ประชาไท | Prachatai3.info |
- ธเนศวร์ เจริญเมือง: แรงเงา – แรงซ้ำรอยเดิมๆ
- ประชาไทบันเทิง: เมื่อซูเปอร์แมนลาออกจากงานข่าว (มุ่งหน้าเป็นบล็อกเกอร์!?)
- กำลังก้าว
- เทศกาลฮัจญ์ มุสลิมในประเทศเฉลิมฉลองอย่างไร
- มุสลิมใต้ฉลองรายอ รำลึกตากใบยันวันเชือดสัตว์พลีทาน
- ไทยขื่นขันอันหาที่สิ้นสุดมิได้: Abraham Lincoln Vampire Hunter
- วิกฤติศีลธรรมบีบีซี: เมื่อความเชื่อมั่นของสาธารณะสั่นคลอน
- รัฐบาลซีเรียประกาศหยุดยิงชั่วคราวช่วงวันอีด
- การข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ต เป็นอันตรายกับวัยรุ่นหรือไม่?
- เดือนเด่น นิคมบริรักษ์: Fair Use Policy ในการใช้บริการ 3G
- กสทช.ตั้งคณะทำงานสอบ 'ประมูล 3G'-ให้เลขาฯสภา นั่งปธ.สอบ
- ราคาประมูล 3G 'ไทย' ไม่ได้แพงที่สุดในเอเชีย พบต่ำกว่า 'สิงคโปร์-ไต้หวัน-อินเดีย'
- จีนบล็อค 'นิวยอร์กไทมส์' หลังตีแผ่ทรัพย์สินครอบครัว 'เวิน เจียเป่า'
- สุเทพ-ณัฐวุฒิ เบิกความ ไต่สวน “ชาญณรงค์” ศาลนัดฟังคำสั่ง 26 พ.ย.นี้
- K-Drama กับกระแสวัฒนธรรมป๊อบ: ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
ธเนศวร์ เจริญเมือง: แรงเงา – แรงซ้ำรอยเดิมๆ Posted: 26 Oct 2012 11:35 AM PDT เพราะมีคนบอกว่า ละครทีวีเรื่อง แรงเงา สนุกมาก ผมก็เลยไปหาซื้อนิยายเล่มละ 25 บาทมาอ่าน เพราะไม่มีเวลานั่งดูนานๆ (เหตุผลหนึ่งคือ เพราะโฆษณามากไป) แต่ก็หาซื้อไม่ได้ ไปร้านไหน ก็ขายหมดเกลี้ยง แสดงว่าของเขาแรงจริงๆ วันนี้ มีคนใจดีไปหานิยายเล่มนั้นมาให้ผมแล้วครับ แต่อยู่ไกลกัน ยังไม่ได้ไปเอามาอ่านเลย แต่หลายวันมานี้ เท่าที่ฟังคนรอบๆ แล้วก็เปิดดูกูเกิ้ล อ่านเรื่องย่อ และวันนี้ มีตัวแทนมูลนิธิหญิงไทยก้าวไกล ออกมาวิจารณ์ละครทีวีเรื่องนี้ว่าเน้นความรุนแรง เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อสังคม ผมคิดว่ามีประเด็นอยู่ 4-5 เรื่องที่น่าสนใจ 1. เรืองนี้นำนิยายมาทำหนังและละครทีวีแล้วถึง 4 ครั้ง ครั้งแรก ทำเป็นหนังปี 2529 ครั้งที่ 2 ทำเป็นละครทีวี ปี 2531 ครั้งที่ 3 ปี 2544 ก็ทำเป็นละครทีวี และครั้งล่าสุดคือขณะนี้ก็ทำเป็นละครทีวี การเอามาเล่นบ่อยๆสะท้อนได้หลายแง่ คือ คนจัดเห็นทางหาเงินทำกำไร เพราะคนดูชอบ ก็เลยจัดทำใหม่ แต่ก็จะเห็นว่าเมืองนอก ถ้าเรื่องไหนดี สมมุติ Les Miserables (ที่ยิ่งใหญ่มากและสิงคโปร์เคยนำมาแสดงแล้วหลายปีก่อน) เป็นละครเพลงบนเวที เหมือนละครทีวีเรื่องเรยา หรือปริศนาของเรา ก็คือชุดนั้นเล่นกันทุกคืน เล่นเป็นปีๆๆๆ นับสิบปีเลย เพราะคนดูทั่วโลกชอบมาก เป็นละครเพลงที่สุดยอดแห่งความบันเทิงและให้สาระแก่ผู้ชม แต่ของเราที่นำมาเล่นบ่อยๆ กลับเป็นความฟุ่มเฟือย เพราะเอาดาราดังยุคปัจจุบันไปเล่น ใช้เนื้อหาเก่าๆ เรื่องที่ว่านี้ก็คือเรื่องการตบตีกัน เพราะเรื่องผู้ชาย เกิดแรงแค้น ก็แก้แค้นกัน แถมด้วยบาปกรรมที่พ่อแม่ก่อไปส่งผลถึงลูก 2. ที่จริง นิยายเป็นเรื่องแต่ง เรื่องที่แต่งก็ย่อมสะท้อนสังคมยุคนั้นๆ แต่ถ้าเอานิยายอายุ 20-30 ปีมาเล่น แถมยังเป็นนิยายออกไปทางน้ำเน่านี่ ต้องแสดงละครับว่า ในโลกที่เปลี่ยนไปมากมายนั้น ทำไม่กรอบความคิดที่ล้าหลังทำไมยังมีการนำมาแสดงซ้ำ ทำไมถึงไม่มีการปรับปรุงแก้ไข และท่ำคัญกว่ามากก็คือ ทำไมนิยายใหม่ๆ ทันสมัย และสะท้อนสังคมได้ดีนั้น ไม่มีหรืออย่างไร หรือว่าคนทำละคร ยังมีความคิดแบบเก่าๆ คิดว่าทำอย่างไรก็ทำเงินแน่นอน แล้วคิดบ้างไหมว่า ละครเหล่านี้ให้อะไรแก่สังคม 3. เนื้อหาของนิยายเรื่องนี้แรง ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมจึงได้รับความนิยมมาก เพราะแรงได้ใจ และต่อสู้กัน เอาชนะคะคานกันเม็ดต่อเม็ด แต่โปรดสังเกตว่าละครเรื่องนี้ ผู้ชายเป็นข้าราชการระดับ ผอ. มีครอบครัวแล้ว แต่ไปรังแกข้าราชการสาวชั้นผู้น้อย ผู้อ่อนต่อโลก แทนที่เมียหลวงจะจัดการให้เหมาะสม กลับไปทำร้ายสาวน้อย จนกระทั่ง คู่แฝดของสาวน้อยตามมาล้างแค้น ผู้เขียนทำให้ครอบครัวคือลูกๆ เมียหลวงต้องเผชิญบาปกรรม ได้รับความเดือดร้อน คำถามมีว่า แล้วผู้ชายที่เป็นข้าราชการระดับสูง มีคนอยู่ใต้บังคับบัญชามากมาย ทำไมจึงไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เหตุใด ไม่มีข้าราชการระดับล่างคนไหนคิดฟ้องร้องกล่าวโทษ กลายเป็นว่านิยายเรื่องนี้เน้นแรงแค้นของหญิงสาวคนหนึ่ง ให้ผู้หญิงหันไปต่อสู้กัน เชือดเฉือนกันต่อเนื่อง แน่นอนครับ นี่เป็นการเปิดโปงสังคมแบบหนึ่ง แต่การเปิดโปงสังคมเช่นนี้ ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่ประการใด เพราะข้าราชการฝ่ายชายที่ก่อเรื่องกลับลอยนวล 4. การที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบไม่เข้าใจลูก ไม่ยอมรับว่าคนเราแต่ละคนมีอุปนิสัย บุคลิกที่แตกต่างกัน แต่ละคนต่างมีดีของตนเอง แต่ละคนล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและกำลังใจ กลับเรียกร้องคนหนึ่งให้เหมือนอีกคนหนึ่ง พูดจาไม่ดีกับลูก ว่าให้ลูกเสียใจ มองไม่เห็นสองด้านของชีวิต บังคับให้ลูกต้องสูญเสียบุคลิกของตัวเองไป ทำให้ลูกๆขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ที่สำคัญ ทำให้ลูกท้อแท้หมดกำลังใจ จนนำไปสู่การคิดสั้น เป็นบทเรียนที่ดีมากๆ ต่อทุกๆคน ที่เป็นพ่อแม่ และญาติ 4. ทัศนะของผู้เขียนนิยายเรื่องแรงเงาในปี พศ. 2529 เก่าไป เอาหญิงมาทำร้ายหญิง ละเว้นไม่เอาผิดกับผู้ชายตัวการ นี่ก็คือ การที่ผู้เขียนตกเป็นทาสของสังคมชายเป็นใหญ่ ยิ่งการหันไปโยน บาปกรรมให้แก่ลูก ยิ่งเป็นการแก้ไขปัญหาผิดจุด ลูกๆไม่ควรได้รับผลอะไรแบบนี้ 5. คนไทยที่ดูแรงเงา ควรไปหาละครทีวี (ซีรีย์) เกาหลีใต้เรื่อง "ฮวาง จินยี" ที่เป็นสาวคณิการะดับสูง แล้วก็ถูกชนชั้นสูงทำร้าย ทำลาย จนคนรักต้องตายจากไป จากนั้น เธอจึงลุกขึ้นสู้ แต่ไม่ใช่ล้างแค้น แต่เป็นการสู้กับระบบศักดินา เปิดโปงความชั่วร้ายที่ขุนนางหลายคนได้กดขี่ข่มเหงเธอ 6. ผมเห็นว่าคนไทยเวลานี้ พร้อมที่จะดูหนังดีๆ สังเกตจากหนังเกาหลีดีๆมาไทย คนนั่งเฝ้าจอมากมายทั่วประเทศทุกเสาร์อาทิตย์ค่ำ พล็อตเรื่องแรงเงา แรงเหมือนละครเกาหลี ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีคนพูดถึง ติดตามเฝ้าชมละครเรื่องนี้ และหนังสือก็ขายดีมาก แต่เสียดายครับ เอานิยายมาแสดงใหม่ ก็ควรนำเนื้อเรื่องมาปรับปรุงให้ทันสมัย และเสนอปัญหาสังคมให้เข้มกว่านี้ได้ เพราะความผิดที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาการกดขี่ทางเพศ ปัญหาชายกดขี่หญิง จะต้องแก้ไขให้ตรงจุด ไม่ใช่ให้ผู้หญิงมาต่อสู้แย่งชิงกันเพื่อผู้ชาย หรือเพื่อความสะใจ เพราะตราบใด ผู้หญิงไม่เข้มแข็ง กล้าเปิดเปิงการกดขี่ของชาย ชายก็จะทำความผิดอยู่ร่ำไป 7. ที่มีคนออกมาบอกว่าการนำเสนอละครที่ไม่ดีจะเป็นแบบอย่างให้คนดู เป็นแบบอย่างแก่เยาวชน ผมก็ว่าทุกอย่าง ก็มีการจัดหมวดหมู่ อายุเท่าใดควรดูหนังละครประเภทใดอยู่แล้ว และที่สำคัญ ในสังคมประชาธิปไตย ละคร นิยาย และการแสดงทุกอย่างก็ต้องมีอภิปรายกัน ต้องมีเวทีถกเถียง และวิพากษ์วิจารณ์ให้กว้างขวาง วิทยุ ทีวีควรมีรายการวิพากษ์วิจารณ์ เปิดมุมมองต่างๆให้คนได้ฟัง และแลกเปลี่ยนความเห็นกันให้มากๆ ระบบการศึกษาต้องมีเวที มีวิชาที่ให้ครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษานำมาถกเถียงกันได้ เป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ โลกของเรา ทุกอย่างมีด้านดีและ ด้านลบทั้งนั้นครับ ถ้าจะผิด ก็เพราะว่า ดูแล้ว แสดงแล้ว ออกอากาศแล้ว แต่กลับไม่มีความเห็นใดๆ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างนี้ไม่ได้ครับ บันเทิงและการวิจารณ์ต้องควบคู่กันตลอดในทุกๆสังคมครับ 8. นิยาย-ละคร และงานประพันธ์ที่จะมีคนอ่านมาก มีคนติดตามมากๆ ล้วนต้องมีอะไรแรงๆทั้งนั้นเป็นธรรมดาครับ ถ้ามันไม่แรง ไม่แปลก ไม่เศร้าสุดๆ ไม่ชวนตื่นเต้น ขนหัวลุก หรือหวาดเสียว ฯลฯแล้วมันจะไปน่าสนใจได้อย่างไรเล่าสำหรับคนส่วนใหญ่ ใช่ไหมครับ ดูนิยายเกาหลีแต่ละเรื่อง เข้มข้นและแรงๆ ทั้งนั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้น ที่นิยายเกาหลียอดเยี่ยมคืออะไรเล่า ก็คือ เขามีแง่คิดดีๆ ให้กับสังคมต่างหาก เช่น 1. เกิดเป็นคนต้องมุ่งมั่น ต้องทำงานหนัก ต้องต่อสู้ ต้องไม่กลัวความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้โชคชะตา แต่ละคร-นิยายเราส่วนใหญ่ไม่ใช่ มีแต่เรื่องของคนรวยๆ ทุกเรื่อง ไม่ทำมาหากินเลย แทบไม่มีเรื่องสู้ชีวิตเลย มีแต่แย่งแฟนกัน หรือแย่งมรดกกัน 2. ยกย่องสตรีให้กล้าต่อสู้ กล้าเผชิญปัญหา และมองเห็นระบบที่เอาเปรียบ ของเราเห็นมีแต่ เขียนบทให้พระเอกปล้ำนางเอก แล้วภายหลัง ก็แต่งงานกัน ก็ทำไมไม่เขียนบทให้นางเอกสู้ล่ะ ฟ้องพระเอก ให้ติดคุกเล่า 3. เน้นคุณค่าสำคัญๆ เช่น รักท้องถิ่น รักครอบครัว ความรักสายใยในระหว่างคนรัก ญาติ เพื่อน พ่อแม่ลูก ต่อต้านอำนาจเถื่อน เปิดโปงการเล่นพวก คอรัปชั่น เปิดโปงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เคยดูหนังเกาหลี เรื่อง กิมจิ ไหมครับ เน้นทั้งท้องถิ่น สายใยครอบครัว การมุ่งมั่นทำสิ่งดีให้ออกมาดีที่สุด ฯลฯ หรือเรื่อง คนล่าทาส ที่เปิดเผยความรักที่ยิ่งใหญ่ รักที่มีแต่ให้ รักที่ยอมเสียสละ ความจริง ถ้าเรามีนิยายดีๆ ละครทีวีดีๆ เปิดโปงสังคมไทยได้ จ่ะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในสังคมไทยมากมาย และเชื่อว่าคนไทยจะได้ประโยชน์มาก จากการอ่านนิยาย การดูละครทีวีที่มีสาระต่อสังคม สังคมของเรายังไม่เห็นความสำคัญของงานบันเทิงว่าเป็นการศึกษาที่ดีมากๆ มีประโยชน์มากต่อผู้ชม เราเห็นการบันเทิงเป็นเพียงธุรกิจหารายได้ และผู้สร้างหลายคนคิดแต่จะหากำไรจากคนดู แต่ไม่เคยคิดว่าจะให้อะไรที่มีคุณค่าแก่คนดู งานบันเทิงที่ดีคือการให้การศึกษาที่ดีมากๆ เราควรจะเป็นหนึ่งในอุษาคเนย์แห่งนี้ ให้บันเทิงและสาระแก่ผู้ชมในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่ให้หนังจีนหนังเกาหลี-ญี่ปุ่นมาครองตลาดในภูมิภาคนี้ แต่ผมว่าทั้งคนสร้างละคร-นิยาย-หนังในบ้านเราต้องศึกษาเรื่องดีๆจากประเทศอื่นให้มากๆครับ และปรับปรุงงานให้มีคุณภาพกว่านี้ ไม่ใช่เห็นแก่เงินหรือรายได้อย่างเดียว แล้วก็อ้างเหตุผลแบบน้ำเน่าว่าคนไทยชอบแบบนั้น จึงต้องทำตามใจคนดู ผมว่าคนสร้างหนัง สร้างละคร และเขียนนิยายจะต้องคิดใหม่ จะต้องกล้านำสังคมครับ ไม่ใช่เดินตามสังคม หรือคิดแต่จะหาประโยชน์จากสังคม ด้วยการมอมเมาสังคมให้จมอยู่กับที่เดิม. ถ้านิยายน้ำเน่า 30 ปีมาแล้ว ยังแสดงโดยใช้เนื้อหาเดิมๆ ไม่มีการดัดแปลง ปรับปรุง ผมว่าลำบากครับ สังคมนี้.
26 ตุลาคม 2555 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประชาไทบันเทิง: เมื่อซูเปอร์แมนลาออกจากงานข่าว (มุ่งหน้าเป็นบล็อกเกอร์!?) Posted: 26 Oct 2012 10:59 AM PDT นักข่าวอย่างคลาร์ก เคนท์ วิพากษ์อุตสหากรรมข่าวที่หากินกับเรื่องบันเทิงและความเห็นมากเกินไป ขณะที่นักข่าวในอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ของสหรัฐตกงานกว่า 2,000 คน และคนอ่านหนังสือพิมพ์ลดลงกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ใน 10 ปีที่ผ่านมา ความในใจของซูเปอร์แมนต่ออุตสาหกรรมข่าวปัจจุบันถูกเผยผ่านปากของคลาร์ก เคนท์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในหนังสือการ์ตูนซูเปอร์แมน ที่วางแผงเมื่อวันพุธ (25 ต.ค.) โดยเขาประกาศลาออกพร้อมวิพากษ์และแสดงความผิดหวัง ภายหลังจากทำงานข่าวมาเป็นเวลาเกือบๆ 5 ปี "ผมถูกสอนให้เชื่อว่าคุณสามารถจะใช้พลังของถ้อยคำในการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำได้ แม่แต่ความลับที่ดำมืดที่สุดก็อาจตกอยู่ภายใต้แสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ได้, แต่ข้อเท็จจริงกลับถูกแทนที่ด้วยความเห็น ข้อมูลข่าวสารถูกแทนที่ด้วยความบันเทิง ผู้สื่อข่าวกลายมาเป็นนักจดชวเลข ผมไม่อาจจะทนได้ที่จะกลายมาเป็นคนๆ เดียวที่รู้สึกแย่กับกระบวนการทำข่าวทุกวันนี้" คลาร์ก เคนท์ ภาคมนุษย์ธรรมดาสามัญของซูเปอร์แมนกล่าวกับบรรณาธิการของเขา ที่หนังสือพิมพ์เพลเน็ต เดลี เช่นนั้น การเอ่ยถ้อยคำวิพากษ์ต่ออุตสหากรรมข่าวเช่นนี้ ได้รับเสียงสะท้อนจากนักข่าวอย่างเอริก้า สมิธ ผู้ติดตามการปลดพนักงานในอุตสหกรรมข่าวสารและการซื้อกิจการสื่อเพื่อนำเสนอในเว็บ http://newspaperlayoffs.com/ ว่ามันออกจะดูดราม่าไปสักหน่อย เธอกล่าวด้วยว่าถ้าหากว่าเขาถูกปลดออกจากงาน หรือว่าหนังสือพิมพ์ถูกซื้อกิจการ เหมือนๆ กับที่นักข่าวกว่า 2,000 คนในสหรัฐเจอในปีนี้ แบบนั้นจะดูสมจริงกว่า ซีเอ็นเอ็นระบุว่า สัดส่วนการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนอเมริกันลดลง โดยศูนย์วิจัย Pew Research Center for the People & the Press ระบุว่ากลุ่มตัวอย่างเพียง 23 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์กระดาษอยู่ ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงกว่าทศวรรษที่แล้วถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงกันข้าม ผลสำรวจพบว่าผู้อ่านสื่อออนไลน์นั้นเพิ่มจำนวนสูงขึ้น ในตอนล่าสุดที่เพิ่งวางแผลไปเมื่อวันที่ ต.ค. นั้น คลาร์ก เคนท์กล่าวกับบ.ก.ว่าเขาทำงานมาเกือบๆ 5 ปี แต่การ์ตูนซูเปอร์แมนซึ่งคลาร์ก เคนท์ ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์นั้นดำเนินมากว่า 7 ทศวรรษแล้ว นับตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1938 สำหรับอนาคตของซูเปอร์แมน นักข่าวหนุ่มวัย 27 (ตามบท) นั้น สก็อต ลอบเดล ผู้เขียนซูเปอร์แมนตอนล่าสุดระบุว่า เขาคาดว่าซูเปอร์แมนคงไม่ไปสมัคงานที่สื่อใหญ่ที่ไหน แต่คงหันเหมาสู่พื้นที่ออนไลน์ด้วยการเป็นบล็อกเกอร์ หรือสื่อพลเมืองออนไลน์มากกว่า
Clark Kent quits newspaper job in latest Superman comic ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 26 Oct 2012 10:31 AM PDT "อดีตนักโทษคนหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าช่วงแรกๆ ในคุก เมื่อนอนหลับแล้ว เขาไม่เคยอยากตื่นจากฝัน เพราะเขามักฝันว่าได้ออกจากคุกและได้รับอิสรภาพแล้ว หากแต่เมื่อตื่นขึ้นมา เขากลับพบว่าตัวเองยังคงอยู่ในคุก เขาเล่าว่าเขาร้องไห้ในเวลาแบบนั้น.." ในบล็อกกาซีน, สนามหลังบ้าน, บทความ "นักโทษการเมือง กับความหมายของเวลา" |
เทศกาลฮัจญ์ มุสลิมในประเทศเฉลิมฉลองอย่างไร Posted: 26 Oct 2012 08:56 AM PDT ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน ปีนี้ วันอีดิลอัฎฮา ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1433 จะตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ทำให้มุสลิมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ดีใจมากและได้เตรียมประกอบศาสนกิจและศาสนกุศลมากมาย สำหรับผู้ที่เดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดิอารเบีย ของมุสลิมไทย จำนวนประมาณ 12,000 คนจากมุสลิมทั่วโลกนับล้านคน จะประกอบศาสนกิจดังกล่าวอย่างแข่งขันเพราะการประกอบพิธีทำฮัจญ์ เป็น 1 ใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม ท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด ได้กล่าวแก่ชาวมุสลิมเกี่ยวกับฮัจญ์ สรุปความได้ว่า "โอ้ประชาติทั้งหลาย อัลลอฮ. ได้กำหนดฮัจญ์เป็นหน้าที่ของพวกท่าน ดังนั้นท่าน ทั้งหลายจงทำฮัจญ์" ในเทศนาธรรมอำลาของท่านศานทูตมุฮัมมัด ได้ ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส่วนหนึ่งไว้ ความว่า "โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงเลือด ทรัพย์สมบัติและศักดิ์ศรีของท่านจะได้รับการปกป้องและห้ามมิให้เกิดการล่วงละเมิด จนกว่าท่านทั้งหลายจะกลับไปสู่พระเจ้าของท่าน เฉกเช่นกับการห้ามมิให้มีการล่วงละเมิดในวันนี้ เดือนนี้และสถานที่แห่งนี้" ดังนั้นฮัจญ์ จึงเป็น การรวมตัวของประชาชาติมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถรวบรวมประชาคมที่ก้าวพ้นพรมแดนแห่งชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรม มุสลิมทุกคนต้องประกอบพิธีฮัจญ์แม้ครั้งเดียวในชีวิต สำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทยจะฉลองวันตรุษ "อีดิลอัฎฮา"ด้วยศาสนกิจและศาสนกุศลมากมายโดยเฉพาะเชือดสัตว์เพื่อพลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน และเป็นที่น่ายินดีว่ากระทรวงกลาโหม อนุมัติให้ทหารกองประจำการที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีความประสงค์จะไปประกอบศาสนกิจในวันอีดิลอัฎฮา ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1433 ได้หยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ มีกำหนด 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 - 28 ตุลาคม 2555 ส่วนข้าราชการอื่นๆ ให้ใช้สิทธิ์การลาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด วันตรุษอีดิลอัฎฮา เป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำว่า อีด แปลว่า รื่นเริง เฉลิมฉลอง และ อัฎฮา แปลว่า เชือดสัตว์พลีทาน ดังนั้น วันตรุษอีดิลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการ เชือดสัตว์เพื่อพลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน สำหรับศานกิจและสวัสดิการชุมชนที่จะควรปฏิบัติ มีดังนี้
สำหรับการทำกุรบ่านนี้ได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสนฑูตอิบรอฮีม (อาลัยฮิสลาม.) ซึ่งนักปราชญ์ในมัซฮับฮะนาฟีย์มีทัศนะว่าการทำกุรบ่านเป็นวายิบ (ต้องปฏิบัติทุกคน) ส่วนปราชญ์มัซฮับชาฟีอีย์ถือเป็นกิจสุนัตมุอักกัต คือ ถึงแม้จะไม่บังคับแต่ก็ควรกระทำกันทุกคนเพราะผู้กระทำจะได้ผลบุญอย่างยอดเยี่ยม และท่านศาสนฑูตมุฮัมหมัด (ซ๊อลลลัลลอฮูอะลัยฮิวัซัลลัม.) ก็ได้ปฏิบัติอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ ไม่ควรละเลยข้อปฏิบัตินี้อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต จากท่านอิบนุอับบาสอัครสาวกศาสนฑูตเล่าว่า ท่านศาสนฑูตทรงกล่าวไว้ความว่า ในวันอีดิลอัดฎาไม่มีการภักดีใดๆ ของมนุษย์จะเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของอัลลอฮ์ ดียิ่งไปกว่าการทำกุรบ่าน กำหนดเวลาการทำกุรบ่าน เริ่มเชือดกุรบ่านได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นของเช้าวันอีดิลอัฎฮา (หลังละหมาด) จนถึงเวลาละหมาดอัสรีของวันที่ 4 ของวันอีดรวม 4 วัน (วันอีด 1 วันตัชรีก 3 วันซึ่งตรงกับ วันที่ 26-29 ตุลาคม 2555 แต่ระยะเวลาที่ดีเยี่ยมที่ควรเชือดกุรบ่าน คือหลังจากเสร็จการละหมาดอีดิลอัฎฮาแล้ว การเชือดควรให้เจ้าของเป็นผู้เชือดเองหากจะมอบให้ผู้อื่นเชือดก็ควรดูการเชือดด้วย คำเนียต (นึกในใจ) ของการเชือดกุรบ่าน ขณะจะเริ่มเชือดให้เนียตว่า "นี่คือกุรบ่านของข้าพเจ้า"หากมอบให้ผู้อื่นเชือด คนเชือดต้องเนียตว่า "นี่คือกุรบ่านของ...................ซึ่งมอบให้ข้าพเจ้าเชือด" บิสมิลลาฮี่ อัลลอฮุฮักบัร อัลลอฮุมมา ฮาซามิง ก้าว่าอี้ลัยก้า ฟ้าตาก๊อบบันมินนี ก้ามาตาก๊อบบั้นต้า มินคอลีลิ๊กก้าอิบรอฮีม ว่ามินฮาบีบี้ก้ามูฮัมมัด ความว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮฮ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ข้าแด่อัลลอฮฺ สัตว์กุรบานนี้ของพระองค์ทรงให้เกิดมาและจะกลับไปสู่พระองค์แล้ว ดังนั้นจงรับจากข้าพระองค์แล้วเหมือนกับที่พระองค์ทรงรับจากนบีอิบรอฮีมและนบีมุฮัมหมัดซึ่งเป็นโปรดของท่าน" สัตว์ที่ใช้ทำกุรบ่าน คือ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ กีบัช อูฐ ต้องมีอายุ 5 ปีบริบูรณ์ ใช้ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน ดังนั้น จึงรวมกันทำ 7 คน/อูฐตัวเดียวก็ได้ หรือจะทำคนเดียวก็ยิ่งดี วัว ควาย ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน แพะ ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน แกะและกิบัช ต้องมีอายุ 1 ปีบริบูรณ์ หรือเปลี่ยนฟันแล้ว ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน สัตว์จะทำกุรบ่าน ต้องอ้วนสมบูรณ์ปราศจากสิ่งตำหนิหรือโรค ควรมีลักษณะสวยงามสง่า สัตว์ที่ห้ามกุรบ่านไม่ได้ ได้แก่ สัตว์ที่เป็นโรค หรือพิการหรือไม่สมประกอบ เช่น ตาบอด หูแหว่ง เขาหัก ไม่มีฟัน แคระแก่น มีท้อง เนื้อสัตว์ที่ทำกุรบ่านนั้นสามส่วนกล่าวคือ ให้แจกจ่ายแก่คนยากจนและเพื่อนบ้าน ควรเก็บไว้กินเองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเมื่อท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด ทำกุรบ่านนั้นท่านเอาตับไว้กินเพียงชิ้นเดียว นอกนั้นบริจาคไปหมด นอกจากนี้ห้ามนำเอาเนื้อและส่วนต่างๆของสัตว์กุรบ่าน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหนังหรือกระดูกไปขายหรือเป็นค่าจ้างเป็นอันขาด วันตรุษอีฎิลอัดฮาปีนี้น่าจะนำเนื้อกุรบ่านส่วนหนึ่งบริจาค หรือบริจาคเงินทำกุรบ่าน ผ่านคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด หรือจังหวัดหรือองค์กรการกุศลต่างๆที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัยด้านต่างๆทั้งในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ก็ได้ ...... อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ฝ่ายวิชาการโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะจังหวัดชายแดนใต้ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา Shukur2003@yahoo.co.uk http://www.oknation.net/blog/shukur
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มุสลิมใต้ฉลองรายอ รำลึกตากใบยันวันเชือดสัตว์พลีทาน Posted: 26 Oct 2012 08:37 AM PDT ชาวมุสลิมชายแดนใต้ร่วมพิธีละหมาดในวันอีดิ้ลอัฎฮา หรือวันฮารีรายอ พร้อมเพรียงทั่วโลก ให้อภัยต่อกัน เชือดสัตว์พลีทาน กลาโหมอนุมัติหยุด 5 วันรวด นักศึกษาใต้ร่วมลำลึกตากใบ ขณะเดียวกัน สนนท.แถลงให้รัฐยกเลิกกฎหมายพิเศษ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่สนามศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา บรรดาพี่น้องชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งชายและหญิงกว่าพันคน เดินทางมาเพื่อร่วมพิธีละหมาด เนื่องในวันอีดิ้ลอัฏฮาหรือวันฮารีรายอ โดยมีพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วยนายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา มาร่วมงานและพบปะกับผู้นำศาสนา ตลอดจนแจกเงินให้แก่เด็กๆ หลังการละหมาดมีการอ่านคุตบะห์หรือการเทศนาธรรม เสร็จละหมาดมุสลิมทุกคนจะมีการจับมือให้สลาม พร้อมกับการขออภัยซึ่งกันและกันในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นต่อกันในช่วงที่ผ่านมา หลังจากนั้น แต่ละคนต่างรีบไปร่วมกันเชือดสัตว์พลีทาน หรือกุรบาน สำหรับคนที่ตั้งใจไว้ ได้แก่ อูฐ วัว ควาย แพะหรือแกะ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ทั้งแก่ผู้ยากไร้ เพื่อนบ้านรวมทั้งเก็บไว้รับประทานเอง บรรยากาศดังกล่าว เกิดขึ้นเช่นเดียวกับชุมชนมุสลิมทั้งหลายทั่วโลก รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในพื้นที่สัตว์ที่ใช้เชือดเป็นสัตว์พลีทานส่วนใหญ่จะเป็นวัว ทั้งนี้ตลอดทั้งวันโดยเฉพาะในช่วงก่อนและหลังละหมาดทุกมัสยิดจะมีการกล่าวคำสรรเสริญพระเจ้า "อัลลอฮุอักบารฺ"ดังกึกก้องไปทั่ว วันอีดิ้ลอัฏฮาเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ตรงกับวันที่ 10 เดือนซูลฮิจญะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม โดยปีนี้เป็นปีฮิจเราะฮฺศักราช(ฮ.ศ.)ที่ 1433 เป็นวันเดียวกับผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียกำลังประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย สำหรับความสำคัญของวันอีดิ้ลอัฎฮา นายอับดุลสุโก ดินอะ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม กล่าวไว้ในบทความชื่อ "เทศกาลฮัจญ์ มุสลิมในประเทศเฉลิมฉลองอย่างไร" ว่า พิธีฮัจญ์ เป็นการรวมตัวของประชาชาติมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่ก้าวพ้นพรมแดนแห่งชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรม แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธฮัจญ์ จะฉลองวัน"อีดิลอัฎฮา"ด้วยศาสนกิจและศาสนกุศลมากมายโดยเฉพาะเชือดสัตว์เพื่อพลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน "วันตรุษอีดิลอัฎฮา เป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำว่า อีด แปลว่า รื่นเริง เฉลิมฉลอง และ อัฎฮา แปลว่า เชือดสัตว์พลีทาน ดังนั้น วันตรุษอีดิลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการ เชือดสัตว์เพื่อพลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน" นายอับดุลสุโก กล่าว นายอับดุลสุโก กล่าว่า การเชือดกุรบ่านดังกล่าว เริ่มได้หลังจากจากละหมาดอีดิ้ลอัฎฮาไปจนถึงเวลาละหมาดอัสรีในช่วงเย็นของวันอีดิ้ลอัฎฮาวันที่ 4 หรือระหว่างวันที่26 - 29 ตุลาคมของปีนี้ ทั้งนี้ วันอีดิ้ลอัฎฮาปีนี้ กระทรวงกลาโหม ได้ออกประกาศอนุมัติให้ทหารกองประจำการที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีความประสงค์จะไปประกอบศาสนกิจในวันอีดิลอัฎฮา ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1433 ได้หยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ มีกำหนด 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 - 28 ตุลาคม 2555 ส่วนข้าราชการอื่นๆ ให้ใช้สิทธิ์การลาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ซึ่งเป็นวันก่อนถึงวันอีดิ้ลอัฎฮา เรียกว่าวันอารอฟะห์ เป็นวันที่ชาวมุสลิมได้ถือศีลอดด้วยอีกหนึ่งวัน และยังตรงกับวันครบรอบ 8 เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส ที่นำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชน 85 คน จากการสลายการชุมนุมและการขนย้ายผู้ชุมนุมโดยการนอนทับกันบนรถของทหาร หรือเรียกว่าเหตุการณ์ตากใบ ในวันดังกล่าว มีองค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรในพื้นที่ เช่น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมๆกับร่วมปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าวด้วย ได้ การถือศีลอด การละหมาดฮายัตและการอ่านบทสวนอุทิศผลบุญถึงผู้เสียชีวิต
**********************************************************
แถลงการณ์ในวาระครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์ตากใบ
เหตุการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ที่มีการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมของประชาชนที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนนำไปสู่การสูญเสีย และมีการเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำละเมิด และเป็นเหตุการณ์ที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า "อากาศคือฆาตกร" ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลไม่ได้ให้ความจริงใจในการแก้ปัญหา แม้ว่าจะมีการจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ตาม แต่ก็เทียบไม่ได้กับการสูญเสียชีวิต สูญเสียอิสรภาพ สูญเสียสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีพึงได้ ด้วยเพราะว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ทำการละเมิดสิทธิ ทำลายหลักสิทธิมนุษยชนจนหมดสิ้น แต่การกระทำดังกล่าวก็มิได้มีการพิสูจน์การกระทำความผิด มีแต่เพียงผู้นำกองทัพและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ออกมาแก้ต่างแทนเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการนำเงินภาษีของประชาชนไปซื้อเครื่องมือยุทโธปกรณ์ต่างๆ ก็ส่อไปในทางทุจริตและก็ยังไม่เห็นว่าหน่วยงานใดจะออกมาตรวจสอบความจริง ด้วยเพราะกลัวอำนาจมืดที่แฝงอยู่ในกองทัพ ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ที่ปรากฏต่อสังคม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จึงยื่นข้อเรียกร้องและขอประณามการกระทำดังกล่าว 1.การกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเห็นเชิงประจักษ์แล้วว่านโยบายที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นไม่สามารถตอบสนองหรือใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่ยิ่งกลับไปสร้างภาระและละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง 2.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จนบัดนี้ได้ครบรอบ 8 ปี แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงขอเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่ก่อโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และให้นำตัวผู้สั่งการ ผู้กระทำในเหตุการณ์ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้สูญเสียและให้สืบสวนสอบสวนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ระดับเหนือนโยบาย ระดับนโยบาย จนถึงระดับปฏิบัติการ 3.ขอประณามกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นสากลทั้งระบบ และตั้งข้อสังเกตถึงคำพิพากษาตลอดจนการทำหน้าที่ของศาลและอัยการ 4.ขอประณามอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นในวันนั้น โดยกำลังหลักที่ใช้คือทหารและตำรวจปฏิบัติการพิเศษภายใต้การประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะใช้กฎหมายดังกล่าว 5.ลดการใช้อำนาจในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและดูแลความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)
******************* ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการที่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)ได้เฝ้าติดตามการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดมา จึงได้มีข้อเสนอต่อระดับนโยบาย ดังนี้
1.เสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมแล้วว่ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ การตัดสินของศาลยังมีความไม่เป็นมาตรฐานของความยุติธรรม และอำนาจของศาลก็ไม่ได้มาจากประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจทั้งสามควรจะเป็นของประชาชน อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจที่มาจากประชาชน ยกเว้นเพียงอำนาจตุลาการเท่านั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาโดยประชาชนเป็นผู้เลือก การเลือกผู้พิพากษาที่เป็นคนในท้องถิ่นเข้าไปตัดสินคดีจะสามารถทำให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น และไม่เป็นการไปกดทับความเป็นมนุษยชน และอำนาจที่มาจากประชาชนก็สามารถตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้
2.เสนอให้มีการร่างนโยบายที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงและเสนอให้ยกเลิกการใช้นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ไม่เข้าใจในแก่นสารของนโยบายดังกล่าว และมีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเข้าใจผิด เข้าไม่ถึงประชาชน และยัดเยียดการพัฒนา ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ดีถ้าผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เห็นว่าการแก้ปัญหาในพื้นที่ควรจะให้ประชาชนมีบทบาทในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง และได้ร่วมกำหนดนโยบายที่เป็นของประชาชนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกทางและมีส่วนร่วม
3.เสนอให้เลิกการใช้อำนาจในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ปิดกั้นการแสดงออก การละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนในพื้นที่ โดยให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐ
4.เสนอให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก, พรก.ฉุกเฉิน และห้ามนำกฎหมายพิเศษมาใช้กับเหตุการณ์ทางการเมือง เพราะกฎหมายดังกล่าวล้วนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างผู้บริสุทธิ์ โดยเสนอให้ใช้กฎหมายปกติในพื้นที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทยขื่นขันอันหาที่สิ้นสุดมิได้: Abraham Lincoln Vampire Hunter Posted: 26 Oct 2012 04:12 AM PDT |
วิกฤติศีลธรรมบีบีซี: เมื่อความเชื่อมั่นของสาธารณะสั่นคลอน Posted: 26 Oct 2012 04:09 AM PDT 'จิม เซวิลล์' อดีตผู้ดำเนินรายการชื่อดังของบีบีซีผู้เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว ได้สร้างความสั่นสะเทือนในสังคมอังกฤษ เมื่อพบหลักฐานเร็วๆ นี้ว่าเขาอาจล่วงละเมิดเด็กทางเพศกว่า 300 คนตลอดการทำงาน 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดวิกฤติความเชื่อมั่นต่อบีบีซีที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี
"จิม เซวิลล์" เป็นที่รู้จักในฐานะนักจัดรายการวิทยุชื่อดังของสถานีข่าวบีบีซี เขาเป็นผู้ดำเนินรายการจัดชาร์ตเพลงอังกฤษ "Top of the Pops" คนแรกและคนสุดท้าย และยังทำรายการ "Jim'll Fix It" มาต่อเนื่องกว่า 40 ปี รายการดังกล่าวคล้ายกับรายการ "ฝันที่เป็นจริง" บ้านเรา คือ ให้เด็กๆ (และคนทั่วไป) เขียนขอพรมายังรายการ และ "ลุงจิม" ก็จะเดินทางไปทำคำขอดังกล่าวให้เป็นจริง จิม เซวิลล์ ผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยังได้รับมอบตำแหน่ง "ขุนนาง" จากกษัตริย์อังกฤษในปี 1990 จากการทำงานเพื่อมูลนิธิสำหรับเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ เขายังใกล้ชิดเป็นอย่างดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี มากาเร็ต เเธ็ตเชอร์ และเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากการเสียชีวิตของเซวิลล์ต่อมา 1 ปี สก็อตแลนด์ยาร์ด องค์กรตำรวจของอังกฤษออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาได้เริ่มทำการสอบสวนกรณีล่วงละเมิดทางเพศเด็กของเซวิลล์ โดยมีผู้เสียหายแล้วอย่างน้อย 10 ราย และมีเบาะแสว่าเขาได้ทำเช่นเดียวกันกับเหยื่ออีกราว 300 คน ตลอดชีวิตการทำงาน 40 กว่าปีที่ผ่านมาของเขา โดยเหยื่ออายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 10 ขวบ เด็กที่ป่วยและพิการ ไปจนถึงผู้ชายที่แปลงเพศเป็นหญิง มีรายงานว่า จิม เซวิลล์ ได้ใช้การเข้าถึงตัวเด็กๆ ผ่านทางรายการโทรทัศน์ มูลนิธิ การเข้าเยี่ยมผู้ป่วยเยาวชนในโรงพยาบาล เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ที่เคยถูกเซวิลล์ล่วงเกิน เริ่มออกมาให้ปากคำถึงการกระทำของเขา อาทิ เควิน คุก ซึ่งอายุ 9 ขวบในปี 1976 และได้ไปออกรายการ Jim'll Fix It และถูกเซวิลล์ลวนลามในขณะที่อยู่ในห้องแต่งตัว หรือ นาง แคริน วาร์ด ซึ่งกล่าวว่าตนถูกเซวิลล์ล่วงละเมิดในขณะที่อยู่ในโรงเรียนหญิงล้วนในเมืองเซอร์เรย์เมื่อเธอยังเป็นเด็ก เช่นเดียวกับนายสตีเวน จอร์จ ซึ่งพักรักษาตัวจากการผ่าตัดแปลงเพศที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอังกฤษ กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นช่วงที่เซวิลล์เริ่มเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตนเองถูกเซวิลล์เข้ามาคุมคามทางเพศในห้องพัก เขาชี้ว่า เขาให้การกับตำรวจหลังออกจากโรงพยาบาล แต่ตำรวจกลับไม่เชื่อ และไม่ได้ลงบันทึกการฟ้องดังกล่าวไว้ สถานีข่าวบีบีซี ในฐานะที่เป็นต้นสังกัดจิม เซวิลล์ ถูกสาธารณชนตั้งคำถามทันทีถึงความรับผิดชอบและการมีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าวของเขา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (23 ต.ค.) ผู้อำนวยการใหญ่ของสถานีบีบีซี จอร์จ เอ็นท์วิสเซิล ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้เพียงเดือนกว่าๆ ได้เข้าให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาด้านวัฒนธรรม สื่อมวลชนและกีฬาของอังกฤษ ถึงแม้เขาจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจระงับการฉายรายการที่สืบสวนพฤติกรรมจิม เซวิลล์ ของบีบีซี แต่เขาก็ถูกกล่าวหาว่า "ขาดความสงสัยใคร่รู้อย่างน่าแปลกใจ" ต่อการสืบสวนพฤติกรรมเซวิลล์ของรายการ "นิวส์ไนท์" บีบีซี ได้เผชิญข้อครหาอย่างหนัก หลังจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี คู่แข่งของบีบีซี ได้เผยแพร่รายการสารคดีที่สืบสวน "ด้านมืด" ของจิม เซวิลล์ โดยได้สัมภาษณ์ผู้ที่เป็นเหยื่อต่อการละเมิดทางเพศของเซวิลล์หลายราย ในขณะที่ผู้สื่อข่าวของรายการ "นิวส์ไนท์" ของบีบีซี ซึ่งทำรายการตอนหนึ่งเจาะลึกพฤติกรรมของจิม เซวิลล์ ได้ออกมากล่าวว่า หัวหน้าบรรณาธิการของรายการถูกกดดันจากฝ่ายบริหารมิให้ออกอากาศตอนดังกล่าว เพราะอาจส่งผลสะเทือนต่อความเชื่อมั่นของสถานีโทรทัศน์อันเป็นศูนย์กลางชีวิตของชาวอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ปีเตอร์ ริพปอน บรรณาธิการ "นิวส์ไนท์" ได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ตัดสินใจไม่ออกอากาศรายการตอนดังกล่าว เป็นเพราะมีเนื้อหาที่ไม่รัดกุมและถูกต้อง แต่หลังจากนั้น "พาโนรามา" รายการคู่แข่งของ นิวส์ไนท์ ที่สังกัดบีบีซีเช่นเดียวกัน ก็ได้ถ่ายทอดความขัดเแย้งภายในและความตึงเครียดของกองผลิต "นิวสไนท์" ในตอนดังกล่าวออกมา ทำให้ "บีบีซี" ในฐานะองค์กรข่าวที่ได้รับการอุดหนุนจากสาธารณะ และนับเป็นสื่อที่ประชาชนชาวอังกฤษยังรับชมถึงร้อยละ 70 ต้องถูกสั่นสะเทือนจากวิกฤติในครั้งนี้ จากทางศีลธรรม และความเชื่อถืออย่างหนัก บีบีซีได้แก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนกรณีดังกล่าว 2 คณะ เพื่อสอบสวนและค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น ในขณะที่ประชาชนชาวอังกฤษ ยังคงตั้งคำถามว่า เหตุใด บุคคลที่ได้รับความเคารพจากสาธารณะ ผู้ทุ่มเทตนเองแก่องค์กรการกุศลและเด็กๆ ที่เจ็บป่วย สามารถหลอกลวงสังคมได้อย่างแนบเนียนและยาวนาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐบาลซีเรียประกาศหยุดยิงชั่วคราวช่วงวันอีด Posted: 26 Oct 2012 03:57 AM PDT หลังจากตัวแทนของยูเอ็นเข้ 25 ต.ค. 2012 - กองกำลังรัฐบาลของซีเรียแถลงว่ อย่างไรก็ตามทางกองทัพก็ยั รัฐบาลซีเรียแถลงว่าพวกเขายั หลังจากการประกาศของรัฐบาลไม่ มติสงบศึกชั่วคราวในครั้งนี้ รูลา อามิน นักข่าวอัลจาซีร่ บัง คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติรู้สึกยิ "พวกเราหวังอย่างยิ่งว่าจะไม่มี ความพยายามของยูเอ็น เมื่อช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ลัคห์ดาร์ บราฮิมี ได้เดินทางไปมาหลายที่เพื่อหลั "เมื่อบราฮิมีออกไปจากดามาสกัส เขาไม่ได้สร้างข้อตกลงใหญ่ หน่วยงานผู้อพยพของยูเอ็นเปิ "ทั้งหมดประกอบด้วยเสบียง 550 ตัน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับครอบครั ยังคงมีรายงานความรุนแรงในซีเรี แม้จะมีการกำหนดวันหยุดยิงชั่ ในเมืองอเล็ปโป ผู้อาศัยในพื้นที่รายงานว่าฝ่ ในเชตปกครองราคาทางตะวันออกเฉี ขณะเดียวกันฝ่ายรัฐบาลก็ทิ้ ในเมืองฮอม มีประชาชนเป็นเด็กผู้หญิง 3 คนเสียชีวิตในขณะที่กองกำลังรั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ต เป็นอันตรายกับวัยรุ่นหรือไม่? Posted: 26 Oct 2012 03:49 AM PDT เว็บไซต์ Mashable นำเสนอรายงานการวิจัยเรื่ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2012 - เว็บไซต์ Mashable ได้นำเสนอข้อมูลการวิจัยเกี่ จากผลการวิจัยระดั จากกรณีที่โด่งดังกรณีหนึ่งคื "เพราะเราพบเห็นเรื่องราวที่ดู Mashable ตั้งคำถามว่า แต่พ่อแม่ผู้ปกครองควรโล่ Cyberbully คืออะไร? ดร.โจเอล ฮาเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่ ฮาเบอร์บอกว่า การรังแกกันในโลกจริงคือการที่ คนจำนวนมาก รวมถึงเหยื่อที่โดนรังแกเองคิ และการเกิดกรณีดังกล่าวก็เกิดขึ Cyberbully เกิดขึ้นอย่างไร? การเติบโตของเฟสบุ๊คและทวิ ขณะเดียวกันระบบเชื่อมต่ นี่หมายความว่า ไม่เพียงแค่พ่อแม่ของเด็ อย่างไรถึงจะเรียกว่า 'ล้ำเส้น' วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบเยาะเย้ "มีเด็กจำนวนมากรายงานว่าเด็ การข่มเหงในโลกอินเตอร์เน็ตมีศู ยกตัวอย่างเช่น ช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ตำรวจได้ การอยู่ในโลกออนไลน์ทำให้ นักจิตวิทยากล่าวว่าการการกล่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การที่ในโลกออนไลน์ไม่มีอวั แล้วเราจะตอบโต้ผู้ข่มเหงทางอิ แม้ว่าวัยรุ่นจะไม่รู้ตัวว่ และแม้ว่าจะมีรายงานว่าการข่ การข่มเหงรังแกทางอินเตอร์เน็ ถ้าเกิดอะไรแบบนี้มากขึ้นบ่อยๆ งานวิจัยในอนาคตก็จะรายงานให้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์: Fair Use Policy ในการใช้บริการ 3G Posted: 26 Oct 2012 03:40 AM PDT
1. ความเป็นมาในช่วงปีที่ผ่านมา กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (รท.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบ 3G ว่า ผู้ให้บริการจำกัดปริมาณข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดได้แม้ผู้ใช้บริการจะสมัครแพ็กเก็จแบบ "ไม่จำกัด (unlimited)" ก็ตาม โดยการปลดผู้ใช้บริการออกจากระบบ 3G เมื่อมีการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณเกินกว่าที่ผู้ประกอบการกำหนดไว้ ทำให้ผู้ใช้บริการต้องใช้ระบบ edge ซึ่งอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลต่ำกว่ามาก
2. ข้อเท็จจริงการศึกษาที่มาที่ไปของปัญหาดังกล่าว พบว่า Fair Use Policy เป็นนโยบายในการบริหารจัดการอุปสงค์ในการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในนานาประเทศจริง และผู้ประกอบการในประเทศก็ได้ระบุปริมาณข้อมูลที่ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดได้ในอัตราความเร็วของ 3G ในแต่ละแพ็คเกจซึ่งมีราคาที่ต่างกันในการโฆษณาบริการอย่างชัดเจน รวมทั้งมีเอกสารที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับความเร็วที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้จริงซึ่งอาจแตกต่างจากความเร็วสูงสุดที่โฆษณาไว้ เนื่องจากปัจจัยที่หลากหลาย เช่น เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ ระยะห่างจากเสาสัญญาณ จำนวนผู้ใช้ในพื้นที่นั้นๆ ฯลฯ การชี้แจงรายละเอียดดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากล
2. การโฆษณาโดยใช้ "อัตราความเร็วสูงสุด" (เช่น ในประเทศไทย คือ 42 mbps) เป็นการให้ข้อมูลที่บิดเบือนแก่ผู้บริโภค เนื่องจากในทางปฏิบัติ อาจไม่มีผู้บริโภครายใดที่สามารถใช้บริการในอัตราความเร็วดังกล่าวได้เลยยกเว้นผู้บริโภครายนั้นจะใช้อินเทอร์เน็ตเวลาตีสามและนั่งอยู่ข้างเสาส่งสัญญาณ การโฆษณาในลักษณะดังกล่าวนอกจากเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอีกด้วย เนื่องจากผู้ประกอบการที่โฆษณาอัตราความเร็วสูงสุดที่ต่ำกว่า อาจมีอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลจริงโดยเฉลี่ยแล้วสูงกว่าผู้ประกอบการที่โฆษณาว่ามีอัตราความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า เช่น ในอังกฤษพบว่า ผู้ประกอบการที่โฆษณาความเร็วสูงสุด 10 mbps มีอัตราความเร็วเฉลี่ยที่ผู้บริโภคใช้ได้จริงที่ 9.6 mbps ในขณะที่ ผู้ประกอบการที่โฆษณาความเร็วสูงสุด 20-24 mbps มีอัตราความเร็วเฉลี่ยที่ผู้บริโภคใช้ได้จริงเพียง 5.4 mbps เท่านั้น
3. แนวทางในการแก้ไขปัญหา(1) สำหรับปัญหาการโฆษณาโดยใช้คำว่า unlimited หรือ "ไม่จำกัด" เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้แพ็คเกจที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้ ผู้ให้บริการต้องระบุข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดได้ในอัตราความเร็วที่โฆษณาทุกครั้ง โดยรายละเอียดเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าวจะต้องมีขนาดของตัวอักษรที่เท่ากับข้อความที่ระบุว่าเป็นการใช้บริการแบบ "ไม่จำกัด" หรือ ห้ามใช้คำว่า "ไม่จำกัด" สำหรับแพ็คเกจที่มี Fair Use โดยอาจกำหนดให้ใช้คำโฆษณาว่า " 3G/3GB" สำหรับบริการ 3G ที่จำกัดปริมาณข้อมูลที่ดาวน์โหลดได้ที่ 3 กิกะไบต์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน แนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในอังกฤษ หรือ Ofcom เสนอแนะ (2) สำหรับปัญหาการโฆษณาอัตราความเร็วสูงสุด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัตราความเร็วของบริการ 3G ของผู้ประกอบการแต่ละรายที่แท้จริง ควรมีข้อกำหนดดังนี้
ที่ผ่านมา มีข้อร้องเรียนจากทั้งภาควิชาการและกลุ่มผู้บริโภคให้มีการกำกับดูแลอัตราค่าบริการ 3G เพื่อชดเชยกับการประมูลคลื่นความถี่ที่มีข้อครหาว่าเป็น "มวยล้ม" ที่ทำให้รัฐสูญเสียเงินนับหมื่นล้านบาท ผู้เขียนเกรงว่า การกำกับราคาที่ไร้กลไกในการควบคุมมาตรฐานของบริการดังที่ผ่านมาจะทำให้ผู้บริโภคไทยได้บริการที่ "ถูกแต่ช้า" ซึ่งอาจดีกว่าสภาพปัจจุบันที่ "แพงและช้า" เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กสทช. ควรแสดงให้สาธารณชนเห็นว่า ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ผู้บริโภคก็อยู่ในสายตาของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งนี้ด้วย. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช.ตั้งคณะทำงานสอบ 'ประมูล 3G'-ให้เลขาฯสภา นั่งปธ.สอบ Posted: 26 Oct 2012 03:22 AM PDT ตั้ง 'สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย' เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร เป็นหัวหน้าคณะทำงานสอบเสนอราคาประมูล ด้านประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.เสียงข้างน้อย ทำหนังสือด่วนที่สุดให้ประธาน กสทช.พิจารณาอำนาจหน้าที่ในการรับรองผลการประมูลคลื่น 3G (26 ต.ค.55) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้ร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมการประมูล บนพื้นฐานข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนก่อนพิจารณาการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้แก่ ผู้ชนะการประมูลเพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย คณะทำงานดังกล่าวมี นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ในส่วนของผู้ร่วมทำงานประกอบด้วย นายอภิชาต อาสภวิริยะ และนายจิตรนรา นวรัตน์ เป็นผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายมงคล แสงหิรัฐ ผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี และดร.พัชรสุทธิ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ นายฐากร ระบุด้วยว่าเพื่อความโปร่งใส ในการพิจารณาในคณะทำงานชุดนี้จะมีพนักงาน กสทช. เป็นคณะทำงานเพียงคนเดียว คือ นายชัยยุทธ มังศรี และมีนางสาวพรพักตร์ สถิตเวโรจน์ นายโสรัจจ์ ศรีพุธ และนางสาวณัฐสุดา อัคราวัฒนา เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้ คณะทำงานชุดนี้จะมีกรอบระยะเวลาในการทำงานอยู่ที่ 15 วัน ผลการพิจารณาจะนำเสนอคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้แก่ผู้ชนะการประมูลต่อไป อนึ่ง จากการตรวจสอบพบว่า จิตนรา นวรัตน์ ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการด้านกฏหมาย กทค. อรพรรณ พนัสพัฒนา ดำรงตำแหน่งอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กทค. ดร.พัชรสุทธิ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ เป็นผู้ที่เคยร่วมให้ความรู้เรื่องการประมูลคลื่นความถี่แก่ประชาชนทั่วประเทศของ กสทช.ก่อนการประมูลที่ผ่านมา 'ประวิทย์' ร่อนหนังสือถาม ปธ.กสทช. บอร์ดไหนมีอำนาจรับรองผลประมูลคลื่น 3G บันทึกของนายประวิทย์ ระบุว่า "ผมพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า อำนาจหน้าที่ของ กทค.ตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ นั้น เป็นการพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว ตามมาตรา 27 "อย่างไรก็ตาม การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ที่บัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.นี้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด ประกอบกับต่อมา กสทช. ได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 โดยกำหนดให้คำนิยามของคณะกรรมการ หมายความว่าคณะกรรมการ กสทช. นอกจากนี้ในข้อ 18 ยังได้บัญญัติให้ประธานกรรมการ กสทช. เป็นผู้รักษาการตามประกาศ และในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด" อนึ่ง ก่อนหน้านี้ สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำหนังสือถึง พลอากาสเอกธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เรื่อง ขอให้นัดประชุม กสทช. วาระเร่งด่วนเรื่องการรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz เนื่องจากการประมูลคลื่นความถี่ที่ผ่านมาเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะอย่างมหาศาลและเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจติดตามจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการตัดสินใจดำเนินการใดๆ ยังมีผลทางกฎหมายต่อคณะกรรมการ กสทช. ทั้งคณะ 11 คน ขณะที่ประธาน กสทช. ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ขอเวลาพิจารณาถึงความจำเป็นในการเรียกประชุมเนื่องจากในขณะนี้บอร์ดแต่ละคนติดภารกิจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ราคาประมูล 3G 'ไทย' ไม่ได้แพงที่สุดในเอเชีย พบต่ำกว่า 'สิงคโปร์-ไต้หวัน-อินเดีย' Posted: 26 Oct 2012 01:31 AM PDT กรณีมีการนำเสนอข่าวว่า ราคาค่าคลื่น 3G ในประเทศไทยมีราคาแพงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และเป็นราคาเมื่อ 10 ปีก่อน จากรายงานการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ และมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ซึ่งจัดทำโดยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามการว่าจ้างของ กสทช. เมื่อเดือนกรกฎาคม 55 พบว่า การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ 3G ทั่วโลก โดยคำนวณข้อมูลของการอนุญาตประกอบกิจการปรับเป็นมูลค่าปัจจุบัน มิใช่มูลค่าเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างที่นักวิชาการบางท่านเข้าใจ มูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศไทยอยู่ที่ 0.31 เหรียญสหรัฐต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร หรือคิดเป็นมูลค่า 6,440 ล้านบาทต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ และต่อมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้กำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 70% ของราคาดังกล่าว มูลค่าคลื่นในประเทศไทยจึงเหลือเพียง 0.22 เหรียญสหรัฐต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร เทียบกับราคาเริ่มต้นการประมูลของประเทศในแถบเอเชียที่ผู้วิจัยได้รวบรวมจาก 3 ประเทศ พบว่า - สิงคโปร์กำหนดราคาเริ่มต้นที่ 0.39 เหรียญสหรัฐต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร - ไต้หวันกำหนดราคาเริ่มต้นที่ 0.25 เหรียญสหรัฐต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร - อินเดียกำหนดราคาเริ่มต้นที่ 0.23 เหรียญสหรัฐต่อเมกะเฮิรตซ์ต่อประชากร โดยผลการประมูล เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการเสนอราคาเพิ่มเพียง 2.77% ทำให้ราคาคลื่น 3G ประเทศไทยต่ำกว่าราคาเริ่มต้นของสิงคโปร์ ไต้หวัน และอินเดีย
ดูหน้า 16 ของงานวิจัย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จีนบล็อค 'นิวยอร์กไทมส์' หลังตีแผ่ทรัพย์สินครอบครัว 'เวิน เจียเป่า' Posted: 25 Oct 2012 11:20 PM PDT
(26 ต.ค.55) ช่วงสายวันนี้ ตามเวลาประเทศจีน รัฐบาลจีนบล็อคเว็บไซต์นิวยอร์กไทมส์ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ หลังเผยแพร่บทความชื่อ Billions in Hidden Riches for Family of Chinese Leader ที่กล่าวถึงเส้นทางความมั่งคั่งของครอบครัว เวิ่น เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีน โดยบทความดังกล่าว เผยแพร่ในภาษาอังกฤษเมื่อเวลา 4.34 น. ตามด้วยเวอร์ชั่นภาษาจีนในเวลา 8.00น. หลังจากนั้นไม่นาน จีนก็ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บนิวยอร์กไทมส์ โดยเริ่มจากเว็บภาษาจีนตามด้วยเว็บภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีการบล็อคการพูดถึงนิวยอร์กไทมส์และ เวิ่น เจียเป่า ในเว็บเว่ยป๋อ ซึ่งเป็นบริการไมโครบล็อกกิ้งคล้ายทวิตเตอร์ของจีนด้วย บทความดังกล่าวระบุว่าครอบครัวของเวิ่น เจียเป่า ถือครองสินทรัพย์มูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงที่เวิ่น เจียเป่า เข้าสู่อำนาจ คนในครอบครัวตั้งแต่ลูกชาย ลูกสาว น้องชายและน้องเขยของเขา ก็ร่ำรวยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทรัพย์สินเหล่านั้นไม่มีชื่อของ เวิ่น เจียเป่าเลย ทั้งนี้ นิวยอร์กไทมส์ระบุว่าทั้งรัฐบาลจีนและญาติของเวิ่น เจียเป่า ต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว โฆษกของนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า รู้สึกผิดหวังต่อการบล็อคดังกล่าวและหวังว่าเว็บจะกลับมาเข้าได้ในไม่ช้า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. จีนได้บล็อคเว็บไซต์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก หลังเผยแพร่บทความแจกแจงจำนวนทรัพย์สินของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้ซึ่งถูกคาดว่าจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไปของจีน
ที่มา: ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุเทพ-ณัฐวุฒิ เบิกความ ไต่สวน “ชาญณรงค์” ศาลนัดฟังคำสั่ง 26 พ.ย.นี้ Posted: 25 Oct 2012 08:25 PM PDT อดีต ผอ.ศอฉ.เบิกความ ไต่สวนการตาย "ชาญณรงค์" อ้าง รายงาน คอป.ไม่ระบุเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ ณัฐวุฒิ ยัน สลายการชุมนุมไม่ปฏิบัติตามหลักสากล เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลใช้พลซุ่มยิงผู้ชุมนุมทางการเมือง ศาลนัดฟังคำสั่ง 26 พ.ย.นี้ เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 55 ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา รัชดา ศาลนัดไต่สวนคำร้องคดีดำ อช.1/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ยื่นคำร้องไต่สวนชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ เมื่อบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้ตาย นำพยานเบิกความรวม 2 ปากนัดสุดท้าย คือ นายสุเทพ เทือกบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. โดยนายสุเทพ เทือกบรรณ เบิกความเป็นปากแรกสรุปว่า ขณะที่เป็นผอ.ศอฉ. ได้ออกคำสั่ง 1/2553 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์สำหรับสลายชุมนุมตามมาตรฐานสากล คือ โล่ , กระบอง , กระสุนยางซึ่งใช้ปืนลูกซองยิง , แก๊สน้ำตา , รถฉีดน้ำ และเป็นการปฏิบัติตามหลักมาตรการสากล 7 ขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก ภายใต้อำนาจและการดูแลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ระหว่างปฏิบัติการต่างๆ มีการประชุม ศอฉ.ทุกวันเช้า-เย็น แต่พยานไม่เคยมีคำสั่งอะไรเป็นพิเศษนอกเหนือจากที่เคยให้เป็นแนวทางของ ศอฉ. ส่วนการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ มีทั้งกำลังตำรวจและทหาร ในหลายพื้นที่เพื่อสกัดคนไม่ให้เข้าไป รวมทั้ง ให้ตัดน้ำตัดไฟในพื้นที่ชุมนุม เพื่อไม่ให้ผู้ชุมนุมมีความสะดวกสบาย อีกด้วย ขณะที่การพกอาวุธปืนจะให้เฉพาะระดับผู้บังคับบัญชาเท่านั้นที่สามารถมีปืนพก ปืนเล็กยาว และกระสุนจริงได้ เพื่อป้องกันตนเองและประชาชน โดยไม่กระทำให้มีผลแก่ชีวิต นายสุเทพ เบิกความว่า ส่วนการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 ที่บริเวณราชปรารภ ขณะเกิดเหตุยังไม่ทราบรายละเอียด แต่มาทราบภายหลังเมื่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวบรวมข้อมูลการเสียชีวิต 13 ศพ ที่ดีเอสไอมีความเห็นไม่ตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าการเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ แต่ในส่วนของสตช.ได้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการชันสูตรศพขึ้นมาเฉพาะ ระบุว่าไม่ทราบว่าการเสียชีวิตเกิดจากฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ และเกิดจากทิศทางใด ซึ่งตนก็ได้นำข้อมูลนี้ไปชี้แจงเมื่อครั้งถูกฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ส่วนรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีการระบุถึงการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ไว้ แต่ตนไม่เห็นข้อความที่ระบุว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เบิกความเป็นพยานปากที่สอง สรุปว่า กลุ่ม นปช.ชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยเริ่มชุมนุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค.53 ตั้งเวทีที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมากกินพื้นที่ถึงบริเวณถนนราชดำเนินนอกและราชดำเนินกลาง กระทั่งวันที่ 10 เม.ย.53 รัฐบาล โดย ศอฉ. นำกำลังทหารออกจากที่ตั้งพร้อมอาวุธปืนเอ็ม 16 ปืนยาว โล่และกระบอง พร้อมรถถัง เข้าปราบปรามผู้ชุมนุม โดยไม่ปฏิบัติตามหลักสากล โดยใช้เฮลิคอปเตอร์บินโยนแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุม มีการใช้พลแม่นปืนใช้อาวุธปืนความเร็วสูงติดลำกล้อง ยิงผู้ชุมนุมกระสุนเข้าที่ศีรษะและอวัยวะสำคัญ ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลใช้พลซุ่มยิงผู้ชุมนุมทางการเมือง ไม่เคยมีรัฐบาลใดกระทำมาก่อนหลังจากนั้นได้ยุบเวทีปราศรัยที่สะพานผ่านฟ้าไปรวมที่เวทีราชประสงค์เวทีเดียว โดยประมาณวันที่ 14 พ.ค.53 มีความตรึงเครียด เนื่องจาก ศอฉ.ให้เจ้าหน้าที่ทหารตั้งด่านตรวจค้นรอบพื้นที่ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเข้าพื้นที่ชุมนุมได้ และมีเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารปะทะกับผู้ชุมนุมและมีการซุ่มยิงประชาชนเสียชีวิตหลายราย ซึ่งในส่วนของนายชาญณรงค์ ผู้ตายคดีนี้ ทราบจากข่าวสื่อมวลชนว่า ถูกยิงชีวิตเมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 ซึ่งเกิดนอกพื้นที่ชุมนุม ซึ่งบริเวณดังกล่าวนอกจากผู้ตายแล้ว ยังมีผู้อื่นถูกยิงเสียชีวิตอีกหลายราย ภายหลังนายณัฐวุฒิ เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว ทนายความญาติผู้ตายแถลงหมดพยาน ศาลจึงนัดฟังคำสั่งคดีนี้ในวันที่ 26 พ.ย. นี้ เวลา 09.00 น. กรณีไต่สวนการตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา จากการสลายการชุมนุมเมษา – พ.ค.53 นั้นจะเป็นคดีที่ 2 ที่ศาลจะมีคำสั่ง ต่อจากกรณีนายพัน คำกอง ที่ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยในคดีดังกล่าวคำสั่งศาลระบุว่าพยานหลักฐานทั้งหมดชี้ว่าผู้ตายถูกกระสุนปืนขนาด.223 (5.56 มม.) จากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ร่วมกันยิงไปยังรถตู้ที่วิ่งเข้ามายังพื้นที่หวงห้ามแล้วกระสุนไปโดนผู้ตายที่ออกมาดูเหตุการณ์ ทั้งนี้ ให้ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ศาลสั่งไต่สวนการตายคดีแรก "พัน คำกอง" เสียชีวิตจากทหาร 'สรรเสริญ'-2 นายทหารเบิกความไต่สวนการตาย 'ชาญณรงค์' ทบ.แจงติดป้าย "เขตการใช้กระสุนจริง" เพื่อไม่ให้ปชช.เข้ามา แม้แต่ทหารยังถูกโต้ด้วยกระสุนจริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
K-Drama กับกระแสวัฒนธรรมป๊อบ: ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี Posted: 25 Oct 2012 05:36 PM PDT จากเสวนา "K-Drama กับกระแสวัฒนธรรมป๊อบ" ที่ Book Re:public เชียงใหม่ ซึ่งนอกจากละครแนว "Trendies" และ "Ajumma" แล้ว "ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี" ยังอภิปรายเรื่องละครเกาหลีแนว "Saguek" ที่พัฒนามาเป็นแนว "Fusion Saguek" ละครเกาหลีอิงประวัติศาสตร์ ที่แปลงเรื่องราวของราชวงศ์เกาหลีโบราณให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรม วันที่ 20 ต.ค.55 เวลา 16.00 น. ร้าน Book Re:public จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ "K-Dramaกับกระแสวัฒนธรรมป๊อบ" โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี และดำเนินรายการโดย ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล โดยก่อนหน้านี้ประชาไทนำเสนอการอภิปรายของอาจารย์อุบลรัตน์ (อ่านย้อนหลัง) การอภิปรายโดยปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (ที่มา: Book Re:public) ละครอิงประวัติศาสตร์เกาหลีกับการแปลงราชวงศ์ให้เป็นสินค้า ต่อในการนำเสนอของอาจารย์ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี เสนอว่าโครงเรื่องในละครเกาหลีคงไม่ต่างจากละครไทย แต่วิธีคิดในการนำเสนอโครงเรื่องของละครเกาหลีมีความต่าง โดยอุตสาหกรรมละครเกาหลีเฟื่องฟูไปทั่วโลก หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Korean wave (Hallyu) ถึงขนาดที่แฟนละครในเกาหลีมีชื่อเรียกละครประเภทต่างๆ เช่น แนว Trendies (ละครป๊อปที่เกี่ยวกับวัยรุ่น), แนว Ajumma (ละครเกี่ยวกับผู้หญิงในวัยป้าๆ ทั้งที่แต่งงานแล้ว หรือแต่งงานแล้วหย่าและพบรักใหม่), แนว Makjang (ละครที่มีพล็อตแบบสุดขั้ว สถานการณ์เหลือเชื่อ และบีบคั้นอารมณ์), แนว Sageuk (ละครอิงประวัติศาสตร์ ที่มีพล็อตเกี่ยวกับราชวงศ์ เกี่ยวกับกษัตริย์ เกี่ยวกับการเมือง เกี่ยวกับความขัดแย้งและสงครามในยุคต่างๆ) โดยละคร Sageuk แต่ก่อนคนที่นิยมดูจะเป็นชายสูงวัย ยังไม่เป็น Pop Culture ยังดูกันไม่วงจำกัด แต่ภายหลังปี 2000 มีการปฏิวัติละครแนวนี้ขนานใหญ่ โดยเริ่มจากในเรื่อง Damo (2003) ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่าเป็น Fusion Saguek คือละครที่รวมเอาพล็อตเรื่องสมัยใหม่ การดำเนินเรื่องและวิธีคิดสมัยใหม่เข้าไปในละครอิงประวัติศาสตร์ ในปีเดียวกันก็มี Da-Jang Guem (2003) ที่มีพล็อตที่ต่างจากละครอิงประวัติศาสตร์อย่างมาก เนื้อเรื่องแม้จะใช้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นบริบทของเรื่อง แต่เนื้อเรื่องเป็นเรื่องการต่อสู้ของผู้หญิงสามัญชนคนหนึ่งในท่ามกลางอุปสรรคและโรมานซ์ หรือในเรื่อง Hwang Jin Yi (2006) แม้ละครเหล่านี้จะเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ แต่มันพูดด้วยภาษาสมัยใหม่ สื่อสารกับผู้หญิงสมัยใหม่ และพูดเรื่องสิทธิผู้หญิง สิ่งเหล่านี้ทำให้ละครแบบ Sageuk กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Korean Wave ขยายฐานคนดูออกไปอย่างกว้างขวาง ทุกเพศทุกวัย ละครแนว Fusion Saguek ปลายทศวรรษ 2000 ยังมีการพัฒนาละครประเภท Fantasy Saguek ซึ่งเป็นละครเกี่ยวกับกษัตริย์ที่ไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ เช่นเรื่อง The Moon that Embraces the Sun, Roof Top Prince, Dr.Jin โครงเรื่องละครแบบนี้อาจกล่าวว่าเป็นแบบหลังสมัยใหม่ ที่ก่อกวนวิธีคิดในการแบ่งเวลาแบบเส้นตรงของละครอิงประวัติศาสตร์ หรือทำให้โลกในอดีตมีความเป็นแฟนตาซีเท่าๆ กับโลกในปัจจุบัน ซึ่งทำให้วัยรุ่นชอบดู ดร.ปิ่นแก้ว กล่าวต่อว่าละครอิงประวัติศาสตร์ของเกาหลีมีความน่าสนใจ เพราะมีความย้อนแย้งในตัวเอง นำไปสู่คำถามที่สำคัญสามประการ คือ หนึ่ง เกาหลีเป็นประเทศที่เป็นสาธารณรัฐ ไม่มีกษัตริย์มากว่าหนึ่งศตวรรษ แต่เกาหลีกลับเป็นประเทศที่ผลิตสร้างละครเกี่ยวกับกษัตริย์ไปทั่วโลกมากที่สุดประเทศหนึ่ง คำถามคือละครอิงประวัติศาสตร์แบบนี้ทำหน้าที่อะไรในทางการเมืองและเศรษฐกิจ ระดับชาติและระดับข้ามชาติ สอง คือละครอิงประวัติศาสตร์มีลักษณะและบริบทที่เฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ Time ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เฉพาะช่วงเวลาหนึ่ง แง่ Space เกิดในสังคมเฉพาะที่หนึ่ง และแง่ Class คือเป็นเรื่องของชนชั้นสูง แต่ทำไม Saguek จึงกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชน ที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ และสาม คือคนดูเสพหรือบริโภคอะไรจาก Segeuk ดร.ปิ่นแก้วเสนอว่าละคร Sageuk ได้ตอบสนองต่อแรงปรารถนาและแฟนตาซีสามประการด้วยกัน คือทำหน้าที่ในการสร้างความทรงจำใหม่และสิทธิธรรมใหม่เกี่ยวกับความเป็นชาติขึ้นใหม่ในสังคมโลก, การตอบสนองต่อแฟนตาซีว่าด้วยการรวมชาติ และการแปลงประวัติศาสตร์ราชวงศ์ให้เป็นสินค้าท่องเที่ยว ปมคำถามแรก คือในประวัติศาสตร์เกาหลี เคยถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น (1910-1945) ญี่ปุ่นรุกรานเข้าไปในเกาหลีและล้มเลิกระบบกษัตริย์ ผนวกเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ใหญ่ของญี่ปุ่น แม้หลังจากนั้นก็ไม่มีการรื้อฟื้นราชวงศ์ขึ้นมา การผนวกรวมของญี่ปุ่นทำมากกว่าอาณานิคม คือญี่ปุ่นมาพร้อมกับสมมติฐานว่าโดยเชื้อชาติ เกาหลีสืบเชื้อสายมาจากญี่ปุ่น ผลคือทำให้ในแง่อัตลักษณ์ความเป็นชาติ เกาหลีกลายเป็นชาติที่ว่างเปล่า ไม่มีประวัติศาสตร์ของตัวเอง เกาหลีเป็นชาติที่ไม่มี Origin การสร้างละคร Sageuk ขึ้นมา จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบสร้างความทรงจำเกี่ยวกับความมีรากเหง้าและความเป็นชาติขึ้นมาใหม่ ที่ต่างไปจากญี่ปุ่นและจีน มีความเป็นตัวของตัวเอง ละครจำนวนมากพยายามแสดงให้เห็นว่าเกาหลีในยุคก่อน มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง อุตสาหะในการสร้างชาติ และมีวัฒนธรรมอาหาร ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มาหลายร้อยปี ละครพวกนี้แม้จะมีกษัตริย์เป็นตัวเอกหรือเป็นองค์ประกอบ แต่ไม่ใช่ละครบูชากษัตริย์ เพื่อสร้างชาตินิยมภายใต้ลัทธิบูชากษัตริย์แบบละครไทย ในทางตรงข้าม ตัวเอกที่เป็นกษัตริย์ในยุคต่างๆ ถูกนำมาใช้ในละคร ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ของความมีรากที่ยาวนาน แข็งแกร่ง และสืบเนื่องเพียงเท่านั้น เพื่อบอกว่าเกาหลีแม้เป็นสาธารณรัฐ แต่ไม่ได้เป็นประเทศใหม่ หากเก่าแก่ไม่แพ้จีนและญี่ปุ่น โดยมีกษัตริย์เป็นประจักษ์พยานทางหลักฐาน ความเก่งกล้าสามารถของกษัตริย์จึงทำหน้าที่เพียงเป็นประจักษ์พยานทางวัฒนธรรม ละครหลายเรื่องมีกษัตริย์เป็นแค่บริบท พูดง่ายๆ คือกษัตริย์ในละครเหล่านี้ปรากฏในฐานะ "มรดกทางวัฒนธรรม" ไม่ต่างจากประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการกลับไปค้นหา origin ของเกาหลี ซึ่งเริ่มเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อหาหรือประกอบสร้างอัตลักษณ์ของชาติเกาหลีขึ้น ประการที่สอง Segeuk ได้สร้างแฟนตาซีว่าด้วยการรวมชาติ ซึ่งเป็นความปรารถนาเฉพาะของเกาหลีใต้ เช่น เรื่อง Jumong เป็นเรื่องการรวมดินแดนสามอาณาจักรเข้าด้วยกัน ถ้าดูเรื่องนี้หรือละครอิงประวัติศาสตร์ยุคนี้ มันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เพราะทั้งสองอยู่ภายใต้อาณาจักรเดียวกัน หรือเรื่อง King2Hearts ก็สะท้อนความต้องการรวมชาติของเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นแฟนตาซีเฉพาะของเกาหลีใต้ฝ่ายเดียว
ประการที่สาม คือ Segeuk คือการแปลงประวัติศาสตร์ราชวงศ์ให้เป็นสินค้าท่องเที่ยว ส่วนนี้อาจจะเป็นผลอันไม่ตั้งใจของความนิยมเรื่องแดจังกึม ทำให้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ปรากฏในละครโด่งดังมาก รัฐบาลก็ส่งเสริมและทำให้ประวัติศาสตร์ราชวงศ์กลายเป็นการท่องเที่ยวอย่างแข็งขัน แต่ก็มีภาวะที่ย้อนแย้งที่น่าสนใจ โดยเจ้าชาย Yi Seok เชื้อพระราชวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลีแห่งโชซอนที่ยังมีชีวิตอยู่ เคยกล่าวว่าเขาตระหนักว่าคุณค่าของระบบกษัตริย์ในเกาหลีเป็นได้อย่างมากก็เป็นแค่เครื่องหมายในการท่องเที่ยว แม้เขาจะเรียกร้องผ่านสื่อมวลชนให้มีการรื้อฟื้นระบบกษัตริย์ขึ้นมา แต่จะให้เป็นเพียงกษัตริย์เชิงสัญลักษณ์ เขาบอกว่าตนเองพร้อมจะไปทุกหนแห่งเพื่อขอการสนับสนุนการรื้อฟื้นระบบ และถ้ายอมให้ตนไปอยู่วัง ตนจะพานักท่องเที่ยวเที่ยวชมวัง นี่เป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ และดูเหมือนคนเกาหลีก็ตระหนักดีถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ว่าสถาบันกษัตริย์ในสังคมเกาหลีนั้น มีที่ทางเฉพาะ เพียงในประวัติศาสตร์ ในขณะที่ในปัจจุบัน สถาบันดังกล่าวมีคุณค่าก็เพียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เท่านั้น โดยในปี 2006 มีการสำรวจความเห็นของประชาชนต่อการรื้อฟื้นระบบกษัตริย์ 54.4% เห็นด้วยว่าควรมีการรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ ปี 2010 สัดส่วนตกมาเหลือ 40.4% ในขณะก็มีการถกเถียงในฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่าประเทศได้ก้าวหน้าไปไกลแล้วในระบบสาธารณรัฐ กษัตริย์ก็เป็นพลเมืองคนหนึ่ง ไม่ควรนำสถานะนี้มาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เขาอยู่เป็นพลเมืองก็ดีแล้ว อย่าเอาเขามาหารายได้ บางคนประณามสถาบันนี้ที่ทำให้เกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่น ส่วนฝ่ายเห็นด้วยมักเห็นว่าก็ไม่เสียหายอะไร ถ้าให้มีสถาบันโดยไม่ต้องมีอำนาจทางการเมือง อย่างน้อยก็ทำให้เกาหลีมีสัญลักษณ์ของชาติเพิ่มขึ้นมาอีกอันหนึ่ง คำถามที่สอง คือ ทำไม Seguek ถึงกลายเป็นวัฒนธรรมมวลชนที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ โดยมีข้อสังเกตว่าละครเหล่านี้แม้ท้องเรื่องจะเกี่ยวกับกษัตริย์หรือกษัตริยา แต่เนื้อหาจริงๆ ไม่ใช่เรื่องกษัตริย์แต่ละองค์ แต่มันเป็นอุปมานิทัศน์ (Allegory) ของสามัญชนในสังคมเกาหลี สะท้อนความคิดของสังคมเกาหลีที่มีต่อบุคคล ไม่ใช่ต่อกษัตริย์ในฐานะที่เป็นเทพ หรือบุคคลเหนือธรรมดา ดังนั้นละครเหล่านี้แม้ท้องเรื่องจะเป็นเรื่องของกษัตริย์ในยุคก่อนสมัยใหม่ ที่สมัยนั้นมองกษัตริย์เป็นสมมติเทพ แต่ในละครกลับทอนเรื่องให้เป็นสมัยใหม่และเป็นวิทยาศาสตร์ กษัตริย์ในแต่ละเรื่องมีลักษณะเป็นคนธรรมดา รู้ร้อนรู้หนาว รู้จักรัก ผิดพลาด กลัว เหลวไหล หรืออ่อนแอ ละครเกาหลีเหล่านี้กลายเป็นวัฒนธรรมมวลชนได้ ก็เพราะมันได้ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของบุคคลธรรมดา ไม่ใช่ประวัติชีวิตแบบทวยเทพของชนชั้นสูงใดๆ ดังนั้นจึงเป็นประสบการณ์ร่วมสมัย ซึ่งมนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เข้าใจได้ เห็นใจได้ และดังนั้นจึงสะเทือนใจ หรือบางเรื่องก็เอากษัตริย์มาทำเป็นเรื่องขำขัน (Comedy) เช่น Roof top Prince มีลักษณะการทำให้กษัตริย์เป็นสามัญชนที่ชัดเจน คำถามที่สาม คือคนดูเสพอะไรจากละครอิงประวัติศาสตร์ คำถามนี้สำคัญที่สุดแต่ตอบยากที่สุด ต้องการการทำวิจัย เพราะคนกลุ่มที่แตกต่างกันน่าจะรับรู้และรับสารที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาสร้างเป็นความเห็นโดยทั่วไปได้โดยไม่มีการทำวิจัย แต่ดร.ปิ่นแก้วได้ตั้งข้อสังเกตจากประสบการณ์ส่วนตัว พบว่าชาวบ้านทั่วไปในไทยนั้นก็ติดละครเกาหลีด้วย ในช่วงที่ทำวิจัยเรื่องเสื้อแดง ในหลายพื้นที่พบว่าไม่ได้ดูข่าวทีวี ไม่ดูตั้งแต่สองทุ่มเป็นต้นไป แต่ชาวบ้านผู้ชายคนหนึ่งกลับบอกว่าถ้าดู ก็ดูละครเกาหลี เมื่อถามว่าทำไมดู เขาตอบว่าก็มันเหมือนการเมืองไทย พวกที่ครองอำนาจคงไม่ปล่อยให้คนอื่นมาแย่งอำนาจไปง่ายๆ หรอก ดร.ปิ่นแก้วสรุปว่าเราอาจจะตีความได้ว่าละคร Seguek สำหรับคนเกาหลีแล้ว ถ้ามันเปรียบเหมือนอุปมานิทัศน์ของชีวิตสามัญชนตัวแบบในสังคมเกาหลี ที่คนเกาหลีอยากจะเป็น แม้จะอ่อนแอ ผิดพลาด โดดเดี่ยว แต่ก็ฝ่าฝัน เรียนรู้ ค้นพบ สร้างตัวตนและคุณค่าของตนใหม่ขึ้นมา สำหรับชนชั้นล่างในสังคมไทยแล้ว ละครอิงประวัติศาสตร์ของเกาหลี ที่ท้องเรื่องส่วนใหญ่เปลือยให้เห็นแก่นแท้ของความฉ้อฉล แก่งแย่ง หรือช่วงชิงอำนาจกันเองภายในชนชั้นสูง ละครพวกนี้ทำหน้าที่เป็นอุปมานิทัศน์ให้ชาวบ้าน ในการเปรียบเทียบถึงสิ่งที่พวกเขาคิด หรือมีทัศนะต่อกลุ่มชนชั้นสูงในสังคมไทย อันเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงไม่ได้ และละครไทยไม่มีทางนำธีมเหล่านี้มาทำเป็นละคร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น