ประชาไท | Prachatai3.info |
- บีบีซี: อะไรอยู่เบื้องหลังความรุนแรงทางศาสนาในพม่า?
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คำเตือนสงกรานต์"
- อดีตนายกฯ อังกฤษ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 87 ปี
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 2-8 เม.ย. 2556
- สปส.จับมือสปสช.เดินหน้าบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน
- วีรพงษ์ รามางกูร: ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน
บีบีซี: อะไรอยู่เบื้องหลังความรุนแรงทางศาสนาในพม่า? Posted: 08 Apr 2013 10:21 AM PDT จากกรณีเหตุรุนแรงสะเทือนขวัญที่ชาวพุทธในเมืองเมกติลาของพม่ เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เมื โจนาธาน เฮด กล่าวถึงสภาพเหตุการณ์ว่า สภาพของเมกติลาดูคล้ายเมืองที่ "เมื่อคุณสังเกตเห็นรูบนกำแพงที่ยังตั้งอยู่ คุณก็จะรู้ว่ามันเป็นฝีมือของคน เป็นความโกรธที่ทำลายสิ่งเหล่ โจนาธานกล่าวอีกว่า ย่านนี้เป็นย่านชุมชนมุสลิมที่ ในรายงานของ BBC ยังมีการพูดถึงเหตุการณ์สั หลังจากเหตุการณ์รุนแรง ทหารที่ไม่ปรากฏตัวให้เห็นมากนั วิน เถ่ง เป็นคนที่เคยถูกจับเข้าคุกเป็ "ผมเห็นเด็ก 8 คน ถูกสังหารต่อหน้า ผมพยายามจะหยุดฝูงชน ผมบอกให้พวกเขากลับบ้าน แต่พวกเขาก็ขู่ผม และตำรวจก็พาตัวผมออกไป" Win กล่าว "ตำรวจไม่ได้ทำอะไรเลย ผมไม่รู้ว่าทำไม อาจเป็นเพราะว่ วิน เล่าอีกว่า มีกลุ่มคนออกมาตะโกนส่งเสียงเชี ประชากรราวร้อยละ 30 ในเมกติลาเป็นชาวมุสลิม เป็นกลุ่มประชากรที่มีโดดเด่ โจนาธานกล่าวว่า กลุ่มนักข่าว BBC พยายามเข้าไปในค่ายเพื่อพูดคุ
ต้นเหตุของความขัดแย้ง ความโกรธแค้นชิงชังในครั้งนี้มี โจนาธาน กล่าวในรายงานว่า มันเริ่มมาจากเหตุการณ์วิ หลังจากนั้นก็มีพระรูปหนึ่งถู "แต่สิ่งที่แน่นอนคือความกลั โจนาธาน ยกตัวอย่างพระอะชิน วิระธุ พระสงฆ์อายุ 45 ปี ในภาคมัณฑะเลย์ ซึ่งเคยถูกจับเข้าคุกในปี 2003 ในข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงต่ พระอะชิน วิระธุ เคยจัดการประท้วงสนับสนุนชาวพุ โจนาธานเปิดเผยว่า เขาได้นัดพบกับพระอะชิน วิระธุ ที่วัดมะ ซอ เหย่ง ในมัณฑะเลย์ พระอะชิน วิระธุ เป็นคนที่พูดจานุ่มนวล สงบเสงี่ยม มีบารมีดึงดูดผู้คน ผู้ติดตามรู้สึกว่าเขาเป็นคนน่ พระอะชิน วิระธุ บอกว่า เขายอมลดน้ำเสียงในคำปราศรั
'สติกเกอร์ 969' พระอะชิน วิระธุ บอกว่าชาวพุทธอ่อนข้อเกิ "พวกเขา ชาวมุสลิม ทำธุรกิจเก่ง พวกเขาควบคุมการขนส่ง การก่อสร้าง ตอนนี้พวกเขากำลังยึดกุ พระอะชิน วิระธุ อ้างว่าเขาได้รวบรวม 'หลักฐานความชั่ว' ของกลุ่มชาวมุสลิมไว้ เขากล่าวหาว่าชาวมุสลิม 'ข่มขืน' ผู้หญิงชาวพุทธอยู่เป็นประจำ โดยการใช้เงินล่อลวงให้ผู้หญิ พระอะชิน วิระธุ ให้นำหนังสือที่มีหน้าปกเป็นรู อย่างไรก็ตาม พระอะชิน วิระธุ กล่าวว่าเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้ โจนาธานกล่าวถึงนายหน้าค้าที่ดิ ขณะที่ร้านค้าของชาวมุสลิมซึ่ "ฉันเป็นคนทำธุรกิจ ฉันไม่ได้อยากมีส่วนกั โจนาธาน ระบุว่า พม่าเป็นประเทศที่มีความไม่ไว้ "แต่ในตอนนี้ประเทศพม่าเปิดแล้ว และบรรยากาศของเสรีภาพก็แพร่ เรียบเรียงจาก What is behind Burma's wave of religious violence?, BBC, 04-04-2013 http://www.bbc.co.uk/news/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คำเตือนสงกรานต์" Posted: 08 Apr 2013 07:57 AM PDT |
อดีตนายกฯ อังกฤษ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 87 ปี Posted: 08 Apr 2013 06:41 AM PDT 8 เม.ย. 56 - อดีตนายกรัฐมนตรีสตรีคนแรกของของอังกฤษ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ฉายา "หญิงเหล็ก" ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในวัย 87 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก โดยลอร์ด เบลล์ โฆษกของนางกล่าวว่า มาร์คและแครอล เเธตเชอร์ บุตรและธิดา ต้องการประกาศให้ทราบว่ามารดาของพวกเขา บารอนเนสแธตเชอร์ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในช่วงเช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่นของอังกฤษ แธตเชอร์มาจากพรรคอนุรักษ์นิยมและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 11 ปี ระหว่างปี 1979-1990 โดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1979, 1983 และ 1987 ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ค.ศ. 1976 เธอได้รับสมญานามจากสื่อหนังสือพิมพ์ของประเทศรัสเซียว่าเป็น "หญิงเหล็ก" (The Iron Lady) จากการแสดงออกที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด คาเมรอน และสมเด็จพระราชินีอังกฤษ กล่าวแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียดังกล่าว ในขณะที่รัฐบาลระบุว่า จะมีการจัดพิธีงานศพในฐานะเดียวกับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี และเจ้าหญิงไดอานา แต่มิให้จัดวางศพเพื่อให้ประชาชนเข้ามาแสดงความเคาระ ซึ่งเป็นประสงค์ของแธตเชอร์ก่อนเสียชีวิต ในสมัยที่แธตเชอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐบางส่วนให้เป็นของเอกชน และทำสงครามกับอาร์เจนตินาจากสาเหตุพิพาทเรื่องเกาะฟอล์คแลนด์ในปี 1982 ทั้งนี้ แทตเชอร์ เป็นผู้มีอิทธิพลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแนว "ลัทธิเสรีนิยมใหม่" ภายหลังจากที่เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เมื่อ พ.ค. 1979 ที่พร้อมกับแนวทางการปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนจากนโยบายแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) หันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวคิดการเงินนิยม (Monetarist) และแบบเน้นจัดการอุปทาน (supply-side) ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงนั้น โดยแนวทางหลักๆของ รัฐในแบบเสรีนิยมใหม่ ประกอบด้วย การแปรรูปบริการของรัฐให้เป็นของเอกชน (Privatization) การเปิดเสรีทางด้านการค้าและการเงิน และการผ่อนคลาย ลดกฎระเบียบต่างๆ เช่น การผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดแรงงาน ที่จะทำให้ความคล่องตัวและยืดหยุ่น ในการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงกลไกรัฐสวัสดิการต่างๆ ถูกโอนไปให้เอกชนในการดูแลแทน มีวาทะของแทตเชอร์หนึ่งที่สะท้อนอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ที่สำคัญ ตอกย้ำแนวคิดแบบปัจเจกนิยม (individualism) คือ "There is no such thing as society: there are individual men and women, and there are families." ซึ่งเป็นการโต้แย้งความคิดในแบบสังคมนิยม ที่ถูกพรรคแรงงานเสนอผ่านนโยบายแบบเคนส์เซียนมาโดยตลอด ชัยชนะของแทตเชอร์และอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ นำไปสู่การลดอำนาจของแนวคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่ก่อตัวและเติบโตขึ้นภายหลังปี 1945 โดยพลังของสหภาพแรงงาน เนื้อหาบางส่วนจาก: เว็บไซต์ BBC, หนังสือ "ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 2-8 เม.ย. 2556 Posted: 08 Apr 2013 02:23 AM PDT
หมอสิชลร่วมแต่งดำประท้วงหลังถูกปรับลดเบี้ยกันดารวัดผลงานด้วยการล่าแต้ม (2 เม.ย.) ที่ โรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แพทย์และบุคลากรทางแพทย์หลายรายได้ร่วมกันแต่งกายชุดดำ หรือสัญลักษณ์สีดำ เพื่อแสดงออกถึงการประท้วงแนวนโยบายการปรับลดเบี้ยกันดาร และปรับการทำงานของแพทย์ บุคลากรทางแพทย์แบบทำคะแนนเพื่อผลงาน พร้อมกันนั้นได้ขึ้นป้ายแสดงความไม่พอใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย ข้อความว่า "โรงพยาบาลสิชลไม่ยินดีต้อนรับนายประดิษฐ์ สินธวณรงค์" และจัดนิทรรศการภาพถ่าย และสาเหตุที่แพทย์ได้ร่วมกันประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมา ขณะที่ผู้ป่วยมาใช้บริการในโรงพยาบาลจำนวนมาก ส่วนแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ต่างปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ
เงินกองทุนประกันสังคมพุ่งกว่า 1 ล้านล้าน
จับ ร.อ.เก๊เปิดโรงงานนรกทารุณแรงงานต่างด้าว
ทะลักด่านแม่สอด-เมียวดี แรงงานพม่าแห่กลับบ้านเที่ยวสงกรานต์มหาศาล
"หมอชลน่าน" เล็ง ตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว ดูแลโรคติดต่อกันเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สปส.จับมือสปสช.เดินหน้าบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน Posted: 08 Apr 2013 12:27 AM PDT รองเลขาธิการสปส.เผยยินดีร่วมมือกับสปสช.เดินหน้าบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุนตามนโยบายรัฐบาล เผยค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งสปส.เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แนะใช้จ่ายชดเชยอัตราเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษามากขึ้น 8 เม.ย. 56 - เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการการจัดการการบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียวทั้งระบบ นางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมซึ่งรับผิดชอบผู้ประกันจำนวน 10 ล้านคน มีแนวทางและเห็นด้วยกับแนวทางบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน นพ.สนธยา พรึงลำภู กรรมการแพทย์ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า เนื่องจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งสิทธิประกันสังคมมีความชุกประมาณ 300 คนต่อประชากรแสนราย ซึ่งพบว่ามีค่าใช้จ่ายการรักษาโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า มีราคาเรียกเก็บจากรพ.เพิ่มสูงขึ้นจาก 1,200 ล้านบาท ในปี 2551 เป็น 1,700 ในปี 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 50,000 บาท ใกล้เคียงกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งอยู่ที่ 52,500 บาท ดังนั้น เมื่อบูรณาการเรื่องมะเร็ง สปส.เห็นด้วยที่จะใช้แนวทางการการรักษาหรือโปรโตคอลเดียวกับสปสช. ซึ่งโปรโตคอลที่สปสช.เพิ่มเติม สปส.ก็จะเสนอให้นำมาใช้กับผู้ประกันตนด้วย และต่อไปกรณีการจ่ายชดเชยก็อาจจะปรับเป็นแนวทางเดียวกัน สำหรับยานอกบัญชียาหลักนั้น สิทธิประกันสังคมอนุมัติให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ แต่ก็ยังเป็นภาระหลักของรพ. จึงเสนอว่าควรมีการกำหนดข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เรื่องยานอกบัญชียาหลักให้ชัดเจน และให้ใช้เหมือนกันทุกกองทุน และการวินิจฉัยยาราคาแพง ซึ่งต้องมีการกำหนดข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน รวมถึงการต่อรองราคายา ด้านนายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปัจจุบันพบว่า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 ต่อปี ผู้ป่วยมะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่ ณ ปี 2555 ประมาณ 2.5 ล้านคน อัตราการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี อาจแสดงได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น หรือมีประชาชนป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น ซึ่งมะเร็งที่พบมากที่สุดในทุกสิทธิได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่สิทธิการรักษาของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการไม่เหมือนกัน ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงมีแนวทางบูรณาการมะเร็งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกองทุนสุขภาพ ซึ่งผลจากการประชุมนั้น ในส่วนของสปสช.และสปส. ได้เห็นชอบในหลักการที่จะบูรณาการระบบบริการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ 2.การส่งเสริมป้องกัน 3.การคัดกรองโรคมะเร็ง 4.การจ่ายชดเชยค่าบริการ 5.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 6.การทำฐานข้อมูลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามจะมีการจัดประชุมเพื่อทำข้อสรุปให้ชัดเจนและนำเสนอให้รัฐบาลรับทราบต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วีรพงษ์ รามางกูร: ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน Posted: 07 Apr 2013 08:29 PM PDT พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว
ที่มา: คอลัมน์ คนเดินตรอก ประชาชาติธุรกิจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น