โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รายงาน: สำรวจตลาดนัดพลังงานทางเลือก แผน PDP รักษา ‘โลกร้อน’ เราทำได้?

Posted: 03 Apr 2011 11:21 AM PDT

 
“เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด...
โลกร้อน...คนร้อน ความต้องการใช้ไฟฟ้าจึงเพิ่มขึ้นทุกๆวัน
โลกร้อน...เราจึงรีบร้อนในการผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น
โลกกลับยิ่งร้อน...เพราะการผลิตไฟฟ้าของเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก
แล้วเราจะมีทางเลือกในการจัดการพลังงานอย่างไรบ้าง?
 
(เอกสารงานสัมมนา, มูลนิธินโยบายสุขภาวะ)
 
คำถามเหล่านี้จึงนำไปสู่การดำเนินโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ทางเลือกของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงานไฟฟ้า” โดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพความเป็นไปได้ของทางเลือกในการผลิตและจัดการพลังงาน และพัฒนาทางเลือกต่างๆ ของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) เพื่อสนองตอบความต้องการไฟฟ้า และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งวิเคราะห์และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย

จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรม “ตลาดนัดความคิด ชวนผลิตแผนพลังงาน ร่วมต้านโลกร้อน” เพื่อนำเสนอศักยภาพ ความเป็นไปได้ ของการจัดการพลังงานในรูปแบบต่างๆ และระดมสมองเพื่อร่วมกันค้นหาทางเลือกในการพัฒนาแผนพลังงานที่ยั่งยืนขอสังคมไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มี.ค.54 ที่ผ่าน เป็นการเสวนาเวทีสาธารณะครั้งที่ 1ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) กรุงเทพฯ

รูปแบบของงานเสวนา เป็นการชวนคิดและรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และประชาสังคม ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะทางเลือกด้านพลังงาน เพื่อนำไปสู่การวางแผนพลังงานต่อไป
 
 
000
 
“ปี 53 ที่ผ่านมาเราเผชิญกับอากาศร้อนที่สุดในรอบ 20 ปี ในช่วงปลายปีเราก็เจออากาศหนาวที่สุดในรอบ 15 ปี และก็เจอน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุด ทั้งภาคใต้และภาคอีสาน” ศุภกิจ นันทะวรการ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวนำก่อนเข้าสู่หัวข้อบรรยาย “เปิดมุมมอง ความคิด โลกร้อนกับทางเลือกการวางแผนพลังงาน” โดยให้ความสำคัญที่สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
 
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกสำหรับประเทศไทยต้องเตรียมตัวสังเกตการว่าจะมีการออกเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบอย่างไรบ้าง และส่วนแบ่งของประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นอย่างไร โดยในงานวิจัย ICCC ของสหรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ชี้แนวโน้มค่อนข้างชัดเจนต่อรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนามีสัญญาต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตอันใกล้ประมาณร้อยละ 15-30
 
“ในปี 48 มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้ออกแผนพลังงานทางเลือกว่า ถ้า 15 ปีเราไม่พัฒนาแบบรัฐผลจะเป็นยังไง” จากคำถามนี้โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของมูลนิธินโยบายสุขภาวะจึงเกิดขึ้น
 
ศุภกิจกล่าวต่อไปว่า ประเด็นแรกเราต้องกลับมาพิจารณา แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า แผนพัฒนาปัจจุบันที่รัฐบาลอนุมัติกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าปี 2553-2573 รัฐบาลอนุมัติเมื่อปี 53 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหนึ่งหน่วยการผลิตไฟฟ้าลดลง แต่เนื่องจากการผลิตเพิ่มขึ้นมาก จึงปรากฏว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงขึ้นมาก 79-80 ล้านตันจากปี 2552 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 128 ล้านตัน ในปี 2573
 
ศุภกิจอ้างต่อว่า เอกสารของ Sir Nicholas Stern ชื่อว่า economic of climate change ซึ่งเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือและได้รับการอ้างอิงค่อนข้างมาก เสนอหลักคิดทิศทางการพัฒนาที่น่าสนใจว่า จำเป็นที่จะต้องเกิด การปฏิวัติอุสาหกรรมรอบใหม่ จุดหลักคือเพื่อที่จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตรายได้ทางเศรษฐกิจกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุของโลกร้อน
 
ในเอกสารได้เสนอต่อไปว่า ในการพัฒนาเราไม่น่าจะคิดว่าเป็นต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในการทำสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยทำมา (การพัฒนาโรงไฟฟ้า การพัฒนาการขนส่ง) พัฒนาแบบนั้นแบบนี้เปลี่ยนแล้วแพงขึ้นหรือไม่? แต่ต้องมองด้วยหลักคิดใหม่ว่าเป็นโอกาสในการลงทุน เป็นโอกาสในการพัฒนาสร้างนวัตกรรม การลงทุนที่ก่อให้เกิดโลกร้อน องค์กรและประเทศที่ปรับตัวได้ก่อนจะเป็นผู้ได้เปรียบ
 
ประเด็นต่อมา คือ ภาครัฐมีบทบาทสัมพันธ์ในหลายเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพลังงานที่สำคัญคือการกำหนดนโยบายขยายความเสี่ยงแบบคาร์บอนสูง (เป็นการลงทุนที่ก่อโลกร้อน) เช่น การผลิตไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอน ตัวอย่างที่ชัดเจนก่อโลกร้อนมากที่สุดคือ ถ่านหิน ตามมาด้วยน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรืออย่างอื่น เช่น การวางผังเมืองที่เอื้อต่อการใช้รถส่วนตัว กับการวางผังเมืองเพื่อรถจักรยาน นโยบายของรัฐควรเกื้อประโยชน์ได้การลงทุนที่ปล่อยคาร์บอนน้อย ไม่ใช่ไปให้การสนับสนุนทางอ้อมกับถ่านหินและน้ำมัน
 
องค์การพลังงานระหว่างประเทศหรือไออีเอ ก็มีการวิเคราะห์ภาคพลังงานของโลก ภูมิภาคต่างๆ โดยศึกษากรณีแบบปัจจุบันกับแบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือแบบ 450 scenarios ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกหลักๆ มาจากมาตรตาการนโยบายใดบ้าง ที่เห็นได้ชัดเจน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นตัวหลักประมาณ70% มาอีก 20-25 ปีลดไป 50% พลังงานหมุนเวียนก็เป็นลำดับต่อมา การดักจับการกักเก็บคาร์บอนเป็นทางเลือกของภาคพลังงานในระยะสั้นมีสัดส่วนน้อยมากอาจจะเพิ่มขึ้นต่อไป ส่วนพลังงานนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงชีวภาพโดยร่วมเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก 7% - 9%
 
ในส่วนของภาคโครงสร้างอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลัก คือ อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานต่ำแต่มีมูลค่าเพิ่มสูง แล้วก็ความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศสูง ควรได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ แต่อุตสาหกรรมที่ไม่ควรส่งเสริมและควรปรับนโยบาย อย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตโลหะซึ่งใช้พลังงานมาก มีมูลค่าเพิ่มต่ำและก็ไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศโลกเปรียบเทียบ
 
“หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ มีศักยภาพประหยัดพลังงานในปี 2573 หนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านหน่วย ถัดไปเป็นส่วนภาคที่อยู่อาศัย (หม้อหุงข้าว ตู้เย็น หลอดไฟ) ในปี 2573 มีการวิเคราะห์ว่า สามารถประหยัดได้ หนึ่งหมื่นสี่พันล้านหน่วย ภายใน 20 ปี” ศุภกิจกล่าวถึงงานวิจัย E-policy ที่พึงเสร็จเมื่อปี 2552
 
นักวิจัยมูลนิธินโยบายสุขภาวะยังกล่าวถึงเรื่องการออกแบบอาคารบ้านเรือน เพื่อรับมือกับความร้อนว่า เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของการประหยัดพลังงานภาคที่อยู่อาศัย หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ เช่น เพิ่มร่มเงาให้กับอาคารบ้านเรือน การจัดการระบบระบายความร้อน การแลกเปลี่ยนความร้อน การใช้ประโยชน์จากความร้อน เช่น การต้มน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ การวางผังเมืองการพัฒนาเมือง
 
 
“พลังงาน” ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ กับแนวคิดบ้าน Green

วรพันธ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิกผู้นำแนวคิด green ใส่ใจสิ่งแวดล้อมนำมาประยุกต์ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม บอกเล่าความคิดในวงย่อย “พลังงาน” ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ถึงหลักการออกแบบที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม โดยการออกแบบทั้งหมดจะเน้นไปที่แนวคิด green เป็นหลัก ซึ่งสำนักงานของเขามีชื่อว่า green studio
 
วรพันธ์ กล่าวว่า ในโลกของการออกแบบเรื่อง Green ในปัจจุบันนั้น จะแบ่งงานออกเป็นสองประเภท คือ Active กับ Passive โดย Active คือ จะใช้เทคโนโลยีปริมาณมาก เช่น ตึกเอสซีบีแบงค์ หรือตึกกล่องกระจกทั้งหลาย ใช้วัสดุแพง ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการประหยัดพลังงาน ส่วน passive จะเน้นที่ธรรมชาติ อย่างเช่นตึกหอจดหมายเหตุพุทธทาสก็เป็น เป็นระบบที่ประหยัดดูแลง่าย ข้อด้อยคือไม่สามารถควบคุมดูแลระบบได้เท่ากับ Active เพราะแบบนั้นจะสามารถควบคุมความสบายได้ดีกว่า แต่จะแพงกว่ามาก
 
“ปัญหาที่ว่ามนุษย์อยู่กันแล้วร้อน อยู่กันแล้วไม่มีอากาศหายใจ เป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว นับเป็นพันปี และก็ถูกแก้ปัญหาไปแล้วหลายพันปี” วรพันธ์ กล่าวถึงพัฒนาการเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาของมนุษย์
 
วรพันธ์ กล่าวยกตัวอย่างด้วยว่า โรม อินเดีย อิหร่าน หลายแห่งนั้นก็มีสภาพเหมือนสีลมในปัจจุบัน เป็นถนนแคบๆเป็นตรอกแคบๆ ปัญหาก็คือว่า คนจะทำยังไงเพื่อเอาอากาศดีเข้ามาในบ้าน มนุษย์สมัยก่อนได้คิดเทคโนโลยีง่ายๆหลายอย่างเพื่อดึงอากาศดีเข้ามาในบ้าน เช่นเรื่องการทำสวนที่อยู่กลางบ้าน เช่น ในบ้านแบบหนังจีน จะมีสวนอยู่กลางบ้าน เป็นวิธีที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อดึงธรรมชาติเข้ามาในบ้าน เพราะเมื่ออยู่ในเมืองไม่มีที่ก็ต้องเจาะตรงกลางบริเวณบ้าน หรือที่อิหร่านมีการคิดเครื่องดักลมขึ้นมาหรืออุโมงค์ลม บ้างบ้านก็จะพัฒนาให้มีขันน้ำอยู่ด้านล่าง พอลมพัฒนาเข้ามาไอเย็นก็จะลอยขึ้นไป อันนี้เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว
 
“ถ้าบ้านหนึ่งหลังไม่ต้องใช้แอร์ ไม่ต้องใช้พัดลม เราต้องจะประหยัดพลังงานไปได้เยอะ ถ้าเราทำได้ทั้งซอย ได้ทั้งเมือง หรือประเทศ เราจะประหยัดได้แค่ไหน”
 
“บ้านที่ผมจะออกแบบ คุณไม่ต้องเปิดแอร์ หรือบ้างงานผมบอกว่าอาจจะไม่ต้องเปิดพัดลม คุณจะชอบกรีกโรมมันผมไม่สน แต่ถ้าคุณทำตามที่ผมบอกคุณจะได้บ้านที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟ”  วรพันธ์ กล่าว
 
สถาปนิกแนวคิด Green กล่าวด้วยว่าการสร้างบ้านประหยัดพลังงานไม่จำเป็นที่คุณต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากเมืองนอก สร้างบ้านหนึ่งหลังราคาเป็นสิบล้าน ประเทศเราเป็นสังคมที่ยังมีคนจนเยอะ ใครจะไปสร้างได้ เราก็เหมือนกันเป็นอาชญากรโดยไม่ตั้งใจ ขโมยทรัพยากรจากบ้านนอก ชาวนาไม่มีไฟอ่านหนังสือ ไม่มีไฟฟ้าจะใช้ แต่ดูวิธีการใช้ไฟฟ้าในเมืองที่ใช้อย่างสิ้นเปลือง

ทั้งนี้ การเสวนากลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความรู้ยังมีการพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่อง “ระบบผลิตพลังงานร่วมและระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ” ซึ่งมีการศึกษาพบว่าอีก 10 ปีข้างหน้าระบบนี้จะมีศักยภาพในการลดความต้องการไฟฟ้าได้มากถึงเกือบ 3,200 เมกกะวัตต์ หรือประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 21,864 ล้านหน่วย เรื่อง“การเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ถ่านหิน นิวเคลียร์ และการดักจับคาร์บอน” ซึ่งทำให้ในการผลิตไฟฟ้าปริมาณเท่าเดิม มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง รวมทั้งเรื่องพลังงานทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานลม แสงแดด สายน้ำ พลังงานจากชีวมวล ชีวภาพ และขยะชุมชน ที่เริ่มเข้ามามีสัดส่วนในแผน PDP มากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
 
ตัวแทนชุมชนร่วมยกตัวอย่าง แสดงความเห็นการจัดการพลังงาน
 
“คลองโยงเป็นพื้นที่ที่ใกล้กรุงเทพ ขนาดพันแปดร้อยไร่ ต้องการให้คลองโยงเป็นพื้นที่ที่จัดการตัวเองได้ เรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่ต้องจัดการร่วมกับชุมชน” ผู้เข้าร่วมเสวนาจากชุมชนคลองโยง จ.นครปฐม กล่าวด้วยน้ำเสียงจริงจัง
 
คลองโยงเป็นพื้นที่ที่ห้ามสร้างบ้านจัดสรร ห้ามสร้างโรงงานอุตสาหกรรม แต่รอบๆชุมชนถูกการพัฒนารอบไว้หมดแล้ว เราจึงคิดว่าทำอย่างไรให้คลองโยงพึ่งพาตัวเองได้ คลองโยงจึงเริ่มทำเกษตรอินทรี
 
ฟางข้าวจำนวนมหาศาล จะสามารถทำอะไรได้บ้าง ในพื้นที่หนึ่งพันเจ็ดร้อยไร่ พลังงานจากหัวไร่ปลายนา อย่างน้อยก็ต้องมีพลังงานที่ไว้ใช้บ้าง เช่น แสงไฟบนถนนเข้าไปหมู่บ้าน ให้กลายเป็นพลังแสงแดดให้กลายเป็นพลังงานที่ใช้ในชุมชน นักเรียนโรงเรียนสถาพร ใช้ไฟฟ้าจากภาครัฐในครึ่งวัน ส่วนอีกครึ่งวันใช้พลังงานที่ผลิตขึ้นเอง เช่น พลังงานจากผักตบชวา
 
“เราตั้งโจทย์กับชาวบ้านว่า คุณเคยคิดหรือไม่ว่าคุณเป็นชาวนาแต่ต้องซื้อข้าวกิน คำถามนี้นำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนวิธีคิด เพราะข้าวที่เราปลูกนั้นกินไม่ได้ ”
 
“เทศบาลคลองโยง กับ เทศบาลศาลายามีชีวิตที่ต่างกันมาก เทศบาลศาลายาเป็นเทศบาลใหญ่เก็บภาษีได้เยอะ มีการลงทุนเยอะ แต่เรากำลังทำการศึกษาว่า สิ่งที่ต้องจ่ายออกไปมีอะไรบ้าง เราจะทำการเปรียบเทียบกับคลองโยง” ผู้ร่วมเสวนากล่าวเปรียบเทียบ
 
เป็นการบูรณการใช้ประโยชน์ทุกด้าน ผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเนื้อที่พันแปดร้อยไร่
 
ส่วน อาจารย์ฝ่ายบริหารงานทั่วไป จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ กล่าวว่า โรงเรียนด้านหน้าติดถนนด้านหลังติดแม่น้ำเจ้าพระยา ผักตบชวามีมากมาย ทำอย่างไรจะให้เอาน้ำจากเจ้าพระยามาใช้ประโยชน์กับโรงเรียน วัด ชุมชนได้ ก่อนหน้าจะมีโครงการโรงเรียนจ่ายค่าน้ำค่าไฟมาก การรณรงค์ก็รั่วไหลมากมาย หลังจากเอาน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาใช้ได้ เนื่องจากติดกังหันสูบน้ำขึ้นมา เอามาขึ้นแท้งไว้แล้วปล่อย ใช้ทั้งโรงเรียนและก็ใช้ทั้งวัด ประหยัดเงินในกรใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ และที่สำคัญนักเรียนมีส่วนร่วมในการคิด ทำอย่างไรให้เกิดพลังงานไฟฟ้า
 
อีกกรณีคือ ลูกหมุนที่หมุนระบายอากาศที่อยู่บนหลังค่าโรงพละศึกษา ทางโรงเรียนจึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะเอาพลังความร้อนกับพลังงานลมมาใช้ได้ เด็กก็มาคิดเล่นทำให้พัดลมหมุนได้จริง
 
ส่วนการจัดการเรื่องขยะ เนื่องจากโรงเรียนมีขยะจากขวดพลาสติกจำนวนมาก จึงจัดแบ่งเด็กเป็นคณะสี เด็กทุกคนมีสีประจำตัว เด็กนักเรียนก็จะทิ้งขยะลงในกล่องของเขาประจำสีตัวเอง หลังจากนั้นก็นำไปขาย และรีไซเคิลต่อไป ทำให้นักเรียนมีเงินในการจัดกิจกรรมกีฬาสีทุกปี ทั้งหมดนี้โรงเรียนพยายามเป็นที่บ่มเพาะความคิดของนักเรียนก่อนให้ออกไปสู่สังคมภายนอก
 
 
000
           
ที่ผ่านมา “พลังงานทางเลือก” ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุลงในแผนพัฒนาพลังงานควบคู่ไปกับพลังงานกระแสหลัก ด้วยความพยายามนำเสนอสิ่งเหล่านี้บนพื้นฐานการปฏิบัติได้จริงสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยแนวคิดที่ไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนากระแสหลัก แต่จะทำอย่างไรให้การพัฒนานั้นเป็นการพัฒนาที่สะอาดต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
 
อย่างไรก็ตาม กับคำถามสำคัญที่ว่า หากไม่อยากให้โลกร้อน ไม่เอานิวเคลียร์ (เพราะหวั่นอันตราย) ไม่เอาถ่านหิน (เพราะเป็นพลังงานสกปรก สร้างคาร์บอนทำโลกร้อน) ไม่เอาเขื่อนขนาดใหญ่ (เพราะกระทบวิถีชีวิตคนริมน้ำ) แล้วเลือกจะเอาพลังงานทางเลือก และการประหยัดพลังงาน เพียงเท่านี้มันจะพอกับการพัฒนากระแสหลักจริงหรือ???
 
ตรงนี้คงต้องติดตามกันต่อไป ว่าแผนทางเลือกอีก 4 แผน สำหรับการจัดทำแผน PDP ของไทย ตามโครงการวิจัย “การวิเคราะห์ทางเลือกของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงานไฟฟ้า” โดยมูลนิธินโยบายสุขภาวะที่จะมีข้อสรุปภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ว่าจะมีข้อเสนออะไรมาให้เราได้ดูกัน
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คำประกาศ: 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต

Posted: 03 Apr 2011 10:53 AM PDT

 
ชื่อเดิม : 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต
 
 
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน กลุ่มความร่วมมือด้านสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต (Internet Rights and Principles Dynamic Coalition: IRP) ซึ่งเป็นกลุ่มพหุภาคีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ทั้งจากภาครัฐ ธุรกิจ และประชาสังคม ได้ร่วมกันประกาศ 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการพัฒนาและจัดการดูแลอินเทอร์เน็ต หลักการดังกล่าวมีรากฐานมาจากหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งได้รับการยอมรับระหว่างประเทศ โดยในการประกาศดังกล่าว มีนายแฟรงค์ ลา รู ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ร่วมกล่าวแสดงความยินดีด้วย อ่านหลักการดังกล่าวในภาษาต่าง ๆ ได้ที่ www.irpcharter.org
10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต
เอกสารนี้นิยามสิทธิและหลักการสำคัญสิบประการ ที่จะต้องประกอบเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตภิบาล สิทธิและหลักการเหล่านี้ถูกรวบรวมโดย กลุ่มความร่วมมือด้านสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต (Internet Rights and Principles Dynamic Coalition: IRP) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างของบุคคลและองค์กรที่ทำงานสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในสิ่งแวดล้อมอินเทอร์เน็ต หลักการดังกล่าวมีรากฐานจากมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และสืบทอดมาจาก กฎบัตรสิทธิมนุษยชนและอินเทอร์เน็ต ที่ทางกลุ่มได้ร่วมมือกันพัฒนา
อินเทอร์เน็ตได้มอบโอกาสมากมายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการจะทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นความจริง และมันมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเรา ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด ทั้งภาคสาธารณะและภาคเอกชน จะต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับที่ขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องถูกนำไปปฏิบัติ เพื่อให้แน่ใจว่าอินเทอร์เน็ตนั้นทำงานและพัฒนาไปในทางที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้สมบูรณ์ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยให้วิสัยทัศน์ในการที่จะทำให้สภาพแวดล้อมอินเทอร์เน็ตนั้นตั้งอยู่บนฐานของสิทธิได้เป็นความจริง 10 สิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต ดังกล่าว ได้แก่ :
1) ความเป็นสากล และ ความเสมอภาค
มนุษย์ทุกคนต่างเกิดมามีอิสระและเสมอกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่าง ๆ ซึ่งจะต้องได้รับความเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมในสภาพแวดล้อมออนไลน์
2) สิทธิ และ ความยุติธรรมทางสังคม
อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และบรรลุสิทธิมนุษยชนและพัฒนาความยุติธรรมทางสังคม เราทุกคนมีหน้าที่ผูกพันในการเคารพสิทธิมนุษยชนของคนอื่น ๆ ทั้งหมด ในสิ่งแวดล้อมออนไลน์
3) ความเข้าถึงได้
คนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการเข้าถึงและใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยและเปิดกว้าง
4) การแสดงออก และ การสมาคม
คนทุกคนมีสิทธิในการค้นหา ได้รับ และแจ้งข้อมูลข่าวสารอย่างเสรีบนอินเทอร์เน็ต โดยไม่ถูกปิดกั้นหรือรบกวนในทางอื่นใด คนทุกคนยังมีสิทธิในการคบค้าสมาคมกันผ่านอินเทอร์เน็ตและบนอินเทอร์เน็ต เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และวัตถุประสงค์อื่น ๆ
5) ความเป็นส่วนตัว และ การปกป้องข้อมูล
คนทุกคนมีสิทธิในความเป็นส่วนตัวออนไลน์ ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพในการที่จะพ้นจากการถูกสอดส่องตรวจตรา สิทธิในการใช้การเข้ารหัส และสิทธิที่จะไม่เปิดเผยตัวตนออนไลน์ คนทุกคนยังมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองข้อมูล ซึ่งรวมถึงการควบคุมการรวบรวม การเก็บ การประมวล การกำจัด และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
6) ชีวิต อิสรภาพ และ ความมั่นคงปลอดภัย
สิทธิที่จะมีชีวิต มีอิสรภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัย จะต้องได้รับการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมในสภาพแวดล้อมออนไลน์ สิทธิเหล่านี้จะต้องไม่ถูกละเมิด หรือใช้เพื่อละเมิดสิทธิอื่น ในสภาพแวดล้อมออนไลน์
7) ความหลากหลาย
ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมบนอินเทอร์เน็ต จะต้องได้รับการส่งเสริม นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางนโยบายควรได้รับการสนับสนุนเพื่ออำนวยความเป็นพหุลักษณ์ของการแสดงออก
8) ความเสมอภาคทางโครงข่าย
คนทุกคนจะต้องมีช่องทางเข้าถึงเนื้อหาอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นอิสระจากการถูกจัดลำดับ กรองและควบคุมการจราจรอย่างแบ่งแยก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการค้า การเมือง หรือเหตุผลอื่นใด
9) มาตรฐาน และ การวางข้อกำหนด
สถาปัตยกรรม ระบบสื่อสาร และรูปแบบเอกสารและข้อมูล ของอินเทอร์เน็ต จะต้องอยู่บนฐานของมาตรฐานเปิด ที่จะทำให้แน่ใจได้ว่า คนทุกคนจะสามารถประสานงานระหว่างกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ถูกกันออกไป และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
10) การจัดการดูแล
สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคม จะต้องเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นพื้นฐานทางกฎหมายและแบบแผนปฏิบัติ ซึ่งอินเทอร์เน็ตจะใช้ดำเนินการและถูกจัดการดูแล สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นไปในลักษณะพหุภาคี บนหลักการของความเปิดกว้าง การมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม และการให้เหตุผลและรับผิดได้
**ร่วมพัฒนากฎบัตร IRP ที่ www.irpcharter.org ติดตามเราบนทวิตเตอร์ที่ @netrights หรือเข้ากลุ่ม Internet Rights and Principles บนเฟซบุ๊ค www.facebook.com/internetrightsandprinciples **


ดาวน์โหลด PDF | OpenDocument
เอกสารนี้แปลจาก 10 Internet Rights & Principles ดู www.irpcharter.org สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และคำแปลในภาษาอื่น ๆ
This is a Thai translation of 10 INTERNET RIGHTS & PRINCIPLES. Other translations and more information at www.irpcharter.org.
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนเสื้อแดงร่วมเผาศพ ‘เทิดศักดิ์’ ล้นหลาม แกนนำลั่นทวงความยุติธรรมให้ผู้สูญเสีย

Posted: 03 Apr 2011 10:06 AM PDT

“วันที่เราไม่อยากเจอที่สุด คือวันที่เราผู้ยังอยู่ต้องมาร่วมกันยืนห้อมล้อมดูผู้จากไปจากการต่อสู้ เราไม่อยากยืนส่งดวงวิญญาณและเรียกเขาว่าวีรชน หัวใจเขาก็เหมือนเราที่ไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษ แต่ต้องการแค่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เท่านั้น ผู้มีอำนาจให้สิ่งนั้นไม่ได้แต่กลับหยิบยื่นความตายให้เรา” ณัฐวุฒิกล่าวไว้อาลัย

 
 
3 เม.ย.54 ที่วัดสีกัน (พุทธสถาน) ดอนเมือง มีการจัดงานฌาปนกิจศพนายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ หรือโบ๊ท ซึ่งเสียชีวิตที่สี่แยกคอกวัวในวันที่ 10 เม.ย.53 ขณะทหารเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยครอบครัวของเทิดศักดิ์เก็บรักษาศพไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ภายในงานมีคนเสื้อแดงไปร่วมงานอย่างล้นหลาม รวมถึงแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่วมงานหลายคน อาทิ ธิดา ถาวรเศรษฐ์, เหวง โตจิราการ, สุพร อัตถาวงศ์, ไวพจน์ อาภรรัตน์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, จตุพร พรหมพันธ์, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ฯ รวมทั้ง สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อรรถพร อนันตเมฆ
 
เวลาประมาณ 14.30 น. ก่อนจะมีการประชุมเพลิง แกนนำบางส่วนได้ขึ้นกล่าวไว้อาลัย นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเทิดศักดิ์ ทุกคนที่รักประชาธิปไตยต่างเป็นหนี้ครอบครัวนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราผ่านความเจ็บป่วด และเมื่อเห็นฆาตรกรออกมาอย่างไม่รู้สำนึกต่อสิ่งที่กระทำ เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะทวงความยุติธรรมให้กับเทิดศักดิ์และทุกชีวิตที่สูญเสีย ไม่ว่าฆาตกรคนนั้นจะเป็นใคร ยิ่งใหญ่เพียงไหน แต่เขาต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมาย แม้กฎหมายไม่สามารถเอาผิดเขาได้ แต่อย่างไรก็จะหนีไม่พ้นกฎแห่งกรรม ความตายของเทิดศักดิ์จะไม่สูญเปล่า เราจะต้องเยียวยาหัวใจของกันและกัน และจะต้องสานต่อเจตนารมณ์ของผู้เสียชีวิตจนกว่าประเทศนี้จะเป็นประชาธิปไตย มีความยุติธรรม

 

 
  
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวว่า เราร่วมต่อสู้กันมาตั้งแต่หลังปี 2549 สิ่งที่เราอยากเห็นมากที่สุดคือ ให้บ้านเมืองนี้เป็นประชาธิปไตย สิ่งที่เราอยากเดินไปถึงที่สุดคือ ผืนแผ่นดินนี้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง และวันที่เราไม่อยากเจอที่สุด คือวันที่เราผู้ยังอยู่ต้องมาร่วมกันยืนห้อมล้อมดูผู้จากไปจากการต่อสู้ เราไม่อยากยืนส่งดวงวิญญาณและเรียกเขาว่าวีรชน หัวใจเขาก็เหมือนเราที่ไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษ แต่ต้องการแค่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เท่านั้น ผู้มีอำนาจให้สิ่งนั้นไม่ได้แต่กลับหยิบยื่นความตายให้เรา เพียงเพราะต้องการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ผู้ต้องรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้คือผู้ลงมือ ผู้สั่งการ และผู้อยู่เบื้องหลัง เราไม่คาดคิดว่าผู้มีอำนาจจะอำมหิตถึงเพียงนั้น ไม่คาดคิดไม่ใช่เพราะรู้ไม่ทัน แต่ไม่คาดคิดเพราะที่ผ่านมาเรารักเขามากเกินไป ความรักทำให้คนตาบอด แต่ความตายทำให้คนตาสว่าง แล้วจะไม่มีวันหลงลืมความตายของประชาชน ไม่มีวันลืมความสูญเสียของผู้บริสุทธิ์ ตรงกันข้าม เราจะลืมตามองไปทุกมุมมืดเพื่อดูใครก็ตามที่ซ่อนตัวอยู่ให้เขารู้ว่าเรารู้แล้ว ตาสว่างแล้วทั้งแผ่นดิน
 
จากนั้นในเวลา 17.00 น. จึงเปิดให้ประชาชนเข้าทยอยวางดอกไม้จันทน์ และฌาปณกิจศพในท้ายที่สุด
 
ทั้งนี้ เหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 มีผู้เสียชีวิต 26 ราย
 
เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร 5 รายได้แก่
1)พลฯภูริวัฒน์ ประพันธ์2) .ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน 3) พลฯสิงหา อ่อนทรง 4) พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม  
5) สิบเอกอนุพล หอมมาลี
 
 
 เป็นพลเรือน 21 ราย ได้แก่
1)นายอำพน ตติยรัตน์ ถูกยิงด้านหลังศีรษะ ทะลุด้านหน้า2)นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร ถูกยิงจากด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า3)นายไพรศล ทิพย์ลม ถูกยิงจากด้านหน้าศีรษะทะลุท้ายทอย4)นายสวาท วางาม ถูกยิงจากด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า5) Mr.Hiroyuri Muramoto ถูกยิงหน้าอก6)นายธวัฒนะชัย กลัดสุข ถูกยิงหน้าอก 7)นายทศชัย เมฆงามฟ้า ถูกยิงทะลุหัวใจ 8)นายจรูญ ฉายแม้น ถูกยิงอก 9)นายวสันต์ ภู่ทอง ถูกยิงจากด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า10)นายสยาม วัฒนนุกุล ถูกยิงอก 11)นายคะนึง ฉัตรเท ถูกยิง 12) นายเกรียงไกร คำน้อย ถูกยิงสะโพก 13) นายบุญธรรม ทองผุย ถูกยิง 14) นายสมศักดิ์ แก้วสาน ถูกยิง 15) นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ถูกยิงที่หน้าอก 16) นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ ถูกยงที่หัวเหน่า 17) นายนภพล เผ่าพนัส ถูกยิงที่ท้อง 18)นายสมิง แตงเพชร ถูกยิงที่ศีรษะ 19)นายมนต์ชัย แซ่จอง ระบบการหายใจล้มเหลว 20)นายมานะ อาจราญ ถูกยิงที่ศีรษะที่สวนสัตว์ดุสิต 21) นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ ถูกยิง
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Data.gov โดนสภาสหรัฐตัดงบ อาจต้องปิดตัวในเร็วๆ นี้

Posted: 03 Apr 2011 08:57 AM PDT

เว็บไซต์รุ่นใหม่ของรัฐบาลสหรัฐในยุคของบารัค โอบามา เช่น Data.gov (เผยแพร่ข้อมูลภาครัฐ) และ USASpending.gov (เผยแพร่รายละเอียดงบประมาณ) ซึ่งเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวคิดใหม่ของรัฐบาลแห่งอนาคต (Government 2.0) อาจจะต้องปิดตัวในเร็วๆ นี้ เนื่องจากโดนรัฐสภาสหรัฐหั่นงบประมาณที่ใช้ดำเนินการเว็บไซต์ลง

ภาพประกอบ หน้าแรกเว็บไซต์ data.gov
ภาพประกอบ หน้าแรกเว็บไซต์ data.gov

ตามข่าวระบุว่าเว็บไซต์ของรัฐบาลบางแห่ง เช่น Data.gov (เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่สร้างโดยหน่วยงานของรัฐ) IT Dashboard (งบประมาณด้านไอทีของรัฐ) paymentaccuracy.gov (ตรวจสอบความถูกต้องในการเบิกจ่ายเงิน) จะมีงบประมาณให้ใช้ถึงวันที่ 20 เมษายนนี้เท่านั้น ส่วนเว็บไซต์ชุดที่สองคือ USASpending.gov (งบประมาณรัฐบาล) และ Apps.gov/now (แอพพลิเคชันของรัฐบาล) มีงบประมาณเหลือถึงวันที่ 30 กรกฎาคม

นอกจากนี้ สำนักงบประมาณของสหรัฐ (Office of Management and Budget) ยังจะพิจารณาตัดงบของเว็บไซต์อื่นๆ เช่น Performance.gov, FedSpace อีกด้วย งบประมาณโดยรวมของการให้บริการด้านไอทีผ่านเว็บไซต์เดิมอยู่ที่ 34 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้เหลือเพียง 2 ล้านดอลลาร์

ข่าวการตัดงบเว็บไซต์เหล่านี้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่ารัฐบาลสหรัฐเลือกตัดโครงการที่สร้างความโปร่งใสให้แก่หน่วยงานภาครัฐเอง ตัวแทนของ Sunlight Foundation ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่เฝ้าระวังเรื่องความโปร่งใสของรัฐบาล ได้เรียกร้องไปยังภาคการเมืองของสหรัฐให้ล้มเลิกแผนการตัดงบครั้งนี้

แนวความคิดการสร้างเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาครัฐบาล เพื่อสร้างความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้นำข้อมูลที่ผลิตจากงบประมาณแผ่นดินไปใช้ประโยชน์ต่อ ถือเป็นนโยบายสำคัญอันหนึ่งของรัฐบาลบารัค โอบามา ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขารับตำแหน่งประธานาธิบดี จนเป็นต้นแบบให้หลายๆ ประเทศในโลกนำไปเป็นตัวอย่าง (ของประเทศไทยเองมีเว็บไซต์ “ช่วยชาติ.com” สำหรับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งแรกของรัฐบาลอภิสิทธิ์ และที่เหลืออยู่ในปัจจุบันคือ เว็บไซต์ไทยเข้มแข็ง [www.tkk2555.com] หรือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สอง ซึ่งดำเนินการโดยคณะของนายกรณ์ จาติกวณิช รมว. คลัง)

อย่างไรก็ตาม ข่าวการตัดงบครั้งนี้ถือเป็นอุปสรรคครั้งสำคัญของแนวคิดจากฝั่งโลกไซเบอร์ ที่ต้องเผชิญกับ “ความเป็นจริง” ในโลกแห่งงบประมาณและการเมืองระบบรัฐสภา

ที่มา: เว็บไซต์ siam intelligence

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 มี.ค. - 2 เม.ย. 2554

Posted: 03 Apr 2011 08:30 AM PDT

รัฐเทอีก ขึ้นเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ อีก 5%

มีรายงานว่า ในการประชุมครม.วันที่ 28 มี.ค.นี้ ทางกระทรวงแรงงานเสนอให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ปรับอัตราค่าจ้างรัฐวิสาหกิจ (ไม่เกินร้อยละ 5) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่2/2554วันที่ 21 ก.พ.2554 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2554 เป็นต้นไป

ทั้งนี้การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้าง ของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ แต่ละแห่งให้คำนึงถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและผลกระทบต่อต้น ทุนและอัตราค่าบริการที่จะเกิดขึ้นและให้คงสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคลากรต่อ รายได้ให้คงอยู่ในอัตราเดิมโดยไม่เป็นการผลักภาระให้ประชาชนและไม่กระทบต่อ การจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลัง ในการนำรายได้ส่งคลังแผ่นดิน

โดยแบ่งเป็น 3กลุ่มรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ กลุ่มที่ 1.รัฐวิสาหกิจ 13 แห่ง อาทิ ที่ ครม.เคยมีมติให้สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการเองได้ตามม. 13(2)แห่งพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อาทิ บมจ.ปตท. บมจ.กสท บมจ.ทีโอที บมจ.อสมท และบมจ.การบินไทย เป็นต้น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสากิจแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณา หากจะปรับค่าจ้างให้ปรับได้ไม่เกินร้อยละ5 โดยใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้น

กลุ่มที่ 2 รัฐวิสาหกิจ 16 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตนเอง อาทิ กฟน กฟผ. กฟภ. ธกส. ธอส ธนาคารออมสิน เป็นต้น ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งพิจารณาปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่ง ไม่เกินร้อยละ5 ยกเว้นตำแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่ง ใช้สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยให้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเองกรณีมีการปรับค่าจ้างแล้วอัตราใด เกินอัตราขั้นสูงสุดแล้ว

และกลุ่มที่ 3 รัฐวิสาหกิจ 36 แห่งที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ อาทิ การทางพิเศษฯ กปน. กปภ. การรถไฟฯ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ขนส่ง จำกัด ขสมก. เป็นต้น ให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 5 ของอัตราที่ได้รับ ยกเว้นตำแแหน่งผู้บริหารซึ่งใช้สัญญาจ้างและลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาซึ่ง ใช่สัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดไว้ โดยใช้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง

ทั้งนี้โครงสร้างอัตราเงินเดือนค่า จ้าง 58 ขั้น ที่ปรับใหม่แล้วปรากฎดังนี้ เงินเดือนค่าจ้าง ขั้นต่ำ ลำดับที่1- ลำดับที่ 4 เดิมร้อยละ 4 ตามมติครม.2ต.ค.50 อยู่ที่ 5,510 เพิ่มเป็น 5,790 ขั้นกลาง ลำดับที่ 29 จากเดิม 22,860 เป็น 24,010 ขั้นสูงลำดับที่ 58 จากเดิม 113,520 เป็น119,200

(ไทยรัฐ, 28-3-2554)

จับนายหน้าตุ๋นแรงงานไปทำงานลิธัวเนีย

วันนี้ 28 มี.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่ กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. สั่งการ พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รอง ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.สิทธิเกียรติ ศรีจันทร์ สว.กก.1 บก.ป.นำกำลังเข้าจับกุม นายเด่นภูมิ ทาแก้ว อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ 5 ต.วังปลาป้อม อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี ข้อหา ร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศโดยการหลอกลวงนั้นได้ไป ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง และร่วมกันฉ้อโกง จับกุมได้ที่ไซส์งานของบริษัทแห่งหนึ่งใน ต.หนองแฟบ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
              
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากผู้ต้องหาได้ร่วมกับภรรยา คือ น.ส.อุมารินทร์ จอมทรักษ์ อายุ 34 ปี ซึ่งถูกจับกุมตัวไปก่อนหน้านี้ หลอกลวงผู้เสียหายที่เป็นคนงานจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ว่า สามารถส่งไปทำงานเกษตรกรรมที่ประเทศลิธัวเนีย โดยเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการรายละ 50,000 บาท เหตุเกิดในพื้นที่ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550-ธันวาคม 2551 ต่อเนื่องกัน แต่ภายหลังคนงานที่เดินทางไปกลับไม่ได้ทำงานตามที่มีการกล่าวอ้าง ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศลิธัวเนีย จับกุมและส่งตัวกลับประเทศไทย จากนั้นทั้งหมดจึงพากันเข้าร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงาน และแจ้งความกับตำรวจท้องที่ต่างๆ
              
กระทั่งต่อมา น.ส.อุมารินทร์ ถูกจับกุมตัวได้ ส่วนผู้ต้องหาพบว่ามีหมายจับติดตัวอยู่ถึง 16 หมาย ในข้อหาเดียวกัน และหลังจากก่อเหตุได้หลบหนีไปทำงานอยู่ที่ จ.ระยอง ก่อนจะถูกจับกุมดังกล่าว อย่างไรก็ดี จากแนวทางการสืบสวนเจ้าหน้าที่ยังเชื่อว่ามีผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย และมีผู้เสียหายอีกหลายสิบรายที่ยังไม่ได้แจ้งความดำเนินคดี รวมมูลค่าเสียหายกว่า 4 ล้านบาท
              
สอบสวนเบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธโดยอ้างว่า น.ส.อุมารินทร์ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาแรงงานทั้งหมด ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่ภรรยารับจัดหาคนงานน่าจะเป็นเพราะเคยไปทำงานต่างประเทศมาก่อน เมื่อมีผู้สนใจมาสอบถามจึงให้คำแนะนำ ส่วนกรณีที่มีการเรียกเก็บเงินตนก็ไม่ทราบเรื่อง ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ จ.ปทุมธานี รับไว้ดำเนินคดีและขยายผลจับกุมต่อไป

(เดลินิวส์, 28-3-2554)

ไฟเขียวร่าง พ.ร.ฎ.จ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนนอกระบบ

นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) อนุมัติเรื่องการปฏิบัติการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ  ตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน ที่เสนอให้ร่างพ.ร.ฏกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่ง สมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ... มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2554

ทั้งนี้ร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าว มีสาระได้แก่ การกำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน  ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตน ซึ่งมิใช่ลูกจ้าง พ.ศ. 2537 , การกำหนดคำนิยามคำว่า ผู้ประกันตน” “เงินสมทบและ สำนักงานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  , การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน,การกำหนดให้ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนโดยกำหนดให้จ่ายเดือนละครั้ง

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่ง จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท ได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย  และกำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 150 บาท ได้รับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ  และกำหนดให้ผู้ประกันตนที่ถึงแก่ความตาย  ให้ทายาทหรือบุคคลที่ระบุไว้มีสิทธิได้รับค่าทำศพ

ร่างพ.ร.ฎ. ยังกำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วย  กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย หากมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ในกรณีเดียวกัน  ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้เพียงกรณีเดียวเป็นต้น

(โพสต์ทูเดย์, 29-3-2554)

สสส.จับมือ รง.ยกระดับทรัพยากรแรงงาน

วันนี้ (28 มี.ค.)ที่โรงแรมปริ้นตั้น พาร์ท สวีท กรุงเทพฯ ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ Decent Work by Happy Workplace โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
      
โดย นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันทุกประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นลำดับต้นๆ หากประเทศใดไม่ให้ความสำคัญ จะทำให้เสียเปรียบการพัฒนาในทุกด้าน สูญเสียโอกาสในเวทีการแข่งขันทางการค้า การลงทุน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานประกอบการ หรือ Long Life Learning เพื่อนำไปสู่ Decent Work หรือการมีสัมมาชีวะ ซึ่งต้องพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาทัศนคติและการสร้างวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร เพื่อให้คนในองค์กรมีการทำงานที่ดีและชีวิตมีความสุข ทั้งนี้ การลงนามข้อตกลงในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานร่วมกันในรูปแบบ Decent Work ควบคู่กับ Happy Work Place หรือ องค์กรแห่งความสุข ของ สสส.และสมาคมการจัดการงานบริหารบุคคลแห่งประเทศไทย เข้ามาร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่แผนปฏิบัติการที่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมต่อไป และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
      
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญมากในองค์กร จากการประเมินองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย พบว่า 10% ตระหนักว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ และเตรียมแผนรองรับเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ส่วนอีก 90% ทราบว่า เป็นเรื่องสำคัญแต่ยังไม่มีแผนการจัดการพัฒนาบุคลากรรองรับ ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้บริหารองค์กรต่างๆ ที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรและนำไปสู่องค์กรแห่งความสุขในที่สุด
      
ทพ.กฤษดา  กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือ Decent Work by Happy Workplace ระหว่าง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมการบริหารจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย และ สสส.  ถือเป็นการเชื่อมโยงและบูรณาการความร่วมมือ ระหว่าง 3 หน่วยงาน ให้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการ และสาธารณชน  และนำไปสู่การจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น 1.การจัดสัมมนาเชิงวิชาการ สร้างเครือข่ายการทำงาน เพื่อให้เกิดการจัดการองค์ความรู้  2.ขยายองค์ความรู้ไปสู่สาธารณะ 3.จัดกิจกรรมด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน  4.ขยายโครงการนำร่องการอบรมนักบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมืออาชีพ และ5.พัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
      
การก้าวไปสู่องค์กรแห่งความสุข หรือ Happy workplace จำ เป็นต้องประกอบด้วย องค์กรให้ความสำคัญกับพนักงาน ออกแบบองค์กรรองรับความต้องการของพนักงาน จะสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีให้กับพนักงาน หรือสร้างให้พนักงานเกิดสุขภาวะและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีนำไปสู่การทำ งานที่มีประสิทธิภาพ งานได้ผล คนมีความสุขก็จะกลายเป็นองค์กรแห่งความสุขอย่างแท้จริงทพ.กฤษดา กล่าว
      
นายฉัตรพงษ์ วงษ์สุข นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมวิชาชีพสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของไทย ให้มีความสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ และยกระดับวิชาชีพการบริหารงานบุคคลให้ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง โดยให้บุคลากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและองค์กรต่างๆ ได้รับความรู้ความเข้าใจงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น พร้อมนำความรู้ไปส่งเสริมและสร้างแนวทางการพัฒนาบุคลากรให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน   เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-3-2554)

แรงงานไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นกว่าแสนคน

นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทย จากสถานประกอบการที่มีเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นเป็นชาวญี่ปุ่น 767 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 471,476 คน พบว่า ได้รับผลกระทบ 325 แห่ง ลูกจ้าง 108,808 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบรถยนต์ ผลิต และจำหน่ายชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ จำหน่าย และซ่อมรถยนต์ ผลิตสายไฟฟ้า และ อาหาร ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเป็น 5 อันดับแรก คือ จังหวัดสมุทรปราการ 307 แห่ง ลูกจ้าง 99,600 คน พระนครศรีอยุธยา 1 แห่ง ลูกจ้าง 4,135 คน กรุงเทพมหานคร 11 แห่ง ลูกจ้าง 2,650 คน พิษณุโลก 1 แห่ง ลูกจ้าง 1,095 คน และ บุรีรัมย์ 1 แห่ง ลูกจ้าง 507 คน

ส่วนมาตรการแก้ปัญหาในเบื้องต้น คือ ลดการทำงานล่วงเวลา ลดกำลังการผลิต ลดวันทำงาน หรือใช้มาตรา 75 ในการหยุดงาน แต่นายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของอัตราเงินเดือน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า สถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว และจะไม่มีการปลดคนงาน เพราะสถานประกอบการที่กระทบส่วนใหญ่ ต้องการลูกจ้างฝีมือ อีกทั้งประเทศญี่ปุ่น มีนโยบายในการฟื้นฟูประเทศที่ชัดเจน

ด้านอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน กล่าวอีกว่า มีสถานประกอบการประเภทอาหารและเกษตรแปรรูป ในจังหวัดเชียงใหม่ และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในจังหวัดชลบุรี ที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวก เนื่องจากบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น ไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนหรือสินค้าได้ จึงให้บริษัทลูกในประเทศไทย ผลิตแทน โดยเพิ่มเวลาการทำงานให้กับพนักงานจาก 2 กะเป็น 3 กะ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง

(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 29-3-2554)

แรงงานขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกร้อยละ 5 ตามรัฐวิสาหกิจ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า ได้กำชับให้ฝ่ายเลขาฯ ของคณะอนุกรรมการฯ ค่าจ้างจังหวัดเร่งจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในการนำมาพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปีให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ โดยให้ศึกษารายละเอียดถึงค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ ทั้งอัตราเงินเฟ้อ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ รวมถึงเงินที่ใช้ไปในกิจกรรมสันทนาการ อาทิ เงินทำบุญ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าจะมีความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก ครั้งในช่วงกลางปีหรือไม่ หลังจากที่ในช่วงนี้ ราคาสินค้าที่จำเป็นหลายตัวทยอยปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้จะใช้เป็นฐานในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงปลายปีด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา ตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานในหลายจังหวัด ซึ่งนำมาเป็นฐานคิดค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ผ่านมา ถูกตั้งคำถามว่าเป็นตัวเลขที่ถูกต้องหรือไม่

ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า คณะกรรมการค่าจ้างกลางควรจะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่โดย เร็ว อย่างช้าสุดช่วงกลางปีนี้ เพราะขณะนี้ค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงานพุ่งสูงขึ้นมาก ตามราคาสินค้าที่สูงขึ้น อย่างน้อยต้องมีการปรับขึ้นอีกร้อยละ 5 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจในวันที่ 1 เมษายนนี้ ส่วนในระยะยาว จะต้องเร่งปรับโครงสร้างราคาค่าจ้างที่เป็นธรรม ตามฝีมือและระยะเวลาในการทำงาน ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์กำลังเร่งจัดทำโครงสร้างค่าจ้างใหม่และจะนำเสนอให้ กระทรวงแรงงานพิจารณาภายในเดือนพฤษภาคมนี้

(สำนักข่าวไทย, 30-3-2554)

ชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ ขู่หยุดส่งเงินสมทบในส่วนค่ารักษาก่อนวันแรงงาน

นายนิมิตร์ เทียนอุดม เลขาธิการชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน กล่าวว่า ในวันนี้ได้ยื่นหนังสือถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้เร่งดำเนินการนำเงินสมทบในส่วนรักษาพยาบาลและคลอดบุตรไปใช้ใน สิทธิประโยชน์ชราภาพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ชมรมพิทักษ์สิทธิฯ ได้เรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เร่งดำเนินการยกเลิกเก็บเงินสมทบในส่วนค่ารักษาพยาบาลและคลอดบุตร จากผู้ประกันตนและนายจ้างโดยด่วนภายใน 30 วัน โดยให้นำส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและคลอดบุตรไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกัน ชราภาพแทน เนื่องจากผู้ประกันตนไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านสุขภาพและยังได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลน้อยกว่าระบบบริการสุขภาพอื่น ๆ ประกอบกับการวินิจฉัยจากผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้ สปส.พิจารณาหยุดเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตนภายใน 30 วัน แต่จนถึงขณะนี้สปส.ยังไม่ยอมดำเนินการ จึงเรียกร้องให้ รมว.แรงงาน เร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าวภายใน 30 วัน หากไม่มีการดำเนินการตามข้อเรียกร้อง ชมรมพิทักษ์สิทธิฯ จำเป็นต้องดำเนินการหยุดส่งเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลและคลอดบุตร ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ และจะถือว่า รมว.แรงงาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

ด้านนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของชมรมพิทักษ์สิทธิฯ ให้นำเงินค่ารักษาพยาบาลไปสมทบกับกองทุนชราภาพนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำตามกฎหมาย พ.ร.บ.ประกันสังคม หากยังไม่มีการแก้ไข สปส.ก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ ทั้งนี้ หากกฎหมายมีความชัดเจน สปส.ก็พร้อมปฏิบัติตามทันที และส่วนตัวต้องการให้มีความชัดเจนโดยเร็ว จะได้ไม่ต้องสร้างความสับสนให้ผู้เกี่ยวข้อง

(สำนักข่าวไทย, 30-3-2554)

รมว.แรงงาน เชื่อ พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับแก้ไข จะมีผลบังคับใช้ทันการเลือก บอร์ด สปส.ชุดใหม่

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการประกันสังคม หรือ บอร์ด สปส. จะหมดวาระในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งผู้นำแรงงานและนักวิชาการต่างออกมาเคลื่อนไหวให้มีการเลือกตั้งบอร์ด สปส.ชุดใหม่ โดยให้ผู้ประกันตรงเลือกโดยตรง ว่า ในร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับแก้ไขใหม่ ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการการเลือกตั้งไปมาก โดยให้บอร์ด สปส.มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มผู้ประกันตนโดยตรง คาดว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะกลับเข้าสภาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในเร็วๆ นี้ ซึ่งภายใน 1 เดือน คงจะแล้วเสร็จ เชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้น่าจะนำมาใช้ได้ทันในการเลือกตั้งบอร์ดชุดใหม่นี้ ส่วนเรื่องที่มีบางองค์กรเคลื่อนไหวไม่ให้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กรณีรักษาพยาบาล เพราะมองว่าเป็นความเหลื่อมล้ำและต้องการให้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแลงานด้านนี้ทั้งหมด นั้น เรื่องนี้ได้มีการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไปบ้างแล้ว ซึ่งตนเองเสนอว่าน่าจะให้เป็นสิทธิของผู้ประกันตนทั้ง 9 ล้านคนในการตัดสินใจ แทนที่จะเป็นผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะตอบคำถามแทนผู้ ประกันตนทั้งหมดได้หรือไม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ทางออกที่ดีสำหรับเรื่องนี้คือควรมีการแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับ คือ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พ.ร.บ.ประกันสังคม เพื่อให้สิทธิ์ประชาชนเป็นผู้เลือกด้วยตัวเอง นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังแนะว่าต้องเพิ่มสิทธิประโยชน์ การให้บริการแก่ผู้ประกันตนซึ่ง สปส.กำลังดำเนินการอยู่ และพัฒนาระบบประกันสังคม ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ทำโครงการโรงพยาบาลตัวอย่าง 5-6 แห่ง

(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 31-3-2554)

นักวิชาการจี้รัฐขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลางปีชดเชยราคาสินค้าพุ่ง

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงันร่วมกับกระทรวงแรงงาน จัดเสวนาทางวิชาการเรื่องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ : แรงงานไทยดีจริงหรือ?” โดยนาย สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คำถามที่ว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นดีหรือไม่นั้น หากดูภาพรวมของสังคมจะเห็นว่ามีข้อดีและข้อเสีย

โดยข้อดีคือเป็นการสร้างหลักประกัน ทางรายได้ให้แรงงานที่เข้าทำงานใหม่ซึ่งทำให้คนมีกำลังใจในการทำงาน แต่จะไปกระทบต่อต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะกิจการที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีผลกระทบมากนัก แต่มีผลในแง่จิตวิทยา และทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้ทุกปีทำให้ไม่รู้สึกขวน ขวายในการพัฒนาตัวเอง และส่งผลกระทบต่อผลิตภาพของประเทศโดยภาพรวม

นายสมเกียรติกล่าวว่า ทำอย่างไรให้เรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมอง เรื่องหลักการการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยอิงมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไอแอลโอ โดยคิดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับ 1 คน แต่ไอแอลโอบอกว่าค่าจ้างขั้นต่ำต้องรวมถึงครอบครัวด้วย ดังนั้นจึงต้องพิจารณามุมมองตรงนี้ด้วย

นายสมเกียรติกล่าวต่อว่า รายได้ของลูกจ้างเฉลี่ยใน กทม.อยู่ที่วันละ 303 บาท แต่ที่กระทรวงแรงงานกำหนดไว้คือวันละ 215 บาท ซึ่งส่วนเกินของรายได้มาจากการทำงานล่วงเวลา แต่การได้รายได้เพิ่มเช่นนี้ก็ต้องสูญเสียบางอย่างในชีวิต เช่น เวลาที่อยู่กับครอบครัวหายไป เนื่องจากต้องทำงานล่วงเวลา

อย่างไรก็ตามการขึ้นค่าจ้างจำเป็น ต้องค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบมาก และก็จำเป็นต้องส่งสัญญาณว่าปีต่อไปก็จะให้ความสำคัญกับตรงนี้มากขึ้น เรื่องการปรับค่าจ้างตนได้รับการบังคับจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานให้ควบคุมดูแล แรงงานต่างด้าวให้ได้รับค่าจ้างเท่ากับแรงงานไทย ซึ่งลำบากใจมาก เพราะค่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือของไทยเกือบสูงสุดในแถบอาเซียน ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น

(เนชั่นทันข่าว, 31-3-2554)

มาร์คชี้ ปรับขึ้นเงินเดือน ขรก. หวังช่วยเผชิญค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่วนค่าแรงขั้นต่ำ รอไปก่อน

เมื่อเวลา 11.15 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการ พลเรือนดีเด่น ประจำปี 2553 เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2553ถึงกรณีการปรับขึ้นค่าเงินเดือนของข้าราชการเป็นวันแรก จะกระทบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ ว่า เราหวังว่าจะช่วยพี่น้องข้าราชการและบุคลากรในภาครัฐ เพราะว่าค่าครองชีพสูงขึ้น เราจึงปรับขึ้นเพื่อที่จะให้สามารถเผชิญหน้าสถานการณ์ค่าครองชีพได้

ส่วนเรื่องของการปรับขึ้นค่าแรง แรงงานขั้นตำนั้น ขณะนี้กำลังพยายามทำความเข้าใจกันอยู่ เพราะว่าทางภาคธุรกิจเองได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้แล้ว และแนวคิดตรงนี้ตนคิดว่าจะได้รับการยอมรับมากขึ้น อาจจะใช้เวลาหน่อย เพราะเรื่องของคาแรงต้องเห็นชอบกัน 3 ฝ่าย

(แนวหน้า, 1-4-2554)

ศอ.บต.ชงครม.แจกค่าตอบแทนพิเศษลูกจ้างรัฐ 4.2 หมื่นคน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 4 เม.ย. กระทรวงการคลัง ขอความเห็นชอบการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามผลการประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. 54 ได้มีมติเป็นต้นไป โดยใช้เงินงบประมาณของส่วนราชการในงบดำเนินงานหรือเงินอื่นใด ตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกำหนด

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลังขอให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (11 พ.ย. 51) โดยแจ้งข้อมูลจำนวนลูกจ้างในสังกัดส่วนราชการต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ จำนวน 42,408 คน ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างเหมาบริการ ลูกจ้างตามโครงการต่าง ๆ โดย ศอ.บต. เห็นว่า ไม่มีข้อจำกัดในการให้บุคคลใดได้รับสิทธิและเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ บุคคลดังกล่าว จึงส่งข้อมูลที่ได้รับแจ้งทั้งหมดมายังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาดำเนินการ กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้ได้ข้อยุติในการพิจารณา เรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อนนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี จึงได้มีการจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวไป แล้ว 3 ครั้ง โดยมีมติดังนี้ 1. ให้แต่ละส่วนราชการที่มีระเบียบเกี่ยวกับเงินรายได้อยู่แล้วปรับแก้ไข ระเบียบกำหนดให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ได้ตามความเหมาะสมในแต่ละประเภทงานและข้อเท็จจริงและกรณีส่วน ราชการที่ดำเนินการจ้างเป็น Unit Cost ให้ปรับ Unit Cost เฉพาะในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สุงกว่าในเขตพื้นที่ปกติทั่วไปโดยระบุเป็นเงื่อนไข พิเศษ หรือกรณีจ้างแรงงานทั่วไปที่ทำงานในพื้นที่ก็ให้พิจารณากำหนดอัตราค่าจ้าง เพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ เรื่องดังกล่าวสำหรับกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย รายหัวต่อคนจากรัฐในการบริหารจัดการ ก็สามารถขอเพิ่มเงินอุดหนุนต่อ สงป. ได้

อย่างไรก็ตาม การขอเพิ่มเงินอุดหนุนดังกล่าวต้องเท่าที่จำเป็น 2. มอบหมายให้ กค. โดยกรมบัญชีกลางรายงานผลการพิจารณา เรื่อง การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ภาครัฐอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้คณะรัฐมนตรีทราบ.

(ไทยรัฐ, 1-4-2554)

เมินเสียงค้านไม่เหมาะ บอร์ดเมย์เดย์ตะแบง ประกวดธิดาแรงงาน อ้างหา 'พรีเซ็นเตอร์'

นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2554 เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 เมษายนว่า มติในที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานฯ ยืนยันที่จะจัดการประกวดเทพธิดาแรงงานต่อไป เพราะการประกวดังกล่าว ไม่ได้สร้างความเสื่อมเสียให้แรงงานหญิงแต่อย่างใด แต่เป็นการทำตามนโยบายของรัฐบาลในการเฟ้นหาตัวแทนผู้ใช้แรงงาน เพื่อมาเป็นพรีเซนเตอร์ผู้ประกันตนมาตรา 40 หรือ แรงงานนอกระบบ ใช้งบประมาณจำนวน 5 แสนบาท จากงบกลางในการประชาสัมพันธ์ดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมของ รัฐบาล ไม่เกี่ยวกับเงินของสำนักงานประกันสังคม หรือกระทรวงแรงงานแต่อย่างใด

นายชินโชติกล่าวด้วยว่า ปีนี้แรงงานมีข้อเรียกร้อง 9 ข้อ ที่จะยื่นต่อรัฐบาล และคาดหวังว่าข้อเรียกร้องปีนี้จะได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลอย่างเป็น รูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องค่าจ้างที่นายกรัฐมนตรีออกมาพูดบ่อยครั้งว่าจะปรับให้สูงขึ้น กว่าร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี รวมทั้งการรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 และการปฏิรูประบบประกันสังคม ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในอัตราร้อยละ 50 เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกเข้าสู่ระบบมากขึ้น

ในส่วนงบประมาณการจัดงานที่ขอเพิ่มไป 3 ล้านบาทนั้น นายชินโชติชี้แจงว่า กว่าร้อยละ 90 นำไปใช้ในการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมมายุ 84 พรรษา และใช้ถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ รวมทั้งเป็นงบจัดงานในส่วนภูมิภาคอีก 5 แสนบาทด้วย

ผู้สื่อข่าวข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมถกเถียงกันมากถึงเรื่องการทำหนังสือชี้แจงไปยังกลุ่มบูรณาการแรง งานสตรี และหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการประกวดเทพธิดาแรงงาน ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ควรทำหนังสือชี้แจง เพราะเป็นการต่อความยาวสาวความยืดไม่จบ แต่ได้เสนอให้แถลงผ่านสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มีตัวแทนจากสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ตั้งคำถามถึง นายชีวเวช เวชชาชีวะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นผู้ที่จัดงบประมาณในส่วนการประกวดเทพธิดาแรงงานถึงเหตุผลที่ต้องจัด ประกวดธิดาแรงงาน เพราะทำให้คณะกรรมการฯถูกสังคมโจมตี นอกจากนี้ยังตั้งคำถามไปยัง นางสุนีย์ ไชยรส รองประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีด้วยว่า ทำไมต้องออกมาโจมตีผ่านสื่อ แทนที่จะมาคุยกันในที่ประชุม เพราะทำให้เห็นถึงความแตกแยกของกลุ่มแรงงาน

(บ้านเมือง, 2-4-2554)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หาดใหญ่โพลชี้คนใต้ไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เหตุกลัวบทเรียนจากญี่ปุ่น

Posted: 03 Apr 2011 07:58 AM PDT

หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 897 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา

รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยถึงผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนภาคใต้ร้อยละ 45.8 รู้สึกวิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และร้อยละ 40.4 ไม่วิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 13.8 ไม่แสดงความคิดเห็น

นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ไม่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 15.7 ที่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 24.0 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 50.5 หากเกิดสถานการณ์แบบญี่ปุ่น ประเทศไทยจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้

ร้อยละ 26.6 เห็นว่าสามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้

ในส่วนของความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 47.4 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 34.5 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 18.1 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับมากถึงมากที่สุด

ประชาชนร้อยละ 58.4 เห็นว่า การคอร์รัปชันส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 19.0 ที่เห็นว่าการคอร์รัปชั่นไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 22.6 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 34.2 มีความวิตกกังวลการรั่วไหลของสารพิษในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด รองลงมา คือ การกำจัดกากนิวเคลียร์ คิดเป็นร้อยละ 20.1

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานทดแทน พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุด (ร้อยละ 38.4) รองลงมา ก๊าซธรรมชาติ, พลังงานน้ำ และแก๊สโซฮอล์/ไบโอดีเซล คิดเป็นร้อยละ 12.3, 11.2 และ 11.1 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 8.6 ที่เห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงาน ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 45.7 ไม่เชื่อหากมีการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 24.8 เชื่อว่าจะได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าเดิม

ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘อุ้ม’... จุดเปลี่ยนชีวิต‘หมอแว’

Posted: 03 Apr 2011 07:50 AM PDT

หมอแว
“หมอแว” นายแพทย์แวมาฮาดี แวะดาโอ๊ะ

หมอเยียวยาสังคม

วิถีชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นชุมชนที่มีชาวคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตย่อมมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรม หรือวัฒนธรรม ด้วยเพราะในสามจังหวัดชายภาคใต้ ยังมีชาวพุทธและชาวคริสต์อาศัยผืนแผ่นดินเดียวกันมาเป็นเวลาช้านาน

หลายครั้งที่เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับวิถีมุสลิม จนนำไปสู่การเรียกร้องสิทธิของผู้ที่ถูกหลงลืม หรือถูกละเมิดจากผู้ปกครอง จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม มักจะมีชายผู้หนึ่งลุกขึ้นมาต่อสู้ ชายผู้เรียกขานตัวเองว่า “แพทย์ของสังคม”

นั่นคือ “หมอแว” หรือนายแพทย์แวมาฮาดี แวะดาโอ๊ะ ลูกครึ่งจีนผสมมลายู จากหมู่บ้านยะกัง จังหวัดนราธิวาส ผู้มีบรรพบุรุษฝ่ายบิดามาจากเมืองจีน บรรพบุรุษฝ่ายมารดามาจากมาเลเซีย

ถึงแม้จะเกิดในครอบครัวยากจน แต่ทุกคนก็พยายามเรียนหนังสือ ในบรรดาพี่น้องเรียนแพทย์ 4 คน เรียนวิศวกรรมศาสตร์ 4 คน

หมอแวตระหนักเสมอว่าบ้านของเขายังขาดโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ รวมทั้งโอกาสการเข้าถึงการรักษาพยาบาลทางการแพทย์

“ที่ผมเจอในขณะที่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล คือเรื่องความไม่เป็นธรรมในการจ่ายยา ยาราคาแพงจะใช้กับคนรวย ส่วนคนจนได้ยาคุณภาพต่ำราคาถูก ผมพยายามเรียกร้องสิทธิตรงนี้ให้กับประชาชน ก็มีปากเสียงกับผู้ร่วมงานอยู่เรื่อย แต่เราก็ภูมิใจเพราะสิ่งที่เราทะเลาะกับเขาในวันนั้น วันนี้มันเกิดผล...

“คนในพื้นที่ไม่ค่อยมีโอกาสมาเรียนแพทย์เรียนพยาบาล ต้องเอาคนจากที่อื่นมาเป็นหมอรักษาคนที่นี่ พอเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ย้ายออกไปกันหมด แล้วก็ส่งคนอื่นมา...การรักษาโรคก็ไม่จบ ทำไมไม่เอาเด็กที่นี่เรียนหมอเรียนพยาบาล ตามหลัก ‘อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ’ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”

สู่ภาคประชาสังคม

นอกจากความไม่เป็นธรรมเรื่องสิทธิทางสาธารณสุข สิทธิการศึกษา นอกจากจะมองเห็นผ่านสายตาของผู้เป็นแพทย์แล้ว ประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO และภาคประชาสังคม ทำให้หมอแวมองเห็นข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิทางการสื่อสารอีกด้วย

“ผมร่วมงานกับ NGO แล้วก็มาทำงานภาคประชาสังคม ตอนนั้นมีการรณรงค์เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน พูดถึงการเมืองแบบมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยทางตรง แล้วพูดถึงเรื่องวิทยุชุมชน มันสอดรับกับกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่บัญญัติไว้ว่า ‘คลื่นความถี่เป็นของสาธารณะ’ ตอนนั้นเราก็ออกมาต่อสู้เรื่องนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้แบบนี้ คลื่นวิทยุก็ต้องเป็นของของประชาชน…

“วิทยุสมัยนั้นมีอยู่ 500 สถานี ทหารเอาไป 200 ตำรวจเอาไป 200 กรมประชาสัมพันธ์เอาไป 100 ตกลงประชาชนไม่มีคลื่นวิทยุเป็นของตัวเองเลย เราจะผลิตรายการเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนก็จะต้องไปเช่าช่วงเวลาจาก อสมท. บ้าง ทหารบ้าง เราก็เลยเรียกร้องตรงนี้...

“ผมนำคณะไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมัน 11 คน เป็นเวลาเกือบ 1 เดือน เพื่อไปดูรูปแบบนำกลับมาใช้กับบ้านเรา เรื่องวิทยุชุมชนเป็นอีกประเด็นสาธารณะที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ไปพูดออกทีวีบ้าง ในที่สัมมนาบ้าง ร่วมประท้วงบ้าง ออกไปเรียกร้องบ้าง ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่แหลมคมในขณะนั้น เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล... ”

สู้เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน

“ปี 2544 ผมเข้าไปเป็นตัวแทนในพื้นที่ภาคใต้เพื่อเคลื่อนไหวและเชื่อมโยงกับส่วนกลาง เราก็ได้สัญญาณที่ไม่ดีอยู่แล้วว่า การเคลื่อนไหวของเราค่อนข้างจะแหลมคมไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาสลับสับซ้อน การเรียกร้องของคนไทยในภาคอื่นๆ มีความยากลำบากแตกต่างจากคนที่นี่ บางประเด็นถ้าคนที่นี่ออกมาเรียกร้อง อาจจะถูกแปลงสารไปเป็นเรื่องอื่นได้ง่าย โดยเฉพาะการเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องความยุติธรรม มันล่อแหลมที่จะถูกนำไปเชื่อมโยงกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน บางทีเราเรียกร้องเรื่องหนึ่ง กลับถูกมองเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”

ด้วยพื้นที่สามจังหวัดมีลักษณะเฉพาะเป็น “พื้นที่สงคราม” รัฐเชื่อว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดน อยู่เบื้องหลังความรุนแรงที่เกิดขึ้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การเรียกร้องในลักษณะเห็นตรงกันข้ามกับรัฐ มักจะนำไปเชื่อมโยงกับปัญหาความมั่นคง ถึงแม้ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จะไม่แตกต่างจากภาคประชาชนภาคอื่นๆ ของประเทศเลยก็ตาม

“อย่างกรณีที่ดินเทือกเขาบูโด เราบอกว่าเป็นที่ดินที่ประชาชนครอบครองมาก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่รู้กี่ยุสมัยแล้ว รอบๆ เทือกเขาบูโดประกอบด้วย 9 อำเภอ 22 ตำบล มีประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยทำกินประมาณ 5–6 พันครัวเรือน คนเหล่านี้เข้าไปปลูกยางพารา และไม้ผลอื่นๆ..

“อยู่ๆ พอปี 2542 รัฐก็บอกว่าที่ดินนี้เป็นของเขา เนื้อที่ทั้งหมด 96,000 ไร่ ทรัพย์สมบัติของประชาชนถูกรัฐยึดไปหมด สวนยางเข้าไปกรีดไม่ได้ พอต้นยางพาราหมดอายุจะเข้าไปโค่นปลูกใหม่ก็ไม่ได้ เราก็ต่อสู้เรื่องนี้กัน มีการประท้วงกันที่อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ผมก็เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสมาออกวิทยุ พยายามจูนความคิดเข้าหากัน แต่ประชาชนทนไม่ไหว เลยกลับไปขุดเสาหลักเขตที่รัฐเข้ามาปักทิ้ง ผมยังจำเหตุการณ์วันนั้นได้ กำนันยังบอกว่า เขาเคยเข้าป่ามาแล้ว โดนรัฐแบบนี้เขาอาจจะต้องเข้าป่าอีกครั้ง นี่คือการเรียกร้องของพวกเรา...”

นอกจากประเด็นป่าไม้ สิทธิทำกินบริเวณชายฝั่งก็ยังอยู่ในความสนใจของนายแพทย์คนนี้ด้วย

“อีกทั้งในกรณีของสิทธิทำกินบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย หมู่บ้านชาวประมงริมหาดนราทัศน์ มีพื้นที่ชายฝั่งยาว 5 กิโลเมตร เป็นเขตเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ปลามักจะเข้ามาวางไข่ตามชายฝั่ง ตรงนี้ก็มีกฎหมายกำหนดชัดเจนว่า 5 ไมล์ทะเล หรือ 8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่สาธารณะ ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้ ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย เช้าไปเย็นกลับมาทานข้าวกับครอบครัว แต่พอมีประมงพาณิชย์เข้ามา ชาวบ้านได้รับการว่าจ้างให้เป็นลูกเรือพาณิชย์ วีถีชาวประมงก็เปลี่ยนไปออกทะเลนานเป็นเดือนๆ ได้กลับมาพบครอบครัวนานๆครั้ง แถมยังใช้อุปกรณ์จับปลาเป็นอวนลาก–อวนรุน ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงทำลายล้างผิดกฎหมาย พวกเราไม่เห็นด้วยพยายามเรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการ ขณะเดียวกันก็ทำปะการังเทียมจากท่อ PVC ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้น้ำ”

เจอข้อหาก่อการร้าย

การเรียกร้องดำเนินไปตามสิทธิของพลเมืองภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยที่นี่คือดินแดนสงคราม วันหนึ่งเรื่องราวของนักต่อสู่เพื่อสิทธิของพลเมือง จึงถูกโยงสู่เข้าไปเกี่ยวพันกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า

“วันที่ 10 มิถุนายน 2546 ผมกำลังออกไปพบปะชาวบ้านเหมือนทุกวัน ก็มีชายฉกรรจ์ประมาณ 10 คน รถสามคันวิ่งเข้ามากระชากอุ้มผมขึ้นไปบนรถยนต์ ตอนนั้นผมยังมีอาการงงๆ อยากรู้ว่ามันเป็นเรื่องอะไร คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่เราออกไปเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับชาวบ้าน อาจจะไปขัดกับผลประโยชน์อะไรใครหรือเปล่า บวกกับเรามีเชื้อสายมลายูด้วย...

“ระหว่างทางเขาบังคับให้เซ็นต์เอกสารตลอดทาง มีการทุบตี และจอดรถเป็นช่วงๆ พอถึงปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง เขานำผ้าร่มมาครอบหัวแล้วรูดสาย ผมหายใจสะดวกสลบไป ฟื้นอีกทีอยู่ในห้องมืดสี่เหลี่ยมไม่มีหน้าต่าง แต่มีแอร์ ไม่ทราบเลยว่าอยู่ที่ไหน จำได้ว่าตอนเราดิ้น เขาก็ทุบตี เท้าผมบวมมากเพราะถูกเหยียบไม่ให้ดิ้น ตอนนั้นก็เดินไม่ได้แล้ว สักพักก็มีคนเข้ามา 2 กลุ่มด้วยกัน...

“กลุ่มแรก เข้ามาเกลี้ยกล่อม กลุ่มสอง เข้ามาขู่ให้เราเซ็นต์เอกสารโดยไม่รู้มีข้อความอะไร พร้อมกับซ้อมให้รับสารภาพ วันนั้นผมเกือบถูกช๊อตด้วยไฟฟ้า เขาเตรียมจะช๊อตอยู่แล้ว แต่ผมด่ากลับไป คิดว่าไหนๆ จะตายอยู่แล้ว ขอด่าเป็นครั้งสุดท้าย จนฝ่ายตรงข้ามเลิกคิดช็อตไฟฟ้าผม...

“พอตื่นมาตอนเช้าของวันต่อมา ก็มีเอกสารบอกว่าจะปล่อยตัวกลับไป เอาเอกสารมาให้ผมเซ็นต์ผมก็ไม่ยอมเซ็นต์ อาหารผมก็ไม่กิน น้ำก็ไม่ดื่ม เพราะกลัวจะมียาพิษ สุดท้ายเขาจึงเอาขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ถ้าไม่เซ็นต์เอกสารจะโยนผมลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ผมก็ไม่ยอมเซ็นต์ ตามสบายเลย ‘อินนาลิลลาฮ วะอินนาอิลัยฮิรอญิอูน.’ เป็นสิทธิของพระเจ้าและยังมีพระเจ้าที่เราจะกลับไปหา แต่สุดท้ายเขาก็ไม่รู้ว่าจะบังคับผมยังไง เพราะผมยืนยันว่าจะไม่เซ็นต์...

“พอบังคับไม่ได้ เขาจึงนำผมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะฆ่าผมก็ไม่ได้ เพราะภาคประชาสังคมจังหวัดนราธิวาสกว่า 500 คน ไปล้อมศาลากลางจังหวัดนราธิวาส เรียกร้องให้นำตัวผมกลับมา เพื่อนๆ อีกกลุ่มก็วิ่งหาผมที่จังหวัดยะลาแต่ก็ไม่พบ มีคนวงในมาบอกครอบครัวผมว่า ผมถูกจับตัวไปไว้ที่ไหน เพราะเขารับการกระทำแบบนี้ไม่ได้...

“เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็มีการยัดเยียดข้อกล่าวหาต่างๆ นาๆ กล่าวหาว่าผมเป็นสมาชิกกลุ่มเจไอ หรือญะมาอะห์ อิสลามียะห์ (Jama ah Islamiyah) กลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในสามจังหวัดเราก็มีทั้งพูโล บีอาร์เอ็น แต่ก็ไม่คิดที่จะนำผมไปเข้าเป็นกลุ่มเหล่านี้ จากคดีใหญ่ก็มากล่าวหาคดีเล็กๆ คือคดีซ่องโจร...

“ผมต่อสู้ภายใต้กระบวนการยุติธรรมนานมาก ทนายผมก็ไม่ได้พบ เพราะถูกอุ้มไปเสียก่อน เพื่อนๆ ที่สามจังหวัดก็ไม่มีใครกล้าขึ้นมาเยี่ยม เพราะกลัววจะถูกกล่าวหาเป็นเจไอ มีเพียงเพื่อนๆ ที่เป็นไทยพุทธเข้ามาเยี่ยมเยือนอยู่ไม่ขาดสาย ภรรยาผมต้องอุ้มลูกบ้าง จูงลูกบ้าง ขึ้นไปเยี่ยมที่กรุงเทพฯ น่าสงสารมากครับ ตอนนั้นผมมีลูก 10 กว่าคน ลองคิดดูสิผมทำงานคนเดียว ภรรยาผมไม่ให้ทำงานเลยให้ดูแลลูกๆ จบพยาบาล จบครูก็ให้ดูแลลูก พอเราถูกจับลูกคนหนึ่งเรียนอยู่โรงเรียนนานาชาติ กัวลาลัมเปอร์ เกือบจะเสียศูนย์ไปแล้วเพราะรู้ข่าวผม ในที่สุดผมต้องเขียนจดหมายถึงลูก โดยให้ผู้คุมแสกนแล้วก็เมล์ไปที่บ้าน แล้วลูกตัวเล็กๆ ที่เรียนอยู่ชั้นอนุบาล เขารู้จักและจำเราได้แล้ว แต่สื่อกันยังไม่ได้ ผมต้องเป็นวาดรูปภาพ ส่งไปให้แม่อ่าน แม่ก็อ่านไปร้องไห้ไป ครั้งหนึ่งผมวาดรูปแม่กำลังหุงข้าว วาดเด็กสองสามคนกำลังล้างจาน ผมกำลังจะสื่อกับพวกเขาว่า ให้ช่วยแม่ล้างจานด้วย”

แม้ช่วงเวลานรกจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่า ความทรงจำดำมืดยังอยู่ในตัวเขามิรู้หาย

“จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผมเริ่มจะมีอาการประสาทหลอน วันนี้ถ้าขึ้นเครื่องบินขนาดเล็กแบบสี่ที่นั่งชั้นธุรกิจ ผมนั่งไม่ได้ครับ ยอมเช็คอินแล้วลงเลย ขึ้นลิฟต์ถ้าไม่ใช่ลิฟต์ใสก็ขึ้นไม่ได้เพราะรู้สึกอึดอัด ถ้าพักตามโรงแรมต้องพักแค่ชั้น 2–3 เท่านั้น สุขภาพจิตเสียหมด ทำฟันก็ปิดตาไม่ได้ ต้องเปิดหน้าขณะทำฟัน เพราะรู้สึกอึดอัดมากเวลาที่มีผ้ามาปิดหน้า หรือเวลาที่ต้องอยู่ในที่แคบๆ”

แม้จะผ่านเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวและยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่า กำลังใจของนายแพทย์ผู้นี้มิเคยเลือนหาย ความศรัทธาในศาสนาและกำลังใจจากคนรอบข้างเป็นพลังผลักดันในเขาต่อสู้ต่อไป

สู้บนเวทีการเมือง

การก้าวผ่านประสบการณ์ตรงนี้ มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เขา ผันตัวเองเข้าสู่การเมือง

“แรงบันดาลที่ให้ลงการเมือง มาจากประชาชนมามอบเงิน 7 แสนบาทพร้อมรถ 1 คัน ตอนหลังก็ยังส่งเงินมาให้อีกกว่า 1 ล้านบาท หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมยังมีเงินเหลืออีก 6 แสนกว่าบาท ผมออกเยี่ยมชาวบ้านทั้งหมด 618 หมู่บ้าน ตื่นเช้ามาก็ออก ตกเย็นก็กลับ พอได้ได้รับเลือกตั้ง ก็ยังเวียนรอบไปเยี่ยมรอบที่ 3 หลังจากถูกรัฐประหาร ทหารที่ทำรัฐประหารก็เอาผมไปทำงานในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ…

“พอสภานิติบัญญัติแห่งชาติหมดอายุ ประชาชนต้องการเห็นการเมืองใหม่ ไม่ใช่คิดแต่เรื่องเดิมๆ เราเป็นผู้แทนราษฎรก็ต้องลงไปดูแลราษฎร ตอนนี้คิดจะทำพรรคการเมืองเป็นของตัวเองคือ “พรรคธรรมมาภิบาล” เอาสัก 7 ที่นั่ง พวกเราประชาชนจะได้มาอยู่ในการเมืองมิติใหม่ 1.มิตการมีส่วนร่วม 2.มิติความเป็นเจ้าของพรรค 3.มิติของการลดคอรัปชั่น ชุมชนอิสลามบอกว่าใครขโมยเงินไม่เกินหมื่นก็ต้องถูกตัดมือ แต่นี่ขโมยของประชาชนไม่รู้กี่ร้อยล้านต่อหน้าต่อตา ขโมยทรัพย์สมบัติของสาธารณะจำนานมาก แบบนี้ต้องประหารชีวิต 7 ชั่วโคตร การคอรัปชั่นเป็นมะเร็งสังคม อย่างน้อยต้องมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาพูดเรื่องนี้บ้าง”

แม้ทุกวันนี้ จะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาทั้งปวง แต่ดูเหมือนว่าความทรงจำอันดำมืด และความเศร้าใจต่อความผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรม ยังคงฝังลึกในหัวใจของชายผู้นี้

ฟ้องเพื่อบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

“หลังจากออกมา ผมก็ฟ้องแพ่งเรียกไป 132 ล้านบาท ไม่ได้หวังอะไรมาก แค่ต้องการพูดต่อหน้าศาล เพื่อจะได้ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ตอนนี้คดีกำลังพิจารณาอยู่ ถ้าได้ผมรับค่าชดเชย ส่วนหนึ่งจะมอบให้กับมูลนิธิสมชาย นีละไพจิตร อีกส่วนนำไปช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำโดยอธรรม และส่วนสุดท้ายอยากจะนำไปสร้างศูนย์เล็กๆ มีสระน้ำ มีต้นไม้ มีห้องสมุด ใช้อบรมให้เด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี…”

ในฐานะผู้ชายคนหนึ่ง หมอแวเริ่มต้นทำทุกอย่าง ทั้งทำเพื่อครอบครัว ทำเพื่อเพื่อนบ้าน และทำเพื่อพี่น้องร่วมศาสนา ด้วยสายตาที่มองเห็นถึงความเดือดร้อนของพลเมืองผู้ถูกหลงลืม หรือถูกรังแกจากรัฐ จนกลายเป็นศัตรูของรัฐด้านความมั่นคง

ทั้งๆ ที่ NGO หรือผู้ทำงานภาคประชาสังคม น่าจะเป็นแขนขาของรัฐเข้าช่วยเหลือประชาชน ที่รัฐไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง ทว่า NGO และภาคประชาสังคมในสังคมไทย กลับกลายเป็นคู่ตรงข้ามของรัฐ ยิ่งในพื้นที่ล่อแหลม ดูเหมือน NGO และภาคประชาสังคม จะถูกจับตามองอย่างเข้มงวด

ขณะที่สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาครัฐยังไม่สามารถจัดการกับ “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ได้ NGO และภาคประชาสังคม ที่เข้ามาช่วยเหลือมวลชนแทนรัฐ กลับถูกผลักให้เป็นศัตรูของรัฐ ความขัดแย้งจึงถูกทำให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ถึงเวลาแล้วหรือยัง รัฐจะปรับตัวเพื่อหาพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น และเปลี่ยนประเด็น จากความหวาดระแวงและความกลัว อันเป็นแรงขับทางอารมณ์ ที่นำไปสู่การขยายตัวความขัดแย้ง มาสร้างความไว้วางใจ และความร่วมมือจากคนในพื้นที่ให้มากที่สุด ทั้งหมดไม่ใช่เพื่อชาวบ้าน และคนทำงานในพื้นที่เท่านั้น แต่เพื่อรัฐเองจะได้ง่ายต่อการแกะรอยและออกแบบการรับมือต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

อย่างน้อยๆ ความขัดแย้งแฝง (Latent conflict) ระหว่างภาคประชาสังคมกับรัฐ จะผ่อนคลายขึ้น และเมื่อวันนั้น รัฐอาจมีสายตามองเห็น ความขัดแย้งที่แท้จริง (Real conflict) ของสถานการณ์สามจังหวัดก็อาจเป็นได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พลิกผังเมืองเปิด 3 พื้นที่อุตสาหกรรม รองรับโครงการยักษ์ท่าเรือปากบารา

Posted: 03 Apr 2011 07:34 AM PDT

พลิกผังเมืองรวมชนกำแพง ละงู เปิด 3 พื้นที่อุตสาหกรรม รองรับโครงการยักษ์ท่าเรือปากบารา อนุกรรมการผังเมืองสั่งให้เพิ่มข้อมูลโครงการ ด้านนักวิชาการยันต้องฟังเสียงชาวบ้านด้วย

ถึงแม้การจัดทำผังเมืองรวมของแต่ละเมือง จะเป็นงานปกติของกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่สำหรับจังหวัดหรือเมืองที่โครงการพัฒนาขนาดใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ งานวางผังเมืองรวมของพื้นที่นั้นๆ ย่อมได้รับความสนใจจากผู้คนในพื้นที่อย่างเป็นพิเศษ

จึงไม่แปลกที่เอกสารรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 13/2553 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ที่ห้องประชุม 1201 อาคาร 1 ชั้น 2 กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาผังเมืองรวมชุมชนกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จึงถูกคนในพื้นที่หยิบยกมากล่าวถึงอย่างเอาจริงเอาจัง

จากเอกสารรายงานการประชุมระบุว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการผังเมืองมีมติให้คณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพง นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯ ไปปรับปรุงแก้ไขร่างผังเมืองรวมชุมชนกำแพง จากนั้นให้นำกลับไปเสนอคณะอนุกรรมการผังเมืองอีกครั้ง


ผังรับท่าเรือ–แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ผังเมืองรวมชุมชนกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มาตราส่วน 1:35,000 ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา

สั่งเพิ่มข้อมูลโครงการยักษ์

ข้อเสนอแนะของอนุกรรมการผังเมือง ระบุให้เพิ่มเติมรายละเอียดโครงการสำคัญต่างๆ ในตำบลละงู เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย และแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินและเส้นทางคมนาคม เพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้พื้นที่ และเส้นทางคมนาคม รองรับโครงการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น โดยให้คณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพงปรับเพิ่มวิสัยทัศน์และนโยบายให้สอดคล้องกับโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย

พร้อมกับเสนอให้ปรับแก้ไขสัญลักษณ์ของถนนให้ถูกต้อง ในส่วนของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่อยู่ติดกับแม่น้ำละงูทั้ง 2 ฝั่งควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย นอกจากนี้ควรกำหนดเขตทางถนนหมายเลข 3003 (หน้าอำเภอละงู–ปากบารา) ให้มีความกว้างมากขึ้น เนื่องจากถนนเส้นนี้อนาคตจะมีความสำคัญ เป็นถนนสายเลี่ยงเมืองจากท่าเรือปากบาราไปอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยไม่ต้องผ่านเข้าเมือง และควรกำหนดระยะถอยร่น โดยให้คณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพง ประสานกับสำนักวิศวกรรมการผังเมือง

ทางคณะอนุกรรมการผังเมือง ยังเสนอให้ตรวจสอบข้อกำหนด การกำหนดระยะพื้นที่เว้นว่างในที่ดินประเภทโล่งเพื่อนันทนาการและสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) ว่า ควรกำหนดไว้ 16 เมตร หรือ 6 เมตร และให้ปรับแก้ไขข้อกำหนดในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) โดยห้ามจัดสรรที่ดินทุกประเภท ในส่วนของแผนที่วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ควรปรับเพิ่มแสดงโครงการต่างๆ ที่สำคัญด้วย พร้อมกับให้ตรวจสอบถนนสาย ก 7 ที่บรรจบซอยสันติธรรมว่า มีความเหมาะสมกับระบบถนน และศักยภาพของพื้นที่เพียงใด

นอกจากนี้ ให้ทบทวนที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) บริเวณหมายเลข 1.4 ริมคลองละงูทางด้านทิศเหนือของผัง เนื่องจากอยู่ติดเขตป่าไม้ เส้นทางหลัก และบริเวณพื้นที่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบันมีการอยู่อาศัยไม่มาก การกำหนดเป็นพื้นที่สีเหลืองเหมาะสมหรือไม่

จากข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการผังเมือง นำมาสู่การประชุมของคณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพง เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 31 มกราคม 2554 ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพง มีคณะทำงานฯ เข้าร่วมประชุมในวันนั้น 15 คน โดยนายมนตรี ศักดิ์เมือง โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสตูล ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม

ที่ประชุมได้กำหนดเขตทางถนนหมายเลข 3003 (หน้าอำเภอละงู–ปากบารา) ให้มีความกว้างมากขึ้นจาก 28 เมตร เป็น 30 เมตร กล่าวคือขยายออกไปอีกฝั่งละ 1 เมตร พร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) บริเวณหน้าศูนย์ราชการอำเภอละงู จากระยะถนน 200 เมตร ตั้งแต่ 3 แยกถนนสาย สต. 3003 ตัดกับ สต. 4020 ไปถึง 3 แยกทางเข้าโรงเรียนบ้านเกาะญวน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

กำหนดพื้นที่สีเขียวอ่อน (ที่ดินประเภทโล่งเพื่อนันทนาการและสิ่งแวดล้อม) เว้นระยะห่างจากคลองละงู 8 เมตร และแก้ไขพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ถนนละงู–ทุ่งหว้า จาก 3 แยกทางหลวงหมายเลข 416 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4052 โดยปรับลดเหลือ 200 เมตร จากระยะถนน ซึ่งเดิมกำหนดติดภูเขาและคลองละงู

หลังจากนี้ คณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพง จะนำผลการพิจารณาเสนอต่อคณะอนุกรรมการผังเมือง และคณะกรรมการผังเมือง ก่อนเข้าสู่คณะกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีออกพระราชกฤษฎีกาต่อไป

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมชุมชนกำแพง มาตราส่วน 1:35,000 ฉบับเสนอคณะทำงานจัดทำผังเมืองรวมชุมชนกำแพงพิจารณา ระบุถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) ทีมีปัญหาการเวนคืนที่ดินกับชาวบ้าน ตรงบริเวณถนนสายสต. 3003 ตัดกับสต. 4020 ซึ่งปัจจุบันเป็น 3 แยก แต่ในแผนผังเป็น 4 แยกออกสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4052 มุ่งสู่ปากบารา

นอกจากนี้ ยังมีการระบุพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) พื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) และพื้นที่สีเหลือง (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เกือบเต็มพื้นที่เทศบาลตำบลกำแพง และครอบคลุมบางส่วนของตำบลละงู

เปิด3พื้นที่อุตสาหกรรม

ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษก็คือ ในแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท ท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสตูล พ.ศ. ... มาตราส่วน 1:250,000 ได้ระบุ พี้นที่สีม่วง (ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า) ไว้ 3 พื้นที่

จุดแรกบริเวณตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล จุดที่สอง บริเวณตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จุดที่สาม บริเวณตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

ขณะที่ระบุพื้นที่สีชมพู (ที่ดินประเภทชุมชน) เกือบเต็มพื้นที่ตำบลปากน้ำ ตำบลละงู และตำบลกำแพง

นักวิชาการยันต้องฟังชาวบ้าน

นางสาวภารณี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการผังเมือง จากเครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการผังเมือง ที่ให้ระบุโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย โครงการก่อสร้างถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) ไว้ในผังเมือง

“การกำหนดโครงการขนาดใหญ่เข้าไปในผังเมืองรวม โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการน้อยมาก นับเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง ตอนนี้มีชาวบ้านบางกลุ่มอยากได้ท่าเรือฯ บางกลุ่มไม่อยากได้ท่าเรือฯ ยังไม่มีข้อสรุปว่าชาวบ้านจะเอาอย่างไร อยู่ๆ ก็นำโครงการขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านยังไม่มีข้อสรุป ไปบรรจุในผังเมืองรวมได้อย่างไร เพราะในหลักการการวางผังเมือง ต้องรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านด้วย” นางสาวภารณี กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล” นั่งที่ปรึกษาสภา ศอ.บต.สาขาสื่อมวลชน

Posted: 03 Apr 2011 07:26 AM PDT

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ชนะขาดเลือกตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาตัวแทนสื่อมวลชน 5 จังหวัดชายแดนใต้

 


ภาพบรรยากาศในหน่วยเลือกตั้งตัวแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อทำหน้าที่สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายในห้องประชุมอำเภอเมืองปัตตานี เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2554

 

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2554 ตั้งแต่ 08.00 ถึง 15.00 น. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของศอ.บต. ตาม พระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2553 จำนวน 8 สาขาอาชีพ เช่น ตัวแทนผู้นำศาสนา ตัวแทนผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนสตรี ตัวแทนครู และตัวแทนสื่อมวลชน โดยจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับสาขาที่มีผู้ให้ความสนใจมากคือตัวแทนสื่อมวลชน เนื่องจากมีเพียง 1 คน โดยเลือกตั้งจาก สื่อมวลชนใน 5 จังหวัด ในขณะที่สาขาอาชีพอื่นๆ มีตัวแทนจังหวัดละ 1 คน ซึ่งมีผู้สมัคร 3 คน

หลังจากปิดหีบนับคะแนนปรากฏว่า นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย มีคะแนนนำคู่แข่งคือนายหมุดตะเหล็บ โหดหีม นายกสมาคมวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ จ.สงขลา และ ว่าที่ พ.ต.พงษ์จักรกฤษณ์ สิทธิบุศย์ สมาคมวิชาชีพนักจักรายการวิทยุ โทรทัศน์ไทย โดยนายไชยยงค์ ได้คะแนนรวมทั้ง 5 จังหวัด 159 เสียง ส่วนนายหมุตตะเหล็บ ได้ 90 เสียง และ ว่าที่ พ.ต.พงษ์จักรกฤษณ์ ได้ 2 เสียง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: ม.8/ม.112 กับปัญหาญาณวิทยา และศีลธรรมภาคสาธารณะ

Posted: 03 Apr 2011 07:14 AM PDT

เป็นความจริงว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 8 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่บังคับความจงรักภักดี และปิดกั้นเสรีภาพในการพูดความจริงเกี่ยวบทบาทของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็น “บุคคลสาธารณะ”

ที่ว่า “บังคับความจงรักภักดี” หมายความว่าโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” มีผลให้ประชาชนต้องเคารพสักการะหรือจงรักภักดีเท่านั้น ไม่มีเสรีภาพในการเลือกว่าจะเคารพสักการะหรือจงรักภักดีหรือไม่

ที่ว่า “ปิดกั้นเสรีภาพในการพูดความจริง” หมายความว่า ประชาชนต้องพูดหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ (พระราชินี รัชทายาท ฯลฯ) ในทางบวกเท่านั้น ไม่มีเสรีภาพในการเลือกที่จะพูดทั้งในทางบวกและทางลบแม้ว่าจะเป็นความจริงที่เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบสาธารณะก็ตาม

ฉะนั้น ม.8 และ ม.112 นอกจากจะขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยคือ หลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาคแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญตามมาอีก 2 ประการ คือ ปัญหาทางญาณวิทยาและศีลธรรมภาคสาธารณะ

ปัญหาทางญาณวิทยา (epistemology) คือ ประชาชนไม่สามารถ “รู้” ความจริงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ได้ เนื่องจากในทางญาณวิทยาการ รู้ความจริง หมายถึงการมีข้อพิสูจน์หรือเหตุผลสนับสนุน (justification) แต่ ม.8 และ ม.112 กำหนดให้แสดงข้อพิสูจน์หรือเหตุผลสนับสนุน “เรื่องราว” ด้านบวกเพียงด้านเดียวเท่านั้น

การรับรู้ “เรื่องราวด้านเดียว” ยังไม่อาจตัดสินได้ว่าจริงหรือเท็จ เช่น (สมมติ) ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชมีการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวว่า พระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมโดยอ้างถึงพระราชกรณียกิจมากมายที่เป็นประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน แต่ไม่อนุญาตให้มีการเสนอข้อเท็จจริงในด้านตรงกันข้าม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบหรือแสดงเหตุผลโต้แย้งว่า “เรื่องราวต่างๆ” นั้นมีปัญหา หรือมีข้อที่น่ากังขาอย่างไรบ้าง

เมื่อรับข้อมูลเพียงด้านเดียว ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลที่ตรงกันข้ามได้ ประชาชนจึงไม่มีทางเปรียบเทียบตัดสินได้ว่า เรื่องราวด้านเดียวที่รับฟังมานั้นจริงหรือเท็จ หากมีการยืนยันว่าเป็นความจริง ก็ไม่ใช่การยืนยันจาก “ความรู้” ที่ผ่านการพิสูจน์หรือมีเหตุผลสนับสนุนชัดแจ้งแล้ว แต่เป็นการยืนยันจาก “ความเชื่อ” ที่หล่อหลอมสืบทอดต่อๆ กันมา

ในทางญาณวิทยา ความจริงที่ยืนยันจาก “ความเชื่อ” ที่หล่อหลอมสืบทอดต่อๆ กันมา เป็นความจริงที่มีน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด (หรือไม่มีฐานะเป็น “ความจริง” เลย เป็นได้เพียง “ความเชื่อ” เท่านั้น)

ฉะนั้น ม.8 และ ม.112 จึงก่อให้เกิดปัญหาทางญาณวิทยาที่สำคัญคือ เป็นกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนรู้ “ความจริง” เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ หรือเป็นกฎหมายที่บังคับให้ประชาชนต้องมี “ความเชื่อ” ในเรื่องราวเชิงบวกของพระมหากษัตริย์เพียงด้านเดียวเท่านั้น

สิ่งที่น่าคิดคือ พระเจ้าสร้างมนุษย์ แต่พระองค์ก็ให้มนุษย์มีเสรีภาพที่จะไม่เชื่อ และหรือปฏิเสธพระองค์ได้ แต่เหตุใด ม.8 และ ม.112 จึงไม่ให้เสรีภาพแก่ประชาชน (ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย) ที่จะไม่เชื่อหรือแสดงเหตุผลโต้แย้งความจริงด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ได้

ความเชื่อเรื่องพระเจ้า แม้จะมีปัญหาทางญาณวิทยาว่า “เรารู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีจริง” แต่ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องเสรีภาพที่เราจะวิพากษ์วิจารณ์ แสดงเหตุผลโต้แย้งและหรือปฏิเสธพระเจ้าก็ได้

ฉะนั้น กล่าวอย่างถึงที่สุด ม.8 และ ม.112 จึงทำให้ความจริงด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มีสถานะเป็น “ความจริงสัมบูรณ์” (absolute) ที่ไม่อนุญาตให้ใครพิสูจน์ในเชิงโต้แย้งได้ยิ่งกว่าความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าเสียอีก !

การทำให้ความจริงด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นความจริงสัมบูรณ์ที่พิสูจน์ในเชิงโต้แย้งไม่ได้ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาตามมาคือ ทำให้ความจริงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ “ไม่เป็นวิทยาศาสตร์” และขัดต่อหลักศีลธรรมภาคสาธารณะตามระบอบประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญ

เพราะการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเรียกร้อง (requirement) ความกระตือรือร้นของประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบบทบาทหน้าที่ของบุคคลสาธารณะ การเอาจริงเอาจังในการตรวจสอบดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงการมี “ศีลธรรมภาคสาธารณะ” ของประชาชนซึ่งเป็นการมีศีลธรรมที่ควรยกย่องส่งเสริม

แต่ ม.8 และ ม.112 ที่กำหนดให้ความจริงด้านเดียวของสถาบันกษัตริย์เป็นความจริงสัมบูรณ์ที่ไม่อาจพิสูจน์เชิงโต้แย้งได้ ย่อมเป็นกฎหมายที่ขัดต่อการมีศีลธรรมภาคสาธารณะดังกล่าวของประชาชน ซึ่งเป็นศีลธรรมที่จำเป็นในระบอบประชาธิปไตย

ฉะนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หรือในแง่ญาณวิทยาและศีลธรรมภาคสาธารณะ ม.8 และ ม.112 ย่อมสมควรยกเลิก

สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยควรถูกคุ้มครองด้วยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นบน “หลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐาน” ตามระบอบประชาธิปไตย คือ หลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค

และสถานะของความจริงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในทางญาณวิทยา ควรเป็น “ความจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์” ที่สามารถพิสูจน์โต้แย้งได้

ซึ่งหมายถึงเป็นความจริงที่ไม่ขัดแย้งกับศีลธรรมภาคสาธารณะตามระบอบประชาธิปไตยที่ยืนยันเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบบทบาทหน้าที่ของ “บุคคลสาธารณะ”โดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาอธิปไตยที่แท้จริง!

 

.................................................
หมายเหตุ: ผมได้แง่คิดในการเขียนบทความนี้จากข้อเขียนและการอภิปรายประเด็นปัญหาสถาบันกษัตริย์ในบริบทสังคม-การเมืองไทยในหลายวาระของ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขบวนนักปั่นรณรงค์ “ลดโลกร้อน ต้องเปลี่ยนวิถีการผลิต เปลี่ยนวิถีการบริโภค”

Posted: 03 Apr 2011 03:47 AM PDT

3 เม.ย.54 - เวลาประมาณ 14.00 น.คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม มูลนิโลกสีเขียว กลุ่มคนเมืองที่สนับสนุนการใช้จักรยาน และชาวสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ร่วมขบวนสามล้อถีบติดคำขวัญเรียกร้องให้ร่วมกันลดโลกร้อนอย่างจริงจังที่สาเหตุ และจักรยานกว่า 100 คัน ปั่นรณรงค์ไปตามถนนราชดำเนินมุ่งหน้าสู่ปลายทางตึกสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องต่อตัวแทนรัฐบาลกว่า 190 ประเทศ ซึ่งเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่มาร่วมประชุมเจรจารอบแรกของปีที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-8 เม.ย.นี้
 
ข้อเรียกร้องในการรณรงค์ครั้งนี้คือ การให้เร่งสร้างความตกลงที่จะนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ให้ทันวาระสิ้นสุดพันธะกรณีพิธีสารเกียวโตระยะที่หนึ่งในปี 2555 และต้องเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ภาคที่ปล่อยสูงที่สุด นั่นคือภาคพลังงานและอุตสาหกรรม ไม่ใช่การผลักภาระการลดก๊าซไปที่ภาคการผลิตอื่นๆ ผ่านกลไกตลาดคาร์บอน
 
นส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice) กล่าวว่า ตัวแทนรัฐบาลทั้งหลายที่มาร่วมประชุมในครั้งนี้ควรแสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหา โดยการตกลงการลดก๊าซโดยเร็วเพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และมุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยการปรับโครงสร้างการผลิต ปรับการบริโภค มิใช่มามุ่งเน้นอยู่ที่การค้าคาร์บอน
 
นส.กิ่งกร กล่าวอธิบายด้วยว่าการค้าคาร์บอนไม่ได้เป็นการลดก๊าซคาร์บอนที่โครงสร้าง เพราะเป็นเพียงการย้ายที่ลดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ขณะที่ตัวการก่อปัญหาไม่ถูกบีบให้ต้องปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซ และไม่ต้องรับผิดชอบการปล่อยก๊าซของตัวเองเพียงแต่ไปฝากให้คนอื่นลดแทน แม้ในแง่หนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่การค้าคาร์บอนถือเป็นการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ แต่ตรงนี้ทำให้เกิดต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องลดทั้งที่ไม่จำเป็นต้องทำ เช่น กรณีของโรงไฟฟ้าชีวะมวลที่ก่อให้เกิดผลกระทบและมีการต่อต้านของในพื้นที่ขึ้นมาแล้ว 
 
ดร.สรณรัชฏ์ กาญจนะวนิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เรามีเทคโนโลยีพร้อมแล้วหากจะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ต้องรออีกแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ขาดคือ เจตจำนงทางการเมือง ตัวอย่างเช่น 50 % ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ กทม.มาจากภาคการขนส่งที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือน้ำมันเช่นรถยนต์ หากเราสนับสนุนทางเลือกการใช้จักรยานอย่างจริงจังก็จะลดก๊าซได้มหาศาล
 
ด้านนายมงคล วิจะระณะ อุปนายสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย กล่าวว่า ทางสมาคมรณรงค์เรื่องการใช้จักรยานมากว่า 20 ปี โดยเริ่มต้นจากการเป็นชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยมาก่อน ทั้งนี้การสนับสนุนให้มีการใช้จักรยานนั้นเป็นการแก้ปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ ช่วยประหยัดพลังงานน้ำมัน ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และยังสอดรับกับการแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกคนต่างให้ความสนใจด้วย
 
“เรามาร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้เขาลดก๊าซคาร์บอนอย่างจริงจัง” นักปั่นจากสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยกล่าวถึงการมาร่วมรณรงค์ในวันนี้
 
นายมงคล ให้ข้อมูลด้วยว่าสมาชิกของสมาคมเป็นผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และที่ผ่านมาก็ได้พยายามผลักดันเชิงนโยบายในเรื่องการทำเส้นทางรถจักรยาน ซึ่งก็มีการสนองตอบแนวคิดนี้จากอดีตผู้ว่า กทม.ในสมัยที่ผ่านมา ส่วนข้อเสนอตอนนี้คือการขยายเส้นทางรถจักรยานไปในเส้นทางวงแหวนรอบใน จากถนนจรัญสนิทวงศ์ พระราม 3 คลองเตย สุขุมวิท อโศก ถึงรัชดา ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร และการจัดทำพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นเส้นทางออกกำลังกาย   
 
 
หมายเหตุ: แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเมื่อ 22.00 น.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กลไกลดความขัดแย้ง

Posted: 03 Apr 2011 03:36 AM PDT

ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นทั้งปรัชญา แนวคิด และกลวิธีในการเยียวยา สร้างความสามัคคีระหว่างเหยื่อการกระทำผิด ผู้กระทำผิด และสังคมขึ้นมาใหม่ โดยมุ่งให้ความสำคัญในการมองผู้กระทำอาชญากรรมเป็นเรื่องของความขัดแย้งของปัจเจก ( interpersonal conflict) ซึ่งเป็นการมองในมิติที่แตกต่างจากเดิมที่มองกันว่าอาชญากรรมเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบของสังคมที่รัฐกำหนดไว้ภายใต้อำนาจอันชอบธรรม วิธีคิดแบบใหม่ที่ว่าอาชญากรรมเป็นเรื่องความขัดแย้งของปัจเจกทำให้แต่ละฝ่ายได้ตระหนักในความรับผิดชอบในการแก้ไขความขัดแย้งที่จะอยู่ร่วมกัน เป็นการมองแบบองค์รวมที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้กระทำผิดและเหยื่ออาชญากรรม และสังคมได้มีช่องทางแสดงท่าที ความรู้สึก จิตสำนึกของฝ่ายตน ในอันที่จะช่วยเยียวยาประสานรอยร้าวทางอารมณ์ระหว่างสมาชิกในสังคม เพื่อนำพาสังคมสู่ดุลยภาพที่มีความเมตาเอื้ออาทรต่อกัน

แนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เริ่มเผยแพร่กระจายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ภายหลังการประชุม UN Crime Congress ครั้งที่ 9 เมื่อ ค.ศ.1995 จากนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 ได้มีการประชุมวิชาการหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเตรียมการเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่การประชุม UN Crime Congress ครั้งที่11 ที่ได้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 18-25 เมษายน 2548 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในการประชุมมีประเด็นอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับหลักการพื้นฐานว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และแนวคิดดังกล่าวได้มีอิทธิพลในการเปลี่ยนกรอบแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ [1] จนถึงปัจจุบัน

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นพัฒนาการรูปแบบหนึ่งของสังคมไทยที่สมาชิกในสังคมได้แสดงปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเมื่อมีพฤติกรรมอาชญากรรมหรือการกระทำผิดทางสังคมเกิดขึ้น ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิด-เหยื่ออาชญากรรม และชุมชน จึงเป็นระบบความสัมพันธ์ที่ประชาชนในสังคมมีต่อกันในการควบคุมสังคมเมื่อมีความขัดแย้งที่เรียกว่าอาชญากรรมเกิดขึ้น และระบบนี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ยึดโยงกับระบบสังคมอื่นๆโดยรวมในการสร้างแบบแผนทางสังคม โครงสร้างหน้าที่ในการยุติปัญหาความขัดแย้งเพื่อเสถียรภาพของสังคม

ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดจากการกระทำระหว่างกันทางสังคม ระหว่างบุคคลที่มีความผูกพันกันทางสังคมแต่มีข้อขัดแย้งต่อกันในความสัมพันธ์ ซึ่งหมายถึงทั้งเหยื่อและผู้กระทำผิด กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในฐานะที่เป็นกลไกหนึ่งของสังคมจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่ให้มีการทำงานร่วมกันเกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ ระหว่างคู่กรณีและบุคคลผู้เกี่ยวข้อง ในที่นี้ก็คือ ระหว่างเหยื่อ-ผู้กระทำผิด และชุมชน และอาจรวมถึงผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายในสังคมในชุมชนนั้นๆ ยอมรับว่ามีความขัดแย้ง มีการเอาเปรียบ หรือล่วงละเมิดต่อกันเกิดขึ้น และจะจัดการกับความขัดแย้งนั้นร่วมกันจริงจังอย่างไรที่จะทำให้ความขัดแย้งยุติลง มีผู้รับผิดชอบ มีการชดใช้เยียวยาในอันที่จะส่งผลให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมต่อไป

ซึ่งกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Mediation for Restorative Germinal Care) ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ว่า ต้องใช้ได้กับความผิดเล็กน้อยเท่านั้น เพราะในหลายๆประเทศได้นำหลักการนี้ไปใช้สำเร็จมาแล้ว ทั้งในรวันดาที่มีความขัดแย้งเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในมลรัฐเท็กซัส ใช้ในคดีฆาตกรรม และในประเทศแคนนาดาใช้ในคดีเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การนำหลักการนี้ไปใช้นอกจากสามารถทำให้คดีอาญายุติได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแล้ว ยังทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันระหว่างคู่กรณี เพราะมีวิธีดำเนินการเน้นไปที่ผู้เสียหายเพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้สำนึกต่อการกระทำของตนว่าการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือการทำให้สังคมเดือดร้อนมีผลอย่างไร และที่สำคัญจะได้รู้ว่าการทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ครอบครัวของตนต้องเดือดร้อนนั้นเป็นอย่างไร อันจะมีผลทำให้สำนึกในการกระทำของตน

นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและร่วมแสดงความเอื้ออาทรในการให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้แก้ไขตนเองและร่วมคิดวิธีการเยียวยาผู้เสียหาย โดยผ่านคนกลางเป็น ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมหรือผู้ประสานงานการประชุมก็ได้ สุดท้ายเมื่อความขัดแย้งได้ยุติลงด้วยความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย จึงถือว่าเป็นความยุติธรรมอย่างแท้จริงซึ่งภายใต้การกลับคืนสู่สังคมด้วยความสมานฉันท์ นี้จะทำให้สังคมอยู่ได้อย่างสงบและปลอดภัยจากการกระทำความผิดซ้ำ

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มีหลากหลายรูปแบบ [2] แต่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งของกลุ่มคนในสังคมไทยปัจจุบันนี้ควรจะใช้การประชุมกลุ่มโดยมีคนกลางคอยประสานความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร เป็นการประนอมข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ (Victim –Offender MediationหรือVOM) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการนัดเจรจาพูดคุยระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับแกนนำกลุ่ม นปช.ที่ประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่ได้จัดขึ้น ณ สถาบันพระปกเกล้าเมื่อต้นปี พ.ศ. 2553 เป็นการเจรจาที่เกือบนำไปสู่ผลสำเร็จที่ทั้งสองฝ่ายรับกันได้และสังคมโดยรวมก็รับได้ แต่ต้องยุติและล้มเหลวเพราะการเจรจานั้นขาดองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ นั่นคือคนกลาง ที่จะคอยทำหน้าที่สะท้อนความต้องการของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายได้รับรู้ เมื่อขาดคนกลางจึงส่งผลให้ความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของคู่กรณีที่นำเสนอและปรากฏต่อสาธารณะขาดการกลั่นกรอง จึงเกิดปรากฎการณ์ต่างฝ่ายต่างคิดต่างทำโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมโดยรวม

ดังนั้นรูปแบบการประชุมกลุ่มเพื่อความสมานฉันท์ที่มีผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์มานั่งล้อมวงพูดคุยกัน โดยมีผู้คอยประประสานการประชุมที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และมีความเป็นกลางมาเป็นผู้ประสานการประชุมจึงเป็นทางออกของสังคมไทยและไม่สูญเสียหลักการความเป็น “ นิติรัฐ” แต่อย่างใด และเป็นที่ยอมรับว่าความยุติธรรมใดหากเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีแล้วนั้นคือความยุติธรรมอย่างแท้จริง [3] และอาจถือได้ว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนและชุมชนได้คิดตัดสินใจเรื่องความถูกผิดความยุติธรรมให้เกิดขึ้นเอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) จึงไปไกลกว่าเรื่องประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพราะประชาชนสามารถกลับไปมีอำนาจสร้างความยุติธรรมได้โดยตรง แทนที่จะผูกขาดอำนาจไว้ที่รัฐเพียงอย่างเดียว

ความขัดแย้งทางสังคม และทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หากนำแนวคิดกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักและดำเนินการจริงจัง ความยุติธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นความยุติธรรมบนพื้นฐานของความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายเพราะเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีโดยตรง เพียงแต่มีคนกลางที่มีความรู้ความเข้าใจและมีความเป็นกลางเป็นผู้คอยประสานให้มีการเจรจาภายใต้บริบทของความสมานฉันท์ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) จึงเป็นทางออกให้กับสังคมได้กลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปราศจากความโกรธแค้นต่อกัน

เชิงอรรถ

[1] จุฑารัตน์  เอื้ออำนวย. ดร. .กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ทางเลือกในการยุติข้อขัดแย้งทางอาญาสำหรับสังคมไทย.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ประกายรัตน์  ต้นธีรวงศ์ .  การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในการจัดการความขัดแย้งทางอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว. ภาคนิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้งแบบบูรณาการ . มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ . พ.ศ. 2550
[3] สุนทรียา  เหมือนพะวงศ์ .ดร.   ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา     สำนักงานศาลยุติธรรม :ความยุติธรรมเชิงเยียวยาสู่วิธีการแสวงหาความยุติธรรมร่วมสมัยแบบอื่นๆ การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์ในคดีอาญา.
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น