ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชี้ ‘โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน’ ส่อทุจริต ลุยยื่น ปปช.เอาผิด ครม.-กบอ.ยกชุด
- “อนัตต์” ชี้ ส.ว.ไม่มีหน้าที่จะไปทะเลาะกับใคร
- “อนัตต์” ชี้ ส.ว.ไม่มีหน้าที่จะไปทะเลาะกับใคร
- เมธา มาสขาว: การจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเปรียบเทียบ
- สะเอียบ ร่อนหนังสือถึงอธิบดีกรมชล ให้ยุติการดำเนินการเขื่อน
- คณะกรรมการกำลังคน หวั่น P4P ทำชนบทเสียหายหนัก จี้ สธ.เร่งแก้ปัญหา
- ร้องสอบวินัย ‘วิฑูรย์ ชลายนนาวิน’ เพิ่มอีก! แปลภาพถ่ายทางอากาศเอื้อโรงเหล็กรุกที่ป่า
- การสละราชสมบัติของราชินีเบอาทริกซ์: สถาบันกษัตริย์กับสังคมการเมืองเนเธอร์แลนด์
- รัฐบาลซีเรียต้องสงสัยใช้แก็สซารีนปราบฝ่ายกบฏ
- บทบาทสื่อกระแสหลักในการจำกัดเสรีภาพสื่อไทย
- สุภิญญาเตรียมเสนอสร้างเงื่อนไขการอนุญาตทีวีรายเดิมออกอากาศคู่ขนานทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะ
- B.R.N.ประกาศ ผ่านยูทูป ย้ำจะสู้เพื่ออิสรภาพปาตานี ยื่น5ข้อเจรจารัฐไทย
- สุรพศ ทวีศักดิ์: เทวราช-สมมุติราช
ชี้ ‘โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน’ ส่อทุจริต ลุยยื่น ปปช.เอาผิด ครม.-กบอ.ยกชุด Posted: 28 Apr 2013 11:21 AM PDT เครือข่ายภาคประชาชน แถลงค้านแผนบริหารจัดการน้ำเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ชี้สร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ-ขาดการมีส่วนร่วม เตรียมยื่นเรื่อง ปปช.เอาผิด ครม-กบอ.ยกชุด ทั้งร้องศาลปกครองขอคุ้มครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 28 เม.ย.56 เวลา 13.30 น.เครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย Thaiflood.com และเครือข่ายธุรกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมออกแถลงการณ์คัดค้านแผนบริหารจัดการน้ำเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ระบุ แผนงานดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างร้ายแรง ละเลยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี 50 นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร แถลงต่อสื่อมวลชนและผู้เข้าร่วมงานว่า ตามที่ กบอ.ได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศ โดยใช้เงินกู้ 3.5 ล้านบาท และว่าจ้างบริษัทเอกชนโดยเฉพาะจากต่างประเทศมาออกแบบและจัดการน้ำของคนไทยทั้งประเทศ พิจารณาแผนงานดังกล่าวแล้วพบว่าจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ในการดำเนินงานของรัฐบาลและ กบอ.ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง ทว่ารัฐบาลและ กบอ.ก็ยังเพิกเฉยต่อคำทักท้วง คำคัดค้านจากนักวิชาการ ผู้ชำนาญการ โดยเฉพาะการไม่พิจารณาทางเลือก อาทิ แผนการจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ที่สามารถประหยัดงบประมาณไปได้กว่าร้อยละ 70 นายศศิน กล่าวต่อมาว่า เมื่อเราได้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ของแผนการจัดการน้ำของ กบอ. พบว่าเงื่อนไขหลายประการยังคงมีความคลุมเครือและยังมีช่องโหว่ โดยเฉพาะการไม่ระบุพื้นที่ดำเนินโครงการและพื้นที่เวนคืนที่ดินไว้อย่างชัดเจน อันอาจจะนำไปสู่การทุจริตทั้งจากนักการเมือง ข้าราชการ และบริษัทผู้รับเหมาอย่างมโหฬาร ทั้งนี้ ข้อสังเกตที่ทำให้ไม่เห็นด้วยกับแผนบริหารจัดการน้ำของ กบอ. มี 6 ข้อดังนี้ 1.แผนการดำเนินงานของ กบอ.ดำเนินการผิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช 2550 โดยเมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าแผนงานไม่ได้ทำตามกระบวนการของการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบด้านสุขภาพ (HEIA) โดยละเลยขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการ การจัดทำยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนแม่บท การวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบอีกว่าทีโออาร์ฉบับดังกล่าวระบุไว้ว่า บริษัทผู้ผ่านการคัดเลือกสามารถเบิกเงินล่วงหน้าได้ร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ที่เงินจำนวนดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้เป็นอามิสสินจ้างในการบิดเบือนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ 2.การดำเนินการทั้ง 9 โมดูล (แผนงาน) ตามรายละเอียดในทีโออาร์ ไม่มีขอบเขตของงาน นอกจากนั้นยังขาดรายละเอียดเชิงพื้นที่ รายละเอียดของโครงการ กรอบเวลา และไม่มีกลไกหรือกระบวนการที่จะสร้างความเชื่อมโยงโครงการแต่ละโครงการเข้าด้วยกัน 3.การแบ่งความรับผิดชอบขาดความชัดเจนโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ องค์กรเอกชนผู้รับจ้างจะเป็นองค์กรหลักรับผิดชอบภายใต้แผนทั้ง 9 โมดูล ตามข้อเสนอและขอบเขตของงาน 4.เนื่องจากผ่านพ้นช่วงวิกฤติเร่งด่วนจากภัยน้ำท่วมขนาดใหญ่ ทำให้การดำเนินงานบางโมดูลไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบโดยเฉพาะโครงการช่องทางน้ำ หรือ Flood Way ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงสูงที่สุดกว่าหนึ่งแสนล้าน ทั้งยังขาดการศึกษาด้านความคุ้มทุนของโครงการต่างๆ ตลอดจนความซ้ำซ้อนของการใช้งบประมาณในหลายหน่วยงานซึ่งดำเนินงานด้านการจัดการน้ำอยู่แล้ว 5.มีการโยกย้ายงบประมาณบางส่วนจากแผนเดิมที่รัฐบาลเคยแถลงไว้ในช่วงหลังอุทกภัยใหญ่ พ.ศ.2554 โดยเฉพาะงบชดเชยพื้นที่รับน้ำนองไปดำเนินงานในส่วนอื่นซึ่งอาจนำไปสู่ช่องทางในการทุจริตงบประมาณ เนื่องจากไม่มีการชี้แจงที่ชัดเจนว่านำงบดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมใด 6.ในทีโออาร์ระบุไว้ว่าขอบเขตของงานทั้ง 9 โมดูล รัฐบาลให้บริษัทได้รับสัมปทานที่อำนาจในการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การออกแบบและก่อสร้าง ตลอดจนการเวนคืนที่ดิน การหาพื้นที่อพยพซึ่งจะกระทบต่อชุมชนและวิถีอย่างรุนแรง นายศศิน กล่าวว่า จากเหตุข้างต้นจึงขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นหนังสือคัดค้านแผนจัดการน้ำของ กบอ.ต่อนายกรัฐมนตรี และยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้รัฐบาลได้ปรับขั้นตอนการดำเนินงานให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ด้านนายนิติธร ล้ำเหลือ กรรมการฝ่ายสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า การนำเสนอรูปแบบบริหารจัดการน้ำของ กบอ.รัฐบาลได้นำเสนอให้บริษัทเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ ซึ่งการกระทำดังกล่าว มีวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่เป็นไปตามคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยไม่มีการกำหนดราคากลาง ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ รวมไปถึงประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้การทำงานของรัฐบาล อย่างไรก็ตามโครงการตามแผนแม่บทการบริหารการจัดการน้ำต้องมีการศึกษาก่อนทำโครงการ แต่รัฐบาลกลับมีการอนุมัติโครงการไปพร้อมกับการศึกษา ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักกฎหมาย นายนิติธร กล่าวถึงการทำกิจกรรมต่อเนื่องว่า ในวันที่ 30 เม.ย.56 เครือข่ายภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ และเครือข่ายนักวิชาการจะเดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านแผนจัดการน้ำของ กบอ.ต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ในวันที่ 1พ.ค.เวลา 10.00 น.จะยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีการตรวจสอบการทุจริต โดยเอาผิดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งคณะรัฐมนตรีที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง กบอ.รวมถึง คณะกรรมการ กบอ.ทั้งคณะ ที่ถือว่าดำเนินการขัดหลักกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดำเนินการให้การประมูลงานของรัฐนำไปสู่การทุจริต นายนิติธร กล่าวอีกว่า หลังจากยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรี และ ปปช.แล้วจะเป็นการดูท่าทีของรัฐบาล หากยังไม่มีท่าทีตอบรับในข้อเรียกร้องของภาคประชาชน ทางเครือข่ายภาคประชาชนจะเดินหน้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ก่อนวันที่ 3 พ.ค.56 ส่วน นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ภาควิชาการ แสดงความเห็นฟันธงว่าโครงการเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน เปรียบเทียบกับเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่มีปัญหามากว่า 26 ปี ก็ยังไม่สามารถสร้างได้ ซึ่งจากผลการศึกษาของ JICA แผนสิ่งก่อสร้างที่รัฐบาลไทยสามารถประหยัดงบประมาณไปได้กว่าร้อยละ 70 ซึ่งนั่นหมายความว่ามีการใช้งบประมาณเกินความจริง และไม่ได้ศึกษามาก่อน จึงต้องมีการต่อต้าน ต่อสู้อย่างเข้มข้นบนวิถีทางที่ถูกกฎหมาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“อนัตต์” ชี้ ส.ว.ไม่มีหน้าที่จะไปทะเลาะกับใคร Posted: 28 Apr 2013 11:11 AM PDT นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ระบุส.ว.ไม่มีหน้าที่ที่จะไปทะเลาะกับใคร วุฒิสภาคือสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีการคานอำนาจกัน
นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 28 เม.ย.56 - ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าพบ นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เพื่อขอสัมภาษณ์ หลังจาก "พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา" รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งตามวาระ ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 56 ที่ผ่านมา ได้มีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่าง ปรากฏว่า "นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์" คว้าตำแหน่ง "รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2" ไปครองด้วยวิธีจับสลากซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ กล่าวว่า ส.ว.ไม่มีหน้าที่ที่จะไปทะเลาะกับใคร วุฒิสภาคือสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีการคานอำนาจกัน ส.ว.มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง จากการสรรหาครึ่งหนึ่ง แต่ทั้งสองอันนี้ก็มีข้อบกพร่องทั้งคู่ เพราะฉะนั้นผู้เป็น ส.ว.เป็นผู้มีคุณวุฒิจริงหรือเปล่า ส.ว.เลือกตั้งมีการซื้อเสียงเข้ามา เป็นเรื่องของการเลือกตั้ง ประเทศไทยยังไม่ดี ส.ว.สรรหาจากคน7 คน ยังมีข้อบกพร่อง เพราะผลปรากฏว่าสรรหา 2 ครั้ง ก็ยังมี ส.ว.บางคนที่ไม่เหมาะสมเข้ามา เรามองเห็นและมองออก เพราะนั้นหลักการต้องการให้คนเก่งเข้ามาออกมา เพราะฉะนั้นเราจะออกแบบยังงัย จึงจะคัดคนเก่งของประเทศไทยออกมาให้ได้ อันนี้ต่างหากที่เป็นปัญหา สมมติว่าเลือกตั้งเราต้องกันยังงัยเลือกตั้ง หรือเอา 2 อย่างมาผสมกัน เช่น สรรมาอย่างเข้มข้นเลยได้คนมาจำนวนหนึ่ง แล้วให้ประชาชนเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นถ้าเรายังคงต้องการวุฒิสภาอยู่ ที่จะมาทำหน้าที่ เป็นสภาพี่เลี้ยง สภากลั่นกรอง สภาที่จะแต่งตั้งใคร คนกลุ่มนี้ต้องเป็นคนที่ไม่มีส่วนได้เสียอะไร ได้คนอย่างงี้มาทำหน้าที่ตรงนี้ก็โอเค เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อได้เลือกตั้งเข้ามาแล้ว ฝ่าย ส.ว.เลือกตั้ง เหมือนฝ่ายรัฐบาล ในสภา ส.ว.สรรหา เหมือนฝ่ายค้าน ในสภา วุฒิสภาก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่แท้จริง เพราะมั่วแต่มาทะเลาะกัน หรือไปทะเลาะกับสภาโน้น สวไม่มีน่าที่จะไปทะเลากับใคร ควรทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ส.ว.ควรมีวาระ6 ปี เพียงพอแล้ว ส่วนการเป็น สว.2 วาระ 12 ปี ตนไม่เห็นด้วย ส่วนการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล มีข้อบกพร่องที่ควรระวังคือปัญหาการทุจริตคอรับชั่น จะกัน จะแก้ไขอย่างไร ให้ประชาชนได้ตรวจสอบยังงั้ย เปิดทางอย่างกว้างๆ ให้เขาได้ตรวจสอบ การทุจริต 20%เป็นเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน และขณะนี้นักการเมืองไทยยังทะเลาะกันอยู่ มีการแบ่งสีแบ่งข้างที่ไม่สามารถคุยกันได้ อย่างวุฒิสภาก็ไม่ควรมีหน้าที่ไปทะเลาะกับใคร หรือทำหน้าที่ทะเลาะเข้ากับข้างใคร ควรทำหน้าที่เป็นกัลณมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะสามารถทำทุกคนเห็นชอบและเห็นตาม ทำให้ประชาชนทุกคนเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ ประชาชนเห็นว่า ส.ว.พูดมีประโยชน์ ประชาชนทุกคนเชื่อเรา รัฐบาลจะทำอะไรก็ลำบาก ส.ว.ไม่จำเป็นต้องไปทะเลาะกับใคร เอาผลงานออกมาพิสูจน์กัน รัฐบาลมีอำนาจบริหารก็จริง แต่วุฒิสภามีอำนาจทางผู้ทรงคุณวุฒิ อำนาจทางวิชาการ ไม่ชวนทะเลาะ ไม่เข้ารวมกลุ่มเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ประเทศจะได้ได้ประโยชน์จากความรู้ความสามารถของวุฒิสภา เมื่อไหร่เอยวาจาออกไปหรือบอกเรื่องราวที่ไม่ดีของรัฐบาลต่อประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยกับเรา รัฐบาลได้อย่างงัย สำหรับคดีพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ผลพิจารณาของศาลโลกอีก 6 เดือนผลจะออกมาอย่างไร ตนอยากให้รัฐบาล และประชาชนทั้งสองประเทศ ได้ใช้สติและปัญญา อยู่เหนืออารมณ์คลั่งชาติ เพื่อสันติภาพการอยู่ร่วมกันอย่างบ้านพี่เมืองน้อง ศาลโลกน่าจะตัดสินออกมาให้เกิดทั้งความยุติธรรมและสันติภาพ ตนไม่อยากเห็นการเมืองในประเทศหยิบฉวยไปเป็นประเด็นใช้เป็นเครื่องมือบ่อนทำลาย ทั้งการเมืองภายในและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลควรทำการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้ทั่วถึงและกว้างขวาง ให้ประชาชนไทยได้ทราบอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะชาวบ้านตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“อนัตต์” ชี้ ส.ว.ไม่มีหน้าที่จะไปทะเลาะกับใคร Posted: 28 Apr 2013 11:11 AM PDT
นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ระบุส.ว.ไม่มีหน้าที่ที่จะไปทะเลาะกับใคร วุฒิสภาคือสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีการคานอำนาจกัน
นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 28 เม.ย.56 - ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าพบ นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เพื่อขอสัมภาษณ์ หลังจาก "พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา" รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งตามวาระ ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 56 ที่ผ่านมา ได้มีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่าง ปรากฏว่า "นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์" คว้าตำแหน่ง "รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2" ไปครองด้วยวิธีจับสลากซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ กล่าวว่า ส.ว.ไม่มีหน้าที่ที่จะไปทะเลาะกับใคร วุฒิสภาคือสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีการคานอำนาจกัน ส.ว.มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง จากการสรรหาครึ่งหนึ่ง แต่ทั้งสองอันนี้ก็มีข้อบกพร่องทั้งคู่ เพราะฉะนั้นผู้เป็น ส.ว.เป็นผู้มีคุณวุฒิจริงหรือเปล่า ส.ว.เลือกตั้งมีการซื้อเสียงเข้ามา เป็นเรื่องของการเลือกตั้ง ประเทศไทยยังไม่ดี ส.ว.สรรหาจากคน7 คน ยังมีข้อบกพร่อง เพราะผลปรากฏว่าสรรหา 2 ครั้ง ก็ยังมี ส.ว.บางคนที่ไม่เหมาะสมเข้ามา เรามองเห็นและมองออก เพราะนั้นหลักการต้องการให้คนเก่งเข้ามาออกมา เพราะฉะนั้นเราจะออกแบบยังงัย จึงจะคัดคนเก่งของประเทศไทยออกมาให้ได้ อันนี้ต่างหากที่เป็นปัญหา สมมติว่าเลือกตั้งเราต้องกันยังงัยเลือกตั้ง หรือเอา 2 อย่างมาผสมกัน เช่น สรรมาอย่างเข้มข้นเลยได้คนมาจำนวนหนึ่ง แล้วให้ประชาชนเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นถ้าเรายังคงต้องการวุฒิสภาอยู่ ที่จะมาทำหน้าที่ เป็นสภาพี่เลี้ยง สภากลั่นกรอง สภาที่จะแต่งตั้งใคร คนกลุ่มนี้ต้องเป็นคนที่ไม่มีส่วนได้เสียอะไร ได้คนอย่างงี้มาทำหน้าที่ตรงนี้ก็โอเค เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อได้เลือกตั้งเข้ามาแล้ว ฝ่าย ส.ว.เลือกตั้ง เหมือนฝ่ายรัฐบาล ในสภา ส.ว.สรรหา เหมือนฝ่ายค้าน ในสภา วุฒิสภาก็ไม่ได้ทำหน้าที่ที่แท้จริง เพราะมั่วแต่มาทะเลาะกัน หรือไปทะเลาะกับสภาโน้น สวไม่มีน่าที่จะไปทะเลากับใคร ควรทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ส.ว.ควรมีวาระ6 ปี เพียงพอแล้ว ส่วนการเป็น สว.2 วาระ 12 ปี ตนไม่เห็นด้วย ส่วนการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล มีข้อบกพร่องที่ควรระวังคือปัญหาการทุจริตคอรับชั่น จะกัน จะแก้ไขอย่างไร ให้ประชาชนได้ตรวจสอบยังงั้ย เปิดทางอย่างกว้างๆ ให้เขาได้ตรวจสอบ การทุจริต 20%เป็นเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน และขณะนี้นักการเมืองไทยยังทะเลาะกันอยู่ มีการแบ่งสีแบ่งข้างที่ไม่สามารถคุยกันได้ อย่างวุฒิสภาก็ไม่ควรมีหน้าที่ไปทะเลาะกับใคร หรือทำหน้าที่ทะเลาะเข้ากับข้างใคร ควรทำหน้าที่เป็นกัลณมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิที่จะสามารถทำทุกคนเห็นชอบและเห็นตาม ทำให้ประชาชนทุกคนเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ ประชาชนเห็นว่า ส.ว.พูดมีประโยชน์ ประชาชนทุกคนเชื่อเรา รัฐบาลจะทำอะไรก็ลำบาก ส.ว.ไม่จำเป็นต้องไปทะเลาะกับใคร เอาผลงานออกมาพิสูจน์กัน รัฐบาลมีอำนาจบริหารก็จริง แต่วุฒิสภามีอำนาจทางผู้ทรงคุณวุฒิ อำนาจทางวิชาการ ไม่ชวนทะเลาะ ไม่เข้ารวมกลุ่มเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ประเทศจะได้ได้ประโยชน์จากความรู้ความสามารถของวุฒิสภา เมื่อไหร่เอยวาจาออกไปหรือบอกเรื่องราวที่ไม่ดีของรัฐบาลต่อประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยกับเรา รัฐบาลได้อย่างงัย สำหรับคดีพิพาทปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ผลพิจารณาของศาลโลกอีก 6 เดือนผลจะออกมาอย่างไร ตนอยากให้รัฐบาล และประชาชนทั้งสองประเทศ ได้ใช้สติและปัญญา อยู่เหนืออารมณ์คลั่งชาติ เพื่อสันติภาพการอยู่ร่วมกันอย่างบ้านพี่เมืองน้อง ศาลโลกน่าจะตัดสินออกมาให้เกิดทั้งความยุติธรรมและสันติภาพ ตนไม่อยากเห็นการเมืองในประเทศหยิบฉวยไปเป็นประเด็นใช้เป็นเครื่องมือบ่อนทำลาย ทั้งการเมืองภายในและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลควรทำการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้ทั่วถึงและกว้างขวาง ให้ประชาชนไทยได้ทราบอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะชาวบ้านตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เมธา มาสขาว: การจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเปรียบเทียบ Posted: 28 Apr 2013 10:42 AM PDT หมายเหตุ: นำเสนอในเวทีเสวนาเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556 ณ ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันสังคมประชาธิปไตย(Social-Democracy Think Tank) เนื่องจากโอกาสรำลึกครบรอบ 50 วัน การจากไปของ อูโก ชาเวซ (Hugo Rafael Chávez Frías) ประธานาธิบดีแห่งเวเนซูเอลา จากพรรคสหสังคมนิยมแห่งเวเนซุเอลา(PSUV) ผู้ประกาศ "แนวทางสังคมนิยมทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21" อันลือลั่น และการจากไปไม่นานของ มาร์กาเรต แทตเชอร์ เจ้าแม่เสรีนิยมใหม่ ผู้นำลัทธิเศรษฐกิจแบบแทตเชอร์-เรแกน ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ผู้เคยเสนอว่า "สังคมไม่มีอยู่จริง", ยุคสมัยของแทตเชอร์ เธอแปรรูปรัฐวิสาหกิจและกิจการสาธารณูประโภคของรัฐแทบทุกอย่างให้เป็นของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา ไฟฟ้า พลังงาน ขนส่งสาธารณะ สายการบินแห่งชาติ และโทรคม ขณะที่ชายหนุ่มจากละตินอเมริกา เขานำการปฏิรูปสังคมนิยมไปปฏิบัติในประเทศ ตามแนวทางการปฏิวัติโบลีวาร์ สร้างสภาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ยึดคืนธุรกิจบริษัทน้ำมันและพลังงานซึ่งผูกขาดโดยต่างชาติและโอนอุตสาหกรรมหลักหลายประเภทเป็นของรัฐ รวมทั้งเพิ่มเงินทุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาของรัฐ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ชาเวซ เกิดในครอบครัวกรรมกรในซาบาเนตา รัฐบารีนัส ต่อมาเขาได้ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติโบลีวาร์ (MBR-200) ขึ้นในต้นทศวรรษ 1980 เพื่อดำเนินการโค่นล้มรัฐบาล เขาเคยนำการรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี 1992 และเป็นนักโทษทางการเมืองอยู่ 2 ปี จึงออกมาร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองขบวนการสาธารณรัฐที่ห้าซึ่งมีอุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย จนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาในปี 1998 ในที่สุด ในขณะที่เป็นประธานาธิบดีถึง 4 สมัย เขาริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่มสิทธิคนชั้นล่างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐบาลเวเนซุเอลา ริเริ่มระบบภารกิจโบลีวาร์(Bolivarian Mission) สภาชุมชน (Communal Council) และสหกรณ์ที่มีกรรมกรเป็นผู้จัดการ รวมถึงโครงการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ การยึดกิจการเอกชนมาเป็นของรัฐ (Nationalization) โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งมีต่างชาติเป็นเจ้าของให้กลายเป็นของรัฐและนำรายได้กลับคืนสู่ประเทศ คลื่นของสังคมนิยมในศตวรรษที่ 21ที่ก่อตัวทั่วละตินอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น เวเนซูเอลา นิคารากัว โบลิเวีย ชิลี บราซิล อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ กัวเตมาลา ซึ่งมีจุดยืนร่วมกันคือการปฏิเสธนโยบายทุนนิยมเสรีและการครอบงำจากอเมริกา ทำให้โลกตื่นตัวขึ้นอย่างมากว่า วันนี้โลกมีระบบเศรษฐกิจทางเลือกที่มากกว่าทุนนิยมอยู่อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจผสม หรือสังคมประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศนอร์ดิค (Nordic Countries) ก็ตาม และล้วนเป็นเรื่องน่าศึกษาเปรียบเทียบอย่างยิ่ง ชาเวซ เป็นประธานาธิบดีที่มาจากประชาธิปไตยทางการเมืองในระบบรัฐสภา แต่เขาได้สร้างรูปธรรมของสังคมนิยมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีสีสันและรูปธรรม การประกาศตัวต่อต้านระบบทุนนิยมและจักรวรรดินิยมอเมริกา ทำให้เวเนซูเอลาเป็นพันธมิตรและมีความสัมพันธ์อย่างเข้มแข็งกับคิวบาและประเทศสังคมนิยมอื่นๆ โดยเขาได้ผลักดันให้กลุ่มประเทศดังกล่าวร่วมกันจัดตั้งสหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ พันธมิตรโบลีวาร์เพื่อทวีปอเมริกา และธนาคารใต้ (Bank of the South) ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างน้ำมันและการแพทย์โดยไม่ใช้เงินหรือการคำนวณคิดเป็นค่าเงินกับคิวบา ซึ่งคิวบาได้รับการยกย่องอย่างมากในเรื่องความก้าวหน้าทางการแพทย์และมีจำนวนแพทย์โดยเฉลี่ยมากถึง 1 คนต่อประชากร 175 คน แพทย์คุณภาพสูงจากคิวบาจำนวนมากถูกส่งไปปฏิบัติการในชุมชนยากจน (Mission Barrio Adentro) และตามชุมชนแออัดที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ลำบากในเวเนซูเอลา ตามโครงการสวัสดิการสังคมของชาเวซ[3] นับจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์หลายประเทศ รวมถึง จีน ลาว เวียดนาม เองก็ได้เปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมเกือบทั้งหมด แต่คงไม่รวมคิวบา, คิวบา เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมตั้งแต่ปี 1961 และปัจจุบันก็ยังคงเป็นอยู่ การจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้น หัวใจหลักคือ ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลถูกจำกัดให้น้อยลงและหากเป็นทรัพยากรสาธารณะก็ควรถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของสังคม, คิวบามีการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลคิวบาได้ออกกฏหมายจำกัดทรัพย์สินและจำกัดการถือครองที่ดิน หากใครมีบ้านเกิน 1 หลังต้องโอนส่วนเกินนั้นให้รัฐเพื่อนำไปให้คนไร้บ้านต่อไป (ประเทศไทยควรทำนโยบายดังกล่าวบ้าง รวมถึงการถือครองรถยนต์ด้วย) มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมและธุรกิจหลายอย่างให้เป็นของรัฐ แต่มีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานระดับภูมิภาคบริหารจัดการกันเอง รวมทั้งสร้างระบบสหกรณ์ในการรับซื้อพืชผลทางการเกษตรและแบ่งคืนประชาชนที่ต้องใช้แรงงานด้านอื่นอย่างเหมาะสม นอกจากนี้คิวบายังมีระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า รวมถึงผู้ที่ทำงานอยู่ต่างประเทศโดยเฉพาะนักกีฬาอาชีพและแพทย์ จะถูกหักภาษีกว่าครึ่งกลับเข้าประเทศ ที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบสังคมนิยมของคิวบาซึ่งกำลังเฟื่องฟูมาก มีการเก็บภาษีเพิ่มในอัตราที่สูงกว่าด้านอื่น เพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเหล่านั้นได้ใช้ถนนหนทางซึ่งเป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่มาจากภาษีของประชาชนและการบริการอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่จัดให้จากรัฐ แต่คนที่ได้ผลตอบแทนกลับไม่ใช่คนทุกคน ดังนั้นคิวบาคิดภาษีส่วนนี้เพื่อนำไปตอบแทนคนที่ทำงานด้านอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิตอาหารหรือแรงงานก่อสร้างด้านต่างๆ เป็นต้น ผลก็คือประชาชนคิวบาไม่ถูกทำให้รู้สึกจนกว่าใคร ไม่รู้สึกว่าต้องหาเพิ่มเหมือนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และไม่มีโฆษณากระตุ้นการบริโภคนิยม ในกลุ่มประเทศนอร์ดิค ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจผสม แนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democracy) และเป็นประเทศรัฐสวัสดิการที่โดดเด่นที่สุดในโลกนั้น ประกอบไปด้วย ฟินแลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และไอซ์แลนด์ การที่ประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จมากกว่าที่อื่นๆ อาจจะเพราะประเทศในกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมในเรื่องความเท่าเทียมทางชนชั้นมาจากยาวนานและลงหลักปักฐานในระดับต่างๆ ของสังคม วีถีชีวิตและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจึงสอดคล้องกับระบบสังคมนิยมมากกว่า ถึงแม้ว่าภายหลังได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งต้องเปิดเสรีในด้านต่างๆ มากขึ้นก็ตาม ประกอบกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศดังกล่าวได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและยาวนานนับตั้งแต่ปี 1930 และดำเนินนโยบายปฏิรูปสวัสดิการสังคมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจผสมในประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตย ยังคงยินยอมให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและอุตสาหกรรมได้ แต่สนับสนุนระบบการจ้างงานที่เป็นธรรมและมีการเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า รวมถึงค่าปรับอัตราก้าวหน้าตามฐานะทางเศรษฐกิจหากทำผิดกฎหมายด้วย เพื่อให้เงินภาษีเหล่านั้นหมุนวนไปช่วยเหลือคนด้อยโอกาส ฟินแลนด์ มีระบบการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นรัฐสวัสดิการที่ดีที่สุดในโลก ประชาชนได้รับการดูแลตั้งแต่จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนเหมือนกับแนวคิดของ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่เคยนำเสนอแนวทางรัฐสวัสดิการในประเทศไทย มีการกระกันการว่างงาน คนตกงานได้รับสวัสดิการจากรัฐที่เพียงพอ การศึกษาฟรีทุกระดับและทุกสาขา นักศึกษาที่อายุเกิน 18 ปี ยังมีค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักให้อีกด้วย ระบบการศึกษาที่มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในช่วงปี 1980 นั้นยังทำให้ประชาชนของฟินแลนด์เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย ในทางการเมืองนั้น ปัจจุบันประเทศที่ได้ถูกจัดอันดับว่ามีประชาธิปไตยสูงที่สุดในโลก กลับเป็นประเทศที่เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย ใช้ระบบเศรษฐกิจผสมเพื่อรัฐสวัสดิการ ตามการวัดดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index) โดย Economist Intelligence Unit โดยประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตยสูงที่สุดในโลก คือ ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข (Constitution Monarchy) ตามด้วยไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดาและฟินแลนด์ ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 58 แต่ปัญหาการจัดการระบบเศรษฐกิจถูกยกให้เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงสุดในเอเชีย ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยห่างกันถึง 15 เท่า จากการนำพาประเทศด้วยระบบทุนนิยมเสรีที่ใช้กลไกตลาดโดยไม่แยแสต่อทุนผูกขาดใดๆ ที่ควบคุมกลไกตลาดและเอาเปรียบสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายประชานิยมในปัจจุบันของรัฐบาล ที่ใช้แนวทางเสรีนิยมตามลัทธิเศรษฐกิจแบบแทตเชอร์-เรแกนผสมกับสำนักเคนส์ มาตั้งแต่ยุครัฐบาลก่อนไม่ว่าจะเป็นนโยบายรถคันแรกปลอดภาษี การพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ การพักหนี้เกษตรกร บัตรเครดิตชาวนา โครงการรับจำนำข้าวและการขึ้นค่าตอบแทนแต่ไม่ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค รวมถึงโครงการเงินกู้ต่างๆ เพื่อหมุนเวียนเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งใช้แนวทางการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ยกเว้นระบบสวัสดิการด้านการศึกษาและสาธารณะสุขเท่านั้นที่รัฐบาลไทยยังคงให้เป็นสวัสดิการสังคมที่ดี (แต่ยังไม่มีคุณภาพ) ดังนั้น ประชานิยมในประเทศไทยจึงเป็นประชานิยมแบบทุนนิยม แต่ไม่ใช่ประชานิยมกึ่งสังคมนิยมเหมือนในละตินอเมริกา ซึ่งมีการจัดการระบบเศรษฐกิจกึ่งสังคมนิยมในอุตสาหกรรมหลักๆ และทรัพยากรสาธารณะต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนในสังคม ไม่ใช่เพื่อนายทุนหรือผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนโยบายดังกล่าวจึงไม่อาจแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริงในสังคมไทย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำลงได้เลย การขูดรีดตามระบบยังคงสร้างความรุนแรงเชิงโครงสร้างและรอการพัฒนาความขัดแย้งต่อไป คงถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องใช้ระบบเศรษฐกิจผสม รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดการเศรษฐกิจแบบผสมผสาน (Mixed Economy) โดยเร็ว และควบคุมการเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสาธารณะและทรัพย์สมบัติของชาติและสังคมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความถี่ โทรคมนาคม อากาศ ดิน น้ำ ป่า น้ำมันและพลังงาน หากเราพูดถึงการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หัวใจสำคัญคงเป็นเรื่อง "ชนชั้น" ที่มาจากความสัมพันธ์ทางการผลิต และ "ระบบกรรมสิทธิ์" ที่เป็นปัญหาสำคัญ และตามหลักการสังคมนิยมแล้ว สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตหรือสร้างสรรค์ขึ้นได้เองไม่ควรนำเข้าสู่ระบบกลไกตลาด เช่น ที่ดิน ทะเลและป่าไม้ ซึ่งควรถือเป็นกรรมสิทธ์ร่วมของสังคม และการต่อสู้เรื่องระบบกรรมสิทธิ์นี้ นโยบายเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของผู้คนเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่พรรคการเมืองทั้งหลายควรต้องพูดให้ชัดเจน และในยุคที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนถึงวันนี้ การต่อสู้เพื่อสังคมนิยมผ่านระบบรัฐสภาคงไม่ใช่ลัทธิแก้ของฝ่ายสังคมนิยมปฏิวัติอีกต่อไป เพราะแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุคปัจจุบันคือ การต่อสู้เพื่อสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตยทางการเมือง และผ่านระบบรัฐสภา แนวทางการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา คือ รัฐบาลต้องหาหนทางแก้ไขและควบคุมการเข้าผูกขาดทรัพย์สมบัติสาธารณะของเอกชน การออกกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ซึ่งกฎหมายฉบับเก่ารัฐบาลเสรีนิยมได้ละเลยการปฏิบัติตามกฎหมายและทำเหมือนปากว่าตาขยิบมาโดยตลอด เพื่อให้กลุ่มทุนของตนเองได้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจที่ผูกขาดต่างๆ ซึ่งทำให้คนอื่นๆ ในสังคมเสียเปรียบ และประชาชนเป็นผู้รับกรรมจากผลการกระทำของลัทธิพรรคพวกดังกล่าว จะต้องมีการทบทวนหรือยุติการสัมปทานของเอกชนที่เอื้อผลประโยชน์ต่อรัฐน้อยเกินไป โดยเฉพาะในด้านพลังงาน การปิโตรเลี่ยมและคลื่นความถี่ โดยให้รัฐเข้ามาดูแลโภคทรัพย์ส่วนรวมของสังคมและกระจายประโยชน์สู่ประชาชนอย่างเต็มที่ ยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เอกชน แต่ยึดคืนโดยกฏหมายเพื่อนำมาปฏิรูปการบริหารจัดการใหม่แบบทันสมัยโดยให้ประชาชนเป็นหุ้นส่วน การจัดการควบคุมอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์เต็มที่ รวมถึงพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อทั้งประเทศ และการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของสังคมอื่นๆ โดยรัฐวิสาหกิจที่ทันสมัยและมีการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ในอังกฤษเอง แทตเชอร์ เคยโอนกิจการทุกอย่างไปเป็นของเอกชน จนสังคมอังกฤษเกิดวิกฤติปัญหาหลายอย่างทางสังคม รัฐบาลต่อมาจึงพยายามซื้อคืนรัฐวิสาหกิจต่างๆ หลายๆ อย่างจัดเพื่อเป็นบริการสาธารณะแก่ประชาชน ดังนั้น ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเดินตามความล้มเหลวของอังกฤษ หรืออาร์เจนตินาจากเรื่องดังกล่าว เพียงเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อนของชนชั้นนำในสังคมการเมืองและเศรษฐกิจไทย ถึงเวลาประยุกต์และทบทวนองค์ความรู้การจัดการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมขึ้นมาปรับใช้ในสังคมไทยได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" ของ ปรีดี พนมพยงค์ โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร และแนวคิดของ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เรื่อง "จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายอย่างแท้จริง รวมถึงสร้างพันธกิจและหน้าที่ของรัฐบาลไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองใด จะต้องมีหน้าที่ดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการและการบริการสาธารณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การสาธารณสุข การขนส่งสาธารณะ การประกันสังคม การประกันการว่างงานและการสนับสนุนระบบสหกรณ์ โดยทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตนโดยเสมอภาค นโยบายด้านสังคมนิยมที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ จะต้องมีการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบและจำกัดการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีที่ดินประมาณ 320 ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติประมาณ 25% คงเหลือประมาณ 240 ล้านไร่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ซึ่งจะเฉลี่ยได้เพียงคนละประมาณ 4 ไร่เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากของเอกชนจนเกิดการกระจุกตัว โดยไม่มีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมเกิดขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ที่ดินไม่ควรเอาเข้าสู่ระบบกลไกตลาดเลย เพราะไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นได้เอง จึงสมควรใช้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมของสังคม ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ เพื่อการกระจายการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง โดยอาจมีการรื้อฟื้นปรับปรุง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้นได้ และออกนโยบายการเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องนี้ เกษตรกรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเพียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ของนายทุนไร้สัญชาติในอนาคต ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทยที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น ทั้งนี้ กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บ นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดีขึ้นได้แล้ว ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีกขั้นหนึ่ง เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและกระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่นนี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก "ค่ารายปี" หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง เหมือนประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยอื่นๆ หากเราเน้นเศรษฐศาสตร์สังคม (Social Economy) และผลักดันสังคมนิยมทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทยได้ ต่อไปการศึกษาจะเป็นเสรีภาพของประชาชนที่เข้าถึงได้โดยเสมอภาค เป็นบริการสาธารณะและไม่มีค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบทั้งในเชิงรูปแบบและเนื้อหา มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ตอบสนองต่อสังคมและชุมชนท้องที่อย่างเต็มที่ มากกว่าการผลิตบัณฑิตตอบสนองกลไกตลาดอย่างเดียว หากประเทศไทยสามารถเป็นประเทศรัฐสวัสดิการได้ การศึกษาจะต้องเรียนฟรีถึงปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐ ตามหลักด้านเสรีภาพทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนที่ใคร่ศึกษาหาความรู้ควรได้รับสิทธิดังกล่าวอย่างเสมอภาค มิใช่เพียงเปิดโอกาสอย่างจำกัดทางด้านการศึกษาเท่านั้น สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำสำหรับประเทศไทยคือ รัฐบาลจำเป็นต้องออกกฎหมายให้มีการปฏิรูประบบภาษีทั้งระบบก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ โดยให้มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน และภาษีมรดกอัตราก้าวหน้าคืนสู่รัฐ เพื่อนำไปสร้างสรรค์เศรษฐกิจสังคมต่อ ทั้งนี้ ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30% ทำให้โครงสร้างภาษีไม่มีความเป็นธรรม ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี ภาษีทางตรงคือภาษีรายได้และนิติบุคคล ที่ปัจจุบันรัฐบาลได้ลดภาระทางภาษีลง แต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินและรายได้ของบุคคลที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ความสะดวกปลอดภัยของชีวิตตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐในอัตราที่สูงในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้ และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสู่พลเมืองอีกระลอกหนึ่ง ดังนั้น ภาษีทรัพย์สิน คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่ และภาษีมรดกคือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้า ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินในต่างประเทศ ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม หลังจากนั้นค่อยไปแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจต่อไป โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานที่ต้องปรับสมดุล, โครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานที่ อูโก ชาเวซ ทำในเวเนซูเอลา หลังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี คือ การเข้าควบคุมกิจการของคนงาน (Workers' Control) สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยคือ ความสัมพันธ์ของคนงานในภาคการผลิตกับเจ้าของทุนต่างๆ ไม่มีความสมดุลและถูกเอารัดเอาเปรียบ แม้ว่ารัฐบาลจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน (ขบวนการแรงงานเสนอ 421 บาทต่อวัน) แต่ค่าครองชีพและราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นตามโดยไร้การควบคุมจนคุณภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างจากเดิมนัก โครงสร้างทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานจะเกิดความสมดุลและเป็นธรรมมากขึ้นในประเทศไทย หากมีการจัดระบบการจ้างงานที่เป็นธรรมอย่างแท้จริง โดยให้แรงงานร่วมเป็นเจ้าของทุนที่เป็นปัจจัยการผลิต ซึ่งคล้ายกับระบบแบ่งปันหุ้นแก่คนงานในโรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยบางประเทศแล้ว เนื่องจากวิถีหลักของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมคือ การขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) ไปจากแรงงาน ซึ่งในอุตสาหกรรมต่างๆ นายทุนมักเป็นเจ้าของ "ทุนคงที่" (Constant Capital) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือการผลิต เครื่องจักร โรงงาน อาคารหรือวัตถุดิบ แต่มูลค่าที่เพิ่มขึ้นของสินค้าต่างๆ มาจาก "ทุนตัวแปร" (Variable Capital) ซึ่งก็คือแรงงาน แต่นายทุนได้เบียดบังเอากำไรจากแรงงานเหล่านั้นไปโดยไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด ผลก็คือการร่ำรวยขึ้นอย่างพุ่งพรวดของนายทุนจากมูลค่าส่วนเกินนั้น แต่คนงานยังตกเป็นทาสของระบบทุนนิยมต่อไปโดยขาดโอกาสในการลืมตาอ้าปาก ความไม่เป็นธรรมเหล่านี้อาจแก้ปัญหาด้วยการออกกฎหมายให้ทุกอุตสาหกรรมหลักมีสภาคนงานในสถานประกอบการ หรือคณะกรรมการบริหารที่ประกอบไปด้วยผู้ใช้แรงงานที่เป็นทุนผันแปรของมูลค่าด้วย มันคงไม่ต่างอะไรจากการที่รัฐบาลบริหารทรัพยากรของชาติ โดยมีประชาชนทุกคนของประเทศคือหุ้นส่วนนั่นแหละ แต่วันนี้ระบบทุนนิยมที่พัฒนาการขูดรีดทางเศรษฐกิจไปถึงขั้นตั้งคาสิโนในวิมารในนามตลาดหุ้น การฟอกเงิน หรือการพำนักภาษีและเสรีการเงินระหว่างประเทศที่ไม่เปิดเผยนามที่แท้จริง ได้ขูดรีดมูลค่าส่วนเกินของสังคมให้ตกแก่ผู้ใดบ้าง .................................... [1] อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2544, ประธานศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) ปี 2545-2550, เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) ปี 2550-2552, อนุกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงเฉพาะกรณี 1-5 ในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ปี 2554-2555 ปัจจุบันเป็น เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา และผู้อำนวยการสถาบันสังคมประชาธิปไตย [2] สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social-Democracy Think Tank) เป็นโครงการจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นกองเลขานุการและ Think Tank ของเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย ดำเนินการจัดเวทีสร้างองค์ความรู้/อภิปรายสาธารณะ รวมถึงการจัดตั้ง/สร้างนักสังคมนิยมประชาธิปไตยรุ่นใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่อุดมการณ์ทางสังคมและสร้างเครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งต่อไป โดยมีกรรมการเบื้องต้นคือ นพนันท์ วรรณเทพสกุล, ประชา หุตานุวัตร, ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา, กชวรรณ ชัยบุตร, สุธัมมะ ธรรมศักดิ์ และเมธา มาสขาว เครือข่ายสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat Movement) เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคมและทำหน้าที่ผลักดันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการเมืองบนแนวทางสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democracy) ประกอบไปด้วยคณะบุคคล-ประชาชนทั่วไปที่เห็นว่า ความเป็นสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง คือทางออกของประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะทำงานเป็นภาคีความร่วมมือทางการเมืองร่วมกับองค์กรประชาชนต่างๆ ทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นคนงาน เกษตรกร นักศึกษา ปัญญาชนและนักวิชาการ, กลุ่มขบวนการคนจนต่างๆ กลุ่มสหพันธ์/สหภาพแรงงานต่างๆ รวมถึงแรงงานนอกระบบ และกลุ่มเยาวชนนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ โดยสนับสนุนองค์กรเยาวชน (Youth Wing) ของขบวนการให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) สหภาพเยาวชนแรงงาน เพื่อขับเคลื่อนขบวนการคนหนุ่มสาวในประเทศไทย ให้เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่เข้มแข็งต่อไป รวมถึงเชื่อมความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นภาคีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Socialist International(SI), The Party of European Socialists (PES) , International Union of Socialist Youth (IUSY) ซึ่งมีเยาวชนของพรรคสังคมประชาธิปไตย, พรรคสังคมนิยม, พรรคแรงงาน และขบวนการเคลื่อนไหวสังคมนิยมประชาธิปไตยทั่วโลกเป็นสมาชิกกว่า 100 ประเทศ และ Young Progressives South East Asia (YPSEA) องค์กรเยาวชนซึ่งมีสมาชิกกว่า 16 องค์กร ในกลุ่มประเทศอาเซียน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สะเอียบ ร่อนหนังสือถึงอธิบดีกรมชล ให้ยุติการดำเนินการเขื่อน Posted: 28 Apr 2013 10:36 AM PDT ชาวบ้านสะเอียบ ร่อนหนังสือถึงอธิบดีกรมชล ให้ยุติการดำเนินการเขื่อนยมบน เขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) อ้างผลาญงบประมาณแผ่นดิน ทำลายป่าสักทอง ทำลายแหล่งหากินของชุมชนเสนอ 12 แนวทางแก้น้ำแล้งน้ำท่วมลุ่มน้ำยมอย่างยั้งยืน 28 เม.ย. 56 - เมื่อเวลา 07.00 น. ชาวบ้าน ต.สะเอียบ ได้ประชุมปรึกษาหารือกันที่ศาลาวัดดอนชัย บ้านดอนชัย หมู่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เกี่ยวกับเรื่องการที่กรมชลประทานได้มีหนังสือเชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางคน เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการเขื่อนยมบน เขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) จ.แพร่ ซึ่งชาวบ้านได้มีมติไม่เข้าร่วมและไม่ให้ความร่วมมือกับโครงการเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง จนกรมชลประทานและบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่มาทำการศึกษาผลกระทบต่างๆ ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้มาโดยตลอด แต่ก็ยังมีรายงานสรุปออกมาว่าเห็นควรให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เมื่อไม่สามารถสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นได้ กรมชลประทานก็มีการเริ่มผลักดันโครงการเขื่อนยมบน และเขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) ขึ้นมาแทนเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยแบ่งเขื่อนแก่งเสือเต้นออกเป็นสองเขื่อน เว้นตำบลสะเอียบไว้ไม่ให้น้ำท่วมกว่า 1,000 ครัวเรือน แต่ยังท่วมที่ทำกินและป่าสักทองอยู่เหมือนเดิม จึงทำให้ชาวบ้านตำบลสะเอียบยังคงยืนยันที่จะคัดค้านเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่างมาอย่างต่อเนื่อง นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ กล่าวว่า "กรมชลประทานใช้วิธีเดิมๆ จ้างบริษัทที่ปรึกษามาจัดเวทีต่างๆ แล้วก็ไปสรุปว่าชาวบ้านเห็นด้วย ตัวอย่างเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว มีมหาวิทยาลัยมหิดลมาจัดเวทีที่อำเภอสอง แล้วก็สรุปเป็นเล่ม 200-300 หน้า สรุปออกมาว่าสมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ทั้งที่เราชาวสะเอียบ ยกขบวนไปคัดค้านด้วยเหตุด้วยผล จนทั้งเวทีก็ตอบคำถามชาวสะเอียบไม่ได้ แต่ข้อสรุปก็ยังออกมาเป็นเขื่อนแก่งเสือเต้น เหมือนเดิม เรามารู้ทีหลังว่ามหาวิทยาลัยมหิดลถูกกรมชลประทานจ้างมาอีกต่อหนึ่ง ผลาญเงินไป 80 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านั้นกรมชลได้ศึกษาออกแบบเขื่อนแก่งเสือเต้นใช้เงินไปกว่า 200 ล้านบาท ผลาญงบประมาณแผ่นดินเงินภาษีของเราทั้งนั้น" นายสมมิ่งกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ได้มีมติให้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมชลประทาน ขอให้ยุติการดำเนินการทุกอย่าง เกี่ยวกับเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) เขื่อนแก่งเสือเต้น และขอให้ยกเลิกการศึกษาเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง รวมทั้งคืนงบประมาณการดำเนินการให้กับแผ่นดิน โดยเสนอแนวทางแก้ไขน้ำท่วมน้ำแล้งลุ่มน้ำยมอย่างยั้งยืนทั้ง 12 แนวทางอีกด้วย ด้านนายวิชัย รักษาพล ประธานคัดค้านเขื่อนบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "กรมชลประทานไม่เคยฟังชาวบ้านเลย ดื้อ เอาแต่ใจตัวเอง สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่ได้ จนด้วยเหตุผล ก็จะมาขอสร้างเขื่อนยมนบยมล่าง ท่วมป่าสักทอง ท่วมที่ทำกินของพี่น้องสะเอียบเหมือนเดิม ไม่ยอมหนีไปไหน เราเสนอให้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางขนาดเล็กตามลำน้ำสาขาทั้ง 77 ลำน้ำสาขา ก็ไม่ยอมทำ จะเอาเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเดียว งานวิจัย นักวิชาการต่างๆ ก็ศึกษามาแล้วว่าไม่คุ้มทุน กระทบต่อป่าสักทองอย่างรุนแรง ป่าไม้เรายิ่งเหลือน้อยยังจะคิดมาทำลายป่าอีก ผมว่าซักวันหนึ่งกรมชลนี่ต้องถูกเผาเหมือนปลอดประสพ" นายวิชัยกล่าว โครงการเขื่อนยมบน และเขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) ทั้งสองเขื่อนมีแผนที่จะสร้างที่ อำเภอสอง จ.แพร่ ความจุน้ำ 166 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับกักเก็บที่ 230 ม.รทก.และที่ 258 ม.รทก ท่วมพื้นที่ประมาณ 31,856 ไร่ ซึ่งกระทบต่อป่าสักทองธรรมชาติและป่าเบญจพรรณ รวมทั้งที่ทำกินของชาวสะเอียบ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงที่สำคัญเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากผืนป่าตะวันตกห้วยขาแข้งทุ่งใหญ่นเรศวรผืนป่าแม่วงก์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่มีนกยูงหนาแน่นเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ นางสุดารัตน์ ไชยมงคล ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า "กรมชลประทานควรล้มเลิกความคิดที่จะสร้างเขื่อนเหล่านี้ได้แล้ว ชาวบ้านที่นี่ร้อยเปอร์เซ็นต์คัดค้านมาตลอด เพราะเห็นว่ากระทบกับป่าสักทอง กระทบกับที่ทำกินของชาวบ้าน และยังท่วมแหล่งทำมาหากินของชุมชน รวมทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงไทย ควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานโดยหาวิธีการแก้ไขน้ำท่วมน้ำแล้งด้วยวิธีการอื่นๆ ได้แล้ว เราเสนอแนวทางไปตั้ง 12 แนวทาง ทำไมไม่ทำ ทั้งแก้มลิง ทั้งทางเบี่ยงน้ำ การสร้างอ่างตามลำน้ำสาขากระจายทั่วทั้งลุ่มน้ำยม หรือเงินทอนมันน้อยกว่าเขื่อนขนาดใหญ่" นางสุดารัตน์ กล่าว หนังสือที่คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ ส่งถึงอธิบดีกรมชลประทาน ยังระบุอีกว่า กรมชลประทาน และหรือ บริษัทที่ปรึกษา ได้ขโมยรูปภาพของชาวสะเอียบไปตีพิมพ์เป็นเอกสารสรุปโครงการและเอกสารโฆษณาโครงการเขื่อนยมบนเขื่อนยมล่าง ซึ่งเป็นการไม่มีคุณธรรม และขาดจริยธรรม หากยังนำไปพิมพ์เผยแพร่อีก ชาวสะเอียบก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายฟ้องร้องตามสิทธิ์ต่อไป .......... ศูนย์ประสานงานชุมชน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 54120 28 เมษายน 2556 เรื่อง ขอให้ยุติการดำเนินการทุกอย่าง เกี่ยวกับเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) เขื่อนแก่งเสือเต้น และขอให้ยกเลิกการศึกษาเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง รวมทั้งคืนงบประมาณการดำเนินการให้กับแผ่นดิน เรียน อธิบดีกรมชลประทาน สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางแก้ไขปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 12 ข้อ จากการที่กรมชลประทาน จะได้จัดเวทีรับฟังความเห็นเกี่ยวกับโครงการเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่างในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 นั้น คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เห็นว่าเป็นการผลาญงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ กรมชลประทานได้ผลักดันการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมากว่า 24 ปี ผลาญงบประมาณแผ่นดินไปหลายร้อยล้านบาทแล้ว มาบัดนี้ยังจะผลาญงบประมาณแผ่นดินด้วยการศึกษาเขื่อนยมบน และเขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) อีก บทเรียนและประสบการณ์ของ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เห็นว่า กรมชลประทานได้ใช้วิธีจ้างบริษัทที่ปรึกษา ที่เคยศึกษาโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น มาหลอกให้ชาวบ้านเห็นด้วยกับโครงการเขื่อนต่างๆ ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้ ครั้งก่อนมาหลอกให้เห็นด้วยกับเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่เมื่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่ได้ ก็จะมาหลอกให้เห็นด้วยกับเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ซึ่งกรมชลประทานและบริษัทเหล่านี้ได้ได้ดำเนินการผลาญงบประมาณแผ่นดินมามากพอแล้ว เขื่อนยมบน และเขื่อนแม่น้ำยม (เขื่อนยมล่าง) จะส่งผลกระทบต่อป่าสักทองธรรมชาติ ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ควรรักษาไว้ให้กับลูกหลาน และคนไทยทั้งชาติ อีกทั้งผืนป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงไทยที่สำคัญอีกด้วย เขื่อนทั้งสองยังกระทบต่อที่ทำกินของชาวสะเอียบ ซึ่งหากไม่มีที่ทำกินแล้วชาวสะเอียบจะอยู่ได้อย่างไร และยังกระทบต่อป่าเบญจพรรณ ที่เป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้าน เปรียบได้ดั่งซุบเปอร์มาเก็ตของชุมชน หากสิ่งเหล่านี้หมดไปชุมชนคงต้องล่มสลาย ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ดั่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ เขื่อนที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จึงขอให้กรมชลประทานยุติการดำเนินการทุกอย่าง เกี่ยวกับเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง (เขื่อนแม่น้ำยม) เขื่อนแก่งเสือเต้น และขอให้ยกเลิกการศึกษาเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง รวมทั้งคืนงบประมาณการดำเนินการให้กับแผ่นดิน หากกรมชลประทานยังดึงดันที่จะผลักดัน ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทั้ง 3 เขื่อนดังกล่าว คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จะดำเนินการคัดค้าน จนถึงที่สุด ชาวบ้านในพื้นที่ยืนยันจะไม่ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน และจำเป็นต้องใช้มาตรการทางศาล ในการฟ้องร้องเอางบประมาณแผ่นดินกลับคืนให้กับประชาชนไทยทั้งชาติ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ทั้ง 12 ข้อ ให้กับนายกรัฐมนตรีไปแล้ว หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นแนวทางที่ยั้งยืน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และชุมชน น้อยกว่าโครงการขนาดใหญ่ อีกทั้งยังใช้งบประมาณแผ่นดินน้อยกว่าโครงการขนาดใหญ่อีกด้วย ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งลุ่มน้ำยมอย่างมีประสิทธิภาพ อนึ่ง กรมชลประทานและหรือบริษัทที่ปรึกษา ยังได้ขโมยรูปภาพของชาวบ้านไปตีพิมพ์เป็นทั้งเอกสารสรุปข้อมูลโครงการและตีพิมพ์แผ่นพับโฆษณาโครงการ ซึ่งเป็นการขาดจริยธรรม ขาดจิตรสำนึก ในการทำงาน จึงขอให้ยุติพฤติกรรมดังกล่าว และห้ามนำภาพดังกล่าวออกเผยแพร่โดยเด็ดขาด หากกรมชลประทานและหรือบริษัทที่ปรึกษา ยังนำภาพเหล่านั้นไปตีพิมพ์เผยแพร่ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อนและเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพดังกล่าว คงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการกับท่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา ยุติการดำเนินการทุกย่างเกี่ยวกับเขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง เขื่อนแก่งเสือเต้นโดยเร่งด่วน และเร่งคืนเงินงบประมาณในการศึกษาโครงการเหล่านี้ให้กับแผ่นดิน ขอแสดงความนับถือ คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะกรรมการกำลังคน หวั่น P4P ทำชนบทเสียหายหนัก จี้ สธ.เร่งแก้ปัญหา Posted: 28 Apr 2013 10:29 AM PDT
ภาพที่ทำงานในชนบทที่ปัจจุบันมีปัญหาความขาดแคลนอยู่บ้าง จะวิกฤตยิ่งขึ้น คนจะหนีจากชนบทมากยิ่งขึ้น เมื่อขาดการสนับสนุน ไปอยู่ที่สบายกว่า โดยเฉพาะกำลังคนทางด้านการแพทย์ จะยิ่งขาดแคลน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในชนบท จึงมีความเห็นว่า กระทรวงสาธารณสุขควรทำให้ปัญหานี้ยุติโดยเร็ว" ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพกล่าวว่า โดยส่วนตัวอยากให้ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีสาธารณสุขปรับลดนโยบายโดยใช้กับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปที่สภาพการทำงานเหมาะกับ P4P มากกว่า ส่วนในโรงพยาบาลชุมชนนั้น ขอให้ถามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดย P4P เป็นลักษณะเพิ่มเติม (on top) จากเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย เชื่อว่าเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ คนเริ่มเห็นข้อดีอาจจะทำให้โรงพยาบาลชุมชนทั้งหมดเข้าร่วมโครงการได้ในอนาคตก็เป็นได้ "อยากให้คุณหมอประดิษฐประกาศให้ชัดไปเลยว่า จะไม่มีเฟส 2 เฟส 3 เพราะเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายยังต้องคงอยู่ วัตถุประสงค์ของเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายคือการสนับสนุนให้กำลังคนด้านสุขภาพอยู่ในพื้นที่ทำงานเพื่อชาวชนบท จะมาใช้ P4P ทดแทนกันไม่ได้ แต่อาจปรับให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นในส่วนของวิชาชีพต่างๆ" รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.สุพรรณ รองปลัด สธ. และนพ.สุวัฒน์ ผอ.สนย.รายงานต่อคณะกรรมการกำลังคนฯว่า นโยบาย P4P ทำโดยข้อมูลพื้นฐานวิชาการ และความปรารถนาดี อาจจะทำเร็วเกินไป ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม จึงเกิดปัญหา ซึ่ง นพ.สุวัฒน์กล่าวว่า รู้สึกเสียใจ ตั้งใจเพื่อให้เกิดการพัฒนา ขณะที่ นพ.สุพรรณ กล่าวว่า รู้ว่าจะเกิดปัญหา แต่ถ้าไม่กล้าทำก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ยืนยันว่าทำบนหลักการที่ดีที่มีงานวิชาการสนับสนุน อาจเป็นปัญหาเชิงรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงไป อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกกรรมการกำลังคนฯบางคน แย้งว่า หากเป็นหลักการที่ดี ไม่น่าจะมีเสียงคัดค้านจนกลายเป็นปัญหาสังคมขนาดนี้ นอจากนี้ งานวิชาการที่ทางผู้บริหารกระทรวงฯอ้างถึง โดยเฉพาะของสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ (IHPP) ชี้ว่า ก่อให้เกิดผลลบในเรื่องคุณภาพ เพราะไม่มีการศึกษาใดๆแสดงว่า จะทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดีขึ้น อีกทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายก็ชัดเจนว่า การทำ P4P ควรใช้ในบางสถานการณ์บางโอกาสเท่านั้น เมื่อเกิดความสมดุลย์ของอุปสงค์และอุปทานในด้านกำลังคนแล้วก็ควรต้องยกเลิกการใช้ P4P แตเหตุใดกระทรวง สธ.จึงมีนโยบายจะใช้โดยทั่วไป ปัญหาจึงลุกลามเช่นนี้ คณะกรรมการฯจึงต้องมีมติแสดงความห่วงใย ไม่เช่นนั้น กำลังคนที่อุทิศตัว อยู่มานาน เขารู้สึกว่าระบบนี้ไปข่มเหงเขาก็จะเกิดปัญหา บุคลากรได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ร้องสอบวินัย ‘วิฑูรย์ ชลายนนาวิน’ เพิ่มอีก! แปลภาพถ่ายทางอากาศเอื้อโรงเหล็กรุกที่ป่า Posted: 28 Apr 2013 07:20 AM PDT ปมรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แปลภาพถ่ายเอื้อประโยชน์เอกชน ออกโฉนดที่ดินหาดฟรีดอมบีช จ.ภูเก็ต - หาดเจ้าไหม จ.ตรังยังไม่จบ กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงยื่นข้อมูลเพิ่ม ร้องแปลภาพถ่ายเอื้อโรงเหล็กรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง จี้เอาผิดวินัยร้ายแรง จากข่าวร้อน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเตรียมลงดาบเชือด 'วิฑูรย์ ชลายนนาวิน' รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ เหตุทำให้ราชการเสียหายจากการแปลภาพถ่ายเอื้อประโยชน์เอกชน ออกโฉนดที่ดินหาดฟรีดอมบีช จ.ภูเก็ต และหาดเจ้าไหม จ.ตรัง โทษหนักถึงไล่ออก ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการของคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง แต่ดูเหมือนปัญหาของข้าราชการคนดังรายนี้จะยังไม่จบ เมื่อวันที่ 26 เม.ย.56 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายวิฑูรย์ บัวโรย ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง และนายสุพจน์ ส่งเสียงพร้อมชาวบ้านกว่า 100 คน เข้ายื่นหลักฐานเพิ่มเติมและเข้าชี้แจงข้อมูล ต่อนายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกรณีการกระทำผิดทางวินัยร้ายแรงจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนของ 'วิฑูรย์ ชลายนนาวิน' จากปมปัญหาการบุกรุกเขตที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 52 แปลง รวมพื้นที่ 798 ไร่ กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ระบุว่า 'นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน' ซึ่งขณะนั้นสวมหมวกสองใบ คือ 1.อยู่ในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรมป่าไม้ และ 2.เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลในการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ ได้ให้ข้อมูลการอ่านและตีความแผนที่ทางอากาศเพื่อใช้อ้างอิงในกระบวนการไต่สวน โดยเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน "นายวิฑูรย์เป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือเป็นลูกจ้างของกลุ่มทุน การที่มติของทางกรมป่าไม้ ไม่ให้เผยแพร่มติผลการแปรภาพถ่าย แต่ผลไปอยู่ในศาลปกครอง ตรงนี้ถือเป็นเรื่องเสื่อมเสียเกียรติของกรมป่าไม้หรือไม่" ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงตั้งคำถามต่อที่ประชุม เอกสารที่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงนำมายื่นในวันนี้ ประกอบด้วย 1.ผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศของกรมป่าไม้ เพื่อจัดทำคำให้การแก้คำฟ้อง (คดีหมายเลขดำที่ 734/2554) 2.บันทึกการลงตรวจสอบพื้นที่จริงในการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศของนายวิฑูรย์ 3.เอกสารการขอผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศจากเอกชน (เครือสหวิริยา) 4.เอกสารมติคณะกรรมการกรมป่าไม้ ไม่ให้เปิดเผยผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศแก่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงที่ร้องขอ ทั้งนี้ ที่ดินดังกล่าว กรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง 52 แปลง ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.53 เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้ว ว่าผู้บุกรุกออกเอกสารสิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทางกรมป่าไม้ก็เห็นชอบใช้คำสั่งนี้เช่นกัน อีกทั้งเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.53 นายอำเภอในขณะนั้นได้มีคำสั่งให้ผู้บุกรุกคือบริษัทเอกชนออกจากพื้นที่ อาศัยอำนาจตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทเอกชนได้ร้องต่อศาลปกครองกรณีการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในส่วนของกรมที่ดิน และอีกคดีเป็นการฟ้องนายอำเภอ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ และกรมป่าไม้ ประเด็นสำคัญที่ชาวบ้านจับตา คือ มีการเอาข้อมูลการอ่านและตีความแผนที่ทางอากาศของนายวิฑูรย์ มาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในกระบวนการไต่สวน เพื่อเอื้อประโยชน์กับบริษัทเอกชนดังกล่าว โดยระบุว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ถูกประชาชนเข้าจับจองทำกิน เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการของศาลปกครอง ทำให้เจ้าหน้าที่อ้างกระบวนการศาลและไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังกับกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน นายวิฑูรย์ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านเป็นห่วงว่าจะมีการถ่วงเรื่องไว้และไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ อีกทั้ง หลังนายอำเภอประกาศบังคับใช้มาตรา 25 แต่พบว่าบริษัทเอกชนยังมีการนำรถบรรทุกเข้าไปในพื้นที่ และระยะเวลาการต่อสู้ในเรื่องนี้กว่า 3 ปี มีนายอำเภอบางสะพานถูกย้ายไปแล้วถึง 4 คน ซึ่งคนที่ทำดีก็ถูกย้าย แต่บางคนก็ไม่กล้าดำเนินการ ทำให้ไม่มั่นใจในการบังคับใช้กฎหมาย แม้จะเชื่อมั่นว่ากฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ก็ตาม ด้านนายสุพจน์ ส่งเสียง แกนนำกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงอีกคนหนึ่งกล่าวถึงข้อเสนอแนะจากชาวบ้านว่า 1.ขอให้ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ ลงพื้นที่เพื่อรับทราบข้อเท็จจริง 2.กรณีการบังคับใช้มาตรา 25 ชาวบ้านเห็นว่าควรถ่ายโอนอำนาจจากนายอำเภอให้อธิบดีกรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการแทน 3.ให้กระทรวงทรัพย์ฯ สั่งการไปยังกรมป่าไม้ให้ตีความว่า ควรหรือไม่ในการเปิดเผยผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศให้กับผู้บุกรุก และ 4.มอบอำนาจคืนให้กรมป่าไม้ออกระเบียบปฏิบัติตาม มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งที่ผ่านมามีการอ้างว่าอยู่ในกระบวนการฟ้องร้องของศาลปกครองทำให้การดำเนินการไม่เดินหน้า นายประยุทธ หล่อสุวรรณศิริ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง 'นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน' กรณีการแปลภาพถ่ายทางอากาศเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน ออกโฉนดที่ดินหาดฟรีดอมบีช จ.ภูเก็ต และหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ซึ่งทางคณะกรรมการได้มีการรวบรวมหลักฐานเพื่อใช้ในการตรวจสอบดังกล่าว และมีหลักฐานกรณีป่าสงวนแม่รำพึงรวมอยู่ด้วย รองอธิบดีกรมป่าไม้ ยังกล่าวถึงกระบวนการสอบสวนที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2555 ด้วยว่า ตอนนี้กระบวนการใกล้แล้วเสร็จ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามอยากให้ชาวบ้านไม่ต้องกังวล ทางคณะกรรมการจะดำเนินการอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมาที่สุด ข้อสังเกตของ นายประยุทธ คือ การแปลภาพถ่ายทางอากาศนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดแนวเขต เพียงให้รู้ถึงการทำประโยชน์ในพื้นที่นั้น โดยผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดแนวเขตคือช่างรังวัด ด้านนายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้แจงประเด็นของชาวบ้านว่า 1.กรณีที่บริษัทเอกชนออกโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์โดยขัดต่อความรู้สึกของชาวบ้านว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ เรื่องนี้อยู่ในกระบวนการของศาล ควรไปติดตามที่ศาลซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดี 2.การออกโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ โดยมีการให้ความเห็นของ 'นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน' เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้นอยู่ในการประมวลผลของศาล แต่หากชาวบ้านต้องการตรวจสอบนายวิฑูรย์ว่ากระทำผิดหรือไม่ ก็มีช่องทางในกระบวนการสอบวินัยของข้าราชการอยู่ หรือหากพบว่ามีกรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้กระทำผิดก็สามารถนำหลักฐานมายื่นเรื่องเพื่อทำการสอบสวนได้ 3.การให้กรมป่าไม้ออกระเบียบปฏิบัติตาม มาตรา 25 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507นั้น กรมป่าไม้เป็นข้าราชการส่วนกลาง โดยหลักการได้มอบอำนาจให้กับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นดำเนินการแล้ว การร้องดังกล่าวจะส่งผลกระทบหากเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามสามารถร้องเป็นรายกรณีได้ หากการดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย นายศักดากล่าวด้วยว่า แม้ 'นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน' ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ แต่มีความสามารถเฉพาะตัวในการการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ จึงได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ชี้ขาด เพียงแต่ให้ข้อมูลและไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องเห็นตามนั้น อย่างไรก็ตาม ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง โต้แย้งว่า ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญนั้นมีความเป็นไปได้ที่ศาลจะให้ความเชื่อถือมากกว่าคนทั่วๆ ไป และหากการแปลภาพถ่ายทางอากาศมีความผิดพลาดแต่ศาลกลับเชื่อถือ นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงาน นายวิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า กรณีกระบวนการของศาลปกครอง คณะกรรมการชาวบ้านของกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงซึ่งเข้าไปเป็นผู้ร้องสอดในคดีจะมีการติดตามความคืบหน้าต่อไป และจะพยายามขับเคลื่อนให้เกิดการบังคับใช้มาตรา 25 เหมือนดังที่ชาวบ้านได้ต่อสู้ เพื่อรักษาพื้นที่จากอุตสาหกรรมถลุงเหล็กมาโดยตลอด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การสละราชสมบัติของราชินีเบอาทริกซ์: สถาบันกษัตริย์กับสังคมการเมืองเนเธอร์แลนด์ Posted: 28 Apr 2013 05:50 AM PDT เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา ข่าวชิ้นหนึ่งสร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจระดับโลก เพราะเป็นวันที่ราชินีเบอาทริกซ์ หรือชื่อเต็มว่า เบอาทริกซ์ วิลเฮลมิน่า อาร์มฆาร์ท (Beatrix Wilhelmina Armgard) ในฐานะประมุขของรัฐ (Head of state) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) ประกาศสละราชสมบัติที่ครองมา 33 ปี ตั้งแต่ปีคศ.1980 ให้กับพระโอรสองค์โต วิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ (Willem-Alexander) พระชนมายุ 46 พรรษา ซึ่งเป็นการประกาศแบบที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนผ่านรายการทางโทรทัศน์ที่ถ่ายทำมาล่วงหน้า ก่อนที่จะถึงวันประสูตรของราชินีเองในวันที่ 31 มกราคมซึ่งมีพระชนมายุ 75 พรรษา โดยราชินีเองยังระบุด้วยว่าปีนี้เป็นในโอกาสที่ดีเพราะเป็นปีที่เนเธอร์แลนด์ครบรอบ 200 ปีที่ประเทศเปลี่ยนจากประเทศสาธาณรัฐ (Dutch Republic) เป็นราชอาณาจักรหรือมีสถาบันกษัตริย์นับจากปี 1814 เป็นต้นมา
พิธีขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งที่ผ่านมาเนเธอร์แลนด์ประกาศเป็นวันควีนส์เดย์ (Queen's Day) หรือ "โกนิงงิ่นเนอะดัค" (Koninginnedag) ในภาษาดัตช์ โดยเป็นวันเฉลิมฉลองวันประสูติของราชินีและเป็นวันหยุดราชการ ความจริงวันที่ 30 เมษายนนั้นไม่ใช่วันประสูติของราชินีเบอาทริกซ์ แต่เป็นวันประสูติของพระมารดาของพระองค์คือราชินียูลิอาน่า (Juliana) แต่พระองค์ยังคงให้ใช้วันนี้แทนวันเกิดของตนเอง เพราะเห็นว่ารูปแบบการเฉลิมฉลองที่ประชาชนมีส่วนร่วมในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง ดังนั้น วันที่ 30 เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิจึงเหมาะสมกว่าวันประสูติของพระองค์ที่อยู่ในฤดูหนาว ด้วยเหตุการณ์ที่น่าสนใจนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงประสบการณ์ขณะที่กำลังศึกษาต่อในประเทศนี้ และต้องอาศัยอยู่จนกว่าจะจบการศึกษา และเมื่อปีที่แล้วก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับการเฉลิมฉลองของคนดัตช์ในวันควีนส์เดย์ด้วย เมื่อวันนี้จะเยือนมาอีกครั้งและเป็นการเฉลิมฉลองวันควีนส์เดย์ที่ตรงกับวันที่ 30 เมษายนเป็นปีสุดท้าย เพราะผู้ที่จะมาเป็นประมุขของรัฐคนใหม่เป็นผู้ชาย จึงมีการเปลี่ยนวันเฉลิมฉลองเป็นวันคิงส์ เดย์ (King's Day) หรือ "โกนิงส์ดัค" (Koningsdag) ในภาษาดัตช์ เนื่องจากเป็นวันประสูติของกษัตริย์องค์ใหม่ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เมษายน และจะเริ่มฉลองวันนี้อย่างเป็นทางการในปี 2014 จากจุดนี้ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะบทบาทของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยการอ่านบทความและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ ประกอบกับข้อสังเกตบางประการและนำมาเขียนเป็นบทความชิ้นนี้ เนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) ซึ่ง Schnabel (2007: 34) เสนอว่า 200 กว่าประเทศในโลกใบนี้ อาจมีเพียงแค่ 10 ประเทศเท่านั้นที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยมันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง ซึ่งจำนวนจะไม่เพิ่มไปมากกว่านี้แน่นอนในศตวรรษที่ 21 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศที่มีสถาบันนี้อยู่จะยังคงอยู่อย่างนี้ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งน่าสนใจตรงที่ว่า หลังจากอ่านงานต่างๆที่พูดเรื่องเหล่านี้ พบว่ากษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์เกี่ยวโยงกับการเมืองของประเทศมาตลอด โดยเฉพาะช่วงที่ราชินีเบอาทริกซ์ขึ้นครองราชย์น ที่สถาบันกษัตริย์มีพัฒนาการอย่างน่าสนใจ คือสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ แต่กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอัตลักษณ์ดัตช์ด้วย (Tjeenk Willink 2007:6)
จากสาธารณรัฐสู่ระบบราชอาณาจักร
Tjeenk Willink อดีตนักวิชาการด้านกฎหมาย เคยทั้งทำงานราชการ เป็นหนึ่งในทีมผู้อาวุโสพรรคแรงงานของเนเธอร์แลนด์ และรองประธานการจัดงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ 25 ปีของราชินีเบอาทริกซ์ (The 25th jubilee of Queen Beatrix) กล่าวขึ้นต้นบทความของเขาอย่างน่าสนใจ พร้อมกับแสดงอาการรำคาญกับลักษณะเหล่านี้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่สนใจประวัติศาสตร์และสถาบันสาธารณะต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับการขับรถโดยไม่มีกระจกมองหลัง ซึ่งอันตรายมากสำหรับคนขับ และจะอันตรายยิ่งขึ้นเมื่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ที่คนมีความเห็นที่หลากหลายต่ออดีตอันสามัญของพวกเขา (ibid.) จากประวัติศาสตร์ น่าสนใจว่าเนเธอร์แลนด์ไม่ใช่ประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดมาก่อน ประเทศนี้สร้างความเป็นรัฐในปี 1579 ซึ่งเป็นรวมตัวกันต่อสู้ของกลุ่มคนในประเทศต่ำ (Low countries) เพื่อเป็นอิสระจากสเปนจนได้รับเอกราชในปีถัดมา ทำให้เนเธอร์แลนด์พัฒนารูปแบบเป็นสาธารณรัฐที่มีทั้งหมด 7 แคว้นตั้งแต่ช่วงปี 1579-1795 โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญของการทำหน้าที่รัฐบาลคือสภาฐานันดร (States-General) และมีผู้นำหรือผู้ครองเมือง (Stadholder) ทำหน้าที่คล้ายกับกษัตริย์ทั้งด้านการเมืองและการทหาร และทำหน้าที่ตามคำแนะนำหรือความเห็นของผู้นำในแคว้นต่างๆ หลังจากนั้นในปี 1795 เกิดปฏิวัติแบบไม่รุนแรงต่อต้านระบบขุนนาง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในช่วงนั้น ทำให้เนเธอร์แลนด์กลายเป็นรัฐเดี่ยว (Unitary state) แคว้นต่างๆถูกริดลอนอำนาจ แต่ระบบนี้ก็สิ้นสุดในปี 1908 เมื่อหลุยส์ นโปเลียน โบนาพาร์ท (Louis Napoléon Bonaparte) แห่งฝรั่งเศสเข้ามายึดครอง และปกครองเนเธอร์แลนด์ในฐานะ "สาธารณรัฐบาตาเวียน" (Batavian Republic) และต่อมาสาธารณรัฐปาตาเวียนได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรฝรั่งเศสในปี 1810 ในระหว่างปี 1812-1813 ฝรั่งเศสไม่สามารถควบคุมเนเธอร์แลนด์ได้อีก อันเนื่องจากขบวนการเสรีของดัตช์ที่ต้องการปกครองตนเอง และในที่สุดฝ่ายดัตช์ก็ได้รับชัยชนะ ในปี 1814 ได้มีการเชิญให้ Willem Frederik van Orange-Nassau ลูกชายของผู้นำคนสุดท้ายก่อนที่จะถูกฝรั่งเศสครองมาเป็นผู้นำคนใหม่ในฐานะ "องค์อธิปัตย์" (Sovereign Prince) ภายหลังได้เปลี่ยนสถานะเป็นกษัตริย์ ขณะเดียวกันก็ได้เปลี่ยนชื่อจากสาธารณัฐปาตาเวียนเป็นราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Kingdom of the Netherlands) (Willem Sap: 2010:5-6) ประเทศเนเธอร์แลนด์จึงเป็นประเทศที่แปลกตรงที่เป็นประเทศสาธารณรัฐแล้วกลายเป็นประเทศที่เป็นราชอาณาจักรโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ซึ่งในขณะนั้นถือว่าสวนทางกับประเทศมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสที่ปฏิวัติจากประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประเทศสาธารณรัฐ เนเธอร์แลนด์จึงมีระบบกษัตริย์ที่มีอายุน้อยมาก ถึงปัจจุบันมีอายุเพียง 200 ปีเท่านั้น กรณีของเนเธอร์แลนด์ สถาบันกษัตริย์เกิดขึ้นจากการปฏิวัติก่อนหน้าที่ทำให้กลายเป็นรัฐเดี่ยว และผู้นำไม่ได้เติบโตมาจากระบบฟิวดัล (Feudal) แต่สังคมดัตช์ดั้งเดิมก่อร่างจากสังคมชนชั้นกระฎุมพี (Von Der Dunk 2007: 86) กระทั่งทุกวันนี้คนดัตช์เองก็มองสังคมดั้งเดิมของตนเองแบบประชดประชันว่าก่อร่างสร้างตัวมาจากความเป็น "นักเทศน์-พ่อค้า" (Preacher-Merchant) ด้วยความที่ร่ำรวยจากการค้าทางทะเล หรือระบบตลาดโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นในสมองจึงคิดแต่กำไร แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะปรับตัวเองให้เข้าคุณค่าและคุณธรรมที่ดำรงอยู่ (Tjeenk Willink 2007: 6)
สถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญในหนังสือ "ราชินี นักประชานิยม และคนอื่นๆ" (The Queen, the Populists and the Others) เขียนโดยยาน วิลเลิม ซาป (Jan Willem Sap) นักกฎหมายมหาวิทยาฟรีอัมสเตอร์ดัม (Vrije Universiteit Amsterdam) ได้เขียนสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยสถาบันกษัติย์ และความสัมพันธ์ของกษัตริย์ไว้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่สนใจการเมืองเนเธอร์แลนด์ได้เข้าใจได้อย่างกระชับและได้ใจความ ซึ่งผู้เขียนขอสรุปจากหนังสือเล่มดังกล่าวดังนี้ ปัจจุบัน กษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์นั้นมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ คือใครจะเป็นกษัตริย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา การขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์ของประเทศเนเธอร์แลนด์จึงไม่ได้อยู่บนแนวคิดการประกอบพิธีราชาภิเษก (Being crowned) ที่ยึดโยงกับหลักศาสนา แต่เป็นการมอบตำแหน่งที่มีเกียรติให้ (Being invested) ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางโลก [2] ดังนั้น กษัตริย์จึงไม่ได้มีฐานะเป็นสมมติเทพหรือเทพประทาน (Grace of God) เพราะเนเธอร์แลนด์ไม่เคยมีการปกครองแบบสมบุรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) มาก่อน (Instituut voor Publiek en Politiek 2005: 5) พิธีมอบตำแหน่งให้กับกษัตริย์นั้นส่วนใหญ่จัดขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศ โดยกษัตริย์ต้องพิธีสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆของราชอาณาจักร หน้าที่ของกษัตริย์ที่ระบุในรัฐธรรมนูญคือเปิดประชุมสภา เป็นประธานการประชุมของสภารัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งเป็นองค์กรทำหน้าที่ออกพระราชบัญบัติและกฎหมายต่างๆ ลงนามในการออกกฎหมาย และเป็นผู้นำในการต้อนรับผู้นำหรือคณะทูตจากประเทศต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศในต่างแดน บทบาทอันหนึ่งที่น่าสนใจคือมีส่วนในการเลือกสรรบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือ Formateur ระบบธรรมภิบาลของเนเธอร์แลนด์จึงอยู่ในกำกับของรัฐบาลด้วย ไม่ใช่ตัวกษัตริย์เพียงคนเดียว แต่เป็นกษัตริย์ทำงานร่วมกับสภารัฐมนตรี เนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ที่ประเทศเปลี่ยนจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักรในปี 1814 และมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเรื่อยมาหลายครั้ง รัฐธรรมนูญปี 1848 ระบุชัดเจนถึงสถานะกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญในฐานะประมุขของรัฐ (Head of state) และระบุว่ากษัตริย์จะล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้ และต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ Second Chamber of Parliament แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ระบุให้มีการเสนอการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (Motion of confidence) จึงทำให้สถาบันกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ยังอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะในตอนนั้นกษัตริย์วิลเลิมที่ 2 (King Willem II) ตัดสินใจลาออกจากการเป็นกษัตริย์ระหว่างปี 1940-1949 ซึ่งเป็นที่ประทับใจมากท่ามกลางกระแสการปฏิวัติประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นทั่วยุโรป เป็นผลให้กษัตริย์วิลเลิมที่ 3 ครองราชย์ต่อมาในช่วงปี 1949 ถึง 1890 ช่วงนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตรย์และสภาผู้แทนฯถือว่าตกต่ำ สภาฯจึงต้องการคุมอำนาจโดยการเปลี่ยนระบบจากประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพร้อมด้วยระบบรัฐสภา (constitutional monarchy with a parliamentary system) และเสนอให้มีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจกษัตริย์ได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การครองราชสมบัติและสละราชสมบัติรัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์ปี 1887 นั้นประกาศให้ผู้หญิงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศได้ ในกรณีที่ไม่มีทายาทฝ่ายชายที่สืบเชื้อสายโดยตรงของกษัตริย์วิลเลิมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ออรานเยอ-นาเซา (Oranje-Nasau) และสามารถสรรหาจากผู้สืบเชื้อสายของเจาหญิงของราชวงศ์ออรานเยอ-นาเซา หรือถ้ายังไม่มีผู้สืบทอดอีกก็ให้สรรหาจากพี่น้องคนถัดจากเจ้าหญิงลงไป กรณีราชินีวิลเฮลมีนา (Wilhelmina) ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ขึ้นครองราชย์ในราชวงศ์ออรานเยอ ซึ่งเป็นการสืบทอดจากพ่อของเธอคือกษัตริย์วิลเลิมที่ 1 และราชินีวิลเฮลมีนาก็มีพระธิดาองค์เดียวคือราชินียูลีอานา (Juliana) ตอนนั้นมีแนวโน้มแล้วว่าคนที่จะสืบราชสมบัติต่อคือผู้หญิงอีก ทำให้ในปี 1922 เกิดความคิดที่จะจำกัดไม่ให้มีการสืบรัชทายาทผ่านสายผู้หญิง ส่วนญาติฝ่ายราชินีวิลเฮลมีนาเองก็ถูกห้ามไม่ให้สืบราชบัลลังก์ต่อเช่นกัน แต่ต่อมาในปี 1963 กฎนี้ก็ถูกยกเลิกไป ผู้หญิงกลับมาสืบราชสมบัติได้อีก และในปี 1983 แนวคิดให้ผู้ชายได้รับการสรรหาก่อนผู้หญิงก็ยกเลิกตามมา การขึ้นมาครองราชย์ของเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ในปี 2013 นี้จึงเป็นการให้ผู้ชายขึ้นมาเป็นกษัตริย์หลังจากที่เนเธอร์แลดน์มีผู้หญิงครองราชย์มา 123 ปี ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังระบุไว้ในมาตรา 28 ว่าหากกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์ที่อยู่ในสายที่จะสืบทอดราชสมบัติแต่งงานโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากกฎหมายของรัฐสภา ให้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นั้นสละราชสมบัติไปโดยปริยาย ซึ่งกรณีนี้จะมีการจัดประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ กรณีนี้เกิดขึ้นมาแล้วในกรณีของเจ้าชายโยฮัน ฟริโซ (Johan Friso) พระโอรสองค์ที่สองของราชินีเบอาทริกซ์ ซึ่งต้องการแต่งงานกับ มาเบิล วิสเซ สมิท (Mabel Wisse Smit) ซึ่งพบภายหลังว่ามีความสนิทคุ้นเคยกับนักค้ายาเสพติดรายหนึ่ง ทำให้ในเดือนตุลาคม 2003 นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นในฐานะประธานสภาฐานันดร (States-General) ประกาศไม่อนุมัติคำร้องขอแต่งงานของทั้งสอง โยฮัน ฟริโซต้องสละสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติ ปัจจุบันเขาไม่ใช่สมาชิกของพระราชวังแต่ยังถือว่าเป็นสมาชิกของเชื้อพระวงศ์อยู่ แต่มีการวิเคราะห์ภายหลังว่าการพิจารณาครั้งนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่เที่ยงตรง ส่วนการสละราชสมบัติของกษัตริย์ระบุไว้ในมาตรา 27 ว่ากษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ไม่สามารถสละราชสมบัติล่วงหน้า ราชินีวิลเฮลมีนาสละราชสมบัติขณะที่มีอายุ 68 ปี ราชินียูลีอานาเมื่ออายุ 71 ปี และล่าสุดราชินีเบอาทริกซ์เมื่ออายุ 75 ปี โดยที่ราชินีเบทริกซ์เคยเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าจะไม่สละราชสมบัติเร็วเกินไป เพราะต้องการให้เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ และเจ้าหญิงแม็กซิมา ซอร์เรกีเอต้า (Máxima Zorreguieta) พระชายา ได้มีโอกาสใช้เวลากับครอบครัวให้เพียงพอ (Willem Sap: 2010: 27) การสละราชสมบัติของกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ถือว่าเป็นประเพณีที่แตกต่างจากอังกฤษ เพราะมีการถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยราชินีวิลเฮลมีน่า และการสละราชสมบัติก็ต้องได้รับการอนุมติจากคณะรัฐมนตรีเช่นกัน ขณะเดียวกัน ผู้สืบทอดราชสมบัติถูกพิจาณาให้พ้นออกจากตำแหน่งได้ โดยรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ 3 กรณี 1.ผู้นั้นอายุยังไม่ถึง 18 ปี 2.เมื่อสภารัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้นั้นไม่สามารถใช้อำนาจของกษัตริย์ได้ โดยต้องมีการรายงานการพิจารณาตรงนี้ไปยังสภาฐานันดร ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (Council of states) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาของรัฐบาลเสียก่อน โดยสภาฐานันดรต้องเปิดประชุมและต้องมีการแจกจ่ายรายงานของสภารัฐมนตรีเพื่อการพิจารณา การแถลงรายงานดังกล่าวทำโดยประธานของที่ประชุมและมีผลทันที ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะเพื่อรองรับผลตรงนี้ แต่ต้องมีกฎหมายรองรับหากต้องการเปลี่ยนแปลงคำแถลงกรณีที่กษัตริย์องค์นั้นจะกลับมาดำรงตำแหน่งอีก กรณีที่กษัตริย์เจ็บป่วยหรือหายตัวไปเป็นระยะเวลานานนำไปสู่การประกาศให้พ้นออกจากตำแหน่งได้เช่นกัน ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ เมื่อกษัตริย์วิลเลิมที่ 3 ล้มป่วยในปี 1889 และ 1890 และ 3.กษัตริย์สามารถที่จะสละอำนาจของกษัตริย์เป็นการชั่วคราวและกลับมาใช้อำนาจใหม่ได้ โดยที่สภาฐานันดรจะเป็นผู้ตัดสินใจในที่ประชุม กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นกับราชินีวิลเฮลมีน่าที่อาการป่วยนำไปสู่การที่อำนาจของกษัตริย์ถูกเพิกถอน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่มีผลในทางปฏิบัติในวันที่ 10 ตุลาคม 1947 และมาตรา 38 ระบุว่ากรณีที่ไม่มีกษัตริย์ อำนาจของกษัตริย์จะอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่มาตรานี้ยังมีข้อถกเถียงตรงที่ว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าใครจะเป็นผู้ตัดสินในกรณีดังกล่าวว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องปฏิบัติหน้าที่แทนกษัตริย์ ซึ่งอนุมานกันว่าหน้าที่ตกอยู่กับสภารัฐมนตรีโดยการปรึกษาหารือกับสภาฐานันดร ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เพราะกษัตริย์ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งประเด็นนี้จะอธิบายในส่วนต่อไป
สถาบันกษัตรย์กับการเมืองอย่างที่กล่าวไปแล้วว่ากษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์มีบทบาทหน้าที่ในการสรรหาผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี (Formateur) และคนสรรหานายกรัฐมนตรีหรือพิจารณาการจัดตั้งรัฐบาล (Informateur) ที่ทำหน้าที่ควบคู่กับกษัตริย์ นอกจากนี้ กษัตริย์เนเธอร์แลนด์ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลที่ประกอบด้วยกษัตริย์และรัฐมนตรีหนึ่งคนเป็นต้นไปเพื่อสร้างอำนาจของฝ่ายบริหาร โดยกษัตริย์มีสถานะเป็นประมุขของรัฐ ตรงนี้ไม่ได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแต่มีการปฏิบัติเป็นประเพณีมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ (Willem Sap: 2010: 20) ซึ่งตรงนี้เป็นจุดบอดของกฎหมายรัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์ บทบาทที่ลักลั่นนี้ปรากฏชัดในโอกาสที่ราชินีเบอาทริกซ์ต้องทำหน้าที่ในวันกล่าวพระราชดำรัสของราชินี (Queen's speech Day) หรือ Prinsjesdag ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในวันอังคารที่สามของเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการกล่าวข้อความจากกษัตริย์ที่ร่างขึ้นร่วมกับการกล่าวนโยบายของรัฐบาลก่อนที่จะมีการเปิดประชุมรัฐสภา ซึ่งหน้าที่ตรงนี้ระบุในมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญ บทบาทในการเป็นประมุขของรัฐนี้ค่อนข้างขัดกับสิ่งที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า "สถาบันกษัตริย์คืออะไหล่ที่อยู่หลังระบบ" (Engine behinds the system) (Willem Sap 2010: 19) เช่นมาตรา 42 ว่าด้วยการไม่ก้าวล่วงทางการเมืองของกษัตริย์ ความเห็นของกษัตริย์ต้องเก็บเอาไว้เป็นความลับ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กษัตริย์ถือว่ามีอำนาจในฐานะที่เป็นสวนหนึ่งของรัฐบาล เพียงแต่ต้องอยู่หลังประตูที่ถูกปิดไว้ ในทางปฏิบัติกษัตริย์ดัตช์มีการประชุมประจำสัปดาห์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในขณะเดียวกันมีกฎที่ไม่ได้เขียนเอาไว้ว่า รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบกรณีที่หน้าที่ของตัวแทนและการกระทำอื่นๆของกษัตริย์นั้นส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์สาธารณะ ด้วยมาตรานี้จึงส่งผลให้รัฐมนตรีต่างๆไม่สามารถปกป้องนโยบายของรัฐบาลด้วยการอ้างว่าเป็นแนวคิดของราชินีโดยเด็ดขาด ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบต่อนโยบายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ความรับผิดชอบรวมไปถึงการกระทำที่เป็นส่วนตัวของเชื้อพระวงศ์ด้วย บทบาทของสถาบันกษัตริย์จะอ่อนแอลงก็ต่อเมื่ออำนาจของสภาผู้แทนราษฎรเข้มแข้ง ในทางปฏิบัติการทำงานของสถาบันกษัตริย์และรัฐสภามีการถ่วงดุลกันตลอด หากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างสองสถาบัน การณ์จะเป็นลักษณะที่ว่ารัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีลาออก เช่นเดียวกัน กษัตริย์สามารถที่จะได้รับการประกาศว่าขาดศักยภาพในการบริหารอำนาจของกษัตริย์ได้ ซึ่งเพื่อเป็นการสืบทอดราชวงศ์ให้อยู่ต่อไป ทำให้กษัตริย์ต้องพยายามที่จะทำตามเจตนารมย์ของคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเมืองรัฐสภา แต่ก็ยังมีช่องทางที่ราชินีสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศได้เช่นกัน (Willem Sap 2010:38-39) การสร้างสมดุลทางอำนาจระหว่างกษัตริย์และรัฐสภานั้น มีให้เห็นเป็นตัวอย่างเมื่อเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ต้องการแต่งงานกับแม็กซิมา ซอร์เรกีเอต้า ในปี 2002 ซึ่งสาธารณะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเข้มข้นถึวความเหมาะสม เนื่องจากบิดาของแม็กซิมา เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรสมัยเผด็จการนายพลจอร์จ ราฟาเอล ฟิเดลา (Jorge Rafael Videla) ที่ยึดครองอำนาจประเทศอาเจนตินา ช่วงทศวรรษ 1970 และทำให้เกิดการฆ่าผู้คนตายถึง 30,000 คน ในที่สุดปัญหาของเรื่องนี้จบลงตรงที่บางส่วนของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ทั้งสองเข้าพิธีสมรสได้ภายใต้ในเงื่อนไขที่ว่าบิดาของแม็กซิมาต้องไม่ปรากฏตัวในพิธีสมรส (Willem Sap 2010: 30) ในทางกลับกัน ราชินีเบอาทริกซ์ก็เข้ามามีอิทธิพลในทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดและสาธารณชนก็รับรู้ ล่าสุดมื่อสมัยเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2010 ซึ่งเกียท วิลเดอรส์ (Geert Wilders) ผู้นำพรรคการเมืองเพื่อเสรีภาพ (Partij voor de Vrijheid – PVV) ที่ชูจุดยืนเรื่องการลดอาชญากรรมด้วยการลดจำนวนคนเข้าเมือง (Immigrants) และลดความสำคัญของความเป็นอิสลาม ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจว่าในการเลือกตั้งครั้งนั้นมีผู้ให้การสนับสนุนพรรคของวิลเดอร์มากขึ้นกว่าการเลือกตั้งในปี 2006 โดยได้รับการเลือกตั้งถึง 24 ที่นั่งจากทั้งหมด 150 ที่นั่งของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งแม้จะไม่ใช่พรรคที่มีเสียงมากที่สุด แต่ก็ถือว่าได้รับชัยชนะมากที่สุด เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่พรรคนี้ได้รับเลือกเพียง 9 ที่นั่ง ในขณะนั้นพรรคที่ได้รับเลือกตั้งสูงสุดคือพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย (Volkspartij voor Vrijheid en Democratie - VVD ) ที่ได้ 31 ที่นั่ง ตามด้วยพรรคแรงงาน (Partij van de Arbeid-PvdA) ที่ได้ 30 ที่นั่ง ตอนนั้นพรรคของวิลเดอร์ซึ่งได้อันดับสามสามารถต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ แต่เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าราชินีเบอาทริกซ์ไม่นิยมชมชมในตัววิลเดอร์เพราะไม่ต้องการให้แนวคิดอนุรักษ์นิยม ขวาสุดโต่งของเขาเข้ามาครอบงำรัฐบาล ก่อนหน้านี้ราชินีเบอาทริกซ์มักแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในกรณีที่ให้เคารพความแตกต่างของสังคมที่เต็มไปด้วยชนกลุ่มน้อย รวมทั้งกรณีที่ประชาชนต่อต้านการแต่งงานของวิลเลม-อเล็กซานเดอร์กับแม็กซิมา พระองค์เองก็ได้ย้ำแนวคิดนี้อีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ราชินีแสดงความจำนงอย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการให้พรรคของวิลเดอร์เข้าร่วมรัฐบาลผสม ถึงขั้นมีข่าวลือเป็นเดือนๆว่าราชินีเลื่อนการสละราชสมบัติออกไปเพื่อให้การเลือกตั้งปี 2010 ผ่านไปเสียก่อน เพราะต้องการดับความทะเยอทะยานของวิลเดอร์ที่จะเป็นรัฐบาล กรณีนี้ทำให้เกิดความไม่พอในอย่างมากทั้งวิลเดอร์เองและนักกฎหมายในแง่ที่ว่าราชินีเข้ามาขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาล และสกัดกั้นไม่ให้วิลเดอร์เป็นพรรคหนึ่งที่จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าไม่เคารพในการตัดสินใจของประชาชนที่เลือกพรรคของวิลเดอร์ การเมืองของเนเธอร์แลนด์น่าสนใจตรงที่ว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดจะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล บางครั้งเสียงที่ประชาชนออกมาเลือกนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของพวกเขาแม้ว่าพรรคที่เลือกจะได้รับเสียงข้างมาก เพราะการเจรจาต่อรองนั้นเกิดขึ้นและก็เป็นความลับจนหาร่องรอยของผลการเจรจาแทบไม่ได้ก็มี การจัดตั้งรัฐบาลในปี 2010 วุ่นวายมากเพราะพรรคที่ได้รับเลือกตั้งสูงสุดอย่างพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยปฏิเสธที่จัดตั้งรัฐบาลกับพรรคแรงงานเพราะต้องการจัดตั้งรัฐบาลที่ออกไปทางซ้ายเสรีนิยม แต่ก็ลงตัวตรงที่ราชินีเบอาทริกซ์ขอให้มาร์ค รุทเท (Mark Rutte) หัวหน้าพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ยอมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคอุทธรณ์ประชาธิปไตยคริสเตียน (Christen-Democratisch Appèl-CDA) ซึ่งเป็นพรรคที่อนุรักษ์นิยมเหมือนกัน แต่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคของวิลเดอร์ ทำให้รัฐบาลมีลักษณะเป็นกลาง คือไม่ซ้ายหรือขวาจัด (Willem Sap 2010: 53-56) ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ทำให้เห็นบทบาทของราชินีที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์ว่าเป็นการสร้างเสถียรภาพให้รัฐบาลและประเทศก็ตาม แต่ในเดือนเมษายน 2012 มาร์ค รุทเท ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อราชินีเบอาทริกซ์ เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาด้านงบประมาณให้เป็นไปตามเกณฑ์ของสหภาพยุโรป [3] แต่ รุทเทก็ได้ชัยชนะอีกครั้งจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2012 คราวนี้พรรคฝ่ายซ้ายหรือเสรีนิยมของนายรุทเทได้คะแนนท่วมท้นถึง 41 ที่นั่ง ตามด้วยพรรคแรงงานที่ได้ 39 ที่นั่ง รวมที่นั่งของทั้งสองพรรคอยู่ที่ 80 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐบาลผสมไม่ต้องใช้เวลามากเหมือนการเลือกตั้งปี 2010 ส่วนพรรคของวิลเดอร์กลับคะแนนตกเหลือเพียง 15 ที่นั่งจาก 24 ที่นั่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2010 ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าคนดัตช์ไม่เอานโยบายสุดโต่งที่ต่อต้านมุสลิมและการรวมตัวกันของประเทศยุโรปของนายเกียรท์ นอกจากนี้เห็นว่าคนดัตช์เบื่อหน่ายกับผลการเลือกตั้งที่เอียงไปฝ่ายซ้ายหรือขวาอย่างชัดเจนเพียงฝ่ายเดียว และไม่ต้องการผลการเลือกตั้งที่มีคะแนนสูสีจนทำให้เกิดการต่อรองเจรจาในการจัดตั้งรัฐบาลเหมือนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา [4]
การเฉลิมฉลองวันควีนส์เดย์ราชินีเบอาทริกซ์กำลังจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันควีนส์เดย์ที่ตรงกับวันที่ 30 เมษายนเป็นปีสุดท้าย วันเกิดของราชินีในความหมายนี้ทำให้ความเป็นตัวตนแยกออกจากราชราชสำนัก และวันนี้ผู้คนก็จะใส่เสื้อสีส้มฉลองกันทั่วประเทศ เพราะสีส้มซึ่งเป็นสีประจำราชวงศ์ออรานเยอ-นาเซา (Oranje-Nasau) (oranje แปลว่าส้มในภาษาดัตช์) สีส้มของราชวงศ์เลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของประชาชนไปแล้ว (Schnabel 2007: 34) ขณะที่วิเคราะห์ว่าสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์เนเธอร์แลนด์นั้นถือว่าเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ชาติที่แน่นแฟ้นที่สุดในบรรดาประเทศในยุโรป (Blockmans 2007: 131) วันควีนส์เดย์นั้นเฉลิมฉลองกันมายาวนาน โดยงานศึกษาของ Komter (2007) ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจถึงระยะห่างและความใกล้ชิดของสถาบันกษัตริย์และประชาชนผ่านพิธีกรรม โดยส่วนหนึ่งได้วิเคราะห์การเฉลิมฉลองวันควีนส์เดย์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างน่าสนใจ การฉลองวันควีนส์เดย์นั้นเริ่มมีตั้งแต่สมัยที่ราชินีวิลเฮลมีน่า ในปี 1885 แต่ขณะนั้นยังเป็นประเพณีการเฉลิมของวันเจ้าหญิง (Princess Day) เพื่อให้เกิดการสืบต่อจากการเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์วิลเลมที่ 1 ผู้เป็นพ่อ ซึ่งตอนนั้นประชาชนพยายามจัดกิจกรรมรื่นเริง ทั้งการเดินพาเหรด เล่นเกม แสดงดนตรี และจุดดอกไม้ไฟ เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ ในขณะนั้น ผู้ที่เป็นกษัตริย์ไม่ได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์หรือส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองนี้ ถือเป็นการเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นโดยประชาชนเพียงฝ่ายเดียว ความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์และประชาชนยังมีไม่มากนัก รูปแบบเริ่มเปลี่ยนไปในสมัยราชินียูลีอานา ที่สมาชิกเชื้อพระวงศ์ทั้งหมดมารวมตัวกันที่ขั้นบันไดของพระราชวัง Soesdijk และมารับพระราชทานของที่ระลึกจากประชาชน ซึ่งระยะห่างระหว่างสถาบันกับประชาชนอาจมีน้อยลงในสมัยนี้ (Komter.2007: 63-64) รูปแบบนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในยุคของราชินีเบอาทริกซ์ เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ประชาชนจะเป็นคนไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ แต่สมัยราชินีเบอาทริกซ์เป็นลักษณะที่กษัตริย์ไปหาประชาชน โดยราชินีเบอาทริกซ์มีกำหนดการเดินทางไปยังเมืองต่างๆในแคว้นต่างๆทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเลือกเดินทางไปอย่างน้อย 2 เมืองในแต่ละปี โดยประเพณีปฏิบัตินี้เริ่มขึ้นในปี 1981 ประชาชนในเมืองที่ราชินีเสด็จเยือนก็ต้องเตรียมการต้อนรับเพื่อทำให้วันนี้เป็นวันที่รื่นเริงของกษัตริย์ที่สุดด้วย ราชินีร่วมร้องเพลง เต้นรำ หรือทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับประชาชน ขณะที่เจ้าหญิงและเจ้าชายองค์อื่นๆก็ร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่น่าประทับใจสำหรับประชาชนคือเจ้าชายเมาริทซ์ (Maurits) ได้ร่วมรีดนมแพะด้วยมือกับชาวบ้าน กลายเป็นว่าประชาชนไม่ได้ถวายอะไรกับกษัตริย์เพียงอย่างเดียว แต่กษัตริย์กลับต้องเป็นผู้ให้คืนด้วย เป็นลักษณะการให้ต่างตอบแทน (reciprocal relationship) ทำให้เกิดความผูกพันและสร้างเงื่อนไขข้อตกลงขึ้น (ibid.) นี่คือการวิเคราะห์ของนักวิชาการที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการเฉลิมฉลองวันควีนส์เดย์ที่เปลี่ยนไป และซ่อนนัยยะของความห่างและใกล้ชิดของสถาบันกษัตริย์และประชาชนเอาไว้ ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้นขอเล่าประสบการณ์สั้นๆที่ได้มีโอกาสร่วมฉลองวันดังกล่าวปี 2012 ที่อัมสเตอร์ดัมซึ่งเป็นเมืองที่ผู้เขียนอยู่ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสเห็นการเฉลิมฉลองวันเกิดของกษัตริย์ที่ได้เห็นบรรยากาศบ้าบอ (crazy) ของคนดัตช์มากที่สุด เพราะไม่มีพิธีเกี่ยวกับราชวังมากมายนัก คนดัตช์เองก็เหมือนทำกิจกรรมสนุกสนานกลางแจ้ง กิน เล่น เต้น ร้องเพลง ดื่มแอลกอฮอล์และเมากันอย่างคึกคัก แต่ที่เห็นชัดคือทุกคนจะพร้อมใจกันใส่เสื้อสีส้มกันเต็มเมือง พร้อมอุปกรณ์ตกแต่งอย่างวิกผม แว่นตา หรือของบรรดามีที่พร้อมจะทำให้เกิดความบ้าบอมากกว่าจะเคร่งขรึมสำรวม อย่างไรก็ตาม มีบ้างบางคนที่ปฏิเสธจะใส่เสื้อสีส้มเพื่อแสดงอัตลักษณ์ดัชต์ เพื่อนของผู้เขียนก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาบอกกับผู้เขียนถึงเหตุผลที่ไม่ใส่เสื้อสีส้มในโอกาสนี้ว่า "เพราะสีส้มเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งฉันไม่ต้องการที่จะแสดงตรงนี้เชื่อมโยงตนเองเข้ากับสถาบัน"
อีกบรรยากาศที่น่าสนใจคือ แม้จะเป็นวันเกิดของราชินี แต่ประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือล้อเลียนราชินีได้อย่างไม่มีปัญหาอะไรตราบใดที่ไม่เข้าข่ายข้อหาหมิ่นประมาท เช่น ตัวอย่างโปสเตอร์ที่ล้อเลียนราชินีด้วยการทำเป็นโฆษณาการแสดงเรื่อง "God Save the Queen" ดังภาพข้างล่าง
ส่วนอีกภาพเป็นบรรยากาศล้อเลียนราชินีเบอาทริกซ์ โดยคนในรูปที่ยืนหลังป้ายคัทเอาต์ที่เขียนชื่อของราชินีไว้ ข้างหลังเป็นรูปวาดของราชินีเหมือนนั่งชมเกมนี้อยู่ ส่วนที่พื้นตรงบริเวณพรมแดงเขียนเป็นภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยได้ว่า "เชิญเข้ามาชมกษัตริย์รอยสัก" ผู้ชายในภาพชวนคนที่เดินผ่านไปมาบนท้องถนนเล่นเกมด้วยการให้ปาไข่ให้โดนส่วนใบหน้าของเขา จะเห็นว่าในภาพเขาโดนไข่ปาใส่หน้าอย่างจัง และที่พื้นก็เต็มไปด้วยเปลือกไข่และคราบไข่ที่แตกแล้วเต็มไปหมด จะเห็นว่าคนสร้างเกมนี้ให้เป็นความสนุกสนาน ซึ่งคนดัตช์สามารถทำได้อย่างเปิดเผยโดยไม่ผิดกฎหมายใดๆเลย และคนที่เข้าร่วมก็ร่วมเล่นเกมอย่างครึกครื้นได้อย่างไม่มีปัญหาเช่นกัน
สถาบันที่แตะต้อง-วิพากษ์วิจารณ์ได้ดังที่กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นั้นทำได้ภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ เนเธอร์แลนด์ไม่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีเพียงกฎหมายหมิ่นประมาทที่ใช้กับคนที่ทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2003 ที่มีคนสองคนหมิ่นประมาทเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ และเจ้าหญิงแม็กซิมา และอีกคนหนึ่งทำพลการด้วยการเอาสีไปทารถม้าที่ใช้ในงานเฉลิมฉลองอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์ ทั้งสองกรณีนั้นผู้กระทำผิดต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 250 ยูโร และอีกกรณีในปี 2007 ศาลอัมสเตอร์ดัมได้ตัดสินให้ชายคนหนึ่งผิดด้วยข้อหาหมิ่นประมาทราชินีและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้วยการจ่ายค่าปรับจำนวน 400 ยูโร และถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทนั้นระบุไว้ในกฎหมายอาญาตั้งแต่ปี 1881 โดยมีโทษสูงสุดในข้อหาหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์คือจำคุก 5 ปี ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้บนพื้นฐานของเสรีภาพของการแสดงออก (Free speech) ที่เห็นว่าโทษนี้มากเกินไปเมื่อเทียบกับโทษสูงสุด 2 ปี ที่เป็นการหมิ่นประมาทระหว่างประชาชนเอง แล้ววิพากษ์วิจารณ์อะไรได้บ้าง เรื่องหนึ่งคือการใช้เงินงบประมาณของราชินีและสมาชิกบางพระองค์ ในรัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์และพระราชบัญญัติการเงินของราชวัง (Royal House Finance Act) ระบุว่างบประมาณส่วนนี้จ่ายโดยตรงต่อราชินีเบอาทริกซ์ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ และพระชายา เจ้าหญิงแมกซิมา ขณะที่เชื้อพระวงศ์องค์อื่นๆไม่ได้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.ส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานของราชวัง 2.ส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ และ 3.ส่วนที่เกี่ยวกับรายได้ของทั้งสามพระองค์ โดยที่ทั้งสามไม่ต้องเสียภาษีจากรายได้ในส่วนนี้ ตารางข้างล่างแสดงค่าใช้จ่ายประเมินค่าของทั้งสามพระองค์ในปี 2008
(แปลจาก Willem Sap 2010:16)
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 อดีตนายกรัฐมนตรีคลัง เกอริท ซาล์ม (Gerrit Zalm) ได้นำเสนอรายงานว่ากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ใช้จ่ายเป็นจำนวนถึง 39 ล้านยูโรต่อปี โดยได้ตีความไว้แล้วว่ากษัตริย์ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ที่เป็นรัฐประชาธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม เพราะฉะนั้นต้องราชินีเบอาทริกซ์ต้องยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ได้ นอกจากนี้ ในแวดวงของวิชาการก็น่าสนใจ เพราะมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่สนใจศึกษาบทบาทของสถาบันกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ในปี 2005 มีการจัดประชุมวิชาการอย่างเป็นทางการ 2 วัน ที่เมืองโกรนิงเกอ (Groningen) เกี่ยวกับประเด็นนี้หัวข้อ "ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเนเธอร์แลนด์ท่ามกลางยุโรปในความเปลี่ยนแปลง" (The Dutch constitutional monarchy in a changing Europe) ในวาระโอกาสที่ราชินีเบอาทริกซ์ครองราชย์ครบรอบ 25 ปี ซึ่งหนึ่งในนักวิชาการกลุ่มนี้อย่าง Van Den Berg (2007:69) ก็ยอมรับในบทความของเขาว่าหากเป็น 25 ปีก่อน การจัดประชุมวิชาการเช่นนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ในปี 1966 มีการจัดงานประชุมลักษณะนี้ที่เมืองไนเมเกอ (Nijmegen) และมีการบรรยายเรื่องนี้ในอัมสเตอร์ดัมปี 2000 แต่เนื้อหาไม่เข้มข้นเป็นทางการเหมือนในปี 2005 รวมถึงมีวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสถาบันกษํตริย์ในยุโรปในศตวรรษที่ 19 ของ Jaap van Osta ซึ่งต่อมาเขาเป็นบรรณาธิการประจำฉบับของวารสาร Maatstaf ที่รวบรวมเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ และวารสารฉบับพิเศษอีกเล่มคือ Amsteram Sociologisch Tijdschrift ในปี 1989 ซึ่งเขาเห็นว่าความสนใจในการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์นั้นมาจากนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และกฎหมายในช่วงปี 1980 แต่ไม่ได้อยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งเท่าช่วงทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ความสนใจใคร่รู้ของนักวิชาการที่เพิ่มขึ้นอาจจะไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้บรรยากาศวิชาการเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยหลักที่สำคัญคือบทบาทหน้าที่ของราชินีเบอาทริกซ์ในนามของสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญ นั่นคือการที่ราชินีเองก็ทันสมัยพอที่จะยอมให้เป็นหัวข้อในการศึกษาทางวิชาการ (ibid 2007:71) นอกจากจะวิพากษ์วิจารณ์ได้ในขอบขายที่ไม่ใช่การหมิ่นประมาท ประชาชนยังล้อเลียนสถาบันกษัตริย์ได้เช่นกัน มีหนังสือเล่มหนึ่งสร้างความตกใจกับผู้เขียนไม่น้อยเมื่อเห็นหน้าปกครั้งแรกที่ร้านหนังสือ หนังสือเล่มนี้ชื่อ "เบอาทริกซ์...70 ปีเล่าเรื่องด้วยภาพ" (Zeventig Jaar in Beeld) เขียนเป็นภาษาดัตช์ รวบรวมโดย Carl Nix เป็นเรื่องราวเกี่ยวประวัติของราชินีเบอาทริกซ์ที่จัดทำขึ้นในโอกาสที่มีพระชนมายุครบ 70 ปี โดยรวบรวมภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพบนสแตมป์ ภาพล้อเลียน หรือการ์ตูนล้อการเมือง เริ่มตั้งแต่หน้าปกหนังสือที่เป็นรูปวาดของ Paul van der Steen ซึ่งทำขึ้นในโอกาสที่ราชินีครบรอบ 70 ปี และเมื่อเปิดไปในเล่ม ก็ทำให้รู้ว่าราชินีเป็นหนึ่งในบุคคลที่สามารถวาดภาพล้อเลียน เสียดสี หรือทำให้ตลกขบขันได้ บางรูปวาดหน้าราชินีเหมือนลิงไม่ผิดเพี้ยน เมื่อเห็นอย่างนั้น ผู้เขียนเลยซื้อกลับมาเป็นที่ระลึกหนึ่งเล่ม และด้วยราคาที่ลดถึง 70% แม้ว่าจะเป็นภาษาดัตช์ก็ตาม
หรือล่าสุด หลังจากที่ราชินีเบอาทริกซ์ประกาศสละราชสมบัติแล้ว และเมื่อใกล้จะถึงวันที่ 30 เมษายนซึ่งจะเป็นวันที่จะมีพิธีแต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่อย่างเป็นทางการ คณะละครคณะหนึ่งได้จัดการแสดงละครเวทีเรื่อง เรื่อง "เบอาทริกซ์และนายกรัฐมนตรีทั้ง 5" (Beatrix en de Premiers) ที่ศูนย์วัฒนธรรมและการแสดงแห่งหนึ่งในเมืองอัมสเตอร์ดัม เพื่อให้เข้ากับบรรยาการการสละราชสมบัติของราชินีเบทริกซ์ ผู้เขียนบทละครจึงสร้างเรื่องราวของราชินีว่าเบอาทริกซ์ กับนายกรัฐมนตรีทั้ง 5 คนที่ทำงานในช่วงที่ราชินีครองราชย์ [5] ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดทำให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของเนเธอร์แลนด์นั้นเป็นสถาบันที่วิพากษ์วิจารณ์และแตะต้องได้อย่างแท้จริง
สถาบันกษัตริย์ดัตช์ในยุคสมัยใหม่ในบทความของ Shenbel (2007:29) ได้นำผลสำรวจในปี 2004 ของสำนักงานวางแผนทางสังคมและวัฒนธรรมของเนเธอร์แลนด์ (Social and Cultural Planning Office) ที่ทำการสำรวจความเห็นของคนดัตช์ โดยถามว่าคิดว่าวัฒนธรรมหรือประเพณีอะไรของคนดัตช์ที่น่าจะหายไปในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการถามถึงความคาดหวังมากว่าความปรารถนาหรือความกังวลหรือเกรงกลัว โดย 29% ตอบว่าพระราชวัง แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่ามีคนจำนวนหนึ่งไม่ต้องการสถาบันกษัตริย์ ขณะที่ 50% ของผู้ตอบสำรวจต้องการให้กองทัพไม่มีอยู่ และอีก 36%เสนอว่าต้องการให้ศีลธรรม (Morals) หรือจารีต (Customs) บางอย่างจางหายไป และอีก 28% คือความเป็นดัตช์ (Being Dutch) ซึ่ง Shenbel มองว่าแทบจะเป็นไม่ได้เลยที่จะเป็นเหตุบังเอิญที่คนรวมเอาราชวังก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นดัตช์ด้วย และที่มีสัดส่วนไม่น้อยคือ 23% เห็นว่าเนเธอร์แลนด์ในฐานะที่เป็นรัฐอิสระ (Independent state) เพราะการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรปที่ทำให้เนเธอร์แลนด์ต้องเป็นไปตามกฎกติกาขององค์กรระดับภูมิภาค และปรากฏการณ์โลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ที่เห็นว่าภาษาดัชต์จะหายไป คิดเป็น 8% และอีก 4% คือการปฏิบัติแบบดัตช์ (Dutch treats) นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจความเห็นของคนดัตช์จำนวน 1,000 คน โดยสถาบันมอริซ เดอ ฮอนด์ (Maurice de Hond) (อ้างใน Willem Sap 2010:31) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2008 ว่าต้องการให้เนเธอร์แลนด์เป็นสาธารณรัฐหรือไม่ ปรากฏว่า
จากผลสำรวจที่พบว่าจำนวน 5% ที่เพิ่มขึ้นที่ต้องการให้เนเธอร์แลนด์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐนั้น มีการวิเคราะห์ว่าส่วนหนึ่งมาจากความนิยมของเกียท วิลเดอร์ การเมืองเพื่อเสรีภาพ (Partij voor de Vrijheid – PVV) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเขาต้องการให้ราชินีเบทริกซ์ถอนตัวจากรัฐบาล วิลเดอร์เป็นผู้ที่มีแนวคิดขวาสุดขั้ว ในแง่ที่มีความเป็นชาตินิยมสูง ต่อต้านการรวมตัวของประเทศยุโรป และความเป็นอิสลาม (Ibid.) ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนมองว่าทัศนคติของคนอนุรักษ์นิยมแบบเขากลับไม่ต้องการให้กษัตริย์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่สิ่งที่ดั้งเดิมของเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าผลสำรวจที่เสนอว่าความต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่นั้นลดลง ถึงกระนั้น ราชินีเบอาทริกซ์และเชื้อพระวงศ์ปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมในหมู่คนดัตช์พอสมควร Van Den Berg (2007: 70) วิเคราะห์ว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะราชวงศ์รู้ตัวว่าต้องปรับตัวและพยายามใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ราชินีเบอาทริกซ์รู้ว่ากลุ่มคนที่จะไม่พอใจกับสถาบันกษัตริย์มากที่สุดคือกลุ่มชนชั้นกลางและปัญญาชนต่างๆ ดังนั้นราชินีและเจ้าชายเคราส์ สวามีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่พยายามที่มีบทบาทและสร้างผลงานเอาใจกลุ่มปัญญาชนและชนชั้นกลางที่ชื่นชอบศิลปะด้วยการปรากฏตัวที่พระราชวังที่อัมสเตอร์ดัมในโอกาสสำคัญ หากประทับที่กรุงเฮกหรือเดน ฮาก (Den Haag) และสร้างพื้นที่อัมสเตอร์ให้เป็นเมืองหลวงของประชาชน แล้วใช้กรุงเฮกเป็นศูนย์กลางราชการและวังของเจ้า นอกจากนี้ก็ให้การสนับสนุนศิลปะแขนงต่างๆ เช่นจัดคอนเสิร์ตที่กรุงเฮก สนับสนุนศิลปะการเต้น และอนุญาตให้ศิลปินเป็นผู้ตัดสินใจและเลือกแบบการปรับปรุงตกแต่งประสาทนอร์ดอายเด (Noordeinde Palace) ซึ่งเป็นพระราชวังสำหรับทรงงานของราชินีเบอาทริกซ์ตั้งแต่ปี 1984 [6] หรือล่าสุดที่เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์บีบีซีว่า เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วประชาชนยังสามารถเรียกเขาด้วยชื่อดั้งเดิมคือวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์มากกว่ากษัตริย์วิลเลิมที่ 4 เพราะเหมือนกับตัวเขากลายเป็นตัวเลข นอกจากนี้ ยังย้ำถึงบทบาทของกษัตริย์ที่จะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และทำตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ [7] ขณะเดียวกัน คนดัตช์รู้สึกได้ว่า สถาบันกษัตริย์ก็เหมือนคนธรรมดาทั่วไป เป็นแค่ดาราดังที่ไม่ต่างอะไรกับดาราฮอลลีวู้ด อย่างที่ผู้เขียนสังเกตที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซ (Madame Tussauds) ที่อัมสเตอร์ดัมก็มีหุ่นของราชินีทุกพระองค์ให้คนเข้าไปถ่ายรูปได้ โดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม หรือตัวอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้าเกี่ยวกับการเสด็จเยือนไปเยี่ยมประชาชนในวันควีนส์เดย์ของราชินีเบอาทริกซ์ Von Der Dunk (2007: 95) เสนอว่า ลักษณะที่กษัตริย์อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนนั้นเรียกว่า "สมัยใหม่" ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญมาก ตรงกันข้าม หากสมาชิกราชวงศ์ยังเพลิดเพลินกับการมีอภิสิทธิ์ที่เป็นประเพณีดั้งเดิมกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และเส้นแบ่งระหว่างชนชั้นขุนนางและชนชั้นกลางนั้นพร่าเลือนมากขึ้น ทุกวันนี้มีเพียงคนรุ่นเก่า อนุรักษ์นิยมและเป็นคริสเตียนเท่านั้นที่ยังยินดีกับสถาบันกษัตริย์ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาต หรือเป็นสถาบันที่ขาดไม่ได้เพื่อปกป้องการแตกแยกทางสังคม ถึงกระนั้น สถาบันกษัตริย์ดัตช์ปัจจุบันก็ทำให้เห็นว่าความเป็นกษัตริย์กับคนธรรมดานั้นไม่แตกต่างกัน สถานะของกษัตริย์หากขยับเข้าใกล้กับความเหนือปกติเกินธรรมดาเมื่อไร สิ่งที่ตามมาคือการขาดความโปร่งใส โดยเฉพาะกษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์ที่มีสถานะเป็นประมุขของรัฐ ก็ยิ่งจะทำให้เสถียรภาพของกษัตริย์กับความหมายของการเป็นรัฐชาติลดน้อยลง
Von Der Dunk (2007: 91) วิเคราะห์ว่า รูปแบบของสถาบันกษัตริย์แบบรัฐสภา (Parliamentary Monarchy) น่าจะเป็นหลักสำคัญในการค้ำจุนสถาบันกษัตริย์ของเนเธอร์แลนด์ หากยึดแนวคิดนี้ การมีสถาบันกษัตริย์ในรูปแบบสมมติเทพกลายเป็นเรื่องแปลก ไม่สมเหตุสมผลหรือมีมโนธรรมมากนักสำหรับยุคสมัยปัจจุบันที่สังคมพ้นจากการครอบงำของศาสนา (Secularized society) อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ต้องมีการประท้วงหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งสถาบันกษัตริย์ก็ต้องไม่ใช้อำนาจทางการเมืองในระบบรัฐสภาด้วยเช่นกัน เขาเสนออีกว่า คนส่วนใหญ่ในจำนวนประชากรทั้งหมดที่พบในกลุ่มคนที่มีการศึกษาน้อย เป็นผู้มีใจเข้มแข็งมากในยุคความเป็นสมัยใหม่และการเมืองในชีวิตประจำวัน ซึ่งพวกเขาเป็นพวกที่ยึดติดกับปูชนียบุคคลตัวอย่างที่เป็นพ่อหรือแม่ที่มีความเหนือธรรมดา ตัวอย่างสดๆร้อนๆ ก่อนมีพิธีขึ้นครองราชย์ของเจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มีประชาชนจำนวนประมาณ 40,000 คนออกมาประท้วงกับ "เพลงกษัตริย์" (King's Song) หรือ Koningslied ในภาษาดัตช์ซึ่งประพันธ์โดย จอห์น อิวแบงค์ (John Ewbank) ที่จะใช้ประกอบพิธีการขึ้นครองราชย์ในวันที่ 30 เมษายนนี้ โดยคนดัตช์เหล่านี้ได้ร่วมกันลงชื่ออุทธรณ์ไม่ให้มีการใช้เพลงดังกล่าวในการประกอบพิธี เนื่องจากรับไม่ได้กับเนื้อหาเกินจริงที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะท่อนแร็พที่มีเนื้อหาว่า ให้ชูนิ้วสามนิ้วรูป W ในอากาศแสดงสัญลักษณ์ถึงวิลเลิม (Willem-Alexander) "ฉันจะปลุกเธอให้ตื่นจากนิทรา ปกป้องเธอจากภัยพายุ บอกให้ฉันรู้ว่าถึงใฝ่ฝันถึงสิ่งใด..." ซึ่งหนึ่งในผู้ประท้วงและลงชื่อต่อต้านคือซิลเวีย วิทเทอมัน (Sylvia Witteman) กล่าวว่าในการยื่นเรื่องอุทธรณ์นี้ ขอสละความเป็น "คนดัตช์ที่ถูกกระทำ" (Dutch subject) โดยที่ผู้ประพันธ์เพลงตัดสินใจก็ตัดสินใจทันที่จะถอนเพลงนี้ไม่ให้ใช้ในการประกอบพิธี ทั้งที่เป็นเพลงที่ปล่อยออกมาแล้วและติดอันดับในชาร์ทในเนเธอร์แลนด์ก็ตาม [8] ตรงนี้ทำให้เห็นว่าสังคมดัตช์ค่อนข้างเคารพและปฏิบัติอย่างใจกว้างในความแตกต่างทางความคิดของคนที่ไม่เห็นด้วยในสังคม แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มากนักก็ตาม ขณะที่นักวิเคราห์อย่าง William Z. Shetter (อ้างใน Willem Sap 2010:26) กล่าวว่า "คนดัตช์ไม่ใช่คนมีใจนิยมเจ้า (ต่างจากกรณีของอังกฤษ) หากเป็นพวกที่ชื่นชมสาธารณรัฐ แต่เนื่องจากสถาบันกษัตริย์ดัตช์เชื่อมโยงกับราชวงศ์ออเรนเยอ-นาซอที่มีบทบาทขในประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดสถาบันมหากษัตริย์ขึ้น ซึ่งอาจจะมีความคลางแคลงเพียงเล็กน้อยสำหรับพวกเขาเท่านั้นหากวันหนึ่งราชวงศ์นี้เกิดสูญพันธุ์ขึ้นมา รัฐบาลแบบสาธารณรัฐคงจะขึ้นมาครองอำนาจทันที"
เชิญอรรถ
อ้างอิงและแหล่งข้อมูล
อ้างอิงอิเลกทรอนิกส์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐบาลซีเรียต้องสงสัยใช้แก็สซารีนปราบฝ่ายกบฏ Posted: 28 Apr 2013 04:52 AM PDT ทางการตะวันตกกำลังพิจารณากรณีที่รัฐบาลซีเรียต้องสงสัยว่าใช้อาวุธเคมีอย่างแก๊สซารีนกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล หลังจากมีวีดิโออ้างว่าเป็นภาพผู้ถูกสังหารด้วยอาวุธเคมี ขณะที่นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์หลักฐานกล่าวว่าสารที่ใช้ไม่น่าจะเป็นแก๊สซารีน โดยหลักฐานยังไม่เพียงพอและยังไม่น่าเชื่อถือพอจะระบุมีการใช้อาวุธเคมีจริง 27 เม.ย. 2013 - สำนักข่าว The Independent ของอังกฤษ รายงานกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลของซีเรีย ต้องสงสัยว่ามีการใช้อาวุธเคมีในการสู้รบกับกลุ่มกบฏ ตามคำกล่าวอ้างของประเทศตะวันตก ทางด้านรัฐบาลซีเรียออกมาปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ชัค ฮาเกล รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ ได้กล่าวต่อสาธารณชนว่ามีการใช้แก๊สซารีนในการสู้รบภายในของซีเรียโดยเชื่อว่ามาจากฝ่ายรัฐบาล ทางด้านโอมราน อัล-เซาบี รัฐมนตรีด้านข้อมูลข่าวสารของซีเรียกล่าวให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ของรัสเซียกล่าวว่าสิ่งที่ทางการสหรัฐฯ และอังกฤษอ้าง ไม่มีมูลความจริง และเป็นยุทธวิธีในการกดดันซีเรียทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ขณะเดียวกันก็มีวีดิโอที่เผยแพร่ในยูทูบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยอ้างว่าเป็นวีดิโอที่แสดงภาพคนที่ถูกอาวุธเคมีโจมตีในเมืองอเลปโป เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองตั้งอยู่ทางตอนเหนือของซีเรียและเคยมีการสู้รบอย่างหนักในสงครามกลางเมือง ในวีดิโอมีภาพของคนที่น้ำลายฟูมปาก อีกคนหนึ่งมีรอยคล้ำบนใบหน้าและฝีปากซีด บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวถึงกรณีนี้เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมาบอกว่า การที่รัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีกับประชาชนถือเป็นการ 'ล้ำเส้น' ทำให้สหรัฐฯ ต้องประเมินท่าทีต่อกรณีความขัดแย้งในซีเรียใหม่ โดยหลายเดือนก่อนหน้านี้โอบาม่าเคยเตือนเรื่องการใช้อาวุธเคมีและการส่งอาวุธเคมีให้กับผู้ก่อการร้ายว่าเป็นการข้ามเส้นขีดอันตราย และจะทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมหาศาล ในวันเดียวกัน เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า การใช้อาวุธเคมีในซีเรียถือเป็น "อาชญากรรมสงคราม" แต่ก็บอกว่าเขายังต้องการหลักฐานมากกว่านี้ และยังไม่มีต้องการแทรกแซงทางการทหาร The Independent เปิดเผยว่าสภานการณ์การรบภาคพื้นดินในสงครามกลางเมืองซีเรียระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านในตอนนี้อยู่ในสภาวะคุมเชิงกัน มีความแตกแยกในกลุ่มฝ่ายค้าน และความรู้สึกกังวลว่ากลุ่มสุดโต่งในหมู่นักรบฝ่ายกบฏเริ่มขึ้นมามีอำนาจนำ ทำให้มีการผลักดันหาข้อยุติในเชิงสันติกันอีกครั้ง อยางไรก็ตาม ทางการอิสราเอลอ้างว่ารัฐบาลซีเรียมีการใช้อาวุธเคมีเป็นแก็สซารีน ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาท และกดดันจอห์น เคอร์รี่ รมต.ต่างประเทศ ของสหรัฐฯ ว่าซีเรียได้ข้ามเส้นเช่นที่ปะน.โอบาม่าเคยกล่าวไว้แล้ว และจากการร่วมกดดันของผู้สนับสนุนกลุ่มฝ่ายค้านในซีเรีย ทางทำเนียบขาวก็ได้ออกจดหมายแก้สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ บอกว่าหน่วยข่าวกรองมีความเชื่อมั่นในหลายระดับว่ามีการใช้อาวุธเคมีกับฝ่ายกบฏจริงในซีเรีย อย่างไรก็ตาม The Independent รายงานว่าข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลตะวันตก เจ้าหน้าที่รัฐบาลตะวันออกกลาง และสมาชิกฝ่ายต่อต้านของซีเรีย ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดในเรื่องการใช้อาวุธเคมี เนื่องจากข้อมูลตัวอย่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลือด, เส้นผม, เศษดิน รวมถึงภาพถ่ายและวีดิโอ ไม่ได้ถูกเก็บกลุ่มตัวอย่างโดยกลุ่มสืบสวนอิสระจากตะวันตกที่อยู่ในซีเรีย แต่กลุ่มกบฏและฝ่ายข่าวกรองของตุรกีเป็นคนนำมาให้ ซึ่งบางภาพอาจมีการทำปลอมขึ้น โดยผู้ทำการทดสอบคือหน่วยวิจัยทางการทหารของอังกฤษ และห้องทดลองเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ดร. แซลลี่ ลีเวสลีย์ นักวิเคราะห์ทางเคมีและชีวภาพ อดีตผู้ให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในกระทรวงกลางโหมของอังกฤษกล่าวไปในอีกทางหนึ่งว่า หากมีการใช้แก๊สซารีนจริงจะต้องมีคนตายจำนวนมากและมีอยู่ไม่กี่คนที่รอดชีวิต และจากอาการที่ได้ยินมาน่าจะเป็นสารสร้างระคายเคือง (harassing agent) มากกว่าสารทำลายประสาท (nerve agent) "ภาพล่าสุดเผยให้เห็นคนที่ผิดปกติทางตา ซึ่งอาการน่าเป็นห่วง แต่ไม่ได้หมายความว่ามีอาวุธเคมีหรือแก๊สซารีนมาเกี่ยวข้อง ภาพถ่ายที่เห้นก่อนหน้านี้ก็ดูแปลก มีคนที่อยู่ในชุดหน้ากากและถุงมือซึ่งน่าจะเป็นหมดจับต้องตัวเหยื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น อาการที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากสารอื่นอย่างเช่น คลอรีน" แซลลี่กล่าว อย่างไรก็ตามแซลลี่บอกว่าแม้จะมีการทำปลอมขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ทำขึ้นเป็นคนเลวแต่เป็นเพราะพวกเขาหมดหวังจะหาหนทางอื่นแล้ว ขณะที่ ดร.ราล์ฟ แทรปป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพร่กระจายของสารเคมีก็กล่าวว่าถ้ามองในเชิงการทหารแล้วไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลซีเรียจำเป็นต้องใช้อาวุธเคมี แก็สซารีน เป็นแก็สพิษที่เข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ และบางส่วนก็ผ่านทางผิวหนัง มีฤทธิ์เข้าไปขัดขวางการส่งสัญญาณประสาทไปสู่กล้ามเนื้อ ผู้รับพิษจะมีอาการน้ำลายฟูมปากและจมูก หายใจลำบาก ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้ ผู้รับพิษจะเกิดอาการภายในไม่กี่นาทีและมักจะเสียชีวิตภายใน 10 นาที เรียบเรียงจาก Has Assad crossed 'red line'? Graphic video footage emerges claiming to show victims of nerve gas attack in Syria, but doubts cast on evidence of use of chemical weapons, The Independent, 27-04-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทบาทสื่อกระแสหลักในการจำกัดเสรีภาพสื่อไทย Posted: 28 Apr 2013 03:11 AM PDT หากคนถามสื่อไทยส่วนใหญ่ว่าสื่อไทยมีเสรีภาพหรือไม่ คำตอบที่คุณจะได้รับก็มักจะเป็นคำตอบทำนองว่าไทยมีเสรีภาพสื่อ ถึงแม้องค์กรนานาชาติอย่าง Freedom House และ Reporters Without Borders (ไทยอันดับที่ 135 จาก 179 ประเทศ) จะให้คะแนนเสรีภาพสื่อไทยค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอีกหลายๆ นานาอารยประเทศ (สำหรับปี 2555 Freedom House จัดให้ไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพบางส่วน หรือ 'partly free' เท่านั้น) ทุกวันนี้ ประเด็นศูนย์กลางของการถกเถียงว่าสื่อไทยมีเสรีภาพหรือไม่มากน้อยเพียงไรอยู่ตรงข้อถกเถียงเรื่อง ม.112 (และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) สื่อไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อภายใต้ ม.112 เป็นเรื่องที่สมควรและเหมาะสม ในขณะที่ประชาชนจำนวนหนึ่งและสื่อเสียงส่วนน้อยรู้สึกไม่พอใจกับการจำกัดสิทธิสื่อและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเท่าทันเจ้าเป็นอย่างยิ่งและมองว่ากฎหมายนี้เป็นอุปสรรคต่อการทำให้สังคมไทยพัฒนาเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง สถานการณ์ในไทยวันนี้ต่างจากในหลายประเทศที่สื่อกระแสหลักเป็นหัวหอกผลักดันให้เกิดการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงเพราะส่วนใหญ่ของสื่อกระแสหลักไทยได้ยอมรับหรือแม้กระทั่งสนับสนุนกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อเองและมีบทบาทในการเป็นผู้เซ็นเซอร์ตนเองและเซ็นเซอร์ข้อมูลที่เท่าทันเจ้าจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ
การเซ็นเซอร์ การเซ็นเซอร์ตนเอง และความเชื่อในลักษณะพิเศษของ ม.112 กับสื่อไทย กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ได้ทำการป้อนข้อมูลดีๆ ด้านเดียวเกี่ยวกับเจ้าให้กับประชาชน พร้อมทั้งได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลด้านลบและข้อมูลเท่าทันเจ้าจากทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอจนถึงระดับที่อาจถือได้ว่า การเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยนั้นมีลักษณะคล้ายการเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้นำเกาหลีเหนือมากกว่าการเสนอข่าวสารเรื่องเจ้าอังกฤษโดยสื่อในประเทศประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ – ทั้งนี้เพราะเราแทบจะหาข้อมูลข่าวสารเท่าทันเจ้าในสื่อกระแสหลักไทยไม่พบเลย สิ่งที่เกิดขึ้นกับรายการตอบโจทย์ในเดือนมีนาคมปีนี้และการลาออกของนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการและเสียงเงียบของสื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ในการปกป้องพื้นที่เท่าทันเจ้า ซึ่งรวมถึงการที่สื่อจำนวนหนึ่งประณามนายภิญโญ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่งของธาตุแท้ของสื่อกระแสหลักไทยส่วนใหญ่ ก่อนหน้านั้น ไม่กี่เดือน นายกสมาคมนักข่าวตอนนั้น นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณีได้ออกมาปกป้อง ม.112 ดังปรากฏในข่าว นสพ.เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2556 ว่าเสรีภาพย่อมมี 'ข้อจำกัดและมีข้อยกเว้น' ( http://www.nationmultimedia.com/politics/Top-judge-rejects-criticism-of-courts-lese-majeste-30198645.html)
ผมมองต่างจากนายชวรงค์ เพราะผมเชื่อว่าข้อมูลเท่าทันเจ้า ซึ่งต่างจากข้อมูลหมิ่นและอาฆาตควรมีที่ในสังคมไทย แต่กลับไม่มีที่ทางอย่างถูกกฎหมายในสังคมไทย เราสามารถถกเถียงกันเป็นชั่วโมงว่าโทษของการดูหมิ่นขู่อาฆาตกษัตริย์ในสังคมประชาธิปไตยควรมีอย่างไรและข้อมูลหมิ่นเจ้าต่างจากข้อมูลเท่าทันเจ้าอย่างไร แต่ความเป็นจริงในวันนี้ก็คือสื่อส่วนใหญ่และสังคมแยกสองสิ่งนี้ไม่ออก ในขณะที่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าผ่านสื่อกระแสหลักส่วนใหญ่มีแต่ข้อมูลดีๆ ด้านเดียว ความพร่ามัวนี้เห็นเป็นประจักษ์ได้จากกรณีการตัดสินจำคุก 3 ปี ของนายเอกชัย หงส์กังวานเพราะนายเอกชัยถูกจับว่าได้กระทำการขายก้อปปี้วิดีโอรายการสารคดีเรื่องอนาคตสถาบันกษัตริย์ไทยที่ผลิตโดย Australian Broadcasting Corporation (ABC) และเอกสาร WikiLeaks คำถามคือ มีผู้ใดเชื่อหรือว่าโทรทัศน์สาธารณะของออสเตรเลียและกระทรวงต่างประเท ศสหรัฐอเมริกาจะผลิตวิดีโอและเอกสารที่มีเนื้อหมิ่นเจ้าไทยโดยเจตนา หรือแท้จริงแล้ว ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลเท่าทันเจ้าที่ควรผลิตและสื่อสารได้ในสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง? ศาล สื่อ และสังคมแยกข้อมูลจาก ABC และ WikiLeaks จากข้อมูลประเภทวิดีโอภาพตัดต่อดูถูกความเป็นมนุษย์ของกษัตริย์ที่พบได้ในยูทูบไม่ออกจริงๆ เหรอ? สถานการณ์ในปัจจุบันไม่เอื้อให้มีข้อมูลเท่าทันเจ้า ข้อมูลมักถูกจัดเป็นเพียงสองประเภทคือถ้าไม่ใช่ข้อมูลประจบเจ้า ก็มักจะถูกจัดเป็นข้อมูลหมิ่นเจ้าและผิดกฎหมาย นางสาววิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ นักเขียนสารคดีผู้เคยทำงานในนิตยสารรายเดือนเชิงสารคดีกว่า 7 ปีบอกผู้เขียนเกี่ยวกับการผลิตเนื้อหาด้านบวกด้านเดียวเกี่ยวกับเจ้าทุกๆ เดือนธันวาคมว่า: 'ในแง่คนทำสื่อ มันต้องเพิ่มโวหารความเป็นพ่อลูกให้สะเทือนจิตใจ ปีหน้าต้องยิ่งเพิ่มโวหารไปอีก มันไม่ใช่การเขียนเรื่อง fact แล้ว การเขียนธรรมดาทำไม่ได้ ต้องโอเว่อร์ ปีนี้คุยฉบับนี้ใน scale แค่นี้ ปีหน้าจะต้องเพิ่ม scale ของการคลั่ง อ่านแล้วทำให้ร้องไห้ต้องทำยังไง แค่มี fact fact เดียว แต่ต้องขยายเป็นร้อย' นางสาววิรพาบอกผมว่ามีอยู่ปีหนึ่งนิตยสารได้รวบรวมระยะทางที่ในหลวงเสด็จเดินทางไปชนบทเพื่อเปรียบเทียบกับระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ 'พอคนอ่านมันก็เลยยิ่งเกิดความซาบซึ้งไปใหญ่…' วิรพาบอกผู้เขียนว่าสถานการณ์สังคมในปัจจุบันนั้นย้อนแย้งยิ่ง 'คือเราเห็นการโปรโมทกรุงเทพฯ เป็นเมืองหนังสือโลก แต่เราเป็นเมืองหนังสือโลกได้ไงถ้าคนยังถูกห้ามอ่าน ยังถูกจำกัดเสรีภาพในการอ่าน' (ดูใน The Nation http://nationmultimedia.com/politics/Somyos-face-of-free-speech-group-30203944.html)
สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ภูมิใจกับบทบาทในฐานะผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์และข้อมูลเท่าทันด้านลบ พวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีอำนาจในสังคมและมักได้รับสิทธิพิเศษบางประการ ท่าทีเช่นนี้ของสื่อเป็นท่าทีที่ปลอดภัยต่อธุรกิจสื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรษัทสื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสคนหนึ่งเคยบอกผู้เขียนว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับราคาหุ้นของบรรษัทสื่อที่หัวหน้าองค์กรตัดสินใจแสดงจุดยืนต่อต้าน ม.112 หากเกิดการคว่ำบาตรสื่อองค์กรนั้น อีกตัวอย่างของการปิดกั้นการแสดงความเห็นเท่าทันเจ้าเท่าทัน ม.112 แบบเนียนๆ คือการที่ผู้เขียนได้ทราบมาจากทางสมาชิกคนสำคัญของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยมาว่านักข่าวรุ่นใหม่ที่มีความคิดเชิงวิพากษ์เท่าทันเจ้าได้รับการติดต่อเชิญไปพูดในงานของสมาคมเมื่อเร็วๆ นี้แต่ตัวนักข่าวหนุ่มผู้นี้ต้องตอบปฏิเสธเพราะทางหนังสือพิมพ์หัวสีฉบันนี้ไม่ยอมให้นักข่าวผู้นี้ไปพูด
ทั้งนี้ ในกรณีนี้สื่อมิได้ถูกใครบังคับให้ใช้คำเช่นนี้ หากการใช้คำว่าโจรใต้สะท้อนอุดมการณ์ชาตินิยมของสื่อ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการที่สื่อรายงานเรื่องเจ้าโดยป้อนแต่ข้อมูลด้านเดียวภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม * บทบาทอินเทอร์เน็ตในการแหวกการเซ็นเซอร์ข้อมูลเท่าทันและข้อมูลเชิงวิพากษ์เจ้านั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะมีการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ควบคู่กับ ม.112 นั่นหมายความว่า คุณเสี่ยงถูกจับและจองจับหากพยายามเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้น * ว่าด้วยเสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงออก มันเป็นเรื่องย้อนแย้งที่สื่อไทยจำนวนมากมองว่าประชาชนไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะเสพข้อมูลข่าวสารที่เท่าทันเจ้า ในขณะที่นักข่าวและบรรณาธิการจำนวนมิน้อยเชื่อว่าพวกเขาฉลาดและมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะตัดสินใจแทนประชาชนได้ ว่าอะไรควรถูกเซ็นเซอร์หลังจากมีโอกาสได้พิจารณาข้อมูลเท่าทันเจ้าเหล่านั้นที่มาจากทั้งในและต่างประเทศ เสรีภาพสื่อเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่ง ในขณะที่ความเชื่อในการจำกัดการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลก็เป็นอุดมการณ์เช่นเดียวกัน ผู้เขียนมองว่า เสรีภาพนั้นควรใช้อย่างรับผิดชอบและมีการจำกัดในบางโอกาส การตัดสินใจจำกัดการใช้เสรีภาพของตนเองควรถูกตัดสินใจและกระทำโดยคนผู้นั้นเอง มิใช่ถูกจำกัดจากภายนอก อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น สื่อทำตนเป็นผู้ตัดสินแทนประชาชนว่าอะไรควรมิควรรับรู้ นี่เป็นสภาพที่ผู้เขียนมิอาจเห็นด้วยหรือสนับสนุนเพราะการมีคนส่วนน้อยตัดสินใจปิดกั้นข้อมูลและห้ามมิให้ประชาชนใช้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาในบางเรื่องจะฉุดมิให้ประชาชนและสังคมโดยรวมมีโอกาสเติบโตทางความคิด และมีวุฒิภาวะ
* บทสรุป หากคุณถามนักข่าวทั่วไปว่าสื่อไทยมีเสรีภาพหรือไม่ ส่วนใหญ่น่าจะตอบว่ามี นั่นสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองต่อเสรีภาพสื่อที่ต่างจากประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มันเป็นหน้าที่ของประชาชนไทยที่จะถกเถียงโต้แย้งกันต่อไปว่าเสรีภาพสื่อและเสรีภาพการแสดงออกที่แท้จริงคืออะไร สังคมย่อมมีเสรีภาพได้มากเท่าที่ประชาชนจะใฝ่ฝันอยากจะมี สำหรับประเทศไทยแล้วสื่อกระแสหลักส่วนใหญ่ได้เลือกเสรีภาพอันจำกัดว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม สื่อพึงสำเหนียกด้วยว่า หากยอมรับและสนับสนุนการเซ็นเซอร์ตนเองเช่นนี้ พวกเขาย่อมมิสามารถอ้างได้ว่าเป็นสื่อเสรีอย่างแท้จริง ว่าด้วยเรื่องเจ้าแล้ว จุดยืนสื่อกระแสหลักไทยส่วนใหญ่มิได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจากสภาพปัจจุบันที่มีแต่การป้อนข้อมูลดีๆ ด้านเดียวให้กับสังคม สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่มิใช่พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเจ้า และการที่จะไม่ยอมรับต่อสังคมเรื่องการขาดเสรีภาพอย่างแท้จริงย่อมไม่เป็นการซื่อสัตย์ต่อประชาชน แท้จริงแล้วสื่อกระแสหลักส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการธำรงไว้ซึ่งการขีดเส้นแบ่งว่าอะไรบ้างที่ประชาชนสามารถรับรู้ได้เกี่ยวกับเจ้า สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่มิใช่เหยื่อ ม.112 หากเป็นผู้พิทักษ์ ม.112 และอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบห้ามวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ถึงแม้จะมีสื่อเสียงส่วนน้อยในสื่อกระแสหลัก (และสื่อกระแสรองอย่างประชาไท ฟ้าเดียวกัน ไทยอีนิวส์) แต่หลายคนก็ไม่กล้าแสดงตนในที่สาธารณะเพราะกลัวว่าจะหมดอนาคตในวิชาชีพองค์กรตน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุภิญญาเตรียมเสนอสร้างเงื่อนไขการอนุญาตทีวีรายเดิมออกอากาศคู่ขนานทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะ Posted: 27 Apr 2013 06:15 PM PDT ในวันจันทร์(29 เม.ย.นี้) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์( กสท.) จะได้เสนอวาระเพื่อพิจารณาในที่ประชุมเรื่อง เงื่อนไขการอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมออกอากาศคู่ขนานเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในสัดส่วนคลื่นความถี่ที่จัดไว้สำหรับกิจการบริการสาธารณะ โดยสืบเนื่องจากโครงการมีเดียมอนิเตอร์ ภายใต้มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรวิชาการ ที่ดำเนินการศึกษาและเฝ้าระวังสื่ออย่างต่อเนื่องและได้รับการยอมรับจากสาธารณะ ได้จัดส่งผลการศึกษาเกี่ยวกับผังรายการเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการประกอบกิจการเพื่อบริการสาธารณะของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และสถานีโทรทัศน์ ช่อง ไทยพีบีเอส เพื่อกสท. และสำนักงาน กสทช. พิจารณาประกอบการทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ ตนเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ในช่วงการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกไปสู่ดิจิตอล ตามที่ กสท. ได้มีมติและเปิดเผยต่อสาธารณะมาเป็นลำดับ โดยเฉพาะการมีมติให้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบ แอนาล็อกเดิมที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายซึ่งอาจจะขออนุญาตประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะในระบบดิจิตอลในอนาคต ออกอากาศคู่ขนานโดยใช้สัดส่วนช่องรายการที่กำหนดไว้สำหรับกิจการประเภทบริการสาธารณะ เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลอย่างสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นที่ยอมรับของสาธารณะ ตลอดจนเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของ กสทช. อย่างโปร่งใส จึงได้เสนอวาระ ดังนี้ 1.ให้ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิตอล ต้องไม่ออกอากาศโฆษณาสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเป็นการขัดต่อกฎหมาย ประกาศ หรือระเบียบเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอย่างหนึ่งอย่างใด หรือมิให้มีการแพร่ภาพรายการโฆษณาขณะที่ออกอากาศคู่ขนาน 2. ให้ผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศคู่ขนานในระบบดิจิตอล ต้องไม่เป็นผู้รับใบอนุญาตใหม่ในระบบดิจิตอล กิจการบริการสาธารณะ ในขณะเดียวกัน และในกรณี ที่หน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเดียวกันเป็นผู้รับใบอนุญาตใหม่ฯ ให้ถือว่าผู้ประกอบการช่องรายการโทรทัศน์ในระบบแอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศคู่ขนานดังกล่าวไม่มีความประสงค์และไม่มีเหตุแห่งความจำเป็น ในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ ทั้งนี้เพื่อเป็นเงื่อนไขการกระจายการถือครองคลื่นความถี่ของภาครัฐ และให้เกิด การแข่งขันในกิจการโทรทัศน์อย่างเสรีและเป็นธรรม ลดการผูกขาด เพิ่มความหลากหลายของผู้ประกอบกิจการ.
ทั้งนี้ สรุปสาระโดยสังเขป ส่งผลการศึกษาเกี่ยวกับผังรายการ เพื่อวิเคราะห์ทิศทางการประกอบกิจการเพื่อบริการสาธารณะจากโครงการมีเดียมอนิเตอร์ ภายใต้มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษาได้ ดังนี้ 1 โครงการมีเดียมอนิเตอร์ ทำการศึกษาผังรายการของสถานีโทรทัศน์รวมสามช่องรายการประกอบด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และสถานีโทรทัศน์ ช่อง ไทยพีบีเอส โดยวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ เพื่อจำแนกสัดส่วนประเภทรายการ ประกอบด้วย ข่าวสาร สาระประโยชน์ สาระบันเทิง บันเทิง และอื่นๆ โดยอ้างอิงและเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่นที่กำหนดในการศึกษา 2 เนื้อหารายการที่นำมาศึกษาเป็นการออกอากาศระหว่างวันที่ 15 - 21 มกราคม 2556 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ออกอากาศวันละ 24 ชั่วโมง มีเวลาออกอากาศในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 10,080 นาที/สัปดาห์ ส่วนช่องไทยพีบีเอสซึ่งมีเวลาออกอากาศวันละ 21 ชั่วโมง มีเวลาออกอากาศในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 8,820 นาที/สัปดาห์ 3 สรุปผลการศึกษาและการวิเคราะห์ 3.1 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) 3.1.1 ออกอากาศรายการประเภทบันเทิงมากที่สุด คือ 3,401 นาที/สัปดาห์ หรือ ร้อยละ 34 ตามด้วยรายการข่าวสาร คือ 3,030 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 30 สาระบันเทิง 1,459 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 14 สาระประโยชน์ 1,410 นาที/ สัปดาห์ หรือร้อยละ 14 รายการประเภทแนะนำ/ขายสินค้า 720 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 7 รายการอื่นๆ รวม 60 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 1 3.1.2 การออกอากาศรายการประเภทบันเทิงมากที่สุด คือร้อยละ 34 ซึ่งไม่สอดคล้อง กับนโยบายของช่องซึ่งแถลงว่าจะปรับผังรายการปี 2556 โดยเพิ่มข่าวและรายการสาระความรู้เป็นร้อยละ 71 พร้อมกับลดกลุ่มรายการประเภทบันเทิงให้เหลือร้อยละ 29 (คำให้สัมภาษณ์ของพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการผู้อานวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พบใน ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 2555 และไทยโพสต์ออนไลน์ 2556) 3.1.3 หากพิจารณาตามเกณฑ์ของ กสทช. ที่กำหนดให้กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะ ต้องมีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 แล้ว จะเห็นได้ว่า ช่อง ททบ.5 มีรายการประเภทข่าวสาร คิดเป็นร้อยละ 30 รายการสาระประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 14 รวมเป็น ร้อยละ 44 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของสื่อเพื่อบริการสาธารณะตามที่ กสทช. กำหนด 3.1.4 ในภาพรวม ช่อง ททบ.5 มีเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ หรือ ความปลอดภัยสาธารณะ ในสัดส่วนที่น้อย ไม่ว่าจะอ้างอิงนิยามหรือคำอธิบาย "ความมั่นคงของรัฐ" "ความปลอดภัยสาธารณะ" จากแหล่งใด ทั้งพบว่าส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอรายการประเภทข่าวสาร ข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ทั่วไป โดยเน้นการนำเสนอข่าวกิจกรรมและนโยบายต่างๆ ของกองทัพบก และหน่วยงานภาครัฐ ในรายการข่าวภาคดึก ขณะที่ในกลุ่มสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ พบรายการสารคดีสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งอาจมีเนื้อหาเข้าข่ายความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ตามความหมายของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ไม่พบรายการประเภทสาระประโยชน์ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะที่ชัดเจน 3.1.5 จากการศึกษาพบว่า ในกลุ่มรายการสาระประโยชน์ มีหลายรายการที่เป็นการโฆษณาแฝงสินค้า/บริการ หรือเป็นรายการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและภาพลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน
3.2 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 (สทท.11) 3.2.1 มีสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสาร 5,055 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 50 ขณะที่สัดส่วนรายการสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 4,100 นาที หรือร้อยละ 41 เมื่อรวมแล้วเป็น 9,155 นาที หรือ ร้อยละ 91 3.2.2 ช่อง สทท.11 มีสัดส่วนข่าวสารสูงกว่าสัดส่วนสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลของภาครัฐเป็นหลัก เช่น นโยบาย และกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่มีการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นของภาคประชาชน รวมทั้งภาคส่วนอื่นในสัดส่วนที่น้อยกว่า 3.2.3 ในกลุ่มรายการสาระประโยชน์จำนวนรวม 4,100 นาที/สัปดาห์ มีเนื้อหา เพื่อคุณภาพชีวิต จำนวน 691 นาที/สัปดาห์ ในขณะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยเพียง 130 นาที/สัปดาห์ ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย 3.2.4 ผังรายการและสัดส่วนรายการของช่อง สทท.11 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษามีเนื้อหาที่สะท้อนบริการสาธารณะประเภทที่สาม และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจหลักของสถานี 3.2.5 ผลการศึกษายังพบการโฆษณาสินค้าและบริการที่เป็นโฆษณาตรงในช่วงของรายการข่าวกีฬา ข่าวสิ่งแวดล้อม รายการเกษตร และรายการด้านเทคโนโลยี และพบการโฆษณาแฝงของสินค้าและบริการในช่วงของรายการข่าว รายการเกษตร และรายการให้ความรู้ ทั้งยังพบรายการที่มีผู้สนับสนุนเป็นองค์กรต่างๆ เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น โดยเนื้อหารายการมีลักษณะ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่สนับสนุน 3.3 สถานีโทรทัศน์ ช่อง ไทยพีบีเอส 3.3.1 สัดส่วนรายการที่พบมากที่สุด คือ รายการข่าวสาร รวม 3,770 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 43 รองลงมาคือรายการสาระประโยชน์ รวม 3,016 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 34 ที่เหลือเป็นรายการสาระบันเทิง รวม 2,034 นาที/สัปดาห์ หรือ ร้อยละ 23 3.3.2 เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. ที่ระบุให้กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะ ต้องมีสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสาร หรือ สาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 พบว่า มีรายการข่าวสาร ร้อยละ 43 และ สาระประโยชน์ ร้อยละ 34 รวมแล้วเป็นร้อยละ 77 หากพิจารณาตามเกณฑ์ กสทช. พบว่า มีรายการที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มข่าวสารและสาระประโยชน์ เป็นจำนวนร้อยละ 23.06 แต่เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของ ส.ส.ท. พบว่าสามารถจัดอยู่ในประเภทรายการ สาระบันเทิง ซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อหาที่ กสทช. ไม่ได้ระบุถึง 3.3.3 หากวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการตามเกณฑ์ ส.ส.ท. พบว่าช่อง ไทยพีบีเอส มีสัดส่วนรายการข่าวสาร ร้อยละ 43 สาระประโยชน์ ร้อยละ 31 และสาระบันเทิง ร้อยละ 26 3.3.4 โดยสรุป พบว่า เกณฑ์ของ ส.ส.ท. ให้คำนิยาม หรือกำหนดลักษณะรายการ ในประเภทสาระประโยชน์ได้ชัดเจนมากกว่าเกณฑ์ของ กสทช. อันมีผลให้สัดส่วนรายการสาระประโยชน์ และรายการสาระบันเทิงตามเกณฑ์ กสทช. และเกณฑ์ ส.ส.ท. มีจำนวนไม่เท่ากัน 3.3.5 รายการต่างๆ ในกลุ่มสาระประโยชน์ของช่องไทยพีบีเอส เป็นรายการที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และการศึกษาในสาขาต่างๆ แม้แต่รายการสาระบันเทิงที่เป็นการ์ตูน ละคร ซิทคอม หรือภาพยนตร์ก็มีลักษณะเป็นรายการที่มีเนื้อหาสาระ ให้ความบันเทิง สอดแทรกความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจการโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ ประเภทที่หนึ่ง ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย..
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
B.R.N.ประกาศ ผ่านยูทูป ย้ำจะสู้เพื่ออิสรภาพปาตานี ยื่น5ข้อเจรจารัฐไทย Posted: 27 Apr 2013 05:52 PM PDT ฮัสซัน ตอยิบ นำอ่านคำประกาศ B.R.N. ผ่านยูทูป ระบุจะสู้เพื่ออิสรภาพและจะปกครองด้วยความยุติธรรม ระบุการพูดคุยยังดำเนินต่อไปภายใต้เงื่อนไข 5 ข้อ ให้มาเลเซียเป็นคนกลาง เป็นการพูดคุยระหว่างชาวมลายูปาตานีกับฝ่ายสยาม ต้องมีผู้สังเกตการณ์จากอาเซียน โอไอซี และเอ็นจีโอ ต้องปล่อยนักโทษและยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
นายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็น (B.R.N.) หรือแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani : B.R.N.) ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู่เพื่อเอกราชในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อ่านคำประกาศผ่านเว็บไซต์ยูทูป ที่ใช้ชื่อคลิปคำประกาศดังกล่าวว่า "PENGISTIHARAN BARISAN REVOLUSI NASIONAL MELAYU PATANI" แปลว่า "การประกาศของแนวร่วมแห่งชาติมลายูปาตานี" เป็นภาษามลายู เผยแพร่เมื่อ 26 เมษายน 2013 ใช้ชื่อผู้เผยแพร่ว่า Muhammad Abdullah โดยมีความยาว 3.45 นาที คลิปดังกล่าวเผยแพร่ผู้ประกาศ 2 คน คนแรกคือนายฮัสซัน หรืออุสตาซฮัสซัน ซึ่งระบุว่าเป็นตัวแทนของขบวนการบีอาร์เอ็น คนที่ 2 ระบุชื่อนายอับดุลการีม กาลิบ ใช้ตำแหน่งว่าเป็นเจ้าหน้าที่คณะผู้แทนขบวนการบีอาร์เอ็นวันที่ 28 มีนาคม 2013 โดยมีเนื้อหาแปลเป็นภาษาไทย ดังนี้
PENGISTIHARAN BARISAN REVOLUSI NASIONAL MELAYU PATANI คำประกาศจากแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (Barisan Revolosi National melayu patani : B.R.N)
ฮัสซัน ตอยิบ ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน บีอาร์เอ็น คือแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี เป้าหมายในการก่อตั้ง คือ เพื่อต้องการสร้างความเป็นหนึ่งให้เกิดขึ้นในหมู่ชนชาวมลายูปาตานี เพื่อรวบรวมชาวมลายูปาตานีให้อยู่ภายใต้ความเป็นปึกแผ่น ครอบคลุมไปถึงทุกกลุ่มชนของสังคม ในฐานะนักต่อสู้ชาวปาตานีด้วยกัน หลังจากนั้นเราจะรวบรวมชาติพันธุ์มลายูปาตานีที่มีอยู่ให้เป็นหนึ่งและทรงพลัง จากนั้นเราก็จะได้รับความเป็นอิสรภาพ ซึ่งต่อไปเราคงจะได้รับอิสรภาพในทุกๆ ด้าน ตลอดจนได้บริหารปกครองด้วยตัวเราเอง ด้วยความยุติธรรมที่สุด ไม่ว่าในด้านใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผมขอความร่วมมือจากประชาชนชาวมลายูปาตานีทุกเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นคนสยาม คนมลายูและคนจีนที่มีอยู่ในแผ่นดินปาตานี อย่าได้วิตกกังวลใจต่อกระบวนการยุติธรรมครั้งนี้เลย นั่นคือภาพรวมอย่างคร่าวๆ ของบีอาร์เอ็น เกี่ยวกับแนวทางการต่อสู้ที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม ความสงบสุข ตลอดจนเพื่อนำไปสู่การสถาปนารัฐที่ดีที่ได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้า ผมขอจบเพียงเท่านี้
อับดุลการีม คอลิบ ตัวแทนของบีอาร์เอ็น เมื่อ 28 มีนาคม 2013 หากเราต้องการที่จะพูดถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ปาตานี เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปดูเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในอดีต ภายหลังจากที่สยามได้ยึดครองปาตานีได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ.1785 ช่วงนั้นเองระบอบการกดขี่และการปราบปรามก็ได้เกิดขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้ขบวนการปลดเอกปาตานีก็ได้ก่อกำเนิดขึ้น เพื่อจะปลดปล่อยปาตานีจากการถูกกดขี่ที่ได้รับจากรัฐไทย เพื่อมุ่งสู่แห่งสันติภาพที่แท้จริง การโจมตีด้วยอาวุธจะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าระบอบการกดขี่จะหมดไปจากแผ่นดินปาตานี บทบาทของบีอาร์เอ็นจะเป็นอย่างไรหลังจากนี้ ต่อการเจรจาสันติภาพที่จะถึงนี้ การพูดคุยก็จะยังคงดำเนินต่อไปภายใต้เงื่อนไข 5 ข้อดังนี้ 1.รัฐสยาม (รัฐไทย) ต้องให้มาเลเซียเป็นคนกลางในการเจรจา ไม่ใช่ผู้อำนวยความสะดวก 2.ต้องเป็นการพูดคุยระหว่างชาวมลายูปาตานีที่นำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น กับฝ่ายสยาม 3.ในระหว่างการพูดคุยจะต้องมีผู้สังเกตการณ์จากประชาคมอาเซียน โอไอซี (องค์การการประชุมอิสลาม) และเอ็นจีโอ (องค์กรพัฒนาเอกชน) 4.รัฐสยามต้องปล่อยนักโทษที่ถูกคุมขังและยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ และ 5.รัฐสยามจะต้องยอมรับว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นเป็นองค์กรเพื่อการปลดปล่อยปาตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุรพศ ทวีศักดิ์: เทวราช-สมมุติราช Posted: 27 Apr 2013 05:42 PM PDT ในบ้านเรามักมีการมองหรือให้ความหมายแก่หลายๆเรื่องอย่าง "เบี่ยงเบน" ไปจากหลักการที่ถูกที่ควร เช่น คนที่ค้านการนิรโทษกรรมชาวบ้านที่ศาลตัดสินจำคุก 20-30 ปี ในคดี "เผาศาลากลาง" (เพราะเหตุจูงใจทางการเมือง) โดยอ้างว่าเป็นอัตราโทษที่สูง ขืนปล่อยไปง่ายๆ ต่อไปเกิดม็อบเรียกร้องอะไรอีก ใครจะทำอะไรก็ได้โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย แต่คนที่อ้างเช่นนี้เคยตั้งคำถามหรือไม่ว่า พวกทำรัฐประหารที่มีโทษสูงถึงประหารชีวิต ทำไมจึงนิรโทษกรรมตนเองได้ตลอดมา พวกเขาอ้างอิง "ความชอบธรรม" อะไร คนที่บอกว่าไม่ควรนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เพื่อรักษา "ระบบยุติธรรม" ของสังคมเอาไว้ เคยอ้าง "ความยุติธรรม" ตั้งคำถามกับ "กลุ่มอำนาจนำ" ที่ใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมจนประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากครั้งแล้วครั้งเล่าบ้างหรือไม่ ทรรศนะที่เบี่ยงเบนทำนองนี้ดูเหมือนจะเป็น "ทรรศนะประจำชาติไทย" มานานแล้ว การตีความศาสนารับใช้การเมืองแบบราชาธิปไตยก็เช่นกัน มักจะตีความอย่างเบี่ยงเบนมาโดยตลอด ดังที่ตีความกันว่า "ระบบการเมืองของพระพุทธองค์ก็มิใช่ประชาธิปไตย แต่ค่อนไปทางสมบูรณาญาสิทธิราชย์" ที่ผมกล่าวถึงคราวที่แล้ว แต่จะว่าไปการตีความเช่นนี้ก็ไม่ได้ปราศจากที่มาที่ไปเสียทีเดียว ดังเอดเวิร์ด คอนซ์ วิเคราะห์ให้เห็นที่มาที่ไปในหนังสือ "พุทธศาสนา สาระและพัฒนาการ" (แปลโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2552) ว่า พุทธศาสนิกมักจะเพิ่มบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ผู้พิชิตโดยอาศัยทฤษฎี "กษัตริย์ผู้ทรงหมุนจักร" หรือในภาษาสันสฤตว่า จกววรติน อรรถกถาให้ภาพของจักรพรรดิตามอุดมคติไว้ว่า พระองค์ทรงมีชัยอยู่เบื้องหน้าเหล่าแสนยากร ทรงเป็นธรรมิกราช (ราชาแห่งธรรมะ) ครอบครองสมบัติ 7 อันมีรถ ช้าง ม้า มณี ทาระ อำมาตย์ และขุนพล จะทรงมีพระราชโอรสถ้วนร้อยพระองค์ ล้วนแกล้วกล้าสง่างาม เป็นที่หวาดผวาแก่เหล่าปัจจามิตร พระองค์จะทรงปราบปรามได้ดินแดนทั่วทวีป จนจรดขอบพระมหาสมุทร แล้วจะทรงขจัดเสียซึ่งเหตุแห่งความกดขี่ และความทุกข์ยากทั้งมวลในจักรวรรดิ ทั้งจะทรงปกครองดินแดนนั้นโดยไม่ใช้ราชทัณฑ์ หรือคมพระแสง หากทรงครองด้วยอาศัยพระธรรม และศานติ นี่เป็นการอ้างความชอบธรรมจากอุดมการณ์ "ธรรมิกราช" สนับสนุนการปราบปรามขยายดินแดน เพื่อเป้าหมายคือ "จะทรงขจัดเสียซึ่งเหตุแห่งความกดขี่ และความทุกข์ยากทั้งมวลในจักรวรรดิ" แล้วในที่สุดก็ "จะทรงปกครองดินแดนนั้น...ด้วยอาศัยพระธรรม และศานติ" เท่ากับสนับสนุนการใช้ความรุนแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความมีธรรมะและสันติภาพ ซึ่งไม่น่าจะตรงตามคำสอนของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม คอนซ์ยังตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ชาวพุทธมักมีนิยายเกี่ยวกับกษัตริย์ที่ตนยกย่องว่า ทรงใช้ชีวิตใกล้เคียงกับอุดมคติที่ว่านี้ไม่มากก็น้อย มาในภายหลังพวกมหายานเกิดจาระไนให้เกิดฝูงเทพขึ้นอีกหลายองค์ กษัตริย์ที่เป็นพุทธศาสนิกจึงได้รับความยกย่องบางอย่างเหมือนที่ให้แก่เทพยดาด้วย กษัตริย์ในชวา กัมพูชา ตลอดถึงลังกาในศตวรรษที่ 10 ก็ถือกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ...แม้ในศตวรรษที่ 20 กษัตริย์แห่งสยามก็ยังทรงเป็นพระพุทธเจ้าอยู่หัว...องค์ทะไลลามะทรงเป็นปางอวตารของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์...(นิยายเช่นนั้น-ผู้เขียน) ไม่แต่เพียงทำให้ประชาชนเกิดความจงรักยอมเชื่อฟังแต่โดยดีเท่านั้น ยังทำให้พระสงฆ์กระทำการประหนึ่งตำรวจทางวิญญาณให้แก่รัฐบาลอีกด้วย... อย่างไรก็ตาม เราอาจเข้าใจที่มาของ "นิยาย" เช่นนั้นได้จากคำอธิบายของ ส.ศิวรักษ์ ในหนังสือ "ความเข้าใจในเรื่องสินธูธรรม" (2546) ว่า ประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ที่รับเอาพุทธศาสนามาจากอินเดียนั้น ต่างรับเอาหลักความเชื่อแบบพราหมณ์มาด้วย และนำมาผสมผสานกับความเชื่อเดิมของตน เช่นในไทยคือการผสมผสานระหว่าง "พุทธ – พราหมณ์- ผี" เฉพาะปรัชญาการเมืองนั้น เรารับเอา "ทฤษฎีเทวโองการ" ของพราหมณ์ที่ถือว่า กษัตริย์เป็นผู้ที่พระพรหมประกาศิตให้เป็นผู้ปกครองโลกมนุษย์ตั้งแต่แรกสร้างโลกแล้ว และบ้างว่าเป็นอวตารของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ สถานะของกษัตริย์จึงเป็น "เทวราช" ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" ตามเทวโองการ และต้องปกครองโดย "ราชธรรม" ด้วย แต่ "ธรรม" หมายถึง "หน้าที่" ที่เป็นหลักเกณฑ์แบ่งชนชั้นสูง-ต่ำตามระบบวรรณะสี่ การปกครองโดยธรรม จึงหมายถึงการรักษาขนบจารีตของระบบวรรณะเอาไว้ให้มั่นคง เพราะเป็น "ระบบความยุติธรรม" ของสังคมในความหมายว่า สังคมที่มีความยุติธรรมคือสังคมที่คนในแต่ชนชั้นทำหน้าที่ของตนให้ดี ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ต่อมา "คัมภีร์อรรถศาสตร์" ขยายความราชธรรมว่า "ธรรมะ" อาจหมายรวมถึงการใช้เล่ห์เพทุบาย หรือใช้วิธีการใดๆก็ได้ เพื่อรักษาอำนาจ เช่นพระราชาต้องทำตัวเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมเพื่อให้ได้รับความจงรักภักดีจากราษฎร แต่เมื่อยามจำเป็นต้องรักษาอำนาจหากจะต้องละทิ้งศีลธรรมก็ควรกระทำ แม้กระทั่ง "การประหารโอรส อนุชา พระบิดา หรือพระปิตุลาที่ขัดพระราชประสงค์ก็ควรทำ" จึงไม่แปลกที่นักรัฐศาสตร์ตะวันตกจะนำคัมภีร์อรรถศาสตร์ไปเปรียบเทียบกับ "The Prince" ของมาเคียเวลลี ที่เสนอว่า "เจ้าผู้ปกครองอาจทำตัวเป็นสิงโต หรือจิ้งจอกตามสถานการณ์ที่เหมาะสม" ถึงตรงนี้ พึงขีดเส้นใต้ไว้ว่า ภาพพจน์ของ "ธรรมิกราช" หรือ "ธรรมราชา" ตามข้อความอวยบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ใน "อรรถกถา" ที่เอดเวิร์ด คอนซ์อ้างถึงข้างต้นนั้น เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นหลังพุทธกาล นิยายที่ยกย่องกษัตริย์ให้เป็นเทวดา เป็นพระโพธิสัตว์ หรือเป็นพระพุทธเจ้า ก็แต่งขึ้นในยุคหลังโดยผสมผสานกับลัทธิเทวโองการของพราหมณ์ ฉะนั้นสถานะของกษัตริย์ที่นับถือ "พุทธผสมพราหมณ์" ในอุษาคเนย์ จึงทรงเป็นทั้งธรรมราชาที่ทรงทศพิธราชธรรมตามคติพุทธ และทรงเป็น "เทวราช" ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นเทวโองการตามคติพราหมณ์ ว่าโดยรากฐานปรัชญาการเมืองแล้ว สถานะทั้งสองนั้นย่อม "ขัดแย้งกัน" ในสาระสำคัญ เพราะตามคำสอนพุทธศาสนาดั้งเดิมนั้น พุทธะถือว่าอำนาจปกครองของกษัตริย์มาจาก "ความยินยอม" ของราษฎรไม่ใช่มาจากเทวโองการ สถานะของกษัตริย์จึงเป็น "สมมุติราช" ไม่ใช่ "เทวราช" กษัตริย์ที่ดีต้องปกครองโดยธรรม แต่ธรรมของพุทธไม่ใช่หลักเกณฑ์แบ่งแยกชนชั้นแบบธรรมของพราหมณ์ หากแต่เป็น "หลักเกณฑ์ความเสมอภาค" ในความเป็นมนุษย์ และพุทธะเองก็พูดถึงเรื่องการใช้ "อำนาจ" น้อยมาก ในอัคคัญญสูตรก็พูดเพียงว่า ผู้ปกครองมีอำนาจ "ว่ากล่าวคนที่ควรว่ากล่าว ขับไล่คนที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ" เท่านั้น ในชาดกมีพูดถึงการใช้อำนาจบ้าง เช่นเรื่องพระเตมีย์ สะท้อนถึงความรังเกียจการใช้อำนาจเทวโองการของกษัตริย์ เรื่องเวสสันดรสะท้อนว่า หากกษัตริย์กระทำสิ่งที่ราษฎรไม่ยอมรับ ราษฎรก็มีสิทธิ์ประท้วงขับไล่ได้ แต่ตัวอย่างที่ชัดแจ้งคือ พุทธะปฏิเสธ "พิธีกรรมบูชายัญ" ที่ส่งเสริมความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจเทวโองการ โดยปฏิรูปคำสอนเรื่องบูชายัญมาเป็น "หลักการรับใช้ราษฎร" (ราชสังคหวัตถุ) อีกทั้งคุณธรรมทางการเมืองตามที่พุทธะสอน คือ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ วัชชีธรรม ล้วนมีเนื้อหามุ่งไปในทางเป็น "พันธะทางศีลธรรม" ที่ผูกพันให้ผู้ปกครองรับใช้ราษฎรทั้งสิ้น ไม่ได้มุ่งส่งเสริมอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเทวโองการแต่อย่างใด
หมายเหตุ : จากบทความเดิมชื่อ พุทธศาสนากับประชาธิปไตย (5) : 'เทวราช-สมมุติราช' เผยแพร่โลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 27 เมษายน-3 พฤษภาคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น