อันปกติสุขของพวกเขาเองและประชาชนทั่วไป การที่ผู้ต้องหาที่ไม่มีสถานะทางสังคมจำนวนมากไม่ได้รับการประกันตน กรณีการบิดเบือนหลักการของการให้ความยุติธรรมในกระบวนการกฎหมาย กรณีผังล้มเจ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประหัตประหารประชาชนเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นตัวอย่างที่ดีของปัญหาการคุกคามสิทธิเสรีภาพในชีวิตประจำวันของผู้คน ยังไม่นับว่ามีผู้อาศัยมาตรา ๑๑๒ เพื่อกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์ จนถึงการที่มาตรา ๑๑๒ ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ทำให้ประชาชนคนรากหญ้าไม่สามารถพูดถึงปัญหาที่ใหญ่คับฟ้าเมืองไทยได้

ประการต่อมา การต่อต้านปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงเป็นการขัดขืนความเป็นจริงทางสังคมที่ว่า ประชาชนไม่สามารถยอมรับสถานะไพร่ฟ้าผงธุลีได้อีกต่อไป การต่อต้านปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงแสดงออกอย่างไร้เหตุผล เช่น การแสดงความรักแบบไร้เหตุผล การปิดกั้นการใช้เหตุผลด้วยการไม่นำเสนอข่าวสารอย่างครบถ้วนของสื่อมวลชน และการปิดพื้นที่ของเหตุผล ดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้ และในหลายๆพื้นที่ที่ครก.๑๑๒ สัญจรไป นอกจากนั้น รัฐบาลและพรรคการเมืองยังปิดพื้นที่ของการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ด้วยการปฏิเสธ ตั้งธงไว้แต่แรกว่า จะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการถกเถียงกันในสภา ทั้งๆที่สังคมยังไม่ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ความไร้เหตุผลเหล่านี้เป็นสิ่งเดียวกันกับการใช้กำลังทำร้ายอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แต่ความไร้เหตุผลเหล่านี้ ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย

ประการสุดท้าย แม้ว่าจะมีการต่อต้านจากชนชั้นนำ และปราศจากการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย ประชาชนคนรากหญ้าจำนวนมากก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าร่วมกับครก. ๑๑๒ เพื่อรวบรวมชื่อเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมาย นี่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า ประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้การชี้นำของพรรคการเมือง แม้ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่พวกเขาสนับสนุนก็ตาม ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงแสดงให้เห็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ที่อุดมการณ์สิทธิเสรีภาพได้หยั่งรากลึกลงยิ่งขึ้น ดังนั้นนักการเมืองจึงควรเข้าใจด้วยว่า ประชาชนไม่ได้เพียงต้องการนโยบายประชานิยม แต่ยังต้องการสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย

เราจะยื่นร่างกฎหมายให้กับรัฐสภาถัดจากนี้อีกสองวัน คือในวันอังคารที่ ๒๙  ขอเชิญชวนผู้ที่ต้องการเห็นรัฐสภาซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของผู้แทนปวงชนชาวไทยได้พิจารณาร่างกฎหมายนี้มารวมตัวกันที่หมุดคณะราษฎร์เวลาเก้าโมงเช้า  เราจะตั้งขบวนเดินนำรายชื่อทั้งหมดใส่กล่องสีดำไปยังรัฐสภาเพื่อมอบเอกสารให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์

ครก.๑๑๒ จะยังไม่สลายตัว แต่จะติดตามและต่อสู้จนกว่าปัญหาอันเนื่องจากกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ และกรณีที่เกี่ยวข้องจะได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพประชาชนอีกต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนธิ ลิ้มทองกุล นัดชุมนุม 30 พ.ค. เป็นนัดสุดท้าย

Posted: 27 May 2012 12:23 AM PDT

ลั่นพ้น 30 พ.ค. ไปแล้ว จะแพ้หรือจะชนะ-จบอย่างไรก็ตาม "จะปล่อยให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ให้อำมาตย์ ให้หลายคน ที่หลอกใช้ผมอยู่ พรรคการเมืองบางพรรคที่เคยหลอกใช้ ให้รับแผ่นดินนี้เอาไปดูแลต่อไป" 

นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปราศรัยในงาน “คอนเสิร์ตเมืองไทยรายสัปดาห์ภาคพิเศษ” ที่สวนลุมพินี เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานคำปราศรัยของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งตอนหนึงได้กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมดีแต่พูด อย่างเช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่เอาแต่ขู่พวกที่ต้องการยกเลิก ม.112 แต่ไม่ยอมทำอะไร ทหารไทยระดับผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ระบาดมาถึง พล.อ.ประยุทธ์ จึงเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเมือง

โดยในช่วงท้าย นายสนธิได้กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เบื่อเรื่องชาติ เรื่องบ้านเรื่องเมือง นายสนธิกล่าวว่าปฏิบัติธรรมทุกวัน "สวดมนต์วันละ 2 ครั้ง ผมไม่ใช่อะระหังสัมมา อิติปิโสภควา กราบเสร็จแล้วพาหุงอีกบทแล้วจบ ผมเริ่มด้วยชุมนุมเทวดา ต่อด้วยสัมพุทเธ อัญเชิญพระพุทธเจ้า นะโมการะอัฏฐะกะ สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า แล้วก็อิติปิโสภควา อะระหังสัมมา แล้วก็เริ่มด้วยอาฏานาฏิยะปริตร รัตนปริตร ขันธปริตร โมรปริตร พาหุง ชัยปริตร เมตตปริตร นักขัตตะ ภวตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต แล้วก็จบลงด้วยมงคลจักรวาลใหญ่"

นายสนธิกล่าวว่า "ผมมีความรู้สึกว่าผมมีความเย็นสบาย เมื่อผมสวดมนต์ คาถาพระปริต เป็นคาถาโลโซของพระพุทธเจ้า ทำไมโลโซ เพราะเป็นคาถาพื้นฐาน แต่เป็นคาถาที่ลึกล้ำ อุปมาอุปไมยเหมือนคนที่เรียน ก.ไก่ ข.ไข่ คนที่เรียนด็อกเตอร์ ก็จะบอกว่า ก.ไก่ ข.ไข่ มันกระจอก แต่คำถามมันมีอยู่ว่า ก่อนคุณจะเรียนด็อกเตอร์ได้ คุณต้องเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ ก่อน เพราะฉะนั้นแล้วคาถาเมตตปริตร คาถาพระปริตร จึงเป็นการที่สำคัญที่สุดในการสวด เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังทำไมผมมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง แล้วผมทำน้ำมนต์ของผมเอง พี่น้อง อย่าหัวเราะ ผมเอาสายสิญจน์พันพระพุทธรูป พระห้อยคอ พันเอาไว้ พันบาตรน้ำมนต์ จุดเทียน แล้วผมตั้งจิตอธิษฐาน"

"พี่น้องครับ ผมก็มองดูชาติบ้านเมือง ผมท้อ ผมชักจะหมดหวัง พี่น้องเคยคิดไหมมันเป็นไปได้ยังไง คนปลัดกระทรวงคมนาคม มันถูกจับโกงชาติ โกงบ้านโกงเมือง หน้าตาเฉย ชาติบ้านเมืองมันตกต่ำมากนะ มันเป็นไปได้ยังไง พันตำรวจเอก ผู้กำกับโรงพัก ปล้นแบงก์ เพื่อจะเอาเงินไปวิ่งเต้นตำแหน่ง ก็แสดงว่าไอ้ตำแหน่งที่มันได้มากันมันซื้อกันทั้งนั้น ใช่/ไม่ใช่ พี่น้อง (ใช่) แล้วเราจะไปพึ่งพาตำรวจได้ยังไง พวกเยสโนโอเคโคคาโคล่า บอกไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง ซื้อขายตำแหน่งเยอะที่สุด ทุกยุคทุกสมัย ตำรวจก็ไปแล้ว ข้าราชการระดับปลัดกระทรวงก็ไปแล้ว คนอย่าง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ก็ไปแล้ว อธิบดีดีเอสไอ อัยการสูงสุดก็ไป ผู้พิพากษาบางคนก็ไปแล้ว พี่น้องแม้กระทั่งพระสงฆ์องค์เจ้า บอกว่าธุดงค์ในกรุงไม่ผิดพระไตรปิฏก ก็ไปแล้ว บ้านเมืองไม่เหลืออะไรแล้ว"

นายสนธิ กล่าวว่า "พี่น้อง 2548 จนถึงวันนี้ 7 ปีเต็มๆ ที่ผมไม่รู้ว่าไปทำอะไรผิดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ถึงลงโทษผมให้มายืนตรงนี้ตั้ง 7-8 ปี ให้มาชดใช้เวรชดใช้กรรม ผมทำอะไรผิดพ่อแม่ครูอาจารย์ 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ครุฑ นาค พรหม ยักษ์ ผมทำอะไรผิด แต่ผมมีศรัทธาในการทำงาน ผมมีศรัทธาและความเชื่อมั่นที่ผมจะต้องทำให้ส่วนรวม ให้ชาติบ้านเมืองบ พี่น้องครับ แต่ว่าสำหรับคนๆ หนึ่ง เดินทางมา 7-8 ปีแบบนี้ โดนคดีความ โดนคดีที่ผู้พิพากษาท่านมีความสุขมากกับการที่ผมผิด 1 เจตนา ท่านเปลี่ยนไปเป็น 8 เจตนา แล้วจำคุกผม 85 ปี ท่านมีความสุขปล่อยให้ท่านมีความสุขไป ผมไม่ว่า แล้วยังผ่านลูกปืนอีก 200 นัด ยังขึ้นศาล แล้ววันที่ 30 นี้ยังจะต้องออกถนนอีกแล้ว"

"พี่น้องครับ สำหรับคนคนหนึ่ง อายุ 65 ปี สู้ให้ชาติบ้านเมืองจนถึงวันนี้ สิ่งที่ผมทำมากเกินกว่าพอแล้วพี่น้อง พี่น้องครับ ออกครั้งนี้ผมจะออกครั้งสุดท้ายแล้ว ถ้าแพ้จะต้องตายคาลูกปืนผมจะตาย ถ้าชนะ ชนะเมื่อไหร่ผมจะล้างมือ แล้วผมจะขอลาออกจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปใช้ชีวิตที่เงียบๆ ไม่ต้องให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาหลอกใช้ผมอีกต่อไป ความขมขื่นของผมมันมีมากกว่าที่ผมจะพูดบนเวทีนี้ มันลึกซึ้งกว่าอะไรก็ตามที่มันลึกไปหมด มันเจ็บช้ำน้ำใจมากกว่าโดนกระบองตี มันเสียดใจ แสบทรวงมากกว่าทุกอย่าง ผมสวดมนต์ภาวนา ทุกวันผมมีชีวิตอยู่ได้เพราะผมสวดมนต์ภาวนา ผมถามตัวเองว่า ผมทำให้ชาติมากพอหรือยัง ผมบอกว่ายัง ต้อง 30 นี้ก่อน"

"พี่น้องครับ ผมขอบอกพี่น้องก่อน พ้น 30 นี้แล้ว จะแพ้หรือจะชนะ จบอย่างไรก็ตาม ผมต้องปล่อยให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ให้อำมาตย์ ให้หลายคน ที่หลอกใช้ผมอยู่ พรรคการเมืองบางพรรคที่เคยหลอกใช้ ให้รับแผ่นดินนี้เอาไปดูแลต่อไป"

"พี่น้องครับ อย่าโกรธผม ให้เข้าใจผม พี่น้อง ผมสู้ตั้งแต่ 58, 57 ผม 65 แล้วพี่น้อง ผมไม่ได้มีชีวิตอย่างเหมือนมนุษย์เลยแม้แต่นิดเดียว ผมจะสู้ครั้งสุดท้ายครั้งนี้ อะไรจะเกิดให้มันเกิดไป พี่น้อง แต่ถ้าชนะแล้ว ผมจะยกประเทศให้เขาดูแลกันต่อไป แต่ถ้าเขาดูแลไม่ดี ไม่ต้องมาเรียกผมอีกแล้ว ไม่ต้องมาเรียกผมอีกแล้ว ผมจะขออยู่ในใจพ่อแม่พี่น้องทุกคน ผมจะขอเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ให้พี่น้องได้ระลึกถึง และพี่น้องครับ วันนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พิสูจน์ให้พี่น้องเห็นชัดเจนแล้วว่าทองคำแท้อย่างพวกเราย่อมไม่กลัวไฟ"

"ผมจำเป็นต้องพูดเรื่องนี้ เพราะว่ามันไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา แต่ 30 นี้ จะเป็นงานเลี้ยงที่สำคัญ พี่น้องที่รู้เรื่องประวัติศาสตร์ดี 30 นี้ คืองานเลี้ยงประตูหงเหมิน ใครไม่รู้เรื่องยกมือ ซีฉู่ป้าอ๋อง ชือช้อป่าอ๋อง เรียกหลิวปัง ต้นปฐมกษัตริย์ฮั่นโปโจ ราชวงศ์ฮั่น มาเลี้ยงที่หงเหมิน เพื่อฆ่าหลิวปัง เขาเรียกว่างานเลี้ยงมรณะ เพราะฉะนั้นแล้ว 30 นี้ พี่น้องไม่ต้องกังวล ผมอยู่เคียงข้างพี่น้องตลอดไป จนกว่าเรื่องราวนี้จะจบ แต่ผมไม่ต้องการให้พี่น้องถามผมเมื่อเรื่องราวจบแล้ว แล้วถ้าบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องการให้พี่น้องถามว่า คุณสนธิหายไปไหน ไม่ต้องการ ผมต้องการให้พี่น้องเดินหน้าต่อไป เพราะพี่น้องแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันมากพอแล้ว 7-8 ปีที่ผ่านมา พี่น้องมีองค์ความรู้มากพอแล้ว พี่น้องเป็นคนที่มีคุณภาพ"

"เหตุผลหนึ่งที่ผมยังยืนหยัดอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะว่ามีคนอย่างพี่น้อง ที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผมขอให้พี่น้องยึดมั่นในศรัทธานี้ ทุกวันนี้ผมมีชีวิตอยู่ได้เพราะศรัทธา ความเชื่อมั่น นี่คือความในใจที่ผมต้องบอกกับพี่น้อง อย่าเสียใจ ถ้าหมอตุลย์เขาอยากเป็นแกนนำ ให้เขาขึ้นมานำพี่น้องต่อ (โห่) หรือถ้าอยากให้เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ก็ได้ หรืออยากให้อัญชะลี ไพรีรัก ก็ได้"

"พี่น้องครับ เอาชาติไว้ในใจ เอาศาสนาทูนไว้บนศีรษะ เอาพระมหากษัตริย์อยู่ระหว่างที่เราประนมมือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พี่น้องจำไว้ว่า ชาติ ถ้าศาสนาไม่แข็งแรงพระมหากษัตริย์ก็ไม่แข็งแรง ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่แข็งแรง ศาสนาก็ไม่แข็งแรง ถ้าศาสนาไม่แข็งแรง พระมหากษัตริย์ไม่แข็งแรง เราจะมีชาติอยู่ไหม เราต้องทำเพื่อส่วนรวม ตั้งจิตอธิษฐานแล้วตั้งสัจจะธิษฐานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่เคยตั้งจิตอธิษฐานกับตัวเองเลยแม้แต่นิดว่า ขอให้ตัวเองรวย ไม่เคย ขอโอกาสอาสาเข้ามาทำงานให้แผ่นดิน ให้สัจจธิษฐานว่าจะทำให้แผ่นดินนี้สงบ จะทำให้แผ่นดินนี้ปกครองโดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะจรรโลง ทำนุบำรุงและเผยแพร่พุทธศาสนาออกไปในภูมิภาคนี้ ในโลกนี้ ในจักรวาลนี้ จะปกป้องให้ความบริสุทธิ์ของพุทธศาสนายังคงอยู่ ไม่ให้ใครมาบิดเบือนเจตนารมณ์ของพุทธศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง จะปกป้อง รักษา สร้างความมั่นคงให้สถาบันกษัตริย์ เพื่อให้เป็นเสาหลักอยู่เคียงคู่เสาหลักพระพุทธศาสนา เพื่อค้ำจุนชาติบ้านเมืองต่อไป ขอบคุณมากครับ" (อ่านคำปราศรัยฉบับเต็ม ที่นี่)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"เปรม" ไล่คนไม่ดีให้ไปอยู่ในสังคมคนไม่ดี

Posted: 26 May 2012 11:58 PM PDT

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กล่าวเปิดสัมมนา ป.ป.ช. เชื่อ ครม. เป็นคนดี คนฉลาด นอกจากนี้ ครม.จะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่น่ามีปัญหา เว้นแต่บังเอิญคนไทยโชคไม่ดี ระบุอยากให้ทุกคนเชิญคนดีมาช่วยทำงานเพื่อประเทศชาติ เชิญคนไม่ดีไปอยู่สังคมคนไม่ดี เชื่อชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีคนไทยเป็นเจ้าของ ใครเอาไปทำไม่ดี จะได้รับความชั่วไปตลอดชีวิต

หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ช.) จัดการสัมมนาเผยแพร่มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย เพื่อป้องกันการทุจริตรูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อนจากการกำหนดนโยบายสาธารณะของผู้ดำรงตำแหน่งบริหารประเทศที่เอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้อง โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดพิธีสัมมนา

พล.อ.เปรม กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า ป.ป.ช.กำลังเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบาย ทุจริตภาษาชาวบ้านคือการโกง ป.ป.ช.ชวนทุกคนมาปราบคนโกง จึงได้จัดสัมมนาวันนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายออกสู่สาธารณชน การปราบคนโกงของ ป.ป.ช.เชื่อว่าต้องการความร่วมมือ กำลังใจ การช่วยเหลือ และร่วมมือของผู้มีความรู้มีความเข้าใจ หากได้รับการสนับสนุนจากทุกภาค บ้านเมืองอันเป็นที่รัก เป็นที่อยู่อาศัยของเรา เป็นที่ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเลี้ยงครอบครัว ก็จะสะอาดกว่าที่เป็นอยู่นี้ ที่บอกว่าพูดอาจไม่ไพเราะคือ การโกงเป็นโรคร้ายแรง รักษาให้หมดไปจากโลกนี้ไมได้ แม้แต่สิงคโปร์ ประเทศที่ไดรับการยอมรับว่ามีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด ยังมีการโกง องค์กรที่จัดลำดับว่าประเทศไหนโกงน้อยหรือโกงมากจัดลำดับประเทศไทยให้อยู่ลำดับที่ 80 จาก 183 ของทั่วประเทศ และเป็นลำดับที่ 10 จากประเทศในภูมิภาคเอเชีย เห็นว่าอยู่ในลำดับที่ไม่น่าพอใจนัก แต่ตนมั่นใจจริงๆ ว่าด้วยน้าพักน้ำแรงของคนไทยจะสามารถลดลำดับที่ขึ้นป้ายให้เราลงได้ เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกัน เข้าใจตรงกัน และยอมรับความเลวร้ายของการโกง จะได้ป้องกันการโกงอย่างจริงจัง อยากขอร้องคนไทยทุกคน ในประเทศที่เรารักและอาศัยอยู่ว่า เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่จะทำบ้านเมืองเราให้สะอาดน่าอยู่ น่าภูมิใจขึ้น เป็นหน้าที่โดยตรงของคนไทย

พล.อ.เปรม ระบุว่า จากเอกสารของป.ป.ช.ที่ตนได้รับ ป.ป.ช.ให้คนนิยามการทุจริตเชิงนโยบายว่าเกิดจากการผู้กำหนดนโยบายสาธารณะคือคณะรัฐมนตรี เมื่อตนอ่านคำนิยามนี้ก็มาตรึกตรองอยู่แล้ว ตนคิดบอกตัวเองว่า ถ้าครม.เป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะเราไม่น่าจะเป็นห่วงเพราะ ครม.น่าจะเป็นกลุ่มดี คนฉลาด เป็นคนที่ความรู้ความสำนึกดีและน่าจะเป็นคนที่รักชาติทำงานเพื่อชาติ นอกจากนี้ครม.จะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่น่ามีปัญหา เว้นแต่บังเอิญคนไทยโชคไม่ดีเท่านั้น ครม.พูดได้ชัดเจนว่าทุกคน อาสาสมัครเข้ามาเพื่อปกครองชาติบ้านเมืองและมีสัญญาประชาคมว่าจะทำให้บ้านเมืองเจริญ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่ดูแลให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ปฏิบัติอยู่ในจริยธรรม

พล.อ.เปรม กล่าวด้วยว่า ที่เคยพูดว่าจริยธรรมอย่างเดียวก็ดี แต่ถ้าบวกคุณธรรมด้วยก็จะดีที่สุด ทุกคนอาจจะเคยได้ยินที่ตนพูดว่า เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน พูดเสมอแม้จะมีคนไม่ชอบฟัง การตอบแทนคุณแผ่นดินถ้าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยจะเป็นเรื่องดี เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง คนไทยน่าจะสร้างคนดีในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ให้มากจนแทบจะไม่มีคนไม่ดีในประเทศ เชื่อว่าเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะช่วยพูดว่าการทำความดีทำให้ชีวิตเป็นสุข ให้เชื่อว่าการทำความดีเท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตราบรื่นมั่นคงและคุ้มความเป็นคน

อยากให้ทุกคนเชิญคนดีเข้ามาช่วยทำงานเพื่อประเทศชาติ เชิญคนไม่ดีออกไปอยู่ในสังคมของคนไม่ดี ผมเชื่อว่าชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีคนไทยเป็นเจ้าของ ใครเอาไปทำไม่ดี จะได้รับความชั่วไปตลอดชีวิต การสัมมนาจะทำให้คนในสังคมรู้ว่าการโกงเป็นสิ่งไมดี เป็นสิ่งชั่วร้าย ใครโกงครอบครัวจะได้รับสิ่งไม่ดีในชีวิต คนโกงจะถูกชี้หน้าด่าว่า คุณกำลังหักหลังชาติของเราเอง  อีกทั้งประเทศชาติจะถูกรังเกียจจากคนต่างชาติ และการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้คนไทยรักชาติและช่วยชาติไม่ให้ใครดูหมิ่นเหยียดหยามได้ ขอให้พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองคนดีคนไม่โกง และขอให้สาปแช่งคนไม่ดีคนโกง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก่อนการเลือกตั้งนายก อบจ. เชียงรายจะมาถึง

Posted: 26 May 2012 11:45 PM PDT

บทความก่อนปิดหีบการเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงราย ซึ่งเพื่อไทยส่ง "สลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช" ชนกับ "รัตนา จงสุทธนามณี" แห่งภูมิใจไทย แม้ว่ากลุ่มเพื่อไทยจะแพ้การเลือกตั้ง "แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการณ์นั้นจะเป็นตัวชี้วัดว่าความเป็น “คนเสื้อแดง” ของผู้เลือกตั้งจะลดลง"

ต้องยอมรับว่าการเมืองเรื่องการเลือกตั้งหลังจากวันที่ 3 กรกฎาคมปีพ.ศ.2554 ที่พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้งแล้วนั้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนคือผู้กำหนดชะตาชีวิตนักการเมืองหรือเป็นผู้กำหนดตำแหน่งแห่งที่ให้กับนักการเมืองโดยเฉพาะในการเลือกตั้งท้องถิ่นต่างๆ การณ์ดังกล่าวเป็นการท้าทายชุดความรู้คำอธิบายการเมืองเรื่องการเลือกตั้งที่สังคมเราพอจะมีอยู่เป็นอย่างมาก

ชุดความรู้คำอธิบายการเลือกตั้งภายใต้ระบบ “อุปถัมภ์” ที่เชื่อว่านักการเมืองคือผู้อุปถัมภ์ต่อชาวบ้านอย่างรอบด้านและซื้อเสียงแบบซื้อสินค้า  (ชาวบ้านจะต้องภัคดีกับตระกูลการเมืองตระกูลใดตระกูลหนึ่ง) ต้องถูกท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่า “โครงสร้าง” ของผู้เลือกตั้งได้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีต ยกตัวอย่างหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ที่เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตั้งแต่ทศวรรษ 2520 และมีการแตกตัวทางอาชีพอย่างต่อเนื่องในช่วงท้ายของทศวรรษ 2520 จนทำให้มีความหลากหลายทางอาชีพเกิดขึ้นดังตารางที่1 และตารางที่2

ตารางที่ 1 อาชีพต่างๆ ในหมู่บ้าน ก. พ.ศ.2527 - 2535  [1]

อาชีพ จำนวน (คน)
รับราชการ 10    
ทำนา 32 [2]
ค้าขาย 15    
รับจ้าง + ทำนา (ชาวนาแบบบางส่วน) 40    
รับจ้างอย่างเดียว 7

 

ตารางที่ 2 อาชีพต่างๆ ในหมู่บ้าน ก. พ.ศ. 2541 - 2554    [3]

อาชีพ จำนวน (คน)    
รับราชการ 30    
ทำนา 11 [4]
ค้าขาย 25    
รับจ้าง + ทำนา (ชาวนาแบบบางส่วน) 55   
รับจ้างอย่างเดียว 15

 

จากตารางที่1 และ 2 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพค้าขายและชาวนาแบบบางส่วนเพิ่มจำนวนมากขึ้น การณ์นั้นหมายถึงคนจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของหมู่บ้านได้มีมิติของชีวิตสัมพันธ์กับการค้าขาย ตลาด และ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (ในเมื่อชาวบ้านไม่ได้มีเพียงอาชีพเดียวดังนั้นการที่จะอยู่ใต้การอุปถัมภ์ของเจ้าพ่อคนใดคนหนึ่งก็ย่อมเป็นไปได้ยาก) นอกจากนั้นพวกเขายังอยู่ในโครงสร้างทางสังคมแบบใหม่เช่นมีการจัดองค์กรในหมู่บ้านรูปแบบใหม่อย่าง กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพต่างๆ และกลุ่มตำรวจบ้านเป็นต้น

จากตัวอย่างเบื้องต้นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าชาวบ้านหมู่บ้าน ก. มีมิติชีวิตสัมพันธ์อยู่กับ 2 มิติใหญ่ๆ คือ มิติทางเศรษฐกิจที่พวกเขาเปลี่ยนแปลงตัวเองจากชาวนามาเป็นผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการ (informal sector) ที่ไม่มีสวัสดิการใดๆ รวมถึงต้องอยู่ในระบบตลาดที่ใช้เงินแลกเปลี่ยนทำให้พวกเขาเชื่อมต่อกับนโยบายพรรคไทยรักไทยในปี พ.ศ.2544 และนโยบายดังกล่าวกลายเป็นสถาบันทางการเมืองไปหลังปีพ.ศ.2548 [5] และอีกมิติหนึ่งคือชาวบ้านสัมพันธ์อยู่กับการจัดองค์กรรูปแบบใหม่ซึ่งไม่ใช่องค์กรแบบเครือญาติ ทำให้งานประเพณีต่างๆ ถูกดำเนินงานโดยกลุ่มต่างๆ แบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ ซึ่งเชื่อมคนในหมู่บ้านไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร มีความเข้มข้นทางเครือญาติกันมากน้อยเพียงใดนั้นกลายเป็นเรื่องไม่สำคัญ แต่ทุกคนในหมู่บ้านล้วนสัมพันธ์กับการดำเนินงานของกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่

ด้วยมิติความสัมพันธ์ทั้ง 2 ของชาวบ้านที่กล่าวมาแล้วทำให้เกิดการเลือกตั้งที่มีความแตกต่างกันในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งความเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 2530 และด้วยระบบการเมืองของบ้านเราอยู่ในระบบการเลือกตั้งจึงทำให้ชาวบ้านผู้เลือกตั้งได้นำความสัมพันธ์ใน 2 มิตินั้นเข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจลงคะแนนเสียงด้วย

เป็นที่แน่นอนว่า “สถาบันทางการเมือง” อย่างพรรคเพื่อไทยได้ยึดครองมิติทางเศรษฐกิจของชาวบ้านไปซึ่งสัมพันธ์อยู่กับการเมืองเรื่องอุดมการณ์อย่างที่ทราบกันดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “สถาบันทางการเมือง” อย่างพรรคเพื่อไทยกลับยึดครองมิติทางองค์กรชาวบ้านที่เกิดขึ้นใหม่ได้น้อยกว่าหากจะเปรียบเทียบกับมิติแรก โดยเฉพาะหมู่บ้าน ก. ในจังหวัดเชียงรายองค์กรชาวบ้านที่เกิดขึ้นใหม่มักจะมีการประสานงานกับ กลุ่ม จงสุทธนามณี ได้ดีกว่าหากเทียบกับเพื่อไทย ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้อาจยืนยันได้จากงานศึกษาค้นคว้าอิสระของรัตนา จงสุทธนามณีในปี พ.ศ.2538 [6] ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนคติของผู้นำสตรีผ่านกลุ่มเครือข่ายองค์กรสตรีรวมถึงกลุ่มแม่บ้านที่เธอเคยร่วมงานด้วยตลอดเส้นทางการเมืองของเธอและรวมถึงสามีของเธอนายวันชัย จงสุทธนามณี

นายวันชัยเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ในนามพรรคภูมิใจไทยบนเวทีการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคมปีพ.ศ.2554 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญของนายสามารถ แก้วมีชัยจากพรรคเพื่อไทยเมื่อดูจากผลคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของหมู่บ้าน ก. จะเห็นว่าคะแนน สส. เขต และบัญชีรายชื่อมีความแตกต่างกันอย่างมาก การณ์นั้นสะท้อนให้เห็นว่าความเป็น “คนเสื้อแดง” ของชาวบ้านนั้นมีอยู่หลายมิติ

ตารางที่ 3 คะแนนผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ประจำหมู่บ้าน ก. [7]

หมายเลขผู้สมัคร ชื่อ-สกุล คะแนน    

1 นายสามารถ แก้วมีชัย (พรรคเพื่อไทย) 189    
2 นางบัณฑิตา ปิงสุวรรณ (พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน)  0    
10 นายสมพงษ์ อันพาพรม (พรรคประชาธิปัตย์) 22    
16 นายวันชัย จงสุทธานามณี (พรรคภูมิใจไทย) 142    
18 นางสาวเวียงคำ มหาวงศ์ (พรรคเพื่อฟ้าดิน)  0    
36 นายเขมกร ปัญจขันธ์ (พรรคพลังคนกีฬา)  0

จากตารางที่ 3 ผลการเลือกตั้งแบบ ส.ส. เขตในหมู่บ้าน ก. นายสามารถ แก้วมีชัยชนะนายวันชัย จงสุทธนามณีไปเพียง 47 คะแนน ส่วนคะแนนบัญชีรายชื่อของเพื่อไทยได้ 252 คะแนน แต่พรรคภูมิใจไทยกลับได้แค่ 31 คะแนนซึ่งส่วนต่างดังกล่าวแตกต่างจากคะแนน ส.ส. เขตเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งของชาวบ้านมีเกณฑ์การตัดสินใจที่มีฐานมาจากการที่ชีวิตของพวกเขาต้องสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ 2 มิติ คือชาวบ้านเลือกลงคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทยในแบบบัญชีรายชื่อซึ่งหมายถึงชาวบ้านเลือกเพระพวกเขาสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยในมิติแรก แต่คะแนน ส.ส. เขตนายวันชัยได้รับคะแนนมากพอสมควรซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านเลือกเพราะความสัมพันธ์ในมิติที่ 2 โดยเกณฑ์การตัดสินใจดังกล่าว ณ ที่นี้ไม่สามารถจะวัดได้ว่ามิติไหนมีความสำคัญมากกว่ากันเพราะผู้เลือกตั้งจะเป็นผู้เลือกใช้ด้วยตนเองแล้วแต่ระดับของการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนายก อบจ. ประจำจังหวัดเชียงรายที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 27 พฤษภาคมปี พ.ศ.2555 นี้คือการเลือกตั้งที่ทั้ง 2 มิติความสัมพันธ์ของผู้เลือกตั้งกำลังจะมาปะทะกัน ไม่ว่าใครจะชนะหรือแพ้การเลือกตั้งก็คงถือได้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่าสนใจมากในด้านที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางสังคมและถึงแม้ว่ากลุ่มเพื่อไทยจะแพ้การเลือกตั้งก็ไม่ได้หมายความว่าการณ์นั้นจะเป็นตัวชี้วัดว่าความเป็น “คนเสื้อแดง” ของผู้เลือกตั้งจะลดลง

 
หมายเหตุ:
[1]  สัมภาษณ์อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้าน ก.
[2]  หมายเหตุ จำนวนอาชีพทำนาจะนับเป็นหัวหน้าครอบครัว
[3]  สัมภาษณ์อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้าน ก.
[4]  หมายเหตุ จำนวนอาชีพทำนาจะนับเป็นหัวหน้าครอบครัว
[5]  ปี พ.ศ.2548 พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งซึ่งรวมถึงการชนะพรรคมหาชนที่เสนอนโยบายประชานิยมเหมือนกันแต่ชาวบ้านก็ยังเลือกพรรคไทยรักไทยซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพรรคไทยรักไทยได้กลายเป็นสถาบันทางการเมืองในมุมมองขอ
งชาวบ้าน
[6]  รัตนา จงสุทธนามณี. บทบาทของผู้นำสตรีในการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระ
รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538
[7] สังเกตการณ์หน่วยเลือกตั้งหมู่บ้าน ก., เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูโรวิชั่น ที่อาเซอไบจัน กับการประท้วงเรียกร้องสิทธิ

Posted: 26 May 2012 07:36 PM PDT

ขณะที่ประเทศอาเซอไบจันกำลังเห่อการได้เป็นเจ้าภาพยูโรวิชั่น งานประกวดร้องเพลงงานใหญ่ของกลุ่มประเทศยุโรป กรณีการไล่รื้อบ้านเรือนประชาชน และเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อ ก็ยังเป็นเรื่องที่นักสิทธิมนุษยชนให้ความสำคัญ

ยูโรวิชั่น เป็นการแข่งขันประกวดร้องเพลงของกลุ่มประเทศยุโรป มีผู้คนทั่วโลกติดตามชมกว่า 100 ล้านคน ซึ่งในปี 2012 ปีล่าสุดนี้ถือเป็นครั้งที่ 57 แล้ว และผู้เป็นเจ้าภาพจัดงานคือประเทศอาเซอไบจัน ประเทศที่มีตัวแทนคว้าชัยในการประกวดเมื่อปีที่แล้ว โดยมีการจัดแข่งขันในวันที่ 22, 24, 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่เมืองบาคู ของอาเซอไบจัน
 
อย่างไรก็ตามการแข่งยุโรวิชั่นในครั้งนี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักกิจกรรม โดยเฉพาะนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนอย่างฮิวแมนไรท์วอทช์ ว่ามีการละเมิดสิทธิโดยการขับไล่ผู้อยู่อาศัยจากแหล่งเดิมโดยอ้างเหตุผลว่าต้องการปรับทัศนียภาพของเมืองบาคู
 
 
กรณีประชาชนถูกไล่ที่
ฮิวแมนไรท์วอทช์ รายงานเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่า ทางการอาเซอไบจันได้ทำการรื้อถอนอาคารบ้านเรือนโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า และมีครอบครัวหนึ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านออกจากอาคารก่อนที่จะมีการถล่มอาคาร
 
ขณะที่นักกิจกรรมมองว่าการไล่รื้อถอนอาคารบ้านเรือนเป็นไปเพื่อการเปิดทางไปสู่การจัดงานยูโรวิชั่นและการสร้างบาคูคริสตัลฮอลล์ ซึ่งจะเป็นเวทีคอนเสิร์ทของงานยูโรวิชั่นปี 2012 แต่ทางคณะกรรมการของยูโรวิชั่นก็ปฏิเสธคำกล่าวอ้างของนักกิจกรรม โดยบอกหลังจากที่สำรวจพื้นที่บาคูว่าการสร้างคริสตัลฮอลล์ไม่จำเป็นต้องมีการรื้อถอนอาคารใดๆ และการก่อสร้างดำเนินไปอย่างโปร่งใส
 
ทางสหภาพการกระจายเสียงของยุโรป (EBU) ก็บอกว่ายุโรวิชั่นเป็นงานประกวดที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง และรัฐบาลอาเซอไบจันก็อ้างว่าการก่อสร้างไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับยูโรวิชั่น
 
 
เรียกร้องเสรีภาพสื่อ
มาจนถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่มีการแข่งขันยูโรวิชั่น 2012 สำนักข่าว BBC ก็รายงานบรรยากาศครึกครื้นที่เกิดขึ้นในกรุงบาคู ขณะเดียวกันก็รายงานว่ามีการประท้วงของกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่กล่าวหาว่ารัฐบาลอาเซอไบจันเหยียบย้ำประชาธิปไตย ปิดกั้นเสรีภาพสื่อ และกักขังศัตรูทางการเมือง แต่ทางรัฐบาลอาเซอไบจันก็บอกว่าคำวิจารณ์นี้ไม่ถูกต้องและเป็นกลุ่มชาติตะวันตกที่พยายามทำให้ประเทศตนเสื่อมเสีย
 
ทางการอาเซอร์ไบจันพยายามสลายการชุมนุมโดยการจับกุมตัวผู้ประท้วงหลายครั้ง โดยในวันที่ 22 พ.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักกิจกรรมที่แจกจ่ายโปสการ์ดวิจารณ์รัฐบาล โดยไม่อนุญาตให้เขาติดต่อกับทนายหรือครอบครัวเป็นเวลาสองวัน ชายผู้นี้ถูกสั่งจำคุกเป็นเวลา 10 วัน
 
ต่อมาในวันที่ 24 พ.ค. ตำรวจก็เข้าสลายการชุมนุมโดยจับกุมตัวผู้ประท้วง 30 ราย หลังจากที่มีผู้ประท้วงราว 100 คนมาชุมนุมประท้วงกันในกรุงบาคู ซึ่งทางฮิวแมนไรท์วอทช์ออกแถลงการประณามว่า การสลายการชุมนุมของผู้ที่ชุมนุมอย่างสงบทั้งสองครั้งติดต่อกันได้สื่อให้เห็นถึงการที่รัฐบาลอาเซอไบจันไม่ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
 
"รัฐบาลอาเซอไบจันใช้เวลายาวนานในการเตรียมการและตกแต่งบาคูก่อนที่จะจัดงานยูโรวิชั่น แต่การที่ตำรวจสลายการชุมนุมของผู้ที่ชุมนุมอย่างสงบ ทำให้งานรื่นเริงนี้ดูมืดมนลง" จอร์จี กอเจีย จากฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว
 
ในวันเดียวกัน (24 พ.ค.) สภายุโรปก็มีมติเรียกร้องให้อาเซอไบจันเลิกปิดกั้นเสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และยังได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักข่าว 6 คน รวมถึงประณามการใช้กำลังทุบตีนักข่าวชื่อ อิดรัก แอบบาสซอฟ และให้เลิกข่มขู่คุกคามนักข่าวสืบสวนสอบสวนที่ชื่อคัดดิยา อิสมาอิลโลวา ด้วย
 
ในกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อวันที่ 24 มีผู้หญิงสองคนที่ถือป้ายบอกว่า "พวกเราต้องการโทรทัศน์สาธารณะ ไม่ใช่ช่องโทรทัศน์ของอิลฮาม" ซึ่งหมายถึงการที่ประธานาธิบดี อิลฮาม อลิเยฟ ของอาเซอไบจัน เป็นผู้ควบคุมสื่อในประเทศของประชาชนอยู่ห่างไกลกับการมีส่วนร่วมในสื่อ
 
ในรายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ยังระบุอีกว่า มีผู้ประท้วงจากฝ่ายค้านของอาเซอไบจัน รวมตัวกันหน้าสถานีโทรทัศน์อิชติไมเพื่อเรียกร้องให้มีเวลาสำหรับรายการของฝ่ายค้าน แค่ก็ถูกตำรวจทั้งนอกและในเครื่องแบบเข้าสลายผู้ชุมนุมด้วยการใช้กำลังทุบตี และเมื่อมีฝ่ายต่อต้านเดินมาสมทบโดยตะโกนว่า "เสรีภาพ" และ "ลาออกไป" เจ้าหน้าที่ก็เข้ามาสกัดกั้นพวกเขาในแบบเดียวกัน
 
"สิ่งเดียวที่ใช้แยกแยะนักกิจกรรมฝ่ายต่อต้านที่ถูกจับกุมด้วยกำลังกับประขาขนอีกหลายสิบคนโดยรอบในพื้นที่ คือการที่คนๆ นั้นตะโกนเรียกร้อง 'เสรีภาพ' " กอเจีย กล่าว "มันน่าประหลาดใจมากที่ได้เห็นว่าความพยายามจะพูดอย่างเสรีกลับถูกตอบรับด้วยความรุนแรง"
 
ซึ่งในวันที่ 25 ก็เกิดเหตุการณ์คล้ายกัน เมื่อช่วงราว 5.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ก็มีกลุ่มประชาชนมารวมตัวกันที่ทางเดินริมชายหาดของเมืองบาคู โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบเตรียมพร้อมอยู่จำนวนมาก และเมื่อกลุ่มฝูง
ชนตะโกนคำว่า "เสรีภาพ" กลุ่มตำรวจก็พากันเข้าจับกุมพวกเขา ทำให้มีผู้ประท้วงที่ถูกจับกุมเพิ่มขึ้นราว 70 ราย
 
 
"จงร้องเพลงเพื่อประชาธิปไตย"
จากบรรยากาศเช่นนี้ทาง BBC ก็รายงานว่า มีผู้ประท้วงราว 100 คนที่เกรงว่าจะถูกจับกุมตัว จึงแค่เดินไปมารอบๆ กรุงบาคู ไม่ได้ถือป้าย ไม่ได้เปล่งคำขวัญ แต่ใช้วิธีสวมเสื้อยืดที่มีคำว่า "จงร้องเพลงเพื่อประชาธิปไตย" 
 
ราซูล หนึ่งในผู้จัดการประท้วงด้วยการใส่เสื้อยืดเดินในครั้งนี้บอกว่า เขาอยากให้นักร้องทุกคนที่เข้าแข่งขันในยูโรวิชั่นพูดถึงเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอาเซอไบจัน
 
มีนักร้องชาวสวีเดนคือลอรีนได้เข้าพบกับนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ อาลี ฮาซานอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปธน.อลีเยฟ เรียกร้องให้ EBU เข้าแทรกแซงลอรีน โดยกล่าวหาว่าลอรีนได้เข้าพบกับกลุ่มที่ต่อต้านชาวอาเซอไบจัน
 
ในรายงานล่าสุดของอฺวแมนไรท์วอทช์ เรียกร้องให้รัฐบาลมีการปล่อยตัวประชาชนที่ถูกจับกุม และหยุดยั้งการจับกุมคนโดยไร้สาเหตุเพียงเพราะกล่าวคำพูดที่ไม่ได้ผิดกฏหมาย
 
"อาเซอไบจัน เป็นประเทศที่เซนต์สัญญาข้อตกลงด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ รวมถึงอนุสัญญาคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของพลเมืองยุโรป (European Convention on Human Rights) ด้วย ซึ่งทำให้รัฐบาลมีพันธกรณีในการเคารพต่อสิทธิในการชุมนุม และในการงดเว้นการปฏิบัติไม่ดีต่อผู้ประท้วง..." รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุ
 
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Eurovision: Singing in Baku for prizes and freedom, Steve Rosenberg, BBC, 25-05-2012
 
Azerbaijani police break up opposition rally in runup to Eurovision, The guardian, 24-05-2012
 
Azerbaijan: Peaceful Protest Crushed Ahead of Eurovision Final, 25-05-2012
 
Azerbaijan: Eurovision No Party for Peaceful Protesters, 24-05-2012
 
Azerbaijan: Homeowners Evicted for City Beautification, Human Right Watch, 29-02-2012
 
'Evicted in Baku to make way for Eurovision', BBC, 22-12-2011

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ลุยวิจัยพื้นที่ทับซ้อนอุทยานแห่งชาติ ชี้เป็นภัยแทรกซ้อน ถูกบดบังด้วยความรุนแรง

Posted: 26 May 2012 07:30 PM PDT

ศอ.บต.หนุนตั้งกองทุนยุติธรรมสู้คดี แนะใช้ประวัติชุมชนเป็นหลักฐาน พิสูจน์สิทธิใครมาก่อน

 

 เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 26 พฤษภาคม 2555 คณะทำงานโครงการวิจัยการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการลุ่มน้ำสายบุรี ระยะที่ 2 จัดเสวนา “ทบทวนปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินจังหวัดชายแดนภาคใต้” ณ ห้องประชุมมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ คณะวิจัยโครงการ กล่าวว่า ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ได้บดบังปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่ อย่างความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน เช่น นายทุนไล่ที่ อุทยานทับที่ทำกิน ชาวบ้านถูกยึดเอกสารสิทธิ และปัญหาการย้ายออกจากพื้นที่เนื่องจากไม่มีที่ดินทำกิน

ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าวอีกว่า การทำโครงการวิจัยดังกล่าว เพื่อค้นหาที่ดินที่มีปัญหาทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติ โดยดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยใช้เครื่องมือวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) ประกอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินและข้อมูลจากแผนที่ทางอากาศ

“การเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย ไม่อย่างนั้นปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข เพราะปัญหาที่นี่มีเงื่อนไขมากมายทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น” ดร.เพิ่มศักดิ์ กล่าว

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวระหว่างเปิดประชุมว่า ปัญหาที่ดินทำกินเป็นปัญหาระดับชาติ แต่ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเหตุความไม่สงบมามาผสมโรงด้วย ซึ่งการแก้ปัญหาอย่าพึ่งการแก้กฎหมายอย่างเดียว เนื่องจากใช้เวลานาน อาจจะไม่ทันกาล

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ที่ดินของประเทศมีประมาณ 300 ล้านไร่ โดย 120 ล้านไร่เป็นป่า และเกือบ 100 ล้านไร่ เป็นที่รกร้างว่างเปล่าของนายทุน และอีก 100 ล้านไร่เป็นพื้นที่เกษตร เมื่อจะจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านต้องไปบุกรุกป่า ทั้งๆ ที่ยังมีพื้นที่อยู่ในมือนายทุนอีกประมาณ 100 ล้านไร่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทำให้ชาวบ้านถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกเขตอุทยานแห่งชาติจำนวนมาก

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า ตนคิดว่าคดีบุกรุกที่ดินไม่ควรเป็นคดีอาญา ขอเสนอให้ปรับกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับคดีที่ดินใหม่ โดยนำประวัติศาสตร์ชุมชนมาเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดี ควบคู่แผนที่ทางอากาศของกรมทรัพยากร หรือประกาศของรัฐบาล ที่สำคัญต้องให้ชุมชนนำหลักฐานที่สามารถอ้างได้ว่า ระหว่างอุทยานแห่งชาติกับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านอะไรมาก่อน

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า อำนาจในการแก้ปัญหาที่ดินทำกินใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา อยู่ในมือคนกลุ่มเดียวคือเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีดุลพินิจที่อาจอาจจะเอื้อต่อนายทุน จึงควรเพิ่มภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่ดินด้วย

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ตนขอเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนยุติธรรมเพื่อต่อสู้เรื่องการจัดการที่ดิน เช่น การออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ว่า ระหว่างอุทยานแห่งชาติกับที่ดินทำกินของชาวบ้านอันไหนมาก่อน ซึ่งต้องมีนักกฎหมายและตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียกร้องขอคืนสิทธิในการคุรอบครองที่ดินดังกล่าวด้วย โดยศอ.บต.ยินดีสนับสนุน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น