ประชาไท | Prachatai3.info |
- แอมเนสตี้ชี้สนธิสัญญาควบคุมอาวุธเป็นความก้าวหน้าด้านสิทธิ
- เมื่อ 'Sex Workers' ใน 'อาเซียน' ร่วมเล่าเรื่อง 'สิทธิ' ผ่านศิลปะ
- มาเลเซียประกาศยุบสภา 'อันวาร์ อิบราฮิม' ขอท้านายกรัฐมนตรีดีเบต
- คนงานเผาโลงประท้วง ส.ส.ปัดตก พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแรงงาน
- ผ่านฉลุย 3 ร่างแก้ไข รธน.เรื่อง ส.ว.สรรหา -สัญญาระหว่างประเทศ -ยุบพรรค
- ศอ.บต.หนุนผู้หญิงร่วมโต๊ะเจรจาสันติภาพกับขบวนการ BRN
- ความดี-เจตจำนง กับอำนาจตุลาการ
- ‘เอ็นนู ซื่อสุวรรณ’ ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ‘สวัสดิการชุมชน’
- เปิดงานวิจัย ‘กองทุนยุติธรรม’ เสนอ 6 ข้อขยายเกณฑ์เพื่อความเท่าเทียม
- เปิดงานวิจัย ‘กองทุนยุติธรรม’ เสนอ 6 ข้อขยายเกณฑ์เพื่อความเท่าเทียม
- ชำนาญ จันทร์เรือง: มองจีน มองอินเดีย แล้วมองไทย
- ‘มานิจ-เจิมศักดิ์’ นำทีม สสร.50 ฟ้อง ป.ป.ช.เอาผิดนายก-ครม. กู้ 2 ล้านล้าน
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "หวานเย็น เป็นคนดี"
- 'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราโชวาท ในวันข้าราชการไทย "เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง"
- ‘ทักษิณ’ ปาฐกถาที่ประชุม ACD ปลุกเอเชียร่วมสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่
แอมเนสตี้ชี้สนธิสัญญาควบคุมอาวุธเป็นความก้าวหน้าด้านสิทธิ Posted: 03 Apr 2013 01:26 PM PDT แอมเนสตี้ระบุ การรับรองสนับสนุนสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธของประเทศต่างๆ ในที่ประชุมยูเอ็น นับเป็นสนธิสัญญาครั้งประวัติศาสตร์ที่คุ้มครองสิทธิและหลักมนุษยธรรมที่ก้าวหน้า ซึ่งช่วยยุติการทารุณกรรมและอาชญากรรมที่รุนแรง
แถลงการณ์ องค์การสหประชาชาติกำหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจของสนธิสัญญาซื้อขายอาวุธฉบับประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ ลงคะแนนเสียงท่วมท้นสนับสนุนสนธิสัญญาควบคุมการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty - ATT) ซึ่งห้ามการส่งมอบอาวุธทั่วไป (conventional weapons) ไปยังประเทศอื่น กรณีที่ทราบว่าอาวุธเหล่านั้นจะถูกใช้เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือสงคราม ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ รัฐภาคี 154 แห่งลงคะแนนเสียงรับรองสนธิสัญญาฉบับนี้ ไม่กี่วันหลังจากอิหร่าน เกาหลีเหนือ และซีเรียแสดงเจตนาร้ายที่จะสกัดกั้นไม่ให้มีการรับรองสนธิสัญญาฉบับนี้ ประเทศทั้งสามต่างละเมิดสิทธิมนุษยชนและถูกแทรกแซงด้วยมาตรการต่าง ๆ จากองค์การสหประชาชาติ และยังออกเสียงคัดค้านสนธิสัญญาฉบับนี้ โดยมีรัฐภาคีที่งดออกเสียงอีก 23 แห่ง ไบรอัน วูด (Brian Wood) ผู้จัดการแผนกควบคุมอาวุธและสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวระหว่างอยู่ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์กว่า โลกเฝ้ารอสนธิสัญญาประวัติศาสตร์ฉบับนี้มาเป็นเวลานาน หลังการรณรงค์ต่อเนื่องหลายปี รัฐส่วนใหญ่เห็นชอบและรับรองสนธิสัญญาระดับโลก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้มีการขนย้ายอาวุธไปยังประเทศหนึ่ง ในกรณีที่อาวุธเหล่านั้นจะถูกใช้เพื่อการทารุณกรรม "แม้ว่าอิหร่าน เกาหลีเหนือ และซีเรียแสดงเจตนาร้ายที่จะขัดขวางสนธิสัญญาฉบับนี้ แต่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกแสดงความสนับสนุนอย่างเข้มแข็งต่อสนธิสัญญาที่ช่วยชีวิตมนุษย์ และมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชน" สนธิสัญญาฉบับนี้ยังกำหนดให้รัฐบาลทุกประเทศประเมินความเสี่ยงในการขนย้ายอาวุธ ยุทธภัณฑ์หรือส่วนควบอาวุธต่าง ๆ ไปยังประเทศอื่น กรณีที่อาจถูกนำไปใช้เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อกฎบัตรมนุษยธรรมและกฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรณีที่มีความเสี่ยงค่อนข้างชัดเจนและไม่อาจบรรเทาได้ รัฐเหล่านั้นจะต้องไม่ส่งมอบอาวุธให้ วิดนีย์ บราวน์ (Widney Brown) ผู้อำนวยการอาวุโสด้านกฎหมายแหละนโยบายระหว่างประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์มหาศาลทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับบรรดาประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาวุธรายใหญ่ของโลก สนธิสัญญาฉบับนี้นับเป็นสัญญาณสนับสนุนภาคประชาสังคมที่พยายามรณรงค์เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ และลดความทุกข์ยากของมนุษย์ รวมทั้งรัฐบาลที่รับฟังเสียงเรียกร้องเหล่านี้ "ในช่วงสี่ปีข้างหน้า มูลค่าการค้าในแต่ละปีของอาวุธ ยุทธภัณฑ์หรือส่วนควบอาวุธต่าง ๆ จะสูงเกินกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญ แต่ในวันนี้ต้องถือว่ารัฐต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับมนุษย์และความปลอดภัยเป็นเบื้องต้น" ขบวนการสิทธิมนุษยชนที่ประกอบด้วยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีส่วนสำคัญในการผลักดันภาคประชาสังคมและได้รับความสนับสนุนจากผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 และถือว่าประสบความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดกฎหมายระดับโลกที่เข้มแข็งและมีผลบังคับใช้เพื่อควบคุมการส่งมอบอาวุธระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการส่งมอบอาวุธเพื่อการทารุณกรรมและการละเมิดสิทธิ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับการรับรองภายหลังการพิจารณาในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติกว่าหกปี เริ่มตั้งแต่ธันวาคม 2549 ตอนที่ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเห็นชอบที่จะปรึกษาหารือกับรัฐภาคีต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ ขอบเขต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา ทั้งนี้เพื่อควบคุมการส่งมอบอาวุธทั่วไประหว่างประเทศ รัฐภาคีจำนวนมากแสดงท่าทีในเชิงบวกในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับกฎบัตรมนุษยธรรมและกฎบัตรสิทธิมนุษยชน สนธิสัญญาที่ผ่านการรับรองฉบับนี้ ครอบคลุมอาวุธทั่วไปหลัก ๆ รวมทั้งอาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาซึ่งเพิ่มจำนวนในประเทศที่มีความขัดแย้งในระดับต่ำ ประเทศที่มีการขัดกันด้วยอาวุธและมีการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนเป็นจำนวนมาก ไบรอัน วูด กล่าวเสริมว่าเช่นเดียวกับในการเจรจาสนธิสัญญาทุกฉบับ เราไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด อย่างเช่น สนธิสัญญาฉบับนี้ยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมยุทธภัณฑ์ทั้งหมด แต่ก็มีเงื่อนไขให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ และยังมีหลักการสำคัญที่หนักแน่นที่จะสถาปนาระบบควบคุมการส่งมอบอาวุธระหว่างประเทศ ไม่ให้อาวุธตกไปถึงมือผู้ที่ใช้เพื่อก่อกรรมทำเข็ญ "สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อประชาคมโลกมีแนวคิดที่ดีร่วมกันที่จะช่วยให้โลกดีขึ้น และหากเราสามารถรวมตัวกันได้ เราจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างอย่างแท้จริงในระดับโลก" สนธิสัญญาฉบับนี้จะเปิดให้มีการลงนามและให้สัตยาบันในวันที่ 3 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และสนธิสัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจากมีรัฐให้สัตยาบันครบ 50 ประเทศแรก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เมื่อ 'Sex Workers' ใน 'อาเซียน' ร่วมเล่าเรื่อง 'สิทธิ' ผ่านศิลปะ Posted: 03 Apr 2013 12:40 PM PDT พนักงานบริการทางเพศจากประเทศในอาเซียน ร่วมกันผลิตงานศิลปะที่ถ่ายทอดเรื่องราวถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ยังขาดหาย และตั้งคำถามถึงประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงว่าสามารถพิทักษ์สิทธิของพวกเขาในฐานะคนทำงานคนหนึ่งได้หรือไม่ 3 เม.ย. 56 - มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (empower) มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมสิทธิและโอกาสของพนักงานบริการ ร่วมกับสำนักงานสหประชาชาติด้านการพัฒนาและประชากร (UNDP) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดนิทรรศการศิลปะ ผลงานของพนักงานบริการ ประชาคมอาเซียน หรือผู้ประกอบอาชีพให้บริการทางเพศ (sex workers) จากโครงการ SWASEAN หรือ Sex Workers of ASEAN ใช้ชื่อว่า "Yet, still we dance" "...เราก้อยังเต้นรำ ได้อยู่" เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้สาธารณชนเข้าใจและยอมรับอาชีพการบริการทางเพศ ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบอาชีพให้บริการทางเพศ แม้ว่าผลงานที่จัดแสดงครั้งนี้ เป็นงานซึ่งมาจากกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันทางวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภาษาทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน แต่ผลงานเหล่านี้ ก็ได้สะท้อนจุดร่วมปัญหาของพนักงานบริการ ในเรื่องการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จนเห็นได้ว่าเป็นปัญหาเดียวกันที่ต้องทำความเข้าใจ ยอมรับอาชีพนี้ และร่วมกันแก้ปัญหา โดยผลงานศิลปะที่จัดแสดง เป็นการสร้างสรรค์ของเหล่าศิลปินพนักงานบริการโครงการ SWASEAN จากทั้ง 10 ประเทศ โดยมีองค์กรที่เข้าร่วม ได้แก่ 1. Aids Myanmar Alliance จากพม่า 2. PAMT จากมาเลเซีย 3. Women' s Network for Unity จากกัมพูชา 4.Project X Singapore จากสิงคโปร์ 5.Philippines Sex Worker's Collective จากฟิลิปปินส์ 6.Vietnamese Network of Sex Workers (VNSW) จากเวียดนาม 7.Sao Loa จากลาว 8. P3SY/OPSI จากอินโดนีเซีย 9.Empower จากไทย 10. $caret Timor Collective ($TK) จากติมอร์เลสเต ในการเปิดงานนิทรรศการ นายจอน อึ๊งภากรณ์ นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนอาวุโส เจ้าของรางวัลแมกไซไซปีพ.ศ.2539 ได้ปาฐกถาถึงร่างสิทธิมนุษยชนของคนทำงานบริการทางเพศ ว่าในฐานะที่เป็นมนุษย์ และในฐานะที่เป็นผู้ทำงานบริการทางเพศ ควรจะมีสิทธิในชีวิตในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิที่จะมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมายในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ สิทธิที่จะอยู่โดยปลอดจากความรุนแรงทุกชนิด สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ บังคับให้ถูกตรวจเลือดโดยไม่ยินยอม สิทธิที่จะเลือกอาชีพ สิทธิที่จะไม่ถูกกักขังไว้ที่สถานสงเคราะห์ใดๆ สิทธิที่จะเข้าถึงบริการการศึกษา บริการสุขภาพทางเพศ เพศศึกษา ถุงยาง และเจลหล่อลื่น สิทธิที่จะเลิกเพศภาวะหรือเปลี่ยนแปลงเพศภาวะโดยได้รับการยอมรับ สิทธิที่จะไม่ถูกรังเกียจ และเลือกปฏิบัติใดๆ สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีชั่วโมงการทำงานแต่พอดี มีวันหยุดพักผ่อน สิทธิที่จะเข้าร่วมกลุ่มหรือจัดตั้งสหภาพแรงงาน สิทธิในประกันสังคม และสิทธิในการเลิกหรือเปลี่ยนอาชีพเมื่อต้องการ จอน อึ๊งภากรณ์ กล่าวปาฐกถาในงาน ทั้งนี้ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2528 โดยมีแนวคิดการทำงานอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน สร้างหนทางให้พนักงานบริการเข้าถึงเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การมีสุขภาพดี และการเข้าถึงป้องกันรักษาโรค โดยเอ็มพาวเวอร์ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของพนักงานบริการ ให้รวมตัวกันเป็นชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง สามารถคัดค้านต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมภายใต้กฎหมายเดียวกัน ที่มาของงานแสดงศิลปะครั้งนี้ เกิดขึ้นจากเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โครงการ SW-ASEAN ของเอ็มพาวเวอร์ ได้จัดประชุมผู้ให้บริการทางเพศจากทั่วอาเซียนที่กรุงพนมเปญ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คนจาก 10 ประเทศ ซึ่งเป็นการจัดประชุมของภาคประชาชนคู่ขนานไปกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) โดยผู้จัดต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับสาธารณะเรื่องความเข้าใจที่ดีต่อผู้ทำงานบริการทางเพศ ผ่านงานศิลปะ ซึ่งสามารถสื่อสารและเข้าถึงได้ง่าย นางสาวจันทวิภา อภิสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์เห็นว่า การจัดนิทรรศการมีความสำคัญในฐานะที่จะทำให้คนในสังคมทั่วไปเข้าใจผู้ให้บริการทางเพศ มากยิ่งขึ้นว่าเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ มีคุณภาพ มีสติปัญญาดี และทำให้สำนักงานสหประชาชาติด้านการพัฒนาและประชากรรู้จักคนกลุ่มนี้ เพื่อให้เป็นพลังในการผลักดันให้สังคมเห็นความสำคัญของคนกลุ่มนี้รวมถึงในเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในเวลานี้ กำลังจะมีการรวมเขตเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมียุทธศาสตร์หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การค้า การท่องเที่ยว การเดินทางของผู้ประกอบอาชีพทั้ง 8 อาชีพ แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้นับรวม ผู้ให้บริการทางเพศ แม้ว่าจะมีเศรษฐกิจการค้ามีเสรีมากขึ้น แต่คนกลุ่มนี้กลับยังถูกสังคมมองว่าเป็นคนไร้ค่า ถูกกีดกันออกจากสังคม กฎหมาย ยังไม่ได้รับการคุ้มครองหรือได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้การรวมกลุ่มเพื่อเคลื่อนไหวยังทำเกิดความกล้าหาญในการที่จะทำงานเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันต่อไป นิทรรศการศิลปะ โดยพนักงานบริการ ประชาคมอาเซียน เราก้อ ยังเต้นรำ ได้อยู่ ! พนักงานบริการแห่งอาเซียน จะยังจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
มาเลเซียประกาศยุบสภา 'อันวาร์ อิบราฮิม' ขอท้านายกรัฐมนตรีดีเบต Posted: 03 Apr 2013 12:39 PM PDT 'นาจีป ราซัก' นายกรัฐมนตรีได้แถลงยุบสภาแล้ว และจะมีการประกาศวันเลือกตั้งเร็วๆ นี้ ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้าน 'อันวาร์ อิบราฮิม' ประกาศจะลงสมัคร ส.ส. ที่รัฐเประ เขตซึ่งแข่งขันสูสีในการเลือกตั้งเมื่อปี 2551 พร้อมท้า 'นาจีป ราซัก' ดีเบตเรื่องนโยบาย นายกรัฐมนตรีนาจีป ราซักของมาเลเซียแถลงยุบสภาเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา และจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ในมาเลเซีย ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ (ที่มา: Media UMNO) ที่มา: UMNO Hq เมื่อวานนี้ (3 เม.ย.) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจีป ราซัก ได้แถลงยุบสภา โดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ ซึ่งการยุบสภาดังกล่าวจะมีผลทำให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในมาเลเซียในเร็วๆ นี้ โดยถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 นับตั้งแต่ตั้งประเทศมาเลเซีย ในการอ่านแถลงการณ์ยุบสภา เขาระบุว่าการยุบสภาจะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. และเขาหวังว่าจะชนะได้เสียงข้างมาก ทั้งนี้มีการคาดหมายว่าจะมีการเลือกตั้งภายในวันที่ 27 เม.ย. นี้ ทั้งนี้นาจิป ราซัก จะนำพรรครัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Nasional หรือ BN) ประกอบด้วยพรรคอัมโน (UMNO) พรรคสมาคมชาวจีนมาเลเซีย (MCA) พรรคคองเกรสอินเดียมาเลเซีย (MIC) ฯลฯ เป็นต้น ลงเลือกตั้งแข่งกับพรรคฝ่ายค้าน "ภาคีประชาชน" (Pakatan Rakyat) ซึ่งนำโดยอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งประกอบด้วยพรรคยุติธรรมประชาชน (PKR) พรรคกิจประชาธิปไตย (DAP) พรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย (PAS) โดยพรรครัฐบาลหรือ BN ชนะการเลือกตั้งและครองอำนาจในมาเลเซียมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2510 ขณะที่ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในปี 2551 แม้พรรครัฐบาลจะชนะ แต่ก็ไม่สามารถครองเสียงข้างมากเกิน 2 ใน 3 ของสภาได้ โดยฝ่ายค้านได้ ส.ส. 82 ที่นั่ง ส่วนฝ่ายรัฐบาลได้ 140 ที่นั่ง ซึ่งลดลง 58 ที่นั่ง จากเดิมที่เคยได้ 198 ที่นั่งในการเลือกตั้งปี 2547 โดยฝ่ายค้านสามารถชนะการเลือกตั้งที่รัฐเคดะห์ กลันตัน ปีนัง สลังงอร์ และเขตกัวลาลัมเปอร์ ที่มา: Malaysiakini ทั้งนี้นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้าน ประกาศว่าจะลงสมัคร ส.ส. ที่รัฐเประ ซึ่งเป็นเขตที่แข่งขันสูสี โดยผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2551 ในรัฐนี้ พรรครัฐบาลได้ ส.ส. 28 ที่นั่ง ส่วนพรรคฝ่ายค้านได้ 28 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระได้ 4 ที่นั่ง เช่นกัน โดยในวิดีโอคลิปของมาเลเซียกินี ซึ่งรายงานการแถลงข่าวของอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อวานนี้ ได้เรียกร้องให้นาจีป ราซัก นายกรัฐมนตรี ลงดีเบตหรือโต้วาที เพื่อปกป้องนโยบายของพรรครัฐบาล และเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองหาเสียงเลือกตั้งอย่างสุจริต ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
คนงานเผาโลงประท้วง ส.ส.ปัดตก พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแรงงาน Posted: 03 Apr 2013 12:39 PM PDT
3 เม.ย.56 เวลาประมาณ 12.00 น. บริเวณหน้ารัฐสภา ถ.อู่ทองใน กลุ่มคนงานประมาณ 500 คน นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย โดยกลุ่มคนงานดังกล่าวได้ร่วมกันยื่นไว้อาลัยให้กับ ส.ส. 250 คน ที่ลงมติไม่รับร่างฯ พร้อมวางดอกไม้จันทน์ และเผาโลงศพจำลองติดรูปภาพนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย พร้อมกับข้อความกำกับว่า 'โฉมหน้าผู้อภิปรายคว่ำกฎหมายประชาชน' เพื่อเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์ถึงการประณามการไม่รับร่างฯ ดังกล่าว หลังจากนั้นได้สลายการชุมนุมอย่างสงบในเวลา 12.40 น.
"การที่เรามานี้เราไม่มีการแบ่งว่าจะเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่เราประณาม ส.ส.คนที่ไม่ยกมือให้กับพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นใครก็แล้วแต่ เราประณามทั้งหมด" นายชาลี กล่าวพร้อมย้ำด้วยว่า จะมีการผลักดันกฎหมายประกันสังคมเพื่อให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และเข้าไปดูแลผู้ประกันตนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากตอนนี้กองทุนประกันสังคมมีจำนวนมหาศาลหากประชาชนไม่ดูแลหรือควบคุมก็จะมีปัญหาในอนาคตได้ สำหรับมาตรการต่อไปนั้น ประธานคณะกรรมการสมานฉันแรงงานไทย นายชาลี ลอยสูง 5 เหตุผล ในการประณาม :
ภาพบรรยากาศการชุมนุม :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ผ่านฉลุย 3 ร่างแก้ไข รธน.เรื่อง ส.ว.สรรหา -สัญญาระหว่างประเทศ -ยุบพรรค Posted: 03 Apr 2013 12:18 PM PDT ที่ประชุมร่วมสองสภาลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่าง ทั้งเรื่องเลิก ส.ว.สรรหา - หนังสือสัญญาระหว่างประเทศ - และการยุบพรรค เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ 3 คณะเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แฟ้มภาพการประชุมรัฐสภา (ที่มา: วิทยุรัฐสภา) ตามที่มีการประชุมร่วมกันสองสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 3 เม.ย. นั้น ในเวลา 23.50 น. มีการลงมติ ทั้ง 3 ร่าง คือ ร่างที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... แก้ไขที่มาของ ส.ว.ได้แก่มาตรา 111, 112, 115, 116 วรรคสอง, 117, 118, 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113, 114 ผลการลงมติรับหลักการ 367 เสียง ไม่รับหลักการ 204 เสียง งดออกเสียง 34 เสียง ร่างที่ 2 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่ระบุว่า ในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาก่อน ผลการลงมติ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 209 เสียง งดออกเสียง 22 เสียง ร่างที่ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และ 237 ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรค ผลการลงมติ รับหลักการ 374 เสียง ไม่รับหลักการ 206 เสียง งดออกเสียง 25 เสียง โดยหลังจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 คณะ คณะละ 45 คน สัดส่วน แต่ละคณะประกอบด้วย ส.ว. 10 คน และ ส.ส. 35 คน โดยก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับคำร้อง สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กรณีขอให้พิจารณาวินิจฉัย ว่า "นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ กระทำการที่ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน ที่มา: เรียบเรียงจาก ข่าวสด และ วิทยุรัฐสภา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศอ.บต.หนุนผู้หญิงร่วมโต๊ะเจรจาสันติภาพกับขบวนการ BRN Posted: 03 Apr 2013 12:17 PM PDT
3 เม.ย.56 เมื่อเวลา 13.30 นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ พร้อมกับนางชาเดีย มาฮาบาน ประธานกลุ่ม Aceh Women's League จากประเทศอินโดนีเซีย จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพในการทำหน้าที่เสริมสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ เพื่ออบรมกลุ่มผู้หญิงเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการการเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน 2556 ณ โรงแรมซีเอส.ปัตตานี โดยมีผู้หญิงระดับแกนนำในชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าร่วม สนับสนุนโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวเปิดพิธีว่า ตนให้การสนับสนุนผู้หญิงให้มีบทบาทในกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันระหว่างตัวแทนกลุ่มขบวนการต่อต้านรัฐกับตัวแทนรัฐไทย ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งตนย้ำว่า เท่าที่เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นกลุ่มต่างๆ ในสังคม ไม่พบว่า กลุ่มใดไม่ต้องการสันติสุขในพื้นที่ และกลุ่มขบวนการต่อต้านรัฐอย่าง ขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) เองก็ตอบรับการพูดคุย พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อไปว่า ในกระบวนการพูดคุยกับกลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐที่จับอาวุธ มีกระบวนการเดินหน้าที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือกระบวนการพูดคุยเพื่อรับฟังเสียงประชาชนยังไม่มีในพื้นที่ จึงขอเชิญชวนให้ผู้หญิงเข้ามีบทบาทในส่วนนี้ พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยด้วยว่า ในการพูดคุยสันติภาพครั้งที่ผ่านมา ได้แลกเปลี่ยนกับผู้นำการพูดคุยทางฝั่งขบวนการว่า ต้องการให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งผู้นำการพูดคุยฝั่งขบวนการบอกว่า บีอาร์เอ็นไม่ได้ปฏิเสธผู้หญิงที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพเพื่อคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า กระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการเสียงของประชาชน แต่ยังไม่สามารถรับฟังเสียงประชาชนได้ ซึ่งตนเชื่อว่า ผู้หญิงสามารถเข้าใจปัญหาและลงไปดึงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ได้ เพื่อส่งต่อให้กลุ่มที่กำลังจะเจรจาสามารถยุติความขัดแย้งในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องรับฟังและทำตามในสิ่งที่ประชาชนต้องการ "การใช้อาวุธ และการใช้กำลังจะสามารถบังคับคนให้ทำตามได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคนอื่นได้ ดังนั้น การเจรจาจะเปลี่ยนไปสู่การแก้ปัญหาจากรากเหง้าได้" พ.ต.อ.ทวี กล่าว พ.ต.อ.ทวี ยังฝากด้วยว่า โจทย์ที่ต้องชวนคิดกันให้มากคือ การทำความเข้าใจกับคนที่มีความคิดต่างในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องยาก การถามถึงความคิดต่างของคนในขบวนการติดอาวุธก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากที่สุดและต้องทำคือ ต้องถามความคิดต่างของสังคมไทยทั่วประเทศที่ยังไม่เข้าใจว่า ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต้องทำความเข้าใจและสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในพื้นที่อย่างไร "อยากให้กำลังใจผู้หญิงทุกคนที่จะช่วยหนุนกระบวนการสันติภาพ อาจจะเจอสิ่งที่ท้าทาย แต่สันติภาพไม่อาจจะเกิดขึ้นได้จากคนสองกลุ่ม หรือคนๆ เดียว เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่" พ.ต.อ.ทวี กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ความดี-เจตจำนง กับอำนาจตุลาการ Posted: 03 Apr 2013 11:53 AM PDT
สถานการณ์ทางการเมืองในเมืองไทยขณะนี้ที่มีการอภิปรายแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทำให้ผมนึกถึงปรัชญาทางการเมืองเดิมๆ ของอเมริกันเมื่อสมัยแรกๆ ก่อร่างสร้างประเทศ คือคราวการร่างธรรมนูญประเทศที่ต่อมากลายเป็นแม่แบบในทางการเมืองการปกครอง ซึ่งถือเป็นวิถีประชาธิปไตยตามแบบวัฒนธรรมอเมริกัน ด้วยหลักการมติมหาชนและหลักการการยึดโยงอำนาจประชาชนกับอำนาจทั้งสาม คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ กระบวนการประชาธิปไตยดังกล่าวกลายเป็น วัฒนธรรมการเมืองของอเมริกัน(American Political Culture)ไป ยิ่งหากไปดูใน Bill of rights ซึ่งเป็นธรรมนูญว่าด้วยสิทธิของประชาชน จำนวน 10 ข้อ ก็จะเห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นว่า รัฐธรรมนูญของอเมริกันวางเรื่องสิทธิเสรีภาพไว้อย่างไรบ้าง เหมือนดังที่เรารู้กันว่า ธรรมนูญนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิในการพูดหรือแสดงออกด้านความเห็นทางการเมือง ,แม้กระทั่งป้องกัน อำนาจรัฐ หรืออำนาจอื่นๆ เข้ามาคุกคามข่มเหงสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองอย่างไรเช่นกัน นี่คือ เจตจำนงของผู้ร่าง ซึ่งก็คือ ประชาชน ที่มีวิถีปรัชญาแห่งการคิดที่ไม่สลับซับซ้อนแต่ประการเลย ฉะนั้น บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเมืองและ วัฒนธรรมอีกหลายๆด้านในสังคมอเมริกัน ที่ถูกกำหนดขึ้นใช้เป็นกรอบในการคิดและการปฏิบัติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ช่วงก่อนปี 1787 ที่ถือเป็นปีประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เสียด้วยซ้ำเพียงแต่ก่อนหน้านี้ไม่มีบทบัญญัติออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้นเอง แม้สถานการณ์ด้านต่างๆ จะเปลี่ยนไป แต่ตัววัฒนธรรมการเมืองอเมริกันกลับไม่เปลี่ยน ,วัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงเจตจำนงของประชาชน ที่เป็นเป้าหมาย หรือหลักการของการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งแรก เมื่อมีข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายูงสุด หรือกฎหมายรอง การตีความกฎหมายย่อมต้องนำ ต้นเค้าสาเหตุของการร่างรัฐธรรมนูญมาพิจารณา และก็ย่อมลงใน "เจตจำนง" หรือ "สัญญาประชาคม" อีกจนได้ หากมองสถานการณ์ทางการเมืองหรือทางสังคมโดยรวมของระบอบอเมริกันแล้ว กล่าวได้ว่า ความขัดแย้งทางการเมือง หรือทางอุดการณ์การเมืองในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ แต่สามารถคลี่คลายลงได้ ด้วยหลักเจตจำนงประชาชน ที่ถือเป็นหลักจารีตทางการเมืองของอเมริกัน เป็นหลักจารีตที่เอื้อต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ หรือพลเมืองพึงมี ซึ่งฟังดูแล้วแย้งกันอยู่ในตัว หากแต่เป็นข้อเท็จจริง ที่หมายถึง "ลักษณะการให้สิทธิเสรีภาพ" ที่เป็นจารีตทางการเมืองของอเมริกัน การแบ่ง 3 อำนาจ อาศัยหลักการ "เสรีภาพ และความเสมอภาคเบ่งบาน" อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ล้วนเป็นผลพวงจากประชาชนทั้งสิ้น หากคนไทยจะแปลกใจกัน ก็คือ อำนาจตุลาการ เป็นผลพวงจากการอำนาจของประชาชน แทนที่จะมาจากทางอื่น เหมือนดังหลายประเทศที่บ่งในนามว่า เป็นประชาธิปไตย แม้กระทั่งประชาธิปไตยระบบ อังกฤษ ที่ได้ชื่อว่า แม่แบบประชาธิปไตยก็ตาม แต่ฝ่ายอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งอิงกับระบบจารีตกลับมีการยึดโยอำนาจประชาชนไม่เท่าฝ่ายอเมริกันเอาด้วยซ้ำ ต้องไม่ลืมว่า อเมริกันก่อร่างสร้างประเทศกันมาอย่างไร พื้นฐานในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค(ความยุติธรรม) จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับคนอเมริกัน โดยที่ฐานันดร และระบบศักดินา แทบไม่มีความหมายเอาเลย ประเด็นนี้โยงไปถึงการฝังหัวทางวัฒนธรรมของอเมริกันในยุคหรือรุ่นต่อมาอีก ด้วย โดยเฉพาะความเท่าเทียมกันในทางสิทธิ ที่มีความหมายเดียวกับ คำว่า "ความไร้ซึ่งอภิสิทธิ์" อำนาจตุลาการในอเมริกานั้น เป็นผลพวงจากประชาชนใน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก อำนาจในการแต่งตั้งคณะตุลาการ(United States federal judges ) เป็นของประธานาธิบดี (โดยที่ตัวของประธานาธิบดีเองก็มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน) และรับรองโดยวุฒิสภา(Senate) ที่มาจากระบบเลือกตั้ง ตาม มาตรา 3 (Article III)ของรัฐธรรมนูญ ,ส่วนที่สอง ได้แก่การเลือกตั้งผู้พิพากษาประจำศาลท้องถิ่นโดยพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กับ ส่วนที่สาม ได้แก่ การใช้หลักสามัญสำนึก(Common sense)ในการแต่งตั้งคณะลูกขุนเพื่อตัดสินคดีความ คณะลูกขุนนี้มาจากประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดฐานะ หน้าที่การงาน ศาลแต่งตั้งมาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาสมทบร่วมกับผู้พิพากษาหลัก น้ำหนักของระบบตุลาการอเมริกัน แม้ว่าจะเป็นหนึ่งใน 3 อำนาจหลักก็ตาม แต่ก็แสดงถึงความไม่ห่างไกลจากประชาชน นี้เป็นกันทั้งในระดับบนและระดับล่างเลยทีเดียว มีความคาบเกี่ยว และคำนึงถึงการมีส่วนเข้าไปจัดการดูแลของประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็นำเอาวิธีการ "การใช้สามัญสำนึกของคนธรรมดา" มาใช้ด้วย ตามหลักที่ว่า สามัญสำนึกของคนธรรมดาที่ไม่ปนเปื้อนไปด้วยความรู้ วิชาการ ข้อกฎหมาย หรือรู้ในเรื่อง(คดี)นั้นๆเลย เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อีกนัยหนึ่งหมายถึงการเชื่อใน "Human Sense" ว่ามีอยู่จริง และสามารถนำมาใช้ได้จริง นั่นเอง แปลความก็คือ ความรู้ในวิชาการกฎหมายไม่สามารถนำมาสู่ ความยุติธรรมได้เสมอไป หากฐานความรู้สึกนึกคิด (Sense) หรือสามัญจิต ,การมองแบบซื่อๆ ของผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีความ ก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน การตีความทางด้านกฎหมาย ในส่วนของรัฐธรรมนูญและกฎหมายรองของอเมริกัน จึงเน้นไปที่ อรรถะ ยิ่งกว่าพยัญชนะ ซึ่งก็คือ เจตจำนงของการร่างกฎหมายนั้นๆ อันเป็นที่รู้และยอมรับกันในชุมชนประเทศ น้ำหนักของการพิจารณาเพื่อตีความ หรือกรอบของการพิจารณากฎหมายสูงสุดของอเมริกันจึงไม่อยู่ที่ลายลักษณ์อักษร (แม้ว่ารัฐธรรมนญจะเป็นแบบลายลักษณ์อักษรก็ตาม) หากความคิดเรื่องนี้เลยไปถึงสัญญาประชาคม เมื่อคราวแรกร่างรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ จึงไม่แปลกที่ร่างรัฐธรรมนูญยังเป็นฉบับเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไข เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ในช่วง 200 กว่าปี ความจริงการยอมรับหลักเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ หรือเจตนารมณ์ของประชาชนฝ่ายข้างมาก ก็ย่อมสะท้อนได้ชัดเจน เป็นการแก้ปัญหาในบริบทประชาธิปไตย หากไม่มีหลักการข้อนี้ ความขัดแย้งในสังคมก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด สังคมประเทศจะมีแต่ความวุ่นวาย ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันไปกี่ฉบับก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ การจัดสรรอำนาจให้ 3 ฝ่าย ต้องพอเหมาะพอดีและสมดุล สำคัญสุด คือ เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชน ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ เป็นมาตรวัดในทางโลก( secular humanism) ไม่มีที่ใดที่มีความยุติธรรมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยการสร้างความเชื่อมั่นว่าความยุติธรรมมีอยู่จริงก็ช่วยให้คนใน ประเทศสุขสงบจากปัญหาความขัดแย้งได้มากขึ้น คำว่าเจตจำนงของประชาชน ไม่เพียงสะท้อนมาจากผลผลิตรัฐธรรมนูญ หรือหยิบเอาเจตจำนงในส่วนของกฎหมายสูงสุดมาใช้เท่านั้น แต่ ในส่วนของกฎหมายชั้นรองลงมา ระบบยุติธรรมหรือระบบตุลาการอเมริกัน ได้นำมาใช้ในการตัดสินคดี เชิงการเมือง คดีเชิงอุดมการณ์ คดีเชิงสังคม คดีเชิงสิทธิมนุษยชน และคดีเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย หลายกรณีที่กฎหมายรองอาจไม่มีความหมาย เท่ากับเจตจำนงในรัฐธรรมนูญ ไม่นับรวมหากมีคณะลูกขุน(ที่ไม่รู้กฎหมาย) เข้าร่วม พวกเขาย่อมใช้ Sense ตัดสินคดีความเอาดื้อๆ ซึ่งกรอบความคิดในการตัดสิน ก็คือ เจตจำนงหลักของบุคคลหรือคณะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินคดี เทียบกับระบบกฎหมายของไทย ทำให้นึกถึงภาพเปรียบเปรย(อย่างเว่อร์ๆ)ของคำว่า "หัวหมอ" หัวหมอแบบไทยกับหัวหมอแบบอเมริกันจึงย่อมแตกต่างกัน หัวหมอแบบไทย ใช้สไตล์ การเล่นคำตามบทบัญญัติกฎหมาย พูดอีกอย่าง คือ พวกชอบแซะคำ(พยัญชนะ) ส่วนหัวหมอแบบอเมริกัน ชอบแซะใจ แซะอารมณ์ความรู้สึก การมุ่งเอาดีทางตัวอักษร มากกว่าเจตจำนงของประชาชน ทำให้รัฐธรรมนูญหลายฉบับของบางประเทศต้องถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ่อยๆ อย่างเลวร้ายที่สุด คือ ฉีกทิ้งโดยทหารหรือการยึดอำนาจ จนเมื่อผลิตใหม่ก็ออกมาในแนวเดิมๆ เพราะคนผลิต ไม่ได้ยึดถือเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ หากมุ่งแสวงหา "คนดี-ของดี" ตามจินตนาการของตนเอง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับกติกาสัญญาประชาคม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
‘เอ็นนู ซื่อสุวรรณ’ ชี้ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ‘สวัสดิการชุมชน’ Posted: 03 Apr 2013 11:29 AM PDT 3 เม.ย.56 เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. จัดเวที "ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย" โดยมีการ เสวนา "การจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน" เพื่อผลักดันในเชิงนโยบายและปฏิบัติการจริงในพื้นที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ อดีตรองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้บรรยายพิเศษเรื่อง สถาบันการเงินกับการจัดสวัสดิการชุมชนที่หลากหลายมิติใหม่ของการสร้างความเป็นพลเมือง ว่า ขณะนี้มีหลายชุมชนที่มีการจัดการเรื่องสวัสดิการชุมชน โดยการใช้สถาบันการเงิน หรือองค์กรการเงินเป็นฐานราก โดยสามารถแยกจุดประสงค์ของการจัดตั้งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. กลุ่มที่ทำเฉพาะเรื่องการเงิน เช่น การออม การกู้ ดอกเบี้ย ปันผล 2.กลุ่มที่ทำกิจกรรมเพื่อสวัสดิการอย่างแท้จริง ไม่มีเจตนาในการหากำไร โดยใช้การออมเงิน การเข้าหุ้น และนำไปสร้างเป็นสวัสดิการที่มีเจตนาช่วยคน และ 3. กลุ่มที่มีการทำกิจกรรมหลายอย่างทั้งการเงิน และการสร้างสวัสดิการไปพร้อมๆ กัน เช่น กิจกรรมสร้างอาชีพ ซึ่งไม่ว่าแต่ละชุมชนจะดำเนินการในรูปแบบใด การวางแผนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ โดยจุดเริ่มต้นควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชาวบ้านที่ต้องเป็นแกนหลักในการสะท้อนปัญหา อีกทั้งต้องมีการวางกลยุทธ์ในการจัดการที่ดี ผู้นำต้องรู้จักสร้างความรู้ทางการเงินให้ชุมชนอยู่เสมอ สร้างระบบและจัดระบบเครือข่าย มีการประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบการจัดสวัสดิการว่าดีหรือไม่อย่างไร และที่สำคัญจะต้องสร้างกฎเกณฑ์การตรวจสอบ มีความโปร่งใส มีระบบธรรมาภิบาล ไม่ใช่ทำหรือรู้เห็นกันแค่ไม่กี่คน นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แต่ละชุมชนจะสร้างสถาบันการเงินและจัดสวัสดิการชุมชนเพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมือง มี 5 ปัจจัย คือ 1. ชุมชนต้องมีการเติบโตที่มีการจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ไม่ใช่ชุมชนภาคเหนือไปลอกเลียนแบบการจัดการแบบคนภาคใต้มาทั้งหมด 2.การตอบสนองความต้องการของสมาชิกมีผลดีและนำไปสู่การมีคุณภาพ มีความเป็นอยู่ดี เป็นคนที่มีคุณภาพ 3.การเคลื่อนไหวของเงินในสถาบันการเงินในชุมชนจะต้องมาจากการออมหรือถือหุ้น 4.จะต้องมีสมาชิกมาใช้บริการในปริมาณมาก เนื่องจากสถาบันการเงินชุมชนไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมมากเหมือนเอกชน จึงน่าจะเป็นแรงดูด และที่สำคัญการบริหารจัดการกันเอง ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์และเข้ามาสู่กระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างมีจิตอาสา และ 5.มีความสัมพันธ์กับนโยบายรัฐ นายเอ็นนู กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอต่อไปที่อยากเสนอให้ชุมชน คือขณะนี้การจัดการสวัสดิการในแต่ละพื้นที่มักจะทำในลักษณะที่คล้ายกัน คือ เรื่องเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย แต่ในความเป็นจริงยังสามารถจัดสวัสดิการที่หลาก หลายและทำในเชิงรุกได้ด้วย อาทิ การลดหนี้นอกระบบ ลดการสูญเสียที่ดินทำกิน เคหะสงเคราะห์ สงเคราะห์อาชีพ ต่อยอดการทำงาน พัฒนาอาชีพ พัฒนาผู้ด้อยโอกาส และการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพราะขณะนี้ในหลายชุมชนเริ่มประสบปัญหาชาวบ้านไม่มีที่ดินทำกินแล้ว เพราะถูกนายทุนกว้านซื้อไปและหาประโยชน์ และอีกประเด็นสำคัญคือบางครั้งการจัดสวัสดิการยังตกหล่นสำหรับคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ดังนั้นควรมีการพัฒนาเพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสมีส่วนร่วมในความเป็นพลเมือง ที่จะพัฒนาชุมชน ทำสังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน นายชูชาติ บำรุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่าเราเริ่มทำสวัสดิการชุมชนในปี 2548 โดยเริ่มจากทำแผนชุมชนว่า ชาวบ้านมีปัญหาความต้องการหรือเดือดร้อนในประเด็นใดบ้าง และท้องถิ่นก็เข้าไปหนุนเสริมกระบวนการให้ชาวบ้านเรียนรู้ว่าจะต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างไร จนปัจจุบันสามารถจัดตั้งเป็นสวัสดิการได้ในหลากหลายด้าน จากความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน เรียกว่าการจัดสวัสดิการจาก 3 ขา คือ ชุมชน ท้องถิ่น และรัฐบาล ซึ่งเมื่อมีการดำเนินการแล้วก็พบว่าชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในโครงการสวัสดิการเรื่องการส่งเสริมอาชีพ นอกจากนี้การจัดการสวัสดิการชุมชนยังเกิดผลที่เห็นได้ชัดคือชาวบ้านมีความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้น นายศรัญวิทย์ ดาราศรี อดีตประธานสภาเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดสวัสดิการชุมชนของเรามีแนวคิดเกิดจากการช่วยเหลือกันระหว่างชาวบ้านก่อน เพราะเห็นว่านับวันสังคมยิ่งเดินไปในรูปแบบตัวใครตัวมัน ดังนั้นจึงขับเคลื่อนงานเพื่อทำให้ชุมชนหันมารวมตัวกัน โดยเริ่มแรกทำเพียงไม่กี่หมู่บ้านก็ขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ข้อได้เปรียบของตำบลเชิงดอยคือได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนด้วย กลายเป็นการจัดการสวัสดิการ 4 ขา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้สวัสดิการและองค์กรการเงินของชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น นายภานุวุธ บูรพรหม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กล่าวว่า อยากแนะนำให้ชุมชนที่จะเริ่มจัดสวัสดิการชุมชน เริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อนโดยเริ่มจาความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และที่สำคัญต้องเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ ส่วนท้องถิ่นเป็นแค่หน่วยสนับสนุน ทั้งนี้เห็นว่าปัจจุบันในหลายพื้นที่มีสวัสดิการอยู่แล้ว แต่ที่เป็นปัญหาคือเป็นไปในรูปแบบต่างคนต่างทำ จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นทางแก้คือต้องหาจุดร่วมกันให้ได้ โดยท้องถิ่นอาจจะเข้าไปเป็นตัวเชื่อม และท้ายที่สุดที่ทุกสวัสดิการชุมชนควรคำนึงคือจะต้องดูแลชาวบ้านทั้งด้านจิตใจและร่างกาย เพราะเมื่อจิตดีกายดี การพัฒนาในชุมชนก็จะดีไปด้วย และนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนได้สำเร็จในที่สุด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เปิดงานวิจัย ‘กองทุนยุติธรรม’ เสนอ 6 ข้อขยายเกณฑ์เพื่อความเท่าเทียม Posted: 03 Apr 2013 11:12 AM PDT เสนอตกลงกับศาลให้หนังสือรับรองแทนหลักทรัพย์ , กระจายอำนาจอนุ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความมุสลิม ได้ร่วมจัดรายงานวิจัยข้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่ ทั้งนี้ กองทุนยุติธรรมได้ถูกจัดตั้งขึ้ คณะผู้วิจัยนำเสนอว่า ควรมีการปรับปรุงนโยบายการพั 1.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื 2. การใช้หลักทรัพย์ในการประกันตั 3. ควรกระจายอำนาจในการพิจารณาอนุ 4. ควรการปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุ 4.1 ขยายการให้ความช่วยเหลื 4.2 ขยายการให้ความช่วยเหลือแก่ 4.3 ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ 4.4 ควรมี 5.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิ 6. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายได้ชี้ การนำเสนออย่างเป็นทางการได้รั ในวันเดียวกันทางคณะผู้วิจัยได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เปิดงานวิจัย ‘กองทุนยุติธรรม’ เสนอ 6 ข้อขยายเกณฑ์เพื่อความเท่าเทียม Posted: 03 Apr 2013 11:11 AM PDT เสนอตกลงกับศาลให้หนังสือรับรองแทนหลักทรัพย์ , กระจายอำนาจอนุ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความมุสลิม ได้ร่วมจัดรายงานวิจัยข้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่ ทั้งนี้ กองทุนยุติธรรมได้ถูกจัดตั้งขึ้ คณะผู้วิจัยนำเสนอว่า ควรมีการปรับปรุงนโยบายการพั 1.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื 2. การใช้หลักทรัพย์ในการประกันตั 3. ควรกระจายอำนาจในการพิจารณาอนุ 4. ควรการปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุ 4.1 ขยายการให้ความช่วยเหลื 4.2 ขยายการให้ความช่วยเหลือแก่ 4.3 ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ 4.4 ควรมี 5.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิ 6. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายได้ชี้ การนำเสนออย่างเป็นทางการได้รั ในวันเดียวกันทางคณะผู้วิจัยได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชำนาญ จันทร์เรือง: มองจีน มองอินเดีย แล้วมองไทย Posted: 03 Apr 2013 10:44 AM PDT
ในช่วงระยะเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ไปเยือนประเทศยักษ์ใหญ่สองประเทศคือจีนกับอินเดีย หลังจากที่ช่วงปลายปีที่แล้วได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศยักษ์ใหญ่อีกประเทศหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาซึ่งประธานาธิบดีโอบามาได้กำชัยชนะอีกครั้งหนึ่งเหนือคู่แข่งคือมิตต์ รอมนีย์ ผมไปจีนคราวนี้ในฐานะผู้จัดการโครงการอบรมกฎหมายปกครองให้แก่ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเดินทางไปดูงานที่กรมยุติธรรมของยูนนาน ซึ่งได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับยุติธรรมทางเลือก เช่น การไกล่เกลี่ย และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและระบบศาลของจีนที่มหาวิทยาลัยยูนนานที่มีความตกลงร่วมกันกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รูปแบบการเมืองการปกครองของจีนค่อนข้างจะเข้าใจยากสำหรับผู้ที่คุ้นชินกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไป แต่ของจีนเขาก็เน้นย้ำว่าแม้ว่าเขาจะไม่เรียกระบอบการปกครองของเขาว่าประชาธิปไตยก็ตามแต่ผู้บริหารบ้านเมืองของเขาทุกระดับมาจากการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งเลือกผู้แทนของเขาเข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชน แล้วสภาประชาชนของเขาจะเป็นผู้ไปแต่งตั้งผู้บริหารตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติหรือแม้กระทั่งตุลาการที่ถึงแม้ว่าจะมีการสอบคัดเลือกเข้ามาก็ตามแต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชนเสียก่อน การปกครองท้องถิ่นของจีนมี 5 ระดับ คือ มณฑล นครหรือเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน นอกจากนั้นยังมีฮ่องกงและมาเก๊าซึ่งเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษที่เรียกกันว่าหนึ่งประเทศสองระบบนั้นเอง แต่ระบบศาลมีเพียง 4 ระดับเท่านั้น คือ ระดับชาติ มณฑล เมืองและอำเภอ และศาลชำนัญพิเศษ คือ ศาลทหาร ศาลทะเล และศาลกิจการขนส่ง/รถไฟ โดยไม่มีศาลในระดับตำบลหรือหมู่บ้าน แต่มีระบบการไกล่เกลี่ยแทน ระบบกฎหมายของจีนปัจจุบันค่อนข้างได้มาตรฐานกว่าแต่ก่อน มีการจัดทำประมวลกฎหมายที่สามารถค้นคว้าได้ง่ายกว่าเดิมเพียงแต่อัตราโทษค่อนข้างรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ที่สำคัญยังมีการประหารชีวิตอยู่จำนวนมาก โทษของการครอบครองอาวุธปืนค่อนข้างสูง ฉะนั้น สถิติคดีเกี่ยวกับการใช้อาวุธปืนทำร้ายกันจึงต่ำ อย่างมากก็แค่ทะเลาะตบตีและทำร้ายร่างกายกันด้วยอาวุธอื่นที่พอหยิบฉวยได้ การศึกษาด้านกฎหมายของจีนค่อนข้างสำคัญมากสำหรับนักศึกษาไทยเรา เพราะหากเราคิดจะค้าขายกับเขาแต่เราไม่รู้จักระบบกฎหมายเขาเลยย่อมเป็นการลำบาก ผมคิดว่าการศึกษากฎหมายจีนสำหรับคนไทยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่สำคัญคือค่าเล่าเรียนค่อนข้างถูกและถูกว่าเมืองไทยเสียด้วยซ้ำ ในระดับปริญญาโทค่าเล่าเรียนเทอมละประมาณสองหมื่นบาทเท่านั้นเอง และหากไม่มีพื้นฐานด้านภาษาจีนเลยก็ลงทุนเรียนภาษาสักปีหนึ่งแล้วค่อยเรียนกฎหมายต่อ ส่วนอินเดียที่ผมได้ไปเยือนหลังจากกลับจากเมืองจีนได้เพียงวันเดียวนั้นเป็นการไปสัมมนาบรรณาธิการนิตยสารโรตารีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก(Asia Pacific Regional Rotary Magazine Editors Seminar)ที่เมืองเชนไนหรือชื่อเดิมก่อนหน้านี้ที่ถูกยึดครองโดยอังกฤษเรียกว่ามัดราสหรือมัทราสนั่นเอง สิ่งทีพบเห็นที่อินเดียในวันนี้แตกต่างจากเดิมมากไม่ว่าจะเป็นด้านตึกรามบ้านช่อง เทคโนโลยีต่างๆ รถรามีหลายยี่ห้อแทนของเดิมที่มีแต่รถเก๋งแอมบาสเดอร์และรถบัสทาทา(TATA)แต่วิถีชีวิตของประชาชนทั่วไปยังคงเดิม ผู้คนศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแม้ว่าศาสนาส่วนใหญ่ของประเทศนี้คือฮินดูแต่เมื่อ Great Friday ที่ผ่านมาก็มีผู้นับถือศาสนาคริสต์ออกไปโบสถ์กันอย่างมากมาย และมีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากกว่าอินโดนีเซียและปากีสถานซึ่งเป็นประเทศมุสลิมแท้ๆ อีกด้วย ระบบการเมืองการปกครองของอินเดียนั้นขึ้นชื่ออยู่แล้วในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าอินเดียจะมีอัตราผู้ไม่รู้หนังสือสูงกว่าไทยมากแต่ก็ไม่เคยมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น ประชาธิปไตยหยั่งรากไปทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติลงไปในสถาบันการศึกษาจนถึงในระดับรากหญ้าที่แม้ว่าจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่เขาก็ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยจดจำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองที่ตนเองจะเลือก ในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นของอินเดียนั้นมีความเป็นอิสระสูงมาก เพราะแม้แต่หัวหน้าฝ่ายบริหารยังเรียกว่า Chief Minister หรือมุขมนตรีในภาคภาษาไทยเรานั่นเอง สิ่งที่เหมือนกันระหว่างจีนกับอินเดียคือจำนวนประชากรที่มีจำนวนมาก โดยจีนมี 1,200 ล้านคน อินเดียมี 1,300 ล้านคน พลังของทรัพยากรมนุษย์จึงมีสูงมาก และที่เหมือนกันระหว่างจีน อินเดียและไทยก็คือการคอร์รัปชันที่มีในทุกระดับไม่จำเพาะแต่นักการเมืองเท่านั้น สิ่งที่แตกต่างระหว่างไทยกับอินเดียและจีนก็คือความเป็นอิสระของการปกครองท้องถิ่นที่ไทยเราเมื่อเทียบกับสองประเทศนี้เรานับได้ว่ายังไม่เข้าถึงชั้นอนุบาลเลย จีนมีการปกครองตนเองในหลายมณฑล เช่น ซินเกียง(อุยกูร์) ยูนนาน(สิบสองปันนา) ทิเบต ฯลฯ แต่ของไทยเราเพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว ว่ากันไปถึงการแบ่งแยกดินแดนหรือนครรัฐไปโน่น ทั้งๆที่ตัวอย่างในประเทศต่างๆมีให้เห็นอย่างมากมายนอกเหนือจากจีนก็คือ มินดาเนาของฟิลิปปินส์ หรืออาเจะห์ของอินโดนีเชีย ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแยกรัฐแต่อย่างใด ผู้บริหารบ้านเมืองที่มีวิสัยทัศน์เขาเข้าใจถึงปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจว่าได้สร้างปัญหามากมายซึ่งรวมถึงการเป็นปัจจัยหนึ่งของสาเหตุของปัญหาความไม่สงบรายวันในภาคใต้ของเรา ตัวอย่างติมอร์ตะวันออกก็มีให้เห็นอยู่กดเขาไว้มากๆสุดท้ายก็เอาไม่อยู่ มองเขา มองเรา แล้วนำสิ่งดีๆ มาปรับปรุง บ้านเมืองก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง หากยังมัวแต่งมโข่งหรือหวงอำนาจอยู่เช่นพี่ไทยเราอย่างปัจจุบันนี้ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายอีกสักกี่ชาติก็ไม่มีทางไปถึงไหน ทีคนกรุงเทพเลือกตั้งทุกช่องทุกสถานีและทุกสื่อพากันปั่นข่าว ทำเหมือนว่ากรุงเทพคือประเทศไทยไปแล้ว แต่พอคนจังหวัดอื่นออกมาบ่นว่าอยากเลือกผู้ว่าของเขาบ้าง กลับออกมาพร่ำคาถาว่ายังไม่พร้อมๆ เดี๋ยวนักเลงครองเมือง ฯลฯ สารพัดที่ออกมากล่าวอ้างกีดกัน ทำประหนึ่งว่าคนจังหวัดอื่นเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศนี้เสียกระนั้น
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 3 เมษายน 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
‘มานิจ-เจิมศักดิ์’ นำทีม สสร.50 ฟ้อง ป.ป.ช.เอาผิดนายก-ครม. กู้ 2 ล้านล้าน Posted: 03 Apr 2013 10:41 AM PDT 3 เม.ย.56 - 12 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 หรือ ส.ส.ร.50 ประกอบด้วย นายมานิจ สุขสมจิตร นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายกฤษดา ให้วัฒนานุกูล นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร นายคมสัน โพธิ์คง ศ.ดร.เจริญศักดิ์ โรจน์ฤทธิ์พิเชษฐ์ นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ นางพรรณราย แสงวิเชียร นายสมเกียรติ รอดเจริญ นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย และนายสุนทร จันทรังสี ยื่นหนังสือกล่าวโทษนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ดำเนินการสอบสวนและไต่สวนนางสาวยิ่งลักษณ์ และคณะ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ฐานฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ซึ่งคุ้มครองป้องกันเงินของแผ่นดิน มิให้ถูกผู้ลุแก่อำนาจฉ้อฉลหรือใช้กลโกงเป็นประโยชน์แก่ตน กรณีที่รัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และผ่านการพิจารณาวาระแรกไปแล้ว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ และนายสมเกียรติ รอดเจริญ ในฐานะได้รับแต่งตั้งจากชมรมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ส.ส.ร.2550) ได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ ป.ป.ช.ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษา ลงโทษสถานหนัก รวมทั้งการให้หยุดหรือพ้นจากหน้าที่ตำแหน่งโดยเร็วที่สุด รวมทั้งใช้มาตรการชั่วคราวอันจำเป็นและสมควรเพื่อหยุดยั้งการกระทำความผิด ต่อไป เพื่อป้องกันผลอันเกิดจากการกระทำความผิดดังกล่าวโดยพลัน รายละเอียดหนังสือคำร้องต่อ ป.ป.ช. :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "หวานเย็น เป็นคนดี" Posted: 03 Apr 2013 09:14 AM PDT | |
'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราโชวาท ในวันข้าราชการไทย "เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง" Posted: 03 Apr 2013 05:33 AM PDT พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยให้ข้าราชการพลเรือนมีใจหนักแน่น และเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างแม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีสติ โดยถือว่าความคิดเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์ คือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายจากทุกคนทุกฝ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันที่ 1 เม.ย. 56 ความว่า "งานของแผ่นดินนั้น เป็นงานส่วนรวม มีผลที่กว้างขวาง เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองและบุคคลทุกคนทุกฝ่าย เมื่อเป็นงานส่วนรวมและมีผล เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความคิดเห็น ไม่ตรงกัน ก็ย่อมเกิดมีขึ้นบ้างเป็นปรกติธรรมดา ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงาน ของแผ่นดิน ตลอดจนทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงต้องมีใจที่หนักแน่นและเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างแม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีสติ ใช้ปัญญาและเหตุผลเป็นเครื่องปฏิบัติวินิจฉัย โดยถือว่าความคิดเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น คือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลายจากทุกคนทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติบริหารงานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้งานทุกส่วน ทุกด้านของแผ่นดินสำเร็จผลเป็นความเจริญมั่นคงแก่ประเทศชาติและประชาชน อย่างแท้จริง" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
‘ทักษิณ’ ปาฐกถาที่ประชุม ACD ปลุกเอเชียร่วมสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่ Posted: 03 Apr 2013 05:07 AM PDT ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ Thaksin Shinawatra ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Thaksin Shinawatra' และ 'www.insidethaigov.com ' ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของบุคคลในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจัดทำขึ้น ได้เผยเเพร่คำปาฐกถาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมืออาเซีย (ACD) ครั้งที่ 11 ณ กรุงดูชานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับเชิญจากนายเอมอมาลี ราห์มอน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน เป็นแขกเกียรติยศปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ปาฐกถาตอนหนึ่งว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาร่วมการประชุม ACD ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ประเทศซึ่งเปี่ยมล้นไปด้วยแหล่งอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมอันเลอค่า และขอขอบคุณรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถานที่ให้เกียรติเชิญมาปาฐกถาในวันนี้ ซึ่งในโอกาสที่ได้กลับมาเมืองดูชานเบ ในครั้งนี้ทำให้อดหวนคิดถึงอดีตไม่ได้ โดยเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 49 เป็นวันที่ผมเดินทางมาเยี่ยมเยียน สาธารณรัฐทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการประเทศสุดท้าย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง 10 วันหลังจากนั้นก็เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศไทยขณะที่ผมยังปฏิบัติราชการในต่างประเทศ ACD ถือกำเนิดที่ประเทศไทย ในเดือนมิ.ย.45 ซึ่งในครั้งนั้นมีประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง ACD 18 ประเทศมาร่วมประชุมด้วยกัน ทำให้บรรยากาศอบอุ่นมากสำหรับความตั้งใจในการที่จะรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีก่อน ที่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในเวลานั้นประเทศต่างๆ ในทวีปอื่นเริ่มมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้ว แต่ประเทศในทวีปเอเชียยังไม่ได้คิดถึงการรวมตัว โชคดีที่ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีการรวมศูนย์กันอยู่แล้ว ประกอบกับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากมิตรประเทศในแถบเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกกลาง ทำให้เอเชียของเราสามารถหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้จากทุกมุมทวีป จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกจรดตะวันตก และนั่น จึงก่อเกิด ACD ขึ้นมา นับตั้งแต่วันที่มีความหมายนั้นเป็นต้นมา ผมยินดีที่จะบอกว่าองค์กรของพวกเราเติบโตขึ้นด้วยความมั่นคงและทรงพลัง นับตั้งแต่ปี 2545 มีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยในเวลานี้มีประเทศสมาชิกแล้ว 32 ประเทศ ซึ่งได้แก่ประเทศสมาชิกจากโซนเอเชียตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดครอบคลุมไปทั้งทวีป ซึ่งการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศ อย่าง ACD มีความจำเป็น สำหรับภูมิภาคของเรา และผมเชื่อว่ามีความสำคัญไม่มากก็น้อยจึงขออนุญาตนำมาพูดซ้ำอีกครั้งในวันนี้ ทวีปเอเชีย มีประชากรมากกว่าสี่พันล้านคน นับเป็น 60% จากจำนวนประชากรทั้งโลก มีตลาดการค้าขายที่ใหญ่ มหึมาและเป็นแหล่งรวมทรัพยากรมนุษย์อันมีค่า ที่นี่คือที่ที่มีดินแดนกว้างใหญ่ ขนาดราว 30% ของเปลือกโลก และที่นี่มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมหาศาล และยังเป็นดินแดนที่เศรษฐกิจเติบโตสูงที่สุดในโลก เป็นภูมิภาคหลักที่ผลักดันความเจริญของโลกในตลอดหลายสิบปีมานี้ ปริมาณการส่งสินค้าของออกของภูมิภาคนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีมานี้ และปัจจุบันมูลค่าการค้าขายของเอเชียมีปริมาณ30% ของการค้าขายทั้งโลก ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้ง ACD เอเชียมีทุนสำรอง สะสมรวมกันประมาณหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของทุนแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่วันนี้เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าวสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ไม่เพียงแต่ขนาดของเศรษฐกิจในเอเชียที่มีการขยายตัวอย่างมาก แต่การขยายตัวยังรวมไปถึงการขยายตัวในมิติอื่นๆ เช่น ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาสำคัญ รวมไปถึงมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่หลายสิ่ง และเอเชียก็ยังเป็นหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมโบราณนับย้อนหลังได้หลายพันปี หากมองข้ามฉากหลังของความมั่งคั่ง เราก็ต้องยอมรับว่าในอีกหลายๆ พื้นที่ในเอเชีย ประชากรของเรายังคงมีฐานะยากจนอยู่ และมันรบกวนความรู้สึกของผมที่ว่าจำนวนประชากรที่ยากจนนั้นมีอยู่จำนวนมากและไม่ได้รับการเอาใจใส่ แม้ว่าเรามีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกันและกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่เอเชียก็ยังคงแข่งขันระหว่างกัน และหลายครั้งที่พาให้ประเทศพัวพันกับความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งน่าเสียดายเพราะเราน่าจะทำให้เกิดความพยายามที่จะร่วมมือกัน และนำพาความเข้มแข็งมาสู่ภูมิภาคนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผมเล็งเห็นว่าการรวมตัวเป็นกลุ่มลักษณะนี้จะช่วยทำให้เกิดการเจรจาต่อรองและร่วมมือระหว่างกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง ความแตกต่างไปสู่ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นหนทางสร้างความเข้มแข็งในหมู่ประเทศสมาชิกและขยายฐานพันธมิตรต่อไปยังภูมิภาคอื่น ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมมีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นการเติบโตก้าวหน้าและการเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกใน ACD ตลอดระยะเวลาที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อย่างไรก็ตามหลังจากที่พ้นตำแหน่งในปี 2549 ผมพบว่ามีความกระตือรือร้นลดลงและมีประเทศสมาชิกมาเพิ่มใหม่เพียง 2 ประเทศ ดังนั้นในวันนี้จึงขอให้พวกท่านทั้งหลายหันมาฟื้นฟู ACDให้เป็นพลวัตใหม่ให้กับทุกชีวิต ในช่วงเวลานี้ จะเห็นว่าประเทศหลายๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นของโลกประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างหนัก แต่เอเชียของเรายังคงมีความแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพดีอยู่มาก ดังที่เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจากเอเชีย แต่ถึงแม้ว่าการขยายตัวในภูมิภาคนี้ของเรายังเป็นไปด้วยดีอยู่ ก็ยิ่งควรที่จะรวมกลุ่มกัน เพราะช่วยกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งระหว่างกัน จะได้เป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อภูมิภาคอื่นด้วย พวกเราส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ผลิตสินค้าหลักให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรายังอ่อนด้อยเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าที่ส่งออก ดังนั้นแทนที่เราจะต้องมาแข่งขันตัดราคากันเอง การรวมตัวเป็น ACD จะช่วยทำให้ลดการแข่งขันและลดความขัดแย้งในหมู่ประเทศสมาชิกได้ เอกอัครราชทูต ผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน สองพันปีก่อน บรรพบุรุษของพวกเราได้ทำการค้าขายตามเส้นทางโบราณอันเลื่องชื่อ เส้นทางสายไหม บนถนนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรสายนี้ เริ่มต้นจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนทอดผ่านบางส่วนของสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ไปสู่ตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป และแอฟริกา เส้นทางการค้านานาประเทศสายนี้เป็นถนนสำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า ความรู้และเทคโนโลยี รวมไปถึงศาสนา ปรัชญาและศิลปวัฒนธรรม การที่เรามีโอกาสพูดคุยเชื่อมโยงกันในภูมิภาคในวันนี้ เปรียบได้กับว่าพวกเรากำลังสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่ โดยการเชื่อมโยงประเทศสมาชิก ACD แล้วโยงต่อไปยังภูมิภาคอื่น ผ่านระบบถนน ระบบทางรถไฟ การเดินเรือและการเดินทางทางอากาศ ซึ่งถือเป็นฮาร์ดแวร์หลัก อย่างไรก็ตาม ก็ต้องไม่ละเลย ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีความสำคัญระดับเดียวกัน คำว่าซอฟต์แวร์ก็หมายถึง วัฒนธรรม ศาสนา อารยธรรมที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนานของหมู่ประเทศสมาชิก ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะช่วยสร้างให้เราได้เส้นไหมที่สุดพิเศษ ที่มีความยืดหยุ่นสูง สง่าและประเมินค่าได้ยาก และขอถือโอกาสนี้เรียนเชิญทุกท่านร่วมเดินทางบนเส้นทางสายไหมยุคใหม่ ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งบนถนนแห่งความเกียรติยศ ยิ่งใหญ่ และเจริญรุ่งโรจน์ตลอดไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น