ประชาไท | Prachatai3.info |
- ส่องหนัง ‘Sepet’ ความรักหม่นๆ ของสาวมลายูกับหนุ่มเชื้อสายจีน ในสังคมมาเลย์
- 'หอการค้า' เผยดัชนีคอร์รัปชั่นไทยหล่น อัตราจ่ายใต้โต๊ะพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี เสียหาย 1-2 แสนล้าน
- เดินมิตรภาพ: ความมั่นคงทางอาหารกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ฉบับใหม่
- สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน กำหนดให้ยื่นใช้สิทธิภายใน 1 ปี
- ‘เดินมิตรภาพ’ พูดอะไรกัน: หลักประกันสุขภาพ รัฐสวัสดิการที่เสี่ยงถูกลดเกรด
- ICJ ร้องยุติคดี 'อิสมาแอ เต๊ะ' หลังเปิดปมซ้อมทรมาน
- ประชาธิปัตย์กังวลกฎหมายลูก ส.ส.-ส.ว. อาจถูกคว่ำ วอน สนช. คำนึงถึงประเทศเป็นหลัก
- นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานรำลึก ‘เสือดำ เจ้าทุ่งใหญ่’ ย้ำไม่อยากให้เรื่องเงียบหายไป
- ผู้แทนยูเอ็นเผย อองซานซูจีอาจผิดฐาน 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ' จากการสังหารหมู่และการเหยียดเชื้อชาติ
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์ | "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย และช่วงถามตอบ [คลิป]
- ไชยันต์ รัชชกูล-กุลลดา เกษบุญชู มี้ด | "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย [คลิป]
- เปิดรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาชุมนุมไล่ คสช. 10 ก.พ. 43 คนถูก พ.อ.บุรินทร์ แจ้งผิด 3/58
- 'ไข่แมว' กลับมาแล้ว
- 'ทิชา' หอบ 8 หมื่นรายชื่อ ร้อง 'พล.อ.ประยุทธ์' จี้ 'พล.อ.ประวิตร' ลาออก
- ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ออก จ.ม. ถึงอธิการฯ ผู้บริหาร มข. เหตุไม่ให้ We Walk จัดเสวนา
ส่องหนัง ‘Sepet’ ความรักหม่นๆ ของสาวมลายูกับหนุ่มเชื้อสายจีน ในสังคมมาเลย์ Posted: 16 Feb 2018 11:23 AM PST ส่องสภาพสังคมมลายูผ่านความรักบนเส้นขนานในหนัง Sepet เรื่องราวของสาวมลายูกับหนุ่มเชื้อสายจีนที่ไม่อาจบรรจบกัน ผลงานของ 'ยัสมิน อะหมัด' ผู้กำกับหญิงมลายูมุสลิมในอดีตที่ได้รับการการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมาเลเซียและการชื่นชมจากภายนอกถึงผลงานของเธอ ฉากจากภาพยนตร์เรื่อง Sepet ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ผลงานภาพยนตร์ของ ยัสมิน อะหมัด ถือเป็นโจทย์สำคัญในสังคมมาเลเซียถึงการอยู่ร่วมกันบนเส้นขนานความขัดแย้งทางความเชื่อและชาติพันธุ์ในโลกมลายู โดยยัสมินพยายามนำเสนอให้เห็นถึงความย้อนแย้งถึงแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมมลายูมุสลิมกับชาติพันธุ์อื่น จากแนวคิดนี้เอง ผลงานของเธอจึงมักเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมมาเลเซียถึงความไม่เหมาะสมต่างๆ ที่นำเสนอในภาพยนตร์ของเธอ ทั้งประเด็นทางเพศและศาสนา อย่างไรก็ตาม ผลงานของเธอจำนวนหนึ่งก็ได้รับการยอมรับและชื่นชมในต่างประเทศ ยัสมิน อะหมัด ผู้กำกับ โรเจอร์ การ์เซีย อดีตผู้กำกับภาพยนตร์ฮ่องกงยังกล่าวถึงยัสมิน ว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะมีผู้กำกับหญิงในสังคมมุสลิมที่สามารถเผยพรสวรรค์ของตัวเองออกมาต่อสังคมโดยไม่หวาดกลัวต่อข้อพิพาท ขณะที่ยัสมินเคยกล่าวว่า มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่หยุดยั้งเธอจากการทำภาพยนตร์ได้ Sepet (Slit Eye, 2004) ผลงานภาพยนตร์ของ Yasmin ความยาว 1 ชั่วโมง 44 นาที ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ณ กรุงโตเกียว เมื่อปี 2005 และรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมใน Créteil International Women's Film Festival ณ ฝรั่งเศส ในปีเดียวกัน Sepet เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักระหว่าง 'ออร์เก็ต' สาวมลายูที่มีความคลั้งไคล้ดาราฮ่องกงและญี่ปุ่น กับ 'อาหลง' หนุ่มเชื้อสายจีนที่มีอาชีพขายแผ่นวีซีดีที่มีความชอบเรื่องบทกวี ประวัติศาสตร์ และการฟังเพลงมลายู โดยความรักบนความต่างระหว่างหนุ่มสาววัย 19 ปี ได้ทำหน้าที่เล่าเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยท้ายที่สุดแรงกดดันทางสังคมได้จบเรื่องราวความรักของทั้งคู่ลง สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ อธิบายว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างในช่วงเปลี่ยนผ่านจากอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ มูฮัมหมัด ไปสู่รัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะฮ์ อะหมัด บัดดาวีย์ ขณะนั้น เรื่องราวภาพยนตร์การพบรักระหว่างคนจีนกับมาเลเซียเองเป็นเรื่องที่หาดูได้ยาก อีกทั้งเป็นสิ่งที่พบได้น้อยในสังคมมาเลเซีย ในเรื่องนี้ยังมีฉากที่กล่าวถึงเรื่องการขลิบว่าพระเอกจะรับไหวหรือ และสังคมจะยอมรับได้หรือหากนางเอกไปคบกับคนจีน แม้กระทั่งการที่ผู้หญิงไม่รู้จะจูบอย่างไรจึงล้มไปเลย เป็นการสื่อว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เรื่องปกติในสังคมมุสลิม "ผมคิดว่าความน่าสนใจคือเป็นการเชื่อมปัญหาความไม่ลงรอยกันในความเข้าใจการสื่อสารของทั้งสองฝ่าย หนังเรื่องนี้พยายามที่จะเชื่อมว่าในมาเลเซียมันมีพื้นฐานบางอย่างที่สามารถทำให้คนต่างเชื้อชาติศาสนา มีความรักและอยู่ด้วยกันได้ ผู้กำกับเป็นคนมุสลิมพยายามใช้นางเอกชื่อออร์เก็ตเป็นตัวเดินเรื่อง Sepet แปลว่าตาตี๋ ผู้หญิงพูดถึงลักษณะผู้ชายที่ตนเองอยากได้เป็นแบบไหน บอกตาตี๋ๆ มาเลย์ไม่มี ต้องหาคนจีน ก็เลยกลายเป็นว่า โอเคตาตี๋ เป็นจีนก็ได้" สิทธา กล่าว ภาพยนตร์เรื่อง Sepet ยังมีได้ทำภาคต่อในเรื่อง Gubra (Anxiety, 2006) เป็นเรื่องราวต่อจากภาคเดิมและ Mukhsin (2007) เรื่องราวความรักในวัยเด็กของออร์เก็ตกับ 'มุซิน' เด็กชายมลายูมุสลิม และยังมีผลงานอื่นของ Yasmin ที่มักวิพากษ์สังคมมุสลิมมลายูถึงความขัดกันทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์และศาสนา จนมีภาพยนตร์บางเรื่องที่ไม่สามารถฉายในมาเลเซียได้ ทั้งนี้ กระแสวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับผลงานของยัสมินในสังคมมาเลเซีย ณ ช่วงเวลาดังกล่าวคือความไม่เหมาะสมต่อการนำเสนอ หรือวิพากษ์สังคมมลายูมุสลิมที่กระทบต่อเนื้อหาอิสลาม "ในฐานะมุสลิม เราไม่ควรเอาศาสนาเข้าแลกเพื่อตนเองได้เป็นที่นิยมชมชอบแก่สังคม" ฮารุสซานี อิดรีส ผู้คัดค้านการกำกับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งของยัสมินในตอนเหนือรัฐเป-ระ กล่าว ยัสมิน อะหมัด เสียชีวิตลงเมื่อปี 2009 ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ในวัย 51 ปี ปัจจุบันผลงานของยัสมินถูกรวบรวมไว้ยังพิพิธภัณฑ์ในเมืองอีโปห์ รัฐเป-ระ ประเทศมาเลเซีย อ้างอิง ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกาญจนี ละอองศรี, บรรณาธิการ. 2552. สตรี รานี: บทบาทหญิงมุสลิม ใน โลกของอิสลามและมุสลิมในสยามประเทศไทย-อุษาคเนย์-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. Lee Yuen Beng. 2015. Yasmin Ahmad: Auteuring a New Malaysian Cinematic Landscape. Wacana Seni Journal of Arts Discourse. Jil./Vol.14. 2015. P.87-109. Jalil Hamid. Malaysian filmmaker struggles with hardline Islam. Sepet Yasmin Ahmad ภาพประกอบจาก สำหรับ อัฐพล ปิริยะ ผู้รายงานเสวนาชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 2/2560 จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสนใจด้าน One Piece, Star Wars, วรรณกรรม, การเมืองวัฒนธรรม และการศึกษา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
'หอการค้า' เผยดัชนีคอร์รัปชั่นไทยหล่น อัตราจ่ายใต้โต๊ะพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี เสียหาย 1-2 แสนล้าน Posted: 16 Feb 2018 05:34 AM PST มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีปัญหาและความรุนแรงการคอร์รัปชั่นมีความรุนแรงมากขึ้น อัตราการจ่ายใต้โต๊ะในปี 60 อยู่ที่ 5-15% ถือว่าสูงสุดในรอบ 3 ปี สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1-2 แสนล้าน 'วิษณุ' ยัน รบ.แก้ปัญหานี้ด้วยความเหน็ดเหนื่อย เอาจริงเอาจัง แฟ้มภาพ (ที่มา สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์) 16 ก.พ.2561 เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทยเดือน ธ.ค. 2560 ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (CSI) อยู่ที่ 52 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนในเดือน มิ.ย.ปีเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ 53 โดยปรับลดลงทั้งดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ดัชนีปัญหาและความรุนแรงการคอร์รัปชั่นมีความรุนแรงมากขึ้น โดยลดลงมาอยู่ที่ 42 จากครั้งก่อนอยู่ที่ระดับ 44 มีเพียงดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 60 เป็น 62 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประมาณการว่า มูลค่าการคอร์รัปชั่นอยู่ที่ 5-15% ของงบประมาณ หรือ 6.62 หมื่นล้านบาท ถึง 1.98 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.29-6.86% ของงบประมาณ กระทบต่อจีดีพีประเทศ 0.41-1.23% เสาวณีย์ กล่าวอีกว่า สาเหตุสำคัญมาจากกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจ กระบวนการทางการเมืองขาดความโปร่งใส ความไม่เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการทำสำรวจมาทั้งหมด 15 ครั้งหรือ 7 ปีครึ่ง ในครั้งนี้น่าห่วงว่ามีแนวโน้มจะกลับมาเพิ่มขึ้นและมีสัญญาณความรุนแรงมากขึ้นหลังจากลดลงมาตลอดตั้งแต่ปี 2558 ธนวรรธน์ กล่าวว่า ค่าดัชนี สถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยเริ่มมีสัญญาณดิ่งลงเรื่อยๆ หลังปี 2558 หลังเริ่มมีการ จัดซื้อจัดจ้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยพบว่า อัตราการจ่ายใต้โต๊ะในปี 2560 อยู่ที่ 5-15% ถือว่าสูงสุดในรอบ 3 ปี นับจากปี 2558 ที่จ่ายเฉลี่ย 1-15% และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1-2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) จะมีการประกาศผลคะแนนดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ของประเทศไทย (CPI) ประจำปี 2560 จากปัจจุบันไทยมีคะแนนอยู่ที่ 35 คะแนน ติดอันดับ 101 จาก 176 ประเทศ ลดลงจากปี 2558 ที่อยู่อันดับ 76 วิษณุ ยัน รบ.แก้ปัญหานี้ด้วยความเหน็ดเหนื่อย เอาจริงเอาจังวันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยที่พบว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในปี 2561 จะรุนแรงขึ้น ว่า รัฐบาลได้เห็นและรับทราบผลสำรวจดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยินดีรับฟัง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง จากนั้น หน่วยงานใดที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องไปเร่งปรับปรุงและพิจารณาว่าปัญหาอยู่ที่ตรงจุดไหน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะมีผลต่อการประเมินประเทศไทยโดยองค์กรตรวจสอบความโปร่งใสนานาชาติ เพราะเป็นตัวชี้วัดคนละตัว องค์กรนั้นก็ทำของเขาไป ต่อกรณีคำถามที่ว่าเป็นการสะท้อนว่ากลไกของรัฐบาลที่พยายามแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นไม่สามารถทำงานได้ใช่หรือไม่นั้น วิษณุ กล่าวว่า มันสะท้อนทัศนะของคนจำนวนหนึ่ง รัฐบาลมั่นใจว่าได้แก้ปัญหานี้ด้วยความเหน็ดเหนื่อย เอาจริงเอาจัง และทำหลายเรื่องทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการในทางที่ทำกับตัวบุคคล แต่อาจมีบางจุดที่คนในสังคมยังสงสัยหรือข้อสังเกต ซึ่งต้องทำไปตามกระบวนการที่ยังดำเนินการไม่สิ้นสุด "ยกตัวอย่างกรณีล่าเสือดำในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นเรื่องที่ผมและสังคมติดตามอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายจะเป็นอย่างไรก็ต้องอยู่ว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องจะจบลงอย่างไร เพราะเรื่องนี้เข้าสู่คดีแล้วซึ่งนำไปสู่การมีโทษ ต่างจากการทุจริตที่มีหลายเรื่องเป็นการกล่าวหาเลื่อนลอยและทำให้เกิดความรู้สึก ดังนั้น เราจะเอาสิ่งที่เป็นคดีแล้วไปปะปนกับเรื่องทุจริตที่เป็นการกล่าวหา คงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ทำออกมานี้ดูจะเป็นเรื่องเพอร์เซพชั่นที่อาจชัด เพราะเขาไปสำรวจจากสำนักงานทนายความ นักลงทุน ผู้ประกอบการที่เคยจ่ายเงินใต้โต๊ะ-บนโต๊ะ" วิษณุ กล่าว ที่มา : โพสต์ทูเดย์ และมติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
เดินมิตรภาพ: ความมั่นคงทางอาหารกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ฉบับใหม่ Posted: 16 Feb 2018 04:03 AM PST ข้อกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ฉบับใ กิจกรรม "We Walk เดินมิตรภาพ" โดยเครือข่ายประชาชน People Go Network มีเป้าหมายการเดินทาง 800,000 ก้าว 450 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น เพื่อเชื่อมร้อยประชาชนที่มีควา ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหา เนื่องมาจากข้อกังวลของหลายฝ่าย เมล็ดพันธุ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นค | ||||||||||||||||
สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน กำหนดให้ยื่นใช้สิทธิภายใน 1 ปี Posted: 16 Feb 2018 03:27 AM PST สนช. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน กำหนดให้ยื่นใช้สิทธิภายใน 1 ปี หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลัง
เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา เว็บไซต์วิทยุรัฐสภาฯ รายงานว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม มีมติประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... ใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเห็นด้วย 193 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 3 เสียง จากผู้ร่วมประชุมทั้งหมด 196 คน พร้อมเห็นด้วยกับข้อสังเกตท้ายรายงานและจะจัดส่งไปยังคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป สำนักข่าวไทย รายงานเพิ่มเติมว่า พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ประกันตน ที่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง เนื่องจากมีการขาดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน หรือส่งเงินไม่ครบจำนวน เป็นเวลา 9 เดือน ในระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งทำให้ขาดจากการเป็นผู้ประกันตน และไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ หากมีความประสงค์ที่จะกลับมาเป็นผู้ประกันตน ผู้ที่ประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตน จะต้องยื่นคำขอผ่านสำนักงานประกันสังคมภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการทั่วถึง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้ง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงินไว้ใช้ในยามชราภาพมากขึ้น ทั้งนี้ จากร่างกฎหมายนี้ จะมีกลุ่มแรงงานผู้ได้รับสิทธิ์กว่า 1 ล้านคน กลับเข้ามาสู่ระบบการประกันตนอีกครั้ง และการกลับเข้ามาสู่ระบบผู้ประกันตน ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลัง โดยหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ จะมีการแจ้งให้ผู้ประกันตนทราบเป็นรายบุคคลด้วยหนังสือ ส่งไปยังตามที่อยู่ที่เคยแจ้งไว้ โดยผู้ที่ได้รับสิทธิสามารถดาวน์โหลดเอกสารแบบยื่นจากเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม และดำเนินการยื่นต่อสำนักงานได้ภายใน 1 ปี หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ และต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาทตามเดิม ตั้งแต่เดือนแรกที่มีการยื่นขอ ซึ่งจะได้รับสิทธิ์คุ้มครอง เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
‘เดินมิตรภาพ’ พูดอะไรกัน: หลักประกันสุขภาพ รัฐสวัสดิการที่เสี่ยงถูกลดเกรด Posted: 16 Feb 2018 02:35 AM PST ชวนดูที่มา รูปแบบ ข้อมูลเชิงสถิติของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หนึ่งในประเด็นที่กลุ่ม We Walk เดินมิตรภาพรณรงค์ว่าด้วยการรณรงค์เรื่องรัฐสวัสดิการ และภัยคุกคามในเชิงโครงสร้างจากการแก้ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเรื่องร่วมจ่าย เรื่องบทบาทของราชการที่ตัวใหญ่ขึ้น กับภาคประชาชนที่ตัวเล็กลง หนึ่งในประเด็นการรณรงค์ที่เครือข่ายประชาชน People Go Network ซึ่งจัดกิจกรรม 'We Walk เดินมิตรภาพ' รณรงค์ระหว่างการเดินเท้าจาก จ.ปทุมธานี ไปยัง จ.ขอนแก่น ก็คือเรื่องรัฐสวัสดิการ และหนึ่งในประเด็นใหญ่ในเรื่องรัฐสวัสดิการก็คือเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ภายใต้รัฐบาล คสช. กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าเป็นการบ่อนทำลายสถานภาพแห่งการเป็นรัฐสวัสดิการ และกลายสภาพไปเป็น 'รัฐสงเคราะห์' ในวันที่การเดินมิตรภาพถึงจุดหมายปลายทางที่ จ.ขอนแก่นแล้ว ประชาไทชวนดูที่มา ข้อมูลเชิงสถิติ ประเด็นการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพที่จะเป็นการบ่อนทำลายรัฐสวัสดิการอันเป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศและพยุงคนไทยไม่ให้ล้มละลายจากอาการเจ็บป่วย และประเด็นที่เครือข่ายได้ผลักดันระหว่างการเดินเท้าทางไกล หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคืออะไร มาจากไหนเอกสารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ข้อมูลว่า คนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล แบ่งเป็น 3 ระบบใหญ่ ได้แก่ หนึ่ง สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว มีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ดูแลระบบและออกกฎระเบียบ สอง สิทธิประกันสังคม คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนตามสิทธิให้เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียน ส่วนนี้ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ดูแลระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สาม สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียก 'บัตรทอง' คุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการสองประการข้างต้น หรือสวัสดิการรัฐวิสาหกิจหรือสิทธิอื่นๆ จากรัฐ ให้ได้รับบริการสาธารณสุขทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเพื่อเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง หลักประกันนี้คุ้มครองประชาชนตั้งแต่แรกเกิด และสิ้นสุดสิทธิเมื่อได้สิทธิรักษาพยาบาลอื่นทดแทน เช่น สิทธิสองประการที่กล่าวไว้ข้างต้น ผู้ถือบัตรทองสามารถเข้ารับการบริการสาธารณสุขได้ที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่เป้นคู่สัญญา โดยมี สปสช. ดูแล ในกรณีฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤติ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่ได้รับการรู้จักครั้งแรกในชื่อ '30 บาทรักษาทุกโรค' เป็นชื่อเรียกที่ผูกโยงกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในฐานะนโยบายที่พรรคชูขึ้นมาในการเลือกตั้งที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลสมัยแรก และผลแห่งนโยบายทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลในวาระที่ 2 ด้วยคะแนนถล่มทลาย สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลไทยรักไทย เล่าที่มาของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคว่า เมื่อปี 2541 เมื่อพรรคไทยรักไทยก่อตั้ง ทักษิณต้องการสร้างพรรคการเมืองที่แข่งขันด้วยนโยบายที่เป็นรูปธรรม เวลานั้น สุรพงษ์รับผิดชอบด้านการทำนโยบายด้านสาธารณสุข และมีความต้องการที่จะปฏิรูปนโยบายสาธารณสุขไทยสมัยนั้นที่เน้นการแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป จึงได้พูดคุยกับสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ที่ทำเรื่องยุทธศาสตร์สาธารณสุขมานาน และเป็นคนเดียวกันกับที่เสนอเรื่องแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับพรรคการเมืองหลายพรรคมาแล้ว การพูดคุยดังกล่าวนำไปสู่การพบกันของสงวนและทักษิณ เรื่อยมาจนออกมาเป็นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคบนฐานแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งระหว่างทาง ภาคประชาชน เอ็นจีโอ รวมถึงสงวน ต่างมีส่วนร่วมในการเผยแพร่แนวคิด ร่างกฎหมาย ล่ารายชื่อถึง 50,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้บริการ งบประมาณต่อหัว และจำนวนงบประมาณ ระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับงบรักษาพยาบาลข้าราชการ พบว่ามีความแตกต่าง ดังนี้
ที่มา:
เรื่องที่มาของงบประมาณ กองทุนหลักประกันฯ ใช้งบประมาณแผ่นดินอุดหนุน 100% ควบคู่กับระบบร่วมจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาทมาตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2545 แต่มีช่วงที่ยกเลิกระบบร่วมจ่ายและให้รักษาฟรีช่วงสั้นๆ คือปี 2549-2555 ก่อนกลับมาใช้ระบบร่วมจ่าย 30 บาทจนถึงปัจจุบัน งบรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว ได้รับงบประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยจัดอยู่ในงบกลางตามมาตรา 49 "ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ และครอบครัว" มีผู้มีสิทธิประมาณ 4.97 ล้านคน เฉลี่ยงบประมาณอยู่ที่ 12,676.06 บาทต่อคน กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล มาตั้งแต่ปี 2534 โดยในเดือน ก.ย. 2560 เงินกองทุนสะสมกองทุนประกันสังคมตามงบการเงินมีจำนวน 1,809,225 ล้านบาท ประกันสังคมถือเป็นสวัสดิการทางสังคมที่ใช้ระบบไตรภาคี รัฐบาลอุดหนุน 33.33% ส่วนที่เหลือเป็นเงินสมทบโดยผู้ประกันตนและนายจ้าง โดยต้องจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน และจะสิ้นสุดสิทธิประกันสังคมเมื่อขาดส่งเงินสมทบมากกว่า 3 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม หวั่น 'ความเป็นรัฐสวัสดิการ' ถูกลดกลายเป็น 'รัฐสงเคราะห์'ข่าวคราวของความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ในยุค คสช. สร้างความกังวลให้กับประชาชนที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แม้รัฐบาลจะพร่ำบอกออกสื่อว่า หลักประกันสุขภาพจะยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่กฎหมายที่แก้ไขจะทำให้โครงสร้างของหลักประกันสุขภาพเปลี่ยนรูปจากรัฐสวัสดิการไปเป็นรัฐสงเคราะห์ ข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นหลักประกันสุขภาพของเครือข่ายฯ คือความพยายามจะลดการคุ้มครองด้านหลักประกันสุขภาพ จากถ้วนหน้าให้เหลือแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือการลดรูปลงไปให้เหลือเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน รวมถึงการไม่ครอบคลุมคนไทยทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนไทยที่รอพิสูจน์สถานะและสิทธิคนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจ เช่น คนไร้บ้าน การร่วมจ่ายที่เป็นที่กังวลว่าจะส่งผลกับการเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล สัดส่วนคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ที่จะเพิ่มสัดส่วนให้กับฝ่ายราชการและบริษัทยา ทำให้เสียงจากภาคประชาชนในบอร์ด สปสช. มีสัดส่วนน้อยลง จอน อึ๊งภากรณ์ จากโครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw กล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในงานเสวนาเปิดตัวการรณรงค์ We Walk เดินมิตรภาพ ว่า หลักประกันสุขภาพให้บทเรียนสำคัญสองประการ หนึ่ง ระบบหลักประกันฯ ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ ไม่ใช่ระบบที่ฝ่ายภาครัฐเป็นผู้ให้ และประชาชนเป็นผู้รับ สอง ระบบหลักประกันฯ เป็นสวัสดิการที่ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็นและเท่าเทียมกัน ประชาชนทุกคนร่วมจ่ายอยู่แล้วผ่านภาษี เป็นระบบที่มีขึ้นเพื่อสู้กับระบบสงเคราะห์ผู้อนาถา แต่ผู้มีอำนาจกลับไม่เข้าใจ และมองว่าระบบหลักประกันฯ ใช้งบประมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับมีเงินไปซื้ออาวุธ "การต่อสู้เพื่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นเรื่องเดียวกัน" จอนกล่าว สุภัทรา นาคะผิว ตัวแทนจากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้จะมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 คือการหลอมรวมกองทุนสุขภาพทั้งสามกองทุนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในระบบ และเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องงบประมาณไม่พอนั้นมีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้อย่างไม่เพียงพอ ในวันที่ 27 ม.ค. 2561 เวทีเดินมิตรภาพจัดวงเสวนาเรื่องรัฐสวัสดิการ มีนา ดวงราษี กลุ่มคนรักประกันสุขภาพจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จากงานวิจัยศึกษาพบว่า ถ้าไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพจะมีคนล้มละลายไปกว่าแสนครอบครัว มีสองสามประเด็นที่ทำให้กฎหมายหลักประกันสุขภาพมีความเป็นรัฐสวัสดิการ เริ่มจากกฎหมายฉบับนี้สร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุด ผ่านการคุยจากหลายแวดวง ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายวิชาการผลิตงานวิชาการมารองรับ และการเคลื่อนไหวทางสังคม พอมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายจึงทำให้เกิดมาตราที่ว่า "รัฐต้องจัดสรรสวัสดิการการดูแลหลักประกันสุขภาพทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย" ข้อกังวลเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบหลักประกันสุขภาพถูกพูดถึงมาก่อนที่จะมีการเดินทางไกลของขบวน We Walk เสียอีก กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเป็นกลุ่มที่ดูมีความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้มากที่สุด กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. … ตั้งแต่สัดส่วนภาคประชาชนในคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ที่มีผู้แทนภาคประชาชนเพียงสองคน จากทั้งหมด 27 คน และข้อกฎหมายหลายประการที่ภาคประชาชนเสนอว่าควรให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น การเพิ่มประเภทสถานบริการที่มาจากองค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ในส่วนที่เป็นที่พูดถึงบ่อยครั้งคือเรื่องการขยายขอบเขตของผู้ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพ ให้ขยายไปถึงคนไทยในสถานภาพต่างๆ ได้แก่ คนไทยที่มีปัญหาสถานะและสิทธิคนไทยพลัดถิ่น คนไทยตกสำรวจ เพื่อให้คนเหล่านี้มีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และขอให้ตัดเรื่องการร่วมจ่าย ณ จุดบริการออกไป เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติจากฐานะทางเศรษฐกิจ และสถานะของบุคคล รวมถึงแก้ปัญหาอุปสรรคการเข้าถึงการบริการ อีกหนึ่งข้อกังวลก็คือการเพิ่มบทบาทของส่วนผู้ให้บริการ หรือกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการแก้ไขให้เพิ่มจำนวนกรรมการหลักประกันสุขภาพจาก 30 เป็น 32 คน โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก็คือสัดส่วนตัวแทนผู้ให้บริการ ก็คือทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมถึงการให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามามีบทบาทในการจัดซื้อยา นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเดินมิตรภาพ กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ 'แก้ กม.บัตรทองอย่างไร ให้ประชาชนได้ประโยชน์?' เมื่อ 6 ก.ค. 2560 ว่า หลักการของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการแยกผู้ซื้อกับผู้ให้บริการออกจากกัน, เป็นระบบบริการที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ สำหรับคนทุกคนอย่างเท่าเทียม และประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการให้ดียิ่งขึ้น แต่การแก้ไขกฎหมายรอบนี้กำลังจะทำให้ประชาชนต้องสูญเสียอะไรบ้าง เขาแจกแจงออกมาดังนี้ หนึ่ง-อาจมีการปรับเพิ่มจำนวนเงินร่วมจ่ายต่อครั้งที่ไปรักษาพยาบาล เพราะไม่ตัดคำนี้ออกจากมาตรา 5 วงเล็บ 2 สอง-ชนชั้นกลางในระบบจะเป็นกลุ่มเสี่ยงกลุ่มแรกที่จะต้องร่วมจ่าย เพราะถูกตีความว่าไม่ใช่คนจน อย่างไรก็ตาม นิมิตร์ย้ำว่าระบบหลักประกันสุขภาพไม่ใช่ระบบของคนจน แต่เป็นสิทธิประโยชน์ของทุกคนที่จะได้รับบริการจากรัฐ และถ้ามีการแก้สัดส่วนกรรมการได้ ชนชั้นกลางจะเป็นกลุ่มแรกที่เสี่ยง สาม- เมื่อไหร่ที่ผู้ได้รับสิทธิประกันสังคมออกจากงาน ถ้าหางานไม่ได้ใน 6 เดือนหรือเมื่ออายุครบ 55 ปี จะถูกโยกมาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้ากฎหมายถูกแก้ตอนนี้ อนาคตคนกลุ่มนี้ก็จะได้รับผลกระทบ ดังนั้น คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย สี่-โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมีความเสี่ยงที่จะถูกเรียกเก็บเงินหรือร่วมจ่าย แต่รัฐธรรมนูญระบุว่าต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ เหตุนี้จึงควรแก้กฎหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีกลไกต่อรองราคายา ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้แก้กฎหมายไม่สนใจ ห้า-ประชาชนจะเสียสิทธิการมีส่วนร่วมบริหารจัดการการส่งเสริมและป้องกันโรค เพราะกฎหมายจะแก้ว่าถ้าประชาชนต้องการทำงานส่งเสริมและป้องกันต้องติดต่อให้โรงพยาบาลเป็นผู้เขียนโครงการให้ หก-ประชาชนจะเสียสิทธิในการเสนอ ปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพ เพราะสัดส่วนกรรมการจะหายไป เจ็ด-ประชาชนอาจเสียโอกาสในการได้รับยาต่อเนื่องกรณีโรคเรื้อรัง หรือเสียโอกาสในการซื้อยาในราคาที่เป็นธรรม และอาจเผชิญปัญหาการขาดแคลนยาในบางช่วง แปด-ในอนาคตอาจเสี่ยงกับการมีผู้ให้บริการไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย เพราะถ้ามีการแยกเงินเดือนจากค่าเหมาจ่ายรายหัว จะทำให้ค่าเหมาจ่ายรายหัวไม่สัมพันธ์กับจำนวนประชากร ในพื้นที่ที่มีประชากรมาก แต่ห่างไกล แพทย์อาจไม่ต้องการไปอยู่ เงินเหมาจ่ายรายหัวที่รวมเงินเดือนนี้ก็ยังสามารถนำไปจ้างลูกจ้างชั่วคราวได้ หากแยกออกจากกันอาจทำให้เกิดการขาดแคลนแพทย์ในบางพื้นที่ และเกิดการกระจุกตัวของแพทย์ในเขตเมือง เก้า-ประชาชนต้องรีบป่วยตั้งแต่ต้นปี เพราะปลายปีเงินอาจหมด เนื่องจากในกฎหมายใช้คำว่า ให้คิดค่าใช้จ่ายที่สะท้อนต้นทุน ณ เวลาปัจจุบัน ตอนนี้หลักประกันสุขภาพจ่ายราคาตามรายโรคร่วม ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกคิดไว้แบบถัวเฉลี่ยทั้งปี การแก้ว่าต้องสะท้อนต้นทุน ณ ปัจจุบัน หากต้นทุนเพิ่ม ผู้ป่วยก็ต้องร่วมจ่าย ประเด็นนี้เป็นการแก้โดยไม่บอกประชาชน นิมิตร์ เสนอว่า หากจะแก้กฎหมายหลักประกันจะต้องตัดเรื่องร่วมจ่ายออกจากกฎหมาย รวมทั้งต้องรวมระบบสวัสดิการสุขภาพเข้าเป็นระบบเดียวเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แต่ที่ไม่ทำ เพราะตอนนี้รัฐไทยเป็นรัฐราชการ ข้าราชการเป็นใหญ่จึงทำให้แก้ยาก ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงทิศทางที่หลักประกันสุขภาพควรจะเป็นว่า "งบประมาณสาธารณสุขควรเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะคนมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้น ปริมาณประชากรเพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เมื่อพูดถึงตามสัดส่วนจีดีพี สวัสดิการสาธารณสุขควรเพิ่มขึ้นและควรถูกจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรก แต่ที่เราเห็นคือให้ความสำคัญน้อยลง เพดานการอุดหนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องเพิ่มขึ้นๆ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มน้อยมาก ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ต่ำกว่าเงินค่าครองชีพในมิติอื่นๆ ถ้าเทียบกับงบประมาณส่วนอื่นๆ จะเห็นแนวโน้มอัตราการเพิ่มน้อยกว่า และมีความพยายามดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัด" "ถ้าตัดงบกลาโหมออกครึ่งหนึ่งจะสามารถจ้างหมอเพิ่มด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงได้แทบจะทันที เราไม่ต้องเห็นภาพหมอเข้าเวรจนตาย จนเจ็บป่วย การที่หมอทำงาน 8 ชั่วโมง ดูแลคนไข้อย่างดีและเต็มที่ ซึ่งในเงื่อนไขปัจจุบันมันทำไม่ได้ มันกลายเป็นหมอต้องมาอุทิศตน เพราะผลประโยชน์จริงๆ ที่หมอต้องการคือค่าแรงที่เหมาะสม เชื่อว่าถ้าได้แปดหมื่นจริงๆ หมอก็คงไม่ต้องการไปนั่งคลินิก หมอมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการกระจายตัวของแพทย์ก็จะดีขึ้นด้วย" "ผมเคยเขียนงานชิ้นหนึ่งพูดถึงระบบสวัสดิการที่แบ่งระบบฐานคิดเป็น หนึ่ง-สวัสดิการแบบอภิสิทธิ์ชน คือคุณต้องเป็นคนเก่งคนดีคุณถึงจะได้ เป็นฐานความคิดของข้าราชการ สอง-ฐานความคิดแบบเพดานต่ำคือ ประกันสังคม คุณเป็นคนจนคุณก็จะได้แบบจนๆ และสาม-สังคมสงเคราะห์ ถ้าคุณจนมากๆ คุณก็พิสูจน์ความจนไป นี่คือสามขาหลักที่ทำลายสวัสดิการไม่ให้ก้าวหน้า" ษัษฐรัมย์ กล่าว ในวันที่ประชาชนเดินรณรงค์เรื่องรัฐสวัสดิการได้รับการอำนวยความสะดวกน้อยกว่าการวิ่งจากใต้ขึ้นเหนือของนักร้องดัง และภายใต้รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการติดอาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่าสวัสดิภาพของประชาชน ความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอันจะมาจากการส่งเสียงของภาคประชาชนยังคงเป็นคำถาม ประชาไทจึงชวนติดตามปลายทางของการเดินทางไกลของภาคประชาชนครั้งนี้ว่าจะจบลงในแบบไหน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
ICJ ร้องยุติคดี 'อิสมาแอ เต๊ะ' หลังเปิดปมซ้อมทรมาน Posted: 16 Feb 2018 02:30 AM PST คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ร้องทางการไทย ยุติใช้กฎหมายหมิ่ ภาพจากคลิปรายการนโยบาย By ประชาชน ซึ่ง อิสมาแอ เต๊ะ กล่าวไว้ในนาทีที่ 14.58 เป็นต้นไป https://youtu.be/JaNsOqR6AbA?t=898 15 ก.พ.2561 จากกรณีเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา แผนกฎหมาย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้รับมอบหมายจาก พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดี กับ อิสมาแอ เต๊ะ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) ที่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหารซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย ผ่านรายการนโยบาย by ประชาชน ออกอากาศทางช่อง Thai PBS เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2561 ยื่นเอกสารและข้อมูลที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับหน่วยความมั่นคงต่อ พ.ต.ท.ถนัด ค่ำควร รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี เพื่อฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งและอาญา ทั้งปวง เอาผิดตามกฎหมายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าว อันส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อ กองทัพภาคที่ 4 และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า นั้น ล่าสุด คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ (International. Commission of Jurists) ออกแถลงการณ์และเรียกร้องให้ "เป็นที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่ ข้อกล่าวหาดังกล่าวนั้นมี "การกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง เช่นการจำคุก และการปรับเป็นจำนวนเงินที่สู แอ๊บบอต ระบุด้วยว่า การร้องทุกข์ดำเนินคดีในครั้งนี้ "และที่น่าแปลกใจยิ่งไปกว่านั้ ICJ ยังรายงานถึงคดีอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการคุกคามผ่านกลไกของกฎหมายเช่นกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ดังนี้ คดีนี้เป็นตัวอย่างล่าสุดของการใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ในทางที่ไม่ถูกต้องนัก ซึ่งรวมถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาททางอาญาและพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะปิดปากเหยื่อ นักสิทธิมนุษยชน และสื่อในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับเว็บไซต์ 'Manager Online' ซึ่งลงบทความที่มีเนื้อหาในลักษณะที่มีการกล่าวหาว่ามีการทรมานและการประติบัติที่ทารุณอื่นๆต่อผู้ต้องสงสัยในค่ายทหารสองแห่ง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้เรียกร้องให้สำนักข่าวชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาทจากการรายงานบทความดังกล่าว ผู้อำนวยการ กอ.รมน. ภาค 4 ได้มอบหมายให้ พ.อ. หาญพล เพชรม่วง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษทางอาญาตามมาตรา 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และมาตราที่ 14 (2) แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่อบรรณาธิการของบทความดังกล่าวของ Manager Online ซึ่งเผยแพร่บทความ "แฉ! อดีตผู้ต้องสงสัยเผยถูกซ้อมทรมานเหมือนตายระหว่างถูกคุมตัวในค่ายทหาร" เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เมื่อปี พ.ศ. 2554 พนักงานตำรวจก็ได้เข้าร้องทุกข์ให้มีการดำเนินคดีอาญาต่ออนุพงศ์ พันธชยางกูร อดีตกำนัน อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ฐานแจ้งความเท็จว่าตนถูกทรมานและถูกประติบัติอย่างทารุณโดยตำรวจทีมที่มาสืบสวนสอบสวน กรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการ "แจ้งความเท็จ" คือกรณีที่อนุพงศ์ พันธชยางกูร อ้างว่าตนได้ถูกทรมานเพื่อให้รับสารภาพว่าตนมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีปล้นอาวุธเมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่ค่ายทหารนราธิวาสราชนครินทร์ และการฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคคลอื่นอีก 3 คน อนุพงศ์ พันธชยางกูร จึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 20 นายซึ่งอยู่ในทีมสืบสวนสอบสวน หลังจากที่คดีของเขาถูกยกฟ้องในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และได้พิพากษาให้อนุพงศ์ พันธชยางกูร ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หลานสาวของพลทหารวิเชียร เผือกสม ซึ่งมีการกล่าวหาว่าเสียชีวิตเนื่องจากถูกทรมานระหว่างการฝึกทหารในปีพ.ศ. 2554 ในจังหวัดนราธิวาส ก็ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา และความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ คดีดังกล่าวนั้นถูกริเริ่มดำเนินคดีโดยนายทหารรายหนึ่งที่กล่าวหาว่านริศราวัลถ์ได้กล่าวโทษว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของน้าของเธอ ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากการที่ครอบครัวได้พยายามแสวงหาความยุติธรรมจากการเสียชีวิตดังกล่าว คดีของนริศราวัลถ์นั้นยังรอคงรอความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องจากอัยการสูงสุด ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 หลังจากกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสาม ได้แก่ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ สมชาย หอมลออ และอัญชนา หีมมิหน๊ะ ทั้งสามได้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อันสืบเนื่องมาจากการตีพิมพ์รายงานที่รวบรวมกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการทรมานและการประติบัติที่ทารุณอื่น ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเจ้าหน้าที่ของไทยจำนวน 54 คดีตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แถลงความประสงค์ที่จะถอนการแจ้งความการดำเนินคดีดังกล่าว และในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 อัยการจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่งยุติการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งสาม ก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 กองทัพไทยก็ได้ยื่นคำร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีอาญากับพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรของเธอ เพราะทำให้หน่วยทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "เสื่อมเสียชื่อเสียง" เนื่องจากพรเพ็ญได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทยเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนกรณีที่มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกายชายผู้หนึ่งระหว่างการจับกุมตัว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 พรเพ็ญและองค์กรของเธอได้รับแจ้งจากตำรวจว่าอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว ความเป็นมาประเทศไทยเป็นภาคีของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other ทั้งนี้ สิทธิที่จะเข้าถึงกระบวนการเยียวยาจากการถูกทรมานและการประติบัติที่ทารุณอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการที่เรื่องร้องเรียนจักได้รับการสวบสวนอย่างรวดเร็ว โดยครบถ้วน และเป็นกลาง ล้วนแต่ได้รับการประกันไว้โดย ICCPR และ CAT ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ระหว่างการพิจารณาการปฏิบัติตามพันธกรณีของไทยตามมาตรา 19 ของ CAT ตามวาระครั้งที่ 1 คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nations Committee Against Torture หรือ คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน) ได้แสดงความกังวลถึง "การตอบโต้อย่างรุนแรงและการข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว ผู้นำชุมชน และญาติของพวกเขา" และเรียกร้องให้ประเทศไทยใช้มาตรการต่างๆเพื่อยุติ "การกดดัน การคุกคาม และการโจมตี" ดังกล่าว และจัดให้มี "การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต่อเหยื่อและครอบครัวของพวกเขา" คณะกรรมการต่อต้านการทรมานยังได้เสนอแนะว่าประเทศไทย "ควรจะใช้มาตรการที่จำเป็นต่างๆในการ (ก) หยุดการคุกคามและโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว และผู้นำชุมชน และ (ข) ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเป็นระบบเมื่อมีการรายงานว่ามีการข่มขู่ คุกคาม และการโจมตี เพื่อที่จะนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และประกันว่าจะมีการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่เหยื่อและครอบครัวของพวกเขา" ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561 ICJ และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights หรือ TLHR) ได้ยื่นข้อเสนอแนะร่วมต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน โดยข้อเสนอแนะดังกล่าวได้แนะคำถามแก่คณะกรรมการต่อต้านการทรมานเพื่อสอบถามรัฐบาลไทยในการพิจารณาการปฏิบัติตามพันธกรณีของไทยตามวาระครั้งที่ 2 ที่กำลังจะถึงนี้ โดยได้รวมความกังวลเกี่ยวกับการข่มขู่หรือการตอบโต้ต่อบุคคลที่รายงานกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการทรมาน การประติบัติโหดร้าย และการบังคับสูญหาย ไว้ในข้อเสนอแนะด้วย หนึ่งในความท้าทายในการนำตัวผู้กระทำผิดในกรณีการทรมานและการประติบัติที่ทารุณอื่นๆ มาลงโทษในประเทศไทยคือการที่อาชญากรรมเหล่านี้ยังไม่ถูกบัญญัติให้เป็นความผิดตามกฎหมายภายใน ทั้งนี้ มีรายงานว่าร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งถูกร่างโดยกระทรวงยุติธรรม โดยมีการปรึกษาหารือกับองค์กรเอกชนอื่นๆรวมถึง ICJ ถูกส่งกลับไปยังคณะรัฐมนตรีของไทย "เพื่อรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ... ทั้งจากมหาดไทย ตำรวจ ฝ่ายความมั่นคง ทหาร อัยการ" อนึ่ง เนื่องจากไม่มีช่วงเวลาระบุไว้และไม่มีเงื่อนเวลากำหนดไว้สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวของคณะรัฐมนตรี ก้าวย่างดังกล่าวของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ส.น.ช.) จึงมีผลทำให้การออกกฎหมายดังกล่าวล่าช้าไปโดยไม่มีกำหนด ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ICJ และ และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายแก่กระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศยิ่งขึ้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
ประชาธิปัตย์กังวลกฎหมายลูก ส.ส.-ส.ว. อาจถูกคว่ำ วอน สนช. คำนึงถึงประเทศเป็นหลัก Posted: 16 Feb 2018 01:57 AM PST รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุเป็นกังวลว่าร่างกฎหมายลูก ส.ส.-ส.ว. อาจถูกคว่ำได้ วอนสนช.พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ประเทศ อภิสิทธ์ เชื่อ คสช. สั่งได้คว่ำหรือไม่คว่ำ แฟ้มภาพประชาไท 16 ก.พ. 2561 องอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายว่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับอาจถูกคว่ำได้ เพราะมีความเห็นไม่ตรงกัน หากที่ประชุมร่วมหาข้อตกลงกันไม่ได้ และหากกฎหมายถูกคว่ำ จะทำให้ต้องยกร่างใหม่ และระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะต้องเลื่อนออกไป เชื่อว่าจะมีผลต่อการกำหนดวันเลือกตั้งด้วย ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ สนช. พิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก หากมีประเด็นใดที่เป็นข้อสงสัย ควรต้องทำให้กระจ่าง ไม่ควรต้องให้มีการส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอีก เพราะจะทำให้ระยะเวลาการเลือกตั้งเลื่อนออกไป รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้จัดมหรสพหาเสียงเลือกตั้งได้ เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ ไม่ควรที่จะย้อนยุคกลับไปอีก แต่ยอมรับว่าประเด็นนี้ไม่ชัดเจนว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องที่มาของส.ว. ที่กำหนดเปิดให้สมัครเพื่อเลือกกันเองโดยผ่านได้ 2 ช่องทาง คือสมัครส่วนบุคคล และส่งสมัครโดยองค์กรนั้น ยังมีความเห็นที่แตกต่างว่าเข้าข่ายไม่เป็นไปตามเจตนารณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นควรต้องเขียนให้ชัด เพื่อจะได้ไม่ต้องมาตีความกันในภายหลัง เพราะจะทำให้เสียเวลา ส่วนที่พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระบุว่าสนช.ต้องพิจารณากฎหมายอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งหลังการเลือกตั้งนั้น นายองอาจ กล่าวว่า การพิจารณากฎหมายด้วยความรอบคอบถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และไม่ควรเดาล่วงหน้า โดยทุกฝ่ายควรต้องช่วยกันไม่ทำให้เกิดเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ที่มาภาพประกอบ: เพจ Abhisit Vejjajiva/แฟ้มภาพ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า บางประเด็นได้ตั้งข้อสังเกตไปแล้ว อย่างกรณีมหรสพ ไม่น่าจะย้อนกลับไปสร้างปัญหาหรือค่านิยมที่เราไม่ควรจะส่งเสริมในการปฏิรูปทางการเมือง ส่วนปัญหาเรื่องการจะเลื่อนการบังคับใช้ ขอยืนยันว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีปัญหาในการปฏิบัติตามกฎหมายพรรคการเมือง เพราะอุปสรรคจริง ๆ ที่ทำให้ทุกอย่างเดินไม่ได้นั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวพรรคการเมืองกับตัวกฎหมาย แต่อยู่ที่ คสช. ยังไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตาม ส่วนที่มีการมองกันว่าหากใน กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย มีความเห็นแย้ง จนนำไปสู่การคว่ำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หวังว่าคงไม่ไปถึงจุดนั้น และเชื่อว่าต้องหาข้อยุติร่วมกัน และถ้า คสช. มีความมุ่งมั่น ไม่ให้การคว่ำกฎหมายมาเป็นอุปสรรคอีก คสช. ก็ต้องเข้าไปดำเนินการไม่ให้มีการคว่ำกฎหมาย ก็ทำได้อยู่แล้ว "ผมว่า คสช. ก็ต้องมีความรับผิดชอบในการที่จะให้โรดแม็ปมีความชัดเจน มีความศักดิ์สิทธิ์ แล้วทุกคนก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ผ่านมา สนช. หรือองค์กรเหล่านี้ก็ไม่เคยฝืนนโยบาย คสช. อยู่แล้ว ทั้งหมดอยู่ที่ คสช. สามารถจะกำหนดได้ทุกอย่าง ดังนั้นอยู่ที่ว่า คสช. จะให้ความเชื่อมั่นได้หรือไม่ เพราะขณะนี้ไม่ว่าจะสอบถามคนในประเทศ หรือจากที่คนสอบถามมาจากต่างประเทศนั้นก็คือ เขามองว่าประเทศไทยขาดความชัดเจน เนื่องจากเหมือนกับมีเหตุที่เกิดขึ้นในลักษณะแบบนี้ โดยไม่ได้มีเหตุผลที่ชัดเจน ขนาดตัวนายกฯ กับรองนายกฯ ยังพูดเองเลยบอกว่า ยังไม่รู้จะมีอะไรเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ต้องบอกว่ามันทำให้มันไม่มีใครมั่นใจได้ ซึ่งมันไม่เป็นผลดีกับส่วนรวม" อภิสิทธิ์ กล่าว เมื่อถามว่าหากมีการขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง 90 วัน แล้ว คสช. ยังไม่ปลดล็อคพรรคการเมือง จะเกิดปัญหาอย่างไรตามมา อภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานทั้งหมดอยู่ที่การไม่ปลดล็อค และการไปเพิ่มขั้นตอนที่ไม่จำเป็นอย่างที่ว่า ถ้าอยากจะแก้ให้ตรงจุดก็ต้องไปแก้ที่ตรงนั้น เรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย 1 , 2 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานรำลึก ‘เสือดำ เจ้าทุ่งใหญ่’ ย้ำไม่อยากให้เรื่องเงียบหายไป Posted: 16 Feb 2018 01:32 AM PST กลุ่มโกงกาง มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมรำลึกถึง 'เจ้าทุ่งใหญ่' เสือดำที่ถูกล่าในป่าทุ่งใหญ่ ย้ำเตือนไม่อยากจะให้เรื่องนี้เงียบหายไปตามกระแสสังคม ชี้อนุรักษ์ต้องเชื่อมโยงไปถึงประเด็นทางการเมือง 16 ก.พ.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ มหาวิทยาลัยบูรพา นิสิตจาก 'กลุ่มโกงกาง' กลุ่มนักกิจกรรมที่ทำงานออกค่ายกิจกรรมนักศึกษาในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน จัดกิจกรรมรำลึกถึง 'เจ้าทุ่งใหญ่' เสือดำที่ถูกล่าและถลกหนังที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ซึ่งมี เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและกรรมการ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นหนึ่งในผู้ต้องหา วัชรพล นาคเกษม หรือ 'นุ๊ก' หนึ่งในนักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่จัดงานเคลื่อนไหวรำลึกประเด็นของเจ้าทุ่งใหญ่ เล่าถึงเหตุผลในการจัดกิจกรรมว่า ไม่อยากจะให้เรื่องนี้เงียบหายไปตามกระแสสังคม ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ได้มีการออกแถลงการณ์ประณามการกระทำดังกล่าวของเจ้าสัวเปรมชัยที่เข้าไปล่าสัตว์ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และในแถลงการณ์นั้นก็ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าหากพ้นจากระยะเวลา 7 วันหลังการออกแถลงการณ์แล้วยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ เราก็จะออกมาเคลื่อนไหวกัน และที่สำคัญเราออกมาเคลื่อนไหวไม่ใช่เพียงแค่จะบอกกับสังคมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์เพียงอย่างเดียวแต่ต้องการจะเชื่อมโยงให้เห็นว่านี่เป็นปัญหาทางสังคมและโครงสร้างสังคม "เราคิดว่าการทำงานอนุรักษ์หรืองานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นจะต้องเชื่อมโยงไปถึงประเด็นทางการเมือง ประเด็นโครงสร้างทางการเมือง กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายด้วย เพราะไม่อย่างนั้นคนทำงานก็จะจำกัดวงตัวเองอยู่แค่กับประเด็นเรื่องงานอนุรักษ์ งานสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งมันไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาเรื่องงานอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมได้" วัชรพล กล่าว วัชรพล กล่าวถึงกิจกรรมด้วยว่า ใช้วิธีการทำกิจกรรมแบบแอ๊คชั่นซึ่งหน้า ด้วยการสวมหน้ากากเสือดำออกเดินไปในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยร่วมกับเพื่อนๆ นักกิจกรรมนักศึกษาคนอื่นๆ ซึ่งหน้ากากนี้เราก็ได้มาจากเพื่อนนักกิจกรรมชมรมอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยพะเยา เราก็สวมหน้ากากนี้เดินไปแสดงอิริยาบถต่างๆ และปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่อยู่ในพื้นที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โดยพื้นที่หลักๆ ก็คือบริเวณสวนนันทนาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะมีคนมาออกกำลังกาย หรือนั่งพักผ่อนในตอนเย็นเป็นจำนวนมาก เราก็เข้าไปชวนพวกเขาคุย แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความรู้สึกที่แต่ละคนมีต่อกรณีข่าวการล่าเสือดำ ส่วนบรรยากาศในการทำงานก็ออกมาอบอุ่น เพื่อนๆ นักศึกษาและประชาชนที่เราเข้าไปพบก็มีการพูดคุยกันอย่างสนิทสนม อบอุ่น ทุกคนเห็นด้วยและสนับสนุนให้กำลังใจกับการออกมาทำกิจกรรมของเราในครั้งนี้ นอกจากหน้าเรายังมีกิจกรรมล้อมวงคุย อ่านบทกวีจาก 'Project Write ไร้ Rights' และการจุดเทียนรำลึกพร้อมร้องเพลง 'ชีวิตสัมพันธ์' ด้วย "อยากให้ทุกคนในสังคมช่วยกันส่งเสียงสอบถามถึงเรื่องนี้ต่อ อย่าปล่อยให้มันเงียบหายไป จนท้ายที่สุดแล้วทุกคนก็หลงลืมประเด็นนี้ จนต้องรอให้มันเกิดเรื่องน่าเศร้าแบบนี้ขึ้นมาซ้ำสองอีกเราถึงจะกลับมาพูดเรื่องนี้กัน ผมและเพื่อนๆอยากให้กรณีนี้เป็นกรณีสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยครับ" วัชรพล กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ตนและเพื่อนๆ กลุ่มโกงกาง จะยังคงทำงานในประเด็นสิ่งแวดล้อมและงานอนุรักษ์ต่อไปด้วยความเชื่อว่าพลังคนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงสัคมไปในหนทางที่ดีขึ้นได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
ผู้แทนยูเอ็นเผย อองซานซูจีอาจผิดฐาน 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ' จากการสังหารหมู่และการเหยียดเชื้อชาติ Posted: 16 Feb 2018 01:09 AM PST ยังฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนจากสหประชาชาติเปิดเผยว่าอองซานซูจีอาจจะถูกนับเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐาน "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" จากกรณีการสังหารหมู่โรฮิงญา และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบผ่านการเหยียดและเลือกปฏิบัติ รวมถึงการจำกัดเสรีภาพกลุ่มคนก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นกัน 16 ก.พ. 2561 ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติประจำเมียนมาร์กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อรายการโทรทัศน์แชนแนล 4 ของอังกฤษว่าอองซานซูจีอาจจะมีความผิดฐาน "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" จากการที่เธอใช้กำลังปราบปรามชาวโรฮิงญาอย่างเป็นระบบจนอาจจะเรียกเหตุการณ์นั้นได้ว่าเป็นรูปแบบของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ยังฮี ลี เป็นศาตราจารย์ตัวแทนจากยูเอ็นผู้ที่ในปัจจุบันถูกห้ามไม่ให้เข้าไปในเมียนมาร์แล้ว เธอบอกว่าเธอได้รับคำขู่ฆ่าจำนวนมากและถึงขั้นถูกเตือนว่าจะถูกลอบสังหารโดยวางแผนไว้ก่อน ลีกล่าวให้สัมภาษณ์อีกว่านอกจากการใช้ความรุนแรงทางกายภาพเหล่านี้แล้ว ต้องไม่ลืมว่ามีการเหยียดและเลือกปฏิบัติเชื้อชาติมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทั้งจากกฎหมายและจากการกระทำ ที่มีปฏิบัติการในลักษณะที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นเหมือน "วัวที่ถูกต้อน" ให้ไปอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แล้ว "ล้อมคอก" จำกัดอาณาเขตพวกเขาไม่ให้ไปไหนได้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การพยายามขจัด "อัตลักษณ์" ของคนกลุ่มนี้ทิ้งยังนับเป็น "แบบอย่างของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ลีให้สัมภาษณ์อีกว่ารัฐบาลเมียนมาร์พยายามบ่ายเบี่ยงเรื่องการสังหารชาวโรฮิงญา และมองอีกว่าคนอย่างอองซานซูจีไม่ได้ใส่ใจเรื่องสิทธิมนุษยชน และตัวเธอเองก็ควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยนฐานะผู้ร่วมกระทำผิด (complicity) ลีมองว่าอองซานซูจีเป็นแบบอย่างสำหรับทุกคนรวมถึงตัวลีเองด้วย รวมึงเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างของเอเชียจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เธอต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ ในการสัมภาษณ์ยังมีการพูดถึงเรื่องที่รัฐบาลเมียนมาร์จำกัดเสรีภาพสื่อ ซึ่งลีมองว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กองทัพเมียนมาร์กดดันรัฐบาลให้ต้องบีบเค้นสื่อและการแสดงความคิดเห็นในระดับประเทศ ทำให้ผู้คนกลัวการวิจารณ์รัฐบาล ลีกล่าวอีกว่ามีความเป็นไปได้ที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลเมียนมาร์จะมีมากกว่านี้ และบอกว่าอยากให้ประเทศอย่างรัสเซียและจีนช่วยมายืนอยู่ฝั่งเดียวกับสิทธิมนุษยชนและกดดันเมียนมาร์ด้วย โดยเฉพาะจีนที่มีความอยากเป็นหนึ่งในประเทศที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้นำโลก
เรียบเรียงจาก UN Special Envoy claims Aung San Suu Kyi could be guilty of crimes against humanity, Channel 4, 14-02-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ | "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย และช่วงถามตอบ [คลิป] Posted: 16 Feb 2018 12:41 AM PST วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เสวนาหัวข้อ "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย โดยเป็นการเสวนาวิชาการชุด "สะท้อนย้อนคิดสังคมศาสตร์ ศาสตร์สังคม" ครั้งที่ 1 ตอน "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทยวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมสีฟ้า ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคณะสังคมศาสตร์ จัดโดย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ช่วงการอภิปรายของวรเจตน์ ภาคีรัตน์
ช่วงการอภิปรายถาม-ตอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
ไชยันต์ รัชชกูล-กุลลดา เกษบุญชู มี้ด | "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย [คลิป] Posted: 16 Feb 2018 12:02 AM PST ไชยันต์ รัชชกูล และกุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ร่วมเสวนาหัวข้อ "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทย ตั้งข้อสังเกตต่อแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับ "รัฐไทย" โดยเป็นการเสวนาวิชาการชุด "สะท้อนย้อนคิดสังคมศาสตร์ ศาสตร์สังคม" ครั้งที่ 1 ตอน "รัฐ" กับการศึกษารัฐไทยวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมสีฟ้า ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคณะสังคมศาสตร์ จัดโดย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้เขียน "อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์" (The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy) ตั้งข้อสังเกตต่อแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับ "รัฐไทย" ช่วงการอภิปรายของกุลลดา เกษบุญชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อภิปรายเรื่องเหตุใดคนที่อยู่ในสาขาวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงต้องศึกษาเรื่องรัฐ ประการที่สอง ใช้วิธีการศึกษาอย่างไร และประการที่สาม ความเป็นรัฐสมัยใหม่สมบูรณ์แล้วหรือยัง หรืออยู่ที่ไหน โดยจะอภิปรายถึงกรณีของรัฐไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
เปิดรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาชุมนุมไล่ คสช. 10 ก.พ. 43 คนถูก พ.อ.บุรินทร์ แจ้งผิด 3/58 Posted: 15 Feb 2018 11:52 PM PST 16 ก.พ. 2561สืบเนื่องจากกรณีที่ พันเอกบุรินทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ คณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ เข้าพบพนักงานสอบสวนสน.นางเลิ้ง เพื่อแจ้งข้อกล่าวหากับ 7 แกนนำคนอยากเลือกตั้งในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหากับประชาชนที่ร่วมชุมนุมอีก 43 คนฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุม มั่วสุมทางการเมืองเกิน 5 คนนั้น ล่าสุดผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับรายชื่อผู้ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาทั้งหมด ซึ่งท้ายเอกสารลงลายมือชื่อโดยพันเอกบุรินทร์ โดยรายชื่อทั้งหมดมี 1.นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ 2.นายพรชัย ประทีปเทียนทอง 3.นางกมลวรรณ หาสารี 4.นางนภัสสร บุญรีย์ 5.น.ส.มัทนา อัจจิมา6.นางพรนิภา งามบาง 7.นางประนอม พูลทวี 8.นางรักษิณี แก้ววัชระรังษี 9.นายกิตติธัช สุมาลย์นพ 10.นายศักดิ์ชาย วงดวงแก้ว 11.นายณราชัย รังโปดก 12.นายสมบัติ ทองย้อย 13.นายปรีชา มีศิริ 14.นางรัตนา ผุยพรม 15.นายสุธี วังถนอมศักดิ์ 16.นายบริบูรณ์ เกียงวรางกูร 17.นายปิยรัฐ จงเทพ 18.นายประสาน กรองทอง 19.นายวิรุฬห์ นันทภูษิตานนท์ 20.นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ 21.นายนัชชซา กองอุดม 22.นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล 23.นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง 24.นายอนุสรณ์ อุณโณ 25.นางยุภา แสงใส 26.นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา 27. น.ส.สุนันทรัตน์ ยุกตรี 28.นายพงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิสกุล 29.นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ 30.นายณัฐพล วนาโรจน์ 31.นายโกวิทย์ ชมมิน 32.นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ 33.น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล 34.น.ส.กิ่งกนก ธนจิโรภาส 35.นายโชคดี ร่มพฤกษ์ 36.นายสุรศักดิ์ อัศวเสนา 37.น.ส.วลี ญาณะหงษา 38.นางจุฑามาศ ทรงเสียงไซย 39.น.ส.สุวรรณา ตาลเหล็ก 40.นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล 41.นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ42.นายเอกศักดิ์ สุพรรณขันธ์ 43.น.ส.พัฒน์นรี ชาญกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
Posted: 15 Feb 2018 11:35 PM PST เพจ 'ไข่แมว' กลับมาโพสต์อีกครั้ง โดยเพจเครือข่าย 'ไข่แมวx' พร้อมมุขล้อต่อท่อน้ำเลี้ยง และผู้ชายที่ BNK48 ชอบ 16 ก.พ.2561 ภายหลังจากการหายไปของเฟสบุ๊คแฟนเพจการ์ตูนล้อเลียนสังคมการเมืองชื่อดัง 'ไข่แมว' https://www.facebook.com/cartooneggcat/ ซึ่งมียอดกดถูกใจกว่า 4 แสนรายไม่สามารถเข้าถึงได้ ตั้งแต่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยยังไม่ทราบสาเหตุ แม้แต่เพจในเครือข่ายอย่าง 'ตดแมว' https://www.facebook.com/cartoonfartcat/ และ 'ไข่แมวx' https://www.facebook.com/cartooneggcatx ก็ไม่มีการโพสต์หรือเคลื่อนไหวแต่อย่างใด ล่าสุดวันนี้ (16 ก.พ.61) เมื่อเวลา 13.52 น. เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ไข่แมวx' ซึ่งมียอดคนถูกใจกว่า 6 หมื่นนั้น กลับมาโพสต์อีกครั้ง โดยการโพสต์ภาพปกและภาพโปรไฟล์ของเพจ รวมทั้งโพสต์ภาพล้อเลียน 2 ภาพ ด้วยกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
'ทิชา' หอบ 8 หมื่นรายชื่อ ร้อง 'พล.อ.ประยุทธ์' จี้ 'พล.อ.ประวิตร' ลาออก Posted: 15 Feb 2018 11:04 PM PST 'ทิชา' หอบ 8 หมื่นรายชื่อ จี้ 'พล.อ.ประวิตร' ลาออก เพื่อแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม และรักษาสัจจะตามที่ลั่นวาจาไว้ พร้อมยกตัวอย่างนักการเมืองหลายประเทศที่แสดงสปิริต และเรียกร้อง ป.ป.ช. รักษาความเที่ยงตรง 16 ก.พ. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ทิชา ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และภาคประชาชน10 คน นำรายชื่อที่รวบรวมผ่านทางเว็บไซต์ Change.org กว่า 8 หมื่นรายชื่อ ยื่นถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่ง ตามที่เคยได้ลั่นวาจาต่อสาธารณะ พร้อมทั้งเรียกร้องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้รักษาความเที่ยงตรง โดยมี สาธิต สุทธิเสริม หัวหน้าฝ่ายประสารมวชลน ศูนย์บริการประชาชน เป็นผู้แทนมารับหนังสือ ทิชา กล่าวว่า จากกรณีรองนายกรัฐมนตรี ไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินนาฬิกาหรู ราคา กว่า 30 ล้าน ต่อป.ป.ช.ตามกฎหมาย ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่อาจยอมรับได้ จึงร่วมกันลงชื่อผ่านทาง www.change ตั้งแต่วันที่ 31ม.ค.-15 ก.พ. ที่ผ่านมา และรวบรวมได้ทั้งหมดกว่า 8 หมื่นรายชื่อ ซึ่งเป็นการเข้าลงชื่อที่มีจำนวนมากกว่า ที่กำหนดไว้ในกฎหมายการลงประชามติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 40 ที่กำหนดไว้เพียง 5 หมื่นชื่อ โดยผู้ร่วมลงชื่อครั้งนี้ ต้องการเรียกร้องให้ พล.อ.ประวิตร ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญทางจริยธรรม และรักษาสัจจะตามที่ลั่นวาจาไว้ "สงสารประเทศไทยเหลือเกิน ในเมื่อนาฬิกาหรูราคานับ 30 ล้าน อ้างว่ายืมเพื่อน ใส่วนกัน เท่ากับท่านรองนายกประวิตร ไม่เคลียร์ ไม่แคร์เสียงประชาชน ผู้นำระดับสูงของประเทศ ไม่ให้ความสำคัญ ไม่เคารพกฎหมาย ทำให้กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ท่านก็หมดความชอบธรรม และขอให้ไปดูแบบอย่างนักการเมืองในหลายประเทศ ที่ลาออก แม้ความผิดเพียงเล็กน้อย เช่น นางยูโก โอนุจิ รัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ลาออกเพราะเรื่องข่าวลือเงินบริจาค นายลอร์ด เบทส์ สมาชิกขุนนางอังกฤษ ลาออกเพราะไปสภาสายไม่ทันตอบคำถามในสภา ซุง ฮองวอน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ลาออกเพราะช่วยเหลือเหยื่อล่าช้า จากเหตุเรือล่ม และล่าสุด ฮัลเบอ เซลสตรา รัฐมนตรีต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากยอมรับว่า เคยโกหกช่วงหาเสียงเลือกตั้ง" ทิชา กล่าว ทิชา กล่าวว่า นอกจากนี้อยากฝากไปถึงป.ป.ช.ที่เป็นองค์กรตรวจสอบการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง ที่กำลังตีความโน้มเอียง ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเสมือนผงฟอกขาว ให้รองนายกประวิตร ซึ่งประชาชนคงไม่สามารถให้ความมั่นใจ ว่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมาได้ ที่สำคัญ ป.ป.ช.ชุดนี้หมิ่นเหม่ต่อการทำลายบรรทัดฐานและเจตนารมณ์ขององค์กรอย่างยิ่ง สร้างบรรทัดฐานใหม่ที่เอื้อต่อการทุจริตคอรัปชั่น และกลไกที่มีอยู่อาจตรวจสอบไม่ได้ สุดท้ายขอยืนยันคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในวันต่อต้านคอรัปชั่นว่า "คนไทยจะไม่ทนต่อการโกง" และการแสดงออกของตนและประชาชนในครั้งนี้ก็เป็นไปตามนั้น ซึ่งตนอยากเห็นนักการเมือง ข้าราชการทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เห็นแก่พวกพ้อง และพร้อมที่จะกล่าวขอโทษประชาชน แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||
ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ออก จ.ม. ถึงอธิการฯ ผู้บริหาร มข. เหตุไม่ให้ We Walk จัดเสวนา Posted: 15 Feb 2018 09:08 PM PST ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ของ มข. 92 คน ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดีและผู้บริหาร กรณีไม่ให้กลุ่ม People Go Network จัดกิจกรรมในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยต้องไปขออนุญาตกับทหารที่ มทบ.23 ก่อน จดหมายระบุ ทุกวันนี้สถาบันที่ทรงภาคภูมิกลับให้ทหารมากำหนดชะตาชีวิต ล่าสุด We Walk เดินถึงจุดหมายแล้ว ประกาศ ประชาชน=ประชาธิปไตย 16 ก.พ. 2561 กลุ่มเครือข่ายศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 92 คน เข้าชื่อออกจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในหัวข้อ "..เปิดพื้นที่เพื่อสังคม รักษาไว้ซึ่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของชาว มข ..." สืบเนื่องจากเหตุที่เครือข่ายประชาชน People Go Network ที่ทำกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ มีแผนจะจัดเวทีเสวนาที่ มข. ในวันพรุ่งนี้ แต่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ให้ดำเนินกิจกรรมใน มข. ต้องไปขออนุญาตจากทหารมณฑลทหารบกที่ 23 (มทบ.23) จดหมายเปิดผนึกระบุว่า มข. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาคอีสานที่อุทิศตนรับใช้สังคม ประชาชนมาอย่างยาวนาน แต่บัดนี้สถาบันการศึกษาที่ทรงภาคภูมิต้องถูกกำหนดชะตาชีวิตและการเรียนรู้ไว้ที่ค่ายทหาร ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ มข. ตามรายชื่อที่แนบท้ายจึงคาดหวังว่าอธิการบดีและผู้บริหารจะเปิดพื้นที่การเรียนรู้ในประเด็นทางสังคมที่หลากหลาย พร้อมกับการรับฟังการสะท้อนเรื่องราวปัญหาของประชาชน ล่าสุด เฟสบุ๊คเพจ People Go Network รายงานว่า ทีมเดินมิตรภาพได้เดินทางถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.ขอนแก่น อันเป็นจุดหมายปลายทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ประกาศว่า "การมาถึงจังหวัดขอนแก่นของเราเป็นความหวังของการเริ่มต้นของประชาชน เริ่มต้นที่จะเดินเพื่อเสรีภาพ เราหวังว่าจะมีการ 'เดินพหลโยธิน' 'เดินเพชรเกษม' 'เดินราชดำเนิน' ต่อไป เดินเพื่อทวงถามเสรีภาพ ประชาธิปไตยที่เห็นถึงหัวผู้คนสามัญชนคนธรรมดาที่เขาเป็นเจ้าของประเทศอันแท้จริง ฉะนั้น 8 แสนก้าวของเรามาหยุดที่นี่ เพื่อให้ก้าวที่ 800,001 ได้เริ่มต้น ที่นั่น ที่นี่ เพื่อให้เห็นว่าประชาชนมีสิทธิเดิน เดินเพื่อมิตรภาพ เดินเพื่อเสรีภาพ เดินไปหาอนาคตของเราเอง ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแห่งนี้ ณ โอกาสที่ก้าวที่ 800,000 เดินมาถึง ณ โอกาสที่ก้าวที่ 800,001 จะได้เริ่มต้นขึ้น ขอจารึกคำ ๆ หนึ่งไว้ ณ ที่นี้ นั่นคือ 'ประชาธิปไตย = ประชาชน' " จดหมายเปิดผนึก ถึง อธิการบดีและผู้บริหาร มหาวิทยาวิทยาลัยขอนแก่น สืบเนื่องด้วยในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) เเละเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนเเก่น ได้ร่วมกับ เครือข่ายประชาชน People Go Network จัดให้มีกิจกรรม " เวทีวัฒนธรรมและวิชาการ ครั้งที่ 4 : We Walk เดินมิตรภาพ - รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา " ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 18.00 น. ณ เวทีกิจกรรมองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับการอนุมัติใช้สถานสำหรับการดำเนินกิจกรรมจากนายกองค์การนักศึกษา ม.ขอนเเก่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เเต่ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 จากการเข้าพบอธิการบดีเเละผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนเเก่น เพื่อนำเสนอรายละเอียดการจัดกิจกรรม กลับได้คำตอบว่าจากคณะผู้บริหารว่า ไม่สามารถให้ดำเนินกิจกรรมในมหาวิทยาลัยขอนเเก่นได้ ต้องไปขออนุญาตจากทหารมณฑลทหารบกที่ 23 มหาวิทยาลัยขอนเเก่น เป็นมหาวิทยาลัยเเห่งความภาคภูมิใจเเละมีเกียรติยศชื่อเสียงเสมอมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาคอีสาน เป็นมหาวิทยาลัยที่อุทิศตนเพื่อการรับใช้สังคมเเละประชาชนมาอย่างยาวนาน สมดังบทเพลงท่อนหนึ่งที่ศิษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นมักจะได้อยู่เสมอมาเมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมอดินแดง ดังว่า " เคียงข้างผอง มวลชน ผู้ใช้แรงงาน " บัดนี้ด้วยเหตุใด สถาบันการศึกษาที่ทรงภาคภูมิของพวกเรา จึงต้องต้องถูกกำหนดชะตาชีวิตและการเรียนรู้ไว้ที่ค่ายทหาร พวกเราในนามของศิษย์เก่าเเละศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยขอนเเก่นตามรายชื่อแนบท้าย จึง " คาดหวัง " เเละ " มีความหวัง " ว่า อธิการบดีเเละผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนเเก่น จะร่วมกันรักษาเกียรติยศเเละความภาคภูมิใจของเราชาว ม.ขอนเเก่น โดยการ " เปิดพื้นที่ " ให้นักศึกษาเเละประชาชน สามารถจัดกิจกรรมเวทีวัฒนธรรมและวิชาการ ครั้งที่ 4 : We Walk เดินมิตรภาพ - รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา เพื่อให้นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยขอนเเก่น ได้มีพื้นที่การเรียนรู้ในประเด็นทางสังคมที่หลากหลาย พร้อมกับการรับฟังการสะท้อนเรื่องราวปัญหาของประชาชน อาทิ ประเด็นหลักประกันสุขภาพเเละรัฐสวัสดิการ , ประเด็นทรัพยากรสิ่งเเวดล้อมเเละสิทธิชุมชน , ประเด็นเกษตรกรรมเเละความมั่นคงทางอาหาร , เเละประเด็นรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศเเละความภาคภูมิใจของเราชาว ม.ขอนเเก่น ร่วมกันสืบไป..
ด้วยความเคารพ เครือข่ายศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายชื่อแนบท้าย.. 1.) ผศ.ดร.ธนพร ศรียากูล มข.รุ่น25 ประธานสภานักศึกษาปี 2533 2.) ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ มข. รุ่น23 กรรมการสโมสรนักศึกษา มข. ปี 2530 3.) นายทินกร อ่อนประทุม มข.รุ่น 26 กรรมการ สมข.ปี 2533 4.) ดร.พจน์ สารบรรณ มข.รุ่น 22 อุปนายกฯสโมสรนักศึกษา ปี 29 5.) นพ. เทวัญ ธานีรัตน์ นายก สมข. ปี2535 6.) รามินทร์ คำหอม กรรมการ มข.24 สมข. 2532 7.) สุพัฒน์ อารมณ์ดี กรรมการ สมข. 2533 8.) นายวิฑูรย์ เพชรมาก มข.29 ประธานสภานศ.ปี2537 และ2538 9.) นายบรรพต ศรีจันทร์นิตย์ กรรมการ สมข. 2532 10.) พยุงศักดิ์ คชสวัสดิ์ อุปนายก สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยฯ มข 2535 11.) วุฒิพงศ์ จุฑาสงฆ์ กรรมการ สมข. 2528 12.) ถิรนัย อาป้อง มข43 กรรมการองค์การนักศึกษา มข. และประธานชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนาปี 2551 13.) เฉลิมชัย ทองสุข ประธานชุมนุมมนุษย์สังคมศาสตร์สัมพันธ์ ปี 2533 14 นายถนัด แสงทอง มข.31 กรรมการ สโมสรนักศึกษาคณะมนุษย์ ปี 2539 15 นายอนุวัฒน์ พลทิพย์ รหัส 46 มข. รุ่น 40 อดีตประธานชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) ปี 2548 16.) อ.วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ รหัส 49 (ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 17.) ณัฐวุฒิ กรมภักดี รหัส 49 (ประธานชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา ปี2553) 18.) สมพงศ์ อาษากิจ รหัส 47 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 19.) นายพุฒิพงศ์ มหาอุตร รหัส มข. 59 20.) นายวศิน พงษ์เก่า รหัส มข. 60 21.) กรชนก แสนประเสริฐ 473280100-3 คณะนิติศาสตร์ 22.) พงศธร กาพมณีย์ รหัส 56 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23.) นิติกร ค้ำชู 523270221-0 คณะนิติศาสตร์ 24.) ชวลิต ทิพม่อม รหัส 51 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 25.) นันท์นภัส สมภูมิ รหัส 56 คณะมนุษยศาสตร์ 26.) ธนาวุธ ทองลิ่มสุด นิติศาสตร์ รุ่น 4 รหัส 50 27.) มิ่งขวัญ ถือเหมาะ รหัส 56 มนุษศาสตร์ฯ 28.) ชยางกูร วรรักษา รหัส 55 คณะนิติศาสตร์ 29.) รศ.ดร.ภก.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ นายก สมข.2533 30.) นางสาวเบญจมาศ ชุมตรีนอก รหัส มข.46 31.) นายธนดล คงเกษม รหัส มข 50 32.) นายณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์ รหัส มข 58 33.) วนวัฒก์ สัมมานิธิ รหัส 50 (มหาวิทยาลัยขอนแก่นรุ่น 44คณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ รุ่น 33 พัฒนาชุมชนรุ่น 24 ) 34.) นาวสาวสุภาวดี ปิงแก้ว 513080305-7 35.) วิบูลย์ วัฒนนามกุล MRDM รุ่น 1 36.) นางสาวศศิธร สุขบท 533080540-9 37.) สุกัญญา ไชยนุ 523080566-0 38.) เบญจมาศ บุตรจันทร์ 513021079-1 39.) นายชิตพล ผิวผาง รหัส มข 60 40.) ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ 41.) อติเทพ จันทร์เทศ HS-SD รหัส 58 42.) ศิริลักษณ์ อุปพงษ์ รหัส51 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 43.) ชิดชนก วิสุงเร มข.51 มนุษยศาสตร์ฯ 44.) นุจรินทร์ เรืองสิวะกุล รหัส 54 คณะมนุษยศาสตร์ 45.) ณัฐกานต์ ประชารัตน์ 563080567-2 มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 46.) ชญาดา แก้วคูนอก รหัส52 คณะมนุษย์ศาสตร์ 48.) สรัญญา กุลชะโมรินทร์ 583080444-0 49.) ธนาวุธ กิจรักษา รหัส50 HS KKU 50.) วารุณี วันมะโน รหัส57 มนุษย์ศาสตร์ฯ 51.) สุพัตรชัย อมชารัมย์ รหัส 52 52.) นางสาวพรไพลิน แก้ววังปา รหัส 54 53.) ไกรวุฒิ เต็งเจริญกุล รหัส 44 54.) นายกฤษดา ปัจจ่าเนย์ ป.ตรี รหัส 51 , ป.โท รหัส 57 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. 55.) ธวัชชัย สังข์สีมา รหัส 53 คณะมนุษย์ฯ 56.) รติพร วงค์ศักดิ์ รหัส 51 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 57.) นางสาววิศัลยา งามนา รหัส มข 60 58.) นายพุทธา เหลาเคน คณะวิทยาศาสตร์ เคมี จบปี 2535 60.) ศิวิมล วงศาอ้วน คณะมนุษยศาสตร์ฯ รหัส 56 61.) ชยลักษมี ส่งศรี รหัส 57 มนุษย์ศาสตร์ฯ 62.) ศรัญญู ปิยะศิลป์ 473080409-1 63.) นายกฤติเดช สุทธิวรรณา รหัส 48 คณะวิทยาเขตหนองคาย 64.) นฤเดช อุทังบุญ ศิลปกรรมศาสตร์ รหัส 56 65.) ชินวัตร. พลทัดสะ. รหัส 51. คณะ วิทยาการจัดการ. 66.) นวรัตต์ เสียงสนั่น รหัส 53 คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ 67.) นายนพรัตน์ สุดตะมา อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่นที่ 1 จากเครือข่ายนักศึกษาเรียนรู้สิทธิมนุษยชน มข. รหัส 58 68.) กิตติกาญจน์ หาญกุล มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รหัส 39 69.) ชาดไท น้อยอุ่นแสน รหัส58 70.) จันทิมาพร ชีวะสวัสดิ์ รหัส 57 71.) นางสาวจิดาภา ดรุณวรรณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น รหัส56 72.) วราภรณ์ บุตรศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ รหัส 503040701-2 73.) เบญจวรรณ ดีเลิศ รหัส 503080669-8 74.) ปริญญา อิ่มกระโทก 463080063-0 / 473080390-6 75.) นางสาวขนิษฐา พิทักษ์พล รหัส 52 76.) สุวิชชา ดวงคำจันทร์ รหัส 58 77.) น.ส. ศิรินาฎ มาตรา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รหัส 41 78.) นางสาวสุดารัตน์ ปัดนา รหัส 52 79.) บุศบรรณ์ สมบูรณ์พันธ์ 543080919-5 80.) โศรยา จักรนารายณ์ รหัส 59 81.) นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา รหัส 30 ,59 กรรมการสมข.32 82.) ศิวพันธ์ นาทองห่อ รหัส 51 83.) พัชรียา แสนเสริม มนุษยศาสตร์ มข.51 84.) คำปิ่น อักษร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รหัส 38 85.) ผศ.สุรพศ ทวีศักดิ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา มข. รุ่นที่ 1 86.) ณภสสร ศรีธัญรัตน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รหัส 30 87.) นางสาวจุฬามณี จรวงษ์ รหัส 56 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 88.) จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ 563270013-7 89.) จำเริง เรืองศรีอรัญ อุปนายกสโมสรนักศึกษาฯ ปี 2530 90.) นางสาวอภิญญา จารุวัฒนชัยกุล วิทยาศาสตร์ รหัส 573020199-2 91.) บัญชา เทียมกองกาญจน์ 463010143-2KKU#40 HS#29 CD#20 SDM#6 92.) รจนา ทิพย์สูงเนิน 463080152-1 KKU#40 -----------------------------------------
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น