ประชาไท | Prachatai3.info |
- คำสั่ง กปปส. ฉบับที่ 2 ให้ยิ่งลักษณ์เป็นกบฎ ทหารรักษาสถานที่ราชการ
- สุเทพประกาศภาวะสุญญากาศ-ไม่มีรัฐบาล เรียกร้องนายกฯ ลาออกรักษาการ
- สุเทพหารือ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร ก่อนขึ้นปราศรัยช่วงค่ำ
- ธีรยุทธ บุญมี หนุน 'ปฏิวัตินกหวีด' แนะ กปปส.ขยายการมีส่วนร่วม สร้างฉันทามติ
- มีผู้ไม่พอใจเนื่องจากเห็นนายกรัฐมนตรียิ้มหลังจากร้องไห้แถลงข่าว
- การซื้อเสียงเป็นเพียงข้ออ้างไร้สาระที่อันตราย
- ถาม-ตอบ: นักวิชาการจะเอาคอรัปชั่น? เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้ จะให้ทำอย่างไร? ฯลฯ
- ยิ่งลักษณ์เธอ...ร้องไห้ทำไม???
- สหรัฐฯ แถลง หนุน 'กระบวนประชาธิปไตย' ในไทย เดินหน้าเลือกตั้ง
- สิทธิแห่งการลุกขึ้นสู้ : ก้าวใหม่ของการเมืองภาคประชาชน
- สื่อต่างชาติระบุ 'ไม่เชื่อเลือกตั้งเพราะการซื้อเสียง' เป็นเพียงข้ออ้าง
- สายชล สัตยานุรักษ์: ข้อเสนอในสถานการณ์ความขัดแย้ง
- 'สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย' แถลงไม่รับนายกแห่งชาติ
- วรเจตน์-เกษียร-ปิยบุตร: เหตุผลค้าน 'สภาประชาชน' หวั่นเกมนอกกติกานำสู่วิกฤตนองเลือด
- โฉมหน้าศักดินามหาวิทยาลัย กรณี ทปอ.กับสังคมประชาธิปไตย
คำสั่ง กปปส. ฉบับที่ 2 ให้ยิ่งลักษณ์เป็นกบฎ ทหารรักษาสถานที่ราชการ Posted: 10 Dec 2013 08:54 AM PST หลังครบเส้นตาย 'สุเทพ' ให้ ครม. ลาออกจากรักษาการ ล่าสุดมีคำสั่ง กปปส. ฉบับที่ 2 ให้ดำเนินคดียิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพวกในความผิดฐานกบฎ สั่งให้ตำรวจถอนกลับที่ตั้ง ให้ทหารดูแลสถานที่ราชการ ให้ผู้ชุมนุมติดตามความเคลื่อนไหวของ ครม. และพวก 10 ธ.ค. 2556 - หลังครบกำหนด 24 ชั่วโมง ที่เมื่อวานนี้สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ออกคำสั่ง "คำสั่งคณะกรรมการ กปปส.ฉบับที่ 1/2556" ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีลาออกจากการเป็นรักษาการนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ล่าสุดเมื่อเวลา 22.30 น. สุเทพ ได้ปราศรัยบนเวทีและอ่าน "คำสั่งของคณะกรรมการกปปส. ฉบับที่ 2/2556" ระบุว่า "ตามที่คณะกรรมการ กปปส. ได้ ขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีประกาศไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการและไม่แต่งตั้งบุคคลอื่นขึ้นรักษาการ ภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งคณะกรรมการ กปปส. ฉบับที่ 1/2556 อันเป็นการเปิดโอกาสให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก้าวลงจากอำนาจโดยละมุนละม่อม ทั้งที่ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ศ.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีได้สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ประกาศไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กระบวนการคืนอำนาจให้แก่มวลมหาประชาชนในการทำประชาภิวัฒน์เพื่อปฏิรูปประเทศไทยเป็นไปโดยราบรื่น แต่เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บังอาจอ้างว่า ตนมีอำนาจตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอยู่ อันเป็นการขัดขวางกระบวนการประชาภิวัฒน์ของประชาชน คณะกรรมการ กปปส. จึงออกคำสั่ง ดังนี้" "ข้อ 1 ให้มีการดำเนินคดีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพวกในความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 เนื่องจากได้กระทำการล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และอำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ อันถือเป็นความผิดอาญาร้ายแรงและจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยไม่สุจริตครั้งแล้วครั้งเล่า" "ข้อ 2 ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสั่งให้ตำรวจทุกหน่วยถอนกำลังกลับไปที่ตั้งปกติ และปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตามปกติ โดยให้ดำเนินการออกคำสั่งภายใน 12 ชั่วโมง นับแต่มีคำสั่งนี้" "ข้อ 3 คณะกรรมการ กปปส. เห็นว่า เจ้าหน้าที่ทหารเป็นหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด จึงขอให้เจ้าหน้าที่ทหาร ปฏิบัติหน้าที่รักษาสถานที่ราชการ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป" "ข้อ 4 ขอให้มวลมหาประชาชนติดตามพฤติกรรม ความเคลื่อนไหวของคนในตระกูลชินวัตร และบุคคลในคณะรัฐมนตรีที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิด ให้แสดงออกต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวในแนวทางสันติ อหิงสา เพื่อให้หยุดการกระทำที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและเจตจำนงของมวลมหาประชาชน สั่ง ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2556" สุเทพ ปราศรัยด้วยว่า คณะกรรมการ กปปส. ยังแน่วแน่ที่จะร่วมดำเนินการทุกอย่างทุกประการกับพี่น้องประชาชนจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น "การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" และระบุว่าจะร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยด้วยมือของประชาชน ทั้งนี้ช่วงหัวค่ำ สุเทพ ได้ประกาศว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโมฆะไปแล้ว ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ กปปส. ซึ่งพร้อมอภิวัฒน์ประเทศ และปราศรัยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ครม. ประธานวุฒิสภาลาออก เพื่อให้รองประธานวุฒิสภากราบบังคมทูลเสนอชื่อคนดีเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนในช่วงบ่ายวันนี้ มีรายงานว่าระหว่างเวลา 13.30 - 16.00 น. สุเทพ ได้เข้าหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ที่บ้านพักพลเอกประวิตร ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) นอกจากนี้ในช่วงเช้าขณะที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต รังสิมา รอดรัศมี อดีต ส.ส.สมุทรสงคราม นาถยา เบ็ญจศิริวรรณ อดีต ส.ส.กทม. บุณย์ธิดา สมชัย อดีต ส.ส.อุบลราชธานี ได้นำผู้ชุมนุม กปปส. จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมุ่งหน้าสโมสรทหารบกเพื่อประท้วงการประชุม ครม. เรียกร้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่มาถึงหลังจาก ครม. เลิกประชุมแล้ว (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุเทพประกาศภาวะสุญญากาศ-ไม่มีรัฐบาล เรียกร้องนายกฯ ลาออกรักษาการ Posted: 10 Dec 2013 06:45 AM PST สุเทพ เทือกสุบรรณประกาศว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโมฆะไปแล้ว ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ กปปส. ซึ่งพร้อมอภิวัฒน์ประเทศ และปราศรัยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ครม. ประธานวุฒิสภาลาออก เพื่อให้รองประธานวุฒิสภากราบบังคมทูลเสนอชื่อคนดีเป็นนายกรัฐมนตรี สุเทพปราศรัยเรียกร้องนายกรัฐมนตรี ครม. ประธานวุฒิสภาลาออกจากรักษาการ 10 ธ.ค. 2556 - เมื่อเวลา 20.10 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ได้ขึ้นปราศรัยที่แยกนางเลิ้ง ตอนหนึ่งกล่าวตอบโต้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่า "ไม่มีคนไทยไล่ทักษิณ แต่ทักษิณไปเองเพราะหนีคดี ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ไม่เลิกนิสัยนี้ อีกไม่ช้าไม่นานต้องหนีคดีไปอยู่กับพี่ชายเช่นเดียวกัน แล้วอย่าหาว่าคนไทยเนรเทศนะครับ ที่ผู้ชุมนุมตะโกนว่า "ออกไปๆ" หมายถึงให้ยิ่งลักษณ์ ออกจากตำแหน่ง ไม่ใช่ออกจากประเทศไทย" สุเทพปราศรัยต่อว่า สภาพความเป็นรัฐบาลหมดไปแล้ว ความเป็นนายกรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ ความเป็นคณะรัฐมนตรีจบไปแล้ว ตั้งแต่วันที่พวกคุณลุกขึ้นปฏิเสธไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญจึงโมฆะไปหมดแล้ว วันนี้ประชาชนลุกขึ้นทวงคืนอำนาจอธิปไตยอย่างชอบธรรมถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 เขาเอาคืนเพราะพวกคุณเอาอำนาจไปใช้เสียหาย จึงต้องเอาคืน "เมื่อความเป็นรัฐบาลหมดไป สิ้นสภาพไป ต้องถือว่าวันนี้ประเทศไทยไม่มีรัฐบาล ไม่มีคณะรัฐมนตรี จะต้องจัดการนายกรัฐมนตรีของประชาชน สภาของประชาชน คนไทยนั้นใจดีมีเมตตาให้โอกาสนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และ ครม. ให้ได้ส่งคืนอำนาจอธิปไตยให้เกิดความราบรื่น ไม่ต้องเกิดปัญหาหรือเรื่องวุ่นวายในประเทศ ทำให้สงบ เรียบร้อย ทำกันดีๆ แต่ยิ่งลักษณ์ไม่เข้าใจ เถียงคอเป็นเอ็นที่ได้คะแนนมาคนลงคะแนนให้ 14-15 ล้าน คนเดินขบวนไม่กี่ล้าน ดูสิแกแกล้งทำโง่ไปได้ คุณยิ่งลักษณ์ ครอบครัวคนไทยมี 4-5 คนเป็นอย่างน้อย คนที่เดินเป็นตัวแทนคนที่บ้านอีกสี่ห้าคน คุณยิ่งลักษณ์คูณไม่เป็นหรือไง" "เนื่องจากรัฐบาลไม่ชอบธรรม เราถึงได้ประกาศให้คุณยิ่งลักษณ์และคณะประกาศเสียเองว่าไม่ขอเป็นรัฐบาลรักษาการณ์โดยที่ประชาชนไม่ต้องบังคับ แต่คุณยิ่งลักษณ์อ้างว่ายุบสภาแล้ว ถอยแล้ว เห็นใจกันบ้าง ผมว่ามันถอยไม่พอ คุณยิ่งลักษณ์ต้องถอยอีก ถ้าไม่อยากให้ประชาชนรู้สึกเกลียดชังมากกว่านี้ ขอแนะให้คุณยิ่งลักษณ์ทำตามข้อเสนอ กปปส. ลาออกเสียจากการรักษาการ เพื่อให้มีการตั้งคนดีที่คนทั้งประเทศยอมรับ มาเป็นนายกรัฐมนตรีของประชาชน เพื่อให้เดินหน้าเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยตามเจตนารมณ์ของประชาชน นั่นแหละถึงจะเรียกว่าถอย" "ถอยแบบยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แล้วอยู่ปาร์ตี้ลิสต์ใหม่ลำดับหนึ่ง เขาเรียกว่าถอยเพื่อมากินต่อ โกงต่อ เขาไม่เอา คุณทำตัวไร้เดียงสา โง่เขลาเบาปัญญาได้ แต่ประชาชนรู้เท่าทันพวกคุณหมดแล้วทั้งประเทศไทย คุณยิ่งลักษณ์ออกมาบอกว่า 'ไม่ได้ ลาออกจากรักษาการณ์ไม่ได้ เดี๋ยวหาว่าละทิ้งหน้าที่' ดังนั้นวันนี้ต้องว่าเสียหน่อย ที่บอกว่าไม่มีกฎหมายเขียน ไม่มีกฎหมายบัญญัติเอาไว้ว่าให้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ก็ตอนเขาร่างรัฐธรรมนูญ เขานึกไม่ถึงยังไงละครับว่ามีนายกรัฐมนตรีทำความเลวเสียหาย จนประชาชนทั้งประเทศทนไม่ได้ยังไงล่ะครับ คุณชัยเกษม นิติสิริ ผมจะบอกให้ว่านี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ ไม่ต้องเปิดตำรามาตอบ นี่เป็นสถานการณ์พิเศษไม่เคยคาดคิดในกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ แต่มีประเพณีปฏิบัติเมื่อปี 2516 เมื่อเกิดเหตุการณ์ลุกฮือเดินขบวน แล้วเกิดเหตุ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นจอมพลถอนม ลาออก แล้วไม่รักษาการ ไปต่างประเทศเลย ผมต้องยกย่องจอมพลถนอมนะครับ ใหญ่โตมาก มีอำนาจในมือ มีเหตุร้ายเกิดขึ้นนักศึกษาเสียชีวิต จอมพลถนอมลาออก ไม่รักษาการ ไปต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศสงบเรียบร้อยลง" "แล้วรองประธานสภานิติบัญญัติขณะนั้นนำความกราบบังคมทูลฯ ว่า สภานิติบัญญัติเห็นสมควรให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี นี่เขามีประเพณีปฏิบัติ เหตุการณ์นั้นคือเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ไม่ใช่เหตุการณ์ธรรมดา วันนั้นไม่มีกฎหมายเขียนเอาไว้ ที่คุณชัยเกษมเอามาอ้างนั้นขอตอบว่าเขาเคยทำมาแล้ว และผ่านพ้นมาด้วยดี" "นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์อย่ามาเถียงข้างๆ คูๆ ลาออกไม่ได้เดี๋ยวผิดฐานละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ แม่ทูนหัวช่วยลาออกเสียทีเถิด เอาอย่างนี้ไหมล่ะ นายกรัฐมนตรี ครม. ลาออกรักษาการทั้งคณะไปเลย แล้วให้ประธานวุฒิสภาออกไปด้วย เพราะคนนี้เป็นขี้ข้า เหลือรองประธานวุฒิสภาใช้ได้ ให้รองประธานวุฒิสภากราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวขอเสนอชื่อคนดีเป็นนายกรัฐมนตรี" สุเทพกล่าว
กปปส.ประกาศนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโมฆะ และขอให้ประชาชนมั่นใจในรัฏฐาธิปัตย์ของ กปปส. ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 19.10 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ขึ้นเวทีที่แยกสวนมิสกวันอ่านประกาศ กปปส. ฉบับที่ 1/2556 เรื่อง"ความเป็นโมฆะของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.)" ระบุว่า "ตามที่ศาล รธน. ได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พ.ย.2556 ความว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ที่มา ส.ว. มีสาระสำคัญ ขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ2550 อันเป็นการทำให้ผู้ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ฝ่าฝืนมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วนั้น หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในฐานะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทน ประธานวุฒิ ส.ส. ส.ว. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งดังกล่าวได้แถลงไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ "ประกอบกับนายกฯ ได้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ทั้งที่มีเนื้อหาและกระบวนการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรค 5 ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ให้ต้องปฏิบัติตามเป็นเด็ดขาด" "และต่อมาวันที่ 9 ธ.ค 2556 นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยยังไม่ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งมาตรา 108 บัญญัติให้เป็นพระราชอำนาจ นับเป็นการกระทำอันล่วงละเมิดพระราชอำนาจอย่างชัดแจ้งที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำอีกดังปรากฏตามคำแถลงการณ์ของสภาทนายความ" "การกระทำทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นถือได้ว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและพรรคร่วมรัฐบาลได้ร่วมกันจงใจกระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริตและตั้งตนเหนือรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้รัฐบาลชุดนี้ตกเป็นโมฆะนับแต่วันที่ประกาศไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการจงใจล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริตดังกล่าว มีความร้ายแรงถึงขนาดไม่อาจให้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจในนามของประชาชนได้อีกต่อไปดังนั้น แม้นายกฯ ได้ประกาศยุบสภาไปแล้ว ก็ไม่ส่งผลให้รัฐบาลที่สิ้นสภาพไปแล้วรักษาการต่อไปได้" "เมื่อกรณีเป็นไปตามความดังกล่าวข้างต้น จึงถือได้ว่าในเวลานี้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะสูญญากาศเนื่องจากไม่มีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกต่อไปแล้ว จึงชอบที่จะต้องมีการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยการจัดให้มีนายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนทั้งประเทศยอมรับ เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยตามเจตจำนงของมวลมหาประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนได้มั่นใจกับหลักการประชาภิวัฒน์ ด้วยวิธีสงบ สันติ อหิงสาต่อไป และเชื่อมั่นในความเป็นรัฏฐาธิปัตย์แห่งมวลมหาชนประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงและได้ทวงกลับคืนมาไว้ได้โดยสิ้นเชิงและพร้อมที่จะประชาภิวัฒน์ประเทศไทยโดยเร็วต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 10 ธ.ค. 56 ลงชื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส."
สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อนึ่งในช่วงบ่าย มีรายงานว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เข้าหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ที่บ้านพักพลเอกประวิตร ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยในเวลา 13.30 น. มีการส่งรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า พราโด้ ไปรับนายสุเทพที่จุดนัดหมายเพื่อเข้ามาภายใน ร.1 รอ. จากนั้นได้ให้รถยนต์คันเดิมกลับออกไปในเวลาประมาณ 16.00 น. (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุเทพหารือ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร ก่อนขึ้นปราศรัยช่วงค่ำ Posted: 10 Dec 2013 05:07 AM PST 10 ธ.ค. 56 - ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้เข้าหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ที่บ้านพักพลเอกประวิตร ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ก่อนที่สุเทพจะขึ้นปราศรัยในช่วงเวลา 19.30 น.ของวันนี้ ทั้งนี้คมชัดลึกรายงานว่า ในเวลา 13.30 น. มีการส่งรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า พราโด้ ไปรับนายสุเทพที่จุดนัดหมายเพื่อเข้ามาภายใน ร.1 รอ. จากนั้นได้ให้รถยนต์คันเดิมกลับออกไปในเวลาประมาณ 16.00 น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธีรยุทธ บุญมี หนุน 'ปฏิวัตินกหวีด' แนะ กปปส.ขยายการมีส่วนร่วม สร้างฉันทามติ Posted: 10 Dec 2013 04:57 AM PST 10 ธ.ค.2556 ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการ สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงท่าทีต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ในหัวข้อ "การปฏิวัตินกหวีด มองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า ตนเองสนับสนุนแนวทางการปฏิวัติของประชาชน เพราะเป็นพัฒนาการอีกขั้นของการตระหนักถึงสิทธิอำนาจของประชาชน อยากให้ประสบความสำเร็จ ให้มวลมหาประชาชนกว่า 2 ล้านคนได้สมหวัง โดยมีข้อเสนอต่อ กปปส. ประกอบด้วย การให้เวลาคนกลุ่มต่างๆ ครุ่นคิด ทำความเข้าใจ กปปส. โดยกระบวนการเกิดนโยบายหรือการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการปรึกษาหารือเพื่อสร้างฉันทามติอย่างกว้างขวางจริงใจ จากนั้นอาจต้องผ่านประชามติและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจริงๆ โดยเร็วที่สุด ธีรยุทธ เสนอด้วยว่า การจะได้มาซึ่งอำนาจอธิปัตย์โดยเฉพาะการยอมรับจากประมุขประเทศ และการสนับสนุนถึงขั้นให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน มารายงานตัว ยังต้องอาศัยการยอมรับ ความไว้วางใจในเจตจำนงทางการเมือง อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง บุคลิกท่วงทำนองประชาธิปไตย การเคารพซึ่งกันและกัน การอดทนต่อความแตกต่าง บุคคลเข้าร่วมหรือพร้อมจะเข้าร่วมที่มีคุณวุฒิ มีความสามารถด้านต่างๆ มาประกอบ โดยรวมถึงตัวแทนรากหญ้า ผู้นำปัญญาชนการเมืองท้องถิ่นทุกจังหวัดด้วย อย่างไรก็ตาม ธีรยุทธ ระบุว่า โครงสร้างแนวร่วมประชาภิวัฒน์ที่ควรจะเป็นการต่อสู้ครั้งนี้อาจไม่บรรลุชัยชนะ หรือเราอาจผิดหวังกับผลงานของผู้ที่จะทำงานให้กับประชาชนในอนาคต แต่ที่สำคัญที่สุดคือได้เกิดประสบการณ์การใช้สิทธิอำนาจของประชาชน พลังที่แท้จริงของภาคประชาชน อำนาจต่อรองกับอำนาจการเมืองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก และถ้ารักษาพลังนี้ได้เราก็อาจได้แนวร่วมของขบวนการตรวจสอบภาคการเมืองต่อต้านคอร์รัปชั่นที่เข้มแข็งของประเทศในอนาคตได้ กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า ตอนหนึ่ง ธีรยุทธตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่า มองทางออกของประเทศอย่างไร เมื่อข้อเสนอของ กปปส.ถูกท้วงติงว่าไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยธีรยุทธ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมองทางออกของประเทศขณะนี้ไม่ชัด ว่าจะไปทางไหน เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและผู้ที่มีอำนาจ จะต้องมานั่งพูดกัน เพื่อหาทางออกให้ประเทศ โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจมากที่สุด แต่ตนไม่เห็นด้วยหากจะมีการใช้กระบวนการซิกแซกทางกฎหมายที่ซับซ้อน และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาแก้ปัญหานี้
การปฏิวัตินกหวีด มองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย 1. คนไทยจะปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้านได้ไหม? ประเทศไทยเลยเวลาที่จะปฏิรูปมาเนิ่นนานแล้ว เพราะ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีผู้ไม่พอใจเนื่องจากเห็นนายกรัฐมนตรียิ้มหลังจากร้องไห้แถลงข่าว Posted: 10 Dec 2013 04:50 AM PST หลังนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวและมีน้ำตาคลอหลังจากตอบคำถามกรณีแกนนำชุมนุมปราศรัยขับไล่ตระกูลชินวัตร ล่าสุดสื่อหลายฉบับรายงานว่ามีผู้ไม่พอใจเนื่องจากหลังแถลงข่าวนายกรัฐมนตรียิ้ม นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวหลังประชุม ครม. 10 ธ.ค. 2556 (ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์) 10 ธ.ค. 2556 - กรณีที่เช้าวันนี้ (10 ธ.ค.) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม แถลงข่าวหลังประชุม ครม. ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต และตอบคำถามกรณีที่มีผู้ปราศรัยขับไล่ตระกูลชินวัตรและมีน้ำตาคลอว่า "ดิฉันไม่ใช่ไม่มีความรู้สึก ดิฉันได้ฟังมาตลอดกับการร้องขอกับผู้ชุมนุม การที่กล่าวถึงทั้งตระกูลนั้น ดิฉันก็ถือว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน จะถึงขนาดไม่ให้เหยียบอยู่ในแผ่นดินไทยเลยหรือ เราจะเป็นกันอย่างนี้หรือ ดิฉันถอยไม่รู้ว่าจะถอยอย่างไรแล้ว ก็ขอความเป็นธรรมด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ" (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ภาพนายกรัฐมนตรีหันมามองกล้องหลังการแถลงข่าววันที่ 10 ธ.ค. โดยผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจเนื่องจากเห็นว่านายกรัฐมนตรียิ้ม (ที่มา: เนชั่นทีวี) ล่าสุดนั้น มีผู้แสดงความไม่พอใจการแถลงข่าวที่นายกรัฐมนตรีมีน้ำตาคลอ เนื่องจากลังจากสิ้นสุดการแถลงข่าวนายกรัฐมนตรีได้ยิ้ม โดย โพสต์ทูเดย์ รายงานโดยพาดหัวข่าวว่า "ชาวเน็ตโพสต์คลิปปูยิ้มร่าหลังแถลงน้ำตาคลอ" อยู่ในหมวดข่าวการเมือง ส่วน เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ได้พาดหัวข่าวว่า "ชาวเน็ตจวกช่อง 9, ช่อง 11 ทาสรัฐบาล เผยคลิปจับผิดวินาที "ปู" ยิ้มร่าหลังแหลบีบน้ำตา" พาดหัวรองว่า " โลกออนไลน์จวกโมเดิร์นไนน์ฯ ช่อง 11 ไม่ทำหน้าที่สื่อ หลังทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์วันวานที่ผ่านมา พร้อมโพสต์คลิปจับผิดวินาที "ปู ยิ่งลักษณ์" เล่นละครบีบน้ำตาขอความเห็นใจ แต่พอแถลงเสร็จกลับสะบัดก้นเดินยิ้มร่า" โดยลงในหมวดข่าวบันเทิง สำหรับภาพที่ทำให้มีผู้แสดงความไม่พอใจดังกล่าว ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบว่าเป็นภาพหลังการแถลงข่าว โดยนายกรัฐมนตรีซึ่งหันหลังกลับเข้าอาคารของสโมสรทหารบกไปแล้ว ได้หันกลับมามองกล้อง ทั้งนี้ เมื่อวานนี้ (9 ธ.ค.) สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุม กปปส. ได้เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ โดยในการแถลงข่าวยิ่งลักษณ์ตอบว่า ได้ทำตามกรอบรัฐธรรมนูญกำหนด ที่ให้ทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งวันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ ขอให้ประชาชนปกป้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ รวมถึงไม่ให้มีการก้าวล่วงพระราชอำนาจ และเรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมหยุดเคลื่อนไหว และใช้กลไกของการเลือกตั้ง ส่วนจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ รอปรึกษากับทางพรรคอีกครั้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การซื้อเสียงเป็นเพียงข้ออ้างไร้สาระที่อันตราย Posted: 10 Dec 2013 04:50 AM PST การอ้างว่ารัฐบาลปัจจุบันไม่มีความชอบธรรมเพราะชัยชนะจากการเลือกตั้งของพวกเขามาจากการซื้อเสียงนั้นถูกกู่ร้องก้องตะโกนมาจากเวทีประท้วงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ข้ออ้างเช่นนี้ถูกกล่าวซ้ำในบทความหลายชิ้นในบางกอกโพสต์ก่อนหน้านี้ และปรากฏเป็นความเห็นทั่ว ๆ ไปของผู้เขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ และมันเป็นเรื่องไร้สาระ ไร้สาระและอันตราย ในช่วงแรกของประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะยัดเงินให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อสร้างข้อผูกมัด ครั้นเมื่อผู้เลือกตั้งรับน้ำใจจากผู้สมัครแล้ว คงดูเป็นการเสียมารยาทหากไม่ทดแทนน้ำใจงาม ๆ ด้วยการลงคะแนนให้ แต่การแลกเปลี่ยนที่ไร้เดียงสาเช่นนี้ไม่ได้มีอายุยืนยาวนัก หลังจากนั้นไม่นาน ประชาชนย่อมเรียนรู้ว่าพวกเขาสามารถรับเงินจากผู้สมัครทุกคน และยังคงกาบัตรเลือกตั้งของตัวเองได้ตามแต่ใจนึก อย่างไรก็ดี จนกระทั่งถึง ต้นทศวรรษ 2540 ประชาชนทั่วไปยังไม่ได้สนใจการเลือกตั้งมากนัก ในช่วงเวลานั้น พวกเขาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสามถึงสี่ปี โดยเลือกจากรายชื่อบรรดานักธุรกิจร่ำรวยที่ไม่ได้ทำอะไรให้พวกเขามากเท่าไหร่ พวกเขาเห็นค่าคะแนนเสียงของตัวเองเพียงน้อยนิด จึงขายมันเพื่อแลกกับเงิน หรือสาธารณูปการบางอย่าง อาทิ น้ำประปาหรือการตัดถนน การเมืองของการเลือกตั้งไม่ได้เป็นเรื่องตื่นระทึกจนหายใจรดต้นคอหรือทำให้หัวใจตกไปอยู่ใต้ตาตุ่ม ทุก ๆ ครั้งที่มีการเลือกตั้งทั่วไป กระทรวงมหาดไทยต้องออกมารณรงค์โน้มน้าวให้คนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างน่าประทับใจเมื่อช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ ด้วยหลักปฏิบัติใหม่ ๆในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของกลไกการกระจายอำนาจให้กับรัฐบาลท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้คนเริ่มไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากขึ้นและไม่ได้เลือกตั้งเพียง ส.ส. อย่างเดียวทุก ๆ สองสามปี พวกเขาไปใช้สิทธิ์กันถึงปีละสองสามครั้งเพื่อเลือก ส.ว. ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาตำบล และกำนัน ในการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ ประชาชนมักจะเลือกผู้สมัครที่ตัวเองรู้จัก และสามารถเห็นผลของการเลือกของพวกเขาได้อย่างชัดเจน การให้การศึกษาถึงเรื่องคุณค่าและอำนาจของคะแนนเสียงด้วยวิธีเช่นนี้มีความรวดเร็วและหยั่งลึก และทักษิณก็แสดงให้ประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งนั้นส่งผลในระดับชาติได้เช่นกัน กระทรวงมหาดไทยไม่ต้องรณรงค์ให้คนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอีกต่อไป เนื่องจากคนที่ออกมาใช้สิทธิ์เมื่อสองสามครั้งที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่าร้อยละเจ็ดสิบ ถือว่าสูงกว่าประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาแล้วเสียอีก ระหว่างการประท้วงของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ผู้หญิงคนหนึ่งกล่าวกับผู้วิจัยถึงสาเหตุในการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ว่า "คนกรุงเทพมีชีวิตความเป็นอยู่ดีแล้ว พวกเขาจึงไม่ต้องการการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แต่เราต้องการ" การซื้อเสียงอาจยังไม่ได้หายไปไหน เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง ผู้สมัครบางท่านอาจยังต้องให้เงิน เนื่องจากกลัวจะถูกมองว่าเป็นคน "ขี้งก" หรือ "ไม่มีน้ำใจ" แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นคือเงินนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ชี้ขาดผลการเลือกตั้งอีกต่อไปแล้ว ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2554 แบบแผนของการเลือกตั้งมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ในพื้นที่ขนาดใหญ่แต่ละส่วนของประเทศ เขตการเลือกตั้งที่ติดกัน ส.ส. ที่มาจากพรรคเดียวกันมักชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสาน ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะขาดด้วยเสียงสนับสนุนมากกว่าร้อยละหกสิบ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนน้อยกว่าร้อยละสิบ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พรรคเพื่อไทยชนะด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละห้าสิบ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ประมาณร้อยละยี่สิบเท่านั้น ในภาคใต้ (ยกเว้นบริเวณใต้สุดที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่) พรรคประชาธิปัตย์ชนะด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละหกสิบ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยชนะด้วยคะแนนต่ำกว่าร้อยละสิบ แบบแผนเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณคิดว่าการซื้อเสียงเป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้ง ประเด็นคือ พรรคการเมืองจะซื้อเสียงเกินจำนวนคะแนนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อชนะการเลือกตั้งขนาดนั้นไปทำไม สมัยที่การซื้อเสียงส่งผลจริง ๆ เมื่อ 30 ปีก่อน แบบแผนของผลการเลือกตั้งนั้นผิดแผกแตกต่างออกไปอย่างมาก สิ่งที่เราเห็นจากแบบแผนของปี 2554 คือผลการเลือกตั้งที่มีฐานมาจากสำนึกร่วมกันของคนจำนวนมาก ข้ออ้างผิด ๆ เกี่ยวกับการซื้อเสียงในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญของการรณรงค์เพื่อทำให้ประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอลง ปัญหาที่แท้จริงคือประชาชนที่เข้าใจคุณค่าของคะแนนเสียงกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังใช้มันเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขาเอง
หมายเหตุ: ศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก พงไพจิตร เป็น ศาสตราจารย์กิตติคุณของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Christ Baker เป็นนักประวัติศาสตร์ เป็นนักวิชาการที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ และเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองและเศรษฐกิจไทยร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ภาคิน นิมมานนรวงศ์ กำลังศึกษาปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธรรมชาติ กรีอักษร กำลังศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถาม-ตอบ: นักวิชาการจะเอาคอรัปชั่น? เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้ จะให้ทำอย่างไร? ฯลฯ Posted: 10 Dec 2013 04:49 AM PST
10 ธ.ค.56 ภายหลังการแถลงข่าวและการออกแถลงการณ์ของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) นำโดยนักวิชาการกว่าร้อยคน มีการตั้งคำถามและตอบคำถามที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้ เกษียร เตชะพีระ ประเด็นที่ถามว่า ทำไมที่ประชุมนี้ไม่พูดถึงประเด็น abuse of power หรือ corruption พูดง่ายๆ อันนี้เป็นปัญหา tyranny of the majority ปัญหานี้มีอยู่จริงและผมคิดว่ามีคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะที่มาร่วมชุมนุมคิดว่านี่เป็นปัญหาหลักของเขา และการที่ออกมาเดินขบวนแทบจะยึดกรุงเทพฯ ทั้งหมด และไม่คิดว่าการเลือกตั้งเป็นคำตอบของเขาด้วยนั้นเพราะเขารู้สึกว่าพวกเขาไปเลือกตั้งทีไรแพ้การเลือกตั้งทุกที เพราะเขาเป็นเสียงข้างน้อย (ผู้ฟังปรบมือ) ที่เลือกตั้งทุกครั้งแล้วแพ้เลือกตั้ง เท่ากับไปพิสูจน์ว่าเขาไม่มีอำนาจ เขารู้สึกว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยในสิ่งที่เป็นปัญหา ปัญหานั้นมีอยู่จริง ทั้งกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจและกระบวนการใช้อำนาจ ปัญหาหลักใหญ่ของพรรคการเมืองไทยคือ "อำนาจทุน" อยู่เหนือ "อำนาจมวลชน" และอำนาจสมาชิกพรรค และไม่เคยมีกลไกกระบวนการที่จำกัดอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคการเมือง ไม่มีใครหยิบยกเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นปัญหาประชาธิปไตยที่อื่นด้วย และในที่สุดเราจะต้องติดตั้งกลไกต่างๆ ที่จะจำกัดอำนาจนายเงินนายทุนลง ไม่ให้ไปซื้อพรรคหรือคุมพรรคทั้งหมด กระบวนการนี้ไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน และที่สำคัญกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้และมั่นคงได้ต้องช่วยกันทำในกรอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หวังว่าจะมีเทวดาที่ไหนลงมาติดปืนยึดอำนาจรัฐ สร้างมันขึ้น มันไม่มี(ผู้ฟังปรบมือ) รวมทั้งปัญหาทุจริตคอรัปชั่นต่างๆ ผมเข้าใจว่าหลายคนอยากให้ปัญหาพวกนี้ที่มันอันตราย มันเลวร้ายหมดไปในเร็ววัน ไม่มีประเทศไหนในโลกไม่มีปัญหาคอรัปชั่น ต่อให้เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่สุดก็ตาม แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยใช้ประชาธิปไตยจำกัดคอรัปชั่นลง (ผู้ฟังปรบมือ) ไม่ใช่โดยการทำลายประชาธิปไตยเพื่อจะหยุดคอรัปชั่นบางอย่าง แล้วปล่อยให้คอรัปชั่นบางอย่างเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ คุณสุเทพต้องการหยุดคอรัปชั่นของทักษิณกับพรรคพวก ถ้ามี คุณสุเทพต้องการหยุดคอรัปชั่นของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ถ้ามี คำถามคือ โดยผ่านการมอบอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ให้คุณสุเทพนั่นหรือ (ผู้ฟังปรบมือโห่ร้อง) แล้วถ้าคุณสุเทพคอรัปชั่นล่ะ แล้วถ้าคุณสุเทพกับพรรคประชาธิปัตย์คอรัปชั่นล่ะ แล้วถ้าคุณสุเทพ พรรคประชาธิปัตย์กับกอทัพคอรัปชั่นล่ะ ประชาชนไทยจะหยิบเครื่องมืออะไรไปตรวจสอบคุณสุเทพ เพราะคุณสุเทพรวบอำนาจไว้หมดแล้ว(เสียงปรบมือ) เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำเร็จความอยากทางอำนาจได้ในเวลาอันสั้น เป็นเรื่องที่คนไทยต้องช่วยกันทำ แล้วอย่าคิดว่าคนไทยนอกกรุงเทพออกไปเขาไม่ได้แบ่งแยกระหว่างนักการเมืองดีเลว เขาไม่ได้แบ่งแยกระหว่างคอรัปชั่นไม่คอรัปชั่น เขาแบ่งแยกครับ ผมมีนักศึกษาเพิ่งไปทำวิทยานิพนธ์สัมภาษณ์ชาวบ้านในเขตภาคอีสานมา เขารู้ว่านักการเมืองคนไหนเลวหรือดี เขารู้ว่านักการเมืองคนไหนคอรัปชั่นไม่คอรัปชั่น เพียงแต่เขาไม่อยากไม่เหมือนเรา และถ้าเขาคิดว่าถ้านักการเมืองคนนี้เลวและคอรัปชั่น เขาไม่เลือก เพียงแต่เขาคิดไม่เหมือนเรา(เสียงปรบมือ) การไม่เริ่มบทสนทนา ไม่ยอมให้เขามีสิทธิมีเสียงมีปากในการคุย แล้วยัดคำนิยามเรื่องดีเลว คอรัปชั่นไม่คอรัปชั่นของคนเมืองใส่เข้าไปในชนบท ไม่เวิร์ค เขาไม่รับ (เสียงปรบมือโห่ร้อง) เขาคิดได้ ไม่น้อยกว่าเรา เพียงแต่เขาคิดไม่เหมือนเรา การที่เขาคิดไม่เหมือนกับเรา ไม่ได้แปลว่าเขามีความเป็นคนหรือเป็นคนไทยน้อยกว่าเรา ถ้าอันนี้เราไม่รับ ไม่มีทางที่บ้านเมืองจะออกอย่างสันติได้(เสียงปรบมือ) ยังมีกลไกอะไรในระบบไหมที่จะไปหยุดการ abuse of power ของเสียงข้างมาก คือผมยอมรับว่ากลไกเหล่านี้ด้อยพัฒนา และเท่าที่มีอยู่ตอนนี้ก็สร้างขึ้นโดยคณะรัฐประหาร ที่น่าเศร้าก็คือเพราะมันมีที่มาแบบนั้น ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. มันจึงด่างพร้อยและคนไม่เชื่อถือ คำถามคือที่มาก็มีปัญหาว่ามาจากอำนาจเสียงข้างมาก มาจากประชาชนเลือกหรือเปล่า ดังนั้นเราต้องการไหมกลไกที่จะหยุดทรราชย์ของเสียงข้างมาก หยุดการฉวยใช้อำนาจ เราต้องการ แต่เราต้องสร้างมันขึ้นมาเอง แล้วเชื่อผมเราทำได้ (เสียงปรบมือโห่ร้อง) จำไม่ได้หรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหมาเข่ง ออกมาจากสภาอย่างน่าเกลียดที่สุด มวลชน นปช. ค้าน บรรดานักวิชาการจำนวนมากซึ่งพยายามจะปกป้งประชาธิปไตยค้าน พรรครัฐบาลไม่ฟังผ่านจากสภาออกมา แต่พอมวลชนออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้ มันหยุดไหม เสียงข้างมากในสภากล้าไหมล่ะ (เสียงปรบมือโห่ร้อง) เราสามารถอาศัยพื้นที่ในระบอบประชาธิปไตย สามารถอาศัยกลไกที่เรามีในระบอบหยุดมันได้ เพียงแต่ที่น่าเสียใจคือมันเหนื่อยใช่ไหม เราต้องไปชุมนุมกว่าจะหยุดมันได้ ทำไมเราไม่คิดกลไกอื่นๆ ขึ้นมาเพื่อหยุดมัน เช่น ให้มีประชามติแทน ถ้ากฏหมายเฮงซวยแบบนี้ออกมาไม่ต้องไปเดินขบวน ไม่ต้องไปยึดอำนาจ ไม่ต้องไปยึดสถานที่ราชการ ลงประชามติเลยว่ากฏหมายเฮงซวยแบบนี้ กูไม่เอา (เสียงปรบมือโห่ร้อง) บ้านเมืองไม่เสียหาย ไม่ต้องเสี่ยงกับอนาธิปไตย ไม่ต้องมีใครตายฟรีแม้แต่คนเดียว (เสียงปรบมือ) ถ้าเราเดินเส้นทางผิดจะมีคนตายฟรีไปเรื่อยๆ และไม่แก้ปัญหา มันน่าเศร้าที่สุดตรงนี้
ประจักษ์ ก้องกีรติ เราสื่อสารกับคนที่ไปร่วมชุมนุมด้วยเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า ท้ายสุดแล้วข้อเสนอใดๆ ก็ตามที่เสนอออกมามันไม่มีทางที่จะทำขึ้นได้ ตราบเท่าที่ไม่ได้รับความเห็นชอบและยินยอมพร้อมใจจากประชาชนทั้งประเทศ คุณอาจตั้งขึ้นได้ ตั้งเสร็จแล้วคุณจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วจะมีประชาชนจำนวนมากที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งที่คุณเสนอขึ้น เขาก็จะออกไปโค่นล้มและล้มล้างสิ่งที่คุณสร้างอยู่ดี เพราะฉะนั้นเพื่อทำให้ข้อเสนอนี้เป็นไปได้ มันก็ต้องดันกลับมาให้สังคมได้ถกเถียงกัน อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่เราสื่อสารด้วยก็คือกลุ่มคนที่เป็นประชาชนทั้งสังคม ซึ่งเรายังเชื่อว่าสังคมไทยมีสติ ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังมีสติอยู่และพร้อมที่จะรับฟังข้อเสนอที่เป็นทางออกที่ยังอยู่ในกติกาที่รักษาประชาธิปไตยไว้ และไม่ต้องให้มีใครมาตายฟรีอย่างที่อาจารย์เกษียรเสนออีก (ผู้ฟังปรบมือ)
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ขอพูดประเด็นคอร์รัปชั่นนิดหนึ่ง อาจารย์เกษียรตอบประเด็นนี้ไปก็สมบูรณ์แล้ว แต่คือผมสงสัยว่า เรายังมีประสบการณ์หาคนกลางเข้ามาไม่พออีกหรือประเทศนี้ (ผู้ฟังหัวเราะปรบมือ) เราลืมแล้วหรือว่าก่อน 19 ก.ย.49 เกิดอะไรขึ้น แล้วข้ออ้างที่ทหารออกมาทำรัฐประหารคืออะไร แล้วหลังรัฐประหารเสร็จแล้วเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้นมันดีขึ้นไหม แล้วงบประมาณลับที่ใช้ไปในการทำรัฐประหารทุกวันนี้มีใครรู้ไหม แล้วจะมีโอกาสได้รู้ไหม เวลาที่เราพูดเรื่องคอร์รัปชั่น มันเป็นปัญหา ไม่มีใครบอกว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ดี ทุกคนก็ต่อต้านทั้งนั้น เพียงแต่ว่าวิธีการจัดการกับปัญหานี้คุณทำอย่างไร คุณคิดว่าออกมาเดินแบบนี้ ตั้งสภาประชาชนขึ้นมาเสร็จปุ๊บ ประเทศจะใสสะอาดจากคอร์รัปชั่นกระนั้นหรือ ถ้ามันทำอย่างนั้นได้ ผมคิดว่าเขาทำกันทั้งโลกแล้วครับ (ผู้ฟังปรบมือ) ไม่มีใครใช้กลไกประชาธิปไตยหรือ ที่อดทน รอคอยให้กระบวนการตรวจสอบมันเดิน บางประเทศใช้วิธีนี้ด้วยเวลาเป็น 10 ปี 20 ปี เอาตัวคนที่ทุจริตคอร์รัปชั่นมาลงโทษ มันมีกลไกของมันเอง ผมจะไม่มีปัญหาเลยถ้าเกิดมีข้อเรียกร้อง เช่น เรียกร้องให้ปฏิรูปโครงสร้างของนักการเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่ถูกครอบงำโดยใครคนใดคนหนึ่ง การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชนต้องมีส่วนในการกำหนดผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันนี้คือสิ่งที่เราต้องทำให้มันเกิดขึ้น และนี่คือจุดที่ผมว่าไม่ต่างกัน แต่วิธีการที่ทำอยู่มันไม่ทำให้เกิดผลสำเร็จหรอก คุณกำลังเอาอำนาจไปมอบให้ใครก็ไม่รู้ และที่สำคัญ ไม่รู้ด้วยว่าในใจคุณสุเทพคิดอะไรอยู่ ผมนั่งคิดตลอดเวลาว่าเขาคิดอะไรของเขาอยู่ เขาต้องการให้โฉมหน้าประเทศเป็นอย่างไรกันแน่ สมมติว่าการกระทำของเขาสำเร็จ เขาจะเปลี่ยนอะไรบ้าง จริงๆ ผมคิดว่าผมมีคำตอบอยู่ในใจเหมือนกัน แต่ผมไม่แน่ใจในคำตอบนี้และผมว่าคำตอบนี้บางทีอาจจะพูดได้ไม่หมด ผมคิดว่ามีบางอย่างอยู่ในใจซึ่งไม่ใช่อย่างที่เขาบอกว่าเป็นเรื่องคอร์รัปชั่น มันมีมากกว่านั้นในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองขนาดใหญ่ของประเทศนี้ มันมีมากไปกว่านั้นอย่างแน่นอน ประเด็นที่ถามว่า ถ้าเกิดไปเลือกตั้งแล้วมีการซื้อเสียง ความจริงคุณประวิตรอาจจะลืมถามไปอีกคำถามหนึ่ง เติมให้เลยนะ คือ มีคนจำนวนหนึ่งบอกว่าไม่ไปเลือกตั้ง เพราะจะมีการโกงการเลือกตั้งอีก ได้รัฐบาลโกง มาโกงทั้งโคตรอีก คำถามคือ ประสบการณ์การโกงของแต่ละคนเป็นตัวบ่งชี้ทั้งหมดหรือว่า ประเทศนี้คนทั้งประเทศถูกซื้อเสียงแล้ว ผมว่าถ้าคนทั้งประเทศนี้ถูกซื้อเสียงแล้ว ระดับทุนของอีกฝ่ายหนึ่งมันต้องมากพอจะซื้อได้มากกว่าอย่างแน่ๆ แต่เพราะมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นไงครับ แล้วไม่คิดบ้างหรือว่าประชาชนยืนยันเจตจำนงซ้ำกี่ครั้ง ปี 44 ปี 48 ปี 49 ปี 50 ปี 54 มันซ้ำจนชัดเจนแล้วว่าเขาต้องการอะไร ปัญหาของบ้านเราตอนนี้คือการไม่เคารพเจตจำนงของประชาชน (ผู้ฟังปรบมือ) เราไม่รู้จะเอาอะไรมาพูดเรื่องการโกงการเลือกตั้ง ปี 49 กกต.ไม่เป็นกลาง เอากลไกทางกฎหมายไปจัดการ กกต.แล้วไม่ให้ประกันตัวและออกจากตำแหน่ง จนจะจัดการเลือกตั้งอีกทีก็รู้ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นแบบเดิม จึงรัฐประหารกัน เที่ยวนี้จะเอาอีก คาดหมายว่าผลการเลือกตั้งจะไม่เป็นอย่างที่ตัวเองต้องการ ใช้วิธีการต่างๆ อีก เป้าหมายที่อยากจะสื่อไปชัดๆ อีกกลุ่มคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวมทั้งแวดวงนักวิชาการทั้งหลาย ถามว่ามองไม่ออกหรือว่าถ้าหากมีสภาประชาชน คนเหล่านี้จะไปนั่งเป็นสมาชิกสภาไหม เป็นกันมากี่ครั้งแล้ว (ผู้ฟังปรบมือ) ผมว่ามันพอได้แล้ว คุณเลิกที่จะบิดตัวหลักวิชาต่างๆ เพื่อสนองต่อตำแหน่งที่คุณจะได้เถอะ เขาบอกว่าจะสร้างคนกลางขึ้นมา มันไม่มีหรอกคนกลางตอนนี้ มันไม่มีผู้วิเศษที่จะแก้ปัญหานี้ได้ (ผู้ฟังปรบมือ) เราก็ต้องอดทนกันไปแบบนี้แหละ ส่วนคำถามที่ว่าถ้าประชาธิปัตย์ไม่ลงเรื่องตั้ง ถ้าระบบเดินไปจนถึงที่สุดแล้วไม่ลงเลือกตั้งก็เป็นเรื่องของประชาธิปัตย์ (ปรบมือ) ผมคิดว่าจะมีพรรคการเมืองใหม่ๆ มาเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้เลือก ถ้าคุณไม่พร้อมจะต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ ไม่อดทนที่จะเปลี่ยนแปลงให้คุณเป็นเสียงข้างมาก จูงใจคนด้วยนโยบายต่างๆ จูงใจคนด้วยหลักการที่มันถูกต้อง คุณก็ไม่ต้องลงเลือกตั้ง คุณก็หยุดไปปฏิรูปพรรคของคนเสียก่อน (ผู้ฟังปรบมือ) เมื่อมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งไม่ลงเลือกตั้ง คุณทำลายกระบวนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นแต่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่อยากให้ประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้งนะ อยากมากๆ เลย อยากเห็นจำนวนของมวลมหาประชาชน (ผู้ฟังปรบมือ) ส่วนเรื่องทหาร พอดีอาจารย์ธเนศ (อาภรณ์สุวรรณ) ชิงขอบคุณทหารไป ผมว่าสถานกาณณ์เวลานี้เป็นสถานการณ์ที่ไว้วางใจไม่ได้ เรามีประสบการณ์จากปี 49 ตอนนี้มีความพยายามจะให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นอีก แต่การเกิดขึ้นครั้งนี้ถ้ามันสำเร็จมันจะเปลี่ยนอย่างมาก อย่างที่เราคิดไม่ถึง มันจะไม่เป็นแค่การเปลี่ยนรัฐบาลอย่างปี 49 ถ้าอำนาจหลุดลอยจากมือประชาชนไปเมื่อไร ผมว่าเที่ยวนี้จะได้คืนยาก และการจะได้คืนมาอาจต้องแลกด้วยราคามหาศาลมากๆ ในความเห็นผม ฉะนั้น เราขอให้ทหารเป็นทหาร เกียรติของทหารคือ การเป็นทหารอาชีพ เราเคารพทหารแบบนี้ ทหารปฏิบัติหน้าที่ไป กลไกทางการเมืองยังมีอยู่ แล้วเดินไปอย่างที่เราอธิบาย มันจะไม่มีทางไปสู่ทางตัน พ.ร.ฎ.รักษาการยังอยู่ อีกแค่ 40-50 วันก็จะมีการเลือกตั้ง จะเกิดการแข่งขันกัน ตอนนี้เสนอนโยบายเลย ถ้าพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีสภาประชาชนคุณรณรงค์ทันทีเลยจะแก้รัฐธรรมนูญยังไง สภาประชาชนจะมาจากไหน มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ให้คนทั้งประเทศร่วมตัดสินใจว่าหลังเลือกตั้งแล้วเราจะมาแก้รัฐธรรมนูญ ขอให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระร่วมกันหลังจากมีการเลือกตั้งแล้ว เกิดกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีการปฏิรูปในทุกๆ ส่วนอย่างแท้จริง และนั่นคือทางออกทางเดียวของประเทศไทย ไม่มีทางลัด ทางลัดนั้นคือลัดลงเหว (ผู้ฟังปรบมือ)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยิ่งลักษณ์เธอ...ร้องไห้ทำไม??? Posted: 10 Dec 2013 04:37 AM PST เธอแสดงบทผู้หญิง ในพื้นที่ของผู้ชาย คือ พื้นที่แห่งช้างเท้าหน้า จึงต้องทนกับกระแสอคติในสังคมที่นิยมให้ชายเป็นใหญ่ ตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงระดับชาติ การอดทนในครั้งนี้ของเธอ คือ ภาวะผู้นำอย่างหนึ่งที่สำคัญ ความอดทนของเธอในครั้งนี้ คือ บรรทัดฐานใหม่ของสังคม
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าว แถลงข่าวและตอบคำถามสื่อ 30 พฤศจิกายน 2556 คำกล่าวนี้สะท้อนภาพภาวะผู้นำที่มาจาก "ฐานคิด" ของผู้นำ ว่าเธอ "ต้องการแบบใด" โดย "ฐานคิด" นี้ มีส่วนประกอบของ Plot เรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เธอมองว่าจะใช้ความรุนแรงแบบในอดีตไม่สามารถกระทำได้อีก และต้องการลดการสูญเสียและยุติการสูญเสียที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาคะแนนนิยมของตนไว้ และเพื่อเรียกกระแสนิยมกลุ่มไทยเฉย ไทยอดทน ที่ล้วนไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องสังคมที่ปกติสุขโดยไว คนกลุ่มนี้ คือ ผู้ชี้ความชอบธรรมให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฝ่ายใดได้รับความชอบธรรมจากคนกลุ่มนี้ก็จะมีพลังมากขึ้น เพราะ คือกลุ่มที่มีจำนวนมากในสังคม แต่สิ่งที่สำคัญกว่าความนิยม ณ ห้วงเวลานี้ คือ การสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคม การแสดงออกหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองรัฐต้องคุ้มครองและการสูญเสียชีวิตในการร่วมกิจกรรมทางการเมืองไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม การหลีกหนีการเผชิญหน้าหรือการปะทะที่จะนำมาสู่การสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ จึงนำมาสู่การแถลงยุบสภา โดยเธอได้กล่าวว่า "การคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินด้วยการยุบสภาเเละเลือกตั้งใหม่ให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยเเละเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ประชาชนต้องตัดสินว่า คนส่วนใหญ่ต้องการเเนวทางใดเเละให้ใครมาบริหารประเทศตามเเนวทางนั้น ขอเชิญทุกกลุ่มเเละทุกพรรคใช้เวทีเลือกตั้งนำเสนอทางเลือกให้คนไทย" นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวแถลงยุบสภา 9 ธันวาคม 2556 การเลือกตั้งจึงเป็นอาวุธที่มีอานุภาพมากกว่าปืนหรืออุปกรณ์ในการสลายการชุมนุมที่จะยุติความขัดแย้ง การเลือกตั้งเป็นการเปลี่ยนถ่ายทางอำนาจที่เรียบง่ายที่สุด ในการลดการเผชิญหน้าทางการเมือง ในการให้ประชาชนทั้งประเทศได้มาร่วมตัดสินใจร่วมกันอีกครั้ง เป็นการนำเอาผลงานมาแลกคะแนนเสียง ทั้งผลงานของฝ่ายค้านและผลงานของฝ่ายรัฐบาล แต่เรื่องราวที่เข้ามายังตัวเธอยังไม่จบ ฝ่ายผู้ชุมนุมกลับหลีกหนีการเลือกตั้ง เพราะ มีความเชื่อที่ว่าตนจะได้รับความพ่ายแพ้ แสดงให้เห็นว่าพรรคฝ่ายค้านไม่มีผลงานในการมาแลกคะแนนเสียง แต่ก็ได้นำคำว่า "ระบอบทักษิณ" มาเป็นเครื่องมือในการหลีกหนีการเลือกตั้ง ผลจากกลุ่มคนที่มีมากที่สุดของประเทศ คือ กลุ่มคนที่เรียกกันว่า รากหญ้า และ ชนชั้นกลางใหม่ คนกลุ่มนี้เติบโตมาด้วยนโยบายของพี่ชายเธอ เขามีความรู้สึกว่าได้รับโอกาสจากพี่ชายของเธอ เขาจึงครองเสียงข้างมากของประเทศไว้ได้จนเธอลงเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554 ก็ได้รับชัยชนะ พรรคการเมืองของเขาชนะการเลือกตั้งมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เว้นช่วงการขึ้นมาของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ในปี พ.ศ.2551 กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาเรียกร้อง สภาประชาชน ไม่เอาเลือกตั้ง ไม่เอายุบสภา เพราะ กระบวนการประชาธิปไตยแบบสากลนี้มันทำให้เขาพ่ายแพ้แน่นอน ด้วยจำนวนฝั่งผู้สนับสนุนรัฐบาลที่เขามีเยอะกว่า ผ่าน ระบบ 1 คน 1 เสียงจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงอำนาจของคนกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ฝ่ายที่ต้องออกแรงในทางการเมืองคือกลุ่มสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านที่ต้องออกมาริมถนน แต่ผู้ที่เติบโตจากนโยบายของพี่ชายเธอ ได้รับความสบายขึ้น รอเดินเข้าหาระบบ เช่น คูหาเลือกตั้ง เป็นต้น ไม่ต้องเหนื่อยริมถนนเช่นในอดีต การปะทะกันด้านจำนวนจึงเกิดขึ้น สงครามตัวเลขจึงเกิดขึ้น ว่าใครมีมากกว่ากัน ประชาธิปไตยจึงต้องแลกมาด้วยความอดทนของทุกฝ่ายเพราะตัวเลขขึ้นลงตามเวลาและเหตุการณ์ ภาพความอดทนที่ประชาชนคาดหวังจากผู้นำ เป็นภาพความอดทนที่อยู่ในภาพสังคมที่ชายเป็นใหญ่ ที่กล้าหาญท้าชนกับทุกสิ่ง จึงเป็นที่มาของการกล่าวจบท้ายการแถลงข่าวที่ว่า
นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าว แถลงข่าวและตอบคำถามสื่อ 30 พฤศจิกายน 2556 และด้วยความเป็นผู้หญิงของเธอ เธอได้แสดงความเป็นหญิงออกมาเสียมากเกินไปในสังคมชายเป็นใหญ่ คือ การร้องไห้ เธอจึงถูกมองว่าไม่มีภาวะผู้นำ การที่เธอ "ร้องไห้" ไม่ใช่เรื่องราวใหญ่โต ถ้าเรามองในมุมที่เธอ "มนุษย์คนหนึ่ง" แต่ด้วยความคาดหวังของประชาชน แต่การเป็นผู้นำ การร้องไห้ก็จะไม่สู้ดีนัก การร้องไห้จึงแสดงถึงความอ่อนแอหรือยอม ทั้งที่การร้องไห้มันตีความหมายได้มาก ดีใจก็ได้ เสียใจก็ได้ ยอมถอยก็ได้ ลุกขึ้นสู้ก็ได้ เป็นต้น แต่การร้องไห้ ก็ไม่สำคัญเท่า "การแสดงความรับผิดชอบ" ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมันอยู่ที่คุณร้องไห้ "ด้วยเหตุผลอะไร" ร้องไห้เพราะไม่อยากทำให้เสียหาย หรือ ร้องไห้เพราะลงมือทำให้เสียหายไปแล้ว มิใช่เพียงการร้องไห้เพียงอย่างเดียวที่ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์ การมองที่เรื่องความสวยและเรื่องพฤติกรรมทางเพศ เช่น กรณีการขึ้นโรงแรมโฟร์ซีซัน มีการตีความไปถึงความไม่รักนวลสงวนตัว ศีลธรรมอันดีหรือรสนิยมทางเพศ ตามมายาคติทางเพศ ซึ่งผู้ชายมักจะไม่ถูกตั้งคำถามเหล่านี้ , กรณีการกล่าวสุนทรพจน์ถึงเรื่องสภาวะการเมืองไทย ณ ประเทศมองโกเลีย ก็สร้างความไม่พอใจให้กับขั้วตรงข้ามทางการเมือง โดยคุณชัย ราชวัตร ได้กล่าวลงเฟซบุคว่า "โปรดเข้าใจ กะหรี่ไม่ใช่หญิงคนชั่ว กะหรี่แค่เร่ขายตัว แต่หญิงชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ" , กรณีการพูดผิดๆถูกๆของเธอเมื่อให้สัมภาษณ์ทางสื่อมวลชน , กรณีการต้อนรับประธานาธิบดีบารัค โอมาบา ที่มีผู้วิจารณ์ว่ากำลังส่งสายตัวยั่วยวนหรือมีพฤติกรรมยั่วยวนฝั่งตรงข้าม , กรณีการกล่าวว่าเป็น "อีโง่" ของหัวหน้าฝ่ายค้าน และสื่อมักจะวิจารณ์เธอว่า "เอาแต่แต่งตัวสวย"เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ลดทอนความเป็นมนุษย์เป็นอย่างมาก มันแสดงให้เห็นถึงทางตันของฝ่ายต่อต้านที่แทบจะหาเหตุผลมาโต้แย้งมิได้ จึงเป็นคำกล่าวของเธอที่ว่า
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวแถลงแถลงข่าวและตอบคำถามสื่อ 10 ธันวาคม 2556 เธอแสดงบทผู้หญิง ในพื้นที่ของผู้ชาย คือ พื้นที่แห่งช้างเท้าหน้า จึงต้องทนกับกระแสอคติในสังคมที่นิยมให้ชายเป็นใหญ่ ตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงระดับชาติ การอดทนในครั้งนี้ของเธอ คือ ภาวะผู้นำอย่างหนึ่งที่สำคัญ ความอดทนของเธอในครั้งนี้ คือ บรรทัดฐานใหม่ของสังคม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญในสังคมประชาธิปไตยที่พยายามให้มนุษย์เสมอภาคกัน แต่วันนี้พื้นที่ทางการเมืองมีแต่การทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสภาวะการเมืองทุ่มหมดหน้าตัก ประชาชนทั้งประเทศจะตัดสินตัวเธอเอง และประชาชนทั้งประเทศจะตัดสินอนาคตประเทศไทยร่วมกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สหรัฐฯ แถลง หนุน 'กระบวนประชาธิปไตย' ในไทย เดินหน้าเลือกตั้ง Posted: 10 Dec 2013 03:29 AM PST 10 ธ.ค.2556 วานนี้ เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย เผยแพร่แถลงการณ์ของ เจนนิเฟอร์ ปซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ต่อกรณีความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย โดยระบุว่า สหรัฐอเมริกาสนับสนุนสถาบันประชาธิปไตยและกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย ในฐานะเพื่อนมิตรที่ยาวนาน การที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เป็นการก้าวไปข้างหน้า ท่ามกลางความขัดแย้งและการชุมนุมทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ โดยสหรัฐฯ ขอสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติและเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย เพื่อสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนไทยและเพื่อทำให้นิติรัฐของไทยเข้มแข็ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สิทธิแห่งการลุกขึ้นสู้ : ก้าวใหม่ของการเมืองภาคประชาชน Posted: 10 Dec 2013 03:23 AM PST จงบดขยี้วาทกรรมทุนนิยมสามานย์ "ยุบสภาคืนอำนาจประชาชน" ยืนหยัดสู่การลุกขึ้นสู้ปฏิวัติ" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สื่อต่างชาติระบุ 'ไม่เชื่อเลือกตั้งเพราะการซื้อเสียง' เป็นเพียงข้ออ้าง Posted: 10 Dec 2013 02:11 AM PST นิวยอร์กไทม์และนักข่าวบีบีซี กล่าวถึงข้ออ้างของแกนนำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ว่าไม่เชื่อวิธีการเลือกตั้งเนื่องจากมีการซื้อเสียง ซึ่งในภูมิภาคเดียวกันอย่างมาเลเซีย-กัมพูชาก็เคยอ้างแบบเดียวกัน แต่นิวยอร์กไทมส์ชี้ว่ากรณีไทยน่าจะเป็นเพราะมีนโยบายชนะใจเสียงข้างมากในสมัยทักษิณมากกว่า 10 ธ.ค. 2556 - นิวยอร์กไทม์กล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทยจากกรณีที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (9 ธ.ค.) หลังจากมีการประท้วงหลายสัปดาห์ นิวยอร์กไทม์ ยังได้สัมภาษณ์แกนนำการชุมนุมครั้งล่าสุดที่มีแกนนำบางส่วนเรียกร้องให้มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน" และการที่พรรคประชาธิปัตย์ผู้ที่นิวยอร์กไทม์เรียกว่าเป็น "กลุ่มเบื้องหลังฝ่ายค้านที่เก่าแก่ที่สุด" ได้ทำการลาออกจากสภาเพื่อร่วมประท้วง เทพไท เสนพงศ์ หนึ่งใน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกให้สัมภาษณ์ต่อนิวยอร์กไทม์ว่า "เราไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้" "ไม่ว่าเราจะยกทั้งมือทั้งเท้าของเราในสภา เราก็ไม่เคยชนะ" ขณะที่สาทิตย์ วงศ์หนองเตย หนึ่งในแกนนำ กปปส. ก็กล่าวว่าพวกเขากลัวว่าจะมีการโกงการเลือกตั้งหากรัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลรักษาการ นิวยอร์กไทม์ระบุว่าเรื่องความไม่เชื่อใจในการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นในมาเลเซียรัฐบาลได้ใช้กลโกงในการวางแผนปูทางการเลือกตั้ง ในกัมพูชานายกรัฐมนตรีอำนาจนิยมฮุน เซน ได้ใช้เครื่องมือของรัฐและกองทัพในการเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง ซึ่งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาก็ยังคงคว่ำบาตรรัฐสภาจากข้อกล่าวหาที่ว่ามีการโกงการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามนิวยอร์กไทม์พูดถึงกรณีในประเทศไทยว่าเป็นเรื่องของการที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ใช้นโยบายชนะใจเสียงข้างมากได้มากกว่า และแม้ว่ากลุ่มฝ่ายค้านจะอ้างว่าฝ่ายทักษิณใช้วิธีการซื้อเสียง แต่นักวิชาการไทยสองคนก็ได้เขียนบทความบอกว่าเป็นข้อกล่าวที่ไร้สาระเนื่องจากสิ่งที่ตรึงใจคนได้เป็นเพราะนโยบายมากกว่า ทางด้านนักข่าวบีบีซี โจนาธาน เฮด วิเคราะห์ว่าจากการประท้วงตลอดช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาสิ่งที่แกนนำแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนคือพวกเขาไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ และเชื่อว่าการประกาศยุบสภาของยิ่งลักษณ์จะไม่ทำให้ประชาชนแสนกว่าคนที่มาชุมนุมในกรุงเทพฯ พอใจ และมีคนบอกว่าพวกเขาต้องการให้ครอบครัวชินวัตรออกไปจากประเทศก่อนถึงจะพอใจ เฮด ยังได้กล่าวถึงเรื่องที่กลุ่มแกนนำต่อต้านรัฐบาลเชื่อว่าการชนะการเลือกตั้ง 5 สมัยติดต่อกันมาจากการซื้อเสียงไม่ว่าจะด้วยการติดสินบนหรือผ่านทางนโยบายประชานิยมที่ไม่ยั่งยืน แต่ข้อมูลที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยยังสนับสนุนรัฐบาลนี้อย่างแข็งขันและการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาไม่นานนี้ได้สะท้อนเจตจำนงของเสียงข้างมาก
เรียบเรียงจาก Thai Premier Calls for Elections as Opposition Quits, New York Times, 08-12-2013 http://www.nytimes.com/2013/12/09/world/asia/members-of-thai-opposition-party-quit-parliament.html Thai PM Yingluck dissolves parliament and calls election, BBC, 09-12-2013 http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-25252795 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สายชล สัตยานุรักษ์: ข้อเสนอในสถานการณ์ความขัดแย้ง Posted: 10 Dec 2013 02:00 AM PST ในบริบทที่สูญเสียอำนาจต่อรองกับ "ระบอบทักษิณ" ที่ครอบงำการเมืองและเศรษฐกิจไทยอย่างสูงทำให้ชนชั้นกลางรู้สึกอับจนหนทางจนออกมาสู่ท้องถนนและหันไปพึ่ง มาตรา 7 ในสถานการณ์การเมืองที่การต่อสู้เกิดขึ้นบนท้องถนนโดยมีมวลชนมากไพศาลเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของฝ่ายที่อาจเรียกกว้างๆ ว่า "คนเสื้อเหลือง" หรือ "คนเสื้อแดง" ล้วนทำให้คนไทยวิตกกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงตามมา หรืออย่างน้อยก็ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายยาวนานและส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิต จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว เครือญาติ เพื่อนฝูง หน่วยงาน ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชาติ และยังมีผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งหมายถึงความยากจนลงของคนไทยส่วนใหญ่อีกด้วย แม้ว่าหลายฝ่ายจะพยายามเสนอทางออก แต่ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ประชาชนแต่ละคนไม่อาจเลือกกระทำด้วยตนเอง เพราะล้วนแต่เป็นข้อเสนอต่อผู้นำหรือแกนนำของคู่ขัดแย้ง และบ้างก็เสนอทางออกโดยเชียร์ฝ่ายรัฐบาลและประณามฝ่ายคุณสุเทพ หรือบ้างก็เสนอทางออกที่เชียร์ฝ่ายคุณสุเทพและประณามฝ่ายรัฐบาล ซึ่งล้วนได้รับการปฏิเสธจากแกนนำและมวลชนของอีกฝ่ายหนึ่งจนไม่มีผลใดๆ ในทางปฏิบัติ กลับมีปฏิกิริยาออกมาในเชิงตอบโต้หรือต่อต้านรุนแรงมากขึ้น ที่ผ่านมา คนในหัวเมืองและชนบทเคยถูกมองว่า "โง่-จน-เจ็บ" และในเวลาต่อมานักวิชาการสำคัญๆ ก็มีแนวโน้มที่จะดูหมิ่นชนชั้นกลางในเมืองใหญ่ว่าโง่เพราะถูกครอบงำทางความคิด อีกทั้งยังพากันเห็นว่าชนชั้นกลางไทยเห็นแก่ตัวเพราะนึกถึงแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนเองเป็นหลัก การมองทั้งสองแบบล้วนผิดพลาดและไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับการมองระบอบประชาธิปไตยที่ฝ่ายเสื้อแดงให้ความสำคัญแก่การเลือกตั้ง ในขณะที่ฝ่ายเสื้อเหลืองให้ความสำคัญแก่การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อหาผลประโยชน์หรือการคอร์รัปชั่น และต่างก็ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตยในความหมายที่ตนเองให้ความสำคัญ (แทนที่จะให้ความสำคัญทั้งสองส่วนไปพร้อมกัน) ยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏด้วยว่าต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมเข้าใจและไม่ยอมรับจุดยืนของอีกฝ่ายหนึ่ง ได้แต่มองอีกฝ่ายหนึ่งว่าโง่และเห็นแก่ตัว ซึ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายทวีขึ้น อาจเป็นด้วยสถานการณ์ทางการเมืองและอิทธิพลจากข่าวสารข้อมูลในสื่อต่างๆ ที่กดดันและผลักดันให้คนไทยแต่ละคนพากันเลือกข้างอย่างชัดเจนและตายตัว ขาดการปรับเปลี่ยนมุมมองหรือจุดยืนเพื่อเข้าใจคนอื่นๆ ที่คิดต่างจากตน ที่จริงแล้วทั้ง "คนเสื้อเหลือง" และ "คนเสื้อแดง" ต่างก็ถูกหล่อหลอมจากภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมและบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองของแต่ละฝ่ายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางความคิดของแต่ละฝ่ายที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการตัดสินใจทางการเมือง เช่น การเรียกร้อง ม.7 ก็เกิดจากอุดมการณ์กระแสหลักที่ได้รับการผลิตซ้ำอย่างเข้มข้นตั้งแต่ทศวรรษ 2490 สืบมาจนถึงปัจจุบัน และทัศนะที่ผิดพลาดที่ "คนเสื้อเหลือง" และ "คนเสื้อแดง" มีต่อกัน ตลอดจนทัศนะต่อระบอบประชาธิปไตยที่มีจุดเน้นคนละอย่าง ก็มาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งทำให้ฝ่ายที่เสียเปรียบจำเป็นต้องต่อสู้ด้วยการอ้างเสียงข้างมาก และฝ่ายที่เคยได้เปรียบ (ซึ่งกลายเป็น "ผู้ได้เปรียบน้อยลง" ในขณะเดียวกับที่มีความวิตกมากขึ้นต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ) ก็จำเป็นต้องอ้าง "สิทธิของเสียงข้างน้อย" และหันไปยึดสถาบันตามประเพณีเป็นที่พึ่งเพราะสอดคล้องกับอุดมการณ์ที่ตนยึดถือ ผู้เขียนเองเชื่อว่าชนชั้นกลางไทยไม่ได้ปฏิเสธความสำคัญของการเลือกตั้ง เพราะหลายปีที่ผ่านมาชนชั้นกลางในเขตเมืองออกไปเลือกตั้งมากขึ้น ขณะเดียวกันชนชั้นกลางก็ไม่ได้ต้องการดึงเอาผลประโยชน์ทั้งหลายมาไว้ในมือของตนแต่ถ่ายเดียว เพราะแท้ที่จริงแล้วในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมางบประมาณของประเทศได้ไหลไปสู่ชนบทมากเสียยิ่งกว่าที่ถูกดูดออกมาจากชนบท (และมิใช่เพิ่งไหลลงไปเมื่อมีนโยบายประชานิยม) ชนชั้นกลางตระหนักดีว่าตลาดภายในมีความสำคัญต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง จึงต้องการให้ชาวบ้านรวยขึ้น นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากยังมีญาติพี่น้องเป็นชนชั้นกลางระดับล่างในหัวเมืองและชนบทอีกด้วย ในบริบทที่สูญเสียอำนาจต่อรองกับ "ระบอบทักษิณ" ที่ครอบงำการเมืองและเศรษฐกิจไทยอย่างสูงยิ่ง และสูงกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมาอย่างเทียบกันไม่ได้ต่างหาก ที่ทำให้ชนชั้นกลางรู้สึกอับจนหนทางจนออกมาสู่ท้องถนนและหันไปพึ่ง มาตรา 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งคนเข้าไปกุมอำนาจหลายระดับในรัฐวิสาหกิจต่างๆ การยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการทุกระดับ การสร้างโครงการที่ใช้เงินมหาศาลนอกกระบวนการตรวจสอบและการหลีกเลี่ยงระเบียบด้านงบประมาณ รวมทั้งความไม่แน่ใจเรื่องความคุ้มทุนและผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ 2.2 ล้านล้าน โครงการจัดการน้ำ โครงการจำนำข้าว ฯลฯ ตลอดจนปัญหาคอร์รัปชั่นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพิ่มสูงขึ้นมาก และปัญหาความล้าหลังด้านการศึกษาที่มีมานานแล้วก็จริงแต่เพิ่งเป็นที่รับรู้ในวงกว้างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการถึง 3 คน ในช่วงเวลาเพียง 2 ปี) หากเข้าใจความวิตกของชนชั้นกลาง ทางออกสำหรับความขัดแย้งในปัจจุบันก็ไม่ควรวางอยู่บนอคติต่อชนชั้นกลาง ในทำนองเดียวกับที่ชนชั้นกลางไม่ควรมองหาทางออกด้วยการทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะจะเกิดผลเสียร้ายแรงตามมาอีกมากและอีกนาน ในปัจจุบัน คนไทยทุกฝ่ายล้วนถูกปลุกเร้าทางการเมืองอย่างเข้มข้นโดยแกนนำของแต่ละฝ่าย นอกจากในที่ชุมนุมโดยตรงแล้ว ยังมีการใช้สื่อหลายประเภท รวมทั้งวิทยุชุมชนและสื่อออนไลน์ ทำให้ใช้การสติปัญญาและทัศนะวิพากษ์ลดน้อยลงไป แต่คนไทยทุกฝ่ายคงประจักษ์แก่ใจว่าถ้าหากความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ผลเสียหายร้ายแรงจะตามมา การหาทางออกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากของสังคมโดยรวม แต่ทางออกที่มีอยู่และที่ได้รับการเสนอขึ้นมา มักไม่ให้ทางเลือกที่ภาคสังคมหรือภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมได้อย่างสงบสันติ และมีโอกาสใช้ปัญญาอย่างมีสติกำกับเท่าที่ควร สิ่งที่ต้องการเสนอในที่นี้ ก็คือ การสร้างทางเลือกที่ประชาชนแต่ละคนจะเข้าไปร่วมอย่างอิสระ แทนการออกมาชุมนุมหรือเดินขบวน ซึ่งภาคสังคมสามารถช่วยกันคิดว่าจะสร้างองค์กรใหม่หรือใช้องค์กรที่เรามีอยู่แล้วองค์กรใดบ้างสำหรับการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนทุกฝ่ายได้เข้าร่วม เช่น การทำให้มีองค์กรที่จะรวบรวมปัญหาที่คนไทยแต่ละคนมองเห็นตลอดจนทางออกที่แต่ละคนเสนอ ซึ่งเมื่อรวบรวมออกมาได้และจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจนดีแล้ว ก็เปิดกว้างสำหรับการโต้แย้ง การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายมองเห็นจุดอ่อนในความคิดความเห็นของตนเอง และมีโอกาสมองเห็นข้อดีหรือส่วนดีในความคิดของคนอื่นๆ ไปพร้อมกัน เราอาจเรียกวิธีนี้ว่าเป็นการวิจัย โดยดึงเอาทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามาตอบโจทย์วิจัยเดียวกัน จนเกิดเป็น "การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม" แม้แต่คนที่ชอบเขียนด่าคนอื่นตามสื่อออนไลน์ก็มีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย เพราะคำด่าก็เป็นข้อมูลที่จะนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติของผู้คน กลายเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการวิจัยที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป ผู้เขียนยังนึกภาพที่ชัดเจนไม่ได้ว่าข้อเสนอนี้จะเป็นไปได้อย่างไร และองค์กรใดที่จะทำหน้าที่ "ตัวกลาง" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเริ่มต้นจากองค์กรที่เรามีอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ที่จะเป็นผู้จัดการให้การทำวิจัยร่วมกันในแต่ละจังหวัดเกิดขึ้นได้ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็อาจเรียกร้องให้อาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เข้ามามีส่วนในการทำวิจัยนี้ ส่วนครูในโรงเรียนและนักพัฒนาเอกชนในแต่ละหมู่บ้าน ก็ทำวิจัยด้วยโจทย์วิจัยเดียวกันนี้ อาจมีการสังเคราะห์ผลการวิจัยในระดับอำเภอหรือระดับจังหวัด และคนทุกกลุ่มในสังคมก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะต่างๆ เช่น อาจเข้าร่วมในฐานะผู้ให้ข้อมูล ผู้วิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจารณ์ ผู้เสนอทางเลือกใหม่ๆ ฯลฯ ข้อเสนอข้างต้นอาจยากที่จะเป็นไปได้ ซึ่งผู้เขียนก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น แต่ก็อยากยกตัวอย่างรูปธรรมให้เห็นว่าสังคมไทยควรมีทางเลือกใหม่ๆ ที่เป็นของภาคสังคมหรือภาคประชาชนจริงๆ เพราะเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำให้คนไทยได้ใช้สติปัญญามากขึ้น มีทัศนะวิพากษ์มากขึ้น และมีช่องทางใหม่ๆ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกเหนือจากช่องทางที่แกนนำของแต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นมา ผู้เขียนจึงขอเรียกร้องให้ช่วยกันคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังก่อนที่หายนะจะเกิดแก่คนไทยทุกกลุ่มในอนาคตอันใกล้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย' แถลงไม่รับนายกแห่งชาติ Posted: 10 Dec 2013 01:36 AM PST
ข้อเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ข้อเสนอต่อ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ขอประกาศจุดยืนของ สปป. และภาคีเครือข่าย ดังต่อไปนี้ แถลงการณ์ระบุว่า สปป. ขอประณามการข่มขู่คุกคามบรรดาข้าราชการ โดยปิดสถานที่ราชการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จนทำให้ข้าราชการที่ต้องรับใช้บริการพี่น้องประชาชนทำงานไม่ได้ นอกจากนี้ สปป. จะจัดให้มีเวทีชุมนุมทางการเมือง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 ธันวาคม .2556 ณ จังหวัดศรีสะเกษ อนึ่ง คณะกรรมการ "สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย" (สปป.) จัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2556 ณ ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยระบุว่า เพื่อเป็นองค์กรประสานความร่วมมือกลุ่มต่างๆ เพื่อสถาปนา สร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริง ประกอบด้วย 1. แนวร่วมแรงงานและเกษตรกรเพื่อประชาธิปไตย (นรกป.) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วรเจตน์-เกษียร-ปิยบุตร: เหตุผลค้าน 'สภาประชาชน' หวั่นเกมนอกกติกานำสู่วิกฤตนองเลือด Posted: 10 Dec 2013 12:59 AM PST
10 ธ.ค.2556 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการในนามสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) แถลงข่าวข้อโต้แย้งด้านกฎหมายกับแนวคิดการก่อตั้ง "สภาประชาชน" โดย คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ยังไม่ถึงทางตัน ยังแก้ได้ในระบบ ก่อนเดินสู่สงครามกลางเมือง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โฉมหน้าศักดินามหาวิทยาลัย กรณี ทปอ.กับสังคมประชาธิปไตย Posted: 09 Dec 2013 11:55 PM PST
เสาหลักของชนชั้นนำสังคมไทยเสาหนึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นโรงงานผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงานได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน รวมไปถึงการสร้างสถานะอันสูงส่งราวกับเทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์ มหาวิทยาลัยยังเป็นศูนย์กลางความรู้ของโลกสมัยใหม่ที่มาแทนราชสำนัก วัดอารามหลวง กระทั่งราชบัณฑิตสภา ต่อมากลายเป็นราชบัณฑิตยสถานหลังปฏิวัติสยาม 2475 การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยในบริบทสังคมไทย
ศาสตราจารย์ มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประวัติยังกล่าวว่าในเวลาต่อมาเพิ่มสมาชิกอีก 4 สถาบันซึ่งน่าจะรวม มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ต่างก็เกิดขึ้นในปี 2533 ในระยะเวลาอันสั้นผู้เขียนไม่สามารถค้นพบว่า ทปอ.มีปฏิบัติการที่ส่งผลต่อสาธารณะในวงกว้างเช่นไรในอดีต แต่ฐานกำลังดังกล่าวจะเห็นถึงเครือข่ายอันแน่นหนาของแวดวงการเมืองปัญญาชน นอกจากนี้กลุ่มมหาวิทยาลัยเหล่านี้ก็ยังมีการเชื่อมความสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมอย่างเช่น กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยที่เริ่มในปี 2513 จนกระทั่งปี 2542 ได้มีการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของตนอีกครั้ง ได้มีการออก ปฏิญญาว่าด้วยพันธกิจและสถานภาพของ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในศตวรรษใหม่ประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2542 คาดว่าเป็นการปรับตัวครั้งสำคัญหลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้นทศวรรษ 2540 มหาวิทยาลัยที่เคยทำหน้าที่เป็นโรงงานผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงาน จึงค่อยๆหันมาสมาทานหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง เงาของชาตินิยมได้ขยายตัวขึ้นในเวลาเดียวกับแสงอาทิตย์ของความชิบหายทางเศรษฐกิจที่แผดแรงกล้า จุดยืนของทปอ.จึงกลับมาสู่ชุมชน ความเป็นไทย คู่ไปกับความร่วมมืออื่นๆด้วย โดยเฉพาะการลุกขึ้นมา "ชี้แนะ" และ "ชี้นำ" สังคม ดังพันธกิจข้อแรกที่กล่าวว่า ทปอ. จะเพิ่มบทบาทการชี้แนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล และชี้นำชุมชนและสังคมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาและ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองบนฐานวัฒนธรรมไทยและด้วยสัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี สำนึกทางศีลธรรมความเป็นไทยจึงค่อยเติบโตงอกรากอย่างพิสดารหลังวิกฤตเศรษฐกิจและปฏิญญา ทปอ.ในปี 2542อย่างช้าๆ
"การที่ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มีเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริตคอร์รัปชันมิใช่สิ่งร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็สามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ด้วยการนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรม การกระทำความผิด ในเรื่องทุจริตคอร์รัปชันจะทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทยในปัจจุบันไม่ประสบผลสำเร็จ และจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับการกระทำในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต อีกสัปดาห์ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน ทปอ.ก็ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรียกร้องรัฐบาลรับผิดชอบ มีความจริงใจ ใช้สันติวิธีแก้ปัญหาและวอนทุกฝ่ายงดใช้ความรุนแรงโดยที่ยังมีฐานอยู่ที่การต่อต้านคอร์รัปชั่นนั่นเอง [6] กระนั้นผู้เขียนไม่สามารถค้นเจอแถลงการณ์ฉบับที่ 3 แต่พบข่าวว่าในวันที่ 29 พฤศจิกายน ทปอ.เสนอให้รัฐบาลยุบสภา และส่งจดหมายเวียนเสนอให้มหาวิทยาลัยปิดทั้งประเทศ ในวันที่ 5-10 สอดคล้องกับที่มีการหยุดต่อเนื่องอยู่แล้ว [7]
ที่มา : พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549, 2553, 2556 ตารางที่ 2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549, 2553, 2556 ของ 27 มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทปอ. (สุ่มตัวอย่าง)
เชิงอรรถ [1] ประชาไท. จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดี: ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของ ม.112 . http://prachatai.com/journal/2012/06/41193 (21 มิถุนายน 2556) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น