โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สมานฉันท์แรงงานไทย และ สรส. เรียกร้องรัฐหยุดละเมิดผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ

Posted: 30 Apr 2013 01:17 PM PDT

หลายองค์กรออกแถลงการณ์ในวันแรงงานสากล โดย สมานฉันท์แรงงานไทย และ สรส. ออกแถลงการณ์ร่วมกัน พร้อมเสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วน 5 ข้อ ด้าน "พรรคการเมืองใหม่" ซึ่งเตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" ออกแถลงการณ์ระบุเมื่อแรงงานสามัคคีกันแล้วฝันจะเป็นจริง

สมานฉันท์แรงงาน และ สรส. เสนอ 5 ข้อเรียกร้องเร่งด่วนวันแรงงาน

เมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เสนอข้อเรียกร้องเนื่องในวันกรรมการสากล โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเรียกร้องเร่งด่วน ประกอบด้วย "1. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง"

"2. รัฐต้องยุตินโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิแรงงาน กรณีผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย 13 คน และแรงงานในภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98"

"3. รัฐต้องสร้างระบบสวัสดิการสังคม มีมาตรการควบคุมราคาสินค้า ค่าบริการสาธารณูปโภค ลดค่าครองชีพ สร้างหลักประกันในการเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข การบริการสาธารณะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสังคม"

"4. รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการให้บริการประชาชน และยุติการแทรกแซงการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยขาดความเป็นธรรมและขาดธรรมาภิบาล"

"5. รัฐและรัฐสภาต้องเร่งรัดการปฏิรูประบบประกันสังคม ประกันสุขภาพคนทำงานถ้วนหน้า โครงสร้างการบริหารงานเป็นอิสระโปร่งใสตรวจสอบได้ ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม

นอกจากนี้ทั้ง คสรท. และ สรส. ได้มีข้อเรียกร้องติดตามอีก 7 ข้อ ได้แก่ "1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือ และลักษณะงาน ทั้งนี้ รัฐจะต้องทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558"

"2. รัฐต้องแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในเขตพื้นที่สถานประกอบการใดๆ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่"

"3. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน"

"4. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างและรัฐบาลสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานควรมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้"

"5. รัฐต้องสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือสถานที่ทำงาน"

"6. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสวัสดิการสังคมของแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ"

และ "7. รัฐต้องยกเว้นภาษี กรณีเงินก้อนสุดท้ายของคนงานผู้เกษียณอายุ"

 

"การเมืองใหม่" เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น "พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" 
พร้อมออกแถลงการณ์เรียกร้องแรงงานให้สามัคคีกันแล้วฝันจะเป็นจริง

ด้าน "พรรคการเมืองใหม่" ซึ่งอยู่ขั้นตอนจดทะเบียนชื่อพรรคใหม่คือ "พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" ได้ออกแถลงการณ์ในวันแรงงานสากลด้วยเช่นกัน โดยตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุว่า "ถึงวันนี้นับเป็นเวลา 123 ปี แต่พี่น้องแรงงานไทยก็ยังถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย แล้วยังส่งเสียงตะโกนหลอกลวงพี่น้องแรงงานว่าอย่าไปยุ่งกับการเมือง ให้อยู่อย่างผู้ถูกปกครองไปตลอดชีวิต ให้พูดเสนอได้เฉพาะเรื่องปากท้องเท่านั้น นี่คือวาทะกรรมอัปยศที่พวกนายทุนหลวกลวงผู้ใช้แรงงาน เมื่อผู้ใช้แรงงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายประกันสังคมพวกนักการเมืองทั้งฝ่าย รัฐบาลและฝ่ายค้านต่างๆฉีกทิ้งไม่สนใจแม้แต่น้อย นี้คือความจริงที่ปรากฎมิอาจบิดเบือนได้อย่างเด็ดขาด และพวกนายทุนต้องการยึดกุมอำนาจรัฐเป็นของนายทุน โดยนายทุน เพื่อนายทุนตลอดไป เพื่อกอบโกยขูดรีดคนส่วนใหญ่ของประเทศ

"เนื่องในวันแรงงานสากลนี้ ขอให้พี่น้องแรงงานทั้งหลายศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และสรุปบทเรียนร่วม กัน ขออย่าดูถูกตนเองว่าไร้ค่าจงภาคภูมิใจว่า " เราแรงงานคือผู้สร้างโลก " และคือคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังถูกกดขี่ ขูดรีด จากระบอบทุนนิยมสามานย์ และเราคือมนุษย์ จึงต้องใช้สิทธิเสรีภาพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 รับรองสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตร ฯลฯ เพื่อต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะไม่ประสบความสำเร็จหากไม่ยกระดับใช้สิทธิเสรีภาพรวมตัวกัน จัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อยกระดับต่อสู้ทางการเมืองควบคู่ไปด้วย เพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐตามวิถีทางประชาธิปไตย เพื่อใช้อำนาจในสภาออกกฎหมายที่เป็นธรรม เพื่อผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรคือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนและพ่อค้าคนกลาง นี่คือเส้นทางการต่อสู้ที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในการทำงานการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และโปรดระลึกเสมอว่าเรา " ผู้ใช้แรงงานทั้งผองคือพี่น้องกัน " จงสามัคคีกันถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง สามัคคีกันให้กว้างใหญ่ไพศาล เพื่อสืบทอดอุดมการณ์และเจตนารมณ์แห่งชนชั้นแรงงานอย่างจริงจัง รวมพลังกันสร้างสรรสังคมที่เป็นธรรม และร่วมกันต่อต้านการทุจิตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และภราดรภาพให้ปรากฏเป็นจริงโดยเร็วที่สุด แรงงานทั้งผองต้องสามัคคีกันแล้วความฝันจะเป็นจริง"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ศาลฎีกา’ ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ‘สองตายาย’ สมาชิก คปอ. เหตุกลัวหลบหนี

Posted: 30 Apr 2013 12:39 PM PDT

ชาวบ้านผิดหวัง ผลยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวสองตายายคดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว ศาลฎีกายกคำร้อง ชี้ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาและยังไม่ยื่นฎีกา หากอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยอาจหลบหนี

 
วันที่ 29 เม.ย.56 ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) กว่า 100 คน ตั้งขบวนบริเวณหน้าศาลจังหวัดภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ เพื่อร่วมกันเดินเท้าเข้าเยี่ยม นายเด่น คำแหล้ อายุ 62 ปี และนางสุภาพ คำแหล้ อายุ 58 ปี สามี – ภรรยาสามสมาชิก คปอ.ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 และ 4 คดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ที่เรือนจำอำเภอภูเขียว
 
หลังจาก เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น สั่งจำคุกจำเลยทั้งสอง เป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งทีมทนายความของเครือข่ายฯ คปอ.และชาวบ้านได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว และนัดกันมารอฟังคำสั่งจากศาล ในวันจันทร์ (วันที่ 29 เม.ย.56)
 
ทั้งนี้ ตามกำหนดการ ชาวบ้านจะเดินเท้าไปเยี่ยมผู้ถูกคุมขังทั้ง 2 ราย จากนั้นจะกลับมาปักหลักบริเวณหน้าศาลจังหวัดภูเขียว เพื่อร่วมรับฟังคำสั่งศาลฎีกาว่าผลการให้ประกันจะออกมาอย่างไร
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่ชาวบ้านสมาชิก คปอ.กำลังเตรียมขบวน มีเจ้าหน้าที่ศาลออกมาแจ้งว่าได้เบิกจำเลยออกมาจากเรือนจำ เพื่อมารับฟังคำสั่งการให้ประกันจากศาลแล้ว เป็นผลให้ชาวบ้านยุติการเคลื่อนขบวน เปลี่ยนมาเป็นร่วมชุมนุมอยู่บริเวณหน้าศาล รอฟังคำสั่งศาลฎีกา
 
ต่อมาเวลาประมาณ 11.30 น. ผลการยื่นประกันขอให้ปล่อยตัวจำเลยที่ 1 และที่ 4 ชั่วคราวในระหว่างฎีกา ปรากฏว่าศาลไม่อนุญาต เพราะเกรงจะหลบหนี
 
"พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้การปฏิเสธ แต่คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 4 ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาและยังไม่ยื่นฎีกา มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยที่ 1 และที่ 4 ชั่วคราวในระหว่างฎีกา จำเลยที่ 1 และที่ 4 อาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้อง" คำพิจารณาของศาล
 
ศรายุทธ ฤทธิพิณ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานกล่าวว่า สมาชิกฯ ต่างแสดงเหตุผลไปในทางเดียวกันว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ในการวินิจฉัย คำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณา 1.ความหนักเบา แห่งข้อหา 2.พยานหลักฐาน ที่ปรากฏแล้ว มีเพียงใด 3.พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร 4.เชื่อถือ ผู้ร้องขอประกัน หรือ หลักประกัน ได้เพียงใด 5.ผู้ต้องหา หรือ จำเลย น่าจะหลบหนี หรือ ไม่ 6.ภัยอันตราย หรือ ความเสียหาย ที่จะเกิดจาก การปล่อยชั่วคราว มีเพียงใด หรือไม่ และ 7.ในกรณีที่ ผู้ต้องหา หรือ จำเลย ต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาล พึงรับประกอบการวินิจฉัยได้ ประกอบไปด้วย
 
ส่วนประกอบการพิจารณาความที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวทั้ง 7 ข้อนั้น ผู้ถูกคุมขังไม่มีการกระทำใดๆ อันเป็นเหตุที่ศาลจำต้องนำมาเป็นส่วนประกอบการพิจารณาไม่ให้ประกันได้ อีกทั้งในข้อที่ 5 ตามที่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จะหลบหนีนั้น เป็นไปไม่ได้เพราะจำเลยทั้งสองเป็นเพียงเกษตรกรธรรมดา อีกทั้งต่างมีหลักทรัพย์ประกันจากทางกองทุนยุติธรรม ที่ได้ประสานให้ความช่วยเหลือในด้านหลักประกันอยู่แล้ว
 
ศรายุทธ ระบุถึงคำถามของชาวบ้านด้วยว่า ศาลในชั้นต้นและอุทธรณ์นั้นสามารถใช้ดุลยพินิจได้ใช่หรือไม่ แล้วทำไมศาลจึงไม่มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัว กลับโยนให้ศาลฎีกาสั่ง โดยไม่สั่งการเอง หากเปรียบเทียบกับคดีของนายทอง กุลหงส์ วัย 72 ปี และนายสมปอง กุลหงส์ อายุ 48 ปี ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันและอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ศาลยังสามารถให้ประกันได้ เช่นนี้แล้วมีความยุติธรรมในการใช้ดุลพินิจหรือไม่ และเหตุใดศาลจึงไม่มีคำสั่งยกฟ้องจำเลยทั้ง 10 ราย (ชาวบ้าน 10 คนถูกจับกุมในกรณีเดียวกับแต่ถูกแยกฟ้องเป็น 4 คดี)
 
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ว่า ขณะที่มีการชุมนุมปราศรัยอยู่บริเวณหน้าศาลนั้น เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น.ชาวบ้านที่ชุมนุมส่วนหนึ่งได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ถูกคุมขังที่เรือนจำภูเขียว ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ให้เยี่ยมได้เพียง 10 นาที และสามารถเข้าเยี่ยมได้แต่นายเด่น คำแหล้ แต่เพียงคนเดียว เพราะระเบียบของเรือนจำอนุญาตให้ผู้ต้องขังชายเข้าเยี่ยมได้ในวันจันทร์, พุธ และศุกร์ ส่วนผู้ต้องขังหญิงเยี่ยมได้ในวันอังคารและพฤหัสบดี ขณะที่วันเสาร์และอาทิตย์ รวมทั้งวันหยุดราชการไม่มีให้เข้าเยี่ยม จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น.จึงได้ร่วมกันเดินทางกลับ
 
ทั้งนี้ สมาชิก คปอ.ปักหลักตากแดดปราศรัยอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามถนนด้านหน้าศาลจังหวัดภูเขียว จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น.จึงสลายการชุมนุม
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สมาพันธ์นักเรียนไทยฯ" ห่วงสารตะกั่วปนเปื้อนในโรงเรียน

Posted: 30 Apr 2013 12:10 PM PDT

สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ระบุมีสถานศึกษาจำนวนมากเสี่ยงได้รับสารตะกั่ว ทั้งจากวัสดุที่ใช้ในโรงเรียนและย่านอุตสาหกรรม ชี้หากปนเปื้อนจะมีผลต่อสุขภาพนักเรียน พร้อมเรียกร้องให้มีการแก้ไขเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ผ่านมา สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ได้ส่งแถลงการณ์เรื่อง "แถลงการสมาพันธ์นักเรียน ฯ ต่อเรื่องการพบสารตะกั่วในเด็กนักเรียนสูงกว่ามาตรฐาน" โดยมีรายละเอียดดังนี้

"สถานศึกษาควรเป็นสถานที่ที่สะอาด ปลอดภัย และมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของ ผู้เรียน หากแต่ผลสำรวจกลับพบว่าโรงเรียนในจังหวัดระยอง มีเด็กนักเรียนที่มีสารตะกั่วในปริมาณที่เกิดมาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

จากการสำรวจโรงเรียนต่างๆ ในบางอำเภอของจังหวัดระยอง พบเด็กที่ได้รับสารตะกั่วจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการใช้สารประกอบตะกั่วในอุตสาหกรรมสี ทำให้เกิดการปนเปื้อนสารตะกั่วขึ้นในสีที่ใช้ทาเครื่องเล่น โต๊ะอาหาร อาคารโรงเรียน ฯลฯ ทาง สมาพันธ์นักเรียนฯ จึงมีความห่วงใยและกังวลในสุขภาพของเพื่อนนักเรียนที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป อาจทำให้มีอาการป่วยต่าง ๆ อาทิ โลหิตจาง ปวดตามข้อ กระดูกจะผุ หักง่าย นอกจากนั้น ยังสะสมในไขมัน ระบบร่างกายต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการเรื้อรัง เช่น อาการทางของระบบทางเดินอาหาร อาการพิษทางประสาทและสมอง ซึมไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต  และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ทางสมาพันธ์ฯ เห็นว่าอาจยังมีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากสารปนเปื้อนอยู่อีกมาก โดยเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานต่างๆ โรงเรียนเหล่านั้นอาจยังไม่ได้นับความช่วยเหลือ นอกจากนี้ เรื่องผลกระทบของสารปนเปื้อนต่อเด็กนั้น สื่อกระแสหลักไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร การดำเนินการแก้ไข้ปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความล่าช้า ทางสมาพันธ์ฯจึงขอแสดงความเป็นห่วงและตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เพราะสถานศึกษาควรจะเป็นแหล่งที่สร้างเสริมสติปัญญารวมถึงสุขภาพของผู้เรียนให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ หากสถานศึกษาใดมีความบกพร่องซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้เรียนในบางประการ เช่น ด้านสุขภาพ ตามเนื้อหาข้างต้น ก็สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด เพราะสุขภาพที่ดีย่อมส่งเสริมให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

5 ข้อวิจารณ์ภาพ "ฉากจริงการเมืองไทยวันนี้" ของวสันต์ สิทธิเขตต์

Posted: 30 Apr 2013 05:22 AM PDT


วาดโดย วสันต์ สิทธิเขตต์ (ชื่อภาพ "ฉากจริงการเมืองไทยวันนี้" ไม่ใช่ชื่อภาพที่วสันต์ตั้งไว้ แต่ผมตั้งให้ โดยนำมาจากวรรคแรกของกลอนที่วสันต์โพสท์ขึ้นพร้อมกับภาพ) อ่านกลอนดังกล่าวได้ที่ http://on.fb.me/11vB0zr
 
1. กลวงและทื่อ
 
วสันต์ชอบที่จะเรียกงานหลายชิ้นของเขาว่าเป็นงาน "เสียดสี" ไม่ว่าจะเสียดสีสังคมหรือการเมือง แต่การเสียดสีนั้นต่างจากการด่าหรือถากถาง การเสียดสีอย่างน้อยต้องมีอารมณ์ขันและมีแง่มุมการวิพากษ์วิจารณ์ที่แหลมคม ภาพวาดชิ้นนี้ของวสันต์ขาดทั้งสองอย่าง จึงแน่ชัดว่างานชิ้นนี้ไม่ควรจะถูกเรียกว่างานเสียดสีการเมืองหรือเสียดสีสังคม หากจะเปรียบภาพนี้ของวสันต์เป็นคำพูด ก็เปรียบได้กับคำด่าผรุสวาท ที่ไม่ได้มุ่งให้ข้อมูล ไม่ได้มุ่งสร้างความขบขัน แต่มุ่งระบายความรู้สึก ในขณะเดียวกันก็มุ่งลดความเป็นมนุษย์ของผู้ที่พูดถึง (โดยการวาดให้คนอยู่ในรูปของสัตว์ซึ่งศิลปินเชื่อว่าต่ำกว่ามนุษย์) หรือสร้างความอับอายต่อผู้ที่พูดถึง (ด้วยการวาดให้เขาอยู่ในสภาพที่ศิลปินคิดว่าน่าอับอาย นั่นคือกำลังร่วมเพศ หรือถ้าไม่ร่วมเพศก็อยู่ในสภาพเปลือยและมีกำหนัด)
 
อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องของผลงานของวสันต์นั้น ไม่ได้อยู่ที่ความหยาบคาย หรือแม้แต่การลดทอนความเป็นมนุษย์และการสร้างความอับอายแก่ผู้ที่พูดถึง แต่อยู่ที่ความด้อยปัญญาของศิลปินในการให้เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมบุคคลที่ถูกกล่วถึงจึงคู่ควรกับการวิจารณ์ในระดับความรุนแรงนั้น วสันต์ไม่ได้ให้เหตุผลสนับสนุนมากไปกว่าการพูดแบบกว้างๆ และคลุมเครือว่านักการเมืองแจกเงินซื้ออำนาจมาเพื่อเสพโลกียสุข ในแง่นี้ภาพวาดของวสันต์จึงขาดเนื้อหาของคำวิพากษ์วิจารณ์ เป็นคำวิจารณ์ที่ใช้คำพูดใหญ่ แต่กลวง ไร้น้ำหนัก เมื่อกระแทกเป้าหมายไปแล้วเป้าหมายไม่กระทบกระเทือน ไม่ต่างกับคำผรุสวาทของเด็กเกรียนที่อยากระบายความคับแค้นแต่ด้อยปัญญาเกินกว่าจะหาประเด็นโจมตีเป้าหมายให้กระทบกระเทือน และจนปัญญาจะชักจูงให้คนรอบข้างเข้าใจหรือรู้สึกร่วมกับตนได้
 
 
2. เฝือ เกร่อ ไร้ความคิดริเริ่ม
 
George Orwell กล่าวไว้ว่า นักเขียนพึงหลีกเลี่ยงการใช้บทอุปมาที่ถูกคนใช้กันจนเฝือ เพราะบทอุปมาหนึ่งๆ จะมีพลังกระตุ้นให้ผู้อ่าน/ผู้ชม จินตนาการตาม แล้วเห็นภาพที่สดใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อผู้อ่าน/ผู้ชมไม่เคยได้อ่านได้ฟังมันมาก่อน เมื่อใดที่ผู้อ่าน/ผู้ชมได้ยินบทอุปมาซ้ำๆ หลายรอบเข้า จินตนาการที่ได้ย่อมหืน ไม่สดใหม่ และบทอุปมานั้นย่อมไม่คม ไม่มีพลังอีกต่อไป สิ่งที่ Orwell พูดนั้นไม่ได้จริงเฉพาะกับงานเขียนเท่านั้น แต่จริงกับงานศิลป์ประเภทอื่นด้วย เพราะการอุปมาไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปตัวหนังสือ งานศิลป์ที่ใช้ภาพสัญลักษณ์ (symbol) สื่อเนื้อหาสาระของงานนั้น ก็มีลักษณะเดียวกับบทอุปมาในงานเขียน ตรงที่ว่ามันจะมีพลังกระตุ้นอารมณ์และความคิดของผู้ชมได้ก็ต่อเมื่อมันสดใหม่ ไม่เคยถูกใช้มาแล้วอย่างพร่ำเพรื่อ ไม่เฝือ ไม่หืน
 
ภาพวาดของวสันต์ไม่มีสัญลักษณ์ (หรือบทอุปมา) ใดใหม่ เขาใช้ภาพสัตว์เลื้อยคลานเพื่อเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย เขาใช้การร่วมเพศเป็นสัญลักษณ์ของการทำผิดศีลธรรม ความหมกมุ่นในโลกียสุข เขาใช้ภาพควายเป็นตัวแทนของความโง่และการโดนหลอกใช้ เขาวาดภาพกองหัวกะโหลกเป็นสัญลักษณ์ของหายนะ ความตาย ความทุกข์ทรมาน เขาวาดภาพคนกำลังเลียขานักการเมืองเพื่อสื่อว่าคนเหล่านั้นประจบประแจงนักการเมืองเพื่อผลประโยชน์ บทอุปมาเหล่านี้เป็นบทอุปมาที่ใช้กันดาษดื่น จนเกร่อ เฝือ หมดพลังที่จะกระตุ้นให้คิด ให้จินตนาการตาม ให้มองเห็นความเชื่อมโยงใหม่ๆ มันเป็นบทอุปมาสำเร็จรูปที่เหมาะกับคนที่ไม่สามารถคิดสร้างสรรค์บทอุปมาใหม่ๆ สัญลักษณ์ใหม่ๆ ทำได้แต่การนำเอาสิ่งที่คนอื่นคิดแล้วมาผลิตซ้ำ สำหรับงานศิลป์แล้วการขาดความคิดริเริ่ม (originality) นั้นเป็นอาชญากรรม ศิลปินคนใดที่ผลิตงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ย่อมควรถูกพิพากษาให้เป็นได้มากสุดแค่ช่าง
 
 
3. มองการเมืองอย่างฉาบฉวย อ้างคนส่วนใหญ่อย่างมือถือสากปากถือศีล
 
ศิลปินเจ้าของผลงานมองความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างฉาบฉวย เขามองความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับทหาร-ตำรวจ และความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับกลุ่มมวลชน ว่าไม่ได้มีอะไรซับซ้อนไปกว่าความสัมพันธ์แบบนายจ้าง-ลูกจ้าง (กล่าวคือ นักการเมืองแจกเงิน แล้วทหาร-ตำรวจและมวลชนก็พร้อมเชื่อฟัง) เขามองสนามการเมืองว่าไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าสถานที่สำหรับคนชั่วซื้อขายอำนาจกันง่ายๆ ด้วยเงิน และใช้อำนาจนั้นเพื่อเสพโลกียสุข
 
ที่แย่กว่าคือ ภาพวาดของวสันต์สื่อว่าการเมืองเป็นที่แห่งความหายนะของประชาชนคนส่วนใหญ่ ดังเห็นได้จากภาพกองกะโหลกจำนวนมากที่เป็นพื้นให้นักการเมือง ทหาร ตำรวจ สัตว์เลื้อยคลาน และสุนัข เหยียบย่ำ แต่วสันต์ลืมนึกไปว่าในความเป็นจริงแล้ว "คนส่วนใหญ่" ที่วสันต์อ้างถึงด้วยภาพกะโหลก กับเหล่าสุนัขที่มีหัวเป็นคนที่เลียขานักการเมืองอยู่นั้น เป็นคนกลุ่มเดียวกัน (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ซ้อนทับกันอย่างมีนัยสำคัญ) ในแง่นี้ภาพของวสันต์ทั้งขาดความระมัดระวังและมือถือสากปากถือศีล มันขาดความระมัดระวังตรงที่มันสื่อถึงคนกลุ่มเดียวกันราวกับว่าเป็นสองกลุ่มที่แยกขาดจากกัน และมันมือถือสากปากถือศีลตรงที่มันอ้างความสูญเสียของคนส่วนใหญ่มาเป็นเหตุผลด่านักการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็มองคนส่วนใหญ่ต่ำต้อยเพียงสุนัขที่คอยเลียขานักการเมือง
 
 
4. มุมมองศีลธรรมแบบละครน้ำเน่า
 
ภาพวาดของวสันต์สะท้อนมุมมองด้านศีลธรรมแบบละครน้ำเน่า ที่มองคนในโลกว่าแบ่งเป็นฝ่ายดีกับฝ่ายชั่ว ตัวร้ายและตัวดี ปีศาจและเทวดา คนชั่วย่อมไม่มีมิติทางศีลธรรมที่ซับซ้อน ไม่มีเป้าหมายใดอื่นนอกจากเป้าหมายที่ต่ำและชั่ว ได้แก่การแสวงหาผลประโยชน์ทางวัตถุและโลกียสุขให้ตัวเอง และการกระทำทุกอย่างของเขาย่อมสะท้อนเป้าหมายนี้เสมอ ในละครน้ำเน่าคนดีจะคอยสนับสนุนคนดี ไม่เคยขัดแย้งขัดขวางกันเอง ในขณะที่คนชั่วก็จะทำธุรกรรมแต่กับคนชั่ว เพราะคนดีจะไม่มีทางยอมทำธุรกรรมใดๆ กับคนชั่ว ในทำนองเดียวกันวสันต์ก็มองว่ามีแต่คนชั่วเท่านั้นที่ทำธุรกรรมกับคนชั่ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ในภาพนี้เขาวาดภาพให้ใครก็ตามที่ทำธุรกรรมกับคนชั่ว (คือนักการเมือง นำโดยทักษิณ) เป็นสัตว์เดียรัจฉานที่กระเหี้ยนหาโลกียสุข
 
ในโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์โลกนั้นซับซ้อนกว่าปีศาจและเทวดา เพราะมนุษย์มีความเชื่อ อุดมการณ์ ความอยาก ความกลัว ความสงสาร ความหลงใหล ความคำนึงถึงศักดิ์ศรี ที่ปีศาจและเทวดาไม่มี และสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนเป็นเหตุผลชักนำการกระทำของมนุษย์แต่ละคนในแต่ละบริบทด้วยน้ำหนักต่างๆ กัน ศิลปินที่อยากเล่าเรื่องราวของมนุษย์ (ไม่ใช่เรื่องราวของปีศาจ เทวดา หรือหน้าผา ก้อนหิน) ต้องพยายามทำความเข้าใจความซับซ้อนนี้ 
 
มิติทางศีลธรรมในโลกนี้อาจซับซ้อนเกินไปสำหรับวสันต์ เขาเหมาะจะอยู่ในโลกที่ซับซ้อนน้อยกว่านี้ โลกที่เราสามารถลากเส้นแบ่งสรรพสิ่งออกเป็นสิ่งดีกับสิ่งเลว คนดีกับคนเลว แล้วเลือกประณามคนเลวแบบตีขลุมได้โดยไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการพิเคราะห์เหตุผลที่มากมายซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังการกระทำแต่ละครั้ง ของแต่ละคน ในแต่ละบริบท เพราะคนดีก็ย่อมทำดีอยู่วันยังค่ำด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่าเขาดีโดยธรรมชาติ และคนชั่วก็ย่อมทำชั่วอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่าเขาชั่วโดยรากฐาน
 
 
5. มุมมองทางเพศแบบหลงยุค
 
ผลงานชิ้นนี้มองเซ็กซ์ว่าเป็นตัวแทนของความชั่วร้าย การผิดศีลธรรม เป็นกิจกรรมของคนชั่วและสัตว์เดียรัจฉาน เป็นสิ่งที่คนดีพึงหลีกเลี่ยง (หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ห้้ามสนุกกับมัน ต้องระลึกและรู้สึกผิดอยู่เสมอที่ตนได้ลงมาแปดเปื้อนกับกิจกรรมอันสกปรกโสมม) แนวคิดเกลียดกลัวเซ็กซ์นี้ราวกับหลุดมาจากยุคที่ศาสนาครอบงำความคิดคน ยุคที่มนุษย์ถูกสอนให้รู้สึกผิดกับการมีความสุขทางผัสสะแม้ว่าความสุขทางผัสสะนั้นจะไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร แนวคิดนี้เป็นเชื้อที่ควรจะถูกฆ่าไปตั้งแต่ตอนที่มนุษย์เปิดรับแสงสว่างของเหตุผลในยุคตื่นรู้ (Enlightenment) น่าเศร้าที่ขณะที่ส่วนอื่นของโลกกำลังผ่านกฏหมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมของทุกเพศ (ไม่ใช่แค่ระหว่างสองเพศ) แต่ประเทศไทยกลับยังมีศิลปินที่ติดอยู่กับแนวคิดทางเพศที่ควรจะตายไปแล้วตั้งแต่เมื่อหลายศตวรรษก่อน 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.มีมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ อุดหนุนรถเมล์-รถไฟฟรี

Posted: 30 Apr 2013 03:38 AM PDT

มติ ครม.ให้หน่วยงานราชการปฏิบัติตามมติสหประชาชาติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ เพื่อแก้ความขัดแย้งในภูมิภาค และเห็นชอบให้เงินอุดหนุนขนส่งสาธารณะฟรีอีกกว่า 4 พันล้านบาท

30 เม.ย.56 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้การรับรองข้อปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การรับรองดังกล่าวเป็นไปตามหลักการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ขอความร่วมมือมา ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยต้องการเห็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคนี้ให้มีความสงบ

โดยทั้งนี้ ครม.ได้มอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนำมติดังกล่าวไปปฏิบัติ อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงพาณิชย์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการการบินพลเรือน

ทั้งนี้ช่วงที่ผ่านมา เกาหลีเหนือมีท่าทีทางการทหารที่แข็งกร้าวต่อเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา และมีการข่มขู่ว่าจะโจมตีด้วยขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์หลายครั้ง ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเกาหลีเหนือที่ผ่านมาเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยปลายปี 2554 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีการออกประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งลดธงชาติลงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน เพื่อแสดงการไว้อาลัยต่อการจากไปของนายคิม จอง อิล อดีตผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือด้วย

นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 วงเงินรวม 3,961 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 2,436  ล้านบาท อีกส่วนเป็นเงินอุดหนุนบริการสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 1,524 ล้านบาท

ทั้งนี้ ต้นทุนการให้บริการของ รฟท. มีจำนวน 5,345 ล้านบาท ขณะที่มีรายได้จากการให้บริการสาธารณะ 494.5  ล้านบาท ด้วยการวิ่งให้บริการขบวนเดินรถเชิงสังคม จำนวน 164 ขบวน จากกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการผู้มีรายได้น้อย จำนวน 30 ล้านคน  สำหรับการให้บริการของ ขสมก. มีต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน 4,268  ล้านบาท  โดยมีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 2,189 ล้านบาท เพื่อให้บริการรถเมล์ฟรีประเภทรถธรรมดา จำนวน 1,562 คัน

นอกจากนี้  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอขอขยายสัญญาเงินกู้ 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทยของ รฟท.ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจาก รฟท.คาดว่าปี 2556 จะขาดทุนเป็นวงเงิน 12,174 ล้านบาท

ที่มา : สำนักข่าวไทย (1),(2)

 

ที่มา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปวิน-สมศักดิ์ เจียมฯ วิพากษ์สุนทรพจน์ยิ่งลักษณ์ จับตาเป็นแค่ “คารม”

Posted: 30 Apr 2013 03:33 AM PDT

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชชาลพงศ์พันธ์ วิพากษ์สุนทรพจน์ของยิ่งลักษณ์ที่มองโกเลีย ชี้ถ้าจริงใจต้องแก้ไขปัญหานักโทษการเมืองอย่างเร่งด่วน

ภายหลังจากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวปาฐกถาปาฐกถาพิเศษในการประชุมประชาคมประชาธิปไตย  ที่อูลัน บาตอ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา โดย นายกไทยระบุ ประชาชนเสียเลือดเนื้อ ถูกยิงด้วยสไนเปอร์ พี่ชายถูกรัฐประหาร ชี้ เพราะเมืองไทยยังมีคนไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ รวมถึงกล่าวด้วยว่าขณะนี้ยังคงมีคนถูกจำคุกด้วยประเด็นทางการเมือง

สองนักวิชาการซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิดอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งข้อสังเกตต่อปาฐกถาดังกล่าวว่า ต้องรอดูว่าอาจจะเป็นเพียงแต่คารมหวานๆ เท่านั้น

โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ รองศาสตราจารย์จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการณรงค์ผ่ามืออากง โพสต์เฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันที่ 29 เม.ย. ตั้งประเด็นเกี่ยวกับสุนทรพจน์ดังกล่าว 4 ประเด็นได้แก่

1. ยิ่งลักษณ์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประชาคมประชาธิปไตย (Community of Democracies – CD) ครั้งที่ 7 การพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยของไทย รัฐประหารที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลทักษิณ และการสังหารประชาชน จึงเป็นหัวข้อสุนทรพจน์ที่มีความชอบธรรม แต่จะประจวบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเมืองภายในหรือเปล่านั้น ยากที่จะสรุป

2. อย่างไรก็ตาม ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนไหนร่างสุนทรพจน์เอง ทั้งหมดร่างโดยทีมงานของรัฐบาล ผมเชื่อว่า ทีมคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังการเขียนสุนทรพจน์ในแนวนั้น ส่วนยิ่งลักษณ์ทำหน้าที่ผู้สื่อสาร

3. คงต้องรอดูต่อไปว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์พูดจะเป็นแค่คารมหวานๆ (rhetoric) หรือไม่ ความเห็นส่วนตัวนะ ผมว่า ยิ่งลักษณ์คงเดินเกมเกี๊ะเซี๊ยะต่อไป สุนทรพจน์ที่มองโกเลียจัดทำเพื่อเสริมความชอบธรรมให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วนหนึ่งอาจเพื่อเอาใจกลุ่มรักประชาธิปไตยในประเทศเท่านั้น

"...ไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย แต่มองจากความเป็นจริงครับ...." เขากล่าวก่อนจะโพสต์ข้อความต่อมาในวันนี้ (30 เม.ย.) ว่า สิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ได้พูดคือ จากปาฐกถาดังกล่าวไม่ได้มีคำมั่นสัญญาว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง

"ดิชั้นเข้าใจความอยุติธรรมที่นักโทษการเมืองได้รับ ดิชั้นจะผลักดันให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง รวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด....นี่คือสิ่งที่ยิ่งลักษณ์ไม่ได้พูดที่มองโกเลีย....."

ด้านสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์ข้อความในวันที่ 29 เม.ย.ในท่วงทำนองที่คล้ายคลึงกันว่า หากยิ่งลักษณ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์จริงจังกับสิ่งที่พูดจริง กรณีนักโทษการเมืองนั้นถือเป็นปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลนี้

"พูดถึง สปีช ที่มองโกเลีย ของ ยิ่งลักษณ์ นะครับ

ถ้าคุณยิ่งลักษณะ และ รัฐบาล ซีเรียส กับสิ่งที่พูดในสปีช โดยเฉพาะส่วนนี้นะครับ

"...แม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่"
(Even today, many political victims remain in jail.)

(และดูปริบทของประโยคนี้ ทีกล่าวนำมาก่อนหน้านั้น)

"ผมว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ก็น่าจะออกเป็น "พรก." ปล่อยนักโทษการเมือง (ตามข้อเสนอ นปช) ได้เลยด้วยซ้ำ (คือถ้าดูตามปริบทของสปีช จะเห็นว่า เรืองนี้ เป็นอะไรที่ เร่งด่วน และเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ) หรืออย่างน้อย ก็ประกาศเป็นนโยบายที่จะออก พรบ.นิรโทษกรรม หรือเสนอ พรบ.นิรโทษกรรม ในนามรัฐบาล เองเลย (พรบ. ที่เสนออยู่ ของคุณ วรชัย ไม่ใช่ ของรัฐบาล)"
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอบโลกแรงงานเมษายน 2556

Posted: 30 Apr 2013 02:45 AM PDT

ชาวบังกลาเทศผละงานประท้วงรัฐบาลทั่วประเทศ
 
2 เม.ย. 56 - ตำรวจบังกลาเทศรายงานว่า กลุ่มนักเคลื่อนไหวฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้จุดชนวนระเบิดทำมือขนาดเล็กและจุดไฟเผารถยนต์หลายคันในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งล่าสุดในกรุงธากา
 
พรรคชาตินิยมบังกลาเทศ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักและพันธมิตรอีก 17 พรรค จัดการประท้วงครั้งนี้เพื่อปลุกระดมให้มีการผละงานทั่วประเทศในวันนี้ เพื่อกดดันให้รัฐบาลปล่อยตัวสมาชิกฝ่ายค้าน 150 คนที่ถูกควบคุมตัวระหว่างการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งก่อนหน้า  ตำรวจระบุว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงครั้งนี้อย่างน้อย 30 คน
 
การเรียกร้องให้มีการผละงานประท้วงเป็นกลยุทธเพื่อตอกย้ำถึงความต้องการของพรรคฝ่ายค้านในบังกลาเทศ การผละงานประท้วง รวมถึงการออกมาประท้วงบนท้องถนนหลายครั้งเมื่อไม่นานมานี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 คน
 
รัฐสภาบราซิลมีมติแก้ไขกฎหมาย เปิดทางคนรับใช้ในบ้านกว่า 6 ล้าน มีสิทธิเท่าเทียมพนักงานทั่วไป
 
4 เม.ย. 56 - การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญ ระบุว่าคนทำงานรับใช้ในบ้านซึ่งรวมถึง แม่บ้าน คนดูแลเด็ก คนขับรถ และผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุ สามารถทำงานได้มากที่สุด 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะได้รับค่าจ้างล่วงเวลาหากทำงานเกินเวลาและได้อัตราค่าจ้างพิเศษสำหรับกะกลางคืน
 
ตัวเลขทางการระบุว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีผลต่อผู้ทำงานรับใช้ในบ้านประมาณ 6,500,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงถึง 6,100,000 แต่ตัวแทนจัดหางานระบุว่าตัวเลขจริงๆ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,700,000 คน โดยแรงงานรับใช้ภายในบ้านเป็นภาคที่มีพนักงานมากที่สุดอันดับสามของบราซิล
 
บราซิล ซึ่งกว่าครึ่งของประชากร 194 ล้านคน มีเชื้อสายชาวแอฟริกัน เป็นประเทศสุดท้ายในทวีปอเมริกาที่ล้มเลิกระบบทาสเมื่อปี 2431 นักวิชาการบางคนถึงกับกล่าวว่าการพึ่งพาคนงานรับใช้ในบ้านของครอบครัวบราซิลนั้นฝังรากอยู่ในประวัติศาสตร์การใช้ทาสของประเทศ
 
ก่อนหน้านี้ คนงานรับใช้ในบ้านไม่ได้มีสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานทั่วไป ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างแจ้งชื่อคนงาน เพื่อจะได้ใช้สิทธิประกันสุขภาพและผลประโยชน์หลังเกษียณ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนงานกว่า 2 ใน 3 ไม่ได้ถูกแจ้งชื่อจากนายจ้าง
 
นายครูซา โอลิวิเอรา ประธานบริหารสมาพันธ์คนทำงานรับใช้ในบ้านแห่งบราซิล กล่าวว่า นี่ไม่ใช่แค่ประเด็นความเท่าเทียมกันของสิทธิ แต่ยังเป็นการบูรณาการทางสังคมและการชดเชยให้แก่คนทำงานรับใช้ในบ้านเกือบ 8 ล้านคนในบราซิล
 
ประเด็นดังกล่าวได้รับการถกเถียงอย่างมากในสื่อบราซิล เนื่องจากสิ่งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางวัฒนธรรม ที่อาจจะทำให้ครอบครัวชนชั้นกลางต้องเลิกจ้างคนใช้
 
 
คนงานชาวเกาหลีใต้ยังคงทยอยกันข้ามพรมแดนกลับ
 
6 เม.ย. 56 - คนงานชาวเกาหลีใต้ยังคงทยอยกันข้ามพรมแดนกลับหลังเกาหลีเหนือปิดพรมแดนติดต่อกันเป็นวันที่ 4
 
ในวันนี้คนงานเกาหลีใต้ยังคงทยอยกันออกจากนิคมอุตสาหกรรมแคซองของเกาหลีเหนือ ข้ามแดนกลับสู่เกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง กระทรวงรวมชาติเกาหลีใต้คาดว่า ภายในวันนี้จะมีคนงานเกาหลีใต้ข้ามแดนกลับเข้ามาราว 600 คน  ผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรม ในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง คนหนึ่งกล่าวว่า เห็นทหารเกาหลีเหนือบริเวณชายแดนติดอาวุธพร้อมรบเต็มที่  แต่ยังไม่เห็นการเสริมกำลังแต่อย่างใด เกาหลีเหนือนั้น ไม่ได้ขับไล่คนงานเกาหลีใต้ออกนอกประเทศ แต่เจ้าของกิจการตัดสินใจให้คนงานกลับเพราะการปิดพรมแดน ทำให้วัตถุดิบต่างๆ ไม่อาจขนส่งไปยังโรงงานได้ ทำให้ต้องหยุดการผลิตไป โดยปริยาย  สำหรับนิคมอุตสาหกรรมแคซองนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้โดยมีผู้ประกอบการจากเกาหลีใต้และใช้แรงงานชาวเกาหลีเหนือ
 
คนงานท่าเรือชิลีเลิกสไตร์ค
 
7 เม.ย. 56 - กลุ่มคนงานการท่าเรือในชิลีได้ยุติการหยุดงานที่ดำเนินมาเป็นเวลาเกือบ 3 สัปดาห์ ที่ส่งผลให้การขนส่งทองแดง ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศเป็นอัมพาต  สหภาพแรงงานการท่าเรือชิลีแถลงว่า ขณะนี้ คนงานได้กลับไปทำงานตามปกติแล้ว   ภายหลังมีการบรรลุข้อตกลงกับบริษัทเอกชนอัลตราพอร์ท ซึ่งดูแลท่าเรือเมจิลโลเนส ทางเหนือของชิลี  โดยให้คนงานมีเวลารับประทานอาหารกลางวันไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง  และให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ขณะที่ เอวิลิน  มัตเทอี  รมว.แรงงานได้เข้าร่วมการเจรจาจนนำไปสู่การยุติการหยุดงาน
 
ทั้งนี้ การนัดหยุดงานของคนงานได้ลุกลามไปยังท่าเรือต่างๆ 8 แห่งในประเทศชิลี ส่งผลกระทบต่อการขนส่งทองแดงวันละประมาณ 9,000 ตัน รวมทั้งการส่งออกผลไม้บางชนิดด้วย   สำหรับชิลีเป็นผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ของโลก  โดยชิลีผลิตได้ปีละ 5.6 ล้านตันหรือราว 1 ใน 3 ของการผลิตทองแดงทั่วโลก
 
คนงานเกาหลีเหนือไม่ไปทำงานที่ "นิคมอุตสาหกรรมแคซอง"
 
9 เม.ย. 56 - สำนักข่าวยอนฮัพของเกาหลีใต้รายงานว่า คนงานเกาหลีเหนือไม่ได้รายงานตัวเข้าทำงานที่นิคมอุตสาหกรรมแคซองในวันนี้ (9 เม.ย.) หลังเกาหลีเหนือประกาศถอนคนงานทั้งหมดออกและระงับการดำเนินการทั้งหมดโดยไม่มีกำหนด
 
ทั้งนี้ มีบริษัทของเกาหลีใต้กว่า 120 แห่ง ที่เปิดดำเนินการภายในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง ซึ่งตั้งอยู่ในเกาหลีเหนือ โดยมีการจ้างคนงานเกาหลีเหนือกว่า 53,000 คน การที่เกาหลีเหนือระงับกิจกรรมในนิคมแคซองซึ่งถือเป็นโครงการความร่วมมือเดียวที่ยังเหลืออยู่ระหว่างสองเกาหลีเมื่อวานนี้กลายเป็นเหตุตึงเครียดล่าสุด
 
โฆษกกระทรวงการรวมชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ไม่มีคนงานชาวเกาหลีเหนือเข้ารายงานตัวเข้าทำงานในเช้าวันนี้ ขณะที่คนงานชาวเกาหลีใต้หลายร้อยคนยังคงเดินทางไปทำงานตามปกติ ด้านประธานาธิบดีปัก กึน-ฮเยของเกาหลีใต้ กล่าวว่า การบอยค็อตต์ไม่มาทำงานครั้งนี้ อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเกาหลีเหนือ
 
เธอกล่าวในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีในกรุงโซลว่า การลงทุนคือความสามารถในการคาดการณ์ผลและความไว้วางใจ และเมื่อเกาหลีเหนือกระทำการละเมิดกฎและคำสัญญาเช่นนี้ ขณะที่ทั้งโลกกำลังจับตามอง จะไม่มีประเทศใดในโลกจะลงทุนในเกาหลีเหนืออีก
 
เหตุการณ์นี้่ถือเป็นหนึ่งในวิกฤติครั้งเลวร้ายที่สุดระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลีเมื่อปี 1953 และนับเป็นครั้งแรกที่มีการระงับการดำเนินกิจการในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่เมื่อปี 2004  เหตุตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายปะทุขึ้นนับตั้งแต่สหประชาชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรที่แข็งกร้าวขึ้นกับเกาหลีเหนือเพื่อตอบโต้ที่ทดสอบนิวเคลียร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
 
 
คนงานท่าเรือฮ่องกงประท้วงขอขึ้นค่าแรง
 
10 เม.ย. 56 - คนงานท่าเรือในฮ่องกงพากันผละงานประท้วงต่อเนื่องหลังการเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงไม่เป็นผล ส่งผลให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างอยู่ที่ท่าเรือเป็นจำนวนมาก
 
คนงานท่าเรือในฮ่องกงราว 500 คนยังคงปักหลักประท้วงต่อเนื่องนานถึง 2 สัปดาห์เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง ซึ่งพวกเข้าระบุว่าไม่ได้รับการขึ้นค่าแรงมานานเป็น 10 ปี ในขณะที่ค่าครองชีพต่างๆ ได้ถีบตัวสูงขึ้นไปมาก โดยพวกเขาต้องการขอขึ้นค่าแรงราวร้อยละ 20 และให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น แต่การเจรจาระหว่างตัวแทนแรงงานกับฝ่ายผู้บริหารเมื่อวานนี้ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ผลจากการผละงานประท้วงทำให้มีตู้สินค้าจำนวนมหาศาลตกค้างอยู่ที่ท่าเรือของฮ่องกง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 3 ของโลก ทำให้การทำงานของท่าเรือแทบจะกลายเป็นอัมพาตและสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทที่บริหารท่าเรือเป็นมูลค่าถึงวันละ 640,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 
 
′ซีอีโอ ไรอันแอร์′ แก้ข้อกล่าวหา หลัง ถูก ′2 แอร์โฮสเตส′ ฟ้องว่าถูกใช้งานเยี่ยง ′ทาส′
 
12 เม.ย. 56 - 'ไมเคิล โอเลียรี' ซีอีโอ สายการบิน 'ไรอัน แอร์' สายการบินสัญชาติไอริช บินไปนอร์เวย์ ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (11 เม.ย.56) เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าสายการบินต้นทุนต่ำของเขาใช้พนักงานราวกับ 'ทาส' หลังถูกคว่ำบาตรจากสหภาพแรงงานและนักการเมืองของกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียน
 
รายงานระบุว่าอดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2 คน ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสายการบินเพราะถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและกล่าวหาว่าสายการบินละเมิดกฏหมายแรงงาน โดยทนายของทั้งคู่ระบุว่าสัญญาจ้างงานของไรอันแอร์ 'เป็นสัญญาทาส'
 
ขณะที่นายโอเลียรีให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทให้ความเคารพกฎหมายยุโรปอย่างมาก และบอกว่าเขาต่างหากที่ตกเป็นเหยื่อใน 'การฟ้องร้องอันเป็นเท็จ' ครั้งนี้
 
สายการบินไรอันแอร์มีเป้าหมายที่จะเติบโตในนอร์เวย์  แต่ถูกนักการเมืองและสหภาพแรงงานออกมาเรียกร้องให้นักเดินทางคว่ำบาตร ไม่ใช้บริการสายการบิน เพราะเหตุการณ์ฟ้องร้องครั้งนี้  
 
นอกจากนี้เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (10 เม.ย. 56)  'เจนส์ สโตลเท็นเบิร์ก' นายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ประกาศว่า จะไม่เดินทางกับสายการบิน 'ไรอัน แอร์'  อีกต่อไป
 
ก่อนหน้านี้สายการบินไรอันแอร์ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 จำนวน 175 ลำ นับเป็นลูกค้าในยุโรปรายใหญ่ที่สุดของโบอิ้งที่สั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ ปัจจุบันไรอันแอร์เป็นหนึ่งในสายการบินที่รวยที่สุดในโลก โดยมีเงินสดมากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 120,000 ล้านบาท
 
สหภาพแรงงานครูเดนมาร์กจับมือเป็นโซ่มนุษย์ยาว 35 กม.ประท้วงถูกสั่งปิดโรงเรียน
 
10 เม.ย. 56 - ครูอาจารย์ในเดนมาร์กหลายพันคน จับมือเป็นโซ่มนุษย์ยาว 35 กิโลเมตร จากกรุงโคเปนเฮเกนไปจนถึงรอสกิลด์ เพื่อประท้วงกรณีถูกนายจ้างห้ามปฏิบัติงาน (lockout) นาน 1 สัปดาห์ หลังล้มเหลวเจรจาเกี่ยวกับชั่วโมงการสอน
       
มีครูอาจารย์จากสหภาพครูเดนมาร์ก ราวๆ 6,000 คน จับมือเป็นโซ่มนุษย์เรียงแถวไปตามถนนสายหลักในวันอังคาร (9) เพื่อแสดงพลังคัดค้านเทศบาลนครต่างๆ ที่ตัดสินใจปิดโรงเรียนระดับประถมและมัธยมทุกแห่ง หลังจากการเจรจาเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานซึ่งยืดเยื้อมานานหลายเดือน ได้ล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิงเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
       
"เราต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกครูมีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเราพร้อมที่จะต่อสู้ ไม่ว่าจะนานเป็นเดือนหรือสองเดือน" นิโคไล กุนนาร์สัน ครูและหนึ่งในแกนนำจัดการประท้วงบอก
 
รายงานข่าวระบุว่า สหภาพครูเดนมาร์กปฏิเสธกฎหมายแรงงานใหม่ที่เสนอโดยหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งความเห็นต่างก็คือพวกนายจ้างต้องการยกเลิกข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ครูคนหนึ่งจะได้พักเพื่อเตรียมตัวสำหรับการสอน โดยพวกเขาบอกว่าควรยกสิทธิ์ให้แต่ละโรงเรียนมีสิทธิ์กำหนดเวลาเตรียมการสอนด้วยตนเอง
       
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากปัญหา lockout ครูราวๆ 67,000 คนทั่วเดนมาร์กถูกห้ามเข้าไปยังสถานที่ทำงาน และนักเรียนราว 875,000 คนก็ไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะไม่มีครูคอยสอนหนังสือ
 
พนง.พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายลูฟวร์ประท้วงล้วงกระเป๋า
 
11 เม.ย. 56 - พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายลูฟวร์ชื่อดังในกรุงปารีสของฝรั่งเศสได้ปิดทำการอย่างสิ้นเชิงเมื่อวานนี้เมื่อพนักงานพากันผละงานประท้วงปัญหานักล้วงกระเป๋าที่ทำลายภาพลักษณ์จนไม่มีชิ้นดี
 
นักท่องเที่ยวพากันแสดงความผิดหวังเมื่อพบว่า พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายลูฟว์ร์ของฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้เข้าชมวันละไม่ต่ำกว่า 30,000 คน ได้ปิดบริการลง เนื่องจากพนักงานพากันชุมนุมประท้วงปัญหาโจรล้วงกระเป๋านักท่องเที่ยวที่ระบาดอย่างหนัก จนทำลายชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของฝรั่งเศสลงจนไม่เหลือชิ้นดี แม้จะไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีเหยื่อโจรล้วงกระเป๋ามากน้อยเพียงใด แต่โฆษกของพิพิธภัณฑ์ได้ยืนยันว่าปัญหาโจรล้วงกระเป๋ากำลังเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แม้ตำรวจจะเข้ามาจัดการ และพิพิธภัณฑ์ก็ให้ความร่วมมือกับตำรวจอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาก็ไม่ได้เบาบางลงเลย โดยพิพิธภัณฑ์ได้ออกฎเหล็กว่าผู้กระทำความผิดที่ถูกจับได้จะถูกห้ามเข้ามาในพิพิธภัณฑ์ตลอดไป
 
โจรล้วงกระเป๋าส่วนใหญ่เป็นเด็กๆ ที่อพยพมาจากประเทศในยุโรปตะวันออกประมาณ 30 คน โดยกระจายกันออกล่าเหยื่อทั้งที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ร์และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ในกรุงปารีส สำหรับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์แห่งนี้มีพนักงานราว  1,000 คน เมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวมาแวะชมถึง  10 ล้านคน
 
คนฝรั่งเศสหางานทำนอกประเทศมากขึ้น
 
14 เม.ย. 56 - คนฝรั่งเศสที่ออกไปหางานทำในต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 14% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยคนฝรั่งเศสจำนวนมากไปหาโอกาสที่ดีกว่า หลังจากศก.ประเทศเริ่มซบเซา
 
ตัวเลขของรัฐบาลพบว่าคนฝรั่งเศสอายุ 18-25 ที่ออกไปหางานทำในต่างประเทศ มีจำนวน 155,266 คน โดยคนหนุ่มสาวฝรั่งเศส 27% ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มองเห็นว่าตัวเองจะมีอนาคตในหน้าที่การงานก็ต่อเมื่อไปหางานทำในต่างประเทศ ส่วนเมื่อปีที่แล้วมีคนที่คิดเช่นนี้เพียง 13%
 
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยไซแอนซ์โพ กล่าวว่าอัตราว่างงานในหมู่หนุ่มสาวที่สูงถึง 25% ทำให้คนหนุ่มสาวมุ่งหน้าไปหางานในต่างประเทศ เพื่อจะได้เริ่มต้นอาชีพการงานที่สดใส
 
ในภาพรวมแล้ว อัตราว่างงานของฝรั่งเศสขึ้นถึง 10% ผลจากการลอยแพคนงานหลายพันคนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ตกต่ำ
 
หัวหน้าคนงานคลั่งกราดยิงแรงงานต่างด้าวในไร่สตรอเบอร์รีในกรีซ
 
19 เม.ย. 56 - สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซวันนี้ว่า เกิดเหตุหัวหน้าคนงานกรีซ ใช้อาวุธปืนกราดยิงแรงงานต่างด้าวในไร่สตรอเบอร์รีเมื่อวานนี้ ทำให้แรงงานต่างด้าวประมาณ 30 คนได้รับบาดเจ็บ หลังจากที่พวกเขามาขอรับเงินเดือนค้างจ่าย โดยแรงงานต่างด้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบังกลาเทศ ถูกยิงในหมู่บ้านเปโลปอนเนเซียน ทางตอนใต้ของกรีซ แรงงานหลายคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่โชคดีไม่ใครบาดเจ็บสาหัส
 
ส่วนเจ้าของไร่สตรอเบอร์รี และหัวหน้าคนงาน ถูกจับกุมตัวได้ในเมืองเนีย มาโนลาดา ห่างจากกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ไปทางตะวันตกประมาณ 26 กิโลเมตร โดยเมืองดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานอพยพหลายพันคนเข้ามาทำงานในไร่
 
โดยก่อนเกิดเหตุ มีแรงงานประมาณ 200 คน มารวมตัวกันขอเงินเดือนที่นายจ้างยังไม่ได้จ่าย แต่กลับถูกหัวหน้าคนงานอย่างน้อย 1 คน กราดยิง ด้านนายซิมอส เคดิโคกลู โฆษกรัฐบาล ประณามเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเขาเรียกว่า เป็นการโจมตีที่ไร้มนุษยธรรม
 
ทั้งนี้ ความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติรุนแรงมากขึ้นในกรีซ ซึ่งแรงงานชาวกรีซ 1 ใน 4 ตกงาน หลังจากประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน 5 ปี
 
โรงงานเสื้อผ้าถล่มในบังกลาเทศ
 
24 เม.ย. 56 - เจ้าหน้าที่กู้ภัยบังกลาเทศรายงานว่า อาคาร 8 ชั้นซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเสื้อผ้า ตลาด และสาขาธนาคาร เกิดพังถล่มลงมาบริเวณชานกรุงธากา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15 ราย และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมาก
 
รายงานระบุว่า เหตุเกิดที่อาคารรานา พลาซ่า ในเขตซาวาร์ห่างจากกรุงธากา 30 กิโลเมตร เมื่อเวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10.00 น. ตามเวลาไทย) และมีเพียงชั้นแรกของอาคารที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานดับเพลิงกล่าวว่า จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้กู้ศพของผู้เสียชีวิต 15 ราย ออกมาจากซากปรักหักพัง และเกรงว่าจะมีผู้เสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ได้มีการขอกำลังทหารเข้ามาช่วยเหลือในการกู้ภัยแล้ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่กู้ภัยของกองทัพหลายร้อยคนพร้อมด้วยเครื่องตัดคอนกรีตและปั้นจั่นกำลังขุดลงไปในซากปรักหักพังเพื่อดึงคนที่ติดอยู่ในนั้นออกมา ขณะที่ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ก็เข้ามาช่วยเหลือโดยใช้มือเปล่า
 
ด้านตำรวจท้องถิ่นกล่าวว่า สถานการณ์ยังเลวร้ายและเกรงว่าจะมีคนติดอยู่ในซากปรักหักพังอย่างน้อย 100 คน เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแพทย์ที่อยู่ใกล้เคียงรายงานว่า มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 35 คนถูกส่งเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ส่วนอีก 150  คนได้รับการปฐมพยาบาลโดยไม่ได้นอนโรงพยาบาล คนงานของโรงงานเสื้อผ้าเล่าว่า เขาอยู่ในแผนกตัดผ้าของโรงงาน เขาและเพื่อนร่วมงานได้ยินเสียงดังสนั่นแล้วตัวอาคารก็ถล่มลงมาภายในไม่กี่วินาที แต่เขาและเพื่อนร่วมงานอีก 2 คนออกมาได้ แต่คนงานในแผนกตัดผ้าอีกอย่างน้อย 30 คนยังไม่ทราบชะตากรรม ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์โซมอยของบังกลาเทศรายงานว่า มีรอยร้าวบนอาคารดังกล่าวเมื่อบ่ายวานนี้ สร้างความแตกตื่นให้กับคนงานที่ตื่นตระหนก ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 10 ราย ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยันรายงานดังกล่าว ตึกถล่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งในบังกลาเทศเนื่องจากส่วนใหญ่ฝ่าฝืนกฎหมายการก่อสร้างในการสร้างอาคารหลายชั้น.
 
เหยื่อตึกถล่มบังกลาเทศพุ่งอย่างน้อย 273 ศพ
 
25 เม.ย. 56 - ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดจากเหตุพังถล่มของอาคารโรงงานเสื้อผ้าสูง 8 ชั้น นอกกรุงธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ เพิ่มเป็นอย่างน้อย 273 คนแล้ว ขณะที่หน่วยกู้ภัยบังกลาเทศซึ่งเร่งทำงานอย่างหนักตลอด 24 ชั่วโมง สามารถช่วยผู้รอดชีวิตที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคารดังกล่าวออกมาได้ถึง 45 คน
       
รายงานข่าวระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุอาคาร 8 ชั้น "รานา พลาซา" พังถล่มลงมาบริเวณนอกเมืองหลวงของบังกลาเทศนั้นได้เพิ่มเป็นอย่างน้อย 273 รายแล้ว และมีแนวโน้มจะพบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นคนงานสตรีที่ทำงานกับบริษัทด้านสิ่งทออยู่ภายในอาคารดังกล่าว
       
อย่างไรก็ดี อาเหม็ด อาลี ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจดับเพลิงแห่งชาติ เผยว่า หน่วยกู้ภัยบังกลาเทศสามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตออกมาจากใต้ซากอาคารที่ถล่มถึง 45 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้รอดชีวิต 41 คนที่ระบุว่าพวกเขาอยู่ในชั้นที่ 4 ของอาคารในช่วงที่เกิดการถล่ม
       
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ชาวบ้านจำนวนมากต่างอาสาเข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยตลอดระยะเวลากว่า 2 วันที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะต้องทำงานโดยใช้มือเปล่า
       
ด้านชีค ฮาซินา นายกรัฐมนตรีหญิงวัย 63 ปีของบังกลาเทศ ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดี (25) ว่าจะตามล่าเจ้าของโรงงานเสื้อผ้ามาลงโทษ หลังพบหลักฐานว่ามีการบังคับให้พนักงานกลับเข้าไปในตัวอาคารทั้งที่มีการตรวจพบรอยร้าว
       
ล่าสุด แพทริก เวนเทรลล์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลธาการวมถึงผู้เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของบังกลาเทศเร่งหามาตรการสร้างความปลอดภัย รวมถึงปรับปรุงสภาพการทำงานของคนงานในประเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตสิ่งทอรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ประกาศว่ากำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อรัฐบาลบังกลาเทศและองค์กรแรงงานสิ่งทอของบังกลาเทศเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร และหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้
 
ยอดเหยื่อตึกถล่มในบังกลาเทศเพิ่มเป็น 304 ราย
 
26 เม.ย. 56 - ยอดผู้เสียชีวิตจากตึกโรงงานเสื้อผ้าถล่มในบังกลาเทศเพิ่มขึ้นเกิน 304 รายแล้วในวันนี้ ขณะที่อีกหลายพันคนยังคงรอติดตามข่าวอยู่แถวที่เกิดเหตุ เพื่อค้นหาญาติมิตรที่สูญหาย
 
โฆษกกองทัพบังกลาเทศ แถลงว่า ยอดผู้เสียชีวิตมีจำนวน 304 ราย และได้รับความช่วยเหลือออกมากว่า 2,300 คน นับตั้งแต่อาคารถล่มเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันที่โรงพยาบาลเต็มไปด้วยเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งต้องถูกตัดแขนขาออก เพื่อที่หน่วยกู้ภัยจะได้นำตัวออกจากซากอาคารได้
 
จับเจ้าของโรงงานถล่มที่บังกลาเทศ
 
27 เม.ย.56 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน่วยกู้ภัยสามารถค้นหาจนพบผู้รอดชีวิตเกือบ 50 คนใต้ซากอาคาร รานา พลาซ่า ในแถบชานกรุงธากาเมื่อวานนี้ หลังอาคาร 8 ชั้นพังถล่มลงมาตั้งแต่เช้าวันพุธ
               
ล่าสุด สามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตออกมาได้อีก 2 คนในเช้ามืดวันนี้ ทำให้ทีมกู้ภัยยังมีความหวังที่จะพบผู้รอดชีวิตเพิ่มเติมอีก และสร้างความหวังให้กับญาติๆ หลายพันคนที่ถือรูปของผู้สูญหายและเฝ้ารอฟังข่าวรอบซากปรักหักพังของอาคารด้วยความเศร้าโศก แม้ว่าพบศพผู้เคราะห์ร้ายเพิ่มเติมทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเป็น 324 คนแล้ว ขณะที่จนถึงขณะนี้มีผู้ได้รับการช่วยเหลือออกจากซากอาคารได้กว่า 2,300 คน
               
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า ตำรวจสามารถจับกุมเจ้าของโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป 2 คนได้แก่ นายบาซลัส ซามัด ประธานบริษัท นิว เวฟ บัตทันส์ และ นิว เวฟ สไตล์  และนายมาห์มูดูร์ ราฮามาน ทาปาช กรรมการผู้จัดการของโรงงานหนึ่งในสองแห่งนี้  ในเช้ามืดวันนี้ โดยทั้งคู่ถูกตั้งข้อหาประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  หลังจากพวกเขาบังคับให้คนงานกลับเข้าไปทำงานในตึกทั้งที่พบรอยแตกร้าวในอาคารตั้งแต่เย็นวันอังคาร แม้ว่าตำรวจมีคำสั่งให้หยุดการทำงานและให้อพยพคนออกจากตึก
               
อย่างไรก็ตาม ข่าวการบังคับคนงานกลับเข้าไปในตึกที่แตกร้าวและการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจุดชนวนให้เกิดกระแสโกรธแค้น มีคนงานหลายพันคนชุมนุมประท้วงในบริเวณตึกถล่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีและขยายลุกลามไปยังโรงงานแห่งอื่นในวันศุกร์จนทำให้ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางสลายคนงาน
 
"เวิลด์แบงก์" เผย แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดนครองแชมป์ "ส่งเงินกลับบ้าน" มากที่สุดในอาเซียน ไทยรั้งที่ 4
 
29 เม.ย. 56 - รายงานของธนาคารโลกว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นและการพัฒนาฉบับล่าสุดระบุว่า ฟิลิปปินส์ซึ่งมีประชาชนอพยพไปทำงานในประเทศต่างๆทั่วโลกกว่า 12.6 ล้านคน ครองแชมป์ในฐานะดินแดนที่มีแรงงานส่งเงินกลับบ้านมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       
โดยในปี 2012 ที่ผ่านมา แรงงานชาวตากาล็อกที่ไปทำมาหากินอยู่ในต่างแดน ได้ส่งเงินกลับมายังประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนคิดเป็นวงเงินสูงถึง 24,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 716,935 ล้านบาท)
       
นอกจากฟิลิปปินส์จะเป็นดินแดนที่มีแรงงานส่งเงินกลับประเทศมากที่สุดในภูมิภาคแล้วแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดนซึ่งมีจำนวน 12.6 ล้านคนยังครอง "อันดับที่ 3 ของโลก" ในด้านการส่งเงินกลับบ้านสูงสุดเป็นรองเพียงแค่แรงงานจากอินเดีย (69,350 ล้านดอลลาร์) และแรงงานจีนแผ่นดินใหญ่ (60,240 ล้านดอลลาร์) เท่านั้น
       
สำหรับดินแดนที่มีแรงงานส่งเงินกลับประเทศมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมาจากฟิลิปปินส์ในปีที่ผ่านมา ได้แก่ เวียดนาม (10,000 ล้านดอลลาร์) และอินโดนีเซีย (7,200 ล้านดอลลาร์)
 
ส่วนประเทศไทยถูกจัดให้เป็นดินแดนที่มีแรงงานส่งเงินกลับประเทศมากเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่แล้วพี่น้องแรงงานไทยที่เดินทางไปขายแรงงานในต่างแดน มีการส่งเงินกลับประเทศคิดเป็นวงเงิน 4,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 120,880 ล้านบาท)
       
ขณะที่มาเลเซียซึ่งอยู่ในอันดับ 5 มีแรงงานส่งเงินกลับบ้าน 1,270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( ราว 37,220 ล้านบาท) ในปีที่แล้ว
       
ขณะที่เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว มีแรงงานส่งเงินกลับบ้านในปีที่ผ่านมาคิดเป็นวงเงิน 560 ล้านดอลลาร์, 250 ล้านดอลลาร์ และ 110 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ
 
อย่างไรก็ดี มีเพียง 2 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งทางธนาคารโลกระบุว่าไม่พบข้อมูลว่ามีแรงงานส่งเงินกลับประเทศ คือ สิงคโปร์และบรูไน ดารุสซาลามซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูง จึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปขายแรงงานในต่างแดน เหมือนกับแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน
       
ข้อมูลจากรายงานของเวิลด์ แบงก์ยังระบุว่า ในปี 2012 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียอดเงินที่แรงงานส่งกลับประเทศรวมกันสูงถึง 47,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นยอดเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2011 ถึง 8.43 เปอร์เซ็นต์
       
แต่หากคิดรวมยอดเงินทั้งหมดที่แรงงานพลัดถิ่นในทุกทวีปทั่วโลก ส่งเงินกลับประเทศบ้านเกิดของตนในปีที่ผ่านมานั้น จะสูงถึง 401,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 11.7 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2011 ราว 5.3 เปอร์เซ็นต์
       
ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่าขณะนี้มีผู้คนมากกว่า 215 ล้านคนทั่วโลกต้องอพยพออกไปทำงานในต่างประเทศ ขณะที่อีกมากกว่า 700 ล้านคนเป็นแรงงานที่ต้องอพยพย้ายถิ่นอยู่ภายในประเทศของตัวเอง
 
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ประชาไท, สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ไอเอ็นเอ็น, ครอบครัวข่าว, คมชัดลึก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

IDMC เผยทั่วโลกมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศตัวเอง 28.8 ล้านคน ในปีที่ผ่านมา

Posted: 30 Apr 2013 02:42 AM PDT

รายงานจากองค์กรเฝ้าระวังกรณีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDMC) เผยมีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มเป็น 28.8 ล้านคนในปี 2012 โดยมาจากเหตุสงครามกลางเมืองในซีเรียและการโจมตีของกลุ่มกบฏในคองโก ชี้การแก้วิกฤติความขัดแย้งภายในประเทศเป็นทางออกหลัก

 

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2013 องค์กรเฝ้าระวังกรณีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDMC) นำเสนอรายงานเรื่องจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศช่วงปี 2012 โดยระบุว่าสงครามในซีเรียและในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทำให้มัตัวเลขผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มติดอาวุธ, ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นเป็น 28.8 ล้านคนเมื่อปีที่ผ่านมา

รายงานประจำปีเปิดเผยว่าในปี 2012 มีจำนวนคนพลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 6.5 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าปี 2011 เป็นสองเท่า จากที่ประชาชนเหล่านี้ไม่ได้ข้ามพรมแดนทำให้พวกเขาไม่ถูกจัดเป็นผู้ลี้ภัย (refugees) และไม่ได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองของนานาชาติ

สถานการณ์ในซีเรียอยู่ในขั้นวิกฤติเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก จำนวนของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศของซีเรียตอนนี้รวมแล้วมีอยู่มากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านคน ในช่วงปีที่ผ่านมา

แคลร์ สเปอร์เรล โฆษกของ IDMC กล่าวว่าวิกฤติในซีเรียดำเนินมาถึงปีที่ 3 แล้ว และสถานการณ์ก็ยกระดับเกินกว่าจุดวิกฤติมาแล้ว สเปอร์เรลกล่าวอีกว่า "ผู้ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไม่สามารถช่วยเหลือซีเรียได้ ต้องเป็นนักการเมืองที่จะช่วยเหลือซีเรีย ...สิ่งที่คุณเห็นคือผู้คนที่กำลังอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอย่างที่สุด ผู้พลัดถิ่นภายในจำต้องพึ่งพาคนอื่น แต่ตัวชุมชนที่ให้ความช่วยเหลือเองก็ขาดแคลนอาหารและเริ่มเกิดโรคระบาด"

อันโตนิโอ กูเตอเรส ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในซีเรียเป็นวิกฤติด้านมนุษยธรรมครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีความโหดเหี้ยมและการทำลายล้างมากกว่าความขัดแย้งในอิรักและอัฟกานิสถาน

IDMC กล่าวว่า จำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศซีเรียจะมีเพิม่มากขึ้นตราบใดที่ความขัดแย้งยังไม่คลี่คลาย โโยชี้ว่าปรากฏการเช่นนี้เคยเกิดขึ้นในประเทศที่ความขัดแย้งกินเวลายาวนาน

รายงานของ IDMC ระบุอีกว่า ประเทศโคลัมเบียเป็นประเทศที่มีผู้พลัดถิ่นภายในมากที่สุดในโลก รองลงมาคือซีเรียและคองโก ส่วนภูมิภาคที่มีจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในมากที่สุดคือภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ซึ่งมีจำนวนตัวเลขผู้พลัดถิ่นภาย 10.4 ล้านคนในปี 2012 ซึ่งมากถึงหนึ่งในสามของจำนวนผู้พลัดถิ่นภายในทั้งหมด

ในคองโกมีประชาชนราย 1 ล้านคนต้องหนีจากที่อยู่อาศัยจากการจู่โจมของกลุ่มกบฏ M23 ในเดือน พ.ย. 2012 มีประชาชนราว 140,000 คน หนีไปที่เมืองโกมาทางตอนเหนือของประเทศภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่กองกำลัง M23 บุกเข้าไปในเมือง นอกจากนี้เหตุการณ์ความขัดแย้งในมาลี และเหตุรุนแรงจากกลุ่ม โบโก ฮารามในไนจีเรียก็ทำให้เกิดการพลัดถิ่นจำนวนมากเช่นกัน

"ร้อยละ 90 ของประเทศที่มีการตรวจสอบโดย IDMC พบว่ามีคนที่กลายเป็นคนพลัดถิ่นภายในเป็นเวลานาน ซึ่งบางครั้งก็นานหลายสิบปี ขณะเดียวกันก็มีคนรุ่นที่สองรุ่นที่สามซึ่งพลัดถิ่นแต่กำเนิด" เคท ฮัลฟ์ ประธาน IDMC กล่าว

ฮัลฟ์กล่าวอีกว่า รัฐบาลในประเทศต่างๆ มีส่วนรับผิดชอบในการหาทางออกในระยะยาวให้กับประชาชนพลัดถิ่น แต่พวกเขาต้องตระหนักเสียก่อนว่า ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศไม่เพียงแค่ต้องการการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแค่ในช่วงวิกฤติ แต่ต้องมีการอนุมัติช่วยเหลือจนกว่าจะหาทางออกได้

กลุ่มประเทศแอฟริกาได้ริเริ่มพูดถึงปัญหาคนพลัดถิ่นภายในประเทศจากการร่างสนธิสัญญา Kampala convention และมีการบังคับใช้แล้วเมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยสนธิสัญญาดังกล่าวมีการวางพันธกิจในกลุ่มรัฐบาลของทวีปแอฟริกันเพื่อปกป้องและช่วยเหลือกลุ่มคนพลัดถิ่นภายใน โดยมีประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกา 37 ประเทศจาก 53 ประเทศ ลงนามในสัญญา

สนธิสัญญา Kampala convention ระบุว่ารัฐบาลต้องเป็นผู้รวบรวมข้อมูลและระบุตัวตนของผู้พลัดถิ่นเพื่อให้ทราบว่าพวกเขามาจากไหน และต้องการอะไร รัฐบาลต้องเป็นผู้ออกเอกสารแสดงตัวตน ช่วยเหลือให้พวกเขากลับไปพบครอบครัว และให้คำปรึกษาเรื่องความต้องการของผู้พลัดถิ่นภายใน


เรียบเรียงจาก

Wars push number of internally displaced people to record levels, The Guardian, 29-04-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์พระชาย วรธัมโม: มองความหลากหลายทางเพศจากมุมพุทธศาสนา

Posted: 30 Apr 2013 02:05 AM PDT

พระชาย วรธัมโม ผู้เขียนหนังสือ "แกะ*เปลือก*เพศ*พุทธ:
รวมบทความว่าด้วยศาสนากับเพศและความเป็นเพศอื่นๆ" (ที่มา: ประชาไท)

ตามที่ คณะกรรมาธิการการกฏหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษร ได้จัดรับฟังความคิดเห็นต่อ "ร่าง พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ" หรือ พ.ร.บ.จดทะเบียนชีวิตคู่ เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ประชาไท มีโอกาสสัมภาษณ์พระชาย วรธัมโม ผู้เขียนหนังสือ "แกะ*เปลือก*เพศ*พุทธ: รวมบทความว่าด้วยศาสนากับเพศและความเป็นเพศอื่นๆ" นอกจากนี้พระชายยังเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ เป็นระยะ เพื่ออธิบายเรื่องเพศวิถีผ่านมุมมองทางพุทธศาสนา

โดยในการสัมภาษณ์พระชายได้ให้ความเห็นต่อเรื่องความรักของผู้มีความหลากหลายทางเพศจากมุมมองทางพุทธศาสนาว่า "ความรักเป็นเรื่องของพัฒนาการ อย่างคนที่ไม่เคยมีความรักอาจจะไม่รู้ว่าความรักคืออะไร ทีนี้พอมีความรักก็อาจมีความเมตตา ความกรุณามากขึ้น มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง รู้จักการให้มากขึ้น หมายความว่า ความรักทำให้คนๆ นั้นมีพัฒนาการภายใน"

แต่ความรักเองอาจมีเรื่องของความหึงหวง มีโมโหโทโสต่อกัน มีการทะเลาะกัน แต่พุทธก็มองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนที่มีความรักว่าจะปรับจิตปรับใจตัวเองข้างในให้สมดุลได้อย่างไร เพราะไม่มีคู่ไหนที่รักกันแล้วจะไม่มีโกรธกันหรือทะเลาะกันก็มีทุกคู่ ไม่ว่าคู่นั้นจะเป็นรักต่างเพศชายหญิง หรือรักเพศเดียวกัน ก็มีหมด เพียงแต่ว่าแต่ละคู่จะปรับตัวเองอย่างไร ซึ่งในที่สุดการปรับตัวเองก็คือการปฏิบัติธรรม ทีนี้เวลารักกันแล้วก็มีการพลัดพรากในที่สุด ถ้าเราไม่ตายก่อน เขาก็ตายก่อน

ก็เป็นการเรียนรู้ความรักในบั้นปลาย ว่าในที่สุดแล้วคนเราก็ต้องตายจากกันอยู่ดี ไม่ว่าจะรักกันมากแค่ไหน คือไม่มีคู่ไหนที่ในที่สุดจะอยู่กันอย่างนิรันดร ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องพลัดพรากกัน ต้องตายจากกัน ซึ่งถึงขั้นนั้น อาจทำให้คนได้เรียนรู้มากขึ้นถึงความว่างเปล่า อาจทำให้คนได้เข้าสู่นิพพานก็ได้ หรือเรียนรู้ธรรมมะขั้นสูงขึ้นไป คือการพลัดพราก ในที่สุดคนก็ต้องแยกจากกัน แล้วก็ต้องทำจิตทำใจปล่อยวางไปสู่นิพพาน ในที่สุดความรักก็เป็นพัฒนาการอย่างนี้

000

ต่อกรณีที่มีการผลักดัน พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เข้าสู่สภานั้น พระชายเห็นว่าเป็นเรื่องน่าจับตามอง เพราะกฎหมายหรือความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันจริงๆ แล้ว ไม่เคยถูกพูดถึงในพื้นที่สาธารณะมาก่อน และไม่เคยถูกนำเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายบ้านเมือง แต่ในกฎหมายนั้นเท่าที่ได้ดูก็รู้สึกว่ายังมีความไม่สมบูรณ์อยู่ เช่น อาจจะมีเงื่อนไขเล็กๆ น้อยๆ อย่างการที่คู่รักเพศเดียวกันอาจต้องไปขอใบรับรองจากแพทย์แล้วมาจดทะเบียน ซึ่งมองว่าไม่ค่อยเท่าเทียม และถ้าเป็นแบบนั้นแล้วใครจะไปจดทะเบียนล่ะ เพราะเหมือนยังป่วยอยู่ แล้วเรื่องการรับบุตรบุญธรรมก็ยังไม่ถูกพูดถึง ก็คือกฎหมายยังมีความไม่สมบูรณ์และบกพร่องอยู่

สำหรับชื่อของกฎหมายนั้น พระชาย กล่าวว่า "อยากมองให้ไกลมากกว่านั้นว่าจะเป็นไปได้ไหม ที่จะเป็น พ.ร.บ.ชีวิตคู่สำหรับคู่รักที่ไม่ต้องระบุเพศเลยว่าใครเป็นใคร ไม่ต้องระบุเพศเลยว่าต้องเป็นเพศเดียวกันเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะเปิดโอกาสให้คนมีทางเลือกมากขึ้นในชีวิตในการอยู่ด้วยกัน โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นเพศเดียวกัน หรือต้องเป็นรักต่างเพศเท่านั้น"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โอ้ว่าอองซานซุจี ท่านอยู่หนใด?

Posted: 30 Apr 2013 01:03 AM PDT

ออง ซาน ซูจี ปราศรัยเมื่อ 17 พ.ย. 2554 (ที่มา: วิกีพีเดีย/แฟ้มภาพ)

 

การหายตัวไปของสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยพม่าเมื่อเร็ว ๆ นี้เป็นข่าวที่น่าสลดใจอย่างยิ่งในรอบหลายปี

เป็นเรื่องที่ทำใจลำบากอยู่แล้วเมื่อนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายด้านสิทธิมนุษยชน หายตัวไปที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2004 ในระหว่างกำลังตรวจสอบข้อกล่าวหาการทำทารุณกรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ข่าวน่าสะเทือนใจที่คล้ายคลึงกันคือการลักพาตัวนายโจนาส เบอร์โกส ทนายที่ต่อสู้เพื่อชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกิน จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเขตเกซอนซิตี้ของกรุงมะนิลา

หลังจากนั้นอีก 4 เดือน สมบัด สมพอน นักการศึกษาและนักรณรงค์สิทธิชาวลาว ถูกหยุดตรวจโดยตำรวจในเวียงจันทน์และต่อมาก็ถูกควบคุมตัวเข้าไปในรถกระบะ

ไม่มีใครเห็นคนเหล่านี้อีกเลย

มาในตอนนี้ก็เกิดการหายตัวไปอย่างลึกลับของด่อออง ซาน ซุจี* เพื่อนและเพื่อนร่วมงานของนางสงสัยว่าการหายตัวในครั้งนี้จะเป็นฝีมือของผู้นำในกองทัพและผู้ใกล้ชิดระดับมหาเศรษฐี

หากเป็นเรื่องจริง คนกลุ่มนี้ได้เล่นกลลวงและได้นำคนหน้าเหมือนมาสวมรอยแทนเธอ เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับบุคคลสำคัญทางการเมืองมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นวินสตัน เชอร์ชิล เฮนรี่ คิสซินเจอร์ และซัดดัม ฮุสเซน

เรามาทบทวนกันดีกว่าว่าการกระทำที่แสนจะขี้ขลาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ในปี 1988 เมื่อด่ออองซานซุจีกลับมาจากพม่า (จากอังกฤษ – ผู้แปล) ด่ออองซานซุจีกลายเป็นตัวแทนผู้กล้าหาญที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้มีระบบหลายพรรคที่เป็นของประชาชนและปลอดจากการคอรัปชั่นที่รัฐเห็นชอบ เธอยังต่อสู้กับการค้ายาเสพย์ติด และการกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย

เธอประณามเผด็จการทหารที่บริหารทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ในประเทศของเธอผิดพลาด และทำให้ประชาชนต้องจมอยู่กับความยากจน และในระหว่างนี้เองเธอก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในช่วงที่เธอถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพัก

จากนั้น ในปี 2010 เธอก็ได้รับการปล่อยตัวจากการจองจำและได้รับเสรีภาพให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองบางส่วนซึ่งไม่มีใครคาดฝันมาก่อน

เธอออกหาเสียงไปทั่วประเทศ ได้รับชัยชนะจำนวนหนึ่งที่นั่งในรัฐสภา และ ยังเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับรางวัลโนเบล และยังได้รับเกียรติให้เข้าพบผู้นำระดับโลกทั้งที่วอชิงตัน ลอนดอน และปารีส

จากนั้น จู่ ๆ เธอก็หายตัวไป หรืออย่างน้อย ๆ ด่ออองซานซุจีตัวจริงที่เราทุกคนรู้จักได้หายตัวไป มีผู้หญิงอีกคนหนึ่งปรากฏกายในที่ของเธอ มีชื่อเดียวกันและมีบุคลิกลักษณะใกล้เคียงกันด้วย

สิ่งมีชีวิตใหม่สิ่งนี้กระโดดลงไปบนเตียงกับเหล่านายพลและคนสนิทฐานะมั่งคั่งของพวกเขา เป็นตัวละครอย่างเฟาสต์** เช่นเดียวกับลีกวนยูและฮุนเซน ที่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกสต๊าฟไว้อีกต่อไป

"เป็นเรื่องจริง ดิฉันชอบกองทัพ" เธอกล่าวออกรายการ Desert Island Discs ของบีบีซี พร้อม ๆ กับเลือกเพลง Here Comes the Sun ของเดอะบีเทิลส์ และ Green Green Glass of Home ของทอม โจนส์ เป็นสองเพลงในจำนวนเพลงที่เธอเลือก

นี่เป็นด่ออองซานซุจีตัวจริงแน่หรือ ที่ชื่นชมนายทหารในกองทัพ ซึ่งหากเราจำกันได้ ก็คือพวกที่เกณฑ์ทหารเด็ก ปล้นและข่มขืนชนกลุ่มน้อย และสังหารผู้ชุมนุมประท้วงหลายร้อยคนในปี 1988 และ 2007

ไม่นะ นี่ต้องเป็นตัวปลอมสิ เพราะผู้หญิงคนนี้ทำแม้กระทั่งสรรเสริญคนพวกนั้น และยังยินดีรับเงินบริจาคในงานระดมทุนของพรรคจากคนอย่างอูเธสะและอูจอวิน ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาด้วยช่องทางที่ไม่บริสุทธิ์ พร้อมทั้งรถเฟอรารี่และโรลสรอยซ์ของพวกเขานั้นล้วนมาจากสัญญากับทหารและกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งสิ้น

นอกจากนั้น "นกต่อ"ในรูปของอองซานซุจีตัวปลอมนี้ยังเห็นดีเห็นงามกับเหมืองทองแดงเลทปะด่อง (Letpadaung) ที่มีกลุ่มทหารจีนเป็นเจ้าของด้วยส่วนหนึ่ง และ Union of Myanmar Economic Holdings ที่มีกองทัพเป็นเจ้าของอีกด้วย

โครงการที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมานานนี้ได้ขับไล่ชาวนาหลายร้อยคนออกไปจากพื้นที่และเปลี่ยนพื้นที่ชนบทบ้าน ๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ประมาณหลุมบ่อที่แสนสยดสยองบนพระจันทร์ที่จะท้าทายความสามารถแม้แต่จิตรกรอย่างเฮียโรนิมัส บอส (Hieronymus Bosch)***

แม้ภายหลังกองกำลังรักษาความสงบได้ยิงกระสุนฟอสฟอรัสขาวเข้าไปยังกลุ่มชาวนาผู้ชุมนุม "นกต่อ" ด่ออองซานซุจียังย้ำอีกว่าเธออยู่ข้างเดียวกับเหมืองทองแดงและเธอจะลงโทษชาวนาเหล่านั้นที่ได้ประท้วงเหมืองโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน

หลักฐานชิ้นสุดท้ายที่ทำให้เห็นปีศาจนกต่อตนนี้ คือเมื่อชาวมุสลิมในเมืองเมกติลา (Meiktila) ย่างกุ้ง และรัฐยะไข่ถูกสังหารโดยกลุ่มชาวพุทธฝ่ายขวาจากชุมชนชาวพม่าแท้ (Bamar) ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นฐานเสียงสำคัญของด่อออองซานซุจี

ท่านผู้หญิง**** ได้ลุกขึ้นมาประณามการสังหารหมู่นี้หรือไม่ เธอเปล่า

สิ่งเหล่านี้มันไม่เหมือนด่ออองซานซุจีตัวจริงเอาเสียเลย คำอธิบายเดียวที่เป็นไปได้คือนี่เป็นอุบายชั่วของทหารที่วางแผนลักพาตัวเธอและนำหุ่นเชิดขี้ประจบมาสวมรอยแทน

เราคงได้แต่เพียงหวังว่าใครสักคนจะปลดปล่อยเธอให้เป็นอิสระ...แล้วก็เร็ว ๆ นี้ด้วย

 

เชิงอรรถ

* ด่อ (Daw) เป็นคำนำหน้าชื่อผู้หญิงพม่าวัยกลางคนขึ้นไปทั้งที่แต่งงานแล้วหรือไม่ได้แต่งงาน มีความหมายใกล้เคียงกับ "นาง" ในภาษาไทย แต่ใช้อย่างกว้างขวางมากกว่าและยังมีนัยยะเรื่องการให้ความเคารพ ดังนั้นจึงไม่มีชาวพม่าที่กล่าวถึงด่ออองซานซุจีว่า "อองซานซุจี" เฉย ๆ แต่จะมี "ด่อ" นำหน้าชื่อด้วยเสมอ

**เฟาสต์ (Faust) เป็นตัวเอกของตำนานเก่าแก่ของเยอรมัน ชีวิตของเฟาสต์จัดเป็นเรื่องราวแบบโศกนาฏกรรม เฟาสต์เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในชีวิตแต่กลับไม่พอใจกับชีวิตของตน และได้ตกลงกับปีศาจเพื่อแลกวิญญาณของตนกับความรู้และความสุขทางโลก เฟาสต์เป็นตัวละครที่ถูกศิลปินเยอรมันหลายยุคหลายสมัยจับมาสร้างเป็นงานศิลปะและวรรณกรรม แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นบทประพันธ์เรื่องเฟาสต์ของเกอเธ (Johann Wolfgang von Goethe)

***เฮียโรนิมัส บอส (Hieronymus Bosch) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ที่มีชื่อเสียงจากการวาดบานพับภาพ (triptych) บานพับภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของบอสเป็นภาพของสวรรค์กับนรกชื่อ The Garden of Earthly Delights

**** The Lady เป็นสมญานามที่ทั่วโลกมอบให้ด่ออองซานซุจีด้วยความรักและเคารพ ผู้แปลขอแปลตรงตัวในที่นี้ว่า "ท่านผู้หญิง" ด้วยท่าทางและท่าทีที่สง่างามของเธอที่ทำให้อดคิดมิได้ว่าเธอเป็น "ท่านผู้หญิง" จริงๆ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟื้นเจตนารมณ์วันกรรมกรสากล

Posted: 30 Apr 2013 12:35 AM PDT


แฟ้มภาพ: ประชาไท 1 พ.ค.2554

 

1 พฤษภาคม คือวันสำคัญของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั่วโลกเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกมาร่วมกันย้อนรำลึกถึงการต่อสู้ของพี่น้องแรงงานในอดีตที่ได้ต่อสู้เพื่อความหวังและอนาคตที่ดีกว่า วันกรรมกรสากล หรือ May Day มีกำเนิดที่ผูกพันกับการต่อสู้เพื่อลดชั่วโมงการทำงานของผู้ใช้แรงงาน ที่สำคัญและต่อมาได้พัฒนามาสู่การกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันสำคัญของคนงานทั่วโลกคือการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ต่อสู้ในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ต้นคริสศัตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว

ศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร อดีตอธิบดีกรมแรงงาน ผู้ยืนเคียงข้างและต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน ได้เคยให้ความเห็นถึงความสำคัญของวันกรรมกรสากลว่า "...เป้าหมายที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องที่คนงานชุมนุมกันเป็นการแสดงออกซึ่งความสามัคคี ความพร้อมเพรียงและระลึกถึงผลงานของผู้นำแรงงานทั่วโลกที่ได้เรียกร้องให้ดูแลคนงานอย่างเป็นธรรม ฉะนั้น กล่าวได้ว่าวันแรงงานแห่งชาติหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า May Day มันเรื่องของชาวตะวันตกก่อนทำกันมาร้อยปีกว่าเดือนพฤษภาคมที่สหรัฐ ทำที่เมืองซิคาโกและต่อไปคนงานในประเทศต่างๆ ก็ทำกันและยึดเอาวันที่พฤษภาคมเป็นวันแรงงานแห่งโลก..." เช่นเดียวกับที่ศาตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการแรงงานคนสำคัญอีกท่านได้ให้ความเห็นถึงวันกรรมกรสากลไว้ว่า "...เป็นการรำลึกถึงการต่อสู้ของกรรมกรในอเมริกาและยุโรป ซึ่งจุดกำเนิดมาจากอเมริกาและต่อมาแพร่ขยายไปยุโรปและทั่วโลก เป็นวันรำลึกแห่งการต่อสู้ของผู้ที่ต้องการที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตของคนงานขึ้นมาในเรื่องของความยุติธรรมในการจ้าง ในเรื่องของวันพักผ่อน ในเรื่องของชั่วโมงการทำงานซึ่งระบบการทำงานที่เรียกว่าระบบ 3 แปด ทำ 8 ชั่วโมง พัก 8 ชั่วโมง ศึกษาเล่าเรียน 8 ชั่วโมง อันนี้ถือว่าเป็นปรัชญาของการต่อสู้เพื่อให้เกิดวันกรรมกร"

ขบวนการเรียกร้องดังกล่าวเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาก่อนและได้ก่อตัวเป็นกระแสเรียกร้องที่ดังกึกก้องกังวานไปทั่วโลก จุดเริ่มต้นคือเมื่อสหภาพแรงงานแห่งชาติสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ วิลเลี่ยม ซิลวิส (William H. Sylvis) วีรบุรุษกรรมกรแห่งอเมริกา ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการผลักดันประเด็นการต่อสู้เพื่อลดชั่วโมงการทำงาน ให้กลายเป็นประเด็นร่วมในการเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ข้อเรียกร้องของซิลวิสได้ถูกเสนอสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ขององค์กรกรรมกรสากลที่กรุงเจนีวา หรือที่เรียกกันว่า "สากลที่หนึ่ง" ในปี พ.ศ. 2429 พร้อมกับมีการเสนอให้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมในปี พ.ศ. 2429 เป็นวันที่กรรมกรทั่วโลกพร้อมใจกันหยุดงาน เพื่อร่วมกันรณรงค์และกดดันให้มีการออกกฎหมายจำกัดชั่วโมงการทำงานไม่ให้เกินวันละ 8 ชั่วโมงในทุกแห่งหน

1 พฤษภาคม ของปี พ.ศ. 2429 จึงถือเป็นวันที่มวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้พร้อมใจกันสำแดงพลังของตน ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของพวกเขา สลัดทิ้งซึ่งความกลัวที่เคยครอบงำเหนือพวกเขาตลอดมา เป็นวันแห่งการแสดงออกซึ่งจิตใจสมานฉันท์สากลหรือ อินเตอร์แนชชันแนล โซลิดาริตี้ (International solidarity) เป็นปฏิบัติการร่วมของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยไม่แบ่งแยก สีผิว ศาสนา ความเชื่อ และพรมแดน

ที่สหรัฐอเมริกา กระแสเรียกร้องดังกล่าวได้รับการขานรับจากพี่น้องแรงงานกระจายไปในหลายมลรัฐทั่วประเทศ การลุกขึ้นต่อสู้ของคนงานอเมริกันครั้งนี้ ทำให้ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว นครชิคาโก มีสถานะเปรียบสมือนเมืองหลวงของขบวนการแรงงานทั่วโลก มันได้กลายเป็นศูนย์กลางของการนัดหยุดงานที่มีผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาลเข้าร่วมชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน การประกาศลุกขึ้นสู้และพร้อมใจพากันผละงานของคนงานในครั้งนั้น ว่าไปแล้วมันก็คือการประกาศทำสงครามทางชนชั้นของกรรมกรต่อนายทุนผู้กดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบคนงานทั่วโลก

1 พฤษภาคม 2429 จึงได้ถูกจารึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ของชนชั้นกรรมชีพแห่งโลกว่าวันนี้คือวันที่คนงานทั่วโลก ปลดโซ่ตรวน ปลดแอก ประกาศอิสระภาพ เรียกร้องให้รัฐและนายจ้างยอมปฏิบัติตามข้อเสนอของพวกเขา คือให้ลดชั่วโมงการทำงานลงเหลือไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง เสียงตะโกน ALL Worker unite หรือกรรมกรทั้งหลายจงรวมกันเข้า ดังกระหึ่มกึกก้องไปทั่วทุกมุมโลก มวลกรรมกรพากันลุกขึ้นต่อสู้ด้วยความใฝ่ฝันและความหวังที่จะสร้างอนาคตที่สดใสด้วยสองมือของพวกเขาเอง ที่ชิคาโก้ คนงานได้ยืนหยัดหยุดงานแบบยืดเยื้อ หมายให้บรรลุเป้าหมายแห่งการต่อสู้ในครั้งนั้น แต่เนื่องจากแกนนำสำคัญของการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นเป็นกรรมกรฝ่ายซ้ายและพวกอนาธิปัตย์ (Anarchist) จึงได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตกให้กับฝ่ายนายจ้างและรัฐเป็นอย่างยิ่ง

การหยุดงานของคนงานชิคาโกได้ดำเนินต่อเนื่องไปถึงวันที่ 3 พฤษภาคม นายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐก็ได้ส่งกองกำลังติดอาวุธเข้าสลายการชุมนุมอย่างโหดเหี้ยม ส่งผลให้คนงานเสียชีวิต 6 คนและบาดเจ็บหลายคน ทั้งๆ ที่การชุมนุมของคนงานเป็นการชุมนุมอย่างสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ
การใช้ความรุนแรงของรัฐไม่อาจทำให้คนงานสยบยอม ตรงกันข้ามกลับยิ่งทำให้คนงานเห็นถึงความไม่เป็นธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น มันได้สร้างความเคืองแค้นและเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นกับคนงานจากที่อื่นๆ ให้เข้าร่วมสนับสนุนการต่อสู้ครั้งนี้อย่างไม่ย่อท้อ

วันถัดมาการชุมนุมของคนงานได้ขยายวงไปในอีกหลายเมือง แต่ที่น่าสลดใจยิ่งก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ จตุรัส เฮย์มาร์เก็ต (Hay Market) ที่ซึ่งคนงานที่ไม่พอใจการกระทำของรัฐและนายจ้าง ได้พากันไปชุมนุมกันอย่างสันติเพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับผู้สังหารคนงาน แต่ระหว่างการชุมนุมได้มีคนขว้างระเบิดเข้าใส่กลางที่ชุมนุม เป็นผลให้ตำรวจเสียชีวิต 7 นาย คนงานเสียชีวิต 4 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

ระเบิดที่ถูกโยนเข้าไปในที่ชุมนุมที่จตุรัส เฮย์มาร์เก็ตได้ถูกรัฐใช้เป็นข้ออ้างในการสลายการชุมนุมและกวาดล้างจับกุมผู้นำแรงงานจำนวนมาก

ในการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมนั้นปรากฏว่ามีผู้นำงาน 8 คนถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยข้อหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่เฮย์มาร์เก็ต ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าคนทั้ง 8 มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการโยนระเบิดดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าระเบิดลูกนั้นได้กลายเป็นเงื่อนไขให้รัฐและนายจ้างฉวยโอกาสปราบปราม สกัดกั้นการเติบกล้าของขบวนการแรงงานอเมริกาในขณะนั้น

การปราบปรามผู้ใช้แรงงานอย่างรุนแรงครั้งนั้น ได้สร้างความเจ็บแค้นให้กับคนงานที่รักความเป็นธรรมทั่วโลก มันได้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่จุดประกายไฟให้กับแนวความคิดที่จะกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันสำคัญของกรรมกรทั่วโลกลุกโชติช่วงมีชีวิตชีวาและมีพลังยิ่ง

และแล้วในที่สุดในการประชุมขององค์การกรรมกรสากล ในกรุงปารีสในปี พ.ศ. 2432 หรือที่เรียกกันว่าสากลที่สอง ที่ประชุมอันประกอบด้วยคนงานจากหลากหลายประเทศได้มีมติร่วมกันกำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล

1 พฤษภาคมถูกกำหนดให้เป็นวันที่กรรมกรจะไม่ทำงานและจะออกมาบนท้องถนนเพื่อสำแดงพลังสามัคคีทางชนชั้น สะท้อนปัญหาเรียกร้องให้มีการปรับปรุงค่าจ้าง สวัสดิการ สภาพการจ้าง และสร้างสังคมที่เป็นธรรม

วันที่ 1 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2433 จึงเป็นปีแรกที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลก พากันถือเป็นวันหยุดของตน เพื่อสานต่อภารกิจและเจตนารมณ์ของคนงานชิคาโก้ 1 พฤษภาคม จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการลุกขึ้นต่อสู้ทางชนชั้นของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั่วโลกนับแต่นั้นมา

จะเห็นว่าหลักการสำคัญของวันกรรมกรสากลคือ การพร้อมใจนัดหยุดงาน เดินออกมาจากประตูโรงงานมาร่วมกันต่อสู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของมวลคนงาน เริ่มต้นจากประเด็นลดชั่วโมงการทำงาน ขยายไปสู่ประเด็นแรงงานและสังคมอื่นๆ แต่ล้วนเป็นจิตวิญญาณของการลุกขึ้นต่อสู้แบบพึ่งตนเอง ไม่ยอมงอมืองอเท้า เชื่อในพลังอำนาจของคนงานในฐานะชนชั้นที่เป็นสากลไม่ใช่ชาตินิยม มุ่งที่จะสร้างเอกภาพทางชนชั้นของมวลพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกแห่ง ทุกหน ไม่แยก ชาติ ศาสนา ผิวพรรณ และพรมแดน

ในประเทศไทย แรงงานรับจ้างถือกำเนิดในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชที่อำนาจทางการเมืองจำกัดอยู่ในกำมือของชนชั้นสูง สิทธิเสรีภาพของผู้คนยังไม่ได้รับการยอมรับ อีกทั้งในศตวรรษแรกของการมีแรงงานรับจ้างในประเทศไทยนั้น แรงงานข้ามชาติจากประเทศจีนคือแรงงานส่วนใหญ่ในตลาดแรงงานไทย กอรปกับการเติบโตและพัฒนาของลัทธิชาตินิยมในประเทศไทยที่มีคนจีนตกเป็นเป้าหมาย ส่งผลให้นโยบายด้านแรงงานของรัฐไทยในขณะนั้นตกอยู่ภายใต้กรอบคิดเรื่องความมั่นคงแห่งชาติที่มองว่าแรงงานส่วนใหญ่เป็น "คนต่างด้าว" เป็น "จีน" ซึ่งถูกเพ่งเล็งว่าอาจจะนำความคิดความเชื่อทางการเมืองที่ไม่พึงปรารถนาและเป็นภัยต่ออำนาจรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชเข้ามาเผยแพร่

แรงงานในประเทศไทยจึงมีสิทธิและเสรีภาพที่จำกัดมาก ต้องถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง สมาคม สโมสรในปี พ.ศ. 2440 แต่สิทธิดังกล่าวไม่เคยเอื้อมมาถึงผู้ใช้แรงงาน การรวมตัวกันของคนงานในประเทศไทยถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ดังนั้นขบวนการแรงงานในยุคแรกภายใต้อำนาจรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชจึงเป็นไปในลักษณะปิดลับ ใต้ดิน มีหลักฐานยืนยันว่าคนงานแอบเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลกันอย่างลับๆ มีการชักธงแดงอันเป็นสัญญลักษณ์ของชนชั้นกรรมกรขึ้นเสาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วสิทธิของผู้ใช้แรงงานได้รับการยอมรับมากขึ้น องค์กรของคนงานได้รับการจดทะเบียน มีการยื่นข้อเรียกร้องและนัดหยุดงานของคนงานกลุ่มต่างๆ มากมาย ที่สำคัญได้แก่สมาคมของคนงานรถรางสยามที่ถือเป็นองค์กรแรงงานแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย ต่อมาสมาคมคนงานหลากหลายองค์กรได้มารวมกันเป็นองค์กรระดับชาติในชื่อ สมาคมอนุกูลกรรมกร ที่มีนายถวัติ ฤทธิเดชเป็นผู้นำ

แต่ความขัดแย้ง การช่วงชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำและสถานการณ์สากลที่กำลังก้าวสู่สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ทหารก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย  แรงงานก็กลับมาถูกกวดขันเข้มงวดอีกครั้ง กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงแล้ว ประชาธิปไตยจึงหวนกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้งพร้อมกับสิทธิของผู้ใช้แรงงาน

ในปี 2489 หลังยกเลิกกฎอัยการศึก การรวมตัวกันเป็นองค์กรของคนงานก็กลับมาได้รับการยอมรับอีกครั้ง มีองค์กรแรงงานถูกจัดตั้งขึ้นมากมายหลายองค์กร ที่สำคัญได้แก่ สหบาลกรรมกรนครกรุงเทพฯ ซึ่งต่อมาได้จดทะเบียนเป็นสมาคมสหะอาชีวะกรรมกรกรุงเทพฯ และสมาคมไตรจักร์สมาคมของถีบสามล้อ เป็นต้น สมาคมคนงานทั้งสองแห่งได้ริเริ่มจัดเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจัดให้มีขึ้นที่สนามหญ้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 มีคนงานเข้าร่วมงานราวสามพันคน

ในปีถัดมา องค์กรแรงงานต่างๆ จากกว่า 60 สาขาอาชีพ ได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรศูนย์กลางแรงงานระดับชาติขึ้นให้ชื่อว่า  "สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย" ขึ้น มีนายเธียรไท อภิชาตบุตรเป็นประธาน นายดำริห์ เรืองสุธรรมเป็นเลขาธิการ มีสมาชิกมากถึง 75,000 คน

จรูญ ละสา อดีตผู้นำสหอาชีวกรรมกรได้เล่าถึงการจัดวันกรรมกรสากลครั้งแรกในประเทศไทยว่า "...จัดที่วังสราญรมย์ครั้งแรก พ.ศ.89 แต่คนก็น้อยประมาณ 3,000 คน ส่วนครั้งที่สอง พ.ศ.2490 ก็จัดที่สนามหลวงครั้งนี้ทางรถไฟร่วมทางโรงสี ทางโรงงานยาสูบหลายคนร่วม รวมกันที่สนามหลวงแต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นโรงสีมาก ค่าใช้จ่ายโดยมากเรี่ยรายเขามีทุนก้อนหนึ่งก็จริงตั้งสมาคมโดยทางฝ่ายโรงสี แต่โดยมากจะเรี่ยรายคนละกี่บาทก็แล้วแต่ 50 สตางค์ คนละบาทหนึ่งหรือใครมีเศษสตางค์ก็ให้ไป อย่างคนรถไฟก็เคยจัดก็เรี่ยราย พูดง่ายอย่างเงินเดือนออกเศษสตางค์ก็ขอ ขอให้จัดงานวันเมย์เดย์บ้าง งานเตรียมการต่อสู้ของเขาบ้างใช้วิธีอย่างนั้น โดยมากเราไม่ได้ไปของรัฐบาลอย่างทุกวันนี้..."

1 พฤษภาคม 2490 สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทยที่เพิ่งถือกำเนิด ได้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานวันกรรมกรสากลอย่างยิ่งใหญ่มีคนงานเข้าร่วมงานครั้งนี้กว่าแสนคน ดำริห์ เรืองสุธรรม ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหอาชีวิกรรมกรแห่งประเทศไทย ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดวันกรรมกรในปีนั้นได้เล่าให้ฟังว่า "......เราก็เชิญกรรมกรตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการก่อตั้งสหภาพ สหพันธ์ขึ้นมาแล้วมาร่วมประชุมกันในเดือนเมษายน ที่ประชุมก็ตอบตกลงตั้งเป็นสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย แล้วก็ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม 2490 จัดงานฉลองวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยเป็นครั้งที่ 2 แต่ว่าเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะมีกรรมกรอาชีพต่างๆ มาร่วมชุมนุมที่นี่เป็นจำนวนแสนซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่..."

การมาร่วมชุมนุมอย่างเนืองแน่นของกรรมกรครั้งนี้ถือเป็นการสำแดงพลังความสามัคคีของชนชั้นกรรมกรครั้งสำคัญ การจัดงานครั้งนี้เกิดขึ้นจากทุนทรัพย์ของขบวนการแรงงานเอง ไม่ได้แบมือขอเงินจากใคร คณะผู้จัดงานได้เชิญผู้นำแรงงานอาวุโสที่เคยมีบทบาทสำคัญในขบวนการแรงงานในยุคก่อนหน้านั้นอย่างเช่น นายถวัติ ฤทธิเดช นายวาศ สุนทรจามร นายสุ่น กิจจำนงค์เป็นต้น มาร่วมเป็นประธานในงานเฉลิมฉลองครั้งนี้

สหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทยได้เรียกร้องให้เอาระบบการทำงานแบบ 888 หรือ สามแปด  คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาเล่าเรียน 8 ชั่วโมง มาบังคับใช้  เรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงสำหรับการทำงานล่วงเวลา เรียกร้องให้ยอมรับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม รวมกลุ่มจัดตั้งของกรรมกร คนงานต้องมีสิทธินัดหยุดงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง ให้มีการประกันสวัสดิภาพของลูกจ้าง และที่สำคัญคือให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันหยุดงานของกรรมกร

ข้อเรียกร้องนี้ได้ถูกทำเป็นร่างกฎหมายและนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยมีสมาชิกรัฐสภาฝ่ายกรรมกรเป็นผู้นำเสนอ แต่น่าเสียดายที่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภามากพอ จึงตกไป

เพื่อเชื่อมร้อยขบวนการแรงงานไทยเข้ากับขบวนการแรงงานสากล สหอาชีวะกรรมกรได้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรแรงงานระดับโลกที่ชื่อว่า ดับเบิ้ลยู เอฟ ที ยู (WFTU-World Federation of Trade Union)

โชคร้ายของกรรมกร และประเทศไทย  ขณะที่ประชาธิปไตยกำลังจะไปได้สวย ได้เกิดกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างและเงื่อนไขให้ฝ่ายอนุรักษนิยมและทหารฉวยโอกาสทำการรัฐประหาร ซึ่งได้ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยต้องหยุดชะงักลง ฝ่ายอนุรักษนิยมและรัฐบาลทหารที่เข้ากุมบังเหียนประเทศไว้ ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าควบคุมและแทรกแซงขบวนการแรงงานไทย

สหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย ที่เพิ่งเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กรรมกรไทย ถูกกีดกันไม่ให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้  ผู้นำหลายคนถูกข่มขู่คุกคามอย่างหนักและในที่สุด สหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทยในฐานะองค์กรตามกฎหมายก็ต้องทำให้สิ้นสภาพและยุติกิจกรรมไป เนื่องจากรัฐบาลไม่ยอมต่อทะเบียนให้ รัฐบาลได้เข้าแทรกแซง สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในขบวนการแรงงานไทย โดยส่งคนไปจัดตั้งองค์กรแรงงานแห่งใหม่ขึ้นแข่งกับสหอาชีวะกรรมกร นั่นคือ สหบาลกรรมกรไทย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกรรมกรไทย โดยรัฐได้จัดสรรงบประมาณให้กับสมาคมกรรมกรไทยปีละถึงสองแสนบาท

ต่อมาเมื่อสมาคมกรรมกรไทยเริ่มแข็งแกร่งและต้องการหลุดจากการครอบงำของรัฐ รัฐบาลโดยพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ก็หันไปส่งคนใกล้ชิดของตนไปจัดตั้งองค์กรแรงงานแห่งใหม่ขึ้นชื่อ "สมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย" โดยรัฐได้ให้เงินสนับสนุนการทำงานขององค์กรแห่งนี้

พอถึงปี 2499 องค์กรแรงงานที่ถูกรัฐทำให้แตกแยก กระจัดกระจาย ไร้พลัง ได้หันมาจับมือร่วมกันจัดตั้งเป็น "กลุ่มกรรมกร 16 หน่วย" ขึ้น มีประเสริฐ ขำปลื้มจิต เป็นประธานและมีศุภชัย ศรีสติเป็นเลขาธิการ กรรมกร 16 หน่วย ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหากกรรมกรสามัคคีเป็นเอกภาพแล้ว ชัยชนะย่อมเป็นของคนงาน กรรมกร 16 หน่วยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้มีกฎหมายแรงงานฉบับแรกออกมาบังคับใช้ได้ในปี 2499 ความสำเร็จอีกประการของ "กลุ่มกรรมกร 16 หน่วย" คือสามารถเรียกร้อง ให้รัฐยอมให้คนงานสามารถจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นอีกครั้ง หลังจากถูกห้ามจัดนับแต่การรัฐประหารปี 2490

แต่วันกรรมกรสากลที่ถูกฟื้นขึ้นมาใหม่ในครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากรัฐบาลเข้าใจและปักใจเชื่อว่า "May Day" หรือ "วันกรรมกรสากล" เป็นวันของฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจึงยืนยันที่จะไม่ยอมให้จัดท่าเดียว ดังเป็นที่รู้กันอย่างดีว่า รัฐบาลไทยหลังการรัฐประหารปี 2490 ได้รับอิทธิพลทางอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์จากอเมริกันที่ตั้งตัวเป็นมหาอำนาจใหญ่ของค่ายทุนนิยมในการทำสงครามเย็น ดังนั้นรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็เช่นเดียวกับรัฐบาลอเมริกาที่สร้างผีคอมมิวนิสต์ขึ้นมาหลอกประชาชนและหลอกแม้กระทั่งตัวเอง ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงมีนโยบายตอบสนองความต้องการของอเมริกันเต็มที่ในอันที่จะสกัดกั้นขบวนการแรงงานไม่ให้เข้มแข็งได้

ผู้แทนกลุ่มกรรมกร 16 หน่วยได้ยืนยันกับรัฐว่าถึงอย่างไร พวกตนก็จะจัดงานวันกรรมกรให้ได้ แม้รัฐจะไม่อนุญาตให้จัดก็ตาม ในที่สุดรัฐบาลยอมถอย แต่มีเงื่อนไขว่า
1. ให้เคลื่อนไหวอย่างสงบ ไม่กีดขวางทางจราจร
2. ไม่ให้มีประเด็นการเมือง ไม่ให้โจมตีมิตรประเทศโดยเฉพาะอเมริกา และองค์การซีอาโต้
และ 3. ให้เปลี่ยนชื่อจาก "วันกรรมกรสากล" เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ"
โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการจัดงานดังกล่าวคิดเฉลี่ยเป็นรายหัว หัวละ 5 บาท

ตัวแทนเจรจาของฝ่ายแรงงานจำต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อให้สามารถจัดงานได้ การจัดงานในปีนั้นมีคนงานเข้าร่วมราว 50,000 คน โดยขบวนเริ่มต้นจากสนามหลวง ข้างธรรมศาสตร์ แล้วเดินมาที่สนามเสือป่า จากนั้นมีการจัดกิจกรรมที่หอประชุมสภาวัฒนธรรม

แม้กลุ่มกรรมกร 16 หน่วยจะประสบความสำเร็จในการเจรจากับรัฐบาลและสามารถจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นมาได้ แต่จิตวิญญาณและหลักการสำคัญของวันกรรมกรสากลได้ถูกทำให้เบี่ยงเบนออกไปจากเจตนารมณ์ดั้งเดิมของมัน

ประการแรกหลักการสำคัญเรื่องความเป็นสากล การเป็นวันของชนชั้นกรรมาชีพ ที่ไม่ถูกแบ่งแยก ด้วยสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา หรือพรมแดนได้ถูกทำลายไป วันแรงงานแห่งชาติ ได้ถูกรัฐทำให้กลายเป็นเรื่องภายในของกรรมกรไทยไปเสียแล้ว ประการถัดมาคือ จิตวิญญาณของการพึ่งตนเองของคนงาน ความเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซง จากรัฐและทุน ก็ถูกทำลายไปด้วยพร้อมๆ กัน

วันกรรมกรสากลในประเทศไทยในปีนั้น จึงได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างจารีตใหม่ให้กับวันกรรมกรสากลในประเทศไทย

มีการจัดวันกรรมกรสากลอีกครั้งในชื่อวันแรงงานแห่งชาติในปี 2500 แต่ภายหลังการทำรัฐประหารของจอมเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 กฎหมายแรงงานปี 2499 ก็ถูกยกเลิก องค์กรแรงงานทุกรูปแบบถูกสั่งห้าม สิทธิของแรงงานถูกลิดรอนจนหมดสิ้นรัฐบาลต้องการให้ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของนักลงทุน การเคลื่อนไหวของคนงานทุกรูปแบบถูกมองว่าเป็นการทำลายบรรยากาศการลงทุน นั่นคือความผิดมหันต์ ที่รัฐอนุญาตให้เกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ไม่ได้ ผู้นำแรงงานต่างถูกจับกุมคุมขัง ศุภชัย ศรีสติ เลขาธิการกรรมกร 16 หน่วย ถูกจับกุมและประหารชีวิตด้วยอำนาจตามมาตรา 17 โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ

แม้ประเทศชาติจะถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดของอำนาจเผด็จการ แต่จิตใจที่มั่นคง ยืนหยัดในอุดมการณ์แห่งชนชั้นกรรมกรของแรงงานไทยไม่เคยเจือจางลง ในคุกลาดยาวที่ซึ่งผู้นำแรงงานและนักต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยากหลายคนถูกนำไปจองจำไว้นั้น พวกเขายังคงยืนหยัดที่จะรักษาประเพณีวันกรรมกรสากลเอาไว้ หนังสือคอมมิวนิสต์ลาดยาวที่บันทึกประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของไทยที่เขียนโดย ทองใบ ทองเปาว์ นักกฎหมายฝ่ายประชาชนที่ถูกคุมขังพร้อมๆ กับเพื่อนได้บันทึกประวัติศาสตร์การเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2503 เพลงรำวงวันเมย์เดย์ ที่ร้องกันในขบวนแถวของผู้ใช้แรงงานในวันนี้ก็เป็นเพลงที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยจิตร ภูมิศักดิ์ นักรบของคนยากคนจน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากล ขณะที่เขาถูกจองจำอยู่ในคุกลาดยาว

ขบวนการแรงงานกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งภายหลังรัฐบาลออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ในปี 2515 ที่ยอมคืนสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองให้กับคนงานอีกครั้ง ตามการเรียกร้องของคนงานและการกดดันของขบวนการแรงงานสากล แต่ที่สำคัญคือภายหลังการลุกขึ้นโค่นล้มเผด็จการทหารที่นำโดยนิสิตนักศึกษาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้นำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง ผู้ใช้แรงงานจึงหยัดกายยืนขึ้นทวงถามหาความยุติธรรม หลังถูกกดขี่ขูดรีดจากทุนและรัฐอย่างยาวนานภายใต้อำนาจรัฐเผด็จการ
ยุคทองของขบวนการแรงงานได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว วันกรรมกรสากลได้รับอนุญาตให้จัดขึ้นอีกครั้งในประเทศไทย พลังสามประสานระหว่างขบวนการนักศึกษา ขบวนการชาวไร่ชาวนา และขบวนการกรรมกร ได้ทำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นแรงงานมีพลังเป็นอย่างยิ่ง วันกรรมกรสากลในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ได้รับความสนใจทั้งจากคนงานด้วยกันและจากสาธารณชนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก

แต่ยุคทองของแรงงานไทย เป็นเพียงช่วงสั้นๆ เหตุการณ์สังหารโหด นักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้นำประเทศไทยกลับสู่ยุคมืดอีกครั้ง รัฐบาลขวาจัดของธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ผลักผู้คนที่รักความเป็นธรรมทั้งหลายรวมทั้งผู้นำแรงงานจำนวนมากให้จำต้องเดินทางเข้าสู่เขตป่าเขาเพื่อร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แม้ภายหลังฝ่ายก้าวหน้าจะพากันถอนตัวจากพรรคคอมมิวนิสต์กลับคืนสู่นาครอีกครั้ง แต่ขบวนการแรงงานไทยหลังยุควิกฤติแห่งศรัทธาก็ไม่สามารถกลับมามีพลังที่เข้มแข็งดังเดิมได้อีก

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ปี 2518 ที่กีดกันคนงานส่วนใหญ่ไม่ให้เข้าสู่ขบวนการแรงงาน  นโยบายของรัฐบาลที่เอาใจฝ่ายนายทุนอย่างออกนอกหน้า  กลไกไตรภาคีที่ถูกนำมาใช้ในระบบแรงงานสัมพันธ์ไทย และมาตรการแรงงานสัมพันธ์เชิงรุกของฝ่ายนายจ้าง ได้ทำให้ขบวนการแรงงานไทยแตกแยก กระจัดกระจาย ไร้เอกภาพ ถูกครอบงำและแทรกแซง จนไม่อยู่ในฐานะพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง ไม่มีอำนาจต่อรองทั้งในสถานประกอบการและในทางการเมืองระดับชาติ


แฟ้มภาพ: ประชาไท 1 พ.ค.2555

 

รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐได้วิเคราะห์ให้เห็นสภาพของวันกรรมกรสากลในปัจจุบันว่า "...วันกรรมกรปัจจุบันเป็นวันลบประวัติศาสตร์ ไม่ใช่วันรำลึกประวัติศาสตร์มันตรงกันข้าม ในช่วงหลัง 14 ตุลา 2516 ก็พยายามมีการฟื้นฟูวันกรรมกรขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกรรมกร เป็นวันประศาสตร์กรรมกร แต่หลังจากปี 19 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ประวัติศาสตร์ก็เปลี่ยนอีก การที่รัฐบาลอนุญาตจัดวันกรรมกร จัดวันกรรมกรเหมือนกันแต่พยายามให้เป็นวันลบประวัติศาสตร์กรรมกร แล้วมาสืบทอดจนถึงปัจจุบัน วันกรรมกรปัจจุบันนี้เป็นวันลบประวัติศาสตร์ไม่ใช่วันรำลึกประวัติศาสตร์ ความแย่อยู่ตรงนี้..." ตรงกับคำสัมภาษณ์ของชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ที่บอกว่า "...ถึงแม้ปีนี้ผมจะเป็นประธานจัดงานในปี 56 ผมหลับตาแล้วผมนึกถึงภาพวันแรงงานในสมัยก่อนๆ ผมเข้ามาทำงานวันแรงงานจำได้ตั้งปี 2500 ต้นๆ ในสมัยก่อนผมจะเห็นคนงานจากทั่วสารทิศคลาคล่ำเต็มพื้นที่จัดงานโดยเฉพาะสนามหลวงเราเป็นสถานที่จัดงานเรามายาวนาน เมื่อก่อนสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายไม่ได้มีเหมือนทุกวันนี้ ผู้นำแรงงานเคาะระฆังเรามีความรู้สึกว่าวันกรรมกรสากลเป็นวันของคนงานทั้งประเทศ..."

วันกรรมกรสากลที่ถูกจัดในสภาพแวดล้อมและสภาวะที่ขบวนการแรงงานอ่อนแอไร้เอกภาพ ไร้อำนาจต่อรอง พึ่งตัวเองไม่ได้ จึงกลายเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่ฝ่ายรัฐและทุนต้องการ จิตวิญญาณสากลนิยม ชนชั้นนิยม ที่เป็นหลักการสำคัญของวันกรรมกรสากลถูกทำลายไปจนหมดสิ้น ความศรัทธาเชื่อมั่นในการพึ่งตนเองและพลังสามัคคีของชนชั้นกรรมกรได้ถูกทำให้เจือจางลงด้วยงบประมาณที่ถูกหยิบยื่นให้จากฝ่ายรัฐและทุน

ข้อเรียกร้องที่ถูกเสนอจากขบวนแรงงานในแต่ละปี แม้ส่วนใหญ่จะมีเหตุมีผล สะท้อนปัญหาและความต้องการของคนงานส่วนใหญ่ก็ตาม แต่กลับไม่มีพลัง ไร้ความหมาย และกลายเป็นเพียงพิธีกรรม ที่ทำๆ กันให้เป็นประเพณี ที่นับวันจะไร้ความหมายและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องผู้ใช้แรงงานน้อยมาก

วันกรรมกรสากล ทั้งรูปแบบและเนื้อหาสาระจึงไม่ผิดกับงานวัด งานรื่นเริง หรืองานคอนเสิร์ต ที่ถูกกำหนดและออกแบบโดยผู้อุปถัมป์รายต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของงานอย่างแท้จริง อาจารย์แล ดิลกวิทยรัตน์ได้ให้ความเห็นว่า "...ปัจจุบันนั้นมีเรื่องของงบประมาณของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นขบวนการเคลื่อนไหวมันก็ทำให้ถูกแตกแยกตรงที่ว่า ขบวนการใดจะได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ ขบวนการใดไม่รับการอุดหนุนจาดภาครัฐ เลยกลายเป็นแบ่งพวกแบ่งประเภทไป ในช่วงหลังๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ว่าเราแทบไม่เห็นขบวนการในฐานะที่เป็นขบวนการเดียว ขบวนการทางชนชั้นต่อไป กลายเป็นว่ามันมีขบวนการที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐ จากขบวนการที่ไม่รับการสนับสนุน ผมคิดว่าปัญหาขณะนี้ก็คือการขาดความเป็นหนึ่งเดียวของขบวนการแรงงานอาจจะเป็นเรื่องใหญ่เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจน…"

ขณะที่ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย องค์กรที่หลายปีที่ผ่านมาได้เป็นแกนนำสำคัญในการจัดวันกรรมกรสากลแยกต่างหากออกจากการจัดงานของเหล่าสภาองค์กรลูกจ้างทั้งหลายที่พากันรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ได้ให้ความเห็นว่า "...ความจริงแล้วผมไม่อยากให้มีการแยกเพราะกรรมกรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่โดยสาเหตุบางสิ่งบางอย่างเราไม่สามารถเข้าไปร่วมได้ เพราะธรรมดาการจัดงานมันจะต้องมีพิธีรีตองของรัฐสนับสนุนและเอาเงินมา เพราะฉะนั้นเขาก็จะเขียนกรอบให้ไปจัด ในเรื่องของการสะท้อนความเดือดร้อน สะท้อนในเรื่องความทุกข์ยากของคนงานจริงๆ มันไม่เกิดขึ้นมา มันก็จะไปจัดในเรื่องของเหมือนกับว่าเป็นประเพณีไป..."


แฟ้มภาพ: ประชาไท 1 พ.ค.2554

 

เช่นเดียวกับที่สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ที่ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยในการจัดวันกรรมกรสากลมาหลายปีกล่าวว่า "...วันกรรมกรสากลทุกวันนี้มันแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมาที่มันเกิดขึ้นจากจิตใจและความร่วมไม้จากพี่น้องคนงาน แต่ปัจจุบันนี้การจัดงานจะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของภาครัฐซะเป็นส่วนใหญ่ มันก็เลยทำให้ปัญหาที่แท้จริงของคนงานที่แท้จริงมันไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมา ในแง่ของการส่งต่อหรือถ่ายทอดไปถึงพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นแล้วการจัดงานวันกรรมกรสากลถึงเวลาที่กรรมกรต้องลุกขึ้นมาสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการที่จะถ่ายทอดอุดมการณ์ของกรรมกรในอดีตที่ผ่านมา..." 

อดีตผู้นำแรงงานสตรี อรุณี ศรีโตให้ความเห็นว่า "...การจัดงานวันแรงงานปัจจุบันนี้ไม่เหมือนก่อน สมัยก่อนเขาจัดกันด้วยความเป็นกรรมกร เขารู้วันที่ 1 เป็นวันเฉลิมฉลองว่าด้วยการเจอพวกพ้องน้องพี่และมาพูดถึงสารทุกข์สุกดิบ.....จากการที่เขาจัดสรรงบประมาณกระทรวงแรงงานมายึดครองเวทีแล้วสนับสนุนงบประมาณ พอสนับสนุนงบประมาณก็ทำให้องค์กรแรงงาน แบ่งสรรปันส่วนกันลงตัวไม่ลงตัว ลืมเรื่องเจตนารมณ์ของวันกรรมกรไปหมด..."


แฟ้มภาพ: ประชาไท 1 พ.ค.2553
 

การจัด "วันแรงงานแห่งชาติ" ที่ผ่านๆ มากระทรวงแรงงานมักวางก้ามใหญ่ในฐานะเจ้าของเงิน ทำตัวราวกับเป็นเจ้าของงานเสียเอง เป็นเจ้ากี้เจ้าการ คอยบงการว่า องค์กรแรงงานชนิดไหนบ้างที่จะมีสิทธิใช้เงินก้อนนี้ ทั้งๆ ที่เงินเหล่านั้นแท้จริงมาจากภาษีอากรของประชาชน ที่คนงานก็ควรที่จะมีสิทธิที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของมวลกรรมกรได้อย่างอิสระไม่ถูกครอบงำ และโดยไม่ต้องรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอะไรทั้งสิ้น

วันแรงงานชนิดนี้ยิ่งจัดก็ยิ่งรังแต่จะทำให้ศักดิ์ศรีแห่งชนชั้นกรรมาชีพ และความภาคภูมิใจที่จะบอกให้โลกรู้ว่า "กรรมกรคือผู้สร้างโลก"  มันเหือดหายไป วันกรรมกรสากลที่เคยมีความหมาย กลับกลายเป็นวันที่ผู้นำแรงงานและองค์กรแรงงานต่างๆ รอที่จะช่วงชิง จัดสรร แบ่งปันเค้กก้อนใหญ่ที่จะได้รับจากรัฐบาลและภาคเอกชน

การแก่งแย่ง ช่วงชิงกันเป็นประธานจัดงานเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และบันไดก้าวสู่การมีสถานภาพทางสังคมที่สูงขึ้นและแน่นอนเพิ่มมูลค่าให้กับตนเองในเกมการต่อรองทางการเมือง โดยปกติสิ่งที่จะได้เห็นในงานวันแรงงานแห่งชาติคือ เมื่อเสร็จสิ้นคำปราศรัยที่เต็มไปด้วยถ้อยคำที่สวยหรู ฟังดูหวานหูและคำมั่นสัญญาที่ไร้ความหมายโดยผู้นำรัฐบาลผู้ทรงเกียรติที่กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่ามาเป็นประธานในพิธีกรรมให้กับกรรมกรที่ถูกมองว่าต่ำต้อย น่าสงสาร พึ่งตนเองไม่ได้ จากนั้นทุกคนก็พากันลงจากเวทีสลายตัวไป ด้วยเกรงว่าผิวกายจะหมองคล้ำจากแสงแดดที่แผดเผา

กิจกรรมที่เหลืออยู่บนเวทีปล่อยให้เป็นเอกสิทธิ์ของเหล่าค่ายเทปและบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังเข้าควบคุมกำกับเวทีเพื่อโปรโมตศิลปินและสินค้าของตนอย่างครื้นเครง ชินโชติ แสงสังข์ ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ให้ความเห็นว่า "...เพราะฉะนั้นผมสรุปรวมความได้ว่าวันแรงงานแห่งชาติซึ่งผมยังอยากจะใช้คำเดิมว่าเป็นวันกรรมกรสากลเพราะวันแรงงานไม่ใช่วันแรงงานของไทยอย่างเดียวเป็นวันแรงงานของคนทั่วโลก เพราะฉะนั้นถ้าผมเปลี่ยนแปลงเองได้ผมอยากจะเปลี่ยนวันแรงงานแห่งชาติเป็นวันกรรมกรสากลกลับไปเป็นเหมือนเดิม..."

อาจารย์แล ดิลกวิทยรัตน์ ให้ความเห็นว่า "...ผมคิดว่ามันจะทำอะไรให้เป็นมรรค เป็นผลได้ก็ต่อเมื่อคนงานแหวกให้พ้นอุปสรรคต่างๆ ที่มาบังหน้าบังตาแล้วมุ่งให้เข้าถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในฐานะที่เป็นชนชั้นที่ออกแรงทำกินเป็นหลัก แล้วถ้าเป็นเช่นนี้เราก็จะพูดว่าอันนี้หละคือการเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์ที่จะชัดเจนและก็นำไปสู่การยกฐานะของชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง..."

ผู้ใช้แรงงานและสังคมได้อะไรจากการจัดงานวันกรรมกรสากลแบบที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ เป็นคำถามที่ต้องส่งไปถึงบรรดาผู้นำแรงงานทั้งหลาย ว่าท่านจะปล่อยให้มันเป็นไปแบบนี้ชั่วกัปชั่วกัลป์ล่ะหรือ จะยังพอมีหนทางใดบ้างที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงวันกรรมกรสากลให้กลับคืนสู่จิตวิญญาณดั้งเดิม เพื่อเป็นวันแห่งความภาคภูมิใจของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน เพื่อยืนยันในการมีอยู่จริงในสิ่งที่เราเรียกมันว่า "ศักดิ์ศรีแห่งชนชั้นกรรมกร" ได้หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กสท.เสียงข้างน้อย' เสนอเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ทีวีดิจิตอลสาธารณะ ย้ำเป็น 'จุดเปลี่ยนสำคัญ'

Posted: 29 Apr 2013 11:34 PM PDT

ธวัชชัย – สุภิญญา กสท.เสียงข้างน้อย ระดมความเห็น เสนอ 5 หลักเกณฑ์บิวตี้คอนเทสต์ เน้นให้คะแนน การออกแบบโครงสร้างมากสุด มีเนื้อหาที่ตอบสนองสังคม มีแหล่งที่มารายได้ เน้นความเป็นมืออาชีพ ยืนยาว สร้างพลังคนดูในทีวีสาธารณะ และมีธรรมาภิบาลโปร่งใสตรวจสอบได้ 

               

วันนี้ (30 เม.ย.56) ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. และ กสท. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ระดมความคิดเห็นต่อ (ร่าง) เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ หรือเกณฑ์ beauty contest โดยมีนักวิชาการด้านต่างๆ ให้ความสนใจเข้าร่วม เสนอเกณฑ์ 5 ข้อ เพื่อคลายสเป็กทีวีสาธารณะ ดังนี้

เกณฑ์ที่ 1 โครงสร้างบริหารองค์กร สะท้อนความเป็นอิสระ สาธารณะ มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ แบ่งเป็น 3 โมเดล คือ เป็นองค์กรมหาชน หากเป็นหน่วยงานรัฐ แยกมาจากหน่วยงานราชการแผ่นดิน หรือ ตั้งองค์กรที่มีโครงสร้างบริหารที่เป็นอิสระ หรือมีภาคีเครือข่ายจับมือใน 3 กลุ่มคุณสมบัติร่วมที่กำหนดว่า มีตัวแทนจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่น  ฯลฯ เพื่อดูความน่าเชื่อถือที่แต่ละองค์กรควรมี ให้คะแนนเพิ่มเติมในกรณีที่มีตัวแทนจากกลุ่มองค์กรวิชาชีพ องค์กรอื่น ๆ โดยให้เหตุผลว่า ลดแนวโน้มในการผูกขาดอำนาจ และเป็นการเพิ่มความหลากหลายและรับประกันความคุ้มค่าในแง่การใช้คลื่นสาธารณะ โครงสร้างต้องสะท้อนความหลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเปิดให้มีการมีส่วนร่วม  เน้นให้ร้อยละ 30 

เกณฑ์ที่ 2 หลักเกณฑ์ในเรื่องผังและเนื้อหารายการ มีความหลากหลาย ตอบสนองเนื้อหารายการที่สังคมไทยไม่มี เช่น เนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ แม้คนดูจะไม่เยอะแต่มีประโยชน์  โดยตัวชี้วัดที่สำคัญในเรื่องเนื้อหา เช่น การสร้างคุณค่าทางสังคม คุณภาพรายการ เช่น คุณค่าทางการผลิต  อยู่ทนนาน สร้างความปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดความคิด  เป็นต้น ความหลากหลายในเรื่องเนื้อหาประกอบด้วย 4 มิติ เช่น รูปแบบ เนื้อหา (ภูมิภาค ส่วนกลาง) ความคิด (แตกต่าง) ความสนใจเฉพาะกลุ่ม (เชื้อชาติ) ควรให้คะแนนร้อยละ 25

เกณฑ์ที่ 3 การเงิน การหารายได้ ในแง่การให้คะแนนควรต้องดูว่าจุดมุ่งหมายคืออะไร เช่น ในแง่การเงินเพื่อพอหารายได้สำหรับ self-sufficient แล้วจะให้คะแนนอย่างไร เช่น กรณีช่อง 11 ได้มีการกำหนดไว้ว่า ความพอเพียงน่าจะไม่เกินสิบเปอร์เซ็นต์ที่ตั้งไว้  คำถามคือ ให้เงินทุนอย่างไรที่จะธำรงความเป็นอิสระ  ในขณะเดียวกันมีงบประมาณที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมากได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการออกแบบแผนการเงินจึงเป็นเกณฑ์สำคัญ ให้คะแนนร้อยละ20 

เกณฑ์ที่ 4 ความเป็นธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของสถานี มีคณะกรรมการเป็นอิสระในการเป็นเจ้าของและการดำเนินการ  มีมาตรฐานคุ้มค่าการลงทุน กระบวนการแต่งตั้ง มีกลไกตรวจสอบที่เปิดเผยโปร่งใส มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระ : เป็นอิสระในเชิงบรรณาธิกรณ์  แหล่งที่มารายได้ และแจ้งให้เห็นต้นทุนในแต่ละปี เกณฑ์การให้คะแนนร้อยละ 15

เกณฑ์ที่ 5 ความพร้อมด้านเทคนิค การประเมินศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านเนื้อหา เช่น digital archive, สามารถบูรณาการในด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น  และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างจากระบบอนาล็อก ร้อยละ 10

นอกจากนี้ การกำกับดูแล ควรมีความชัดเจนว่าผู้ขอใบอนุญาตจะถูกกำกับดูแลอย่างไรให้อนาคต ว่า ผลลัพธ์ส่งต่อเป้าหมายสาธารณะจริงหรือไม่ มีการประเมินผลหนึ่งปี และหากไม่ทำตามข้อเสนอในการประกวดควรใส่ในใบอนุญาตควบคู่ไปเลย

มีการจัดทำจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นเกณฑ์เพิ่ม มีกลไกรับเรื่องร้องเรียน – มีสมาชิกสภาผู้ชม ผู้ฟัง หรือมีผู้ตรวจการ (ombudsman) อาจจะทำให้การให้คะแนนชัดเจนมากขึ้น รวมถึงคะแนนเพิ่มเติมอาจพิจารณาให้แสดงว่า จะทำอย่างไรเพื่อเติมเต็มการปฏิรูปสื่อ และมีคะแนนเพิ่มเติมอาจพิจารณาว่ามีการส่งเสริมการศึกษาของพลเมืองอย่างไร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง

 

ด้าน ธวัชชัย ระบุว่า ควรเน้นเนื้อหาที่น่าสนใจ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับทีวีระบบอนาล็อกเดิม อาจทำให้ไม่มีคนดูในตอนแรก ต้องใช้เวลาฝ่าฟันให้ได้

ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างหลักเกณฑ์ทีวีสาธารณะ Public Service Broadcasting (PSB) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในต่างประเทศ ที่แม้ว่าจะให้ภาครัฐ แต่องค์กรกำกับดูแลจะต้องมีการกำกับหรือ norm ให้แก่สถานี ด้านเนื้อหาที่หลากหลาย สร้างคุณภาพทางสังคม มีความเป็นอิสระในเชิงบรรณาธิกรณ์จากรัฐบาล ส่วนการหารายได้ต้องมีการอุดหนุนทางการเงินส่วนใหญ่จากสาธารณะโดยผ่านกลไกที่ถูกออกมาเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระ และมีการประเมินศักยภาพการใช้เทคโนโลยี มีตัวอย่างคลังข้อมูลดิจิตอล (digital archive) ในสถานี BBC NHK  เป็นต้น

นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า หลักเกณฑ์มีความสำคัญต่อการให้คะแนน เพราะมีผลต่อการสนับสนุนงบประมาณในทีวีสาธารณะ ทุกนาทีในโทรทัศน์มีราคาและความสำคัญ เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์ทางการเงินจึงสำคัญ หากไม่มีประสบการณ์การบริหารสถานีโทรทัศน์ อนาคตอาจต้องเซ้งให้รายอื่นเข้ามาดูแลแทน ไม่ใช่การบริหารแบบ Low Cost TV (ทีวีดาวเทียม) รวมทั้งทำทีวีสาธารณะต้องมีคนดู สามารถทำให้สนุกได้ แต่ต้องมีพลัง "ถ้าไม่มีคนดู ก็จะไม่เกิดพลัง" จึงยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้คราวเดียวหมด

สุภิญญา กล่าวว่า ทีวีสาธารณะจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญและมีผลต่อความคึกคักของทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ หากเนื้อหาทีวีสาธารณะไม่มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อน เชื่อว่าเนื้อหาอาจไม่ต่างจากทีวีธุรกิจ กสท.ควรค่อยๆ ออกใบอนุญาตสาธารณะ เพื่อดูภาพรวมทีวีประเภทธุรกิจด้วย นอกจากนี้ จะเสนอกลไกการคัดเลือกโดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม  โดยจะนำเกณฑ์ที่ได้เสนอที่ประชุม กสท. ในวันอังคารหน้า (วันที่ 7 พ.ค.) 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารยิงกันเอง ศาลสั่งคดี 'พลฯณรงค์ฤทธิ์' เหยื่อกระสุนสลายชุมนุมแดง

Posted: 29 Apr 2013 08:30 PM PDT

ภาพประกอบจาก Maha-arai

วันนี้ (30 เม.ย.) เวลา 9.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 811 ศาลอาญารัชดามีสั่งในคดี อช.4/2555 ไต่สวนชันสูตรพลิกศพ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ (ได้รับเลื่อนยศเป็น ร้อยตรี หลังเสียชีวิต) อดีตทหารสังกัด ร.พัน. 2 พล.ร. 9 จ.กาญจนบุรี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อระงับเหตุการณ์การปะทะกันของตำรวจ ทหาร กับผู้ชุมนุม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ที่บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เขตบางเขน ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2553

โดยศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายคือ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ตายที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 เม.ย.53 เวลาประมาณ 15.00 น. เหตุและพฤติการณ์การตายคือ ถูกระสุนปืนความเร็วสูง ซึ่งยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่กำลังปฎิบัติหน้าที่ โดยกระสุนถูกที่ศรีษะด้านซ้ายหางคิ้วผ่านทะลุกระโหลกศรีษะทำลายเนื้อสมองเป็นเหตุให้เสียชีวิต

อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ :

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai