โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

สมยศไม่ได้ประกันคดีหมิ่นฯยันสู้ต่อยกเลิก112 ทนายเผยเกมการเมืองช่วงเลือกตั้งเจตนาโยงทักษิณ

Posted: 30 Apr 2011 02:29 PM PDT

พบเหตุฟ้องนิตยสาร วอยซ์อฟทักษิณ ดีเอสไอค้านประกันสมยศ เร่งส่งศาล 2 พค.ย้ายที่ขังกลางดึกทนายชี้ดีเอสไอรับลูก ศอฉ.ให้"วิญญูชน"อ่าน ย้ำรัฐบาลใช้กฎหมายหมิ่นเป็นเครื่องมือทางการเมืองในฤดูกาลเลือกตั้ง


จากกรณีการจับกุมตัว นายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิี่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา112 โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ(DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ ในเวลาประมาณ 19.00น.ของวันที่ 30 เมษายน  2554  เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ ได้นำตัวนายสมยศมาถึง สำนักงานกรมสืบสวนคดีพิเศษ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพ  โดยในการมาดังกล่าวทางดีเอสไอ ได้ปฏิเสธไม่ให้คนใกล้ชิดและสื่อมวลชนเข้าพบตัวนายสมยศ

23.00 น. นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความประจำตัวของนายสมยศ  จึงได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวหลังจากที่ได้เข้าไปพูดคุยปรึกษากับนายสมยศ โดยกล่าวว่าคดีของนายสมยศ ถือว่าเป็นคดีการเมืองอันมีเหตุเนื่องมาจากการจะเข้าสู่ช่วงเทศกาลเลือกตั้ง นิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ ซึ่งนายสมยศเป็นบรรณาธิการ ชื่อนิตยสารเป็นชื่อที่สามารถโยงเข้าสู่คนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลปัจจุบัน การดำเนินคดีนายสมยศในมาตรา112 จึงเป็นการดำเนินคดีที่หวังผลทางการเมืองในช่วงเลือกตั้งเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายรัฐบาล

นายสุวิทย์ ทนายความ ได้กล่าวต่อว่าคดีดังกล่าวมีวงเงินประกันสามแสนบาท  โดยทางนายสมยศ นำหลักทรัพย์มูลค่าหนึ่งล้านหกแสนบาทเพื่อใช้ในการประกันตัว  แต่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ คัดค้านการประกันโดยให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหาไม่ได้มารายงานตัวตามหมายเรียก ถูกจับกุมตัวระหว่างที่จะเดินทางออกนอกประเทศ และเกรงว่าจะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ซึ่งตนคิดว่าเป็นเหตุผลที่ฟังดูตลกเนื่องจาก หลังการออกหมายจับเมื่อวันที่ 12 กพ.ที่ผ่านมา นายสมยศซึ่งทำกิจกรรมจัดทัวร์ก็ได้เคยเดินทางออกนอกประเทศมาแล้วแต่ก็ไม่มีการจับกุม แต่พอมาถึงช่วงเทศกาลเลือกตั้งดีเอสไอก็ได้การจับกุมทันที

ทนายความของนายสมยศได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายสมยศเป็นเหตุเนื่องมาจากบทความในนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณที่เขียนโดย จิต พลจันทร์ สองฉบับที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องในเดือน กุมภาพันธ์และมีนาคม 2553 โดยเริ่มแรก ศอฉ.ได้เป็นผู้ดำเนินการและได้โอนเรื่องมาให้ดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบต่อ  ในส่วนการพิจารณาว่าบทความดังกล่าวหมินหรือไม่นั้น ทางเจ้าหน้าที่มีวิธีการโดยที่นำบทความดังกล่าวมาให้วิญญูชนอ่าน ซึ่งหากเมื่อได้อ่านแล้วมีความเห็นว่ามีเจตนาหมิ่นจึงได้ดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป

นายสุวิทย์  เลิศไกรเมธี  แกนนำกลุ่ม 24มิถุนาประชาธิปไตย ผู้อยู่ร่วมกับนายสมยศขณะถูกจับกุม ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า"วิญญูชน"มีความหมายถึงประชาชนที่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ในระดับประถมขึ้นไป ซึ่งมีปัญหาว่าการตีความบทความจะขึ้นอยู่กับทัศนะทางการเมืองของคนๆนั้น แต่ในส่วนบทความทางการเมืองที่ถูกกล่าวอ้างเป็นหลักฐานว่ามีเจตนาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ตนมองว่าหากให้คนที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมอ่านก็คงจะบอกว่าหมิ่น แต่ถ้าให้คนที่รักประชาธิปไตยอ่านก็จะบอกว่าไม่หมิ่น

นายสุวิทย์ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ร่วมกับนายสมยศขณะถูกจับกุมได้กล่าวต่อว่า นายสมยศได้ฝากประเด็นมานำเสนอดังนี้คือ ประเด็นแรกดีเอสไอหรือหน่วยงานความมั่นคงกำลังนำสถาบันกษัตริย์มาเดิมพันกับประชาชน  หมายความว่ากำลังเอาความสุ่มเสี่ยงต่อความอยู่รอดของสถาบันนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าดีเอสไอ หรือหน่วยงานความมั่นคงทั้งหลายจะเจตนาดีอย่างไรแต่ในท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบกลับไปที่สถาบันฯเอง  ประเด็นที่สอง นายสมยศยืนยันว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่จะยกเลิกมาตรา112ยังคงดำเนินต่อไปไม่ว่าตนเองจะติดคุกหรือไม่ได้ประกันตัว  นายสมยศ ขอให้พี่น้องที่ร่วมกันต่อสู้ให้เดินไปข้างหน้าต่อไป และเรียกร้องให้องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรประชาธิปไตยทั้งในและต่างประเทศ ให้ร่วมกันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรํฐบาล ดีเอสไอ รัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรวมถึงสำนักพระราชวัง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ยากของประชาชนในการออกมาต่อสู้และเพื่อให้เห็นว่ากฎหมายตัวนี้มันมีีปัญหาจริงๆในแง่ของการพัฒนาประชาธิปไตย นายสุวิทย์ได้ยืนยันในตอนท้ายว่านายสมยศและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีเจตนาที่จะล้มล้างสถาบัน แต่ต้องการให้สถาบันและประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่าทางดีเอสไอจะสอบปากคำให้แล้วเสร็จและจะนำตัวส่งฟ้องที่ศาลอาญาในวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00 น.และเนื่องจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นคดีที่มีความอ่อนไหว และไม่สามารถนำรายละเอียดและเนื้อหาของการกระทำผิดมาเปิดเผยซ้ำได้ ดีเอสไอจึงจะให้ข่าวต่อสื่อมวลชนในวันนั้น  และ

รายงานล่าสุดทางดีเอสไอได้ย้ายนายสมยศไปขังไว้ที่ สนง.ตำรวจกองปราบ เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำมวลชนมากดดัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "แผ่นดินธรรม"

Posted: 30 Apr 2011 11:15 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "แผ่นดินธรรม"

‘อภิสิทธิ์’ แจกบ้านทิ้งทวนก่อนยุบสภา สร้างแล้ว 2 หมื่นหลัง ให้คนจนชายแดนใต้

Posted: 30 Apr 2011 09:23 AM PDT

เมื่อเวลา 13.50 น. วันที่ 30 เมษายน 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดถนนทางหลวงหมายเลข 4066 สายบ้านตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - บ้านปาลอปาต๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านตะโหนด หมู่ที่ 2 ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พร้อมมอบบ้านโครงการแก้ปัญหาเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับครัวเรือนเป้าหมาย โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา

โดยในพิธีมอบบ้าน นางทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช.ในฐานะองค์กรที่รับผิดชอบโครงการ เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้นนายอภิสิทธิ์เป็นประธานมอบบ้านดังกล่าวให้แก่ชาวบ้านตะโหนด จำนวน 3 หลัง ได้แก่ นายสัยมีดี สามะยะซา เลขที่ 57/2 หมู่ที่ 2 นายอับดุลเลาะ สามะยะซา เลขที่ 50/5 หมู่ที่ 2 และนางโรฮานี สามะ เลขที่ 54 หมู่ที่ 2 หลังพิธีมอบบ้าน นายอภิสิทธิ์ ได้เข้าไปในบ้านของนางโรฮานี เพื่อติดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายในบ้าน

นายธีระพล สุวรรณรุ่งเรื่อง ผู้จัดการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.ภาคใต้ เปิดเผยว่า ผู้ที่ได้รับบ้านในโครงการนี้ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน มีรายได้ไม่เกิน 64,000 บาทต่อปี โดยผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง

นายธีระพล เปิดเผยต่อไปว่า โครงการนี้ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล 1,220 หมู่บ้าน ใน 249 ตำบล มีผู้ได้รับประโยชน์ 37,000 ครัวเรือน

ทั้งนี้ ในป้ายประกาศที่ติดตั้งไว้ในบริเวณพิธีเปิดระบุว่า โครงการแก้ปัญหาเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับครัวเรือนเป้าหมาย มีเป้าหมายทั้งหมด 37,557 หลัง ใน 1,175 หมู่บ้าน ดำเนินการเสร็จแล้ว 21,178 หลัง มีผู้ได้รับประโยชน์ 262,899 คน เกิดกองทุนที่อยู่อาศัย 97 ตำบล โดยบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 5,669 หลัง ยะลา 2,392 หลัง นราธิวาส 7,453 หลัง สงขลา 3,291 หลัง และสตูล 2,373 หลัง

นายสัยมีดี สามะยะซา หนึ่งในผู้ที่ได้รับมอบบ้านครั้งนี้ กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่วันนี้ได้มีโอกาสพบเจอกับนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในชีวิต และดีใจที่มีโครงการนี้และอยากให้มีโครงการนี้กับคนอื่นด้วย

สำหรับ นายสัยมีดี สามะยะซา มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน โดยนายสัยมีดีไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จากกรณีคนร้ายลอบวางระเบิดรถยนต์ขนหีบบัตรเลือกตั้งเมื่อปี 2549 ซึ่งขณะนั้นนายสัยมีดีเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนราธิวาส จนสมองได้รับผลกระทบกระเทือน ครอบครัวนี้มีอาชีพรับจ้างกรีดยางพารามีรายได้ประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน มีปัญหาสร้างบ้านแล้วไม่เสร็จ เนื่องจากไม่มีเงิน จึงได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการ 50,000 บาท

นายรอฮิง จูมะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) สุวารี เปิดเผยว่า ถนนสาย4066 เดิมเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2545 ตามสัญญาจะต้องสร้างเสร็จในเดือนกันยายน 2547 แต่ที่ผ่านมามีการขอขยายอายุโครงการถึง 4 ครั้ง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ จนในที่สุดผู้รับเหมาขอยกเลิกสัญญา ทำให้กรมการทหารช่าง กองทัพบก เข้ามาก่อสร้างต่อตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 กำหนดเสร็จวันที่ 31 มีนาคม 2554 ที่ผ่านามา

นายรอฮิง เปิดเผยด้วยว่า โครงการนี้ ต้องมีการเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน 369 ครัวเรือน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสุวารีได้ช่วยดูแลในเรื่องการเวนคืนไปตามสภาพความเหมาะสมของที่ดินแต่ละแปลง

นายเจะอามิง โต๊ะตาหลง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ถนนสายนี้ตัดผ่านพื้นที่สีแดงที่มีปัญหาด้านความมั่นคง เมื่อการก่อสร้างถนนแล้วเสร็จทำให้การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ดีขึ้น เหตุการณ์รุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ ปัจจุบันลดลง

สำหรับถนนสายนี้ บางส่วนตัดผ่านพื้นที่ภูเขาสูงในเขตอุทยานแห่งชาติเขาบูโด – สุไหงปาดี โดยการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ คาดว่า เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะมีการยุบสภาและเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

7 ปีกรือเซะ กับความเปลี่ยนแปลง

Posted: 30 Apr 2011 09:15 AM PDT

“คนที่นี่ก็ไม่ได้นับหรอกว่า วันครบรอบเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะจะถึงเมื่อไหร่ อยู่ดีๆ ก็มีนักข่าวมาถาม มีคนมาสัมภาษณ์ชาวบ้าน ก็เลยรู้ว่า นี่กำลังจะถึงวันครบรอบรอบแล้ว เป็นอย่างนี้ประจำ”

ฮารง เจ๊ะกาเซ็ง พูดถึงเรื่องนี้ขึ้นมากลางวงสนทนาหลังละหมาดอัสรีในช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันหนึ่ง ส่วนคนอื่นก็ทยอยเดินออกจากมัสยิด


มัสยิดกรือเซะ


นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มาจากสหรัฐอเมริกา


ห้องแถวซึ่งเป็นร้านค้าริมถนนข้างมัสยิดกรือเซะ
ส่วนใหญ่ปิดเงียบเพราะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยว


ร.ต.ท.ชอบ เรืองดำ หัวหน้าป้อมกรือเซะ

วงสนทนาเกิดขึ้นก่อนถึงวันที่ 28 เมษายน ซึ่งเป็นวันครบรอบปีที่ 7 ของเหตุการณ์กลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง บุกทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ป้อมกรือเซะ ก่อนจะยึดมัสยิดเป็นฐานที่มั่น นำมาซึ่งเหตุการณ์ยิงถล่มมัสยิดจนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

วันนี้ดูจะมีคนมาละหมาดมากกว่าปกติ เพราะตรงกับวันตลาดนัดหน้ามัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่ริมทางหลวงสายปัตตานี – นราธิวาส ตำบลตันหยงลูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ฮารง เจ๊ะกาเซ็ง คือ โต๊ะเซียะ หรือ ผู้ดูแลมัสยิดประจำมัสยิดกรือเซะ ในวัย 74 ปี ที่ดูเหมือนว่า ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้นหลังเหตุการณ์เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เพราะทรัพย์สินของมัสยิดมีมากขึ้น

ทั้งพัดลมติดผนัง พรมปูละหมาดที่ปูเต็มพื้นที่ภายในมัสยิด ม่านกั้นพื้นที่ละหมาดชาย-หญิง ตู้และชั้นวางคำภีร์อัลกุรอ่าน

สิ่งของทั้งหมด จัดไว้อย่างเรียบร้อย เหมาะสมกับสภาพภายในที่ดูโอ่อ่าสวยงาม เพราะได้รับการฉาบปูนปิดทับจนไม่เหลือเค้าของโบราณสถาน เพราะหลังเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงทั้งภายในและภายนอก

รวมทั้งไม่เหลือร่องรอยความเสียหายจากกระสุนปืนและระเบิด ยกเว้นภายนอกบางจุด ซึ่งสภาพภายนอกตัวอาคารมัสยิดยังอยู่ในสภาพเดิม แต่ปรากฏร่องรอยการเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมัสยิดและมีการขุดคูระบายน้ำรอบตัวมัสยิดเพื่อป้องกันน้ำขัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมัสยิดได้

ฮารง บอกว่า หน้าที่ที่ตนเองต้องทำก็ได้แก่ การดูแลความสะอาดเรียบร้อย กวาดขยะ ทำความสะอาดห้องน้ำ ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ 2 หลัง แยกห้องน้ำชาย – หญิง และสถานที่อาบน้ำละหมาด ส่วนพื้นที่ด้านนอกมัสยิด ทางอบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) ตันหยงลูโล๊ะดูแล

ปัจจุบัน รอบมัสยิดกรือเซะมีการสร้างรั้วล้อมรอบ โดยมีอาคารบริการนักท่องเที่ยว ห้องประชุมและลานกิจกรรมตั้งอยู่ภายในรั้ว

ฮารง เล่าต่อไปว่า ที่นี่มีโต๊ะครูมาสอนศาสนาทุกวันอังคาร มีคนมาฟังกันเต็มพื้นที่มัสยิด ส่วนตลาดนัดมีทุกเช้าวันอังคาร เย็นวันพฤหัสและวันเสาร์ มีการละหมาดที่มัสยิดแห่งนี้ครบวันละ 5 เวลา ยกเว้นละหมาดวันศุกร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีมาก่อนเกิดเหตุ 28 เมษาฯ

ส่วนในวันครบรอบ 28 เมษาฯ ที่มัสยิดกรือเซะ ฮารงบอกว่า ไม่มีการจัดงานอะไรทั้งสิ้น มีเพียงการละหมดฮายัติเพื่อขอพรจากพระเจ้าให้มีความสงบสุขเท่านั้น

ฮารง เล่าต่อว่า ที่ผ่านมา เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการจัดงานศิลปวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างมุสลิมกับคนจีนบริเวณใกล้กับมัสยิด ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ส่วนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ จะมีการจัดงานเข้าสุหนัตหมู่ของเยาวชนในพื้นที่

“สิ่งที่มีอยู่ตามปกติก็คือจะมีคนเดินทางแวะละหมาดทุกวัน นักท่องเที่ยวก็มีบ้าง โดยเฉพาะชาวต่างชาติ แต่ก็น้อยกว่าก่อนเกิดเหตุ แต่หลังเกิดเหตุใหม่ๆ มีคนมาดูที่เกิดเหตุกันเยอะ พวกพ่อค้าแม่ค้าก็นำสินค้ามาขายกันเยอะ จากนั้นก็เงียบ” ฮารง เล่า

เช่นเดียวกับนายแวอูมาร์ แวดอเลาะ กำนันตำบลตันหยงลูโล๊ะ บอกว่า เมื่อมีคนตายก็ต้องมีการรำลึกถึงคนตาย คือจะมีการละหมาดฮายัตหรือการละหมาดวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺให้เกิดหนทางแห่งสันติสุข ซึ่งกิจกรรมลักษณะนี้ จะไม่กระทบต่อจิตใจของคนที่นี่มาก

“การพูดถึงเหตุการณ์กรือเซะ ก็เหมือนการย้อนเทปม้วนเก่าให้ชาวบ้านนึกถึงความเจ็บปวดเหล่านั้นอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดมีผลกระทบกับความรู้สึกของคนที่นี่ แต่เวลาก็ช่วยบรรเทาได้ แต่ไม่ได้ลืม เพียงไม่อยากให้เน้นภาพที่เหลวร้ายนั้นมาก เพราะจะเป็นการปลุกกระแสให้เกิดความเกลียดชังอีก” นายแวอูมาร์ กล่าว

บรรยากาศแห่งความเงียบเหงาเช่นที่ฮารงพูดถึง สังเกตได้จากที่ตั้งบ้านเรือนและร้านค้าริมถนนข้างๆ มัสยิดกรือเซะที่มีเพียงร้านอาหาร 2 ร้าน กับร้านขายของฝากที่อยู่ถัดไปอีกหลายห้องตรงกับด้านหลังปูชนียสถานสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่เหลือปิดเงียบ หรือถูกปล่อยทิ้งร้างไว้

นางแอเซาะ จะนือรงค์ ชาวบ้านชุมชนห้องแถวข้างมัสยิดกรือเซะ เล่าว่า ร้านขายของส่วนใหญ่ปิดตัวลงหลังเหตุการณ์กรือเซะได้ซักประมาณ 1 เดือน เพราะไม่มีลูกค้า

เช่นเดียวกับกะ(พี่สาว)คนหนึ่ง ซึ่งเปิดร้านขายอาหารตามสั่งข้างๆมัสยิดกรือเซะ เล่าว่า เมื่อก่อนเคยขายดีมาก เพราะมีนักเที่ยวเยอะ รถทัวร์ของนักท่องเที่ยวมาจอด บริเวณนี้เป็นแถวยาวมากโดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งนักท่องเที่ยวมีสองส่วน คือ นักท่องเที่ยวมุสลิมมาที่มัสยิดกรือเซะ ส่วนคนจีนก็มาที่สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

“ก่อนเหตุการณ์กรือเซะ เคยเปิดร้านตั้งแต่แปดโมงเช้า กว่าจะปิดร้านได้ก็เกือบเที่ยงคืน ช้าสุดคือตีหนึ่ง เคยมีลูกน้องสี่ถึงห้าคน และต้องตั้งโต๊ะกินข้าวกันข้างทางฝั่งตรงข้าม แต่ตอนนี้ หกโมงเย็นก็ปิดร้านแล้ว รายได้หดหายไปด้วยเกือบสามเท่า” เธอเล่า

ร้านของเธอคือ 2 ใน 6 ร้านที่ยังเปิดขายอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน โดยร้านอื่นค่อยๆปิดตัวลงหลังจากเกิดเหตุการณ์ 28 เมษาฯ ไม่กี่เดือน ส่วนร้านขายของฝากเหลืออยู่ร้านเดียว ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นของกิน

“เมื่อก่อนมีสินค้าพื้นเมืองขายกันตลอดแนวถนนข้างมัสยิดกรือเซะ จำพวกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมุสลิม และของกิน แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวมา”

แต่บรรยากาศที่มัสยิดกรือเซะดูจะดีกว่าที่ปูชนียสถานสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ตั้งอยู่ติดกับมัสยิดกรือเซะ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประปราย ยกเว้นช่วงวันสำคัญของชาวจีน

นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์คนหนึ่ง บอกว่า มาที่นี่เพื่อจะขอจากเจ้าแม่ให้แข่งนกเขาชวาชนะ ซึ่งจะมาที่นี่ทุกครั้งที่จะมีการแข่งนกในประเทศไทย

อีกสถานที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 28 เมษาฯ คือ ป้อมจุดตรวจกรือเซะ ซึ่งเป็นจุดแรกที่กลุ่มชายฉกรรจ์บุกเข้าทำร้ายตำรวจเสียชีวิตก่อนล่าถอยไปที่มัสยิดกรือเซะ

ป้อมจุดตรวจกรือเซะ อยู่ห่างจากมัสยิดกรือเซะประมาณ 200 เมตร โดยมีปูชนียสถานสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวคั่นกลาง ปัจจุบันถูกตั้งเป็นสถานียุทธศาสตร์ตันหยงลูโล๊ะ มีตำรวจประจำการอยู่ประมาณ 20 นาย

แน่นอนว่าสภาพภูมิทัศน์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่นเดียวกับมัสยิดกรือเซะด้วยเช่นกัน โดยมีการสร้างรั้วเหล็กล้อมรอบและอาคารที่พักเจ้าหน้าที่เพิ่มอีก 2 หลัง ด้านหน้ามีบังเกอร์และมีเจ้าหน้าที่เฝ้าอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน

ร.ต.ท.ชอบ เรืองดำ รองสารวัตรป้องกันและปราบปราม (รอง สวป.) สถานีตำรวจภูธร(สภ.) เมืองปัตตานี หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ประจำสถานียุทธศาสตร์ตันหยงลูโล๊ะ บอกว่า ทุกครั้งที่จะถึงวันครบรอบเหตุการณ์กรือเซะ ผู้บังคับบัญชาได้กำชับให้เฝ้าระวังอย่างเต็มที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ทุกนายจะต้องอยู่ในที่ตั้ง ห้ามไปไหน

“ผมมาประจำอยู่ที่ป้อมที่นี่หลังเหตุการณ์กรือเซะไม่นาน เช่นเดียวกับทหารที่เข้ามาตั้งฐานฝั่งตรงข้ามถนนหลังเหตุการณ์เช่นกัน ตังแต่วันนั้นมาก็ยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงมัสยิดกรือเซะ ยกเว้นเหตุคนร้ายยิงใส่ป้อมครั้งหนึ่ง ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าเขาต้องมายิง เพราะมีเจ้าหน้าที่คนใหม่มา จึงทำให้เราต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา” ร.ต.ท.ชอบ เล่าให้ฟัง ก่อนจะบอกต่อไปว่า

ภารกิจแต่ละวันตอนนี้ ก็ต้องมีมากกว่าเดิม คือต้องลาดตระเวนด้วย วันละสองรอบ และต้องมีการเดินตรวจในชุมชนทุกวัน

ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านกรือเซะ ร.ต.ท.ชอบ เล่าว่า ก็เป็นไปด้วยปกติ มีชาวบ้านแวะมาเยี่ยมมาหาประจำ โดยเฉพาะชาวบ้านที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. รวมทั้งชาวบ้านที่มาแจ้งเหตุ ซึ่งก็มีบ่อย เช่น เรื่องยาเสพติด เป็นต้น

“ในพื้นที่มีปัญหายาเสพติดอยู่ด้วย มีทั้ง กัญชา สี่คูณร้อย และยาบ้า แต่การจับกุมดำเนินคดีเป็นหน้าที่ของตำรวจหน่วยอื่น ส่วนตำรวจที่นี่ยังต้องทำงานมวลชนในพื้นที่อยู่ครับ”

แม้ความบอกช้ำจากเหตุการณ์ 28 เมษาฯ ของชาวกรือเซะถูกจุดขึ้นมาทุกปี ในฐานะสัญลักษณ์ของความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ปัญหาจริงที่กำนันแวอูมาร์บอก ก็คือปัญหาเรื่องปากท้อง เพราะรายหลักของชาวกรือเซะ มาจากอ่าวปัตตานี คือ อาชีพประมงและการทำนาเกลือ รองลงมาคือค้าขาย

“ตอนนี้ความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวปัตตานีลดลง ในขณะที่ประชากรบ้านกรือเซะกับบ้านตันหยงลูโล๊ะ ซึ่งเปรียบเสมือนชุมชนเดียวกันมีเพิ่มมากขึ้น แต่ทรัพยากรเท่าเดิม ส่วนนาเกลือไม่ได้ผลมา 2 ปีแล้ว เพราะถูกน้ำท่วม” แวอูมาร์ อธิบาย

เมื่อมีปัญหา ก็ต้องมีการแก้ปัญหา ซึ่งแวอูมาร์ บอกว่า ขณะนี้ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานีได้กำหนดให้กรือเซะเป็นเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว โดยรวบรวมชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์มาอยู่ในเครือข่าย เช่น เครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวของกรือเซะ ประกอบด้วย ชุมชน กรือเซะ ชุมชนบาราโหม ที่มีสุสานของกษัตริย์คนแรกของรัฐปัตตานีในอดีต เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

ขณะนี้เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจะมีมัคคุเทศก์อาสา ซึ่งก็เป็นลูกหลานของคนกรือเซะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่พร้อมกับให้ข้อมูลต่างๆ โดยจะนั่งประจำอยู่ที่ อบต.ตันหยงลูโล๊ะ ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ มั่นยิดกรือเซะนั่นเอง

แวอูมาร์ ซึ่งมีอีกฐานะหนึ่งคือ ประธานชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี บอกว่า นอกจากเพื่อต้องการสร้างรายได้ให้ชาวกรือเซะแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสในการคลายความบอบช้ำของชาวกรือเซะที่มีต่อเหตุการณ์ 28 เมษาฯ ด้วย

“อีกจุดหนึ่งที่ทำได้ คือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนมุสลิม พุทธและจีน ในพื้นที่ จะต้นทุนที่ดีในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเที่ยวที่นี้ได้ด้วย เนื่องจากในอดีตกรือเซะคือศูนย์กลางทางการค้า มีพ่อค้าชาวจีน ชาวอาหรับและชาวอินเดียมาค้าขายและปักหลักอาศัยอยู่ที่นี่ จนเกิดลูกเกิดหลานมากมาย”

“จะเห็นได้ว่า ชาวกรือเซะวันนี้ มีทั้งหน้าตาออกไปทางจีน อินเดีย อาหรับและชาวมลายูท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งแต่ละเชื้อสาย ต่างก็มีญาติอยู่ในประเทศต่างๆ จึงน่าจะมีกิจกรรมที่ให้ญาติที่อยู่ในต่างประเทศเดินทางมาเยี่ยมได้”

นั่นคือความหวังของกำนันแห่งกรือเซะ ที่เสมือนตัวแทนคนในพื้นที่ ที่หวังจะฟื้นฟูชีวิตของกรือเซะให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาดังเดิม ท่ามกลางบรรยากาศแห่งสันติภาพและความสันติสุข

 

รัฐช่วยเหลือเยียวยาญาติเหยื่อ28เมษาฯ

แซมซู แยะแยง
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กรือเซะใช้ชีวิตอย่างปกติสุข โดยไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษเพิ่มเติม เพียงพอกับสิ่งที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว ซึ่งปกติ ศอ.บต.จะไปเยี่ยมเยียนครอบครัวเหล่านั้นปีละครั้ง เพื่อสอบถามถึงความเป็นอยู่

“ศอ.บต.ได้เข้าไปช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กรือเซะ ถือเป็นเรื่องปกติที่เราทำมาตลอด แต่ที่เป็นปัญหาคือ เราพบว่ามีสื่อบางแขนงที่ลงไปทำข่าวกรณีเหตุกรือเซะพยายามที่จะยุยงให้ครอบครัวผู้เสียหายไม่ยอมความ โดยยุยงให้ดำเนินการเอาผิดกับรัฐ และไม่ให้ยุติการเรียกร้องการช่วยเหลือจากรัฐ นี่คือสิ่งที่ครอบครัวผู้เสียหายกรณีกรือเซะได้สะท้อนมา” นายภาณุ

ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุถึงการช่วยเหลือเยียวยาญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 เช่นญาติผู้เสียชีวิตที่มัสยิดกรือเซะ เหตุสังหารทีมฟุตบอลสะบ้าย้อย รวม 34 ครอบครัว จำนวน 131 คน

การช่วยเหลือดังกล่าว มี 2 รูปแบบคือ 1.ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหรือน้อง และให้เครื่องอุปโภคบริโภค การช่วยเหลือในการทำบุญรำลึกถึงผู้ตาย 2.การส่งเสริมอาชีพ เช่น มอบสัตว์สัตว์ มอบทุนในการเลี้ยงแพะ แกะ มอบจักรเย็บผ้า เป็นต้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: เมื่อแกนนำ นปช.ขึ้นเหนือ แฉแผนกลโกงเลือกตั้ง-ยึดอำนาจ

Posted: 30 Apr 2011 05:44 AM PDT

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ อึดอัดเหลือทนจวกรัฐอภิสิทธิ์ ชี้ความเป็นธรรมในสังคมไม่มี,จตุพร เผยเคยเป็นครูดอยเชียงดาว พร้อมแฉรัฐบาล+ทหาร ใช้ภารกิจ 2 ย. แหย่แล้วยึด ซัด ‘ถ้ามันยึดอำนาจ เราก็ยึดอำนาจได้เช่นกัน’ ด้านวิเชียร ขาวขำ แฉกลโกงเลือกตั้งครั้งหน้า ย้ำ “อย่าไปเลือกตั้งล่วงหน้าเด็ดขาด”

                                                                          
เมื่อค่ำของวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กลุ่ม นปช.เชียงดาว-แม่แตง นับพันคน ได้ร่วมกันชุมนุมต้อนรับกลุ่ม นปช.นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย และนายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล และนางกัญญาภักดิ์ มณีจักร หรือดีเจอ้อม แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51

โดยบรรยากาศการชุมนุมในวันนั้น เป็นไปอย่างคึกคัก และถือเป็นการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เชียงดาว กันครั้งใหญ่ครั้งแรก ซึ่งการสำรวจและสอบถามผู้เข้าร่วมชุมนุม บอกว่า ทุกคนพร้อมใจกันมาทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล เพื่อร่วมรับฟังข้อมูลและให้กำลังใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีการโฟนอินเข้ามาด้วย โดยด้านข้างๆ เวทีมีการตั้งเต็นท์ขายดอกไม้ พวงมาลัยและเสื้อยืดสีแดง สีดำไว้จำหน่าย เพื่อนำรายได้ทั้งหมดใช้ในกิจกรรมรณรงค์ของกลุ่ม นปช.เชียงดาว กันต่อไปด้วย

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ลั่นอึดอัด ความเป็นธรรมในสังคมไม่มี

เวลาประมาณ 19.30 น.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย และเคยเป็น ส.ส.เชียงใหม่ ในเขตพื้นที่โซนเหนือของ จ.เชียงใหม่มายาวนาน ได้ลุกขึ้นกล่าวกับกลุ่ม นปช.เชียงดาว ว่า ครั้งหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยเดินทางมาพบกับชาวบ้านอำเภอเชียงดาวที่บริเวณแห่งนี้ และได้เป็นนายกรัฐมนตรีช่วยพัฒนาประเทศชาติมาอย่างต่อเนื่อง แต่มาตอนนี้ โดยเฉพาะเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ความเป็นธรรมในสังคมไม่มีเลย ซึ่งหลายคนบอกว่าประเทศนี้เมืองนี้มี 2 มาตรฐาน แต่ตนอยากบอกว่า มันไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐาน แต่มันไม่มีมาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น

“ที่ผ่านมา ผมไม่เคยพูดก้าวร้าวมาก่อนเลย แต่วันนี้เป็นวันแรกที่ผมรู้สึกอึดอัดใจ ผมอยากจะบอกข้อเท็จจริงกับพี่น้องว่า ที่ผ่านมารัฐบาลอภิสิทธิ์ เกิดเหตุการณ์ยิงคนตาย 91 ศพ และบาดเจ็บอีกนับ 2 พันคน แล้วยังคิดว่ามันถูกต้อง โดยไม่ได้สนอกสนใจว่าญาติพี่น้องผู้ตายนั้นเขาจะเสียใจอย่างไร ซึ่งที่พี่น้องประชาชนถือป้ายว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นฆาตรกรนั้น ถือว่าทำถูกต้องแล้ว รัฐบาลชุดปัจจุบัน ตั้งขึ้นในค่ายทหาร ซึ่งแน่นอนว่ามีการชักชวน มีการชักใยอยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เป็นของตัวของตัวเอง ถูกครอบงำมาโดยตลอด อำนาจนายกฯนั้นไม่มีเลย ชอบฟังคนนั้นคนนี้แล้วนำมาปฏิบัติ แล้วท่านจะเลือกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกหรือ ท่านจะเลือกพรรคที่ชั่งไข่ขาย ราคาสินค้าแพงแบบนั้นหรือ” นายสมพงษ์ กล่าว

ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ยังได้แสดงความวิตกกังวลเรื่องการเลือกตั้งครั้งหน้าว่า ประชาชนจะต้องช่วยกันจับตาดูกันดีๆ ต้องระวังเรื่องการโกงด้วยวิธีต่างๆ เพราะในขณะนี้โพลหลายสำนักบอกว่า พรรคเพื่อไทยจะมีคะแนนเสียงท่วมท้น ฉะนั้น ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลเรื่องการนับคะแนนในหน่วยเลือกตั้ง

“ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ผมขอเดินหน้าให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นต่อไปโดยสุจริต ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น”

อย่างไรก็ตาม นายสมพงษ์ ก็ยังหวั่นๆ ว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้นได้

“แต่ถ้ามันเกิดเหตุการณ์ ไม่มีการเลือกตั้ง เพราะตอนนี้มีข่าวกดดันพี่น้องชาวบ้านกันหนักขึ้นทุกวันๆ โดยเฉพาะเรื่องของสถานีวิทยุชุมชนโดนปิด แต่ก็ไม่เป็นไร ขอให้พี่น้องใช้การคุยกันผ่าน SMS ผ่านมือถือก็แล้วกัน”

นายสมพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หากพรรคเพื่อไทยได้รับการคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และได้เข้าเป็นรัฐบาล จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะกลับเข้ามาประเทศไทยภายใน 1 เดือน และพร้อมจะดำเนินตามนโยบาย ที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้คำแนะนำไว้ ซึ่งมีแนวคิดนโยบายมากมาย ชัดเจนและลงมือทำได้ทันที

วิเชียร ขาวขำ แฉกลโกงเลือกตั้งครั้งหน้า  ย้ำ “อย่าไปเลือกตั้งล่วงหน้าเด็ดขาด”

ด้านนายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.เพื่อไทย จ.อุดรธานี ได้ลุกขึ้นกล่าวบนเวทีเสื้อแดงเชียงดาวด้วยว่า ยอมรับว่าบ้านนี้เมืองนี้ในขณะนี้ ทั้งกลัวอำนาจและบ้าอำนาจ ก็เลยหาทางกลั่นแกล้งคนไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าปิดสถานีวิทยุ หรือกรณีแจ้งความเอาผิดตนและนายจตุพร พรหมพันธุ์ และคนขึ้นเวที กล่าวหาว่าหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งพวกตนไม่พูดหมิ่นประมาทใดๆ สักคำ

“ล่าสุด หลังจากพรรคเพื่อไทย ออกมาหาเสียงบอกสโลแกนว่า ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ มันก็จะหาเรื่องฟ้องยุบพรรคอีก ก็ช่างมัน ถ้ามันยุบพรรค เราก็ตั้งพรรคใหม่ได้ หรือไม่ก็ตั้งพรรคทักษิณให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย...และถึงแม้ว่าในขณะเลือกตั้ง ผมกับจตุพร อาจจะติดคุกก็ได้ แต่ถึงยังไงพี่น้องประชาชนจะต้องยิ่งเลือกพรรคเพื่อไทยให้มาก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ จะต้องเลือกยกพรรคให้ได้”

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสการสำรวจความคิดเห็นของหลายสำนักว่า พรรคเพื่อไทยจะได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก นายวิเชียร ขาวขำ บอกกับกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ขอให้ระวังกลโกงการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะจะมีการกลั่นแกล้งสะกัดกั้นคนของเพื่อไทยไม่ให้เข้าสภาทุกวิถีทาง โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่า กรณี นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ทั้งกรรมการและนักมวยต่างเป็นพวกเดียวกัน

“เพราะฉะนั้น มีทางเดียวที่เราจะชนะได้อย่างเด็ดขาด ก็คือต้องน็อกมันอย่างเดียว”

นอกจากนั้น นายวิเชียร ยังได้แฉอีกว่า เมื่อฝ่ายตรงข้ามรู้ว่าถึงยังไงก็แพ้พรรคเพื่อไทย และจะต้องมีคนกาบัตรเลือก ส.ส.เพื่อไทย ดังนั้น มีวิธีเดียวที่จะหยุดยั้งได้ ก็คือทำบัตรเสีย โดยได้ยกกรณีตัวอย่าง การเลือกตั้ง ที่ผ่านมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมฟัง

“เพราะฉะนั้น ขอให้พี่น้องอย่าได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้พวกมันโกงได้ง่ายขึ้น สมมุติว่า ถ้าเรากาเลือก ส.ส.เพื่อไทย เขตเดียว เบอร์เดียวถูกต้อง แต่พวกมันอาจแอบเปิดหีบบัตรแล้วกาเพิ่มไปอีกเบอร์ นั่นก็หมายความว่า กลายเป็นบัตรเสีย ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่ จ.สกลนคร ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันสอดส่องและจับผิดพวกมันให้ได้”
 

จตุพร เผยเคยเป็นครูดอยที่เชียงดาว พร้อมแฉรัฐบาล+ทหาร ภารกิจ 2 ย. แหย่แล้วยึด

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่ม นปช. ลุกขึ้นกล่าวกับกลุ่ม นปช.เชียงดาว ว่า ครั้งหนึ่งตนเคยเดินทางด้วยรถโดยสาร แล้วเดินเข้าไปเป็นครูดอย ครูอาสาฯ สอนหนังสือให้กับพี่น้องชาวเขาบ้านปางแดง กับบ้านป่าแขม จึงมีความผูกพันกับเชียงดาวเป็นพิเศษ และเชื่อว่าคนเชียงดาวนั้นจะอยู่เคียงข้าง นปช.และพรรคเพื่อไทย พร้อมกันนั้น ได้เล่าที่มาที่ไปของร่วมชุมนุมของกลุ่ม นปช.เมื่อวันที่ ที่ผ่านมา กระทั่งเกิดความสูญเสียมากถึง 91 ศพ และบาดเจ็บอีกหลายพันคนว่า สาเหตุนั้นมาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์

“จริงๆ แล้ว ที่ประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล ก็เพราะได้ปล้นอำนาจประชาชน แล้วไปจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร และกรณีที่พี่น้องเสื้อแดงต้องเสียชีวิตไป 91 ศพและบาดเจ็บอีกหลายพันคน ความจริงแล้วจะต้องเอาตัวนายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพ เข้าไปอยู่ในคุกเพื่อรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่นี่ประเทศมันเป็นพิกลพิการ กลับมีการทำเอกสารเท็จ มีการเปลี่ยนแปลงคดี แล้วมากล่าวหาว่าเสื้อแดงฆ่ากันเอง...หรืออย่างกรณีเผาเซ็นทรัลเวิร์ล ซึ่งมีผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าเสื้อแดงไม่ได้เผา แต่ทหารเป็นคนเผา เพื่อกลบเรื่องคนตาย 91 ศพ”

นายจตุพร ยังยกตัวอย่างกรณีคดีนักข่าวญี่ปุ่นเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วยว่า จากเดิมมีหลักฐานชี้ว่าทหารเป็นคนยิง แต่เอาไปเอามา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเปลี่ยนแปลงเอกสารว่า ใครไม่รู้ฆ่า ก่อนส่งเรื่องให้ทางดีเอสไอ ซึ่งทุกวันนี้ทางญี่ปุ่นเขายังไม่พอใจ

นายจตุพร ยังได้กล่าวถึงเรื่องการเลือกตั้งในครั้งหน้านี้ว่า มีความพยายามสกัดกั้นไม่ให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง โดยใช้ภารกิจ 2 ย.

“เนื่องจากทางการข่าว ของ กอรมน.รายงานว่า ได้มีการสำรวจกัน 2 ครั้ง แล้วระบุว่า พรรคเพื่อไทยจะได้รับการเลือกตั้งจำนวนมาก โดยการสำรวจครั้งแรก เพื่อไทยจะได้ 260 เสียง สำรวจครั้งที่ 2 เพื่อไทยจะได้ทั้งหมด 280 เสียง นั่นยิ่งทำให้พวกเขาหวาดวิตก และกำลังใช้ ภารกิจ 2 ย. นั่นคือแหย่แล้วยึด”

สวนหมัด “ถ้ามันยึดอำนาจ เราก็ยึดอำนาจได้เช่นกัน”

นายจตุพร อธิบาย ภารกิจ 2 ย.ให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมว่า แหย่ คือสร้างเรื่องให้คนหวาดกลัว ตกใจ แล้วหลังจากนั้น ก็จะยึด ยกตัวอย่าง กรณีการเข้ายึดสถานีวิทยุโดยการประกบหัวคะแนน มีการแอบอ้าง สอดไส้เอกสารเท็จ เช่น คนของเพื่อไทยซื้อเสียง แล้วก็หาทางยุบพรรคต่อไป

“เข้าใจว่าทุกวันนี้ ชาวบ้านกำลังหวั่นกันว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่ โดยเฉพาะการเอาเรื่องสถาบันมาอ้าง มากล่าวหาว่าจะล้มสถาบัน ซึ่งผมเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ก็ยิ่งเป็นการกล่าวอ้าง ข่มขู่และไม่เป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะในช่วงกำลังมีการเลือกตั้งอย่างนี้ ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะทำอะไร ทหารจะออกมาฮึ่มๆ ตบเท้ากันพรึบพรั่นจนตุ่มตาปลาบวม บอกว่าพร้อมจะออกมาใน 30 นาที แล้วที่รบกับกัมพูชายังตั้ง 3-4 วันมาแล้ว ยังไงก็ตาม ถ้ามันมาอย่างไหน ก็ไปอย่างนั้น...และถ้ามันยึดอำนาจ เราก็ยึดอำนาจได้เช่นกัน”

ในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น.ขณะที่นายจตุพร กำลังกล่าวอยู่บนเวทีอยู่นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการโฟนอินเข้ามาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เพื่อพูดคุยกับกลุ่ม นปช.เชียงดาว โดย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวทักทายเป็นภาษากำเมือง โดยมี กลุ่ม นปช.เชียงดาว ปรบมือให้กำลังใจกันเป็นระยะ

“ปี้น้องจาวเจียงดาวสบายดีก่อ ปี้น้องกึ๊ดเติงหาผมก่อ ผมใค่ปิ๊กบ้านขนาด อยากปิ๊กไปจ้วยพี่น้องแก้ไขเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าราคาแพง รายได้ไม่พอจ่าย หื้อผมปิ๊กไปแก้บ๋อ”

ในตอนหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ยังอยากกลับไปพัฒนาเชียงใหม่ อยากกลับไปพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นเลือกตั้งครั้งหน้าจะต้องช่วยกันเลือกพรรคเพื่อไทย เพราะว่าถ้าเลือก ส.ส.ทั้งหมดของเพื่อไทย ก็เหมือนเลือกทักษิณ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ ขอให้พี่น้องจับตาดูให้ดีเพราะเชื่อว่าจะมีการซื้อเสียงอย่างหนักอย่างแน่นอน

ทั้งนี้มีรายงานว่า ระหว่างที่มีการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เชียงดาว ในเวลาเดียวกัน ก็มีการร่วมชุมนุมของกลุ่ม นปช.ฝาง-ไชยปราการ-แม่อาย ขึ้นอีกจุดหนึ่ง โดยมีแกนนำ นปช.นำโดยนายก่อแก้ว พิกุลทอง ไปร่วมพูดคุยกับกลุ่ม นปช. ก่อนจะเดินทางย้อนกลับลงมาที่เชียงดาว สลับกลับทีมของนายจตุพร พรหมพันธุ์ที่ได้เดินทางมุ่งหน้าไปยัง อ.ฝาง ต่อไป.
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บัวแก้วแจงเหตุปะทะกัมพูชา ไทยไม่เคยเริ่มก่อน ย้ำมีเลือกตั้งตามกรอบเวลาเดิม

Posted: 30 Apr 2011 05:42 AM PDT

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์เรื่อง การบรรยายสรุปให้แก่ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับประเด็นไทย-กัมพูชา ว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ได้บรรยายสรุปสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาให้แก่ผู้สื่อข่าว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

 

1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า ปราสาทตาควายและปราสาทตาเมือน ซึ่งอยู่ห่างจากปราสาทพระวิหารประมาณ140 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในประเทศไทย และปราสาททั้งสองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติของไทยตั้งแต่ปี 2478 นอกจากนี้ หน่วยงานของไทยก็ได้ดำเนินการบูรณะหมู่ปราสาทดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่1990 ดังนั้น รายงานจากทางกัมพูชาที่ว่าไทยยิงระเบิดใส่ปราสาททั้งสองจึงไม่สมเหตุสมผล

2. ข้อเท็จจริงคือ ไทยไม่เคยเป็นฝ่ายริเริ่มการปะทะกับกัมพูชา ไทยไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะกระทำเช่นนั้น โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการค้าการลงทุนของไทยในกัมพูชา ตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีมาโดยตลอดของไทยในการเสริมสร้างความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือกัมพูชา และส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียน

3. อย่างไรก็ตาม หากถูกโจมตี ไทยก็จำเป็นต้องปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพเหนือเดินแดนของไทยตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นไปอย่างสมน้ำสมเหนือ โดยมุ่งตอบโต้เฉพาะเป้าหมายทางทหารและพยายามอย่างที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้กระทบต่อบริเวณที่พลเรือนอยู่ ในการนี้ มีข้อสังเกตว่า ในบางครั้ง กัมพูชาได้ยิงอาวุธจากบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่เข้ามายังไทย ซึ่งไทยก็ได้ยับยั้งที่จะไม่ตอบโต้ไปยังบริเวณดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือน แนวปฏิบัติในการใช้พลเรือนเป็นเหมือน “โล่มนุษย์” นี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และประชาคมระหว่างประเทศควรตรวจสอบในเรื่องนี้ด้วย

4. ก่อนเหตุการณ์ปะทะเมื่อวันที่ 22 เมษายน ได้มีความคืบหน้าที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7-8 เมษายน 2554 และการหารือเกี่ยวกับร่างข้อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) สำหรับผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียที่จะส่งมายังบริเวณชายแดนฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา ดังนั้น การโจมตีเมื่อวันที่ 22 เมษายนจึงเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจให้แก่ไทย และนับตั้งแต่บัดนั้น ไทยก็ได้เรียกร้องให้กัมพูชากลับมาเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งด้วยการหารือกันโดยสันติ

5. สำหรับการพบปะระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชานั้น แม้ว่าไทยจะต้องการให้การพบปะดังกล่าวเกิดขึ้น แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้แสดงความจริงใจที่จะยุติการโจมตี ขณะที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวว่าพร้อมที่จะพูดคุย แต่การโจมตีก็ยังดำเนินอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้ ในกัมพูชา ยังมีการบิดเบือนและสร้างประเด็นจากข้อเสนอการเยือนดังกล่าว โดยให้ภาพว่าฝ่ายไทยจะไปเยือนกัมพูชาเพื่อขอให้หยุดยิงเนื่องจากฝ่ายไทยได้รับความเสียหายอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไทยหวังว่าการพบปะระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทั้งสองฝ่ายจะมีขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้เมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย

6. เกี่ยวกับเรื่องผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียนั้น อันที่จริงแล้ว การส่งผู้สังเกตการณ์มายังพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหารเป็นข้อริเริ่มและเป็นไปตามคำเชิญของไทยเอง การตัดสินใจในเรื่องนี้มีขึ้นในการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งจัดขึ้นสองวันก่อนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่กรุงจาการ์ตาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากนั้น ก็มีการหารือเกี่ยวกับ TOR หน้าที่สำหรับผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียเรื่อยมา ทั้งนี้ โดยที่ประเทศไทยเป็นสังคมเปิด กระบวนการปรึกษาหารือของไทยก็อาจใช้เวลา ซึ่งขณะนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่ของ TOR ดังกล่าวก็ตกลงกันได้แล้ว เหลือเพียงประเด็นทางเทคนิคเล็กน้อย เช่น ประเด็นเกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซีย เป็นต้น

7. เป็นที่น่าเสียใจที่มติของคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ถูกนำไปบิดเบือนโดยการแถลงข่าวของฝ่ายกัมพูชาที่อ้างว่าเป็นการประกาศสงคราม ในความเป็นจริงแล้ว มติคณะมนตรีดังกล่าวมี 3 ประเด็น ได้แก่ (๑) หากถูกโจมตี ประเทศไทยก็จะตอบโต้เป็นการป้องกันตนเอง เพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศและตามความเหมาะสม (2) ประเทศไทยจะดำเนินความพยายามทางการทูตเพื่อขอการสนับสนุนจากมิตรประเทศในการเรียกร้องให้กัมพูชากลับสู่โต๊ะเจรจา เนื่องจากประเด็นเกี่ยวกับชายแดนควรได้รับการหารือและแก้ไขโดยสันติผ่านการเจรจา และ (3) ขอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทบทวนดูสถานะความสัมพันธ์กับกัมพูชาเพื่อที่รัฐบาลจะได้มีภาพที่ชัดเจนของสถานภาพของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

8. สำหรับการพบปะพูดคุยระหว่างแม่ทัพภาคที่ 2 ของไทยกับผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ 4 ของกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 นั้น เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศได้หารือกันทางโทรศัพท์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะเสนอรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาของฝ่ายตนให้มีการยุติการปะทะ และสำหรับพื้นที่ที่ยังคงมีการยิงปะทะกันอยู่ ก็จะให้หัวหน้าหน่วยในพื้นที่หารือกันเพื่อยุติการปะทะโดยเร็ว อีกประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกคือ การเปิดจุดผ่านแดนที่ต้องปิดลงเป็นการชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์ในขณะนี้ ทั้งนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีการตอบยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่แถลงการณ์ของฝ่ายกัมพูชาที่ออกมาในเรื่องนี้ก็ถือเป็นสัญญาณคืบหน้าที่ดี

9. ต่อคำถามที่ว่าเหตุการณ์ปะทะบริเวณชายแดนครั้งล่าสุดนี้จะส่งผลกระทบต่อวันเลือกตั้งหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแล้วว่าจะยังคงดำเนินการตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้สำหรับการยุบสภาผู้แทนราษฎรในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จากงานแต่งวิลเลียม-เคท ถึงสถาบันกษัตริย์ไทยผ่านมุมมอง ส.ศิวรักษ์

Posted: 30 Apr 2011 05:12 AM PDT

 
 
ใครที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีเสกสมรสอันยิ่งใหญ่ระหว่างเจ้าชายวิลเลียม และแคทเธอรีน มิดเดิลตันเมื่อเย็นวานนี้จนจบราวหนึ่งทุ่มครึ่ง (ตามเวลาประเทศไทย) คงจะมีความอิ่มเอมกันเต็มที่ เพราะได้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ของงานอย่างครบถ้วนตั้งแต่การปรากฏพระองค์ของเจ้าชายและเคท สมาชิกพระราชวงศ์วินเซอร์ แขกเหรื่อคนสำคัญ มาสู่การประกอบพิธีในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ แล้วเสด็จไปยังพระราชวังบักกิ้งแฮมด้วยรถม้า และจบลงที่ฉากไคลแม็กซ์การจุมพิตระหว่างเจ้าชายและเคท ท่ามกลางเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีอย่างกึกก้องจากประชาชนที่มาเฝ้าชมหน้าพระราชวัง
 
ถ้านี่เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง มันก็เป็นภาพยนตร์ความยาวสี่ชั่วโมงที่จบลงอย่างแฮปปี้ เอนดิ้งตามความคาดหวังของผู้ชมนับล้าน ๆ คนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยผู้ชมต่างก็ได้รับความสุขความอิ่มเอมไปเต็มอกกันถ้วนหน้า คุ้มค่ากับการเฝ้ารอดูทั้งในช่วงถ่ายทอดพระราชพิธี และการเฝ้ารอมาก่อนหน้านั้น แต่สำหรับคนไทย ผมคิดว่าถ้าจะให้การรับชมพิธีเสกสมรสนี้สมบูรณ์ที่สุด ควรจะได้ชมรายการ “ตอบโจทย์” ช่วงสนทนาระหว่าง สุลักษณ์ ศิวรักษ์ แขกรับเชิญ กับภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการ ทางช่องไทยพีบีเอสตอนสามทุ่มด้วย
 
เพราะการสนทนาครั้งนี้เป็นการทำความเข้าใจสถาบันกษัตริย์ โดยตั้งต้นจากการพูดคุยถึงพระราชพิธีเสกสรมรสวิลเลียม-เคท มาสู่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยของ ส.ศิวรักษ์ ได้อย่าง “น่าฟัง” เป็นอย่างยิ่ง
 
ส.ศิวรักษ์ กล่าวว่า พระราชพิธีเสกสมรสอันยิ่งใหญ่อลังการของสมาชิกราชวงศ์แห่งอังกฤษครั้งนี้ทำให้เราเห็นแล้วว่า สถาบันกษัตริย์นั้นมีความสำคัญและความจำเป็นต่อสังคมอย่างแน่นอน เห็นได้จากจำนวนผู้คนนับแสนที่มาเฝ้าชมบนท้องถนน นั่นก็เพราะว่าคนเรายังต้องการอะไรที่โรแมนติก ต้องการความฝัน ความหวัง สถาบันกษัตริย์ให้สิ่งเหล่านี้แก่ผู้คนได้ทั้งหมด การแต่งงานระหว่างเจ้าชายกับหญิงสามัญชนนี่แสนจะโรแมนติกเลยนะครับ ลองคิดดูสิว่าถ้าเป็นลูกประธานาธิบดีแต่งงานจะมีใครให้ความสนใจมากเท่านี้ไหม
 
สถาบันกษัตริย์นั้นเป็นสิ่งสะสมความงดงามต่าง ๆ มาแต่อดีต และคนปัจจุบันก็มีแนวโน้มถวิลหาความดีงามในอดีต ดังนั้นคนจะไปแสวงหาสิ่งเหล่านี้ได้จากที่ไหน ถ้าไม่ใช่สถาบันกษัตริย์
 
ภิญโญ ต่อข้อถาม ส.ศิวรักษ์ ถึงเรื่องงบประมาณที่ราชวงศ์อังกฤษใช้ในการจัดงานแต่งงานครั้งนี้ ส.ศิวรักษ์ บอกว่า จริง ๆ แล้วก็เป็นเงินที่รัฐบาลตั้งถวายให้ แต่ว่าถ้าไม่พอก็ต้องออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เองบ้าง ฝ่ายครอบครัวของมิดเดิลตันแม้ว่าจะไม่ได้ร่ำรวยก็ช่วยกันออกสมทบบ้าง ของอย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องช่วยกัน
 
แต่ว่าสิ่งที่สำคัญของสถาบันกษัตริย์อังกฤษคือ การใช้จ่ายเงินนั้นมีความเปิดเผย โปร่งใส ประชาชนรับรู้และวิพากษ์วิจารณ์ได้ จึงไม่เป็นที่ติฉินนินทา แต่ของไทยเรื่องนี้แม้แต่จะพูดถึงก็ไม่ได้ จึงย่อมจะถูกนินทา แม้ห้ามนินทาต่อหน้าได้ แต่ว่าลับหลังก็จะถูกคนนินทาอยู่ดี ราชวงศ์อังกฤษนั้นปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา งานไหนถูกวิจารณ์ว่าใช้เงินมากไปไม่สมเหตุสมผล เขาก็พร้อมที่จะแก้ไข
 
ต่อมาภิญโญซัดคำถามที่หนักแน่นขึ้นอีกเกี่ยวกับการล้มสถาบันกษัตริย์ โดยภิญโญกล่าวก่อนว่า เขาเองเป็นคนที่เห็นว่า ส.ศิวรักษ์ นี่แหละที่เป็นคนรักสนับสนุนสถาบันยิ่งคนหนึ่ง เพียงแต่ว่าวิธีการเทิดทูนสถาบันของ ส.ศิวรักษ์ คือการกล้าวิพากษ์วิจารณ์ อย่างตรงไปตรงมา จนถูกมองว่าเป็นตัว “ล้มสถาบัน“ จึงเป็นเหตุให้โดนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาไม่น้อย
 
ส.ศิวรักษ์ ตอบว่า สถาบันกษัตริย์จะล้มไม่ได้ ถ้าเปรียบสถาบันกษัตริย์ก็เหมือนต้นไม้ใหญ่ แม้ตอนนี้มันมีเพลี้ยมีกาฝากอะไรอยู่บ้าง ก็ต้องเลาะกาฝากออก “...แต่จะโค่นต้นไม้ใหญ่ลงนั้นเป็นของไม่ดีแน่” สถาบันกษัตริย์เป็นของคู่บ้านคู่เมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์ เป็นที่สะสมความดีงามอันเป็นอุดมคติของสังคม แม้ในอดีตสถาบันกษัตริย์จะเคยทำอะไรเลวร้าย เราก็ไม่ควรเชื่อมเอาความเลวร้ายนั้นมาผูกกับปัจจุบัน อดีตต้องรับใช้ปัจจุบัน และปัจจุบันก็จะรับใช้อนาคต
 
และในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยนั้น ส.ศิวรักษ์ กล่าวว่า สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักอันหนึ่งของสังคม เช่นเดียวกับสถาบันชาติ ศาสนา ควรจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และควรจะเป็นการวิจารณ์ด้วยประสงค์จะก่อให้เกิดความดีงามขึ้น แต่ว่าทุกวันนี้การวิพากษ์วิจารณ์ถูกคนที่มีอำนาจบางกลุ่มกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งหมด
 
ส.ศิวรักษ์ ยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงชรามาก และก็ทรงพระประชวร          จำได้ไหมพระเจ้าอยู่หัวยังเคยตรัสว่า ถ้ารักพระเจ้าอยู่หัว อย่าเอาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปทำให้พระองค์หนักพระราชหฤทัย ขอให้พวกที่เอาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งหลายมาเป็นเครื่องมือทำลายกันทางการเมืองหยุดเรื่องนี้ได้เสียที
 
โดยส่วนตัวผมดีใจที่วันนี้ ส.ศิวรักษ์ ยังคงยืนยันในคำพูดของตัวเองเช่นเดิม เหมือนที่เคยพูดถึงสถาบันกษัตริย์มาตลอดนับสิบ ๆ ปี และผมเชื่อมั่นว่าปัญญาชนวัยสนธยาคนนี้มีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจต่อการปกป้องสถาบันมากที่สุดคนหนึ่ง เพียงแต่ว่าแกไม่ใช้วิธีการพูดยกปอปอปั้นอย่างที่คนส่วนใหญ่ทำกัน
 
และขอแสดงความชื่นชมสถานีไทยพีบีเอส ที่นำเสนอรายการที่ให้ความสว่างทางสติปัญญาแก่สาธารณชนได้อย่างทันสถานการณ์และมีคุณภาพ
 
จากส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ในรายการตอบโจทย์ เมื่อคืนวันศุกร์ 29 เมษายน ที่ผ่านมาดังที่ยกมานี้แหละครับ ที่ผมคิดว่าถ้าใครมีโอกาสได้ดูก็จะช่วยทำให้การรับชมพระราชพิธีเสกสมรสวิลเลียม-เคท มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะทำให้เราย้อนกลับมาทบทวนบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ที่ (เราบอกว่า) รักของเราด้วย บางทีอาจจะทำให้เราเห็นว่า เราในฐานะประชาชนได้ทำหน้าที่อันเป็นการรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ให้ดีแล้วหรือยัง ผมคิดว่าประชาชนธรรมดาอย่างเราไม่ใช่เพลี้ยหรือกาฝากที่กัดกร่อน “ต้นไม้ใหญ่” เราต่างหากที่ต้องช่วยกันขจัด ‘เพลี้ย’ และ ‘กาฝาก’ เหล่านั้น ซึ่งไม่ง่ายเลย!
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: ทุน การเมือง และความสำเร็จอีกขั้นของวงการลูกหนังไทย?

Posted: 30 Apr 2011 05:07 AM PDT

ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าวงการฟุตบอลลีกของไทยกลับมาคึกคักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และความคึกคักของสโมสรต่างๆนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะความเคลื่อนไหวของบรรดากลุ่ม“ทุน” และ “การเมือง” ที่ทยอยเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อวงการลูกหนังไทย

 

ต้องเท้าความก่อนว่าก่อนที่ฟุตบอล “ไทยพรีเมียร์ลีก” จะประสบความสำเร็จนั้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุบางประการที่ช่วยเป็นยากระตุ้นให้วงการฟุตบอลของไทยหันมายกเครื่องเปลี่ยนแปลงการบริหารโครงสร้างลีกฟุตบอลอาชีพ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดทางให้กับกลุ่มทุนและกลุ่มการเมืองเข้ามามีบทบาทอยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของความสำเร็จนี้

(1)

กว่าจะเป็น “ไทยพรีเมียร์ลีก”

ก่อนจะกำเนิดเป็นฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกนั้น ฟุตบอลในระดับลีกสูงสุดของไทยในยุคแรก คือฟุตบอล “ถ้วย ก.”เริ่มต้นการแข่งขันตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2459 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 การแข่งขันฟุตบอลในระดับลีกสูงสุดของไทยก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก” หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า “ไทยลีก”แต่วงการลูกหนังอาชีพของไทยนั้นก็สร้างความคึกคักแค่ในช่วงยุคแรกเท่านั้น หลังจากนั้นวงการลูกหนังของไทยก็เข้าสู่ภาวะซบเซามาเป็นเวลานานกว่าหลายสิบปี

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ทางสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี (AFC - Asian football confederation) ได้ออกมาประกาศนโยบาย “Vision Asia”เพื่อปฏิรูปวงการฟุตบอลของชาติสมาชิกให้มีความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มตัว โดยกำหนดให้ทุกชาติที่จะส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย (ACL-AFC Champion League) นั้นต้องผ่านการตรวจมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่ทางเอเอฟซีกำหนด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับฟุตบอลอาชีพของเอเชียให้เทียบเท่ากับมาตรฐานของลีกยุโรปให้ได้

กล่าวโดยสรุปคือ ฟุตบอลลีกอาชีพของแต่ละชาติสมาชิกต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับระบบตลาด สโมสรต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บุคลากรต้องมีคุณภาพ สนามแข่งต้องได้มาตรฐานและต้องมีการจำหน่ายบัตรผ่านประตู จำนวนผู้ชมในสนามต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 คน สโมสรต้องมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน การบริหารต้องเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐ เป็นต้น หากชาติใดที่ไม่ผ่านการตรวจมาตรฐานจากเอเอฟซี สโมสรของชาตินั้นก็ต้องถูกตัดสิทธิ์ไปแข่งเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก (ปัจจุบันไทยได้สิทธิ์ไปแข่งในรายการเอเอฟซี คัพ ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยในระดับที่เล็กกว่า)

มาตรการฉบับใหม่ของเอเอฟซีจึงกลายเป็นยากระตุ้นให้วงการฟุตบอลไทย “จำเป็น” ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาฟุตบอลภายในประเทศอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารให้ตรงตามแบบสากลดังที่ทางเอเอฟซีกำหนด และเป็นที่มาของการกำเนิดเป็น “ไทยพรีเมียร์ลีก” ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2551 ในนามของบริษัท “ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด” (Thai Premier League Company Limited) หรือ TPLC โดยมีระบบการบริหารจัดการธุรการตามหลักสากลแบบครบวงจร และเป็นอิสระจากภาครัฐอย่างเต็มรูปแบบ

 

(2)

กลุ่มทุนการเมือง กับวงการลูกหนัง

อันที่จริงแล้วเบื้องหลังของสโมสรฟุตบอลไทยในช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีนักการเมืองและกลุ่มทุนการเมืองเข้ามาเป็นผู้สนับสนุน หรือแสดงตนเป็นเจ้าของทีมอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เช่น กลุ่มตระกูล “คุณปลื้ม” ที่ให้การสนับสนุนสโมสรชลบุรี เอฟซี และสโมสรภายในท้องถิ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และสามารถสร้างทีมจนประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ตอนนั้น

อย่างไรก็ตามสโมสรฟุตบอลไทยในขณะนั้นก็ไม่ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระแสทางการเมืองมากเท่าไหร่นัก แต่ในช่วงสองถึงสามปีนี้ เมื่อฟุตบอลลีกของไทยกลับมาสร้างความนิยมอย่างคึกคัก กลุ่มการเมืองต่างๆก็เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวงการลูกหนังไทยมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือสโมสรของจังหวัดหรือสโมสรท้องถิ่นหลายทีมที่เริ่มก้าวขึ้นมาสร้างชื่อเสียงและความสำเร็จในระดับลีกสูงสุด โดยมีนักการเมืองและกลุ่มทุนท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนสำคัญอยู่เบื้องหลัง

จุดที่น่าสนใจสำหรับการเข้ามาทำทีมของนักการเมืองในช่วงระยะหลังคือ นักการเมืองเหล่านี้จะสร้างทีมโดยใช้วิธีเลือกซื้อทีมแบบ “สำเร็จรูป” เพื่อนำทีมมาควบรวมกับทีมท้องถิ่นตน และทำให้สามารถสร้างทีมของตนให้ยิ่งใหญ่ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ อย่างเช่น สโมสรบุรีรัมย์ พีอีเอของกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ก็เกิดจากการลงทุนซื้อสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อดีตแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกปี 2008 ซึ่งเป็นเสมือนสโมสรประจำจังหวัดอยุธยาเข้ามาควบรวมกับสโมสรท้องถิ่นของตน ซึ่งในขณะนั้นก็เกิดกระแสคัดค้านจากแฟนบอลชาวอยุธยาเป็นจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วนายเนวินก็สามารถควบรวมและสร้างสโมสรของตนขึ้นมาได้สำเร็จ

แม้ว่าสโมสรหลายแห่งจะสามารถเรียกความสนใจแก่แฟนบอลท้องถิ่นได้เป็นอย่างสูง แต่อย่างไรก็ตามสโมสรประจำจังหวัดหลายทีมที่คนคุ้นชื่อกันนั้น ส่วนใหญ่ก็คือทีมของจังหวัดใหญ่ๆหรือไม่ก็เป็นทีมที่มีทุนหนามากพอที่จะสร้างทีมขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีสโมสรท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการสร้างทีม เพราะทีมท้องถิ่นเหล่านี้เริ่มต้นสร้างทีมของตนจากศูนย์ และไม่มีเงินทุนหนาพอที่จะสร้างทีมให้ประสบความสำเร็จได้เทียบเท่ากับสโมสรอื่น จึงทำให้สโมสรฟุตบอลไทยในปัจจุบันนั้นกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เพียงไม่กี่จังหวัด

 

(3)

ท้องถิ่นนิยมไม่ใช่คำตอบเดียวของความสำเร็จ

ความสำเร็จของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น ได้ส่งผลต่อกระแสความนิยมฟุตบอลภายในประเทศมากขึ้น ยิ่งมีสโมสรจากจังหวัดหลายแห่งขึ้นมาอยู่ในลีกก็ยิ่งเกิดแรงกระตุ้นให้ผู้คนทั่วประเทศหันมาสนใจฟุตบอลในประเทศมากขึ้น สโมสรแต่ละแห่งต่างก็พยายามนำความเป็น “ท้องถิ่น” มาเป็นสัญลักษณ์ของทีมในการสร้างจุดขายและดึงดูดกระแสความนิยมจากผู้คนในพื้นที่ท้องถิ่นให้เกิดความรู้สึก “ร่วมกัน” ว่าเป็นทีมของตน เช่น ทีมสมุทรสงครามที่เลือกใช้ปลาทูขึ้นมาเป็นมาสคอตประจำทีม พร้อมตั้งฉายาของทีมว่าปลาทูคะนอง ส่วนทีมดังอย่างบุรีรัมย์พีอีเอ ก็นำภาพปราสาทหินมาออกแบบเป็นโลโก้สโมสร พร้อมตั้งฉายาของทีมว่าปราสาทสายฟ้า ซึ่งมีที่มาจากปราสาทหินพนมรุ้ง สถานที่ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์นั่นเอง

นายอาจินต์ ทองอยู่คง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “แฟนบอล:ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมของแฟนสโมสรฟุตบอลไทย” จากประสบการณ์ที่เขาเป็นทั้งแฟนบอลและเป็นผู้ที่ไปสัมผัสกับแฟนบอลท้องถิ่นโดยตรงนั้น เขาพบว่าความตื่นตัวของแฟนบอลในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมานี้มีมากขึ้น อาจินต์มองว่าว่า “จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ที่การรวมลีกเมื่อปี 2007 ถึง 2009 ที่สื่อเริ่มหันมา ‘เล่นข่าว’ กับฟุตบอลไทยอย่างจริงจังจึงทำให้มีคนดูเพิ่มขึ้น แต่จริงๆก่อนหน้านั้นบางทีมก็มีคนดูเยอะอยู่แล้ว อย่างชลบุรีหรือนราธิวาส แต่มันก็ยังไม่ได้เป็นกระแสระดับประเทศ”

อาจินต์มองว่าความเป็นท้องถิ่นนิยมไม่ได้ตอบโจทย์ความสำเร็จให้กับสโมสรฟุตบอลได้ในทุกพื้นที่ เขาเห็นว่าความสำเร็จของสโมสรในพื้นที่ต่างๆนั้นมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น “สิ่งที่สำคัญอันหนึ่งก็คือขนาดของจังหวัดกับธุรกิจในจังหวัดว่าดีแค่ไหนด้วย ถ้าลองไปไล่ๆดูแล้ว จะเห็นว่าจังหวัดที่คนดูเพิ่มขึ้นเยอะมันก็คือจังหวัดหัวเมืองใหญ่ๆที่ธุรกิจดี เพราะว่าการเป็นแฟนบอลมันเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินมันขึ้นอยู่กับกำลังซื้อด้วย” อาจินต์ชี้ว่าแฟนบอลกลุ่มหลักหรือแกนนำแฟนบอลของแต่ละทีมนั้นเป็นกลุ่มที่ติดตามทีมของตนกันมานานแล้ว และค่อยๆก่อตัวมาจนเกิดเป็นแฟนบอลกลุ่มใหญ่ ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเกิดกลุ่มแฟนบอลเพียงเพราะกระแสในไม่กี่ปีมานี้

 

(4)

ฟุตบอลกับการเมืองคือการเกื้อหนุนกันทางธุรกิจ

เมื่อวงการลูกหนังไทยกลับมาคึกคัก อาชีพนักฟุตบอลของไทยที่หลายคนเคยมองว่าเป็นอาชีพที่ไร้อนาคต ก็กลับกลายมาเป็นอาชีพในฝันของนักฟุตบอลรุ่นเยาว์อีกครั้ง ปัจจุบันเส้นทางลูกหนังอาชีพของไทยสามารถสร้างรายได้ให้กับบรรดานักเตะชื่อดังได้อย่างมหาศาล

นครินทร์ ฟูปลูก อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และอดีตนักเตะของสโมสรบีอีซี เทโร ศาสนและศรีษะเกษ เอฟซี ปัจจุบันเขาเล่นให้กับสโมสรอาร์แบค เอฟซี ในระดับลีกดิวิชั่นหนึ่ง นครินทร์เป็นนักฟุตบอลคนหนึ่งที่เติบโตมาในยุคที่ฟุตบอลอาชีพของไทยอยู่ในช่วงล้มลุกคลุกคลาน เขามองว่าการที่นักการเมืองเข้ามาสนับสนุนสโมสรนั้นก็ส่งผลดีต่อวงการฟุตบอลไทยอยู่ด้วยเช่นกัน “การที่นักการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมกับทีมก็เป็นผลดีต่อทีมและเป็นผลดีต่อนักกีฬาด้วย เพราะตอนนี้นักการเมืองเป็นผู้ที่มีส่วนทุกอย่างกับกับธุรกิจของจังหวัด ของพื้นที่เขตที่ทีมนั้นๆตั้งอยู่ เรื่องการของบหรือขอผู้สนับสนุนมันก็ต้องออกมาจากปากของนักการเมืองคนนั้น ซึ่งเราก็รู้ว่ามันคือการเกื้อหนุนกันทางธุรกิจ” นครินทร์เห็นว่าสโมสรต้องพึ่งพากลุ่มทุนเหล่านี้ในการทำทีม ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นไปได้ยากที่ทีมจะประสบความสำเร็จเหมือนกับสโมสรอื่นๆ

เช่นเดียวกับการหวังผลทางการเมืองในอนาคตที่จะเป็นความสำเร็จจากการลงทุนไปกับสโมสร นครินทร์มองว่าเพราะฟุตบอลไทยกำลังเป็นกระแสดังอยู่ในช่วงนี้ นักการเมืองจึงเลือกที่จะมาลงทุนกับฟุตบอลและก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกื้อหนุนกันทางธุรกิจ นครินทร์เห็นว่า “นักการเมืองก็ต้องรักษาชื่อเสียงและรักษาคะแนนเสียงตลอดเวลา ซึ่งการใช้ ‘กระแส’ก็เป็นวิธีการรักษาคะแนนเสียงที่ดีที่จะให้คนจำชื่อได้ แล้วตอนนี้กระแสฟุตบอลมันกำลังบูม คนเป็นพันเป็นหมื่นอยู่ที่สนามฟุตบอล คะแนนเสียงก็อาจจะอยู่ตรงนั้นเช่นกัน มันเป็นการลงทุนต่ำแต่ได้ผลสูง”

สำหรับมุมมองต่อวงการฟุตบอลอาชีพของไทยในอนาคตนั้น นครินทร์กล่าวว่ายังคาดเดาได้ยากว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน แต่ส่วนตัวเขาเห็นว่าหน่วยงานภูมิภาคหรือหน่วยงานจังหวัดควรเป็นผู้ที่จะต้องหันมาให้ความสนใจกับการจัดการดูแลสโมสรของจังหวัดตนเอง เพื่อสร้างสโมสรให้เกิดเป็นทีมประจำจังหวัดซึ่งเป็นเป็นทีมท้องถิ่นที่แท้จริงให้กับแฟนบอลในพื้นที่นั้น

 

(5)

ฟุตบอล การเมือง และการเลือกตั้งในอนาคต

สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวคราวของวงการฟุตบอลไทยควบคู่ไปกับข่าวความเคลื่อนไหวในวงการทางการเมืองนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ามาทำทีมของกลุ่มการเมืองต่างๆนั้นไม่ได้ทำเพื่อหวังผลทางการเมืองในอนาคต แต่ทว่าสิ่งที่กลุ่มการเมืองหวังนั้นจะสร้างความสำเร็จทางการเมืองผ่านกระบวนการสร้างทีมฟุตบอลของพวกเขาได้หรือไม่

ในมุมมองของนายอาจินต์ จากประสบการณ์ที่เขาเข้าไปคลุกคลีอยู่กับกลุ่มแฟนบอลของสโมสรต่างๆนั้น เขามองว่าจำนวนแฟนบอลและผู้ชมในเวลานี้ยังไม่สามารถตัดสินถึงการเลือกตั้งได้ เพราะความนิยมฟุตบอลในตอนนี้เพิ่งจะเป็นกระแสที่เกิดขึ้นเพียงในช่วงเวลาสั้นๆ “ผลกระทบต่อฐานเสียงอันนี้ผมเองก็ไม่กล้าฟันธง เพราะถ้ามันจะมีผลก็คงในระยะยาวมากๆ ยังไม่น่าชัดในเวลาอันใกล้นี้ ช่วงนี้ถ้ามีผลก็น่าจะมีแค่นิดหน่อยไม่มากนัก เพราะเอาเข้าจริงๆคนดูบอลมันยังไม่เยอะขนาดที่จะมีผลตัดสินการเลือกตั้งอะไรมาก” อาจินต์เห็นว่าการซื้อใจมวลชนผ่านการสร้างทีมฟุตบอลนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานพอสมควร

อาจินต์เล่าต่อไปว่า “จากที่คุยๆกับพวกแฟนบอลมา ผมรู้สึกว่าพวกนี้เขาจะมองนักการเมืองในแง่ลบมาอยู่ก่อนแล้ว แต่พอนักการเมืองมาทำสโมสรบอลมันก็เกิด Paradox ขึ้นมาว่าตกลงจะเอายังไงกับความรู้สึกตัวเองดี แฟนบอลส่วนใหญ่ก็เลยพยายามจะแยกบทบาททางการเมืองกับบทบาทในการทำสโมสรของตัวคนที่เข้ามาทำ” อาจินต์เห็นว่ากลุ่มแฟนบอลที่ตนได้เข้าไปสัมผัสนั้นจะแยกเรื่องฟุตบอลออกจากเรื่องการเมือง กล่าวคือแต่ละคนต่างก็มีบุคคลหรือพรรคการเมืองในใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีกลุ่มการเมืองหรือนักการเมืองคนใดเข้ามาสนับสนุนทีม แฟนบอลเหล่านี้ก็ยินดีที่จะให้เข้ามาสนับสนุน แต่สุดท้ายแล้วแฟนบอลเหล่านี้ก็ตัดสินใจที่จะเลือกนักการเมืองขวัญใจคนเดิมอยู่ดี

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของวงการฟุตบอลไทยที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้ามาของกลุ่มทุนการเมืองเหล่านี้ และไม่ว่า “ความหวัง” ที่กลุ่มการเมืองฝากไว้กับการลงทุนในกีฬาฟุตบอลนั้น จะกลายเป็นคะแนนเสียงในเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ แต่อย่างน้อย การสร้าง “กระแส” ผ่านวงการฟุตบอลของบุคคลเหล่านี้ก็ช่วยทำให้ชื่อของเขาไม่ได้ถูกลืมไปจากหน้าข่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัพพม่าจี้กองกำลังว้า–เมืองลา ถอนกำลังล้ำเขต ขู่ใช้กำลังหากเมิน

Posted: 30 Apr 2011 04:59 AM PDT

กองทัพพม่าแจ้งด่วนให้กองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ถอนกำลังทหารที่รุกล้ำออกนอกเขตครอบครอง ระบุละเมิดข้อตกลงปี 2532 โดยขู่ใช้กำลังจัดการหากยังเมินเฉย

มีรายงานจากแหล่งข่าวชายแดนจีนว่า กองทัพพม่ามีการแจ้งด่วนให้กองกำลังว้า UWSA (United Wa State Army) และกองกำลังเมืองลา NDAA (National Democratic Alliance Army) ที่มีกองบัญชาการอยู่ในรัฐฉานภาคตะวันออก ติดชายแดนจีน ให้ถอนกำลังทหารที่รุกล้ำออกนอกพื้นครอบครองกลับทั้งหมด โดยกำหนดเส้นตายภายในวันที่ 30 เม.ย. นี้

คำแจ้งเตือนดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา เป็นการแจ้งผ่านทางโทรศัพท์จากผู้อำนวยการสำนักงานจี 1 ของกองทัพพม่าในรัฐฉาน 2 พื้นที่ คือ ผอ.สำนักงานจี 1 เมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือได้แจ้งกับผู้นำกองกำลังว้า UWSA และ ผอ.สำนักงานจี 1 ประจำเมืองเชียงตุง รัฐฉานภาคตะวันออก แจ้งกับผู้นำกองกำลังเมืองลา NDAA โดยมีเนื้อหาเหมือนกันคือ ให้กองกำลังทั้งสองถอนกำลังทหารทั้งที่เคลื่อนไหวและตั้งมั่นอยู่นอกพื้นที่ครอบครอง

โดยกองทัพพม่าระบุว่า เมื่อครั้งทำสัญญาหยุดยิงระหว่างกันเมื่อปี 2532 มีข้อตกลงคือ 1. ห้ามกองกำลังหยุดยิงเกณฑ์ทหารเพิ่ม 2. ห้ามขยายพื้นที่ครอบครอง และ 3. หากมีปัญหาใดๆ จะร่วมกันแก้ไข แต่กองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ละเมิดข้อตกลงดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม กองทัพพม่าไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะให้กองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ถอนกำลังที่รุกล้ำออกพื้นที่บริเวณใด ในส่วนกองกำลังว้า UWSA มีการขยายพื้นที่หลังทำสัญญาตกลงหยุดยิงเมื่อปี 2532 คือ ในพื้นที่เมืองป็อก ตอนใต้เมืองปางซาง และขยายลงมาอยู่ตามแนวชายแดนทางภาคเหนือของไทย เรียกพื้นที่ 171 ขณะที่กองกำลังเมืองลา NDAA มีการส่งกำลังทหารออกพื้นที่ครอบครองลงมาอยู่ทางตอนใต้แม่น้ำหลวย ในพื้นที่เมืองยอง โดยก่อนหน้านี้ ทาง NDAA ถูกกดดันถอนฐานทหารที่ตั้งมั่นในพื้นที่นั้นไปแล้ว 1 ฐาน

ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลังเมืองลา NDAA รายหนึ่งได้ยืนยันกับสำนักข่าวฉาน SHAN เกี่ยวกับคำแจ้งเตือนของกองทัพพม่าดังกล่าวเช่นกัน โดยระบุกองทัพพม่าให้ทางกลุ่มถอนกำลังที่รุกล้ำออกนอกเขตพื้นที่ด้านเมืองยอง ตะวันออกเมืองเชียงตุง ซึ่งกองทัพพม่าขู่ว่าจะใช้กำลังโจมตีหากทางกลุ่มไม่ยอมปฏิบัติ

ขณะที่ทางฝ่ายกองกำลังว้า UWSA โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์ระบุนามเปิดเผยว่า เข้าใจว่ากองทัพพม่าต้องการให้ทางกลุ่มถอนกำลังทหารที่เข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่กองกำลังเมืองลา NDAA ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มยังไม่ได้ให้คำตอบใดๆ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มจะไม่สามารถทำตามคำสั่งของกองทัพพม่าได้ พร้อมกับระบุว่า หากถูกโจมตีทางกลุ่มก็จำเป็นต้องตอบโต้

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา กองกำลังเมืองลา NDAA ได้ถอนกำลังทหารที่ตั้งมั่นอยู่ที่บ้านฮีต ในพื้นที่เมืองยองออกไปอีก 1 ฐาน หลังจากถูกกองทัพพม่ากดดันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มระบุว่าจะไม่ยอมถอนกำลังทหารที่ประจำอยู่ที่เมืองผัน ใกล้กับแม่น้ำโขง ทางใต้ของปากแม่น้ำหลวยตามคำร้องขอของทหารพม่า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อฝ่ายตน

ทั้งนี้กองกำลังว้า UWSA และ กองกำลังเมืองลา NDAA เป็นอดีตแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า CPB – Communist Party of Burma และได้เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 2532 ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2552 กองทัพสหรัฐว้า UWSA และ กองกำลังเมืองลา NDAA ถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันเปลี่ยนสถานภาพกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF (Border Guard Force) เช่นเดียวกับกลุ่มหยุดยิงอื่นๆ ปัจจุบันกองกำลังว้า UWSA, กองกำลังเมืองลา NDAA, กองกำลังเอกราชคะฉิ่น KIA และกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" เป็นกลุ่มสัมพันธมิตรกัน

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แรงงานเหนือออกแถลงการณ์ "วันกรรมกรสากล ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง"

Posted: 30 Apr 2011 04:55 AM PDT

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ ออกแถลงการณ์จี้พรรคการเมืองที่ รักและเป็นประชาธิปไตย ต้องมีนโยบายด้านแรงงานโดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานและให้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วม เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานได้อย่างแท้จริง ต้านอำนาจนอกระบบ-รัฐประหาร

30 เม.ย. 54 - กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ ออกแถลงการณ์ "วันกรรมกรสากล ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

แถลงการณ์วันกรรมกรสากล ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433 ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้กำหนดให้เป็นวันกรรมกรสากล หรืออ “วันเมย์เดย์” (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาค เกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องประสพกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแต่อย่างใด สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้แรงงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงาน และให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย   เพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน8ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้8ชั่วโมง  อย่างไรก็ตาม   ในสังคมไทย พบว่า มีผู้ใช้แรงงานทั้งภาคอุตาสหกรรม ภาคบริหารแรงงานนอกระบบ  แรงงานข้ามชาติ  จำนวนมากที่ต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง   โดยที่ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึงสองร้อยบาท ทำให้ชีวิตกรรมกรอัดคัตขัดสนมากยิ่งขึ้น

ท่ามกลางที่รัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมันที่จะเป็นผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคมี ราคาสูงขึ้นขณะเดียวกัน   ภายใต้การปกครองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบันที่มีอำนาจนอกระบบหนุนหลัง  ทำให้สังคมไทยไม่เป็นประชาธิปไตย  หรือประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำมาตยาธิปไตย   เป็นผลให้การรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน มักถูกริดรอนสิทธิ์ ในด้านต่างๆ ที่จะนำสู่การแก้ไขปัญหาแรงงานได้ เช่น สิทธิการชุมนุม สิทธิการแสดงความคิดเห็น  เป็นต้น  ผู้ใช้แรงงานก็เหมือนคนไทยชนชั้นต่างๆก็ไม่มีอำนาจในการเลือกผู้บริหาร ประเทศได้อย่างแท้จริง   ตลอดทั้งการมีเป้าหมายที่จะทำรัฐประหารทั้งทางตรงและซ่อนเร้นของฝ่ายอำมาตยา ธิปไตยในสถานการณ์การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นไม่กี่เดิอนข้างหน้า

ดังนั้น วันกรรมกรสากลในปีนี้ เราขอเรียกร้องให้
1. พรรคการเมืองที่ รักและเป็นประชาธิปไตย ต้องมีนโยบายด้านแรงงานโดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานและให้ผู้ใช้แรง งานมีส่วนร่วม  เพื่อนำสู่การแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานได้อย่างแท้จริง  
2. อำนาจนอกระบบต้องยุติการแทรกแซงทางการเมืองและขอต่อต้านการรัฐประหาร  
 
กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย  ภาคเหนือ

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้องรัฐขจัดการค้ามนุษย์ ปรับมาตรฐานแรงงานในอุตสาหกรรมประมงไทย

Posted: 30 Apr 2011 04:46 AM PDT

30 เม.ย. 54 - ตามการรายงานข่าวของสำนักข่าว บีบีซี นิวส์ (BBC News) เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ถึงกรณีการค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งปรากฏกระบวนการนำพาแรงงานเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและหลอกลวงแรงงานจากประเทศพม่าหลายพันคนมาทำงานในอุตสาหกรรมประมงประเทศไทย 

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้จัดทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้รัฐขจัดการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย ให้รัฐดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย ทั้งกรณีการคุ้มครองสิทธิขึ้นพื้นฐานและสิทธิด้านแรงงาน, การจัดระบบแรงงานประมงทะเล, การจัดระบบเรือประมง รวมถึงตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างจริงจัง
 

 

ที่ มสพ. 29/04/2554                                       
จดหมายเปิดผนึก
ด่วนที่สุด
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔

เรื่อง    เรียกร้องให้รัฐขจัดการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย
เรียน    ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
    ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
    อธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
    อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
    นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
    ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา และประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค
 
จากการรายงานข่าวของสำนักข่าว บีบีซี นิวส์ (BBC News) เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ถึงกรณีการค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งปรากฏกระบวนการนำพาแรงงานเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและหลอกลวงแรงงานจาก ประเทศพม่าหลายพันคนมาทำงานในอุตสาหกรรมประมงประเทศไทย ทั้งกิจการประมงทะเล(ลูกเรือประมง) และกิจการต่อเนื่องจากประมงทะเล(คนงานในโรงงานบรรจุและผลิตอาหารทะเล) โดยเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแรงงานชาวพม่าจะถูกขายต่อไปยังนายหน้ารายอื่น และถูกกักขังไว้ก่อนจะถูกขายให้กับเจ้าของเรือประมง เปรียบเสมือนกับการค้าทาสซึ่งละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนในเนื้อตัวร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ สภาพการทำงานนั้น แรงงานชาวพม่าถูกบังคับให้ต้องทำงาน ๑๕-๒๐ ชั่วโมงต่อวัน กรณีทำงานบนเรือประมงจะถูกกักตัวเยี่ยงทาสไว้ในเรือในทะเลเป็นเวลาหลายปีโดย ไม่มีโอกาสขึ้นฝั่ง หรือถูกกักขังอยู่บนฝั่งระหว่างรอการออกเรือรอบต่อไป หากหลบหนีแล้วถูกจับได้ก็จะถูกทรมาน ทำร้ายทุบตี และข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งในรายงานข่าวดังกล่าวมีรายหนึ่งที่กัปตันเรือคนไทยจับลูกเรือต่างด้าว ที่หลบหนีมาช็อตด้วยไฟฟ้าและถูกยิงต่อหน้าลูกเรือคนอื่นแล้วโยนทิ้งทะเล

ซึ่งผู้ให้ข้อมูลตามรายงานข่าวดังกล่าวเป็นลูกเรือประมงคนหนึ่งที่กระโดดเรือแล้วว่ายน้ำหนีรอดออกมาได้
(รายละเอียดข่าว สามารถอ่านได้ที่ http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-12881982, http://news.bbc.co.uk/today/hi/today/newsid_9467000/9467216.stm,http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-13189103 )

การทำงานบนเรือประมงและกิจการต่อเนื่องจากประมงนั้น ซึ่งมีความต้องการแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมประมงซึ่งเป็นอุสาหกรรมที่ทำรายได้ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สภาพความเป็นจริงปรากฏขบวนการค้ามนุษย์เข้ามาแทรกแซงกลไกดังกล่าวจนกระทั่งสะท้อนออกมาเป็นภาพรวมว่า ยิ่งอุตสาหกรรมประมงรุ่งเรืองมากขึ้นเท่าใด การค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานประมงยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเพียงนั้น

ทั้งนี้ การรายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซี นอกจากจะสะท้อนถึงปัญหาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมประมงไทยแล้ว ยังเรียกร้องให้นานาประเทศตระหนักว่าสินค้าจากอุตสาหกรรมประมงซึ่งส่งออกมา จากประเทศไทยนั้น อาจเป็นสินค้าที่ได้มาจากการเอารัดเอาเปรียบ บังคับใช้แรงงานและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน เห็นว่าข้อมูลที่เผยแพร่ในรายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซี นั้น น่าเชื่อถือได้ และสอดคล้องกับปัญหาและข้อเท็จจริงที่ทางมูลนิธิตรวจสอบอยู่ การค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลนอกจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย ทั้งในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงแล้ว หากปล่อยไว้โดยไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ ดังนั้น  จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงทะเลดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้

๑. อกกฎหมายคุ้มครองแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงอย่างน้อยให้เท่ากับมาตรฐาน คุ้มครองแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งในด้านค่าจ้าง สิทธิในบริการสาธารณสุข สิทธิในความปลอดภัยจากการทำงาน และการประกันสังคม เป็นต้น และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

๒. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงาน และบริการในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างจริงจัง โดยสมาคมของผู้ประกอบการกิจเกี่ยวกับการประมงทะเล จะต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมการประมงที่ยั่งยืน  โดยต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุก คน ไม่ว่าจะมาจากเผ่าพันธุ์ หรือประเทศใดอย่างเสมอภาคเท่าเทียม

๓. จัดระบบแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ปรับปรุงระบบการจัดเก็บฐานข้องมูลของแรงงานประมงทะเล และเอกสารประจำตัวลูกเรือ หรือseaman book ให้สามารถตรวจสอบได้ทั่วประเทศและป้องกันการสวมทะเบียน ทั้งนี้ การปราบปรามการค้ามนุษย์ต้องมุ่งเน้นกระบวนการนำพาของนายหน้าและการลงโทษ สถานประกอบกิจการประมงทะเลผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงต่อกระบวนการค้ามนุษย์

๔. จัดระบบตรวจสอบเรือประมง  การจดทะเบียนเรือของกรมเจ้าท่าต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน  ระบุตัวเรือได้จริง เป็นฐานข้อมูลที่ตรวจสอบได้ทั้งประเทศ เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเล อาทิเช่น การตรวจสอบเอกสารของคนประจำเรือ, การตรวจสอบใบอนุญาตทำประมง(อาชญาบัตร), ใบอนุญาตใช้เครื่องมือทำการประมง และใบอนุญาตเช่าพื้นที่, การตรวจสอบสภาพการทำงานและคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น
 

๕. ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงอย่างจริงจัง
 

๖. รัฐบาลไทยต้องให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ทั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, ผู้รายงานพิเศษด้านต่อต้านการค้ามนุษย์ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในการตรวจสอบกรณีดังกล่าว
 

ขอแสดงความนับถือ
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้กำกับ Insects เผยท้อ นักวิชาการเชียร์สู้ต่อ รุมจวกรัฐคิดแทน

Posted: 30 Apr 2011 04:38 AM PDT

จากกรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทาง ปกครอง ให้ฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ในงานวิชาการและงานเพื่อการศึกษานั้น ทำให้ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองไม่มีผู้ใดสามารถฉายภาพยนตร์เรื่อง นี้ได้ ไม่ว่าในกิจกรรมลักษณะใดก็ตาม

เว็บไซต์ ilaw รายงานว่าเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ และองค์กรภาคี จึงจัดงานแถลงข่าวและเสวนาในหัวข้อ Insect in the Backyard : แหกกรงความคิด เพื่อสิทธิมนุษยชน ณ ห้องกิจกรรมเรวัติ พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard แถลงข่าว กล่าวถึงความคืบหน้าคดีในศาลปกครองว่า หลังจากที่ได้ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา ตอนแรกก็มีความหวังว่าศาลจะมีคำสั่งให้สามารถฉายหนังในวงวิชาการเพื่อการ ศึกษาได้ แต่พอได้อ่านคำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตแล้วก็ยังรู้สึกว่างงๆ  ซึ่งตอนนั้นศาลได้ถามตนว่าคำสั่งของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่ไม่ให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีผลต่อการส่งภาพยนตร์ไปประกวดในเทศกาล ภาพยนตร์นานาชาติ ที่ประเทศอิตาลีหรือไม่ ตนก็บอกต่อศาลด้วยความสัตย์จริงว่าคำสั่งที่ไม่ให้ฉายดังกล่าวไม่มีผลต่อการ ส่งประกวดแต่อย่างใด ศาลจึงบอกว่ายังไม่เกิดความเสียหาย จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฉายหนังดังกล่าว

“ในส่วนตัวก็รู้สึกเหนื่อยใจ และท้อพอสมควร อยากจะเลิก ไม่เอาแล้ว ไม่ฟ้องแล้ว” ธัญญ์วารินกล่าว

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ทนายความในคดีนี้ อธิบายว่า เหตุผลที่ศาลสั่งยกคำขอ เพราะศาลเห็นว่าการจัดฉายภายนตร์ในงานวิชาการหรืองานเพื่อการศึกษา ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิชาการด้านกฎหมาย หรือด้านภาพยนตร์ก็สามารถเข้าชมภาพยนตร์ในงานได้ จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครอง แต่ศาลยังไม่ได้ตัดสินในเนื้อหาของคดีว่าคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถึงแม้ศาลจะไม่อนุญาตให้ฉายในวงดังกล่าวก็ตามเราก็ยังต้องดำเนินการสู้คดี ต่อไปให้ถึงที่สุด

หลังจากนั้นเครือข่าวเพื่อนกะเทยไทย และโครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ ได้อ่านแถลงการณ์ แสดงความเห็นว่าการห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard เป็นการเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างด้านวิถีทางเพศ พร้อมทั้งสนับสนุนและให้กำลังใจในการต่อสู้คดีของธัญญ์วารินต่อไป

 

 

สำหรับวงเสวนาในหัวข้อ  Insects in the Backyard : แหกกรงความคิด เพื่อสิทธิมนุษยชน มี รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ กล่าวเบื้องต้นว่า การทำหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา ไม่ควรให้มีใครมากำหนดได้ว่า หนังเรื่องนี้ห้ามฉายโดยเด็ดขาด เพราะการห้ามฉายโดยเด็ดขาดนั้น ก็ยิ่งทำให้คนอยากรู้มากขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาที่ไม่ฉลาดเลยสำหรับคนที่มีคำสั่งห้าม

 
อ.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การที่ศาลยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง ณ วันนี้เราคาดหมายได้ เพราะในตัวกฎหมายก็บัญญัติชัดเจนว่า ต้องเป็นเรื่องที่รุนแรงเห็นเป็นรูปธรรม หากคำสั่งทางปกครองไม่ชอบแล้วจะไม่สามารถเยียวยาได้อีก ตนคิดว่าในตอนนี้เราควรหันมาเน้นทำในเนื้อหาหลักยิ่งขึ้นจะดีกว่า

อ.สาวตรี กล่าวว่า คดีนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะการที่ประชาชนถูกภาครัฐกระทำเราก็ควรหาช่องทางกฎหมายตีแผ่ให้สังคมรับ รู้ ถ้ามีคำสั่งศาลออกมาไม่ว่าจะเป็นอย่างไร จะได้มีบรรทัดฐานชัดเจน ว่าคณะกรรมการจะกระทำต่อหนังอย่างไรได้บ้างไม่ได้บ้าง จึงขอให้กำลังใจคุณธัญญ์วารินในการต่อสู้ต่อไป เพราะการต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่การสู้เพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว แต่เป็นการสู้เพื่อภาพยนตร์ทุกเรื่อง

 

สำหรับประเด็นที่มีคณะกรรมการ พิจารณาภายนตร์บางท่านเคยให้ความเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากเห็นอวัยวะเพศของตัวละคร จึงเป็นสื่อลามกอนาจาร ซึ่งผิดกฎหมายอาญามาตรา 287 จึงไม่สามารถอนุญาตให้ฉายได้นั้น อ.สาวตรี กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่สื่อลามกอนาจารที่ผิดกฎหมายอาญาแน่นอน เพราะความหมายของคำว่าลามกอนาจารตามกฎหมายอาญาต้องเป็นสื่อที่ดูแล้วเกิด ความต้องการทางเพศ แต่ฉากดังกล่าวเป็นเวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้น ประกอบกับเนื้อหาส่วนอื่นก็ไม่ทำให้ผู้ชมคนไหนเกิดอารมณ์ทางเพศได้

 

อ.สาว ตรี ยังได้กล่าวว่า จากคำสั่งของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ที่ระบุว่าแม้ผู้ชมอายุเกินยี่สิบปีขึ้นไปก็อาจะเลียนแบบได้ เราควรตั้งคำถามหรือไม่ว่า คนไทยเวลาดูหนัง จะต้องอายุเท่าไหร่ที่จะสามารถใช้วิจารณญาณได้ และหากว่ามีคนอายุ 70 ปีมาดูหนังเขาจะเลียนแบบหนังหรือไม่

 

"ประเทศนี้ใช้นโยบายควบคุม ไม่ใช่คุ้มครอง การจัดระดับความเหมาะสมภาพยนตร์ที่ควรคือการจำกัดอายุผู้ชม ไม่ใช่ควบคุมศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรคือศีลธรรมอันดี” อ.สาวตรี กล่าว
 

                                         

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากกรณีการแบนหนัง Insect in the Backyerd ทำให้เห็นได้ชัดว่า ฐานความคิดแบบเสรีนิยมยังไม่เกิดขึ้นเลยในประเทศไทย เมื่อไหร่ที่สื่อบางประเภทนำเสนอเพศวิถีปฏิบัติที่ต่างจากสื่อกระแสหลักก็ มักถูกมองว่าเป็นปัญหา และจะต้องถูกลงโทษทางสังคมแต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าโทษหนักแค่ไหนเพียงไร

 

รศ.ดร.ชลิ ดาภรณ์ กล่าวด้วยว่า เหตุที่หนังเรื่องนี้โดยเซ็นเซอร์ เพราะเป็นการปล่อยหมัดตรงใส่เรื่องเพศวิถี ซึ่งเป็นเรื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ เหมือนไปเตะขาเรื่องที่สั่นคลอนอยู่แล้วซึ่งผู้มีอำนาจรับไม่ได้ มีเหรอ รัฐที่ถือความพึงพอใจขอปัจเจกเป็นรสนิยมหลัก เราลงโทษคนที่สั่นคลอนเพศวิถีกระแสหลักมาโดยตลอด

 

อีกอย่าง เราเชื่อว่าหากดูหนัง เสพสื่อ ที่เห็นอวัยวะเพศ นม หรือมีการร่วมเพศแล้ว คนที่ดูจะต้องเกิดความต้องการทางเพศ และต้องการหาที่ระบาย ก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส ซึ่งจริงๆแล้วก็ยังไม่มีงานวิจัยที่มีผลออกมาที่ชัดเจนว่าเราจะต้องทำเช่น นั้นทุกครั้ง เพราะโดยลึกๆเราเชื่อว่ามนุษย์มีความหื่นอยู่ในตัวเอง ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายเกรงว่าคนเราจะเกิดความหื่นเกินกว่าการควบคุม ทำให้สังคมและระเบียบต่างๆ อันดีงาม ล่มสลายเพียงแค่เกินความควบคุม

 

รศ.ดร.ชลิ ดาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐไม่เคยเปิดโอกาสว่าให้เราคิดอะไรไม่ดี แต่รัฐจะเป็นผู้เลือกให้ ไม่ได้ให้เราเลือก รัฐไม่เคยให้ประชาชนคิดเอง รัฐจะให้ภาพใหญ่ ภาพรวมของสังคม ความพึงพอใจของปัจเจก คือค่านิยมหลัก มันมีความหมายหรือไม่ เพราะในที่สุดสิ่งที่รัฐทำ เราไม่เคยคำนึงสิทธิเสรีภาพของปัจเจก โดยไม่ให้เขาเลือกในความพึงพอใจของเขาเลย

 

รศ.ดร. ชลิดาภรณ์กล่าวทิ้งท้ายว่า Sex เป็นอาณาบริเวณที่ทดสอบเรา ว่าเราเชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะเลือก เลือกเพศวิถี หรีอรสนิยมของตัวเองได้ ถ้าหากเราเชื่อ เราต้องลุกขึ้นปกป้องภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ไม่ว่าเราดูแล้วเราจะชอบหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อให้เพื่อนคนไทยทุกคนได้ร่วมกันตัดสินมันเอง

ไพศาล ลิขิตปรีชากุล จากโครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ กล่าวว่า การเป็นเกย์ กะเทย หรือเลสเบี้ยนนั้น ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ แต่รัฐพยายามที่จะห้ามไม่ให้นำออกมาให้เห็น เพราะจะทำให้คนเลียนแบบได้ ซึ่งตนคิดว่าการที่รัฐมีแนวคิดอย่างนี้เป็นสิ่งที่ผิด เรื่องความหลากหลายทางเพศนั้นใครๆก็ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ต่างจากกระเป๋าหลุยส์ วิตองที่ใครจะก็อบปี้ ลอกเลียนแบบนำไปใช้ได้เสมอ แต่ต่างกันตรงที่หากมีคนเลียนแบบกระเป๋าหลุยส์ รัฐจะไปจับคนเลียนแบบ แต่พอรัฐกลัวคนเลียนแบบกะเทย กลับมาห้ามกะเทยแสดงออก เหตุใดจึงไม่ไปห้ามไม่ให้กระเป๋าหลุยส์ขึ้นห้างแทน

 

 

 

ไพศาล กล่าวด้วยว่า ตนได้อ่านบทความของ พระไพศาล วิสาโล เมื่อไม่นานมานี้ในประเด็น  ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิง ท่านก็ได้บอกว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่เป็นการบาป เพราะการบาปนั้นก็คือผิดศีลข้อสามที่ไปละเมิดหญิงที่มีเจ้าของแล้ว แต่การที่ ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิง หาได้ผิดศีลดังกล่าวแต่อย่างใดไม่

 

ทั้ง นี้ ไพศาล ได้เปรียบเปรย กระทรวงวัฒนธรรมเฝ้าดูแลวัฒนธรรม เหมือนปู่โสมเฝ้าทรัพย์ คือ คนที่รักษาทรัพย์เฉยๆโดยตนไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และไม่ให้ใครมาใช้ทรัพย์ หากใครไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงไม่ให้ใช้ทรัพย์ รอเจ้าของมาใช้ แล้วเจ้าของคือใครก็ไม่รู้ เหตุใดจึงไม่ใช่ประชาชนทุกคน

 

นัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร กล่าวว่า การห้ามฉายาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะมีการนำเสนอวิถีทางเพศที่สังคมยังไม่ยอมรับ คณะกรรมการจึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ เมื่อเทียบกับภาพยนตร์เรื่องอื่นที่ฉายอยู่ซึ่งกล่าวถึงเป็นเพศกระแสหลัก หากภาพยนตร์เรื่องนี้เปลี่ยนตัวละครเป็นพ่อซึ่งเป็นผู้ชายแท้ ทำหน้าที่ครบถ้วน ทำอาหารอร่อย เขียนหนังสืออีกด้วย หนัง Insects in the Backyard จะเป็นหนังที่คุณพ่อที่เป็นยอดชายและเยี่ยมมาก แต่เมื่อตัวละครเป็นกะเทยสังคมจึงมองเป็นมุมกลับที่ยังไม่ให้การยอมรับ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านปิดท่าเรือน้ำลึกประจวบ

Posted: 30 Apr 2011 04:24 AM PDT

ชาวบ้านบางสะพาน กว่า 600 คนนำโดยกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ได้ใส่เสื้อเขียวเข้าปิดทางเข้าออก ท่าเรือน้ำลึกของ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด  ชี้บริเวณที่ดินหน้าท่าเรือดังกล่าวตั้งทับป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดมีเนื้อที่เกือบ  800 ไร่

 

28 เม.ย. 54 - ท่าเรือน้ำลึกของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กที่บางสะพานถูกปิดอัมพาตมาแล้วสามวัน  ชาวบ้านในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  รวมตัวกันต่อเนื่องมา 3 วันประมาณ 600 คนนำโดยกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ได้ใส่เสื้อเขียวเข้าปิดทางเข้าออก ท่าเรือน้ำลึกของ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด  ตั้งอยู่หมูที่ 3 ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน  จังหวัดประจวบฯ  ทั้งสามทางจนไม่สามารถใช้การท่าเรือในการลำเลียงสินค้าเหล็ก ที่จะขึ้นลงท่าเรือได้  จากสาเหตุที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   บริเวณที่ดินหน้าท่าเรือดังกล่าวตั้งทับป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดมีเนื้อที่เกือบ  800 ไร่ รวมถึงถนนเส้นทางลำเลียงสินค้า  จำนวน 52 แปลง ได้ถูกกรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ไปแล้วตั้งแต่วันที่  5  มกราคม 2553  และได้มีการอุทธรณ์คำสั่งจากผู้ถือครองที่ดิน  คือบริษัทในเครือสหวิริยา แต่ได้ยกคำอุทธรณ์ไปหมดแล้ว

นายวิฑูรย์  บัวโรย แกนนำกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงกล่าวว่า  “ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐฯ ที่เกี่ยวข้องก็ได้ยกคำอุทธรณ์ทั้งหมดแล้ว  ปัจจุบันก็ได้มีคำสั่งบังคับใช้มาตรา 25 ตามประมวลกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507  ให้หยุดดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว    และให้ออกจากพื้นที่ตั้งแต่  28 กรกฎาคม 2553  แต่ผู้บุกรุกก็ยังเพิกเฉย ประกอบกับกรมป่าไม้โดยมอบหมายให้ นายอำเภอบางสะพาน และทรัพยากรป่าไม้เขต 10 เข้าดำเนินการตามมาตรา 25 ยังไม่มีมาตรการคืบหน้าที่จะจัดการใดๆ  ทิ้งเวลามากว่า 60 วันนับจากคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ จนทำให้ชาวบ้านที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการบุกรุกที่ป่าสงวน ป่าคลองแม่รำพึงแห่งนี้  คือน้ำท่วมซ้ำซากอดทนต่อไปไม่ไหวต่อการล่าช้ามามาก  เพราะที่ตรงนี้มันขวางเส้นทางระบายน้ำของอำเภอบางสะพาน  ต้องการให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการ มีมาตรการขอบเขตระยะเวลาที่ชัดเจนในการจัดการตามกฎหมายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น”

ล่าสุดเวลา 8.30 น.ของวันที่ 29 เมษายน 2554  นายสมพร  ปัจฉิมเพ็ชร  นายอำเภอบางสะพานได้นำคณะเจ้าหน้าที่ที่ดิน  เจ้าหน้าที่ป่าไม้  และเจ้าหน้าที่กำลังตำรวจในและนอกพื้นที่กว่า 300 นายเข้าดำเนินการตรวจสอบขอบเขตพื้นที่บุกรุกป่าฯ  พร้อมทั้งวางกำหนดขอบเขตเวลาในการจัดการขั้นเด็ดขาดกับผู้บุกรุกป่าสงวน โดยจะมีการตั้งทีมปฏิบัติการและพิสูจน์เขตเพื่อบังคับใช้มาตรา 25 ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน  โดยเฉพาะกรมป่าไม้รับปากจะมีการสอบเขตให้ชัดเจนภายใน 7  วัน แต่อย่างไรก็ดีในวันนี้ ก็ได้ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่สร้างบุกรุกทั้งหมดในเขตป่าแล้วและได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สภ.บางสะพานเรียบร้อยแล้ว  จากนั้นชาวบ้านก็ได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติดังกล่าวเพื่อติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนจะสลายตัวไปในเวลาประมาณ 11.30 น.  ของวันนี้
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรณีแม่ชีทศพร : ตัวอย่างของ ‘ความงมงายที่ควรแก้ด้วยเหตุผล’

Posted: 30 Apr 2011 04:08 AM PDT

บทความจาก “สุรพศ ทวีศักดิ์” กรณีแม่ชีทศพร “ต้องเปิดพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผลให้กว้างขวางมากขึ้น และลงลึกมากขึ้นๆ เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาความงมงายและแก้ระบบอำนาจนิยมในมิติต่างๆ ได้”
 
ความเชื่อเรื่อง กรรมสูตรสำเร็จ คือความเชื่อที่ว่า ความเป็นไปทุกอย่างในชีวิตของเราเกิดจากกรรม และเมื่อพูดถึงความเป็นไปในชีวิตที่เกิดจากกรรมก็มักเน้นไปที่เรื่องร้ายๆ ที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ เช่น เวรกรรม เคราะห์กรรม บาปกรรม ฯลฯ เมื่อมีความเชื่อเป็นสูตรสำเร็จเช่นนี้จึงทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวแบบสูตรสำเร็จคือ วิธีแก้กรรม
 
ความหมายของ กรรม ตามความเชื่อดังกล่าวมักหมายถึงการทำกรรมและผลของกรรมแบบข้ามภพข้ามชาติ ปัญหาของความเชื่อเช่นนี้คือ เรารู้ได้อย่างไรว่า การกระทำกรรมและการให้ผลของกรรมแบบข้ามภพข้ามชาตินั้นเป็นความจริง เพราะการที่เราจะรู้ได้ว่าอะไรจริงก็ต่อเมื่อเราสามารถพิสูจน์สิ่งนั้นได้ เช่น โดยการเห็นด้วยตา หรือรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ถ้าเป็นปรากฏการณ์ด้านใน เช่น ความสงบทางจิต เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์กับความสงบนั้นตรงๆ เป็นต้น
 
ส่วนเรื่องว่า ตัวเราทำอะไรไว้ในชาติก่อน หรือนายขาว นายเขียว ทำอะไรไว้ในชาติที่แล้วจึงทำให้ชีวิตเป็นอย่างนี้ในชาตินี้ เป็นเรื่องที่ไม่มีทางพิสูจน์อย่างเป็นสาธารณะ (เหมือนพิสูจน์น้ำเดือดที่ระดับอุณหภูมิ 100 องศาฯ) แต่มีการอ้างว่าเรื่องราวเช่นนี้สามารถรู้ได้ด้วย ญาณวิเศษ ของบุคคลพิเศษ เช่น ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอธิบายว่า เรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าผู้มีญาณหยั่งรู้การเกิดตายของสรรพสัตว์ที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
 
แต่ถึงที่สุดแล้ว ญาณวิเศษ ดังกล่าวก็เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของปัจเจกบุคคล ในทางญาณวิทยา (ปรัชญาที่ตั้งคำถามต่อความน่าเชื่อถือของ ความจริง) มองว่าการยืนยัน ความจริง ด้วยการอ้างอิงญาณวิเศษของปัจเจกบุคคลเป็นการยืนยันที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าคนๆ นั้นมีญาณวิเศษจริงหรือไม่ (นอกจากเราจะมีญาณวิเศษแบบเดียวกับที่เขามี?)
 
ฉะนั้น ความจริงที่อ้างอิงญาณวิเศษ จึงเป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือในตัวบุคคลที่เราเชื่อว่าเขามีญาณวิเศษ คนที่เชื่อคำทำนายกรรมเก่าและวิธีแก้กรรมของแม่ชีทศพร ไม่ใช่เชื่อเพราะพวกเขาได้พบข้อพิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่แม่ชีพูดเป็นความจริง แต่เชื่อเพราะพวกเขาเชื่อว่าแม่ชีทศพรมีญาณวิเศษหยั่งรู้กรรมเก่าที่คนทั่วไปไม่สามารถจะรู้ได้
 
ตามหลักกาลามสูตร การยอมรับความจริงที่ขึ้นอยู่กับการเชื่อถือในตัวบุคคล (ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ตัวความจริงได้) ถือว่าเป็นการยอมรับความจริงที่ไม่สมเหตุสมผล การยอมรับความจริงที่สมเหตุสมผลตามหลักกาลามสูตรคือ การยอมรับความจริงที่พิสูจน์ได้ หรือมีประสบการตรงต่อความจริงนั้นได้แล้วเท่านั้น (ทั้งความจริงเกี่ยวกับโลกกายภาพ และความจริงเชิงนามธรรม เช่น ความจริงในมิติด้านจิตวิญญาณ เป็นต้น)
 
ข้อสังเกตคือ แม้พุทธศาสนาจะไม่ได้ปฏิเสธ ญาณวิเศษ ในการรู้ความจริงบางมิติ แต่ดูเหมือนพุทธศาสนาจะระมัดระวังอย่างยิ่งในการพูดถึงความจริงที่อ้างอิงญาณวิเศษ แม้แต่มีพระภิกษุมาคาดคั้นให้พระพุทธเจ้ายืนยันว่าชาติหน้ามีจริงหรือไม่ หากไม่ยืนยันเขาจะสึก แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ยืนยัน โดยอ้างว่าการยืนยันเรื่องดังกล่าวไม่มีประโยชน์แก่การเข้าใจทุกข์และการดับทุกข์ ในวินัยของพระสงฆ์ก็มีบทบัญญัติห้ามพระภิกษุอ้างญาณวิเศษมายืนยันความจริง เพื่อปิดโอกาสไม่ให้เกิดการหลอกลวง หรืออวดอ้างญาณวิเศษเพื่อแสวงหาลาภสักการะหรือผลประโยชน์เข้าตัว
 
ผมเข้าใจว่า พุทธศาสนาให้ความสำคัญสูงสุดกับความจริงที่พิสูจน์ได้ ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 หรือพูดให้สั้นว่า ทุกข์กับความดับทุกข์ นั้น มีความหมายสำคัญว่า การเข้าใจความจริงเกี่ยวกับทุกข์อย่างชัดแจ้ง หรือตรงตามเป็นจริงเท่านั้นจึงจะนำไปสู่การดับทุกข์ได้จริง
 
และความจริงตามหลักอริยสัจคือความจริงที่ต้องพิสูจน์ หรือต้องประจักษ์ด้วยประสบการณ์ตรง หรือใช้ประสบการณ์ตรงในการยืนยัน ลักษณะสำคัญของความจริงเช่นนี้คือเป็นความจริงที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยเหตุผล (เช่น อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง สมุทัยกับทุกข์ มรรคกับนิโรธ)
 
ฉะนั้น การเข้าใจความจริงเกี่ยวกับทุกข์อย่างชัดแจ้ง กับการดับทุกข์ได้จริง จึงเกี่ยวข้องอย่างจำเป็นกับความงอกงามทางปัญญา ความมีเหตุผล หรือการข้ามพ้นความงมงายใดๆ
 
ต่างจากความจริงจากญาณวิเศษแบบของแม่ชีทศพร (เช่น) ที่ว่า ในชาติก่อน คนๆ หนึ่งไปเปิดประตูเมืองให้ข้าศึก ผลแห่งการกระทำนั้นทำให้ในชาตินี้เกิดมาเป็นผู้หญิงที่ต้องถูกผู้ชายทิ้งซ้ำซาก จึงต้อง แก้กรรม โดยใช้หอยจริงให้รับผลกรรมแทน หอยเชิงสัญลักษณ์ จะเห็นว่าความจริง (ความเชื่อ) ดังกล่าวนี้ไม่สามารถอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการเปิดประตูเมือง-หอยจริง-หอยเชิงสัญลักษณ์-ความทุกข์-การดับทุกข์ของคนที่ตั้งคำถามกับแม่ชีแต่อย่างใด
 
ปัญหาคือ ความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเป็นความเชื่อที่งมงายหรือไม่ หากตอบตามหลักพุทธ ก็ต้องบอกว่างมงาย เพราะไม่สามารถแก้สาเหตุของทุกข์ตามเป็นจริงได้ (ถ้าต้องการแก้ทุกข์เพียงแค่ว่า ทำให้สบายใจ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ธรรมะ ใช้ ยากล่อมประสาท เป็นต้น ก็ได้) แต่การแก้ความงมงายต้องแก้ด้วย เหตุผล ไม่ใช่แก้ด้วยการใช้ อำนาจ นั่นคือสังคมควรจะเปิดพื้นที่ให้มีการนำประเด็นความเชื่อที่งมงายหรืออธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลมาสู่เวทีการถกเถียง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อคนได้ถกเถียงและแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น คนก็จะใช้เหตุผลกันมากขึ้น ความเชื่อที่งมงายก็จะมีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคมน้อยลง
 
แต่อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้วในสังคมเราไม่ใช่มีเฉพาะความเชื่อแบบแม่ชีทศพร หรือความเชื่อทำนองเดียวกันนี้ในวงการพุทธศาสนา และไสยศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ ยังมีความเชื่ออื่นๆ ที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้และมีผลกระทบต่อสังคมมากยิ่งกว่าความเชื่อทางศาสนาที่ควรนำมาสู่เวทีการถกเถียงอย่างตรงไปตรงมายิ่งกว่าด้วยซ้ำ
 
เช่น ความเชื่อที่ว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 8 และกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ไม่ขัดกับความเป็นประชาธิปไตย ก็เป็นความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลบนหลักการประชาธิปไตยได้เลย แต่บ้านเราก็ไม่สามารถเปิดพื้นที่ของการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างถึงที่สุด
 
ความเชื่อที่งมงายหรือที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลในเรื่องใดๆ ก็ตาม ย่อมจะมีทั้งคนที่เชื่อและปฏิเสธ มองในแง่หนึ่งย่อมเป็นสิทธิที่แต่ละคนจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ แต่หากความเชื่อนั้นส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคม ส่งผลกระทบต่อความเป็น-ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือส่งผลต่อความเป็นธรรม-ไม่เป็นธรรมทางสังคม (เช่น ความไม่เป็นธรรมทางอำนาจต่อรองทางการเมือง การตรวจสอบ ความรับผิดชอบของอำนาจสาธารณะ ฯลฯ) ย่อมเป็นความชอบธรรมที่สังคมจะนำประเด็นปัญหาของความเชื่อนั้นๆ มาสู่เวทีการถกเถียงอย่างเป็นสาธารณะเพื่อหาทางออกด้วยการใช้เหตุผลร่วมกัน
 
(โดยไม่ควรกังวลจนเกินเหตุว่าเป็น เรื่องละเอียดอ่อน เพราะความเชื่อที่ว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงไม่ควรนำมาพูด มาถกเถียงด้วยเหตุผล อาจเป็นความเชื่อที่ งมงายอย่างยิ่ง อีกแบบหนึ่ง)
 
กรณีแม่ชีทศพร หรือกรณีเจ้าอาวาสวัดใหญ่ทำนายกรรมเก่า ทำนายอดีตชาติออกทีวีแทบทุกวันเช่นกัน และ/หรือกรณีความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของบางสถาบันทางสังคมจนยอมรับกันว่าสถาบันนั้นควรอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ (เป็นต้น) ซึ่งเป็นความเชื่อที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยเหตุผล ไม่ใช่แก้ด้วยการใช้อำนาจ
 
แต่ สังคมพุทธ + ศักดินาอำมาตยาธิปไตย เป็นสังคมที่มีลักษณะอำนาจนิยมทางศีลธรรมและทางความเชื่อ มีการใช้ สองมาตรฐานทางศีลธรรม ในการปฏิบัติต่อการใช้หลักศีลธรรมและความเชื่อต่างๆ อย่างเป็นปกติ จึงเป็นสังคมที่ขาดวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผล
 
ทว่ามีแต่ต้องเปิดพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผลให้กว้างขวางมากขึ้น และลงลึกมากขึ้นๆ เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาความงมงายและแก้ระบบอำนาจนิยมในมิติต่างๆ ได้ !
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้านเกมส์แพร่ "ท่าขี้เหล็ก" หลายฝ่ายกังวลปัญหาเยาวชน

Posted: 30 Apr 2011 01:51 AM PDT

ร้านเกมส์ระบาดทั่วจังหวัดท่าขี้เหล็ก ของรัฐฉาน มีบริการการพนัน ยาเสพติดมอมเยาวชน สร้างความหนักใจหลายฝ่าย ขณะที่เจ้าหน้าที่พม่าไม่ใส่ใจปราบเหตุมีจ่ายสินบน

มีรายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นต้นมา ในพื้นที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉานภาคตะวันออก อยู่ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีร้านเกมส์เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมแล้วมีไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง ทั้งร้านขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยร้านเล็กมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 4-5 เครื่อง ร้านขนาดกลาง มี 6–10 เครื่อง และร้านใหญ่มีตั้งแต่ 20–30 เครื่อง

แหล่งข่าวพ่อค้ารายหนึ่งเปิดเผยว่า ร้านเกมส์ขนาดใหญ่มีบริการตู้เล่นการพนันหลายรูปแบบให้ลูกค้าด้วย ขณะที่ทั้งร้านเล็กและร้านใหญ่ต่างมีบริการเล่นการพนันผ่านระบบออนไลน์เช่นกัน มีการพนันกันตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสน ร้านเกมส์บางแห่งเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงและมีการจำหน่ายยาเสพติดให้กับลูกค้า โดยลูกค้ามีทุกชนชั้น ทั้งนักธุรกิจ นักพนัน ชาวบ้านธรรมดาทั่วไป รวมถึงนักเรียน นักศึกษา ซึ่งเล่นกันได้อย่างอิสระไม่มีกฏหมายคุ้มครองเช่นเมืองไทย

"หลังพบมีการเพิ่มขึ้นของร้านเกมส์ ทำให้หลายฝ่ายทั้งพระสงฆ์และคนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่ต่างไม่สบายใจ เนื่องจากร้านเกมส์เป็นแหล่งอบายมุขมอมเมาเยาวชนทำให้ไม่สนใจการงาน การเรียน อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาทและสร้างความแตกแยกในครอบครัว" แหล่งข่าวเผย

ส่วนสาเหตุที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการใส่ใจแก้ไขปัญหานั้น แหล่งข่าวเผยว่า เนื่องจากทางเจ้าของร้านมีการติดสินบนให้เจ้าหน้าที่ท้องที่ของพม่า โดยร้านเกมส์ขนาดใหญ่ติดสินบนให้เจ้าหน้าที่เดือนละถึง 5 หมื่นบาท ร้านขนาดกลางเดือนละ 3 หมื่นบาท และร้านขนาดเล็ก เดือนละ 1 หมื่นบาท นอกจากนี้ร้านเกมส์บางแห่งยังมีการนำเงินใส่ซองให้ผู้นำชุมชนเพื่อไม่ให้ขัดขวางการเปิดร้านด้วย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper