ประชาไท | Prachatai3.info |
- ทักษิณโฟน ‘แดงเชียงดาว’ ขอให้จับตาการซื้อเสียง
- เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (ตอน 4)
- สุจิตต์ วงษ์เทศ:นมเด็กสาว3คน
- แถลงการณ์ แนวร่วม 'แดงสยาม' เสนอ 5 ปฏิรูป 3 ปฏิวัติ
- จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องรัฐขจัดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย
- กรณีแม่ชีทศพร : ว่าด้วยการผูกขาดครอบงำทางวัฒนธรรม
- พบกองกำลังติดอาวุธคล้ายทหารย่านบางบัวทอง
- TDRI กับข้อเสนอว่าด้วยระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
- สภาล่มอีก เลื่อนลงมติร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
- เผยผลสำรวจ นายจ้างอยากให้ลูกจ้างช่วยประหยัด-ลูกจ้างร้องสวัสดิการ
- กลไกกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และปัญหาในไทย (2): ค่านิยมในสังคมสองขั้ว
- บทวิเคราะห์เปรียบข้อเรียกร้องวันแรงงาน 6 ปี
- ใบตองแห้งออนไลน์: เจ้าอังกฤษคือเซเลบส์
- โผแรก 22กสทช.สายสรรหา ส่อเค้าสะดุด
- รายงาน: เทพนิยายฉบับราชวงศ์อังกฤษ VS ความจริงวันนี้
ทักษิณโฟน ‘แดงเชียงดาว’ ขอให้จับตาการซื้อเสียง Posted: 29 Apr 2011 12:05 PM PDT ทักษิณโฟนอินถึงแดงเชียงดาว อ้อนอยากปิ๊กไปช่วยพี่น้องแก้ไขปัญหาสินค้าแพง รายได้ไม่พอจ่าย พร้อมกับย้ำว่า หากได้กลับเมืองไทย พวกที่เคยเป็นเสือทั้งหลายจะลอกคราบกลายเป็นแมว เมื่อค่ำของวันที่ 29 เมษายนนี้ ที่บริเวณสนามโรงเรียนบ้านวังจ๊อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กลุ่ม นปช.เชียงดาว-แม่แตงนับพันคน ได้ร่วมกันชุมนุมต้อนรับกลุ่ม นปช.ที่นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย และนายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย โดยในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น. ทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการโฟนอินเข้ามาพูดคุยกับกลุ่ม นปช.เชียงดาว “ปี้น้องจาวเจียงดาวสบายดีก่อ ปี้น้องกึ๊ดเติงหาผมก่อ ผมใค่ปิ๊กบ้านขนาด อยากปิ๊กไปจ้วยพี่น้องแก้ไขเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าราคาแพง รายได้ไม่พอจ่าย หื้อผมปิ๊กไปแก้บ๋อ” พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวทักทายเป็นภาษากำเมือง โดยมี กลุ่ม นปช.เชียงดาว ปรบมือให้กำลังใจกันเป็นระยะ ในตอนหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ยังอยากกลับไปพัฒนาเชียงใหม่ อยากกลับไปพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นเลือกตั้งครั้งหน้าจะต้องช่วยกันเลือกพรรคเพื่อไทย เพราะว่าถ้าเลือก ส.ส.ทั้งหมดของเพื่อไทย ก็เหมือนเลือกทักษิณ “แล้วผมจะกลับไปช่วยพี่น้องหื้อร่ำรวยกันทุกคน ถ้าพี่น้องจะซื้อบ้านซื้อรถก็บ่ต้องเสียภาษี เป็นหนี้ก็หยุดพัก โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด เชื่อว่าถ้าผมลงจากเครื่องบินวันใด หมู่พวกค้ายามันจะต้องมุดหนีหมด รวมไปถึงพวกเจ้าหน้าที่ที่มันบ่ดี มันจะต้องหยุด ถ้าผมปิ๊กไป พวกที่เคยเป็นเสือทั้งหลายจะต้องลอกคราบกลายเป็นแมว” ในช่วงท้าย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เรื่องการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ ขอให้พี่น้องจับตาดูให้ดีเพราะเชื่อว่าจะมีการซื้อเสียงอย่างหนัก ทั้งนี้ ในวันเสาร์ที่ 30 เมษายนนี้ จะมีการชุมนุม นปช.ภาคเหนือ โดยจะจัดขึ้นที่สนามกีฬาสมโภชณ์ 700 ปี จ.เชียงใหม่ และพ.ต.ท.ทักษิณ จะมีการโฟนอินเข้ามาพูดคุยกับ นปช.เหนือ กันอีกครั้งหนึ่ง. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เวียงแหง: เมื่อกฟผ.เน้นมวลชนป่าล้อมเมือง (ตอน 4) Posted: 29 Apr 2011 11:57 AM PDT
ในขณะที่เครือข่ายชาวบ้านเวียงแหง กำลังเกาะกลุ่มรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและมีพลัง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2547 ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ มีการประชุมคณะกรรมการประสานการดำเนินงานโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินเวียง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ หลังประเมินการดำเนินงานล้มเหลว เนื่องจากกลุ่มคัดค้านกดดันเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เสนอแผนเชิงรุก"ป่าล้อมเมือง" นายธงชัย วงษ์เหรียญทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้เป็นประธานการประชุม กล่าวว่า จริงๆ แล้ว การดำเนินงานโครงการนี้ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และผลกระทบทางสังคม(SIA) และคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินเวียงแหง นายธนวิชญ์ ชุลิกาวิทย์ ผู้อำนวยการสถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ทำการศึกษาผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) กล่าวว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานตอนนี้ก็คือ คณะอนุกรรมการทั้ง 3 คณะ ซึ่งมีทั้งตัวแทน กฟผ. ตัวแทนชาวบ้าน ตัวแทนนักวิชาการ ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน และตัวแทนสื่อมวลชน แต่ก็ติดขัดที่อนุกรรมการบางคนที่เป็นชาวบ้านที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับโครงการ ไม่เข้าร่วมประชุมและลาออกไป ทั้งนี้ ในวงประชุมได้มีการสรุปการทำงานที่ผ่านมาว่า มีปัญหาที่กลุ่มเอ็นจีโอและชาวบ้านบางกลุ่มคัดค้านขัดขวางการทำงาน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้มีการปรับแผนใหม่ โดยใช้มวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่เป็นหลัก ใช้วิธีเข้าแทรกซึมในลักษณะป่าล้อมเมือง ลงพื้นที่เข้าไปสร้างความเข้าใจและให้ความรู้แก่ชาวบ้าน "โดยจะเน้นการเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในเรื่อง น้ำ ดิน และสุขภาพอนามัย อาจของบประมาณระยะสั้นจากทาง กฟผ.เข้าไปดำเนินการ เช่น การขุดบ่อบาดาล การพัฒนาที่ดิน การสร้างเตาอบขนมปัง เพื่อซื้อใจชาวบ้านให้ได้" นายธนวิชญ์ กล่าว ทางด้าน ผศ.สุเมธ ศิรินิรันดร์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่และพยายามบอกว่า นี่เป็นเรื่องของประเทศชาติ เราพยายามชี้แจงว่าเราไม่ได้ดื้อดึงที่จะทำ หากมีเหตุผลก็เอาพูดคุยกัน ซึ่งตนเห็นว่า การทำมวลชนเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน นายบูรพา มหาบุญญานนท์ อดีตนายอำเภอเวียงแหง กล่าวว่า เราต้องรู้ว่าที่ชาวบ้านไม่ต้องการเพราะอะไร แต่หลังจากที่ตนได้เข้าไปในพื้นที่ ได้พูดคุยกับชาวบ้านแล้ว พบว่า 1.ชาวบ้านกลัวสูญเสียที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าว ปลูกกระเทียม 2.ชาวบ้านกลัวถูกอพยพโยกย้าย และ 3. ชาวบ้านเขาคำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงส่วนรวม "นี่คือปัญหา ว่าจะต้องบอกให้คนเวียงแหงเข้าใจได้ว่า เมื่อมีการเปิดเหมืองแล้ว จะไม่เสียผลประโยชน์ และต้องอธิบายปัญหาเรื่องแม่เมาะที่คั่งค้างอยู่ให้ชัดเจน" นายบูรพา กล่าว ทางด้าน รศ.บุญญวาส ลำเพาพงศ์ อดีตคณบดี คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาของคณะอนุกรรมการที่ผ่านมา เราทำไปโดยยังไม่มีการเปิดเผย แม้ว่าในที่สุดแล้ว จะเปิดเหมืองหรือยุติหรือไม่ แต่เราต้องเตรียมแผนเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เหมือนประเด็นเรื่องผลกระทบจากสารแคดเมียมที่แม่สอด ก่อนนั้นตนเคยเสนอไปแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ มาตอนนี้จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ในขณะที่ นายชีวิน ปานันท์ กำนันตำบลเมืองแหง และประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอเวียงแหง ก็พูดในวงประชุมว่า ต้องยอมรับว่า ประชาสัมพันธ์ของโครงการพัฒนาเหมืองฯ นี้อ่อนมาก เพราะก่อนนั้นคนเวียงแหงทั้งหมดต่างเห็นด้วย แต่มาถึงตอนนี้ ถูกกลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มชาวบ้าน แม้กระทั่งพระสงฆ์เข้ามาคัดค้าน ทั้งนี้ นายธงชัย วงษ์เหรียญทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จำเป็นต้องมีแผน โครงการ มีทิศทางที่ชัดเจน ต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างว่า มีจำนวนกลุ่มผู้คัดค้าน ผู้เห็นด้วย ผู้วางตัวเป็นกลาง รวมไปถึงกลุ่มนักเคลื่อนไหว จำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหน อย่างไร ซึ่งต้องเปลี่ยนเป็นยุทธศาสตร์ทั้งเชิงรุกและรับ "จุดสำคัญและจุดแตกหักอยู่การประชาสัมพันธ์ กับมวลชนในพื้นที่ ที่โครงการนี้จะสร้างหรือไม่สร้าง" นายธงชัย กล่าว แน่นอน พอมีการรายงานข่าววงประชุมของอนุกรรมการฯเหมืองแร่เวียงแหง ชุดนี้ออกมาสู่สาธารณะ กลับยิ่งสร้างความไม่พอใจและเกิดการรวมตัวของเครือข่ายฯ กันมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเสียงคัดค้าน ต่อต้าน ไม่เอาเหมืองแร่ลิกไนต์ รุนแรงมากขึ้นตามลำดับ "นี่ขนาดชาวบ้านได้สำรวจความคิดเห็นกันแล้วว่า 95% ชาวบ้านคัดค้านไม่เห็นด้วย ไม่ให้สร้างเหมืองที่เวียงแหง แล้วทำไมถึงต้องดึงดันจะสร้างอยู่ต่อไป ทำไมไม่ฟังเสียงของชาวบ้านกันบ้าง…" ตัวแทนคนเวียงแหง เอ่ยออกมาด้วยความรู้สึกไม่เข้าใจในกระบวนการของรัฐ "เราขอคัดค้านการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ที่เวียงแหงจนถึงที่สุด…" เสียงของชาวบ้านเวียงแหงอีกคนหนึ่ง เอ่ยออกมา เพราะชาวบ้านรู้ดีว่า โครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินเวียงแหง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ทั้ง 3 ตำบลของอำเภอเวียงแหง คือ ตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห และตำบลเมืองแหง ซึ่งมีการคาดว่าจะมีถ่านหินที่สามารถมาใช้ได้ประมาณ 15-20 ล้านตัน การทำเหมืองจะใช้ระยะเวลาประมาณ 17-20 ปี ในพื้นที่ในการทำเหมืองรวมทั้งหมดประมาณ 3,000 ไร่ โดยจะทำเหมืองในลักษณะเหมืองเปิด หลังจากนั้นถ่านหินที่ผลิตได้จะถูกนำขนส่งทางรถยนต์ไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และยิ่งเมื่อชาวบ้านรู้ข้อมูลที่คณะนักวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาพายัพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่และสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 1 โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ร่วมกันทำงานวิจัยในหัวข้อ ‘วิถีชุมชนของประชาชนเวียงแหง’ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชุมชนประชาชนเวียงแหง ศึกษาความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินเวียงแหง และความคาดหวังต่อการพัฒนาเมืองเวียงแหงในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินเวียงแหง เมื่อปี พ.ศ.2546 ก็ยิ่งรู้สึกว่า คนเวียงแหงจะได้รับผลกระทบมากกว่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดเหมือง ซึ่งผลการวิจัย โดยการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม พบว่า ประชาชนเวียงแหงส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการทำเหมืองถ่านหิน เนื่องจากกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น กลัวว่าจะมีมลพิษทางอากาศ กลัวอากาศจะร้อน มีฝุ่นมาก กลัวเสียงดัง กลัวควัน กลัวน้ำจะปนเปื้อนและเหือดแห้ง กลัวจะสูญเสียป่าไม้ กลัวว่าจะเป็นโรคฝุ่นในปอดหรือโรคที่เกิดจากฝุ่นแร่ กลัวว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนไป กลัวครอบครัวจะล่มสลาย และกลัวการอพยพ เป็นต้น
ชาวบ้านเผย มีการแอบทำ EIA ชุมชนไม่มีส่วนร่วม แน่นอน ทำให้การคัดค้านไม่เห็นด้วยกับโครงการเหมืองถ่านหินเวียงแหง ได้ขยายและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน แม้กระทั่งชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.เวียงแหง ชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.เวียงแหง อาทิ นายก อบต. ประธานสภา อบต. สมาชิก อบต. รวมทั้งเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแตงตอนบน ต่างผนึกกำลังรวมตัวกันคัดค้านกันอย่างหนักแน่น โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2549 ชาวบ้านเวียงแหง ทุกฝ่ายได้มาจับมือและร่วมกันวางแผน วางบทบาทกลไกการทำงาน ‘กำกึ๊ด เดียวกัน’ โดยมีกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการศึกษาแลกเปลี่ยนดูงาน การร่วมกิจกรรมกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งการจัดเวทีประชุมชาวบ้าน เพื่อตั้งรับ ปรับแนวทางการทำงาน เพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหว วันที่ 25 มิ.ย.2550 กลุ่มชาวบ้านได้ออกยืนยันและแสดงจุดยืน ด้วยการออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินลิกไนต์และผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ หลังจากที่ สถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเวทีประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นครั้งที่ 3 ของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาเหมืองลิกไนต์เวียงแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ โดยการจัดเวทีครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และผลกระทบด้านสังคม(เอสไอเอ) โดยในแถลงการณ์ระบุใจความว่า ...ตามที่ กฟผ.ได้ว่าจ้างสถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเหมืองถ่านหินลิกไนต์ พวกเราในนามตัวแทนของชุมชน อ.เวียงแหง ขอแถลงการณ์และข้อเรียกร้องดังนี้ 1. ขอประณามการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไม่ได้เกิดมาจากความยินยอมของพี่น้องในชุมชนเรา และพี่น้องในชุมชนไม่มีส่วนร่วม คณะผู้จัดเก็บข้อมูลมีพฤติกรรมปล้นข้อมูลเยี่ยงโจร 2. เวทีการนำเสนอข้อมูลอีไอเอผิดวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลต่อชาวบ้านและสาธารณะชน และจะต้องให้ความสำคัญกับชุมชนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แต่สถานบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ได้ใส่ใจ กลับมาจัดเวทีนอกพื้นที่ และ 3.ขอให้ยุติทุกกระบวนการที่จะนำไปสู่การเปิดเหมืองลิกไนต์ และเราขอยืนยันว่าจะคัดค้านการดำเนินการจนถึงที่สุด เราจะไม่ยอมเป็นเหยื่อการพัฒนาที่ไม่มีส่วนร่วมจากชุมชน “...ที่ผ่านมานั้นการดำเนินการต่างๆรวมทั้งการจัดเวทีในพื้นที่ อ.เวียงแหงไม่เคยมีสักครั้ง ชาวบ้านเวียงแหงไม่เคยมีส่วนร่วมในกระบวนการใดๆแม้แต่น้อย ขณะเดียวกันชาวบ้านเองไม่เคยเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่คนใดมาเก็บข้อมูลอย่างจริงๆจังๆ แต่อยู่ๆวันนี้กลับมีการเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งผลกระทบด้านสังคมขึ้นมา ดังนั้นเรื่องนี้จึงมีความไม่ชอบมาพากล” นายพยอม คารมณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแหง ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มคัดค้านโครงการ บอกย้ำถึงการดำเนินโครงการที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามสำหรับในเวทีการประชุมสัมมนาครั้งนั้น ศ.ดร.มนัส สุวรรณ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบการศึกษาผลกระทบด้านสังคม(SIA) กล่าวว่า การจัดเวทีครั้งนี้ไม่ได้บอกว่าจะเปิดเหมืองหรือไม่ เพราะเรื่องนี้อำนาจอยู่ที่รัฐบาล แต่ตนทำหน้าที่แค่นำเสนอผลการศึกษาเท่านั้น ขณะที่โครงการเหมืองลิกไนต์เวียงแหงนั้นถือเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่มีการศึกษาผลกระทบทางสังคม(SIA) ควบคู่ไปกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) อีกทั้งยังพยายามให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินการมากที่สุดแม้จะถูกต่อต้านในพื้นที่บ้างก็ตาม ศ.ดร.มนัส กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาโครงการพัฒนาเหมืองลิกไนต์เวียงแหงนั้นสามารถสรุปได้ว่าหากมีการเปิดเหมืองลิกไนต์จะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพราะสาธารณูปโภคต่างๆจะมีการพัฒนามากขึ้น อาทิ ไฟฟ้าที่ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะคงที่มากขึ้น ประปาก็จะดีกว่าปัจจุบันเพราะการประปาส่วนภูมิภาคจะเข้ามาให้บริการ อีกทั้งการคมนาคมและการสื่อสารก็จะมีการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วย “นอกจากนี้ เรื่องการท่องเที่ยวก็จะเฟื่องฟูมากขึ้น กล่าวคือเวียงแหงเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากมีการเปิดเหมือง มีการพัฒนาถนนหนทาง และสาธารณูปโภคต่างๆธุรกิจการท่องเที่ยวที่นี่ก็จะบูม ขณะที่บริเวณเหมืองภายหลังการพัฒนาก็อาจมีการปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย โดยภาพรวมของผลกระทบนั้นจะเป็นบวกมากกว่าเป็นลบ จะมีผลดีมากกกว่าผลเสีย ขณะที่ผลเสียหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นก็สามารถจัดการแก้ไขได้” ศ.ดร.มนัส กล่าวทิ้งท้าย อย่างไรก็ตาม ตัวแทนผู้นำชุมชนนำโดย นายอ่อง จองเจน ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.เวียงแหง พร้อมผู้นำชุมชน จากชมรมองค์กรส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำแม่แตงตอนบนกว่า 50 คน ได้ออกมาอ่านแถลงการณ์คัดค้านโครงการและผลการศึกษาอีไอเอ ว่าไม่ได้รับความยินยอมจากชุมชน ทั้งที่ผู้นำชุมชนเคยทำหนังสือผ่านนายอำเภอเวียงแหงให้จัดเวทีในพื้นที่ก่อสร้างแต่ก็หลีกเลี่ยงมา 3 ครั้ง แสดงถึงความไม่ชอบมาพากลของทีมศึกษาผลกระทบ "ชาวเวียงแหงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับโครงการพัฒนาที่จะนำความเสียหายมาสู่ ไม่ต้องการตกนรกแบบคนแม่เมาะ จ.ลำปาง ที่ต้องทนอยู่กับสารพิษจากถ่านหินลิกไนต์ เราพอใจชีวิตชนบทแบบพอเพียงด้วยการยังชีพแบบวิถีเกษตรทั้งการปลูกข้าว กระเทียม และพริก" นายอ่องกล่าวอย่างหนักแน่น
ในความนิ่งมีการเคลื่อนไหว นายพยอม คารมณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแหง ในขณะนั้น ในฐานะตัวแทนกลุ่มคัดค้านโครงการดังกล่าว กล่าวว่า ขณะนี้ทาง กฟผ.เริ่มเข้ามาแล้วเพื่อต้องการที่จะให้มีการรื้อขบวนการอีไอเอ หรือเอสไอเอกันใหม่ ซึ่งใน อีไอเอ ที่ศึกษาเรื่องผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็เอาแยกทำเป็นฉบับหนึ่ง เป็นเล่มเล็กๆซึ่งที่ผ่านมา ทางชาวบ้านเคยขอผลการศึกษา ฉบับสมบูรณ์ มาตั้งแต่ 2-3 ปีมาแล้ว ก็ยังไม่ได้แต่ชาวบ้านเข้าใจว่าการดำเนินโครงการ คงจะหยุดชะงักมีปัญหาเรื่องของ อีไอเอ พอสมควรเพราะหลังจากที่มีการไปฉีก อีไอเอ ที่โลตัสปางสวนแก้ว แล้วก็เงียบหายไป “แต่คิดว่าหลังจากเงียบ ตอนนี้เข้าใจว่ากำลังจะกลับเข้ามาใหม่ ความวุ่นวายเริ่มที่จะมีการก่อตัวอีกแล้ว”
เผย กฟผ. เริ่มทำมวลชนแบบเจาะกลุ่มฐานผู้นำชุมชน “ซึ่งเงินที่เข้ามาสู่โรงเรียน เราก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน หากเป็นเงินที่เข้าไปทำมวลชนของ กฟผ.ซึ่งก็เป็นอันตรายพอสมควรในเรื่องค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในที่ผู้ปกครองโดนแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นทุนการศึกษา อาหารกลางวันซึ่งอาจทำให้ชาวบ้านที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน รู้สึกคล้อยตาม เห็นดีเห็นงามไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าวิตกและน่ากลัวกว่าเดิมยิ่งตอนนี้ มีเงินโครงการไทยเข้มแข็ง ไม่แน่อาจเอาเงินมาทำในลักษณะของมวลชนเข้มแข็งและอาจจะอ้างให้เอาเงินส่วนนี้มาทำให้มวลชนพอมาทำมวลชนเสร็จก็เกิดการได้ใจ ได้เรื่องของความเห็นร่วม ซึ่งเมื่อก่อน ก็มีกลุ่มที่สนใจบ้าง ไม่สนใจบ้าง มากพอสมควร และเป้าหมายนั้นก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรแต่สังเกตการณ์เคลื่อนตัวของโครงการเหมืองถ่านหินเวียงแหง ตอนนี้ เชื่อว่าเขากำลังเริ่มรุกและเริ่มใหม่อีกครั้ง” นายพยอม กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากล อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในอำเภอเวียงแหงที่คัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน ต่างเตรียมพร้อมรับมือและต่อสู้กันจนถึงที่สุดหาก กฟผ.ยังไม่คิดล้มเลิกโครงการ “ก็ต้องทำให้ชาวบ้านเห็นก่อนว่า กฟผ. กำลังจะกลับเข้ามา และชาวบ้านนั้นจะมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้างซึ่งตอนนี้ เราเองก็ยังไม่ชัดเจนว่าเขาจะเข้ามาแต่ครั้งหลังสุดเราก็เริ่มรู้ว่าเริ่มมีการแทรกซึมเข้ามาทีละเล็กทีละน้อยเล่นมวลชนแบบซึมลึก ซึ่งน่ากลัวกว่ารอบแรกที่กฟผ.เข้ามาเสียอีกอันตรายอย่างมากและตอนนี้รู้ตัวชัดเจนแล้วว่าใครเป็นใคร” นายคำ ตุ่นหล้า แกนนำกลุ่มคัดค้านอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า กรณีของชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ ตอนนี้ก็ไม่ได้เงียบเสียทีเดียวแต่ก็ยังมีการเฝ้าระวังกันอยู่ว่าเขาจะเข้ามาอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างไรรูปแบบไหน “ซึ่งตอนนี้ เราก็รู้อยู่ว่า ทางกฟผ.เขามาในแนวของการแจกทุนการศึกษา แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ ก็ยังคงมีความคิดเหมือนเดิมอยู่ยังคงคัดค้าน ไม่เอาเหมืองถ่านหิน” นายคำ ตุ่นหล้า กล่าวยืนยันอย่างหนักแน่นเช่นเดิม. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 29 Apr 2011 11:27 AM PDT สังคมดัดจริตดีดดิ้น, ปากว่าตาขยิบ, เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง, ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง, ฯลฯ แค่เด็กสาว 3 คนที่มีพฤติกรรมตามการหล่อห นิตยสารไทม์ออนไลน์ ให้ความสำคัญกรณีเด็กสาว 3 คน เปลือยอกเต้นโชว์นม ในงานสงกรานต์ บนถนนสีลม ถูกสังคมคนชั้นนำ เช่น รัฐมนตรี, ปลัดกระทรวง, ฯลฯ ประณามว่าดูหมิ่นวัฒนธรรมอั "ในความเป็นจริงไม่สามารถเปล ยิ่งกว่านั้นสถานที่วัยรุ่นทั้ง ภาพการค้าบริการเหล่านี้เป็ ดังนั้น ข่าวครึกโครมของเด็กสาว 3 คน เต้นอวดนม จึงไม่ได้ก่อให้เกิดผลอันใด ที่พวกดัดจริตดีดดิ้นโทษเด็ เพราะที่จริงแล้วพวกดัดจริตดีดดิ วันนั้นเด็กสาว 3 คน อยู่ท่ามกลางฝูงชนเล่นสาดน้ำสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ที่มีมาแต่แ เคยกราบพระทั้งปี ผู้หญิงถูกต้องตัวพระสงฆ์ถื เจ้าคุณอนุมานราชธน เขียนเล่าว่าพระเณรแข่งเกวี ครั้งนั้นไม่มีใครดัดจริตดี
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แถลงการณ์ แนวร่วม 'แดงสยาม' เสนอ 5 ปฏิรูป 3 ปฏิวัติ Posted: 29 Apr 2011 11:25 AM PDT 29 เมษายน 2554 แนวร่วมแดงสยามเพื่อประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ ระบุสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เป็นเกมแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐขณะนี้ และปฎิเสธเส้นทางเดินแห่งการปรองดองจอมปลอม แต่สนับสนุนแนวทางการเลือกตั้ง ซึ่งได้รวบรวมแนวคิดหลักแห่งการปฏิรูปและปฏิวัติ ในแนวทาง 5 ปฎิรูป 3 ปฎิวัติ 0 0 0 แถลงการณ์แนวร่วมแดงสยามเพื่อประชาธิปไตย ปฏิเสธการปรองดองจอมปลอม
บรรยากาศทางการเมืองโดยรอบที่เกิดขึ้นในช่วงขณะเวลาแห่งการปรองดองเพื่อปูทางไปสู่การเลือกตั้ง แม้จะมีการเปิดศึกจากหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการให้ DSI ยื่นถอนประกันตัวแกนนำ นปช จนกระทั้งไล่ปิดวิทยุชุมชน ก็เป็นเพียงเกมแสดงแสนยานุภาพอำนาจของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐขณะนี้ แต่แล้วการตัดสินใจที่แท้จริงของทั้งสองฝ่าย คือผู้มีบารมีนอกรัฐสภา และเพื่ออะไรๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแห่งการประลองกำลังที่เหลืออยู่ แนวร่วมแดงสยามเพื่อประชาธิปไตย จึงได้ขอปฎิเสธเส้นทางเดินแห่งการปรองดองจอมปลอมแต่สนับสนุนแนวทางการเลือกตั้ง ซึ่งได้รวบรวมแนวคิดหลักแห่งการปฏิรูปและปฏิวัติ ซึ่งในแนวทางของเรามีดังนี้ 1.สิทธิในการยกเลิก มาตรา 112 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่ฝ่ายการเมืองนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากที่สุดและทำให้การตีความของหน่วยงานยุติธรรมไม่ยืนอยู่บนหลักอุดมการณ์ประชาธิปไตย สูญเสียความชอบธรรมแห่งหลักการนิติรัฐ 2.สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองและกันเอง เพื่อยืนยันหลักการรับผิดชอบตัวเองและสังคม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักแห่งการสร้างแนวทางปฏิบัติความเสมอภาค อันที่แท้ ความเสมอภาคต้องสร้างจากการเคารพในตนเองให้ได้ก่อน เป็นการสร้างจริยธรรมขั้นพื้นฐาน เละการสร้างหลักประกันแก่สังคมว่าจะไม่สร้างลัทธิกู ลัทธิผู้วิเศษ หรือลัทธิหลงตัวเอง จนเป็นเหตุให้สังคมตกอยู่ในโรคความล้มเหลว งมงาไร้เหตุผล ดังนั้นการวิพากวิจารณ์กันเองอย่างสร้างสรรค์จึงเป็นเป้าหมายหนึ่ง ในงานการปฏิรูป 3.สิทธิในการป้องกันตัวเอง ในเวลาที่รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน ซึ่งสิทธินี้อยู่ประมวลกฎหมายอาญา(ไทย) มาตรา ๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ มาตรา ๗๒ มาตรา ๓๗๔ ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อาทิ สิทธิพื้นฐานของบุคคล สิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 และเป็นการยืนยันหลักการสากล แห่งกฏบัตรสหประชาชาติ มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 45 มาตรา 51 4.สิทธิ ในการป้องกันความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง หลักการเคารพความหลากหลายในวิถีแห่งชีวิตแห่งชุมชน และท้องถิ่น ทางเชื้อชาติ ทางเพศ ทางวัฒนธรรม และการเลือกโอกาสช่องทางทำหากินอย่างสุจริตชน 5.สิทธิในไต่สวนถามหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม ในการล้อมปราบประชาชน ในปี2553 และเหตุการณ์ความรุนแรง 6 ตุลาคม2519 ซึ่งในเหตุการณ์การล้อมปราบ2553รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หรือรัฐบาลในอนาคต ต้องมีหน้าที่ร่วมมือให้การสนับสนุน ในเฉพาะหน้าต้องให้งบประมาณ ชดเชยผู้ที่เสียชีวิตและหรือทุพพลภาพ 10 ล้านบาทขึ้นไปแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตและ5 ล้านบาทขึ้นไปแก่ผู้ทุพพลภาพ ในแนวทางการปฎิวัติ มีดังนี้ 1 ปฎิวัติการศึกษา สร้างองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ทางสังคม ทางวัฒนธรรม ทางความคิด 2 ปฎิวัติเศรษฐกิจ สร้างระบบเศรษฐกิจ คู่ขนานระหว่างชาติกับภูมิภาคและสร้างฐานชนชั้นกลางใหม่เพิ่มขึ้น 3 ปฎิวัติการเมือง สร้างนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยเสรี และสร้างการเมืองเพื่อคนรุ่นใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาทนักการเมือง เพื่อสร้างรากฐานสถาบันการเมืองเพื่อสังคมใหม่แห่งสันติภาพ
29 เมษายน2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องรัฐขจัดการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย Posted: 29 Apr 2011 11:10 AM PDT 29 เมษายน 2554 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ออกจดหมายเปิดผนึกถึงฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกร้องให้รัฐขจัดการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย ตามการรายงานของสำนักข่าวบีบีซี ดังมีรายละเอียด ดังนี้ 0 0 0
จดหมายเปิดผนึก ด่วนที่สุด วันที่ 29 เมษายน 2554
เรื่อง เรียกร้องให้รัฐขจัดการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเลไทย จากการรายงานข่าวของสำนักข่าว บีบีซี นิวส์ (BBC News) เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 ถึงกรณีการค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานหรือบริการ ซึ่งปรากฏกระบวนการนำพาแรงงานเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายและหลอกลวงแรงงานจากประเทศพม่าหลายพันคนมาทำงานในอุตสาหกรรมประมงประเทศไทย ทั้งกิจการประมงทะเล(ลูกเรือประมง) และกิจการต่อเนื่องจากประมงทะเล(คนงานในโรงงานบรรจุและผลิตอาหารทะเล) โดยเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแรงงานชาวพม่าจะถูกขายต่อไปยังนายหน้ารายอื่นและถูกกักขังไว้ก่อนจะถูกขายให้กับเจ้าของเรือประมง เปรียบเสมือนกับการค้าทาสซึ่งละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนในเนื้อตัวร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ สภาพการทำงานนั้น แรงงานชาวพม่าถูกบังคับให้ต้องทำงาน ๑๕-๒๐ ชั่วโมงต่อวัน กรณีทำงานบนเรือประมงจะถูกกักตัวเยี่ยงทาสไว้ในเรือในทะเลเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีโอกาสขึ้นฝั่ง หรือถูกกักขังอยู่บนฝั่งระหว่างรอการออกเรือรอบต่อไป หากหลบหนีแล้วถูกจับได้ก็จะถูกทรมาน ทำร้ายทุบตี และข่มขู่เอาชีวิต ซึ่งในรายงานข่าวดังกล่าวมีรายหนึ่งที่กัปตันเรือคนไทยจับลูกเรือต่างด้าวที่หลบหนีมาช็อตด้วยไฟฟ้าและถูกยิงต่อหน้าลูกเรือคนอื่นแล้วโยนทิ้งทะเล ซึ่งผู้ให้ข้อมูลตามรายงานข่าวดังกล่าวเป็นลูกเรือประมงคนหนึ่งที่กระโดดเรือแล้วว่ายน้ำหนีรอดออกมาได้ (รายละเอียดข่าว สามารถอ่านได้ที่ http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-12881982,http://news.bbc.co.uk/today/hi/today/newsid_9467000/9467216.stm,http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-13189103 ) การทำงานบนเรือประมงและกิจการต่อเนื่องจากประมงนั้น ซึ่งมีความต้องการแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมประมงซึ่งเป็นอุสาหกรรมที่ทำรายได้ติดอันดับต้นๆของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สภาพความเป็นจริงปรากฏขบวนการค้ามนุษย์เข้ามาแทรกแซงกลไกดังกล่าวจนกระทั่งสะท้อนออกมาเป็นภาพรวมว่า ยิ่งอุตสาหกรรมประมงรุ่งเรืองมากขึ้นเท่าใด การค้ามนุษย์โดยบังคับใช้แรงงานประมงยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเพียงนั้น ทั้งนี้ การรายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซี นอกจากจะสะท้อนถึงปัญหาสภาพการจ้างงานในอุตสาหกรรมประมงไทยแล้ว ยังเรียกร้องให้นานาประเทศตระหนักว่าสินค้าจากอุตสาหกรรมประมงซึ่งส่งออกมาจากประเทศไทยนั้น อาจเป็นสินค้าที่ได้มาจากการเอารัดเอาเปรียบ บังคับใช้แรงงานและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน เห็นว่าข้อมูลที่เผยแพร่ในรายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซี นั้น น่าเชื่อถือ ได้ และสอดคล้องกับปัญหาและข้อเท็จจริงที่ทางมูลนิธิตรวจสอบอยู่ การค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลนอกจากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายทั้งในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงแล้ว หากปล่อยไว้โดยไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงทะเลดำเนินการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ 1. ออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการประมงอย่างน้อยให้เท่ากับมาตรฐานคุ้มครองแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งในด้านค่าจ้าง สิทธิในบริการสาธารณสุข สิทธิในความปลอดภัยจากการทำงาน และการประกันสังคม เป็นต้น และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด 2. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานและบริการในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างจริงจัง โดยสมาคมของผู้ประกอบการกิจเกี่ยวกับการประมงทะเล จะต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมการประมงที่ยั่งยืน โดยต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน ไม่ว่าจะมาจากเผ่าพันธุ์ หรือประเทศใดอย่างเสมอภาคเท่าเทียม 3. จัดระบบแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ปรับปรุงระบบการจัดเก็บฐานข้องมูลของแรงงานประมงทะเล และเอกสารประจำตัวลูกเรือ หรือseaman book ให้สามารถตรวจสอบได้ทั่วประเทศและป้องกันการสวมทะเบียน ทั้งนี้ การปราบปรามการค้ามนุษย์ต้องมุ่งเน้นกระบวนการนำพาของนายหน้าและการลงโทษสถานประกอบกิจการประมงทะเลผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงต่อกระบวนการค้ามนุษย์ 4. จัดระบบตรวจสอบเรือประมง การจดทะเบียนเรือของกรมเจ้าท่าต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจน ระบุตัวเรือได้จริง เป็นฐานข้อมูลที่ตรวจสอบได้ทั้งประเทศ เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงทะเล อาทิเช่น การตรวจสอบเอกสารของคนประจำเรือ, การตรวจสอบใบอนุญาตทำประมง(อาชญาบัตร), ใบอนุญาตใช้เครื่องมือทำการประมง และใบอนุญาตเช่าพื้นที่, การตรวจสอบสภาพการทำงานและคุ้มครองสิทธิแรงงาน เป็นต้น 5. ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงอย่างจริงจัง 6. รัฐบาลไทยต้องให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ทั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, ผู้รายงานพิเศษด้านต่อต้านการค้ามนุษย์ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในการตรวจสอบกรณีดังกล่าว
ขอแสดงความนับถือ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กรณีแม่ชีทศพร : ว่าด้วยการผูกขาดครอบงำทางวัฒนธรรม Posted: 29 Apr 2011 11:10 AM PDT ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วีดีโอ “แก้กรรม” ของแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ หรือแม่ชีใหญ่ซึ่งเผยแพร่ในเวปไซต์ยูทูปได้กลายมาเป็นประเด็นการถกเถียงที่ร้อนแรงประเด็นหนึ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค จนทำให้เกิดแฟนเพจล้อเลียนแม่ชีทศพรชื่อว่า “แม่ชี นะลูกนะ” ซึ่งมีสมาชิกจำนวนกว่าพันคน เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา คำ ผกา นักคิดนักเขียนชื่อดังได้หยิบประเด็นการแก้กรรมของแม่ชีทศพรมาวิเคราะห์และวิพากษ์ในรายการ “คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำ ผกา” ซึ่งเผยแพร่เป็นประจำทุกวันอาทิตย์ทางช่องเคเบิลทีวี Voice TV (ดูวีดีโอย้อนหลังได้ที่ http://shows.voicetv.co.th/kid-len-hen-tang/7900.html) และล่าสุด เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เดินทางไปวัดพิชยญาติการาม เพื่อขอเข้าพบพระพรหมโมลี เจ้าอาวาสและกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง และได้พบกับแม่ชีทศพร จึงได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303911878&grpid=&catid=19&subcatid=1904) ในเย็นวันเดียวกันนี้เอง รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วง “สรยุทธ์ เจาะข่าวเด่น” รมว.วธ. ได้รับเชิญมาชี้แจ้งท่าทีของกระทรวงวัฒนธรรมต่อกรณี “แก้กรรมแบบพิศดาร” (ดูวีดีโอย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=GJK1xMtti-s&feature=player_embedded#at=634) จนนำมาซึ่งการกดดันและการใช้มาตรการต่างๆ (ทั้งโดยตรงผ่านกฎหมายและโดยอ้อมผ่านผู้บังคับบังชา) เพื่อจัดการกับแม่ชีทศพรโดยศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303999145&grpid=00&catid=&subcatid=)
การผูกขาดครอบงำทางวัฒนธรรมผ่านกลไกอำนาจรัฐ ปรากฏการณ์วิวาทะแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่สังคมเสมือนจริงไปจนถึงพื้นที่สื่อสารมวลชนนี้ นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจต่อพัฒนาการทางความคิดของสังคมไทย เพราะแสดงให้เห็นถึงการเริ่มเปิดกว้างสู่การวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นอ่อนไหวทั้งหลายในสังคม (ในกรณีนี้คือ ความเชื่อทางศาสนา) เห็นได้จากข้อเสนอของ คำ ผกา ในตอนท้ายรายการที่ชักชวนให้ผู้ชมเห็นต่างและร่วมถกเถียง โดยเน้นย้ำว่าการวิพากษ์ของเธอไม่ได้ต้องการตัดสินคุณค่าดี/เลวให้กับความเชื่อเรื่องสแกนกรรม แต่เป็นการชี้ให้เห็นถึงที่มาที่ไปของ “กรอบคิด” ซึ่งแฝงอยู่เบื้องหลังการแก้กรรมของแม่ชี อันเต็มไปด้วยอคติทางเพศและมายาคติทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงที่สุดแล้ว การสแกนกรรมของแม่ชีนับเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการผูกขาดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการกล่อมเกลาและปลูกฝังโดยระบบการศึกษาและจารีตประเพณีของทางการมาเป็นเวลาเนิ่นนาน อาจกล่าวได้ว่า “วัฒนธรรมแห่งการวิพากษ์” ที่เกิดขึ้นจาก “กรณีแม่ชีทศพร” นี้เป็นสิ่งที่สังคมต้องการอย่างมากในยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและวัฒนธรรมซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะสังสรรค์ของความคิดความเชื่อหลักของคนในสังคม อันจะนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนทัศน์อย่างถอนรากถอนโคนในไม่ช้าอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี การแสดงบทบาทและท่าที ตลอดจนการทยอยออกมาตรการต่างๆ ของกระทรวงวัฒนธรรม ผ่านรัฐมนตรีเจ้าประจำกระทรวงและศูนย์เฝ้าจับระวังทางวัฒนธรรมนั้นสวนทางกับวัฒนธรรมแห่งการวิพากษ์นี้อย่างมีนัยสำคัญ ดังที่ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) ได้กล่าวในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ว่า “เราต้องกลับไปที่หลักของพระพุทธศาสนา เรารู้ว่ามนุษย์สามารถแยกแยะความผิดความถูกได้ ความดีความเลวได้ ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นหลักศาสนาพุทธบอกว่าเป็นความชั่ว เป็นอกุศลกรรมก็อย่าไปทำ แต่ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นความดี เราก็ต้องทำดียิ่งๆ ขึ้นไป หลักมันอยู่ตรงนั้นเอง” โดยการอ้าง “หลักที่แท้จริงของศาสนา” รมว.วธ. ได้สถาปนาหน่วยงานของตนเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการตีความศาสนาพุทธ และในขณะเดียวกัน ในฐานะหน่วยงานของรัฐ กระทรวงวัฒนธรรมได้ใช้กลไกอำนาจทั้งหมดที่อยู่ในมือ “เซ็นเซอร์” บุคคลใดๆ ที่แสดงออกซึ่งรสนิยมและแนวทางความเชื่อที่แตกต่างไปจากการตีความศาสนาของตนด้วยวิธีการเผด็จการนิยม ไม่ว่าจะเป็นการชงเรื่องไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งล่าสุดได้ถอดถอนวีดีโอในยูทูปทั้งหมด และข่มขู่จะดำเนินการกับผู้ที่ทำการเผยแพร่คลิปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือการใช้วิธีการ “มาเฟีย” คุกคามสถานะของแม่ชีทศพรผ่านผู้บังคับบังชาคือพระพรหมโมลีเจ้าอาวาสนั่นเอง นอกจากนี้ โดยยังไม่ต้องเข้าไปถกเถียงประเด็นการตีความ “พุทธปรัชญา” เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่า การอุปโลกน์ “ความดี/เลว” ให้เป็น “หลักของพระพุทธศาสนา” ตามความเข้าใจของ รมว.วธ. นี้ แท้จริงกำลังจะสับสนระหว่าง “หลักพุทธศาสนา” (หรือพุทธปรัชญา ซึ่งเป็นแนวทางสู่ “อิสรภาพ” ทางจิตวิญญาณ) กับ “หลักศีลธรรม” (ซึ่งเป็น “กฎเกณฑ์” แนวปฏิบัติทางโลกอันเกิดขึ้นจากฉันทามติของคนในสังคมเดียวกัน) เสียด้วยซ้ำ เนื้อหาและแนวทางของแม่ชีนั้นดีไม่ดี ถูกผิด เหมาะสมหรือไม่อย่างไร คงจะเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องร่วมกันพูดคุยถกเถียง (ต้องไม่ลืมว่าแม่ชีเองก็มีลูกศิษย์ลูกหาหลายพันคน) และกระทรวงวัฒนธรรมก็มีความชอบธรรมในการที่จะออกมาแสดงจุดยืนและท่าทีของตนได้ แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการ “อำนาจนิยม” ที่กำลังทำอยู่ ซึ่งมุ่งยืนยัน “อำนาจ” ของตนเองผ่าน “บทลงโทษ” มากกว่าจะเปิดกว้างสู่ “วัฒนธรรมการวิพากษ์” เพื่อสร้างปัญญาให้กับสังคมอย่างแท้จริง นี่สะท้อนปัญหาในเชิงกรอบคิดอันเป็นปัญหาเรื้อรังของกระทรวงนี้ กรอบคิดแบบ “ผูกขาดครอบงำเชิงวัฒนธรรม” (cultural hegemony) ได้ถูกสถาปนาให้เป็น “อัตลักษณ์” ประจำกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งทึกทักเอาเองว่าการมีอยู่ของตนไม่สามารถแยกออกจากการ “เฝ้าระวัง” และ “ลงโทษ” ได้ เราต้องการสังคมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ สังคมที่จะเปิดพื้นที่ให้กว้างมากพอสำหรับการต่อรองและการแสดงออกถึงความแตกต่างทางความเชื่อและวัฒนธรรมของกลุ่มคนต่างๆ ไม่ใช่สังคมที่ถูกกำกับโดยองค์กรซึ่งมีแนวคิดฟาสชิสต์ ในนามของ “ความถูกต้อง” หรือ “ความบริสุทธิ์ดีงาม” ทางวัฒนธรรม เพราะแม้แต่ความถูกต้องดีงามที่ถูกสถาปนาเป็นแนวคิดหลักนั้นก็ต้องถูกตรวจสอบและสอบทานได้ และถึงที่สุดแล้ว อาจไม่ใช่แม่ชีทศพรหรือสแกนกรรมใดๆ ที่เป็นภัยอย่างแท้จริงต่อความมั่นคงของพุทธศาสนา (เพราะพุทธศาสนาแบบทางการดำเนินอยู่ควบคู่ไปกับพุทธศาสนาแบบชาวบ้านมาตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว) หากแต่เป็นกระบวนการครอบงำทางวัฒนธรรมที่มีหัวขบวนเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่เฉกเช่นกระทรวงวัฒนธรรมต่างหาก เพราะสิ่งที่ท่านทำคือ การปิดกั้นกดทับผู้คนในสังคมไม่ให้พวกเขาได้มี “อิสรภาพ” และ “พื้นที่” ในการแสดงออกซึ่งความเชื่อและความต้องการทางจิตวิญญาณที่หลากหลาย ผู้หญิงกับพุทธศาสนาของไทย : เมื่อผู้หญิงไม่เคยมีพื้นที่ยืน หากพิจารณาขบวนการแม่มดที่เกิดขึ้นในยุโรปนี้ด้วยมุมมองใหม่ทางประวัติศาสตร์ผนวกกับองค์ความรู้สายสตรีนิยม เราสามารถตีความได้ว่า ในแง่หนึ่ง การมีอยู่ของ “แม่มดหญิง” นี้เป็นความพยายามในการต่อรองกับ “อำนาจ” (ของศาสนจักรและศิลปวิทยาการ ซึ่งก็คือ “องค์ความรู้” ทั้งหลายของมนุษย์) ซึ่งถูกผูกขาดเรื่อยมาโดย “ผู้ชาย” การตั้งชื่อในแง่ลบให้กับกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ว่าเป็น “แม่มด” ตลอดจนการยัดเยียดข้อกล่าวหา “นอกรีต” ก็แสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ “สถาบัน” (ผ่านอำนาจชายเป็นใหญ่) จัดการกับการต่อสู้เพื่อจะมี “ที่ยืน” ในสังคมของกลุ่มคนชายขอบไร้อำนาจซึ่งคือ ผู้หญิง ในแง่นี้ การ “เตือนสติสังคม” ของกระทรวงวัฒนธรรมโดยการผูกขาด “ความถูกต้อง” ของการตีความทางศาสนานี้เป็นการกระทำที่รุนแรงภายใต้กรอบความคิดผู้ชายเป็นใหญ่ ในสังคมที่อำนาจและองค์ความรู้ถูกผูกขาดเรื่อยมาโดยผู้ชาย การปกป้องศาสนาถูก “เลือกปฏิบัติ” กับแม่ชีทศพร (ซึ่งไม่มีสถานะใดๆ เนื่องจากความเป็นแม่ชีไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสังคมหรือจากองค์กรสงฆ์ไทย ไม่ใช่นักบวช เป็นเพียงแค่ฆราวาสนุ่งขาวห่มขาวที่ถือศีล 10 ธรรมดา) ในขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมไม่เคยมีความจริงใจใดๆที่จะตรวจสอบพระสงฆ์องค์คณะที่มีพฤติกรรมการสอนเข้าข่าย “เบี่ยงเบน” (หากวัดจากบรรทัดฐานทางศีลธรรมของรมว.กธ.) อย่างสำนักธรรมกายหรือแม้กระทั่งพระสงฆ์ในการกำกับดูแลของมหาเถรสมาคมเองก็ตาม ใช่, วิธีคิดและชุดคำสอนของแม่ชีมีปัญหาอย่างแน่นอน แต่การเกิดขึ้นและมีอยู่ของแม่ชีเป็นผลพวงจากส่วนเกิน (excess) ที่สังคมนี้ผลิตขึ้นมาเอง ผ่านกระบวนการครอบงำและกดขี่ทางวัฒนธรรมที่ดำเนินมาช้านานซึ่งไม่เคยมี “พื้นที่” ให้กับผู้หญิงอย่างจริงจัง เพราะ ในปริมณฑลของพุทธศาสนาไทย มีผู้หญิงเพียงสองประเภทเท่านั้นที่สามารถมีพื้นที่ยืนอยู่ได้ คือผู้หญิงอย่างแม่ชีศันสนีย์ที่ต้องอ่อนน้อมสยมยอมต่อระบอบชายเป็นใหญ่ หรือฆราวาสหญิงทั้งหลายซึ่งเป็นได้เพียงแค่อุบาสิกาผู้ค้ำจุนทำนุบำรุงศาสนา แต่ “ผู้หญิง” ในฐานะปัจเจกที่มีความเป็นเอกเทศและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะสามารถเข้าถึงนิพพานได้ดังเช่นผู้ชายนั้น พุทธศาสนาไทยไม่เคยรับรองพื้นที่ให้กับพวกเธออย่างเป็นทางการและอย่างเท่าเทียม ลูกศิษย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงของแม่ชีอาจไม่ “หลุดพ้น” แต่ภายใต้สถานภาพของผู้หญิงที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ แม่ชีได้ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์เฉพาะหน้าของพวกเธอ ใช่, การตีความพุทธศาสนาและรูปแบบการนำเสนอของแม่ชีอาจหมิ่นเหม่และล่วงละเมิดไม้บรรทัดทางศีลธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม แต่แม่ชีทศพรไม่ใช่อาชญากรของรัฐที่จะทำลายความสงบสุขของสังคมไทยดังเช่นที่ รมว.วธ.กล่าวอ้าง ดังนั้น กรณีแม่ชีทศพรนี้จึงเป็นกรณีที่น่าสนใจและท้าทายต่อสติและวุฒิภาวะของสังคมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นพื้นที่ของการปะทะต่อสู้ระหว่างความเชื่อแบบทางการกับความเชื่อแบบชาวบ้านแล้ว ในภาพที่กว้างออกไป กรณีนี้ยังชี้ให้เราเห็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนว่าด้วยความไม่เท่าเทียมทางเพศในปริมณฑลของพุทธศาสนาไทยอีกด้วย ! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พบกองกำลังติดอาวุธคล้ายทหารย่านบางบัวทอง Posted: 29 Apr 2011 10:44 AM PDT มีรายงานว่าได้พบรถกระบะตอนเดียวจำนวนสองคันโดยไม่สามารถระบุสี รุ่นหรือเลขทะเบียนได้เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน โดยคันหนึ่งได้ติดตั้งสัญญานไฟฉุกเฉินบนหลังคา บนกระบะของรถทั้งสองคันได้ติดตั้งเก้าอี้โดยสารโดยหันหน้าออกด้านนอกรถ บนรถทั้งสองคันได้มีชายในชุดเครื่องแบบคล้ายทหารพร้อมอาวุธปืนเอ็ม 16 นั่งอยู่คันละ 8 คน เวลา 23.00น.ของวันที่ 29 เมษายน 2554 ได้มีรายงานว่าได้พบรถกระบะตอนเดียวจำนวนสองคันโดยไม่สามารถระบุสี รุ่นหรือเลขทะเบียนได้เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน โดยคันหนึ่งได้ติดตั้งสัญญานไฟฉุกเฉินบนหลังคา บนกระบะของรถทั้งสองคันได้ติดตั้งเก้าอี้โดยสารโดยหันหน้าออกด้านนอกรถ บนรถทั้งสองคันได้มีชายในชุดเครื่องแบบคล้ายทหารพร้อมอาวุธปืนเอ็ม 16 นั่งอยู่คันละ 8 คนโดยแล่นวนเข้าออกในบริเวณหมู่บ้าน หงษ์ประยูร ถนนบางบัวทอง-ไทรน้อย อ.บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และเมื่อพบมอเตอร์ไซค์ขับผ่านก็ได้เข้าปิดกั้นและทำการตรวจค้น รายงานเพิ่มเติมว่าในหมู่บ้านหงษ์ประยูร เป็นที่พักอาศัยของหัวคะแนนของนายโกวิทย์ เจริญนนทสิทธิ์ นายกเทศมนตรีเมืองบางบัวทอง และนายโกวิทย์ ได้ถูกคนร้ายขับรถตามประกบยิง ขณะกำลังขับรถเข้าบ้านกระสุนเข้าที่ศีรษะ 1 นัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มี.ค.54 นั้น เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้อย่างชัดเจน แต่มีข้อสังเกตุว่านายโกวิท มีความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยและเคยให้การสนับสนุนการต่อสู้ของกลุ่ม นปช. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
TDRI กับข้อเสนอว่าด้วยระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ Posted: 29 Apr 2011 04:02 AM PDT
วันนี้ (29 เม.ย.54) ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ TDRI ได้จัดสัมมนาเรื่องระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งเป็นสวัสดิการที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการที่ค่าใช้จ่ายของสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นงบปลายเปิด คือ เบิกเท่าไร ก็สั่งจ่ายเท่านั้น กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลเรื่องนี้ ก็ไม่มีเครื่องมือในการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้ทั้งผู้ป่วยและหมอขาดแรงจูงใจที่จะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่องผู้ป่วยนอก เป็นปัญหามาก ในปี 2550 ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นถึง 40% เป้าหมายของการวิจัยจึงเป็นเรื่องว่า เราจะสร้างระบบอย่างไรให้มีการใช้เงินที่มีประสิทธิภาพขึ้นในขณะเดียวกันสุขภาพของข้าราชการก็ไม่ได้แย่ลง ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างปัญหา แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการใช้จ่ายที่สูง เช่น ปี 2553 ข้าราชการที่มีการใช้จ่ายสูงที่สุด 1% ของผู้ป่วยทั้งหมด ใช้เงินถึง 20% ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอก หรือเฉลี่ยคนละ 3 แสนบาทสำหรับผู้ป่วยนอกอย่างเดียว ยังไม่รวมผู้ป่วยใน การเจ็บป่วยของคนกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่การใช้จ่ายนั้นต้องหาทางทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเงินที่จ่ายออกไปเป็นเงินของตน เพื่อให้การตัดสินใจใช้จ่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ถ้าเป็นเงินจากกระเป๋ารัฐอย่างเดียวก็อาจจะไม่ต้องคิดมากอะไรในการจ่ายแต่ละครั้ง ถ้ามีการสร้างระบบที่ดี ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้เงินเพื่อสุขภาพของตนมากกว่านี้ นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เราน่าจะกำหนดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของข้าราชการให้เป็นสัดส่วนกับงบเงินเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเติบโตอย่างไม่จำกัด การที่จะมาจำกัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะสม รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความท้าทายที่สำคัญในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว กรมบัญชีกลางจะมีการศึกษาวิจัยและกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไปจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ยังมีโอกาสพัฒนาในด้านอื่นๆ ของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการอีกเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นระบบที่มุ่งเน้นการให้สวัสดิการด้านรักษาพยาบาลเป็นหลัก ยังไม่ได้นำแนวคิดของการจัดการสุขภาพที่มีความเป็นองค์รวมเพื่อการดูแลสุขภาพระยะยาวเข้ามาบูรณาการด้วย แนวคิดดังกล่าวน่าจะทำให้ข้าราชการและครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบถ้วนมากขึ้น ส่งเสริมคุณภาพ และทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้จากการป้องกันความเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องและได้รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองมากขึ้น จากการศึกษานำร่องโดยการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการร่วมกับการติดตามศึกษาข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิสวัสดิการรรักษาพยาบาลข้าราชการกลุ่มตัวอย่างที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอันได้แก่ กลุ่มโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ผู้ป่วยจำนวนประมาณ 1 ใน 4 มีการไปใช้บริการที่โรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มที่เจ็บป่วยมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า การทบทวนข้อมูลการรักษาทำให้เห็นว่าผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังดังกล่าว ประมาณร้อยละ 13–24 ยังไม่ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และร้อยละ 15-50 ยังไม่ได้รับการดูแลครบถ้วนตามแนวทางเวชปฏิบัติแล้วแต่กรณี นอกจากนี้กว่าร้อยละ 80 ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้รับการสร้างเสริมสุขภาพที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ข้อมูลดังกล่าวพบร่วมกับการที่อัตราการรับผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังทั้งสองกลุ่มเข้ารักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สูงกว่าตัวเลขของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยกว่า 3-4 เท่า โดยหลักทฤษฏีแล้ว หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบถ้วน และมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเพียงพอ ความเจ็บป่วยถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน่าจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ กล่าวคือมีผลดีทั้งทำให้คุณภาพบริการและสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วยดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้กรมบัญชีกลางนำแนวทางการจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือที่เรียกว่า Chronic Disease Management มาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริการสุขภาพให้กับผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ เทคนิคการจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีการนำมาใช้แล้วในระบบหลักประกันสุขภาพในหลายประเทศ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีผู้ให้บริการสุขภาพประจำตัว ได้รับการดูแลสุขภาพภายใต้การจัดการเชิงระบบ ให้เกิดความต่อเนื่อง ครบถ้วน และให้มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่มุ่งสร้างเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย เพื่อควบคุมโรคให้ได้ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังกล่าว ซึ่งหากมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล น่าจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรครวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภาล่มอีก เลื่อนลงมติร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม Posted: 29 Apr 2011 03:47 AM PDT (29 เม.ย.54) สำนักข่าวไทย รายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานการประชุม เมื่อถึงเวลา 09.00 น. ซึ่งเป็นกำหนดนัดประชุมปรากฏว่ามีสมาชิกมาลงชื่อเข้าประชุมไม่ถึง 50 คน ประธานจึงเปิดให้สมาชิกหารือเพื่อรอเวลาให้สมาชิกมาครบองค์ประชุม โดยแม้จะใช้เวลาอภิปรายหารือกว่า ชั่วโมง ปรากฏว่ามีสมาชิกมาลงชื่อเข้าประชุมเพียง 188 คนยังไม่ครบองค์ประชุม (จำนวนสมาชิก 474 คน องค์ประชุม 237 คน) จึงขอเลื่อนการประชุมออกไปเป็นเวลา 11.30 น. โดยนายชัย กล่าวว่า หากถึงเวลา 11.30 น. แล้วยังมีผู้มาลงชื่อไม่ครบองค์ประชุมจะขอปิดประชุม แต่เมื่อถึงเวลานัดหมายยังมีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ประธานจึงรอต่อไปจนถึงเวลา 12.00 น. เมื่อมีสมาชิกมาครบ 237 คน จึงเปิดประชุม แต่เมื่อที่ประชุมเข้าสู่วาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ พ.ศ.... ที่เลื่อนการพิจารณาจากวานนี้ (28 เม.ย.) โดยอยู่ระหว่างการลงมติในวาระที่ 3 ประธาน จึงขอตรวจสอบองค์ประชุม โดยนายชัย ได้กดออดเรียกสมาชิกกว่า 10 นาที เมื่อมองดูสมาชิกในห้องประชุมมีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมบางตา จึงขอเลื่อนการลงมติร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นวันที่ 4 พฤษภาคม ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้าย
ที่มา: สำนักข่าวไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เผยผลสำรวจ นายจ้างอยากให้ลูกจ้างช่วยประหยัด-ลูกจ้างร้องสวัสดิการ Posted: 29 Apr 2011 03:26 AM PDT เสียงสะท้อนจากคนทำงานและนายจ้างยังสวนทางกัน เผยผลสำรวจ “เสียงสะท้อนจากคนทำงานถึงนายจ้าง” พบว่านายจ้างส่วนใหญ่เห็นว่าพนักงานไม่ช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย วอนอย่า Face Book หรือ MSN ในเวลางาน ในขณะที่ลูกจ้างเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่มรวมถึงการปฏิบัติที่เป็นธรรม 29 เม.ย. 54 - เว็บไซต์จัดหางานจ็อบสตรีทดอทคอมเผยผลสำรวจล่าสุดเรื่อง “เสียงสะท้อนจากคนทำงานถึงนายจ้าง” พบว่านายจ้างส่วนใหญ่เห็นว่าพนักงานไม่ช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ลูกจ้างเรียกร้องขอเงินเดือนเพิ่ม รวมถึงการปฏิบัติที่เป็นธรรม นางสาวฐนาภรณ์ สถิตพันธุ์เวชา ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การสำรวจครั้งนี้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างในบริษัทเอกชนจำนวน 1,800 คน และ กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการจำนวน 260 บริษัทพบว่า คนทำงานนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของ เงินเดือนและค่าตอบแทนทั้งในรูปของเงิน และสวัสดิการต่างๆ มาเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีถึง 52%ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด รองลงมา 12% เป็นเรื่องของการปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเป็นธรรม และ 7% ต้องการกำลังใจและคำชมจากนายจ้าง ในขณะที่นายจ้าง 41%ร้องขอให้ลูกจ้างช่วยกันใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างประหยัด เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท 36% อยากให้ลูกจ้างขยันทำงานมากขึ้น และอีก 14% อยากมาทำงานตรงเวลาและลางานน้อยลง” ความต้องการของลูกจ้าง VS ความต้องการของนายจ้าง
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2554 จัดทำโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า จำนวนของผู้ว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.68 แสนคนซึ่งลดลง 1.15 แสนคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2553 เนื่องจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน จากการสำรวจของจ็อบสตรีทดอทคอมพบว่า ตัวเลขของคนที่ต้องการเปลี่ยนงานกลับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีแนวโน้มการเปลี่ยนงานมากถึง 92% เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้ย้ายงาน 52% ของผู้ตอบแบบสำรวจให้เหตุผล ว่า ไม่พอใจกับเงินเดือน ซึ่งส่วนใหญ่ได้เงินเดือนเพียงพอในการใช้จ่ายแต่ละเดือนแต่ไม่เหลือเก็บ มีเพียง 8% เท่านั้นที่พอใจกับเงินเดือนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบว่า 23% ของผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานเป็นเพราะต้องการประสบการณ์ทำงานใหม่ๆ และ 13% ระบุว่าไม่พอใจเจ้านายสำหรับเหตุผลอื่น ได้แก่ งานที่ทำเครียดเกินไป ต้องการเวลามากขึ้น เป็นต้น ในส่วนของลูกจ้างที่ยังไม่ย้ายงานนั้น 18% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าสาเหตุที่ยังไม่เปลี่ยนงาน เนื่องจากยังหางานใหม่ไม่ได้ และ 13% พอใจสถานที่ทำงานซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เหตุผลรองลงมาได้แก่ มีเพื่อนร่วมงานที่ดี, ชอบงานที่ทำอยู่, พอใจเงินเดือน, มีเจ้านายที่ดี เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจคือมีจำนวนเพียง 2% ที่ให้เหตุผลในการทำงานที่เดิมว่ารักองค์องค์และพอใจกับวัฒนธรรมในองค์กร ในขณะที่ความต้องการของคนทำงานในฐานะลูกจ้างยังสวนทางกับความต้องการของนายจ้าง จ็อบสตรีทดอทคอมได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมถึงทัศนคติของลูกจ้างที่มีต่อกระบวนการพิจารณาเพิ่มเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่ง พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติที่ดี โดย 48% เชื่อมั่นว่า โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงานอยู่ที่ผลงานและความสามารถ อีก 18% เห็นว่า เป็นเพราะเชื่อฟังและทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และ 12% เห็นว่า ขึ้นอยู่กับอายุการทำงาน ในทางตรงกันข้ามยังมีอีก 17% ที่มีทัศนคติในด้านลบต่อการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง และเห็นว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลื่อนตำแหน่งนั้นขึ้นอยู่กับ ความสนิทสนมกับผู้บังคับบัญชา, การประจบเจ้านาย, การมีพวกพ้อง และขึ้นอยู่กับโชคชะตาฟ้าลิขิต ปัจจัยเรื่องวัยวุฒิและบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่ถูกอ้างถึงเป็นลำดับสุดท้าย ในมุมมองของนายจ้าง ปัจจัยที่นำมาพิจารณาเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้พนักงาน 5 อันดับแรก คือ 1. พนักงานมีความรู้ความชำนาญในหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี 61.8% 2. ดูจากผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ผ่านมา 58.7% 3. พนักงานมีศักยภาพในการทำงานมากกว่าตำแหน่งงานที่ทำอยู่ 52.1% 4. ดูจากผลจากการพิจารณาและการยอมรับจากผู้บังคับบัญชา 43.6% 5. พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน 23.2% นอกจากนี้สิ่งที่นายจ้างเลือกนำมาพิจารณาเพื่อเพิ่มค่าตอบแทน ซึ่งหมายรวมถึงเงินเดือน โบนัส และสวัสดิการต่างๆ ให้กับพนักงานนั้น 91.1% ของผู้ตอบแบบสอบถาม พิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทในรอบปีลำดับที่ 2 คือพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนในรอบปีอันดับ 3 ดูจากผลการบรรลุเป้าหมายของฝ่าย/แผนกอันดับที่ 4 พิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออันดับที่ 5 พิจารณาจากข้อมูลเปรียบเทียบการขึ้นค่าจ้างของบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน “งานสำรวจครั้งนี้ทำขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้แสดงออกถึงความต้องการ เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่เราให้ความสำคัญกับแรงงานไทย ในการช่วยสะท้อนความต้องการของลูกจ้างเหล่านี้ ไปยังนายจ้าง ในขณะเดียวกันก็ได้นำเสนอมุมมองในส่วนของนายจ้าง เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่ายังมีความคิดที่อาจจะสวนทางกันอยู่หวังว่าผลสำรวจครั้งนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งจะมีผลดีต่อการปรับทัศนคติในแง่บวกให้คนทำงาน และเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรต่างๆ ต่อไป” นางสาวฐนาภรณ์กล่าวเพิ่มเติม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลไกกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และปัญหาในไทย (2): ค่านิยมในสังคมสองขั้ว Posted: 29 Apr 2011 03:24 AM PDT ตอนที่ 3 ของคอลัมน์ "ความจริงจากโลกเสมือน" โดย สฤณี อาชวานันทกุล (มีนาคม 2554) ตอนที่แล้วพูดถึงกลไกกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตว่ามี 4 ประเภทในกรอบคิดของ ลอว์เรนซ์ เลสสิก นักกฏหมายผู้เชี่ยวชาญอินเทอร์เน็ต คือ กฎหมาย กลไกตลาด ค่านิยม และสถาปัตยกรรม และพูดถึงปัญหาการใช้กฎหมายในไทยโดยสังเขปว่า นิยามของเนื้อหาบนเน็ตที่จัดว่าเป็นความผิดตามกฎหมายนั้นคลุมเครือจนเปิด ช่องให้เจ้าหน้าที่ตีความกว้างเกินไป เช่น เป็นเนื้อหาที่ “น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ” หรือ “ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ส่วนผู้บังคับใช้กฎหมายก็ยังไม่เข้าใจธรรมชาติเน็ตดีพอ วันนี้จะหันมามองกลไก “ค่านิยม” บ้าง ว่ามันทำงานอย่างไร ค่านิยมออฟไลน์ส่งผลกระทบต่อสังคมออนไลน์อย่างไร สังคมออนไลน์มี “ค่านิยมเฉพาะ” อะไรบ้างหรือไม่ ในแง่หนึ่ง ความเป็นนิรนามในเน็ต นั่นคือ การที่เราไม่ต้องเปิดเผยตัวตนว่าอายุเท่าไร เพศอะไร หน้าตาอย่างไร ทำงานอะไร อยู่ที่ไหน มีวุฒิการศึกษามากน้อยเพียงใด เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เรา “ละเลย” ค่านิยมเชิงลำดับขั้นในสังคมนอกจอได้ เช่น ความยำเกรงระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ (บางคนอาจทักท้วงว่านอกจอเด็กสมัยนี้แม้ต่อหน้าก็ไม่ค่อยเคารพผู้ใหญ่แล้ว) ระหว่างพนักงานกับเจ้านาย หรือแม้แต่ระหว่างคนจนกับคนรวย ทำให้เรากล้าพูดอะไรๆ มากกว่าในสังคมนอกจอ และเมื่อหลายคนกล้าพูด การถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันกว่าในสังคมนอกจอก็ สามารถเกิดขึ้นได้ในโลกออนไลน์ เมื่อมองจากมุมนี้ อินเทอร์เน็ตจึงเป็นพื้นที่ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดสังคมที่มีโอกาสเป็น ประชาธิปไตยสูงมาก มากกว่าในสังคมนอกจอหลายเท่า อย่างไรก็ตาม ในเมื่อสังคมออนไลน์ประกอบด้วยคนจริงๆ ที่มีชีวิตจิตใจ “พฤติกรรม” ของคน และ “ขนบ” ต่างๆ ในสังคมออนไลน์ส่วนหนึ่งจึงถูกกำหนดโดยพฤติกรรมและขนบในสังคมนอกจออย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าอินเทอร์เน็ตในฐานะเทคโนโลยีเปิดจะ “เอื้ออำนวย” ให้เกิดสังคมประชาธิปไตยเพียงใดก็ตาม ตราบใดที่คนในสังคมนอกจอยังใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง เชื่อข่าวลือและคำพูดของคนดังแบบมักง่าย แทนที่จะใช้เหตุผลและขยันหาข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยตนเอง รวมทั้งยังขาดสำนึกเกี่ยวกับ “พื้นที่สาธารณะ” และการเคารพในสิทธิของผู้อื่น ตราบนั้นสังคมในจอโดยรวมก็จะไม่ใช่สังคมที่ศิวิไลซ์กว่าสังคมนอกจอสักกี่มาก น้อย เมื่อคำนึงว่าสังคมออฟไลน์เป็นอย่างไร จึงไม่น่าแปลกใจที่สังคมออนไลน์ในบ้านเราโดยรวมจึงยังมีการละเมิดสิทธิของคน อื่นอย่างต่อเนื่อง อาทิ การก๊อปปี้เนื้อหาไปใช้โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา นำอีเมลส่วนตัวมาโพสในที่สาธารณะ แฉเบอร์โทรศัพท์บ้านของคนที่เราไม่ชอบ ฯลฯ รวมถึงการกระพือข่าวลือและตีโพยตีพายตามกระแสข่าวชั่วครู่ยามต่างๆ อย่างเป็น “ดรามา” เกินเลยแก่นสารของประเด็นนั้นไปมาก แต่ปัญหาในสังคมออนไลน์ที่ใหญ่กว่านั้นในความคิดของผู้เขียน คือปัญหาที่เกิดจากการที่สังคมไทยกำลังขัดแย้งแบ่งข้างอย่างรุนแรง ผสมกับ “พฤติกรรมรวมหมู่” ที่นักจิตวิทยาสังคม (social psychologist) กับนักสังคมวิทยาค้นพบมานานแล้ว ประกอบกับปัญหา “เกรียน” ไร้ความรับผิดชอบ ตั้งแต่ราวทศวรรษ 1930 นักวิชาจิตวิทยาสังคมที่ศึกษาเรื่องอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมและความ คิดของปัจเจก ได้ค้นพบปรากฎการณ์ group polarization (การกลายเป็นกลุ่มสุดขั้ว) ซึ่งหมายถึงการที่คนในกลุ่มเดียวกัน (ที่มารวมตัวเป็นกลุ่มเพราะคิดหรือเชื่ออะไรๆ คล้ายกัน) เมื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันไปสักพักจะเริ่มมีความคิดคล้อยตามกันไปในทางที่สุด ขั้วกว่าเดิม ในเมื่ออินเทอร์เน็ต (ประกอบกับกูเกิล) เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการชักนำให้คนที่คิดและเชื่ออะไรๆ คล้ายกันได้มารู้จักกัน ก็ยิ่งเป็นเรื่องง่ายที่คนจะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วในโลก ออนไลน์ และในเมื่อมันมีขนาดใหญ่ กลุ่มนั้นๆ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฏการณ์ group polarization ได้ง่ายดายกว่าในสังคมนอกจอ นอกจากนี้ ความเป็นนิรนามที่ผู้เขียนเพิ่งบอกว่าเอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนอย่างเป็น ประชาธิปไตยนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีด้านลบ ด้านลบของมันคือทำให้ “เกรียน” จำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยอยากรับผิดชอบอะไรและละเมิดสิทธิของคนอื่นเป็นประจำใน สังคมนอกจอ รู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” ถ้าจะใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย หรือแม้แต่กุเรื่องโกหกขึ้นมาป้ายสีคนอื่น ด้วยความสะใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตามที เพราะมองไม่เห็น “คน” หลังจอที่กำลังคุยกับเราอยู่ หรือคิด(ผิด)ว่าใช้นามแฝงเสียอย่าง คงไม่มีทางที่เจ้าหน้าที่หรือใครจะมาตามจนเจอตัวตนที่แท้จริงของเราหรอก ประเทศไทยยังไม่เคยมีกฎหมายเกี่ยวกับ “ข้อความที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง” (hate speech) และที่ผ่านมาสังคมก็ยังไม่เคยมีค่านิยมร่วมกันในเรื่องนี้ จึงไม่เคยมีบรรทัดฐาน “มาตรการทางสังคม” (social sanction) ที่มีนิยามความผิดชัดเจนและไม่เลยเถิดไปเป็นการคุกคามความเป็นอยู่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง ดังเช่นกรณี “การล่าแม่มด” ในโลกออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง ภาวะที่ปราศจากกฎหมายและค่านิยมที่ชัดเจนเกี่ยวกับ hate speech ทำให้การถกเถียงเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกยังค่อนข้างจมปลักอยู่กับคนสอง ฝ่ายที่ต่างก็สุดโต่งทั้งคู่ ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องเสรีภาพอย่างไร้ขีดจำกัด อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้ปราบปรามผู้พูดข้อความที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง แต่ตีความเนื้อหาเหล่านี้อย่างคับแคบเสียจนละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ บริสุทธิ์ ปรากฏการณ์ group polarization และความคึกคะนองของเกรียนในเน็ต (ซึ่งหลายคนก็ไม่ได้เกรียนเพื่อความสะใจของตัวเองเฉยๆ แต่เกรียนเพราะมีวาระซ่อนเร้น) ทำให้คนจำนวนไม่น้อยถลำลึกลงไปในความเชื่อหรือความคิดที่สุดขั้วขึ้นเรื่อยๆ ของกลุ่มตัวเอง ไม่อยากรับรู้ข้อมูลจากด้านอื่นที่ขัดแย้งกับกลุ่ม ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตทำให้เรามี “โอกาส” แลกเปลี่ยนกับคนคิดต่างได้อย่างง่ายดายก็ตามที ศาสนาพุทธสอนหลักกาลามสูตร และสอนความสำคัญของสติ ศีล สมาธิ และปัญญา แต่น่าเสียดายที่คนไทยผู้ใช้เน็ตจำนวนมากไม่สนใจหลักธรรมเหล่านี้ เพราะสังคมก็แตกแยกแบ่งขั้วในเรื่องศาสนาไม่น้อยไปกว่าเรื่องการเมือง คนขั้วหนึ่งตกอยู่ในภาวะ “สำลักศีลธรรม” ที่ยึดติดกับตัวบุคคล แทนที่จะประเมินความดีและความเลวจาก “การกระทำ” และผลลัพธ์จากการกระทำเป็นหลัก คือถ้าลองปักใจเชื่อว่าใครเป็น “คนดี” แล้วละก็ คนคนนั้นจะทำอะไรก็ถูกมองว่าถูกหมด ดีหมด ในขณะเดียวกัน ถ้าเชื่อว่าใครเป็น “คนเลว” คนคนนั้นจะทำอะไรก็ผิดหมด ส่วนคนอีกขั้วหนึ่งก็กลายเป็นพวก “ไม่ใส่ใจศีลธรรม” (amoral) คือไม่เห็นความสำคัญของศีลธรรม ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรมเชิงศาสนาหรือศีลธรรมเชิงปรัชญา (เช่น มนุษยนิยม) ก็ตาม ผู้เขียนไม่สาธยาย ผู้อ่านก็คงพอจะเดาได้ว่า ฝ่าย “สำลักศีลธรรม” กับฝ่าย “ไม่ใส่ใจศีลธรรม” นั้นเลือกอยู่ฝั่งไหนในประเด็นเสรีภาพ ระหว่างฝ่าย “เอาเสรีภาพไร้ขีดจำกัด” กับ “ไม่เอาเสรีภาพ” ปัญหาคือในสังคมสองขั้วที่นับวันก็ยิ่งสุดขั้วจาก group polarization มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกขั้วจะมาร่วมกันตกลงกฏกติกา ค่านิยมที่เหมาะสมในสังคมออนไลน์ได้อย่างไร คำถามนี้ซับซ้อน ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะมีปัญญาตอบหรือไม่ ขอเก็บไว้เป็นการบ้านสำหรับตอนต่อๆ ไป แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนมั่นใจคือ ในเมื่อการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมนั้นใช้แต่กฎหมายอย่างเดียวไม่ ได้ เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือที่ “หยาบ” เกินไป (ด้วยเหตุผลที่อธิบายไปแล้วในตอนก่อนหน้านี้) ผู้ใช้เน็ตกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ควรจะเริ่มมาถกเถียงแลกเปลี่ยนกัน ถึง “ค่านิยม” ที่อยากร่วมกันสร้าง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์ต่างๆ การจัดการกับ hate speech รวมไปถึงมารยาทเน็ต ซึ่งอาจ “หลวม” กว่ามารยาทในโลกออฟไลน์หลายเท่าก็ได้ เช่น ไม่ต้องถึงขนาดปิดประโยคทุกประโยคด้วยหางเสียง แต่ควรให้เครดิตแหล่งข้อมูลที่เราใช้ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น โดยเฉพาะความเป็นส่วนตัว การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมโดยธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตอาจทำให้โลกออ นไลน์เป็นประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ “ประชาธิปไตยคุณภาพ” ที่ทุกฝ่ายเปิดใจรับฟังฝ่ายอื่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้จัก “หาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” เพื่อสร้างกฎกติกามารยาทที่พึงปรารถนานั้น เป็นสิ่งที่ผู้ใช้เน็ตต้องร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง อย่างน้อยที่สุดเพื่อที่ภาครัฐจะได้ไม่มีข้ออ้างในการใช้อำนาจละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอีกต่อไป หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://thainetizen.org/thai- สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทวิเคราะห์เปรียบข้อเรียกร้องวันแรงงาน 6 ปี Posted: 29 Apr 2011 02:07 AM PDT
หมายเหตุ * ปี 2549-2550 เสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อ
ประมวลคำขวัญ
ที่มา : รวบรวมโดย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
ประวัติย่อและข้อสังเกตต่อการจัดวันแรงงาน (1) วันที่ 1 พฤษภาคม 2589 ถือเป็นปีแรกที่มีการจัดงานวันกรรมกรสากล หรือวันเมย์เดย์ครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการนำขององค์การสหอาชีวะกรรมกร ซึ่งชูคำขวัญว่า “กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน” (2) รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี รับรองให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ (ไม่ใช่ “วันกรรมกรหรือวันแรงงานสากล”) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2499 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้ และกำหนดให้เป็นวันหยุดงานประจำปี เมื่อมีการบังคับใช้พระราช-บัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 แม้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยคณะรัฐประหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเดือนตุลาคม 2501 และมีกฎหมายแรงงานฉบับใหม่เกิดขึ้นต่อมา ในภายหลังก็ยังกำหนดให้เป็นวันหยุดตามประเพณีประจำปีที่นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงาน (ยกเว้นส่วนราชการ) (3) ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา กระทรวงแรงงานจัดสรรงบประมาณประจำปีสนับสนุนกิจกรรมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติแก่สภาองค์การลูกจ้างต่างๆ ปีละ 1.6 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณจัดงานแน่นอน แต่ก็มีบางปีที่มีการขอเงินสนับสนุนเพิ่มเติมกับรัฐมนตรีหรือ นายกรัฐมนตรี (หรือสำนักงานประกันสังคมสนับสนุนการจัดทำเสื้อประชาสัมพันธ์) (4) ตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2551 รวมระยะ 21 ปีมีประธานสภาองค์การลูกจ้างที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติมาแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 6 คน ได้แก่ นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย (ปี 2533 และ 2539) เสียชีวิตเพราะเลือดออกจากทางเดินอาหารมากเนื่องจากโรคแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547, นายบรรจง พรพัฒนานิคม (ปี 2534 และ 2541) นายประเทือง แสงสังข์ (ปี 2543 และ 2547), นายพนัส ไทยล้วน (ปี 2545 และ 2548), นายพานิชย์ เจริญเผ่า (ปี 2537 และ 2542) ปัจจุบันได้ยุติบทบาทในวงการสหภาพแรงงานแล้ว, นายมนัส โกศล (ปี 2546 และ 2550) (5) ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่รัฐบาลเสนอชื่อและเคยถูกแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก (ก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือสีเขียว พ.ศ.2540) มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายทนง โพธิ์อ่าน,นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย, นายพานิชย์ เจริญเผ่า และนายพนัส ไทยล้วน (นายมนัส โกศล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในยุคเผด็จการ คมช.ปี 2550) (6) นายทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2532 ได้สูญหายไปตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองโดยกลุ่มทหารที่เรียกว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เนื่องจากมีบทบาทสูงเด่นในการต่อต้านท้าทายอำนาจเผด็จการ รสช.ที่คุกคาม-ทำลายสิทธิเสรีภาพแรงงานหลายเรื่อง เช่น การยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การห้ามพูดประเด็นการเมืองและห้ามจัดงานที่สนามหลวงในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2534 คัดค้านการเลือกตัวแทนฝ่ายแรงงานโดยรัฐบาล เพื่อไปประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฯลฯ (7) ปีที่นายกรัฐมนตรี (นรม.) ไม่มากล่าวเปิดงานในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ที่ท้องสนามหลวง และรับข้อเรียกร้องโดยตรงจากคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติได้แก่
(8) ปี 2547 เป็นปีเดียวที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (ประกอบด้วย 4 สภาองค์การลูกจ้าง) ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดงานวันแรงงานร่วมกัน เป็นอีกขบวนหนึ่งแยกออกจากสภาองค์การลูกจ้าง 5 แห่งที่จัดงานที่สนามหลวง รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
(9) มี 2 ปีที่มีผู้นำสหภาพแรงงานจากรัฐวิสาหกิจเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ คือ ปี 2531 นายวัฒนะ เอี่ยมบำรุง (ประธาน สร.การสื่อสารโทรคมนาคม) ในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย ก่อนที่ รสช.จะยุบ สร.รัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 19 เม.ย.34 และปี 2543 นายเสน่ห์ ตันติเสนาะ (ประธานสร.การประปานครหลวง) ในฐานะเลขาธิการ สรส. (10) เกือบทุกปี สถานที่จัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่มีคณะกรรมการจัดงานมาจากผู้แทนสภาองค์การลูกจ้างต่างๆ เป็นแกนนำ จะจัดกิจกรรมเดินขบวนจากบริเวณพระบรมรูปทางม้ารัชกาลที่ 5 ไปที่ท้องสนามหลวง ยกเว้น ปี 2534 รัฐบาลเผด็จการ รสช.ขณะนั้นห้ามเดินขบวนห้ามจัดที่สนามหลวงและให้ไปจัดที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง และปี 2551 จัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพราะรัฐบาลต้องการใช้สนามหลวงเป็นพื้นที่จัดสร้างเมรุมาศสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (11) หลายปีที่ผ่านมาตราบถึงปี 2552 จะมีการแบ่งแยกจัดกิจกรรมเดินขบวนในวันแรงงานเป็น 2 ขบวนการ บางปีจะมีการเดินขบวนสวนทางกันด้วย กล่าวคือ ขบวนที่นำโดยสภาองค์การลูกจ้างต่างๆ มักจะตั้งต้นขบวนที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าเพื่อเดินไปที่ท้องสนามหลวง ในขณะที่อีกขบวนหนึ่งที่นำโดยศูนย์ประสานงานกรรมกร หรือคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มักจะตั้งต้นขบวน ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือหน้ารัฐสภา เพื่อเดินไปชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ก่อภาพพจน์ความแตกแยกเป็นประจำทุกปีแก่สาธารณชนและผู้ใช้แรงงาน (12) ปี 2553 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ตัดสินใจร่วมจัดงานวันแรงงานกับ 12 สภาองค์การลูกจ้าง และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เพื่อรวมพลังเรียกร้องรัฐบาลเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 จนกระทั่งรัฐบาล นรม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติครม.เห็นชอบการดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 โดยรัฐบาลต้องเสนอต่อรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนตามมาตรา 190 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในขณะที่ปี 2554 คสรท. และ สรส. มีมติถึงวันที่ 3 เมษายน 2554 ไม่เข้าร่วมจัดวันแรงงานกับ 12 สภาองค์การลูกจ้างเมื่อ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการจัดประกวดเทพธิดาแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม เพราะไม่ควรจัดงานแบบนี้ในวันแรงงานและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ในขณะที่ก่อนเดือนเมษายน ได้มีตัวแทน คสรท. และ สรส.เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการจัดงานของ 12 สภาองค์การลูกจ้างมาตลอด (13) ในช่วงปี2549 ถึง 2552ข้อเรียกร้องวันแรงงานที่เสนอโดย “ สรส. และ คสรท.” มีความแตกต่างสำคัญชัดเจนกับ “คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ” หลายเรื่อง เช่น
(14) ข้อเรียกร้องที่เหมือนกันทุกปีจนถึงปี 2554 คือ รัฐต้องยกเลิกกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 บางปีใช้ถ้อยคำว่า “รัฐต้องยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือ ยกเลิกการขายรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ” และข้อสุดท้ายของข้อเรียกร้องทุกปีตั้งแต่ปี2549 ถึงปี 2553 คือ ขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการติดตามประสานงานความคืบหน้าของข้อเรียกร้อง ซึ่งมีข้อมูลว่ารัฐบาลออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวในปี2549 และปี 2550 เท่านั้น ข้อเรียกร้องวันแรงงานปี2553 เหมือนกับ ปี2552 เกือบทุกข้อยกเว้นข้อเรียกร้อง 2 ข้อคือให้รัฐขยายอายุบุตรกรณีประโยชน์ทดแทนสงเคราะห์บุตรจากไม่เกิน 6 ปีเป็นอายุ 15 ปีและรัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการหรือเขตนิคมอุตสาหกรรม (15) ปี2551 เป็นปีแรก ที่ไม่มีการยื่นข้อเรียกร้อง ขอให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 โดยเฉพาะมาตรา 5(3) ให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีสิทธิเท่าเทียมกับลูกจ้างประจำ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปลายปี2550 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นมาตรา 11/1 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่2) พ.ศ.2551 ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างผู้รับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติถ้าลูกจ้างรับเหมาค่าแรงทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างทีผู้ประกอบกิจการทำสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 84 (7) ซึ่งมีเนื้อหาว่า คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” (16) ไม่เคยมีการยื่นข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ แต่เป็นข้อเรียกร้องของ สรส. และ คสรท.ที่ยื่นต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี2550 ถึง 2553 ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับประกันสังคมที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ยื่นต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี2549 ถึง ปี2553 ได้แก่
(17) ปีที่มีการยื่นข้อเรียกร้องในประเด็นคุ้มครอง “แรงงานนอกระบบ” ชัดเจนได้แก่ปี2551 คือ “ขอให้รัฐบาลเร่งรัดประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน” และปี2552 คือ “ขอให้ขยายประกันสังคมมาตรา 40 สู่แรงงานนอกระบบโดยเร็วและขอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนแรกเข้าจำนวน 2,000 บาทตามหลักการช่วยเหลือผู้ทีมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท” ซึ่งเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ปี2553 ไม่มีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ปี 2554 ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ) ในอัตรา 50% ทุกกรณี และทุกปีตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติไม่เคยยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ (18) ข้อเรียกร้องที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติยื่นต่อรัฐบาลวันที่ 1 พฤษภาคม ในรอบ 6 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 ถึง 2554 เฉลี่ยปีละ 8-9 ข้อมีเพียง 2 ข้อที่ไม่เคยยื่นซ้ำต่อรัฐบาลในปีถัดไปอีก คือ ข้อเรียกร้องปี2549 เรื่องขอให้รัฐบาลแก้ไขสัดส่วนจำนวนกรรมการไตรภาคีทุกคณะให้มีจำนวนกรรมการเท่ากันทุกฝ่าย คงเป็นเพราะไตรภาคีส่วนใหญ่มีจำนวนกรรมการแต่ละฝ่ายเท่ากันอยู่แล้ว และมีปัญหาประเด็นอื่นที่สำคัญกว่า คือคุณสมบัติของกรรมการไตรภาคี หลักเกณฑ์วิธีการเลือกผู้แทนไตรภาคีแต่ละฝ่ายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 84(7) อีกข้อคือ “รัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการหรือในนิคมอุตสาหกรรมแล้วแต่กรณี โดยให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจกรรมนี้ไปลดหย่อนภาษีได้” ซึ่งข้อเรียกร้องนี้มักยื่นต่อรัฐบาลเป็นประจำในวันสตรีสากล 8 มีนาคม (19) ตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงปี2553 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตประชาธิปไตยแบบราชาชาตินิยม และความเหลื่อมล้ำแตกแยกร้าวลึกเชิงโครงสร้างขยายตัว นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง (นรม.ทักษิณ ชินวัตร,นรม.สมัคร สุนทรเวช,นรม.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนรม,อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไม่เคยมีท่านใดเดินทางมากล่าวเปิดงานและรับข้อเรียกร้องวันแรงงานโดยตรงที่ท้องสนามหลวง มีเพียงวันแรงงานปี2550 ภายใต้ระบอบรัฐประหารอำนาจ คมช. ที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ มากล่าวเปิดงานวันแรงงานที่สนามหลวง การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตามมาด้วยขบวนการนปช.เสื้อแดงทั้งแผ่นดิน นำไปสู่ภาวะรุนแรงคุกคามท้าทายนิติรัฐ เสถียรภาพความชอบธรรมของรัฐบาลจนกระทั่งนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในชีวิตของนายกรัฐมนตรีมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2552-เมษายน 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจไม่เดินทางมาปรากฏตัว ณ สถานที่สาธารณะหลายแห่งรวมถึงที่ท้องสนามหลวงในวันแรงงานด้วย แต่ใช้วิธีให้ผู้นำแรงงานมายื่นข้อเรียกร้องที่ห้องรับรองรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล และใช้วิธีบันทึกเทปกล่าวคำปราศรัยวันแรงงานแห่งชาติถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานการณ์ที่กองกำลังทหารต้องการสลายการชุมนุมที่นปช.ยืดครองบริเวณแยกคอกวัว-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในช่วงเย็นวันที่ 10 เมษายน 2553 ต้องเผชิญกับปฏิบัติการตอบโต้ด้วยกองกำลังติดอาวุธหรือผู้ก่อการร้ายในชุดดำที่ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง ทำให้มีทหารและประชาชนล้มตายและบาดเจ็บ ตามมาด้วยความพยายามประนีประนอมปรองดองระหว่างแกนนำรัฐบาลกับนปช.ที่ล้มเหลว นำไปสู่ยุทธการวางแผนกดดันปิดล้อมการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ให้ได้ภายในเย็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนกระทั่งแกนนำนปช.หลายคนต้องยอมมอบตัวและหลายคนต้องถูกติดตามควบคุมตัว เกิดการจลาจลย่อยวางเพลิงสถานที่ต่างๆของเอกชนและราชการกว่า 30 แห่งในวันที่ 19 พฤษภาคม มีคนตาย,เจ็บและสูญเสียอาชีพ-การมีงานทำอีกจำนวนมาก นับเป็นเหตุการณ์วิปโยคอัปยศครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย ภายใต้รัฐบาลพลเรือนที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผนดินในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องยาวนานที่สุด และมีทั้งฝ่ายทหาร-ประชาชนต้องสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากที่สุดในภาวะวิกฤตการเมืองช่วง 10 เมษา-19 พ.ค.53 (20) นายประเทือง แสงสังข์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นายชินโชติ แสงสังข์ คือประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการจัดงานวันแรงงาน 1 พฤษภาคม หลายปีมากที่สุด คือจำนวน 4 ปี ได้แก่ ปี 2543 ปี 2547 ปี 2552 และปี 2554 หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://voicelabour.org/?p=3783 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ใบตองแห้งออนไลน์: เจ้าอังกฤษคือเซเลบส์ Posted: 29 Apr 2011 01:09 AM PDT ท่ามกลางกระแสเห่อพิธีเสกสมรส “ครั้งประวัติศาสตร์” ระหว่างเจ้าชายวิลเลียม กับเคท มิดเดิลตัน ดูเหมือนคนไทยที่อยู่ใน “สังคมหวงห้าม” จะไม่ได้มองความเห่อของฝรั่งอย่างที่เป็นจริง เมื่อ 2-3 วันก่อน สำนักข่าวเอพีออกบทวิเคราะห์ ชี้ว่าความเห่อข่าวพิธีเสกสมรส ของคนอังกฤษ ของคนอเมริกัน หรือของคนทั้งโลก ไม่ใช่ความเห่อเจ้า หรือรอแยลลิสต์แบบเดิมๆ แต่เป็นความสนใจแบบคนชอบดูข่าวดารา เซเลบส์ เพราะราชวงศ์อังกฤษกลายเป็นเซเลบส์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยเจ้าหญิงไดอานา ความเป็น “เซเลบส์” เห็นได้จากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ เรื่องชุดเจ้าสาว จะใช้ชุดของดีไซเนอร์รายไหน ทรงผม หรือความกังวลว่าเคท มิดเดิลตัน ผอมไปหน่อย ปาปาราซซีตามถ่ายภาพเธอมาตั้งแต่คบกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ทั้งภาพความงามสง่า มาถึงภาพหลุด กระโปรงเปิด ยกขา ภาพนุ่งบิกินี หรือภาพที่เธอเดินแฟชั่นโชว์สมัยเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก (ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมไปเชียร์อยู่หน้าแคทวอล์ก) ก็กลายเป็นภาพยอดฮิตในเน็ต เจ้าหญิงไดอานาเป็นผู้เปลี่ยนแปลงราชวงศ์อังกฤษ จนต้องปรับตัวเข้าสู่วัฒนธรรมป๊อป จากเดิมที่ราชวงศ์มีภาพของความเคร่งขรึม สูงส่ง และอยู่ห่างไกลจากประชาชน จนบางคนก็บอกว่าเย็นชาน่าเบื่อ เจ้าหญิงไดอานาก้าวเข้ามาพร้อมกับ “พลังดารา” ทั้งการแต่งตัวนำแฟชั่น ออกงานสังคม และชีวิตส่วนตัวที่มีสีสัน มีทั้งสุขทั้งเศร้า ด้วยการที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ยังคงความสัมพันธ์กับเลดี้คามิลลา ปาร์คเกอร์ โบว์ล กระทั่งตัวเธอเองก็มีชู้ และเป็นโรคผิดปกติทางอารมณ์ทำให้กินแล้วอาเจียน เจ้าหญิงไดอานามีทั้งคนชอบและไม่ชอบเธอ แต่ทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบต่างสนใจ ติดตามข่าวเธอ นั่นแหละเซเลบส์ ปาปาราซซีตามติดถ่ายภาพ ถ่ายกระทั่งตอนที่เจ้าหญิงไดอานาถลกชุดราตรีก้าวลงจากรถ ไม่ต่างจากภาพดาราทั้งหลาย จนการไล่ตามของปาปาราซซีนำไปสู่จุดจบที่น่าเศร้า ความตายของไดอานา สั่นสะเทือนราชวงศ์อังกฤษอย่างรุนแรง เพราะคนอังกฤษมองว่าความเคร่งครัดต่อขนบจารีตของราชวงศ์ผลักให้เธอไปพบจุดจบ ดังที่สะท้อนออกมาในหนัง The Queen ควีนอลิซาเบธตรัสกับนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ ว่าสาเหตุที่ทรงมีพระพักตร์เคร่งขรึม ไม่แสดงความเศร้าโศกเสียใจ ไม่แสดงอารมณ์ เพราะถือว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่คนให้ความเคารพ การแสดงออกต่อสาธารณะถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ขณะที่แบลร์แย้งว่าราชวงศ์ควรแสดงออกซึ่งความเศร้าเสียใจ แสดงอารมณ์ แสดงด้านที่เป็นมนุษย์เสียบ้าง ตลอดสิบกว่าปีหลังไดอานา ราชวงศ์อังกฤษพยายามปรับตัว ใส่ใจความรู้สึกของสาธารณชนมากขึ้น เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี ซึ่งได้รับความนิยมอยู่แล้วจากการเป็นโอรสของไดอานา ตอบสนองความต้องการของแฟนๆ “ผู้บริโภค” ข่าวสารอย่างเต็มที่ ด้วยการให้สัมภาษณ์ เปิดเผยตัวตน แสดงออกเหมือนคนธรรมดาสามัญ ขณะที่ราชวงศ์ก็เปิดเว็บไซต์ เปิดเฟซบุค เปิดแอคเคานท์ Flickr ให้ผู้คนเข้าชมภาพ กระทั่งพิธีเสกสมรสครั้งนี้ สำนักพระราชวังก็ตอบสนองความต้องการของสื่ออย่างเต็มที่ เปิดรายละเอียดทางเว็บไซต์ YouTube Twitter และถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ต แน่นอนว่าเคท มิดเดิลตัน ยังได้รับความนิยมจากการเป็นสามัญชนคนชั้นกลาง บรรพบุรุษเธอเป็นคนงานเหมืองถ่านหินด้วยซ้ำ แต่พ่อแม่สร้างตัวขึ้นจากการขายอุปกรณ์จัดงานปาร์ตี้ทางไปรษณีย์ จึงทำให้เรื่องของเธอเหมือน “เทพนิยาย” อย่างซินเดอเรลลา ราชวงศ์อังกฤษในรุ่นของเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแฮร์รี รวมถึงเจ้าหญิงยูจีนนี เจ้าหญิงบีทริซ พระธิดาของเจ้าชายแอนดรูว์ (ซึ่งชีวิตสมรสกับซาราห์ เฟอร์กูสัน ล้มเหลว) กลายเป็น “บุคคลสาธารณะ” ในวัฒนธรรมป๊อป บางครั้งก็เป็นข่าวซุบซิบในทำนองที่ไม่ต่างจากเดวิด-วิคตอเรีย เบคแฮม, เชอรีล โคล, ปารีส ฮิลตัน หรือว่านางแบบนมโต แคที ไพรซ์ แม้ยังมีขีดคั่นของการวางตัวอยู่บ้าง สาธารณชนยังเรียกร้องสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่อีกด้านหนึ่งก็สร้างความเป็นกันเอง เป็นมนุษย์ธรรมดาที่อยู่ใกล้เคียงสามัญชน ผ่อนความเคร่งจารีตลง เจ้าหญิงยูจีนนีเป็นข่าวฮือฮาเมื่อเข้าไปเที่ยวบาร์อะโกโก้ และเคยมาเที่ยวภูเก็ตแบบนักท่องเที่ยวแบกแพค ขึ้นเครื่องชั้นประหยัด พักเกสต์เฮาส์คืนละ 500 บาท เมาขึ้นไปเต้นบนโต๊ะในผับ (ฟังน่ารักดีแต่สื่ออังกฤษวิจารณ์ว่าต้องเสียค่า รปภ.ไป 1 แสนปอนด์ ในช่วงที่เจ้าหญิงท่องโลกแบบซำเหมาพเนจร) นอกจากนี้ยังพบรักกับแจค บรูคสแบงก์ ซึ่งทำงานพาร์ทไทม์เป็นบริกร ราชวงศ์รุ่นนี้มีอิสระในการใช้ชีวิต จะเห็นได้ว่า เจ้าชายวิลเลียมกับเคท มิดเดิลตัน อยู่ด้วยกันมาก่อนแล้วแบบหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เจ้าชายแฮร์รีถูกแซวเป็นเจ้าชายเสเพล แต่คนอังกฤษก็ไม่ว่าอะไร ยกเว้นตอนที่มีคลิปหลุด เจ้าชายเผลอใช้ถ้อยคำที่ส่อทางเหยียดเชื้อชาติ แม้ไม่เจตนาแต่ก็ถูกวิจารณ์ขรมและต้องขอโทษประชาชน เสรีภาพในการใช้ชีวิตส่วนตัว หลุดพ้นจากขนบจารีต ยังส่งอานิสงส์ถึงรุ่นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าหญิงแอนน์ ที่เข้าพิธีเสกสมรสใหม่ ขณะที่เจ้าชายแอนดรูว์กับซาราห์ เฟอร์กูสัน ก็หย่าจากกันด้วยดี (แต่เฟอร์กี้เป็นหนี้ท่วมหัว) ชายวัย 53 ที่ไปกางเตนท์รอพิธีเสกสมรสอยู่หน้ามหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ตั้งแต่วันจันทร์ กล่าวว่าเขาเป็นรอแยลลิสต์ เพราะชื่นชมเจ้าหญิงไดอานา เอาเข้าจริงไม่น่าจะใช่ “รอแยลลิสต์” แบบเดิมๆ ที่มีข้อหวงห้ามมีขีดคั่นระหว่างราชวงศ์กับประชาชน แต่เป็น “รอแยลลิสต์” ในวัฒนธรรมป๊อป ผสมผสานความเป็นเซเลบส์ แบบไฮโซ ดารานักร้อง เสียมากกว่า แน่นอนว่าในอังกฤษมีพวก Republic ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์อย่างเปิดเผย และคนอังกฤษร่วมครึ่งไม่ตื่นเต้นสนใจไปด้วยกับพิธีเสกสมรส แต่ข้อวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ก็มักจะมุ่งไปที่เรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีมากกว่าเรื่องอื่น เพราะสถาบันกษัตริย์อังกฤษไม่มีอำนาจและไม่สามารถเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง ควีนอลิซาเบธทรงทราบแรงกดดันเรื่องนี้ พิธีเสกสมรสครั้งนี้ราชวงศ์จึงออกค่าใช้จ่ายเอง รัฐบาลเพียงออกค่าดูแลรักษาความปลอดภัย โดยถือว่ารัฐมีรายได้จากการท่องเที่ยวการขายของที่ระลึก เช่นเดียวกับการที่ “ทหารเสือราชินี” “ตบเท้า” ทุกวันที่พระราชวังบัคกิงแฮม ถือเป็นเครื่องดูดเงินเข้าประเทศ ควีนอลิซาเบธเสียภาษีจากทรัพย์สินส่วนพระองค์มาตั้งแต่ราว 40 ปีที่แล้ว (เคยอ่านว่าเสียปีละ 10 ล้านปอนด์ ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่) โดยยังเปิดเผยรายละเอียดทรัพย์สินทั้งหมดต่อสาธารณะ ต่อมาก็ลงเว็บไซต์ อ.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ท่านเป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ ท่านเลยเอารายละเอียดทรัพย์สินฯ ขึ้นเว็บไซต์เช่นกัน แต่ทำได้ปีเดียว ก็เลิกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ นิตยสารฟอร์บส์เอาข้อมูลนี้แหละไปจัดอันดับว่าในหลวงของเราเป็นพระมหากษัตริย์ที่รวยที่สุด ต้องโต้แย้งกันให้วุ่น ที่สวีเดนก็เพิ่งมีพิธีเสกสมรส เจ้าหญิงวิคตอเรีย มกุฎราชกุมารี เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งราชวงศ์กับรัฐบาลแบ่งกันออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง แม้ถูกคัดค้านจากประชาชนที่เข้าชื่อกัน 56,000 คนในเฟซบุค นอกจากนี้เจ้าหญิงยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ขรมกรณีที่รับของขวัญเป็นแพคเกจฮันนีมูนพร้อมพ็อคเกตมันนี่ เรือยอชท์ เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว มูลค่า 5 แสนยูโร จากมหาเศรษฐีอันดับสามของประเทศ โดยสาธารณชนเห็นว่าเมื่อทรงขึ้นสู่ตำแหน่งประมุขในภายหน้าอาจใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้มหาเศรษฐีรายนี้ได้ สวีเดนเป็นประเทศเดียวที่เจ้าหญิงเป็นมกุฎราชกุมารี ทั้งที่มีพระอนุชาคือเจ้าชายคาร์ล ฟิลิป แต่เนื่องจากสวีเดน (ซึ่งปกครองโดยรัฐบาลพรรคสังคมนิยมยาวนาน) มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ในปี 1979 ให้สิทธิเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างชายหญิง รัฐสภาจึงแก้กฎมณเฑียรบาลที่ใช้มาหลายร้อยปี กำหนดให้ราชโอรสหรือราชธิดาองค์แรกเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ แม้พระเจ้าคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ ไม่ยินยอมพร้อมใจก็ตาม เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป จึงพ้นจากมกุฎราชกุมาร เจ้าหญิงวิคตอเรียซึ่งอายุได้ 2 ชันษาเศษขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1980 ใบตองแห้ง 29 เม.ย.54 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โผแรก 22กสทช.สายสรรหา ส่อเค้าสะดุด Posted: 28 Apr 2011 11:36 PM PDT
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 เวลา 15.00 น. คณะกรรมการสรรหา กสทช. จัดประชุมครั้งที่ 11 ที่อาคารสุขประพฤติ โดยกรรมการสรรหาลงมติเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) โดยวิธีการสรรหาบุคคลในบัญชีรายชื่อที่สอง จำนวน 22 คน ตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ปรากฏรายชื่อบุคคล ดังนี้ ด้านกิจการกระจายเสียง จำนวนสองคน ได้แก่ 1) พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี 2)น.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร ด้านกิจการโทรทัศน์ จำนวนสองคน ได้แก่ 1) รศ.พนา ทองมีอาคม 2.นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวนสี่คน ได้แก่ 1)นายชัชวลิต สรวารี 2)พันเอก นที ศุกลรัตน์ 3)นายรอม หิรัญพฤกษ์ 4)นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ด้านกฎหมาย จำนวนสี่คน ได้แก่ 1)ผศ.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา 2)นายทวี เส้งแก้ว 3)นายสงขลา วิชัยขัทคะ 4)นายสุทธิพล ทวีชัยการ ด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวนสี่คน ได้แก่ 1.นางจันทิมา สิริแสงทักษิณ 2.นายพิษณุ เหรียญมหาสาร 3.ผศ.วิชัย โถสุวรรณจินดา 4.นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกิจการวิทยุแ ละโทรทัศน์ จำนวนสองคน ได้แก่ 1)น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ 2)นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในกิจการโทรคมนาคม จำนวนสองคน ได้แก่1)นายนิมิตร์ เทียนอุดม 2)นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และสุดท้ายด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคมจำนวนสองคน ได้แก่ 1)นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ 2)นางศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล ทว่าล่าสุดเมื่อ 28 เม.ย. นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีตกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการสรรหา กสทช. ระบุขอให้ทบทวนมติฯ พร้อมขอให้ตรวจสอบคุณสมบัตินายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ที่ได้รับเลือกเป็น กสทช. เมื่อ 25 เมษายน โดยอ้างว่านายอรรถชัยมีลักษณะต้องห้ามซึ่งอาจขัดต่อพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 7(12) ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กสทช. ที่กำหนดให้ต้องไม่ดำรงตำแหน่งในบริษัทที่ประกอบกิจการด้านวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ทั้งนี้เนื่องจากนายอรรถชัย ได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ(บอร์ด)อิสระของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้สืบเนื่องจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บมจ. อสมท ประจาปี 2554 เมื่อ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติอนุมัติเลือกตั้งกรรมการบริษัทฯ ตามที่คณะกรรมการสรรหาของบริษัทเสนอ เข้าดำรงตำแหน่งแทนกรรมการที่ออกตามวาระ ซึ่งรายชื่อหนึ่งในสี่ของกรรมการปรากฏชื่อของนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่านายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ประธานคณะการสรรหา กสทช. ในฐานะรองประธานกรรมการบริษัท อสมท จำกัด เข้าร่วมประชุมและรับรู้กรณีดังกล่าวด้วย แต่เหตุใดจึงแจ้งให้กรรมการสรรหา กสทช.ทราบภายหลังจากได้ลงมติเลือกรายชื่อ กสทช.ทั้ง 22 คนไปแล้ว และปรากฎชื่อของนายอรรถชัยด้วย กรณีดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้คณะกรรมการสรรหาต้องนัดประชุมและมีมติให้ทบทวนโดยให้สนง.เลขาธิการวุฒิสภาดำเนินการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานดังกล่าว และนัดหมายพิจารณาในเย็นวันที่ 29 เม.ย. นี้ หากนายอรรถชัย รับทราบและยอมรับตามมติของที่ประชุมที่ได้เลือกให้เป็นกรรมการของ อสมท กรรมการสรรหาจะต้องดำเนินการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมแทนเฉพาะสายเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งท่าน นอกจากนี้เมื่อ 22 เม.ย. ที่ผ่านมา ภายหลังที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเลือกพล.อ.ธีรเดช มีเพียร เป็นประธานวุฒิสภาแล้ว นายประสิทธิ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี อดีตประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคมฯ ได้ขอหารือถึงความไม่ชอบมาพากลในการเลือก กมธ.วิทยาศาสตร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งตนมีหลักฐานและพยานยืนยันว่าการกระทำในครั้งนี้เกิดจากบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาและมียศ พล.อ.ท่านหนึ่ง นายประสิทธิ์ โพธสุธนให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า เหตุที่มีผู้อยากเป็นประธานกมธ.วิทยาศาสตร์กัน อาจเป็นเพราะกรรมาธิการชุดนี้ต้องดูแลรับผิดชอบ กสทช.ในอนาคต และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็มีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้น เนื่องจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ส่งเงินมาให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจำนวน 84 ล้านบาทซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องสปอนเซอร์โครงการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งปกติวุฒิสภาไม่ได้ดำเนินการ กรณีนี้ตนจึงมองว่าเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้าเนื่องจาก กทช. 5 คนลงสมัครเป็น กสทช. ตนในฐานะประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ ก่อนหน้านี้จึงได้สั่งสอบสวนเรื่องนี้ไปแล้ว ทั้งนี้จากรายชื่อที่กรรมการสรรหาคัดเลือก ในจำนวนนี้มีผู้ดำรงตำแหน่ง กทช. ด้วยกันสองท่าน คือ รศ.พนา ทองมีอาคม และ พันเอกนที ศุกลรัตน์ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้กระบวนการคัดเลือก กสทช. ยังต้องรอรายชื่อว่าที่ กสทช. อีกสองเท่าหรือจำนวน 22 คน จากวิธีการคัดเลือกกันเองในกลุ่มตัวแทนของหน่วยงานและองค์กรที่ได้ขึ้นทะเบียน จากนั้นสนง.เลขาธิการวุฒิสภาจะเสนอรายชื่อส่งให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 11 คนต่อไป. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงาน: เทพนิยายฉบับราชวงศ์อังกฤษ VS ความจริงวันนี้ Posted: 28 Apr 2011 11:17 PM PDT สื่อมวลชนทั่วโลกต่างพร้อมใจกันรายงานข่าว ‘พิธีเสกสมรส’ ระหว่างเจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ และ น.ส.เคท มิดเดิลตัน ในวันที่ 29 เม.ย. โดยกล่าวขานว่านี่เป็น ‘พิธีวิวาห์แห่งศตวรรษ’ ในฐานะที่เป็นข่าวมงคลครั้งแรกในรอบหลายสิบปีของราชวงศ์อังกฤษซึ่งเคยรุ่งเรืองในอดีต ทั้งยังเป็นดังฉากชวนฝันในเทพนิยายที่กลายเป็นจริง ซึ่งก็คือเรื่องราวความรักของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์กับหญิงสาวผู้เป็นเพียงสามัญชน และทั้งคู่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่สนใจเรื่องสถานะที่แตกต่างทางสังคม ด้วยเหตุนี้ สื่อต่างประเทศหลายสำนักจึงเกาะติดการรายงานข่าวแบบถ่ายทอดสดนาทีต่อนาที โดยบรรดาแขกเหรื่อผู้มีเกียรติทั้ง 1,900 คนเข้าไปรอในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ แอ๊บบี้ ในกรุงลอนดอน ตั้งแต่เวลา 08.15 น. และพิธีอย่างเป็นทางการเริ่มต้นขึ้นในเวลา 11.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นอังกฤษ โดยแขกเหรื่อที่มีทั้งสามัญชน คนดังในแวดวงต่างๆ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ต่างชาติ จะเป็นสีสันอีกประการหนึ่งที่สื่อจะรายงานให้ผู้สนใจข่าวพิธีเสกสมรสได้รับทราบกันถ้วนหน้า การจัดพิธีเสกสมรสครั้งนี้ยังได้รับการประเมินจากบริษัทไพรซ์ วอเตอร์ เฮาส์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชื่อดังว่าเป็นการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวของอังกฤษมีเงินสะพัดราว 107 ล้านปอนด์ (ราว 2,400 ล้านบาท) จากนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่จะแห่แหนกันมาเที่ยว ‘ตามรอย’ เส้นทางรักของเจ้าชายวิลเลียมและเคท [1] ขณะที่เสียงสนับสนุนราชวงศ์อังกฤษของประชาชนในประเทศเครือจักรภพอย่าง ‘ออสเตรเลีย’ ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อ้างอิงจากผลสรุปการสำรวจความคิดเห็นประชาชนของสำนักนิวส์โพลในออสเตรเลีย [2] พบว่าเสียงสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงการปกครองออสเตรเลียไปสู่ระบอบสาธารณรัฐและยกเลิกสถานะการเป็นประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ‘ลดลง’ จาก 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี ค.ศ.1994 เหลือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์จากการสำรวจครั้งล่าสุดก่อนพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและเคท โดยผู้ตอบแบบสอบถามของนิวส์โพลล์เห็นว่าราชวงศ์อังกฤษกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าเจ้าชายวิลเลียมจะทรงเป็นกษัตริย์ที่ดีกว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ผู้เป็นพระบิดา เพราะทรงมีความ ‘ติดดิน’ และทรงปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนในหลายประเทศตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ทว่าปฏิกิริยาของสื่อมวลชนในโลกตะวันตกอีกจำนวนหนึ่งได้เปิดเผยให้เห็นแง่มุมที่หลากหลาย และเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่เห็นแตกต่างจากกลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์อังกฤษ ดังจะเห็นได้จากที่นิตยสาร ‘นิวส์วีค’ ฉบับ 2 พ.ค.2011 ขึ้นภาพหน้าปกเปรียบเทียบกันระหว่าง ‘อังกฤษในจินตนาการ’ ซึ่งเป็นภาพขณะที่เจ้าชายวิลเลียมทรงสวมกอดพระคู่หมั้น และถูกยกย่องว่าเป็นตำนานรักในโลกยุคใหม่ ส่วนอีกภาพเป็นภาพของ ‘อังกฤษที่แท้จริง’ แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประท้วงที่ออกมาชุมนุมต่อต้านนโยบายตัดงบประมาณการศึกษาของอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแม้จะเริ่มด้วยความสงบ แต่ก็ถูกกลุ่มอนาธิปไตยทำลายความชอบธรรมด้วยการก่อเหตุทำลายข้าวของสาธารณะจนนำไปสู่การปะทะและความรุนแรง นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกลุ่มรีพับลิก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านการรณรงค์ยกเลิกระบอบกษัตริย์และการยกเลิกสถานะอภิสิทธิ์ของเหล่าสมาชิกราชวงศ์ต่างๆ ในประเทศแถบยุโรป ซึ่งออกมารณรงค์ช่วงเดียวกับที่มีการจัดพิธีเสกสมรส โดยให้เหตุผลว่านี่คือช่วงเวลาที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเผยแพร่ข้อมูลอีกด้านของราชวงศ์ เพราะสิ่งที่ควรเฉลิมฉลองอย่างแท้จริงคือการดำรงอยู่ของประชาธิปไตยและพลังของเหล่าประชาชน แทนที่จะเป็นการเฉลิมฉลองให้แก่กลุ่มคนที่ได้รับสถานะอภิสิทธิ์ชนจากการสืบเชื้อสายหรือได้รับมรดกตกทอด ‘ทอม ฟรีดา’ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มรีพับลิกในแคนาดา หนึ่งในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งมีสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ระบุว่าสมาชิกกลุ่มรีพับลิกล้วนมีความยินดีต่อพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิดเดิลตัน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องถกเถียงเรื่องสถานะของราชวงศ์ที่มีผลต่อการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการในแคนาดา ซึ่งกลุ่มรีพับลิกเห็นว่าควรจะเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกของประชาชน ‘ในพื้นที่’ แทนการ ‘แต่งตั้ง’ จากที่อื่น [3] ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่อง ‘สกายนิวส์’ ของอังกฤษตัดสินใจถ่ายทอดสดการจัดเวทีอภิปรายเรื่องการยกเลิกระบอบกษัตริย์ ซึ่งนายจอห์น ไรลีย์ ประธานบริหารของสกายนิวส์ กล่าวว่าในขณะที่ประเทศถูกถาโถมด้วยกระแสคลั่งไคล้ในพิธีเสกสมรส จำเป็นจะต้องมองเรื่องความสัมพันธ์ของราชวงศ์กับประเทศชาติว่ายังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีต่อไปในอนาคตหรือไม่ โดยเวทีอภิปรายดังกล่าวถูกจัดขึ้นในคืนวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งถือว่าเป็นการอุ่นเครื่องก่อนถึงพิธีเสกสมรสในวันที่ 29 เม.ย.อย่างแตกต่างหลากหลายมุมมอง [4] ขณะที่เว็บไซต์นิตยสารฟอร์จูนรายงานข้อมูล ‘อีกด้านหนึ่ง’ ของพิธีเสกสมรส โดยโต้แย้งว่าการประเมินมูลค่ารายได้จากการท่องเที่ยวหลายล้านปอนด์ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากพิธีเสกสมรสมิได้รวม ‘ค่าใช้จ่าย’ ในพิธีที่รัฐบาลอังกฤษต้องนำภาษีประชาชนไปใช้จ่าย ได้แก่ เบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยข่าวกรองของรัฐบาล ซึ่งต้องประจำการในพิธีเพื่ออารักขาดูแลความปลอดภัยในพิธี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดหลังเสร็จพิธี รวมเป็นเงินประมาณ 8 ล้านดอลลาร์ (ราว 240 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในภาคธุรกิจการเงินกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 150,000 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลจากที่รัฐบาลอังกฤษประกาศให้วันเสกสมรสเป็นวันหยุดราชการ ทำให้สถาบันการเงินการธนาคารปิดให้บริการ ถือเป็นการกระทำที่สวนทางกับนโยบายตัดงบประมาณด้านต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งสั่งตัดงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษา สวัสดิการสังคมและรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมาโดยให้เหตุผลว่าต้องทำเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ [5] อย่างไรก็ตาม เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความจำเป็นในการดำรงอยู่ของราชวงศ์อังกฤษซึ่งหนาหูขึ้นนับตั้งแต่การหย่าร้างเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และอดีตเจ้าหญิงไดอานา พระมารดาผู้ล่วงลับของเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮรี ตามมาด้วยข่าวอื้อฉาวของสมาชิกราชวงศ์อื่นๆ ถูกกลบด้วยกระแสความนิยมในตัวเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิดเดิลตัน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่สำนักพระราชวังประกาศข่าวพิธีหมั้นและเสกสมรสเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว [6] การตัดสินพระทัยจัดพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและเคทยังได้รับการยกย่องว่าเรียบง่าย แม้จะมีสถาบันการเงินต่างชาติประเมินค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ว่าอยู่ที่ประมาณ 34 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,800 ล้านบาท) แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าการจัดพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเลดี้ ไดอาน่า พระบิดาและมารดาของเจ้าชายวิลเลียม ซึ่งมีการนำเงินภาษีประชาชนอังกฤษไปจ่ายเป็นค่ารักษาความปลอดภัย รวมถึงเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประจำเรือหลวงและรถไฟหลวงที่ใช้ในการเสด็จไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ นอกจากนี้ การปรับตัวของสมเด็จพระราชินีอังกฤษในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งทรงตัดสินพระทัยยกเลิกการจัดงานประเพณีแบบฟุ่มเฟือย รวมถึงการที่ทรงเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนเข้าถึงได้มากขึ้นก็ช่วยให้พระองค์ทรงได้รับความนิยมจากประชาชนเพิ่มมากขึ้นจากช่วงที่เจ้าหญิงไดอานาสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ แต่นักวิเคราะห์จำนวนมากประเมินว่าสถานะของราชวงศ์อังกฤษจะได้รับการตีความใหม่ในไม่ช้า ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อทัศนคติของประชาชนอังกฤษต่อราชวงศ์จะขึ้นอยู่กับชีวิตสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและพระชายาด้วยว่ามีความยั่งยืนและเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศยังไม่นิ่งเช่นทุกวันนี้ [7]
ข้อมูลอ้างอิง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น