โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ผู้บัญชาการทหารเรือยืนยันไม่มีการรัฐประหาร เพราะไม่ใช่ทางออก

Posted: 04 Dec 2013 01:14 PM PST

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ระบุการเจรจาครั้งที่ผ่านมาเป็นการปฏิบัติตามที่มีการร้องขอ ไม่มีการใช้อำนาจขู่บังคับ และรอ ผบ.สส. เรียก ผบ.เหล่าทัพหารือเพื่อแก้ไขให้เข้าสู่ภาวะปกติ ยันไม่ทำรัฐประหารเด็ดขาด เพราะมีบทเรียนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ทางออก

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. (ที่มา: เว็บไซต์กองทัพเรือ)

5 ธ.ค. 2556 - สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่าเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองหลังจากนี้เชื่อว่าจะคลี่คลายและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งการที่ได้มีการพูดคุยเจรจากัน นั้น ถือเป็นเรื่องดีที่ทุกฝ่ายพยายามทำให้บ้านเมืองสงบสุขโดยปราศจากความรุนแรง ในส่วนของเหล่าทัพเป็นเพียงการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้มีการร้องขอมาเท่านั้น ไม่ได้ใช้อำนาจขู่บังคับหรือยื่นเงื่อนไขอะไรให้ปฏิบัติตาม แต่เกิดจากการยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้ ในส่วนของเหล่าทัพจะหารือร่วมกันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยจะต้องรอการประสานจากพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการกำหนดวันหารือ แต่หากมีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะเริ่มเข้าสู่วิกฤติมากขึ้นยังคงยืนยันว่าทหารจะไม่ออกมาปฏิวัติรัฐประหารอย่างเด็ดขาด เพราะในอดีตที่ผ่านมาทุกฝ่ายมีบทเรียนกันอยู่แล้วว่าไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่ถูกต้อง

ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวเชื่อว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเริ่มคลี่คลายไปได้ในระดับหนึ่งนั้นคือ "พระบารมี" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำให้ทุกฝ่ายหันมาพูดคุยเจรจา ยุติความขัดแย้ง และร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2556 ซึ่งหลังจากนี้เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆจะคลี่คลายไปได้ในทางที่ดีขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศอ.รส. เล็งเอาผิดผู้สนับสนุน 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' ม.114 ฐานสมรู้ร่วมคิดกบฎ

Posted: 04 Dec 2013 12:51 PM PST

ศอ.รส.ระบุกำลังตรวจสอบรายชื่อผู้สนับสนุนเลขาธิการ กปปส. เนื่องจากเข้าข่ายความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 114 สมรู้ร่วมคิดกับกบฎ และแนะนำสุเทพให้ไปศึกษากฎหมายให้รอบคอบว่าอ้าง รธน.มาตรา 3 และ 7 ตั้งสภาประชาชนได้หรือไม่

5 ธ.ค. 2556 - เมื่อวานนี้ (4 ธ.ค.) สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. อยู่ระหว่างตรวจสอบรายชื่อบริษัท ห้างร้าน และกลุ่มบุคคล ที่ให้การสนับสนุน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส. เนื่องจากเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 114 สมรู้ร่วมคิดกับกบฎ ซึ่งมีโทษจำคุก ระหว่าง 3 - 15 ปี

รองนายกรัฐมนตรี ยังเรียกร้องให้นายสุเทพ เข้ามอบตัวกับตำรวจ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการเจรจากับรัฐบาล ส่วนแนวทางจัดตั้งสภาประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และ 7 ได้หรือไม่นั้น อาจต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ และอยากให้นายสุเทพ กลับไปศึกษากฎหมายให้รอบคอบว่าทำได้หรือไม่

นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ ยังนำภาพเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจถูกยิงระหว่างการชุมนุมมาเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยเป็นภาพเฮลิคอปเตอร์ รุ่น เบล 212 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรอยกระสุน ซึ่งจาการตรวจสอบ พบว่า ระหว่างเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าว กำลังร่อนลงบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เวลา 18.00 น. วันที่ 2 ธันวาคม 2556 เพื่อส่งเสบียงให้กับกำลังพล ถูกกระสุนยิงเข้าใส่ใบพัด และใต้ท้องเครื่อง ซึ่งเป็นการยิงจากพื้นดินในมุมเฉียงประมาณ 35 องศา แต่ยังไม่ทราบชนิดของกระสุนปืน ใบพัดเสียหายมูลค่ากว่าล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังมีตำรวจได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดเข้าที่คอ บริเวณสะพานอรทัย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 05.00 น. ซึ่งบาดแผลทำลายหลอดลม และตำรวจนายดังกล่าวยังพักอยู่ในห้องไอซียู โรงพยาบาลตำรวจ จึงขอเรียกร้องไปยังนายสุเทพ ให้ควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ อย่าทำร้ายตำรวจ หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'บรรหาร' พ้นโทษแบน พาคนบ้านเลขที่ 109 เข้าพรรคชาติไทยพัฒนา

Posted: 04 Dec 2013 12:11 PM PST

อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นำอดีตกรรมการบริหารพรรค 34 คน สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมระบุหลัง 5 ธ.ค. นี้ หากทุกฝ่ายเดินทางสายกลางปัญหาการเมืองจะยุติ

 

บรรหาร ศิลปอาชา (ที่มา: วิกิพีเดีย)

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นำอดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทย จำนวน 34 คน เช่น นายประภัตร โพธสุธน นายจองชัย เที่ยงธรรม นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายนิกร จำนง สมัครเข้าเป็นสมาขิกพรรคชาติไทยพัฒนา หลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี โดยมีนายธีระ วงศ์สมุทร หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้การต้อนรับ

นายบรรหาร ได้กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า หลังวันที่ 5 ธันวาคม คงไม่สามารถคาดเดาได้ แต่เห็นว่า หากทุกฝ่ายเดินทางสายกลาง และปล่อยวางปัญหาก็จะยุติลง ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าการยุบสภาเลือกตั้งใหม่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และเชื่อว่ารัฐบาลยังทำงานต่อไปได้ ส่วนจะอยู่ครบ 4 ปี หรือไม่ ไม่สามารถตอบได้

จากข้อมูลใน วิกิพีเดีย ระบุว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คนของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา

บรรหารจบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

บรรหารนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีหลายสมัย เขาเริ่มเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2517 สมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2518 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 ที่ จ.สุพรรณบุรีบ้านเกิด โดยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2538 พรรคชาติไทยที่เขาเป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งมีจำนวน ส.ส. ในสภามากที่สุด และสามารถรวมเสียงข้างมากตั้งรัฐบาลได้ โดยเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งระหว่าง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยผลงานของรัฐบาลนายบรรหารคือ ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง

จากข้อมูลของวิกิพีเดีย พรรคชาติพัฒนาถูกยุบเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยสั่งยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรค ใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัยระหว่าง 12.00 - 13.32 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดีเบต “ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยากไร้” (ตอน 2)

Posted: 04 Dec 2013 09:50 AM PST

 

30 พ.ย. 56 เวลา 16.00 น. ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดดีเบตในหัวข้อ "ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยากไร้"  โดยมีวิทยากรแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กับ สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนนักแปลอิสระ และ แบ๊งค์ งามอรุณโชติ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ดู ดีเบต 'ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยากไร้' ตอน 1)

 

ปีศาจทุนนิยม กับปัญหาสองระดับของทุนนิยมเสรี

ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น กล่าวว่ามีความแตกต่างระหว่าง "ทุนนิยม" (Capitalism) และ "ทุนนิยมเสรี" (Liberal Capitalism) สองอย่างนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกันทีเดียว คำว่าทุนนิยมโดยธรรมชาติ ถ้าไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตลาดเสรี หรือ Liberalism มาประกบท้าย ก็เป็นระบบเศรษฐกิจที่ต้องการการผูกขาดเพื่อผลกำไรที่มากที่สุด แต่เราไม่ได้อยู่ในสังคมในความหมายนี้ทั้งหมด เราอยู่ในสังคมที่เรียกว่า Liberal Capitalism

ปัญหาของทุนนิยมเสรีที่มีต่อผู้ยากไร้ มีอยู่สองระดับ คือระดับภายในและระดับภายนอก ปัญหาภายในอันแรก การหมุนเวียนของทุน (Capital circulation) โดยหลักมันต้องการการสะสมทุน (accumulation) แต่ถามว่าจะสะสมทุนได้ด้วยวิธีการไหนบ้าง ส่วนหนึ่งซึ่งทำให้เกิดปัญหาภายใน คือมันต้องอาศัยการขูดรีดเอากับแรงงาน ดังที่อาจารย์เก่งกิจได้อธิบายไว้พอสมควรแล้ว

อันที่สอง มนุษย์ในทัศนะของพวกมาร์กซิสต์ เกิดมาพร้อมกับแรงงาน แต่ในสภาพระบบทุนนิยม แรงงานของมนุษย์ถูกทำให้อยู่ในสภาพวัตถุแรงงาน (objectified labor) แรงงานทุกคนที่อยู่ในโรงงาน เขาไม่ได้มีฐานะเป็นมนุษย์ในสายตาของนายทุน แต่มีฐานะเป็นต้นทุนชนิดหนึ่งในบัญชีรายรับรายจ่าย นี่คือสิ่งแรกที่ระบบทุนนิยมกระทำต่อมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เกิดในพื้นที่กรรมสิทธิ์ส่วนตัวของนายทุน เมื่อแรงงานมนุษย์เข้ามาในพื้นที่นี้ ก็ต้องสร้างมูลค่าส่วนเกิน หรือขูดรีดแรงออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปสู่ผลผลิตหรือสินค้า

อันที่สาม เมื่อมนุษย์ก้าวเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของขนชั้นนายทุน และถูกแปลงสภาพให้เป็นวัตถุแรงงาน เขาจะรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง (alienation) คุณอาจถูกตีมูลค่าให้มีค่าตัว 300 บาท แต่คุณสามารถผลิตสินค้าได้ราคามากกว่าราคาค่าตัวคุณ อาจจะได้ 500 บาท แต่คุณกลับไม่ได้ส่วนแบ่งตรงนั้น เกิดสภาวะที่แรงงานแปลกแยกจากสินค้าที่ตนผลิต แล้วคนงานก็ดำเนินชีวิตไปให้แค่ตัวเองมีกินมีใช้ เพื่อมาทำงานต่อไป นอกจากนั้นเมื่อคุณเข้าในพื้นที่ของนายทุนก็ถูกขูดรีดโดยอัตโนมัติ โดยนายทุนจ้องหากำไรจากแรงงานของคุณตลอดเวลา ไม่ว่าการนอนของคุณก็ถูกตีเป็นราคาหมด ว่าให้นอนกี่ชั่วโมง

ในส่วนระดับภายนอก เป็นระดับที่เรียกว่าพื้นที่สาธารณะ พวกเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะมองว่าตลาดเสรีเป็นสิ่งที่ช่วยกระจายความมั่งคั่ง แต่ตนไม่เชื่อว่าตลาดเสรีจะทำงานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม มันเป็นมายาคติหรือหน้ากากที่ไปซ่อนเร้นความเป็นปีศาจร้ายของสิ่งที่อยู่เบื้องหลังตลาดเสรี มันคือการขูดรีดเด้งที่สองที่ระบบมีต่อคนในตลาด ต่อคนในสังคมทั่วไป ไม่ใช่เพียงผู้ยากไร้

ประการแรก พวกเสรีนิยมมีความเชื่อว่าทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกันเฉพาะแค่เรื่องโอกาส แต่อย่างอื่นเป็นเรื่องของคุณ แต่ในความจริงมนุษย์แต่ละคนไม่ได้มีศักยภาพเท่ากัน พวกเขาจะเชื่อว่าตลาดจะเป็นเครื่องมือในการกระจายความมั่งคั่ง แต่ในโลกความเป็นจริง ยิ่งใช้กลไกตลาด ยิ่งทำให้คนจำนวนน้อย มีความมั่งคั่งมากขึ้น และคนจนมีจำนวนมากขึ้น

ประการที่สอง มายาคติเรื่องสังคมแบบปัจเจกชน เสรีนิยมเชื่อเรื่องปัจเจกชนที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีเหตุผลเท่ากัน แต่ในความเป็นจริง เราไม่ได้อยู่ในสังคมแบบปัจเจกชนสุดโต่ง แต่เราอยู่ในสังคมที่เราไม่เท่าเทียมกัน มีชนชั้นที่ถูกแบ่งแยก

ประการที่สาม ถามว่าสังคมที่มีชนชั้นเกิดจากอะไร มันเกิดขึ้นจากระบบทุนนิยมเป็นด้านหลัก อันแรก เวลาที่แรงงานผลิต มันเกิดสิ่งที่เรียกว่าผลผลิต โดยผลผลิตจะไม่มีมูลค่าอะไรในตลาดเลย ถ้าไม่ถูกแปลงให้เป็นสินค้าเสียก่อน นายทุนพยายามหากำไรจากการทำให้ผลผลิตกลายเป็นสินค้า ราคาสินค้าไม่ได้เท่ากับต้นทุนผลผลิตที่ออกจากโรงงาน มันนำไปสู่มูลค่าในการแลกเปลี่ยน ซึ่งมากับมูลค่าส่วนเกินเสมอ ทุกอย่างในระบบทุนจึงถูกทำให้เป็นสินค้าหมด ไม่ว่าจะต่อต้านทุนนิยมอย่างไร คุณก็หนีความจริงนี้ไม่พ้นสังคมที่เป็นทุนนิยม ถ้าคุณไม่มีเงินไม่บริโภค คุณตาย เมื่อคุณซื้อของเมื่อไร ตลาดตรงนี้ก็กลายเป็นเครื่องมือในการขูดรีดโดยอัตโนมัติ

ภาคิไนย์กล่าวถึงปัญหาว่าทางออกจากสภาพสังคมทุนนิยมนี้ ว่าตนมีข้อเสนอสามเรื่องหลักๆ คือ หนึ่ง เรื่องทางเลือกของกรรมสิทธิ์ ไม่ได้หมายถึงการล้มล้างระบอบทรัพย์สินเอกชน แต่เสนอให้มีทางเลือกของกรรมสิทธิ์ให้เพิ่มมากขึ้น เช่น การให้มีสิทธิสาธารณะ สิทธิชุมชน

สอง การต่อสู้ทางชนชั้นในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการแปลงสภาพ แน่นอนว่าแนวทางแบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิมมันล้มเหลวมาแล้ว แล้วมันจะมีทางเลือกอื่นๆ ในการต่อสู้ทางชนชั้นได้ไหม ตนเสนอว่าจำเป็นต้องมีกระบวนการที่เรียกว่า Political Radicalization หรือ Radical Democracy คือการสร้างระบบประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มันขยายมากกว่าไปกว่าชนชั้นกรรมกร ชาวนา ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนในการกดดัน เจรจา ต่อรอง มีส่วนกำหนดนโยบายของรัฐและทุน ด้วยพลังของสาธารณะ มาร์กซิสต์เมื่อก่อนจะเชื่อว่าชนชั้นแรงงาน-กรรมกรเท่านั้น ที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลง แต่ในศตวรรษนี้สังคมมันซับซ้อนขึ้น และมีชนชั้นอะไรมากมาย 

สาม รัฐจะต้องมีบทบาทในการกระจายความมั่งคั่งให้มากกว่านี้ บทบาทในการกระจายรายได้ให้กับคนยากไร้ เพราะทุนนิยมโดยตัวมันเอง ไม่สามารถจะกระจายความมั่งคั่งไปสู่คนอื่นๆ ได้ เพราะมันต้องขูดรีดอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีปัญหาว่ามันถูกควบคุมโดยคนชนชั้นไหนอีกหรือไม่

ธุรกิจ-นายทุนเพื่อคนจน

สฤณี อาชวนันทกุล กล่าวว่าการพูดว่าตลาดเสรีจะนำไปสู่การกระจายความมั่งคั่ง แต่ที่จริง มันไม่มีกลไกอะไรที่จะการันตีเรื่องนี้ ถ้าแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ก็จะบอกว่าอันนั้นไม่ใช่เรื่องของระบบเศรษฐกิจ พูดง่ายๆ ว่าความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่ต้องเกิดอยู่แล้ว พอแข่งขันมันก็ต้องมีคนแพ้คนชนะ สายพวกนี้ก็จะไม่สนใจเรื่องนี้เลย ถ้าเกิดอยากจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ก็ต้องใช้นโยบายรัฐอย่างเดียวอยู่แล้ว แต่เขาก็จะบอกว่าถ้ารัฐมายุ่มย่าม แรงจูงใจของคนจะลดลง

สฤณี ได้ยกคำพูดของ Bono อดีตนักร้องวงยูทูที่ว่า "ทุนนิยมทำให้คนหายจนมากกว่าเงินช่วยเหลือ" และยกตัวอย่างคนทำชายสี่หมี่เกี๊ยว หรือกรณีเจ๊เกียว เจ้าของเชิดชัยทัวร์ ที่จบแค่ชั้นป.4 แต่ก็เป็นเศรษฐีได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่ตอบว่าทำไมทุนนิยมต่อให้สร้างปัญหาต่างๆ มากมาย แต่ทำไมถึงยังอยู่ได้ ก็เพราะมันเป็นระบบที่ทำให้คนรู้สึกว่ามีโอกาสที่จะเปลี่ยนชนชั้น คนเกิดมายากจน ถ้าขยันทำงานหนัก อาจกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ มันสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น ต่อให้โอกาสอาจจะน้อยมาก แต่ต่อให้ 1 ในล้าน คนเราก็มักจะรู้สึกว่าเราอาจจะเป็น 1 ในล้านก็ได้

สฤณีชี้ให้เห็นตัวเลขอัตราความยากจน วัดจากรายได้ 1 เหรียญต่อวัน ทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่อาจารย์เก่งกิจแสดงตัวเลขส่วนแบ่งรายได้ของแรงงานที่ลดลง มันแปลว่า GDP ของประเทศมันโตเร็วกว่าที่ค้าจ้างจะเพิ่มขึ้น ต่อให้รายได้ของแรงงานเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของทุนมันเพิ่มขึ้นเร็วกว่า ก็ทำให้ส่วนแบ่งมันลดลง แต่โอกาสที่คนมองเห็นว่าชีวิตเขาจะดีขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้คนอยากจะถีบตัวเองขึ้นมา ไม่ได้คิดจะล้มล้างระบอบ

 

ตัวเลขอัตราความยากจน

ในกรณีของ Occupy Wall Street หลายคนบอกว่าเห็นไหมว่ามีคนจำนวนมากออกมาประท้วงภาคการเงินอเมริกา สะท้อนการประท้วงทุนนิยม บอกว่าทุนนิยมไปไม่ได้แล้ว แต่นักคิดหลายคนก็บอกว่าไม่จริง เช่น Nicholas Kristof เห็นว่าขบวนการนี้เป็นความต้องการให้รัฐเอาหลักการพื้นฐานที่จะกำกับทุนนิยมกลับมา เช่น ความรับผิด ปัญหาที่เจอคือระบบธนาคารของอเมริกาใหญ่เกินไป รัฐไม่ยอมให้ล้ม พอสร้างปัญหา ก็โยนไปให้สังคมแบกรับ ดังนั้น OWS คือโอกาสที่จะพิทักษ์ กอบกู้ระบบทุนนิยมเองนั่นแหละ กอบกู้มาจากทุนนิยมพวกพ้องแบบที่เป็นอยู่

ในทางเศรษฐศาสตร์ไม่ว่าจะสำนักไหน ก็มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์เยอะ ว่าระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันมากๆ โดยเฉพาะในสินค้าที่ไม่ใช่เป็นบริการสาธารณะ ถ้าเป็นสินค้าเอกชน ยิ่งมีการแข่งขันมาก คนยิ่งได้ประโยชน์ จากการพัฒนาบริการต่างๆ อันนี้คือความย้อนแย้งในตัวมัน ระบบทุนนิยมที่พึงปรารถนา อาจกล่าวว่าคือระบบที่ต้องกำกับนายทุนได้ คือทำให้นายทุนบรรลุความต้องการตนเองไม่ได้ เช่น ให้บทบาทรัฐเข้ามา

ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยม คือมันไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันทั้งโลก และมันมีการปรับตัวตลอดเวลา หลังสมัยมาร์กซ์ที่มีการขูดรีดแรงงานชัดเจน แรงงานก็มีการรวมตัวต่อรอง หลังจากนั้นนายทุนก็ถูกบังคับให้ยอม มันมีการปรับตัวของมันอยู่ หรือทุนนิยมในอเมริกา ก็ไม่เหมือนกับทุนญี่ปุ่น ไม่เหมือนแบบจีน แต่เราไปคุ้นเคยกับระบบทุนนิยมของอเมริกา ซึ่งเป็นทุนนิยมที่ใหญ่ที่สุด ความแตกต่างของทุนนิยมแบบต่างๆ นี้ คือเส้นแบ่งที่บอกว่ารัฐให้ตลาดทำอะไร ให้ตัวเองทำอะไร แล้วให้ชุมชนทำอะไร มันไม่เหมือนกัน

สฤณียกตัวอย่างวิธีการต่างๆ ที่เรียกว่าเป็น "ธุรกิจเพื่อคนจน" คือธุรกิจที่ทำอะไรเพื่อคนจน สะท้อนว่าแรงจูงใจที่จะได้กำไร ไปด้วยกันได้แรงจูงใจที่จะช่วยคนจนได้ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่านักธุรกิจเองก็มีแรงจูงใจที่หลากหลาย

เช่น โครงการบ้านเพื่อคนจน โดยบริษัท CEMEX ปูนซีเมนต์ในเม็กซิโก สิบกว่าปีก่อนเมื่อพบว่ายอดขายตัวเองไม่กระเตื่อง เพราะมีคู่แข่งมากขึ้น ผู้จัดการคนหนึ่งเสนอให้ขายสินค้าให้คนจน ซึ่งคนเม็กซิกันจำนวนมากไม่มีบ้าน ก็มีการไปค้นคว้าวิจัย จนออกมาเป็นโครงการที่ไม่ได้ขายปูนอย่างเดียว แต่ใช้วิธี "วงจรออม-กู้" ให้เชื่อไว้ก่อน ส่งปูนให้ก่อนล่วงหน้า เป็นคล้ายการผ่อนส่ง และมีการหาสถาปนิกมาช่วยออกแบบบ้านที่ค่อนข้างมีราคาถูกให้  ในเวลา 1 ทศวรรษ โครงการนี้ปล่อยกู้ไมโครเครดิตกว่า 135 ล้านดอลลาร์ ช่วยยกระดับชีวิตคนจนกว่า 1.3 ล้านคน ให้มีบ้านที่มีคุณภาพ ช่วยให้คนจนสร้างบ้านได้เร็วกว่าปกติ 3 เท่า และถูกกว่า 3 เท่า

หรือบริษัท Body Shop ตอนที่นำโดย Anita Roddick ทำธุรกิจเครื่องสำอางค์ในฐานะนักกิจกรรม โดยประกาศทำธุรกิจเพื่อรักษาคุณค่าต่างๆ เช่น ต่อต้านการทดลองสัตว์, สนับสนุนการค้าเสรีโดยชุมชน, พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และปกป้องสิ่งแวดล้อม บริษัททำกิจกรรมต่างๆ เช่น ไปร่วมประท้วงบริษัทเชลล์ ในไนจีเรียกับชุมชนที่นั่น ยอดขายบริษัทเองก็ไม่ได้ตกเมื่อทำกิจกรรมเหล่านี้ สะท้อนว่าผู้บริโภคเองก็สนับสนุน ในทุนนิยม บริษัทต่างๆ เองก็ไม่ได้อยู่โดดๆ ไม่ได้มีแต่นายทุนกับแรงงาน แต่มีผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ที่สามารถสร้างแรงกดดันไปถึงการทำงานของบริษัทได้

สฤณีชี้ให้เห็นว่าถ้าดูโอกาสของสิ่งที่เรียกว่า "ตลาดคนจน" ทั่วโลก คือคนที่มีรายได้ไม่ถึง 2 เหรียญต่อวัน มี 3-4 พันล้านคน ถ้ารวมมูลค่าก็มากถึง 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (8 % ของ GDP โลก) ตอนนี้เลยมีธุรกิจที่พยายามเข้าไปบุกเบิกธุรกิจในตลาดเหล่านี้ ซึ่งสร้างประโยชน์ทางสังคม ช่วยให้คนจนหายจนหรือมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ตัวอย่างของ "นายทุนเพื่อคนจน" จำนวนมาก ที่ทำงานอยู่ในระบบทุนนิยมปัจจุบัน แปลว่ามันมีช่องทางมีโอกาสที่ทำให้คนเหล่านี้อยู่ได้ เป็นพลังของระบบที่เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจแบบอื่นๆ ทำงาน ไม่ใช่แรงจูงใจแบบกำไรสูงสุดสุดขั้วเท่านั้น

 

ตัวอย่างงานศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

สรุปประเด็นการดีเบต

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เห็นว่าประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายความเห็นนี้มีร่วมกัน คือเห็นว่าทุนนิยมที่มีปัญหาคือทุนนิยมที่ผูกขาด แต่ฝ่ายเก่งกิจ-ภาคิไนย์เห็นว่าทุนนิยมโดยธรรมชาติมัน destructive และมันมีพัฒนาการที่เพิ่มดีกรีการทำลายล้างมากขึ้น ส่วนอีกฝ่าย เห็นว่าทุนนิยมมันมีหลายประเภท ต้องแยกแยะให้ชัดก่อน มันมีประเภทที่ destructive ก็จริง มีแบบสุดโต่งที่ทำลายล้าง แต่ก็มีประเภทอื่นๆ

ประเด็นที่สอง คือฝ่ายเก่งกิจ-ภาคิไนย์ เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงาน เป็นความสัมพันธ์เชิงขูดรีด อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ปฏิเสธ แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า "ความเหลื่อมล้ำ" ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของทุนนิยม แต่คุณสฤณีก็ชี้ให้เห็นนิดหนึ่งว่าในความสัมพันธ์นี้มันเปลี่ยนได้ ทุนนิยมมีพลังด้านบวก สร้างโอกาส สร้างแรงจูงใจ คนสามารถเลื่อนสถานะได้ ประเภทของทุนนิยมที่ "ดี" สามารถมีเป้าหมายเชิงสาธารณะได้

ประเด็นต่อมา คือฝ่ายเก่งกิจ-ภาคิไนย์เห็นว่ากรรมสิทธิ์เอกชน เป็นมูลเหตุของการขูดรีดและทำลายล้าง ส่วนอีกฝ่ายเห็นว่ากรรมสิทธิ์เอกชนมันสร้างอย่างอื่นด้วย เป็นรูปแบบสิทธิประเภทหนึ่ง และตัวของมันเองไม่ได้เป็นปัญหา แต่กรรมสิทธิ์เอกชนที่สุดโต่งต่างหาก ที่เป็นปัญหา แต่ในตอนท้ายทั้งสองฝ่ายก็กลับเสนอทางเลือกที่คล้ายๆ กัน

ด้าน ภัควดี วีระภาสพงศ์ เสนอความเห็นว่าการบอกว่าระบบทุนนิยมทำให้คนหายจนมากขึ้น มันสามารถวิจารณ์ได้ว่าก็เพราะพลังการผลิตมันสูงจนล้น ไม่สามารถระบายออก มันเลยไหลลงมาให้กับคนข้างล่าง การบอกว่าทำให้คนมีรายได้มากกว่า 1 ดอลลาร์ บางครั้งไม่ต่างกับการบอกว่าระบบทาสมันดีกว่าเลิกทาส เพราะชีวิตทาสมันดีกว่าตอนเลิกทาส

นอกจากนั้นประเด็นเรื่องโศกนาฏกรรมสาธารณะที่นักเศรษฐศาสตร์ชอบพูด ก็เป็นโมเดลสมมติที่ไม่เคยมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หรือความเป็นจริงรองรับ โดยลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยมอีกอย่างหนึ่งคือมันเป็นระบบที่เอาเศรษฐกิจมาครอบงำสังคม ระบบที่ผ่านมาของมนุษย์เป็นระบบที่สังคมกำกับ แต่ทุนนิยมใช้ระบบเศรษฐกิจควบคุมระบบ

เหมือนทั้งสองฝ่ายเชื่อว่ากลไกตลาดกำกับดูแลสังคมไม่ได้ ถ้าแบบนั้น สงสัยว่าโมเดลเศรษฐกิจที่ฝ่ายทุนนิยมตั้งขึ้นมา มันไม่พังตั้งแต่แรกแล้วหรือ และเวลายกตัวอย่างถึงปัจเจกบุคคลที่ใช้ช่องว่างของพลังการผลิตที่ล้นเกิน มาทำอะไรดีๆ ขึ้นกับแรงจูงใจ มันอาจจะไม่ต่างกับการหวังพึ่งเอา "คนดี" หรือไม่ แต่มันจะมีระบบอะไรที่เป็นหลักประกันว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างนั้น

ตอบข้อโต้แย้ง

สฤณี อาชวนันทกุล กล่าวตอบว่าตนมองว่าถ้าแรงจูงใจมันขัดแย้งกับตรรกะของระบบ ระบบก็อยู่ไม่ได้ ตนเห็นว่าเรามีมายาคติของการทำกำไรสูงสุดอยู่เหมือนกัน ที่ยกเป็นเคสเพื่อจะบอกว่าถ้าไปถามนักธุรกิจ น้อยมากที่เขาจะตอบว่าเขาทำเพื่อกำไรสูงสุด แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำไรที่เขาทำได้ เป็นกำไรสูงสุดแล้วหรือยัง ตนคิดว่ามันตอบไม่ได้

ตนไม่ได้ปฏิเสธกลไกตลาด แต่ความแตกต่างคือจะให้ตลาดทำงานในเรื่องอะไรบ้าง จะให้จัดการอะไร อะไรไม่ควรให้จัดการ ความแตกต่างของสำนักต่างๆ มีสองสามเรื่อง หนึ่งคือขอบเขตของตลาด กลไกตลาดจะเวิร์คในกรณีไหนบ้าง สองคือวิกฤติต่างๆ มันเป็นธรรมชาติของทุนนิยมมากน้อยแค่ไหน และสามคือเรื่องบทบาทของรัฐควรจะเป็นอย่างไร ทั้งหมดไม่เชิงเป็นการถกเถียงว่าจะเอากลไกตลาดหรือไม่ แต่จุดร่วมคือคิดว่ากลไกตลาดเป็นกลไกที่ใช้งานได้ในหลายกรณี อันนี้คือจุดที่แตกต่างจากมาร์กซิสต์ ที่ตั้งต้นแล้วว่ามันเป็นการขูดรีด

เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ กล่าวว่าปัญหาสำคัญในเรื่องนี้คือความสัมพันธ์ในการผลิต ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อทุน ทุนผูกขาดการบริหารจัดการองค์กร ไม่ได้คิดถึงการให้บริการประชาชน แต่คิดเรื่องกำไร โดยการพูดถึงผู้ประกอบการทางสังคมนั้น มันเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยระบบทุนนิยม เพื่อให้มีผู้ประกอบการเยอะ เพื่อลดความขัดแย้งที่มีต่อระบบทุนนิยม เสรีนิยมใหม่เกิดเพื่อจะลดความขัดแย้งระหว่างทุนกับแรงงาน วิธีการที่สำคัญคือการถีบแรงงานออกไปจากโรงงาน ไปทำงานพาร์ตไทม์ แรงงานห้องแถวต่างๆ ไปเป็นผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อทำให้ทุนสามารถบริหารจัดการได้ยืดหยุ่น

แล้วเวลาเรายกตัวอย่างคนจนที่ประสบความสำเร็จในระบบทุน มันมีลักษณะที่เป็นข้อยกเว้น หรือเวลาพูดว่าระบบทุนนิยมมีหลายประเภท เอาเข้าจริงระบบทุนนิยมต้องทำให้ตัวมันหลากหลาย เพื่อสร้างเครื่องมือในการไปดึงเอามูลค่าจากที่ต่างๆ เช่น คุณค่าแบบเอเชีย มันก็เป็นทุนนิยมแบบหนึ่ง คือมันมีกฎทั่วไปอันเดียวกัน การพูดว่ามันหลากหลาย แล้วบางอันดีหรือไม่ดี มันละเลยลักษณะทั่วไปของมัน นอกจากนั้นการบอกว่ารัฐต้องเข้ามากระจายต่างๆ แต่คำถามคือใครเป็นผู้ควบคุมอำนาจรัฐ ใครอยู่ในสภาบ้าง ก็กลุ่มนายทุนเองด้วย จะเห็นว่าแทบเป็นไปได้ที่จะให้รัฐมากระจายความมั่งคั่งได้ 

แบ๊งค์ งามอรุณโชติ กล่าวว่าในช่วงแรกตนได้พูดถึงการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐด้วย เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อต่อสู้ ถ้าสหภาพเข้มแข็งและมีเครือข่ายพอ ก็สามารถจัดตั้งตัวเองไปสู่การเป็นพรรคแรงงาน ถามว่าทำไมต้องยึดอำนาจรัฐให้ได้ เหตุผลสำคัญคือถ้าไม่ทำ ทุนก็จะไปยึดอำนาจรัฐเอง ตนอยากชวนฝ่ายซ้ายคิดว่าเวลาพูดถึงการยึดอำนาจรัฐมันเพียงพอไหม ตนคิดว่าไม่เพียงพอ ถ้ายกเลิกกรรมสิทธิ์เอกชน ทุนต่างชาติในประเทศต่างๆ จะถอนตัวออกไปทันที ประเด็นคือถ้าจะต่อสู้เพื่อให้เข้าใกล้อุดมคติของฝ่ายซ้ายใดๆ ต้องคิดในระดับโลกาภิวัตน์

ตนอยากสรุปว่าทุนนิยมได้เข้ามาทำให้เกิดคนที่เป็นผู้ยากไร้ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสี่คนเห็นตรงกันว่าเกิดขึ้นจริง แต่ถึงที่สุด เราไม่จำเป็นจะต้องจำนนกับมัน ตนยังเห็นว่าเราสามารถที่จะต่อสู้ภายในระบบทุนนิยมได้ โดยไม่ต้องกระโดดไปที่ระบบอื่น ระบบมันไม่ได้ครอบงำเราได้เบ็ดเสร็จ เราสามารถเป็นผู้กระทำต่อระบบด้วย

ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น กล่าวว่าตนเสนอว่าทุนนิยมกับประชาธิปไตยโดยรากฐานไปด้วยกันไม่ได้ ประชาธิปไตยฐานคิดเป็นคนละเรื่องกับทุนนิยม ประชาธิปไตยพยายามจะให้อำนาจกับคนทั่วไป เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะมอบอำนาจให้กับคนที่ถูกกดขี่ขูดรีด ในการควบคุมทุนนิยมให้อยู่กับร่องกับรอย เราจึงต้องสร้างประชาธิปไตยขึ้นเพื่อเป็นคานงัดที่มีต่อระบบทุนนิยม

ตนยังเชื่อว่ารัฐเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการกำหนดแง่มุมในการกระจายความมั่งคั่ง และตนเห็นด้วยกับการยึดอำนาจรัฐโดยกลไกปกติทางการเมือง แต่การยึดอำนาจรัฐจำเป็นต้องมีความเป็นประชาธิปไตย สร้างอำนาจต่อรองให้ผู้กดขี่ในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีระยะเวลาที่ยาวนานในการจัดตั้งชนชั้นที่ถูกขูดรีด เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมและอุดมการณ์ในสังคมได้ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกคำร้องออกหมายจับ ‘พล.อ.ปรีชา’ แกนนำกปท. ชี้ไม่ได้บุก ปตท.

Posted: 04 Dec 2013 09:18 AM PST

ศาลระบุพิจารณาประกอบกับสถานการณ์การชุมนุมในขณะนี้ ได้คลี่คลายความรุนแรงลง จึงชอบที่ พนง.สส.จะไปดำเนินการออกหมายเรียก พล.อ.ปรีชา มาเสียก่อน ยังไม่มีเหตุสมควรจะออกหมายจับ

dddd

พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ เสนาธิการกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 (แฟ้มภาพ/FMTV)

4 ธ.ค.2556 เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ที่ห้องพิจารณา 911 ศาลไต่สวนคำร้องที่พนักงานสอบสวนสน.บางซื่อ ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ขออนุมัติหมายจับ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ แกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย, ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นฯ หรือกระทำการใดๆ ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย, ร่วมกันบุกรุกสถานที่ราชการในเวลาการคืน โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215, 310, 365 (1) (2) (3) ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80 กรณีนำกลุ่มผู้ชุมนุมไปสำนักงานใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 27 พ.ย.56

ศาลไต่สวนพนักงานสอบสวนแล้ว 1 ปาก ได้ความเพียงว่า ก่อนที่ พล.อ.ปรีชากับกลุ่มผู้ชุมนุมจะไปถึงบริเวณด้านหน้าสำนักงานใหญ่บริษัท ปตท.ฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงแรงงานที่เกิดเหตุ ปรากฏว่า บริษัท ปตท.ฯ ได้ให้พนักงานทุกคนกลับบ้านก่อนเวลา และสั่งให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปิดประตูทุกด้าน และใช้โซ่พันคล้องประตูล็อก ด้วยแม่กุญแจอยู่ก่อนแล้ว กลุ่มผู้ชุมนุมเพียงนำโซ่ไปคล้องและล็อกกุญแจซ้ำ โดยมิได้บุกรุกเข้าไปจากที่เกิดเหตุ

เมื่อพิจารณาประกอบกับสถานการณ์การชุมนุมในขณะนี้ ได้คลี่คลายความรุนแรงลง จึงชอบที่พนักงานสอบสวนจะไปดำเนินการออกหมายเรียก พล.อ.ปรีชา มาพบพนักงานสอบสวนเสียก่อน ในชั้นนี้จึงยังไม่มีเหตุสมควรจะออกหมายจับ ให้ยกคำร้อง

 

เรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทุจริตวิถีเพื่อขจัด “ระบอบทักษิณ”

Posted: 04 Dec 2013 08:53 AM PST

สิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ดูเหมือนจะมีความหมายลื่นไหลไปจากนิยามของต้นตำหรับที่มาของคำนี้(อ.เกษียร เตชะพีระ) จนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูก จนวันนี้ คำว่าระบอบทักษิณก็ยังไม่อาจสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ เพราะมีบางฝ่ายพยายามสร้างความหมายของมันขึ้นมาใช้ในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อปลุกเร้าให้ผู้คนเชื่อ และ "อิน" กับความหมายนั้น อันเป็นความหมายที่ต้องขจัดให้มันหมดไปจากสังคมไทย แต่อีกฝ่ายก็พยายามปฏิเสธว่าระบอบทักษิณในความหมายนั้นไม่มีอยู่จริง

ล่าสุด บนเวที กปปส.ได้นิยามว่า ระบอบทักษิณก็คือ "ตระกูลชินวัตร" การล้างระบอบทักษิณก็คือการขจัดตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง แม้ว่านี่ดูจะเป็นวาทกรรมปลุกเร้าในม็อบ แต่มันอาจเป็นความหมายที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาที่สุดของคำว่า "ระบอบทักษิณ" ที่พวกเขาต้องการกำจัดจริงๆ ก็เป็นได้กระมัง

เพราะหากระบอบทักษิณ หมายถึงระบอบทุจริตคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สมบูรณาญาสิทธิทุน สร้างความแตกแยก ฯลฯ ก็ไม่น่าจะมีเฉพาะรัฐบาลยุคทักษิณเท่านั้นแน่ๆ ที่ทำเช่นนั้น ระบอบอำมาตยาธิปไตยน่าจะมีความเป็นสมบูรณาญาสิทธิทุนมากกว่าหรือไม่ เป็นมายาวนานกว่าหรือไม่ เรื่องคอร์รัปชันเชิงนโยบาย ความเป็นเผด็จการ การแทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สร้างความแตกแยกฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ระบอบอำมาตย์ทำมาก่อนแล้วทั้งนั้นมิใช่หรือ และทำมากขึ้นในกระบวนการขจัดระบอบทักษิณใช่หรือไม่ ฉะนั้น ถ้าหากรังเกียจระบอบทักษิณในความหมายดังกล่าวนี้จริง ทำไมจึงไปโหนระบอบอำมาตย์ กองทัพ เพื่อขจัดระบอบทักษิณด้วยเล่า

สำหรับชนชั้นกลางการศึกษาดี ที่สายตาสั้นมองว่า ก่อนยุคทักษิณบ้านเมืองอยู่กันอย่างสุขสงบมาตลอด แสดงว่าความมีการศึกษาไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจและยอมรับความจริงว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา สังคมการเมืองไทยเผชิญความขัดแย้งมาโดยตลอด ระหว่างฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคแท้จริง กับฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ต้องการฟื้นฟูพระราชอำนาจ จึงทำให้สังคมเราดำเนินมาภายใต้ปรากฏการณ์ความขัดแย้งในรูปของกบฏปฏิวัติรัฐประหาร 17 ครั้ง เฉลี่ยทุก 4 ปี 7 เดือน

ฉะนั้น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับประชาธิปไตยจึงมีมาอย่างยาวนาน แม้ความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนี้ ก็ชัดเจนว่าฝ่ายที่ต้องการขจัดระบอบทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในการต่อสู้ ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย ปฏิเสธอำมาตยาธิปไตย หรืออำนาจนอกระบบ

แน่นอนว่า ทั้งสองฝ่ายอาจมีความหลากหลายและซับซ้อนในตัวเอง แต่เนื้อหาเชิงอุดมการณ์ในการต่อสู้ตามที่ปรากฏเป็นจริงในวาทกรรมของทั้งสองฝ่าย คือเนื้อหาการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในระดับที่แน่นอนหนึ่งอย่างแน่นอน

แม้ว่าตัวละครและวิธีการ วัฒนธรรมในการต่อสู้ของแต่ละฝ่ายอาจมีทั้งลักษณะที่สอดคล้องและขัดแย้งกับอุดมการณ์ที่พวกตนเรียกร้องอยู่ก็ตาม แต่นั่นเป็นปรากฏการณ์ปกติธรรมดาของสถานการณ์ปะทะขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองของผู้คนจำนวนมาก ทว่าในที่สุดแล้วเมื่อร่อนตะแกรงหาความคิดหรืออุดมการณ์หลักของความขัดแย้งก็คืออุดมการณ์กษัตริย์นิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั่นเอง

เพราะชัดเจนว่าฝ่ายที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ต้องการคงสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่แตะต้องไม่ได้แบบปัจจุบัน ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 2490 และ 2501 เป็นต้นมาและพัฒนาให้โดดเด่นยิ่งขึ้นดังที่สัมผัสได้ในทุกวันนี้ ส่วนอีกฝ่ายต้องการประชาธิปไตยที่นักการเมือง สถาบันกษัตริย์ และทุกระบบอำนาจในสังคมต้องโปร่งใสวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้

จึงอาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์เสื้อเหลือง เสื้อแดงที่พัฒนามาถึงเหตุการณ์ในวันนี้ แท้ที่จริงแล้วก็คือการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ดำเนินมาแต่ 2475 ซึ่งยังไม่มีฝ่ายใดประสบชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แน่นอนว่าสิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" คือปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของสงครามความขัดแย้งที่ยังดำเนินต่อไป

แต่จะอย่างไรก็ตาม วิถีทางในการต่อสู้ของฝ่ายอุดมการณ์กษัตริย์นิยม อาจเรียกได้ว่าเป็น "ทุจริตวิถีเพื่อขจัดระบอบทักษิณ" หมายถึง วิถีที่มุ่งขจัดการทุจริตด้วยการทุจริตยิ่งกว่า หรือขจัดการโกงด้วยการโกงยิ่งกว่า เช่น

1) ใช้สถาบันกษัตริย์ทำลายฝ่ายการเมือง ด้วยวาทกรรม "เราจะสู้เพื่อในหลวง" โดยอ้างว่าเป็นแนวทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ (ก) ไม่มีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างอารยะที่ไหนในโลกจะใช้วิธีอ้างสถาบันกษัตริย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้มาให้ความชอบธรรมกับความเป็นประชาธิปไตยที่โดยธรรมชาติของระบบนี้แล้วย่อมเรียกร้องเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ และ (ข) การอ้างความดีงามของสถาบันที่วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเลวของนักการเมืองที่วิจารณ์ตรวจสอบได้เป็นเรื่องที่ไม่มีความเป็นเหตุผลหรือเป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการใช้ "myth" มายาหรือความเชื่อเชิงศาสนาที่คล้อยไปทางไสยเวทย์สะกดให้ผู้คนหลงใหลในเวทย์มนต์ของความเชื่อที่ว่ามีบางบุคคลที่มีแต่ความดีโดยส่วนเดียว และมีบางบุคคลที่มีแต่ความเลวโดยส่วนเดียว

ฉะนั้น วิถีการต่อสู้ทางการเมืองแบบนี้จึงเป็น "ทุจริตวิถี" เพราะเป็นการสร้างมายากลบเลื่อน บดบังมโนธรรมทางสังคมในการวินิจฉัยถูกผิดตามหลักการประชาธิปไตยให้เบี่ยงเบน บิดเบี้ยวไป

2. ใช้วิธี รปห.49 โดยอ้างว่าวิถีทาง ปชต.ปกติจัดการระบอบทักษิณไม่ได้ ต้องใช้ "วิธีพิเศษ" พระสงฆ์ นักวิชาการพุทธศาสนาบอกว่า "รปห.มีสาเหตุเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยา" อธิการบดี นักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน บอกว่า "ไม่อยากให้เกิด รปห.แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ำจำเป็นต้องเข้าไปร่วมกับรัฐบาลที่มาจาก รปห.วางกติกาให้ประเทศเดินหน้าไปได้"

3. ใช้วิธีวางกติกาคือรัฐธรรมนูญ 50 และกำหนดขั้นตอน, ตั้งองค์กรกำจัดทักษิณ จนนำไปสู่ปัญหาซับซ้อนต่างๆตามมา เช่น การยุบพรรคซ้ำๆ การตั้ง รบ.ในค่ายทหาร การยึดทรัพย์ การต่อต้าน รบ.ร่างทรงอำมาตย์ การสลายการชุมนุม ปี 53

ทั้งหมดนี้ถูกอธิบายว่าระบอบทักษิณไม่เคารพ "หลักนิติรัฐ นิติธรรม" (ที่ดำเนินการโดยกระบวนการสืบเนื่องจาก รปห.) และต้องสลายการชุมนุมด้วย "กระสุนจริง" เพราะ "คนเสื้อแดงไม่เคารพกฎหมาย" โดยพรรคประชาธิปไตยยืนยันตลอดมาว่า "ประเทศปกครองด้วยระบบกฎหมาย และกฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์"

4. แต่การผ่าน ร่าง พ.ร.บ.เหมาเข่งแบบเดียวกับอำมาตย์เคยทำมาตลอดเป็นความผิดอย่างร้ายแรง รบ.จากการเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมที่จะทำเช่นนั้น เป็นชนวนให้ รบ.ถูกกดดันด้วยมวลชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเสื้อแดงบางส่วน ผลคือ ร่างนั้นตกไปในขั้นตอนวุฒิสภา แต่ รบ.ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนี้จึงยิ่งเกิดแรงต้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความไม่ชอบธรรมของ รบ.

แต่แทนที่ม็อบซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (และปชป.) จะใช้วิถีทางประชาธิปไตย เช่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลลาออก หรือยุบเสภาเลือกตั้งใหม่เท่านั้น พวกเขากลับไปสร้างแนวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเดิมและกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่พอใจ พ.ร.บ.เหมาเข่งออกมาโค่นระบอบทักษิณ โดยข้อเรียกร้องคือ "ล้างระบอบทักษิณ หมายถึงให้ตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง ออกนอกประเทศ และตั้งสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย" โดยใช้ม็อบยึดสถานที่ราชการต่างๆ และมุ่งยึดทำเนียบรัฐบาลและอำนาจรัฐ ซึ่งไม่ใช่วิถีทางที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

สรุป ตามทัศนะของสุเทพ, ปชป.และบรรดาคนดีมีการศึกษาที่มุ่งโค่นระบอบทักษิณ คือ

- ระบอบทักษิณสมควรถูกขจัดด้วย รปห.49

- นิติรัฐ นิติธรรม ที่ระบอบทักษิณต้องยอมรับ คือนิติรัฐ นิติธรรมที่มาจากหรือสืบเนื่องจาก รปห.49

- ม็อบเสื้อแดงละเมิดกฎหมายสมควรถูกสลายการชุมนุมด้วยกองทัพที่ใช้รถถัง อาวุธ กระสุนจริงซึ่งอธิบายได้ว่า "เป็นไปตามหลักสากล" แต่ม็อบคนดีที่อ้างสถาบันกษัตริย์ในการต่อสู้ทางการเมืองที่บุกยึดสถานที่ราชการถูกยิงแก๊สน้ำตานั้น ถูกอธิบายว่า "รบ.เพื่อไทยใช้วิถีป่าเถื่อนไม่เป็นไปตามหลักสากล"

- แต่ ปชป., สุเทพ ม็อบคนดีที่แสดงการเคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรม ด้วยการอ้างคุณธรรมจริยธรรม ชาติ ศาสน์ กษัตริย์เพื่อขจัดระบอบทักษิณทำทุกอย่างได้หมด แม้ด้วยวิถีทางนอก รธน.ก็ต้องทำได้

หมายความว่า ระบอบทักษิณผิดกฎหมายบางข้อไม่ได้ แต่ ปชป. สุเทพ (อำมาตย์, พธม.) ทำในสิ่งที่ไม่มีใน รธน. (กระทั่งฉีก รธน.) ก็ได้

ทั้งหมดนี้คือ "ทุจริตวิถีเพื่อขจัดระบอบทักษิณ" (ที่พวกเขาจำกัดความแคบลงมาว่าคือ "ตระกูลชินวัตร") แต่ความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับประชาชนเสียงข้างมากที่เลือกรัฐบาล และมวลชนอีกจำนวนมากที่รับไม่ได้กับ "ทุจริตวิถี" ดังกล่าว และได้ออกมาต่อต้านอย่างยาวนาน

ทำให้เห็นความจริงว่า หากระบอบทักษิณทุจริตและได้ก่อความเสียแก่ประเทศมากมาย แต่การแก้ปัญหาระบอบนี้ด้วย "ทุจริตวิถี" ที่โกงมโนธรรมทางสังคม คอร์รัปชันอุดมการณ์ประชาธิปไตย ทุจริตต่อรัฐธรรมนูญโดยใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญหลากรูปแบบในการขจัดระบอบทักษิณ ได้นำมาซึ่งความแตกแยกทางสังคมและความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำลายโอกาสในการพัฒนาประชาธิปไตย อันเป็นความเสียหายอย่างหนักยิ่งกว่าที่ระบอบทักษิณได้ทำไว้อย่างเทียบกันไม่ได้

ทางออกที่จะไม่เกิดความรุนแรงและการเข่นฆ่ากันอีกต่อไป ไม่มีทางอื่น นอกจากฝ่ายที่ต้านระบอบทักษิณ ต้องกลับมาใช้ "สุจริตวิถี" คือใช้วิถีทางประชาธิปไตย เสนอแนวคิด นโยบาย พิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศผ่านสนามการเลือกตั้ง เวทีสาธารณะ หรือการลงประชามติภายใต้กติกาที่ free and fair เท่านั้น จึงจะมีทางชนะระบอบทักษิณได้ และมีความหมายต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความรุนแรงทางการเมือง ศูนย์เอราวัณสรุปตาย 4 เจ็บ 282 ตร.ยันไม่มีสไนเปอร์

Posted: 04 Dec 2013 08:46 AM PST

เพื่อไทยวอน ตร.เร่งหาตัวผู้ก่อเหตุหน้า ม.รามฯ มาลงโทษโดยเร็ว ขณะที่ตร.เผยเร่งคลี่คลายคดีปะทะหน้าม.ราม ยันไม่มีสไนเปอร์ ตัวเลขล่าจากเหตุความรุนแรงทางการเมืองตาย 4 เจ็บ 282  ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 22 

4 ธ.ค.56 เมื่อเวลา 18.00 น. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานสรุปจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค. จำนวนผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 282 คน และยังรักษาในโรงพยาบาล 22 คน

สำหรับผู้เสียชีวิต 4 คนนั้นเกิดจากเหตุการณ์ปะทะของกลุ่มชนบริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พ.ย.ต่อเช้าวันที่ 1 ธ.ค. ประกอบด้วย นายทวีศักดิ์ โพธิแก้ว อายุ 21 ปี นายวิษณุ เภาพู่ อายุ 26 ปี นายวิโรจน์ เข็มนาค อายุ 43 ปี และพลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ

ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตทั้ง 4 ซึ่งแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 คน ผู้ร่วมชุมนุมกับ นปช. 3 คน นอกจากนี้ยังมี 1 รายที่พบเป็นโครงกระดูกในรถบัสขนเสื้อแดงซึ่งถูกกลุ่มชายฉกรรจ์จี้ไปนั้นอีก 1 คน ที่รอการพิสูจน์อยู่ อ่านได้ที่  "รายงาน : ข้อเท็จจริงเบื้องต้น และ เสียงญาติผู้เสียชีวิต นศ.ราม-เสื้อแดง"             

 

เพื่อไทยวอน ตร.เร่งหาตัวผู้ก่อเหตุหน้า ม.รามฯ มาลงโทษโดยเร็ว

สำนักข่าวไทย รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย ได้นำนายวิมลและนางสุดารัตน์ เภาพู่ ผู้ปกครองของนายวิษณุ เภาพู่ อายุ 27 ปี ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่สนามราชมังคลาฯ และมีการปะทะกับนักศึกษา ม.รามคำแหง เมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา เข้าขอความเป็นธรรม และร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดดำเนินคดีให้เร็วขึ้น เนื่องจากคดีไม่มีความคืบหน้า
 
นายวิมล กล่าวว่า ต้องการขอความเป็นธรรมให้กับบุตรชาย โดยครอบครัวของตนไปร่วมชุมนุม เพื่อฟังการปราศรัยของกลุ่ม นปช.ตามปกติ เหมือนทุกครั้งที่มีการชุมนุม เพราะตนมีอุดมการณ์และชอบคนเสื้อแดง เมื่อเกิดความรุนแรง กระทั่งบุตรชายเสียชีวิตก็รู้สึกเสียใจ และต้องการให้เจ้าหน้าที่เร่งหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็ว
 
ด้าน น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ตลอดเวลาการปราศรัยของคนเสื้อแดงอยู่ในความสงบมาโดยตลอด มีแต่ภายนอกสนามราชมังคลากีฬาสถาน ที่เกิดความวุ่นวาย มีทั้งเสียงปืนและประทัดยักษ์ดังตลอดเวลา รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ต้องการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจ และเร่งหาผู้กระทำผิดมารับโทษ รวมทั้ง ควรจะมีมาตรการที่จะช่วยยุติความรุนแรงด้วย
 
นายวิชาญ กล่าวว่า จากการสอบถามทราบว่า ผู้เสียชีวิตถูกยิงด้วยอาวุธปืนยาวไม่ทราบชนิด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวม 4 คน รวมทั้ง มีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ดังนั้น ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียชีวิตและครอบครัว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเร่งหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีเหมือนกรณีการสลายการชุมนุมปี 53 เพราะหากเนิ่นนานไป หลักฐานก็จะหายากมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย
 
ตำรวจเร่งคลี่คลายคดีปะทะหน้า ม.ราม ยันไม่มีสไนเปอร์
 
ขณะที่ สน.วังทองหลาง พล.ต.อ.เอก อังศนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา สบ 10 เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 4, สน.หัวหมาก, สน.วังทองหลาง เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน, กองปราบปราม และแพทย์นิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ เร่งรัดคดีการเสียชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จากเหตุการณ์ปะทะที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อคืนวันที่ 30 พฤศจิกายนต่อเนื่องวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน วันนี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกว่า 50 คน เดินทางมาให้ปากคำในฐานะพยานและผู้อยู่ในเหตุการณ์ รวมทั้งสอบถามความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนติดตามผู้ก่อเหตุ แต่เนื่องจากนักศึกษาที่มาให้การวันนี้มีมาก ทำให้พนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง ไม่สามารถสอบปากคำได้หมดจึงต้องระดมพนักงานสอบสวนจาก สน.ในพื้นที่นครบาล 4 มาร่วมสอบสวนโดยแบ่งเป็น 6 คดี ประกอบด้วยยิงกันตาย 4 คดี วางเพลิงเผารถตู้ 2 คัน 1 คดี และวางเพลิงเผาทรัพย์รถทัวร์ 1 คดี โดยทั้ง 50 คนถูกนำตัวไปสอบสวนที่ สน.ประเวศ
             
พล.ต.อ.จรัมพร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุทั้งด้านหน้าและหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหงรวม 5 จุด พบปลอกกระสุน 34 ปลอก รวม 7 ชนิด ประกอบด้วย ปลอกกระสุนปืนขนาด.45, .380, 9 มม., รีวอลเวอร์ .38, .25, .22 และ .32 นอกจากนี้ยังพบหัวกระสุนโลหะอีก 12 หัว, กระสุนด้านอีก 2 นัด อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าถูกยิงมาจากอาวุธปืนกี่กระบอก ส่วนการชันสูตรพลิกศพ 4 ศพ พบว่า ถูกยิงจากแนวระนาบ ในลักษณะซึ่งหน้า ประชิดตัว ไม่ใช่ลักษณะการยิงด้วยสไนเปอร์ ส่วนศพผู้เสียชีวิตในรถทัวร์ อยู่ระหว่างการตรวจสอบดีเอ็นเอ ได้ผลภายในวันศุกร์นี้ เบื้องต้นคาดเป็นศพของนายสุรเดช คำแปงใจ อายุ 19 ปี ผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มนักศึกษา โดย 4 ศพมีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่ 1 คน ทั้งนี้ได้ทำหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเข้าตรวจสอบอาคารวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืน และว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ย้ำให้ทำคดีอย่างตรงไปตรงมาเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮัสซัน ตอยิบ เล่นเฟซบุ๊ก? ร่อนแถลงการณ์ BRN ‘ภาษาไทย’ ครั้งแรก

Posted: 04 Dec 2013 08:01 AM PST

พบเฟซบุ๊กชื่อ UtzHasan Taib ใช้ภาพประจำตัวเป็น 'ฮัสซัน ตอยิบ' เมื่อครั้งวันลงนามริเริ่มพูดคุยสันติภาพ ใช้ตรา BRN เป็นภาพปก พร้อมร่อนแถลงการณ์ฉบับแรกที่เป็น 'ภาษาไทย' ย้ำจุดยืนหนุนการพูดคุยสันติภาพ แต่รัฐสภาต้องผ่านมติยอมรับ 5 ข้อเรียกร้อง นายกฯประกาศเป็นวาระแห่งชาติก่อนเดินหน้าคุยต่อ

 



 

4 ธ.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้มีผู้เปิดบัญชีใหม่ในหน้าเฟสบุ๊คโดยใช้ชื่อว่า UtzHasan Taib ในลิงค์ https://www.facebook.com/profile.php?id=100007155999279&fref=ts โดยใช้ภาพของนายฮัสซัน ตอยิบ อดีตหัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพของขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในวันที่ลงนามในเอกสารริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพเป็นภาพประจำตัว และใช้ภาพหน้าปกเป็นรูปตราสัญลักษณ์ของขบวนการบีอาร์เอ็น โดยมีข้อความภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาอังกฤษ อยู่ด้านล่างตราสัญลักษณ์ ซึ่งมีความหมายว่า "แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี" และระบุวันเกิดเป็นวันที่ 13 มีนาคม 1960 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันก่อตั้งขบวนการบีอาร์เอ็น

สำหรับบัญชีดังกล่าว พบว่าเพิ่งเปิดขึ้นหลังจากที่นายฮัสซัน ตอยิบ ได้แถลงผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบครั้งล่าสุดเพื่อชี้แจงและแสดงจุดยืนของขบวนการ BRN ในช่วงค่ำของวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยล่าสุด (วันที่ 4 ธันวาคม, 15.00 น.) บัญชีดังกล่าวมีผู้แอดเข้าไปเป็นเพื่อนแล้ว 77 คน

ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 4 ธันวาคม ผู้ใช้ชื่อบัญชี UtzHasan Taib ได้ส่งแถลงการณ์ฉบับหนึ่งทางกล่องข้อความให้กับผู้สื่อข่าวและผู้ปฏิบัติงานขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บางส่วน พร้อมกันนี้ยังส่งแถลงการณ์ฉบับเดียวกันมาตามช่องทางอีเมลล์อีกด้วย

ในแถลงการณ์ฉบับนี้ยังมีการประทับตราสัญลักษณ์ของบีอาร์เอ็น พร้อมทั้งมีลายเซ็นที่ไม่ได้ระบุนามกำกับ อีกทั้งไม่ได้ระบุชื่อแถลงการณ์และวันที่แถลงอย่างชัดเจน ที่สำคัญ แถลงการณ์ดังกล่าวนี้เขียนเป็นภาษาไทย ซึ่งหากเป็นแถลงการณ์ของขบวนการบีอาร์เอ็นจริง นับว่าเป็นการสื่อสารด้วยภาษาไทยเป็นครั้งแรกของขบวนการบีอาร์เอ็นหลังการริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา

สำหรับเนื้อหาในแถลงการณ์ฉบับนี้ พบว่ามีเนื้อหาคล้ายกับคำแถลงของนายฮัสซัน ตอยิบ ผ่านเว็บไซต์ยูทุปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2556 (กรุณาดูรายละเอียดที่ "ฮัสซัน ตอยิบ แถลงย้ำไทยต้องรับข้อเสนอ BRN และการเจรจาต้องเป็นวาระแห่งชาติ") โดยมีบางเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามา นั่นคือการระบุย้ำว่า "กิจกรรมทางการเมืองใดๆ ที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแถลงการณ์ของเราในวันที่ 6 สิงหาคม 2556 และดำเนินการภายใต้ชื่อของ BRN ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการโดย BRN" โดยผู้สื่อข่าวตรวจสอบแล้วน่าจะเป็นการแถลงผ่านคลิปวิดีโอที่ชื่อว่า "Pengistiharan keputusan Majlis Thura BRN" (คำประกาศมติสภาชูรอแห่ง BRN) ซึ่งโพสต์เผยแพร่โดยผู้ที่ใช้ชื่อบัญชีว่า "Angkatan Bersenjata-BRN" (กองกำลังติดอาวุธ-BRN) (กรุณาอ่านรายละเอียดในข่าว "ฮัสซันยันBRNไม่ทำลายเป้าอ่อนและพื้นที่เศรษฐกิจ คลิปปริศนาโผล่ล้มโต๊ะเจรจา")

สำหรับแถลงการณ์ฉบับนี้มีเนื้อหา ดังนี้

 

แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN)

แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) คือองค์กรเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของประชาชนปาตานีจากการยึดครองของจักรวรรดินิยม เพื่อสถาปนาความยุติธรรมและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประชาชนปาตานี อันหมายถึง "ปาตานีเอกราช" และสร้างสันติภาพที่แท้จริง มิใช่สันติภาพภายใต้เงื่อนไขและการยึดครองของจักรวรรดินิยมสยาม

เนื่องด้วยความจำเป็นทางการเมืองที่ BRN ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กรุงกัวลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดังนั้นในวันที่ 26 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา BRN จึงได้เสนอข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ เพื่อผลักดันให้กระบวนการเจรจาสันติภาพสามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด

BRN มีท่าทีและจุดยืนสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ชัดเจน เราเคารพในหลักการมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสสภาวะการต่อสู้ของสงคราม หากแต่เพื่อให้ราชอาณาจักรไทยแสดงเจตจำนงที่ชัดเจนต่อเป้าหมายของกระบวนการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ มิใช่เพื่อหวังให้การต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่ออุดมการณ์ปลดปล่อยปาตานียุติลงเท่านั้น ทว่ายังต้องรวมถึงการสร้างสันติภาพที่ประกอบด้วยหลักประกันที่ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อความมีศักดิ์ศรีและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวปาตานี ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 1514 (xv) ลงวันที่ 14 ธันวาคม 1960 ว่าด้วย "การให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม" (Declaration on the Granting of Independence to Colonial Countries and People)

อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐไทยยังไม่แสดงท่าทีตอบรับใดๆ ทั้งสิ้นต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว กระทั่งได้มีการแถลงมติจากที่ประชุมสภาปฏิวัติของ BRN ผ่านยูทูบเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 เพื่อยืนยันในจุดยืนเดิมว่า การพูดคุยสันติภาพจะไม่สามารถดำเนินต่อไปอีกได้ จนกว่าข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ จะถูกเสนอและผ่านมติจากรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย มิเช่นนั้นการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ BRN จะไม่ดำเนินการส่งตัวแทนใดๆ เข้าร่วมทั้งสิ้น

นอกจากนี้ กิจกรรมทางการเมืองใดๆ ที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแถลงการณ์ของเราในวันที่ 6 สิงหาคม 2556 และดำเนินการภายใต้ชื่อของ BRN ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการโดย BRN

อย่างไรก็ตาม หากกระบวนการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ยังไม่ถูกบรรจุเป็นวาระแห่งชาติและมีการแถลงการณ์โดยนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทย ความพยายามใดๆ ของราชอาณาจักรไทยเพื่อในการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากทั้ง BRN, PULO, BIPP และกลุ่มอื่นๆ รวมถึงความไว้วางใจจากประชาคมระหว่างประเทศที่ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน เคารพในหลักมนุษยธรรม และรักสันติเป็นอย่างยิ่งด้วย

เอกราช เอกราช เอกราช

ด้วยความเคารพ

[ลงลายมือชื่อและตราประทับ]

ลงชื่อ BRN

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สิริพรรณ นกสวน : ชวนกันไปจ่ายตลาดทางความคิด ท่ามกลางความขัดแย้ง

Posted: 04 Dec 2013 07:53 AM PST

ความกลัวมวลรวมของมวลชนแต่ละฝ่ายคืออะไร? (เน้นว่าของมวลชน ไม่ใช่ของชนชั้นนำ เพราะชนชั้นนำที่เป็นคู่ขัดแย้งต่างมีวาระและเป้าหมายของตน จึงจะวิเคราะห์แยกกัน)


1.กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์: กลัวเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบและไม่มีกลไกตรวจสอบ จึงไม่ไว้วางใจการเลือกตั้ง

กระบวนการแก้ไขและเนื้อหา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดี

ส่วนการแก้ รัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ สว. (แม้ผู้เขียนจะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา) โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ.ทั่วไป

แต่เมื่อรัฐบาลเลือกที่จะใช้กระบวนการที่ผิดหลักนิติรัฐ ความกลัวการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาลเสียงข้างมากยิ่งถูกตอกย้ำ เพราะหากยึดรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัดแล้ว ใครเล่าจะตรวจสอบกระบวนการที่ไม่ชอบนี้ได้

ถึงแม้ในสายตาของนักกฎหมายบางท่านมองว่าการผิดกระบวนการเพียงน้อยนิดนี้ไม่ใช่สาระที่จะล้มการแก้ไข รัฐธรรมนูญ แต่ขอแย้งว่า โดยหลักกฎหมายเองมิใช่หรือ ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเป็นเบื้องต้น เพราะกระบวนการจะเป็นหลักประกันความเป็นธรรมของเป้าหมายที่ดีที่สุด


2. กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล: กลัวสูญเสียรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กลัวการแทรกแซงของขุนทหาร อำมาตย์และวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ ที่สุดแล้ว คือ กลัวประชาธิปไตยและการเลือกตั้งถูกทำลาย

การรัฐประหารในอดีต+ข้อเรียกร้องของคุณสุเทพที่ไม่เอาการยุบสภาและการเลือกตั้งใหม่เป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดี

การตีความรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยไทยแนวทางใหม่โดยนักวิชาการบางกลุ่ม ว่าไม่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งเป็นการตอกย้ำความกลัวนี้

หากเราไม่ปิดตาข้างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าความกลัวทั้งสองด้านมีเหตุและปัจจัยรองรับ ทั้งนี้ต้องออกมาจากหลุมดำของวาทะกรรม คนดีโดยสถานภาพ ชาติกำเนิด vs. ถ้ามาจากการเลือกตั้งแล้วทำอะไรก็ถูกไปหมด เสียก่อน

ฉันทามติในข้อตกลงแม้เพียงหนึ่งหรือสองข้อที่สองฝ่ายยอมรับร่วมกันได้มากที่สุด จะช่วยให้เราก้าวพ้นวิกฤตินี้และความขัดแย้งที่จะมีในอนาคต การหักหาญเอาชนะด้วยกำลังไม่ว่าโดยฝ่ายจำนวนมากกว่า หรือฝ่ายเสียงดังกว่า มีแต่จะทำให้เลือดนองแผ่นดิน

การยุบสภา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถึงแม้จะถอน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไปแล้ว และสัญญาว่าจะไม่นำกลับมาพิจารณาอีก รัฐบาลก็ยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองแต่อย่างใด

สายไปไหมที่จะยุบสภา ยังไม่สาย และในทางยุทธศาสตร์การเมืองจะเร็วเกินไปด้วย เพราะต้องรอให้สมาชิก 109 เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครอบ 30 วันก่อน จึงจะมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้น คิดว่ารัฐบาลเองน่าจะพิจารณาทางเลือกนี้อยู่เช่นกัน เพียงแต่รอเวลา

การยุบสภา จะช่วยไม่ให้ข้อเรียกร้องของคุณสุเทพถูกลากไปไกลกว่าสิ่งที่รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ และนอกเหนือขอบเขตที่รัฐธรรมนูญและวิถีทางประชาธิปไตยจะรองรับได้

ในอีกด้านหนึ่งคือข้อเสนอของกลุ่มผู้ประท้วงเรื่องสภาประชาชน หากจะนำมาปรับใช้ ต้องอยู่ภายใต้กรอบคิดว่า

1.ไม่ใช่การแทนที่รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นการล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย และไม่ได้เกิดโดยการฉีกรัฐธรรมนูญ หรือตีความรัฐธรรมนูญแบบพิสดาร

2.เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย (มากกว่าสองฝ่ายข้างต้น) เข้าร่วม ต้องไม่ใช่สภาของนักวิชาการ

3. มีกฎหมายรองรับ เช่น แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 หรือออก พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ. จัดตั้ง มีที่มา ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และระยะเวลาในการดำรงอยู่ชัดเจน กล่าวคือ มีขึ้นเพื่อหาฉันทามติในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เสนอแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฎิรูปการเมือง โดยไม่มีอำนาจในการบริหารหรือแต่งตั้งผู้นำประเทศ

ทั้งนี้ หากจะปรับใช้รูปแบบสภาประชาชน รัฐบาลต้องทำก่อนการยุบสภา เพื่อเป็นหลักประกันว่าสภาดังกล่าวจะสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง และข้อเสนอมีผลผูกพันบังคับใช้ตามกฎหมาย ซึ่งจะป้องกันไม่ให้รัฐบาลในอนาคตไม่ว่าพรรคใดเป็นแกนนำ แก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือเปลี่ยนแปลงทิศทางของประเทศโดยปราศจากฉันทามติในสังคม

หากสภาดังกล่าว มีข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่ ให้นำประเด็นที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง

ประเด็นพื้นฐานที่ควรพิจารณาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่น

1. รัฐธรรมนูญควรแก้ไขได้ยาก (rigid constitution) ด้วยเสียงข้างมากอย่างมาก เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ของรัฐสภา และควรต้องผ่านประชามติ ซึ่งเท่ากับให้ประชาชนเห็นชอบ เกณฑ์ประชามติหากคงไว้ที่เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะมีความชอบธรรมสูง หากเห็นว่าเป็นไปได้ยากในความเป็นจริง อาจปรับให้เป็นเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของผู้มาใช้สิทธิ+เสียงข้างมากของประชาชนในทุกจังหวัด หรือ ในทุกภาค เป็นต้น

2. เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เช่น หากไม่ชอบเนื้อหาของร่างกฎหมายโดยรัฐสภา สามารถเสนอกฎหมายแข่งได้ โดยให้ประชาชนลงประชามติในขั้นตอนสุดท้าย หรือให้มีการเลือกตั้งถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (recall election) ที่ประชาชนใช้สิทธิถอดถอนพร้อมกับการเลือกตัวแทนคนใหม่

3. ให้มีความชัดเจนในเรื่องอำนาจของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายซึ่งเป็นอำนาจของศาล ควรจำกัดอยู่เพียงเรื่องร่างกฎหมายทั่วไปจริง ๆ หากเป็นเรื่องแก้รัฐธรรมนูญย่อมเป็นอำนาจของสภาและการทำประชามติโดยประชาชน เมื่อให้อำนาจประชาชนตัดสินใจแล้ว จึงไม่ควรมีองค์กรอื่นใดมาล้มล้างการตัดสินใจนั้นได้

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มูลนิธิศักยภาพชุมชนชมรัฐบาลถอยลดรุนแรง-ไม่เอานายกพระราชทาน

Posted: 04 Dec 2013 06:20 AM PST

4 ธ.ค.53 มูลนิธิศักยภาพชุมชนออกแถลงการณ์แสดงความยินดีกับการแก้ไขปัญหาที่คลี่คลายไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม


รายละเอียดมีดังนี้

 

แถลงการณ์มูลนิธิศักยภาพชุมชนต่อกรณีสถานการณ์ทางการเมือง ฉบับที่ 3

"ขอแสดงความยินดีกับการแก้ไขปัญหาที่คลี่คลายไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม"

 

สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดเหตุการณ์จราจลปะทะกันระหว่างประชาชนบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในระหว่างช่วงบ่ายวันที่ 30พฤศจิกายน ถึงกลางคืนวันที่ 1 ธันวาคม อันนำมาสู่การเสียชีวิตของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็กการแห่งชาติจำนวน 3  ราย และนักศึกษารามคำแหงอีก 1 ราย และอีกศพที่เสียชีวิตในซากรถที่ไหม้และยังไม่สามารถระบุได้ รวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายอีกจำนวนหนึ่ง กรณีการปะทะกันระหว่างมวลชนที่พยายามบุกยึดทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตรึงกำลังเพื่อรักษาสถานที่ราชการทั้งสองแห่งไว้ ทั้งในช่วงกลางวันของวันที่ 1 ธันวาคม และช่วงกลางวันของวันที่ 2 ธันวาคม จนถึงเวลาย่ำรุ่งของวันที่ 3 ธันวาคม เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางจำนวนหนึ่ง มีรถขังผู้ต้องหาของตำรวจถูกเผาได้รับความเสียหาย ๒ คัน  การสั่งถอนกำลังตำรวจซึ่งตรึงไว้โดยรอบกองบัญชาการตำรวจนครบาลและทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันที่ 3ธันวาคมและปล่อยให้ผู้ชุมนุมสามารถเข้าถึงพื้นที่ต้องการได้โดยไม่มีการขัดขวาง ทำให้อารมณ์คุกกรุ่นของผู้ชุมนุมอ่อนลง และเปลี่ยนไปสู่อีกอารมณ์ที่เป็นมิตรทำให้ความรุนแรงลดลงได้  มูลนิธิศักยภาพชุมชนมีจุดยืนและข้อเสนอดังนี้

1.               ชื่นชมความยึดมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐนิติธรรมของรัฐบาลไทยนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะในช่วงเวลาของความขัดแย้งและในสถานการณ์อันแหลมคมที่พร้อมจะนำไปสู่ความรุนแรงที่นำมาซึ่งความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินของชาติจำนวนหนึ่ง การยึดมั่นต่อหลักนิติรัฐนิติธรรมนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งได้โดยยืนอยู่บนหลักการการเคารพความแตกต่างทางความคิด  หลักสิทธิมนุษยชน ความจริงใจในการแก้ไขปัญหา และหลักสันติวิธี ส่งผลให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด ต่างจากกรณีการชุมนุมทางการเมืองในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2553  ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้ยกระดับความรุนแรงที่ใช้กับผู้ชุมนุมขึ้นจนก่อให้เกิดความสูญเสียอันประเมินค่ามิได้ซึ่งยังส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้  การตัดสินใจใช้กองกำลังตำรวจในการควบคุมสถานการณ์แทนที่จะใช้กองกำลังทหารอย่างเช่นที่รัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ถือเป็นความก้าวหน้าในการจัดการปัญหาของรัฐบาลและไม่ทำให้สถานการบานปลาย   การยอมถอนกำลังตำรวจเพื่อเปิดทางให้ผู้ชุมนุมในช่วงเช้าวันที่ 3 ธันวาคมนั้นถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและน่าชื่นชมยิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการยกระดับความรุนแรงกับประชาชน และประกาศพร้อมจะเสียสละ ไม่ยึดมั่นในตำแหน่งหน้าที่ หากการลาออกของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะช่วยแก้ปัญหาของประเทศชาติได้

2.               ขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายที่มีความอดทนอดกลั้นต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างถึงที่สุดโดยยึดหลักสากลของการควบคุมและสลายการชุมนุมแม้จะเป็นฝ่ายตั้งรับมาตลอด สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสูญเสียแก่ประชาชน แต่เจ้าหน้าที่หลายนายได้รับบาดเจ็บ มูลนิธิศักยภาพชุมชนขอแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียของผู้เสียชีวิตทุกท่านในเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอแสดงความยินดีกับประชาชนที่ในที่สุดแล้วสามารถทำความเข้าใจ ให้อภัยและเป็นมิตรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีดังเหตุการณ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเช้าวันที่ ๓ ธันวาคม

3.               ถึงแม้ว่าสถานการณ์ด้านการเผชิญหน้าจะลดความตึงเครียดลงไปบ้างแล้ว แต่สถานการณ์ความขัดแย้งยังคงคุกรุ่นอยู่ มูลนิธิฯ ขอเรียกร้องให้มีการเจรจากันระหว่างนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยให้มีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจา   นายกรัฐมนตรีแสดงท่าทีที่ยินดีพร้อมรับการเจรจาอย่างไม่มีเงื่อนไข จึงขอเรียกร้องให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยอมรับข้อเสนอการเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันตามที่หลายๆ ฝ่ายเสนอมาเพื่อให้ประเทศชาติสามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามอารยวิถี

4.               มูลนิธิฯไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลรักษาการที่มาจากการแต่งตั้ง  นายกรัฐมนตรีพระราชทาน  รวมถึงข้อเสนอของกลุ่มใดใดที่มีเนื้อหาและข้อเรียกร้องที่ไม่ยืนอยู่บนหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักธรรมาภิบาลและสันติวิธี 

5.               สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2556 นี้ เป็นบทเรียนของสังคมไทยรวมทั้งรัฐไทยต่อการจัดการกับความเห็นต่างและความขัดแย้งทางการเมือง มูลนิธิฯมีความเห็นว่าความสับสนที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสังคมประชาธิปไตยครั้งสำคัญยิ่งของประเทศไทย ซึ่งพิสูจน์ว่าถึงที่สุดแล้วประชาชนไทยมีความอดทนและอดอกลั้น สามารถรับฟังความเห็นต่างและสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งรุนแรงได้ในที่สุด  ขอให้ความเจ็บปวด รวดร้าวที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้เป็นเครื่องเตือนใจเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียต่อไปในอนาคต  และขอให้ประชาชนไทยใช้สติและปัญญาในการดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยความสมัครสมานสามัคคี  

มูลนิธิศักยภาพชุมชน

4 ธันวาคม 2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาจารย์ มอ.ปัตตานีจัดสอนปกติ เปิดทางเลือกให้นศ.แม้มหาวิทยาลัยสั่งปิด

Posted: 04 Dec 2013 05:58 AM PST

 

4 ธ.ค.56 อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำนวน 11 คนร่วมลงชื่อในแถลงการณ์เรื่อง ท่าทีคณาจารย์ต่อการงดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย โดยยืนยันจะเปิดการเรียนการสอนต่อไป 

รายละเอียดมีดังนี้ 

๐๐๐๐๐

แถลงการณ์ เรื่อง ท่าทีคณาจารย์ต่อการงดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากประกาศมหาวิทยาลัยเรื่อง ให้งดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ทุกวิทยาเขต ตั้งแต่วันที่ 4 -10 ธันวาคม 2556 โดยให้เหตุผลว่ามีความกังวลถึงแนวโน้มสถานการณ์ความรุนแรงที่จะอาจจะถึงขั้นวิกฤติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เราขอแสดงความคิดเห็นต่อท่าทีดังกล่าว

1. เราเชื่อมั่นว่า การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญต่อสันติภาพอันยั่งยืน จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งที่รุนแรงซึ่งมีการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก เราตระหนักดีว่าการศึกษาบนฐานของเสรีภาพทางความคิดจะเป็นพื้นฐานของการใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหาโดยสันติในสังคมที่มีความขัดแย้งและหลากหลาย

2. เราเชื่อมั่นว่า มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่กลาง ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วยประโยคที่ว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" การตื่นตัวทางการเมืองของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับสังคมการเมืองที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ทว่าสิ่งที่สถาบันการศึกษาพึงรักษาคือความเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริงเพื่อให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นและให้เสรีภาพทางความคิดแก่คนทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนา รวมถึงกลุ่มคนที่มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง

3. เราเชื่อมั่นว่า การตัดสินใจใดๆ ที่เป็นการแสดงออกทางการเมืองในนามประชาคมของมหาวิทยาลัย ควรผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและยินยอมพร้อมใจจากทุกภาคส่วนของประชาคมมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันและแสวงหาทางออกในสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคม

4. เราเชื่อมั่นว่า ประชาคมในมหาวิทยาลัยควรตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพในการสื่อสาร เสรีภาพในการแสดงออกและเคารพความแตกต่างทางความคิดเห็นของกลุ่มคนที่หลากหลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดภัยแก่ทุกฝ่าย

เราขอเสนอทางเลือกโดยจะดำเนินการเรียนการสอนตามปกติและให้นักศึกษาทุกคนได้ตัดสินใจโดยอิสระในการเข้าเรียนในห้วงเวลาตามประกาศของมหาวิทยาลัย

 

ด้วยความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยและสันติภาพ

 

รายชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กุสุมา กูใหญ่  คณะวิทยาการสื่อสาร

ณภัค เสรีรักษ์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

พุทธพล มงคลวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วลักษณ์กมล จ่างกมล  คณะวิทยาการสื่อสาร

หนึ่งกมล พิพิธพันธุ์  คณะรัฐศาสตร์

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี  คณะรัฐศาสตร์

สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง  คณะรัฐศาสตร์

สมัชชา นิลปัทม์   คณะวิทยาการสื่อสาร

อันธิฌา แสงชัย   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เอกรินทร์ ต่วนศิริ  คณะรัฐศาสตร์

ฮารา ชินทาโร่   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

"Permas" เรียกร้องสังคมไทยใช้บทเรียนความขัดแย้งปาตานี

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี หรือ Permas (Persekutuan Mahasiswa Anak Muda dan Siswa Se-Patani) ได้แถลงการณ์เช่นกัน โดยแสดงความกังวลต่อความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในรัฐไทย

แถลงการณ์ระบุว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและปริมณฑลในขณะนี้ อาจจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง และอาจจะเกิดความสูญเสียทางร่างกาย และทรัพย์สิน เหมือนกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปาตานี ดังนั้น Permas เสนอทางออกว่า อย่าใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ขอให้มีการเจรจากันโดยเอาประสบการณ์จากการพูดคุยสันติภาพกับขบวนการ BRN มาใช้ แม้รัฐบาลจะประสบกับวิกฤตทางการเมืองหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคต แต่ขอให้การพูดคุยสันติภาพปาตานีเดินทางต่อไป

สำหรับเนื้อหาของแถลงการณ์ ความกังวลต่อความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในรัฐไทย มีดังนี้

จากความวุ่นวายและความขัดแย้งที่รุนแรงเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดของประเทศไทยในขณะนี้ ทำให้เกิดการเผชิญหน้าและการปะทะระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง

อันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ทำให้ทาง Permas มีความกังวลว่าความขัดแย้งที่ดังกล่าว จะมีแนวโน้มไปสู่สงครามกลางเมือง ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐ เช่นเดียวกับสงครามที่เกิดขึ้นปาตานี (จังหวัดชายแดนภาคใต้) และจะทำให้สังคมไทยเกิดความวุ่นวาย เนื่องจากกลไกต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตยที่ถูกทำลาย

ซึ่งบทเรียนจากความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่ปาตานีนั้น น่าจะเป็นบทเรียนที่เพียงพอให้แก่รัฐไทยและประชาชนคนไทย ที่จะเรียนรู้ถึงความเจ็บปวดของประเทศ ที่ประชาชนต้องใช้ชีวิตอยู่ในวงจรของสังคมที่มีความขัดแย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้น Permas ซึ่งเป็นองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพปาตานี ตามหลักการประชาธิปไตย และตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงขอแสดงท่าทีและนำเสนอทางออกต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อให้เกิดสันติภาพอย่างที่ทุกคนปรารถนา ดังนี้

1.ขอให้ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ เคลื่อนไหวทางการเมืองหรือดำเนินการใดๆโดยใช้สติคำนึงถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุดและไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

2.การดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย จะเป็นทางออกให้แก่รัฐไทย อันจะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

3.ขอให้ทางผู้ชุมนุมและรัฐบาลใช้ทางออกโดยการเจรจา เพื่อยุติปัญหาโดยใช้ประสบการณ์กระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างขบวนการปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) กับ รัฐไทย ที่ผ่านมา

4.แม้รัฐบาลจะประสบกับวิกฤตทางการเมืองหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเช่นใดในอนาคต แต่ขอให้รัฐบาลยังคงดำเนินกระบวนการสร้างสันติภาพที่ปาตานีเดินหน้าต่อไป โดยให้ประชาชนปาตานีมีส่วนร่วม

5.ด้วยความห่วงใยถึงนักศึกษา นักเรียน เยาวชนและประชาชนปาตานี  ที่อยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง (กุรงเทพมหานครและปริมณฑล) ทุกคนใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ

 

                                      ด้วยจิตรักในสันติภาพและประชาธิปไตย

                               สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี

                                       วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.255

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิเคราะห์: ยุทธศาสตร์ ‘เทพเทือก’ และแผนรับมือของรัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์’

Posted: 04 Dec 2013 05:32 AM PST

เป็นที่ทราบกันว่าเป้าหมายของ 'เทพเทือก' ในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้คือสิ่งที่เขาเรียกว่าการ 'กวาดล้างระบบทักษิณ' โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่มุ่งทำให้องค์กรของรัฐไม่อาจปฏิบัติงานตามปกติได้ (disorganised) หรือตัดแยกองค์กรออกจากรัฐบาล หรือทำให้องคาพยพของรัฐกลายเป็นอัมพาต เพื่อมุ่งให้เกิด 'ภาวะรัฐล่ม' (failed state) กล่าวคือส่วนหัวไม่อาจบังคับอวัยวะได้

ภาวะรัฐล่มมีผลให้รัฐบาลไร้ความหมาย ไม่สามารถปกครอง หรือสั่งการองค์กรใต้บังคับบัญชา ลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นในอินเดียเมื่อครั้งคานธีจัดการชุมนุมเรียกร้องเอกราชด้วยวิธีอหิงสา(non-violence) ทว่าใช้การดื้อแพ่งที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า 'อารยะขัดขืน'(civil disobedience) ยุทธศาสตร์ของคานธีได้ผลอย่างยิ่ง ด้วยว่า'ความชอบธรรม'อยู่กับฝ่ายต่อต้าน ผู้คนทั้งชาติหันมาเข้าข้างคานธี ในทางกลับกัน 'มวลมหาประชาชน' ปฏิเสธความร่วมมือกับรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษ นั่นทำให้รัฐบาลไม่อาจบังคับบัญชาองค์กรของรัฐหรือประชาชนได้ ท่านที่ดูภาพยนต์เรื่องคานธีคงประจักษ์แจ้งถึงประเด็นนี้

ยุทธศาสตร์ 'แบบเทพเทือก' ก็คล้ายกัน มันเริ่มต้นขึ้นเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขณะภาพลักษณ์ของรัฐบาลตกต่ำอย่างยิ่งอันเนื่องมาจากการผ่านพรบ.นิรโทษกรรม และการถูกกล่าวหาในประเด็นคอร์รัปชั่นและความล้มเหลวด้านการบริหารประเทศ และเมื่อพรรคเพื่อไทยประกาศไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ นั่นยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลลดถอยลงอย่างน่าใจหาย

ในการชุมนุมวันแรกๆ ผู้คนเข้าร่วมกับฝ่ายต่อต้านอย่างล้นหลาม สำนักข่าว CNN แถลงว่าผู้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงอาจมีถึง 2 ล้านคน หลายคนกล่าวว่าในวันนั้นผู้คนมีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมประท้วงของไทย มากกว่าเมื่อครั้ง 14 ตุลาคม 2516 เสียอีก 'เทพเทือก' ประกาศว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศแล้ว เขาและ 'มวลมหาประชาชน' จะร่วมกันกวาดล้าง 'ระบบทักษิณ' และจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า 'สภาประชาชน' เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย

จากนั้นเป็นการดำเนินการเชิงรุกเพื่อ 'disorganised' อำนาจการปกครองของรัฐบาล เช่นการเคลื่อนไหวแบบดาวกระจายบุกยึดที่ทำการของรัฐทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ประกาศขอให้ประชาชนงดเว้นการเสียภาษี การกดดันสื่อโทรทัศน์ให้งดเว้นการเสนอข่าวฝ่ายรัฐบาล และหันมาเสนอข่าวของฝ่ายต่อต้านให้มากขึ้น การเรียกร้องให้ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจรวมทั้งภาคเอกชนหยุดงานทั้งประเทศที่เรียกว่า 'general strike' ทั้งหมดเพื่อทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะ 'รัฐล่ม'

โชคไม่ดี, ดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ประชาชนผู้เข้าร่วมลดน้อยลงอย่างมาก การยึดสถานที่ราชการแม้ทำได้หลายแห่งในกรุงเทพฯ แต่ตามหัวเมืองการยึดศาลากลางมีอยู่เพียงประปราย ผู้คนไม่เห็นด้วยกับมาตรการงดเสียภาษี การกดดันสื่อโทรทัศน์ทำให้ฝ่ายประท้วงเสียภาพอย่างรุนแรงทั้งได้รับการคัดค้านจากทุกสารทิศ อีกทั้งมาตรการการหยุดงานไม่เป็นผลตามความคาดหมาย

สถานการณ์ดูคล้ายกับว่าผู้คนแยกแยะออกว่าสิ่งไหนควรเข้าร่วม และสิ่งไหนไม่ควร ที่ร้ายก็คือยิ่งดำเนินมาตรการมากเท่าไร ภาพลักษณ์ของฝ่ายประท้วงยิ่งลดลง ขณะฝ่ายรัฐบาลทรงตัวหรือไม่ก็กระเตื้องขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะการมีไหวพริบในการเดินหมากทางการเมือง

เป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายรัฐบาลวางตัว 'เชิงรับ' หรือเป็น 'passive action' ขณะฝ่ายตรงข้ามเดินหมาก 'เชิงรุก' หรือเป็น 'active action' รัฐบาลประกาศไม่ใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้เพื่อ "ปกป้องผู้เดินขบวน" ปล่อยให้ฝ่ายประท้วงยึดสถานที่ทำงานของรัฐอย่างง่ายดาย ทั้งแถลงว่ายินดีเจรจาหรือกระทั่ง "พร้อมจะเสียสละ" ตามคำแถลงของนายกรัฐมนตรี ยิ่งกว่านั้น, มวลชนเสื้อแดงยอมสลายม็อบนัยว่าเพื่อ "ป้องกันมิให้เกิดการปะทะ" ทั้งหมดนี้ไม่ต้องสงสัยว่าเป็นไปตามแผนการรับมือที่วางไว้อย่างชาญฉลาด และไม่ยอมตกหลุมพราง

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งได้แก่ 'การเจรจา' ขณะผู้คนหลายกระแสเรียกร้องให้คู่ขัดแย้งเจรจากัน รัฐบาลออกมาตอบรับทันที แต่ฝ่ายประท้วงปฏิเสธ นั่นเพราะการเจรจาต่อรองมิใช่ยุทธศาสตร์ของ 'เทพเทือก' สิ่งที่เขาต้องการคือการทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลสลายไปโดยปริยายหลังจากยึดอำนาจและจัดตั้งสภาของ 'มวลมหาประชาชน' ดังนั้น, การต่อรองให้ยุบสภาหรือนายกฯลาออกมิใช่คำตอบของยุทธศาสตร์นี้

แผนการดังกล่าวก็คล้ายกับที่ครั้งหนึ่งนายกรัฐมนตรีเยลซินของสหภาพโซเวียตริบเก้าอี้ประธานาธิบดีของกอร์บาชอฟด้วยการเรียกประชุมผู้นำของรัฐต่างๆเพื่อจัดตั้งสมาพันธ์ของอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต นั่นมีผลให้สหภาพโซเวียตล่มลงอย่างเป็นทางการ และเก้าอี้ประธานาธิบดีในฐานะผู้นำสูงสุดของสหภาพโซเวียตก็พลอยหายไปด้วยโดยอัตโนมัติ

ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์น่าจะรู้ทันแผนการดังกล่าว พวกเขาในด้านหนึ่งปล่อยให้ผู้ประท้วงยึดหน่วยงานของรัฐ ขณะอีกด้านจัดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่อไปได้ตามปกติ ในด้านหนึ่งทำลายภาพลักษณ์ของฝ่ายตรงข้าม แต่อีกด้านกู้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลคืนมา ในด้านหนึ่งเรียกร้องการเจรจาทั้งที่รู้ว่าศัตรูไม่มีวันเจรจา แต่หากไม่เจรจาภาพลักษณ์ที่เสียหายไม่ได้ตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่อยู่กับฝ่ายตรงข้าม

ที่ได้เปรียบเชิงกลก็คือ หากผู้นำการประท้วงมาขึ้นโต๊ะเจรจา การต่อรองคงหนีไม่พ้นเรื่องการให้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออก หรือเลือกตั้งใหม่ และหากเป็นเช่นนั้น ยิ่งลักษณ์อาจยังคงเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน, หรือยังคงมีส่วนร่วมในเลือกตั้งใหม่, หรือในการปฏิรูปประเทศไทย และย่อมหมายความว่าฝ่ายตรงข้ามไม่มีทางขจัด 'ระบบทักษิณ' ออกไปได้จากการเมืองของไทย อย่าลืมว่ารัฐบาลยังมีพลังสีแดงที่พร้อมจะเคลื่อนไหวตอบโต้อยู่ในมือ

เผือกร้อนถูกโยนกลับมายัง 'เทพเทือก' และพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เก็บซ่อนยุทธศาสตร์และความกลัดกลุ้มไว้อย่างมิดชิด พวกเขาจะประกาศชัยชนะได้อย่างไรหากชัยชนะหมายถึงการผูกขาดความชอบธรรมเอาไว้ให้ได้ แต่ความชอบธรรมของตนยิ่งหดหายลงไปทุกที หมายถึงการทำให้รัฐล่ม แต่ภาวะเช่นนั้นดูยังไกลเกินเอื้อม ด้วยว่าการยึดที่ทำการของรัฐดูจะไร้ความหมายไปเสียแล้ว อีกทั้งการจัดตั้งสภาประชาชนที่ผู้คนยังไม่ทราบที่มาที่ไป ดูว่าอาจไร้ความชอบธรรมรองรับ

ในขณะนี้ กระทั่ง 'เสียงบริสุทธิ์' กำลังกลายเป็นเสียงที่แตกแยก เหล่านักวิชาการและนักวิเคราะห์เริ่มตั้งคำถามต่อขบวนการต่อต้าน คนเหล่านั้นเบื่อหน่ายความขัดแย้งที่บ่อนทำลายชาติและหาข้อยุติไม่ได้ พวกเขาจึงพากันเรียกร้อง 'การปฏิรูปประเทศไทย' ที่แท้จริง การปฏิรูปดังกล่าวถูกเสนอเข้ามาเป็นครั้งที่สามแล้ว จนบัดนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากมันถูกนำไปผูกติดอยู่กับการทำลายล้าง 'ระบบทักษิณ'

คำถามคือการปฏิรูปโดย 'มวลมหาประชาชน' จะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากตัดหุ้นส่วนคู่ขัดแย้งออกไป? 'มวลมหาประชาชน' ที่กล่าวอ้างเพื่อการปฏิรูปได้รวมกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยไว้ด้วยหรือไม่? หากไม่, ความขัดแย้งจะยุติลงโดยการปฏิรูปแบบมีส่วนร่วมได้อย่างไร? 'เทพเทือกจะนำพา 'มวลมหาประชาชน' ไปทางไหน? จะปิดเกมความขัดแย้งและก้าวลงจากเวทีอย่างสง่างามได้อย่างไร?

เหล่านี้ล้วนเป็นความกลัดกลุ้มของคนทั้งสังคม และเป็นคำถามใหญ่ที่ยังรอคอยคำตอบอยู่อย่างกระวนกระวาย.

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นิวส์วีค' เล็งกลับมาพิมพ์ใหม่ปีหน้า

Posted: 04 Dec 2013 05:28 AM PST

นิตยสารรายสัปดาห์ นิวส์วีค ที่หยุดตีพิมพ์ฉบับกระดาษและย้ายไปอยู่บนออนไลน์ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จะกลับมาพิมพ์อีกครั้ง 

4 ธ.ค.2556 จิม อิมโพโค บรรณาธิการบริหารของนิวส์วีค ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทมส์ว่า นิตยสารนิวส์วีคจะกลับมาพิมพ์เป็นเล่มอีกครั้งในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ปีหน้า (2557) โดยจะอยู่บนฐานของระบบสมาชิก มากกว่าการพึ่งโฆษณา และในการนี้ ผู้อ่านจะต้องจ่ายมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา

อิมโพโค ระบุว่า รูปแบบธุรกิจนี้จะใกล้เคียงกับรูปแบบของนิตยสารดิอิโคโนมิสต์มากกว่าของนิตยสารไทม์ โดยเขามองว่า มันจะเป็นเหมือนสินค้าคุณภาพดีและสินค้าบูติก

นิวยอร์กไทมส์ชี้ว่า การกลับมาตีพิมพ์ของนิวส์วีคเป็นสัญญาณบวกสำหรับนิตยสารซึ่งต้องดิ้นรนอย่างมากในยุคดิจิทัล ขณะเดอะเดลีบีสต์  (the Daily Beast) เสนอข่าวเดียวกันนี้บนเว็บ โดยระบุว่า หนังสือระดับตำนานได้ฟื้นคืนชีพแล้ว

สำหรับนิตยสารนิวส์วีคตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อปี 2476 เคยมียอดจำหน่ายสูงสุด 3 ล้านฉบับ แต่จำนวนผู้อ่านกลับลดลง รวมถึงรายได้จากโฆษณาก็เริ่มน้อยลง นิวส์วีคถูกบริษัทวอชิงตันโพสต์ขายให้กับซิดนีย์ ฮาร์แมน นักธุรกิจสื่อ ก่อนจะถูกควบรวมกิจการกับเว็บเดอะเดลีบีสต์ และเลิกตีพิมพ์ฉบับกระดาษเมื่อปลายปี 2555 แล้วเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมด ต่อมา อินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส ไทมส์ เข้าซื้อนิวส์วีค โดยการซื้อครั้งนี้ไม่รวมเดอะเดลีบีสต์

 


ปกของฉบับตีพิมพ์เป็นเล่มสุดท้าย โดยเป็นภาพถ่ายขาวดำของสำนักงานใหญ่นิวส์วีคในแมนแฮตตัน
พร้อมโปรยตัวหนังสือ #lastprintissue (ฉบับพิมพ์เล่มสุดท้าย)

 

เรียบเรียงจาก

Newsweek Print Edition Is Returning, NYT Reports
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สุเทพ' ชวนประชาชนร่วมกล่าวถวายพระพรด้วยตัวเอง ไม่ต้องผ่าน 'ยิ่งลักษณ์'

Posted: 04 Dec 2013 05:17 AM PST

เลขาธิการ กปปส. ขอมติจากผู้ชุมนุมว่าพรุ่งนี้จะเป็นผู้นำกล่าวถวายพระพรฯ ในฐานะตัวแทนประชาชนทั้งประเทศ ลั่น 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ไม่สมควรเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร โดยขอพักรบ 2 วัน หลัง 5 ธ.ค. แล้ว จะประกาศเผด็จศึกระบอบทักษิณ

เมื่อเวลา 19.30 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้กล่าวปราศรัยที่ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ โดยเริ่มแรกกล่าวถึงการใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 โดยอธิบายว่า "ขออนุญาตใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อที่จะทำความเข้าใจ เรื่องแนวทางขั้นตอน การต่อสู้ของมวลมหาประชาชนที่ได้รวมกันเป็น กปปส.ประการที่หนึ่ง รัฐธรรมนูญ ฝ่ายระบอบทักษิณเป็นกบฎต่อรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติต่อกฎหมายสูงสุด เป็นหน้าที่ของเราเจ้าของประเทศทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญในขณะนี้"

"ประการที่สอง ทวงคืนอำนาจอธิปไตย ตามมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ที่เรามอบอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยให้รัฐบาลและรัฐสภา แต่รัฐบาลและรัฐสภาที่ได้รับมอบอำนาจได้ทรยศต่อเจ้าของอำนาจ แทนที่จะใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนไปบิดเบือน ไม่เคารพกฎหมาย ใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ต่อพี่ชายตนเอง ครอบครัวตอนเอง"

"คนที่ได้รับมอบอำนาจแต่ไปทรยศ เราจึงมีความชอบธรรมที่จะดึงอำนาจนั้นกลับมา เพื่อแก้ไขปัญหาประเทศชาติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ถามว่าในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ กฎหมายรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้อย่างไร พี่น้องทั้งหลายครับ กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ระบุว่า ในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ให้วินิจฉัยตามประเพณีการปกครองบ้านเมืองตามวิธีระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

เรื่องที่รัฐบาลทรยศต่อประชาชน รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้ เพราะรัฐธรรมนูญคาดไม่ถึงว่าจะมีคนเลว คนชั่ว ทรยศประชาชนได้ขนาดนี้ เพราะฉะนั้นต้องไปใช้บทบัญญัติมาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญ พอเราพูดอย่างนี้ ก็มีคนคัดค้าน ด้วยความไม่รู้ด้วยความเข้าใจผิด ไปคิดเอาเองว่ามาตรา 7 คือการไปรบกวนเบื้องพระยุคคลบาท ไปคิดเอาเองสิว่าการใช้มาตรา 7 คือไปขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ขอพระราชทานรัฐสภา ไม่ใช่เลย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐพระองค์ไม่เคยลงมาแทรกแซงก้าวก่ายการเมือง พระองค์อยู่เหนือการเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เป็นตัวอย่างการใช้บทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญที่ใช้แล้วในประเทศไทย วันนั้นเกิดอะไรขึ้นครับ ปรากฏว่ามีนิสิตนักศึกษาลุกขึ้นเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เกิดเรื่องใหญ่โตเกิดเหตุรุนแรงมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บ เป็นวันมหาวิปโยค จอมพลถนอม กิตติขจร ลาออก รองนายกรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียรก็ลาออก เดินทางออกนอกประเทศ เพื่อให้เหตุการณ์สงบลง ไม่มีคนเป็นนายกรัฐมนตรี

รองประธานวุฒิสภาขณะนั้นซึ่งยังมีตำแหน่งจึงไปกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพลถนอม พูดอย่างนี้เพื่อเอาความจริงมากราบเรียนพี่น้องว่า ไม่ใช่อยู่ๆ พระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานลงมา แต่ผู้รับผิดชอบบ้านเมืองขณะนั้นคือรองประธานวุฒิสภาเห็นว่าบ้านเมืองจะเดินหน้าได้ต้องมีนายกรัฐมนตรี จึงได้นำความกราบบังคมทูลและพระองค์ท่านจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์

กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่เรามาเทียบเคียงได้ ว่าถ้าหากวันข้างหน้าคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ลาออกจากรักษาการณ์ ประเทศไม่มีนายกรัฐมนตรี คนที่มีอำนาจหน้าที่ที่เหลืออยู่สามารถนำความกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าสมควรแต่งตั้งคนนั้นคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์นี้

นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำคือการถอนความชอบธรรมของอำนาจที่เขาใช้ เขาก็ต้องไป เรื่องนี้ยังต้องพูดกัน อธิบายกัน ชี้แจงกัน เพราะทันทีที่เราบอกว่าเราจะปฏิบัติการตามรัฐธรรมนูญ เพราะเราเป็นพลเมืองดี พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เขาบอกว่าไม่มีข้อกฎหมายรองรับ แบบที่นายกรัฐมนตรี และสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลพูด ไม่รู้ว่าแกล้งโง่ หรือไม่รู้ความจริง เอาไว้แค่นี้ก่อน เพราะยังมีเวลาที่ต้องพูดและกระทำด้วยกัน

เรื่องต่อมาที่สุเทพกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้ชุมนุมจะจัดงานถวายพระพรชัยมงคล ระบุว่า "วันพรุ่งนี้เป็นวันมิ่งมหามงคลของชาติไทย เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระเจ้าอยู่หัว เราซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์จะร่วมกันจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีที่มวลมหาประชาชนผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ท่าน มีต่อพระองค์ท่าน ปีนี้เราต้องจัดกันพิเศษ เพราะปีนี้ไม่ใช่ปีปกติธรรมดา"

"จะมีนายกรัฐมนตรี ประธานสภา ประธานศาลฎีกา ซึ่งเป็นผู้นำในการใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสามด้านเป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล แต่ปีนี้เกิดมีปัญหา มีความรู้สึกของมวลมหาประชาชนทั่วประเทศว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สมควรเป็นผู้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล ไม่ใช่เฉพาะพวกเราที่ลุกขึ้นต่อสู้กับระบอบทักษิณรู้สึกแบบนี้ แต่มีคนหลายสาขาอาชีพรู้สึกอย่างนี้"

ทั้งนี้สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้อ่านเอกสารคัดค้านไม่ใช่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กล่าวถวายพระพรชัยมงคล โดยได้อ่าน คำแถลงของสภาทนายความ ซึ่งในแถลงการณ์สภาทนายความให้ความเห็นว่า นายกรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภา มิบังควรเข้าเฝ้าถวายพระพร 5 ธันวา เพราะ "ปฏิเสธพระราชอำนาจทางตุลาการ" เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ที่จะต้องออกมาพร้อมกันทุกผู้ทุกคน ต้องประกาศแสดงออกให้ชัดเจนให้โลกรู้เห็น ว่ามวลมหาประชาชน ปวงชนชาวไทย เจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ลุกขึ้นแสดงตนแล้ว ว่าเป็นผู้ขอกราบถวายพระพรโดยตรงต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพราะว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังถือดี ยังถือว่าตัวเองมีอำนาจมีสิทธิ์ ไปทำหน้าที่ตัวแทนคนไทย กราบถวายพระพรชัยมงคล ผมต้องเชิญชวนพี่น้องประชาชนว่า ถ้าพี่น้องมีความเห็น มีความรู้สึก สำเหนียกในความเป็นจริงตามแถลงการณ์สภาทนายความ เราต้องลุกขึ้นมาแสดงตนที่เวทีมวลมหาประชาชน กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคลด้วยตัวเอง พี่น้องทั้งหลาย ผมขอถือโอกาสนี้ในฐานะที่เป็นเลขาธิการ กปปส. กราบเรียนเชิญพี่น้องที่เคารพ ต้องถือเป็นวันพิเศษสุดในชีวิตเรา ต้องออกมาทุกคน ที่ราชดำเนิน และที่นี่ จะเริ่มตั้งแต่ 7 โมงเช้า เราจะมีการทำบุญ ตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป รับบิณฑบาตถวายภัตตาหารเพล ตอนเย็นมาพร้อมกัน ห้าโมงเย็นต้องมาที่ราชดำเนิน กระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการ ให้มืดฟ้ามัวดิน มาให้หมด มาให้ครบ

ตอนมา สุเทพ ได้ขอมติจากผู้ชุมนุม ว่าจะเป็นผู้นำกล่าวถวายพระพรในฐานะตัวแทนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ และเป็นผู้กล่าวนำถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นพลเมืองดีในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยสุเทพขอให้ประชาชนออกมาร่วมกันเป็นล้านคนในวันพรุ่งนี้

"ถ้าพี่น้องมีความเห็นเหมือนสภาทนายความว่ายิ่งลักษณ์ ไม่สมควรเข้าเฝ้าถวายพระพรต้องมาที่เวทีราชดำเนิน กระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการ ให้โลกเห็นว่าคนในแผ่นดินนี้ไม่ต้องการให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกล่าวถวายพระพร แต่ต้องการให้สุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวถวายพระพรแทนประชาชนทั้งหลาย"

"พรุ่งนี้เราจะได้เห็นกัน" สุเทพกล่าว สุเทพย้ำด้วยว่าวันที่ 5 ธ.ค. จะไม่พูด 1 วัน และหลังวันที่ 5 ธ.ค. จะเริ่มเคลื่อนไหวต่อเพื่อขจัดระบอบทักษิณ และจะประกาศเผด็จศึกในวันที่ 6 ธ.ค. นี้

สุเทพกล่าวในช่วงท้ายด้วยว่าหยุดปราศรัยด่ารัฐบาล 2 วัน พักรบให้ 2 วัน วันที่ 6 ลั่นกลองรบด้วยกัน เป็นการรบขั้นเผด็จศึก คนที่เตรียมมาสู้ยกสุดท้ายขอให้เตรียมตัวได้ และจะประกาศวิธีในคืนวันที่ 6 ธ.ค. จะประกาศวิธีเผด็จศึก และวิธีเดินทางเข้าไปรับชัยชนะ

ทั้งนี้หลังการปราศรัยในเวลา 20.12 น. บนเวทีมีการเปิดเพลงตื่นเถิดชาวไทย ซึ่งต่างจากวันก่อนที่เปิดเพลงตื่นเถิดไทย ที่ใช้หลังการปราศรัยตามปกติของเลขาธิการ กปปส.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต

Posted: 04 Dec 2013 03:38 AM PST

"คือชมมองว่าเสียงคนเรามันดังไม่เท่ากันสมมุติว่านายเอพูด กับดาราระดับซุปตาร์พูดใครจะฟังมากกว่ากันล่ะ แล้วสิ่งที่ชมเชื่อในวันนี้กับปีหน้าอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ถ้าเราพูดอะไรออกไปมันอาจจะมาผูกมัดตัวเราในอนาคตได้ อย่างเช่นชมเคยกาใบเลือกตั้งเลือกคนนี้ ต่อมาเราอาจจะรู้สึกว่าไม่น่าเลย อะไรแบบนี้ค่ะ"

3 ธ.ค.56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น