ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุเทพเผยจุดชุมนุม 22 ธ.ค. 'ปิดกรุงเทพฯ ครึ่งวัน' ไล่ยิ่งลักษณ์พ้นรักษาการ
- ลงถึงพื้นที่ 'ชาวลาหู่' ดูงานการจัดการโฉนดชุมชนที่บ่อแก้ว
- ปัญหาการมโนไทย อันนำไปสู่ปัญหาการเมืองไทย (2549 – 2556)
- ความรับผิดชอบของชนชั้นกลางต่อความรุนแรง
- เก็บตก กิตติศักดิ์ VS ปิยบุตร : วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน ?
- เล็งตั้งสมาพันธ์ครูอิสลามชายแดนใต้ หวังช่วยเหยื่อ-พร้อมลดอคติจากสังคม
- ถอดบทเรียนกระบวนการสันติภาพสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มองผ่านกรณีอาเจะห์และมินดาเนา
- อัยการตั้งสำนักงานพิเศษเฉพาะคดีความมั่นคง พร้อมตรวจสอบกรณีซ้อมทรมาน
- ประจักษ์ ก้องกีรติ
- องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยยื่น กกต.เบรคโบนัสข้าราชการ
- ศาล รธน.ไม่รับคำร้องสมาคมทนายฯ ชี้การชุมนุมของ กปปส.ใช้เสรีภาพตาม รธน.
- ประชาธิปัตย์ประชุม 21 ธ.ค. นี้เพื่อหาข้อสรุปส่ง ส.ส. หรือไม่
- ผบ.สส.ปัดขัดแย้งปลัดกลาโหม ยันเลือกตั้งได้ก็ดี
- สั่งตรวจสอบเหตุมือมืดปาระเบิดบ้านผู้ต้องหาคดี 112
- มติเพื่อไทยส่ง ส.ส.ทุกเขต คนบ้านเลขที่ 109 - ภูมิใจไทยสมัครเข้าพรรค
สุเทพเผยจุดชุมนุม 22 ธ.ค. 'ปิดกรุงเทพฯ ครึ่งวัน' ไล่ยิ่งลักษณ์พ้นรักษาการ Posted: 18 Dec 2013 01:28 PM PST เลขาธิการ กปปส. เผยได้ชี้แจง จนท.สถานทูต แก้ข้อกล่าวหาต้านเลือกตั้ง ยัน กปปส. ต้องการเห็นเลือกตั้งยุติธรรม-สนับสนุนปฏิรูป พร้อมชี้แจงจุดชุมนุมทั่ว กทม. 22 ธ.ค. 'ราชดำเนิน-อุรุพงษ์-อนุสาวรีย์ชัย-ปทุมวัน-ราชประสงค์-อโศก-สามย่าน-สวนลุม' โดยขอโทษล่วงหน้า เพราะจะปิดกรุงเทพฯ ชุมนุมครึ่งวัน สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2556 โดยมีการชี้แจงการพบกับเจ้าหน้าที่สถานทูต และการนัดหมายพื้นที่ชุมนุมใหญ่วันที่ 22 ธ.ค. นี้ (ที่มา: Blue Sky Channel และ ASTV)
19 ธ.ค. 2556 - เมื่อเวลา 20.15 น. คืนวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่เวทีชุมนุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้กล่าวปราศรัย ตอนนี้กล่าวถึงกรณีที่ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ที่จะตั้งข้อหากบฏและใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ สั่งอายัดบัญชีเงินบริจาค และบัญชีเงินฝากของ 18 แกนนำ กปปส. โดยยืนยันว่ายิ่งธาริตทำอย่างนี้ฝ่ายผู้ชุมนุมและแกนนำยิ่งมีแรงมากขึ้น และจะได้เห็นกัน เชิญอายัดทุกบัญชี เราจะชุมนุมต่อไป และจะสู้กับยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต่อไปจนกว่าจะไล่ยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งให้ได้ นอกจากนี้สุเทพ เล่าให้ฟังด้วยว่า ได้ไปร่วมงานเสวนาเรื่องการปฏิรูปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย เนื่องจากได้รับเชิญ เพื่อให้มีสีสันในงานเสวนา แต่ก็หลบๆ ไปเพราะมีหมายจับ และกลับมาอย่างปลอดภัย โดยสุเทพยังระบุด้วยว่าอธิการบดีมหาวิทยาลัยยังกล่าวถึงเหตุการณ์ 30 พ.ย. และ 1 ธ.ค. ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย และมีทหารจากกรมทหารราบที่ 11 รอ. และรถจาก กทม. มาช่วย สุเทพยังกล่าวว่าจะรอดูว่าจะมีการดำเนินคดีกับ 'ตั้ง อาชีวะ' ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ และถ้าไม่ดำเนินคดีคนพวกนี้ รวมทั้งผู้สั่งการ ผู้ร่วมมือ รอจนถึงวันที่ประชาชนชนะ จะมีการคิดบัญชีย้อนหลังทั้งธาริต ตำรวจ แกนนำเสื้อแดง ไม่ต้องมาปฏิเสธเพราะขึ้นพูดบนเวที เพราะจตุพรมายกย่องว่าเก่งมาก มันสมคบกันจริงๆ เพื่อทำร้ายบ้านเมือง ส่วนการชี้แจงเจ้าหน้าที่จากสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศวันนี้นั้น เลขาธิการ กปปส. ระบุว่าเป็นการชี้แจงหลังรัฐบาลกล่าวหาผู้ชุมนุมผ่านสื่อต่างประเทศและสถานทูต สำหรับสถานทูตที่ไม่ได้ส่งผู้แทนมาก็จะให้เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. และทีมงานนำหนังสือไปชี้แจงและอธิบาย สุเทพระบุว่าเป็นความจำเป็นโดยกล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้ามจ้างล็อบบี้ยิสต์ มีการจัดการให้ข่าวในทิศทางที่ต้องการ แล้วทำลายความน่าเชื่อถือของเราทุกรูปแบบ ซึ่งเราก็จะไม่ท้อถอย เดินหน้าชี้แจงไปเรื่อยๆ เพราะถือว่าเราพูดความจริง เขาพูดโกหก การต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมืองและต้องการให้ประเทศไทยนี้เป็นการต่อสู้ของประเทศไทยที่สมบูรณ์ สุเทพ กล่าวว่าได้อธิบายชาวต่างประเทศว่า "การต่อสู้ของผู้ชุมนุมนั้นเพื่อชาติ เพื่อบ้านเมือง ให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นี่คือเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน ได้บอกกับรรดาชาวต่างประเทศเหล่านั้นว่าที่รัฐบาลกล่าวหาว่าประชาชนต่อต้านการเลือกตั้ง ไม่ยอมไปเลือกตั้ง จะขัดขวางการเลือกตั้ง แท้ที่จริงไม่ใช่ เราอยากเลือกตั้ง เราอยากเห็นประเทศมีการเลือกตั้ง แต่เราต้องการ การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่มีการทุจริต ไม่มีการซื้อเสียง นี่เราบอกเขาชัด เราอธิบายให้ชาวต่างประเทศเหล่านั้นทราบ ถ้าเลือกตั้งภายในกฎเกณฑ์ กติกาเดิม กฎหมายเดิม กกต.เหมือนเดิม มีตำรวจช่วยซื้อเสียง มีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอคอยให้ท้าย กำกับ กำนันผู้ใหญ่บ้าน แล้วพวกกะเฬวรากก็ได้เลือกตั้งกลับมาทำชั่วให้บ้านเมืองอีก ประชาชนอย่างเราถึงยอมไม่ได้ เราจึงต้องการปฏฺิรูปประเทศ เพื่อแก้ไขกระบวนการเลือกตั้งให้สะอาด บริสุทธิ์ เพื่อให้คนดีได้มีโอกาสเป็นผู้แทนราษร เป็นตัวแทนของประชาชนจริงๆ ป้องกันไม่ให้คนชั่วมีอำนาจในบ้านเมืองอีก" "ชาวต่างประเทศเข้าใจยากมาก พยายามถามว่าซื้อเสียงในประเทศไทยมันเป็นอย่างไร ผมก็เลยตอบว่าไม่ค่อยยากเย็นอะไรหรอก ถ้าลงไปดูในหมู่บ้าน ตำบล ถึงวันมีการไปปิดหัวบ้าน ท้ายบ้าน ขนเงินโดยรถตำรวจ แล้วแจกเปิดเผยไม่มีใครเป็นพยานให้ใคร เพราะคนไม่อยากได้เงินก็ไม่อยากมีเรื่อง เพราะคนให้เงินแต่งเครื่องแบบมาด้วย นี่จึงเป็นเรื่องที่ต้องปรับโครงสร้างตำรวจ" ส่วนที่ชาวต่างชาติเป็นห่วงว่าจะเกิดเหตุรุนแรง ก็ยืนยันว่าพวกเราที่ต่อสู้ล้วนแต่เป็นพลเมืองดีทั้งสิ้น เราลุกขึ้นมาต่อสู้ เพราะรักบ้านรักเมือง เป็นห่วงอนาคตประเทศไทย ลูกหลานจะเดือดร้อน ทนไม่ได้กับระบอบทักษิณ จึงจำเป็นต้องทิ้งบ้านทิ้งเมือง มานอนกลางดินสู้เพื่อชาติเพื่อแผ่นดินคราวนี้ พี่น้องทราบไหมว่ารัฐบาลใช้กระบอกเสียงไปหลอกชาวต่างประเทศว่าคนที่มาชุมนุมกับกำนันสุเทพ เป็นคนชั้นสูงทั้งสิ้น ผู้มีฐานะทั้งสิ้น ไปต่อสู้กับอีกฝ่ายที่เป็นคนยากคนจน โน่น มันไปถึงนั่น ผมเลยบอกว่า ไปเดินดูเถิด ดูเอาเอง แต่ผมอธิบายว่าคนที่มาร่วมกันสู้ครั้งนี้มาจนทุกหนแห่งทั่วประเทศไทย ทุกภาคของประเทศ และมีทุกระดับทั้งคนจน คนรวย คนชั้นกลาง แต่มีหัวใจเหมือนกันคือไม่สามารถทนเห็นชาติล้มละลายต่อหน้าต่อตา จึงลุกขึ้นมาสู้ และเขาบอกว่าเห็นรัฐบาลบอกพวกเขาว่า คนมาร่วมต่อสู้คนค่อยๆ ร่อยหรอ ก็เลยชี้แจงว่านี่ไม่ใช่วันหยุดด้วยซ้ำแต่คนยังขนาดนี้ และผมบอกขอให้คอยดูวันที่ 19 วันที่ 20 และ 22 ธ.ค. ที่คนจะออกมาเยอะๆ คอยดูแล้วกัน "เขาเป็นห่วงว่าพวกเราถ้าชนะแล้ว จะไม่ดูแลคนยากคนจนที่เป็นมวลชนเสื้อแดง ผมยืนยันว่า เราจะทำการต่อสู้ครั้งนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น ปฏิรูปให้ดีขึ้น และจะเป็นผลดีเป็นประโยชน์กับคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเขาจะเสื้อแดง เสื้อเขียว เสื้อน้ำเงิน เสื้ออะไรก็ตาม ทุกคน ผมยืนยันว่าเราใจกว้างและอยากเชิญชวนพี่น้องคนเสื้อแดงทั้งหลายมาร่วมกับเรา เพราะเราต่างก็รักชาติ เรารักประชาธิปไตย มาเถิดมาร่วมกันทำงานครั้งนี้ เพื่อประเทศชาติในอนาคตด้วยกัน ยกเว้นเสื้อแดงที่ยอมตายเพื่อเงินทักษิณไม่ต้องมาเพราะพวกนั้นไม่มีอุดมการณ์ รวมทั้งแดงแบบวีระ ณัฐวุฒิ จตุพร ไม่ต้องมา ให้มึงอยู่กับทักษิณนั่นแหละ แล้วแดงประเภทคิดล้มเจ้าก็ไม่ต้องมา เพราะเป็นเราเป็นพวกจงรักภักดี อย่างนี้ร่วมกันไม่ได้ แต่แดงที่เหลือมาได้หมด เราต้อนรับ ยินดีร่วมทำงานเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน ขอเชิญมาเลยทุกวัน" สุเทพกล่าวด้วยว่า การต่อสู้ของเราแน่นอนว่าเหน็ดเหนื่อย ทุกข์ยาก เพราะว่าเราสู้แบบสันติ สงบ เราไม่ใช้ความรุนแรง ตนขอบอกให้ฟังเลยว่าถนนสายเดียวกันนี้เมื่อปี 2553 พวกเสื้อแดงก็มาชุมนุมที่นี่ต่างกัน แต่พวกนั้นมาสู้เพื่อคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่พวกเราต่อสู้เพื่อคนทั้งประเทศ ทั้ง 65 ล้านคน และคนพวกนั้นต่อสู้ด้วยอาวุธ ต่อสู้ด้วยความรุนแรง แต่พวกเราสู้ด้วยความสงบสันติ ไม่มีความรุนแรงเลย ทั้งนี้ กปปส. จะสู้ให้จารึกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและมวลมนุษยชาติว่าเป็นการต่อสู้ของคนดี เป็นการเคลื่อนไหวตามสิทธิรัฐธรรมนูญ ส่วนการออกหมายเรียกวันที่ 26 ธ.ค. นั้น สุเทพระบุว่ายังไม่ไปเพราะไม่ว่าง กำลังต่อสู้ไล่ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ว่าง ค่อยไปพบทีหลัง เดี๋ยวจะให้พี่ๆ น้องๆ แต่งทนายไปยื่น ไล่ยิ่งลักษณ์เสร็จจะไปมอบตัว นอกจากนี้ สุเทพขอซักซ้อมที่เราจะร่วมกันแสดงพลังในวันที่ 19 และ 20 ธ.ค.นี้ โดยในวันที่ 19 ธ.ค. นัด 9 โมงเช้าออกเดินด้วยกัน พรุ่งนี้จะให้เวที คปท.เดินนำหน้า จะตามด้วยกองทัพธรรม กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ จากนั้นเป็นชาวคณะราชดำเนินเป็นทัพหลัง มีสุเทพ เทือกสุบรรณนำหน้า จะผ่านไปทางผ่านฟ้า นางเลิ้ง เข้าถนนเพชรบุรี จนถึงอโศก สุดอโศกพักทานอาหารเที่ยง เห็นว่ามีพี่น้องชาวอโศกรอต้อนรับเราอยู่ที่นั่นด้วย จากนั้นก็จะเดินกลับผ่านสุขุมวิท นานา เพลินจิต ชิดลม สนามกีฬาแห่งชาติ มาทะลุอุรุพงษ์ ยมราช หลานหลวง ก่อนกลับมาที่ ถ.ราชดำเนินเหมือนเดิม แล้วจะถือโอกาสเชิญชวนพี่น้องประชาชนที่อยู่ข้างถนนพร้อมทั้งถ่ายทอดสดให้เห็นว่าเป็นการขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยิ่งลักษณ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ ส่วนในวันที่ 20 ธ.ค. เดินไปสีลม เดินกลับเยาวราช โดยพรุ่งนี้จะแจ้งเส้นทางอีกครั้ง วันที่ 21 ธ.ค.เราจะพักนวดน้ำมันเล็กน้อย เพราะผมอายุ 64 เดินสองวันเดี๋ยวเป็นลม แต่วันที่ 22 ธ.ค. จะเป็นการระดมใหญ่ อยากเชิญชวนชาวไทยทั้งประเทศทุกภาค ลุกขึ้นมารวมกันแสดงพลังไล่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง ขอกราบเรียนเชิญชวนพี่น้องทุกคนที่มีเรี่ยวมีแรงมาร่วมกัน "ขออธิบาย วันที่ 22 ธ.ค. จะไม่ให้พี่น้องเหนื่อยมาก เราจะเริ่มรายการบ่ายโมงตรง พี่น้องอยู่ใกล้ตรงไหน ออกมาสมทบตรงนั้น สถานที่ซึ่งเราจะชวนมาสมทบเริ่มตั้งแต่เวทีนี้ ถ.ราชดำเนิน ใครสะดวกมาที่นี่ เวทีเปิดตั้งแต่บ่ายโมงตรง จากนั้นเราจะไปร่วมสมทบกับพี่น้องที่อุรุพงษ์ และตลอดแนวที่ ถ.เพชรบุรี ต่อด้วยเวทีย่อยที่เวทีอนุสาวรีย์ชัย ให้พี่น้องที่อยู่กรุงเทพฯ ด้านเหนือมาสมทบ ลงมาจนถึงราชเทวี สี่แยกปทุมวัน สามย่าน สวนลุม สำหรับพี่น้องสามย่าน สีลม ชุมนุมกันได้ตรงจุดนั้นเลย ซึ่งผมจะเดินทางไปเยี่ยม" "และจะมีจอใหญ่ที่สี่แยกปทุมวัน ชาวพารากอนมาชุมนุมได้ที่นี่ และที่สี่แยกราชประสงค์ด้วย เป็นย่านชุมนุมแหล่งใหญ่ไปมาสะดวกด้วยรถไฟฟ้า จากนั้นจะไปยังเพลินจิต จนถึงอโศก ก็จะมีจุดใหญ่ที่นั่น เพราะฉะนั้นสะดวกที่ไหนเป็นที่ชุมนุมก็ไปที่นั่น เพชรบุรี สุขุมวิท พระราม 4 เป็นที่แสดงพลังของผู้รักชาติ รักแผ่นดินทั้งสิ้น พวกผมคำนวณไว้แล้ว ชุมนุมตามจุดต่างๆ พี่น้องมาจากฝั่งธนมาร่วมกับพี่น้องที่สีลม สวนลุม พี่น้องที่มาด้านเหนือก็มาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือมาในพื้นที่รถไฟฟ้าวิ่งผ่านเชิญตามอัธยาศัย ชอบตรงไหนไปตรงนั้น และขอบอกฝ่ายรัฐบาลไว้จะได้ไม่คำนวณผิด เป็นพื้นที่ 577,000 ตารางเมตร ตีให้เลย 3 คน ใน 1 ตารางเมตร จะมีผู้ชุมนุม 1,731,000 คน ถ้ามามาก ตารางเมตรเบียดมั่งนั่งมั่งได้ 4 คน จะได้ 2,308,000 คน เราจะมาดูกันว่าเท่าไหร่กันแน่ รอดูวันที่ 22 นี้ ขอให้ชาวไทยรักชาติรักแผ่นดิน มาปิกนิกหน้าบ้านบนถนนทุกสายตามที่ได้กราบเรียน" "เลือกวันอาทิตย์เพราะไม่อยากให้เดือดร้อนกันมาก ต้องขอโทษไว้ล่วงหน้า เพราะจะปิดกรุงเทพฯ กันสักครึ่งวัน ตั้งแต่บ่ายโมงตรงถึงหกโมงเย็น หลังเคารพธงชาติเสร็จก็กลับบ้าน ให้นายกรัฐมนตรีเห็นว่าพลังมวลมหาประชาชนที่ออกมาไล่ครั้งนี้มีเท่าไหร่ ถ้าคุณยังด้านอยู่ ไม่พอใจ เที่ยวหน้านัดอีก ออกมามากกกว่านี้จนมึงไป คือต้องชุมนุมและรวมพลังกันจนเห็นว่าคนที่เกลียดพวกมัน ไม่ทนกับระบอบทักษิณ มีแต่เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ออกมารวมพลังกัน" "ผมจะอยู่บนเวทีนี้บ้าง และจะแวะเวียนไปตามจุดต่างๆ เพื่อพูดคุยกัน ขอเวลาพี่น้องบ่ายโมง จนถึงเคารพธงชาติ วันที่ 22 เราอยู่บนนถนนแบบคนรักชาติ รักแผ่นดิน ปรึกษาหารืออย่างพี่น้อง อย่างคนรักกัน ทำแบบสงบ สันติ ไม่รุนแรง แล้วอย่าไปเชื่อครับ รัฐบาลก็สร้างข่าวเรื่อย นี่บอกผมจะพาคนมาก่อเหตุร้ายในกรุงเทพฯ กูจะพามาบ้าอะไร แค่นี้ก็เหนื่อยจะแย่แล้ว แล้วจะสอนให้มึงรู้ว่าไล่พวกมึงไม่ต้องใช้อาวุธ ไล่ด้วยปากนี่แหละ ไม่ไปต้องบ้าตาย ขาดใจตาย ด้วยลมปากของพวกเรา ไม่ไปก็ไล่ทั้งเดือน ขึ้นปีใหม่ไล่ต่อจนทนไม่ได้ ไม่มีเลิก เพราะมันนึกว่าเดี๋ยวเราหมดแรง เดี๋ยวเราเลิก อายัดเงินหมดเดี๋ยวเราไม่มีข้าวกิน ขอให้มาดูพรุ่งนี้ ข้าวมากกว่านี้อร่อยกว่านี้" "เอาหัวใจมาเคียงกันสู้พวกทรราชย์ เอาชนะให้ได้ เพราะเป็นการสู้เพื่อชาติไทย แผ่นดินไทย เพื่อสถาบันอันเป็นที่รัก และเป็นการต่อสู้ครั้งเดียวในชีวิตนี้ กราบคารวะพี่น้องทุกท่าน" สุเทพกล่าวในที่สุด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ลงถึงพื้นที่ 'ชาวลาหู่' ดูงานการจัดการโฉนดชุมชนที่บ่อแก้ว Posted: 18 Dec 2013 10:00 AM PST กลุ่มชาวลาหู่ จาก เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน กว่า 30 คน ลงพื้นที่ดูงานการทำโฉนดชุมชนที่ชุมชนบ่อแก้วชัยภูมิ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการจัดการที่ดิน ชี้ปัญหาในพื้นที่ไม่ต่างจากชาวบ้านทางภาคอีสาน เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.56 นายธีรภาพ ยืนยงธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาลาหู่ในประเทศไทย นำกลุ่มชาวลาหู่ จาก จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 30 คน ลงพื้นที่ศึกษาดูงานชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการจัดการที่ดินตามรูปแบบโฉนดชุมชน การทำกองทุนธนาคารที่ดินชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน นายธีรภาพ กล่าวว่า คนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่เขตป่าสงวนฯ และเขตอุทยานแห่งชาติเช่นเดียวกับชาวบ้านทางภาคอีสาน จากที่ได้ติดตามข่าวสารมาโดยตลอด ทราบว่ากว่าจะมาเป็นชุมชนบ่อแก้วนั้นต้องต่อสู้กันมาหลายสิบปีกว่าจะได้ที่ดินทำกินเดิมกลับคืนมา จึงเดินทางมาลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนในพื้นที่บ้านบ่อแก้ว เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนของการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนว่าสามารถบริหารจัดการที่ดินในชุมชนกันอย่างไร เพื่อให้ผืนดินเกิดความมั่นคง และยั่งยืนให้ตกทอดไปสู่ลูกหลาน นายนิด ต่อทุน ประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้ว เล่าถึงที่มาของชุมชนบ่อว่า เป็นการปรากฏตัวของผู้ประสบปัญหาการสูญเสียที่ดินทำกิน ภายหลังจากที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ยึดที่ดินไปปลูกยูคาลิปตัส รวมเนื้อที่กว่า 4,401 ไร่ เมื่อปี 2521 ส่งผลให้หลายครอบครัวกว่า 277 คน ต้องถูกอพยพจากที่ดินทำกินเดิม บ้างไปอาศัยอยู่กับญาติ บางครอบครัวแตกสลาย กลายเป็นแรงงานรับจ้าง เพราะไม่มีที่ดินทำกิน "พวกเราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อทวงคืนผืนแผ่นดินเดิม กระทั่งในวันที่ 17 ก.ค.2552 ได้กลับเข้ามายึดพื้นที่กลับคืนมา และทั้งปักหลักในพื้นที่จัดตั้งหมู่บ้านบ่อแก้วขึ้นมา เพื่อแสดงสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าของพื้นที่ พร้อมกับประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน ตามที่ได้ผลักดันให้รัฐบาลสมัยนั้นมีมาตรการทางนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิที่ดินดังกล่าว กระทั่งมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชนในเวลาต่อมา" ประธานชุมชนบ่อแก้ว กล่าว นายนิด กล่าวต่อมาว่า กว่า 4 ปี ชาวบ้านได้ร่วมกันพลิกฟื้นชีวิตรวมทั้งผืนดินด้วยการบริหารจัดการที่ดินทำกินของชุมชนโดยชุมชน และเพื่อชุมชนมาโดยตลอด กระทั่งครบรอบ 3 ปี ชุมชนบ่อแก้ว ในปี พ.ศ.2555 จึงยกระดับเป้าหมายไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตในพื้นที่ชุมชน ตั้งเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมอินทรีย์ ทั้งพื้นที่แปลงรวม และพื้นที่สิทธิการใช้ส่วนบุคคล เพื่อทำหน้าที่พัฒนาการผลิตของสมาชิกให้สามารถพึ่งตนเองได้ จำหน่ายได้ในผลผลิตบางประเภท ฟื้นฟูระบบนิเวศ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และความร่วมมือของคนท้องถิ่น หากเปรียบเทียบกับสวนป่ายูคาลิปตัสของ ออป.จะเห็นว่ามีนัยที่แตกต่างกันมาก นายนิด กล่าวว่า ปัจจุบันสถานภาพการผลิตของชาวบ้านบ่อแก้วสามารถพึ่งตนเองในระดับครอบครัวได้ โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งอาหารจากภายนอก มีบางรายที่สามารถขายผลผลิตเป็นรายได้ในครัวเรือน เช่น กล้วย ตะไคร้ งา ถั่วแดง ข้าวโพด และพืชผักบางชนิด นอกจากนั้น ชาวบ้านยังมีการจัดสร้างธนาคารเมล็ดพันธ์ ร้านค้าชุมชน โรงอบสมุนไพร โรงปุ๋ยหมัก และเรือนพักรับรองในชุมชน ประธานโฉนดชุมชนบ้านบ่อแก้ว กล่าวว่า การต่อสู้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องในระดับนโยบายนั้น ปัจจุบันตามที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงผลการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 22 พ.ค.56 และตามมติของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2556 วันที่ 27 พ.ค.56 ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงสวนป่าคอนสาร ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ต.ค.56 นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายอำเภอคอนสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพฯ ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ลงพื้นที่ร่วมประชุมกรณีปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินสวนป่าคอนสาร ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคอนสาร จากนั้นนายสุภรณ์ ในนามตัวแทนของนายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการให้ความคุ้มครองประชาชนให้สามารถอาศัยและทำมาหากินในที่ดินไปจนกว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาจะได้ข้อยุติ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปัญหาการมโนไทย อันนำไปสู่ปัญหาการเมืองไทย (2549 – 2556) Posted: 18 Dec 2013 09:46 AM PST
ปัญหาการ มโน คืออะไร มโน ในความหมายตามพจนานุกรมทั่วไปหมายถึง มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนหมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ ความร้าวลึกของสังคมไทยอันเกิดจากปัญหาทางการเมืองทำให้มีกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อการมุ่งเน้นในการสร้างความเกลียดชังเพื่อทำล้ายล้างฝั่งตรงข้ามทางการเมือง และก่อให้เกิดการมโนในหมู่ผู้คน - ช่วงก่อน 19 กันยา 49 ได้หลายเหตุการณ์ ยกตัวอย่างกรณีการปั้นแต่งเรื่องความไม่จงรักภัคดีกรณีทำบุญประเทศในวัดพระแก้วของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่โดนโจมตีถึงการพยายามตีตนเสมอเจ้า มีการแพร่กระจายและสร้างความไม่พอใจในวงกว้าง แม้จะมีการชี้แจงจากทั้งสำนักนายกรัฐมนตรีและทางสำนักพระราชวังแล้วก็ตาม แต่ประเด็นนี้ยังคงถึงนำมาโจมตีแม้กระทั้งในปัจจุบัน
ด้วยเคารพและเห็นด้วยอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหวในการต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นพลังที่มีความหมายอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย และการนั้นก็ถือเป็นการก้าวพลาดของรัฐบาลในการปลุกพลังมวลชนในการต่อต้านรัฐบาลขึ้นมา และถูกฝ่ายการเมืองตรงข้ามนำไปขยายผลไปสู่การชุมนุมขับไล่รัฐบาล แต่ปรากฏการณ์มโนที่เราพบในเหตุการณ์ทางการเมืองในครั้งนี้มีความชัดเจนมาก โดยเครื่องมือในการแพร่ข้อความข่าวลืออันนำไปสู่การมโนผ่านแอพพิเคชั่นไลน์ โดยการส่งเป็นข้อความโดยมีลักษณะประการหนึ่งคล้ายกันคือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้พิพากษาที่สนิทกับแม่เพื่อน ตำรวจข้างในที่เชื่อถือได้ เพื่อนที่เรียนโทด้วยกันอยู่วงใน หรือทหารคนสนิทของคนนั้นคนนี้ โดยไม่ได้ระบุที่มา ที่อ่านแล้วเจ็บปวดอย่างยิ่งคือข่าวลือไม่เหมาะสมที่เกี่ยวโยงไปถึงการออกมหาสมาคมในวันที่ 5 ธันวาคม ที่เผยแพร่ราวกับทราบพระทัยของพระองค์ท่านว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้โดยตีความเพื่อเข้าข้างความคิดและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของตน
การขับเคลื่อนทางการเมืองอันเริ่มต้นจากข่าวลือที่ไม่เป็นจริงแล้ว "มโน"ไปเลยเถิดจนเชื่อว่าเป็นจริงจนเกิดความโกรธแค้นชิงชัง ความโกรธแค้นชิงชังที่เกิดขึ้นเพราะเกลียดมากหรือรักสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก อาจนำไปสู่ความตกต่ำของความเป็นมนุษย์ได้ แม้การมโนจะดูเล็กน้อยแต่การมโนโดยการปล่อยข่าวลือก็เคยทำให้คนไทยเชื่อว่า ในเดือนตุลาคม ปี 2519 มีคนญวนพร้อมอาวุธสงครามอยู่ในธรรมศาสตร์ มีการปลุกระดมคนให้ไปล้อมฆ่าอย่างเลือดเย็นเอาศพมาแขวนคอทุบตี ลากศพไปเผา เอาของแหลมทิ่มแทงอวัยวะเพศ และมีคนยืนดูและส่งเสียงเชียร์อย่างสนุกสนานมาแล้ว เอวัง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความรับผิดชอบของชนชั้นกลางต่อความรุนแรง Posted: 18 Dec 2013 08:49 AM PST
3.1 การโทษคนอื่น (Projection) นั่นคือ การโยนความรู้สึกที่ตนเองรับไม่ได้ให้กับผู้อื่น เช่น ฉันไม่มีส่วนในความรุนแรงเชิงนามธรรมทุกกรณี นักการเมืองต่างหากที่เป็นต้นคิด, ฉันมาเคลื่อนไหวไม่ได้ต้องการให้ใครตาย แต่อีกฝ่ายต่างหากล่ะที่ต้องการให้คนตาย เพราะลึกๆแล้วปัจเจกบุคคลรู้สึกไม่มากก็น้อยว่าตนมีส่วนกับเหตุการณ์นี้ เป็นต้น เคยชื่นชอบและแสดงอาการสนับสนุนสิ่งที่นำไปสู่การก่อเหตุรุนแรง ตรรกะวิบัติที่พบคู่กันกับกลไกทางจิตวิทยานี้ คือ การโจมตีตัวบุคคล(ad Hominem) นั่นคือความพยายามจะหาที่ไปให้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น ยิ่งใส่ร้ายบุคคลอื่นซ้ำๆด้วยผรุสวาท (Hate Speech) มากเท่าไร ยิ่งสบายใจเพราะเป็นหลักประกันว่าคนฟังจะเชื่อว่าความผิดอยู่ที่คนอื่นไม่ใช่ตน 4. แล้วปัจเจกบุคคลคนชั้นกลางต้องรับผิดชอบอะไร?
หยุดเล่นโวหารรังเกียจชนชั้นล่าง ตราบใดที่ความรุนแรงเชิงนามธรรมยังอยู่ ความอยุติธรรมในสังคมย่อมดำรงอยู่ต่อไป
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เก็บตก กิตติศักดิ์ VS ปิยบุตร : วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน ? Posted: 18 Dec 2013 08:29 AM PST บรรยากาศจากการเสวนา "วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน?" เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ที่มา: VoiceTV) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต มีการจัดเสวนา "วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน?" โดยวิทยากรนักกฎหมายมหาชน 2 คน คือ กิตติศักดิ์ ปรกติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. และ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. งานนี้จัดโดยกลุ่มเสวนาวิชาการ ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มธ. 'ประชาไท'เห็นว่าการอภิปรายดังกล่าวน่าสนใจ จึงนำเสนอบางส่วนของการเสวนาในประเด็น ขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 68 กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาต่อต้านรัฐบาลที่บานปลายมาจนปัจจุบัน 0000 ปิยบุตร แสงกนกกุล วิกฤตทางรัฐธรรมนูญครั้งนี้เริ่มตั้งแต่รัฐสภามีความพยายามจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ปีที่แล้วครั้งหนึ่ง ปีนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็สะดุดลงที่ศาลรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญตามช่องทางตามมาตรา 68 ซึ่งในความเห็นของผมมันไม่มีเขตอำนาจใดเลยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้
สิ่งที่สำคัญตามมาคือ หลักนี้มีการเอามาใช้ในเยอรมนี ในเยอรมนีหนักมากขึ้นไปอีก มีประสบการณ์ที่แตกต่างจากฝรั่งเศส ของฝรั่งเศสหลังจากมีการปฏิวัติแล้ว มีรัฐบาลอะไรต่างๆ มากมาย ฝรั่งเศสจะยกย่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและยกย่องรัฐบาลเพราะเหตุว่ารัฐบาลของเขายังไม่เคยปรากฏว่าฉ้อฉล คดโกงแล้วก็หักหลังประชาชนครั้งใหญ่ เหมือนกับที่เคยเกิดในบางประเทศ แต่เยอรมนีประสบกับรัฐบาลที่ฉ้อฉล คดโกงแล้วก็หักหลัง รวมทั้งมองเห็นประชาชนไม่เป็นมนุษย์ ถึงขนาดเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ฉะนั้น เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นในเยอรมนี จึงจัดทำรัฐธรรมนูญที่ถือหลักสิทธิเสรีภาพเป็นหลักที่มุ่งคุ้มครองเป็นอันดับแรก อันที่สองเขาเข้าใจดีว่าจะมีอำนาจการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจของสภาและรัฐบาลที่จะมาจำกัดตัดสิทธิและเบียดบังเอาความชอบธรรมต่างๆ ไป ดังนั้น เขาจึงเสนอรัฐธรรมนูญอีกแบบหนึ่ง นอกจากจะถือหลัก Supremacy of Constitution หรือหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งสูงสุดแล้วยังถืออีกหลักหนึ่งซึ่งเป็นหลักใหญ่มาก คือ ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันตนเองได้ ถ้าหากว่ามีการกระทำอันใดอันหนึ่ง ถึงขนาดเป็นการล้มล้างระบบการปกครอง หรือทำลายล้างระเบียบแบบแผนของการปกครองที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันนี้คือรากฐานของมัน ปิยบุตร แสงกนกกุล อีกอันหนึ่ง อ.กิตติศักดิ์ยกคำพิพากษาคดี Marbury v. Madison ของไทยเราก็เคยใช้คดีอาชญากรสงคราม 1/2489 ไทยเราก็เคยเป็นแบบอเมริกันเมื่อก่อน แต่ต่อมาเมื่อเกิดกรณี 1/2489 กฎหมายอาชญากรสงครามเป็นการตรากฎหมายลงโทษย้อนหลัง ก็เป็นอันให้กฎหมายนั้นใช้ไม่ได้ ทางรัฐสภาเห็นว่าศาลชักจะเข้ามากินแดนในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้วก็เลยตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2489 ร่างกันขึ้นมาให้ตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำหน้าที่ เพื่อจะบอกว่าศาลคุณไม่ต้องทำนะ ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำ ก็แสดงว่าปี 2475 ถึง 2489 เราก็เป็นแบบสหรัฐอเมริกาคือกระจายอำนาจไปให้ศาลทุกศาล พอมาปี 2489 มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตุลาการรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจตรวจสอบว่ากฎหมายไหนขัดรัฐธรรมนูญ ต่อมามีรัฐธรรมนูญหลายๆ ฉบับ หลังจากนั้นมาหลายฉบับไม่ได้พูดถึงคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็มี นั่นหมายความว่า เราก็กลับไปใช้ระบบแบบกระจายอำนาจแต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามในทุกกรณี ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยชัดเจนแล้วว่าเราจะใช้ระบบแบบรวมอำนาจไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่มีหนทางอีกต่อไปที่จะอธิบายในลักษณะไปเชื่อมกับ Marbury v. Madison เพราะมันอธิบายได้กับกรณี 1/2489 คดีอาชญากรสงครามเท่านั้น เพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้ตัดสินใจว่าเราจะใช้แบบไหน จากเหตุการณ์นั้นจึงตามมาด้วยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ปี 40 เราก็มีศาลรัฐธรรมนูญโดยไปลอกมาจากเยอรมนี ปี 2550 เราก็ยังใช้ต่อ เพราะฉะนั้นถึงวันนี้ ขีดเส้นใต้จบแล้วว่าเราไม่มีทางเดินแบบของสหรัฐอเมริกา กิตติศักดิ์ ปรกติ ปิยบุตร แสงกนกกุล ส่วนกรณีไม่ยอมรับการวินิจฉัย เมื่อสักครู่ได้เรียนไปแล้ว เรายืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเข้ามาล้ำแดนอีกองค์กรหนึ่ง องค์กรนี้เขาก็มีอำนาจของเขาซึ่งเป็นอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภาในกรณีแก้รัฐธรรมนูญนั้นใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้รัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น อำนาจนี้ใหญ่กว่าอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อีก ศาลรัฐธรรมนูญคุณก็รับอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ แต่รัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่เข้าไปแก้รัฐธรรมนูญ อำนาจคนละไซส์กัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับเข้ามาล้ำแดนรัฐสภาในกรณีนี้ ผมเรียนให้ท่านทราบว่าทุกๆ ประเทศในโลกเวลาศาลทำอะไรขึ้นมา องค์กรอื่นของรัฐเขามีอำนาจตอบโต้ เขาใช้อำนาจนั้นได้ แต่องค์กรของรัฐคุณก็ประเมินกันเองว่าจะใช้หรือไม่ใช้ ยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา เราลองดูการแก้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาหลายครั้งเป็นการแก้เพื่อสู้กับศาลฎีกา เช่น รัฐสภาตรากฎหมายขึ้นมาฉบับหนึ่งบอกให้เก็บภาษีทางตรงได้ ศาลฎีกาบอกไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐสภาเลยเข้าไปแก้รัฐธรรมนูญเลยว่าให้เก็บภาษีทางตรงได้ มันก็ไม่มีการขัดรัฐธรรมนูญแล้ว เขาใช้วิธีนี้ การแก้รัฐธรรมนูญหลายๆ ครั้งของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นการสู้กับศาลฏีกา ประเด็นปัญหาครั้งนี้ มันมีคนที่พยายามจะเดินตามระบบแต่ถูกขัดขวาง ถูกสกัดกั้นตลอด กับคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ทำตามระบบ ตามกติกาเลย แต่ฉันจะเอาของฉันแบบนี้ แล้ววิกฤตครั้งนี้จะโทษใคร คนที่เขาพยายามใช้กลไกที่มีอยู่แก้ไขไปเรื่อยๆ ช้าหน่อย บางทีไม่ทันใจกองเชียร์ด้วย กับอีกข้างที่ขัดขวางไม่ให้ทำหมด แล้วจะเอาแบบนี้ต้องเอาให้ได้ อย่างนี้ใครกันแน่เป็นต้นเหตุของวิกฤต ระบบมันมีทางให้เดินก็ไปปิดทางตันไม่ให้เดิน จนไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป กิตติศักดิ์ ปรกติ ปิยบุตร แสงกนกกุล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เล็งตั้งสมาพันธ์ครูอิสลามชายแดนใต้ หวังช่วยเหยื่อ-พร้อมลดอคติจากสังคม Posted: 18 Dec 2013 08:10 AM PST เล็งตั้งสมาพันธ์ครูอิสลามชายแดนใต้ ช่วยเหยื่อซ้อมทรมาน ผู้ถูกคดี ถูกกล่าวหาเป็นแหล่งบ่มเพาะความรุนแรง รวมสถิติบุคคลากรทางศาสนาที่ได้รับผลกระทบ พร้อมชี้แจงต่อสาธารณะหากครูถูกวิสามัญ หวังสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและลดอคติทั้งจากรัฐและสังคม นายสาการียา เลาะยะผา รองประธานเครือข่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (HAP) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า HAP กำลังเตรียมจัดตั้งสมาพันธ์ครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเป็นความต้องการของครูสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ เพื่อหานโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ รวมทั้งคนที่ตกเป็นเป้าหมายถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่รัฐ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ถอดบทเรียนกระบวนการสันติภาพสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มองผ่านกรณีอาเจะห์และมินดาเนา Posted: 18 Dec 2013 07:58 AM PST รายงานกระบวนการพูดคุยสันติภาพชายแดนภาคใต้ โดยมี ศอ.บต.,สมช. อาเจะห์อินโดนีเซีย และตัวกลางของมินดาเนาประเทศฟิลิปปินส์ มาร่วมแลกเปลี่ยน แม้ว่าขณะนี้หลายเสียงในพื้นที่ต่างออกมาแสดงความคิดเห็นว่าการเจรจาสันติภาพระหว่างบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลเพื่อไทยนั้นได้ล่มเสียแล้ว ด้วยเสถียรภาพทางการเมืองและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ แต่ตัวแทนภาครัฐและอดีตตัวแทน GAM ของอาเจะห์ประเทศอินโดนีเซียรวมทั้งผู้ที่เคยอยู่ในคณะตัวกลางของมินดาเนาก็ต่างบอกว่า การเจรจานั้นต้องใช้เวลา การพูดคุยสันติภาพของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นการเริ่มต้น รัฐและประชาชนอย่าเพิ่งถอดใจ ยืนยันนโยบายการพูดคุยต้องเดินหน้าต่อไป ผศ. ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กล่าวอย่างมั่นใจว่า แม้ว่าขณะนี้จะมีการยุบสภา แต่กระบวนการเจรจาสันติภาพจะต้องดำเนินการต่อไป เพราะการพูดคุยสันติภาพได้เป็นนโยบายและมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้เสนอและรับรองจากรัฐสภาเมื่อต้นปี 2556 ที่แล้วโดยมีกรอบเวลาทำงานตั้งแต่ปี 2555 - 2557 โดยทางรัฐบาลมีภารกิจเปิดพื้นที่รับฟังความเห็นต่างด้วยสันติวิธี และลดเงื่อนไขของความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของความรุนแรงในทุกรูปแบบและทุกกลุ่ม รูปแบบการเจรจาไม่มีรูปแบบสำเร็จรูปและต้องใช้เวลา ในขณะที่ Former Major General Jaakko Oksanen, Crisis Management Initiative, Marti Ahtisaari Center ผู้ที่เคยอยู่ในคณะตัวกลาง กรณีอาเจห์ กล่าวว่ากระบวนการสันติภาพในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ดังนั้นไม่มีรูปแบบการเจรจาใดที่สามารถไปใช้ได้ แต่เราสามารถเรียนรู้เพื่อเลือกว่าส่วนไหนจะเหมาะสมกับพื้นที่ของตน และต้องใช้เวลาในการปรึกษาหารือ ที่สำคัญต้องมีการติดตามว่าข้อตกลงได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหรือไม่ อย่างกรณีอาเจห์ ประธานาธิบดีอาดีซารี ยึดเป้าหมายหลักของการพูดคุย คือนึกถึงศักดิ์ศรีของประชาชนทุกคนไม่ใช่เพียงแต่คนในโต๊ะเจรจาเท่านั้น ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของ General Jakko การแถลงการณ์ภายหลังจากการเจรจานั้น ไม่ควรแถลงการณ์ถึงรายละเอียดในการพูดคุยแต่รายงานเพียงบรรยากาศของการพูดคุยเท่านั้น เช่น การพูดคุยเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะคณะพูดคุยทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องรักษาน้ำใจของมวลชนทุกฝ่ายเพื่อให้ทุกคนพอใจกับการเจรจา และข้อตกลงใดๆ ก็ต้องมีการติดตามให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ General Jakko มองว่า คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต้องมีเจตจำนงร่วมกันว่าทางออกคือ การคุยกัน และหวังเพื่อให้ประชาชนไม่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งอีกต่อไป และต้องสร้างความไว้วางใจกันและกัน ด้าน Mr.Muhammad Nur Djuli, จากGAM อาเจะห์ประเทศอินโดนีเซีย มองว่า การเจรจาที่ดีต้องเริ่มที่การสร้างความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง อย่างกรณีความขัดแย้งในอาเจห์ บุคคลที่สามมักมองว่าเป็นเรื่องเชื้อชาติ มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ต้องการปฏิวัติ ต้องการการแบ่งแยกดินแดน แต่แท้จริงแล้วประเด็นสำคัญคือ อำนาจอธิปไตย Muhammad Nur ได้ย้ำเตือนว่า หากได้มีโอกาสสังเกตสภาพเมืองอาเจะห์ขณะนี้ก็จะเริ่มมีการพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องโดยเริ่มมีร้านค้าที่มีสินค้าถูกๆจากประเทศจีน รถรามากขึ้น แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกขึ้น สันติภาพที่แท้จริงยังไม่เกิดขึ้น เพราะหลังจากเซ็นสัญญาสันติภาพแล้วคนที่เคยเป็นกองกำลังติดอาวุธหลายคนต้องตกงาน เหยื่อจากความรุนแรงก็ไม่ได้รับการเยียวยาและไม่ได้รับความเป็นธรรม เด็กกำพร้าจำนวนเป็นแสนคนยังไม่มีคนดูแล ที่น่าสนใจคือ การเซ็นสัญญาเอ็มโอยูสันติภาพที่ผ่านมาแปดปีแล้วนั้นยังไม่ได้รับการปฏิบัติแต่อย่างใด คำถามคือ เหตุใดขณะนั้น GAM จึงต้องเซ็นสัญญาสันติภาพ คำตอบคือตอนนั้นทุกคนเบื่อสงครามเหลือเกิน หรือสันติภาพได้มาเมื่อคนขี้เกียจทำสงครามแล้วหรือ หรือว่าหลักฐานว่าการเกิดสันติภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่าเพื่อให้สันติภาพยืนยงต่อไป ซึ่งเขาย้ำว่าเราจำเป็นต้องตั้งคำถามสิ่งเหล่านี้ ด้าน Prof.Abhoud Syed Ab Ghafer Tengku Mohamed ผู้ที่เคยอยู่ในคณะตัวกลาง กรณีมินดาเนา ได้กล่าวว่า สำหรับการพูดคุยสันติภาพของประเทศไทยถือว่าเป็นการเริ่มต้นพูดคุยดังนั้นก็อย่าเพิ่งถอดใจ เขาย้ำว่า สำหรับเขานั้นมองว่า การเจรจาเป็นวิถีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่ใช้อาวุธ เพราะกรณีมินดาเนาเองก็ตระหนักดีว่า การใช้อาวุธนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะยิ่งใช้อาวุธก็ยิ่งเกิดความรุนแรง และไม่มีทางออก เนื่องจากกองกำลังของมินดาเนาไม่สามารถเอาชนะกองกำลังของรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ ทั้งนี้ Syed Lingga ได้ระบุความคืบหน้าของการพูดคุยเจรจาของมินดาเนาโดยมีมาเลเซียเป็นตัวกลางว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (วันที่ 10 ธันวาคม 2556) ได้เซ็นสัญญาลงนามภาคผนวกในการแบ่งอำนาจเสร็จสิ้นที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้เขาได้ถอดประสบการณ์การเจรจาว่า เหตุใดการเจรจาต้องใช้เวลานานนั้นเพราะที่ผ่านมาเราไม่ได้ตระหนักถึงบริบทของปัญหาอย่างชัดเจน อันดับแรกการเจรจาที่สำคัญคือต้องตั้งคำถามให้ถูกต้องก่อนถึงจะแก้ปัญหาได้ถูกจุด อย่างกรณีมินดาเนาที่วิเคระห์ปัญหาผิดพลาดทำให้นักวิชาการ รัฐบาลและประชาชนหลงทางมาหลายปี เช่นเมื่อต้นปี 1960 มีการใช้อำนาจของชนชั้นนำทำให้เกิดความขัดแย้งกับมุสลิม จึงมีวิเคราะห์ว่าประชาต้องมีส่วนร่วม ทำให้มีการจัดเสวนารวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรวมคนให้เป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้ คริสเตียนกับมุสลิมมีความเข้าใจกัน ในขณะที่รัฐบาลต้องการผนวกรวมคนมุสลิมให้อยู่ในกระแสหลักคือ คริสเตียน ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องและไม่ใช่ความต้องการของคนในพื้นที่ พอสิบปีให้หลัง ก็เพิ่งรู้ว่าบังซาโมโรต้องการอำนาจในการปกครองของตนเองไม่ใช่อื่นใด ฉะนั้นการหาประเด็นหลักของปัญหาจะช่วยให้แก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้น และการเจรจาที่ดีต้องตั้งจุดประสงค์ของการเจรจาสันติภาพว่าเป็นไปเพื่อแก้ไขความขัดแย้งหรืออย่างไร มิเช่นนั้นมิอาจแก้ปัญหาที่แท้จริงได้แต่เป็นเพียงแค่ถ่วงเวลาเท่านั้น เพราะรากเหง้าของปัญหายังคงอยู่ เมื่อรู้ปัญหาแล้วก็ต้องระบุตัวแสดงของขั้วอำนาจที่อยู่เบื้องหลังต่างๆ และออกมาพูดคุยเจรจาแบบประนีประนอม เนื่องจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่คือ รัฐบาลต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามปกติเหมือนเดิม ส่วนคนบังซาโมโรต้องการแยกดินแดนออกมา ขณะนั้นกรอบของบังซาโมโร ได้ลงนาม ว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ให้เหมือนเดิม สิ่งสำคัญเราต้องไม่กลัวเรื่องการพัฒนาอย่างมินดาเนาก็มีโครงการที่ให้ประชาชนมีอาหารกินอย่างเพียงพอ เอาชนะความกลัวที่เราอาจจะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือ รัฐกลัวว่ารัฐไม่อยากคุยกับกองกำลังเพราะเกรงว่าจะอีกฝ่ายจะมีสถานะอื่น กองกำลังอาจกลัวรัฐบาลจะหลอก หรือว่าถูกบังคับ หรือล่อลวงให้มีการเซ็นที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น การเจรจาที่ดี ต้องมีข้อตกลงทีดี ข้อตกลงที่ต้องตอบโจทย์ความทุกข์ยากของประชาชนในพื้นที่และสิ่งที่ได้ต้องไม่ใช่ทางออกชั่วคราว แต่ต้องเป็นทางออกที่ยั่งยืนและที่ไม่มีความรุนแรง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อัยการตั้งสำนักงานพิเศษเฉพาะคดีความมั่นคง พร้อมตรวจสอบกรณีซ้อมทรมาน Posted: 18 Dec 2013 07:35 AM PST อัยการภาค 9 ตั้งสำนักงานพิเศษรับผิดชอบคดีความมั่นคงโดยเฉพาะ เพื่อความเอกภาพในการสั่งฟ้องคดีมุ่งสร้างความยุติธรรมให้ประชาชน พร้อมตรวจสอบกรณีซ้อมทรมาน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2556 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรมซี.เอ็ส.ปัตตานี สำนักงานอัยการฝ่ายพิเศษคดี 2 ภาค สำนักงานอัยการภาค 9 จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคาดหวังและข้อเสนอแนะต่อสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา เพื่อรับผิดชอบคดีก่อการร้ายโดยเฉพาะ โดยมีตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมประมาณ 60 คน นายโสภณ ทิพย์บำรุง อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 เปิดเผยระหว่างการสัมมนาว่า สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาคนี้ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ของอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะคดีก่อการร้ายตั้งแต่จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส แต่ส่วนใหญ่คดีก่อการร้ายมักเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา "สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค รับชอบผิดชอบคดีความมั่นคงที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 256 เป็นต้นมา ส่วนคดีที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นหน้าที่ของอัยการแต่ละจังหวัดที่เป็นผู้สั่งคดี"นายโสภณ เปิดเผย นายโสภณ เปิดเผยอีกว่า สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค มีหน้าที่ 1.เพื่อให้การสั่งฟ้องคดีความมั่นคงในพื้นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการที่ผ่านมาการสั่งฟ้องคดีความมั่นคงขึ้นอยู่กับอัยการแต่ละจังหวัด ซึ่งไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน 2.เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งคดีความมั่นคงให้อยู่ในที่เดียวกัน "สิ่งสำคัญที่สุดคือพนักงานอัยการที่ปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานนี้ ต้องเป็นพนักงานอัยการระดับ 4-5 หรือรับราชการอย่างน้อย 8 – 10 ปี เป็นต้นไป เพื่อใช้ประสบการณ์ในชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในการสั่งฟ้องคดี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนมากที่สุด" นายโสภณ กล่าว นายโสภณ เปิดเผยว่าหลังจัดสัมมนาว่า จากการจัดสัมมนาครั้งนี้ พบว่า สิ่งที่สำนักงานนี้ต้องการดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ กรณีที่ประชาชนอ้างถูกซ้อมทรมานในกระบวนการซักถามระหว่างถูกควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช 2457 (พ.ร.บ.กฎอัยการศึก) ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่องนี้ไม่เคยปรากฏในสำนวนการสอบสวนที่เคยได้รับมา ดังนั้นเมื่อประชาชนร้องเรียนมาแล้ว ทางสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาคก็ต้องตรวจสอบต่อไป นายโสภณ เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่นี้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาคได้รับเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมก่อนสั่งฟ้องมาแล้ว เพื่อให้เกิดการบูรณการการทำงานและดำเนินการด้วยความโปร่งใส่ ทั้งในกระบวนการสอบสวน การออกหมาย การซักถามการจับกุมและอายัดคดี เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 18 Dec 2013 07:26 AM PST ถ้าคนในสังคมร้อยละ 99 เป็นนักบุญหรือเป็นพระหมด ประชาธิปไตยก็จะกลายเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยไปในทันที ก็ไม่จำเป็นแล้วถ้า 99 เปอร์เซ็นต์ในสังคมเป็นพระอรหันต์ เพราะจะไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์หรืออุดมการณ์อะไรเลย แต่ถ้าทั้งสังคมเป็นโจรหมด ประชาธิปไตยก็เกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น ปัญหาคือในโลกของความเป็นจริงที่เราอยู่ มันไม่ใช่โลกของนิทาน มันเป็นโลกของคนดีๆ ชั่วๆ เราไม่ได้ถูกสาปให้ดีหรือชั่วตั้งแต่กำเนิด ทุกคนก็เป็นมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ทะเยอทะยาน ฉลาดบ้าง โง่บ้างตามเวลา แล้วความคิดของคนก็เปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีใครที่จะเห็นตรงกับคนอื่นตลอดเวลาไปทุกเรื่อง หรือเห็นไม่ตรงกับคนอื่นไปตลอดเวลาในทุกเรื่อง"
เสวนาหัวข้อ 'มายาคติว่าด้วยประชาธิปไตย' 18 ธ.ค.2556 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยยื่น กกต.เบรคโบนัสข้าราชการ Posted: 18 Dec 2013 06:58 AM PST เป็นการลุแก่อำนาจนำภาษี ปชช.ทั้งประเทศมาก่อประโยชน์ให้กับกลุ่มหรือคณะหรือพรรคการเมืองฝ่ายบริหารชี้ขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งส่อซื้อเสียงล่วงหน้า
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาล รธน.ไม่รับคำร้องสมาคมทนายฯ ชี้การชุมนุมของ กปปส.ใช้เสรีภาพตาม รธน. Posted: 18 Dec 2013 06:05 AM PST ศาลรธน.เสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เห็นว่า กปปส. ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับสถานการณ์เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว จึงไม่รับคำร้องสมาคมทนายความฯ กรณีกล่าวหาว่าล้มล้างการปกครอง 18 ธ.ค.2556 ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนุญ เผยแพร่ผลการพิจารณาคำร้องของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่ นายกิตติ อธินันท์ ตัวแทนสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีที่ผู้ถูกร้องได้กระทำการชุมนุมบริเวณ ถ.ราชดำเนิน โดยปิดเส้นทางการจราจร อีกทั้งยังได้ดำเนินการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปปิดล้อมและบุกยึดสถานที่ราชการ สถานที่เอกชน และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จนทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ รวมทั้งการที่นายสุเทพ ประกาศจะจัดตั้งสภาประชาชนเพื่อใช้อำนาจอธิปไตยสร้างกฎเกณฑ์และกติกาในการปกครองประเทศใหม่ จึงเห็นว่าการกระทำของนายสุเทพ ได้รับการสนับสนุนจากนายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เห็นว่า การชุมนุมของประชาชนตามคำร้องเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันถือเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเป็นการเรียกร้องและแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์ตามคำร้องได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาและเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว จึงยังไม่มีมูลกรณีตามคำร้องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาธิปัตย์ประชุม 21 ธ.ค. นี้เพื่อหาข้อสรุปส่ง ส.ส. หรือไม่ Posted: 18 Dec 2013 04:34 AM PST อภิสิทธิ์ระบุพรรคจะประชุม 21 ธ.ค. นี้เพื่อหาข้อสรุปจะส่งผู้สมัครเลือกตั้งหรือไม่ ยอมรับหนักใจ และยืนยันเป้าหมายของพรรคคือปฏิรูปประเทศโดยไม่ขัดประชาธิปไตย และการตัดสินใจลงเลือกตั้งหรือไม่จะไม่เกี่ยวกับ กปปส. เพราะ กปปส. เคลื่อนไหวอย่างอิสระแท้จริงไม่เกี่ยวกับพรรค ประชุมใหญ่วิสามัญ พรรคประชาธิปัตย์ 17 ธันวาคม 2556
18 ธ.ค. 2556 - ภายหลังการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นั้น ในวันเดียวกัน สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการหารือของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ กรณีที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า ทางพรรคจะมีการประชุมอีกครั้งในวันเสาร์ ที่ 21 ธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ โดยตั้งแต่วันนี้ได้สั่งการให้สาขาพรรคทุกจังหวัดดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทันที และรายงานกลับมาที่พรรค ทั้งนี้ยอมรับว่ารู้สึกหนักใจกับการตัดสินใจครั้งนี้ ไม่ว่าจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ แต่เห็นว่าหากทำแล้วประเทศเดินหน้าไปได้ก็ควรทำ พร้อมยืนยัน เป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์ คือ ปฏิรูปประเทศโดยไม่ขัดกับระบอบประชาธิปไตยและให้การเปลี่ยนแปลงปราศจากความรุนแรง ส่วนการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ต้องรอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบ ซึ่งระหว่างนี้คณะกรรมการบริหารพรรคทั้งชุดใหม่และชุดเก่า จะร่วมกันทำงาน โดยในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งนี้ได้มีการแก้ไขข้อบังคับ โดยเฉพาะการแก้ไขให้บุคคลภายนอกสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของพรรคได้ เพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศ อนึ่ง ฐานเศรษฐกิจ รายงานคำให้สัมภาษณ์ของอภิสิทธิ์เพิ่มเติม โดยอภิสิทธิ์กล่าวถึงการตัดสินใจว่าจะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งหรือไม่ว่า "คณะกรรมการบริหารพรรคจะไม่ตัดสินใจเรื่องนี้เพียงลำพัง แต่จะนำความคิดเห็นทั้งหมดมาประชุมร่วมกับอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค และไม่ว่าจะตัดสินใจลงสมัครหรือไม่ ล้วนแต่ส่งผลต่อพรรค เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ เพราะเจ็บทุกทาง แต่จะเจ็บหรือพิการ หากทำแล้วทำให้ประเทศเดินหน้าไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเราก็ต้องยอม เพราะเรื่องใหญ่ คือ การปฏิรูปประเทศ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนในการคลี่คลายปัญหา" นอกจากนี้ได้ตอบคำถามที่ว่า "ก่อนตัดสินใจจะหารือกับ กปปส. ก่อนหรือไม่" โดยอภิสิทธิ์กล่าวว่า กปปส. มีความเป็นตัวเองชัดเจน มวลชนที่มาชุมนุมสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนพรรคประชาธิปัย์ก็ตาม แต่ประเด็นการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องของ กปปส.ที่เป็นอิสระแท้จริงไม่เกี่ยวกับพรรค และเขาไม่คิดว่าเขาเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ แต่เขาเรียกร้องร้องการปฏิรูปประเทศและไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะปฏิรูปได้จริง อนึ่งการประชุมประธานสาขาพรรคเพื่อเลือกตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เป็นไปอย่างคึกคัก ซึ่งในช่วงเย็นมีการเลือกรองเลขาธิการพรรค 5 คน โดยที่ประชุมพรรคได้เลือก นายกนก วงษ์ตระหง่าน นายเจิมมาศ จึงเลิศสิริ นายนราพัฒน์ แก้วทอง นายเทพไท เสนพงศ์ นายศิริโชค โสภา และมีนางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ เป็นเหรัญญิกพรรค นางผ่องศรี ธาราภูมิ เป็นนายทะเบียนพรรค นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เป็นโฆษกพรรค รวมถึงเลือกคณะกรรมการ 3 คณะ คือ คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรค ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผบ.สส.ปัดขัดแย้งปลัดกลาโหม ยันเลือกตั้งได้ก็ดี Posted: 18 Dec 2013 02:27 AM PST 18 ธ.ค.2556 ที่กรมการบินขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. พร้อมด้วย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผบ.สส. พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร และนายทหารขั้นผู้ใหญ่ เดินทางไปเยี่ยมกำลังพล เพื่อสร้างขวัญกำลังใจเนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่กับทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมไปให้นโยบาย และรับฟังปัญหาในพื้นที่ พล.อ.ธนะศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ระบุว่า จุดยืนของกองทัพสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ว่า เดี๋ยวก็เจอกันในการประชุมสภากลาโหมในวันศุกร์ที่ 20 ธ.ค.นี้ และไม่เห็นว่าจะต้องเคลียร์อะไรกับพล.อ.นิพัทธ์ พร้อมยืนยันว่าไม่ได้ขัดแย้งกับ พล.อ.นิพัทธ์ กองทัพต้องเป็นกลไกของรัฐ และหนุนให้บ้านเมืองทำตามกรอบกติกาตามรัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้ง และกองทัพพร้อมส่งทหารเข้าไปช่วยดูแลการเลือกตั้ง "ผมไม่เคยพูด ไม่เคยได้ออกมาตำหนิ พล.อ.นิพัทธ์ ตามที่สื่อนำไปเขียน เพราะการแถลงในวงเสวนาของรัฐบาล พล.อ.นิพัทธ์ แถลงในระดับกระทรวงกลาโหม ผมเคยพูดอะไร ใครจะหาว่า ผมพูดอะไร ซึ่งท่าทีในการเสวนา ทุกคนก็ฟัง ผมได้เสนอให้ยึดพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง โดยมีคนกลาง คณะกรรมกลางกลาง ทหารพร้อมช่วย แต่เสวนาวันนั้น ไม่ได้ขัอสรุป ผมบอกแล้วว่า กองทัพมีทหาร 4.2 แสนคน ถือ อาวุธ ถือระเบิด ถ้าไม่มีระเบียบวินัย ก็จะเป็นกองโจร ดังนั้นทหารต้องยึดกรอบกติกา"พล.อ.ธนะศักดิ์กล่าว เมื่อถามย้ำว่า กองทัพสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งทำได้ก็ดี แต่ถามว่า ตนสั่งว่าต้องมีการเลือกตั้งได้หรือไม่ ตนสั่งไม่ได้ เพราะกฎหมายมีอยู่แล้วตามกติกา ส่วนใครจะพอใจหรือไม่พอใจต้องมาพูดคุย ถ้าคุยได้ก็ไปได้ดี คือ วิน-วิน ได้ประโยชน์ วันนั้นคำพูดตนเป็นแบบนี้ ทั้งนี้ทุกคนเป็นผู้ใหญ่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น งานก็เป็นงานของเขา จุดยืนของกองทัพต้องอยู่ในระเบียบวินัย ส่วนใครจะรักใครชอบใครก็ทำไป ถึงเวลางานก็ต้องไปทำ ส่วนปลัดกระทรวงกลาโหมอาจจะเป็นนโยบายของท่านที่ต้องสนับสนุนการเลือกตั้ง ท่านก็ดูในเรื่องกติกาอยู่ ท่านเป็นระดับนโยบายของกระทรวงกลาโหม เมื่อถามว่า ข้อเสนอของผบ.สส. ในการตั้งคนกลางมาดูแลการเลือกตั้ง โดยกองทัพคอยสนับสนุนจะเป็นไปได้หรือไม่ พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ปกติใครขออะไรมา กองทัพทำให้อยู่แล้ว ถ้าขอมาเป็นช่องทาง เพราะกองทัพถือเป็นกลไกของรัฐแต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ เราจะไปทำโน่นทำนี่ จะต้องมีการขอมา ซึ่งตนยังยึดหลักว่า งานที่รับผิดชอบต้องไม่ให้เสีย ต้องเดินหน้าไปเรื่อย ส่วนรายละเอียดทางการเมืองก็ว่ากันไป ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องดีที่ประชาชนออกมาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก หากใครมีเหตุผลดีก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ
ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐ เว็บไซต์ข่าวสด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สั่งตรวจสอบเหตุมือมืดปาระเบิดบ้านผู้ต้องหาคดี 112 Posted: 18 Dec 2013 02:10 AM PST 18 ธ.ค.2556 เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า จากกรณีที่ตำรวจร้อยเวร สน.หนองจอก ได้รับแจ้งจากเจ้าของบ้านเลขที่ 9/279 ซอย 29 หมู่ 2 หมู่บ้านทรัพย์เจริญ เขตหนองจอก ซึ่งเป็นบ้านของ นายเอกภพ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูงโดยมีคนร้ายไม่ทราบจำนวนปาระเบิดใส่บ้านเมื่อกลางดึกที่ผ่านมาแต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า ได้มอบหมาย พล.ต.ต.ชาญเทพ เสสะเวช รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ายังไม่ทราบว่าเป็นระเบิดชนิด โดยในตอนแรกเข้าใจว่าเป็นประทัดยักษ์แต่จากการเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุพบว่ามีดินระเบิดตกอยู่ ซึ่งต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นระเบิดชนิดใด และในวันพรุ่งนี้ (19 ธ.ค.) จะมีการเรียกประชุมชุดสืบสวนเพื่อติดตามความคืบหน้าเหตุนี้อีกครั้ง ส่วนการติดตามตัวนายเอกภพได้จัดชุดติดตามจับกุมตัวแล้ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มติเพื่อไทยส่ง ส.ส.ทุกเขต คนบ้านเลขที่ 109 - ภูมิใจไทยสมัครเข้าพรรค Posted: 18 Dec 2013 01:26 AM PST มติพรรคเพื่อไทยส่ง ส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ สมศักดิ์ เทพสุทิน นำคนบ้านเลขที่ 109 มัชฌิมาธิปไตยเดิม และภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนาบางส่วนสมัครเข้าพรรคพร้อมรับเลือกตั้ง - ส่วนมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ขอเว้นวรรคการเมือง ที่มา: เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย 18 ธ.ค. 2556 - สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวานนี้ (17 ธ.ค.) ว่า ที่พรรคเพื่อไทยมีสมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะสมาชิก บ้านเลขที่ 109 ที่พ้นจากการถูกตัดสิทธิทางการเมือง ได้เข้ามาสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวนมาก เช่น กลุ่มมัชฌิมาธิปไตย ได้แก่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค นายมนู พุกประเสริฐ นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล นายมานิต นพอมรบดี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายอนุชา นาคาศัย และนางนันทนา สงฆ์ประชา และจากพรรคภูมิใจไทย 4 คน ประกอบด้วย นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร นายปิยะรัช หมื่นแสน นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ และจากพรรคชาติไทยพัฒนาได้แก่ นางปารีณา ไกรคุปต์ โดยฝั่งพรรคเพื่อไทยมี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายสมชาย วงศ์สวัสดื์ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับผู้สมัครเข้าพรรคเพื่อไทยอย่างอบอุ่น นายสมศักดิ์ กล่าวว่ารู้สึกยินดีที่ได้กลับมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ในปัจจุบันมีแต่พรรคการเมืองใหญ่ที่จะดำเนินงานทางการเมืองได้อย่างมั่นคง ด้านนายสมชายกล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้พรรคเพื่อไทยมีศักยภาพและแข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมสนับสนุนให้เดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานด้วยว่า นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงมติที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค ว่าได้มอบให้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้พิจารณาและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน และแบบแบ่งเขต 375 เขต โดยจะให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 23 ธันวาคมนี้ พร้อมมอบหมายให้นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อดีตกรรมการพรรคพลังประชาชน เป็นผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ ยังกำชับห้ามไม่ให้กรรมการบริหาร และสมาชิกทุกคน กระทำผิดกฎระเบียบที่คณะกรรมการเลือกตั้งกำหนดไว้ ทั้งนี้ที่ประชุมไม่มีการพิจารณารายชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นแคนดิเดต ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออันดับหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้มีรายชื่อผู้ที่สมัครรับการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของผู้สมัครให้แล้วเสร็จก่อน นายพร้อมพงศ์ เปิดเผยด้วยว่า จะรวบรวมรายชื่อสมาชิกพรรคเพื่อไทยและประชาชนทั่วไปเพื่อดำเนินคดีกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และกลุ่ม 40 ส.ว. โดยเฉพาะนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่กระทำการส่อไปในทางไม่สุจริต เพราะทำการขัดขวางการเลือกตั้ง เนื่องจากร้องขอ กกต. ให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไป ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้คัดเลือกกรรมการบริหารพรรคทั้ง 35 คน ว่า เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมืองต้องทำการปฎิรูป ทั้งนี้อยากให้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ คำนึงถึงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 รวมทั้งให้ส่งรายชื่อผู้สมัครทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อลงสมัครแข่งขันด้วย ล่าสุด สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานวันนี้ (18 ธ.ค.) ว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคพลังประชาชน อดีตรองนายกรัฐมนตรี แสดงความจำนงต่อหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ไม่ขอลงสมัครเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ไม่ได้มีความขัดแย้ง ถูกกดดัน ปัญหาภายในพรรค และไม่ได้เบื่อการเมือง แต่ส่วนตัวต้องการเว้นวรรคหรือหยุดพักการทำงานการเมือง ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นแทน และยืนยันว่า ไม่คิดไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น และยังมีความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย ส่วนสมาชิกจะมีสมาชิกพรรคคนอื่นลาออกด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น