โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศาลแพ่งรับฟ้องคดีครูฝึกซ้อมพลทหารวิเชียรจนตาย เรียก14ล้าน

Posted: 28 May 2012 10:44 AM PDT

ญาติพลทหารวิเชียรยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 14 ล้าน กรณีถูกครูฝึกทรมานจนเสียชีวิต  ศาลแพ่งรับฟ้องและมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้รายงานว่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่  24 พฤษภาคม 2555  เวลา 10.00 น.  ที่ศาลแพ่ง  ( รัชดา ) ญาติของพลทหารวิเชียร เผือกสม ได้ยื่นฟ้องกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย กรณีครูฝึกได้ลงโทษพลทหารวิเชียรโดยการทรมาน เป็นเหตุให้พลทหารวิเชียรเสียชีวิต โดยญาติของพลทหารวิเชียรได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมเป็นเงินกว่า 14 ล้านบาท และขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนเพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เนื่องจากญาติของพลทหารวิเชียร โจทก์ในคดีนี้มีฐานะยากจน 

เวลา 13.30 น.ศาลแพ่งได้มีคำสั่งไต่สวนคำร้องของโจทก์ในการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล โดยศาลได้ไต่สวนพยานโจทก์ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เข้าเบิกความ หลังการไต่สวนศาลได้มีคำสั่งในวันเดียวกันว่า ในทางไต่สวนเชื่อได้ว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล และหากไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร จึงมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลรับฟ้องของโจทก์และนัดชี้สองสถานในวันที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลา 13.00 น.

ที่มา:ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกษตรกร-เอ็นจีโอ เดินหน้าฟ้อง “ศาลปกครอง” ร้องเลิก “คดีโลกร้อน”

Posted: 28 May 2012 10:42 AM PDT

เครือข่ายชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากคดีโลกร้อนเหนือ-ใต้-อีสาน รวมตัวฟ้อง “กรมอุทยานฯ-ป่าไม้” ต่อศาลปกครอง ร้องเพิกถอนการใช้แบบจำลอง ชี้ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ คิดค่าเสียหายเกินกว่า กม.ให้อำนาจ

 
 
ภาพโดย: ฮาริ บัณฑิตา
 
เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. วันนี้ (28 พ.ค.) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ตัวแทนเครือข่ายชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการนำแบบจำลองการคิดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (คดีโลกร้อน) มาบังคับใช้ดำเนินคดีแพ่ง 23 องค์กร กว่า 100 คน เข้ายื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้บังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน พร้อมให้ผู้ถูกฟ้องร้องคดีทั้งสองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนนำแบบจำลองใหม่มาบังคับใช้
 
การยื่นคำร้องครั้งนี้เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่าการคิดคำนวณค่าเสียหายโดยใช้แบบจำลองฯ เป็นการคิดค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่สอดคล้องความเป็นจริง มีข้อผิดพลาดบกพร่องอย่างร้ายแรงหลายประการ รวมทั้งการใช้แบบจำลองไปเรียกค่าเสียหาย เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66 และ 67 ที่บัญญัติรับรองคุ้มครองในเรื่องสิทธิชุมชนของประชาชนเอาไว้
 
นายบุญ แซ่จุ่ง ผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า ความคิดเห็นต่อแบบจำลองเพื่อคิดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจากนักวิชาการอิสระด้านวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ 16 คน ระบุว่ารายงานวิจัยดังกล่าวยังไม่เคยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง คุณภาพของงานวิจัยอยู่ในระดับไม่น่าพอใจ รายงานวิจัยยังไม่เหมาะสมมีข้อต้องปรับปรุงหลายประการ และนักวิชาการเกือบทั้งหมดสรุปว่าผลการประเมินโดยรวมแล้วผลงานวิจัยอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี
 
ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนที่เข้ายื่นเรื่อง อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์ องค์กรชุมชนบ้านพรสวรรค์ จ.เชียงใหม่ มูลนิธิอันดามัน ฯลฯ
 
จากนั้น เวลา 13.30 น. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด และเครือข่ายชาวบ้านได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้ายื่นหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหาคดีความโลกร้อนของรัฐบาล ที่ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 พร้อมเรียกร้องให้เร่งรัดให้แก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน
 
หลังจากมีการเข้าพบและเจรจากับนายยงยุทธ ผู้ชุมนุมได้แยกย้ายเดินทางกลับเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.
 
ทั้งนี้ นโยบายในข้อ 5.4 ระบุว่า รัฐบาลจะสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ การปฏิรูปการจัดการที่ดินจะเกิดขึ้นได้จะต้องทำให้เกิดการกระจายสิทธิในที่ดินอย่างยั่งยืน แนวทางสำคัญคือจะใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย จะผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล จะทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน
 
สำหรับการฟ้องดำเนินคดีแพ่งโดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ใช้มาตรา 97 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เป็นฐานในการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และนำหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ทส.0911.2/2181 ลงวันที่ 6 ก.พ.47 ที่กำหนดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นหลักเกณฑ์ในการขอให้ศาลฯ สั่งเรียกค่าเสียหาย
 
รายละเอียดการคิดค่าเสียหายแบ่งเป็น 7 กรณี คือ 1.ค่าการสูญหายของธาตุอาหาร 2.ค่าทำให้ดินไม่ซับน้ำฝน 3.ค่าทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์ 4.ค่าทำให้ดินสูญหาย 5.ค่าทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 6.ค่าทำให้ฝนตกน้อยลง 7.มูลค่าความเสียหายโดยตรงจากป่า 3 ชนิด คือ การทำลายป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง รวมเป็นเงินที่ชาวบ้านต้องจ่ายประมาณ 150,000 บาทต่อไร่ต่อปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กะพ้อเดือด ระเบิดรถ อส. ดับ 4

Posted: 28 May 2012 10:26 AM PDT

คนร้ายกดระเบิดถังดับเพลิงซ่อนในท่อใต้ถนน อส. ดับสี่  เจ็บสาม ตำรวจแจงสองเดือน อส. เสียชีวิตรวมแปดคน 

รายงานข่าวศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาคสี่ส่วนหน้า แจ้งว่าเวลา 12.30 น. วันที่ 28 พฤษภาคม 2555  เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) 7  นายได้ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนและรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ขณะนั่งรถกระบะกลับมาจากการปฏิบัติภารกิจ และรถวิ่งผ่านถนนลูกรังที่บ้านกอลี หมู่ที่ 6 ต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ผู้ก่อเหตุไม่ทราบจำนวนซุ่มอยู่ในป่าข้างทางห่างจากถนนประมาณ200  เมตร คนร้ายได้กดระเบิดชนิดลากสายที่บรรจุในถังดับเพลิงและซุกซ่อนอยู่ในท่อข้างถนน จากนั้นได้ระดมยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 3 คนคือ นายนิมะ มะแซ อายุ 32 ปี นายอับดุลเลาะ หะแว อายุ 40 ปี  และนายมูฮัมหมัดรอมีซู ยูโซะ อายุ 24 ปี  มีอส.ที่ได้รับบาดเจ็บอีก 4  นายประกอบด้วย นายอานัดนันต์ ซาตา อายุ 26 ปี นายสมนึก นิรันดร์พุฒ อายุ 41 ปี นายอาลียะ ซอแร อายุ 41 ปี และ นายมะซูรี อาโกะ อายุ 28 ปี          

พ.ต.อ.มนตรี คงวัดใหม่ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ให้ข้อมูลว่านายอาลียะทนพิษบาดแผลไม่ไหวและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา

พ.ต.อ.มนตรีกล่าวว่าอำเภอกะพ้อซึ่งมีทั้งหมดสามตำบลเป็นพื้นที่สีแดง เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มนายมะดารี ตาเย๊ะ อายุ 40  ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าเหตุครั้งนี้อาจจะเป็นฝีมือของกลุ่มดังกล่าวซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในอ.สายบุรี และอ.ปะนาเระในจ.ปัตตานี โดยทั้งสองกลุ่มได้มีการปฏิบัติการข้ามพื้นที่ระหว่างกัน  ในการปฏิบัติการครั้งนี้ คนร้ายหวังจะขโมยอาวุธของเจ้าหน้าที่ อส.ไปด้วย แต่แรงระเบิดทำให้อาวุธประจำตัวของอส.ได้รับความเสียหาย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ อส.ที่รอดชีวิตได้ยิงตอบโต้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องล่าถอยไป  

พ.ต.อ.มนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีเหตุโจมตีที่มุ่งชีวิตเจ้าหน้าที่อส. อำเภอกะพ้ออย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 9   เมษายน นายอับดุลนาเซ กาตูเลาะ อายุ 50 ปีถูกยิงเสียชีวิต วันที่ 11 เมษายน นายเซ กาตูเลาะ อายุ 50 ปี และนายมะนาเซ็ง แบรอ อายุ 49 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ล่าสุดคือเหตุยิงนายรอยะ บาฮา อายุ 52 ปี ซึ่งเป็นอส.อำเภอเดียวกันเสียชีวิตอีกรายในวันที่ 16 พฤษภาคม ในเหตุดังกล่าว ผู้ร้ายยังได้ขโมยอาวุธประจำตัวของผู้เสียชีวิตไปด้วย และเชื่อว่าเป็นอาวุธเดียวกันที่ใช้ในการก่อเหตุในพื้นที่  

“การปฏิบัติการของฝ่ายก่อเหตุจะมุ่งเอาชีวิตเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหลักอยู่แล้วและเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก ซึ่ง ชุดอส.ของพื้นที่ถูกยิงหลายครั้ง แต่เหตุระเบิดเพิ่งมีครั้งแรก นับจากที่ผมลงมารับภารกิจในพื้นที่ประมาณเดือนที่ผ่านมา” พ.ต.อ.มนตรี กล่าว  

วันเดียวกัน ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินของกอ.รมน. ภาคสี่ส่วนหน้า รายงานว่าในเวลา 13.15 น.คนร้ายจำนวน 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะ ใช้อาวุธปืนพกประกบยิงนางสาวมยุรี ไชยอุมา อายุ 32 ปี กระสุนปืนถูกบริเวณศีรษะหนึ่งนัด ได้รับบาดเจ็บสาหัส ได้นำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา เหตุเกิดบนถนนบนถนนสิโรรส ซอย 3 ในอ.เมือง จ.ยะลา

พ.ท.พิเชษฐ์ ชุติเดโช ผบ.ฉก.ยะลา 11 กล่าวว่า “กรณีนี้มีน้ำหนักไปทางเหตุส่วนตัวเป็นหลัก เนื่องจากอาวุธที่คนร้ายใช้ไม่ใช่อาวุธสงคราม และผู้ได้รับบาดเจ็บเคยมีประวัติถูกตรวจค้นสิ่งเสพติดและอีกเหตุที่คาดว่าน่าจะมีส่วนคือ เรื่องชู้สาว”   พ.ท.พิเชษฐ์ กล่าวว่าอาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุเป็นอาวุธปืนไทยประดิษฐ์หรือลูกซองสั้น ซึ่งหลังก่อเหตุคนร้ายได้ทำอาวุธปืนตกไว้ไม่ไกลจากพื้นที่  

 

เครดิตภาพ : สปริงนิวส์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กะพ้อเดือด ระเบิดรถ อส. ดับ 4

Posted: 28 May 2012 10:24 AM PDT

คนร้ายกดระเบิดถังดับเพลิงซ่อนในท่อใต้ถนน อส. ดับสี่  เจ็บสาม ตำรวจแจงสองเดือน อส. เสียชีวิตรวมแปดคน 

 

รายงานข่าวศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาคสี่ส่วนหน้า แจ้งว่าเวลา 12.30 น. วันที่ 28 พฤษภาคม 2555  เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) 7  นายได้ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนและรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ขณะนั่งรถกระบะกลับมาจากการปฏิบัติภารกิจ และรถวิ่งผ่านถนนลูกรังที่บ้านกอลี หมู่ที่ 6 ต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ผู้ก่อเหตุไม่ทราบจำนวนซุ่มอยู่ในป่าข้างทางห่างจากถนนประมาณ200  เมตร คนร้ายได้กดระเบิดชนิดลากสายที่บรรจุในถังดับเพลิงและซุกซ่อนอยู่ในท่อข้างถนน จากนั้นได้ระดมยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 3 คนคือ นายนิมะ มะแซ อายุ 32 ปี นายอับดุลเลาะ หะแว อายุ 40 ปี  และนายมูฮัมหมัดรอมีซู ยูโซะ อายุ 24 ปี  มีอส.ที่ได้รับบาดเจ็บอีก 4  นายประกอบด้วย นายอานัดนันต์ ซาตา อายุ 26 ปี นายสมนึก นิรันดร์พุฒ อายุ 41 ปี นายอาลียะ ซอแร อายุ 41 ปี และ นายมะซูรี อาโกะ อายุ 28 ปี          

พ.ต.อ.มนตรี คงวัดใหม่ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ให้ข้อมูลว่านายอาลียะทนพิษบาดแผลไม่ไหวและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา

พ.ต.อ.มนตรีกล่าวว่าอำเภอกะพ้อซึ่งมีทั้งหมดสามตำบลเป็นพื้นที่สีแดง เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มนายมะดารี ตาเย๊ะ อายุ 40  ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าเหตุครั้งนี้อาจจะเป็นฝีมือของกลุ่มดังกล่าวซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในอ.สายบุรี และอ.ปะนาเระในจ.ปัตตานี โดยทั้งสองกลุ่มได้มีการปฏิบัติการข้ามพื้นที่ระหว่างกัน  ในการปฏิบัติการครั้งนี้ คนร้ายหวังจะขโมยอาวุธของเจ้าหน้าที่ อส.ไปด้วย แต่แรงระเบิดทำให้อาวุธประจำตัวของอส.ได้รับความเสียหาย ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ อส.ที่รอดชีวิตได้ยิงตอบโต้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องล่าถอยไป  

พ.ต.อ.มนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีเหตุโจมตีที่มุ่งชีวิตเจ้าหน้าที่อส. อำเภอกะพ้ออย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 9   เมษายน นายอับดุลนาเซ กาตูเลาะ อายุ 50 ปีถูกยิงเสียชีวิต วันที่ 11 เมษายน นายเซ กาตูเลาะ อายุ 50 ปี และนายมะนาเซ็ง แบรอ อายุ 49 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ล่าสุดคือเหตุยิงนายรอยะ บาฮา อายุ 52 ปี ซึ่งเป็นอส.อำเภอเดียวกันเสียชีวิตอีกรายในวันที่ 16 พฤษภาคม ในเหตุดังกล่าว ผู้ร้ายยังได้ขโมยอาวุธประจำตัวของผู้เสียชีวิตไปด้วย และเชื่อว่าเป็นอาวุธเดียวกันที่ใช้ในการก่อเหตุในพื้นที่  

“การปฏิบัติการของฝ่ายก่อเหตุจะมุ่งเอาชีวิตเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหลักอยู่แล้วและเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก ซึ่ง ชุดอส.ของพื้นที่ถูกยิงหลายครั้ง แต่เหตุระเบิดเพิ่งมีครั้งแรก นับจากที่ผมลงมารับภารกิจในพื้นที่ประมาณเดือนที่ผ่านมา” พ.ต.อ.มนตรี กล่าว  

วันเดียวกัน ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินของกอ.รมน. ภาคสี่ส่วนหน้า รายงานว่าในเวลา 13.15 น.คนร้ายจำนวน 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็นพาหนะ ใช้อาวุธปืนพกประกบยิงนางสาวมยุรี ไชยอุมา อายุ 32 ปี กระสุนปืนถูกบริเวณศีรษะหนึ่งนัด ได้รับบาดเจ็บสาหัส ได้นำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา เหตุเกิดบนถนนบนถนนสิโรรส ซอย 3 ในอ.เมือง จ.ยะลา

พ.ท.พิเชษฐ์ ชุติเดโช ผบ.ฉก.ยะลา 11 กล่าวว่า “กรณีนี้มีน้ำหนักไปทางเหตุส่วนตัวเป็นหลัก เนื่องจากอาวุธที่คนร้ายใช้ไม่ใช่อาวุธสงคราม และผู้ได้รับบาดเจ็บเคยมีประวัติถูกตรวจค้นสิ่งเสพติดและอีกเหตุที่คาดว่าน่าจะมีส่วนคือ เรื่องชู้สาว”   พ.ท.พิเชษฐ์ กล่าวว่าอาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุเป็นอาวุธปืนไทยประดิษฐ์หรือลูกซองสั้น ซึ่งหลังก่อเหตุคนร้ายได้ทำอาวุธปืนตกไว้ไม่ไกลจากพื้นที่  

 

เครดิตภาพ : สปริงนิวส์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: จีน ไทยพุทธ มุสลิมมลายูร่วมสนทนาข้ามศาสนาดับไฟใต้

Posted: 28 May 2012 09:16 AM PDT

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมายาวนานกว่าแปดปีได้ทำให้สายสัมพันธ์ของคนต่างศาสนาที่เคยดีต่อกันต้องจืดจาง ห่างเหิน เกิดความหวาดระแวงต่อกันมากยิ่ง ในขณะที่เสียงปืนและระเบิดยังคงดังอยู่ ภาคประชาสังคมได้พยายามจัดพื้นที่กลางให้คนต่างศาสนาและชาติพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีเวทีแลกเปลี่ยนกันได้มาสนทนาและครุ่นคิดถึงทางออกของการดับไฟใต้ร่วมกัน

มูลนิธิศักยภาพชุมชน (People Empowerment Foundation) ได้เริ่มจัดเวทีการเสวนาระหว่างกลุ่มไทยพุทธ มลายูมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีนตั้งแต่ปี 2554 โดยได้จัดเวทีย่อยทั้งสิ้น 70 เวที มีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คน โดยได้จัดเวทีรวมครั้งสุดท้ายที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 4 – 5 มีนาคม 2555 ภายใต้หัวข้อ “ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้และทางออกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ความเห็นของผู้หญิง เยาวชน และผู้นำชุมชน” และได้นำรวบรวมการเสวนามาจัดพิมพ์เป็นรายงานและมีการแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555 ที่กรุงเทพฯ

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชนอธิบายว่ารายงานนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นครั้งแรกที่เป็นการรวบรวมข้อเสนอมาจากประชาชนในพื้นที่ แต่เราได้นำพี่น้องสามชาติพันธุ์และศาสนาซึ่งมีความหวาดระแวงซึ่งกันและกันมานั่งฟังว่าแต่ละฝ่ายคิดเห็นอย่างไร และต้องการเสนอทางออกอย่างไร

“เท่าที่ดูการเสนอทางออกเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานรัฐหรือเป็นรูปแบบข้อเสนอจากงานวิจัย ซึ่งส่วนสำคัญที่คิดว่ายังขาดคือ การดึงข้อเสนอจากประชาชนตัวเล็กตัวน้อย ที่เผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ไม่เคยได้มีส่วนในการเสนอข้อเสนอในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน” นางชลิดากล่าว

นางชลิดาเล่าว่าการเดินทางไปจัดเวทีในพื้นที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ที่เข้าใจสภาพความเป็นจริงในพื้นที่นั้นๆ บางพื้นที่ก็เข้าถึงยาก ต้องให้เครือข่ายออกแบบวิธีการดึงข้อเสนอจากชาวบ้านในแบบที่ไม่เป็นทางการ และแยกการสนทนากับชาวบ้านไทยพุทธ ไทยเชื้อสายจีน และมลายูมุสลิม ซึ่งผู้เข้าร่วมนั้นมาจากทั้งพื้นที่สีแดง เหลืองและเขียว

ข้อสรุปหลักในการพูดคุยข้ามศาสนาคือ “ปัญหาการเมืองเป็นหลัก ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ให้มีการลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่อย่างที่ทำอยู่ อย่าเหมารวม คนไทยพุทธที่รักคนมลายูก็ยังมี และมลายูเสียใจที่คนไทยพุทธถูกกระทำ ประชาชนไม่สนับสนุนความรุนแรง เขาอยากสะท้อนเสียงออกไป ให้ลดอาวุธลง จำกัดการใช้ ควรมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์กับสาธารณะ สื่อสำคัญมาก ไม่หวังความจริงจากสื่อกระแสหลัก ยินดีให้สื่อทางเลือกช่วย”

ชาวบ้านทั้งสามชาติพันธุ์พูดตรงกันว่าปัญหาในพื้นที่ผสมปนเป ยากที่จะแยกแยะ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดนเพียงอย่างเดียว แต่ยังเรื่องความขัดแย้งอื่น เช่น การเมือง ยาเสพติด ค้าของเถื่อน และการแย่งชิงงบประมาณ

ในการประชุมกลุ่มย่อยมีข้อเสนอของแต่ละกลุ่ม ดังนี้ ข้อเสนอจากกลุ่มเยาวชนบอกว่าเราควรจะ สอดส่องดูแลกันและกัน รัฐต้องเปิดเวที ประชาชนต้องเดินหน้าต่อไป ควรมีการเจรจากับขบวนการ พัฒนาเยาวชน ดูแลเรื่องอาชีพ ปัญหายาเสพติด ต้องเอาเศรษฐกิจมาแก้และเพิ่มการพัฒนาคุณธรรมให้เยาวชนและผู้นำ

ส่วนกลุ่มผู้หญิงเรียกร้องให้มีการจัดเวทีพูดคุยในชุมชนของคนทุกศาสนา เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว เพื่อขจัดปัญหายาเสพติด ปลูกฝังแต่สิ่งดีๆให้ลูกๆ และยังมองว่าภายในชุมชนยังขาดความสามัคคี ซึ่งเกิดจากผู้นำและชุมชนมีความห่างเหินกัน กลุ่มผู้หญิงทั้งสามศาสนายังยืนยันว่าคนที่ทำร้ายผู้อื่นเป็นคนที่ไร้ศาสนา

กลุ่มผู้นำชุมชนมลายูเสนอว่าให้มีการลดอาวุธและจำกัดการใช้ในที่สาธารณะ ปฏิบัติให้เสมอภาคกัน ในภาวะแบบนี้ ประชาชนต้องอยู่ตรงกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และต้องมีจุดยืน มีข้อเสนอให้ขบวนการและรัฐ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยยึดหลักปฏิบัติทางศาสนาและความเป็นธรรม

กลุ่มผู้นำชาวพุทธเสนอว่าการยุติความรุนแรงผู้นำชุมชนไทยพุทธและมลายูต้องร่วมมือกัน ต้องให้การศึกษาเรื่องศาสนาแก่เยาวชน เพราะศาสนาทำให้คนอ่อนโยนมีความรักและเมตตา และต้องทำให้ประชาชนสามศาสนาเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

ในการพูดคุยได้มีข้อสรุปและข้อเสนอ 6 ข้อ คือ หนึ่ง มีข้อสรุปว่าสถานการณ์เกิดขึ้นจากปัญหาการเมือง ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคม ควรจัดสรรบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐให้เหมาะสม ไม่มีการทำงานซ้ำซ้อน สอง ให้จัดเวทีชุมชน ผู้หญิง เยาวชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อร่วมกันหารือถึงปัญหาและให้เกิดการแก้ไขร่วมกัน สาม ให้มีเวทีรวมปีละครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างคนต่างศาสนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน สี่ เข้าร่วมหารือพูดคุยในระดับภูมิภาค เช่น เวทีอาเซียนเพื่อสร้างการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและให้ประชาคมในภูมิภาคได้รับข้อมูลทางตรงจากพื้นที่ ห้า ส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนและการดูแลเด็กกำพร้าในพื้นที่ หก การที่สื่อไม่ลงพื้นที่ทำให้เกิดการรายงานที่ไม่ตรงข้อเท็จจริงและส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิด ประชาชนเชื่อมั่นสื่อทางเลือกมากกว่าสื่อกระแสหลัก

นางชลิดากล่าวว่าการจัดเวทีรวม แล้วให้ทั้งชาวบ้านสามศาสนาและชาติพันธุ์มาเล่าประสบการณ์ตัวเอง และเสนอทางออก ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน และสร้างความเข้าใจในระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถลดความหวาดระแวงต่อกันได้ แต่สิ่งที่ทำให้สังคมเห็นคือ ชาวบ้านยังมีความพยายามจะรักษามิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีที่เคยมีก่อนเหตุรุนแรงจะปะทุขึ้น

ข้อเสนอที่ได้จากชาวบ้านจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาสามจังหวัดโดยตรง ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีและกองทัพด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่อไป นอกจากนี้ ทางภาคประชาสังคมยังต้องการที่จะสื่อสารกับสังคมใหญ่อีกด้วย

“การแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ต้องให้สังคมใหญ่ช่วย ไม่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาของพื้นที่อีกต่อไป สังคมต้องรับรู้ว่านี่คือปัญหาของประเทศ คนเจ็บตายทุกวัน ประชาชนเดือดร้อน ไม่กล้าทำมาหากิน สังคมใหญ่ควรเห็นและรับรู้ว่าในพื้นที่ต้องการให้ปัญหาของเขาแก้อย่างไร เมื่อทุกคนตระหนักว่าเป็นปัญหาร่วมกัน แล้วให้การสนับสนุน จะเกิดเป็นข้อเสนอที่ทรงพลังขึ้นมาทันที รัฐบาลต้องรับฟังและแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน” นางชลิดากล่าวหลังการแถลงข่าวที่กรุงเทพฯ

มูลนิธิศักยภาพชุมชนและเครือข่ายที่ร่วมจัดเวทียังได้แสดงความเห็นไว้ในรายงานด้วยว่าการจัดเวทีนี้ทำให้เห็นว่าหลายคนเปิดใจรับฟังเพื่อนต่างศาสนามากขึ้น จากเดิมที่มองว่า ตนเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้ การลงไปในพื้นที่ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวในการลุกขึ้นมาเสนอทางออก ไม่เหมือนที่ผ่านมา รอเพียงหน่วยงานข้างนอกมาช่วยเหลือ ซึ่งทำได้เพียงบรรเทา แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่รากเหง้าอย่างแท้จริง

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

4 ศพปุโลปุโยประเดิมรับ 7 ล้าน สรุปยอด 5 พันลงทะเบียนเยียวยา

Posted: 28 May 2012 09:10 AM PDT

รัฐมนตรียุติธรรมลงพื้นที่ติดตามการเยียวยาเหยื่อไฟใต้ ส่วนใหญ่ขอความช่วยเหลือด้านอาชีพ เผยยังแจ้งได้อีก ณ ที่ว่าการอำเภอ 4 ศพปุโลปุโยประเดิมรับ 7 ล้าน 29 มิถุนาฯ  ให้ก่อน 3 ล้าน ที่เหลือทยอยให้เป็นรายปี

เยียวยา - พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประธานคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ เยี่ยมนายปรีชา วงค์เอี่ยม ที่ถูกยิงจนขาพิการ ซึ่งนายปรีชา เป็นคนหนึ่งที่จะได้รับเงินเยียวยาตามหลักเกณฑ์ใหม่ของรัฐบาล

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 พฤษภาคม 2555 พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงพื้นที่ติดตามการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ โดยเดินทางไปเยี่ยม นางแก้วตา เขียวยะ ที่บ้านเลขที่ 23 ถนนผังเมือง 5 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งประสบเหตุระเบิดเมื่อปี 2548 ขณะตั้งครรภ์ 6 เดือน จนทำให้บุตรชายพิการแขนขาลีบตั้งแต่กำเนิด

จากนั้นเดินทางไปยังบ้านนายปรีชา วงค์เอี่ยม ในเขตเทศบาลนครยะลา อาชีพเปิดแผงรับทำกุญแจ ซึ่งถูกยิงจนขาพิการทั้ง 2 ข้างเมื่อปี 2547 โดยนายปรีชา ได้ขอโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลของผู้พิการ จากนั้น พล.ต.อ.ประชา เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ห้องประชุมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดเผยว่า สรุปยอดผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ลงทะเบียนแสดงความจำนงขอรับการช่วยเหลือเยียวยาที่ ศอ.บต.จัดหน่วยเคลื่อนที่ ระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤษภาคม 2555 มีทั้งหมด 5,251 ราย แยกเป็นจังหวัดยะลา 1,463 ราย จังหวัดปัตตานี 1,768 ราย จังหวัดนราธิวาส 1,823 ราย และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา 197 ราย

พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยว่า ข้อมูลดังกล่าวจะนำเข้าสู่ฐานระบบของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งต่อให้ทางอำเภอตรวจสอบความถูกต้อง สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน จะมีการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมลงทะเบียนเพิ่มเติม ณ ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป

ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลในใบลงทะเบียนสำหรับจังหวัดปัตตานีและยะลา พบว่า มีความต้องการ รวม 7 ประเด็น ได้แก่ ต้องการความช่วยเหลือด้านอาชีพมากที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องการศึกษาของตนเองและทายาท และขอสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษา

ผศ.ปิยะกิจ เปิดเผยอีกว่า นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่อง ขอให้ซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัย ขอความช่วยเหลือเรื่องที่ดินทำกิน และขอสนับสนุนค่าจ่ายใช้ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรืออุมเราะห์ตามลำดับ

ผศ.ปิยะ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ คาดว่าจะได้อีกประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หลังจากนี้ ขณะกำลังเร่งรัดกันอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการเยียวยาชุดต่างๆ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 แต่ยังไม่ได้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาเนื่องจากต้องรอให้หน่อยงานที่เกี่ยวข้องโอนงบประมาณ

“ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รายงานตัว สามารถไปรายงานตัวได้ที่ศูนย์เยียวยาประจำอำเภอทุกแห่งได้ตลอดเวลาราชการ” ผศ.ปิยะ กล่าว

ผศ.ปิยะ เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นประธานมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ญาติผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ยิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ศพ ที่บ้านกาหยี ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที 29 มกราคม 2555 รายละ 3 ล้านบาท ส่วนอีกเงินเยียวยาอีก 4 ล้านบาทที่เหลือตามที่รัฐบาลอนุมัติ จะทยอยมอบให้ปีละ 1 ล้าน ในระยะเวลา 4 ปี

ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือเยียวยา กรณี 4 ศพปุโละปุโย เป็นคนละส่วนจากงบเยียวยาวงเงิน 2,080 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: นิธิกับแนวคิดทางการเมือง

Posted: 28 May 2012 08:59 AM PDT

ก่อนอื่นผมขอปรับหัวข้อให้ตรงกับสิ่งที่ผมจะพูดในวันนี้สักเล็กน้อยครับ จากเดิมที่กำหนดให้ผมพูดในหัวข้อ “นิธิและการเมือง” นั้น ผมขอโอกาสปรับหัวข้อใหม่เป็น “นิธิกับแนวคิดทางการเมือง” หรือ “แนวคิดทางการเมืองของนิธิ” แทน เพราะนอกจากจะเป็นการพูดในโอกาส ๗๒ ปีของอาจารย์นิธิซึ่งต้องย่อมเป็นที่อยากรู้ของผู้ฟังว่าอาจารย์นิธิคิดอย่างไรมากกว่าอาจารย์นิธิมีบทบาทอย่างไรทางการเมืองตามหัวข้อที่กำหนด ซึ่งเราทราบกันดีว่าอาจารย์นิธิมีบทบาทในทางการเมืองที่สำคัญคือการแสดงออกทางความคิดเห็นผ่านทางบทความ การบรรยายหรือการอภิปรายในเวทีสาธารณะและสื่อต่างๆอยู่อย่างสม่ำเสมอ และแนวคิดของอาจารย์นิธินั้นมีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งย่อมทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผมจึงคิดว่าการปรับหัวข้อของผมในวันนี้คงจะสมประโยชน์ของทั้งผู้ฟังและผู้พูด

แน่นอนว่าเมื่อต้องพูดถึงเรื่องทางการเมืองแล้วหากจะพูดไปในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องเวลาเพียง ๔๕ นาทีนี้คงไม่เพียงพอเป็นแน่ ผมจึงจะพูดเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆ ร่วมสมัยคือ ประเด็นในเรื่องที่เกี่ยวกับกองทัพ, สถาบันพระมหากษัตริย์ และเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับประชาธิปไตยของไทยเราในมุมมองของอาจารย์นิธิ ส่วนประเด็นการเมืองด้านอื่นๆ เช่น การเมืองในสมัยพระนารายณ์หรือสมัยพระเจ้ากรุงธนนั้น อาจารย์สายชล(สัตยานุรักษ์)ได้พูดไปแล้วในตอนเช้า ส่วนการเมืองภาคประชาชน อาจารย์ประภาส(ปิ่นตบแต่ง)ก็ได้พูดไปก่อนหน้านี้แล้ว

เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงสำหรับแนวความคิดของอาจารย์นิธิที่ผมติดตามมาโดยตลอดระยะเวลาหลายสิบปีซึ่งผมพบว่าไม่เคยเปลี่ยนเลย มีความคงเส้นคงวามาโดยตลอด ต่างกับผมซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากจนแทบจะเรียกว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเลย เพราะเมื่อใดที่ผมกลับไปอ่านบทความของผมในอดีตแทบจะเรียกได้ว่าอยากฉีกทิ้งไปเลย แต่กับของอาจารย์นิธินั้นไม่ใช่ ซึ่งก็หมายความว่าความคิดของอาจารย์นิธินั้นล้ำสมัยมาโดยตลอดและสิ่งที่อาจารย์นิธิเคยคาดการณ์ไว้นั้นแทบจะไม่ผิดไปจากนั้นเลย

ประเด็นแรกคือประเด็นที่เกี่ยวกับกองทัพ

อาจารย์นิธิเชื่อว่าภารกิจหลักของกองทัพที่กำลังทำอยู่ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันมิใช่การที่จะไปปกป้องอะไรหรอกแต่เป็นภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมือง ซึ่งถือได้ว่าเป็นภารกิจที่บุคคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ การจะมีอำนาจทางการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือ มีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นได้ก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนเองไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อใดก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้นที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร(อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยน)

แต่อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้นไม่ได้มาจากรถถัง,ทหารป่าหวาย,หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนทางการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆที่มีพลังในสังคม

เมื่อตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จอาจารย์นิธิเห็นว่าที่นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ

ฉะนั้น เราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ “พันธมิตร”เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เพราะ “พันธมิตร” ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในกองทัพเองด้วย

“พันธมิตร” ของกองทัพซึ่งในที่นี้อาจารย์นิธิหมายความถึงทุน,สื่อ,ปัญญาชน,เทคโนแครต,ข้าราชการพลเรือน ฯลฯ นั้นก็ไว้ใจไม่ได้ อย่างดีก็เพียงยอมให้กองทัพมีส่วนแบ่งทางการเมืองไม่มากไปกว่านี้ หรืออาจต้องการให้น้อยกว่านี้ด้วย เพราะภาวะผู้นำทางการเมืองที่กองทัพแสดงออกแต่ละครั้งนั้นดูจะไร้เดียงสาเกินไป

เพราะหาความชอบธรรมยากขึ้นที่จะรักษาพื้นที่ทางการเมืองเอาไว้ คงเป็นเหตุผลสำคัญที่กองทัพต้องเน้นอุดมการณ์ “รักษาราชบัลลังก์” อย่างหนักและดังที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ปราศจากศัตรูชัดเจนเช่นสมัยยังมี พคท.อยู่ ซึ่งอาจารย์นิธิสงสัยว่าอุดมการณ์นี้จะเพียงพอหรือไม่ที่จะรักษา “พันธมิตร” ไว้ได้นานๆ

อาจารย์นิธิเห็นว่าหลังการรัฐประหาร 2549 มีคนจำนวนมากอย่างเหลือล้นในสังคมไทยไม่ได้ยอมรับว่ากองทัพมีสิทธิธรรมใดๆที่จะเข้ามาแก้ปัญหาทางการเมือง แม้ว่ากองทัพยังมีอำนาจดิบเท่าเดิม ถ้าผู้นำกองทัพไม่เข้าใจ กลับไปคิดว่าตัวมีอาญาสิทธิ์ที่จะมาก้าวก่ายทางการเมืองมากเท่าไร ก็ยิ่งทำลายกองทัพเองมากขึ้นเท่านั้น

คำว่า “ทำลาย” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าใครเขาจะไปยึดเอารถถังกลับคืนมา แต่หมายความว่า แม้แต่การใช้อำนาจอันมีกฎหมายรองรับของกองทัพในเรื่องอื่นๆ เช่น ไปรบกับปัจจามิตร ก็ยังมีคนสงสัยว่ากำลังหาประโยชน์ใส่ตนหรือเปล่า

ประเด็นที่สอง คือ ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

คงเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับกองทัพซึ่งอาจารย์นิธิเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กับพระมหากษัตริย์ไทยก่อนวันที่ 24 มิถุนายน ไม่ใช่สถาบันทางการเมืองอันเดียวกัน และไม่มีความสืบเนื่องกันในทางหลักกฎหมาย เพราะพระมหากษัตริย์ไทยก่อนวันที่ 24 มิถุนายน ไม่มีที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ซึ่งมีที่อยู่ในรัฐธรรมนูญคือพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย โดยผ่านทางนิติบัญญัติ ตุลาการและบริหาร ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อปวงชนชาวไทย ฉะนั้น หากฉีกรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับไม่ยอมรับสถานะของสถาบันกษัตริย์อีกต่อไป

ในส่วนโดยตรงกับตัวสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นอาจารย์นิธิเห็นว่าถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอำนาจเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจกล่าวได้ด้วยว่า พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะบุคคลแทบจะไม่ได้แตกต่างบุคคลธรรมดาอื่นๆเลย ซ้ำร้ายยังถูกลิดรอนสิทธิ์บางอย่างอีกด้วย เช่น ทรงอภิเษกสมรสกับหญิงต่างชาติไม่ได้ ทรงนับถือศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนาไม่ได้ เป็นต้น

พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กฎหมายกำหนดที่ว่านั้น ได้แก่ “แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งต่างๆ ไปจนถึงการพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องคดี และทรงใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย” อย่างไรก็ตามอาจารย์นิธิก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้เพราะสถาบันหรือบุคคลย่อมมี “อำนาจ” นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดทั้งนั้น เช่น พ่อมี “อำนาจ”เหนือลูก ครูและผู้อาวุโสเหนือศิษย์และผู้เยาว์ ชายเหนือหญิงในบางเรื่อง เป็นต้น

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่สถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจนอกจากที่กฎหมายกำหนดอีกมาก เช่น เมื่อเป็นที่เคารพสักการะย่อมมีอำนาจทางวัฒนธรรมสูง แต่การมีอำนาจทางวัฒนธรรมสูงอาจารย์นิธิเห็นว่าไม่ได้หมายความว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องมีอำนาจในทางการเมืองเกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ความเห็นของอาจารย์นิธิที่สร้างความฮือฮามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจที่มีต่อสถาบันตุลาการอันเนื่องมาจากการที่มักมีผู้กล่าวอยู่เสมอว่า “ผู้พิพากษาพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธย” ซึ่งอาจารย์นิธิให้ความเห็นว่าผู้พิพากษาพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธยนั้นถูกต้องตามหลักการ แต่จะเข้าใจผิดไม่ได้ว่าพิพากษาแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะบุคคล มิฉะนั้น พระองค์ก็ต้องเข้ามารับผิดชอบกับ คำพิพากษาด้วย คำพิพากษาที่ทำในพระปรมาภิไธยนั้น เพราะอำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ต้องไม่ลืมว่าคำพิพากษาของศาลคือการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง เช่น ปรับ, เอาตัวไปจำขังหรือประหารชีวิต เรื่องใหญ่ขนาดนี้ต้องยิ่งอาศัยอำนาจของประชาชน หรือที่เราเรียกว่าอธิปไตยเท่านั้น

พระปรมาภิไธยเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน เตือนให้ผู้พิพากษาสำนึกถึงฐานที่มาของอำนาจในคำพิพากษา จึงต้องใช้อำนาจนั้นอย่างรอบคอบและเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสังคมหรือปวงชน พูดกันตรงไปตรงมาก็คือไม่เกี่ยวกับกับพระมหากษัตริย์ที่เป็นบุคคล แต่เกี่ยวอย่างแยกไม่ออกจากอธิปไตยของปวงชน ซึ่งพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันทรงใช้แทนปวงชน

ในทำนองเดียวกันสิ่งที่เรียกว่าพระบรมราชโองการอาจารย์นิธิเห็นว่าในสมัยโบราณอาจมีความหมายอย่างหนึ่งแต่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมหมายถึงคำสั่งที่อาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนสั่ง นั่นคือ กฎหมายในระดับ พ.ร.บ.ทุกฉบับจึงเป็นพระบรมราชโองการ เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายอาญา แพ่งและพาณิชย์ ในทางปฏิบัติคือต้องผ่านสภาและทรงลงพระปรมาภิไธย กฎหมายเหล่านั้นย่อมจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการของปวงชน เช่น ห้ามลักขโมยหรือห้ามค้าประเวณี ดังนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น จึงจะสั่งให้มีข้อจำกัดต่อเสรีภาพเหล่านั้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเป็นพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงอำนาจอธิปไตยดังกล่าว

ในส่วนของพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งก็เป็นหลักการเดียวกัน ซึ่งตำแหน่งสาธารณะที่พึงได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งควรเป็นตำแหน่งที่เกิดจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆก็เช่น นายกรัฐมนตรี และ ครม.เพราะบุคคลเหล่านี้ได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเสนอชื่อขึ้นกราบบังคมทูล และสภาก็มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงจึงเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนโดยตรงเช่นกัน การที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลเหล่านี้ให้ดำรงตำแหน่ง ก็เพราะมีที่มาจากอธิปไตยของปวงชนชาวไทย แต่ ส.ส.ไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เพราะประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตัวโดยตรงในการเลือกตั้งแล้ว ไม่ได้ใช้ผ่านตัวแทน(indirect กับ direct น่ะครับ – ชำนาญ) แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าตำแหน่งศาสตราจารย์ที่จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯนั้นว่าจะอยู่ในคำอธิบายนี้ด้วยหรือไม่ เพราะผมไม่เห็นว่าจะยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยตรงไหนเลย

ในส่วนของความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นอาจารย์นิธิเห็นว่าอยู่ที่การยอมรับของประชาชน และประชาชนได้แสดงการยอมรับนั้นผ่านรัฐธรรมนูญ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของทุกฝ่ายในเวลานี้(ยกเว้นบางกลุ่มที่มีจำนวนน้อยมากๆ)ไม่มีฝ่ายใดเห็นควรว่าควรยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา ทั้งที่ร่างโดยคณะรัฐประหารและร่างตามวิถีทางประชาธิปไตย ต่างก็ยอมรับให้สถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ

ฉะนั้น จะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า ความมั่นคงของสถาบันฯอยู่ในรัฐธรรมนูญ ตรงกันข้ามกับความเข้าใจของกองทัพ ซึ่งได้ยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญไปหลายฉบับด้วยข้ออ้างว่าเพื่อปกป้องสถาบันฯทุกครั้งที่รัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้ง ก็เป็นทุกครั้งที่หาความแน่นอนใดๆแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์มีได้เฉพาะแต่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น เมื่อใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ให้มีสถาบันนี้ ก็ไม่มีสถาบันนี้

ในกรณีมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นอาจารย์นิธิเห็นว่ามรณกรรมอันน่าสมเพชของ "อากง" ตอกย้ำให้เห็นความจำเป็นต้องแก้ ม.๑๑๒ อย่างชัดเจน เพราะนอกจากความบกพร่องในด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรวมถึงการลงทัณฑ์แล้ว ม.๑๑๒ นี่แหละที่ยิ่งทำให้ความบกพร่องซึ่งมีอยู่แล้วนั้น ยิ่งบกพร่องมากขึ้นไปอีก

ดังเช่นข้อวินิจฉัยของศาลว่า คดีนี้เป็นคดีร้ายแรงจึงไม่อาจให้ประกันตัวได้ ที่ถูกวินิจฉัยว่าร้ายแรงก็เพราะ ม. 112 ถูกจัดอยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ เทียบไม่ได้กับมาตราอื่นในหมวดเดียวกัน ความผิดในมาตรานี้ที่จริงแล้วเทียบได้กับการหมิ่นประมาทบุคคลเท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับความมั่นคงแห่งรัฐไม่ แต่เพราะไปรวมไว้ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ จึงทำให้ศาลต้องวินิจฉัยว่าเป็นคดีร้ายแรง

ม. 112   กำหนดโทษไว้สูงผิดปกติ คือสูงกว่าโทษที่ระบุไว้ในกฎหมายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีก จึงไม่ได้สัดส่วนกับความผิดของผู้ต้องโทษ ยิ่งกว่านี้ทำให้คดีถูกพิจารณาว่า "ร้ายแรง" โดยปริยาย

เมื่อกำหนดให้ ม.๑๑๒ อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษจึงเป็นใครก็ได้ (เทียบกับรู้ว่ามีผู้คิดประทุษร้ายทางกายประมุขของรัฐ ใครรู้ก็ควรรีบแจ้งความเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น) ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เวลานี้มีคนที่อยู่ในเรือนจำเพราะต้องคำพิพากษาหรือกำลังอยู่ระหว่างสู้คดีเพราะ ม. 112  อีกเป็นร้อย เพราะถูกแจ้งความโดยบุคคลอื่น อันอาจเป็นศัตรูของตนเอง ยังไม่พูดถึงผู้ซึ่งตำรวจให้ประกันตัวออกไป เพราะถูกแจ้งความคดีเดียวกันนี้อีกรวมอาจถึงพัน

ความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเช่นนี้ เกิดขึ้นจากความบกพร่องของ ม.112 อย่างชัดแจ้ง เหตุใดจึงไม่ควรแก้ไข ม.112 เล่า มรณกรรมของ "อากง" ยิ่งกระตุ้นให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข ม. 112  ขึ้นไปอีก หากรัฐบาลจะได้รับแรงกระตุ้นนั้น ก็ไม่เห็นผิดตรงไหน (แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลเลือกจะเล่นเกมนี้ตามที่ฝ่ายค้านกำหนด)

ความบกพร่องของ ม. 112 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างจริงใจ ก็น่าวิตกว่า ม.112  จะเป็นเหตุให้เสียพระเกียรติยิ่งกว่าเชิดชูพระเกียรติ ต่อผู้ที่ยอมรับสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบบการเมือง ก็น่าวิตกว่า ม.๑๑๒ ถูกใช้ไปในทางขัดขวางระบอบประชาธิปไตยมากกว่าส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย

อาจารย์นิธิได้สรุปไว้ในบทความเรื่องอากงไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ที่ขาดความจงรักภักดีหรือผู้ไม่ยอมรับประชาธิปไตยแบบที่มีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น ที่ยินดีกับ ม. 112  เพราะทำให้เสื่อมพระเกียรติและอาจใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ขัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยในเมืองไทย

ประเด็นที่สามสุดท้ายคือประเด็นเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับประชาธิปไตยของไทย

อาจารย์นิธิมองว่าประชาธิปไตยแบบไทยเรานั้นเป็นประชาธิปไตยในแบบ democrasubjection ซึ่งหมายถึงประชาธิปไตยภายใต้การควบคุม โดยอาจารย์นิธิได้อธิบายว่าแต่ก่อนประชาชนไทยเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน สังกัดมูลนายหลากหลายประเภท อัตลักษณ์ของคนไทยก็คือเป็นไพร่ในสังกัดของใครหรือกรมใด ตัวระบอบปกครองก็เอื้อให้ไพร่ต้องพึ่งพิงมูลนาย นับตั้งแต่จะฟ้องร้องคดีความใดๆ ก็ต้องได้รับอนุญาตจากมูลนายเสียก่อน มูลนายได้ดิบได้ดี ส่วนแบ่งของทรัพยากรที่ตกถึงมือไพร่ในสังกัดก็เพิ่มขึ้น

การปฏิรูปของ ร.๕ ทำลายอำนาจควบคุมอันหลากหลายของมูลนายลง แล้วเอาไพร่ทั้งหมดมารวมศูนย์สังกัดพระราชบัลลังก์เพียงหนึ่งเดียว อัตลักษณ์ของไพร่เปลี่ยนมาเป็นข้าราษฎรที่ (โดยทฤษฎีแล้ว) เท่าเทียมกันหมด ระบอบปกครองก็เน้นความเหมาะสมโดยธรรมชาติและโดยการศึกษา ว่าเจ้านายเท่านั้นที่ควรเป็นผู้ปกครองและถืออำนาจ

การปฏิวัติ๒๔๗๕ เปลี่ยนข้าราษฎร มาเป็นพลเมืองของชาติ เท่ากันหมด และเป็นเจ้าของชาติเท่าๆ กัน ไม่มีใครมาคุมเราอีกแล้ว แต่อัตลักษณ์ "พลเมือง" ก็เป็นสิ่งสร้างทางสังคมไม่ต่างไปจาก "ไพร่" หรือ "ข้าราษฎร" แต่อย่างไร สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมภายใต้ระบอบปกครองที่เรียกกันว่าประชาธิปไตย

อาจารย์นิธิเห็นว่า เราทุกคนล้วนเกิดมาเป็น "คน" หรือ "ประชาชน" ก่อน แล้วก็ถูกสร้างอัตลักษณ์ให้ใหม่ จนกลายเป็น "พลเมือง" ซึ่งมีข้อจำกัดและภาระที่ต้องแบกรับกว่าเป็น "ประชาชน" มากมาย พลเมืองของระบอบประชาธิปไตยจึงไม่ใช่ "เสรีชน" แต่เป็นคนที่ถูกบังคับควบคุม (subjection) ลงเป็นพลเมืองเท่านั้นเอง

"ประชาธิปไตย" ถูกให้ความหมายในแต่ละสังคมไม่เหมือนกันนัก แม้ว่าต่างก็ท่องคำนิยามอันว่างเปล่าของลิงคอล์นมาเหมือนๆ กันก็ตาม เพราะการให้ความหมายแก่ระบอบปกครองที่เรียกว่าประชาธิปไตยของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน

อัตลักษณ์ "พลเมือง" ของไทยเป็นอย่างไร อาจารย์นิธิบอกว่าตอบยังไม่ได้ แต่อยากเตือนให้นึกถึง การให้ความหมายแก่ประชาธิปไตยในเมืองไทย ซึ่งกระทำสืบเนื่องกันมาหลายทศวรรษหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภายใต้เสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น พลเมืองไทยทุกคนย่อมสามารถใช้เสรีภาพนั้นได้ ภายใต้กรอบของอุดมการณ์ของชาติ นั่นคือชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ กรอบของอุดมการณ์ดังกล่าวนี้ต่างหาก ที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตของเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มีกฎหมายซึ่งร่างขึ้นโดยขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นไปตามกรอบอุดมการณ์ของชาติดังกล่าว ใช้บังคับอยู่มากมาย และเราต่างยอมรับโดยดุษณี ด้วยเหตุดังนั้น จึงแปลว่า ไม่ได้ขัดกับอัตลักษณ์ "พลเมือง" ในระบอบประชาธิปไตยของเราเลย

ในเมืองไทย ผู้ใหญ่และระบบการศึกษาจะเน้น "หน้าที่" ของพลเมือง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง "สิทธิ" ของพลเมือง สังคมจะดีได้ก็ต่อเมื่อทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่เกี่ยวอะไรกับสิทธิแต่อย่างใด

ผู้ใหญ่ไทยจะคอยเตือนถึงภยันตรายของเสรีภาพอันไร้ขีดจำกัด จนกระทั่งดูประหนึ่งว่า เสรีภาพนั้นไม่ได้มีไว้ให้ทุกคนเท่าๆ กัน เฉพาะคนดีมีศีลธรรมเท่านั้นที่อาจใช้เสรีภาพได้เต็มที่ โดยไร้ขีดจำกัด เช่น ทำรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญ

ผู้ใหญ่ไทยเน้นเสมอว่ารัฐบาลที่ดีคือรัฐบาลที่ทำให้พลเมืองอยู่ดีมีสุข แต่ไม่มีใครพูดถึงความรับผิดชอบ (accountability) ต่อพลเมือง ฉะนั้น เพื่อให้พลเมืองอยู่ดีมีสุข ถึงจะฆ่า, อุ้มฆ่า, หรือจำขัง พลเมืองบางคนบ้างก็ไม่เป็นไร

พลเมืองไทยยอมรับอาญาสิทธิ์อันไม่มีขีดจำกัดของ "ชาติ" สถาบันที่มีคำว่า "แห่งชาติ" ต่อท้าย มีอาญาสิทธิ์พิเศษที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อใคร เช่น สภาพัฒน์ (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งไม่ต้องรับผิดชอบต่อใครสักคนเดียว อาจารย์นิธิบอกว่าอย่าพูดถึง "พลเมือง" เลย แม้แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง(สภาพัฒน์)ก็ไม่ต้องรับผิดชอบด้วย

แทนที่เราจะรวมกลุ่มกันเพื่อวางแผนพัฒนาของกลุ่มเราเอง พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยทำได้แค่ทำความเข้าใจแผนของสภาพัฒน์ให้ปรุโปร่งเท่านั้น

การชุมนุมซึ่งมีชุกชุมขึ้นในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกอย่างหนึ่งซึ่งต้องควบคุม จึงจำเป็นต้องผลิต "วาทกรรม" อีกหลายอย่างขึ้นในช่วงนี้ เพื่อควบคุมอำนาจของพลเมืองในสถาบันเกิดใหม่อันนี้ บางส่วนก็ดึงมาจากสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดมาแล้ว บางส่วนก็ดึงมาจากฝรั่ง

เราอาจมองประชาธิปไตยว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการควบคุมในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม คือสร้างพลเมืองขึ้นในการบังคับควบคุม นักวิชาการฝรั่งสร้างศัพท์สำหรับปรากฏการณ์อย่างนี้ว่า democrasubjection  

ประชาธิปไตยแบบไทยจึงเป็น democra-subjection อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างจากอังกฤษ, อเมริกันและสิงคโปร์

ในส่วนของสถานการณ์ปัจจุบันที่ว่าด้วยการปรองดองนั้นอาจารย์นิธิให้ความเห็นล่าสุดเมื่อ 19 พ.ค.ที่ผ่านมาที่บุ๊ก รีพับลิกว่า “ปรองดอง” ในพจนานุกรม แปลว่าไม่แก่งแย่งกัน พร้อมเพรียงกันตกลงกัน ความหมายนั้นหมายถึงความสงบราบรื่นของชุมชนขนาดเล็ก ลองคิดดูว่าความปรองดองแบบนี้เป็นไปได้เฉพาะหมู่บ้านเล็ก ๆ เท่านั้น สังคมขนาดใหญ่ ความปรองดองตามความหมายของพจนานุกรมนั้นเป็นไปไม่ได้ในสังคมขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ จ.เชียงใหม่

เราต้องสร้างกติกาในการพูดคุยโดยที่เราไม่ต้องตีหัวกัน ฉะนั้นการพูดถึงความปรองดอง เราต้องกลับไปดูความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึงความขัดแย้ง สื่อต่างๆชอบนึกถึงความขัดแย้งระหว่างบุคคลค่อนข้างมาก ไม่เพียงเรื่องเหตุการณ์ที่ปะทะกันเท่านั้น ไม่ใช่กลุ่ม เราต้องกลับไปดูต้นตอของความขัดแย้ง ความขัดแย้งไม่ว่าสีใดก็ตาม บุคคลเหล่านั้นเดินเข้าไปร่วมความขัดแย้งได้อย่างไรโดยไม่มีฐานทางเศรษฐกิจ และสังคม

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นถ้ามองจากเสื้อสี ข้อถกเถียงนั้นมีมูลทั้งสิ้น เช่นเสื้อเหลืองไม่ไว้วางใจนักการเมือง เช่น มีแต่การเลือกตั้งโดยไม่ปรับโครงสร้างการเมืองอื่นเลยนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่วิธีการปรับแก้โดยเอา พระอรหันต์มาช่วย มันก็ใช้ไม่ได้ ส่วนเสื้อแดงก็ยืนว่าประชาธิปไตยนั้นต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะปรองดองอย่างไรก็แล้วแต่ความขัดแย้งนั้นมันก็ยังดำรงอยู่ คุณก็ต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบการเมือง เพราะความขัดแย้งนี้เป็นเพราะความขัดแย้งเรื่องระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นไปทั่วโลก

ไม่มีสังคมไหนที่ไม่มีความขัดแย้ง  เราต้องทำให้ความขัดแย้งดำรงอยู่โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของกันและกัน ต้องเปิดเวทีการเมืองให้มันกว้างขึ้น กลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ทรัพยากรโดยตรง เช่น ปากมูล ราษีไศล  คนเหล่านี้ยังไม่โผล่ในเวทีการเมือง ก็ต้องเปิดให้เขาด้วย ถ้าเราอยากจะแก้ไขความขัดแย้งเราก็ต้องมีกฎหมายที่มีความเป็นธรรม ส่วนกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่ออกโดยคณะรัฐประหารต่างๆ ก็ต้องมีการเปลี่ยนเพื่อรับความเปลี่ยนแปลง

อาจารย์นิธิเน้นว่าช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญมาก เมื่อถามว่าในสังคมไทยใช้ความรุนแรงทางการเมืองหรือไม่ เราจะพบว่าเราใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแต่ในหมู่ชนชั้นนำเท่านั้น เมื่อไหร่ก็ตามถ้าคนนอกกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองก็จะมีความรุนแรงทันที อย่างกรณี 14 ตุลาคม ถึง 19 พฤษภาคม เป็นต้น

เราจะเจอคนนอกที่เป็นกลุ่มใหม่ตลอดเวลา มันก็จะมีการใช้ความรุนแรงอีก  ครั้งนี้จึงเป็นครั้งสำคัญที่ต้องทำให้ระบบการเมืองไทยยุติการใช้ความรุนแรง ต้องไม่มีการออก พ.ร.บ.อภัยโทษที่จะทำให้ผู้สั่งการหลุดรอดไปได้  ถ้าความจริงออกมา  คนเหล่านี้ต้องรับโทษก่อน ถ้าเราไม่ยุติในครั้งนี้ เมืองไทยก็จะเผชิญกับความรุนแรงทางการเมืองอย่างไม่สิ้นสุด  โดยสรุปอาจารย์นิธิฟันธงว่าคือไม่จำเป็นต้องปรองดอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดหากจะให้ผมสรุปในหัวข้อ “นิธิกับแนวคิดทางการเมือง” เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่าในความเห็นของผมนั้นอาจารย์นิธิใส่เสื้อสีอะไร ผมสามารถตอบได้ว่าไม่ใช่เสื้อเหลืองอย่างแน่นอน และก็ไม่ใช่เสื้อแดงอีกเช่นกัน แต่จะเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจแดง หากจะต้องเหมารวมว่าอาจารย์นิธิเป็นเสื้อแดงก็คงเป็นเสื้อแดงที่ไม่เอาทักษิณที่คนที่ไม่ใช่เสื้อแดงส่วนใหญ่งงว่ามีด้วยหรือนั่นเอง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วงเสวนา เห็นพ้อง "ยุบพรรค-เพิกถอนสิทธิการเมือง" ทำลาย ปชต.

Posted: 28 May 2012 07:38 AM PDT

"จาตุรนต์" ชี้ 5 ปีผ่านไป นักการเมือง111 กลับมา แต่กฎหมายยุบพรรค-ตัดสิทธิเลือกตั้งยังอยู่ ชวนถกผลกฎหมายส่งผลอย่างไรต่อการเมืองไทย "พนัส" ชี้กฎหมายพรรคการเมือง เกิดจากความเชื่อนักการเมืองชั่วร้าย  "ปูนเทพ" ชี้กรณียุบพรรค เผยให้เห็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ต้องมีผู้กำกับ "ศิโรตม์" แนะเลิกเล่นเกมยุบพรรค ชี้ยิ่งทำให้อำนาจเหนือการเมืองเติบโต

(27 พ.ค.55) ในการเสวนา "ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิทางการเมือง: ทำลายหรือพัฒนาระบอบประชาธิปไตย" ที่โรงแรมสยามซิตี้ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ในโอกาสที่จะครบ 5 ปีการยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค ความสนใจโดยมากมักเป็นเรื่องที่ว่านักการเมือง 111 คนจะกลับมาทำอะไร อย่างไร เป็น รมต.หรือไม่ จะเกิดความขัดแย้งในพรรคหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะเป็นประโยชน์มากๆ คือเรื่องสาระความหมาย ผลกระทบของการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

จาตุรนต์กล่าวต่อว่า การยุบพรรคไทยรักไทยในตอนนั้น มีการใช้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวโดยคณะรัฐประหาร และพิจารณาคดีเป็นกรณีพิเศษทั้งที่ไม่ใช่ศาลยุติธรรมหรือศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทำโดยใช้ประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 ซึ่งเป็นคำสั่งหลังรัฐประหาร หลังจากการเลือกตั้งเดือน เม.ย. หลายเดือน การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จึงเป็นการใช้อำนาจเผด็จการย้อนหลังลงโทษบุคคล ในฐานะที่ผูกพันเกี่ยวข้องกับองค์กร โดยที่แต่ละคนไม่มีโอกาสสู้ความใดๆ

จาตุรนต์ชี้ว่า แม้จะครบ 5 ปีที่นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 จะกลับมา แต่สิ่งที่ยังอยู่คือ การยุบพรรคและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อันเป็นระบบกฎหมายที่พัฒนาจากกฎหมายในช่วงหลังรัฐประหาร และถูกเขียนเป็นมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อป้องกันการซื้อเสียง โดยบัญญัติว่าเพียงคนหนึ่งคนทำผิด สมรู้ร่วมคิดหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ให้ยุบพรรคและให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารทั้งหมด ซึ่งนับว่าร้ายแรงกว่าเดิม นี่จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาว่า มาตรการหรือระบบกฎหมายเช่นนี้จะมีผลต่อการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยอย่างไร

 

พนัส ชี้กฎหมายพรรคการเมือง เกิดจากความเชื่อนักการเมืองชั่วร้าย
ต่อมา ในเสวนาวิชาการหัวข้อ “ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิทางการเมือง : ทำลายหรือพัฒนาระบอบประชาธิปไตย” พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ตั้งแต่มีกฎหมายที่ให้มีการยุบพรรคการเมือง จนเกิดการยุบพรรคการเมืองใหญ่ไป 3-4 พรรค ฟันธงได้ว่าเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยมากกว่าพัฒนา โดยกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองฉบับแรกคือ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2498 ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุชัดเจนแต่เข้าใจได้ว่าคงไม่ต้องการให้จัดตั้งพรรคการเมืองที่ถือว่ามีวัตถุประสงค์ อุดมการณ์ กิจการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของไทยในขณะนั้น คือไม่ต้องการให้มีพรรคคอมมิวนิสต์ อาจเพราะการเมืองในไทยที่เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะการรณรงค์ต่อต้านการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ในไทย หรือขบวนการคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ที่มีความดุเดือด อย่างไรก็ตาม มองว่า แท้จริงเป็นมูลเหตุจูงใจของฝ่ายที่ครองอำนาจในไทย ที่ไม่ต้องการให้มีพรรคที่ไม่อยู่ในข่ายพึงวางใจได้เกิดขึ้น

สำหรับวิวัฒนาการของกฎหมายพรรคการเมือง ผู้ที่สนใจปัญหาการเมืองจะมีความเห็นแยกเป็นสองข้าง โดยฝ่ายอนุรักษนิยมเห็นว่าจำเป็นต้องมี ไม่เช่นนั้นจะคุมไม่ได้ เพราะมีสมมติฐานเบื้องต้นว่าการเมืองเป็นสิ่งชั่วร้าย และจนปัจจุบัน กระแสคิดนี้ยังเป็นกระแสหลักในสังคมไทย จากการมีโอกาสร่วมร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 แม้ขณะนั้นจะมีบรรยากาศของการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย แต่ ส.ส.ร.เองก็ถูกครอบงำว่าต้องเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อกวาดล้างนักการเมืองชั่วร้าย ที่ใช้เงินซื้อเสียงซื้อตำแหน่ง เข้ามาอาศัยตำแหน่งคอร์รัปชั่น

สำหรับกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งนำไปสู่การยุบพรรค โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย ในช่วงหลังรัฐประหาร ในฐานะนักกฎหมาย พนัส มองว่าสิ่งที่น่าสังเกตคือ การตีความของ คปค. และการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อให้พิจารณาคดีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นปัญหาในแง่ข้อกฎหมาย ยังเถียงกันจนปัจจุบัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ไม่ได้เขียนไว้ แต่ คปค. ออกเป็นคำสั่งที่ 27 ให้เพิกถอนได้ กลายเป็นประเด็นว่า เมื่อยุบพรรคแล้ว เพิกถอนสิทธิทางการเมืองได้หรือไม่เพราะจะเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง ซึ่งต่อมา การลงโทษนี้ถูกนำไปกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

เมื่อดูวิวัฒนาการกฎหมายพรรคการเมืองจะเห็นว่าเป็นผลร้ายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ เพราะมีคนไม่กี่คนที่มีอำนาจยุบพรรคการเมือง ได้แก่ นายทะเบียน อัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ รวมแล้วไม่เกิน 15 คน ขณะที่พรรคการเมืองมีสมาชิกพรรคจำนวนมาก ได้รับการรับรองสิทธิก่อตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ เพื่อยืนยันสิทธิทางการเมือง แต่มีกฎหมายทำลายสิทธิของประชาชนโดยสิ้นเชิง

 


รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 63 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพี่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรค การเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิก กระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้

พนัส กล่าวเสริมว่า มาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ 2540 เขียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารแต่ด้วยข้อความว่า "...หรือเพี่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" ทำให้ศาลตีความว่าการซื้อเสียงต้องเข้าข่ายถูกยุบพรรคตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญด้วย

พนัสกล่าวว่า บางคนบอกว่าเราเอาต้นแบบนี้มาจากรัฐธรรมนูญเยอรมัน ซึ่งหากศึกษาดูจะพบว่าเขาห้ามแต่พรรคนาซีเท่านั้น แต่เราเอามาใช้แบบตีความกว้างไปหมด ไกลมากจนเกินไป ทั้งนี้ ถ้ามีการแก้ไขกฎหมาย ที่ต้องแก้ให้ชัดคือประเด็นว่า ต้องมีเหตุยุบพรรคไหม ซึ่งส่วนตัวมองว่าต้องมีโดยเฉพาะพรรคที่เข้าข่ายเป็นความผิดที่ต้องเข้าสู่คดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เช่นนี้สมควรถูกยุบ
 


ปูนเทพ ชี้กรณียุบพรรค เผยให้เห็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ต้องมีผู้กำกับ

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ กล่าวว่า ผลทางการเมืองของคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย เป็นอีกครั้งที่ทำให้เห็นว่าหากเกิดรัฐประหาร องค์กรตุลาการของไทยไม่เพียงแต่ไม่พร้อมจะปฏิเสธ แต่พร้อมจะรับใช้คณะรัฐประหาร โดยเห็นได้จากกการที่เอาคำประกาศ คปค. มาใช้เป็นฐานในการตัดสินคดี ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปดูรายละเอียดของคำวินิจฉัย พบว่ามีปัญหาในเชิงหลักการ อาทิ การใช้กฎหมายย้อนหลังทำได้จริงหรือไม่ การตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งที่ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา หรือกรณีที่ยังไม่มีการลงโทษทางอาญาแก่ผู้เป็นเหตุให้มีการยุบพรรคแต่อย่างใด

ปูนเทพ กล่าวว่า ในต่างประเทศ การยุบพรรค ใช้กับพรรคที่มีแนวทางขัดกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย เช่น ในเยอรมนี ที่มีการยุบพรรคสังคมนิยมที่ประกาศตัวว่าสืบทอดอุดมการณ์จากพรรคนาซี ส่วนในไทย ในทางทฤษฎี เหตุของการยุบพรรค คือ เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ขัดกับประชาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์กับรัฐธรรมนูญ ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือมีการดำเนินการเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง แต่ในทางปฏิบัติ พรรคการเมืองไทย ตั้งแต่ 2490 ถูกยุบเรื่อยมา ไม่ว่าด้วยการรัฐประหาร หรือด้วยปัญหาทางเทคนิค เช่น ไม่ได้แสดงบัญชีทรัพย์สิน ไม่ได้รับเลือกตั้ง ยิ่งกว่านั้น หลังรัฐประหาร 2549 การยุบพรรคถูกเอามาใช้ในทางการเมืองโดยเปิดเผย ตั้งแต่ปี 2550 เมื่อเกิดเหตุการณ์กับสมาชิก กรรมการบริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มักเกิดการเรียกร้องให้มีการยุบพรรค เช่น กรณีอีสวอเตอร์ กรณีจตุพร ซึ่งเขามองว่าเป็นการหยิบยกที่อันตราย โดยสุดท้ายหลายคดีไม่ได้ไปสู่ศาล แต่ถูกเอามาเล่นเป็นประเด็นทางการเมือง

ปูนเทพ กล่าวว่า มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหาในเชิงตัวบทคือ การกระทำของบุคคลเพียงคนเดียว อาจเป็นเหตุสู่การยุบพรรคการเมืองที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนที่มีเจตจำนงทางการเมืองร่วมกันได้ง่ายๆ ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ตั้งพรรคการเมืองและเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย ส่วนปัญหาเชิงอุดมการณ์ เขามองว่า การยุบพรรคนั้นไม่ได้นำไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในความหมายสากล แต่เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เห็นว่าการเลือกตั้งอาจไม่จำเป็น ต้องมีผู้อนุบาลหรือควบคุมกำกับตลอด ในบริบทการเมืองไทยที่ผ่านมา การยุบพรรคจึงเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย แต่กลับช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ปูนเทพ ระบุว่า ในนานาประเทศ ยอมรับให้บุคคลถูกตัดสิทธิเลือกตั้งได้ หากใช้สิทธิของตนกระทบกับหลักเสรีประชาธิปไตย เท่าที่สำรวจ ผู้ที่จะถูกตัดสิทธิต้องเป็นผู้กระทำความผิดเอง เพราะสิทธิเลือกตั้งเป็นคุณค่าพื้นฐานของการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย แต่บ้านเรากลับเหมาเข่ง พอพรรคถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคทั้งหมดถูกตัดสิทธิหมด โดยไม่สามารถปฏิเสธ หรือขอพิสูจน์ต่อศาลได้เลย การบัญญัติอย่างนี้จึงไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสิทธิพลเมืองอย่างร้ายแรง

ปูนเทพ ยกกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวเนื้อหาไม่ได้เป็นประเด็นทางการเมือง แต่อาจนำมาเทียบเคียงกับการตัดสิทธิ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนี้ได้ โดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2555 มีการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความ พ.ร.บ.ขายตรง ซึ่งระบุว่า กรณีนิติบุคคลถูกตัดสินว่ากระทำผิดกฎหมายอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะสามารถพิสูจน์ได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะขัดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์

เขาชี้ว่า เมื่อเทียบเคียงกับกรณีการตัดสิทธิทางการเมือง ที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ไม่รู้เห็นด้วยถูกตัดสิทธิ โดยไม่มีโอกาสปฏิเสธต่อสู้ โต้แย้งต่อศาลว่าไม่ได้เกี่ยวข้องเพื่อยกเว้นการเพิกถอนสิทธิได้แล้ว ไม่สามารถอธิบายทางตรรกะได้ว่า ทำไมกรณีหนึ่ง ศาลมองว่าไม่ชอบธรรม อีกกรณีจึงบอกว่า เป็นเรื่องปกติของการเมือง ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องว่า ถ้ามีการแก้ หรือเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ควรมีบทบัญญัติลักษณะนี้ไว้อีก เพราะขัดต่อตรรกะ เหตุผลพื้นฐาน ละเมิดสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ของประชาชนที่มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริง

ปูนเทพ กล่าวว่า การตัดสิทธิเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน แม้ไม่ได้เขียนไว้ตรงๆ แต่เขามองว่าเป็นการพยายามแสดงว่า ผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่ได้มีอำนาจสำคัญสูงสุด แต่อยู่ใต้องค์กรมากมาย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีคำถามว่าองค์กรเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับประชาชนและมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเพียงใด จึงมาตัดสิทธิทางการเมืองของประชาชนคนอื่นได้โดยตรง หากตอบตรงนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าการตัดสิทธิทางการเมืองนี้เป็นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย

ปูนเทพตั้งคำถามว่า เหตุใดนักการเมืองบ้านเลขที่ 111 ถึงทนรอตามเงื่อนไขของตุลาการรัฐธรรมนูญมาตลอด 5 ปี ทั้งที่เมื่อมองตามหลักกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย การตัดสิทธิ์นี้มาจากคำตัดสินของกลุ่มที่มาจากรัฐประหาร พอเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบปกติ ทำไมจึงต้องทนกับสิ่งที่ตกทอดจากคณะรัฐประหาร

"การที่นักการเมือง 111 หรือสังคมไทยต้องทนกับสภาพ หรือต้องทนกับสิ่งที่ตกทอดจากรัฐประหาร แสดงให้เห็นถึงระบอบที่แท้จริงในการปกครองบ้านเราหรือเปล่าว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ มีอยู่จริงๆ และระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่ได้คำนึง หรือเคารพอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง และยอมรับอำนาจหรือองค์กรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทหาร สถาบันตุลาการ หรือสถาบันใดๆ ก็แล้วแต่ว่า เขาจะเข้ามาเคียงคู่ จะเข้ามาแชร์ ใช้อำนาจร่วม หรือแม้แต่แข่งขันใช้อำนาจนำกับอำนาจสูงสุดของประชาชน"

ศิโรตม์ แนะเลิกเล่นเกมยุบพรรค ชี้ยิ่งทำให้อำนาจเหนือการเมืองเติบโต
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า การมองเรื่องนี้ต้องมองนอกกรอบของกฎหมาย เพราะเกี่ยวพันกับสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของประชาชน โดยชี้ว่าการยุบพรรคมีในทุกสังคม แต่มีข้อแตกต่างคือ สังคมที่เป็นเผด็จการมากๆ มักเกิดขึ้นโดยอ้างเหตุผลทางเทคนิค เช่น พรรคการเมืองจ่ายเงินบำรุงพรรคไม่ครบ ในพม่ามีการยุบพรรค NLD ด้วยเหตุผลเรื่องการจดทะเบียน ในสังคมประชาธิปไตยที่อยู่ในช่วงเผด็จการหรือมีความคลุมเครือด้านเสรีภาพ อย่างออสเตรเลียในช่วงเวลาสงครามเย็น มีการยุบพรรคคอมมิวนิสต์ เนื่องจากมองว่าอันตราย ส่วนอียิปต์ที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการมานาน มีการยุบพรรคด้วยข้อหาว่าอดีตประธานาธิบดีมีพฤติกรรมทำลายประชาธิปไตย พัวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน จะเห็นว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน บางประเทศมีการยุบพรรคเพื่อมุ่งสู่การเชิดชูหลักการประชาธิปไตย

เขาชี้ว่า ขณะที่การยุบพรรคในบ้านเราถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หลายประเทศ ยุบพรรคโดยมีกติกาบางอย่างกำกับ คือต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีพฤติกรรมทำลายหลักอธิปไตยของชาติ ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงจากความต่างทางศาสนาหรือชาติพันธุ์ หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง โดยยกตัวอย่างกรณีในสเปน ที่มีการยุบพรรคการเมืองของกลุ่มบาสก์ ซึ่งเป็นฝ่ายเรียกร้องการแบ่งแยกดินแดน ต่อมา พรรคได้ฟ้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปว่ารัฐบาลสเปนละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งศาลก็ได้ตัดสินว่า การยุบพรรคนั้นต้องคำนึงสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว โดยบุคคลมีสิทธิรวมตัวอย่างสงบ จัดตั้งองค์กรทางการเมืองได้ ต่อให้พูดเรื่องความรุนแรง หากไม่มีพฤติกรรม ก็ไม่มีสิทธิยุบ

เนื่องจากหลายสังคมเชื่อว่าเสรีภาพการรวมกลุ่มขั้นพื้นฐานจะละเมิดไม่ได้ เมื่อจะละเมิด ต้องสร้างเงื่อนไขกำกับ คือ ยึดตามหลักกฎหมาย ผลประโยชน์ส่วนรวม และความได้สัดส่วน เพื่อไม่ให้องค์กรตุลาการมีอำนาจทางการเมืองมากเกินไป กรณีในตุรกี นำไปสู่การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจศาลกับรัฐสภา ขณะที่ในไทย ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ อีกทั้งเมื่อมีการยุบพรรค ไม่มีการถกเถียงว่า เป็นการปกป้องกฎหมายหรือไม่ หลังจากที่มีการฉีกรัฐธรรมนูญและละเมิดกฎหมายแล้ว ทั้งยังมองไม่ออกว่าส่วนรวมได้ประโยชน์อะไรจากการยุบพรรค ยกเว้นจะบอกว่าส่วนรวมคือพรรคประชาธิปัตย์และคณะรัฐประหาร ส่วนประเด็นว่าสมควรแก่เหตุไหม ก็ยังไม่มีการถกเถียงที่มากเพียงพอ

ศิโรตม์มองว่า หากจะมีการยุบพรรคที่จำเป็นในไทย อาจเป็นพรรคที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ละเมิดรัฐธรรมนูญ มีพฤติกรรมส่อที่จะขัดกับระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา ขณะที่บ้านเรา ยังเน้นไปที่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยตรง พร้อมชี้ว่า ในการยุบพรรคไทยรักไทยขณะนั้น ศาลเขียนคำพิพากษาว่า พรรคไทยรักไทยเป็นอันตรายกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในหลายจุด โดยไม่ได้กล่าวถึงประชาธิปไตยรัฐสภาเลย

ศิโรตม์ กล่าวว่า ในไทย ยังมีการถกเถียงกันน้อยเรื่องฐานะของศาลรัฐธรรมนูญ โดยหากมองว่าเป็นองค์กรที่เกิดโดยรัฐธรรมนูญ ก็ต้องตีความตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ไม่ขยายการตีความให้ไกลเกินรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การตีความยุบพรรคจะไม่เกิดขึ้น

ศิโรตม์ เสนอให้พิจารณาด้วยว่า คำวินิจฉัยของศาลต่างๆ เมื่อเขียนออกมาแล้วกำลังสร้าง norm หรือบรรทัดฐานแบบไหนให้สังคม โดยชี้ว่า ที่ผ่านมา บรรทัดฐานในการยุบพรรคที่ถูกสร้างขึ้นคือ การทำให้การยุบพรรคเป็นไปได้ภายใต้การปกป้องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมีปัญหาว่าอะไรคือพฤติกรรมที่ทำลายประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กลายเป็นว่าที่สุดแล้วการยุบพรรคเป็นไปได้เพื่อสนับสนุนการรัฐประหาร ในนามของการปกป้องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นการอ้างที่เกินเลยเกินไป

ศิโรตม์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการใช้เรื่องการยุบพรรคเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้เล่นงานพรรคเพื่อไทยกรณีจตุพร และพรรคเพื่อไทยใช้เล่นงานประชาธิปัตย์กลับเรื่องเงินบริจาค ซึ่งอาจคล้ายกรณีมาตรา 112 ที่พอเปิดโอกาสให้ใครฟ้องได้ ก็ฟ้องกันเละเทะ คงต้องฝากพรรคการเมืองให้เคารพประชาธิปไตยรัฐสภา หรือระบบพรรคการเมืองซึ่งเป็นบ้านของตัวเองมากกว่านี้ กติกาไหนที่ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง อย่าไปเล่น สู้ด้วยนโยบาย การแสดงความเห็นดีกว่า อย่าดึงศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยยุบพรรคที่ไม่ชอบ

"วิธีการแบบนี้ไม่ช่วยให้ระบบพรรคการเมืองของเราเติบโต วิธีการแบบนี้ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเติบโต วิธีการแบบนี้ทำให้อำนาจที่อยู่เหนือพรรคการเมืองเติบโต แต่ไม่ทำให้ประชาธิปไตยรัฐสภาเติบโต และนักการเมืองในบ้านเรา รักบ้านของตัวเองน้อยเกินไป คิดแต่เรื่องของตัวเองมากเกินไป" ศิโรตม์กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลื่อนไต่สวนการตายเหยื่อกระสุน พ.ค.53 ประจวบ-เกียรติคุณ-ด.ช.คุณากร

Posted: 28 May 2012 02:49 AM PDT

 

28 พ.ค. 55 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีการนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของนายประจวบ ประจวบสุข  และนายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือนพฤษภาคม 53 ซึ่งกรณีของนายประจวบนั้น นายสยาม ประจวบสุข น้องชายผู้ตายได้เบิกความยืนยันว่าเป็นตัวผู้ตายจริง ส่วนกรณีของนายเกียรติคุณนั้นมีการเลื่อนนัด อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยรูปการของสองคดีนี้มีความคล้ายกันศาลจึงได้เลื่อนการไต่สวนคดีทั้งสองนี้ออกไปเป็นวันที่ 3 ก.ย. 55 เพื่อที่จะพิจารณาเรื่องการรวมคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน

ทั้งนี้ เกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล อายุ 25 ปี ประกอบอาชีพขับมอร์เตอร์ไซด์ ส่วนประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมกลุ่ม นปช. ทั้งคู่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณใต้ทางด่วนพระราม 4 ในวัน 16 พ.ค. 53

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ญาติของเกียรติคุณซึ่งมาร่วมรับฟังการไต่สวนการตาย กล่าวว่าเกียรติคุณมิได้เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมแต่ในวันที่เกิดเหตุเกียรติคุณได้ขับรถมอเตอร์ไซด์ไปส่งผู้โดยสารบริเวณนั้นจึงถูกยิงเสียชีวิต

ส่วนที่ศาลอาญา รัชดา มีการนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร  ศรีสุวรรณ อายุ 12 ปี ซึ่งศาลเลื่อนนัดการพิจารณาเป็นวันที่ 20 ก.ค. 29 ต.ค. และ 5 พ.ย. นี้  เนื่องจากพยานปากแรกๆ คือ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อดีตโฆษก ศอฉ.ติดภารกิจไม่สามารถมาศาลได้ ทั้งนี้ อัยการได้ยื่นบัญชีพยานทั้งหมดประมาณ 50 ปาก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในคำร้องขอไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ด.ช.คุณากร ระบุว่า ระหว่างที่ทหารปิดถนนราชปรารภ และติดป้ายเขตกระสุนจริง วันที่ 15 พ.ค.53 เวลา 00.01 น. นายสมร ไหมทอง ได้ขับรถตู้เข้ามาในเขตดังกล่าวเพื่อกลับบ้านพัก ผ่านถนนราชปรารภ มุ่งหน้าแยกมักกะสัน เมื่อเจ้าหน้าที่ประกาศโทรโข่งให้หยุดรถ นายสมรก็ยังขับต่อไป จึงระดมยิงใส่รถตู้จนนายสมร ได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ท้อง ขณะที่ลูกกระสุนยังไปถูก ด.ช.คุณากร ที่ออกมาเดินอยู่บริเวณริมถนนราชปรารภใกล้ปากซอยโรงภาพยนตร์โอเอ ซึ่งอยู่ติดกับแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันอันเป็นที่ตั้งของหน่วยทหาร เป็นเหตุให้ ด.ช.คุณากรเสียชีวิต ขอให้ศาลได้ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ใด เมื่อใด และทราบถึงสาเหตุ พฤติการณ์การตาย แลขอให้องค์กรสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง ซึ่งเป็นผู้อุปการะด.ช.คุณากร เนื่องจาก ด.ช.คุณากรเป็นเด็กกำพร้า บิดาเสียชีวิตและมารดาหายสาบสูญ

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม

ใบหน้า ‘พฤษภา 53’: “พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว” ประจวบ ประจวบสุข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อสนามบอลกลายเป็นสนามอุดมการณ์: ว่าด้วยฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรปและการต่อสู้ทางการเมือง

Posted: 28 May 2012 12:48 AM PDT

 เมื่อสนามบอลกลายเป็นสนามอุดมการณ์: ว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปและการต่อสู้ทางการเมือง

ใน ค.ศ. 2012 นอกเหนือไปจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (Summer Olympics) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ยังมีการแข่งขันทางกีฬาอีกรายการที่ได้รับความสนใจในระดับโลก การแข่งขันกีฬาข้างต้นคือการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (The European Championship) หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นชินว่าบอลยูโร ที่จัดโดยเจ้าภาพร่วมโปแลนด์ (Poland) และยูเครน (Ukraine)

การแข่งขันฟุตบอลแห่งชาติยุโรปในครั้งนี้ไม่เพียงได้รับความใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลการแข่งขัน หรือนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมที่ลงทำศึกในสังเวียนผืนหญ้าในตลอดเวลาเกือบหนึ่งเดือน แต่การแข่งขันครั้งนี้ยังได้รับการจับตาในประเด็นของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศยูเครนที่เป็นเจ้าภาพร่วม ประเทศยูเครนที่ทำให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมกดดันให้ทีมชาติที่ผ่านรอบคัดเลือกทำการบอยคอตไม่เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลยูเครนได้ดำเนินมาตรการทางการเมืองที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับความสนใจจากสื่อในยุโรปตะวันตกมากคือ การคุมขังผู้นำทางการเมืองของพรรคคู่แข่ง ยูเรีย ติโมเชนโก (Yulia Tymochenko) ที่ทำการประท้วงรัฐบาลด้วยการอดอาหารในที่คุมขังด้วย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ทำให้นิตรสารการเมืองหัวเสรีนิยมอย่าง The Economist แสดงความเห็นว่ายูเครนได้เปลี่ยนจากประเทศประชาธิปไตยมาเป็นระบบอำนาจนิยม [1]

ประเทศที่แสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างชัดเจนคือประเทศเยอรมัน ดังเห็นได้จากคำประกาศของนาย เดิร์ก นีเบล (Dirk Niebel) รัฐมนตรีการพัฒนาที่มีเนื้อความว่าการบอยคอตฟุตบอลยูโรครั้งนี้เป็นการส่งสาสน์ทางการเมืองให้ยูเครนทบทวนมาตรการทางการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้เข้าใกล้มาตรฐานของชาติตะวันตกมากขึ้น [2] หรือการที่กัปตันทีมชาติเยอรมันอย่าง ฟิลิป ลาห์ม (Philip Lahm) ที่ประกาศกร้าวถึงกรณีของการแข่งขันฟุตบอลในยูเครนว่า “พวกเรา (ทีมชาติเยอรมัน) เป็นตัวแทนของเยอรมัน เรายืนข้างสังคมประชาธิปไตย และคุณค่าต่างๆ เช่นความเสมอภาค การยอมรับความแตกต่าง และความเป็นหนึ่งเดียว” และลาห์มยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์ในยูเครนตอนนี้ ไม่มีอะไรที่ตรงกับความคิดของเขาในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชน เช่นเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเสรีของสื่อ และเขายังรู้สึกดีใจที่คณะรัฐมนตรีของเยอรมันมีท่าทีที่ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศเจ้าภาพ [3]

อย่างไรก็ตาม มาตรการการบอยคอตไม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ยูเครนก็ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ เพราะการบอยคอยการแข่งขันอาจไม่ได้ส่งผลอะไรต่อสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครนเลย วารสาร Financial Times ได้ยืนกรานว่าการบอยคอตการแข่งขันกีฬายากที่จะเกิดผลใดๆ ขึ้น เช่นกรณีการบอยคอตกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่จัดในสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1980 เพื่อประท้วงการส่งกำลังทหารรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต การบอยคอตในครั้งนั้นมีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม การให้การแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ยูเครนดำเนินต่อไปอาจทำให้ปัญหาต่างๆ ในยูเครนได้มีโอกาสถ่ายทอดไปไกลกว่าพรมแดนประเทศได้ [4]

บอลยูโรที่ยูเครนไม่ได้เป็นครั้งแรกที่การแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เหตุการณ์ที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการเมืองและฟุตบอลเกิดขึ้นตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งแรก (ค.ศ. 1960) ที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ เหตุการณ์ข้างต้นคือการที่นายพลฟรังโกที่เป็นผู้นำเผด็จการทหารของสเปนในขณะนั้น ปฏิเสธการส่งทีมชาติสเปนลงแข่งกันกับทีมสหภาพโซเวียตในรอบแปดทีมสุดท้าย เนื่องจากโซเวียตได้สนับสนุนสาธารณรัฐสเปนที่สอง (Second Spanish Republic) ที่เป็นกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) [5]

หรือในกรณีของเทพนิยายเดนส์ที่เป็นเรื่องเล่าของการผงาดเป็นผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลยุโรปที่จัดขึ้นในสวีเดนใน ค.ศ. 1992 อย่างพลิกความคาดหมาย แน่นอนชัยชนะของเดนมาร์กครั้งนั้นต้องยกความดีความชอบให้ผู้จัดการทีมอย่าง ริชาร์ด โมลเลอร์ นีลเซน (Richard Moller Nielsen) และนักเตะคนสำคัญอย่างปีเตอร์ ชไมเคิล (Peter Schmeichel) หรือไบรอัน เลาดรูป (Brian Laudrup) แต่ชัยชนะของเดนมาร์กไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ถ้าทางสมาคมฟุตบอลยุโรปหรือยูฟ่า (UEFA) ไม่ได้ทำการตัดสิทธิ์ทีมชาติยูโกสลาเวียออกจากการแข่งขันบอลยูโรในครั้งนั้น เหตุผลที่ยูฟ่าตัดสิทธิทีมชาติยูโกสลาเวียคือการเกิดขึ้นของสงครามกลางเมืองในประเทศยูโกสลาเวีย ทำให้ยูฟ่าตัดสินใจให้เดนมาร์กเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันแทน [6]

ยิ่งไปกว่านั้น เงื่อนไขทางการเมืองไม่ได้ส่งผลต่อการแข่งขันฟุตบอลยุโรปเพียงแค่เรื่องของการตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันของทีมชาติต่างๆ หรือตัดสิทธิ์การแข่งขัน แต่เงื่อนไขทางการเมืองยังส่งผลต่อจำนวนทีมที่เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลยูโรรอบคัดเลือก ตัวอย่างที่ชัดเจนสามารถเห็นได้ในช่วงสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นที่อดีตสหภาพโซเวียตและอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเช่น ยูโกสลาเวียและเชคโกสโลวาเกียได้แตกออกเป็นรัฐอิสระใหม่ขึ้นมาอย่างมากมาย ทำให้จำนวนทีมที่ลงเล่นในรอบคัดเลือกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังเช่นการแข่งขันฟุตบอลยูโรใน ค.ศ. 1996 ที่มีทีมชาติลงเล่นในรอบคัดเลือกถึง 47 ทีม [7] เพิ่มขึ้นจากจำนวน 32 ทีม ในค.ศ. 1984 [8]

จากข้อมูลข้างต้น การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปมีความข้องเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะในด้านหนึ่งแล้ว ทีมชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันของประเทศต่างๆ เป็นเสมือนตัวแทนหรือภาพลักษณ์ของประเทศ การกระทำของทีมชาติจึงสื่อถึงมุมมองหรือจุดยืนของประเทศที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเจ้าภาพ (หรือตัวผู้นำของประเทศ อย่างกรณีของสเปนในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งแรก) และในอีกด้านหนึ่ง ทีมชาติอาจถูกตัดสิทธิจากการแข่งขันก็ได้ ถ้าทางสมาคมฟุตบอลยุโรปเห็นว่ารัฐบาลได้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องในทางการเมือง หรือแม้กระทั่งจำนวนทีมที่เข้าร่วมคัดเลือกเข้าแข่งขันยังไปเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของรัฐชาติใหม่ แต่ผู้เขียนก็ยังมีคำถามทิ้งท้ายว่า ถ้าเกิดประเทศไทยเกิดจับพัดจับพลูได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ประเทศที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยจะทำการบอยคอตประเทศไทยหรือไม่ หรือถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศเหล่านั้นหรือไม่ หรือถ้าประเทศไทยเกิดฟลุคได้เข้าไปแข่งขันในการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติ (ที่ไม่ใช่ซีเกมส์) ที่จัดขึ้นในประเทศเจ้าภาพที่หย่อนยานในเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน นักฟุตบอลไทยหรือผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองจะกล้าแสดงความเห็นวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา อย่างที่ ฟิลิป ลาห์มทำไหม หรือพวกเขาจะไม่แสดงความเห็นอะไร นอกจากให้เคารพถึงเอกลักษณ์ของแต่ละชาติ

 

อ้างอิง:

  1. The Economit, 2012. Body Blow. viewed 27/05/2012 <http://www.economist.com/blogs/easternapproaches/2012/04/ukrainian-politics>
  2. EUbusiness, 2012. German Minister says will boycott Ukraine 2012. viewed 27/05/2012 <http://www.eubusiness.com/news-eu/ukraine-politics.gdp>
  3. Lahm, P., 2012. ‘We Stand for Democratic Society’. viewed 27/05/2012. <http://www.spiegel.de/international/europe/interview-with-germany-soccer-team-captain-philipp-lahm-on-ukraine-a-831792.html>
  4. Financial Times, 2012. EURO 2012 Cannot be Political Football. Viewed 27/05/2012. <http://www.ft.com/cms/s/0/c7170ac2-9464-11e1-bb47-00144feab49a.html#axzz1w3vYfj3t>
  5. World Soccer, 2012. 1960 France: Soviets Claim First title. G. Hamilton, ed. 2012. History of the European Championship: Star Players, Great Teams and Memorable Player. London: IPC.
  6. Chowdbury, S., 2012. Euro 1992: Denmark’s Fairytale. viewed 27/05/2012. <http://www.bbc.co.uk/sport/0/football/17757335>
  7. World Soccer, 2012. 1996 England: German Strike Gold in 16-Team Tournament. G. Hamilton, ed. 2012. History of the European Championship: Star Players, Great Teams and Memorable Player. London: IPC.
  8. World Soccer, 2012. 1984 France: Imperious Platini Inspires Hosts to Victory. G. Hamilton, ed. 2012. History of the European Championship: Star Players, Great Teams and Memorable Player. London: IPC.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (5)

Posted: 28 May 2012 12:19 AM PDT

จากที่กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าสี่บท เป็นการอธิบายคร่าวๆถึงความยุติธรรมในบริบทเศรษฐศาสตร์ซึ่งวางอยู่บนฐานความคิดในการกระจายทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกคนในสังคม และชนิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรม ปัจจุบันทฤษฎี Egalitarisme liberale เป็นกลุ่มความคิดที่เด่นชัดสุดในสภาพสังคมโลก นโยบายบริหารประเทศหลายๆประเทศส่วนใหญ่ที่เห็นความสำคัญด้านการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมดัดแปลงแนวความคิดมาใช้เป็นรูปธรรม ซึ่งแล้วแต่ว่าประเทศไหนจะเลือกใช้แนวความคิดของสำนัก Equalizing of resources เช่นแนวความคิดของ รอว์ล หรือ ดวอ์กิน หรือของสำนัก Equalizing of opportuinty เช่นแนวความคิดของ เซน หรือ โรเมอร์ อย่างไรก็ตามในแง่วงการวิชาการปัจจุบันแล้วแนวความคิดของโรเมอร์ได้รับความสนใจและนักวิชาการคนอื่นๆนำมาพัฒนาต่อเนื่องมากกว่า ส่วนในทางปฏิบัตินั้นผู้วางแผนนโยบายนั้นดูจะสนใจแนวความคิดEqualizing of resources มากกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสาเหตุจากการกระจายทรัพยากรภายนอกอย่างเท่าเทียมเป็นนโยบายที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่า และมีการวัดได้เห็นภาพชัดเจน มากกว่าแนวความคิด Equalizing of opportunity ที่ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมกันของสวัสดิภาพหรือแสดงผลซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ยากและขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลอย่างมาก

ทั้งนี้นโยบายการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมในประเทศส่วนใหญ่วางอยู่บนแนวคิด Egalitarisme liberale ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากแนวความคิดเสรีประชาธิปไตย กลไกที่จะส่งผลสัมฤทธิ์ได้นั้นจึงต้องประกอบด้วย เสรีภาพของปัจเจกชนในการเลือกที่จะทำเลือกที่จะเป็น หรือเลือกที่จะแสดงออกมา และในขณะเดียวกันก็ต้องการความเป็นนิติรัฐเพื่อรับประกันว่าการที่รัฐแทรกแซงกรรมสิทธิของปัจเจกชนได้นั้นต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนดชัดเจนและเท่าเทียมกันกับคนทุกคนในสังคม รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงหรือบังคับความคิดของประชาชนให้ชอบในสิ่งที่รัฐอยากให้ชอบ

ดังนั้นในประเทศที่ไม่ใช่เสรีประชาธิปไตยและไม่มีระบบนิติรัฐย่อมมีแนวโน้มสูงที่จะล้มเหลวในการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน

ในส่วนต่อจากนี้จะอธิบายถึงการนำแนวความคิดปรัชญาของการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมไปสู่การสร้างนโยบายสาธารณะ และเปรียบเทียบสถานการณ์ความยุติธรรมในสังคมไทยและนโยบายของรัฐไทยที่เกี่ยวกับความยุติธรรม

เพื่อที่จะทราบว่ามีการกระจายกันอย่างเท่ากัน(equality)หรือไม่ โดยไม่ได้เป็นแค่ความรู้สึกแต่ต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรมนั้น เราจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์เพื่อวัดการกระจายตัวของทรัพยากรในสังคม เครื่องมือที่คลาสสิคและนิยมคือ Lorenz curve และ Gini index

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (5)

การกระจายรายได้ (income) เป็นตัวชี้วัดที่นิยมใช้ เพราะเนื่องจากมีมูลค่าชัดเจนแสดงออกมาเป็นตัวเลขและสามารถเปรียบเทียบค่าเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้และไม่มีขอบเขตซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เหมาะกับการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ Lorenz curve อย่างไรก็ตามนอกจากรายได้แล้วเราสามารถวัดการกระจายตัวของทรัพยการอื่นๆได้เช่นกัน แต่มีข้อจำกัดเฉพาะทรัพยากรที่สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้เท่านั้น จากรูปข้างบนเป็นตัวอย่างของ Lorenz curve เพื่อแสดงการกระจายตัวของทรัพยากรที่เราต้องการวัดในสังคมในที่นี้คือ รายได้ แกนนอนแสดงถึงเปอร์เซนต์การสะสมของจำนวนประชากรโดยทำการเรียงลำดับจากประชากรที่มีรายได้น้อยไปผู้ที่มีรายได้มาก (cumulative share of people from lowest to highest incomes) ส่วนแนวตั้งแสดงถึงเปอร์เซนต์การสะสมของรายได้ (cumulative share of income earned) ส่วนเส้นทแยงมุมแสดงถึงการกระจายตัวที่เท่าเทียมกัน (line of equality) และเส้นโค้งที่ทอดยาวนั้นคือ Lorenz curve ซึ่งแสดงถึงการกระจายตัวของรายได้ในสังคมปัจจุบัน

ถ้าการกระจายตัวเป็นอย่างเท่ากัน(equality distribution)แล้ว Lorenz curve จะทับเส้น line of equality แต่จากรูปตัวอย่างข้างบนcurve อยู่ใต้เส้นทแยงมุมแสดงว่ามีความไม่เท่ากันเกิดขึ้น เช่น ในรูป ประชาชนที่จนที่สุดสิบเปอร์เซนต์กลับครอบครองรายได้เฉพาะห้าเปอร์เซนต์ของรายได้ทั้งหมดในสังคม ในขณะที่ประชาชนรวยที่สุดสิบเปอร์เซนต์ของสังคมกลับครอบครองรายได้สี่สิบเปอร์เซนต์ของสังคม

พื้นที่ระหว่าง Lorenz curve และ line of equality แสดงถึงการกระจายทรัพยากรที่ไม่เท่ากันยิ่งมีพื้นที่มากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความไม่เท่ากัน (inequality) มากเท่านั้น พื้นที่ดังกล่าวนี้สามารถแปลงเป็นค่าดัชนีชี้วัด Gini index โดยค่านี้มีค่าเท่ากับสองเท่าของพื้นที่ ค่า Gini index มีค่าได้ตั้งแต่ศูนย์ถึงหนึ่ง โดยที่ศูนย์แสดงถึงไม่มีความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายรายได้ และเท่กับหนึ่งแล้วแสดงถึงการกระจายรายได้ที่มีความไม่เท่าเทียมกันสมบูรณ์แบบ

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (5)

จากรูปข้างบน (JETIN B., « Le développement de la Thaïlande est-il socialement soutenable ? ») เส้นสีม่วงแสดงถึงค่า Gini index ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 1962 ถึง 2006 ซึ่งมีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จำนวนประชากรในประเทศไทยที่พ้นจากเส้นความยากจนจะลดลงเรื่อยๆก็ตาม

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์ (5)

จากแผนภาพข้างบน ( http://www.unescap.org/stat/data/syb2011/I-People/Income-poverty-and-inequality.asp ) แสดงถึง Gini indexในการกระจายรายได้ ของประเทศต่างๆในเอเชียปิฟิค ประเทศไทยมีค่าสูงถึงประมาณ0.43 ในรายงานยังระบุด้วยว่า ยี่สิบเปอร์เซนต์ของคนไทยที่จนที่สุดมีรายได้เพียงแค่หกเปอร์เซนต์ของรายได้ทั้งหมดในสังคม และเมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน ความไม่เท่าเทียมกันนี้มีค่าสูงกว่าประเทศ ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ติมอร์ตะวันออก อินโดนิเซีย แต่ความไม่เท่าเทียมกันด้านกระจายรายได้ของไทยกลับน้อยกว่าของประเทศภูฎาณที่เชื่อว่ามี ความสุขมากที่สุดในโลก หรือว่าสำหรับประเทศที่ไม่เป็นเสรีประชาธิปไตย เช่นภูฏาณแล้ว ความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้เป็นค่านิยมเฉพาะตัวที่ฝังอยู่ในรากลึกของประเทศ?

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิพากษาจำคุก 2 ปีครึ่ง คดีหมิ่นสถาบันคดีที่ 5 ของ ‘สุรชัย’ รวม 12 ปีครึ่ง

Posted: 28 May 2012 12:13 AM PDT

 

 

28 พ.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553 ที่สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ถูกฟ้องในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามมาตรา 112 จากกรณีขึ้นปราศรัยที่สนามหลวง คดีนี้นับเป็นคดีที่ 5 ในคดีหมิ่นที่อยู่ในชั้นพิจารณาคดีของสุรชัย โดยสุรชัยได้รับการเบิกตัวจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาขึ้นศาลในวันนี้ และกลับคำให้การจากการปฏิเสธเป็นรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาให้ลงโทษตาม ม.112 จำคุก 5 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน และให้นับโทษต่อจาก 4 คดีก่อนหน้า รวมแล้วสุรชัยได้รับโทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำเลยได้แถลงต่อศาลว่ายอมรับสารภาพในคดีนี้เนื่องจากได้รับทราบจากรัฐบาลว่าจะเยียวยาผู้ที่ถูกคุมขังด้วยคดีทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือด้านการขออภัยโทษ และขอให้ศาล ตลอดจนอัยการช่วยพิจารณาให้คดีนี้ถึงที่สุดโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังอ่านคำพิพากษา ผู้พิพากษาได้สอบถามอาการป่วยของนายสุรชัย และบอกให้นายสุรชัยรักษาสุขภาพ

สุรชัยถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และต่อมลูกหมากโต ประกอบกับเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเคยทำบายพาสมาก่อน เขาระบุด้วยว่า แพทย์ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ให้ความเห็นว่าไม่ควรอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ ส่วนการนัดผ่าตัดนั้นต้องรอถึงวันที่ 15 มิ.ย.ตามการนัดของ รพ.ตำรวจ เพื่อฟังผลการตรวจเรื่องหัวใจแล้วจึงนัดผ่านตัดต่อมลูกหมากต่อไป การผ่าตัดคาดว่าจะทำที่ รพ.ราชทัณฑ์เพราะส่งไป รพ.อื่นไม่ได้ นอกจาก รพ.ตำรวจ หากต้องผ่าที่ รพ.ราชทัณฑ์ก็ต้องติดต่อจ่ายเงินประมาณ 8,000 บาท หลังจากนั้นอาจพักรักษาตัวที่ รพ.ราชทัณฑ์ แต่ไม่ใช่ในฐานะผู้ป่วย หรืออาจส่งกลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แต่หากเป็นไปได้ อยากไปอยู่ที่เรือนจำชั่วคราว บางเขน

“ถ้าถามว่าอยากอยู่ที่ไหน ตอบว่าบางเขน เพราะสะดวกเรื่องญาติเยี่ยม และได้ให้ความรู้แก่น้องๆ อาหารการกินสะดวก การทำเรื่องขออภัยโทษก็จะได้ร่วมกัน สะดวก การเรียกร้องนิรโทษกรรมกลุ่มบุคคลที่ถูกขังอยู่ในคุกทำได้และทำมาแล้วหลายครั้ง เช่น ปี 2532 นิรโทษแก่ผู้นำ พคท.ที่ถูกจับ อาทิ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล” สุรชัยระบุ

ด้านนางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ได้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนเงินค่าผ่าตัดต่อลูกหมากของนายสุรชัยในงานของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ซึ่งจัดเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) โดยระบุว่าได้เงินบริจาคเป็นเงิน 38,369 บาท

 

 

สุรชัย โดนคดีหมิ่นฯ ที่ไหนบ้าง?

คดีปราศรัยเวทีตาสว่าง  อิมพีเรียล ลาดพร้าว
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/46

คดีปราศรัยที่เชียงใหม่
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/47

คดีปราศรัยที่อุดรธานี
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/48

คดีปราศรัย วัดสามัคคีธรรม
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/50
 

(ล่าสุด) คดีปราศรัยที่เวทีนปช.
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/49

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"

Posted: 27 May 2012 10:40 PM PDT

27 พ.ค. 2555 นักวิชาการผู้ร่วมรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และพวงทอง ภวัครพันธุ์ ร่วมเสวนาหัวข้อปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ในโอกาสปิดการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากดำเนินต่อเนื่องมาทั้งสิ้น 112 วัน โดยมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 39,185 คน

 

เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น