โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

Posted: 22 May 2012 12:31 PM PDT

การเซ็นเซอร์จากรัฐแม้จะน่ากลัวก็ยังน่ากลัวน้อยกว่าการที่สื่อจงใจเซ็นเซอร์หรือจงใจไม่รายงานข่าวบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตัว ไม่ว่าจะด้วยความกลัวหรือด้วยอคติอย่างอื่น

ปาฐกถา 7 ปีประชาไท - วรเจตน์ ภาคีรัตน์: สื่อคือปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน

Posted: 22 May 2012 11:44 AM PDT

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 7 ปี เว็บไซต์ประชาไท ระบุสื่อคือปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน หวังให้สื่อได้เสนอข้อเท็จจริงอย่างไม่บิดเบือน ให้ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมในการแสดงออกซึ่งอำนาจการเมืองของเขา

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ระหว่างกล่าวปาฐกถาหัวข้อ “สื่อ..และที่ทางของเสรีภาพในสังคมไทย?” ในโอกาสครบรอบ 7 ปีเว็บไซต์ประชาไท ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ เมื่อ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: ประชาไท)

 

ประชาไท, 22 พ.ค. 55 - ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ปาฐกถาหัวข้อ “สื่อ..และที่ทางของเสรีภาพในสังคมไทย?” ในโอกาสครบรอบ 7 ปี เว็บไซต์ประชาไท โดยวรเจตน์เริ่มต้นกล่าวว่า ในปัจุจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมวลชนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เพราะสื่อนั้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน การที่สื่อสามารถรายงานและวิเคราะห์ข่าวอย่างเสรี เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย และสื่อจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐสภาที่เป็นองค์กรของรัฐกับประชาชน สื่อจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออก การใช้อำนาจของรัฐ เปิดเผยการกระทำที่ไม่ถูกต้องของบรรดาบุคคลที่เข้าไปมีอำนาจในรัฐ ซึ่งใม่ใช่แค่นักการเมือง แต่รวมถึงหน่วยงานและสถาบันที่มีบทบททางการเมืองไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม ลับหรือเปิดเผย ภารกิจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็โดยที่สื่อเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทั้งการเงินและการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ประเด็นสำคัญที่ว่าการก่อตั้งเจตจำนงของประชาชนให้เป็นไปได้โดยอิสระ ต้องมีสื่อที่มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมในการแสดงออกซึ่งอำนาจการเมืองของเขา

ดังนั้น ไม่ใช่แค่ระดับการศึกษาที่แสดงออกที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ หากแต่เป็นความหลากหลายในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ผมเห็นต่างกับความคิดที่ว่า สังคไทยไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย เพราะสำนึกประชาธิปไตยต่างหากที่มีผล และการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายมีความสำคัญกว่าอย่างเทียบไมได้

ที่ผ่านมาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่นี้อย่างสมบูรณ์ควรค่าแก่ความพอใจแล้วหรือไม่ ตลอดเวลาที่ผมได้สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักรัฐประหาร คำตอบที่ได้คือสื่อมวลชนไทยยังไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างน่าพอใจ และเราอาจจะพบว่าสื่อมวลชนไทยมีปัญหาในการนำเสนอ ปัญหาในการควบคุมวิชาชีพสื่อ

วรเจตน์ได้ตั้งคำถามถึงคุณค่าพื้นฐานของสื่อมวลชน โดยระบุว่าคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยากให้สื่อมวลชนเป็นมืออาชีพ ไม่ต่างกับเวลาที่ฟังความเห็นของนักวิชาการที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ แล้วความเป็นมืออาชีพอยู่ตรงไหน อย่างน้อยที่สุดต้องเสนอข้อเท็จจริงหรือความจริงก่อน เพราะถ้าไม่นำเสนอข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแล้ว การที่ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกต้องก็เป็นไปไม่ได้

“หลายปีที่ผ่านมา ผมเป็นแหล่งข่าว ผมพบว่า หลายครั้งสื่อไม่แยกความเห็นกับข้อเท็จจริงที่ต้องการนำเสนอ สิ่งที่พิสูจน์ได้ดีก็คือตอนที่คณะนิติราษฏร์เสนอเรื่องการล้มล้างผลพวงการรัฐประหารในรูปที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการแถลงข่าว พบว่าสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง ยังไม่พูดถึงว่าเขามีความเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอนิติราษฎร์ เช่น การเสนอให้ล้มล้างผลพวงการรัฐประหาร บรรดาคดีความต่างๆ ทีเริ่มต้นขึ้นจากการตั้งเรื่องของ คตส. คดีเหล่านี้ เมื่อศาลพิพากษาไปแล้วให้มีการลบล่งคำพิพากษา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ ผมพบว่าสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งนำเสนอข้อเท็จจริงนี้ไปในแง่ที่ว่าคณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเราเห็นได้ว่า เป็นคนละเรื่อง แค่ข้อเท็จจริงแค่นี้ยังไม่สามารถนำเสนอให้ตรงได้ เราจะคาดหวังว่าสื่อมวลชนจะแสดงบทบาทและใช้เสรีภาพให้ตรงตามหลักประชาธิปไตยได้อย่างไร”

อีกประเด็นหนึ่ง การควบคุมกันเอง การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพไม่ได้หมายความว่าสื่อจะรายงานข่าวของตนไปตามที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นก็ได้ และเมื่อมีการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คนอื่นเสียหาย หรือนำไปสู่ความขัดแย้ง องค์กรที่ควบคุมวิชาชีพสื่อก็น่าจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ปัจจุบัน เราไม่สามารถควบคุมสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเราพูดถึงสิทธิเสรีภาพ เราไม่อาจจะเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพอย่างเดียว แต่ต้องเน้นเรื่องความรับผิดชอบด้วย

“ถ้าดูประวัติศาสตร์ เราพบว่าการเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ มีการเผาหนังสือ แต่ผมมีความเห็นว่าการเซ็นเซอร์จากรัฐแม้จะน่ากลัวก็ยังน่ากลัวน้อยกว่าการที่สื่อจงใจเซ็นเซอร์หรือจงใจไม่รายงานข่าวบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตัว ไม่ว่าจะด้วยความกลัวหรือด้วยอคติอย่างอื่น”

วรเจตน์กล่าวต่อไปว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา พบว่าสื่อมวลชนไม่ลังเลที่จะวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง ซึ่งเป็นองค์กรที่เข้าควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม

“แต่ผมเห็นว่าในสังคมไทย การทำเท่านี้ยังไม่เพียงพอ ผมเห็นว่าสื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อเท็จจริงและข่าวสารของอำนาจที่ไม่ได้เปิดเผยโดยตรงหรือหลายคนไม่รู้สึกอยากไปแตะต้อง ผมกำลังพูดถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์ กองทัพ และศาล นั้นหมายความว่าถ้าเราอยากจะเห็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนรอบด้าน ต้องกล้าหาญมากขึ้น และเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ กองทัพ และศาล ได้มากขึ้น ถ้าไม่สามารถทำได้ การก่อตั้งเจตจำนงของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยก็ไม่อาจจะเกิดได้อย่างครบถ้วน มีคุณภาพ และรอบด้าน”

ทั้งนี้ เมื่อมองไปรอบตัวเราพบว่ามีสื่อทางเลือกจำนวนมาก การเกิดขึ้นของสื่อจำนวนไม่น้อยที่เองที่ทำให้ในที่สุดสื่อกระแสหลักจะปรับตัวมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาก็พบว่าปรับตัวน้อยมากและตามไม่ทันสื่อมวลชนทางเลือกมากขึ้นๆ

วรเจตน์กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับประชาไท เขาพบกับประชาไทตั้งแต่ปีแรกๆ ตั้งแต่ปี 2547 ช่วงแรกมีคนรู้จักน้อยมาก โดยสังเกตพบว่าคนที่อ่านข่าวหรือแสดงความเห็นในเว็บบอร์ดส่วนหนึ่งเป็นบรรดานักวิชาการต่างๆ แม้จะเสนอข่าวสารเอ็นจีโอหรือคนด้อยโอกาสทางสังคม แต่คนที่มารับข่าวสารมักเป็นคนที่มีการศึกษาพอสมควร ต่อมาก็เล่นข่าวในทางการเมืองมากขึ้น และทำให้ต้องแสดงจุดยืนทางการเมือง และพบว่าประชาไทมีโอกาสแสดงจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนหลังการรัฐประหาร ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่

“มีสื่อจำนวนน้อยมากที่กล้าจะยืนขึ้นบอกว่าการรัฐประหารไม่ถูกต้อง โดยไม่กลัวว่าการทำเช่นนั้นเป็นการเข้าข้างหรือรับใช้คณะรัฐบาลที่ถูกล้มไป นี่เป็นความประทับใจของผมต่อประชาไท ประเด็นที่ประชาไทเสนอนั้นหลายเรื่องเสนอก่อนสื่ออืนๆ เช่นการวาพกษ์วิจารณ์ตุลาการภิวัตน์”

อย่างไรก็ตาม วรเจตน์กล่าวว่าจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของประชาไทที่เป็นสื่อเล็กและมีคนติดตามไม่มาก แต่ต่อมาได้กลายเป็นสื่อทางเลือก เป็นกระแสหลักในกระแสรองไป และดำรงอยู่มาจนปัจจุบัน แต่หากถามว่าการเสนอข้อมูลข่าวสารของประชาไทครบถ้วนสมบูรณ์ขนาดที่ไม่ต้องปรับปรุงแล้วหรือไม่ เขาคิดว่าในแง่ของสื่อความสมบูรณ์คงไม่มี มีแต่พัฒนาการที่ต้องทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

วรเจตน์กล่าวด้วยว่าเสียดายที่ประชาไทต้องปิดเว็บบอร์ดลง แต่ก็เข้าใจ ทั้งยังกล่าวว่า ประชาไทนั้นมาไกลมากแล้วในการนำเสนอด้านสถาบันกษัตริย์ และตุลาการ แต่ยังไม่ได้นำเสนอด้านกองทัพมากนักซึ่งเข้าใจว่าเป็นข้อจำกัดของนักข่าว

วรเจตน์กล่าวทิ้งท้ายถึงสิ่งที่อยากเห็นจากประชาไทว่า อยากเห็นประชาไทนำเสนอข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่เป็นข้อเท็จจริงล้วนๆ เพราะสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์มากกว่านี้ คนที่ไม่เข้าใจก็จะเข้าใจมากขึ้น ถ้าประชาไทจะทำข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมือง ก็น่าจะทำในเชิงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากขึ้น และอยากเห็นความหลากหลายในการตีความประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับบริบทการเมืองไทยในปัจจุบันและคิดว่าประชาไทน่าจะเป็นสื่ออันดีในการนำเสนอได้

“ในมุมมองของนักวิชาการคนหนึ่งที่ติดตามบทบาทของประชาไท อยากให้ประชาไทคงไว้ซึ่งบทความทางวิชาการ และอยากเห็นมุมมองทีต่างออกไปจากปัจจุบันมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ประชาควรจะดำรงไว้ และไม่ต้องกังวลว่าจะไปเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคือการนำเสนอบทบรรณาธิการที่เสนอจุดยืนของหลักประชาธิปไจตย ประชาไทจะเป็นด่านหน้าในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่อยู่บนความถูกต้องและเป็นธรรม ในยามที่สื่อจำนวนมากละเลยต่อภารกิจนี้”

ตอนท้ายเขาได้กล่าวขอขอบคุณจอน อึ๊งภากรณ์ ที่ได้ก่อตั้งประชาไทขึ้นมา และหวังว่าประชาไทจะอยู่คู่กับข้อมูลข่าสารและดึงตัวเองขึ้นไปเป็นสื่อมวลชนกระแสหลักในอนาคต และคงจุดยืนในการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย นิติรัฐ และประเด็นที่สุ่มเสี่ยงแต่สำคัญในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่าน“และหวังว่าในอนาคต เมื่อประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ประชาไทก็จะเป็นสื่อมวลชนที่โดดเด่นเป็นสง่าและเป็นแบบอย่างให้สื่อมวลชนอื่นๆ ของบ้านเรา” วรเจตน์กล่าวในที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

THAIPUBLICA: สวรส. วิจัย 'สสส.' 10 ปีหมื่นล้านคุ้ม ชี้ยังเข้าถึงกลุ่มรายได้น้อยไม่พอ

Posted: 22 May 2012 09:47 AM PDT

หลังจากที่มีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขึ้นในปี 2544 รัฐบาลจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ 2% ต่อปี ให้ สสส. เพื่อใช้เงินภาษีบาปทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพคนไทย โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนลดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ลดลง ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สสส. ใช้เงินไปกับการทำกิจกรรมต่างๆกว่า 10,000 ล้านบาท จึงทำให้หลายฝ่ายเกิดข้อสงสัยว่าเงินที่ สสส. ใช้จ่ายไปให้ผลคุ้มค่าเพียงใด

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) แถลงข่าวว่า สวรส.ได้มอบหมายให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ซึ่งเป็นภาคีในเครือข่ายของ สวรส. ทำการประเมินผลความคุ้มค่า ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการทำงานของ สสส. โดยวิเคราะห์แผนงานของ สสส. 2 แผนงาน คือ แผนงานการควบคุมการบริโภคยาสูบ และแผนงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลา 2 ปี โดย HITAP ได้ออกไปสัมภาษณ์ประชาชน 7,311 คน ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่าคนไทยเกือบครึ่งประเทศรู้จัก สสส. ในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน

จากนั้น HITAP ได้ทำการประเมินประเมินผลงานของ สสส. ในรูปแบบของการประเมินความเต็มใจจ่ายของครัวเรือนที่มีต่อมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ประชาชนเล็งเห็นคุณค่างานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. โดยนำแผนงานของ สสส. 6 แผนงาน ได้แก่ แผนควบคุมการบริโภคยาสูบ, แผนควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, แผนสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติภัย, แผนส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ, แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพเรื่องอาหารและโภชนาการ, แผนการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม เป็นต้น ไปสอบถามประชาชน 7,311 คน พบว่าคุณค่าที่คนไทยมอบให้กับการดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่าย คิดมูลค่าเป็นตัวเงินประมาณ 7,934 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ สสส. ได้รับจัดสรรปีละ 3,000 ล้านบาท หมายความว่าในสายตาของประชาชน สังคมได้กำไรจากการมีองค์กร เช่น สสส.

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยระบุว่า กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่มีรายได้และการศึกษาน้อย ซึ่งมักเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเสนอแนะให้ สสส. ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ นักวิจัยยังทำการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการมีนักสูบบุหรี่หน้าใหม่เข้ามา พบว่าถ้าเป็นเพศชายจะเกิดความสูญเสียประมาณ 158,000 บาทต่อราย และถ้าเป็นเพศหญิงจะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 85,000 บาทต่อราย ทั้งนี้บุหรี่จะทำให้ผู้ชายมีอายุสั้นลงเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 ปี ส่วนผู้หญิงจะมีอายุสั้นลง 3.4 ปี

สำหรับความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ดื่ม กรณีเพศชาย หากดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับที่อันตรายจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 360,000 บาทต่อราย ส่วนเพศหญิงจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 240,000 บาทต่อราย และยังจะทำให้ผู้ชายอายุสั้นลง 3.9 ปี ผู้หญิงอายุสั้นลง 2.2 ปี ทั้งนี้ หาก สสส. สามารถป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ไม่ให้สูบบุหรี่ไปได้ตลอดชีวิตได้อย่างน้อยปีละ 1,000 คนขึ้นไป จะถือว่าแผนงานการควบคุมการบริโภคยาสูบมีความคุ้มค่า เช่นเดียวกัน หาก สสส. สามารถป้องกันไม่ให้มีนักดื่มหน้าใหม่ที่จะดื่มอย่างอันตรายมากไปตลอดชีวิตได้อย่างน้อยปีละ 800 คน จะถือว่าแผนงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ สสส. มีความคุ้มค่า

ทั้งนี้ รายงานวิจัยได้สรุปผลการดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ว่า สังคมได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่ากับเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน โดย สสส. และภาคีเครือข่ายสามารถนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้มากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถ้าไปดูข้อมูลการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต พบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา การจัดเก็บภาษีสุรา เบียร์ และยาสูบมีอัตราเพิ่ม 1.95 เท่า นับจากปี 2545 จากยอดการจัดเก็บภาษีได้ 85,637 ล้านบาท จนถึงปี 2554 ยอดการจัดเก็บภาษี 167,319 ล้านบาท พบว่ายอดการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นปี 2549 และปี 2552 ยอดการจัดเก็บภาษีสุรา เบียร์ และยาสูบลดลง เพราะรัฐบาลมีการปรับขึ้นอัตราภาษี

โดยในปี 2549 กรมสรรพสามิตเก็บภาษียาสูบ 35,657 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2548 ลดลง 2,536 ล้านบาท มีสาเหตุมาจากการปรับขึ้นอัตราภาษียาสูบเป็น 79% ของมูลค่า ทำให้การบริโภคยาสูบลดลง ส่วนภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 44,207 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปีก่อนลดลง 1,276 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงปลายปีงบประมาณ 2548 ผู้ผลิตเบียร์มาขอชำระภาษีล่วงหน้า 2,000 ล้านบาท

ส่วนในปี 2552 กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีสุราและยาสูบเพิ่มขึ้น แต่ยอดการจัดเก็บภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 48,993 ล้านบาท ลดลง 4,472 ล้านบาท เนื่องจากเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 รัฐบาลมีการปรับอัตราภาษีเบียร์จาก 55% เป็น 60% ของมูลค่า ทำให้การบริโภคเบียร์ลดลง

จากตัวเลขการจัดเก็บภาษีสุรา บุหรี่ข้างต้น ซึ่งสสส.จะได้ 2% ของภาษีที่จัดเก็บได้ ดังนั้นรายได้ของสสส.ตั้งแต่ปี 2545-2554 ตามลำดับดังนี้ 1,712 ล้านบาท 1,919 ล้านบาท 2,105 ล้านบาท 2,245 ล้านบาท 2,180 ล้านบาท 2,544 ล้านบาท 2,642 ล้านบาท 2,618 ล้านบาท 3,092 ล้านบาท และ 3,346 ล้านบาท ดังนั้น 10 ปี สสส.ได้รับการจัดเงินไปแล้วประมาณ 24,403 ล้านบาท

นอกจากนี้ จากรายงานของบริษัทไพร้ซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (ประเทศไทย) ถึงความเสี่ยงอุบัติภัยสาธารณภัยของประเทศไทยมี 18 ประเภทที่น่าเป็นห่วง ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออุบัติภัยจากภัยการคมนาคมและขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542-2548 (ดูตารางข้างล่าง) จากนั้นเริ่มลดลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูง

รายงานระบุว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภัยจากการคมนาคมและการขนส่งมากขึ้น และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญในลำดับต้นๆของประชากรของประเทศ รวมทั้งความสูญเสียด้านอื่นๆ เช่น ความเสียหายต่อครอบครัวและสังคม การสูญเสียค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ การสูญเสียแรงงานของชาติ และเกิดผลกระทบด้านจิตใจและเศรษฐกิจของครอบครัวฯลฯ ซึ่งร้อยละ 90 ของภัยจากการคมนาคมและขนส่ง เกิดจากการใช้รถใช้ถนนอย่างประมาท การทำผิดกฏจราจร และการเมาสุรา

ขณะที่แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลให้ข้อมูลว่า ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการรณรงค์การลดอุบัติในช่วงเทศกาลต่างๆให้เห็นว่าได้ผล ทำให้โรงพยาบาลบางแห่งรายงานตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง กล่าวคือถ้าบาดเจ็บไม่มากก็จะไม่รายงาน ทั้งนี้จะรายงานเฉพาะที่เสียชีวิตเท่านั้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ ร้องผู้ว่าฯ ยุติเวทีอีเอชไอเอเหมืองโปแตช หวั่นขัดแย้งบานปลาย

Posted: 22 May 2012 08:41 AM PDT

วันนี้ (21 พฤษภาคม) เวลา 10.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวน 20 คน ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เพื่อคัดค้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Review : ค.3) โครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี  ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2555  ที่โรงแรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งบริษัทเอเชีย แปซิฟิก โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง อนด์ เมเนจเม้นท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 และนำมาซึ่งการจัดเวทีในครั้งนี้

โดยนายปัญญา  โคตรเพชร  เลขานุการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี  ได้กล่าวถึงการเข้าพบผู้ว่าราชการ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องของชาวบ้านในครั้งนี้ว่า

“วันนี้ที่พวกเราพากันมาพบผู้ว่าฯ ก็อยากจะมาขอให้ท่านพ่อเมืองไปบอกกับบริษัทที่กำลังจะจัดเวทีรับฟังความเห็นเกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ว่าขอให้ยุติไปก่อนได้ไหม เพราะการจัดเวทีของบริษัทในแต่ละครั้งที่ผ่านมาทำให้ชาวบ้านเกิดการกระทบกระทั่งกันมาตลอด เช่น การจัดเวทีครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษา ปีที่แล้ว เพราะถ้าจัดขึ้นมาแล้วชาวบ้านเกิดความขัดแย้งกันขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ”

ด้าน นายแก่นเพชร  ช่วงรังสี  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้กล่าวถึงการเข้ามาพบและยื่นหนังสือข้อเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้านในครั้งนี้ว่า

“ตัวผมเองไม่ได้มีอำนาจไปสั่งให้เขาหยุดการดำเนินการจัดเวทีได้ เพราะเป็นเรื่องของบริษัทคู่สัญญาทั้งสองบริษัทจะดำเนินการได้  แต่เมื่อพี่น้องเข้ามาพบและมีข้อกังวลใจต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น  ทางผมก็จะมอบหมายให้อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรฯ ให้ทำหนังสือไปยังบริษัท เพื่อแจ้งเตือนให้เขาไปว่า มีพี่น้องชาวบ้านเข้ามาพบแล้วเป็นกังวลต่อการจัดเวที จึงขอให้ชะลอไปก่อนได้ไหม แล้วให้เขาทำการพิจารณาเองว่า ควรจะจัดเวทีอยู่หรือไม่  ส่วนตัวผม เขาก็มาเชิญให้ไปเป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน ซึ่งก็จะไปเข้าร่วมเปิดงานด้วยความเป็นกลาง” นายแก่นเพชร กล่าว

ขณะเดียวกันในวันนี้ เวลาประมาณ 13.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 2 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. กรุงเทพฯ ก็ได้มีการประชุม คณะกรรมการศึกษา ติดตามกระบวนการขออนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกเพื่อวางกรอบแนวทางในการดำเนินการของคณะกรรมการฯ และได้มีการนำประเด็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อรายงาน EHIA โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรฯ เข้าพิจารณาร่วมกันด้วย

โดย นายเลิศศักดิ์  คำคงศักดิ์  ผู้ประสานงานงานโครงการขับเคลื่อนโยบานสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ หนึ่งในคณะกรรมการศึกษาติดตามกระบวนการขออนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงข้อสรุปของคณะกรรมการฯ ต่อการดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรฯ ของบริษัทเอพีพีซีและบริษัททีมฯ ว่า

“เรื่องการศึกษา EHIA หรือ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของบริษัทเอพีพีซี นั้น ไม่ได้ถูกระบุในข้อกฎหมายว่าต้องทำ เพราะโครงการเหมืองแร่โปแตชที่อุดรฯ ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นโครงการรุนแรงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 แต่ บริษัทอยากจะทำขึ้นมาเพื่อสร้างภาพให้สังคมเห็นว่าบริษัทดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ซึ่งเมื่อทำขึ้นมาแล้วไม่ต่างอะไรไปจากการหลอกประชาชน”

นายเลิศศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เมื่อมีการนำเรื่องการจัดเวที EHIA ของบริษัทที่กำลังจะจัดขึ้นมาหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการฯ นั้น จึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะมีการทำหนังสือในนามของคณะกรรมการชุดนี้  ไปยังบริษัท เพื่อขอความร่วมมือให้บริษัท ยุติการจัดเวทีไปก่อน เพราะเป็นห่วงถึงความขัดแย้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และขณะนี้คณะกรรมการกำลังอยู่ในระหว่างการวางแนวทางในการดำเนินการเพื่อจะศึกษาตรวจสอบการขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี  กระบวนการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการขอประทานบัตร ซึ่ง การศึกษา EHIA ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย ควรต้องยุติไว้ก่อน เพื่อรอผลการศึกษาและตรวจสอบของคณะกรรมการให้แล้วเสร็จเสียก่อน” เลิศศักดิ์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: บทสรุปเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012 (ตอนจบ)

Posted: 21 May 2012 06:47 PM PDT

“ประเทศฝรั่งเศสได้มีประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว และนี่เป็นการตัดสินใจของสาธารณรัฐประชาธิปไตย คุณ ฟรองซัวส์ อัลลองด์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเราต้องเคารพการตัดสินใจครั้งนี้ เป็นการกล่าวเริ่มต้นสุนทรพจน์ของ ซาร์โกซี ในการยอมรับความพ่ายแพ้ทันทีหลังทราบผลการเลือกตั้ง

ถึงแม้พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ซาร์โกซี ก็ยอมรับอย่างลูกผู้ชายโดยไม่หวังอำนาจมืดเพื่อพลิกกลับให้เขาเป็นประธายาธิบดี เขาแสดงความยินดีกับอัลลองด์ ที่เป็นศัตรูกันชนิดอยู่รวมกันไม่ได้ในระหว่างการแข่งขันอันดุเดือด “ผมเพิ่งได้โทรศัพท์ไปหาเขาและแสดงความยินดี ผมหวังว่าให้เขาโชคดีในสภาวการณ์ขณะนี้ ผมหวังจากก้นบึวหัวใจให้ประเทศฝรั่งเศสที่รวมเราเป็นหนึ่งเดียวกัน จะประสบความสำเร็จผ่านเหตุการณ์ขณะนี้ เพราะมันเปนเรื่องหนักหนาใหญ่โตมาก มากกว่าประเทศของเราบ้านเมืองของเราฝรั่งเศส”

และซาร์โกซี ไม่ลืมที่จะขอบคุณประชาชนที่เลือกเขาและ ผู้สนับสนุนตลอดมา ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจ และประธานาธิบดีคือผู้ที่ได้รับเกียรติจากประชาชนในการไว้วางใจเพื่อบริหารประเทศ “ผมอยากขอบคุณชาวฝรั่งเศสทุกคนที่ได้เลือกผม ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ถูกรับเลือกเพื่อบริหารประเทศมาห้าปี ผมจะไม่ลืมเกียรติอันสูงสุดนี้ตลอดชีวิตชายคนหนึ่ง” “ผมต่างหากที่ต้องขอบคุณพวกท่าน เพราะการบริหารประเทศฝรั่งเศสนั้นเป็นเกียรติอันสูงสุด”

และท้ายสุดในฐานะหัวหน้าพรรค UMP ที่นำพรรคแพ้การเลือกตั้ง ซาร์โกซี ประกาศรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว “ผมไม่ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวเสียงส่วนใหญ่ชาวฝรั่งเศส แต่เราได้ทำการรณรงค์หาเสียงที่ไม่มีวันลืม” “ผมขอรับผิดชอบในการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ผมต่อสู้เพื่อคุณค่าของความรับผิดชอบ และผมไม่ใช่ผู้ชายที่หลีกหนีความรับผิดชอบ”

สุนทรพจน์ของซาร์โกซี นับว่าทำได้ดีและปิดฉากชีวิตการเมืองของเขาอย่างสวยงาม ซาร์โกซี ประกาศรับผิดชอบกับความพ่ายแพ้นี้เพียงผู้เดียวโดยไม่โทษประชาชนที่เลือกฝ่ายตรงข้ามว่า โง่บ้างเป็นควายบ้างหรือรับเงินอัลลองด์แต่อย่างใด เขาไม่โทษทีมงานหาเสียงที่ลำบากมาด้วยกัน สิ่งที่เขาโทษเพียงอย่างเดียวคือ เขาไม่สามารถโน้มน้าวคนฝรั่งเศสส่วนใหญ่ให้เลือกเขา ซาร์โกซี แสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค UMP ทันทีและประกาศไม่ขอเป็นผู้นำในการหาเสียงให้พรรค UMP ในการเลือกตั้งสมาชิกนิติบัญญัติที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ หนังสือพิมพ์และสำนักข่าวต่างชื่นชมในสุนทรพจน์และการตัดสินใจของเขา และวิเคราะห์ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาที่ย่ำแย่ให้ดีขึ้นอย่างมาก

ซาร์โกซี จะดำรงรักษาการณ์ตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคมซึ่งจะมีพิธีเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีคนใหม่ ในระหว่างนั้นซาร์โกซี พยายามรื้อฟื้นความปรองดองในประเทศ โดยเขาเชิญ อัลลองด์ เข้าร่วมพิธีให้ความเคราพทหารที่ตายไปในสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม อันเป็นวันประกาศชัยชนะของฝรั่งเศส ที่ประตูชัย ปารีส นับเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสสองคนมาประกอบพิธีร่วมกัน และประธานาธิบดีสองคนนี้ต่างมาจากคนละพรรคการเมือง คนละอุดมการณ์การเมืองที่ขับเคี่ยวกันเอาเป็นเอาตายในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เฉกเช่นเคยเกิดขึ้นแล้ว เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1995 โดยฟรองซัวส์ มิตเตอรองด์ ประธานาธิบดีคนเก่าจากพรรคฝ่ายซ้าย ร่วมพิธีกับ ฌัก ชีรักประธานาธิบดีคนใหม่จากพรรคฝ่ายขวา

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: บทสรุปเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012 (ตอนจบ)

ในวันนั้น ปรากฏภาพคู่กัดสองคนจับมือร่วมกันถือคบไฟและจุดเทียนขึ้นหน้าหลุมศพทหารไร้ชื่อ พิธีการนี้กินเวลาประมาณยี่สิบนาทีและถ่ายทอดทั่วประเทศแต่กลับส่งผลประโยชน์มหาศาล Guillaume Bernard นักรัฐศาสตร์และอาจารย์จาก Sciences Po. วิเคราะห์ว่าประธานาธิบดีทั้งสองนี้ต้องการลดความขัดแย้งเพื่อที่จะให้การเมืองดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับ ซาร์โกซี ดีขึ้นมาด้วย

ทางด้านอัลลองด์ การได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีนอกจากเป็นความสำเร็จของเขาแล้ว แต่ยังเป็นการเริ่มต้นของภาระหน้าที่ต่างๆตามมา ภายใน 100 วันอันตรายเขาต้องดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ ซึ่งนโยบายต่างๆได้แก่ การลดเงินเดือน 30% ของประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี การเพิ่มเงินอุดหนุนนักเรียนอีก 25% การควบคุมราคาน้ำมันเป็นเวลาสามเดือน นโยบายช่วยเหลือให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงที่พักได้มากขึ้น นโยบายประกันเงินฝากเพื่อรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ให้สูงกว่าค่าเงินเฟ้อ นโยบายลดอายุการเกษียณงานเป็น 60 ปีเช่นเดิม ทบทวนนโยบายนักเรียนต่างชาติใหม่อีกครั้งจากที่รัฐบาลที่แล้วมีนโยบายกีดกันนักเรียนต่างชาติในการเรียนละหางานทำต่อได้อย่างยากลำบาก

ในด้านต่างประเทศ ต้องหารือกับอังเกลา แมร์เคิล( Angela Merkel) นายกรัฐมนตรีของเยอรมัน เพื่อหานโยบายในหารแก้ปัญหาวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นที่กรีซและลามไปทั่วยุโรป นอกจากนี้ยังต้องส่งสัญญาณไปยังผู้นำและรัฐบาลต่างๆเพื่อหาความร่วมมือในการรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นในยุโรป และดัดแปลงสานต่อสนธิสัญญาในการสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงในสหภาพยุโรป

ในด้านการทหาร โน้มน้าวให้สมาชิกกองกำลัง นาโต ถอนทหารออกจากอัฟกันนิสถาน ให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ และนำเรื่องนี้มาประชุมในการประชุม G8 วันที่ 18-19 พฤษภาคม และการประชุม นาโต 20-21 พฤษภาคม

และวันที่ 15 พฤษภาคม ก็มาถึง วันเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการหรือวันส่งผ่านอำนาจ ซึ่งพิธีนี้เป็นส่วนผสมของระบอบเก่าและระบอบใหม่ไว้ด้วยกัน ต้นกำเนิดเริ่มต้นมีตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน แต่เมื่อถึงกาลปัจจุบันพิธีการณ์นี้ก็ปรับตัวตามเช่นกัน เมื่อปัจจุบันอำนาจรัฐไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคล ความคงอยู่ของรัฐไม่ได้จากไปตามการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ เราจึงสามารถเห็นภาพที่ผู้นำคนเก่ามอบอำนาจให้ผู้นำคนใหม่โดยไม่มีการหลั่งเลือด

เวลาสิบโมงเช้าอัลลองด์ เดินผ่านลานเกียรติยศเข้าพบซาร์โกซี หลังจากนั้นทั้งสองคนพูดคุยกัน และที่สำคัญคือการให้เอกสารและรหัสลับของอาวุธนิวเคลียร์ ช่วงนี้กินเวลาประมาณสี่สิบห้านาที แล้วอัลลองด์ จึงเข้าพบ Jean-Louis Debré ประธานที่ปรึกษารัฐธรรมนูญเพื่อประกาศผลการเลือกตั้ง และประกาศการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และอัลลองด์ กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดี ลำดับถัดไป ทางกองทัพจึงติดเหรียญเกียรติยศให้อันเป็นสัญลักษณ์เพื่อเป็นเกียรติกับกองทัพในฐานะหัวหน้ากองทัพ และแล้วจะมีการยิงสลุตต่อเนื่องกัน 21 นัด ซึ่งเป็นพิธีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่เป็นสาธารณรัฐเก่า หลังจากนั้นเวลาสิบเอ็ดโมงเช้า อัลลองด์ จะเข้าไปห้องจัดเลี้ยงเพื่อต้อนรับสมาชิกพรรคและบุคคลสำคัญที่มาร่วมยินดี โดยครั้งนี้ภรรยาเก่าและลูกๆของเขาได้ปฏิเสธคำเชิญที่จะเข้าร่วม เพื่อไม่ให้เรื่องครอบครัวกลายเป็นประเด็นสำคัญมาถกเถียง

หลังจากเสร็จงานเลี้ยงรับรองแล้วในช่วงบ่าย ในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ ต้องออกเดินทางเพื่อขอบคุณประชาชนและ คารวะบุคคลสำคัญของฝรั่งเศส การเยี่ยมคารวะบุคคลสำคัญนี้ไม่ได้ตีกรอบว่าต้องไปเคารพเฉพาะผู้ที่เป็นทหารหรือกษัตริย์แต่รวมถึงสาขาวิชาชีพอื่นๆที่ทำคุณประโยชน์ให้ชาติ โดยครั้งนี้เขาได้เลือกไปที่ประตูชัยเป็นอันดับแรกเพื่อคารวะทหารไร้ชื่อที่ตายไปในสงครามเพื่อฝรั่งเศส ถัดจากนั้นเขาเลือกไปคารวะ จูลส์ เฟอรรี (Jules Ferry) ที่สวน Tuileries และ มารี คูรี(Marie Curie) ที่สถาบัน มารี คูรี มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่าการเลือกบุคคลสำคัญสองท่านนี้เป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง เพราะจูลส์ เฟอรรี เป็นบิดาผู้พัฒนาการศึกษา โดยผลักดันให้มีการศึกษาฟรีทั่วถึงแก่เด็กๆทุกคนในฝรั่งเศส ส่วนมารี คูรี นั้นนอกจากเธอได้รางวัลโนเบลสาขา ฟิสิกส์และเคมี และเป็นคนพบแร่ธาตุสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาสารกัมมันตภาพรังสีและนิวเคลียร์ เธอยังเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาเติบโตในประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ประธานาธิบดีคนใหม่ก็ไม่มีเวลาให้หยุดพักและต้องบินไปเยอรมนีทันทีเพื่อพบ อังเกลา แมร์เคิล เป็นครั้งแรก และหารือถึงการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจกันอีกครั้ง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ลี้ภัยในกรุงเทพฯ กับอิสรภาพที่ยังมาไม่ถึง

Posted: 21 May 2012 02:58 PM PDT

คลิกเพื่อรับชม "ผู้ลี้ภัยในกรุงเทพฯ กับอิสรภาพที่ยังมาไม่ถึง"

 

ประชาไท - มีผู้หนีภัยประหัตประหารและการทรมานจากประเทศต่างๆ มากกว่า 2,000 คน เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร พวกเขารอการรับรองสถานะผู้ลี้ภัยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและ­­­การตอบรับเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐไทยไม่เคยยอมรับในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 ทำให้พวกเขามีสถานะเพียง "ผู้หลบหนีเข้าเมือง" ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในรายงานพิเศษ "ผู้ลี้ภัยในกรุงเทพฯ กับอิสรภาพที่ยังมาไม่ถึง" โดยผู้สื่อข่าวประชาไทที่ท่านกำลังรับชมนี้ นำเสนอเรื่องราวของ "พฤษะเพีย เพ็ญ" ผู้สื่อข่าวและนักเขียนหนุ่มจากกัมพูชาที่ต้องเข้ามาลี้ภัยในกรุงเทพฯ หลังหนังสือเกี่ยวกับความรู้รอบตัวที่เขาเป็นผู้แต่ง กลายเป็นหนังสือต้องห้ามเนื่องจากมีเนื้อหาวิจารณ์การคอรัปชั่นของรัฐบาล โดยระหว่างรอสถานะผู้ลี้ภัย เขาต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพหลากหลายชนิด นับตั้งแต่รับจ้างห่อผักที่ตลาดสี่มุมเมือง จนถึงสอนหนังสือให้ลูกหลานชาวกัมพูชาที่มาทำงานในกรุงเทพ

ขณะที่ "เจน" หญิงสาวผู้ฝึกฝ่าหลุนกงชาวจีน ต้องหนีเข้ามาในประเทศไทย หลังทางการจีนกวาดล้างผู้ฝึกฝ่าหลุนกงขนานใหญ่ เจนเปิดเผยด้วยว่า แม้เพื่อนชาวจีนที่เธอรู้จักจำนวนมากจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยแล้ว แต่ก็ยังคงเผชิญการสถานการณ์ถูกเลือกปฏิบัติขณะที่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ

โดยทั้งพฤษะเพีย และเจน ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่มั่นคงในระหว่างที่รอการเดินทางต่อไปยังแผ่นดินใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามและข้อเสนอจากองค์กรให้ความช่วยเหลือเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้รับการปก­­­ป้องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น