ประชาไท | Prachatai.info |
- เคิร์ท เอ็ม. แคมเบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เผยท่าทีต่อไทย
- เคิร์ท เอ็ม. แคมเบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เผยท่าทีต่อไทย
- รายงาน: รำลึกวีรชนนิรนาม ‘คนึง ฉัตรเท’ รปภ.จุฬาฯ ผู้จากไปเมื่อ 10 เมษา
- เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิค้านข้อเสนอ พธม.ใช้กฎอัยการศึก
- บทสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างชาติ: ในสถานการณ์ซึ่งยากจะ 'เป็นกลาง'
- 10 องค์กรสื่อรับแผนปรองดอง ‘อภิสิทธิ์’ เสนอ 9 ข้อปฏิรูปสื่อ
- ศาลยกฟ้องกรณี 'สุธาชัย' ฟ้องหมิ่นประมาท 'มาร์ค-สุเทพ-สรรเสริญ' ทำผังโยงเครือข่ายล้มเจ้า
- ประมวลภาพ: พิธีอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553
- รำลึก 10 เมษา: ภาพปะติดปะต่อเหตุการณ์ และชีวิตแหว่งวิ่น-ปลิดปลิว
เคิร์ท เอ็ม. แคมเบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เผยท่าทีต่อไทย Posted: 10 May 2010 02:39 PM PDT <!--break--> วันที่ 9 พ.ค. 2553 เจ้าหน้าที่สถานฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้ประสานให้เคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เข้าพบปะพูดคุยกับ จาตุรนต์ ฉายแสง และนพดล ปัทมะ ก่อนเดินทางไปเยือนพม่าต่อ ทางเว็บไซต์ของสถานฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ในวันเดียวกัน โดยมีเนื้อหาดังนี้ สวัสดีตอนเช้า เป็นโอกาสดีที่ได้มาเยือนไทยอีกครั้ง เอกอัครราชฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย อิริค จอห์น ได้พบกับผมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกับผู้มีชื่อเสียงอีกจำนวนหนึ่งอย่างมีชีวิตชีวาจนกระทั่งได้ข้อสรุป ผมได้พูดคุยกับผู้ที่มาจากฝ่ายรัฐบาล ผู้ที่ร่วมกับฝ่ายต้านรัฐบาล และภาคประชาสังคม พวกเราแลกเปลี่ยนกันอย่างตรงไปตรงมาแต่ก็เป็นไปด้วยความเคารพต่อกันและกัน ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้องหรือให้การสนับสนุนผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพื่อย้ำให้เห็นว่าสหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรเก่าแก่ของพวกเราในเอเชีย และเพื่อให้การสนับสนุนประชาชนไทยในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ แม้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มีเหตุอันควรที่เราจะต้องสนับสนุนให้มีการเชื่อมสะพานระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ชุมนุม นปช. และมีการเจรจาด้วยความเป็นธรรมและประนีประนอม พวกเรายอมรับโร้ดแม็ปของนายกรัฐมนตรีเพื่อความปรองดองในชาติและข้อตกลงให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นอย่างมาก พวกเรายังได้สนับสนุนให้ฝ่ายนปช. มีการตอบรับในเชิงบวกกับโร้ดแม็ปและหวังว่าแกนนำจะใช้โอกาสนี้ในการนำประเทศไทยพ้นจากภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้อย่างรวดเร็วและด้วยความรับผิดชอบ การอดทนอดกลั้นปละการมองการณ์ไกลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายในตอนนี้ อย่างไรก็ตามพวกเรายังคงเฝ้าระวังการดำเนินการเพราะยังมีผู้ที่ไม่ต้องการสันติหรือความก้าวหน้าทางการเมืองยังคงใช้ความรุนแรงเพื่อบ่อนทำลายข้อสรุประหว่างความขัดแย้งทางการเมือง เช่น เหตุยิงกันในคืนวันศุกร์ (7 พ.ค.) ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ซึ่งการก่อความรุนแรงทางการเมืองนี้นอกจะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงแล้ว มันยังเป็นการทำความเสียหายต่อชาติ บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตยและกลไกด้านกฏหมายในการหารือข้อตกลงร่วมกัน พวกเราเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนและดำเนินการอย่างสันติปรองดองเพื่อเป็นไปตามหลักนิติธรรมและไปสู่เป้าหมายที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น อเมริกา พร้อมเสมอที่จะสนับสนุนประเทศไทยและประชาชนของประเทศ ขณะที่พวกเขากำลังดำเนินการเพื่อไปสู่ข้อสรุปในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เคิร์ท เอ็ม. แคมเบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เผยท่าทีต่อไทย Posted: 10 May 2010 02:38 PM PDT <!--break--> วันที่ 9 พ.ค. 2553 เจ้าหน้าที่สถานฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้ประสานให้เคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เข้าพบปะพูดคุยกับ จาตุรนต์ ฉายแสง และนพดล ปัทมะ ก่อนเดินทางไปเยือนพม่าต่อ ทางเว็บไซต์ของสถานฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ในวันเดียวกัน โดยมีเนื้อหาดังนี้ สวัสดีตอนเช้า เป็นโอกาสดีที่ได้มาเยือนไทยอีกครั้ง เอกอัครราชฑูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย อิริค จอห์น ได้พบกับผมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกับผู้มีชื่อเสียงอีกจำนวนหนึ่งอย่างมีชีวิตชีวาจนกระทั่งได้ข้อสรุป ผมได้พูดคุยกับผู้ที่มาจากฝ่ายรัฐบาล ผู้ที่ร่วมกับฝ่ายต้านรัฐบาล และภาคประชาสังคม พวกเราแลกเปลี่ยนกันอย่างตรงไปตรงมาแต่ก็เป็นไปด้วยความเคารพต่อกันและกัน ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้องหรือให้การสนับสนุนผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพื่อย้ำให้เห็นว่าสหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรเก่าแก่ของพวกเราในเอเชีย และเพื่อให้การสนับสนุนประชาชนไทยในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ แม้ว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มีเหตุอันควรที่เราจะต้องสนับสนุนให้มีการเชื่อมสะพานระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ชุมนุม นปช. และมีการเจรจาด้วยความเป็นธรรมและประนีประนอม พวกเรายอมรับโร้ดแม็ปของนายกรัฐมนตรีเพื่อความปรองดองในชาติและข้อตกลงให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นอย่างมาก พวกเรายังได้สนับสนุนให้ฝ่ายนปช. มีการตอบรับในเชิงบวกกับโร้ดแม็ปและหวังว่าแกนนำจะใช้โอกาสนี้ในการนำประเทศไทยพ้นจากภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้อย่างรวดเร็วและด้วยความรับผิดชอบ การอดทนอดกลั้นปละการมองการณ์ไกลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งสองฝ่ายในตอนนี้ อย่างไรก็ตามพวกเรายังคงเฝ้าระวังการดำเนินการเพราะยังมีผู้ที่ไม่ต้องการสันติหรือความก้าวหน้าทางการเมืองยังคงใช้ความรุนแรงเพื่อบ่อนทำลายข้อสรุประหว่างความขัดแย้งทางการเมือง เช่น เหตุยิงกันในคืนวันศุกร์ (7 พ.ค.) ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ซึ่งการก่อความรุนแรงทางการเมืองนี้นอกจะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงแล้ว มันยังเป็นการทำความเสียหายต่อชาติ บ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตยและกลไกด้านกฏหมายในการหารือข้อตกลงร่วมกัน พวกเราเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนและดำเนินการอย่างสันติปรองดองเพื่อเป็นไปตามหลักนิติธรรมและไปสู่เป้าหมายที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น อเมริกา พร้อมเสมอที่จะสนับสนุนประเทศไทยและประชาชนของประเทศ ขณะที่พวกเขากำลังดำเนินการเพื่อไปสู่ข้อสรุปในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงาน: รำลึกวีรชนนิรนาม ‘คนึง ฉัตรเท’ รปภ.จุฬาฯ ผู้จากไปเมื่อ 10 เมษา Posted: 10 May 2010 02:01 PM PDT <!--break--> วันที่ 10 พ.ค.53 กลิ่นอายบรรยากาศแห่งความยินดีและสนุกสนานของการตระเตรียมกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มคึกคักขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เช่นกัน เสียงโห่ร้องดังสลับเสียงกลองตามจังหวะต่างๆ กึกก้องไปทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ทว่ามีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งประกอบไปด้วยประชาชนทั่วไป นักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันจุฬาฯ ได้อาศัยพื้นที่เล็กๆ จัดพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ษ.53 โดยเฉพาะ “คนึง ฉัตรเท” เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยที่สูญเสียชีวิตไปกับเหตุการณ์ครั้งนั้น โดยไม่ได้รับการเหลียวแลใดๆ จากรัฐบาล กลุ่มประกายไฟจัดพิธี “รำลึกวีรชนนิรนาม” ครบรอบหนึ่งเดือนการสังหารประชาชน ที่ลานหน้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีการผลัดกันกล่าวไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตและมีการเสวนาสั้นเกี่ยวกับเหตุการณ์การ “ขอพื้นที่คืน” ของรัฐบาล และในตอนท้ายมีการร่วมจุดเทียนไว้ลัยแก่ผู้เสียชีวิตด้วย สุดา รังกุพันธ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีโอกาสได้เข้าไปคุยกับทางครอบครัวของคนึง ทราบว่าไปร่วมชุมนุมหลังเลิกงานที่ราชประสงค์ เมื่อจะมีรถคนเสื้อแดงจากแยกเฉลิมเผ่าเตรียมไปยับยั้งทหารที่ผ่านฟ้าเลยขอขึ้นรถไปด้วยและได้เสียชีวิตที่แยกคอกวัว คุณคนึงเห็นว่าสังคมไทยไม่มีซึ่งความยุติธรรม และสิ่งที่ไม่พอใจมากที่สุดคือการเป็นสองมาตรฐาน “สิ่งที่เรายังไม่เห็นคือการให้ความช่วยเหลือที่มีต่อ “ยาม” เขาดูแลบุคลากรของจุฬาฯร่วม 30 ปี แต่ยามอีกฝั่งหนึ่งที่รักษาความปลอดภัยของกลุ่มอำนาจหนึ่ง (ทหาร) กลับได้รับปูนบำเหน็จอย่างดี มันก็คงอยู่ที่ภาระของพวกเราทุกคนที่ต้องร่วมกันสร้างสังคมที่ปราศจากสองมาตรฐาน” ชัยธวัช ตุลาฑล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน กล่าวว่าตนไม่ได้มางานวันนี้ในฐานะบรรณาธิการหนังสือ แต่มาในฐานะอดีตนิสิตจุฬาฯคนหนึ่ง พร้อมเล่าเรื่องราวด้วยเสียงสั่นเครือว่า คนึงเข้าทำงานเป็นลูกจ้างเงินงบประมาณแผ่นดินที่จุฬาฯตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เริ่มจากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย จนล่าสุดทำงานเป็นสายตรวจนอกเครื่องแบบ เขาพักอาศัยอยู่บนแฟลตเจ้าหน้าที่ในจุฬา คนึงมีลูกชายอายุ 13 ปี กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.2 “พี่คนึงมีบุคลิกคล่องแคล่วรวดเร็ว สนุกสนาน คุยเก่ง ไม่ชอบทะเลาะกับใคร เป็นคนเรียบร้อย รับผิดชอบทำงานบ้านและทำอาหารแทนภรรยา เวลาตั้งวงสุรา เขามักจะเป็นคนผูกขาดเข้าครัวทำกับแกล้มให้เพื่อนๆ รวมทั้งคอยบริการเติมเครื่องดื่มไม่ให้พร่องแก้ว จนเพื่อนๆ ตั้งให้เป็น ‘ขุนระริน’ ” ชัยธวัชเสริมว่า ที่ผ่านมาวชิพยาบาลระบุว่า “คนึง” น่าจะเสียชีวิตเพราะหัวใจวาย แต่ท้ายที่สุดผลการชันสูตรศพพบว่า คนึงเสียชีวิตจากการถูกยิง กระสุนเข้าซี่โครงด้านขวา ไประเบิดที่ปอดก่อนกระจายไปที่ไขสันหลัง เลือดคลั่งในช่องอก ปอดฉีกขาด “ภายใต้สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมแบบจุฬาๆ โดยปกติ คนอย่างพี่คนึงไม่ค่อยจะได้รับเกียรติอยู่แล้ว เพื่อนของพี่คนึงระบายให้ฟังว่า พวกเขาต้องรองรับอารมณ์จากอาจารย์เสมอ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมักจะใช้อารมณ์ โวยวาย ต่อว่าเจ้าหน้าที่ รปภ.อยู่เสมอเมื่อเกิดเหตุให้หงุดหงิด ไม่สะดวก ไม่พอใจ” พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การทำให้ “คนเป็น” ไม่ใช่คนนั้นแย่พอแล้ว แต่การทำให้ “ความตาย” ของคนนั้นไร้ค่าถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก เรื่องใหญ่ก็คือการปฏิเสธว่ามีคนตายจากการ “สั่ง” ขอพื้นที่คืน ในสังคมพุทธเวลามีคนตายก็ต้องให้เกียรติกัน “ในสมัยก่อนที่มีคนตาย สังคมสะเทือนมากกว่านี้ หนึ่งเดือนที่ผ่านมามีคนตาย คนเจ็บมากขนาดนี้ ยังจะมีโร้ดแม็ปอีก ในชีวิตผมไม่เคยรู้สีกตกต่ำถึงขนาดนี้ สมัยนี้มีกระทั่งการจัดงานศพหมา แต่กลับปฏิเสธการตายของคน ผมว่ามันน่าลำบากแล้ว” “ผมยังจำบรรยากาศตอนเย็นวันนั้นได้ คนเริ่มเคลื่อนไปตรงนั้น ผมเดินไปวัด พระอาจารย์บอกผมว่า เหมือนอยู่ตะวันออกกลาง เสียงพระสวดไป ก็มีเสียงปืนยิงด้วย ผมเจอป้าคนหนึ่งนั่งร้องไห้ ‘จะให้ทำอย่างไร มันยิงคนตายอย่างกับหมาอย่างนี้’ ผมฟังบรรยากาศจากวิทยุ ประกาศให้คนออกมาจากเต็นท์ ให้เห็นว่านี่คือ “คน” ไม่มีอาวุธใดๆ อย่าทำอะไรนะ แต่กลับโปรยแก็สน้ำตาลงมา” หลังจากเสวนาและการกล่าวไว้อาลัยเสร็จสิ้น ก็มีการจุดเทียนและยืนสงบนิ่งเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต อนึ่ง ครอบครัวและเพื่อนพ้องของ “คนึง ฉัตรเท” ปฏิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานในปัจจุบัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิค้านข้อเสนอ พธม.ใช้กฎอัยการศึก Posted: 10 May 2010 01:34 PM PDT <!--break--> 10 พ.ค.53 เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรภาคี ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เรื่องคัดค้านข้อเสนอให้กองทัพประกาศกฎอัยการศึก ด้วยขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กองทัพต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 00000 แถลงการณ์ ฉบับที่ 3 คัดค้านข้อเสนอให้กองทัพประกาศกฎอัยการศึก ด้วยขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กองทัพต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สืบเนื่องจากข้อเสนอของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 นำโดย พล.ตรี จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สนับสนุนให้ประกาศใช้กฏอัยการศึกตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 เพื่อจัดการกับสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (นปช.) และยังย้ำว่าหากรัฐบาลและทหารไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ก็จำเป็นที่ประชาชนจะต้องออกมาเคลื่อนไหวปกป้องบ้านเมืองนั้น [1] องค์กรที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้ ขอแสดงเจตนาคัดค้านข้อเสนอดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. การที่ พล.ตรี จำลอง ศรีเมือง ให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่เรียกร้องให้กองทัพ โดยเฉพาะแม่ทัพภาคที่ 1 และ ผบ.พล 1 ประกาศกฎอัยการศึกโดยไม่ต้องฟังคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีเป็นการขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กองทัพต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง 2. ข้อเสนอดังกล่าวของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจถูกตีความไปในทางที่เป็นการยุยงให้กองทัพก่อรัฐประหารเงียบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการต่อต้านกองทัพรุนแรงยิ่งขึ้น 3. การประกาศกฎอัยการศึกเพื่อให้อำนาจเด็ดขาดแก่ของทัพเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนเพื่อเข้าจัดการกับสถานการณ์ ถือเป็นการสนับสนุนให้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม อันจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความรุนแรง เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อ อันจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น 4. พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก มีบทบัญญัติจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างกว้างขวางและรุนแรง ซึ่งจะใช้บังคับได้ก็แต่ในกรณีจำเป็นอย่างยิ่งยวดเช่นภาวะสงคราม โดยที่ไม่มีหนทางอื่นใดแล้วที่จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้แล้วเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่เหตุจำเป็นเพียงพอที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกแต่อย่างใด บทเรียนจากการใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เพื่อให้กองทัพมีอำนาจเหนือรัฐบาลพลเรือนในการเข้าจัดการกับสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากว่า 5 ปี ได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่าไม่สามารถลดความรุนแรงและการสูญเสียเลือดเนื้อได้ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดช่องว่างนำไปสู่การใช้อำนาจโดยมิชอบ การทรมาน เกิดภาวะเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดลอยนวลไม่ต้องรับโทษและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ประชาชนสูญเสียความไว้วางใจ และรัฐสูญเสียการสนับสนุนจากภาคประชาชน อันทำให้การปฏิบัติภาระกิจของรัฐในการรักษาความสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่บรรลุผลจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น องค์กรที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้จึงเห็นว่า การประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการกับสถานการณ์ความขัดแย้งและการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ย่อมไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ อีกทั้งหากพิจารณาจากแนวทางการปรองดองที่รัฐบาลได้เสนอไว้ ซึ่งจะสำเร็จลุล่วงได้ก็ด้วยความจริงใจและความไว้วางใจระหว่างทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างคู่ขัดแย้ง และจะต้องเป็นการแก้ปัญหาโดยวิถีทางการเมือง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นการประกาศกฎอัยการศึกเพื่อให้กองทัพเข้ามามีอำนาจเด็ดขาดเหนือรัฐบาลพลเรือนนั้น ไม่สามารถสร้างความไว้วางใจได้ และขัดต่อหลักการและวิถีทางประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ------------------------------ [1] http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000063147 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างชาติ: ในสถานการณ์ซึ่งยากจะ 'เป็นกลาง' Posted: 10 May 2010 01:15 PM PDT <!--break--> เอเดรียน คัลลาน เป็นช่างภาพโทรทัศน์อิสระที่ทำงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เขาคือคนที่ถ่ายทำเรื่องราวการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยภาพข่าวของเขาได้รับการเผยแพร่ไปยังที่ต่างๆ เช่น อัลจาซีร่าของอังกฤษ, ไอทีเอ็น, แชนแนล 4 และแซดดีเอฟ ของเยอรมนี เขายังได้ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก แต่ภาพถ่ายของเขาในช่วงที่มีการประท้วงของคนเสื้อแดงนั้น ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นช่างภาพข่าว แต่ยังเป็นการที่เขาได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงด้วย แดน เมสัน ได้พูดคุยกับเอเดรียนเกี่ยวกับความท้าทายในการถ่ายทำเรื่องราวความขัดแย้งที่อยู่เฉียดใกล้ปลายเท้าเขานิดเดียว หากให้เลือกภาพหนึ่ง ภาพไหนที่น่าจะเป็นบทสรุปของเรื่องราวที่คุณถ่ายทำ? เอเดรียน : มันยากที่จะหารูปๆ หนึ่งที่จะสรุปเหตุการณ์นี้ แต่ผมก็เลือกมารูปหนึ่งที่ผมชอบเพราะมันดูขัดแย้งกันดี คือภาพที่มีฉากหลังเป็นห้างหรูขณะที่มีผู้ประท้วงปักหลักกันอยู่ด้านนอก นักข่าวหลายคนรู้สึกว่ายากมากที่จะจับเรื่องราวพวกนี้ มันซับซ้อนมากและต้องอาศัยเวลามากกว่าการนำเสนอโทรทัศน์สองสามนาทีในการอธิบาย นักข่าวสื่อสิ่งพิมพ์มีโอกาสดีกว่าในการนำเสนอบทความเช่นที่ปรากฏใน ดิ อิโคโนมิสต์ และใน เดอะ ไทม์ (สามารถเข้าชมรูปภาพของ เอเดรียน ได้ในบทความต้นฉบับและในบล็อกของเขา) ผมชอบรูปนี้เพราะว่ามันเน้นให้เห็นถึงประเด็นสำคัญอันหนึ่งคือ 'การแบ่งแยกทางสังคม' มีห้างสรรพสินค้าสำหรับคนรวยเป็นฉากหลัง แม้แต่ผมก็ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะมาช็อปปิ้งที่นี่ และสำหรับเสื้อแดงแล้วเรื่องจะมาช็อปนี่คงไม่ต้องพูดถึง กลุ่มชนชั้นล่างทั้งในชนบทและในเมืองที่รวมตัวกันเป็นเสื้อแดงต่างก็มาจากโลกที่งานหนักของพวกเขาไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก มันสะท้อนความจริงของชีวิต ผมชอบที่มีป้ายโฆษณาใหญ่ยักษ์อยู่เหนือผู้ชุมนุม ... แล้วสำหรับภาพวิดิโอ ภาพไหนที่คุณคิดว่าเป็นบทสรุป? เอเดรียน : ผมเลือกภาพวิดิโอที่ผมถ่ายให้อัลจาซีร่า เป็นภาพวิดิโอในช่วงที่มีกองกำลังตำรวจกว่า 1,000 นายนั่งลงบนท้องถนน พวกเขาสวมชุดปราบจลาจลเต็มยศ แล้วก็นั่งลงเป็นแถว วางโล่ไว้ที่เท้า ขณะที่มีกลุ่มเสื้อแดงล้อมพวกเขาไว้ พอพวกตำรวจนั่งลงแล้ว พวกเขาก็ได้รับน้ำและอาหารจากผู้ชุมนุม แกนนำได้เจรจากับตำรวจ (ซึ่งก็มีตำรวจบางส่วนที่สนับสนุนเสื้อแดง) แล้วจึงตัดสินใจว่า จากการที่ตำรวจไม่อนุญาตให้ต้องออกจากพื้นที่ พวกเขาจึงต้องนั่งลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ ผมว่าเป็นภาพที่ประหลาดมาก "แล้วมันก็เป็นเรื่องผิดด้วยที่จะบอกว่าคนเสื้อแดงเป็นแค่คนชนบทที่ไม่รู้อะไร พวกเขาหลายคนพูดภาษาอังกฤษได้ดีทีเดียว" แล้วตำรวจไทยกับผู้ชุมนุมมีทัศนคติอย่างไรกับผู้สื่อข่าวบ้าง? เอเดรียน : ในตอนแรกทุกคนล้วนเป็นมิตรกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แล้วส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่ ต่อมาอัลจาซีร่าฉบับภาษาอังกฤษ (AJE) เริ่มถูกกล่าวโจมตีหลังจากที่เผยแพร่ภาพ 'คนชุดดำ' (ซึ่งน่าจะเป็นฝ่ายทหารของเสื้อแดง ที่มาจากทหารที่อาจจะ 'ไม่ค่อยภักดี' กับกองทัพนัก) หลังจากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น AJE ก็นำภาพวิดิโอจากสำนักข่าว AP ที่เผยให้เห็นคนชุดดำยิงปืนอาก้า (AK47) ใส่ทหาร แล้วภาพดังกล่าวก็ถูกนำไปเผยแพร่ต่อในหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งมีตรา AJE ติดไปด้วย ทำให้มีการพูดปากต่อปากว่าให้ระวังคนที่เกี่ยวข้องกับ AJE ไว้ให้ดี แต่หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันก็ลืมเรื่องนี้กันไป อาจจะมีอยู่ไม่กี่คนที่ไม่ชอบเรื่องนี้นัก แต่คนส่วนใหญ่ก็มองว่ามันคือความจริง ตามปกติแล้ว ทหารหรือตำรวจจะยิ้มให้คุณไม่ก็เมินเฉยต่อคุณ ขณะที่คนเสื้อแดงจะให้น้ำให้อาหาร และมีจำนวนมากที่อยากพูดคุยกับคุณ พวกเขาสงสัยว่าทำไมคุณถึงสนใจในพวกเขา แล้วมันก็เป็นเรื่องผิดด้วยที่จะบอกว่าคนเสื้อแดงเป็นแค่คนชนบทที่ไม่รู้อะไร พวกเขาหลายคนพูดภาษาอังกฤษได้ดีทีเดียว มีวิธีการไหนที่คุณ (รวมถึงผู้สื่อข่าวคนอื่น ๆ) ใช้ในการรักษาตัวเองให้ปลอดภัย? เอเดรียน : ในวันที่ 10 เม.ย. ที่มีการปะทะกันระหว่างเสื้อแดงกับทหารจนมีผู้เสียชีวิต ผมอยู่ในที่ประท้วงอีกจุดหนึ่งใจการเมือง อุณหภูมิสูงมาก ร้อนระอุพอๆ กับอารมณ์คน (เมษายนเป็นช่วงกลางฤดูร้อนของไทย) ขณะที่ผมกลับสำนักงาน ผมเห็นภาพเจ้าหน้าที่ 2,000 นายกำลังดันกับกลุ่มผู้ชุมนุม ในตอนนั้นตำรวจได้ถอยออกไป แต่อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมาเหตุการณ์เลวร้ายลงมาก ฮิโระ มุราโมโตะ ช่างภาพจาก Reuters ถูกยิงเสียชีวิต ช่วงที่มีบรรยากาศของความขัดแย้งนี้อาจจะมีประโยชน์มาก แต่คุณก็ควรรู้เส้นทางหลบหนี มีปฏิภาณรับรู้อันตราย ประเมินอารมณ์ของมวลชนได้ คาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสถานการณ์ลื่นไหลนี้ ใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้มาในการวางตัวเองอยู่ในที่ๆ ปลอดภัยที่สุด โชคดีที่อุปกรณ์ป้องกันจากเยอรมนีอาจกันกระสุนและช่วยชีวิตเขาเอาไว้ได้ แต่เป็นโชคร้ายอยู่เขาไปในที่ที่อันตรายอย่างใจกลางถนนที่อยู่ในวิถีกระสุน และใช้ขาตั้งกล้อง (ซึ่งในตอนมืดมันจะดูเหมือนอาวุธและทำให้คุณกลายเป็นเป้าถูกโจมตี) คุณชอบทำงานคนเดียวหรือทำงานร่วมกับผู้สื่อข่าวคนอื่น? เอเดรียน : ในสถานการณ์ที่มีความรุนแรง มันเป็นเรื่องดีที่จะอยู่กับคนที่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรและสามารถดูแลตัวเองได้ การที่ไปอยู่ในสถานการณ์อันตรายกับบางคนที่คุณต้องคอยดูแลจะยิ่งทำให้เป็นอันตรายต่อตัวคุณเอง ในการผลิตข่าวโทรทัศน์ คุณต้องอยู่ใกล้ชิดกับนักข่าวที่ถ่ายทำเหตุการณ์แทบจะโดยตลอด ควรมีการตกลงร่วมกันว่าควรจะทำอย่างไร เมื่อไหร่ ตรงจุดไหนให้พร้อม ตรงนี้สำคัญมาก ต้องมีการพูดคุยเตรียมไว้ก่อน เพื่อไม่ต้องมาถกเถียงกันเวลาที่มีอิฐและขวดน้ำลอยไปมา "ผมถ่ายภาพของพวกเขา พวกเขาก็ยิ้มให้ผม และให้น้ำให้อาหารผม แล้วผมก็นึกอยู่ในใจว่า หากทหารจะปราบผู้ชุมนุมในคืนนี้ คนบางคนที่อยู่ในรูปผมอาจจะเสียชีวิตไปแล้วในวันรุ่งขึ้นก็ได้ ความรู้สึกแบบนี้ บวกกับการเซนเซอร์สื่อของรัฐบาล ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะยังคงทำตัวให้เป็นกลางอยู่ได้" ในบล็อกของคุณ คุณบอกว่ามันยากมากที่จะไม่ต้องเลือกข้าง แล้วมุมมองส่วนตัวของคุณมีผลต่อการทำงานของคุณไหม? เอเดรียน : มันเป็นเรื่องยากที่จะไม่เลือกข้าง มีประเด็นมากมายที่ผุดขึ้นมาจากการประท้วงนี้ ซึ่งการอยู่ให้ห่างจากความขัดแย้งทางความคิดนี้เป็นเรื่องยาก สำหรับผู้สื่อข่าวแล้ว เสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องสำคัญที่สุด มันเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับผม หากไม่มีมันแล้ว คุณก็อย่าหวังเรื่องประชาธิปไตยเลย เอาง่ายๆ แค่นี้ ถ้าหากประชาชนถูกห้ามไม่ให้แสดงความคิดเห็น และสื่อก็ไม่ได้รับอนุญาตให้รายงานโดยไม่ถูกข่มขู่ การที่สังคมจะก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ยุคสมัยใหม่นั้นก็เป็นความหวังริบหรี่ แน่นอนว่าสื่อเจ้าต่าง ๆ จะต้องเอียงข้างไปทางใดทางหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมือง แต่รัฐบาลที่บล็อกเว็บไซต์และสั่งปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์นั้นดูจะใกล้เคียงกับพวกเผด็จการเกาหลีเหนือมากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตยสมัยใหม่ ในประเทศไทยนั้น ผมคิดว่ากฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นกฏหมายที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำให้ประเทศก้าวสู่ความเป็นสังคมที่เจริญ ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีความผิดในแง่การให้ข้อมูลเท็จและการโฆษณาชวนเชื่อ ผมเห็นว่ามีปัญญาชนคนไทยบางคนที่ถูกเล่นงานจากการโกหกหลอกลวงและแนวอุดมการณ์ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องตลก เมื่อมีคนเริ่มเลือกข้าง มันก็ทำให้ยากที่เขาจะมองเห็นภาพใหญ่ๆ แล้วมันจะทำให้เขาฝังรากและมองไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นจริงๆ กันแน่ ภรรยาเพื่อนผมบอกว่าเสื้อแดงมีปืนและอาวุธอื่นๆ ซึ่งเธอบอกว่าได้ฟังมาจากรัฐบาล ผมพยายามอธิบายให้เธอเข้าใจว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ผู้ชุมนุมหรอกที่มีอาวุธ แต่เป็นกลุ่มหนึ่งในกองทัพที่สนับสนุนพวกเขาอยู่ เธอไม่ยอมฟังเลย เพราะรัฐบาลบอกว่ากองทัพยังคงมีเสถียรภาพ ผมยังเห็นว่ามีอคติในการรายงานข่าวของนักข่าวตะวันตกอยู่ บางคนก็ฟังจากช่องข่าวของรัฐบาลแล้วก็เชื่ออย่างสนิทใจโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็เขียนวิจารณ์รัฐบาลอย่างเดียว ผมเชื่อว่าอย่างน้อยนักข่าวก็ควรพยายามทำตัวให้เป็นกลาง แม้ว่าเหตุผลเดียวที่คุณควรทำตัวเป็นกลางคือการที่จะทำให้คุณเห็นภาพในมุมที่กว้างขึ้นกว่าเดิมก็ตาม ภาพที่ผมถ่ายไว้รอบๆ ที่ชุมนุมเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเหล่านี้เป็นประชาชนและไม่ได้เป็นเพียง 'ผู้ชุมนุม' ในเวลาเช่นนี้มันง่ายมากที่จะรู้สึกโกรธคนที่ต้องการทำร้ายคนเหล่านี้ แต่มันก็เป็นความรู้สึกที่คุณควรจะจัดการกับมัน ผมถ่ายภาพของพวกเขา พวกเขาก็ยิ้มให้ผม และให้น้ำให้อาหารผม แล้วผมก็นึกอยู่ในใจว่า "หากทหารจะปราบผู้ชุมนุมในคืนนี้ คนบางคนที่อยู่ในรูปผมอาจจะเสียชีวิตไปแล้วในวันรุ่งขึ้นก็ได้" ความรู้สึกแบบนี้ บวกกับการเซนเซอร์สื่อของรัฐบาล ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะยังคงทำตัวให้เป็นกลางอยู่ได้ คุณอยากแนะนำอะไรกับคนหนุ่มสาวที่ต้องการเป็นผู้สื่อข่าววิดิโอหรือช่างภาพ? เอเดรียน : ถ้าจะเป็นนักข่าวโทรทัศน์หรือผู้สื่อข่าวด้วยภาพในทุกวันนี้ผมคิดว่าจะต้องมีทักษะเชี่ยวชาญอย่างมากทีเดียว อนาคตของสื่อตอนนี้อยู่ที่อินเตอร์เน็ต สิ่งที่คุณต้องการไม่ใช่เพียงแค่ความเร็วของโปรแกรมซอฟทฺ์แวร์และเครื่องมือ แต่คุณต้องคอยจับตาในทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 องค์กรสื่อรับแผนปรองดอง ‘อภิสิทธิ์’ เสนอ 9 ข้อปฏิรูปสื่อ Posted: 10 May 2010 12:41 PM PDT <!--break--> 10 พ.ค.53 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 10 แห่งได้ร่วมกันออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนและประชาชน นำเสนอการปฏิรูปสื่อมวลชนเพื่อให้การปรองดองดังที่นายกรัฐมนตรีประกาศได้เกิดขึ้นจริง 000 จดหมายเปิดผนึกต่อนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชน และประชาชน เรื่อง ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปสื่อมวลชน ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศแผนปรองดองเพื่อแก้ไขวิกฤตประเทศไทย โดยได้ระบุถึงการสนับสนุนและยืนยันสิทธิการแสดงออกและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน แต่ได้แสดงความกังวลถึงข้อวิจารณ์ว่า การใช้สื่อในช่องทางต่างๆ รวมทั้งการใช้สื่อของรัฐ มีส่วนสร้างความขัดแย้งหรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้นในกระบวนการปรองดอง สื่อจะต้องมีสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องเป็นกลไกที่เป็นอิสระเข้ามากำกับดูแลอย่างแท้จริง และต้องไม่นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งสร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน แต่เป็นการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์จะทำให้สังคมก้าวพ้นความขัดแย้งและกลับมามีความปรองดองสงบสุขได้อย่างรวดเร็วนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนดังมีรายชื่อแนบท้ายข้อเสนอนี้ ได้พิจารณาข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีด้วยความรอบคอบแล้ว เห็นว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้สื่อมวลชนบางส่วนบิดเบือน ทั้งยังมีบุคคลบางกลุ่มอ้างตัวเป็นสื่อมวลชนกระทำการให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ขณะเดียวกันสื่อมวลชนที่ประพฤติอยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพก็ตกเป็นเป้าหมายถูกปิดกั้นการทำหน้าที่และถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น การดำเนินการเพื่อให้สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพควบคู่ไปกับสำนึกและความรับผิดชอบตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพนั้น นอกจากจะต้องมีกลไกอิสระเพื่อควบคุมกันเองที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องมีการดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่รัฐบาล สื่อมวลชนและภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม จะต้องร่วมกันผลักดันดังต่อไปนี้ 1) รัฐบาลต้องเร่งรัดการปฏิรูปสื่อภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างการบริหารงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11)ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการศึกษาการปฏิรูปสื่อภาครัฐที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมาเอง ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องกำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ เร่งเตรียมการจัดทำแผนจัดการคลื่นความถี่ให้องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดสรรและกำกับดูแลสามารถนำมาจัดสรรใหม่ได้ทันทีที่การจัดตั้งองค์กรอิสระดังกล่าวเสร็จสิ้น 2) รัฐบาลต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 45 โดยเคร่งครัด และดำเนินการออกกฎหมายตาม มาตรา 46 เพื่อกำหนดบทนิยามของคำว่า “สื่อมวลชน” ให้ชัดเจนว่า สื่อและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่สมควรได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นสื่อที่ปฏิบัติตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และต้องไม่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน 3) วุฒิสภาต้องเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ...... ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ขณะเดียวกัน เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว รัฐบาลและฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 4) ในระหว่างยังไม่มี กสทช. คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) แต่งตั้งขึ้น ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลสถานีวิทยุชุมชน โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และเคเบิลทีวีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัด 5) สื่อมวลชนทุกสาขาต้องปฏิบัติตามกรอบจริยธรรมแห่งตนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องไม่เสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งสร้างความขัดแย้ง ความเกลียดชัง และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อกัน ต้องมีกลไกควบคุมความรับผิดชอบทางจริยธรรมและศีลธรรมต่อประชาชนและสังคมมากยิ่งขึ้น โดย องค์กรควบคุมกันเองทางวิชาชีพสื่อมวลชนตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ ทั้งจะต้องเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างและการดำเนินงาน โดยเฉพาะกระบวนการรับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน และการรับผิดทางจริยธรรมของสื่อที่ละเมิดจริยธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6) การบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีต่างๆ ขอเรียกร้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องกระทำด้วยความระมัดระวังทุกขั้นตอนให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เช่น การดำเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทจะต้องเป็นไปเพื่อรักษาเกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัวของบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่ใช้เพื่อขัดขวางการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน 7) ประชาชนควรเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายและใช้วิจารณญาณในการเปิดรับสื่อ และหากเห็นว่าสื่อใด นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสมให้ร้องเรียนต่อองค์กรควบคุมกันเองทางวิชาชีพโดยทันที 8) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนสนับสนุนให้มีองค์กรอิสระในภาควิชาการและภาคประชาสังคม ทำหน้าที่ตรวจสอบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ 9) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนตามรายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ พร้อมเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ รวมทั้งรัฐบาลในการผลักดันกระบวนการปฏิรูปสื่อมวลชน เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถทำหน้าที่ได้โดยมีเสรีภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและนำไปสู่ความปรองดองของประชาชนไทยในที่สุด สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้ เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคกลางและภาคตะวันออก 10 พฤษภาคม 2553 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลยกฟ้องกรณี 'สุธาชัย' ฟ้องหมิ่นประมาท 'มาร์ค-สุเทพ-สรรเสริญ' ทำผังโยงเครือข่ายล้มเจ้า Posted: 10 May 2010 03:22 AM PDT กรณี 'สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ' ฟ้อง 'มาร์ค-สุเทพ-สรรเสริญ' ฐานหมิ่นประมาท ละเมิด ใส่ชื่อ 'สุธาชัย' ในผังเครือข่ายล้มเจ้า ศาลแพ่งตัดสินจำเลยมีอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กระทำในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ โจกท์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นการส่วนตัวได้จึงพิพากษายกฟ้อง ส่วนที่เป็นคดีอาญาศาลกำลังพิจารณา <!--break--> ตามที่ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 53 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. จำเลยที่2 และพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90, 157, 328 กรณีศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เผยแพร่แผนผังเครือข่ายล้มเจ้า ซึ่งมีชื่อของนายสุธาชัยปรากฏอยู่ นอกจากนี้นายสุธาชัย ยังได้ยื่นฟ้องศาลแพ่งในข้อหาละเมิด ให้ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 300,554.80 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และขอให้ศาลเปิดการไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. ศาลไต่สวนฉุกเฉินโดยไต่สวนโจทก์เพียงปากเดียวพร้อมพยานเอกสารอีก 5 ชิ้น และนัดฟังคำสั่งในวันจันทร์ที่ 10 พ.ค.นี้ ล่าสุดบ่ายวันนี้ (10 พ.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งในคดีที่นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทก์ฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ). และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. เป็นจำเลยที่ 1 – 3 เรื่อง ละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 300,554 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี กรณีที่จำเลยทั้งสามจัดทำแผ่นปลิวโฆษณา ระบุว่าเป็นแผนผังของ ศอฉ. แสดงเครือข่ายที่มีพฤติการณ์ส่อล้มสถาบันพระมาหกษัตริย์ โดยระบุชื่อโจทก์ว่าเป็นหนึ่งที่อยู่ในเครือข่ายของขบวนการดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลแพ่งพิเคราะห์คำฟ้อง ประกอบเอกสารแล้วตามที่โจทก์อ้างในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนจำเลยที่ 2 และ จำเลยที่ 3ได้รับมอบหมายอำนาจจากจำเลยที่ 1 ร่วมกันจัดทำแผ่นปลิวโฆษณาดังกล่าว และนำไปแจกจ่ายแก่ผู้สื่อข่าวและประชาชน นั้นแสดงว่า จำเลยทั้งสามกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ได้นิยามคำ”สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่งคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือกระทำผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบ หรือการสงคราม จำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิต การคุ้มครองสิทธิ์เสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม และอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า ศอฉ. มีอำนาจดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายเพื่อป้องกัน แก้ไข และระงับสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้หากจำเลยทั้งสามจะกระทำตามมูลเหตุที่โจทก์นำมาฟ้อง ก็เป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ พ.ร.ก.ดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจไว้ จึงไม่มีเหตุผลที่พวกจำเลยจะดำเนินการไปในฐานะส่วนตัวเพื่อกลั่นแกล้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นการส่วนตัวได้ ตาม พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง พิพากษายกฟ้อง ส่วนคดีที่นายสุทธาชัยยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และ พ.อ.สรรเสริญ เป็นจำเลยในคดีอาญา กรณีเดียวกันฐานหมิ่นประมาทเมื่อวันที่ 7 พ.ค.นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลว่าจะรับฟ้องคดีไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เนื้อหาในคำฟ้องฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณาของนายสุทธาชัยซึ่งเป็นโจกท์ ระบุว่า สืบเนื่องจากที่นายอภิสิทธิ์ (จำเลยที่ 1) ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมอบหมายให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (จำเลยที่ 2) เป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยมี พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ทำหน้าที่เป็นโฆษก ศอฉ. จำเลยทั้งสามที่มีอำนาจหน้าที่ใน ศอฉ.ได้กระทำผิดกฎหมาย โดยการร่วมกันจัดทำแผ่นปลิวโฆษณาระบุว่า แผ่นปลิวดังกล่าวเป็นแผนผังของ ศอฉ. ซึ่งแสดงเครือข่ายที่มีพฤติการณ์ส่อล้มสถาบัน โดยมีรายชื่อของโจทก์ปรากฏอยู่ในเครือข่ายนั้นด้วย ทั้งที่จำเลยทั้งสามก็ทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มิได้เป็นเครือข่ายขบวนการดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงเป็นการกระทำโดย เจตนาทุจริต ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และปฏิบัติโดยทุจริตทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ จำเลยทั้งสามยังได้ทำการโฆษณาแจกจ่ายแผ่นปลิวดังกล่าวให้กับผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อมวลชนทั่วไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป ซึ่งตามความจริงแล้ว โจทก์ไม่ได้เป็นบุคคลที่มีพฤติการณ์ต้องการจาบจ้วง และล้มล้างสถาบันแต่อย่างใด ทั้งนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม ไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับ หรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย แต่เป็นการทุจริต เลือกปฏิบัติเกินสมควรแก่เหตุ และไม่ใช่กรณีที่จำเป็น ดังนั้นจำเลยทั้งสามจึงไม่ควรได้รับความคุ้มครองใดๆ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมวลภาพ: พิธีอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 Posted: 10 May 2010 02:07 AM PDT <!--break--> วันนี้ (10 พ.ค.) เวลา 10.00 น. ที่เวทีราชประสงค์ ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงและญาติผู้เสียชีวิต ร่วมจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิตเนื่องในโอกาสครบ รอบ 1 เดือน เหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายน 2553 โดยในขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพุทธมนต์ ได้เกิดลมกระโชกแรง พัดเอาภาพถ่ายผู้เสียชีวิตหลายภาพที่ตั้งบนโต๊ะล้มลงถึง 2 ครั้ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รำลึก 10 เมษา: ภาพปะติดปะต่อเหตุการณ์ และชีวิตแหว่งวิ่น-ปลิดปลิว Posted: 09 May 2010 12:04 PM PDT <!--break--> ครบ 1 เดือน เหตุการณ์ 10 เมษายน ดูเหมือนถึงวันนี้ภาพในหัวของเราก็ยังแหว่งวิ่น เหตุการณ์วันนั้นดูวุ่นวายคล้ายไม่มีจุดจบ มี ‘ตัวเล่น’ บนเวทีมากมายออกแถลงข่าวครั้งแล้วครั้งเล่าในภายหลัง ขณะที่ข้อเท็จจริงทั้งหมดกลับปรากฏเพียงเล็กน้อย และความทรงจำของผู้คนทำท่าจะสูญหายไปพร้อมเวลาที่เนิ่นนาน ความตายกลาดเกลื่อนเพียงชั่วครู่แล้วหายวับไป คนบาดเจ็บหลายร้อยคนปรากฏให้เห็นไม่กี่วันก่อนเงียบหาย ทั้งที่หลายคนยังนอนอยู่บนเตียงจนวันนี้ บางคนพิการตลอดชีวิต บางคนกลับภูมิลำเนา บางคนกลับมาที่ราชประสงค์ ครบ 1 เดือน เหตุการณ์ 10 เมษายน ความพยายามปะติดปะต่อภาพความสูญเสียของผู้ชุมนุมก็ยังไม่ครบถ้วน เราคัดเลือกบางส่วนจากผู้บาดเจ็บหลายร้อยคนมาจัดลำดับเวลา-สถานที่ให้เห็นถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ ก่อนที่เอ็ม-79 จะเกิดขึ้นสร้างความสูญเสียให้กับทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน ขณะเดียวกันก็กลายเป็นประเด็นที่กลบความสูญเสียอื่นๆ เสียมิด ข้อมูลเวลา สถานที่ ของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต นำมาจากทีมงานของมูลนิธิดวงประทีป และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการของ นปช. ซึ่งพยายามเก็บรวมรวมไว้ แม้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์แต่มันแหล่งข้อมูลเดียวที่พอจะหาได้
รายนามผู้บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต (ส่วนหนึ่ง)
ผู้เสียชีวิต 1.นายอำพน ตติยรัตน์ 26 ปี กรุงเทพ กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังศีรษะ ทะลุด้านหน้า 2.นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร 23 ปี ราชบุรี กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า 3.นายไพรศล ทิพย์ลม 37 ปี ขอนแก่น กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหน้าทะลุท้ายทอย 4.นายสวาท วางาม 43 ปี สุรินทร์ กระสุนปืนทำลายสมองจากด้านหลังทะลุด้านหน้า 5.Mr.Hiroyuri Muramoto 43 ปี ญี่ปุ่น กระสุนปืนยิงทะลุปอดหลอดเลือดแดงใหญ่ เลือดออกในช่องเยื้อหุ้ม หัวใจ 6.นายธวัฒนะชัย กลัดสุข 36 ปี นนทบุรี กระสุนปืนทะลุปอด ตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ ทะลุหลัง (ข้อมูล นปช.ระบุบาดแผลที่ต้นขาซ้าย) 7.นายทศชัย เมฆงามฟ้า 44 ปี กรุงเทพ บาดแผลกระสุนปืนทะลุหัวใจ เข้าหน้าอกซ้ายไปทะลุหลัง 8.นายจรูญ ฉายแม้น 46 ปี กาฬสินธุ์ กระสุนปืนทำลายปอดและตับ เข้าด้านขวาทะลุปอดและตับและทะลุหลัง 9.นายวสันต์ ภู่ทอง 39 ปี สมุทรปราการ กระสุนปืนทำลายสมอง ด้านหลังศีรษะทะลุด้านหน้า 10.นายสยาม วัฒนนุกุล 53 ปี นครสวรรค์ กระสุนปืนทะลุช่องอกและปอด เส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด 11.นายคะนึง ฉัตรเท 50 ปี กรุงเทพ กระสุนเข้าซี่โครงขวา เลือดออกที่ช่องท้อง 12.นายเกรียงไกร คำน้อย 23 ปี ชลบุรี ถูกยิง 13.นายบุญธรรม ทองผุย47 ปี ชัยภูมิ สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง (ข้อมูล นปช.ระบุกระสุนปืนเข้าที่ศีรษะ) 14.นายสมศักดิ์ แก้วสาน 34 ปี หนองคาย ถูกแรงอัดกระแทกเข้าที่ท้อง (ข้อมูล นปช.ระบุถูกยิงช่องท้อง เสียโลหิตมาก เส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด) 15.นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ 29 ปี ปทุมธานี แผลที่หน้าอกซ้าย ทะลุหัวใจและปอด 16.นายนภพล เผ่าพนัส 30 ปี ชลบุรี ถูกยิงที่ท้อง 17.นายมานะ อาจราญ 23 ปี เป็นเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตจากวัตถุความเร็วสูงเข้าที่ศีรษะ 18.นายสมิง แตงเพชร 49 ปี นนทบุรี ถูกยิงที่ศีรษะ (ข้อมูล นปช.ระบุสมองบวมช้ำ) 19.นายมนต์ชัย แซ่จอง 54 ปี สมุทรปราการ ระบบการหายใจล้มเหลว โดยผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวถุงลมโป่งพอง และสัมผัสแก๊สน้ำตา 20.ชายไทยไม่ทราบชื่อ 50 ปี รพ.รามาธิบดี ถูกยิงที่ขาหนีบซ้าย 21.สิบเอกอนุพล หอมมาลี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ 22.พลฯภูริวัฒน์ ประพันธ์ ถูกยิงเสียชีวิตก่อนถึงรพ. 23.ส.ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน 24.พลฯสิงหา อ่อนทรง ถูกยิงเข้าที่หน้าอกซ้าย 25.พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่กระโหลกศีรษะ ข้อมูลจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร www.ems.bangkok.go.th วันที่ 18 เมษายน 2553 เวลา 18.00 น.
ลำดับเหตุการณ์ 10 เมษายน 53 หมายเหตุ: 1.เวลาเกิดเหตุที่แยกคอกวัว และสตรีวิทย์ เป็นการกะประมาณช่วงเวลาของผู้บอกเล่า 2.ที่มาของข้อมูลเรียงเรียงจากเว็บไซต์ข่าวทั่วไปเช่น มติชน, ข่าวสด, ไอเอ็นเอ็น, สำนักข่าวไทยฯ ทีวี เช่น ทีพีบีเอส, ช่อง7, สทท., ช่อง 9, เนชั่นทีวี วิทยุชุมชน และบันทึกผู้ร่วมเหตุการณ์* 3.พื้นสีเทา=ภาพรวม, สีฟ้า = รายงานผู้บาดเจ็บ, เสียชีวิต, สีเขียว=แถลงข่าวจาก ศอฉ., นายกรัฐมนตรี
* บันทึกของผู้ร่วมเหตุการณ์ (ในเว็บไซต์ด้านล่าง) เป็นส่วนหลักของการเรียบเรียงข้อมูลในขณะที่เกิดเหตุปะทะเนื่องจากไม่ค่อยพบรายงานโดยละเอียดจากสื่อทั่วไป http://picasaweb.google.com/102163439520416633160/10FahthonSAlbum?feat=flashalbum#5458466420694710098 (ภาพช่วงเช้า) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น