โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai.info

ประชาไท | Prachatai.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รายงาน: กลุ่มอิสระในเชียงใหม่ติดป้ายรณรงค์มนุษยธรรม

Posted: 24 May 2010 02:31 PM PDT

กลุ่มอิสระใน จ.เชียงใหม่ ร่วมกันรณรงค์ติดป้ายตามวัดในเชียงใหม่ ได้แก่ วัดเชียงมั่น วัดพันเตา วัดพระสิงห์ และวัดอุโมงค์ เพื่อรณรงค์ และมีการร่วมพูดคุยกับพระสงฆ์ เพื่อรณรงค์ให้เห็นมนุษยธรรมและสันติภาพ

<!--break-->

 

ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. กลุ่มอิสระใน จ.เชียงใหม่ ร่วมกันรณรงค์ติดป้าย “ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายประชาชน” ตามวัดในเชียงใหม่ ได้แก่ วัดเชียงมั่น วัดพันเตา วัดพระสิงห์ และวัดอุโมงค์ เพื่อรณรงค์ และมีการร่วมพูดคุยกับพระสงฆ์ เพื่อรณรงค์ให้เห็นมนุษยธรรมและสันติภาพ

โดยล่าสุด วานนี้ (24 พ.ค.) นายวิภู ชัยฤทธิ์ ตัวแทนกลุ่มอิสระให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้ต้องมีการถามหาความรับผิดชอบจากการสังหารหมู่ประชาชนจากการชุมนุมที่แยกราชประสงค์

"นี่ไม่ใช่แค่การล้อมฆ่าโดยกำลังทหาร แต่มันมีเสียงว่า 'ฆ่ามันๆ' จากคนไทยด้วยกันตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ หรือแม้แต่ในสังคมออนไลน์" นายวิภูกล่าว "ผมว่าแปลกมากถ้าไม่มีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมนี้ คนเกลียดถึงกับต้องการจะฆ่ากัน แล้วก็เป็นการฆ่าสำเร็จ เป็นการยินยอมให้รัฐบาลสั่งฆ่าเพื่อนมนุษย์ที่หนำซ้ำยังเป็นเพื่อนร่วมชาติ"

นายวิภูกล่าวว่า ถ้าหากความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างว่าเพราะผู้ชุมนุมเรียกร้องก่อความวุ่นวายในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ก็ขอให้ลองมองย้อนไปดูถึงความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคม ที่เคยเป็นมาในเวลา 2 เดือนที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ อาจสูญเสียรายได้ หรือกับบางคนอาจต้องสูญเสียการงาน แลกกับการต้องดิ้นรนขัดสนทั้งชีวิตของคนที่ไปชุมนุม นี่ผมยังไม่พูดถึงคนอีกกลุ่มที่มีการศึกษา มีโอกาสในหน้าที่การงานที่ดีกว่า แต่พวกเขาออกมาร่วมเรียกร้องในสถานที่ชุมนุม ปรากฏการณ์อย่างนี้ไม่ใช่นัดกันมาแล้วทำได้ ไม่ใช่มีเงินอย่างเดียวแล้วทำได้ มันต้องมีเหตุปัจจัยที่สำคัญเป็นองค์ประกอบด้วย

“พวกผมพยายามรณรงค์มาก่อนหน้านี้แล้ว ให้ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายประชาชน หยุดใช้ความรุนแรง เพราะมันจะนำไปสู่เหตุที่ไม่อาจประเมินสถานการณ์ได้ แล้วกลับเป็นรัฐเสียเองที่ปิดหูปิดตา เลือกจะใช้อำนาจเด็ดขาดปราบปรามประชาชน อ้างว่าเพื่อรักษาความสงบสุขของบ้านเมือง ผมประหลาดใจว่ามีประเทศประชาธิปไตยแห่งใดในโลก ที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แล้วผู้นำรวมทั้งรัฐบาลยังคงสง่าผ่าเผยอยู่ได้”

ถึงวันนี้แล้ว การเรียกร้องเรื่องให้ทุกฝ่ายหยุดทำร้ายประชาชนของเราเปลี่ยนแปลงไป เพราะรัฐที่น่าจะเป็นฝ่ายซึ่งควรมีวุฒิภาวะสูงกว่า กลับเลือกวิธีการที่ป่าเถื่อนที่สุดซึ่งมนุษย์สามารถกระทำต่อมนุษย์ได้ คือการฆ่ามาใช้ ดังนั้น การออกมาคราวนี้ของเรา จึงเป็นการออกมานำเสนอความจริง ไม่ใช่ความจริงฉบับ ศอฉ. แต่เป็นความจริงฉบับชาวบ้าน ผ่านภาพที่ ศอฉ. ไม่ได้คัดเลือก และบางภาพซึ่งคัดเลือกไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการตกแต่ง เพราะเราจะไม่ซ้ำเติมเหตุการณ์ด้วยวิธีตบตาประชาชน

"ผมเข้าใจว่าหลายคนอาจมองเราเชื่อมโยงกับสีใดสีหนึ่ง แต่ผมยืนยันว่าพวกเราทำในฐานะของเพื่อนมนุษย์ที่ยังเห็นค่าในความเป็นมนุษย์ของกันและกันเท่านั้น และผมหวังว่าความจริงที่พวกเรานำ มาออกมาเสนอนี้ หากแม้ไม่สามารถจะเรียกร้องให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีแสดงออกถึงความรับผิดชอบได้ ก็ขอให้สิ่งที่ปรากฏได้สามารถเรียกร้องความเป็นมนุษย์ของใครหลายคนกลับคืนมา เพราะเท่าที่ผ่านมานั้นพวกเราตกเป็นเหยื่อข้อมูลทางการเมืองมามากแล้ว โดยลืมคำนึงไปหรือเปล่าว่า สิ่งที่บรรดานักการเมืองรุ่นเลือดเย็นกำลังทำอยู่นั้น พวกเขาทำไปเพื่ออะไร ผมรู้อย่างหนึ่งว่า ไม่ใช่เพื่อรักษาสวัสดิภาพและชีวิตของประชาชนอย่างแน่นอน ตราบเท่าที่พวกเขาจะใช้คำว่าผู้ก่อการร้าย เรียกขานถึงใครอีกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ และมันแปลว่าประชาชนผู้นั้นถูกรัฐ อนุญาตให้ฆ่าเรียบร้อยแล้ว" นายวิภูกล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

DSI ส่ง ป.ป.ช.สอบเอาผิด“มาร์ค-สุเทพ”คดีสลายการชุมนุม 10 เม.ย.

Posted: 24 May 2010 02:27 PM PDT

“ดีเอสไอ” สรุปสำนวนส่ง ป.ป.ช.สอบสวนข้อเท็จจริง “อภิสิทธิ์-สุเทพ” เหตุสั่งยึดพื้นที่คืนแยกคอกวัว ชี้เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่อยู่ในอำนาจ ส่วนหมายจับ “ทักษิณ” ข้อหาก่อการร้าย ศาลนัดฟังคำสั่งอนุมัติหรือไม่วันนี้

<!--break-->

(24 พ.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชุดใหญ่ร่วมกับ 13 หน่วยงานว่า ได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบชุดใหญ่ เพื่อสรุปการทำงานและหารืออุปสรรคการทำงาน 

นายธาริต กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ส่งเรื่องกรณีญาติผู้ตาย มาร้องทุกข์กล่าวโทษ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศอฉ.ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ในการสอบสวนกรณีเหตุการณ์รัฐบาลขอคืนพื้นที่ถนนราชดำเนิน บริเวณแยกคอกวัว จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 เม.ย.หลังจากมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อดีเอสไอ 1 เรื่อง ร้องทุกข์ที่กองปราบปราบ 6 เรื่อง โดยเรื่องทั้งหมดจะถูกรวบรวมส่ง ป.ป.ช. 

 

เผยรับ “คดีก่อการร้าย”แล้วกว่า 116 คดี ชี้มีเพิ่มอีกจากต่างจังหวัด 

นายธาริต กล่าวอีกว่า หลังจากการชุมนุม นปช.ยุติแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องคดีก่อการร้าย เป็นเรื่องขัดแย้งส่วนตัวก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าการเคลื่อนไหวเกี่ยวเนื่องในเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้น เช่น ยังมีการวางเพลิงเผาทรัพย์ ก็จะเป็นเกี่ยวกับคดีพิเศษที่ดีเอสไอต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น ส่วนเรื่องการห้ามบุคคลและนิติบุคคลต่างๆ เกือบ 200 รายชื่อ ทำธุรกรรมทางการเงินนั้น เป็นเรื่องของ ศอฉ.โดยดีเอสไอ ปปง. ป.ป.ส.และสรรพากร เป็นเพียงเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานและประมวลเรื่อง หลังจากทางธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ส่งรายละเอียดการทำธุรกรรมทางการเงินย้อนหลัง 9 เดือนมาให้ภายในวันที่ 26 พ.ค.ซึ่งทั้ง 4 หน่วยงานจะประสานร่วมมือกันทำงาน สำหรับคดีก่อการร้ายขณะนี้ สรุปดีเอสไอรับมาแล้ว 116 คดี แต่ยังมีคดีในต่างจังหวัดเข้ามาเพิ่มเติมอีก

 

ศาลนัดฟังคำสั่งอนุมัติหมายจับ "ทักษิณ" ข้อหาก่อการร้ายหรือไม่ 25 พ.ค.นี้

วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 12.00 น. ศาลอาญาไต่สวน กรณีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดี และพ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง หัวหน้าชุดสอบสวน ที่ดีเอสไอขออนุมัติหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ข้อหาก่อการร้ายแล้ว โดยศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะอนุมัติหมายจับหรือไม่ในวันพรุ่งนี้ (25 พ.ค.) เวลา 13.30 น.

 

แจงหาก “ทักษิณ” โดนคดีก่อการร้าย ทำคนลุกต้าน เป็นหน้าที่ ศอฉ.ดูแล

นายธาริต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรามั่นใจในพยานหลักฐานที่ดำเนินการไป แต่จะศาลจะอนุมัติออกหมายจับข้อหาผู้ก่อการร้ายในราชอาณาจักร หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล แต่หากศาลอนุมัติก็จะดำเนินการเพื่อให้ได้ผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดี ต่อข้อถามว่า จะขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า จะประสานงานกับสำนักงานอัยการสูงสุด เพราะเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศในการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มั่นใจว่าจะมีประเทศใดบ้างมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีก่อการร้าย 

ส่วนหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย เกรงว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมจากผู้ชุมนุม นปช.หรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า หากเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นก็เป็นเรื่องของ ศอฉ.ที่จะดำเนินการรับผิดชอบ ส่วนดีเอสไอ ก็จะทำหน้าที่ตามปกติ นายธาริต กล่าวอีกว่า สัปดาห์นี้ดีเอสไอ จะขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายเพิ่มอีก เป็นแกนนำ นปช.ระดับรองลงไป จะมีทั้งตัวการและผู้สนับสนุนการก่อการร้าย ส่วนแกนนำ นปช.ที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ ดีเอสไอได้แจ้งข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ต้องหาทุกคนให้การปฏิเสธ

 

เผย “จตุพร” นัดมอบตัวบ่ายนี้

นายธาริต ให้ข้อมูลด้วยว่า ล่าสุดได้รับการติดต่อจาก นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช.ว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.ที่ถูกจับกุมข้อหาก่อการร้ายและได้รับการปล่อยตัวเนื่องจากได้เอกสิทธิ์ ส.ส.คุ้มครองระหว่างเปิดสมัยประชุมสภาฯ จะมามอบตัวที่ดีเอสไออีกครั้งในวันอังคาร เวลา 13.30 น.

 

ที่มา: มติชน, ไทยรัฐ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฝ่ายค้านเดินหน้า ยื่นถอดถอน "มาร์ค" พร้อม 3 รมต.ส่วน "กรณ์-กษิต" โดนแค่อภิปราย

Posted: 24 May 2010 01:27 PM PDT

ปธ.วิปฝ่ายค้าน นำสมาชิก พท.ยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาล เผย 12 ข้อหา "มาร์ค" ส่อทุจริต-ไร้วุฒิภาวะ-สั่งทหารฆ่าประชาชน พร้อม 5 รมต. แถมยื่นถอดถอน แต่ "กรณ์-กษิต" รอดโดนแค่อภิปราย ด้าน"ปู่ชัย"ขอเวลาดูเอกสาร 1-2 วัน

<!--break-->

วานนี้ (24 พ.ค.53) ที่รัฐสภา เวลา 12.00 น.คณะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิทยา บูรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้นำรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 159 คน เข้ายื่นเรื่องต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อขอถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย 3 รัฐมนตรี คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยขอให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการตามขั้นตอนในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270

จากนั้นในช่วงบ่ายได้เข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพื่อนำรายชื่อ ส.ส.จำนวน 184 คน ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ แยกเป็น 2 ญัตติ คือ 1.ญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ 2.ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จำนวน 5 คน โดย 2 ใน 5 รายชื่อรัฐมนตรีที่ยื่นการอภิปรายแต่ไม่ได้ยื่นถอดถอน คือ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากมีความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่หลักฐานไม่เพียงพอที่จะยื่นถอดถอนได้

"การอภิปรายครั้งนี้ เราไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับมือสนับสนุนจากเสียงของพรรค ร่วมรัฐบาล และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนก็ไม่ได้หวังเป็นนายกฯ แต่ทำตามครรลองประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายค้านเพียงต้องการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาลว่า เกิดอะไรขึ้นในอนาคตของประเทศต่อไปอย่างไร" นายวิทยา กล่าว

 

ยื่นปภิปรายซักฟอก 5 รมต.

ทั้งนี้ ในการยื่นถอดถอนฝ่ายค้านยังไม่ให้รายละเอียดเนื้อหาต่อสื่อมวลชน ส่วนรายละเอียดตามเอกสารของฝ่ายค้านระบุรายชื่อผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 มีรายละเอียดดังนี้

1.นายสุเทพ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ มีพฤติกรรมส่อกระทำผิดต่อหน้าที่ตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค. 53 กรณีสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และทำผิดตามกฎหมาย คือผิดต่อ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้กำลังทหารเข้าไปข่มขู่คุกคามในสถานีไทยคม และทำการทำลายสัญญาณการสื่อสารโทรทัศน์ ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการ สื่อสาร นอกจากนี้นายสุเทพยังได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. กระทำการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ โดยการบุกรุกภูเขา กระทำการออกโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิ์และเตรียมการจัดสรรที่ดินขายโดยไม่ชอบ

2.นายกรณ์ ดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศผิดพลาดบกพร่อง ไม่ดำเนินงานตามแผนงานการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552-2554 และแผนนิติบัญญัติ 2552-2554 ซึ่งมุ่งแสวงการก่อหนี้สาธารณะ จนขณะนี้หนี้สาธารณะสูงเกินกว่า 60% และเป็นภาระผูกพันต่อประเทศชาติ โดยไม่คำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจและความจำเป็นในการใช้จ่ายของประเทศ และภาระหนี้สาธารณะที่มีอยู่นำเงินที่ได้จากการกู้ไปดำเนินนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ทั้งที่โครงการแต่ละโครงการไม่ได้สร้างประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ มีการสูญเปล่าในหลายโครงการ ที่เรียกว่า “กู้มาโกง” ซึ่งงบประมาณแผ่นดินที่กู้มาส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างซ่อมถนน เม็ดเงินไม่ได้ลงไปถึงประชาชนและภาคการผลิตอันก่อให้เกิดรายได้ที่แท้จริง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท โดยไม่เป็นไปตามแผนนิติบัญญัติ

3.นายกษิต บริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศในสายต่อประชาคมโลก มีพฤติกรรมข่มขู่ ก้าวร้าวต่อมิตรประเทศ สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสื่อมทรุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายที่เห็นต่างกับตนเอง มุ่งทำลายล้างนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามในทุกวิถีทาง โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและนโยบายที่ได้แถลงไว้

4.นายชวรัตน์ มีพฤติกรรมทีส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่และส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากกรณีที่ให้บริษัทเครือญาติของตนเองเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐในหลายโครงการ โดยตนเองมีส่วนร่วมเข้าไปลงมติเห็นชอบกับโครงการดังกล่าวในฐานะรัฐมนตรี ส่งผลให้รัฐต้องจ่ายเงินมากกว่าที่ควรจ่ายหลายพันล้านบาท รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ แทรกแซงและแสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของกรมการปกครอง อนุมัติให้มีการขออนุญาตจำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเพื่อมุ่งแสวงหาประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว

5.นายโสภณ บริหารราชการโดยการกำหนดนโยบายเพื่อมุ่งแสวงหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินและประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน รู้เห็นเป็นใจหรือยินยอมให้พวกพ้องหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองของตนเองเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากโครงการที่ได้กำหนดขึ้น มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจากการเอื้อประโยชน์ ให้บริษัทเอกชนที่เป็นพวกพ้องของตนเอง และญาติของรัฐมนตรีในพรรคการเมืองของตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบจาก การประมูลงาน และเป็นคู่สัญญากับรัฐ ส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียเงินงบประมาณเกินกว่าความเป็นจริงหลายพันล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในญัตติยังระบุด้วยว่า จากพฤติกรรมในการบริหารราชการแผ่นดินของทั้ง 5 รัฐมนตรี ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างร้ายแรงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและทรัพยากรธรรมชาติต้องถูกทำลายลง ไม่มีความเสมอภาคในการได้รับการจัดสรรทรัพยากรจากภาครัฐของประชาชน เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ข้าราชการประจำเสียขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติราชการ กระทบต่อระบบการแต่งตั้งราชการอย่างร้ายแรง ภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ประจักษ์ต่อสายตาประชาชนชาวไทยและประชาคมโลกส่งผลให้การจัดลำดับเครดิตของ ประเทศตกต่ำลงและการทุจริตในโครงการของรัฐนับวันจะยิ่งขยายวงกว้างออกไป อย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากปล่อยให้รัฐมนตรีทั้ง 5 คนบริหารราชการแผ่นดินต่อไปจะทำให้เสียหายร้ายแรงแก่ประเทศชาติยากต่อการเยียวยาได้

 

ระบุ 12 ข้อหา ยื่นซักฟอกอภิสิทธิ์

ส่วนข้อกล่าวหาในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์นั้นระบุถึงพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจให้บริหารราชการแผ่นดิน ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล 12 ข้อ คือ มุ่งบริหารราชการแผ่นดินเพื่อมุ่งประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง ส่งผลให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ขาดความรู้ความสามารถมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ กำกับดูแลบริหารราชการแผ่นดินไร้ประสิทธิภาพ รู้เห็นปล่อยปละละเลยให้รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แสวงหาประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินอย่างกว้างขวาง กำหนดนโยบายเพื่อเอื้อทุจริตเชิงนโยบาย บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นตามหลักนิติธรรม ไม่มีความเสมอภาค 

ใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างร้ายแรง สั่งการให้ทหารใช้อาวุธสงครามชนิดร้ายแรงเข้าปราบปรามประชาชนหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิตหลายครั้ง กลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสีให้ประชาชนที่มาชุมนุมโดยสงบ ต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาฐานก่อการร้าย นอกจากนี้ ยังละเว้นที่จะดำเนินคดีกับประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำผิดกฎหมาย โดยยึดสนามบิน ยึดทำเนียบ ไม่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่สามารถดูแลความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน บริหารการต่างประเทศและด้านเศรษฐกิจล้มเหลว ขาดไร้วินัยการเงินการคลัง ไม่ดำเนินการเรื่องที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จนเป็นภัยพิบัติของประเทศ และขัดขวางต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ 

ลุแก่อำนาจบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของตนเอง ปกปิดความผิดของตนเองและพวกพ้อง ครอบงำแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ใช้อำนาจแทรกแซงการแต่งตั้งข้าราชการปล่อยให้นักการเมืองแสวงหาประโยชน์จากการแต่งตั้ง และขาดความจริงใจในความปรองดองและสมานฉันท์ พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศและประชาชนอย่างร้ายแรง หากปล่อยให้บริหารประเทศต่อไป ย่อมส่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างยากที่จะเยียวยาได้

 

“ชัย” ชี้ตรวจสอบใน 1-2 วัน ก่อนส่งให้รัฐบาลกำหนดวัน 

ด้านนายชัย ชิดชอบ กล่าวภายหลังรับญัตติว่า จะตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วันนี้ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติต้องการให้เกิดความสมานฉันท์ ให้ทุกฝ่ายได้ระบายความในใจจะได้เกิดประโยชน์ เมื่อตรวจสอบญัตติเสร็จสิ้นจะส่งให้รัฐบาลกำหนดวันอีกครั้ง คาดว่าน่าจะเทียบเคียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24-26 มิ.ย.2551 ได้ สำหรับตนจะพยายามตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้เสร็จเร็วที่สุด

 

เรียบเรียงจาก: มติชน, ไทยรัฐ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักกิจกรรมฟิลิปปินส์ประณามการสลายการชุมนุมในไทย

Posted: 24 May 2010 12:27 PM PDT

นักกิจกรรมในฟิลิปปินส์ประท้วงหน้าสถานทูตไทยในกรุงมะนิลา ประณามการสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงของรัฐบาล ขณะที่ในวันนี้จะมีการประท้วงรัฐบาลไทยที่อินโดนีเซีย และฮ่องกง

<!--break-->

 
ที่มาของภาพเก็ตตีอิมเมจ
 

วานนี้ (24 พ.ค.) กลุ่มกิจกรรมกลุ่ม “แนวคิดริเริ่มเพื่อการเจรจาระหว่างประเทศ” (Initiatives for International Dialogue) ชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตไทยในกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ เรียกร้องรัฐบาลไทยรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อเหตุรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม

โดยนายอีกอย แบนส์ นักกิจกรรมชาวฟิลิปปินส์กล่าวว่าแม้มีคำวิงวอนจากประชาคมระหว่างประเทศ แต่รัฐบาลไทยก็ไม่ได้ใช้ความอดทนอดกลั้นขั้นสูงสุด ชาวโลกจึงพบเห็นทหารไทยยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม และว่าตอนนี้ ไทยกำลังฟื้นฟูประเทศ แต่ส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ ควรเป็นการรับประกันด้วยว่าจะมีการปกป้องสิทธิมนุษยชนในทุกระดับ โดยเฉพาะช่วงเวลาเกิดวิกฤติ พร้อมเรียกร้องเจรจาอย่างสันติเพื่อรับทราบถึงรากเหง้าปัญหา

ทั้งนี้ นักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยในฟิลิปปินส์มีบทบาทสำคัญนำพาการลุกฮือของประชาชนหรือ People Power เพื่อโค่นอำนาจรัฐบาลในฟิลิปปินส์มาแล้ว 2 ชุดในรอบ 2 ทศวรรษหลัง โดยนักเคลื่อนไหวหลายคนแสดงการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์

ขณะที่ในวันนี้จะมีการประท้วงรัฐบาลไทยที่หน้าสถานทูตไทยในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และสถานทูตไทยที่เกาะฮ่องกง เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Filipino activists denounce crackdown in Thailand, AP http://asia.news.yahoo.com/ap/20100524/tap-as-philippines-thailand-7934085.html

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฌาปนกิจช่างภาพอิตาลีถูกยิงวันสลายม็อบ 19 พ.ค.

Posted: 24 May 2010 12:19 PM PDT

<!--break-->

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. เวลา 13.00น. ที่วัดคลองเตยใน มีการฌาปนกิจศพนายฟาบิโอ โพเลนชี (Mr.Fabio Polenghi) ช่างภาพอิสระชาวอิตาลี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง บริเวณถนนราชดำริ ด้านสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีน้องสาวและญาติของนายฟาบิโอจากอิตาลี พร้อมด้วยเพื่อนสื่อต่างประเทศเข้าร่วมพิธี

อิซาเบลลา โปเลนกี น้องสาวของนายฟาบิโอ โพเลนชี ระบุว่า หลังฌาปนกิจจะนำอัฐิกลับอิตาลีในคืนนี้ โดยเธอกล่าวย้ำด้วยว่า อยากได้เมมโมรี่การ์ดในกล้องของนายฟาบิโอคืน เพื่อดูภาพที่เขาถ่ายไว้ได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้มีสาส์นแสดงความเสียใจไปยังนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี และนายฟรังโก ฟรัตตินิ รมว.ต่างประเทศอิตาลี โดยทั้งสองได้แสดงเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวผู้เสียชีวิต กรณีช่างภาพชาวต่างชาติต้องจบชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างกองกำลังทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุด้วยว่า รัฐบาลไทยจะเร่งตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของนายฟาบิโอ อีกทั้งแสดงความมั่นใจว่า รัฐบาลไทยจะมุ่งมั่นคืนความสงบให้ประเทศโดยเร็วที่สุด

สำหรับนายฟาบิโอเป็นผู้สื่อข่าวรายที่สองที่เสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง โดยแพทย์จากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.) ได้แจ้งผลการชันสูตรศพแก่ตัวแทนสถานทูตอิตาลีเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ว่าบาดแผลกระสุนปืนทะลุขั้วหัวใจ ทำลายปอด ตับ เสียโลหิต เป็นปริมาณมาก ลักษณะของกระสุนมาจากมุมสูง ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายฮิโร มูราโมโต ช่างภาพของสถานีโทรทัศน์รอยเตอร์ส เสียชีวิตจากการถูกยิงที่หน้าอกในวันที่ 10 เม.ย. ระหว่างการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่บริเวณราชดำเนิน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เดอะการ์เดียน: ไทยต้องการผู้นำที่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ปราศจากผู้ชนะหลังเหตุรุนแรง

Posted: 24 May 2010 12:07 PM PDT

<!--break-->

ชื่อบทความเดิม: ประเทศไทยต้องการผู้นำที่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ปราศจากผู้ชนะภายหลังสัปดาห์แห่งความรุนแรงในกรุงเทพฯ 

 

ภายหลังจากสัปดาห์แห่งความรุนแรงที่ทำให้ศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ กลายเป็นเถ้าถ่าน พร้อมๆ กับทำลายชื่อเสียงของประเทศในฐานะ “สยามเมืองยิ้ม” แทบไม่หลงเหลือผู้ชนะ และแม้เราอาจพอหวนพิจารณาได้ว่าความความยุ่งยากทั้งหมดนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร แต่ไม่อาจรู้แน่ว่าจากนี้ประเทศไทยจะก้าวไปทางใด

ในขณะนี้รัฐบาลผสมอาจจะยังคงรักษาเสถียรภาพไว้ได้ แต่ทางออกที่ยั่งยืนของความแตกร้าวในสังคมไทยและการสูญเสียความศรัทธาต่อกระบวนการทางการเมือง ดูเหมือนจะไกลห่างออกไปยิ่งกว่าที่เคย

ปฏิบัติการทางการทหารที่แข็งกร้าวในการยึดคืนพื้นที่ชุมนุมช่วยกอบกู้ความเชื่อมั่นในตัวนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับคืนมาจากกลุ่มผู้สนับสนุนของเขา  คนเสื้อแดงเองหรืออย่างน้อยกลุ่มหัวรุนแรง พวกลักขโมย และนักวางเพลิงที่ปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม และได้ทำให้กรุงเทพฯ ตกอยู่ในกองเพลิงก็มีส่วนทำให้สถานะของอภิสิทธิ์มั่นคงขึ้น  คนจำนวนมากในกรุงเทพฯ ที่อาจจะเคยเห็นดีด้วยกับข้อเรียกร้องบางประการของคนเสื้อแดง ต่างสะเทือนใจกับจุดจบอันหายนะนี้

อภิสิทธิ์พูดถึงการสมานฉันท์และการฟื้นฟู แต่ดูจะเป็นไปได้ยากว่ากระบวนการเหล่านี้จะเริ่มต้นได้อย่างไร ในเมื่อมีผู้เสียชีวิตถึง 82 คน และผู้บาดเจ็บอีกเกือบ 1,800 คน และคนเสื้อแดงซึ่งยังไม่ยอมแพ้และโกรธเกรี้ยว เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาในภาคเหนือและอีสานโดยได้รับการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออภิสิทธิ์ยังไม่สามารถไปปรากฏกายในหลายๆ ภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากเขาเป็นที่เกลียดชังของคนซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ในกระบวนการเลือกตั้ง แต่ขณะเดียวกัน คู่แค้นของเขา ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกมองว่าเป็นแหล่งทุนสนันสนุนการประท้วงในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ก็มิได้เป็นตัวแทนของความสมัครสมานสามัคคีมากไปกว่าอภิสิทธิ์ ภาวะอนาธิปไตยในช่วงหลายวันที่ผ่านมาได้ผลักให้คนไทยที่ไม่ได้สนับสนุนกลุ่มใดอย่างชัดเจนมาก่อน ไปเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านทักษิณมากขึ้น แม้ว่ายังมีคนภักดีต่อเขาทั่วประเทศ แต่การหวนคืนสู่การเมืองของเขารังแต่จะนำไปสู่การประท้วงครั้งใหม่ของกลุ่มคนเสื้อเหลือง

หนทางที่ดูเหมือนจะสามารถกลับคืนสู่จุดเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดได้แก่การจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอภิสิทธิ์ก็ดูเหมือนจะส่งสัญญาณเช่นนั้น เมื่อเขากล่าวว่าจะกลับมาดำเนินการตามแผนปรองดอง (โร้ดแมป) ห้าข้อที่จะกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน แต่ยังไม่ทันไร รัฐมนตรีคลังของเขา นายกรณ์ จาติกวณิช ได้ตั้งข้อสงสัยต่อกำหนดวันดังกล่าว โดยกล่าวว่าเขากังวลเกี่ยวกับความรุนแรงในระหว่างการรณรงค์หาเสียง และนายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้นำพรรคร่วมรัฐบาล ก็ได้แสดงออกถึงความกังวลทำนองเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก และก็ไม่แน่ว่าคนเสื้อแดงจะยังคงเชื่อในระบบการเลือกตั้งอยูหรือไม่ หนึ่งในข้อวิพากษ์หลักของพวกเขาคือ รัฐบาลที่พวกเขาเลือกตั้งมามักถูกกำจัดไปด้วยการรัฐประหารหรือกระบวนการทางกฎหมายที่น่าเคลือบแคลง

ดังนั้น ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่อาจจะช่วยลดอุณหภูมิทางการเมืองในประเทศไทยได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาของประเทศในระยะยาว และแม้ว่าฝุ่นควันที่ปกคลุมเศษซากในกรุงเทพฯ จะค่อยๆ จางหายไปแต่ก็ยังไม่ปรากฏผู้นำทางการเมืองคนไหนที่จะสามารถตัดวงจรอันเลวร้ายที่ได้ฉุดประเทศให้ตกอยู่ในภาวะชะงักงันมาเป็นเวลานานได้

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศอฉ.เตรียมเสนอ ครม.ต่ออายุเคอร์ฟิวอีก 7 วัน เที่ยงคืนถึงตี 4 แจงปรับเวลาให้ ปชช.ใช้ชีวิตสะดวกขึ้น

Posted: 24 May 2010 11:37 AM PDT

“พ.อ.สรรเสริญ” เผย ศอฉ.เตรียมเสนอ ครม.พิจารณาขยายเวลาเคอร์ฟิวอีก 7 วัน 25-31 พ.ค.แต่ปรับเวลา ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตี 4 พร้อมแจงยังไม่ได้รับรายงาน “อริสมันต์” ถูกจับ-ถูกสังหาร ส่วน กองกำลังชายชุดดำ 500 คน “ดีเอสไอ-ตำรวจ” ตามอยู่

<!--break-->

วันนี้ (24 พ.ค.) เวลา 17.00 น.ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แถลงผลการประชุม ศอฉ.ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศอฉ.เป็นประธานการประชุมว่า ที่ประชุม ศอฉ. ได้หารือถึงการห้ามออกนอกเคหะสถานในยามวิกาล ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นตรงกันว่า ยังมีความจำเป็นที่จะคงมาตรการในเรื่องการห้ามออกนอกเคหะสถานในยามวิกาลต่อไปอีก 7 วัน 

แต่จะปรับระยะเวลาให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้น คือ เริ่มตั้งแต่เวลา 00.00 น.- 04.00 น.ตั้งแต่วันที่ 25-31 พ.ค.53 รวมพื้นที่ทั้งหมด 24 จังหวัดที่ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ผอ.ศอฉ.จะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

โฆษก ศอฉ.กล่าวถึงข่าวจะมีการสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายว่า มีข้อมูลในลักษณะเช่นนั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้บอกว่าถึงแม้ว่าระยะเวลาจะสั้นแค่ 4 ชั่วโมง แต่ก็สามารถควบคุมสถานการณ์ได้และมีประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประกาศเคอร์ฟิว คือ แยกกลุ่มผู้ร้ายออกจากประชาชน ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อนจนเกินไป ในช่วงค่ำถึงเที่ยงคืน ประชาชนน่าจะปฏิบัติภารกิจได้เสร็จสิ้นแล้ว

ส่วนการหารือถึงการติดตามแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ยังหลบหนีอยู่ โฆษก ศอฉ.กล่าวว่า มีการพูดถึงแต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ทุกฝ่ายพยายามอย่างที่สุดที่จะนำตัวแกนนำทั้งที่หลบหนีมาดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ใครรับประกันได้ ส่วนกรณีที่มีข่าวว่านายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ถูกจับกุมนั้นยังไม่ได้รับรายงานในที่ประชุม จึงเข้าใจว่ายังจับกุมไม่ได้ สำหรับข่าวลือว่านายอริสมันต์ ถูกสังหารขณะจับกุมตัวนั้นตนไม่ทราบ และไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ในที่ประชุม

ต่อคำถามถึงชายชุดดำ 500 คน ที่มีลักษณะเป็นกองกำลังซึ่งได้เคยมีการแถลงข่าวก่อนหน้านี้ ได้จับกุมมาดำเนินคดีแล้วหรือไม่ พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า ต้องแยกประเด็นว่า ก่อนที่การชุมนุมจะยุติลง มีคำถามว่ากองกำลังดังกล่าวมีกี่คน ซึ่งตนก็อธิบายไปว่ามีอาวุธสงครามที่จับได้จำนวนมาก และยังมีการค้นพบอยู่เรื่อยๆ ในส่วนของตัวกองกำลังคือการ์ด ซึ่งมี 2 กลุ่มรวม 500 คน แต่เมื่อการชุมนุมยุติลง การ์ดส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัว รวมทั้งแกนนำ และส่วนที่เหลือมีการกระจายปะปนกับประชาชน ซึ่งการ์ดของกลุ่ม นปช.ทุกคน ศอฉ.ไม่ได้มีรายชื่อทั้งหมด จึงต้องเป็นเรื่องการสอบสวนสืบสวนจากแกนนำและการ์ดที่ถูกควบคุมตัวก็จะโยงใยไปถึง ขณะนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กำลังดำเนินการอยู่

ผู้สื่อข่าวถามด้วยว่าได้มีการติดตามตัวคนกลุ่มนี้หรือไม่ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ตนเคยอธิบายว่ามีการพบกองกำลังติดอาวุธจำนวนเท่านั้น ซึ่งมีทั้งส่วนที่เสียชีวิตไปพร้อมกับการยุติการชุมนุม บาดเจ็บ ควบคุมตัวไว้พร้อมกับการจับแกนนำ และกระจายอยู่กับประชาชน ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ทางดีเอสไอ และตำรวจดำเนินการอยู่

ส่วนที่มองว่ามีกลุ่มคนมีสีที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของคนเสื้อแดงนั้น คิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการทำงานเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชน คงไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อการร้ายได้ แต่ถ้ามีหลักฐานว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้องก็ต้องเข้าไปกล่าวโทษ แต่ก็ต้องมีหลักฐาน

โฆษก ศอฉ.กล่าวอีกว่า ต่อไป ศอฉ.จะประชุมเพียงครั้งเดียวในเวลา 16.00 น.ไม่มีการประชุมช่วงเช้า ยกเว้นวันที่ 25 พ.ค.นี้ ที่จะเริ่มประชุมเวลา 15.00 น. นอกจากนี้ ศอฉ.ยังรับทราบการปรับลดกำลังทหารในพื้นที่ลง แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าลดลงเท่าใด

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นปช. 3 จังหวัดแห่ร่วมไว้อาลัย ‘ตัวเล็ก’ 1 ใน 6 เหยื่อวัดปทุมฯ

Posted: 24 May 2010 11:29 AM PDT

<!--break-->

23 พ.ค.53 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อำเภอต่างๆ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร นับพันคนร่วมไว้อาลัยในพิธีเผาศพอัครเดช ขันแก้ว หรือตัวเล็ก 1 ใน 6 ศพ ที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม หลังการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำ นปช.

รายงานข่าวแจ้งว่า ศพของอัครเดชได้ถูกนำกลับจากโรงพยาบาลตำรวจถึงบ้านที่เขาพักอาศัยที่บ้านหนองผือ ต.หนองผือ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ กลางดึกของคืนวันที่ 21 พ.ค. หลังจากที่เขาถูกยิงเข้าที่แก้ม ท้อง และขา เสียชีวิตในคืนวันที่ 19 พ.ค.ภายในวัดปทุมวนาราม ในขณะกำลังช่วยเหลือทีมแพทย์อาสาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บซึ่งเขาทำมาตลอดเวลากว่า 1 เดือน ที่เข้าร่วมการชุมนุมกับ นปช.

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นายประสาท ภิมเภา ผู้ใหญ่บ้านหนองผือ ผู้นำรถมารับศพนายอัครเดชที่โรงพยาบาลตำรวจเปิดเผยว่า แพทย์ได้ระบุถึงสาเหตุการเสียชีวิตไว้ว่าเกิดจากศีรษะกระทบกับของแข็ง แต่เมื่อโดนท้วงติงว่าไม่ตรงกับข้อเท็จจริงจึงแก้ไขเป็นถูกยิงเข้าที่บริเวณศีรษะโดยกระสุนทะลุออกบริเวณแก้ม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณบ้านที่ตั้งศพประดับด้วยธงแดง ส่วนศพของอัครเดชถูกบรรจุอยู่ในโลงซึ่งแต่เดิมบรรดาญาติพี่น้องตั้งใจให้เป็นสีแดง แต่หาไม่ได้จึงใช้โลงสีชมพูแทน มี นปช.พื้นที่ต่างๆ ในเขต 3 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหารเข้าร่วมนับพันคน รวมถึง ส.ส.กาฬสินธุ์ ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีพวงหรีดจากทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยด้วย

จากนั้นศพของอัครเดชถูกเคลื่อนย้ายขึ้นสู่เมรุวัดป่า ต.หนองผือ หลังเสร็จสิ้นพิธีทางศาสนา มีพิธีมอบเงินช่วยเหลือจากหลายภาคส่วน และ นปช.ในพื้นที่ต่างๆ แก่ญาติผู้ล่วงลับ จากนั้นเป็นการกล่าวสดุดีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของอัครเดชและคนเสื้อแดง รวมถึงประณามการปราบปรามประชาชนของรัฐบาล ก่อนเปิดให้ผู้เข้าร่วมพิธีศพขึ้นวางดอกไม้จันทน์ ซึ่งตลอดพิธีดังกล่าวผู้จัดงานได้เปิดเพลงนักสู้ธุลีดิน ของจิ้น กรรมาชน และเพื่อนตาย ที่แต่งโดยณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ก่อนหน้านี้ในช่วงบ่ายวันที่ 22 พ.ค. ญาติพี่น้องและคนเสื้อแดงได้แห่รูปภาพของอัครเดชและพวงหรีดไปตามท้องถนนในอำเภอเขาวงและนาคู เพื่อบอกเล่าการตายอย่างโหดเหี้ยมและไม่เป็นธรรมในการไปเรียกร้องประชาธิปไตยของอัครเดช พร้อมทั้งประณามรัฐบาลผู้สั่งการให้เข่นฆ่าประชาชน แต่เนื่องจากนายอำเภอได้ขอร้องให้งดการใช้เครื่องเสียง ขบวนแห่จึงใช้การบีบแตร แจกใบปลิว และการบอกเล่าปากต่อปากแทน

“แค่ทวงสิทธิ์ทวงศักดิ์ศรีให้มีเหมือน อำนาจเถื่อนก็เชือดเฉือนเหมือนผักปลา ร่างร่วงหล่นเหมือนใบไม้ในพนา เลือดน้ำตาท่วมท้นบนแผ่นดิน” บทกวีบทหนึ่งจากพวงหรีดงานศพนายอัครเดช ระบุ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผย 66 หมายจับ"แกนนำ-แนวร่วม นปช."ผิด"พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" ตร.แจงจับได้ 22 อีก 44 ยังลอยนวล

Posted: 24 May 2010 11:01 AM PDT

ตร.แจงรายละเอียดหมายจับทุกคดี แกนนำ-แนวร่วม นปช. 66 หมาย จับได้แล้ว 22 หลบหนี 44 พร้อมเผย "อริสมันต์"เจอหมายจับในคดีอาญาด้วย

<!--break-->

วันที่ 24 พ.ค.53 รายงานข่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่า พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) สรุปถึงการดำเนินคดีกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่า ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค.2553 กองบัญชาการต่างๆ ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (บช.ภ.1) กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (บช.ภ.7) และกองบังคับการกองปราบปราบ (บก.ป.) ได้ร้องขอศาลอาญาออกหมายจับและควบคุมตัวบุคคลต้องสงสัย ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยศาลอนุมัติหมายจับและควบคุมตัวทั้งสิ้น 66 หมาย จับกุมตามหมายจับแล้ว 22 หมาย คงเหลือ 44 หมายที่ยังไม่สามารถจับกุมตัวได้ ดังนี้ 

กรณีการตั้งเวทีปราศรัยปลุกระดมมวลชนบริเวณแยกราชประสงค์ (17 หมาย) 1.นายเหวง โตจิราการ (มอบตัว 20 พ.ค.) 2.นางดารุณี กฤตบุญญาลัย 3.นายจรัล ดิษฐาอภิชัย 4.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (มอบตัว 19 พ.ค.) 5.นายนิสิต สินธุไพร (มอบตัว 19 พ.ค.) 6.นายวีระ มุกสิกพงศ์ (มอบตัว 20 พ.ค.) 7.นายก่อแก้ว พิกุลทอง (มอบตัว 20 พ.ค.) 8.นายขวัญชัย ไพรพนา(มอบตัว 19 พ.ค.) 9.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด 10.นายวิภูแถลง พัฒนภูไท (มอบตัว 19 พ.ค.) 11.นายอดิศร เพียงเกษ 12.นายวรพล พรหมิกบุตร 13.พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ 14.นายสำเริง ประจำเรือ 15.นายวิสา คัญทัพ 16.นางไพจิตร อักษาณรงค์ 17.พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสียชีวิต 17 พ.ค.)

กรณีวิทยุชุมชนนำคลิปเสียงตัดต่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเผยแพร่ทางสถานี (จำนวน 7 หมาย) ประกอบด้วย 1.นายราตรีหรือชาตรี ชื่นชม 2.นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ 3.นางวิกานดา ปักกาสัง (จับกุมเมื่อ 7 พ.ค.) 4.น.ส.รัศมี มาลาม (จับกุมเมื่อ 20 พ.ค.) 5.นายธาดา บุญสุขศรี 6.นายซากิริน บุญมาเลิศ และ7.นายธนกฤต นาคบรรจง

กรณีวิทยุชุมชนนำคลิปของนายกรัฐมนตรีออกเผยแพร่ (จำนวน 4 ฉบับ) 1.นายชุติพนธ์ ทองคำ 2.น.อ.อ.พิรัตน์ วัฒนพานิช 3.นายนิพนธ์ แสงสีนิล และ4.น.ส.ดวงมณี บุญรัตน์ (จับกุมเมื่อ 9 พ.ค.)

กรณีผู้จัดวิทยุชุมชนทางภาคเหนือปลุกระดมมวลชนและสนับสนุนสิ่งของพร้อมทั้งที่เวทีราชประสงค์โจมตีรัฐบาล (จำนวน 5 ฉบับ) 1.นางกัญญาภัค มณีจักร 2.นายเพชรวรรต วัฒนะพงศ์ศิริกุล 3.นายภูมิใจ ไชยยา 4.นายนิยม เหลืองเจริญ และ 5.นายอภิชาต อินสอน 

กรณีกรรมการของสถานีวิทยุชุมชนสนับสนุนให้มีการปลุกระดมมวลชน ขนคน และสนับสนุนสิ่งของ พร้อมทั้งการขึ้นกล่าวปราศรัยที่เวทีแยกราชประสงค์โจมตีรัฐบาล (จำนวน 3 ฉบับ) 1.น.ส.มาระดี วงศ์ไทย 2.นายวินัย แสงสีนิล และ3.น.ส.กัลยารัตน์ กาวีระ

กรณีวิทยุชุมชนมีการปลุกระดมโจมตีรัฐบาล (จำนวน 7 ฉบับ) 1.นายไพโรจน์ แสงศรี 2.นายประทีป ใจหาญ 3.นายสมเกียรติ สาระเนียม 4.นายธนานันท์ ศรีสุดดี 5.นายกิตติ์ดนัย พริ้งกุลเศรษฐ์ 6.นายพีระ พริ้งกลาง และ7.นายภูมิกิติ หรือพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง (จับกุมเมื่อ 18 พ.ค.)

 

กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ร้องขอศาลอาญา ออกหมายจับและควบคุมตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวม 22 ฉบับ ประกอบด้วย

กรณีการบุกรุกรัฐสภา 1.นายยศวริศ ชูกล่อมหรือ เจ๋ง ดอกจิก (มอบตัว 19 พ.ค.) 2.นายพายัพ ปั้นเกตุ 3.นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ 4.นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์ (จับกุมเมื่อ 20 พ.ค.) 5.นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง 6.นายธนกฤต ชะเอมน้อย หรือวันชนะ เกิดดี และ 7.พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์

กรณีการขอคืนพื้นที่บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน 1.นายเมธี อมรวุฒิกุล (จับกุมเมื่อ 22 เมษายน) 2.นายอารี ไกรนรา (หัวหน้าการ์ด นปช.) 3.นายอร่าม แสงอรุณ 4.นายมงคล สารพัน 5.นายเชน แขนสันเทียะ (มอบตัว 16 พ.ค.) 6.นายชยุต ไหลเจริญ (จับกุมเมื่อ 26 เมษายน) 7.นายธนเดช เอกอภิวัชร์ 8.นายวายุภักดิ์ โนรี (จับกุมเมื่อ 1 พ.ค.) 9.นายภาสกร หรือสมนึก ศิริรักษ์ (จับกุมเมื่อ 1 พ.ค.) 10.พ.ต.ท.ศุภชัย ผุยแก้วคำ (จับกุมเมื่อ 1 พ.ค.) 11.นายเรืองอำนาจ พุทธิวงศ์ (จับกุมเมื่อ 17 พ.ค.) และ 12.นายมีชัย สินนาค(จับกุมเมื่อ 4 พ.ค.)

และออกหมายจับเพิ่มเติม เมื่อ 18 พ.ค.53 1.นายสมชาย ไพบูลย์ 2.นายนาวิน บุญเสรษฐ (อดีต ส.ส.พิจิตร) และ 3.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

 

กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (บช.ภ.1) ร้องขอศาลแขวงจังหวัดสมุทรปราการ ออกหมายจับและควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จำนวน 1 ฉบับ กรณีวิทยุชุมชนออกอากาศเผยแพร่ปลุกระดมมวลชนและโจมตีการทำงานของรัฐบาล คือ นายพงษ์อัมพร บรรดาศักดิ์ 

 

กองบังคับการกองปราบปราบ (บก.ป.) ได้ออกหมายจับนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ในความผิดฐาน กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน (กรณีนี้เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ซึ่งหมายฉบับนี้เป็นหมายจับในคดีอาญา)

 

 22 รายชื่อ ที่บช.ก.จับกุมได้แล้ว

การดำเนินการและผลการปฏิบัติหมายจับและควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่ ในความรับผิดชอบของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ที่ 145/2553 ซึ่ง พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก.เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน สรุปผลการดำเนินการ 1.ผู้ต้องหาตามหมายจับถูกจับกุมแล้ว 22 ราย

ประกอบด้วย 1.นายเหวง โตจิราการ 2.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 3.นายนิสิต สินธุไพร 4.นายวีระ มุสิกพงศ์ 5.นายก่อแก้ว พิกุลทอง 6.นายขวัญชัย ไพรพนา 7.นายวิภูแถลง พัฒนภูไท 8.พล.ต.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสียชีวิต) 9.นางวิกานดา ปักกาสัง 10.น.ส.รัศมี มาลาม 

11.น.ส.ดวงมณี บุญรัตน์ 12.นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง 13.นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก 14.นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์ 15.นายเมธี อมรวุฒิกุล 16.นายเชน แขนสันเทียะ 17.นายชยุต ไหลเจริญ 18.นายวายุภักดิ์ โนรี 19.นายภาสกร หรือสมนึก ศิริรักษ์ 20.พ.ต.ท.ศุภชัย ผุยแก้วคำ 21.นายเรืองอำนาจ พุทธิวงศ์ และ22.นายมีชัย สินนาค 

สรุปยอด หมายจับ 66 หมาย (บช.ก.จำนวน 43 หมาย บช.น.จำนวน 22 หมาย และ บช.ภ.1 จำนวน 1 หมาย) จับกุมได้ 22 หมาย (บช.ก.12 หมาย บช.น.10 หมาย) คงเหลือ 44 หมายที่ยังจับกุมไม่ได้ (บช.ก. 31 หมาย บช.น. 12 หมาย บช.ภ.1 จำนวน 1 หมาย)

 

ที่มา: มติชนออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อดีต ส.ว.-เอ็นจีโอ จี้สภายับยั้งเอกสิทธิ์ ‘จตุพร’ ชี้ผิดหนักฐานก่อการร้าย

Posted: 24 May 2010 10:54 AM PDT

<!--break-->

 

 
24 พ.ค.53 อดีตสมาชิกวุฒิสภานำทีมลงชื่อจดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกรัฐสภา เรียกร้องให้ยับยั้งการใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายจตุพร พรหมพันธ์ ในทันที เนื่องจากมีความผิดร้ายแรงฐานก่อการร้าย โทษหนักถึงประหารชีวิต
 
000
 
24 พฤษภาคม 2553
 
เรื่อง      ข้อเรียกร้องต่อกรณีการใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของนายจตุพร พรหมพันธ์
 
เรียน     สมาชิกรัฐสภา
 
            จากกรณีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ซึ่งได้กระทำการอันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ตามหมายจับที่ ฉฉ 8-24/2553  ลงวันที่ 8 เมษายน 2553 โดยมีผู้ต้องหาทั้งหมด 17 ราย
 
            ปรากฏว่าในหมายจับดังกล่าวกลับไม่มีชื่อของนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. คนสำคัญ โดยเหตุที่  นายจตุพรดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย มีสถานะเป็นสมาชิกรัฐสภา และได้ใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา131 ด้วยเหตุว่ามีการประกาศจัดให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2554 ทำให้ไม่สามารถออกหมายจับและควบคุมตัวนายจตุพรได้นั้น
 
            ในการนี้ พวกเราในฐานะอดีตสมาชิกรัฐสภา พลเมืองที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการในวุฒิสภา รวมทั้งพลเมือง และองค์กรพลเมืองที่ปรารถนาความเป็นธรรมในสังคม ได้เล็งเห็นว่า การใช้เอกสิทธิ์พิเศษดังกล่าวของนายจตุพร พรหมพันธ์ เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเป็นการกระทำความผิดความร้ายแรงตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่อาศัยอำนาจการประกาศตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อีกทั้งยังกระทำความผิดร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา135/1 และมาตรา135/2ซึ่งเป็นความผิดฐานก่อการร้าย มีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต อีกทั้งการกระทำความผิดของนายจตุพร พรหมพันธ์ นั้นยังได้ปรากฏชัดเจนต่อสาธารณะชนในประเทศและในระดับนานาชาติว่า เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศไทย ทั้งในด้านความปลอดภัย ชีวิตของประชาชน ทรัพย์สินของประชาชน ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติ คุกคามความสงบสุขของบ้านเมืองจนทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะของการเกิดสงครามกลางเมือง เกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งยังปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกในสังคมขั้นรุนแรง อันเป็นชนวนเหตุความรุนแรงในสังคมในระยะยาว
 
            พวกเราจึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
1.    เราขอเรียกร้องให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ใช้อำนาจที่มีอยู่ตามมาตรา131 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ยับยั้งการให้เอกสิทธิ์แก่นายจตุพร พรหมพันธ์ โดยไม่มีเงื่อนไขโดยทันที เพื่อไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันสร้างความมัวหมองแก่สถาบันนิติบัญญัติของชาติอันทรงเกียรติ
 
2.    เราขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันลงมติเพื่อถอดถอน    นายจตุพร พรหมพันธ์ ออกจากการเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการดังกล่าว เพราะคณะกรรมาธิการชุดนี้ควรเป็นคณะกรรมาธิการที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างกระบวนการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงไม่สมควรให้มีสมาชิกที่มีข้อครหาเรื่องความโปร่งใสทางการเมือง การปลุกปั่นสร้างความแตกแยกทางการเมืองถึงขั้นเป็นผู้การก่อการร้ายที่มีความผิดปรากฏต่อสาธารณะเด่นชัด มีตำแหน่งในคณะกรรมาธิการนี้
 
 
3.    เราขอเรียกร้องให้นายจตุพร พรหมพันธ์ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกรัฐสภา ได้พึงสำนึกว่า การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น คือการดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติจากการเลือกตั้งของประชาชนและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีอำนาจในการพิจารณากฎหมายของประเทศ ได้รับสิทธิพิเศษ ผลตอบแทนจากภาษีของประชาชนอย่างมากมาย ดังนั้นการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีสถานะเป็นสมาชิกรัฐสภาจึงควรมีความหมายถึงการมีความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนปกติทั่วไป
 
 
ทั้งนี้ พวกเรามีความเห็นร่วมกันในการที่จะผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีความเป็นธรรม ยกเลิกการมีสิทธิพิเศษที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้เกิดบรรทัดฐานการเลือกปฏิบัติและการคาดหวังผลประโยชน์ทางการเมืองในทางที่มิชอบ อันจะนำความมัวหมองมาสู่สถาบันนิติบัญญัติของชาติ
 
บุคคลและองค์กรผู้ร่วมลงนาม
ก.     บุคคลที่ร่วมลงนาม
1. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ในฐานะอดีตสมาชิกรัฐสภา
2. นางเตือนใจ กุญชร ณ อยุธยา ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ในฐานะอดีตสมาชิกรัฐสภา
3. นายวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ อดีตเลขานุการคณะทำงานส่งเสริมประชาชนในการศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
4. นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมภาคประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันการทุจริตและตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
5. น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อนุกรรมาธิการส่งเสริมภาคประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันการทุจริตและตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
6. นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตอนุกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ วุฒิสภา
7. นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์
8. นางสาวจิดาภา บัณฑิตย์ ผู้จัดการสำนักงานประธานกรรมการ บมจ. แพรนด้า จิลเวอรี่
9. นาย จิรายุ เเสงเล็ก ผู้ประสานกลุ่ม social action leader for thailand (salt)
10. นางจิรา ปานมณี
 
ข. กลุ่ม องค์กรที่ร่วมลงนาม
1. เครือข่ายเยาวชนฮักถิ่นลำปาง
2. เครือข่ายเยาวชนฮักถิ่นอุตรดิตถ์
3. กลุ่มเทียนส่องทาง
4. กลุ่มน้ำตาเทียน
5. กลุ่มกล้าธรรมม์
6. กลุ่มแนวร่วมนักเรียน นักศึกษาไทยในประเทศและต่างแดน(WTSA)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เจ้ย อภิชาติพงศ์ ชนะรางวัลเมืองคานส์ จากผลงาน 'ลุงบุญมีระลึกชาติ'

Posted: 24 May 2010 08:54 AM PDT

<!--break-->

24 พ.ค. 2553  อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้รับรางวัล 'ปาล์มทองคำ' จากผลงานกำกับเรื่อง 'ลุงบุญมีระลึกชาติ' จากการประกาศผลรางวัลเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ประจำปี 2553

อภิชาติพงศ์กล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังได้รับรางวัลว่า เขาคิดว่าประเทศไทยกำลังต้องการความหวังในเรื่องอื่น ๆ เพราะในขณะนี้เรากำลังอยู่ภาวะซึมเศร้าจากการเผชิญหน้าระหว่างแนวคิดที่ต่างกัน

ทิม เบอร์ตัน ผู้กำกับชื่อดังของสหรัฐฯ ที่เป็นประธานกรรมการตัดสินรางวัล 'ปาล์มทองคำ' ในครั้งนี้กล่าวถึงภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์โดยบอกว่าเป็นเหมือน "ภาพฝันประหลาดอันงดงาม" และเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเลือกผู้ชนะในครั้งนี้ เพราะเป็นภาพยนตร์ที่ได้ชมเป็นเรื่องต้น ๆ แล้วยังตราตรึงอยู่ในหัวไปตลอดงาน

"โลกกำลังเล็กลงและถูกทำให้เป็นตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เป็นฮอลลิวูดมากขึ้นเรื่อย ๆ และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้ผมรู้สึกว่าผมกำลังชมมันจากอีกประเทศหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการใช้องค์ประกอบแบบแฟนตาซี แต่ก็ในทางที่ผมไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน ผมจึงเป็นว่ามันเป็นเสมือนภาพฝันประหลาดอันงดงาม"

โดยคำกล่าวปราศรัยหลังการรับรางวัลนั้น อภิชาติพงศ์ หรือ 'เจ้ย' กล่าวชมทรงผมของทิม เบอร์ตัน กล่าวขอบคุณคณะกรรมการ ขอบคุณผู้ชมที่ทำให้เขาได้มีโอกาสเผยแพร่มุมมองของตน ขอบคุณทีมงานถ่ายทำ ขอบคุณพ่อแม่ที่พาเขาไปดูหนังในโรงเล็ก ๆ ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ขอบคุณ 'ผีสางและวิญญาณ' ในประเทศไทย ที่ทำให้เขามายืนอยู่จุดนี้ได้

อภิชาติพงศ์ บอกอีกว่านี่ถือเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของวงการภาพยนตร์ไทย เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับรางวัลนี้

AFP รายงานว่า ธีระ สลักเพชรรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวถึงการรับรางวัลในครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะที่เรากำลังต้องการในเวลาแห่งวิกฤติเช่นนี้ ขณะที่ทรงยศ สุขมากอนันท์ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยกล่าวกับ AFP ว่าชัยชนะของเขาทำให้เขารู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาบ้างหลังจากมีเรื่องเศร้าเกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

AFP ระบุอีกว่า อภิชาติพงศ์ เป็นผู้กำกับชาวเอเชียคนที่ 6 ที่ได้รับรางวัลนี้ และเป็นถือเป็นคนแรกในรอบหลายสิบปีที่ชนะเลิศ 'ปาล์มทองคำ'

โดยก่อนหน้านี้ผลงานของ 'เจ้ย' ได้รับรางวัล Un Certain Regard ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์จากภาพยนตร์เรื่อง 'สุดเสน่หา' ในปี 2545 และรางวัลขวัญใจกรรมการ (Jury Prize) จากเรื่อง 'สัตว์ประหลาด' ในปี 2547

อภิชาติพงศ์เคยเป็นวิพากษ์วิจารณ์กฏหมายที่สนับสนุนการเซนเซอร์ และเคยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวต่างประเทศเรื่องการเมืองในไทย (อ่านรายละเอียดได้ใน :‘อภิชาติพงศ์’ ผู้กำกับมือรางวัล วิพากษ์ ‘ไทย’ ที่เมืองคานส์)

'ลุงบุญมีระลึกชาติ' เป็นเรื่องราวของ คุณลุงบุญมีซึ่งเป็นโรคไตและใช้ชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยท่ามกลางคนที่เขารักในชนบท จนได้ประสบกับเหตุการณ์ประหลาดมากมาย ตั้งแต่ผีของภรรยาที่มาดูแล ลูกชายที่หายไปนานกลับมาที่บ้านในสภาพที่กลายเป็นลิง ไปจนถึงการระลึกชาติ

Sukhdev Sandhu นักวิจารณ์ภาพยนตร์จาก Telegraph บอกว่ารางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ถือเป็นการ 'ช่วยรางวัลเมืองคานส์' เอาไว้ โดยบอกว่าผลงาน 'ลุงบุญมีระลึกชาติ' เป็นผลงานที่ดีที่สุดของอภิชาติพงศ์ มีเรื่องราวที่มีความเป็นบทกวีในตัวเอง มีความหลอน ยากจะอธิบาย เป็นการนำความเชื่อแบบผีสางซึ่งดูแปลกแยกจากโลกตะวันตกมาบอกเล่าได้อย่างตราตรึง

ขณะที่พาดหัวของ เลอ ฟิกาโร่ หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศสระบุว่า "ลุงบุญมี รางวัลปาล์มแห่งความน่าเบื่อ" และวิจารณ์ไว้ว่าเรื่องเล่าเนิบช้าเกี่ยวกับการค้นหาอดีตชาตินั้นน่าเบื่อ อธิบายไม่ได้ และเพ้อหลอน

ส่วน Guardian ของอังกฤษ รายงานว่าการประกาศรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ผลออกมาน่าประหลาดใจ และบอกว่าภาพยนตร์ 'ลุงบุญมีระลึกชาติ' นั้นมีความเหนือจริงและงดงามแบบบทกวี

นอกจากนี้ในเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวต่างประเทศอย่าง Daylife ก็นำภาพการได้รับรางวัล 'ปาล์มทองคำ' ขึ้นหน้าแรก ของวันที่ 24 พ.ค. โดยบรรยายว่า 'Cannes Surprise' หรือ 'เซอร์ไพร์ซ เมืองคานส์'

ที่มา

Cannes film festival: Apichatpong Weerasethakul wins Palme d'Or, Guardian
Cannes Film Festival 2010: there could only have been one winner, Telegraph
Thai film surprise winner in Cannes, Reuters
Surreal Thai film wins Cannes gold for Asia, AFP

ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
http://www.festival-cannes.com/en.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วงสัมมนาสื่อที่ มธ. เสนอเชิญแดน ริเวอร์ส แจงกรณีการรายงานข่าว

Posted: 24 May 2010 02:04 AM PDT

ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมเสนอคว่ำบาตรซีเอ็นเอ็น หลังกระแสวิจารณ์ซีเอ็นเอ็นเข้าข้างเสื้อแดง ใช้ท่าทีไม่เหมาะสมต่อสถาบันฯ ด้านผู้เสวนาเห็นต่าง เสนอให้โอกาส แดน ริเวอร์สชี้แจงข้อเท็จจริง

<!--break-->

 

(24 พ.ค.) ในงานสัมมนาที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการระดมความคิดเห็นต่อบทบาทของสื่อต่างประเทศในการรายงานข่าวเกี่ยวกับการเมืองของประเทศไทย นายนิพนธ์ นาคสมภพ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการของงานวันนี้ ได้ประกาศข้อเสนอ 4 ข้อต่อทางออกที่สังคมไทยควรจะปฎิบัติต่อซีเอ็นเอ็น

ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่มีการวิพากษ์ว่า สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวไม่เป็นกลางต่อสถานการณ์ชุมนุม โดยเข้าข้างผู้ชุมนุมฝ่ายเสื้อแดง เช่น การเสนอข่าวว่าผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ รวมถึงในหลายสถานการณ์ที่ซีเอ็นเอ็นไม่ได้ไปทำข่าวในพื้นที่จริงแต่กลับรายงานเหมือนอยู่ในสถานการณ์ ทั้งที่ผู้สื่อข่าวรายงานจากห้องพักของเขา ซึ่งนายนิพนธ์เห็นว่า การรายงานข่าวของซีเอ็นเอ็นนั้นเป็นการรายงานในมุมแบบอัตวิสัย (Subjective) และยังแฝงอคติ ไม่ได้รายงานบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงทั้งหมด อีกทั้งยังมีรายการโทรทัศน์ที่ชื่อ Rick's List ที่ผู้ดำเนินรายการใช้ท่าทีที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันกษัตริย์ ซึ่งนายนิพนธ์ กล่าวว่า เมื่อซีเอ็นเอ็นไม่เคารพประเทศไทย ในนามของทีวีดาวเทียมขอเสนอข้อเสนอ 4 ข้อ ได้แก่

หนึ่ง ขอให้สมาชิกทีวีดาวเทียมตัดสัมพันธ์และยกเลิกสัญญากับซีเอ็นเอ็น
สอง ขอให้รายการที่ซื้อลิขสิทธิ์และแพร่ภาพออกอากาศ ทั้งที่เป็นฟรีทีวีและเคเบิลทีวี ยกเลิกสัญญาการรับและใช้ประโยชน์จากซีเอ็นเอ็น
สาม ขอให้องค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตัดความสัมพันธ์ยกเลิกการสนับสนุน ยกเลิกการเป็นสมาชิกกับซีเอ็นเอ็น
สี่ ขอให้ประชาชนเลิกดูซีเอ็นเอ็น และเลิกรับสมาชิกจากองค์กรที่ยังมีรายการของซีเอ็นเอ็น เพื่อเป็นการตัดรายได้

ทั้งนี้ ยังมีการเสนอว่า ควรมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญของวุฒิสภา เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลผู้ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการสอบสวนและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

"ผมเชื่อว่าในประเทศเราเสียงดังพอ และเท่าที่คุยกับบางท่านแล้ว ก็พบว่ามีการให้ความร่วมมือ" นายนิพนธ์ กล่าว

จากข้อเสนอนี้ ปรากฏว่าผู้ที่เข้าร่วมในงานสัมมนาแสดงความเห็นกันอย่างต่อเนื่องว่าไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

นายสมเถา สุจริตกุล ผู้เข้าร่วมงานวันนี้กล่าวว่า ถ้าทำเช่นนี้ผลกระทบจะยิ่งรุนแรง และเท่ากับเราเหยียดหยามสื่อมากขึ้นไปอีก วิธีต่อสู้กับซีเอ็นเอ็น คือทำให้ความจริงออกให้มากที่สุด "ถ้าหน้าต่างมันเปิดแค่บานเดียว ทางออกไม่ใช่ปิดหน้าต่าง แต่คือเปิดออกให้หมด" นายสมเถากล่าว

นักศึกษาที่เข้าร่วมในงานตั้งคำถามต่อข้อเสนอเหล่านี้ด้วยว่า ตกลงเราจะเป็นศัตรูกับซีเอ็นเอ็นเหรอ หรือจะตั้งคำถามกับแดน ริเวอร์ส

ด้านนายนิพนธ์เห็นว่า เขาไม่แน่ใจว่านายแดน ริเวอร์ส มีอิสรภาพในการเสนอข่าวหรือไม่ เช่นอาจมีใบสั่งมาว่าให้รายงานในแบบใดแบบหนึ่ง และเท่าที่ดูมาทั้งหมด ปัญหาที่พบจากซีเอ็นเอ็นไม่ได้มาจากแดน ริเวอร์ส เพียงคนเดียว

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมแสดงความไม่เห็นด้วยต่อมาตรการคว่ำบาตรซีเอ็นเอ็น ทำให้นายนิพนธ์พยายามถามในที่ประชุมว่า ที่ประชุมจะเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะเปลี่ยนประเด็นมามีมาตรการทางสังคมต่อนายแดน ริเวอร์ส เพราะทำข่าวในเชิงอัตวิสัยและเบี่ยงเบนประเด็นข้อเท็จจริง รวมทั้งเขาอาจมีเสรีภาพในฐานะของสื่อเต็มที่เมื่ออยู่ในประเทศไทยแต่ไม่มีอิสรภาพในการทำข่าว

ผู้เข้าร่วมในห้องเห็นแย้งต่อข้อสรุปดังกล่าวของนายนิพนธ์ โดยนักศึกษาคนหนึ่งแสดงความเห็นว่า ประเด็นของงานระดมความเห็นในวันนี้ ควรจะตั้งคำถามกับเรื่องจรรยาบรรณของสื่อ และเรียกร้องให้สื่อนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน

การระดมความเห็นในวันนี้ จบลงด้วยข้อเสนอที่ว่า ควรจะหาโอกาสให้นายแดน ริเวอร์ส มาอธิบายด้วยตนเอง โดยอาจเสนอให้สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศจัดวงคุยเรื่องนี้ ทั้งนี้ มีผู้เสนอว่า การเชิญนายแดนมานั้น ต้องไม่ทำให้เป็นการแสดง แต่ต้องเป็นการเชิญเพราะอยากรู้และอยากฟังจริงๆ ว่าเขาคิดอย่างไร โดยเฉพาะในฐานะของคนที่อยู่เมืองไทยมา 8 ปี ซึ่งเขาอาจมีเหตุผลที่รายงานเช่นนี้

นายนิพนธ์ จึงสรุปงานวันนี้ว่า นอกจากข้อเสนอให้สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศจัดงานโดยเชิญนายแดน ริเวอร์สมาร่วมด้วยแล้ว จะมีการทำจดหมายท้วงติงไปยังซีเอ็นเอ็น และจะตั้งคณะกรรมการที่ติดตามการทำงานในเรื่องนี้ด้วย

 

 

 

หมายเหตุ: (17.30น.) -ก่อนหน้านี้ประชาไทรายงานว่าประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม คือนายสมเถา สุจริตกุล แต่เมื่อตรวจสอบปรากฎว่าเป็นนายนิพนธ์ นาคสมภพ จึงได้ทำการแก้ไขแล้ว จึงขออภัยคุณสมเถา สุจริตกุล และผู้อ่านเป็นอย่างสูง

-เพิ่มเติมเนื้อหาข่าว ล่าสุด เมื่อ 21.30น.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

2 แกนนำไทรอัมพ์ฯ เข้าพบอัยการ แจงยังสอบพยานเพิ่มไม่เสร็จเลื่อนพิจารณา

Posted: 23 May 2010 10:35 PM PDT

<!--break-->

2 แกนนำ สร.ไทรอัมพ์ฯ เข้าพบอัยการเพื่อรับฟังการพิจารณาหลังยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมในชั้นอัยการ กรณีถูกหมายจับข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ผลยังสอบพยานเพิ่มไม่เสร็จ อัยการจึงเลื่อนพิจารณาไป 29 ก.ค. 2553
 
วันนี้ (24 พ.ค.53) เวลา 9.00 น. 2 แกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย น.ส.จิตรา  คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ และ น.ส.บุญรอด  สายวงศ์ อดีตเลขาธิการสหภาพฯ  ได้เข้าพบอัยการ  ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดา กรุงเทพฯ เพื่อเข้าฟังคำพิจารณาของอัยการ  หลังจากที่ได้มีการยื่นขอความเป็นธรรมในชั้นอัยการ  กรณีถูกศาลอาญาออกหมายจับ เลขที่ 2494/2552 และ 2495/2552 ลงวันที่ 27 ส.ค. 52 ในข้อหากระทำผิดด้วยการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 215 และ 216 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 108 จากเหตุที่คนงานรวมตัวกันชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา
 
ทั้งนี้ หลังจากแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ได้ยื่นขอความเป็นธรรมในชั้นอัยการและขอให้พนักงานสอบสวนสอบพยานเพิ่ม ขณะนี้กระบวนการสืบพยานยังไม่แล้วเสร็จ อัยการจึงเลื่อนนัดพิจารณาไปวันที่ 29 ก.ค. 2553
 
อนึ่ง การชุมนุมเมื่อวันที่ 27 ส.ค.นั้น เป็นการชุมนุมของคนงานจากสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย, สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชนกว่า 1,000 คน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหลังจากได้ยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้น โดยในวันดังกล่าว มีการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกล หรือ LRAD กับผู้ชุมนุมด้วย ซึ่งหลังจากนั้น นักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับโดยทันที รวมถึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
 
 
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ตร.ออกหมายจับ 3 แกนนำคนงานไทรอัมพ์ฯ ฐานชุมนุมปิดถนนหน้าทำเนียบฯ ก่อความวุ่นวาย ทำปชช.เดือดร้อน
ร้องถอนหมายจับผู้นำสหภาพแรงงาน- กก.สิทธิ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ ตร.
2 แกนนำไทรอัมพ์ ได้ประกันตัว อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ใช้ตำแหน่งประกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คุมตัว "สมยศ-สุธาชัย" ไว้ค่ายอดิศร 7 วัน อ้างไม่ผิดถึงปล่อย

Posted: 23 May 2010 10:32 PM PDT

สมยศ-สุธาชัย เดินทางเข้ามอบตัว ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี  โดยเบื้องต้นจะควบคุมตัวไว้ 7 วัน 

<!--break-->

วันนี้ (24 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Red News  และ ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 ของ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางเข้ามอบตัวกับ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบช.น. และ พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รรท.ผบก.ป. ในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับ ในความผิดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11 (1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

พล.ต.ท.ไถง กล่าวว่า การเดินทางมาของบุคคลทั้งสองไม่ใช่เป็นการควบคุมตัว แต่เป็นการเชิญตัวมาสอบถามความเห็นถึงพฤติกรรมในการชุมนุมที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้จะควบคุมตัวไปที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี  โดยเบื้องต้นจะควบคุมตัวไว้ 7 วัน  ทั้งนี้หากสอบสวนพบว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พรก.ฉุกเฉิน ก็อาจจะปล่อยตัวไป
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์ : บนดินไม่ใช่ใต้ดิน

Posted: 23 May 2010 09:57 PM PDT

<!--break-->

ทิศทางของเสื้อแดง จริงๆ แล้วไม่ใช่การลง “ใต้ดิน” แต่ต้องเป็นการกลับขึ้นมา “บนดิน” ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อทวงสิทธิในการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยกลับคืนมาอย่างชอบธรรม

คิดว่าตัวเองเขียนเว่อร์ ที่ไหนได้ กลายเป็นเรื่องจริง 

กระแสคนกรุงคร่ำครวญหวนหาเซ็นทรัลเวิลด์กับโรงหนังสยาม บวกการประโคมข่าวความเสียหาย “เผาบ้านเผาเมือง” กลบความสนใจเรื่องตัวเลขคนตายเสียสนิท จะตายกี่ศพก็ไม่สำคัญ ใครยิงก็ไม่สำคัญ

ดารานักร้องเป็นร้อยออกมาร่วมร้องเพลงขอความสุขคืนกลับมา เรียกหาดอกไม้สายลมแสงแดด ไม่ว่ากัน “ดี้” นิติพงษ์ ห่อนาค ยังดีหน่อยที่พูดถึงผู้เสียชีวิต แต่ดาราบางคนคร่ำครวญถึงห้างเซนว่านู๋ช็อปเป็นประจำ ก่อนถูกเผายังซื้อรองเท้าไว้คู่หนึ่ง นัดว่าจะมาเปลี่ยนก็ถูกเผาเสียก่อน

คนชั้นกลางผู้สอนลูกให้เข้าคิว ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง ออกมาร่วมปัดรังควาน “บิ๊กคลีนเดย์” อย่างน่าชื่นชม โดยไม่วายมีไฮโซคร่ำครวญ เสียดายโรงหนังสยาม เพราะเป็นที่นัดเดทครั้งแรกกับแฟน

ฝากช่วยกันทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อนะครับ แล้วดูให้ทั่วๆ ล้างเลือดสกปรกให้หมดจด กลัวจะมีศพไพร่หัวโบ๋หลงเหลืออยู่ กลายเป็นผี 4 แพร่งหลอกคุณหนูโรงเรียนมาแตร์

ศอฉ. (และหมอผี) ยังออกมาแถลงเปิดคลังแสงเสื้อแดง โชว์อาวุธกระสุนเพียบ (รวมทั้งบั้งไฟ หนังกะติ๊ก อาวุธทำลายล้างสูงที่ทูตานุทูตเห็นแล้วหวาดหวั่นขวัญเสีย) แต่ไม่ยักมีใครถามว่าทำไมมีตัวเลขทหารตายบาดเจ็บเพียงน้อยนิด ถ้าผู้ก่อการร้ายแดงใช้อาวุธอย่างที่เห็น ทหารก็ต้องตายเจ็บหลายสิบ ทำไมจึงมีแต่ศพ “ผู้ก่อการร้ายบั้งไฟ” โดนยิงหัวด้วยสไนเปอร์

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ต้องสืบสาวกันให้ชัดนะครับ อย่าเอาแค่แถลงข่าว M79 มาจากไหน เป็นของราชการหรือเปล่า ถ้าของราชการเบิกเอามาอย่างไร ใครเบิก ต้องมีบันทึกไว้

ไก่อูยังขุดเอาเทปเสียงแกนนำเสื้อแดงมาเปิด ฟังแล้วหนาว ต่อไปพูดอะไรต้องระวัง เช่น “ถ้าไม่ได้รับความยุติธรรมบ้านเมืองจะลุกเป็นไฟ” แปลว่าเรากำลังยุให้วางเพลิง

ขยันถอดเทปซะปานนี้ มิน่า ถึงได้เป็นขวัญใจหมวยลี่แทนเคน ธีระเดช พวกสาวๆ เฟซบุค “คนรุ่นใหม่หัวเขียว” อยากได้ผัวทหารจนตัวสั่น น่าน้อยใจแทน “พลเอกตลับแป้ง” ของไอ้เหลิม อุตส่าห์เตรียมตลับแป้งมาเอง ไม่ยักติดอันดับความนิยม

ที่รัฐบาลประโคมข่าวความเสียหายจากเหตุวางเพลิงเนี่ย ผมยังอยากถามอยู่อีกอย่างว่า ประสิทธิภาพในการคุ้มครองพื้นที่ของทหารมีแค่ไหน เพราะตรงนั้นมีทหารอยู่มากกว่า 1 กองพล แค่เยี่ยวคนละปี๊ดก็เกือบท่วมห้างเวิลด์เทรด ทำไมจึงไม่สามารถคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดับเพลิงให้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ต้องทิ้งให้ห้างไหม้อยู่ตลอดทั้งคืน

รัฐบาลและ ศอฉ.กำลังฉวยโอกาสที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน มีอำนาจปิดกั้นและเซ็นเซอร์สื่อที่ไม่เข้าข้าง ร่วมมือกับสื่อที่เข้าข้าง ประโคมข่าวอยู่ข้างเดียวเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง เพื่อทำให้รัฐบาลอยู่ได้แม้จะมีคนตายเกือบร้อย บาดเจ็บเกือบสองพัน แต่ก็ฉวยความผิดพลาดของเสื้อแดงมาขยายผล พร้อมกับอิงกระแสคร่ำครวญหวนหาสังคมอันสุขสงบและพอเพียงของคนชั้นกลาง มาค้ำจุนอำนาจ

จนกล่าวได้ว่าช่วงเวลาเพียง 2-3 วัน ทำให้อภิสิทธิ์แข็งแกร่งทางการเมืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในแง่ฐานสนับสนุนจากคนชั้นกลาง กระทั่งเกิดเฟซบุคคอนเนคชั่นของ “คนรุ่นใหม่หัวเขียว” ขึ้นมาคอยปกป้อง

ขนาดแกนนำเสื้อแดงถูกนำมาถ่ายภาพโดยใช้ห้องเดียวกัน ก็ยังมีนักท่องเน็ตจับผิด (โห จะอาหารดีดนตรีไพเราะหน่อยก็ไม่ได้ มันต้องเอาไปใส่ตรวนแขวนข้างฝา ตอกเล็บ บีบขมับ ถึงจะสาสมกับความผิด)

นี่ก็คือการเล่นสงครามข่าวสารด้านเดียวอีกนั่นแหละครับ เพราะขณะที่สังคมมุ่งความสนใจไปที่ “อภิสิทธิ์” ของแกนนำ แต่ความจริงคือมีผู้ถูกจับกุมคุมขังไว้ถึง 114 คน มีทั้งพระและผู้หญิง อีกร้อยกว่าคนที่เหลือเขามีสภาพความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง เขาถูกตั้งข้อหาอะไร ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ สมควรที่จะถูกควบคุมตัวไว้หรือไม่ สื่อไม่เคยไปตรวจสอบ

เพราะโดยความเข้าใจทั่วไป ผู้ถูกจับกุมที่เหลือนอกจากแกนนำ ควรจะเป็นผู้ถูกตั้งข้อหามากกว่าการชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีโทษจำคุก 2 ปี ก็ในเมื่อคุณปล่อยผู้ชุมนุมที่เหลือกลับบ้าน คนที่คุณกักอยู่ก็ต้องมีข้อหาอื่นแน่ชัด เช่น วางเพลิง มีอาวุธ พกพาอาวุธ ถ้าใช้ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินข้อเดียวก็แสดงว่าเลือกปฏิบัติ (ที่จดชื่อไว้ไปเรียกกลับมาเข้าคุกให้หมด)

รัฐบาลและ ศอฉ.ฉวยโอกาสนี้ “ล่าแม่มด” เหมือนหลัง 6 ตุลาที่เหวี่ยงแหข้อหา “ภัยสังคม” ตัวอย่างเช่นการออกหมายจับสมยศ พฤกษาเกษมสุข ช่วยชี้แจงหน่อยว่ามีความผิดอย่างไร ในเมื่อเขาประกาศจะนัดชุมนุมนอกพื้นที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะนัดชุมนุมในกรุงเทพฯ หลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เอ้า กระทั่งนักวิชาการจะจัดประชุมตั้งศูนย์ข้อมูลร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังไม่ได้ อ้างคำสั่ง ศอฉ.ห้าม นี่ใช้อำนาจยิ่งกว่า คมช.อีกนะครับ (แต่ทำไงได้ เขาเป็นขวัญใจคนชั้นกลาง)

การใช้กฎหมายกับคนเสื้อแดงที่ไม่ใช่ “ผู้ก่อการร้ายยึดสนามบิน” ดูเหมือนจะใช้ในมาตรฐานสูงสุด แบบเผายางยังขู่โทษจำคุก 20 ปี โหย คนกวาดขยะซอยบ้านผมไม่กล้าเผาขยะเลย เพราะผมบอกว่าเทียบกันแล้ว คนเผาถุงพลาสติกก็น่าจะมีโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (แต่มองโลกในแง่ดีหน่อย ดีเท่าไหร่แล้วที่ไม่ฟ้องแพ่งฐานทำให้โลกร้อน แบบกรมป่าไม้ฟ้องชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัว)

ข้อหานี้ยังมีข้อดีที่อาจใช้ปราบมาเฟียได้ พวกที่ชอบเอาศพไปเผานั่งยาง ถ้าข้อหาฆาตกรรมมีพยานหลักฐานไม่พอ ก็เอาข้อหาเผายางรถยนต์ติดคุกหัวโต

ความผิดฐานเคอร์ฟิวนี่ผมยังหนาวเลยครับ ลูกผมข้ามไปบ้านญาติคนละฝั่งซอย ก่อน 3 ทุ่มต้องรีบเรียกเข้าบ้าน กลัวฝ่าฝืนเคอร์ฟิวจะโดนรอลงอาญาและปรับ 2 หมื่นบาท (ไม่มีตังค์ขังแทนค่าปรับวันละ 200 ที่จริงต้องถือว่าเอาเปรียบรัฐนะ เอาภาษีคนชั้นกลางไปเลี้ยงข้าวแดงแล้วยังคิดตังค์อีก)

แต่มันสนุกก็ตรงสันดาน ปชป.อดไม่ได้จะต้องเอาทุกเม็ด ออกมาด่าตำรวจ ด่า 64 สว. ด่าองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แถมยังกาหัวสื่อ การ์ตูนิสต์ คอลัมนิสต์รายตัวว่าเข้าข้างเสื้อแดง ไม่อายรัฐบาลทักษิณที่ว่าแทรกแซงคุกคามสื่อมั่งเลยหรือครับ ไหนว่าจะปรองดองให้เสรีภาพสื่อไง

ใครเปิดดูเดลินิวส์มั่งหรือเปล่า เจ้าของนามปากกา “เบญจมาศ” กับ “ดาวประกายพรึก” หายไปไหนไม่ทราบ (สมาคมนักข่าวมองไม่เห็น)

ทั้งหมดนี้คือปฏิบัติการตีปี๊บและไล่ล่าเพื่อค้ำเก้าอี้อภิสิทธิ์ เพราะกลัวว่าถ้าปล่อยให้มีการโต้แย้งข้อมูลอีกด้าน ไม่ว่าจากเสื้อแดง จากสื่อไทย หรือสื่อต่างชาติ อภิสิทธิ์จะถูกกดดันให้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ เพราะคุณเลี่ยงไม่พ้นหรอกที่จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้น เปิดรับข้อมูลจากทุกฝ่าย

ก่อนหน้านี้ก็มีสัญญาณว่า บางกลุ่มบางฝ่ายกำลังคิดให้อภิสิทธิ์ลาออกลดแรงกดดัน แล้วเปลี่ยนหน้าไพ่ใหม่โดยไม่ต้องยุบสภา อย่างเช่นเถ้าแก่เปลวของผมก็เขียนเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ รัฐสภาแห่งชาติ (แกไม่ได้ฝันแล้วเอามาเขียนหรอก เถ้าแก่เปลวต้องรู้สัญญาณอะไรบางอย่าง)

ปมสำคัญคือต้องต่อสู้กันว่ารัฐบาลจะดึงดันประกาศภาวะฉุกเฉินไปอีกนานเท่าไหร่ ล่าสุดก็ตีปี๊บกันว่ามีคนปองร้ายหมายชีวิตทั่นผู้นำและลูกเมีย ต้องยืดเคอร์ฟิว ผมถามพวกนักข่าว เขาก็บอกว่ามีข่าวจริง แต่ถามว่าคุณจะประกาศภาวะฉุกเฉินไปตลอดชีวิตอภิสิทธิ์เรอะ จะประกาศเคอร์ฟิวไปอีกเป็นเดือนเรอะ แหม ทีพัทยายังยกเลิกเคอร์ฟิวได้ก่อนเพื่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ฝรั่งปฏิบัติการ “กระชับพื้นที่”

ขึ้นบนดินไม่ใช่ลงใต้ดิน
หันมาดูมวลชนเสื้อแดงกันบ้างดีกว่า ผมเปรียบเทียบไว้ว่าอยู่ในสภาพงูหลังหัก แค้นแต่ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีหัว กระจัดกระจาย ถูกไล่ล่า แนวร่วมและมวลชนบางส่วนอาจถดถอย แต่คนที่ยังเหนียวแน่นก็จะยิ่งร้อนแรง

สภาพเช่นนี้มีบางคนคิดไปถึงการลงใต้ดิน หรือการต่อสู้แบบกองโจร ซึ่งผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ นี่พูดในฐานะคนที่เคยเข้าป่าจับปืนมาก่อน การจะให้คนเข้าร่วมต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ มันต้องปลูกฝังความคิดทฤษฎีและอุดมการณ์ที่สูงลิ่ว ชัดเจน (เช่น เราจะสร้างสังคมนิยมที่ไม่มีคนรวยคนจน) อุดมการณ์ของเสื้อแดงคือประชาธิปไตยทุนนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง มันยังไม่เพียงพอที่จะปลุกให้คนต่อสู้ด้วยอาวุธ แม้จะมีอารมณ์รุนแรงตามสถานการณ์ ก็ยังไม่ถึงระดับที่จะ “จับปืน” เอาเข้าจริงจะมีคนเข้าร่วมไม่มากนักหรอก แล้วก็ร่วมได้ไม่นาน

ที่สำคัญคืออุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดมการณ์ที่จะต้องต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เพราะเป็นอุดมการณ์ที่สามารถต่อสู้อย่างเปิดเผย บนดิน เป็นสิทธิที่จะเคลื่อนไหวเรียกร้อง ไม่ว่าเรียกร้องให้ยุบสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือว่าจะจัดการศึกษาอบรมทางการเมือง ตั้งโรงเรียนการเมือง ประชุม สัมมนา เผยแพร่ความคิด

การเผยแพร่ความคิดบนดิน ย่อมได้ผลดีและกว้างขวางกว่าการแอบๆ เผยแพร่ความคิดกันใต้ดินอยู่แล้ว

และสภาพสังคมปัจจุบัน ก็ไม่ใช่สังคมชนบทยุคก่อน ที่จะเข้าป่าไปหาหน่อไม้กิน หรือซุ่มๆ ซ่อนๆ ตั้งกองกำลังอาวุธอยู่ในหมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านยุคสมัยนี้อยู่ริมถนนลาดยางเกือบหมด เผลอๆ จะมีเซเวนอีเลเวนทุกตำบล มวลชนเสื้อแดงก็ไม่ใช่แค่คนยากจนรับจ้างขายเสียงอย่างที่คนชั้นกลางคิด แต่พวกแกนๆ ในหมู่บ้านในตำบลก็คือคนชั้นกลางนี่แหละ เป็นคนชั้นกลางในชนบททำมาค้าขาย หรือทำกิจการขนาดเล็ก

ใครมันจะทิ้งอาชีพทิ้งการทำมาหากินไปลงใต้ดินได้ ก็พูดไปตามอารมณ์เท่านั้นแหละ

ไอ้ส่วนที่เป็น “ใต้ดิน” ถ้าจะมี คือต้องระมัดระวังตัว ระวังการเล่น “ใต้ดิน” หรืออำนาจมืด ที่อาจจะคุกคามแกนนำในพื้นที่ แบบนี้ไม่ใช่ “ใต้ดิน” ที่มาจากเสื้อแดง แต่เป็นการป้องกัน “ใต้ดิน” ที่มาจากฝ่ายตรงข้าม

ฉะนั้นทิศทางของเสื้อแดง จริงๆ แล้วจึงไม่ใช่การลง “ใต้ดิน” แต่ต้องเป็นการกลับขึ้นมา “บนดิน” ให้ได้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากการเรียกร้องกดดันทั้งทางตรงทางอ้อม ให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรใหม่ หรือจะฟื้นองค์กรเก่าก็ไม่ผิด เพราะต้องต่อสู้ว่าการเป็น นปช.เป็นสิทธิชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย การเรียกร้องให้ยุบสภา ก็เป็นสิทธิชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จะมาเผาบ้านเผาเมือง การชุมนุมก็เป็นสิทธิชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ เพราะจนบัดนี้ผู้ชุมนุมยึดสนามบินยังลอยนวลอยู่เลย

แน่นอนว่ามันยาก เพราะแกนนำถูกกวาดจับไปคุมขัง แต่ก็สามารถเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนแกนนำ เอาแกนนำสายสันติวิธีที่ได้รับการยอมรับขึ้นมาแทน สมมติเช่นวีระ มุสิกพงศ์ หรือจาตุรนต์ ฉายแสง ส่วนพวกพาย่อยยับหรือ อลัน สมิธ ที่ชอบโดนใบแดง ก็เชิญลง “ใต้ดิน” ไปจะดีที่สุด อย่ามายุ่งกับการเคลื่อนไหวอีกเลย รวมทั้งทักกี้ ตัวชักใบให้เรือเสีย

จะยากแค่ไหนก็เป็นความจำเป็นที่เสื้อแดงต้องกลับขึ้นมา “บนดิน” ให้ได้เร็วที่สุด เพื่อทำการต่อสู้ในสงครามข้อมูลข่าวสาร เพื่อทวงสิทธิในการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยกลับคืนมาอย่างชอบธรรม เรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วฟื้นคืนสื่อของประชาชนเช่น วิทยุชุมชน เว็บไซต์ จัดชุมนุมย่อย จัดปราศรัย จัดโรงเรียนการเมือง อบรม สัมมนา เผยแพร่ความคิด ถามสิว่าผิดตรงไหน เชิญทหารมานั่งฟังเลยก็ได้ (หรือไม่ก็เชิญมาเป็นวิทยากรแนะนำวิธีหลบวิถีกระสุน)

เสื้อแดงต้องแปรความแค้นมาเป็นพลังในการต่อสู้ต่อไปอย่างถึงที่สุด แต่ด้วยสันติวิธี ซึ่งก็ต้องใช้ความกล้าหาญนะครับ คนกล้าเท่านั้นที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ได้ในสภาวะที่อำนาจรัฐเข้มแข็งและแผ่รังสีอำมหิต แต่ถ้าไม่ต่อสู้ “บนดิน” คุณก็ไม่มีทางบรรลุเป้าหมายประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องต่อสู้กันด้วยความคิด ด้วยหลักการเหตุผล ด้วยการเคลื่อนไหวมวลชนให้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เอาชนะด้วยกำลังหรืออาวุธ

ถ้าถามว่าจะมี “ขบวนการใต้ดิน” ไหม ผมเชื่อว่ามีครับ ก็พวก “ชายชุดเขียว” ทหารอกหัก ทหารนอกแถว นักรบรับจ้าง พวกนี้ “ใต้ดิน” มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ถ้ามันจะมีต่อไป ก็เรื่องของเขา มวลชนต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยว ไม่เอามาเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย “บนดิน” เพราะเห็นแล้วว่าเกี่ยวกันทำให้อิ๊บอ๋าย

ขอบเขตการเคลื่อนไหวโดยสันติวิธีเพียงพอแล้วที่จะทำได้หลายอย่าง สมมติเช่นการแข็งขืนต่ออำนาจรัฐโดยไม่ละเมิดกฎหมาย ซึ่งทำได้หลายระดับ เช่นคุณไม่ร่วมมือ ไม่ปรองดอง (บังคับได้หรือ) รัฐมนตรีลงพื้นที่ ก็ยังรวมตัวกันไปไล่ได้ แต่ไล่โดยสงบ ใส่เสื้อแดง หรือใส่เสื้อดำไว้ทุกข์ อย่าขว้างปา เดี๋ยวจะโดนตั้งข้อหาใช้ใข่เป็นอาวุธก่อการร้าย มีโทษจำคุก 20 ปี

เข็มมุ่งตอนนี้ของคนเสื้อแดงคือรักษากำลัง ปลอบขวัญมวลชน เตรียมตัวต่อสู้กันในเรื่องข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะข้อเท็จจริงในเรื่องคนตาย คนเจ็บ สูญหาย ซึ่งต้องทำงานความคิดกันในเรื่องฟื้นการต่อสู้โดยสันติ เปิดเผย

ระหว่างนี้ก็เปิดโอกาสให้คนชั้นกลางเขาคร่ำครวญหวนห้างและโรงหนังไปก่อน พร่ำเพ้อถึงความสงบ สันติ ดอกไม้ สายลม แสงแดด กันซะให้พอ เอาซะให้เลี่ยน แล้วมาดูซิว่าระบอบพิกลพิการที่มีอภิสิทธิ์และอำมาตย์ครองอำนาจเนี่ย จะลากถูกันไปได้สมความหวังของคนชั้นกลางหรือเปล่า

ย้ำความจำอีกทีว่าหลังปราบเสื้อแดงเมื่อสงกรานต์ปีที่แล้วก็คล้ายๆ กันนี่แหละ ดูอภิสิทธิ์แข็งปั๋ง แต่ไม่นานระบอบนี้ก็ทำลายตัวเองกัดกันเองให้ยุ่งเหยิงไปหมด

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น