ประชาไท | Prachatai3.info |
- บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 2
- เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1): เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 14-20 ต.ค. 2555
- เตรียมออกกฎเหล็กห้ามนุ่งสั้นเข้าวัด
- คนสะเอียบจัดเวรเฝ้าจุดสร้าง“เขื่อนแก่งเสือเต้น” 24 ชม. สกัดรัฐส่ง จนท.ลอบเข้า
- ยะลาจัดกิจกรรม “ศุกร์ สุข หรรษา” สร้างความเชื่อมั่นให้กับร้านค้าที่ประกอบกิจการในวันศุกร์
- ศาสวัต บุญศรี: รำลึกน้ำท่วมปี 54 กับสรยุทธ์ เล่าข่าวเช้านี้
- คปก.ถก นักกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ถกความเหมาะสมบทลงโทษ
บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 2 Posted: 20 Oct 2012 02:20 PM PDT บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา เทปนี้คุยกันต่อกับ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ถึงการเมืองอเมริกันที่ใกล้วันเลือกตั้งประธานาธิบดีเข้ามาทุกที มาฟังการวิเคราะห์วิจารณ์หลังการดีเบตของว่าที่รองประธานาธิบดีของ 2 พรรคใหญ่ โจ ไบเดน จากเดโมเครต กับ พอล ไรอัน จากรีพับลิกัน เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่าเนื้อหาลีลาของใครเป็นอย่างไร ยกนี้ใครเหนือกว่า ใครได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างไร ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1): เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก Posted: 20 Oct 2012 09:57 AM PDT - 1 -
ราชนิกูลน้อยแห่งราชสกุลนโรดม นาม "รณฤทธิ์" ต้องเผชิญกับความพลัดพรากเพียงหลังลืมตาขึ้นดูโลกได้ไม่นาน ด้วยมีมารดาเป็นสามัญชน เจ้ารณฤทธิ์ผู้เป็นโอรสองค์โตของพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุ จึงถูกส่งไปอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้าย่า ชีวิตที่ถูกพรากจากอกแม่ที่เป็นนางรำเอกในราชสำนัก ทำให้เจ้าชายน้อยโหยหาความเอื้อเอ็นดูจากผู้เป็นบิดามาทดแทน หากสิ่งที่ได้มาคือความผิดหวัง เจ้าชายรณฤทธิ์ประสูติในปี พ.ศ.2487 สามปีหลังที่พระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุขึ้นครองราชย์ หากพระราชยศแห่งองค์กษัตริย์นั้นได้สร้างระยะห่างกางกั้นโอรสออกไปจากความสัมพันธ์ฉันท์บิดาและบุตร เจ้ารณฤทธิ์จึงเติบโตมากับความรู้สึกอ่อนไหว เปราะบางทางอารมณ์ของวัยเยาว์ที่ซ่อนเร้นไว้เบื้องลึก เจ้ารณฤทธิ์ประสูติในอาณาบริเวณของบ้านหลังใหญ่ที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนสุธารถในกรุงพนมเปญ ถนนเลียบแม่น้ำสายนี้ถูกตั้งชื่อตามพระนามของเจ้าสุธารถ พระอัยกาของกษัตริย์สีหนุ เจ้าสุธารถถูกสกัดกั้นไม่ให้ขึ้นสู่ราชบังลังก์กัมพูชา ด้วยอิทธิพลของฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมที่เข้ามามีบทบาทในการแต่งตั้งกษัตริย์และร่วมเล่นการเมืองในราชสำนักกัมพูชาที่เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น เจ้าชายรณฤทธิ์ประสูติที่บ้านตามธรรมเนียมโบราณ ความทรงจำทั้งหมดในวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์อยู่ที่บ้านหลังนี้ บ้านที่ถูกครอบครองโดยสถานทูตรัสเซียภายหลังโศกนาฏกรรมของชาวกัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1980 (1980s)ของสงครามประชาชน และเจ้ารณฤทธิ์ไม่เคยได้สมบัติชิ้นนี้กลับคืนมาอีกเลย เจ้าชายน้อยเติบโตมากับความปวดร้าวในวัยเด็กกับชีวิตที่ถูกพรากจากมารดาที่เป็นสามัญชน ราชนิกูลน้อยถูกส่งให้มาอยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้าหญิงรัศมีโสภา (Princess Rasmi Sobhana) พระกนิษฐาภคินีของเจ้าสุรมฤต (Norodom Suramarit) พระบิดาของกษัตริย์สีหนุ เมื่อพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุประกาศสละราชบังลังก์ในปี พ.ศ.2498 เจ้านโรดม สุรมฤตได้รับการสถาปนาให้ขึ้นครองราชบังลังก์กัมพูชาสืบต่อจากพระโอรส "ตอนที่ข้าพเจ้าเกิด พ่อมีภรรยาอยู่ 3 คน แม่ข้าพเจ้าเป็นนางรำเอกในราชสำนัก พ่อมองเห็นนางรำมีเสน่ห์ทุกคน" ปี 2485 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุ ทรงวุ่นวายอยู่กับชีวิตสมรส พระองค์สมรสกับสุภาพสตรี 2 คน คือ นักนางพัต กันฮอล (Neak Moneang Phat Kanhol) มารดาของเจ้ารณฤทธิ์ และเจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี (Princess Sisowath Pongsanmoni) ชีวิตวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์ถูกแวดล้อมด้วยสตรีเพศในตำหนักของเจ้าหญิงรัศมีโสภาที่ครองตัวเป็นโสดตลอดชนม์ชีพ เจ้าหญิงรัศมีโสภาสิ้นพระชนม์ พ.ศ.2514 พี่สาวร่วมบิดรมารดาของเจ้ารณฤทธิ์ คือ เจ้าหญิงบุปผาเทวี (Buppha Devi) ถูกส่งไปอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จย่า คือ พระนางสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ (Sisowath Kossamak Nearireath) ราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 เจ้าหญิงบุปผาเทวีนั้นสืบสายเลือดศิลปินมาจากมารดา และกลายเป็นนางรำที่โดดเด่นเช่นเดียวกับมารดา ราชนิกูลสองพี่น้องตระหนักดีว่า ราชประเพณีโบราณแห่งราชสำนักไม่มีที่เหลือให้กับการทำตามความพอใจส่วนตัว ชีวิตที่ต้องถูกพรากจากอกแม่ผู้เป็นสามัญชนนั้น เป็นไปตามราชประเพณีที่ทั้งสองไม่มีทางเลือก "ตามประเพณีของเรานั้น เราไม่สามารถจะต่อต้านขัดขืนต่อความต้องการของพระราชินีและเจ้าป้าใหญ่ได้ ข้าพเจ้าไม่มีทางเลือกอื่น เมื่อสมเด็จย่า (พระนางสีสุวัตถิ์ กุสุมะ) ได้ปรึกษากับโหรหลวงเกี่ยวกับอนาคตของข้าพเจ้า และพวกเขาทำนายว่าข้าพเจ้าจะต้องเติบโตเป็นนายทหาร" คำทำนายของโหรหลวงเป็นที่มาของนาม "รณฤทธิ์" แต่เมื่อเติบโตขึ้น เจ้ารณฤทธิ์กลับพบว่าความเป็นทหารนั้นมิใช่สิ่งที่ตัวเองปรารถนา แต่กลับเป็นสิ่งที่ท่านไม่ชอบเลย แม้แต่การเป็นนายทหารฝ่ายวิชาการ คำทำนายเริ่มเป็นความจริงในปี พ.ศ.2526 เมื่อพระราชบิดาขอให้เจ้าชายเข้ามาบริหารพรรคฟุนซินเปก (Funcinpec Party) และฝ่ายกองกำลังทหารของพรรค เจ้ารณฤทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการ Sihanoukist army และต่อมาในปี พ.ศ.2533 (1990s) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาการร่วมของกองทัพหลวงแห่งกัมพูชา (Royal Cambodian Armed Forces) บรรยากาศอบอุ่น เอื้ออาทร ณ ที่พำนักบนถนนสุธารถนั้นขัดแย้งแตกต่างกับความอ้างว้างที่แผ่คลุมวังหลวง กษัตริย์สีหนุประทับอยู่ในพระราชวัง แต่โปรดให้บรรดาสนมของพระองค์พำนักแยกในบ้านพักในตัวเมือง ยามใดที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้สนมคนใดถวายงาน จึงจะทรงโปรดเรียกให้เข้าเฝ้าที่วังหลวง ความสำราญของกษัตริย์สีหนุกับนางกำนัลในราชสำนักนั้น เป็นความคุ้นเคยที่เจ้ารณฤทธิ์เห็นมาตั้งแต่เยาว์วัย "เมื่อข้าพเจ้าโตเป็นหนุ่ม พ่อมักจะกล่าวหาว่าข้าพเจ้าเป็นเพล์บอย แต่จริงๆแล้วพระองค์เป็นเพล์บอยมากกว่าข้าพเจ้า" คำกล่าวหาตอบโต้ของเจ้ารณฤทธิ์ต่อพระบิดานั้น ดูเหมือนจะยืนยันได้จากพระโอษฐ์ของกษัตริย์สีหนุเอง ซึ่งตรัสเล่าอย่างสนุกสนานถึงเรื่องราวส่วนพระองค์และความสำราญในราชสำนัก ให้บรรดาข้าราชบริพารที่ติดตามพระองค์ฟัง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2528 "ข้าพเจ้ายอมรับว่าข้าพเจ้าเคยเป็นเพล์บอย ข้าพเจ้ามีลูก 14 คน และไม่รู้ว่ามีหลานอีกกี่คน แต่ข้าพเจ้ามีผู้หญิงในชีวิตนับได้ไม่เกิน 20 คน พ่อของข้าพเจ้าก็เป็นเพล์บอยเหมือนกัน และมีผู้หญิงเกือบ 200 คน และปู่ของข้าพเจ้ามีสนม 360 คน ซึ่งเหลือเวลาว่างให้ตัวเองเพียงห้าวันในหนึ่งปี แต่ตอนนี้ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นเพล์บอยอีกต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าแก่แล้ว และข้าพเจ้าก็มีภรรยาสวย" ชาวเขมรนั้นยอมรับกับธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักที่กษัตริย์จะมีสนมหลายคน เพื่อแสดงถึงความเป็นชายและบารมีของพระองค์ มารดาของเจ้ารณฤทธิ์เป็นสนมคนแรกที่กษัตริย์สีหนุลงพระนามในเอกสารแสดงการสมรส "ไม่มีพิธีแต่งงานระหว่างพระบิดาและมารดาของข้าพเจ้า แต่ทั้งสองท่านได้ลงนามในเอกสารแสดงการสมรส แม่ของข้าพเจ้าเป็นภรรยาคนแรก เราไม่มีคำเฉพาะที่ใช้เรียกภรรยาคนแรก หรือคนที่สอง เราเรียกว่าเป็นสนมคนโปรด พ่อไม่เคยแต่งงานกับผู้หญิงคนไหน นอกจากพระราชินีโมนิก (Queen Monique) การมีคู่สมรสหลายคน เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในเวลานั้น" เจ้าชายน้อยไม่มีโอกาสบ่อยนักที่จะได้ไปเยี่ยมมารดาของท่าน เพราะเจ้าย่าไม่โปรด จริงๆแล้วเจ้าหญิงรัศมีโสภาไม่ต้องการให้เจ้ารณฤทธิ์ทราบด้วยซ้ำว่าใครคือมารดาที่แท้จริงของท่าน "ตอนแรก ทุกคนต้องการให้ข้าพเจ้าเชื่อว่ามารดาที่แท้จริงของข้าพเจ้าคือเจ้าหญิงรัศมีโสภา ตอนที่ข้าพเจ้ายังเล็ก ข้าพเจ้ามีแม่นมประจำตัว เมื่อโตขึ้นมาหน่อย ข้าพเจ้าถึงได้รับอนุญาตให้ไปหาแม่ได้บ้าง" ในสายตาของเจ้ารณฤทธิ์ ราชนิกูลของกัมพูชามีความเป็นเสรีนิยมมาก เป็นเรื่องปกติที่กษัตริย์จะมีสนมคนโปรดหลายคน แต่ผลที่ตามมาคือ คือบรรดาพระสนม และลูกๆ ที่มีจำนวนมากนั้นต่างเข้าถึงกษัตริย์ได้ยากนัก "ข้าพเจ้าไม่เคยมีผู้ปกครองที่แท้จริงเลย ไม่มีทั้งพ่อและแม่ที่แท้จริง พ่อในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์นั้นอยู่ห่างไกลจากข้าพเจ้ามากเหลือเกิน" ความรู้สึกโหยหามารดานั้น ทำให้เจ้ารณฤทธิ์ต้องการความสนใจจากพระบิดาเป็นพิเศษ แต่ท่านก็ไม่มีโอกาสบ่อยนักที่จะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว "เป็นเรื่องยากมากที่ลูกๆจะได้เข้าเฝ้าพระบิดาในพระราชวังในบรรยากาศที่ไร้พิธีรีตอง พ่อเคยเรียกให้ลูกๆไปหาพร้อมๆกัน ตอนที่พระองค์ยังหนุ่มอยู่ พระองค์ทรงโปรดการเล่นเทนนิสและขี่ม้า พระองค์เคยเรียกข้าพเจ้าว่า 'ทับ' (Thab) ข้าพเจ้าไม่ทราบว่ามันมีความหมายอย่างไร แต่นั่นคือชื่อเล่นของข้าพเจ้า พวกเราจะมีโอกาสได้พบกับพระบิดาเดือนละครั้ง ในวาระพิเศษจริงๆ" บรรดาโอรสและธิดาถูกวาดกรอบให้อยู่ในความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับพระบิดา กษัตริย์สีหนุจะร่วมเสวยพระกะยาหารกลางวันกับลูกๆทั้ง 14 คนและพระญาติพร้อมๆกัน ไม่เคยมีครั้งใดที่พระบิดากับบรรดาโอรสและธิดาจะได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างอบอุ่นเป็นส่วนตัว แต่พฤติกรรมห่างเหินเย็นชาเช่นนี้ของบิดา กลายเป็นความคุ้นเคยที่มิอาจซ้ำเติมความรู้สึกโหยหาของเจ้ารณฤทธิ์ได้อีกต่อไป ท่านสรุปความรู้สึกนี้ว่า "เป็นเพราะความเข้มแข็งในตัวข้าพเจ้า" เจ้ารณฤทธิ์ในวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ พยายามกลบฝังความร้าวรานแห่งอดีตของชีวิตที่ถูกพรากจากมารดาไว้เบื้องหลัง "ข้าพเจ้าเป็นคนอิสระ ที่แทบจะไร้ความรู้สึก ข้าพเจ้าไม่คิดถึงแม่ และไม่ได้รู้สึกคิดถึงพ่อมากนักด้วย ข้าพเจ้าเติบโตมากับเจ้าย่า รักท่านเสมือนแม่ อีกท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าผูกพัน คือเจ้าป้า เจ้าหญิงเกศกันยา (Princess Ketkanya Mam) ซึ่งเลี้ยงดูข้าพเจ้ามาเหมือนกับเป็นมารดาแท้ๆของข้าพเจ้า" หากเงาอดีตแห่งความขมขื่นยังฉายชัดอยู่ในแววตา ยามที่เจ้ารณฤทธิ์พูดถึงพ่อ ความรู้สึกของคนถูกหักหลังนั้นหลั่งไหลผ่านถ้อยคำ "ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างพ่อและข้าพเจ้าคือสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดถึงความเหินห่างระหว่างเรานับตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมพ่อจึงไม่เคยเลือกที่ยืนอยู่ข้างข้าพเจ้าเลย" สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ กับพระบาทสมเด็จนโรดม สีหมุนี พระอนุชาต่างมารดา เจ้าหญิงบุปผาเทวี พี่สาวร่วมพระชนกและมารดาสามัญชน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 14-20 ต.ค. 2555 Posted: 20 Oct 2012 09:35 AM PDT เผย 20 อาชีพขาดแคลนหนัก "พนักงานขาย-พนักงานธุรการ" ติดท็อป 5 ลูกจ้างศอ.บต.นับร้อยบุกร้องถูกลอยแพ แนะผลิตบิณทิตสังคม-วิทย์สัดส่วน 50/50 แก้ป.ตรีตกงาน ม็อบพยาบาลลูกจ้างบุกทำเนียบฯทวงสัญญาบรรจุพยาบาล จับหนุ่มระยองตุ๋นแรงงานไทยทำงานต่างประเทศ คนไทย 218 คนติดค้างสนามบินอินชอนเกาหลีใต้ มะกันรวบ 32 คนไทยปลอมกรีนการ์ด กองปราบจับผู้ต้องหาหลอกแรงงานไปต่างประเทศ 'เผดิมชัย' ยันเดินหน้าขึ้นค่าจ้าง 300 บ .70 จว.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตรียมออกกฎเหล็กห้ามนุ่งสั้นเข้าวัด Posted: 20 Oct 2012 06:19 AM PDT กรมศิลปากร เผยพบวัยรุ่นนุ่งสั้นแต่งกายไม่เหมาะสมกับเขตวัดเป็นจำนวนมากขึ้น เห็นว่าควรจะจัดสร้างห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้แก่ นักท่องเที่ยว หรือคนไทยเอง ได้เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทางวัดได้เตรียมไว้ เช่น ผ้าถุง หรือเสื้อคลุ่มต่างๆ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนสะเอียบจัดเวรเฝ้าจุดสร้าง“เขื่อนแก่งเสือเต้น” 24 ชม. สกัดรัฐส่ง จนท.ลอบเข้า Posted: 20 Oct 2012 05:59 AM PDT ชาวสะเอียบยังไม่วางใจรัฐบาล ไม่ยอมล้มเลิกแผน "สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ยมบน ยมล่าง" จัดเวรยามเฝ้าระวังไม่ให้ จนท.รัฐ-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ตลอดจน 24 ชั่วโมง หลังก่อนหน้านี้มีทั้งเจ้าหน้าที่บริษัทที่ปรึกษา-เจ้าหน้าที่รัฐลอบเข้าพื้นที่ แถมล่าสุดมีข่าวแพร่สะพัด "ปลอด" เล็งลงพื้นที่อีก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยะลาจัดกิจกรรม “ศุกร์ สุข หรรษา” สร้างความเชื่อมั่นให้กับร้านค้าที่ประกอบกิจการในวันศุกร์ Posted: 20 Oct 2012 05:41 AM PDT เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 55 ที่ผ่านมา ที่ บริเวณชุมชนตลาดเก่า หน้ามัสยิดกลางจังหวัดยะลา นายสถาพร กาจญนบุษ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา ได้เดินทางพบปะเยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบการ โดยการแจกคูปองให้กับร้านค้าผู้ประกอบกิจการในวันศุกร์ เพื่อต้องการรณรงค์ยุติความรุนแรง สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการได้กลับมาเปิดร้านค้าในวันศุกร์ตามปกติ โดยการจัดโครงการ "ศุกร์ สุข หรรษา" ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหัวหน้าส่วนราชการ, เจ้าหน้าที่เทศบาลนครยะลา, เจ้าหน้าที่ทหาร, ตำรวจ, และภาคประชาชนได้เป็นอย่างดี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาสวัต บุญศรี: รำลึกน้ำท่วมปี 54 กับสรยุทธ์ เล่าข่าวเช้านี้ Posted: 20 Oct 2012 12:02 AM PDT ตอนนี้สรยุทธกำลังประสบภาวะโดนเร่งงานด้านศีลธรรมจากกรณี ปปช.ชี้มูลความผิดกรณีค่าโฆษณาใน อสมท. แล้วมันยิ่งชวนคิดว่าสรยุทธกำลังนำเสนอภาพเหตุการณ์เก่า ๆ ในเชิง "ทวงบุญคุณ" หรือเปล่า เหตุการณ์น้ำท่วมปีที่แล้วยังตามหลอกหลอนคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประสบภัยไม่หายนะครับ เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันตั้งแต่เล่นสงกรานต์ว่าปีนี้เมืองไทยจะเผชิญกับภาวะน้ำท่วมใหญ่อีกหรือเปล่า ช่วงไหนพายุเข้า ชาวไทยเราก็ถึงกับตื่นตระหนกด้วยหวั่นเกรงว่าฉันจะต้องจมอยู่ในบึงบาดาลอีกแล้ว โดยเฉพาะคนกรุงที่ฝนตก น้ำท่วมเพราะระบายน้ำไม่ทัน ก็กลายเป็นประเด็นร้อนถึงกับต้องไปรื้อถุงทรายเอย ไปค้นหาอุโมงค์ยักษ์เอยว่าอยู่ที่ไหน แล้วทำงานอย่างไร ทำไมถึงปล่อยให้น้ำท่วมแบบนี้ ผ่านเดือนตุลาคมมาเกือบครึ่งเดือนแล้ววี่แววน้ำท่วมใหญ่แบบปีที่แล้วยังไม่มีให้เห็นเนื่องด้วยไม่มีน้ำเหนือไหลสมทบ จะมีบ้างก็เพียงบางชุมชนที่อยู่ในที่ลุ่มประสบภาวะน้ำท่วมทุกปีแล้ว ดังนั้นคนกรุงเทพฯ ก็หวั่นแต่เพียงน้ำท่วมเพราะฝนตกหนักเป็นพอ หากให้ลองเอ่ยถึงรายการข่าวที่เกาะติดเรื่องน้ำท่วมและลงพื้นที่รายงานสภาพอย่างต่อเนื่องขึ้นมาสักหนึ่งรายการ เชื่อว่ารายการเล่าข่าวเช้านี้ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา ต้องมาเป็นอันดับต้น ๆ เป็นแน่ ปีที่แล้วสรยุทธ์และทีมงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกาศข่าวสาวคู่กันที่ถูกเรียกติดปากว่า "น้องไบรท์" และนักแสดงตลกชื่อดัง โก๊ะตี๋ อารามบอย ไม่นับหลังฉากอีกมาก ได้ลงพื้นที่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างไล่มาถึงภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่น้ำไปทลายพรมแดนแบ่งเขตตำบล อำเภอ ไปเรียบร้อยแล้ว ผู้ชมได้เห็นภาพความลำบากของประชาชนที่น้ำมิดหลังคาบ้าน ต้องไปอาศัยวัดซึ่งมักเป็นที่ดอนประทังชีพ บางทีวัดเองก็มีสภาพไม่ต่างไปจากบ้านของฆราวาส ต่างร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน และหลายครั้งสรยุทธ์ก็ได้เป็นกรรมการห้ามมวยระหว่างสองหมู่บ้าน เมื่อเกิดข้อพิพาททำนอง "น้ำท่วมไม่เท่ากัน" ไปจนถึงเรื่อง "แย่งถุงยังชีพ" กรณีนี้ก็เช่นกัน ไม่ได้มีแต่ชุมชนเราเท่านั้นที่น้ำท่วมหนัก!!! ยังไม่ทันครบรอบหนึ่งปี รายการเล่าข่าวทั้งช่วงเช้าและช่วงเที่ยงเสาร์อาทิตย์ที่มีสรยุทธเป็นพิธีกรหลักก็เริ่มนำเอาภาพเหตุการณ์น้ำท่วมเก่า ๆ แบบรายวันมานำเสนอกันชนิด "วันนี้ของปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น" บอกตามตรง ผมนึกไม่ออกว่าสรยุทธจะนำมาเสนอทำไม ตามหลักการนำเสนอข่าวนั้น ภาพในอดีตที่เกิดขึ้นเรานำเสนอได้ คล้ายเป็นเครื่องเตือนใจให้กับคนรุ่นหลังได้รับรู้ แต่อย่างน้อยที่สุดควรต่อยอดเรื่องราวให้เห็นถึงบทเรียนและการสร้างองค์ความรู้เพื่อรับมือ อย่างกรณีน้ำท่วม นอกจากพาไปดูว่าปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น รายการก็ควรพาไปดู ณ เวลานี้ความเป็นอยู่ชาวบ้านเป็นอย่างไร ประสบปัญหาต่อเนื่องอะไรบ้าง ได้รับเงินชดเชยเยียวยาหรือยัง ไปจนถึงแผนในการรับมือน้ำท่วม หากเกิดอีกครั้ง เคยมีประสบการณ์และบทเรียนกันมาแล้ว จะเตรียมตัวรับมือภายในชุมชนอย่างไรกันก่อนดี อาจจะเลยไปถึงแผนระยะยาวที่ทาง อบต./ เทศบาลตำบลวางไว้ คนดูข่าวก็จะได้รู้ถึงการป้องกันและร่วมกันหาวิธีแก้ไขของชุมชนนั้น ๆ ซึ่งก็อาจจะสามารถต่อยอดนำไปใช้ในชุมชนตนได้ แต่ตอนนี้รายการคุณสรยุทธนำเสนอแต่ภาพในอดีตเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็แค่ได้รับรู้ว่าชุมชนนี้เคยประสบอะไรมา ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าตรงไหนคือประโยชน์ในการนำเสนอแบบนี้เป็นแน่ ยิ่งตอนนี้สรยุทธกำลังประสบภาวะโดนเร่งงานด้านศีลธรรมจากกรณี ปปช.ชี้มูลความผิดกรณีค่าโฆษณาใน อสมท. แล้วมันยิ่งชวนคิดว่าสรยุทธกำลังนำเสนอภาพเหตุการณ์เก่า ๆ ในเชิง "ทวงบุญคุณ" หรือเปล่า ตัวรายการเองก็มีแฟนคลับไม่น้อย แถมบทบาทต่อความคิดของผู้ชมก็ไม่ใช่เล่น ๆ หลายประเด็นที่ถูกจุดติดกลายเป็นประเด็นร้อนก็มาจากการปั่นกระแสของสรยุทธ (แม้บางเรื่องผมจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ อย่างเรื่องควายหาย เป็นต้น) และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ เรื่องคลี่คลายก็เพราะฝีมือของเขา ตรรกะที่เราเจอกันได้บ่อยคือ คนที่ทำดีมาเยอะ ๆ เราก็พร้อมจะให้อภัยเขายามเขาทำผิดพลาดไป ไม่รู้เหมือนกันว่ากรณีการนำเสนอแบบนี้ สรยุทธกำลังกระตุ้นให้แฟนคลับที่คิดตีจาก รวมไปถึงคนที่กำลังโจมตีเขาให้หันกลับมองคุณงามความดีที่เขาเคยทำไว้ แล้วเพลา ๆ เล่นงานเขาบ้าง ถ้าวันข้างหน้า หมดน้ำท่วมแล้วขุดข่าวเก่า ๆ มารายงานอีกนี่ทฤษฎีนี้คงยิ่งชัด ซึ่งต้องรอดูกันต่อไปครับ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คปก.ถก นักกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ถกความเหมาะสมบทลงโทษ Posted: 19 Oct 2012 08:37 PM PDT คณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดการประชุมรับฟังความเห็นนักวิชาการ-ทนายความ ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญถกความเหมาะสมบทลงโทษ-การละเมิดอำนาจศาล 19 ตุลาคม 2555 - คณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ…. โดยมีนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ กรรมการปฏิรูปกฎหมายและประธานคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้มีผู้แทนจากสภาทนายความ นักวิชาการกฎหมาย และทนายความสิทธิมนุษยชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งมีการอภิปรายใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1. การละเมิดอำนาจศาลตามาตรา 16 และ 17 สมควรบัญญัติไว้หรือไม่และบทกำหนดโทษมีความเหมาะสมหรือไม่ 2. ความเหมาะสมในการบัญญัติบทบัญญัติและบทกำหนดโทษเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครองชั่วคราว สำหรับประเด็นเรื่องการละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 16 ที่ประชุมมีความเห็น 2 แนวทาง คือ เห็นควรที่จะบัญญัติมาตรา 16 ไว้ เนื่องจากมาตรานี้มีขึ้นเพื่อรักษาความสงบในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลเองมิใช่คู่ความ แต่เป็นคนกลางในการตัดสินคดีจึงสมควรที่จะได้รับความคุ้มครอง ส่วนที่ไม่เห็นควรให้บัญญัติมาตรา 16 ให้เหตุผลว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และยังสามารถใช้กฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทแล้วแต่กรณีมาปรับใช้ได้ ขณะเดียวกันในเรื่องความเหมาะสมในการกำหนดบทลงโทษตามมาตรา 16 ที่ประชุมยังมีความเห็นแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่มีความเห็นเป็น 2 แนวทางคือ เห็นว่าบทกำหนดโทษนั้นไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ ซึ่งมีความเหมาะสมแล้ว แต่ทั้งนี้ควรระบุถึงการอุทธรณ์คดีกรณีถูกตัดสินลงโทษด้วย เนื่องจากไม่ได้บัญญัติเอาไว้ ส่วนเหตุผลของผู้ที่เห็นว่าไม่ควรมีการกำหนดโทษ มีความเห็นว่า คดีที่เข้ามาสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนส่วนใหญ่แตกต่างจากคดีแบบอื่น ดังนั้น จึงควรใช้มาตรการเชิงบวกคือ การพูดคุยเจรจาจะเหมาะสมกว่า และเป็นห่วงว่าการเปิดช่องให้ตุลาการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษอาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติได้ นอกจากนี้ที่ประชุมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การบัญญัติมาตรา17 มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และจูงใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญมากกว่าจำกัด อีกทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ ยังเป็นประโยชน์ในแง่การพัฒนาการทำงานของศาล ส่วนประเด็นการกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ที่ประชุมเห็นสอดคล้องว่า สมควรระบุเอาไว้เป็นกฎหมายในพ.ร.บ.ให้ชัดเจน เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 212 กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะกำหนดเอาไว้เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายของคู่ความ และคุ้มครองประชาชนด้วย
หมายเหตุ: ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... มาตรา ๑๖ ให้ศาลมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลที่เข้ามาหรือจะเข้ามาในที่ทำการศาล หรือบริเวณที่ทำการศาล หรือเข้าฟังการไต่สวนของศาล หรือมีคำสั่งให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปโดยสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว รวมทั้งวางระเบียบเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งศาลหรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) ตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้ (๒) ไล่ออกจากบริเวณศาล (๓) ลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การใช้อำนาจตามวรรคสอง ให้ศาลใช้อย่างระมัดระวังและเท่าที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งนี้ ให้ดำเนินการบังคับโทษตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการบังคับโทษในทางอาญา มาตรา ๑๗ การวิจารณ์การพิจารณาคดีหรือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเป็นวิธีการทางวิชาการ ซึ่งได้กระทำโดยสุจริต ย่อมกระทำได้ โดยไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ผู้ใดวิจารณ์ที่ไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจตักเตือน โดยจะมีคำตำหนิเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ หรือลงโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และให้นำมาตรา ๑๖ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น