ประชาไท | Prachatai3.info |
- สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ค้านนายกคนกลาง/สภาประชาชน ยันให้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งชี้ขาด
- คนไทยกำลังแสดงความ 'รักชาติ' เพื่ออะไร และสู้กับใคร
- คู่ขัดแย้งในตูนิเซียจับมือตั้งนายกฯ ชั่วคราว ก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
- ปากคำป้าเสื้อแดงคลิป ‘รับจ้าง 200’ เหตุหน้ารามฯ บาดแผลสำหรับผู้ชื่นชอบระบอบทักษิณ
- ด้านมืดของพี่ชาย คือ ทางสว่างของน้องสาว
- การบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกาเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
- การเข้าใจการชุมนุมทางการเมืองผ่านการศึกษาการแสดง (Performance Studies)
- วิถีการปฏิรูปและทางเลือกเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย
- ความชอบธรรมทางการเมืองของ กปปส. กับการเลือกตั้ง
- จดหมายถึงนายก คำขวัญวันเด็กปี57
- คริส เบเกอร์
- เสวนา ‘ข้อเสนอทางเลือกในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย’
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ค้านนายกคนกลาง/สภาประชาชน ยันให้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งชี้ขาด Posted: 15 Dec 2013 11:33 AM PST
แถลงการณ์ฉบับที่ 2
ความคิดเห็นของ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) คือ แนวทางนี้เป็นการนำประเทศถอยหลังไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ และแก้ไขกฎกติกาต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์กับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคของมหาอำมาตย์ แต่พ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งแบบเสรีประชาธิปไตย มาตลอดระยะเวลา 21 ปี ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ ฯหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นนายกฯ จากการเลือกตั้งปลายปี 2551 ก็เพราะกองทัพฯ ช่วยอุ้มชูขึ้นสู่ตำแหนง มิใช่เพราะชนะการเลือกตั้ง กป.ปส.จะใช้ระบอบที่ได้อำนาจรัฐมาจากการ "บีบบังคับปล้นชิง" มาปฏิรูปการเมือง สร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้อย่างไร งาช้างจะงอกออกมาจากปากสุนัข ได้อย่างไร ดังนั้นสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ( สกต.) ขอสนับสนุนการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 และในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งแต่ละพรรคการเมืองและ องค์กรต่างๆ ในสังคม ที่ต้องการให้มีการปฎิรูปการเมือง ก็สามารถเสนอนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฎิรูปการเมืองได้ตามความเชื่อของตนเอง การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะชี้ขาดว่า 48 ล้านเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องการระบบการเมืองแบบใด และ อย่างไร เสียงข้างมากของประชาชนไทยจะชี้ขาด เพราะนี่คือเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง อำนาจอธิปไตยมิได้เป็นของ "มวลมหาประชาชน" ที่อยู่ภายใต้การบัญชาการของนายสุเทพฯ แต่เพียงกลุ่มเดียว หากแต่เป็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน เดินหน้าประชาธิปไตย ไปเลือกตั้ง 2 กุมภา 57
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ สกต. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนไทยกำลังแสดงความ 'รักชาติ' เพื่ออะไร และสู้กับใคร Posted: 15 Dec 2013 08:43 AM PST
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คู่ขัดแย้งในตูนิเซียจับมือตั้งนายกฯ ชั่วคราว ก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป Posted: 15 Dec 2013 08:32 AM PST ตูนิเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่คลี่คลายลงแม้จะสามารถโค่นล้มผู้นำเก่าช่วง 'อาหรับสปริง' ลงได้ โดยตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมามีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิสลามที่มาจากการเลือกตั้ง จนกระทั่งล่าสุดฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีมติร่วมกันในการแต่งตั้งรักษาการนายกฯ ก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป 15 ธ.ค. 2556 รัฐบาลพรรคอิสลามเอนนาห์ดาและพรรคฝ่ายค้านในตูนิเซียได้แต่งตั้งให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม เมห์ดี โจมา เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวเพื่อเป็นผู้นำรัฐบาลรักษาการจนกระทั่งถึงการเลือกตั้งในปีหน้า หลังจากที่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านสามารถเจรจาตกลงร่วมกันได้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (12 ธ.ค.) องค์กรสหภาพแรงงานทั่วไปของตูนิเซีย (UGTT) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ประกาศเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า พวกเขาสามารถบรรลุข้อตกลงได้โดยพรรคเอนนาห์ดายอมจะยอมลาออกเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลรักษาการแล้ว โดยที่พรรคเอนนาห์ดาเป็นพรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรก หลังเหตุการณ์ลุกฮือโค่นล้มผู้นำคนเก่าซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของกระแส 'อาหรับสปริง' ในปี 2553-2554 แต่การเมืองแบบเก่าของตูนิเซียที่ไม่มีการผูกติดกับศาสนาก็ดูจะขัดแย้งกับพรรคการเมืองอิสลามสายกลางอย่างเอนนาห์ดา ซึ่งกลุ่มไม่ผูกติดกับศาสนานี้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและมีการพึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป การประท้วงใหญ่ครั้งล่าสุดในตูนิเซียเกิดขึ้นหลังเกิดเหตุลอบสังหารนักกิจกรรมและนักการเมืองคนสำคัญสองรายคือโชกรี เบลาอิด ผู้นำขบวนการฝ่ายซ้ายฆราวาสนิยม และโมฮัมเหม็ด บรามี ส.ส. หัวหน้าพรรคสังคมนิยมพีเพิลมูฟเมนท์ โดยหลังจากเหตุการณ์สังหารบรามีในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาชาวตูนิเซียก็เริ่มออกมาประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลและต่อต้านการนำศาสนาเข้ามามีส่วนในการเมือง เหตุสังหารดังกล่าวมีการมุ่งเป้าผู้ต้องสงสัยไปที่บูวบาคาร์ ฮาคิม ผู้เป็นนิกายซาลาฟีหัวรุนแรงว่าเป็นผู้ก่อเหตุ ฮูซีเน อับบาสซี เลขาธิการ UGTT กล่าวว่าการเจรจาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีแม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้าง ทางด้านผู้สื่ออัลจาซีรา ยุสเซฟ ไกกี รายงานจากกรุงตูนิสว่า เมห์ดี โจมา ได้รับเลือกเป็นรักษาการนายกฯ จากมติในที่ประชุม โดยที่โจมาร์เป็น ส.ส. อิสระผู้ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด และทำงานในรัฐบาลปัจจุบันในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อัลจาซีราระบุอีกว่ามีคนสองคนที่มีอิทธิพลสูงมากในการเมืองของตูนิเซียคือ หัวหน้าพรรคเอนนาห์ดา ราเชด กันนูวชี และอีกคนคือ เบจิ คาอิด เอสเซบซี อดีตเจ้าหน้าที่ในยุคผู้นำเบน อาลี ผู้ถูกโค่นล้มในปี 2554 ซึ่งปัจจุบันเอสเซบซีเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้านนิดาตูวเนส ทั้งสองกล่าวตรงกันว่าการเลือกตั้งเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประเทศเดินต่อไปข้างหน้า
เรียบเรียงจาก Tunisia picks new PM ahead of polls, Aljazeera, 15-12-2013 Tunisia parties reach political agreement, Aljazeera, 13-12-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปากคำป้าเสื้อแดงคลิป ‘รับจ้าง 200’ เหตุหน้ารามฯ บาดแผลสำหรับผู้ชื่นชอบระบอบทักษิณ Posted: 15 Dec 2013 07:18 AM PST ท่ามกลางฝุ่นควันความรุนแรงที่ย่านรามคำแหงเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ต่อเนื่องถึงวันที่ 1 ธ.ค. มีคลิปมากมายที่ถูกเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม บ้างเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง บ้างเป็นคลิปที่ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หนึ่งในคลิปที่ได้รับการแชร์มากที่สุด คือ คลิปป้าเสื้อแดง 2 คนที่ออกมายอมรับว่ารับจ้างมาชุมนุมที่ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมีการเผยแพร่กันตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่เหตุการณ์การปะทะเริ่มเบาบางลงและ นปช.ตัดสินใจยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมทยอยกันออกจากสนามกีฬา ในคลิปดังกล่าว ปรากฏภาพกลุ่มผู้ชายยืนล้อมหญิงวัยกลางคนและหญิงสูงอายุ หญิงวัยกลางคนตอบคำถามยอมรับต่อหน้ากล้องว่าได้รับการจ้างให้มาชุมนุมวันละ 200 บาท
ดูเผินๆ เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะมีอะไร เป็นการเปิดโปงความจริงจากปากคำของหญิงสองคนที่นั่งยองๆ ท่ามกลางวงล้อมของชายฉกรรจ์ เพียงแต่บังเอิญว่าผู้หญิงหนึ่งในนั้นเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ระดับนำของคนเสื้อแดงในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีผู้คนรู้จักเธออยู่ไม่น้อย หลายคนเกิดความงุนงงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดเธอจึงพูดเช่นนั้น ความพยายามติดต่อเธอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทั้งนักกิจกรรม ผู้สื่อข่าว ฯลฯ แต่เธอไม่รับโทรศัพท์ของใครทั้งสิ้น จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปหลายวัน จึงสามารถติดต่อเธอได้ การพูดคุยกันทำให้ทราบถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายที่กระทำต่อผู้ชุมนุม แม้ความรุนแรงจะเกิดขึ้นเพียง 2 วัน 1 คืน สื่อมวลชนรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ผู้มีสถานะทางสังคมที่ออกมาให้ความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ แต่สิ่งที่มองไม่เห็นคือ ความรุนแรงย่อยๆ ที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีปากมีเสียง มันเป็นภาพสะท้อนอันโหดร้ายและน่าสะพรึงกลัวท่ามกลางความแตกแยกที่มีอยู่ขณะนี้ และไม่มีใครรับประกันได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก กระทั่งลุกลามหนักหน่วงกว่านี้ คำแสน ไชยเทพ วัย 43 ปี คือหญิงที่ปรากฏในภาพ เธอเป็นคนเสื้อแดงตั้งแต่ปี 2551 ในเหตุการณ์ปี 2553 ลูกชายของเธอถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับการชุมนุมเมื่อปี 2553 ต่อมาเธอได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี ประชาไทโทรศัพท์สัมภาษณ์เธอเพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ในวันดังกล่าว คำแสนเล่าว่า เธอเดินทางพร้อมชาวบ้าน ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อมาร่วมชุมนุมกับ นปช.โดยว่าจ้างรถตู้จำนวน 8 คันในราคารถปิกอัพเนื่องจากคนขับรถตู้เองก็อยากมาร่วมชุมนุมด้วย พวกเขาเดินทางมาถึง กทม.ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 30 พ.ย. และเข้าร่วมชุมนุมในสนามกีฬาตามปกติ กระทั่งตอนเย็นที่เริ่มเกิดเหตุปะทะกัน เธอก็อยู่ภายในสนามกีฬา เธอเล่าว่า คนในสนามมีจำนวนพอสมควร ทุกคนที่นั่งอยู่รู้ว่าเกิดความรุนแรงขึ้นภายนอก แต่บนเวทีไม่ค่อยมีการพูดเรื่องนี้ ซึ่งเธอคิดว่าเป็นเพราะแกนนำคงกลัวมวลชนจะตื่นตกใจ ขณะเดียวกันก็มีการประกาศห้ามคนในสนามออกไปด้านนอกด้วย "สงสารคนกรุงเทพฯ มาก เขากลับไม่ได้ เราคนต่างจังหวัด เราเคยมาค้าง เราอยู่ได้ แต่คนกรุงเทพฯ ที่มา หน้าตาดีๆ อดหลับอดนอน ออกมาไม่ได้ อยู่กันจนสว่าง พวกเราที่ไปด้วยกันก็ไม่มีใครออกมาเพราะกลัว แต่มีคนเทียวออกมาเอาของที่รถตู้อยู่ การ์ดบอกให้หลบกระสุน ก็เห็นเขายิงกัน เห็นเขาหามคนเจ็บกันอยู่ แต่ไม่คิดว่าใครจะเสียชีวิต รถตู้ที่เราเอาไปจอดอยู่ที่ชั้น 2 ก็เพิ่งรู้คืนนั้นแหละว่า นั่นรามคำแหง ยังคิดว่า โห ทำไมมันใกล้กันจัง กำแพงเตี้ยๆ เอง" จนถึงตอนเช้า แกนนำประกาศให้รอตำรวจมารับ ผู้คนในสนามรอคอยกันอยู่เป็นเวลานานก็ยังไม่เห็นวี่แววตำรวจ ในขณะที่อาหารและน้ำดื่มขาดแคลนตั้งแต่เมื่อคืน ห้องน้ำเต็ม ไม่สามารถใช้การได้ ทำให้คนจำนวนหนึ่งทยอยออกจากสนามเอง เมื่อเห็นดังนั้น คำแสนและพรรคพวกจึงออกมาขึ้นรถตู้เพื่อออกจากสนามกีฬา โดยนัดแนะกันว่าจะเลี้ยวขวาไปรอกันที่ปั๊มเชลล์ซึ่งอยู่ไม่ไกลแล้วจะยูเทิร์นกลับรถเพื่อเดินทางกลับบ้าน รถตู้ 5 คันแรกดำเนินการได้ตามนั้น แต่มี 3 คันที่ยังติดค้างอยู่จนกระทั่งเกิดเหตุ
นาทีชีวิต ความผิดพลาดของ "การเข้าห้องน้ำ" และ "GPS""คันอื่นเขายูเทิร์นไปแล้ว แต่อีกสามคันยังออกไม่ได้ เพราะรอชาวบ้านเข้าห้องน้ำ ตอนจอดรถรออยู่ก็เอะใจแล้ว ความรู้สึก สัญชาตญาณของเรารู้สึกว่าไม่ใช่แล้วล่ะ ชาวบ้านไม่รู้ว่าสถานการณ์อย่างนั้นไม่ควรไปเข้าห้องน้ำ แต่เขาก็ลงไป มอเตอร์ไซด์ก็จ้องแล้ว เราก็บ่นกันอยู่ว่าทำไมต้องไปเข้าห้องน้ำในสถานการณ์แบบนี้ ก็โมโหให้ชาวบ้านอยู่ เขาก็บอกว่าเขาทนไม่ไหวในนั้น (สนามกีฬา) ห้องน้ำมันเต็ม บ่นไม่ทันขาดคำ มอเตอร์ไซด์ก็มาวนรอบรถตู้แล้ว ประมาณ 3-4 คัน ใจคอไม่ดีแล้ว เรารู้เลยว่ามันผิดปกติ" เธอไล่ชาวบ้านขึ้นรถ โดยเธอและผู้ใหญ่กองชัย ผู้เป็นสามีขึ้นรถตู้คันสุดท้าย รถตู้ทั้งสามคันยูเทิร์นกลับและขับเกาะกลุ่มกัน แต่คันที่ออกก่อนหน้าไม่ขับตรงไป กลับเลี้ยวซ้ายไปทางด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะคนขับไม่รู้ทางในกรุงเทพฯ และขับตามที่จีพีเอสบอก "เราก็ตกใจ เรามาชุมนุมบ่อยก็รู้แล้วว่ามันไม่ใช่แล้ว ไปถึงก็เห็นรถคันเหลืองๆ ที่ถูกทุบ โทรไปหารถตู้คันหน้าให้หันกลับด่วน แต่มันไม่ทันแล้ว มอเตอร์ไซด์มันเริ่มวนมาแล้ว จะกลับมาก็ไม่ได้ มันล้อมหมดไม่รู้กี่คันต่อกี่คัน ไปไม่ได้แล้ว มีคนซัก 50 คนขวางอยู่" "พวกนั้นเข้ามาทุบประตูให้เปิดออก ถามว่าเราเป็นเสื้อแดงไหม รถคันหน้าเปิดประตู ประสบการณ์เราในการชุมนุมเรารู้แล้วนี่ไม่ใช่คนของเรา แต่เราก็บอกไม่ได้มันนั่งรถตู้คนละคัน มาด้วยกันก็ต้องไปด้วยกัน เขาเปิดประตู พวกนั้นมีมีด ปืนสั้น ค้อน มีทุกอย่าง เขาเอาไม้เหมือนไม้หน้าสาม ไม้กอล์ฟทุบรถคันแรก เอาระเบิดปิงปองโยนเข้าในรถจนมีคนบาดเจ็บ รถยังเป็นรอยอยู่ แล้วก็เอาไม้กอล์ฟฟาดที่แขนของป้าคนที่โดนระเบิดปิงปองด้วย เอาไม้กระทุ้งท้องผู้ชายอีกคน แต่รถคันนั้นสุดท้ายก็พยายามประคองขับรถไป รอดไปได้" ภาพรอยช้ำบริเวณแขนและขาของนาง คำแสน ไชยเทพ อายุ 43 ปี
รู้จักประชาธิปไตยไหม จงรักภักดีไหมก่อนหน้าที่จะถูกจับได้ เธอทำลายบัตร ส.จ.และนัดแนะกับป้าที่มาด้วยว่า อย่าบอกว่าเธอเป็น ส.จ. และหากพวกเขาถามอะไรเธอจะเป็นคนพูดเอง จากนั้นชายฉกรรจ์ราว 30-40 คนก็มาพบและนำตัวทั้งสองออกไป
นางกองแก้ว โพธิ์จันทร์ แสดงบาดแผลจากเหตุถูกทำร้ายเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.56 โดยระบุว่าถูกทำร้ายด้วยการถูกตีด้วยไม้กอล์ฟที่แขน (ภาพบน) และถูกทำร้ายด้วยระเบิดปิงปองจนเกิดบาดแผลที่ก้น (ภาพล่าง)
รอยแผลที่ก้นของนางกองแก้ว โพธิจันทร์ อายุ 50 ปี (ถ่ายเมื่อ 3 ธ.ค.56) รอยแผลที่แขนนางกองแก้ว โพธิจันทร์ อายุ 50 ปี (ถ่ายเมื่อ 3 ธ.ค.56)
หลังจากนั้นเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่นำเธอไปส่งที่ สน.วังทองหลาง และอยากจะให้ค่ารถเธอกลับบ้านแต่เขาก็ไม่มีเงินเช่นกัน
จากนั้นเธอก็ติดต่อกับลูกสาวของเธอที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ลูกเธอมาพร้อมกับเพื่อนและเมื่อเห็นแม่ก็ได้แต่กอดคอกันร้องไห้ เธอเล่าว่า ลูกสาวพยายามตามหาแม่ตลอดเช้านั้น
สุดท้ายเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านถึงบ้านจังหวัดอุดรราวตีสองตีสามของวันรุ่งขึ้น
ความเอื้ออารีของคนต่างสีเสื้อสำหรับผู้ใหญ่กองชัย สามีของเธอ เธอเล่าว่า เขาขาดการติดต่อกับเธอไปตลอดคืน และเธอคิดว่าเขาอาจจะไม่รอดแล้ว แต่ปรากฏว่าช่วงบ่ายแก่ของวันรุ่งขึ้น ผู้ใหญ่กองชัยติดต่อมาถึง ส.ส.ในจังหวัด แจ้งข่าวว่าเขาปลอดภัย เพราะ ส.ส.อุดรฯ ประสานกับตำรวจ ส.น.วังทองหลาง ให้เข้าไปช่วยรับคนที่ติดค้างตรงนั้นออกมา โดยผู้ใหญ่กองชัยไปรอที่หมอชิตก่อนหน้านั้นแล้ว ผู้ใหญ่เล่าว่ามีคนประมาณ 20 คนไปอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของเป็นคนจังหวัดกาฬสินธุ์ ช่วยให้เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วออกมาทีละคนสองคน ขณะที่บ้านหลังที่ผู้ใหญ่กองชัยไปขอความช่วยเหลือตอนแรกเจ้าของบ้านดูจะปฏิเสธเพราะเกลียดเสื้อแดง แต่เมื่อเขาเห็นกลุ่มชายฉกรรจ์ทำกับเธอและป้า เจ้าของบ้านก็เปลี่ยนใจ "เขาบอกว่าผู้ใหญ่ว่า "ผมไม่ชอบเสื้อแดง ผมเป็นเสื้อเหลือง บอกตรงๆ แต่ไม่ชอบการกระทำที่โหดร้ายแบบนั้น ผมไม่เอา ผมจะเอาคุณไว้ตรงนี้" พอดีเขาเป็นเจ้าของหอตรงนั้นแล้วเขาก็บอกผู้ใหญ่กองชัยว่ากลุ่มนั้นปล่อยผู้หญิงสองคนไปแล้ว แล้วก็ให้ผู้ใหญ่กองชัยเปลี่ยนเสื้อ แล้วก็ขับรถไปส่งผู้ใหญ่ แล้วยังให้เงินอีก 500 บาทค่ารถ เดี๋ยวนี้ก็ยังโทรขอบคุณกันอยู่ เขาบอกว่าสงสาร คนแก่ๆ ยังทำกันได้" นี่อาจเป็นบทสรุปที่ช่วยให้ใจชื้นขึ้นได้บ้าง ท้ายที่สุดเราถามถึงสภาพจิตใจของคำแสนหลังเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ รวมถึงสอบถามว่าเห็นคลิปที่เผยแพร่แล้วหรือไม่ เธอตอบว่า "สภาพจิตใจตอนนั้นแย่มาก ไม่รู้สึกเจ็บตัวแต่เจ็บใจ ทำไมบ้านเมืองเรามันป่าเถื่อนอย่างนี้ เมืองไทยเหรอเนี่ย เราพูดไปเราก็ร้องไห้ไป หลังเหตุการณ์มีคนโทรมา คนก็ถามว่าทำไมโทรมาแล้วไม่รับ ไม่มีจิตใจจะรับจะพูดกับใครเลย ตัวเราช้ำไปหมดแต่เราไม่รู้สึกเจ็บตัวเลย ด้านหลังเราโดนของแข็งกระแทกก็ไม่รู้ว่าอะไร ทำไมมันป่าเถื่อนแบบนี้ ตำรวจก็ทำอะไรเขาไม่ได้ ถ้าเป็นเสื้อแดงทำแบบนี้เขาจับตั้งแต่วินาทีนั้นแล้ว เมืองไทยสยามเมืองยิ้มเหรอ มันไม่น่าอยู่แล้วล่ะตอนนี้ คิดไปก็ร้องไห้ไป" "เห็นคลิปวิดีโอแล้ว ทำไมมันไม่มีตรงที่ทำกับเรา ไม่มีตรงที่พูดกับเราแบบจะฆ่า ไม่มีภาพเอาปืนจี้หัวเรา ก็ยังงงอยูว่าทำไมมันไม่มี ยังคิดอยู่ตลอด ไม่อยากพูดเรื่องนี้แล้ว พูดแล้วมันสะเทือนใจ มันแค้น คนที่รู้จักเขาเข้าใจ แต่คนไม่รู้จักเราเขาไม่เข้าใจ มีคนพูดให้ฟังว่ามีคนเสื้อแดงว่าให้ เราก็บอกว่าช่างเถอะเขาไม่รู้ว่าตอนนั้นเราถูกบังคับ เราต้องรักษาชีวิตของพี่น้องเราไว้ เราเอาคนไป เราต้องรับผิดชอบอีกหลายชีวิต และเรารู้ว่าอะไรคือเรื่องจริง" สำหรับรถตู้ทั้ง 2 คันนั้น จากการโทรสอบถามวิโรจน์ ลาบคำนูน เจ้าของรถตู้ซึ่งซื้อดาวน์รถดังกล่าวจากชาวบ้านในพื้นที่มาผ่อนต่อ พบว่า หลังจากหลบหนีออกจากพื้นที่ได้ ก็เห็นข่าวรายงานว่ารถของเขาซึ่งจอดทิ้งในซอย 53 ตั้งแต่ช่วงสายของวันที่ 1 ธ.ค. กลางดึกของวันดังกล่าว รถตู้ทั้งสองคันก็ถูกเข็นออกมาเผาที่หน้าปากซอย 53 (อ่านข่าว)
เสียงจากลูกสาวนักศึกษารามฯ "ทำไมทำกันขนาดนี้"ปอ คือชื่อเล่นของลูกสาวคำแสน เธอเพิ่งเรียนจบคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงหมาดๆ จากที่ไม่เคยสนใจการเมืองมากนักและไม่เคยแสดงจุดยืนใดๆ ทางการเมือง แต่เหตุการณ์ที่เกิดกับแม่ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป "บรรยากาศภายในรามก่อนจะเกิดเหตุการณ์ ส่วนตัวหนูไม่ได้จะเข้าข้างฝ่ายไหน หนูว่ามันวุ่นวาย ไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมือง เวลากลับบ้านก็เป็นบรรยากาศนึง แม่ก็จะสีนี้นะ มาเรียนก็จะเป็นอีกบรรยากาศหนึ่ง เพื่อนๆ ก็ชอบว่าเสื้อแดงอย่างนั้นอย่างนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่หนูไม่พอใจก็คือที่เขาว่า คนอีสานโง่ เสื้อแดงโง่ ไม่มีการศึกษา หนูจะรู้สึกเสียใจตลอดแต่พูดอะไรไม่ได้ ก็หลีกเลี่ยง ไม่อยากมีปัญหากับเพื่อน แต่เคยถามแม่ตลอดว่าทำไมถึงชอบ แม่ให้เหตุผลมาก็ฟัง เวลาแม่มาชุมนุม หนูก็ไปหาแม่ตลอด หนูก็เห็นบรรยากาศตลอดว่าเป็นยังไง ก็รู้สึกว่าไม่มีพิษภัยอะไร" "จนวันที่เกิดเหตุ หนูไปหาแม่ที่ราชมังฯ เพื่อนหนูบอกว่าเขาจ้างมา ยึดบัตรประชาชน แต่หนูเห็นตลอด แม่มาชุมนุมไม่เคยโดนยึดบัตรประชาชน หนูไปก็ไม่เคยโดนยึด หนูก็เถียงว่าเขาไม่เคยยึดนะ เพื่อนก็หาว่าหนูเข้าข้างแม่ เพื่อนก็รู้ว่าแม่เราเสื้อแดง จะพูดกระแนะกระแหนหนูตลอด แต่หนูก็ไม่เคยโต้ตอบ" "ในโซเชียล (social media) ของดาราก็โพสต์ว่า เวทีของคุณสุเทพมีธงชาติและรูปในหลวง เวทีเสื้อแดงมีธงสีแดงและรูปฮุนเซน หนูก็บอกว่า เอ๊ะ ทำไมไม่เห็น เลยถามแม่ว่ามีรูปฮุนเซนกับทักษิณไหม แม่ก็บอกไม่มี หนูก็ไม่เห็น ก็ไม่พอใจมากว่าเอามาจากไหน โจมตีกันโดยที่ชาวบ้านเขาไม่รู้เรื่อง เพราะเขาเปิดโซเชียลไม่เป็น แล้วก็ยังโจมตีว่ามีอาวุธสงคราม ในรูปที่รถอุดรฯ โดนทุบ มันคือรถตู้ที่แม่หนูนั่งมา เขาบอกว่ามีอาวุธสงคราม คนที่แชร์ก็คือเพื่อนสนิทที่หนูรู้จัก หนูเลยโพสต์ว่า รถคันนี้แม่ฉันนั่งมาเอง ไม่มีอาวุธสงครามอะไรทั้งสิ้น หยุดใส่ร้ายป้ายสีกัน ตอนนี้หนูรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่าอะไรคืออะไร เพื่อนๆ ส่วนมากก็มาให้กำลังใจ ส่วนคนไม่พอใจก็ไม่มาอะไร หนูก็ไม่แคร์แล้วว่าใครจะเลิกคบหนู หนูแคร์แม่หนูมากกว่า แล้วหนูก็เอาคลิปแม่ไปลงด้วย หนูไม่อาย หนูรู้สึกว่าทำกับแม่หนูขนาดนี้ หนูก็ไม่อาย ไม่ไว้หน้าใครแล้ว"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ด้านมืดของพี่ชาย คือ ทางสว่างของน้องสาว Posted: 15 Dec 2013 06:43 AM PST ในครอบครัวชินวัตรได้สร้างปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านในหลายๆอย่าง ในส่วนของคุณทักษิณได้สร้างปรากฏการณ์การดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี คนแรกและคนเดียวในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในส่วนของคุณยิ่งลักษณ์ก็ได้สร้างปรากฏการณ์นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย แต่การใช้นิยามว่าเป็นความมหัศจรรย์ทั้ง 2 อย่าง มันแลดูไม่น่าชื่นชมนัก เพราะ นายกรัฐมนตรีท่านอื่นๆทำไมถึงอยู่ได้ไม่ครบวาระเสียเลย เรามีเหตุการณ์ทางการเมืองที่มาขัดขวางการพัฒนาการทางประชาธิปไตยหลากหลายครั้ง ผ่านการรัฐประหารนับสิบครั้ง เป็นต้น และการก้าวขึ้นมาของการเป็นผู้นำหญิงมันต้องเป็นเรื่องที่แลดูปกติ ถ้าเรามองว่าผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกันในพื้นที่ทางการเมือง แต่การกล่าวว่าในลักษณะเป็นเรื่องใหม่หรือมหัศจรรย์(คนแรก) การกล่าวว่าผู้ชายและผู้หญิงในพื้นที่ทางการเมืองนั้นยังต้องนำมาขบคิดอีกมาก แต่ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีในการสร้างพื้นที่ความเท่าเทียมนี้ขึ้น เพราะ จำนวนผู้หญิงก็มีจำนวนมากขึ้นในพื้นที่ที่เคยถูกผูกขาดด้วยผู้ชาย ทั้ง 2 ท่านนี้มาจากครอบครัวเดียวกันมีหลายหลายความคิดที่อาจคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน เราไม่สามารถปฏิเสธการเป็นพี่ชายและน้องสาวของทั้งสองท่านได้ แต่เราสามารถแลกเปลี่ยนในกระบวนการคิดของทั้งสองท่านได้ คุณทักษิณมาพร้อมกับ ความ Aggressive สังเกตได้จากการสอบชิงทุนของกรมตำรวจได้เป็นที่หนึ่ง เพื่อศึกษาต่อปริญญาเอก จากนั้นก็ได้กลับมาทำงานทางราชการและลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัวแต่วัยหนุ่ม เขาประสบความสำเร็จในธุรกิจที่เขาสร้างขึ้น สิ่งเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานมาจากเขามีภาวะผู้นำที่สูง สูงในแง่ของการสั่งการและเข้มงวด เมื่อลงสมัครรับเลือกตั้งก็สามารถครองคะแนนเสียงเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ มีกำลังอำนาจนำเหนือองค์กรอิสระ(รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540) การเป็นที่นิยมของประชาชนที่เป็นฐานมวลชนเมื่อออกปฏิบัติภารกิจนอกพื้นที่ก็มีมวลชนมาต้อนรับจำนวนมาก และเขาเองก็นำวิธีการบริหารงานรูปแบบภาคเอกชนเข้าปรับใช้ในการบริหารราชการ (CEO) คุณยิ่งลักษณ์มาพร้อมกับ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (เธอมีเท่านี้ เธอก็ใช้เท่านี้สู้กับสิ่งที่เผชิญหน้า และบังเอิญสิ่งที่เธอมีเท่านี้ มันไม่ล้ำหน้าใครหลายคนในสังคม กล่าวคือ มันไม่เป็นแสงแยงตาใครเสียเกินไปหรือการพร้อมที่จะประนีประนอม เพราะ ใครในที่นี้ คือ คนที่ขั้วตรงข้ามของพี่ชายของเธอ) คุณยิ่งลักษณ์จึงสามารถสร้างบรรยากาศแห่งความปรองดองได้ผ่าน "ความอดทน อดกลั้น" หรือ การเป็น Soft Leader สิ่งนี้ คือ สิ่งที่เธอแตกต่างจากพี่ชายของเธอ เธอก็ยังคงมีอิสระทางความคิดของเธอ ไม่ได้ถูกพี่ชายของเธอครอบงำไปเสียหมดตามที่ผู้ต่อต้านเธอมักกล่าวถึง การที่เธอมักถูกกล่าวว่าเป็นร่างโคลนนิ่งพี่ชาย ได้ผ่านการมองที่ว่า "ผู้นำสตรี ขึ้นมามีอำนาจได้เพราะมีสายสัมพันธ์จากผู้ชายเป็นแรงผลักดัน มากกว่าความสามารถของตัวเธอเอง ; ผู้หญิงมักถูกวิจารณ์ว่า "ลำพังตัวเธอเองมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าเธอไม่มีสายสัมพันธ์จากพี่ชายที่ดีพอ เช่น กรณีคุณยิ่งลักษณ์ ถ้าเธอไม่ได้เป็นน้องสาวของคุณทักษิณ เธอก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะได้เป็นนายกฯหรอก" ทั้งที่ผู้คนไม่เคยมองและใช้มาตรฐานเดียวกันนี้ ตั้งคำถามต่อผู้ชาย เช่น ลำพังคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เองคงไม่ได้เป็นนายกฯหรอก ถ้าไม่ได้เป็นสามีของคุณเยาวภา" มายาคติเช่นนี้พูดเหมือนการขึ้นสู่อำนาจของผู้หญิงเป็นเรื่องแปลกประหลาดกว่าการขึ้นสู่อำนาจของผู้ชาย ผู้คนไม่เห็นว่า Connection เป็นเรื่องปกติที่ผู้นำทุกคนต้องมีเมื่อจะขึ้นสู่อำนาจ ผู้คนมองไม่เห็น Political Capital (ต้นทุนทางการเมือง) ของ Political Dynasty (การเมืองของวงศาคณาญาติ) ทายาททางการเมืองนั้น เป็นไปได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผ่านการขึ้นสู่อำนาจด้วยแรงผลักดันจากสายสัมพันธ์ทั้งสิ้น[1] การเป็น Soft Leader ของเธอ มันทำให้ลดการเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุม เธอถอยหนีการปะทะกัน เธอถอยหนีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อหลีกหนีภาพความเจ็บปวดทางการเมืองที่มีมาในอดีตไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดที่ได้รับความสูญเสีย และการประกาศยุบสภาของเธอ ก็คือการแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง ในการกระทำที่ผิดพลาดของเธอและคณะรัฐบาลทั้งหมด เป็นการแสดงความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย และการลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเพื่อให้ประชาชนตัดสินตัวเธอจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ เป็นการต่อสู้กันในระบบ ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งดูได้จากการที่ให้ประชาชนเดินเข้าหาระบบ มีข้อเรียกร้องใดๆเราก็ต้องเดินเข้าระบบ เพราะ ณ เวลานี้ระบบยังคงทำงานได้ ไม่ใช่สร้างเงื่อนไขเพื่อเดินหนีระบบ ผ่านการออกมาริมถนนหรือการเดินหาอำนาจใดๆที่ไม่ได้มาจากประชาชน เป็นการถอยที่ทรงพลังทั้งทางการเมืองและทางมนุษยธรรม ตามที่เธอได้กล่าวว่า "ดิฉันไม่ใช่ไม่มีความรู้สึก ดิฉันได้ฟังมาตลอดกับการร้องขอกับผู้ชุมนุม การที่กล่าวถึงทั้งตระกูลนั้น ดิฉันก็ถือว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน จะถึงขนาดไม่ให้เหยียบอยู่ในแผ่นดินไทยเลยหรือ เราจะเป็นกันอย่างนี้หรือ ดิฉันถอยไม่รู้ว่าจะถอยอย่างไรแล้ว ก็ขอความเป็นธรรมด้วยค่ะ" นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวแถลงข่าวและตอบคำถามสื่อ 10 ธันวาคม 2556 แต่หลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งไปด้วยตามมาตรา 180 (2) แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ซึ่งกำหนดไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในมาตราดังกล่าว เธอจึงยังคงมุ่งมั่นทำงานต่อไป ทั้งการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนภาคใต้ที่ประสบปัญหาอุทกภัย การลงพื้นที่ตรวจงานการซ่อมแซมทางรถไฟสายเหนือ การเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นต้น สถานการณ์ ณ เวลานี้ เธอจึงยังคงทำงานได้ตามปกติ ทุกคนจึงยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ด้วยความประนีประนอมของเธอ และการจัดงานรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆในการปฏิรูปประเทศและร่วมแก้ไขปัญหาอย่างสันติ ในวันที่ 15 ธันวาคม นี้ ก็ทำให้อุณหภูมิทางการเมืองลดลง การเปิดพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่ที่ระบอบประชาธิปไตยมอบให้ เพื่อรองรับให้ทุกความต้องการของทุกๆคนได้แสดงออกมา ระบอบประชาธิปไตยมันสร้างพื้นที่ให้ผู้คนมาต่อรอง ไปสู่การหาจุดดุลยภาพร่วมกันเพื่อเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย เพื่อหลีกหนีการปะทะกันที่ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในอนาคต อุณหภูมิทางการเมืองที่ลดลงก็ทำให้อำนาจอื่นๆที่ไม่ได้มาจากประชาชน เช่น กองทัพ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้ามาจัดการปัญหาทางการเมือง ผ่านการรัฐประหารเช่นในอดีต ที่หลังรัฐประหารก็ยิ่งกลับมีความปะทุทางการเมือง ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง กองทัพจะยิ่งเป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน เป็นกองทัพของประชาชน รักษาเกียรติของตนไว้อย่าสง่างาม เพราะ ทหาร คือ พลเมืองในเครื่องแบบ ทหารจึงไม่มีอำนาจในการใช้อำนาจแทนประชาชนทั้งประเทศ โดยทหารก็จะเป็นที่ยกย่องของประชาชนในฐานะผู้เสียสละในการปกป้องประเทศด้านความมั่นคงกับภายนอกประเทศ เป็นสังคมแห่งการให้เกียรติซึ่งกันและกัน และด้วยพลังจาก "การควบตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของคุณยิ่งลักษณ์ มีการมองในเรื่องการเป็นนักการเมืองพลเรือนและเป็นผู้หญิง แต่ประเด็นที่ถูกมองเป็นหมุดหมายสำคัญคือ 1. การโยกย้ายตำแหน่งทางทหารที่จะตามมา 2.อาจมีรัฐมนตรีช่วย ที่เป็นนายทหารเก่าช่วยงาน แสดงให้เห็นว่าไม่ค่อยมีใครมองไปที่เรื่องความเป็นผู้หญิง เวลาที่เรามองกระทรวงกลาโหม ก็จะเป็นด้านความมั่นคงทางการทหาร นักการเมือง/นักเลือกตั้ง ไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ กองทัพก็จะดูแลความมั่นคงกันเอง และมีการโทษกันไปมาของ 2 ทั้งสองฝ่ายในด้านทิศทาง..... ...... กองทัพและการเมืองไทย มันกำลังบอกตำแหน่งแห่งพื้นที่ เช่น เรื่องงบประมาณ แนวนโยบาย กองทัพหรือกระทรวงกลาโหมก็จะดูแลกันเองมากกว่าให้นักการเมืองพลเรือนมาดูแล แต่กรณีการควบของคุณยิ่งลักษณ์ก็เป็นการส่งสัญญาณว่าเป็นการเริ่มต้นของการควบคุมผ่านนักการเมืองพลเรือน ก็ต้องรอดูว่าจะส่งผลต่อภาพรวมอย่างไรทางการเมืองไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เพื่อการประสานงานและพูดคุยที่ง่ายขึ้น ประกอบกับด้วยความอ่อนน้อมของนายกรัฐมนตรีก็จะทำให้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย"[2] ยิ่งทำให้กองทัพเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาประชาชน เพราะ มีรัฐบาลจากประชาชนมากำกับดูแลและทำงานร่วมกันได้เพื่อประชาชนทุกคน
ด้วยความ Aggressiveของพี่ชายเธอมันนำมาสู่การเพิ่มพลังอุณหภูมิทางการเมืองดั่งเช่นในอดีต ความเป็นผู้นำที่เด็ดขาด ที่แข็งกร้าว ที่ประชาชนนิยมมองว่าเข้มแข็ง ก็ย่อมเป็นภัยแก่ตัวผู้นำและสังคมเสียเอง ความอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าใช้ได้ไม่ทรงพลังก็ถูกมองว่าไม่เข้มแข็งได้ ประชาชนก็จะขาดความเชื่อมั่นได้ แต่เธอเลือกใช้ความแข็งแกร่งที่จะนำความอ่อนน้อมถ่อมตนของเธอมาดับร้อนการเมือง ด้านมืดของพี่ชาย จึงเป็น ทางสว่างของน้องสาว
1] รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์,จากหลังบ้าน ถึงนายกรัฐมนตรีหญิงฯ, http://prachatai.com/journal/2012/01/38617,5 มกราคม 2555 [2] รายการคิดยกกำลัง 2 กับ COMMENTATORS ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=6832&ap=flase,วันที่ 2 กรกฎาคม 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกาเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ Posted: 15 Dec 2013 06:21 AM PST
บทนำ ตามที่มีข่าวว่าแกนนำค.ป.ท.จะนำผู้ชุมนุมประท้วงบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต โดยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 นักศึกษาและประชาชนชาวอิหร่านที่ไม่พอใจการกระทำของรัฐบาลอเมริกันได้บุกรุกและทำลายทรัพย์สินของสถานทูตอเมริกาประจำกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน รวมทั้งจับคณะผู้แทนทางทูตและประชาชนชาวอเมริกันอีกหลายร้อยคนเป็นตัวประกันเป็นเวลาหลายเดือน[1] การบุกยึดสถานทูตเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงและทำให้สหรัฐอเมริกาฟ้องอิหร่านต่อศาลโลกมาแล้วจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นคดีจับตัวประกัน (The Hostage case) หากผู้ชุมนุมประท้วงมีการบุกยึดสถานทูตสหรัฐอมริกาประจำประเทศไทยจริง จะเป็นการละเมิดหลักความละเมิดมิได้ในสถานที่ของคณะผู้แทน (Inviolability of Mission Premises) อันเป็นหลักกฎหมายสำคัญของความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งได้รับการรับรองไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations) (ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีด้วย) ดังนี้ หลักความละเมิดมิได้ในสถานที่ของคณะผู้แทน (Inviolability of Mission Premises) ประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับ (Receiving state) มีพันธกรณีตามข้อบทที่ 22 (2) ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 ที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครอง "สถานที่ของคณะผู้แทน" (หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าสถานทูต) ของประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะรัฐผู้ส่ง (Sending state) จากการบุกรุก หรือความเสียหายใด และที่จะป้องกันการรบกวนใดๆต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติของคณะผู้แทน โดยหน้าที่คุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนโดยรัฐผู้รับนี้แบ่งได้ออกเป็นสามกรณีใหญ่ๆคือ หน้าที่ป้องกันมิให้เกิดการบุกรุก (intrusion) การทำความเสียหาย และการรบกวนใดๆ(disturbance) สำหรับตัวอย่างของการบุกรุก (intrusion) และการทำความเสียหายให้แก่สถานทูตนั้นที่รู้จักกันทั่วโลกได้แก่กรณีที่นักศึกษาและประชาชนอิหร่านได้บุกยึดสถานทูตอเมริกาประจำกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่านและยังได้จับนักการทูตและประชาชนชาวอเมริกันหลายร้อยคนเป็นเวลาปีเศษ สหรัฐอเมริกาฟ้องต่อศาลโลกว่าอิหร่านได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ศาลโลกได้ตัดสินว่าอิหร่านละเมิดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ที่น่าสนใจของคดีนี้ก็คือศาลโลกได้ตัดสินว่าแม้การกระทำดังกล่าวจะเกิดจากเอกชนหรือประชาชนก็ตามแต่เจ้าหน้าที่ของอิหร่านมิได้ทำการป้องกันอย่างเต็มที่ในอันที่จะมิให้เกิดความเสียหายขึ้น จึงมีผลเท่า กับว่าการทำลายสถานทูตและการจับนักการทูตถือเป็นการกระทำของรัฐบาลอิหร่าน อิหร่านจึงมีความผิดและต้องรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศ[2] ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับจึงต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมที่จะต้องป้องกันมิให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงบุกยึดสถานทูตสหรัฐอเมริกาได้ มิฉะนั้นแล้ว ประเทศไทยอาจละเมิดข้อบทที่ 22 (2) ของอนุสัญญาเวียนนาและก่อให้เกิดความรับผิดในทางระหว่างประเทศได้ สำหรับกรณีของการป้องกันการรบกวนใดต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติของคณะผู้แทนนั้น เป็นกรณีที่ผู้ชุมนุมประท้วงยังมิได้บุกรุกเข้าไปในสถานทูตแต่ทำการใดๆที่มีลักษณะเป็นการรบกวนหรือขัดขวางต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนทางทูตหรือมีการกระทำใดอันเป็นการหมิ่นเกียรติของทูต ก็ถือว่าเป็นการละเมิดข้อบทที่ 22 (2) เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับยังมีหน้าที่ที่จะต้องป้องกันมิให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ก่อความวุ่นวายหรือสร้างความรบกวนจนมีผลกระทบต่อการปฎิบัติหน้าที่หรือเป็นการหมิ่นเกียรติของตัวแทนทางทูตด้วยแม้ว่าจะมีการประท้วงบริเวณรอบๆสถานทูตด้วย บทส่งท้าย ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ (Public assembly) และการเดินประท้วง (Procession) ในหลายประเทศได้มีกฎหมายนี้ สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมในที่สาธารณะของต่างประเทศนั้นจะมีลักษณะการใช้บังคับที่ค่อนข้างเคร่งครัด กล่าวคือ มีการใช้ระบบอนุญาต ระบบการแจ้งล่วงหน้ามีมาตรการควบคุมการชุมนุมทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจออกกฎ ระเบียบ หรือคำสั่งในระหว่างการชุมนุมได้ หากเห็นว่าการชุมนุมนั้นอาจนำไปสู่ ความขัดแย้ง วุ่นวาย หรือไม่สงบเรียบร้อย รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งให้ยุติการชุมนุมได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเกี่ยวกับเงื่อนเวลา เช่น ในบางประเทศมีการกำหนดให้บุคคลจะใช้เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะได้ต้องเป็นภายหลังช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ภายหลัง 07.00-09.00นาฬิกา เป็นต้นไป บางประเทศก็กำหนดให้ชุมนุมได้ถึงเวลา 21.00-23.00 นาฬิกา เท่านั้น การที่ประเทศไทยยังขาดกฎหมายการชุมนุมและเดินประท้วงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอ้างสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญจนเกินขอบเขตและอาจนำไปสู่สภาวะความไร้ขื่อแปของกฎหมายในที่สุด
[1] สาเหตุของการเกิดวิกฤติการณ์การจับตัวประกันครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่มีการปฎิวัติใหญ่ในประเทศอิหร่าน โดยมีการโค่นล้มระบอบการปกครองเเบบกษัตริย์ ซึ่งมีกษัตริย์ ชาห์ ปาเลวี (Muhammad Reza Shah Pahlevi) เป็นประมุข ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน หลังจากที่มีการโค่นล้มชาห์สำเร็จเเล้ว ชาห์ได้ลี้ภัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งสร้างความไม่พอใจเเก่นักศึกษาอิหร่านเป็นอย่างมากจนนักศึกษาอิหร่านจำนวนมากบุกยึดสถานทูตอเมริกา ณ กรุงเตหะรานเเละจับนักการทูตเป็นตัวประกัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้น คือจิมมี่ คาร์เตอร์ พยามยามเเก้ไขวิกฤตการณ์ครั้งนี้ทั้งทางการทูตเเละการใช้กำลังโดยหน่วยคอมมมานโดเเต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฮลิคอปเตอร์สามลำได้ประสบอุบัติเหตุท่ามกลางพายุทะเลทรายเสียก่อน วิกฤตการณ์นี้คลี่คลายลงโดยคณะกรรมาธิการของสหประชาชาติ ซึ่งในนั้นมีนักการทูตชาวอัลจีเรียประจำสหประชาชาติอย่างท่าน Mohammed Bedjaoui อยู่ด้วย ต่อมาท่าน Bedjaoui ได้รับเลือกให้เป็นผู้พิพากษาศาลโลก [2] See UNITED STATES DIPLOMATIC AND CONSULAR STAFF IN TEHRAN (UNITED STATES OF AMERICA v. IRAN), I.C.J. Report 1980, para. 95 (2)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การเข้าใจการชุมนุมทางการเมืองผ่านการศึกษาการแสดง (Performance Studies) Posted: 15 Dec 2013 05:55 AM PST Performance ในที่นี้ กำลังพูดถึง การแสดง ซึ่งหมายถึง การนำเสนอตัวตน แสดงออก ให้คนอื่นเห็นว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ เหตุใด Performance จึงมีความสัมพันธ์กับการชุมนุมทางการเมือง นักการเมืองกำลังเล่นละครตบตาพวกกเราอยู่หรือ? หรือคนในม็อบเป็นแค่พวกนักแสดงที่เล่นบทว่าห่วงใยประเทศ และต่อสู้กับความอยุติธรรม? อันดับแรกเราต้องเข้าใจ การแสดง ในบริบทสังคมก่อน ซึ่งไม่ใช่เป็นการแสดงบนเวที ในทีวี หรือภาพยนตร์ แต่เป็นการเข้าใจการแสดงในฐานะส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทฤษฎีทางสังคมวิทยา Erving Goffman ได้อธิบาย การกระทำของมนุษย์ในชีวิตประจำวันผ่านหลักของการแสดงละครไว้ใน Presentation of Self in Everyday Life (1959) สรุปประเด็นสำคัญสั้นๆคือ มนุษย์มีพื้นที่สองส่วนคือ หลังเวที (Back) และหน้าเวที (Front) ในพื้นที่หลังเวที คือพื้นที่ที่เรามีความเป็นส่วนตัวสูง อยู่คนเดียว อาจเป็นห้องน้อนของเรา ห้องทำงานที่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เราจะทำอะไรก็ได้ แคะขี้มูก นอนเกาพุง น้ำลายไหล ในขณะที่ หน้าเวที คือพื้นที่สาธราณะที่เราต้องติดต่อกับคนอื่นๆนอกจากตัวเราเอง เราต้องใส่เสื้อผ้า (Costume) เลือก Props เลือกบทสนทนา ท่าทาง การกระทำ และ "ภาพลักษณ์บางส่วน" ที่เราอยากให้คนเห็นและเข้าใจว่าเรามีตัวตนอย่างไร แน่นอน ตัวเราในตลาดนัดข้างบ้าน กับ ตัวเราในซุปเปอร์มาเก็ตในห้างสรรพสินค้า ก็ไม่เหมือนกันแล้ว จะอธิบายหลักการแสดงให้ชัดขึ้นในโลกวันนี้ Facebook เป็นอีกตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดในฐานะพื้นที่ "หน้าเวที" ในขณะที่เรานั่งชันเข่าเกาหัวอยู่ในห้องนอนหน้าคอมมพิวเตอร์ เรากำลัง "Perform" ตัวเราเอง ผ่านฟีเจอร์ของ Facebook โดย "เลือก" ว่า ตัวเราแบบไหนดีที่อยากให้สาธารณชนรู้จัก เริ่มจากเลือกรูปประจำตัว การศึกษา บ้านเกิด รสนิยม เพลงโปรด กิจกรรมยามว่าง หรือกระทั่งรสนิยมทางการเมือง ซึ่งสิ่งที่เราเลือกออกมานี้ไม่ได้แปลว่าเราโกหก หรือ เราพูดจริง แต่ Performance ที่เกิดขึ้นนี้คือ "ความจริง" ชุดหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อจูงใจให้คนรับรู้ ในความเป็นเราแบบนี้ กลับมาที่เรื่องการเมือง ตกลงมันเกี่ยวยังไงกับการชุมนุมทางการเมือง? ถึงจุดนี้แล้วหน้าที่ของ Performance ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองคืออะไร? แล้วรู้ไปมีประโยชน์อะไร? ถ้าเช่นนั้น เราเป็นพวกโง่ ไร้สมอง โดนพวกนักการเมืองชั่ว ล้างสมองอยู่หรือ? แล้วไง? ไม่ต้องไปไหน? ทนกับความไม่ยุติธรรม?
เกี่ยวกับผู้เขียน: รับขวัญ ธรรมบุษดี MA Performance, Culture and Context ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วิถีการปฏิรูปและทางเลือกเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย Posted: 14 Dec 2013 11:40 PM PST
บทนำ "การปฏิรูป" เป็นกระแสหลักของภารกิจระดับชาติของประเทศไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี ครอบคลุมถึงการพัฒนาการเมืองจนนำไปสู่การสร้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สมัยนายกบรรหาร ศิลปอาชา การปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 สมัยนายกทักษิณ ชินวัตร การจัดทำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยของประชาชนผ่านกลไกองค์กรที่ชื่อว่า "สำนักงานปฏิรูป (สปร.)" ระหว่าง พ.ศ. 2553-กลาง พ.ศ. 2556 ที่มีสืบเนื่องมาในสมัยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระแสปฏิรูปล่าสุดที่กลายเป็นกระแสอันเชี่ยวกรากในขณะนี้นั้น นับได้จากการจัดตั้งสภาปฏิรูปการเมือง เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การปฏิเสธการเข้าร่วมของพรรคประชาธิปัตย์ ตามด้วยการเรียกร้องอย่างคู่ขนานให้มีการปฏิรูปประเทศไทยของขบวนการภาคประชาชน การโต้ตอบรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์นอกสภาต่อกรณี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การโหมกระหน่ำโดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส.) (ภายใต้การนำของอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และการสมทบกับแกนนำอดีตพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ องค์กรในเครือข่าย) การยุบสภาของรัฐบาลเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 และการเตรียมการเลือกตั้งครั้งใหม่ ที่สะสมกันๆจนทำให้ภาคส่วนต่างๆในสังคม รวมทั้งพรรคการเมืองที่จะแข่งกันในสนามเลือกตั้ง ร่วมขับขานร้องเพลงการปฏิรูปดังกระหึ่มทั่วประเทศไปด้วยในขณะนี้ ข้อเขียนชิ้นนี้จะนำเสนอวิถีการปฏิรูปผ่านนิยามของการปฏิรูป ประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐบาลชุดที่แล้ว และนำเสนอข้อเสนอทางเลือกเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยที่กำลังเป็นที่เรียกร้องต้องการของสังคมในขณะนี้ ดังต่อไปนี้ วิถีการปฏิรูป 1. การปฏิรูปจำเป็นต้องมีนิยามเพื่อการเข้าใจร่วมกันทั้งสังคมและส่วนย่อยต่างๆ ไม่เช่นนั้นเราอาจขับเคลื่อนกันไป โดยอะไรๆก็เป็นการปฏิรูปไปหมด ในทางทฤษฎี การปฏิรูปควรจะหมายถึง "กระบวนทัศน์ หลักการ แบบแผน การกระทำ และวิธีการของการกระทำที่สมเหตุสมผลอย่างใหม่ การปรับปรุงหรือปรับตัวใหม่ การสร้างความแตกต่าง การกระทำที่เป็น ความก้าวหน้า และเหมาะสมที่สุดสำหรับยุคสมัยนั้นๆ แต่ไม่ใช่แบบฉับพลันทันด่วน ทั้งโดยค่อยๆเป็นไปเอง หรือเร่งเร้าพอสมควรอย่างตั้งใจให้เกิดขึ้น ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่อาจเกิดกับทั้งสังคม ขบวนการ สถาบัน องค์การ และบุคคล และที่มักจะอาศัยปรัชญา ค่านิยม หรืออุดมการณ์ใหม่ หรือค่านิยมเดิมในอดีตที่ยังมีคุณค่าแต่ถูกละเลยมาอ้างอิง รวมทั้งการมีกฎระเบียบใหม่หรือการจัดตั้งองค์การเฉพาะเรื่องๆที่มีภารกิจรองรับกิจกรรมการปฏิรูป ให้เกิดการปฏิรูปตนเองและโดยรวม เพื่อผลหรือเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่และขับเคลื่อนหรือนำพาสังคม สถาบัน องค์การ และผู้คนไปสู่สภาพที่ก้าวหน้ากว่าเดิม" 2. การปฏิรูปอาจมีได้หลายกลยุทธ์หรือวิธีการ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูป ดังที่เคยมีการจัดตั้งสมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ.๒๕๕๓ รองรับ ระหว่าง พ.ศ. 2553 – 2555 (จบงานจริงโดยสมัชชาปฏิรูปในกลาง พ.ศ. 2556) หรือปล่อยให้เป็นเรื่องของพรรคการเมืองขับเคลื่อนตามนโยบายของตน คือ พรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลก็ย่อมปฏิรูปไปตามแนวนโยบายของพรรคนั้น หรือ ให้องค์กรประชาชนดำเนินการเคลื่อนไหวกันเองเพื่อเรียกร้องต่อรัฐให้ปฏิรูป หรือ การกระตุ้นให้องคาพยพต่างๆในสังคมสร้างกระแสการปฏิรูปตนเองขึ้นอย่างขนานใหญ่ ไม่ใช่การรวมศูนย์การปฏิรูปไว้ที่รัฐบาล หรือ การจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษของรัฐสภาคล้ายการร่างรัฐธรรมนูญแต่เพื่อการปฏิรูปประเทศ หรือ การตั้งคณะกรรมการพิเศษของรัฐสภา รัฐบาล และ ศาล ร่วมกัน หรือ การจัดตั้งเป็นองค์กรกลางเพื่อประมวลข้อความเห็นต่างๆ จากองค์การและสถาบันทั้งหลายทั้งปวง ทั้งของทางราชการ องค์การอิสระ องค์การประชาชน องค์การธุรกิจ สถาบันวิชาการ หรือ อื่นๆ ที่เสนอกันไว้มากมายแล้วมาคัดสรร วิเคราะห์และสังเคราะห์ ประเมินคุณค่า และจัดลำดับความสำคัญ แล้วทำเป็นข้อเสนอประกอบเหตุผลต่อไปยังรัฐบาลหรือองค์การต่างๆ โดยสภาปฏิรูปมีเพียงหน้าที่เสนอความเห็นว่าควรหรือจะต้องทำอะไร อย่างไร และทำไมจึงต้องทำเช่นนั้น แต่ไม่มีหน้าที่ขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูป หรือหากให้มีทั้งหน้าที่เสนอความเห็นและขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปไปพร้อมกันด้วยก็จะเป็นงานที่ท้าทายอย่างมาก
1. ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เรื้อรัง รวมทั้งปัญหาสำคัญๆที่สะสมของประเทศในด้านต่างๆ มาถึงปัจจุบันนั้น เราทั้งหลายย่อมเห็นว่าในเรื่องส่วนรวม รัฐบาลย่อมต้องเป็นภาระต่อการปฏิรูป แต่ผู้เขียนก็สนับสนุนการกระตุ้นให้องคาพยพต่างๆ ในสังคมสร้างการปฏิรูปตนเองขึ้นอย่างขนานใหญ่ด้วย คือ ปฏิรูปทั้งส่วนย่อยและส่วนรวมกันทั้งประเทศ เพราะทุกส่วนนั่นแหละที่เกี่ยวโยงถึงกันและพึ่งพาอาศัยกัน (Connectivity and dependency) เป็นสิ่งแวดล้อมต่อกันและกัน และกลายเป็นสังคมส่วนรวม แต่ละส่วนจึงต้องเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้มีผลต่อส่วนรวมด้วย ไม่ใช่การรวมศูนย์หรือมอบภาระการปฏิรูปไว้ที่รัฐบาลเท่านั้น รัฐบาลแม้จะอยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบบ้านเมืองในภาพรวม แต่ก็สามารถจุดประกายและเสริมสร้างหรือส่งเสริมด้วยการจัดตั้งกลไกที่เป็นองค์กรกลางมาเอื้อให้เกิดความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงในส่วนย่อยๆของสังคมได้ การใช้แนวทางเช่นนี้จะทำให้เกิดภาพประชาชนร่วมรัฐเพื่อการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งต่างจากการปฏิรูปก่อนหน้าครั้งนี้ ที่ดำเนินงานภายใต้องค์กรชื่อว่า "สำนักงานปฏิรูป (สปร.)" แต่ไม่มีลักษณะที่ชัดเจนว่าเป็นองค์กรของส่วนรวมหรือส่วนกลางจริงๆ โดยที่มาของคณะกรรมการปฏิรูปไม่สะท้อนการเป็นตัวแทนขององค์การตามกฎหมายและไม่มีกฎหมายรองรับที่มีบทบาทสำคัญๆในสังคมไทยมากนัก ผู้เข้าร่วมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเป็นคนดีมีฝีมือทั้งจากฝ่ายอนุรักษ์และฝ่ายก้าวหน้าในระดับแนวหน้าของประเทศ แต่ส่วนใหญ่ค่อนไปในทางเครือข่ายของปัญญาชนอนุรักษ์มากกว่าฝ่ายก้าวหน้า อันประกอบด้วย อดีตข้าราชการ นักวิชาชีพ นักวิชาการ นักวิพากษ์สังคม ผู้นำแรงงาน ผู้นำชุมชน และนักกิจกรรมภาคประชาชน รวมทั้งหน้าที่ของคณะกรรมการก็ยังจำกัดที่จะส่งเสริมให้องคาพยพต่างๆในสังคมสร้างการปฏิรูปตนเอง พร้อมกับการปฏิรูปของรัฐบาลขึ้นอย่างขนานใหญ่ร่วมกัน แต่โน้มไปในทางรวบรวมข้อเสนอเพื่อปฏิรูปและสร้างมติหรือให้ได้ข้อยุติเพื่อการปฏิรูปตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการส่วนกลางแล้วส่งต่อไปยังรัฐบาล (และพรรคการเมือง) ที่จะรับไปเป็นภาระการปฏิรูป โดยอาศัยการผลักดันและขับเคลื่อนของสาธารณชนเพื่อหวังจะให้การปฏิรูปเป็นจริง ดังที่ปรากฏว่าคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่มีในสมัยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีโครงสร้างสองส่วน คือ คณะกรรมการปฏิรูป และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป โดยหน้าที่ดังนี้[2] คณะกรรมการปฏิรูป มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ · กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ และกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูป · จัดทำข้อยุติและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปเสนอต่อสาธารณชนและภาครัฐเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง · ประสานงานกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปในการได้มาซึ่งข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสาธารณชนเกี่ยวกับการปฏิรูป · ประสานงานกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปในการสนับสนุน ติดตาม ผลักดัน การขับเคลื่อนของสาธารณชนและภาครัฐต่อการปฏิรูปให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม · แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะประเด็นหรือเฉพาะด้าน คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการปฏิรูปมอบหมาย คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป มีอำนาจหน้าที่ · ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปตลอดจนสนับสนุนการสื่อสารทางสังคมเพื่อให้ทุกภาคส่วน ได้รับรู้ เข้าใจ และเข้าร่วมในการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง · ดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของสาธารณชนเกี่ยวกับการปฏิรูป · จัดให้มีสมัชชาปฏิรูประดับชาติ และสนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะพื้นที่เฉพาะประเด็นเพื่อให้ได้มา ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูป · ประสานงานกับคณะกรรมการปฏิรูป ในการสนับสนุน ติดตามผลักดันการขับเคลื่อนของสาธารณชนและภาครัฐต่อการปฏิรูป ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย คือ รายงานเรื่อง "แนวทางปฏิรูปประเทศไทย : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง" (2554) ในรายงานเล่มนี้นำเสนอแก่นของความจำเป็นและแนวทางในการปฏิรูปคือ ความล้มเหลวเชิงโครงสร้างของประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำ และนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยผ่านการอธิบายด้วยภาษาของการบริหารจัดการทรัพยากร โดยในการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งถือเป็นแกนหลักของข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปนั้น ได้แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1) ทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย 1.1) ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร 1.2) ปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ 1.3) ปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรป่า 1.4) ปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 1.5) ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1.6) ปฏิรูปสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 2) ทรัพยากรเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2.1) ปฏิรูปทุน 2.2) ปฏิรูปด้านแรงงาน 2.3) ปฏิรูปการเกษตรเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.4) ปฏิรูประบบภาษี 2.5) ปฏิรูประบบตลาด 2.6) ปฏิรูปด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรม 2.7) ปฏิรูประบบพลังงาน 3) ทรัพยากรสังคม ประกอบด้วย 3.1) ปฏิรูปการศึกษา 3.2) ศาสนธรรมและจิตวิญาณ 3.3) การเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ 3.4) ปฏิรูปด้านการสื่อสาร 3.5) ปฏิรูประบบสาธารณสุข 3.6) ปฏิรูปเมืองเพื่อคุณภาพชีวิต 3.7) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4) ทรัพยากรทางการเมือง ประกอบด้วย 4.1) ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ 4.2) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 4.3) ปฏิรูปการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 4.4) ปฏิรูปกองทัพ ข้อเสนอเหล่านี้ มีทั้งที่นำเสนอเนื้อหาสาระไว้พอสมควร โดยระดับคณะอนุกรรมการบางชุด แต่หลายรายการ คณะกรรมการปฏิรูปได้ยอมรับเองว่ายังมิได้ทำการศึกษาจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่เสนอเป็นข้อสังเกตและหลักการเบื้องต้นเท่านั้น จึงจำเป็นที่องค์กรเพื่อการปฏิรูปรอบใหม่ต้องนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบร่วมกับข้อเสนอจากองค์การอื่นๆ[3]เพื่อตัดสินใจอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้เลยหรือยังไม่ได้มากน้อยเพียงใด หากข้อเสนอสามารถนำไปใช้ได้เลยก็นับว่าโชคดีเพราะทำให้ไม่ต้องทำงานใหม่หรือเกิดความล่าช้าต่อประโยชน์ที่ประชาชนผู้รอคอยจะได้รับ นอกจากนี้ การปฏิรูปที่กำลังจะเป็นไปของรัฐบาลปัจจุบันจะเดินตามรอยคณะกรรมการปฏิรูปก่อนหน้าและข้อเสนอเหล่านั้น หรือ สร้างความแตกต่างอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ควรด้องรับฟังคนชุดเก่าเขาในระดับหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพราะปัญหาของชาติย่อมเหมือนกัน แต่สถานการณ์ของประเทศไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แนวทางแก้ไขจึงอาจมองต่างกัน รวมทั้งปรัชญาหรือทฤษฎีการปฏิรูปและการจัดองค์กรเพื่อการปฏิรูปก็ย่อมมีผลต่อทิศทาง สาระข้อเสนอ และกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปด้วย แต่ผู้เขียนก็หวังแบบคนชอบจินตนาการว่าการปฏิรูปรอบใหม่นี้ควรก้าวหน้าหรือสร้างสรรค์ไม่ด้อยกว่ารอบแรก และควรทำให้การปฏิรูปเกิดขึ้นจริงอย่างมีเป้าหมายเชิงระยะเวลาด้วย ทว่าการปฏิรูปประเทศจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกลไกหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปในเรื่องนั้นๆ ที่ผนวกขึ้นเป็นปัญหาส่วนรวมด้วย ฉะนั้นสถาบันและองค์การทั้งหลายจึงย่อมหนีไม่พ้นต่อการปฏิรูปตนเอง ทั้งในทางความคิดและการกระทำให้แตกต่างจากเดิมเพื่อรับใช้แนวคิดการปฏิรูปประเทศที่กำหนดขึ้นหรือจะสามารถตกลงร่วมกันได้นั้น แม้ว่าผลการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปข้างต้นจะมีความน่าสนใจไม่น้อย แต่หนึ่งในผู้นำการทำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป (อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน) ได้เคยแสดงความเสียใจว่ารัฐบาลปัจจุบัน (ซึ่งมาทีหลังการจัดตั้งและการผลิตผลงานคณะกรรมการปฏิรูป) รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ (ซึ่งเป็นเจ้าของรัฐบาลและผู้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูป) เองก็มิได้นำข้อเสนอไปดำเนินการ[4]และก็เป็นความจริงว่ารัฐบาลที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนกลางหลังจากที่นายกรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและสื่อถึงความปรองดองได้ไม่นาน ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปกลางปี 2554 และพรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศใช้นโยบายประชาภิวัตน์ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ยังยืนยันนโยบายประชานิยมต่อไป เมื่อชนะการเลือกตั้งและเข้ามาเป็นรัฐบาลจึงไม่ได้สนใจหรือรับรองผลงานของคณะกรรมการปฏิรูปที่รัฐบาลคู่แข่งตั้งขึ้น ฉะนั้นการจะดำเนินการปฏิรูปประเทศต่อไปอย่างไรในคราวนี้ของรัฐบาลที่พรรคเพื่อไทยเป็นใหญ่ในปัจจุบัน อันเป็นผลผลิตที่ต่อเนื่องของความขัดแย้งทางการเมืองเรื้อรังและเจตนาที่จะสร้างความปรองดองในประเทศให้สำเร็จนั้น จึงสมควรเรียนรู้บทเรียนในอดีต และองค์กรและกระบวนการปฏิรูปครั้งใหม่สมควรได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมด้วย ทางเลือกการปฏิรูปประเทศไทย: ภารกิจและโครงสร้างของสภาปฏิรูป อย่างไรก็ตาม หากหวังผลในทางรูปธรรมอย่างแท้จริง มิใช่เกมการเมือง องค์กรกลางดังกล่าว สมควรรองรับโดยออกเป็นพระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ พร้อมกับกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการ โครงสร้าง (องค์ประกอบ) และที่มาของคณะกรรมการจากองค์การต่างๆในสังคมที่มาจากพหุภาคีผู้มีพลังอำนาจหลักๆในสังคมให้ชัดเจน ทั้งนี้การออกเป็นกฎหมายจะทำให้สภาการปฏิรูปมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการทำงานที่เกิดความชอบธรรม และในห้วงแห่งวิกฤตของประเทศขณะนี้ ประกอบกับงานการฟื้นฟูประเทศเป็นงานในอำนาจของรัฐบาลโดยทั่วไปอยู่แล้ว และแม้ว่าเราควรมีองค์กรกลางเพื่อเป็นกลไกเสริมแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างใหม่ให้กับสังคมก็ตาม ฉะนั้นการปฏิรูปประเทศก็ไม่ควรเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระเกินไปหรือไปแข่งกับรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลไม่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด รัฐสภา รัฐบาล และฝ่ายค้านจึงควรส่งเสริมขบวนการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูป โดยอาจจะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวที่ชื่อว่า "พระราชกำหนดว่าด้วยการเสริมสร้างการปฏิรูปประเทศและสันติธรรมในทางประชาธิปไตยและการบริหารบ้านเมือง" ตามประเด็นสมควรพิจารณาดังนี้ 1. สภาปฏิรูปประเทศไทยควรมีภารกิจหรือหน้าที่ใดบ้าง เช่น 1.1 การส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆของรัฐ รัฐสภา และศาล รวมทั้งองค์การของภาคเอกชน และภาคประชาชนจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปตนเอง และข้อเสนออื่นๆ เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย พร้อมๆกับรับเอาความเห็นเพื่อการปฏิรูปตามความเห็นของสภาการปฏิรูปประเทศไทยที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปพิจารณาดำเนินการ 1.2 รวบรวม ศึกษาวิจัย รับฟัง หรือขอความเห็นจากบุคคล คณะบุคคล และ องค์การในภาคส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประมวล กลั่นกรอง และจัดทำเป็นความเห็นโดยเฉพาะความเห็นที่สร้างสรรค์และมีลักษณะเป็นนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของประเทศไทยในทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม เพื่อเสนอต่อรัฐบาล รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์การต่างๆ ของประชาชนในสังคมให้พิจารณาดำเนินการ 1.3 ส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปตนเองของสถาบัน องค์การ และส่วนต่างๆในสังคมพร้อมกับการขับเคลื่อนสาธารณะในการร่วมมือเพื่อการปฏิรูปกับรัฐบาล และรายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อรัฐบาลและสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ 1.4 ให้คำแนะนำ ติดตาม ประเมินผล ตอบสนอง และสนับสนุน หน่วยงานของรัฐ เอกชน และ ประชาชนเพื่อการบรรลุการปฏิรูปตนเองและปฏิรูปประเทศในทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม และสันติธรรมในทางประชาธิปไตยและการบริหารบ้านเมือง 1.5 การเป็นสื่อกลางหรือเป็นคนกลางในการระงับข้อขัดแย้งหรือเสริมสร้างสันติธรรมในทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยและการมีสัมพันธ์กับนานาประเทศ 1.6 ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย 1.7 จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการบรรลุหน้าที่ต่างๆ ข้างต้น 2. โครงสร้างหรือองค์ประกอบของสภาปฏิรูปหรือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย อาจมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 2.1 สภาหรือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยมีจำนวน 100 คน 2.1.1 คณะกรรมการโดยตำแหน่งมาจากประธานหรือผู้แทนองค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญโดยมีจำนวน (ประมาณ) 10 คน 2.1.2 คณะกรรมการโดยการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี โดยมีจำนวน 60 คน จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการสำคัญๆ และองค์การประชาชน และเอกชน ที่มีประสบการณ์ ความรู้และความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งในทางกฎหมาย วิชาการและเทคโนโลยี และรวมถึงการคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเพศด้วย 2,1.3 คณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อขององค์การของประชาชน ประเภทองค์การละ 1 คน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีจำนวน 15 คน โดยองค์การเหล่านี้ เป็นองค์การระดับชาติที่มีกฎหมายรองรับ อาทิ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมนายธนาคาร สภาเกษตรกร สภาแรงงาน สันนิบาตสหกรณ์ สันนิบาตเทศบาล สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด สันนิบาตองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์กรชุมชน สภาวิชาชีพต่างๆ (เช่น สภาทนายความ แพทยสภา สภาวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์) และ สภาพัฒนาการเมือง เป็นต้น 2.1.4 คณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของที่ประชุมร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีจำนวน 10 คน 2.1.5 คณะกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อขององค์การกลางขององค์การพัฒนาเอกชน และนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีจำนวน 5 คน 2.2 ให้แบ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยออกเป็นสามด้านหลัก คือ คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง คณะกรรมการปฏิรูปเศรษฐกิจ และคณะกรรมการปฏิรูปสังคม 2.3 คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง คณะกรรมการปฏิรูปเศรษฐกิจ และคณะกรรมการปฏิรูป สังคม สามารถตั้งคณะทำงานเฉพาะเรื่องได้ตามจำเป็น 2.4 ให้มีสำนักงานของคณะกรรมการปฏิรูปเป็นองค์การกลางเพื่อการประสานการปฏิรูป 2.5 คณะกรรมการปฏิรูปแต่ละด้านหรือโดยร่วมกันสามารถจัดองค์กรหรือระบบงานภายใน หรือระบบการประชุมระดับชาติ ภูมิภาค หรือตามสาขา และดำเนินงานอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม 2.6 สภาหรือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยสามารถแต่งตั้งคณะบุคคลเป็นที่ปรึกษาเพื่อการบรรลุภารกิจได้ 2.7 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยมีวาระการทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (เช่น 5 ปี และอาจต่ออายุได้) 2.8 ให้นายกรัฐมนตรีหรือบุคคลที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 2.9 ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่มาร่วมงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยให้ถือว่าเป็นการทำงานให้กับทางราชการและให้ผู้บังคับบัญชาสนับสนุน 2.10 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยจะต้องรับฟังความเห็นจากประชาชนและองค์การต่างๆ ในสังคม อย่างกว้างขวางและไม่เลือกปฏิบัติ สรุปและบทส่งท้าย วิถีการปฏิรูปเป็นวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสันติ แต่เราควรมีความชัดเจนในเชิงหลักคิดกันพอสมควรตั้งแต่นิยาม กลยุทธ์ และทางเลือกการจัดการ ข้อเสนอของข้าพเจ้าข้างต้นนั้นเป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง โดยเน้นที่การออกแบบและกำหนดหน้าที่ขององค์กรการปฏิรูปเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปตนเองและส่วนรวมพร้อมกันไป[5] ส่วนใครจะเข้ามาบ้างก็จะเป็นเรื่องที่ควรจะตามมา และเรายังควรนำเอาประสบการณ์ของการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในคราวรัฐบาลชุดก่อนมาเรียนรู้ด้วย ทั้งในเชิงลักษณะองค์กร การจัดการ จุดอ่อนและจุดแข็ง ความสำเร็จและไม่สำเร็จผล รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อาทิ ทำไมการปฏิรูปไม่เกิดขึ้นจริง การปฏิรูปเพื่อส่วนรวมจริงๆ คงไปไม่ได้ไกล หากขาดเสียซึ่งการสารภาพและวิพากษ์วิจารณ์ตนเองหรือต่อกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆของตนเองและของประเทศให้เหมาะสมที่สุด กล่าวคือ การวิพากษ์วิจารณ์ตนเองเพื่อการปฏิรูปส่วนตนขององคาพยพทั้งหลาย หรือสถาบันต่างๆที่มีผลผลิตและผลกระทบต่อกันและกันจนเป็นสภาพร่วมของสังคมนั้นควรจะมีอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นสถาบันหรือองค์การสำคัญๆของชาติทั้งหลายก็จะล้าสมัยและอาจเป็นตัวถ่วงรั้งความก้าวหน้าของสังคมโดยรวมไปด้วย (ดังเช่นที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังเริ่มต้นปฏิรูปตนเองแล้วในขณะนี้ และย่อมส่งผลกระทบถึงการเมืองไทยและเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมไปด้วย นับเป็นการกระทำที่สมควรให้รางวัล) และการจัดตั้งขบวนการปฏิรูปของภาคประชาชนกันเองเพื่อวิพากษ์วิจารณ์และนำเสนอทางเลือกการปฏิรูปต่างๆต่อสาธารณะหรือต่อรัฐบาลที่มีในขณะนี้ คงจะช่วยให้การปฏิรูปอย่างเป็นทางการของรัฐบาลได้ประโยชน์ไม่น้อย
[1] โปรดดูเพิ่มในบทความของผู้เขียน เรื่อง "กระบวนทัศน์การปฏิรูปประเทศไทย : ข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูปส่วนรวมและการปฏิรูปตนเอง" รัฐสภาสาร ประจำเดือนธันวาคม 2556 หน้า 11-38. ใน www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/.../article_20131129134954.pdf.
[2] อ้างจาก http://www.reform.or.th/about-us, วันสืบค้น 14 ตุลาคม 2556 และคณะกรรมการชุดแรก คือคณะกรรมการปฏิรูปทำงานได้ 10 เดือน ก็ยุติบทบาทเพราะมีการยุบสภาและการเลือกตั้งใหม่ แต่ชุดที่สอง คือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปยังทำงานต่อไปจนครบสมัย [3]ดังที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้ทำเปรียบเทียบประเด็นหัวข้อไว้บ้างแล้วจากรายงานหลายชิ้น เช่น รายงานของ คอป. รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า แผนพัฒนาการเมือง สภาพัฒนาการเมือง รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร มติสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย คสป. สรุปรายงานผลการดำเนินการพูดจาหาทางออกประเทศไทย 108 เวที ปคอป. ร่วมกับที่องค์การอิสระอื่นๆ ทำไว้ เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรามการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ และ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น [4] การสัมภาษณ์ตามเนื้อหาดังกล่าวปรากฏในปี 2556 ในสื่อโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตหลายสำนัก [5] การปฏิรูปตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าทั้งส่วนตนและผลต่อส่วนรวมควรเกิดขึ้นอย่างน้อยกับสถาบันและองค์การของชาติต่อไปนี้ คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชน สถาบันทางการเมือง (เช่น สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และพรรคการเมือง) องค์การศาล หน่วยงานราชการและกองทัพ องค์การอิสระที่รัฐธรรมนูญกำหนดและนอกเหนือจากนั้น องค์การของนายทุนและนักธุรกิจ (เช่น สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมนายธนาคารแห่งประเทศไทย และ สภาองค์การนายจ้าง) สภาแรงงาน (องค์การระดับชาติของสหภาพแรงงาน) สภาองค์กรมชุมชน คณะกรรมการประสานงานองค์การพัฒนาเอกชน (องค์การระดับชาติขององค์การพัฒนาเอกชน) สภาองค์การวิชาชีพต่างๆ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย สันนิบาตหรือสมาคมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ องค์การของนักศึกษา และสมาคมของประชาชน นักวิชาการ และ นักธุรกิจทั้งหลาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความชอบธรรมทางการเมืองของ กปปส. กับการเลือกตั้ง Posted: 14 Dec 2013 11:03 PM PST
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายถึงนายก คำขวัญวันเด็กปี57 Posted: 14 Dec 2013 09:51 PM PST
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2556 เรียน นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 14 Dec 2013 09:09 PM PST |
เสวนา ‘ข้อเสนอทางเลือกในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย’ Posted: 14 Dec 2013 07:31 PM PST เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2556 ที่ผ่านมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ร่วมกับศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและสันติวิธี และศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา 'ข้อเสนอทางเลือกในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย' ที่ห้องจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเสวนาช่วงที่ 1
การเสวนาช่วงที่ 2 การอภิปรายของเกษม เพ็ญพินันท์ อนุสรณ์ ธรรมใจ และเอกชัย ไชยนุวัติ การเสวนาช่วงที่ 3 การอภิปรายของบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และการอภิปรายสรุป
ไฮไลท์การเสวนา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น