โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน จี้ยุติ “เขื่อนฮัตจี” เหตุพม่ายังรบต่อเนื่อง

Posted: 28 Apr 2011 01:36 PM PDT

เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน ชี้การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวินโดยทันที แนะนักลงทุนไทย-จีนเสี่ยงเสียชื่อ เหตุร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหาร ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ

 
 
วันนี้ (28 เม.ย.54) โครงการ Burma concern ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และ Salween Watch จัดเสวนา “เขื่อนสาละวิน: ความเสี่ยงจากการสร้างเขื่อนในเขตสงครามพม่า” ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ล่าสุดเรื่องการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินและประเทศพม่า ในประเด็นเรื่องความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน รวมทั้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการสู้รบที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการของรัฐบาลพม่า หลังจากที่ประเทศพม่ามีการเลือกตั้งทั่วไปและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อไม่นานมานี้
 
หลังการเสวนา นายเด เด และนายจาย จาย จาก Salween Watch ได้ร่วมกันแถลงข่าว และอ่านแถลงการณ์กลุ่มสาละวินวอชต์ “การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวินโดยทันที” ระบุว่า การสู้รบอย่างหนักในตอนเหนือของรัฐฉานเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเหตุให้บริเวณที่มีโครงการสร้างเขื่อนสาละวินกลายเป็นพื้นที่ความขัดแย้ง ทางกลุ่มสาละวินวอชต์จึงเรียกร้องกลุ่มต่างๆ ให้ยุติแผนการสร้างเขื่อนใดๆ ในแม่น้ำสาละวินในพม่าโดยทันทีทั้งรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศจีน และไทย รวมทั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพม่า
 
นายเด เด กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2554 กองทัพพม่าได้ละเมิดสัญญาหยุดยิงที่มีมา 22 ปี กับกองทัพรัฐฉานภาคเหนือ (รัฐฉาน Army-North -SSA-N) และได้เคลื่อนกำลังพล 3,500 นาย เข้าโจมตีอย่างหนักที่ภาคกลางของรัฐฉาน มีการระดมยิงปืนใหญ่ใส่เป้าหมายพลเรือน การรุมข่มขืน และเป็นเหตุให้พลเรือนหลายพันคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ การสู้รบยังได้แพร่กระจายไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ในบริเวณที่ติดต่อกับพื้นที่โครงการสร้างเขื่อนสาละวินสองแห่ง กล่าวคือ เขื่อนท่าซางและเขื่อนสาละวินตอนบน ซึ่งการโจมตีครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการอย่างเป็นระบบของรัฐบาลทหาร เพื่อกวาดล้างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มที่มีสัญญาหยุดยิงด้วย
 
นับจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา การสู้รบได้หนักข้อขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง คะเรนนี และตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่มีแผนการสร้างเขื่อนอีกห้าแห่งตามลำน้ำสาละวิน และในบัดนี้การสู้รบได้แพร่เข้าไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ทั้งนี้ อันตรายจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่สู้รบของพม่า ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนจากไทยและจีนรับทราบดี และสถานการณ์เช่นนั้นย่อมไม่อาจทำให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อน เนื่องจากชุมชนจะไม่มีปากเสียงใดๆ ทั้งนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากภัยคุกคามโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติงานสร้างเขื่อนแล้ว นักลงทุนยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียง เนื่องจากร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหารที่ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ
 
“การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้จึงควรเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลและนักลงทุนให้เริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และควรยุติแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินในพม่า โดยทันที” นายเด เด กล่าวตามแถลงการณ์
 
 
 
 
28 เมษายน 2554
 
แถลงการณ์กลุ่มสาละวินวอชต์
 
การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวินโดยทันที
 
การสู้รบอย่างหนักในตอนเหนือของรัฐฉานเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเหตุให้บริเวณที่มีโครงการสร้างเขื่อนสาละวินในพม่าตกอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งโดยตรง ทางกลุ่มสาละวินวอชต์จึงเรียกร้องกลุ่มต่างๆ ให้ยุติแผนการสร้างเขื่อนใดๆ ในแม่น้ำสาละวินในพม่าโดยทันทีทั้งรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศจีนและไทย รวมทั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพม่า
 
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2554 กองทัพพม่าได้ละเมิดสัญญาหยุดยิงที่มีมา 22 ปี กับกองทัพรัฐฉานภาคเหนือ (รัฐฉาน Army-North -SSA-N) และได้เคลื่อนกำลังพล 3,500 นาย เข้าโจมตีอย่างหนักที่ภาคกลางของรัฐฉาน มีการระดมยิงปืนใหญ่ใส่เป้าหมายพลเรือน การรุมข่มขืน และเป็นเหตุให้พลเรือนหลายพันคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ การสู้รบยังได้แพร่กระจายไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ในบริเวณที่ติดต่อกับพื้นที่โครงการสร้างเขื่อนสาละวินสองแห่ง กล่าวคือ เขื่อนท่าซางและเขื่อนสาละวินตอนบน
 
การโจมตีครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการอย่างเป็นระบบของรัฐบาลทหาร เพื่อกวาดล้างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มที่มีสัญญาหยุดยิงด้วย ซึ่งได้ปฏิเสธไม่ยอมอยู่ใต้การควบคุมก่อนจะมีการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 นับจากการเลือกตั้งเป็นต้นมา การสู้รบได้หนักข้อขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง คะเรนนี และตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่มีแผนการสร้างเขื่อนอีกห้าแห่งตามลำน้ำสาละวิน และในบัดนี้การสู้รบได้แพร่เข้าไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน
 
อันตรายจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่สู้รบของพม่า ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนจากไทยและจีนทราบเป็นอย่างดี เพราะในสถานการณ์เช่นนั้นย่อมไม่อาจทำให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อน เนื่องจากชุมชนจะไม่มีปากเสียงใดๆ เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากภัยคุกคามโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติงานสร้างเขื่อนแล้ว นักลงทุนยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียง เนื่องจากร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหารที่ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ
 
เรารู้สึกยินดีที่นับแต่ปี 2553 รัฐบาลไทยประกาศให้มีการศึกษาผลกระทบการสร้างเขื่อนฮัตจีในรัฐกะเหรี่ยงเพิ่มเติม รวมทั้งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญเพื่อให้มีกระบวนการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีความรับผิดชอบสำหรับการวางแผนสร้างเขื่อนสาละวิน อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศไทยก็ยังเดินหน้าตามแผนสร้างเขื่อนท่าซางที่มีขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน เพียงไม่กี่วันหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ในพม่า บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (EGAT International) จากประเทศไทยและบริษัท Three Gorges Group Corporation จากจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลทหารพม่าเพื่อพัฒนาโครงการเขื่อนท่าซาง โดยเพิ่มเงินลงทุนเป็น 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการสำรวจเพิ่มเติมในพื้นที่ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาของทหาร แต่กระบวนการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่มีความโปร่งใสใดๆ เลย
 
เมื่อเดือนมีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนแจ้งว่า กำลังศึกษาอย่างละเอียดถึงผลกระทบทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำของเขื่อน 13 เขื่อนที่มีแผนการจะสร้างในแม่น้ำนู่ (สาละวิน) ในประเทศจีน และถ้ามี “ปัญหาแม้เพียงอย่างเดียว” รัฐบาลจีนสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อไป ซึ่งก็นับเป็นข่าวดีอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่าเหตุใดรัฐบาลจีนจึงไม่ชะลอแผนการสร้างเขื่อนในพม่าออกไปทั้งๆ ที่มีปัญหาที่ยังไม่คลี่คลายอีกมากมาย รวมทั้งการสู้รบอย่างต่อเนื่องในพื้นที่
 
สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจทำให้นักลงทุนสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานในการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินได้ การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้จึงควรเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลและนักลงทุนให้เริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และควรยุติแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินในพม่า โดยทันที
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: สำรวจสถานการณ์หลังปิดวิทยุชุมชนเสื้อแดง (ระลอกแรก)

Posted: 28 Apr 2011 12:16 PM PDT

 
ภายหลังมีการสนธิกำลังระหว่างตำรวจกองปราบ เจ้าหน้าที่จาก กสทช. เจ้าหน้าที่จาก กอ.รมน. และตำรวจในท้องที่ เข้าบุกค้นสถานีวิทยุชุมชน 13 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเมื่อวันที่ 26 เม.ย. และเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และความหวาดระแวงขึ้นโดยทั่วไป
 
อย่างที่ทราบกันว่านอกเหนือจากเคเบิ้ลทีวีไม่กี่ช่อง คนเสื้อแดงก็มี “วิทยุชุมชน” นี่เองที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร บอกข่าว จัดกิจกรรม กระทั่งระดมคนในสถานการณ์ฉุกเฉิน
 
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เหตุผลว่าเหตุที่ดำเนินคดีกับวิทยุชุมชนดังกล่าวเพราะมีการนำเทปการปราศรัยเข้าข่ายผิดกฎหมายของนายจุตพร พรหมพันธุ์ ไปเผยแพร่ ส่วนกอ.รมน.ชี้แจงเหตุผลว่า เป็นการดำเนินการตามที่ประชาชนแจ้งมาว่า คลื่นวิทยุชุมชนดังกล่าวได้นำเสนอเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ และจาบจ้วงสถาบัน เปิดโอกาสให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโฟนอินเข้ามาพูดยั่วยุปลุกระดมในรายการ มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง
 
แต่ในการดำเนินการนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาดังที่ได้กล่าวมานี้ แต่ใช้วิธีตรวจสอบใบอนุญาตที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ออกให้
 
 
เชือดไก่ให้ลิงดู...ปลุกกระแสเซ็นเซอร์ตัวเอง
 
การเข้าค้นครั้งนี้บางแห่งพบว่าไม่มีใบอนุญาต บางแห่งมีใบอนุญาตชั่วคราวเท่านั้น จึงทำการยึดของกลาง จับกุมผู้ดำเนินสถานีบางส่วนในข้อหามีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการประกันตัวแล้ว ขณะที่อีกหลายต่อหลายแห่งก็ปิดสถานีเสียก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมาถึง จนบัดนี้ก็ไม่ยังไม่ทราบกำหนดเปิด
 
จากการสอบถามสถานีคนไทยหัวใจเดียวกัน 92.25 MHz ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีที่ปิดตัวลงก่อนที่จะถูกค้นในวันที่ค้น 13 จุด ดีเจสมาน เมืองขอนแก่น ดีเจคนหนึ่งของสถานีให้ข้อมูลว่า สถานีของเขามีใบอนุญาตชั่วคราว และดำเนินการมาประมาณ 11 เดือนแล้วภายหลังปิดไปหลายเดือนหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อปีที่แล้ว โดยสถานีนี้เน้นให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านการเมืองแก่ประชาชน และส่วนใหญ่จะเชื่อมสัญญาณกับเคเบิ้ลทีวีช่องเอเชียอัพเดท เพื่อถ่ายทอดสดการชุมนุมครั้งต่างๆ นอกจากนี้สถานีนี้ยังเป็นจุดส่งต่อสัญญาณให้กับสถานีวิทยุชุมชนอีกหลายแห่ง เช่น วิทยุชุมชนในจังหวัดอุดรฯ พัทยา ปทุมธานี อ่างทอง
 
เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 10 เมษยนที่ผ่านมา เขาก็ลิงก์สัญญาณถ่ายทอดเสียงปราศรัยของแกนนำ นปช. ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงส่วนของนายจตุพร พรหมพันธ์ ด้วย แต่ไม่ได้มีการเปิดซ้ำซากอย่างที่ถูกกล่าวหา และเนื้อหาโดยรวมของสถานีก็ไม่มีอะไรที่หมิ่นเหม่
 
“เรายังไม่มีกำหนดว่าจะเปิดทำการเมื่อไร เพราะกลัวว่าเขาจะบุกมายึดข้าวของอีก ก็อย่างที่รู้ว่าเขาดำเนินการแบบเลือกปฏิบัติ เฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตอนนี้กำลังหารือกันว่าจะไปยื่นศาลปกครองให้มีการคุ้มครองให้ออกอากาศได้ชั่วคราว” ดีเจสมาน เมืองขอนแก่น กล่าว
 
 
ต่างจังหวัดตื่นตัว ลุ้นปิดโดมิโน่?
 
ด้านตัวแทนคลื่นวิทยุสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ 99.15 MHz ให้ข้อมูลว่าในส่วนของเชียงใหม่นั้นเมื่อมีข่าวการบุกจับที่ส่วนกลาง คลื่นวิทยุชุมชนบางคลื่นก็มีการงดออกอากาศเพื่อประเมินสถานการณ์ และยังไม่ออกอากาศจนถึงวันนี้ (28 เม.ย. 54) แต่ส่วนใหญ่แล้ววิทยุชุมชนที่มีใบอนุญาตทดลองออกอากาศ รวมถึงวิทยุชุมชนที่เสนอข่าวคนเสื้อแดงก็ยังออกอากาศปกติ แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายความมั่นคง คือสารวัตทหาร ตระเวนไปยังสถานีวิทยุต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่ตั้งสถานี ซึ่งอาจจะมองในด้านหนึ่งว่าเป็นการคุกคามก็ได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมถือว่ายังเป็นปกติ แม้จะมีความกังวลถึงมาตรฐานข้ออ้างในการที่จะปิดสถานีวิทยุชุมชนต่างๆ ในอนาคตว่าใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์วัด
 
ขณะที่ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สถานีคนรักมุกดาหาร 106.75 MHz มีการประชุมชาวบ้าน หรือผู้ฟังในพื้นที่ 200-300 คนเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคต
 
“ชาวบ้านเขาก็มากันสองสามร้อยคน เพิ่งประชุมเสร็จเมื่อกี๊นี้เอง (21.00 น. 28 เม.ย.53) เราก็ถามว่าจะเอาอย่างไรดี ปิด หรือไม่ปิด เขาก็ว่าให้เปิดต่อไปเลย เราก็ถามว่าถ้าเปิด เขามายึดเครื่องส่งไปจะทำยังไง ชาวบ้านก็บอกไม่เป็นไร ให้ยึดไป เดี๋ยวระดมเงินกันซื้อใหม่” อำไพ ศิริลาภ ดีเจ คนสำคัญของสถานีเล่าไปหัวเราะไป พร้อมทั้งระบุว่าชาวบ้านมีมติจัดเวรยามเฝ้าสถานีเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกมายึดเครื่องส่งสัญญาณ แม้ว่าเขาจะมีใบอนุญาตชั่วคราวแล้วแต่ก็ยังไม่มั่นใจกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น
 
สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด สถานีวิทยุชุมชนเป็นสิ่งที่ชาวบ้านหวงแหน เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด โดยเฉพาะสถานีที่มีเนื้อหาทางการเมืองโดยตรงอย่างสถานีนี้
 
“เมื่อก่อนก็มีโฆษณาบ้าง เดี๋ยวนี้พอเลือกข้างชัดเจน โฆษณาก็ไม่กล้าลง ใช้เงินที่ได้จากการบริจาค”
 
“กำลังส่งเรามีประมาณ 1,000 วัตต์ แต่หลังสลายการชุมนุม ทหารเขาไล่ปิดหมด เราก็เอาเครื่องส่งไปเก็บ แล้วแมลงสาบมันฉี่ใส่มั่งอะไรมั่ง ตอนนี้เลยส่งได้แค่ 600 วัตต์ (หัวเราะ) ก็คงกระจายเสียงได้รัศมีซัก 40 กิโล เวลามีชุมนุมก็ต่อเสียงจากสถานีเอเชียอัพเดทกระจายให้ชาวบ้านเขาได้รู้เรื่องด้วย เพราะเขาอยากไปแต่ไม่ได้ไป” อำไพว่า
 
“เราไม่ได้แค่ทำวิทยุ แต่เรายังลงพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ประชุมหารือสถานการณ์บ้านเมืองกันตลอด เราทำความเข้าใจร่วมกันว่า เราคือคนเสื้อแดง ส่วนของหัวคะแนนพรรคการเมืองก็ส่วนหนึ่ง ในสถานการณ์การเลือกตั้งเราก็แปลพลังเป็นคะแนนเสียง แต่ถ้าไม่มีเลือกตั้ง หัวคะแนนไม่ออก เราคนเสื้อแดงก็ยังต้องสู้ต่อ มันคนละส่วนกับพรรคเพื่อไทย เราต้องตื่นตัวของเราต่อไป” อำไพกล่าว
 
 
ย้อนรอยสลายชุมนุมปี53 วิทยุชุมชนเหี้ยน  
 
ในรายงานเรื่อง “การแทรกแซงวิทยุชุมชนภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ประเทศไทย ความเห็นต่าง คื อาชญากรรม” ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ที่เผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ระบุว่า ภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลทั้งในกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัด สถานีวิทยุชุมชนทั้งในและนอกพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต้องปิดตัวลงมากกว่า 47 สถานี และมีผู้เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชนถูกออกหมายจับและดำเนินคดีรวม 49 รายมีสถานีที่ถูกขึ้นบัญชีดำอีก 84 แห่ง
 
สถานีวิทยุชุมชนทุกแห่งที่ถูกปิดปรากฏรายชื่อ ในกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาของหน่วยงานรัฐ ก่อนจะมีการบุกเข้าตรวจค้น จับกุม ยึด อุปกรณ์การกระจายเสียง และดำเนินคดีในข้อหาว่ากระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องส่งวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานี และถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้กระบวนการออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนและได้รับการคุ้มครองสิทธิการกระจายเสียงจาก กทช. แต่มาตรการดังกล่าวกลับไม่สามารถยกมาอ้างเพื่อคุ้มครองสิทธิให้รอดพ้นจากการจับกุมและการเข้าปิดสถานีได้
 
                                                                 

รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ก่อนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 รัฐบาลส่งสัญญาณให้องค์กรอิสระเข้ามาจัดการกับความเห็นต่างที่กระจายอยู่ตามวิทยุชุมชน ดังเช่นกรณีที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใต้ กทช. ซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาตและกำกับดูแลวิทยุชุมชนเป็นการชั่วคราว ได้เตือนไปยังสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 6,000 แห่ง เพื่อไม่ให้นำเสนอเนื้อหาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขการได้รับสิทธิทดลองออกอากาศ คือ ไม่ดำเนินการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยออกเป็นหนังสือถึงผู้รับผิดชอบในแต่ละสถานีสามครั้งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

ขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลกลับขอความร่วมมือไปยังสถานีวิทยุชุมชนในบางจังหวัดให้รับสัญญาณถ่ายทอดรายการและข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐ โดยระบุว่าเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความวุ่นวายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือขอความร่วมมือโดยตรงถึงผู้รับผิดชอบสถานี

 ภาพจากรายงานฯ ของ คปส.
 
หากย้อนไปดูสถานภาพทางกฎหมายของสถานีวิทยุชุมชนที่ถูกปิดจากจำนวน 47 สถานีที่ถูกปิดไปเมื่อปีที่แล้วมี 29 ราย ที่ได้แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนไว้กับ กทช. ตามกระบวนการออกใบอนุญาต และได้รับสิทธิการทดลองออกอากาศแล้ว

ดังนั้น ประเด็นของใบอนุญาตคงเป็นเพียงข้ออ้างชั้นดีที่ในการปิดการสื่อสารแบบรวดเร็ว ไม่มีปิดได้ทันที แต่ถึงมีก็ยังปิดได้

 
ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เล่นงานเป้าหมายทางการเมือง
 
สุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการ คปส. ให้ความเห็นว่า เรื่องใบอนุญาตของวิทยุชุมชนนั้นเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน โดยวิทยุชุมชนทั้งหมดที่มาลงทะเบียน 6,000 กว่าแห่งจะได้ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ 300 วัน แต่ไม่มีใครได้ใบอนุญาตจริงๆ เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กทช. /กสทช. ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ข่าวล่าสุดแว่วว่าเพิ่งให้ใบอนุญาตออกมา 16 ราย แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด
 
ที่ผ่านมา มีเพียงการตั้งคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณา ซึ่งอนุฯ ก็ให้ความสำคัญแต่มิติทางการเมืองเป็นหลัก ต้องการควบคุมเนื้อหาทางการเมืองมากกว่าที่จะตอบรับเงื่อนไขการอนุญาตจริงๆ เป้าหมายที่ผ่านมาดูเหมือนจะเป็นการลากให้วิทยุขนาดเล็กประเภทต่างๆ มาลงทะเบียนให้หมด เพื่อจะทราบที่ตั้ง ผู้ดูแลที่จะติดตามตรวจสอบได้
 
“ภาวะแบบนี้กลายเป็นว่ารัฐใช้ช่องว่างทางกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นมา เอาไปควบคุมความเห็น อุดมการณ์ที่แตกต่าง” สุเทพกล่าวและว่า หากจะเล่นงานเรื่องใบอนุญาตนั้นก็สามารถเล่นงานได้ทุกสถานี เพราะมีปัญหาคล้ายๆ กันหมด ไม่เฉพาะสถานีวิทยุชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดง
 
สุเทพ เสนอว่า ในเมื่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในระหว่างสุญญากาศนี้ก็ควรให้สิทธิสถานีเล็กที่ยังไม่ลงทะเบียนได้มีโอกาสออกอากาศด้วย เพราะเป็นสิ่งไม่อาจปฏิเสธได้แล้วในสภาพความเป็นจริง ในเมื่อกระบวนการล้มเหลวแทนที่จะปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน กลับไปปกป้องตัวรัฐเองมากกว่า
 
นอกจากนี้เขายังเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้ามาควบคุมอีกแล้วไม่ว่าประการใดๆ แต่ควรมุ่งผลักดันให้เกิดกลไกอิสระให้เกิดขึ้น ส่วนเนื้อหาหากจะมีความผิดประการใด ก็ขอให้ใช้ข้อหานั้นๆ ในการดำเนินคดีกันไปให้ชัดเจนจะดีกว่า
 
“จะได้เกิดความชัดเจนกับสาธารณะด้วย ไม่อย่างนั้น วิทยุชุมชนจะถูกเหมารวมไปหมดว่าประชาชนทำสื่อไม่ได้ ทำแล้วไม่มีวุฒิภาวะ และท้ายที่สุดก็ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพกันหมด” สุเทพกล่าวและว่า คนใช้สื่อการเมืองเองก็ควรต้องรวมตัวกัน ตั้งกติกา ตรวจสอบกันเองด้วยในอีกทางหนึ่ง หากไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาจัดการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: สำรวจสถานการณ์ วัดปรอทความหวาดระแวง หลังปิดวิทยุชุมชนเสื้อแดง

Posted: 28 Apr 2011 12:16 PM PDT

 
 
 
ภายหลังมีการสนธิกำลังระหว่างตำรวจกองปราบ เจ้าหน้าที่จาก กสทช. เจ้าหน้าที่จาก กอ.รมน. และตำรวจในท้องที่ เข้าบุกค้นสถานีวิทยุชุมชน 13 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเมื่อวันที่ 26 เม.ย. และเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และความหวาดระแวงขึ้นโดยทั่วไป
 
อย่างที่ทราบกันว่านอกเหนือจากเคเบิ้ลทีวีไม่กี่ช่อง คนเสื้อแดงก็มี “วิทยุชุมชน” นี่เองที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร บอกข่าว จัดกิจกรรม กระทั่งระดมคนในสถานการณ์ฉุกเฉิน
 
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เหตุผลว่าเหตุที่ดำเนินคดีกับวิทยุชุมชนดังกล่าวเพราะมีการนำเทปการปราศรัยเข้าข่ายผิดกฎหมายของนายจุตพร พรหมพันธุ์ ไปเผยแพร่ ส่วนกอ.รมน.ชี้แจงเหตุผลว่า เป็นการดำเนินการตามที่ประชาชนแจ้งมาว่า คลื่นวิทยุชุมชนดังกล่าวได้นำเสนอเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ และจาบจ้วงสถาบัน เปิดโอกาสให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโฟนอินเข้ามาพูดยั่วยุปลุกระดมในรายการ มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง
 
แต่ในการดำเนินการนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาดังที่ได้กล่าวมานี้ แต่ใช้วิธีตรวจสอบใบอนุญาตที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ออกให้
 
 
เชือดไก่ให้ลิงดู...ปลุกกระแสเซ็นเซอร์ตัวเอง
 
การเข้าค้นครั้งนี้บางแห่งพบว่าไม่มีใบอนุญาต บางแห่งมีใบอนุญาตชั่วคราวเท่านั้น จึงทำการยึดของกลาง จับกุมผู้ดำเนินสถานีบางส่วนในข้อหามีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการประกันตัวแล้ว ขณะที่อีกหลายต่อหลายแห่งก็ปิดสถานีเสียก่อนที่เจ้าหน้าที่จะมาถึง จนบัดนี้ก็ไม่ยังไม่ทราบกำหนดเปิด
 
จากการสอบถามสถานีคนไทยหัวใจเดียวกัน 92.25 MHz ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีที่ปิดตัวลงก่อนที่จะถูกค้นในวันที่ค้น 13 จุด ดีเจสมาน เมืองขอนแก่น ดีเจคนหนึ่งของสถานีให้ข้อมูลว่า สถานีของเขามีใบอนุญาตชั่วคราว และดำเนินการมาประมาณ 11 เดือนแล้วภายหลังปิดไปหลายเดือนหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อปีที่แล้ว โดยสถานีนี้เน้นให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านการเมืองแก่ประชาชน และส่วนใหญ่จะเชื่อมสัญญาณกับเคเบิ้ลทีวีช่องเอเชียอัพเดท เพื่อถ่ายทอดสดการชุมนุมครั้งต่างๆ นอกจากนี้สถานีนี้ยังเป็นจุดส่งต่อสัญญาณให้กับสถานีวิทยุชุมชนอีกหลายแห่ง เช่น วิทยุชุมชนในจังหวัดอุดรฯ พัทยา ปทุมธานี อ่างทอง
 
เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 10 เมษยนที่ผ่านมา เขาก็ลิงก์สัญญาณถ่ายทอดเสียงปราศรัยของแกนนำ นปช. ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงส่วนของนายจตุพร พรหมพันธ์ ด้วย แต่ไม่ได้มีการเปิดซ้ำซากอย่างที่ถูกกล่าวหา และเนื้อหาโดยรวมของสถานีก็ไม่มีอะไรที่หมิ่นเหม่
 
“เรายังไม่มีกำหนดว่าจะเปิดทำการเมื่อไร เพราะกลัวว่าเขาจะบุกมายึดข้าวของอีก ก็อย่างที่รู้ว่าเขาดำเนินการแบบเลือกปฏิบัติ เฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตอนนี้กำลังหารือกันว่าจะไปยื่นศาลปกครองให้มีการคุ้มครองให้ออกอากาศได้ชั่วคราว” ดีเจสมาน เมืองขอนแก่น กล่าว
 
 
ต่างจังหวัดตื่นตัว ลุ้นปิดโดมิโน่?
 
ด้านตัวแทนคลื่นวิทยุสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ 99.15 MHz ให้ข้อมูลว่าในส่วนของเชียงใหม่นั้นเมื่อมีข่าวการบุกจับที่ส่วนกลาง คลื่นวิทยุชุมชนบางคลื่นก็มีการงดออกอากาศเพื่อประเมินสถานการณ์ และยังไม่ออกอากาศจนถึงวันนี้ (28 เม.ย. 54) แต่ส่วนใหญ่แล้ววิทยุชุมชนที่มีใบอนุญาตทดลองออกอากาศ รวมถึงวิทยุชุมชนที่เสนอข่าวคนเสื้อแดงก็ยังออกอากาศปกติ แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายความมั่นคง คือสารวัตทหาร ตระเวนไปยังสถานีวิทยุต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่ตั้งสถานี ซึ่งอาจจะมองในด้านหนึ่งว่าเป็นการคุกคามก็ได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมถือว่ายังเป็นปกติ แม้จะมีความกังวลถึงมาตรฐานข้ออ้างในการที่จะปิดสถานีวิทยุชุมชนต่างๆ ในอนาคตว่าใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์วัด
 
ขณะที่ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร สถานีคนรักมุกดาหาร 106.75 MHz มีการประชุมชาวบ้าน หรือผู้ฟังในพื้นที่ 200-300 คนเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคต
 
“ชาวบ้านเขาก็มากันสองสามร้อยคน เพิ่งประชุมเสร็จเมื่อกี๊นี้เอง (21.00 น. 28 เม.ย.53) เราก็ถามว่าจะเอาอย่างไรดี ปิด หรือไม่ปิด เขาก็ว่าให้เปิดต่อไปเลย เราก็ถามว่าถ้าเปิด เขามายึดเครื่องส่งไปจะทำยังไง ชาวบ้านก็บอกไม่เป็นไร ให้ยึดไป เดี๋ยวระดมเงินกันซื้อใหม่” อำไพ ศิริลาภ ดีเจ คนสำคัญของสถานีเล่าไปหัวเราะไป พร้อมทั้งระบุว่าชาวบ้านมีมติจัดเวรยามเฝ้าสถานีเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่บุกมายึดเครื่องส่งสัญญาณ แม้ว่าเขาจะมีใบอนุญาตชั่วคราวแล้วแต่ก็ยังไม่มั่นใจกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น
 
สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด สถานีวิทยุชุมชนเป็นสิ่งที่ชาวบ้านหวงแหน เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด โดยเฉพาะสถานีที่มีเนื้อหาทางการเมืองโดยตรงอย่างสถานีนี้
 
“เมื่อก่อนก็มีโฆษณาบ้าง เดี๋ยวนี้พอเลือกข้างชัดเจน โฆษณาก็ไม่กล้าลง ใช้เงินที่ได้จากการบริจาค”
 
“กำลังส่งเรามีประมาณ 1,000 วัตต์ แต่หลังสลายการชุมนุม ทหารเขาไล่ปิดหมด เราก็เอาเครื่องส่งไปเก็บ แล้วแมลงสาบมันฉี่ใส่มั่งอะไรมั่ง ตอนนี้เลยส่งได้แค่ 600 วัตต์ (หัวเราะ) ก็คงกระจายเสียงได้รัศมีซัก 40 กิโล เวลามีชุมนุมก็ต่อเสียงจากสถานีเอเชียอัพเดทกระจายให้ชาวบ้านเขาได้รู้เรื่องด้วย เพราะเขาอยากไปแต่ไม่ได้ไป” อำไพว่า
 
“เราไม่ได้แค่ทำวิทยุ แต่เรายังลงพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน ประชุมหารือสถานการณ์บ้านเมืองกันตลอด เราทำความเข้าใจร่วมกันว่า เราคือคนเสื้อแดง ส่วนของหัวคะแนนพรรคการเมืองก็ส่วนหนึ่ง ในสถานการณ์การเลือกตั้งเราก็แปลพลังเป็นคะแนนเสียง แต่ถ้าไม่มีเลือกตั้ง หัวคะแนนไม่ออก เราคนเสื้อแดงก็ยังต้องสู้ต่อ มันคนละส่วนกับพรรคเพื่อไทย เราต้องตื่นตัวของเราต่อไป” อำไพกล่าว
 
 
ย้อนรอยสลายชุมนุมปี53 วิทยุชุมชนเหี้ยน  
 
ในรายงานเรื่อง “การแทรกแซงวิทยุชุมชนภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ประเทศไทย ความเห็นต่าง คื อาชญากรรม” ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ที่เผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ระบุว่า ภายหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลทั้งในกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัด สถานีวิทยุชุมชนทั้งในและนอกพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต้องปิดตัวลงมากกว่า 47 สถานี และมีผู้เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชนถูกออกหมายจับและดำเนินคดีรวม 49 รายมีสถานีที่ถูกขึ้นบัญชีดำอีก 84 แห่ง
 
สถานีวิทยุชุมชนทุกแห่งที่ถูกปิดปรากฏรายชื่อ ในกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาของหน่วยงานรัฐ ก่อนจะมีการบุกเข้าตรวจค้น จับกุม ยึด อุปกรณ์การกระจายเสียง และดำเนินคดีในข้อหาว่ากระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องส่งวิทยุคมนาคมและการตั้งสถานี และถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้กระบวนการออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนและได้รับการคุ้มครองสิทธิการกระจายเสียงจาก กทช. แต่มาตรการดังกล่าวกลับไม่สามารถยกมาอ้างเพื่อคุ้มครองสิทธิให้รอดพ้นจากการจับกุมและการเข้าปิดสถานีได้
 
                                                                 

รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า

 ก่อนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 รัฐบาลส่งสัญญาณให้องค์กรอิสระเข้ามาจัดการกับความเห็นต่างที่กระจายอยู่ตามวิทยุชุมชน ดังเช่นกรณีที่คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภายใต้ กทช. ซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาตและกำกับดูแลวิทยุชุมชนเป็นการชั่วคราว ได้เตือนไปยังสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศกว่า 6,000 แห่ง เพื่อไม่ให้นำเสนอเนื้อหาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขการได้รับสิทธิทดลองออกอากาศ คือ ไม่ดำเนินการออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยออกเป็นหนังสือถึงผู้รับผิดชอบในแต่ละสถานีสามครั้งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

ขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลกลับขอความร่วมมือไปยังสถานีวิทยุชุมชนในบางจังหวัดให้รับสัญญาณถ่ายทอดรายการและข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐ โดยระบุว่าเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ความวุ่นวายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือขอความร่วมมือโดยตรงถึงผู้รับผิดชอบสถานี

หากย้อนไปดูสถานภาพทางกฎหมายของสถานีวิทยุชุมชนที่ถูกปิดจากจำนวน 47 สถานีที่ถูกปิดไปเมื่อปีที่แล้วมี 29 ราย ที่ได้แจ้งความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงชุมชนไว้กับ กทช. ตามกระบวนการออกใบอนุญาต และได้รับสิทธิการทดลองออกอากาศแล้ว

ดังนั้น ประเด็นของใบอนุญาตคงเป็นเพียงข้ออ้างชั้นดีที่ในการปิดการสื่อสารแบบรวดเร็ว ไม่มีปิดได้ทันที แต่ถึงมีก็ยังปิดได้

 
ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย เล่นงานเป้าหมายทางการเมือง
 
สุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการ คปส. ให้ความเห็นว่า เรื่องใบอนุญาตของวิทยุชุมชนนั้นเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน โดยวิทยุชุมชนทั้งหมดที่มาลงทะเบียน 6,000 กว่าแห่งจะได้ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ 300 วัน แต่ไม่มีใครได้ใบอนุญาตจริงๆ เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กทช. /กสทช. ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ข่าวล่าสุดแว่วว่าเพิ่งให้ใบอนุญาตออกมา 16 ราย แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด
 
ที่ผ่านมา มีเพียงการตั้งคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณา ซึ่งอนุฯ ก็ให้ความสำคัญแต่มิติทางการเมืองเป็นหลัก ต้องการควบคุมเนื้อหาทางการเมืองมากกว่าที่จะตอบรับเงื่อนไขการอนุญาตจริงๆ เป้าหมายที่ผ่านมาดูเหมือนจะเป็นการลากให้วิทยุขนาดเล็กประเภทต่างๆ มาลงทะเบียนให้หมด เพื่อจะทราบที่ตั้ง ผู้ดูแลที่จะติดตามตรวจสอบได้
 
“ภาวะแบบนี้กลายเป็นว่ารัฐใช้ช่องว่างทางกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นมา เอาไปควบคุมความเห็น อุดมการณ์ที่แตกต่าง” สุเทพกล่าวและว่า หากจะเล่นงานเรื่องใบอนุญาตนั้นก็สามารถเล่นงานได้ทุกสถานี เพราะมีปัญหาคล้ายๆ กันหมด ไม่เฉพาะสถานีวิทยุชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดง
 
สุเทพ เสนอว่า ในเมื่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในระหว่างสุญญากาศนี้ก็ควรให้สิทธิสถานีเล็กที่ยังไม่ลงทะเบียนได้มีโอกาสออกอากาศด้วย เพราะเป็นสิ่งไม่อาจปฏิเสธได้แล้วในสภาพความเป็นจริง ในเมื่อกระบวนการล้มเหลวแทนที่จะปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน กลับไปปกป้องตัวรัฐเองมากกว่า
 
นอกจากนี้เขายังเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้ามาควบคุมอีกแล้วไม่ว่าประการใดๆ แต่ควรมุ่งผลักดันให้เกิดกลไกอิสระให้เกิดขึ้น ส่วนเนื้อหาหากจะมีความผิดประการใด ก็ขอให้ใช้ข้อหานั้นๆ ในการดำเนินคดีกันไปให้ชัดเจนจะดีกว่า
 
“จะได้เกิดความชัดเจนกับสาธารณะด้วย ไม่อย่างนั้น วิทยุชุมชนจะถูกเหมารวมไปหมดว่าประชาชนทำสื่อไม่ได้ ทำแล้วไม่มีวุฒิภาวะ และท้ายที่สุดก็ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพกันหมด” สุเทพกล่าวและว่า คนใช้สื่อการเมืองเองก็ควรต้องรวมตัวกัน ตั้งกติกา ตรวจสอบกันเองด้วยในอีกทางหนึ่ง หากไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาจัดการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีตีนแดง: สมศักดิ์ เจียมฯ - เสรีภาพไม่เจียม

Posted: 28 Apr 2011 10:44 AM PDT

ภายหลังกฎแห่งการอยู่ร่วมถูกทำลาย
กฎแห่งการอยู่แยกพลันลุกขึ้นกร่างกลางถนน
ตบหน้าประชาชนสักครั้ง
สั่งสอนให้รู้จักสถานะของผู้ถูกกดขี่
ใคร? ที่ชื่อ สมศักดิ์ เจียมฯ
ตบหน้า สมศักดิ์ เจียมฯ สักสิบครั้ง
สั่งสอนให้รู้ว่าอย่าใช้เสรีภาพพร่ำเพรื่อ

กฎแห่งการอยู่แยกเดินกร่างไปตามตรอกซอกซอย
อ้างสิทธิ์เหยียบยืนบนพื้นที่ทับซ้อนของเสรีภาพ
ตบหน้าประชาชนสักร้อยครั้ง
หากยังไม่หลาบจำขืนใช้ถ้อยคำของ สมศักดิ์ เจียมฯ

เพียงแต่...มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อจะรู้น้อยลงทุกที

กฎแห่งการอยู่แยกแสดงบทบาทของผู้ปรารถนาจะกดขี่
ประชาชนย่อมแสดงบทบาทของผู้ปรารถนาเสรีภาพ
ตบหน้าประชาชนสักพันครั้ง
หวังให้หยุดใช้ถ้อยคำของ สมศักดิ์ เจียมฯ
ตบหน้า สมศักดิ์ เจียมฯ อีกครั้ง
หวังให้หยุดใช้ถ้อยคำของประชาชน

การกดขี่...สักกี่ครั้ง
จึงจะเพียงพอต่อเสรีภาพที่ลุกลามบานปลาย
ตบหน้า สมศักดิ์ เจียมฯ
ตบหน้าประชาชน
สักหมื่น...แสน...ล้านครั้ง
หวังให้หยุดใช้ถ้อยคำของเสรีภาพ

เพียงแต่...มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อจะรู้น้อยลงทุกที.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บก.ฟ้าเดียวกัน แนะอย่าตื่นตระหนกเกินไป เชื่อไม่น่าถูกฟ้อง

Posted: 28 Apr 2011 10:44 AM PDT

นายธนาพล อิ๋วสกุล บก.ฟ้าเดียวกัน เขียนชี้แจงในเฟซบุ๊กของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน หลังเข้าให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบฯในฐานะพยาน เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า เป็นการเข้าให้ปากคำตามปกติ ไม่เกี่ยวข้องกับกระแสข่าวการรัฐประหารแต่อย่างใด ทั้งนี้ มองว่า จากรายชื่อและเนื้อหาที่ออกมานั้น ไม่มีอะไรที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องอะไรได้ แนะไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องดังกล่าวมากเกินไป และพยายามคิดว่ามันเป็นงานรูทีนของตำรวจ ที่เมื่อมีผู้ฟ้องร้องก็ต้องดำเนินการตามปกติ

 

00000

กองปราบฯ แกะรอยกว่า 50 รายชื่อผู้เล่นเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน เรียก บ.ก.ฟ้าเดียวกันให้ปากคำhttp://www.prachatai3.info/journal/2011/04/34259
ผมในฐานะ “พยาน” ขอให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจทุกท่านดังต่อไปนี้

‎1. ในฐานะคนที่ดูแลกระดานสนทนาฟ้าเดียวกัน การต้องไปให้การในฐานะพยานนั้นเป็นกิจวัตรในชีวิตที่ผมต้องปฏิบัติเมื่อ รับผิดชอบเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เฉพาะกองปราบนี่ผมต้องเดินทางไปร่วม 10 ครั้งแล้ว

‎2. สูตรสำเร็จในการให้การเป็นพยานคือ เป็นเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันจริง แค่ไม่ทราบว่าข้อความที่โพสต์จริงหรือไม่ เนื่องจากไม่มีเวลาดูทั้งหมด

‎3. ถ้าตำรวจขอไอพี ก็บอกว่าให้เอาหมายศาลมา (ซึ่งไม่เคยมีหมายศาลจากตำรวจ) ถ้าถามเรื่องเทคนิค ก็บอกว่าไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิค (อันนี้ข้อเท็จจริง)

‎4. ถ้าถามว่าฝ่ายเทคนิคคือใคร บอกว่าเป็นอาสาสมัคร ติดต่อทางอีเมลเท่านั้น ไม่เคยเจอตัว

‎5. กรณีการไปให้การเมื่อวันที่ 27 เมษา แตกต่างจากกรณีอื่นๆ คือ เมื่อวันที่ 4 เมษาที่ผ่านมาผมไปให้การในฐานะพยานเหมือนกับกรณีอื่นๆ ก่อนหน้า แต่ตำรวจจะให้เซ็นชื่อในฐานะพยานโดยมีแค่ url จำนวน 46 url ผมบอกว่าเซ็นไม่ได้เนื่องจากผมไม่ทราบจริงๆ ว่าทั้ง 46 url นั้นมีเนื้อหาอะไร และในทางปฏิบัติคือเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันได้เปลี่ยนผู้รับผิดชอบ/เปลี่ยนชื่อ และยังโดน ict ปิดจนถึงปัจจุบัน

‎6. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนปราศรัยวันที่ 10 เมษา ที่นำไปสู่การแจ้งความจับจตุพรและพวก รวมทั้งการตบเท้าของ ทหาร จึงไม่เกี่ยวข้องกับกระแสข่าวการรัฐประหารแต่อย่างใด

‎7. การนัดหมายจึงมีอีกครั้งในวันที่ 27 เมษา ผมจึงให้ทางตำรวจเอารายชื่อและเนื้อหาทั้ง 46 url มาให้ดูก่อนลงชื่อรับทราบเป็นพยาน ในการนี้ผมจอความช่วยเหลือผ่านเพื่อนพ้องน้องพี่หลายคนให้ไปใช้ช่วยจด รายละเอียดมาเพื่อเผยแพร่ให้รับทราบ

8. ทั้งรายชื่อและเนื้อหาที่ออกมานั้น “ผิดคาด” ครับ สำหรับผมไม่เห็นมีอะไรที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องอะไรได้ เช่น กรณี “กลุ่มสมชายคัมแบ๊ค (SCCB)” หรือ “ผัวเผลอแล้วเจอกัน” เป็นเรื่องเฮฮา เล็กๆ น้อยๆ กรณี “อย่าว่าเราเจ้าข้า” ก็เป็นแค่การเอาข้อมูลสาธารณะมาเรียงต่อกัน หรือกรณี “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ก็เป็นบทความเรื่องพระสุรเสียง ซึ่งเผยแพร่ไปมากกว่าในเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน

‎9. กรณีดังกล่าวทำให้หลายคนตื่นตระหนก รวมทั้งไปลบข้อมูลเก่าของตัวเลงในเว็บไซต์ฟ้าเดียวกันนั้น ผมคิดว่าไม่ต้องไปทำให้เสียเวลาครับ เพราะเขาไม่ได้เอาข้อมูลในปัจจุบัน แต่เอาข้อมูลเกาที่เขาเซฟเก็บไว้เป็นหลักฐาน คือต่อให้ลบก็ไม่ช่วยอะไร

‎10. ผมคิดว่าเราไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องดังกล่าวมากเกินไป และพยายามคิดว่ามันเป็นงานรูทีนของตำรวจ เพราะมันเริ่มจากมีคนร้องเรียน ict แล้ว ict ต้องมาแจ้งความที่ตำรวจ แล้วตำรวจก็ดำเนินการตามปรกติ

ธนาพล อิ๋วสกุล

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนญี่ปุ่นรักชาติกันอย่างไร: อุดมการณ์การเมืองความเป็นชาติในยามวิกฤต

Posted: 28 Apr 2011 10:40 AM PDT

“คอนนิชิวะ อาริงาโตะ มาโฮโนโคโตะบะเด ทาโนชิ นะกะมา โฮโฮโฮ” (สวัสดี ขอบคุณ มาสนุกสนานกับเพื่อนๆ ด้วยคำทักทายมหัศจรรย์กัน)

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ ผู้คนที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นต่างเริ่มคุ้นเคยกับประโยคเพลงข้างต้นเป็นอย่างดี บทเพลงดังกล่าวถูกขับร้องพร้อมกับตัวการ์ตูนน่ารักที่ออกมาเต้นรำกันด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

ฉากประมาณ 15 วินาทีนี้จบลงด้วยสโลแกนที่ว่า “เพื่อนๆ จะเพิ่มพูน เพราะเราทักทายกันนะ!” (เวอร์ชั่นแบบยาวจะเพิ่มคำทักทาย คอมบังวะ ซาโยนาระ ฯลฯเข้าไปด้วย) [1]

ทุกครั้งที่การรายงานสถานการณ์วิกฤตในสื่อทุกช่องถูกแทรกด้วยโฆษณา เป็นที่น่าสนใจว่า ผู้ชมจะไม่เห็นโฆษณาสินค้าแทรกขึ้นมาเลย สิ่งที่มาแทนที่โฆษณาสินค้าก็คือ คลิปวีดิโอสั้นๆ ประมาณ 10 ถึง 20 วินาที จัดทำโดยกลุ่มเอซี (เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลญี่ปุ่น) คลิปวิดีโอเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ นอกจากการ์ตูนน่ารักข้างต้นแล้ว ยังมีคลิปที่ใช้นักแสดงที่เป็นคนจริงๆ หรือไม่ก็เป็นแค่ตัวหนังสือขึ้นบนจอ หลังจากถูกถาโถมด้วยคำโฆษณาดังกล่าวมาเป็นเวลาสองสัปดาห์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ยังไม่เสถียร การติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ถือเป็นหน้าที่บังคับของผู้อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นเพื่อความปลอดภัยของตัวเองไปโดยปริยาย)

ผู้เขียนเห็นว่า เราสามารถศึกษาวิเคราะห์ข้อความหรือสารต่างๆ เหล่านี้ได้ในฐานะอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐชาติ

บทความบทนี้พยายามจะให้คำตอบต่อคำถามง่ายๆ ที่ว่า เมื่อประเทศประสบวิกฤต รัฐบาลหรือแม้กระทั่งประชาสังคมญี่ปุ่นเขาบอกให้ประชาชนของเขารักชาติผ่านสื่อโทรทัศน์ด้วยวิธีใด ผู้เขียนเชื่อว่า นอกจากรายงานความเสียหายและยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (อีกทั้งคำเตือนอาฟเตอร์ช็อคไม่หยุดหย่อน) สิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ทุกช่องแทนโฆษณาสินค้าซ้ำไปซ้ำมาตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา มีนัยยะสำคัญที่สะท้อนอุดมการณ์ความเป็นชาติญี่ปุ่นอยู่ไม่มากก็น้อย แม้ในขณะนี้เอง ช่องโทรทัศน์ต่างๆ จะกลับมาดำเนินรายการตามปกติแล้ว อีกทั้งโฆษณาสินค้าต่างก็หวนกลับสู่หน้าจอ แต่วิดีโอของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังสอดแทรกอยู่ไม่หยุดหย่อนพร้อมๆ กับเวอร์ชั่นใหม่ที่อัฟเดทให้ทันสถานการณ์มากขึ้นอีกด้วย

เอาแค่ตัวอย่างคลิปการ์ตูนข้างต้นก็แสดงให้เราเห็นว่า สำหรับรัฐชาติญี่ปุ่นแล้ว การรณรงค์ให้คนกล่าวคำทักทายต่อกันถือเป็นสิ่งที่ประสานรวมให้ชาติญี่ปุ่นมีความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น มันยังถูกนำเสนอผ่านเสียงร้องเล็กๆ ใสๆ และภาพตัวการ์ตูนสิงห์สาราสัตว์อีกด้วย

ลองคิดง่ายๆ ว่า หากการรณรงค์ข้างต้นนี้ปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ประเทศไทยภายหลังโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่อะไรก็ตาม มันคงดูเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะและไม่ลึกซึ้งกินใจผู้ชมคนไทยสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ บทความชิ้นนี้ไม่เพียงแต่จะมุ่งถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมญี่ปุ่นในขณะนี้ สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การมองย้อนกลับมาวิเคราะห์ทำความเข้าใจประเทศของเราเอง

สำหรับประเทศไทยแล้ว เรามีเนื้อหาการรณรงค์อย่างไรที่มุ่งกระตุ้นความซาบซึ้งตรึงใจในความเป็นชาติของเรา โดยเฉพาะในยามวิกฤตคับขัน ผู้เขียนขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เนื้อหาของบทความนี้แม้จะเกี่ยวข้องกับความเป็นชาติญี่ปุ่นก็จริง แต่ก็เป็นมุมมองจากไกจินหรือคนนอกที่มิใช่คนญี่ปุ่น ผู้เขียนในฐานะนักเรียนรัฐศาสตร์คนไทยคนหนึ่งต้องการจะใช้กรอบความคิดที่ตนมีวิเคราะห์และบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้เอาไว้ และเหนือสิ่งอื่นใด บทความชิ้นนี้ประสงค์จะกระตุ้นให้เราย้อนกลับมามองสังคมไทย และตั้งคำถามกับแก่นกลางอุดมการณ์ความเป็นชาติไทย

 

ภาวะฉุกเฉินและอุดมการณ์ความเป็นชาติ

ความเป็นชาติ ถือได้ว่าเป็นอุดมการณ์หรือ ideology อย่างหนึ่ง เพราะความคิดหรือพฤติกรรมชาตินิยมส่วนใหญ่อาจเป็นเรื่องที่ทราบและปฏิบัติกันทั่วไปในหมู่พลเมืองอยู่แล้ว หากแต่ไม่เคยมีใครตระหนักว่า ความเป็นชาตินั้นเป็นสิ่งที่ถูกจินตนาการ (imagined)หรือสร้างขึ้น (created) และมีนัยยะเชิงอำนาจซ่อนเร้นอยู่ ดังที่ เบเนดิค แอนเดอสัน (Benedict Anderson) นิยามความหมายของชาติหรือ nation ว่าเป็น “imagined political community” [2] หรือ ชุมชนทางการเมืองในจินตนาการ

อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นสิ่งที่เพิ่งสร้างหรือเป็นเพียงจินตนาการ แต่เราต่างก็ถูกอัดฉีดกล่อมเกลาอุดมการณ์ความเป็นชาติผ่านสถาบันการเมืองและสังคมมาอย่างยาวนานและเข้มข้นจนมันแฝงฝังลงในวิธีคิด ความประพฤติในชีวิตประจำวันของเรา และในที่สุด ความคิดหรือพฤติกรรมชาตินิยมกลายเป็นเรื่องที่เรามองว่าธรรมดา เป็นสัจธรรม หรือเป็นเรื่องที่ “มีความเป็นกลาง และ “อยู่เหนือการเมือง” ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว ผลจากการกระทำแบบชาตินิยมของเราก่อให้เกิดการสืบสานทางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองและสังคมรูปแบบหนึ่งอยู่

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนขอเรียกความเป็นชาติว่า เป็นส่วนหนึ่งของหลุมดำแห่งอุดมการณ์ที่ครอบงำเราอยู่ในปัจจุบัน สลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) ได้นิยามคำว่าอุดมการณ์ในบริบทโลกยุคหลังประวัติศาสตร์ของพวกเราไว้ว่า คือ “อะไรก็ตามที่เราไม่เคยรู้ว่าเรารู้เกี่ยวกับมันแล้ว (the unknown knowns)” [3] กล่าวคือ บ่อยครั้งที่อุดมการณ์ความเป็นชาติมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดวิธีการคิด การกระทำ หรือปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันของพวกเรา แต่ด้วยเหตุที่ความเป็นชาติแฝงฝังประสานเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นตัวเรามากเสียจนเราต้องทำตัวประหนึ่งว่า เราไม่ทราบว่าสิ่งต่างๆ ที่เราคิดหรือทำเป็นเรื่องชาตินิยม เราจึงปฏิบัติต่อมันเฉกเช่นหลุมมืดที่มองไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่เบื้องล่าง เพราะเมื่อครั้นหลุมมืดเริ่มมีแสงสว่างขึ้น มันคือวินาทีที่เราเริ่มทราบว่า ชาตินั้นมีด้านอัปลักษณ์และปนเปื้อนไปด้วยอำนาจและจินตนาการเพ้อฝัน นั่นย่อมหมายถึงการรับรู้ความจริงที่เราเองไม่อยากจะรู้เกี่ยวกับตัวเองด้วย

หลุมดำแห่งชาตินิยมจึงเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากหลุมดำในเบื้องลึกของตัวเราเอง นี่จึงนำไปสู่ข้อสรุปของชิเชคที่ว่า อุดมการณ์ในปัจจุบัน (ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ชาตินิยม อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย ฯลฯ) มีกลไกการทำงานที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ การทำให้ “ปัจเจกบุคคลปฏิบัติตัวประหนึ่งว่าตนไม่ทราบ” [4] เพราะมันเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การครอบงำอย่างเข้มข้นของอุดมการณ์ประเภทต่างๆ โดยที่ไม่ต้องรู้สึกสมเพชหรือรังเกียจตัวเอง [5]

เมื่อชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน หลุมดำอันมืดมิดแห่งอุดมการณ์ความเป็นชาติที่หล่อเลี้ยงรัฐชาตินั้นๆ ซึ่งจากเดิมเคยหลบซ่อนอยู่ในเงามืดจะค่อยๆ เผยโฉมให้เราเห็นชัดยิ่งขึ้น อนึ่ง สภาวะวิกฤตฉุกเฉินสามารถนิยามได้คร่าวๆว่า เป็นการปะทุขึ้นของเหตุการณ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลอย่างไม่ได้คาดการณ์มาก่อน น่าสนใจว่า คนที่ได้รับผลกระทบนั้นไม่ได้มีแต่เหยื่อของวิกฤตโดยตรง เช่น ผู้บาดเจ็บ ผู้ที่เสียชีวิต หรือผู้ที่สูญเสียบุคคลและทรัพย์สินอันเป็นที่รัก วิกฤตที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบไปยังคนในรัฐชาติที่เหลือทั้งหมดอีกด้วย โดยเฉพาะผลกระทบทางจิตใจ ผู้คนต่างรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องเห็นเพื่อนร่วมชาติประสบความทุกข์ยาก วิกฤตที่เกิดขึ้นทำลายขวัญและกำลังใจ รวมไปถึงความภูมิใจในความเป็นชาติของพลเมืองในชาติ และเหนือสิ่งอื่นใด ทุกคนต่างกังวลและไม่มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตของตน ดังนั้น สภาวะฉุกเฉินในที่นี้จึงครอบคลุมสถานการณ์ผิดปกติของรัฐชาติในวงกว้าง ไม่ว่าที่เกิดจากหายนะทางธรรมชาติ (แผ่นดินไหว สึนามิในญี่ปุ่น) การโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย (เหตุการณ์ 911 ในสหรัฐ) หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนในประเทศกันเอง (ความรุนแรงในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมปี 2553 ในประเทศไทย หรือแม้กระทั่งสภาวะไม่ปกติในสังคมไทยในปัจจุบัน)

ภายใต้สภาวะเช่นนี้เองที่อุดมการณ์ชาตินิยมจะทำงานอย่างเข้มข้น เพื่อให้คนในชาติกลับมารู้สึกมั่นคงอีกครั้ง เพื่อให้คนในชาติรวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้คนในชาติให้ความร่วมมือต่อนโยบายฉุกเฉิน อุดมการณ์ชาตินิยมจึงถูกเผยแพร่และผลิตซ้ำไปมามากกว่าสภาวะปกติผ่านสารต่างๆ ของสื่อหรือผ่านคำพูดให้กำลังใจจากผู้นำประเทศ ดาราคนดังหรือในหมู่ประชาชนทั่วไปด้วยกันเอง

อย่างไรก็ดี เราไม่ควรมองข้ามความจริงที่ว่า ความเป็นชาตินิยมที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องหวานชื่น ซาบซึ้งน่ากินใจอันส่งผลให้คนในชาติร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้สภาวะวิกฤต อันที่จริง มันมีเรื่องของอำนาจ การกีดกันบังคับ ความรุนแรงซ่อนเร้นอยู่เสมอ ดังคำพูดที่แอนเดอสันอ้างในหนังสือของเขาว่า “Or l’essence d’une nation est que tous les individus aient beaucoup de choses en commun, et aussi que tous aient oublie bien des chose. (แก่นกลางของความเป็นชาตินั้นก็คือ การที่ปัจเจกบุคคลทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน มันก็หมายถึง การที่ทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องร่วมกันลืมจำนวนมากเช่นกัน)

ตัวอย่างของสิ่งที่ถูกทำให้ลืมร่วมกันภายใต้จินตนาการแห่งชาติก็คือ สภาพความไม่เท่าเทียมกันหรือการเอาเปรียบขูดรีดภายในชาติ [6] ดังนั้น ผลน่าเศร้าที่ตามมาก็คือ บ่อยครั้งที่ความยากจนหรือความอยุติธรรมในสังคมจึงไม่มีพลังขับเคลื่อนมากพอที่จะทำให้ปัจเจกลุกขึ้นต่อสู้และเสียสละชีพตนเอง ทว่าความรักชาติมีพลังมากพอที่จะทำให้พลเมืองยอมสูญเสียทุกอย่างได้แม้กระทั่งชีวิตของตน

จากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถตีความได้ว่า ไม่เพียงแต่ความเป็นชาติจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เพิ่งสร้างขึ้นแล้วถูกปฏิบัติประหนึ่งสัจธรรมสูงสุดเท่านั้น มันยังเป็นความเป็นชาติที่ผ่านการคัดสรรเลือกเฉพาะลักษณะบางประการที่พึงประสงค์ต่อกลุ่มคนบางกลุ่มหรือสถาบันบางสถาบัน พูดง่ายๆ ก็คือ ความเป็นชาติ หรือความรู้สึกชาตินิยมนั้นถูกสถาปนาขึ้นมาเพื่อเอื้อหนุนและสืบสานอำนาจและผลประโยชน์บางอย่าง กล่าวคือ ในขณะที่อุดมการณ์ชาตินิยมที่ถูกสถาปนาขึ้นทำการครอบงำและกล่อมเกลาคนในชาติผ่านกระบวนการศึกษาและสถาบันทางสังคมต่างๆ ลักษณะความเป็นชาติอื่นๆ ที่ แตกต่าง หลากหลาย หากแต่ไม่น่าพึงประสงค์ ไม่งาม ไม่เอื้อต่ออำนาจและผลประโยชน์ ต่อการพัฒนาเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ความเป็นชาติเหล่านี้ก็จะไม่ถูกนับรวมเข้ามาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติ บ้างก็ถูกกีดกันกดทับด้วยความรุนแรง หรือถ้าจะให้สอดคล้องกับย่อหน้าข้างต้นก็คือ มันจะต้องถูกทำให้ลืม โดยเฉพาะเมื่อความเป็นชาติที่แตกต่างยังยืนกรานจะดำรงตนอยู่อย่างเปิดเผยและภาคภูมิใจ นี่ย่อมหมายถึงการท้าทายความเป็นชาติกระแสหลัก และย่อมถูกตราหน้าว่าเป็นภัยคุกคามที่บ่อนทำลายความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องพึงตระหนักไว้อยู่เสมอว่า แม้ในสถานการณ์วิกฤตฉุกเฉินที่เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก มีความสับสนอลหม่านไปทุกๆที่ ประชนชนในรัฐชาติที่กำลังตื่นตระหนกย่อมต้องการศูนย์รวมจิตใจบางอย่าง และอุดมการณ์ชาตินิยมอาจเป็นทางออกที่มีประสิทธิผลมากที่สุด กระนั้นก็ตาม เราก็ไม่ควรมองข้ามความรุนแรงและการกีดกันของอุดมการณ์ชาตินิยมเช่นนั้น ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์หรือคนบางกลุ่มที่ถูกตราหนาว่าเป็นภัยมักถูกคัดออกหรือทำลาย ชาตินิยมไม่ใช่เรื่องหวานชื่นหรือน่าซาบซึ้ง มันเป็นเรื่องที่แยกไม่ออกจากการเมืองและการครอบงำทางอำนาจที่แยบยล เราจำเป็นต้องมองชาตินิยมด้วยมุมมองวิพากษ์อยู่เสมอ

อย่างไรก็ดี อันดับแรก เราลองมาวิเคราะห์กันก่อนว่า ชาตินิยมในสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันนี้มีลักษณะเช่นไร

 

日本がんばろう นิปปงสู้ตาย

คำว่า กัมบารุ/กัมบัตเตะ/กัมบาโร (จะพยายามสู้/สู้เค้านะ/มาสู้ด้วยกัน) เป็นคำที่คนที่ติดตามข่าวสารหน้าจอโทรทัศน์ทุกคนได้ยินบ่อยพอๆ กับคำว่า มิลลิซีเวลูโตะ (millisevert: หน่วยวัดสารกัมมัตภาพรังสี) กัมบารุออกมาจากปากนายกนาโอโตะ คัง ผู้ประกาศข่าว นักร้องนักแสดง นักฟุตบอล นักเบสบอล ผู้ใหญ่เด็กทั่วไปที่ต้องการให้กำลังใจเหยื่อ หรือแม้กระทั่งตัวเหยื่อเองก็บอกว่า ตัวเองจะสู้

ในหะแรก ผู้เขียนมีความสงสัยว่า สังคมญี่ปุ่นที่ตื่นตระหนกและตกอยู่ในภาวะช็อคจะหันไปหาสิ่งยึดเหนี่ยวใดที่จะมีศักยภาพพอที่จะรวมใจคนทั้งชาติเอาไว้ ญี่ปุ่นในฐานะประเทศสมัยใหม่ที่มีความพัฒนา แทนที่จะเป็นเทพเจ้าหรือกษัตราเหนือมนุษย์ ผู้นำประเทศหรือนักการเมืองดีดีคนหนึ่งน่าจะเป็นตัวเต็งที่จะทำหน้าที่นี้ได้ เฉกเช่นบทบาทของประธานาธิบดีบุชเมื่อเหตุการณ์ 11 กันยา บุชไม่ลังเลที่จะตั้งตัวเป็นเหมือนแก่นกลางของชาติที่กำลังสั่นคลอน แม้ตัวบุชเองอาจจะไม่ใช่ศูนย์รวมยึดเหนี่ยวอเมริกันชนที่ตื่นตระหนก คำปราศรัยของเขาที่สะท้อนทั้งหลักศาสนาคริสต์ ความดี ปีศาจ ความเด็ดขาดและการใช้กำลังทางทหาร ทุกๆ อย่างสะท้อนหลุมมืดแห่งอุดมการณ์ความเป็นชาติสหรัฐอย่างปฏิเสธไม่ได้

แต่เมื่อมองกลับมาที่ญี่ปุ่น ผู้เขียนกลับฉงนงงงวยกับท่าทีและการวางตัวของนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง เขาออกโทรทัศน์น้อยมากชนิดนับจำนวนครั้งได้ คำปราศรัยให้กำลังใจประชาชนของเขาก็ไม่ได้ถูกฉายซ้ำมากเท่าโฆษณาคอนนิชิวะของรัฐบาล และคงมีคนอีกจำนวนมากคิดอย่างผู้เขียนว่า นายกคังน่าจะไม่เก่งเรื่องประชาสัมพันธ์และให้คำปลุกใจสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ นายกคังจึงมักปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์เมื่อมีการรายงานข่าวการออกเดินทางไปปฏิบัติงานในพื้นที่หรือเมื่อมีการเข้าประชุมเท่านั้น

หลังจากนั้น ผู้เขียนก็ยังหาตัวเต็งคนต่อไป ซึ่งก็คือ โฆษก ยูคิโอะ เอดาโนะ ผู้ออกโทรทัศน์และให้สัมภาษณ์สื่อนับจำนวนครั้งไม่ถ้วนนับตั้งแต่วันที่ 11 แต่ถึงแม้ใบหน้าอันเมยเฉยเหนื่อยล้าและโหยหาการพักผ่อนของเอดาโนะจะปรากฎให้เราเห็นเช้า กลางวัน เย็น เขาก็มิได้แสดงตัวเป็นผู้นำของชาติที่ประชาชนจะพึ่งพาอาศัยได้เลย เนื้อหาต่างๆ ที่เขาพูด ล้วนมีแต่เรื่องสถานการณ์และรายละเอียดของปฏิบัติการกู้วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในแต่ละวัน เราต่างคุ้นเคยกับคำพูดตบท้ายของเอดาโนะหลังจากแจ้งสถานการณ์ที่ทรุดลงเรื่อยๆ ของโรงไฟฟ้าแต่ละโรงว่า “จะไม่มีผลกระทบร้ายใดใดในตอนนี้ (There will be no immediate effects)” คำตอบของเขาชวนให้ผู้เขียนและผู้ชมที่เหลือต่างอดสงสัยต่อไม่ได้ว่า แล้วในระยะยาวล่ะ แกจะรับผิดชอบฉันไหม ถ้าอีกสิบปีฉันเกิดเป็นมะเร็งขึ้นมาเพราะสารที่มันออกมา ถูกต้อง ท่านโฆษกเอดาโนะไม่ใช่โฆษกพี่ไก่อู เขาไม่มีแฟนคลับ คำพูดเขาไม่มีเนื้อหาปลุกเร้ากระตุ้นความเป็นชาติ อันที่จริงแล้ว คำพูดของเขาไม่มีสาระอะไรเลยด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชิงเทคนิคหรือเรื่องวาทกรรมการเมือง ผู้เขียนแน่ใจว่า ต่อจากนี้ยิ่งเขาออกทีวีมากเท่าไหร่ ผู้ชมก็ยิ่งอยากจะเปลี่ยนช่องโทรทัศน์หรือหมดความไว้เนื้อเชื่อใจหุ่นเชิดรัฐบาลหน้าตายผู้นี้ไปแล้ว

ตัวเลือกตัวสุดท้ายที่ผู้เขียนคิดออกก็คือ บทบาทของจักรพรรดิญี่ปุ่น? ในยามคับขันเช่นนี้ คนญี่ปุ่นอาจหันไปหาศูนย์รวมทางสัญลักษณ์อย่างจักรพรรดิก็เป็นได้ โดยเฉพาะเมื่อนายกคัง และเอดาโนะดูจะไร้สมรรถภาพความเป็นผู้นำทางอุดมการณ์ถึงเพียงนี้ แต่ผู้เขียนก็ต้องส่ายหน้าทันที ไม่ใช่จักรพรรดิแน่นอน ผู้เขียนพลาดมิได้ชมสารที่ท่านจักรพรรดิส่งไปยังประชาชนของพระองค์ทางโทรทัศน์ ผู้เขียนต้องมาหาดูทางยูทูป ทั้งนี้ก็เพราะช่องโทรทัศน์ต่างๆ ไม่นำคำให้กำลังใจของจักรพรรดิมาฉายซ้ำอีกเลย ไม่มีการอ้างถึงพระราชดำรัสของพระองค์ในรายการใดใด และที่สำคัญที่สุด ผู้เขียนไม่เคยเห็นบรรดาสถานีโทรทัศน์สาธารณะฉายภาพพระองค์ออกปฏิบัติภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในโทรทัศน์เลยสักครั้ง (แน่นอนว่าจักรพรรดิญี่ปุ่นอาจเสด็จออกปฏิบัติภารกิจหรืออาจจทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือ และมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพระองค์ แต่ประเด็นของผู้เขียนก็คือ สื่อต่างๆ จัดให้เรื่องของพระองค์อยู่ชายขอบ ไม่มีการทำให้มันเป็นเรื่องพิเศษหรือนำเสนอซ้ำไปมา ข่าวเกี่ยวกับพระองค์ถูกให้คุณค่าเทียบเท่ากับข่าวเกี่ยวกับบุคคลทั่วไป) ถ้าหากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นยกให้พระองค์ดำรงตนเป็นเพียงสัญลักษณ์ ผู้เขียนก็ไม่มั่นใจแล้วว่า พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของอะไรในสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ในปัจจุบัน [7]

ในที่สุด ผู้เขียนก็เริ่มเข้าใจว่า ความเป็นชาติที่เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของสังคมญี่ปุ่น มิได้อยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง คนดัง หรือจักรพรรดิ มันมิได้อยู่ในหลักคำสอนทางศาสนา พระผู้เป็นเจ้าเทพยดา หรือผู้นำทางศาสนาคนใด ผู้เขียนจึงเปลี่ยนวิธีการวิเคราะห์ใหม่ แทนที่จะเป็นบุคคลหรือสัญลักษณ์ทางสังคมต่างๆ อุดมการณ์ชาตินิยมของสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ในยามวิกฤตน่าจะเป็น สภาวะจิตใจและวิธีคิด (mentality) แบบใดแบบหนึ่งเสียมากกว่า ซึ่งคำตอบของผู้เขียนก็คือ สภาวะจิตใจแบบกัมบารุ

อันคำว่า ‘กัมบารุ’ นั้นไม่มีคำแปลภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรง อาจแปลได้คร่าวๆ ว่า หมายถึง การอุตสาหะพยายาม/สู้/ไม่ยอมแพ้ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ทุกๆ คนที่ถูกไมโครโฟนจ่อปากจะไม่วายต้องเอ่ยคำนี้ออกมา ดูเหมือนว่า กัมบารุ จะเป็นเส้นด้ายที่ร้อยเรียงคนญี่ปุ่นเข้าด้วยกันท่ามกลางภาวะตื่นกลัวและไม่มั่นคงครั้งนี้ ในช่วงภาวะปกติ คำๆ นี้ก็มักเป็นคำลงท้ายคำพูดของคนญี่ปุ่นทั่วไปอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนมักโดนอาจารย์พูดตบท้ายอยู่เสมอหลังบทสนทนาว่า “กัมบัตเตะกุดาซัย (จงพยายามเข้า)” คนเป็นนักเรียน เป็นผู้น้อยอย่างผู้เขียนก็จะต้องตอบกลับไปว่า “กัมบาริมัส (จะพยายาม)” ผู้เขียนเคยถามประเด็นเกี่ยวกับเรื่องวิธีการพูดเรื่องกัมบารุกับเพื่อนญี่ปุ่นที่เรียนด้วยกัน ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่รู้จะแทนคำนี้ด้วยคำภาษาอังกฤษคำใด เพื่อนคนหนึ่งยังบอกผู้เขียนอีกด้วยว่า เขารู้สึก “ซาบซึ้ง” และมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไปเมื่อตะโกนคำว่ากัมบารุตอบกลับอาจารย์ อีกทั้งเขายังให้คำพูดเสียดแทงจิตใจคนนอกอย่างผู้เขียนอีกด้วยว่า เขาไม่ค่อยรู้สึกซาบซึ้งหรือมีกำลังวังชาเท่าไร เมื่อมีคนต่างชาติมาบอกให้เขา กัมบัตเตะ (พยายามเข้า) นึกๆ ดูแล้ว เขาคงกำลังพูดถึงผู้เขียนอยู่นี่เอง

เพราะฉะนั้น กัมบารุจึงไม่ใช่แค่คำพูด มันเป็นจิตวิญญาณแห่งคนญี่ปุ่นที่เฉพาะคนญี่ปุ่นจะซาบซึ้งกับมันในลักษณะที่พิเศษมากกว่าคนอื่นๆ คำว่ากัมบารุที่ออกมาจากปากคนต่างชาติ ไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างที่คนญี่ปุ่นสื่อสารกันเอง หากคุณไม่ใช่คนญี่ปุ่นผู้ได้รับการกล่อมเกลาวัฒนธรรมกัมบารุตั้งแต่ในสถาบันครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ฯลฯ กัมบารุก็เป็นคำที่แค่ออกจากปากของคนนอกเท่านั้น

ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยที่เมื่อภาวะไม่ปกติ เมื่อความยากลำบาก ความหวาดกลัวมาเยือน กัมบารุจึงเป็นคำขวัญประจำชาติญี่ปุ่น นายกคังก็บอกให้ชาวญี่ปุ่นกัมบารุ ข้อความบนเสื้อที่ดาวดังนักฟุตบอลทุกคนใส่ในการแข่งขันเพื่อการกุศลในวันที่ 29 มีนาคมก็เขียนว่า นิปปง กัมบาโร (ญี่ปุ่น มาพยายามด้วยกัน) น่าสังเกตว่า มันเป็นคำที่ไม่ถูกบุคคลผู้ใดผูกขาด ทุกคนๆ ก็สามารถพูดคำนี้ได้ แม้กระทั่งตัวเหยื่อเอง จะเห็นได้ว่า คำว่ากัมบารุเป็นตัวประสานใจของคนทั้งประเทศเข้าด้วยกัน จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

 

ชาตินิยมไม่รู้ตัว: ธรรมชาติที่จอมปลอม อิสรภาพที่จำกัด ความรักและซาบซึ้งที่บังคับ

กรณีจิตวิญญาณความเป็นชาติญี่ปุ่นข้างต้น นับว่าแตกต่างกับของประเทศไทย กล่าวคือ ในภาวะวิกฤตเมื่อปีแล้ว ความเป็นชาติที่รัฐบาลและสื่อต่างๆ พยายามโปรโมทได้ถูกนำไปเชื่อมโยงที่ตัวบุคคลอย่างพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง สังเกตได้จากการนำพระราชดำรัสมาเผยแพร่ทางวิทยุทุกๆ วันในช่วงที่ความรุนแรงกำลังร้อนระอุ ด้วยความหวังที่ว่า กษัตริย์จะเป็นสิ่งที่สามารถกอบกู้ให้ชาติที่แตกแยกกลับมาสงบและมั่นคงอีกครั้ง อันคำสอนเรื่องความสามัคคี ความปรองดอง ความไม่เห็นแก่ตัว หากมันไม่ได้อยู่ในพระราชดำรัส หรือถูกนำไปเชื่อมโยงกับตัวพระมหากษัตริย์ (เช่น ทำดีเพื่อพ่อ) หลักคำสอนเหล่านี้ก็ดูจะไม่ค่อยศักดิ์สิทธิ์หรือน่าน้ำหูน้ำตาไหลซักเท่าไหร่ แน่นอนว่า คนที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุดมการณ์ชาตินิยมไทยอย่างสมบูรณ์ย่อมไม่เห็นว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับสารต่างๆ ที่ถูกเผยแพร่ พวกเขาอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นความเป็นจริงของสังคมไทย เป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับนับถือ พวกเขาอาจเห็นด้วยเสียด้วยซ้ำที่วาทกรรมรักกษัตริย์ควรเผยแพร่ออกไปมากๆ ในช่วงที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวาย เผื่อพวกคนที่กำลังทำลายชาติจะได้สำนึกและเลิกพฤติกรรมที่รบกวนเบื้องพระยุคลบาทเสียที

กรณีของไทยไม่ต่างอะไรกับอุดมการณ์ชาตินิยมแบบกัมบารุของญี่ปุ่นในแง่ของนัยยะเชิงการเมืองและอำนาจ อุดมการณ์ทั้งสองถูกโปรโมทอย่างเข้มข้นในยามรัฐชาติเกิดวิกฤต โดยมีเป้าประสงค์จะสถาปนาความเป็นหนึ่งเดียวของชาติขึ้น เพื่อให้ความมั่นคง ความสงบ สภาพปกติหรือสถานภาพ (status quo)เดิมๆ กลับมาอีกครั้ง

น่าสังเกตว่า ในขณะที่อุดมการณ์ชาตินิยมมีนัยยะทางการเมืองเรื่องอำนาจอย่างเข้มข้น บรรดาผู้คนที่อยู่ภายใต้การครอบงำกลับมองไม่เห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้เลย พวกเขาไม่สังเกตเห็นความย้อนแย้งในอุดมการณ์ชาตินิยมรวมไปถึงพฤติกรรมของตัวเอง กล่าวคือ ด้านหนึ่ง พวกชาตินิยมที่ไม่รู้ตัวมักยืนกรานอยู่เสมอว่า สิ่งที่ถูกเทิดทูนว่าเป็นศูนย์รวมของชาติ (หรืออุดมการณ์ชาตินิยม) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง ข้ออ้างของพวกเขาก็คือ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ เป็นเรื่องที่ไม่ต้องบังคับ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมานาน (เช่น สโลแกนตามสื่อที่ว่า แต่ไหนแต่ไรคนญี่ปุ่นเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้ เราต้องก้าวข้ามอุปสรรคนี้ไปได้ หรือ พ่อหลวงทรงเหนื่อยมามากแล้ว อย่าทำให้พระองค์เหนื่อยไปมากกว่านี้เลย เป็นต้น)

จะเห็นได้ว่า โฆษณาชาตินิยมส่วนใหญ่มักมีลักษณะของการทึกทักความจริงบางอย่างขึ้น ประหนึ่งว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องจริง และด้วยเหตุผลที่เป็นความจริงแน่แท้ข้างต้น มันก็จะตามมาด้วยคำสั่งว่า ประชาชนที่ดีควรปฏิบัติตัวอย่างไร ชาตินิยมทึกทักเหตุผลชุดหนึ่งขึ้นมา และบอกกับพวกเราว่า ในเมื่อเหตุเป็นความจริงเช่นนี้ เราในฐานะประชาชนที่รักชาติมีหน้าที่ต้องทำอย่างไร บางครั้ง สารชาตินิยมก็ไม่บอกกับเราตรงๆ แต่เป็นที่รู้กันว่า อะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่ควรปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การบอกเพียงว่าอย่าทำให้พระองค์เหน็ดเหนื่อยไปมากกว่านี้ ย่อมสะท้อนโดยนัยว่า อย่าชุมนุมประท้วง อย่าริเริ่มขบวนการคัดค้าน ม.112 อย่าตั้งคำถามกับอะไรที่ไม่ควรตั้ง เป็นต้น

ผู้เขียนขอยกโฆษณาชาตินิยมญี่ปุ่นที่กำลังแพร่หลายในขณะนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ยังมีโฆษณาของเอซีอีกชุดหนึ่งที่ให้บรรดาดาราดังมาถือป้ายข้อความที่มีใจความว่า “สิ่งที่ฉันสามารถทำได้ในเวลานี้” หลังจากนั้น ภาพก็จะตัดไปยังดาราดังคนต่อๆ มาที่ออกมาถือป้ายข้อความที่เขียนทำนองว่า “ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์” “ไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็น” “ช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรให้เหยื่อกันดี” ฯลฯ ด้านหนึ่งเราอาจเห็นคำสั่งที่รัฐบาลต้องการจะสื่อไปยังประชาชนญีปุ่นทั่วไปโดยตรงว่าต้องประพฤติตัวอย่างไร ทว่า ยังมีสารโดยนัยที่ซ่อนอยู่ในโฆษณาชาตินิยมดังกล่าวนี้ด้วย นั่นก็คือ การบอกทางอ้อมว่า พลเมืองที่ดีในสถานการณ์ไม่ปกติแบบนี้ต้องไม่ใช่บุคคลที่มีพฤติกรรมต่อไปนี้เช่น พวกที่ตั้งคำถามกับการทำงานของรัฐบาล ประชาชนที่ออกมาตามถนนเรียกร้องให้เทปโก้ (บริษัทไฟฟ้าโตเกียว) หรือรัฐบาลนำเสนอข้อมูลที่โปร่งใสมากกว่านี้ แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ก็เป็น “สิ่งที่ฉันสามารถทำได้” ในเวลาวิกฤตเยี่ยงนี้เช่นกัน แต่มันก็ถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า พลเมืองที่ดีไม่พึงกระทำ หรืออย่างน้อยมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการโปรโมทในสื่ออย่างเปิดเผย เพราะมันมีลักษณะเข้าข่าย “พฤติกรรมไม่รักชาติ”

ความย้อนแย้งจึงอยู่ที่ว่า พวกชาตินิยมมักปิดตาข้างเดียวไม่รับรู้ความจริงที่ว่า หากความเป็นชาติพวกนี้เป็นสัจธรรม ธรรมชาติ เป็นคอมมอนเซนส์ของทุกคนจริง เหตุใด มันจึงต้องถูกโหมกระหน่ำอัดฉีดประชาสัมพันธ์ หรือไม่ก็ออกเป็นคำสั่งแกมบังคับต่อประชาชนคนในชาติ เช้าเย็นไม่หยุดหย่อนถึงเพียงนี้ (อยู่ในโฆษณา ในคำพูดของดารา บุคคลสำคัญของประเทศ ในรายงานข่าว ในรายการบันเทิง ในเกมส์โชว์ ในคำปราศรัย ฯลฯ) เหนือสิ่งอื่นใด พวกชาตินิยมแสร้งไม่รู้มักอ้างอยู่เสมอว่า เรื่องชาตินิยมหรือศูนย์รวมจิตใจที่น่าซาบซึ้งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือเรื่องของการเมืองที่สกปรกและอำนาจการบังคับที่รุนแรง แต่คำถามก็คือ เหตุใด บรรดาคนในชาติที่เห็นต่าง คิดต่าง ประพฤติต่างไปจากห้วงทำนองของอุดมการณ์ชาตินิยมกระแสมักถูกแบน กีดกัน หรือแม้กระทั่งถูกกระทำด้วยความรุนแรง ความย้อนแย้งข้างต้นสะท้อนความจริงที่ว่า ไม่มีชาตินิยมใดที่เป็นอิสระจากเรื่องของการเมือง ตราบเท่าที่มันยังมีการบังคับ การยัดเยียด และการใช้ความรุนแรงต่อคนที่อยู่นอกกรอบอุดมการณ์หลัก

เพราะฉะนั้น ก้าวแรกแห่งอิสรภาพของพวกชาตินิยมไม่รู้ตัวที่คิดว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีอิสรภาพก็คือ การเริ่มสำเหนียกถึงความจริงข้อนี้ ความจริงที่ว่าอิสรภาพของตนเป็นอิสรภาพที่จำกัด สิ่งที่เป็นคอมมอนเซนส์แท้จริงแล้วมันช่างไร้เหตุผลสิ้นดี สิ่งที่น่าเคารพเกรงกลัวแท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นอะไรที่น่าตลกขำขัน และสุดท้าย อาจมีคนบางกลุ่มที่กำลังได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน จากการจำยอมเคารพสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเราอยู่ก็เป็นได้

 

อำนาจรูปแบบต่างๆ ในชาตินิยม ชีวอำนาจกับเพลงสุกี้ยากี้

เมื่อธรรมชาติถูกทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ (denaturalization) เมื่อหลุมดำแห่งอุดมการณ์ความเป็นชาติค่อยๆ ปรากฏขึ้นต่อสายตาพลเมืองหน้าใส (ที่จะไม่ตีหน้าซื่อรับคำบัญชาจากรัฐอีกต่อไป) เรื่องน่าวิเคราะห์ต่อมาก็คือ ในเมื่อความเป็นชาติเป็นเรื่องของอำนาจ แล้วมันเป็นอำนาจแบบไหนกัน จริงอยู่ที่ชาตินิยมในทุกๆ สังคมมีเป้าหมายเดียวกันคือ อาศัยการสร้างความจริงและการบังคับเพื่อให้ผู้คนปฏิบัติตามในฐานะพลเมืองที่ดี ทว่าวิธีการของมันอาจมีลักษณะหรือยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันก็เป็นได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า อำนาจของชาตินิยมในแต่ละสังคมมีกลไกทำงานอย่างไร เหมือนต่างกันเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราลองเปรียบเทียบรูปแบบอำนาจของชาตินิยมแบบไทยๆ และชาตินิยมแบบจิตวิญญาณญี่ปุ่นที่กำลังทำงานอย่างแพร่หลายในทุกๆอณูของสังคมภายใต้สภาวะไม่ปกติขณะนี้

กรณีชาตินิยมของไทยและญี่ปุ่นทำให้ผู้เขียนคิดถึงอำนาจรูปแบบต่างๆ ของมิเชล ฟูโกร์ (Michel Foucault) สำหรับประเทศไทยแล้ว วิธีการปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมว่าด้วยเรื่องกษัตริย์ในยามฉุกเฉิน สะท้อนการทำงานของอำนาจแบบรัฐาธิปัตย์แบบเก่า หรือที่เรียกว่า sovereign power [8] อำนาจชนิดนี้พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้มีอำนาจใช้อำนาจเชิงลบในแง่การบังคับขืนใจอย่างตรงไปตรงมาต่อบุคคลที่อยู่ต่ำลงมา สังคมจึงเต็มไปด้วยการสั่งห้ามปราม จับกุม ลงโทษ ฆ่าทิ้ง ทำให้สมาชิกในสังคมหวาดกลัวเพื่อไม่ให้ลอกเลียนแบบ อุดมการณ์ชาตินิยมแบบไทยจึงเต็มไปด้วยการห้ามปรามมิให้กระทำการใดใดที่จะบ่อนทำลายแก่นกลางของความเป็นชาติไทยซึ่งก็คือ ชาติ (ซึ่งไม่มีประชาชนไทยรวมอยู่) ศาสน์ กษัตริย์ (ซึ่งอันที่จริง หากดูจากกระแสความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ลำดับที่สามควรถูกเอ่ยเป็นอันดับแรก)

ถูกต้องที่ด้านหนึ่งอำนาจก็ทำงานอย่างแนบเนียนผ่านการศึกษา สื่อ โฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทยในสภาวะฉุกเฉินที่ผ่านมาเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรง การกระตุ้นเร้าให้เกิดการประณาม ลงโทษและฆ่าฟันต่อบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นภัยต่อความเป็นชาติ เริ่มต้นจากการกระชับพื้นที่ การลอบยิงแกนนำ การจับกุมบุคคลภายใต้ ม.112 มากขึ้น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ บรรดาประชาสังคมฝ่ายคลั่งชาติ ขวาจัดก็ออกมาสอดส่อง ทำการประชาทัณฑ์ทางสังคมต่อบุคคลที่คิดต่าง สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนการทำงานของอำนาจเชิงลบ เป็นอำนาจแบบสังคมศักดินาในยุคก่อนสมัยใหม่ ที่มีการจัดลำดับอำนาจสูงต่ำชัดเจน ดังที่ฟูโกร์บอกไว้ว่า ภายใต้ระบอบอำนาจเช่นนี้ ผู้มีอำนาจมีหน้าที่สั่งฆ่า และปล่อยให้มีชีวิตอยู่ (take life or let live)

คำพูดของพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงที่ว่า “ใครไม่รักพ่อ ก็ออกจากประเทศนี้ไปซะ”...ศีรษะนี้มอบให้พระเจ้าอยู่หัวเพียงผู้เดียว และมีผู้ชม คนเด่นคนดังในห้องส่งต่างลุกขึ้นปรบมือซาบซึ้งกันนั้น ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนว่าสังคมไทยยังมีอุดมการณ์ชาตินิยมแบบสังคมศักดินาที่ยังใช้อำนาจแบบหน้าด้านๆ อย่างชัดเจน สังคมไทยไม่ลังเลที่จะใช้ความรุนแรงต่อบุคคลที่เห็นต่าง พร้อมที่จะขับไล่คนๆ นั้นออกจากรัฐชาติ เปิดไฟเขียวที่จะลงโทษหรือใช้ความรุนแรงต่อเขาคนนั้นได้ และสุดท้าย สังคมไทยยังซาบซึ้งกับความเป็นไทยที่ว่า กษัตริย์มีสิทธิ์ในทุกๆ กบาลใต้หล้าฟ้าไทย

แม้กระทั่งพระผู้นำศาสนา ว.วชิรเมธี ดาวดังของสังคมชั้นชนกลางก็ยังไม่ลังเลที่จะสนับสนุนอำนาจแบบรัฐาธิปัตย์(หรืออำนาจสั่งฆ่า) ด้วยการประกาศในรายงานโทรทัศน์ในวันที่ 9 เมษายน 2553 (ช่วงที่มีพวกบ่อนทำลายความเป็นชาติเกลื่อนถนน) ว่า "ฆ่าเวลาบาปเสียยิ่งกว่าการฆ่าคน" อีกนัยหนึ่งก็คือ เรามีสิทธิ์ตัดหัวกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้โดยที่หลักศาสนาบอกว่าจะบาปน้อยกว่าการอยู่เฉยๆ ทำตัวไม่เป็นประโยชน์ กล่าวโดยสรุปก็คือ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องยอมรับว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง การบังคับขู่เข็ญ ลงโทษขืนใจ แม้ว่าประเทศเราจะเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีบีบีใช้กัน มีแบรนด์ดังๆ มีอาหารอร่อยๆ อิมพอตเข้ามาให้บริโภคอย่างท่วมท้น อีกทั้งมีปัญญาชนคนมีการศึกษาที่พูดเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า สังคมไทยเราจะปลดปล่อยตัวเองจากระบอบอำนาจแบบศักดินาคร่ำครึไปได้

หากชาตินิยมแบบไทยขับเคลื่อน สืบสานไปด้วยวงล้อของอำนาจแบบเก่า อำนาจเชิงลบ แล้วอะไรคืออำนาจแบบใหม่ หรืออำนาจเชิงบวก ฟูโกร์วิเคราะห์ต่อไปว่า อำนาจในสังคมสมัยใหม่ หรือหลังสมัยใหม่มักไม่อยู่ในรูปของการใช้ความรุนแรงหรือการบังคับโดยตรง แต่เป็นการให้สมาชิกของสังคมดูแล บังคับ ควบคุมตัวเอง อำนาจสมัยใหม่เป็นอำนาจทางบวกที่ไม่เน้นไปที่การห้ามปราม สั่งฆ่า หรือทำร้ายร่างกาย หากแต่เป็นการเลี้ยงดูชีวิตหรือปล่อยให้ตาย (make life or let die) เสียมากกว่า อำนาจเช่นนี้จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า biopower [9] ซึ่งแตกต่างไปจาก sovereign power ข้างต้น

ในคืนวันที่ 26 มีนาคม 2011 สองอาทิตย์หลังญี่ปุ่นเผชิญกับหายนะธรรมชาติครั้งใหญ่ อีกทั้งพลเมืองทั่วไปยังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวภัยรังสีนิวเคลียร์ โทรทัศน์ช่องหนึ่งได้นำเสนอรายการพิเศษในช่วงเวลาหัวค่ำ ดารานักร้องคนดังจำนวนมากถูกเชิญมาร่วมรายการอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยแต่ละคนจะมีเวลา 2-3 นาทีร้องบทเพลงให้กำลังใจเหยื่อผู้ประสบภัยพร้อมกล่าวคำพูดสั้นๆ ที่น่าสนใจก็คือ ในตอนท้ายของรายการ แขกรับเชิญทุกๆคนหวนขึ้นเวทีอีกครั้ง พร้อมร้องเพลงปิดท้าย

ผู้เขียนรู้สึกว่าบทเพลงสุดท้ายดังกล่าวมีนัยยะสำคัญมากในฐานะสิ่งที่สะท้อนแก่นความเป็นชาติของสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่ มันเป็นบทเพลงที่ร้อยเรียงคนญี่ปุ่นเข้าด้วยกันภายใต้สภาวะที่รัฐชาติสั่นคลอน บทเพลงดังกล่าวมิใช่เพลงอื่นใด มันคือเพลงนามว่า อุเอะโอมุอิเตะ อารุโค หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อเพลง ‘สุกี้ยากี้’ นั่นเอง (สำหรับเวอร์ชั่นดั้งเดิมดูได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=RtXQ31F1A-k และสำหรับเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดที่ทำขึ้นเพื่อให้กำลังใจเหยื่อโดยเฉพาะดู http://www.youtube.com/watch?v=VCWDjeAvhJY หรือ http://www.youtube.com/watch?v=buL3-8yAAKo) หลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า บทเพลงนี้เป็นตัวแทนความเป็นชาติแบบญี่ปุ่นก็คือ ไม่เพียงมันจะเป็นเพลงพิเศษที่สำคัญที่สุดเพราะถูกเก็บไว้ร้องเป็นเพลงสุดท้ายของรายการและถูกขับร้องโดยแขกรับเชิญทั้งหมดแล้ว เมื่อเหลือบไปมองที่ป้ายชื่อรายการเฉพาะกิจ ชื่อของบทเพลงก็ถูกยกมาทั้งดุ้นให้เป็นชื่อของรายการเลยทีเดียว เพียงเท่านี้เราก็พอจะทราบกันแล้วว่า เพลงสุกี้ยากี้นี้มีความหมายและคุณค่าต่อพลเมืองชาวญี่ปุ่นมากเพียงใด

แน่นอนว่าเพลงสุกี้ยากี้นั้นเป็นบทเพลงที่โด่งดังทั่วโลก คนไทยจำนวนมากสามารถจดจำท่วงทำนอง (ที่อาจถือว่าคลาสสิค)ได้ แต่คงมีน้อยคนที่จะทราบถึงเนื้อหาของบทเพลงสุกี้ยากี้ว่ามันมีความหมายอย่างไร แตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ หรือเพลง ‘เราสู้’ ซึ่งเป็นเพลงชาตินิยมแบบไทยๆ เพลงชาตินิยมญี่ปุ่นเพลงนี้ไม่เกี่ยวกับการพาดพิงถึงส่วนเกินของสังคมใดใดที่ต้องถูกกำจัดหรือปราบปราม เริ่มจากชื่อออริจินัลภาษาญี่ปุ่นที่ว่า “อุเอะโอมุอิเตะ อารุโค上を向いて歩こう” แปลได้ว่า “แหงนเงยหน้าขึ้นแล้วก้าวเดินไป” นอกจากจะเป็นชื่อเพลงแล้ว ประโยคข้างต้นนี้เป็นประโยคเริ่มต้นในบทเพลงด้วย

จากความหมายของมัน เราก็พอจะเห็นความสอดคล้องกันระหว่างจิตวิญญาณชาตินิยมแบบกัมบารุที่พูดถึงในตอนต้นของบทความกับบทเพลงชาตินิยมเพลงนี้ ประโยคดังกล่าวสะท้อนความหมายของความไม่ยอมแพ้ สู้ไม่ถอย มุ่งไปข้างหน้า อย่างไรก็ดี เรายังสามารถเรียนรู้ความเป็นชาตินิยมญี่ปุ่นผ่านบทเพลงนี้ได้มากขึ้น หากเราพิจารณาเนื้อร้องต่อมาถัดจากประโยคข้างต้น

คิว ซากาโมโตะร้องต่อไปว่า “นามิดะงะ โคโบเล นะอิโยววนิ” ซึ่งมีความหมายว่า “เพื่อไม่ให้น้ำตาหลั่งลงมา” เพราะฉะนั้น การแหงนเงยขึ้นไปบนฟ้านั้น ไม่ใช่แค่พฤติกรรมของนักสู้ที่ทะเยอทยาน เนื้อร้องถัดมาบอกให้เราทราบว่า เป็นเพราะผู้เงยหน้าไม่ต้องการให้น้ำตาหลั่งลงมาอาบใบหน้านั่นเอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาตินิยมแบบญี่ปุ่น มิใช่ชาตินิยมที่แสดงออกผ่านการซาบซึ้ง น้ำหูน้ำตาไหล ทว่าคือความอดกลั้น แอบซ่อนความรู้สึกเจ็บปวดหรืออารมณ์ตื้นตันไว้ข้างในไปพร้อมๆ กับการสู้ต่อไปข้างหน้า อีกทั้งมันยังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การตราหน้าประณามใครหรือต้องการจะฆ่าล้างขับไล่ใคร ถ้าหากจะมีคนที่ต้องแบกรับความทุกข์และความเจ็บปวด มันก็คงเป็นตัวของบุคคลผู้ขับร้องเพลงชาตินิยมบทนี้เอง

ถูกต้อง ชาตินิยมแบบญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับตนเอง ความอดทนอดกลั้น การเสียสละความสุขความพอใจของตนเอง ไม่มีนางฟ้าเทพยดาที่ไหนมาเป็นที่พึ่งศูนย์รวมจิตใจ ไม่มีศัตรูภายนอกให้คนญี่ปุ่นรู้สึกว่าจำเป็นต้องร่วมมือกันขจัด อำนาจกระจายอยู่ในร่างกายและวิธีคิดของพลเมืองทุกคน ทุกคนเป็นตำรวจตรวจตรา สอดส่องพฤติกรรมของตัวเอง

อย่างไรก็ดี เป้าประสงค์ของผู้เขียนไม่ได้มุ่งไปที่การนำเสนอภาพแง่ดีชองชาตินิยมแบบญี่ปุ่น ผู้เขียนไม่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่าชาตินิยมแบบญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้พลเมืองส่วนใหญ่มีระเบียบวินัย จิตใจเข้มแข็งพร้อมที่จะก้าวข้ามอุปสรรคขวากหนามนั้นดีกว่าชาตินิยมแบบรุนแรงและดั้งเดิมอย่างของไทยเรา

ดังที่ฟูโกร์บอกไว้ biopower หรือชีวอำนาจทำงานในลักษณะที่แยบยลกว่าอำนาจรัฐาธิปัตย์ อำนาจชนิดนี้แฝงฝังลงไปในร่างกายของปัจเจกบุคคล ปัจเจกจะเป็นผู้ควบคุมตัวเองให้อยู่ในกฎระเบียบข้อบังคับที่เคยถูกสั่งสอนกล่อมเกลามา สังคมสมัยใหม่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้มีอำนาจเหนือกว่าคนใดมาห้ามปรามหรือบังคบใช้ความรุนแรงทางตรง [10] อย่างไรก็ตาม การครอบงำทางอำนาจและอุดมการณ์ชาตินิยมก็ยังอย่างแพร่หลายอยู่ดี ชีวอำนาจแบบกัมบารุพร้อมกับชีวอำนาจเพลงสุกี้ยากี้ที่ให้เราเก็บอารมณ์ความเจ็บปวดความอัดอั้นโกรธแค้นไว้ส่งผลโดยนัยให้พลเมืองต่างทำตัวเป็นพลเมืองที่ว่าง่าย (docile) และไม่ตั้งคำถามท้าทายรัฐบาล

ในโฆษณาเอซี หนุ่มน้อยนักฟุตบอลทีมชาติ อุชิดะซึ่งไปค้าแข้งกับสโมสรชาลเก้บอกกับผู้ชมว่า ขอให้แต่ละคนทำในสิ่งที่ตนควรทำคนละไม้คนละมือ ญี่ปุ่นคือทีมๆ เดียวกัน ดูจากเปลือกนอก ดังที่ฟูโกร์บอก อำนาจที่แนบเนียนไม่ใช่อำนาจที่กรอกหูเราด้วยคำว่า “ไม่” อยู่เสมอ อำนาจสมัยใหม่มาพร้อมกับใบหน้าที่เมตตา น่ารัก และหล่อเท่ เหมือนกับอำนาจที่ซ่อนเร้นในรอยยิ้มของตัวการ์ตูนเด็กน้อยและสัตว์ผู้เชิญชวนให้เรากล่าวคำทักทายกัน อำนาจที่ซ่อนเร้นอยู่ในบทเพลงที่ถูกขับร้องโดยคนดัง อำนาจที่แฝงอยู่ในคำพูดเท่ๆ ของดาวรุ่งกีฬา [11]

อาจมีผู้โต้แย้งว่า แล้วมันเป็นเรื่องเสียหายอย่างไรกับอำนาจเชิงบวกเช่นนี้ โดยเฉพาะเมื่อสังคมเผชิญกับความวุ่นวายและความสูญเสียที่เกินจะทน คำตอบก็คือ ในเมื่อมันเป็นอะไรที่เกินจะทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกัมบารุหรือเงยหน้าเพื่อกลั้นน้ำตาเอาไว้ ชีวอำนาจก็สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นโศกนาฎกรรมได้เช่นกันดังตัวอย่างต่อไปนี้

คุณลุงเกษตกรในจังหวัดฟุกุชิมา ปลิดชีวิตตัวเองทิ้งหลังจากทำใจยอมรับไม่ได้ที่ผักของตัวเองถูกห้ามจำหน่ายเพราะมีรังสีปนเปื้อน [12] กรณีข้างต้นสะท้อนลักษณะชีวอำนาจแห่งอุดมการณ์ชาตินิยมญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ชีวิตของบุคคลมิได้ถูกตัดสิน กดดันและถูกคุกคามโดยตรงจากภายนอก หากแต่มันคือตัวของบุคคลผู้นั้นเองที่ไม่สามารถกัมบารุต่อไปได้ และต้องจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของตัวเอง บุคคลผู้มีวินัยในการดำรงชีวิตมองไม่เห็นแก่นสารชิวิตของตนอีกต่อไปเมื่อเขากลายเป็นมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิผลหรือ productive ต่อระบบ เขาไม่รีรอให้กษัตริย์มาตัดหัวเขา เขาชิงตัดหัวตัวเองสังเวยความไร้ประโยชน์ของชีวิต

ชีวอำนาจในสังคมสมัยใหม่ปิดบังความจริงที่ว่า อันที่จริง ชีวิตนั้นอยู่นอกเหนือระเบียบวินัย การปฏิบัติตามหน้าที่ และการเชื่อฟัง แม่ของเด็กอ่อนในโตเกียวไม่ควรที่จะยอมจำนนต่อรัฐบาลแต่โดยดี เมื่อรัฐบาลประกาศในช่วงสายของวันๆ หนึ่งว่า ห้ามให้เด็กอ่อนดื่มน้ำประปาเพราะมีสารปนเปื้อนในระดับอันตราย ไม่ได้มีการเตือนล่วงหน้าก่อนเลย อีกทั้งบรรดาน้ำดื่มสำเร็จรูปในขวดที่มีจำหน่ายตามซูปเปอร์มาเก็ตก็ถูกกวาดซื้อจนหมดแผง ในชั่วขณะนั้น เราเผชิญกับคำถามที่ว่า สุขภาพและชีวิตของเด็กมีคุณค่ามากหรือน้อยกว่าคุณค่าความเป็นชาติแบบญี่ปุ่น คุณค่าที่เชิดชูการเสียสละตัวเอง การปิดปากเงียบและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

ดูเหมือนคำตอบที่ผู้เขียนได้จากคนญี่ปุ่นน่าจะเป็นการเลือกคุณค่าอย่างหลัง เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลมีอยู่อย่างแผ่วเบามาก แม้ว่าวิกฤตนิวเคลียร์ที่กำลังเกิดขึ้นมีศักยภาพที่จะเป็นภัยต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชนญี่ปุ่นในวงกว้าง แต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ควรปล่อยปัญหาเชิงเทคนิคนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญอย่างเทปโก้เป็นผู้แก้ไข ชีวภาพอำนาจของการควบคุมจิตใจและร่างกายตัวเองในสังคมญี่ปุนนั้นทำงานอย่างเข้มข้นมากถึงขนาดที่มันอาจจะกลับมาทำลายชีวิตและร่างกายตนเองอีกด้วย

ไม่เพียงแค่เรื่องของลุงเกษตรกรผู้ฆ่าตัวตายที่ถูกยกเป็นตัวอย่างไปแล้ว ทางด้านผู้บริโภคเองก็เช่นเดียวกัน เรื่องมีอยู่ว่า ในช่วงต้นเดือนเมษายน มีการรณรงค์ผ่านสื่อให้ชาวญี่ปุ่นทุกคนซื้อผักหรือสินค้าที่มาจากพื้นที่ใกล้โรงงานไฟฟ้า ด้วยเหตุผลที่ว่า แม้รัฐบาลจะประกาศว่าอาหารเหล่านี้ปลอดภัย แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าบริโภคอาหารเหล่านี้อยู่ดี ผลก็คือ มีการรณรงค์ออกสื่อสาธารณะให้ผู้บริโภคซื้ออาหารที่ผลิตที่จังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดฟุคุชิม่า นักข่าวทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ให้ความร่วมมือซื้อผัก เขาบอกว่า เขาเชื่อรัฐบาลว่าผักสามารถบริโภคได้ และถ้าผักพวกนี้ขายไม่ออกเลย ชาวไร่ที่ปลูกผักคงต้องเดือดร้อนมาก

จากกรณีข้างต้น จะเห็นได้ว่า ชีวอำนาจกำลังบอกพลเมืองญี่ปุ่นว่า หน้าที่ของการเป็นผู้บริโภดที่ดีควรประพฤติตนอย่างไร ผู้บริโภคที่ดีต้องมุ่งซื้อสินค้าจากพื้นที่บางที่เท่านั้น ในเวลาเดียวกัน มันก็เป็นการตราหน้าทางอ้อมหรือทำให้ผู้บริโภคคนอื่นๆ ที่ยังปฏิเสธไม่ยอมให้ความร่วมมือเป็นคนเห็นแก่ตัวและรู้สึกละอายใจ ขอเพียงลุงเกษตรกรผู้นั้นยอมทนอยู่มาอีกไม่กี่สัปดาห์ เขาอาจเริ่มเห็นความหวังในหน้าที่การงานมากขึ้น และไม่ต้องจบชีวิตตัวเองก็ได้

จะเห็นได้ว่า เบื้องหลังสภาพสังคมที่ดูเหมือนจะไม่มีความรุนแรง ไม่มีการกดขี่ บังคับขู่เข็ญ หรือไร้ซึ่งความสับสนวุ่นวาย แท้จริงแล้วมันมีเส้นแห่งความตึงเครียดขึงอยู่ในทุกๆ ร่างกายและจิตวิญญาณของสมาชิกในสังคมที่พร้อมจะขาดผึงอยู่เสมอ

หากการกดทับทางอำนาจของอุดมการณ์ชาตินิยมไทย คือการกดทับจากภายนอกแล้ว การกดทับทางอำนาจของอุดมการณ์ชาตินิยมญี่ปุ่นก็คือการกดทับจากภายในนั่นเอง ความสงบสุขเรียบร้อยที่เห็นเป็นฉากหน้านั้นเกิดขึ้นจากการการควบคุม ดูแลยับยั้งชั่งใจตัวเองอยางเคร่งครัดโดยตัวของสมาชิกภายในสังคมทุกคนเอง ความเจ็บปวดอัดอั้นหรือความรุนแรงจึงมักจะเป็นสิ่งที่ปัจเจกกระทำต่อตนเองเมื่อรู้สึกว่าไม่สามารถจะตอบสนองอุดมการณ์ชาตินิยมต่อไปได้

ลักษณะสังคมเช่นนี้สอดคล้องกับคำอธิบายของฟูโกร์ที่ว่า ชีวอำนาจจะพัฒนาไปจนมันกลายเป็นอำนาจแห่งการปกครองแบบชีวญาณ (governmentality) เขาบอกว่า อำนาจในยุคสังคมหลังสมัยใหม่จะมีลักษณะไม่รวมศูนย์ ไม่มีลำดับขั้นสูงต่ำ หากแต่จะกระจายไปในทุกๆ อณูของสังคม อณูที่เล็กที่สุดอย่างตัวปัจเจกบุคคลเองนี่แหละที่จะเป็นผู้ควบคุมดูแลจัดการตัวเอง

แน่นอนย่อมมีผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยต่อเนื้อหาทั้งหมดของผู้เขียน บ้างก็อาจจะบอกว่า การเปรียบเทียบของผู้เขียนเป็นเหมือนส้มกับแอปเปิ้ล ด้วยบริบทที่ต่างกันจึงไม่ควรที่จะนำมาวิเคราะห์เทียบกันได้อย่างไร บ้างก็อาจจะมองว่าผู้เขียนมองโลกมืดมนเต็มไปด้วยนัยยะเชิงอำนาจ บางทีในภาวะวิกฤตย่อมมนุษย์ย่อมต้องการความหวัง ความเห็นใจซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้ไม่มีการบังคับ ไม่มีนัยยะแอบแฝง บ้างก็อาจจะหาว่า ผู้เขียนเป็นผู้ฉวยโอกาสเอาหายนะของญี่ปุ่นเป็นเครื่องมือบังหน้าแอบด่าสถาบัน

จะเป็นข้อกล่าวหาใดก็ตามแต่ ผู้เขียนขอย้ำอีกครั้งว่า ผู้เขียนมิประสงค์จะเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นเพื่อโน้มน้าวหรือนำเสนอว่าสังคมแบบใดดีกว่า แบบไหนเลวร้ายกว่ากัน ในฐานะนักรัฐศาสตร์ หน้าที่ของผู้เขียนคือการเผยคลี่ให้เห็นการทำงานของอำนาจและบรรดาอุดมการณ์ในแต่ละสังคม หน้าที่ของผู้เขียนคือการตั้งคำถามต่อสิ่งที่ผู้คนมักทึกทักเอาว่าเป็นความจริง เป็นสัจธรรมโดยปราศจากการมองอย่างวิพากษ์ เช่น เพราะคนญี่ปุ่นขยัน อดทน หรือ เพราะประเทศไทยมีประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือเพราะเรามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าปกป้องคุ้มครอง ฯลฯ หรือสิ่งที่มักถูกทึกทักเอาว่าไม่มีทางเกี่ยวข้องกัน

ผู้เขียนต้องการจะผูกโยงสัจธรรมจอมปลอมเหล่านี้เข้ากับความเป็นชาติ เพื่อเน้นย้ำให้เราตระหนักอยู่เสมอว่า ชาติคือสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องอาศัยกระบวนการทางอำนาจและการอัดฉีดทางอุดมการณ์อย่างเข้มข้นทุกเมื่อเชื่อวัน ชาติมิใช่เรื่องหวานชื่น โรแมนติคเฉกเช่นท่วงทำนองเพลงสุกี้ยากี้ หรือน่าซาบซึ้งตื้นตัน

ชาติคือหลุมดำแห่งอำนาจและอุดมการณ์ที่บ่อยครั้งมักลงเอยด้วยการกดทับ การใช้รุนแรง และการจำยอม

ตราบเท่าที่ชาติยังกดทับอิสรภาพของมนุษย์เอาไว้ด้วยตัวเทพยดาเหนือหัว ด้วยกฏระเบียบ ด้วยจารีตธรรมเนียม มนุษย์ย่อมไม่มีวันปลดปล่อยตัวเองได้

 

อ้างอิง:

  1. สามารถดูคลิปโฆษณาได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=EsRm78ZSOgc
  2. Benedict Anderson, “Introduction,” in Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism (New Edition) (London and New York: Verso, 2006), p. 6.
  3. ดู Slavoj Žižek อธิบายและให้ความหมายคำว่า ideology หรือ อุดมการณ์ ในบริบทสังคมปัจจุบันได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=_x0 eyNkNpL0 เริ่มจากนาทีที่ 04.00
  4. Matthew Sharpe and Geoff Boucher, “Žižek and the Radical-Democratic Critique of Ideology,” in Žižek and Politics: A Critical Introduction (Edinbergh : Edinbergh University Press, 2010), pp.42-43.
  5. ชิเชคกล่าวถึงการทำงานเชิงอุดมการณ์ซึ่งสะท้อนผ่านพฤติกรรมของมนุษย์ยุคปัจจุบัน โดยยกตัวอย่างเรื่องปฏิกิริยาของพวกเราต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เราต่างหลอกตัวเองโดยร่วมทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเล็กๆน้อยๆเพียงเพื่อไม่ให้รู้สึกแย่ต่อตัวเองหรือรู้สึกผิด ในขณะเดียวกันก็แสร้งปฏิเสธที่จะยอมรับอย่างจริงจังว่าหายนะทางสิ่งแวดล้อมโลกนั้นรุนแรงมากเกินกว่าที่การกระทำเล็กน้อยของพวกเราจะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ดูคลิปการบรรยายล่าสุด (เมษายน, 2554)ได้ที่ http://fora.tv/2011/04/04/Slavoj_Zizek_Catastrophic _But_Not_Serious เริ่มจากนาทีที่ 29.40
  6. Benedict Anderson, “Introduction,” p. 7.
  7. วันที่28 เมษายน 2554 หนึ่งเดือนกว่าหลังหายนะ ผู้เขียนเห็นข่าวการเสด็จเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยของจักรพรรดิและจักรพรรดินีเป็นครั้งแรก จากเนื้อหาพบว่า บางทีผู้เขียนอาจจะประเมินสถานะและคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของจักรพรรดิต่ำไป โดยเฉพาะ เมื่อนักการเมืองไร้ประสิทธิภาพ จักรพรรดิมีโอกาสเป็นที่พึ่งจิตใจของเหยื่อได้ ตามที่คำสัมภาษณ์ของเหยื่อผู้ดีใจที่ได้พบผู้มาเยือนจากวังว่า “หากผมเจอนายกฯตอนนี้ ผมคงอยากจะชกหน้านายกฯไปแล้ว...ผมรู้ว่าเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ผมอยากจะบอกว่า จักรพรรดิเป็นเสมือนพระเจ้าสำหรับผม” ดูเนื้อหาข่าวรายละเอียดได้ที่ http://mdn.mainichi.jp/mdnnews/news/20110427p2g00m0dm002000c.html
  8. Michel Foucault, “Right of Death and Power over Life,” in History of Sexuality ( London: Penguin Books, 1976), p. 243.
  9. Michel Foucault, “Right of Death and Power over Life,” pp. 138-41.
  10. Michel Foucault, “Governmentality,” in The Foucault Effect: Studies in Governmentality, eds., Graham Burchell, Colin Gordon and Peter Miller (United Kingdom: Harvester Wheatsheaf, 1991), p. 97.
  11. ดูคำบรรยายเกี่ยวกับอำนาจสมัยใหม่ที่ฟูโกร์อธิบายไว้อย่างเข้าใจง่ายและตรงประเด็นได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=kawGakdNoT0 ตั้งแต่นาทีที่2เป็นต้นไป
  12. http://www.asahi.com/national/update/0328/TKY201103280468.html
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรุงเทพโพลล์สำรวจแรงงาน 91.1% ชี้ค่าจ้างที่พอเพียงอยู่ที่ 290 บาทต่อวัน

Posted: 28 Apr 2011 10:18 AM PDT

กรุงเทพโพลล์

28 เมษายน 2554 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานภายใต้หัวข้อ “ผู้ใช้แรงงาน กับสิ่งที่ร้องขอในวันแรงงานแห่งชาติ” เนื่องในวาระวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,073 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 ระบุว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวัน

เมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่หาเสียงอยู่ในขณะนี้ พบว่า ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 57.9 ยังคงมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวยังคงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่ดี และร้อยละ 63.7 ก็ยังไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 88.2 เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวเพียงพอต่อค่าครองชีพ และร้อยละ 54.0 เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง เมื่อให้ผู้ใช้แรงงานเปรียบเทียบทั้ง 2 นโยบายพบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 84.5 ชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทยมากกว่า

สำหรับแนวคิดการจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 53.3 เชื่อว่าจะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานดังกล่าวผู้ใช้แรงงานร้อยละ 82.2 เชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวมเพิ่มขึ้น

ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการ มากที่สุดเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ คือ ต้องการให้ขึ้นค่าแรง โบนัส เบี้ยขยัน รวมถึงดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ)และจ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง (ร้อยละ 58.4)

ด้านสิ่งที่ต้องการร้องขอจากรัฐบาลให้เข้ามาดูแล พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ เรื่องค่าแรง/ค่าจ้าง (ร้อยละ 45.1) รองลงมาต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการ(ร้อยละ 25.4) และเรื่องคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 16.4)

 

รายละเอียดผลการสำรวจ

1. ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีพหรือไม่ (ค่าจ้างขั้นต่ำพื้นที่ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ 215 บาทต่อวัน)

  • เพียงพอ ร้อยละ 8.9
  • ไม่เพียงพอ ร้อยละ 91.1

โดยคิดว่าค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีพ

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้

นโยบาย

ความเพียงพอต่อการดำรงชีพ

การทำได้จริงของนโยบาย

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
25% ภายใน 2 ปี

(พรรคประชาธิปัตย์)

เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 42.1

ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 57.9

เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 36.3

ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 63.7

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
เป็น 300 บาทต่อวัน

(พรรคเพื่อไทย)

เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 88.2 

ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 11.8

เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 54.0

ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 46.0

3. ความชอบในนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของ 2 พรรคใหญ่

  • ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์ มากกว่า ร้อยละ 15.5
  • ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ของพรรคเพื่อไทย มากกว่า ร้อยละ 84.5

4. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ในอนาคตอันใกล้นี้จะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้หรือไม่

  • เชื่อว่าสามารถช่วยได้ ร้อยละ 53.3
  • เชื่อว่าไม่สามารถช่วยได้ ร้อยละ 7.9
  • ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ตอบไม่ได้ ร้อยละ 38.8

5. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวม เพิ่มขึ้นได้หรือไม่

  • เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.2
  • เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 16.3
  • เชื่อว่าจะลดลง ร้อยละ 1.5

6. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการมากที่สุด เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

1. ขอขึ้นค่าแรง/ขอโบนัส/ขอเบี้ยขยัน/ดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)/จ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง

ร้อยละ 58.4

2. ขอสวัสดิการที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินกู้สวัสดิการต่างๆ

ร้อยละ 20.6

3. ขอให้เอาใจใส่ลูกน้อง/ดูแลกันให้ดีกว่านี้/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังปัญหาของลูกน้อง/ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมกับลูกน้อง

ร้อยละ 9.5

4. ขอให้ช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง คือ ได้สิทธิหยุดวันหยุดในวันนักขัตฤกษ์ ไม่ควรทำงานเกินวันละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับ OT และควรมีกิจกรรมท่องเที่ยวหรืองานเลี้ยงสังสรรค์บ้าง

ร้อยละ 6.9

5. อื่นๆ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานและระบบงาน/ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

ร้อยละ 4.6

7. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล/พัฒนา/ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด

  • ค่าแรง/ค่าจ้าง ร้อยละ 45.1
  • สวัสดิการ ร้อยละ 25.4
  • การดูแลคุณภาพชีวิต ร้อยละ 16.4
  • ความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 6.9
  • การพัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 2.7
  • อื่นๆ (ระบุ) ให้นายจ้างปฎิบัติตามกฏหมายแรงงาน ร้อยละ 3.5

 

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

  1. เพื่อศึกษาความเพียงพอของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อค่าครองชีพหรือไม่
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของสองพรรคใหญ่
  3. เพื่อสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานร้องขอต่อนายจ้างและรัฐบาล

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างกับประชาชนผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,073 คน เป็นชายร้อยละ 52.0 และหญิงร้อยละ 48.0

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 - 24 เมษายน 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ :
28 เมษายน 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์

 

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

 

 

ชาย

558

52.0

หญิง

515

48.0

รวม

1,073

100.0

อายุ

 

 

18 ปี – 25 ปี

306

28.5

26 ปี – 35 ปี

309

28.8

36 ปี – 45 ปี

250

23.3

46 ปีขึ้นไป

208

19.4

รวม

1,073

100.0

การศึกษา

 

 

ต่ำกว่าปริญญาตรี

1,000

93.2

ปริญญาตรี

72

6.7

สูงกว่าปริญญาตรี

1

0.1

รวม

1,073

100.0

อาชีพ (ผู้ใช้แรงงาน)

 

 

โรงงานอุตสาหกรรม/กรรมกรก่อสร้าง

119

11.1

รปภ./นักการภารโรง/คนขับรถ

175

16.3

แม่บ้าน/คนสวน

142

13.2

คนส่งเอกสาร/รับจ้างทั่วไป

133

12.4

พนักงานบริการ/หมอนวดแผนโบราณ

172

16.0

พนักงานขาย/พนักงานคิดเงิน

197

18.4

ช่างไฟฟ้า/ช่างซ่อม

82

7.6

อื่นๆ เช่น พี่เลี้ยงเด็ก/ซักรีด/พ่อครัว 

53

5.0

รวม

1,073

100.0

รายได้ (บาทต่อวัน)

 

 

ต่ำกว่า 215 บาท

135

12.5

215 บาท (ค่าจ้างขั้นต่ำ)

167

15.6

216 – 299 บาท

383

35.7

300 บาทขึ้นไป

388

36.2

รวม

1,073

100.0

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

Posted: 28 Apr 2011 09:03 AM PDT

เฮลิคอปเตอร์สีเขียวขี้ม้าของทหารส่งเสียงดังกระหึ่ม บินผ่านน่านฟ้าเมืองสุรินทร์อยู่เป็นระลอก เป็นหนึ่งสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความขัดแย้งยังไม่มีทางคลี่คลาย รวมถึงเสียงตุ้มๆ คล้ายพระตีเพลนั่น บางวันเสียงดังแต่เช้า บางวันเริ่มราวบ่ายจัดๆ ไปจนถึงดึกดื่น ยิ่งหากไปฟังที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ยิ่งได้ยินชัดเจนกว่าอยู่ชิดชายแดน เพราะมันเป็นแนวเส้นตรง ชาวบ้านหลายคนบอกเล่า

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

เรื่องเล่าจากศูนย์อพยพราษฎร: สันติเพลีย สันติพลาด ณ บ้านยายคำเผือ

คณะเรา ๓ คน เป็นเพื่อนๆ ที่ทำงานในแวดวงนักพัฒนาเอกชนในท้องถิ่นสุรินทร์ ได้มีโอกาสลงไปเยือนพี่น้องในศูนย์อพยพราษฎรโรงเรียนโสตศึกษาวิทยาคาร ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท และโรงเรียนโคกตะเคียนวิทยา ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ ๒๖ เมษายนที่ผ่านมา เพียงแค่บ่ายสามบ่ายสี่โมงเท่านั้น เสียงตูมแรกจากฝั่งชายแดนก็เปิดฉากขึ้นแล้ว ชาวบ้านในศูนย์อพยพคุยกันโขมงโฉงเฉงพลางวิเคราะห์ว่า เสียงแบบนี้เป็นเสียงปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชา และไอ้รัวตอบโต้เป็นสิบๆ ตูมตอนหลังนั้น มันเป็นเสียงปืนใหญ่ของไทยเราเอง

ท่ามกลางข่าวการปะทะกันระหว่างบ้านพี่เมืองน้องระลอกแล้วระลอกเล่า จนกระทั่งอีกครั้งนี้ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึกระบุว่า ตั้งแต่วันที่ ๒๒-๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ มีทหารได้รับบาดเจ็บจากการปะทะจำนวน ๓๓ ราย เสียชีวิต ๕ ราย มีประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในท้องที่อำเภอกาบเชิง และพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ๕๗,๐๕๕ คน อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ๑๕,๘๘๔ คน มีศูนย์อพยพราษฎรทั้งสิ้น ๓๓ แห่ง ประชาชนในศูนย์อพยพฯประมาณ ๒๗,๐๐๐ คน

ยายคำเผือ ต้องถือดี อายุ ๖๗ ปี ราษฎรบ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก หนึ่งในผู้อพยพกว่า๒,๐๐๐ ราย ในศูนย์อพยพฯโรงเรียนโสตศึกษาฯเล่าว่า “บ้านยายอยู่ห่างจากชายแดนประมาณ ๑ กิโลเมตร ตอนแรกได้ยินเสียงปืนเล็กก่อน วันที่ ๒๒ ประมาณ ๖ โมงเช้า นึกว่าทหารซ้อมรบเหมือนคราวก่อนๆ ไม่ได้เอะใจอะไร พอจะเอาวัวไปผูก ปืนใหญ่ก็ดังขึ้นอีก คราวนี้ทหารก็ประกาศให้ออกจากพื้นที่เลย ยายตกใจมาก ยังไม่ได้เตรียมข้าวของจำเป็นอะไรสักอย่าง หอบหลานได้ ลูกสาวก็พาขึ้นรถหนีออกมา เสื้อผ้าก็ไม่มี เปลหลานก็ไม่ได้เอามา”

พี่รัตน์-สุดารัตน์ ต้องถือดี อายุ ๓๕ ปี ลูกสาวยายคำเผือ อุ้มน้องกรลูกชายคนเล็ก ซึ่งนอนหลับอยู่คาอกเล่าบรรยากาศเพิ่มเติมว่า “ในหมู่บ้านโกลาหลมาก สงสารก็แต่บ้านตรงข้าม เขามีลูกเล็กๆ สามคน ลูกร้องไห้กระจองอแงอยู่ข้างทาง แม่ก็ร้องโหวกเหวกขออาศัยรถคนอื่นมาด้วย เพราะแกไม่มีรถ ต่างคนต่างรีบ เห็นแล้วก็สงสารแต่ก็ไม่รู้จะช่วยยังไง พี่ก็มีแต่มอเตอร์ไซต์คันเดียว ไม่รู้จะให้ติดรถมายังไง”

“ส่วนไอ้นี่..ไม่รู้เรื่องรู้ราวกับเขา” พี่รัตน์หมายถึงน้องผึ้ง เด็กหัวหยิกผมฟูฟ่องอายุราว ๓-๔ ขวบ เป็นลูกสาวคนโตของพี่รัตน์นั่นเอง น้องผึ้งหูไม่ได้ยินจึงเป็นใบ้ไปด้วย พอเป็นใบ้ในสถานการณ์แบบนี้ น้องผึ้งจึงได้เปรียบคนหูดีตรงที่ ไม่ได้หวาดกลัวเสียงระเบิด จึงยังคงมึนงงทำหน้าเหรอหรา เมื่อแม่กับยายกุลีกุจอจับตนและน้องขึ้นรถมาอย่างโกลาหล จนกระทั่งบัดนี้ ก็อาจจะยังงงอยู่ว่า คนอื่นๆ รวมทั้งตนกับน้อง แม่และยาย มาอยู่ที่นี่ทำไม?

ไม่แค่นั้นตอนสัมภาษณ์ยายคำเผือ ท่ามกลางสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน น้องผึ้งยังได้แต่เขินอายม้วนต้วน กอดคอยายคำเผือไว้แน่นไม่ยอมเงยหน้าเงยตา เอาแต่ลอบมอง ยู อาสาสมัครหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่ลงพื้นที่มาด้วย ราวกับตนเป็นสาวรุ่นพบหนุ่มหล่อถูกใจ ตามประสาพัฒนาการบางช่วงวัยของเด็กก่อนอนุบาล ทำให้ไพล่คิดเตลิดไปถึงว่า ความรักในหัวใจของเด็กผู้ไม่รู้จักการเข่นฆ่า หรือไม่ประสีประสากับสงครามอย่างน้องผึ้ง อยู่ตื้นจนสัมผัสได้ง่ายๆ ต่างจากผู้ใหญ่อย่าง....บางท่าน

กลับมาหายายคำเผือ ผู้เคยร่วมประวัติศาสตร์ในช่วงศึกสงครามภายใน หรือกลียุคทางสังคมของประเทศกัมพูชา ราวปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐ ยายคำเผือย้อนคิด..ตนอยู่ชิดชายแดน จึงได้เห็นผู้อพยพ เห็นการต่อสู้ หรือได้ยินเสียงปืนใหญ่มาแล้วตั้งแต่ครั้งลูกสาวเพิ่งเกิด นับเวลาก็ ๓๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว เพิ่งได้เห็นเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้ง ใบหน้าของยายคำเผือในตอนนี้ จึงเต็มไปด้วยความกังวลครุ่นคิด

“ฝนมันเพิ่งตกหลังสงกรานต์มานี่เอง ยายกำลังหว่านข้าว ก็ต้องทิ้งไว้อย่างนั้น” ด้วยเหตุที่ต้องหนีเหตุการณ์ไม่สงบมาอยู่ที่นี่ นอกจากนั้น ยายคำเผือยังห่วงตาหรือสามีคู่ชีวิตอย่างยิ่ง “ตาไม่ได้มาด้วย แกบอกว่า แกแก่แล้วตายก็ไม่เป็นไร แกขออยู่บ้าน แกห่วงบ้าน ห่วงรถไถ ห่วงวัว” ไม่ต่างจากผู้ชายในหมู่บ้านคนอื่น ที่ได้แต่อาศัยท่อน้ำที่เขาทำฝายเป็นหลุมหลบภัยไปพลางๆ แม้จะมีพ่อบ้านหลายรายมาอยู่ที่นี่ แต่ส่วนมากช่วงกลางวัน เขาก็แอบกลับไปดูบ้าน ดูไร่นาวัวควายเขา ค่ำลงก็กลับมานอนที่นี่เป็นส่วนมาก

ยายคำเผือเล่าว่า อยู่ที่บ้านตาลำบากมาก กับข้าวก็ไม่มี ต้องอมข้าวแห้งเหมือนยามสงครามจริงๆ ส่วนวัวนั้นหญ้าก็ไม่ได้กิน อาศัยกินแต่น้ำลูบท้องไปก่อน ต่างจากยายคำเผือที่อยู่ที่นี่กับลูกหลาน อาหาร น้ำ หรือข้าวของจำเป็นอย่างอื่นก็ไม่ขาดแคลนนัก ดีกว่าวันแรกที่มาถึง ที่ขาดแคลน ฉุกละหุก และยังไม่มีระบบระเบียบแบบนี้ ไปรับอาหารก็ยังแย่งกันอยู่ พอวันต่อๆ มา คนภายนอกก็เข้ามาบริจาคของมากขึ้น และการดูแลของที่นี่ก็เป็นระบบขึ้น

แต่แม้ยายคำเผือจะได้รับการดูแลอย่างดีจากที่นี่ รวมทั้งคนภายนอกก็เห็นใจกันดี ดูจากของที่นำมาบริจาค รวมทั้งการเสียสละเวลาเข้ามาช่วยสร้างสรรค์บรรยากาศ เข้ามาสร้างความบันเทิงเริงรมย์เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดแค่ไหน มันก็เป็นได้แค่ขนมหวานป้ายลิ้น ไม่นานความหวานก็คลาย จิตใจก็หมุนวนกลับมาหมกมุ่นเรื่องไร่นาสาโท และเหตุการณ์ไม่สงบทั้งหลายอยู่ดี ยายคำเผือจึงอยากให้เรื่องมันจบเร็วๆ ยายจะได้กลับบ้าน “ไม่รู้มันจะยิงกันทำไม เป็นพี่เป็นน้องกัน ก็ต่างคนต่างอยู่ไปว่ะ” ยายคำเผือทำหน้าเซ็ง

ติต่างว่าหน้าเซ็งของยายคำเผือ คือคำตอบว่า เห็นดีด้วยกับข้าพเจ้าที่แอบคิดอยู่ในใจว่า มนุษย์ไม่ว่าจะชาติพันธุ์หรือชนเผ่าไหน น่าจะได้ใช้เวลาไปเตรียมตัวเตรียมใจรับมือ “ภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ที่อาจจะเกิดขึ้นบนหลังคาบ้านใครเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างไม่ได้เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ดีกว่ามานั่งเสียเวลาจับปืนขึ้นต่อสู้ประหัตประหารกันเอง ราวกับหากไม่ได้ยิงกันมันเสียชาติเกิด กระนั้น

ในช่วงท้ายของการสนทนา ข้าพเจ้าได้ถามยายคำเผือกับลูกสาวไปเล่นๆ ว่า เป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลเขาจะเลี้ยงความขัดแย้งเพื่อหาเรื่องใช้งบประมาณกันเล่นๆ หรือเหตุการณ์การปะทะกันดังกล่าว เป็นแค่เกมการเมือง เพื่อต่อรองผลประโยชน์กันก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเฉยๆ

ยายคำเผือเบือนหน้าหนี บอกว่า “เรื่องนี้ยายไม่รู้” ส่วนพี่รัตน์นิ่งคิดไปสักพัก ก็ตอบกลับมาลอยๆ ว่า “พี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน...แต่ถ้าเขาจะเอาชีวิตประชาชนเป็นเกมการเมือง เพื่อต่อรองอำนาจกันเฉยๆ เขาทำแบบนั้นได้ เขาก็ไม่ใช่คนแล้ว!!”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หนุนรัฐเข้มขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามกำหนดเวลา

Posted: 28 Apr 2011 07:47 AM PDT

เครือข่ายประชาสังคมชี้การขยายเวลาขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกี่ยวข้องโดยตรงกับความปลอดภัยของประชาชน วอนสังคมอย่าหลงเชื่อกลุ่มผลประโยชน์อ้างผลกระทบเกษตรกร แนะรัฐต้องเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชนและสังคมพร้อมกับใช้วิกฤตเป็นโอกาสเพื่อสนับสนุนเกษตรอินทรีย์

วันที่ 27 เม.ย. เครือข่ายเกษตรกร องค์กรสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายผู้บริโภค แถลงข่าวสนับสนุนการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดย รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าภาครัฐต้องเข้ามาดูแลควบคุมการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเคร่งครัด เพราะการขยายเวลาจะยิ่งก่อให้เกิดการทะลักเข้าของสารเคมีที่อันตรายร้ายแรงหรือสารคุณภาพต่ำที่จะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนอีกต่อไป พร้อมกับสนับสนุนว่าข้อมูลจากห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน GLP (Good Laboratory Practice) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลนั้นมีความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาการนำเข้าและใช้สารเคมีคุณภาพต่ำ ข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือของผู้ประกอบการอยู่แล้วเว้นแต่จะมีนัยทางการเมืองเพื่อบิดเบือนเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 ที่จะคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนจากสารพิษอันตราย

 “ไม่เห็นด้วยกับผู้ประกอบการที่ไม่เคารพกติกาเพราะเวลาที่หน่วยงานรัฐให้ก็มีมากพออยู่แล้ว หน่วยงานรัฐจะต้องเข้มแข็ง ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การขยายเวลาขึ้นทะเบียนออกไปตามแรงกดดันของผู้ประกอบการอาจทำให้สารเคมีที่คุณภาพต่ำและมีพิษสูงวางขายอยู่ในตลาดต่อไปจนกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ดังปัจจุบันที่คนไทยป่วยเป็นมะเร็งจำนวนมากซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญก็คือการบริโภคอาหารปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั่นเอง”

ส่วนนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี (BioThai) กล่าวว่า กฎหมายให้เวลาแบบเอื้อเฟื้อแก่ผู้ประกอบการมากเพราะมีเวลาถึง 3 ปีครึ่งตั้งแต่มีการประกาศพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดยระหว่างนั้นก็มีการพิจารณาร่วมรับฟังความคิดเห็นระหว่างผู้ประกอบการสารเคมีและหน่วยงานรัฐอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และแม้จะนับตั้งแต่วันที่กรมวิชาการเกษตรมีประกาศเรื่องการขึ้นทะเบียนหรือ 13 พฤศจิกายน 2552 ก็ยังมีเวลามากถึง 1 ปี 9 เดือน 10 วัน

 “เหตุผลเบื้องหลังการขอเลื่อนเวลาขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ 1) เพื่อยืดเวลาขายวัตถุอันตรายที่ไม่มีมาตรฐานออกไปอีก 2 ปี ซึ่งหมายความว่าตลาดจะทะลักด้วยสารเคมีอันตราย ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีคุณภาพ ปัญหาตามที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างว่าจะขาดแคลนสารเคมีจึงไม่จริง แต่ที่จริงและน่ากังวลก็คือการใช้สถานการณ์เพื่อขึ้นราคาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2) จากการที่ต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายใหม่หมด สารเคมีที่อยู่ในบัญชีเฝ้าระวังและหลายประเทศห้ามใช้แล้ว เช่น เมโทมิลและคาร์โบฟูราน ก็อาจจะถูกยื่นเข้ามาจดทะเบียนด้วยเหมือนกัน ซึ่งด้วยแรงกดดันของผู้ประกอบการก็อาจทำให้มีการขึ้นทะเบียนได้ 3) การขอแก้ไข พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เนื่องจากบริษัทสารเคมีเหล่านี้มีอำนาจและใกล้ชิดฝ่ายการเมือง จึงขอให้มีการผ่อนผันการขึ้นทะเบียนออกไปได้ และในขณะเดียวกันก็ทำให้การขอขึ้นทะเบียนกระทำได้ได้โดยง่ายด้วย” นายวิฑูรย์กล่าว

ด้านนายอุบล อยู่หว้า พร้อมกับตัวแทนจากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน เครือข่ายชาวนาสุพรรณ และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ชี้แจงว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความจำเป็นต่อการทำอาชีพเกษตรกรรม หากแต่ผู้ประกอบการใช้กลไกบิดเบือนด้วยการโฆษณาแต่ด้านดีจนคนทั่วไปมองไม่เห็นพิษภัยร้ายแรงของสารเคมีอันตราย และยังทำให้เกษตรกรตกเป็นเป้าของสังคมเมื่อเกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารทั้งๆที่บริษัทเคมีเกษตรและรัฐก็ต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมด้วย ส่วนการกล่าวอ้างว่าผลผลิตจะลดลงถ้าไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นเป็นไปเพื่อสร้างความชอบธรรมเท่านั้น เกษตรอินทรีย์ที่เครือข่ายทำอยู่เป็นข้อพิสูจน์แล้วถึงความไม่จำเป็นของการใช้สารเคมี ดังนั้นรัฐจะต้องทบทวนนโยบายที่สนับสนุนเกษตรเคมีเสีย และให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เครือข่ายเกษตรกร องค์กรสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายผู้บริโภคมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 4 ประการด้วยกัน คือ 1) วิกฤตสารเคมีเกษตรใหญ่หลวงมาก ผลกระทบมากมายมหาศาล จึงควรใช้โอกาสนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรกรรมไปสู่เกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการกำจัดศัตรูพืชด้วยชีววิธี สารชีวภาพ และสมุนไพร 2) เครือข่ายจะจับตากระทรวงเกษตรฯ ว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะการขอขึ้นทะเบียนสารเคมีที่หลายประเทศแบนแล้ว 3) ประสานความร่วมมือเครือข่ายวิชาการ ThaiPAN เพื่อสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ 4) พิจารณาการฟ้องร้องกรณีที่หน่วยงานของรัฐย่อหย่อนหรือออกประกาศหรือระเบียบที่ขัดต่อกฎหมายเพื่อคุ้มครองคุณภาพชีวิตเกษตรกร ผู้บริโภค และสังคม ไม่ให้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แรงงานข้ามชาติ บ. สหฟาร์ม สุดทนลุกฮือประท้วงไม่พอใจถูกรังแก-สวัสดิการต่ำ

Posted: 28 Apr 2011 07:04 AM PDT

เหตุแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า และกระเหรี่ยง ของบริษัทสหฟาร์ม จ.เพชรบูรณ์ ชุมนุมประท้วงไม่พอใจถูกรังแก-สวัสดิการต่ำ ชาวบ้านเห็นใจชี้ถึงทางตัน "มนุษย์" ต้องเรียกร้องความเป็นธรรม ล่าสุดสลายตัวแล้ว

เมื่อประมาณ 04.00 น.วันนี้ (28 เม.ย.) แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าและกระเหรี่ยงกว่า 1,000 คน ที่ทำงานอยู่ในบริษัทสหฟาร์ม จำกัด ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ชุมนุมประท้วงทุบทำลายรถยนต์ของบริษัทเสียหาย 3 คันและยังจับตำรวจที่เข้ามาระงับเหตุ รวมทั้งผู้จัดการโรงงานเป็นตัวประกัน หลังไม่พอใจที่ถูก รปภ.โรงงานต่อว่าเรื่องส่งเสียงดัง จนเกิดชกต่อยและใช้ไม้กระบองไล่ทุบตีกัน

โดยล่าสุดช่วงสายวันนี้ ได้ยอมปล่อยตัว ด.ต.ทองสุข ทองไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บึงสามพัน และนายสว่าง ธีระนิดาบตำรวจ ผู้จัดการอาวุโส ที่ถูกจับเป็นตัวประกันออกมาแล้ว แต่ยังไม่ทราบชะตากรรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(รปภ)อีก 1 คนที่ยังถูกขังอยู่ ส่วนนายธนพล สีม่วง อายุ 26 ปี รปภ.อีกคน ที่ถูกกลุ่มแรงงานต่างด้าวรุ่มทำร้าย ขณะนี้อาการปลอดภัยแล้ว ส่วนอาวุธปืนพกขนาด 11 มม.ของ ด.ต.ทองสุข ทองไทย และอาวุธปืนลูกซองยาว 5 นัด อาวุธปืนยาวแบบลูกกลด ของนายธนพล สีม่วง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(รปภ) กลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่ยอมคืนให้

ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจในทุก สภ.ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ระดมกำลังกันมาสมทบ และประกาศให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แยกตัวออกมารวมตัวกันที่วัดเขาเกษ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของบริษัท คาดว่าจะเหลือแรงงานต่างด้าวที่เป็นหัวโจกประมาณ 300 คน

พล.ต.ต.ชวลิต ชาญเวช ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทสหฟาร์ม เพื่อหาทางออก โดยมีตำรวจตรึงกำลังอยู่ที่ภายในบริษัทกว่า 100 นาย

แรงงานพม่าเผยประท้วงเพราะถูกรังแก ตร.คุม 30 หัวโจกสอบ ล่าสุดสลายตัวแล้ว

เมื่อเวลา 14.00 น. ผลการเจราจายังไม่มีผลใดๆ โดยแรงงานต่างด้าวได้มีการทำลายทรัพย์สิน ซึ่งประกอบด้วย รถยนต์ถูกเข็นลงน้ำเสียหาย 3 คัน รถจยย. 2 คัน นอกจากนั้นยังมีอาวุธปืนลูกซองยาวของ รปภ.และอาวุธปืนพกสั้นของดาบตำรวจรายหนึ่งที่ถูกกลุ่มแรงงานต่างด้าวยึดตัวเป็นตัวประกัน

นายบา ชาวกระเหรี่ยง อายุ 21 ปี ที่ถูกต้อนออกจากโรงงานมาอาศัยที่ลานวัดเขาเกตุ ต.กันจุ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ที่พากันรวมตัวประท้วงนั้นเนื่องจากมีแรงงานชาวพม่ามาชักชวนประท้วงแต่ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงพวกเราถูกทุบตีได้รับบาดเจ็บไปหลายคนและส่วนที่มาทำงานในโรงงานไก่สดแห่งนี้มีนายหน้าเป็นผู้หญิงชื่อว่าเล็กเป็นนายหน้า แต่พอเกิดเหตุการณ์นางเล็กพร้อมชายฉกรรจ์ถืออาวุธปืนครบมือมาคุมตัวพวกเราออกจากโรงงานและนำมาซ่อนไว้หลังโรงงานเพื่อรอรถมารับส่งไม่ทราบว่าจะนำตัวไปที่ไหน

"เรื่องการเดือดร้อนในการทำงานพวกเราเป็นแรงงานต่างด้าวไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ แม้แต่ค่าแรงก็ได้นิดเดียวเองเพราะพวกเราไม่ทราบว่าค่าแรงขั้นต่ำนั้นเท่าไร แต่ในระหว่างที่รอถูกนายหน้ามาลากขึ้นรถไปทันที ในระหว่างที่พวกแรงงานต่างด้าวยืนรอรถจะมีชายฉกรรจ์ถืออาวุธปืนคุมเชิงพร้อมกล่าวว่าห้ามทุกคนเปิดปากให้รายละเอียดกับสื่ออีกด้วย ในขณะเดียวกันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองพิษณุโลกเข้ามาสอบถามและจะเข้าไปพบฝ่ายบริหารของโรงงานดังกล่าว"นายบา บอก

ด้านชาวบ้านในละแวกโรงงาน รายหนึ่งกล่าวว่าไม่อยากพูดมากเพราะมองสภาพแล้วทำเกินเหตุมนุษย์นี้เมื่อถึงทางตันก็หันสู้และร้องขอความเป็นธรรมแต่เนื่องด้วยกลุ่มคนงานเหล่านี้ เข้ามาทำงานได้อย่างไรไม่ทราบแต่ทราบว่ามีนายหน้าเป็นผู้จัดส่งเข้ามาชาวบ้านในละแวกข้างโรงงานกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเรื่องดังกล่าวนี้จะยุติลงแบบไหนเพราะว่าตัวแทนแรงงานต่างด้าวยันว่าต้องการเจรจากับผู้มีอำนาจเต็มเพียงคนเดียวเท่านั้น ผลสุดท้ายรายงานข่าวว่าเหตุการณ์ทั้งหมดฝ่ายหน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยดูแลความเรียบร้อยเพราะเห็นว่าตำรวจได้ถอนกำลังออกจากที่ตั้งแล้ว พร้อมได้ปล่อยให้แรงงานชาวพม่าออกมาหาซื้อข้าวของได้ตามปกติ ส่วนหัวโจกนั้นทางตำรวจได้คุมตัวไปสอบปากคำประมาณ 30 คน

ล่าสุด ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริษัทสหฟาร์มจำกัด พล.ต.ต.ทวีชัย วิริยะโกศล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และ พล.ต.ต.ชวลิต ชาญเวช ผบก.ภ.จว.เพชรบูรณ์ ได้เดินทางมาร่วมเจรจา และรับฟังข้อเสนอของกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่รวมตัวกันชุมนุม ทำให้แรงงานต่างด้าวพอใจจึงได้พากันสลายตัว

เรียบเรียงจาก:

ครอบครัวข่าว
เนชั่นทันข่าว
เดลินิวส์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คอป.นัดสุดท้ายกรณีเผาศาลากลาง เจ้าหน้าที่-เสื้อแดง งัดข้อมูลกันมันหยด

Posted: 28 Apr 2011 06:54 AM PDT

 
เมื่อวันที่ 26 เม.ย.54 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดรับฟังข้อเท็จจริงเป็นครั้งสุดท้าย กรณีการเผาศาลากลางในต่างจังหวัด โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรณีตัวอย่าง 2 จังหวัด คือ อุบลราชธานี และมุกดาหาร

นายประยุทธ ชุ่มนาเสียว ประธานเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชนภาคอีสาน ให้ภาพขบวนการเสื้อแดงในจังหวัดอุบลฯ ซึ่งมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีความอิสระ ไม่ขึ้นกับการนำของ นปช.ส่วนกลาง แต่มียุทธศาตร์ที่สอดคล้องกันคือเรื่องความไม่เป็นธรรม, 2 มาตรฐาน, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และประชาธิปไตย เหตุการณ์เผาศาลากลางในวันที่ 19 พ.ค.53 มีความซับซ้อนและมีเงื่อนไขพอสมควร มีคนที่อยากย้ายศาลากลางเยอะ แต่คนที่ต้องรับผิดคือประชาชน ก่อนไฟไหม้ศาลากลาง มีเสียงปืน มีคนเห็นแสงไฟแวบจากศาลากลาง  และมีข่าวว่าผู้หญิงตาย ถูกนำส่งโรงพยาบาล นี่เป็นจุดที่ทำให้มวลชนไม่พอใจ โกรธแค้น บุกเข้าศาลากลางอีก แต่ไฟซึ่งมีคนเห็นว่าเกิดจากชั้น 2 นั้น เกิดจากใครยังเป็นปริศนา

คำพอง เทพาคำ ผอ.กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองวารินชำราบ ยืนยันว่าวิทยุชุมชน ซึ่งเป็นสื่อสำคัญในกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้มีเนื้อหายั่วยุปลุกระดมให้เผาศาลากลาง เพียงแต่เชิญชวนให้ไปแสดงพลังที่ศาลากลางเพื่อกดดันส่วนกลาง ซึ่งกำลังมีการล้อมปราบกันอยู่ เนื่องจากศาลากลางเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐ การเผายางก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมืองเท่านั้นนอกจากนี้ การบุกเข้ายึดศาลากลางเพื่อกดดันในเรื่องนโยบายเกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว โดยประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ทุกครั้งมีการควบคุมจากเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด แต่ในครั้งนี้ เป็นคำถามว่าทำไมเจ้าหน้าที่จึงรีบถอนกำลังออก
ด้าน พ.ต.ท.ไอศูรย์ สิงหนาท รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลฯ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ได้รับมอบหมายให้เจรจากับกลุ่มคนเสื้อแดงหลายครั้ง ยืนยันว่า กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นคนที่มีเหตุผล ในช่วงเหตุการณ์เผาศาลากลาง ตนได้รับมอบหมายให้คุมกำลังมาที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นถูกเรียกตัวกลับเพื่อให้ไปเจรจากับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่แล้วเมื่ออุบลฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้บังคับบัญชาก็เปลี่ยนใจ บอกไม่มีการเจรจา ใช้กฎหมายอย่างเดียว และจากข้อมูลที่ได้รับจากตำรวจและทหาร พบว่า จุดที่ทำให้เหตุการณ์บานปลาย คือ คนที่เข้าไปในศาลากลางถูกยิง และมีข่าวลือว่ามีคนตาย มวลชนจึงโกรธแค้น และบุกเข้าไปอีก จนเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น ทั้งนี้ หน่วยที่ใช้ปืนในวันนั้นคือ มณฑลทหารบกที่ 22 (มทบ.22)
ฝ่ายผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์เผาศาลากลางอุบลฯ มีข้อสังเกต และสิ่งที่เป็นปัญหาหลายอย่าง เช่น เมื่อมีการตัดสัญญาณจากเวทีที่กรุงเทพฯ ปริมาณมวลชนที่ชุมนุมจะเพิ่มขึ้นในทันที,  เสียงปืนที่เกิดขึ้น นอกจากยิงออกมาจากศาลากลางแล้ว ยังยิงมาจากภายนอกศาลากลาง ผู้ที่ถูกยิงบาดเจ็บเป็นนักข่าว, เทศบาลนครฯ อุบลฯ ซึ่งมีรถดับเพลิงประมาณ 20 คัน ได้รับคำสั่งให้ออกปฏิบัติงานเพียงคันเดียว ในสภาพที่ไม่มีน้ำ รถตำรวจ รถตู้ ที่ถูกเผาในวันนั้นก็ล้วนเป็นรถเก่า, มีการข่มขู่คุกคามแม้กระทั่งเด็กที่เป็นลูกของผู้ต้องสงสัย เพื่อให้พ่อเข้ามอบตัว ตลอดจนมีกรณีการจับผิดตัว คนที่ถูกจับกุมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมเลย ซึ่งในชั้นสอบสวนเจ้าหน้าที่ดีเอสไอก็ระบุว่าจับผิดตัว แต่ก็ไม่มีการปล่อยตัว ปัจจุบันก็ยังถูกคุมขังอยู่ ไม่ได้รับการประกัน
ส่วนกรณีเผาศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายธนะชัย เพชรสงฆ์ ผู้บังคับหมวดกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดนจังหวัดมุกดาหาร เป็นผู้มาให้ข้อมูล โดยนำเสนอข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคง   ตั้งแต่ก่อนการชุมนุม ซึ่งมีคนเสื้อแดงอยู่หลายกลุ่ม มีวิทยุชุมชนเป็นสื่อกลาง วันเกิดเหตุ มีการปราศรัยปลุกระดมโดยการอ้างเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ และเหตุการณ์เผาศาลากลางที่จังหวัดอื่น  รวมทั้งอ้างว่ามีคนมุกดาหารตาย 2 คน โดยเชื่อว่ามีขบวนการเกี่ยวเนื่องกันกับจังหวัดอุบลฯ เนื่องจากใช้สถานการณ์คล้ายคลึงกัน จากนั้นมีคนจ้างสามล้อรับจ้างให้ขนยางรถยนต์เข้าไปกองหน้าอาคารศาลากลางหลังเก่า และจุดไฟ ตำรวจพยายามเข้าไปดับ แต่ดับไม่อยู่ มีการพุ่งเข้าทำร้ายตำรวจ จากนั้นตำรวจถอนกำลังออกเพราะควันไฟ มีคนโยนยางขึ้นไปเผาชั้น 2 แต่เจ้าหน้าที่เข้าไปไม่ได้ เพราะคนร้ายมีค้อนปอนด์ เหล็กแหลม ไม้ยาว ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เข้าไปเผาเพราะต้องการงบประมาณ รถดับเพลิงถูกสั่งมาเตรียมพร้อมอยู่ด้านนอกศาลากลาง แต่ไม่ให้เข้าข้างใน เนื่องจากถ้าเข้าไปจะถูกปล่อยน้ำ ปล่อยลมยาง
นายธนะชัยยังเปิดเผยอีกว่า ตามข่าวที่ได้รับมาคนเสื้อแดงมีการฝึกอาวุธในประเทศเพื่อนบ้าน ทุกครั้งที่มีการชุมนุมใหญ่ จะมียาบ้าลักลอบข้ามแดนร่วมขบวนทุกครั้ง กลุ่มผู้ค้าของเถื่อนและล็อตเตอรี่เกินราคาก็สนับสนุนด้วยเงินบริจาคครั้งละ 2 พัน 5 พัน  นอกจากนี้ การชุมนุมแต่ละครั้งก็เป็นการตรึงกำลังเจ้าหน้าที่ไม่ให้ไปจับกุมปราบปรามการกระทำผิด
ด้านนายอานนท์ นำภา ทนายความจากสำนักราษฎรประสงค์ ซึ่งรับเป็นทนายให้กับจำเลยในคดีนี้ ให้ข้อมูลแย้งว่าข้อมูลที่นายธนะชัย กล่าวมาทั้งหมดไม่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีที่สืบมา ซึ่งเป็นปากคำของประจักษ์พยานในเหตุการณ์เกือบ 80% ข้อเท็จจริงก็คือ การขนยางเข้าไปในศาลากลางเพื่อเป็นการกดดันรัฐให้หยุดฆ่าประชาชน เมื่อยางไปกองอยู่หน้ามุขศาลากลาง ตำรวจซึ่งตรึงกำลังอยู่ตรงนั้นก็ไม่ได้ขนยางหนี ต่อมา ผู้ชุมนุมเผายางก็ไม่มีตำรวจแม้แต่นายเดียวดับไฟ การเผาในชั้น 2 ก็ไม่มี เพราะรองผู้ว่าฯ ซึ่งเบิกความว่าอยู่ในศาลากลางตลอดก็ไม่ได้กล่าวถึง อาวุธปืน ระเบิดไม่มีการยึดได้ในที่เกิดเหตุ ผู้ชุมนุมซึ่งถูกตีจนหัวแตกหลายคนและถูกจับกุมในวันนั้น ปัจจุบันนี้ หลายคนอัยการสั่งไม่ฟ้อง  เรื่องการลักลอบขนยาบ้าเมื่อมีการชุมนุมก็เป็นการให้ร้ายคนเสื้อแดงเกินไป ถ้าเป็นไปได้อยากให้เอาหลักฐานมาแสดง
มีความเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมซึ่งสะท้อนว่า การให้ข้อมูลของนายธนะชัยแสดงถึงความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐในด้านการข่าว และทัศนคติต่อคนเสื้อแดง ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจแก้ปัญหาผิดพลาด ก่อนเกิดเหตุเผาศาลากลาง ผู้ชุมนุมได้ขอพบผู้ว่าฯ แต่ผู้ว่าฯ ปฏิเสธที่จะมาพบ กลับส่งรองผู้ว่าฯ มาต่อว่าว่าผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมาย จะต้องจับกุม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เหตุการณ์ในวันนั้นบานปลายจนแกนนำไม่สามารถควบคุมได้
นายสมชาย หอมลออ ประธานในการรับฟังข้อเท็จจริงครั้งสุดท้ายนี้ กล่าวสรุปว่า มีข้อเท็จจริงที่ต่างกัน ซึ่ง คอป.จะต้องตรวจสอบต่อไป และค้นหาสาเหตุของความรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก แต่กรณีสำคัญ คือ การที่ประชาชนเป็นผู้เสียหายโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกกรณีพนักงานสอบสวนและอัยการจะสรุปว่าไม่รู้ว่าใครทำ ซึ่งการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดเลยถูกดำเนินคดีเป็นปัญหามากต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในประเทศ เป็นปัญหาคาใจ คับแค้นใจของประชาชน ซึ่งจะปะทุขึ้นมาเมื่อมีโอกาส
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วิทยุชุมชนเสื้อแดงแจ้งความบุกค้นสถานี กอ.รมน.แจงได้รับร้องเรียนหมิ่นสถาบัน

Posted: 28 Apr 2011 04:25 AM PDT

28 เม.ย. 54 - ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายจุติพงษ์ พุ่มมูล เลขาธิการชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนกว่า 100 คน ถือป้ายผ้ามีข้อความว่า ความยุติธรรมไม่มีความสามัคคีไม่เกิด งดปราบปรามสื่อวิทยุชุมชนเดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.ณัฐพงศ์ เกิดเอี่ยม พงส.(สบ2) กก.1 บก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พร้อมด้วยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ที่นำกำลังบุกเข้าปิดสถานีวิทยุชุมชน 13 แห่ง ทั้งใน กทม.และปริมณฑล โดยทำหนังสือ แนบภาพถ่ายขณะเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นสถานีวิทยุชุมชน และรายชื่อสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าว มามอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาดำเนินคดี
 
นายจุติพงษ์ กล่าวว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้เข้าข่ายกระทำความผิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ว่าด้วยบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พูด เขียน การพิมพ์ การโฆษณา และสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน คุกคามสื่อมวลชน นอกจากนี้ยังเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะกับสถานีวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
 
นายจุติพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า ทางชมรมฯ มีทั้งสื่อทั้งวิทยุโทรทัศน์ สถานีวิทยุ ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ หรือสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่ทำงานร่วมกันซึ่งในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายที่ถูกเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าปิดสถานีวิทยุชุมชนอย่างไม่เป็นธรรมจึงมีความจำเป็นต้องแจ้งความดำเนินคดี
 
ทางเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้ามาปฏิบัติการก็เข้ามาอย่างไม่เป็นมิตรด้วย การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกลั่นแกล้งประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐบาล ซึ่งจริงแล้วหากเนื้อหาของรายการวิทยุพาดพิงผู้ใดและคิดว่าเป็นความผิด ทางผู้เสียหายก็สามารถฟ้องร้อง หรือแจ้งความดำเนินคดีได้อยู่แล้วนายจุติพงษ์กล่าว
 
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ปิดแต่สถานีวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดงในขณะที่สถานีวิทยุชุมชนอื่นๆ กลับไม่ดำเนินการจึงเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน ที่ผ่านมาผู้ดำเนินรายการต่างก็มีใบอนุญาตถูกต้อง แต่การเปิดสถานีวิทยุชุมชนเป็นปัญหาที่ กสทช.ยังไม่มีระเบียบที่ชัดเจนออกมา จึงไม่มีอำนาจที่จะมาปิดสถานีวิทยุชุมชนได้ ทั้งนี้ ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ จะนำหนังสือแจ้งความร้องทุกข์ยื่นต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้วย
 
กอ.รมน.แจง ตร.ปิดวิทยุชุมชน 13 แห่งโดนร้องเรียนพูดหมิ่นสถาบัน-เสื้อแดงโฟนอินยั่วยุ

ด้านพล.ต.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รมน.) กล่าวเมื่อวันที่
28 เมษายน ชี้แจงถึงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ปิดสถานีวิทยุชุมชนจำนวน 13 แห่งว่า เป็นการดำเนินการตามที่ประชาชนแจ้งมา โดยได้รับรายงานว่า คลื่นวิทยุชุมชนดังกล่าวได้นำเสนอเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ และจาบจ้วงสถาบัน เปิดโอกาสให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโฟนอินเข้ามาพูดยั่วยุปลุกระดมในรายการ ทำให้ประชาชนที่ฟังอยู่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและมีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง รวมทั้งคลื่นสัญญาณของวิทยุชุมชนดังกล่าว ยังรบกวนสัญญาณของวิทยุหลัก ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ
 
"การที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงระบุว่า เป็นลางบอกเหตุว่าจะนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารนั้น ผมยืนยันว่าไม่เป็นความจริงขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณ และดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างที่แกนนำได้ออกมากล่าวอ้างหรือไม่ เรื่องดังกล่าว กอ.รมน.ได้รวบรวมหลักฐานส่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปปิดสถานีวิทยุชุมชนก็ได้รับการขัดขวางจากผู้ดำเนินรายการ โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการบันทึกภาพ และรวบรวมหลักฐานไว้เพื่อนำไปดำเนินคดีแล้ว" พล.ต.ดิฏฐพรกล่าว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถกประเด็น Social Media กับการรณรงค์เรื่องแรงงานข้ามชาติ

Posted: 28 Apr 2011 04:13 AM PDT

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Social Media และนักกิจกรรมด้านแรงงานข้ามชาติ ถกประเด็นการใช้สื่อใหม่กับงานรณรงค์ ชี้สามารถประยุกต์ใช้ระดมอาสาสมัครและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายต้นทุนต่ำ ระบุแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือและเครื่องดีวีดีขาดแต่คอนเทนต์ที่มีประโยชน์นำเสนอคนงาน 

 

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เม.ย. 2554 ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิทซอยซอยสุขุมวิท 26 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group: MWG) ได้จัดงานเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "Media Advocacy Training on Social Media for Migrant Working Group" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ Social Media ขององค์กรไม่แสวงหากำไร และการอบรมเรื่องการใช้ Social Media 4 PR หรือการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์การสื่อสาร เพื่อเป็นการเปิดเผยกลยุทธ์และเทคนิคในการโซเชียลมีเดียและเครื่องมือเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
 
ในการพูดคุยหัวข้อ “ความสำคัญของโซเซียลมีเดีย (Socia Media) กับการสื่อสารสาธารณะ” มีวิทยากรอบรมให้ความรู้คือ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการสำนักข่าวประชาไท และสมบัติ บุญงามอนงค์ เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์เพื่อสังคมหลายแห่งและอดีตประธานกรรมการมูลนิธิกระจกเงา
 
สมบัติ บุญงามอนงค์ ได้อธิบายว่าพัฒนาการการเผยแพร่ความรู้เริ่มจากข้อมูล ในอดีตประเทศจีนมีจองหงวนคัดตัวอักษรเพื่อสืบต่อหนังสือหรือองค์ความรู้ (Information) ยิปซีเป็นคนเดินทางเป็นผู้รู้และอธิบายเพราะเห็นโลกกว้าง (Vistion) การเห็นโลกกว้างขึ้น คือ Vision และส่งต่อไปได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การถ่ายทอดข้อมูลสู่วงกว้าง เริ่มตั้งแต่การมีเครื่องพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ และทำให้คนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเริ่มมีความรู้สาธารณะมากขึ้น “Time ยกย่องว่าหนังสือเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่มีอิทธิพลกับมนุษย์มากที่สุดในโลก”
 
ต่อมาหลังจากที่มีพัฒนาวิทยุขึ้น ซึ่งเริ่มแรกส่วนใหญ่ถูกใช้งานโดยรัฐสามารถสื่อสารไปสู่ประชาชนซึ่งเป็นการสื่อสาร one way (อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ) จากวิทยุพัฒนามาเป็นภาพยนตร์ และต่อมาคือโทรทัศน์ อนาล็อก และมีดาวเทียม ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล พัฒนาการไปสู่โทรศัพท์ การติดต่อกันทางจดหมายและแฟกซ์ การผลิตข้อมูลลงสู่ CD ระบบการผลิตแบบดิจิตอล ทำให้ต้นทุนการการผลิตสื่อและทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน แบบนี้ถูกกว่าการพิมพ์ออกมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิม ด้วยเทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตได้มากด้วยต้นทุนที่ไม่สูง
 
การปฏิวัติรูปแบบการสื่อสารครั้งใหญ่ คือ การมี คอมพิวเตอร์บุคคล (Personal computer: PC) การสื่อสารทางอีเมล การมีโทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้นมี modem มี internet จึงกลายเป็น ICT (Informational communication Technology) เป็นการสื่อสารข้ามเวลาและระยะทาง “เทคโนโลยีพัฒนา ทำให้ระบบการสื่อสารเปลี่ยน คนเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน”
 
บทบาทของ NGO คือเป็นผู้ผลิต information ข้อมูล จึงต้องเข้าใจการใช้ผลผลิตนี้ และวิธีการถ่ายทอดส่งต่อความรู้ออกไป ขายความคิด แนวคิดแนวทาง New Media: วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต Social Network
ประเด็นฉุกคิดต่อไป คือ บทเรียนจากการนำ New media มาใช้ในงานพัฒนาอย่างไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร คุณสมบัติได้แบ่งปันตัวอย่างการทำงานที่ใช้ New media มาเป็นตัวช่วยเร่งระดมอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งสามารถดึงคนมาได้มากและทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น
 
จีรนุช เปรมชัยพร ได้กล่าวถึงประเด็นประสบการณ์การทำงานด้านสื่อ โดยเธอมีพื้นฐานการทำงานเรื่องการสื่อสารทางสังคมที่เน้นเกี่ยวกับโรคเอดส์มาก่อน (เกี่ยวกับการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล Access ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง) การป้องกัน และให้เกิดการยอมรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นด้านสื่อสารจากจุดนั้น เพื่อสื่อสารไปสู่สาธารณะเป็นแผนกกระแสเสียง โดยมีแนวคิดว่าความสำเร็จในการสื่อสารต้องให้ความสำคัญและจริงจังไม่ใช่เป็นเพียงแผนกหนึ่งขององค์กร แต่เป็นการนำการสื่อสารออกไปสู่ความเข้าใจสู่สังคมให้ได้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสื่อสารและทำให้การทำงานแตกต่างกันไปถูกพิจารณาด้วยคำถามพื้นฐานเหล่านี้ได้แก่
 
·  สื่อสารกับใคร ใครเป็นผู้รับสารและมีเครื่องมืออะไรบ้างที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้
·  เป้าหมายการสื่อสารกับสาธารณะคืออะไร เช่น เพื่อให้เกิดการตระหนักในสังคม
·  อะไรเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
 
ในความคิดเห็นและจากประสบการณ์การทำงานของคุณจิ๋ว ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีพลังมากที่สุด คือการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ใช้กำลังคนและงบประมาณเยอะจึงต้องคิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่าง New Media กับ Social Media คือ
 
New Media เป็นความใหม่ของรูปแบบการสื่อสารที่ไม่ติดกรอบเดิม มีการกระจายตัวไม่ถูกครอบคลองด้วยอำนาจเนื่องจากเทคโนโลยีมีการกระจาย และเปิดโอกาสให้คนเข้าไปเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องอาศัยทุนและอำนาจที่มาก ตัวอย่างเช่น วิทยุชุมชน มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบทางการของการสื่อสารทางวิทยุแบบเก่า อินเตอร์เน็ตผู้เข้าถึงได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ทุนสูง Social Media เป็นสื่อที่ต้องอาศัยเครือข่ายทางสังคมเพื่อให้เกิดพลังเพิ่มเติม เช่น Facebook, YouTube, Twitter ซึ่งเป็นคนเล็กๆ รวมกันเกิดพลังที่อาจทำให้ส่งกระแสสู่สังคมได้
 
ส่วนการใช้ social media เป็นเครื่องมือเสริมจากเว็บไซด์หลัก เพื่อนำคนเข้ามาสู่เครื่องมือหลักให้ได้ Social media อาศัยพลังของสังคมในการทำให้สื่อโตขึ้น มีการเชื่อมโยงของสื่อแบบเครือข่ายทางสังคม เป็นโอกาสสำหรับคนตัวเล็ก ๆ ที่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคม ในการทำสื่อออนไลน์ social network เหล่านี้เป็น Sticky Net เป็นเทคนิควิธีการเพื่อให้มีโอกาสเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น ในสิ่งที่คนใช้อยู่ตลอดเวลาและสามารถใช้ผ่านมือถือได้ด้วย Social Media เป็นสิ่งที่ผูกผู้ใช้ให้ติดกับเครื่องมือนั้น ดังนั้นผู้ผลิตข้อมูลจึงควรนำข้อมูลไปติดไว้กับเครื่องมือ Social Media ที่ผู้คนเขาใช้ เช่น นักข่าวพลเมือง สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกล้องมือถือ และส่งเข้า twitter ได้ ซึ่งอาจถือได้ว่า twitter เป็นวิทยุส่วนตัว ลักษณะคือ รวดเร็ว ทันต่อกระแส ซึ่งสามารถเช็คข่าวสารได้อย่างรวดเร็วก่อนสื่ออื่นๆ
 
ทั้งนี้ Twitter ต่างกับ Facebook เพราะรวดเร็วกว่า ส่วน Facebook มีความหลากหลายกว่า Twitter สามารถเข้าถึงคนที่ใช้โทรศัพท์เนื่องจากมีเลขหมายเป็นสองเท่าของประชากร ซึ่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ดังนั้นการสื่อสารผ่านโทรศัพท์จึงดีกว่า
 
และในการใช้ Social Media ต้องระวังอย่าได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้กลายเป็น spam (โฆษณา/เมลขยะออนไลน์ ที่ผู้รับไม่ต้องการรับ) ควรคำนึงถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างบุคคล หากมีการใช้มากเกินไปคนอาจจะเบื่อหน่าย เพราะ Social Media ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว ต้องใช้เหมือนกับเราพูดคุยระหว่างบุคคล การใช้ในเวลาที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อกันจะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นควรคำนึงถึงการนำเครื่องมือมาส่งข้อมูลให้ถูกเวลา แลกเปลี่ยนกับคน โดยทั้งนี้ต้องใช้ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (inter personal communication) ด้วย
 
ในหัวข้อ Social Media 4 PR นำเสวนาโดย ชีพธรรม คำวิเศษณ์ สื่อสารมวลชนผู้เชียวชาญด้าน e-Business กล่าวว่าเทคนิคประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media for public relation: PR) นั้นควรคำนึงถึง การติดต่อสื่อสารกับผู้สื่อข่าวการติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ (เบอร์โทร, อีเมล) และการเขียนข่าวอย่างไรให้ผู้สื่อข่าวสนใจเพื่อนำไปเสนอหน้าสื่อหลัก รวมถึงการเลือกช่องทางการสื่อสาร (PR Channel) ให้เหมาะสม เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต แมกกาซีน รวมถึงการจัดการแถลงข่าว (Press conference) ที่ต้องสร้างความน่าสนใจดึงคนมาร่วม
 
นอกจากนี้ ชีพธรรม ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ สื่อใหม่กับสื่อแบบเดิม และการใช้ Facebook กับ Twitter ดังนี้
 
 

Social Media
Traditional Media
สื่อของมวลชนประชาชน ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ มีหลายทาง ทุกคนสามารถรายงานข่าวก่อนที่สื่อจะออกข่าว สื่อ Analog Convert to Digital ทุกคนสามารถสร้างตัวเองเป็นผู้สื่อข่าวได้ สื่อ social media ได้แก่ Blogger, YouTube, Twitter, Facebook, Flickr, MySpace, อื่นๆ
สื่อแบบเดิม เป็นสื่อทางเดียว และต้องไปอยู่ในสื่อหลักจึงจะนำเสนอได้
 
 
 

Facebook
Twitter
-                     Profile, Group, Fanpage
-                     เราเป็นใคร
-                     บอกข่าวเล่าเรื่อง
-                     Social Games
-                     ระบบปิดมากกว่า
-                     ประโยชน์ 1. ติดตามข้อมูลข่าวสาร 2. ส่งข้อมูลถึงผู้สื่อข่าวหรือสามารถประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะสู่กลุ่มที่เป็น follower เรา
-                     ความเร็วในการสื่อสาร (Speed) = ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น
-                     แต่มีข้อจำกัด คือ ได้ 140 ตัวอักษร
-                     Follower = คนตาม
-                     โพสต์แล้วส่งต่อ
-                     เป็นระบบเปิด
 
 
สื่อใหม่กับการทำงานด้านแรงงานข้ามชาติ
 
ทั้งนี้ในการพูดคุยในประเด็นปัญหาภายในกลุ่มการทำงาน Migrant Working group พบว่า สำหรับการสื่อสารภายในกลุ่มของคนทำงานนั้นเป็นไปได้ดี แต่การแลกเปลี่ยนหรือสื่อสารกับองค์กรภายนอกยังมีไม่มากนัก
 
ส่วนการใช้ twitter ส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกเหมือน junk mail หรือ sms ขายของเข้ามามากกว่า ซึ่งมีข้อแนะนำว่า สามารถตั้งเลือกรับได้ แต่ twitter จริงๆ แล้วเป็น Alert message ที่ช่วยให้ update ในเรื่องที่อ่อนไหวหรือต้องการข้อมูลสดหรือในกระแสนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายกว่า เนื่องจากใช้ผ่านมือถือได้ ในการประยุกต์กับกลุ่มคนทำงานด้านแรงงานข้ามชาติควรศึกษาให้เครื่องสามารถนำมาใช้เสริมประสิทธิการการทำงานได้ แต่ต้องศึกษาข้อมูลและวิธีการนำมาประยุกต์ เช่น มือถือรับวิทยุ มือถือที่ต่อเนต หรือทำเป็น application ที่ใช้ติดตามค้นหาคนได้ในอนาคต
 
ทั้งนี้การสื่อสารของกลุ่มคนที่ทำงานด้านแรงงานข้ามชาตินั้น มี 2 ระดับ คือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มทำงาน และการสื่อสารกับสาธารณะ โดยการทำงานเพื่อต่อรองกับทัศนคติสังคมและสื่อกระแสหลัก ซึ่งการใช้เครื่องมือของสื่อใหม่เหล่านี้ อาจสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อแรงงานข้ามชาติทำได้อย่างไรบ้างนั้นเพราะถึงแม้เราจะไม่สามารถนำสื่อกระแสหลักได้ แต่เป็นโอกาสที่สื่อใหม่จะช่วยให้มีการตอบโต้แลกเปลี่ยนหลายทางได้ มีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนได้ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่เป็นไปทางเดียว หรือแม้แต่ในบางครั้งกระแสหลักก็มีการนำเรื่องราวข้อมูลจากสื่อใหม่เหล่านี้ ออกไปนำเสนอในสื่อกระแสหลักเช่นกัน ควรพูดหรือสื่อสารสร้างพลังในกลุ่มทำงาน และหาว่าเรื่องไหนที่กระทบใจคน สังคม นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง บวกกับทัศนคติ emotional ซึ่งต้องมีการหายุทธศาสตร์ในการทำงานเพื่อให้โดนใจสังคม
 
ในประเด็นการประชาสัมพันธ์ข่าวอย่างไรไม่ให้เป็น spam นั้น มีข้อเสนอว่าไม่ควรใช้ด้วยความถี่มาก และควรทำให้มีประเด็นความหลากหลายที่น่าสนใจ ส่วนกลุ่มเป้าหมายของคนที่จะสื่อสารด้วยนั้นในปัจจุบันส่วนใหญ่เข้าถึงไม่ได้มาก เช่น การสื่อสารผ่านออกไปทางวิทยุไม่สามารถสื่อสารได้หมด ซึ่งมีข้อเสนอว่าอาจจะมีการนำเสนอภาษาอื่นๆ ให้ตรงกับผู้รับสาร ต้องนำเสนอให้มีความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในสื่อสาร เพราะโดยส่วนใหญ่จะเป็นภาษาพม่า
 
ส่วนการใช้สื่อผ่านมือถือมีความน่าสนใจและเหมาะกับแรงงานข้ามชาติ เพราะแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ และกระจายข่าว หรือส่งต่อทางมือถือเป็นส่วนใหญ่ และควรมีศูนย์กลางการสื่อสารเพื่อกระจายข่าว เช่นในฟิลิปปินส์มีศูนย์รายงานเพื่อให้ความช่วยเหลือในระหว่างกลุ่มแรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้อาจต้องคำนึงถึงช่องทางสื่อเก่าด้วย เพราะแรงงานข้ามชาติและในพม่ามากกกว่า 60% มีเครื่องเล่นดีวิดีและโทรทัศน์ หากต้องการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ความรู้ อาจจะมองวิธีการผลิตเนื้อหาเสริมด้วยเช่นกัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หลิ่มหลี: ว่าด้วยเรื่องตบเท้า และเสรีภาพในการแสดงออก

Posted: 28 Apr 2011 03:32 AM PDT

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 เป็นอีกวันที่เป็นวันรวมเซเลปเสรีชนทั่วฟ้าเมืองไทย เป็นการนัดหมายที่สายฟ้าแล่บมากเลยค่ะ หลิ่มหลีก็เห็นนัดหมายกันไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงเลย เห็นหลายๆ คนนัดหมาย หลิ่มหลีก็เฉยๆ

เราต้องทำหยิ่งๆหน่อยค่ะ สำหรับหลิ่มหลีแล้ว การจะเป็นเซเลปที่ดี เราต้องได้บัตรเชิญ หรือโทรเชิญเท่านั้นค่ะ สิ่งเหล่านี้หลิ่มหลีเรียนรู้จากหนังไทย ละครไทย หรือหนังฮอลลีวู๊ดบางเรื่องที่เกี่ยวกับเซเลป ที่ต้องได้การ์ดเชิญ หรือโทรเชิญถึงจะยอมไปออกงาน ไม่งั้น หึ ..ฉันไม่ย่างกรายไปให้โดนโห่ว่า “มาทำไม เขาไม่ได้เชิญ” พวกหลิ่มๆ ก็ชอบทำเป็นหยอกเย้าแบบนี้แหละค่ะ แล้วก็มาตบหลังว่า “ล้อเล่น”

ล้อเล่น พ่….สิ ตบหัวแล้วลูบหลัง หลิ่มหลีโคตรเกลียดเลย พวกเนี๊ย หลิ่มหลีเจอมาเยอะ เจ็บมาเยอะ

หลิ่มหลีรอแล้วรอเล่า... ก็ไม่มีบัตรเชิญหรือโทรศัพท์เชิญ อ้าว ถึงได้รู้ว่า .. หลิ่มหลียังไม่ได้เป็นเซเลป ฮ่าๆๆๆ หลิ่มหลีก็ขำตัวเอง บางทีคนเรามันก็แบบนี้แหละค่ะ วัวลืมตีน คางคกขึ้นวอ หม้อนี้ฮิต อะไรพวกนี้ บางคนกว่าจะรู้ตัวว่าตกกระป๋อง กระปี๋ก็เน่าไปซะแล้วก็มี

แต่งานนี้มันเป็นอะไรที่ อะไรที่ โ ห .. ไม่ไปไม่ได้นะคะ แบบว่า พลาดงานนี้ ถือได้เท่ากับพลาดงานพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายวิลเลี่ยมกับน้องเคทเลยหง่ะ หลิ่มหลีไม่ยอมพลาดหรอกค่ะ

หลิ่มหลีก็หักใจ ไม่ได้บัตรเชิญ ไม่มีใครโทรเชิญ หน้าด้านเหมือนเดิมก็ได้หว่ะ ทำยังกะไม่เคย ก๊ากๆๆๆ

งานนี้เป็นงานที่ชาวคณะนิติราษฏร์นัดกะทันหันเพื่อให้กำลังใจและประกาศแถลงการณ์ยืนเคียงข้างอาจารย์ฉมฉักเจียม

หลิ่มหลีก็ไปกับเพื่อนๆกันหลายคนค่ะ ไปเจอเซเลปเยอะแยะมากมาย อาจารย์มหาลัย ผู้กำกับหนัง คนทำหนัง นักเขียน นักแปล นักวิจารณ์ ทนาย นักธุรกิจ ข้าราชการแอบแฝง นักประชาสัมพันธ์ นักข่าวไทย นักข่าวต่างประเทศ คณะตัวแทนทูตานุทูต โอ้ย เยอะแยะมากมาย

อย่าค่ะ อย่าอิจฉาที่หลิ่มหลีได้ไปกระแทกชนกับเหล่าเซเลปทั้งหลาย หึหึ

เสียแต่ว่า..หลิ่มหลีคิดไม่ถึงเลยค่ะ โถ.. ถ้ารู้แบบนี้ไม่แต่งตัวแบบนี้หรอกค่ะ หลิ่มหลีไม่เจตนาที่จะไปงานนี้แต่แรกเลยค่ะ เลยแต่ตัวไม่เหมาะสม ใส่กางเกงขาสั้นจุ๊ดจู๋ เสื้อตัวโปร่งๆเห็นบราชั้นในเชียว ยั่วเป็นที่สุด โชคดีนะคะ ที่หลิ่มหลีเป็นคนไฮโซถือกระเป๋าหลุยส์วิตตอง เลยพอแก้หน้าไปกันได้หน่อย ไม่ได้ให้อายว่าแต่งตัวซอมซ่อ แต่หลิ่มหลีก็มีข้อแก้ตัวนะคะ หลิ่มหลีมีธุระปะปังแบบวัยใสๆ หัวใจเป็นกันเอง ก่อนที่จะมางานที่ มธ

เมื่อถึงเวลานัดหมาย อาจารย์ฉมฉักเดินเข้ามาพร้อมสมัครพรรคเพื่อน หนุ่มๆสาวๆก็กรี๊ดกร๊าดกันใหญ่ โห เสียงกรี๊ดนี่ ดังมากพอๆกับงานคอนเสิร์ตเลยนะคะ

ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ แกไปย้อมผมดำ ถึงแกจะบอกว่า แกย้อมแก้เซ็ง แต่หลิ่มหลีไม่เชื่อหรอกค่ะ เพื่อนเสรีชนบางคนบอกหลิ่มหลีว่า แกย้อมพรางตัว เพราะว่าแกโดนขู่ฆ่า แต่ถ้าแกจะย้อมพรางตัว หลิ่มหลีว่าแกต้องย้อมผมสีชมพูนะค่ะ จะได้เหมือนพวกพรางชมพูไงคะ

หลิ่มหลีจำได้ ตอนที่กระชับมดลูก เอ้ยไม่ใช่.. กระชับพื้นที่ หลิ่มหลีเห็นทหารหลายๆคนพรางชมพูด้วยการติดสติกเกอร์ที่หัวเหน่า เอ้ยไม่ใช่ หัวหมวก ทำไมอาจารย์ฉมฉักไม่ทำแบบนั้นก็ไม่รู้

แต่หลิ่มหลีว่าที่แกย้อมผมสีดำ เป็นเพราะแกอยากเด็ก.. อยากเอ๊าะๆ พักหลัง หลิ่มหลีว่า จารย์ฉมฉักแกเนื้อหอมในหมู่สาวๆมากขึ้น มันก็เป็นธรรมดาค่ะ อยากหล่อ

หลิ่มหลีเข้าจ๋ายเข้าใจ หลิ่มหลีก็มีหนุ่มๆ วัยดึกแต่ยังกำหนัดมาติดพันบ้าง สิ่งแรกที่เห็นทำ ส่วนใหญ่ก็ยุ่งอยู่กับผมเนี่ยแหละค่ะ คงอยากหนุ่ม อยากหล่อ คิกๆๆๆๆๆ อ่ะ อ่ะ ไม่แซวแล้ว เด๋วหลิ่มหลีโดนจารย์ฉมฉักจัดหนัก คิกๆๆๆ

เนื่องด้วยคนมาให้ดอกไม้เยอะมากกกกกก อาจารย์ปิยะบุตร หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ที่มีแต่พวกชายรักชายถามหา(อันนี้จริง) ก็ประกาศบอกให้สงบ สันติ กระชับพื้นที่ เอ้ย ไม่ใช่ค่ะ ให้ทุกคนเข้าที่นั่ง.. แล้วก็แซวว่า พวกเรานี่มาตบเท้าให้กำลังใจอาจารย์ฉมฉักกันใช่ไหมครับ

เอ แบบนี้เรียกตบเท้าหรอคะ

เรื่องมาตบทงตบเท้า หลิ่มหลีไม่ชอบหรอกค่ะ หลิ่มหลีว่าการตบเท้ามันเป็นเรื่องของคนชั้นต่ำเขาทำกัน

ส่วนต่างๆในร่างกายเยอะแยะ ตบหน้า ตบนม ตบพุง ตบหลัง ตบมือ ตบตูด ..ไม่ตบ เสือกตบเท้า หลิ่มหลีว่า เท้าเป็นของต่ำ ของล่าง ดูหยาบคาย หลิ่มๆ รับไม่ได้ อี๊ แหวะ

หลิ่มหลีอาจจะยังไม่ใช่พวกไฮโซนะคะ แต่หลิ่มหลีก็ รักดี ใฝ่ดี ไม่ใฝ่ต่ำ ๆแบบนี้แน่ๆ

ดังนั้น ในงานเมื่อวันที่ 24 เมษา ไม่ว่าเขาจะคุยกันสนุกสนาน ปลุกใจเสือป่ากันขนาดไหน หลิ่มหลีก็ดีใจอยู่อย่างว่า คนรอบข้างของหลิ่มหลี ตบแต่มือ ไม่ตบเท้ากัน

หลิ่มหลีก็เลือกคบคนเสรีชนดีดีมีการศึกษาที่ใฝ่ดี และมีมารยาทสูงได้ดีมากเลยนะคะ

หลังจากนั้น อาจารย์วรเจตน์ ไอดอลของหลิ่มหลี ที่เหมือนจะผอมลง.. โอ้ เห็นอาจารย์ดูผอม หลิ่มหลีก็ปวดหัวใจเหลือเกิน

ไอดอลเครียด แฟนคลับก็เครียดไปด้วย

แต่เห็นไอดอลมีกำลังใจ หลิ่มหลีก็มีกำลังใจไปด้วย ทานข้าวเยอะๆ นะคะ บำรุงหน่อย ขาดเหลืออะไรก็บอกหลิ่มหลีได้ เด๋วหลิ่มหลีจัดการให้ เด๋วหลิ่มหลีไปเสริฟ์ให้ถึงห้องทำงาน

อร๊ายยยยยยยยยยยย หลิ่มหลีพูดอะไรไปเนี่ย เด๋วโดนสาวๆกระทีบทั้ง มธ. แน่ๆเลย อร๊ายยยย หลิ่มหลีพูดเล่น กัว กัว กลัวววววววว (ท่องไว้ แกมีเมียแล้ว แกมีเมียแล้ว ท่องไว้ นังหลิ่มหลี)

กลับมาดีกว่า กลับมาเรื่องเดิม อ่ะแฮ่ม

เรื่องของเรื่องมันเกิดจากตอนโน้นนนนน เมื่อสิบธันวาปีที่แล้ว ..แล้วนำมาซึ่งการหมิ่นประมาทอะไรก็ไม่รู้

แล้วพวกฝ่ายบ้าๆบอๆ ก็ไม่ได้ใช้วิธีการทางกฏหมายมาเล่นงานพวกอาจารย์ แต่ใช้วิธีการมาเฟีย ขู่อุ้ม ขู่ฆ่า ขู่โน่น ขู่นี่

หลิ่มหลีว่า พวกอาจารย์คงโดนมากันหนัก ไม่งั้น.. คงไม่มาประกาศชนขนาดนี้หรอก

น่าสงสารเนอะ

ความสงสารเป็นบ่อเกิดแห่งความรัก

อร๊ายยยย หลิ่มหลีเข้าเรื่องพรรณนี้อีกแล้ว โอ้ย ให้ทำไงล่ะค่ะ สมองของหลิ่มหลีโดนกล่อมเกลามาแต่เรื่องรักๆใคร่ๆตามละครทีวี นิยายน้ำเน่า หนังสือรักโรแมนติก ภาพยนตร์รักๆ ใคร่ๆ จะให้คิดอะไรซีเรียส หลิ่มหลีก็ทำไม่เป็น คิดไม่เป็น หลิ่มหลีอยากมีแต่ผัว ผัว ผัว

แต่ที่หลิ่มหลีประทับใจ ก็คง... เป็นเรื่องการร่วมมือกันยืนเคียงข้างอาจารย์ฉมฉัก .. หลิ่มหลีนะ ไม่รู้เรื่องหรอกค่ะ แต่เพื่อนๆเสรีชนบอกว่า พวกที่มาลงชื่อเคียงข้างอาจารย์ฉมฉักนี้นะ ส่วนใหญ่ตบเกรียนกันไปมาจนเกลียดขี้หน้ากันมาแล้ว

แต่พอถึงเวลาที่อาจารย์ฉมฉักโดนสั่งให้ปิดปาก ด้วยข้อกฏหมายเลขคล้ายๆกับโทรศัพท์เดลิเวอรี่ของพิซซ่า

พวกเขาก็หันกลับมาร่วมมือกัน จับมือกัน เคียงข้างกัน เพื่อความถูกต้องของสังคม และเสรีภาพในการแสดงออก

หลิ่มหลีเห็นแล้วก็เฉยๆ .. แต่เห็นเพื่อนเสรีชนข้างๆเขาน้ำตาคลอเบ้า เลยรู้ว่า อ้า..เวอร์ชั่นนี้ต้องร้องไห้ ..หลิ่มหลีก็สะกิดต่อมน้ำตาตัวเองอัตโนมัติเลยค่ะ อิอิ หลิ่มหลีฝึกแล้ว อิอิ

แต่บอกตรงๆ หลิ่มหลีว่า อาจารย์จะพูดทำไมให้เปลืองตัวคะ แล้วจะพูดทำไมให้เป็นเรื่อง หลิ่มหลีก็สงสารอาจารย์กับสิ่งที่อาจารย์โดนกระทำนะคะ แต่อาจารย์หาเรื่องเองนะคะ หลิ่มหลีว่า

หลิ่มหลีก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอกค่ะ ว่า มันควรจะต้องมีสิทธิแค่ไหนในการแสดงความคิดเห็น เพราะหลิ่มๆ ส่วนใหญ่ไม่มีสมองคิดเรื่องพวกนี้ขึ้นมาได้ พวกเราชอบนินทา ชอบซุบซิบ การประกาศโต้งๆ อย่างที่อาจารย์ทำ หลิ่มหลีว่า อาจารย์ฉมฉักจะไปเจือกทำไมค่ะ อาจารย์คิดมาได้ยังไง กล้าพูดได้ยังไง ที่สำคัญ

อาจารย์ไปยุ่งทำ...อะไร

หลิ่มหลีคิดอย่างอาจารย์ไม่ได้หรอกค่ะ ปล่อยให้หลิ่มหลีเป็นประชาชนธรรมดาที่อยู่ใน Matrix ไม่รู้เรื่องอะไรไปเรื่องๆก็ดีอยู่แล้วแหละค่ะ

หลิ่มหลีกลัวผี ... ผีที่คุณคำ ผกาว่า หลิ่มหลีอยู่ในความมืด หลิ่มหลีอยู่ในกะลา ไม่มีแสงไฟ ไม่มีแสงเทียน

แต่ในกะลามืดๆ เขาให้ไฟกระพริบๆๆๆ ไว้เต้นโคโยตี้

แค่นี้ หลิ่มหลีก็ดีใจแล้วค่ะ พอเพียงกับชีวิตแล้ว

แดนส์ แดนส์ แดนส์ กันเถอะ เรา...

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน : นิทรรศการ “พิพิธอาเซียน” เปิดประตูสู่ความเข้าใจต่อประเทศเพื่อนบ้าน

Posted: 28 Apr 2011 01:50 AM PDT

ในวันพุธที่ 27 เมษายน สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ทีเค ปาร์ค (Tk park) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ สมาคมอาเซียน ประเทศไทย และกลุ่มฟิล์มกาวัน (Film Kawan) ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวนิทรรศการ “พิพิธอาเซียน...A Journey through ASEAN” ณ อุทยานการเรียนรู้ ทีเค ปาร์ค

นิทรรศการดังกล่าวนี้ถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เปิดใจ มองดู เรียนรู้อาเซียน” โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในมุมมองอันหลากหลายของประเทศเพื่อนบ้าน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่บอกเล่าเรื่องราวและความสัมพันธ์ของเพื่อนบ้านอาเซียน เช่น กิจกรรมการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมอาเซียน มุมเกมส์วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาติอาเซียน นิทรรศการภาพถ่ายอาเซียนเล่าเรื่อง และการฉายภาพยนตร์อาเซียนจากกลุ่มฟิล์มกาวัน

ดร.ทัศนัย วงษ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการอุทยาการเรียนรู้ ทีเค ปาร์ค เล่าให้ฟังว่าทางทีเค ปาร์คได้ทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยต้องการให้เนื้อหาสาระของงานวิจัยถูกทำออกมาให้ง่ายต่อการศึกษา เพื่อให้เด็ก ประชาชน และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เช่นเดียวกับนิทรรศการกาลพิพิธอาเซียนซึ่งเป็นโครงการล่าสุดที่ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือกันจัดขึ้น

สำหรับที่มาของงานนิทรรศการพิพิธอาเซียนนั้น ทัศนัยกล่าวว่า "อาเซียนกำลังจะเป็นประชาคมในอีก 4 ปีข้างหน้า แต่เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจหรือมีความรู้เรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากทีเค ปาร์คสามารถร่วมทำงานและปูพื้นให้ประชาชนในสี่ปีข้างหน้าได้ก็เป็นเรื่องดี" ทัศนัยเห็นว่าหน่วยงานของเธอสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าใจและรู้จักเพื่อนบ้านได้มากยิ่งขึ้น

ทัศนัยกล่าวต่อไปอีกว่า “การจะรวมอาเซียนเป็นประคมเศรษฐกิจนั้น ไม่ใช่ว่ามีแค่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เรื่องทางสังคม และวัฒนธรรมพื้นฐานของอาเซียนเราก็ต้องทำความรู้จักด้วย” ทัศนัยคาดหวังว่าเด็ก เยาวชน และประชาชนที่มาใช้บริการที่ทีเค ปาร์คจะมีความเข้าใจต่อเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยผ่านรูปแบบความรู้แบบบูรณาการที่ช่วยให้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยทัศนัยยกตัวอย่างว่า “ภาพยนตร์” ก็เป็นอีกสื่อที่ทำให้เรารู้จักเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งเธอก็หวังว่านิทรรศการนี้จะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ชมไม่มากก็น้อย

กลุ่มฟิล์ม กาวัน (Film Kawan) เป็นกลุ่มอิสระอีกกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้าใจต่อเพื่อนบ้านผ่านภาพยนตร์อุษาคเนย์ นายณพงศ์ มาลีหอม ผู้ประสานงานประจำกลุ่ม Film Kawan เล่าถึงที่มาของกลุ่มว่า “จุดเริ่มต้นของการตั้งกลุ่มเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มที่สนใจในภาพยนตร์ การท่องเที่ยว ภาษา และการศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางกลุ่มเห็นว่าไทยยังมีความเข้าใจต่อเพื่อนบ้านไม่มากนัก และมองว่าการเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจผ่านภาพยนตร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการทำความรู้จักต่อประเทศเพื่อนบ้าน” จึงกลายเป็นที่มาของการตั้งกลุ่ม Film Kawan ซึ่งคำว่า Kawan นั้นหมายถึง “เพื่อน” โดยสื่อความหมายถึงเพื่อนที่อยู่รอบบ้านเรานั่นเอง

สำหรับการคัดเลือกภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายนั้น ณพงศ์เล่าว่า ทางกลุ่มจะมีการกำหนดรูปแบบของภาพยนตร์ในแต่ละครั้ง โดยดูว่ากิจกรรมหรืองานที่จะจัดขึ้นนั้นเป็นประเด็นใด ภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่ถูกเลือกมาฉายก็จะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเด็นนั้น และทางกลุ่มจะดูว่าผู้ชมคาดหวังอะไรกับการเลือกชมภาพยนตร์อุษาคเนย์ในแต่ละครั้ง เพื่อนำข้อมูลนั้นมากำหนดแผนที่จะดำเนินกิจกรรมเพื่อการสร้างความเข้าใจต่อประเทศเพื่อนบ้านในครั้งต่อไป

ณพงศ์กล่าวทิ้งท้ายถึงความคาดหวังของกลุ่มในขณะนี้ว่า “การกำลังก้าวสู่ประชาคมในปี 2015 ทางกลุ่มก็หวังว่าการดำเนินกิจกรรมผ่านภาพยนตร์ของทางกลุ่มจะสามารถช่วยสร้างความเข้าใจต่อการก้าวสู่ไปเป็นประชาคมอาซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้”

สำหรับนิทรรศการพิพิธอาเซียนนั้น จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23เมษายน ถึง วันที่ 8 พฤษภาคม 2554 ณ อุทยานการเรียนรู้ ทีเค ปาร์ค ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมและโปรแกรมฉายภาพยนตร์อาเซียนได้ที่ http://www.tkpark.or.th

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น