โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai.info

ประชาไท | Prachatai.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ใจ อึ๊งภากรณ์: สองมาตรฐานเข้าข้างอำมาตย์ของ กป.อพช.

Posted: 31 May 2010 12:23 PM PDT

กป.อพช. (คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน) ได้ตกต่ำลงอีกขั้นในการอ้างตัวเป็นองค์ภาคประชาชน เพราะเฉยต่อการที่รัฐบาลขู่จะเข่นฆ่าคนเสื้อแดง และพอรัฐบาลอำมาตย์ปราบปรามเรียบร้อยไปแล้ว ก็ออกมาโทษทั้งสองฝ่าย

<!--break-->

กป.อพช. (คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน) ได้ตกต่ำลงอีกขั้นในการอ้างตัวเป็นองค์ภาคประชาชน เพราะเฉยต่อการที่รัฐบาลขู่จะเข่นฆ่าคนเสื้อแดง และพอรัฐบาลอำมาตย์ปราบปรามเรียบร้อยไปแล้ว ก็ออกมาโทษทั้งสองฝ่าย

ในเดือน พฤษภาคม มิถุนายน และ กันยายน ๒๕๕๑ ขณะที่พันธมิตรเสื้อเหลืองกำลังยึดทำเนียบรัฐบาลและท้องถนน กปอพช.เรียกร้องให้รัฐบาลพรรคพลังประชาชนเคารพสิทธิเสรีภาพของพันธมิตรฯ ในการชุมนุมอย่าง "สงบ"

ต่อมาในเดือนมิถุนายน กป.อพช.ได้เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งลาออก ในช่วงนั้น ส.ว. "เอ็นจีโอ" รสนา โตสิตระกูล ก็ออกมาพูดว่ารัฐบาลไม่มีสิทธิ์สลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ รัฐบาลในครั้งนั้นก็ไม่ได้ใช้กำลังทหารหรืออาวุธปืนสลายการชุมนุม ทั้งๆที่พันธมิตรฯมีการใช้อาวุธปืนและระเบิด

อย่างไรก็ตามการใช้ก๊าซน้ำตาอย่างไม่ถูกต้องโดยตำรวจอาจทำให้ผู้ประท้วงเสียชีวิตหนึ่งคนในวันที่ ๗ ตุลาคม คนอื่นที่เสียชีวิต ตายเพราะระเบิดตนเอง (ดู ประชาไท พฤษภาคม มิถุนายน และกันยายน ๒๕๕๑)

ตอนนี้ หลังจากที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ไม่เคยมาจากการเลือกตั้งใช้ทหารฆ่าประชาชน 88 ศพ เพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกตั้ง ..... กป.อพช. ออกแถลงการณ์ที่มีเนื้อหาว่า....

"เราเห็นว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นความอำมหิตของรัฐบาลและแกนนำของผู้ชุมนุมที่มุ่งเอาชีวิตของประชาชนเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุชัยชนะทางการเมือง" (แถลงการณ์ กป.อพช. ๒๐ พ.ค. ๒๕๕๓)

ตลอดเวลาที่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดง กป.อพช. ไม่เคยออกมา "เรียกร้องให้รัฐบาลเคารพสิทธิเสรีภาพของคนเสื้อแดงในการชุมนุมอย่างสงบ" และไม่เคยออกมา "เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก" อย่างที่เคยเรียกร้องสมัยที่พันธมิตรฯ ป่วนเมือง แถม ส.ว.รสนายังออกมาชักชวนให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับคนเสื้อแดงอีกด้วย

วิกฤตการเมืองครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เอ็นจีโอ เป็นอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย รวมกับกองทัพ อำมาตย์ ศาล พรรคประชาธิปัตย์ และนักวิชาการกระแสหลักที่หมดความชอบธรรมโดยสินเชิงที่จะอ้างว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในสังคม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ดีเอสไอขอหมายจับเพิ่มอีก 20 คน ตั้งข้อหาก่อการร้าย

Posted: 31 May 2010 12:07 PM PDT

ดีเอสไอขอหมายจับเพิ่มอีก 20 คน ตั้งข้อหาก่อการร้าย "เก่ง การุณ-ก่อแก้ว-นิสิต-ชินวัฒน์" ติดโผตามคาด "ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ" หัวหน้าพรรคเสธ.แดง โดนด้วย
<!--break-->

เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 31 พ.ค.  ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ  นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมเจ้าหน้าที่แถลงข่าวการขออำนาจศาลออกหมายจับกุมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ การก่อการร้ายเพิ่มอีก 20 คน ประกอบด้วย นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายการุณ โหสกุล  นายนิสิต  สินธุไพร นายชินวัฒน์  หาบุญพาด นางศิริวรรณ  นิมิตรศิลป  นางพิเชษฐ์หรือ  ภูมิกิตติ  สุขจินดาทอง  นางเจ็มส์  สิงห์สิทธิ์  นายอรรณพ หรือหนุ่ม แซ่ตัน นายจักรชลัช  หรือพล คงสุวรรณ นายศักดา หรือนัทสนามหลวง แก้วผูกนาค นายยงยุทธ หรือบัง ท้วมมี นายจรัญ หรือยักษ์  ลอยพูล นายมงคล สารพันธ์ นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง นายอร่าม แสงอรุณ ว่าที่ร.ต.สุรภัศ หรือมดเอ็ก จันทิมา (หัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม หรือพรรคเสธ.แดง)  นายอำนาจ อินทโชติ  นายอัครพล หรือไจแอนท์ ขันทกาญจน์  นายสมพงษ์ หรือป้อม บัวชม และนายมานพ ชาญช่างทอง

นายธาริต  กล่าวอีกว่า ในวันที่ 1 มิ.ย. ดีเอสไอจะนำคำร้องขอความเห็นชอบออกหมายจับผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายรวม 20 คนไปขอความเห็นชอบจากพนักงานอัยการคดีพิเศษ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจะยื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับจากศาลอาญา  หากศาลอนุมัติหมายจับจำนวนผู้ต้องหาในคดีก่อการร้ายทั้ง 3 ล็อต จะมีจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย โดยหลังจากนี้ดีเอสไอจะรวบรวมหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาล็อตที่ 4 ต่อไป อย่างไรก็ตาม การออกมาเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องหาที่ยื่นคำร้องขอหมายจับก่อนหน้าได้รับการ อนุมัติจากศาลไม่มีเหตุผลอื่น แต่เกิดจากดีเอสไอถูกนำไปประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยถูกกล่าว หาว่าทำงานไม่เป็นกลาง ขออนุมัติหมายจับโดยไม่รอบคอบ นอกจากนี้เริ่มมีการคาดเดาและเปิดเผยรายชื่อผู้ที่จะถูกออกหมายจับออกมา จำนวนหนึ่ง  ดังนั้นในท่ามกลางความสับสนการออกมาเปิดเผยข้อมูลน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ สังคมมากกว่า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ทักษิณ" จ้างทีมกฎหมายตรวจสอบ "รัฐบาลอภิสิทธิ์" สลายชุมนุมเสื้อแดง

Posted: 31 May 2010 11:55 AM PDT

"ทักษิณ" จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ ร่วมทีมกฎหมาย ตรวจสอบการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53
<!--break-->

31 พ.ค. 53 - ไทยอีนิวส์เผยแพร่รายงานจากเว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม สำนักงานทนายความระดับโลก ซึ่งพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ร้องขอให้มาช่วยงานประชาธิปไตยในไทย ได้เปิดเผยเมื่อวันนี้ว่า (31 พ.ค.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอาชญากรสงครามระหว่างประเทศ ได้ตอบตกลงเข้ามาร่วมทีมสืบสวนเหตุการณ์การเข่นฆ่าประชาชนที่มาประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย

ผู้เชี่ยวชาญระดับชาติเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมสงคราม ศาสตราจารย์ จีเจ อเล็กซานเดอร์ นู๊ป ได้ตกลงเข้าร่วมทีมกฏหมายของสำนักงานทนายความโรเบิร์ด อัมสเตอร์ดัม แล้ว เพื่อที่จะดำเนินการสืบสวนเหตุการณ์ที่รัฐบาลไทยได้ทำการสังหารผู้เรียกร้องประชาธิปไตยกว่า 80 ศพ ระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา

ศาสตร์จารย์ Knoops จากบริษัท Knoops & Partners คือเจ้าหน้าที่ระดับโลกในกรณีคดีอาชญากรรมสงคราม คดีอาญาที่รัฐกระทำต่อประชาชน และคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธู์ เขาได้ทำงานในคดีต่างๆก่อนหน้านี้ ได้แก่คดีอาชญากรรมสงครามในยูโกสลาเวีย กรณีอาชญากรรมในประเทศรวันด้า รวมไปถึงศาลพิเศษใน Sierra-Leone ซึ่งก่อตั้งโดยสหประชาชาติเพื่อพิจารณาคดีความในกรณีความผิดอันร้ายแรงต่อมนุษยชาติอันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 1996

รายงานระบุว่า ทั้งอัมสเตอร์ดัมและนู๊ปได้ทำงานร่วมกันมานานแล้ว นายอัมสเตอร์ดัมยังได้เผยว่า รัฐบาลทหารของไทยยังไม่หยุดยั้งการกดขี่และปราบปรามต่อประชาชนของตน มีประชาชนอย่างน้อย 140 คนถูกจับกุมตัว โดยส่วนมากถูกควบคุมตัวมากกว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วโดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ และถูกปฏิเสธไม่ให้มีทนาย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษยชนและกฏหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลทหารนายอภิสิทธิ์ยังได้ละเมิดกฏบัตรสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของนานาชาติและสิทธิของประชาชนของประเทศตน

ภายในแถลงการณ์ดังกล่าวได้ระบุว่าผู้จับกุมทั้งหมดซึ่งประกอบไปด้วยแกนนำคนเสื้อแดง คณาจารย์ (หมายถึงอ.สุธาชัย) การ์ด และคนเสื้อแดงอื่นๆ ซึ่งถูกจับกุมและคุมตัวไว้ในที่ต่างๆในประเทศ

"การที่กองทัพไทยใช้อาวุธ เป็นการละเมิดหลักพื้นฐานของสหประชาชาติในการใช้อาวุธโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์กฏหมายปี 1990 มติดังกล่าวได้ผ่านการลงมติในการประชุมครั้งที่แปดของสหประชาชาติในกรณีการป้องกันการก่ออาชญากรรมและหลักการปฏิบัติของฝ่ายโจมตี ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1990" นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘สุธาชัย’ถูกปล่อยแล้ว ยังเหลือ‘สมยศ’–ประชาคมจุฬาจี้อธิการบดีทวงความเป็นธรรม

Posted: 31 May 2010 11:33 AM PDT

<!--break-->

 
 
31 พ.ค.53 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2553 หลังจากได้เดินทางไปมอบตัวกับตำรวจ ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พร้อมกับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย และบรรณาธิการ นิตยสาร Voice of Taksin ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ ในความผิดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ล่าสุดในวันนี้ได้รับการปล่อยตัวแล้ว
 
นายสุธาชัยให้สัมภาษณ์ภายหลังการปล่อยตัวว่า เมื่อเวลา 18.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำรถไปรับตัวออกมาจากค่ายอดิศร แล้วนำตัวมาส่งที่ สน.นางเลิ้ง เพื่อสอบปากคำและทำเอกสาร จากนั้นจึงมีญาติมารับและเดินทางกลับบ้าน ทั้งนี้ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้อนุญาตให้ปล่อยตัว ทราบเพียงว่ามีตำรวจจากกองปราบวิทยุมาที่ค่ายทหารให้ปล่อยตัวก่อนเวลาที่จะถูกนำตัวออกมาไม่นานนัก คาดว่าการปล่อยตัวในครั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่รัฐบาลถูกกระแสโจมตีจากการอภิปรายในสภา อีกทั้งในส่วนอาจารย์ และนิสิต นักศึกษาก็ได้มีการออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้
 
ส่วนกรณีนายสมยศซึ่งถูกควบคุมตัวพร้อมๆ กัน นายสุธาชัยกล่าว นายสมยศยังคงถูกคุมตัวอยู่ในค่ายอดิศร และก่อนออกมาจากห้องที่ถูกควบคุมตัวก็ได้ตะโกนบอกนายสมยศ ซึ่งอยู่ห้องใกล้กันว่าได้รับการปล่อยตัวแล้วแต่ไม่ทราบว่าใครเป็นคนอนุญาต โดยในวันนี้ก็ได้รับการปล่อยตัวเพียงคนเดียว
 
นายสุธาชัยกล่าวด้วยว่า ระหว่างถูกคุมตัวอยู่ในค่ายกว่า 7 วัน ไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่ทหารให้การดูแลอย่างดี ยกเว้นเรื่องข้อจำกัดในการห้ามติดต่อสื่อสาร ส่วนกรณีข่าวที่ว่าได้ทำการอดอาหารประท้วงนั้น ไม่ได้เป็นการประท้วง แต่เป็นการขออนุญาตไม่ทานข้าว เนื่องจากว่าทางเจ้าหน้าที่ได้เอาตำราวิชาการที่นำติดตัวไปด้วย ไปตรวจสอบอยู่นานหลายวัน จึงขออนุญาตไม่ทานข้าวจนกว่าจะได้ตำราคืน หลังจากนั้นจึงได้คืนมา
 
สำหรับการดำเนินการต่อไปหลังจากนี้ นายสุธาชัยกล่าวว่า คงจะต้องสะสางงานที่ค้างอยู่อีกมาก และเตรียมการสำหรับการสอนต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวขณะนี้ยังมีคดีความคงค้างอยู่อีก 1 คดี ในความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฐานชุมนุมเกิน 5 คน จากกรณีการแถลงข่าวที่บริเวณหน้ามูลนิธิ 111 ไทยรักไทย เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา
 
 
คณาจารย์-นิสิตเก่าจุฬาฯ ยื่นจม.เปิดผนึก “อธิการฯ” จี้ติดตาม “สุธาชัย” ถูกคุมตัว
 
วันเดียวกัน เมื่อเวลา 15.00 น. ตัวแทนคณาจารย์, ศิษย์เก่า และนิสิตปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปยื่นหนังสือต่อ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อประธานสภาคณาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อกรณีการจับกุมคุมขัง นายสุธาชัย ที่ถูกควบคุมภายใต้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อขอให้ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยในฐานะผู้บังคับบัญชาติดตามเรื่องดังกล่าวกับทางรัฐบาล และ ศอฉ.ซึ่งทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้รับปากในการดำเนินการติดตามเรื่องดังกล่าว
 
ทั้งนี้ นายสุธาชัยมีวิชาที่จะสอนในภาคการศึกษาต้นที่กำลังจะเปิดเรียนในวันที่ 7 มิถุนายนนี้ จำนวน 3 วิชาและหนึ่งในนั้นเป็นวิชาบังคับของนิสิต ภาควิชาประวัติศาสตร์
 
 
จดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
เรื่อง ขอความกรุณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและทวงถามความเป็นธรรมต่อรัฐบาล และ ศอฉ.ในกรณีการจับกุมกักขัง ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
 
สิ่งที่แนบมาด้วย
            ๑. แถลงการณ์จากคณาจารย์ผู้ห่วงใยในสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
            ๒. รายงานข่าวเรื่องการจับกุมคุมขัง ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
 
เรียน ท่านอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
ข้าพเจ้าผู้มีรายนามต่อไปนี้ เป็นอดีตคณาจารย์ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่า และนิสิตปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้รู้สึกเศร้าสลดใจกับการกระทำของรัฐบาลและ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ในการจับกุมและกักขัง ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยปราศจากข้อกล่าวหา และความผิดโดยชัดแจ้ง รวมทั้งไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด
 
ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาจากท่านอธิการบดี ในฐานะผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารสูงสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นผู้นำของประชาคมทางปัญญาและวงวิชาการของประเทศ ได้โปรดติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงและทวงถามความเป็นธรรมต่อการจับกุมและกักขัง ผศ.ดร.สุธาชัยกับทางรัฐบาล และ ศอฉ. ในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเห็นด้วยกับความคิดเห็นของ ผศ.ดร.สุธาชัยหรือไม่ก็ตาม แต่เพื่อคงไว้ซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาลที่ไม่ได้หมายความว่าความคิดเห็นดังกล่าวจะต้องเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และเพื่อคงไว้ซึ่งเสรีภาพทางวิชาการในฐานะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
 
ข้าพเจ้าหวังว่าคงได้รับความกรุณาจากท่านอธิการบดีในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทวงถามความเป็นธรรมต่อการจับกุม-กักขัง ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐกับทางรัฐบาล และ ศอฉ.ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดบรรทัดฐานของการรักษาไว้ซึ่งการปกป้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และเสรีภาพทางวิชาการท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวในสังคมที่กำลังดำเนินอยู่
 
คณาจารย์และอดีตคณาจารย์
.........
.........
เจ้าหน้าที่และอดีตเจ้าหน้าที่
..........
..........
ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน
...........
...........
 
หมายเหตุ: รายชื่อตามเอกสารแนบ
……………………………….
 
เอกสารแนบหมายเลขหนึ่ง:
 
แถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมและเสรีภาพทางวิชาการ
 
ตามที่เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามหมายจับในความผิดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น และต่อมาถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่ศูนย์การทหารม้าค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี ดังปรากฏเป็นข่าวที่รับทราบทั่วกันแล้วนั้น
 
คณาจารย์ผู้ห่วงใยในสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยและนักวิชาการผู้เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของอาจารย์สุธาชัยขอแสดงความกังวลต่อการใช้ข้อหาดังกล่าวในการออกหมายจับและควบคุมตัวอาจารย์สุธาชัยดังนี้
 
ประการแรก แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวตามพระราชกำหนด แต่ก็เป็นที่ปรากฏชัดเช่นกันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งไม่มีและไม่เคยเปิดเผยหลักฐานชัดเจนหนักแน่นใดๆ อันเป็นองค์ประกอบของฐานความผิดดังกล่าว ที่เป็นเหตุของข้อกล่าวหารุนแรงข้างต้น ให้ผู้ถูกกล่าวหาและสาธารณชนได้รับรู้ การกระทำดังกล่าวนับเป็นการลิดรอนคุกคามเสรีภาพของบุคคล และโดยเฉพาะในกรณีของอาจารย์สุธาชัย ยังเป็นการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการอีกด้วย
 
ประการที่สอง แม้การใช้อำนาจตามความในพระราชกำหนดดังกล่าวเป็นไปเพื่อการระงับสถานการณ์ฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของบ้านเมือง และนำสังคมไทยกลับสู่ภาวะปกติ แต่การใช้อำนาจดังกล่าวอย่างครอบคลุมไม่แยกแยะ ปราศจากหลักฐานความผิดที่หนักแน่นชัดเจน ทั้งในกรณีของอาจารย์สุธาชัย และกรณีอื่นๆ มิอาจสร้างสังคมแห่งการปรองดองสมานฉันท์ดังที่รัฐบาลและ ศอฉ. มุ่งหวังและยังอาจนำไปสู่การเพิ่มความหวาดระแวง ความกลัว ความเกลียดชัง และความโกรธแค้น ในสังคมไทยให้ขยายตัว ทวีความเข้มข้นแหลมคมมากขึ้น อันยืนยันได้จากประสบการณ์ทางสังคมและการเมืองของไทยเองในช่วงทศวรรษ 2500-2520
 
ทั้งนี้ คณาจารย์ฯและนักวิชาการผู้เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของอาจารย์สุธาชัย มีความเห็นว่า ทั้งในกรณีของอาจารย์สุธาชัยและกรณีอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้ง สมควรที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวคืนเสรีภาพให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาโดยเร็ว
 
อนึ่ง คณาจารย์ฯและนักวิชาการผู้เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของอาจารย์สุธาชัย ใคร่ขอเสนอไปยังรัฐบาลและ ศอฉ. ให้เร่งพิจารณายกเลิกการใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ ซึ่งล่อแหลมต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินขอบเขต เพื่อให้การจัดการต่อผู้กระทำผิดเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
คณาจารย์ผู้ห่วงใยในสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
 
.................................
 
 
เอกสารแนบหมายเลข สอง:
 
มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อเวลา 19.00 น.วันนี้ (27 พ.ค.) ว่า พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวถึงกรณีนายสุธาชัยอดอาหารประท้วง ว่า ที่ผ่านมานักวิชาการรายอื่นที่วิจารณ์ ศอฉ. ก็ไม่ได้มีการควบคุมตัว แต่ ดร.สุธาชัยเป็นบุคคลที่มีหมายจับและมามอบตัวเอง การที่ไม่รับประทานอาหารก็คงทำให้หิว แต่ก็เป็นสิทธิของนายสุธาชัย ทั้งนี้ ศอฉ. ทำตามกรอบกฎหมาย แต่หากท่านไม่ทานอาหารจริง ท่านกินเจเล่ก็คงจะอิ่มอยู่แล้ว
 
'สุธาชัย' อดข้าวประท้วง ศอฉ.คุมตัว ไม่ให้อ่าน หนังสือเตรียมสอน
27 พ.ค.53 นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยหลัง เข้าเยี่ยมสุธาชัยที่ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรีในวันนี้ว่า สุธาชัย ประกาศอดอาหารเพื่อประท้วงตั้งแต่เมื่อเช้าวันนี้ เนื่องจาก ตั้งแต่ควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดู โทรทัศน์ หรือติดตามข่าวสารใดๆ แม้กระทั่ง หนังสือ วิชาการที่เอาไปด้วยเพื่ออ่านเตรียมการสอนสำหรับปีการศึกษาที่กำลังจะเริ่ม นี้เจ้าหน้าที่ก็ไม่ให้อ่าน
 
กฤษฎางค์ กล่าวว่า สุธาชัยประกาศจะอดข้าวเพื่อประท้วง จนกว่าจะได้อ่านหนังสือ เพื่อเตรียมการสอน การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ ถือว่าผิดกฎหมายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน แม้แต่ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ระบุห้ามควบคุมตัวหรือประพฤติกับผู้ต้อง สงสัยเสมือนนักโทษ ห้ามขังในเรือนจำ ทำได้เสมือนแค่การกัก บริเวณเพื่อจำกัดเสรีภาพเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
 
นอกจากนี้ในวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ค. นี้จะครบกำหนดควบคุมตัวสุธาชัย 7 วัน แต่ เนื่องจากเป็นวันหยุด ในวันนี้เจ้าหน้าที่จึงยื่นเรื่อง ต่อศาลเพื่อขอฝากขังต่ออีก 7 วันแล้ว สำหรับ ความเป็นอยู่ภายในค่ายนเรศวรนั้น สภาพความเป็นอยู่ไม่มี ปัญหาและอนุญาตให้เข้าเยี่ยมเฉพาะภรรยาและทนายความเท่านั้น
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างอำนาจ ศอฉ.บุกค้นบ้านพักสุธาชัย และแจ้งว่ามีคำสั่งจาก ศอฉ.ให้จับกุมตัว นายสุธาชัย ซึ่งเป็น ผู้ต้องสงสัยตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้ กระทำการหรือร่วมกระทำการอันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือเพื่อให้เกิด ความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง (อำนาจตามมาตรา 11 (1) ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ต่อมาวันที่ 24 พ.ค.เวลา 10.00 น. สุธาชัย พร้อมด้วยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย และ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Red News ได้เดินทางเข้ามอบตัวที่กองบังคับการ ปราบปราม (บก.ป.) และถูกควบคุมตัวไปที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี
 

นิสิต-นศ.แถลงประณาม “รัฐฯ” ใช้อำนาจลิดรอนสิทธิ-เสรีภาพ คุมตัวโดยไม่มีข้อหา
 
ในวันเดียวกัน กลุ่มนักศึกษาและอดีตนักศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์ประณามการควบคุมตัวนายสุธาชัยโดยไม่มีความผิดชัดเจน และได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขในทันที โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้

จากการที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ใช้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่ของการบิดเบือนข่าวสาร ปิดสื่อที่มีความเห็นต่าง และขาดความรับผิดชอบต่อการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรงในระหว่างวันที่ 14-19 พฤษภาคม 2553

รวมถึงการคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการ ด้วยการควบคุมตัว ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีข้อกล่าวหาที่ชัดเจนและปราศจากเหตุผลอันเห็นได้ประจักษ์ ยิ่งไปกว่านั้น การควบคุมตัวดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายปกติ แต่ใช้อำนาจของพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยขาดความชอบธรรม

นอกจากนี้ ในระหว่างถูกกักตัว ผศ.ดร.สุธาชัย ยังถูกปฏิบัติราวกับเป็นผู้ต้องหาอุกฉกรรจ์ขั้นร้ายแรง ไม่อนุญาตให้มีการเข้าเยี่ยมและอ่านหรือรับรู้ข่าวสารข้อมูลตามปกติ แม้กระทั่งการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมการสอนอันเป็นการประกอบอาชีพนักวิชาการ ของ ผศ.ดร.สุธาชัย ก็ยังถูกสั่งห้ามโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ยังไม่นับถึงปัญหาด้านสุขภาพที่อาจจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากการควบคุมตัว

การกระทำของรัฐบาลสะท้อนให้เห็นถึงการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความเห็น อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่เสรีภาพดังกล่าวเป็นกติกาเบื้องต้นที่นานาประเทศอันใช้ระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตยยอมรับและปกป้องอย่างถึงที่สุด

พวกเรา กลุ่มนักศึกษา ปัญญาชน และนักวิชาการ สาขาต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป (ดังรายชื่อต่อท้ายแถลงการณ์) ในฐานะผู้ที่ไม่ต้องการเห็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยเฉพาะความเห็นทางวิชาการ ขอแสดงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ตลอดจนนักวิชาการทุกท่าน ดังต่อไปนี้

1. พวกเราขอประณามการกระทำของรัฐบาลที่ลิดรอน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและทางวิชาการ อันแสดงออกผ่านการควบคุมตัวผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นการกระทำของการปกครองในระบอบเผด็จการ ที่มุ่งปิดหู ปิดตา ปิดปากของประชาชน และไม่เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำอันไม่ชอบธรรมของรัฐบาล

2. ขอเรียกร้องให้ปล่อยตัว ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยไม่มีเงื่อนไขในทันที เพราะทางรัฐบาลไม่สามารถแสดงข้อกล่าวหาที่ชัดเจนว่า ผศ.ดร.สุธาชัย ได้กระทำการอันผิดพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างไร และไม่สามารถแสดงเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงต้องควบคุมตัว ผศ.ดร.สุธาชัย ในลักษณะดังกล่าว

3. รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมทั้งกรณี ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยเฉพาะการใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง ด้วยการประกาศยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจผ่านการเลือกตั้งใหม่

4. ขอเรียกร้องให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ ทั้งสาขาทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ออกมาร่วมกันประณามและแสดงพลังปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของ ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เป็นสัญลักษณ์ของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ และควรจะร่วมกันต่อต้านความไม่ชอบธรรมดังกล่าว ไม่ให้ลุกลามจนกลายเป็น “เรื่องธรรมดา” ในวงวิชาการ

อนึ่ง ข้อเรียกร้องในข้างต้น ยังต้องการให้ครอบคลุมถึงกรณีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และบุคคลอื่นๆ ที่ถูกควบคุมตัวอย่างไม่ชอบธรรมในลักษณะเดียวกันอีกด้วย

เราเชื่อว่า ระบอบประชาธิปไตยจะไม่สามารถเกิดขึ้นในประเทศนี้ได้ ตราบเท่าที่ยังมีการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกด้าน ดังที่รัฐบาลกำลังกระทำอยู่ ดังนั้น จึงขอเชิญชวน นักศึกษา ปัญญาชน นักวิชาการ สาขาต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ร่วมกันออกมาแสดงพลังและจุดยืนทางการเมืองของตน เพื่อแสดงให้รัฐบาลเห็นว่า ยังมีคนจำนวนมากทั้งในและนอกประเทศ ไม่ยอมรับในการกระทำอันเป็นเผด็จการดังกล่าวและจะร่วมกันต่อต้านการกระทำนี้ อย่างถึงที่สุด
 
กลุ่มนักศึกษาและอดีตนักศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และประชาชนทั่วไป (มีผู้ลงชื่อ 174 คน)
 
AttachmentSize
name.doc100 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

อภิปรายฯ วันแรก เน้นเปิดคลิปสลายชุมนุม ประท้วงว่อน

Posted: 31 May 2010 11:32 AM PDT

<!--break-->

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า กว่าจะเริ่มเข้าสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ส.ฝ่ายค้านได้ลุกขึ้นกล่าวในสภา ไม่พอใจกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีคณะกรรมการ 3 ฝ่ายเพื่อตรวจสอบหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารและคลิปวิดีโอล่วงหน้าก่อนที่จะนำมาใช้ประกอบการอภิปราย

โดยหลังเปิดการประชุม นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้หารือที่ประชุมว่า การกำหนดให้ฝ่ายค้านนำหลักฐานมาเปิดเผยต่อคณะกรรมการ 3 ฝ่ายก่อนที่จะมีการอภิปรายก็เหมือนกับการดูเฉลยก่อนที่จะเข้าห้องสอบ ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่จะให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ถือว่าไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเป็นคนที่มาจากพรรคชาติไทยพัฒนาหรือจากพรรคอื่นก็ว่าไปอย่าง

ขณะที่นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย(พท.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการผลักภาระของประธานมาให้คณะกรรมการ 3 ฝ่าย โดยประธานลอยตัวไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ เหมือนในอดีต ซึ่งจะกลายเป็นบรรทัดฐานที่ผิด

ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนไม่นึกไม่ฝันว่าเพื่อนสมาชิกไม่ร่วมมือแล้วยังสร้างปัญหาอีก ตนจึงคิดว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อส่งคลิปมาถึงตน คงตรวจสอบให้ไม่ได้เพราะเวลากระชั้นชิด และจะไม่อนุมัติ เพราะให้สิทธิ์พวกท่านแล้ว ท่านไม่เอากัน ก็ไม่รู้จะเอายังไง...หากคลิปไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการก็จะไม่อนุญาตให้นำมาเปิดในที่ประชุม โดยต้องส่งตรวจสอบก่อน 3 ชั่วโมง ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด ส่วนหากพรรคเพื่อไทยจะนำคลิปมาแถลงข่าวเองนั้น ก็ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แถลง อย่างไรก็ตามหากคณะกรรมการชุดนี้ยังเหลือเกินครึ่งหนึ่งก็ขอให้ทำหน้าที่ต่อไป แต่หากเหลือไม่ถึงครึ่งหนึ่งตนจะทำหน้าที่เอง

จากนั้นเวลาประมาณ 10.00 น. จึงเริ่มเข้าสู่การอภิปรายโดยนายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.เพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านเป็นผู้กล่าวเปิดการอภิปรายถึงเหตุผลที่จะต้องยื่นถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และอีก 4 รัฐมนตรี  ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งเสนอชื่อร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกรัฐมนตรี

นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก โดยยกกรณีการขอคืนพื้นที่สั่งการใช้อาวุธสงครามจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ได้ใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก ปิดกั้นการรับรู้ประชาชน จึงถือว่านายกฯหมดความชอบธรรมในการทำหน้าที่ รวมทั้งหมดหน้าที่ในการการปรองดองสมานฉันท์ ไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป ท่านควรจะลาออกและให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน นอกจากนี้ตนแปลกใจมากที่เหตุการณ์เผาบ้านเมืองในใจกลางกรุงเทพฯ แต่ไม่สามารถจับกุมคนเหล่านี้ กลับมีการโยนความผิดว่ามาจากผู้ชุมนุม จึงอยากเรียกร้องให้มีการพิสูจน์ให้ชัดเจน โดยคณะกรรมการที่จะมาตรวจสอบต้องตั้งจากคนกลางจริงๆ ซึ่งรายชื่อที่ตนเห็นมาแล้วล้วนเป็นคนของรัฐบาล และคนที่อยู่ข้างกลุ่มพันธมิตรฯทั้งนั้น จะเป็นกลางอย่างไร ตนขอเรียกร้องให้ผลการปฏิบัติการสูญเสีย ต้องพิจารณาให้ชัดว่าการเสียชีวิตมาจากฝีมือใคร

ลำดับต่อมาเป็นการอภิปรายของนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย      นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.–19 พ.ค. ที่มีการสั่งให้เกิดการสลายการชุมนุม โดยเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เพราะถือว่าตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถสั่งการให้ทหารตำรวจใช้อำนาจได้ตามใจชอบ เพื่อให้ตนเองและพวกพ้องอยู่ในอำนาจได้ต่อไป ตั้งแต่เหตุการณ์ 10 เม.ย.รัฐบาลใช้คำว่าขอพื้นที่คืน แต่ทหารนำรถถังออกมา มีการโปรยแก๊สน้ำตาและมีคนเจ็บตาย ตัวแทนรัฐบาลไม่เคยไปเยี่ยมประชาชนเลย ที่สะเทือนใจที่สุดคือเหตุการณ์ที่วัดปทุมฯ ท่านนายกฯบอกไม่รู้ใครยิง อ้างว่าชุดดำวิ่งอยู่คนสองคนเท่านั้น ทำไมยิงประชาชนเสียชีวิตเป็นร้อยคน มีคนบาดเจ็บเป็นพันคน การโหมเรื่องการเผาบ้านเผาเมือง เพื่อปกปิดความเป็นทรราชย์ของตัวนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งให้จับนายกษิตตอนปิดสนามปิดด้วย ส่วนอาจารย์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์จุฬาฯ ที่บอกว่าจะชุมนุมในอนาคต ยังไม่ทันได้ชุมนุมก็ถูกจับแล้ว

โดยส่วนตัวเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่นายกฯ ตัวจริง แต่มีผู้ใช้อำนาจจริงอยู่เบื้องหลัง ระบุคนที่ถูกจับกุมไป ไม่สามารถทำอะไรได้ แม้กระทั่งการอ่านหนังสือ และสามารถเยี่ยมได้สัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้น เป็นการกำจัดสิทธิมนุษยชนจนเกิดเหตุ อย่างเมื่อ 50 ปี ฮิตเลอร์ก็อยู่ได้ เพราะเห็นว่าพวกยิวยึดพื้นที่เศรษฐกิจ ตอนนั้นมีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับฮิตเลอร์ เหมือนตอนนี้ที่มีคนเห็นด้วยกับนายกฯอภิสิทธิ์ แต่สุดท้าย ฮิตเลอร์ก็กลายเป็นทรราชย์ จึงขอให้นายกฯรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุม โดยไม่ต้องรอให้ศาลสั่งการว่ามีความผิด จี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมดูแลกองทัพ เพราะคนไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจแล้ว เพราะเห็นอยู่ว่าทหารยิงประชาชน ชี้ประเทศเผด็จการเท่านั้น ที่ใช้ทหารเข้ามาปราบประชาชนโดยไม่ใช้ตำรวจ เช่น ประเทศพม่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงระหว่างที่นายสุนัยอภิปราย ปรากฏว่ามีการประท้วงของส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นระยะ อ้างว่าสัญญาณช่อง 11 ในหลายจังหวัดถูกตัด

หลังจากนายสุนัยอภิปรายจบ นายอภิสิทธิ์ ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า รัฐบาลใช้อำนาจด้วยความระมัดระวัง ยืนยันว่ารัฐไม่มีแนวคิดกล่าวหาผู้ชุมนุมทั้งหมดเป็นผู้ก่อการร้ายและไม่มีแนวคิดสลายการชุมนุมที่เป็นจุดชุมนุมหลัก แม้กระทั่งศาลได้ระบุว่าการชุมนุมเกินขอบเขตสามารถสลายการชุมนุมได้ แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่อสถานการณ์ การดำเนินการที่ผ่านมาที่เกิดเหตุขึ้นเพราะมีกองกำลังติดอาวุธใช้ประชาชนที่บริสุทธิ์เป็นเครื่องมือ ซึ่งเป็นโจทย์ที่เราต้องแก้ไขให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด การกล่าวหาว่ารัฐยังคงพ.รก.ไว้เพื่อกวาดล้างคู่แข่งทางการเมืองยืนว่าว่าเราไม่มีนโยบายอย่างนั้น การก่อการร้ายก็ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย การชุมนุมเรียกร้องเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ต้องแก้ปัญหาด้วยแผนปรองดอง ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในประเทศ

อภิปรายสภา-เน้นเปิดคลิปสลายชุมนุม
การอภิปรายในช่วงบ่าย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.เพื่อไทย อภิปรายว่า การสลายการชุมนุมของรัฐบาล แต่รัฐบาลกลับโยนความผิดให้ผู้ชุมนุม โดยมีประชาชนจำนวนมากออกมาเรียกร้องให้ยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน โดยพี่น้องประชาชนจำนวนนี้คิดว่าท่านมาโดยไม่ชอบ โดยให้สมญานามว่า “รัฐบาลกู้มาโกง” แต่รัฐบาลใจแคบ อำมหิต ใช้อำนาจไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง สั่งให้ทหารปราบประชาชน มีการกระทำให้เกิดการขัดแย้ง มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม โดยไม่เป็นไปตามหลักสากล ใช้อาวุธสงครามยิงขึ้นฟ้า ทำให้กระสุนที่ตกลงมาอาจทำอันตรายกับประชาชนได้ มีการใช้อากาศยานบินโยนแก๊สน้ำตา สั่งทหารสลายการชุมนุมตอนกลางคืน และโยนความผิดให้แกนนำ นปช.เป็นผู้ก่อการร้าย และโยนความผิดให้ “ไอ้โม่ง” เป็นคนลงมือฆ่าประชาชน

นอกจากนี้น.อ.อนุดิษฐ์ยังได้หยิบยกภาพนำมาแสดงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตว่า ในหลายปฏิบัติการของทหารนั้น มีคนนอกเครื่องแบบปะปนอยู่กับทหาร และตั้งข้อสังเกตว่า เกี่ยวข้องกับชายชุดดำหรือไม่ และมีการนำภาพทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส นำมาตั้งข้อสังเกตว่า เกี่ยวข้องกับประชาชนที่เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนารามหรือไม่ ทำให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ลุกขึ้นชี้แจงทันที โดยยอมรับว่า เป็นทหารจริง แต่ช่วงเวลาที่ทหารขึ้นไปอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับในช่วงเวลาที่ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต เรื่องนี้ต้องมีการพิสูจน์ว่าภาพถ่ายดังกล่าวเป็นเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค. จริงหรือไม่ เนื่องจากการสอบถามยืนยันว่าไม่มีทหารอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์แต่จะตรึงกำลังแค่บริเวณแยกเฉลิมเผ่า เชื่อว่าภาพถ่ายน่าจะเป็นวันที่ 20 พ.ค. ตอนเข้าไปคุ้มกันมวลชนให้เคลื่อนย้ายออกจากวัดปทุมฯ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ทดสอบได้ในวันข้างหน้า ส่วนกรณีที่กล่าวอ้างว่า เฮลิคอปเตอร์โดนยิงจากกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นความจริงจริง ที่เราจับได้แล้วและยังดำเนินคดีอยู่ ยืนยันว่าท่านนายกฯและตนไม่เคยสั่งการให้ทหารสลายชุมนุมที่ผ่านฟ้า ภาพที่จะแสดงโอกาสต่อไปเราเข้าไปปฏิบัติการเพื่อขอพื้นที่คืนจริง และปฏิบัติตามหลักสากล

ต่อมาร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ สส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปราย ว่า รัฐบาลทำเกินกว่าเหตุ ใช้อาวุธกับผู้ชุมนุมโดยเแพาะกับพระไม่เหมาะสม จึงไม่ไว้วางใจ ด้านนายสุเทพลุกขึ้นชี้แจงว่า การจับกุมทำตามระเบียบของมติมหาเถรสมาคม ส่วนภาพที่จับกุมพระแล้วมัดไว้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบพบว่าเป็นคนๆเดียวกับการ์ดนปช.ที่มีอาวุธ พร้อมทั้งนำภาพเปรียบเทียบมาให้ดูด้วยว่าเป็นคนเดียวกัน

นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายกฯลุแก่อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีน.ส.กมนเกศ อัคฮาด หรือน้องเกตุ ที่ถูกยิงขณะใส่ชุดพยาบาลอาสาของสภากาชาด ขณะที่กำลังยกคนเจ็บเพื่อช่วยชีวิตอยู่ แต่หลังจากที่น้องเกตุถูกยิงทหารกลับบอกว่าห้ามเข้าไปช่วย ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตน้องเกตุได้ เชื่อว่าทหารอยู่บนรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่เห็นหรือว่าคนที่ถูกยิงเป็นพยาบาล ที่กำลังช่วยเหลือคนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมอยู่ โดยจุดที่ยิงเห็นได้ชัดว่าเป็นทหารที่ติดริบบิ้นสีชมพูที่หมวก จุดนี้มีคนเสียชีวิต 3 คน

นอกจากนี้นายณรงค์ศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ชุมนุมที่ได้เข้าร่วมชุมนุมที่ผ่านฟ้าฯ และสี่แยกราชประสงค์ ระบุว่า วันที่ 19 พ.ค. ขณะที่มีการสลายการชุมนุมได้มีทหารยิงปืนเข้ามาจากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ขณะนี้ได้ถูกยิง 2 นัด จึงทำให้คนทั้ง 5-6 คนเสียชีวิตอยู่ในวัด หากวันนั้นท่านนายกฯสั่งให้นายสุเทพไปมอบตัวที่กองปราบ คงไม่มีเรื่องสูญเสียมากมาย สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ชี้ให้เห็นว่าคนที่ตาย ตายไปโดยไม่มีเหตุผล ผิดหลักการแห่งเมตตาธรรม ชี้พระทำผิดควรจะให้มหาเถรสมาคมเป็นคนลงโทษ เมื่อวานนี้ หมอตุลย์ บอกเสื้อหลากสีแจกเงินอีก 1 แสนบาทให้คนตาย  แต่เมื่อญาติไปรับได้กลับให้ไปเซ็นชื่อถอดถอน ส.ส.พรรคเพื่อไทย บอกให้ช่วยไปเซ็นชื่อหน่อย นอกจากนี้เหตุการณ์ไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์และสยามมีทหารอยู่เต็มพื้นที่ หากทหารทำอะไรบ้างก็คงไม่เกิดเพลิงไหม้

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า การจับกุมดำเนินการได้ตามมติมหาเถรสมาคม ช่วงเวลา 19 พ.ค. เกิดเหตุไฟไหม้ที่เซ็นทรัลเวิลด์ สยามสแควร์ เมื่อประกาศยุติการชุมนุม แกนนำเดินทางเข้ามอบตัว เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งปฏิบัติการทั้ง 4 ทิศ มีแนวทางชัดเจน คือเข้าจากศาลาแดงช่วงเช้าตรู่ หยุดที่แยกสารสิน เป็นบริเวณที่มีปัญหาการต่อสู้ โดยเฉพาะจากตึกบางกอกเคเบิ้ล ตรงแนวถนนเพลินจิต ไม่สามารถเข้าถึงแยกราชประสงค์ได้ในช่วงค่ำ ติดอยู่ที่ชิดลม ที่ราชปรารภและพระราม1ไม่ได้เข้ามา เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับบ้าน แกนนำผู้ชุมนุมประกาศว่าขอให้เดินทางไปที่พระราม 1 สนามกีฬา

ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่เข้าไปในบริเวณดังกล่าวอาจจะเกิดการปะทะกันได้ จึงไม่ได้เข้าไป กระทั่งเกิดเหตุที่โรงหนังสยาม สยามสแควร์ เจ้าหน้าที่ได้รับการประสานให้ช่วยเหลือและพยายามคุ้มครองรถดับเพลิงที่จะเข้าไปสกัด ส่วนเหตุการณ์ที่วัดปทุมฯต้องมีการตรวจสอบ เพราะทหารไม่มีความจำเป็นต้องทำร้ายพี่น้องประชาชน มีเพียงรายงานว่าขณะดับเพลิงที่โรงหนังสยาม ก็มีการยิงต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธที่พารากอน มีหลักฐานเป็นรอยกระสุนในการยิงตอบโต้ที่สามารถตรวจสอบได้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ในวัดปทุมฯ เราทราบปัญหา คืนวันที่ 19 พ.ค. ได้รับการประสานจากอาสาสมัคร ทราบว่ามีบุคคลที่น่าจะเสียชีวิตและบาดเจ็บ มีทั้งอาสาสมัคร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ตนและเพื่อนรมต. พยายามประสานให้รถพยาบาลเข้าไปรับออกมา ซึ่งใช้เวลานานมาก เพราะไม่สามารถคุ้มครองรถพยาบาลนำคนเจ็บออกมาได้ เป็นการยืนยันว่าการยิงหรือการต่อสู้ยังมีอยู่ ทำให้การเข้าถึงบริเวณวัดทำได้ยากมาก ทราบว่าคนถูกยิงที่วัดปทุมฯมีหลายรายถูกยิงในเต็นท์พยาบาล น่าสะเทือนใจมาก เราพยายามหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ มีการพูดว่ายิงจากสกายวอล์คหรือบีทีเอส ขอเรียนว่าบนทางเดินต่างระดับหน้าวัด ถ้าจะมาต้องมาจากทิศทางราชประสงค์ เพราะจากสยามสแควร์มีประตูปิดล็อก

ปัจจุบันเรามีเรื่องของการชันสูตรจากผลนิติเวชที่ดูการเสียชีวิตซึ่งจะเปิดเผยต่อไป โดยสรุปจาก 6 คน 4 คนชัดเจนยิงจากแนวราบไม่ใช่ที่สูง ต้องมีการติดตามและสอบข้อเท็จจริงต่อไป ตนเข้าใจดีว่าพวกเราแต่ละคนไม่ต่างกันเมื่อเกิดความสูญเสียในเขตอภัยทาน เต็นท์พยาบาล กรณีน.ส.กมนเกศ เรารู้สึกไม่ต่างกันและให้ความเป็นธรรมทุกคน การเผาเซ็นทรัลเวิลด์ไม่ใช่เผาแค่ครั้งเดียว แต่พยายามทำครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 เมื่อไฟจะดับ

"สุชาติ" จี้นายกฯ ขอโทษ ปชช. โชว์ภาพพระ 5 รูปถูกขัง "สุเทพ" โต้ไม่ใช่พระแค่ "คนห่มผ้าเหลือง"
เมื่อเวลา 16.06 น. วันที่ 31 พ.ค. นายสุชาติ ลายน้ำเงิน   พรรคเพื่อไทย จ.ลพบุรี   อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ  ว่า  ความช้ำใจของคนเสื้อแดง  ซึ่งนายกฯ ยังไม่ออกมาขอโทษ ประชาชน   ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน จนถึง 19 พ.ค.  เป็นการกระทำที่รุนแรงกว่า เหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม ที่นายกฯ อภิสิทธิ์ มาสภา ไม่ได้  เพราะเจอคนขาขาดจึงเข้าสภาไม่ได้

เหตุการณ์ความรุนแรง ที่ รัฐบาลเอาทหารมาสลายการชุมนุม ทั้งๆ ที่เป็นคนที่มาชุมนุมตามสิทธิรัฐธรรมนูญ  ทำให้น้ำตาท่วมแผ่นดิน จนถึงวันนี้ ยังไม่ได้ยินนายกฯขอโทษ  เมื่อรังแกกันได้  สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง    ต่อไปทหารจะเดินถนน ไม่ได้ เหมือน 14 ตุลาคม 2516   ประชาชนเกลียดทหาร วันนี้ ทหารโดนคำสั่งนายกฯ กับ นายสุเทพ ที่สั่งให้ทหารมาคืนพื้นที่ เหมือนกับที่วันนี้ ตนเองจะขอคืนพื้นที่สภา

"ผมอภิปรายในประเด็นเรื่องศาสนาพุทธ   นายกฯ ไม่ได้ไปดูพระที่ถูกทหารจับ   ฟังแต่รายงาน    ขณะที่นายสุเทพ บอกว่า คนห่มผ่าเหลือง ขอให้ดูน้ำตาของพระ    ภาพที่หลุดออกมา เอาเชือกมัดไพล่หลัง ดูน้ำตาของพระ  พระรูปนี้ ชื่อ พระประเสริฐ   สุรปัญโญ  อายุ 48 ปี  คนลพบุรี  พระองค์นี้ อยู่บ้านผม  เป็นคนที่คนในอำเภอท่าวุ้ง นับถือ  อีกรูปหนึ่ง พระศรีอริยะ  อริวังโส  "

อีกรูป พระสมบูรณ์   มุทุกัณฑ์ ถูกจำคุกแดน 9  เป็นพระจาก จ.อุบลราชธานี    พระมาเพื่อจะมาบอกว่า อย่ายิงประชาชน   อีกรูปคือ พระบุญมี  วัดโชคอำนวย จ. อุบลราชธานี ถูกจำคุก แดน 9 ไม่ได้เปล่งวาจาสึก องค์ที่ 5 พระสุนัย ขาวอ่อน อายุ 48 ปี  จ.อุดรธานี ติดคุกอยู่แดน 6

ในช่วงที่นายสุชาติ  โชว์รูป ปรากฏว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน ประท้วง ว่า ไม่ได้รับอนุญาตให้นำมาเปิดเผยในสภา นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส. ประชาธิปัตย์ ประท้วงว่า พระที่มาชุมนุม ไม่ชอบ  เพราะมหาเถรฯห้ามพระมาชุมนุม เพราะไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ

นายสุชาติ กล่าวไปถึงการที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า การไปล็อคบัญชีของนักการเมืองหลายคน ไม่น่าเชื่อถือ เช่นนาง พิมพา จันทร์ประสงค์   ซึ่งไม่ได้เป็นส.ส. เพื่อไทย  แต่โดนอายัด

"ไม่บ้าก็เสียสติ  ไม่มีการตรวจสอบ  ไม่พอใจก็ใส่ชื่อ ผมมีเงินในบัญชี  850 บาท มาสภาขอเงินเมีย   โดนอายัดบัญชี ศอฉ. มั่วมาก  ตอนนี้ มีข้อมูลว่า บริษัทหนึ่งที่ถูกล็อกบัญชีแจ้งว่า   พลโท คนหนึ่ง ใครอยากปลดบัญชี แล้วจะปลดให้  ไปเช็คดูว่า จริงไหม   วันนี้ทหารเสียหมดแล้ว "

ต่อมา  นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ชี้แจงว่า  เรื่องพระ จะกระทบกระเทือนความรู้สึกประชาชน พฤติกรรมในที่ชุมนุม แยกแยะได้ยากว่าเป็นพระหรือคนห่มผ้าเหลือง  ขณะอภิปรายนายสุเทพ ได้โชว์รูปจาก เอเอสทีวี ว่า พระที่ถูกอ้างคือ คือนายสุปัญญา

"4 คนไม่ได้เป็นพระ วันนี้อยู่ในคุก เพราะเป็นผู้ต้องหา จับกุมได้ซึ่งหน้า เป็นความผิดซึ่งหน้า จับได้หน้าบริษัทบางกอกเคเบิล วันที่ 19 พ.ค.   มหาเถรสมาคม บอกว่า ความผิดซึ่งหน้า  สามารถสึกได้  และขณะจับกุม ไม่มีผ้าเหลืองแล้ว   ถ้าพระไม่ตีทหาร จะถูกจับหรือไม่  อยู่ในที่อโคจร เป็นแค่คนห่มผ้าเหลือง  จะหาว่า ผมไม่ใช่คนพุทธ ผมบวชที่วัดสวนโมกข์  "นายสุเทพ กล่าว

นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังเปิดข้อมูลว่า ไปตามสอบพระที่นายสุชาติ กล่าวอ้างว่า ไม่ได้อยู่ในพื้นที่

"วรวัจน์"เปิดคลิปยันทหารอยู่บนรางรถไฟฯ "สุเทพ"โต้ศพในวัดปทุมฯ อาจเป็นคนร้ายที่ถูกยิงแล้วหนีเข้าไปตาย
เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 31 พ.ค. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พร้อมกับเปิดคลิปยืนยันว่า ผู้ก่อการร้ายที่รัฐบาลบอกว่าเป็นคนทำร้ายประชาชน เป็นภาพวันที่ 19 พ.ค. ช่วงเย็นโดยอ้างว่าเป็นภาพในวันที่ 19 พ.ค. มีควันไฟที่ปรากฎที่ตึกสยามพารากอนถูกเพลิงไหม้ ในภาพปรากฏภาพคนที่ยืนซุ่มอยู่บนสกายวอล์คทางเดินรถไฟฟ้าในหลายจุดหันหน้าไปทางวัดปทุมวนาราม จากนั้นได้เปิดคลิปประชาชนที่เข้าไปหลบในวัดวิ่งแตกตื่นโดยมีเสียงกระสุนปืนดังขึ้นมาประชาชนวิ่งอยู่ในวัด

นายวรวัจน์ กล่าวชี้แจงว่า คลิปที่นำมาเปิดควันไฟหายไปในตอนแรกและยืนยันว่าถ้าไม่มีควันไฟขอลาออกจาก ส.ส. ขอให้วิปไปดูควันไฟที่ห้องได้เพราะเอาคลิปมาเปิดผิดอันยืนยันว่าคลิปที่นำมามีควันแต่เมื่อมาเปิดในสภาแล้วควันหายไป จากนั้นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ประท้วงว่ามีการตัดต่อคลิป

นายวรวัจน์กล่าวว่า ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องวิดีโอและกล้องถ่ายรูปต่อเนื่องกันมาก ทุกภาพเป็นภาพบริเวณเดียวกันทั้งหมดอยู่บริเวณหน้าวัด ท่านบอกว่าเป็นเวลาอื่น คือ วันที่ 20 พ.ค. แต่เท่าที่เรียกเวลาจากกล้องมาดูจะพบว่าถ่ายเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เวลา 18.18 น.ภาพขนาด 3056 พิกเซล กล้องดีเอสแอลอาร์ 350 โฟกัส 300 มม. สปีด 400 เป็นสิ่งที่ออกมาจากกล้องไม่สามารถบิดเบือเชนเวลาได้  ยืนยันได้แล้วว่าใครยืนอยู่บนรางรถไฟฟ้า จะมีทหารยืนอยู่บนรถไฟฟ้ามีสติ๊กเกอร์สีชมพูติดที่หมวก แม้แต่รถถังก็เป็นสีชมพู จุด ณ ตรงนั้นเป็นทหาร ซึ่งรองนายกฯบอกว่าเป็นทหาร แต่สุเทพบอกว่าเป็นวันที่ 20 พ.ค.

จากนั้นได้เปิดคลิปที่อ้างว่าทหารยิงเข้าไปในวัด มีภาพประชาชนที่หลบอยู่ในวัดวิ่งวุ่นเป็นคลิปของสำนักข่าวต่างประเทศทีทกำลังรายงาน นายวรวัจน์ได้กล่าวว่า "เห็นตัวฆาตรกรหรือยัง อย่าบอกนะว่าทหารตรงนั้นเป็นคนภายนอก เรียนย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ท่านปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นทหารแน่นอนและมีการยิงไปในวัดมีพยานเต็มไปหมด คนตายในวัดปทุม 6 ศพ ทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ "

"ผมกำลังกล่าวหาว่ารัฐบาลสังหารหมู่คนทั้งแผ่นดินรู้หมดใครฆ่า เหตุการณ์วัดปทุมฯ เริ่ม 18.00 น. ตอนนั้นนาย กิตติชัย แข็งขันถูกยิงที่มือด้านขวาและหลัง โดยศพแรกที่ถูกยิงคือ นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ตอนนั้น นายมงคล เข็มทอง ้จ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต๊กตึ้ง ได้เข้ามาช่วยนายอัฐชัย เข้าไปลากศพถูกยิงตายเป็นคนที่สอง เวลา18.30 น. น.ส.กมลเกด อัคฮาด เจ้าหน้าที่อาสากำลังหมอบอยู่ก็ตายไป 1 คน พอ 1 ทุ่มมีอาสาทำงานประชาสัมพันธ์ในวัดถูกยิงตายนายอัครเดช ขันแก้ว ดิ้นทุรนทุรายอยู่นานแต่ไม่มีใครช่วยได้เป็นศพรายที่ 5 และศพที่ 6 ไม่ทราบชื่อ  หลังจากบ่ายโมงครึ่งแกนนำได้ประกาศให้ทุกคนยุติ ตอนนั้นทหารคุมบนรางรถไฟฟ้า นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น รัฐบาลพยายายามบอกว่ามีการเผาเกิดขึ้นีรัฐบาลจะตอบได้อย่างไรว่าคนเผาเป็นใคร ผมมีภาพมือเผา เป็นคนหนึ่งที่ร่วมขบวนการเผา " พร้อมชูภาพหนุ่มผมยาวสวมสายรัดข้อมือสีเหลืองกับสีฟ้า นายวรวัจน์กล่าว

นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า วันนี้มีประโยชน์อะไรที่ต้องมาเถียงกันใครเผาบ้านเผาเมืองใครทำร้ายประชาชนยิ่งกล่าวหาเขาแรงต่อต้านอย่างรุนแรงขึ้น วันนี้ทุกคนในประเทศไทยผิดหมด อย่าคิดว่าตัวเองถูกหมดจะไม่มีใครชนะ แต่ท่านมีส่วนในการสังหารหมู่ประชาชนในครั้งนี้ ถ้าตระหนักว่าต่างคนต่างผิด ถอยคนละก้าว ไม่เห็นผลว่าการไล่ล่าประเทศจะได้อะไร ทำให้การเมืองเป็นการเมือง ต้องเยียวยาไม่ใช่ไล่ล่า 

จากนั้นเปิดคลิปที่ 3 ใครคือคนยิงประชาชนนายวสันต์ ภู่ทอง นายวรวัจน์ กล่าวว่า ภาพนี้ชัดมากอยากเห็นชัดๆ ไหมว่าใครยิงไม่เอาเรื่องเท็จมาคุยในสภาเพราะว่าไม่ใช่นิสัยของพวกเรา จากนั้นเป็นคลิปที่ 4 เจ้าหน้าที่ทหารประทับปืนยิงวันเหตุการณ์ 10 เมษายน

ขณะที่ นายศิริโชค  โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแย้งกรณีที่นำเสนอคลิปวิดีโอผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงวิ่งหลบกระสุนที่เจ้าหน้าที่ทหารยิงใส่ผู้ชุมนุม ว่า ตามข่าวที่รายงานเป็นการรายงานว่ามีการยิงตอบโต้กันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงกับเจ้าหน้าที่ทหารไม่ใช่ทหารไล่ยิงประชาชน

อาคมหน้ามืด ต้องหามออกนอกห้องประชุม
ทั้งนี้ในการอภิปรายไม่วางใจที่รัฐสภา ระหว่างที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กำลังอภิปรายถึงการเปิดคลิปวิดีโอที่ระบุว่า กลุ่มทหารยิงประชาชนผู้ชุมนุม ทำให้นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการวอร์รูมพรรคประชาธิปัตย์ มีหน้าที่รับผิดชอบทีมงานที่เฝ้าระวังการใช้คลิปในการอภิปราย ได้ลุกขึ้นประท้วงว่าไม่เป็นความจริง จากนั้นเกิดอาการหน้ามืด เหงื่อแตกทั่วร่างกาย ต้องนั่งดมยาดมและให้นั่งลงสักพัก จากนั้นเพื่อนส.ส.ได้นำตัวออกนอกห้องประชุมทันที

ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนนั่งใกล้นายอาคมและได้พูดคุยตลอด รู้ว่านายอาคมเครียดมากตั้งแต่ช่วงที่นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ยกประเด็นทหารจับพระสงฆ์ แม้จะมีส.ส.หลายคนออกมาประท้วงแต่ไม่สำเร็จ นายอาคมจึงได้ลุกขึ้นประท้วงด้วยตนเอง ในฐานะอดีตรมช.ศึกษาธิการที่เคยดูแลกรมศาสนามาก่อน ทำให้มีภาวะเครียดสะสม เมื่อมาเจอกรณีของนายวรวัจน์ ที่พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และได้ลุกขึ้นประท้วงซ้ำด้วยสีหน้าแดงก่ำ จนเหงื่อออกทั่วร่างกายจนช็อค

จากนั้นเพื่อนรัฐมนตรีและส.ส. เช่น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ต้องให้ยาดม ก่อนประคองตัวอกจากห้องประชุม และเรียกให้รถพยาบาลของหน่วยนเรนทรมารับตัวไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งระหว่างที่นำนายอาคมนั่งรถเข็นก่อนขึ้นรถพยาบาลนั้น นายอาคมได้อาเจียนออกมาด้วย จากนั้นนำตัวส่งรพ.วิชัยยุทธ เพราะมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง

จากนั้น เมื่อเวลา 18.30 น. นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ชี้แจงเหตุการณ์ในวัดปทุมฯ ที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ยกขึ้นมาเป็นประเด็น ขอยกคลิปและแผนที่ที่แสดงที่ตั้งวัดปทุมฯ และสถานที่ตั้งบีทีเอส และสี่แยกปทุมวันฯ เมื่อสักครู่ที่ได้นำภาพทหารมาอภิปราย คงสร้างความสับสนใหกับพี่น้องประชาชน และก็นำเหตุการณ์ 19 พ.ค. แล้วก็ย้อนไปคลิปอื่นๆ ทำให้คนเข้าใจสับสน ขอใช้เวลาชี้แจงว่า ในวันที่ 19 พ.ค. เฉพาะส่วนปทุมวัน และมาถึงวัดปทุมวนาราม กำลังเจ้าหน้าที่ในส่วนนี้ได้รับคำสั่งให้อยู่ในที่ตั้งเดิมคือบริเวณหน้าสนามกีฬา โดยได้รับคำสั่งไม่ให้เคลื่อนเข้ามา เพื่อเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเดินออไปได้ และอยู่ตลอดจนถึวเวลาบ่าย 3 โมง จนเกิดการวางเพลิงที่สยามแสวคร์ และเซ็นทรัลเวิร์ล จึงสั่ง กทม.นำรถไปดับเพลิง และขอให้เจ้าหน้าที่จัดกำลังเข้ามาคุ้มครองรถดับเพลิง ตอนแรกมา 20 คน มาคุ้มครองรถดับเพลิงของกทม. แต่ก็ถูกยิง จนต้องถอยไปที่รถไฟฟ้าบีทีเอส ตอนที่ถอยคือ 16.30 น. แล้วก็จัดกำลังใหม่ เป็น 1 กองร้อย เพื่อคุ้มครองรถดับเพลิงทำงานได้

"จุดที่เคลื่อนเข้ามาก็มาที่ด้านล่างด้วย พบผู้ก่อการร้ายยิงสู้ขึ้นมา ตอนยิงปะทะเวลา 18.30 น. มีคนร้าย อยู่ตรงหัวมุมวัดปทุมฯ คนร้ายที่ยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่อยู่มุมซ้ายสุดติดกับสยามพารากอน แล้วก็ปืนเข้าไปในวัด และเข้าใจว่าถูกยิง ไม่รู้ว่าเข้าไปตายในวัดหรือไม่" นายสุเทพ กล่าว

รองนายกฯ กล่าวว่า หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ถอนกำลัง เพราะถ้าคืนเดินหน้าไปก็จะมีการปะทะกัน จะมีประชาชนได้รับลูกหลง จึงขอเรียนว่า วันที่ 19 พ.ค. หลัง 18 .30 น. ไม่มี เจ้าหน้าที่อยู่บนรางรถไฟบีทีเอสแน่นอน

"ผมอยากจะเรียนว่าเรื่องนี้เดี๋ยวคงมีการพูดกันอีก แล้วจะมีการพิสูจน์ภาพนี้กันอีก รวมทั้งพิสูจน์วิถีกระสุนที่ใช้ยิง ขอกราบเรียนแค่ว่าการปะทะนั้นอยู่ที่มุมซ้ายของวัด ไม่ใช่ที่หน้าวัดปทุมฯ ตรงจุดนี้ไม่ตรงกับคุณวรวัจน์อภิปราย วันที่ 19 พ.ค. เวลา 18.30 น. ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารโดยเด็ดขาด" นายสุเทพ กล่าว

นอกจากนี้ นายสุเทพ กล่าวว่า นายกฯ ตน และเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ยันไม่มีใครที่กล่าวหาว่า นปช. เป็นผู้ก่อการร้าย เฉพาะบางคนที่เอาอาวุธมาใช้ แล้วแฝงตัวในการชุมนุมเท่านั้น มีประชาชนที่มาชุมนุมด้วยใจบริสุทธิ์ ส่วนมาก ตัวร้ายมีไม่กี่ตัวหรอก ยิงอาสาสมัคร ยิงประชาชน และยิงแม้กระทั่งคนเสื้อแดง กรณีที่พูดถึงการไล่ล่า

นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดร เพื่อไทย ประท้วงว่า รองนายกฯ ได้พูดเท็จกลางสภาฯ มากล่าวหาคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย และมีการออกหมายจับได้อย่างไร

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ตนไม่ได้กล่าวหากคนเสื้อแดงทุกคนเป็น ผู้ก่อการร้าย ส่วนใครจะเป็นผู้สนับสนุนหรือให้การช่วยเหลือก็ว่ากันไปตามคดี อยากจะเรียนว่าที่นายวรวัจน์ พูดเรื่องคนแม่นปืน จะเรียนว่าทหารไม่ได้มีการส่งคนแม่นปืนไปบนแยกคอกวัว หรือรร.สตรีวิทยา พื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่กลุ่มผู้ชุมนุมยึดครอง เจ้าหน้าที่เข้าไปไม่ได้ แต่มีคนร้ายใส่ชุดดำยิงทำร้าย ประชาชน และเจ้าหน้าที่ตายเป็นจำนวนมาก ภาพที่ส.ส.แพ่รนำมาแสดง ไม่ใช่เหตุการณ์ 19 และ20 พ.ค. แต่เป็น 15 พ.ค. เวลา 16.00 น. ตนมีชื่อทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เป็นบริเวณที่ซอยงามดูพลี

พท.โชว์ภาพทหารซุ่มยิงปชช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายช่วงค่ำส.ส.ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีการประท้วงและปะทะคารมเป็นระยะ โดยเฉพาะช่วงที่ นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พท. จะอภิปราย นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. ปชป. ลุกประท้วงว่าจะให้ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอภิปรายได้หรือไม่ ขอให้ประธานยืนยัน ซึ่งนายชัยกล่าวว่าตอนนี้ยังไม่มีคำพิพากษา ส่วนนายวิเชียร กล่าวว่า นายกษิตถูกกล่าวหาข้อหานี้ ยังเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศได้
 
ทั้งนี้ในการอภิปรายของนายวิเชียร ยังได้อภิปรายพร้อมนำภาพขึ้นมาหักล้างคำชี้แจงของนายสุเทพ ที่ระบุว่า ผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ใช้ปืนสไนเปอร์ซุ่มยิง โดยนำภาพทหารซุ่มยิงตอนกลางคืน 1 รูป และทหารอยู่บนตึกซุ่มยิงตอนกลางวัน 2 รูป รูปทหารยิงเอ็ม 16 มีลูกออกจากรังเพลิง 1 รูป ซึ่งนายสุเทพชี้แจงว่าหลังวันที่ 10 เมษายน มีทหารสูญเสีย จึงให้มีพลแม่นปืนทางราบเพื่อป้องกันความสูญเสีย นอกจากนี้ภาพที่ผู้อภิปรายนำมาแสดงเป็นคนละที่คนละเวลานำมากล่าวอ้างไม่ได้ 

อัดแทรกแซงสื่อใช้ช่อง 11 ให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พท. อภิปรายว่า เรื่องการแทรกแซงสื่อและปิดกั้นสื่อรวมถึงการใช้ช่อง 11 ให้ร้ายฝ่ายตรงข้ามแต่เพียงฝ่ายเดียวทั้งที่ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ และการให้คนของพันธมิตรฯมาจัดที่ช่อง 11 ซึ่ง นายสาทิตย์ ชี้แจงว่า รายการไหนให้ร้าย ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอเอง แต่ที่สื่อของรัฐต้องทำหน้าที่อย่างหนักเพราะมีการใช้บางสื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองปลุกระดม รัฐบาลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย และเมื่อมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้อำนาจตามพ.ร.ก.นี้หากมีสื่อที่ปลุกปั่น บิดเบือน ไม่เลือกปฏิบัติ  กรณีช่อง 11 ที่เมื่อเช้าฝ่ายค้านกล่าวหาว่าปิดกั้นไม่ถ่ายทอด ตนตรวจสอบแล้ว พบว่าสถานีภาคพื้นดินขอนแก่นดำเนินการไม่ได้ เพราะคนเสื้อแดงเผา ทำให้จังหวัดใกล้เคียงมีปัญหารับสัญญาณจากเสาปกติตามไปด้วย ส่วนกรณีรับสัญญาณจานดาวเทียมมีปัญหาการออกอากาศเนื่องจากได้เปลี่ยนจากไทยคม 2 เป็นไทยคม 5 เพราะไทยคม 2 หมดอายุวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ แต่ได้ทำสปอทชี้แจงตั้งแต่ 26 พฤษภาคมแล้ว  
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการชี้แจง ส.ส.เพื่อไทยประท้วงเป็นระยะโดยหลายคนระบุว่า ระหว่างที่ฝ่ายค้านอภิปรายในวันนี้ ยังมีตัววิ่งในเชิงตำหนิส.ส.เพื่อไทยตลอดทางช่อง 11 ว่า อภิปรายสร้างความแตกแยก แต่นายสาทิตย์ ชี้แจงยืนยันว่า ตรวจสอบแล้วไม่มีอย่างที่กล่าวหา 

นายกฯ ไม่คิดใช้อำนาจไล่ล่า ยันพร้อมปรองดอง
เวลา 18.40 น. วันที่ 31 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ กล่าวว่า ตนเป็นคนเสนอแผนปรองดอง ซึ่งตอนนั้นผู้สนับสนุนต่อว่าตน บอกว่าอ่อนแอ ไมเอาจริงจัง ไม่บังคับใช้กฎหมาย บางคนกล่าวร้ายรุนแรงว่า ไปฮั้วกับผู้ก่อการร้ายก็มี แต่ตนก็แสดงเจตนาที่ชัดว่าถ้ายังมีทางออกการเมืองก็ทำ ตนก็เสนอแผนนั้นไป แม้ว่าแกนนำจะพูดว่าจะเข้าสู่แผนปรองดอง แต่เวลาผ่านไป 7-8 วันก็ยังเลิกการชุมนุมไม่ได้ ก็มีการสำรวจความเห็นประชาชน 70-80% บอกว่าอยากให้เข้าสู่แผน และยุติการชุมนุม ดังนั้นคงไม่เป็นธรรมที่จะว่าตนไม่พยายมมแก้ปัญหา ตนเป็นฝ่ายริเริ่ม และฝ่ายถูกปฏิเสธ

"จะปรองดองหรือใช้อำนาจไล่ล่า ผมก็ยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเจตนาไล่ล่า หรือขจัดคู่แข่งทางการเมือง เพราะที่สุดหนีไม่พ้นระบบพรรคการเมือง และการเมืองจะเดินหน้าได้ต้องทำงานด้วยกัน แต่ว่าวันนี้ตนพยายามแยก แต่ท่านกลับไม่ยอมรับว่าผมแยก ใครเกี่ยวข้องกับความรุนแรง กับพวกติดอาวุธ ต้องรับโทษตามกฎหมาย ใครบริสุทธิ์ เราก็ต้องดูแล ปรองดอง เยียวยา แก้ปัญหา ผมไม่อยากมองภาพย้อนไป ที่เวลามีการชุมนุมแล้วพูดว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมล้มอำมาตย์ก็แล้วแต่ ใช้มวลชน พรรค และกองกำลังติดอาวุธ ผมขอให้ปรองดองแล้วชาติเราจะไปได้" นายกฯ กล่าว

ไพจิตร ศรีวรขาน อภิปราย 2 วิกฤต ประชาธิปไตย-ยุติธรรม นายกฯอภิสิทธิ์แชมเปี้ยน 100 ศพ ถูกประท้วง
เวลา 20.45 น.   นายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส. จังหวัดนครพนม พรรคเพื่อไทย  กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในประเด็นการสลายการชุมนุมว่า ปัจจุบันมี 2 วิกฤตในบ้านเมือง  วิกฤตแรกคือ ประชาธิปไตยในรอบ 20 ปี มีการฉกฉวยช่วงชิง มีโสเภณีการเมือง และสองมีวิกฤตเรื่องความยุติธรรม   ไม่ได้มาตรฐาน

วันที่ 18 พ.ค.  เวลา 18.00 น.  กลุ่มวุฒิสภา พยายามเชื่อม ไม่ได้มีการใช้ความรุนแรง มีการเจรจา แกนนำ บอกยินดียุติชุมนุม มีการมอบหมายคณะทำงาน  แต่เลขาธิการนายกฯ บอกว่า หมดเวลาแล้ว  เป็นเพราะความอำมหิตในใจของนายกฯ   ทั้ง ๆที่ยังมีเวลาอีก 12 ชั่วโมง

วิกฤตความยุติธรรม เช่น กรณีเขายายเที่ยง ยึดต้นน้ำ แล้วบอกว่า ขาดเจตนา แต่คนอยู่ตีนเขาถูกจำคุก  ยึดสนามบิน 2 ปีไม่มีจับกุมคุมขัง แต่ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. )ยึดราชดำเนิน ถูกดำเนินการ  คนกลุ่มหนึ่งทำอะไรก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย   การชุมนุม 12 พ.ค. ยังใส่ร้ายว่า รับจ้างมา ทำเพื่อคนๆ เดียว     กลุ่มนปช. มาเรียกร้องให้ยุบสภา ไม่เห็นต้องเอาปืนไปยิงเขา  การชุมนุมโดนสงบ สันติคือ เสน่ห์ของประชาธิปไตย แต่นายกฯและนายสุเทพ เหิมเกริมในการใช้อำนาจ

นายไพจิตร ได้นำรูป เอาทหารและบังเกอร์ มาล้อมสภามาแสดง เป็นรูปแรก    ในวันที่ 7 พ.ค. มีการยกระดับจาก พ.ร.บ.ความมั่นคง ฯ มาเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ   ขณะที่ คนเสื้อแดงโกรธที่ปิดสถานีพีเพิลแชลแนลก็มาล้อมสภา  ขณะที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง โชว์ระเบิดที่ยึดได้  ในตอนนั้นคนถืออาวุธสงครามคือคนของรัฐบาลเอง  ที่ถือปืนอูซี่   เป็นคนใกล้ชิดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่ไม่ถูกดำเนินคดี 

กรณีที่อนุสรณ์สถาน ดอนเมือง ที่ทหารยิงกันเอง   นายสุเทพ เคยบอกเองในสภาว่า" ผมเป็นคนสั่งเอง  และบอกด้วยว่า เป็นกระสุนยาง  ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ชุมนุม เป็นการสารภาพกลางสภาว่าเป็นคนสั่ง เรียกว่า ฆาตกร 100 ศพ การสร้างสถานการณ์เพื่อนำสู่การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยใช้กำลังทหารเป็นหลัก "

นายไพจิตร ได้แสดงภาพพลทหาร ที่ถูกยิงตายบริเวณอนุสรณ์สถาน และถามหาความรับผิดชอบทางการเมืองของนาสุเทพ  และอีกรูปคือ ทหารเอาปืนจี้ตำรวจระดับรองผู้กำกับสถานีตำรวจ  ในเหตุการณ์ที่ศาลาแดง เป็นยุทธการเอาม็อบมาชนม็อบ  ขณะที่ตำรวจทำหน้าที่อย่างดี  วิ่งไล่จับผู้สร้างสถานการณ์ที่เข้าไปในแนวทหาร  และมีหนังสือพิมพ์ 22 เมษายน นักข่าวที่รักความเป็นธรรม ทวิตเตอร์รายงานข่าว      อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอภิปรายนายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี  พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นประท้วงตลอดเวลา

นายไพจิตร อภิปรายต่อไปว่า ถึงกรณีการยิงปืนเอ็ม 79 เข้าสถานีศาลาแดง  กรณี นักข่าวต่างชาติ ตายและบาดเจ็บ  เป็นการสร้างสถานการณ์ของรัฐบาล ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดการประท้วงตลอดเวลา    จากนั้นนายไพจิตร ได้เปิดภาพคล้ายทหารถือสไนเปอร์ โดยยืนยันว่าเป็นของจริง

นายไพจิตร กล่าวถึง  นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ว่าตั้งตนเองเป็นกองการ์ดเถื่อน เป็นพันธมิตรฯที่ขึ้นเวที  เป็นกรรมาธิการฯ เป็นพวกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา เป็นม็อบชนม็อบ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งคนเจ็บคนตาย ถือว่า รัฐบาลเป็นแชมเปี้ยนแล้ว     รัฐบาลทหาร ทั้งจอมพลถนอม  กิตติขจร พลเอกสุจินดา  คราประยูร ยังสู้นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ เป็น แชมเปี้ยนฆาตกรร้อยศพ

เชิญ"บุญยอด"ออกนอกห้องประชุม
เวลา 23.05 น. วันที่ 31 พฤษภาคม หลังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเรื่องการเข้าขอพื้นที่คืนที่สะพานผ่านฟ้าฯ-ถนนราชดำเนิน ต่อจากเป็นการอภิปราย ของ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) และแกนนำ นปช. ขึ้นอภิปรายต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แต่ก่อนที่นายจตุพร ขึ้นอภิปราย ได้มีส.ส.ประชาธิปัตย์ นายธนา ชีรวินิจ ขอหารือ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ว่า คัดค้านการอภิปรายของนายจตุพร ว่าไม่มีสิทธิ์อภิปราย เนื่องจากเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นแกนนำกลุ่มนปช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ในการอภิปราย พ.อ.อภิวันท์ วินิจฉัยว่า นายจตุพร มีสิทธิ์อภิปรายได้ จึงทำให้เกิดการประท้วงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามมา

นายสุวโรจน์ พะลัง ได้ลุกขึ้นประท้วงว่า ไม่ได้รังเกียจ แต่สถานะของนายจตุพรเป็นผู้ต้องหา ซึ่งคณะของนายจตุพรก็อยู่ที่ค่ายนเรศวร พ.อ.อภิวันท์ ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือมายังสภาฯ ไม่มีหมายจับมา ทราบว่า จะมีหมายจับหลังปิดประชุมสภาฯ "ผมวินิจฉัยแล้ว คุณจตุพรยังมีเอกสิทธิ์ ขอให้ฝ่ายรัฐบาลใจกว้างสักนิด เพราะเป็นสิทธิที่จตุพรจะอภิปรายได้"

หลังจากนั้น นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ได้ลุกขึ้นประท้วง โดยถามว่า นายจตุพร ขาดการประชุมสภา 53% มีการลาด้วยเหตุผลใด จนทำให้มีการถกเถียงกันรุนแรงมากขึ้น ในที่สุดพ.อ.อภิวันท์จึงต้องเชิญ นายบุญยอด ออกจากสภาในเวลา 23.20 น. "ผม เชิญคุณบุญยอด ออกจากห้องประชุมครับ ขอรักษาความสงบครับ" พ.อ.อภิวันท์ ปธ.สภา 23.20น. ทั้งนี้ นายจตุพร พรหมพันธ์ ได้ขึ้นอภิปราย ในเวลา 23.25 น.

"จตุพร" อภิปราย ลั่นไม่ใช่ขบวนการล้มเจ้า
เวลา 23.30 น. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยยกเรื่องการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์และเครือข่ายขบวนการล้มเจ้า ซึ่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เปิดเผยในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า เป็นขบวนการปรักปรำตนเอง แกนนำคนเสื้อแดงและกลุ่มคนเสื้อแดง โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามดึงสถาบันเบื้องสูงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง
      
ระหว่างการอภิปรายของนายจตุพร มี พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานผู้ควบคุมการประชุม ได้มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล โดยระบุว่า นายจตุพรพูดเท็จ และหยิบยกผู้ที่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมขึ้นมากล่าวอย่างไม่เหมาะสม หลังจากนั้น ประมาณครึงชั่วโมง นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนฯ ได้สลับขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุมบ้าง

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: ไทยรัฐ, มติชน, ข่าวสด
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตร.ตั้งรางวัลนำจับแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 รายละ 1 หมื่น

Posted: 31 May 2010 06:39 AM PDT

<!--break-->

31 พ.ค. 53 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งรางวัลนำจับนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล นายกัญญาภัค มณีจักร นายภูมิใจ ไชยยา นายอภิชาติ อินสอน หรือ ดีเจอ้วน และดีเจแหล่ แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 รายละ 10,000 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับประชาชนในการช่วยชี้เบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังถูก ศอฉ.ออกหมายจับ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการหลบหนี เชื่อว่า บางคนยังกบดานอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะนายอภิชาต อินสอน หรือ ดีเจอ้วน ที่ยังออกมาก่อเหตุจลาจลและทำลายทรัพย์สินทางราชการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งที่มีหมายจับ ถือว่าเป็นการท้าทายกฎหมาย โดยเชื่อว่า นายอภิชาติอาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อให้เกิดความกล้า เนื่องจากดีเจอ้วนเคยถูกจับกุมคดียาเสพติดมาก่อน พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่ถูกออกหมายจับเข้ามอบตัวกับตำรวจ เจ้าหน้าที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นอกจากนั้น ได้มีการประสานกับทาง ศอฉ.ให้ช่วยติดตามจับกุมแกนนำ นปช.ที่ถูกออกหมายจับ และยังอยู่ระหว่างการหลบหนี ซึ่งบางรายอาจหลบหนีเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เส้นทางตามแนวชายแดนทางภาคเหนือหลบหนีออกนอกประเทศ ทั้งนางดารุณี กฤตบุญญาลัย พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย
 

NBT เชียงใหม่ยันไม่มีการตัดสัญญาณในพื้นที่
เนชั่นทันข่าวรายงานว่านายสัมพันธ์ ช้างทอง หัวหน้าฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตลอดช่วงเช้าถึงเที่ยงวันนี้ (31 พฤษภาคม) ที่มีการถ่ายทอดการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ ในพื้นที่จ.เชียงใหม่ผู้ชมสามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ตามปกติในทุกพื้นที่ สัญญาณไม่ได้ถูกตัดหรือมีปัญหาอย่างที่สส.ฝ่ายค้านเปิดประเด็นกล่าวอ้างกลางสภา และระหว่างที่มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาตนอยู่ที่สถานีและเฝ้าตรวจสอบดูมอนิเตอร์ตลอดเวลา

หากจะมีปัญหารับชมไม่ได้เชื่อว่าจะเป็นกรณีของผู้ชมที่รับชมจากการติดตั้งจานดำ คือกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่ธุรกันดารไม่สามารถรับเสาอากาศได้จึงต้องติดตั้งจานดำ ซึ่งในจ.เชียงใหม่ก็จะมีบางพื้นที่เท่านั้น เช่นอ.พร้าวหรือ อ.แม่แตงบางส่วน ซึ่งปัญหาของผู้ใช้จานดำที่อาจรับชมไม่ได้คือเจ้าของบ้านยังไม่ได้เปลี่ยนคลื่นความถี่ให้ตรงกับที่เราได้แจ้งให้เปลี่ยนมาตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ นอกเหนือจากนั้นมั่นใจแน่นอนว่าไม่มีปัญหาการเรื่องการรับชมสัญญาณอย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าด้านการรักษาความปลอดภัย แม้จะผ่านพ้นช่วงยกเลิกเคอร์ฟิวในจ.เชียงใหม่เป็นวันที่3แล้ว ตำรวจสภ.เมืองยังคงเข้มงวดรปภ.วางกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 10 นายผลัดเปลี่ยนเข้าเวรมาดูแลความปลอดภัยที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพราะถือเป็นหนึ่งในสถานที่เป้าหมายซึ่งเกรงว่าจะมีผู้ไม่หวังดีจ้องมาก่อเหตุวุ่นวาย

ป่วนกลางเมืองเชียงใหม่ มือดีลองของ ปาประทัดยักษ์ใส่จักรยานยนต์​ที่จอดบริเวณถนนคนเดิน
ด้านไทยรัฐ รายงานว่าเมื่อ วันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา 2553 ร.ต.ท.สมคิด ภูสด ร้อยเวร สภ.เมือง เชียงใหม่ กำลังปปฏิบัติหน้าที่อยู่บนโรงพักต้องตกใจเมื่อมีเสียงดังคล้ายระเบิดดังขึ้น 1 ครั้ง ด้านทิศตะวันออกของโรงพัก ถนนราชดำเนิน ที่มีการปิดถนน เพื่อเปิดงานถนนคนเดินวันอาทิตย์ ขณะกำลังมีชาวบ้านนับหมื่นมาเดินเลือกซื้อสินค้ากัน ต่างพากันตกใจเสียงระเบิด และเป็นจังหวะที่ พล.ต.ต.สมหมาย กองวิสัยสุข ผบก.ภ.เชียงใหม่ กำลังมาจอดลงรถที่หน้าโรงพักเพื่อจะกลับเข้าบ้านพักพอดี พล.ต.ต.สมหมาย จึงตะโกนเรียกตำรวจรีบไปดูที่เกิดเหตุและจับคนร้ายมาให้ได้

เมื่อตำรวจไปถึงจุดที่เกิดเสียงระเบิด อยู่ถนนราชดำเนินซอย 6 ข้างวัดชัยพระเกียรติ์ อยู่ห่างจาก สภ.เมืองเชียงใหม่ประมาณ 100 เมตร ชาวบ้านที่มาจับจ่ายซื้อของพากันออยืนดูกันแน่น ตำรวจได้กันคนไม่เกี่ยวข้องออกไป และปิดหัวท้ายซอยเข้าเคลียร์พื้นที่ พบว่าจุดระเบิดห่างปากซอยประมาณ 10 เมตร มีรถจักรยานยนต์ ของชาวบ้านหลายสิบคันจอดอยู่ พบรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่าฟีโน่ สีน้ำตาล ทะเบียน งยก 357 เชียงใหม่ กระจังข้างด้านซ้ายถูกแรงระเบิดประทัดยักษ์ เปิดอ้าออก มีสะเก็ดประทัดยักษ์เป็นกระดาษตกอยู่เกลื่อน

ทาง พล.ต.ต.สมหมาย ผบก.ภ.เชียงใหม่ กล่าวว่า คงเป็นพวกสร้างสถานการณ์ก่อความวุ่นวายมากกว่า และหลังเสียงระเบิด ตนก็ยืนเฝ้าติดตามเสียงระเบิด ก็ไม่เห็นมีคนที่มาเที่ยวถนนคนเดินตกใจวิ่งหนีแต่อย่างใด และได้กำชับให้ตำรวจติดตามคนร้ายมาให้ได้
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9 - 31 พ.ค. 2553

Posted: 31 May 2010 05:22 AM PDT

<!--break-->

 
“ไพฑูรย์” สั่งทูตแรงงานสอบหญิงไทยถูกล่อลวงค้าประเวณีในแอฟริกาใต้
เดลินิวส์ (31 พ.ค. 53)
- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน กล่าวถึง กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแอฟริกาใต้ช่วยเหลือแรงงานหญิงไทย 21 คน ที่ถูกแก๊งลักลอบค้ามนุษย์ล่อลวงไปค้าประเวณี ว่า เบื้องต้นได้ให้ทูตแรงงานไทยในแอฟริกาใต้ตรวจสอบว่า แรงงานเหล่านี้เดินทางเข้าประเทศแอฟริกาใต้อย่างถูกกฎหมายหรือไม่ เพื่อเรียกบริษัทจัดหางานมาสอบถามข้อเท็จจริง ในการให้ความช่วยเหลือต่อไป นายไพฑูรย์ กล่าวด้วยว่า หากแรงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ มาขอข้อมูล และคำปรึกษาจากกรมการจัดหางาน เพื่อป้องกันบริษัทจัดหางานหลอกลวง และอยากเตือนแรงงานไทยว่า อย่าลักลอบเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เพราะกฎหมายการลักลอบเข้าเมืองของประเทศต่าง ๆ มีบทลงโทษที่รุนแรง
สทท.เตรียมหาทางช่วยไกด์ตกงาน
ครอบครัวข่าว (
31 พ.ค. 53) - นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) รายงานผลการเปิดศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากวิกฤติจลาจล จนถึงวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา พบว่า มีกลุ่มมัคคุเทศก์มาขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์ประสานงานฯมากที่สุด เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 100 ราย รวมแล้วกว่า 500 ราย โดยคาดว่าภาพรวมมัคคุเทศก์ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ครั้งนี้จะมี ไม่ต่ำกว่า 3,000-5,000 ราย เนื่องจากตลอดช่วง 2 เดือนที่มีการชุมนุม ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา บริษัททัวร์จึงไม่เรียกใช้บริการมัคคุเทศก์และขณะนี้ยังมีแนวโน้มที่จะชะลอ การเดินทางหลังจากนี้นอกจากนี้กลุ่มมัคคุเทศก์ดังกล่าว ยังไม่เข้าข่ายได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐเตรียมออกมาเลย เพราะไม่ใช่ผู้ประกอบการ แต่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระอีกทั้งยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงแรง งาน เพราะไม่ใช่ผู้ประกันตน อีกด้วยดังนั้น สทท. เตรียมเสนอมาตรการช่วยเหลือมัคคุเทศก์อย่างเร่งด่วน ให้ที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤติทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งมีนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน ได้พิจารณาในวันนี้ ซึ่งเบื้องต้นจะขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ช่วยประสานงานกับกระทรวงการคลัง เพื่อออกมาตรการช่วยเหลือสินเชื่อฉุกเฉินแก่มัคคุเทศก์ที่ประสบปัญหา ไม่มีงานทำ เพราะเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ผ่านทางธนาคารออมสิน วงเงินรวม 20 ล้านบาท หรือ 30,000-50,000 บาทต่อราย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบบผ่อนปรน เช่นเดียวกับที่ช่วยเหลือเรื่องสินเชื่อกับผู้ประกอบการย่านราชประสงค์รวม ทั้งจะขอให้พิจารณานำเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ มีอยู่มาใช้ในการช่วยเหลือสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับมัคคุเทศก์ เพื่อสามารถช่วยเหลือมัคคุเทศก์ได้รวดเร็วที่สุด
แรงงานไทย เริ่มกลับเข้าทำงานใน มาเลเซีย และ สิงคโปร์ อีกครั้งหลัง การชุมนุมทางการเมืองยุติ
ไอเอ็นเอ็น (
30 พ.ค. 53) - บรรดาแรงงานไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในประเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์ เริ่มทยอยเดินทางกลับเข้าไปทำงานในทั้งสองประเทศอีกครั้ง หลังจากที่สถานการณ์ทางการเมืองของไทย กลับเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. แรงงานไทย โดยเฉพาะที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ เดินทางเข้าไปทำงานในมาเลเซีย และสิงคโปร์น้อยมาก เป็นผลมาจากส่วนใหญ่ จะเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช.
ด้าน ผู้ประกอบการที่ส่งแรงงานไทย เข้าไปทำงานในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เผยว่า ขณะนี้เริ่มมีแรงงานไทย เดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับแรงงาน ทั้งบริษัทจัดหางาน บริษัททัวร์ และบริษัทที่จำหน่ายตั๋วรถโดยสาร ระหว่างประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งผิดกับในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ที่ขาดสภาพคล่อง เพราะแทบไม่มีแรงงานไทย มาใช้บริการเดินทางไปทำงานในมาเลเซีย และสิงคโปร์เลย ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมือง ที่แรงงานส่วนใหญ่จะเข้าร่วมชุมนุมกับ กลุ่ม นปช. และการเดินทางไม่สะดวก ขณะที่ภาพรวม บรรยากาศด้านการท่องเที่ยวที่ จ.สงขลา กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจากที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียและสิงคโปร์บางส่วน งดการเดินทางในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
สมานฉันท์แรงงานไทยจี้รัฐสางปัญหา-แนะเยียวยาคนทุกข์
เดลินิวส์ (
25 พ.ค. 53) - เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 25 พ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอเสนอมาตรการในการเยียวยาและแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผล กระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง โดยมีนางอัญชลี วานิชเทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับมอบ
สำหรับข้อเสนอของ คสรท.เกี่ยวกับมาตรการในการเยียวยาและแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัด แย้งทางการเมือง มีดังนี้
1.รัฐบาลต้องจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือต่อผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์และประสานงานในการส่งต่อให้ได้รับการเยียวยาและแก้ ปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.รัฐบาลและกระทรวงแรงงานจะต้องสร้างกลไกการคุ้มครองแรงงานที่มีผลกระทบต่อ การจ้างงานในภาวะวิกฤตทางการเมือง โดยต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อแก้ปัญหาการจ้างงานในสถานการณ์ขัดแย้งทางการเมือง เยียวยาและแก้ปัญหาการเลิกจ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น
3.ให้กระทรวงแรงงานจัดสรรงบประมาณในการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ ไม่ได้รับค่าชดเชยจากสถานประกอบการ และให้กระทรวงแรงงานเรียกเก็บกับนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อนำกลับเข้าคืนกองทุนต่อไป
4.เสนอให้ภาครัฐเป็นตัวกลางในการประสานให้จัดเวทีสาธารณะหารือร่วมกันเสนอ ทางออกในการเยียวยาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบการรายย่อย ลูกจ้างผู้ประสบความเดือดร้อน องค์กร นายจ้าง และหน่วยงานของรัฐ
จับสองนายหน้าหลอกแรงงานลงเรือประมง
เนชั่นทันข่าว (24 พ.ค. 53) -
พ.ต.อ.ณพวัฒน์ อารยางกูร ผกก.1 บก.ปคม.พร้อมกำลังจับกุม นายพิมล บุญพงษ์ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 83/83 หมู่ 3 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และนายมาโนช เล็กเจริญ อายุ 48 ปี อยู่เลขที่ 64/13 หมู่ 3 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ตามหมายจับศาลอาญาลงวันที่ 11 มี.ค.2553 ข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ แสวงหาประโยชน์จากการบังคับใช้แรงงานทำงานประมง ร่วมกันเพื่อเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส และร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิต ใจ โดยจับกุมนายพิมลได้ที่บ้านพัก ส่วนนายมาโนชจับกุมได้ที่ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร
สืบเนื่องจาก นายสมอาจ จันทร์คำเครือ ผู้เสียหาย ได้เข้าแจ้งความที่ บก.ปคม.ก่อนหน้านี้ว่า ขณะที่รอรถประจำทางอยู่ที่สนามหลวง เพื่อหางานทำใน กทม.ได้พบกับนายมาโนช ซึ่งมาชักชวนให้ไปทำงานในเรือประมง โดยอ้างว่ามีรายได้เดือนละ 7,000 บาท ทำงานแค่ 1-2 เดือน ก็จะได้กลับเข้าฝั่งครั้งหนึ่ง จึงสนใจร่วมเดินทางไปทำงาน ก่อนจะถูกส่งตัวไปให้นายพิมล ที่พาไปลงเรือประมง “สาธิตนาวี 3” ออกเรือไปทำงานในอ่าวไทย แต่ระหว่างนั้นกลับถูกบังคับให้ทำงานทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ตามที่กล่าวหา เมื่อขัดขืนก็ถูกไต้ก๋งทำร้ายร่างกายและจับโยนลงทะเลจนต้องลอยคออยู่กลาง ทะเล 1 คืน กระทั่งมีเรือตรวจการณ์ของประเทศเวียดนามมาพบและช่วยเหลือพาส่งกลับประเทศไทย
หลังจากรับแจ้งความได้จัดชุดสืบสวน กก.1 บก.ป.ลงพื้นที่รวบรวมพยานหลักฐานก่อนขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง สอง 2 จนสามารถติดตามจับกุมตัวไว้ได้ สำหรับเรือประมงลำดังกล่าวจากการสืบสวนทราบว่ามีนายสาธิต ขำสกุล เป็นเจ้าของและถูกจับกุมตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ คงเหลือเพียงนายเล็ก และนายเขียว ไม่ทราบชื่อสกุล ไต้ก๋งและลูกอวน ที่ยังคงหลบหนีอยู่
สอบสวนผู้ต้องหาทั้งสองให้การปฏิเสธ โดยอ้างว่ามีอาชีพขายอาหารทะเลอยู่ที่ตลาดมหาชัยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การชักชวนผู้เสียหายไปทำงานในเรือประมงแต่อย่างใด นำตัวส่งพนักงานสอบสวน บก.ปคม.รับไว้ดำเนินคดีต่อไป
รัฐ-ส.อ. ท.รื้อระบบแรงงาน แก้วิกฤติขาดแคลน-ชี้"เลิกจ้าง"ลดลง
แนวหน้า (
24 พ.ค. 53) - นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ส.อ.ท.ชุดใหม่วันที่ 24 พฤษภาคม จะเสนอการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรม เพื่อเร่งหาข้อสรุปแนวทางต่างๆให้ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากนั้นจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงแรงงาน เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อวางระบบบริหารจัดการระยะยาว ซึ่งจะมีการประสานข้อมูลแรงงานร่วมกัน ก่อนจะร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อฝึกทักษะให้แรงงานใหม่ก่อนป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เบื้องต้นตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในปีแรกไว้ว่าจะมีแรงงานเข้าสู่ระบบ 50,000 คน
"ระบบการบริหารแรงงานรูปแบบใหม่นี้ จะต้องใช้ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมที่จะส่งจำนวนผู้ว่างงานให้กรมการจัด หางาน จากนั้น ส.อ.ท.จะรวบรวมว่ามีความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมใด เพื่อแจ้งกลับไปยังกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จากเดิมที่หน่วยงานเหล่านี้จะทำงานแยกส่วนกัน ทางหนึ่งจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ว่างงานก็จ่ายไป อีกทางหางานให้ก็หาไป ไม่ได้ประสานกันเป็นระบบ" นายทวีกิจ กล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ตัวเลขผู้ว่างงานล่าสุดจากรายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้างและ แนวโน้มของกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานของผู้ประกันตน ระหว่างวันที่ 1-15 เมษายน ที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 20,624 คน เมื่อพิจารณาย้อนไปในช่วงเดือนตุลาคม 2552-มีนาคม 2553 รวมระยะเวลา 6 เดือน มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนว่างงานทั้งสิ้น 270,448 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ถูกเลิกจ้าง 54,699 คน และกลุ่มที่ลาออกจากงานเอง 215,749 คน
"สถานการณ์การเลิกจ้างมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ถึงปัจจุบันมีจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ถูกเลิกจ้างรวม 1,501 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผู้ถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 31,084 คน" นายทวีกิจ กล่าว
ก.แรงงาน คาดมีลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมเพิ่ม 30,000 คน
ประชาชาติธุรกิจ (23 พ.ค. 53) -
น.ส.ส่งศรี บุญบา รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านการจ้างงานจากการ ชุมนุมทางการเมือง (ศชจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากเปิดศูนย์ ศชจ. อีกครั้งตั้งแต่เมื่อวานนี้ มีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบด้านการจ้างงาน เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือจาก ศชจ.เพิ่มอีกว่า 100 คน ทำให้มีลูกจ้างที่มาลงทะเบียน ตั้งแต่มีการเปิดศูนย์ครั้งแรก รวมแล้วกว่า 2,300 คน โดยในจำนวนนี้ เป็นลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างประมาณ 150 คน นอกจากนี้ยังมีนายจ้างและผู้ประกอบการมาลงทะเบียนอีกว่า 700 คน
อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้จะเพิ่มมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20,000 คน แต่เมื่อมีการเผาทำลายทรัพย์สิน และอาคารสถานที่หลายแห่ง ตัวเลขผู้ได้รับความเดือดร้อนน่าจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 -40,000 คน ดังนั้นจึงขอให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนรีบมาลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วย เหลือ ที่ ศชจ. ภายในกระทรวงแรงงาน ได้ทุกวันในเวลาราชการ โดยในวันพรุ่งนี้เวลา 10.00 น. นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะเรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน เพื่อกำหนดมาตรการในการช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป
ก.แรงงานเปิดศูนย์วันแรก ลูกจ้างลงทะเบียนกว่าร้อยราย
สำนักข่าวไทย (
22 พ.ค. 53) - กระทรวงแรงงาน เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านการจ้างงานจากการชุมนุมทางการเมือง วันแรก เดินทางมาแจ้งลงทะเบียนกว่า 100 ราย
น.ส.ส่งศรี บุญบา รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านการจ้างงานจากการ ชุมนุมทางการเมือง (ศชจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากปิดศูนย์ชั่วคราวเพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ วันนี้มีลูกจ้างที่ประสบภาวะเลิกจ้าง หรือไม่สามารถติดต่อนายจ้างได้ เดินทางมาลงทะเบียน รวมทั้งมีกลุ่มมัคคุเทศก์ หรือไกด์ ที่ต้องจัดเป็นลูกจ้างประเภทพิเศษ เพราะได้รับผลกระทบมายาวนานแล้ว เนื่องจากบริษัทขาดนักท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ความไม่สงบหลายช่วง
การให้ความช่วยเหลือจะนำเงินจากกองทุนสวัสดิการลูกจ้างซึ่งมีประมาณ 300 ล้านบาท มาจ่ายชดเชยให้ และทันทีที่ติดต่อนายจ้างได้ จะเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนจากนายจ้างต่อไป ส่วนกรณีที่ตกงานอยากฝึกอาชีพ ทางกรมการจัดหางานก็จะส่งเข้าฝึกอาชีพตามต้องการ พร้อมมีเงินเบี้ยเลี้ยงรายวันให้วันละ 120 บาท สำหรับนายจ้างที่ประสบปัญหาจะมีจุดรับเรื่องอยู่ที่กรมทหารราบที่ 11ฯ จึงไม่ได้มาที่กระทรวงแรงงานในวันนี้
น.ส.ลลิตา ศีลธรรม ไกด์ภาษาญี่ปุ่น ของบริษัทเอกชนย่านสีลม เปิดเผยว่า วันนี้ตนกับเพื่อน 20 ราย เดินทางมาลงทะเบียนขอความช่วยเหลือที่ศูนย์แห่งนี้ด้วยเพราะไม่รู้จะหันหน้า ไปขอความช่วยเหลือจากใคร เนื่องจากบริษัทขาดลูกทัวร์ นับเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์หลายเดือนแล้ว ส่งผลให้มัคคุเทศก์ที่รับงานเป็นชิ้น ขาดรายได้ และไม่ใช่ความผิดของทางบริษัทที่ไม่สามารถหาลูกค้าได้ อยากให้รัฐบาลช่วยดูแลผลกระทบด้านการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นขณะนี้มากที่สุด ทางออกข้างหน้า ตนคิดว่าอาจจะผันตัวเองไปเป็นมัคคุเทศก์นำคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นแทน เพราะยังมีโอกาสที่จะหารายได้ ได้มากกว่า
สำหรับลูกจ้างที่ได้รับความเดือดร้อนยังสามารถมาลงทะเบียนได้อย่างต่อเนื่อง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-5764 เพื่อรับคำปรึกษาและลงทะเบียน
ไทยซาโก้ ปลดพนักงานกว่า 80 คน
เสียงใต้ราย (13 พ.ค. 53) -
วันเมื่อวันที่ 12 พ.ค. นายปัญญา ต่อเจริญ ผู้บริหารบริษัทไทยซาโก้ จำกัด พร้อมด้วยนายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต พร้อมคณะเข้าพบ นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ที่ห้องทำงาน ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เพื่อหารือและชี้แจงถึงกรณีการปลดพนักงานของบริษัทไทยซาโก้ จำกัด
นายปัญญา กล่าวว่า การปลดพนักงานของบริษัทไทยซาโก้ เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถนำเข้าแร่ดีบุกจากประเทศตองโก ทวีปแอฟริกาได้ ด้วยปัจจัยทางการเมืองระหว่างประเทศ ในปัจจุบันพนักงานของบริษัทมีทั้งหมด 240 คน ซึ่งการปลดพนักงานครั้งนี้อยู่ที่ 80 คน ส่วนใหญ่จะเป็นการให้สมัครใจ และจะมีการจ่ายเงินชดเชย โดยพนักงานส่วนใหญ่ที่ออกมีอายุงาน 30 ปี พอใจกับการได้เงินก้อน แต่อย่างไรก็ดีก็มีอยู่บ้าง 4-5 คน ที่ไม่อยากออก แต่บริษัทฯ ก็จำเป็นให้ออก ด้วยบุคคลเหล่านี้ขาดงานบ้าง หนีงานบ้าง บางคนไม่ขยันทำงาน ซึ่งบริษัทฯ จะพยายามเจรจาหาทางออกต่อไป
ด้านนายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการพูดคุยหลาย ๆ ฝ่ายตอนนี้ไม่มีปัญหาอะไร พนักงานที่ออกไปส่วนใหญ่สมัครใจ การลดพนักงานเป็นไปตามครรลอง ด้วยสภาวะเศรษฐกิจของโลก จำเป็นต้องลดกำลังคนให้เหมาะกับกำลังผลิต ด้านค่าชดเชยพนักงานจากการตรวจสอบมีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง ที่สำคัญบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเกินกฎหมายจาก 1 งวด เป็น 2 งวด แถมอายุงานอีก 10 วัน บางคนได้เงินชดเชยถึง 4 ล้านบาท ส่วนการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องการทำงานต่อทางสำนักงานฯ ได้เตรียมอัตรางานไว้แล้ว
ครม.ไฟเขียวปรับแนว"เออร์รี่ฯ"วางกรอบปีงบ 54
คม ชัด ลึก (12 พ.ค. 53) -
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (11 พ.ค.) มีมติเห็นชอบข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ หรือ โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (เออร์รี่รีไทร์) ระหว่างปีงบประมาณ 2554 และปีงบประมาณ 2555 โดยปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ จากเดิมที่กำหนดให้เหลืออายุราชการตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เป็นตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป หมายความว่าต่อไปนี้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯได้ต้องอายุ 50-58 ปีเท่านั้น
ส่วนหลักเกณฑ์อื่นๆให้คงไว้ต่อไป เช่น ผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และกรณีเป็นข้าราชการทหารกำหนดอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป หรือมีเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ไม่รวมเวลาทวีคูณ
อธิบดีกรมการจัดหางาน เร่งพิสูจน์แรงงานพม่าครบล้านปี 55
มติชน (11 พ.ค. 53) -
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ว่า สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวรายงานการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าว่า มีแรงงานพม่าเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติและได้หนังสือเดินทางแล้ว 82,767 คน แม้จะมีจำนวนไม่มาก แต่ทางการไทยและพม่ากำลังเร่งรัดการพิสูจน์สัญชาติให้เป็นไปตามเป้า เสร็จสิ้นภายในปี 2555 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีแรงงานพม่าไปพิสูจน์สัญชาติ ให้ได้ด่านละ 600 คนต่อวัน รวม 3 ด่าน จำนวน 1,800 คน หรือเดือนละ 5 หมื่นคน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ปี 2555 จะมีแรงงานพม่าประมาณ 1.2 ล้านคน เดินทางไปพิสูจน์สัญชาติและได้รับหนังสือเดินทางทั้งหมด
นายจีรศักดิ์ กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวที่เดินทางไปพิสูจน์สัญชาติเกือบ 1 ล้านคน จะทยอยกลับบ้าน เหลืออยู่ในไทยประมาณ 7 แสนคน แต่เมื่อแรงงานพม่าที่ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวจากพม่ากลับมาไทย มักจะไม่เปลี่ยนบัตรจากสีชมพู ซึ่งหมายถึงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานในไทย และห้ามออกนอกพื้นที่ มาเป็นบัตรสีเขียว ซึ่งหมายถึงแรงงานพม่าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีอิสระเดินทางออกนอกพื้นที่ได้ เมื่อไม่เปลี่ยนบัตร ทำให้ถูกรีดไถและถูกจับกุม และเป็นช่องทางของการเก็บส่วย จึงต้องมีการปรับรูปแบบประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ใหม่
ผบก.ศส.สตม.จับแรงงานเถื่อน 2.1 พันคน
สยามรัฐ (10 พ.ค. 53) -
พล.ต.ต.มนู เมฆหมอก ผบก.สส.สตม.พร้อม พ.ต.อ.วรวัฒน์ อมรวิวัฒน์ ผกก.2 บก.สส.สตม.ร่วมแถลงผลการจับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2553 ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ทั้งหมด 2,197 คน แบ่งเป็นสัญชาติกัมพูชาจำนวน 1,519 คน สัญชาติพม่าจำนวน 538 คน และสัญชาติลาวจำนวน 140 คน โดยการจับกุมดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่กำชับให้เจ้าหน้าที่กวดขันจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิด กฎหมาย ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะเปิดขยายเวลาพิสูจน์สัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้ไปรายงานตัวเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน แต่ก็พบว่ายังมีแรงงานต่างด้าวอีกจำนวนมากที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมายอยู่
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมสัมมนาเสื้อแดงที่นิวเซาท์เวลส์-ด้านพลเมืองออสเตรเลียโวยถูกซ้อมในเรือนจำหลังร่วมเสื้อแดง

Posted: 31 May 2010 02:02 AM PDT

กลุ่มพธม.สังคมนิยมออสเตรเลียและ นสพ.กรีนเลฟวีคลีย์เตรียมจัดสัมมนา "ประเทศไทย: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" เชิญคนเสื้อแดงออสเตรเลียเสวนา พร้อมฉายคลิป "คอร์เนอร์ เพอร์เซลล์" ชาวออสเตรเลียที่ร่วมเวทีเสื้อแดงซึ่งขณะนี้ถูกควบคุมตัว โดยเจ้าตัวโวยผ่านช่อง 'เอบีซี' ถูกซ้อมในเรือนจำ

<!--break-->

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ ที่ Resistance Centre เลขที่ 23 ถนนอเบอครอมบี รัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย กลุ่มพันธมิตรสังคมนิยม และหนังสือพิมพ์ Green Left Weekly จะจัดสัมมนาหัวข้อ ประเทศไทย: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (THAILAND: A struggle for democracy)

โดยผู้จัดงานจะเชิญผู้แทนคนเสื้อแดงออสเตรเลีย (THAI RED AUSTRALIA) เป็นวิทยากร และจะมีการฉายคลิปการชุมนุมรวมทั้งจะมีการคลิปของนายคอร์เนอร์ เดวิด เพอร์เซลล์ (Connor David Purcell) หรือคอร์เนอร์ เพอร์เซลล์ พลเมืองออสเตรเลีย จากเมืองเพิร์ธ ที่ร่วมปราศรัยบนเวทีคนเสื้อแดงและถูกจับเมื่อ 23 พ.ค.
 

(แฟ้มภาพจาก เอบีซี: นายคอร์เนอร์ เพอร์เซลล์จากสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลีย ที่ร่วมปราศรัยบนเวทีคนเสื้อแดง)

ทังนี้นายเพอร์เซลล์ ถูกจับในข้อหาละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และยุยงให้เกิดความรุนแรง มีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี โดยนายเพอร์เซลล์ ปฏิเสธไม่ใส่ชุดนักโทษและไม่ยอมรับการปฏิบัติแบบนักโทษ เนื่องจากเขาเป็นนักโทษการเมือง แต่ข้อเรียกร้องของเขาได้รับการปฏิเสธ ล่าสุดสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลียรายงานเมื่อ 28 พ.ค. ว่านายเพอร์เซลล์อ้างว่าถูกซ้อมระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำ

โดยการถูกจับของนายเพอร์เซลล์จะเป็นหัวข้อหนึ่งของการสัมมนาในวันที่ 1 มิ.ย. ด้วย

 

ที่มาของข่าว: socialistalliancesydney และ abc

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำบุญครบรอบ 50 วันผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษา

Posted: 31 May 2010 01:27 AM PDT

ญาติมิตรทำบุญครบ 50 วัน ให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายน ญาติยืนยันยังไม่ฌาปนกิจจนกว่าจะมีการพิสูจน์ความจริง

<!--break-->

พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่นายทศชัย เมฆงามฟ้า และนายไพรศล ทิพย์ลม ที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค นางเลิ้ง)

ญาติมิตรถ่ายรูปเป็นที่ระลึก หลังพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ที่วัดสีกัน ย่านดอนเมือง

 

วานนี้ (30 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 วันการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน โดยมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตหลายจุดของกรุงเทพฯ

โดยช่วงเช้าที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค นางเลิ้ง) มีการทำบุญครบรอบ 50 วันการเสียชีวิตของนายทศชัย เมฆงามฟ้า และนายไพรศล ทิพย์ลม 2 ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม โดยมีการเลี้ยงภัตตาหารเพลพระสงฆ์ ถวายสังฆทาน และผ้าบังสุกุล โดยมีญาติ คนเสื้อแดง เพื่อนร่วมงานของผู้ล่วงลับทั้งสองมาร่วมงานจำนวนมาก

ส่วนที่วัดสีกัน ย่านดอนเมือง มีการทำบุญครบรอบ 50 วันการเสียชีวิตของนายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์  โดยมีญาติมิตรและคนเสื้อแดงมาร่วมงานจำนวนมากเช่นกัน

นางสุนันทา ปรีชาเวทย์ พี่สาวของนายทศชัย ผู้ล่วงลับ กล่าวว่า ญาติมิตรจัดงานทำบุญวันนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยครอบครัวจะยังไม่ประกอบพิธีฌาปนกิจ จะยังคงรักษาร่างนายทศชัยไว้เพื่อต้องการให้มีการพิสูจน์ความจริงใหม่ หรือชันสูตรพลิกศพอีกครั้ง พร้อมกับผู้เสียชีวิตทุกรายของ นปช. ที่ต้องทำการฌาปนกิจพร้อมกัน เพราะไม่แน่ใจในการชันสูตรครั้งแรก นางสุนันทากล่าวด้วยว่าคนเสื้อแดงไม่มีวันลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทบรรณาธิการ "ข่าวสด": คดีวัดปทุมฯ

Posted: 30 May 2010 10:49 PM PDT

<!--break-->

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ไม่มีผู้ปฏิเสธได้ก็คือ มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 6 รายอยู่ในบริเวณเต็นท์พยาบาลของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ที่เข้าไปหลบภัยอยู่ในวัดปทุมวนาราม เมื่อคืนวันที่ 19 พฤษภาคม

ขณะที่พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายทั้งไทยและเทศระบุว่า มีทหารยิงปืนเข้ามาในบริเวณวัด และทำให้มีผู้เสียชีวิต

ในขณะที่รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงแถลงว่า มิใช่การลงมือของเจ้าหน้าที่ทหาร แต่เป็นฝีมือของโจรก่อการร้าย

สำทับด้วยรองเสนาธิการทหารบกที่ระบุว่า ในเวลาเกิดเหตุนั้น กำลังของเจ้าหน้าที่ทหารยังเคลื่อนมาไม่ถึง

แล้วอะไรคือความจริง?

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กองทัพไปดำเนินการหาข้อเท็จจริงในเรื่องข้างต้น เนื่องจากเป็นประเด็นที่สังคมยังสับสน และตั้งคำถามเอากับรัฐบาลและทหาร

โดยเฉพาะในประเด็นการด่วนบอกปัดปฏิเสธ และคำปฏิเสธนั้นเองที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเพิ่มขึ้น

เช่นเมื่อรองนายกฯกล่าวว่า ภาพซึ่งตีพิมพ์โดยทั่วไปคือภาพของทหารบริเวณศาลาแดง ก็มีผู้ขยายภาพนั้นให้เห็นว่าแท้จริงแล้วเป็นบริเวณหน้าวัดปทุมฯ

หรือเมื่อโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ทหารอยู่ในบริเวณดังกล่าวจริงเฉพาะช่วงเย็นของวันที่ 19 และเช้าของวันที่ 20 พฤษภาคม

ก็มีคำถามว่าแล้ว"โจร"ขึ้นไปก่อการร้ายบนรางรถไฟฟ้าในยามค่ำคืนได้อย่างไร

ปกติธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไป เมื่อมีผู้ตั้งคำถามหรือข้อสงสัย ก็จะต้องใช้ความจริงเข้าอธิบายทำความเข้าใจ หรือเมื่อไม่รู้ความจริง ก็ต้องร่วมกันแสวงหาคำตอบ การด่วนปัดปฏิเสธมีแต่จะยิ่งทำให้ความเคลือบแคลงสงสัยรุนแรงยิ่งขึ้น

ยิ่งเป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ยิ่งเป็นกรณีที่อาจจะขยายวงบานปลายสร้างปัญหาให้กับสังคมระลอกใหม่ได้โดยง่าย ยิ่งเป็นรัฐบาลที่จะต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่าใคร

ยิ่งจะต้องแสดงความรอบคอบระมัดระวังต่อการแสดงความคิดเห็น และกำหนดท่าทีให้ถูกต้อง

เพราะการปกปิดอาชญากรรมนั้นมีความผิดไม่น้อยไปกว่าตัวอาชญากรรมเอง

 

-----------------------------
หมายเหตุ: 

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7123 ข่าวสดรายวัน


 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper