โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรฯ แจงข้อเท็จจริงชาวบ้านล้มเวทีดัน EHIA โครงการเหมืองโปแตซ

Posted: 08 Apr 2011 01:19 PM PDT

เหตุการณ์ปะทะในเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี กลุ่มอนุรักษ์ฯ ย้ำเวทีขาดความชอบธรรม ปิดกั้นการแสดงความเห็น ปชช.

 
วานนี้ (8 เม.ย.54) กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ทำเอกสารเผยแพร่ชี้แจงข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ปะทะ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.54 ในเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี ที่สำนักงานเทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยระบุรายละเอียดดังนี้
 
 
 
ชี้แจงข้อเท็จจริง
จากเหตุการณ์ปะทะในเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554 ที่สำนักงานเทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี
...................................................
 
สืบเนื่องจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกับบริษัทเอพีพีซี ได้จัดฉากเกณฑ์ชาวบ้านให้ไปร่วมเวทีประชุมเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมเซ็นทารา จ.อุดรธานี แล้วแอบอ้างว่า ได้มีการชี้แจงเรื่องการปักหมุดรังวัดให้กับประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว พอรุ่งเช้าก็เร่งรีบทำการปักหมุดรังวัดขอบเขตเหมืองแร่ในพื้นที่ขอสัมปทานโครงการเหมืองแร่โปแตซ แหล่งอุดรใต้ 4 แปลง พื้นที่ 26,446 ไร่ (ครอบคลุมเนื้อที่ ต.โนนสูง ต.หนองไผ่ อ.เมือง และต.ห้วยสามพาด ต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม) ทันที ทั้งๆ ที่ในเวทีเป็นการประชุมเพื่อชี้แจงเรื่องการขออนุญาตประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และการอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใต้รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรค 2 และเป็นการชี้แจงการจัดทำรายงานศึกษาสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environment Assessment: SEA) โครงการเหมืองแร่โปแตซในภาคอีสาน ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่ใช่การประชุมเพื่อการชี้แจงปักหมุดรังวัดตามขั้นตอนการขออนุญาตประทานบัตร แต่อย่างใด ดังนั้นปักหมุดรังวัดในครั้งนี้จึงไม่ชอบธรรมและผิดกฎหมาย กลุ่มชาวบ้านจึงไม่ยอมรับและคัดค้าน
 
ในวันที่ 5 เมษายน 2554 บริษัทเอพีพีซี และบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด ได้ร่วมกันจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี ที่เทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ ซึ่งตามข้อเท็จจริงการจัดเวทีดังกล่าวไม่ได้ถูกกำหนดให้มีตาม พ.ร.บ.แร่ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และตามประกาศโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 67 วรรค 2 เนื่องจากว่ากรณีโครงการเหมืองแร่โปแตซไม่เข้าข่ายโครงการรุนแรงตามประกาศนี้ แต่บริษัทเอพีพีซี ต้องการจะสร้างภาพอีกครั้ง โดยการเกณฑ์ชาวบ้านเพื่อไปร่วมรับฟัง แล้วให้ยกมือสนับสนุนการปักหมุดรังวัด และโครงการเหมืองแร่โปแตซ
 
โดยสถานการณ์ตั้งแต่เย็นของวันที่ 4 เม.ย.54 เจ้าหน้าที่ อปพร.โนนสูง-น้ำคำ ได้นำแผงเหล็กมากั้นขวางถนนเส้นทางที่จะเข้าสู่หอประชุม และมีเจ้าหน้าที่เฝ้าเวรยามตลอดทั้งคืน
 
พอถึงช่วงเช้าของวันที่ 5 เม.ย.54 กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กลุ่มแรกราว 30 คน เดินทางไปถึงสถานที่ตั้งแต่ 6 โมงเช้า โดยมีเจตนาเพื่อเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวที แต่กลับต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ อปพร.พนักงานบริษัทเอพีพีซี และกลุ่มชายฉกรรจ์ที่บริษัทฯ จ้างมาคุ้มกันเวทีก่อนมีการยื้อยุดตรงหน้าทางเข้า เพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าไปข้างใน จนเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในระหว่างชุลมุนก็ได้มีชายฉกรรจ์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ของบริษัทเอพีพีซี ใช้ไม้ยาวฟาดลงมาท่ามกลางกลุ่มชาวบ้านอย่างแรงโดนศีรษะของนางหนูพิณ อันสา อายุ 42 ปี ชาวบ้านจากบ้านสังคม ต.ห้วยสามพาด เข้าอย่างจัง แล้วเหวี่ยงจนล้มเป็นลมหมดสติ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลกุมภวาปีอย่างเร่งด่วน (เดิมนางหนูพิณ มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัวอีกด้วย) ในเวลาไล่เลี่ยกันกลุ่มอนุรักษ์ฯ ทยอยเดินทางมาอย่างต่อเนื่องจนสามารถรวมตัวกันได้กว่า 700 คน ทำให้กลุ่มคนฝ่ายบริษัทฯ ไม่กล้าขัดขวาง กลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงเข้าไปนั่งจนเต็มหอประชุม
 
เวลาประมาณ 09.00 น.บริษัทฯ ประเมินสถานการณ์ว่าไม่สามารถจัดการประชุมได้ จึงตัดสินใจเคลื่อนย้ายผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนหนึ่งประมาณ 100 คน เข้าไปในสวนย่อมในเกาะที่มีสระน้ำล้อมรอบทั้งสามด้านมีถนนทางเข้าด้านเดียว ซึ่งอยู่ตรงข้ามบริเวณที่ทำการเทศบาลฯ และ ให้เจ้าหน้าที่ อปพร.กว่า 50 คนตั้งแถวคุ้มกันไม่ให้กลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าไปได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกประมาณ 50 นายตั้งแถวป้องกันไว้ในแนวถนนอีกด้านหนึ่ง ส่วนบรรยากาศการประชุมในสวนหย่อมกลางน้ำนั้นชาวบ้านที่เข้าร่วมนั่งพื้นดินและยืนใต้ร่มไม้ พร้อมกับมีอาการละล้าละลัง
 
เวลาประมาณ 10.00 น.กลุ่มอนุรักษ์ฯ เคลื่อนขบวนไปประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพยายามเจรจาต่อรองเพื่อจะเข้าไปร่วมเวที ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมแตกตื่นและหวาดวิตกว่ากลุ่มอนุรักษ์ฯ จะบุกเข้าไปอีก จึงค่อยๆ ทยอยเดินออกไป จนเหลืออยู่ไม่ถึง 50 คน และการประชุมบนเกาะกลางสระน้ำก็ถูลู่ถูกังไปจนถึงเวลาเกือบ 12.00 น.
 
ดังนั้น การจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการเหมืองแร่โปแตซ จ.อุดรธานี ในครั้งนี้ จึงไม่มีความสง่างาม และขาดความชอบธรรมอย่างยิ่ง อนึ่ง เห็นได้ชัดเจนว่าต้นตอของปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สืบเนื่องมาจากการปักหมุดรังวัดอันฉ้อฉลของ กพร.กับบริษัทเอพีพีซี (โดยมีผู้ว่าฯ อุดร เปิดทางให้) ซึ่งนับวันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
 
มิหนำซ้ำการเปิดเวทีสาธารณะของบริษัทฯ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามพ.ร.บ.แร่ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ก็ยังถูกปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่พึงจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2550
 
นี่หรอกหรือ “โครงการอุดรโพแทช เหมืองของโจร ทำคนแตกแยก” ...
 
ด้วยจิตคารวะ
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
8 เม.ย.54
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ที่ปรึกษาศอ.บต.ชุดใหม่ “สภาที่ปรึกษาต้องพิสูจน์ตัวเองว่าไม่สนองพรรคการเมือง”

Posted: 08 Apr 2011 12:45 PM PDT

เห็นหน้าค่าตากันแล้วสำหรับว่าที่สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. ที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งเมื่อไปวันที่ 3 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา ที่แม้ผู้เข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนตามสายวิชาชีพที่หลากหลาย รวม 49 คน แต่ไฉนยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีแต่เด็กนักการเมือง จนถึงอาจถูกตั้งความหวังแค่การเป็นสภาตรายางหรือสภาหุ่นเชิด แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ระยะเวลาและผลงานเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์

จากที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) แปลงมาเป็นสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สตต. ก่อนที่จะกลายมาเป็นสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน มีผลงานเป็นอย่างไร “ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล” นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมงานกับศอ.บต.ในฐานะที่ปรึกษา จนกระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นว่าที่ที่ปรึกษาชุดใหม่ล่าสุดด้วย อธิบายถึงผลงานและการทำงานของสตต.ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร บวกกับความหวังต่อสภาที่ปรึกษาชุดใหม่อย่างไร โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการร่วมกับไฟใต้

ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล

...........................

 

สตต.หรือสภาที่ปรึกษาชุดเดิมของสอ.บต. มีผลงาน และการทำงานเป็นอย่างไร

ในช่วงที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในสมัยของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากถูกยุบไปในสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการตั้งที่ปรึกษาของ ศอ.บต.ขึ้นมา จากนั้นถูกแปลสภาพเป็นสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สตต.

ผมและอีกหลายเป็นที่ปรึกษาของศอ.บต.ตั้งแต่ยังไม่ได้ตั้งเป็นสภาที่ปรึกษา เมื่อมีการตั้งเป็นสภาที่ปรึกษา การทำงานจึงเป็นเอกเทศมากขึ้น มีการตั้งประธานสภา มีรองประธานสภา มีเลขานุการ โดยมีการตั้งคณะทำงานของสภาที่ปรึกษาทั้งหมด 7 คณะ

เจตนรมย์ของ สตต. ตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือถ้าคนไหนเก่งเรื่องใดก็ให้มาร่วมกันทำงาน เช่น เก่งเรื่องศาสนาก็ดูแลเรื่องศาสนา คนที่เก่งเรื่องเศรษฐกิจก็ดูแลเรื่องเศรษฐกิจ เอาปัญหาในทางปฏิบัติมาแก้ไข

ผลงานที่ผ่านมาของสภาที่ปรึกษา สตต. มีการผลักดันโครงการต่างๆ ให้ผ่านความเห็นชอบของ สตต. เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้แก้ไขปัญหา หรือมีการพัฒนาขึ้น เช่น โครงการฮัจญ์(การประกอบพิธีทางศาสนา ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย) ที่สามารถทำได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

ในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบ ได้มีการทำหนังสือวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาความไม่สงบ จำนวน 3 เล่ม เพื่อแจกจ่ายให้ข้าราชการในพื้นที่ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน เพราะทำให้ทราบว่าปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไรและเมื่ออ่านแล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติได้

การแก้ปัญหาในเรื่องของศาสนา ในคณะทำงานด้านศาสนา มีการจัดพิมพ์หนังสืออีก 2 เล่ม คือ อิสลามความจริงที่ต้องรู้ และชุมนุมปาฐกถาผู้นำศาสนาอิสลามโลก แจกจ่ายให้ผู้นำศาสนา ตามมัสยิดหรือสถานการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อต้องการแก้ปัญหาที่ฝ่ายตรงข้ามบิดเบือนหลักศาสนาเพื่อก่อความไม่สงบ

อีกเรื่องที่ผลักดันและเกือบจะประสบความสำเร็จในขณะนี้ คือ การผลักดันร่างกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้นายกรัฐมนตรีลงนามและนำเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ให้ทันก่อนที่จะมีการยุบสภาในอีกไม่กี่วัน

ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ได้ผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลและพัฒนาในเรื่องการทำประมงชายฝั่งในจังหวัดปัตตานี มีการจัดซื้อเรือตรวจการณ์เพื่อป้องกันและปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย และมีการจัดสรรงบประมาณจัดทำปะการังเทียมและการป้องกันการบุกรุกชายฝั่ง

นี่คือผลงานหลักๆ เท่าที่ประมวลได้ นอกจากนั้น ยังมีการให้คำชี้แนะ เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)ด้วย

 

ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นใดบ้างที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และที่ผ่านมาการทำงานของสตต.ถือว่าเป็นปากเสียงของประชาชนได้ดีพอหรือยัง

สำหรับข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่คือข้อเสนอในเรื่องการแก้ปัญหาโดยใช้แนวทางการเมืองนำการทหาร

โดยเรายึดอยู่ตลอดเวลาว่า การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ให้ได้ผล คือ 1.ทหารต้องใช้ระบบการเมืองนำการทหาร 2.การแก้ปัญหาความยากจน ซึ่ง ศอ.บต.ก็ได้ทำหลายโครงการ และ 3.การแก้ปัญหาความยุติธรรม เพราะเราเชื่อว่า ปัญหาเดิมเกิดจากชาวบ้านไม่ได้รับความยุติธรรม เกิดข้าราชการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความไม่สงบ เราก็จะต้องแก้ตรงนั้น และผลักดันให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายและความเสมอภาคในสังคม

นอกจากนั้นยังผลักดันเรื่องการศึกษา เพราะต้องการให้มีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เรื่องค่าตอแทนของของครูโรงเรียนตาดีกา การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชุมชน มีการพูดกันว่า เราคิดแต่ไม่ได้ทำ จึงแก้ปัญหาโดยให้คนในพื้นที่คิดและนำไปทำเอง

ที่ผ่านมา สตต. เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เสียงของชาวบ้านได้เข้ามาอยู่ในโครงสร้างการแก้ปัญหาของรัฐ เป็นการสะท้อนปัญหาที่แท้จริง จนสามารถนำปัญหาที่สะท้อนมาให้รัฐบาลแก้ไขได้มาก

 

ความแตกต่างระหว่าง สตต.กับสภาที่ปรึกษาชุดใหม่เป็นอย่างไร

จากที่ทำงานมานั้น ถือว่า สตต.ชุดนี้ทำงานได้ดีที่สุด แต่ละคนที่เข้ามาทำหน้าที่ เป็นคนมีความรู้และมีความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และมีที่มาที่หลากหลายกว่าสภาที่ปรึกษาชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้น เพราะสภาชุดใหม่มีตัวแทนที่มาตามสาขาอาชีพ

ถ้าถามว่า สภาที่ปรึกษาชุดใหม่มีความครอบคลุมหรือไม่ ถือว่าครอบคลุม แต่ก็มีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน ชุดที่มาจากการแต่งตั้ง มาตามความโดนเด่นของตัวบุคคล ส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง ได้มาจากคะแนนเสียง ไม่ใช้ความโดดเด่นของตัวบุคคลที่แท้จริง อาจไม่ใช่ตัวที่ดีจริงๆ ก็ได้ ได้มาเพราะมีคนรู้จักกว้างขวาง มีคนใส่คะแนนให้เยอะ ส่วนเรื่องความรู้ความชำนาญ ยังไม่พูดถึง เพราะจะรู้เรื่องเฉพาะในสายอาชีพของตนเอง

ความแตกต่างระหว่าง สตต.กับสภาที่ปรึกษาชุดใหม่ คือ สตต.มีบริบทการทำงานแค่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กับ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา แต่สภาที่ปรึกษาชุดใหม่ มีบริบทพื้นที่ที่กว้างกว่า คือ ทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเพิ่มสงขลาและสตูล

ขณะเดียวกันระหว่างตัวแทนของ 3 จังหวัด กับสงขลาและสตูล อาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่าง เนื่องจากตัวแทนใน 3 จังหวัดมาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่สตูลกับสงขลา ไม่มีผลกระทบโดยตรง ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกัน

ยกตัวอย่างเช่น ตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่นของสงขลากับสตูลอาจจะคิดเรื่องเดียว คือ งบประมาณ เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โดยตรง อาจมองปัญหาจากผลกระทบโดยตรงไม่ชัดเจน

ตัวแทนทางเศรษฐกิจก็เช่นกัน คือ ตัวแทนหอการค้าจังหวัดสงขลากับสตูล อาจมองเรื่องการลงทุน ทำอย่างไรที่จะให้มีการลงทุนมาก แต่ตัวแทนใน 3 จังหวัดบอกว่า จะทำอย่างไรที่จะให้มีคนไปลงทุนในพื้นที่ ถ้าให้สิทธิพิเศษเท่ากัน 3 จังหวัดจะเสียหาย เพราะคนมาลงทุนที่สงขลาหมด เป็นต้น

ส่วนในเรื่องอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย สภาที่ปรึกษาชุดใหม่มีอำนาจมากกว่า เพราะมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553

ถึงจะมีอำนาจมากหรือน้อย แต่ลักษณะที่เหมือนกันคือ ต้องปลอดจากการเมือง เพราะถ้ามีลักษณะการเมืองอยู่เบื้องหลัง การทำงานก็จะไม่ตอบสนองนโยบายการแก้ปัญหาของประชาชน แต่จะไปตอบสนองนโยบายของพรรคการเมือง และสนองนโยบายของส่วนราชการการ ทั้งในการจัดงบประมาณ การสนับสนุนงบประมาณหรือโครงการ

เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบว่า ตัวแทนทั้ง 49 คน เป็นคนของพรรคการเมืองไหนบ้าง สัดส่วนเป็นอย่างไร และใครบ้างที่ไม่มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง

แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเด็กนักการเมืองทั้งนั้น น่าจะมีผมคนเดียวที่ไม่มีการเมือง นอกจากนั้นน่าจะมาจากพรรคการเมืองชื่อดังของภาคใต้กับอีกพรรคการเมืองที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานแต่มี ส.ส.(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)เป็นสมาชิกพรรคแล้ว

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว สภาชุดนี้ต้องทำงานพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า ไม่ได้ทำงานสนองพรรคการเมือง ซึ่งต้องนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะเราต้องให้เวลาทำงานก่อน ตอนนี้เรายังไม่ทำงาน และตอนนี้แต่ละคนเรารู้ที่มาแต่ยังไม่รู้ถึงวิสัยทัศน์ ยังไม่เห็นว่าใครเคยทำอะไร

 

สิ่งที่น่าจับตาสำหรับสภาที่ปรึกษาชุดใหม่คืออะไร และอนาคตจะเป็นอย่างไร

สิ่งที่น่าจับตา คือ สภาที่ปรึกษาชุดนี้เราได้คนใหม่เกือบทั้งหมด ซึ่งไม่เคยทำงานกับศอ.บต.มาก่อน ไม่เคยร่วมแก้ปัญหาความมาสงบ เราจะมีคนเก่าอยู่ประมาณ 5 คน และคนใหม่ก็มาจากหลายๆ องค์กร แล้วต้องมาหลอมรวมกันให้ได้ นี่คือสิ่งที่ต้องทำให้ได้ จึงต้องใช้เวลาอีกระยะ เพื่อศึกษาปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บางคนอาจศึกษามาแล้ว แต่บางคนอาจยังไม่ได้ศึกษามาก่อนเลย เข้าไปแรกๆ อาจยังไม่รู้ปัญหาที่แท้จริง

เพราะฉะนั้นช่วงแรกๆ ถ้าหวังผลงานจริงๆ อาจยังไม่เห็น แต่หลักการจริงๆ ต้องดูว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องการโดยการตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมานั้น มันจะสอดคล้องกับพื้นที่หรือไม่ มันจะให้ประโยชน์หรือไม่ เป็นการแก้ปัญหาความจริงใจ หรือแก้ปัญหาเพราะต้องการใช้งบประมาณ คนที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาต้องอ่านเกมนี้ให้ได้ ต้องเข้าใจเรื่องให้ได้ เพราะที่สังเกตคือ ขนาดกอ.รมน.เข้ามาแก้ปัญหาความไม่สงบนี้มา 7 ปีแล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ใช้งบประมาณเป็นแสนล้าน แต่ ศอ.บต.ใช้งบหกหมื่นล้านบาทและเป็นงบผูกพัน

และต้องมาดูว่าแต่ละโครงการที่มีการผลักดันจากที่ปรึกษาชุดที่แล้ว เป็นเรื่องที่ถูกต้องและแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ โดยที่โครงการที่ ศอ.บต.เอางบมาทำ ตอบสนองต่อปัญหาความไม่สงบได้หรือไม่ หรือแค่ได้ทำ เพราะต้องการใช้เงินงบประมาณให้หมด นี่คือเรื่องสำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าได้ตำแหน่งที่ปรึกษาแล้วก็จบ เพราะฉะนั้นต้องจับตาดูต่อไป

 

รายชื่อว่าที่ที่ปรึกษาชุดใหม่ศอ.บต.

ต่อไปนี้เป็นบัญชีรายชื่อ ผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2554 ในสาขาและประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ก.ประเภท ที่มีผู้แทนจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละหนึ่งคน

ประเภท/จังหวัด

ปัตตานี

นราธิวาส

ยะลา

สงขลา

สตูล

ผู้แทนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น

นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี

.ส.อ.ฮาริส มะรือสะ

นายสมุทร มอหาหมัด

นายไพร พัฒโน

นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์

ผู้แทนกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

นายสมาแอ ดอเลาะ

นายเสรี นิมะยุ

นายสมมาศ มะมุพิ

นายดลเลาะ เหล็มแหละ

นายวีระ เพชรประดับ

ผู้แทนกรรมการอิสลามประจำ
จังหวัดและอิหม่ามประจำมัสยิด

นายอัศมี โต๊ะมีนา
 

นายอับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ

นายรุสดี บาเกาะ

นายมูหรอด ใบสะมะอุ

นายยำอาด ลินารา

ผู้แทนเจ้าอาวาสในศาสนาพุทธ

พระครูจริยาภรณ์

พระครูสุนทรเทพวิมล

นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์

พระศรีรัตนวิมล

พระครูโสภณปัญญาสาร

ผู้ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจใน
การพัฒนาสังคม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น หรือวิถีชีวิตของ
ประชาชนในพื้นที่

นายอับดุลเล๊าะ วาแม
 

นายกิตติพล กอบวิทยา

นายคอลีลือเราะมัน ดือราแม

นายวรรณชัย สุวรรณกาญจน์

นายวรัตน์ แสงเจริญ

ผู้แทนผู้สอนและบุคลากร
ทางการศึกษา

นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร
 

นายอาดุลย์ พรมแสง

นายดนุพล อ้นพวงรัตน์

นายเสริมสุข สุวรรณกิจ

นายนิสิต ชายพักตร์

ผู้แทนกลุ่มสตรี
 

นางเบญจวรรณ ซูสารอ

นางสารีปะ สะเมาะ

นางรัตนา กาฬศิริ

นางจินตนา จิโนวัฒน์

นางรัชนี เด่นกาญจนศักดิ์

ผู้แทนหอการค้าจังหวัดและ
สภาอุตสาหกรรมจังหวัด

 
นายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์
 

นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช

นายยู่สิน จินตภากรณ์

ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์

นายสมชาย ตันติ์ศรีสกุล

ข.ประเภท ที่มีผู้แทนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนึ่งคน

(1) ผู้แทนศาสนาอื่น รศ.ทพ.ดร.กรัสไนย หวังรังสิมากุล
(2) ผู้แทนสถาบันศึกษาปอเนาะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ นายอับดุลอาซิส ยานยา
(3) ผู้แทนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา นายอับดุลรอนิ กาหะมะ
(4) ผู้แทนสื่อมวลชน นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล
บัญชีรายชื่อ ผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ก.ประเภท ที่มีผู้แทนจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละหนึ่งคน
ข.ประเภท ที่มีผู้แทนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หนึ่งคน
(1) ผู้แทนศาสนาอื่น รศ.ทพ.ดร.กรัสไนย หวังรังสิมากุล

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายเปิดผนึก Thai PBS ‘ทีวีที่คุณวางใจจริงหรือ?..’

Posted: 08 Apr 2011 12:19 PM PDT

เรียน  ผู้บริหาร Thai PBS
 
ก้าวสู่ปีที่ 4 อัตลักษณ์ใหม่ Thai PBS ทีวีสาธารณะ ที่ภาคประชาชนคาดหวังว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการทีวีบ้านเรา และนำไปสู่การปฏิรูปสื่อทั้งระบบในอนาคตข้างหน้า  จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา Thai PBS ก็ได้พิสูจน์ให้พวกเราเห็นแล้วในระดับหนึ่ง ด้วยกระบวนการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เช่น การมีสภาผู้ชมผู้ฟังที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สะท้อนความคิดเห็นกับ Thai PBS มีช่วงนักข่าวพลเมืองให้คนในพื้นที่ได้นำเสนอเรื่องราวในชุมชนของตนเองสู่สาธารณะ มีสถานีภูมิภาคเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนท้องถิ่น ตลอดจนการมีพื้นที่ทางสื่อให้กับการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยการเกาะติดประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของทุนและรัฐ ดังเช่น กรณีผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เหมืองแร่ หรือแม้แต่ภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น
 
ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อแนวทางการดำเนินงานของ Thai PBS มาประจวบเหมาะกับความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นสื่อทีวีเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีทุนและรัฐคอยครอบงำ หรือชี้นำทิศทางการนำเสนอเหมือนช่องอื่นๆ จึงเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จนกล้าพูดได้เต็มปากว่า “ทีวีไทย ทีวีของประชาชน” หรือ “ทีวีไทยคือทีวีของเรา” เพื่อผลักดันไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย
 
อย่างไรก็ดี จากการนำเสนอข่าว (ภาคค่ำ) กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ของ Thai PBS เมื่อวันที่ 17 ก.พ.54 ในประเด็นการจ่ายเงินค่าลอดใต้ถุนของบริษัทเหมืองแร่ และเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 54 ประเด็นข่าวการจัดเวทีเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ที่เทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ ซึ่งมีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างฝ่ายชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกับพนักงานบริษัทเหมืองแร่ และมวลชนที่บริษัท จัดตั้งมา จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่อดคิดไม่ได้ว่า ตกลง Thai PBS คือ “ทีวีของเรา หรือทีวีของทุน” เพราะดูแล้วเหมือนช่วยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับบริษัทฯ อีกแรงหนึ่งได้เป็นอย่างดี (ข่าวการจ่ายค่าลอดใต้ถุนเมื่อวันที่ 17 ก.พ.)
 
ขณะเดียวกันในวันที่ 5 เม.ย. บริษัทเหมืองแร่ ก็จัดฉาก วางสคริปให้นักข่าวถ่ายทำ โดยให้ซองขาวซื้อนักข่าวหัวละ 500 บาท ซึ่งน่าสลดใจ เนื่องจากว่าไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี และไม่มีจรรยาบรรณของนักข่าวเลยจริงๆ (เพราะแพงกว่าค่าหัวม็อบฝ่ายสนับสนุนที่บริษัทฯ จ้างมา 300 บาท เท่านั้น) เพื่อทำลายภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ แต่ไม่ได้อธิบายเนื้อหาและที่มาที่ไปของเวทีว่าทำไมชาวบ้านถึงต้องออกมาคัดค้าน!
 
Thai PBS เป็นช่องทีวีที่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ให้ความไว้วางใจ เฝ้าติดตาม และให้ความร่วมไม้ร่วมมือด้วยดีเสมอมา จนเกิดกระแสการตื่นตัวของชาวบ้านต่อการเลือกรับชมสื่อทีวีช่องนี้(มากกว่าช่องละครน้ำเน่า หรือเกมโชว์สมองฝ่อ) ทั้งนี้ เราก็เข้าใจว่าการทำข่าวใน 2 ครั้งที่ผ่านมาเป็นผลงานของสตริงเกอร์ที่อยู่อุดรฯ (สื่อส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรฯ ถูกบริษัทเหมืองแร่ซื้อตัวแล้ว) แต่เราก็ยังคลางแคลงใจและเห็นว่าหัวหน้าฝ่ายข่าว หรือใครก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่ในตรงนี้ควรจะสกรีนข่าว และมีวิจารณญาณก่อนนำเสนอมากกว่านี้ เพราะเท่าที่ดูรายชื่อและเกียรติประวัติของฝ่ายข่าว Thai PBS แล้ว คงไม่ใช่ “นักข่าวพลเมือง” เป็นแน่
 
อย่างไรก็ดี เราไม่ได้บอกว่า Thai PBS จะต้องมาเข้าข้างพวกเราหรอก แต่ Thai PBS ควรนำเสนอในทุกแง่มุมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ให้สมกับที่บอกว่าเป็นช่องทีวีที่มี “คุณธรรม สร้างสรรค์สังคม” และควรสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะระบบสตริงเกอร์ข่าวที่หากินกับรัฐและทุนท้องถิ่น เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว Thai PBS ก็จะยังคงล้าหลังเหมือนสื่อช่องอื่นๆ อยู่ดี และเมื่อเป็นเช่นนี้ “เราจึงละล้าละลังที่จะวางใจคุณ”
 
สุดท้าย เราก็คงไม่เรียกร้องอะไรจาก Thai PBS เพียงแต่คาดหวังว่า Thai PBS หรือสื่อสารมวลชนทุกแขนงในบ้านเราจะมีทัศนคติที่ดีต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการชาวบ้านที่รวมตัวกันลุกขึ้นมาปกป้องถิ่นฐาน และทรัพยากรท้องถิ่น ตลอดจนการมีจริยธรรมกับการทำสื่อ และจิตสำนึกสาธารณะ มากกว่าการสยบยอมเป็นเครื่องมือของรัฐและทุน... เพราะสื่อเป็นพลังสำคัญที่จะร่วมสร้างสังคมใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ชุมชนท้องถิ่น และการปฏิรูปประเทศไทย
 
                                                                                                                                                       ด้วยจิตคารวะ
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
กลุ่มสื่อคนฮักถิ่น นักข่าวพลเมือง จังหวัดอุดรธานี
จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนฮักถิ่น
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน
ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.)
อาศรมบ่มเพาะความคิดและจิตวิญญาณ
อาศรมสหธรรมิก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กัมพูชาร้องนานาชาติช่วยกู้ระเบิดดาวกระจาย ไก่อูโต้ระเบิดคนละชนิด

Posted: 08 Apr 2011 11:31 AM PDT

สื่อกัมพูชารายงานต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเร่งด่วน เรียกร้องนานาชาติช่วยกู้ระเบิด ด้านโฆษกกองทัพบกไทยออกโรงโต้ ระเบิดที่ใช้แตกตัวทันทีไม่กลายเป็นทุ่นระเบิดเหมือนระเบิดดาวกระจาย ขณะที่ทีมสำรวจระบุพบระเบิดที่ไม่แตกตัวพร้อมถ่ายภาพเป็นหลักฐาน 

พนมเปญโพสต์รายงานเมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของ เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านกับระเบิดกัมพูชา ว่ามีพื้นที่ 12 พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่ไทยใช้ระเบิดดาวกระจาย โดยรับว่ายังไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลานานเท่าใดในการเก็บกู้ระเบิด

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ต่อต้านกับระเบิดกัมพูชาจะทำการลงสำรวจพื้นที่อีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย. นี้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเก็บกู้ระเบิด 50 คน

“มีความต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในระดับรุนแรงเมื่อมีการใช้ระเบิดเหล่านี้ เราต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน” เฮง รัตนากล่าว พร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ระเบิดดาวกระจายว่าใช้ที่ไหน เมื่อไหร่บ้าง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศกดดันประเทศไทยและให้ความช่วยเหลือประเทศกัมพูชาในการเคลียร์พื้นที่เสี่ยงด้วย

การกล่าวอ้างว่าฝ่ายไทยใช้ระเบิดดาวกระจายเกิดขึ้นหลังการปะทะกันระหว่างกองกำลังฝ่ายไทยและกัมพูชา ในระหว่างวันที่ 4-7 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยหลังจากนั้นศูนย์ต่อต้านกับระเบิดกัมพูชาได้ลงสำรวจพื้นที่ปะทะในวันที่ 10 ก.พ. และพบว่าฝ่ายไทยได้ยิงระเบิดดาวกระจายเข้ามายังพื้นที่จังหวัดพระวิหารของกัมพูชา

เว็บไซต์ขององค์กรต่อต้านระเบิดดาวกระจาย (CMC)ระบุว่า สมาชิกองค์กรต่อต้านระเบิดดาวกระจายได้ลงพื้นที่สำรวจบริเวณชายแดนกัมพูชาเมือวันที่ 12 ก.พ. โดยได้พบลูกระเบิดที่ยังไม่มีการระเบิดและถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน โดยตรวจพบระเบิดดังกล่าว 2 จุด ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของทหารและตำรวจกัมพูชาในหมู่บ้าน เสวย์ชรัม และบริเวณเขาพระวิหาร
ในหมู่บ้านเสวย์ชรัม สมาชิกของ CMC สำรวจพบระเบิดลูกปรายของระเบิดดาวกระจายและเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดดาวกระจายจำนวนมาก พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้างและยานพาหนะที่มีร่องรอยความเสียหายเนื่องมาจากถูกแรงระเบิด

มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และอีก 7 รายได้รับบาดเจ็บ จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นระเบิดดาวกระจายชนิด M46

อย่างไรก็ตาม จากการลงสำรวจพื้นที่ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 เม.ย. CMC คาดว่ามีการใช้ระเบิดดาวกระจายชนิด M42, M46 และ/หรือ M85 ด้วย

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจของกัมพูชาซึ่งได้รับบาดเจ็บจากระเบิด

การลงพื้นที่สำรวจของ CMC

ระเบิดที่ค้นพบในการลงพื้นที่สำรวจ

ภาพจากองค์กรต่อต้านระเบิดดาวกระจาย - cluster munition coalition (CMC)

สรรเสริญโต้ ไม่ใช่ระเบิดดาวกระจา
เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า เมื่อเวลา 17.30น. วันที่ 7 เม.ย. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (ทบ.) กล่าวถึงกรณีองค์กรระหว่างประเทศ เสนอข่าวทหารไทยใช้กระสุนระเบิดชนิด Cluster Bomb (คลัสเตอร์บอมบ์) ซึ่งนานาประเทศสั่งห้ามใช้ ยิงใส่กัมพูชา ในช่วงที่เกิดการปะทะกันบริเวณชายแดนภูมะเขือ รวมไปถึงบริเวณพื้นที่ทับซ้อน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ทำให้มีทหารและประชาชนกัมพูชาเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

โฆษก ทบ.กล่าวว่า ขอยืนยันว่าทหารไทยไม่ได้ใช้ระเบิดชนิดดังกล่าว ทางกองทัพได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ว่าข้อมูลมีการคาดเคลื่อน กระสุนที่ใช้ยิงเป็นกระสุนระเบิดแบบที่เรียกกันว่า ทวิ-ประสงค์ หรือคาโก้ ซึ่งลักษณะของกระสุนแบบนี้เมื่อยิงไปแล้วก็แตกออกเป็นลูกระเบิดย่อย แต่ลูกระเบิดย่อยๆ นี้ พอกระแทกเป้าหมายมันจะแยกตัวทันที ไม่ได้แตกออกมาเป็นทุ่นระเบิดที่รอให้ประชาชนหรือสัตว์เลี้ยงเดินมาเหยียบ หรือที่เรียกว่า "คลัสเตอร์บอมบ์" เป็นไปตามสนธิสัญญาออตตาวา

"ส่วนตัวเชื่อว่าอาจเป็นการสื่อความหมายที่คาดเคลื่อน หรือผู้พูดสื่อความหมายหรือเข้าใจผิด คำว่า คลัสเตอร์บอมบ์ หมายถึงอะไร แต่เราหมายถึงอย่างนี้ และกองทัพยอมรับว่ามีความจำเป็นที่ต้องใช้กระสุนทวิ-ประสงค์ เพราะกัมพูชาพื้นที่ที่ยิงไม่ใช่พื้นที่ทหารอย่างเดียวแต่เป็นบ้านพลเรือนด้วย และทหารกัมพูชาใช้ระบบยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจุดอื่น ถ้าใช้กระสุนยิงแค่จุดเดียว ไม่มีทางยิงโดน เราจึงต้องใช้กระสุนระเบิดแบบทวิ-ประสงค์" โฆษก ทบ.กล่าว

ด้านนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า เข้าใจว่าเป็นการรายงานข่าวขององค์กรต่างประเทศ ที่ใช้การอ้างคำพูดของทูตไทยที่ประจำกรุงเจนีวา เข้าใจว่าเป็นการเอาคำพูดนอกบริบทของทูตไทยประจำเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ มาพูด ทั้งนี้ ทางกองทัพได้ประสานและชี้แจงมาที่กระทรวงต่างประเทศ เพื่อชี้แจงกับนานาชาติ แล้ว แต่ไม่ต้องถึงขั้นทำหนังสือชี้แจง ยืนยันว่าไทยไม่ได้ใช้กระสุนระเบิดชนิดคลัสเตอร์บอมบ์ ที่นานาชาติห้ามใช้ดังกล่าว แต่เป็นกระสุนระเบิดชนิดทวิ-ประสงค์

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.landmines.org ระบุว่า ระเบิดดาวกระจายนั้นได้คร่าชีวิตและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก โดยเหยื่อกว่า 85 เปอร์เซ็นต์เป็นพลเรือน และในจำนวนนั้น 23 เปอร์เซ็นต์คือเด็ก

ระเบิดดาวกระจายลูกหนึ่งอาจบรรจุระเบิดลูกปรายหรือระเบิดลูกเล็กๆ ราว 100 ลูกซึ่งอาจมีขนาดเท่าก้อนแบตเตอรี่เล็กหรือขนาดลูกเทนนิส โดยระเบิดลูกหนึ่งนั้นมีรัศมีทำลายล้างกว้างขนาด2-4 สนามฟุตบอล

ระเบิดลูกเล็กๆ หรือลูกปรายที่บรรจุอยู่ในระเบิดดาวกระจายซึ่งถูกยิงออกมานั้นมีโอกาสที่จะไม่ทำงานทันทีถึงราว 30 เปอร์เซ็นต์และมันจะกลายเป็น 'กับระเบิดโดยสภาพ' ในที่สุด

ปัจจุบันมีการผลิตระเบิดชนิดนี้ในรูปแบบที่หลากหลายถึง 210 ประเภท และยังมีการใช้งานโดยเฉพาะตามเส้นเขตแดนอยู่ราว 30 ประเทศ

สหรัฐอเมริกาเคยทิ้งระเบิดชนิดนี้ในกัมพูชาราว 19 ล้านลูก, ในเวียดนาม 70 ล้านลูก และในลาว 208 ล้านลูก
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โรคหูสีฟ้าระบาดหนักตามฟาร์มสุกรที่เมืองหลวงพม่า

Posted: 08 Apr 2011 11:27 AM PDT

รคหูสีฟ้า ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร กำลังระบาดหนักตามฟาร์มสุกรต่างๆในเมืองออททาราตรีรีและในเขตเมืองเนปีดอว์ สุกรตายแล้วกว่า 200 ตัว ขณะที่ทางการยังไม่มีมาตรการแก้ปัญหา

มีรายงานว่า โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) หรือโรคที่รู้จักกันในชื่อ โรคหูสีฟ้า ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร กำลังระบาดหนักตามฟาร์มสุกรต่างๆในเมืองออททาราตรีรีและในเขตเมืองเนปีดอว์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสุกรตายแล้วกว่า 200 ตัว ขณะที่ทางการท้องถิ่นและกรมปศุสัตว์ของพม่ายังไม่มีมาตรการใดๆเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้

ชาวบ้านเปิดเผยว่า โรคหูสีฟ้าเริ่มระบาดในสุกรที่อยู่ในเมืองตองทาเป็นที่แรก จากนั้นเชื้อโรคได้แพร่ขจายไปยังเขต กันอู ทาเตโก่นและเมืองออททาราตรีรี ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ในเขตเมืองเนปีดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่

ทั้งนี้ชาวบ้านเปิดเผยว่า ยังพบสุกรที่เพิ่งคลอดออกมาเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนสุกรที่โตแล้ว ก่อนหน้าจะเสียชีวิตก็ไม่แสดงอาการใดๆว่าเป็นโรค แต่ในบางพื้นที่กลับพบว่า ผิวของสุกรจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าก่อนที่จะตาย อย่างไรก็ตาม ฟาร์มเลี้ยงสุกรยังคงส่งขายเนื้อสุกรที่ติดโรคให้กับผู้บริโภคตามปกติ แต่พบว่า มีราคาถูกกว่าสุกรที่ไม่ติดโรค ซึ่งทางการก็ยังไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหานี้

อย่างไรก็ตาม โรคหูสีฟ้าเคยระบาดมาแล้วครั้งหนึ่งในมัณฑะเลย์ เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น มีสุกรตายกว่า 600 ตัว ซึ่งโรคหูสีฟ้าในสุกรนั้น พบว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Family Arteriviridae ชนิด PRRS virus โดยสุกรจะขับเชื้อไวรัสออกมากับอุจจาระ ปัสสาวะ ลมหายใจ ซึ่งเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในสุกร แต่มีรายงานว่า โรคดังกล่าวยังไม่เป็นอันตรายต่อคน

( Irrawaddy 7 เมษายน 54)
 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในรัฐฉานต้องการน้ำดื่ม-สังกะสี เผยทางการยังช่วยน้อย

Posted: 08 Apr 2011 11:15 AM PDT

ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในรัฐฉานต้องการความช่วยเหลือด่วนน้ำดื่มและสังกะสีมุงที่พักพิง เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง เผยการช่วยเหลือจากทางการยังมีน้อย ขณะที่ซากปรักหักพังส่วนใหญ่ยังไม่ถูกเก็บกู้เพราะขาดเครื่องมือซึ่งต้องอาศัยเพียงแรงคน

 

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อาสาสมัครบรรเทาทุกข์คนหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (USDP) ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก เปิดเผยว่า มีประชาชนกว่า 18,000 คน จาก 100 กว่าหมู่บ้าน ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในภาคตะวันออกของรัฐฉาน ที่มีขนาด 6.8 ริคเตอร์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ซึ่งผู้ประสบภัยเหล่านี้กำลังต้องการน้ำดื่ม เนื่องจากน้ำในบ่อไม่สามารถนำมาใช้ดื่มได้เพราะบ่อน้ำส่วนใหญ่พังเสียหายและน้ำมีกลิ่นเน่าเสีย และอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประสบภัยต้องการมากในขณะนี้คือ สังกะสีสำหรับใช้มุงซ่อมแซมบ้านเรือน เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกต่อเนื่อง ซึ่งเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้มีบ้านเรือนได้รับความอย่างหนักกว่า 300 หลัง

ขณะที่พระสงฆ์รูปหนึ่งในจังหวัดท่าขี้เหล็ก เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่พม่าในเมืองเชียงตุง ได้ตั้งศูนย์และตระเวนรับบริจาคเงินสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ประสบภัยหมู่บ้านใดได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าว โดยการช่วยเหลือส่วนใหญ่ได้จากประชาชนในพื้นที่และจากกลุ่มบุคคลและองค์กรต่างๆ ที่มาจากประเทศไทย ขณะที่ทางการพม่ามีการช่วยเหลือเงินบางส่วน

อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้จะยังคงมีผู้ใจบุญนำสิ่งของเข้าไปบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง แต่การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีขอบเขตและส่วนใหญ่จะถึงเฉพาะผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ในเมืองและหมู่บ้านใกล้ถนนสายหลัก โดยการช่วยเหลือที่เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลต้องอาศัยองค์กรเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมและศาสนาโดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ในพื้นที่เท่านั้น ขณะที่ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่ถูกเก็บกู้รื้อถอนและทำความสะอาด เนื่องจากอุปกรณ์ในการทำงานมีจำกัดซึ่งต้องอาศัยแรงคนเป็นส่วนใหญ่

สำหรับความช่วยเหลือจากพี่น้องไทใหญ่ในประเทศไทย ขณะนี้มีหลายกลุ่มองค์กรตั้งศูนย์และเปิดบัญชีรับบริจาค ได้แก่ ชมรมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่เชียงใหม่ มีสำนักงานอยู่ที่วัดกู่เต้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ติดต่อได้ที่ 083-7669703 , สำนักข่าวฉาน "กอนขอ" (Shan Herald Agency for News – SHAN) หมายเลขบัญชี 402-387907-6 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซี หางดง ติดต่อได้ที่ 081-5312837 , 080-1257474 ส่วนที่กรุงเทพฯ มูลนิธิพระธรรมแสง เปิดรับบริจาคที่ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม (วัดใหม่) สาธุประดิษฐ์ ยานนาวา หรือ บริจาคผ่านธนาคาร กสิกรไทย สาขารังสีต ชื่อบัญชี มูลนิธิพระธรรมแสง เลขที่บัญชี 183-2-75912-9 ติดต่อได้ที่ 081-6297679, 081-8230864

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรรมการสิทธิฟังความเห็น เตรียมเสนอรัฐบาล แก้ปัญหามาบตาพุด

Posted: 08 Apr 2011 06:10 AM PDT

8 เม.ย.54 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ร่ารายงานข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก” ที่กลุ่มเครือข่ายดังกล่าวได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กสม.เมื่อวันที่ 6 ก.ย.53 ขอให้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องในการออกประกาศของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ และขอให้ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด จ.ระยอง

 
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวภายหลังการรับฟังความเห็นว่า การจัดเวทีดังกล่าวทำให้เครือข่ายสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ ภาคราชการ นักวิชาการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา โดยในเวทีรับฟังความคิดเห็นได้มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขร่างรายงานการศึกษา เช่น รัฐต้องทบทวนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรื่องกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและกระบวนการจัดทำประกาศ ควรให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ตามมาตรา 67 วรรคสอง ทำหน้าที่กำหนด เพราะมีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน
       
รวมทั้งรัฐต้องปรับปรุงระบบ กลไก และกระบวนการทำ EIA / HIA และกระบวนการในการติดตามตรวจสอบ กำหนดมาตรการลงโทษสำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และการชดเชยเยียวยา โดยให้รัฐยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 11 ก.พ.54 ที่รับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่ได้มีการพิจารณาผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมของพื้นที่มาบตาพุดว่ายังสามารถรับโรงงานอุตสาหกรรมได้อีก และรายงานต่อสาธารณะภายใน 6 เดือน
นอกจากนี้ ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดและดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ของตนเอง โดยเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตัดสินใจ  สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและจัดกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วม ให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  แห่งชาติ  ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบาล และยื่นเรื่องเสนอศาลปกครองตามกลไกหากรัฐบาล     ไม่เคารพและปกป้องสิทธิประชาชนตามพันธะสัญญา  และเร่งนำเครื่องมือการประเมินผลกระทบทางกฎหมาย (RIA) มาใช้ ในการตรวจสอบการออกกฎหมายของฝ่ายบริหารด้วย และให้จัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดเพื่อส่งเสริมและ     คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชนองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม 
 
ทั้งนี้ ทางสำนักงาน กสม.ก็จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องในครั้งนี้ มาปรับเข้ากับร่างรายงานแล้วเสนอต่อ กสม.เพื่อพิจารณาต่อไป
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวอุบลฯ จัดเวที ชี้เหตุผลทำไมไม่เอา “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์”

Posted: 08 Apr 2011 06:04 AM PDT

เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จัดเวที แจงผลเสียโครงการฯ นักวิชาการชี้ไทยยังมีพลังงานลม แสงอาทิตย์ และน้ำเกินความต้องการ ย้ำที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อุบลฯ ไม่เหมาะสม ทั้งแหล่งน้ำ และความมั่นคงของประเทศ
 
 
วันนี้ (8 เม.ย.54) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มเครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ.อุบลราชธานี จัดเวทีเสวนาให้ความรู้เรื่องพลังงานทางเลือกและทำไมไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเชิญนักวิชาการที่ศึกษาด้านพลังงานในประเทศไทย อาทิ นายศุภกิจ นันทะวรวการ ตัวแทนมูลนิธินโยบายสุขภาพวะ และนายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ ตัวแทนกลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต โดยมีตัวแทนชุมชนจากทั่วจังหวัดร่วมรับฟัง เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ และกำหนดกระบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน จ.อุบลราชธานี
 
นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการมูลนิธินโยบายสุขภาพวะกล่าวว่า การเคลื่อนไหวของกระทรวงพลังงานที่ยังพยายามผลักดันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.อุบลราชธานี แม้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ยุติเป็นการชั่วคราว เพราะยังเป็นนโยบายของกระทรวงพลังงานที่ต้องการหาพลังงานสำรอง และต้องการงบประมาณเพิ่มเติมจากที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ได้อนุมัติงบประมาณใช้ศึกษาประชาสัมพันธ์จำนวน 1,500 ล้านบาท ขณะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และงบประมาณจำนวนนี้ได้หมดลงตั้งแต่ปี 2553
 
นายศุภกิจ ให้ความเห็นอีกว่า สำหรับที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะมาสร้างใน จ.อุบลราชธานี ไม่มีความเหมาะสมทั้งด้านความมั่นคงและแหล่งน้ำใช้หล่อเย็นเตาปฏิกรณ์ปรมาณู โดยด้านความมั่นคงตั้งอยู่ใกล้ชายแดนลาวมากเกินไป การดำเนินการใดๆ ต้องดูท่าทีจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนด้านแหล่งน้ำจะเกิดการแย่งน้ำในภาคเกษตรกรรมกับโรงไฟฟ้า เพราะแม่น้ำมูลคงไม่มีน้ำเพียงพอตอบสนองความต้องการให้คนทั้งสองกลุ่มได้ จึงเป็นการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ระยะยาว
 
นอกจากนี้ นายศุภกิจ ให้ความเห็นต่อทางเลือกในการจัดหาพลังงานของประเทศไทยว่า ประเทศไทยยังมีทางเลือกใช้พลังงานอื่นอาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 พลังงานมีเอกชนเข้าดำเนินการและสามารถป้อนไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้แล้วกว่า 1,000 เมกะวัตต์ และเอกชน ยังมีการลงทุนสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง การสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย จึงไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
 
จากนั้นในช่วง เวลา 17.30 - 21.00 น.มีการจัดเวทีเสวนาที่ลานหน้าศาลหลักเมือง เรื่อง “คนอุบลจะสูญพันธุ์หรือไม่ถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวอุบลในตัวเมือง
 
ทั้งนี้ แผนที่จัดสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 หรือ แผน PDP2010 (Thailand Power Development Plan 2010) ซึ่งในแผนฯได้มีการกำหนดการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 30 โรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 9 โรง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 52,890 เมกะวัตต์ ในระยะ 20 ปี (ปี 2573)จากเดิมผลิตได้ 28,045 เมกะวัตต์ (ปี 2552)
 
 
เรียบเรียงบางส่วนจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์

  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วอลล์สตรีท เจอร์นัล สัมภาษณ์ทักษิณ ชูนิรโทษกรรมคดีการเมือง

Posted: 08 Apr 2011 05:58 AM PDT

8 เม.ย.54 วอลล์สตรีท เจอร์นัล เผยแพร่รายงานการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะนำพรรคเพื่อไทยหลังการเลือกตั้ง ชูนโยบายลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองนับตั้งแต่การรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของเขา โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อลดความขัดแย้งของสังคมไทยที่ได้ดำเนินมาตลอด 5 ปีซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ต้องเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ

นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวว่า มีกำลังใจมากขึ้นจากกระแสและสถานการณ์ลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และการเลือกตั้งในประเทศไทยที่อาจจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ โดยอดีตนายกฯ ระบุว่า ประเทสไทยอยู่บนทางสองแพร่ง และสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางแอฟริกาเหนือได้บอกกับเราว่า โลกทั้งหมดกำลังเปลี่ยนแปลง เพราะผลกระทบจากอินเตอร์เนทและเครือข่ายชุมชนทางสังคมออนไลน์

วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า การเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณนี้แสดงให้เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ลงมาเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองไทย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่กองทัพและสถาบันการเมืองของไทยใช้เป็นประเด็นกล่าวหาเขามาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ญาติผู้เสียชีวิต-ผู้บาดเจ็บ 10 เมษา ฟ้องรัฐเรียกค่าเสียหาย 40 ล้าน

Posted: 08 Apr 2011 05:49 AM PDT

8 เม.ย.54 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายอุดม โปร่งฟ้า ทนายความของมูลนิธิบ้านเลขที่111 นำนายถาวร คำน้อย กับพวกรวม 16 คน ซึ่งเป็นญาติของผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อปี 2553 เป็นโจทก์ฟ้อง กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม และกองทัพบก เป็นจำเลยที่1-3 ตามลำดับ เรื่องละเมิด ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 มาตรา 5 โดยแยกเป็น16 สำนวน เรียกค่าเสียหายจำนวนทุนทรัพย์ 40 ล้านบาท โดยโจทก์ระบุฟ้องสรุปว่า

เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการฉุกเฉิน (ศอฉ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. (ขณะนั้น) พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 (ขณะนั้น)กับพวก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสิบหก กล่าวคือ นายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งให้นายสุเทพ และผู้บังคับบัญชาการเหล่าทัพตามลำดับ นำกำลังทหาร ออกปราบปรามสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่ชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ ที่บริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สี่แยกคอกวัว และบริเวณอื่นๆ โดยใช้รถถัง รถหุ้มเกราะ ปืนกล ซึ่งเป็นลูกกระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก โดยจำเลยได้อ้างว่า ต้องการกระชับพื้นที่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก ไม่ปฏิบัติตามหลักสากล กลับใช้วิธีการที่รุนแรงต่อผู้ชุมนุม การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน สิทธิเสรีภาพของพวกโจทก์ ทั้งหมด

ทั้งนี้โจทก์สำนวนที่ 1 -14 เป็นญาติผู้บาดเจ็บ ขอฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะ รายละ 1-2 ล้านบาท ส่วนผู้บาดเจ็บ เป็นโจทก์ที่ 15-16 ซึ่งบาดเจ็บสาหัสพิการขาขาด อาชีพวิศวกร กับนักศึกษา ซึ่งถึงกับพิการตาบอด จึงเรียกค่าสินไหมทดแทน ค่าขาดไร้แรงงาน ค่าขาดการประกอบการงาน ค่ารักษาพยาบาลรายละ 5 ล้านบาท โจทก์ทั้งหมดล้วนเป็นผู้ยากจน ไม่มีเงินเพียงพอที่จะชำระค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงขอความเมตตาจากศาลฟ้องจำเลยเป็นคดีอนาถา โดยให้ศาลยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลด้วย

ศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีดำที่ 1228 - 1244/2554 โดยนัดสืบพยานวันที่ 4 ก.ค.นี้ เวลา 09.00น. โดยอ้างว่าเป็นผู้ยากจน ศาลรับคำร้องไว้พิจารณา

นายอุดม โปร่งฟ้า กล่าวว่า คดีนี้ ทีมทนายความไม่ฟ้องนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีโดยตรง เพราะเลือกใช้วิธีการตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี และไม่ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นจำเลย

 
ที่มา: สำนักข่าวไทย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวอำเภอพบพระต้านรถยนต์ขนแร่จากพม่าเข้าหมู่บ้าน

Posted: 08 Apr 2011 05:10 AM PDT

ชาวบ้านใน อ.พบพระ จ.ตาก กว่า 100 คน รวมกลุ่มเดินทางเข้าพบนายอำเภอพบพระ เรียกร้องการทำประชาคมใหม่ กรณีให้บริษัทเอกชนขนแร่ถ่านหินจากฝั่งประเทศพม่าผ่านพื้นที่ ชี้ที่ผ่านมามีการทำประชาคมไม่ทั่วถึง

 
วันนี้ (8 เม.ย.54) ประชาชนใน ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก จากหลายหมู่บ้านกว่า 100 คน ได้รวมกลุ่มกันแล้วเดินทางไปที่ว่าการอำเภอพบพระ เพื่อขอพบนายพจน์ หรูวรนันท์ นายอำเภอพบพระ เรียกร้องให้ทางอำเภอทำประชาคมใหม่ กรณีการพิจารณาอนุญาตให้บริษัท ไดนามิค เอ็นเนอร์จี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ต้องการขนแร่ถ่านหินจากฝั่งประเทศพม่า บริเวณตรงข้ามบ้านวาเล่ย์ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ เข้ามายังบ้านช่องแคบ บ้านห้วยแล้ง ต.ช่องแคบ โดยให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมามีการทำประชาคมไม่ทั่วถึงและมีการแอบอ้างประชาชนที่ไม่ได้เข่าร่วมทำประชาคม ขณะเดียวกันมีชาว ต.ช่องแคบมีความวิตกเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน และชุมชน รวมทั้งสารต่างๆ ที่จะตกลงไปสู่ในแม่น้ำเมย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมานายพจน์ได้ออกมาพบกับประชาชนเพื่อชี้แจงปัญหาดังกล่าว หลังจากที่ทางนายวีรวงศ์ สุบรรณพงษ์ ปลัดอาวุโส ได้เชิญชาวบ้านไปนั่งรอบนชั้น 2 ของอำเภอ
 
นายพจน์กล่าวว่า การทำประชาคมนั้น ตนเป็นคนสั่งให้ทำประชาคมในหมู่บ้านที่รถแร่จะเข้ามา แต่เมื่อประชาชนหลายหมู่บ้านต้องการเข้าร่วมการทำประชาคมก็ยินดี โดยจะใช้วิธีการลงคะแนนแบบลับคือ แบ่งเป็น 3 กากบาตร คือ ช่องเห็นด้วย ช่องไม่เห็นด้วย และช่องงดออกเสียง แต่สามารถโหวตได้เฉพาะประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านรถแร่จะผ่าน รวมทั้งขอให้ประชาชนต้องยอมรับมติของประชาคมด้วย ส่วนต้องการให้ครอบครัวหนึ่ง สามารถไปร่วมการทำประชาคมได้มากกว่า 1 คน ก็ยินดี
 
ด้านนายสุวิชา สีแนน แกนนำผู้ชุมนุม กล่าวว่า รัฐต้องมีความโปร่งในการทำประชาคมและนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะขณะนี้ประชาชนยังไม่ทราบข้อมูล และยังทราบว่าจะนำแร่อะไรเข้ามาในหมู่บ้าน ขอทำประชาคม และมีเสนอข้อดี ข้อเสียก่อน อย่างไรก็ดีหลังจากที่นายพจน์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนแล้วทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมเกิดความพอใจ และสลายตัวกลับทันที ทุกคนจะไปร่วมการทำประชาคมทันที หลังจากทราบเรื่อง
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายจากพ่อ: ฉบับแรก หลังถูกตัดสินคดีหมิ่นฯ 13 ปี

Posted: 08 Apr 2011 05:05 AM PDT

จดหมายของธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นสถาบันที่ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี เขียนถึงลูกชายวัย 11 ปี การสื่อสารครั้งแรกหลังถูกตัดสิน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิก น็อสติทซ์: รายงาน “การชุมนุมและงานศพ” ของคนเสื้อแดง

Posted: 08 Apr 2011 04:51 AM PDT

วันที่ 27 มีนาคม 2554 ผมได้ไปเข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมของกลุ่มแดงสยาม และกลุ่ม 24 มิถุนาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีชายหญิงคู่หนึ่งขึ้นเวทีโดยในมือถือรูปลูกชาย คือ เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทน์ ที่เสียชีวิตที่บริเวณคอกวัวในวันที่สิบเมษาปีที่แล้ว ทั้งคู่ประกาศบนเวทีว่าวันเสาร์ที่สองเมษายนนี้ เขาจะเคลื่อนย้ายโลงศพจากวัดพลับพลาไชยมาที่สี่แยกคอกวัวเพื่อทำพิธี หลังจากนั้นจะแห่โลงศพไปยังซอยสุขุมวิท 31 ซึ่งเป็นซอยที่อยู่ของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (กิจกรรมส่วนนี้ถูกยกเลิกในภายหลัง) และหลังจากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปยังวัดสีกัน ดอนเมือง เพื่อทำพิธีในงานศพในวันถัดมา โดยในตอนแรกผมวางแผนว่าจะไปเวทีที่อุดรธานีในวันที่ 1 เมษายน แต่สุดท้ายผมตัดสินใจว่าจะไปหลังจากที่พิธีที่คอกวัวเสร็จสิ้น
 

ในวันที่ 1 เมษายน เช้าวันเสาร์ ผมไปวัดพลับพลาชัยซึ่งคนเสื้อแดงจำนวนมากได้ไปรวมตัวกันอยู่แล้ว พ่อแม่ของเทิดศักดิ์ได้ขอบคุณเจ้าอาวาสที่ได้ให้ศพลูกชายใช้โลงเย็นโดยไม่คิดเงิน และหลังจากนั้นขบวนรถยนต์เสื้อแดงก็ไปต่อยังที่สี่แยกคอกวัว

ณ จุดที่เทิดศักดิ์เสียชีวิต ได้มีการทำพิธีจุดธูปเทียนและวางอาหาร เพื่อเชิญวิญญาณได้เดินทางไปที่งานศพ มีการปราศรัยเสียงดังออกสู่ลำโพงขนาดใหญ่ ชินวัตร หาบุญพาด เจ้าของวิทยุแท็กซี่ที่เพิ่งกลับมาจากการลี้ภัยต่างประเทศได้เข้าร่วมงานนี้ด้วยเช่นกัน อีกซักพักขบวนเสื้อแดงก็เคลื่อนไปต่อ ส่วนผมก็กลับบ้านและไปยังสนามบินเพื่อที่จะขึ้นเครื่องไปอุดรธานี

ผมมาถึงอุดรเมื่อเวลาก่อนอาทิตย์จะตกพอดี ถนนทางเข้าแน่นขนัดไปด้วยขบวนรถยนต์ของเสื้อแดง กลุ่มคนรักอุดรพร้อมด้วยแกนนำ ขวัญชัย ไพรพนาจัดงานครบรอบห้าปีของสถานีวิทยุชุมชนของพวกเขา ครั้งที่แล้วที่ผมมาที่นี่ สถานีวิทยุยังอยู่ในตึกเช่าบนที่ดินเช่าผืนเล็กๆ แต่ตั้งแต่ปี 2552 พวกเขาก็ได้รวมเงินกันซื้อที่ดินของตัวเอง รวมทั้งสร้างตึกขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นสถานีวิทยุ จนถึงตอนนี้พวกเขาเป็นเจ้าของที่ดินขนาด 18 ไร่ในชานเมืองจังหวัดอุดร พร้อมทั้งตึกสองชั้น และยังมีหนี้จำนวนห้าล้านบาทที่ยังต้องจ่าย จุดประสงค์หนึ่งของการชุมนุมครั้งนี้ก็เพื่อช่วยในการระดมทุนด้วย ชั้นล่างของสถานีวิทยุเต็มไปด้วยคนจำนวนมาก ผมกะประมาณอย่างน้อยๆว่ามีเสื้อแดงราว 60,000-80,000 คนที่อยู่ที่ชุมนุม นับได้ว่าเป็นจำนวนมากที่สุดของการชุมนุมตั้งแต่การประท้วงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ปีที่แล้ว บริเวณทางเข้ามีกล่องบริจาคกล่องใหญ่วางอยู่ ส่วนใหญ่คนก็ใส่แบงค์ร้อยและแบงค์ยี่สิบ (หลังจากนับเงินในวันรุ่งขึ้นปรากฏว่ากลุ่มคนรักอุดรได้ยอดบริจาค 1,180,000 บาทจากกล่องบริจาคนั้น ส่วนค่าเวทีและค่าอื่นๆได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนรายอื่นต่างหาก) บนเวทีมีกลุ่มนักเต้นในชุดดั้งเดิมกำลังแสดงอยู่ ผมปีนขึ้นไปบนลำโพงเพื่อเก็บภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม

แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ได้ปรากฏในงานนี้ด้วย สส.พรรคเพื่อไทยพร้อมกับอดีตนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ก็ด้วย อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรก็ยังติดต่อมาผ่านทางวีดีโอลิงค์ ผมเดินรอบๆที่ชุมนุม และปีนเพื่อไปเก็บภาพบนเวทีเพื่อเก็บภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม

เบื้องหลังตึกใหม่ของสถานีวิทยุที่สาดสองแสงสว่าง มีสต๊าฟของกลุ่มคนรักอุดรจัดแจงขาย “วิทยุสีแดง”ราคา 340 บาท และโทรศัพท์มือถือสีแดงในราคา 990 บาท

ภาพสุดท้ายที่ผมถ่ายในคืนนั้น คือภาพของขวัญชัย ไพรพนาที่กำลังได้รับการนวดศีรษะ ผมออกจากที่นั่นราวหลังเที่ยงคืนนิดหน่อยเพื่อกลับไปพักผ่อนราวสองถึงสามชั่วโมง ก่อนที่จะต้องไปสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องกลับมายังกรุงเทพ เพื่อให้ทันเวลาการสวดฌาปนกิจศพของเทิดศักดิ์

การชุมนุมที่อุดรนี้ ผมสังเกตว่าไม่มีนักข่าวจากสำนักอื่นๆนอกจากนักข่าวของสื่อเสื้อแดงไปทำข่าวเลย ไม่มีการรายงานทางทีวี ไม่มีการรายงานข่าวนี้ในหนังสือพิมพ์ไหนๆเลยที่ผมรู้จัก ผมสงสัยว่าจะเป็นไปได้ยังไงที่การชุมนุมขนาดใหญ่ระดับนั้นไม่มีการพูดถึงโดยสื่อไทยเลยแม้แต่น้อย ผมเข้าใจอยู่ว่าทุกเวทีของเสื้อแดงนั้นคงไม่สามารถถูกทำเป็นข่าวทั้งหมดได้ (เวทีแดงสยามนั้นไม่มีข่าวเลยเนื่องด้วยประเด็นที่อ่อนไหว) แต่การชุมนุมเสื้อแดงที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่การชุมนุมปีที่แล้วเช่นครั้งนี้ ไม่สำคัญพอที่จะถูกรายงานเลยหรืออย่างไร?

วันต่อมา ในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2554 ผมไปที่วัดสีกันที่ดอนเมือง คนเสื้อแดงจำนวนหลายพันคนได้มาที่งานศพแล้ว แกนนำเสื้อแดงหลายคนได้ประกาศว่าจะเข้าร่วมงานศพนี้ เช่นเดียวกับวีระ มุสิกพงศ์ ผู้ซึ่งเงื่อนไขของการประกันที่ไม่ให้เข้าร่วมการชุมนุมเกินกว่า 5 คน ไม่ให้ออกนอกกรุงเทพฯ และไม่ให้พูดกับผู้สื่อข่าว ถูกยกเลิกหนึ่งวันก่อนคอนเสิร์ตที่โบนันซ่า เขาใหญ่พอดี วันั้นเป็นวันแรกที่เขาได้ขึ้นเวทีหลังจากการชุมนุมที่ราชประสงค์

อาจมีสถานการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้ เนื่องจากตึกที่ถัดไปจากงานศพ มีทหารกำลังดำเนินการตรวจสุขภาพและมีการจับใบดำใบแดงสำหรับการเกณฑ์ทหาร แต่โชคดีที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ไม่นานหลังจากที่แขกวีไอพีได้มาถึง รวมถึงสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง อภิวันท์ วิริยะชัย และสส.เพื่อไทยเขตดอนเมือง การุน โหสกุล รวมถึงแกนนำเสื้อแดงสำคัญคนอื่นๆ พิธีการสวดฌาปนกิจศพก็ได้เริ่มขึ้น โลงศพถูกแห่ไปรอบเมรุสามรอบ มีการยกหีบศพขึ้นบันไดหน้าเมรุ และตั้งบนเชิงตะกอน เหล่าแขกวีไอพีได้ทอดผ้าไตรแด่พระภิกษุ แกนนำเสื้อแดงกล่าวคำไว้อาลัย (ณัฐวุฒิพูดถึง “ตาสว่าง”) สมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้จุดไฟที่ตะเกียง

คนส่วนใหญ่ก็เริ่มกลับตั้งแต่ตอนนั้น และช่วงเวลาของงานศพสำหรับคนใกล้ชิดก็ได้เริ่มขึ้น บิดาและมารดาได้ตัดสินใจกล่าวลาลูกชายในหีบศพที่เปิดอยู่ หลังจากนั้นโลงศพก็ยกไปวางในเมรุ บิดาและมารดาของเทิดศักดิ์และน้องชายที่บวชได้กล่าวลาเป็นครั้งสุดท้าย ส่วนกลุ่มเพื่อนสนิทของเทิดศักดิ์ก็ได้ถ่ายรูปหมู่กับพ่อแม่ของเขาไว้

 

ที่มา
A mass rally and a fune
ral

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนไอทีเสนอแบงค์ไทย เลิกจำกัดเบราเซอร์ทำธุรกรรมออนไลน์

Posted: 08 Apr 2011 02:48 AM PDT


เมื่อวันที่ 6 เม.ย. วสันต์ ลิ่วลมไพศาล และอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวสารไอที และชุมชนของคนในวงการไอทีกลุ่มใหญ่ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงธนาคารในประเทศไทย เรียกร้อง ให้ยกเลิกการตรวจสอบยี่ห้อและรุ่นของเบราเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เบราเซอร์ได้อย่างอิสระ เป็นไปตามเทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อ ก่อนส่งไปยังผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจต่อไป

เนื้อหาของจดหมายมีดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงธนาคารในประเทศไทย ขอให้ยกเลิกการตรวจสอบเบราเซอร์ด้วย User Agent

ในช่วงเวลาห้าปีนับจากการออก Internet Explorer 7 เป็นต้นมา ตลาดเบราเซอร์บ้านเรามีความเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมาก ไปในทิศทางเดียวกันตลาดโลก เบราเซอร์เช่น Firefox, Chrome, Safari, หรือกระทั่ง Internet Explorer รุ่นใหม่ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

แต่บริการที่สำคัญอย่างบริการธนาคารออนไลน์ของไทย กลับมีประวัติการไม่ยอมให้บริการกับเบราเซอร์อื่นนอกจาก ยี่ห้อ และรุ่นที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ส่งผลให้คนจำนวนมากไม่สามารถเปลี่ยนเบราเซอร์ได้ตามต้องการ ทั้งที่หลายครั้ง การเปลี่ยนไปใช้งานเบราเซอร์อื่นไม่ได้มีผลใดๆ ต่อการใช้งาน

แนวทางการตรวจเบราเซอร์ด้วย User Agent เป็นการจำกัดการใช้งานอย่างไม่จำเป็น ในทางปฎิบัติแนวทางนี้ไม่ได้รับประกันใดๆ ว่าเบราเซอร์ที่เข้ามาใช้บริการจะเป็นยี่ห้อและรุ่นที่กำหนดไว้จริง อีกทั้งเบราเซอร์ในช่วงหลายปีมานี้ก็เริ่มมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมือนกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ ถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจในการออกแบบเว็บบริการธนาคาร ขอให้ยกเลิกการตรวจสอบยี่ห้อและรุ่นของเบราเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เบราเซอร์ ได้อย่างอิสระ ด้วยเหตุผลดังนี้

1.ผู้ใช้ในไทยมีพฤติกรรมการใช้เบราเซอร์ที่หลากหลายมากขึ้น ณ วันนี้เอง Chrome ก็ยังไม่สามารถเข้าเว็บของหลายๆ ธนาคารได้ ทั้งมีผู้ใช้ในไทยสูงกว่า 10%

2.เบราเซอร์ทุกยี่ห้อมีแนวทางการออกรุ่นใหม่เร็วขึ้นเรื่อยๆ และระบบอัพเดตมักทำงานโดยอัตโนมัติโดยหลายครั้งผู้ใช้ไม่ได้สั่งการด้วยตัวเอง ธนาคารมักไม่สามารถเริ่มรายการที่รองรับได้ทัน ทำให้ผู้ใช้ที่เพียงอัพเดตระบบ กลับไม่สามารถเข้าถึงบริการได้

3.การเข้าถึงบริการเหล่านี้ ไม่ได้มาจากพีซีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทุกวันนี้มีอุปกรณ์ที่หลากหลายที่ควรจะเข้าถึงบริการของธนาคารได้เช่น แท็บเล็ต, โทรศัพท์มือถือ, โทรทัศน์, หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้าถึงเว็บได้อีกจำนวนมาก อุปกรณ์เหล่านี้หลายครั้งมีเบราเซอร์เป็นของตัวเอง ที่สามารถเข้าใช้งานเว็บของธนาคารได้หากไม่ถูกจำกัดด้วยการตรวจสอบที่ไม่จำเป็นนี้

สำหรับความกังวลว่าบริการจะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์หากไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างถูกต้อง ธนาคารอาจจะแสดงข้อความเตือนเมื่อมีการใช้งานจากเบราเซอร์ที่อยู่นอกรายการที่ได้รับการทดสอบแล้ว การทำเช่นนี้จะเปิดโอกาสให้อุปกรณ์จำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการของธนาคารได้อย่างเต็มที่

ด้วยความนับถือ

วสันต์ ลิ่วลมไพศาล
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์
ผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไอซีทีเล็งอัปเกรด พ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก

Posted: 07 Apr 2011 08:03 PM PDT

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัดประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย

ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้
 

ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”

มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”

ในกฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตามร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ 1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป
 

ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี

สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา 16 ที่เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาวน์โหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า “แคช” (cache เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

ในมาตรา 25 “ผู้ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาวน์โหลดไฟล์ใดมาโดยอัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
 

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

มาตรา 24 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา 14 (1) และ (2) ของกฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บจริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึงเขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากพิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น
 

ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา 26 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้น

ข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 

ประเด็นที่ 6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา 21 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการบอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
 

ประเด็นที่ 7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา 23 ผู้ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
 

ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท (เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
 

ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 54

ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้

นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา
 

ประเด็นที่ 10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และกลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน

คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

AttachmentSize
ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์.pdf49.35 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น