โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ทหารพม่า-อส.โจมตีทหาร SSA “เหนือ” ดับ 2 ถูกจับอีกนับสิบ

Posted: 31 Oct 2012 01:49 PM PDT

ทหารพม่าสนธิกลุ่มอาสาสมัครเข้าโจมตีทหารไทใหญ่ SSA "เหนือ" ดับ 2 นาย จับเป็นอีกกว่า 40 นาย อ้างเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบ ด้าน SSA โต้เป็นทหารของรัฐฉานมีสิทธิ์อยู่ได้ทุกที่ เผยทหารถูกควบคุมตัวไม่มีอาวุธ ไม่คิดทหารพม่าจะโจมตีเพราะหยุดยิงกันแล้ว

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. เว็ปไซต์ข่าว Myawaddy สื่อกระบอกเสียงกองทัพพม่ารายงานอ้างว่า ทหารกองทัพพม่าและกองกำลังอาสาสมัครได้รับแจ้งจากประชาชนว่า มีทหารกลุ่มก่อความไม่สงบจากกองกำลังไทใหญ่ SSA "เหนือ" เข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่ ในวันที่ 26 ต.ค. จึงร่วมกันเข้าทำการโจมตีบริเวณระหว่างต้าปางกง – ช้อกปางโกง เขตเมืองน้ำคำ รัฐฉานภาคเหนือ ทำให้ฝ่าย SSA เสียชีวิต 2 นาย ถูกควบคุมตัว 48 นาย เป็นทหารเก่า 4 นาย และทหารเกณฑ์ใหม่ 44 นาย ในจำนวนนี้รวมทหารบาดเจ็บจากการโจมตี 2 นาย ส่วนผู้บังคับบัญชาคือ เจ้าเข่หม่า พร้อมด้วยทหารอีก 1 นาย หนีรอดไป

ทั้งนี้ ข่าวระบุอีกว่า ทหารของ SSA "เหนือ" ชุดดังกล่าวกลับจากเข้ารับการฝึกทางทหารในเขตรัฐคะฉิ่น ที่บ้านกุงคำ เมืองม่านเจ้ ซึ่งการฝึกเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยทั้งหมดกำลังเตรียมเดินทางกลับเข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่รัฐฉาน ซึ่งผู้ที่ถูกควบคุมตัวจำนวน 44 คน เป็นทหารเกณฑ์ใหม่จากเมืองล่าเสี้ยว , หมู่แจ้ ,น้ำคำ , น้ำตู้ และก๊ดขาย

อย่างไรก็ตาม ทางด้าน SSA "เหนือ" ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยพ.ต.จายละ โฆษกของ SSA "เหนือ" เปิดเผยว่า ทหาร SSA ที่ถูกโจมตีและถูกควบคุมตัวไม่ใช่ทหารกลับจากเข้ารับการฝึกในรัฐคะฉิ่น และไม่ใช่ผู้ก่อความไม่สงบตามที่ฝ่ายทหารพม่ากล่าวอ้าง ซึ่งทั้งหมดเป็นทหารเคลื่อนไหวในพื้นที่เอง พวกเขาไม่ได้พกพาอาวุธเพราะเห็นว่า SSA และทหารรัฐบาลพม่าตกลงหยุดยิงกันแล้วจึงไม่คิดว่าทหารพม่าจะโจมตี ในวันเกิดเหตุทหารทั้งหมดมีอาวุธปืนเพียง 1 กระบอกเท่านั้น

พ.ต.จายละ กล่าวอีกว่า ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA มาจากประชาชนชาวรัฐฉาน ซึ่งมีสิทธิ์อยู่ได้ทุกที่ในรัฐฉาน แต่หลังจากทำข้อตกลงหยุดยิงทางฝ่ายกองทัพพม่าพยายามจำกัดพื้นที่เคลื่อนไหวให้กับ SSA ขณะที่ทหารกองทัพพม่ากลับสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกที่ และระหว่างที่สองฝ่ายเจรจาหยุดยิงกัน รัฐบาลพม่ารับปากว่าจะถอนกำลังทหารในพื้นที่เคลื่อนไหวของ SSA แต่จนถึงขณะนี้นอกจากทหารพม่าไม่ถอนกำลังแล้ว ยังโจมตี SSA ต่อเนื่อง นับตั้งแต่ลงนามหยุดยิงกันครั้งใหม่เมื่อ 28 ม.ค. 55 มาจนถึงขณะนี้สองฝ่ายสู้รบกันแล้วไม่ต่ำกว่า 40 ครั้ง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮิวแมนไรท์ วอทซ์เผยชุมชนโรฮิงยาถูกเผาวอด หลังเหตุขัดแย้งรอบล่าสุดในพม่า

Posted: 31 Oct 2012 01:09 PM PDT

องค์กรเฝ้าจับตาสถานการณ์สิทธิมนุษยชน "ฮิวแมนไรท์ วอทซ์" เผยภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างจำนวน 811 หลังในชุมชนชาวโรฮิงยาที่เมืองจ็อก ผิ่ว ในรัฐอาระกัน ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ขณะที่สถานการณ์ขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่และชาวโรฮิงยารอบล่าสุด ทำให้มีผู้อพยพอยู่ตามค่ายพักพิงในรัฐอาระกันอย่างน้อย 7 หมื่นคน

ภาพถ่ายผ่านดาวเทียม เมืองจ็อก ผิ่ว ในรัฐอาระกันเมื่อ 9 มีนาคม ปี 2555 ก่อนเหตุขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยา และชาวยะไข่ (ที่มา: Human Rights Watch)

ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเมื่อ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความเสียหายของชุมชนชาวโรฮิงยา หลังเกิดการลอบวางเพลิงเมื่อ 24 ต.ค. (ที่มา: Human Rights Watch)

 

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ฮิวแมนไรท์ วอทซ์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นสิ่งก่อสร้างจำนวน 811 หลังบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของเมืองจ็อก ผิ่ว (Kyauk Pyu) ถูกทำลาย หลังมีการลอบวางเพลิงเมื่อวันที่ 24 ต.ค. โดยภาพถูกถ่ายจากดาวเทียมในวันที่ 25 ต.ค. โดยพื้นที่ซึ่งได้รับความเสียหายกินพื้นที่กว้าง 35 เอเคอร์ มีสิ่งก่อสร้าง 633 หลัง และมีเรือนแพ 178 หลัง และเรือที่พ่วงติดกันจำนวนหนึ่งได้รับความเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุด้วยว่า ชาวโรฮิงยาในเมืองจำนวนมากต่างพากันหนีไปทางทะเลโดยไปขึ้นฝั่งที่เมืองซิต ตเหว่ เมืองหลวงของรัฐอาระกัน ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุไปทางทิศเหนือ 200 กิโลเมตร

ทั้งนี้หลังความขัดแย้งรอบแรกระหว่างชาวโรฮิงยา และชาวยะไข่ ในรัฐยะไข่หรือรัฐอาระกัน ปะทุขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ก็เกิดเหตุขัดแย้งรอบใหม่ขึ้นอีกระหว่างทั้งสองกลุ่ม โดยความรุนแรงดำเนินไปในเมืองมินบะยา, เมียวอู, มเย-บง, ระเตเดาก์ และจ็อก ผิ่ว โดยกรณีเป็นครั้งแรกที่เกิดความขัดแย้งขึ้นที่จ็อก ผิ่ว

นายฟิว โรเบิร์ตสัน (Phil Robertson) รองผู้อำนวยการด้านเอเชียของ ฮิวแมนไรท์ วอทซ์ กล่าวว่า "รัฐบาลพม่ามีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะรักษาความปลอดภัยให้กับชาวโรฮิงยา ในรัฐอาระกัน ซึ่งถูกโจมตีอย่างมุ่งร้าย" เขากล่าวด้วยว่า "ถ้าไม่อยากนั้นแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเริ่มหาสาเหตุรากฐานที่ทำให้เกิดความรุนแรง ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายลงกว่านี้"

จากข้อมูลของฮิวแมน ไรท์ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา ประกอบกับการที่รัฐบาลพม่ามีควบคุมการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชุมชนชาวโรฮิงยาที่ต้องอพยพหลังเกิดความรุนแรง ทำให้มีชาวโรฮิงยาราว 104,000 คนจากตัวเลขขอฮิวแมนไรท์ วอทซ์ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในเรื่องอาหาร ที่พัก และการดูแลสุขภาพ ขณะที่จากความรุนแงระลอกล่าสุดทำให้มีผู้อพยพภายในประเทศ (Internally displaced persons - IDP) แล้ว 75,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงยา และอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 40 แห่งในเมืองซิต ตเหว่ และเจาก์ตาว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุสรณ์ ธรรมใจชี้ AEC คือโอกาส เชื่อหากมีประชาธิปไตยแท้จริง - อีก 15 ปี ไทยเป็นประเทศพัฒนา

Posted: 31 Oct 2012 12:15 PM PDT

'อนุสรณ์ ธรรมใจ ' องค์ปาฐกวันนิคม จันทรวิทุร มอง AEC คือโอกาสของไทยแต่รัฐต้องมียุทธศาสตร์และนโยบายที่ชัดเจน มองปัญหาเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง หนุนให้เดินหน้าค่าแรง 300 บ. และเชื่อหากไทยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง อีก 15 ปี เป็นประเทศพัฒนา

วานนี้ (31 ต.ค.55) ที่ห้องประชุมจอมพล ป. กระทรวงแรงงาน มีการจัดงาน "วันนิคม จันทรวิทุร" ครั้งที่ 10 มีการปาฐกถานำในหัวข้อ "อนาคตเศรษฐกิจและแรงงานไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน" โดย ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งรายละเอียดของปาฐกถามีดังนี้

000

ถ้าวันนี้ ประเทศไทยไม่มีระบบทางด้านการคุ้มครองแรงงาน ระบบประกันสังคมที่เป็นมาตรฐานระดับโลกที่สากลยอมรับ ก็อาจจะเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า และอาจกระทบต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยได้

ถ้าเรามองในแง่ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจะเห็นได้ชัดว่า จะก่อให้เกิดโอกาสอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการขยายตัวของการค้า การลงทุน เศรษฐกิจในภาพรวมก็จะเพิ่มขึ้น แล้วถ้าเรามียุทธศาสตร์ มีเป้าหมายของประเทศที่ชัดเจน ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยสามารถร่วมกันผลักดันให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายได้ ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หมายความว่าชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนน่าจะดีขึ้นอย่างชัดเจน

ผมมองประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นโอกาส ถ้าเรามียุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เราก็จะกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจอาเซียน ที่บอกว่าเราเป็นศูนย์กลางเพราะถ้าดูที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ชัดว่าเรามีความได้เปรียบอย่างยิ่ง ถ้ามีการลงทุนด้านโลจิสติกส์

ถ้าดูข้อมูลพื้นฐาน จะเห็นได้ว่าตลาดจะใหญ่ขึ้นมาก ตลาดซึ่งมีประชากร 60 กว่าล้านคน ขยายขึ้นเป็น 600 ล้าน จีดีพีและการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น การลงทุนโดยรวมเพิ่มขึ้น นี่คือโอกาส และถ้าเราสามารถรักษาระดับความเติบโต ในระดับ 4-5 เปอร์เซ็นต์ในระยะ 4-5 ปีข้างหน้า เราก็น่าจะมีศักยภาพอย่างยิ่ง

แต่ว่าแค่การเติบโดยังไม่เพียงพอ หากเรามีปัญหาเรื่องการกระจายรายได้และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

นโยบายด้านแรงงาน จะเป็นนโยบายที่สำคัญที่จะช่วยดูแลให้ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจมีปัญหาน้อยลง อย่างนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่จะให้เกิดขึ้นต้นปีหน้าทั่วประเทศ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเดินหน้า แม้จะมีเสียงคัดค้านจากธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยว่า จะทำให้เกิดปัญหาปิดกิจการหรือปัญหาเลิกจ้าง ขอให้ท่านนึกถึงตอนที่เราเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายประกันสังคม หรือประกันการว่างงาน ก็มีคนไม่เห็นด้วย แต่ถ้าเราคิดให้ดีแล้ว มันเป็นสิ่งที่จะต้องทำ

แน่นอนว่านโยบายหรือมาตรการใดๆ ก็ตาม มันย่อมมีผลกระทบทั้งด้านบวกด้านลบ และมีผลกระทบต่อผู้คนในแต่ละส่วนแตกต่างกัน

กรณีของค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เราอาจจะเห็นว่ามีผลกระทบต่อเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่อยู่ในจังหวัดที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดด แต่นี่ไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไม่เดินหน้านโยบายนี้ ถ้าเราต้องการให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้และความมั่งคั่งมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ รัฐจะต้องมีมาตรการในการเข้ามาดูแลเพิ่มเติม

หากเราไม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในบางกิจการหรือบางอุตสาหกรรมก็อาจเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานได้ เพราะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เกิดการขยายตัวอย่างมาก ทั้งด้านการผลิต การบริโภค และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้ ก็เกิดประโยชน์ต่อการบริโภคและการผลิต การผลิตก็สามารถสร้างเครือข่ายที่ไร้พรมแดนมากขึ้น การบริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้น สินค้าถูกลง คุณภาพดีขึ้น เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

ประเด็นทางด้านการผลิต ที่เราสามารถสร้างเครือข่ายแบบไร้พรมแดนมากขึ้น ก็เป็นประเด็นเชื่อมโยงกับด้านแรงงานหรือการจ้างงาน เพราะผู้ประกอบการ นักธุรกิจอุตสาหกรรมก็อาจจะย้ายฐานการผลิตไปผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อบริหารต้นทุน

ถามว่ามีผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศไหม ก็คงมีบ้าง แต่ถ้าเรามีมาตรการ มีการเตรียมการที่ดี ขอให้พิจารณาองค์รวม ก็คือเศรษฐกิจโดยรวมของประชาคมอาเซียน ซึ่งไทยเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะดีขึ้น

อาจจะมีคนบางส่วนได้รับผลกระทบทางลบบ้างทางบวกบ้าง ใครจะบวกจะลบมากๆ ก็อยู่ที่ว่ามีความสามารถในการปรับตัวหรือความสามารถในการแข่งขันมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

แต่ในแง่ของนโยบายแรงงานที่จะมีผลต่อแรงงานไทยภายใต้เศรษฐกิจอาเซียน เราต้องดูทุกมิติ ทั้งเรื่องค่าจ้างค่าตอบแทน ทั้งเรื่องสวัสดิการ เรื่องยกระดับขีดความสามารถในการผลิต หรือเพิ่ม productivity

เฉพาะมิติค่าจ้างค่าตอบแทน ก็มีหลายส่วนที่จะต้องพิจารณา ต้องแยกย่อยไปอีกว่าค่าจ้างงานที่เป็นค่าจ้างแรงงานพื้นฐาน ค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมือ ค่าแรงขั้นต่ำจะเอาอย่างไร การกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ไหนที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานหรือตกงาน กรกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ หรือกำหนดค่าจ้างแบบไหน จึงจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนทำงานดีพอ จะกำหนดค่าจ้างค่าตอบแทนอย่างไรที่จะไม่ทำให้เราไม่สูญเสียการลงทุนไปต่างประเทศ กำหนดค่าจ้างแบบไหนที่เราสามารถจะแข่งขันได้และเกิดความเป็นธรรมด้วยในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นโจทย์ที่สำคัญและมีผลต่ออนาคตของแรงงานไทยทั้งสิ้น

เนื่องจากปัญหาการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ และปัญหานี้ถ้าจัดการไม่ดีก็อาจจะเป็นเงื่อนไขไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมในอนาคตได้ เพราะถ้าคนมีสถานะต่างกันมากๆ ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ง่าย

ถ้าคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ดีขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมทางการเมืองก็จะลดลง การที่จะทำอย่างนี้ได้ รัฐจะต้องมีระบบ มีมาตรการ มีกลไกในการช่วยให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่รัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพ

รัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพต้องเป็นรัฐที่มีผลิตภาพและมีความยั่งยืน ซึ่งผมขอเรียกว่าเป็น sustainable and productive welfare system เราจะเห็นปัญหาบางประการในยุโรปบางประเทศที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการ แล้วเกิดภาระทางการคลังจำนวนมาก เนื่องจากโครงสร้างประชากรเปลี่ยน เหตุปัจจัยด้านเศรษฐกิจก็เปลี่ยนไปมาก ความสามารถแข่งขันทางธุรกิจบางประเทศก็ลดลง ทำให้รัฐไม่สามารถจัดสวัสดิการได้เท่าเดิม เพราะมีภาระทางการคลังและหนี้สาธารณะที่สูง

ฉะนั้น ประเทศไทยถ้าจะก้าวข้ามพ้นนโยบายประชานิยมแบบที่เป็นเรื่องระยะสั้น มาเป็นนโยบายที่ดูแลระยะยาวมากขึ้น เป็นระบบมากขึ้น เป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น ก็ต้องพยายามออกแบบและแสวงหาระบบรัฐสวัสดิการที่ productive และยั่งยืน

สิ่งเหล่านี้ที่เราพยายามทำให้เกิดขึ้น เพื่ออนาคตของแรงงานไทยและเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน เป็นระบบเศรษฐกิจที่โตบนพื้นฐานของการแบ่งปันที่เป็นธรรม จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเรามีปัญหาเรื่องความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเมือง

ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของสังคมไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า คือความเสี่ยงของระบบการเมือง ความเสี่ยงของระบบการเมืองนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพหรือไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง แต่ผมหมายถึงระบบการเมืองของประเทศ

ผมคิดว่าระบบการเมืองที่ดีที่สุด ที่จะทำให้อนาคตของไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอนาคตของแรงงานภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นไปได้ดีก็คือ ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

เราจะเห็นได้ชัดว่า ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ซึ่งเคยมีการปกครองแบบอำนาจนิยม ก็เริ่มเปิดประเทศและเปิดเสรีภาพให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะเขารู้ว้ายังใช้ระบบแบบเดิมอยู่ เขาไม่อาจอยู่ได้ในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง เป็นระบบเดียวที่จะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21

ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การสื่อสาร สังคมและโลกเปิดกว้างมากจากเทคโนโลยีการสื่อสาร เราคงเห็นกรณีอาหรับสปริง หลายประเทศซึ่งมีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ ปิดกั้นข่าวสาร ก็ยังไม่อาจปิดกั้นข่าวสารได้

ประเทศที่ปกครองโดยสร้างความเชื่อและศรัทธาแบบงมงาย โดยไม่ใช้หลักของเหตุผลก็ไม่อาจอยู่ได้ ประเทศที่มีระบบการปกครองที่ประชาชนไม่มีเสรีภาพ เศรษฐกิจแม้จะไม่มีปัญหามากก็ยังอยู่ไม่ได้ แต่ส่วนมากมักจะเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นด้วย อย่างกรณีตูนิเซีย จุดเริ่มต้นของปัญหาก็คือมีนักศึกษาตกงาน และพยายามไปประกอบอาชีพเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการขายของ แล้วก็ถูกตำรวจไถเงิน ก็ทนไม่ได้ก็เป็นจุดปะทุของการประท้วง ที่สุดผู้นำก็ต้องลงจากอำนาจ

ผมพยายามชี้ว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกัน แน่นอนพลังของฝ่ายแรงงานที่มีการจัดตั้งที่ดี จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยได้ เพราะขบวนการแรงงานคือสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของชาวบ้าน ของคนธรรมดาสามัญที่รวมกลุ่มกัน เพื่อให้ตัวเองมีปากมีเสียง มีอำนาจต่อรอง เพื่อให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรม

ถ้าเรามาประเมินระบบเศรษฐกิจในภาคต่างๆ ในด้านการจ้างงาน จะได้รับผลอย่างไรต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เรื่องนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจับเพิ่มเติมอีกมาก เราจะต้องลงไปในรายละเอียดเลยว่า ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถ้าพิจารณาจาก AEC blueprint มันจะมีเรื่องอะไรบ้าง

มีเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม เรื่องการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับหลายมิติ เอาเฉพาะการเปิดตลาดและการเป็นฐานการผลิตร่วม เกี่ยวช้องกับการเปิดเสรีการค้า การลงทุน การบริการ การเงิน การศึกษา และการเปิดเสรีภาคแรงงาน ซึ่งภายใต้ข้อตกลงจะเปิดเสรีก่อน 7 สาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ นักบัญชี

การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ขีดความสามารถในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดคือ ทรัพยากรมนุษย์ บรรดาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่นๆ ก็มีความสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือทรัพยากรมนุษย์ หรือแรงงาน

ทีนี้ เราก็ต้องตั้งคำถามว่า สำหรับอนาคตแรงงาน เราได้วางแผนอย่างมีบูรณาการและยุทธศาสตร์อย่างไร เพื่อเตรียมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าระบบเศรษฐกิจโลกมีการเคลื่อนย้ายมาสู่เอเชียมากขึ้น ผมจึงมองในทางบวก ถ้าประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาความเสี่ยงของระบบการเมืองได้ อีก 15 ปี ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

เราอาจจะไม่กล้าประกาศว่า เราเป็นประเทศพัฒนาแล้วเหมือนมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด บอกว่า ปี 2020 เขาจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่เรายังไม่กล้าประกาศ เพราะเราไม่เคยมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและความต่อเนื่อง และมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่จะนำพาประเทศ

แต่ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษที่เราจะมีความพร้อมและมีโอกาสมากที่สุด ถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางอย่างได้

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของโลก เราจะเห็นได้ชัดว่า เอเชียก็จะเป็นกลุ่มก้อนใหญ่อันหนึ่ง ยุโรปก็จะเป็นกลุ่มก้อนใหญ่อันหนึ่ง อเมริกาก็จะเป็นกลุ่มก้อนใหญ่อันหนึ่ง แต่เราก็เห็นได้ชัดว่ายุโรปมีปัญหาวิกฤตการณ์ยูโรโซน ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็มีปัญหา เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ล่าสุดก็เจอภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซุปเปอร์สตอร์มแซนดี้

ถ้าเรามาดูในแง่ของการเปิดเสรีที่เกี่ยวข้องกับท่านทั้งหลายโดยตรงมากที่สุด และเกี่ยวข้องกับผู้คนในแวดวงแรงงานก็คือ การเปิดเสรีภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เพราะเวลาเขาพิจารณาการเปิดเสรีด้านแรงงาน เขามองว่ามันเป็นการบริการทางด้านแรงงาน

เมื่อพูดถึงการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็จะมีการเปิดเสรีภาคบริการสำคัญๆ หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสาขาบริการสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว สาขาโลจิสติกส์ แล้วก็ทางด้านแรงงาน

การเปิดเสรีทางด้านแรงงาน เราสามารถจัดว่าเป็นกลุ่มในภาคบริการ แต่ว่าเวลาเราพิจารณา เราจะต้องแยกออกมาศึกษาต่างหาก เพราะมีลักษณะเฉพาะ และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มีการเปิดเสรีภาคบริการครอบคลุมทุกส่วน การให้แรงงานเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนประเทศสมาชิกอาเซียนได้ง่ายขึ้น เป็นการทำให้ภาคบริการแรงงานมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น ในการตอบสนองต่ออุปสงค์ของการขยายตัวของการค้า ธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะเพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกัน พลวัตรของภาคแรงงาน ก็มีความเชื่อมโยงอย่างมากับภาคบริการการศึกษา และมิติทางการเมือง มิติเรื่องความเป็นชาติและมิติเรื่องชาตินิยมมากกว่าการเปิดเสรีในภาคส่วนอื่นๆ

ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เราก็เห็นได้ชัดว่าการเปิดเสรีภาคตลาดแรงงาน จะลดทอนอำนาจการต่อรองของฝ่ายลูกจ้างลง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเปิดเสรีการค้าการลงทุน ก็ต้องเปิดเสรีแรงงานด้วย เพราะถ้าขบวนการแรงงานแข็ง ต้องบอกว่าเปิดเสรีแรงงานให้ช้าที่สุด ในขณะที่เปิดเสรีภาคการค้าการลงทุนไปก่อน อำนาจต่อรองจะอยู่ที่ฝ่ายแรงงานทันที แต่ถามว่าเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมหรือเปล่า ก็ไม่แน่ใจ แต่ว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานชัดเจน แรงงานก็จะมีค่าจ้างสูงขึ้น แต่มันจะเกิดปัญหาอีกแบบหนึ่งก็คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และกระทบกับฝั่งนายจ้าง

ฉะนั้น ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบเสรี กระแสหลักก็บอกว่า เปิดเสรีภาคบริการ เปิดเสรีการลงทุนการค้า ก็ต้องเปิดเสรีแรงงานด้วย ทำให้ปัจจัยการผลิตมันเคลื่อนย้ายอย่างเสรีทั้งหมด แล้วมันก็จะเกิดประสิทธิภาพ (efficiency) เกิดการแบ่งงานกันทำ ทำให้ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

แต่วิธีคิดหรือการมองแบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแบบเสรีทั้งหลาย เขามองมิติทางด้านการแบ่งปัน การกระจาย ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจน้อย เขาจะมองในมุมความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพ

แน่นอนที่สุด ในมุมของแรงงาน การจะเปิดเสรีแรงงานต้องคิดอย่างเป็นระบบ และต้องมียุทธศาสตร์ในการเปิด และจะต้องบูรณาการเข้ากับส่วนอื่นๆ

การดำเนินยุทธศาสตร์ มาตรการ หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ จะต้องมองอย่างครบถ้วนทุกมิติ คือไม่มองมุมใดมุมหนึ่งหรือสุดโต่ง เพราะจุดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์รวมของระบบเศรษฐกิจ ก็คือสภาวะที่เกิดดุลยภาพ ผมคิดว่าหลักคิดอันนี้ ก็คือหลักคดเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา

ถ้าเราดูในแง่ของการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของรูปแบบการค้า-บริการภายกรอบของ WTO ด้วย ไม่เฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้น

การเปิดเสรีด้านนี้ เราจะเห็นว่ามีการต่อสู้กันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าทุกเรื่องที่ผลประโยชน์ ต่างฝ่ายก็ต้องต่างต่อรอง เจรจาเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าคนใดเอามากเกินไป อีกคนเสียมากเกินไป ก็อยู่กันไม่ได้ ก็ต้องเจรจาต่อรองจนกระทั่งอยู่ในระดับที่พอรับได้

แต่ในโลกความเป็นจริง ใครมีอำนาจมาก ใครจัดตั้งดีก็ต่อรองได้มาก เช่นเดียวกันกับการเปิดเสรีทางด้านแรงงาน ในเวทีระดับโลก เวทีระดับอาเซียนก็เหมือนกัน เอาเฉพาเรื่องการให้คำจำกัดความเรื่องแรงงาน ว่าการเปิดเสรีแรงงานจะจำกัดความระดับไหน ก็ปรากฏว่าชัยชนะเป็นของประเทศพัฒนาแล้ว ก็คือการเปิดเสรีแรงงานให้เฉพาะแรงงานระดับสูงหรือแรงงานระดับบน ก็คือเป็นแรงงานที่เป็นนักวิชาชีพชั้นสูง เป็นนักเทคนิคชั้นสูงทั้งหลาย คนที่ได้ประโยชน์คือแรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็จะมีโอกาสไปทำงานไร้พรมแดนมากขึ้น

แต่ถ้ามองในแง่บวกก็คือว่า ไม่เป็นไรเปิดเสรีในด้านนี้ ประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า เขาก็ขาดแคลนแรงงานด้านนี้อยู่แล้ว ก็เปิดเสรีให้เข้ามาทำงาน ก็มองในแง่บวกที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

แต่ว่าการเปิดเสรีแรงงานที่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทีมีฝีมือระดับต่ำ ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ยอมให้เปิดเต็มที่ เขาจะมองว่าถ้าเปิด ก็จะมีแรงงานจากประเทศด้อยพัฒนาทะลักเข้าไปแย่งงานคนของเขา

แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานระดับล่างในหลายอาชีพ ประเทศที่พัฒนาแล้ว คนของเขาก็ไม่ทำงานบางอย่าง ก็จำเป็นต้องนำเข้า รับคนจากประเทศอื่นเข้าไปทำงาน เหมือนกับประเทศที่งานบางอย่างคนไทยก็ไม่ทำแล้ว เพราะด้วยระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาถึงจุดหนึ่งคนไทยก็อาจไม่ทำบางอาชีพ เราก็ต้องไปอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

ในมุมของความเป็นเศรษฐกิจอาเซียน เราก็ต้องคิดว่าถ้ามันนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน พม่าเกิดโอกาสทางเศรษฐกิจจำนวนมาก มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ลาว เขมร เวียดนามก็เติบโตทางเศรษฐกิจสูง เราก็อาจจะเห็นการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างประเทศมากขึ้น

งานบางอย่างซึ่งเราเคยใช้แรงงานต่างด้าวทำงาน ก็อาจจะไม่มีคนทำงาน เราอาจจะต้องทำงานด้วยตัวเองมากขึ้นเหมือนประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ในยุโรปหรือสหรัฐส่วนใหญ่ก็ไม่มีคนรับใช้ในบ้าน ก็ต้องใช้เทคโนโลยีทั้งหลายช่วยในการทำงาน มันก็จะเกิดการพัฒนาไปในแนวทางนั้น

ตรงนี้ก็จะมีประเด็นอะไรที่เชื่อมโยงกับค่าแรงขั้นต่ำ ถ้าเราไม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานจำนวนหนึ่งก็อาจจะกลับประเทศ เพราะค่าจ้างแรงงานไม่มีส่วนต่างมากพอที่จะดึงดูดให้เขาทำงานในประเทศไทย

ถามว่าแล้วจะเกิดอีกด้านหนึ่งไหมซึ่งเป็นมุมกลับ ก็คือว่าเราขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ แล้วทำให้โรงงานที่ใช้แรงงานเข้มข้นทั้งหลาย ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน ก็อาจจะเกิดขึ้นบ้าง แต่ในที่สุดในทางทฤษฎีค่าแรงของประเทศเพื่อนบ้านก็จะต้องปรับสูงขึ้นในที่สุด

แต่ระยะเวลาที่เกิดการปรับตัว ระหว่างการปรับตัว เราไม่อาจอาศัยกลไกตลาดในการปรับตัวอย่างเดียวได้ ถ้าอาศัยกลไกตลาดทำงานอย่างเดียวตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเสรีนิยมจ๋า คนที่มีอำนาจต่อรองน้อย คนเล็กคนน้อยจะเสียประโยชน์ จะเสียเปรียบ ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบ ฉะนั้นรัฐจะต้องเข้าแทรกแซง เข้าดูแล มีนโยบาย มีกองทุนเพื่อให้เกิดการปรับตัวจากสภาพที่เกิดขึ้นเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สมมติโรงงานทอผ้า ใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อยู่จังหวัดที่เดิมค่าแรงขั้นต่ำต่ำกว่า 300 บาทเยอะ เขาบอกอยู่ไม่ได้ย้ายไปอยู่พม่า บางส่วนบอกย้ายไปอยู่เขมร ข้ามไปนิดเดียวค่าแรงอีกราคาหนึ่งเลย

ถ้าเราคิดว่าไม่เป็นไร เจ้าของกิจการ นายจ้าง จะย้ายฐานการผลิตไป มองในมุมความสามารถในการแข่งขัน เขาก็สร้างเครือข่ายการผลิตให้ดีขึ้น บริหารต้นทุนให้ความสามารถในการแข่งขันของกิจการไทยมันแข่งได้ แล้วเราไม่มีสิทธิไปห้าม เพราะประเทศเราเป็นประชาธิปไตย ก็ปล่อยให้ย้ายไป แต่ถ้าเราบอกว่าไม่อยากให้ย้ายไปเยอะ เราก็ต้องสร้างแรงจูงใจให้เขาอยู่ในประเทศไทย เช่น ประเทศไทยปลอดภัยกว่า โครงสร้างพื้นฐานดีกว่า ค่าน้ำค่าไฟถูกกว่า การขนส่งดีกว่า คอร์รัปชั่นน้อยกว่า อันนี้จริงหรือเปล่าไม่ทราบ ก็ให้เขาอยู่ในเมืองไทย ขึ้นอยู่ว่ายุทธศาสตร์ นโยบายจะเอายังไง

แต่ถ้าเราบอก ไม่เป็นไร ให้เป็นไปตามกลไกตามสภาพ แต่เรามานั่งดูผลกระทบ เช่น คนของเราเมื่อก่อนเป็นคนงานโรงงานทอผ้า เราบอกคนไทยไม่ต้องไปทำอะไรที่เป็นการผลิตพื้นๆ แล้ว ต้องเอาคนไทยมาทำอะไรที่ซับซ้อนมากขึ้น มีมูลค่าเพิ่ม (value added) สูงขึ้น เขาก็ไม่ตกงาน ก็ย้ายการทำงานจากที่มีทักษะขั้นต่ำมาเป็นทักษะขั้นกลางขั้นสูงมากขึ้น เขาก็จะไม่ตกงานและมีค่าจ้างสูงขึ้น

แต่กระบวนการปรับตัวตรงนี้ใช้เวลา เพราะมันเกี่ยวข้องกับการศึกษา การฝึกอบรม และในระหว่างทางเราจะดูแลเขาอย่างไร

เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ยังไงต้องเดินหน้า เพราะปัญหาของระบบเศรษฐกิจไทยคือ ความไม่เป็นธรรมเป็นปัญหาใหญ่ ผลกระทบที่ตามมาต้องก็เข้าไปแก้ทีละจุดๆ เข้าไปยกระดับผลิตภาพให้สูงขึ้น ไปดูแลกิจการขนาดเล็กให้เขาอยู่ให้ได้ ถ้าไม่ทำวันนี้ ทำวันอื่นก็ยาก

เวลาจะผลักดันเรื่องนี้ ต้องทำในช่วงที่เศรษฐกิจยังขยายตัวดีอยู่ และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะตอนนี้อัตราการว่างงานยังอยู่ที่ 0.6-0.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าต่ำ แล้วมีภาวะแรงงานตึงตัวในบางธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยซ้ำไป

แต่ตรงนี้อาจยังดูไม่ละเอียด ต้องดูต่อไปอีกพักหนึ่งว่าถ้าปรับแรงงานขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ อัตราการว่างงานจะเพิ่มไหม แต่ผมเชื่อว่าแม้เพิ่มก็ไม่มาก เพราะในการบิหารเศรษฐกิจก็ต้องมององค์รวม มองมหภาค ถ้าทำให้เศรษฐกิจโตได้ 4-6 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาการว่างงานไม่ใช่เรื่องใหญ่ ยังไงคนก็จะหางานได้ในที่สุด หรือเมื่อเศรษฐกิจอาเซียนเพิ่มขึ้น เราก็ไปหางานในประเทศเพื่อนบ้านบ้างก็ได้

แต่ว่าจะเกิดปัญหาอีกด้านหนึ่งต่างหาก ที่คนไทยจะไม่ออกไปทำงานต่างประเทศมากเท่าไหร่ ยกเว้นคนที่เก่งมากๆ ภาษาอังกฤษดีๆ ก็อาจจะออกไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน

ทีนี้ คนจากประเทศอื่นจะเข้ามาแย่งงานเราทำไหม โดยเฉพาะใน 7 สาขาวิชาชีพ ก็ต้องบอกว่า ในขณะนี้ยังคงไม่มีปัญหานั้น เนื่องสมาคมวิชาชีพของไทยจัดตั้งดี แข็งแรงระดับหนึ่ง ก็ต่อรองว่า หมอต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย ต้องเข้าใจภาษาไทย มีใบอนุญาตภาษาไทย ถ้าในมุมของต่างชาติก็จะมองว่า เรากีดกันเขาหรือไม่ ถ้ามองมุมเราก็คือ เราปกป้องคนในวิชาชีพในประเทศของเรา

แต่ถ้ามองอะไรที่ใหญ่กว่าความเป็นประเทศ และมองความเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจ จะต้องคิดอะไรที่ใหญ่กว่าความเป็นประเทศ ถึงจะสำเร็จในการเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจได้

ให้เราดูตัวอย่างกรณียูโรโซน ถ้าเขาคิดหนีไม่พ้นความเป็นประเทศ ชาวเยอรมันจะไม่ยอมออกเงินไปช่วยคนกรีซ ถ้าไม่ช่วยยูโรโซนก็ล่มสลาย คนที่เป็นสมาชิกของประชาคมต้องคิดกว้างกว่าความเป็นประเทศ

ถ้าคิดในฐานะผู้ใช้แรงงานก็คือ เพื่อนร่วมวิชาชีพ ไม่ว่าเขาจะเป็นชาติไหนก็ต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม อย่างมีสวัสดิภาพ มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม ถ้าเขาทำงานได้เท่ากับคนไทย เขาก็ต้องได้รับค่าจ้างเท่ากัน นี่คือความเป็นธรรมที่เป็นมิติระหว่างประเทศ

โอกาสและความเสี่ยงในมุมมองของนายจ้างก็มีหลากหลายลักษณะเช่นเดียวกัน เริ่มจากโอกาสของนายจ้างที่จะเลือกแรงงานที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะใน 7 สาขาวิชาชีพที่เปิดเสรีเต็มที่ อำนาจการต่อรองของแรงงานย่อมลดลง โดยเฉพาะสาขาวิชาชีพที่มีการเปิดเสรี ตลาดแรงงานเปิดกว้างมากขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น เป็นภาวะกดดันให้แรงงานต้องพัฒนาคุณภาพตัวเองให้ดีขึ้น ถ้าไม่พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ไม่พยายามพูดภาษาอังกฤษให้ได้ก็อาจจะเสียโอกาส

สถานประกอบการก็อาจจะไปในที่มีแรงงานสอดคล้องกับการผลิตได้มากกว่าเดิม และเมื่อลงทุนในอาเซียนก็สามารถนำนักวิชาชีพไปทำงานได้โดยสะดวกขึ้น

แต่ความเสี่ยงที่สำคัญก็คือ นายจ้างที่ไม่ดูแลแรงงานตัวเองให้ดี ไม่จ่ายค่าตอบแทนค่าจ้างที่เหมาะสม อาจจะสูญเสียแรงงานทีมคุณภาพให้กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอาเซียน

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเอาใจใส่ก็คือ ต้องศึกษามาตรฐานฝีมือแรงงานในประเทศที่ไปลงทุนด้วย

ในระยะยาว และระยะปานกลาง เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเต็มที่ อัตราค่าจ้างจะปรับใกล้เคียงกันมากขึ้น การย้ายฐานการผลิตเพื่อใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกจะค่อยๆ ลดลง แต่ในทางปฏิบัติการเปิดเสรีแรงงานจะไม่เกิดอย่างเต็มที่ เพราะองค์กรวิชาชีพ องค์กรแรงงานในหลายประเทศก็จะปกป้องแรงงานภายในของตนเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติ เพราะการเปิดเสรีภาคแรงงานมันมีมิติด้านการเมือง และเกี่ยวกับคนเยอะ ฉะนั้นจะมีความต่างจากเปิดเสรีทางด้านอื่นๆ พอสมควร

ผมสรุปสั้นๆ ว่า อนาคตของเศรษฐกิจ และอนาคตของแรงงานไทยมีโอกาสจำนวนมาก ถ้าเรามียุทธศาสตร์ มีนโยบาย และสามารถบูรณาการภาคส่วนต่างๆ ให้เดินเข้าสู่เป้าหมายที่จะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจภาพรวมและแรงงานร่วมกันได้

ขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งเราไม่อาจร้องขอจากรัฐบาลฝ่ายเดียวได้ เราทั้งในแง่ของนายจ้างก็ดี องค์กรนายจ้างก็ดี องค์กรลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานก็ดี ก็ต้องช่วยเหลือตัวเองและช่วยกันด้วย ที่จะทำให้เราใช้โอกาสของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียนรู้จากบูราวอย

Posted: 31 Oct 2012 09:09 AM PDT


ภาพโดย Pakorn Lertsatienchai

มีโอกาสรู้จักและเรียนรู้จากอาจารย์ไมเคิล บูราวอย มิตรใหม่ที่อาจารย์สุริชัย หวันแก้วพามาให้รู้จักกับเมืองไทย ได้ฟังปาฐกถาและบทสนทนาหลายวง เห็นว่าเมืองไทยน่าที่จะรู้จักบูราวอยและแนวคิดของเขาให้มากขึ้น ทั้งในฐานที่เขาเป็นคนน่าสนใจและแนวคิดเขาก็ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องขยับตัว และทำให้นักวิชาการลุกขึ้นมาถกเถียงว่าความรู้ยังมีคุณค่าต่อการดำรงอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร
 
 
1– บูราวอย
 
ไมเคิล บูราวอย เป็นศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ มหาวิทยาลัยระดับต้นของอเมริกาและของโลก เป็นแนวหน้าคนสำคัญของการผลักดันแนวคิดเรื่องสังคมวิทยาสาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันผู้ผลิตความรู้เข้ามารู้สึกรู้สากับประเด็นปัญหาทางสังคมมากขึ้น   เขาเป็นนักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการจำนวนมากและมีความหลากหลาย ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในสมาคมสังคมวิทยาระดับชาติและระดับโลก ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสมาคมสังคมวิทยานานาชาติ (พ.ศ. 2553-2557)
 
ประวัติส่วนตัวจากคำบอกเล่าของเขามีสีสันมากทีเดียว ครอบครัวเขาเป็นคนเชื้อสายยิวในรัสเซีย ก่อนจะอพยพโยกย้ายเข้ามาอยู่ในเยอรมัน พ่อและแม่ของเขาเรียนจบปริญญาเอกด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก และพูดภาษาต่างๆ ได้ 3-4 ภาษา ก่อนจะแต่งงานและย้ายหนีนาซีไปอยู่ที่อังกฤษ พ่อเขาเพียงคนเดียวสามารถใช้ปริญญาที่มีติดตัวสมัครงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ส่วนแม่กลับต้องใช้ชีวิตเป็นแม่บ้านธรรมดาและเลี้ยงลูก 2 คน ซึ่งถ้ายังอยู่ที่เยอรมัน เธอคงเป็นดาวเด่นในวงการวิทยาศาสตร์ของยุโรปยุคนั้นทีเดียว พ่อเป็นคนที่ค่อนข้างหมกมุ่นอยู่กับงานและไม่ค่อยสนใจใครเท่าไหร่นัก และเสียชีวิตในวัยเพียง 54 ปี เขาบอกว่าตัวเองคล้ายพ่อมากกว่าแม่ และแม่เป็นคนช่างพูด ฟังแล้วได้แต่ขำ เพราะสำหรับพวกเราแล้ว ตัวเขาเองเป็นคนช่างพูดช่างเจรจาเหลือเกิน
 
ช่วงเรียนป.ตรี เขาเลือกเรียนคณิตศาสตร์ที่เคมบริดจ์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นวิชาที่ไม่ต้องท่อง ทำความเข้าใจอย่างเดียวก็พอ แต่พอเรียนไปได้ 3 ปี ก็มีโอกาสได้ไปอเมริกา และได้พบกับบรรยากาศที่ขบวนการทางสังคมกำลังเบ่งบานอยู่เต็มไปหมด เขาตื่นเต้นมาก ยิ่งกลับมาพบกับเมืองน่าเบื่อ มหาวิทยาลัยน่าเบื่อ และคณิตศาสตร์อันน่าเบื่อ เขายิ่งรู้สึกเบื่อมากขึ้น แต่โชคดีที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษมีเวลาให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองเยอะมาก เขาจึงใช้เวลานอกมหาวิทยาลัยไปกับการเรียนรู้โลกด้านนอก เขาเดินทางไปแอฟริกาโบกรถไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เหนือจดใต้

เมื่อถามว่าแนวคิดของการเป็นนักสังคมวิทยาของเขาเริ่มขึ้นอย่างไร เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เขาอายุ 18 ปี เป็นหนุ่มน้อยไร้เดียงสา เขาอยากไปอินเดียและสนใจปัญหาที่ว่า อินเดียควรจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาราชการ ซึ่งขณะนั้นถกเถียงกันว่าจะเป็นอังกฤษ ฮินดี หรือภาษาถิ่น เขาคิดว่า ไม่เห็นจะยากเลย ก็ทดลองสอนเป็นภาษาเหล่านั้นดูสิ แล้วทดสอบคนที่เรียนหลังจากสอน ถ้าเรียนเป็นภาษาไหนเข้าใจก็น่าจะใช้ภาษานั้น เขาชี้ให้เห็นว่า ตอนนั้นเขายังแก้ปัญหาจากมุมมองแบบวิศวกรอยู่มาก แต่โชคดีมีอาจารย์ที่เข้าใจ และเป็นนักวิชาการ พอเขาไปเคาะประตูบ้านและเล่าไอเดียให้ฟัง อาจารย์ก็นั่งฟังพร้อมอมยิ้มและเขียนจดหมายให้เขา 5 ฉบับสำหรับถือติดตัวไปที่อินเดีย และเขาก็ได้รับการอำนวยความสะดวกทุกประการจากทุกที่ที่ไป อาจารย์คนนั้นชื่อ เอ็ดวาร์ด ชิลส์ นักสังคมวิทยาแห่งสำนักชิคาโกนั่นเอง
 
เมื่อเขาเริ่มพูดคุยกับคนโน้นคนนี้ ซึ่งมีความเห็นและข้อถกเถียงต่างๆ มากมายเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาราชการ เขาบอกว่า การเป็นนักสังคมวิทยาเกิดขึ้นตอนนี้แหละ นั่นคือ ในขณะที่มองเห็นปัญหาในเชิงเทคนิก แต่ก็มองเห็นบริบทแวดล้อมทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย การสนทนากับคนอื่นที่มีมุมมองแตกต่างก็ทำให้เห็นกระบวนการทำงานทางสังคมเด่นชัดขึ้น และถือว่าเป็นวิธีการทำงานของนักสังคมวิทยา เมื่อเขาอธิบายถึงตรงนี้จึงได้บางอ้อว่า ทำไมทุกคนก็สามารถเป็นนักสังคมวิทยาได้
 
หลังจากเรียนคณิตศาสตร์จบ เขาไปอยู่ที่แซมเบียและเรียนสังคมวิทยาที่นั่น ศึกษาชีวิตคนงานทำเหมือง และเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จากนั้นจึงไปเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยชิคาโกโดยศึกษาชีวิตของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานสำคัญในช่วงหลังของเขาเน้นเรื่องสังคมวิทยาสาธารณะ กระตุ้นให้นักวิชาการและมหาวิทยาลัยสนใจกับปัญหาสังคมมากขึ้น
 
เมื่อถูกถามว่าทำไมจึงไม่เลือกเรียนมานุษยวิทยาล่ะ เขาตอบปนหัวเราะว่า ส่วนตัวเขามองว่าวิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาที่นักมานุษยวิทยาใช้นั้นดูแปลกประหลาดไปสักหน่อย เพราะสนใจเป็นจุดเป็นกระหย่อม แต่ในความเป็นจริงนั้น ชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านหนึ่งย่อมไม่อาจแยกขาดจากกระบวนการทางสังคมที่กระทำการอยู่ภายนอกและส่งผลกระทบต่อวิถีของผู้คนในหมู่บ้านนั้น

ดังนั้นเอง สำหรับตัวเขาแล้ว สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไม่ได้แยกออกจากกัน ฟังถึงตรงนี้จึงเข้าใจมากขึ้นว่างานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่เขียนร่วมกับนักศึกษาอีก 9 คน ในเล่มGlobal Ethnography: Forces, Connections and Imaginations in a Postmodern World ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์สามารถอธิบายจากชีวิตของผู้คนระดับปัจเจกขึ้นไปจนถึงระดับโครงสร้างได้อย่างไร นั้นมีที่มาจากฐานความคิดที่มองเห็นความเชื่อมโยงของทั้งสองศาสตร์นี้เอง
 
ช่วงวันที่ 24 – 28 ตุลาคม พ.ศ.2555 บูราวอยเดินทางมาเมืองไทยตามคำเชิญของอาจารย์สุริชัย หวันแก้ว เพื่อแสดงปาฐกถาและร่วมงานประชุมวิชาการหัวข้อ "โลกแห่งการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม: วิกฤติความรู้สาธารณะ และระเบียบวาระของสังคมศาสตร์ข้ามชาติในอาเซียน" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังพบปะสนทนาร่วมกับคนทำงานขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านสุขภาพ ตลอดจนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เขามาโดยไม่คิดค่าตัว ไม่เบิกค่าตั๋วเครื่องบิน ผู้จัดเพียงแต่เตรียมที่พักและอาหารดูแลเขา ซึ่งการดูแลนั้นไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด และทำให้ผู้จัดค่อนข้างถอนหายใจโล่งขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้นได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยค่อนข้างน้อย
 
ในวงสนทนา บูราวอยมักจะกระเซ้าเย้าแหย่คนโน้นคนนี้อยู่ตลอด ดังเช่น เรียกอาจารย์สุริชัย หวันแก้ว คนที่เขาพบเพียงครั้งเดียวและรับคำเชิญมาเมืองไทยด้วยหลายฉายานาม นักมายากลบ้างช่างเชื่อมบ้าง เรียกคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์หลังจากรับฟังเรื่องเล่าที่นำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพว่า ตัวป่วนบ้าง เรียก ด ร. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพลว่า แม่สาวอันตราย เป็นต้น แต่เขาไม่มีการพูดในลักษณะเหน็บแนมเลย ทั้งยังร่ำรวยอารมณ์ขันยั่วล้อตัวเองและอำนาจอยู่มาก ดังเช่น เมื่อกล่าวถึงสำนักชิคาโก ในฐานะที่เป็นสำนักทางสังคมวิทยาที่ศึกษาชีวิตของเมือง เขาก็ยกย่องมากว่าเป็นการริเริ่มที่ดี ก่อนเสริมว่ามีการศึกษามากเสียจนชิคาโกกลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลไป – การมีอารมณ์ขันนี้ ตัวเขาเองเชื่อว่าเป็นคุณสมบัติของนักสังคมวิทยาที่ดี เพราะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะสื่อสารเรื่องยากๆ กับผู้คนทั่วไปได้
 
สำหรับการเดินทางมาเมืองไทยในครั้งนี้ สิ่งที่บูราวอยประทับใจค่อนข้างมากก็คือ วงสนทนาที่มีความหลากหลาย นอกเหนือจากงานประชุมวิชาการ 2 วันแล้ว วงสนทนากับคนทำงานสายสุขภาพซึ่งมีทั้งหมอและนักมานุษยวิทยาที่ทำงานสร้างความรู้และขับเคลื่อนนโยบาย และวงสนทนากับคนหลากวัยจากสหสาขาวิชาการ เขาเชื่อว่ามีแต่วงสนทนาระหว่างผู้คนข้ามกลุ่ม ข้ามพรมแดน ข้ามสาขาวิชา ฯลฯ และด้วยสปิริตใกล้เคียงกันระดับหนึ่ง จึงจะทำให้เกิดคุณภาพใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ และควรที่จะมีวงสนทนาลักษณะนี้ให้มากขึ้นต่อไปอีก


2 - ความรู้สาธารณะ

เนื้อหาที่น่าสนใจจากปาฐกถาของไมเคิล บูราวอย ในวันที่ 25 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นั้นเห็นจะเป็นการเปิดบทสนทนาด้วยการแบ่งประเภทของความรู้ทางสังคมวิทยาออกเป็น 4 ด้าน นั่นคือ

(1)  สังคมวิทยาบริสุทธิ์  คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อศาสตร์ทางสังคมวิทยาโดยเฉพาะ
(2)  สังคมวิทยาสาธารณะ คือ ความรู้ที่นำไปสู่การสร้างบทสนทนาสาธารณะ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อประเด็นสาธารณะนั้นลึกซึ้งขึ้น ทั้งนี้ สาธารณะนั้นหมายถึงชุมชนที่มีการสื่อสารระหว่างกัน
(3)  สังคมวิทยานโยบาย คือ ความรู้ที่ตอบโจทย์ทางนโยบาย โดยอาจจะเป็นองค์กร สถาบัน บรรษัท ฯลฯ
(4)  สังคมวิทยาวิพากษ์ คือ ความรู้เชิงวิเคราะห์วิพากษ์ต่อสังคมวิทยาบริสุทธิ์ เพื่อทำให้เกิดการยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

ธรรมชาติของความรู้ทั้ง 4 ด้านมีความแตกต่างกัน นั่นคือ สังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยาวิพากษ์จะเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในหมู่นักวิชาการกันเอง ส่วนสังคมวิทยานโยบายและสังคมวิทยาสาธารณะนั้นเป็นการสนทนานอกพรมแดนของนักวิชาการ นอกจากนี้ ความรู้ในสังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยานโยบายมีลักษณะของการเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง ส่วนความรู้ในสังคมวิทยาวิพากษ์และสังคมวิทยาสาธารณะมีลักษณะของการตรวจสอบทบทวนตนเอง
 
อย่างไรก็ดี ความรู้ทั้ง 4 ด้านไม่ได้แยกส่วนออกจากกัน หากสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ดังเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยาสาธารณะนั้น แม้จะเป็นความรู้ที่ทำงานอยู่คนละเขตแดน แต่สังคมวิทยาบริสุทธิ์ก็ดำรงอยู่ไม่ได้หากไม่มีโจทย์จากสังคมวิทยาสาธารณะ ส่วนสังคมวิทยาสาธารณะก็ไม่อาจสร้างความเข้าใจต่อประเด็นสาธารณะได้อย่างลึกซึ้งหากขาดการความเชี่ยวชาญจากสังคมวิทยาบริสุทธิ์
 
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องอันตรายมากหากความรู้ขาดความยืดหยุ่นและมีความแข็งตัวมากขึ้น เป็นต้นว่า สังคมวิทยาบริสุทธิ์ก็จะมีแนวโน้มหลงตัวเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางมากขึ้น สังคมวิทยาวิพากษ์ก็อาจจะมีลักษณะคล้ายพวกคลั่งศาสนาได้
 
ส่วนสถานะของความรู้ในสังคมนั้น บูราวอยแสดงผ่านโมเดลสามเหลี่ยมที่ประกอบด้วย ตลาด รัฐ และภาคประชาสังคม เขาล้อว่าคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพียงแต่ว่าภูเขาที่เขาเห็นเป็นภูเขาไฟที่กำลังปะทุระเบิด นั่นคือ ตลาดกับรัฐจับมือกันแน่นหนาขึ้น ในขณะที่ภาคประชาสังคมกำลังอ่อนแรงลง และยิ่งแรงสนับสนุนจากภาคส่วนที่ผลิตความรู้ลดน้อยลง สถานการณ์ก็น่าวิตกยิ่งขึ้น
 
บูราวอยเสนอลักษณะความรู้ทั้ง 4 ด้านนี้ก็เพื่อยืนยันว่าความรู้ทั้ง 4 นั้นสำคัญและจำเป็นต่อกันและกันเพียงใด ทั้งยังกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติเหมือนกัน นั่นคือ สังคมวิทยานโยบายกำลังเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เพราะมหาวิทยาลัยไม่อาจพึ่งพิงงบประมาณสนับสนุนจากรัฐอีกต่อไป ความรู้จึงกลายเป็นสินค้า โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ค้า ในขณะที่สังคมวิทยาสาธารณะก็เผชิญกับวิกฤติความชอบธรรม เนื่องจากความรู้ที่ห่างไกลจากการรับรู้ของสาธารณะ ทั้งยังต้องพึ่งพาทุนส่วนตัวและค่าลงทะเบียนจากนักศึกษา ย่อมไม่อาจได้รับความสนับสนุนจากสาธารณะได้ ส่วนสังคมวิทยาวิพากษ์ก็ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ ในการแสวงหาคุณค่าและความหมายในการดำรงอยู่ของตน ในภาวะที่ความรู้ได้กลายเป็นสินค้า ซึ่งวิกฤติเหล่านี้ก็นำไปสู่วิกฤติในการบริหารจัดการของสังคมวิทยาบริสุทธิ์ ที่ทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยอึดอัดคับข้องใจกับระบบการเรียนการสอนและการวิจัยที่มีความเป็นระบบราชการมากขึ้น มีการหาเงินในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น
 
ประเด็นมหาวิทยาลัยในวิกฤตินี้ บูราวอยเสนอต่อประชาคมนักวิชาการและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขาเชื่อว่าหากมองเห็นและยอมรับว่ามีโครงสร้างวิกฤติที่กดทับความรู้เหล่านี้นั้น เราน่าจะขยับและพยายามแสวงหาทางออกร่วมกันได้ด้วยแนวทางต่างๆ ที่จำเป็นต้องคิดและทำให้เกิดขึ้น ดังที่อาจารย์สุริชัย หวันแก้วเสนอว่า หากมองเห็นโครงสร้างที่กระทำการอยู่ ก็ขึ้นกับว่าตัวเราจะมองเห็นตนเองเป็นเหยื่อหรือผู้กระทำการเปลี่ยนแปลง เพราะตราบใดที่อาจารย์หรือนักวิชาการยังคงพร่ำบ่นอย่างท้อแท้ต่อโครงสร้างมหาวิทยาลัยที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อการทำงานหรือไม่เป็นไปในทิศทางของมหาวิทยาลัยในอุดมคติ ก็เป็นเพียงแต่ข้ออ้างที่จะไม่กระทำการใด-ใดนั่นเอง


3- สมุหภาพ มิตรภาพ (จบ)

ในวงสนทนาหนึ่ง บูราวอยชี้ให้เห็นว่า การยืนยันว่าความรู้ทางสังคมวิทยายังมีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมนั้นจำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่าความรู้นั้นสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงตัวในภาวะวิกฤติ และต้องมีความเป็นสมุหภาพ (Collectivity) มากกว่าความเป็นปัจเจก
 
เขาเล่าว่า เมื่อครั้งที่สหรัฐอเมริกาประสบเหตุภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรินา ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาคิดว่าในขณะนั้นถ้าตัวเองเป็นประธานสมาคมสังคมวิทยานานาชาติจะเรียกประชุมคณะกรรมการวิชาการทั้ง 55 คณะ เพื่อขอให้ช่วยกันเขียนงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยอาจจะให้งบประมาณสนับสนุนไปคนละ 2,000 เหรียญสหรัฐ ด้วยวิธีการนี้น่าจะทำให้พลังทางวิชาการปรากฎตัวและเป็นพลังหนุนเสริมการทำงานทางสังคมได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และไม่มีการทำงานดังกล่าวเลยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากทีเดียว
 
ทั้งนี้ การกระตุ้นเร้าให้แวดวงวิชาการตื่นตัวกับวิกฤติที่สังคมประสบอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกับการสนับสนุนให้นักวิชาการปรากฏตัวพร้อมทั้งให้ความรู้และหรือความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน

ประชาคมวิชาการจำต้องคิดใคร่ครวญให้มากว่าจะทำให้ความเป็นสมุหภาพเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งบูราวอยก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระทั่งนักวิชาการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในมหาวิทยาลัยที่เขาสอนอยู่นั้นก็ยังไม่ยอมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกัน แต่สมุหภาพเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ปัจเจกชนไม่รู้สึกอ่อนแรงล้าพลังในการต่อสู้และรับมือกับโครงสร้างใหญ่ที่ครอบงำเราอยู่ เขาเตือนว่า พวกเรามักจะติดกับกับการบุกป่าฝ่าดงไปคนเดียว ทั้งที่มีกันอยู่จำนวนไม่มาก แถมเป็นพวกช่างวิเคราะห์วิพากษ์ ยิ่งทำให้การสร้างสมุหภาพเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
 
เขายืนยันว่า เราต้องเชื่อว่าความรู้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ โดยการเชื้อเชิญผู้คนให้เข้ามาแลกเปลี่ยนสนทนากันนั้นต้องอาศัยคุณภาพภายในบางอย่าง และเราต้องเรียนรู้ที่จะแปลภาษาวิชาการให้เป็นภาษาที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้
 
อาจารย์สุริชัย หวันแก้วมักจะออกปากเตือนพวกเราว่าโลกไร้พรมแดนกำลังขยายตัวออกมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ระดับการมองปัญหาของเราบางครั้งเป็นเพียงรัฐชาติและติดอยู่ที่เขตแดน ดังเรื่องการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งพลเมืองของเราเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการลงทุนสร้างเขื่อนในลาวเพื่อส่งกระแสไฟฟ้ามาให้ประเทศไทย สถานการณ์ที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในลาวกำลังถูกทำลาย ชาวลาวจำนวนมากต้องอพยพย้ายที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ชาวไทยจะสามารถเสพบริโภคกระแสไฟฟ้าราคาถูกโดยไม่รู้สึกร่วมกับความทุกข์ยากของพี่น้องชาว
ลาวได้อย่างไร
 
ในการสนทนากับบูราวอย อาจารย์สุริชัยฯ แสดงความเห็นว่า ในปัจจุบัน ประดาปัจเจกชนโดยมากต่างดำรงอยู่ในโลกที่แตกแยก พวกเขาปฏิเสธการสนทนาร่วมกัน เพราะจิตใจเต็มไปด้วย ตรรกะที่แข็งตัว เปรียบได้กับคนที่มองไม่เห็นคุกที่คุมขังตัวเอง แต่พวกเราไม่ใช่เหยื่อของโครงสร้างเหล่านี้ หากสามารถแหกกรงขังออกไปได้โดยไม่ต้องพร่ำบ่น ด้วยการเชื้อชวนกันตั้งคำถามว่า - อยากจะพูดคุยอะไรบางอย่างที่มีความหมายร่วมกันไหม?
 
อาจารย์สุริชัยฯ เสนอว่า เมื่อเรายอมรับว่าวิกฤติปัจจุบันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง ก็น่าจะเห็นความท้าทายร่วมกัน และถือเป็นพันธกิจร่วมกันในการคลี่คลายวิกฤติเหล่านั้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญก็คือ "การเริ่มต้นร่วมกัน" ซึ่งไม่จำเป็นต้องมายืนด้วยกัน
 
 
การมาเยือนของบูราวอยครั้งนี้มีความหมายหลายประการ ไม่ใช่ในฐานะที่มีคนดังระดับโลกมาเยือน หากแต่เป็นไปในฐานะที่เรามีกัลยาณมิตรเพิ่มขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างจิตใจอันเป็นสากล มีการเรียนรู้ที่มีความหมายมากกว่าการมีประสบการณ์ มีความท้าทายอันปราศจากอหังการและมมังการ และทั้งหมดทั้งนั้นล้วนมีพื้นฐานจากมิตรภาพเรียบง่ายของคนใจใหญ่ไม่กี่คน
 

เรียนรู้จากบูราวอย

Posted: 31 Oct 2012 09:06 AM PDT

มีโอกาสรู้จักและเรียนรู้จากอาจารย์ไมเคิล บูราวอย มิตรใหม่ที่อาจารย์สุริชัย หวันแก้วพามาให้รู้จักกับเมืองไทย ได้ฟังปาฐกถาและบทสนทนาหลายวง เห็นว่าเมืองไทยน่าที่จะรู้จักบูราวอยและแนวคิดของเขาให้มากขึ้น ทั้งในฐานที่เขาเป็นคนน่าสนใจและแนวคิดเขาก็ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องขยับตัว และทำให้นักวิชาการลุกขึ้นมาถกเถียงว่าความรู้ยังมีคุณค่าต่อการดำรงอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร
 
 
1– บูราวอย
 
ไมเคิล บูราวอย เป็นศาสตราจารย์ทางด้านสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ มหาวิทยาลัยระดับต้นของอเมริกาและของโลก เป็นแนวหน้าคนสำคัญของการผลักดันแนวคิดเรื่องสังคมวิทยาสาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันผู้ผลิตความรู้เข้ามารู้สึกรู้สากับประเด็นปัญหาทางสังคมมากขึ้น   เขาเป็นนักวิชาการที่มีผลงานทางวิชาการจำนวนมากและมีความหลากหลาย ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในสมาคมสังคมวิทยาระดับชาติและระดับโลก ปัจจุบันได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสมาคมสังคมวิทยานานาชาติ (พ.ศ. 2553-2557)
 
ประวัติส่วนตัวจากคำบอกเล่าของเขามีสีสันมากทีเดียว ครอบครัวเขาเป็นคนเชื้อสายยิวในรัสเซีย ก่อนจะอพยพโยกย้ายเข้ามาอยู่ในเยอรมัน พ่อและแม่ของเขาเรียนจบปริญญาเอกด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก และพูดภาษาต่างๆ ได้ 3-4 ภาษา ก่อนจะแต่งงานและย้ายหนีนาซีไปอยู่ที่อังกฤษ พ่อเขาเพียงคนเดียวสามารถใช้ปริญญาที่มีติดตัวสมัครงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ส่วนแม่กลับต้องใช้ชีวิตเป็นแม่บ้านธรรมดาและเลี้ยงลูก 2 คน ซึ่งถ้ายังอยู่ที่เยอรมัน เธอคงเป็นดาวเด่นในวงการวิทยาศาสตร์ของยุโรปยุคนั้นทีเดียว พ่อเป็นคนที่ค่อนข้างหมกมุ่นอยู่กับงานและไม่ค่อยสนใจใครเท่าไหร่นัก และเสียชีวิตในวัยเพียง 54 ปี เขาบอกว่าตัวเองคล้ายพ่อมากกว่าแม่ และแม่เป็นคนช่างพูด ฟังแล้วได้แต่ขำ เพราะสำหรับพวกเราแล้ว ตัวเขาเองเป็นคนช่างพูดช่างเจรจาเหลือเกิน
 
ช่วงเรียนป.ตรี เขาเลือกเรียนคณิตศาสตร์ที่เคมบริดจ์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นวิชาที่ไม่ต้องท่อง ทำความเข้าใจอย่างเดียวก็พอ แต่พอเรียนไปได้ 3 ปี ก็มีโอกาสได้ไปอเมริกา และได้พบกับบรรยากาศที่ขบวนการทางสังคมกำลังเบ่งบานอยู่เต็มไปหมด เขาตื่นเต้นมาก ยิ่งกลับมาพบกับเมืองน่าเบื่อ มหาวิทยาลัยน่าเบื่อ และคณิตศาสตร์อันน่าเบื่อ เขายิ่งรู้สึกเบื่อมากขึ้น แต่โชคดีที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษมีเวลาให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองเยอะมาก เขาจึงใช้เวลานอกมหาวิทยาลัยไปกับการเรียนรู้โลกด้านนอก เขาเดินทางไปแอฟริกาโบกรถไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เหนือจดใต้

เมื่อถามว่าแนวคิดของการเป็นนักสังคมวิทยาของเขาเริ่มขึ้นอย่างไร เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เขาอายุ 18 ปี เป็นหนุ่มน้อยไร้เดียงสา เขาอยากไปอินเดียและสนใจปัญหาที่ว่า อินเดียควรจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาราชการ ซึ่งขณะนั้นถกเถียงกันว่าจะเป็นอังกฤษ ฮินดี หรือภาษาถิ่น เขาคิดว่า ไม่เห็นจะยากเลย ก็ทดลองสอนเป็นภาษาเหล่านั้นดูสิ แล้วทดสอบคนที่เรียนหลังจากสอน ถ้าเรียนเป็นภาษาไหนเข้าใจก็น่าจะใช้ภาษานั้น เขาชี้ให้เห็นว่า ตอนนั้นเขายังแก้ปัญหาจากมุมมองแบบวิศวกรอยู่มาก แต่โชคดีมีอาจารย์ที่เข้าใจ และเป็นนักวิชาการ พอเขาไปเคาะประตูบ้านและเล่าไอเดียให้ฟัง อาจารย์ก็นั่งฟังพร้อมอมยิ้มและเขียนจดหมายให้เขา 5 ฉบับสำหรับถือติดตัวไปที่อินเดีย และเขาก็ได้รับการอำนวยความสะดวกทุกประการจากทุกที่ที่ไป อาจารย์คนนั้นชื่อ เอ็ดวาร์ด ชิลส์ นักสังคมวิทยาแห่งสำนักชิคาโกนั่นเอง
 
เมื่อเขาเริ่มพูดคุยกับคนโน้นคนนี้ ซึ่งมีความเห็นและข้อถกเถียงต่างๆ มากมายเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาราชการ เขาบอกว่า การเป็นนักสังคมวิทยาเกิดขึ้นตอนนี้แหละ นั่นคือ ในขณะที่มองเห็นปัญหาในเชิงเทคนิก แต่ก็มองเห็นบริบทแวดล้อมทั้งทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย การสนทนากับคนอื่นที่มีมุมมองแตกต่างก็ทำให้เห็นกระบวนการทำงานทางสังคมเด่นชัดขึ้น และถือว่าเป็นวิธีการทำงานของนักสังคมวิทยา เมื่อเขาอธิบายถึงตรงนี้จึงได้บางอ้อว่า ทำไมทุกคนก็สามารถเป็นนักสังคมวิทยาได้
 
หลังจากเรียนคณิตศาสตร์จบ เขาไปอยู่ที่แซมเบียและเรียนสังคมวิทยาที่นั่น ศึกษาชีวิตคนงานทำเหมือง และเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จากนั้นจึงไปเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยชิคาโกโดยศึกษาชีวิตของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานสำคัญในช่วงหลังของเขาเน้นเรื่องสังคมวิทยาสาธารณะ กระตุ้นให้นักวิชาการและมหาวิทยาลัยสนใจกับปัญหาสังคมมากขึ้น
 
เมื่อถูกถามว่าทำไมจึงไม่เลือกเรียนมานุษยวิทยาล่ะ เขาตอบปนหัวเราะว่า ส่วนตัวเขามองว่าวิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาที่นักมานุษยวิทยาใช้นั้นดูแปลกประหลาดไปสักหน่อย เพราะสนใจเป็นจุดเป็นกระหย่อม แต่ในความเป็นจริงนั้น ชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านหนึ่งย่อมไม่อาจแยกขาดจากกระบวนการทางสังคมที่กระทำการอยู่ภายนอกและส่งผลกระทบต่อวิถีของผู้คนในหมู่บ้านนั้น

ดังนั้นเอง สำหรับตัวเขาแล้ว สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไม่ได้แยกออกจากกัน ฟังถึงตรงนี้จึงเข้าใจมากขึ้นว่างานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของเขาที่เขียนร่วมกับนักศึกษาอีก 9 คน ในเล่มGlobal Ethnography: Forces, Connections and Imaginations in a Postmodern World ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์สามารถอธิบายจากชีวิตของผู้คนระดับปัจเจกขึ้นไปจนถึงระดับโครงสร้างได้อย่างไร นั้นมีที่มาจากฐานความคิดที่มองเห็นความเชื่อมโยงของทั้งสองศาสตร์นี้เอง
 
ช่วงวันที่ 24 – 28 ตุลาคม พ.ศ.2555 บูราวอยเดินทางมาเมืองไทยตามคำเชิญของอาจารย์สุริชัย หวันแก้ว เพื่อแสดงปาฐกถาและร่วมงานประชุมวิชาการหัวข้อ "โลกแห่งการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม: วิกฤติความรู้สาธารณะ และระเบียบวาระของสังคมศาสตร์ข้ามชาติในอาเซียน" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังพบปะสนทนาร่วมกับคนทำงานขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านสุขภาพ ตลอดจนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เขามาโดยไม่คิดค่าตัว ไม่เบิกค่าตั๋วเครื่องบิน ผู้จัดเพียงแต่เตรียมที่พักและอาหารดูแลเขา ซึ่งการดูแลนั้นไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด และทำให้ผู้จัดค่อนข้างถอนหายใจโล่งขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้นได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยค่อนข้างน้อย
 
ในวงสนทนา บูราวอยมักจะกระเซ้าเย้าแหย่คนโน้นคนนี้อยู่ตลอด ดังเช่น เรียกอาจารย์สุริชัย หวันแก้ว คนที่เขาพบเพียงครั้งเดียวและรับคำเชิญมาเมืองไทยด้วยหลายฉายานาม นักมายากลบ้างช่างเชื่อมบ้าง เรียกคุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์หลังจากรับฟังเรื่องเล่าที่นำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพว่า ตัวป่วนบ้าง เรียก ด ร. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพลว่า แม่สาวอันตราย เป็นต้น แต่เขาไม่มีการพูดในลักษณะเหน็บแนมเลย ทั้งยังร่ำรวยอารมณ์ขันยั่วล้อตัวเองและอำนาจอยู่มาก ดังเช่น เมื่อกล่าวถึงสำนักชิคาโก ในฐานะที่เป็นสำนักทางสังคมวิทยาที่ศึกษาชีวิตของเมือง เขาก็ยกย่องมากว่าเป็นการริเริ่มที่ดี ก่อนเสริมว่ามีการศึกษามากเสียจนชิคาโกกลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลไป – การมีอารมณ์ขันนี้ ตัวเขาเองเชื่อว่าเป็นคุณสมบัติของนักสังคมวิทยาที่ดี เพราะเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะสื่อสารเรื่องยากๆ กับผู้คนทั่วไปได้
 
สำหรับการเดินทางมาเมืองไทยในครั้งนี้ สิ่งที่บูราวอยประทับใจค่อนข้างมากก็คือ วงสนทนาที่มีความหลากหลาย นอกเหนือจากงานประชุมวิชาการ 2 วันแล้ว วงสนทนากับคนทำงานสายสุขภาพซึ่งมีทั้งหมอและนักมานุษยวิทยาที่ทำงานสร้างความรู้และขับเคลื่อนนโยบาย และวงสนทนากับคนหลากวัยจากสหสาขาวิชาการ เขาเชื่อว่ามีแต่วงสนทนาระหว่างผู้คนข้ามกลุ่ม ข้ามพรมแดน ข้ามสาขาวิชา ฯลฯ และด้วยสปิริตใกล้เคียงกันระดับหนึ่ง จึงจะทำให้เกิดคุณภาพใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ และควรที่จะมีวงสนทนาลักษณะนี้ให้มากขึ้นต่อไปอีก


2 - ความรู้สาธารณะ

เนื้อหาที่น่าสนใจจากปาฐกถาของไมเคิล บูราวอย ในวันที่ 25 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นั้นเห็นจะเป็นการเปิดบทสนทนาด้วยการแบ่งประเภทของความรู้ทางสังคมวิทยาออกเป็น 4 ด้าน นั่นคือ

(1)  สังคมวิทยาบริสุทธิ์  คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อศาสตร์ทางสังคมวิทยาโดยเฉพาะ
(2)  สังคมวิทยาสาธารณะ คือ ความรู้ที่นำไปสู่การสร้างบทสนทนาสาธารณะ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อประเด็นสาธารณะนั้นลึกซึ้งขึ้น ทั้งนี้ สาธารณะนั้นหมายถึงชุมชนที่มีการสื่อสารระหว่างกัน
(3)  สังคมวิทยานโยบาย คือ ความรู้ที่ตอบโจทย์ทางนโยบาย โดยอาจจะเป็นองค์กร สถาบัน บรรษัท ฯลฯ
(4)  สังคมวิทยาวิพากษ์ คือ ความรู้เชิงวิเคราะห์วิพากษ์ต่อสังคมวิทยาบริสุทธิ์ เพื่อทำให้เกิดการยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

ธรรมชาติของความรู้ทั้ง 4 ด้านมีความแตกต่างกัน นั่นคือ สังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยาวิพากษ์จะเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในหมู่นักวิชาการกันเอง ส่วนสังคมวิทยานโยบายและสังคมวิทยาสาธารณะนั้นเป็นการสนทนานอกพรมแดนของนักวิชาการ นอกจากนี้ ความรู้ในสังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยานโยบายมีลักษณะของการเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง ส่วนความรู้ในสังคมวิทยาวิพากษ์และสังคมวิทยาสาธารณะมีลักษณะของการตรวจสอบทบทวนตนเอง
 
อย่างไรก็ดี ความรู้ทั้ง 4 ด้านไม่ได้แยกส่วนออกจากกัน หากสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ดังเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมวิทยาบริสุทธิ์และสังคมวิทยาสาธารณะนั้น แม้จะเป็นความรู้ที่ทำงานอยู่คนละเขตแดน แต่สังคมวิทยาบริสุทธิ์ก็ดำรงอยู่ไม่ได้หากไม่มีโจทย์จากสังคมวิทยาสาธารณะ ส่วนสังคมวิทยาสาธารณะก็ไม่อาจสร้างความเข้าใจต่อประเด็นสาธารณะได้อย่างลึกซึ้งหากขาดการความเชี่ยวชาญจากสังคมวิทยาบริสุทธิ์
 
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องอันตรายมากหากความรู้ขาดความยืดหยุ่นและมีความแข็งตัวมากขึ้น เป็นต้นว่า สังคมวิทยาบริสุทธิ์ก็จะมีแนวโน้มหลงตัวเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางมากขึ้น สังคมวิทยาวิพากษ์ก็อาจจะมีลักษณะคล้ายพวกคลั่งศาสนาได้
 
ส่วนสถานะของความรู้ในสังคมนั้น บูราวอยแสดงผ่านโมเดลสามเหลี่ยมที่ประกอบด้วย ตลาด รัฐ และภาคประชาสังคม เขาล้อว่าคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพียงแต่ว่าภูเขาที่เขาเห็นเป็นภูเขาไฟที่กำลังปะทุระเบิด นั่นคือ ตลาดกับรัฐจับมือกันแน่นหนาขึ้น ในขณะที่ภาคประชาสังคมกำลังอ่อนแรงลง และยิ่งแรงสนับสนุนจากภาคส่วนที่ผลิตความรู้ลดน้อยลง สถานการณ์ก็น่าวิตกยิ่งขึ้น
 
 

ภาพโดย @Sayamol Charoenratana
 
 
บูราวอยเสนอลักษณะความรู้ทั้ง 4 ด้านนี้ก็เพื่อยืนยันว่าความรู้ทั้ง 4 นั้นสำคัญและจำเป็นต่อกันและกันเพียงใด ทั้งยังกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติเหมือนกัน นั่นคือ สังคมวิทยานโยบายกำลังเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เพราะมหาวิทยาลัยไม่อาจพึ่งพิงงบประมาณสนับสนุนจากรัฐอีกต่อไป ความรู้จึงกลายเป็นสินค้า โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้ค้า ในขณะที่สังคมวิทยาสาธารณะก็เผชิญกับวิกฤติความชอบธรรม เนื่องจากความรู้ที่ห่างไกลจากการรับรู้ของสาธารณะ ทั้งยังต้องพึ่งพาทุนส่วนตัวและค่าลงทะเบียนจากนักศึกษา ย่อมไม่อาจได้รับความสนับสนุนจากสาธารณะได้ ส่วนสังคมวิทยาวิพากษ์ก็ประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ ในการแสวงหาคุณค่าและความหมายในการดำรงอยู่ของตน ในภาวะที่ความรู้ได้กลายเป็นสินค้า ซึ่งวิกฤติเหล่านี้ก็นำไปสู่วิกฤติในการบริหารจัดการของสังคมวิทยาบริสุทธิ์ ที่ทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยอึดอัดคับข้องใจกับระบบการเรียนการสอนและการวิจัยที่มีความเป็นระบบราชการมากขึ้น มีการหาเงินในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น
 
ประเด็นมหาวิทยาลัยในวิกฤตินี้ บูราวอยเสนอต่อประชาคมนักวิชาการและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เขาเชื่อว่าหากมองเห็นและยอมรับว่ามีโครงสร้างวิกฤติที่กดทับความรู้เหล่านี้นั้น เราน่าจะขยับและพยายามแสวงหาทางออกร่วมกันได้ด้วยแนวทางต่างๆ ที่จำเป็นต้องคิดและทำให้เกิดขึ้น ดังที่อาจารย์สุริชัย หวันแก้วเสนอว่า หากมองเห็นโครงสร้างที่กระทำการอยู่ ก็ขึ้นกับว่าตัวเราจะมองเห็นตนเองเป็นเหยื่อหรือผู้กระทำการเปลี่ยนแปลง เพราะตราบใดที่อาจารย์หรือนักวิชาการยังคงพร่ำบ่นอย่างท้อแท้ต่อโครงสร้างมหาวิทยาลัยที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อการทำงานหรือไม่เป็นไปในทิศทางของมหาวิทยาลัยในอุดมคติ ก็เป็นเพียงแต่ข้ออ้างที่จะไม่กระทำการใด-ใดนั่นเอง


3- สมุหภาพ มิตรภาพ (จบ)

ในวงสนทนาหนึ่ง บูราวอยชี้ให้เห็นว่า การยืนยันว่าความรู้ทางสังคมวิทยายังมีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมนั้นจำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่าความรู้นั้นสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงตัวในภาวะวิกฤติ และต้องมีความเป็นสมุหภาพ (Collectivity) มากกว่าความเป็นปัจเจก
 
เขาเล่าว่า เมื่อครั้งที่สหรัฐอเมริกาประสบเหตุภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรินา ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาคิดว่าในขณะนั้นถ้าตัวเองเป็นประธานสมาคมสังคมวิทยานานาชาติจะเรียกประชุมคณะกรรมการวิชาการทั้ง 55 คณะ เพื่อขอให้ช่วยกันเขียนงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยอาจจะให้งบประมาณสนับสนุนไปคนละ 2,000 เหรียญสหรัฐ ด้วยวิธีการนี้น่าจะทำให้พลังทางวิชาการปรากฎตัวและเป็นพลังหนุนเสริมการทำงานทางสังคมได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และไม่มีการทำงานดังกล่าวเลยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากทีเดียว
 
ทั้งนี้ การกระตุ้นเร้าให้แวดวงวิชาการตื่นตัวกับวิกฤติที่สังคมประสบอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกับการสนับสนุนให้นักวิชาการปรากฏตัวพร้อมทั้งให้ความรู้และหรือความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน

ประชาคมวิชาการจำต้องคิดใคร่ครวญให้มากว่าจะทำให้ความเป็นสมุหภาพเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งบูราวอยก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระทั่งนักวิชาการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในมหาวิทยาลัยที่เขาสอนอยู่นั้นก็ยังไม่ยอมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกัน แต่สมุหภาพเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ปัจเจกชนไม่รู้สึกอ่อนแรงล้าพลังในการต่อสู้และรับมือกับโครงสร้างใหญ่ที่ครอบงำเราอยู่ เขาเตือนว่า พวกเรามักจะติดกับกับการบุกป่าฝ่าดงไปคนเดียว ทั้งที่มีกันอยู่จำนวนไม่มาก แถมเป็นพวกช่างวิเคราะห์วิพากษ์ ยิ่งทำให้การสร้างสมุหภาพเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
 
เขายืนยันว่า เราต้องเชื่อว่าความรู้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ โดยการเชื้อเชิญผู้คนให้เข้ามาแลกเปลี่ยนสนทนากันนั้นต้องอาศัยคุณภาพภายในบางอย่าง และเราต้องเรียนรู้ที่จะแปลภาษาวิชาการให้เป็นภาษาที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้
 
อาจารย์สุริชัย หวันแก้วมักจะออกปากเตือนพวกเราว่าโลกไร้พรมแดนกำลังขยายตัวออกมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ระดับการมองปัญหาของเราบางครั้งเป็นเพียงรัฐชาติและติดอยู่ที่เขตแดน ดังเรื่องการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งพลเมืองของเราเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการลงทุนสร้างเขื่อนในลาวเพื่อส่งกระแสไฟฟ้ามาให้ประเทศไทย สถานการณ์ที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในลาวกำลังถูกทำลาย ชาวลาวจำนวนมากต้องอพยพย้ายที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ชาวไทยจะสามารถเสพบริโภคกระแสไฟฟ้าราคาถูกโดยไม่รู้สึกร่วมกับความทุกข์ยากของพี่น้องชาว
ลาวได้อย่างไร
 
ในการสนทนากับบูราวอย อาจารย์สุริชัยฯ แสดงความเห็นว่า ในปัจจุบัน ประดาปัจเจกชนโดยมากต่างดำรงอยู่ในโลกที่แตกแยก พวกเขาปฏิเสธการสนทนาร่วมกัน เพราะจิตใจเต็มไปด้วย ตรรกะที่แข็งตัว เปรียบได้กับคนที่มองไม่เห็นคุกที่คุมขังตัวเอง แต่พวกเราไม่ใช่เหยื่อของโครงสร้างเหล่านี้ หากสามารถแหกกรงขังออกไปได้โดยไม่ต้องพร่ำบ่น ด้วยการเชื้อชวนกันตั้งคำถามว่า - อยากจะพูดคุยอะไรบางอย่างที่มีความหมายร่วมกันไหม?
 
อาจารย์สุริชัยฯ เสนอว่า เมื่อเรายอมรับว่าวิกฤติปัจจุบันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง ก็น่าจะเห็นความท้าทายร่วมกัน และถือเป็นพันธกิจร่วมกันในการคลี่คลายวิกฤติเหล่านั้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกันในการแก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญก็คือ "การเริ่มต้นร่วมกัน" ซึ่งไม่จำเป็นต้องมายืนด้วยกัน
 
 
การมาเยือนของบูราวอยครั้งนี้มีความหมายหลายประการ ไม่ใช่ในฐานะที่มีคนดังระดับโลกมาเยือน หากแต่เป็นไปในฐานะที่เรามีกัลยาณมิตรเพิ่มขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างจิตใจอันเป็นสากล มีการเรียนรู้ที่มีความหมายมากกว่าการมีประสบการณ์ มีความท้าทายอันปราศจากอหังการและมมังการ และทั้งหมดทั้งนั้นล้วนมีพื้นฐานจากมิตรภาพเรียบง่ายของคนใจใหญ่ไม่กี่คน
 

ธิติพงษ์ ศรีแสน

Posted: 31 Oct 2012 08:17 AM PDT

"เราพูดเรื่องสิทธิของจำเลยในการได้รับการประกันตัวกันเยอะ แต่เราไม่เคยพูดว่าอำนาจของคนที่จะไม่ให้ประกันตัวควรจะมีแค่ไหน จริงๆ เราควรพูดเรื่องนี้มากกว่า ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเรื่องของคนซึ่งสามารถใช้ช่องว่างของระบบ แต่ถ้าเราสามารถแก้ไขระบบได้ ต่อให้คนที่มีทัศนคติเกี่ยวกับคดียังไง ก็ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจเกินเลยได้"

31 ต.ค.55 ใน สัมภาษณ์ทนายความคดีสุรภักดิ์ : มุมมองการต่อสู้คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์-112

กลุ่ม24มิถุนาฯ รำลึก 6 ปี "ลุงนวมทอง”

Posted: 31 Oct 2012 07:54 AM PDT

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดรำลึก 6 ปี การอัตตวินิบาตกรรม "ลุงนวมทอง ไพรวัลย์" คนขับแท็กซี่ต้านรัฐประหาร สุชาติ นาคบางไทร เรียกร้องเป็นวันสำคัญของประเทศไทย

วันนี้(31 ต.ค.55) เวลา 10.00 น. ที่สะพานลอยหน้าไทยรัฐ ถนนวิภาวดีรังสิต ประชาชนประมาณ 50 คน นำโดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรมรำลึก 6 ปีการเสียชีวิตของ "นวมทอง ไพรวัลย์" คนขับแท็กซี่ที่ผูกคอเสียชีวิตบริเวณดังกล่าว โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้ จากการที่ก่อนหน้านั้น 30 ก.ย.49  นายนวมทอง ได้ขับแท็กซี่พุ่งชนรถถังของ คปค. เพื่อประท้วงการรัฐประหาร ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรง จนได้รับบาดเจ็บสาหัส

บุญชู ไพรวัลย์ ภรรยานวมทอง ไพรวัลย์ ร่วมกิจกรรม

ละครหุ่นนิ่งผูกคอประชาธิปไตย

สำหรับกิจกรรมรำลึกในครั้งนี้ ประกอบด้วยการวางดอกไม้ วางพวงมาลา  จุดเทียนและธูปสีแดง การแสดงแดงละครหุ่นนิ่งผูกคอประชาธิปไตย การกล่าวคำรำลึก ปิดท้ายด้วยการร้องเพลง "วันของเรา" ที่ถูกแต่งขึ้นโดย จิ้น กรรมาชน (กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ) และได้มอบให้กับ "นวมทอง ไพรวัลย์" สำหรับการกล่าวรำลึกนั้นมี ชินวัฒน์ หาบุญพาด นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ สุชาติ นาคบางไทร กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ไม้หนึ่ง ก.กุนที จ.เจตน์ และชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ กลุ่มกวีราษฎร์ กล่าวคำรำลึก

 

ชินวัฒน์ หาบุญพาด

"ลุงนวมทองตอนที่ผมไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลวชิระ ผมได้ถามว่าคิดอย่างไรจึงได้ขับรถแท็กซี่ชนรถถัง คุณลุงนวมทองบอกว่าที่ผมต้องขับรถแท็กซี่ชนรถถัง ผมไม่สามารถที่จะอยู่กับเผด็จการได้ และผมไม่มีทางอื่นที่จะไปสู้รบกับเผด็จการ มีทางเดียวเท่านั้น เมื่อเผด็จการอยู่ ผมก็จะต้องไป" ชินวัฒน์ กล่าว

 

สุชาติ นาคบางไทร

"ขอฝากไว้ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือองค์กรหน่วยงานใดๆ หากมีโอกาสที่ทำได้ อยากจะให้วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ เป็นวันที่รำลึกการเสียสละชีวิตของประชาชน เป็นวันสำคัญของประเทศไทยวันหนึ่ง ประการที่ 2 ถ้าหากเป็นไปได้ผมอยากจะให้เราจารึกชื่อ นวมทอง ไพรวัลย์ ไว้บนถนนสำคัญสายใดสายหนึ่งของประเทศ หรือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่สำคัญ" สุชาติ นอกจากนี้สุชาติ ยังได้ขนานนาม นวมทอง ไพรวัลย์ ว่าเป็น "วีระบุรุษประชาชนด้วยตนเอง" โดยอธิบายว่าเพราะท่านได้ต่อสู้กับเผด็จการโดยไม่ต้องรอให้ใครมาสรรเสริญ โดยไม่ต้องรอให้ใครมาเห็นชอบ ปฏิบัติการด้วยตัวเองทันที

ไม้หนึ่ง ก.กุนที

"ผมถือว่าลุงนวมทอง ไพรวัลย์ มิใช่แค่เป็นวีรบุรุษของสังคมนี้เท่านั้น ท่านยังเป็นรัฐบุรุษตัวจริงของแผ่นดินไทย เป็นรัฐบุรุษที่ไม่ต้องมีคำนำหน้า ไม่ต้องมีคำต่อท้าย เพราะว่ามีเพียงนวมทอง ไพรวัลย์ เท่านั้น จึงควรค่ากับการพิสูจน์ยืนยันว่าท่านรักศรัทธาในประชาธิปไตยอย่างสูงสุด ด้วยจิตคาราวะของประชาชนคนหนึ่ง เจ้าของ 1 สิทธิ 1 เสียงคนหนึ่ง" ไม้หนึ่ง ก.กุนที กล่าว

 

จ.เจตน์

"แม้วันนี้เราก็รู้กันว่าอำนาจยังไม่อยู่ข้างประชาธิปไตยเสียทั้งหมด วันที่เสียชีวิตของลุงนวมทองจึงยังมิอาจเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ในสาธารณะชนได้มากกว่านี้ เป็นวันที่ยิ่งใหญ่แต่เพียงคนที่รักประชาธิปไตย หากแต่เราหวังในวันข้างหน้าวันนี้จะกลายเป็นวันที่สำคัญของประเทศต่อไป" จ.เจตน์ กล่าว

 

ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ ได้อ่านบทกวี "นวมทองชาติใหม่สากลนิยม"

"โครม! รถยนต์พุ่งชนรถถังสุดปลายคันเร่งเต็มแรงกล้า

กลางถนนคอนกรีตเศษเหล็กทะลุดุนด้าน

ความอัปปรีย์ จัญไร ของโลกโสมม

บุรุษผู้องอาจทรนงสะกดประทีปแห่งเสรี

นามระบือสะท้านทุ่งทั่วแดนไกล นวมทอง ไพรวัลย์

เขาชกเข้าตาขาวข้างขวาเผด็จการ

ทหารปอดแหกแดกดันนิยายอุดมการณ์

แท็กซี่พลเมืองแท้ สอนมวยคนรวยล้นฟ้า

อย่ามาทายท้าธรรมดาสามัญ

ดิ้นร้นหากินสุจริต สนองตอบระบอบประชาธิปไตย

เมื่อความ"เป็น" ไร้ศักดิ์ศรี

มองดูอยู่ชีวีช่างเศร้าหมองลงทุกขณะ

สนิมกัดเซาะ เห็นการกบฎต่อประชาชน

ความ "ตาย" ที่เลือก คือเส้นทางเกิดใหม่

นักสู้ไว้ลายต้านรัฐประหาร ลั่นวาจาสิทธิ์

สละชีพร่างแรก ปฐมบทบุพกัลย์ สู่ ยุคเปลี่ยนผ่าน

ณ สมรภูมิ ควันยางรอยเลือด

เสียงหวีดร้องไม่มีให้ปรากฏ ในขณะที่เสื้อลายพราง

ใช้ด้ามของแข็งกระแทกๆตอกลงบนใบหน้าของพวกเขา

แต่แสงโสตก้องในหัวผม มันกลับเป็นซอกเส้นเสียงวัยฉกรรจ์

ถืออาวุธครบมือ เข้าตรึงกำลังทุกพื้นที่

ในประเทศที่ไม่เป็นประเทศ

ในชาติที่โหยหาอำนาจพิเศษอันบ้าคลั่ง

มักมีเรื่องราวเหล่านี้ ผลุบโผล่โล้้ประจำ

ต่อเมื่อกาล เวลา เป็นของคนเบื้องล่าง

ฝุ่นผงธุลีใต้ตีนจะลอยละลิ่วปลิวปรกกลบหน้า

อสุระราชะสูง เสียดเมฆินตร์ ประเทศจะเป็นประเทศ

ชาติจะเป็นสากล..................."

 

ภาพบรรยากาศกิจกรรม :



 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความอยุติธรรมทางกฎหมายต่อคนที่อยู่ร่วมกับป่า

Posted: 31 Oct 2012 06:54 AM PDT

ผู้เขียน ซึ่งได้มีส่วนเข้าไปร่วมรับฟังการเสวนากรณีการตัดสินของศาลในคดีแม่อมกิ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และมีระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับป่ามาเป็นเวลาช้านาน แต่รัฐเห็นว่าการใช้ที่ดินเช่นนั้น คือ การบุกรุกพื้นที่ป่า ทำลายป่า ถือเป็นการขัดกฎหมายการอนุรักษ์ป่าของประเทศ จนมีชาวบ้านปาเกอะญอสองคนถูกจับ ซัดทอด และนอนคุก

คดีดังกล่าวมีการรวบรวมหลักฐาน ต่อรองกันมานาน และนำขึ้นพิจารณาในศาล หรือเป็นช่วงที่ต้องเรียกว่า 'สู้ศาล' แต่ทว่าคำตัดสินของศาลต่อคดีดังกล่าว อาจถือเป็นการตัดสินที่ไม่ได้สร้างความยุติธรรมให้กับชาวบ้าน แต่ตัดสินไปตามตัวบทกฎหมายที่ไม่ได้พิจารณาถึงสิทธิชุมชน

คดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของบรรดานักวิชาการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่สนใจการต่อสู้ดิ้นรนของชาวบ้านบนความไม่ยุติธรรมของกฎหมาย เนื่องจาก ชาวบ้านกลายเป็น 'เหยื่อ' อธรรมทางกฎหมายเสมอมา ซึ่งนั่นทำให้ผู้เขียนตระหนักต่อความสำคัญของกฎหมายมิใช่น้อย มิใช่เพียงแค่การเป็นประชาชนคนไทยที่ต้องรู้กฎหมายเท่านั้น แต่ต้องเท่าทันกฎหมาย ตั้งคำถามกับตัวบทกฎหมายและการใช้กฎหมายด้วยเช่นกัน เนื่องจากกฎหมายมีลักษณะลุกลี้ลุกลน วันดีคืนดีจะเล่นงานใครก็ได้ และไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเล่นงานคนที่ไม่รู้กฎหมายแล้วทำผิดเท่านั้น แต่จะเล่นงานคนที่แตกต่างจากตน คนที่ยากจน ไม่มีทางสู้ คนที่มีอำนาจน้อยกว่า นั่นแหละคือวันที่เงื้อมเงากฎหมายจะเล่นงานเราแม้เราจะไม่มีความผิดเลยก็ตาม

ปัญหาที่ชาวบ้านที่แม่อมกิเผชิญ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ แต่เป็นปัญหาส่วนรวมที่ประชาชนทุกคนทั้งประเทศควรตระหนักยิ่ง !!

เหตุใดปัญหาดังกล่าวจึงควรตระหนักและควรใส่ใจ ในฐานะที่เป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับคนส่วนรวม สำหรับผู้เขียนแล้ว ขอพิจารณาถึงผลกระทบหรือ 'ชะตาชีวิต' ของทุกเผ่าชน ดังต่อไปนี้

ชะตาชีวิตของผู้คนที่อยู่กับป่า แต่แรกเริ่มเดิมที ชีวิตของคนอาศัยผืนป่านั้น ป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และการก่อตั้งชุมชน หมู่บ้านส่วนใหญ่มีพัฒนาการความเป็นมาจากการบุกป่า ถางดง ฉะนั้นชาวบ้านจะมีวิธีคิดและมีกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกับป่า ว่าจะต้องใช้ไม้ในการนำมาสร้างบ้านกี่ส่วน ภูมิปัญญาในการจัดการกับป่าจึงเกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น คนเมือง มีวิธีการแบ่งสัดส่วนป่า คือ ป่าใช้สอยหรือป่าส่วนรวม ป่าอนุรักษ์ ซึ่งจะนิยามว่าเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์มีพิธีกรรม คือสืบชะตาป่า หรือต้นน้ำลำธารทุกปี ขณะที่ปาเกอะญอ แบ่งป่าออกเป็นป่าเดปอ หรือป่าศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามไม่ให้ผู้ใดรุกล้ำเข้าไปตัดไม้ ล่าสัตว์ มีพิธีกรรมเป็นของตนเอง เช่นเดียวกับม้งที่มีพิธีดงเซ้งเพื่อรักษาป่า

ฉะนั้น หากสรุปรวมแต่ละชาติพันธุ์ มีพิธีกรรมการจัดการดูแลผืนป่าที่แตกต่างกันตามแต่ละวัฒนธรรม เฉพาะพื้นที่ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกกลุ่มเห็นคุณค่าของป่า และมีวิธีคิดวิธีจัดการที่จะอยู่ร่วมกับป่าทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้หากจะให้คนออกจากป่า ไม่เช่นนั้น คนเหล่านี้จะอยู่ที่ใด การดึงคนออกจากป่า ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถพึ่งตนเองได้ แต่ต้องพึ่งการพัฒนาจากรัฐ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจะถือเป็นการพัฒนาได้อย่างไร หากการพัฒนาคือการเพิ่มพูนเงินในบัญชีกองคลังให้มากที่สุด หรือการมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษอยู่เกลื่อนกลาดโดยกฎหมายไม่ได้เอาผิด ฤาเงินมันบังตาจนมิดหมดแล้ว จึงไม่เห็นการดิ้นรนของผู้คน

ชะตาชีวิตของผู้คนที่ทำเกษตรกรรม เป็นบทสะท้อนให้เห็นว่า เกษตรกรกำลังเผชิญกับความเสี่ยง ความไม่มั่นคง และเนื่องจากผลผลิตของการเกษตรไม่ได้มาจากผู้คนที่อยู่บนพื้นที่ราบเท่านั้น หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ จะพบว่า พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของรัฐ คือระบบของความสัมพันธ์ของคนบนพื้นที่สูงกับคนบนพื้นที่ราบที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน หรือแม้ในปัจจุบัน การใช้ที่ดินในที่ราบเพื่อการผลิตก็ไม่ได้ถูกจำกัดอีกต่อไป เมื่อระบบทุนได้ขยายเข้าสู่ประเทศ รัฐก็ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการขยายตัวของเกษตรพันธะสัญญา เช่น การลงทุนด้านการปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ จนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบกลายเป็นแหล่งรองรับการผลิตดังกล่าว อีกทั้งผู้คนที่อยู่บริเวณดังกล่าวก็ต้องกลายเป็นแรงงานในไร่ของตนเอง สถานการณ์เช่นนี้ระบาดไปทั่ว ขณะที่ชาวบ้านกลับถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่ ทั้งๆ ที่นายทุนพื้นที่ราบ บวกกับนโยบายรัฐต่างหากที่กฎหมายควรพิจารณาเอาผิด 

แต่การทำไร่หมุนเวียน ถือเป็นวิธีการทำลายป่า?
และการเผาป่าของชาวบ้านก็ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน?

คำถามของศาลดังกล่าว ทำให้บรรดานักวิชาการศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านต่างงงงวย เพราะเหตุใดศาลจึงพิจารณามาเช่นนั้น แล้วการทำไร่หมุนเวียนที่ศาลเข้าใจคืออะไร ที่รัฐเข้าใจคือแบบไหน ไร่หมุนเวียน ไม่ใช่ ไร่เลื่อนลอย แต่ทว่ารูปแบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียนมีระบบการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ซึ่งด้วยความที่ผู้ที่เคารพ ผู้ใช้กฎหมายในการช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้นำตัวเองลงมาพิจารณาปัญหาชาวบ้านอย่างแท้จริง จึงทำให้การใช้กฎหมายไม่ได้มีผลเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านแม่อมกิ แต่กลับเป็นกรงขังอันแน่นหนาให้ชาวบ้านดิ้นออกไปไม่หลุด

ด้วยประการนี้นักวิชาการจึงเสนอพิธีการ 'สอนศาล' เพื่อให้ศาลเข้าใจรากฐานของประชาชนบนพื้นที่สูง ลักษณะการใช้ที่ดินในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่การทำลายป่าตามที่รัฐพยายามซัดทอด และก็ผลิตซ้ำคำกล่าวหานี้จากรุ่นสู่รุ่น เพราะแท้ที่จริง การทำไร่หมุนเวียน คือภูมิปัญญาในการดำรงชีวิตของผู้คนในการจัดการใช้ที่ดินตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งการทำไร่ในลักษณะนี้ไม่ได้ปรากฏหรือจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง แต่เกิดกับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยบนพื้นที่สูงซึ่งมีพื้นที่จำกัดในการทำมาหากิน

ตัวอย่างกรณีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ จะเรียกการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตแบบหมุนเวียนนี้ว่า เร้ะ ตู เร๊ะ ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินในการเพาะปลูกข้าวไร่และพืชต่างๆโดยอาศัยความจำกัดของพื้นที่ และการคำนึงถึงระบบนิเวศที่อยู่รายล้อม การทำการผลิตเช่นนี้ จึงเป็นการอนุรักษ์ป่าไปในตัว เพราะมีการพักฟื้นดินในระยะเวลา 5-7 ปี เพื่อให้ต้นไม้โต และเสริมธาตุในดิน เป็นการต่อชีวิตให้กับสรรพสัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ เป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงกระทำกันเป็นระยะเวลานานหลายชั่วอายุคน แล้วค่อยเวียนมาทำที่เดิม เช่นนี้เรื่อยๆ ซึ่งต่างกับปัจจุบันที่คนบนพื้นที่สูงถูกขับไล่ให้ออกจากป่า จากที่ทำกินของตน แต่คนที่เข้าไปบุกรุกและใช้พื้นที่ป่ากลับเป็นนายทุนพื้นที่ราบ ซึ่งแปลงผืนป่าให้กลายเป็นรีสอร์ทบ้าง การปลูกพืชแบบ Plantation บ้าง ซึ่งมีลักษณะการใช้ที่ดินแบบซ้ำๆ ในระยะเวลาที่สั้น ฉะนั้นธาตุในดินจึงลดลงแถมมีสารตกค้างปนเปื้อนอีก

ด้วยเหตุนี้ คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีที่สะท้อนภาพ ไม่เฉพาะคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นคนที่ทำมาหากินโดยใช้ประโยชน์จากที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีโฉนดที่ดินรับรอง หากจะถูกจับ คนส่วนใหญ่ของประเทศคงต้องถูกจับเป็นระนาวแน่ แล้วจะเหลือเพียงแค่คนส่วนน้อยที่มีอำนาจอยู่ในมือที่ยังชีพด้วยข้าว น้ำ อย่างนั้นหรือ 

เหตุใดเรามักเอาเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติมาอ้าง แต่ความมั่นคงภายในประเทศ ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงที่จะประกันได้ว่า ประชาชนจะไม่อดอยาก ประชาชนจะพัฒนามาจากรากฐานของตัวเอง มีสิทธิกำหนดชีวิต ของตัวเอง แล้วอย่างนี้จะหาความมั่นคงแห่งชาติได้อย่างไร เพราะชาติไม่ได้มีคนกลุ่มเดียว พรรคเดียวกุมอำนาจ แต่ฐานประกอบของความเป็นชาติ คือ ประชาชนทุกเผ่าพันธุ์ที่มีความหลากหลาย อย่าเอาแค่ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไปหากิน แค่การท่องเที่ยวในการแสดงโชว์ เพื่อหารายได้เข้าประเทศเท่านั้น แต่ให้พวกเขาอยู่อย่างมีคุณค่า ตระหนักในจิตวิญญาณ 

ชะตาชีวิตของผู้คนบนเงื้อมมือของกฎหมาย
ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีคดีเกี่ยวกับป่าไม้ 6,000 กว่าคดี และหากดูสภาพการณ์ในปัจจุบันแล้ว มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผู้ที่ถูกกระทำจากความยุติกรรมทางกฎหมาย ก็คือ ชาวบ้านชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตอยู่กับการผลิตจากป่า เพราะเหตุใดเหล่าชาวบ้านจึงต้องเผชิญกับ 'ความอยุติธรรม' ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งหากพิจารณาแล้ว กฎหมายของไทยที่ผ่านมา มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้

1. กฎหมายไม่ได้มาจากประชาชน แต่กฎหมายผ่านร่างรัฐสภาซึ่งผู้ที่นั่งในสภาไม่ได้อยู่ฝักฝ่ายกับประชาชน แต่เป็นคนชั้นกลางที่ต้องการผลประโยชน์ ฉะนั้นกฎหมายจึงกลายเป็นเครื่องมือที่ผู้คนเหล่านั้นพยายามหาช่องโหว่มาควบคุม จำกัดการเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน โดยการประกาศ พ.ร.บ.ป่าสงวนทับที่ทำกินของชาวบ้าน 

2. กฎหมายไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้กับสถานการณ์จริง ข้อกฎหมายเป็นเพียงบทบัญญัติที่ตีพิมพ์อยู่ตามหน้าหนังสือ แม้จะมีบัญญัติสิทธิชุมชนจริง มีสิทธิพลเมืองจริง มีสิทธิทางวัฒนธรรมจริง แต่ทำให้เกิดการยอมรับได้น้อย 

3. ชะตากรรมของผู้คนที่ต้องเผชิญกับทัศนะของผู้ตัดสินหรือผู้พิพากษาที่ยังถูกกักขังด้วยภาพลักษณ์ของการเป็นผู้พิพากษาของรัฐ ไม่ใช่ของประชาชน อคติที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของการใช้กฎหมาย ความเท่าเทียมกันของการใช้กฎหมาย คือการตระหนักรู้และเคารพวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์

ฉะนั้น จึงไม่แปลกใจที่เราจะต้องเผชิญกับกฎหมายในชีวิตประจำวันของเราอย่างขาดไม่ได้ แต่เราไม่รู้ว่ามันจะกลับมาเล่นงานเราเมื่อไร จะมีสักกี่คนที่ลงไปดู ไปให้คำแนะนำ ไปทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านรู้กฎหมาย แม้ถ้าชาวบ้านรู้กฎหมายจะทำอย่างไร เมื่อวิถีการดำรงชีพเขามาจากป่า มันไม่ใช่แค่การทำมาหากินบนผืนดินผืนป่า แต่นั้นมันเป็นจิตวิญญาณ เขาไม่ได้ทำงานบนตึกสูงระฟ้า แล้วได้เงินเดือนเป็นหอบเป็นกำเพียงนาทีเดียว แต่ชาวบ้านต้องดิ้นรน เพื่อยืนให้ได้ มีกิน มีชีวิตรอด คุณใช้คำเพียงข้อความเดียวมาตัดสินคนในเข้าคุก เหมือนคุณฆ่าเขาทั้งครอบครัว และฆ่าคนทั้งแผ่นดิน เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีวิถีชีวิตอยู่บนการทำกสิกรรม ไม่ใช่อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมาทีหลัง เมื่อคุณผลักให้คนออกจากป่า คุณก็ผลักให้เขาเข้ามาเป็นแรงงานในระบบสายพาน มาเป็นคนขายพวงมาลัย คนเร่ร่อน อย่างนี้หรือที่เรียกว่าพัฒนา ?

เมื่อระบบไม่พัฒนา แล้วคนจะพัฒนาได้อย่างไร ถ้าคนไม่พัฒนา ระบบก็ไม่เปลี่ยนแปลง

ฉะนั้น หากจะพัฒนา ต้องพัฒนาคนภายในประเทศให้มีคุณภาพก่อน ทั้งคุณภาพทางใจ คุณภาพทางความคิด คือไม่มีอคติแก่กัน และคุณภาพทางการปฏิบัติ ที่มีความเป็นธรรม คำนึงถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับอย่างเสมอภาคกัน

ไม่ว่าฉันจะเป็นใคร ฉันคือ คนไทย ที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน กรุณาอย่าเลือกปฏิบัติ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง 'วอยซ์ทีวี': ยุทธศาสตร์ ครม.ผิวเกลี้ยง

Posted: 31 Oct 2012 06:34 AM PDT

ครม.ปู 3 คลอดออกมาพร้อมกับการชุมนุมสนามม้าของพวกเพ้อหารัฐประหาร และเสียงตัดพ้อของจตุพร พรหมพันธุ์ กับแกนนำ นปช. ทั้งสองด้านมีนัยสำคัญต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ว่าจะเดินไปทางไหน จะกล้าต่อสู้เพื่อปฏิรูปประชาธิปไตยตามที่มวลชนตั้งความหวังไว้หรือไม่

รายชื่อ ครม.ชุดนี้ เห็นชัดว่ายิ่งลักษณ์มีอำนาจตัดสินใจมากขึ้น เพราะมีตัวบุคคลอย่าง น.พ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ผู้อยู่ในเครือข่าย 'โฟร์ซีซันส์' เอสซีแอสเสท-แสนศิริ มาเป็น รมว.สาธารณสุข ขณะที่กิตติรัตน์ ณ ระนอง ก็ยังเก้าอี้เหนียว ไม่ว่ามีข่าวใครไม่พอใจ ศันสนีย์ นาคพงศ์ เลื่อนจากโฆษกคู่ใจมาเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยว่ากันว่า 'ส.' สุรนันท์ เวชชาชีวะ คือกุนซือนายกฯ

ในส่วนที่ดูดีขึ้นคือ พงศ์เทพ เทพกาญจนา มาเป็น รมว.ศึกษาธิการ วราเทพ รัตนากร เป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดูแลสำนักงบประมาณ (แม้สงสัยอยู่บ้างว่า เหตุใดจึงไม่ให้พงศ์เทพไปเป็น รมว.ยุติธรรมแทน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ควรวางมือได้แล้ว) ส่วน 'เสี่ยเพ้ง' พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ไม่แน่ใจว่าจะเป็นจุดแข็ง เพราะชื่อเสียง 'นายทุนพรรค' มานั่งทับบ่อน้ำมันที่รสนา โตสิตระกูล และพันธมิตร จ้องเล่นงานอยู่ (แต่จุดแข็งของเสี่ยเพ้งอาจจะเป็นการ 'ส่งอีเมล์เข้าถึงสื่อ' ฮิฮิ)

อีกจุดที่น่าสนใจคือ การเลื่อนชั้น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ขึ้นเป็น รมว.คมนาคม แทนจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ที่ขยับไปเป็น หัวหน้าพรรคและ มท.1 แม้ได้เป็นรัฐมนตรีเพราะนามสกุล แต่ชัชชาติก็เป็นคนรุ่นใหม่มีความรู้ ท่าทีดี บุคลิกดี ที่ผ่านมาถือว่าสอบผ่าน ในเก้าอี้ รมช. แต่ครั้งนี้เจอข้อสอบใหม่ว่าจะสั่งงาน รมช.ตท.10 อย่างไร แถมได้ปลัดกระทรวงเป็น พล.ต.อ.อีกต่างหาก

เรื่องตลกคือ ครม.ครั้งนี้ปรับตั้ง 23 คน แต่นอกจาก 6-7 คนนี้ คนอื่นไม่มีอะไรให้พูดถึง รมว.เกษตรฯ ก็ยังเป็นบรรหาร ศิลปอาชา (ฮา) รมว.อุตสาหกรรม ก็ยังอยู่โคราช รมว.วัฒนธรรม แค่เปลี่ยนจากนางเป็นนาย ที่เหลือ 10 กว่าตำแหน่ง คือ รมช.ทั้งหลาย ที่ได้เก้าอี้ไปเป็นเกียรติศักดิ์ศรีวงศ์ตระกูล ตามโควตา หรือตามที่ 'นายใหญ่' ให้คำมั่นสัญญาไว้ (ปรับไปถึงยิ่งลักษณ์ 9 ก็อาจจะยังแจกเก้าอี้ตามที่รับปากได้ไม่หมด) ขณะที่ รมว.ส่วนใหญ่ยังนั่งเก้าอี้เดิม ไม่ว่ากระทรวงต่างประเทศ กลาโหม ยุติธรรม ไอซีที แรงงาน พัฒนาสังคม ตลอดจนพาณิชย์ ที่จะเป็นเป้านิ่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ถ้ามองภาพรวมของ ครม.ชุดนี้ ข้อแรก น่าจะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งในแง่การบริหารและการรับมือฝ่ายค้าน แต่ก็ยังไม่ดีนัก จากคะแนนเดิม 5.5 เพิ่มเป็น 6 หรือ 6.5 เพราะไม่ได้เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการที่มาตามโควต้า

ข้อสอง ขณะที่นายกฯ มีอำนาจตัดสินใจมากขึ้น จะเห็นว่า ครม.ทั้งคณะล้วนเป็น 'สายตรง' หรือผู้ที่ 'อยู่ในโอวาท' ตั้งแต่หัวหน้าพรรคคนใหม่ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ซึ่งไม่มีความโดดเด่นอะไร แต่มีมนุษยสัมพันธ์และ 'ว่าง่าย' ไปจนรัฐมนตรีช่วยทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่คนของนายใหญ่ นายหญิง นายกฯ ก็เป็นเจ๊ ด.

ภาพเปรียบเทียบชัดเจน คือพงศ์เทพ เทพกาญจนา กับจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งต่างก็เป็นคนบ้านเลขที่ 111 ที่มีคุณภาพและมีบทบาทตอบโต้รัฐประหารตุลาการภิวัตน์ตลอดมา โดยจาตุรนต์ซึ่งเคยรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยมีบทบาทมากกว่าด้วยซ้ำ แต่พงศ์เทพใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตรกว่า ขณะที่จาตุรนต์มีความเป็นตัวของตัวเองสูงกว่า

นี่ไม่ต้องพูดถึงการ 'เคียะ' รมว.ศึกษาธิการผู้ไม่ฟังใครอย่างสุชาติ ธาดาดำรงเวช ซึ่งคงหมดโอกาสกลับมาอีก

ข้อสาม เมื่อดูทิศทางการเมืองประกอบแนวโน้มการจัดตัวบุคคล ก็เห็นได้ว่า ครม.ปู 3 จะลดท่าทีในการต่อสู้กับ 'ฝ่ายอำมาตย์' ลง โดยมุ่งไปที่การอยู่รอดเป็นสำคัญ

"พูดตรง ๆ ว่า สถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลต้องการเอาตัวรอด ไม่ต้องการใช้ตัวชนหรืออะไร เพราะต้องการคนที่พลิ้วไหว แต่ไม่ต้องการคนแข็ง"

ฐิติมา ฉายแสง พูดชัดเจนถึงสาเหตุที่จาตุรนต์ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี

และนี่เป็นที่มาของ 'รัฐมนตรีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา' เมินนักรบบาดแผลเต็มตัว อย่างที่จตุพรตัดพ้อ

เพียงแต่คำพูดของจตุพร ไม่สง่าผ่าเผยนัก เพราะเหมือนพูดเพื่อทวงเก้าอี้ให้ตัวเอง ไม่ใช่ทวงภารกิจที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องทำเพื่อตอบแทนมวลชนเสื้อแดง ทั้งการปฏิรูปประชาธิปไตย แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปล่อยนักโทษการเมือง และเอาผิดผู้สั่งปราบมวลชน

ซึ่งองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี 'ผิวเกลี้ยง' ชุดนี้ ทำให้มวลชนจำนวนไม่น้อยไม่มั่นใจว่า จะมัวแต่ 'เอาตัวรอด' จนละเลยภารกิจดังกล่าวหรือไม่

อันที่จริง ตัวจตุพรก็ไม่เหมาะจะเป็นรัฐมนตรีในเวลานี้ เพราะเป็นเหมือน 'สายล่อฟ้า' ในช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องช่วงชิงกระแสสังคม แต่ปัญหาคือภาพของคณะรัฐมนตรีที่เพิ่มคนใหม่ๆ ซึ่งไม่มีความผูกพันกับการต่อสู้ของมวลชนเข้ามา จากเดิมพวก 'นักการเมืองเก่า' บางคนก็ไม่เคยร่วมเคลื่อนไหวมวลชนอยู่แล้ว ถึงเวลาก็หิ้วกระเป๋ามาลงเลือกตั้ง ได้อานิสงส์จากชีวิตเลือดเนื้อเสื้อแดงจนชนะ

ภาพรวมของ ครม.ชุดนี้ลดท่าทีต่อสู้ลง ไม่ใช่เพราะจตุพรชวดเป็นรัฐมนตรีคนเดียว ต่อให้จตุพรเป็น รมช.เกษตรฯ ก็ไม่ช่วยให้ดูฮึกหาญขึ้น

หลุมดำสนามม้า
ม็อบเสธอ้าย เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์สายสุดขั้วสุดโต่ง ไม่มีอะไรน่ากลัว แม้จะมีคนป็นหมื่น ฝ่ายรัฐบาลไม่ควรไปดิสเครดิตว่าบ่อนพนันขนคนมา หรือออกอาการว่าคนมาผิดปกติ ในสังคมไทยวันนี้ พวกตกยุคคลั่งรัฐประหารมีมากกว่าหมื่นคนแสนคนอยู่แล้ว

รัฐบาลควรตอบโต้ทางเนื้อหามากกว่า ซึ่งก็ไม่ยากอะไร แค่ Quote ถ้อยคำของเสธอ้าย 'แช่แข็งประเทศ 5 ปี' ไม่ต้องมีเลือกตั้ง 10 ปี ถอยหลังกลับไปเป็นพม่า ทั้งที่พม่าเขาเดินหน้าแล้ว อันที่จริงนี่ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ได้ด้วยซ้ำ เพราะการบอกว่าจะเอาคณะบุคคลที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมาปกครองประเทศ เท่ากับล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แต่ไม่ต้องไปเล่นกับกลไกตุลาการภิวัตน์ก็ได้ เอาแค่ Quote ถ้อยคำเด็ดๆ เผยแพร่ไปทั่วโลก ว่าม็อบนี้ไม่ได้มาไล่รัฐบาลเพราะจำนำข้าวทุจริตประพฤติมิชอบ แต่ไม่พอใจที่เอาเงินภาษีไปช่วยเหลือชาวนา ทั้งที่เงินภาษีส่วนใหญ่ได้มาจากชนชั้นกลางมนุษย์เงินเดือน

แค่นั้นก็จบแล้ว
ที่บางคนกลัวว่าม็อบเสธอ้ายจะเหมือนม็อบสนธิ ลิ้ม ที่สวนลุม หรือม็อบพันธมิตรเมื่อปี 50 สถานการณ์มันต่างกันครับ ขบวนการไล่ทักษิณเมื่อปี 2548-49 มีพลังประชาธิปไตยร่วมอยู่ด้วย รัฐบาลทักษิณมีปัญหาความชอบธรรมในการใช้อำนาจ เหลิงอำนาจ สะสมความไม่พอใจแทบทุกภาคส่วน อันที่จริงลำพังสนธิ ลิ้ม อ้างเรื่องวัดพระแก้วแปลงสถาบันเป็นอาวุธ ก็จะไปไม่รอดอยู่แล้ว ถ้าทักษิณไม่ขายหุ้นเป็นทุ่นระเบิดอารมณ์คนชั้นกลาง แม้ต่อมาพันธมิตรขอ ม.7 กลายเป็นจุดแตกตัวของผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่พลังต่อเนื่องของการเคลื่อนไหวยังอยู่และถูกอำมาตย์ฉวยไปใช้ทำรัฐประหาร

ขณะที่ม็อบพันธมิตรเมื่อปี 51 อันที่จริงก็โดดเดี่ยวตัวเองไปเป็นพลังราชาชาตินิยมสุดขั้วสุดโต่งแล้ว แต่ตอนนั้น ทั้งอำมาตย์ กลุ่มทุนเก่า กลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐประหาร ยังมีความหวังว่าชัยชนะของพรรคพลังประชาชนอาจเป็นแค่ควันหลง หากสามารถเดินแผนเดิมบันได 3 ขั้นให้ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ยังมีความหวังกุมอำนาจไว้ได้ ขณะที่กระแสสังคมวงกว้าง กระแสสากล ก็ยังได้รับอิทธิพลจากการปลุกความเกลียดชังช่วงรัฐประหาร เมื่อพันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แม้สังคมประณาม แต่กระแสรักสงบ ตามวิสัยคนไทย ก็ยินดีเมื่อมีการยุบพรรคตัดสิทธิตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เพราะคิดว่าจะได้จบๆ ทำมาหากินกันเสียที

แต่ม็อบสนามม้า ไม่ได้ให้ความหวังเช่นนั้นเลย เพราะเสธอ้ายพูดโต้งๆ ว่าเลือกตั้งยังไงก็แพ้ทักษิณ จึงต้องปิดประเทศแช่แข็ง 5 ปี แช่แข็งในขณะที่ไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในขณะที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกำลังตั้งความหวังกับการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนไปสิงคโปร์ จากดานังไปทวาย ซึ่งเป็นก้าวกระโดดใหญ่ของประเทศ

ม็อบสนามม้าจึงไม่มีวันได้รับการสนับสนุนจากกระแสรักสงบ ซึ่งได้บทเรียนอันเจ็บปวดจาก 6 ปีที่ผ่านมา ว่ารัฐประหารตุลาการภิวัตน์มีแต่ทำให้ประเทศถอยหลัง พวกสุดขั้วสุดโต่งสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายไม่รู้จบ พอได้แล้ว จะได้ใช้ 3G เสียที จะได้ทำมาหากินกันเสียที แม้บางคนไม่ชอบรัฐบาล แม้เห็นว่ารัฐบาลก็มีด้านที่ไม่ดี แต่ผู้คนส่วนใหญ่เข็ดแล้ว อยากให้ประคับประคองกันไปในวิถีประชาธิปไตยมากกว่า

อย่าดูแต่คนหมื่นที่ออกมาสิครับ ต้องดูโพลล์เอแบคด้วย ที่ 97.3% ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ ฉะนั้นถ้าคำนวณจาก 2.7% ที่เหลือ จากประชากร 70 ล้านคน เสธอ้ายก็ยังสามารถปลุกระดมคนออกมาชุมนุมได้ถึง 1.9 ล้านคน

ในทางตรงข้ามผมเห็นว่าม็อบสนามม้าคือ 'หลุมดำ' ที่จะดูดพวกสุดขั้วสุดโต่งลงหลุมไปด้วยกัน เพราะใครขึ้นเวทีเท่ากับเห็นด้วยกับการแช่แข็งประเทศ ซึ่งลดพลังของพวกเขาไปในตัว แม้แต่พันธมิตรยังไม่กล้าเล่นด้วยเต็มที่ ปชป.อาจจะแอบสนับสนุน แต่ไม่กล้าอ้ารับเต็มปาก ส่วนพวกนักวิชาการสยามประชาภิวัตน์ สื่อ นักวิชาการเหลืองและแอบเหลืองทั้งหลาย ที่ชอบอ้างประชาธิปไตย ก็ไม่กล้าโผล่หน้าเช่นกัน

เหลือแต่พวกไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่นแล้ว

ความแตกต่างที่ชัดเจนจากปี 2549 และ 2551 คือ กระแสประชาธิปไตย และกระแสรักสงบ ล้วนอยู่ข้างรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามโดดเดี่ยวตัวเองเกือบจะสิ้นเชิง เพียงแต่เป็นการดิ้นเฮือกสุดท้ายของพวกเขา ก่อนระบอบอำมาตย์เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หากรัฐบาลประคับประคองผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปแล้ว ก็แทบไม่ต้องกังวลกับคนพวกนี้อีก

เพียงแต่การออกมาเคลื่อนไหวขององค์กรพิทักษ์สยาม จะมีผลคุกคามกระแสรักสงบ กลัวความวุ่นวาย ซึ่งจะกระทบชิ่งมายังรัฐบาล ในแง่ที่กระแสรักสงบอยากให้รัฐบาลอยู่นิ่งๆ ก่อน ทำงานไปก่อน อย่ารบรากับพวกอำมาตย์นัก

บริหารกระแสรักสงบ
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจึงต้องบริหารกระแสรักสงบ กับกระแสประชาธิปไตย ไปพร้อมกัน แต่ในสถานการณ์เฉพาะหน้า ต้องอิงกระแสรักสงบเป็นหลัก กระแสรักสงบเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือไม่ต้องการเห็นการยุบพรรคตัดสิทธิอีก แต่ก็ไม่อยากให้รัฐบาลรุกเร้า 'ชน' แตกหัก เสียแต่ตอนนี้

นี่สอดคล้องกับเอแบคโพลล์ ที่ 97.3% ให้รัฐบาลทำงานไปก่อน

การบอกว่ารัฐบาลต้องเอาตัวรอดก่อน ไม่ต้องการใช้ตัวชน ในมุมหนึ่งจึงถูกต้อง แต่ในอีกมุมหนึ่ง ขณะที่บริหารกระแสรักสงบ รัฐบาลก็ต้องรุกทางเนื้อหา เพื่อไปสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยเช่นกัน จะนิ่งนอนใจไม่ได้ เพียงแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป กินทีละคำ ค่อยๆ ย่างก้าวอย่างมั่นคง ทำความเข้าใจกับสังคมให้ทั่วถึง

ตรงนี้แหละที่ไม่มั่นใจว่าคณะรัฐมนตรี 'ผิวเกลี้ยง' ชุดนี้ จะมีจุดยืนมั่นคงมีวิสัยทัศน์เพียงพอที่จะค่อยๆ ย่างก้าวไปสู่การปฏิรูปหรือไม่

ยุทธศาสตร์บริหารกระแสรักสงบ อธิบายได้ว่าทำไมไม่ตั้งจตุพร แล้วไปตั้งติ๋ว ศันสนีย์ (เรียกแบบดาราเซเลบส์) แต่อธิบายไม่ได้ว่าทำไมไม่ตั้งจตุพรแล้วไปตั้งประชา ประสพดี ซึ่งก็เชิญแขกไม่น้อยกว่ากันซักเท่าไหร่

การมองกระแสรักสงบต้องตีให้แตกว่า ประเด็นที่สังคมประนีประนอมแบบไทยๆ ต้องการคือ อย่าเพิ่งแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทักษิณอย่าเพิ่งกลับบ้าน ฝ่ายตรงข้ามอย่าทำรัฐประหาร อย่าล้มรัฐบาลนอกวิถี ให้รัฐบาลทำงานไปก่อน ชั่วๆ ดีก็พอรับได้ ถึงไม่พอใจบางเรื่อง จะคอรัปชั่นโกงกินนิดๆ หน่อยๆ ไม่เป็นไร อย่ารับประทานโจ๋งครึ่มนักก็แล้วกัน แล้วก็อย่าแข็งกร้าว ฟังชาวบ้านบ้าง ฝ่ายค้านก็อภิปรายไม่ไว้วางใจไป ตุลาการภิวัตน์ถ้าจะเตะตัดขารัฐบาล ก็ทำได้ในบางเรื่องที่มีกระแสหนุน แต่ประเภทตะแบงว่าทำกับข้าว เอ๊ย จำนำข้าวขัดรัฐธรรมนูญ ไม่กล้าแล้ว

ฉะนั้นไม่ได้แปลว่ารัฐบาลไม่สามารถรุกทางการเมืองอย่างมีเนื้อหา ค่อยเป็นค่อยไป มีเหตุผล มีประโยชน์ รู้ประมาณ (แปลว่าอะไรให้ถามภูมิธรรม) ขณะเดียวกัน กระแสที่เรียกร้องให้รัฐบาลทำงาน ก็ไม่ได้บอกให้ตั้งรัฐมนตรีตามโควตา ตามโอวาท ตามคำมั่นสัญญา หรือตัวแทนกลุ่มก๊วนงอกราก จนแทบไม่เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการเช่นนี้

ในภาพรวม เชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่รอดได้ บริหารกระแสรักความสงบได้ เพราะไม่ยากเย็นอะไร ในเมื่อฝ่ายตรงข้ามมีแต่จะแสดงความคลั่ง แต่ไม่มีอะไรให้เชื่อมั่นว่าจะผลักดันกระแสประชาธิปไตยได้ตามที่มวลชนต้องการ

ในแง่ของมวลชน จึงต้องมีบทบาทผลักดัน โดยด้านหนึ่งมวลชนที่ออกจะ 'ฮาร์ดคอร์' ต้องทำความเข้าใจกระแสรักสงบ ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย เข้าใจความจำเป็นของรัฐบาลที่ต้องบริหารกระแสรักสงบ และต้องทำงานเพื่อคนทั้งประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ต้องสร้างกระแสมวลชนที่นำหน้ารัฐบาล เป็นตัวแข่ง เป็นตัวช่วย รวมทั้งเป็นตัวกดดันรัฐบาล โน้มนำกระแสรักสงบให้เห็นว่าภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ความสงบที่แท้จริงไม่อาจเกิดขึ้นได้ บ้านเมืองไม่มีวันกลับสู่ภาวะปกติ หากไม่แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ต่างฝ่ายต่างก็ต้องเดิน 2 ขา แต่ขอให้เชื่อมั่นเถอะว่า รัฐประหารไม่สามารถกลับมาได้อีกแล้ว เว้นแต่เกิด 'เงื่อนไขพิเศษ' จริงๆ ฉะนั้นมวลชนก็ไม่ควรกลัวรัฐประหารเกินไป จนละเลยการตรวจสอบหรือเรียกร้องรัฐบาล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หวั่นคำพิพากษาศาล ปค. ทำประชาชนไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย

Posted: 31 Oct 2012 06:21 AM PDT

ภาคประชาชนวิตก คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ประชาชนไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย แม้มีหลักการเกี่ยวกับหมวด 3 สิทธิเสรีภาพ หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอ ว็อทช์ (FTA Watch) ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนมากกว่า 10,000 รายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณา แต่นายชัย ชิดชอบ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาในขณะนั้นมีคำสั่งปฏิเสธร่างพระราชบัญญัตินี้เนื่องจากวินิจฉัยว่า ไม่ใช่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 ผู้แทนกลุ่ม FTA Watch จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของประธานรัฐสภา โดยระบุว่าร่างพระราชบัญญัติการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศนี้เป็นเรื่องสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาล และสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาลก่อนการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงเป็นร่างกฎหมายที่มีหลักการอยู่ในหมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ

ต่อมา วันที่ 30 ตุลาคม 2555 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาในคดีนี้ ซึ่งมีใจความโดยสรุปว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว ซึ่งในเรื่องนี้รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ในหมวด 9 คณะรัฐมนตรี โดยมาตรา 190 วรรคห้า ประกอบกับบทเฉพาะกาลมาตรา 303(3) ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ จึงเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดทำกฎหมายในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีผู้ฟ้องคดี (ประชาชน) จึงไม่อาจเสนอร่างพระราชบัญญัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้รัฐสภาพิจารณาได้ คำสั่งปฏิเสธร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว และศาลได้พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษานี้ มีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกฎหมายหลายฉบับที่ประชาชนได้รวบรวมรายชื่อเสนอไปแล้วหรือกำลังดำเนินการ โดยอาจไม่สามารถเสนอได้อีกต่อไปหากไม่ได้เป็นกฎหมายที่กำหนดตามหมวด 3 หรือ 5 ของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด แม้ว่า พรบ ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จะบัญญัติเพียงว่า "กฎหมายที่จะเสนอ (...) ต้องมีหลักการเกี่ยวกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 (...) หรือ หมวด 5 (...)" เท่านั้น ดังที่ปรากฏแล้วว่า กฎหมายหลายฉบับก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ได้เป็นกฎหมายภายใต้หมวด 3 หรือ 5 เป็นการเฉพาะก็ยังได้รับการพิจารณา ตัวอย่างเช่น ร่าง พรบ ตั้งจังหวัดภูเวียง พ.ศ. ...   ร่าง พรบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ...  และร่าง พรบ ล้มละลาย พ.ศ. เป็นต้น

นอกจากนี้ทั้งรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอกฎหมายฯ ไม่ได้มีเงื่อนไขกำหนดห้ามมิให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ซ้ำกับรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐหน่วยอื่นๆ อีกทั้งรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีบทบัญญัติใดที่สงวนอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเพื่อรองรับมาตรา 190 ไว้เฉพาะแก่รัฐบาลเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตามจุดสำคัญอย่างยิ่งคือ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีนี้อาจส่งผลให้กฎหมายใดๆก็ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำอยู่แล้ว องคาพยพอื่นๆ ในสังคมก็จะถูกตัดสิทธิไปโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป หรือฝ่ายนิติบัญญัติเอง แม้ว่าการเสนอกฎหมายโดยประชาชนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะไม่ได้เป็นการไปตัดสิทธิรัฐบาลในการเสนอกฎหมายเดียวกันแต่อย่างใด นั้นหมายถึงประเทศไทยจะไม่มีทางมีกฎหมายใช้หากคณะรัฐมนตรีไม่ทำหน้าที่ หรือทำอย่างเชื่องช้า

ดังจะเห็นได้ว่าจนถึงวันนี้ผ่านไปแล้วกว่า 4 ปี ประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายเพื่อรองรับมาตรา 190 เลย ซึ่งเป็นการฉุดรั้งและลดทอนประสิทธิภาพทางการต่างประเทศของรัฐไทย อีกทั้งได้ก่อให้เกิดทั้งความสับสนและขัดแย้งในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางกลุ่ม FTA Watch จะดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฉลาดซื้อเผยคาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม ไม่ต่างจากเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน

Posted: 31 Oct 2012 06:04 AM PDT

ย้ำต้องแสดงคำเตือน "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน" บนฉลาก และเข้มงวดเรื่องการควบคุมโฆษณา แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน

31 ต.ค. 55 ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของแผนงานอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เปิดเผยข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลของชาพร้อมดื่มในท้องตลาดจำนวน 23 ตัวอย่าง  เปรียบเทียบกับ กาแฟพร้อมบริโภค และเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน อย่างละ 3 ตัวอย่าง

ผลการเปรียบเทียบฉลากอาหาร พบว่า เป็นสินค้าที่มีปริมาณคาเฟอีน ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ไม่เหมาะกับเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วย พร้อม วอนหน่วยงานรัฐ (อย.) ปรับกฎหมาย สร้างความเข้มงวด แบบเดียวกับเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน

นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ฯ กล่าวว่า จากกรณี เด็กหญิงวัย 14 เสียชีวิตหลังดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนยี่ห้อมอนสเตอร์ และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (ยูเอสเอฟดีเอ) กำลังสืบสวนการตาย 5 ศพที่อาจเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มยี่ห้อดังกล่าว และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาให้ข่าวว่าไม่พบการจำหน่ายในไทย พร้อมให้ข้อมูลการควบคุมเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ที่ว่า มีการกำหนดปริมาณคาเฟอีนให้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมและมีการควบคุมฉลากโดยบังคับให้ต้องแสดงคำเตือน "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน" บนฉลาก และในเนื้อหาโฆษณาจากทุกสื่อ นั้น

ทางโครงการได้ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบข้อมูลปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลบนฉลากของชาพร้อมดื่ม จำนวน 13 ยี่ห้อ ควบคู่กับกาแฟพร้อมดื่มจำนวน 3 ยี่ห้อ และ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน อีก 3 ยี่ห้อ พบว่า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ระหว่าง 22 – 100 มิลลิกรัม/ขวดหรือกระป๋อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มีปริมาณใกล้เคียงหรือสูงกว่าเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางตัวอย่าง เช่น ชาเย็นพาสเจอร์ไรส์ ตรา พรีโก้ ชาเขียวญี่ปุ่นสูตรต้นตำรับ ตรา บิ๊กซี ชาเขียวญี่ปุ่นรสน้ำผึ้งผสมมะนาว ตรา โออิชิ กรีนที และ ชาดำรสมะนาว ตรา โออิชิ แบล็คที มีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้ ยังมีปริมาณน้ำตาลระหว่าง 12 – 100 กรัม คิดเป็นค่าเฉลี่ย 38 กรัม จาก 21 ตัวอย่าง (หักตัวอย่างที่เป็นแบบปราศจากน้ำตาลออก 2ตัวอย่าง)

นายพชร กล่าวต่อว่า จากที่เลขา อย. กล่าวในข่าวเพื่อสื่อมวลชนของ อย. ว่า "เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ไม่เหมาะสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่จะดื่มเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนควรอ่านคำเตือนในฉลาก ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นกับผู้ดื่มได้" นั้นด้วย

"ข้อมูลจากการเปรียบเทียบฉลากชาและกาแฟพร้อมดื่ม มีปริมาณคาเฟอีนในระดับที่ไม่ต่างกันกับปริมาณคาเฟอีนของเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน ดังนั้น อย. จึงควรที่จะมีการควบคุมโดยการแสดงคำเตือนแบบเดียวกันทั้งบนฉลากและในเนื้อหาโฆษณาอันเป็นการบังคับให้แสดงข้อมูลที่เป็นจริงของผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วน ป้องกันผู้บริโภคไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่อาจเกิดจากการบริโภคมากเกินไปอีกด้วย" นายพชรกล่าว

รายชื่อผลิตภัณฑ์
ฉลากชาสำเร็จรูป จำนวน 23 ตัวอย่าง
 (13 ยี่ห้อ) ทั้งชาเขียวและชาขาว  1.ชาเขียวพาสเจอร์ไรส์ ตราพรีโก้ 2.ชาเขียวสำเร็จรูปกลิ่นมะลิ ตราพอคคา 3.ชาเขียวพร้อมดื่มรสต้นตำรับ ตราซันโทรี่ มิเรอิ 4.ชาเขียวพร้อมดื่มกลิ่นน้ำผึ้งผสมมะนาว ตราซันโทรี่ มิเรอิ  5.ชาเขียวรสต้นตำรับตรา อิชิตัน กรีนที  6.ชาเขียวผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น ตรา อิชิตัน กรีนที 7.ชาเขียว รสเบอร์รี่ ตรา อิชิตัน กรีนที  8.น้ำใบเตยผสมวีทต์กราสและชาเขียว ตรา อิชิตัน ดับเบิ้ล ดริ๊งค์ 9.ชาเขียวรสข้าวญี่ปุ่น ตรา โออิชิ กรีนที  10.ชาเขียวญี่ปุ่นรสน้ำผึ้งผสมมะนาว ตรา โออิชิ กรีนที 11.ชาเขียวรสข้าวญี่ปุ่น ตรา โออิชิ กรีนที  12.ชาเขียวญี่ปุ่นสูตรต้นตำรับ ตรา บิ๊กซี 13.ชาเขียวญี่ปุ่นสูตรไม่มีน้ำตาล ตรา บิ๊กซี  14.ชาเขียวพร้อมดื่ม ตรา ฟูจิชะ กรีนที 15.ชาเขียวพร้อมดื่มผสมน้ำทับทิม ตรา เซนย่า  16. ชาขาวพร้อมดื่ม ตรา เพียวริคุ เพียว  17.ชาขาวพร้อมดื่มรสแอปเปิ้ลแดงผสมแอปเปิ้ลเขียว ตราเพียวริคุ เรดแอนด์กรีนแอปเปิ้ล  18.ชาดำ รสมะนาว ตรา โออิชิ แบล็คที 19.น้ำชาอังกฤษ (ชาดำ) รสองุ่นขาว (ชาปรุงสำเร็จ) (ตราทีเบรค) 20.ชาดำรสมะนาว ตรายูนิฟ ที 21.ชาปรุงสำเร็จรูป รสพีช ตราลิปตัน ไอซ์ที 22.ชาเย็นพาสเจอร์ไรส์ ตรา พรีโก้ 23.ชาไทยพร้อมดื่มผสมนมสด ตรา เมจิ

กาแฟจำนวน 3 ตัวอย่าง  1.กาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม สูตร ลาเต้ ตรา วี สลิม 2.กาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม รสกลมกล่อม ตราเบอร์ดี้ 3.กาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม ตรา เนสกาแฟ  เอสเปรสโซ โรสต์

เครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 4 ตัวอย่าง 1.เครื่องดื่มกระทิงแดง 2.เครื่องดื่ม เรดบูล เอ็กซ์ตร้า 3.เครื่องดื่มคาราบาวแดง 4.เครื่องดื่มซุปเปอร์ลูกทุ่ง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา: การเมืองเรื่องของโพล

Posted: 31 Oct 2012 05:53 AM PDT

ในบรรดาคอการเมืองอเมริกันที่ติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะขาดเสียไม่ได้และจะต้องติดตามข่าวความคืบหน้าเป็นอันดับแรกในทุกคราวก็คือ ผลการสำรวจความเห็น หรือที่เราเรียกกันติดปากทับศัพท์กันว่า 'โพล (poll)' นั่นเอง ก่อนเลือกตั้งก็จะตามข่าวกันว่าใครนำ นำกี่จุด (pointsหรือ เปอร์เซ็นต์) ในรัฐต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง และเมื่อเริ่มหย่อนบัตรก็มีการสำรวจความเห็นนอกคูหาเลือกตั้ง หรือ 'เอ็กซิทโพล (Exit Poll)' ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการเพิ่มรสชาติในการติดตามข่าวเป็นยิ่งนัก และจะยิ่งมีรสชาติมากยิ่งขึ้นหากผลอย่างเป็นทางการออกมาไม่ตรงกับผล 'โพล' ทั้งหลาย ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แม้ว่าโอกาสผิดพลาดจะน้อยก็ตาม

การทำโพลครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 1824 โดยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเมืองแฮริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย แต่ไม่ได้เป็นประเด็นในการเสนอข่าวอย่างเป็นจริงเป็นจัง และมีการพัฒนาแตกขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง ที่มีชื่อเสียงมากมาจนถึงปัจจุบันก็คือ แกลลัพ โพล (Gallup Poll) ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ จอร์จ ฮอเรซ แกลลัพ (George Horace Gallup 1901-1984) ก่อตั้งสถาบันสำรวจความคิดเห็นแห่งอเมริกา (The American Institute of Public Opinion) ขึ้นในปี1935 ซึ่งต่อมาสถาบันได้พัฒนามาเป็นองค์การแกลลัพ หรือ The Gallup organization

จุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ที่สำคัญสามแห่งในยุคนั้น คือ ABC,CBS และ NBC ต่างก็ทำโพลการเลือกตั้งประธานาธิบดี และหลังจากนั้นก็ทำโพลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่สำคัญๆ เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐและสมาชิกสภาคองเกรส เป็นต้น

ในปัจจุบันมีการทำโพลในนามของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกัน เช่น ABC กับ Washington Post,CBS กับ New York Times,NBC กับ Wall Street Journal หรือทางสถานีโทรทัศน์อย่างเดียว เช่น CNN เป็นต้น รวมถึงการทำโพลทางอินเตอร์เน็ตที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก คือ www.pollster.com ของศาสตราจารย์ชาร์ลส์ แฟรงกลิน จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ซึ่งทำให้สามารถติดตามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่สำคัญก็คือมีการสอบถามเพิ่มเติมในประเด็นที่สำคัญๆว่ามีความคิดเห็นอย่างไรเข้าไปด้วย

บางครั้งมีการทำโพลข้ามคืนหรือทันทีทันใดหลังจากมีเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น การแถลงนโยบายประจำปีของประธานาธิบดี หรือการโต้วาที(Debate)ระหว่างผู้ชิงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งในการทำโพลในระยะแรกๆจะให้ข้อมูลมากมายนอกเหนือจากที่แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดกำลังได้รับความนิยมนำอยู่ ผลการทำโพลอาจบอกได้ว่าประชาชนกำลังสนใจประเด็นใดอยู่ รวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของประชาชนโดยทั่วไป จนมีคำกล่าวว่า "การทำโพลเป็นแค่การเติมวิทยาศาสตร์เข้าไปในสิ่งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเห็นและสาธารณชนรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ ขุ่นเคือง คับข้องใจ มั่นใจ หรือสิ้นหวัง"

ผลโพลจะช่วยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเน้นข้อความที่จะสื่อสารอย่างใดจึงจะมีประสิทธิผลมากที่สุด และในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นในประเด็นที่ประชาชนกำลังสนใจ ซึ่งศาสตร์ต่างๆเหล่านี้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วไปในวิชา 'การตลาดการเมือง' หรือ Political Marketing นั่นเอง

เอ็กซิทโพล(Exit Poll)
เอ็กซิทโพลหรือเรียกเป็นภาษาวิชาการว่าการสำรวจความเห็นนอกคูหาเลือกตั้งส่วนใหญ่แล้วจะทำโดยเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกำลังเดินออกจากหน่วยเลือกตั้งซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970  และยังเป็นเรื่องถกเถียงกันเป็นอย่างมากว่าเหมาะหรือไม่เหมาะสมประการใด เพราะบางคราวก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้นเช่นในคราวการทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2000 ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างอัลกอร์กับบุช โดยทำนายผลการเลือกตั้งผิดถึงสองครั้งในรัฐฟลอริดา

การเลือกตั้งที่มีขึ้นในปี 2000 นั้น เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ได้รายงานว่าอัล กอร์นำ จากนั้นก็บอกว่าบุชนำ และท้ายสุด บอกว่าสูสีกันมากจนไม่อาจวัดได้ อัล กอร์ ผู้ซึ่งโทรศัพท์ไปหาบุชเพื่ออ้างว่าตนได้รับชัยชนะได้โทรไปขอถอนคำพูดภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงต่อมา และได้เกิดการฟ้องศาลตามมาหลายครั้งว่าด้วยความถูกต้องในการนับคะแนนซ้ำระดับเคานท์ตี และระดับรัฐในหลายเดือนต่อมา

จนสุดท้ายคดีนี้จึงไปสิ้นสุดที่ศาลสูงสุด(Supreme Court) ที่เป็นผลทำให้บุชมีชัยอย่างหวุดหวิดในรัฐฟลอริดาด้วยคะแนนเสียงเพียง 537 คะแนน (บุช 2,912,790 คะแนน/กอร์ 2,912,253 คะแนน) ทำให้บุชได้เอเล็คตอรัลโวตจากรัฐนี้ไป 25 คะแนน และได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐในที่สุดด้วยคะแนนอีเล็กตอรัลโหวต 271 ต่อ 266 ทั้งๆที่คะแนนป็อบปูลาโหวตแพ้ต่อกอร์ด้วยคะแนน 50,456,002 เสียง (47.9%) ต่อ 50,999,897 เสียง (48.4 %) ซึ่งผมยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าหากคราวนั้นผู้ชนะเปลี่ยนจากบุชเป็นกอร์แล้วโลกเราจะเป็นอย่างไร อาจจะดีขึ้นกว่าเดิมไหม แต่ก็อย่างว่าแหละครับ "สำหรับประวัติศาสตร์แล้วไม่มีคำว่า 'ถ้า' (No if in History)"

ดูเขาแล้วหันมาดูเรา
เมื่อดูการทำโพลในสหรัฐอเมริกาแล้วหันมาดูพี่ไทยเรากลับมีกฎหมายห้ามว่า ระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือ เวลา 15.00 น.ของวันเลือกตั้ง ห้ามมีการเปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับคะแนนนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะอาจเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 150 ดูดูแล้วก็แปลกดีสำหรับกฎหมายเลือกตั้งไทย เพราะนอกเหนือจากการห้ามเผยแพร่โพลแล้วยังห้ามอะไรหยุมหยิมไปหมด(แล้วก็บังคับไม่ได้) ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจำหน่ายจ่ายแจกสุรา การห้ามการมีมหรสพ การห้ามขนคนหรือจัดพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงคะแนน ฯลฯ ซึ่งที่สหรัฐอเมริกาไม่มีการห้ามในเรื่องเหล่านี้

เมื่อไหร่พี่ไทยเราจะหันไปมองดูคนอื่นเขาบ้าง ไปดูงานกันมาก็ตั้งเยอะแยะ ไม่เห็นนำมาใช้สักที มัวแต่อ้างว่าคนไทยเรายังไม่พร้อมเป็นแผ่นเสียงตกร่องกันอยู่ได้

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โรแวน แอตคินสัน: "เราต้องพิทักษ์สิทธิในการดูถูกผู้อื่น"

Posted: 31 Oct 2012 04:10 AM PDT

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา โรแวน แอตคินสัน นักแสดงนำละครตลก "มิสเตอร์บีน" ของอังกฤษ ได้สร้างความสนใจจากสาธารณชนอีกครั้ง หลังจากที่เขาได้เข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในแคมเปญรณรงค์ของ "คณะแก้ไขมาตรา 5" ของกฎหมายความเรียบร้อยสาธารณะของอังกฤษ โดยพวกเขาเรียกร้องให้ยกเลิก "การดูหมิ่น" "การวิพากษ์วิจารณ์ และ "การเสียดสี" จากการเป็นอาชญากรรม  

กฎหมายความเรียบร้อยสาธารณะมาตรา 5 ในรัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักร ระบุให้การดูหมิ่นที่ทำให้เกิดความอับอาย ความตกใจ และความเครียดแก่ผู้อื่น ถือเป็นอาชญากรรม ที่ผ่านมา มีคดีที่ไม่น่าจะเป็นคดีตามกฎหมายนี้หลายตัวอย่าง เช่น คดีที่เด็กชายวัย 16 ปี ที่ถือป้ายประท้วงอย่างสันติว่า "ไซเอนโทโลจี้ไม่ใช่ศาสนา แต่มันเป็นลัทธิที่อันตราย" และตำรวจได้จับกุมเขาเนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าข้อความดังกล่าวดูหมิ่นสำนักอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม หลังจากการคัดค้านจากกลุ่มรณรงค์สิทธิพลเมือง คดีดังกล่าวก็ถูกยกฟ้อง 
 
หรือจะเป็นคดีของปีเตอร์ แทตเชลล์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศ กลุ่ม "Outrage!" ซึ่งถูกจับกุมเนื่องจากประท้วงคัดค้านการชุมนุมของกลุ่มมุสลิมหัวสุดโต่ง Hizb ut-Tahrir ที่เรียกร้องให้ทำการสังหารชาวรักเพศเดียวกัน ชาวยิว และผู้หญิงที่ไม่บริสุทธิ์ โดยตำรวจมองว่า ป้ายประท้วงของกลุ่ม Outrage! มีข้อความที่ดูหมิ่น และสร้างความตึงเครียดต่อสาธารณะ ในขณะเดียวกัน นักเทศน์ศาสนาคริสต์ผู้หนึ่งซึ่งถือป้ายรณรงค์ในที่สาธารณะว่า การกระทำที่รักเพศเดียวกันถือว่าเป็นบาป ก็ถูกจับด้วยมาตรา 5 และถูกปรับเป็นเงิน 300 ปอนด์ (ราว 15,000 บาท) เนื่องจากศาลพิจารณาว่าข้อความดังกล่าว เป็นข้อความที่ "ดูหมิ่น" ต่อชาวรักร่วมเพศ
 
คณะรณรงค์เพื่อปฏิรูปกฎหมายมาตรา 5 ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรพันธมิตรหลากหลายจากหลากขั้วทางการเมือง อย่างสถาบันคริสเตียน (The Christian Institute) สมาคมเพื่อโลกฆราวาสแห่งชาติ (The National Secular Society) กลุ่มจับตามองบิ๊ก บราเธอร์ (Bg Brother Watch) ซึ่งรณรงค์เรื่องเสรีภาพพลเมือง มูลนิธิปีเตอร์ แทตเชล (The Peter Tatchell Foundation) หรือกลุ่ม think-tank สายอนุรักษ์นิยม The Bow Group  ได้เรียกร้องให้ลบ "คำหรือพฤติกรรมที่มีลักษณะดูหมิ่น" ออกจากการเป็นอาชญากรรม เนื่องจากเป็นคำที่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถตีความได้อย่างกว้างและคลุมเครือ และที่สำคัญได้ส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศอย่างมาก
 
ในหน้าเว็บของคณะกรรมการรณรงค์ปฏิรูปมาตรา 5 ระบุถึงเหตุผลที่จะต้องรณรงค์กฎหมายดังกล่าวไว้ว่า "ไม่มีใครมีสิทธิที่จะไม่ถูกดูหมิ่นหรือทำให้เสียความรู้สึก ถึงแม้ว่านี่อาจจะดูรุนแรง แต่นี่เป็นเสรีภาพที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่เป็นใจกลางสำคัญของหลักการเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก พหุนิยม และประชาธิปไตย" และถึงแม้อาจจะมีบางคนแย้งว่า เสรีภาพในการแสดงออก จำเป็นต้องมากับความรับผิดชอบ แต่คณะรณรงค์ก็แย้งว่า การรณรงค์นี้ ไม่ได้ทำให้การดูหมิ่นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น แต่มันเป็นการพิทักษ์เสรีภาพของคนเราในการถกเถียงประเด็นที่สำคัญ การทำตามความเชื่อและความศรัทธา หรือการมีสิทธิที่ไม่เห็นด้วยกับการทำตามความเชื่อของผู้อื่น
 
ในสุนทรพจน์ดังกล่าว แอตคินสันกล่าวว่า ปัญหาของกฎหมายนี้ คือการตีความคำว่า "ดูหมิ่น" ที่กว้างเกินไป 
 
"คำวิพากษ์วิจารณ์ การล้อเลียน และการเสียดสี ที่เป็นเพียงการพูดจากมุมมองที่แตกต่างไปจากสิ่งดั้งเดิม กลับถูกตีความว่าเป็นการดูหมิ่น" เขากล่าว 
 
"การยกเลิกมาตรานี้ จะเป็นเพียงก้าวเล็กๆ แต่ผมหวังว่ามันจะเป็นก้าวที่สำคัญของโครงการระยะยาวในการยุติและเพิกถอนวัฒนธรรมการเซ็นเซอร์" 
 
การรณรงค์การปฏิรูปกฎหมายนี้ เกิดขึ้นหลังจากในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ส.ส.เอ็ดวาร์ด เลยฮ์ จากพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ได้ยื่นวาระเสนอขอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวต่อสภา พร้อมกับรายชื่อผู้สนับสนุนจากส.ส.หลากหลายพรรคกว่า 60 คน ทำให้ต่อมารัฐบาลจำเป็นต้องจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างการตีพิมพ์รายงานดังกล่าวเพื่อพิจารณาการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวต่อไป 
 
 


การกล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนการยกเลิกมาตรา 5 ของกฎหมายความเรียบร้อยสาธารณะ ของโรแวน แอตคินสัน
นักแสดงนำละครตลก 'มิสเตอร์บีน' ที่รัฐสภาอังกฤษ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ทนายความคดีสุรภักดิ์ : มุมมองการต่อสู้คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์-112

Posted: 31 Oct 2012 03:39 AM PDT

 

การยกฟ้องในคดีของสุรภักดิ์ ผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างแรงกระเพื่อมอย่างสำคัญในสังคม โดยเฉพาะแวดวงนักกิจกรรมและผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคดีลักษณะดังกล่าว เมื่อเกี่ยวพันกับมาตรา 112 ที่ผ่านมาแทบไม่ปรากฏการชนะคดีให้เห็น ยกเว้นคดี 'เบนโตะ' ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ด

ธิติพงษ์ ศรีแสน หรือที่เรียกกันว่า ทนายเซียง เป็นทนายว่าความคดีนี้ เขาเป็นทนายผู้เชี่ยวชาญคดีทรัพย์สินทางปัญญาและเริ่มทำคดีความมั่นคงที่เป็นประเด็นอ่อนไหวเป็นคดีแรก ความน่าสนใจของเขาอยู่ที่แนวทางในการสืบพยานและการเตรียมการของทนายซึ่งไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือ รวมไปถึงมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่น่าสนใจ

0 0 0

แบ็คกราวด์ก่อนหน้านี้ทำคดีเกี่ยวกับอะไร
ก็เป็นทนายอิสระ ทั่วๆ ไปเหมือนสำนักงานทนายความ ที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.คอมมากหน่อยก็เป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา แต่สองปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำคดีเสื้อแดงเยอะ ในช่วงสลายชุมนุมปี 53 คือคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะทำกับชาวบ้านรากหญ้า ไม่ใช่ระดับแกนนำ วันที่ 19 พ.ค.53 ม็อบแตก บังเอิญได้รับโทรศัพท์จากคนเสื้อแดงหลายคน แจ้งว่ามีคนถูกจับกุมแล้วถูกจับตัวไปศาลและถูกบังคับให้รับสารภาพ เลยเข้าไปช่วย

แล้วมารับคดีนี้ได้อย่างไร
เพราะเห็นบทเรียนจากคดีอากง แล้วเห็นว่าคดีแบบนี้ เป็นคดีที่ไม่ว่าคำพิพากษาก็ดี เนื้อหาคดี มันทะแม่งๆ ไม่น่าจะสามารถลงโทษจำเลยได้ จากนั้นมีโอกาสเจอกับแม่ของสุรภักดิ์โดยบังเอิญแล้วเขาเล่าให้ฟัง ก็สงสารแม่เขา

ที่สำคัญ สุรภักดิ์ จำเลยของคดีนี้ก็เป็นเสื้อแดงเหมือนกัน ไม่รู้ว่าด้วยความที่ส่วนตัวเป็นเสื้อแดง หรือว่าอคติ หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่าคนมีความคิดในแนวเสื้อแดง พื้นฐานเขาเป็นคนดี

ตอนแรกหวั่นใจไหม
หวั่นใจ คำฟ้องโจทก์เขียนค่อนข้างดี รัดกุม เป็นขั้นเป็นตอน ผมก็ยังเคยคุยกับเพื่อนทนายว่า หนักและเครียดมากคดีนี้

จริงๆ แล้วโดยรูปแบบแล้วหนักกว่าคดีอากง คดีอากงเปรียบเทียบแล้วคล้ายๆ ว่าอากงยิงปืนไม่เป็น แต่บังเอิญมีปืนไว้กระบอกหนึ่ง ใครหยิบไปฆ่าคนตายแล้วมาวางไว้ที่บ้านอากงก็ไม่รู้ ข้อเท็จจริงมันชัดว่าอากงไม่เคยยิงปืนและยิงปืนไม่เป็น แต่สุรภักดิ์เป็นโปรแกรมเมอร์ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ และพบหลักฐานในคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ความยากของคดีมันอยู่ตรงนี้ และเอกสารในสำนวนเยอะมากที่เราต้องตรวจสอบด้วยตัวเอง อ่านแล้วเจอพิรุธในเอกสารของโจทก์เอง มีแค่บรรทัดเดียวเล็กๆ ว่ามีการใช้เครื่องวันที่ 2 ก.ย.และ 7 ก.ย.ตอนที่เขาโดนจับแล้ว

ตัวทนายมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไหม
ผมก็มีในฐานะ user ทั่วๆ ไป ถ้าเขาได้ประกันตัวมาคดีจะสะดวกกว่านี้เยอะ โดยเฉพาะเมื่อตัวจำเลยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วย ข้อเท็จจริงเราบอกผ่านกันทางลูกกรง จำเลยไม่มีโอกาสมานั่งสาธิต เขาบอกอย่างเดียวว่ามันปลอม แต่มันจะปลอมยังไง ผมต้องไปนั่งศึกษา ผมก็ไม่มีทีม support มันหายาก ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อยากจะให้ความร่วมมือ ใช้วิธีอ่านหนังสือ ค้นคว้า โดยเราได้ธงมาอย่างหนึ่งคือจำเลยยืนยันว่าไม่ได้ทำและหลักฐานเป็นไฟล์ปลอม ซึ่งเราก็ต้องตีโจทย์ต่อเองว่ามันปลอมยังไง

ใช้เวลานานไหมในการหาข้อมูล
คดีนี้ก็น่าจะประมาณ 3 เดือน

คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กับที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง มีความยากง่ายต่างกันไหม
ต่างกันหลายเรื่อง คดีนี้สำคัญที่สุดคือแรงกดดัน คนที่โดนคดีนี้ คนที่มาทำคดีนี้ ตกอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดดันสูง คุณไม่มีทางไปเชิดหน้าชูตาบอกใครที่ไหนได้เลยว่าคุณเป็นทนายให้คนที่หมิ่นสถาบัน คุณจะไปขอความร่วมมือจากใคร แล้วโดยความซับซ้อนก็มีสูง โดยส่วนตัวเราก็ไม่ใช่นักคอมพิวเตอร์ ทุกคดีมีความยากง่ายแตกต่างกันไป แต่คดีนี้องค์ประกอบส่วนอื่นยิ่งทำให้คดียากขึ้นไปอีก

หลังจากรับคดีนี้แล้ว คาดว่าจะมีปัญหาในอาชีพการงานไหม
อันนั้นไม่กลัว โดยส่วนใหญ่แล้วลูกความของผมมักมีแนวคิดทางการเมืองตรงข้ามกับผม แต่เขาก็เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ แต่ถ้าเขาจะไม่จ้างผมเป็นทนายเพราะผมเป็นคนเสื้อแดง ผมก็ไม่ worry  ถ้าเรามั่นใจว่าเราทำในสิ่งที่ถูกต้อง ผลที่จะตามเราพร้อมจะรับเสมอ คนรอบข้างใกล้ตัวหลายคนก็ทักเสมอ ท้วงติงด้วยความห่วงใยว่า แน่ใจเหรอที่จะมาทำคดีแบบนี้ เพราะเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวในสังคมไทย จะจริงหรือไม่จริง พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาถูกประณามไปก่อนแล้ว เหมือนคดีของสุรภักดิ์ พิสูจน์ได้เลยว่าพยานหลักฐานที่ทำเป็นเท็จแต่ตลอดระยะเวลาปีเศษๆ เขาเหมือนอะไรสักอย่างที่ถูกตั้งข้อสังเกตในสังคมไปแล้ว

จะมีการดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับผู้แจ้งความจับในคดีนี้ไหม
เป็นเรื่องของผู้เสียหายว่าจะตัดสินใจอย่างไร คงให้คำแนะนำหลังจากที่เขามาขอคำแนะนำ สาระสำคัญของคดีนี้ ผมว่ามันกล่าวหากันง่ายเกินไป เราพูดในเรื่ององค์รวมในการใช้มาตรา 112 คดีอย่างสุรภักดิ์มันกล่าวหากันง่ายมาก มีคนบอกตำรวจว่ามีเฟซบุ๊คหมิ่นสถาบัน คนบอกมีตัวตน แต่คนที่บอกว่าเจ้าของเฟซบุ๊คคือสุรภักดิ์คือนายมานะชัยซึ่งไม่ปรากฏตัวตน เป็นคำกล่าวอ้างของพนักงานสอบสวน ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปว่าคนนี้คือใคร แล้วก็นำมาซึ่งการออกหมายค้น วันนั้นยังไม่ออกหมายจับนะ พอเจอเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ ตำรวจยังไม่สามารถจับได้นะ เพราะไม่มีการกระทำความผิดซึ่งหน้า ในขั้นตอนในการจับกุม ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่เข้าจับกุมได้ให้สุรภักดิ์เขียนกระดาษอีกใบหนึ่งบอกว่าเฟซบุ๊คที่มีเรื่องนี้ มีพาสเวิร์ดอะไร สุรภักดิ์ไม่รู้ก็ให้พาสเวิร์ดเครื่องไป แล้วตำรวจก็เอาหลักฐานตัวนี้ไปขอหมายจับที่ศาล

คือกระบวนการ หรือ process มันผิดฝาผิดตัวหมด  กระบวนการดำเนินคดีมันผิดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่มีคนแจ้งกันง่ายๆ ว่าคนนี้ ชื่อนี้ ที่อยู่นี้เป็นคนทำ คนที่บอกก็ยังหาตัวตนไม่เจอ

คดีนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าพยานหลักฐานอาจจะเท็จ มีความเป็นไปได้ไหมที่จะสามารถสร้างบรรทัดฐานโดยจำเลยอาจฟ้องกลับเจ้าพนักงานที่ดำเนินการ
เป็นไปได้ พยานบุคคลที่นำมาสืบเป็นผู้เชี่ยวชาญเหมือนกัน เขายืนยันกับผมหลังสืบพยานว่า เขามั่นใจในฐานะนักคอมพิวเตอร์ว่าหลักฐานนี้เท็จแน่นอน หลังจากที่สุรภักดิ์ออกจากคุกแล้วก็คงให้เขาคิดและตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไร

กระบวนการยุติธรรมถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด มาถึงวันนี้คิดอย่างไร
ผมว่าหลังจากที่ฟังคำพิพากษาวันนี้แล้ว เรายังพอมีความหวังอยู่บ้างเรื่องกระบวนการยุติธรรม แต่โดยส่วนตัวผม กระบวนการยุติธรรมจะไม่ยุติธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาเลย ถ้าผู้ที่ถูกกระทำหรือจำเลยหรือผู้ต้องหา ไม่ได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการประกันตัว ผมมีความเห็นว่า คดีมาตรา 112 หรือคดีอะไรก็แล้วแต่ เมื่อภายหลังมีการยกฟ้องจำเลย มันจะเกิดความเสียหายกับจำเลยน้อยมาก ถ้าศาลให้โอกาสจำเลยในการต่อสู้คดีโดยการให้ประกันตัว วันนี้ผมถามว่า ออกมาแบบนี้ ระยะเวลา 1 ปีเศษๆ ที่สุรภักดิ์อยู่ในคุก ผมมองว่าไม่มีอะไรทดแทน ชดเชยให้เขาได้ ชดเชยทางความรู้สึก เวลาที่เสียไป ธุรกิจการงาน

เรื่องการประกันตัวดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในคดีลักษณะนี้
เรื่องการประกันตัวเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่การกล่าวอ้างไม่ให้ประกันลอยๆ ยกตัวอย่างว่า กรณีศาลสั่งไม่ให้ประกันเนื่องจากกลัวจะหลบหนี กลัวยุ่งเหยิงกับพยาน มันมีหลายคดีที่ข้อเท็จจริงในคดีมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และการหนีของจำเลยก็ต้องดูว่าเขาสามารถหนีไหม คุ้มกับที่เสียหลักประกันไปหรือเปล่า

เราพูดเรื่องสิทธิของจำเลยในการได้รับการประกันตัวกันเยอะ แต่เราไม่เคยพูดว่าอำนาจของคนที่จะไม่ให้ประกันตัวควรจะมีแค่ไหน จริงๆ เราควรพูดเรื่องนี้มากกว่า ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเรื่องของคน ซึ่งสามารถใช้ช่องว่างของระบบได้ แต่ถ้าเราสามารถแก้ไขระบบได้ ต่อให้คนที่มีทัศนคติเกี่ยวกับคดียังไง ก็ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจเกินเลย ยกตัวอย่างว่า ถ้าเราวางระบบว่าถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้คุณต้องให้ประกันตัวนะ คุณจะใช้ดุลยพินิจนอกเหนือจากระบบไม่ได้ แต่ตอนนี้โครงสร้างของระบบมันมีช่องว่าง

เวลาพูด เราพูดถึงองค์รวม การปรับหรือการปฏิรูประบบยุติธรรม ประชาชนทุกคนต้องได้ประโยชน์ รวมทั้งคดีมาตรา 112 เพื่อให้ยุติธรรมกับประชาชน

คิดว่าคดีนี้อัยการจะอุทธรณ์ไหม
แล้วแต่ทางอัยการ ถ้าอุทธรณ์เราก็มีหน้าที่แก้อุทธรณ์ ส่วนผลนั้นก็ไม่อาจก้าวล่วงศาลได้ แต่เท่าที่ดูจากชั้นต้นแล้วค่อนข้างมั่นใจ พยานหลักฐานที่เรานำสืบหักล้างหลักฐานของโจทก์ได้ทั้งหมด

ปัจจัยที่จะชนะคดีลักษณะนี้อยู่ที่ไหน
ปัจจัยที่จะทำให้ชนะอยู่ที่การเตรียมคดี  อะไรที่มันไม่จริงมันต้องมีข้อพิรุธให้เราจับได้

ความเข้าใจของผู้พิพากษาในเรื่องเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญไหม
มันอยู่ที่เรานำเสนอ อยู่ที่ว่าฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยจะนำเสนออย่างไร คดีนี้โชคดีกว่าคดีอื่นตรงที่ศาลอนุญาตให้เรานำสืบได้ทุกขั้นตอน สามารถเอาคอมพิวเตอร์ไปฉายโปรเจ๊กเตอร์ได้ สาธิตการเกิดไฟล์ได้

อันนี้ควรเป็นสิทธิพื้นฐาน ทำไมใช้คำว่า "โชคดี"
ก็มันโชคดี เข้าใจว่าคดีอื่นไม่ได้

การยกฟ้องครั้งนี้น่าจะทำให้คดีในลักษณะนี้ที่มีอยู่เรื่อยๆ ไหลมาที่ทนาย หนักใจหรือไม่
ตราบใดที่กระบวนการการดำเนินคดีของมาตรา 112 ยังเป็นแบบนี้ ผมไม่อยากทำ คือเป็นกระบวนการกล่าวหาแล้วก็ห้ามประกันตัว มันเครียดและอึดอัด

ผมว่าเอาคดีนี้เป็นตัวอย่าง เป็น case study  ทนายไม่ว่าใครก็แล้วแต่ที่มาทำคดีลักษณะนี้ให้ดูลักษณะการเตรียมคดีหรือสืบพยานในคดีนี้ แต่ละคดีไม่เหมือนกัน แต่อาจดูแนวทางการนำสืบหรือการหักล้าง น่าจะเป็นแนวทางการต่อสู้ของคนที่เจอชะตากรรมเดียวกับสุรภักดิ์ได้

คนที่ไม่ได้นั่งฟังอาจไม่เห็นว่าแนวทางเป็นยังไง เช่น เป็นคดีคอมพิวเตอร์ที่ถามน้อยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
ผมว่าผมถามไม่น้อยนะ ให้ดูเรื่องคำถามที่ถามก็ได้ ผมเอาให้เข้าประเด็นทั้งหมด ไม่ต้องถามอะไรนอกเหนือไปมาก มีพยานปากหนึ่งผมไม่ถามเลยเพราะไม่เกี่ยวกับคดี ถ้าเราสามารถหักล้างพยานโจทก์ได้หมด ศาลก็คงไม่เขียนคำพิพากษาไปเป็นอย่างอื่น ผมพยายามปิดช่องว่าง คดีอากงผมเห็นแล้วว่าถ้าเราอุดไม่เต็มศาลก็สามารถไปออกตรงนั้นได้ วันนี้ถ้าเราสามารถเตรียมคดีดีๆ ปิดทุกช่องทาง คนที่นั่งฟังกระบวนพิจารณาตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายก็สามารถเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด

เรื่องเนื้อหาที่ถูกกล่าวหา ถ้าคดีนี้สู้ได้จะสู้ไหม
สู้ ต้องสู้ทุกประเด็น แต่ผมดูแล้ว วันแรกที่เจอสุรภักดิ์ที่เรือนจำ ผมบอกกับเขาว่าผมไม่ได้สู้เรื่องมาตรา 112 ผมสู้เรื่องคอมพิวเตอร์

พอผลของคดีนี้ออกมา แสดงว่าความเชื่อแบบเดิมๆ ว่าคดีนี้ยังไงก็ไม่มีทางชนะนั้นอาจไม่ใช่แล้ว
ใช่ คดีนี้ผมรับปากกับแม่เขา ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาฟ้องอะไรบ้าง ข้อหากี่กระทง แต่รู้อย่างเดียวว่าจำเลยเขามีสิทธิมีทนาย โดยส่วนตัวของผมเห็นว่าปัญหาของมาตรา 112 ปัญหามันอยู่ที่การนำเอามาตรานี้มาใช้กับประชาชน คือ กระบวนการนำมาใช้ที่เป็นปัญหา โดยส่วนตัวผมไม่ได้คิดโต้แย้งอะไรกับตัวกฎหมาย แต่ติดตรงการนำมาใช้ ยกตัวอย่าง คดีสุรภักดิ์ ใครก็ไม่รู้มากล่าวหาลอยๆ แล้วเขาก็ติดคุกปีกว่า บางคนโชคดีได้ประกันตัว บางคนก็ไม่ได้โชคดีอย่างนั้น

สุรภักดิ์เองก็เจอแรงกดดัน ถูกกล่อมให้รับสารภาพ เพราะคนเชื่อว่าสู้ไม่ได้ มีหลายคนจำยอมต้องรับสารภาพเพราะคาดหวังว่าจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ได้รับโทษน้อยลง นี่คือปัญหาของเรื่องกระบวนการ อันที่จริงคดีนี้ต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเขาทำผิดจริงหรือเปล่า

ได้ค่าตอบแทนสูงไหม
ก็ไม่รู้จะเบิกที่ใคร (หัวเราะ) คือ ในระหว่างการต่อสู้คดี จริงๆ เราก็อยากได้เงิน แต่คดีนี้มันมาจากความเต็มใจของผมเองและสิ่งที่ได้มาทดแทน ได้มาจากพรรคพวกพี่น้องเสื้อแดงด้วยกัน มันอบอุ่น ให้กำลังใจตลอด เราได้สิ่งนั้นมาทดแทนเรื่องค่าตอบแทน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำนูณ สิทธิสมาน

Posted: 31 Oct 2012 03:13 AM PDT

"ไม่มีหรอกครับ 1 ล้านคน ไม่มีหรอกครับม้วนเดียวจบ ไม่มีหรอกครับไม่เกิน 3 วันจบ ไม่มีหรอกครับที่กองทัพยุคนี้จะแตกหักกับรัฐบาลนี้ง่าย ๆ ไม่ใช่ไม่ให้กำลังใจกัน ให้เต็มที่ครับ ไม่ใช่สิ้นหวัง หวังครับ แต่การทำงานการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการชุมนุมมวลชนต้องเริ่มต้นด้วยความเป็นจริงและการยอมรับความจริงนั้น ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นจะเป็นผลบวกผลลบต่อขบวนอย่างไร ตามมาด้วยความรับผิดชอบอย่างสูงต่อมวลชน"

โพสต์สถานะในแฟนเพจเฟสบุ๊คตนเอง