ประชาไท | Prachatai3.info |
- รายงานเผยสหรัฐซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดี 9/11
- เรื่องของพระวีระธุผู้ยุยงให้เกิดความรุนแรงทางศาสนาในพม่า
- การต้อนรับประชาคมอาเซียนแบบปักธงชาติ
- จับตาความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของลาว
- กระบวนการสันติภาพในมุมมองของข้าราชการ (2)
- “ควรเดินหน้า แต่....” ข้อเสนอทีดีอาร์ไอโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ครูสาวตาดีกาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ขณะทำกิจกรรมภาคฤดูร้อน
- เลื่อนสืบพยานคดีก่อการร้าย จตุพรยัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่รวมแกนนำ
รายงานเผยสหรัฐซ้อมทรมานผู้ต้องหาคดี 9/11 Posted: 19 Apr 2013 12:22 PM PDT รายงานขององค์กรอิสระเปิดเผยว่ารบ.สหรัฐซ้อมทรมานนักโทษในคดีก่อการร้าย ด้วยการรู้เห็นจากประธานาธิบดีและที่ปรึกษาระดับสูง ในขณะที่การถกเถียงเรื่องความชอบธรรมในการทรมานยังคงดำเนินอยู่ เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่รายงานของคณะทำงานด้านการปฏิบัติต่อนักโทษขององค์กร Constitution Project ซึ่งเป็นองค์กรประโยชน์สาธารณะ เปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐทำการทรมานผู้ต้องสงสัยและนักโทษในคดีการก่อการร้ายจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11กันยายน 2544 และชี้ชัดว่าประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงมีส่วนรู้เห็น คณะทำงานดังกล่าว นำโดยอดีตส.ส. จากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน และประกอบด้วยทนายความ ผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่กองทัพระดับสูงที่เกษียณแล้ว ได้รวบรวมข้อมูลทางเอกสารและสัมภาษณ์นักโทษและผู้ที่เกี่ยวข้องราว 100 คน ใช้เวลาราว 2 ปี และผลิตรายงานความยาวจำนวน 560 หน้า ซึ่งระบุว่ารัฐบาลได้ซ้อมทรมานนักโทษและผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียและจากกลุ่มอัลกออิดะห์ เพื่อบังคับให้บอกข้อมูลต่างๆ รายงานดังกล่าวศึกษาการซ้อมทรมานตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน จนถึงสมัยปธน.โอบามา อย่างไรก็ตาม พบว่า การออกคำสั่งหรืออนุญาตให้ซ้อมทรมานพบบ่อยครั้งในสมัยของปธน.จอร์จ ดับเบิลยู บุช เนื่องจากเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เทคนิคในการซ้อมทรมานของซีไอเอ หรือหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เทคนิคการทำให้เกือบจมน้ำ การกดน้ำจำลอง (waterboarding) การจับกระแทกกับผนัง การล่ามโซ่ในท่าที่เจ็บปวดอย่างยาวนาน และการทำให้ผู้ต้องสงสัยอดนอนอย่างยาวนาน ซึ่งวิธีการดังกล่าวบางส่วน ถูกประณามโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อพบว่าดำเนินการอยู่ในประเทศอื่นๆ รายงานสรุปว่า "ไม่มีความชอบธรรมใดๆ" และ "สร้างความเสียหายต่อจุดยืนของประเทศชาติ ลดความสามารถของประเทศในการยึดถือหลักจริยธรรม และสร้างอันตรายต่อทหารสหรัฐที่ถูกจับเป็นตัวประกัน" นอกจากนี้ ยังพบว่า "ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและที่ชวนเชื่อได้ว่า" วิธีการสอบสวนแบบซ้อมทรมานจะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีค่า ที่ไม่สามารถได้มาด้วยวิธีอื่นๆ และถึงแม้บุคคลที่ถูกทรมานจะคายข้อมูลออกมา แต่รายงานก็ระบุว่า ข้อมูลที่ได้จากการบังคับใช้กำลังนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ข้อถกเถียงเรื่องการซ้อมทรมานในมิติประวัติศาสตร์และกฎหมายได้ดำเนินมากว่าศตวรรษในสังคมอเมริกา โดยในระหว่างปี 2545-2548 สำนักงานกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เขียนความคิดเห็นทางกฎหมายที่สรุปว่าวิธีการดังกล่าว ไม่นับว่าเป็นการซ้อมทรมานหากปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ภายหลังเอกสารดังกล่าวได้ถูกถอนออกไป ในขณะที่สื่อมวลชนที่รายงานเรื่องนี้ยังคงไม่มีฉันทามติที่แน่นอนว่า ควรเรียกการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการซ้อมทรมานหรือไม่เนื่องจากเจ้าหน้าที่บางส่วนยังไม่ยอมรับ รายงานฉบับดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากเอกสารลับ เนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าถึง อย่างไรก็ตาม มีรายงานอีกฉบับที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการด้านการสืบราชการลับของวุฒิสภา ซึ่งใช้ข้อมูลจากเอกสารลับของซีไอเอทั้งหมด มีความยาวจำนวน 6,000 หน้าที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการคุมขังนักโทษและวิธีการสอบสวน แต่รายงานดังกล่าวเก็บเป็นความลับ โดยองค์การสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยรายงานดังกล่าว เพื่อสร้างความโปร่งใส และให้ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เรื่องของพระวีระธุผู้ยุยงให้เกิดความรุนแรงทางศาสนาในพม่า Posted: 19 Apr 2013 12:18 PM PDT พระผู้เรียกตัวเองว่า 'บิน ลาเดน แห่งพม่า' ผู้เผยแพร่คำสอนสร้างความเกลี พระวีระธุ (แฟ้มภาพ/ที่มา: moemaka.blogspot.com) จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่ ในวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา สำนักข่าว The Guardian ได้นำเสนอเรื่องของพระรูปหนึ่ วีระธุ เป็นพระอายุ 45 ปี ผู้ที่นำเสนอความเห็นผ่านทาง DVD และสื่อโซเชียลมีเดีย โดยกล่าวหาว่ากลุ่มชาวมุสลิมเป็ "พวกเราถูกช่มชืนในทุกๆ เมือง ถูกล่วงละเมิดทางเพศในทุกๆ เมือง ถูกรุมรังแกในทุก ๆ เมือง" วีระธุกล่าวให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ขณะอยู่ที่วัดมะซอเหย่น ในเมืองมัณฑะเลย์ "ในทุกๆ เมืองจะมีกลุ่มชาวมุสลิมส่ เป็นเรื่องง่ายที่จะมองว่าวี The Guardian ระบุว่า ท่ามกลางการเปิดเสรีมากขึ้ วีระธุเริ่มเป็นที่รู้จักตั้ หลังจากเขาถูกปล่อยตัวแล้วก็ยั ในเดือน ก.ย. 2012 วีระธุเป็นคนที่นำพระสงฆ์ พระวีระธุกล่าวว่าเหตุรุนแรงในรั วีระธุกล่าวอีกว่าสิ่งที่เขาเป็
ไม่ใช่ชาวพุทธทุกคนที่เชื่ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกั มีนักวิจารณ์บางคนชี้ว่าวีระธุ วีระธุเกิดเมื่อปี 1968 ในเมืองใกล้กับมัณฑะเลย์ เขาออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 14 ปี แล้วมาเป็นพระ เขาบอกว่าที่มาเบวชเป็ แม้ว่าเขาจะเคยติดคุก 7 ปี จากข้อหายุยงให้เกิดความรุ นักวิเคราะห์เตือนว่า สิ่งที่ดูเหมือนเป็นเสรี "ถ้าหากการเคลื่อนไหวสร้ ทั้งประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และอองซาน ซูจี ต่างก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ นักกิจกรรมหลากศาสนาในพม่ The Guardian เปิดเผยว่าในกรุงย่างกุ้งเมื่ ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่า คนที่ยุยงให้เกิดการต่อสู้กั และเช่นเดียวกับชื่อที่เขาตั้
เรียบเรียงจาก Buddhist monk uses racism and rumours to spread hatred in Burma, The Guardian, 18-04-2013 http://www.guardian.co.uk/
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การต้อนรับประชาคมอาเซียนแบบปักธงชาติ Posted: 19 Apr 2013 09:49 AM PDT (ที่มาของภาพประกอบ: ประชาไท) ทุกคนทราบเป็นอย่างดีว่า การเปิดประชาคมอาเซียนซึ่งเริ่มต้นด้วยการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในภูมิภาค สังคมไทยมีความตื่นตัวสูงในการต้อนรับประชาคมอาเซียน ความตื่นตัวนั้นสามารถสังเกตได้ที่จากสถานที่ราชการ โรงเรียนเกือบทุกแห่งปักธงชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ มีโรงเรียนแห่งหนึ่งเขียนคำเชิญในภาษาของประเทศสมาชิกทุกประเทศบนกำแพงรอบโรงเรียน โรงแรมหลายแห่งก็ติดแผ่นป้ายไวนิลต้อนรับประชาคมอาเซียน ในร้านหนังสือมีหนังสือเกี่ยวกับอาเซียนหลายสิบเล่มวางจำหน่ายอยู่ ในงานเทศกาลต่างๆอาทิ งานกาชาด ก็มีกิจกรรมในงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาเซียน แต่ "ความตื่นตัว" ที่เราสามารถเห็นได้ในทุกสถานที่นั้น ไม่ได้หมายความว่าสังคมไทยมี "ความพร้อม" ที่จะต้อนรับประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง ความจริงแล้วการเตรียมตัวเหล่านี้เป็นการจัดการประเภทผักชีโรยหน้าซึ่งใช้งบประมาณมาก แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความพร้อมที่แท้จริงในสังคม ความพร้อมเพื่อต้อนรับอาเซียนไม่ได้หมายความว่า คนไทยทุกคนต้องรู้ทุกเรื่องแบบผิวเผินเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ แต่นโยบายที่เกี่ยวกับการต้อนรับอาเซียนของประเทศไทยมีลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ในทุกระดับ หลังจากมีกระแสอาเซียน มีหนังสือหลายๆ เล่มเกี่ยวกับอาเซียนจำหน่ายอยู่ที่ร้านหนังสือ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนังสือความรู้ตัวไป โดยแทบจะไม่มีข้อมูลทางด้านวิชาการ หนังสือเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการแนะนำประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กนักเรียน แต่ปัญหาคือแทบไม่มีหนังสือที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในการต้อนรับประชาคมอาเซียน เพื่อต้อนรับอาเซียน เราจำเป็นต้องเข้าใจระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจหรือระบบการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน แต่งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มีไม่มาก และงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ก็ยิ่งมีน้อย เมื่อเราต้องการทราบธงชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนมีลายแบบไหน เราสามารถหาข้อมูลนี้ได้จากหนังสือหรืออินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องปักธงชาติของประเทศสมาชิกทุกประเทศหน้าโรงเรียน นี่คือการสิ้นเปลือง การเรียนภาษาก็เช่นเดียวกัน คนไทยชอบแนะนำคำทักทาย คำขอบคุณ คำเชิญ ฯลฯ ในภาษาของประเทศสมาชิกทุกประเทศให้นักเรียนท่อง คำถามคือ เราจำเป็นต้องรู้คำเหล่านี้ในภาษาของประเทศสมาชิกทุกประเทศหรือไม่ และความรู้เหล่านี้มีความหมายอะไรบ้าง ไม่มีประเทศสมาชิกสหภาพอียูที่แนะนำคำทักทายของประเทศสมาชิกทุกประเทศให้ประชาชนรู้จัก ในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศที่เสียเวลาและใช้งบประมาณกับกิจกรรมลักษณะนี้น่าจะมีแต่ประเทศไทยประเทศเดียว เมื่อไปประเทศมาเลเซีย เราคงจะไม่เจอธงชาติประเทศสมาชิกอาเซียนปักอยู่หน้าตึกใดๆ แทบจะไม่มีไวนิลเกี่ยวกับอาเซียนด้วย ดูเหมือนว่าประเทศนี้ไม่มีความตื่นตัวต้อนรับประชาคมอาเซียน แต่สภาพเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าประเทศนี้ไม่มีความพร้อม แค่ไม่จำเป็นต้องมีความตื่นตัวแบบประเทศไทย เพราะมีความพร้อมมานานแล้ว เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีระบบการศึกษาที่สืบเนื่องมาจากระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ โดยภาพรวมคนมาเลเซียมีทักษะภาษาอังกฤษค่อนข้างสูง นักวิชาการเกือบทุกคนในทุกด้านสามารถนำเสนอบทความวิชาการหรือบรรยายในภาษาอังกฤษได้อย่างดี ประชาชนมาเลเซียทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อสายใดก็ตาม ต้องเรียนภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนโดยมีประชาชนครึ่งหนึ่งของอาเซียนเป็นผู้ใช้ นอกจากชาวมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุด ในประเทศมาเลเซียยังมีเชื้อสายอื่นๆ เช่น เชื้อสายจีน เชื้อสายอินเดีย เชื้อสายสยาม ฯลฯ แต่ละเชื้อสายมีสิทธิที่ใช้ภาษาของตัวเอง คนเชื้อสายจีนและเชื้อสายอินเดียมีโรงเรียนประถมที่ใช้ภาษาของตัวเองในการเรียนการสอน ส่วนคนเชื้อสายสยามสามารถเรียนภาษาไทยในวัดโดยมีพระเป็นครูสอนภาษา ตามนโยบาย "มองตะวันออก" (Look East Policy) รัฐบาลมาเลเซียส่งนักศึกษาจำนวนมากไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี โดยเฉพาะในด้านสาขาวิชาสายวิทย์ เช่นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสร์ แพทย์ศาสตร์ ฯลฯ นักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้เรียนในภาษาอังกฤษ แต่เรียนในภาษาญี่ปุ่นหรือเกาหลีเป็นเวลาอย่างน้อยสี่ปี โดยสรุป ประเทศมาเลเซียไม่เพียงแค่มีความพร้อมทางด้านภาษาที่สำคัญในอาเซียนเช่นภาษามลายูและภาษาอังกฤษ ยังมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียน+3 ได้แก่ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน นอกจากนี้ก็ยังมีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียที่มีสายสัมพันธ์และสามารถใช้ภาษาอินเดีย และยังมีนักศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ สถานการณ์เช่นนี้หมายความว่า ประเทศมาเลเซียมีความพร้อมที่จะต้อนรับประชาคมอาเซียนรวมถึงประเทศอาเซียน+6 ด้วย ไม่ใช่แค่อาเซียน+3 เท่านั้น นี่คือความแตกต่างระหว่าง "ความตื่นตัว" กับ "ความพร้อม" ที่จะต้อนรับประชาคมอาเซียน เรายังมีเวลาอีกประมาณสองปีครึ่ง ที่จะเลิกกิจกรรมปักธงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน แต่มอบให้ความรู้และทักษะที่้ใช้งานได้จริงให้กับประชาชนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะ"เข้าสู่"ประชาคมอาเซียนแทน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จับตาความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของลาว Posted: 19 Apr 2013 08:32 AM PDT เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวใหญ่หนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในสังคมลาว คือการลงทุนก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อแขวงสะหวันนะเขด กับเมืองลาวบาว เขตชายแดนเวียดนาม มูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ของบริษัทไจแอนท์ คอนโซลิเดต จำกัด โดยมีสถาบันการเงินสัญชาติบริติช เวอร์จิน ไอแลนด์ คือ ริช แบงโก เบอร์ฮัดเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ ซึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง ณ โรงแรมดอกจำปา นครหลวงเวียงจัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา โดยมี บุนจัน สินละวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการ, กิลเบิร์ต ฮวง โฮ กุน ตัวแทนจาก ริช แบงโก เบอร์ฮัด, โมฮัมหมัด ฟาห์ซาวี ประธานบริษัทไจแอนท์ คอนโซลิเดต เป็นผู้ร่วมลงนาม และมีเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำสปป. ลาว ท่านฟิลิป มาโลน และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำสปป. ลาว ท่านดะโต๊ะ ตัน ไต ฮิง ให้เกียรติร่วมเป็นพยานการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์นี้ โครงการรถไฟดังกล่าวถูกออกแบบให้เชื่อมต่อเฉลียงตะวันตก-ตะวันออก (West-East Corridor) ที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โมฮัมหมัด กล่าวว่าโครงการนี้จะเปลี่ยนลาวจาก Land-locked country ให้เป็น Land-linked country และช่วยลดค่าขนส่ง ย่นระยะเวลาเดินทางให้แก่ทั้งภาคธุรกิจขนส่งและประชาชนชาวลาว โดยเส้นทางดังกล่าวจะเริ่มต้นที่เมืองสะหวันนะเขต ตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารของไทย ไปจรดเขตเมืองดานังของเวียดนาม โดยโครงการดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นออกแบบ และจะเริ่มเจาะสำรวจก่อสร้างภาคสนามในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ส่วนการก่อสร้างจริงยังไม่ได้มีการเปิดเผยกรอบเวลาแน่ชัด ทางด้านท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของลาวก็ยังยืนยันว่า แผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับจีนยังมิได้ล้มเลิกไป และจะต้องดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จตามมติที่ประชุมใหญ่สมัยวิสามัญของสภาแห่งชาติลาวครั้งที่ 7 เมื่อ 18 ตุลาคม 2012 ที่ผ่านมา โดยทางการลาว จะเปลี่ยนมากู้ยืมเงินในการก่อสร้างทั้งหมด 100% จากทางการจีน แต่ว่าจนถึงขณะนี้ ยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะมีการลงนามในสัญญากู้ยืมเมื่อใด เนื่องจากต้องรอนโยบายจากรัฐบาลชุดใหม่ของจีน ซึ่งท่านสมสะหวาด ชี้แจงว่า "เดี๋ยวนี้ยังต้องรอทางประเทศจีนปรับปรุงการจัดตั้งภายในหลังการประชุมใหญ่(พรรคคอมมิวนิสต์)ของฝ่ายจีนเสียก่อน และต้องคิดถึงรายละเอียดทางเทคนิกอย่างถี่ถ้วน ซึ่งเราก็ยังยืนยันว่า ลาวจะต้องเดินหน้าก่อสร้าง(รถไฟความเร็วสูง) อย่างแน่นอน เพราะว่าทั้งพรรคและรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเป็นแน่ชัดแล้ว" แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทางจีนได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ และได้เริ่มออกแบบก่อสร้างทางรถไฟไปแล้วนั้น ปรากฏว่าทางจีนได้ประสบปัญหาการหาบริษัทที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการ และสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาถึง 38 ปี ในการหารายได้คืนทุนได้อย่างครบถ้วน หากทางการลาวยังประสงค์จะลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวต่อไป ก็ต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน ทั้งหมด 7,000 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลลาวต้องค้ำประกันเงินกู้ 100% เต็ม และมีเงื่อนไข 4 ประการที่ต้องปฏิบัติตาม คือ ต้องตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารโครงการและมีสถานะเป็นลูกหนี้ของธนาคารจีน, จ่ายดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นเวลา 30 ปี โดยมีระยะปลอดการชำระหนี้ 10 ปีแรก พร้อมกันนี้ ต้องค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวด้วยรายรับและทรัพย์สินทั้งหมดในโครงการ(รวมที่ดินสองข้างทางรถไฟ 500 เมตร) ตลอดจนการที่รัฐบาลลาวต้องค้ำประกันด้วยรายรับจากสัมปทานหมืองแร่ 2 แห่ง ที่เป็นการลงทุนของจีนในลาวอีกด้วย
เรียบเรียงจาก http://www.kpl.net.la/english/news/edn1.htm ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กระบวนการสันติภาพในมุมมองของข้าราชการ (2) Posted: 19 Apr 2013 08:18 AM PDT
บทเสวนาว่าด้วยข้อเสนอต่อกระบวนการสันติภาพและอนาคตของจังหวัดชายแดนใต้ในมุมมองของข้าราชการในพื้นที่
หลังจากที่ทางกองบรรณาธิการได้นำเสนอกระบวนการสันติภาพในมุมมองของข้าราชการ ตอนแรกไปแล้วนั้น ยังคงมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมากมายจากการเสวนาของกลุ่มข้าราชการต่อกระบวนการสันติภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมจากวงเสวนาได้ตั้งคำถามไว้น่าสนใจก็คือ หากมีการปรับโครงสร้างการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว กลุ่มข้าราชการมีความคิดว่า อนาคตทางราชการของตนเองยังคงมีความมั่นคงหรือไม่ ข้าราชการท่านแรกได้ให้ความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า ภายในรูปแบบการปกครองของไทยแบ่งเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ในส่วนที่กล่าวถึงในที่นี้คือ ส่วนท้องถิ่น ซึ่งการปกครองในลักษณะเช่นนี้จะเริ่มมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนของมั่นคงในอาชีพของข้าราชการ โดยส่วนตัวคิดว่า สามารถที่จะมีการโอนย้ายได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของราชการ ข้าราชการท่านต่อมา ได้นำเสนอเพิ่มเติมว่า หากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างแล้ว หากมีข้าราชการที่รับไม่ได้กับโครงสร้างใหม่ ก็สามารถจะโอนย้ายไปที่อื่นได้ แต่สถานการณ์การปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาจจะไปสร้างผลกระทบให้แก่ผู้ที่ต้องการตำแหน่งในส่วนของทวีคูณ ต่อจากนั้นในวงเสวนาได้มีการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาของรัฐไว้ว่า ในการแก้ไขปัญหาของรัฐตอนนี้ได้ดำเนินงานอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ ก็คือ รัฐใช้การทหารกับการเมืองในเวลาเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหา โดยในขณะที่มีการเจรจาอยู่นั้น ก็ยังคงมีการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร ในมุมมองของราชการ ในส่วนตรงนี้จะแนะนำให้รัฐดำเนินงานอย่างไร และอันที่สองหากมีการเจรจาแล้ว ปลายทางเกิดความสงบภายในพื้นที่ รากเหง้าของปัญหาสามจังหวัดนั้นจะได้รับการแก้ไขปัญหาหรือไม่ เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า น้ำหล่อเลี้ยงของปัญหาเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ข้าราชการได้นำเสนอจากประเด็นดังกล่าวข้างต้นไว้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเหล่านี้ก็มีในระดับประเทศ เช่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการทุจริต ความขัดแย้งระหว่างผู้นำกับประชาชน แต่ที่พิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ มีการก่อเหตุความรุนแรง ซึ่งได้นำไปสู่การเจรจา การเจรจาเปรียบเสมือนกับยาฉุกเฉิน รัฐบาลใช้แก้ปัญหาในระยะสั้น สิ่งที่จะแก้ปัญหาในระยะกลางนั้นก็คือ การแก้ไขปัญหาจากรัฐด้วยความจริงใจ บริการด้วยความเป็นกันเองและเท่าเทียม ทางด้านการแก้ไขปัญหาระยะยาวก็คือเรื่องของการศึกษา และที่สำคัญที่สุดก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน และอยากให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้นแบบในการมีส่วนร่วมของประชาชน ข้อเสนอของกลุ่มข้าราชการต่อกระบวนการสันติภาพเป็นอย่างไร ข้าราชการท่านแรกได้ให้ข้อเสนอต่อกระบวนการสันติภาพไว้ว่า รัฐควรที่จะมีความจริงใจในการแก้ปัญหา และนำปัญหาของชาวบ้าน มาเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาโดยแท้จริง ไม่ใช่นำสิ่งที่ไม่ต้องการของชาวบ้านมาใช้ในการแก้ปัญหา สิ่งความไม่ต้องการของชาวบ้านในตรงนี้อาจจะกลับกลายเป็นปัญหาให้กับประชาชนได้ ข้าราชการท่านต่อมาได้นำเสนอว่า ควรที่จะมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง จะทำอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนมีปากมีเสียง ถ้าไม่ทำเช่นนี้เราก็จะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร มันก็จะเกิดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ข้าราชการท่านต่อมา ได้เสนอถึงรัฐบาล สิ่งแรกควรจะจัดระบบ บริหารจัดการบุคคลให้สอดคล้องกันบริบทของพื้นที่ให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น รับคนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญอีกประการก็คือ การส่งเสริมการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้เข้าร่วมท่านต่อมาได้นำเสนอถึงกระบวนการพูดคุยที่เกิดขึ้นว่า ณ ตอนนี้ยังคงไม่มีการเสนอเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ข้อสังเกตของพวกเราก็คือว่า ตอนนี้ทำไมความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นนั้น มันยังไม่มีการตกลงใดๆ เพราะฉะนั้นจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้เกิดความรุนแรง การพูดคุยในตอนนี้ก็คือ การสร้างความมั่นใจและการไว้ใจซึ่งกันและกัน ตอนนี้ประชาชนต้องมีความอดทน สรุปก็คือ ตอนนี้การเจรจายังไม่เกิดขึ้น ข้อเสนอไปยังสื่อต่างๆ ที่ได้ตั้งประเด็นไว้อย่างไร้สาระก็คือว่า คนที่เข้ามาในการเจรจานั้นเป็นตัวจริงหรือไม่ อยากกล่าวเป็น ตัวจริง ขอยืนยันจากคำพูดของ อ.ศรีสมภพ เป็นบุคคลที่เข้าร่วมในการเจรจาแล้ว หะซัน ตอยยิบ เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายของบีอาร์เอ็นแล้ว หะซัน ตอยยิบ จากข้อมูลที่ได้รับจากทหารว่า หะซัน ตอยยิบมีตำแหน่งที่ไม่น้อยกว่าระดับแกนนำของพรรค หะซัน ตอยยิบสามารถควบคุมทหารได้หรือไม่ ควรที่จะมองย้อนมาถึงตัวแทนของรัฐบาลไทยว่า ภราดรสามารถที่จะควบคุมกองทัพได้หรือไม่ แต่การพูดคุยในครั้งนี้ภราดรไปในนามของรัฐ เมื่อมีการพูดคุยกันแล้วนายทวีกับนายภราดร จะไปนำเสนอยังรัฐ เช่นเดียวกัน หะซัน ตอยยิบ ก็จะมานำเสนอกับกลุ่มของตนเอง หากขบวนการเห็นด้วยกับข้อยุติความรุนแรง ก็สามารถที่จะยุติได้ ที่มา: PATANI FORUM ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“ควรเดินหน้า แต่....” ข้อเสนอทีดีอาร์ไอโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Posted: 19 Apr 2013 07:36 AM PDT
เมื่อ 18 เมษายน 2556 โครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมาย (ThaiLawWatch) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนาสาธารณะเรื่อง "ร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ: เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทางคุ้มค่า และเป็นประชาธิปไตย" ก่อนจะไปสู่ข้อสังเกตสำคัญของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ค่ายทีดีอาร์ไอ อาจต้องเท้าความถึงพื้นฐานของโครงการนี้ : 1.ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นการใช้เงินนอกงบประมาณ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 4.35 ล้านล้าน โดย 2 ล้านล้านนี้ถือเป็นเส้นเลือดหลัก ส่วนที่เหลือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ยังไม่มีความชัดเจนด้านเงินลงทุน น่าจะอยู่ในระบบงบประมาณปกติ 2. ร่างพ.ร.บ.นี้ ผ่านการพิจารณาวาระแรกของรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 ด้วยคะแนนเสียง 284 ต่อ 152 ขณะนี้อยู่ในวาระที่ 2 ชั้นกรรมาธิการ 3. ร่างพ.ร.บ.นี้ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินได้สูงสุด 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2563 (7 ปี) โดยเงินกู้นั้นต้องนำมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนพื้นฐานตาม "บัญชีแนบท้าย พ.ร.บ." (ดูในไฟล์แนบ) เท่านั้น 4. บัญชีแนบท้าย แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ 8 แผนงาน ไม่สามารถโยกวงเงินระหว่างยุทธศาสตร์ได้ แต่โยกระหว่างแผนงานได้ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดในบัญชีแนบท้ายเป็นเพียงภาพกว้างๆ แต่ยังมี "เอกสารประกอบการพิจารณา" ซึ่งมีความหนากว่า 200 หน้า ที่ลงรายละเอียดมากกว่า แต่ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
วิทยากร : นิตินัย ศิริสมรรถการ (ภาคธุรกิจ) , สมชัย จิตสุชน - สุเมธ องกิตติกุล (ทีดีอาร์ไอ) สมชัย จิตสุชน และ สุเมธ องกิตติกุล จากทีดีอาร์ไอ ให้ความเห็นระบุถึงข้อดีและข้อห่วงกังวล สรุปได้ดังนี้ ข้อดี -เป็นการลงทุนที่ถูกทิศทาง เพราะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน -เกิดการกระจายฐานการผลิตสู่ภูมิภาค -เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน -ความต่อเนื่องของโครงการลงทุน 7 ปี ทำให้เอกชนมีความมั่นใจและวางแผนล่วงหน้าได้ -มีส่วนช่วยยกระดับการลงทุนโดยรวมให้หลุดพ้นจาก "หล่มการลงทุนต่ำ" ที่เป็นมาตั้งแต่วิกฤตปี 40 -ดีกว่าการกู้เงินนอกงบประมาณประเภทอื่น เช่น โครงการรับจำนำข้าว เพราะการออกเป็น พ.ร.บ.ถือเป็นการให้อำนาจรัฐสภาในการกลั่นกรอง และมีรายละเอียดมากกว่าการกู้นอกงบประมาณอื่นๆ "มีการประมาณการว่า โครงการนี้จะลดต้นทุนได้ 2% ของจีดีพีมีโอกาสกระจายฐานการผลิตไปสู่ภูมิภาคได้เช่นกัน เพิ่มศักยภาพให้ความเจริญกระจายสู่เมืองอื่น รัฐบาลตั้งใจให้เกิดหัวเมืองใหญ่ประมาณ 20 หัวเมืองจากโครงการนี้" สมชัยกล่าว ข้อกังวล
การเสนอเป็นเงินกู้นอกงบประมาณ ให้อำนาจตัดสินใจใช้เงินจำนวนมากกับฝ่ายบริหาร ผ่านการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในเอกสารประกอบการพิจารณาตลอดระยะเวลา 7 ปี ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีโอกาสให้ความเห็นชอบตาม พ.ร.บ.และบัญชีแนบท้ายเพียงครั้งเดียว ทั้งที่เป็นเม็ดเงินจำนวนมาก เฉลี่ยต่อปีแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของงบลงทุนตามงบประมาณปกติ ซึ่งรัฐสภามีสิทธิกลั่นกรองทุกปี ระยะเวลา 7 ปีนั้นข้ามช่วงอายุปกติของรัฐสภา เป็นการก้าวล่วงอำนาจของสภาชุดต่อไปในการกลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ
หากดูจากเอกสารประกอบการพิจาณา ซึ่งแบ่งประเภทโครงการออกเป็น 4 กลุ่ม จะพบว่ามีโครงการจำนวนมากที่ยังไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงิน/เศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมแล้ววงเงินกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งอาจมีการเร่งรีบสรุปผลการศึกษาทั้งที่ไม่คุ้มค่าในการลงทุน "การพัฒนาระบบขนส่งทางราง- รถไฟทางคู่ ทั้งทางเก่าและทางใหม่ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นว่าสำคัญและควรเร่งดำเนินการ แต่ส่วนของของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงนั้น ยังศึกษา FS ไม่เสร็จ เรามีโครงการที่ดี คุ้มค่า เราคงหาเงินลงทุนได้ แต่ พ.ร.บ.นี้เหมือนเอาเงินมากองไว้ก่อน เลยมีคำถามจำนวนมาก" สุเมธ กล่าว "การสร้าง accountability ในการดำเนินการภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ควรให้หน่วยงานที่เป็นกลางดำเนินการแทน และต้องทำอย่างครบถ้วน ตั้งแต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินการ นอกจากนี้ผลการประมาณการ ควรถูกเปรียบเทียบกับการประมาณการวิธีอื่นๆ และเปิดเผยต่อสาธารณะ รวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง" สุเมธกล่าว
กรณี รถไฟความเร็วสูงนั้น กลุ่มผู้ใช้บริการเป็นคนมีฐานปานกลาง รัฐไม่ควรอุดหนุน และใช้เรื่อง "บริการทางสังคม" เป็นข้ออ้างว่ากิจการประเภทนี้สามารถขาดทุนได้ นอกจากนี้ยังควรเปิดเอกชนเข้ามาแข่งขัน เพื่อให้รัฐขาดทุนน้อยที่สุด เพราะหากแบ่งแย่งการบริการสาธารณะและการบริการเชิงพาณิชย์ไม่ดี อาจทำให้ใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานน้อยเกินไป กลายเป็นภาระหนี้สินสะสมของภาครัฐ
วงเงินกู้เกินครึ่งใช้เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งผู้โดยสาร (รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเขต กทม.และปริมณฑล) ซึ่งมีผลดีต่อการท่องเที่ยวและการเดินทางภายในกทม. แต่จำนวนผู้โดยสารระหว่างเมืองที่เดินทางประจำขึ้นกับจำนวนประชากรรวมของจุดเริ่มต้นและปลายทาง จำนวนประชาการในเมืองใหญ่อื่นนอกเหนือ กทม./ตะวันออก ขึ้นกับศักยภาพในการเป็นฐานการผลิต/บริการในอนาคต ซึ่งขึ้นกับการลดต้นทุนลอจิสติกส์อีกทอดหนึ่ง การเน้น "การขนคน" ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจึงไม่ชัดเจนเท่าการลดต้นทุนลอจิสติกส์ หรือเน้นการทำระบบรางคู่ ซึ่งยังมีอีกหลายโครงการที่น่าทำ แต่ไม่ปรากฏในร่าง พ.ร.บ. และเงินจำนวนมากถูกนำไปใช้ทำรถไฟความเร็วสูง ที่สำคัญ สิ่งที่ขาดไปคือ แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบราง
นโยบายการกำหนดราคาการใช้งานโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับทั้งผู้ประกอบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารนั้นต้องพิจารณาทั้งกระบวน ว่าใครจะซื้อรถมาวิ่ง ใครเป็นผู้จัดการวิ่งรถ ค่าโดยสารจะเป็นเท่าไร ไม่เช่นนั้นจะตอบไม่ได้ว่าโครงการคุ้มค่าหรือไม่ ที่รัฐบาลบอกว่าคุ้มค่านั้นเป็นการพูดภายใต้สมมติฐานบางอย่างที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ในยุโรปกำหนดชัดเจนว่า โครงการลงทุนมากกว่า 50 ล้าน จะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ตามแนวทางที่กำหนดอย่างชัดเจน ไมว่าจะเป็น การประเมินความต้องการในการเดินทางและขนส่งเมื่อมีและไม่มีโครงการ, วิเคราะห์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น มูลค่าการประหยัดเวลา, วิเคราะห์ต้นทุนของโครงการ และการใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีความไม่ชัดเจนหลายอย่าง เช่น การชำระหนี้เงินกู จะเป็นของกระทรวง/กรม หรือโอนหนี้เป็นของรัฐวิสาหกิจและเป็นภาระของรัฐวิสาหกิจในการชำระคืน , หน่วยงานรับผิดชอบรถไฟความเร็วสูง เป็นการลงทุนและดำเนินการของรัฐทั้งหมด หรือมีภาคเอกชนร่วมด้วย ในประเทศไทยนั้น บทบาทของภาครัฐในการอุดหนุนระบบขนส่ง จะเป็นรูปแบบของรัฐวิสาหกิจเดียวซึ่งยังไม่มีการปฏิรูปองค์กรด้วย โดยรัฐจะคอยอุดหนุนกิจการที่ขาดทุน แต่รูปแบบของต่างประเทศโดยเฉพาะในยุโรปจะมีการแยกระหว่าง โครงสร้างพื้นฐานและการประกอบการเดินรถ ไม่ว่าในทางบัญชี หรือในการแบ่งแยกองค์กร นอกจากนี้การอุดหนุนจะมีการแบ่งชัดเจน ระหว่าง การอุดหนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน(ราง), การอุดหนุนการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน(ราง), การอุดหนุนการประกอบการเดินรถสำหรับผู้โดยสาร หรือที่เรียกว่า public service obligation โดยนิยามให้ชัดว่าบริการสาธารณะคืออะไร จะอุดหนุนระดับไหน มีการบริหารจัดการหนี้ และจัดทำแนวทางอุดหนุนอย่างเป็นระบบ ทำให้บางส่วนของระบบรางมีการแข่งขัน "เรายังไม่มีการแยกบัญชีการอุดหนุน ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่จะสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรถไฟ" สุเมธกล่าว
ความเสี่ยงด้านการคลังขึ้นกับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน ในการสร้างรายได้ประชาชาติ ซึ่งยังไม่แน่นอนและเสี่ยงต่อการประเมินในด้านดีเกินควร ที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนในแผนการลงทุนทั้งหมดของรัฐบาล ว่าโครงการเส้นเลือดหลัก/เส้นเลือดฝอย วงเงินรวมเท่าไร ลงทุนเมื่อไร ในงบประมาณเท่าไร จะมีวงเงินนอกงบประมาณอีกหรือไม่ นอกจากนี้รัฐบาลไม่ได้นำเสนอแผนการสร้างรายได้อื่นๆ
เนื่องจากไม่มีภาพรวมการลงทุนของรัฐบาลในด้านต่างๆ ในการพิจารณา ทำให้เกิดความกังวลว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ อาจเบียดบังทรัพยากรในการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การพัฒนาคน นวัตกรรม ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังไม่ชัดเจนเรื่องผลต่อความเหลื่อมล้ำในประเทศว่าจะมากขึ้นหรือลดลง
สำหรับการประมาณการผลกระทบต่อฐานการคลังนั้น มีการคำนวณผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อ รายได้ประชาชน (Public Debt/ GDP) โดยคำนวณจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ เกณฑ์จากกระทรวงการคลังที่ว่า การลงทุนตาม พ.ร.บ.นี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 5.5% ต่อปีในช่วง 2557-2563 อัตราเงินเฟ้อ 2.75% มีผลเพิ่มอัตราการขยายตัวที่แท้จริงร้อยละ 1 ต่อปี, เงินเฟ้อร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับหากไม่มีการลงทุน, ไม่มีวิกฤตทั้งภายนอกและภายใน, รัฐกู้เงินได้เต็มจำนวน 2 ล้านล้านบาท, งบลงทุนปกติเพิ่มร้อยละ 7 ต่อปี (ต่ำกว่าแนวโน้มปกติเล็กน้อย), หนี้จากโครงการอื่นๆที่รัฐประกาศไว้ เช่น รับจำนำข้าว 1 แสนล้านต่อปี การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การกู้ป้องกันน้ำท่วม 3 แสนล้าน ไม่รวม FIDF และหนี้ในอนาคตของรัฐวิสาหกิจอื่น, รัฐบาลรับภาระหนี้ร้อยละ 70-90 ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี โดยศึกษา 3 กรณี คือ กรณีที่ไม่มีการลงทุน 2 ล้านล้าน, กรณีที่ลงทุน แบ่งเป็น กรณีฐาน , กรณีงบประมาณสมดุลในปี 2560 และ กรณีที่ลงทุนไม่คุ้มค่า ทำให้เศรษฐกิจไม่ขยายตัวเท่าที่คาดหวัง ผลออกมาดังตาราง
"กรณีฐานจะพบว่าไม่มีภาระด้านการคลังเท่าไร กรณีสมดุลปี 60 พบว่าใกล้กับตัวเลขที่รัฐบาลใช้ มีสมมติฐานว่า รัฐบาลคุมค่าใช้จ่ายได้จริง เช่น รายจ่ายประจำต้องโตช้ากว่าปกติ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ในภาวะที่มีนโยบายใหม่ๆ ที่สร้างภาระอยู่ตลอด กรณีลงทุนไม่ค้มค่า พบว่า ไม่ทำร้าย แต่ก็ไม่ช่วยอะไร และถ้าเจอวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำจะยิ่งลำบากมาก หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ผิดแผนไปไม่ต้องมาก ภาพก็จะออกมาค่อนข้างเลวร้าย" "ทั้งหมดนี้ไม่ได้บอกว่าต้องกังวลมาก แต่เป็นข้อสังเกต เราติดเพื่อก่อ ยังคงอยากให้เดินหน้า แต่ปรับรูปแบบให้ถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุด" สมชัยกล่าว ข้อเสนอ
'พื้นที่การคลัง' หายไปกับประชานิยมสะสม เขาเริ่มต้นด้วยการพูดถึง fiscal space หรือพื้นที่การคลัง โดยยกตัวอย่างการศึกษาว่าหากภาษีเก็บมาได้ 100 บาท โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2550 – 2556 นั้นไปอยู่ในงบที่ตัดไม่ได้ เช่น งบบุคลากร งบดำเนินงาน ภาระหนี้ โอนให้ท้องถิ่น กองทุน ภาระผูกพันต่างๆ รวมประมาณ 80% เหลืองบที่เอาไปใช้อื่นๆได้เพียง 20% และถ้ามองเป็นช๊อตๆ จะเห็นว่าปี 2548 ที่ทำงบสมดุลครั้งสุดท้ายตอนนั้น fiscal space เหลือถึง 32% พอมาถึงปี 2553 พื้นที่การคลังเหลือเพียงประมาณ 12% ตรงนี้เนื่องจากในอดีตเราทำ 'ประชานิยม' มามาก อย่าง 3 กองทุนใหญ่ คือ กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นภาระต่องบประมาณ ซึ่งเรามีประมาณ 100 กว่ากองทุน โดยเฉพาะ 3 กองทุนใหญ่ที่ฟังชื่อดูประชานิยมเป็นภาระต่องบประมาณเกือบ 90% ของกองทุนทั้งหมด 100 กว่ากองทุน "ตัว fiscal space('พื้นที่การคลัง') มันหายไปกับประชานิยม และก็เป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ ปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าเราเก็บภาษีมา 100 เราแทบไม่ต้องพัฒนาอะไรเลย เอาไปจ่ายงบที่ตัดไม่ได้ งบประชานิยมก็แทบจะหมดแล้ว" "ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเราชนเพดานจากประชานิยมในอดีต ทำให้เรื่องการลงทุน การสะสมทุนภาครัฐของเราอยู่แค่ 1.2% ในขณะที่เพื่อบ้านเวียดนามกับมาเลเซียโตประมาณ 7-9% ดังนั้นหากเราไม่อยากล้าหลังให้เพื่อนบ้านแซงก็จึงต้องมีการลงทุนในครั้งนี้" นิตินัย กล่าว ในระบบงบประมาณจัดสรรเป็น "รายรายการ" ไม่ใช่ "รายโครงการ" เมื่อเราทราบว่ามีการชนเพดานงบประมาณแล้วนั้นเราจะจัดสรรการลงทุนให้อยู่นอกระบบงบประมาณ พอฟังคำว่า "นอกระบบงบประมาณ" ทุกคนก็แอนตี้ไว้ก่อนเลย ซึ่งจริงๆ ยังไม่ทันดูเลยว่านอกระบบกับในระบบอันไหนดีกว่ากัน ข้อแตกต่างระหว่างในระบบกับนอกระบบงบประมาณ ในเรื่องรายละเอียดประกอบการพิจารณานั้น ระบบงบประมาณการจัดสรรเรียก "ระบบ Line Item" คือ "รายรายการ" ซึ่งไม่ใช่เป็น "รายโครงการ" ในรายรายการนั้นหลังจากงบประมาณคลอดออกมาแล้ว มี พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2502 คลุมอยู่ มาตรา 18 บอกว่าห้ามโยกข้ามกระทรวง มาตรา 19 บอกว่าห้ามโยกข้ามรายการ เพราะฉะนั้นการอนุมัติในรายรายการว่าเป็นนมโรงเรียนของกระทรวงศึกษาฯ ในกรมสามัญศึกษา ก็ห้ามโยงไปเป็นนมโรงเรียนของนายร้อย จปร. และในกระทรวงศึกษาจากนมโรงเรียนจะเปลี่ยนเป็นกระดานดำก็ไม่ได้ ดังนั้นในเชิงปฏิบัติ พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ที่ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.งบประมาณ นั้น ก็มีข้อดีที่ไม่มีข้อผูกพัน ถ้ามีการปรับปรุงแบบในระบบงบประมาณที่ต้องจัดสรรเป็นรายรายการนั้นปรับปรุงไม่ได้ รวมทั้งในระบบงบประมาณนั้นมีการจัดสรรเป็นรายปี หากพลาดไปแล้ว 1 ปี ต้องไปปรับปรุงปีหน้า โครงการที่พลาดไปแล้วก็ต้องพับไปปีหน้า ดังนั้นจึงเห็นงานในระบบงบประมาณจะเบิกจ่ายไม่ค่อยได้ นี่คือข้อเสียของระบบงบประมาณ ที่ความสามารถในการปรับเปลี่ยนงบประมาณไม่มี จึงกลายเป็น "การตั้งไปพับไป" จึงไม่แน่ใจว่าผ่านในระบบงบประมาณดีหรือไม่ เพราะก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย โดยพื้นฐานในระบบงบประมาณเราจัดสรรเป็นรายรายการ แต่เราบอกว่าเราจัดสรรกันแบบ "ยุทธศาสตร์" จริงก็เป็นยุทธศาสตร์แบบไม่มีการบูรณาการ และในกระบวนการ พ.ร.บ.งบประมาณ ต้องบอกว่าเพื่อยุทศาสตร์อะไรยุทธศาสตร์เดียว "ดังนั้นหากเราอ่านเอกสารงบประมาณที่โดยพื้นฐานจัดสรรเป็นรายรายการตั้งแต่ตอม่อ พอขึ้นตึกมาก็จะบิดๆ เบี้ยวๆ มันไม่ได้จัดสรรกันเป็นรายโครงการ พอเป็นอย่างนั้น ตอนจะออกงบประมาณจะให้ประมูลอะไร ก็มีเรียบร้อยว่ามีรายรายการว่ามีโต๊ะ ตู้ เตียง เท่าไร ให้ประมูลอะไรก็มี TOR และก็มี Pre-audit และ TOR ก็ยันกันไปมาไม่คลอดสักทีและอาจจะมีความเป็นไปได้หรือเปล่าที่ผู้มีอยู่ในอำนาจบางท่านเซ็นต์คลอดแล้วตีหัวเข้าบ้าน ตอนจบก็ไม่มี Post-audit งบประมาณผูกพันเป็นรายรายการ สตง.มาตรวจสอบก็เห็นว่ามีเหล็กเส้นครบ ถามว่าตึกนี้อยู่ได้หรือเปล่า อยู่ไม่ได้ ฝนรั่วบ้าง ปูนแตกบ้าง แล้วเอาผิดอะไรได้ ก็อยู่ครบตามรายรายการของงบประมาณ ไม่มีการ Post-audit" นิตินัยกล่าว เขายังตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมประเทศเราไม่เปลี่ยนเป็น Post-audit บ้าง ดังที่มีหลายประเทศที่ทำอย่างนั้น มาเลเซียก็มี Post-audit ให้เงินกรมตำรวจแล้วจะ audit ว่ามีคดีร้องเรียนลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายคดีร้องเรียนลดลง แต่ตำรวจกลับไปใช้ศาลเตี้ย เด็กกระทำผิดจัดการข้างถนนหมด ทำให้คดีร้องเรียนก็ลดลง ดังนั้น Post-audit ก็มีปัญหาที่เราพร้อมหรือไม่ที่จะไม่มีเหตุการณ์แบบมาเลเซีย "มันจึงมีเหรียญ 2 ด้าน ซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากัน" นิตินัยกล่าว ไม่ห่วงหนี้สาธารณะต่อ GDP ถ้าได้รถไฟ (สินทรัพย์) ที่ดี "ส่วนเรื่องหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ใช่ประเด็นหลัก มุมหนึ่งคนบอกว่าหนี้จะอยู่ไปกับเราอีก 50 ปี ผมก็ถามว่าแล้วรถไฟอยู่ไปอีก 50 ปี หรือเปล่า ถ้าหนี้มันอยู่ไปอีก 50 ปี แล้วรถไฟมันอยู่ไปอีก 50 ปี ผมก็โอเค ชินกันเซ็นสร้างตั้งแต่ปี 1974 ยิ่งไปกว่านั้นอันเดอร์กราวของลอนดอน 1863 เขาก็อยู่กันเกิน 50 ปี" "นอกจากเรื่องที่จะอยู่แบบเจ๊งๆ นั้นก็เป็นประเด็นก็ต้องทำ FS กันก่อน แต่ถ้ามันอยู่แบบไม่เจ๊งๆ ก็ไม่เป็นห่วง แต่ที่ต้องเป็นห่วงเนื่องจาก FS ก็ยังไม่ได้ทำ" นิตินัยกล่าว ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 240,000 ล้านบาทต่อปีเป็นเวลา 2 ปีติด สุดท้ายเขาพูดถึงความเป็นห่วงว่า ที่เป็นห่วงเมกะโปรเจคเนื่องจากมันใหญ่มาก จะลงทุนระบบรางประมาณ 80% ของงบที่ตั้งไว้ ระบบรางนั้นตอนทำรางนำเข้าส่วนประกอบแค่ 10% เท่านั้นเอง แต่ตอนนำเข้าหัวรถจักรนั้นนำเข้า 100% ดังนั้นจะไปหนักตอน 2 ปีสุดท้ายที่นำเข้าหัวรถจักร ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 240,000 ล้านบาทต่อปีเป็นเวลา 2 ปีติด ตรงนี้ก็จะต้องดูมหาภาคด้วยซึ่งก็จะได้รับผลกระทบ ที่สำคัญ งบ 2 ล้านล้านนี้ เป็นงบที่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณหรือไม่ พื้นที่การคลังที่เหลือน้อยจากประชานิยมที่หมักหมมเลยทำให้เราต้องกู้ชนเพดานนั้น การมีงบ 2 ล้านล้าน ไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณ คำถามคือ อย่างนั้นแล้วเราจะมีงบสมดุลในปี 2560 ได้อย่างไร แต่ในทางกลับกันถ้ามี 2 ล้านล้าน ช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณก็ต้องดูว่างบประมาณต้องตัดส่วนไหนที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นการลดงบซ้ำซ้อนนั้นมีแผนการอะไร หรือไม่ ต้องมาสู่การสนับสนุนการมีหน่วยงานที่มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้ดังที่ทีดีอาร์ไอเสนอ "สุดท้าย เราอย่าโฟกัสที่ 2 ล้านล้านมากนักจนลืมแกนหลักของเราคืองบประมาณแผ่นดินที่ทุกปีๆ ละ 2 ล้านล้านกว่าบาทด้วย" นิตินัยกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ครูสาวตาดีกาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ขณะทำกิจกรรมภาคฤดูร้อน Posted: 19 Apr 2013 07:34 AM PDT ครูสอนโรงเรียนตาดีกาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ขณะทำกิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน ณ บ้านกำปงบูเกต ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อ้างคนร้ายวิ่งเข้ามาบริเวณทำกิจกรรม ปัจจุบันยังไม่ทราบความคืบหน้า เมื่อวันพฤหัสที่ 18 เมษายน 2556 เวลาประมาณ 14.00 น. ได้มีหน่วยจู่โจมคอมมานโด กองกำลังทหารพราน และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทราบหน่วยงาน เข้าทำการปิดล้อมและตรวจค้นภายในบริเวณสถาบันปอเนาะอิสลามศาสตร์วิทยา (ปอเนาะกำปงบูเกต) ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยอ้างเหตุผลว่าได้มีคนร้ายวิ่งเข้ามาในบริเวณดังกล่าว สถานที่ดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรม "ค่ายอบรมเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน ประจำปี 2556" ระหว่างวันที่ 14-18 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นการอบรมกลุ่มเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านประมาณ 82 คน โดยมีประธานโครงการญาลานันบารู (โครงการในเครือ กอ.รมน.) เป็นประธานในพิธีเปิด ระหว่างการปิดล้อมโดยเจ้าหน้าที่รัฐไทยนั้น ได้มีการควบคุมตัวนางสาวพาดีล๊ะ เสาะหมาน ครูพี่เลี้ยงค่ายอบรมฯ และนักศึกษาสถาบันมะฮัดดารุลมาอาเรฟ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จากนั้นเวลาประมาณ 16.30 น. ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ฯได้พาตัวนางสาวพาดีล๊ะ เสาะหมาน ไปทำการสืบสวนที่หน่วยเฉพาะกิจ ที่ 24 ศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างไห้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จากนั้นเวลาประมาณ 17.10 น. ได้มีการส่งตัวย้ายไปที่หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 41 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จนเวลานี้ยังไม่ทราบความคืบหน้าใดๆทั้งสิ้น ทางมารดาของนางสาวพาดีล๊ะ เสาะหมานกล่าวว่า ในวันนี้ (19 เม.ย. 56) ทางญาติ ผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการเดินทางไปที่หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 41 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เพื่อเยี่ยมลูกสาวตนเอง แต่ทางเจ้าหน้าที่กลับไม่อนุญาตทำให้การเยี่ยม จึงยังไม่ทราบว่าชะตากรรมของลูกตนเองปัจจุบันเป็นอย่างไร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลื่อนสืบพยานคดีก่อการร้าย จตุพรยัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ไม่รวมแกนนำ Posted: 19 Apr 2013 02:15 AM PDT ธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. พร้อมด้วยผู้ต้องขังคดีเผา จ.อุดร มาร่วมฟังสืบพยานวันนี้
19 เม.ย. 56 ที่ศาลอาญารัชดา ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในคดีร่วมกันก่อการร้ายที่มีแกนนำนปช.รวมถึงนายสุรชัย เทวรัตน์ ผู้ติดตามเสธแดง.ที่ถูกคุมขังในคดีครอบครองอาวุธสงครามอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ เป็นจำเลย มีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมฟังประมาณ 60 คน รวมถึงผู้ต้องขัง 4 คนในคดีเผาสถานที่ราชการ จ.อุดรธานีที่ได้รับอนุญาติประกันตัวเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตามจำเลยทั้งหมด 24 คน มาศาลไม่ครบเนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว ศาลจึงเลื่อนการสืบพยานออกไปเป็นวันที่ 25 เม.ย. 56 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญารัชดา กรุงเทพฯ ด้านการนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของนายก่อแก้ว พิกุลทอง ในคดีเดียวกันนี้ ศาลเลื่อนนัดฟังคำสั่งว่าจะเพิกถอนประกันตัวหรือไม่ไปเป็นวันที่ 22 เม.ย. 56 เนื่องจากวันนี้ยังอยู่ในระหว่างเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายก่อแก้วกล่าวว่า ไม่กังวลว่าจะถูกเพิกถอนการประกันตัวหรือไม่ ตนเคารพดุลยพินิจของศาลและได้เตรียมใจไว้แล้วหากต้องเข้าห้องขัง นายจตุพร พรมพันธ์ซึ่งเดินทางมารับฟังการสืบพยาน ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงการผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมว่า ร่างฯของนายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จะไม่มีการนิรโทษกรรมให้แกนนำอย่างแน่นอน แกนนำจะต้องสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นนายสุเทพ นายอภิสิทธิ์ หรือคดีก่อการร้ายซึ่งมีโทษถึงประหาชีวิต แต่จะนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ชุมนุมทุกสีเสื้อ ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตร หรือเสื้อแดงก็ตาม สำหรับคดีก่อการร้ายดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงในปี2553 มีจำเลยทั้งสิ้น 24 คน คือ นายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายเหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายขวัญชัย สาราคำ นายยศวริศ ชูกล่อม นายนิสิต สินธุไพร นายการุณ โหสกุล นายวิภูแถลง พัฒนภูไท นายภูมิกิตติ สุจินดาทอง นายจรัญ ลอยพูล นายอำนาจ อินทะโชติ นายชยุต ไหลเจริญ นายสมบัติ มากทอง นายยงยุทธ ท้วมมี นายรชตะ วงศ์ยอด นายสุรชัย เทวรัตน์ นายสุกเสก พลตื้อ นายอร่าม แสงอรุณ นายเจ็ม เส็งสิทธิ์ นายมานพ ชาญช่างทอง นายสมพงศ์ บังชม และนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ทั้งหมดถูกฟ้องว่า ได้ยุยงให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมและทำกิจกรรม เพื่อต่อต้านรัฐบาล จัดให้มีการชุมนุม สะสมกำลังพลและอาวุธสงครามร้ายแรง ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บุกรุกและยิงระเบิดใส่สถานที่ต่างๆ ปิดถนนตั้งด่านสกัดตรวจค้นยานพาหนะ ก่อให้เกิดความวุ่นวายและความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น