โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai.com

ประชาไท | Prachatai.com

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รู้จัก ‘ธนวัฒน์’ นศ.ม.หาดใหญ่ผู้รับสายตรง ‘อภิสิทธิ์’

Posted: 06 May 2010 01:03 PM PDT

<!--break-->

กลายเป็นข่าวฮือฮาในช่วงวันสองวันนี้ เมื่อมีนักศึกษาคนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นายธนวัฒน์ วาหะรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ อ้างว่าได้ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือ หรือ SMS ไปยังหมายเลขปลายทางที่อ้างว่าเป็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีก็ได้โทรศัพท์กลับมา

เป็นการโทรศัพท์กลับมาเพื่อชี้แจงกรณีที่ถามถึง เหตุใดไม่จัดการกับกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างเด็ดขาดอย่างที่ปรากฏในข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่ง ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวดังกล่าวจากบริเวณหน้าหอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่

จนกระทั่งเวลาประมาณ 10.15 น. วันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ สถานีโทรทัศน์ ASTV News1 นายอภิสิทธิ์ ได้โทรศัพท์เข้าไปในรายการ ยอมรับได้โทรศัพท์พูดคุยกับนักศึกษาคนดังกล่าวจริง

นายธนวัฒน์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้น ตนได้โทรศัพท์ไปหานายกรัฐมนตรีเป็นร้อยครั้ง แต่สายไม่ว่าง จึงตันสินใจส่ง SMS เมื่อเวลา 4 ทุ่ม 54 นาที ไม่นานนายกรัฐมนตรีก็โทรศัพท์กลับมา ท่านก็ชี้แจงไปตามที่เป็นข่าว ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางที่ตนใช้ส่ง SMS ไปนั้น ได้มาจากการชมรายการเคาะข่าวริมโขง ทางสถานีโทรทัศน์ ASTV ที่มีนายประพันธ์ คูณมี ดำเนินรายการ แล้วมีการแสดงหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวด้วย

นายธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า ไม่คิดว่านายกรัฐมนตรีจะโทรศัพท์กลับมา แต่ก็ดีใจที่เสียงของคนเล็กคนน้อยอย่างตน ได้รับความสนใจจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งตอนส่ง SMS ไปนั้น ตนใช้ชื่อว่า จากนักศึกษาการปกครอง ม.หาดใหญ่

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า เหตุที่นายกรัฐมนตรีโทรศัพท์กลับมาหาตนนั้น ไม่น่าจะเป็นเพราะก่อนหน้านี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่หลายคนเคยเข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ เช่น กลุ่มยุวประชาธิปัตย์ เพราะตนไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ได้ร่วมปราศรัยบนเวทีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกับเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยที่รุ่นพี่จัดขึ้น และเคยร่วมเวทีภายนอกมหาวิทยาลัยด้วย เช่น ที่ลานคนเมืองในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

นายธนวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า สนใจปัญหาบ้านเมืองมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) ที่โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นช่วงก่อนการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งขณะนั้นมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

นายธนวัฒน์ เปิดเผยต่อว่า ขณะเรียนชั้นมัธยมปลาย มีเพื่อนๆ หลายคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน บางคนเห็นด้วยกับกลุ่มคนเสื้อแดง บางคนเห็นด้วยกับกลุ่มเสื้อเหลือง ทำให้มีการถกเถียงกันมาก อาจารย์จึงเปิดเวทีให้เถียงกันด้วยเหตุผลเป็นประจำ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สนใจปัญหาบ้านเมืองมากขึ้นด้วย จนกระทั่งปัจจุบัน ก็มีเพื่อนที่เข้าร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงและเสื้อเหลือง

นายธนวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมาได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาตลอด โดยติดตามทั้งจากหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์หลายช่อง ไม่ได้ดูทาง ASTV อย่างเดียว เคยจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมืองกับชาวบ้านในเวทีสาธารณะต่างๆ ด้วย

นายธนวัฒน์ กล่าวว่า อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ตนสนใจปัญหาบ้านเมือง เนื่องจากที่หมู่บ้านของตน คือบ้านบางพัฒน์ หมู่ที่ 8 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ชาวบ้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ รวมทั้งสำนักพระราชวังได้จัดทำโครงการคืนไข่ปูสู่ธรรมชาติ ใต้ร่มบารมีมหาราชินี โดยการเก็บปูที่มีไข่นอกกระดองจากชาวประมงมาเก็บไว้ที่ธนาคารปู เพื่อให้ปูจะสลัดไข่ออกหมด แล้วนำปูไปขายนำรายได้เข้าหมู่บ้าน เป็นทุนการศึกษาและบำรุงรักษามัสยิด ส่วนไข่ปูก็นำไปเพาะพันธ์ลูกปูต่อไป โครงการนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุคลื่นสึนามิถล่มเมื่อปลายปี 2547 แล้ว ซึ่งการได้ร่วมกิจกรรมด้วย ทำให้ยิ่งสนใจปัญหาบ้านเมืองมากขึ้น

“ส่วนพ่อของผม ซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้าน แม้จะเป็นเพื่อนกับนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์.... รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ผมเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์มาก่อนด้วย และตอนนี้ก็เริ่มไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เพราะเมื่อมีปัญหาบ้านเมืองเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยอมแก้ไขเสียที” นายธนวัฒน์ กล่าว

0 0 0

หมายเหตุ : ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งจากข่าว น.ศ.ม.หาดใหญ่อ้างรับสาย ‘มาร์ค' บอก 'ทักษิณ' เตรียมซื้อ ส.ส. 100 ล้าน ทาง ASTV ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553

....

นายธนวัฒน์ วาหะรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ขึ้นเวทีแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยกล่าวว่า หลังรับทราบแผน 5 ข้อสร้างความปรองดองคนในชาติหรือ“โรดแมป” ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเสนอต่อกลุ่มเสื้อแดง รวมถึงการประกาศเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย.นี้

นายธนวัฒน์ ได้ตัดสินใจส่งข้อความไปหาเบอร์โทรศัพท์ที่อ้างว่าเป็นเบอร์ของนายกรัฐมนตรี เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจ โดยข้อความมีใจความว่า

“เมื่อก่อนผมเคยคิดว่าทักษิณคือทรราชขายชาติ แต่เมื่อเห็นท่านนายกฯตัดสินใจแบบนี้ หมดเลยซึ่งความศรัทธา ระวังท่านจะได้ชื่อว่าทรราชคนต่อไป และทำไมถึงไม่จัดการ ช่วยตอบหน่อย”

นายธนวัฒน์อ้างว่า หลังจากนั้นได้มีสายโทรเข้าจากนายกรัฐมนตรีในเวลา 23.23 น. วันที่ 4 พ.ค. และตนเองได้รับสาย ซึ่งในตอนแรกตนคิดจะต่อว่าถึงการกระทำของนายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องการออกโรดแมป แต่เมื่อฟังน้ำเสียงนายกฯ แล้วเกิดความเห็นใจ

นายธนวัฒน์ อ้างคำกล่าวของนายอภิสิทธิ์ว่า ตนมีความอึดอัดใจพอสมควร แต่ก็ตัดสินใจเพียงคนเดียวไม่ได้ และตอนนี้ทักษิณก็ได้ล็อบบี้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเพื่อให้ได้เปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลรายละ 100 ล้านบาทแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ส.ส.เหล่านั้นว่า จะขายชาติตามทักษิณหรือรักษาประเทศนี้ไว้

จากนั้นนายธนวัฒน์ได้ถามต่อว่า “ทำไมท่านถึงไม่สลายการชุมนุม” ซึ่งก็ได้คำตอบจากปลายสายที่นายธนวัฒน์อ้างว่าเป็นนายกฯ ว่า “ผมต้องหาความชอบธรรมในการสลาย ถ้าจะสลายก็เกรงจะมีประชาชนสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็อยากสลายเหมือนกัน แต่ก็กลัวที่จะสูญเสีย”

นอกจากนี้ยังได้ถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตัวนายธนวัฒน์ก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการแก้ไข เพราะรัฐธรรมนูญเดิมนั้นดีอยู่แล้ว" ปลายสายตอบกลับมาว่า “ต้องค่อยๆ แก้ ไม่ได้แก้ทีเดียว” จากนั้นก็ได้วางสายไป

นายธนวัฒน์บอกว่า เขาเป็นคนที่สนใจปัญหาการเมืองมาตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเริ่มศึกษามาเรื่อยๆ และได้เคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้ง แต่ได้อยู่บริเวณหลังเวที

นายธนวัฒน์อ้างว่าเมื่อได้ยินเสียงที่นายธนวัฒน์อ้างว่าเป็นเสียงนายกฯ แล้ว ก็เกิดการสงสาร และได้รับรู้ว่านายกฯ มีความเครียดและก็เร่งที่จะแก้ไขปัญหาตลอดเวลา เพื่อที่ไม่ให้กระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา : วิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ.- เปิดตัวหนังสือยุค ‘ล่าแม่มด’

Posted: 06 May 2010 11:40 AM PDT

เปิดตัวหนังสือ “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” รายงานสถิติคดีหมิ่นฯ ปี 49-51 อภิปราย "บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ." โดยสาวตรี สุขสรี, ปิยบุตร แสงกนกกุล, อนุธีร์ เดชเทวพร, ประวิตร โรจนพฤกษ์

<!--break-->

6 พ.ค.53 ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการเปิดตัวหนังสือ “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” และรายงานสถานการณ์ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบัน โดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.), ศรีประภา เพ็ชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นมีการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง "บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ." โดย สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มธ., ประวิตร โรจนพฤกษ์ จากหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น, ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มธ. และอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท. ) ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้จัดโดยโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น 4 องค์กรที่จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ โดยรวมรวมเนื้อหามาจากการอภิปรายทางวิชาการเมื่อปีที่แล้ว (21-22 มีนาคม) เรื่อง ‘หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’

ในช่วงของการเปิดตัวหนังสือนั้น จันทจิรากล่าวถึงเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ว่า แม้จะเป็นการสรุปงานเสวนาวิชาการเมื่อปีแล้ว แต่กับสถานการณ์ตอนนี้ เนื้อหาของหนังสือเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน แสดงว่าประเทศไทยคงไม่ได้ก้าวไปไหน ทั้งสภาพการณ์ยังเลวร้ายลง โดยรัฐบาลไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เมื่ออ่านหนังสือนี้เล่มนี้จบเราน่าจะสรุปแนวคิดสำคัญได้สักสองประการ ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่แก้ไขปัญหาคดีหมิ่นฯ ได้ หนึ่ง คือกฎหมายนี้ต้องใช้และตีความให้สอดคล้องกับการเมืองการปกครองของยุคสมัย ไม่เช่นนั้นความผิดฐานนี้จะเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดการปกครองในยุคสมัยนั้น ซึ่งจะก่อผลร้ายกับประชาชนที่ต้องถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และอีกด้านหนึ่งจะเป็นผลร้ายในระยะยาวของสถาบันอันเป็นที่เคารพของประชาชน สอง คือความเป็นประชาธิปไตยของสังคมมีความสัมพันธ์กับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหาคดีหมิ่น ต้องเรียกร้องว่าผู้บังคับใช้กฎหมายต้องอย่าใช้ข้อกล่าวหานี้พร่ำเพรื่อและขัดแย้งกับการเมืองการปกครองประชาธิปไตย  รัฐบาลต้องไม่คุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยการใช้ข้อหานี้อย่างเลื่อนลอย

ศรีประภา กล่าวตอนหนึ่งถึงสถิติของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เดวิด สเตร็กฟรัส จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวบรวมมาจากรายงานสถิติคดีศาลทั่วราชอาณาจักร โดยสำนักงานศาลยุติธรรม ในช่วง 3 ปี (2549-2551) มีข้อน่าสังเกตคือ ศาลฎีการับเรื่องส่งฟ้อง 6 คดีแต่ยังไม่มีการตัดสินใดๆ ทั้งสิ้น, ในขณะเดียวกันศาลอุทธรณ์ มีคดีส่งถึง 72 คดี มี 32 คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา อีก 40 คดีตัดสินแล้ว กว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ, ศาลชั้นต้น มีคดีส่งถึงทั้ง 9 ภาคทั่วประเทศอาจไม่ต่างกันมากนัก แต่ในภาคอีสานล่างนั้นสูงอย่างผิดปกติถึง 75 คดีในปี 2550, ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ผู้ต้องหาเป็นเยาวชนมีสูงอย่างน่าแปลกใจและไม่น่าเป็นไปได้ คือ 68 คดีในปี 2550 มีกรณีที่ตัดสินเพียง 2 คดีในปี 2549 และปี 2551 ไม่มีคดี

ข้อสังเกตประการต่อมา สถิติตั้งแต่ปี 49-51 จะพบว่ามีคดีในศาลไทยที่เป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถึง 508 คดี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในศาลหรือคดีที่ตัดสินแล้ว โดยเฉลี่ยศาลรับคดีหมิ่นประมาณ 170 คดี ตัวเลขนี้เหมือนเป็นไปไม่ได้ หากเรามองว่ามีทั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนหรือสื่อมวลชนที่ติดตามตรวจสอบ แต่ในความเป็นจริงเรากลับรู้ข้อมูลน้อยมาก อย่างไรก็ตาม หากสถิติเหล่านี้มีความผิดพลาดรัฐควรต้องทำความกระจ่างในข้อเท็จจริงและหากมันถูกต้อง ก็ต้องอธิบายว่ามันหมายความว่าอย่างไร

ในช่วงการอภิปรายวิชาการเรื่อง "บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้า ฉบับ ศอฉ." พิชญ์ ผู้ดำเนินรายการได้ฉายแผนผังเครือข่าย ศอฉ. ขึ้นเป็นฉากหลังเวที และอ่านคำแถลงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ระบุว่าจะต้องยุติการนำสถาบันลงมาในความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อแสดงให้เห็นว่าแม้แถลงเช่นนั้นแต่แผนผังก็ถูกเอ่ยถึงไปพร้อมกัน

อนุธีร์ เลขา สนนท. เล่าถึงเหตุการณ์ที่ถูก ศอฉ.เรียกไปรายงานตัวว่า กลุ่มนักศึกษาถูกเรียกไปรายงานตัวพร้อมกับเจ้าของเต๊นที่ให้เช่า เจ้าของรถเช่า เจ้าของวินมอเตอร์ไซค์ที่เกี่ยวพันกับการชุมนุม โดยเป็นเพียงการเรียกไปสอบถามข้อมูล และขอความร่วมมือไม่ให้เข้าร่วมชุมนุมหรือชักชวนนักศึกษาร่วมชุมนุม ใช้ตำรวจถามข้อมูลทั่วๆ ไปว่าองค์กรมีแนวคิดอย่างไร รู้หรือไม่ว่ามีขบวนการล้มเจ้าอยู่ข้างในกลุ่มคนเสื้อแดง นอกจากนี้ยังตำหนิการข่าวของศอฉ.เนื่องจากมีการระบุว่าเพื่อนของเขาคนหนึ่งเป็น “เครือข่ายแดงสยาม (ล้มเจ้า)” ทั้งที่ไม่เคยมีความเกี่ยวพันและมีปัญหากับที่บ้านจนไม่ได้ทำกิจกรรมตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งไม่แน่ใจว่าจงใจจะผิดพลาดหรือไม่ หากจงใจก็คงเพราะต้องการประทับตราบางอย่างให้กับกับศัตรูที่ไม่ต้องการ อย่างไรก็ดี ศอฉ.เหมือนมีธงอยู่ในหัวแล้วว่า เสื้อแดงเป็นขบวนการล้มเจ้า เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย แล้วใช้ธงนี้นำกระบวนการทั้งหมด ทั้งการซักถาม กระบวนการจิตวิทยา นี่ไม่ใช่ความจงรักภักดีโดยบริสุทธิ์ใจ แต่เป็นผลมาจากการที่คนเสื้อแดงตั้งตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐ โดยจะสังเกตว่าระยะแรกของการชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่มีเรื่องนี้ อาจมีในเอเอสทีวีหรือสื่ออื่นๆ แต่ไม่มีประเด็นนี้จากรัฐ แต่เมื่อสถานการณ์ตึงเครียดขึ้น วาทกรรมล้มเจ้ากลายเป็นข้ออ้างในการจำกัดศัตรูของรัฐ เป็นท่าไม้ตายที่รัฐงัดออกมาใช้ยามที่เพลี่ยงพล้ำอย่างถึงที่สุด เช่นเดียวกับสมัย 6 ต.ค.19 ที่รัฐรู้สึกไม่มั่นคงจากการที่สถาบันกษัตริย์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและกัมพูชาล่มสลาย จึงใช้ข้อหาล้มเจ้าเพื่อจัดการกับกลุ่มที่ต่อต้านรัฐ อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้อาจนำไปสู่สิ่งที่แตกต่างจาก 6 ต.ค. 19 เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปมาก รัฐไม่ได้เป็นฝ่ายได้เปรียบอีกต่อไป และกระแสนี้ก็ดูเหมือนปลุกไม่ขึ้น 

ปิยบุตร  นิติศาสตร์ มธ. ให้ความเห็นถึงแผนผังเครือข่ายล้มเจ้าของศอฉ.ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ และอ้างถึงคำอภิปรายของ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ (ปัจจุบัน) ที่เคยกล่าวในงานสัมมนาปีที่แล้ว (ในหนังสือหน้า 60) โดยปิยบุตรยืนยันว่า แผนผังของ ศอฉ.ก็เข้าข่ายในการฉกฉวยประโยชน์ของมาตรา112นี้ ไปบิดเบือนใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะกลุ่มเพื่อเล่นงานคนอื่นดังที่ธาริตเคยตั้งข้อรังเกียจและต้องการเพิ่มบทลงโทษคนเหล่านี้เช่นกัน

จากนั้นปิยบุตรแบ่งการอภิปรายเป็น 3 ข้อ คือ 1.อันตรายของอุลตร้ารอยัลลิสต์ (กลุ่มคลั่งเจ้า)2. ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยไม่เหมือนที่ใดในโลก 3. การพูดถึงสถาบันกษัตริ์เป็นไปได้ในประเทศเสรีประชาธิปไตย  โดยในส่วนที่หนึ่งนั้นเขาเล่าถึงอุดมการณ์อุลตร้ารอยัลลิสต์ในฝรั่งเศสซึ่งมีรากเหง้ามาจากพวกต่อต้านการปฏิวัติ 1789 โดยเชื่อว่าพระเจ้าเท่านั้นจะเป็นผู้เลือกเผ่าพันธุ์กษัตริย์ พระเจ้าเป็นผู้ถือำนาจอธิปไตยแต่ผู้เดียว ขบวนการนี้มีบทบาทในการเมืองฝรั่งเศสตลอดหลังปี 1789  มีการบังคับใช้กฎหมายหลายอย่างที่เข้มงวด ไร้เหตุผล ทำให้การเมืองหลังฝรั่งเศสวุ่นวายมาก จนกระทั่งต้นสาธารณรัฐที่สามก็ขบวนการนี้ได้ปลาศนาการไปจากการเมือง แต่ก็ยังมีปัญญาชนบางกลุ่มที่อยากจะให้ขบวนการนี้กลับมา

ส่วนที่สองปิยบุตร ระบุว่าหากลองเสิร์ชคำว่า Les majeste จะพบแต่กรณีของเมืองไทยทั้งนั้นซึ่งสะท้อนว่าสื่อต่างประเทศโฟกัสเรื่องนี้ในประเทศไทยมาก สำหรับข้ออ้างของกลุ่มรอยัลลิสต์เมืองไทยที่ต้องการให้ดำรงกฎหมายนี้อาจแบ่งออกเป็น กลุ่มที่หนุนให้มีการเพิ่มโทษ, กลุ่มปฏิรูปซึ่งยืนยันให้คงกฎหมายไว้แต่แก้ไขเรื่องการฟ้องคดี โดยอ้างว่าคนธรรมดายังต้องมีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครอง หรือประเทศไทยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนที่ใด ข้อสังเกตคือ ในประเทศประชาธิปไตยที่ยินยอมให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ หลายประเทศกำหนดโทษกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริงแต่แทบไม่นำมาใช้ หรือหากมีการนำมาใช้ก็เป็นโทษที่เบามาก ส่วนใหญ่เป็นโทษปรับ พร้อมยกตัวอย่างประเทศต่างๆ เช่น ประเทศเดนมาร์กกำหนดโทษสูงสุดคือจำคุก 4 เดือน เนเธอแลนด์เพียงโทษปรับ ส่วนประเทศคู่แข่งไทย คือ โมรอคโค ก็ยังมีโทษที่เบากว่าไทยมาก หากหมิ่นฯในที่ส่วนบุคคลโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หากหมิ่นฯ ในที่สาธารณะโทษ 3-5 ปี (กรณีของไทยโทษจำคุก 3-15 ปี) กระนั้นก็ตาม สื่อของโมรอคโคไม่เคยมีการเซ็นเซอร์ตัวเองในเรื่องนี้และมักพร้อมใจกันแจ้งข่าว หรือรณรงค์กดดันรัฐหากมีกรณีเกิดขึ้น

ปิยบุตรกล่าวว่า ข้ออ้างเรื่องความเฉพาะ ไม่สามารถทำให้มากำหนดโทษมั่วๆ เพื่อทำลายล้างกันทางการเมืองได้ และเสรีภาพที่เป็นแก่นของประชาธิปไตยนั้นมีความสำคัญมากกว่า นอกจากนี้โทษของไทยในคดีนี้ยังสูงกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์เสียอีก ทั้งยังไม่ได้สัดส่วนต่อการกระทำความผิด แม้ส่วนใหญ่ได้รับอภัยโทษ แต่ก็มักจะเกิดขึ้นรวดเร็วเฉพาะชาวต่างชาติ หรือกรณีคนดังอย่าง สุลักษณ์ ศิวลักษณ์

ส่วนที่สามปิยบุตรได้หยิบยกคำอภิปรายในสภาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่ง ส.ส. หลายคนสามารถอภิปรายถึงรัชกาลที่ 7 อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมาได้โดยไม่ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะเข้าใจสภาพการณ์อันลักลั่นนี้ได้ อาจต้องไล่ตอบคำถามเชิงหลักการทีละอย่างว่า เช่น ประเทศไทยปกครองในระบอบอะไร ถ้าสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็จบ แต่ถ้าตอบว่าประชาธิปไตย ระบบกลไก การตีความกฎหมายต้องเดินตามแนวประชาธิปไตย  และต้องถามต่อว่าประชาธิปไตยคือคำนาม แล้วคำว่าอันมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขเป็นคำขยาย หรือมันกลับกัน  ดังนั้น จึงต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ทั้งหมดโดยเริ่มจากความเข้าใจว่าประชาธิปไตยโดยธรรมชาติแล้วไปกันไม่ได้กับmonarchy  แต่หลายประเทศพยายามรักษาไว้ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อประชาธิปไตยยอมให้มี monarchy ได้  monarchy ก็ต้องปรับให้เข้ากับประชาธิปไตย มีนักปรัชญาบางคนที่พยายามทำให้เรื่องกษัตริย์เป็นเรื่องของสถาบันไม่ใช่ตัวบุคคล เพื่อทำให้มันไปด้วยกันได้กับระบอบประชาธิปไตย  

เขายังมีข้อเสนอแนะต่อกลุ่มรอยัลลิสต์ในเมืองไทยด้วย โดยระบุว่า กลุ่มนี้แบ่งเป็น3กลุ่มหลักคือ 1.รอยัลลิสต์ที่ค่อนไปทางเสรีนิยม ผลิตคำอธิบายเกี่ยวกับกษัตริย์นักประชาธิปไตย 2.รอยัลลิสต์ซาบซึ้ง ซึ่งเป็นคนชั้นกลางในเมือง มีการศึกษาตามระบบ ไม่ได้สนใจการเมืองประวัติศาสตร์ลึกซึ้ง อยู่กับ propaganda โดยตลอด อ่อนไหวกับเรื่องกษัตริย์มากพร้อมจะเกรี้ยวกราดรุนแรงได้ทันทีหากใครโหมกระพือเรื่องล้มเจ้า แยกไม่ออกระหว่างรัฐกับกษัตริย์  3. อุลตร้ารอยัลลิสต์คล้ายกับในฝรั่งเศส ไปไกลกว่าเจ้า สร้างภาพหลอน ภาพลวงขบวนการล้มเจ้า ตัวเองจะได้ออกมาตรการโหดร้ายไปทำร้ายศัตรูทางการเมือง ขณะเดียวกันก็มีผลไปปลุกปั่นให้กลุ่มสองกระทำความรุนแรงแทนตน ดังนั้น กลุ่มที่หนึ่งจะต้องช่วยออกมาห้ามปราม จากนั้นเขาปิดท้ายด้วยวลีของอันโตนีโอ กรัมชี่ ในหนังสือ prison notebooks  แปลโดย เบน แอนเดอร์สัน  “เมื่อสิ่งใหม่ดิ้นรนจะบังเกิด และสิ่งเก่าปฏิเสธที่จะตาย อสูรกายก็จะปรากฏขึ้น”

สาวตรี นิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า เวลาพูดถึงมาตรา 112 หรือคดีหมิ่นฯ จะพูดแยกกันกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะคดีในระยะหลังล้วนใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ขณะที่มาตรา 112 มีปัญหาทั้งในแง่การตีความและการบังคับใช้ที่ปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันไม่เป็นที่ยุติว่าจะแก้ไขอย่างไร ก็มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ซึ่งมีปัญหามากเช่นกัน เช่น มาตรา 14 (3) อ้างอิงถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและการก่อการร้าย ตั้งแต่มาตรา 107-135 ของกฎหมายอาญาซึ่งมีลักษณะความผิดชัดเจน แต่กลับมีมาตรา 14 (2) ซึ่งระบุความผิดในการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่นิยามไม่ได้ว่าคืออะไร นอกจากนี้ยังมีมาตรา 20 ยังให้อำนาจเจ้าพนักงานในการปิดกั้นเว็บไซต์หรือลบข้อความ ซึ่งขัดกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ส่วนมาตรา 15 ระบุว่าหากผู้ให้บริการจงใจให้มีการนำเข้าเนื้อหาที่อาจเป็นความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกันด้วย ถือเป็นการบัญญัติกฎหมายที่รับรองการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อ เกิดการเซ็นเซอร์ไปก่อนที่จะมีกรณีเกิดขึ้น เนื่องจากไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่ผิด

สำหรับแผนผังขบวนการล้มเจ้าของ ศอฉ.นั้นแม้ระบุว่าเป็นเพียงการวิเคราะห์ ไม่ได้กล่าวหา แต่ถามว่าการบอกว่ามีขบวนการล้มเจ้าซึ่งมีคนเสื้อแดงเข้าร่วมเหยียบแสน ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกตามมาตรา 14 (2) หรือไม่ การที่ ศอฉ. พูดเรื่องขบวนการล้มเจ้าอาจไม่ได้หวังผลเป็นรูปธรรม ไม่ได้คิดจะดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นจริงๆ แต่กำลังหวังปลุกกระแสทางสังคมให้เกิดการลงโทษโดยประชาชนด้วยกันเอง โดยขณะนี้มีสิ่งที่เกิดขึ้นมาสอดรับกันคือ กลุ่ม Social Sanction หรือยุทธการลงฑัณฑ์ทางสังคมในเฟซบุ๊ค เป็นการล่าแม่มดออนไลน์ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะคอยตามหาเอาหน้าเฟซบุ๊คของคนที่วิจารณ์อาจจะโดยสุจริตหรือไม่ก็แล้วแต่ แล้วข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นมาแปะ พากันรุมด่า หรือที่เรียกว่า “เสียบประจาน” ทำให้มีคนถูกโทรขู่ฆ่า การกระทำเช่นนี้ขัดต่อกฎหมายเพราะเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาเปิดในที่ที่ผู้นั้นไม่คิดจะเปิด และถือเป็นการละเมิดทางอาญา

ที่สุดแล้วการมีกฎหมายเช่นนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับที่ประเทศที่ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะในต่างประเทศก็มีบางเรื่องที่พูดไม่ได้ เนื่องจากปมทางประวัติศาสตร์ เช่น ประเทศในยุโรปห้ามดูถูกเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนาอื่น ในเยอรมนีห้ามสนับสนุนชาตินิยมนาซี แต่ในประเทศไทยมีปัญหาคือ กฎหมายอย่างมาตรา 112 หรือมาตรา 14(2) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีลักษณะการบัญญัติ และการใช้บังคับที่ขาดความชัดเจนและมีแนวโน้มที่จะไม่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะมาตรา 14 ที่อาจถูกนำมาใช้เล่นงานกับข้อมูลอะไรก็ตามที่รัฐมองว่าขัดกับความมั่นคง มีการบังคับใช้การตีความอย่างกว้างขวาง มีปัญหาเรื่องอัตวิสัยของผู้ตัดสิน การที่ผู้มีอำนาจในการฟ้องร้องเป็นใครก็ได้ซึ่งอาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง โทษที่สูงเกินไป และมาตรการอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น ลักษณะการพิจารณาคดีในลักษณะปิดลับ ทำให้สื่อไม่กล้านำเสนอ ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหา เพราะคนเข้าไปตรวจสอบไม่ได้

ทั้งหมดนี้ อาจจะไม่แปลกที่คนจำนวนมากไม่พอใจเจ็บแค้นกับผู้ที่วิพากษ์สถาบันกษัตริย์ แต่จะแปลกอย่างมากหากรัฐหรือประชาชนเห็นดีเห็นงามกับระบบศาลเตี้ย คนที่วิจารณ์สถาบันฯ โดยสุจริต อาจจะยอมรับการใช้ 112 แต่คงไม่ยอมรับการใช้อำนาจที่เกินกว่ากรอบทางกฎหมาย หากมีการยอมรับสิ่งเหล่านี้จะหนีไม่พ้นยุคมืดที่ไม่ต้องพูดด้วยกฎหมาย แต่ใช้อารมณ์ความรู้สึก อย่างไรก็ตาม ขอตั้งข้อสังเกตว่ารัฐมีการทำงานสอดประสานกันกับกลุ่มแบบนี้ เพราะเมื่อมีการเสียบประจานก็มีการจับกุมตามมา จึงเสนอว่ารัฐจะต้องหยุดสร้างผีขบวนการล้มเจ้า หยุดสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวและความเกลียดชังที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงที่คาดไม่ถึงได้ รวมถึงต้องทบทวนปัญหาของกฎหมายทั้งสองมาตราที่ได้กล่าวไปแล้วด้วย 

“ถ้าประเทศไทยยังยอมรับว่าเราใช้ระบบนิติรัฐก็ไม่ควรยอมรับหรือเห็นดีเห็นงามกับการลงโทษที่เหนือกว่ากระบวนการทางกฎหมาย เพราะจะทำให้เข้าสู่ยุคมิคสัญญี” สาวตรีกล่าว

ประวิตร จากเดอะ เนชั่น กล่าวถึงความพยายามของ ศอฉ.ที่จะพูดถึงขบวนการล้มเจ้าแบบเหมารวม โดยในแผนผังนั้นคนและองค์กรมีความหลากหลายพอสมควร แม้ดูผิวเผินอาจเกี่ยวข้องกับเสื้อแดงก็ตาม แต่มีการนับรวมคนจำนวนหนึ่งที่ไม่เลื่อมใสหรือหมดศรัทธากับสถาบันว่าเป็นคนล้มเจ้าด้วย ซึ่งเรื่องนี้สื่อก็เป็นต้นเหตุของปัญหาประการหนึ่งเนื่องจากมักนำเสนอมิติเดียวเกี่ยวกับการเทิดทูนสถาบัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพที่ผู้คนวิตกจริตและเป็นยุคปลายรัชกาล ซึ่งเรื่องนี้สื่อก็ไม่เคยพูดถึงอีกเช่นกัน จนมีคนหรือกลุ่มต่างๆ ฉกฉวยโอกาสในสภาพนี้ทำให้สถานการณ์อ่อนไหวและเสี่ยงต่อคนกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวหาในผังของศอฉ.อย่างปฏิเสธไม่ได้

สำหรับบทบาทของกฎหมายหมิ่นนั้น แยกไม่ออกกับการทำหน้าของสื่อ โดยวัฒนธรรมในองค์กรสื่อเองทำให้คนทำสื่อไม่สามารถพูดเชิงเท่าทันเกี่ยวกับสถาบัน ทั้งยังไม่เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์สถาบันในที่สาธารณะได้ ารเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อกระแสหลักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์บานปลายมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้สื่อกระแสหลักยังไม่ตั้งคำถามอย่างเพียงพอกับคนเล่นบทเจ้านิยมสุดขั้ว เช่น นายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งไม่เคยมีประวัติในเรื่องนี้มาก่อนเลย เมื่อมีเหตุการณ์ก็เล่นไปตามกระแสโดยไม่ตั้งคำถาม การที่สื่อกระแสหลักประจบสอพลอสถาบันอย่างไม่รู้จักพอเพียงจึงเป็นปัญหา แม้มองจากมุมรอยัลลิสต์จริงๆ ก็ย่อมวิเคราะห์ได้ว่าผลจากการกระทำเช่นนี้น่าจะก่อผลเสียมากกว่าผลดี  อย่างไรก็ตาม การที่สื่อเสนอภาพความสัมพันธ์ของคนไทยกับสถาบันแบบมิติเดียวโดยตัวมันเองก็ลักลั่นอย่างยิ่งกับข้อกล่าวหาของ ศอฉ. ที่อ้างว่ามีขบวนการล้มเจ้า หรือจำนวนคดีหมิ่นที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน 

ประวิตรยังวิจารณ์ บทบก.เนชั่นก็ระบุต่างชาติไม่เข้าในเรื่องสถาบันซึ่งเขาคิดว่าเป็นข้ออ้างที่ค่อนข้างตลก และบางทีอาจเป็นตรงกันข้าม เนื่องจากการพูดและเขียนเรื่องบทบาทสถาบันในสังคมไทยสามารถทำในสื่อต่างประเทศได้อย่างเปิดเผย ในขณะที่เมืองไทยมีปัญหาเซ็นเซอร์ตัวเองและถูกเซ็นเซอร์มาโดยตลอด

 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นายกฯ แจง ‘พันธมิตรฯ-หมอตุลย์’ ยันเดินหน้าโรดแมป ห้าม 'นปช.' ต่อรอง

Posted: 06 May 2010 11:20 AM PDT

อภิสิทธิ์ไล่เคลียพันธมิตรฯ -หมอตุลย์ ขู่หากพบสัญญาณ นปช. ไม่ร่วมกระบวนการปรองดอง เป็นอันยกเลิกข้อเสนอยุบสภา แต่ยังเดินหน้าโรดเเมปต่อไป

<!--break-->

6 พ.ค. 53 หลังกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาล ที่ประกาศโรดแมปปรองดองแห่งชาติ เวลาประมาณ 16.30 น. นายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ห้องรับรองนายกฯ อาคารรัฐสภา 1 โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์หลังการหารือกับแกนนำพันธมิตรฯ ว่า เป็นการทำความเข้าใจถึงแนวคิดต่างๆ โดยสิ่งที่เห็นตรงกัน คือการแก้ปัญหาความยากจนและโครงสร้าง รวมทั้งการปฏิรูป ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนถึงรูปแบบและวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ โดยสิ่งที่เห็นต่างกัน คือ การยุบสภา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจมีความเห็นแตกต่างทางความคิด แต่โดยหลักการแล้ว เราต้องมีคำตอบให้กับทุกฝ่าย

นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงแถลงการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯก่อนหน้านี้ว่า มีการแลกเปลี่ยนกันแล้ว และคิดว่ากลุ่มพันธมิตรฯคงเข้าใจมากขึ้น บางครั้งอาจจะมีการกล่าวหากันรุนแรงว่า สิ่งที่ตนกระทำนั้นเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะไปสมคบและตกลงอะไรกับใคร จึงมีการคุยกันว่ามันไม่เป็นความจริง นอกจากนี้นายกฯยังเปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 7 พ.ค.ได้เชิญ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสีมาพูดคุย และจะทำเช่นนี้ทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ นปช. ได้ยื่นเงื่อนไขว่า จะต้องคืนพีเพิลชาแนลก่อน จึงจะไปมอบตัวในวันที่ 15 พ.ค. นายกฯ ตอบว่า ไม่มี เพราะเรื่องเงื่อนไขนั้นจะมีไม่ได้ โดยพีเพิลชาแนลนั้น อยู่ในโรดแมปข้อที่ 3 ซึ่งได้ชี้แจงเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสภาแล้ว ส่วนเรื่องวันยุบสภานั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกำหนดวันได้เลย เพราะเท่ากับว่าขณะนี้ไม่สามารถทำให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ แกนนำ นปช.ต้องตัดสินใจ

นายกฯยังได้ตอบคำถามถึงสถานการณ์การชุมนุมที่อาจยืดเยื้อไปถึงวันที่ 15 พ.ค. ตามที่แกนนำ นปช.ประกาศมอบตัวว่า วันที่ 15 พ.ค.มันนานไปแล้ว ในขณะที่นปช.แสดงเจตนาในเรื่องกระบวนการ แต่อาจติดขัดเรื่องการบริหารจัดการนั้นคงไม่เป็นไร แต่เมื่อใดที่ชัดเจนว่า ไม่มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการนั้น ตนจะถือว่า ข้อเสนอเรื่องยุบสภาเป็นอันยกเลิกไป แต่จะทำในส่วนอื่นๆ ของโรดแมป 5 ข้อและการบังคับใช้กฎหมายต่อไป

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สธ.เผยตัวเลข รพ.จุฬาฯ ย้ายผู้ป่วย เสียชีวิต 4 ราย

Posted: 06 May 2010 11:00 AM PDT

<!--break-->

6 พ.ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นตัวแทนนายกฯ ตอบกระทู้กรณีการย้ายผู้ป่วยของ รพ.จุฬาฯ ว่า เป็นการปฏิบัติงานที่ยึดตามหลักกาชาด ไม่เลือกรักษาผู้ใด มีความเป็นกลาง มีเอกภาพ และทำการตามหลักสากล โรงพยาบาลไม่ได้ปิดดำเนินการ แต่เป็นการส่งต่อผู้ป่วยเนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร เนื่องจากมีการบุกตรวจค้นด้วยคนนับร้อยเมื่อค่ำวันที่ 29 เมษายน การส่งต่อไปรักษาที่อื่นก็มีการสอบถามผู้ป่วยก่อน ตนเห็นว่าทางโรงพยาบาลดำเนินการเหมาะสมตามสถานการณ์แล้ว และเป็นไปตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล 

ทั้งนี้นายจุรินทร์เปิดเผยว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชี้แจงว่า วันที่ 28 เมษายน มีเสียงคล้ายระเบิดใกล้ตึก ภปร.จึงต้องย้าย 10 ราย ต่อมาเมื่อมีเหตุบุกค้นวันที่ 29 เมษายน ก็ย้ายอีกครั้ง รวมทั้งหมด 196 ราย ไปยัง 49 โรงพยาบาล โดยมีผู้เสียชีวิต 4 ราย เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายที่ รพ.บำรุงราษฎร์ รพ.หัวเฉียว รพ.กลาง ที่ละ 1 ราย ส่วน รพ.สมุทรปราการ 1 ราย เนื่องจากเป็นเบาหวาน หัวใจ และโรคไตแทรกซ้อน

รายข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ย้ายจาก รพ.จุฬาฯ แล้วเสียชีวิตมี 2 ราย คือ นายทวนทอง วิทยาชีวะ อายุ 70 ปี ที่ย้ายไปที่ รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น และนางประพิง บังจันทร์ อายุ 61 ปี ที่ย้ายไปรักษาตัวที่ รพ.พระนั่งเกล้า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ราชประสงค์โอดสูญ 5 พันล้าน

Posted: 06 May 2010 10:58 AM PDT

ผู้ประกอบการราชประสงค์โอด สูญ 5 พันล้าน ปลดพนักงานแล้ว 45 คน คาดใช้เวลา 6 เดือนดึงนักท่องเที่ยวกลับ

<!--break-->

6 พ.ค. นายชาย ศรีวิกรณ์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA) พร้อมด้วยผู้ประกอบการในย่านราชประสงค์ อาทิ ศูนย์การค้า และโรงแรม อาคารสำนักงานให้เช่า ร่วมกันแถลงความว่า ตั้งแต่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เข้ายึดพื้นที่ราชประสงค์ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ประเมินความสูญเสียรายได้จากธุรกิจค้าปลีกและร้านค้าเบื้องต้นรวมประมาณ 5,244 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 174 ล้านบาทต่อวัน พนักงานได้รับผลกระทบรวม 20,000 คน ผู้ค้ารายย่อย 1,687 ราย ธุรกิจโรงแรม 10 แห่ง จำนวน 3,646 ห้อง ได้รับความเสียหาย 600 ล้านบาท มีพนักงานได้รับผลกระทบรวม 3,400 คน และขณะนี้ผู้ประกอบการย่านนี้ได้เลิกจ้างพนักงานแล้ว 45 ราย ซึ่งหากการชุมนุมยืดเยื้อต่อไปอีกเป็นเดือน คาดว่าผู้ประกอบการย่านนี้ต้องปลดพนักงานเป็นหลักพันราย

นายชายกล่าวด้วยว่า หากกลุ่มผู้ชุมนุมสลายตัว ธุรกิจจะสามารถเปิดดำเนินการได้ทันทีภายใน 1-2 วัน แต่หากไม่สลาย ผู้ประกอบการเองไม่มีแผนสองในการรองรับ และคิดว่าความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯจะมากขึ้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับสีลมและอาจเกิดกับละแวกอื่นได้

"ผู้ค้าย่านราชประสงค์เหมือนเป็นตัวประกัน เราไม่มีแผนสำรอง หากทนรอไปเรื่อยๆ ย่านนี้จะกลายเป็นย่านร้าง ประกอบกิจการต่างๆ ไม่ได้ เราไม่รู้จะเรียกร้องกับใคร แต่คนเสื้อแดงที่อยู่หน้าอาคาร เราก็เปิดห้องน้ำให้ใช้ เราไม่โกรธ แต่สิ่งที่เราไม่สามารถประเมินได้คือความอดทนของคนที่ได้รับผลกระทบ เราเห็นภาพที่สีลมมาแล้ว หากยืดเยื้อออกไปเรื่อยๆ อาจมีกลุ่มที่ทนไม่ได้ออกมาแสดงพลังเหมือนสีลม โรงพยาบาลจุฬาฯ และต่อไปคือ โรงเรียน การชุมนุมที่เกิดขึ้นในเวลานี้ คือ Democrazy ไม่ใช่ Democracy" นายชายกล่าว

นอกจากนี้ มติชนออนไลน์ ได้รายงานว่า ก่อนหน้านี้สมาคมฯได้ยื่นขอความช่วยเหลือไป 6 มาตรการ แต่ได้รับการช่วยเหลือ 3 มาตรการ ส่วนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ คือ 1.การประกันการก่อร้าย 2.เร่ง พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติระยะยาว และ 3.งบฯฟื้นฟูความเสียหายย่านราชประสงค์ ส่วนมาตรการฟื้นฟูหลังการชุมนุมยุตินั้น สมาคมจะทำแผนโปรโมตการท่องเที่ยวร่วมกับภาครัฐ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลับมา คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แผนปรับปรุงพื้นที่ สิ่งแวดล้อมในย่านราชประสงค์ และแผนกิจกรรมการตลาด เช่น มหกรรมแกรนด์เซลส์ที่ผู้ประกอบการจะรวมตัวจัดยิ่งใหญ่ในปีนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง RSTA Call Center เพื่อรับเรื่องเดือดร้อนจากผู้ประกอบธุรกิจย่านนี้ เพื่อภาครัฐให้หามาตรการบรรเทาทุกข์ต่อไป

 

ที่มา : มติชนออนไลน์
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เอ็นจีโอแถลงประณามรัฐ สอดไส้กฎหมายห้ามชุมนุม

Posted: 06 May 2010 07:25 AM PDT

<!--break-->

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ(ศสส.) อีสาน กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา โครงการทามมูน และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ ระบุตีสองหน้า ทางหนึ่งบอกปฏิรูปสังคม อีกทางออกกฎหมายห้ามชุมนุม กระทบสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม อันเป็นสิทธิพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรองรับ โดยในแถลงการณ์มีรายละเอียด ดังนี้
 

0 0 0

แถลงการณ์ประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์
หยุดปฏิรูปประเทศไทยด้วยการสอดไส้ผลักดันร่างกฎหมายห้ามการชุมนุม
 

ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศวาระทำการปฏิรูปสังคมและการเมืองของประเทศชาติเพื่อกอบกู้ประเทศจากวิกฤติความขัดแย้งทางด้านการเมืองและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม แต่อีกด้านหนึ่งกลับให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำเสนอร่างกฎหมายห้ามการชุมนุมเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี จึงเสมือนเป็นการตีสองหน้า และเล่นละครตบตาประชาชนทั้งประเทศ เรียกคะแนนนิยมด้วยการแสดงท่าทีที่จริงใจว่า จะร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมทำการปฏิรูปสังคมและการเมืองร่วมกัน

จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบผ่าน ‘ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....’ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญกำหนดให้การชุมนุมสาธารณะต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ และต้องไม่กีดขวางทางเข้า-ออกสถานที่ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ ทางเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจึงมีข้อเสนอดังนี้

๑.รัฐบาลต้องยุติการออกพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เนื่องจากร่าง พรบ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.... ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๓ และเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐ

๒.ร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าวเป็นการห้ามการชุมนุมเพื่อหวังปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ที่ทำลายเสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลซึ่งรัฐบาลมีกฎหมายหลายฉบับที่สามารถใช้ควบคุมการชุมนุมอยู่แล้ว การออกกฎหมายคุมการชุมนุมเช่นนี้กลับเป็นการปิดกั้นสิทฺธิ เสรีภาพและจะไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมทางสังคมได้ รัฐบาลต้องสร้างการมีส่วนร่วมและเปิดการรับฟังความคิดเห็น กับประชาชนในวงกว้างให้เข้าไปมีส่วนร่วมต่อการร่าง พรบ.การชุมนุมสาธารณะพ.ศ...... ดังกล่าว

๓.เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องภาคประชาสังคม นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน องค์กรอิสระ สื่อมวลชน และกลุ่มเสื้อสีใดก็ตามประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่พยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ....

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน มีความเห็นว่ารัฐบาลต้องสร้างความจริงใจในการสร้างความปรองดองและลดช่องว่างทางอำนาจของภาครัฐลงเพื่อเป็นการสร้างโอกาสของกลุ่มผู้ที่เข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากรให้มีสิทธิ มีเสียงบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยและยึดมั่นการมีส่วนร่วมในทุกระดับ
         

                                                                                                                ด้วยจิตคารวะ
                                                                                                          ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๑.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)ภาคอีสาน
๒.เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย
๓.ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ(ศสส.) อีสาน
๔.กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
๕.โครงการทามมูน
๖.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนอีสาน ประณามรัฐบาลสอดไส้ผลักดัน "ร่างกฎหมายห้ามการชุมนุม"

Posted: 06 May 2010 07:21 AM PDT

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคอีสานออกแถลงการณ์ประณาม "รัฐบาลอภิสิทธิ์" ยี้หยุดปฏิรูปประเทศไทยด้วยการสอดไส้ผลักดันร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ระบุเนื้อหาขัดรัฐธรรมนูญ ปิดกั้นสิทฺธิเสรีภาพ และไม่สร้างความเป็นธรรมทางสังคม จวกหวังปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

<!--break-->

วันนี้ (6 พ.ค.53) เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคอีสานออกแถลงการณ์ ประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ หยุดปฏิรูปประเทศไทยด้วยการสอดไส้ผลักดันร่างกฎหมายห้ามการชุมนุม

มีรายละเอียดดังนี้

 

แถลงการณ์ประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ หยุดปฏิรูปประเทศไทยด้วยการสอด ไส้ผลักดันร่างกฎหมายห้ามการ ชุมนุม

ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศวาระทำการปฏิรูปสังคมและการเมืองของประเทศชาติ เพื่อกอบกู้ประเทศ จากวิกฤติความขัดแย้งทางด้านการเมืองและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม แต่อีกด้านหนึ่งกลับให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำเสนอร่างกฎหมายห้ามการชุมนุมเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี จึงเสมือนเป็นการตีสองหน้า และเล่นละครตบตาประชาชนทั้งประเทศ เรียกคะแนนนิยมด้วยการแสดงท่าทีที่จริงใจว่าจะร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมทำการปฏิรูปสังคมและการเมืองร่วมกัน

จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบผ่าน "ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ...." เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญกำหนดให้การชุมนุมสาธารณะต้องเป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ และต้องไม่กีดขวางทางเข้า-ออก สถานที่ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินีและพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาลและหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษาและศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ ทางเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจึงมีข้อเสนอดังนี้

๑.รัฐบาลต้องยุติการออกพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ... ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๓ และเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการพัฒนาของรัฐ

๒.ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเป็นการห้ามการชุมนุม เพื่อหวังปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ที่ทำลายเสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลมีกฎหมายหลายฉบับที่สามารถใช้ควบคุมการชุมนุมอยู่แล้ว การออกกฎหมายคุมการชุมนุมเช่นนี้ กลับเป็นการปิดกั้นสิทฺธิ เสรีภาพ และจะไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมทางสังคมได้ รัฐบาลต้องสร้างการมีส่วนร่วมและเปิดการรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในวงกว้าง ให้เข้าไปมีส่วนร่วมต่อการร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะพ.ศ. ... ดังกล่าว

๓.เครือข่ายฯ จึงขอเรียกร้องภาคประชาสังคม นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน องค์กรอิสระ สื่อมวลชน และกลุ่มเสื้อสีใดก็ตามประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่พยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ...

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนมีความเห็นว่า รัฐบาลต้องสร้างความจริงใจในการสร้างความปรองดองและลดช่องว่างทางอำนาจของภาครัฐลง เพื่อเป็นการสร้างโอกาสของกลุ่มผู้ที่เข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากรให้มีสิทธิ มีเสียงบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย และยึดมั่นการมีส่วนร่วมในทุกระดับ
 

ด้วยจิตคารวะ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓

๑.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ภาคอีสาน
๒.เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย
๓.ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน
๔.กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
๕.โครงการทามมูน
๖.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

30 องค์กรขอนายกฯเอาให้ชัด แนะเปิดทางศาลโลกตรวจสอบเหตุนองเลือด

Posted: 06 May 2010 06:52 AM PDT

<!--break-->

30 องค์กรชาวบ้าน-ภาคประชาสังคม ออกแถลงการณ์เรียกร้องความปรองดองจริงจังและจริงใจจากรัฐบาล ให้ประกาศวันยุบสภาให้ชัดเจน ให้รัฐเปิดทางศาลอาญาโลก ตรวจสอบเหตุการณ์วิปโยคที่เกิดขึ้น โดยแถลงการณ์ มีรายละเอียด ดังนี้ 

0 0 0  

แถลงการณ์
ประกาศวันยุบสภาให้ชัดเจน
แนวทางปรองดองรัฐบาลอภิสิทธิ์เริ่มได้ในทันที

สืบเนื่องมาจาก นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอแนวทางปรองดองแห่งชาติ ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองขณะนี้ 

เราในนาม กลุ่ม องค์กร เครือข่ายประชาชน ที่มีจุดยืนเพื่อประชาธิปไตย มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้

1 ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ แสดงความจริงใจในการปรองดอง โดยการมีคำสั่งบัญชาการให้ศูนย์อำนายการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศฮฉ.) ยุติการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่คุกคามว่าจะปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงโดยทันที มิเช่นนั้นถือว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำการตีสองหน้ามากกว่าต้องการปรองดองอย่างแท้จริง

2. เรามีความคิดเห็นว่า   ข้อเสนอโรดแม็พของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้สื่อมีเสรีภาพในสังคมข้อมูลข่าวสาร สามารถทำให้ประจักษ์เป็นรูปธรรมได้ทันทีโดยการที่รัฐยุติการปิดกั้นสื่อทั้งเว็บไซต์ วิทยุชุมชน และทีวีพีเพิลชาแนล เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจต่อการปรองดองตามโรดแม็ป ที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้เสนอ ขณะเดียวกันรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องยุติการใช้สื่อ NBT และวิทยุของรัฐในการสร้างภาพให้คนเสื้อแดง เป็น “ผู้ก่อการ้าย” “ขบวนการล้มเจ้า”     เพื่อสร้างความเกลียดชังต่อคนเสื้อแดง เหมือนคนเสื้อแดงมิใช่ “คนไทย” มิใช่ “คนรักชาติรักประเทศรักสถาบัน” เพื่อทำลายความชอบธรรมในการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงด้วยแนวทางสันติวิธี อสิงหา ปราศจากอาวุธ

3. เรามีความคิดเห็นว่า ต่อกรณีการสอบสวน ตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์วิปโยค เมื่อวันที่ 10 เมษายน  กรณีเหตุการณ์ที่สีลม 22 เมษายน  และกรณีที่อนุสรณ์สถาน 28 เมษายน ที่ผ่านมานั้น   ควรให้ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศดำเนินกระบวนการสอบสวน เพื่อความเป็นกลาง อิสระ โปร่งใส และเที่ยงธรรม

4. เราเห็นด้วยกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ ว่า การปฏิรูปประเทศไทยนั้นต้องมีภาคส่วนอื่นๆ เข้าร่วมด้วย เพียงแต่ต้องมิใช่เพียงภาคส่วนอื่นๆที่สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างที่เห็นและเป็นอยู่เข้าร่วมเท่านั้น จำเป็นต้องให้พรรคการเมืองต่างๆ ในฐานะสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา เข้าร่วม ตลอดทั้งต้องเปิดให้องค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์กรบริหารส่วนตำบล  ผู้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนระดับท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้แล้วภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ที่ไม่ได้สังกัดรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องเข้าร่วมด้วยเช่นกัน

5. อย่างไรก็ตาม  เรามีความคิดเห็นว่า การปรองดองเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง    ขณะเดียวกันเราเชื่อว่าความเห็นต่าง ความคิดไม่เหมือนกันของคนในสังคมเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมประชาธิปไตยไม่ว่าเรื่องปฏิรูปประเทศ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย   เพียงแต่เราต้องยอมรับกติกาประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชนต้องมีอำนาจในการเลือกผู้บริหารผู้ปกครองประเทศที่มีวาระแน่นอน    เสียงส่วนใหญ่เคารพเสียงส่วนน้อย    ประชาชนมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม  สื่อสารมวลชนต้องไม่ถูกกดขี่ปิดกั้นเสรีภาพจากรัฐ และประชาธิปไตยต้องไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเป็นสำคัญ 

6. ท้ายสุด เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ประกาศวันยุบสภาต่อสาธารณชนด้วยตัวนายกรัฐมนตรีเองให้ชัดเจน เพื่อความกระจ่างไม่ให้เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จะมีเล่ห์สนกลในอย่างไร? อีกหรือไม่?

 

1.  เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน  (คอป.อ.)
2.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์น้ำเซิน  (คอซ.)
3.  เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.)
4.  เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูค้อ-ภูกระแต  จังหวัดเลย
5.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
6.  แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.)
7.  เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง  จังหวัดอุบลราชธานี
8.  กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
9.  กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา  จังหวัดกาฬสินธุ์
10. เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก  จังหวัดอุดรธานี
11. กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา  จังหวัดสกลนคร
12. เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  จังหวัดชัยภูมิ
13. กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่  จังหวัดขอนแก่น
14. กลุ่มเยาวชนมิตรภาพ  จังหวัดขอนแก่น
15. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น  จังหวัดชัยภูมิ
16. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง  จังหวัดนครพนม
17. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร  จังหวัดยโสธร
18. สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.)
19. แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.)
20. ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
21. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู  จังหวัดพิษณุโลก
22. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิการจัดการทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง (คสปล.)
23. สหพันธ์เยาวชนคลองเตย (สยค.)
24. เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย
25. เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อนไก่ กทม.
26. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
27. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก  จังหวัดร้อยเอ็ด
28. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ 

29.กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้

30กลุ่มนักศึกษาภาคเหนือเพื่อประชาธิปไตย

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘พันธมิตรฯ’ ดาหน้าประณาม ‘อภิสิทธิ์’ ประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้า

Posted: 06 May 2010 05:06 AM PDT

เพราะทำให้การก่อการร้ายขยายตัวไปทั่วประเทศ ไม่สามารถหยุดขบวนการล้มสถาบันของขบวนการรัฐไทยใหม่ได้ เป็นการยกบ้านเมืองให้กับขบวนการอันธพาลก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่ ลั่นถ้าไม่บังคับใช้กฎหมายก็ให้ ‘มาร์ค’ ลาออกไป ด้าน “สมศักดิ์ โกศัยสุข” จี้ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ฆ่า “พิภพ” น้อยใจนายกฯ ทิ้งประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาล

<!--break-->

พันธมิตรฯ ไร้ 'สนธิ' แถลงข่าวประณามมาร์คปรองดองกับขบวนการก่อการร้าย

วันนี้ (6 พ.ค.) ที่บ้านพระอาทิตย์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย นายสำราญ รอดเพชร นายศิริชัย ไม้งาม นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง นางมาลีรัตน์ แก้วก่า นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงาน และนายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกฯ ร่วมกันออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 9 ประณามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในการปรองดองกับขบวนการก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่

โดยการแถลงข่าวในวันนี้ไม่มีนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ คนสำคัญและหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ เช่นเคย โดยนายสุริยะใส เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 9/2553 ซึ่งในแถลงการณ์และตลอดการแถลงข่าวได้เรียกคนเสื้อแดงว่า "ขบวนการก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่" โดยแถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้

 

แถลงการณ์ ฉบับที่ 9/2553
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เรื่อง ประณามนายกรัฐมนตรีในการปรองดองกับ “ขบวนการก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่”

จากกระบวนการปรองดองที่จะแก้ไขวิกฤตของชาติ ซึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม 2553 นั้น ได้ประกาศด้วยว่าหากผู้ชุมนุมสลายก่อนวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 นายกรัฐมนตรีก็จะทำการยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้มีการประชุมและมีมติให้กำหนดท่าที ดังต่อไปนี้

 

1. เราเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ และสร้างรัฐสวัสดิการ ซึ่งควรจะดำเนินการมาตั้งนานก่อนหน้านี้แล้วโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ดังที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เคยเรียกร้องมาตั้งแต่ปี 2551 แต่แผนกระบวนการปรองดองของนายกรัฐมนตรีนั้นขาดความชัดเจน และเป็นการแถลงราวกับว่ารัฐบาลทำตัวเหนือปัญหาเป็นคนกลางท่ามกลางความขัดแย้งหรือทะเลาะกันของคนสองกลุ่ม ทั้งๆ ที่รัฐบาลเองเป็นผู้ประกาศว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีผู้ก่อการร้าย มีอาวุธสงครามจำนวนมาก มีกองกำลัง เป็นที่ซ่องสุมของกลุ่มอันธพาลซึ่งมีพฤติกรรมคุกคามและทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งยังมีขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ มิใช่ไปเจรจาปรองดองยอมจำนนกับขบวนการก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่อยู่ในขณะนี้

2. ท่ามกลางปัญหาดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ การประกาศว่าจะให้ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นั้น เราถือว่าเป็นการทำลายกระบวนการปฏิรูปประเทศและทำลายกระบวนการยุติธรรมหลักนิติรัฐอย่างย่อยยับ ทำให้นักการเมืองจะสนใจแต่การแย่งชิงอำนาจในการเลือกตั้ง ทำให้ข้าราชการจะไม่ทำหน้าที่ในการเอาคนทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับนักการ เมืองมาลงโทษทั้งกลุ่มอันธพาลทางการเมืองที่ติดอาวุธ ขบวนการก่อการร้าย และขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ขบวนการสื่อการเมืองเพื่อโค่นล้มอำนาจฝ่ายตรงกันข้าม จะทำให้บรรยากาศนับตั้งแต่วันประกาศวันยุบสภา วันเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง จะกลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ไร้ขื่อแป และเหตุการณ์จะยิ่งรุนแรงและพินาศยับเยินมากกว่าที่ผ่านมาหลายเท่าทวีคูณ ซึ่งฝ่ายที่ได้อำนาจรัฐโดยรัฐไทยใหม่จะเข้าครอบงำหน่วยงานราชการในกระบวนการ ยุติธรรมก่อนถึงศาล โฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อของรัฐ และใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชน

ยิ่งไปกว่านั้น การละเว้นไม่เข้าตรวจอาวุธ และดักจับอาวุธ โดยปล่อยให้กลุ่มคนเสื้อแดงถ่วงเวลาในการขนถ่ายอาวุธออกจากที่ชุมนุมนั้น ถือเป็นสิ่งอันตรายที่จะคุกคามประชาชนและระบอบประชาธิปไตยในอนาคต จนนำไปสู่รัฐไทยใหม่ของขบวนการก่อการร้ายในที่สุด

3. เราขอประณามการประกาศวันเลือกตั้งเป็นการล่วงหน้าว่า เป็นการทำลายกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย เปิดโอกาสให้ขบวนการก่อการร้ายขยายตัวไปทั่วประเทศ และไม่สามารถหยุดยั้งขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ของขบวนการรัฐไทยใหม่ได้ ซ้ำร้ายยังจะเป็นการยกบ้านเมืองให้กับขบวนการอันธพาลก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่ การประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าจึงเป็นเพียงการเอาตัวรอด และเป็นความเห็นแก่ตัวของนายกรัฐมนตรี โดยไม่ใส่ใจกับความเสียหายของชาติบ้านเมือง และประชาชนที่จะต้องตกเป็นเหยื่อเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเมืองที่รออยู่ เบื้องหน้าโดยที่ปราศจากความรับผิดชอบ

4. การกำหนดวันเลือกตั้งเป็นการล่วงหน้าว่าเป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 นั้น แสดงให้เห็นว่า เป็นผลมาจากการเจรจาลับๆ ระหว่างระบอบทักษิณกับรัฐบาล โดยฝ่ายรัฐบาลมุ่งหวังเพียงแค่ต้องการใช้งบประมาณในปีนี้และจัดตั้งงบประมาณ รายจ่ายในปีหน้า มุ่งหวังจะได้โยกย้ายข้าราชการโดยเฉพาะทหารและตำรวจ และมุ่งหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองของพรรคร่วม รัฐบาลรวมถึงการหาทางช่วยเหลือไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบพรรค ในขณะที่ฝ่ายระบอบทักษิณและขบวนการรัฐไทยใหม่มุ่งหวังที่จะแย่งชิงอำนาจรัฐ มาให้ได้โดยเร็วที่สุด

ในขณะที่เรามีข้อสงสัยว่า มีการเจรจาสมยอมกันระหว่างรัฐบาลกับนักโทษชายทักษิณว่า คดีของนักโทษชายทักษิณและครอบครัวที่ยังไม่เข้าสู่ศาลนั้นจะนิรโทษกรรมหรือ หาวิธีการดึงถ่วงหรือช่วยเหลือไม่นำขึ้นสู่ศาล จะมีการนิรโทษกรรมคดีความทางการเมืองโดยเฉพาะผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือก ตั้งทั้งหมด โดยภายใต้เงื่อนไขนี้นักโทษชายทักษิณตกลงว่าจะไม่กลับมาเล่นการเมืองอีกต่อไป โดยมีความสอดคล้องกับสาระในแผนการปรองดองข้อ 5 ของนายกรัฐมนตรีเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน

เราขอให้รัฐบาลแสดงความจริงใจว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นความจริง และจะไม่เกิดขึ้น มิเช่นนั้นแสดงว่านักการเมืองเหล่านี้มีการเจรจาสมยอมกันเพื่อผลประโยชน์ของ นักการเมืองเพียงไม่กี่คนโดยหักหลังและทรยศต่อประชาชนอย่างไร้จริยธรรม เราขอยืนยันว่าเราจะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยนักการเมืองที่ทำเพื่อผล ประโยชน์ของนักการเมืองและการนิรโทษกรรมของนักการเมืองอย่างถึงที่สุด

5. บัดนี้ขบวนการก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่ ไม่ได้สลายการชุมนุมตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเอาไว้ก่อนวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 และยังเรียกร้องข้อต่อรองอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร เพิ่มเติม ทั้งในทางเปิดเผยและในทางลับอันเป็นผลมาจากความอ่อนแอของรัฐบาล เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทบทวนและยกเลิกการประกาศแผนปรองดองกับขบวนการ ก่อการร้ายของรัฐไทยใหม่ และทบทวนยกเลิกการประกาศกำหนดวันการเลือกตั้งล่วงหน้า โดยให้มุ่งเน้นการปฏิรูปประเทศและรัฐสวัสดิการควบคู่ไปกับการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อคืนสันติสุขและสร้างหลักประกันในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน

6. เราขอยืนยันว่า การไม่มีจิตสำนึกของแกนนำคนเสื้อแดงในการปกป้องชีวิตของมวลชน และการไม่บังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมาเป็นผลทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของทหารหาญและประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายตลอดระยะเวลาที่ผ่าน มา หากรัฐบาลยังเพิกเฉยไม่บังคับใช้กฎหมาย และไม่ลงโทษหรือโยกย้ายข้าราชการและนักการเมืองที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เราขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมายและมีความจริงใจในการปฏิรูประเทศไทยเข้าทำหน้าที่แทน เพื่อคืนหลักนิติรัฐ คืนหลักนิติธรรม และคืนสันติสุขให้กับประชาชนชาวไทย

 

ด้วยจิตคารวะ

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
วันที่ 6 พฤษภาคม 2553
ณ บ้านพระอาทิตย์

 

จำลองอัด ‘อภิสิทธิ์’ ยอมตามคำขู่ผู้ก่อการร้าย อันตรายต่อชาติราชบัลลังก์

หลังการแถลงข่าว พล.ต.จำลอง กล่าวว่า นายกฯ ใช้ทหารมือเปล่าให้ต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย ทำให้ทหารและประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก แทนที่จะใช้กฎหมายจัดการ กลับมายอมทำตามคำขู่ของผู้ก่อการร้าย ถือว่าเป็นอันตรายต่อชาติและราชบัลลังก์ หากนายอภิสิทธิ์ เชิญตัวแทนพันธมิตรฯ เข้าชี้แจงแผนปรองดอง พันธมิตรฯ ก็พร้อมจะไป เพื่อยื่นข้อเสนอดังกล่าว

 

ถ้าไม่ฟังก็ลาออกไป แต่พันธมิตรฯ ยังไม่ได้คิดว่าจะเอาใครมาเป็นนายกฯ

ตนยืนยันว่า การออกมาของพันธมิตรฯไม่ได้ไล่นายอภิสิทธิ์ แต่เผื่อไว้ว่า ถ้าไม่ฟังความเห็นกันก็ควรที่จะลาออกไป ซึ่งพันธมิตรฯเองก็ยังไม่ได้คิดว่าจะเอาใครมาเป็นนายกฯ แทน แต่ตนเห็นว่าเมื่อดำรงตำแหน่งแล้วประเทศชาติล้มเหลวก็ต้องออกไป ทั้งนี้ ตนยังยืนยันว่า รัฐจะต้องปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งต้องยอมรับว่า หลังจากที่นายกฯ ประกาศแผนดังกล่าว ทำให้ทหารหมดกำลังใจลงไปมาก และไม่พร้อมที่จะออกไปจัดการ เพราะนายกฯทำอะไรแบบกล้าๆ กลัวๆ

 

“สมศักดิ์” ขอให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าให้ฆ่า

ขณะที่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่กลับปล่อยให้มีการละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน แล้วอยู่ๆ จะมาปรองดองเจรจาลับๆ ระหว่างตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และตัวแทนของรัฐ โดยจะมานิรโทษกรรมทางการเมือง ถือเป็นการปล่อยปละละเลย จึงขอให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะให้มีการเข่นฆ่า แต่ให้เคร่งครัดในการใช้ และขณะนี้มีรายงานด้วยว่า ได้มีการปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายขนอาวุธออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ นายกฯ มีหลักประกันอะไรจึงเชื่อว่าจะสามารถเลือกตั้งได้ นายกฯ จะต้องทบทวนแผนดังกล่าว หากไม่ทำก็ลาออกไป

 

โอ่ ‘พรรคการเมืองใหม่’ พร้อมเลือกตั้งเสมอ จำลองบอกชาติสำคัญกว่าพรรค

“ถ้านายกฯ ยอมปรองดองกับขบวนการติดอาวุธ อีกหน่อยก็คงมีคนติดอาวุธมาชุมนุมเรียกร้องได้ทั้งนั้น ซึ่งอะไรที่เป็นเรื่องผิดกฎหมายนี่ต้องจัดการ” นายสมศักดิ์ กล่าว

นายสมศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ข้อเสนอดังกล่าวนี้ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งพรรคพร้อมที่จะลงเลือกตั้งเสมอ ขณะที่ พล.ต.จำลอง กล่าวเสริมว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงในเรื่องดังกล่าว พรรคจะรุ่งเรืองหรือไม่ก็เป็นเรื่องของพรรค แต่ชาติถือเป็นเรื่องสำคัญกว่า

 

พิภพน้อยใจนายกฯ ทิ้งประชาชนที่สนับสนุน จี้นายกฯ ชี้แจงไปเจรจาลับทักษิณหรือไม่

ด้านนายพิภพ กล่าวว่า ขณะนี้นายกฯ กำลังทิ้งประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลมาตลอด เพื่อสู้กับระบอบทักษิณ อยู่ๆ นายกฯกลับมาปรองดอง ซึ่งแผนปรองดองแห่งชาติ ในข้อ 1-4 นั้น เป็นสิ่งที่ควรทำมาตั้งแต่สมัยจัดตั้งรัฐบาลแล้วแต่ไม่ทำ ตนเชื่อว่า ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 14 พ.ย. ก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะปัญหาต้องแก้ไขระยะยาว โดยเฉพาะในเรื่องความยากจน ที่หลายฝ่ายเรียกร้อง ฉะนั้น ตนจึงงมองว่า นี่เป็นเพียงแค่คำประกาศที่สวยหรู

ส่วนในข้อ 5 นั้น ดูเหมือนว่ามีการตกลงระหว่างรัฐบาลและพรรคพวกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นใจความทั้งหมดของข้อตกลงในการนิรโทษกรรม ทั้งนี้ นายกฯ จะต้องชี้แจงและอธิบายให้ชัดเจนว่า เป็นข้อตกลงในการเจรจาลับหรือไม่ ส่วนการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับประเทศไทยหรือไม่ ก็เป็นสิทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกนอกประเทศ เป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ว่าตนเองจะแพ้คดี จึงหนีออกไปก่อนศาลจะพิพากษา ซึ่งขณะนี้ก็ต่อสู้เพื่อให้นิรโทษกรรมตัวเอง ทั้งนี้ พันธมิตรฯไม่กังวลว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาหรือไม่

 

พันธมิตรฯ ไม่ยอม ‘มาร์ค’ ทอดบันไดให้ผู้ก่อการร้าย

ทางด้าน นายสำราญ รอดเพชร กล่าวว่า ตนเชื่อว่า นายกฯ จะทำปัญหาให้เป็นปมใหญ่ และสอบไม่ผ่านแผนดังกล่าวแน่ ทั้งนี้ ตนยังตั้งข้อสังเกตว่า การใช้กฎหมายของรัฐตั้งแต่เกิดเหตุ มีการออกหมายจับมาแล้ว 30 คน แต่จับได้เพียงแค่ 6 ราย จึงเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่ากระบวนการการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นผล

ขณะที่ นายศิริชัย ไม้งาม กล่าวว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ จะทำให้ประชาชนไม่ได้ใช้สิทธิ และเสรีภาพให้กับผู้แทนฯในการบริหารประเทศ เช่นเดียวกับ นางมาลีรัตน์ ที่กล่าวว่า นายกฯ กำลังทอดบันไดให้กับกลุ่มก่อการร้าย ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงก็พยายามต่อรองเพิ่มเติมเพื่อเคลียร์อาวุธภายใน พื้นที่ หรือต่อรองกับ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงขอถามนายอภิสิทธิ์ ว่า ที่บอกว่าฟังเสียงประชาชนนั้นฟังเสียงของใคร บัดนี้เวลาของนายอภิสิทธิ์ น้อยลงทุกขณะ ถ้าทบทวนข้อเสนอก็ถือว่ายังไม่สาย

อย่างไรก็ตาม นายปานเทพ กล่าวเสริมว่า ตนได้รับข้อมูลว่า มีการเจรจาลับระหว่างกลุ่มของพ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาล โดยฝ่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการนายกฯ สมัยยุค พ.ต.ท.ทักษิณ กับฝ่ายของรัฐบาลที่ประกอบด้วย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการเจรจาเป็นที่ไม่สบายใจแก่พันธมิตรฯ อย่างมาก เพราะเป็นการเอาผลประโยชน์ของคน 2 กลุ่มมาเดิมพันชาติ โดยฝั่งรัฐบาลก็จะได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ได้โยกย้ายข้าราชการ ทหารตำรวจ และเพื่อนิรโทษกรรมทางการเมืองแก่พรรคร่วมแลกกับการยุติคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ขณะที่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะได้ประโยชน์จากการซุกคดีที่เหลือของ พ.ต.ท.ทักษิณ นิรโทษกรรมทางการเมืองแก่ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน โดยจะให้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ขึ้นชิงตำแหน่งนายกฯ ซึ่งหากสมประโยชน์กันแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ก็จะไม่กลับมาดำเนินการทางการเมืองอีก ขณะที่หลังการเลือกตั้งหากพรรคใดได้อันดับ 1 ก็จะจับมือกับพรรคอันดับ 2 เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งหากการเจรจาดังกล่าวเป็นจริงก็ถือเป็นการเอาประโยชน์ของคนไม่กี่คนมาทำ ให้บ้านเมืองพินาศ ทั้งนี้ ตนขอให้ นายอภิสิทธิ์ ออกมายืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะไม่ทำให้พันธมิตรฯต้องออกมาเคลื่อนไหวเช่นเดิม

 

สุริยะใสลั่นพันธมิตรฯ จะรณรงค์คัดค้านการแก้ รธน.

ด้าน นายสุริยะใส กล่าวปิดท้ายว่า ขณะนี้ พันธมิตรฯ ยังไม่กำหนดเวลาเพื่อรอคำตอบของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งการประณามนายกฯ ในครั้งนี้ก็ถือเป็นเรื่องรุนแรงที่สุดแล้วสำหรับรัฐบาลชุดนี้ โดยในสัปดาห์หน้าพันธมิตรฯ จะเริ่มรณรงค์คัดค้านการแก้ รธน.โดยจะประสานนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อยื่นถอดถอน 102 ส.ส.ที่ขอเข้าชื่อแก้รัฐธรรมนูญ และถอดถอน นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีเสนอญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ คปพร.เข้าสภา หลังจากที่ล่ารายชื่อประชาชนได้มากกว่า 40,000 รายชื่อแล้ว ซึ่งพันธมิตรฯ ยืนยันว่า ไม่ได้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนักการเมือง

ล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เย็นวันนี้ ตนจะพบกับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อชี้แจงแผนสร้างความปรองดองแห่งชาติ 5 ข้อ หรือ โรดแม็ป ส่วนกลุ่มเสื้อหลากสี ได้นัดพบในวันพรุ่งนี้

 

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ [1][2]
เสียงการแถลงข่าว (ที่มา: Managerradio)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศอฉ.ลั่นเสื้อแดงไม่มีสิทธิต่อรอง มีโรดแมปไม่ได้แปลว่าจะไม่สลายการชุมนุม

Posted: 06 May 2010 12:18 AM PDT

สรรเสริญชี้ที่ชุมนุมมีอาก้า ระเบิด ผู้ก่อการร้ายพร้อมสร้างสถานการณ์ ผู้ชุมนุมรับข้อมูลข่าวสารจากภายนอกน้อย ส่วนใหญ่ฟังแต่แกนนำ ศอฉ.จึงส่ง SMS บอกว่าพื้นที่ชุมนุมไม่ปลอดภัย ลั่นเสื้อแดงไม่มีทางเลือก ไม่มีสิทธิต่อรอง มีโรดแมปไม่ได้แปลว่าจะไม่สลายการชุมนุม เล็งฤกษ์สลายหลังงานมหามงคล

<!--break-->

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงเมื่อ 6 พ.ค. (ที่มา: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล)

 

สรรเสริญชี้ในทีชุมนุมมีอาวุธสงคราม ผู้ก่อการร้ายพร้อมสร้างสถานการณ์

วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ แหล่งสมาคมนายทหาร กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แถลงภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเช้านี้ โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศอฉ. เป็นประธานการประชุม

โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้ชี้แจง 2 เรื่อง ดังนี้ 1) ยอดผู้ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อคืนนี้มีอยู่ประมาณ 9,000 - 10,000 คน สำหรับในช่วงเช้าเหลืออยู่ประมาณ 5,000 คน 2) ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจของ ศอฉ. ได้ดำเนินการกระจายกำลังออกเป็นด่านย่อยในด่านใหญ่ที่มีอยู่ 6 ด่านแข็งแรงรอบบริเวณพื้นที่ราชประสงค์นั้น มีการกระจายกำลังเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการนำเอาอาวุธสงครามออกนอก พื้นที่ เพราะที่ผ่านมาได้มีการยืนยันว่า บริเวณพื้นที่การชุมนุมนั้น ได้มีการเก็บอาวุธสงครามไว้จำนวนหนึ่งและมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายพร้อมที่จะสร้างสถานการณ์ไว้ตลอด ฉะนั้น การตั้งด่านลอยและด่านย่อยต่าง ๆ เพื่อที่จะป้องกันสกัดกั้นไม่ให้มีการนำอาวุธสงครามออกนอกพื้นที่ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการต่อไป

 

ผู้ชุมนุมรับข้อมูลข่าวสารภายนอกน้อยส่วนใหญ่ได้ข้อมูลจากแกนนำ ศอฉ. จึงส่ง SMS บอก

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำอย่างไรให้ผู้ชุมนุมออกมาอยู่นอกพื้นที่ โฆษก ศอฉ. ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมในบริเวณพื้นที่การชุมนุมก็มีโอกาสรับข้อมูลข่าวสารจากภายนอกน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่เกิดจากกลุ่มแกนนำบนเวทีให้ข้อมูล ฉะนั้น ได้มีความพยายามที่จะส่ง SMS ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพื่อให้รู้ว่าบริเวณพื้นที่นั้นไม่ปลอดภัย

โฆษก ศอฉ. กล่าวเชิญชวนประชาชนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องราวต่าง ๆ ออกนอกพื้นที่เพราะว่านายกรัฐมนตรีได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่า จะมีการเลือกตั้งใหม่

 

นปช. ไม่มีทางเลือก ไม่มีสิทธิต่อรอง มีโรดแมปไม่ได้แปลว่าจะไม่สลายการชุมนุม

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากถามนั้นแล้ว ทางศอฉ. ได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างไรบ้างที่ผู้ชุมนุมได้มีการชุมนุมถึงวันนี้ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนปรองดอง 5 ข้อ เป็นการประกาศกับคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะ นปช. ฉะนั้น ตนคิดว่าทาง นปช. ไม่มีทางเลือกมากนัก อีกทั้ง ไม่มีสิทธิที่จะมาต่อรองเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ในแผน 5 ประการที่ประกาศไป ไม่ได้หมายความว่าจะไม่การสลายการชุมนุม ในส่วนของรัฐบาลจะมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป และ ศอฉ. จะรับผิดชอบในการแก้ไขการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมีการก่อการร้ายเข้าไปปะปนอยู่ เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวข้องกัน

 

อาวุธสงครามในที่ชุมนุมคืออาก้า ระเบิด อาวุธสงครามมีการยึดมาจากเจ้าหน้าที่

ผู้สื่อข่าวถามว่า อาวุธสงครามที่บอกว่าอยู่ในพื้นที่ชุมนุมมีอะไรบ้าง โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า อย่างน้อยเป็นอาวุธสงครามที่ทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้ยึดเอาไปจากเจ้าหน้าที่ อาทิ ระเบิด ปืนอาก้า ฯลฯ ได้มีการจับกุมภายนอกพื้นที่และในพื้นที่การชุมนุมมาโดยตลอด ซึ่งอาวุธสงครามเฉพาะในส่วนที่ยึดจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจไปในการปฏิบัติภารกิจในช่วงที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีว่า ได้มีการนำไปแสดงบนเวที จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้มีการนำส่งคืนเจ้าหน้าที่

"ทั้งนี้ ศอฉ. ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมเมื่อเช้านี้ว่า การที่มีข้อต่อรองว่า ให้ถอนทหารออกจากพื้นที่และยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น ซึ่งจริงแล้ว เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาล แต่ทางศอฉ.ได้เสนอไปแล้วว่า ไม่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อ ซึ่งจะทราบได้ว่าปัญหาต่างๆ นั้นเกิดจากการชุมนุมที่ผิดกฎหมายก่อน จึงได้มีการประกาศพระราชกำหนดฯ เรื่อยมา ฉะนั้น การแก้ไขปัญหาอย่าทำส่วนทาง ต้องเริ่มแก้ไขปัญหาจากจุดเริ่มต้นก่อน" โฆษก ศอฉ. กล่าว

 

เล็งสลายหลังงานมหามงคล โอ่มีตัวเลขผู้ก่อการร้ายในมือแต่อุบไม่บอก

ผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้ยังคงต้องรอเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงงานมหามงคล ซึ่งคงมีเวลาอีก 3-4 วัน ในช่วงนี้ยังไม่มีอะไร แต่ว่าการตั้งด่านแข็งแรงและการตั้งด่านย่อยทั้งหลาย เพื่อจะป้องกันสกัดกั้นไม่ให้มีการนำอาวุธยุทโธปกรณ์ออกนอกพื้นที่ ซึ่งยังคงดำเนินการอยู่ แต่หลังจากจบงานมหามงคลไปแล้วต้องมาดูอีกที

ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวทางการแยกมวลชนออกจากผู้ก่อการร้ายนับจากที่จะมีการสื่อสารจาก SMS แล้วจะมีแนวทางอื่นหรือไม่ที่จะนำมวลชนออกมาจากพื้นที่ได้ ภายใน 3-4 วันนี้ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า ก็คงจะมีหลากหลายวิธีด้วยกันว่า ทาง นปช. รับข้อเสนอยุติการชุมนุมจากจำนวนผู้ที่เราจับได้ที่ยึดอาวุธได้ โดยมีการสืบสวนสอบสวนจนมีโครงข่ายที่ชัดเจน เมื่อยุติการชุมนุมก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายได้ ในขณะเดียวกันวันนี้จะเห็นยอดผู้ชุมนุมได้ลดลงเรื่อย ๆ เป็นสิ่งที่กดดันต่อแกนนำของกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ท่านไม่ยุติการชุมนุมในวันข้างหน้าเมื่อมีการปฏิบัติภารกิจก็สามารถแยกแยะ ได้ชัดเจนว่า ใครมีหมายจับ ใครไม่มีหมายจับ

ผู้สื่อข่าวถามว่า สำหรับพวกฮาร์ดคอร์ที่โยงเครือข่ายมีจำนวนเท่าไรนับตัวเลขได้หรือไม่ โฆษก ศอฉ. กล่าวว่า มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่ตนบอกไม่ได้

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก
ศอ ฉ. ตั้งด่านย่อยรอบพื้นที่ราชประสงค์ป้องกันการนำเอาอาวุธสงครามออกนอกพื้นที่, ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 6/5/2010
http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=44442

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เชื้อร้าย: เมื่อร่างกายทางการเมืองไทยติดเชื้อแดง

Posted: 05 May 2010 09:48 PM PDT

<!--break-->

เหตุการณ์ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2553 สะท้อนภาพวิกฤตการเมืองไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี มันอาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับเสื้อแดงได้มากยิ่งกว่าข้อกล่าวหาที่รัฐบาลกุขึ้นมาไม่กี่วันก่อนหน้านั้นว่าพวกเขาต้องการล้มเจ้าเสียอีก เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเผยให้เห็นถึงแก่นความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์นี้ได้ดียิ่งกว่าข้อกล่าวหาเลื่อนเปื้อนเรื่องขบวนการล้มเจ้าเราสามารถทำความเข้าใจประเด็นสถาบันกษัตริย์และประเด็นอื่นๆ ได้จากอุปมาของเหตุการณ์นี้ ตัวเหตุการณ์และการรับรู้เหตุการณ์นี้อาจทำหน้าที่เช่นเดียวกับภาพแขวนคอในเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา นั่นคือมันช่วยโหมกระพือความเกลียดชังและความบ้าคลั่ง อันอาจนำไปสู่การล้อมปราบอีกครั้ง อย่างที่ข้อกล่าวหาขบวนการล้มเจ้าทำไม่สำเร็จ  แม้ผมจะหวังไม่ให้มันเกิดขึ้นก็ตาม

บทความนี้ไม่ได้เป็นการแก้ต่างให้กับการกระทำที่แก้ตัวไม่ขึ้นของคนเสื้อแดงที่รพ.จุฬาฯ แต่ถึงอย่างนั้นเราไม่ควรมองเหตุการณ์นี้อย่างโดดๆ โดยแยกออกจากบริบทของความขัดแย้งที่ใหญ่กว่านั้น ที่สำคัญยิ่งกว่า ไม่ว่าความจริงของเหตุการณ์นั้นจะเป็นอย่างไร บทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่ว่าสังคมไทยเข้าใจเหตุการณ์นี้อย่างไร และมุมมองต่างๆ บ่งบอกถึงทัศนะทางการเมือง อคติ คำตัดสินและการกระทำของพวกเขาอย่างไร

เหตุการณ์รพ.จุฬาฯ คือการรุกล้ำของเชื้อโรคแดงเข้าสู่ร่างกายทางการเมือง-จริยธรรมของไทย (Thai moral-political body)

 

เหตุการณ์ตามที่ถูกรายงาน

 

ผมจะไม่อ้างว่าเป็นผู้รู้ความจริงแม้แต่เพียงน้อยนิดของเหตุการณ์นี้ แต่ที่น่าสนใจคือชุดเรื่องเล่าจำนวนมากที่ถูกนำเสนอในสื่อมวลชนไทย (หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์) ซึ่งคาดว่าคนไทยหลายล้านติดตามอ่านและชม และจากการสื่อสารผ่านทางเครือข่ายเฟซบุค ไม่ว่าคำบอกเล่าเหล่านี้จะจริงแท้แค่ไหนก็ตาม แต่มันเผยให้เห็นว่าสื่อและเครือข่ายเฟซบุคเหล่านี้มองและเข้าใจเกี่ยวกับเสื้อแดงกับการประท้วงของพวกเขาอย่างไร

รายงานข่าว (โดยเฉพาะโทรทัศน์) เต็มไปด้วยคำบอกเล่าจากผู้อยู่ในเหตุการณ์ถึงความน่ากลัวต่างๆนานา ทั้งแพทย์ พยาบาล คนไข้และญาติต่างอยู่ในภาวะตื่นตระหนก พวกเขาแตกตื่นเคลื่อนย้ายคนไข้ไปอาคารอื่น โดยที่หลายคนอยู่ในอาการหนักและไม่ควรถูกเคลื่อนย้าย ภาพที่แสดงทางโทรทัศน์ไม่ใช่ปฏิบัติการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่เต็มไปด้วยความโกลาหลปั่นป่วนโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่กำลังตื่นตระหนก พวกเสื้อแดงกำลังมา! ได้ยินว่าพวกเสื้อแดงกำลังมา! เค้าบอกว่าพวกเสื้อแดงกำลังมา!

แม้จะไม่มีภาพแม้แต่ภาพเดียวว่าเสื้อแดงติดอาวุธ หรือรายงานแม้สักชิ้นถึงเสียงปืนสักนัด แต่สังคมได้ทึกทักไปแล้วว่าเสื้อแดงบุกโรงพยาบาลพร้อมอาวุธครบมือ ข่มขู่แพทย์และคนไข้ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายเมื่อผู้คนพยายามหลบหนีเอาตัวรอด พยาบาลรายหนึ่งพูดในรายงานข่าวว่าเธอต้องทำงานพร้อมกับกลัวลูกกระสุนจากเสื้อแดงทุกๆ วัน ราวกับว่าเคยมีการยิงใส่โรงพยาบาลแม้เพียงสักนัด  (ในที่สุด ก็มีจนได้ ที่บริเวณที่จอดรถของโรงพยาบาลเมื่อกลุ่มนปช.เผชิญหน้าเข้ากับทหารสองสามนาย และถูกทหารเหล่านั้นยิงเข้าใส่ กลุ่ม นปช.หนีไปได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ) [1]

รพ.จุฬาฯ ที่ตั้งอยู่ขอบด้านหนึ่งของบริเวณสถานที่ชุมนุม ตกอยู่ในสภาพกดดันมาตลอดทั้งเดือน ในสถานการณ์เช่นนั้น กระทั่งแพทย์ที่สนับสนุนเสื้อแดงก็จำต้องรับฟังคำเตือนของโรงพยาบาลให้เพิ่มความระมัดระวัง แต่คนที่พร้อมจะเชื่อไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อพิสูจน์และไม่ถามว่าทำไมเสื้อแดงจึงมา พวกเขาพร้อมที่จะหวาดกลัว โดยอาจได้รับทราบมาก่อนถึงภาพพจน์ความโหดร้ายของเสื้อแดงที่ถูกกล่าวหาในเหตุการณ์ต่างๆ อย่างกรณียิงระเบิดใส่สถานีรถไฟฟ้าสีลมที่อยู่ใกล้ๆ กันนั้นและกรณีอื่นๆ

คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย สื่อและอื่นๆ พยายามรวบรวมปะติดปะต่อเพื่อหาความจริงของเหตุการณ์ บางคนบอกว่าทางโรงพยาบาลได้เริ่มเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบางส่วนเมื่อสองสามวันก่อนหน้านั้นแล้ว ทางนปช.อ้างว่าพวกเขายังไม่ทันไปถึงโรงพยาบาลเลยด้วยซ้ำ ทางโน้นก็วุ่นวายกันแล้ว รายงานข่าวภายหลังเหตุการณ์ก็ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวชวนอกสั่นขวัญแขวน (จากสื่อต่อต้านเสื้อแดง) โดยมีรายงานคัดง้างอีกด้านหนึ่ง (จากสื่อที่ไม่ได้ต่อต้านเสื้อแดง)  อีเมล์ปลิวกันให้ว่อนพร้อมข้อโต้แย้งไปในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าข้อโต้แย้งกันไปมานั้นจะเป็นเช่นไร แต่เป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าคนที่อยู่ในโรงพยาบาลนั้นหวาดกลัวกันจริงๆ ความหวาดกลัวของพวกเขาที่มีต่อเสื้อแดงเป็นความกลัวที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าพวกเขาจะได้เคยประสบความเลวร้ายของเสื้อแดงมาจริงหรือไม่ก็ตาม พวกเขาต่างรับรู้ถึงความเลวร้ายของเสื้อแดงจากสื่ออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ในขณะเดียวกัน นปช.ก็อาจจะพูดความจริงด้วยเช่นกัน ที่ว่าพวกเขาไม่ได้ยกพวกบุกเข้าไปในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ไปเพียงกลุ่มเล็กๆ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกำลังทหารอยู่ในโรงพยาบาล พวกเขาไม่ได้พกอาวุธ และมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอยู่ด้วยเกือบตลอด ฯลฯ บางคนพูดถึงขนาดว่าทางโรงพยาบาลมีปฏิกิริยาเกินเหตุ (over-react) หรือช่วยสร้างเรื่องให้ดูเลวร้ายเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง สื่อและคนกรุงเทพฯ ก่นประณามคนเสื้อแดงที่กระทำการบุ่มบ่าม กระทั่งการค้นโรงพยาบาลด้วยคนกลุ่มเล็กๆ และไม่มีอาวุธก็ไม่สมควรทำ (ผมเห็นด้วยในข้อนี้) ความโกรธไหลบ่าผ่านสื่อและเฟซบุค พวกเขาไม่เพียงแต่ประณามเสื้อแดง แต่ยังเรียกร้องให้มีการจัดการกับภัยเสื้อแดงอย่างเด็ดขาดด้วย

หากเราตัดทัศนะสุดโต่งออกไป (อย่างการกล่าวหาว่าโรงพยาบาลจงใจสร้างเรื่องความวุ่นวาย หรือเสื้อแดงติดอาวุธบุกโรงพยาบาล) เรื่องราวจากสองฝั่งที่ไม่ตรงกันนั้นอาจถูกทั้งสองฝ่ายก็ได้ นั่นคือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหวาดกลัวอย่างยิ่ง พวกเขากลัวคนเสื้อแดงและต้องทำงานด้วยความกลัวว่ากระสุนจะปลิวเข้ามาในโรงพยาบาล ฯลฯ ไม่ว่าจะลือหรือจริง หรือขยายเกินจริง พวกเขามีปฏิกิริยาด้วยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างลนลาน แม้ว่า นปช.จะไม่ได้บุกโรงพยาบาลพร้อมอาวุธหรือพวกจำนวนมาก แต่ความกลัวของพวกเขาเป็นเรื่องจริง กระนั้นก็ตามต่อให้สามารถรวบรวมปะติดปะต่อข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ เราก็อาจไม่สามารถเข้าถึงแก่นของเหตุการณ์ได้ เพราะรากของความกลัวนั้นไม่ได้อยู่ในข้อเท็จจริงเหล่านั้น

หมายเหตุข้อเท็จจริงที่สำคัญมาก คือ ผู้ป่วยรายสำคัญที่สุดในโรงพยาบาลจุฬาฯ ขณะนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประทับมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะได้รับการเคลื่อนย้าย วันถัดจากที่เกิดเหตุการณ์ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จยังโรงพยาบาลเพื่อทูลขอให้พระองค์ทรงยอมย้ายไปยังที่ที่ปลอดภัยกว่า คือ โรงพยาบาลศิริราชที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่

 

ไพร่บุก

การบรรยายเหตุการณ์ให้เป็นโรงพยาบาลในสนามรบนั้นไม่ค่อยถูกต้องนัก ที่ใกล้เคียงกว่าคือนี่เป็นการบุกโดยทัพที่โหดเหี้ยม ทำนองผู้รุกรานที่เหี้ยมโหดกับเหยื่อที่อ่อนแอ ถึงกระนั้นการนำสงครามมาใช้เปรียบเทียบเหตุการณ์นี้ก็ยังผิดประเด็นอยู่ดี

แพทย์รพ.จุฬาฯ รายหนึ่งเขียนในเฟซบุคของเขาว่าคนเสื้อแดงเดินเข้าออกใช้ห้องน้ำในโรงพยาบาลราวกับว่าเป็นบ้านของตัวเอง และในวันที่ “บุก” เข้ามานั้น เขารู้สึกกลัวแม้แค่เห็นหน้าตาหรือท่าทางของคนเหล่านั้น นักข่าวรายหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า สื่อนำเสนอเหตุการณ์นี้จนคนเสื้อแดงดูเหมือนเป็นผู้ร้ายในหนังไทยเกรดบี ที่มักเป็นผู้ชายหยาบกร้าน ลูกทุ่ง น่าเกลียดและสกปรก ที่ยิงปืนโป้งป้างโดยไม่มีเหตุผล เพียงเพราะว่าพวกเขาเป็นผู้ร้าย

แม้สื่อมวลชนจะระมัดระวังไม่เสนอภาพเสื้อแดงเป็นคนบ้านนอกชั้นต่ำ แต่ก็ยังหลุดออกมาให้เห็นตามคอลัมน์และรายการโทรทัศน์ การนำเสนอภาพดังกล่าวเป็นไปอย่างแพร่หลายในเฟซบุค ซึ่งในกรณีของเมืองไทยเป็นชุมชนไซเบอร์ที่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มคนบางเจเนอเรชันและบางพื้นเพทางสังคมเท่านั้น  แม้ว่าเราจะไม่สามารถพูดถึงคนเหล่านี้แบบเหมารวมอย่างง่ายๆ ได้ แต่ก็พูดได้ว่าชุมชนเฟซบุคไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นยัปปี้ (ที่มาในทางประวัติศาสตร์อาจจะต่างจากยัปปี้ในประเทศอื่น) และพวก “สน็อบ” (snobs) [2] (ที่คล้ายกับพวกสน็อบอื่นๆ ทั่วโลก)  พวกเขาพูดถึงคนเสื้อแดงอย่างเปิดเผยว่า เป็นพวกสกปรก น่าเกลียด ถ่อย ต่ำ ด้อย บ้านนอก สน็อบชาวกรุงตามแบบฉบับรายหนึ่งเขียนในเฟซบุคของเธอว่า เธอรู้สึกกลัวจนอกสั่นขวัญแขวนทุกครั้งที่เธอนึกถึงพวกเสื้อแดงจากหน้าตาท่าทางของพวกเขา ที่ตัวดำ สกปรก หยาบกร้าน หน้าตาน่ากลัว

ในการชุมนุมต่อต้านเสื้อแดงคราวหนึ่ง มีป้ายเขียนว่า “พวกบ้านนอกออกไป” ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 หรืออาจจะนานกว่านั้น คำว่าบ้านนอกถูกใช้ในความหมายว่า ล้าหลัง ไร้การศึกษา เซ่อๆ ซ่าๆ ไม่ศิวิไลซ์ ทว่าบ้านนอกก็ยังหมายถึงความซื่อใส บริสุทธิ์ ใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งตรงข้ามกับความทันสมัย  ดังนั้น การ “หวนคืน” สู่ธรรมชาติตามอุทยานต่างๆ หรือชนบทจึงเป็นกิจกรรมพักผ่อนวันหยุดที่น่ารื่นรมย์สำหรับคนเมือง ในแง่ลำดับชั้นทางสังคม คนบ้านนอก จึงเป็นพวกที่ต่างออกไป อยู่ห่างไกล และแยกจากคนเมือง

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นชื่อฉาวโฉ่ว่ามักเรียกผู้สนับสนุนทักษิณว่า โง่และไร้การศึกษา จึงไม่สมควรออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นจำเป็นต้องมี “การเมืองใหม่” ที่ให้อภิสิทธิ์แก่คนมีการศึกษาและคุณธรรม พันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นต้นคิดทัศนะเหยียดหยามชาวบ้านเหล่านี้ แต่ทัศนะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ที่แบ่งลำดับชั้นต่ำสูงทางสังคมอันเป็นปกติวิสัยในวัฒนธรรมไทย

ที่ตลกร้ายก็คือคนเสื้อแดงขานรับสถานะความเป็นไพร่อย่างหน้าชื่นตาบาน โดยกลับตาลปัตรนัยยะเชิงดูถูกเหยียดหยามนี้เสียใหม่ 

 

ไพร่ อำมาตย์ สงครามชนชั้นของคนบ้านนอก

วาทกรรมไพร่สู้กับอำมาตย์ของนปช.แสดง (อย่างไม่ถูกเสียทีเดียวนัก) ถึงโครงสร้างลำดับชนชั้นในบริบทไทย นักข่าวไทยและเทศจำนวนมากแปลคำว่า “ไพร่” เป็น serf ในภาษาอังกฤษ นักวิชาการที่เชียร์รัฐบาลโต้ได้ถูกต้องว่าสมัยนี้ไม่มีระบบศักดินาแล้ว แต่ “ไพร่” ในวาทกรรมเสื้อแดงไม่ได้หมายถึงไพร่แบบในประวัติศาสตร์ ไพร่กับคู่ตรงข้ามคือ อำมาตย์ ในวาทกรรมของนปช.นั้นมุ่งเป้าไปที่การกดขี่และความอยุติธรรมเนื่องมาจากชนชั้นทางสังคมในวัฒนธรรมการเมืองไทย การต่อสู้ของเสื้อแดงเป็นสงครามชนชั้นในแง่ของการลุกขึ้นสู้ของคนบ้านนอกที่ถูกกดขี่ต่อชนชั้นอภิสิทธิ์ทางสังคมและการเมืองคือ อำมาตย์

ปัญญาชนต่อต้านเสื้อแดงปฏิเสธหัวชนฝาว่านี่ไม่ใช่ความขัดแย้งทางชนชั้น พวกเขาเชื่อและพูดย้ำแล้วย้ำอีกว่าเสื้อแดงเป็นแค่ลิ่วล้อทักษิณกับชาวบ้านที่ถูกหลอกมา พวกเขาและบรรดาสน็อบเฟซบุคไม่เคยเหนียมที่จะยืนยันทัศนะของตนต่อเสื้อแดงว่าเป็นพวกบ้านนอกที่โง่เง่าต่ำทราม แม้ว่าเสื้อแดงจะไม่ได้มีเฉพาะแต่ชาวบ้านชนบทอีกต่อไปแล้ว ยังรวมถึงคนจนเมืองจำนวนมากและชนชั้นกลางมีการศึกษาในกรุงเทพฯ ที่สนับสนุนประชาธิปไตย แต่ฐานมวลชนและที่มั่นก็ยังอยู่ที่ต่างจังหวัด การเหยียดหยามของบรรดาผู้ดีเหล่านี้ยืนยันถึงภาพพจน์เช่นนี้

ผมได้นำเสนอไว้ในบทความหลายชิ้นว่าในเมืองไทยการจัดแบ่งคนกระทำผ่านมิติเชิงสถานที่ เช่น กรุง บ้านนอก ป่า โดยแต่ละอันหมายถึงระดับความศิวิไลซ์ที่แตกต่างกัน นี่ไม่ได้เป็นการปฏิเสธการจำแนกชนชั้นและชาติพันธุ์แบบอื่นๆ แต่ชนชั้นทางเศรษฐกิจและการจำแนกทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยได้ถูกปะปนกับการจำแนกเชิงสถานที่ เพราะมิติเหล่านี้พัฒนาการมาด้วยกัน “ชนชั้น” และ “เชื้อชาติ” ในวาทกรรมวัฒนธรรมและการเมืองไทยถูกนำเสนอและใช้ปะปนกันไปกับ “สถานที่” แม้ว่าทั้งสองจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันและไม่สามารถใช้แทนกันได้ แต่ก็มีนัยเชิงสถานที่ ลำดับชั้นต่ำสูงเชิงสถานที่ของคนในทางกลับกันบ่งบอกถึงไม่เพียงแต่ภูมิลำเนาทางภูมิศาสตร์เท่านั้น ยังบ่งบอกถึงชนชั้น ลำดับชั้นทางสังคมและบางครั้งเชื้อชาติอีกด้วย

 

เชื้อโรค

นับแต่ความขัดแย้งคุกรุ่นขึ้นมาในปี 2548 การต่อต้านทักษิณพุ่งเป้าไปที่ข้อกล่าวหาว่าเขาเป็นนักการเมืองที่ฉ้อฉลมากที่สุดที่เคยมีมาในเมืองไทย ฉ้อฉลในที่นี้มีหลายความหมาย ทั้งการฉ้อฉลอำนาจและทรัพยากรสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว การเมืองที่สกปรก อย่างที่แย่ที่สุดคือ การซื้อเสียง แต่นอกเหนือจากการเมืองสกปรกและการกอบโกยผลประโยชน์แล้ว ภัยร้ายแรงยิ่งกว่าของนักการเมืองฉ้อฉลอย่างทักษิณก็คือการเสื่อมทรามทางจริยธรรมอันเป็นผลจากทุนสามานย์ และการคุกคามสถาบันสูงสุดของประเทศที่ดำรงไว้ด้วยคุณธรรมสูงสุด นั่นคือ สถาบันกษัตริย์

ประชาธิปไตยไทยไม่เคยเป็นเพียงระบบการเมืองที่กลุ่มผลประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่ขัดแย้งกันได้ต่อสู้และประนีประนอมกันเลย สืบเนื่องจากอิทธิพลของจักรวาลทัศน์แบบพุทธ ระบบการเมืองที่ดี (รวมถึงที่เรียกว่าประชาธิปไตยด้วย) จึงจะต้องเป็นการเมืองที่มีจริยธรรม อำนาจเชิงการเมืองและอำนาจเชิงจริยธรรมแยกกันไม่ออก ต่างส่งเสริมกันและกัน โดยคติเรื่อง “จริยธรรม” นั้นแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ประชาธิปไตยไทยจึงเป็นอวตารของธรรมาธิปไตยโดยผู้ทรงอำนาจทางจริยธรรมในฉบับสมัยใหม่

ทักษิณเป็นภัยคุกคามร้ายแรงสุดยอดต่อการเมืองเชิงจริยธรรมของไทยเพราะเขาเป็นตัวแทนของสุดยอดความโสมมหลายๆ แบบ เขาเป็นเชื้อโรคร้ายต่อองค์จริยธรรมไทย เช่นเดียวกับคอมมิวนิสต์ในยุคก่อนหน้า แม้ว่าเขาจะไม่มีอะไรเหมือนคอมมิวนิสต์เลยก็ตาม พวกเสื้อแดงคือพวกที่ติดเชื้อโรคทักษิณมา

คอมมิวนิสต์ในอดีตเป็นเชื้อโรคแปลกปลอมที่แพร่ระบาดในหมู่เยาวชนที่บริสุทธิ์และทำให้พวกเขากลายเป็นไม่ใช่คนไทย คนเสื้อแดงไม่สามารถถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นไทยได้ง่ายๆ แม้ว่าบางส่วนของเสื้อแดงจะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ แต่ก็ไม่ง่ายที่จะป้ายสีพวกเขาว่าไม่เป็นไทยหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไทย ฐานมวลชนเสื้อแดงคือประชาชนที่ยังคงนับถือศาสนา ชาตินิยมและจงรักภักดีอย่างเหนียวแน่น แม้จะรู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอยู่บ้างก็ตามตัวแกนนำนปช.สะท้อนให้เห็นการเมืองของมวลชนของพวกเขาเอง พวกเขาไม่เคยแสดงวี่แววว่าต่อต้านสถาบันฯ แม้แต่น้อย ถ้าจะมีก็เป็นการแสดงความจงรักภักดีเสียมากกว่า ความเห็นที่แรงที่สุดคือการแสดงความผิดหวัง และพวกเขาก็วิงวอนขอพระมหากรุณาธิคุณ

แต่สำหรับคนเกลียดทักษิณแล้ว พวกบ้านนอกเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะเชื้อทักษิณชั้นดี เนื่องจากขาดการศึกษาและภูมิคุ้มกันทางจริยธรรม พวกบ้านนอกถูกล่อลวงด้วยผลประโยชน์ฉาบฉวยเฉพาะหน้า ด้วยความละโมบและวัตถุนิยม พวกเขากลายเป็นเชื้อโรคที่กำลังรุกล้ำร่างกายทางการเมืองเชิงศีลธรรมที่มีชนชั้นนำในเมืองเป็นตัวแทนมาตลอดประวัติศาสตร์ไทย

นปช.มีหลายองค์ประกอบที่สะท้อนลักษณะชาวบ้านชนิดที่อาจกวนใจชนชั้นสูงในกรุงเทพฯและบรรดาสน็อบเหล่านั้นเป็นอย่างมาก การชุมนุมประท้วงครั้งนี้ต่างจากที่เคยเป็นมาในอดีตที่คนหาเช้ากินค่ำส่วนใหญ่เฉยเมย คนเสื้อแดงได้รับการต้อนรับจากชนชั้นล่างและชนชั้นกลางระดับล่าง อย่าง พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย พนักงานห้างร้าน รปภ. คนขับแท็กซี่ รถเมล์ และคนทำงานบริการทางเพศ ลีลาของผู้นำนปช.ก็เป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในการเคลื่อนไหวที่นำโดยปัญญาชน พวกเขาเป็น “นักเลง” ลูกผู้ชายลูกทุ่ง พวกเขาตลกเฮฮา แต่ห้าวหาญ ติดกรุ้มกริ่มแต่ก็ไม่ละลาบละล้วง โหดและหยาบต่อศัตรู พวกเขาไม่พูดศัพท์แสงการเมืองนามธรรม ยกเว้นคำว่าไพร่และอำมาตย์ ไม่ค่อยคำนึงถึงความถูกต้องทางการเมืองเวลาโจมตีฝ่ายตรงข้ามเรื่องโฮโมเซ็กชวลหรือเชื้อชาติ การปราศรัยของพวกเขาไม่ลึกซึ้ง เนื้อหาไม่เคยพัฒนาเลยตลอดการชุมนุมหนึ่งเดือน แต่พวกเขาก็ดูไม่ยี่หระ พวกเขามักร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงป็อปไร้รสนิยมบ่อยกว่าเพลงเพื่อชีวิตของฝ่ายซ้ายเก่า มวลชนเสื้อแดงดูหยาบกร้าน ค่อนข้างหยาบคาย และ...บ้านนอกอย่างไม่ต้องสงสัย

พฤติกรรมของผู้นำและมวลชนเสื้อแดงที่อาจระคายเคืองชนชั้นสูงในเมืองมากที่สุดคือ พวกเขามีแนวโน้มที่จะรุนแรงและตอบโต้อย่างรุนแรง แม้พวกเขาจะประกาศยึดมั่นสันติวิธีและการชุมนุมอย่างสงบ พวกเขาก็เลยเส้นในทางคำพูดแทบทุกวัน การกระทำของพวกเขายั่วยุปฏิกิริยาที่รุนแรง พวกเขาลั่นปากทุกวันว่าเมื่อตีมาจะตีกลับทุกครั้ง สันติวิธีของพวกเขาหมายความเพียงการไม่ติดอาวุธและไม่เริ่มโจมตีก่อน ซึ่งห่างไกลโขจากสันติวิธีแบบคานธี แต่อาจจะเป็นสันติวิธีแบบ “นักเลง” เหตุการณ์ที่รพ.จุฬาฯ เป็นปฏิกิริยาโดยธรรมชาติของพวกเขาต่อข้อมูลข่าวสารที่ว่าโรงพยาบาลอนุญาตให้ทหารเข้าไปหลบซ่อนตัวอาจจะเพื่อจัดการกับผู้นำนปช. โดยไม่ยั้งคิดถึงผลทางการเมืองที่จะตามมา ผู้นำบางส่วนก็นำกลุ่ม “นักเลง” ตรงไปยังโรงพยาบาลเพื่อหาความจริง พวกเขาควรจะตระหนักว่า “นักเลง” นั้นไม่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับชนชั้นนำในเมือง ที่มักมองนักเลงไม่ต่างจากกุ๊ยอันธพาล

อันธพาลเสื้อแดงกำลังท้าทายอำนาจของชนชั้นนำในเมือง เสื้อแดงยึดกรุง!

 

เหตุการณ์ที่ไม่ได้รับการรายงาน: เชื้อโรคแดง

ในเดือนตุลาคม 2551 หลังจากพันธมิตรฯ ปะทะกับตำรวจ กลุ่มแพทย์นำโดยแพทย์บางคนที่จุฬาฯ ขู่ว่าจะไม่รับรักษาตำรวจ เนื่องจากตำรวจเป็นเครื่องมือของทักษิณในการปราบปรามพันธมิตรฯ แม้ว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากสังคม ไม่ปรากฏว่ามีคำวิจารณ์หรือคำตำหนิจากองค์กรแพทย์ใดๆ ไม่มีการรายงานว่าพวกเขากระทำตามที่ขู่จริงหรือไม่ แต่ก็มีข่าวว่าแพทย์ที่อื่นปฏิเสธการรักษาเสื้อแดง กรณีนี้สร้างความอื้อฉาวแก่แพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ว่า “เหลือง” จัด กิตติศัพท์ดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ที่เอาการเอางานที่สุดคนหนึ่ง และในช่วงนี้ก็กลายเป็นผู้นำการชุมนุมของเสื้อชมพู สนับสนุนรัฐบาล ต่อต้านเสื้อแดง เป็นแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ แพทย์คนอื่นๆ และผู้บริหารรพ.จะเป็นอย่างไรก็ตาม รพ.จุฬาฯ ก็ปรากฏอยู่แนวหน้าของความขัดแย้ง ทั้งทางกายภาพ เชิงสถานที่ เชิงการเมืองและเชิงอุปมา

คำบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่รพ.จุฬาฯ ตามสื่อและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และคำบอกเล่าในเฟซบุคของเหล่ายัปปี้และสน็อบดูยังกับเป็นหนังสยองขวัญหรือมนุษย์ต่างดาวบุกโลก นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ นปช.ผิดพลาดนั้นแก้ตัวไม่ขึ้น แต่วิธีการมอง การรายงาน และการเข้าใจการกระทำของคนเสื้อแดง ดังที่แสดงให้เห็นจากสื่อ กลุ่มเฟซบุค และผู้บริโภคสื่อเหล่านี้ ล้วนถูกกำกับโดยการจัดจำแนกลำดับชั้นของคนในสังคมผ่านสถานที่ ซึ่งเป็นประเด็นหัวใจของความขัดแย้งในปัจจุบัน

สื่อ นักวิชาการ กลุ่มประชาสังคมและกลุ่มเฟซบุคพร้อมใจกันประณามการบุกของเสื้อแดงอย่างรุนแรง เสียงดังกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้เลยกับท่าทีหน่อมแน้ม (หรือจริงๆ เงียบเฉย) ที่มีต่อการที่รัฐบาลใช้กำลังและกระสุนจริงที่ทำให้คนเสียชีวิต 25 รายในวันที่ 10 เม.ย. ร่างกายของการเมืองเชิงจริยธรรมที่สะอาดปลอดเชื้อที่มีโรงพยาบาลเป็นตัวแทนดูจะมีคุณค่าสูงส่งกว่าความตายของคนเสื้อแดง  ซึ่งตอกย้ำสาสน์ก่อนหน้านั้นว่าความตายของนายทหารที่สั่งการการปราบปรามอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เม.ย.นั้นมีคุณค่าสูงส่งกว่าเสื้อแดงที่เป็นเหยื่อในการปะทะคราวเดียวกัน อันทำให้ข้อกล่าวหาเรื่องสื่อและชนชั้นนำในเมืองเป็นพวก “สองมาตรฐาน” ยิ่งดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ที่จริงแล้วมันเป็นมาตรฐานชุดเดียวกัน กล่าวคือกฎหมาย เหตุผล สิทธิ บำเหน็จรางวัลและโทษทัณฑ์ ตลอดจนระบบคุณค่าอื่นๆ นั้นใช้กับคนตามฐานะชนชั้นของแต่ละคน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบ “สองมาตรฐาน” ที่เป็นอยู่นี้คือรูปแบบหนึ่งของระบบแบ่งแยกคนในสังคม

การชุมนุมของเสื้อแดงที่ราชประสงค์ไม่เพียงแต่เป็นการยึดครองพื้นที่ที่หรูหราฉูดฉาดมากที่สุดของกรุงเทพฯ ยังเป็นการบุกจู่โจมเข้ายึดครองเมืองเทวดา (กรุงเทพฯ) โดยเชื้อโรคจากบ้านนอกที่สกปรกหยาบกร้าน คำว่า “เสื้อแดงบุก” จึงมีนัยยะของความน่าสะพรึงกลัวกว่าความหมายตามตัวอักษรมากนัก นั่นคือ โรงพยาบาลจุฬาฯ อยู่แนวหน้าเผชิญกับเชื้อโรคและโรคร้าย  และถูกโรคร้ายบุกจู่โจม

การปราบปรามที่กำลังจะเกิดอาจถูกมองว่า (และกล่าวกันว่า) เป็นการฆ่าเชื้อโรค หยุดการติดเชื้อที่เกิดจากการบุกของพวกบ้านนอกเข้ามาในพื้นที่การเมือง เพื่อที่จะฟื้นฟูสุขภาพขององค์การเมืองเชิงจริยธรรมของไทย

 

หมายเหตุจากผู้แปล

[1] ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายบุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์มีการแถลงเมื่อ 3 พ.ค. ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นตีกชาญอิสระ ตรงข้าม รพ.จุฬาลงกรณ์

[2] snob หมายถึง คนชอบอวดตัวว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ทั้งในแง่การศึกษา รสนิยม สาแหรก ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม อาจรวมคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้ เดิ้น ดัดจริต กระแดะ กรีดกราย อวดภูมิ ยกตัว ที่สำคัญคือ ชอบดูถูกคนอื่นว่าต่ำต้อยกว่า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ลูกเสือชาวบ้านร้องเรียนมี ส.ส. ไม่ยืนระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลง

Posted: 05 May 2010 08:35 PM PDT

มติชนออนไลน์ และ ผู้จัดการออนไลน์ รายงานลูกเสือชาวบ้าน จ.ชลบุรี ร้องเรียนว่านายธนโรจน์ โรจนกุลเศรษฐ์ ส.ส.ชลบุรี ไม่ยืนระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลง เจ้าตัวรับไม่ได้ยืน แต่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ตลอดเวลา

<!--break-->

 

ที่มาของภาพ: ผู้จัดการออนไลน์

 

มีรายงานทั้งใน มติชนออนไลน์ และ ผู้จัดการออนไลน์ ว่า เมื่อวานนี้ (5 พ.ค.) คณะวิทยากรฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านและลูกเสือชาวบ้านรุ่น 357 จ.ชลบุรี ร้องเรียนว่า นายธนโรจน์ โรจนกุลเศรษฐ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยืนระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลง

โดยในการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านดังกล่าวซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีบรรพต อยู่ในพิธี นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มาเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรม มีนายชายชาญ เอี่ยมเจริญ นายอำเภอสัตหีบ กล่าวรายงาน นายภิญโญ สายนภา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี พื้นที่อำเภอสัตหีบ

โดยนายภิญโญ สายนภา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ว่า ขณะที่ ส.ส.ธนโรจน์ มาร่วมในพิธีรับผ้าผูกคอพระราชทานลูกเสือชาวบ้าน บนศาลาการเปรียญวัดสามัคคีบรรพต ไม่ได้ยืนร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ส.ส.ธนโรจน์ เห็นว่าตัวเองไม่มีผ้าผูกคอ ไม่ได้เป็นลูกเสือชาวบ้าน ก็เลยไม่ลุกขึ้นยืน

ด้าน นายธนโรจน์ กล่าวว่า ยอมรับว่าไม่ได้ยืนจริง เพราะเห็นว่าพิธีนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองที่เพียงเข้ามาร่วมงาน และสังเกตการณ์ในการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านที่ค่อนข้างพบปัญหา ก็คือ มีคนเข้าร่วมฝึกอบรมน้อยมาก และได้เชิญ นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน ซึ่งส่วนมากที่มาร่วมงานเป็นอดีตลูกเสือชาวบ้าน ผู้บริหารชมรมลูกเสือชาวบ้าน ทุกคนผ่านการเป็นลูกเสือ มีเพียงตัวเองคนเดียวที่ไม่เคยเป็นลูกเสือชาวบ้าน จึงไม่ได้ยืนตรงขณะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งขอยืนยันว่า ยังมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อยู่ตลอดเวลา

“สาเหตุที่เดินทางมาร่วมงาน เพราะมีคนโทร.ไปแจ้งว่า มีประชาชนเข้ามาฝึกลูกเสือชาวบ้านน้อย จึงได้เดินทางมาสังเกตการณ์ และเข้าไปร่วมงานด้วย ปัญหาที่พบก็คือ มีประชาชนเข้ามาฝึกอบรมน้อย เพื่อจะนำเรื่องนี้เข้าเสนอในสภาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาให้โรงงานอุตสาหกรรม อนุญาตให้คนงานออกมาฝึกอบรมลูกเสือ โดยไม่คิดเป็นวันหยุดแต่อย่างใด แต่ เมื่อเข้ามาร่วมพิธีลูกเสือ ทุกครั้งที่มีวิทยากรสั่งยืนตรง สั่งทำความเคารพ และร้องเพลงก็มีแต่คำว่าลูกเสือ ในฐานะที่ตัวเองไม่ได้เป็นลูกเสือ เป็นเพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาร่วมพิธีจึงคิดว่าพิธีนี้ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับตัวเอง ยอมรับว่า ไม่ได้ยืนทำความเคารพ แต่มิได้หมายความว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้ต้องหาก่อการร้ายมุ่งล้มสถาบันกับผู้ต้องหาศาลอาญาระหว่างประเทศ

Posted: 05 May 2010 07:33 PM PDT

<!--break-->

การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มเสื้อแดงและรัฐบาลซึ่งเป็นการต่อสู้ครั้งใหญ่ที่สุดนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมายังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในลักษณะใด แต่ที่แน่ๆก็คือฝ่ายที่ พ่ายแพ้ย่อมมีคดีติดตัวกันระนาว หากฝ่ายเสื้อแดงพ่ายแพ้แน่นอนว่าข้อหาที่พวกเขาจะได้รับย่อมไม่พ้นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้ายและการมุ่งล้มสถาบันตามที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ตั้งข้อหาไว้ แต่หากรัฐบาลพ่ายแพ้เราคงได้เห็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ที่ผู้นำรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจตกเป็นผู้ต้องหาทั้งศาลอาญาในประเทศและศาลอาญาระหว่างประเทศตามที่แกนนำเสื้อแดงประกาศไว้

คำว่า "การก่อการร้าย" หรือ Terrorism นี้ มีการพยายามอธิบายกันอย่างมากมาย อาทิ การใช้ภัยสยอง มาส่งเสริมเป้าหมายทางการเมือง หรือการจงใจใช้หรือคุกคามว่าจะใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนหรือเป้าหมายพลเรือน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมือง

การก่อการร้ายของแต่ละประเทศเป็นคำที่มีการโต้เถียงกันกว้างขวางและมีนิยามหลากหลาย โดยไม่มีความหมายใดที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์ แต่คำนี้โดยทั่วไปแล้วมักใช้เพื่อเรียกการโจมตีขององค์กรลับ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อบังคับรัฐบาลด้วยการกระทำที่ใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลหรือสมาชิกหรือรัฐนั้น

คำนี้ยังเป็นคำที่ใช้ในทางลบเสมอและมีความหมายที่ขยายกว้างขึ้นตั้งแต่มีการประกาศสงครามกับ        การก่อการร้ายจนครอบคลุมไปถึงทุกๆ กิจกรรมที่ใช้ความรุนแรง และเป็นคำที่ใช้เฉพาะเพื่อเรียกฝ่าย    ตรงข้ามเท่านั้น ไม่มีกลุ่มใดเรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เลย

ถึงแม้ว่านิยามของคำว่า การก่อการร้ายจะกว้างมาก แต่มักจะประกอบไปด้วยเงื่อนไขที่มีแรงจูงใจเกี่ยวกับการเมืองและศาสนา เป้าหมาย คือ พลเมือง จุดประสงค์เพื่อข่มขู่ การข่มขู่มุ่งเป้าไปที่รัฐบาลหรือสังคม ผู้กระทำนั้นไม่ใช่รัฐ และการกระทำนั้นผิดกฎหมาย 

ในส่วนของกฎหมายไทยนั้น กำหนดให้ลักษณะความผิดที่กำหนดว่าเป็นการก่อการร้าย ดังนี้

มาตรา 135/1 ผู้ใด กระทำการอันเป็นความผิดอาญา ดังต่อไปนี้

(1) ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพ ของบุคคลใดๆ

(2) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ

(3) กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใดหรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ

ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือ องค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใด อันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือเพื่อสร้างความปั่นป่วน โดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ผู้นั้น กระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท

การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้งหรือเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือหรือให้ได้รับความเป็นธรรม อันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย 

ซึ่งข้อหาการก่อการร้ายนั้นยังไม่เคยมีการดำเนินคดีในศาลไทยแต่อย่างใด ฉะนั้น ในส่วนของการกระทำของเสื้อแดงว่าจะเป็นการก่อการร้ายหรือไม่นั้น ก็ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยซึ่งก็รวมไปถึงข้อหาการมุ่งล้มสถาบันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย 

ในทางกลับกันหากรัฐบาลตกเป็นฝ่ายที่พ่ายแพ้ นอกจากจะตกเป็นผู้ต้องหาในศาลยุติธรรมในประเทศ ( national court ) ดังเช่นอดีตประธานาธิบดีชุนดูวานของเกาหลีที่ต้องติดคุกตลอดชีวิตฐานสั่งฆ่าประชาชนของตนเองแล้ว ยังมีโอกาสถูกดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย

ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( International Criminal Court :- ICC) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า "Rome Statute" ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์และคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คดีอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรม ที่เป็นการรุกราน 

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) แตกต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice-ICJ) ก็คือ  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( ICJ ) มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐ แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ICC ) มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคล 

ดังนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศ จึงเป็นเวทีสำหรับรับเยียวยา การร้องขอความเป็นธรรมในคดีที่บุคคลกระทำความผิด ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจรัฐอยู่ หรือว่าการกระทำนั้นจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลที่ต่อสู้ ต่อต้าน หรือเป็นขบถ หรือ   มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หรือระบอบการปกครองที่ครองอำนาจรัฐอยู่

ศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ แตกต่างจากศาลอาญาระหว่างประเทศชั่วคราว ( ad hoc tribunal ) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีอาชญากรรมที่กระทำขึ้นในรวันดาและยูโกสลาเวียเป็นการชั่วคราว โดยศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร เพื่อที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ โดยสามารถปฏิบัติงานได้ทันที และสามารถดำเนินการพิจารณาคดีได้เป็นประจำและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะกระทำความผิดที่ใดก็ตาม 

ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจศาลข้ามประเทศ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการพยายามที่จะดำเนินคดีทางอาญากับบรรดาเผด็จการต่างๆ และอาชญากรอื่นๆ ที่อาจจะหลบหนีคดีอาญาจากประเทศหนึ่งประเทศใดที่บุคคลเหล่านี้เคยกระทำความผิดที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการรุกรานทำลายล้างด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ

อีกไม่นานเกินรอเราคงได้เห็นตอนจบ แต่จะจบลงอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยต่างๆ ทางการเมืองที่ประกอบกันขึ้น แต่ที่แน่ๆ นอกจากการเมืองไทยที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปที่จะมี   ผู้เล่นเฉพาะนักการเมืองในสภาและกองทัพหรือกลุ่มผลประโยชน์เดิมๆ แต่จะมีผู้เล่นกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกซึ่งคือกลุ่มการเมืองภาคประชาชนไม่ว่าจะเป็นสีใดก็ตาม ในด้านกฎหมายก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเพราะจะมีข้อหาใหม่ คือ ผู้ต้องหาก่อการร้ายมุ่งล้มสถาบันหรือไม่ก็มีผู้ต้องหาศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้น อยู่ที่ว่าใครจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์หน้านี้

 

--------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 4 พ.ค. 53

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วันเสรีภาพสื่อโลก: สื่อไทยภายใต้ภาวะ 'ฉุกเฉิน' ทางการเมือง

Posted: 05 May 2010 04:12 PM PDT

<!--break-->

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ซึ่งตรงกับวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เครือข่ายพลเมืองเน็ต ร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อจัดการเสวนาเรื่อง “เสรีภาพสื่อในวิกฤติการเมือง: คำสั่งปิดเว็บไซต์ประชาไท” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวรายการข่าวสามมิติ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ และสาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ 

วิทยากรวงเสวนา “เสรีภาพสื่อในวิกฤติการเมือง: คำสั่งปิดเว็บไซต์ประชาไท” (จากซ้ายไปขวา) ได้แก่ วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ รศ. ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เป็นผู้ดำเนินรายการ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท

 

ปิดประชาไทครั้งแรก หลังดำเนินการมา 6 ปี

จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า www.prachatai.com เข้าดูไม่ได้ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยหากเข้าผ่านทีโอทีจะเจอสัญลักษณ์พระอินทร์ของกระทรวงไอซีที แจ้งว่า เว็บไซต์ถูกปิดกั้น ให้ติดต่อกระทรวงไอซีที ขณะที่ถ้าใช้เน็ตทรูจะบอกว่าถูกปิดกั้นโดยกระทรวงไอซีทีเช่นกัน แต่เร็วๆ นี้ถ้าเข้าไป จะเจอหน้าสีเขียวของ ศอฉ.

การสั่งปิดเว็บประชาไทครั้งนี้เป็นการถูกสั่งปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังจากดำเนินการมาหกปี แม้แต่หลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ก็ไม่ถูกปิด ก่อนหน้านี้ อาจมีบางครั้งที่เข้าไม่ได้เมื่อสอบถามกระทรวงไอซีทีก็ได้คำตอบว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค 

สำหรับคำสั่งปิดเว็บไซต์ประชาไทลงวันที่ 7 เม.ย. ลงนามโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอรส.) โดยอ้างอำนาจตามมาตรา 9 ของ พรก. ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศในวันเดียวกัน เพื่อป้องกันข่าวสารที่บิดเบือน โดยให้ปิด 36 ยูอาร์แอล โดยเว็บประชาไทถูกบล็อคในส่วนข่าวและบทความ ซึ่งมีกองบรรณาธิการดูแลชัดเจน อย่างไรก็ตาม การปิดกั้นครั้งนี้ไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการล่วงหน้า ว่าเนื้อหาใดที่เข้าข่ายบิดเบือน หรือก่อให้เกิดความหวาดกลัว 

จากการปิดกั้นนี้ทำให้เข้าเว็บไม่ได้ เพราะประชาไทเลือกวางเซิร์ฟเวอร์ในประเทศ เนื่องจากผู้อ่านจำนวนมากอยู่ในประเทศไทย จึงคิดว่าเป็นเรื่องตลกที่ต้องให้คนในประเทศอ้อมไปต่างประเทศเพื่อเข้าถึงประชาไท อย่างไรก็ตาม เมื่อโดนปิดจึงย้ายข้อมูลไปไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ ซึ่งกินเวลาหนึ่งวันเต็มๆ และได้ย้ายไปที่ www.prachatai.net โดยระหว่างหาช่องทางการสื่อสารได้ใช้แฟนเพจในเฟซบุ๊ค เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสารไปก่อน ทำให้จากเดิมที่มีแฟนเจ็ดร้อยคน จนวันนี้เพิ่มเป็นหกพันคน และเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (29 เม.ย.) หน้าเฟซบุ๊คประชาไทก็ถูกปิดกั้นอีกโดย ศอฉ. 

การปิดกั้นนี้มาโดยคำสั่งที่อาจจะมิชอบ แต่ไม่สามารถฟ้องศาลปกครองได้ เนื่องจากมาตรา 16 ของ พรก.ฉุกเฉิน ตัดอำนาจของศาลปกครองไว้ ประชาไทจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อ 23 เม.ย. โดยขอไต่สวนฉุกเฉินและขอคุ้มครองชั่วคราว โดยได้รับแจ้งว่าศาลรับไต่สวนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน จน 17.30น. องค์คณะผู้พิพากษาก็อ่านคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่า พิเคราะห์แล้วว่านายกฯ ในฐานะ ผอ. ศอฉ. มีอำนาจดำเนินการ แต่ศาลไม่ได้ตอบคำถามที่โต้แย้งไปว่า รัฐบาลใช้ พรก. โดยมิชอบ ทั้งนี้ ประชาไทเตรียมจะอุทธรณ์ต่อไป

 

เนื้อหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคง?

ทั้งนี้ เนื้อหาที่ประชาไทเสนอเป็นการรายงานความเคลื่อนไหวของกิจกรรมการชุมนุม เสียงของชาวบ้าน ในที่ชุมนุมว่ามาทำไม อะไรคือแรงบันดาลใจ บทความ รายงานจากประจักษ์พยานในเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงการตั้งคำถามต่อการดำเนินงานแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้มีอำนาจรัฐอาจจะเยอะไป เลยถูกมองว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

อย่างไรก็ตาม ที่ยังไม่เข้าใจคือ ในที่ต่างๆ ยังมีการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ต้องอยู่ใต้ภาวะฉุกเฉิน ก็ก่อให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยก เกลียดชัง ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ฟอร์เวิร์ดเมลว่า ใคร-สื่อใดบ้างเป็นเสื้อแดงและต้องบอยคอตต์ 

นอกจากนี้ยังมีการนำเอาชื่อ ข้อมูลส่วนบุคคล เบอร์โทร มาประกาศประจาน เพื่อให้คนเข้าไปโจมตี เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อบุคคล ความเป็นส่วนตัว ชีวิตทรัพย์สิน อย่างกว้างขวางในสังคม อาทิ กลุ่ม Social Sanction ในเฟซบุ๊ค ปัจจุบันมีสมาชิกห้าพันกว่าคน ทำหน้าที่สืบค้น มอนิเตอร์ เอาบุคคลมาเสียบประจาน ส่งผลให้มีคนถูกไล่ออกจากงาน มีคนถูกจับ หลายคนถูกขู่ฆ่า นี่คือพฤติกรรมส่งเสริมและสร้างความเกลียดชังในสังคม และดูเหมือนว่า เป็นกลุ่มที่มีการประสานความร่วมมือกับดีเอสไอ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานยุติธรรม ใต้การกำกับของอำนาจบริหาร 

 

ยิ่งปิดสื่อ ยิ่งรุนแรง

หลายที่เลือกเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะเชื่อว่าประเทศจะสงบ แต่ข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ปัจจุบัน ความรุนแรงของเหตุการณ์เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการปิดกั้นสื่อ ยิ่งสถานการณ์ปิดกั้นสื่อที่รุนแรง การที่สื่อสารไม่รอบด้าน มวลชนมีภาวะกระหายข่าวสาร จะเกิดจิตวิทยามุมกลับ อะไรที่ปิดกั้นจะถูกมองว่าเป็นเรื่องจริง นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

สำหรับสถานการณ์สื่อ มองว่า มีสองเรื่องใหญ่ คือ การพยายามล่ามโซ่สื่อใหม่ เพราะมีเข็มแหลม เล็ก แต่ไปจี้จุดบางประเด็นที่ทำให้รัฐบาลรู้สึกไม่มั่นคง

สอง สื่อสารมวลชนโดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก เผชิญกับการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางกาารเมืองในความขัดแย้ง คู่ขัดแย้งพยายามหยิบข่าวสารไปใช้เป็นเครื่องมือ ทำให้เกิดภาวะเซ็นเซอร์ตัวเองบางระดับ และบางทีก็มีสื่อบางอันที่เต็มใจเป็นเครื่องมือในความขัดแย้งอยู่จริง

ทางออก จากสถานการณ์การถูกปิดกั้น มองว่า หนึ่ง ผู้รับสารต้องมีความเท่าทันต่อการรับสื่อ โดยรับจากสองฝั่ง ปัดอคติ น้ำเสียงของผู้นำเสนอ หรือสิ่งที่ชวนหงุดหงิด ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงของรายงานออกไป เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์

สอง เรื่องราวที่เป็นประจักษ์พยานไม่ว่าจากฝ่ายไหน ไม่ว่าสื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือก หรือสื่อพลเมือง เป็นเรื่องสำคัญ และต้องทำให้เกิดการสนทนาของคนหลายฝ่ายให้ได้มากที่สุด แกนนำกับนากยฯ อาจจะไม่คุยกัน แต่ประชาชนคุยกันได้ง่ายกว่าและอาจส่งผลให้อำนาจนำปรับตามประชาชนได้ด้วย 

 

ทำงานยากกว่ายุค 19 กันยา

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวรายการข่าวสามมิติ ไทยทีวีสีช่อง 3  ในฐานะผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ยอมรับว่า ทีวีทุกวันนี้ ข้อมูลต่างๆ อาจไม่สามารถถ่ายทอดออกไปได้ทั้งหมด แม้ฟรีทีวีจะมีอิทธิพลสูงต่อประชาชน แต่ยุคนี้จะเห็นชัดว่าบทบาทของสื่อหลักไม่สามารถผลักดันได้มาก เนื่องจากเกิดสื่อของกลุ่มการเมือง ที่เกิดเพราะไม่มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลักให้เผยแพร่ข้อมูลออกไปสู่สังคม โดยนับแต่การเกิดของกลุ่มพันธมิตรฯ หรือเสื้อแดง เหมือนมีโมเดลสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคมไทย คือกลุ่มการเมือง ต้องมีสื่อของตัวเองในการใช้ข้้อมูล พร็อพพากันดา หรือสร้างมวลชนของตัวเอง จึงไม่แปลกที่เอเอสทีวีจะประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสต้านทักษิณ ไม่แปลกที่กลุ่มเสื้อแดง มีพีทีวี เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ และเมื่อคนเลือกเสพสื่อกลุ่มการเมืองของตัวเอง บางคนอาจปิดกั้นสื่อกระแลหลักไปเลยก็ได้และเลือกรับข้อมูลด้านเดียว 

"โดยส่วนตัว ทำงานมา 10 ปี เริ่มจากสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ตามข่าวสมัชชาคนจนชุมนุมที่ทำเนียบ ข่าวสมัชชาคนจนก็ถูกปิดกั้น ไม่ได้ออกทีวี โดยเกิดจากปัญหาเดิมคือ สื่ออยู่ใต้โครงสร้างอำนาจรัฐและทุน ไม่มีสิทธิเผยแพร่ความจริงได้ทั้งหมด มาปัจจุบัน มีทั้งสื่อกลุ่มการเมือง นักข่าวเองก็ติดทั้งกรอบองค์กรและโครงสร้างอำนาจรัฐ อย่างช่องสาม แม้เป็นเอกชน แต่ก็อยู่ภายใต้ อสมท. และรัฐบาล รวมถึงถูกตีกรอบเรื่องของสัญญา ซึ่งเกินขอบเขตที่ตัวเองจะพูดได้ จึงเป็นเหตุให้ตัวเองใช้ทวิตเตอร์รายงานข้อเท็จจริง เพราะเราอยู่ใต้โครงสร้างของสื่อที่ปัจจุบันถูกกำหนดกรอบในการทำหน้าที่จนอาจพูดได้ว่ายิ่งกว่ายุค 19 ก.ย.2549"

ในยุค 19 ก.ย. 49 มีทหาร มีรถถังมาที่สถานี มีทหารมาเฝ้าทุกวัน ยุคนั้นยากลำบากในการทำงาน แต่ยุคนี้ มีอะไรยากกว่านั้น เพราะในภาวะที่มีคนสองกลุ่มคิดไม่เหมือนกัน ถ้าเราบอกว่านี่คือความจริงจากฝั่งเสื้อแดง กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดงก็จะมองว่าคุณคือเสื้อแดง ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาในที่สาธารณะได้

ตั้งแต่ไอทีวีปิดลง ตนเองเป็นพนักงานคนเดียวที่ไม่ได้รับเลือกให้ทำงานในทีวีสาธารณะ ซึ่งตอนนั้นก็เสียใจที่ไม่ได้รับคัดเลือก แต่ก็เข้าใจเหตุผลว่า ตัวเองเป็นโลโก้ไอทีวี เขาก็ต้องการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ในทีวีช่องใหม่ จึงเลือกทำงานในบริษัท ฉีกกรอบจากการเมืองไปทำแนวสืบสวนสอบสวนอยู่ 2-3 ปีไม่ได้ทำการเมืองเลย จนเมื่อเกิดสถานการณ์ก็เข้าไปทำ ก็กลายเป็นกลับมาทำการเมือง พอมีเรื่อง จึงถูกขุดคุ้ย ว่าเคยร้องไห้ตอนไอทีวีปิด เลยเป็นสื่อเสื้อแดง

สำหรับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 เม.ย. นั้น ตนเองเข้าไปทำข่าวระเบิดที่สีลมตั้งแต่หัวค่ำ ก็ไปเปิดหน้ารายงานสด หลังข่าวสามมิติจบ ช่องสามไม่มีรายการข่าวแล้ว เพราะมีการถ่ายทอดบอล แต่ตอนนั้นยังมีการเผชิญหน้าอยู่ เลยดูสถานการณ์ต่อที่แยกสีลม และรายงานผ่านทวิตเตอร์ซึ่งถือเป็นที่ทางส่วนตัว ซึ่งในช่วงหลังๆ นักข่าวที่ใช้ทวิตเตอร์จะใช้ทวิตเตอร์ส่งข่าวสารมากขึ้น โดยตัวเองก็เป็นหนึ่งในนั้นที่พออยู่ในพื้นที่ก็อยากรายงานมุมต่างๆ ที่คนอื่นไม่เห็นหรือไม่สามารถรายงานในทีวีได้ผ่านทวิตเตอร์ บางครั้งก็ทวีตภาพโถฉี่ของเสื้อแดงก็มี วันนั้นก็เช่นกัน คิดว่าบางเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าไม่สามารถพูดออกทีวีได้ก็รายงานผ่านทวิตเตอร์ไป คิดแค่นั้น

ตอนนั้นมี พรก.ฉุกเฉิน สื่อทีวีก็ทำงานลำบาก มีการเรียกผู้บริหารสื่อไปขอความร่วมมือให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการรายงานข่าวในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งสื่อก็รับทราบและรับได้ในสถานการณ์แบบนี้ แต่บางครั้งก็เกินขอบเขต เพราะสื่อทุกคนก็มีวิจารณญาณว่าจะรายงานอย่างไร แต่ไม่ใช่กำหนดว่าคำไหนห้ามใช้

ทั้งนี้ การรายงานนั้นอยู่บนพื้นฐานว่า ไม่ได้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใด เพียงแต่รายงานข้อเท็จจริง แต่เมื่อออกไปแล้ว ก็มีการตอบรับที่แตกต่างกัน จึงยากมากในการทำข่าวในสถานการณ์แบบนี้ นอกจากนี้ เธอให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบัน ทีวีหลายช่องแทบไม่มีรถโอบีรายงานสดแล้ว เพราะนักข่าวในพื้นที่มีอิสระในการรายงานมาก ไม่สามารถสกรีนอยู่ในกรอบที่เขาเห็นว่าควรจะเป็นได้ ตรงนี้คงอธิบายได้แค่นี้

 

เผย 'ทวีตร้อน' จนถูก  'เว้นวรรค'

กรณีที่เธอทวีตข้อความว่า มีทหารเอาปืนจ่อศีรษะตำรวจในช่วงที่มีการปะทะกันที่ฝั่งสีลมว่า ยอมรับว่าไม่ได้เห็นด้วยตัวเอง แต่เห็นจากภาพถ่ายและตำรวจ 10-20 คนเล่าให้ฟังอย่างละเอียด แต่ตอนนั้นตัวเองไม่มีกล้องทีวีที่จะสัมภาษณ์ได้ และคิดว่าข่าวนี้ออกทีวีไปเป็นเรื่องแน่ และไม่ได้รับอนุญาตจาก บก. แน่ จึงขออนุญาตตำรวจว่าจะรายงานผ่านทวิตเตอร์ เพราะมีมาตรฐานว่าถ้าให้ข่าว ผู้ให้ข่าวต้องกล้ารับผิดชอบ จึงตัดสินใจทวีตไป แต่อาจเพราะความที่ทวิตเตอร์มีเนื้อที่ 140 ตัวอักษร ไม่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ จากนั้นเพียงไม่ถึงชั่วโมง ข้อความถูกนำไปขยายต่อในพันทิป มีความเห็น มีคำถามจำนวนมาก 

จากเหตุการณ์เดียวถูกถ่ายทอดไปกลายเป็นปฐนีย์รายงานว่า ทหารสร้างสถานการณ์ระเบิดที่สีลม ทั้งที่ช่วงตีสองวันนั้น เธอก็ได้ทวีตย้ำว่า นี่เป็นเหตุการณ์หลังห้าทุ่ม ที่มีการปาระเบิดขวด ไม่ใช่ M79 แต่เมื่อข้อความถูกนำไปส่วนเดียว และขยายความต่อ ทำให้กลายเป็นประโยชน์ของฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น เธอใช้ชื่อในทวิตเตอร์ด้วยชื่อเล่นว่า แยมสามมิติ (@yam3miti) แต่เพื่อแสดงความรับผิดชอบ พร้อมรับผิดชอบต่อคำพูดทุกคำที่รายงาน จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อจริง @thapanee3miti ตอนตีสี่ครึ่งวันเดียวกัน โดยชี้แจงแล้วด้วยว่าเปลี่ยนชื่อแล้ว แต่กลายเป็นว่า ถูกวิจารณ์ว่า บิดเบือน ไม่กล้าจนต้องเปลี่ยนเป็นอีกชื่อ

ช่วงนั้นก็หยุดไปสามวัน ถูกเรียกไปสอบถาม มีการขอให้ไม่ไปทำข่าวการเมือง การชุมนุม ไม่ว่ากลุ่มไหนเพื่อเคารพต่อองค์กร และไม่ให้เพื่อนเดือดร้อน และเพื่อความปลอดภัยอย่างที่ผู้ใหญ่ห่วงใย จึงเว้นวรรคไม่ทำข่าว จนวันจันทร์ ศอฉ. ยืนยันว่าเหตุการณ์ที่รายงานเป็นความจริงแต่อาจจะเกิดความเข้าใจผิด ก็สบายใจ ที่ยังเป็นธรรมที่มีพื้นที่ให้รายงานความจริงออกไปบ้าง เพราะตอนนั้นไม่สามารถเล่าเหตุการณ์หรืออธิบายผ่านสื่อของตัวเองหรือในสื่ออื่นได้เลย ก็ค่อนข้างเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม ก็ประทับใจพันทิปซึ่งหลังจากนั้น ก็เริ่มมีการตั้งกระทู้ขอโทษ 

 

(ห้าม) ให้สื่อรายงาน

ตั้งแต่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน มีการขอความร่วมมือว่าอย่าทำข่าวให้ยั่วยุหรือใช้คำพูดที่รุนแรง ต่อมา ในวันที่ 10 เม.ย. เมื่อไปรายงานข่าวในสถานที่ มีคำสั่งมาตลอด มีการห้ามพูดคำว่า "สลายการชุมนุม" ต้องพูดว่า "ขอยึดพื้นที่" ทั้งที่ในหลายๆ ครั้งที่ทำข่าวม็อบไม่ว่าม็อบท่อก๊าซ หรือสมัชชาคนจน การสลายการชุมนุมก็เป็นคำสากลของหลักปฎิบัตินี้ 

นอกจากนี้ยังห้ามใช้ภาพทหารใช้ปืน-จ่อปืน ไม่ว่าลักษณะท่าใด ต้องใช้คำว่า "ทหารใช้แต่กระสุนยาง" ห้ามปล่อยเสียงแกนนำหลัง 10 เม.ย. ห้ามใช้ภาพคนตาย โดยคำสั่งเหล่านี้ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่เป็นการโทรศัพท์ขอความร่วมมือ 

เราเคารพในกฎหมาย เคารพใน พรก.ฉุกเฉิน ในนิยามภัยความมั่นคง แต่ต้องเคารพในความจริงด้วย ดังนั้น ผู้สื่อข่าวต้องสามารถใช้วิจารณญาณในการตัดสินได้ว่า เหตุการณ์ที่เราไปเจอ เราควรจะใช้คำพูดไหนที่ไม่เป็นภัยกับความมั่นคงหรือยั่วยุ แต่ไม่ใช่คำพูดที่ถูกกำหนดมาว่าต้องพูดแบบนี้

ต้องแบ่งแยกว่าข่าวที่เสนอออกไปไม่ใช่เป็นประโยชน์หรือไม่ แต่อยู่บนหลักพื้นฐานของความเป็นจริง บางทีรัฐอาจมีอคติมากเกินไปในการมองว่าจะปิดสื่อไหน ถ้ามองข้ามอคติทางการเมือง ให้สื่อได้เสนอข้อเท็จจริง อาจเห็นอะไรที่เกิดขึ้นในสังคมได้ดีกว่าการปิดกั้นเสียทั้งหมด 

แนวปฎิบัติเหล่านี้ต้องข้ามผ่านกรอบของอคติที่กลัวว่าทำข่าวออกมาแล้ว จะทำให้เสื้อแดงได้เปรียบทางการเมือง หรือรัฐเสียเปรียบทางการเมือง ยกตัวอย่างตัวเองที่ข้อความในทวิตเตอร์ไม่ได้ออกทีวี แต่ถูกให้ลบข้อความในทวิตเตอร์ ให้หยุดใช้ทวิตเตอร์ ซึ่งตัวเองมองว่า เป็นพื้นที่ส่วนตัว คนทั่วไปก็มีสิทธิใช้ทวิตเตอร์-แสดงความเห็นได้ จึงคิดว่าลบไม่ได้ จะให้เขียนด้วยมือลบด้วยเท้าหรือ ถ้าเช่นนั้นจะมีข้อเท็จจริงอะไรที่จะพิสูจน์ศักดิ์ศรีหรือเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง 


วิทยุชุมชนถูก ศอฉ. เรียกพบด้วย 

วิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ข้อมูลจาก กทช. มีวิทยุชุมชนที่ไปขอขึ้นทะเบียน 6,500 กว่าสถานี ส่วนที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน ซึ่งอาจเป็นวิทยุเสื้อแดง หรือไม่เชื่อในระบบของรัฐ อีก 1,000 กว่าสถานี รวมแล้วมีวิทยุชุมชน 7,000 กว่าสถานี 

ก่อนหน้านี้ ข้อมูลของคนเสื้อแดงที่ลงสู่ชาวบ้าน คือพีทีวี โดยมีวิทยุชุมชนกระจายเสียงต่อในระดับหมู่บ้านอีกที พอพีทีวีถูกปิด ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี ทำให้ยังถ่ายทอดเสียงผ่านเว็บได้แล้ววิทยุชุมชนก็ไปเชื่อมผ่านเว็บเพื่อกระจายเสียงอีกทีหนึ่ง รัฐบาลจึงกลัวว่าวิทยุชุมชนซึ่งเข้าถึงง่ายจะระดมคนในระดับหมู่บ้านได้

ทั้งนี้ เขาได้รับหนังสือเรียกตัวจากคณะอนุกรรมการวิทยุกระจาย พร้อมหนังสือของ ศอฉ.แนบมาด้วย ให้ระงับข้อมูลที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง โดยได้ไปที่ราบ 11 เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยในวันนั้น ผู้เข้าประชุมมีทั้ง กอ.รมน. ศอฉ. และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย มีสื่อทางเลือกที่ถูกเรียกไปเช่น เว็บไซต์ วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี โดยพวกเขาได้รับการบอกว่า ตอนนี้การชุมนุมไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายแล้ว แต่ยกระดับเป็นการก่อการร้าย ดังนั้น สื่อที่ออกเรื่องราวแบบนี้ เท่ากับกำลังสื่อสารเรื่องการก่อการร้ายให้คนในประเทศทราบ เป็นความผิดโดยอัตโนมัติ 

 

ขู่ไม่ให้ใบอนุญาตวิทยุชุมชน หากถ่ายทอดเสียงจากราชประสงค์

นอกจากนี้ ในกรณีของวิทยุชุมชนซึ่งหลายแห่งอยู่ระหว่างการทดลองออกอากาศ 300 วัน ซึ่งจะหมดเขตการทดลองในวันที่ 20 พ.ค.สิ้นเดือนนี้ ได้รับการแจ้งว่า วิทยุชุมชนไหนที่ถ่ายทอดสัญญาณจากเวทีราชประสงค์ หรือยุยงให้เกิดความรุนแรง รัฐบาลจะให้ กทช. ขึ้นแบล็กลิสต์ไว้ จะไม่ได้รับการต่อสัญญาการออกอากาศอีก รวมถึงที่จะขอใบอนุญาตจะไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย 

ทั้งนี้ วิทยุชุมชนที่จะเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ ที่อยู่ในเขตประกาศ พรก.ฉุกเฉิน คือกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งยังมีการถ่ายทอดอยู่ประมาณ 10 สถานี ในต่างจังหวัด ก็มีในอุดรธานีและเชียงใหม่ ที่ถูกแบล็กลิสต์ว่า จะไม่ได้รับการต่อสัญญาเมื่อครบ 300 วัน 

ขณะที่เคเบิลทีวีก็โดนขู่คล้ายๆ กันว่า เคเบิลทีวีใดที่ถ่ายทอดสัญญาณก็จะมีปัญหาในการต่อสัญญาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเคเบิลทีวีมีการตั้งคำถามว่า ถ้ารัฐบาลแน่จริงต้องปิดไทยคมก่อน หากไทยคมยังเปิดได้ แล้วเคเบิลระดับจังหวัดไม่ถ่ายทอด เคเบิลในจังหวัดจะโดนอะไร และหากรัฐบาลมีกำลังเพียงพอเฝ้าไทยคมได้ ก็ให้มาคุ้มกันพวกเขาด้วย วันนั้นก็หาข้อสรุปไม่ได้ จึงเป็นไปในลักษณะการขอความร่วมมือ 

จากนั้น อีกหนึ่งอาทิตย์ กรมประชาสัมพันธ์เรียกวิทยุชุมชนประมาณ 200 สถานี ไปนั่งฟังว่าทำอะไรได้-ไม่ได้ในสถานการณ์แบบนี้ โดยมีการแจกซีดีมาให้เปิดออกอากาศ ซึ่งในเครือข่ายมองว่าเป็นการยุยง ไม่ได้สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะมีข้อความในลักษณะ อย่าไปร่วมชุมนุมกับคนชั่ว หรือไปเป็นโล่ให้คนชั่ว ทำให้หลายสถานีไม่นำไปเปิดต่อ ขณะที่หลายสถานีเปิด เพราะต้องการทำงานต่อ ไม่อยากมีปัญหา ทั้งนี้สำหรับวิทยุชุมชนเสื้อแดงหลายสถานีใน กทม. ที่ยังไม่โดนปิด เพราะมีมวลชนของเขาที่พร้อมสู้ และรัฐเองก็ไม่อยากเปิดประเด็นขึ้นมา

การชุมนุมทางการเมืองกับหน้าที่ทางการสื่อสาร อยากให้แยกกัน เราเองอยากให้ประเทศชาติสงบ แต่การอยากให้ประเทศชาติไม่สงบไม่ใช่เลือกสื่อเฉพาะข้อมูลที่เราชอบ วิทยุชุมชนถูกถามว่าไม่รักประเทศชาติหรือถึงสื่อสารอย่างนี้ นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องหยิบมาพูดคุยว่า การชุมนุมถ้าผิดก็ว่าไปตามกระบวนการ แต่หน้าที่สื่อต้องมองข้ามเรื่องรักใครชอบใคร หรืออยาก-ไม่อยากให้ประเทศชาติสงบ 

กระแสที่เกิดขึ้นตอนนี้ ทั้งสื่อส่วนใหญ่ทั้งสื่อชุมชน สื่อทางเลือก หรือสื่อหลัก ค่อนข้างบีบให้การชุมนุมยากขึ้น เริ่มไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมมากขึ้น ข้อมูลจากฝั่งผู้ชุมนุมออกมาน้อยลง อาจเกิดจากภาวะที่ตึงเครียดมากขึ้น ใช้ความรุนแรงมากขึ้น จึงเลือกบิดตัวเองไม่เสนอเรื่องราวเหล่านั้น 

สื่อชุมชน โดยเฉพาะวิทยุชุมชนในพื้นที่ เช่น ที่ภาคเหนือ มีคำสั่งจาก ศอฉ. ให้ สภอ.เรียกวิทยุชุมชนไปเซ็นบันทึกความเข้าใจ ว่าต้องทำอะไร อะไรออกได้-ไม่ได้ นั่นเพราะรัฐมองว่า คนไปชุมนุมเพราะรับข่าวจากสื่อชุมชนที่เข้าถึงชาวบ้าน รัฐจึงเริ่มเข้ามาควบคุมสื่อชุมชนมากขึ้น ขณะที่สื่อชุมชนเองก็เลือกจัดการตัวเอง ที่จะไม่เสนอบางเรื่อง เพราะไม่แน่ใจว่าจะนำสู่อะไรบางอย่างหรือไม่ 

ไม่อยากให้รู้สึกว่า เห็นด้วยหรือเห็นต่างกับการชุมนุม แต่เราต้องมีสิทธิเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง บางเรื่องที่เราไม่ชอบ แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง สังคมควรจะได้รับข้อมูลที่รอบด้าน เพราะปัญหาหนึ่งจากการทำงานของสื่อที่ผ่านมา ได้สร้างความเกลียดชังให้สังคมไทยมากขึ้น คนที่รับสื่อสีหนึ่งก็จะเกลียดอีกสีหนึ่ง  

การชุมนุมอาจจะจบลงในเดือนนี้หรือเดือนหน้า แต่ความขัดแย้งที่เกิดจากการทำงานของสื่อยังฝังอยู่ ... คือหลายคนไม่ได้มาที่ชุมนุม แต่ฟังจากข่าว แล้วข่าวที่ออกไปเคยทำให้คนรู้สึกเข้าใจกันบ้างไหม 

 

เนื้อหาที่ห้ามกระจายในอากาศ

เนื้อหาที่วิทยุชุมชนถูกขอความร่วมมือไม่ให้เสนอ ได้แก่ การพูดถึงสถาบันกษัตริย์, ในพื้นที่ที่มีการประกาศ พรก. ฉุกเฉินและในพื้นที่สีแดง มีการห้ามถ่ายทอดสัญญาณจากข้างนอก เพราะกลัวการถ่ายทอดสัญญาณจากเวทีที่ราชประสงค์ โดยให้จัดรายการได้เฉพาะในสถานีเท่านั้น 

ห้ามการสื่อสารในลักษณะที่นำไปสู่ความมั่นคงของรัฐ ซึ่งพอคุยในรายละเอียดแล้ว กลายเป็นว่า การวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐได้ นอกจากนี้ ยังถูกบอกว่า จะอ้างสิทธิสื่อสารไม่ได้ เพราะนี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ แต่เป็นการก่อการร้าย

นอกจากนี้ มีการห้ามไม่ให้สถานีวิทยุชวนคนไปชุมนุม เมื่อก่อน เราโต้แย้งเพราะรู้สึกว่า การชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือเห็นต่างก็มีสิทธิชุมนุม วิทยุจะชวนคนไปชุมนุมก็ไม่น่าผิดกฎหมาย แต่กรณีนี้ก็โดนดักคอว่า ตอนนี้ไม่ใช่การชุมนุมปกติ ไม่ได้รองรับด้วยกฎหมายแล้ว ฉะนั้น วิทยุจะชวนคนไปชุมนุมไม่ได้ 

ห้ามสร้างความเกลียดชัง มีการตั้งคำถามว่า ต้องนิยามว่าความเกลียดชังคืออะไร และวิทยุที่รัฐดูแลอยู่ หรือช่อง 11 หรือเอเอสทีวี สร้างความเกลียดชังด้วยหรือไม่ ซึ่งนายสาทิตย์บอกว่า ต้องยอมรับว่าคุณเจิมศักดิ์ติดตามเรื่องการคอร์รัปชั่นของทักษิณมานาน เพราะฉะนั้นเขามีสิทธิที่จะพูด 

ทั้งนี้ ส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับการถ่ายทอดสัญญาณที่จะสร้างความเกลียดชัง เพียงแต่ต้องทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

ห้ามหมิ่นประมาทบุคคล ซึ่งก็เห็นไม่ต่างกัน แต่ตั้งคำถามว่าการวิจารณ์การทำงานของรัฐทำได้หรือไม่ เช่น รมต. นายกฯ ทหาร เขาเป็นบุคคลก็จริง แต่ถ้าเขาเป็นบุคคลสาธารณะ จะตั้งคำถามหรือวิจารณ์ได้หรือไม่ 

 

หากมั่นใจว่าปิดสื่อโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องให้เหตุผล-ตรวจสอบได้

สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เกิดในยุครัฐบาลทักษิณ เพื่อใช้กับกรณีสามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งตอนนั้นนักวิชาการกฎหมายออกมาโต้ว่ามอบอำนาจให้รัฐบาลอย่างยิ่งยวด เพราะปกติ การบัญญัติกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ใช้โดยฝ่ายบริหารและตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายโดยฝ่ายตุลาการ แต่พอ พรก.ฉบับนี้ออกมากลายเป็นการรวบอำนาจทั้งหมด ฝ่ายบริหารมีอำนาจออกประกาศ บังคับใช้กฎหมาย และอาจรวมถึงไม่ต้องถูกตรวจสอบการใช้อำนาจ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องตลกที่ พรก. ที่ออกในยุคทักษิณ แต่ถูกใช้อย่างมากในยุคของอภิสิทธิ์ ซึ่งเคยต่อว่าพรก. นี้อย่างรุนแรง แต่ก็เป็นคนหนึ่งซึ่งใช้อย่างมากและอาจจะมากกว่ายุคนั้น

ในวันเสรีภาพสื่อ สื่ออาจมองว่า สถานการณ์ปัจจุบันขัดกันเหลือเกิน ขณะที่รัฐอาจมองว่า สื่อก็ยังมีเสรีภาพ ที่ ศอฉ. ปิดก็เฉพาะสื่อที่คิดว่ามีปัญหา สื่ออื่นยังเปิดได้ ถือว่ามีเสรีภาพในระดับหนึ่ง แต่ตนเองมองว่าการปิดกั้นสื่อต่างๆ ของ ศอฉ. มีปัญหาในแง่การใช้กฎหมายอยู่สองมิติ คือ หนึ่ง การกระทำที่น่าจะถูกตั้งคำถามในเรื่องการปิดกั้นเสรีภาพในการรับข้อมูลข่าวสารและแสดงความเห็นของประชาชนทั่วไป และสอง การที่รัฐเข้าไปเกี่ยวพันโดยตรงกับเสรีภาพในการเสนอข่าวของสื่อ

มิติที่หนึ่ง การที่รัฐพยายามปิดกั้นสื่อที่รัฐอ้างหรือเชื่อว่า สื่อนั้นเสนอข้อความที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งนักกฎหมายก็ยังหานิยามที่ชัดเจนไม่ได้ว่าภัยต่อความมั่นคงคืออะไร 

1.1 ปัญหาในการบัญญัติที่เกินขอบเขต - กฎหมายที่ใช้ให้อำนาจในการสั่งปิดสื่อ คือ พรก.ฉุกเฉิน นักกฎหมายตั้งคำถามว่า กฎหมายนี้ยกเว้นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรื่องสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งถูกรับรองไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม มีการพูดเช่นกันว่าบางครั้งในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ภัยร้ายแรง อำนาจเจ้าหน้าที่อาจล่าช้าไปหากต้องขอคำสั่งศาล จึงอาจให้อำนาจฝ่ายบริหาร โดยอาจมีข้อยกเว้นการทำตามกฎหมายปกติ ถามว่า ยกเว้นได้ไหม ในมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญก็ยกเว้นไว้ว่าสื่อมีเสรีภาพ ยกเว้นแต่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะ ซึ่งนั่นแปลว่ายกเว้นได้ อย่างไรก็ตาม การยกเว้นนี้ไม่ใช่การยกเว้นอย่างไม่มีขอบเขต เพราะมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า การเขียนกฎหมายยกเว้นหลักสิทธิตามรัฐธรรมนูญต้องกระทำเท่าที่จำเป็น ไม่กระทบต่อสารัตถะของสิทธิที่ได้รับการประกันไว้ตามรัฐธรรมนูญ

เพราะฉะนั้น จะออกกฎหมายได้ ต้องมีขอบเขตในการออก

แต่ พรก. ฉุกเฉิน ฉบับนี้มีหลายเรื่องที่ค่อนข้างมีปัญหา เช่น ห้ามตรวจสอบโดยศาลปกครอง ซึ่งนักกฎหมาย มองว่า การใช้อำนาจที่ไม่ต้องตรวจสอบก่อนใช้ยอมรับได้ แต่ต้องตรวจสอบหลังใช้แล้วด้วย ไม่ใช่ห้ามตรวจทั้งหมด 

1.2 เมื่อมีกฎหมายใช้แล้ว มีการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือไม่ - มาตรา 9 ของ พรก.ฉุกเฉิน ใน (3) ซึ่งเป็นเรื่องสื่อโดยตรงแตกต่างกับวงเล็บอื่นที่ไม่มีเงื่อนไขการใช้อำนาจ โดย (3) เขียนเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามการเสนอข่าวก็จริง แต่ข่าวหรือสื่อที่จะห้ามต้องมีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือมีเจตนาที่บิดเบือน นั่นหมายความว่า หน่วยงานจะใช้อำนาจในการปิดกั้นสื่อต้องให้เหตุผลได้ ว่าสื่อที่ปิดกั้นมีเนื้อหาตาม (3) อย่างไรบ้าง ไม่ใช่อ้างลอยๆ ว่าขัดต่อความมั่นคง ซึ่งไม่สามารถนิยามได้ว่าคืออะไร 

และตามหลักกฎหมายมหาชน การใช้อำนาจของรัฐในการปิดกั้นหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน แม้จะตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อำนาจ การใช้อำนาจนั้นต้องได้สัดส่วนกัน เช่น กรณีประชาไท ประชาไทเป็นเว็บเสนอข่าว ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มีเว็บบอร์ดแลกเปลี่ยนความเห็น มีบล็อกเกอร์ แต่กลับปิดประชาไททั้งหมด โดยไม่แสดงเหตุผลว่าเนื้อหาทั้งหมดเป็นภัยอย่างไร สอง จริงหรือที่ทุกบทความ ทุกข่าว เป็นความผิดหรือขัดต่อความมั่นคง  

ประเด็นคือ เมื่ออาจมีเนื้อหาที่เป็นภัย ทำไมไม่ปิดเฉพาะส่วนนั้นๆ ทำไมจึงปิดแบบเหมารวม นี่คือความไม่ได้สัดส่วน ที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชน ทั้งนี้ ว่ากันตามจริง จุดที่มีปัญหาอาจเป็นบอร์ดแสดงความเห็นด้วยซ้ำ ขณะที่ส่วนข่าวค่อนข้างได้รับการยอมรับพอสมควร

1.3 เมื่อมีกฎหมายแล้ว ใช้อำนาจตามกฎหมายแล้ว ภายหลังจากใช้แล้ว ตรวจสอบได้หรือไม่ - ตามหลักสถานการณ์ปกติ หน่วยที่จะเข้ามาตรวจสอบคือ ศาลหรือฝ่ายตุลาการ ซึ่งมาตรา 16 ของ พรก.ฉุกเฉิน ตัดอำนาจศาลปกครองไป อย่างไรก็ตาม มาตรา 218 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญระบุว่า หากประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถใช้อำนาจผ่านทางศาล หรือเรียกร้องความเป็นธรรมในศาลยุติธรรมได้เสมอ นั่นคือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกตัดอำนาจ เพราะฉะนั้น ศาลจึงยังควรเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจของภาครัฐ 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ศาลเคยยกฟ้องกรณีพีทีวี ที่ศาลแพ่งยกฟ้องด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ เมื่อรัฐบาลสั่งการโดยให้เป็นไปตาม พรก. ฉุกเฉิน ตรงนี้เป็นสิทธิหรืออำนาจเด็ดขาดที่รัฐบาลจะสั่งการอย่างไรก็ได้ ศาลไม่มีอำนาจ 

ในส่วนคำฟ้องของประชาไทจึงเขียนว่า ศาลยุติธรรมยังมีอำนาจ และโต้แย้งว่า ไม่ได้บอกว่า รัฐบาลหรือ ศอฉ. ไม่มีอำนาจในการสั่งปิด แต่ตั้งคำถามว่าปิดด้วยเหตุผลอะไร การที่ศาลจะวินิจฉัยว่า ศอฉ. มีอำนาจ เป็นการตอบที่ไม่ตรงคำถาม จึงจะมีร่างคำอุทธรณ์ว่ามีเหตุผลอะไรในการปิด 

ดังนั้น ถ้าภาครัฐ "เชื่อมั่น" ว่าใช้อำนาจอย่างถูกต้องชอบธรรม จะต้องให้เหตุผลได้ และให้หน่วยงานในระนาบเดียวกันคือตุลาการตรวจสอบได้ว่า ใช้อำนาจนั้นตามกฎหมาย แต่ทุกวันนี้กลายเป็นว่า อำนาจทุกอย่างโดยเฉพาะในพื้นที่สถานการณ์ฉุกเฉิน อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารทั้งหมด ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ แล้วประชาชนจะเอาหลักประกันที่ไหนในการยัน หากมีการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

 

สื่อไม่ควรตกอยู่ใต้อำนาจใคร ประชาชนต้องตรวจสอบสื่อได้

มิติที่สอง เสรีภาพของคนทำสื่อ - นอกจากอำนาจรัฐ 3 ฝ่าย คือฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการแล้ว ปัจจุบัน สื่อสารมวลชนถูกมองเป็นอำนาจที่สี่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกแง่มุม เหมือนเป็นเสาหลักอีกเสาหนึ่ง อาจเป็นตัวกลางเสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น รวมถึงเป็นตัวจับ มีอิทธิพลต่อความเห็นของประชาชนด้วย และเป็นตัวสร้างความคิดเห็นของประชาชน นั่นคือการนำเสนอบางแง่มุม สามารถสร้างความคิดเห็นของประชาชนได้

ดังนั้น เมื่อสื่อเป็นทั้งตัวกลาง ตัวจับ และตัวสร้าง ในด้านหนึ่ง สื่อจึงไม่ควรตกอยู่ใต้อำนาจรัฐ และอำนาจอื่นใด ขณะที่อีกด้านหนึ่ง สื่อควรถูกตรวจสอบจากผู้รับสื่อ คือประชาชนด้วย

แต่ปัญหาคือ รัฐเข้าไปเกี่ยวพันในการนำเสนอของสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ยังเปิดอยู่ ซึ่งรัฐบอกว่าไม่เป็นภัยต่อความมั่นคง ประเด็นคือรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันในการแทรกแซงหรือไม่ ตั้งคำถามว่า สื่อปัจจุบันนำเสนอฝ่ายเดียวใช้หรือไม่ เป็นกระบอกเสียงให้รัฐในการนำเสนอแง่มุมเดียวใช่หรือไม่ โดยเฉพาะหลังวันที่ 10 เม.ย.มีการทวงถามว่าทำไมเสนอแต่รัฐฝ่ายเดียว ไม่เปิดพื้นที่ให้ผู้เสียหายส่วนอื่น หนึ่งเกิดจากการแทรกแซง สอง เซ็นเซอร์ตัวเอง หรืออาจจงใจบิดเบือน หรือเลือกเสนอตามความเห็นสื่อเองใช่หรือไม่

นอกจากนี้ ตั้งคำถามเพิ่มเติมว่า การปิดกั้นสื่อที่คิดว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือขัดต่อความมั่นคง หรือแทรกแซงสื่อ เห็นไหมว่าเป็นผลเสียกับรัฐเอง เพราะสื่อปัจจุบันโดยเฉพาะสื่อทางเลือก ยิ่งปิดก็ยิ่งเปิด การใช้มาตรการปิดกั้นสื่อในปัจจุบันถือเป็นการฆ่าตัวตาย ยิ่งปิดก็ก่อให้เกิดความอยากรู้ความกระหาย 

ต่อประเด็นความรุนแรงต่อสื่อทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนที่อาจมาจากทั้งฝ่ายรัฐหรือผู้ชุมนุม ความแตกต่างในแง่มุมของกฎหมายคือ ถ้าสื่อถูกผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่รัฐคุกคาม สามารถร้องขอความเป็นธรรมได้ แต่ถ้าเป็นการคุกคามโดยรัฐจะขอไม่ได้ เพราะรัฐได้อ้างความชอบธรรมเรียบร้อยแล้ว 

 

ผู้ประกอบการเว็บเตือนสื่อสารอะไร ให้คิดว่ากำลังพูดในที่สาธารณะ

ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโฮสติ้ง ในเรื่องการบล็อค ในการทำงานของเว็บโฮสติ้ง เจอคำขอให้บล็อคเยอะมาก ทั้งการบล็อคการโจมตี และการบล็อคเนื้อหา ซึ่งการบล็อคเนื้อหานั้นมีปัญหามาก เพราะในสังคมไทยมีเรื่องหลายประเด็นมากที่พูดไม่ได้

ในภาวะปกติ เรื่องที่ถูกขอให้บล็อคจะได้แก่การละเมิดลิขสิทธิ์ การขายยา การค้าขายผิดกฎหมาย การพนัน แต่สิ่งที่พวกเรารู้อยู่เสมอคือ การบล็อคไม่ช่วยอะไร เพราะผู้สร้างเนื้อหาก็สามารถนำเนื้อหาไปสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ แต่ในภาวะที่ไม่ปกติ เช่น การรัฐประหาร พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้นเยอะมาก คำสั่งให้บล็อคจะเป็นไอพี ซึ่งไอพีถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ประเทศไทยมีไอพีไม่มาก เมื่อเทียบสัดส่วนกับสหรัฐฯ บางครั้งมีการส่งอีเมลโดยไม่ระบุตัวตน ไม่มีชื่อคนสั่ง ให้ทำการปิดกั้นเว็บต่างๆ เมื่อไม่ได้ทำตาม ก็ปรากฎว่า มีการถอดสายแลนออก 

ยุคนี้บล็อคแรงกว่าตอนรัฐประหารหลายเท่าตัว บล็อคทุกอย่างทุกวิธีทุกระบบ ทั้งการบล็อคดาวเทียม รบกวนสัญญาณ เป็นการห้ามโดยการทำผิดกฎหมายเสียเอง ซึ่งน่าสงสัยว่า พรก.ฉุกเฉิน อนุญาตไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการบล็อคหน้าเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ซึ่งตั้งคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ติดแบล็กลิสต์ เพราะอะไร นอกจากนั้น ยังมีการใช้วิธีตั้งกลุ่มหลายๆ แบบ ทำให้คนไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่เป็นจริงออกมาได้ มีการปลอมตัวในโลกออน์ไลน์เป็นฝ่ายตรงข้ามทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง

ทั้งนี้ ในเหตุการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ ขอเตือนว่า ใครก็ตามจะส่งข้อความหลังไมค์ อีเมล แชท เอสเอ็มเอส โทรศัพท์ขอให้นึกว่ากำลังพูดในที่สาธารณะ และอยู่ในสายตาของบิ๊กบราเธอร์ 

นอกจากนี้ ในชมรมเคยตั้งข้อสังเกตกันว่า ไม่เคยมีคำสั่งบล็อคเว็บเสื้อเหลืองเลย มีแต่เว็บเสื้อแดงจำนวนมาก อาจเพราะเว็บของเหลืองมีน้อยกว่าแดง และเสื้อแดงก็แตกย่อยเยอะแยะไปหมด โดยที่เยอะขนาดนี้ เพราะเสื้อแดงไม่มีช่องทางในการสื่อสาร ไม่มีสื่อหลักให้พูดได้ ต้องหาช่องทางของตัวเอง ซึ่งความก้าวหน้าของวิทยาการ ทำให้มันเป็นไปได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรีซประท้วงเดือด ล่าสุดมีคนตายแล้ว!

Posted: 05 May 2010 03:28 PM PDT

<!--break-->

5 พ.ค. 53 – สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประชาชนกรีซหลายแสนคนได้ทำการประท้วงหยุดงานครั้งใหญ่ เนื่องจากไม่พอใจต่อนโยบายปรับลดค่าใช้จ่ายหรือรัดเข็มขัดของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคสังคมนิยม ส่งผลให้กรีซอยู่ในภาวะเป็นอัมพาตไปทั้งประเทศ ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คนหลังผู้ประท้วงเผาธนาคาร

ทั้งนี้การประท้วงหยุดงานครั้งใหญ่ในครั้งนี้ได้มีกำหนดระยะเวลาผละงานประท้วงเป็นเวลา 48 ชั่วโมงด้วยกัน ซึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นการหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่รัฐบาลพรรคสังคมนิยมของกรีซรับข้อเสนอทั้งจากสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินการระหว่างประเทศ (IMF) ที่ให้รัฐบาลกรีซใช้นโยบายรัดเข็มขัดตามมาตรการขอรับความช่วยเหลือกอบกู้วิกฤตหนี้เสีย

โดยสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงเอเธนส์ปิดทำการ ขณะที่สนามบินนานาชาติไร้ผู้คนเนื่องจากสมาชิกสหภาพแรงงานประมาณ 20,000 คนได้ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล 

ทั้งนี้ในการประท้วงที่กรุงเอเธนส์ ตำรวจกรีซได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ประท้วงที่พยายามบุกเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา ส่วนที่เมืองเธสซาโลนีกี้ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศด้วย มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยวัยรุ่นได้ขว้างปาก้อนหินและระเบิดเพลิงเข้าใส่ร้านค้า

ล่าสุด สำนักข่าว AFP ได้รายงานอ้างคำกล่าวของตำรวจว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 ราย โดยเป็นหญิง 2 คน และชาย 1 คน โดยเสียชีวิตในสำนักงานสาขาแห่งหนึ่งของธนาคารมาร์ฟิน หลังจากที่กลุ่มผู้ประท้วงได้ทำลายหน้าต่างแล้วโยนระเบิดเพลิงเข้าไปในสำนักงานทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น